Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 52นักการเมืองถิ่นลำพูน

52นักการเมืองถิ่นลำพูน

Description: เล่มที่52นักการเมืองถิ่นลำพูน

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน โดย ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data รกั ฎา เมธีโภคพงษ.์ นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ลำพนู - - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2559. 175 หน้า. 1. นักการเมือง - - ลำพนู . 2. ลำพนู - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหัสสงิ่ พมิ พข์ องสถาบันพระปกเกลา้ สวพ.59-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ ร้ังท่ี 1 มกราคม 2560 จำนวนพิมพ์ 800 เล่ม ลิขสิทธ ์ิ สถาบันพระปกเกล้า ที่ปรกึ ษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ดร.สติธร ธนานิธิโชติ ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ์ ผพู้ มิ พ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พมิ พ์ท่ี บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถิ่น จังหวัดลำพูน ผู้ช่วยศาสตราจารย์รักฎา เมธีโภคพงษ์ สถาบันพระปกเกล้า

คำนำ การศึกษาวิจัยเรื่อง นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ประวัติและผลงาน ของนักการเมืองถิ่น จังหวัดลำพูน ว่ามีลักษณะอย่างไร อะไรที่ เปน็ ปจั จยั ทำใหก้ ารดำเนนิ กจิ กรรมทางการเมอื งประสบผลสำเรจ็ โดยศึกษาในหลายแง่มุมของนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ได้แก่ประวัติส่วนตัว ของเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์สนับสนุน ทำให้นักการเมืองถิ่นได้รับความไว้วางใจจากประชาชนใน จังหวัดลำพูน นอกจากนี้ยังศึกษาบทบาทของเครือข่ายกลุ่มที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเกื้อหนุนจากครอบครัว และวงศาคณาญาติที่มีบทบาทอย่างใกล้ชิดกับนักการเมืองถิ่น จังหวัดลำพนู ที่ร่วมในการทำกิจกรรมทางการเมืองไปด้วยกัน ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบัน พระปกเกล้า ที่ได้ให้โอกาส และสนับสนุนทุนในการทำวิจัยชิ้นนี้ ขอขอบพระคุณนักการเมืองถิ่น จังหวัดลำพูน และทายาทของ นักการเมืองทุกท่าน รวมทั้งผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับนักการเมืองถิ่น

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูนที่กรุณาให้ข้อมูล อนุเคราะห์ภาพถ่าย และ เอกสารสำคัญ รวมทั้งการพบปะ พูดคุยทั้งทางโทรศัพท์ การสื่อสารด้วยโทรสาร และจดหมายอิเลคทรอนิกส์ อีกทั้ง ยังกรุณาให้ผู้วิจัยพบเพื่อการสัมภาษณ์ ขอกราบขอบพระคุณสิ่งศักดิ์สิทธิคู่บ้านคู่เมืองลำพูน อันได้แก่ พระนางจามเทวี พระธาตุหริภุญชัยและเจ้าผู้ครอง นครลำพูน ผู้ล่วงลับทุกพระองค์ ขอขอบคุณบุคลากรทุกท่านจากหน่วยงานราชการ สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จ.ลำพูน ฝ่ายงานทะเบียน ราษฎร์ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้งานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จลงได้ ขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่ พี่สาว และครอบครัว เมธีโภคพงษ์ที่เป็นกำลังใจให้ผู้วิจัยทำงานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จ เป็นอย่างดี ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานศึกษาชิ้นนี้คงเป็น ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ นักการเมืองถิ่นที่มีคุณภาพให้กับสังคมไทย อันจะนำไปสู่การ พัฒนาการเมืองไทยต่อไป ผ้ชู ่วยศาสตราจารยร์ กั ฎา เมธีโภคพงษ์ ผ้วู จิ ยั

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัย นักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัด ลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและการทำงานและ การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับเลือกตั้ง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งปัจจัย สำคัญที่ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยผู้วิจัยใช้วิธีการ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์ในพื้นที่ การสัมภาษณ์นักการเมือง หรือการสัมภาษณ์ทายาท รวมทั้ง บุคคลที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอข้อมูลการสรุปผลงานวิจัยโดยวิธี การเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด โดยมีที่มาหลากหลาย เช่น ภูมิหลังที่มาจากเชื้อสายเจ้าเมืองลำพูน บุคคลที่เคยผ่านการ บวชในพุทธศาสนา บุคคลที่อดีตเคยทำงานภาครัฐหรือเป็น

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน นักธุรกิจทำงานภาคเอกชน และเป็นผู้ที่มีการช่วยเหลือกระทำ ประโยชน์ให้กับสังคม ในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม โดยที่บุคคลเหล่านี้จะมีการประกอบธุรกิจควบคู่ไปกับ การทำกิจกรรมทางการเมืองอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งส่งผลต่อการ สร้างเครือข่ายทางสังคมอย่างแนบแน่น การศึกษานี้ยังพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูนมีลักษณะของการลงสมัคร ในตำแหน่งต่าง ๆ หมุนเวียน สลับสับเปลี่ยนไป-มา ระหว่าง การเมืองระดับชาติ และการเมืองระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ที่เด่นชัดนับตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน โดยใน ขณะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจะมีการสร้างเครือข่ายเพิ่ม โดยการให้บุคคลที่เป็นเครือญาติเข้าช่วยงานทางการเมือง ในกรณีของนักการเมืองที่มิใช่คนลำพูนโดยกำเนิด ซึ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ในบางช่วงเวลาก็ต้องเป็น ผู้ที่มีบทบาทในตำแหน่งสำคัญ เช่น อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด นายธนาคาร หรือเป็นผู้ที่มีผลงานเป็นที่ปรากฏอย่างเด่นชัดเมื่อ ได้รับตำแหน่งแล้ว ทั้งนี้บุคลิกภาพส่วนบุคคลของผู้ที่ได้รับ เลือกตั้ง นับเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่เด่นชัดกว่า บทบาทของการสังกัดพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้มี บุคลิกภาพดี มีการปราศรัยที่โดดเด่น การทำตัวกลมกลืนกับ ประชาชน และในกรณีของจังหวัดลำพูนนี้ ปัจจัยที่เสริมทำให้ นักการถิ่นได้รับความไว้วางใจจากประชาชนนานมากขึ้นคือ การสร้างเครือข่ายด้านศาสนาซึ่ง เป็นปัจจัยที่เสริมให้มีความ โดดเด่นมากขึ้น จนได้รับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องยาวนาน VII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน กลยุทธและวิธีการในการหาเสียงของนักการเมือง ในจังหวัดลำพูนจะเน้นทางด้านการเข้าร่วมงานประเพณีและ วัฒนธรรม รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการการบริจาคในชุมชน เพื่อให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากประชาชน VIII

Abstract This study investigates the background and factors affecting local politicians’ chances of election victory in Lamphun province. Specifically, politicians’ personal histories are explored several aspects: early life, work experience, and political activity. The researcher gathers and analyzes information by utilizing relevant documents, field observation, and face-to-face interviews with local politicians, politicians’ relatives, and other relevant persons. The results are presented descriptively. The findings show that most victorious Lamphun local politicians are native Lamphun citizens. They have diverse backgrounds, such as a descendant of the historical ruler of Lamphun city, a person who had ordained as a monk, former officials, businessmen, and people who directly and indirectly

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน volunteer to serve society. These people not only run a business but are also involved in political activities and will engage their relatives to expand networks. These strategic actions construct a strong social network. Additionally, this study finds that local politicians periodically switch back and forth between national and local level when seeking election to public office. . However, among the non-native Lamphun’s politicians who won elections, most used to occupy high positions in various organizations, i.e., as former governors or bank managers. Politicians are re-elected because of good performance in the past. This research also finds that several characteristics are crucial for winning an election; i.e., a good personality, public speaking, and getting along with people. More importantly, creating a religious network develops trust among voters—this is a factor supporting the local politicians to be re-elected in the future. In short, during an election campaign, Lamphun local politicians emphasize strategies of including involvement in local traditional festivals and donating money to communities. These strategies enhance the candidates’ reputations and voters’ acceptance.

