แผนบริหารการสอนประจำบทที่ ๖ การสรา้ งแรงจงู ใจ จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม หลังจากได้ศกึ ษาบทเรียนนี้แล้ว นสิ ติ สามารถ ๑. อธบิ ายความหมายและเทคนคิ การจงู ใจได้ ๒. อธบิ ายทฤษฎแี รงจงู ใจและแรงจงู ใจในการทำงานได้ ๓. อธิบายทฤษฎีเสริมแรงจูงใจได้ เนอ้ื หาสาระ เน้ือหาสาระในบทน้ีประกอบดว้ ย ๑. ความหมายและเทคนิคการจูงใจ ๒. ทฤษฎีแรงจงู ใจและแรงจูงใจในการทำงาน ๓. ทฤษฎีเสริมแรงจงู ใจ กิจกรรมการเรยี นการสอน สปั ดาหท์ ี่ ๑๐ ๑. ทบทวนความรู้เดิมในบทที่ ๖ โดยการซกั ถามและให้นิสิตอธบิ ายและแสดง ความคิดเห็น ๒. อธบิ ายเน้ือหา และสรปุ เนื้อหาสาระทส่ี ำคัญ ด้วย Microsoft Power-point ๓. อภปิ ราย แลกเปลีย่ นความคดิ เหน็ และซักถาม ๔. ให้นิสิตทำแบบทดสอบแรงจูงใจ เพื่อประเมินตนเองว่ามีแรงจงู ใจระดบั ไหน ๕. แบ่งกล่มุ นสิ ติ เปน็ กลุม่ มอบหมายให้นิสติ แบง่ กลมุ่ จบั สลากหวั ขอ้ ตามแนวคดิ ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของนกั จิตวิทยาตะวนั ตกและตะวันออก แลว้ ศกึ ษาทฤษฎีแรงจูงใจด้านที่ ไดร้ บั และคิดวธิ พี ัฒนาใหเ้ กดิ แรงจงู ใจในแต่ละด้านและนำเสนอหน้าช้ันเรียน ๖. ให้ตอบคำถามทา้ ยบทที่ ๗ และนำสง่ ในสัปดาห์หนา้ สือ่ การเรยี นการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรียนการสอน “เชาวนป์ ัญญา” ๒. การนำเสนอด้วย Microsoft Power-point และวีดทิ ศั น์ / คลปิ วีดโี อ ๓. ตำราหรอื หนังเสือเก่ียวกบั จิตวิทยา ไดแ้ ก่ พงษ์พนั ธ์ พงษโ์ สภา, จิตวิทยาทางการศกึ ษา, กรุงเทพมหานคร : พฒั นาศึกษา, ๒๕๔๒. มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ,จิตวิทยา, ขอนแกน่ : ภาควชิ าจติ วิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , ๒๕๕๐. วนิษา เรซ, อัจฉริยะสร้างได้, กรุงเทพมหานคร : ไทยยเู นย่ี นกราฟริกส์, ๒๕๕๐.
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๓ วภิ า ภกั ดี, จติ วทิ ยาทวั่ ไป, กรงุ เทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์, ๒๕๔๗. สชุ า จนั ทน์เอม, จิตวทิ ยาพัฒนาการ, พมิ พ์ครงั้ ที่ ๕, กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๔๒. สรุ างค์ โคว้ตระกลู , จติ วทิ ยาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พมิ พ์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๔๑. ๔. แบบทดสอบพหุปญั ญาของการ์ดเนอร์ ๕. ใบกจิ กรรมกลุม่ “วิธกี ารพัฒนาเชาวน์ปัญญาตามทฤษฎพี หุปัญญาของ การ์ดเนอร์” ๕.๑ กิจกรรม “เทคนิคในการพัฒนาแรงจูงใน” ๕.๒ กิจกรรม “การพฒั นาแรงจงู ใจ” แหลง่ การเรยี นรู้ ๑. หอ้ งสมุดวทิ ยาลัยสงฆบ์ ุรรี ัมย์ มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั ๒. ห้องสมดุ คณะครศุ าสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวทิ ยาการแนะแนว ๓. แหล่งการเรยี นรู้ทางอนิ เตอร์เนต็ เกีย่ วกับจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสรา้ งบรรยากาศในชัน้ เรยี น นิสิตสามารถสืบค้นข้อมลู ทีต่ ้องการผ่านเว็บไซตต์ ่างๆ การวดั และการประเมนิ ผล จุดประสงค์ เครอ่ื งมอื /วธิ กี าร ผลที่คาดหวัง ๑. อธบิ ายความหมายการสรา้ ง ๑. ซกั ถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ แรงจงู ใจได้ ๒. แบบฝึกหดั ท้ายบท แบบฝึกหัดถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๒. อธิบายความเป็นมาของการ ๑. ซกั ถาม ๑. นิสติ มคี ะแนนการทำ สรา้ งแรงจูงใจได้ ๒. แบบฝึกหัดทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๓. อธบิ ายระดับการสรา้ งแรงจูงใจ ๑. ซกั ถาม ๑. นสิ ิตมคี ะแนนการทำ ของบุคคลได้ ๒. แบบฝกึ หัดทา้ ยบท แบบฝกึ หดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๔. อธบิ ายองคป์ ระกอบของ ๑. ซกั ถาม ๑. นิสติ มคี ะแนนการทำ การสรา้ งแรงจงู ใจ ได้ ๒. แบบฝึกหัดทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ๕. อธบิ ายทฤษฎที างการสรา้ ง ๑. ซักถาม ๑. นิสติ มคี ะแนนการทำ แรงจูงใจได้ ๒. แบบฝึกหัดท้ายบท แบบฝึกหดั ถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๖. อธิบายเทคนิคในการพัฒนาการ ๑. สังเกตพฤติกรรมการรว่ ม ๑.นสิ ิตมีคะแนนการทำงานกลุ่ม สรา้ งแรงจงู ใจตามหลักพุทธศาสนา กจิ กรรม และการนำเสนอหนา้ ช้ัน รอ้ ย ได้ ๒. สงั เกตการณ์นำเสนอหน้าชั้น ละ ๘๐ เรียน ๒. นิสติ ให้ความร่วมมอื ในการ ๓. แบบสังเกตพฤติกรรม ทำกจิ กรรมกลุ่ม ร้อยละ๑๐๐ การทำงานกลมุ่ ๓. นสิ ิตมีคะแนนการทำ ๔. ผลงานกล่มุ แบบฝกึ หัดถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๕. แบบฝึกหดั ทา้ ยบท
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๔ บทท่ี ๖ การสรา้ งแรงจงู ใจ ๖.๑ ความนำ การท่ีมนุษย์จะมีความหวังหรือความต้องการน้ัน พ้ืนฐานเกิดจากการเรียนรู้ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเช่นคนอ่ืนๆ จึงเกิดการจูงใจ ซ่ึงเป็นปรากฏการณ์ท่ีสลับซับซ้อน ไม่อาจจะหาคำ จำกัดความท่ีเป็นสูตรสำเร็จตายตัวง่ายๆ ได้ นอกจากน้ันผลของการจูงใจก็ยังยากแก่การวัด อาทิ เม่ือบุคคลมคี วามพึงพอใจสูงนัน้ มิได้หมายความว่า ระดบั ขวัญหรือการจงู ใจจะต้องสูงตามไปดว้ ยเสมอ อย่างไรก็ตามสำหรับศัพท์ของการจูงใจ (Motivation) นั้น เป็นคำท่ีมาจากภาษาละตินว่า Movere อันหมายถึง การเคล่ือนไหว ซ่ึงเป็นเร่ืองราวของความรู้สึกซึ่งไม่หยุดนิ่งอันยังเป็นผลให้เกิดพฤติกรรม หรือการกระทำ บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในการแสดงออก ซ่ึงพฤติกรรมการปฏิบัติงานใน หน้าที่ที่ไดร้ ับมอบหมาย ภายใตส้ ถานการณ์เดยี วกัน มใิ ช่เป็นเพราะมีความรคู้ วามสามารถมสี ติปัญญา ตลอดจนประสบการณ์ท่ีแตกต่างกันเท่านั้น แต่ปัจจัยท่ีสำคัญยิ่งกว่าอีกประการหนึ่งคือ การที่บุคคล ได้รับการจูงใจในการปฏิบัติงานที่แตกต่าง เป็นเหตุให้แต่ละคนเต็มใจที่จะใช้พลังความสามารถในการ ปฏิบัติมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย การจูงใจจึงเป็นส่ิงสำคัญยิ่งที่จาเป็นต้องศึกษาในหลายๆ ประเด็น เพอ่ื ให้ไดข้ อ้ สรุปที่ชดั เจนวา่ บคุ คลแต่ละบุคคลแสดงพฤติกรรมแตกตา่ งกันเพราะอะไร ถ้าหากสามารถ จะบอกสาเหตุพฤติกรรมของแต่ละคน ได้ก็คงจะทำให้การดำเนินชีวิตของเราง่ายข้ึน เพราะการเขา้ ใจ สาเหตุพฤติกรรมจะช่วยให้คนเรามีความเข้าใจซ่ึงกันและกัน และให้อภัยกันได้ง่ายข้ึน แต่ในชีวิตจริง แม้แต่บุคคล ๒ คน รูจ้ ักกันเป็นอยา่ งดี มคี วามสัมพันธ์ใกล้ชิดกนั เป็นต้นว่า บิดา มารดาและบุตร สามี ภรรยา ญาตพิ ี่น้อง เพ่ือนสนทิ ก็ยากท่ีจะบอกสาเหตุของพฤติกรรมของคนท่ีเรารกั และสนิทไดถ้ ูกต้อง ทกุ ครั้ง เพราะสาเหตุของพฤติกรรมเป็นท่ีสังเกตไม่ได้ และบางคร้ังผู้แสดงพฤติกรรมเองก็อาจจะบอก ไม่ได้ว่าทำไมตนเองจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น นักจิตวทิ ยาได้พยายามอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมจึง พยายามสร้างทฤษฎีขึ้น โดยใช้ความคิดรวบยอดสมมติฐานท่ีเรียกว่าการจูงใจ ซึ่งหมายถึง องค์ประกอบท่ีกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมท่ีมีจุดหมาย แต่เน่ืองจากเราไม่สามารถสังเกตแรงจูงใจได้ โดยตรง ๖.๒ ความหมาย Daft๑ แรงจงู ใจ หมายถึง พลงั หรอื แรงผลักดันท้ัง ภายนอกและภายในตวั บุคคล ซึ่งกระตุ้น ใหเ้ กิดพฤติกรรมที่กระตือรือร้น รวมทงั้ เปน็ บุคคลรักษาพฤตกิ รรมนัน้ ไว้ ๑ Daft, R. L. Management (5 th ed.). Fort Worth : Dryden, 2000, p.534.
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๕ Vroom๒ แรงจูงใจ หมายถึง กระบวนการในการ ควบคุมหรือครอบงาทางเลือกโดยบุคคล หรืออินทรีย์ ต่ำสุด (lower organisma) โดยไม่เปิดโอกาสให้เลือกทางเลือกอื่นๆ ด้วยความสมัครใจ เช่น เมื่อเราเกิดความรู้สึกหิว เราก็ต้องรับประทานอาหารเพ่ือตอบสนองความต้องการของร่างกาย ซึง่ ไมม่ ีโอกาสเลือกทางเลอื กอ่นื แต่อย่างใด Stephen P. Robbins๓ แรงจูงใจหมายถึง ความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมาก เพือ่ ใหบ้ รรลเุ ป้าหมายขององค์การ โดยมีเงือ่ นไขว่า ความพยายามนั้นสามารถทาให้เกดิ ความพงึ พอใจ แก่บคุ คลตามทตี่ ้องการ เสนาะห์ ติเยาว์๔ แรงจูงใจ หมายถึง ความเต็มใจท่ีจะทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มท่ีจนงาน ขององคก์ ารบรรลเุ ป้าหมาย โดยมเี ง่อื นไขว่าการท่มุ เทนั้น เพ่ือตอบสนองความต้องการของคนคนนัน้ อารี พันธ์มณี๕ แรงจูงใจ หมายถึง การนาปัจจัยต่างๆ ที่เป็นแรงจูงใจมาผลักดันให้บุคคล แสดงพฤตกิ รรมอยา่ งมีทศิ ทางเพ่ือบรรลจุ ุดมุ่งหมายหรอื เงื่อนไขท่ีตอ้ งการ ปจั จัยต่าง ๆ ที่นามาอาจจะเป็นเครื่องล่อรางวัล การลงโทษ การทาให้เกิดการตนื่ ตัว รวมทั้งทาให้เกิด ความคาดหวงั เปน็ ตน้ ตุลา มหาพสุธานนท์๖ แรงจูงใจหมายถึง พลังหรือแรงผลักดันทั้งภายนอกและภายในตัว บคุ คลหรอื อินทรยี ์ซง่ึ กระตุ้นใหเ้ กดิ พฤติกรรมในแนวทางที่สนองตอบตอ่ ความต้องการของตน พาสนา จุลรัตน์๗ แรงจูงใจ หมายถึง กระบวนการของการใช้ปัจจัยท้ังหลายที่จะทาให้บุคคล เกิดความต้องการ เพื่อสร้างแรงขับและแรงจูงใจไปกระตุ้นรา่ งกายให้แสดงพฤติกรรมตามจุดม่งหมาย ทไี่ ด้วางไว้โดยปจั จัยดังกล่าวนั้น อาจจะเปน็ สิง่ เร้าภายนอกกบั ส่งิ เรา้ ภายในหรอื ทั้งสองประการก็ได้ พชรพร ครองยุทธ๘ แรงจูงใจ หมายถึง ปัจจัยท่ีเป็นตัวกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคล ทุ่มเท แรงกายแรงใจและแสดงความสามารถอย่างเต็มทีใ่ นการปฏิบตั ิงานให้บรรลุเปา้ หมายขององค์การ ๒ Vroom, V. H. & Yetton P.W., Leadership and Decision Making. Pittsburgh: University of Pittsburgh, 1973, p. 7. ๓ Stephen P. Robbins, Organizational Behavior : Concepts Controversics and Applications.York : Prentice – Hall Inc., 1993,p,54. ๔ เสนาะ ตเิ ยาว์, การบรหิ าร, กรุงเทพมหานคร : บางกอกการพมิ พ์, ๒๕๔๖ หน้า ๒๙. ๕ อารี พันธม์ ณี, จติ วทิ ยาสรา้ งสรรคก์ ารเรียนการสอน, กรุงเทพมหานคร : ใยใหม ครเี อทฟี กรปุ๊ , ๒๕๔๖ หนา้ ๒๖๙. ๖ ตุลา มหาพสธุ านนท์, หลกั การจดั การหลกั การบรหิ าร, กรุงเทพมหานคร : เพ่ิมทรพั ยก์ ารพมิ พ์, ๒๕๔๗ หน้า ๖๖. ๗ พาสนา จลุ รตั น์, จติ วิทยาการศกึ ษา, ภาควิชาการแนะแนวและจติ วทิ ยาการศกึ ษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ, ๒๕๔๘ หนา้ ๑๙๔. ๘ พชรพร ครองยุทธ, แรงจูงใจและการสนบั สนนุ จากองคก์ รทมี่ ผี ลต่อการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการ ประสานงานสาธารณสขุ ระดบั อำเภอ จงั หวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ สาธารณสขุ ศาสตรมหาบณั ฑติ , สาขาการ บรหิ ารสาธารสุข, บณั ฑิตวทิ ยาลัย : มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๙ หนา้ ๖๖.
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๖ วุฒิชัย จำนง๙ กล่าวถึงแรงจูงใจว่า เป็นลักษณะและระดับที่เอกบุคคลผู้เป็นสมาชิกของ ระบบสงั คมไดเ้ กิดความตง้ั ใจ เต็มใจ พร้อมใจ และพอใจทจ่ี ะทำงานให้กับระบบสงั คมนั้น ศิริวรรณ เสรีรัตน์๑๐ กล่าวว่า การจูงใจหมายถึงอิทธิพลภายในของบุคคลซึ่งเกี่ยวของกับ ระดับการกำหนดทิศทางและการใช้ความพยายามในการทำงานอย่างตอเนื่อง การจูงใจจึงเป็นสิ่งเร้า ซึ่งทำให้บุคคลเกิดความคิดริเร่ิม ควบคุม รักษาพฤติกรรม และการกระทำ หรือเป็นสภาพภายในซึ่ง เป็นสาเหตใุ ห้บุคคลมีพฤตกิ รรมทีท่ ำใหเ้ กดิ ความเชื่อม่นั ว่าจะสามารถบรรลเุ ปาหมายบางประการได้ สมยศ นาวีการ๑๑ ได้กล่าวว่า การจูงใจจะมีความเก่ียวพันกับความต้องการคนทุกคนยอมมี ความต้องการ เช่น มคี วามต้องการความมั่นคงของงานที่ทำอยู่ผลตอบแทนที่สูงและสถานภาพ ดงั น้ัน จงึ เกิดกจิ กรรมเพ่ือจะตอบสนองความต้องการดังกล่าว ยอมหมายความว้าเกิดแรงจูงใจหรือไดรบั การ กระตุ้นเพอื่ ตอบสนองความต้องการ สมพงศ์ เกษมสิน๑๒ ไดแ้ บง่ ประเภทสงิ่ จงู ใจออกเปน็ ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. ลกั ษณะของส่ิงจงู ใจ ๑.๑ อตั ราคา่ จ้างเงนิ เดอื น ๑.๒ โบนัส ๑.๓ การแบง่ ปนั ผลกำไร ๑.๔ การใหบ้ ำเหน็จ ๑.๕ การใหบ้ ำนาญ ๑.๖ การใหป้ ระโยชนเกอ้ื กูล ๑.๗ การจดั ตงั้ กองทุนสงเคราะห์ ๒. ลักษณะสำคัญของสง่ิ จูงใจท่ไี ม่เป็นเงนิ ๒.๑ การยกยองนับถอื ๒.๒ การมคี วามรูสึกว่าได้เป็นส่วนหน่ึงของหมูคณะ ๒.๓ การแข่งขนั ๒.๔ การมสี ว่ นร่วม ๒.๕ โอกาสกาวหนา้ ๒.๖ ความยตุ ิธรรม ๒.๗ บรกิ ารทางดา้ นสันทนาการ สิ่งจูงใจจึงเป็นปฐมเหตุท่ีทำให้เกิดผลต่างๆ ในพฤติกรรมของการปฏิบัติงาน การทำงานท่ีดี ควรจัดให้มีการจงู ใจท่ดี ี ถูกต้องและเหมาะสมด้วย ๙ วุฒิชยั จำนง, การจงู ใจในองคก์ ารธุรกิจ, กรงุ เทพมหานคร : คณะบรหิ ารธรุ กิจ สถาบันบณั ฑิตพฒั นา บริหารศาสตร์, ๒๕๒๕ หน้า ๑. ๑๐ ศริ ิวรรณ เสรีรตั น์และคณะ, ทฤษฎอี งคก์ าร, กรงุ เทพมหานคร : วสิ ิทธิ์พฒั นา, ๒๕๔๑ หน้า ๕๕. ๑๑ สมยศ นาวีการ, การบรหิ ารและพฤตกิ รรมองคก์ าร, กรุงเทพมหานคร: บรรณกจิ , ๒๕๔๙ หนา้ ๑๗๕. ๑๒ สมพงศ์ เกษมสนิ , การบริหาร, พิมพค์ รงั้ ท่ี ๘, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิชย์, ๒๕๒๖ หน้า ๓๒๑.
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๗ สุชา จันทร์เอม๑๓ กล่าวว่า โดยท่ัวไปแรงจูงใจ หมายถึง พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นโดยแรงขับ (Drive) ของแต่ละบุคคล มีแนวมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างใดอย่างหน่ึง และร่างกายอาจจะสม ประสงคใ์ นความปรารถนาอนั เกิดจากแรงขบั นน้ั ๆ ได้ อำนวย แสงสวาง๑๔ ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า หมายถึง กระบวนการทีพ่ ลงั งานท้ังหลาย เป็นสิ่งชี้นำพฤติกรรม หรือการจูงใจเป็นส่ิงที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรม ลักษณะพลังของการจูงใจจะ ปรากฏขึ้นตอเมื่อบุคคลถูกกระตุ้นในองค์การอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตามในสภาพ การณท่กี ำหนดไว้ Glueck๑๕ ให้ความหมายของการจูงใจว่า หมายถึง สภาวะภายในของบุคคลซึ่งเป็ น ตัวกำหนดทิศทางและระดับของพฤติกรรม ทำให้การทำงานของแต่ละบุคคลมีพลังมากขึ้นและดำเนิน เรอื่ ยไปอยา่ งตอ่ เนือ่ งจนบรรลุความต้องการของแต่ละบุคคล Mc Clelland๑๖ กล่าวถึงแรงจูงใจว่า เป็นการแสดงออกถงึ สภาพอารมณ์ของบุคคลที่มีต่อสิ่ง เร้า แล้วปรากฏเป็นพฤติกรรมออกมาเพื่อกระทำไปสู่จุดหมายและการเกิดอารมณ์พึงพอใจหรือไมพึง พอใจ ซ่งึ จะข้ึนอยู่กับประสบการณท่ีกำหนดไว้ โดยสรุป จากการให้ความหมายของการจูงใจ โดยนักวิชาการดังกล่าวขางตนพอสรุปได้ว่า การจูงใจเป็นการสร้างแรงขับ หรือสิ่งเร้า เพื่อให้บุคลากรในองค์การมีพฤติกรรมท่ีสนองตอบใน ปฏบิ ัติงาน ตามวตั ถปุ ระสงค์ทอี่ งคก์ ารได้วางเอาไว้ ๖.๓ เทคนิคการจงู ใจ เทคนคิ การจูงใจทส่ี ำคญั ที่ผู้บรหิ ารสามารถนำไปใช้ในการจูงใจประกอบด้วย ๑. เงิน (Money) จากทฤษฎีของการให้รางวัลและการลงโทษ เงินเป็นสิ่งกระตุนที่สำคัญอยู่ ในรูปของเงินเดือน ค่าจ้างต่อหน่วยงานในคุณภาพระดับหน่ึงหรือสิ่งจูงใจอ่ืน ตลอดจนโบนัส ประกัน และส่ิงอ่ืนๆ ที่มอบให้กับพนักงาน นักวิชาการบางคนได้ระบุว่า เงินมีความหมายมากกว่ามูลค่าในรูป ตัวเงิน แต่จะหมายถึงท้ังสถานะ (Status) และอำนาจ (Power) นักเศรษฐศาสตร์และผู้บริหารส่วน ใหญ่ได้ใช้เงินเป็นสิ่งกระตุ้นนักวิทยาศาสตรพฤติกรรมศาสตร์มองประเด็นนี้ มีความสำคัญต่ำ การใช้ เงนิ เป็นสง่ิ กระตนุ้ ผู้บรหิ ารต้องระลึกถึงหลายประการ ดงั นี้ ๑.๑ เงินมีแนวโน้มว่าจะมีความสำคัญต่อบุคคลมากข้ึน สำหรับบุคคลที่มีครอบครัว เงินเป็นส่ิงท่ีใช้เพื่อให้บรรลุมาตรฐานการครองชีพ อย่างน้อยเงินจะต้องให้เพียงพอกับมาตรฐานการ ๑๓ สชุ า จันทร์เอม, จิตวิทยาทวั่ ไป, พิมพ์ครั้งที่ ๖, กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๓๑ หน้า ๑๐๑. ๑๔ อำนวย แสงสวาง, การจัดการทรัพยากรมนษุ ย์, พิมพ์คร้งั ที่ ๒, กรงุ เทพมหานคร : อกั ษรพพิ ัฒน,์ ๒๕๓๖ หนา้ ๗๒. ๑๕ Glueck Gulick, Luther and Urwick, L., ed. Papers on the Science of Administration. EnglewoodChiffs, NJ: Prentice-Hall, 1973, p,138. ๑๖ McCollor, Frederick Michael. “Case Studies of School Based Management in Three UrbanMiddle Schools,” Dissertation Abstracts International. 59, 01A (1998): 40.
