Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 51นักการเมืองถิ่นหนองบัวลำภู

51นักการเมืองถิ่นหนองบัวลำภู

Description: เล่มที่51นักการเมืองถิ่นหนองบัวลำภู

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู ระดับชาติที่จะต้องทุ่มเงินซื้อเสียง พร้อมจัดตั้งฐานอำนาจ ในแต่ละท้องถิ่นโดยอาศัยระบบอุปถัมภ์เป็นตัวนำไปสู่ความ สำเร็จในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง พรชัย เทพปัญญา (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นกั การเมอื ง ถิ่นจังหวัดปทุมธานี ผลการศึกษาพบว่า 1. นักการเมืองถิ่นส่วนใหญ่มีภูมิหลังทางการศึกษาที่ดี มีสภาพทางเศรษฐกิจดีและมีสังคมที่เอื้ออำนวยต่อการเป็น นักการเมือง 2. นกั การเมอื งสว่ นใหญจ่ ะอยใู่ นกลมุ่ ตระกลู หาญสวสั ด์ิ นอกจากนั้นจะได้รับเลือกตั้งเพราะชื่อเสียงของตน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองถิ่นภายในจังหวัด ปทุมธานีมีน้อย 4. การหาเสียงของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองและนโยบายพรรค 5. กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับ ส.ส. น้อย 6. การรวมตัวของกลุ่มตระกูลหาญสวัสดิ์กับพรรคไทย รักไทยถือว่าเป็นการรวมกันระหว่างอิทธิพลท้องถิ่นกับอิทธิพล ระดับชาติ ณรงค์ บุญสวยขวัญ (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมือง ถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ปฏิบัติการ ทางการเมืองจะสัมพันธ์กันทั้งบริบทการเมืองระดับชาติและ 34

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง บริบทสังคมวิทยา ในส่วนของภาพลักษณ์นักการเมืองถิ่น จะเป็นผู้มีความรู้สูง มีการศึกษาค้นคว้าตลอดเวลา มีความ ใกล้ชิดกับประชาชน มีระบบอุปถัมภ์ภายใต้โครงการพัฒนา ทางกายภาพ มีความสามารถในการสร้างวาทกรรมทาง การเมือง มีความกล้าหาญที่จะชี้นำประชาชนให้เห็นความไม่ ถูกต้อง ความไม่เหมาะสมของข้าราชการและคู่ต่อสู้ทาง การเมืองอย่างไม่เกรงกลัว เน้นกลวิธีการหาเสียงมากกว่า การเมืองเชิงนโยบาย กระบวนการสร้างเครือข่ายการหาเสียง ในช่วงแรกมีการใช้พรรคพวก ญาติ เครือข่ายวิชาชีพครู เครือข่ายสถาบันการศึกษาหรือชมรมศิษย์เก่าของสถาบัน การศึกษา เครือข่ายสตรี กลไกศาสนาและนักการเมืองจาก พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคหลักที่ชนะการเลือกตั้งต่อเนื่อง มาหลายสมัย พยายามจะเชื่อมโยงสภาพความเป็นนักการเมือง ประชาธิปัตย์กับความมีมาตรฐานทางการเมืองถิ่น บูฆอรี ยีหมะ (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมือง ถิ่นจังหวัดปัตตานี พบว่า การเมืองของปัตตานีสามารถแบ่ง พัฒนาการได้เป็น 3 ยุคคือ ยุคแรก (พ.ศ. 2476-2528) เป็นการต่อสู้ช่วงชิงทาง การเมืองระหว่างตระกูลอดีตเจ้าเมืองกับตระกูลนักการศาสนา และเครือข่าย โดยตระกูลอดีตเจ้าเมืองได้แก่ ตระกูลพิพิธภักดี และตระกูลอับดุลบุตร ส่วนตระกูลนักการศาสนาประกอบด้วย ตระกูลอับดุลกาเดร์หรือโต๊ะมีนา โดยภาพรวมเป็นการต่อสู้กัน ในการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง โดยใช้อำนาจและอิทธิพลของ นักปกครองกับอำนาจอิทธิพลทางจิตวิญญาณ 35

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ยุคที่สอง (พ.ศ. 2529-2543) มีการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองในพื้นที่ปัตตานีคือการรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส. และ อดีต ส.ส. ที่กระจายอยู่กับพรรคการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้เกิดกลุ่ม “วะดะห์หรือ เอกภาพ” เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพรรคการเมืองทั้งในเชิง การผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และการรับตำแหน่ง ทางการเมืองของสมาชิกกลุ่มและสมาชิกกลุ่มนี้ได้รับความ สำเร็จทางการเมืองสูงมากในยุครัฐบาลพรรคความหวังใหม่ ในขณะเดียวกันก็เกิดการต่อสู้กับฐานการเมืองของพรรค ประชาธิปัตย์โดยมี ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นแกนนำสำคัญ และแนวทางการต่อสู้ของนักการเมืองสองฝ่ายนี้ก็ใช้แนวทาง การต่อสู้ผ่านการอธิบาย การทำลายความน่าเชื่อถือด้วย หลักการหรือคำอธิบายตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น วิธีการ ประกอบพิธีกรรมการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ สตรีกับสิทธิ ทางการเมือง โดยที่กลุ่มวะดะห์ใช้ฐานสำนักงานคณะกรรมการ อิสลามประจำจังหวัดปัตตานีเป็นฐานสังคมในขณะที่พรรค ประชาธิปัตย์ใช้ฐานโต๊ะครูเจ้าของปอเนาะเป็นฐานทางสังคม ยุคปัจจุบัน (2544-2549) เป็นยุคเฟื่องฟูของนโยบาย พรรคไทยรักไทย ซึ่งหลายประเด็นที่ทำให้มีมุสลิมในจังหวัด ปัตตานีปฏิเสธนโยบายประชานิยม และวิธีการปฏิบัติทาง การเมืองในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลส่งผลให้กลุ่มวะดะห์แพ้ การเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครหน้าใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นพฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมืองและ การเมืองในจังหวัดปัตตานีมีความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับ 36

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ศาสนา นักการเมืองใช้ศาสนาเป็นฐานในการเคลื่อนไหว ทางการเมืองหรือกลยุทธ์ในการเลือกตั้งทั้งในเชิงของเนื้อหา สาระหลักปฏิบัติทางศาสนาและในเชิงขององค์กรทางศาสนา ได้แก่ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือโต๊ะครูเจ้าของ โรงเรียนปอเนาะหรือโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด ชาญณวฒุ ไชยรกั ษา (2549) ไดศ้ กึ ษาวจิ ยั นกั การเมอื ง ถิ่นจังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาพบว่าในช่วงแรกผู้ได้รับการ เลือกตั้งจะเป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการและเป็นกลุ่ม บุคคลชั้นนำในสังคมจนถึง พ.ศ. 2512 สภาพการเมืองเริ่ม เปลี่ยนแปลงไปนักการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจะเป็นผู้มีความ ผูกพันกับจังหวัดพิษณุโลกอย่างใกล้ชิดกับประชาชนมาตั้งแต่ รุ่นบิดา มารดาบางคนมีบิดามารดาเป็นนักการเมืองท้องถิ่น มาก่อน บางคนเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง บางคนบิดาเคยเป็น ส.ส. มาก่อน สำหรับยุทธวิธีการหาเสียงมีหลายรูปแบบ เช่น การพบปะชาวบ้านในพื้นที่เลือกตั้งเพื่อคลุกคลี พูดคุยสร้าง ความคุ้นเคยทั้งก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง การปราศรัยหา เสียง การฉายหนังกลางแปลงแล้วคั่นด้วยการปราศรัยหาเสียง การใช้สื่อประชาสัมพันธ์และการใช้รถแห่กระจายเสียงเป็นต้น ในส่วนของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลือกตั้งนั้น ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ของผู้สมัครที่มีต่อชุมชน 2. ค่าใช้จ่ายในการใช้หาเสียง 3. การมีเครือข่ายทางสังคมของผู้สมัคร 37

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู 4. ความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับท้องถิ่นและผู้นำ ชุมชน 5. การสร้างระบบอุปถัมภ์ผ่านการช่วยเหลือในลักษณะ ต่างๆ ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง (2550) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั เชยี งราย ผลการศกึ ษาพบวา่ นกั การเมอื ง ถิ่นจังหวัดเชียงรายมี 3 กลุ่มอาชีพคือ นักธุรกิจ นักกฎหมาย และอดีตข้าราชการ ความนิยมของประชาชนมีต่อตัวบุคคล ผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าความนิยมต่อนโยบายพรรค ซึ่งจะ เห็นได้จากการเลือกตั้งส่วนใหญ่นักการเมืองจังหวัดเชียงราย จะเปลี่ยนพรรคอยู่เสมอ แต่โดยภาพรวมความสัมพันธ์ในระบบ เครือญาติจะผูกโยงต่อสถานภาพการดำรงตำแหน่งทาง การเมืองระดับชาติมีน้อย มีผู้แทนราษฎรที่เป็นสตรีเพียง 3 คน (ร้อยละ 5.77) ในขณะที่เป็นเพศชาย 49 คน (ร้อยละ 94.23) ผู้ได้รับการเลือกตั้งบางรายไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงราย ไม่มีอาชีพ ไม่มีธุรกิจอยู่ในจังหวัดเชียงรายก็สามารถได้รับการ เลือกตั้งเป็น ส.ส. เชียงรายได้ หากนักการเมืองและผู้มีอิทธิพล ในท้องถิ่นให้การสนับสนุนกลยุทธ์การหาเสียงที่นำมาใช้มี หลากหลายวิธี ได้แก่ การแจกสิ่งของ แจกเงิน การปราศรัย การใชแ้ ผน่ ปลวิ การตดิ ปา้ ยประชาสมั พนั ธ์ การพาไปทศั นศกึ ษา การพนันขันต่อ การซื้อบัตรประชาชน การสัญญาว่าจะให ้ การใช้อิทธิพลข่มขู่ สุเชาวน์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ผลการ 38