สารบัญ หน้า คำนำ IV บทคดั ย่อ VI Abstract IX บทท่ี 1 บทนำ 1 1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย 5 1.3 ระยะเวลาทำการศึกษา 5 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5 บทท่ี 2 ข้อมูลทว่ั ไป 7 2.1 ประวัติเมืองลำพูน 7 2.2 ที่ตั้งและอาณาเขต 10 2.3 แผนที่จังหวัด 11 2.4 ภูมิประเทศ 11 2.5 เชื้อชาติและภาษา 12 2.6 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 12

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน หนา้ 2.7 ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด 13 2.8 เขตการปกครอง 15 บทท่ี 3 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจยั ท่เี กีย่ วข้อง 16 3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 17 3.2 หลักการของการเลือกตั้ง 18 3.3 ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 19 ที่ใช้ในประเทศไทย 3.4 ทฤษฎีว่าด้วยชนชั้นนำ 20 3.5 การจำแนกแบบของผู้นำการเมือง 22 3.5 วัฒนธรรมทางการเมือง 23 3.6 แนวความคิดระบบอุปถัมภ์ 25 3.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 26 บทที่ 4 ขอ้ มูลนักการเมอื งถิ่นจังหวดั ลำพูน 35 1. เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร 35 2. เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน 39 3. นายสม ชุตินันท์ 46 4. นายชัยวัธน์ อินทะพันธ์ 50 5. นายบุญศรี ปรีดำ 62 6. นายสันต์ เทพมณี 64 7. นายสมาน ชมพูเทพ 78 8. นายมนตรี ด่านไพบลู ย์ 84 9. นายจริญญา พึ่งแสง 88 10. นายประเทือง ปานลักษณ์ 91 11. นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ 94 12. นายสังวาล วงศ์วรรณ 97 13. นายธัญ กาญจน์วัฒนานนท์ 98 14. นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน 102 XII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน หน้า 15. นายสงวน พงษ์มณี 106 16. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ 110 17. นายสถาพร มณีรัตน์ 117 18. นายขยัน วิพรมชัย 122 19. นายรังสรรค์ มณีรัตน์ 126 บทท่ี 5 วเิ คราะห์ 128 5.1 การใช้ประโยชน์ของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี 129 ในเครือข่ายของนักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 5.2 เทคนิคของการสร้างเครือข่ายของนักการเมืองถิ่นลำพูน 129 ก่อนที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมือง 5.3 เครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่น 130 ในจังหวัดลำพนู ที่สนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง 5.4 ปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่าย 134 ของนักการเมืองถิ่นลำพูน บทที่ 6 สรุปและข้อเสนอแนะ 140 6.1 สรุป 140 6.2 ข้อเสนอแนะ 146 บรรณานกุ รม 148 ภาคผนวก รปู ภาพนักการเมืองถิ่น จ.ลำพนู 154 ประวตั นิ ักวจิ ัย 160 XIII



บ1ทท ่ี บทนำ 1.1 ความเป็นมาและสภาพปัญหา ประเทศไทยมีรูปแบบการเมืองระดับประเทศที่เป็น เอกลักษณ์หนึ่งในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ รปู แบบการเมืองของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุค หลายสมัยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศในปี พ.ศ. 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นที่มีผลกระทบกับสังคมการเมืองของประชาชน ทั่วประเทศเป็นอย่างมากได้ก่อให้เกิดระบบการเมืองแบบใหม่ที่ มีผู้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนโดยให้ประชาชนได้เข้า มามีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของตนเองในการเข้าไปทำ หน้าที่ในการกำหนดนโยบายสาธารณะในรัฐสภาและปฏิบัติ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน หน้าที่แทนประชาชนในการดูแลและรักษาไว้ซึ่งสิทธิและ ผลประโยชน์ในส่วนรวมและส่วนบุคคลแทนตนเอง ในระดับชาติมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 23 ครั้ง ในปี พ.ศ.2489 มีการ เลือกตั้งสมาชิกพฤฒิสภาทางอ้อม 1 ครั้ง และการเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาทางตรง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ.2549 ตามลำดับ ส่วนในระดับท้องถิ่นก็มีการจัดการเลือกตั้งตัวแทน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นในรูปแบบต่างๆ การศึกษาการเมืองการปกครองของประเทศไทยในช่วง เวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้ว ล้วนมุ่งศึกษาการเมืองระดับชาติ ส่วน “การเมืองถ่ิน” ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลของการเมือง ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในอาณาบรเิ วณของทอ้ งถน่ิ จงั หวดั ตา่ งๆ ของประเทศไทย เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติ ที่เป็นศูนย์กลางของการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของ พรรคการเมืองต่างๆ และนักการเมือง ในขณะที่พื้นที่ของแต่ละ จงั หวดั ตา่ งกม็ บี รรดาผสู้ มคั ร ผใู้ หก้ ารสนบั สนนุ ผสู้ มคั รดำเนนิ งาน ทางการเมืองเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ของตนเช่นกัน การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของนักการเมืองถิ่น ในระดับจังหวัดลำพูนนับแต่เริ่มสมัยเจ้าเมืองลำพูนคนแรก ท่านพระยาคำฝั้นในปี พ.ศ. 2348-2359 ซึ่งเป็นอนุชาของ พระเจ้ากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้รับแรงสนับสนุนในการเข้า มาดูแลปกครองบ้านเมืองและช่วยให้ประชาชนในเมืองได้มี ความสงบเรียบร้อย จังหวัดลำพูนได้รับการปกครองด้วย เจ้าเมืองเรื่อยมาจนถึง ปี พ.ศ. 2450 ก็ได้เริ่มเปลี่ยนรูปแบบ

บทนำ การเมืองการปกครองโดยเจ้าเมืองมาเป็นแบบโดยตำแหน่ง ข้าหลวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นจำนวน 36 คน จนถึง ปัจจุบันนี้ โดยในปี พ.ศ. 2476 ก็ได้เริ่มมีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรคนแรกของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเมืองของ ประเทศไทยรูปแบบใหม่ ที่มีรัฐธรรมนูญของประชาชนและ กำหนดให้ประชาชนใช้สิทธิในการเลือกตัวแทนของตนเองใน การเข้าไปปกครองประเทศเพื่อทำการกำหนดนโยบาย สาธารณะให้ตอบสนองในสิทธิของตนเอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของจังหวัดลำพูน คือ เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร ได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จนถึงปัจจุบันนี้ จังหวัดลำพูนมีจำนวน นักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลของพัฒนาการทางการเมืองที่ ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โครงการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อมูลการเมืองถิ่น จังหวัดลำพูนโดยรูปแบบในการศึกษา และสำรวจข้อมูล ใช้การศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสอบถามนักการเมือง ทายาท หรือบุคคลที่ เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจกับนักการเมืองถิ่นและอธิบาย ปรากฏการณ์ของรูปแบบการเมืองถิ่นในบริบทของจังหวัด ลำพูน ทั้งนี้โดยใช้แนวคิดทฤษฏีทางรัฐศาสตร์และการเมือง มาอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น การศึกษานี้เริ่มจากนักการเมืองถิ่น จังหวัดลำพูนในสมัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร คนแรกของจังหวัดลำพูนมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะมีการอธิบาย

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน รูปแบบการเมืองถิ่นในประเด็นข้อมูลพื้นฐานของนักการเมือง ถิ่นจังหวัดลำพูน รูปแบบของเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ ป ั จ จ ั ย ท ี ่ เ ก ื ้ อ ห น ุ น ท ำ ใ ห ้ บ ท บ า ท ท า ง ด ้ า น ก า ร เ ม ื อ ง ข อ ง นักการเมืองถิ่นเหล่านั้นประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ ทางการเมือง พื้นฐานข้อมูลสนับสนุนที่มาจากด้านครอบครัว ที่เป็น ปัจจัยสนับสนุนทำให้นักการเมืองถิ่นมีความได้เปรียบและ สามารถได้รับแรงสนับสนุนจากหลายเครือข่ายในการหาเสียง นอกจากนี้ปัจจัยเหล่านี้ยังมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของ ประชาชนในท้องถิ่นในการให้การสนับสนุนเป็นฐานเสียงของ นักการเมืองถิ่นเหล่านี้ ความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ ที่มีอิทธิพลต่อการ สนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองถิ่น การแข่งขัน หรือการช่วงชิงความได้เปรียบในการเมืองถิ่นในแต่ละช่วงเวลา รูปแบบและวิธีการหาเสียงของนักการเมืองถิ่นที่อาศัยปัจจัย เกื้อหนุนหลายด้านเพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะจากเสียงของ ประชาชนในการเข้าไปเป็นตัวแทนในการปฏิบัติหน้าที่ใน การเมืองระดับประเทศ การศึกษาและรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ ให้ครบทุกด้านในประเด็นที่ลึกและละเอียดจะเป็นประโยชน์ต่อ การเข้าใจในรูปแบบการเมืองของประเทศไทยได้และยังทำให้ การอธิบายปรากฏการณ์การเมืองของประเทศไทยในภาพรวม ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นนั้นสามารถบอกความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของการเมืองถิ่นกับการเมืองของ ประเทศไทยได้

