Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

Description: แนวคิด หลักการ ทฤษฎีทางจิตวิทยาพื้นฐาน ทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคลการจำ การลืม การคิด เชาวน์ปัญญา การสร้างแรงจูงใจ บุคลิกภาพและการปรับตัว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแนะแนวและการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

Keywords: จิตวิทยาการศึกษา การแนะแนว

Search

Read the Text Version

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๒ ต่อไปน้ีจะไม่ขอกล่าวถึงประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษาเพ่ิมเติมอีก แต่จะย้ำถึงความจำเป็นของจิตวิทยา การศึกษาต่อการเป็นครใู หก้ ระจา่ งย่ิงขึ้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มิใช่อยู่ท่ีเนื้อหาท่ีผู้สอนนำมาเสนอให้ผู้เรียนเพียง อย่างเดียวเพราะถึงแม้ผู้สอนจะมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเน้ือ หาสาระน้ันๆ เป็นอย่างดีเพียงใดก็ตาม หรือเน้ือ หาสาระน้ันๆ ได้ถูกจัดเตรียมขึ้น มาอย่างดีเยี่ยมเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า เม่ือผู้ สอนนำไป ถ่ายทอดให้ผู้เรียน แล้วผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เน้ือหาสาระนั้นๆ เข้าไปได้ทันทีโดยอัตโนมัติ เนื่องจากยังมีปัจจัย ประกอบอื่นๆ อีกมากมายท่ีมีผลต่อการเรียนรหู้ รือการซมึ ซบั เนื้อหาสาระน้นั ๆ เพ่ือก่อให้เกิดเป็นความรู้และทักษะ ขนึ้ ในตัวผู้เรยี น Gagne๑๗ กล่าวถึงองค์ประกอบทที่ ำให้บุคคลเกิดการเรยี นรู้ว่าจะตอ้ งประกอบด้วย ๑) ผู้เรียน ๒) สถานการณ์ท่ีมาเราหรือกระตุ้นผู้เรียน (Stimulus Situation) และ ๓) ผลการแสดงออกของผู้เรียนที่เกิดจากการ กระตุ้น (Response) โดยองค์ประกอบทั้ง ๓ จะต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อม เนื้อหาหรือสถานการณ์ที่นำมาเสนอจะต้องมีความชัดเจนน่าสนใจและผล การเรยี นรู้ท่ผี ู้เรยี นแสดงออกมาจะต้องถูกต้องเหมาะสมตามที่ต้องการใหเ้ กดิ เปน็ ต้น กนั ยา สุวรรณแสง๑๘ ได้กลา่ วถึงปัจจัยท่ีมีผลตอ่ การเรยี นรวู้ า่ จะตอ้ งประกอบดว้ ยปจั จัยต่อไปนี้ ๑. ผู้เรียน ซ่ึงจะต้องคำนึงถึง เพศ อายุ วุฒิภาวะ และความพร้อมของผู้เรียนตลอดจน ประสบการณเ์ ดิม สติปัญญา แรงจูงใจ อารมณ์ และความบกพร่องทางกายบางประการ ๒. บทเรยี น ซงึ่ ได้แก่ ความยากง่าย ความหมาย และการแบ่งเนือ้ หา เปน็ ต้น ๓. วิธีเรียน วิธีสอน ได้แก่ การจัดกิจกรรม การใช้เครื่องล่อใจ การฝึกฝน การเสริมแรงเป็นต้น แสงเดือน ทวีสิน๑๙ ได้ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ไว้เช่นเดียวกับกันยา สุวรรณแสง ว่าต้อง ประกอบด้วย ผู้เรียน บทเรียน (เน้ือ หาวิชาและแหล่งค้นคว้า) และวิธีเรียน วิธีสอนแต่ได้เพ่ิมเติมในส่วนของการ คดิ วเิ คราะห์และทักษะในการแก้ปัญหาเข้าไปเป็นอีกองค์ประกอบหนง่ึ Shulman๒๐ สรุปลักษณะของครทู ี่มคี วามเชี่ยวชาญในการสอนวา่ จะต้องมคี วามรูใ้ นเร่ืองต่อไปน้ี ๑. ความรใู้ นเน้ือ หาวชิ าทสี่ อน ๒. วธิ กี ารสอนทัว่ ๆ ไป เช่น หลกั การบรหิ ารจัดการชนั้ เรยี น การวัดและประเมนิ ผล เป็นตน้ ๓. โปรแกรมและวัสดอุ ุปกรณ์ท่เี หมาะสมกับวชิ าที่สอนตามหลักสตู ร ๔. ความรู้เกี่ยวกับการสอนเฉพาะสาขาวิชา เช่น วิธีการสอนที่เหมาะสำหรับนิสิตในสาขาวิชา วิธกี ารสอนเฉพาะท่ใี ช้ในการถ่ายทอดแนวคดิ บางอยา่ ง เป็นต้น ๕. บคุ ลกิ ภาพและความเปน็ มาของผูเ้ รยี น ๖. ลักษณะของการจัดการเรียนการสอน เช่น เรียนเป็นคู่ เรียนเป็นกลุ่มย่อย เรียนเป็นทีม เรยี นเปน็ ช้นั เรียนปกติ เป็นต้น ๗. จุดม่งุ หมายของการสอน จะเห็นได้ว่า ในการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ต้องประกอบด้วยปัจจัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ ของเนื้อหาสาระหรือประสบการณ์ทน่ี ำไปสอน คุณลกั ษณะและธรรมชาติของผู้เรียนเทคนิควิธีการเรียนของผูเ้ รียน ตลอดจนเทคนิคและวิธีการสอนของครู รวมท้ังความรู้เกี่ยวกับบริบทอ่ืนๆ ที่มีส่วนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ปัจจัยหรือองค์ประกอบของการเรียนรู้มากมาย ซ่ึงเร่ืองราว ๑๗ Gagne R. The conditions of learning, New Tork:Holt, Rinehart and Winston,Inc,1967, p.6. ๑๘ กันยา สวุ รรณแสง, จติ วทิ ยาท่วั ไป, กรุงเทพมหานคร : บริษัทบำรุงสาสน์, ๒๕๔๐ หน้า ๑๕๙-๑๖๕. ๑๙ แสงเดือน ทวสี นิ , จิตวิทยาการศกึ ษา, พิมพค์ ร้งั ที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : ไทยเส็ง, ๒๕๔๕ หนา้ ๒๑. ๒๐ Shulman (อ้างถึงใน Woolfolk, A.E., Educational psychology, 9th ed. Boston: pearson Education, Inc., 2004, p.6.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๓ ดังกล่าวจัดเป็นเนื้อหาสาระของจิตวิทยาการศึกษาแทบท้ังส้ิน เน่ืองจากจิตวิทยาการศึกษาเป็นการพยายามหา คำตอบ เพ่ือที่จะอธิบายพฤติกรรมที่เก่ียวขอ้ งกับการเรียนการสอน จนได้มาซ่ึงหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่สามารถ นำไปใช้ในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่เกิดข้ึนในช้ันเรียนได้ หรือบทบาทของจิตวิทยาการศึกษาท่ีเก่ียวข้องกับ การวิจัยก็ทำให้ได้มา ซ่ึงการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน รวมท้ังทำให้ได้องค์ประกอบความรู้ ใหม่ๆ ท่ีช่วยทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพย่ิงข้ึน ดังน้ัน ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ทางจิตวิทยาการศึกษาควบคู่ไปกับความรู้ในสาขาวิชาเฉพาะที่ตนเองสอน และท่ีสำคัญต้องสามารถศึกษาวิจัย และหรือนำความร้ไู ปใช้เพือ่ แกป้ ัญหา หรือปรับปรุงหรือเพมิ่ ประสิทธภิ าพการเรียนการสอนใหด้ ยี ง่ิ ข้ึน จึงอาจกล่าว อกี นยั หนงึ่ ได้ว่าผสู้ อนควรต้องเป็นท้งั ครูและนกั จติ วิทยาการศึกษาในเวลาเดยี วกัน ๒.๙ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเรียน ของผู้เรียนซึง่ ผ้สู อนควรต้องทำความเข้าใจความแตกต่างในด้านต่างๆ ก่อนที่จะวางแผนการสอน เพื่อปอ้ งกันไมใ่ ห้ ผู้เรียนหลายคนต้องประสบกับปัญหา เช่น การถูกดูถูกเหยียดหยามการถูกกีดกันจากกลุ่ม การเลือกปฏิบัติ ความกดดัน และความคาดหวงั ของผู้สอน ความเบือ่ หนา่ ยในสิง่ ทีเ่ รียน เปน็ ต้น พฤตกิ รรมของมนษุ ย์มีความซับซอ้ น ยากท่ีจะทำความเขา้ ใจได้ง่ายๆจึงมผี ู้พยายามจะทำความกระจ่างกับ พฤติกรรมของมนุษย์ด้วยการศึกษาค้นคว้ามาต้ังแต่บรรพกาล จนถึงปัจจุบัน มันก็ยังมีการศึกษาอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะองค์ประกอบท่ีก่อให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก็จะถูกสรุปกันเป็นส่วนใหญ่ว่า การเกิดพฤติกรรม ของมนุษย์เป็นผลกระทบขององค์ประกอบต่างๆ ในตัวมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน แล้วจึงถูกกล่อมเกลาด้วย ส่งิ แวดล้อม ทำใหเ้ กิดความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังคำกล่าวท่ีเราอาจได้ยินตามสถาบันการศกึ ษา “นิสิตที่นี่ร้อย พ่อพันแม่” ซึ่งก็หมายถึง นิสิตมาจากพ่อแม่ท่ีต่างกัน พันธุกรรมก็ไม่เหมือนกัน บางคร้ังพ่อแม่เดียวกัน พันธุกรรม เดียวกัน เจริญเตบิ โตขึ้น สิง่ แวดล้อมอาจแตกต่างกนั บคุ คลทีม่ พี อ่ แมเ่ ดียวกนั หรอื แมแ้ ต่ฝาแฝดกแ็ ตกต่างกัน โดยภาพรวมมนุษยจ์ ะมคี วามคลา้ ยคลึงกัน เชน่ ต่ืนเต้น ดีใจ เม่อื ถูกรางวัลใหญข่ องสลากกินแบ่งหรือโดน เข็มแทง จะรู้สึกเจ็บ แต่โดยรายละเอียดมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทั้งลักษณะภายนอก เช่น รูปร่าง ผิวพรรณ ท่าทาง และลกั ษณะภายใน (ทางจติ ใจ) เชน่ ความตอ้ งการ ทศั นคติ ความสนใจ ฯลฯ ๒.๙.๑ ประวตั กิ ารศกึ ษาความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล นักจิตวิทยาและนักการศึกษา มีการศึกษารวบรวมข้อมูลเก่ียวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างมี หลกั การ มรี ะบบ แบบแผน ซึ่งก็มีจุดประสงค์เดียวกนั คอื ใหเ้ ขา้ ใจความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล ดังน้ี พลาโต (Plato, ๔๒๗ – ๓๔๗ ก่อน ค.ศ.) นกั ปรัชญาชาวกรีก ศกึ ษาเกี่ยวกับมนุษย์และเขียนไว้ในหนังสือ The republic วา่ ไม่มบี คุ คล ๒ คน ที่เกิดมาเหมือนกนั ทกุ อยา่ ง (No two persons are born exactly alike) อริสโตเติล (Aristotle, ๓๘๔ – ๓๒๒ ก่อน ค.ศ.) นักปรัชญากรีกเช่นกัน ได้กล่าวไว้ว่า บุคคลมีความ แตกต่าง จากแนวความคิดของอรสิ โตเตลิ ทำให้เกิดการศกึ ษาเรอื่ งความแตกต่างของบคุ คลกว้างขวางข้นึ ในช่วงระยะแรกของครึ่งหลังของศตวรรษท่ี ๑๙ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ ให้ความสนใจเก่ียวกับการค้นพบ กฎทว่ั ไปของธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ ซึ่งสามารถใช้ได้กบั ทุกคนมากกวา่ ที่จะสนใจเรื่อง ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ต่อมา วิลเฮล็ ์ม แมกซ์ วุ้นท์ (Wilhelm Max Wundt) นักจิตวิทยาชาวเยอรมนั เป็นคนแรกที่ให้ความสนใจ กับความแตกตา่ งของบุคคลจากแบบทดสอบความแตกตา่ งระหว่างบุคคลของ แคทแทล (Cattell) ซ่ึง “แคทแทลก็ เป็นคนแรกท่ีใช้ mental test เพ่ือแยกแยะความแตกต่างของบุคคล แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาความแตกต่าง ของบุคคลในระยะน้ีก็ไมส่ ามารถที่จะให้ผลไดอ้ ยา่ งมนี ัยสำคญั

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๔ ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ อัลเฟรด บิเนต์ (Alfread Binet) ได้พัฒนาแบบทดสอบทางสมอง เพื่อให้เห็นความ แตกตา่ งระหวา่ งบุคคลชัดเจนมากขึ้น ในปี ค.ศ. ๑๙๑๖ ลูอิส เทอร์แมน (Lewis Terman) นักจิตวทิ ยาชาวอเมริกัน ท่ีมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ดัดแปลงแก้ไขข้อทดสอบของบิเนต์ออกเผยแพร่ เรียกใหม่ว่า Standford Binet Test และเป็นท่ีรู้จักมาจน ปจั จุบนั นี้ เมื่อเร่ิมสงครามโลกครั้งที่ ๑ นักจิตวิทยาและนักการศึกษา เพิ่มความสนใจศึกษาวิจัยเรื่องความแตกต่าง ระหว่างบุคคล โดยเฉพาะเรื่อง สติปัญญา เพื่อจะได้บุคคลที่มีความสามารถสำหรับดำเนินการ ให้ความสามารถ เหมาะสมกับงาน การศึกษาวิจัยความแตกต่างระหว่างบุคคลยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องจนส้ินสุดสงครามโลก ครง้ั ท่ี ๒ ๒.๙.๒ ความหมายความแตกต่างระหว่างบุคคล นักจิตวิทยาและนักการศึกษาท่ีศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนใหญ่จะมุ่งประเด็นศึกษา ไปที่รายละเอียดของความแตกต่างระหว่างบุคคล ฉะน้ัน ความหมายของความแตกต่างก็จะมาจากข้อมูล ของความแตกต่างระหว่างบคุ คลท่ีนักจติ วทิ ยาและนักการศึกษาแตล่ ะท่านเขยี นถึง ดงั นี้ ไบเอ็จและฮันด์๒๑ ได้กล่าวไว้ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็คือ ส่วนท่ีมีความคล้ายคลึงกันและส่วนที่ ไม่เหมอื นกนั ของคน น้อมฤดี จงพยุหะ และคณะ๒๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคล หมายถึง ความแตกต่างระหว่างท้ัง หมดโดยส่วนรวมของคนคนหนึ่ง แต่แตกต่างจากอีกคนหน่ึงในทุกๆ ด้าน ท้ังทางกาย อารมณ์ สงั คมและสตปิ ญั ญา กันยา สุวรรณแสง๒๓ ได้กล่าวไว้ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ แต่ละคนในโลกน้ีย่อมมี ความแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย ท้ัง ภายนอกคือ ทางกายและภายในคือ นิสัยจิตใจ สติปัญญา ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ เจตคติ ความตอ้ งการ อารี พันธม์ ณี๒๔ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลว่าหมายถึง ลักษณะของบุคคล แต่ละ คน ซ่ึงไม่เหมือนกันแตกต่างกัน มีลักษณะหรือแบบไม่ซ้ำใครและไม่เหมือนใคร ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซง่ึ ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ทำให้บคุ คลมีเอกลกั ษณ์ของตน จากข้อมูลข้างต้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถสรุปได้ว่า หมายถึง ความไม่เหมือนกันหรือ ความคล้ายคลึงกันของบุคคลหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ๒.๙.๓ ประเภทของความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล จากการศึกษาค้นคว้าในเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา ตั้งแต่สมัย อดีตจนถึงปจั จบุ นั พบว่า แตล่ ะคนมคี วามแตกต่างกนั ออกไปมากมาย พอสรปุ รวมๆ เป็น ๔ ประเภท ดงั น้ี ๒.๙.๓.๑ ความแตกตา่ งทางร่างกาย (Physical) ความแตกต่างทางร่างกาย หมายถึง ความแตกตา่ งของลักษณะทางร่างกายที่เห็นได้ชัด ตลอดจน ปาก จมกู หู ตา และอวัยวะต่างๆ ของรา่ งกาย ซึง่ จะแตกต่างกนั ในแต่ละบคุ คล ๒๑ Biage & Hunt, M.L and Hunt,J.M., Hunt Phychological Foundation of Education, 5th ed. New York: Harper & Row, 1979, p.110. ๒๒ นอ้ มฤดี จงพยหุ ะ และคณะ, ค่มู อื การศกึ ษาวชิ าจิตวทิ ยาการศึกษา, กรงุ เทพมหานคร : มติ รสยาม,๒๕๑๖ หนา้ ๑๒๐. ๒๓ กนั ยา สวุ รรณแสง, จติ วิทยาท่ัวไป, กรงุ เทพมหานคร : บริษทั บำรงุ สาสน์, ๒๕๔๐ หน้า ๖๙. ๒๔ อารี พันธ์มณี, จิตวทิ ยาสร้างสรรค์การเรยี นการสอน, กรุงเทพมหานคร : ใยไหม ครเี อทฟี กรุป๊ , ๒๕๔๖ หน้า ๓๑.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๕ วิลเลียม เชลดอน (William Sheldon) ซึ่งเป็นแพทย์ชาวอเมริกันได้ศึกษาลักษะความแตกต่าง ทางร่างกายของมนุษย์ เขาเช่ือว่าลักษณะของบุคคลมีพ้ืนฐานมาจากยีน (gene) ร่วมกับสิ่งแวดล้อมของมดลูก ลกั ษณะของรูปร่างยากต่อการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอาจจะเปลี่ยน เม่ือได้รับความกดดันจากสิ่งแวดล้อม เช่น ส่ิงแวดล้อมภายในครอบครัว ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนการศึกษาที่ทำให้เกิดการเปล่ียนแปลง ท้ังด้าน ความคิด และทัศนคติ เชลดอน แบ่งโครงสร้างทางร่างกายออกเป็น ๓ ประเภท คือ พวกอ้วน (Endomorphy) พวกสมส่วน (Mesomorphy) และพวกผอมบาง (Ectomorphy) จากนั้นเชลดอนได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ และสังเกต จากกลุ่มตัวอย่างซ่ึงเป็นเพศชายทั้งหมด โดยศึกษาเป็นเวลาหลายปี ผลจากการศึกษาครั้งน้ี เชลดอน พบว่า ลักษณะโครงสร้างทางร่างกายของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ เขาจึงแบ่งประเภทของบุคลิกภาพ ตามลกั ษณะโครงสร้างทางรา่ งกาย (Constitutional types) ออกเปน็ ๓ ประเภท ดงั นี้ ๑. Endomorphy เป็นพวกที่มีโครงสร้างทางร่างกายอ้วนเตี้ย มีลักษณะตัวกลมเน้ือ มากไขมันมากร้อน ง่ายเคล่ือนย้ายไม่คล่องตัว ชอบการรับประทานและรับประทานจุชอบสนุกสนาน รักความสะดวกสบายมีมนุษย สัมพันธ์ดี ๒. Mesomorphy ลักษณะของคนแข็งแรงมีกล้ามเน้ือ เป็นมัดอย่างเห็นได้ชัด ชอบออกกำลังในกิจกรรม ต่างๆ ชอบการผจญภัยประเภทใชก้ ำลัง เป็นคนกระตอื รือร้น ตัดสนิ ใจเร็ว กล้าหาญ ใจหนกั แน่น พูดตรง ไปตรงมา คอ่ นข้างก้าวร้าว ไม่ชอบอยูใ่ นท่ีแคบ ๓. Ectomorphy เป็นพวกที่มีลักษณะคนผอมไม่ค่อยมีกล้ามเน้ือ ไม่ชอบเข้าสังคม มีความสุขุมอยู่เป็นท่ี ทาง มรี ะเบียบ บางคร้ังหยุมหยมิ ฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ มีความรบั ผดิ ชอบสงู ดงั แสดงในภาพที่ ๒.๑ ภาพท่ี ๒.๑ แสดงลักษณะของบุคคลท่ีมลี กั ษณะแบบ ท่ีมา : http://www.puntofape.com/biotipos-porque-el-musculo-se-convierte-en-grasa-๔๐๘๕/ เครชเมอร์๒๕ ได้แบ่งลกั ษณะ ความแตกต่างของมนุษย์ออกเป็น ๔ ประเภท คอื ๑. แอสทีนิก ไทป์ (Asthenic Type) หรือเลพโตซัม ไทป์ (Leptosome Type) หมายถึง บุคคล ที่มีลักษณะผอมสูง ตัวยาว แขนขายาว เป็นคนช่างคิด เงียบเหงา เจ้าอารมณ์ จัดว่าเป็นพวกท่ีมีบุคลิกภาพแบบ เกบ็ ตัว ๒. ปิคนิก ไทป์ (Pyknic Type) หมายถึง บุคคลที่มีรูปร่างอ้วน เตี้ยหนา มักจะมีอารมณ์ เปลยี่ นแปลงและออ่ นไหวงา่ ย สลบั กนั ระหวา่ งความร่าเริงและความเศร้า ๓. แอทเลอติก ไทป์ (Athletic Type) หมายถึง บุคคลที่มีลักษณะระหว่าง Asthenic และ Pyknic กล่าวคอื เป็นคนท่มี รี ปู ร่างแข็งแรง ชอบออกกำลังกาย รา่ เริง ชอบสนกุ สนาน ๒๕ Kretschmer อ้างจาก อารี พนั ธมุ์ ณี, จติ วทิ ยาสร้างสรรคก์ ารเรียนการสอน, กรุงเทพมหานคร : ใยไหม ครเี อที ฟกรุป๊ , ๒๕๔๖ หนา้ ๓๓.

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๖ ๔. ดิสพลาสติค ไทป์ (Dysplastic Type) หมายถึง บุคคลที่มีลักษณะ รูปร่างไม่สอดคล้องกับ สตปิ ญั ญา มกั เปน็ คนท่มี ีรูปร่างสงู ใหญ่ แต่ระดับสตปิ ญั ญาค่อนข้างต่ำและข้โี รค ความแตกต่างทางดา้ นร่างกาย สามารถใช้เครื่องมือวัดได้หลายวธิ ี เช่น เคร่ืองมือท่ีเรยี กว่า Hand Dynamometer เป็นเครื่องวัดแรงกดดันอันเล็กๆ มีเข็มชี้ระดับความแรง เพ่ือวัดดูกำลังของมือ หรืออาจจะใช้ เครอ่ื งช่งั นำ้ หนกั เคร่ืองวัดความสูง หรอื เครอ่ื งวัดอัตราการเตน้ ของหัวใจเปน็ ต้น ๒.๙.๓.๒ ความแตกต่างทางอารมณ์ (Emotion) ความแตกต่างทางอารมณ์ คือ ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถท่ีจะควบคุมพฤติกรรม ต่างๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหน่ึง อารมณ์ที่บุคคลแสดงออกมาน้ัน มีระดับต่างๆ กัน เช่น อย่างเบาบาง อย่างรุนแรง ความแตกต่างทางอารมณ์ระหว่างหญิงกบั ชายจะปรากฏเห็นชัดมาก มาตั้งแต่วัยเด็กเล็กข้ึน ไปจนถึง ผู้ใหญ่ เด็กชายพัฒนาการทางด้านอารมณ์ได้ดีกว่าเด็กหญิง คือ หนักแน่น ม่ันคงกว่า หญิงมักใจน้อย อารมณ์ อ่อนไหว แปรปรวนบ่อย โกรธงา่ ย รกั ง่าย เกลียดง่าย อิจฉา ขอ้ี าย ข้สี งสารหัวเราะง่าย รอ้ งไหง้ า่ ย อารมณ์ คือ ความหว่ันไหวของร่างกาย อารมณ์ไม่ใช่ส่ิงที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นสิ่งที่เกิดจาก การเรียนรู้เม่ือภายหลัง แต่ก็เป็นสิ่งที่ซับซ้อนมาก จนบางอย่างยากที่จะเข้าใจได้ เช่น เยือกเย็น อิจฉาริษยา โมโห ฉุนเฉียว ขลาด อารมณ์ร้อน อารมณ์ขัน น้อยใจ ขยะแขยง เกลียด แต่ละคนมีอารมณ์ต่างๆ กัน อารมณ์สำคัญ อย่างกว้างๆ คือ อารมณ์รัก โกรธ กลัว อารมณ์พัฒนา งอกงามมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มมีชีวิตจนถึงวัยชรา จึงไม่ต้อง สงสัยว่าแตล่ ะคนยอ่ มจะมอี ารมณแ์ ตกตา่ งกัน เพราะทุกคนเรียนรู้ต่างกัน ภายใต้สภาพการณ์แวดล้อมท่ีผิดแผกแตกต่างกัน มีความกดดัน มีความสัมพันธ์ทางครอบครัวไม่เหมือนกัน มีประสบการณ์ของชีวิตท่ีแตกต่างกัน ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบิดา มารดา ต้ังแต่วัยแรกเกิด การช่วยเสริมสร้างพัฒนาอารมณ์ต่างๆ ข้ึน มาทีละน้อย เริ่มจากความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สุขสบาย จะกลายมาเปน็ ความรกั ในที่สดุ ถ้าเริ่มจากความผิดหวงั ความขดั แย้ง ความคับข้องใจจะกลาย มาเปน็ ความโกรธ เกลียด ๒.๙.๓.๓ ความแตกต่างทางสงั คม (Social) มนุษย์จะมีพฤติกรรมของตนแตกต่างกับผู้อ่ืน เช่น ลักษณะการพูด การแต่งกายท่าทาง กิรยิ ามารยาท การปรับตวั เป็นต้น ท้ังน้ีเพราะแต่ละคนมาจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทีแ่ ตกต่างกนั แม้วา่ จะอยู่ ในสังคมเดียวกัน ก็ยังมีความแตกต่างกัน ยิ่งสภาพแวดล้อมต่างกัน ก็ย่ิงมีความแตกต่างกันมาก เช่น คนท่ีเกิด และเติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา จะปรับตัวในสังคมได้ง่ายกว่าประเทศทางเอเชีย ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า เด็กที่ได้รับการเล้ียงดูต่างกัน ย่อมมีนิสัยสังคมต่างกัน ครอบครัวที่ม่ังคั่งสมบูรณ์มีแต่ความอบอุ่น สุขภาพจิต ย่อมจะดีกว่าครอบครัวท่ีมีปัญหา อยู่ในสภาพบ้านแตก (Broken Home) คนเราเกิดมา จะตอ้ งอยู่รว่ มกันในสงั คม ต้ังแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ก็มีความสัมพันธ์กับครอบครัวเครือญาติ คร้ันเด็กยิ่งเจริญวัยก็ย่ิงขยายวงกว้างออกไปสู่ โรงเรียน เพื่อนบ้าน สู่โลกภายนอก คือ สังคมท่ัวไป ตลอดเวลาที่มีการสัมพันธ์ สังสรรค์ สังคม ซ่ึงกันและกัน คนเราได้สัมผัส ได้พบประสบการณ์ต่างๆ กัน จึงสร้างแบบของการตอบสนองขึ้นมาต่างๆ กัน ไม่เหมือนกันทั้งนั้น การตอบสนองนี้ถือเป็นเร่ืองลักษณะแตกต่างทางสังคมทั้งสิ้น ไม่มีใครประพฤติตอบสนองต่อเหตุกา รณ์ อย่างเดียวกันเหมือนกัน เพราะต่างมาจากรากฐาน ฐานะทางสังคมและการอบรมที่แตกต่างกัน พฤติกรรม การแสดงออก เช่น กรยิ า ทา่ ทาง ต่างกันออกไป เนอื่ งจากวฒั นธรรม ขนบประเพณี มารยาท ศีลธรรมแตกตา่ งกัน การพบปะสังสรรค์หรือการสังคมซึ่งกันและกัน จะเป็นระหว่างบิดามารดากับบุตรระหว่างหมู่พ่ี น้อง ระหว่างเพ่ือนฝูง ร่วมเพศต่างเพศ ร่วมวัยและต่างวัยก็ตามย่อมจะสร้างแบบการตอบสนองต่อการสัมพันธ์ สังคมน้ันๆ ข้ึนมาก ลูกจะเรียนรู้วิธีปฏิบัติต่อบิดามารดา เพื่อนรู้วิธีตอบสนองต่อเพ่ือนสามีรู้การปฏิบัติต่อภรรยา และโดยนยั กลับกนั การตอบสนองพวกเหลา่ น้ี เราจัดให้อยู่ในเรือ่ งของความแตกตา่ งทางสงั คมทัง้ ส้นิ

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๗ เนอ่ื งจากแตล่ ะคนก็เกิดมาคนละเวลา ภายใตส้ ง่ิ แวดล้อมทไ่ี ม่เหมือนกัน มเี หตุการณท์ ี่จะเกิดขึน้ แกช่ ีวิตผิด กัน การสร้างสรรค์การตอบสนองในทางสังคมจึงมีผลให้แตกต่างกันออกไป เด็กที่ได้รับการเล้ียงดูอย่างอดอยาก จะหวังว่าให้มีพฤติกรรมในสังคมเหมอื นเด็กท่ีได้รบั การเลี้ยงดูอย่างดีไม่ได้ บุตรท่ีมารดาเอาใจใส่ทะนุถนอมไม่ยอม ใหแ้ ตะตอ้ งทง้ั งานหนักงานเบา อยากได้อะไรกเ็ พียงแต่เสยี เวลาเอ่ยปาก โดยท่ีไม่ทัน จะตอ้ งอ้อนวอนขอ ยอ่ มจะมี ลักษณะการเข้าคน เข้าสังคมผิดไปจากเด็กที่ถูกปกครองอย่างแบบทรราชย์ ไม่มีความคิดอะไรเป็นของตนเอง จะทำอะไรกต็ ้องอยใู่ นขอบเขตวิสยั และย่อมจะผิดกับเดก็ ทถ่ี ูกเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ผู้ที่เราเกี่ยวข้องคบหาสมาคมด้วยน้ัน มาจากสังคมต่างๆ กัน มาจากครอบครัวท่ีให้การเล้ียงดูมาผดิ กันมา จากส่ิงแวดล้อมผิดกันด้วยลักษณะต่างๆ เหล่านี้ ย่อมจะมีผลขัดเกลาให้พฤติกรรมทางสังคม เป็นต้น เช่น การพูดจา การแต่งตัว การวางตัว การเชื่อมั่นในตัวเอง ความละอายต่อผู้คนมากๆ และอื่นๆ อีกมากมาย ผิดแผก แตกต่างกันออกไป และถ้าหากว่าลักษณะพฤติกรรมทางสังคมต่างๆ น้ัน ได้กระทำจนเป็นนิสัยประจำตัวเสียแล้ว ก็ยากจะแก้ไขเปล่ียนแปลงพฤติกรรมในทางสังคมนั้น เปล่ียนแปลงได้ และจะเปล่ียนแปลงอยู่เสมอ เม่ือในวัยเด็ก อาจจะเป็นอย่างหนึ่ง ซ่ึงผิดแผกกับในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ความเจริญเติบโตทางอายุ ก็มีผลให้เกิดการ เปล่ยี นแปลงท้งั ทางกายและทางสงั คม ๒.๙.๓.๔ ความแตกตา่ งทางสติปัญญา (Intelligence) สติปัญญาเป็นความสามารถทางสมองท่ีบุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปไม่มากก็น้อย เมื่อบุคคลท่ีมีความแตกต่างทางเชาวน์ปัญญามาอยู่รวมกันและต้องเรียนรู้ในส่ิงเดียวกันจึงเป็นเรอื่ งท้าทายสำหรับ ผู้สอนที่จะต้องทำให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างด้านความสามารถทางสมองดังกล่าวได้รับประโยชน์จากสิ่งท่ีเรียน ให้มากที่สุด ดังนั้น เรื่องราวของเชาวน์ปัญญาจึงเป็นหัวข้อหนึ่งท่ีครูผู้สอนควรทราบ เพื่อจะได้ทำความรู้จัก และเข้าใจความแตกต่างด้านนี้ของผู้เรียนให้มากขึ้น ในท่ีนี้จะขอกล่าวถึงความหมายของเชาวน์ปัญญา ลักษณะ และโครงสรา้ งของเชาวนป์ ญั ญา การวัดเชาวน์ปญั ญา และลกั ษณะเชาวน์ปัญญาของผเู้ รียนแตล่ ะกมุ ตามลำดบั สติปญั ญาเป็นความสามารถในการเรียนรแู้ ละปรบั ตวั ให้เข้ากับส่ิงแวดลอ้ มสติปัญญาเป็นพันธกุ รรม แม้ว่า จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ก็สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ดีข้ึน โดยการอบรมเล้ียงดู การส่งเสริมด้านการศึกษา และกิจกรรมจากครอบครวั โรงเรยี นและสงั คม ซ่งึ เป็นส่งิ แวดล้อมที่สำคัญทกี่ อ่ ให้เกิดความแตกต่างของบคุ คล ๒.๙.๔ ปจั จัยทีม่ อี ทิ ธพิ ลตอ่ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล องค์ประกอบสำคัญท่ที ำใหบ้ ุคคลแตกต่างกันมีอยู่ ๒ ประการ ดังนี้ ๒.๙.๔.๑ พันธกุ รรม (Heredity) พันธุกรรม หมายถึง ลักษณะท่ีได้รับการถ่ายทอดจากพ่อ-แม่ และบรรพบุรุษ โดยผ่านขบวนการ ทางชีววิทยา ตัวอย่างท่ีเรารู้จักกันดีคือ สีผิว ความสูง ลักษณะผม เป็นต้น ส่วนสภาพแวดล้อมนั้น เรานับรวมต้ัง แต่สภาพแวดล้อมนับแต่การปฏิสนธิเป็นต้นมา นั่นคือสภาพแวดล้อมในครรภ์ หลังคลอดวัยทารก วัยเด็ก จนกระทง่ั สภาพแวดลอ้ มท่เี ขาเตบิ โตเป็นผใู้ หญ่ ลักษณะทางพันธุกรรมถูกถ่ายทอดโดยผ่านโครงสร้างที่คล้ายเส้นด้ายเล็กๆ ท่ีอยู่ในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ (ดงั แสดงในภาพที่ ๒.๒) ซ่งึ เรยี กว่า โครโมโซม ภาพที่ ๒.๒ “เซลล์” ท่ีมา:http://www.thaigoodview.com/node/17529