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๘ ครองชีพในระดับต่ำ แม้ว่าบางคนจะมีความพอใจในบานหลังเล็ก รถยนต์ราคาถูกมากกว่าการไดรับ ความพึงพอใจจากบา้ นหลังใหญ่รถยนต์หรูหรา ๑.๒ ธุรกิจและองค์การทุกแหงใช้เงินจ่ายให้พนักงานแกองค์การและเป็นตัวกระตุ้น องคก์ ารท่ัวไปให้ค่าจ้างเดือนละเทา่ ไหร่ค่าจ้างเพอื่ การแข่งขันในอตุ สาหกรรมเพื่อจูงใจและดงึ บุคคลไว้ ๑.๓ เงินเป็นส่ิงจูงใจในทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเช่ือม่ันว่าองค์การจะสามารถ รกั ษาบคุ คลเอาไว้เงินเดือนของผู้บริหารในบริษัทมีความสมเหตุสมผล องค์การจะมีการรักษาบุคคลใน ระดบั ทีเ่ ปรยี บเทยี บกนั ได้ ๑.๔ ถ้าเงินเป็นสิ่งกระตุนที่มีประสิทธิผล บุคคลในตำแหน่งต่างๆ ในระดับที่คลาย คลึงกันจะไดรับค่าจ้างและโบนัสที่สะท้อนถึงการทำงานส่วนตัว บริษัทควรมีการเปรียบเทียบค่าจ้าง เงินเดือน ธุรกิจท่ีมีการจัดการที่ดีอาจจะใช้การปฏิบัติ รวมกับการให้โบนัส และที่ปรากฏว่าโบนัส สำหรับผู้บริหาร จะถือเกณฑ์ขอบเขตการทำงานเฉพาะบุคคล องค์การจะไม่ซ้ือส่ิงจูงใจวิธีการท่ีให้ เชื่อม่ันว่าเงินมีความสำคญั การให้รางวัลสำหรับความสำเร็จและการทำให้บุคคลพอใจในความสำเร็จ ในการทำงาน และเกณฑ์คำตอบแทน จากขอเท็จจริงที่ว่า เงินสามารถกระตุ้นได้เมื่อการจ่ายเงินนั้น มีขนาดเพียงพอกับรายได้ของบุคคลในกรณีที่ค่าจ้างและแรงงานเพ่ิมข้ึน และการจ่ายโบนัส ซึ่งไม่ พอท่จี ะกระตุ้นผู้รับแต่ละบคุ คลจะทำให้ไมพ่ อใจและหางานอ่ืน ๒. การมสี วนรวม (Participation) เป็นเทคนคิ ซ่ึงเป็นผลจากทฤษฎีการจงู ใจและการวิจัยการ มีส่วนร่วมในการทำงาน การทำงานของแต่ละบุคคลจะมคี วามรูทง้ั ในด้านปัญหาและผลลัพธก์ ารมสี ่วน รว่ มท่ีถกู ตองจะเปน็ ทงั้ การจูงใจและความรูทีม่ คี ุณภาพ สำหรบั ความสำเร็จของธรุ กิจ ๓. คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life (QWL)) เป็นทัศนะการจูงใจท่ีนำ สนใจที่สุด QWL เป็นการศึกษาระบบเพ่ือออกแบบงาน และพัฒนาในขอบเขตการทำงาน ประกอบด้วยระบบเทคนิคสังคมในการจัดการ QWL ไม่ใช่ทัศนะการเพิ่มหน้าท่ีในงาน (Job enrichment) แต่เป็นเครือขายประสานงานระหว่างจิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาองค์การและ สังคมวิทยา วิศวกรรม อุตสาหกรรม ทฤษฎีองค์การทฤษฎีและการพัฒนาองค์การ การจูงใจและ ทฤษฎผี ู้นำ และอตุ สาหกรรมสัมพนั ธ์ สรุปได้ว่า แรงจูงใจเป็นกระบวนการที่จะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมาย และ พฤติกรรมนั้นยังคงอยู่ เพราะพฤติกรรมท้ังหมดถูกกระตุ้นโดยความต้องการ ซึ่งแรงจูงใจจะเกิดขึ้นได้ ท้ังภายในและภายนอกเป็นได้ท้ังแรงจูงใจทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ซ่ึงการกระทำกิจกรรมใดๆ ของบคุ ลากรจะสำเรจ็ ไดถ้ ้าบุคลากรน้ันมีแรงจูงใจเพียงพอ ดงั นั้น การสรา้ งแรงจงู ใจจึงเป็นสิ่งท่สี ำคัญ ย่ิง ซึ่งแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งวุฒิภาวะ ความรู้ความเข้าใจในส่ิงต่างๆ ตลอดจนการรับรู้ หากสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดข้ึนได้แล้ว ก็เป็นเครื่องแสดงว่าสามารถบรรลุเป้าหมายของ หนว่ ยงานไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิผลและประสทิ ธภิ าพ ทัง้ น้ีเน่อื งจากการกระทำใดๆ ทีต่ อ้ งการความสำเร็จ แรงจูงใจก็จะเป็นส่วนสำคัญในการเป็นสื่อให้นำแนวคิดน้ันไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายท่ีกำหนดไว้ ได้
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๔๙ ๖.๔ ทฤษฏแี รงจูงใจ Maslow๑๗ ไดแ้ บ่งลำดับข้นั ความตอ้ งการของมนุษย์ไว้ ดังต่อไปน้ี ๑. ความตอ้ งการทางร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความตอ้ งการขัน้ มลู ฐาน ของมนุษย์ และเป็นส่ิงจาเป็นท่ีสุดสาหรับการดำรงชีวิต ร่างกายจะได้รับการตอบสอนงภายใน ระยะเวลาและสม่ำเสมอ ถ้าร่างกายไม่ได้รับการตอบสนองแล้วชีวิตก็ไม่สามารถดารงอยู่ได้ ความ ตอ้ งการเหลา่ นี้ไดแ้ ก่ อาหาร อากาศ เครอ่ื งนงุ่ หม่ ท่ีอยู่อาศัย ยารกั ษาโรค น้าด่มื การพักผอ่ น เป็นต้น ในขั้นน้ีองค์การจะตอบสนองความต้องการของแต่ละคนโดยการจ่ายค่าจา้ งเพื่อใหค้ นงานนาไปใช้จ่าย ในสิ่งจาเปน็ ขั้นมลู ฐานของชวี ติ ๒. ความต้องการด้านความม่ันคง (Security Needs) เมื่อความตอ้ งการทางรา่ งกาย ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการความปลอดภัยก็เขามีบทบาทในพฤติกรรมมนุษย์มีความ ปรารถนาที่จะได้รับความคุ้มครองจากภัยอันตรายต่างๆ ท่ีจะมีต่อร่างกาย เช่น ถูกทาร้าย อุบัติเหตุ เป็นต้นคนเรามักต้องการอยู่ในสภาพที่สามารถคาดหมายได้ ดังน้ันความม่ันคงปอดภัยในการ ปฏิบัติงานในองค์การจึงเป็นส่ิงสำคัญที่มีผลต่อขวัญและกาลังใจของคนงานทุกคน องค์การจึงมีกฎ ระเบียบเพอ่ื สรา้ งความมนั่ คงในการปฏิบัติและตำแหน่งงานเพือ่ ส่งผลดีต่อองค์การโดยรวม ๓. ความต้องการการยกย่องในสังคม (Social or Affiliative Needs) เมื่อความ ต้องการข้ันต้น ๆ ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการในระดับสูงกว่าก็จะเข้าครอบงำพฤติกรรม ของบุคคล ความต้องการการยกย่องในสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับการ ยอมรบั และมิตรภาพจากเพ่ือนร่วมงานเป็นความต้องการให้ผู้อ่ืนมองเห็นความสำคัญของตนองค์การ จึงตอบสนองความต้องการของคนงานโดยการให้แสดงความคิดเห็นและเมื่อความคิดเห็นได้รับการ ยอมรับก็จะได้รับการยกยอ่ งชมเชยจะทำให้คนงานรสู้ ึกเปน็ สว่ นหนงึ่ ขององค์การ ๔. ความต้องการเกยี รติยศช่อื เสยี ง (Esteem Needs) เป็นความตอ้ งการมฐี านะเด่น เป็นท่ียอมรวมถึงความเช่ือมั่นในตนเอง ความสำเร็จ ความรู้ ความสามารถ การนับถือตนเอง ความเปน็ อิสรเสรภี าพ ๕. ความตอ้ งการความสำเร็จแหง่ ตน (Self-actualization) ความต้องการขั้นสงู สดุ น้ีจะเกิดขึน้ เมื่อความต้องการขัน้ ต่ำได้รบั การตอบสนองเปน็ ทพ่ี อใจแล้ว บคุ คลท่ีมคี วามต้องการในขั้น นจ้ี ึงมไี ม่มากนัก ความต้องการในขน้ั น้จี งึ เป็นความตอ้ งการทอ่ี ยากจะทำอะไรสำเรจ็ ตามความนึกคิด แนวคดิ และทฤษฎสี องปจั จยั (Two Factors Theory) ปจั จัยของ Herzberg ไดศ้ กึ ษา เก่ยี วกบั แรงจูงใจในการทางานของบุคคล ซง่ึ ให้ความสำคัญกับปจั จยั ๒ ประการ ได้แก่ ๑. ปัจจัยจูงใจ (Motivational Factor)เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพ่ิมข้ึน ผลผลิตเพ่ิมขึ้น ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ซึง่ เปน็ ปัจจยั ทีต่ อบสนองความต้องการภายในของบุคคล ได้แก่ ๑. ความสำเรจ็ ในงาน ๑๗ Maslow, Abraham, Motivation and Personnality, New York : Harper and Row Publishers, 1970 p,60.
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๐ ๒. การไดร้ ับการยอมรับนบั ถือ ๓. ลกั ษณะงานทปี่ ฏิบตั ิ ๔. ความรบั ผดิ ชอบในงาน ๕. ความกา้ วหน้า ๒. ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) เป็นปัจจัยที่ทาให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะท่ีไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์กรก็อาจทำให้เกิดการไม่ชอบงาน ข้นึ ซึง่ เป็นปจั จัยทมี่ าจากภายนอกของตวั บุคคล ไดแ้ ก่ ๑. เงินเดือน ๒. นโยบายและการบริหาร ๓. ความสมั พนั ธ์กบั ผบู้ งั คบั บัญชา ๔. สภาพการทำงาน ๕. วิธปี กครองบังคบั บญั ชา ๖. สถานะทางอาชพี ๗. ความม่นั คงในการทำงาน ๖.๕ แรงจงู ใจในการทำงาน ภาวณิ ี เพชรสว่าง๑๘ สรุปปัจจยั ทม่ี ีอิทธพิ ลให้เกิดความพึงพอใจในงาน ๔ สว่ น คือ ๑. ความน่าสนใจของงาน งานท่ีท้าทายความรู้ ความสามารถ งานท่ีเปิดโอกาสให้ เรียนรู้ ใช้ทักษะที่หลายหลาย และให้ความรับผิดชอบ รวมทั้งงานท่ีมีความเป็นอิสระ และสามารถ ทราบผลงานของตนเองว่าทำให้ดีมากน้อยเพียงใด หากปราศจากส่ิงเหล่าน้ี จะทำให้งานน่าเบื่อ แต่ ในทางกลับกัน หากงานมีลักษณะที่ยากเกินไป ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกท้อถอยกลัวความล้มเหลว ดังน้ันจึงควรจดั ระดับความท้าทายไว้ปานกลางจงึ จะเอ้ือให้เกิดความพงึ พอใจในงาน ๒. การได้รับคา่ ตอบแทนที่ยุติธรรม สอดคล้องเหมาะสมกับความสามารถทั้งนี้ความ พึงพอใจไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณ หรือจานวนเงนิ ที่ได้รับเท่านั้น แต่ข้ึนอยู่กับความรู้สึก หรือการรับรู้ว่า ยุติธรรมดว้ ย ซึ่งรวมถงึ โอกาสความก้าวหนา้ ในงานและได้รบั การพัฒนาให้เติบโตในงาน ๓. สภาพแวดล้อมท่ีสนับสนุนในการทำงาน เก่ียวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพท่ี ดำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ดังเช่นเรื่องความ ปลอดภยั อณุ หภูมิ เสียง แสง เคร่อื งมอื ในการทางาน ๔. หัวหน้างาน และเพ่ือนร่วมงานท่ีเก้ือกูล หัวหน้างานที่มีความสามารถในการ บรหิ ารคนให้ความสนใจสนับสนุนความก้าวหน้าของลกู น้อง รวมท้ังมีความสัมพันธ์กบั เพื่อนร่วมงานท่ี ดี สนบั สนนุ ช่วยเหลอื กนั และกัน ๑๘ ภาวิณี เพชรสว่าง, พฤตกิ รรมองคก์ าร, พิมพค์ ร้ังที่ ๕, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพซ์ ีวีแอลการพมิ พ์ ,๒๕๕๒ หน้า ๔๔.
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๑ หากองค์การสามารถสรา้ งบรรยากาศท่ีดใี นการทำงานโดยสร้างปจั จยั ทั้ง ๔ ประการ นี้ให้เกิดขึ้นก่อนน้ัน หมายความว่า จะสร้างให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานตามมา แต่ถ้าปัจจัยใด ปัจจยั หน่ึงขาดหายไปอาจมีผลทำให้พนักงานทางานได้มปี ระสทิ ธิภาพเน่ืองมากจากพนักงานเกิดความ ไมพ่ ึงพอใจในการทำงาน ไม่มีความสุขในการทำงานทง้ั ปฏกิ ิรยิ าหน่งึ ท่ีจะเกิดข้ึนเมื่อเราเกิดความไม่พึง พอใจในการทำงาน นัน้ คอื เกิดความเครียดในการทำงาน ๖.๖ ทฤษฎเี สริมแรงจงู ใจ ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement theory) หรือการปรับปรุงพฤติกรรม (Behavior modification) เป็นทฤษฎีท่วี ่าพฤติกรรมของมนุษย์ถือเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมหน่ึงกับ ผลของพฤติกรรมนั้น หรือหมายถึงกระบวนพฤติกรรมของคน ซ่ึงการเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ใน อดีต นักจิตวทิ ยาจากมหาวิทยาลัย Harvard สกินเนอร์ (Skiner อ้างถึงใน คันศร แสงศรีจนั ทร์)๑๙ ได พัฒนาทฤษฎีนี้ และไดนำมาใช้เป็นเทคนิคในการจูงใจ ทฤษฎีนี้ เรียกว่าทฤษฎีการเสริมแรงด้านบวก (Positive reinforcement) หรือการปรับปรุงพฤติกรรม (Behavior modification) ซึ่งคิดว่าแต่ละ บุคคลจะไดรับการจูงใจ โดยการออกแบบท่ีเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และผลของการ ทำงาน จากการกระทำทไ่ี มเหมาะสมจะทำให้เกดิ ผลกระทบด้านลบ (Negative reinforcement) กฎแหงผลลัพธ์ (Law of effect) ได้กล่าวไว้ว่า การเกิดพฤติกรรมซ่ึงเป็นผลจากความพอใจ แตถ่ ้าผลของพฤตกิ รรมไมพอใจ เขากจ็ ะเลิกพฤติกรรมน้นั หรอื มพี ฤติกรรมทแี่ ตกต่างไป สกินเนอร์และผู้ร่วมงาน ศึกษาถึงการทำงานท่ีดีท่ีควรยกย่อง วิเคราะห์สถานการณ์การ ทำงานเพ่ือพิจารณาถึงสาเหตุซ่ึงแรงงานมีการปฏิบัติ และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเพ่ือกำจัดปัญหา และอุปสรรคในการทำงาน เป้าหมาย การมีส่วนร่วมของแรงงานและการช่วยเหลือ การป้อนกลับ อย่างรวดเร็วจากผลลัพธ์จะเกิดขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงการทำงานเป็นรางวัลจากการยอมรับและ การยกยอง โดยวธิ กี ารยกยองบุคคลทเ่ี ขาทำดี รูปแบบของพฤติกรรมเสริมแรง (Form of reinforcement) ของ Skiner เน้นย้ำแรงจูงใจ ซงึ่ เป็นพ้ืนฐานในการปรับปรุงพฤติกรรม และเป็นเทคนิคในการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมมนุษย์เขาเชื่อ วา่ พฤติกรรมของมนุษย์ถกู เปลี่ยนไปเนอ่ื งจากแรงจูงใจ เทคนิคน้ีสามารถทำให้มนุษย์เกดิ พฤตกิ รรมซ้ำ หรือเปลย่ี นพฤติกรรมอ่นื ทฤษฎกี ารเสริมแรงทำไดวิธี คอื ๑. การเสริมแรงด้านบวก (Positive reinforcement) หมายถึง การบริหารรางวัลตอบแทน ตามผลการปฏิบัติงานเพ่ือให้เกิดพฤติกรรมท่ีพึงปรารถนา เป็นการสรางให้เกิดพฤติกรรมมากข้ึนด้วย การใหร้ างวัลพิเศษสำหรบั การกระทำอย่างใดอย่างหนึง่ ๑๙ คนั ศร แสงศรีจนั ทร์, ปัจจัยที่มผี ลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัตงิ านของบคุ ลากรเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมอื ง จงั หวดั เชียงราย, วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์), บณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั แมฟ่ ้าหลวง, ๒๕๕๐ หนา้ ๙-๑๐.
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๒ ๒. การเรียนรู้การหลีกเลี่ยง (Avoidance learning) หรือการเสริมแรงด้านลบ (Negative reinforcement) หมายถึงการจัดลำดับเหตุการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจต่อจากพฤติกรรมท่ีพึงพอใจการ เรยี นรู้ท่เี กิดขนึ้ เพราะพนักงานสามารถปฏบิ ัติตามหน้าท่ีได้ทำอย่างอืน่ เนื่องจากกลวั ผลรายท่ีจะไดรบั ๓. การกำจดั หรือปราบปราม (Extinction) หมายถึง การเลิกให้รางวัลเพ่ือจุดมุงหมายในการ ยับย้ังพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต เป็นการลดพฤติกรรมซ่ึงมีผลด้านบวก ซึ่งเกี่ยวของกับ พฤตกิ รรม เป็นการปราบพฤตกิ รรมบางอย่างโดยการลดการเสรมิ แรงเกี่ยวกับการแสดงออก ๔. การลงโทษ (Punishment) หมายถึง การปรับพฤติกรรมซึ่งเกี่ยวของภายใต้เง่ือนไขท่ีว่า ผลท่ีตามด้านลบจะช่วยลดหรือยับย้ังพฤติกรรม เป็นการลดพฤติกรรมเนื่องจากผลลัพธ์ท่ีไม่พึงพอใจ แม้ว่ารางวัลจะเป็นวิธีการท่ีมีอำนาจในการกำหนดพฤติกรรมพนักงาน ผู้บริหารจะให้สัญญาณ ท่ีผิดพลาด จากพฤติกรรมสวนตัว เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้จากความหมายดังกล่าวผู้ศึกษาสรุปได้ว่า ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement theory) หรือการปรับปรุงพฤติกรรม (Behavior modification) เป็นทฤษฎีท่ีใช้เป็นเทคนคิ ในการจงู ใจบุคลากรในเทศบาลใหม้ พี ฤตกิ รรมในด้านบวก หรอื มงุ่ ผลลพั ธ์ใน ดา้ นความพอใจ ๖.๖.๑ ทฤษฎีความคาดหวงั ในการจูงใจ วรูม (Vroon อ้างถึงใน ศิริวรรณ เสรีรัตน์)๒๐ ได้เสนอเร่อื งการจูงใจว่า เป็นผลของความมาก น้อยของบุคคลท่มี ีความต้องการส่งิ ใดส่ิงหน่ึง และการคาดคะเนของบุคคลนั้น ต่อความน่าจะเป็นของ การกระทำท่ีจะนำไปสูส่ิงนั้น ดังนั้น รูปแบบของการจูงใจตามทฤษฎีนี้ จึงประกอบด้วย ความพอใจ (valence) และความคาดหมาย (expectancy) ซึ่งเป็นตัวท่ีทำให้เกิดการจูงใจและผลลัพธ์ (outcome) ความพอใจ (valence) หมายถึง ความปรารถนาของบุคคลท่ีมีผลลัพธ์อย่างหนึ่งซึ่งเก่ียวกับ ผลลัพธ์อกี อย่างหนง่ึ เกดิ ขึน้ ภายในตวั ของบุคคลแต่ละคนซง่ึ ถูกกำหนดด้วยประสบการณ์ ความคาดหมาย (expectancy) หมายถึง ความเช่ือวาการกระทำท่ีแสดงออกน้ันจะทำให้ ไดผ้ ลลัพธ์เป็นพเิ ศษ ผลลัพธ์ (outcome) หมายถึง ผลทเ่ี กดิ จากการกระทำที่ไดรบั การกระตุ้นและแรงจูงใจการใช้ ทฤษฎนี ้ใี นการจงู ใจบคุ ลากรในหน่วยงานให้เกิดความพงึ พอใจในการปฏบิ ตั งิ าน ทฤษฎีของ Vroom และการปฏิบัติงาน (The Vroom theory and practice) สงิ่ ที่น่าสนใจ ของทฤษฎีนี้ก็คือ การระลึกถึงความสำคัญของความต้องการเฉพาะบุคคลและการจูงใจโดยหลีกเลี่ยง ลักษณะของทฤษฎี Maslow และ Herzberg ให้เหมาะสมและมีความเขากันกับวัตถุประสงค์แต่ละ บุคคลจะมีเป้าหมายส่วนตัวที่แตกต่างจากเป้าหมายขององค์การ แต่สามารถเข้ากันได้ นอกจากนี้ ทฤษฎขี อง Vroom ยงั สอดคลอ้ งกับหลกั การจัดการโดยวัตถปุ ระสงค์ MBO จากความหมายดังกล่าวผู้ศึกษาสรุปได้ว่า ความกระตือรือร้นในการทำงาน หรือมีความ ตอ้ งการทจี่ ะกระทำสิ่งใดส่ิงหนึ่ง พฤติกรรมหรอื การกระทำของบุคลากรจึงขึ้นอยู่กบั องค์ประกอบด้าน ความพอใจ และดา้ นความคาดหมาย ซึง่ เป็นตวั ท่ีทำใหเ้ กิดการจงู ใจและผลลพั ธ์ ๒๐ ศิริวรรณ เสรรี ตั น์ และคณะ, ทฤษฎอี งค์การ, กรงุ เทพมหานคร : วสิ ิทธ์ิพัฒนา, ๒๕๔๑ หนา้ ๓๘๐.