บทนำ 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับเลือกตั้ง ในจังหวัด ลำพูน 2. เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของ นักการเมืองในจังหวัดลำพนู 3. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนสนับสนุน ทางการเมืองแก่นักการเมือง ในจังหวัดลำพูน 4. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดลำพูน 5. เพื่อทราบถึงวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของ นักการเมืองในจังหวัดลำพนู 1.3 ระยะเวลาทำการศึกษา พฤศจิกายน 2552 – กรกฎาคม 2553 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมือง ในจังหวัดลำพูน ตั้งแต่มี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดลำพูนที่ได้รับเลือกตั้ง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน บ้าง และชัยชนะของนักการเมืองเหล่านั้นมีสาเหตุ และปัจจัยอะไรสนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์ และ กลมุ่ ทไ่ี มเ่ ปน็ ทางการ เชน่ ครอบครวั วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีต่อการเมืองในท้องถิ่นที่ทำการศึกษา 4. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดลำพูน 5. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ี่ ข้อมูลท่ัวไป 2.1 ประวัติเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เดิมชื่อ เมืองหริภุญไชย ตั้งอยู่บนดินแดน ที่เคยเป็นแคว้นที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน มีตำนาน กล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตรมาสร้างระหว่าง แม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงกับแม่น้ำปิง เมื่อสร้างเสร็จได้ อญั เชญิ พระนางจามเทวี พระราชธิดาแห่งเมืองละโวม้ าปกครอง นับเป็นปฐมกษัตริย์ และสืบราชวงศ์ต่อมาอีก 50 พระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบา จึงได้เสียการปกครองให้แก ่ พ่อขุนเม็งรายมหาราช เมืองหริภุญไชยแห่งนี้ เคยเป็นอาณาจักรอันเก่าแก่ และ รุ่งเรือง มีพัฒนาการมานานกว่า 1,300 ปี แบ่งเป็น 5 ระยะ คือ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน บทที่ 2 ขอมูลทวั่ ไป 2.1 ประวัติเมืองลําพนู ยจุงัคหกว่ดัอลนําพปนู ระเดวมิ ัตชิศ่อื าเสมอื ตงรห์รยภิ ุญุคไปชรยะวตัต้งั อิศยาูบ สนดตินรแ์แดรนกทเเี่ ครยิ่มเปนยแุคคลวน้าทน่ีเกนา แาก ท่ีสุดใน ภาคเหนยือุคตอตน้นบรนัตนโกมตีสาํ ินนทานรก์ ลแา ลววะายุคฤากษาีวราสปุเฏทพิรไูปดกเ กาณรฑปพกวคกรเมองงคแบุผตร่นมดาสินร างระหวางแมน้าํ ร1เสสม,ัตมอ3ือน0งยั งส0พโลการะปยสะโหแอแตค1เแยนิวมผห.าอื.ลาบมือเทยศ่ขวลางงัรบีแกยปเหยีัยยป่งุคมากฐราโนกใแนงคภิจบยนลอ1ายาํ้รึงญุ5กะนรเ.อนดไอยขไวรปาดงยุคิงชนงะ้ารเณกตกสยยุคะมแอะับแานียวั้ครดกงหากแ.บััตคปเามแงดอนศิ่อเือมรฏปนนาลีปบแยนิรนืสอ้ีํา้ยะูปกถูป้ตาป่เงคุรปคคผกรงบฐนกลิยรมารสมปอรเอวนำปะกฝนมปรงังพนี้กษะใวปกผัไ่หมองตัเูนค่อรัตมฮสาาแรตะรื่อนณณิิยกศวอากเสะพาิทตงนปา2แรลจแศิวอ,ี่าจลัสกก0็นผุา่ขมงัะ0นรสนะับเตนุช0สสอชตดรอเวุันมบืรร–มรนิันบ็จัฒรเอ็ง์3ชกไทาวรป,ย0าดกนชานคุัฒี่แน0รยอวปขโก0ธมะงญัี่คบรนศปรหอมเะือแชตรรธาวแงาลรญิมอาเัตรหาแะณผมณพเริศชลราดม่าามรุงงอสยะิมเโพ2ีก่รในตนบุค,อื นันร0าร5้งำแแงร0า0ธจรณกูรป0ุา์ดกพกคมมวแเ–รัร้งดเพี งบทะิ่มทเบี ัฒอว3ดบาี่ปใงีน,นยิม0คพในุคารว0หกรทลาังเะ0าไามจขกี่อรรนฮนมา่ปทฏตยนเชกาปาีูี ่่นธรน ดิะายนทาคุ แกัง่ ตหถวนึงงา ชุมชนโบราณยุคแ2ร.กยทป่ีุครปากรฏะหลวกั ัตฐิาศนาตสงั้ อตยรูริม์แฝรง ตกะวเันรอิ่มอ ก ขใอนงแรมาน วํา้ พกวุทงธในศเขตตวตร.เรวษยี ง ยอง ขทรทอปู.นึ้ังาํ้เมนกแโือบาบุดรงยบําปลรไมทรทรวใํา2กุงดหุะพ่ั.ศงฒีปีำค่รม1านูเับรเนฐทสบรยอ3นแมุนุคแี่บงือบ-ียธผศ1ปากบำกงขา9รบรแษอสรลใยะลรยแมุนุางนวอัตะมายชัตศาบปงาเดรนขทิศราียณบศาา้ทาะววสมสลิ์ชัน่ีฒแนคาาาตปนาค่ีแนผจรชกือรวอืลาแธนฒัวนักาเะรรผพศนผดแกรรรารสทธมรพเหลคีทัรรมะทจนัิม่ั้ธระงร้าผวนธาามิภกปสาใเพุดารกนศาุาญงั้รทุวงรนรเลระดรธดุงจากไเศษีมิปวชุ่รามบั ชาจพทือามวฐกสนายงุทอ่ีฒัชกนเใกคยธ้ทำลนนานอูกศิรจอมุเดวธาตศ่อจยอนศราี วามนรัยรํ้าต้งารงเมใกัทยจรีศกัพน้งเาษิง่าดธรขดาพษรทิมคมนิาึร้สนะี่าั1ตปีะแพเ3ยนโศยฐดร-ดุทรามน1าาิใยษ9กยแธนใฐ์ษปถศนไภศอกบัตดาาิกจิลภารนคณ้รียสคกปก้ีาามับลคจอนรควีกาักอืนแอษางักฒรทพบทัตหงอล่ีจ่ีมรรบรนยะะยิีรทาภิ รนอปะธ่าุญงบัี่เตากงยรบทไงวคย้รียจอชั่ฒาีร่บมามยิ่งงงอนมแกี งเธบท อร บวตทรีแ้ังมตี่ ผใอ นนง อนสุ าวรยี ์พระนางจามเทว ี อนสุ าวรยี พ ระนางจามเทวี  4

ข้อมูลทั่วไป 3. ยุคล้านนา เมื่อพญามังรายสามารถตีเมืองลำพูนได้ ในราวปี พ.ศ. 1835 แต่พระองค์ไม่ประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชย โดยมเี หตผุ ลคอื เปน็ เมอื งพระธาตุ ประกอบกบั ชยั ภมู ไิ มเ่ หมาะสม เนื่องจากเป็นเมืองขนาดเล็ก ซึ่งทำให้การขยายตัวของเมืองเป็น ไปได้ยาก อีกทั้งในตัวเมืองยังมีแต่วัดวาอาราม พญามังราย จึงส่งอ้ายฟ้า หรือขุนฟ้าครองเมืองหริภุญไชย ส่วนพญา มังรายไปสร้างเวียงกุมกามในปี พ.ศ. 1837 เมืองหริภุญไชยจึง เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ซึ่งทำให้พุทธศาสนาประดิษฐาน อย่างมั่นคงและต่อเนื่องในดินแดนหริภุญไชยตราบจนปัจุบันนี้ 4. ยุคต้นรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24-25 เป็นยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในช่วงที่พม่าครอบครอง ดินแดน ล้านนา เกิดสงครามขึ้นบ่อยครั้ง ชาวเมืองพากันหลบหนีเข้าป่า ปล่อยบ้านเมืองร้างพญากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้แต่งตั้ง น้องชาย คือ พระยาบุรีรัตน์ (คำฝั้น) มาครองเมืองลำพูนและได้ อพยพผู้คนชาวยอง มาสร้างบ้าน แปงเมืองใหม่โดยตั้งถิ่นฐาน ที่อยู่แถบ ริมน้ำกวง น้ำปิง และน้ำทาชาวยองได้นำวัฒนธรรม ศิลปกรรม และงานช่างต่างๆ มาด้วย ยุคนี้บ้านเมืองสงบสุข รม่ เยน็ ในยคุ น้ี เจา้ เมอื งลำพนู เปน็ ผปู้ กครอง ไดแ้ ก่ พระยาคำฝน้ั เจ้าบุญมา เจ้าน้อยอินทร์ เจ้าน้อยคำตัน เจ้าน้อยธรรมลังกา เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณ (เจ้าหนานไชยลังกา) เจ้าดารา ดเิ รกรตั นไ์ พโรจน์ (เจา้ ดาวเรอื ง) เจา้ เหมพนิ ทไุ พจติ ร (เจา้ ดาวเรอื ง) เจา้ เหมพนิ ธไ์ุ พจติ ร (เจา้ คำหยาด) เจา้ อนิ ทยงยศ (เจา้ นอ้ ยอนิ ทยศ) และพลตรี อำมาตย์โทเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (เจ้าน้อยจักรคำ) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพนู องค์สุดท้าย

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน 5. ยุคปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในยุคนี้นับว่าเป็น ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยยกเลิกการปกครองแบบ เจา้ ผคู้ รองนคร และมกี ารแตง่ ตง้ั ขา้ หลวงประจำเมอื ง มาปกครอง เมอื งลำพนู รวมหวั เมอื งทอ่ี ยใู่ กลเ้ คยี งตง้ั เปน็ มณฑล มขี า้ หลวงใหญ่ ปกครองขึ้นตรงต่อสยาม 2.2 ท่ีตั้งและอาณาเขต จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน อยู่ระหว่าง เส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร พื้นที่ ของจังหวัดลำพูนมีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือ กล่าวคือ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ 43 กิโลเมตร และยาวจากเหนือจดใต้ 136 กิโลเมตร จังหวัดลำพูน มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นๆ 3 จังหวัด ดังนี้คือ ทศิ เหนือ จรดอำเภอสารภี และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันออก จรดอำเภอหา้ งฉตั ร อำเภอสบปราบ และอำเภอเสรมิ งาม จังหวัดลำปาง ทิศใต้ จรดอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก 10