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๘ ในแต่ละ “โครโมโซม” สามารถถ่ายทอดได้หลายลักษณะทางพันธกุ รรม แต่ละหน่วยจะถา่ ยทอดลักษณะ ทางพันธุกรรมเพียงลักษณะเดียว เราเรียกว่า “ยีน” (Gene) ดังน้ัน “ยีน”จึงเป็นหน่วยพ้ืนฐานของการถ่ายทอด ทางพันธุกรรม ตำแหน่งของ “ยีน” แต่ละตัวบน “โครโมโซม”เราเรียกว่า “โลกัส” (Locus) เม่ือนักวิทยาศาสตร์ ศกึ ษาลงไปในรายละเอียดแล้วก็พบว่า ท้ังยีนและโครโมโซม มีองค์ประกอบทางชีวเคมีเป็นกรด ที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ (DNA) ดงั แสดงในภาพที่ ๒.๓ ภาพท่ี ๒.๓ แสดงแบบจำลองของ DNA และโครโมโซม ท่มี า:https://sites.google.com/site/biobiobiotech/chiw-molekul-khxng-sing-mi-chiwit/kharbohidert สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวนโครโมโซมไม่เท่ากัน “โครโมโซม” เหล่านี้จะอยู่กันเป็นคู่ๆ ซ่ึงในคนมี ๒๓ คู่ ในทุกๆ เซลล์ ยกเว้นเซลล์สืบพันธ์ุ เซลล์สืบพันธ์ุมีการแบ่งตัวแบบพิเศษที่เรียกว่า “ไมโอซีส” (Miosis) ทำให้มี การแยกโครโมโซมแต่ละคู่ออกจากกัน ทำให้แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเพียงคร่ึงหนึ่ง คือ มีเพียง ๒๓ โครโมโซม ดังน้ัน เม่ือมีการสืบพันธ์ุของเพศชายที่เราเรียกว่า “สเปอร์ม” (Sperm) จะมารวมกันกับเซลล์ สืบพันธุ์ของเพศ หญิง ท่ีเราเรียกว่า “ไข่”(Ovum) กลายเป็นเซลล์เซลล์เดียว โครโมโซมของทั้ง ๒ ฝ่าย ก็จะมาร่วมกันเป็น ๒๓ คู่ และแบง่ ตัวออกเรอื่ ยๆ และค่อยๆ เปล่ยี นแปลง แยกแยะเปน็ อวัยวะต่างๆ จนเปน็ ทารกที่มีลักษณะต่างๆครบถ้วน ดังนัน้ ลูกซง่ึ จะมลี กั ษณะของทั้ง ฝา่ ยพ่อและฝา่ ยแม่อยา่ งละคร่ึงมารวมกัน โครโมโซมท้ัง ๒๓ คู่ของคน มีลกั ษณะดังในภาพท่ี ๔ จะเห็นได้ว่าคู่สุดท้ายมีลักษณะพิเศษ ซ่ึงจะทำหน้าท่ี กำหนดเพศวา่ เปน็ ชายหรอื หญิง จงึ เรยี กวา่ “โครโมโซม” ค่ขู องโครโมโซมเพศหญงิ มลี กั ษณะเหมือนกนั เรยี กว่า XX แต่ละคู่ของโครโมโซมเพศชายมีลักษณะต่างกันเรียกว่า XY ดังน้ัน เม่ือเราย้อนกลับไปทบทวน ถึงการผสมพันธ์ุ จะเห็นได้ว่าไข่ทุกใบจะประกอบด้วย โครโมโซม X แต่สเปอร์มจะประกอบด้วย โครโมโซม X หรือ Y ก็ได้ ถ้าสเป อร์ม X มารวมกับไข่ X ก็จะได้ทารกออกมาเป็นเพศหญิง (XX) ถ้าสเปอร์ม Y มารวมกับไข่ X ก็จะได้ทารกออกมา เปน็ เพศชาย (XY)โครโมโซมของคน ๒๒ คแู่ รกจะเหมอื นกัน ไม่ว่าในเพศไหน ส่วนคู่ที่ ๒๓ จะตา่ งกนั ตามภาพท่ี ๔ โครโมโซม คทู่ ี่ ๒๓ ก เป็นเพศหญงิ คทู่ ่ี ๒๓ ข เป็นเพศชาย ดังแสดงในภาพที่ ๒.๔ และ ๒.๕ ภาพท่ี ๒.๔ แสดงการทีโ่ ครโมโซมแบง่ ตวั จากบดิ ามารดาและมารวมกันในบุตร ทมี่ า:https://sites.google.com/site/marisa44638/khormosom-laea-kar-thaythxd- laksnaphanthukrrm/yin-laea-kar-khwbkhum-laksna-phanthukrrm

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๔๙ ภาพที่ ๒.๕ แสดงโครโมโซมของมนุษย์ ที่มา:http://www.omsschools.com/school/school_teacher/index.php?id_teacher=475& lesson_id=428 ๒.๙.๔.๑.๑ ลักษณะท่ีถ่ายทอดทางพนั ธุกรรม มนุษย์เกิดมาย่อมมีลักษณะรูปร่าง สติปัญญา เหมือนกับบรรพบุรุษ โดยลักษณะเด่น หรือลักษณะข่มจะปรากฏให้เห็นก่อน ส่วนลักษณะด้อยหรืออ่อนจะยังไม่ปรากฏ แต่จะปรากฏออกมาในรุ่นหลังๆ ได้ โดยคุณลักษณะที่จะสืบทอดไปยังลูกหลานนั้น จะต้องเป็นคุณลักษณะที่บรรพบุรุษได้สืบทอดมาจากรุ่นก่อน เช่นกัน ลักษณะอื่นท่ีได้รับเพิ่มเติมภายหลังหาได้ตกทอดไปถึงบุตรหลานไม่ ทั้งน้ีเพราะได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่ได้รับ เพม่ิ เติมภายหลังมิไดม้ ีอทิ ธพิ ลต่อเซลลส์ บื พนั ธุจ์ ึงไม่มผี ลต่อพนั ธกุ รรมเลย พ่อแม่มีความสามารถทางดนตรี ก็ใช่ว่าได้ถ่ายทอดความสามารถทางการเล่นดนตรีมาถึงลูกหลานไม่ คงจะมีแต่แนวโน้มท่ีจะทำให้ลูกหลานสนใจการเล่นดนตรี และทำตามอย่างพ่อแม่บ้าง ทั้งนี้เพราะเด็ก อยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นเป็นท่ียอมรับกันว่าลักษณะต่อไปนี้เป็นลักษณะท่ีถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และเปน็ ท่ี ปรากฏเด่นชัด ดงั นี้ ๑. ลกั ษณะทางกาย ไดแ้ ก่ ๑.๑.ขนาดร่างกาย เชน่ สูง เตย้ี อ้วน ผอม ผมหยิก จมูกโดง่ ๑.๒. เพศและลักษณะประจำเพศ ลักษณะประจำเพศ หมายถงึ ส่ิงท่ีทำใหห้ ญิงหรือชาย แตกต่างกันในเรื่องรูปร่างลักษณะ หน้าตา เสียง เช่น เพศหญิงมี หน้าอกใหญ่ เอวเล็ก สะโพกผาย เสียงแหลม เปน็ ต้น ๑.๓. ลักษณะของสีตาและสีผม เชน่ ตาสีดำ ผมสีนำ้ ตาล ๑.๔. ชนิดของกลุ่มเลือด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม A, B, AB หรือ O ลูกจะต้องมีกลุ่มเลือด เหมอื นหรือสอดคล้องกบั พอ่ แม่หรือฝา่ ยใดฝ่ายหนึง่ เสมอ ๑.๕. ลักษณะความผิดปกติและความบกพร่องทางร่างกาย เช่น ตาบอดสี เพดาน ปาก โหว่ ศรี ษะลา้ น นว้ิ เกิน เปน็ ต้น ๑.๖. การทำงานของต่อมไรท้ ่อ ๒. ลกั ษณะทางสตปิ ญั ญา สติปัญญาของคนเรานั้น มีองค์ประกอบสำคัญอยู่กับพันธุกรรม แต่สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนทำให้ สติปัญญาดีขึ้น หรือเลวลงได้ จากการศึกษาของก็อดดาร์ด (Henry E Goddard) ศึกษาครอบครัว ของกัลลิแกค (Kallikak) เป็นทหารมีภรรยา ๒ คน คนหนึง่ เปน็ หญงิ ปญั ญาอ่อน ทำงานตามบาร์ ปรากฏว่าลูกเกิดมา สองในสาม คนเปน็ ปัญญาอ่อนประกอบอาชพี ช้ัน ต่ำ เชน่ อาชญากร ขอทาน โสเภณี ส่วนหญงิ ภรรยาอีกคนเป็นคนปกติ มีลูก ทมี สี ติปัญญาค่อนขา้ งสูงเปน็ ส่วนมากและประกอบอาชีพดีเป็นที่ยอมรบั ของสังคม ๓. โรคบางอยา่ ง สามารถา่ ยทอดทางพันธกุ รรมได้ เชน่

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๐ ๓.๑. โรคเบาหวาน โรคลมบ้าหมู ๓.๒. โรคโลหิตไหลไมห่ ยดุ ๓.๓. โรคผวิ สีเผือก ๓.๔. โรคทท่ี ำให้สมองชา้ หรือปญั ญาอ่อน ๓.๕. โรคซงึ่ เกิดจากการผดิ ปกติของโครโมโซม ลั ก ษ ณ ะที่ ได้ รับ ก ารถ่ าย ท อ ด ท างพั น ธุก รร ม เห ล่ า น้ี จ ะต้ อ งเป็ น ลั ก ษ ณ ะที่ มี อ ยู่ ค งท่ี ใน ยี น ส์ ของบุคคล ส่วนลักษณะที่เกิดขึ้น ภายหลัง เช่น ขาด้วนเพราะอุบัติเหตุ การผ่าตัดตาช้ัน เดียวให้เป็นตาสองช้ัน เปน็ ลกั ษณะทีไ่ ม่สามารถจะถ่ายทอดทางพนั ธกุ รรมได้ ๒.๙.๔.๒ สิ่งแวดลอ้ ม (Environment) สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างท่ีเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเรา เป็นส่ิงต่างๆ ที่อยู่รอบตัวท่ีมีผล ต่อความแตกตางของมนษุ ย์ สง่ิ แวดล้อมมีสภาพทัง้ ดีและเลว คือ เปน็ ทงั้ คณุ และโทษต่อเรา ส่ิงแวดล้อมมีทั้ง ส่ิงมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ตัวอย่างเช่น สภาพดินฟ้าอากาศ พลังงาน มนุษย์สัตว์ พืช สิ่งของวตั ถุ ตลอดจนขนบธรรมเนยี มประเพณีต่างๆ สิ่งแวดล้อมเป็นส่ิงที่กล่อมเกลาแต่ละบุคคลท่ีมาสัมพันธ์กับทุกคน อันได้แก่ อาหาร อากาศ สภาพทอ้ งท่ีทางภมู ิศาสตร์ ชนิดของบ้านและเพ่ือนบ้าน โรงเรียน ชุมชนและประเทศชาติ สง่ิ แวดล้อมนจี้ ะบง่ ชีถ้ ึงการเห็น การได้ยนิ การสัมผสั การไดก้ ลิน่ และการรู้รสของแตล่ ะคน สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญสูงยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ ส่ิงแวดล้อมเป็นผลรวมท้ัง หมดของสิ่งเร้า ที่แต่ละ คนได้รับตั้ง แต่เกิดจนตาย สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความแตกต่างของอินทรีย์อันนอกเหนือไปจากอิทธิพล ของพนั ธกุ รรม พระพทุ ธเจ้าไดต้ รัสถึงเร่อื งการกำเนดิ ของคนและการกำเนิดชวี ติ ไว้ดงั นี้๒๖ ๑. โชติ โชติปรายโน๒๗ สว่างมาแล้วสว่างไป หมายถึง บุคคลมีพันธุกรรมดีมาแต่กำเนิด เม่ือมาอยใู่ นส่ิงแวดลอ้ มทดี่ ีกจ็ ะชว่ ยให้คนๆ คนนั้น มีความเจริญกา้ วหน้า เกิดการพฒั นาเต็มท่ี ๒. โชติ ตมปรายโน สว่างมาแล้วมดื ไป หมายถึง บุคคลเกิดมามีพันธุกรรมดี แต่ตกอยูใ่ น สิง่ แวดลอ้ ม ท่ีเลว ก็ย่อมทำให้บคุ คลนั้น ถงึ ซึง่ ความเส่อื มได้ ๓. ตโม โชติปรายโน มดื มาแลว้ สว่างไป หมายถึง บุคคลที่เกดิ มามีพันธุกรรมไม่คอ่ ยดีแต่ อยใู่ นสงิ่ แวดล้อมท่ีดี ก็ช่วยให้บคุ คลน้นั เจรญิ ก้าวหน้า พฒั นาไดเ้ ตม็ ที่ ๔. ตโม ตมปรายโน มืดมาแล้วมืดไป หมายถึง บุคคลมีพันธุกรรมไม่ค่อยดีและยังอยู่ใน ส่ิงแวดล้อมทีเ่ ลว กต็ อ้ งถงึ ความเสื่อมอย่างแนน่ อน จะเห็นว่าส่ิงแวดล้อมอาจเป็นทั้ง ช่วยเร่งและถ่วงความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเราได้ นนั่ คือ สิง่ แวดลอ้ มเป็นเครอ่ื งช้ีชีวติ ได้ ๒.๙.๔.๒.๑ ส่ิงแวดล้อมท่ีมีอิทธิพลต่อเด็กในระยะอยู่ในครรภ์มารดาส่ิงแวดล้อม ท่ีมีอิทธิพลต่อเรามีอยู่ ๒ ชนิดคือ ส่ิงแวดล้อมก่อนเกิด ซึ่งเป็นช่วยที่มีอิทธิพลต่อชีวิตในระยะอยู่ในครรภ์มารดา และสงิ่ แวดลอ้ มหลังเกิดในระยะท่ีเด็กอยู่ในครรภม์ ารดานน้ั สิ่งแวดล้อมท่ีมีอทิ ธพิ ลต่อเด็กประกอบด้วยสิง่ ต่อไปน้ี ๑) ส่วนของร่างกายของมารดาที่เด็กอาศัยหลอ่ เล้ียงชีวติ เช่น ถุงน้ำคร่ำรกท่ีติด กับผนังมดลูกของแม่ เช่ือมมาถงึ สายสะดอื ของเดก็ และเป็นหนทางท่ีเดก็ รบั เอาอาหาร คือ เลือดของมารดามาเล้ียง ร่างกาย ส่วนประกอบท่สี ำคญั ๆ ท่ีกลา่ วมานี้ตอ้ งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แขง็ แรงและไมม่ ีส่ิงเบียดเบยี น ๒๖ สุชา จันทนเ์ อม, จิตวิทยาวยั รุ่น, กรุงเทพมหานคร : แพรพ่ ิทยา, ๒๕๒๑ หน้า ๖๖. ๒๗ อัง.จตุ (ไทย), ๒/๒๔๖.

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๑ ๒) อาหารของมารดา มารดาในระยะตั้ง ครรภ์ต้องการอาหารที่มีคุณค่า และถูกหลักอนามัย อาหารท่ีมีคุณค่าของมารดา จะกลายไปเป็นอาหารท่ีมีคุณค่าต่อเด็กด้วย มารดาท่ีไม่ได้รับ คุณค่าอาหารเพียงพอ จะมีผลต่อร่างกายและจิตใจของเดก็ เชน่ เด็กอาจคลอดก่อนกำหนดเดก็ เป็นโรคขาดอาหาร เลือดผิดปกติ อาหารท่มี ารดาควรได้รับเพอ่ื สขุ ภาพของตนเองและของเด็กมี ดงั นี้ (๑) เนื้อ นม ไข่ ถั่ว ให้ความเจริญเติบโตแก่เด็กและสร้างน้ำนมแม่ (๒) งา ปลาเล็ก ก้งุ ยอดแค สะเดา สรา้ งกระดกู และฟันใหเ้ ดก็ (๓) ตบั ไขแ่ ดง ผกั กระถิน มะพรา้ ว น้ำตาล ป้องกันโรคโลหิตจาง ชว่ ยสร้างเลอื ดของเด็ก (๔) ฟักทอง ตำลึง มันเทศ มะละกอสุก ผกั บ้งุ สร้างความเจริญ เติบโต บำรงุ สายตาและเพิ่มความต้านทานโรค (๕) ข้าวซอ้ มมือ ถ่ัว กล้วย สรา้ งความเจริญ บำรุงประสาทป้องกันโรค เหน็บชาแต่บางสิ่งบางอย่างก็เป็นพิษภัยแก่เด็กได้ เช่น ถ้ากินผงชูรสมากเกินไป เด็กอาจเป็นโรคเย่ือหุ้มสมอง อกั เสบ หรือพกิ ารได้ ๓) สุขภาพของมารดา มีอิทธิพลเหนือความเจริญของเด็ก มารดาท่ีเป็นโรค ร้ายแรง เช่น ซิฟสิ สิ โลหิตเป็นพิษเหลา่ น้ีย่อมจะเป็นอนั ตรายต่อสขุ ภาพของเด็ก เดก็ อาจไมแ่ ข็งแรง พิการหรือตาย มารดาที่ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) ทำงานไม่ได้ อาจจะไมม่ ีฮอรโ์ มนชนิดที่ช่วยให้ทารกที่กำลังเจรญิ อยูย่ ึดติด อยู่กับผนังมดลูกได้อย่างสงบสบาย แต่จะทำให้มดลูกบีบรัดตัว ซ่ึงจะปรากฏเป็นการแท้งหรือเกิดการคลอดก่อน กำหนดได้ มารดาทีเ่ ป็นหดั เยอรมันอาจทำใหเ้ ด็กพิการ ตาบอด หูหนวกหรือเปน็ ปัญญาออ่ นได้ ๔) ยาท่ีมารดารับเข้าไป ยาบางชนิดอาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้ เช่น มารดากิน ยาควินิน แก้มาลาเรียเข้าไปมากเด็กอาจหูหนวก ถ้ามารดาติดมอร์ฟีนลูกออกมาจะมึนงงเหมือนคนติดฝิ่น ยาทา ลโิ ดไมต์ (Thalidomide) ซงึ่ เปน็ ยาแก้แพ้จะทำให้เด็กคลอดใหมม่ ีรปู ร่างผิดปกติ เช่น ไม่มีแขนแต่มมี อื ไม่มีขาแต่มี เทา้ หรอื แขนลบี ขาลีบ ๕) บุหรี่ มารดาที่สูบบุหรี่เกินกว่าวันละ ๑๐ มวน อาจทำให้เด็กแท้งหรือคลอด ก่อนกำหนดได้ ถ้าคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักจะน้อยกว่าปกติ สติปัญญาก็เจริญช้า เคยมีการทดลองพบว่า เด็ก ในครรภ์ ๗ เดือน ซ่ึงหัวใจเต้นปกติประมาณ ๑๔๐ คร้ังต่อนาที เม่ือมารดาสบู บุหรี่เข้าไปสัก ๒ – ๓ คร้ัง หัวใจเด็ก ในครรภ์จะเตน้ เร็วขึน้ เป็น ๑๘๐ ครง้ั ต่อนาที แต่ในบางรายกลบั เต้นช้าลงไปนาทลี ะ ๑๗ ครง้ั ๖) กัมมันตภาพรังสี เช่น มารดาได้รับรังสีเอ็กซ์ (X-Ray) อาจเป็นอันตราย ต่อเด็กในครรภ์ได้ เพราะเซลล์ต่างๆ ของเด็กมีความไวต่อรังสีมากกว่าเซลล์ของผู้ใหญ่และเซลล์ของเด็กมีน้อย อีก ท้ัง ยงั อ่อนแออยูม่ าก ดังนนั้ การตายของเซลลอ์ ันเน่ืองจากการรับรังสที ำให้เด็กพิการได้ เชน่ มีรปู รา่ ง แคระแกรน หวั เล็ก ปญั ญาอ่อน ลูกตาเล็ก การเจริญเตบิ โตของกระดกู ผดิ ปกติ และเด็กมีโอกาสเปน็ มะเรง็ โดยเฉพาะมะเร็งใน เม็ดเลอื ดสูงกว่าคนทวั่ ไป ๗) องค์ประกอบของโลหิต (Rh Blood Factor) ลักษณะโลหิตท่ีตรงข้าม ของมารดาและเด็ก (คือ มีกลุ่มเลอื ดคนละกลมุ่ ) เชน่ เดก็ ไดร้ บั Rh บวกจากบดิ า Rh บวกจะมีโปรตีน แตใ่ นมารดา มี Rh ลบไม่มีโปรตีน ตามปกติแล้วเลือดของเด็กและเลือดของมารดาจะแยกกัน โดยรกเป็นเครื่องก้ัน แต่บางครั้ง จะมีเลือดของเด็กน้อยท่ีผ่านรกออกไปได้ ทำให้มารดาได้รับโปรตีน เป็นสารแปลกปลอม ร่างกายมารดาจึงสร้าง สารต้าน (Anti - Bodies) ขึ้น มาต่อต้านทำให้เป็นพิษต่อเด็ก เพราะไปเป็นตัวลดออกซิเจนที่ไปเล้ียงเด็ก และทำลายสมองของเดก็ ทำให้มกี ารแท้งเกิดขึน้ ในระยะแรกๆ ของการต้งั ครรภ์ ๘) อุบัติเหตุ เช่น มารดาพลัดตก หกล้ม อาจเกดิ การกระทบกระเทือนถงึ เด็กใน ครรภ์ได้ เด็กอาจแท้งหรอื เซลล์บางสว่ นถูกระเทอื นจนไม่สามารถเจรญิ เติบโตตามปกติได้

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๒ ๙) สารพิษต่างๆ มารดาที่ได้รับสารพิษจากส่ิงแวดล้อม เช่น พิษปรอทพิษสาร ตะกว่ั ก็จะถา่ ยทอดสารพิษนัน้ กบั เดก็ ในครรภ์ ทำใหเ้ ดก็ พิการท้งั รา่ งกายและสมอง ๑๐) อารมณ์ของมารดา มารดาท่ีอารมณ์เครียดจะทำให้ต่อมอะดรีแนล (Adrenale) ผลิตฮอร์โมนผ่านสายรกเข้าสู่เด็กในครรภ์ เด็กนั้นอาจมีอาการโรคประสาทภายหลังได้และจากผล การคน้ คว้าทางแพทย์ ก็พบเพ่ิมเติมว่า มารดามีครรภ์ที่กระทบกระเทือนใจอยา่ งแรงทำให้เดก็ เกดิ ขาด้วนแขนด้วน ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นใบ้ หูหนวก ท้ังน้ีกล่าวได้ว่า อารมณ์ของมารดาทำให้เกิดการเปล่ียนแปลงของสารเคมี ในร่างกาย ทำให้เด็กในครรภ์เป็นเช่นน้ัน ไปด้วย ซ่ึงมีผลต่อการตาย การพิการ และมีผลต่อสภาวะทางอารมณ์ ของเด็กเม่ือกำเนิดออกมาแล้ว ๑๑) การได้รับการดูแลจากแพทย์ แพทย์จะช่วยแนะนำแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ในการบำรุงรักษาครรภ์ เช่น เร่ืองอาหาร ถ้าได้รับการดูแลจากแพทย์ดีพอ เด็กจะไม่แท้งจะไม่คลอดก่อนกำหนด ตลอดจนแพทย์จะช่วยดแู ลในการคลอดให้ด้วย ๑๒) ทัศนคติของบิดามารดาและบุคคลในครอบครัว ทุกคนต้องการเด็กมาเพ่ิม เป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวหรือไม่บิดามารดามีความพร้อมท่ีจะมีเด็กหรือไม่ ฐานะทางเศรษฐกิจเอ้ืออำนวยต่อ การมีเด็กหรือไม่ เร่ืองเหล่าน้ีย่อมส่งผลต่อเด็กในครรภ์ได้เสมอ สามีภรรยาบางคู่อาจแต่งงาน ด้วยเหตุผลบาง ประการ เช่น ต้องการเป็นเพื่อนสนิท เป็นที่พึ่งของกันและกัน ต้องการให้คนอื่นรักตนแต่ผู้เดียว เมื่อจะมีเด็กมา ใหมก่ อ็ าจไมพ่ อใจทค่ี วามรักของตวั เองจะต้องถกู แบ่งออกไป ๑๓) อายุของมารดา อายุที่เหมาะสมในการเป็นมารดาคือ อายุ ๒๓ – ๒๙ ปี มารดาท่ีสูงอายุมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับบุตร เช่น การตายของเด็กและมารดา การคลอดก่อนหรือหลังกำหนด ความบกพร่องของเด็ก ความแข็งแรงของร่างกายและสมองเด็ก การทำงานผิดปกติของต่อมต่างๆ ของเด็ก โดยเฉพาะการเกิดโรคสมองพิการ (Down’s Syndrome) ที่เกิดกับเด็กในครรภ์มารดาสูงอายุทำให้เด็กเจริญช้า มอี าการผิดปกติร้ายแรงทางประสาท สตปิ ญั ญาโงเ่ ขลามากมารดาทมี่ ีอายุสงู มากมีโอกาสทำให้เด็กเป็นโรคนี้มาก ๑๔) การไดร้ ับความกระทบกระเทือนในการคลอด ในขณะคลอด ถา้ มารดา มกี ระดูกเชิงกรานเล็ก เด็กคลอดยากอาจต้องใช้คีมคีบหัวเด็ก หรืออาจใชเ้ ครื่องดูดหัวเด็กออกมาอาจทำให้กระดูก ศีรษะของเด็ก ซึ่งยังอ่อนได้รับความกระทบกระเทือนทำให้เด็กเป็นปัญญาอ่อนเป็นโรคลมชักได้และถ้าเด็กคลอด ยากต้องติดอยู่ท่ีกระดูกเชิงกรานของมารดาอยู่นานทำให้สมองขาดออกซิเจน ถ้าเกิน ๓ นาที ก็จะทำใหเ้ ดก็ ปัญญา ออ่ นได้เช่นกัน เด็กบางคนอาจเกิดการบาดเจ็บฉีกขาดหรือเกิดความผิดปกติระหว่างคลอดก็ย่อมกระทบกระเทือน ไดเ้ ชน่ กนั ๒.๙.๔.๒.๒ องค์ประกอบของส่ิงแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างของบุคคล เมื่อเด็กคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว ส่ิงแวดล้อมจะมีอิทธิพลตอ่ ความแตกต่างของบุคคล ทางบคุ ลิกภาพของเดก็ อย่างมาก พฤตกิ รรมตา่ งๆ ของเด็กจะแปรเปลยี่ นไปตามสิง่ แวดลอ้ มทอ่ี ยรู่ อบตวั ซ่งึ กล่าวได้ เปน็ ๔ ประการใหญ่ๆ ดงั น้ี ๑.ส่ิงแวดล้อมทัว่ ๆ ไป ๑.๑ ดินฟ้าอากาศ สภาพทางภูมิศาสตร์มีส่วนช่วยปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงท้ัง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของคนได้มาก เช่น คนในเขตอบอุ่นมีร่างกายใหญ่โตกว่าคนใน เขตร้อน ขยันขนั แข็งกว่า เป็นตน้ ๑.๒ อาหาร มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตทั้ง ด้านร่างกายอารมณ์ สังคม จิตใจ การได้รับสารอาหารท่ีมีคุณค่าต่างกัน การได้รับปริมาณอาหารแตกต่างกัน ย่อมส่งผลต่อพัฒนาการ ตลอดจนการเกิดโรคภยั ไขเ้ จ็บตา่ งๆ