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๓ ๖.๖.๒ ทฤษฎีแรงจูงใจใฝส่ มั ฤทธิ์ ทฤษฎีแรงจงู ใจใฝ่สัมฤทธิ์ของเดวิดแมคเคลแลนด์ เป็นนักจิตวทิ ยาแหงมหาวิทยาลัย ฮารวาร์ด ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งจูงใจของมนุษย์ในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ ทั้งในระดับบุคคล และระดบั สงั คม ผลของการศึกษาสรุปได้ว่า มนษุ ยม์ คี วามต้องการอยปู่ ระการ คอื ๑. ความต้องการสัมฤทธ์ิผล (need for achievement ) เป็นแรงขับเพ่ือจะทำให้ งานท่กี ระทำประสบผลสำเร็จมากที่สุดเมอื่ เปรียบเทียบกับมาตรฐาน ๒. ความต้องการความรักและความผูกพัน (need for affiliationf) เป็นความ ปรารถนาที่จะส่งเสริมและรักษาสัมพันธ์ภาพอันอบอุ่นเพ่ือเป็นมิตรกับผู้อื่น คลายกับความตองการ ทางสังคมของ มาสโลว์ (Maslow) ๓. ความต้องการอำนาจ (need for power ) เป็นความต้องการที่จะให้คนอื่นมี ความประพฤติหรือมีพฤติกรรมตามท่ีต้องการหรือต้องการจะมีอำนาจในการบังคับบัญชาและมี อิทธพิ ลเหนือผู้อ่ืน จากการศึกษาของ แมคเคลแลนด์ McClelland) พบว่าผู้มีแรงจูงใจทางด้าน ความสำเร็จโดยตวั ของเขาเองจะมคี ุณลักษณะท่ีมคี วามสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑. พวกเขาต้องการกำหนดเป้าหมายของพวกเขาเอง ไม่ต้องการความเล่ือนลอยไร้ เป้าหมาย ๒. พวกเขาจะไม่กำหนดเป้าหมายทีย่ ากหรอื ง่ายต่อความสำเร็จมากจนเกินไป ๓. พวกเขาต้องการสิ่งยอนกลับเก่ียวกับผลการปฏิบัติงานของพวกเขา ซ่ึงต้องการรู้ ว่าเขาทำงานได้ดีแคไหน สำหรับผู้บริหารแล้วความต้องการอำนาจ บารมี เป็นความต้องการที่สูงกว่า ความตอ้ งการความสัมฤทธ์ิผลและความต้องการผูกพัน แมคเคลแลนด์ไดเ้ น้นสาระสำคัญด้านแรงจูงใจ ว่า ผู้ท่ีจะทำงานได้ประสบความสำเร็จต้องมีแรงจูงใจด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผลอยู่ในระดับสูง ความสำเรจ็ ของงานจะทำไดโดยการกระตุ้นความต้องการ สรุปทา้ ยบท ในสภาพปัจจุบันองค์กรหรือธุรกิจต่างๆ ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันท่ีรุนแรงย่ิงขึ้น ทงั้ จากภายในและภายนอกประเทศ การที่จะทำให้องค์กรอย่รู อดและทันตอ่ สถานการณก์ ารแขง่ ขันได้ นั้นจะต้องเริ่มจากการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลระดับบุคคลก่อน แล้วจึงขยายสู่ในระดับ องค์กรการดำเนินงานขององคก์ รจะประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิผลสูงสดุ ได้ดว้ ยองค์ประกอบ สำคัญคอื การบริหารทรพั ยากรมนุษย์ที่ต้องดำเนินการอย่างยุติธรรมและเป็นระบบ โดยที่การบริหาร จัดการทรัพยากรมนุษย์ คือการใช้หรือบริหารกลุ่มบุคคลให้สามารถปฏิบัติงานได้สมกับความมุ่งหวัง หรอื เป้าหมายทอ่ี งค์กรกำหนดไว้ การทบ่ี ุคคลากรในองค์กรจะปฏิบตั ิไดส้ มกบั ความมงุ่ หวังหรอื ไม่ เป็นคำถามท่ีผู้บริหารองค์กร ท้ังหลายพยายามท่ีจะหาคำตอบให้ได้ และเป็นภารกิจที่ต้องใช้ท้ังศาสตร์และศิลป์ในการจัดการให้
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๔ บุคลากรในองคก์ รทำงานให้บรรลุความม่งุ หวังหรือเปา้ หมายท่ีกำหนดไวอ้ ย่างเต็มใจ ในขณะเดียวกนั ก็ ตอ้ งให้ความสำคญั กบั การรกั ษาบุคลากรนัน้ ๆ ให้อยใู่ นองค์กรให้นานทสี่ ดุ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญต่อองค์กร เพราะจะต้องสร้างแรงจูงใจ ให้บุคลากรมีความจงรักภักดีและความผูกพันต่อองค์กร และแสดงศักยภาพในการทำงานอย่างเต็ม ความสามารถ รวมท้ังการรักษาคนดีและคนเก่งไว้กับองค์กร หรือลดอัตราการเข้าออกของบุคลากร ซึ่งแนวทางในการสร้างแรงจูงใจใหบ้ คุ ลากรทำงานนน้ั ไมใ่ ช่เฉพาะการจูงใจด้วยเงนิ เพียงอย่างเดียว
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๕ ใบกิจกรรมท่ี ๖ คำช้ีแจง ให้นิสิตแบ่งกลุ่ม จับสลากหัวข้อตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของ นักจิตวิทยาตะวันตกและตะวันออก แล้วศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจด้านท่ีได้รับและคิดวิธีพัฒนาให้เกิด แรงจูงใจในแต่ละดา้ นและนำเสนอหนา้ ช้ันเรียน ทฤษฎีแรงจงู ใจตะวันตก วิธพี ัฒนา ทฤษฎีแรงจูงใจตะวันออก วธิ ีพัฒนา
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๖ คำถามท้ายบท คำช้ีแจง หลังจากที่นิสิตได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจแล้ว ให้นิสิตตอบคำถามต่อไปนี้ โดยอาศยั หลกั วิชาการ หลกั ความเป็นจรงิ และความคิดเหน็ ของนิสิตประกอบในการตอบคำถาม ๑. ให้นสิ ิตอธบิ ายความหมายและความเปน็ มาของทฤษฎีแรงจูงใจพอสังเขป ๒. ให้นิสติ อธบิ ายระดับแรงจูงใจ พร้อมท้งั ยกตัวอย่างความสามารถของบุคคลท่ีมีระดบั แรงจงู ใจในแต่ละระดบั ๓. ให้นสิ ติ อธบิ ายองคป์ ระกอบที่มอี ิทธิพลตอ่ แรงจูงใจของมนษุ ย์ พร้อมยกตวั อย่างให้ชัดเจน ๕. อธิบายความแตกตา่ งของความสามารถท่วั ไปมาสโลว์และพระพทุ ธเจา้ พร้อมยกตวั อยา่ ง ประกอบ ๖. ให้นสิ ิตอธิบายทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ พรอ้ มทง้ั บอกเทคนิคในการพัฒนาแรงจูงใจ ของตนเองในแต่ละด้านใหช้ ดั เจน
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๗ เอกสารอ้างองิ ประจำบท เสนาะ ติเยาว์, (๒๕๔๖), การบริหาร, กรุงเทพมหานคร : บางกอกการพิมพ์. คนั ศร แสงศรจี ันทร์, (๒๕๕๐), ปัจจัยที่มีผลตอ่ แรงจูงใจในการปฏบิ ตั งิ านของบุคลากรเทศบาล ตำบลบา้ นดู่ อำเภอเมือง จังหวดั เชยี งราย, วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์), บณั ฑิตวิทยาลยั มหาวทิ ยาลยั แมฟ่ า้ หลวง. ตลุ า มหาพสธุ านนท์, (๒๕๔๗), หลกั การจดั การหลกั การบรหิ าร, กรงุ เทพมหานคร : เพิ่มทรพั ย์ การพมิ พ์. พชรพร ครองยทุ ธ, (๒๕๔๙), แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองคก์ รท่ีมผี ลต่อการปฏบิ ัตงิ านของ คณะกรรมการประสานงานสาธารณสขุ ระดับอำเภอ จังหวดั ขอนแก่น, วิทยานพิ นธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบรหิ ารสาธารสุข, บณั ฑิตวิทยาลยั : มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น. พาสนา จุลรตั น์, (๒๕๔๘), จติ วทิ ยาการศกึ ษา, ภาควชิ าการแนะแนวและจติ วิทยาการศึกษา คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ. ภาวณิ ี เพชรสวา่ ง, (๒๕๕๒), พฤติกรรมองคก์ าร, พมิ พ์ครั้งที่ ๕, กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์ ซวี แี อลการพิมพ์. วุฒชิ ยั จำนง, (๒๕๒๕), การจงู ใจในองคก์ ารธุรกจิ , กรงุ เทพมหานคร : คณะบรหิ ารธรุ กิจ สถาบนั บัณฑติ พฒั นาบริหารศาสตร์. ศิรวิ รรณ เสรีรัตน์ และคณะ, (๒๕๔๑), ทฤษฎีองค์การ, กรุงเทพมหานคร : วิสิทธิพ์ ัฒนา. สมพงศ์ เกษมสิน, (๒๕๒๖), การบรหิ าร, พมิ พ์ครั้งท่ี ๘, กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณชิ ย์. สมยศ นาวีการ, (๒๕๔๙), การบริหารและพฤติกรรมองคก์ าร, กรุงเทพมหานคร: บรรณกจิ . สุชา จนั ทร์เอม, (๒๕๓๑), จิตวทิ ยาทวั่ ไป, พิมพ์ครั้งท่ี ๖, กรุงเทพมหานคร : ไทยวฒั นาพานิช. อารี พนั ธม์ ณี, (๒๕๔๖), จิตวิทยาสรา้ งสรรคก์ ารเรียนการสอน, กรงุ เทพมหานคร : ใยใหม ครีเอทีฟ กรปุ๊ . อำนวย แสงสวาง, (๒๕๓๖), การจัดการทรัพยากรมนษุ ย์, พิมพค์ รัง้ ท่ี ๒, กรงุ เทพมหานคร : อักษรพิพฒั น์. Glueck Gulick, Luther and Urwick, L., (1973), ed. Papers on the Science of Administration. EnglewoodChiffs, NJ: Prentice-Hall. Maslow, Abraham, (1970), Motivation and Personnality, New York : Harper and Row Publishers. McCollor, Frederick Michael. (1998), “Case Studies of School Based Management in Three UrbanMiddle Schools,” Dissertation Abstracts International. Stephen P. Robbins, (1993), Organizational Behavior : Concepts Controversics and Applications.York : Prentice – Hall Inc.. Vroom, V. H. & Yetton P.W., (1973), Leadership and Decision Making. Pittsburgh: University of Pittsburgh.
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ ๗ การพฒั นาบุคลกิ ภาพ จดุ ประสงค์เชิงพฤตกิ รรม หลงั จากได้ศกึ ษาบทเรียนนี้แล้ว นิสิตสามารถ ๑. อธิบายความหมายของบคุ ลิกภาพได้ ๒. อธิบายปจั จัยที่มผี ลต่อบุคลกิ ภาพได้ ๓. อธบิ ายความสำคัญของบุคลิกภาพได้ ๔. อธบิ ายทฤษฎีบุคลิกภาพได้ เน้ือหาสาระ เนื้อหาสาระในบทน้ีประกอบด้วย ๑. ความหมายของบคุ ลกิ ภาพ ๒. ปัจจยั ท่ีมีผลตอ่ บุคลิกภาพ ๓. ความสำคญั ของบคุ ลิกภาพ ๔. ทฤษฎบี ุคลกิ ภาพ กจิ กรรมการเรยี นการสอน สปั ดาห์ท่ี ๑๑ ๑. ทบทวนความร้เู ดมิ ในบทท่ี ๖ โดยการซกั ถามและให้นิสิตอธิบายและแสดง ความคดิ เหน็ ๒. อธบิ ายเนื้อหา และสรปุ เน้ือหาสาระที่สำคัญ ดว้ ย Microsoft Power-point ๓. อภปิ ราย แลกเปล่ยี นความคดิ เห็น และซกั ถาม ๔. ให้นิสติ ทำแบบทดสอบพหุปญั ญา เพื่อประเมนิ ตนเองวา่ มเี ชาวน์ปัญญาของ ตนเอง ๕. แบ่งกลุ่มนิสิตเป็นกลุ่ม จับสลากหัวข้อตามแนวคิดทฤษฎี บุคลิกภาพ ของนักจิตวิทยาตะวันตกและตะวันออก แล้วศึกษาทฤษฎีบุคลิกภาพด้านท่ีได้รับและคิดวิธีพัฒนาให้ เกิดในแตล่ ะดา้ นและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ๖. ใหต้ อบคำถามท้ายบทที่ ๗ และนำส่งในสัปดาหห์ น้า สื่อการเรียนการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรียนการสอน “เชาวน์ปญั ญา” ๒. การนำเสนอดว้ ย Microsoft Power-point และวีดิทศั น์ / คลิปวีดโี อ ๓. ตำราหรือหนงั เสอื เกีย่ วกบั จิตวทิ ยา ได้แก่ พงษ์พนั ธ์ พงษ์โสภา, จิตวิทยาทางการศกึ ษา, กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา, ๒๕๔๒. มหาวิทยาลยั ขอนแก่น,จิตวิทยา, ขอนแกน่ : ภาควชิ าจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น, ๒๕๕๐.
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๕๙ วนิษา เรซ, อจั ฉรยิ ะสร้างได้, กรงุ เทพมหานคร : ไทยยูเนีย่ นกราฟริกส์, ๒๕๕๐. วภิ า ภกั ดี, จิตวิทยาท่วั ไป, กรงุ เทพมหานคร : จามจรุ ีโปรดกั ท์, ๒๕๔๗. สุชา จันทน์เอม, จติ วทิ ยาพัฒนาการ, พมิ พ์ครงั้ ที่ ๕, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๒. สุรางค์ โควต้ ระกูล, จิตวทิ ยาการศึกษา, กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั , ๒๕๔๑. ๔. แบบทดสอบพหปุ ัญญาของการด์ เนอร์ ๕. ใบกิจกรรมกลุม่ “วิธีการพฒั นาเชาวน์ปัญญาตามทฤษฎพี หุปัญญาของ การด์ เนอร์” ๕.๑ กจิ กรรม “เทคนิคในการพฒั นาเชาวนป์ ญั ญา” ๕.๒ กิจกรรม “การพฒั นาเชาวนป์ ัญญา” แหลง่ การเรยี นรู้ ๑. ห้องสมดุ วทิ ยาลัยสงฆบ์ รุ ีรัมย์ มหาวทิ ยาลยั มหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลยั ๒. ห้องสมุดคณะครศุ าสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจติ วิทยาการแนะแนว ๓. แหลง่ การเรยี นรู้ทางอินเตอร์เน็ตเกีย่ วกบั จิตวทิ ยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสร้างบรรยากาศในชน้ั เรียน นิสิตสามารถสบื ค้นข้อมูลที่ต้องการผา่ นเวบ็ ไซต์ตา่ งๆ การวดั และการประเมนิ ผล จุดประสงค์ เคร่อื งมอื /วิธีการ ผลที่คาดหวัง ๑. อธิบายความหมายการสรา้ ง ๑. ซักถาม ๑. นิสิตมีคะแนนการทำ แรงจูงใจได้ ๒. แบบฝึกหดั ท้ายบท แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๒. อธิบายความเป็นมาของการ ๑. ซักถาม ๑. นสิ ิตมีคะแนนการทำ สร้างแรงจูงใจได้ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท แบบฝกึ หัดถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๓. อธบิ ายระดับการสร้างแรงจงู ใจ ๑. ซักถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ ของบุคคลได้ ๒. แบบฝึกหัดทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๔. อธบิ ายองคป์ ระกอบของ ๑. ซักถาม ๑. นิสิตมีคะแนนการทำ การสรา้ งแรงจูงใจ ได้ ๒. แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท แบบฝึกหัดถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๕. อธิบายทฤษฎีทางการสรา้ ง ๑. ซกั ถาม ๑. นิสติ มีคะแนนการทำ แรงจูงใจได้ ๒. แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ๖. อธบิ ายเทคนคิ ในการพัฒนาการ ๑. สงั เกตพฤติกรรมการร่วม ๑.นสิ ิตมีคะแนนการทำงานกลมุ่ สรา้ งแรงจูงใจตามหลักพุทธศาสนา กจิ กรรม และการนำเสนอหน้าช้ัน ร้อย ได้ ๒. สังเกตการณ์นำเสนอหนา้ ช้ัน ละ ๘๐ เรียน ๒. นิสิตใหค้ วามร่วมมือในการ ๓. แบบสังเกตพฤติกรรม ทำกจิ กรรมกลุม่ ร้อยละ๑๐๐ การทำงานกลุ่ม ๓. นิสิตมีคะแนนการทำ
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๐ ๔. ผลงานกลุ่ม แบบฝกึ หดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๕. แบบฝึกหดั ทา้ ยบท
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๑ บทที่ ๕ การพัฒนาบคุ ลิกภาพ วัตถุประสงคก์ ารเรยี นรปู้ ระจำบท เม่อื ไดศ้ ึกษาเนอื้ หาในบทน้แี ลว้ ผู้เรยี นสามารถ ๑. อธิบายความหมายของบคุ ลกิ ภาพได้ ๒. อธิบายปัจจัยทีม่ ผี ลต่อบุคลิกภาพได้ ๓. อธิบายความสำคญั ของบุคลกิ ภาพได้ ๔. อธิบายทฤษฎีบคุ ลิกภาพได้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา • ความหมายของบุคลิกภาพ • ปจั จยั ท่ีมผี ลตอ่ บุคลิกภาพ • ความสำคัญของบคุ ลิกภาพ • ทฤษฎีบคุ ลกิ ภาพ
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๒ ๗.๑ ความนำ บุคลิกภาพ (personality)คอื ส่ิงทท่ี ำใหแ้ ต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตวั บคุ ลิกภาพ จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามพันธุกรรม ส่ิงแวดล้อม และความพยายามท่ีจะปรับปรุง บุคลิกภาพของแต่ละคน ผู้ท่ีมีบุคลิกภาพท่ีดีย่อมได้เปรียบ เป็นท่ีต้องตาต้องใจแก่ผู้พบเห็น ตลอดจน มักจะประสบผลสำเร็จในการสมัครเข้าทำงานและการประกอบอาชีพ บุคลิกภาพเป็นเร่ืองของ ภาพรวมที่ตัวเราแสดงออกไป ท้ังท่ีรู้ตัวและไม่รู้ตัวโดยมีบุคคลอื่นมองอยู่หรือรู้สึกกับส่ิงท่ีเรา แสดงออกจึงต้องมีการระมัดระวังและตกแต่งเสริมเติมให้บุคลิกภาพของเราย่ิงน่ามอง และเป็นท่ี ประทบั ใจของคนรอบตวั มผี ู้กล่าวว่า “ไม่มีใครที่มีบุคลิกภาพดีไม่ได้และไม่มีใครมีบุคลิกภาพเลวร้ายไปหมดทุกอย่าง” ดังนั้นบุคลิกภาพเรียนได้และแกไ้ ขได้ เราพัฒนาลักษณะเฉพาะของตัวเราใหด้ ีขน้ึ ได้ บุคลิกภาพเปน็ สิ่ง ท่ไี ด้จากประสบการณ์ที่สะสมมา รวมทัง้ สภาพแวดลอ้ มทางสังคมและการอบรมสั่งสอนจากครอบครัว จะแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง คำพูดหรือกิริยามารยาทบุคคลท่ีมีนสิ ัยดีใจเย็น มีความเอ้ือเฟือ้ เผ่ือแผ่ มีมนุษยสัมพันธ์ดี สุภาพอ่อนโยน จะเป็นผู้ท่ีมีบุคลิกภาพดี สุภาพ จะทำให้เกิดความม่ันใจในตนเอง อยู่ในสังคมอย่างเป็นสุขได้รับการยอมรับจากคนในสังคม จะเกิดความภาคภูมิใจในศักด์ิศรีของตน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นผ้ทู ี่กิรยิ ามารยาทไม่สภุ าพออ่ นโยน จิตใจแคบ ไม่มีความเอ้ือเฟ้ือต่อผู้อ่ืน ไม่ มมี นุษยสมั พันธ์กับผู้อื่น จะไม่ได้รับการยอมรบั จากคนในสังคม และทำให้ขาดความมั่นใจในตนเองใน ที่สุด ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพ มีความสำคัญอย่างย่ิงที่จะช่วยทำให้บุคคลประสบ ความสำเรจ็ หรือความล้มเหลวในอาชีพได้ บุคลิกภาพจึงส่งผลต่อ “ความสำเร็จ” และ “ความล้มเหลว” ของตนเองและองค์กร เพราะ บคุ คลทีม่ ีความสามารถและตำแหนง่ สงู ย่อมต้องทำงานรว่ มกับคนอน่ื ๆ ได้ สามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้ ที่ติดต่อด้วยรู้สึกพอใจ เกิดความนิยมชมชอบ รู้สึกประทับใจ ยินดีร่วมมือด้วยความเต็มใจ ก็จะทำให้ การทำงานรว่ มกันประสบความสำเร็จ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เกิดประโยชน์ร่วมกันต่อตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กร ดงั นั้นการทีบ่ คุ คลจะไดร้ ับการยอมรบั นับถอื การสนบั สนนุ ความไวว้ างใจและความประทบั ใจ จากผู้อ่ืน ควรแสดงบุคลิกภาพท่ีดีและเหมาะสมให้ผู้อ่ืนเห็น ซ่ึงประกอบไปด้วยรอยยิ้มท่ีอบอุ่น จิตวิทยาดี อารมณ์คงท่ี คำพูดท่ีจริงใจ การยืน การเดิน การน่ัง การวางท่าทีให้ดูเป็นธรรมชาติ เพราะบุคลิกมีอทิ ธพิ ลต่อความรสู้ ึกของผทู้ ่ีพบเห็นเปน็ อย่างยิ่ง ๗.๒ ความหมายของบคุ ลิกภาพ บุคลิกภาพ หรือ ภาษาอังกฤษ “Personality” มีรากศัพทมาจากภาษาลาตินวา “Persona” ท่ีแปลวา “หนากาก” ซึ่งตัวละครคลาสสิกของกรีกใชสวมเวลาจะออกแสดง ตัวละคร แตล่ ะตัวต่างก็มี หนากากท่ีจะตอ้ งสวมใส หรอื มีบทบาทท่จี ะตองแสดง อาจกลาวไดวาหนากากเปนตัว กําหนดรากฐาน สําคญั ของบุคลิกภาพของแตละตัวละคร
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๓ บคุ ลกิ ภาพ (Personality) เดมิ เคยใช้คำว่า บุคลิกลักษณะ หมายถึง ลักษณะของบุคคล ทำ ใหค้ วามหมายแคบไป คำวา่ ลักษณะ เนน้ ไปที่ รูปร่าง หน้าตา ทา่ ทางภายนอกมากกว่า แต่จริง ๆ แล้วบคุ ลกิ ภาพยงั มีความหมายรวมถึงสงิ่ ทไ่ี มส่ ามารถมองเห็นได้ เช่น สติปัญญา และนิสัยใจคอ แต่ ปัจจบุ นั นยิ มใชท้ วั่ ไปว่า “บุคลิกภาพ” หรอื เรียกกนั ในบางโอกาสว่า “บคุ ลิก” นน่ั เอง๑ บุคลิกภาพ มาจากคำว่า Person ซ่ึงมาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า Persona หมายถึง หน้ากากที่ตัวละครสวมเล่นละครหรือแสดงบนเวทีในสมัยกรีกโบราณ เพื่อแสดงไปตามบทบาทที่ถูก กำหนด คำว่าบุคลกิ ภาพเปน็ คำที่ไดร้ บั การกล่าวถึงและปรากฏอยู่ท่ัวไป บุคลิกภาพในความหมายเชิงวิชาการ ไดมีนักจิตวิทยาและนักวิชาการนำเสนอไวมากมาย ซ่ึง แตละคนก็นิยามตางกนั ออกไปตามแนวความคิด มุมมองท่ีตนเชอ่ื ถือ ฮิลการด๒ กลาววา บุคลิกภาพ คือ ผลรวมของลักษณะตางๆ ของแต่ละบุคคล ซึ่งการแสดง พฤตกิ รรมตาง ๆ กค็ อื ผลรวมของการปรบั ตัวตอสภาพแวดลอมของบคุ คลนน้ั ออลพอรท๓ ไดกลาวถึงบคุ ลิกภาพวา เปนการจดั ระเบียบในการเปล่ียนแปลงของแตละบคุ คล ซ่งึ เก่ียวกบั ระบบรางกายและจิตใจ ซ่งึ นําไปสูการ ปรบั ตวั ของบุคคลใหเขากับโลกภายนอก กิลฟอรด๔ กลาววาบุคลิกภาพเปน เอกลักษณท่ีแสดงออกถึงลักษณะของแตละบุคคล โดย กําหนดแผนการเกี่ยวกบั การแสดงปฏกิ ริ ยิ าตอ สภาพแวดลอม แคทแทล๕ กลาววา บุคลิกภาพคือ ส่ิงที่ชวยใหสามารถทํานายไดวาใน สถานการณท่ีเกิดข้ึน บุคคลจะแสดงพฤติกรรมอยางไร และบุคลิกภาพจะเก่ียวของกับพฤติกรรมทุกชนิด ท้ังพฤติกรรม ภายนอกและพฤติกรรมภายใน ซึ่งพฤติกรรมภายใน แคทแทลเรียกอีกอยางหนึ่งวาลักษณะนิสัย (Trait) นอลล์๖ ให้ความหมายไว้วา่ บคุ ลกิ ภาพ หมายถึง ลักษณะทุกอยา่ งในตัวบุคคลซึ่งเป็นผลรวม ของอุปนสิ ัยและพฤติกรรม บุคลิกภาพน้นั บอกใหท้ ราบไดว้ า่ คนน้นั คิดอะไรและร้สู กึ อย่างไร ๑ เดโช สวนานนท์, พมิ พลกั ษณ,์ กรงุ เทพมหานคร : โอเดยี นสโตร์, ๒๕๑๘, หนา้ ๒๓. ๒ Hilgard, Introduction to Psychology, New York: Harcourt, Brace and World Inc. 1962, p.447. ๓ Allport, 1995 อางใน สรุ างค โควตระกลู , จติ วทิ ยาการศึกษา, พิมพค์ รัง้ ท่ี ๓. กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, ๒๕๓๗, หนา้ ๑๙. ๔ Guilford, 1975 อางใน วัฒนา พัชราวนชิ , หลกั การแนะแนว, กรงุ เทพมหานคร: หน่วยศกึ ษานเิ ทศก์ กรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธกิ าร, ๒๕๓๑, หน้า ๘๓ -๘๔. ๕ Cattell, R.B., Personality : A Systematic Theoretical and Factual Study, New York : McGrew Hill, 1977, p,261. ๖ Noll, Victor H., Introduction to Educational Measurement. 2d ed. Boston :Houghton Miflin. 1951, p,26.