ข้อมูลท่ัวไป ทิศตะวันตก จรดอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง และ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ นทีจ่ งั หวัด 2.3 แผนที่จังหวัด 2.4 ภูมิประเทศ ปภระูมเปิทรศะเทศโดยจแทลัง่ัวหะไพวปัดื้นภขทูมซอี่ึิงปภ่งจเูรเปขงัะหเ็านทวสมศดั ่วโีทลดนี่ราํยหพาทนบนูั่วึ่งอไเปปขยอขนู่ทองทาทงงร่ีจี่รทาังาบิศหบหวตเัดุบะชลวีเยขำันงาพใตูนหกแเมลเปฉ่ะ็น-ียพทลงน้ืี่รำเาหทพบนีภู่นหือูเุขบหขาเรอขือางม ที ่ีราบอยทู าง กเฉียงเหนอื ของทจี่ังราหบวลัดุ่มซแึ่งมเป่นน้ำปสิงวนกหวงนลง่ึ ขี้ แอลงะทแรี่ มาบ่ทเาชซยี งึ่งใเปห็นมท -ี่ตลั้งาํ ขพอูนงอหำรเภอื อทรี่ าบลมุ แมน าํ้ แสลูงะเฉแลมยี่ ทา20ซ0ึ่ง-เ4ป0น0มเตมทัวีคเือมเต่ีวมงตาง้ั ลือขรมงำอสลพจงูงำูานอเพกฉาํ อูนรลเภำะมี่ยเดอีรภะับเ2มอด0นปอื0ับ้ํา-ง่าค4ทลซ0วะําา0าพเงลมเูนมปแสตลูงาอนะร2ําตกเ9จภอ0ลาอ.นา2กปง9เรหาะเซนมดตือาตับวั งขรเนมจอแ้ำือางลทกองะะลรำตะเเาํ ลอภดพปนอับูนาบเนหมน้า้ำนรีกนทะือลโะดฮขาเลับ่งงอ ค ง วอาาํ มเภสองู บ2า 9น0โ ะดบั นาํ้ ทะเลปานกลาง สภาพพนื้ ท่ีจะลาดสงู ข้นึ ในตอนกลาง ทางทิศตะวนั ออกเฉียงใตแ กเฉยี งใต ในเขตอําเภอแมท า บรเิ วณตอนใตของอาํ เภอบานโฮง เขตอําเภอท11ุงหัวชาง แ ภอลี้ มลี กั ษณะภมู ิประเทศเปนทีร่ าบสงู และภูเขาสงู มรี ะดับความสงู ระหวาง 400 - 8

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ปานกลาง สภาพพื้นที่จะลาดสูงขึ้นในตอนกลาง ทางทิศ ตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ในเขตอำเภอแม่ทา บริเวณตอนใต้ของอำเภอบ้านโฮ่ง เขตอำเภอทุ่งหัวช้าง และเขต อำเภอลี้ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและภูเขาสูง มีระดับความสูง ระหว่าง 400 - 800 เมตรขึ้นไป ระดับความสูง จะลดลง เมื่อเข้าเขตที่ราบในอำเภอลี้ที่ระดับความสูงประมาณ 400 – 800 เมตร แล้วค่อย ๆ ยกตัวสูงขึ้นมาทางทิศใต้ซึ่งเป็น เขตชายแดนติดต่อกับจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก ที่ระดับ ความสูง 600 – 1,000 เมตร (สำนักงานจังหวัดลำพูน, 2549) 2.5 เชื้อชาติและภาษา ประชาชนในจังหวัดลำพูนประกอบด้วย ชาวพื้นเมือง ชาวกะเหรี่ยงและชาวยอง ซึ่งมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะ ชาวลำพูนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน ประเทศพม่าและสิบสองปันนาประเทศจีน จึงมีสำเนียงที่เป็น เอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากคำเมืองของภาคเหนือ สัญลักษณป ระจํา2จ.ัง6หวสดั ัญลักษณ์ประจำจังหวัด รรปูปู พพรระะธธาาตตุหหุ รรภิิภญุุญไไชชยย วัดพระ1ธ2าตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สรางขึ้นในพุทธศตวรรษท่ี 17 ในรชั สมยั ของพญาอา ราช กษัตรยิ แหงราชวงศจ ามเทวีวงศ โดยทแี่ หงน้ี เคยเปนพระราชฐานของพระองคซงึ่ ราชทานอุทิศถวายใหเ ปนวดั พระธาตฯุ เพ่อื เปน พทุ ธบูชาหลังจากทพี่ ระบรมสารรี ิกธาตไุ ด

ข้อมูลทั่วไป รปู พระธวาดั ตพุหรระภิ ธญุ าตไชหุ ยรภิ ญุ ชยั วรมหาวหิ าร สรา้ งขน้ึ ในพทุ ธศตวรรษ ญชัยวรมหาวิหาร สทรี่ า1ง7ข้ึนในในรพัชุทสธมศัยตขวอรรงษพทญี่ 1า7อใานทรชัิตสยมรัยาขชอกงพษญัตารอิยา์แห่งราชวงศ ์ หวดเงปพศน รจวะาดัมเนพเทตรวระีใวธนงาศบต โฯุรดเิหซจพวเยพึ่งาณลรทพ่ือมะังด่ีแเรเเจปังหะทนกานรงวตลกพานีวารทชุท้ีวงเใทคี่พธศนมยาบร์วบเนโปะูชลดรอบนาสิเหยุทรพวาลทิศรมณรงัผถี่ะสแจงดวรหาาจาาักงร่างชยีกกรทนฐใิกอลพ่ี าีห้ งธนเ่รา้เคคาปะขวพยตบอ็นรเมุรงไวปะดพมวัดบ็นส้รปลพระพารสรมรอาระาธีรงกะธิรกาคราฏตผธซ าตหุางง่ึ ชใตุฯรจหฐไุิภาเด้พาพุญกนรื่อชอะขเัยงปออค็นงง์พคพพ์ไรุทรดะะธ้ทบอบองรูชคมดา์ ธาตุหริภุญชัยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา เดน พระรอดขลัง ลําไยดังคกำขระวเัญทยี ม ด ี ประเพณงี าม จามเทวศี รีหริภญุ ไชย พระธาตเุ ดน่ พระรอดขลงั ลำไยดงั กระเทยี มดี ประเพณงี าม จาํ จงั หวดั จามเทวีศรีหริภุญไชย 2.7 ดอกไม้และต้นไม้ประจ ำจังหวดัดอก ทองกวาว บยืนเกรตาียนรงแขสตนลกับากดใง่ิกบกลยาาอนงยเ ไสท มป ูงป่ีตใ ป ลนร ร าทเะยปศิทมรลทูปอาณือาไงงขกก1ทตว2ก่ีไา-้นลม1วบีเ8ค ปเแปอเม็นกย็นตปมเปไรสุ่มมนเเี่ปป้หยรดมละืนลอเือ่ยีตกบกกมท้ียนิ่งตขบอขอนนงน่อใกเมปบานวเปนเดามปวยปกีขน กุมลนใปปาบลูนงมปะใเรสกอบะูิ่งงียกยอปอดออ รยบสนะีนมม้ีำาตณาล1ห2-น1า8 วา ง 8-15 เซนติเมตกรารยแาวต9ก-ก17ิ่งกเซ้านนตไเิปมใตนรทขิศอบทใาบงเทรี่ยไมบ่คด่อยกอเปอ็นกเรปะน เบชีอยบ ใบเป็นใบ งสม มคี วามยาว 6ป-1ร5ะเกซอนบตแเิ มบตบรขมนีดนอกกมยอใี บยเยกอ่ ายะเป3น ใกบลเมุรยี เวงลสาลบบั าในบมยี อ่5ยทป่ี ลายรปู ไข่ ในเดือนกุมภาพนั ธข องทุกป ผลมีลกั ษณะเปนฝกสนี า้ํ ตาลออน แบน โคง นหนาแตกเปน 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเลก็ อยภู ายใน 1 เมลด็ ฝก ยาวประมาณ 13 ระมาณ 2-3 เซนติเมตร ภาคเหนือเรียกดอกทองกวาว วา กวาว หรือกา ว

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน กลีบแกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบย่อยด้านข้างเป็นรูป ไม่เบี้ยว กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 9-17 เซนติเมตร ขอบใบ เรียบ ดอกออกเป็นช่อคล้ายดอกทองหลาง สีแดงส้ม มีความ ยาว 6-15 เซนติเมตร มีดอกย่อยเกาะเป็นกลุ่ม เวลาบานมี 5 กลีบ จะออกดอกดกที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ผลมี ลักษณะเป็นฝักสีน้ำตาลอ่อน แบน โค้งงอเล็กน้อย ไม่แตก ด้าน บนหนาแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดขนาดเล็กอยู่ภายใน 1 เมล็ด ฝักยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตรตภนาคจเาหมนจือรุ เีรียกดอกทองกวาว ว่า กวาว หรือก๋าว มดีกอิ่งกกส้าจนชี ามสมจาพจาขุมรู มาี จเผีมปุรลาี็นกเปใเนปมน วนีใฝงบใกศนข์ตเFนวม้นaงาลจbศดาa็ดมcเFแลeจaขa็ุรกbeง็ี a ดcผเปeอลa็นกมeไสเี มเนีปช้ยอ้ืมนืนสพไตชีูม้นมมยขีผพืนนลูตราเนปสดขใ็หนหนฝวญาาักดน่ ใสหตั ญวเ คมย้ีีกวิง่ เกอา้อื นง เมจลา็ดมแจขุร็งยี งั ผมลีชม่ือีเนอนื่ื้อสอีชกี มคพอื ู รกสา หมวการนาสมัตว์เกคาี้ยมวกเอุงื้องกชอา มบปกูินฉเปําฉ็นา ตุดตู ลัง สาร ฉอตาำฉหน าาจราตมจุ๊ดจาตุรมู่ ี ลจเปัุงรนียสพังามนั รีชสธืา่อไุ มอสพื่นำสรอะาีกรเคาสชือ่คทุ่กาแ้นาลมเะพกเอื่ รสปา่ดมลู่ ตูกก้นเ้าปจมนากมมุ้งงจคกุรีล้าเจปมัง็ปนห ู วัดลําพนู พ2ัน.ธ8ุ์ไเมข้พตรกะารราปชทกาคนรเอพงื่อปลกู เป็นมงคลจังหวัดลำพนู จังหวดั ลําพนู แบงการปกครองแบง ออกเปน 8 อาํ เภอ คอื อําเภอเม 14 บานโฮง อําเภอลี้ อําเภอทงุ หัวชา ง อาํ เภอปา ซาง อาํ เภอบา นธิ และ 51 ตาํ บล 520 หมบู าน (สาํ นักงานทองถนิ่ จ.ลําพนู , 2554)