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาวิจัยพบว่า ภูมิหลังและอาชีพของนักการเมืองในจังหวัด อุบลราชธานี สามารถแบ่งได้เป็น 2 ยุคคือ ยุคของนักการเมือง ที่เป็นข้าราชการ (พ.ศ.2476-พ.ศ. 2514) และยุคของนักธุรกิจ การเมือง (พ.ศ. 2518- พ.ศ. 2548) นักการเมืองมีการรวมกลุ่ม กันเป็นบางช่วงเพื่อช่วยเหลือกันในการเลือกตั้ง ในส่วนรูปแบบ การหาเสียงในอดีตและแตกต่างจากปัจจุบัน โดยที่ในอดีตจะใช้ การปราศรัยในแหล่งชุมชน มีเครือญาติและเพื่อนช่วยเหลือ แต่ในยุคปัจจุบันใช้วิธีการบริหารจัดการหัวคะแนนในชุมชน ควบคู่ไปกับระบบอุปถัมภ์ การเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ที่มีวิธีการบริหารจัดการหัวคะแนนที่ดี จะชนะการเลือกตั้ง นิรันดร์ กุลฑานันท์ (2549) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เครือข่ายความสัมพันธ์ ระหว่างนักการเมืองจะเป็นความสัมพันธ์ผ่านการทำธุรกิจและ การแบ่งปันผลประโยชน์ งบประมาณพัฒนาในพื้นที่เลือกตั้ง มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและผ่านกลุ่มผลประโยชน์ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์กรกู้ภัย ส่วนความสัมพันธ์ ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมืองจะสัมพันธ์ผ่านมุ้ง การเมืองที่ตนสังกัดอยู่ ในด้านวิธีการหาเสียงมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การเดินเคาะประตูบ้าน การจัดมหรสพแล้วปราศรัย หาเสียง การทำโปสเตอร์ ป้ายโฆษณา การแจกสิ่งของ เช่น ลูกเป็ด กล้าไม้ รองเท้า น้ำปลา อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า แจกเงิน ในด้านรูปแบบการจัดตั้งหัวคะแนนจะเริ่มจากรูปแบบ ง่าย ๆ ผ่านผู้นำท้องถิ่นข้าราชการผู้นำกลุ่มสตรีมาเป็นการวาง เครือข่ายคล้ายธุรกิจขายตรง มีสัดส่วนหัวคะแนนต่อผู้ใช้สิทธิ 39

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู เล็กลง มีการจัดตั้งกองทุนให้กลุ่มชาวบ้าน การอบรม การพาไป ศึกษาดูงาน การจัดเลี้ยง การแจกเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น รักฎา เมธีโภคพงษ์ และวีระ เลิศสมพร (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ จากการ ศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่สามารถจำแนกได้ ดังนี้คือ อดีตข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบุคลากร ทางการศึกษา นักธุรกิจ บุคคลที่มีตำแหน่งในสมาคม/ชมรม อดีตข้าราชการในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค นักกฎหมาย และบุคลากรด้านสื่อสารมวลชน ส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็น,นักการเมืองชาย มีนักการเมืองหญิงเพียง 4 คน โดยใน จำนวนนี้มีความสัมพันธ์กับนักการเมืองคือ เป็นคู่สมรส 2 คน และญาติ 1 คน ความนิยมพรรคการเมืองของประชาชนจังหวัด เชียงใหม่ นับตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปี 2539 พรรคการเมืองที่ได้รับ ความนิยมจากประชาชน และได้ที่นั่ง ส.ส. จากจังหวัดเชียงใหม่ ค่อนข้างสม่ำเสมอ มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไปในแต่ละ ยุคสมัย ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ยกเว้นในการเลือกตั้งครั้งที่ 15 (24 กรกฎาคม 2531) การเลือกตั้งครั้งที่ 18 (2 กรกฎาคม 2538) และในช่วงปี 2544-2548 ซึ่งกระแสความนิยมของพรรค ไทยรักไทยในจังหวัดเชียงใหม่มีสูง วิธีการ และกลวิธีการ หาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ มีหลายรูปแบบ ได้แก่การใช้ความสามารถเฉพาะตัวที่โดดเด่น การหาเสียงแบบเข้าถึงชาวบ้าน การแจกใบปลิวและการใช้ เครือข่าย ส่วนบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ พบว่า ครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ ลูกค้า รวมทั้งภูมิลำเนาเดิม ล้วนเป็นปัจจัย 40

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง สำคัญที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด เชียงใหม่ให้ได้รับการเลือกตั้ง พิชญ์ สมพอง (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมือง ถิ่นจังหวัดยโสธร ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นยโสธร จำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มนักสื่อสารมวลชน กลุ่มครู อาจารย์ ข้าราชการเก่า และนักกฎหมาย กลุ่มนักการเมือง ท้องถิ่นและนักธุรกิจเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่พบจะเป็นบิดา– บุตร 1 คู่ นอกนั้นจะเป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายกับกลุ่ม ผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ทางสังคม และวัฒนธรรม พรรคการเมืองคือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง มีบทบาทสูง ต่อนักการเมืองถิ่นยโสธร นักการเมืองถิ่นยโสธรมีการเปลี่ยน สังกัดพรรคตามวาระของรัฐบาล โดยพรรคใดเป็นรัฐบาลบริหาร ประเทศ นักการเมืองถิ่นยโสธรก็สังกัดพรรคนั้น ส่วนกลวิธี สำคัญในการหาเสียงได้แก่ การลงพื้นที่พบประชาชนโดย สม่ำเสมอ การให้ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือในรปู แบบต่าง ๆ ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่น จังหวัดเลยส่วนใหญ่เป็นชาย มีอาชีพธุรกิจก่อนเข้ามาดำรง ตำแหน่งทางการเมือง รูปแบบการหาเสียงและวิธีการสร้าง คะแนนนิยมของนักการเมืองถิ่นใช้การเดินหาเสียงกับประชาชน ในหมู่บ้าน มีใบปลิว โปสเตอร์หาเสียง ฉายภาพยนตร์ มีจัด เลี้ยงสุราอาหาร แจกสิ่งของหลายประเภท และชูภาพลักษณ์ หัวหน้าพรรคหรือหัวหน้ากลุ่มการเมือง มีการปล่อยข่าวลือ 41

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู โจมตีว่าร้ายคู่แข่งขันทางการเมือง การเลือกตั้งจากปี 2518 เริ่มมีการใช้เงินซื้อเสียง การจัดเลี้ยง และการจัดตั้งระบบ เครือข่ายหัวคะแนนในพื้นที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นนักธุรกิจ ปราศรัยหาเสียงน้อย การสร้างคะแนนนิยมจะอาศัยการจ่าย เงิน และอุปถัมภ์หัวคะแนนการเลือกตั้งนับจากปี 2538 เป็นต้น มามีการนำรูปแบบการบริหารจัดการเชิงธุรกิจมาใช้ในการสร้าง ฐานคะแนนเสียงทางการเมือง ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ ที่ใกล้ชิดกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดเลยเพื่อควบคุม และ ใช้ประโยชน์จากกลไกราชการ ในขณะเดียวกันนักการเมือง จะอยู่ในการควบคุมการช่วยเหลือของหัวหน้ากลุ่ม (มุ้ง) การเมืองเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางอำนาจการเมือง และ รองรับการกระจายผลประโยชน์ บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์เริ่มมีบทบาท และมีความ สัมพันธ์กับนักการเมืองถิ่นอย่างเด่นชัดนับจากการเลือกตั้งในปี 2512 คือ กลุ่มสัมปทานป่าไม้ และกลุ่มค้าส่งค้าปลีก ต่อจาก นั้นเป็นกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเริ่มเข้าสู่การเมืองในปี 2529 ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ นักการเมืองถิ่นได้แก่ กลุ่ม อสม. กลุ่มสตรี เครือข่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ เงินค่าตอบแทน และระบบอุปถัมภ์ทางการเงินเป็นเครื่องมือ หลัก วีระ เลิศสมพร (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมือง ถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาพบว่า ภูมิหลังด้านอาชีพ การงาน ถือเป็นปัจจัยหนุนเสริมต่อเครือข่ายและความสัมพันธ์ กับคนในพื้นที่ โดยจำแนกได้ดังนี้ คือ แพทย์ นักกฎหมาย อดีต 42

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้าราชการในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค อดีตข้าราชการใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรทางการศึกษา นักธุรกิจ พนักงานธนาคาร บุคคลที่มีตำแหน่งในสมาคม/ชมรม และอดีต นักการเมืองระดับชาติ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนักการเมือง ชายทั้งหมด บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์ลูกหา ลูกค้า ฯลฯ ถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัย หนึ่งที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัด แม่ฮ่องสอนให้ได้รับการเลือกตั้ง ส่วนบทบาทและความ สัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2500 – 2550 จากการเลือกตั้งครั้งที่ 7 – 22 เป็นไปด้วยดี โดยไม่มีความขัดแย้งที่รุนแรง วิธีการและกลวิธีหาเสียงในการ เลือกตั้งที่มีส่วนช่วยให้ได้รับการเลือกตั้ง มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ศาลาวัดเป็นกองบัญชาการในการ เลือกตั้ง การเคาะประตูบ้าน การหาเสียงแบบสุภาพ ไม่โจมตี คู่แข่ง การหาเสียงที่เน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน การ พยายามพูดจาภาษาเดียวกันกับชาวบ้าน การปราศรัยที่เน้นใช้ หลักเหตุผลและความมีหลักการเป็นสำคัญ การให้ความสำคัญ กับรปู แบบการนำเสนอภาพลักษณ์ของตนเอง เป็นต้น ภาคภูมิ ฤกขะเมธ (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดตาก ผลการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่น จังหวัดตากมี 2 กลุ่มตระกูลใหญ่ที่วางรากฐานทางการเมือง ได้แก่ ตระกูลไชยนันทน์ และตระกูลตันติสุนทร เป็นกลุ่มที่เป็น นักธุรกิจพ่อค้าในจังหวัด และหากแบ่งกลุ่มทางภูมิศาสตร์ จะพบว่าทั้งหมดเป็นนักการเมืองถิ่นฝั่งตะวันออก สำหรับ 43

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู นักการเมืองถิ่นในฝั่งตะวันตก ได้แก่ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนายแพทย์ถาวร กาสมสัน นักการเมืองเกือบทั้งหมดสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งผูกขาดการเมืองถิ่นในจังหวัด กลวิธี ในการหาเสียงมีความใกล้เคียงกันคือการใช้บัตรแนะนำตัว แผ่นพับใบปลิว การโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยขับรถขยายเสียง การปราศรัย สาเหตุที่ทำให้ได้รับเลือกเกิดจากการเข้าถึง ประชาชนอย่างสม่ำเสมอความจริงใจ ความพร้อมที่จะให้ความ ช่วยเหลือรวมถึงบุคลิกลักษณะที่อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว ประกอบกับมีความพร้อมทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจ ทาง การศึกษา และหากเป็นนักการเมืองอาชีพ ไม่มีผลประโยชน์ทับ ซ้อนก็เป็นสิ่งสนับสนุนทำให้ได้รับการเลือกตั้ง สำหรับกรณี สมาชิกวุฒิสภาต้องมีความสำเร็จทางวิชาชีพและเป็นที่ยอมรับ จากภายนอก ทั้งนี้ส่วนใหญ่มีวุฒิการศีกษาที่ดี อย่างไรก็ตาม หากสามารถสร้างเครือข่ายให้เกิดการยอมรับและศรัทธา และ การรับรู้จากประชาชนในระยะสั้นได้ก็จะสามารถประสบความ สำเร็จได้รับเลือกตั้ง และดัวยโครงสร้างทางสังคมและ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ทำให้ประชาชนชาตาก ยึดถือตัวบุคคล ดังนั้นนโยบายพรรคจะดีเพียงใดก็จะไม่ใช่ ปัจจัยหลักในการได้รับเลือกตั้งในจังหวัดตาก จากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจึงพยายามสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ขึ้นเพื่อ ทำความเข้าใจและทิศทางการศึกษาการเมืองถิ่นจังหวัด หนองบัวลำภดู ังนี้ 44