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๔ สมิธ ซาราสันและซาราสัน๗ กล่าวถึงบคุ ลิกภาพวา่ หมายถึง การรบั รู้พฤติกรรมรวมทัง้ หมดของบุคคลใดบุคคลหนึง่ ทั้งในสิ่งที่มองเหน็ ได้ และสงิ่ ท่ีมองไม่ เห็นซ่งึ จะทำใหบ้ คุ คลอนื่ สามารถทจ่ี ะเข้าใจและแยกแยะความแตกต่างของบุคคลนัน้ จากบุคคลอน่ื ได้ ฟิลลิป จี. ซิมบาร์โด และฟลอยด์ แอล.รูช๘ อธิบายว่าบุคลิกภาพเป็นผลรวมของลักษณะเชิง จิตวิทยาของบุคคลแต่ละคน มีผลต่อการแสดงออกซ่ึงพฤติกรรมหลากหลายของบุคคลน้ัน ทั้งส่วนท่ี เป็นลักษณะภายนอกท่ีสังเกตได้ง่าย และพฤติกรรมภายในที่สังเกตได้ยาก ลักษณะท่ีหลากหลาย ดงั กลา่ วส่งผลใหบ้ ุคคลแสดงออกตา่ งกันในแต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์๙ ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพเป็นลักษณะนิสัย (Traits) ท่ีรวมกัน เป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลและเป็นสิ่งที่ย้ำให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่ง พิจารณาได้จากรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลนั้นท่ีแสดงออกหรือตอบสนอง (Interaction) ต่อ สิ่งแวดล้อม นิภา นิธยายน๑๐ ได้ให้คำจำกดั ความของบคุ ลิกภาพวา่ ครอบคลมุ ความหมาย ๒ ประการ คอื ๑. เป็นความหมายที่แสดงถึงทักษะทางสังคมหรือความคล่องตัว เป็นความสามารถในการ ตอบสนองกบั บุคคลต่าง ๆ ในสงิ่ แวดลอ้ มทแ่ี ตกต่างกนั ไป ในความหมายนี้บคุ ลิกภาพสามารถฝกึ ฝนได้ ๒. พิจารณาบุคลิกภาพในลักษณะเป็นส่ิงที่ติดตัวมาและแสดงออก หรือสร้างความรู้สึก ประทับใจกับบุคคลอน่ื ท่ีเขาติดต่อด้วย ซึง่ บคุ คลที่ติดต่อดว้ ยจะมีความคิดเห็นต่อบคุ คลน้ันในลักษณะ ต่าง ๆ เช่น บุคลิกภาพก้าวร้าว (Aggressive Personality) บุคลิกภาพยอมตามผู้อ่ืน (Submissive Personality) กระทรวงศึกษาธิการ๑๑ ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนท่ีทำ ใหเ้ รามคี วามแตกต่างจากคนอ่ืน บุคลิกภาพ หมายถึง การผสมผสานคุณลักษณะภายนอก เชน รูปรางหนาตา กริยาทาทาง การวางตัว พฤตกิ รรมตาง ๆ กบั คุณลักษณะภายใน เชน ความคดิ ความเชื่อ ทัศนคติ คานิยม อารมณ ท่ีมาหลอมรวมกนั เปนแบบอยางเฉพาะของบุคคล ซ่งึ ทาํ ใหแตละคนมบี ุคลกิ ภาพทตี่ างกนั ออกไป จนมี ลกั ษณะเปนเอกลักษณเฉพาะตน ๗ Smith R.E., Sarason, I.G. and Sarason, B.R. (1982). Psychology : The Frontiers. 1982, p.412. ๘ ฟิลลปิ จี. ซิมบารโ์ ด และฟลอยด์ แอล.รชู (Zimbardo and Ruch ๑๙๘๐ : ๒๙๒) ๙ เชดิ ศักด์ิ โฆวาสินธุ์, การวัดทศั นคติและบุคลิกภาพ, สำนกั ทดสอบทางการศึกษาและ จิตวทิ ยา มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ ประสานมติ ร, ๒๕๒๐, หน้า ๓. ๑๐ นิภา นธิ ยายน, การปรับตัวและบุคลิกภาพ, กรงุ เทพมหานคร: โอเอสพรนิ้ ตง้ิ ส,์ ๒๕๓๐, หนา้ ๒๗. ๑๑ กระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๓๐)
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๕ บุคลิกภาพของแต่ละคนจะเป็นส่ิงประจำตัวของคนคนน้ัน ท่ีทำให้แตกต่างจากคนอ่ืนและมี หลายส่ิงหลายอย่างท่ีจะประกอบกันทำให้คนแต่ละคนมีบุคลิกภาพเป็นของตัวเอง ทั้งส่วนที่มองเห็น จากภายนอก ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทางต่าง ๆ และท่ีมองไม่เห็น เช่น ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ เปน็ ต้น ดังนั้น บุคลิกภาพจึงเปนลักษณะเฉพาะตัวบุคคล ไมมีใครในโลกท่ีมีบุคลิกภาพเหมือนกัน แมแตคูแฝดที่เกิดจากไข และสเปรมเดยี วกนั กม็ บี ุคลกิ ภาพที่แตกตางกัน ๗.๓ ปจจัยทม่ี ีอิทธิพลตอบคุ ลกิ ภาพ บคุ ลกิ ภาพของคนเราจะเปนอยางไรน้ันข้นึ อยูกับปจจยั ๒ ประการ คือ ๑. พันธุกรรม ๒. สภาพแวดลอม ท่ีมีอิทธิพลต่อการเกิดบุคลิกภาพของมนุษย์ อันได้แก่ พันธุกรรม และส่งิ แวดลอ้ ม ๑. พันธุกรรม หมายถึง สิ่งที่ถายทอดมาจากบรรพบุรุษ และเปนปจจัยที่สงผลในการกําหนด พ้ืนฐานของบุคลิกภาพในขั้นตนท่ีคอนขางชัดเจน อันไดแก รูปราง ลักษณะของสีผิว สีผม สีตา ลักษณะ ของโครงกระดูก โครงสรางของจมูก ปาก นิ้วมือ สัดสวน ความแข็งแรงของรางกาย และ กลามเนื้อ กลุมเลือด เพศและลักษณะประจําเพศ โรคตาง ๆ รวมถึงเชาวนปญญาและความถนัด เป็นส่ิงที่อยู่นอกเหนือการควบคุมใด ๆ ทั้งสิ้น บุคคลได้รับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์โดยผ่านทางยีน (Genes) ดว้ ยวธิ กี ารสบื พนั ธจุ์ ากบรรพบุรษุ มาสลู่ ูกหลาน ๒. สภาพแวดลอม หมายถึง สิ่งตางๆ ท่ีอยูรอบตัวเราไมวาจะเปนกลุมคน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมตางๆ คานิยม ความเช่อื ทัศนคติ คําสง่ั สอน การอบรมเล้ียงดู ฯลฯ ที่บุคคลไดรับ ซ่ึงจะเปนปจจัยที่สงผลตอการปรงุ แตงพ้ืนฐานของบุคลิกภาพที่ไดมาจากพันธุกรรมใหดีขนึ้ หรือเลวลง สภาพแวดลอมทีม่ อี ทิ ธพิ ลตอบุคลกิ ภาพ แบงเปน ๓ ประเภท คอื ๒.๑ สภาพแวดลอมภายในครรภมารดา ในขณะที่ทารกอยูในครรภมารดาตลอด ระยะเวลา ๙ เดือน น้ัน สุขภาพและการดูแลทารกภายในครรภของมารดาเปนปจจัยหลักที่สงผล ตอพัฒนาการ และ บุคลิกภาพของเด็กภายหลังจากคลอดออกมาแลว ไดแก ภาวะโภชนาการของแม การไดรับรังสี โรค ประจําตัวและโรคที่มารดาไดรบั ขณะต้ังครรภ ยาที่รับประทาน การด่ืมเครื่องดื่มที่ ผสมแอลกอฮอลและ การสูบบุหร่ี อายุของแม ภาวะหมูเลือดท่ีเปน Rh factor อารมณของมารดา และภาวะการณมบี ุตรหลายคน ๒.๒ ส่ิงแวดลอมขณะคลอด เมื่อทารกครบกําหนดคลอดแลว ในขณะทาํ คลอดทารก อาจไดรับ ความกระทบกระเทือนจากเครอ่ื งมือที่ชวยในการทําคลอด ทําใหสมองทารกไดรับอันตราย เกดิ ภาวะสมอง ขาดออกซเิ จน หรอื การติดเช้ือระหวางทําคลอดซ่ึงจะสงผลตอบคุ ลิกภาพในภายหลัง ๒.๓ ส่ิงแวดลอมหลังคลอด เมื่อทารกคลอดออกจากครรภมารดาแลว ทารกตอง เรียนรูและ ปรับตวั ตอส่ิงแวดลอมที่ตนเขาไปเกี่ยวของ ซง่ึ จะกลายมาเปนประสบการณอยางหนึง่ ของ ชีวติ ที่มอี ิทธพิ ลตอบุคลกิ ภาพ ประสบการณของชวี ิตแบงเปน ๒ ประเภท คอื
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๖ ก. ประสบการณรวม (Common Experience) คือ ประสบการณธรรมดา ทัว่ ๆ ไป ท่คี นในสังคมไดรบั เหมอื นๆ กนั ไดแก - ขนมธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เด็กจะถูกหลอหลอมใหมี บุคลิกภาพตาม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมภายในสังคมของเขาต้ังแตแรกเร่ิมของชีวิต ไมวาจะเปนแนวความ - คิด ทศั นคติ มารยาทในสงั คม การแสดงออก ตลอดจนการดาํ เนินชีวิตใน ลักษณะตาง ๆ อกี มากมาย เชน ไมควรแตงกายดวยชดุ สีดําเม่ือไปงานมงคล คนนับถอื ศาสนาอสิ ลาม จะทําละมาดวันละ ๕ ครั้ง คนนบั ถอื ศาสนาพุทธจะนยิ มทําบุญตกั บาตร สวดมนตไหวพระ ตองกลา หาญเขมแขง็ - บทบาทตามเพศ เชน ผูหญงิ ไทยตองรักนวลสงวนตวั มีความออนหวาน ชายไทย - ประสบการณในบทบาทอาชพี ลักษณะงาน เชน เปนครูอาจารยตองใผหา ความรู มเี มตตาตอลูกศษิ ย เปนแพทยพยาบาลตองมจี ิตใจเมตตาตอคนไข รักษาดวยความจริงใจไม รังเกียจ - สภาพถิ่นที่อยูอาศัย หมายถึง ดินฟาอากาศ สภาพทางภูมิศาสตร ของแตละทองถ่ินจะมีผลทําใหบุคคลมีนิสัยใจคอในการดําเนินชีวิตตางกัน มีความขยันหม่ันเพียร ความอดทน แตกตางกัน เชน คนไทยในภาคใตพูดเร็วชอบทานอาหารรสจัด รักพวกพอง คนไทยใน ภาคเหนือพูดจา ไพเราะแตมลี ักษณะเอื้อนคําทาํ ใหดชู า ใจเย็น ข. ประสบการณเฉพาะ (Unique Experience) คือ ประสบการณท่ีแตละ คนไดรับมา โดยผูอน่ื ไมอาจจะประสบเชนเดยี วกันกบั เรา เชน - การอบรมเลี้ยงดู การอบรมเล้ียงดูของบิดามารดาในแตละครอบครัว จะแตกตางกันไปตามความเชื่อและความปรารถนาของบิดามารดา ซ่ึงมีอิทธิพลตอพฤติกรรมและ บคุ ลิกภาพของเด็กที่ แตกตางกนั เชน บานท่ีเลย้ี งดแู บบประคบประหงบมากเกินไป จะทําใหเด็กขาด ความรับผิดชอบ อดทนนอย เอาแตใจตนเอง และมักพ่ึงตนเองไมไดเ้ ปนตน - สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เปนสิ่งซ่ึงทําใหโอกาสของบุคคลไม เทาเทียมกัน มีผลทําใหเกดิ ความแตกตางทั้งดานความคิด ความเช่ือ ทัศนคติ ตลอดจนการแสดงออก เชน เด็กท่ีทาง บานมีฐานะรํ่ารวยมักจะชวยเหลือตนเองไมเกง ใชจายฟุมเฟอย ขาดความอดทน สวนเด็กที่ทางบานมี ฐานะยากจนมักจะมีความอดทน รูจกั ตอสู เห็นคุณคาของเงนิ - การรับรูตนเองจากผูอ่ืน เรารับรูตนเองไดจากผูอ่ืนบอก หรือผูอื่นปฏิบัติ ตอเรา เชน การท่ีบคุ คลรอบขางแสดงออกหรือบอกวาเราเปนคนโง เราก็จะเกิดการดูถกู ตนเอง ไมเช่ือ และไมใชความสามารถของตนเองท่ีมีอยูใหเต็มท่ี เปนผลทําใหเกิดความลมเหลวบอยๆ จึงทําใหเกิด การตอกย้ำความรูสึกวาตนเองเปนคนโงจริงๆ ดงั น้ัน การแสดงออกกจ็ ะเปนไปตามการรับรูของตนเอง และกลายมาเปนสวนหน่งึ ของบุคลิกภาพ จะเห็นไดวา ทั้งพันธุกรรมและสภาพแวดลอมตางมีบทบาทสําคัญในการหลอหลอม บุคลิกภาพ ของคนแตละคนใหมีความแตกตางกัน โดยสิ่งท่ีถายทอดผานทางพันธุกรรมเปนรากฐาน
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๗ สําคัญในการกําหนดบุคลิกภาพ และอาศัยสภาพแวดลอมเปนตัวขัดเกลาพัฒนา และเสริมสราง บุคลกิ ภาพใหเปนไปในแนวทางท่ีสังคมตองการ ๗.๔ ความสำคัญของบุคลกิ ภาพ บุคลิกภาพมีความสําคญั ตอการดํารงชวี ิตของมนษุ ยในสังคมทุกยคุ ทกุ สมัยโดยเฉพาะอยางย่ิง ในสังคมปจจุบันที่มีการแขงขันกันสูงขึ้น บุคลิกภาพจึงเปรียบเสมือนใบเบิกทางท่ีจะนําเราไป สูความสาํ เร็จ ตามท่คี าดหวังไว ดังนนั้ บุคลิกภาพจึงมคี วามสําคัญ ดงั นี้ ๑) บคุ ลิกภาพมผี ลตอการยอมรับและการปรบั ตัวใหเขากับคนอืน่ ๆ บุคลิกภาพมีสวนสําคัญในการชวยใหบุคคลสามารถปรับตัวเขากับบุคคลอ่ืนๆ และสราง สัมพันธภาพที่ดีตอกันได เชน คนที่มีบุคลิกภาพเอ้ือเฟอเผ่ือแผ มีน้ำใจ อดทน เสียสละ รูจักมารยาท กย็ อมจะเปนทชี่ ่นื ชอบและยอมรบั จากคนท่วั ๆ ไป ดังน้ัน การที่จะปรบั ตวั ใหเขากบั คนอนื่ ๆ ยอมทําได งาย ๒) บุคลกิ ภาพมผี ลตอความสําเร็จในชีวิต ผูท่ีมีบุคลิกภาพดียอมไดเปรียบคนอ่ืนๆ เสมอ ไมวาจะเปนการเรียน การทํางาน การเลือก คูครอง การเลือกผูนํา ฯลฯ เพราะจะทําใหเกิดการยอมรับ เกิดความเช่ือมั่น และศรัทธาจากผูพบเห็น เชน นักศึกษาที่แตงกายดวยเคร่ืองแบบนักศึกษาท่ีถูกตอง ยอมทําใหครูอาจารยเกิดความเอ็นดู รูสึก ว่านักศกึ ษาเปนคนเรยี บรอย นารกั เม่ือนกั ศกึ ษามาขอความชวยเหลือตางๆ มักจะเปนไปโดยงาย ๓) บุคลิกภาพมีผลตอการตระหนักในเอกลักษณ และการยอมรับความแตกตาง ระหวาง บคุ คล เนื่องจากบุคลิกภาพเปนลักษณะเฉพาะของแตละบุคคล จึงชวยใหเราสามารถจดจําและเขาใจ บุคคลแตละคนไดเปนอยางดี ตลอดจนรูวิธีท่ีจะปรับตัวใหเขากับคนเหลานั้นได จึงทําใหเกิดความ สั ม พั น ธ อั น ดี ต อ กั น ใน สั งค ม แ ล ะลั ก ษ ณ ะเฉ พ าะบ า งอ ย างข อ งบุ ค ค ล ส า ม าร ถ เป น ต น แ บ บ ข อ ง บุคลิกภาพที่ดีได เชน ความอดทน ขยัน ซื่อสัตย รับผิดชอบ จึงสมควรไดรับการยกยองและสงเสริม ใหคนรุนหลังไดยึดถือเปนแบบอยาง เพอ่ื เปนมาตรฐานของสังคมอันจะทําใหสังคมนั้นๆ มีประชากรท่ี มีคณุ ภาพ ๗.๕ ทฤษฎบี ุคลกิ ภาพ ศรีเรือน แกวกังวาล๑๒ กลาววา ในวงการจติ วิทยา การศึกษาบุคลิกภาพ คือ การศึกษาความ คงที่ (Consistency) ความซับซอน (Complexity) ความหลากหลาย และความเปนเอกลักษณ เฉพาะตัวของบุคคลและกลุมบุคคล การศึกษาบคุ ลิกภาพทง้ั ในศาสตรจิตวิทยา และศาสตรสาขาอ่ืนๆ มีประวัติความเปนมายาวนาน เพราะความรูเกี่ยวกับบุคลิกภาพมีความสําคัญในวิถีชีวิตของบุคคล ๑๒ ศรเี รอื น แกวกังวาล, จิตวทิ ยาพฒั นาการชวี ิตทุกช่วงวัย เล่ม ๒ วัยร่นุ -วัยสงู อำยุ, พิมพ์ ครง้ั ท่ี ๘ แก้ไขเพม่ิ เติม, กรุงเทพมหานคร : สานกั พมิ พ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕ หน้า ๓๒๐.