ข้อมูลทั่วไป 2.8 เขตการปกครอง จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ อำเภอ ทงุ่ หวั ชา้ ง อำเภอปา่ ซาง อำเภอบา้ นธิ และอำเภอเวยี งหนองลอ่ ง มี 51 ตำบล 520 หมู่บ้าน (สำนักงานท้องถิ่น จ.ลำพูน, 2554) องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 32 แห่ง 1. อำเภอเมืองลำพูน มี 15 ตำบล 158 หมู่บ้าน อบจ. 1 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 11 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง 2. อำเภอแม่ทา มี 6 ตำบล 68 หมู่บ้าน เทศบาลตำบล 7 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 3. อำเภอบา้ นโฮง่ มี 5 ตำบล 59 หมบู่ า้ น เทศบาลตำบล 2 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง 4. อำเภอล้ี มี 8 ตำบล 99 หมบู่ า้ น เทศบาลตำบล 5 แหง่ องค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง 5. อำเภอทุ่งหัวช้าง มี 3 ตำบล 35 หมู่บ้าน เทศบาล ตำบล 1 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 3 แห่ง 6. อำเภอป่าซาง มี 9 ตำบล 86 หมู่บ้าน เทศบาลตำบล 4 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง 7. อำเภอบ้านธิ มี 2 ตำบล 35 หมู่บ้าน เทศบาลตำบล 1 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 8. อำเภอเวียงหนองล่อง มี 3 ตำบล 24 หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล 3 แห่ง 15

บ3ทท ี่ แนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง การสำรวจเพื่อประมวลผลข้อมูลนักการเมืองถิ่น ในพื้นที่จังหวัดลำพูน ครั้งนี้นั้น ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และสำรวจเอกสาร ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ Kline R. Swygart ให้ความหมายว่า นักการเมืองคือ บุคคลผู้สละเวลาและกำลังของตนแทบทั้งหมดไปเพื่อร่วมใน กิจการของรัฐบาล หรือเป็นบุคคลผู้ซึ่งพยายามใช้อิทธิพลต่อ วิถีการดำเนินงานของรัฐบาล ซึ่งโดยปกติเขากระทำในฐานะที่

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง เป็นสมาชิกแห่งพรรคการเมือง หรือกลุ่มอิทธิพล นักการเมือง จึงเป็นผู้ดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจการของรัฐบาล ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย โดยปกติ นักการเมืองต้องสมัครรับเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนแสดงความ นิยม และเมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วก็จะดำรงตำแหน่งตามวาระ เมื่อวาระสิ้นสุดลงก็จะต้องทำการเลือกตั้งเพื่อหาบุคคลที่จะมา ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (อ้างใน ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, 2530) 3.1 แนวคิดเก่ียวกับการเลือกตั้ง สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2527). ให้ความหมายว่า การเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมที่สำคัญ ในกระบวนการทางการเมือง และเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ในเกือบ ทุกประเทศ ทั้งนี้ ไม่ว่าประเทศนั้นจะปกครองด้วยระบอบหรือ ลัทธิการเมืองใด โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อการสร้างความ ชอบธรรมในการปกครอง กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ (2531). สรุปว่า การเลือกตั้งเป็นกลไกแสดงออกซึ่งเจตจำนงของประชาชน ที่เรียกร้อง และสนับสนุนให้มีการปฏิบัติจัดทำหรือละเว้น การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มี ส่วนร่วมทางการเมืองในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นการสร้างความ ชอบธรรมในการเลือกสรรและกำหนดตัวผู้ที่จะมาบริหารงาน สาธารณะ 17

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 3.2 หลักการของการเลือกต้ัง 1. หลักทั่วไป (Universal Suffrage) หมายถึง คุณสมบัติ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น อายุ การมีถิ่นที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง ความเป็นพลเมืองของรัฐ 2. หลักอิสระ (Free Voting) หมายถึง การให้อิสระแก่ผู้มี สิทธิเลือกตั้งในการตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด หรือ ผู้สมัครรายใด ไม่ใช้วิธีการบังคับ ข่มขู่ หรือการชักจูงด้วย วิธีการต่างๆ 3. หลักกำหนดระยะเวลา (Periodic Election) หมายถึง การกำหนดระยะเวลาของการเลือกตั้ง จะมีการเลือกตั้งครั้ง ต่อไปเมื่อใด ว่าเมื่อครบวาระของผู้ที่เป็นตัวแทนแล้ว เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย จะมีการ เลือกตั้งทุกๆ 4 ปี หรือสมาชิกวุฒิสภา จะมีการเลือกตั้งทุกๆ 6 ปี 4. หลักการลงคะแนนลับ (Secret Voting) หมายถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองใด หรือผู้สมัคร รายใด ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกรงกลัวอิทธิพล ต่างๆ 5. หลักหนึ่งคนหนึ่งเสียง (One Man One Vote) หมายถึง ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน มีสิทธิลงคะแนนได้ 1 เสียงเท่ากัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสมอภาค 18

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง 6. หลักบริสุทธิ์ (Fair Election) หมายถึง การเลือกตั้งต้อง ไม่มีการคดโกงด้วยวิธีการต่างๆ 3.3 ระบบการเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่ีใช้ ในประเทศไทย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 จนถึงปี พ.ศ. 2550 มีการใช้ระบบเลือกตั้ง ที่แตกต่างกัน ได้แก่ การเลอื กตงั้ ทางอ้อม 1.1 ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (First past – the- past หรือ FPTP systems) คือ ระบบที่ในเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนได้ 1 คน ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนมากที่สุดเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง 1.2 ระบบรวมเขตเรียงเบอร์ (Block vote BV systems) คือ ระบบที่ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง มีผู้แทนได้หลายคน ผู้มีสิทธิ เลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้ไม่เกินจำนวนผู้แทนในเขต เลือกตั้งนั้น 2.1 ระบบรวมเขตเบอร์เดียว (Single Vote หรือ SV Systems) คือ ระบบที่ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง มีผู้แทนได้หลายคน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกผู้สมัครได้คนเดียว ผู้ที่ได้รับ เลือกตั้งคือ ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับจนครบ จำนวนผู้แทนที่มีในเขตเลือกตั้ง 2.2 ระบบผสม (Parallel system หรือ PS Systems) คือ เป็นระบบที่มีผู้แทนสองประเภทคือ ผู้แทนแบบแบ่งเขต และ ผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน 3.1 ระบบบัญชีรายชื่อ (List PR หรือ LPR systems) คือ ระบบที่ในเขตเลือกตั้งหนึ่ง มีผู้แทนได้หลายคน มักจะเป็นเขต เลือกตั้งที่มีขนาดใหญ่ เช่น ภมู ิภาค หรือ ประเทศ ระบบการเลือกตั้งแต่ละระบบนี้ ส่งผลต่อแนวทางในการ รณรงค์หาเสียงของผู้สมัครรับเลือกที่ลงสมัครในแต่ละครั้ง การเลือกตั้งระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด กับการเลือกตั้งระบบ รวมเขตเรียงเบอร์ ย่อมมีผลต่อชัยชนะของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง กลยุทธ์และวิธีการในการหาเสียง 3.4 ทฤษฎีว่าด้วยชนช้ันนำ ชนชั้นนำมาจากคำว่า Elitist ได้เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศ ฝรั่งเศสเมื่อ ศตวรรษที่ 17 ในการพรรณนาถึงสินค้าที่มีลักษณะ พิเศษที่ดีเลิศ และต่อมาความหมายนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดย หมายถึง กลุ่มสังคมที่มีอำนาจ เช่นกลุ่มทหาร หรือกลุ่มขุนนาง ชั้นสงู (อ้างใน พรชัย เทพปัญญา, 2552) ในทัศนะของ Lasswell ชนชั้นนำก็คือ ผู้ที่ครองอำนาจ ทางการเมือง และมีภาวะผู้นำ ตลอดจนข้อมูลทางสังคม โดย ชนชั้นนำเกิดขึ้นได้เพราะการกระจายอิทธิพลที่ไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม กล่าวคือชนชั้นนำมีอำนาจมากที่สุด รองลงมาคือ ชนชั้นนำระดับกลาง และมวลชนมีอำนาจน้อยที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ เป็นสากลของทุกสังคมที่ชนชั้นนำคือผู้ที่ทรงอิทธิพลในการที่จะ หาประโยชน์ หรือคุณค่าจากสังคมให้ได้มากที่สุด Gaetano Mosca ได้กล่าวถึงชนชั้นนำว่า ในทุกสังคมจะ แบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้น กล่าวคือชนชั้นผู้นำและชนชั้นผู้อยู่ 20