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 25 แผนภาพที่ 3 : แสดงกรอบแนวคิดทีใ่ ช้ในการวิจยั บรบิ ทสงั คม/สภาพแวดลอ้ มจงั หวดั หนองบวั ลาภู (ปจั จยั นาออก) (ปจั จยั นำเขำ้ ) (กระบวนกำรแปรผำ่ น) รปู แบบที่เกิดขึ้นใน กำรนชท้ รพั ยำกรทำง กำรเขำ้ สกู่ ำรเมอื ง/ การเมืองถ่ิน กำรเมอื ง กำรรกั ษำฐำนกำรเมอื ง - ภมู หิ ลงั ผสู้ มคั ร กำรนชร้ ะบบอุปถมั ภ์ - ควำมสมั พนั ธ์ กำรนชเ้ ครอื ขำ่ ยทำง ระหวำ่ งนกั กำรเมอื ง สงั คม ถน่ิ นนพน้ื ท่ี - ควำมสมั พนั ธก์ บั กลุม่ ผลประโยชน์ท่ี เป็นทำงกำรและไม่ เป็นทำงกำร - ควำมสมั พนั ธก์ บั พรรคกำรเมอื ง - วธิ กี ำรหำเสยี ง ผลสะทอ้ นกลบั แผนภำพที่ 3 : แสดงกรอบแนวคดิ ทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั 45

บ4ทท ่ี ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน จังหวัดหนองบัวลำภู ข้อมูลการเลือกตั้งของจังหวัดหนองบัวลำภู การศึกษาเรื่องการเมืองถิ่นของจังหวัดหนองบัวลำภ ู เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลนักการเมืองถิ่นหนองบัวลำภูนั้น เริ่มมีการ บันทึกนับตั้งแต่ได้แยกการปกครองออกมาจากจังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ.2536 และในยุคนั้นเป็นยุคของการปกครองประเทศ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และเรียกร้อง รฐั ธรรมนญู ฉบบั ใหม่ (รา่ งรฐั ธรรมนญู ฉบบั 2540) ทใ่ี หป้ ระชาชน มีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจังหวัดหนองบัวลำภูได้มี โอกาสจัดการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งสมาชิก สภาผแู้ ทนราษฎร เมอ่ื วนั ท่ี 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 การเลอื กตง้ั ครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต ทั้งจังหวัด มี ส.ส.

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ได้ทั้งสิ้น 3 คน, ต่อมาการเลือกตั้งครั้งที่ 2 เป็นการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต ทั้งจังหวัด มี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คนเช่นเดียวกัน, ต่อมาการเลือกตั้งครั้งที่ 3 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขต ทั้งจังหวัด มี ส.ว. ได้ทั้งสิ้น 2 คน, ต่อมาการเลือกตั้งครั้งที่ 4 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เลือกตั้งๆ ละ 1 คนทั้งจังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คน, ต่อมาการเลือกตั้งครั้งที่ 5 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง ครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งๆ ละ 1 คน ทั้งจังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คน, ต่อมา การเลือกตั้งครั้งที่ 6 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการ เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งๆละ 1 คนทั้งจังหวัด มี 3 เขต เลือกตั้งมี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คนซึ่งแม้ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ ประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ แต่สำหรับการศึกษา ครั้งนี้ต้องการนำผลการเลือกตั้งมาแสดงเพื่อประกอบการ ทำความเข้าใจการเมืองถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภูได้ดียิ่งขึ้น, ต่อมาการเลือกตั้งครั้งที่ 7 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการ เลือกตั้งแบบรวมเขต ทั้งจังหวัด มี ส.ว. ได้ทั้งสิ้น 2 คน, ต่อมา การเลือกตั้งครั้งที่ 8 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 47

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการ เลือกตั้งแบบรวมเขตทั้งจังหวัด มี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คน, ต่อมา การเลือกตั้งครั้งที่ 9 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบ รวมเขตทั้งจังหวัด มี ส.ว. ได้ทั้งสิ้น 1 คน และการเลือกตั้งครั้ง ล่าสุดที่ผู้วิจัยใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ การเลือกตั้งครั้งที่ 10 เปน็ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมอ่ื วนั ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต เลือกตั้งๆละ 1 คนทั้งจังหวัด มี 3 เขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 3 คน ซึ่งผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในจังหวัดหนองบัวลำภูทั้ง 10 ครั้ง ผู้วิจัยจะแสดงดังต่อไปนี้ การเลือกตั้งในจังหวัดหนองบัวลำภูครั้งแรก : 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 อันเนื่องมาจากการยื่นญัตติขอเปิดอภิปราย ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทั้งคณะของพรรคร่วม ฝ่ายค้าน โดยมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ประเด็น หลักในการอภิปราย ได้แก่ การออกเอกสารสิทธิที่ดินทำกินหรือ ส.ป.ก.4-01 ของรัฐบาล และเมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลงแล้ว ก่อนที่จะมีการลงมติในญัตตินี้ พรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วม รัฐบาลพรรคหนึ่งได้มีมติที่จะงดออกเสียงในการลงมติและ รฐั มนตรขี องพรรคทกุ คนจะลาออกจากตำแหนง่ ในคณะรฐั มนตรี ทำให้นายชวน หลีกภัย ตัดสินใจประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 และได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์,2553) 48

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบเขตใหญ่ เรียงเบอร์ เขตหนึ่งมีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งใช้เกณฑ์ราษฎร หนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดได้ 391 คน ส่วนจังหวัด หนองบัวลำภูซึ่งถือเป็นจังหวัดน้องใหม่ในการเลือกตั้งและ การวางรากฐานทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งของ พรรคการเมืองต่างๆในจังหวัดนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ทั้งหมดจำนวน 3 คน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวโดย ถือเขตการปกครองของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง 297,489 คน มาแสดงตนเพื่อขอรับบัตรเลือกตั้งจำนวน 179,515 คน คิดเป็นร้อยละ 60.34 มีจำนวนบัตรดี จำนวน 178,158 ใบ คิดเป็นร้อยละ 99.24 มีจำนวนบัตรเสีย 4,267 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.38 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 2,115 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.19 (กรมการปกครอง, 2538 : น. 129) สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด หนองบัวลำภู เมื่อ 2 กรกฎาคม 2538 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งได้แก่ นายไพรัช นุชิต ผู้สมัคร สังกัดพรรคกิจสังคม นายไชยา พรหมมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา และว่าที่ รอ. สรชาติ สุวรรณพรหม สังกัดพรรคความหวังใหม่ (กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทย,2538) การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังท่ี 2 : 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นจากมีการยื่นญัตติขอเปิด อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ซึ่งประเด็นการอภิปราย 49

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู มุ่งเน้นอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวนายกรัฐมนตรี โดยก่อนที่จะ ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมพรรคร่วมรัฐบาล แต่ละพรรค (วิปรัฐบาล) ได้มีมติขอให้นายบรรหาร ศิลปอาชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนมีการลงมติ ซึ่งต่อมา นายบรรหารไดป้ ระกาศวา่ จะลาออกจากตำแหนง่ นายกรฐั มนตรี ภายใน 7 วัน และจะพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมมาดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ตัดสินใจประกาศยุบสภา ผู้แทนราษฎรแทนการลาออกจากตำแหน่งจึงได้มีการจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (ประกายศรี ศรีรุ่งเรือง, 2550) การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบเขตใหญ่ เรียงเบอร์ เขตหนึ่งมีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งใช้เกณฑ์ราษฎร หนึ่งแสนห้าหมื่นคนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดได้ 393 คน ส่วนจังหวัด หนองบัวลำภูในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ทั้งหมดจำนวน 3 คน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวโดยถือ เขตการปกครองของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 296,114 คน มาทำการใช้สิทธิลงคะแนนจำนวน 188,428 คนคิด เป็นร้อยละ 63.63 มีจำนวนบัตรเสีย 3,972 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.11 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,061 คิดเป็นร้อยละ 2.11 (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย,2539 : น. 34) สำหรับ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 50

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเรียงตามลำดับดังนี้ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ สังกัดพรรคความหวังใหม่ ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม สังกัดพรรคความหวังใหม่และ นายพิชาญ พิบลู ย์วัฒนวงษ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่ การเลือกตั้งในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังท่ี 3 : 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกทั้งสองสภามาจาก การเลือกตั้งโดยตรงและลับของประชาชน พร้อมกำหนด ให้สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชน โดยที่กำหนดให้การเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดๆ จะมี จำนวน ส.ว.เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับสัดส่วนของจำนวนสมาชิก ต่อราษฎรในจังหวัดนั้น และให้จัดการเลือกตั้งเป็นแบบรวมเขต ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้ที่เลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเสียง ได้เพียงเบอร์เดียวและห้ามมิให้ผู้สมัครทำการหาเสียง มีคณะ ผู้จัดการเลือกตั้งที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เรียกว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยภายหลังจากได้มี การประกาศใชร้ ฐั ธรรมนญู และตรากฎหมายประกอบทเ่ี กย่ี วขอ้ ง กับเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภา พรรคการเมือง และคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ก็ได้มีการประกาศวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาอันเป็นการ เลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 4 มีนาคม 2543 โดยในสมัยนั้นมีการ รณรงค์ให้ประชาชนรู้จักบทบาทหน้าที่และวิธีการเลือกตั้ง 51

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู สมาชิกวุฒิสภากันอย่างขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้การ เลือกตั้งครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ขึ้นเป็นครั้งแรก (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์,2553: น. 90) สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้จังหวัดหนองบัวลำภู มีสมาชิก วุฒิสภาได้ทั้งหมดจำนวน 2 คนจากจำนวนทั้งประเทศที่มีได้ ตามรัฐธรรมนูญ 200 คน แบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเดียวโดยถือ เขตการปกครองของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง มีจำนวนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งทั้งหมด 338,724 คน โดยในวันเลือกตั้งมีผู้ออกมาใช้ สิทธิเลือกตั้ง 215,900 คน คิดเป็นร้อยละ 63.73 มีจำนวนบัตรดี 196,318 ใบ คิดเป็นร้อยละ 90.93 บัตรเสีย 13,117 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 6.07 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 5,811 คิดเป็น ร้อยละ 2.69 (งานจัดการเลือกตั้ง,สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งจังหวัดหนองบัวลำภ,ู 2543) สำหรับผลการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งได้แก่ นายธวัชชัย เมืองนาง และ นายสามารถ รัตนประทีปพร การเลือกตั้งในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังท่ี 4 : 6 มกราคม พ.ศ. 2544 เมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และรัฐสภาได้มีการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 รวมทั้งได้มีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ทง้ั นถ้ี อื ไดว้ า่ เปน็ การเลอื กตง้ั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร ค ร ั ้ ง แ ร ก ภ า ย ห ล ั ง จ า ก ก า ร ป ร ะ ก า ศ ใ ช ้ ร ั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห ่ ง 52

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 การเลือกตั้งครั้งนั้นใช้ระบบการ เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง หรือ Party list และ แบบแบ่งเขตเลือกตั้งๆละ 1 คน สำหรับจังหวัดหนองบัวลำภู มีการแบ่งออกเป็น 3 เขตเลือกตั้งประกอบด้วย(งานจัดการ เลือกตั้ง, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด หนองบัวลำภ,ู 2544) เขตเลือกตั้งท่ี 1 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอเมือง หนองบัวลำภู และอำเภอโนนสัง(เฉพาะตำบลบ้านถิ่น ตำบล ปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อและตำบลโนนสัง) จำนวนผู้มี สิทธิเลือกตั้ง 114,660 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 79,489 คน คิดเป็นร้อยละ 69.33 จำนวนบัตรดี 69,154 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 87 จำนวนบัตรเสีย 7,951 ใบ คิดเป็นร้อยละ 10 และ จำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 2,384 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3 เขตเลือกต้ังท่ี 2 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง(ยกเว้นตำบลบ้านถิ่น ตำบลปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อและตำบลโนนสัง) และอำเภอนาวัง (ยกเว้นตำบล วงั ปลาปอ้ ม) จำนวนผมู้ สี ทิ ธเิ ลอื กตง้ั 106,924 คน โดยมผี อู้ อกมา ใช้สิทธิเลือกตั้ง 75,759 คน คิดเป็นร้อยละ 70.29 จำนวนบัตรดี 64,722 ใบ คิดเป็นร้อยละ 86.11 จำนวนบัตรเสีย 9,313 ใบ คิดเป็นร้อยละ 12.39 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,124 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.5 เขตเลือกต้ังที่ 3 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง(เฉพาะตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 111,585 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ 53

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู เลอื กตง้ั 72,384 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 64.87 จำนวนบตั รดี 63,340 ใบ คิดเป็นร้อยละ 87.5 จำนวนบัตรเสีย 7,780 ใบ คิดเป็นร้อยละ 10.75 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,264 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 1.75 โดยภาพรวมในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 จังหวัดหนองบัวลำภูมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 333,169 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 227,032 คน คิดเป็นร้อยละ 68.14 จำนวนบัตรดี 197,216 ใบคิดเป็นร้อยละ 86.87 จำนวน บัตรเสีย 25,044 ใบ คิดเป็นร้อยละ 11.03 และจำนวนบัตร ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4,772 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.10 (สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด,2544) สำหรับการเลือกตั้ง สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร วนั ท่ี 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ปรากฏวา่ ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายกิตติศักดิ์ หตั ถสงเคราะห์ สงั กดั พรรคไทยรกั ไทย เขตเลอื กตง้ั ท่ี 2 นายไชยา พรหมา สังกัดพรรคเสรีธรรม และเขตเลือกตั้งที่ 3 นายวิชัย สามิตร สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่สำหรับผลการนับคะแนนในเขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า คะแนนที่ได้ของนายไชยา พรหมา ผู้สมัครจากพรรคเสรีธรรม ที่ได้ 22,375 คะแนนซึ่งมากกว่านายวุฒิพงษ์ ศิริสถิตย์ ผู้สมัคร จากพรรคไทยรักไทย ที่ได้ 22,323 ซึ่งแตกต่างกันเพียง 52 คะแนน ทำให้เกิดข้อร้องเรียนกับทางคณะกรรมการ การเลือกตั้งเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการดำเนินการ นับคะแนน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสุจริตเที่ยงธรรมในการ เลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้ประกาศให้เขต เลือกตั้งที่ 2 จัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2544 54

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งปรากฏว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 106,924 คน มีผู้ออกมาใช้สิทธิ เลอื กตง้ั 55,963 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 52.34 จำนวนบตั รดี 51,315 ใบ คิดเป็นร้อยละ 91.7 จำนวนบัตรเสีย 640 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.14 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 4,008 คิดเป็น ร้อยละ 7.16 (งานจัดการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู,2544) สำหรับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเลือกตั้งที่ 2 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2544 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ นายไชยา พรหมา สังกัดพรรคเสรีธรรม เช่นเดิม (งานจัดการเลือกตั้ง, สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู, 2544) การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 5 : 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากการที่รัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 แล้วทำการบริหารประเทศ ครบวาระ 4 ปี ใน พ.ศ. 2548 จึงกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยจังหวัดหนองบัวลำภูมี 3 เขตเลือกตั้งประกอบด้วย (งานจัดการเลือกตั้ง,สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู, 2548) เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอเมือง หนองบัวลำภู และอำเภอโนนสัง (เฉพาะตำบลบ้านถิ่น ตำบล ปางกู่ ตำบลกดุ ดู่ ตำบลบา้ นคอ้ และตำบลโนนสงั ) จำนวนผมู้ สี ทิ ธิ เลือกตั้ง 118,313 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 75,660 คน คิดเป็นร้อยละ 63.95 จำนวนบัตรดี 70,292 ใบ คิดเป็นร้อยละ 55

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู 92.91 จำนวนบัตรเสีย 4,030 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.32 และ จำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,338 คิด เป็นร้อยละ 1.77 เขตเลือกต้ังที่ 2 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง (ยกเว้นตำบลบ้านถิ่น ตำบลปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อและตำบลโนนสัง) และอำเภอนาวัง (ยกเว้นตำบล วังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 116,894 คน โดยมีผู้ออก มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 71,827 คน คิดเป็นร้อยละ 61.44 จำนวน บตั รดี 66,566 ใบ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 92.68 จำนวนบตั รเสยี 4,545 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.32 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 716 คิดเป็นร้อยละ 1 เขตเลือกต้ังที่ 3 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง (เฉพาะตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 111,643 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ เลอื กตง้ั 69,714 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 62.44 จำนวนบตั รดี 64,799 ใบ คิดเป็นร้อยละ 92.95 จำนวนบัตรเสีย 4,051 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.81 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 864 คิดเป็นร้อยละ 1.75 โดยภาพรวมในการเลอื กตง้ั วนั ท่ี 6 กมุ ภาพนั ธ์ พ.ศ. 2548 จังหวัดหนองบัวลำภูมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 346,850 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 217,201 คน คิดเป็นร้อยละ 62.62 จำนวนบัตรดี 201,657 ใบ คิดเป็นร้อยละ 92.84 จำนวน บัตรเสีย 12,626 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.81 และจำนวนบัตร ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2,918 คิดเป็นร้อยละ 1.34 (สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2548) 56

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปรากฏวา่ ผทู้ ไ่ี ดร้ บั การเลอื กตง้ั ไดแ้ ก่ เขตเลอื กตง้ั ท่ี 1 นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ สังกัดพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 นายไชยา พรหมา สังกัดพรรคไทยรักไทย และ เขตเลือกตั้งที่ 3 นายวิชัย สามิตร สังกัดพรรคไทยรักไทย (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2548) การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 6 : 2 เมษายน พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้น ภายหลังการประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ของรัฐบาล พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่มีผู้ชุมนุมเรียกร้อง เพื่อต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อสถานการณ์อาจจะเกิดความรุนแรงและนำไปสู่ความ เสียหายดังเช่นเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ในอดีต ทำให้ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจคืนอำนาจตัดสินใจทางการเมืองให้ ประชาชน เนื่องจากหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทนนี้เป็นการให้อำนาจประชาชนเลือกผู้ที่จะมาทำ หน้าที่แทนตน ดังนั้น เมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเกิดวิกฤต ทางการเมืองที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อประเทศได้ จึงควร ยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเป็น ผู้กำหนดผู้ปกครอง ตามหลักเสียงข้างมากนั่นเอง รัฐบาล จึงตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นหลักการและ กระบวนการที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยและได้กำหนดให้ 57

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ขึ้นจากการ ประกาศจัดให้วันเลือกตั้ง คือ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งมี ระยะเวลาห่างจากวันประกาศยุบสภา คือ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพียง 37 วัน แม้จะมีความชอบธรรมตาม รัฐธรรมนูญที่ให้กระทำได้ แต่ก็ทำให้พรรคการเมืองต่างๆ ที่ สำคัญๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย หรือพรรค มหาชนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง ครั้งก่อน ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพราะอ้างเหตุผลว่าไม่มีเวลา เตรียมผู้สมัครรับเลือกตั้ง สำหรับการประกาศจัดการเลือกตั้ง อย่างทันด่วนตามที่เกิดขึ้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 กำหนดหลักการไว้สำหรับเขต เลือกตั้งใดที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว ผู้สมัครคนนั้น ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้ที่ออกมาใช้สิทธ ิ ลงคะแนนเลือกตั้งทั้งหมดในการเลือกตั้งครั้งนั้นๆ จึงจะได้เป็น ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต เลือกตั้งนั้นๆ (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, 2553) ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้น ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเดิมเหมือนคราวการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยจังหวัดหนองบัวลำภูมี 3 เขต เลือกตั้งประกอบด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2549) เขตเลือกตั้งที่ 1 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอเมือง หนองบัวลำภู และอำเภอโนนสัง(เฉพาะตำบลบ้านถิ่น ตำบล ปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อ และตำบลโนนสัง) จำนวนผู้มี สิทธิเลือกตั้ง 119,108 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 58

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู 72,874 คน คิดเป็นร้อยละ 61.18 จำนวนบัตรดี 52,478 ใบ คิดเป็นร้อยละ 22.01 จำนวนบัตรเสีย 9,774 ใบ คิดเป็นร้อยละ 13.41 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 10,622 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 14.58 เขตเลือกตั้งท่ี 2 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง (ยกเว้นตำบลบ้านถิ่น ตำบลปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อ และตำบลโนนสัง) และอำเภอนาวัง (ยกเว้น ตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 118,986 คน โดยมี ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 70,184 คน คิดเป็นร้อยละ 58.99 จำนวนบัตรดี 54,269 ใบ คิดเป็นร้อยละ 77.32 จำนวนบัตรเสีย 9,267 ใบ คิดเป็นร้อยละ 13.20 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ ลงคะแนน 6,648 คิดเป็นร้อยละ 9.48 เขตเลือกต้ังที่ 3 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง (เฉพาะตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 115,775 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ เลอื กตง้ั 69,365 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 59.91 จำนวนบตั รดี 54,593 ใบ คิดเป็นร้อยละ 78.70 จำนวนบัตรเสีย 8,494 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.81 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,278 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 9.05 โดยภาพรวมในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จังหวัดหนองบัวลำภูมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 353,869 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 212,423 คน คิดเป็นร้อยละ 60.03 จำนวนบัตรดี 161,340 ใบ คิดเป็นร้อยละ 75.96 จำนวน บัตรเสีย 27,535 ใบ คิดเป็นร้อยละ 12.96 และจำนวนบัตร 59

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ไม่ประสงค์ลงคะแนน 23,548 ใบ คิดเป็นร้อยละ 11.08 (งานจัดการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดหนองบัวลำภ,ู 2549) สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ แบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ สังกัดพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้ง ที่ 2 นายไชยา พรหมา สังกัดพรรคไทยรักไทย และเขตเลือกตั้ง ที่ 3 นายวิชัย สามิตร สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาภายหลังศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศให้การ เลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ ซึ่งถือว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเกิดขึ้นหรือไม่มีผล ใดๆ ในทางการเมือง เพราะมีความไม่ชอบธรรมในการจัดการ การเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ไม่มีความบริสุทธิ์ และเที่ยงธรรม (พิษณุ หัตถสงเคราะห์, 2555) การเลือกตั้งในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 7 : 19 เมษายน พ.ศ. 2549 การเลอื กตง้ั ครง้ั นถ้ี อื ไดว้ า่ เปน็ การเลอื กตง้ั สมาชกิ วฒุ สิ ภา (ส.ว.) ขึ้นภายหลังจากที่สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ในปี 2543 ครบวาระในวนั ท่ี 4 มนี าคม พ.ศ.2549 คณะกรรมการ การเลือกตั้งจึงกำหนดวันให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้จังหวัดหนองบัวลำภ ู มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 354,061 คน โดยในวันเลือกตั้ง 60

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 214,770 คน คิดเป็นร้อยละ 60.66 มีจำนวนบัตรดี 194,687 ใบ คิดเป็นร้อยละ 90.65 บัตรเสีย 9,274 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.32 และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 10,809 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.03 (งานจัดการเลือกตั้ง สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู, 2549) สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด หนองบัวลำภู วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับ การเลือกตั้งได้แก่ นางอนงค์วิชญา สาริบุตร และนางจุรีลักษณ์ รัตนประทีปพร (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2549) การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 8 : 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งที่แรก ภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 การเลือกตั้ง ครั้งนี้ใช้ระบบเขตใหญ่เรียงเบอร์จังหวัดหนองบัวลำภูมี 1 เขต เลือกตั้ง มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 312,232 คน โดยใน วันเลือกตั้งมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 235,682 คน คิดเป็น ร้อยละ 75.48 มีจำนวนบัตรดี 220,304 ใบ คิดเป็นร้อยละ 93.47 บัตรเสีย 11,116 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.72 และบัตรไม่ประสงค์ ลงคะแนน 4,262 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.81 สำหรับผลการเลือกตั้ง สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรจงั หวดั หนองบวั ลำภู วนั ท่ี 23 ธนั วาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งได้แก่ นายไชยา พรหมา ผู้สมัครหมายเลข 10 นายวิชัย สามิตร และนายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ ซึ่งผู้ได้รับเลือกตั้งทั้งสามคนสังกัดพรรค พลังประชาชน (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551) 61

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 9 : 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 การเลือกตั้งครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งสมาชิก วุฒิสภา (ส.ว.) ขึ้นภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งครั้งนี้ จังหวัด หนองบัวลำภูมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 348,133 คน โดยในวันเลือกตั้งมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 183,016 คน คิดเป็นร้อยละ 52.57 มีจำนวนบัตรดี 171,113 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 93.50 บัตรเสีย 5,184 คิดเป็นร้อยละ 2.83 และบัตร ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,719 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.67 สำหรับ ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งได้แก่ นายรักพงษ์ ณ อุบล (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551) การเลือกต้ังในจังหวัดหนองบัวลำภูคร้ังที่ 10 : 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นใช้ระบบการ เลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองและแบบแบ่งเขต เลือกตั้ง โดยจังหวัดหนองบัวลำภูมี 3 เขตเลือกตั้งประกอบด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2554) เขตเลือกตั้งท่ี 1 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอเมือง หนองบัวลำภู และอำเภอโนนสัง(เฉพาะตำบลบ้านถิ่น ตำบล 62

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู ปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อ และตำบลโนนสัง) จำนวน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 123,707 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 86,905 คน คิดเป็นร้อยละ 70.25 จำนวนบัตรดี 81,458 ใบ คิดเป็นร้อยละ 93.73 จำนวนบัตรเสีย 3,969 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.57 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,478 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 1.70 เขตเลือกต้ังที่ 2 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง(ยกเว้นตำบลบ้านถิ่น ตำบลปางกู่ ตำบลกุดดู่ ตำบลบ้านค้อ และตำบลโนนสัง) และอำเภอนาวัง (ยกเว้น ตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 122,540 คน โดยมี ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 83,737 คน คิดเป็นร้อยละ 68.33 จำนวนบัตรดี 79,419 ใบ คิดเป็นร้อยละ 94.84 จำนวนบัตรเสีย 3,554 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.24 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ ลงคะแนน 764 ใบ คิดเป็นร้อยละ 0.91 เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วยพื้นที่อำเภอนากลาง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอนาวัง (เฉพาะตำบลวังปลาป้อม) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 119,271 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ เลอื กตง้ั 81,834 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 68.61 จำนวนบตั รดี 77,084 ใบ คิดเป็นร้อยละ 94.20 จำนวนบัตรเสีย 3,907 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.77 และจำนวนบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 843 ใบ คิดเป็น ร้อยละ 1.03 โดยภาพรวมในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จังหวัดหนองบัวลำภูมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 365,518 คน โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 252,476 คน คิดเป็นร้อยละ 63

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู 69.07 จำนวนบัตรดี 237,961 ใบคิดเป็นร้อยละ 94.25 จำนวน บัตรเสีย 11,430 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.53 และจำนวนบัตร ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,085 คิดเป็นร้อยละ 1.22 (สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2554) สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบ แบ่งเตเลือกตั้งของจังหวัดหนองบัวลำภู วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายไชยา พรหมา และเขตเลือกตั้งที่ 3 นายวิชัย สามิตร ซึ่งผู้สมัครที่ได้รับการ เลือกตั้งทั้งสามคนสังกัดพรรคเพื่อไทย สรุป นับตั้งแต่รัฐบาลได้มีประกาศจัดตั้งจัดหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ให้แยก อำเภอหนองบัวลำภ ู อำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอนากลาง และอำเภอ สุวรรณคูหาออกจากเขตการปกครองจังหวัดอุดรธานี จังหวัด หนองบัวลำภูได้มีการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อ 2 กรกฎาคม 2538 ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 3 ครั้ง รวมแล้วจังหวัด หนองบัวลำภูมีการเลือกตั้งทั้งหมด 10 ครั้งปรากฏว่าผู้ได้รับ เลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจังหวัด หนองบัวลำภู มีปรากฏดังนี้ 64

ตารางท่ี 3 : สรุปขอ้ มลู การเลอื กตงั้ สมาชิกสภาผ้แู ทนราษฎรและสมาชิกวฒุ ิสภา จังหวัดหนองบวั ลำภู 2538 – 2554 ครงั้ ท ี่ วัน/เดือน/ป ี ลำดบั -ชื่อ สกลุ เขตเลอื กตง้ั พรรคการเมือง หมายเหตุ 1 2 กรกฎาคม 2538 1. นายไพรัช นุชิต 1 กิจสังคม ส.ส. 2 2. นายไชยา พรหมา ชาติพัฒนา 3 3. ว่าที่ รอ. สรชาติ สุวรรณพรหม ความหวังใหม่ 4 17 พฤศจิกายน 2539 1. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ 1 ความหวังใหม่ ส.ส. 2. ว่าที่ รอ.สรชาติ สุวรรณพรหม ความหวังใหม่ 3. นายพิชาญ พิบลู ย์วัฒนวงษ์ ความหวังใหม่ ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู 65 4 มีนาคม 2543 1. นายธวัชชัย เมืองนาง - - ส.ว. 2. นายสามารถ รัตนประทีปพร 6 มกราคม 2544 1. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ 1 ไทยรักไทย ส.ส. 2. นายไชยา พรหมา 2 เสรีธรรม 3. นายวิชัย สามิตร 3 ไทยรักไทย

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู วัน/เดือน/ปี 66 6 กุมภาพันธ์ 2548 ครง้ั ที่ ลำดับ-ชอ่ื สกลุ เขตเลอื กต้งั พรรคการเมอื ง หมายเหต ุ 5 2 เมษายน 2549 1. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ 1 ไทยรักไทย ส.ส. 2. นายไชยา พรหมา 2 ไทยรักไทย 6 19 เมษายน 2549 3. นายวิชัย สามิตร 3 ไทยรักไทย 23 ธันวาคม 2550 1. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 7 2. นายไชยา พรหมา 1 ไทยรักไทย ส.ส. 8 2 มีนาคม 2551 3. นายวิชัย สามิตร 2 ไทยรักไทย 3 กรกฎาคม 2554 1. นางอนงค์วิชญา สาริบุตร 3 ไทยรักไทย 9 2. นางจุรีลักษณ์ รัตนประทีปพร 10 1. นายไชยา พรหมา - - ส.ว. 2. นายวิชัย สามิตร 3. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 1 พลังประชาชน ส.ส. 1. นายรักพงษ์ ณ อุบล พลังประชาชน พลังประชาชน 1. นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ 2. นายไชยา พรหมา - - ส.ว. 3. นายวิชัย สามิตร 1 เพื่อไทย ส.ส. 2 เพื่อไทย 3 เพื่อไทย

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ประวัตินักการเมืองถิ่นหนองบัวลำภู การศึกษาเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัด หนองบัวลำภู เพื่อให้ทราบถึงเครือข่ายความสัมพันธ์ บทบาท ของนักการเมือง และกลวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาของจังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้ข้อมูลหลักฐานจากเอกสารประกอบต่างๆ การสัมภาษณ์ บุคคลที่เป็นนักการเมืองถิ่นโดยตรงและบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับนักการเมืองถิ่น แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ นำเสนอในลักษณะของการวิเคราะห์พรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อให้เห็นภาพรวมของนักการเมืองถิ่น และบริบท ทางการเมืองถิ่นหนองบัวลำภู ซึ่งการนำเสนอผู้เขียนจะเรียง ตามลำดับเวลาของการได้รับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัด หนองบัวลำภูดังนี้ นายไพรัช นุชิต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวจังหวัดหนองบัวลำภูโดยกำเนิด คนแรก ประวัติโดยย่อ นายไพรัช นุชิต เกิดเมื่อวัน 23 มีนาคม พ.ศ. 2494 ที่สุขาภิบาลหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายคำเฝื่อ นางหล่าน ซึ่งทั้งสอง เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ทำให้บุตรชายคือ นายไพรัชและพี่น้องอีกจำนวน 5 คนจึงถือว่าเป็นบุตรของคน ต่างด้าว และในความเป็นคนต่างด้าวทำให้เกิดความติดขัด ในการประกอบธุรกิจและติดต่อราชการ ภายหลังสมาชิกใน ครอบครัวของคุณพ่อคำเฝื่อส่วนใหญ่จึงหันมาใช้นามสกุลตาม 67

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู น้าเขย (สามีของน้องสาวคุณแม่หล่าน) ซึ่งรับราชการครูว่า “นุชิต” นายไพรัชจึงใช้นามสกุลดังกล่าวด้วย (ไพรัช นุชิต, 2555) นายไพรัชจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก โรงเรียนศรีหนองบัววิทยายน หลังจากนั้นไปศึกษาต่อด้านสาย อาชีพที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี หลังจากจบประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ป.ว.ช.) แล้วก็กลับมาช่วยครอบครัวขายของชำ (โชห่วย) ในตลาดเขตสุขาภิบาลหนองบัวลำภู โดยระหว่างนั้น นายไพรัชได้ยึดการทำธุรกิจหลายอย่างประกอบกันไปด้วย เช่น เป็นผู้รับซื้อเศษเหล็ก เศษอลูมิเนียม หรือวัตถุที่ประกอบด้วย เหล็กซึ่งมีมากในสมัยนั้น เพราะมีกองทัพของสหรัฐอเมริกา มาประจำการและได้ทดลองการใช้อาวุธที่จังหวัดอุดรธานีทำให้ เศษชิ้นส่วนอาวุธต่างๆ กลายเป็นวัสดุของเก่าที่ชาวบ้านเก็บ มาขาย รวมทั้งไปรับซื้อข้าวเปลือกและของป่าซึ่งมีมากแถบ อำเภอสุวรรณคูหา เพื่อมาขายต่อในตลาดสุขาภิบาล หนองบัวลำภู จนกระทั่งตัดสินใจประกอบอาชีพตามที่ตนได้ เรียนมาคือ การเป็นช่างก่อสร้าง จึงดำเนินการจัดตั้งห้างหุ้น ส่วนจำกัด “วิรัชอินเตอร์ไพร์ส” ขึ้นโดยประกอบการธุรกิจรับ เหมาก่อสร้างในพื้นที่เขตอำเภอหนองบัวลำภูเป็นส่วนใหญ ่ ซึ่งประกอบธุรกิจนี้นานกว่า 30 ปี (ไพรัช นุชิต, 2555) ในด้านชีวิตครอบครัวนายไพรัชสมรสกับนางเบญจวรรณ นุชิต ข้าราชการครูโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง มีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บ้านนาแค เขต เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ตำบลลำภู อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภ ู 68

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู เส้นทางสู่การเมือง นายไพรัช นุชิตเป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่มีชื่อเสียง คนหนี่งในตลาดสุขาภิบาลหนองบัวลำภู โดยก่อนหน้านี้ไม่เคย คิดว่าจะเล่นการเมืองมาก่อนทั้งในสนามการเมืองท้องถิ่นหรือ ในสนามการเมืองระดับชาติ แต่ด้วยความเป็นคนชอบความ ท้าทายและกล้าได้กล้าเสีย จึงลองสมัครรับเลือกตั้งตามคำ ชักชวนจากญาติซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นในเขตอำเภอ หนองบัวลำภูมาก่อน ให้มาลองมาสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา จังหวัดอุดรธานี ( สจ.) เขตอำเภอหนองบัวลำภู ในปี 2523 ชีวิตการเมืองของนายไพรัชจึงเริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนนั้น ในการ เลือกตั้งครั้งแรกในชีวิตนายไพรัชได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ได้เสีย ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเพียง 3,000 บาทก็สามารถได้เป็น นักการเมืองท้องถิ่นสมใจ ซึ่งการทำหน้าที่ในสภาท้องถิ่น สมัยนั้นมีฐานะเป็นเพียงสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี หลังจากหมดวาระสมัยแรก นายไพรัชสมัครรับเลือกตั้งอีกในปี 2528 ซึ่งได้รับการเลือกตั้ง เหมอื นเดมิ แตใ่ นครง้ั นน้ี ายไพรชั ไดห้ มดเงนิ กบั การลงทนุ ซอ้ื เสยี ง จากชาวบ้านในเขตอำเภอหนองบัวลำภูในราคาหัวละ 20 บาท ทั้งอำเภอเกือบหนึ่งล้านบาทเศษ หลังจากครบวาระในสมัยที่ 2 นายไพรัชก็ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกในปี 2534 และการเลือกตั้ง ครั้งนี้ยังคงใช้รูปแบบการหาเสียงเดิมได้แก่ การใช้เงินซื้อเสียง จากชาวบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นหลัก แต่ผลจากการเลือกตั้ง ครั้งนี้ปรากฏว่านายไพรัชสอบตก ซึ่งสาเหตุมาจากมีผู้สมัคร รับเลือกตั้งคนอื่นซึ่งเป็นพรรคพวกเดียวกันกับนายไพรัช ลงสมัครร่วม และแจกเงินซื้อเสียงให้กับฐานเสียงเดิมที่เคย 69

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู สนับสนุนนายไพรัชในราคาที่สูงกว่า ทำให้นายไพรัชแพ้คะแนน ผู้สมัครคนนั้นและเหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นการยุติบทบาท ทางการเมืองในสนามการเมืองท้องถิ่นของนายไพรัชเป็นต้นมา (ไพรัช นุชิต, 2555) หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นใน พ.ศ. 2534 ในปีเดียวกันก็เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในระดับชาติ จากการรัฐประหารยึดอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยคณะนายทหารที่ใช้ชื่อว่า “คณะรักษา ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.” นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หลังจากนั้นคณะรัฐประหารได้เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อทำการ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 และจัดการ เลือกตั้งทั่วไปหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, 2553: น.65) ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2535 ในการเลือกตั้งครั้งนี้นายไพรัช นุชิต ก็อยาก ลองสมัครรับเลือกตั้งระดับชาติเป็นครั้งแรกดูบ้าง หลังจาก ได้รับการชักชวนจากนายรักเกียรติ สุขธนะ สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 4 ( อำเภอโนนสะอาด อำเภอ หนองแสง อำเภอกุดจับ อำเภอหนองวัวซอ อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอโนนสัง) ซึ่งทั้งสองเคยรู้จักกันมาก่อนจากการเป็น สมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานีด้วยกันและนายรักเกียรติ สุขธนะ เองเคยตำรงตำแหน่งเป็นถึงประธานสภาจังหวัดอุดรธานี ก่อน ที่จะผันตัวเองไปลงสมัครรับเลือกตั้งในสนามการเมือง ระดับชาติ จากได้รับการชักชวนดังกล่าว นายไพรัชก็ตัดสินใจ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก 70

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ในสังกัดพรรคกิจสังคม ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 6 อำเภอได้แก่ อำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม อำเภอนายูง(ปัจจุบันทั้ง 3 อำเภออยู่ในเขต การปกครองของจังหวัดอุดรธานี) อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอ นากลาง และอำเภอหนองบัวลำภู (ปัจจุบันทั้ง 3 อำเภออยู่ใน เขตการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู) แต่เนื่องจากการ เลือกตั้งครั้งนี้นายไพรัชไม่ค่อยมีเวลาเตรียมตัว และเป็นสนาม เลือกตั้งที่มีขนาดพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่กว่าสนามการเมือง ท้องถิ่นที่เคยประสบมา ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 นายไพรัชจึงแพ้คะแนนนักการเมืองเจ้าของ พื้นที่เดิมอย่างนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์, นายวิเชียร ขาวขำ และนายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มี ฐานเสียงในเขตอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสมและอำเภอนายูง ทั้งหมด (ไพรัช นุชิต, 2555) หลังจากไม่ได้รับการเลือกตั้งใน สนามการเมืองระดับชาติครั้งแรก ต่อมาไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ ทางการเมืองในระดับชาติขึ้นซึ่งเรียกกันว่า “เหตุการณ ์ พฤกษาทมิฬ” ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 อันเป็นเหตุให ้ นายกรัฐมนตรีคือ พลเอกสุจินดา คราประยูร ต้องลาออกจาก ตำแหน่งแล้วทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 และคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนด้วยการ จัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 อีกครั้ง (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, 2553 : น.66) ในการเลือกตั้งครั้งนี้นายไพรัช นุชิต มีการเตรียมตัวหลังจากมีประสบการณ์มาบ้างเมื่อการ เลือกตั้งก่อนนี้ และได้รับการสนับสนุนทรัพยากรทางการเมือง ทั้ง เงินส่วนตัว ชื่อเสียง ญาติพี่น้องและหัวคะแนน และการ 71

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู สนับสนุนของพรรคกิจสังคมส่วนหนึ่งในการใช้ระดมหาเสียง เลือกตั้งครั้งนี้ เริ่มรู้จุดแข็งและจุดอ่อนทางการเมืองของคู่แข่ง และพื้นที่เลือกตั้งมากขึ้น โดยเฉพาะมีการใช้เครือข่ายญาต ิ พี่น้องที่เป็นคนจีนในแถบตลาดสุขาภิบาลบ้านผือ อำเภอ บ้านผือ ให้ช่วยระดมคะแนนเสียงให้แก่ตนเพราะพื้นที่อำเภอ บ้านผือ อำเภอน้ำโสมและอำเภอนายูงเป็นพื้นที่ที่นายไพรัช มีคะแนนเสียงตามคู่แข่งคนอื่นๆ ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ส่วนในพื้นที่เขตอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลางและอำเภอ สุวรรณคูหานั้นถือได้ว่าเป็นพื้นที่จุดแข็งหรือฐานเสียงใหญ่ของ นายไพรัช เพราะชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวบ้านทั่วไป เพราะเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี เขตอำเภอ หนองบัวลำภู เป็นผู้รับซื้อของป่าในเขตอำเภอสุวรรณคูหา และเป็นผู้ประมูลรับเหมางานก่อสร้างต่างๆ ในพื้นที่แถบอำเภอ หนองบัวลำภ ู อำเภอนากลาง และอำเภอสุวรรณคูหามาอย่าง ต่อเนื่องจึงพอมีเครือข่ายจากบรรดากำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือคนที่ พอรู้จักช่วยเป็นหัวคะแนนและให้การสนับสนุนในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ (ไพรัช นุชิต, 2555) จนทำให้นายไพรัช นุชิต ผู้สมัครรับ เลือกตั้งจากพรรคกิจสังคม สามารถมีคะแนนเข้ามาเป็นลำดับ 3 รองจากนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ และนายวิเชียร ขาวขำ เจ้าของพื้นที่เดิมตามลำดับ (กรมการปกครอง, 2535) ได้รับ เลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต 2 เป็นผลสำเร็จ การเลือกตั้งครั้งต่อมา เกิดขึ้นหลังจากนายชวน หลีกภัย ตัดสินใจยุบสภา และประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 และถือเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลัง 72

ข้อมูลนักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู การประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู เรยี บรอ้ ยแลว้ นายไพรชั นชุ ติ ในฐานะเปน็ ผสู้ มคั รฯ ทม่ี ภี มู ลิ ำเนา ในเขตสุขาภิบาลหนองบัวลำภู อำเภอหนองบัวลำภูมาตั้งแต่ เกิดจึงลงสมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคกิจสังคม ในสนาม การเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภูซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ซึ่งแยก มาจากเขตเลือกตั้ง 2 เขตของจังหวัดอุดรธานีได้แก่ เขต 2 และ เขต 4 ซึ่งเขต 2 เป็นเขตซึ่งนายไพรัชเคยเป็นผู้แทนฯ ในพื้นที่มา ก่อนประกอบด้วยพื้นที่ 3 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอ เมืองหนองบัวลำภู อำเภอสุวรรณคูหา อำเภอนากลาง และ กิ่งอำเภอนาวังซึ่งแยกมาจากอำเภอนากลาง และพื้นที่ของเขต 4 ประกอบด้วยพื้นที่ของ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรืองและ อำเภอโนนสัง (กรมการปกครอง,2538) การเลือกตั้งครั้งนี ้ นายไพรัชอาศัยผลงานการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว หนึ่งสมัย ซึ่งสมัยนั้นจะมีงบพัฒนาจังหวัดหรือเรียกกันว่า “งบ ส.ส.” เพราะจะมกี ารตง้ั งบประมาณใหแ้ ก่ ส.ส. ทกุ คนๆ ละ 20 ล้านบาทสำหรับนำไปใช้พัฒนาพื้นที่เลือกตั้งของตน นายไพรัชก็ได้นำงบประมาณดังกล่าว มาทำการก่อสร้างถนน หนทาง สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขยายไฟฟ้าไปยัง หมู่บ้านต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนฯ ที่มีผลงานการพัฒนาจนเป็น ที่ประจักษ์คนหนึ่ง และที่สิ่งที่ขาดมิได้สำหรับการเลือกตั้งแต่ละ ครั้งคือการซื้อเสียงจากชาวบ้าน ซึ่งการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 นายไพรัชหมดเงินไปกับการซื้อเสียง ชาวบ้านหัวละ 100 บาท เป็นเงินทั้งหมดประมาณ 20 ล้านบาท จึงทำให้นายไพรัช นุชิตผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคกิจสังคม 73

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู สามารถเอาชนะคู่แข่งในการเลือกตั้งครั้งแรกของจังหวัด มีคะแนนเป็นอันดับ 1 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด หนองบัวลำภูบ้านเกิดสมความปรารถนา (ไพรัช นุชิต, 2555) กลยุทธ์ท่ีใช้ในการหาเสียง กลยุทธ์ที่นายไพรัช นุชิตใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ผู้เขียนได้รับข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยตรงจากนายไพรัช ซึ่งกล่าวถึงเกร็ดของตนในช่วงที่เป็นผู้แทนฯ ว่าเป็นคนค่อนข้าง กลัวไมค์ หรือพูดไม่ค่อยเก่งเมื่อต้องอยู่ต่อหน้าสาธารณชน กลยุทธ์ที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งส่วนใหญ่จึงทุ่มเทไปกับการ ใช้เงินซื้อเสียงผ่านหัวคะแนน รูปแบบนี้กล่าวคือ ให้ผู้เป็น หัวคะแนนของตนในหมู่บ้านต่างๆ ตรวจสอบยอดจำนวนผู้มี สิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งต่างๆ ที่คาดว่าจะลงคะแนนเลือก ตนอย่างแน่นอน แล้วก็จ่ายเงินผ่านหัวคะแนนที่รับผิดชอบนั้น เพื่อนำไปแจกจ่ายต่อให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่ได้สำรวจมา ซึ่งนายไพรัชย้ำกับผู้เขียนว่านักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งในพื้นที่ จังหวัดหนองบัวลำภูนั้น หากอาศัยเพียงชื่อเสียง ผลงาน การพัฒนา หรือการเป็นคนบ้านเกิดเมืองนอนที่หนองบัวลำภู อย่างเดียวไม่พอ ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงตัวประกอบการ ตัดสินใจของชาวบ้าน เพราะเมื่อชาวบ้านจะทำการลงคะแนน เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง หากไม่มีเงินซื้อเสียงให้ชาวบ้านๆ ก็จะเกิดการเปรียบเทียบว่าคนนี้ดีมีผลงานแต่ไม่มีเงินมาแจก ก็ไม่มีเหตุผลจำเป็นที่จะลงคะแนนให้ แต่ถ้าผู้สมัครคนใดแม้ไม่ ค่อยมีผลงานแต่มีเงินมาแจก ชาวบ้านก็จะเลือกคนนั้น (ไพรัช นุชิต, 2555) 74

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู จากประสบการณ์ทางการเมืองในพื้นที่ของนายไพรัชนั้น ได้มีการใช้เงินซื้อเสียงจากชาวบ้านในเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้น ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 แม้นายไพรัชจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ แต่ก็ลงทุนไปกับการ ซื้อเสียงชาวบ้านกว่า 40 ล้านบาทซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้มีการใช้ เงินซื้อเสียงจากผู้สมัครหลายคน และจากหลายพรรคการเมือง ที่ลงสมัครในพื้นที่ ทำให้เกิดการให้เงินทับกัน ยกตัวอย่าง ผู้สมัครคนแรกให้เงินซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนมาแจกให้แก่ ชาวบ้านในราคาหัวละ 50 บาท วันต่อมาผู้สมัครอีก 3 คนซึ่งอยู่ ในทีมที่สังกัดพรรคการเมืองเดียวกันให้เงินซื้อเสียงผ่าน หัวคะแนนมาแจกให้แก่ชาวบ้านกลุ่มเดิมที่เคยรับเงินรายแรก มาแล้วในราคาหัวละ 300 บาท ซึ่งเฉลี่ยแล้วถือว่าใช้ซื้อเสียง ให้กับผู้สมัครทั้ง 3 คนๆ ละ 100 บาทเพื่อให้ลงคะแนนให้กับ ผู้สมัครยกทั้งพรรค วันต่อมาผู้สมัครคนแรกที่ให้เงินซื้อเสียง มาก่อนแล้ว 50 บาท เมื่อได้รู้เรื่องดังกล่าวก็จะมาให้เงินเพิ่มให้ อีก 100 บาท เป็น 150 บาท เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะ ล ง ค ะ แ น น เ ก ิ ด ก า ร ช ั ่ ง ใ จ ท ี ่ จ ะ ล ง ค ะ แ น น ใ ห ้ ผู ้ ส ม ั ค ร ข อ ง พรรคการเมืองที่ซื้อเสียงยกทีมทั้ง 3 คน เจียดคะแนน ซักคะแนนมาเลือกผู้สมัครที่ให้เงินซื้อเสียงทับมาภายหลัง เป็นต้น ซึ่งกรณีของนายไพรัชที่แพ้คะแนนเลือกตั้งในปี 2539 อีกประการหนึ่งมาจากการถูกหักหลังจากบรรดาหัวคะแนนที่ใช้ วิธีอมเงินหรือเก็บเงินที่ได้รับจากนายไพรัชให้นำมาซื้อเสียงเก็บ ไว้ใช้เอง ไม่นำไปแจกให้ชาวบ้านตามที่สัญญาไว้ ประกอบกับมี กรณีพรรคการเมืองบางพรรคที่มีนโยบายแปลกๆ ใหม่ๆ เช่น 75

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู โครงการอีสานเขียวของพรรคความหวังใหม่ จึงทำให้ชาวบ้าน อีสานอยากเห็นสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ นายไพรัชจึงแพ้ คะแนนผู้สมัครจากพรรคความหวังใหม่ในการเลือกตั้งครั้งนั้น อันถือเป็นเหตุให้ต้องหยุดโอกาสที่นายไพรัชจะได้เข้าไปนั่งใน สภาในฐานะผู้แทนราษฎรของชาวหนองบัวลำภูตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา (ไพรัช นุชิต, 2555) บทบาทการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎร นายไพรัช นุชิตได้เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงเรื่องราวการทำ หน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะในระหว่าง พ.ศ. 2535 – 2538 ซึ่งถือเป็นการทำหน้าที่ผู้แทนราษฎรสมัยแรกของ ตน และเป็นช่วงที่มีการผลักดันพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัด หนองบัวลำภู เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัย นั้นว่า นายไพรัชก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนเรื่องนี้มาตลอดโดยมี ส่วนร่วมในการผลักดันและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในทกุ ขน้ั ตอนของสภา ตง้ั แตเ่ ขา้ รว่ มกบั สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร พรรคกิจสังคม สนับสนุนการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับ ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา หลังจากมีมติรับหลักการ ก็เข้าสู่วาระที่ 2 ขั้นการพิจารณาเรียง มาตราโดยกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งมีการแต่งตั้งคนที่มิได้เป็น สมาชิกของสภาเข้ามาเป็นกรรมาธิการด้วย โดยสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีรายหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับที่มีการให้ จดั ตง้ั จงั หวดั หนองบวั ลำภู แยกออกจากการปกครองของจงั หวดั อุดรธานี เพราะเกรงว่าจะกระทบกระเทือนถึงฐานสียงของตน อันเนื่องมาจากการจัดตั้งจังหวัดใหม่และแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ จึงมีการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้ามาเป็นกรรมาธิการร่วม 76

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู พิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ 2 ซึ่งกรรมาธิการที่ พิจารณาประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน 15 คน ปรากฏว่า เมื่อมีการลงมติให้ผ่านร่างฯ ในวาระ 2 ขั้นกรรมาธิการก็ปรากฏ ว่ามีกรรมาธิการเห็นด้วย 8 เสียง และไม่เห็นด้วย 7 เสียงซึ่ง ก็เป็นมติที่ถือว่าฉิวเฉียดมาก สำหรับการที่หนองบัวลำภูอาจ ไม่ได้ตั้งเป็นจังหวัดใหม่ จากนั้นเข้าร่างฯ เข้าสู่วาระ 3 ขั้นอนุมัติ ร่างพระราชบัญญัติ ปรากฏว่าในวันที่มีการพิจารณาเพื่อ ลงมติอนุมัติ หรือไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัด หนองบัวลำภู ซึ่งเตรียมเข้าสู่การพิจารณาราพร้อมกับร่าง พระราชบัญญตั ิจดั ตงั้ จงั หวัดสระแกว้ ซ่งึ มนี ายเสนาะ เทยี นทอง เปน็ ผผู้ ลักดัน และร่างพระราชบัญญัติจัดตัง้ จังหวดั อำนาจเจรญิ ซึ่งมีนายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็นผู้ผลักดัน ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์ ขึ้นกับร่างฯ ของหนองบัวลำภูขึ้น เพราะร่างฯของหนองบัวลำภู ที่ผ่านวาระ 2 แล้วไม่ถูกจัดเข้าอยู่ในระเบียบวาระการประชุม ในวันนั้น เพราะมีการนำแฟ้มเสนอร่างฯ ไปซ่อนไว้ที่อื่นจาก สมาชิกที่ไม่เห็นด้วยดังกล่าว เมื่อนายไพรัชทราบเหตุดังกล่าว จึงดำเนินการอย่างเร่งรีบ เพื่อไปขอคำแนะนำจากสมาชิกใน สภาที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัด หนองบัวลำภู ได้เข้าสู่ระเบียบวาระการพิจารณาอนุมัติของสภา ในวันนั้น ซึ่งนายไพรัชเล่าถึงบรรยากาศในวันนั้นว่าตนต้องวิ่ง ไปหาคนเกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือ ท้ายที่สุดประธานสภา ผู้แทนราษฎรคือ นายมารุต บุนนาค จึงแนะนำให้นายเฉลิมพล สนิทวงษ์ชัย รัฐมนตรีและ ส.ส.อุดรธานี สามารถเสนอร่าง พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูด้วยปากเปล่าเข้าสู่ การพิจารณาในวันนั้นได้ โดยมีนายไพรัชอภิปรายสนับสนุน 77