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๘ และสังคมในมุมมองอันหลากหลาย สําหรับในศาสตรจิตวิทยา การศึกษาบุคลิกภาพไดเริ่มอยาง จริงจังเมื่อประมาณรอยกวาปมานี้ เน่ืองเพราะความซับซอนและความหลากหลายของบุคลิกภาพ การศกึ ษาดงั กลาวจึงมีคาํ อธบิ ายและขอสรปุ หลากแนวคดิ หลายวธิ ี ซ่ึงจะเรียกในทน่ี ้ีวา “ทฤษฎี” ทฤษฎีท่ีใชอธิบายบุคลิกภาพของมนุษย มีไวมากมาย บางทฤษฎีเนนอิทธิพลของประสบกา รณ ในวัยเด็ก บางทฤษฎีคํานึงถึงอิทธิพลของพันธุกรรมและส่ิงแวดลอม บางทฤษฎีเกิดขึ้นจากการ สังเกต บุคคลที่เขารับการบําบัด (Therapy) หรือผูท่ีมีปญหาทางจิต และบางทฤษฎีเกิดขึ้นจากการ ทดลองใน หองปฏิบัติการณ ซึง่ ในท่ีนี้ขอยกตวั อยางทฤษฎที น่ี าสนใจ ดงั ตอไปนี้ ๗.๕.๑ ทฤษฎีจติ วเิ คราะห (Psychoanalytic Theory ) ผูนําแนวคิดน้ีคือ ซิกมันด ฟรอยด (Sigmund Freud) จิตแพทยชาวเวียนนา ซ่ึงฟรอยด ไดรับการยกยองวาเปนผูริเริ่มศึกษาบุคลิกภาพดวยวิธีการสังเกต โดยการจดบันทึกพฤติกรรมคนไข โรคจิต โรคประสาทในคลินิกแลวนําขอมูลเหลานั้นมาศึกษาตีความแลวต้ังเปนทฤษฎีจิตวิเคราะหขึ้น ทฤษฎีจิตวิเคราะหของฟรอยด มีมุมมองการอธิบายบุคลิกภาพของบุคคลโดยอาศัย สาระสําคัญๆ หลายสวนประกอบกัน ดังน้ัน เพ่ือใหเขาใจพ้ืนฐานของทฤษฎีในการอธิบายถึงบุคลิกภาพ ของบุคคล การศึกษาในบทนี้จึงขอนําเสนอประเด็นเน้ือหาสาระสําคัญ ๔ ประเด็น คือ ระดับการทํางานของจิต โครงสรางบุคลกิ ภาพ ขนั้ พฒั นาการบคุ ลิกภาพ และกลไกปองกนั ทางจติ ก) ระดับการทํางานของจติ (The Levels of Consciousness) ฟอรยด ไดแบงการทํางานของจติ เปน ๓ ระดับ คือ ๑. จติ สาํ นกึ (Conscious) เปนสภาวะจิตที่รูสึกตัว มีการรับรูสิ่งตางๆ ตามประสาทสัมผัสท้ัง ๕ วาตนเอง กําลังทําอะไร เห็น และไดยินอะไร รูสึกอยางไร คิดอยางไรในขณะน้ัน เชน ถาครูถามวา คุณกําลังทํา อะไรอยู? นั่งหรือยืน และคุณมีชื่อวาอะไร แนนอนวา คุณยอมตอบคําถามครูไดในทันที เราเรยี ก พฤติกรรมของบคุ คลทีแ่ สดงออกในภาวะที่รูสกึ ตัวเชนน้ีวา เปนพฤติกรรมในระดับจิตสาํ นึก ๒.จติ กอนสาํ นัก (Pre-Conscious) เปนสภาวะจิตของบุคคลที่เก็บสะสมประสบการณบางอยางไว รวมทั้งความรูสึกที่ ไมไดแสดงออก ในทันที เปนสวนของความทรงจําที่เราสามารถเรียกคืนมาไดงาย เพียงแตมีสิ่งกระตุนท่ีเหมาะสม บคุ คลก็จะสามารถระลึก หรือจดจาํ ได เชน ถาครูถามคุณวา เมื่อวานคุณเรียนวิชาอะไร แนนอนหลาย คนคงตอบไมไดในทนั ที ตองขอเวลานกึ บางจึงจะคดิ ออก ๓. จิตไรสาํ นึก (Unconscious) เปนสภาวะของจิตท่ีมีอยู แตเจาตัวไมรูวามี เพราะวาไมรูสึกตัว ระลึกไมได เน่ืองจากเปนระดับของจิตที่บุคคลใชเก็บกดสิ่งท่ีไมตองการ หรือประสบการณที่ทําใหเจ็บปวดไว จน เรารูสึก เหมอื นวาไมเคยมีประสบการณ หรอื ความรูสึกเชนน้นั มากอน ซงึ่ ฟรอยดอธบิ ายวาจิตไรสํานึก ประกอบไปดวย – สัญชาตญาน (Instincts) ซึ่งไดแก สัญชาตญาณแหงการมีชีวิต ซ่ึงแสดงออกมา ในรูปของความตองการทางเพศ (Sex) การแสวงหาความสุขในรูปแบบตางๆ และสัญชาตญาณแหง ความตาย ซึ่งแสดงออกในรปู ของความกาวราวทําลายลาง
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๖๙ –แรงกระตุน (Impluse) ท่ีไมไดรับการยอมรับจากสังคม เชน ความตองการที่ ผิด ศีลธรรม ความเหน็ แกตัวเปนตน ดังน้ัน จิตใจไรสํานึก จึงอัดแนนไปดวยพลังความตองการตางๆ และพลังตัวนี้เปนสาเหตุ สวนใหญที่ผลกั ดนั ใหมนุษยกระทาํ พฤติกรรม ซ่ึงอาจจะสะทอนออกมาในรปู ของความฝน การพูดพล้ัง ปาก การกระทําอะไรอยางเผลอไผลไมรูตัว เชน การเผลอเรียกชื่อคนรักเกาตอหนาคนรักใหมโดยไม ไดตั้งใจ เปนตน ดงั นั้น ฟรอยดจึงใหความสาํ คัญกับจิตไรสาํ นกึ วาเปนสาเหตุหรือตัวกําหนดพฤตกิ รรม สวนใหญของมนุษยมากกวาจิตสํานกึ ฟรอยดไดอุปมาระดับการทํางานของจิตมนุษยวา เหมือนกับภูเขาน้ำแข็ง (Ice Berge) ท่ีลอยอยูในมหาสมุทร กอนน้ำแข็งสวนท่ีโผลพนน้ำข้ึนมาซ่ึงเรามองเห็นได และมีพื้นท่ีอยูนอยนิด เปนสวนของ จิตสํานึก สวนกอนน้ำแข็งระดับปร่ิมน้ำก็เปรียบเสมือนจิตกอนสํานึก และสวนท่ีจมอยู ในมหาสมุทรซึ่งมีพื้นที่ มากท่ีสุดเปนสวนของจิตไรสํานึกที่มีอํานาจตอพฤติกรรมของมนุษยมากที่สุด เนื่องจากเปนแหลงรวมของสัญชาตญาณความปรารถนา และแรงกระตุนตางๆ ข) โครงสรางบุคลิกภาพ (Personality Structure) ฟรอยด อธบิ ายวา บุคลิกภาพของเราประกอบไปดวยโครงสราง ๓ ระบบ คอื ๑. อิด (ID) เปนโครงสรางบุคลิกภาพตัวแรกเกิดมาพรอมกับการเกิดของมนุษย เปนระบบ ด้ังเดิมของบุคลิกภาพ เปนแหลงของสัญชาตญาณความตองการทางเพศ และความกาวราว จึงทําให มนุษยทําทุกอยางเพื่อแสวงหาความพึงพอใจ และการมีชีวิตอยูรอดของตนเอง โดยไมคํานึงถึงขอเท็จ จริง หรือความชอบธรรม ดังน้ัน “อิด” จึงไดรับสมญาวา ทําตามหลักแหงความพึงพอใจ (Pleasure principle) ในการทําตามหลกั ของความพงึ พอใจนั้น อิด ไดสรางกระบวนการขน้ึ มา ๒ กระบวนการ คอื - Reflex action เปนกระบวนการธรรมชาติท่ีตดิ ตัวมาต้ังแตเกดิ เชน เวลาฝุนเขาตากจ็ ะยก มอื ขยี้ตา - Primary process เปนกระบวนการลดความตรึงเครยี ดโดยการสรางภาพในใจ เชน คนหวิ ก็จะนึกถึงภาพของอาหารทีต่ นเองอยากรับประทาน จากกระบวนการทั้ง ๒ ท่ีอิดสรางขึน้ มา ไมมีกระบวนการใดที่สามารถตอบสนองตอ ความพึง พอใจ หรือชวยลดความตึงเครียดอันเกิดจากความตองการของอิดได ดังนั้น อิดจึงตองแบง พลังงาน สวนหนง่ึ ในการสรางโครงสรางบุคลิกภาพตัวที่สอง คือ อีโก ๒. อีโก (ego) เปนโครงสรางของบุคลิกภาพตัวท่ีสองท่ีพัฒนามาจากอิด ทําหนาท่ีในการปรับ สัญชาตญาณ หรือความตองการใหเขากับความเปนจริงต้ังแตวัยเด็ก เพื่อตอบสนองความตองการ ของอิด และไมควรทําใหอิดคับแคน หรือขัดเขือง ดังน้ัน อีโกจึงไดรับสมญาวา ทําตามหลักของความ เปนจรงิ เปนเหตุเปนผล (reality principle) อีโกเปนผูบริหารบุคลิกภาพท่ีคอยไกลเกล่ียขอขัดแยงของ Id และ Supperego อีก ทง้ั ยังเปนตัวตดั สนิ วาควรจะสนองความตองการของสัญชาตญาณตวั ใดดวยวธิ ไี หน
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๐ ๓. ซูเปอรอีโก (Superego) เปนโครงสรางบุคลิกภาพตัวสุดทายพัฒนาถัดมาจาก อีโก โดยกระบวนการการ เรียนรู้ของมนุษยในสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ เก่ียวกับประเพณี และศีลธรรม ซูเปอรอีโก คือ จติ สาํ นกึ แหงคุณธรรม ความดี ความรูจักผดิ ชอบชว่ั ดี ซเู ปอรอโี กประกอบไปดวยพลงั ๒ ระบบ คือ - มโนธรรม (Ego Ideal) เปนความรูสึกทเี่ ห็นวาส่ิงใดชอบ สิง่ ใดควร สนับสนนุ ใหมีพฤติกรรม ท่ดี ี - มโนสํานึก (Conscious) เปนความรูสึกผิด รูสึกบาปตอสิ่งท่ีจะทําหรือสิ่งท่ีทําไปแลว คอยบอกใหหลกี เลยี่ งพฤติกรรมทไี่ มพึงปรารถนา โครงสรางบุคลกิ ภาพทงั้ ๓ จะทํางานไมแยกจากกัน โครงสรางบุคลิกภาพตวั ใดมี อิทธพิ ลมาก บุคคลก็จะมีบุคลิกภาพโนมเอียงไปในทิศทางน้ัน เชน ผูท่ีมีอิดสูงจะมีลักษณะพฤติกรรมท่ีทําตาม อารมณและความตองการของตนเองเปนหลัก ขาดความยับย้ังชางใจ ผูที่มีอีโกสูงจะมีลักษณะเปน เหตุเปนผลทําตามหลักของความเปนจริงและผูท่ีมีซูเปอรอีโกสูงจะมีลักษณะพฤติกรรมที่เครงครัดตอ ขนมธรรมเนยี มประเพณี มมี าตรฐานทางสังคมสงู ค) ขัน้ พฒั นาการทางบุคลกิ ภาพ ฟรอยดเปนนักจิตวิทยาที่ใหความสําคัญกับพัฒนาการของบุคลิกภาพ โดยเนนวา บคุ ลกิ ภาพของมนุษยไดพัฒนามาจากประสบการณในวยั เดก็ ตงั้ แตแรกเกิดจนถึง ๕ ขวบ ซ่ึงถือวาเปน ระยะวิกฤติของพัฒนาการ และฟรอยดยังเชื่อวามนุษยมีความตองการทางรางกายอันเปนความตอง การตาม ธรรมชาติของสัตวโลก โดยเฉพาะความตองการทางเพศ จัดเปนพลังชีวิต (Libido) ที่กระตุนใหมนุษย แสวงหาความสุขความพอใจ จากสวนตางๆ ของรางกาย (Erogenous Zone) ที่แตกตางไปตามวยั และ พัฒนาไปเปนขนั้ ตอนตามลําดบั เรมิ่ จากแรกเกิดจนสิน้ สดุ ในวัยรุน พฒั นาการ นีฟ้ รอยดเรียกวา “ Psychosexual development ” บุคคลใดพัฒนาไปตามข้ันตอนดังกลาวดวยดี ก็จะทําใหบุคคลน้ันมีพัฒนาการ ทาง บุคลิกภาพที่สมบูรณ หากไมเปนไปดังกลาวก็จะเกิดสภาวะ “ติดของอยูในข้ันนั้น” (Fixation) อาจเปนการติดของอยูในข้ันใดข้ันหน่ึงหรือหลายข้ันก็ได ผูใดติดของอยูในข้ันใดวัยใด ก็จะยังคง แสวงหาความพอใจในข้ันท่ีติดของอยูตอไปแมวาจะผานวัยนั้นไปแลว สภาพ “ติดของอยูในข้นั นั้นๆ” มีผลตอการพฒั นาการดานบุคลิกภาพในแงลบ ฟรอยดไดแบงพัฒนาการทางบคุ ลกิ ภาพออกเปน ๕ ขั้น คือ ๑. ข้ันปาก (Oral Stage) ชวงน้ีเริ่มต้ังแตแรกเกิดถึงประมาณ ๒ ขวบ เปนชวง ท่ี Libido มารุมเราอยูที่บริเวณปาก จึงทําใหทารกมีความสุข และความพึงพอใจกับการใชปาก ทํากิจกรรมตาง ๆ เชน การดูดนม การกัด การสัมผัสส่ิงแปลกใหมดวยปาก ฯลฯ เพ่ือตอบสนองพลัง Libido ถาทารก ไดรับการตอบสนองบริเวณปากอยางเต็มที่ เม่ือโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แตถาทารกไมไดรับการ ตอบสนองดวยการใชปากทํากิจกรรมอยางเต็มที่ เชน การหยานมเร็วเกินไป ถกู หาม เมือ่ นาํ ของเขาปากจะ นําไปสูภาวะติดของในข้ันปาก (Oral Fixation) สงผลใหเม่ือเปนผูใหญ มักมีบุคลิกภาพที่แสวงหา ความสุขโดยการใชปาก (Oral personality) เชน ชอบกินจุบจิบ ชอบนินทา ชอบพดู จาเยาะเยยถากถางผูอื่น หรอื ตดิ บหุ รี่ ดูดนว้ิ เปนตน
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๑ ๒. ข้ันทวารหนัก (Anal Stage) อยูในชวงประมาณ ๑-๓ ขวบ ระยะนี้ Libido มารุมเราอยูท่ีบริเวณทวารหนัก เด็กตองการไดรับการตอบสนองบริเวณน้ีมากที่สุด โดย เฉพาะการ เลนที่สัมผัสทางทวารหนัก ตลอดจนความสุขจากการไดควบคุมกลามเน้ือ เปดปดของทวารหนัก ในการขบั ถาย ฟรอยดใหขอคิดวา ระยะน้ีมักเกิดความขัดแยงระหวางพอแมกับเด็กในเร่ืองการฝกหัด การขับถาย ถาผูใหญ ท่ีเขาใจจะรูจักผอนปรน คอยๆ ฝกเด็กใหรูจักขับถายไดดวยวิธีที่นุมนวล พัฒนาการในข้ันนี้ก็ไมมีปญหา เมื่อโตขึ้นจะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แตถาเด็กไมพอใจกับการฝกหัด เนื่องจากผูใหญบังคับเด็กในการฝกหัดขับถายมากเกินไป เชน ตองขับถายเปนเวลา ถาไมทําตาม จะถูกลงโทษ จะนําไปสูภาวะติดของใน ข้ันทวารหนัก (Anal Fixation) สงผลใหเกิดบุคลิกภาพ เมอื่ โตเปนผูใหญ (Anal personality) ดงั นี้ - บุคลิกภาพแบบสมบูรณ (Perfectionist) คือ เปนคนระเบียบ จูจี้ พถิ ีพิถัน ย้ำคดิ ยำ้ ทํา กงั วลมากเกนิ ไป โดยเฉพาะเรอ่ื งความสะอาด - บุคลิกภาพแบบอันธพาล (Anti social) คือ เปนคนไมยอมคนชอบคัดคน คานยิ มหรือระเบียบแบบแผนทวี่ างไว ชอบใชพละกาํ ลัง โหดเหี้ยม เจาอารมณ ไมมีระเบยี บนอกจากน้ี ยังพบวา คนท่ตี ดิ ของในพฒั นาการขั้นนี้ ยังเปนคนขเี้ หนียวและเปนนกั สะสมสง่ิ ของตางๆ อีกดวย ๓. ข้ันอวัยวะเพศ (Phallic Stage) จะอยูในชวง ๓ - ๕ ขวบ ระยะนี้ Libido มารุมเราอยูท่ีบริเวณอวัยวะเพศ เด็กจะมีความพึงพอใจกับกิจกรรมที่เกี่ยวของกับอวัยวะเพศ เชน เลนอวัยวะเพศของตน ตลอดจนสนใจเกี่ยวกับความแตกตางของอวยั วะเพศชายและเพศหญงิ ในระยะนจี้ ะเกดิ เหตุการณสำคัญขึ้นกับเดก็ คอื เดก็ จะมคี วามรูสึกรัก ผกู พัน และ อยากครอบครองพอแมเพศตรงขามกับตน ทำใหเกิดปม (Complex) ขึ้นมาในใจ เชน เด็กหญิง รักและติด พอ หวงแหนพอแทนแม เด็กผูหญิงจะรูสึกอิจฉาแม เพราะเรียนรูวา พอรักแม จึงเกิดปม อิจฉาข้ึน เรียกวา “อิเร็คตรา” (Electra Complex) ในทํานองเดียวกัน เด็กชายก็จะรักและติดแม หวงแหนแม เด็กชายจะ รูสึกอิจฉาพอ เพราะเรียนรูวาแมรักพอ เกิดปมอิจฉาข้ึน เรียกวา “เอดิปุส” (Oedipus Complex) วิธีแกปมคือเด็กจะถอดแบบ (Identify) พฤติกรรม คานิยม ฯลฯ จากพอแมเพศ เดยี วกับตน ท้ังน้ีก็เพ่ือใหพอแมเพศตรงขามรักและสนใจตน ซ่ึงถาเด็กสามารถแกปม ดังกลาว ได เด็กก็จะมีบุคลิกภาพท่ีเหมาะสมกับเพศ ในทางตรงขามถาแกปมไมไดจะนําไปสูภาวะ ติดของในขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Fixation) ซ่ึงจะสงผลใหเกิดปญหาพฤติกรรมเบี่ยงแบนทางเพศ (เกย ทอม ตุด ด้)ี ซงึ่ ฟรอยด เรียกวา Phallic Personality ๔. ขั้นแฝง (Latency Stage) อยูในชวง ๕–๑๒ ขวบ ระยะนี้ Libido ไมมีบรเิ วณใด ในรางกายเปนบริเวณแหงความสุข ความพึงพอใจ เปนชวงอารมณแฝง เด็กจะเก็บกดความพึงพอใจ ทางเพศไว และหันไปแสวงหาความพึงพอใจจากการมีปฏิสัมพันธกับผูคนรอบตัว เพื่อนรวมวัย และ สนใจกจิ กรรมดานอ่นื ๆ เชน การเลน การเรยี น เปนตน ๕. ข้ันวัยรุน (Genital Stage) อยูในชวง ๑๒ - ๒๐ ป เปนระยะท่ีเด็กเขาสูวัยรุน และเริ่มเปนผูใหญ การเจริญเติบโตทางเพศขั้นที่ ๒ บรรลุวุฒิภาวะและทํางานอยางสมบูรณเต็มที่ จึงทําใหเกิดการตื่นตัวทางเพศ เด็กหญิงเร่ิมสนใจเด็กชาย และเด็กชายเริ่มสนใจเด็กหญิง มีการสราง
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๒ ความสัมพันธระหวางเพศอยางแทจริง พฤติกรรมทางเพศของบุคคลในวัยนี้ จึงมีลักษณะที่บงบอกถึง วุฒิภาวะทาง อารมณหรือความสามารถในการปรับตัวใหเขากับสิ่งแวดลอมไดอยางเต็มที่ และ ขณะเดยี วกนั ก็พยายาม ประพฤติตัวใหเหมาะสมกบั บทบาททางเพศ ฟรอยดย้ำวา เมื่อเด็กพัฒนาถึงข้ันท่ี ๕ แลว มิไดหมายความวาเด็กจะเลิกแสวงหา ความพึงพอใจจากสวนตางๆ ของรงกาย เชน ปาก หรือทวารหนัก ดังเชนท่ีผานมาในวัยแรกๆ เด็กยัง อาจ แสวงหาความสุขแบบนั้นตอไป แตจะลดความติดใจและความเขมขนลง ผูท่ีพัฒนาตามขั้นไมสม บรู ณก็ จะเกดิ ภาวะตดิ ของในขัน้ นัน้ ๆ ซึง่ สงผลตอบคุ ลิกภาพ ฟรอยดกลาววา บุคลกิ ภาพท่ีดี คอื การประสมประสานการไดรับความพอใจในการ ตอบสนองแรงกระตุนจากสวนตาง ๆ ของรางกายเหลานั้น ในอัตราสวนท่เี หมาะสมตามวยั ง) บคุ ลิกภาพกับกลไกปองกันตนเอง ในความเปนจริง พฤติกรรมสวนมากของมนุษยไมไดเกิดจากการทํางานที่สมดุลกัน ของ อิด อีโก ซูเปอรอีโกแตเพียงอยางเดียว บอยครั้งที่โครงสรางบุคลิกภาพท้ัง ๓ ตัว มีภาวะของ ความขัดแยง ทําใหบุคคลเกิดความเครียด (Tension) ความวิตกกังวล (Anxiety) ข้ึน ดังน้ัน เพื่อลด สภาวะความเครียดน้ี อีโกจึงพัฒนาพลังจิตขึ้นมาใชปองกันตนเองอยางไมรูตัวเมื่ออยูภายใต้ ความกดดันสงู หรือไมมที างเลือก ซ่ึงหากใชบอยครั้งเขาจะพัฒนาเปนบุคลิกภาพของตน กลไกปองกัน ตนเองจะมลี กั ษณะที่สําคัญ คอื ๑.กลไกปองกนั ตนเองเกดิ จากการทาํ งานของอโี กในระดับจิตไรสาํ นึก ๒.กลไกปองกนั ตนเองจะปฏเิ สธและบิดเบือนขอเท็จจรงิ ๓.กลไกปองกันตนเองจะเกดิ ข้นึ อยางอตั โนมตั ิ กลไกปองกันทส่ี ําคัญๆ มดี งั นี้ ๑. การเก็บกด (Repression) เปนการเก็บกดประสบการณ ความรูสึกไมสบายใจ หรือความ รูสึกผิดหวัง ความคับของใจ กังวลใจ กลัว ไมอยากนึกถึง ฯลฯ โดยผลักประสบการณ ความรูสึกเหล านีไ้ วในระดบั จติ ไรสาํ นึก ทําใหเราลืมประสบการณ ความรูสึกเหลานัน้ ไป เชน ลืมวันที หมอนัดถอนฟ นเพราะเรากลัวเจ็บ กลไกปองกันตัวประเภทเก็บกดนี้ ถาใชบอย ๆ อาจทําใหเกิดภาวะ โรคจิต โรค ประสาทได ๒. การหาเหตุผลมาอาง (Rationalization) เปนการปรบั ตัวโดยการหาเหตุผลที่ สังคมยอม รบั มาอธบิ ายพฤตกิ รรมตาง ๆ ของตน เพือ่ ใหการกระทําของตนสมเหตุสมผล เขาทาํ นอง “องุนเปร้ียว มะนาวหวาน” – “องุนเปรี้ยว” (Sour grapes reaction) เปนความพยายามที่ทําใหตนเองและ ผูอ่ืนเช่ือวา สิ่งที่ผูอื่นประสบอยูน้ัน (สิ่งท่ีเราตองการ อยากไดมาครอบครอง) ไมดีพอสําหรับเรา เชน เรา เหน็ เพื่อนแตงงานมีครอบครัวแลว และเราก็อยากแตงงานมีครอบครวั เหมือนกับเพ่อื น แตยังหาคู ชวี ติ ไมได เลยมองวาการมีครอบครวั ของเพอ่ื นน้ันเขาทํานอง “มลี ูกกวนตวั มีผวั กวนใจ” – “มะนาวหวาน” (Sweet lemond reaction ) เปนความพยายามท่ีทําใหตนเอง และผูอ่ืนเชอ่ื วา สิ่งที่ตนประสบอยูน้ัน (ส่ิงท่ีเราไมตองการ ไมอยากได ไมอยากมี) ดแี ลว พงึ พอใจแลว สําหรับเรา เชน เราไมอยากเปนคนโสด แตหาคูชีวิตไมได ก็เลยใหเหตุผลวาอยูเปนโสดนะดีแลว
จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๓ ชีวิตอิสระ อยากทําอะไรก็ไดทํา ไมมีภาระผูกพันใหรำคาญใจ ไมตองมาน่ังเจ็บใจ เสียใจเวลาท่ี ทะเลาะกัน ๓. การกลาวโทษผูอื่น (Porjection) เปนการปายความผิดใหแกผูอื่นวาเปนตนเหตุ ของความลมเหลว หรือความคับของใจ ซึ่งจริง ๆ แลวตนเหตุคือตนเอง เขาทํานองสํานวนสุภาษิต “รําไมดี โทษปโทษกลอง” เชน สอบตกก็อางวาเปนเพราะอาจารยสอนไมรูเรื่อง สอนไมดี แตจริงๆ แลวเปนเพราะ ไมต้ังใจเรียน หรือเมื่อประเมินผลงานแลวไมสมควรขึ้นเงินเดือน ก็กลาวโทษหัวหนา งานวามอี คตติ อตน แตจริง ๆ แลว ตนเองทํางานไมมปี ระสทิ ธภิ าพเปนตน ๔. การถดถอย (Regression) เปนการถอยหลัง หรือหนีกลับอยูสภาพอดตี ทเ่ี คยทําใหตนเอง มีความสุข เม่ือพบสถานการณที่กอใหเกิดความคับของใจ โดยแสดงพฤติกรรมท่ีอยูในระดับต่ำ กว าวุฒิภาวะท่ีเปนอยู เชน นายแดงจะดูดนิ้วมือตอนเขานอนทุกคร้ัง จนหลับ ท้ัง ๆ ที่โตจนอายุ ๑๕ ปี แลว ๕. การเปล่ียนแปลงทิศทางหรือเปาหมาย (Displacement) เปนการระบาย อารมณโกรธ หรือความคับของใจท่ีเกิดข้ึนตอตัวแทนท่ีไมไดเปนตนเหตุ เน่ืองจากไมสามารถโจมตี หรือโตตอบ กับเปาหมายที่เปนตนเหตุได เพราะวาถาทําเชนน้ันจะเกิดผลเสียตอตนเอง และสังคมไมยอมรับ เขาทาํ นองหาแพะรับบาป เชน ถกู เจานายดุ ตําหนิ เลยรูสึกโกรธ แตทําอะไรไมได พอกลับมาบานเลย ใส อารมณกับคนรบั ใช ๖. การทําพฤติกรรมตรงขามกับความรูสึก (Reaction Formation) เปนการกลบเกลื่อน สภาวะท่ีแทจริงของตนเองในรูปแบบท่ีตรงกันขาม เขาทํานอง “ปากวา ตาขยิบ” “ปากหวาน กน เปรย้ี ว” “ปากอยาง ใจอยาง” เชน คนท่ชี อบโกงผูอนื่ ก็มกั จะทําตวั เปนคนใจบุญสนุ ทาน ๗. การทดเทิด (Sublimation) หรือ การเปลี่ยนใหเปนท่ียอมรับ เปนการเปล่ียน ความรูสึก หรือแรงผลักดันใหเปนส่ิงท่ีตนเองและสังคมยอมรับได เชน คนท่ีมีแรงกระตุนที่ตองการใหผูอื่น เจ็บปวด (Sadistic–impulse) อาจกลายเปนศัลยแพทย หรือ คนฆาสัตวในโรงงานเปนตน หรือคน ท่ีมีความตองการทางเพศ แตไมสมปรารถนา อาจแสดงออกในรูปการเขียนโคลงกลอน จดหมายรัก เปนตน ๘. การชดเชย (Compensation) เปนการลบลางปมดอย ความบกพรอง หรือ จุดออนของ ตนเองดวยการสรางปมเดนมาชดเชย ซึ่งการสรางปมเดนนี้อาจเปนในทางบวกหรือลบกไ็ ด เชน คนตัว เลก็ ชอบทําเสยี งดงั คนพกิ ารขาแตเปนนกั กีฬาวายน้ำ ๙. การฝนกลางวัน หรือ เพอฝน (Day dream or Fantacy) เปนการสราง จินตนาการ หรือมโนภาพเก่ียวกับส่ิงที่ตนมีความตองการ แตเปนไปไมได ฉะน้ันจึงคิดฝนหรือสรางวิมาน ในอากาศ เพื่อสนองความตองการช่ัวขณะหน่ึง ซึง่ มกั เปนเรอ่ื งท่ีเปนไปไมไดในชีวติ จรงิ เชน ความเปน จรงิ อวนมาก ก็นึกฝนเอาวาตนเองรูปรางดี กาํ ลังใสชดุ วายนํา้ ทูพีทเดนิ อยูบนชายหาด ๑๐. การปฏเิ สธความจริง (Denial) เปนการหลีกเลี่ยงการรับรูความเปนจริงท่ียอมรับ ไมได เพราะความเปนจริงนั้นทําใหกระทบกระเทือนใจอยางรุนแรง เจ็บปวด ไมสามารถทนตอความรูสึก ดังกลาวได จึงตองปฏิเสธวาไมจริง ซ่ึงกลไกการปฏิเสธความจริงน้ีจะเกิดขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ สวนใหญ มกั พบกับการปฏิเสธเรอื่ งความเจบ็ ปวยทร่ี ุนแรง การสูญเสยี ของรักเปนตน