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ใต้ปกครอง โดยชนชั้นผู้นำจะเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชาชนภายในสังคม แต่คนส่วน น้อยเหล่านี้จะเป็นผู้ทรงอำนาจและผูกขาดการใช้อำนาจเพื่อ ประโยชน์ของตนทั้งสิ้น สำหรับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง ถึงแม้จะ มีจำนวนมากในสังคม แต่ถูกควบคุมโดยคนจำนวนน้อย เพราะ คนจำนวนน้อยเหล่านั้น สามารถที่จะจัดองค์กรได้อย่างเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน Pareto ได้อธิบายถึงความหมายของชนชั้นนำไว ้ สองความหมายด้วยกัน กล่าวคือ ในความหมายแรก เขาได้เน้น ถึงใครก็ตามที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเกี่ยวกับหน้าที่การงาน อย่างสูง ในความหมายที่สอง เขาได้เน้นถึงการแบ่งบุคคล ภายในสังคมออกเป็นสองระดับด้วยกันคือ ในระดับต่ำ ได้แก่ พวกที่ไม่ได้เป็นชนชั้นนำ (non-elite) และในระดับที่สูงกว่า ได้แก่ ชนชั้นนำผู้ที่มีบทบาทในการปกครองกับชนชั้นผู้นำ ผู้ซึ่งไม่มี บทบาทในการปกครอง ชนชั้นผู้นำคือ ผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง ในการที่จะ ชี้ชะตาบุคคลที่อยู่ภายใต้การปกครอง ให้เป็นไปตามครรลองที่ พวกเขาต้องการเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยสร้างฐานอำนาจ ให้เข้มแข็งได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง และความ สามารถที่ควบคุมปัจจัยการผลิตไว้ได้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งกำหนด อื่น ๆ อีกที่ทำให้ชนชั้นผู้นำมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น ๆ ภายใน สังคม สภาวะผู้นำ การศึกษา ฯลฯดังนั้น เมื่อเรามองโครงสร้าง ของสังคม ในแนวความคิดของทฤษฎีชนชั้นนำ จะเห็นได้ว่า ลักษณะโครงสร้างของสังคมในแนวความคิดของทฤษฎี 21

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลำพูน ชนชั้นนำ จะเห็นได้ว่าลักษณะโครงสร้างของสังคมจะมีรูปร่าง เป็นปิรามิด โดยมีชนชั้นผู้นำซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่บนยอดของปิ รามิดข้าราชการจะเป็นผู้ที่รับใช้ชนชั้นผู้นำเหล่านั้น และมี มวลชนเป็นฐานของปิรามิดซึ่งไม่มีบทบาทมากมายอะไรนักใน สังคมชนชั้นนำ 3.5 การจำแนกแบบของผู้นำการเมือง Eugene E. Jennings. (1960) จำแนกผู้นำได้ดังนี้ (อ้างใน ณรงค์ สินสวัสดิ์, 2523) 1. ผู้นำท่ีใฝ่อำนาจเป็นสำคัญ (the prince) บุคคลที่ มีความต้องการขึ้นสู่อำนาจเพราะชอบเป็นผู้ที่อยู่เหนือบุคคล อื่น เป็นคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมรอบตัว ในการที่จะแย่งชิงอำนาจและ รักษาอำนาจของตนไว้ให้คงอยู่ยืนยาว การกระทำของผู้นำ ประเภทนี้ บางครั้งอาจผิดศีลธรรมหรือโหดร้าย อย่างไรก็ตาม ผู้นำประเภทนี้ก็ทำได้ทุกวิถีทางเพราะอยากมีอำนาจ และเมื่อมี อำนาจแล้วก็จะรักษาไว้ให้นานที่สุด 2. ผู้นำแบบวีรบุรุษ (the hero) ผู้นำประเภทนี้คิดว่า การเข้าสู่อำนาจเป็นความรับผิดชอบมากกว่าที่พอใจในการ ได้มาซึ่งอำนาจเพราะจะได้อยู่เหนือผู้อื่น ดังนั้น เขาจึงเข้าสู่ วงการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจด้วยความกระตือรือร้นเพื่อจะ ได้ปฏิบัติภาระ หน้าที่ของเขา บางครั้งเขาอาจใช้เล่ห์เหลี่ยม เหมือนผู้นำที่ใฝ่อำนาจ แต่เขาจะพยายามหลีกเลี่ยง กล่าวคือ จะทำเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น 22

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. ผนู้ ำซปุ เปอรแ์ มน (the superman) ผ้นู ำประเภทน้ี หมายถึงผู้นำที่มีความเป็นตัวของเขาเอง เลือกรับแนวปฏิบัติ ของสังคมที่มีมานานแต่เพียงบางเรื่อง และอาจคิดค่านิยม ใหม่ๆ ให้แก่สังคม ผู้นำชนิดนี้มักยึดถือความคิดของตัวเอง เป็นหลัก อาจกล่าวได้ว่า ผู้นำซุปเปอร์แมนเป็นผู้สร้างแนวคิด ใหม่ๆ เป็นผู้ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลง 4. ผู้นำบุญญาธิการ (charismatic leader) Max Weber ได้ให้ความหมายของผู้นำบางคนที่มีลักษณะพิเศษที่เขา เรียกว่า charisma ซึ่งทำให้ผู้นำประเภทนี้มีความแตกต่างจาก คนธรรมดาและคนอื่นๆ 3.6 วัฒนธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแนวคิดที่ชาวตะวันตก กำหนดขึ้นมาเพื่อศึกษาด้านการเมือง โดยมีข้อสมมุติฐานว่า วัฒนธรรมของสังคมมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่ง เปน็ แนวโนม้ ดา้ นความรสู้ กึ นกึ คดิ ทม่ี ตี อ่ ปรากฏการณท์ างการเมอื ง (อ้างใน วิชัย ตันศิริ, 2539) Sidney Verba ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของวัฒนธรรม ทางการเมืองที่จะกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมี 5 ประการ ดังนี้ 1. ความรู้สึกเป็นส่วนหน่ึงของชนชาติ เป็นความ ผูกพันของชนทั้งชาติให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ เป็นพลเมืองสมบูรณ์แบบ และมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ ์ 23

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ของชาติ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อระบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย เป็นลักษณะความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง 2. ความรู้สึกผูกพันกับเพ่ือนร่วมชาติและความไว้ วางใจซ่ึงกันและกัน เป็นความผูกพันและไว้วางใจกันในระดับ ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในแนวนอน 3. ความรู้ ความเข้าใจ และความคาดหวังเก่ียวกับ บทบาทและผลกระทบของรัฐบาลต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และสังคมของประเทศ ความรู้ ความเข้าใจ ความคาดหวัง และการที่ประชาชนประเมินค่าผลการดำเนินงานของรัฐบาล จะมีผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ วัฒนธรรม การเมืองของชาวบ้าน (parochial political culture) หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่สนใจ และไม่ค่อยเข้าใจบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อ ความเป็นอยู่ของตนเอง ส่วนในระดับที่สูงขึ้นคือ วัฒนธรรม การเมืองของราษฎร (subject political culture) หมายถึง ประชาชนมีระดับความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทรัฐบาล ในลักษณะที่จะเป็น “ผู้รับ” คือการรับทั้งผลประโยชน์ที่จะเกิด ขึ้น รับทั้งภาระหน้าที่ที่รัฐบาลกำหนดให้ทุกคนปฏิบัติ เช่น การเคารพกฎหมาย และการเสียภาษี ส่วนความคาดหวังและ การประเมินคุณค่าของบทบาทของรัฐบาล และผลกระทบจาก รัฐบาล สามารถแบ่งได้เป็น ความรู้และความเข้าใจว่ารัฐบาล จะต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข การสร้างสาธารณูปโภค และระดับ ที่สูงขึ้นคือ ความคาดหวังว่ารัฐบาลสามารถเปลี่ยนแปลงสังคม ให้ดีขึ้นได้ 24

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกต่อกระบวนการ ตัดสินทางการเมือง ตลอดจนการประเมินบทบาทของ ตนเอง เป็นความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับกระบวนการ ตัดสินใจทางการเมือง ความรู้ ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ กติกา ของการกำหนดนโยบาย การบังคับใช้นโยบาย บทบาทของ พรรคการเมือง รวมทั้งการที่ประชาชนเข้าใจในบทบาทของ ตนเอง ซึ่งจะเป็นลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผู้มี ส่วนร่วม (participant political culture) คือมีความรู้ และความ เข้าใจในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง และคิดว่าตนเองมี บทบาทเป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ 5. รูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง นักรัฐศาสตร์มักแบ่งรูปแบบของการแสดงออกทางการเมือง ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่เน้นลัทธิอุดมการณ์ ซึ่งมาจาก ลัทธิความเชื่อที่ไม่ยอมรับแนวคิดที่แตกต่าง รับข้อมูลใหม่ยาก เปลี่ยนความเชื่อเดิมได้ยาก ในขณะที่รูปแบบที่เน้นผลทาง ปฏิบัติ จะมาจากพื้นฐานของลัทธิความเชื่อที่สามารถยอรับ แนวคิดที่แตกต่างกันออกไปได้ 3.7 แนวความคิดระบบอุปถัมภ์ ผู้อุปถัมภ์ มาจากคำว่า patron ซึ่งเป็นภาษาสเปน หมายถึง ผู้ที่มีฉันทานุมัติ มีอำนาจ และอิทธิพล ซึ่งต้องมีความ เกี่ยวข้องกับผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า เรียกว่า ผู้รับอุปถัมภ์ ที่มัก ต้องการการปกป้อง การช่วยเหลือ ดังนั้นจึงเกิดเป็นความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายคือ ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ ผู้อุปถัมภ์หนึ่งรายมักมีผู้รับอุปถัมภ์มากกว่าหนึ่งราย ทั้งนี้ 25