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๓ ๑.๓ อุบัติเหตุ เด็กท่ีพลัดตกหกล้มศีรษะกระทบพ้ืน อย่างแรงย่อมทำ ให้สมองกระทบกระเทือนกลายเปน็ คนปัญญาอ่อนไปได้ ๑.๔ เช้ือโรคต่างๆ เป็นตัวการสำคัญที่คอยบั่นทอนความเจริญเติบโต ทุกด้านในตัวเด็ก เด็กควรต้องได้รับการฉีดยา ปลูกฝี หรือรับสารป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่มากมาย ถ้า ละเลยเดก็ อาจพิการ เสยี ชวี ิตหรืออาจพัฒนาการผิดปกติไปเลย ๒. สภาพทางบา้ น บ้านนับเป็นสถาบันสำคัญอันดับแรกที่เด็กจะได้รับประสบการณ์ ต่างๆที่ส่งผล ต่อพฒั นาการของเขาโดยตรง สภาพท่ีควรกลา่ วถึงมี ดังน้ี ๒.๑ วธิ ีการอบรมเลี้ยงดู เริ่มต้ัง แตก่ ารพิจารณาใหน้ มวา่ เด็กควรไดร้ ับ นมแม่หรือนมขวด มีผลเสียต่างกนั อย่างไร โดยเน้นว่าวิธีการในการอบรมเล้ียงดูท่ีสำคญั บิดามารดาตอ้ งทำให้เด็ก รสู้ กึ วา่ ตนไดร้ ับความรัก ความอบอ่นุ บดิ ามารดาต้องฝกึ ใหเ้ ด็กมีความเปน็ ตัวของตนเอง ฝกึ การพง่ึ ตนเองเม่ือโตขึ้น การใหร้ างวัลและการลงโทษเด็กนน้ั ผู้ใหญ่ต้องทำดว้ ยเหตผุ ล ไมใ่ ช้อารมณแ์ ละถ้าควบคุมดูแลอย่างเขม้ งวดกวดขัน จนเกินไปนนั้ อาจทำให้เดก็ มีนิสยั ก้าวร้าว ซ่ึงจะขดั ขวางการพัฒนาวินยั ทางสงั คมได้ ๒.๒ ความรักความเอาใจใส่ของบิดามารดา ทำให้เด็กเกิดความรู้สึก อบอุ่น ปลอดภัย มั่นคง ถ้าผู้ปกครองปล่อยปละละเลยทำให้เด็กรู้สึกว้าเหว่ ขี้อ้อน หรืออาจท้อถอย เงียบขรึม สง่ ผลตอ่ พฒั นาการของเดก็ อยา่ งมาก ๒.๓ การให้เสรีภาพให้เหมาะสมกับวัย มีการฝึกให้รับประทานเอง ฝกึ การขบั ถา่ ย การช่วยเหลือตวั เองในดา้ นตา่ งๆ การคบเพื่อน การตดั สนิ ใจเลือกอาชพี ๒.๔ จุดมุ่งหมายของบิดามารดา บิดามารดาไม่ควรปล่อยให้ชีวิตเด็ก เปน็ ไปตามบุญตามกรรม แต่ควรตั้ง จุดมุ่งหมายของชีวิตไว้บา้ ง โดยไม่ตัง้ ไว้สูงเกนิ ไปโดยให้คำนงึ ถึงความสามารถ และสติปัญญาของเดก็ ควรให้เดก็ มีสว่ นร่วมในการเลอื กเรยี นและการตัดสินใจประกอบอาชพี ๒.๕ ฐานะทางเศรษฐกิจ บ้านท่ีมีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน มกั จะมีวิธีการอบรมเลี้ยงดูต่างกันด้วย เช่น ครอบครัวท่ีมีฐานะทางเศรษฐกจิ และสังคมต่ำมักใช้วิธีการลงโทษ เช่น การเฆี่ยนตี การกกั ขัง การดุดา่ เป็นตน้ ๓. สถานศกึ ษา โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นสถาบันที่สำคัญรองลงมาจากบ้านในการให้ การศึกษา อบรมผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาที่ต่างกันก็ย่อมส่งผลต่อผู้เรียนแตกต่างกันได้ เช่น โรงเรียนประจำ จงั หวดั กับ โรงเรียนทีอ่ ยหู่ า่ งไกลจากตวั เมอื ง โรงเรียนรัฐบาล กบั โรงเรียนเอกชน เปน็ ตน้ ๓.๑ สถาบนั ทางสังคมอนื่ ๆ ๑) สถาบันทางศาสนา ได้แก่ วัด ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญ ในการอบรมศึกษาเล่าเรียนมาต้ัง แต่สมัยโบราณ ปัจจุบันวัดยังเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแก่คนในท้องถิ่น บางวัดยังเป็นแหล่งให้การศึกษาอบรมแก่เด็กโดยตรง โดยการจัดตั้ง โรงเรียนสอนชั้น ประถมและมัธยม บางวัดอาจเปดิ สอนช้ัน เดก็ เล็กก่อนวยั เรยี นอีกดว้ ย ๒) องค์กรและสมาคมต่างๆ เชน่ ศูนยเ์ ยาวชน สถาน สงเคราะห์ ๓) สถาบันทางอาชีพตา่ งๆ เชน่ โรงเรียน กลุ่มอาชพี ๔) ส่ือมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ภาพยนตร์ ซ่ึงปัจจุบันสิ่งเหล่าน้ีเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเด็กมากข้ึน ทุกวัน ทางบ้านและโรงเรียนควรมีบทบาทสำคัญในการ

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๔ ส่งเสริมให้เด็กได้ดูภาพยนตร์ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ตลอดจนอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านวารสารท่ีมีประโยชน์และหัดให้ เด็กรู้จักใชว้ จิ ารณญาณเพือ่ เลือกแสวงหาความรู้จากส่ิงเหล่านี้เพื่อนำไปใช้เปน็ ประโยชนต์ อ่ ชวี ติ ตนเองในภายหนา้ ๒.๑๐ การสร้างบรรยากาศในช้ันเรียน กระบวนการทางจิตวิทยาท่ีช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพอีกประการหนึ่งที่ขาด ไม่ได้คือบรรยากาศในชั้น เรียน เพราะถ้าผู้เรียนมีความสขุ อบอุ่นใจ สนุกสนานมีความปลอดภัยทางจิต ปราศจาก ความกดดันต่างๆ มีสัมพันธภาพที่ดีกับครู กับเพื่อนๆ ในช้ันเรียน ย่อมส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ท่ีดีและพร้อมที่ จะพัฒนาศักยภาพของตน บรรยากาศในชั้น เรียนที่กล่าวถึงเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาที่มีความละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ความจริงใจ การมีทักษะในการแสดงออกทางพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพ ประจำตัว ท่าทีการสื่อสารท้ัง ทางวาจาและภาษากาย รวมทัง้ มนุษยสัมพันธ์ ตลอดจนการเข้าใจปัญหาของผู้เรียน ซ่ึงล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการสร้างบรรยากาศในชั้น เรียนทั้งสิ้น ดังน้ัน ครูซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ในการส่งเสริมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ด้วยการสนใจศึกษาความรู้จากหลักการ เทคนิค และกระบวนการทางจิตวิทยา เพื่อนำมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจผู้เรียน รวมทั้งการฝึกฝน ตนเองให้มีทักษะในการแสดงออกทางพฤติกรรมท่ีเหมาะสมสามารถสื่อสารความต้องการ ความรู้สึกได้อย่าง มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลดตี อ่ การสร้าง ๒.๑๐.๑ บรรยากาศในช้ัน เรยี น ๑. ลักษณะบรรยากาศท่ีดีในชนั้ เรยี น บรรยากาศที่ดีในช้ัน เรียนต้องเป็นบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง ยอมรับ และส่งเสริมความสำคัญของผู้เรียน ให้ความรู้สึกเป็นอิสระและได้ใช้ความสามารถของผู้เรียนมาเป็นประโยชน์ ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ท่าทีและพฤติกรรมของครูจะต้องแสดงให้เห็นว่า มีความตระหนัก ในความรับผิดชอบท่ีมีต่อผู้เรียน ยกย่อง ยอมรับนับถือ ให้เกียรติและสนใจปัญหาของผู้เรียนอย่างจริงใจ เป็นบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจซ่ึงกันและกัน แต่ท้ังน้ีต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ ของผู้เรียนเปน็ หลัก มากกว่าการตอบสนองความตอ้ งการของครูผสู้ อนแต่ฝ่ายเดยี ว ๒. ความสำคญั บรรยากาศในชัน้ เรยี น บรรยากาศในช้ัน เรียนที่ดี เป็นสิ่งท่ีจะเอ้ืออำนวยและส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และการพฒั นาบคุ ลิกภาพของผู้เรียน จงึ ควรพิจารณาในเรือ่ งต่อไปนี้ ด้านพัฒนาการเรียนรู้ การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนข้ึ น อยู่กับคุณลักษณะของครูผู้สอนว่าจะสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปในลักษณะใดครูผู้สอนจะเป็นผู้มีส่วน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปในภาวะท่ีพึงประสงค์ได้ก็ต่อเม่ือครูได้ตระหนักในความสำคัญของการใช้ ห้องเรียนให้เป็นสถานที่ปฏิบัติการทดลอง พัฒนาความรูค้ วามเข้าใจ ทักษะ ค่านิยมของผู้เรียน พยายามสนับสนุน ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมให้กิจกรรมของกระบวนการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ สนุกสนานกับการเรียน มีชีวิตชีวา ในการเรียนมากกว่าที่จะเป็นผู้คอยรับคำส่ัง ฟังและจดตามเท่าน้ัน ซึ่งนอกจากจะเป็นบรรยากาศที่ไม่ท้าทายแล้ว ยงั ก่อใหเ้ กิดความเบ่ือหน่ายไม่นา่ สนใจ ด้านตัวผู้เรียน บรรยากาศในชั้น เรียนที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จักตนเอง ด้านความสนใจ ความถนัด ความสามารถ เป็นโอกาสให้ได้ฝึกปฏิบัติ การควบคุมตนเอง การมีความสามารถพิจารณาเลือกสรร วิธีการในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม การที่ครูยอมรับนับถือให้เกียรติผู้เรียนในฐานะบุคคล มีเจตคติท่ีดี และมีความจริงใจต่อผู้เรียน ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนยอมรับนับถือในตัวครูผู้สอนด้วยเช่นกัน ซ่ึงจะเห็นได้ว่า คุณลักษณะของครผู สู้ อนไม่วา่ จะเปน็ ความเช่ือค่านยิ ม ปรชั ญา อุดมคตขิ องครูทีแ่ ตกตา่ งกนั จะมอี ิทธิพลและส่งผล

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๕ ต่อผู้เรียนให้แตกต่างกันด้วย เช่น ผู้สอนที่ชอบวางอำนาจ ก้าวร้าว ชอบลงโทษ ติเตียน วิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน บรรยากาศในชั้นเรียนก็จะเป็นไปในทางลบ และจะนำมาซึ่งความล้มเหลวในการเรียนการสอนและการพัฒนา ผ้เู รยี นใหม้ ีพฤตกิ รรมทีพ่ งึ ประสงค์ การนำแนวคิดด้านจิตวิทยาพัฒนาการมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนก็นับว่าสำคัญ โดยพิจารณาความเหมาะสมของระดับพัฒนาการในกลุ่มผู้เรียน ครูควรคำนึงถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ให้มคี วามสมดุลสอดคลอ้ งกับระดบั ความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนท่จี ะนำไปสู่ความรบั ผิดชอบ การช่วยตนเอง ความสนใจ ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้สำเร็จมีความสามารถในการควบคุม พฤติกรรมตนเองได้อยา่ งเหมาะสม มีพัฒนาการทดี่ ตี ามวัยและประสบความสำเรจ็ ในท่สี ุด จากการศึกษาโดยใช้กระบวนการทางสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและฝึกอบรมเด็กของพ่อแม่ พบว่า การฝึกอบรมมีส่วนช่วยส่งเสริมแนะแนวทางต่อครผู ู้สอนในการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดช้ัน เรียน พ่อแม่ท่ีอบรม เลี้ยงดูลูกโดยให้ความรักและความอบอุ่น มีเหตุมีผล จะมีส่วนเสริมสร้างเด็กให้มีการพัฒนาและการปรับตัวได้ เป็นอย่างดี การท่ีครูผู้สอนตระหนักรู้ถึงการยอมรับนับถือผู้เรียน ตามที่เขาควรจะเป็นในแต่ละบุคคล รวมท้ัง การควบคุม การบังคับ การเรียกร้องความมั่นคง การยืดหยุ่น ด้วยการปรับสิ่งเหล่าน้ีเป็นไปอย่างมีเหตุผล และเหมาะสม จะนำไปสู่การพัฒนาวุฒิภาวะของผู้เรียนได้อย่างดี และพฤติกรรมของผู้เรียนจะเป็นไปในทางบวก มากกว่าการเนน้ พฤติกรรมการเรียนการสอน ท่เี ข้มงวดและการทำโทษ ดังน้ัน การสรา้ งบรรยากาศในชั้น เรยี นท่ีดี จะชว่ ยให้การเรียนรขู้ องผู้เรียนเปน็ ไปอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ และได้พฒั นาพฤติกรรมตนเองในด้านตา่ งๆ อีกดว้ ย ๓. องค์ประกอบของบรรยากาศในชั้นเรียน โดยทัว่ ไปการเรยี นการสอนมีองคป์ ระกอบสำคัญทเ่ี กยี่ วข้องกัน ๓ ประการ คือ ครผู ู้สอน ผู้เรยี น และปฏิสมั พนั ธร์ ะหวา่ งครูผสู้ อนกับผเู้ รียน ครูผู้สอน เป็นองค์ประกอบท่ีสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนการสอน เพราะจะเป็นผู้กำหนด บรรยากาศเกี่ยวกบั การเรยี นการสอนแต่ละครง้ั ให้เปน็ ไปในลกั ษณะอย่างไร ผเู้ รียน มสี ่วนต่อบรรยากาศในชั้น เรียนด้วยเช่นกนั พฤตกิ รรมของผู้เรียนไมว่ ่าจะเป็นความสนใจ ท่าทีของการแสดงพฤติกรรม แรงจงู ใจ ความร่วมมือ การมีวินัย ความเชื่อม่ัน การเห็นคุณค่าของตนเอง ตลอดจน การเคารพให้เกียรติผู้อื่นโดยเฉพาะกับครู เป็นผลมาจากการที่เด็กได้รับและเห็นตัวอย่างจากบุคคลแวดล้อม และท่ีสำคัญคือจากพฤติกรรมของครูที่มีต่อตัวเขาในขณะที่อยู่ในชั้น เรียน หรือเป็นผลมาจากบรรยากาศ ในชน้ั เรยี นน่ันเอง ซ่งึ ทง้ั ครแู ละผูเ้ รยี นมีส่วนสมั พนั ธ์ซึ่งกนั และกนั ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน ตามที่กล่าวแล้ว ถ้าครูมีความสามารถในการสร้าง บรรยากาศในชั้น เรียน มีทักษะในการแสดงออกทางพฤตกิ รรมและการสื่อสารทเี่ หมาะสมมคี ุณภาพ เสมอต้นเสมอ ปลาย ย่อมส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อครู การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนจะนำมา ซ่ึงความร่วมมือ ความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน อันจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก บรรยากาศในช้ัน เรียนย่อมราบรืน่ จากองค์ประกอบท้ัง ๓ จะเห็นว่า ครูผู้สอนเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดบรรยากาศในชั้นเรียน ทด่ี ี จึงจะขอเน้นไปท่ีตัวครผู สู้ อนเป็นสำคัญ ลักษณะของครูผู้สอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปได้ด้วยดีและมีประสิทธิภาพ มีหลายประการ เชน่ มคี วามรู้ลุม่ ลกึ ในเนื้อ หาวชิ าที่สอนอย่างชัดเจน สามารถนำความรู้น้นั มาถา่ ยทอดได้ มเี จตคติท่ีดตี ่อการสอน ซ่ึงหมายถึงมีความปรารถนาดีต่อผู้เรียน รักวิชาท่ีสอนและรักการสอน มีความรู้สึกอยากสอน ส่วนองค์ประกอบ ที่สำคัญและจำเป็นท่ีจะส่งเสริมการเรียนรู้ ท่ีผู้สอนจะขาดไปเสียไม่ได้นอกเหนือจากความรู้ความสามารถในการ สอนแล้ว ครูจะต้องมีความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้เรียนไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยวาจาและท่าทีต่อผู้เรียน ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความรู้สึกใกล้ชิด มีความห่วงใยผู้เรียน ยอมรับผู้เรียนอย่างท่ีเขาเป็น พยายามส่งเสริม

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๖ ใหผ้ ู้เรยี นมีส่วนร่วมในการเรยี นการสอน มคี วามสุขในการเรียน ซ่งึ ทัง้ หมดล้วนแต่เปน็ พื้นฐานของการจัดการเรยี น การสอนท้ังส้ินครูต้องใช้ห้องเรียนเป็นสถานท่ีปฏิบัติการสำหรับผู้เรียนเก่ียวกับการพัฒนา และค้นพบตนเอง เปน็ สถานทีท่ จี่ ะช่วยให้ผู้เรียนได้รบั ความรู้เกยี่ วกับตนเอง สังคม และสงิ่ แวดล้อม ดงั นั้น ห้องเรยี นควรจะมีบรรยากาศท่เี อ้ืออำนวยใหผ้ ู้เรยี นได้รับประสบการณ์ทางบวกเพื่อพัฒนา ตนเอง ให้มีทรรศนะอนั กว้างไกลต่อสังคมท่ีผู้เรียนพบปะและอาศัยอยู่ การส่งเสริมบรรยากาศเหล่านี้ให้เกิดข้ึนนั้น ผู้สอนจะต้องเป็นผู้ท่ีมีความเชื่อถือในความสามารถของผู้เรียนในฐานะเป็นบุคคลมีความรู้สึกไวต่อความคิดของ ผูเ้ รียน มีความกระตือรือรน้ พร้อมที่จะช่วยเหลือผเู้ รยี นให้พฒั นาไปจนถงึ ขดี สุดของแต่ละบคุ คล ๔. บทบาทของครใู นการสรา้ งบรรยากาศในช้นั เรียน สงิ่ ทีค่ รูผู้สอนต้องปฏิบตั เิ พื่อใหเ้ กดิ บรรยากาศทสี่ ่งผลดีต่อการเรยี นรู้ไดแ้ ก่ ๔.๑ การยอมรับผู้เรียนในฐานะบุคคล การที่ผู้สอนตระหนักว่าผู้เรียนแต่ละคนมี ลกั ษณะเฉพาะตน การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลนั้น ยงั ไม่เพียงพอ จะต้องแสดงออกทางดา้ นการปฏบิ ัติ ท่ีมีความรับผิดชอบต่อการกระทำ ซึ่งแสดงให้เห็นการยอมรับน้ันด้วยบรรยากาศแห่งความไว้วางใจ คือ การให้ ความอบอุ่นและความจริงใจระหว่างครูและศิษย์ เน้นให้ผู้เรียนแต่ละคนพยายามค้นคว้าความจริงได้ด้วยตนเอง การคน้ พบลักษณะเฉพาะของตนเองในวถิ ีทางที่ควรเป็น ถ้าบรรยากาศในหอ้ งเรยี นทมี่ ีแตก่ ารแขง่ ขัน ความก้าวรา้ ว ความกดดัน มีอคติการเอารัดเอาเปรียบ ส่ิงเหล่าน้ี จะเป็นประสบการณ์ทางลบท่ีจะไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนา ไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ไม่พัฒนาความรู้ความสามารถ การรู้จักแก้ปัญหา การเลือก การตัดสินใจ ความรบั ผดิ ชอบในการกระทำของตนเอง รวมทง้ั การไม่ร้จู กั การเรียนรู้ดว้ ยตนเองและการช่วยตวั เอง ดังน้ัน ครูผู้สอนจะต้องแสดงพฤติกรรมท่ีมีความอบอุ่นเป็นตัวแทนของกลุ่มเพ่ือนและสังคม พฤติกรรมของครูจัดเป็นส่ิงแวดล้อมท่ีจะสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ตระหนักและรับรู้ว่า เขาได้รับการยอมรับ ท่ีเต็มไปด้วยความรักใคร่ชอบพอ เสริมสร้างการตอบสนองความต้องการท่ีจะนำไปสู่การพัฒนาลักษณะเฉพาะ ของแต่ละบุคคลซ่ึงเป็นส่ิงท่ีสำคัญและมีคุณค่า จากสิ่งท่ีกล่าวมาข้างต้น ครูผู้สอนจึงต้องมีความอดทน ใจกว้าง รบั ฟังความคดิ เห็น พรอ้ มทจี่ ะช่วยเหลอื สนบั สนนุ ผเู้ รยี นอยเู่ สมอ ๔.๒ การสื่อสารแบบเปิด เพ่ือให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในการที่จะคิด วิเคราะห์ เลือกสรรท่ีจะพัฒนาส่ิงต่างๆ ด้วยตนเอง การสนับสนุนและพัฒนาตัวผู้เรียนที่จะเป็นตัวเองน้ันสิ่งจำเป็นพ้ืนฐาน ประการแรกคือ การส่ือสารแบบเปิดที่อยู่ในบรรยากาศของการยอมรับเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล อารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยม พฤติกรรมและแนวคิดของแต่ละบุคคลท่ีมีภูมิหลังแตกต่างกัน รวมทั้งการฟัง อย่างมีประสิทธิภาพ บรรยากาศในชั้นเรียนที่ตอบสนองประสบการณ์เช่นน้ีจะเกิดขึ้น ได้จากเนื้อหาสาระ กระบวนการเรยี นรู้ และกิจกรรมการเรยี นการสอนท่สี ่งผลให้ผู้เรียนเกดิ ความรสู้ ึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถพัฒนา ตนเองได้ ช่วยเหลือตนเองได้ และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อ่ืน ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นถึงผลสัมฤทธ์ิทางด้านการเรียนหรือสาระความรู้ มากกว่าด้านความรู้สึก ค่านิยมที่ควรจะปลูกฝังและ พัฒนาให้ผู้เรียน บรรยากาศในการเรียนเช่นนั้น อาจจะทำให้ผู้เรียนเบ่ือหน่าย มีความกดดันไม่สนุกกับบทเรียน และส่งผลให้ไมช่ อบวิชาที่เรยี นนน้ั ไดใ้ นท่สี ดุ ๔.๓ การตระหนกั ถึงสิ่งตอ่ ไปนี้อยเู่ สมอ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนส่ิงทค่ี รูต้อง ตระหนักถึง ได้แก่ ๔.๓.๑ การร่วมมอื และการแข่งขนั ของผูเ้ รยี นภายในชัน้ เรียน ประกอบด้วย ๑) บรรยากาศท่ีสง่ เสริมใหผ้ ู้เรยี นร่วมมอื กันแกป้ ัญหา ๒) การให้แรงเสริมหรือรางวัล ๓) บรรยากาศท่ีผ้เู รียนต่างร่วมมอื กนั จะมีปฏิสัมพนั ธ์ท่ดี ตี ่อกัน

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๗ มากกว่าในบรรยากาศทม่ี ีการแขง่ ขนั กัน ผู้เรียนท่ีเรียนอ่อน ปานกลาง จะได้ประโยชน์มากท่สี ุดจากการรว่ มมือกับ ผเู้ รยี นอนื่ ๆ ส่วนผู้เรียนทีเ่ รียนดจี ะมีบทบาทในการชว่ ยเหลือผ้อู ่ืน ๔.๓.๒ ลักษณะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของครูผู้สอนจะมีอิทธิพลต่อการ เรียนรขู้ องผเู้ รียน ๔.๓.๓ มีความร่วมมือระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์การ เรียนเป็นหลกั สำคญั ๔.๓.๔ ความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อกลุ่มเพ่ือน ครูผู้สอน และโรงเรยี นของผเู้ รียน จะเห็นว่าผู้สอนเป็นบุคคลที่มีบทบาทในการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ ซ่ึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเรยี นของผู้เรียนท้ังทางดา้ นความรู้ ความสามารถคุณลักษณะและค่านิยมเป็นการช่วย พฒั นาผ้เู รียนให้มีทรรศนะอนั กว้างไกล บรรยากาศในช้ัน เรียนจะเป็นสิ่งท่ีช่วยส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไป อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยา ซึ่งผู้สอนเป็นผู้มีส่วนกำหนดให้มีข้ึน หรือบรรยากาศทางกายภาพและทางสังคม ก็เป็นส่ิงจำเป็นที่ครูจะต้องคำนึงถึงด้วย เพราะจะสนับสนุนซึ่งกัน และกนั ตอ่ กระบวนการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอยา่ งมีประสิทธิภาพ ๕ เทคนิคการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา วิธีการทางจิตวิทยาที่ครูต้องเข้าใจและควรเรียนรู้เพ่ือนำไปใช้ฝึกฝนตนเอง ให้สามารถ และมีทักษะในการปฏิบตั ิไดอ้ ย่างคล่องแคล่ว จนเปน็ ธรรมชาติของนสิ ัยประจำตนอย่างกลมกลนื ไดแ้ กเ่ รื่องตอ่ ไปน้ี ๕.๑ บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด ผู้เรียนทุกคนมีความต้องการท่ีจะได้รับการสัมผัสแตะ ต้องและความเอาใจใส่หรือความสนใจจากครูผู้สอนรวมทั้ง เพื่อนๆ ในชั้นเรียน และทุกๆคนมีความต้องการ ท่ีจะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาท่ีแตกต่างกัน ความต้องการเหล่านี้เป็นความต้องการท้ังทางกาย และทางจิตใจ การกระทำใดๆ ก็ตามจะเป็นตวั บ่งชี้ทแ่ี สดงความสนใจให้ปรากฏตอ่ ผู้อื่น ผู้เรยี นบางคนอาจตอ้ งการ ความเอาใจใส่นี้มากกว่าคนอ่ืน เพ่ือช่วยให้เขารู้สึกมั่นคงปลอดภัยทางด้านจิตใจ ซ่ึงครูผู้สอนอาจพิจารณา ให้ความเอาใจใสน่ ี้ในรูปของการสมั ผัสแตะตอ้ งทางกายโดยตรง หรอื ในรปู แบบของสญั ลักษณ์ท่ีส่ือถึงความเอาใจใส่ เพ่ือใหผ้ ู้เรยี นเกิดความร้สู ึกใกล้ชิด เช่น การมอง การยิ้มให้ การสบตา การใช้คำพูดการแสดงออกทางสีหน้าท่าทาง หรือด้วยการกระทำใดๆ ก็ตามท่ีเป็นการแสดงให้ผู้เรียนรู้สึกสัมผัสและรับรู้ว่ามีความใกล้ชิด ได้รับความเอาใจใส่ จากครูผู้สอน การเอาใจใสท่ างบวกทสี่ อดคล้องกับสถานการณข์ องอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เรียน ก็จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกท่ีดีมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง และรู้สึกว่าตนมีความสำคัญ เป็นการเพ่ิมพูนความรู้สึกทางด้านดีให้แก่ผู้เรยี น ซ่ึงจะช่วยส่งเสรมิ การรับรูข้ องผู้เรียนอย่างน่าพึงพอใจ ความรู้สึก ที่ตามมาก็คือความรู้สึกปรารถนาดีและความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น ถ้าครูผู้สอนให้ความสนใจสิ่งเหล่าน้ี อย่างจริงใจ และควบคู่ไปกับการเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่กระทำเกินกว่าปกติธรรมดาก็จัดเป็น การเสริมสร้าง พฒั นาการเรียนร้ขู องผู้เรยี นไดม้ าก ดังน้นั ส่งิ ที่ครผู สู้ อนควรปฏิบัติ ดงั นี้ ๕.๑.๑ การแสดงท่าทีและกิริยาท่ีงดงามต่อกัน การเริ่มต้นแบบไทยโดยการ กลา่ วทกั ทาย การยิ้มและทา่ ทที ่เี ปน็ มิตร ๕.๑.๒ การให้คำพูดที่ดีๆ ใช้ภาษาสุภาพ อ่อนโยนซ่ึงกันและกันจะทำให้ผู้เรียน รู้สกึ วา่ ครผู ู้สอนมคี วามปรารถนาดี ๕.๑.๓ ตอ้ งมีความตัง้ ใจที่จะมคี วามคิดในส่ิงท่ดี งี ามต่อกนั มคี วามปรารถนาดี ที่จะเก้ือกลู กนั เสมอ อนั มาจากส่วนลึกของจติ ใจ

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๘ ๕.๑.๔ ต้องไม่ทำตนเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจ พึงระลึกอยู่เสมอว่า บางส่ิง บางอย่างนั้น บุคคลอ่ืนอาจจะประพฤติปฏิบัติได้ แต่เรากระทำไม่ได้เพราะเราเป็นครู มีความเชื่อม่ันในส่ิงที่ดี ไม่ หลงตัวเอง อย่าลมื วา่ บคุ ลิกภาพไม่ไดห้ มายถึงความหล่อหรอื ความงาม แต่หมายถึงภาพท่ปี ระทบั ใจผ้เู รยี น ๕.๑.๕ มีการช่วยเหลือซ่ึงกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างสายใยแห่งไมตรีจิตท่ีดี ตอ่ กัน พร้อมทจี่ ะชว่ ยผเู้ รยี นเสมอ ๕.๑.๖ มีความยืดหยุ่นในด้านความคิดเห็น เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ย่อม ข้ึน อยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน ดังน้ัน การออมชอมกันบ้างในด้าน ความคิดเห็น เป็นสิง่ ทจ่ี ะเสรมิ สรา้ งบรรยากาศในการเรียนท่ีน่าสนใจ ๕.๒ บรรยากาศที่มีความอบอุ่น ครูผู้สอนจะต้องไม่ลืมว่าความอบอุ่นทางจิตใจ เป็นความรู้สึกพ้ืนฐานของผู้เรียนท่ีมีอิทธิพลและจะส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียน การท่ีครูผู้สอนมีความเข้าใจ ผู้เรียน มีความเป็นมิตร ช่วยชี้แนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างมีระบบเป็นข้ันตอน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า มกี ารช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำใหร้ สู้ กึ อยากเรียน รักการเรยี น รักวชิ าที่เรียน รวมท้งั รกั เพือ่ นร่วมชน้ั เรยี นดว้ ย ๕.๓ บรรยากาศท่ีมกี ารยอมรับนับถือ การยอมรับผู้เรียนอย่างที่เขาเป็นและตระหนักถึง ลักษณะเฉพาะ ข้อดีข้อจำกัดของแต่ละบุคคล รวมท้ัง ภูมิหลังของผู้เรียนท่ีมีความแตกต่างกัน เม่ือครูให้ความนับ ถือผู้เรียน หมายถึงว่าครูมีความสนใจท่ีจะส่งเสริมให้บคุ คลน้ัน ได้พัฒนาก้าวหน้าข้ึน มาดว้ ยตัวเองและด้วยวธิ ีการ ของเขาเอง การยอมรับนับถือต้องไม่เป็นการเห็นแก่ได้ ไม่ฉกฉวยโอกาสหรือการเอาเปรียบ จากผู้เรียน การท่ีครู เห็นคุณค่าในตัวผู้เรียนว่าเป็นบุคคลท่ีสำคัญมากกว่าการเรียนการสอนน้ัน เพราะว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ใน สถานการณ์ที่แตกต่างกันรวมท้ัง เวลาท่ีใช้ในการเรียนรู้ด้วย ครูผู้สอนควรตระหนักดีว่า การสร้างความเช่ือม่ัน ให้กับผู้เรียนน้นั จะช่วยให้ผู้เรียนยอมรบั นับถือตนเอง ซึ่งจะมีผลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ของผ้เู รียนต่อไป สิ่งที่ครู ควรพัฒนาตนเองคือ ทกั ษะในการแสดงออกในการยอมรบั ซึง่ มี ๓ ประการ ดังน้ี ๕.๓.๑ การฟังด้วยความเข้าใจ เป็นการรับฟังความคิดเหน็ ของผู้เรียนด้วยความ ต้ัง ใจ ถ้าครูผู้สอนมิได้เข้าใจว่าผู้เรียนนั้น กำลังพูดว่าอะไร ครูก็คงไม่สามารถตอบสนองในทางยอมรับได้ นอกจากนน้ั การรับฟังยงั เป็นการแสดงออกถงึ ความจริงใจ และการให้ความสนใจเรอ่ื งราวน้ันๆ การสอ่ื ความหมาย ก็จะกระทำได้อย่างอสิ ระ และมคี วามไว้วางใจในตัวผรู้ บั ฟังมากขึน้ ๕.๓.๒ การแสดงถึงความอบอุ่นและความนิยมชมชอบ เป็นท่ียอมรับกัน โดยทั่วไปว่า ความอบอุ่นใจเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทางด้านจิตใจ ทั้ง ยังก่อให้เกิดความมั่นใจ และความร้สู ึกวา่ ตนเองเปน็ ที่ยอมรบั ของบุคคลอื่น การกระตนุ้ หรอื สนบั สนุนความคิดของผู้เรียน กระทำได้โดยการ แสดงความรู้สึกนิยมชมชอบอย่างลึกซ้ึงซึ่งจะทำให้ผู้เรียนน้ัน รู้สึกว่าสามารถจะแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ อย่างเตม็ ท่ี รู้สึกวา่ ตนเองมีความสำคัญและแสดงออกอยา่ งจรงิ ใจในการที่จะเป็นตัวของเขาเอง การให้ความอบอุ่น และสนับสนนุ เชน่ น้ี มไิ ดห้ มายความวา่ ครผู สู้ อนจะตอ้ งเห็นดว้ ยกบั การกระทำของผู้เรยี นทุกประการ ดังน้นั ครูควร จะเข้าใจว่า การเห็นด้วย ต่างกับการยอมรับ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้ัน ครูไม่จำเป็นต้องให้สมาชิก ในชั้น เห็นด้วยกับการกระทำของครูผู้สอนหรือสมาชิกในกลุ่มโดยปราศจากเหตุผลซึ่งบรรยากาศ ของความเป็นมิตรที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้น เม่ือสมาชิกในกลุ่มเต็มใจที่จะบอกถึงพฤติกรรมที่เขาไม่เห็นด้ว ยน้ัน ในลักษณะท่ีการยอมรับกันยังคงมีอยู่ น่ันคือการแสดงความไม่เห็นด้วยในความคิดเห็นหรือการกระทำ แต่มิได้ หมายความวา่ ไม่ยอมรับในบุคคลนั้น ๕.๓.๓ การสร้างความไว้วางใจให้เกิดข้ึน จะทำให้สมาชิกในกลุ่มแสดงออกได้ อย่างเปิดเผย เพราะเขารู้สึกว่ามีผู้สนับสนุนเขา การส่ือความหมายให้ผู้อ่ืนรู้สึกว่าเขาเป็นท่ียอมรับ จะทำให้มี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดย่ิงขึ้น การยอมรับนี้ถ้าผู้สอนทำให้เกิดขึ้น ได้รวดเร็วเพียงใด ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๕๙ แก่ผู้เรียนให้แสดงออกมากขึ้น เพียงน้ันครูท่ีมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการทำ ความเข้าใจ ความต้องการของผู้เรียน ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ตอบสนองผู้เรียนได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสม มีทักษะในการสื่อสารและสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธภิ าพ ย่อมสร้างบรรยากาศที่ดี ในการสง่ เสริมการเรียนรแู้ ละการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรยี นให้มีพฤติกรรมทีพ่ ึงประสงคไ์ ด้อย่างมคี ุณภาพ ดังนั้น ครทู ่ีประสบความสำเร็จในการสอน จึงมักมาจากครทู ่ปี ระสบความสำเร็จในการสรา้ งบรรยากาศท่ดี ีในชัน้ เรียน สรปุ ท้ายบท จติ วทิ ยาการศึกษามาจากศาสตร์ ๒ ศาสตร์ คอื จิตวิทยาและการศกึ ษา ซ่ึงมีแนวคดิ หลักการทีแ่ ตกตา่ งกัน แต่สามารถท่ีจะนำมาเกื้อหนุนหรือสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรม การจัดกาเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ เม่ือครูมีความรู้ทางด้านจิตวิทยาและนำมาประยุกต์กับการสอนจะทำให้ผู้เรียน ได้รับประโยชน์ตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน จิตวิทยาการศึกษาจะต้องเก่ียวข้องกับพฤติกรรม ของผู้เรียน กระบวนการจัดการเรยี นการสอน และมีนักจิตวิทยาได้ให้ความสนใจในการศึกษา โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเก่ียวกับการเรียนรู้ และพั ฒนาการ ของผเู้ รียน ในสภาพการเรยี นการสอนหรือในช้ันเรยี น ดังนั้น จิตวิทยาการศึกษา จึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน ในการจัดการศึกษา หรือการสร้างหลักสตู รนั้น ต้องคำนงึ ถงึ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คล ธรรมชาติของบุคคลและการสร้างบรรยากาศ ในช้ันเรียน จึงต้องมีความรู้ทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการจัดการ เรียนรู้

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๐ ใบกจิ กรรมท่ี ๒.๑ ให้นสิ ติ แบง่ กลมุ่ ๕ กลุม่ ๆ ละ ๖ คน แลว้ ให้ระดมความคิดเห็น ในประเดน็ ดังนี้ ๑. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ๒. ปัจจยั ท่มี ผี ลตอ่ ความแตกตา่ งระหวา่ งบคุ คล ๓. การยอมรบั และการไม่ยอมรบั ความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล จะส่งผลกระทบอยา่ งไรบ้าง หลังจากท่ีนิสิตระดมความคิดเห็นแล้วให้แต่ละกลุ่มเขียนสรุปประเด็นต่างๆ จากการระดมความคิดเห็นลง และนำเสนอหนา้ ช้ันเรียน ใบกจิ กรรมที่ ๒.๒ หลงั จากทนี่ ิสิตแต่แตล่ ะกลุ่มไดร้ ะดมสมองในประเดน็ “ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล”แลว้ ให้ชว่ ยกนั ใน กลมุ่ /ทมี คิดกิจกรรม/เทคนิคในการสร้างบรรยากาศในชนั้ เรียน โดยคำนึงถงึ ความแตกต่างระหวา่ งบุคคล และให้ นสิ ติ แตล่ ะกล่มุ นำเสนอหน้าช้ัน เรยี นความแตกต่างระหวา่ งบุคคล เทคนิคในการสรา้ งบรรยากาศในชั้นเรียน ความแตกตา่ งระหว่างบุคคล เทคนิคในการสรา้ งบรรยากาศในชน้ั เรยี น

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๑ คำถามท้ายบท คำช้ีแจง หลังจากท่ีนิสิตได้ศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาการศึกษาแล้ว ให้นิสิตตอบคำถามต่อไปน้ี โดยอาศัย หลักวชิ าการ หลักความเป็นจริง และความคดิ เห็นของนสิ ิตประกอบในการตอบคำถาม ๑. ให้นิสติ อธบิ ายความเป็นมา และความหมายของจติ วิทยาการศึกษาพอสังเขป ๒. ใหน้ สิ ติ อธิบายคณุ ลกั ษณะ ขอบข่าย และบทบาทของจติ วทิ ยาการศึกษา ๓. จติ วทิ ยาการศึกษามปี ระโยชนต์ ่อการจัดการเรยี นการสอนในสถานศึกษาอยา่ งไร ๔. ให้นสิ ิตอธิบายความแตกต่างระหว่างบุคคลมาใหเ้ ขา้ ใจ ๕. จงสรุปประเภทของความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคลใหช้ ดั เจน ๖. จงอธิบายองค์ประกอบที่ก่อใหเ้ กิดความแตกตา่ งระหว่างบคุ คลมาพอสังเขป ๗. ครูมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศในชั้น เรียนอย่างไร และถ้านิสิตเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน จะสรา้ งบรรยากาศในชั้น เรยี นอยา่ งไร เพอื่ ให้นกั เรียนมีผลการเรยี นรูท้ ด่ี ี ๘. การสร้างบรรยากาศในชน้ั เรียนมีองค์ประกอบอย่างไรบา้ ง ๙. จงอธิบายเทคนคิ ในการสร้างบรรยากาศในชน้ั เรียน พร้อมยกตวั อย่าง

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๒ เอกสารอ้างอิงประจำบท กฤตวรรณ คำสม, เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู, อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏอดุ รธานี, ๒๕๕๗. กันยา สุวรรณแสง, จิตวทิ ยาทว่ั ไป, กรงุ เทพมหานคร : บริษทั บำรุงสาสน์, ๒๕๔๐. น้อมฤดี จงพยหุ ะ และคณะ, คู่มือการศกึ ษาวชิ าจติ วทิ ยาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : มติ รสยาม, ๒๕๑๖. นุชลี อุปภัย, จิตวิทยาการศึกษา,พิมพ์คร้ัง ที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖. ศรีวรรณ จนั ทรวงศ์, จติ วทิ ยาเพอื่ การเรยี นรู้ เอกสารประกอบการสอน, อุดรธานี : สยามการพิมพ์, ๒๕๔๙. สรุ างค์ โคว้ ตระกลู , จติ วทิ ยาการศกึ ษา, พิมพ์คร้ัง ท่ี ๙, กรุงเทพมหานคร : สำนกั พิมพ์แหง่ จฬุ าลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย, ๒๕๕๓. แสงเดอื น ทวสี ิน, จิตวิทยาการศกึ ษา, พมิ พ์ครั้ง ที่ ๒, กรงุ เทพมหานคร : ไทยเสง็ , ๒๕๔๕. อารี พนั ธ์มณี, จิตวิทยาสร้างสรรคก์ ารเรียนการสอน, กรุงเทพมหานคร : ใยไหม ครเี อทีฟกรุ๊ป, ๒๕๔๖. Anderson, M., Educational psychology, [Online]. Sources : http://facultyweb.conrtland.edu/andersmd/whatis.html.(Accessed 9th march, 2004),1998. Biage, M.L and Hunt,J.M., Hunt Phychological Foundation of Education, 5th ed. New York: Harper & Row, 1979. Berliner,C.D. “Telling the stories of education psychology” Education Psychologist, 27(2),143-161,Lawrence Darlbaum Assoviates, Inc. .1992. Campbell,J. Understanding John Dewey:Nature and Cooperative intelligence, Peru, IL:Open Count Publishing Co., 1995. Cronbach, L.J., Essentials of Psychological Testing, 5th ed.New York: Harper&Row, 1990. Gagne'.R. The conditions of learning, New Tork:Holt, Rinehart and Winston,Inc,1967. Goodchild, L.F., “G. Stanley Hall and the study of higher education”, Review of Higher Education 20,no. 1:69-99,1996. Green, C.D., Classics in the history of psychology, [Online]. Sources: http://pragmatism.org/genealogy/dewey.htm.(Accessed 15th Suptember,2003).1996. Morrn L. Biage and Mourice P., Hunt Psychological Foundation of Education, 5th ed, New York : Harper & Row, 1979. Shook, J., John Dewey, [Online].Sources:http://psychclassics.yorku.ca/ Thorndike/education.htm.(Accessed 6th March,2004), 1998. Sprinthall, N.A.and Sprinthall,R.C., Educational psychology, 5th ed. New York:McGraw-Hill. 1990. Watson , Sr., R.I., Granville Stanley Hall.[Online].Sources:http://educ. southern.edu/tour/who/pioneers/hall.htm.(Accessed 6th March,2004), 2000. Wittrock, M.C., “An empowering conception of educational psychology”,Educational Psychology, 27,129-142,1992. Woolfolk, A.E., Educational psychology, 9th ed. Boston: pearson Education, Inc., 2004.

แผนบรหิ ารการสอนประจำบทที่ ๓ ความแตกต่างระหว่างบุคคล จดุ ประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรม หลังจากไดศ้ กึ ษาบทเรียนน้ีแล้ว นสิ ติ สามารถ ๑. อธิบายความหมายของพัฒนาการได้ ๒. อธิบายหลักของพฒั นาการของมนษุ ย์ได้ ๓. อธิบายวิธีการศกึ ษาพฒั นาการของมนษุ ย์ได้ ๔. อธิบายปัจจยั ท่มี อี ิทธิพลต่อพฒั นาการของมนุษยไ์ ด้ ๕. อธิบายทฤษฎีเกยี่ วกบั การพัฒนาการของมนษุ ย์ได้ ๖. อธบิ ายคณุ ลักษณะของผ้เู รียนวัยตา่ งๆ เนือ้ หาสาระ เนื้อหาสาระในบทน้ีประกอบด้วย ๑.ความหมายของพัฒนาการ ๒.หลกั การพัฒนาการ ๓.วธิ กี ารศึกษาพฒั นาการ ๔.ปัจจยั ท่มี อี ทิ ธิพลต่อพฒั นาการ ๕.ทฤษฎีเกีย่ วกบั พัฒนาการของมนุษย์ ๖.คุณลกั ษณะของผ้เู รียนระดับตา่ งๆ กิจกรรมการเรยี นการสอน สัปดาหท์ ่ี ๔ ๑. ทบทวนความรู้เดิมในบทท่ี ๒ โดยการซักถามและให้นสิ ิตอธบิ ายและแสดงความคดิ เห็น ๒. อธิบายเนื้อหา และสรุปเน้ือหาสาระท่ีสำคญั ด้วย Microsoft Power-point ๓. อภปิ ราย แลกเปลีย่ นความคิดเหน็ และซกั ถาม ๔. แบ่งกลุ่มนิสิตออกเป็น ๕ กลุ่ม ให้นิสิตระดมความคิดเห็นในหัวข้อ “ทฤษฎีพัฒนาการ ของนักจติ วิทยา ” แล้วนำเสนอหน้าช้ัน ๕. แบ่งนิสิตเป็น ๕ กลุ่ม ให้ศึกษา ค้นคว้าพัฒนาการของผู้เรียนในระดับต่างๆ และนำเสนอ ในสัปดาหห์ น้า สปั ดาหท์ ี่ ๕ ๑. ทบทวนความรู้เดมิ ในสปั ดาหท์ ี่ ๔ โดยการซักถามและให้นสิ ิตอธิบายและแสดง ความคิดเหน็ ๒. ให้นิสิตแตล่ ะกลมุ่ นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์ท่ี ๓ ๓. ให้นิสิตวเิ คราะห์และเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้เรียนแต่ละระดับกับทฤษฎีพัฒนาการ ของนกั จิตวทิ ยา ๖. ใหต้ อบคำถามท้ายบทที่ ๓ และนำสง่ ในสัปดาหห์ น้า

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๔ ส่ือการเรียนการสอน ๑. เอกสารประกอบการเรยี นการสอน “ความรทู้ ่ัวไปเกี่ยวกับจติ วิทยาพฒั นาการ” ๒. การนำเสนอด้วย Microsoft Power-point และวดี ิทัศน์ / คลปิ วีดีโอ ๓. ตำราหรือหนังเสอื เก่ียวกับจิตวิทยา ได้แก่ ทพิ ยภ์ า เชษฐ์เชาวลิต, จติ วทิ ยาพฒั นาการสำหรับพยาบาล, สงขลา : ชานเมอื ง การพิมพ์, ๒๕๔๑. นวลศริ ิ เปาโรหติ ย์ และคณะ, จติ วิทยาพัฒนาการ, กรงุ เทพมหานคร : มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง, ๒๕๒๑. พรรณทิพย์ ศริ ิวรรณบุศย์, ทฤษฎีจติ วทิ ยาพฒั นาการ, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั , ๒๕๓๐. ศรเี รอื น แกว้ กังวาน, จติ วทิ ยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย, กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พิมพม์ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐. สุชา จันทน์เอม, จติ วิทยาพฒั นาการ, กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานชิ , ๒๕๔๐. ๔.ใบกิจกรรมกลุ่ม ๒ กจิ กรรม ๔.๑ กิจกรรมกลุ่มหัวข้อ “ทฤษฎีพัฒนาการของนักจติ วิทยา” ๔.๒ กจิ กรรมกล่มุ หัวขอ้ “พัฒนาการของผู้เรยี น” แหลง่ การเรียนรู้ ๑. ห้องสมุดวิทยาลยั สงฆ์บุรรี ัมย์ มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย ๒. ห้องสมดุ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาการแนะแนว ๓. แหล่งการเรยี นรทู้ างอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับจิตวทิ ยาการศึกษา ความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสร้างบรรยากาศในช้ันเรยี น นสิ ติ สามารถสบื ค้นข้อมูลท่ตี ้องการผ่านเวบ็ ไซตต์ า่ งๆ การวดั และการประเมินผล จดุ ประสงค์ เครื่องมอื /วธิ ีการ ผลทค่ี าดหวัง ๑. อธิบายความหมายของ ๑.ซกั ถาม ๑. มคี ะแนนการทำแบบฝึกหัด พฒั นาการได้ ๒.แบบฝึกหัดทา้ ยบท ถกู ต้อง ร้อยละ ๘๐ ๒. อธบิ ายหลกั ของพัฒนาการของ ๑. ซักถาม ๑. นิสิตมคี ะแนนการทำ มนุษยไ์ ด้ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท แบบฝกึ หดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๓. อธบิ ายวิธกี ารศึกษาพัฒนาการ ๑. ซักถาม ๑. นิสติ มีคะแนนการทำ ของมนษุ ยไ์ ด้ ๒. แบบฝกึ หัดท้ายบท แบบฝึกหดั ถูกตอ้ ง ร้อยละ ๘๐ ๔. อธบิ ายปัจจัยท่มี อี ิทธิพลต่อ ๑. ซักถาม ๑. นสิ ติ มคี ะแนนการทำ พัฒนาการของมนษุ ย์ได้ ๒. แบบฝกึ หดั ท้ายบท แบบฝึกหัดถูกต้อง รอ้ ยละ ๘ ๕. อธิบายทฤษฎีเกีย่ วกบั การ ๑. สงั เกตพฤติกรรมการ ๑.นสิ ติ ให้ความรว่ มมือในการทำ พฒั นาการของมนษุ ย์ได้ รว่ มกิจกรรม กิจกรรมกลุ่ม ร้อยละ ๑๐๐ ๒. สังเกตการณ์นำเสนอ ๒. นสิ ิตมีคะแนนการทำ หนา้ ชั้นเรียน แบบฝึกหัดถูกต้อง ร้อยละ ๘๐ ๓. แบบสงั เกตพฤตกิ รรม การทำงานกลุ่ม

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๕ ๖. อธบิ ายคุณลักษณะของผ้เู รียน ๔. ผลงานกลมุ่ ๑. นสิ ิตมคี ะแนนการทำงานกลุ่ม วยั ต่าง ๆ ๕. แบบฝึกหดั ทา้ ยบท และการนำเสนอ รอ้ ยละ ๘๐ ๑. ซักถาม ๒. นิสติ มคี ะแนนการทำ ๒. นำเสนอหนา้ ชน้ั เรียน แบบฝึกหดั ถูกต้อง รอ้ ยละ ๘๐ ๓. แบบฝกึ หัดท้ายบท

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๖ บทท่ี ๓ ความแตกต่างระหว่างบคุ คล ๓.๑ ความนำ จติ วิทยาพัฒนาการ (development psychology) เป็นจิตวทิ ยาแขนงหนึ่งท่ีมุ่งศกึ ษามนษุ ย์ ทุกวัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระท่ังวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางรา่ งกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอดจนสติปัญญา ของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวกิ ฤตในแต่ละวัย กล่าวคอื ช่วยให้ทราบถึงกระบวนการเปล่ยี นแปลงของบคุ คลในวัยตา่ งๆ กัน จิตวิทยาพัฒนาการจงึ ถือ เปน็ รากฐานของจติ วิทยาแขนงอ่นื ๆ การศึกษ าจิต วิท ย าพั ฒ น าการของม นุ ษ ย์ จึงมี ความ ส ำคัญ อย่างยิ่ งที่ ช่ วยให้ ผู้ ศึกษาเกิด ความเข้าใจบุคคลในลักษณะองค์รวมท้ังท่ีเป็นส่วนบุคคลและการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคม เพ่ือให้ เข้าใจถึงสาเหตุของพฤติกรรมปัญหา เข้าใจถึงระดับสติปัญญา ลักษณะอารมณ์ ความต้องการ ของบุคคลแต่ละวัย นอกจากน้ีการเข้าใจธรรมชาติของบุคคลแต่ละวัยช่วยให้เกิดการประสานงานกัน อย่างราบรน่ื และช่วยใหบ้ ุคคลปรับตวั เข้ากนั ได้ดีขน้ึ การศึกษาพฤติกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์กับอินทรีย์อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะพฤติกรรม ของมนุษย์นัน้ ตัวมนุษย์เป็นอินทรียท์ ่ีมลี ักษณะซับซอ้ นน่าศึกษาย่ิง เริ่มต้ังแต่การปฏิสนธิไปจนกระท่ัง เจริญเติบโตและตายในที่สุด พัฒนาการชีวิตมนุษย์จะทำให้เราเข้าใจถึงข้ันตอนและแบบแผน ของการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ในแต่ละช่วงชีวิต ตลอดจนทำให้เราเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ทมี่ อี ิทธิพลตอ่ พฒั นาการของชีวติ มนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์ เป็นลักษณะในแนวทางดำเนินชวี ิตที่สมั พนั ธ์กับบุคคลและสิ่งรอบๆ ตัว ซึ่งมีหลายความเช่ือว่าเป็นเพราะการอบรมเล้ียงดู ส่ิงแวดล้อม การเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการในช่วงช้ันต่างๆของชีวิตมนุษย์ อีกทั้ง ยังเน้นถึงส่ิงสำคัญคือการพัฒนาการของแต่ละ คนจะเป็นเอกลักษณ์ ซ่ึงก็หมายถึง การพัฒนาการของแต่ละบุคคลจะมีลักษณะแบบแผนเฉพาะตน ไมเ่ หมอื นกับคนอืน่ แมแ้ ต่ฝาแฝดเหมือนที่ออกมาจากไข่ใบเดยี วกนั ๓.๒ ความหมายของพฒั นาการ นักวชิ าการหลายท่านใหค้ วามหมายของคำว่าพฒั นาการ ดังน้ี สชุ า จันทรเ์ อม๑ ได้ให้ความหมายไว้ว่า พัฒนาการ หมายถึง ลำดับของการเปลยี่ นแปลงหรือ กระบวนการเปลี่ยนแปลง (process of change) ของมนุษย์ทุกส่วนที่ต่อเนื่องกันไปในระยะเวลา หน่ึงๆ ต้ังแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต การเปล่ียนแปลงน้ีจะก้าวหน้าไปเร่ือยๆ เป็นข้ันๆ จากระยะหนึ่ง ๑ สุชา จันทร์เอม, จติ วิทยาพฒั นาการ, ( กรงุ เทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๔๐) ,หนา้ ๑.

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๗ ไปสู่อีกระยะหน่ึงเพื่อที่จะไปสู่วุฒิภาวะ ทำให้มีลักษณะและความสามารถใหมๆ่ เกิดขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ เจรญิ ก้าวหน้าย่ิงขนึ้ ตามลำดบั ศรีเรือน แก้วกังวาล๒ ได้ให้ความหมายไว้ว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึน อยา่ งสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งท่สี ังเกตได้ง่าย ชดั เจน และมองเห็นได้ยาก ไมช่ ัดเจน ต้ังแตเ่ ริ่มปฏิสนธิ จนกระทัง่ วาระสุดท้ายของชีวิต ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต๓ ได้ใหค้ วามหมายไวว้ ่า พัฒนาการ หมายถงึ การเปล่ียนแปลงทเี่ ป็นไป อย่างมีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอน เกิดข้ึนอย่างต่อเน่ืองทั้ง ในด้านเจริญเติบโตงอกงามและถดถอย และเปน็ การเปลย่ี นแปลงที่เป็นผลรวมของวฒุ ิภาวะและประสบการณ์ อัชรา เอิบสุขสิริ (๒๕๕๗:๒๗) ได้ให้ความหมายไว้ว่า พัฒนาการ หมายถึง การเปล่ียนแปลง ท้งั ด้านรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ และสังคม ภายใต้อทิ ธิพลของพนั ธุกรรมและสงิ่ แวดลอ้ ม จากความหมายดังกล่าวพอสรุปความหมายของพัฒนาการได้วา่ พัฒนาการ(Development) หมายถึง กระบวนการเปล่ียนแปลง ในด้านต่างๆ ของส่ิงมีชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผนท่ีมี ความต่อเน่ืองและเป็นขน้ั ตอน ต้ังแตป่ ฏสิ นธิจนถึงตาย ช่วยให้สามารถตอบสนองต่อสิง่ แวดล้อมอย่าง มีประสิทธิภาพซ่ึงการเปลี่ยนแปลงน้ีเป็นได้ท้ัง ด้านบวก คือเพิ่มข้ึนและด้านลบ คอื ร่วงโรย หลุดล่วง สูญส้ิน ขน้ึ อยู่กับประสบการณ์ท่ไี ด้รับ ซึ่งนำไปส่คู วามมวี ฒุ ิภาวะ สิ่งสำคัญของการพัฒนาการ คือ ระบบความเจริญเติบโต ซึ่งก็เป็นส่ิงสำคัญที่เราจะต้องทำ ความเขา้ ใจ เพราะการเจริญเตบิ โตเปน็ สว่ นหนงึ่ ของพัฒนาการ ความเจริญเติบโต (Growth)หมายถึง กระบวนการเปล่ยี นแปลงทางด้านขนาด รูปรา่ งสัดสว่ น กระดูก และกล้ามเนือ้ ทีม่ คี ณุ สมบัติทางดา้ นบวก ในทุกๆ ดา้ น ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากการเรียนรู้ ในการศึกษาพฒั นาการของมนุษย์ อาจแบ่งช่วงชีวิตของคนเราเปน็ วัย (Developmental Stages) ต่างๆ ดังนี้ วยั ก่อนคลอด ช่วงเวลา ๒๘๐ วัน ในครรภ์ วัยทารก แรกคลอด - ๒ ปี วยั เดก็ ตอนต้น ๒ - ๕ ปี วัยเด็กตอนกลาง ๕ - ๑๒ ปี วัยรนุ่ ๑๒ - ๒๐ ปี วยั ผ้ใู หญต่ อนต้น ๒๐ - ๔๐ ปี วัยกลางคน ๔๐ - ๖๐ ปี วัยชรา ๖๐ ปี เปน็ ตน้ ไป การแบ่งชว่ งชีวิตของเราออกเปน็ วัยต่างๆ โดยใชเ้ กณฑอ์ ายุเป็นเพยี งโดยประมาณเพ่อื สะดวก ในการศึกษา เพราะตามวัยหรือระดับอายุดังกล่าวจะมีกลุ่มพฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของวัย เกิดข้ึนและพัฒนาไป และเป็นพ้ืนฐานของพฤติกรรมหรือพัฒนาการในวัยต่อมาการเปลี่ยนแปลงที่ เกดิ ขนึ้ จากพัฒนาการ แบง่ เป็น ๔ ดา้ น ดังน้ี ๒ ศรีเรอื น แกว้ กังวาน, จิตวทิ ยาพัฒนาการชวี ติ ทุกชว่ งวัย, (กรงุ เทพมหานคร : สำนกั พมิ พ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์, ๒๕๔๐), หน้า ๒๑. ๓ ทิพย์ภา เชษฐเ์ ชาวลิต, จติ วทิ ยาพฒั นาการสำหรับพยาบาล, (สงขลา : ชานเมอื งการพิมพ์ ,๒๕๔๑) , หนา้ ๑.

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๘ ๑. ด้านร่างกาย ได้แก่ ความเจรญิ เตบิ โตทเี่ กีย่ วกับร่างกายทัง้ หมด ๒. ด้านอารมณ์ ได้แก่ ความเจริญเติบโตท่เี ก่ียวกับความสามารถในการควบคุม อารมณ์ ๓. ด้านสังคม ได้แก่ ความเจริญเติบโตท่ีเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวให้เข้า กบั บุคคลอื่น รวมทั้ง สิง่ แวดลอ้ มต่างๆ ในสังคม ๔. ด้านสติปัญญา ได้แก่ ความเจริญเติบโตที่เก่ียวกับความคดิ ของบุคคล ท้ัง ในด้าน การคิดอยา่ งมเี หตุผล คดิ แกป้ ัญหาตา่ งๆ ท่ีเกิดข้ึน และคดิ สร้างสรรคส์ ง่ิ ใหม่ๆ ๓.๓ หลักทั่วไปของพฒั นาการ พัฒนาการของมนุษย์เริ่มต้น ต้ังแต่ไข่ผสมกับอสุจิ ทำให้เกิดการปฏิสนธิของชีวิตใหม่จากน้ัน กระบวนการพัฒนาการก็เร่ิมข้ึน และดำเนินการอย่างต่อเน่ือง ไม่หยุดน่ิง จนกว่าจะตายดังน้ัน สงิ่ มชี วี ิตทุกๆ อย่าง ไม่วา่ จะประกอบไปด้วยเซลลๆ์ เดยี วหรอื หลายเซลล์ก็ตามขบวนการเปล่ียนแปลง มักจะเกิดข้ึนอย่างสม่ำเสมอและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนการเปลี่ยนแปลง เช่นนี้อาจกล่าวได้ วา่ เปน็ พัฒนาการ เฮอร์ลอกค์๔ กลา่ ววา่ พัฒนาการของคนดำเนินไปตามหลักทัว่ ไป ดงั นี้ ๑. พัฒนาการของมนุษย์จะดำเนินไปตามแบบแผนเป็นข้ันๆ ไม่กระโดดข้ามกันไม่ซับซ้อน และไม่มีการหยุดน่ิง เช่น ความเจริญเติบโตของเด็ก จะเร่ิมจากศีรษะก่อน แล้วจึงจะมีพัฒนาการไปสู่ ส่วนกลาง เช่น ยกศรี ษะได้กอ่ นยกทรวงอก สามารถควบคุมลำตวั ไดก้ อ่ นแขนและขา ควบคมุ แขนและ ขาไดก้ ่อนมือและเทา้ เป็นต้น ๒. พัฒนาการของมนุษย์ เริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองเป็นส่วนรวมก่อนส่วนปลีกย่อย เช่น เด็ก จะเคลื่อนไหว มือแขนทั้ง สองข้างไร้ทิศทางก่อนจะหยิบหรือจับวัสดุสิ่งหน่ึงส่ิงใดไว้แน่นท้ังสองข้าง หรอื เดก็ จะถนัดใช้มอื ท้ังสองขา้ งจับหรอื หยิบสิง่ ของก่อนทีจ่ ะถนัดใชม้ ือข้างหน่ึงขา้ งใด ๓. พัฒนาการของมนุษย์จะดำ เนนิ ไปพร้อมกันท้ัง ๔ ดา้ น และทุกด้านจะต้องมีความสัมพันธ์ ซ่ึงกันและกัน เช่น พัฒนาการทางกายและทางจิตใจ จะต้องสัมพันธ์กับพัฒนาทางอารมณ์และทาง สังคม เช่น เด็กวัย ๒ ขวบข้ึน สามารถพูดเป็นวลี หรือประโยคได้ ซ่ึงระยะน้ีพัฒนาการทางสติปัญญา ได้เจริญมาจนสามารถจำเสียงและเข้าใจความหมายของเสียงนั้นไม่สับสนกัน อีกท้ัง เม่ือผู้ใหญ่ ตอบสนองการกระทำของเด็ก เด็กจะแสดงอาการพึงพอใจ ๔. พัฒนาการของมนุษย์โดยปกติจะผ่านพัฒนาการตามลำดับขั้นด้วยอัตราไม่เท่ากนั บางคน เจริญรวดเร็ว ในขั้นหน่ึง แต่บางคนเจริญเติบโตไปอย่างช้าๆ อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนจะต้อง เจริญเติบโตถึงขีดสุดของตน ไม่ช้าก็เร็ว ฉะน้ันผู้ใหญ่ควรเข้าใจสมรรถภาพความสามารถ สภาวะ อารมณ์ การปรับตวั ของเดก็ แตล่ ะคนยอ่ มจะเจริญเติบโตแตกต่างกัน ๕. การพัฒนาการของมนุษย์จะเกิดในลักษณะที่ต่อเน่ืองกัน (Continuity) การพัฒนาการ เป็นกระบวนการท่ีเกิดต่อเน่ืองกันตลอดเวลา กล่าวคือ พัฒนาการทุกด้านไม่ได้เกิดข้ึน ทันทีทันใดแต่ ต้องอาศัยเวลาในการพัฒนามาก่อน ต้ังแต่เด็กเริ่มปฏิสนธิ ตัวอย่างเช่น การพูด เด็กจะค่อยๆ พัฒนาการจากการเปล่งเสียง การพูดอ้อแอ้ การพูดเป็นคำๆ เป็นประโยค จนกระท่ังเด็กสามารถสื่อ ความหมาย โดยใชค้ ำพูดเมื่อเด็กเขา้ สังคมได้ ๔ Hurlock, A.E., Educational psychology, ๙th ed. Boston: Pearson Education, Inc.,1972.