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๔ ๑๑. การเลียนแบบ (Identification) เปนการปรับตัวโดยการเลียนแบบพฤติกรรมบุคคล ที่ตนเองนิยมยกยอง เพ่ือใหเกิดความสบายใจ เชน เลียนแบบคุณพอคุณแม การเลียนแบบไมจําเปน จะตองเลยี นแบบจากบคุ คลจริงๆ แตอาจจะเลยี นแบบจากตวั ละครในโทรทศั น ภาพยนตรกไ็ ด กลไกในการปองกันตนเองเปนวิธีการที่บุคคลใชในการปรับตัว เม่ือประสบกับปญหา ความคับของใจ เพ่ือชวยยืดเวลาในการแกปญหา เพราะจะชวยใหผอนคลายความเครียด ความไมสบายใจ ทําใหคิดหาเหตผุ ลหรือ แกไขปญหาได กลไกในการปองกันตนเองท่ีกลาวมาท้ังหมด อาจกล่าวไดวาการชดเชย (Compensation) การทดเทิด (Sublimation) เปนแสดงออกที่สังคม ยอมรบั และสามารถตอบสนอง ความตองการทีแ่ ทจริงไดใกลเคียงท่สี ุด สรปุ ท้ายบท ผู้มีบุคลิกภาพดี เป็นผู้ท่ีมีพ้ืนฐานด้านสุขภาพดี สามารถปรับตัวได้ดี และส่งผลทำให้ บุคลิกภาพดีด้วยผู้มีบุคลิกภาพดีจะมีคุณลักษณะและความสามารถทางจิตใจท่ีสำคัญ ความสามารถ ในการรับรู้ และเข้าใจสภาพเป็นจริงอย่างถูกต้อง บุคคลท่ีมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ จะมีความสามารถ ในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริงทั้งความจริงภายนอกและความจริงภายใน เช่น สภาพแวดล้อม ทางกายภาพ ทางสงั คม ความร้สู กึ และความตอ้ งการของตัวเรา การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม ผู้ท่ีมีสุขภาพจิตดีจะสามารถควบคุม อารมณ์ได้อย่างเหมาะสม แตก่ ารควบคมุ อารมณ์มากเกินกวา่ เหตจุ ะมีผลร้ายคือ ทำให้มีอารมณ์เครียด ผิดปกติ ซ่ึงจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง และขาด การยับยัง้ ชัง่ ใจ ความสามารถในการสร้างความสมั พันธ์ทางสังคม โดยธรรมชาติของมนษุ ยจ์ ะไม่ชอบอยู่ลำพัง จะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีส่วนร่วมในสังคม ต้องการได้รับการยกย่องและมีช่ือเสียงเป็นท่ีรัก ของทกุ คนตลอดจนทำใหเ้ กดิ ความรสู้ กึ ปลอดภยั จากอันตรายตา่ งๆ และไดร้ บั ความไวว้ างใจจากผ้อู ื่น ความสามารถในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม คนเราจำเป็นต้องเลือก ประกอบอาชีพท่ีตนถนัด เพื่อให้ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มท่ี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ในการทำงาน และเป็นประโยชน์ตอ่ สังคมโดยรวม และความรักและความต้องการทางเพศ มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตและส่งผลต่อ บุคลิกลักษณะของบุคคล ความรักจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ความรักใคร่ผูกพันจะสร้าง ความปรารถนาและอทุ ิศตัวในการอยู่ร่วมกัน และผูกพันกับผู้อ่ืน ซึ่งจะสร้างความสุขความพอใจ และ เกิดความรสู้ ึกเปน็ ตัวของตวั เองและสร้างสัมพนั ธภาพทีด่ ีกบั ผอู้ ่ืนด้วย
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๕ ใบกิจกรรมท่ี ๗ คำชี้แจง แบ่งกลุ่มนสิ ติ เป็นกลมุ่ จับสลากหวั ข้อตามแนวคิดทฤษฎีบคุ ลกิ ภาพของนกั จติ วทิ ยา ตะวันตกและตะวันออก แล้วศึกษาทฤษฎีบุคลิกภาพด้านที่ได้รับและคิดวิธีพัฒนาให้เกิดในแต่ละด้าน และนำเสนอหนา้ ชั้นเรยี น ทฤษฎีบุคลิกภาพตะวันตก วิธีพฒั นา ทฤษฎีบุคลกิ ภาพตะวันออก วิธีพัฒนา
จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๖ คำถามท้ายบท คำชี้แจง หลังจากท่ีนิสิตได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจแล้ว ให้นิสิตตอบคำถามต่อไปน้ี โดยอาศัยหลักวชิ าการ หลักความเปน็ จริง และความคดิ เหน็ ของนสิ ิตประกอบในการตอบคำถาม ๑. ให้นิสติ อธบิ ายความหมายและความเปน็ มาของทฤษฎีบุคลกิ ภาพพอสังเขป ๒. ให้นสิ ิตอธิบายระดับบคุ ลกิ ภาพ พร้อมท้งั ยกตัวอย่างความสามารถของบคุ คลที่มีระดับ บคุ ลิกภาพในแตล่ ะระดบั ๓. ให้นิสิตอธิบายองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนษุ ย์ พร้อมยกตัวอยา่ งให้ ชดั เจน ๕. ให้นิสิตอธิบายทฤษฎีบคุ ลิกภาพของนักจติ วทิ ยาสกั ๒ คน พร้อมทงั้ บอกเทคนิคในการ พฒั นาบคุ ลิกภาพของตนเองในแต่ละดา้ นใหช้ ดั เจน
จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๑๗๗ เอกสารอ้างอิงประจำบท เชดิ ศกั ดิ์ โฆวาสนิ ธุ์, (๒๕๒๐), การวดั ทัศนคตแิ ละบคุ ลกิ ภาพ, สำนกั ทดสอบทางการศึกษาและ จิตวิทยามหาวทิ ยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ ประสานมิตร. เดโช สวนานนท์, (๒๕๑๘), พิมพลักษณ์, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. นิภา นิธยายน, (๒๕๓๐), การปรับตัวและบุคลิกภาพ, กรงุ เทพมหานคร: โอเอสพริน้ ต้ิงส.์ ศรเี รือน แกวกงั วาล, (๒๕๔๕), จติ วิทยาพฒั นาการชีวิตทุกชว่ งวยั เล่ม ๒ วยั รุ่น-วัยสูงอำยุ, พิมพ์ครั้งท่ี ๘ แก้ไขเพ่ิมเตมิ , กรงุ เทพมหานคร : สานกั พมิ พม์ หาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์. Allport, 1995, อางใน สุรางค โควตระกูล, จิตวทิ ยาการศึกษา, พมิ พค์ รัง้ ท่ี ๓. กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗, หน้า ๑๙. Cattell, R.B., (1977), Personality : A Systematic Theoretical and Factual Study, New York : McGrew Hill. Guilford, (1975), อางใน วัฒนา พัชราวนชิ , หลกั การแนะแนว, กรงุ เทพมหานคร: หน่วย ศกึ ษานเิ ทศก์ กรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธกิ าร, ๒๕๓๑. Hilgard, (1962), Introduction to Psychology, New York: Harcourt, Brace and World Inc. Noll, Victor H., (1951) Introduction to Educational Measurement. 2d ed. Boston :Houghton Miflin. Smith R.E., Sarason, I.G. and Sarason, B.R. (1982). Psychology : The Frontiers..
แผนบริหารการสอนประจำบทท่ี ๘ ความรู้เบ้ืองต้นเกี่ยวกับการแนะแนว จุดประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม หลังจากได้ศึกษาบทเรยี นนี้แล้ว นิสติ สามารถ ๑. อธิบายความหมายและจุดมุ่งหมายของการแนะแนวได้ ๒. อธบิ ายความแตกต่างระหวา่ งการแนะแนวและการแนะนำได้ ๓. บอกความสำคัญและความจำเปน็ ของการแนะแนวได้ ๔. อธิบายหลกั การและปรชั ญาการแนะแนวได้ ๕. วเิ คราะห์ความสัมพนั ธร์ ะหว่างปรัชญาการแนะแนวและหลักการแนะแนวได้ ๖. วิเคราะห์การจดั การเรียนการสอนวิชาแนะแนวได้ ๗. บอกประเภทของการแนะแนวและคุณสมบตั ขิ องครูแนะแนวได้ ๘. บอกจรรยาบรรณวชิ าชีพจติ วิทยาการแนะแนวได้ ๙. อธิบายบรกิ ารแนะแนวและการใชบ้ ริการแนะแนวแกน่ ักเรยี นได้ ๑๐. บอกประโยชน์ของจดั บริการแนะแนวในโรงเรียนได้ เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระในบทน้ีประกอบดว้ ย ๑. ความหมายและจุดมุ่งหมายของการแนะแนว ๒. ความแตกต่างระหวา่ งการแนะแนวและการแนะนำ ๓. ความสำคัญและความจำเปน็ ของการแนะแนว ๔. หลักการแนะแนว ๕. ปรัชญาการแนะแนว ๖. คณุ สมบัติของครูแนะแนว ๗. จรรยาบรรณวิชาชพี จติ วทิ ยาการแนะแนว ๘. ประเภทของการแนะแนว ๙. บรกิ ารแนะแนว ๑๐.ประโยชนข์ องการจัดบริการแนะแนวในโรงเรยี น กิจกรรมการเรียนการสอน สัปดาหท์ ่ี ๑๐ ๑. ทบทวนความร้เู ดิมในบทที่ ๗ โดยการซกั ถามและให้นิสิตอธิบายและแสดงความคดิ เห็น ๒. อธิบายเน้ือหาและสรปุ เนื้อหาสาระทส่ี ำคัญ ด้วย Microsoft Power-point ๓. อภิปราย แลกเปลี่ยนความคดิ เหน็ และซักถาม ๔. สาธติ การสอนวิชาแนะแนวในโรงเรยี น ๕. ให้นิสิตแบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม แล้วสะท้อนการสาธติ การสอนของอาจารย์และเปรียบเทียบ กับการสอนวชิ าแนะแนวในโรงเรียน
จติ วทิ ยาสำหรับครู ๑๗๙ สปั ดาหท์ ่ี ๑๑ ๑. ทบทวนความรเู้ ดิมในสัปดาหท์ ่ี ๑๐ โดยการซกั ถามและให้นิสิตอธบิ ายและแสดง ความคดิ เห็น ๒. อธิบายเนื้อหา และสรปุ เนื้อหา “บริการแนะแนว” ด้วย Microsoft Power-point และ วดี ทิ ัศน์/หนังส้ัน ๓. อภปิ ราย แลกเปลย่ี นความคิดเห็น และซักถาม ๔. ให้นิสิตแบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม แล้วศึกษากรณีของ “เด็กหญิงเรยา” แล้วแต่ละกลุ่มใช้ บริการแนะแนวทง้ั ๕ ชว่ ยเหลอื เดก็ หญิงเรยา แล้วนำเสนอหนา้ ช้ันเรียน ๕. ให้ตอบคำถามท้ายบทท่ี ๘ และนำส่งในสปั ดาห์หนา้ ส่อื การเรียนการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรยี นการสอน “ความรเู้ บ้ืองต้นเก่ยี วกับการแนะแนว” ๒. การนำเสนอดว้ ย Microsoft Power-point และวีดทิ ัศน์ / คลปิ วดี ีโอ ๓. ตำราหรือหนงั เสือเกยี่ วกบั จิตวิทยา ได้แก่ คณะครศุ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, ค่มู ือฝกึ อบรมแนะแนว, กรงุ เทพมหานคร :คณะครศุ าสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. พนม ล้ิมอารีย์, การแนะแนวเบื้องต้น, พมิ พ์ครง้ั ท่ี ๒, กรุงเทพมหานคร : โอเดียนส โตร.์ ๒๕๔๘. วัชรี ทรัพย์มี, การแนะแนวในโรงเรียน, พิมพ์ครั้ง ที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : ไทยวฒั นาพานิช. ๒๕๓๑. วัฒนา พัชราวนิช, จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : หจก. ธนะการพิมพ์, ๒๕๒๖. สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย, มาตรฐานวิชาชีพครูจิตวิทยาแนะแนว, ครจู ติ วทิ ยาแนะแนะระดบั การศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐาน. กรุงเทพมหานคร : เจรญิ วทิ ย์การพมิ พ์, ๒๕๔๙. อนนต์ อนันตรังสี, หลักการแนะแนว, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๑. ๔. ใบกจิ กรรมกลุม่ ๒ กจิ กรรม ๔.๑ “การสอนวิชาแนะแนวในโรงเรยี นควรเป็นแบบใด” ๔.๒ “ใช้บรกิ ารแนะแนว ๕ ด้าน เพื่อชว่ ยเรยา” แหล่งการเรียนรู้ ๑. ห้องสมดุ วทิ ยาลยั สงฆ์บุรรี ัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวิทยาลัย ๒. ห้องสมุดคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพทุ ธศาสนาและจติ วิทยาการแนะแนว ๓. แหล่งการเรยี นรูท้ างอนิ เตอรเ์ น็ตเก่ยี วกบั จิตวทิ ยาการศึกษา ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล และการสรา้ งบรรยากาศในช้ันเรยี น นิสติ สามารถสืบคน้ ข้อมลู ท่ตี ้องการผ่านเว็บไซต์ต่างๆ การวดั และการประเมนิ ผล จุดประสงค์ เครอ่ื งมือ/วิธีการ ผลทีค่ าดหวัง ๑. อธิบายความหมายและ ๑. ซักถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ จดุ มุง่ หมายของการแนะแนวได้ ๒. แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท แบบฝกึ หัดถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐
จติ วทิ ยาสำหรบั ครู ๑๘๐ ๒. อธบิ ายความแตกต่าง ๑. ซักถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ ระหวา่ งการแนะแนวและการ ๒. แบบฝึกหดั ท้ายบท แบบฝกึ หัดถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ แนะนำได้ ๓. บอกความสำคัญและความ ๑. ซักถาม ๑. นิสิตมีคะแนนการทำ จำเปน็ ของการแนะแนวได้ ๒. แบบฝกึ หดั ทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๔. อธบิ ายหลกั การและปรัชญา ๑. ซักถาม ๑. นิสิตมีคะแนนการทำ การแนะแนวได้ ๒. แบบฝกึ หัดทา้ ยบท แบบฝกึ หดั ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๕. วเิ คราะหค์ วามสมั พนั ธ์ ๑. ซักถาม ๑. นิสติ มคี ะแนนการทำ ระหวา่ งปรชั ญาการแนะแนว ๒. แบบฝึกหัดทา้ ยบท แบบฝกึ หดั ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ และหลักการแนะแนวได้ ๖. วิเคราะห์การจดั การเรยี น ๑. สังเกตพฤติกรรมการ ๑.นิสติ มีคะแนนการ การสอนวชิ าแนะแนวได้ รว่ มกจิ กรรม ทำงานกลุ่มและการนำเสนอ ๒. สงั เกตการณน์ ำเสนอ หน้าช้ันเรยี น รอ้ ยละ ๘๐ ๗. บอกประเภทของการแนะ หนา้ ชั้นเรียน ๒. นสิ ิตให้ความร่วมมอื ใน แนวและคณุ สมบัตขิ องครูแนะ ๓. แบบสงั เกตพฤติกรรม การทำกิจกรรมกลุ่ม รอ้ ยละ แนวได้ การทำงานกลมุ่ ๑๐๐ ๘. บอกจรรยาบรรณวชิ าชพี ๔. ผลงานกล่มุ ๓. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ จิตวิทยาการแนะแนวได้ ๕. แบบฝึกหัดท้ายบท แบบฝึกหัดถูกตอ้ ง รอ้ ยละ ๘๐ ๙. เขา้ ใจและใช้บรกิ ารแนะ ๑. ซกั ถาม ๑. นิสิตมคี ะแนนการทำ แนวแก่นกั เรยี นได้ ๒. แบบฝึกหัดท้ายบท แบบฝกึ หดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๑๐. บอกประโยชนข์ อง ๑. ซกั ถาม ๑. นิสติ มีคะแนนการทำ จัดบรกิ ารแนะแนวในโรงเรียน ๒. แบบฝึกหดั ทา้ ยบท แบบฝึกหดั ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ได้ ๑. สงั เกตพฤติกรรมการ ๑.นสิ ิตมีคะแนนการทำงานกลุ่ม รว่ มกิจกรรม และการนำเสนอหนา้ ช้ันเรยี น ร้อย ๒. สงั เกตการณน์ ำเสนอ ละ ๘๐ หนา้ ช้ันเรียน ๒. นสิ ิตให้ความรว่ มมือในการทำ ๓. แบบสงั เกตพฤติกรรม กิจกรรมกลมุ่ ร้อยละ ๑๐๐ การทำงานกล่มุ ๓. นิสิตมีคะแนนการทำแบบฝกึ หัด ๔. ผลงานกลุ่ม ถกู ต้อง ร้อยละ ๘๐ ๕. แบบฝกึ หดั ท้ายบท ๑. ซกั ถาม ๑. นสิ ติ มีคะแนนการทำ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท แบบฝกึ หดั ถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐
จติ วทิ ยาสำหรบั ครู ๑๘๑ บทท่ี ๘ ความรู้เบื้องต้นเกยี่ วกับการแนะแนว ๘.๑ ความนำ การแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยให้นักเรียนรูจักและเขใจตนเอง รูจักสภาพแวดล้อม รอบตัว เพื่อให้สามารถปรับตัวและดำรงอยู่ในสังคมไดอย่างถูกต้องและมีความสุข และส่งเสริมให้ นักเรียนไดพัฒนาสูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคนทุกๆ ด้าน การแนะแนวเป็นส่วนท่ีจะส่งเสริม สนับสนุน กระตุน แนะนำช่วยเหลือ ให้ผู้เรียน สามารถนำขำมูลข่าวสาร กระบวนการคิดอย่างมี เหตุผล และแสวงหาความรูมาใช้ประโยชน ในการตัดสินใจทั้งการแกปัญหา ปรับปรุงวิถีชีวิต และการงานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแนะแนว บทบาทของครูก็คือ เป็นผู้ที่เข้าไปส่งเสริม สนบั สนุนให้ผ้เู รยี นเกดิ กระบวนการการเรียนรูตา่ งๆ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจสังคม มกี ารเปลีย่ นแปลงและซบั ซอ้ นมากข้ึน การศึกษาในสถาบันการศกึ ษาเชิงวิชาการ เป็นเพียงพฒั นาการ ทางสติปัญญา ไม่สามารถช่วยให้เด็กปรับตัวในสภาวะสังคมปัจจบุ ันได้อย่างราบร่ืนจำเป็นตอ้ งมผี ู้ช่วย ให้เด็กพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้อย่างเหมาะสม ครูแนะแนวจึ งมีบทบาท ในการช่วยพัฒนาให้เด็กมีความชัดเจนในตัวเอง และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของตนด้วยเทคนิค และวธิ กี ารแนะแนว ๘.๒ ความหมายของการแนะแนว คำว่า “การแนะแนว” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Guidance ซึ่งมีความหมายว่า “การช้ี แนวทาง” หรอื “การชี้ชอ่ งทาง” ได้มผี ใู้ หค้ วามหมายของคำว่าการแนะแนวต่างๆ กนั ดงั นี้ Crow and Crow๑ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นการช่วยเหลือให้บุคคลรู้จักตัดสินใจว่าเขาต้องการจะ ไปไหน เขาต้องการจะทำอะไร ช่วยให้เขาสามารถตัดสินใจได้ว่า เขาจะทำให้ความหวังหรือ จุดมุ่งหมายของเขาสัมฤทธ์ิผลโดยสมบูรณ์ได้อย่างไร ช่วยให้เขาสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆซึ่งเขาต้อง ประสบในชวี ิตไดด้ ว้ ยดี Carter V.Good๒ ไดอ้ ธบิ ายความหมายของ “การแนะแนว” (Guidance) ดังนี้ ๑. การแนะแนว คือ แบบของการช่วยเหลือที่มีระเบียบแบบแผนอย่างหน่ึง (นอกเหนือจากการสอนตามปกติ) แก่นักเรียน นิสิตหรือบุคคลอื่นๆ เพ่ือให้เขารู้จักแสวงหาความรู้ ความฉลาด โดยปราศจากการบงั คบั ใดๆ เป็นการนำทางให้เขารู้จกั การนำตนเอง ๑ Crow and Crow. ., An Introduction to Guidance, New York : American Book Company, 1960 p.1. ๒ Carter V.Good . Dictionary of Education ๓rd ed, New York : Mc Grow. Hill Book Company, 1973 p.270.
จติ วทิ ยาสำหรบั ครู ๑๘๒ ๒. การแนะแนว หมายถึง กลวิธีในการนำเด็กไปสู่จุดหมายท่ีเขาปรารถนา โดยจัด ส่ิงแวดล้อมใหส้ นองความต้องการมลู ฐานของเขาและชว่ ยใหค้ วามต้องการของเขาสัมฤทธ์ผิ ล ๓. การแนะแนว คือ วิธีท่ีสำคัญวิธีหนึ่งในการสอนแบบพัฒนาการ (progressive teaching) โดยการท่ีครูเป็นผู้นำเด็กให้รู้จักค้นคว้า และช่วยให้ความต้องการของเขาได้รับ การ ตอบสนอง Miller H. Carroll๓ ได้กล่าวไว้ว่า การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือแต่ละบุคคลให้สามารถเข้าใจตนเอง ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง และมีการ วางแผนในการพฒั นาระบบของชวี ิตของตนเองให้ดีขึ้น กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ๔ ได้ระบุว่า การแนะแนว คือ จิตวิทยาประยุกต์แขนงหน่ึง ที่ว่าด้วยการพฒั นาคนให้ร้จู ักตนเองหรือพ่ึงพาตนเอง โดยกระบวนการท่ีส่งเสริมให้บุคคลได้มีบทบาท เตม็ ท่ใี นการเรยี นรู้ เพ่อื ท่จี ะพัฒนาศกั ยภาพและสามารถจดั การชีวติ ของตนอยา่ งฉลาด คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย๕ ได้นำเสนอว่า การแนะแนว เป็นกระบวนการ ต่อเนื่องที่ใช้ท้ังศาสตร์และศิลป์ เพ่ือช่วยเหลือบุคคลให้รู้จักเข้าใจตนเองและส่ิงแวดล้อม สามารถ ตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างฉลาด มีเหตุผล รู้จักป้องกันปัญหา วางแผน และพัฒนา ตนเองให้เต็มตามศักยภาพ สามารถดำเนนิ ชีวิตไดอ้ ยา่ งมีความสขุ วัชรี ทรัพย์มี๖ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือนักเรียนให้ เข้าใจตนเองละสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เขาสามารถสร้างคุณค่าแห่งชีวิตได้ เป็นต้นว่าจะศึกษาสาขาใด ประกอบอาชีพใด จึงจะเหมาะสม สามารถปรับตัวได้อย่างมีความสุขความก้าวหน้าในชีวิตได้พัฒนา ตนเองใหถ้ งึ ขีดสดุ ในทกุ ด้าน จากข้อมูลข้างต้นนี้สามารถสรุปได้ว่า การแนะแนวเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กแต่ละคนเข้าใจ ตนเอง เข้าใจผู้อ่ืนและสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ทั้งในปัจจุบันและอนาคต สามารถวางแนวชีวิตอนาคตของตนได้อย่างถูกตอ้ งเหมาะสมอนั จะนำไปสคู่ วามสขุ และความสำเร็จใน ชีวิต ๓ Miller H. Carroll. Foundations of Guidance, New York : Harper & Rowpublisher, Inc, 1976 p.13. ๔ กรมวิชาการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร.คูม่ ือการบรหิ ารจดั การแนะแนว, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรสุ ภาลาดพร้าว, ๒๕๔๖), หน้า ๓๒. ๕ คณะครศุ าสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย.คู่มือฝกึ อบรมแนะแนว, (กรุงเทพมหานคร: คณะ ครศุ าสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , ๒๕๕๔). ๖ วชั รี ทรัพย์มี.ทฤษฎีให้บรกิ ารปรึกษา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๕๔), หนา้ ๒๗.
จติ วทิ ยาสำหรบั ครู ๑๘๓ ๘.๓ จุดมุ่งหมายของการแนะแนว การแนะแนวท่จี ดั ขึ้นตามโรงเรียน โดยทวั่ ไป มีจุดมงุ่ หมายสำคัญ๗ ดังน้ี ๑. เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถรับผิดชอบต่อตนเอง ยอมรับต่อสภาพที่แท้จริง ของตนเองและมคี วามรสู้ กึ พอใจในสภาพของตนเอง ๒. เพื่อให้บุคคลรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รู้จักป้องกัน ปัญหาและแกไ้ ขปญั หาไดด้ ว้ ยตนเองและเปน็ ผนู้ ำตนเอง ๓. เพ่ือให้มีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และสังคม รู้จัก วิเคราะห์ว่าตนเองมีความสามารถหรือมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และ สงั คม ๔. เพ่ือให้รู้จักเข้าใจสภาพแวดล้อม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และดำเนินชวี ิตตนเองอย่ไู ดอ้ ยา่ งฉลาด และเปน็ สุข ๕. เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีในการเรียน สามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความถนัด ของตนเอง และประกอบอาชีพตามความถนัด มีประสิทธิภาพในการทำงานอันจะเป็นประโยชนต่อ ตนเอง ต่อครอบครวั และประเทศชาตติ ่อไป ๖. เพ่ือให้รู้จักควบคุมอารมณ์ ฝึกให้รู้จักอดทน แข็งแรง และสามารถชนะอุปสรรค ตา่ งๆไดด้ ว้ ยดี ๗. เพ่ือช่วยให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตนไปในทางท่ีดีงามสร้างนิสัยท่ีดี รู้จักมนุษย สัมพันธแ์ ละอยู่รว่ มกับผอู้ ื่นไดอ้ ยา่ งราบรน่ื ๘. เพ่ือช่วยให้บุคคลเกิดความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวสังคม และประเทศชาติ ๙. เพื่อช่วยให้บุคคลหลีกเล่ียงปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดข้ึนและหาวิธีการ ในการปอ้ งกันปัญหาทีถ่ กู วธิ ี ๑๐. เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถค้นพบสิ่ง ใหม่ๆ และชว่ ยพฒั นาความสนใจในดา้ นสันทนาการ อันจะทำให้ชวี ติ มคี ณุ คา่ มากย่งิ ขนึ้ ๑๑. เพื่อให้ความรู้ทางด้านต่างๆ แก่นักเรียน ทั้ง ทางด้านการศึกษาเล่าเรียน ให้โอกาสศึกษาหาความรทู้ กุ ๆ ดา้ น รวมทง้ั แนวทางในการทำงานหรอื แนวทางในการประกอบอาชีพ ๑๒. เพื่อให้บุคคลได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษากับงาน โดยให้นักเรียน ได้รับความรู้จากโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้มากที่สุด และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่าง เหมาะสม ๑๓. เพ่ือให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับอาชีพต่างๆ อย่างดี มีความเข้าใจ เกย่ี วกบั ความสัมพันธ์ของแตล่ ะอาชีพ ๗ วัฒนา พชั ราวนชิ , จติ วิทยาการศึกษา, (กรงุ เทพมหานคร : หจก.ธนะการพมิ พ์, ๒๕๒๖), หนา้ ๒๕๒-๒๕๓.
จิตวทิ ยาสำหรับครู ๑๘๔ ๑๔. เพ่ือใหบ้ ุคคลเข้าใจถึงสภาพชีวติ ที่แทจ้ ริง และรู้ซง้ึ ถงึ ความสำคัญของเศรษฐกิจ ที่มีต่อชีวิตของมนุษย์ เพ่ือเป็นแนวทางในการสร้างความม่ันคงทางเศรษฐกิจให้กับตนเอง และครอบครวั ตอ่ ไปภายภาคหนา้ ๑๕. เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของตนเอง ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับ ความสำเร็จ ในชีวติ อันจะเป็นผลให้เกิดความกระตือรือร้นท่ีจะพัฒนาคุณภาพและลักษณะต่างๆ ให้ ดที ี่สุด ๑๖. เพ่ือใหร้ ู้จกั ความรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเองทงั้ ทางดา้ นการศกึ ษา อาชีพและสง่ิ อ่นื ๆ ๑๗. เพื่อให้รู้จักเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกบั เพศและวยั ของตนเอง และรู้จักวิธกี าร ท่ีจะนำไปใช้เปน็ แนวทางในการปรับปรงุ คณุ ภาพของตนเอง ๑๘. เพื่อให้บุคคลเข้าใจถงึ ความสำคญั เก่ียวกับสุขภาพและอนามัยรวมทั้งบุคลกิ ภาพ และความสามารถในการแสดงออกต่างๆ ของนักเรียน ๑๙. เพือ่ ให้เป็นคนสุภาพอ่อนโยน สุขมุ เยือกเย็น รู้จกั ใหค้ วามเป็นมิตร และให้ความ รว่ มมอื กบั บุคคลทั่วไป ๒๐. เพื่อช่วยให้ครูเกิดความเข้าใจนักเรียนได้อย่างดีและถูกต้อง อันจะเป็นแนวทาง ในการชว่ ยเหลอื นักเรยี นต่อไป ๘.๔ ความแตกตา่ งระหวา่ งการแนะแนวและการแนะนำ มบี ุคคลส่วนมากเข้าใจสับสนวา่ การแนะแนวคือ การแนะนำ แต่ความจริงแลว้ การแนะแนว จะต่างกันกับการแนะนำเพราะการแนะแนวเป็นการช้ีช่องทางให้เด็กรู้จักตนเอง สามารถปรับตัวให้ เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม และวางแนวชีวิตของตนเอง พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้รับบริการแนะแนวคือ ผู้ท่ี เรยี นร้ตู นเองและกำหนดโชคชะตาของตน สำหรับการแนะนำมุ่งที่จะให้ผู้รับปฏิบัติตามคำแนะนำของตนโดยไม่สนใจว่า ผู้น้ันจะเต็มใจ หรือไม่หรือผู้น้ัน จะเกิดการเรียนรู้ เกิดความกระจ่างด้วยตนเองหรือไม่ พร้อมท่ีจะรับผิดชอบตนเอง หรอื เปลา่ ฉะน้นั ผลทเ่ี กดิ ขึ้น จากการแนะนำจะก่อใหเ้ กิดผลเสยี หายมากกวา่ ผลดี นัน่ คือ ในกรณีท่ีเด็กนำข้อแนะนำน้ัน ไปปฏิบัติ จะด้วยความเช่ือถือหรอื ถูกบังคับก็ตาม หากปฏิบัติ แล้วไม่ได้ผลนักเรียนจะกลับมาโทษครูผู้แนะนำที่เป็นต้นเหตุให้เขาได้รับความผิดพลาดเสียหาย ถ้าย่ิงเป็นเรื่องสำคัญผู้ให้คำแนะนำจะรู้สึกเป็นหน้ี ความผิดนั้นและในกรณีท่ีนักเรียนปฏิบัติตามแล้ว ไดผ้ ล จะทำใหน้ ักเรยี นเชื่อถอื และพง่ึ ครูผใู้ ห้คำแนะนำยิ่งขึ้น จนอาจก่อใหเ้ กิดความออ่ นแอ คดิ ไม่เป็น ตอ้ งพ่ึงผ้อู ่ืนมากกว่าพ่ึงตนเอง ฉะน้ัน จะเห็นว่าการแนะนำไม่ช่วยให้คนฉลาดคิดเป็น ตัดสินใจเป็น รับผิดชอบตนเอง และพึ่งตนเอง ซ่ึงตรงกันข้ามการแนะแนวต้องการให้บุคคลช่วยตนเองโดยผ่านกระบวนการที่มี การศกึ ษาข้อมลู และมีการตัดสนิ ใจท่ีถูกต้อง ๘.๔.๑ ความสำคัญและความจำเปน็ ของการแนะแนว บริการแนะแนว นับว่าเป็นบริการที่มีความสำคัญและจำเป็น ที่จะต้องจัดขึ้น เพื่อความรู้ ความเข้าใจรวมทั้ง การช่วยเหลือทุกๆ ด้านแก่บุคคลโดยไม่จำกัดเพศและวัย การจัดบริการแนะแนว อาจจะทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นหมู่ก็ได้ ทั้งน้ีย่อมแล้วแต่ความเหมาะสม เพราะปัญหาบางอย่างอาจ เปน็ ปัญหาของกลุ่ม แตป่ ญั หาบางอยา่ งอาจจะเปน็ ปญั หาของแตล่ ะบคุ คล
จติ วิทยาสำหรบั ครู ๑๘๕ สาเหตุท่ีจำเป็นจะต้องมีบริการแนะแนวสืบเน่ืองมาจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม มากมาย การอยู่รวมกลุม่ กันของมนษุ ย์ยอ่ มกอ่ ใหเ้ กิดปญั หาต่างๆ ตามมาเปน็ ของธรรมดานอกจากนั้น การที่มนุษย์ ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพ่ือความมีชีวิตอยู่รอด และดำเนินชีวิตอยู่ตามสมควรแก่อัตภาพ ทำให้ เกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา ปัญหาของมนุษย์เริ่มแรกเกิดจากปัญหาครอบครัว จะค่อยๆ เป็นปัญหา ที่สืบเนื่องไปสู่สังคมนอกบ้าน เพ่ือนบ้าน จากสังคมกลุ่มเล็กไปสู่สังคมกลุ่มใหญ่ และค่อยๆ กลายไป เป็นปัญหาของประเทศชาตไิ ปในทีส่ ดุ การแนะแนวจะช่วยป้องกนั ปัญหาลดปัญหาต่างๆ ใหล้ ดนอ้ ยลง ความสำคัญและความจำเป็นท่ตี อ้ งมีการแนะแนว มีสาเหตุมาจากสงิ่ ต่อไปนี้๘ ๑.การเปลี่ยนแปลงทางสภาพครอบครัว สภาพครอบครัวในปัจจุบันเปล่ียนจากสมัย โบราณ บุคคลในสมัยก่อนอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีต้ังแต่ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลุงป้า น้าอา พี่น้อง ญาติสนิท อยู่รวมกันเป็นปึกแผ่น บุคคลในครอบครัวเอาใจใส่ดูแลกันอย่างใกล้ชิด มีปัญหา อะไรก็สามารถช่วยเหลือกันได้ ผิดกับปัจจุบันครอบครัวเล็กลง อยู่กันตามลำพังบิดามารดาและบุตร เม่ือบิดามารดาออกไปทำงานบุตร ก็ต้องอยู่ตามลำพัง ขาดคนดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ขาดความ รักความอบอุ่น ก่อให้เกิดปัญหาความว้าเหว่ตามมา เด็กอาจประพฤติตนไปในทางทผ่ี ิดๆ คบเพื่อนไม่ดี ติดยาเสพติด เปน็ ต้น ๒.การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา ในสมัยก่อนการเรียนการสอน เรียนเพ่ือให้ อ่านออกเขียนได้ ศึกษากันตามวัดวาอาราม หรือผู้ใหญ่ท่ีอ่านออกเขียนได้ก็สั่งสอนลูกหลานต่อไป การศึกษาจึงเป็นไปอย่างง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน ผิดกับในปัจจุบันน้ี การเรียนวิชาต่างๆ เร่ิมยาก และสลับซับซ้อน เป็นวิชาการสมัยใหม่ซึ่งเด็กจำเป็นต้องศึกษาเล่าเรียนไปตามข้ันตอน โดยเร่ิมจาก การศึกษาข้ันบังคับไปจนถึงขั้นสูงสุด การเลือกวิชาเรียนจำเป็นต้องเลือกไปตามความถนัด และความสามารถของตนเอง หรือบางคร้ังการที่เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เร่ืองไม่เข้าใจบทเรียนที่ครูสอน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขต้ังแต่แรกเรม่ิ แล้วเดก็ ก็จะว้าวุ่นมากข้ึน ทำให้หมดกำลังใจในการเรียนเสียอนาคต ไปในที่สุด การมีบริการแนะแนวจึงจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับทางด้าน การศกึ ษาใหห้ มดส้ินไป ๓.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยก่อน แตกต่างจากในปัจจุบันมาก ในสมัยก่อนการทำมาหากินไม่ยากลำบาก ประเทศไทย มีทรัพย์ในดิน มีสินในน้ำ คนสามารถเก็บผักผลไม้ ตกปลา กินเป็นอาหารได้ พื้นท่ีท่ีใช้ในการเพาะปลูกมีมากมาย จึงมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องวุ่นวายท่ีจะหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยสำหรับเล้ี ยงชีพมากมาย เช่น ในปจั จุบนั น้ี ในสมัยโบราณความเป็นอยู่หรือฐานะทางเศรษฐกจิ ของมนุษย์จะใกลเ้ คียงกัน แต่วนั เวลาผ่าน ไปความสามารถของมนษุ ย์รวมท้ัง สภาพแวดล้อมต่างๆ ทำใหค้ วามเป็นอยขู่ องมนุษย์เหลือ่ มล้ำ ต่ำสูง กันไปเร่ือยๆ จนกระท่ังในสมัยปัจจุบันฐานะของแต่ละครอบครัวจึงอยู่ในสภาพที่ห่างไกลกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเด็กท่ีมาจากครอบครัวท่ีมีฐานะดีจะมีปัญหาอย่างหน่ึง ส่วนเด็กท่ีมาจากครอบครัว ท่ีมีฐานะไม่ดีก็จะมีปัญหาอีกอย่างหน่ึงซ่ึงแตกต่างกันไปเด็กทั้ง สองประเภทจะมีปัญหาไม่เหมือนกัน เด็กที่อยู่ในครอบครัวท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจดี จะได้รับการเอาอกเอาใจ ได้รับการตามใจจากบิดา มารดา สามารถจับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือย โดยท่ีเด็กไม่รู้จักคุณค่าของเงิน การกระทำดังกล่าว ๘ อนนต์ อนันตรงั สี, หลกั การแนะแนว, (กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พมิ พโ์ อเดยี นสโตร์, ๒๕๒๑), หนา้ ๒๙ – ๓๗.
จิตวทิ ยาสำหรบั ครู ๑๘๖ ของบิดามารดาที่ให้เงินทองแก่ลูกสำหรับใช้จ่ายอย่างมากมายน้ัน เป็นการกระทำท่ีอาจจะก่อให้เกิด ผลทางด้านลบ เพราะเด็กจะใช้จ่ายเงินไปในทางที่ผิด เท่ียวเตร่ สนุกสนานเฮฮา ในสถานท่ีอบายมุข ต่างๆ คบเพื่อนไม่ดี เด็กประเภทนี้มักจะเป็นหัวหน้าฝูงหรือผู้นำของกลุ่ม เพราะมีกำลังทรัพย์มาก ผลสดุ ท้ายอาจจะกลายเป็นนกั เลง อันธพาล หรือติดยาเสพติด เป็นการทำลายอนาคตของผเู้ รียน สว่ น เด็กที่มาจากครอบครัวที่ยากจนจะหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการหาเงนิ มาใช้จ่ายเพื่อดำรงชีวิต เพื่อเป็นค่า เล่าเรียน การขาดเงินทำให้เด็กประพฤติตนไปในทางท่ีผิด คือ พยายามหาเงินด้วย การลักขโมย โจรกรรม ปล้นจี้เป็นต้น ฉะนั้น การบริการแนะแนวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างย่ิงที่จะช่วยให้เด็กท่ีมีปัญหา ดังกลา่ วรู้จกั วธิ กี ารแกป้ ญั หา และดำเนินชวี ิตใหถ้ ูกต้องตามท่ีสงั คมยอมรับตอ่ ไป ๔.การเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ ในสมัยก่อนบุตรหลานมักจะเจริญตามบรรพบุรุษ อาชีพอะไร ที่เป็นอาชีพของครอบครัว เขาเหล่านั้น จะรับเอาอาชีพน้ัน มาปฏิบัติต่อไป อาชีพ ในสมัยก่อนมีไม่มากมาย เป็นอาชีพง่ายๆ ฝึกทำฝึกปฏิบัติภายในครอบครัว แล้วถ่ายทอดไปสู่บุตร หลาน แต่ในสมัยปัจจุบันอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น มากมาย แต่ละอาชีพต้องการความสามารถ และความถนัดเป็นพิเศษเฉพาะอย่าง ผู้คิดจะประกอบอาชีพใดก็ตาม ต้องคิดและใช้วิจารญาณอย่างดี เลือกใหเ้ หมาะสมกับตนเอง อาชีพบางอย่างไม่ใช่วา่ บุคคลอยากจะประกอบอาชีพน้นั แล้วจะสามารถ ทำได้เสมอไปต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สติปัญญา ความถนัด กำลังทรัพย์ ท่ีจะใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรยี น การเลือกอาชีพจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับความสามารถและกำลัง ทรัพย์ของครอบครวั ด้วย จงึ จะสามารถบรรลเุ ป้ าหมายในอาชพี น้นั ๆ ได้ การแนะแนวจะให้ความช่วยเหลือเก่ียวกับการเลือกอาชีพท่ีตนเองถนัด มีความพอใจที่จะ ประกอบอาชีพน้ันๆ และสามารถเลือกอาชีพได้อย่างม่ันใจ ทำให้ประสบความสำเร็จในการประกอบ อาชีพของตนเอง ทง้ั น้ีเพราะอาชีพถอื วา่ เป็นสิง่ สำคญั ในชีวติ มนษุ ย์ ถ้าบุคคลใดประสบความสำเร็จในอาชีพท่ีตนเองกระทำอยู่ก็ย่อมแสดงว่าบุคคลน้ัน บรรลุ เป้าหมายของชีวิตประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นท่ียอมรับของสังคม บุคคลท่ีประสบความล้มเหลว ในการประกอบอาชีพ จะไม่ได้รับผลสำเร็จในชีวิต ชีวิตไม่ก้าวหน้า ขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต การเร่ิมต้นประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ควรจะพิจารณาให้รอบคอบและตรงตามความถนัดของตนเอง มีความตั้งใจในการประกอบอาชีพ การเปลี่ยนอาชีพบ่อยๆ ไม่ทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิต จะประสบความล้มเหลว เพราะต้องมกี ารเรม่ิ ตน้ ใหม่อยู่ตลอดเวลา ๕.ปัญหาทางด้านสังคม ในอดีตการอยู่ร่วมกันในสังคมมักจะเป็นกลุ่มย่อยๆ สังคม เล็กๆบุคคลจะอยู่ร่วมกันอย่างเห็นอกเห็นใจกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ให้ความช่วยเหลือกันอย่างดี ความอุดมสมบูรณ์ของอดีตในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ทำให้บุคคลมีจิตใจโอบอ้อมอารี มีเมตตา กรุณา ไม่คิดเล็กคิดน้อยใจคอกว้างขวาง แขกผู้มาเยือนข้ึน บ้านก็เรียกรับประทานอาหารร่วมกันหุงหา อาหารเล้ียง มีความซ่ือสัตย์ไม่คดโกงซึ่งกันและกัน สนใจความเป็นอยู่ของเพื่อนในสังคมเดียวกัน ซ่งึ แตกต่างจากสังคมในสมัยปัจจุบัน บุคคลจะมีความเห็นแก่ตวั เอารัดเอาเปรยี บ ชอบหักหลงั คดโกง ทุกคนต้องอยู่อย่างระวังตัว จะไว้ใจกันง่ายๆ ไม่ได้ การคบค้าสมาคมกันต้องมีแบบแผน มีหลักเกณฑ์ การดำเนินชีวิตในปัจจุบันจึงดูยุ่งยากซับซ้อน การที่บุคคลมีความต้องการจะได้รับ การยอมรับจาก สังคม จึงต้องพยายามปรับตัวให้ได้ ซึ่งบุคคลมักจะมีปัญหา ในการปรับตัว ทำให้เกิดความทุกข์ ความคับข้องใจ
จติ วิทยาสำหรบั ครู ๑๘๗ การแนะแนวจะให้ความชว่ ยเหลือ ขจัดปญั หาตา่ งๆ ให้หมดไป จะชว่ ยใหผ้ ู้ประสบปัญหารจู้ ัก และเข้าใจตนเอง ในเวลาเดียวกันก็เรียนรู้ท่ีจะเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว และหาทางปรับตัวให้ เหมาะสมกบั สภาพความเป็นอยใู่ นสงั คมตอ่ ไป ๖.ปัญหาการแออัดของประชากร การที่ประชากรเพิ่มมากข้ึน จึงก่อให้เกิดปัญหา อื่นๆ อีกมากมายท่ีตามมา การเพ่ิมของประชากรอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการบีบรัดทางด้านเศรษฐกิจ แย่งกันเรียนในสถานศึกษา แย่งกันประกอบอาชีพ ทำให้ประชากรว่างงาน ไม่มีงานทำ ก่อให้เกิด ปญั หาอ่ืนๆ เชื่อมโยงต่อกันไปเป็นลกู โซ่ อัตราการเกดิ ของประชากรเพิม่ ขึ้น เป็นรอ้ ยละสามตอ่ ปีทำให้ รฐั บาลต้องเผชญิ กบั ปญั หาหนักอนั จะต้องเร่งรบี แก้ไขโดยเรง่ ด่วน การแนะแนวจึงมีหน้าที่ช่วยเหลือ ช้ีให้เห็นถึงปัญหาการแออัดของประชากร และช่วยแนะ แนวทางให้ผู้เรียนทราบถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถนำไปบอกกล่าวภายในครอบครัว ของตนเอง และหาทางป้องกันการเพิ่มของประชากรโดยวธิ ีคมุ กำเนิดต่อไป ๗.ปัญหาเกี่ยวกับจิตใจ สาเหตุจากความเป็นอยู่ในปัจจุบันท่ีทุกคนต้องช่วยเหลือ ตัวเองแก่งแย่งชิงดีกนั ศีลธรรมเสื่อมทรามลง สภาพจติ ใจของคนในอดีตจะแตกตา่ งจากคนในปัจจุบัน มาก คนในสมัยปัจจุบันจะมีความเห็นแก่ตัว คิดคำนึงถึงผลประโยชน์สว่ นตัวเป็นหลัก จิตใจโหดเหี้ยม ผูกพยาบาท จองเวร ฆ่าฟันกันตายอยู่เสมอๆ ไม่ยอมเสียเปรียบซ่ึงกันและกัน พยายามเอารัดเอา เปรียบผู้อื่น สภาพท่ีบีบค้ันต่างๆ จะมีผลกระทบถึงเด็กโดยตรง การที่เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ เพราะเด็กจะไม่เข้าใจ ไม่สามารถแยกได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ส่ิงใดดี สิ่งใดไม่ดี ปัญหาเหล่านี้จะสับสน วนุ่ วายอยใู่ นจติ ใจเด็ก ซงึ่ เด็กอาจจะเลือกประพฤตปิ ฏบิ ตั ไิ ปในทางผดิ ๆ กไ็ ด้ ๘.ปัญหาการเปล่ียนแปลงทางขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม สมัยปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเปล่ียนแปลงไปมาก เป็นเหตุให้เด็กสับสน ไม่ทราบว่าจะ ประพฤติปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง บางอย่างเด็กเห็นว่าตนเองควรจะปฏิบัติได้ โดยไม่มีข้อผิดพลาด หรือข้อเสียหายใดๆ แต่ผู้ใหญ่กลับห้ามปรามและแจ้งให้ทราบว่าเป็นสิ่งท่ีไม่เหมาะสมไม่ควรนำไป ประพฤติปฏบิ ัติ ทำใหเ้ ด็กเกดิ ปัญหา เกิดความคับขอ้ งใจในการปรับตัว ๙.ปัญหาทางการเมือง ปัญหาการเมืองนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นปัญหา ที่หนักในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด เด็กถูกปลุกระดมและเส้ียมสอนไปในทาง ท่ีไม่ถูกต้อง เช่น มีความเชื่อถือว่าระบอบคอมมิว นิสต์จะทำให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุข และสะดวกสบายโดยทัว่ หน้ากันจงึ เกดิ ใจฝกั ใฝ่ในลัทธิคอมมวิ นสิ ต์ขึ้น ปญั หาตา่ งๆ ก็จะตามมา ๑๐.ปญั หาเกี่ยวกับสขุ ภาพ เด็กที่มสี ุขภาพไม่ดีจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เด็กจะขาด ความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนทำให้เกิดปัญหาในด้านการเรียน เช่น ปัญหาการเจ็บออดๆแอดๆ ปัญหาสายตาส้ันมองไม่ชัดเจน ปัญหาหูตึงฟังไม่ชัด ปัญหาขาเป๋ ปากเบี้ยว ทำให้เกิดปมด้อย ถกู ล้อเลียน การแนะแนวมีหน้าที่ช่วยแก้ปัญหาให้เด็กอย่างถูกวิธี ทำให้เด็กเข้าใจถึงสภาพท่ีแท้จริง ของตนเอง และรู้แนวทางทีจ่ ะแกไ้ ขปัญหาเหล่านั้น ได้อย่างถูกวิธี โดยไม่ถือว่าสิ่งเหล่าน้ันเป็นปมด้อย ของตนเอง หรอื เป็นอุปสรรคในการเรียน กอ่ ให้เกิดกำลงั ใจทจี่ ะศึกษาเลา่ เรียนต่อไป ๑๑.ปัญหาเกีย่ วกับคา่ นิยม การมีคา่ นิยมผิดๆ เช่น การส่งบุตรไปศึกษาในเมืองหลวง เพราะถือว่าเป็นการทัดเทียมหน้าเทียมตาผู้อื่น ท้ังๆ ทส่ี ภาพครอบครัวยากจน ไม่สามารถจะสง่ เสียให้ เรียนได้ บางครอบครัวต้องขายไร่นา ทรัพย์สินท่ีมี เพ่ือส่งเสียลูกให้เรียน การท่ีลูกต้องอยู่ห่างไกล
จติ วิทยาสำหรับครู ๑๘๘ พ่อแม่ ขาดการควบคุมดูแลอาจประพฤติไม่ดี เรยี นไม่สำเร็จ ทำให้ครอบครัวต้องส้ินเนื้อประดาตัวไป ด้วย การแนะแนวจึงมุ่งช่วยเหลือให้บุคคลเข้าใจ และรู้จักสภาพท่ีแท้จริงของตนเองไม่ยึดถือ คา่ นยิ มไปในทางทผ่ี ดิ ๆ ก่อใหเ้ กิดปัญหาขึ้น ภายหลังได้ ๑๒.ปัญหาเก่ียวกับความคิดผิดๆ การเช่ืออย่างงมงายในเร่ืองไสยศาสตร์ หมอดู การทรงเจ้าเข้าผี มีมากในปจั จุบัน ส่ิงเหล่าน้ีเข้ามามีบทบาทสำคญั ในชีวิตมนุษย์ เพราะบุคคลประสบ ปัญหากันมากมาย เมื่อมคี วามสุขบุคคลจะไม่คิดถึงสิ่งเหล่านี้ เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดความทุกข์จะเร่ิม คิดถึงหมอดู หมอผี เป็นการช่วยให้จิตใจสบายข้ึน การเชื่องมงายในสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เสีย เงิน เสยี ทอง ถูกหลอกลวงแล้ว ยังต้องเสยี เวลาของชวี ิตไปอีก แทนท่ีจะเอาเวลาไปใช้คิดหาทางแก้ไข ปัญหา มองหาสาเหตุแห่งปัญหาแล้วค้นหาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง กลับไปเชื่อหมอผีลงยันต์ รา่ ยเวทมนตร์ ตัวอย่าง หญิงคนหนึ่งทราบว่าสามีของตนมีภรรยาน้อย แทนท่ีจะหาสาเหตุแห่งปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหา กลับไปปรับทุกข์กับเพ่ือนฝูง แล้วเพื่อนฝูงก็เลยแนะนำให้ไปหาหมอเก่งคน หนึ่ง ให้ช่วยลงนะหน้าทองให้ เพราะเชื่อว่าเม่ือลงนะหน้าทองแล้วสามีจะหลงใหลในเสน่ห์ และเลิกกับภรรยาน้อย ผลปรากฏว่าขณะเปิดหน้าท้องให้หมอลงนะอยู่น้ัน หมดก็ลูบคลำไปเรื่อยๆ จนหญิงผู้น้ีเห็นท่าไม่ดี ก็เลยยกเท้าขึ้น ถีบหมอหงายท้องไป แล้วว่ิงหนีออกจากห้อง ไปแจ้งความ ท่ีโรงพักจึงเกิดข่าวครึกโครมข้ึน ในหน้าหนังสือพิมพ์ นอกจากน้ัน การหาหมอดูตรวจดวงชะตา แลว้ แถมท้ายดว้ ยการทำพธิ สี ะเดาะเคราะหต์ า่ งๆ นน้ั ทำให้ตอ้ งเสยี เงินเสยี ทองโดยใช่เหตุ การแนะแนวจะช่วยช้ีให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจในส่ิงท่ีถูกตอ้ งไม่มีความเชื่อที่ผดิ ๆให้รู้จัก เชื่ออย่างมีเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาคิดพิจารณา ไม่ใช่ปล่อยเวลาของชีวิตงมงายอยู่กับเครื่องราง ของขลัง เสียเงิน เสียทองไปเป็นจำนวนมากมายโดยไม่รู้ว่าตนเองถูกหลอกลวง มุ่งให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจว่าต้องปฏบิ ัติ ตอ้ งกระทำ จึงจะนำไปสู่ความสำเรจ็ ไมใ่ ชน่ ั่งคอย นอนคอยโชคชะตา ๘.๕ หลกั การแนะแนว (Principles of Guidance) ในการแนะแนวมีหลักการที่ควรยดึ ปฏบิ ตั ิ ดังนี้ ๑.การแนะแนวเปน็ วิธกี ารช่วยเหลือบคุ คลในกระบวนการของการพัฒนา มุ่งส่งเสริมให้บุคคล เจริญเติบโตไปสู่วุฒิภาวะ มีความสามารถท่ีจะรับผิดชอบในสิ่งท่ีตนเองเก่ียวข้องสัมพันธ์ด้วย เป็นการนำเอาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือบุคคล รวบรวมประสบการณ์และทัศนคติต่างๆ ท่ีบุคคล ไดร้ ับมาเสริมสร้างการพัฒนาการทุกๆ ดา้ นของตนเอง ๒ .ก า ร แ น ะ แ น ว จ ะ เกี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ค ว า ม นึ ก คิ ด ข อ ง ต น เอ ง ซ่ึ ง สั ม พั น ธ์ กั บ สั ง ค ม ภ า ย น อ ก ซ่ึงการแนะแนว จะจัดอยู่ในลักษณะของการรับรู้ของบุคคลเป็นการส่วนตัว ซึ่งเก่ียวกับเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมรอบๆตวั ๓.การแนะแนวขึ้น อยู่กับการยอมรับความมีคุณค่าของแต่ละบุคคล และยอมรับในสิทธิ ส่วนตัวเก่ียวกับการตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้แนะแนวจำเป็นท่ีจะต้องยอมรับว่าทุกๆ คน เป็นบุคคลที่มีคุณค่า มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ด้วยตนเอง ซ่ึงบุคคลมีคุณค่าเพียง พอที่จะรับผิดชอบต่อชีวิตของตนเอง และสามารถแสดงบทบาทอยูใ่ นสังคมได้ด้วยตนเองอยา่ งถูกต้อง และเหมาะสม
จิตวิทยาสำหรับครู ๑๘๙ ๔.การแนะแนวช่วยให้บุคคลมีความสามารถที่จะเลือกกระทำสิ่งใดๆ ได้อย่างฉลาด ร้จู ักวางแผน รู้จักแสดงบทบาทและร้จู ักวิธีการปรับตัว อุปสรรคสำคัญของบุคคลท่ีจะไปสู่ความสำเร็จ มักจะอยู่ที่การวางแผน และแนวทางในการพัฒนาตนเอง การแนะแนวช่วยให้บุคคลเข้าใจแผนงาน อย่างชัดแจ้ง เข้าใจตนเองและเข้าใจวิธีการที่จะกระทำตนเองให้อยู่ในสภาพของสมาชิกของสังคมท่ีดี การแน ะแนวให้ อิสระแก่บุ คคลที่ จะเลือกวิธีการ ต่างๆ กระท ำตน อย่างบุ คคลที่ ฉลาด และมคี วามรับผิดชอบสงู ๕.การแนะแนวเป็นแนวทางที่นำไปสู่การร่วมมือไม่ใช่การบังคับ การแนะแนวเก่ียวข้องกับ แรงจูงใจภายใน และความประสงค์ที่จะปรับปรุงมากกว่าการเกิดจากแรงจูงใจภายนอก การต่อต้าน ความขนุ่ ขอ้ งหมองใจใดๆ ก็ตามท่ีเกดิ ขน้ึ ควรจะไดร้ บั การแก้ไข เพอ่ื นำไปสูค่ วามเข้าใจอนั ดงี าม ๖.การแนะแนวเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาท่ีต้องต่อเน่ืองกันและเป็นไปตามลำดับ ขั้นตอนซึ่งต้องเริ่มจากช้ันประถมศึกษาต่อเนื่องไปถึงช้ันมัธยมศึกษา ควรจะอยู่ร่วมกันเป็นหน่วย เดยี วกนั ไม่ควรแบง่ แยกออกจากโครงการที่ทางโรงเรยี นจดั ไว้ ๗.การแนะแนวเป็นการศึกษาที่กว้างขวางของบุคคลและสภาพสังคมท่ีบุคคลเก่ียวข้องด้วย ก่อนทีจ่ ะให้ความช่วยเหลือแก่บคุ คลจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความอ่อนแอ ความเข้มแขง็ และลักษณะ รวมๆ ของบุคคลเสียก่อน การท่ีจะสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ท่ีกล่าวมาแล้วนั้น จำเป็นท่ีจะต้องอาศัย เทคนิคและวธิ ีการตา่ งๆ มากมาย ๘.การแนะแนวมบี ทบาทในการดำเนินงานอย่างแคลว่ คล่องว่องไว ผู้ใหค้ ำปรึกษา บิดามารดา ครู นักจิตวิทยา และบุคคลทุกๆ ฝ่ายที่เก่ียวข้องในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนให้ไปสู่ขีดสูงสุด ของความสามารถ และความรับผดิ ชอบของตนเอง จำเปน็ จะต้องดำเนนิ งานอย่างมปี ระสทิ ธิภาพ ๙.การแนะแนวช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงสภาพของความเป็นจริงและลักษณ ะที่แ ท้จริง ของตนเองทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจตนเอง (self-understanding) ยอมรับต่อสภาพของความเป็น จรงิ ๑๐.การแนะแนวจัดเป็นรายบุคคล เป็นการจัดบริการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่นกั เรยี นเป็นการสว่ นตวั อนนต์ อนนั ตรงั สี ได้นำเสนอหลักของการแนะแนวทีส่ ำคัญมีดงั น้ี๙ ๑.การแนะแนวเปน็ กระบวนการต่อเน่ืองกัน การจัดบรกิ ารแนะแนวไม่ใช่การกระทำ ท่ีเสร็จสิ้นลงในระยะเวลาเพียงสั้น ๆ การแนะแนวจะต้องกระทำติดต่อกัน ต้องมีการวางแผนระยะ ยาว แล้วจัดดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอน เพ่ือดำเนินไปสู่เป้ าหมายที่วางไว้ การจัดกิจกรรมต่างๆ ต้องเรียงตามลำดบั ก่อนหลัง และมีการตดิ ตามผลงานทีไ่ ดก้ ระทำลงไปแล้ว ๒.การแนะแนวเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา จะแยกออกจากกันไม่ได้ การแนะแนว จัดขึ้นเพื่อช่วยให้การศึกษาเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ การแนะแนวจำเป็นจะต้องสอดแทรก อยู่ในการเรียนการสอนตลอดเวลา โดยไม่มีการแยกกันว่าส่วนใดเป็นการศึกษา หรือส่วนใดเป็นการ แนะแนว ๓.การแนะแนวเน้นถึงเร่ืองการป้องกันปญั หามากกว่าการแก้ไขปัญหา การแนะแนว จดั ขน้ึ โดยมีวตั ถุประสงค์ที่จะปอ้ งกันปัญหาต่างๆ ไมใ่ หเ้ กดิ ขน้ึ โดยมีการวางแผนในการป้องกันปัญหา ๙ อนนต์ อนันตรังสี.หลักการแนะแนว, (กรงุ เทพมหานคร : สำนักพมิ พโ์ อเดยี นสโตร์, ๒๕๒๑), หนา้ ๒๓ – ๒๕.
จิตวิทยาสำหรบั ครู ๑๙๐ ไว้ล่วงหน้า เช่น การป้องกนั การติดยาเสพติด การแนะแนวจะเน้นวิธีการป้องกันไม่ให้เดก็ ตกเป็นทาส ของยาเสพติด แต่ไม่ใช่ติดยาเสพติดแล้วจึงจะหาวิธีแก้ปัญหา การแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องกระทำ ต่อเม่อื ปญั หานน้ั ไดเ้ กดิ ข้ึนแล้ว โดยไมส่ ามารถจะปอ้ งกันได้ ๔ .การแน ะแน วเน้ น ใน เรื่องการเข้าใจตน เอง การตัดสิน ใจด้วยตน เอง และการปรับตัวด้วยตนเอง การแนะแนวมุ่งให้บุคคลรู้แจ้งเห็นจริงเก่ียวกับตนเอง เข้าใจตนเองได้ดี สามารถใช้วิจารณญาณตัดสินใจด้วยตนเอง และมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ทกุ ๆ ดา้ นได้ บคุ คลทีไ่ ดร้ บั การแนะแนวจะสามารถช่วยเหลอื ตนเองได้อย่างดี ๕.การแนะแนวเน้นท่ีการส่งเสริมการพัฒนาอย่างถูกหลักวิธี การแนะแนวจะเน้น ให้ผ้เู รยี นได้มกี ารพัฒนาทุกๆ ดา้ นไปพร้อมๆ กันอยา่ งถกู ตอ้ งตามหลกั วธิ กี าร ๖ .การแน ะแน วจัด ข้ึน เพื่ อ ช่วย เห ลื อบุ คค ล อ ย่างมี ระ เบี ย บ แบ บ แผ น เป็นการช่วยเหลอื ใหบ้ คุ คลรจู้ กั เสาะแสวงหาความรู้ดว้ ยตนเองอยา่ งมอี ิสระปราศจากการบังคับ ๗.การแนะแนวเน้นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มนุษย์ทุกรูปทุกนามย่อมมี ความแตกตา่ งกนั การแนะแนวต้องคำนงึ ถึงความแตกต่างระหว่างบคุ คลเป็นหลกั สำคัญ ทั้งน้ีเพือ่ จะได้ สามารถช่วยเหลือเด็กให้เรียนไปตามความถนัด และความสามารถของตนเอง ช่วยให้สามารถวาง หลักสูตร และจดั วิชาเรียนได้เหมาะสมมากยงิ่ ขน้ึ ๘.การแนะแนวต้องอาศัยการประสานงานของทุกๆ ฝ่าย การแนะแนวท่ีดีตอ้ งอาศัย ความร่วมมือจากผู้เก่ียวข้องทุกๆ ฝ่าย เช่น ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูใหญ่ คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน พยาบาล บรรณารักษ์ และบคุ คลอน่ื ๆ ทม่ี สี ว่ นเกี่ยวข้องกับการบรหิ ารการแนะแนว ๙.การแนะแนวเป็นกระบวนการรวม การพิจารณาสิ่งใดก็ตามต้องมีการพิจารณา ทุกๆอย่างไปพร้อมๆ กัน เช่น การพิจารณานักเรียนก็จำเป็นต้องพิจารณารวมกันไปทั้งหมดไม่ใช่ พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นการพิจารณารวมกันไปทุกๆ ด้านหรือเรียกว่าพิจารณาไปท้ังตัว บคุ คล ๑๐. การแนะแนวเป็นกระบวนการท่ีถือเอาตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง การแนะแนวต้อง ถือตัวเด็กเป็นศูนย์กลางถือเป็นหลักในการจัดบริการแนะแนวโดยคำนึงถึงความต้องการของเด็ก สง่ เสรมิ ให้เด็กได้กระทำไปตามท่ีตนเองตอ้ งการ ท้งั นี้ตอ้ งอยูใ่ นกฎเกณฑท์ ่สี ังคมยอมรับ ๑๑.การแนะแนวจำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารการแนะแนว ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีผู้นำหรือผู้บริหารที่ดีมีความสนใจ เอาใจใส่ในบริการแนะแนว การบริการแนะแนวจะไม่สามารถดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางได้ ถ้าขาดความร่วมมือจากผู้นำ หรือผู้บรหิ าร การให้การสนับสนุนและร่วมรับผิดชอบของผู้บริหาร ในการดำเนินงานของบริการแนะ แนวจะช่วยให้การแนะแนวเดนิ ทางไปสู่เปา้ หมายไดอ้ ยา่ งงา่ ยดาย ๑๒.การแนะแนวต้องจัดบริการสำคัญไว้ในโครงการแนะแนว คือ บริการศึกษาเด็ก เป็นรายบุคคล (individual inventory service) บริการสนเทศ (information service) บริการให้ คำปรึกษา (counseling service) บริการจัดวางตัวบุคคล (placement service) บริการติดตามผล (follow-up service) ๑๓.ครูในโรงเรียนทุกคนต้องมีส่วนรว่ มในการแนะแนว โดยปกติแล้วมักจะมผี ู้เขา้ ใจ ผิดว่าผู้ที่ทำหน้าท่ีในการบริการแนะแนวท่ีแท้จริงน้ัน คือ บุคคลท่ีทำหน้าที่แนะแนวโดยเฉพาะ ส่วนบุคคลอน่ื น้ันไม่เกยี่ วข้อง ความจริงแล้วครูทุกๆ คนก็คอื ผู้แนะแนวการบริการแนะแนวเป็นของครู ทัง้ โรงเรียน ซ่ึงครูทุกๆ คนมีหน้าที่โดยตรงท่ีจะร่วมบทบาทบริการการแนะแนว และครูควรจะทราบ
จิตวทิ ยาสำหรบั ครู ๑๙๑ ถงึ บทบาทที่แท้จริงของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูประจำช้ันจะเปน็ บคุ คลท่ีมบี ทบาทสำคญั โดยตรง ต่อเด็ก เพราะถอื ว่าเป็นบคุ คลท่ีใกล้ชิดเดก็ ท่ีสดุ ๑๔.การแนะแนวจำเป็นต้องอาศัยผู้แนะแนวที่มีคุณสมบัติที่ดี การเป็นผู้แนะแนว ไม่ใช่ของง่าย บุคคลที่จะทำหน้าที่แนะแนวต้องผ่านการฝึกฝนอบรมมาอย่างดี เข้าใจวิธีการของการ แนะแนวอย่างชัดเจน และต้องมีคุณสมบัติพิเศษส่วนตัวในลักษณะของผู้แนะนำท่ีดี จึงจะช่วย ใหบ้ รกิ ารแนะแนวบรรลเุ ป้าหมายได้ ๑๕.การแนะแนวต้องมีการวางแผนงานหรือโครงการเอาไว้ลว่ งหน้า การแนะแนวที่ดี ตอ้ งมีการวางแผนตามหลักวิชา สามารถยดื หยุ่นไดต้ ามความเหมาะสม ผู้แนะแนวตอ้ งมคี วามสามารถ ในการรวบรวมข้อมูลและแปลความหมายของขอ้ มลู ได้ถูกต้องตรงตามความเปน็ จริง ๑๖.การแนะแนวต้องอาศัยกลวิธีทางวิทยาศาสตร์ การแนะแนวท่ีดีต้องใช้หลักการ ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการแก้ไขปัญหา รู้จักการรวบรวมข้อมูลแลและหาสาเหตุแห่งปัญหาแล้ว ดำเนนิ การแกป้ ญั หาไปตามขันตอนวิทยาศาสตร์ ๑๗. การแนะแนวจะอยู่ร่วมเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน การแนะแนวจะกระทำไป พร้อมๆ กันทกุ ๆ ด้าน การแนะแนวจะไมแ่ ยกเปน็ การแนะแนวการศึกษา การแนะแนวอาชีพ การแนะ แนวทางด้านศีลธรรม การแนะแนวปัญหาส่วนตัว หรือการแนะแนวประเภทอ่ืนใด แต่จะทำการแนะ แนวทุกๆด้านสมั พันธ์กันไป ๑๘.การแนะแนวไม่ใชก่ ารแนะนำ การแนะแนวไม่ใชก่ ารให้แนวทางหรอื บอกให้ผอู้ ่ืน ไปปฏิบัติ การแนะนำจะเป็นวธิ กี ารทผี่ ู้แนะนำช่วยแก้ปัญหาใหก้ ับผู้ท่ีประสบปัญหา ซึ่งจะกระทำเสร็จ ส้ินเป็นคร้ังๆ ไป ส่วนการแนะแนวน้ัน จะเป็นกระบวนการต่อเน่ืองช่วยให้ผู้ประสบปัญหารู้จักตัวเอง และสามารถตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างฉลาดรอบคอบ และต้องมีการติดตามผลและ ประเมนิ ผลอย่ตู ลอดเวลา ๑๙.การแนะแนวตอ้ งมีการประเมินผลโครงการแนะแนวเป็นระยะๆ ท้ังนี้เพ่ือสำรวจ ดูวา่ โครงการแนะแนวที่ได้ดำเนินไปแล้วมีผลดีอย่างไร หรือมีข้อบกพร่องอย่างไร สมควรจะได้รับการ แกไ้ ขหรือไม่ ๘.๖ ปรชั ญาการแนะแนว ปกติแล้วในการปฏิบัติงานใดก็ตาม มนุษย์ย่อมปฏิบัติไปตามความเชื่อของตนและความเช่ือ ท่ีมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับและเป็นแนวปฏิบัติ เรียกว่าปรัชญา และปรัชญาท่ีนำมาปฏิบัติสรุป เป็นกฎเกณฑ์ได้แน่นอน เรียกว่า ทฤษฎีหรือหลักการ และจุดท่ีเราหวังจะบรรลุถึงในการปฏิบัติ เรียกวา่ เป้าหมายปรชั ญาแนะแนว มาจากการยอมรับในหลักประชาธิปไตย จิตวทิ ยาและสังคมวิทยา เชน่ ๑. มนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ความไม่เหมือนกันนี้จะเห็นได้จากรูปร่างหน้าตา นิสัย ความถนดั ความสามารถซง่ึ มสี าเหตุทีอ่ ธบิ ายไดไ้ ม่ใชเ่ กิดจากโดยบงั เอิญ ๒. พฤตกิ รรมทกุ อยา่ งต้องมีสาเหตุ การท่ีคนเราทำอะไรลงไปหรอื เป็นเชน่ นั้น ไม่ใช่เกิดจากผี สางเทวดา
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249