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ผู้อุปถัมภ์อาจต้องอาศัยผู้ได้รับอุปถัมภ์อย่างเป็นกลุ่มก้อน ในสถานการณ์บางสถานการณ์ เช่น การลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง ดังนั้นเครือข่ายของการอุปถัมภ์จึงกลายเป็นวิธีการ ที่พรรคการเมืองต่างๆ นำมาใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ผู้รับอุปถัมภ์มักเป็นหัวคะแนนให้แก่ พรรคการเมือง โดยการแลกกับผลประโยชน์ต่างๆ แนวความคิดนี้ อธิบายพฤติกรรมความสัมพันธ์ของผู้คน ในสังคมไทยเป็นแบบผู้อุปถัมภ์ กับผู้รับการอุปถัมภ์ ซึ่งนิยาม ผู้อุปถัมภ์ว่า หมายถึงบุคคลผู้มีอำนาจ สถานภาพ ฉันทานุมัติ และอิทธิพล ที่ไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ที่มีอำนาจด้อยกว่า หรือ ผู้รับอุปถัมภ์ ที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือปกป้องผู้อุปถัมภ ์ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปสินค้า ความจงรักภักดี การสนับสนุนทางการเมือง และบริการในรูปแบบต่าง (อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2539) 3.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พรชัย เทพปัญญา (2548). ได้สำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า นักการเมืองถิ่น จังหวัดสมุทรปราการสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่ม นายวัฒนา อัศวเหม กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค ประชาธิปัตย์ และกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรค ไทยรักไทย กลุ่มนายวัฒนา อัศวเหม มีความสัมพันธ์ทาง เครือญาติ และใช้การหาเสียงโดยให้ความสำคัญกับตัวบุคคล มากกว่าพรรคการเมือง รวมทั้งอาศัยอิทธิพลของกลุ่มการเมือง ในทอ้ งถน่ิ สว่ นกลมุ่ พรรคประชาธปิ ตั ย์ และกลมุ่ พรรคไทยรกั ไทย 26

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ให้ความสำคัญต่อนโยบายของพรรคการเมืองหรือหัวหน้าพรรค ทั้งนี้ตัวแปรที่สำคัญต่อการเลือกตั้งคือระบบราชการ พรชัย เทพปัญญา (2552). ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัด ชลบุรี พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีเป็นบุคคล ที่เป็นชนชั้นนำของจังหวัด กล่าวคือมีสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคมดี เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป โดยมีพื้นฐานสำคัญจากการ เป็นผู้นำในท้องถิ่น การมีประสบการณ์ทำงานในกลุ่มการเมือง ท้องถิ่น เป็นการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในกลุ่มเครือญาติ มีการแข่งขันกันระหว่าง 2 กลุ่มอย่างชัดเจนคือ ระหว่างตระกูล คุณปลื้มกับกลุ่มการเมืองที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มนี้มีฐานคะแนนจากประชาชนทั่วไปและกระแสพรรค วิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนเน้นการลงพื้นที่ การปราศรัยย่อย การปราศรัยใหญ่ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวีท้องถิ่น การใช้หัวคะแนน ทรงศักดิ์ ฉลาดพงษ์พันธ์ (2535). ได้ทำการศึกษา พฤติกรรมทางการเมืองของนายสมาน ชมภูเทพ พบว่า นายสมาน ชมภูเทพ มีลักษณะเป็นผู้นำประเภทกระตือรือร้น ต่อการทำงานในตำแหน่งและมีทัศนคติในทางบวกต่อการดำรง ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ รูปแบบพฤติกรรม ทางการเมืองของเขา ได้แก่ การทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็น พวกเดียวกัน การใช้กลวิธีสร้างชื่อและสร้างสถานการณ์ที่เป็น ผลดีให้กับตัวเอง การเข้าไปอิงกับสถาบันศาสนาและความเชื่อ ตลอดจนพฤติกรรมที่อาศัยพึ่งพาบุคคลที่มีฐานะดีและ มีชื่อเสียง สิ่งที่เป็นปัจจัยต่อความสำเร็จทางการเมืองของเขา 27

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ได้แก่ บุคลิกภาพ ความสามารถในการใช้สถานการณ์ต่างๆ ให้เป็นผลดีแก่ตัวเอง นริ ันดร ์ กุลฑานันท์ (2549). ทำการศกึ ษานกั การเมืองถน่ิ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า นักการเมืองบุรีรัมย์ มีเครือข่ายผ่านการ ทำธุรกิจและการแบ่งปันผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์เชิง เครือญาติบ้าง และสัมพันธ์กับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์กรกู้ภัย ทั้งนี้ความสัมพันธ์ ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมืองจะผ่านมุ้งการเมืองที่ตน สงั กดั อยู่ วธิ กี ารหาเสยี งในการเลอื กตง้ั ไดแ้ ก่ การเคาะประตบู า้ น การจัดมหรสพแล้วปราศรัยหาเสียง การใช้โปสเตอร์ แผ่นป้าย โฆษณา การแจกสิ่งของ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า และการ แจกเงิน โดยมีรปู แบบการจัดตั้งหัวคะแนนจากการวางเครือข่าย ผู้นำท้องถิ่นคล้ายธุรกิจขายตรง การจัดตั้งกองทุนให้กลุ่ม ชาวบ้าน การอบรม การพาไปศึกษาดูงาน การแจกเบี้ยเลี้ยง รวมทั้งการจัดเลี้ยง บูฆอรี ยีหมะ (2549). ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัด ปัตตานี พบว่า พัฒนาการทางการเมืองของปัตตานี แบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ ยุคแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2528 เป็นการต่อสู้ช่วงชิง ทางการเมืองระหว่าง 2 กลุ่มคือ ตระกูลอดีตเจ้าเมือง และ ตระกูลนักการศาสนา โดยตระกูลอดีตเจ้าเมืองซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากกลไกรัฐในพื้นที่ทั้งในระดับบนได้แก่ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง และกลไกรัฐในระดับล่าง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในขณะที่ตระกูลนักการศาสนาและเครือข่าย นับเป็นกลุ่มที่มี 28

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทบาทสูงและใกล้ชิด ตลอดจนได้รับการเคารพนับถือจาก ประชาชน ในฐานนะผู้นำทางจิตวิญญาณและแบบอย่างในการ ดำรงชีวิตซึ่งมีอิทธิพลสูงยิ่ง ยุคที่สอง ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2547 มีความเปลี่ยน- แปลงทางสังคมอันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจ และการ ต่อสู้ช่วงชิงทางการเมืองระหว่าง 2 ตระกูล คลี่คลายลงไป ในยุคนี้มีการก่อตั้งกลุ่มการเมืองเพื่อกลไกในการต่อรองกับ พรรคการเมืองและกลยุทธ์ในการชนะเลือกตั้ง คือ กลุ่มวะดะห์ และกลุ่มญามาอะฮ์อุลามะอ์ ปัตตานีดารุสสลาม (ชุมชน นักปราชญ์แห่งปัตตานี) ยุคปัจจุบัน ระหว่างปี พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน เป็นช่วง การเกิดวิกฤตความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง คนในพื้นที่เห็นว่าเป็นผลาจากนโยบายและการปฏิบัติงานของ รัฐบาล ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็นอย่าง มาก เมื่ออดีตนักการเมืองผู้มีชื่อเสียงและบารมีพ่ายแพ้ผู้สมัคร หน้าใหม่ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างกว้างขวางมาก่อน ณรงค์ บุญสวยขวัญ (2549). ศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การเมืองนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรก พ.ศ. 2475-2500 เป็นยุคเทคนิค วิธีหาเสียง ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2500-2535 เป็นสถาปนาพรรค ประชาธิปัตย์ ซึ่งเน้นการปราศรัย การอภิปรายด้วยลีลาดุดัน เพื่อให้กลายเป็นดาวสภา และการหางบประมาณลงสู่เขต ช่วงที่สาม หลัง พ.ศ. 2535 เป็นยุคการจรรโลงประชาธิปไตย และยุคจรรโลงความเป็นประชาธิปัตย์ในนครศรีธรรมราช 29