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๖๙ ๖. ส่วนต่างๆ ของร่างกายจะมีอัตราการพัฒนาการแตกต่างกัน เช่น ขนาดของสมอง จะเจริญเติบโตรวดเร็วข้ึน เม่ืออายุ ๖ - ๘ ปี ส่วนร่างกายจะเจริญเติบโตเต็มท่ีในวัยรุ่น สำหรับ พัฒนาการทางสติปัญญาจะเจริญถึงขีดสุดในวัยหนุ่มสาว เป็นต้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วสติปัญญา ของมนุษย์จะเจรญิ เตบิ โตเตม็ ที่ เมื่ออายุ ๑๖ - ๑๘ ปี ๗. พัฒนาการสามารถทำนายได้ แม้เราไม่สามารถที่จะหาเคร่ืองมือสำหรับวัดอัตราการ พัฒนาการ ได้แน่นอน แต่การพัฒนาในระยะแรกของเด็กแต่ละคน เป็นเครื่องช้ีให้เห็นแนวโน้ม ของการพัฒนาการในระยะต่อไปได้ เช่น วัยเด็ก ถ้าเด็กมีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโต โครง รา่ งของรา่ งกายใหญ่ ย่อมแสดงว่า ในระยะตอ่ ไปถา้ ไมม่ ีอปุ สรรคท่ีขดั ขวางการเจริญเตบิ โต เด็กคนนั้น ย่อมมีร่างกายแข็งแรง เจรญิ งอกงามมากกว่าเด็กที่มีพัฒนาการทางกายระยะแรกช้ากว่ากระบวนการ พัฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดข้ึน กับบุคคลทั่วไป ดังน้ัน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของการ พัฒนาการ เพ่ือผูท้ ี่มสี ่วนเก่ียวข้องกบั เดก็ จะไดส้ ่งเสริมให้เด็กมพี ัฒนาการถึงขีดสดุ และเพอื่ บิดามารดา ของเด็กจะได้ไม่เกิดความวิตกกังวลเก่ียวกับกระบวนการพัฒนาการของเด็กมากเกินไป ถ้าเผอิญเด็ก ในความดแู ลมพี ฒั นาการที่เร็วหรอื ชา้ ไปกวา่ ปกตไิ ม่มากนัก เพราะอย่างไรกต็ าม เด็กปกติย่อมสามารถ ผ่านพัฒนาการทุกขั้นไปได้อย่างสะดวก ถึงแม้พัฒนาการในแต่ละข้ัน บางครั้งผู้ใหญ่อาจคิดว่า เป็นปัญหา เช่น บางครั้งเด็กอาจแสดงพฤติกรรม เพ่ือเรียกร้องความสนใจ เช่น การร้องกรี๊ดเมื่อไม่ พอใจ หรือเกิดจากภาวะปรับตัวที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การแสดงอาการเก้งก้างของเด็กวัยรุ่น ซึ่งร่างกาย เจริญเติบโตเร็วเกินไป เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ผู้ใหญ่ท่ีมีความรู้เรื่องการพัฒนาการที่เป็นเร่ืองปกติ ธรรมดาตามกระสวนของการพัฒนาการ ๓.๔ วธิ ีศกึ ษาพฒั นาการของมนษุ ย์ ในการศึกษาพัฒนาการของมนษุ ย์ มีวิธที ีน่ ิยมใช้อยู่ ๒ วิธี คือ ๑. การศึกษาระยะยาว (Longitudinal method) วิธีน้ีเป็นการศึกษาในช่วงระยะยาวนาน เป็นการศึกษาแบบตลอดชีวิต เช่น ศึกษาคนๆ หนึ่ง ตั้งแต่ระยะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผูใ้ หญ่ จนถึงวัยชรา การศึกษาระยะยาวนี้อาจจะใช้ระยะเวลา ๑๐ ปี หรือ มากกว่าน้ันวิธีนี้ผู้ศึกษาต้องเลือกตัวอย่างที่ต้องการศึกษาและติดตามพัฒนาการของลักษณะใด ลักษณะหน่ึง โดยเฉพาะติดตามไปตามอายุต่างๆ ซึ่งเป็นการสิน้ เปลอื งและเสยี เวลานานมาก อย่างไร กต็ ามลักษณะที่สำคัญๆ ในด้านพัฒนาการก็ไดม้ าจากการศึกษาระยะยาวนี้ เชน่ กัน ตัวอยา่ งการศึกษา เกี่ยวกับความจำของเด็ก ของเพียเจต์ นักจิตวิทยาพัฒนาการ ชาวสวิส ก็อาศัยการศึกษาระยะยาว ข้อดี ของการศึกษาระยะยาว คือ ทำให้สามารถทราบสาเหตุท่ีแท้จริงของพฤติกรรมที่ต้องการศึกษา ขอ้ เสีย คือ ส้นิ เปลืองเวลา และเงนิ ทองมาก ๒. การศกึ ษาระยะส้ัน (Cross – section method) วธิ ีน้ีเป็นการศึกษาเด็กเฉพาะชว่ งอายุทน่ี ่าสนใจเป็นการสังเกตลักษณะบางลักษณะที่ตอ้ งการ ศึกษาและสุ่มตัวอย่าง เพื่อทำการศึกษา ตัวอย่างเช่น ต้องการศึกษาเก่ียวกับความสามารถในการคิด และการสร้างความคิดรวบยอดของเด็กอายุตั้งแต่ ๔ – ๑๐ ปี ก็ให้เด็กอายุตั้ง แต่ ๔ – ๑๐ ปี ทำ แบบทดสอบ โดยให้อายุ ตามปี ปี ละกลุ่มทำแบบสอบถาม ซ่ึงต้องใช้หลักทางสถิติ โดยการหา คา่ เฉลี่ยและนำมาเปรียบเทียบกันและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน แล้วจึงนำผลมาสรุปตีความหมายผล การทดลอง ซึ่งก็ทำใหช้ ่วงเวลาท่ใี ช้ในการศึกษาสั้นเขา้

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๐ ข้อดี คือ ได้ข้อมูลที่พอจะเชื่อถือได้ และนำมาตั้ง เป็นกฎเกณฑ์ได้ เพราะได้จากกลุ่มเด็ก จำนวนมากในระดับอายเุ ดยี วกัน สง่ิ สำคัญวธิ ีน้ีประหยัดท้งั เวลาและค่าใชจ้ ่าย ข้อเสีย คือ บางครั้งไม่สามารถจะบอกได้ว่า ข้อมูลเช่น ส่ิงแวดล้อมมีส่วนกำหนดพฤติกรรม ของเด็กหรอื ไม่ เพราะระยะเวลาในการศึกษานอ้ ยไป ๓.๕ ปจั จยั ทีม่ อี ทิ ธพิ ลต่อพฒั นาการของมนุษย์ ๑. ปัจจยั ทางดา้ นชวี ภาพ (Biological factors) อิทธิพ ลทางด้าน ชี ววิทย าจ ะเก่ีย วข้องโด ยต รงกับ ความเจริญ ท างวุฒิ ภ าวะ (maturation) ซึ่งจะส่งผลไปถึงการเปล่ียนแปลงในแต่ละช่วงของชีวิต ในการพัฒนาเบ้ืองต้นนั้นความเจริญของเด็ก จะเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนที่สามารถทำนายได้เป็นขั้นตอน อย่างไรก็ดีแม้ว่าความเจริญ ทางด้านวุฒิภาวะจะมีแนวโน้มท่ีสูงข้ึน ไปทุกทีก็ตาม แต่ก็มิใช่จะเกิดในอัตราเดียวกันท้ัง หมดในทุก ช่วงของอายุ หมายความว่า กราฟของความเจริญทางวุฒิภาวะไม่ได้สูงขึ้นในอัตราส่วนที่เท่ากันกับ จำนวนของอายุท่ีสูงขึน้ เป็นท่ีน่าสังเกตว่า ในการเจริญเติบโตจากข้ันหน่ึงไปสู่อีกขั้นหนึ่ง มิได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือทันทีทันใด ส่วนใหญ่แล้วพัฒนาการจะไปสะดุดอยู่ในช่วงว่างข้ันหนึ่งๆ เสมอเนื่องจากขั้นท่ีเด็ก กำลังพัฒนาไปสู่นั้นมักจะเป็นช่วงท่ีสูงกว่าข้ันเก่าเสมอ เด็กจะพบว่า เขายังไม่มีความสามารถที่จะทำ ในสิ่งที่ใหม่ๆ ได้ แมว้ ่าเขาจะลองพยายามเท่าไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น ในระยะแรกเกิดส่วนใหญ่จะพอใจ ท่ีมารดาปอ้ นอาหารใหเ้ ขา แต่ต่อมาเม่ือเขามีความสามารถที่จะหยิบจับส่งิ ของเองแล้ว เขามักต้องการ ตักอาหารใส่ปากเองและเขาก็จะพบความพยายามของเขาประสบความลำบากอย่างย่ิง ในบางครั้ง อาหารจะไม่เข้าปากเลยก็มีหรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ท่ัวๆ ไปในช่วงพัฒนาการของเด็กที่เข้าสู่ข้ัน วัยรุ่นก็คือ เด็กวัยนี้จะมีความเจริญทางร่างกายได้อย่างชัดเจน แต่ความเจริญทางจิตใจเติบโตช้ากว่า ทางร่างกายมาก ส่ิงที่เด็กคิดว่าเขาควรจะทำได้กับความสามารถที่แท้จริงมักจะเดินสวนทางกันอยู่ เสมอ ซึ่งผลก็คือ แรงผลักดันที่ทำให้เด็กวัยนี้เกิดความรู้สึกขัดแย้งใจ และต่อต้านกฎเกณฑ์ต่างๆ ไดง้ ่าย ๒. ปัจจยั ทางดา้ นสรีรวิทยา (Physical maturation) ในการศึกษาเร่ืองพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาจะเป็นส่ิงท่ีเห็นได้อย่างชัดเจน ที่สุดนับแต่แรกเกิดเป็นต้นมา ในระยะน้ัน เด็กจะบังคับการเคล่ือนไหวตามท่ีเขาต้องการได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการน่ัง นอน ยืน เดิน กิจกรรมต่างๆ เหล่าน้ีจะต้องอาศัยความพร้อมทางสรีรวิทยาท้ังสิ้น กล้ามเน้ือ ระบบประสาทจะต้องทำงานผสานกันอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ต่อมาเมื่อเด็กย่างเข้าสู่ วัยรุ่นกจ็ ะมกี ารเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วอีกระยะหนึ่ง ในชว่ งน้ีรา่ งกายจะมกี ารผลติ ฮอรโ์ มนจากตอ่ ม ชนิดต่าง ๆ เพ่ือช่วยในการเจริญเติบโตและเตรียมพร้อมบุคคลในเรื่องทางเพศอันจะนำสู่ขบวนการ สืบพนั ธุ์อย่างสมบูรณต์ ่อไป การเปล่ียนแปลงทางด้านสรีรวิทยานี้ดำเนินไปตามกฎของการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ โดยท่ีไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการเรียนรู้เลย การเปล่ียนแปลงทางร่างกายน้ีจะมีผลสะท้อนถึง การเปล่ียนแปลงทางด้านจิตใจ ซ่ึงในบางครงั้ อาจทำใหเ้ กดิ ความสบั สนกับบุคคลได้ง่ายๆ แต่อย่างไรก็ ตามการเปล่ียนแปลงเหล่านี้นับเป็นสิ่งจำเป็น และเก่ียวข้องกับการปรับตัวโดยตรง เด็กจะต้องมี การปรับตัวคร้ังแล้วครั้งเล่า เพื่อท่ีจะนำไปสู่สภาวะของความสมดุลของเขาเองขบวนการเหล่านี้

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๑ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งใจ และอึดอัดใจบ้างในระยะหนึ่ง แต่เมื่อดูจากผลในระยะยาวแล้ว พัฒนาการทางสรีรวิทยาจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ในการทำกิจกรรมใหม่เข้าใจถึงสภาพ ความสามารถของเขาและใช้ใหเ้ ป็นประโยชนก์ บั ตัวเขาให้ไดม้ ากท่สี ุด ๓. ปจั จยั ทางด้านความคดิ สติปัญญา (Cognitive growth) เร่ืองการเจริญทางด้านความคดิ สติปัญญา การให้เหตผุ ล จัดเปน็ หวั ใจสำคัญอีกประการหน่ึง ของการศึกษาพัฒนาการ นักจิตวิทยาไม่เพียงต้องการทราบว่าเด็กรู้อะไรบ้างเท่านั้น เขายังประสงค์ ท่ีจะทราบว่าส่ิงท่ีเด็กรู้นั้นรู้มาได้อย่างไรอีกด้วย และการศึกษาถึงความเจริญทางด้านความคิด ของบุคคลก็เช่นเดียวกับการศึกษาถึงพัฒนาการด้านอ่ืน กล่าวคือ ความคิดของเด็กจะมีการพัฒนา เปน็ ข้ันๆ ไปจากข้นั ต่ำไปส่ขู ั้นสูง เดก็ จะคอ่ ยๆ มีความเข้าใจเก่ยี วกับส่ิงแวดล้อมรอบตัวเขามากข้ึนทุก ที ท้ังในด้านคุณสมบัติและเชิงปริมาณโดยเฉพาะในด้านความคิดและการให้เหตุผล การเปล่ียนแปลง ในดา้ นน้ีจะค่อยๆ เร่ิมมาตั้ง แต่วัยเดก็ ตอนต้นเรื่อยไปจนถงึ วัยรุ่นตอนปลาย ฟรอยด์ นักจิตวทิ ยาชาว ออสเตรีย ได้แบ่งการพัฒนาทางความคิดของบุคคลออกเป็น ๓ ระดับกว้างๆ อาจเปรียบได้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ๓ เคร่ือง ทำงานกันคนละระดับจะทำหน้าท่ีของตนไปพร้อมๆ กับขบวนการเรียนรู้ ท่ีเกิดข้ึน ในแต่ละข้ันของการเจริญเติบโตในเด็กเล็ก เคร่ืองคอมพิวเตอร์ท่ีทำหน้าที่จะจัดอยู่ในระดับ ต่ำ หรือระดับแรกประกอบด้วย ชิ้นส่วนง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน ความคิดหรือข้อมูลท่ีส่งออกมาส่วน ใหญ่จะเป็นไปในรูปของสัญชาตญาณท่ีมีอารมณ์เป็นองค์ประกอบท่ีสำคัญ ฟรอยด์เรียกเครื่อง คอมพิวเตอร์ระดับนี้ว่า primary process thinking ความคิดต่างๆ จะประกอบด้วย อารมณ์ที่เกิด ในขณะน้ันความคดิ แต่ละอันจะเช่อื มต่อกนั อย่างง่ายๆ คอมพิวเตอร์จะยังไมส่ ามารถแยกขอ้ มูลภายใน จากข้อมูลท่ีส่งมาจากภายนอกได้ กล่าวคือ โลก “ภายใน” กับโลก “ภายนอก” จะไม่มีการแบ่งแยก กนั อย่างเดด็ ขาดชดั เจน กลา่ วโดยสรุป การทำงานหรือขบวนการคิดหาเหตุผลยังอย่ใู นข้ันแรกเร่มิ และ ยงั ไม่มีประสทิ ธภิ าพมากนกั เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลทางด้านอารมณ์ มิได้มีเฉพาะคอมพิวเตอรใ์ นขั้นน้ี เท่าน้ันอารมณ์ยัง ติดตามบุคคลไปในข้ันพัฒนาการที่สูงข้ึน ไปอีกด้วย จะเห็นได้จากในระยะต้นเด็กจะเรียนรู้ข้อมูล เกี่ยวกับตนเองว่า เขาคือใคร ส่ิงแวดล้อมเป็นเช่นไร และเขาควรปฏิบัติตนเช่นไรในสถานการณ์ หนึ่งๆ เขาจะเติบโตข้ึน มากับความคุ้นเคยต่อส่ิงที่เขาพบเห็นในวัยเด็ก และจะค่อยๆกลายเป็นส่วน หน่ึงของชีวิตเขา ซ่ึงเด็กจะต้องเรียนรู้ท่ียอมรับมันโดยปริยาย อารมณ์สนองตอบของเด็กท่ีมีต่อ ส่ิงแวดล้อมจะติดตัวเขาไปในทุกระดับของพัฒนาการ ต่อเม่ือเด็กค่อยเจริญวัยขึ้นขบวนการใช้ ความคิดเริ่มเปลี่ยนไป คอมพิวเตอร์ในระดับต้นจะได้รับการแทนท่ีโดยคอมพิวเตอร์ระดับสูงกว่าเดิม หรอื ระดับที่ ๒ คอมพิวเตอรร์ ะดับนี้จะมีลกั ษณะที่เหน็ เดน่ ชดั เจนกวา่ ข้ันต้น กค็ ือ ความมีระเบยี บมาก ขน้ึ ในด้านโครงสร้าง ตลอดจนกระทั่งถึงการใหเ้ หตผุ ลการจัดการกับข้อมูลก็กระทำอยา่ งรดั กุม เข้าใจ ปัญหาและวิจัยตามสภาพความเป็นจริง โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตมากขึ้น ซึ่งผลก็คือ พฤติกรรมของเด็กจะค่อยๆ มีการเปล่ียนไปเช่นกัน การวางแผนและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ มากขน้ึ ระยะท่ีสองน้ีเด็กจะมีอายุราว ๕ – ๗ ขวบ เด็กจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้เคียงสภาพ ที่แท้จริง โดยใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย เริ่มเข้าใจในส่ิงท่ีควรไม่ควรและหัดที่จะสร้างความรับผิดชอบ ให้ตนเองบ้างแลว้ ระยะสุดท้าย คือ ระยะของคอมพิวเตอร์ที่ ๓ หรือระดับที่ ๓ ในช่วงนี้ความคิดอ่านจะมี ลักษณะคล้ายกับระดับที่ ๒ มาก แต่มีพิเศษกว่าท่ีว่าสามารถแสดงความเข้าใจและมีความคิดที่

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๒ สลับซับซ้อนมากกว่าระดับท่ีสองในการแก้ไขปัญหาก็เช่นเดียวกัน สามารถเข้าใจถึงปัญหาประเภท นามธรรมของเขาได้ ระยะทีส่ ามน้ีจะเหน็ ปรากฏอยา่ งชดั เจนในวยั รุน่ ๔. ปัจจยั ทางด้าน สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural – factors) อิทธิพลของสังคม และวัฒนธรรม จะมีบทบาทสำคัญที่จะกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ให้เป็นไปตามขั้นของการเจริญเติบโต พัฒนาการทุกขั้น สังคมจะกำหนดแบบแผนการปฏิบัติของทุก คนในสังคมนั้นๆ ซ่ึงจะมีผลสะทอ้ นไปถึงพัฒนาการทางจิตใจโดยตรงเด็กย่ิงโตขึ้น จะพบว่า เขาจะต้อง ไปเก่ียวข้องกับกิจกรรมทางสังคมมากข้นึ ทุกขณะกิจกรรมเหล่าน้ีสังคมจะคาดหมายให้เขาปฏิบัติตาม และในการกระทำดังกล่าวบุคคลจะต้องปรับตนเองให้เปล่ียนไปตามท่ีสังคมกำหนด เด็กจะต้องทำ กิจกรรมของข้ัน แรกตาม ที่สังคมกำหนดให้ได้ก่อนที่จะผ่านไปสู่ขั้น สูงๆ อื่นๆ ความสามารถท่ีจะทำ ให้ได้ตามสังคมกำหนดน้ี จะต้องเก่ียวกับความพร้อมทางสรีรวิทยา ชีววิทยา และทางสติปัญญา ประกอบกันไป ความสามารถในการทำกิจกรรมสังคมไม่สามารถเกิดโดดเดี่ยวได้ตัวอย่าง เช่น สังคม จะมีความหวังต่อนาย ก อายุ ๒๐ ปี ที่แต่งงานแล้ว กับ นาย ข อายุ ๒๐ ปี ท่ียังไม่ได้แต่งงาน ไม่เหมือนกัน นาย ก จะพบว่า เขามีหน้าที่หลายๆ ชนิด ที่จะต้องทำในฐานะบุคคลที่แต่งงานแล้ว นอกเหนือไปจากเมื่อคร้ังยังเป็นโสดอยู่ ถ้านาย ก สามารถทำได้ตามข้ันเหล่าน้ี เขาจะรู้สึกสบายใจว่า เป็นสว่ นหน่ึงของสังคม แต่ถ้าหากเขามิได้ปฏิบตั ิตนตามขั้น ที่ทางสังคมกำหนดไว้ หรือถา้ ตนแตกต่าง ออกไปจากปทัสถานส่วนใหญ่ (norm) ของสังคม เขาจะประสบกับความรู้สึกกดดันและอึดอัดที่มีผล ตอ่ สขุ ภาพจติ ของเขาอยา่ งยงิ่ กล่าวโดยสรุป ปัจจัยทางสังคม และวัฒนธรรมจะเข้ามาเก่ียวข้องกับการพัฒนาการ ของบคุ คลโดยตรง และจะเป็นส่ิงสำคัญในการชี้แนวให้พฤติกรรมของเขาดำเนินไปตามรปู แบบทไี่ ด้รับ ปฏบิ ตั จิ ากชนส่วนใหญ่ของสงั คม ๓.๖ ทฤษฎีเกยี่ วกับการพัฒนาการของมนษุ ย์ แนวความคิดทางทฤษฎีเก่ียวกับพัฒนาการของมนุษย์มีหลากหลาย ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีมี จุดเด่นแตกต่างกัน แต่ความคิดที่หลายหลากน้ันมีความเก่ียวพันจากพ้ืนฐานเดียวกัน ท่ีเช่ือว่า พัฒนาการของมนุษย์เป็นกระบวนการตอ่ เน่ืองในชว่ งชวี ติ และมลี ักษณะเดน่ เฉพาะในแตล่ ะวัย ๓.๖.๑ ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์ (Freud) ฟรอยด์ (Freud) เป็นจิตแพทย์ชาวออสเตรีย เป็นนักจิตวิทยาท่ีมีผลงานค้นคว้าทางจิตวิทยา เป็นจำนวนมาก ฟรอยด์เช่ือว่า ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการ และบุคลกิ ภาพของบุคคลเมื่อโตข้ึน ฟรอยด์ แบ่งพฒั นาการของมนษุ ยท์ ี่มีอทิ ธิพลต่อพฤติกรรม เป็น ๕ ระยะดว้ ยกนั ดงั น้ี ระยะท่ี ๑ ความสุขอยู่ทป่ี าก (Oral stage) อายุระหว่าง ๑ – ๒ ปี เป็นช่วงท่ีมีความสุขด้วยการกิน วัยน้ียังพ่ึงตัวเองไม่ได้ ถ้าการเล้ียงดูของแม่ดีเหมาะสม หิวก็ได้กิน หนาวก็ได้รับความอบอุ่น การสัมผัสแตะต้องนำมา ซึ่งความสบาย ทำให้เด็กเจริญเติบโตตามพัฒนาการได้ดี ช่วงน้ีเด็กมีความสุขด้วยการดูด กอด การดูดถ้าเด็กได้รับความสุขทางด้านน้ี อย่างเพียงพอ ในท่ีสุดจะเลิกดูดไปเอง สำหรับเด็กที่ยังไม่เลิกดูดแม้ว่าจะโตแล้ว เป็นเคร่ืองชี้แนะ ให้เห็นว่า การตอบสนองความสุขทางปากของเด็กยังไม่เหมาะสม อาจจะมากไป จนกระท่ังเด็กติด

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๓ เป็นนิสัย หรือน้อยไปจนกระท่ังยังมีความต้องการอยู่ เนื่องจากวัยน้ีเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ ฉะน้ัน การที่เด็กร้องแสดงว่าต้องการความช่วยเหลือ อย่าปล่อยให้เด็กร้องอยู่เช่นนั้น ควรเข้าไปหาทันที โดยเฉพาะในช่วง ๑ – ๒ ปี หากปล่อยให้เด็กร้องโดยไม่มีการตอบสนองจากผู้ใหญ่จะมีผลต่อ การพัฒนาบุคลิกภาพต่อไป ในช่วงนี้การตอบสนอง oral need คือ อาหาร การตอบสนองการกินของเด็กแต่ละ คนไม่เหมือนกัน การให้อาหารตามเวลาต้องให้ตามเวลาที่เด็กต้องการ การหย่านมเป็นสิ่งที่เด็ก ไม่พอใจเป็นอย่าง ท่ีสุด แต่จำเป็นต้องทำ เพราะเด็กมีฟันและนมของแม่มีคุณภาพไม่ดี ให้เด็กพบ สภาพนี้ เมื่อพร้อมอย่าทำ โดยเคร่งครัด จะตอ้ งผ่อนปรน และจะตอ้ งพยายามเขา้ ใจธรรมชาติของเด็ก แม่ท่ีเครง่ ครัดยึดตำรามากเกนิ ไปจะทำให้มีผลต่อการพัฒนาการ ในวยั นี้ถ้าการเลี้ยงดูของแม่บกพร่อง จะเป็นผลเสียในระยะยาว ส่วนผลที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้าคือ เด็กดื้อร้องไห้ กินยาก เหงา ซึม เมื่อวิเคราะห์โดยทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้วบอกว่า คนท่ีช่างกิน ช่างพูด หรือพูดจาว่าผู้อื่นในลักษณะท่ี ทำให้เจ็บแสบมากๆ เป็นลักษณะที่เรียกว่า “verbal sadism” นั้นสืบเนื่องจากการตอบสนอง ความสขุ ทางปาก เป็นต้น ระยะท่ี ๒ ความสุขอยู่ทท่ี วารหนัก (Anal stage) อายุ ๒ – ๓ ปี ระยะน้ีแหล่งของความสุขอยู่ที่การขับถ่าย แต่ระยะนี้ก็เป็นระยะที่ ผู้ใหญ่จะต้องฝึกหัดเด็กให้รู้จักการขับถ่ายเช่นกัน เช่น ฝึกให้รักษาความสะอาด ฝึกให้รู้จักถ่ายเป็นท่ี ทางซึ่งจะก่อให้เกิดความคับข้องใจ ผู้ใหญ่ควรรู้จักผ่อนปรนไม่เข้มงวดกวดขันกัน เพราะหากเป็นไป อย่าง เข้มงวดกวดขันจะเกิดปัญหา เด็กจะพยายามควบคุมตนอย่างมาก กลายเป็นคนท่ีทำอะไร มีลักษณะ “เกินไป” เช่น เก่ียวกับเร่ืองความสะอาด การตรงต่อเวลา การเล็งผลเลิศ หรือบางคน ก็เป็นคนใจแคบ เห็นแก่ตัว เมื่อวิเคราะห์โดยทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้วบอกว่า เน่ืองจากปัญหา การขับถ่ายตั้ง แต่เด็กหรือคนที่มีอาชีพเป็นช่างปั้นเม่ือศึกษาย้อนหลังไปแล้วจะพบว่า มีความคับข้อง ใจเกยี่ วกับการขับถ่ายตง้ั แต่เล็กเชน่ กนั ระยะที่ ๓ ความสุขอย่กู บั ความสนใจเรื่องอวัยวะเพศ (Phallic stage) อายุระหว่าง ๓ – ๖ ปี วัยนี้เด็กเร่ิมสนใจอวัยวะเพศ มีความพึงพอใจกับการได้จับ ต้องเนื่องจากเกิดความอยากรู้อยากเห็น ในขณะเดียวกันเกิดความสุข ความสบาย เป็นเรื่องปกติ ของเด็กวัยนี้ ไม่ควรที่ผู้ใหญ่จะตกอกตกใจหรอื มีการหา้ มปรามอยา่ งเข้มงวดกวดขนั ควรค่อยเป็นค่อย ไป วัยนี้เด็กเรียนรู้ที่จะแยกเพศและเลียนแบบการเป็นผู้หญิงผู้ชาย ในช่วงระยะน้ี ครอบครวั ใด มีเรื่องทะเลาะกนั บอ่ ยๆ พ่อเมาทบุ ตีแม่ สง่ิ เหล่าน้ีจะมผี ลตอ่ พัฒนาการดา้ นบคุ ลกิ ภาพ ต่อไป เช่น เด็กผู้หญิงอาจเกิดความรู้สึกเกลียดผู้ชายอย่างฝังใจ หรือเด็กผู้หญิงบางคนมีความรู้สึก ไมอ่ ยากเป็น ผู้หญิงเพราะเป็นผหู้ ญิงแลว้ ถูกรงั แก จงึ พยายามทำตัวให้เข้มแข็งมบี ุคลิกภาพคลา้ ยผู้ชาย (Tomboy) ส่วนเด็กผู้ชายบางคนเห็นพ่อทารุณโหดร้าย เกิดความรู้สึกรังเกียจไม่อยากเป็นผู้ชาย ประกอบกับความสงสารแม่ จึงพยายามทำตัวให้นุ่มนวล มีลักษณะคล้ายหญิง (Sissy) สิ่งเหล่าน้ี ล้วนมีสาเหตุความเป็นมาจากวยั เด็กทั้ง สิ้น ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กทุกคนจะมีพัฒนาการต่อไปได้ดีนั้น ควรเป็นผู้ที่ประสบ ความสำเร็จในระยะต่างๆ ของชีวิต คือ เกี่ยวกับเรื่อง oral, anal และ phallic ซ่ึงหมายความว่า ความสุข ความพอใจ ซ่ึงได้รับในช่วงต่างๆ เหล่านั้นเป็นไปอย่างเพียงพอ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็ก ไม่ไดร้ ับการสนองตอบอย่างเหมาะสม อาจจะไดร้ บั ความพึงพอใจมากไป หรือไดร้ ับความพึงพอใจนอ้ ย

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๔ ไปหรือได้รับประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งท่ีรุนแรง (Traumatic experience) ในช่วงใดช่วงหน่ึง ดังกล่าวแล้ว จะก่อให้เกิดสภาพการติดตัน (Fixation) ในช่วงน้ันๆ ทำให้การพัฒนาการหยุดชะงักไม่ ดำเนินสู่ข้ัน ต่อไป ซ่ึงทำให้มีผลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ ซ่ึงฟรอยด์ หมายความว่า คนจะมี บุคลิกภาพต่อไปอย่างไรน้ัน ได้รับอิทธิพลจากช่วงแรกของชีวิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ พอจะสามารถทำนาย พฤติกรรมของคนโดยทั่ว ๆ ไปได้ว่า เกิดการติดตันในช่วงใด เช่น คนท่ีติดตันในช่วงoral stage จะกลายเป็นคนติดสุรางอมแงม หรือบางคนมีลักษณะเศร้าซึมหรือบางคนเป็นคนท่ีมองโลกในแง่ดี จนเกินไป และบางคนเป็นคนท่ีมองโลกในแง่ร้ายจนเกินไป สำหรับคนท่ีติดตันในช่วง anal stage จะกลายเป็นคนโลภ ขี้เหนียว เป็นคนก้าวร้าว หรือเป็นคนท่ีด้ือแพ่งหรือเป็นคนที่เข้มงวดกวดกัน เคร่งครัด ส่วนที่ติดตันในช่วง phallic stage มักจะเป็นคนชอบโอ้อวด หลงตนหรือเป็นคนท่ีทำ หย่งิ ยะโส ระยะที่ ๔ (Latency Stage) เป็นพัฒนาการอีกก้าวหนงึ่ ของเด็ก มีช่วงอายุต้ัง แต่ประมาณ ๖ ปี ไปจนถึงวยั ท่ีเด็ก เตรียมตัวจะเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty) เป็นระยะท่ีเด็กเร่ิมเรียนช้ันประถมศึกษา ระยะนี้เป็นระยะท่ีเด็ก มีพัฒนาการทางด้านสังคม เด็กจะเร่ิมให้ความสนใจต่อส่ิงแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา เพ่ือแสวงหาค่านิยม ทัศนคติ เพราะเด็กต้องการความรู้ ความเข้าใจและทักษะเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับงาน ท่ีจะตอ้ งทำตอ่ ไปตลอดถึงการปรบั ตวั ใหเ้ ข้ากับสังคม ระยะท่ี ๕ (Genital Stage) ฟรอยด์เชื่อว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพส่วนใหญ่มีอิทธิพลมาจากในช่วง ๕ ปีแรก ของชีวิต สำหรบั พัฒนาการในช่วงหลงั จากน้ันฟรอยด์ถือว่า เป็นส่วนเสริมแต่งให้บุคคลก้าวไปสคู่ วาม สมบูรณ์แห่งชีวิตมากขึ้น พัฒนาการในระยะ Genital นี้เร่ิมต้ังแต่วัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ เมื่อบุคคลเข้าสู่ วัยรุ่น ความรู้สึกนึกคิด โดยเฉพาะในเร่ืองเพศจะเปลี่ยนไปจากเดิม เด็กชายต้องการเลียนแบบพ่อ ในขณะท่ีเด็กหญิงจะเลียนแบบแม่ ค่านิยมทางสังคมต่างๆ จะไหลเข้าสู่จิตใจเด็กความพึงพอใจ และความสุขต่างๆ เป็นแรงขับมาจากวุฒิภาวะทางเพศ วัยรุ่นมีความสนใจเพศตรงข้าม มีแรงจูงใจ ที่จะรักผู้อ่ืน ความเห็นแก่ตัวจะลดน้อยลง สามารถช่วยตัวเองได้มากขึ้น และในเวลาเดียวกัน ก็ต้องการอิสระจากพ่อแม่มากข้ึน ด้วย หากการอบรมเล้ียงดูและสภาพแวดล้อมต่างๆเป็นไปด้วย ความราบร่ืน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอันดี วัยรุ่นจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีอนาคตแจ่มใส ต่อไปภายหน้า ๓.๖.๒ ทฤษฎีพฒั นาการของอรี คิ สนั (Erikson) อีริค อีริคสัน (Erik Erikson) เป็นชาวเยอรมัน ภายหลังอพยพไปอยู่สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษา แนวคิด ทางจิตวิเคราะห์จาก แอนนา ฟรอยด์ (Anna Freud) ลูกสาวของฟรอยด์ แต่มีความคิดเห็น ต่างจากฟรอยด์ ในประเด็นท่ีว่า บุคลิกภาพของมนุษย์พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิตด้วยพลัง ทางสังคมมิใช่พลังทางเพศตามท่ีฟรอยด์เสนอ อีริคสัน แบ่งพัฒนาการของมนุษยเ์ ป็น ๘ ขั้น แต่ละข้ัน จะแสดงถึงบุคลิกภาพ ๒ แบบท่ีตรงกันข้าม พัฒนาการในขั้นแรกจะส่งผลถึงพัฒนาการในข้ันต่อไป ดว้ ย ๑. ขั้นสรา้ งความรู้สึกไว้วางใจ - ความไมไ่ ว้วางใจ ความรัก ความเอาใจใส่ และความใกล้ชิดจากมารดาหรือพ่ีเล้ียงเป็นอย่างดี เด็กจะเกิด ความรู้สึกไว้วางใจและความอบอุ่นมั่นคง ในทางตรงกันข้ามถ้าถูกทอดท้ิงและมิได้รับความรักจะเกิด

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๕ ความรู้สึกไม่ไว้วางใจใคร ในวัยน้ีเด็กจะเก่ียวข้องกับผู้ใกล้ชิด ได้แก่ บิดา มารดา และหรือพ่ีเล้ียงเป็น สว่ นใหญ่ ๒. ขัน้ สร้างความรู้สึกเป็นตัวของตวั เอง - ความไม่ม่ันใจในตนเอง ช่วงอายุ ๑ – ๔ ขวบ วัยน้ีจะแสดงออกให้เห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีความเป็นตัว ของตัวเอง ในทางตรงข้าม ถ้าเด็กมิได้รับความสำเร็จหรือความพอใจ เด็กจะเกิดความอายและกลัว การแสดงออกเกิดความไมม่ ั่นใจในตนเอง ในวัยเด็กจะเกีย่ วข้องกบั บิดามารดาและหรอื พีเ่ ล้ียง ๓. ขั้นสรา้ งความคดิ ริเร่ิม - มีความรสู้ กึ ผดิ ชว่ งอายุ ๔ – ๕ ขวบ วยั น้ีเด็กจะเลยี นแบบสมาชิกในครอบครวั มีความคิดสรา้ งสรรค์ อยากรู้ อยากเห็น ทดลองส่ิงใหม่ๆ ถ้าทดลองแล้วผิดพลาดถูกผู้ใกล้ชิด ตำหนิ ติเตียนเด็กจะเกิดความขยาด และหวาดกลวั ในวยั นี้เด็กจะเกีย่ วขอ้ งกบั สมาชกิ ในครอบครัวและเดก็ ๆนอกบา้ น ๔. การสรา้ งความรรู้ ับผดิ ชอบ - ความรสู้ ึกต่ำต้อย ช่วงอายุ ๖ – ๑๒ ปี วัยนี้เด็กจะเร่ิมเกี่ยวข้องกับสังคมมากข้ึนตามลำดับ จะขยันเรียน ขยัน อา่ นหนังสือประเภทต่างๆ พูดคยุ และอวดโชว์ความเด่น และความสามารถของตนเพื่อให้เพ่ือนยอมรับ ถ้าเด็กทำไม่ได้เขาจะผิดหวัง และมีความรู้สึกเป็นปมด้อย ย่ิงถ้าถูกผู้ใหญ่แสดงความเบื่อหน่าย ตำหนิ อยู่ตลอดกจ็ ะเปน็ คนท่มี คี วามร้สู กึ ตำ่ ต้อย ๕. ขน้ั สรา้ งความเปน็ เอกลักษณ์ - ความสับสนในบทบาท ช่วงอายุ ๑๓ – ๑๘ ปี วัยนี้เด็กจะสร้างเอกลักษณ์หรือบุคลิกภาพของตน โดยเลียนแบบจาก เพื่อนๆ หรือผู้ใกล้ชิด ถ้ายังสร้างเอกลักษณ์ของตนไม่ได้จะเกิดความว้าวุ่นสับสนว้าเหว่ และหมดหวัง ๖. ขน้ั สรา้ งความผกู พัน - การแยกตัว ช่วงอายุ ๑๙ – ๔๐ ปี เป็นวัยที่เปล่ียนไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ต้องการติดต่อและสัมพันธ์กับ เพอ่ื นต่างเพศ จนเป็นเพื่อนสนิทและหรือเป็นเพ่ือนคู่ชีวติ ยอมท่ีจะเป็นผนู้ ำในบางขณะและเป็นผู้ตาม ในบางขณะ ถ้าผิดหวังจะแยกตนเองออกจากสังคม หรืออยู่ตามลำพัง ในวัยน้ีจะมีเพ่ือนรัก เพื่อน รว่ มงานและเพอ่ื นสนิทเปน็ จำนวนมาก ๗. ขน้ั สร้างความเป็นประโยชนใ์ ห้กบั สงั คม - คิดถึงแต่ตนเอง ช่วงอายุ ๔๑ – ๖๐ ปี เป็นวัยท่ีมีความรบั ผิดชอบต่อครอบครัว และจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ท่ีทำ ประโยชน์ให้กับสังคมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มุ่งประโยชน์ส่วนตัว แต่ถ้าพบกับความล้มเหลวในชีวิต ก็จะท้อถอยเหน่ือยหน่ายในชีวิต คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว แม้จะนำประโยชน์ทางสังคม ก็มกั มีประโยชนส์ ว่ นตนแฝงอย่เู สมอ ๘. ขน้ั สร้างบรู ณาการในชวี ิต - ความส้นิ หวัง ช่วงอายุตั้งแต่ ๖๑ ปี ข้ึนไป เป็นวัยท่ีต้องการความม่ันคงสมบูรณ์ในชีวิต จะภาคภูมิใจใน ความสำเร็จของชีวิตและผลงานของตน ถ้าผิดหวังจะเกิดความรู้สึกล้มเหลวในชีวิตและสิ้น หวัง เสียดายเวลาทผ่ี ่านไปไมย่ อมรบั สภาพของตน ๓.๖.๓ ทฤษฎพี ฒั นาการของกีเซล (Gesell’s Theory of Development) กีเซล นักจิตวิทยาพัฒนาการในเรื่อง วุฒิภาวะ เขาย้ำถึงความเก่ียวพันระหว่างวุฒิภาวะ และการเจริญเติบโตของร่างกาย กีเซลเชื่อว่า พัฒนาการจะเกิดขึ้น อย่างเป็นระเบียบตามแบบแผน ตามธรรมชาติ ได้กำหนดเป็นข้ันๆ ไป และมีผลทางพฤติกรรม ซ่ึงหมายถึง การเปล่ียนแปลงทางด้าน วุฒิภาวะ การเกิดความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะ จะก่อให้เกิดความพร้อมของร่างกาย ท่ีจะทำให้เกิด พฤตกิ รรมใหมแ่ ละเป็นตวั กำหนดพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กด้วย

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๖ กีเซล เช่ือในแรงขับ ซ่ึงเกิดภายในมนุษย์เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ต้องอาศัยแรงกระตุ้น จากภายนอก ประสบการณ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกบั พัฒนาการ การที่เด็กในแต่ละวัยสามารถทำกิจกรรม ต่างๆ ได้นั้นเนื่องมาจากพัฒนาการทางด้านรา่ งกายพร้อมท่ีจะทำได้ทฤษฎีของกีเซล ได้วางมาตรฐาน สำหรบั การเจริญเติบโตตามชว่ งอายุต่างๆ เขาจงึ สร้างจากเกณฑม์ าตรฐานสำหรับวัดพฤตกิ รรม การสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กในช่วงอายุต่างๆ น้ันสร้างการศึกษา ระยะยาวแล้วสร้างเป็นตารางพัฒนาการใช้มาตรฐานวัดพฤติกรรมเด็กท่ัวไปกีเซลได้แบ่งพัฒนาการ ออกเป็น ๔ กลุม่ ใหญๆ่ ดังนี้ ๑.พฤตกิ รรมทางการเคลอื่ นไหว ครอบคลมุ ถงึ การบังคับอวยั วะต่างๆ ในรา่ งกายและ ความสมั พันธท์ างการเคลื่อนไหวทงั้ หมด ๒.พฤติกรรมทางการปรับตัว ครอบคลุมทางด้านความเชื่อมโยงของการใช้มือ และสายตาในการถือวัตถุ การเขา้ ถงึ วัตถุ การแก้ปญั หาในทางปฏบิ ัติ การสำรวจและการจัดทำตอ่ วตั ถุ ๓.พฤติกรรมทางดา้ นภาษา ครอบคลุมทางด้านการติดต่อส่ือสาร เช่น การแสดงออก ทางด้านใบหน้า การใช้อวัยวะต่างๆ การลากเสียง การใช้ภาษาพูด รวมทงั้ ความเข้าใจจากการส่ือสาร ของคนอนื่ ๔.พฤติกรรมทางด้านสังคม - ตัวบุคคล ครอบคลุมถึงการตอบสนองของเด็ก ต่อบุคคลอ่ืนในด้านวัฒนธรรมทางสังคม เช่น การเล้ียงดู การฝึกการขับถ่าย การตอบสนองต่อการ ฝกึ หัดในสงั คม เชน่ การเล่น การย้ิม การตอบสนองตอ่ วตั ถุบางอย่าง เช่น กระจกเงา เปน็ ตน้ ๓.๖.๔ ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์ (Piaget Theory) เพียเจต์ (Piaget) เป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้รับ ปริญญาเอกทางสัตว์วิทยา ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ แต่กลับมาสนใจศึกษาทางจิตวิทยา เป็นผู้สร้างทฤษฎี พัฒนาการทางสติปัญญาและเน้นว่า ระดับสติปัญญาและความคิดริเร่ิมพัฒนาการจากการปะทะ อย่างต่อเน่ืองระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมการปะทะ(Interaction) หมายถึง กระบวนการปรับตัว ของอินทรีย์กับส่ิงแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพ่อื จะกอ่ ให้เกดิ ความสมดลุ กับธรรมชาติ การปะทะและการปรบั ปรงุ จะต้องประกอบด้วย ๑.การดูดซึม assimilation หมายถึง การรับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อเป็น ประสบการณ์ของตน ซ่ึงการรับรู้จะได้ผลเพียงใดย่อมข้ึน กับความสามารถในการรับรู้ ได้แก่ประสาท สมั ผสั ตา่ งๆ ๒.การปรับขยายความรู้ใหม่ให้ เข้ากับความรู้เดิม accommodation เป็นกระบวน การรวบรวมแยกแยะสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนแปลงความคิดและเข้าใจสิ่งแวดล้อมตรงกับสภาพ ความเป็นจริงมากข้ึน โดยการนำประสบการณ์เดิมเข้าไปสัมพันธ์กับส่ิงแวดล้อมท่ีได้รับจนกระทั่งเกิด ความรู้ใหมเ่ พม่ิ ข้ึน ๓.ความสมดุล equilibration ในการท่ีเด็กมี interaction กับสงิ่ ใดกต็ ามในคร้ังแรก เด็กจะพยายามทำความเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ด้วยการใช้ความคิดเก่าหรือประสบการณ์เดิม (Assimilation) แต่เม่ือปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ เด็กจะต้องเปล่ียนความคิดเก่ียวกับส่ิงต่างๆ (Accommodation) จนกระทั่งในท่ีสุด เด็กสามารถผสมผสานความคิดใหม่น้ันให้กลมกลืนเข้ากับ ความคิดเก่า สภาพการณ์เช่นน้ีก่อให้เกิดความสมดุล equilibration ซ่ึงทำให้คนสามารถปรับตัวเข้า กบั สง่ิ แวดลอ้ มได้

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๗ ขนั้ ของพฒั นาการทางสติปัญญา แบ่งเปน็ ๔ ขนั้ ๑. ข้ันประสาทรบั รู้และการเคลื่อนไหว (แรกเกิด - พูดได้) เด็กจะเรียนรู้ส่ิงแวดล้อม โดยการรบั รู้และการเคลื่อนไหว เป็นจุดเริม่ ต้นในการรวบรวมประสบการณ์ เพ่ือช่วยในการคดิ ระยะน้ี จะเริม่ สญั ลักษณข์ องวตั ถุ ๒. ข้ันเกิดสังกัปและความคิดแบบใช้การหย่ังรู้ (๒ - ๗ ปี) เป็นขั้น ของความคิด ซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้และการเคลื่อนไหว โดยจะเข้าใจสัญลักษณ์ท่ีมาแทนวัตถุจริง เข้าใจในส่ิง ซับซอ้ นไดบ้ ้างแตย่ งั ขาดประสบการณ์ในทางความคิด เปน็ เหตใุ หเ้ รือ่ งท่คี ิดผิดพลาดได้ ๓. ข้ันปฏิบัติการทางความคิดโดยใช้วัตถุหรือสิ่งที่มีตัวตน (๗ - ๑๑ ปี) ขั้น น้ีเด็ก จะเข้าใจความคงที่ของปริมาณ ขนาดน้ำหนัก และความสูงโดยไม่คำนึงถึงสภาวะแวดล้อม ในขณะเดยี วกนั เด็กจะสามารถเปรยี บเทียบปรมิ าณของน้ำได้ถกู ต้อง ไมว่ า่ จะอยู่ในภาชนะลกั ษณะใด ๔.ข้ันปฏิบัติการทางความคิดนามธรรม (๑๒ ปี ข้ึน ไป) เด็กจะมีอิสระในทาง ความคิดใช้วิธีคิดแบบอนุมาน และสามารถคิดแบบต้ัง สมมุติฐานและคิดหาทางพิสูจน์ได้ เป็นพฒั นาการทางความคดิ ขั้นสูงสดุ ข้ันของการพัฒนาทางสังคม เพียเจต์ แบง่ เป็น ๓ ระยะ ๑. ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) เป็นระยะที่ยึดว่าตนมีความสำคัญที่สุด มักจะพูดเรื่องของตนเอง โดยไม่รับรู้ผู้อ่ืนจะเข้าใจหรือไม่ วงสังคมในระยะน้ีจะแคบแค่ความสัมพันธ์ อย่างใกลช้ ิดกบั บคุ คลในครอบครัว (วยั ทารกและวัยเดก็ ตอนตน้ ) ๒. พยายามเข้าสังคม (อายุ ๖ – ๑๒ ปี) เป็นระยะที่เริ่มเข้าใจว่า การอยู่ร่วมกัน จำเป็นต้องมีการติดต่อและพึ่งพาอาศัยกัน ลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง โลกของเด็กขยายไป สู่เพ่ือนฝูง ครูและบุคคลอ่ืนๆ ที่เด็กมีโอกาสใกล้ชิด เป็นระยะสำคัญที่จะเป็นเคร่ืองช้ีบอกถึงอนาคต ทางสงั คม ๓. เกิดการยอมรับและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นระยะพัฒนาข้ัน สูงสุดทางสังคม รู้จักยอมรับนับถือผู้อ่ืน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น แทนการยึดความคิดของตนเองเป็นเกณฑ์ การเปลี่ยนแปลงระยะน้ีเริ่มต้ังแต่วัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่ ระยะน้ีมีทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ รวมทงั้ ต้องการทีจ่ ะรว่ มกจิ กรรมกบั หมู่คณะ ๓.๖.๕ ทฤษฎพี ฒั นาการทางจรยิ ธรรมของโคลเบอรก์ โคลเบอร์ก (Kohlberg, Lawrence) นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า พัฒนาการทาง สติปัญญาเป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรม เขาจึงขยายทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของเปียเจต์ให้กวา้ งขวางย่ิงข้นึ ละเอยี ดลออยิ่งขึ้น เขาได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลเชิงจริยธรรม และวัด ระดับการพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลในหลายสังคมและวัฒนธรรม แล้วสรุปการพัฒนาการ ทางจริยธรรมของมนุษย์ทั่วโลกแบ่งออกเป็นขั้นๆ ได้ ๖ ขั้น โดยที่ข้ัน ต่ำจะพบมากในเด็กท่ัวโลก ส่วนข้ัน สูงสุดจะพบแต่ในผู้ใหญ่บางคน ในบางวัฒนธรรมเท่านั้น พัฒนาการทางจริยธรรมจะเป็นไป ตามขั้น จากขั้นท่ีหน่ึงไปตามลำดับจนถึงขั้นที่หก โดยไมม่ ีการข้ามข้ัน เพราะการใช้เหตผุ ลในขน้ั สงู ขึ้น ไปจะเกดิ มขี นึ้ ได้ดว้ ยการมีความสามารถ ในการใชเ้ หตุผลในขน้ั ทอี่ ยตู่ ่ำ

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๘ กว่าเสียก่อน มนุษย์ทุกคนไม่จำเป็นต้องพัฒนาทางจริยธรรมไปถึงข้ัน สุดท้าย อาจจะหยุดชะงัก ท่ีขั้นใดข้ันหน่ึงก็ได้ โคลเบอร์กพบว่า ผู้ใหญ่ส่วนมากจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมถึงขั้น ท่ี ๔ เท่านั้น และบางคร้ังบุคคลกอ็ าจจะยอ้ นกลับมาใช้ในขน้ั ตำ่ ๆ ก็ได้ เพราะอารมณ์ของคนเราไม่แนน่ อน๕ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น ๓ ระดับ แต่ละระดับแยกออกเป็น ๒ ระยะหรอื ๒ ข้ัน (Stage) ตามลักษณะการให้เหตุผลทางจริยธรรม ดงั น้ี ๑. ระดับก่อนกฎเกณฑ์ หรือก่อนท่ีจะมีจริยธรรม (Preconventional or Premoral level) เป็นระดับที่ต่ำสุดของการมีจริยธรรม จริยธรรมในระดับน้ี ของเด็กจะถูกควบคุมด้วยรางวัล และการลงโทษและการตัดสินจริยธรรมจะมาจากเกณ ฑ์ภายนอกโดยเฉพาะจากพ่อแม่ ระบบนี้ เด็กจะตัดสินจริยธรรม โดยใช้ผลท่ีตนได้รับเป็นเกณฑ์ในการประเมินจริยธรรม คือ ถ้าเขาถูกลงโทษ เขาจะคิดว่าเขาทำไม่ดี ถ้าได้รับรางวัลก็แสดงว่าเขาท ำดี เด็กท่ีอายุต่ำกว่า ๑๐ ปี โดยทั่วไป จะมีจรยิ ธรรมอย่ใู นระดับนี้ซ่งึ แบ่งไดเ้ ปน็ ๒ ระยะ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ หลักการหลบหลีกการลงโทษ เป็นหลักหรือเหตุผลของการกระทำ ซ่ึงเด็ก ทมี่ ีอายตุ ่ำกวา่ ๗ ขวบใช้มาก เขาจะมีพฤติกรรมตา่ งๆ ในลักษณะมุ่งท่ีจะหลบหลีกไม่ให้ตนเองต้องถูก ลงโทษ เพราะกลัวว่าตนเองจะเจ็บหรือลำบาก เด็กจะยอมทำตามคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ของผู้ใหญ่ เพราะไม่ต้องการให้ตนถูกลงโทษมากกว่าอย่างอื่น เช่น ยอมสีฟันหลังอาหารเพราะกลัวพ่อดุ หรือไม่ หยบิ ขนมกินกอ่ นได้รบั อนุญาตเพราะกลัวแม่ตี ข้นั ท่ี ๒ หลักการแสวงหารางวัล ผ้ทู ่ีมีจริยธรรมในขน้ั นี้โดยทั่วไปจะมอี ายุระหว่าง ๗ – ๑ ๐ ปี เพราะจะมีพฤติกรรมทางจริยธรรมก็สาเหตุมาจากว่าต้องการได้ประโยชน์ เลือกกระทำ พฤติกรรมจริยธรรม ในส่วนท่ีจะนำความพอใจ ความสุข หรือประโยชน์มาสู่ตน เร่ิมพยายามทำ เพื่อต้องการรางวัล และรู้จักการแลกเปลี่ยนกันแบบเด็กๆ คือ เมื่อเขาทำอะไรให้ฉัน ฉันก็ควรทำอะไร ตอบแทนเขาบ้าง โดยเฉพาะส่ิงทที่ ำน้ัน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง หรือได้รบั รางวลั ในขั้นนี้บุคคล ยังยึดตัวเองอยู่ (Egocentric) การจูงใจให้เด็กในวัยนี้กระทำความดี จึงควรจะใช้วิธีให้สัญญาว่าจะให้ รางวัลหรือชมเชยมากกว่าการขู่เข็ญ ลงโทษ เด็กท่ีมีจริยธรรมอยู่ในข้ันนี้ จะมีแรงจูงใจที่จะกระทำส่ิง ทเ่ี ป็นผลดีแก่ตน เชน่ เด็กหญิงจะช่วยบดิ ารดน้ำต้นไม้ เพ่ือจะได้รับคำชมเชย เด็กชายจะถอดรองเท้า ไม่ยำ่ ดนิ เปน็ เทือกเข้าบา้ น เพ่อื มารดาจะไดพ้ อใจ และหาขนมอรอ่ ยๆ ไว้ใหเ้ ขากนิ เป็นรางวัล ๒. ระดับตามกฎเกณฑ์ (Coventional level) เป็นระดับจริยธรรมที่สูงขึ้น มาจากระดับแรก ผู้ที่มีจริยธรรมในระดับน้ีอายุโดยประมาณต้ัง แต่ ๑๐ – ๑๖ ปี จริยธรรมในระดับนี้จ้ะเป็นไปตาม กฎเกณฑข์ องกลมุ่ ของสังคม เขาจะเขา้ ในกฎเกณฑ์ได้ดีขึ้น และเรม่ิ เปลี่ยนจากการยึดตนเองเป็นหลัก (Egocentric) มายึดเกณฑ์ของสังคมเป็นหลัก แต่ก็ต้องอาศัยการควบคุมจากภายนอกในการที่จะทำ ความดี ละเว้นความชั่ว แต่รู้จักแสดงบทบาทตามท่ีสังคมกำหนดได้ และรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราได้ แล้ว รู้จกั เคารพกฎ และให้ความสำคัญแก่กลุ่ม ถ้าควบคุมความประพฤติอย่างรัดกุมเขาก็จะไม่คดโกง จรยิ ธรรมในระดบั น้ีแบง่ ไดเ้ ป็น ๒ ขัน้ ตอ่ จากระดับแรก ดังนี้ ๕ ดวงเดือน พนั ธุมนาวิน และ จรรจา สวุ รรณทตั , จติ วทิ ยาเบอ้ื งต้น, (กรุงเทพมหาสคร : สถาบันวิจัย พฤตกิ รรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรนี ครนิ ทรวโิ รฒ ประสานมติ ร, ๒๕๒๐), หนา้ ๑๔.

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๗๙ ข้ันที่ ๓ หลักการทำตามท่ีคนอื่นเห็นว่าดี ผู้ที่มีจริยธรรม ในข้ันนี้จะมีอายุประมาณ ๑๐ – ๑๓ ปี เขาจะคาดหวังว่า สงิ่ ท่ีเขาทำไปนั้น คนอ่นื จะต้องเหน็ วา่ ดี หรือคาดว่าคนอ่ืนเขาวา่ ดหี รือ ถูกต้อง เขาจึงจะทำพฤติกรรมน้ัน บุคคลท่ีมีจริยธรรมในข้ันนี้มีลักษณะไม่เป็นตัวของตัวเอง ชอบ คล้อยตามการชักจูงของผู้อ่ืน โดยเฉพาะเพือ่ น เพื่อให้เป็นที่ชอบพอของเพื่อน ถ้าอยใู่ นสิ่งแวดล้อมที่ดี เขากจ็ ะเป็นผ้มู จี รยิ ธรรมทด่ี ีได้ ขน้ั ท่ี ๔ หลักการทำตามหน้าที่ ผู้ท่ีจะมีจรยิ ธรรมในขั้นน้ีได้ จะมีอายุประมาณ ๑๓ - ๑๖ ปี บุคคลท่ีมีจริยธรรมในขั้นน้ีจะร้ถู ึงบทบาทและหน้าที่ของตน และสามารถทำตามหน้าท่ีของตน ตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนด เขาจะเคารพกฎเกณฑ์ของกลุ่ม เคารพกฎหมาย บุคคลท่ีมีจริยธรรม ในขั้นนี้ถือว่ามีจริยธรรมท่ีดีพอควร ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมใดมีจริยธรรมถึงข้ันนี้แล้ว สังคมนั้นก็สงบ สุขและร่มเย็นเด็กวัยรุ่นในขั้นนี้ จะตระหนักถึงบทบาท และหน้าท่ีของตนเองในกลุ่มต่างๆ และมีศรัทธาต่อกฎเกณฑ์ของกลุ่มมากพอสมควร ฉะนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ครูผู้ปกครองจะได้ ดูแลแนะนำให้เด็กวัยรุ่นของตนได้เข้ากลุ่มที่ดี เพื่อเด็กจะได้ทำตามกฎเกณฑ์ที่ดีท่ีเป็นประโยชน์ ต่อสงั คม ๓. ระดับเหนือกฎเกณฑ์ ทฤษฎี (Post Conventional level) เป็นระดับจริยธรรมสูงสุด โดยท่ัวไป ผู้ที่มีจริยธรรมขั้นนี้ได้ จะมีอายุประมาณ ๑๖ ปีข้ึน ไป คือ ความสามารถทางความคิด การตัดสินใจเป็นผู้ใหญ่ ได้โดยสมบูรณ์ การตัดสินคุณธรรม จริยธรรมต่างๆ จะมาจากเหตุผลภายใน (Internal reasoning) ใชม้ าตรฐานของสงั คมเป็นเกณฑ์ของพฤติกรรมมากกว่าจะใช้การคิดสำนึกของ ตนหรือความต้องการของงานเป็นหลักในการตดั สินบุคคลในระดับนี้ จงึ มีหลักประจำใจ และปฏบิ ัตไิ ป ตามอุดมคติของตน ซึ่งถือเป็นจริยธรรมขั้น สูงสุดท่ีจะปรากฏได้ในบุคคลท่ีเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ (หมายถึงเป็นผู้ใหญ่ที่มีระดับความคิดสูงและจริยธรรมสูง มิใช่เป็นผู้ใหญ่ที่สูงแต่อายุอย่างเดียว) จริยธรรมในระดับนี้แบ่งเปน็ ๒ ข้นั เช่นกนั คือ ขั้นท่ี ๕ หลักการทำตามคำมน่ั สัญญา ผู้ที่มีจริยธรรมในข้ันนี้จะมีลักษณะ มีเหตุมีผล มีหลักการมากกว่าการใช้อารมณ์ ถือความสำคัญของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน นับถือสิทธิ และให้ความเสมอภาค ความยุติธรรมแก่ผู้อื่น จะไม่ทำพฤติกรรมให้ขัดต่อสิทธิของผู้อ่ืน สามารถ ควบคุมบังคับจิตใจของตัวเองมิให้หลงใหลไปกับสิ่งย่ัวยุได้ คือ ถือคำมั่นสัญญาและปณิธานของตน ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งย่ัวยุต่างๆ มีความเคารพตนเองและต้องการให้ผู้อ่ืนเคารพตนด้วย ผู้ที่มีจริยธรรม ในขั้นน้ีได้ จะมีอายุตั้ง แต่ ๑๖ ปี ข้ึนไป บางคนเรียกผู้ที่มีจริยธรรมในขั้นนี้ว่า “ผู้มีธรรม (ความรบั ผิดชอบ) อยใู่ นหวั ใจ” (Ethics of responsibility) ข้ันท่ี ๖ หลักการทำตามอุดมคติสากล ผู้ท่ีมีจริยธรรมในขั้นน้ี ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ โดยสมบูรณ์ เป็นจริยธรรมขั้น สูงสุด มีการยืดหยุ่นจริยธรรมอยู่เหนือกฎเกณฑ์ใดๆ ท้ัง ปวงสามารถ และกล้าทำลายส่ิงหนึ่งส่ิงใด เพ่ือสิ่งท่ีดีกว่าได้ จะไม่ยอมทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างแน่นอนมักจะทำ พฤติกรรมต่างๆ เพื่อจุดมุ่งหมาย ในบั้นปลาย อันเป็นอุดมคติที่ยิ่งใหญ่ มีความเสียสละและยุติธรรม อย่างย่ิง แม้ชีวิตก็อาจสละได้เพื่ออุดมคติน้ันๆ นอกจากน้ียังมีหลักธรรมประจำใจอย่างสมบูรณ์ และถูกต้อง มคี วามร้สู กึ ผิดชอบชวั่ ดีสูง เช่น มีหริ ิ โอตตัปปะ คือ ความละอายแกใ่ จตนเองในการทำช่ัว แม้เพียงแต่คิดเท่านั้น ก็จะละอายใจแล้วและมีความเกรงกลัวต่อบาป เพราะมีความเช่ือในหลักสากล ว่า ความเลวนั้น ถ้าบุคคลกระทำแล้ว แม้จะรอดพ้นไม่ถูกผ้ใู ดลงโทษ แต่โทษท่ีได้รับน้ันก็คือ ผู้กระทำ ความเลวนั้นจะมีจติ ใจต่ำลง

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๐ จากทฤษฎพี ฒั นาการทางจริยธรรมของโคลเบอรก์ พอสรุปได้ ดงั แสดงไว้ในตารางที่ ๓.๑ ตารางที่ ๓.๑ แสดงข้นั พฒั นาการทางจริยธรรมของโคลเบอรก์ ขั้นการใชเ้ หตุผลเชงิ จริยธรรม ระดบั ของจริยธรรม ขน้ั ท่ี ๑ หลักการหลบหลีกการถกู ลงโทษ (๒ - ๗ ปี) ๑. ระดบั กอ่ นกฎเกณฑ์ ( ๒ - ๑๐ ปี ) ข้นั ที่ ๒ หลกั การแสวงหารางวัล (๗ - ๑๐ ปี) Precoventional level ขน้ั ท่ี ๓ หลกั การทำตามทผ่ี ู้อื่นเหน็ วา่ ดี (๑๐ – ๑๓ ปี) ๒. ระดบั กฎเกณฑ์ ( ๑๐ - ๑๖ ปี ) ขั้น ท่ี ๔ หลักการทำตามหน้าทีท่ างสงั คม(๑๓ – ๑๖ ปี) Coventional level ขั้น ที่ ๕ หลักการทำตามคำมั่นสัญญา (๑๖ ปีข้นึ ไป) ๓. ระดบั เหนอื เกณฑ์ ( ๑๖ ปีขนึ้ ไป) ขั้น ท่ี ๖ หลกั การอุดมคตสิ ากล (ผใู้ หญ่สมบูรณ์) Post Conventional level ๓.๖.๖ ทฤษฎพี ัฒนาการของบรเู นอร์ (Bruner) บรูเนอร์ (Jerome Bruner) เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาท่ีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทฤษฎี ของเขา มีส่วนคล้ายกับทฤษฎีของเพียเจต์อยู่มาก จะต่างกันก็คือ บรูเนอร์เน้นความสัมพันธ์ระหว่าง วัฒนธรรม (ส่ิงแวดล้อม) กับพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งเพียเจต์ไม่เอ่ยถึง บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์ สามารถใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องขยายความสามารถของตนให้มากย่ิงขึ้น ซึ่งทำให้คนรุ่นหลังมีความรู้ ความก้าวหน้าย่ิงกว่าคนรุ่นแรกขึ้นไปเป็นลำดับ เป็นเหตุให้มนุษย์ก้าวจากสมัยหิน มาสู่สมัย วทิ ยาศาสตร์ทีม่ ีเทคโนโลยกี ้าวหน้าในเวลาไม่นาน เมอื่ เปรยี บเทียบกับอายุของมนุษย์ ซึง่ เกดิ มาในโลก น้ีหลายๆ พันปี บรูเนอร์ สนใจในพฤติกรรมของเด็กต้ัง แต่วัยทารก ปรากฏการณ์ท่ีค้นพบคือ ทารกเรียนรู้ โลกรอบๆ ตน นับแต่แรกเกิด เขาทดลองกับวัตถุในระดับสายตาของเด็กเมื่อเขาค่อยๆ เคล่ือนวัตถุ ดวงตาของเด็กทารก จะเคล่ือนตามวัตถุท่ีตนจับจ้อง แม้แต่การเคลื่อนไหวของมือข้างหน่ึงไป ประสานงานกับมืออีกข้างหน่ึง เพ่ือจับสิ่งของเอาไว้ จากการศึกษาและสังเกตอย่างใกล้ชิด เขาสรปุ ได้ ว่า กว่าการประสานงานระหว่างตากับมือจะเป็นไปอย่างคล่องแคล่วก็ต้องกินเวลาเรียนรู้อย่างน้อย ๒ ปี ระยะเวลาการเรียนรู้น้ีเอง ก่อให้เกิดกระบวนการท่ีทำให้มนุษย์ก้าวหน้ากว่าบรรพบุรุษทำให้มี การศกึ ษาคน้ คว้ามากข้นึ ขณะเดียวกันมีการศึกษาพฤติกรรมของเด็กที่ไม่ได้เติบโตขึ้น มาในสังคมมนุษย์ เช่น เด็ก ท่ีพลัดเข้าไปในฝูงสัตว์ ปรากฏว่าเด็กประเภทนี้ไม่รู้จักใช้มือในการหยิบวัตถุอย่างถูกต้อง ใช้วิธีการ ตะปบส่งิ ของกับใชม้ อื ในการวิ่งและเดินเป็นส่วนใหญ่ นอกจากน้ียงั ไม่ร้จู กั ใชม้ ือในการหยิบจบั ภาชนะ หรืออาหารอย่างถูกต้อง แต่ใช้วิธีปากกัดหรือลิ้นเลียเท่านั้น ซ่ึงแสดงว่า การเรียนรู้ต้องอาศัยพ้ืนฐาน ทางร่างกายและวัฒนธรรม ในการเจริญเติบโตและการอบรมเลี้ยงดูแนวคิดของบรูเนอร์เกี่ยวกับ หลักการสอนบรเู นอร์ได้เสนอหลกั การทเ่ี กีย่ วกับการสอนไว้ ๔ ประการ ๑.หลกั การเกย่ี วกบั โครงสร้างของความรู้ บรูเนอร์ เน้นว่าการจัดแจงเรียบเรียงเน้ือ หาหรือโครงสร้างของความรู้เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้หรือประสบการณ์เดิม กับ ความรู้ หรือประสบการณ์ใหมๆ่ ครูจะต้องหาวิธีการสอนที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงโครงสร้างพ้ื นฐานหรือการจัดแจง เรียบเรียงความรู้ต่างๆ ให้อยู่ในรูปท่ีมีความสัมพันธ์กัน และให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา ใหม้ ากที่สดุ

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๑ ๒. หลักการเรียนเกี่ยวกบั แรงจูงใจ บรูเนอร์เชื่อว่า กิจกรรมทางการใช้สติปัญญาจะประสบผลสำเร็จอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อผู้เรียน มคี วามพอใจหรือมแี รงจูงใจเท่านั้น บรูเนอร์ให้ความเห็นว่า ธรรมชาติของเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น อยูแ่ ลว้ ครูจะหาวิธีการให้เด็กสนใจต่อการเรียนรู้ ด้วยการสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดข้ึน ในตัวเด็ก ๓. หลักการเกยี่ วกับความพร้อม บรูเนอร์ เน้นว่า การท่ีคนจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้สอนจะต้องจัดรูปแบบ ของกิจกรรม ทักษะและฝึกหัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความเจริญงอกงามทางสติปั ญญา ของเด็ก เดก็ จงึ มีแรงจงู ใจและความพรอ้ มท่ีจะเรยี นรู้ ๔. หลักการเกยี่ วกับการคดิ แบบ Intuition บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนของเด็กโดยใช้การคิดแบบ Intuition มีความสำคัญ เพราะเป็น เทคนิคการหาเหตผุ ลของสติปญั ญา อาจเปน็ การคาดคะเน หรือการเดาอยา่ งมีหลักวิชา ซึ่งอาจจะเป็น ข้อสรุปที่สมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้ บรูเนอร์ เน้นว่าการคิดแบบน้ีเป็นการคิดที่นำไปสู่ความคิด สรา้ งสรรค์ บรเู นอร์สรุปทฤษฎพี ัฒนาการของมนษุ ย์ ไว้ดงั นี้ วธิ ที ่ีคนจะเกิดการเรียนรใู้ นสิง่ ใดสงิ่ หนึ่งมีอยู่ ๓ วิธี คือ ๑. โดยการกระทำส่ิงนั้น ๒. โดยการรับรู้ภาษาและจินตนาการ ๓. โดยการใช้ความหมายทางสญั ลกั ษณ์ เช่น ภาษา ข้นั ของพัฒนาการทางสติปัญญาของบรเู นอร์ บรเู นอรแ์ บ่งพัฒนาการทางสตปิ ัญญาและการคิดออกเป็น ๓ ข้ัน ดังน้ี ๑. ขั้น การกระทำ (Enactive stage) เป็นข้ันที่เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำการ เรียนร้จู ะผ่านทางการแสดงออก การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกบั วตั ถุ ๒. ข้ัน จินตนาการ (Iconic stage) เป็นขั้น ที่เด็กจะเรียนรู้เก่ียวกับความคิดรวบ ยอด กฎ และหลักการ การเรียนรู้จะเก่ียวข้องกับความจริงมากข้ึน เขาจะเกิดความคิดจากการรับรู้ เป็นสว่ นใหญ่อาจมีจินตนาการบา้ งแต่ยังไม่สามารถคดิ ไดล้ ึกซ้ึงนัก ๓. ขั้น สัญลักษณ์ (Symbolic) เป็นขั้น ที่เด็กเรียนรู้ความสัมพันธ์ของส่ิงของ สามารถเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งต่างๆ ท่ีซับซ้อนได้มากข้ึน สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของส่ิงของ ต่างๆ ได้ เป็นขั้นท่ีใกล้เคียงกับพัฒนาการ ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรมและปฏิบัติการคิด ด้วยนามธรรมของเพียเจต์ เนื่องจากผลของการศึกษาของบรูเนอร์ เขาสรุปผลว่า สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม จะเป็นสิ่งสำคัญในการเร่งความเจริญงอกงามทางสติปัญญา ซ่ึงในการศึกษาของเขาได้เน้นให้เห็นถึง บทบาทของการสอนในโรงเรียนภาษา และองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อความงอกงาม ทางสติปัญญาและการคิด สำหรับเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและการคิดของสมองน้ั นยังเป็นเรื่องท่ี ขัดแย้งกันของนักวิชาการท่ีทำการศึกษาเร่ืองนี้อยู่ และยังไม่สามารถตกลงกันได้ จึงเกิดเป็นแนวคิดที่ แตกต่างกนั อยู่ ๒ ฝา่ ย คือ

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๒ ฝ่ายแรก เชื่อว่า การคิดกับภาษา (พูด) เป็นสิ่งเดียวกัน ผู้ท่ีคิดเก่งย่อมใช้ภาษา(พูด) ได้เกง่ หรือผู้ที่ใชภ้ าษา (พูด) ไดด้ ยี อ่ มมคี วามสามารถในการคิดสูง ฝ่ายท่ีสอง มีความคิดตรงกันข้าม กลุ่มนี้เชื่อว่า การคิดเกิดขึ้น เป็นอิสระจากภาษา ภาษา เปน็ เพยี งพาหะทจ่ี ะนำการคดิ ทเ่ี กดิ ข้ึน ใหส้ มบูรณ์แลว้ จึงแสดงออกมา สำหรับบรูเนอร์ เขาสนับสนุนฝ่ายแรก เพราะเขาก็เช่ือว่า ภาษาเป็นองค์ประกอบท่ีสำคัญ ของการคิด ส่วนเพียเจต์ สนับสนุนฝ่ายหลัง เขาเช่ือว่า ภาษาเป็นส่ิงท่ีใช้เพียงการแลกเปล่ียน และการสอ่ื สารความคดิ แตไ่ ม่ได้ช่วยสง่ เสรมิ ให้เกดิ ความก้าวหน้าหรือพฒั นาความคิด นอกจากนบี้ รเู นอรย์ ังถือว่า การเรยี นรู้ของบุคคลจะมีประสทิ ธภิ าพเพยี งใด ขึ้นอยู่กบั กิจกรรม ทางสมอง ในความสามารถสร้างความคิดรวบยอดในส่ิงท่ีเรียนรู้ได้เพียงใด หรือความสามารถ ในการจัดเข้าพวก หรือจัดประเภทในส่ิงที่จะเรียนได้แค่ไหน ซึ่งบรูเนอร์ ให้ความคิดเห็นว่า มนุษย์ มคี วามสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ ในการแยกแยะสิ่งตา่ งๆหรือสามารถจดั สิ่งต่างๆเข้าพวกกันได้อยา่ งดี เช่น สามารถรวมสีต่างๆ เข้าเป็นแนวเดียวกัน เรียกเป็นสีใหม่ หรือแยกคนออกเป็นชั้ น สังคม จากบุคลิกภาพท่ีคล้ายกัน การนับถือศาสนา เชื้อชาติ ขนาด อายุ ฯลฯถ้ามนุษย์ไม่มีความสามารถ ท่ีจะจัดส่งิ ตา่ งๆ เขา้ พวกไดแ้ ล้ว มนุษย์ก็อาจไม่เกิดความคิดหรือการเรยี นรู้ข้ึน ได้ ๓.๗ คณุ ลกั ษณะของผเู้ รียนวยั ต่างๆ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อยู่ร่วมกัน มีการปะทะสัมพันธ์พูดคุย สังสรรค์ การรู้จักซ่ึงกันและกัน ก็จะทำให้เกิดสัมพันธภาพท่ีดี ในขบวนการเรียนการสอนก็เช่นกัน การรู้จักกันและกันก็จะช่วยให้ กระบวนการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ จึงเป็นส่ิงจำเป็นท่ีผู้สอนต้องรู้ว่าผู้เรียนของตนมีคุณลักษณะ อยา่ งไร ๑. คุณลักษณะของผูเ้ รียนระดบั อนุบาลศึกษา ผู้เรียนระดับอนุบาลศึกษา อาจจะเรียกได้ว่า เป็นวัยเด็กตอนต้น หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัยเด็ก กอ่ นเข้าโรงเรียน วัยเด็กระดับอนุบาลเป็นวัยท่ีมีอายุระหว่าง ๒–๖ ปี ลักษณะท่ีสำคัญของพัฒนาการ ในวัยน้ี คือ เด็กมีความสามารถในการท่ีจะช่วยเหลือตนเองได้ดีมากข้ึน ไม่ว่าจะเป็นกิจการดูแลความ สะอาดของรา่ งกาย การแตง่ กาย และสภาพความเปน็ อยู่ท่ัวไป ๑.๑ ลักษณะท่วั ไปทส่ี ำคัญของเด็กระดับอนุบาล ลักษณะทัว่ ไปทีส่ ำคัญของเด็กระดบั อนุบาลมีหลายประการ ดงั นี้ ๑.๑.๑ เป็นช่วงระยะเวลาของการเตรียมตัวเข้าสู่โรงเรียน แต่โรงเรียน ดังกล่าว จะมีความแตกต่างไปจากโรงเรียนท่ัวๆ ไป เพราะเน้นการให้เด็กเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อ่ืน เน้นในการปรับตัวเข้ากับสังคมท่ีแตกต่างจากบ้าน ซึ่งที่บ้านเด็ก ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ต้อง ปฏิบตั ติ ามการเรียนในระดบั น้ีจะเนน้ การเล่นมากกว่าการเรยี นเชงิ วชิ าการ ๑.๑.๒ เป็นช่วงระยะเวลาของการเตรียมตัวเข้ากลุ่มเพื่อน เป็นช่วง ระยะเวลาที่มีความสำคัญ เพราะเด็กจะต้องมีการเรียนรู้พ้ืนฐานต่างๆ ตามพฤติกรรมทางสังคม ซ่ึงก็จะเป็นการช่วยให้เด็กสามารถจัดระบบในชีวิตของตนตามสังคม เพื่อให้สามารถปรับตนได้ง่าย ต่อไปในอนาคต

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๓ ๑.๑.๓ เป็นช่วงระยะเวลาของการสำรวจค้นคว้า เด็กวัยน้ีจะมีความสุข ความพอใจที่จะสำรวจสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ เขาจะสนใจสิ่งที่เขาเห็นว่าคืออะไร สนใจบุคคลและส่ิง รอบตวั ว่ามีความรู้สกึ เป็นอยา่ งไร ๑.๑.๔. เป็นช่วงระยะเวลาของการเกิดปัญหา ในระยะนี้เด็กจะมีลักษณะ ไม่ยอมเชื่อฟัง ชอบปฏิเสธบ่อยคร้ัง บางคร้ังเด็กจะมีลักษณะงอแง เจ้าอารมณ์ หรืออาจจะมี ความหวาดกลัวและรษิ ยามากข้ึน ๑.๑.๕ เป็นชว่ งเวลาของการต่อต้าน ในช่วงน้ีเด็กจะต่อตา้ นความช่วยเหลือ จากพอ่ แม่และบุคคลอน่ื ทมี่ ีอายมุ ากวา่ ๑.๒ พัฒนาการทางดา้ นร่างกาย วยั นี้เด็กหญิงและเด็กชายจะมพี ัฒนาการทางด้านความเจริญเติบโตของร่างกายแบบ เดียวกันอัตราการเจริญเติบโตทางความสูงจะเพิ่มมากโดยเฉลี่ยจะเพิ่มประมาณปีละ ๓ นิ้ว น้ำหนัก จะเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย ๓–๕ ปอนด์ สัดส่วนของใบหน้า มีลักษณะเล็ก ส่วนท่ีมองดูใหญ่คือ อวัยวะส่วน คางเพราะ ขากรรไกร เปน็ ส่วนทมี่ พี ัฒนาเร็วกว่าสว่ นอนื่ ๆ เส้นผมจะมีสีทชี่ ัดเจนยิ่งข้นึ อายุ ๓ – ๔ ปี ฟันน้ำนมของเด็กจะเร่ิมหลุด และฟันถาวรขึ้น มาแทนที่ การงอก ของฟันแท้ทข่ี ้นึ มาแทนฟันน้ำนม จะช่วยทำใหก้ ารพดู ของเดก็ มพี ฒั นาการทีด่ ีขน้ึ อายุ ๔ – ๕ ปีเดก็ จะมีรูปร่างดีขน้ึ หน้าท้องแบนราบ อกกวา้ งขึน้ เอวมองชัดเจนข้นึ เด็กในวัยน้ีสามารถใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างแคล่วคล่อง เช่น สามารถกิน อาหารเอง แต่งตัวเอง เช่น หวีผม อาบน้ำ ทีแรกอาจจะต้องมีผู้ช่วยเหลือบ้าง แต่ต่อไปจะทำได้เอง เด็กอายุ ๓ ขวบ สามารถใช้ค้อนตอกตะปูลงบนไม้ได้ ป้ันดินน้ำ มันเป็นรูปต่างๆได้ นอกจากน้ัน เด็ก วัยนี้ยังชอบเล่นโยนลูกบอลและรับลูกบอล ความสามารถจะเพ่ิมข้ึนเร่ือยๆ เมื่อเด็กอายุ ๖ ขวบ กส็ ามารถทจ่ี ะทำสิ่งต่างๆ ด้วยมอื ได้มากข้นึ เป็นตน้ การใช้ขาได้แคล่วคล่องข้ึน นอกจากเดินได้อย่างมั่นคงแล้ว เด็กจะสนใจกิจกรรม ต่างๆ ที่ต้องใช้ขา เช่น กระโดดสูง กระโดดไกล การวิ่ง การเล่นเกมต่างๆ ท่ีต้องใช้ทักษะการว่ิง การปีนปา่ ย การถีบจกั รยานสามลอ้ สำหรับเด็ก เป็นตน้ ๑.๓ พัฒนาการทางสตปิ ัญญา การที่เด็กจะมีความสามารถส่ือสารติดต่อกับผู้อ่ืนได้ เด็กจะต้องมีความเข้าใจในสิ่ง ที่ตนเองพูดก่อน โดยปกติเด็กจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับคำต่างๆ ได้ โดยการแสดงออกทางสีหน้า และลักษณะท่าทาง นอกจากนี้ความเข้าใจของเด็กยังข้ึน อยู่กับการฟัง ซึ่งจากการศึกษาพบวา่ เด็กที่ มีระดับสติปัญญาสูง จะมีความตั้งใจในการฟังมากกว่าเด็กท่ีมีระดับสติปัญญาต่ำ ซ่ึงในเร่ืองนี้มีการ ค้นพบว่า เด็กท่ีมีระดับสตปิ ญั ญาสูง จะเป็นเดก็ ทม่ี าจากครอบครวั ทมี่ ฐี านะทางเศรษฐกจิ ดี หรอื อกี นัย หน่ึงก็คือ ครอบครัวท่ีไม่ค่อยมีปัญหาทางเศรษฐกิจหรือไม่มีเลย นอกจากการฟังแล้ว เด็กจะสามารถ เรียนรแู้ ละจดจำความหมายใหม่ๆ เพ่ิมข้ึนในวัยนี้เดก็ จะสามารถจำศัพทไ์ ด้เพ่ิมขนึ้ รวดเร็ว รู้จักคำมาก ข้ึน สามารถใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น ในตอนแรกๆ เด็กจะใช้ประโยคส้ันๆ มีเพียง ๓ – ๔ คำ แต่เม่ือ อายุประมาณ ๔ ขวบ จะสามารถพูดประโยคได้ยาวข้ึน พออายุ ๕ ปี เด็กจะสามารถเรียกชื่อคำต่างๆ ได้โดยไม่มีการผิดพลาด แต่ในเรื่องพัฒนาการทางภาษานี้ อาจจะมีพฤติกรรมท่ีผิดปกติไปบ้างใน ระยะแรกๆ ดังนี้ ๑.๓.๑.การพูดไม่ชัด เด็กเล็กๆ บางคนออกเสียงคำต่างๆ ได้อย่างชัดเจน แต่บางคนก็พูดไม่ชัด พ่อแม่ต้องให้โอกาสเด็กได้ฝึกพูดมากๆ คอยแก้ไขให้ และถ้าเด็กบางคนพูดไม่

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๔ ชัดเจนเกินอายุที่สมควรแล้ว พ่อแม่ไม่ควรแสดงความรู้สึกให้เด็กเห็น จะต้องอดทนรอเพราะ พฒั นาการของเด็กแต่ละคนไมเ่ หมือนกนั เด็กบางคนพดู ชดั ได้เร็ว บางคนพดู ชัดไดช้ า้ กวา่ คนอ่ืน ๑.๓.๒.การพูดติดอ่าง คือ การพูดซ้ำ พยางค์ เดก็ วัย ๒ – ๓ ขวบ มักจะพูด ซ้ำ แบบติดอ่าง เพราะเพิ่งหัดพูด พ่อแม่ไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป ต้องยอมรับข้อบกพร่องของเด็ก และชว่ ยฝึกใหเ้ ดก็ หัดพูดมากๆ กจ็ ะหายไปเอง ถ้าพ่อแมเ่ คร่งครดั จนเกินไป เด็กจะเกิดความวติ กกงั วล และเกิดความเครียดยง่ิ ขนึ้ ทำใหเ้ ปน็ ผลรา้ ยทางจิตใจแก่เดก็ ได้ ๑.๔ พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักเจ้าอารมณ์ อาจเน่ืองจากความหงุดหงิด เพราะไม่ได้นอนกลางวันหรือ กนิ อาหารไม่พอกับความตอ้ งการของร่างกายก็ได้ ทำให้โมโหรา้ ย อิจฉารษิ ยาอยา่ งไม่มเี หตุผล อย่างไร ก็ตามเด็กแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสุขภาพต่างกัน สงิ่ แวดล้อมต่างกัน และการเล้ียงดู ทแ่ี ตกต่างกัน ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า อารมณ์ของเด็กแต่ละคนจะถูกควบคุมตามสภาพแวดล้อม ซ่ึง จะเป็นประสบการณ์ท่ีเด็กแต่ละคนได้รับมา อารมณ์ของเด็ก เช่น ความกลัว ความตกใจ ความโกรธ ความรำคาญใจ และความคับข้องใจ จะเพ่ิมข้ึน ซึ่งบุคคลใกล้ชิด จะมีส่วนต่ออารมณ์ของเด็ก ถ้าเด็ก ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ ก็จะมีผลต่อลักษณะบุคลิกภาพของเด็กเม่ือเติบโตขึ้นสำหรับ อารมณ์ท่ปี รากฏชดั เจนในเดก็ ระดบั อนุบาลศึกษา ดงั นี้ ๑.๔.๑. ความโกรธ ความโกรธจะเปน็ อารมณท์ ี่เกดิ ข้นึ บ่อยครั้งท่สี ุดและจะ เป็นเร่ืองธรรมดาสำหรับวัยเด็กตอนต้น ท้ังน้ีเพราะเด็กจะตอ้ งเผชิญกับลักษณะหรือสถานการณ์ตา่ งๆ อย่างมากมาย ซึ่งสถานการณ์เหล่าน้ีก่อให้เกิดความโกรธแต่ตัวเด็ก หรือในบางคร้ัง เด็กอาจจะใช้ ความโกรธให้เป็นประโยชนเ์ พื่อให้ไดม้ าในสง่ิ ท่ีตนปรารถนา ลกั ษณะความโกรธของเดก็ วยั นี้เกิดขึน้ ได้ เนื่องจากมีความขัดแย้งในการเล่นส่ิงของ การขับถ่าย การแต่งกาย มีความสับสนในกิจกรรมต่างๆ หรือถกู ขดั ขวางมใิ ห้ทำกจิ กรรมในสง่ิ ทตี่ นปรารถนา นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อยู่จะมีผลทำให้เด็กเกิดความโกรธได้ง่าย และอาจจะเกิดความโกรธได้บ่อยคร้ัง ลักษณะการแสดงออกซึ่งความโกรธของเด็กนั้นจะเป็นลักษณะ การแสดงออกโดยการลงมือลงเท้า และจะเกดิ ข้ึน บ่อยคร้งั สำหรับครอบครัวท่ีมพี ่ีน้องหลายคน ลักษณะอาการโกรธแบบลงมือลงเท้า หมายถึง ลักษณะการร้องไห้ของเด็ก มีการ ร้องกรีด กระทืบเท้า เตะ กระโดดไปมา ต่อต้าน ขว้างส่ิงของลงบนพื้น บีบจมูก เดินขากระเผลก บางคร้ังอาจจะน่งั หรือนอนลงบนพื้น และทำร้ายตัวเอง เชน่ ดึงผม ตหี น้าอกของตัวเองเป็นต้น ลักษณะอาการโกรธของเด็กวัย ๓ – ๔ ขวบ จะมีลักษณะอาการโกรธแบบลงมือลง เท้า แต่เม่ืออายุ ๔ ขวบ ความโกรธของเด็กจะมกี ารแสดงออกโดยมุ่งตรงไปยังส่ิงทท่ี ำให้ตนโกรธไม่ว่า จะเป็นบุคคลหรือส่ิงของก็ตาม นอกจากนั้น ลักษณะการแสดงออกของความโกรธแบบอ่ืนๆ ยัง ประกอบดว้ ย ลกั ษณะ หน้าบ้ึงครุ่นคิด และรอ้ งไห้ ๑.๔.๒.ความกลัว วัยเด็กตอนต้นน้ี เด็กจะมีความรู้สึกกลัวต่อส่ิงต่างๆ มากกวา่ วัยเด็กอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิง่ เด็กท่ีมีระดับสติปญั ญาดจี ะมคี วามสามารถในการแยกแยะและ จดจำเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ดี ในระยะแรกของความกลวั นี้ เด็กจะมีความรสู้ ึกกลัวใน สิ่งท่ีไม่มีเหตุผลมากกว่าสิ่งที่มีเหตุผล เม่ือเด็กมีอายุมากขึ้น การตอบสนองของเด็กท่ีมีต่อความกลัว ย่อมจะมากข้ึน ตามอายุของเด็ก รูปแบบของการสนองตอบในเรื่องความกลัวโดยทั่วไปน้ัน จะมี

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๕ ลักษณะของการวิ่งหนีจากเหตุการณ์ หรือหลบซ่อน หรือพยายามหลีกเล่ียงจากสถานการณ์ที่ กอ่ ใหเ้ กดิ ความกลัว ตามปกติ ความกลัวของเด็กจะเกิดขึ้นได้โดยการวางเง่ือนไข การเลียนแบบและการ จดจำเหตุการณ์ต่างๆ ที่ก่อให้เกดิ ความกลัวหรือเปน็ ประสบการณ์ที่ไม่น่าพอใจนนั่ เอง เช่น เมื่อเด็กได้ ยินเสียงท่ีน่ากลัวทางวิทยุ ถ้าเด็กได้ยินเสียงทางวิทยุอีกจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวได้เช่นกัน นอกจากน้ันแล้วความกลัวของเด็กอาจจะเกดิ เนื่องมาจากการเลียนแบบบคุ คลทเ่ี ดก็ ใกล้ชิด เมอื่ ผ้ใู หญ่ กลัวเด็กจะกลัวตามไปด้วย เช่น กลัวเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า เน่ืองมาจากเด็กเห็นมารดามีความกลัว เด็กก็จะแสดงอาการกลัวตามไปด้วยความกลัวของเด็กจะสามารถลดลงได้จะลงได้เม่ือเด็กน้ัน มีอายุ มากขน้ึ และมคี วามวติ กกงั วลเกดิ ขนึ้ มาแทนท่ีตวั อย่างเช่น เมื่อเด็กเกดิ ความรู้สึกไม่มัน่ คงจากทางบา้ น เด็กจะมีความรู้สึกกระวนกระวายใจมาก เมื่อเด็กเกิดความกังวลใจ ผลก็คือ ความกลัวของเด็ก จะลดลงจนถงึ เดก็ จะไม่มีความกลัวในสง่ิ ใดเลย ๑.๔.๓. ความอิจฉาริษยา ความอิจฉาริษยาเป็นความโกรธที่พุ่งไปสู่บุคคล อาจจะเน่ืองมาจากสถานภาพทางสังคม อารมณ์อิจฉาริษยาจะเกิดข้ึน เม่ือเด็กมีอายุ ๒ – ๕ปี หรือ เม่ือเด็กมีน้องใหม่ในวัยเด็กตอนต้น การแสดงถึงลักษณะความอิจฉาริษยาจะมีการแสดงออกโดยตรง คอื เดก็ จะต่อต้านกับบุคคลท่ีตนเกดิ ความอิจฉารษิ ยา เช่น ตีนอ้ งเพราะตนริษยานอ้ ง เปน็ ตน้ แต่ในบางคร้ังการแสดงออกซึ่งความอิจฉาริษยานั้น จะเป็นลักษณะที่มี พฤติกรรมย้อนกลับไปสู่แบบวัยเด็กอีกครั้งหนึ่ง เช่น การดูดนิ้ว การปัสสาวะรดที่นอน การซุกซน ผิดปกติ มีลักษณะปฏิเสธต่อการกินหรืออาจจะมีการแสดงออกในลักษณะความเจ็บป่วยทางร่างกาย บางครงั้ อาจจะมกี ารแสดงออกในลักษณะของความหวาดกลวั ๑.๔.๔. ความอยากรู้อยากเห็น ในวัยเด็กน้ีเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น ในทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นส่ิงของในบ้านเรือนร้านค้า และอะไรก็ตามที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกอย่าง จะเป็นสิ่งท่ีเด็กต้องการเรียนรู้ท้ัง ส้ิน ตัวอย่างเช่น เด็กอาจจะมีความสงสัยในเรื่องรูปร่างของตนว่า ทำไมจึงมีความแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ หรืออวัยวะร่างกายของคนเรานั้นสามารถทำงานได้อย่างไร เปน็ ต้น ด้วยเหตุนี้เอง วัยเด็กตอนต้นจึงจัดว่าเป็นวัยเจ้าปัญหา(Questioning age) โดยท่ี เด็กจะมีการต้ัง คำถามตั้ง แต่ปีท่ี ๒ – ๓ เรื่อยไปจนกระทั่งปีท่ี ๖ ของอายุเด็ก ถ้าเด็กคนใดก็ตาม ได้รับคำอธิบายในคำถามจะทำให้เด็กเกิดความพอใจ และเด็กจะไม่พอใจเมื่อไม่ได้รับคำอธิบาย และจะมีผลทำให้ความอยากรูอ้ ยากเหน็ ของเด็กลดลงไป สำหรับเด็กท่ีฉลาดจะเป็นเด็กท่ีมีความสามารถในการจดจำและสังเกตสิ่งต่างๆ ได้ ดีกว่าเด็ก ท่ีไม่ฉลาด เมื่อเด็กฉลาดมีความสามารถเช่นนั้นทำให้เด็กพยายามท่ีจะซักถามในสิ่งท่ีตน สงสัยได้ดีอีกด้วย ยิ่งไปกว่าน้ันผลท่ีได้รับจากการศึกษาพบว่า เด็กท่ีมีความมั่นคงทางอารมณ์ จะเป็นเด็กท่ีมีความอยากรู้ อยากเห็นมากกว่าเด็กท่ีไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์และในเรื่องเพศ ของเด็กก็เช่นกัน เด็กหญิงจะมีความสนใจหรือมีความสงสัยในส่ิงต่างๆ น้อยกว่าเด็กชายเพราะพ่อแม่ มักจะเข้มงวดเอากบั เดก็ หญิงมากกวา่ เดก็ ชาย ๑.๔.๕.ความร่าเริง วัยเด็กตอนต้นนี้เด็กจะมีความรู้สึกท่ีเป็นสุขเป็นอย่าง มาก ความสุขของเด็กที่เกิดขึ้น น้ีอาจจะอธิบายได้ในลักษณะความร่าเริงของเด็ก และโดยทั่วไป ของเด็กวัยนี้จะมีความรู้สึกสนุกสนานมาก สาเหตุท่ีทำให้เด็กมีความรู้สึกเป็นสุขได้น้ันเน่ืองมาจาก ลกั ษณะทางร่างกายมีความแข็งแรงมสี ุขภาพดี มองเหน็ สถานการณ์ที่ไมก่ ลมกลนื ต่างๆ เกิดเสยี งดงั ขึ้น

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๖ มาอย่างทันทีทันใด หรือมีการเลียนคำพูดของบุคคลอื่น ซึ่งสิ่งเหล่าน้ีจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกร่าเริง ได้ นอกจากน้ัน อาจจะเกิดข้ึน ได้ต่อเม่ือมีบุคคลอ่ืนมาเล่นด้วย แม้แต่เป็นสัตวเ์ ลี้ยงก็ตามจะทำให้เกิด ความสุขได้ การตอบสนองท่ีจะเป็นเคร่ืองแสดงว่าเด็กมีความร่าเริงคือ การย้ิม การหัวเราะ การปรบมือ การกระโดดขึ้น-ลง การกอดรัดวัตถุหรือบุคคลท่ีทำให้เด็กมีความสุข ฉะนั้ น การแสดงออกซ่ึงอารมณ์ร่าเริงนี้ ข้ึนอยู่กับลักษณะความเข้มของส่ิงเร้าท่ีมาเร้า รวมทั้งขึ้นอยู่กับ ความกดดนั ทางสังคมอีกด้วย ๑.๔.๖.ความรัก วัยเด็กอนุบาลนี้ เด็กจะไม่เพียงแต่รักในบุคคลเท่าน้ัน แต่เด็กจะมีความรักต่อสัตว์หรือวัตถุท่ีเขาเล่นอยู่อีกด้วย เด็กวัยนี้จะแสดงความรักอย่างเปิดเผย เชน่ เดยี วกบั อารมณ์อนื่ ๆ เขาจะกอดจบู ลบู คลำบคุ คลหรอื วตั ถทุ ่เี ขารกั อยากอยู่ใกล้ๆ ตลอดเวลา ๑.๕ พฒั นาการทางสังคม เด็กในวัยนี้จะเริ่มเบือ่ หน่ายผู้ใหญ่ จะพยายามเล่นกบั เพอื่ นในวัยเดียวกนั และจะเริ่ม เล่นกันเป็นกลุ่มในช่วงอายุ ๓ – ๖ ปี เด็กจะมีการคบเพ่ือนมากขึ้น การรับรองเห็นชอบจากเพ่ือน กลายมา มีความสำคัญมากกว่าท่ีได้รับจากผู้ใหญ่ การรับรองเห็นชอบจากเพื่อนๆ จะมีส่วนช่วย กระต้นุ ให้เด็กมีพฤตกรรมทีเ่ ป็นท่ียอมรบั ของสังคมต่อไป ดังนั้นช่วงอายุ ๓ – ๖ ปี นับว่าเป็นช่วงท่ีมีความสำคัญสำหรับพัฒนาการทางสังคม เพราะจะเปน็ การฝึกใหเ้ ด็กมีการเข้าสงั คม ในลกั ษณะใดลกั ษณะหนง่ึ บางคนอาจจะมลี ักษณะของการ เป็นผู้นำแต่เด็กบางคนอาจจะมีลักษณะอิสระ ลักษณะท่ีปรากฏในวัยเด็กอนุบาลนี้จะมีผล ต่อพัฒนาการทางสังคมในระยะต่อมาของชีวิต ในวัยน้ีจะมีพฤติกรรมทางสังคมเกิดขึ้นหลายอย่าง ที่สำคญั ได้แก่ ๑.๕.๑. ความด้ือรั้น ความด้ือร้ันเกิดเป็นปกติกับเด็กอายุ ๒ – ๓ ปี และพฤติกรรมน้ี จะค่อยๆ ทวีขึ้น ในระหว่างเดก็ อายุ ๓ – ๔ ปี ซึ่งเด็กแต่ละคนจะแสดงอาการดื้อร้ัน ในรูปท่ีแตกต่างกัน บางคนแสดงออกด้วยการชอบทำอะไรตรงกันข้ามกับท่ีต้องการให้เขาทำ บางคน แสดงออกด้วยการเงียบ ไม่โต้ตอบ ทำเป็นไม่ได้ยิน ไม่เข้าใจ ไม่ไยดี และไม่นำพา แต่สำหรับเด็ก ทม่ี กี ารปรบั ตวั ไดด้ ี จะเรียนรทู้ จี่ ะโอนออ่ นและใหค้ วามร่วมมอื กับผู้อื่น ๑.๕.๒.ความก้าวร้าว ความก้าวร้าวจะเป็นพฤติกรรมที่เกิดข้ึน กับเด็กวัยน้ี เมื่อเด็กมีความคับข้องใจ หรือถูกลงโทษอย่างรุนแรง เม่ืออายุ ๔ – ๕ ปี เด็กจะมีการแสดง ความก้าวร้าว โดยทางวาจามากกวา่ การแสดงออกทางรา่ งกาย ๑.๕.๓.การทะเลาะวิวาท เด็กวัยน้ีเป็นวัยของการทะเลาะวิวาท เพราะเด็ก ยังขาดประสบการณ์ในการเล่นกับเพ่ือนอย่างดี เม่ือโกรธก็จะแย่งของเล่นที่เด็กอ่ืนกำลังเล่นไปเสีย และมักจะร้องไห้ ทุบตีกัน เตะ ต่อย กัดกัน เป็นต้น วัย ๓ ขวบเป็นวัยท่ีชอบทะเลาะกันมากที่สุด หลังจากนั้น เม่ือเด็กอายุมากกว่า ๓ ปี ไปแล้ว เด็กจะมีการปรับตัวทางสังคม ซึ่งจะมีผลทำให้การ ทะเลาะวิวาทของเด็กลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยนี้ก็นับว่า มีประโยชน์ไม่น้อย เพราะการทะเลาะวิวาทจะเป็นวิธีการท่ีสอนให้เด็กรู้จักปฏิบัติและมีการปรับตัว เพ่อื ท่จี ะอยู่ในสงั คมตอ่ ไป ๑.๕.๔.การคบเพ่ือน เพื่อนของเด็กวัยน้ีส่วนมากเป็นพ่ีน้อง หรือผู้ใหญ่ ในครอบครัวเดียวกัน การคบเพื่อนของเด็กจะคบแบบเป็นเพ่ือนเล่นมากกว่าเพ่ือนแท้ เด็กมัก จะเปลี่ยนเพ่ือนเล่นเม่ือความสนใจในการเล่นเปล่ียนไป ฉะนั้น ความสัมพันธ์ในเรื่องการเล่นของเด็ก

จติ วิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๗ ขณะที่อยู่ในครอบครัวน้ัน จะมีความสำคัญต่อบทบาทในการปรับตัวนอกบ้านของเด็ก เด็กท่ีมีเพื่อน ซ่งึ มีวุฒิภาวะระดับเท่ากันและมอี ายไุ ลเ่ ล่ียกันจะมีสว่ นช่วยทำให้ปรับตัวในสังคมได้ดี และในการเลอื ก คบเพื่อนของเด็กในวัยน้ีจะไมม่ ีการเลือกคบเพือ่ นตามสถานะทางเศรษฐกจิ และสังคม ๒. คณุ ลักษณะของผูเ้ รยี นระดับประถมศึกษา ผู้เรียนระดับประถมศึกษา อาจเรียกได้ว่าวัยเด็กตอนกลาง เป็นวัยท่ีมีอายุตั้งแต่ ๖ ปีข้ึนไป จนถึง ๑๐ ปี เด็กในวัยน้ีจะมีความพรอ้ มมากขึ้น และสนใจส่ิงแวดล้อมรอบๆ ตนเองมากข้นึ ช่วงนี้เด็ก ต้องปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนเล่นที่อยู่บ้านใกล้เคียง เด็กในวัยน้ีจะเรียนอยู่ใน ระดับประถมศึกษา โรงเรียนจึงนับว่าเป็นการเปล่ียนแปลงคร้ังใหญ่ในชีวิตท่ีออกไปสู่สังคมนอกบ้าน การปรับตัวในสังคมใหม่มีมากข้นึ ระยะนี้เด็กจะเข้าใจภาษาที่ผู้อ่ืนพูดมากขึ้น และตนเองก็สามารถใช้ คำใหม่และแปลกมากขึ้น พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ จติ ใจและสงั คม ก็เติบโตข้ึน เด็กวัยนี้จงึ ต้อง มีการปรบั ตวั มากขึ้น ๒.๑ พฒั นาการทางกาย เดก็ เมื่ออายุครบ ๖ ปี ขึ้นไป อัตราการเจริญเตบิ โตจะลดลงไป ช่วงทร่ี า่ งกาย เปลยี่ นแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ ๒.๑.๑ ร่างกายของเด็กจะขยายทางส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง แขนขายาว ออก กลา้ มเนอ้ื แขนขา ทำงานประสานกันดีข้ึน ๒.๑.๒ รูปรา่ งเปลย่ี นแปลงเข้าลกั ษณะผูใ้ หญ่มากขึน้ ๒.๑.๓ อวัยวะภายในและระบบการหมุนเวียนของโลหิตเจริญเติบโตเต็มที่ ยกเวน้ หวั ใจคงเจริญช้ากวา่ อวยั วะอืน่ ๆ ๒.๑.๔ ฟนั แทข้ ึน้ แทนที่ฟันน้ำนม ๒.๑.๕ สมองหนักเกอื บเต็มที่ ๒.๑.๖ อวัยวะเพศเติบโตชา้ รวมถึงกลา้ มเน้ือ ตาหรือมือมกี ารพฒั นาการช้า และมอี ัตราการเจรญิ เตบิ โตไมเ่ ท่ากนั ในเด็กแต่ละคน นอกจากนี้วัยเด็กตอนต้นมีพลังงานมากข้ึน จึงมักไม่ใคร่อยู่นิ่ง ชอบทำกิจกรรม และทำอย่างรวดเรว็ ไมค่ ่อยระมัดระวังทำใหป้ ระสบอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ๒.๒ พัฒนาการทางอารมณ์ ความต้องการของเด็กวัยนี้กว้างขวางมาก และเมื่อหาทางตอบสนองความต้องการ ไม่ได้ ก็เกิดอารมณ์ตึงเครียด แต่ถ้าตอบสนองความต้องการได้สำเร็จก็จะมีอารมณ์แจ่มใสเบิกบาน มีแรงจูงใจ ท่ีจะทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไป เด็กวัยนี้มีความต้องการความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคง ปลอดภัย และเอาใจใส่จากครู นอกจากครูแล้วเด็กยังมีเพ่ือนเพ่ิมขึ้น ซึ่งในระยะแรก การแสวงหา การยอมรับจากครูและเพ่ือน อาจเปน็ วิธีการท่ีไมน่ ิ่มนวล เพราะยังไม่รจู้ ักคิดควบคุมความรู้สึกยังไม่ได้ มักจะแสดงความเอาแต่ใจตัว ทะเลาะววิ าทกันต้องการเป็นผู้ชนะ ระยะปีหลังๆ พอเดก็ ปรับตวั เข้ากับ โรงเรียน การเรียนดีขึ้น รจู้ ักควบคุมอารมณ์ รู้จักยับยั้งใจไม่แสดงความรู้สึกออกมาเป็นพฤติกรรมไม่ดี ทนั ที นน่ั คอื เดก็ สามารถปรบั ตัว ปรับใจไดแ้ ลว้ จึงเปลย่ี นพฤตกิ รรมเป็นเหมาะสมยิง่ ขึน้ ๒.๓ พฒั นาการทางสงั คม วัยเด็กตอนกลางนี้แม้ว่าครอบครัวจะยังคงมีอิทธิพลต่อเด็กอยู่ แต่เด็กก็ออกมาพบ กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีสังคมกว้างขวางข้ึน เพราะอยู่ในโรงเรียนย่อมมีความสัมพันธ์กับบุคคลหลาย วยั หลายประเภท เด็กจะมีความสามารถในการสร้างสัมพนั ธภาพกบั บคุ คลตา่ งๆ ท่ีโรงเรียนไดด้ ีเพียงไร

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๘ ข้ึนอยู่กับการอบรมท่ีได้จากทางบ้านเป็นสำคัญ ถ้าทางบ้านให้โอกาสเด็กได้เล่นกับเด็กอ่ืนๆ และคอย แนะให้เด็กมีพฤติกรรมท่ีถูกต้องแล้ว เด็กก็จะสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้เป็นอย่างดี ไม่ขลาดอาย เพ่ือนหน้าใหม่ ถ้าปล่อยให้เด็กว้าเหว่และเล่นแต่กับเพื่อนสมมุติอยู่เสมอทำให้เด็กปรับตัวเข้ากับผู้อ่ืน ได้ยาก เม่ือเข้าโรงเรียนเพราะเพื่อนเล่นสมมุติไม่มีชีวิตจิตใจไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบที่จะสอนให้เด็กรู้ว่า ตนควรจะทำอะไร อย่างไรก็ตามการสังคมของเด็กวัยนี้ก็ยังไม่กว้างขวางมากนัก แม้จะเร่ิมเข้ากลุ่ม เพ่ือนบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นกลุ่มเพ่ือนเด็กๆ ทั้งการเล่นก็ยังคงเป็นการเล่นท่ีต่างคนต่างเล่น เพียงแต่อยู่รวมกลุ่มเท่าน้ันวิธีการเล่นก็เปล่ียนอยู่เสมอส่วนมากมักเอาแต่ใจตัวต้องการเอาชนะเพื่อน ตอ้ งมีผู้ใหญ่คอยชว่ ยแนะนำอยู่ด้วย การเล่นจึงจะเป็นไปได้อย่างราบร่นื เมื่อเจริญวัยข้นึ มีการเรียนรู้ ท่ีจะปรับตัวให้เพื่อนฝูงยอมรับได้ดีข้ึน รู้จักยอมรับฟังและทำตามความคิดเห็นของผู้อ่ืนได้ เด็กวัยน้ี ยงั เล่นรวมกันท้ัง เด็กหญิงและเด็กชายและชอบเล่นกิจกรรมทีม่ ีการเคลื่อนไหวท้ัง ตัวเช่น วิ่งไล่จับกัน ต่อเมื่อเข้าวัยเด็กตอนปลายชอบเล่นเป็นทีมและชอบกิจกรรมท่ีมีกฎเกณฑ์มากข้ึนให้ความร่วมมือกับ หมู่คณะดีขนึ้ เพราะเป็นวัยรวมหมู่รวมพวก เดก็ ชอบเลยี นแบบกนั ทำอะไรเหมอื นๆ กนั ๒.๔ พฒั นาการทางสติปัญญา พฒั นาการทางสติปัญญา หมายถึง ความสามารถที่จะกิจกรรมทางสมองให้บรรลุผล ตามที่ตนต้องการได้ตามเป้าหมายท่ีวางไว้ คนท่ีมีเชาวน์ปัญญาสูงจะสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับ สถานการณ์ใหม่ๆได้ และรู้จักวางโครงการให้ตรงจุดประสงค์กับงานท่ีตนทำอยู่ การที่จะช่วยให้เด็ก สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้ดีเพียงใดนั้น ก็จะต้องจัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลายๆ อยา่ งอยู่เสมอ ซ่ึงจะเป็นทางให้เกิดการเรยี นรอู้ ันเป็นทางเพ่ิมพนู ความงอกงามทางปัญญา ๒.๕ องค์ประกอบท่ีจะช่วยให้เกิดพฒั นาการทางสตปิ ัญญา ๒.๕.๑ สิ่งเร้า สิ่งเร้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้นให้เด็กมีกิจกรรมต่างๆหรือ มปี ระสบการณ์ ใหม่เพ่ือการเรียนรู้ได้ ซ่ึงได้แก่ ความสนใจ ความต้องการ ทัศนคติของบิดามารดาท่ีมี ต่อเด็ก ส่ิงเร้าต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กมีความพร้อมท่ีจะทำกิจกรรมต่างๆ และเข้าใจตัวเองได้ว่ามี ความสามารถมากนอ้ ยเพยี งใดในการทำกิจกรรมน้ันๆ ๒.๕.๒. แรงจงู ใจ เด็กวยั นี้ชว่ งความสนใจยังอย่ใู นระยะส้ันและมีความสนใจ ในส่ิงใหม่ๆ เกิดข้ึน ความสนใจท่ีมีมากคือ สนใจในการเล่น โรงเรียนควรจะได้จัดให้มีการเล่น ผสมผสานกับการเรียนให้เหมาะสม นอกจากนั้น ยังสนใจสัตว์เล้ียง ภาพระบายสี เพลง นิทาน เมื่ออ่านออกแล้วก็สนใจ การอ่านชอบอ่านหนังสือนิทาน นิยายเร่ืองนางฟ้า อ่านเรื่องการ์ตูน และ ผจญภัย เรื่องทางวิทยาศาสตร์ ผู้ใหญ่ไม่ควรเร่งเร้าให้เด็กสนใจในสิ่งท่ีผู้ใหญ่พอใจมากเกินไป ตอ้ งให้เดก็ มีอิสระและตดั สินใจด้วยตนเอง พั ฒ น าการ ท างส ติ ปั ญ ญ าข อ งเด็ ก ใน วัย น้ี เกิ ด จ าก การ ที่ เด็ ก ได้ เรี ย น รู้ ส่ิ งให ม่ ๆ ในโรงเรียน โดยเฉพาะจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ การได้เห็นภาพยนตร์และโทรทัศน์ ทำให้ รู้จักค้นคว้าลงมือทำเอง เหล่านี้เป็นมูลเหตุสำคัญทำให้เด็กสามารถพึ่งตนเองได้มากข้ึน เรื่อยๆ พัฒนาการทางปัญญาที่เห็นชัดคือ มีจินตนาการสูงข้ึน เพราะได้รากฐานจากการอ่าน มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรคท์ ีจ่ ะคดิ ทำและประดิษฐส์ ง่ิ ต่างๆ ทัง้ ที่เปน็ งานอดเิ รกและกิจกรรมในชั้นเรยี น ๓ คณุ ลกั ษณะของผู้เรยี นระดับมัธยมศกึ ษา ผเู้ รียนระดับมธั ยมศึกษาจะมี ๒ ระดบั คอื มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศกึ ษาตอนปลาย เด็กมธั ยมศึกษาตอนต้นอายปุ ระมาณ ๑๐ ปีขน้ึ ไป ถงึ ๑๔ ปี

จติ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๘๙ เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายอายุประมาณ ๑๔ – ๑๘ ปีลักษณะของเด็กระดับมัธยมศึกษาน้ัน ในช่วงนี้เด็กส่วนใหญ่จะยังคงสูงข้ึนและน้ำหนักเพ่ิมขึ้น อย่างสม่ำเสมอ ถ้าเด็กคนใดมีกระบวนการ เจรญิ เติบโตเร็วก็จะเขา้ สรู่ ุ่นหน่มุ สาวเร็ว ๓.๑ พัฒนาการทางรา่ งกาย ๓.๑.๑ แสดงวุฒภิ าวะทางเพศ ๑) เดก็ หญิง ๒) สะโพกขยายออก ทรวงอก จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะ เพศและมีระดู (ขึน้ อยกู่ ับอัตราพัฒนาการเร็วช้าของเดก็ หญงิ ) ๓) เด็กชาย ๔) กลา้ มเน้อื ใหญ่มากกวา้ งข้ึน ๕) มีขนตามแขนและหนา้ แข้ง ๖) เสียงหา้ วขน้ึ และเปลี่ยนเม่อื อายุ ๑๔ ปี เต็ม มนี ้ำอสุจิ เคลื่อนไหวในเวลาหลับ ๓.๑.๒ ความสงู จะพ่งุ ขึ้น อย่างรวดเรว็ น้ำหนักจะเพ่ิมตามตัวไปดว้ ย ๓.๑.๓ ในชว่ งอายุ ๑๐ – ๑๔ ปี ๑) สว่ นสงู เด็กชาย – อัตราการเพม่ิ สว่ นสูง ๖ – ๘ ช.ม./ปี เด็กหญงิ – อตั ราการเพ่ิมส่วนสงู ๕ – ๖ ช.ม./ปี ๒) น้ำหนักตัว เดก็ ชาย – นำ้ หนักตัวจะเพ่มิ ๕ – ๖ กก./ปี เด็กหญงิ – น้ำหนกั ตัวจะเพ่ิม ๔ – ๕ กก./ปี ๓) กล้ามเน้ือ น้ำหนักของกล้ามเน้ือ ในร่างกายประมาณร้อยละ ๔๐ ของน้ำหนักตัว เด็กชายจะมีกล้ามเน้ือ ขนาดใหญ่ และแข็งแรงกว่าเด็กชาย เด็กในวัยนี้เป็นวัย ทมี่ สี ขุ ภาพดที ีส่ ดุ ในชวี ติ ท้ังน้ีเพราะเดก็ มปี ระสบการณ์การเรยี นรู้ท้งั ในชั้นเรียน ทำให้มคี วามต้านทาน โรคติดต่อได้ มีความสนใจกีฬาท่ีต้องใช้กำลังใช้ความว่องไว ถ้าเด็กออกกำลังกลางแจ้ง สม่ำเสมอ เด็กจะมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง สมส่วนคล่องแคล่ว เดก็ วัยนี้ชอบการผจญภัยและการต่อสู้ เด็กวัย นี้จงึ ประสบอบุ ตั ิเหตบุ ่อยครั้ง แตก่ ส็ ง่ ผลดีให้เด็กมีความอดทนมากขึ้น ๓.๒ พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยน้ีมีความกังวลใจ เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของบุคคลในครอบครัวมาก ทสี่ ุด นอกจากน้ีเด็กยังกลวั ความผิดหวังในการเรยี น และกลัวการเสียหนา้ ในหม่เู พอื่ นฝูงความต้องการ เด็กวัยนี้ มคี วามต้องการเพม่ิ ข้นึ จากวยั เดก็ ตอนกลางหลายอยา่ งดงั น้ี ๑. ความต้องการเลน่ กีฬาทชี่ ว่ ยพฒั นาทักษะ ๒. ตอ้ งการอาหารทีม่ ีคุณค่า ๓. ต้องการพักผ่อนอย่างพอเพียง ๔. ตอ้ งการแนะนำใหเ้ ข้าใจสภาวะความเจรญิ เติบโตตามธรรมชาติ ๕. ต้องการไดร้ ับรองความสามารถ และการได้เขา้ เปน็ สว่ นหนง่ึ ของกลุ่ม ๖. ตอ้ งการความรัก ความอบอุ่น และความยกย่องชมเชยจากผใู้ หญ่

จิตวทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว ๙๐ ๗. ต้องการสถานที่ เคร่ืองมือ เคร่ืองใช้ และหนังสือท่ีช่วยให้ความคิด ในการทำกิจกรรมรเิ ริม่ สร้างสรรค์ หรอื ใช้กำลงั เคล่อื นไหว โดยท่ีผใู้ หญ่ไมบ่ ังคบั ๓.๓ พฒั นาการทางสังคม ในวัยนี้เด็กหญิงและเด็กชายเล่นด้วยกันน้อยลง แต่ก็มีความสนใจซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์ระหว่างเพศเกิดข้ึน อย่างไรก็ดีเด็กสนใจการรวมกลุ่ม และมีความรักกลุ่มมากต้องการ ให้กลุ่มยอมรับตน เด็กชายจะมีการคบกันเป็นแก๊ง และจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การผจญภัย การขัด ขืนคำห้ามของผู้ใหญ่ ชอบรวมกันต่อต้านผู้ใหญ่ ในเร่ืองนี้ครูท่ีเข้าใจ ควรปล่อยให้เด็กได้ทำส่ิงท่ีเขา ต้องการไปก่อน ไม่บังคับเสียทีเดียว แต่ช่วยให้โน้มน้าวและแนะนำแก้ไขภายหลัง ท้ังนี้จะทำให้เด็ก เรียนรกู้ ารแก้ปัญหาจากประสบการณ์ทีไ่ ด้มาเองด้วยความสนใจ เดก็ วัยน้ีสนใจการเลน่ โดยมากจะยึด การเล่นเป็นการระบายความเครียด เพราะกิจกรรมท่ีเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นความต้องการ ของร่างกายและจิตใจผู้ใหญ่ควรหาเคร่ืองเล่นที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ตามท่ีเด็กต้องการให้ เพ่ือให้เด็ก สามารถวางโครงการทำกิจกรรมของตนเองได้ เด็กชายวัย ๑๐ ขวบ จะสนใจการเล่นเป็นทีม แสดงความซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะ ชอบการเล่นกลางแจ้งที่มีกฎเกณฑ์ นอกจากน้ี ยังชอบเล่นว่ิงแข่ง เล่นโลดโผนใช้ความว่องไว ใช้เคร่ืองยนต์กลไก ส่วนเด็กหญิงชอบการครัว การตัดเย็บ ตกแต่งบ้าน และการแสดงท่ีเก่ียวกับเรื่องจริง กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้นับว่าเป็นประโยชน์มาก นอกจากจะช่วย ให้เด็กได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยังทำให้เด็กมีความรู้มากข้ึน ด้วยนอกจากการเล่นแล้ว เด็กวัยนี้ ยงั สนใจการสะสมเป็นงานอดเิ รกกนั มาก ดังน้ัน ถ้าผู้ใหญ่เข้าใจและแนะแนวให้เด็กรู้จักสะสมสิ่งท่ีเป็นประโยชน์ เช่น สะสม แสตมป์ก็จะเป็นกิจกรรมที่ให้คุณค่าทางการศึกษา และสร้างจิตนิสัยที่ดีงาม เพราะเด็กจะได้เรียน การแยกประเภทและช่วยให้มรี ะเบียบจดั เข้ากลุ่มได้ด้วย ๓.๔ พัฒนาการทางสติปญั ญา เด็กในระดับมัธยมศึกษาน้ีพัฒนาการทางสมองเจริญอย่างรวดเร็ว จนถึงขีดสุดอายุ ๑๘ ปี ในช่วงน้ีเด็กจะมีความจำและสมาธิดี ความคิดก็เจริญกว้างไกลข้ึน มีจินตนาการมากข้ึน โดยเฉพาะการฝนั กลางวนั นอกจากน้ีแล้ว เด็กวัยนี้ยังมีความสามารถในการใช้ เหตุผลมากข้ึน มีความสามารถ ในทางใช้คำพูดท่ีเป็นนามธรรมสูง เข้าใจความหมายของคำพูดได้ถูกต้อง และสามารถให้คำจำกัด ความแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ สำหรับเด็กท่ีมีความสามารถในการใช้คำพูดท่ีเป็นนามธรรมสูง ก็จะสามารถปรับตวั ให้เขา้ กับสถานการณใ์ หม่ๆ ไดอ้ ย่างรวดเรว็ และเหมาะสม ๔ คณุ ลกั ษณะของผ้เู รยี นระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ ๑๗ – ๑๘ ถึง ๒๑ – ๒๕ ปี ซึ่งยังคงอยู่ ระหว่างวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น นับว่าเป็นระยะที่มีความสำคัญอย่างย่ิงในช่วงวัย พฒั นาการของมนุษย์ เพราะเป็นระยะทีมคี วามสมบรู ณ์ทั้ง ทางดา้ นรา่ งกาย การทำงานของอวยั วะทุก ส่วนมีการดำเนินไปอย่างมปี ระสิทธิภาพสูงสดุ วัยน้ีจะเป็นวัยที่ใช้ชีวิตในขั้น อุดมศึกษา เป็นระยะท่ีมีการเปล่ียนแปลงตำแหน่งทางสังคม เป็นเหตุให้มีการพัฒนาแบบแผนของพฤติกรรมที่จะเป็นผู้ใหญ่ รวมถึงพัฒนาพฤติกรรมที่มุ่งไป สจู่ ุดมงุ่ หมายทห่ี วังไว้ ซงึ่ กห็ มายความวา่ จะต้องเรยี นรู้ลักษณะที่จะตอ้ งเป็นผู้ใหญม่ ากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะ อยา่ งย่ิงในด้านความนึกคดิ และปรัชญาชวี ติ

จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ๙๑ ๔.๑ ลกั ษณะของการพัฒนาการ การปรับตัวของวัยนี้จะพัฒนามาต้ัง แต่วัยรุ่นตอนต้น และค่อยๆ สมบูรณ์แบบขึ้น ทั้งน้ีข้ึน อยู่กับบุคลิกภาพ ส่ิงแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดูรูปแบบของปัญหามักอยู่ในเร่ืองการปรับตัว ในสังคม ครอบครัว ส่ิงดึงดูดความสนใจ เศรษฐกิจความสำเร็จทางการศึกษา และความสัมพันธ์ ระหว่างเพศ ๔.๒ พฒั นาการทางรา่ งกาย วัยนี้ส่วนใหญ่ร่างกายจะพัฒนาเต็มที่ แต่ลักษณะบางส่วนอาจจะยังไม่พัฒนาเต็มท่ี แต่จะค่อยๆ พัฒนาต่อไป ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับโอกาสของการเรียนรู้และการช่วยเหลือส่งเสริมของบุคคล ที่อยู่ใกล้ชิด ในช่วงน้ีเน่ืองจากมีการแบ่งแยกหน้าที่ของกล้ามเน้ือประเภทต่างๆ จึงรู้จักควบคุม และใช้อวัยวะต่างๆ ได้คล่องแคล่วขึ้น นอกจากนี้ระบบกล้ามเนื้อจะเจริญเติบโต ซ่ึงร่างกาย ก็จะใหญ่โตแข็งแรง ลักษณะแต่เดิมที่ดูเก้งก้างนั้นก็ค่อยๆ เปล่ียนแปลงมีส่วนโค้งและเว้ามากข้ึน รูปร่างลกั ษณะจะไดส้ ดั ส่วนดีขน้ึ ดา้ นสว่ นสูงและน้ำหนัก ขึ้นอยู่กบั ปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรม การเลี้ยงดกู ารอนามัย ท้ังก่อนและหลังคลอด การออกกำลังกายและสภาพดินฟ้าอากาศ ช่วงอายุของการบรรลุวุฒิภาวะ ของแต่ละบุคคลจะมีอิทธิพลต่อขนาดของรูปร่าง คนท่ีบรรลุวุฒิภาวะช้ามักจะมีรูปร่างช้ากว่าพวก ที่บรรลุวุฒิภาวะเร็ว และบุคคลท่ีบรรลุวุฒิภาวะเร็วจะมีน้ำหนักมากกว่าด้วยวัยนี้หัวใจจะโตเป็นปกติ กระเพาะอาหารจะใหญแ่ ละลำไส้ยาวขึ้น ช่วงน้ีระบบย่อยอาหารจะทำงานช้าลง ทำให้อัตราการเจริญ อาหารลดลง ๔.๓ พัฒนาการทางอารมณ์ อารมณ์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษาระยะน้ีอารมณ์ท่ีรุนแรงค่อยๆ สงบลง มีความสุขุมเยือกเย็น สุภาพข้ึน มีความอดกล้ัน ด้านความรู้สึกมากข้ึน ความกลัวในสิ่งต่างๆ น้อยลง แต่ความวิตกกังวลใจเพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะเกี่ยวกับปมด้อยของตนเอง และสถานการณ์ต่างๆ ที่ตนนึกฝัน ถึง แต่อย่างไรก็ตามเขาก็มักจะยืนหยัดต่อสู้แม้จะมีความกลัวความวิตกกังวลอยู่มากก็ตาม ความวิตก กงั วลของวัยนี้อาจเกิดจากสาเหตุ ๒ ประการ ดงั นี้ ๔.๓.๑. ความวิตกกังวลด้านประสาท ซึ่งเป็นผลจากความรู้สึกไม่เท่าเทียม กับคนอื่น ทำใหบ้ างคร้ังเกิดพฤติกรรมกลไกในการปรับตัว (Defence mechanism) อันเป็นสาเหตุให้ เกดิ การฝนั กลางวนั ๔.๓.๒. ความวิตกกังวลด้านสังคม เกิดกังวลใจในสภาวะสงั คม ความมีหน้า มตี า ซึ่งก็แสดงออกโดยการแต่งกาย บ้านที่อยู่ ยานพาหนะที่จะใช้ โทรศัพท์มอื ถือ ฯลฯ และจะยึดถือ วัตถุเหลา่ นี้มากข้นึ ในวัยน้ีจะมีท้ัง อารมณ์น่าพึงประสงค์และไม่น่าพึงปรารถนา ระคนปนกัน ไปอันได้แก่ ความกลัว ความกังวลใจ ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความพอใจ ร่าเริง สนุกสนาน ความรักและความอยากรู้อยากเห็น เหล่าน้ีย่อมจะก่อให้เกิดพฤติกรรมในรูปต่างๆ ตามลักษณะ ของอารมณ์ ผู้ที่รู้สึกตนมีปมด้อยน้อยหน้าไม่เทียบทันเพ่ือนฝูงก็มักเป็นคนเก็บตัว เหนียมอายหรือไม่ ก็อิจฉาริษยาผู้ท่ีมีอะไรๆ ดีกว่าเหนือกว่า ส่วนผู้ท่ีมีปมเด่นก็มักชอบอวดอ้างหรือแสดงตน และช่วงนี้ อยใู่ นระยะทกี่ ำลังเรยี นรู้ เพือ่ ควบคมุ อารมณ์และพฤตกิ รรมของตนเอง การบรรลวุ ุฒิภาวะทางอารมณ์ ท่ีเกิดทันที แต่จะชะลอดคู วามเหมาะสมตามกาลเทศะ