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ร่างฯ อย่างไรก็ตาม นักการเมืองจังหวัดอุดรธานีที่ไม่เห็นด้วย ก็ยังคงใช้เครือข่าย และสมัครพรรคพวกของตนอภิปรายคัดค้าน ตลอด จนกระทง่ั เกอื บถงึ เทย่ี งคนื ของวนั นน้ั รา่ งพระราชบญั ญตั ิ จัดตั้งจังหวัดหนองบัวลำภูจึงผ่านวาระ 3 ไปได้ ซึ่งถือเป็น จังหวัดสุดท้ายที่ผ่านจากการพิจารณาอนุมัติ จากการทำหน้าที่ ผู้แทนราษฎรดังกล่าวก็ถือเป็นความภูมิใจที่นายไพรัชมีโอกาส ได้ช่วยผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ (ไพรัช นุชิต, 2555) บทบาทในปัจจุบัน ปัจจุบัน (2555) แม้นายไพรัชจะไม่ได้ดำรงตำแหน่ง สำคัญทางการเมือง แต่ในระดับจังหวัดหนองบัวลำภูต้องถือว่า นายไพรัชเป็นผู้นำด้านประชาสังคมของจังหวัดคนสำคัญ คนหนง่ึ ทง้ั นน้ี ายไพรชั ถกู เชญิ ใหด้ ำรงตำแหนง่ ตา่ งๆ เชน่ ในฐานะ กรรมการธรรมาภบิ าลจงั หวดั (ก.ธ.จ.), ประธานสมาคมผปู้ กครอง โรงเรียนหนองบัววิทยายน, กรรมการสภาหอการค้าจังหวัด กรรมการสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และกรรมการวิทยาลัยชุมชน หนองบัวลำภู ทำหน้าที่พิจารณาและเสนอความเห็นที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาหน่วยงาน สังคมและที่สำคัญคือรักษา ผลประโยชน์ของชาวจังหวัดหนองบัวลำภู ทั้งนี้นายไพรัชเล่าให้ ผู้เขียนฟังว่า เนื่องจากหนองบัวลำภูเป็นจังหวัดเล็ก ราชการ บริหารส่วนกลางจึงมองข้ามความสำคัญของจังหวัด อีกทั้ง ผู้บริหารและข้าราชการที่มาประจำอยู่ในจังหวัดส่วนใหญ่ เป็น คนต่างถิ่นที่หวังเข้ามาเอาตำแหน่ง หรือรอเกษียณอายุราชการ ทำใหไ้ มก่ ระตอื รอื รน้ ทจ่ี ะทำงานเพอ่ื ตอบสนองชาวหนองบวั ลำภู 78

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู อย่างจริงๆ จังๆ โครงการการพัฒนาจังหวัดที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ที่มาจากส่วนกลางจึงถูกผู้บริหารของจังหวัด โดยเฉพาะ ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการที่รับผิดชอบทำการบริหาร งบประมาณให้หมดไป มากกว่าการบริหารโครงการให้สำเร็จ และเกิดผลสัมฤทธิ์กับชาวหนองบัวลำภูอย่างแท้จริง นายไพรัช ซึ่งมีลักษณะเป็นคนพูดตรงๆ กล้าแสดงความคิดเห็น และกล้า วิพากษว์ จิ ารณต์ ามความถกู ตอ้ ง พรอ้ มกับดำเนินการตรวจสอบ หากพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นจากข้าราชการในพื้นที่ ซึ่งนายไพรัชได้ฟ้อง ป.ป.ช. จนทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมัธยม รายหนึ่ง ต้องถูกให้ออกจากราชการจากกรณีทุจริตในหน้าที่ ราชการ และกำลังดำเนินการฟ้องอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดที่ ละเว้นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ในการนำงบประมาณที่ได้ รับมาทำการพัฒนาพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. (มิถุนายน 2555) (ไพรัช นุชิต, 2555) จากบทบาทการทำหน้าที่สมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ผู้นำเครือข่ายประชาสังคม หรือกลุ่ม ตรวจสอบการทำงานของข้าราชการ และเสนอแนวทางการ พัฒนาจังหวัดหนองบัวลำภูต่อผู้บริหารจังหวัด ที่ถูกแต่งตั้งมา จากส่วนกลางดังกล่าว ทำให้นายไพรัชยังถือว่าเป็นนักการเมือง ถิ่นที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของชาวหนองบัวลำภมู าจนถึง ทุกวันนี้ (2555) 79

นักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู นายไชยา พรหมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 2 สมัย และสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู 6 สมัย ประวตั โิ ดยยอ่ นายไชยา พรหมา เกดิ เมอ่ื วนั ท่ี 26 มกราคม พ.ศ. 2503 ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของ นายพิจิตร พรหมา และนางบัวใหล พรหมา มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันจำนวน 3 คนได้แก่ 1. นายนาถ พรหมา ทำธุรกิจส่วนตัวที่อำเภอ ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภ ู 2. นายไชยา พรหมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด หนองบัวลำภู เขต 2 3. นายศุภชัย พรหมา นักการเมืองท้องถิ่นเขต อ.ศรีบุญเรือง นายไชยาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้าน บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโททางด้านพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขา พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ชีวิตครอบครัวสมรสกับนางอัญชลี พรหมา (นามสกุล เดิมเทือกต๊ะ) มีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวอธิษฐาน พรหมา สำเร็จการศึกษาทางด้านภาษาอังกฤษธุรกิจ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อัญชลี พรหมา, 2555) เส้นทางสู่การเมือง นายไชยา พรหมาเข้าสู่สนามการเมืองครั้งแรกด้วยการ 80

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นกรรมการสุขาภิบาลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี หลังจากนั้นก็ลาออกจากกรรมการสุขาภิบาล เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดอุดรธานี (สจ.) เขตอำเภอศรีบุญเรือง ในปี 2534 ซึ่งการตัดสินใจลงสมัครรับ เลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนั้น นายไชยาต้องการปูฐานเสียงทาง การเมืองในระดับท้องถิ่น สร้างผลงาน สร้างชื่อสียงให้ชาวบ้าน ในเขตอำเภอศรีบุญเรืองรู้จักตนเสียก่อน และต้องการให้สนาม การเมืองท้องถิ่นเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในท้องถิ่นจริงๆ มากกว่า การเป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มผู้รับเหมา หรือ พวกพ่อค้าที่ต้องการเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์จากการรับ สัมปทาน หรือการประมูลงานในเขตพื้นที่ ซึ่งผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่านายไชยาไม่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น หลังจาก แพ้ในสนามการเมืองในระดับท้องถิ่นดังกล่าวแล้ว นายไชยา ก็ตัดสินใจที่จะยุติบทบาททางการเมืองของตน และตั้งใจจะ ประกอบธุรกิจร้านค้าซึ่งบิดาของตนได้ลงทุนไว้ในตลาด ศรีบุญเรือง เพราะตนจบปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ มาก็หวังจะมาช่วยครอบครัวในการประกอบธุรกิจให้มากที่สุด ซึ่งในสมัยนั้น นายไชยาถือได้ว่าเป็นคนหนุ่มที่จบปริญญาตรี คนแรก ที่มาประกอบธุรกิจในตลาดสุขาภิบาลศรีบุญเรือง เพราะก่อนหน้านี้ ห้างร้านธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นของกลุ่มคนจีน ซึ่งทุกวันนี้ธุรกิจดังกล่าว ก็ยังคงสืบทอดกิจการต่อมาในนาม “ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีบุญเรืองวัฒนา” ทำธุรกิจเกี่ยวกับ เครื่องเขียน สังฆภัณฑ์ และของเบ็ดเตล็ดทั่วไป (ไชยา พรหมา, 2555) 81

นักการเมืองถ่ินจังหวัดหนองบัวลำภู ต่อมาเหตุการณ์ทางการเมืองในระดับชาติพลิกผัน เกิด เหตุการณ์ยึดอำนาจทางการเมือง จากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2534 โดยคณะนายทหาร ที่ใช้ชื่อว่า “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.” นำโดยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร มีการ ดำเนินคดี และยึดทรัพย์รัฐมนตรีในคณะรัฐบาลพลเอกชาติชาย หลายคน บางคนหนีไปยังต่างประเทศชั่วคราวเพื่อรอจังหวะ ทางการเมืองที่คิดว่าปลอดภัยแล้วจึงกลับประเทศ หลังจากนั้น คณะรัฐประหารก็เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน มาดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 และได้จัดให้ มีการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญขึ้นใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, 2553: น. 65-66) ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นการพลิกเกมทางการเมืองครั้ง สำคัญ ระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่นิยมฝ่ายทหาร และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ชอบการยึดอำนาจของทหาร ซึ่งนายไชยาเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ไม่นิยมชมชอบ ในการยึด อำนาจของฝ่ายทหารมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย รามคำแหงแล้ว ซึ่งนายไชยาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตอนที่ตนเรียน อยู่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี 2521 ที่มีการเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด นายไชยาได้ร่วมกับ เพื่อนนักศึกษา ไปช่วยรณรงค์หาสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ของพรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ที่แข่งกับพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ในการเลือกตั้งครั้งนั้นด้วย ซึ่งแม้ผลการ เลือกตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์จะได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ถือว่าได้ว่า เป็นการเลือกตั้งที่มีการซื้อเสียง และใช้วิธีการอันสกปรกกัน 82

ข้อมูลนักการเมืองถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู มากจนเรียกว่า เป็นเชื้อโรคในระบอบประชาธิปไตยของไทยชื่อ ว่า “โรคร้อยเอ็ด” มาจนกระทั่งทุกวันนี้ (ไชยา พรหมา, 2555) สำหรบั การเลอื กตง้ั ทว่ั ไป เมอ่ื วนั ท่ี 22 มนี าคม พ.ศ. 2535 นั้น ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ มีผู้แทนได ้ ไม่เกิน 3 คน นายไชยา พรหมาซึ่งเพิ่งพลาดจากลงสมัครรับ เลือกตั้งในสนามการเมืองท้องถิ่นมาในปี 2534 ก็ไม่ได้คิดที่จะ ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ด้วยโชคชะตา หรือพรหมลิขิตที่ จะทำให้นายไชยาได้เป็นผู้แทนราษฎรในระดับชาติ หรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ ปรากฏว่ามีคนรู้จักคนหนึ่งมาทาบทามติดต่อให ้ นายไชยาลองลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ เพื่อประกบผู้สมัคร รับเลือกตั้งชื่อดังของจังหวัดอุดรธานีรายหนึ่งชื่อ “นายประจวบ ไชยสาส์น” ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีที่ถูกคำสั่งของ คณะ รสช. ยึดทรัพย์ และได้หลบหนีไปต่างประเทศชั่วคราว และเพิ่งกลับมาหลังประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพื่อลง สมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่าย ตรงข้ามพรรคการเมืองที่ฝ่ายทหารให้การสนับสนุนในสมัยนั้น คือ พรรคสามัคคีธรรม ในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองแสง อำเภอ กุดจับ อำเภอโนนสะอาด อำเภอหนองวัวซอ (ปัจจุบันอำเภอ ทั้ง 5 แห่งอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดอุดรธานี) อำเภอ โนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง (ปัจจุบันอำเภอทั้ง 2 แห่งอยู่ใน เขตการปกครองของจังหวัดหนองบัวลำภู) ซึ่งเหตุผลที่ นายประจวบ ไชยสาส์น เลือกนายไชยา พรหมา ลงสมัคร รับเลือกตั้งประกบตัวเองในเขตเลือกตั้งนี้ นายไชยาได้กล่าวกับ ผู้เขียนว่า เพราะฐานคะแนนเสียงสำคัญของนายประจวบ 83