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ส่วนอัตลักษณ์ทางการเมืองของนักการเมืองถิ่นจังหวัด นครศรีธรรมราชคือ การมีความรู้สูง พร้อมกับมีความใกล้ชิด ประชาชนอย่างมาก การอุปถัมภ์ด้วยการสร้างโครงการพัฒนา ทางกายภาพ สร้างวาทกรรมทางการเมือง มีความกล้าหาญที่ จะชี้นำประชาชนให้เห็นถึงความไม่ถูกต้อง ความไม่เหมาะสม ของราชการและคู่ต่อสู้ทางการเมืองอย่างไม่เกรงกลัว นอกจากนี้ นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชจะมีการแย่ง ชิงการนำระหว่างกันเองเพื่อหวังจะเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด นครศรีธรรมราชและประเทศ มีกระบวนการสร้างเครือข่ายการ หาเสียง โดยมีการใช้พรรคพวก เช่น ญาติ เครือข่ายวิชาชีพคร ู เครือข่ายสถาบันการศึกษา และเครือข่ายสตรี สุเชาวน์ มีหนองหว้า และกิติรัตน์ สีหบัณฑ์ (2549). ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า ภูมิหลังและ อาชีพของนักการเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ยุคคือ พ.ศ. 2476-2514 เป็นยุคของนักการเมืองที่เป็น ข้าราชการ ส่วนระหว่าง พ.ศ. 2518 –ปัจจุบัน เป็นยุคของ นกั การเมอื งทเ่ี ปน็ นกั ธรุ กจิ รปู แบบและวธิ กี ารหาเสยี งในชว่ งแรก ใช้การปราศรัยตามท้องถิ่นต่างๆ ในเขตเลือกตั้ง การใช้กลุ่ม เครือญาติ เพื่อนสนิทช่วยในการหาเสียง ต่อมารูปแบบการ หาเสียงเปลี่ยนไปเป็นการใช้การจัดตั้งระบบหัวคะแนนใน หมู่บ้าน และชุมชนกระจายครอบคลุมเขตเลือกตั้ง ซึ่งนับเป็น ปัจจัยชี้ขาดสำคัญที่จะทำให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัครซึ่งได้แก่ การเป็นคนที่มีความรู้ความ สามารถ พึ่งพาได้ การเข้าร่วมในกิจกรรมงานบุญและประเพณี ที่ชุมชนจัดขึ้น อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับความสามารถในการ 30

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกข์สุขของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ที่มาขอความ ช่วยเหลือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งแล้ว เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วย ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (2549). ได้สำรวจเพื่อประมวล ข้อมูลนักการเมืองถิ่น จังหวัดสงขลา พบว่า ภูมิหลังของ นักการเมืองถิ่นจังหวัดสงขลา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่ม นักกฎหมาย กลุ่มอดีตข้าราชการ กลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่ม ผู้กว้างขวาง และพบความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เช่น บิดา- บุตร พี่น้องร่วมบิดามารดา และญาติสกุลเดียวกัน นบั ตง้ั แตก่ ารเลอื กตง้ั ในปี พ.ศ. 2476 - 2548 มนี กั การเมอื ง จาก 7 พรรคการเมอื งไดร้ บั เลอื กตง้ั เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร และเมื่อนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ พรรคประชาธิปัตย์ก็ผูกขาดการเมืองถิ่นสงขลา นักการเมืองคนสำคัญที่มีบทบาทในการวางรากฐานความ ศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ให้คนในจังหวัดสงขลาคือ นายคล้าย ละอองมณี กลุ่มผลประโยชน์ที่มีบทบาทต่อการเมืองถิ่น มีทั้งกลุ่มที่ เป็นทางการและไม่เป็นทางการกลวิธีที่ใช้ในการหาเสียงคือ การลงพื้นที่ พบปะประชาชน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ในชุมชน การปราศรัย รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบ ต่างๆ โดยกลุ่มสตรีแม่บ้านเป็นคะแนนเสียงสำคัญ ภิญโญ ตันพิทยคุปต์ (2553). ศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดตรัง พบว่า การเมืองถิ่นตรังมีความผูกพันกับพรรค ประชาธิปัตย์อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 31

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ที่เคยได้รับเลือกตั้งจะมาจากพรรคต่างๆ ได้แก่ สหประชาไทย กิจสังคม ชาติไทย และประชาธิปัตย์ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งแบบยกทีมในทุก สมัย เครือข่ายของนักการเมืองถิ่นตรังประกอบด้วย ครอบครัว เครือญาติ เพื่อน เพื่อนร่วมวิชาชีพแล้ว เครือข่ายของพรรค ประชาธิปัตย์คือ เครือข่ายของพรรค กลุ่มสตรี ผู้นำชุมชน ผู้นำ ท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) ผู้ปฏิบัติงานในสาขาพรรคที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ สำคัญของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ คือการประพฤติตน สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น การเกาะติดพื้นที่และมวลชน โดยมีวิธีการหาเสียงได้แก่ การพบปะประชาชน การเข้าร่วม กิจกรรมในชุมชน และการปราศรัย พิชญ์ สมพอง (2551). ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัด ยโสธร พบว่า นักการเมืองถิ่นยโสธร จำแนกได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่ม นักสื่อสารมวลชน กลุ่มครู –อาจารย์ ข้าราชการเก่า และ นักกฎหมาย กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นและนักธุรกิจ มีความ สัมพันธ์ของบิดา-บุตร 1 คู่ นอกจากนั้นเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ทาง สังคมและวัฒนธรรม นักการเมืองถิ่นยโสธรมีการเปลี่ยนแปลง การสังกัดพรรคตามวาระของรัฐบาล กลวิธีในการหาเสียงได้แก่ การลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และการให้การอุปถัมภ์ ชาญณวุฒ ไชยรักษา (2549). ศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา 32

แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ผู้แทนราษฎรในยุคแรกเป็น ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการใน จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่เกิดและเติบโตหรือ มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่รุ่นบิดา มารดา ซึ่งทำให้มีทุนทางสังคม จนได้รับคะแนนเสียงจาก ประชาชน การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่นักการเมืองถิ่นจังหวัด พิษณุโลกใช้ ได้แก่ การลงพื้นที่เพื่อพบปะชาวบ้าน การปราศรัย หาเสียง การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ การใช้รถขยายเสียง ส่วน ปัจจัยที่ส่งผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้แก่ ความใกล้ชิดของ ผู้สมัครที่มีต่อชุมชน เงินที่ใช้ในการหาเสียงโดยการจ่ายผ่าน หัวคะแนน การมีเครือข่ายทางสังคมของผู้สมัคร และความ สัมพันธ์กับนักการเมืองถิ่นที่ดำรงตำแหน่ง ส.ส. อยู่แล้ว รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2553). ศึกษา นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า นักการเมืองถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีภูมิหลังมาจากการเป็นนักการเมือง ท้องถิ่นของพรรค ประชาธิปัตย์ และมีเครือข่ายความสัมพันธ์ ในลักษณะทายาททางการเมือง เครือญาติ และบุคคลที่ใกล้ชิด กับพรรคประชาธิปัตย์ นักการเมืองถิ่นมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง กระจายในทุกพื้นที่ มีการจัดตั้งหัวคะแนน และตัวแทนทำงาน ในพื้นที่ และฐานคะแนนเสียงค่อนข้างมั่นคง กลยุทธที่ใช้ในการ หาเสียงคือ การลงพื้นที่พบปะประชาชน การร่วมงานบุญ ประเพณีต่างๆ การร่วมกิจกรรมทางสังคม และการปราศรัย ใหญ่เพื่อแถลนโยบายของพรรค 33

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลำพูน ภาคภูมิ ฤกขะเมธ (2552). ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัด ตาก พบว่า นักกาเมืองถิ่นจังหวัดตากมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ตระกูล ไชยนันท์ และตระกูลตันติสุนทร โดยพรรคประชาธิปัตย์ผูกขาด การเมืองถิ่นจังหวัดตาก วิธีการในการหาเสียงได้แก่ การใช้บัตร แนะนำตัว แผ่นพับ ใบปลิว การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ โดยรถขยายเสียง การปราศรัย ปัจจัยที่ทำให้ได้รับชัยชนะคือ ความสม่ำเสมอในการเข้าถึงประชาชน ความจริงใจและความ พร้อมในการให้ความช่วยเหลือ ประกอบกับบุคลิกภาพที่ อ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งนี้ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และ ครอบครัว เป็นสิ่งที่สนับสนุนให้ได้รับการเลือกตั้ง ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ (2553). ศึกษานักการเมืองถิ่น จังหวัดนนทบุรี พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการ และอดีตนักการเมืองท้องถิ่น มีวิธีการหาเสียงคือ การใช้ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนน การใช้ รถประชาสัมพันธ์ และการเดินหาเสียงแบบเข้าถึงประชาชน ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้ได้รับการเลือกตั้งได้แก่ การสนับสนุนของ นักการเมืองท้องถิ่น การรวมกลุ่มทางการเมือง ผู้สนับสนุนหรือ หัวคะแนน รวมทั้งความนิยมในตัวผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ที่สังกัด 34

บ4ทท ี่ ข้อมูลนักการเมืองถ่ิน จังหวัดลำพูน จากการศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา จังหวัดลำพูน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 19 คน ดังต่อไปนี้ คือ 1. เจ้าหนานบุญมี ตุงคนาคร เจา้ หนานบญุ มี ตงุ คนาคร เปน็ บตุ รของเจา้ ราชภาตกิ วงศ์ (เจา้ นอ้ ยดวงทพิ ย์ ตงุ คนาคร หลานเจา้ ฟา้ สาม แหง่ นครเชยี งตงุ ) กับหม่อมบัว ตุงคนาคร เจ้าหนานบุญมี สมรสกับเจ้าโสภา ณ ลำพูน ธิดาของเจ้าน้อยจิตตะ ณ ลำพูน (บุตรเจ้าหนานเลาคำ กับ เจ้าหญิงลัมนุช ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร