นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด โดย ดร.นพดล พรามณ ี ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data นพดล พรามณ.ี นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ตราด- - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2558. 209 หน้า. 1. นักการเมือง - - ตราด. 2. ตราด - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหัสสิ่งพิมพ์ของสถาบนั พระปกเกล้า สวพ.58-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ ร้งั ที่ 1 มีนาคม 2559 จำนวนพมิ พ ์ 500 เล่ม ลิขสิทธ ์ิ สถาบันพระปกเกล้า ท่ีปรกึ ษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผแู้ ต่ง ดร.นพดล พรามณี ผ้พู ิมพ์ผู้โฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพ์โดย สถาบันพระปกเกล้า ศนู ย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พิมพท์ ่ี บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225
นักการเมืองถิ่น จังหวัดตราด ดร.นพดล พรามณี สถาบันพระปกเกล้า อภินันทนาการ
คำนำ ร า ย ง า น ก า ร ว ิ จ ั ย โ ค ร ง ก า ร ส ำ ร ว จ เ พ ื ่ อ ป ร ะ ม ว ล นักการเมืองถิ่น : จังหวัดตราด ได้ดำเนินการโดยการรวบรวม ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์นักการเมืองและบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการประมวลความรู้ ประสบการณ์ของ ผู้เขียนในพื้นที่จังหวัดตราดและการติดตามสถานการณ์ทาง การเมือง มาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอเพื่อแสดง ให้เห็นถึงภูมิพลังและบทบาทของนักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด รวมทั้งสภาพความเป็นไปทางด้านการเมืองในพื้นที่จังหวัด ตราด ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2476 จนกระทั่งถึง การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2554 งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีภายใต้ความร่วมมือ และความช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคคล หลายฝ่าย ผู้วิจัยขอ ขอบคุณสำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า ที่ให้ทุน สนับสนุนงานวิจัยนี้ และคณะกรรมการกลั่นกรองงานวิจัยของ สถาบันพระปกเกล้าที่กรุณาเสนอแนะแนวทางและข้อคิดเห็น เพื่อเติมเต็มงานวิจัยนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และขอขอบคุณ คุณณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และคุณวิศิษฎ ชัชวาลทิพากร ที่กรุณาประสานงานด้านกระบวนการวิจัยเป็นอย่างดี
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราดทั้งใน อดีตและปัจจุบัน และผู้ให้ข้อมูลทุกท่านที่กรุณาให้ข้อมูลเป็น อย่างดี และขอขอบคุณอาจารย์ทิพย์พรรณ สำราญจิตร์ อาจารย์สำเนา สำราญจิตร์ อาจารย์วราภรณ์ รัตนเหลี่ยม ที่กรุณาช่วยเหลือในการประสานงานและพาผู้วิจัยลงพื้นที ่ เพื่อแนะนำให้รู้จักกับผู้ให้ข้อมูล ขอบคุณ คุณรัตนศิริ เข็มราช นายระพีพัฒน์ วิสุทธิแพทย์ และคุณกฤษณา พรามณี ที่กรุณา ช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ถอดเทปสัมภาษณ์ และ ประสานงาน และคุณพัชนิภา ชาวแพรกน้อย ที่กรุณาตรวจทาน ต้นฉบับให้งานวิจัยนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และในโอกาสนี้ผู้วิจัย ขอขอบคุณศูนย์บัณฑิตศึกษานานาชาติการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นหน่วยงาน ต้นสังกัดที่อนุญาตให้ผู้วิจัยใช้เวลาส่วนหนึ่งในการทำวิจัย อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยยินดีรับคำแนะนำและคำติชม เพื่อปรับปรุงงานวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไปและ หวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักการเมือง นักวิชาการ นักศึกษาและ นักพัฒนาการเมืองทั้งระดับจังหวัด และระดับประเทศ ตลอดจนเป็นสารสนเทศที่สำคัญต่อ องค์ความรู้ด้านการเมืองการปกครองของประเทศไทยต่อไป ดร.นพดล พรามณี มกราคม 2559
บทคัดย่อ โครงการสำรวจเพื่อประมวลนักการเมืองถิ่น : จังหวัด ตราด มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ (1) เพื่อสำรวจนักการเมือง ที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดตราด (2) เพื่อศึกษาเครือข่าย และความสมั พนั ธข์ องนกั การเมอื งในจงั หวดั ตราด (3) เพอ่ื ศกึ ษา บทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มที่ ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ฯลฯ ที่มีส่วนใน การสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมืองในจังหวัดตราด (4) เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรคการเมืองกับ นักการเมืองในจังหวัดตราด (5) เพื่อศึกษาวิธีการหาเสียง เลือกตั้งของนักการเมืองในจังหวัดตราด โดยศึกษาจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตในระหว่างสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาประมวลผล จัดระบบและวิเคราะห์แล้วนำเสนอ โดยพรรณนาวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่านักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด หาก จำแนกตามภูมิหลังแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักธุรกิจ และกลุ่มอดีตข้าราชการ เส้นทางสู่การเมืองของนักการเมือง จังหวัดตราดนัน้ มาจากแรงบันดาลใจในการทจี่ ะพัฒนาบ้านเกดิ และประเทศชาติ และการชักชวนของสมัครพรรคพวก
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ส่วนบทบาทของนักการเมืองจังหวัดตราดนั้น ถึงแม้ว่าจังหวัด ตราดจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้เพียง 1 คนแต่ก็ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ทั้งด้านการพัฒนาความรู้และพัฒนา อาชีพให้แก่ชุมชน นอกจากนี้ ส.ส. จังหวัดตราดยังได้รับ ตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลอีกด้วย เช่น รัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วย และรองเลขาธิการพรรค ในด้านฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน ของ ส.ส. จังหวัดตราดนั้น มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ประชาชน ซึ่งนายธีระ สลักเพชรได้ใช้กลยุทธ์ในการเข้าใจ และเข้าถึงประชาชนที่เรียกว่า “การเมืองภาคประชาชน” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ประชาธิปัตย์ชุมชน” ในการหาเสียง เลือกตั้ง ผลก็คือ นายธีระสามารถชนะการเลือกตั้งถึง 6 สมัย ติดต่อกัน ส่วนด้านกลวิธีการหาเสียงของ ส.ส. จังหวัดตราด โดยส่วนใหญ่แล้วจะลงพื้นที่เพื่อพบปะประชาชนในลักษณะ การเคาะประตูบ้านก่อนการเลือกตั้ง การปราศรัย การใช้ โปสเตอร์ การจัดตั้งหัวคะแนน ส่วนกลวิธีการหาเสียงของ คนอื่นๆ ก็ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันบ้าง เช่น หลวงอรรถพรพิศาล ซื้อใจประชาชนโดยการจ้างหนังกลาง แปลงมาฉายให้ประชาชนดู และมีลอดช่องใส่โอ่งให้ประชาชน ไดร้ บั ประทานในขณะดหู นงั อกี ดว้ ย ในขณะทน่ี ายบรรลุ สทุ ธวิ ารี มีเป้าหมายในการพัฒนาบ้านเกิดของตน ส่วนนายธนิต ไตรวุฒิ เป็นคนดี มีน้ำใจ และช่วยเหลือคนทุกระดับ หรือที่ประชาชน จังหวัดตราดตั้งฉายาว่านายบรรลุเป็นคนที่ “บริการทุกระดับ ประทับใจ” ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ VII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ผู้สมัคร ส.ส. จังหวัดตราดได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง รวมทั้ง ด้านระดับการศึกษา ด้านการเข้าถึงประชาชน ด้านอุดมการณ์ และการเปลี่ยนแปลง ด้านความมีน้ำใจ เสียสละ และด้านการ ให้ความช่วยเหลือประชาชนก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ ใช้สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง นั้นคือ หมั่นเพิ่มพูนการศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อุดมการณ์อันแรง กล้าและหนักแน่นดุจขุนเขา มารยาทดี มีสัมมาคารวะ ผู้นำเป็น เลิศเพื่อบรรเจิดชุมชน ภาวะผู้นำยอดเยี่ยมเพื่อเตรียมพัฒนา ชุมชน และการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อผนึกกำลังประสาน ความต่าง ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการเมืองระดับจังหวัด และ การเมืองระดับประเทศ ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องแก่นแท้ของ ประชาธิปไตย เยาวชนต้องเข้าใจระบอบประชาธิปไตย ผู้สมัคร ควรเปี่ยมไปด้วยเกียรติและศักดิ์ศรี และสุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอ นำเสนอ “รูปแบบชั่วคราวของการเป็นนักการเมืองท่ีดี” ทเ่ี กดิ ขน้ึ จากการวเิ คราะห์ สงั เคราะหผ์ ลการวจิ ยั ซง่ึ องคป์ ระกอบ ของรูปแบบชั่วคราวนี้ประกอบด้วย: นักการเมืองและบทบาท เส้นทางสู่การเมือง ฐานเสียงและผู้สนับสนุน กลวิธีในการ หาเสียง บุคลิกภาพและลักษณะนิสัย VIII
Abstract 1co) nacesruTnrhivnisegypfrioovjfeectahtsespueercvleetsyctofeofdcluopsceoasllitopinoclitiathinecssc;oin2m)TptrilhaaettioPsnrtouovfdinydcaoetaf: pspgrS5eurooo)loeuplltiiuhtvrtpcpiiaeccoesnairsastltsnitarupvusenpaed’ldparytnrtoimeoeerodtlsteefiwntlsahpigtonooeartddrlknhiastsedttiuhcuapfrietaneaioilnid,rmlzistedrrii’edcoleylicelaafauolrnttemiersiocol;tneatnh4isntsoii)shtohnitrnipphpecrssevsoai;jowmese3ftwciput)tishdanti,nyihfgpiocenonolrutflmseidttttreeiahuvccleidirehaeiywnnrnvositoisqele;e,fwursaateenhnososdedfft. aonbsaenravlayttiiocna.l Adeftsecrridpatitoancoofmtphielatdioatnaaisndprseyssetenmteadt.i c organization gSroomuepspT:ohbliisutiscsiiatnunedssyssftpoauetenoddplttehhaaattntpdhoerlieirtitciinriaetendrsegisnotvTienrranptmoclioetnincstsisowtffaoiscf itdawulsoe. phtietnhoeaotocoemtuhphllgeleeeehtci.olr etTwucdratnaeoltssrpaihroaleatntseedtnroomthniaie,lnlylcrpaeornpetndhraeeespseerenolneadftcteeaitsovteisnevdileoompsnptoaohmllviietseeiymcnifaatoionmrif/nwreetatdhphrerdteeo.icsroEdermevneevtsmaenptlu ioe vnpEceittvtyifehvo’enesr Moreover, representatives from Trat have served as deputy minister, minister, and deputy secretary of the
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด foDrroegmmaontcwirzaoattgPioraonrutydp.sisP: toarl)iitcitcthieagnrvsoiluilnapgTseraahtneddaed;rmibv)aentthhaeenidrpseaudopmpplioenr.itsTtmrraaatiitno’lnsy sprsPhCeattrooporrssraamvetwittenseemocreggsnenui,ytescanaisotcxniinvatdtcesylholi”seuTantsdetswoieendi“fcrtgaiuhCkf tnf eiiweSvotlelrecihuzkcikfecietrpnlheioegnocmthntcoiPeohnctnohahudsalnso.oisevostCsairecascslma,essonagpef”riaervlSisyaoign.slnrsugiOluyk“sscttpDpurhceaeneeettedeermccegdhchrieseoaedtismsanc,,nicrpnaudalsausaTitbidgrhnialceenget srB“baentySarpdaneprtlersreuosvegeveriivicendSisetniuan.gs ttg tivRtiawoheetueapAtardpreuleoeltesootlearpehpnlmaveotsa’erostnlvuispvnisee”ieseseaTderdahmnnsoa’.dpfsn hiaTtaaphtTstpaeirzliiimwiedndpuegttsisgsdheeetaornosteslpou.reogsRrsyeseidtupayarnt,edhdsseeaeccpnshretlaioafongticpigaveleeen, trppheroarsloicptutiecigccaihtnlR,gcgeaaecpnnnorddiemnidfrciomainpstaeelietlsnlysyd,soabshftyaoiocgudrnoliedfosimdcceeoogm,nnostsevitntrerrguorainentniagngdngecifdevreeoe.xoml ocloeptglihnlyegi,nstgtsholteeouaddcdyoemmrasarmnheniuptenhrbiatsyyt, aittsdehmheenoooitrualnoltpgdigvoIynyelbiotebsmiucyuntaomobgldmupedpiallaeedtrbovhyinyep,sgl,lteeoheun.pelncHeopbdcormeotipmirtopeshnaaftuarslysonlsluycdionp,aibngpltjeghoatcirhnsottiedfvsgedtprnuoeooadumlftiyptitooihschcn,eiaaraaasnrlntesigddpc,eertepcnmhsareeiemonrinarccpttirareapaotdilitgleveinecas, sptorlaitticeiagniessa,idthtahtecoavnerbaell duesveedloipnmfuentutroef sTtruatd’isescoomfmhounwitileosc. al
สารบัญ หนา้ คำนำ บทคดั ย่อ IV Abstract V บทท่ี 1 บทนำ IX ความเป็นมาและความสำคัญ 1 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1 ขอบเขตของการศึกษา 3 วิธีการศึกษา 3 ระยะเวลาในการทำการศึกษา 4 วิธีการเก็บข้อมลู 5 การจัดการข้อมูล 5 การวิเคราะห์ข้อมลู 6 ความแกร่งทางวิชาการ 7 การพิทักษ์สิทธิของผู้ให้ข้อมลู 9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10 บทที่ 2 สภาพภูมิศาสตรข์ องจงั หวดั ตราด ทฤษฎี 10 และงานวจิ ัยทีเ่ กี่ยวข้อง 12 1. ข้อมลู ทั่วไปของจังหวัดตราด 1.1 ที่ตั้ง และอาณาเขต 12 1.2 ลักษณะภมู ิประเทศ 13 15
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด หน้า 1.3 ลักษณะภมู ิอากาศ 16 1.4 ประชากรและการปกครอง 16 2. แนวคิดในการวิเคราะห์ 19 2.1 การเมือง และพรรคการเมือง 19 2.2 การเลือกตั้ง 23 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำ และภาวะผู้นำ 30 2.4 หลักธรรมาภิบาล 39 2.5 ปัจจัยที่ทำให้ชนะการเลือกตั้ง 42 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 50 บทที่ 3 ขอ้ มูลนักการเมืองถิน่ : จังหวดั ตราด 60 1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 60 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 – ปัจจุบัน 62 2. นักการเมืองถิ่น เส้นทางสู่การเมือง ประสบการณ์ทางการเมือง บทบาททางการเมือง 63 ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน กลวิธีในการหาเสียง 65 เหตุ – ปัจจัยที่ทำให้ได้รับเลือกตั้ง 68 และบุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง 73 นายทะ นิรันต์พานิช 80 นายเฉลา เตาลานนท์ 88 หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) 91 นายประชุม รัตนเพียร 99 เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร 106 พ.อ. สาคร กิจวิริยะ 108 นายธนิต ไตรวุฒิ นายบรรลุ สุทธิวารี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญส่ง ไข่เกษ นายธีระ สลักเพชร XII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด หนา้ บทที่ 4 สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ 125 1. สรุปผลการศึกษา 125 1.1 นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 125 1.2 เส้นทางสู่การเมือง 127 1.3 บทบาททางการเมืองของนักการเมืองถิ่น 129 จังหวัดตราด 1.4 ฐานเสียงและกลุ่มสนับสนุน 1.5 กลวิธีในการหาเสียง 130 1.6 เหตุ–ปัจจัยที่ทำให้ได้รับเลือกตั้ง 131 1.7 บุคลิกลักษณะนิสัยของนักการเมือง 133 2. อภิปรายผล 136 3. ข้อเสนอแนะและการนำไปประยุกต์ใช้ 136 4. รูปแบบชั่วคราวของการเป็นนักการเมืองที่ดี 155 5. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 162 บรรณานกุ รม 172 ภาคผนวก 173 ภาคผนวก ก คำถามในการสัมภาษณ์ 185 ภาคผนวก ข ข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ 185 ภาคผนวก ค ใบชี้แจงการเข้าร่วมการวิจัย 186 ภาคผนวก ง ใบยินยอมเข้าร่วมการวิจัย 189 ประวตั ินักวจิ ัย 191 193 XIII
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด สารบัญตาราง หนา้ ตารางที่ 1 แสดงจำนวนเนื้อที่ ประชากร 18 และส่วนการปกครองแยกตามอำเภอ ตารางที่ 2 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตราด 61 สารบัญแผนภาพ หนา้ แผนภาพที่ 1 องค์ประกอบของการวิเคราะห์ข้อมลู 7 แผนภาพที่ 2 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมลู 8 แผนภาพที่ 3 แผนที่จังหวัดตราด 14 แผนภาพที่ 4 รูปแบบชั่วคราวของการเป็นนักการเมืองที่ดี 162 XIV
บทนำ บ1ทท ่ี 1. ความเป็นมาและความสำคัญ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น: จังหวัดตราด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจเพื่อประมวล นักการเมืองถิ่นในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้าได้จัดสรรทุนสนับสนุนให้นักวิชาการ ในภมู ภิ าคนำไปใชใ้ นการศกึ ษา โดยมฐี านคดิ วา่ การเปลย่ี นแปลง การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ได้สร้างระบบการเมืองแบบที่ประชาชนเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่กำหนดนโยบายสาธารณะแทนตน ทั้งในระดับ ชาติและระดับท้องถิ่น ที่ผ่านมาในการเลือกตั้งระดับชาติ ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 24 ครั้ง อย่างไรก็ตาม คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาการเมือง การปกครองไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาต ิ เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากัน อยู่ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า “การเมืองถิ่น” หรือ “การเมืองท้องถิ่น” ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้นในอาณาเขต
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด บริเวณของท้องถิ่นนั้น ก็คือจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับชาติอีก ระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมือง ณ ศูนย์กลางของ ประเทศกำลังเข้มข้นด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองใน สภาและพรรคการเมืองต่างๆ อีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด บรรดาสมัครพรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กำลังดำเนิน กิจกรรมเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน และทันทีที่ ภารกิจที่ส่วนกลางสิ้นสุดลง การลงพื้นที่พบปะประชาชนตาม สถานที่ งานบุญ งานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งที่นักการเมืองผู้หวัง ชัยชนะในการเลือกตั้งมิอาจขาดตกบกพร่องได้ ภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในจังหวัดตราด ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลายสิ่งหลายอย่างของ การเมืองไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ในแง่มุมที่ไม่ อาจพบได้เลยในการเมืองระดับชาติ ดังนั้น “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าศึกษาอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ที่ยังขาดหาย เพราะหากนำสิ่งที่ได้ค้น พบนี้มาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ก็อาจจะทำให้สามารถเข้าใจ การเมืองไทยได้ชัดเจนขึ้นในมุมมองที่แตกต่างจากการมองแบบ เดิมๆ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น จังหวัดตราด จึงเป็นการศึกษาในประเด็นเครือข่าย และความ สัมพันธ์ของนักการเมืองกับกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนใน การสนับสนุนการเมืองในพื้นที่ รวมถึงวิธีการหาเสียงและ ประวัติความเป็นมาของ ส.ส. ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทั้งนี้ผู้วิจัย
บทนำ เชื่อว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะทำให้มองเห็นภาพ การเมืองถิ่นจังหวัดตราด และเข้าใจพัฒนาการทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยที่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) 2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อสำรวจนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งใน จังหวัดตราด 2. เพ่ือศกึ ษาเครือข่ายและความสัมพันธข์ องนักการเมอื ง ในจังหวัดตราด 3. เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติฯลฯ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่ นักการเมืองในจังหวัดตราด 4. เพื่อศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดตราด 5. เพื่อศึกษาวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมือง ในจังหวัดตราด 3. ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาการเมืองของนักการเมืองระดับชาติ ตั้งแต่การ เลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งล่าสุดใน จังหวัดตราด โดยให้ความสำคัญกับการเจาะลึกถึงประวัติของ นักการเมืองถิ่นรุ่นเก่า โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นตำนานหรือมี
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ความสำคัญในแต่ละช่วงเวลา / ยุค หากนักการเมืองคนนั้น เสียชีวิตแล้ว ผู้วิจัยก็ศึกษาจากเอกสาร (Document review) และสัมภาษณ์ (Interview) ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน ประชาชน หรือสัมภาษณ์นักการเมืองในยุคใหม่ย้อนไปถึง นักการเมืองรุ่นเก่า เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก โดยให้ประเด็นที่ ศึกษาครอบคลุมตามวัตถุประสงค์การศึกษา บทที่ว่าด้วยแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจะไม่เน้นทฤษฎีมากนัก และบทที่ว่าด้วยการสรุปและ อภิปรายผล จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวถึงภาพรวมของพัฒนาการ ทางการเมืองในจังหวัดตราดจากอดีตถึงปัจจุบัน นักการเมือง ที่สำคัญหรือโดดเด่น และแนวโน้มการเมืองในจังหวัดตราดและ การเมืองในระดับประเทศ 4. วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลวิธีในการศึกษาประกอบด้วย 1. การศึกษาจากเอกสาร (Documentary review) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติส่วนตัว ที่อยู่ สถิติ ตัวเลข ข้อมูลจาก เว็บไซต์ และข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ที่สามารถตอบ จุดประสงค์ของการศึกษาได้ 2. การสัมภาษณ์ (Interview) บุคคลที่สามารถให้ข้อมูล โยงใย (Snowball sampling) ไปถึงนักการเมืองคนต่างๆ ในพื้นที่ ได้แก่ ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่น และประชาชน โดยผู้วิจัยได้ติดต่อไปยังผู้ให้ข้อมูลเพื่อขอความ
บทนำ ร่วมมือในการวิจัย และนัดหมายเวลา สถานที่ที่ใช้ในการ สัมภาษณ์ 3. การสังเกตในพื้นที่ 5. ระยะเวลาในการทำการศึกษา 8 เดือน 6. วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย การทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยมี รายละเอียด ดังนี้ 1. การทบทวนเอกสาร (Reviews of documents) ในการ วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร ได้แก่ ประวัติ ส่วนตัว ที่อยู่ สถิติ ตัวเลข ข้อมูลจากเว็บไซต์ และข้อมูลหลัก ฐานต่างๆ เพื่อตอบคำถามในด้านการเลือกตั้งของจังหวัดตราด 2. ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) โดยใช้ Interview guide หรือ แนวทางในการตั้งคำถามของ สุภางค์ จันทวานิช (2553) ซึ่งสุภางค์ได้ให้ความหมายของการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก ว่าเป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์มีจุด สนใจอยู่แล้ว จึงพยายามหันความสนใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ ให้เข้าสู่จุดที่สนใจ ทั้งนี้เพราะในบางครั้งผู้สัมภาษณ์อาจจะ ไม่ต้องการทราบเหตุผลหรือข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ทุกขั้นตอน เพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตของการวิจัยในขณะนั้น จึงเลือกสัมภาษณ์เอาแต่จุดที่ต้องการ (น. 77)
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) ใน การสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น นักการเมือง ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หัวคะแนน นักการเมืองท้องถิ่น และประชาชน ดังนั้นการใช้ Interview guide จึงช่วยให้ผู้วิจัยตั้งคำถาม ได้ครอบคลุมทั้ง 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ประสบการณ์ หรือ พฤติกรรม 2) ความคิดเห็น / การให้คุณค่า 3) ความรู้สึก 4) ความรู้ 5) การรับรู้ของผู้ให้ข้อมูล และ 6) ข้อมูลพื้นฐานของ ผู้ให้ข้อมูล (Patton, 2002) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ สัมภาษณ์ ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตควบคู่ไปกับ การสัมภาษณ์ เพื่อจดบันทึกภาษากายและวิธีการแสดงออก ต่างๆ ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น 7. การจัดการข้อมูล ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยเรียงตาม ลำดับ ดังนี้ 1. นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาถอดเทป แล้วนำ มาวิเคราะห์ 2. จัดเรียงข้อมูลทั้งหมดที่คล้ายคลึงกันให้อยู่ในไฟล์ เดียวกัน เพื่อความสะดวกต่อการนำมาใช้และแก้ไข 3. ผู้วิจัยแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่ ตาราง หรือแผนภาพ เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมลู
บทนำ 8. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบ แยกประเภทตาม วัตถุประสงค์ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ และนำไป อภิปรายผลในภาพรวม การวิเคราะห์ข้อมูลคือกิจกรรมที่ดำเนินไปพร้อมๆ กัน 8. กา3แรวสกเิผดคูวิจริจงัยากขนะรหํา้อขรขอมมอ มูลมลู ทคูลไี่(ืดอDม aากจtัดaารระdบทiบsำpแขยlaก้อปyรม)ะเกูลภทาใตหราสม้สวรตัั้นุปถปุลขรงะ้อสงม(Dคูล แaลt(วaCนําorขenอdcมuูlลuทcs้ังtหiiooมnดnม))าแวกิเลคาระราะ ห (แDลaะtนaํากHrไeปduาอuกbภรcาetปิตรioวrรnmาิรเ)คยวกรผaาาจลnระใแ,หสนสขภ1อดอา9งมพบข8ูลรอ 4ควคมมือ,ลู วกp(ิจาD.กaมร3taร2จมd)ทiรs่ีดดpิงําlaังเyน(แ)Dินกสไาrปดรaพสwงรรปุอใiขมนnอๆแgมกูลผันa(นCn3oภdnกcาิจlvuพกseรioรrn1มi)f แคyลือiะnกกgาาร)รตทร(ํวาMขจสอiอมleบูลคใsหวาส&มั้นจลรงิง (Drawing anแd vผerนifyภingา) พ(Mทilesี่ 1& Hอubงeคrm์ปanร, 1ะ9ก84อ, pบ. 3ข2)อดงงั แกสดางรในวแิเผคนภราาพะ1หข์ ้อมูล แผนภาพที่ 1 องคประกอบของการวิเคราะหขอมลู หลัง การคาดคะเนกา รทาํ ขอรมะูหลใวหาสงน้ั ลง (Data reduction) การแสดงขอ มูล (Data display) หลัง ระหวา ง การสรปุ / การตรวจสอบความจริง (Conclusion drawing / verifying) ระหวาง หลงั ทม่ี า : ทMี่มileาs a: nMd iHleusbearmndanH(1u9b8e4r,mp.a3n2)(1984, p. 32) ขอ มลู โ ดยกแาผรนสภัมาภพาษ1ณแแสลดะงกใหารเหส็นังเวกาตขใอนมรลูะหสววนางใสหัมญภจาะษเปณน ตกัวารหทนําังขสอือมมูลาใกหกสว้ันาลตงัวเเปลนขขดั้นังตนอ้ันนผเวูดิจียัยวจกึงันเกกับ็บ การวิเคราะหขอมลูแหผรนือเภปน าสวพนห1นึง่ แขอสงกดารงวใิเคหรา้เะหหข็นอมวูล่ากขาร้อแสมดูลงขสอม่วูลนคือใกหารญเรีย่จบะเรเียปงข็นอมตูลัวเพื่อ กหามราวยิเถคสหึงรัอมานะะผหภไังรูวแาจิสลแยั ะษลือไสว ดรณนมวุปําิเผผคา์แลลรกาลลกะพั ากะหรธขกสทวอ ร่ีไามุ่ปาดูลรไ ต/ไปสตปยัวรพังืนวรเเยจอลกันสมกตอขๆับบใกขคดนอันวมใาัรงนูลมะชนทเปวหีไ่ ัง้นดนเวจจวผาร่ลากิงาูง้แวกคหสาิือจรลักมเงักยาขภบ็รอ จสขมารอึลูงุปษมอเขลู น่ื กณอภๆมา็บูคล์ สกขเนพา้าอ่ือมรใมหทเพเูลขำือ่ าขปโใรจด้อะวโมายยขชูลกอนมใาตูลหอ รทก้ี่ไาดร (เเTกพhบ็ื่อeขจmอัดสสeมหsลู ั่ม้วน)เวพดนลดงัมิ่ หแเหงตสมเิมดนูยปใงอนใึ่งยน็บนแขา(ผSขงอกนuั้นbรภงณ-าCตกพี aโอดtา2eยgนรหoวลrเieงัดิเจsค)าียกรจถวาาอกกดะผเันทูใหหปกส์แขัมัลบ้ภอว กาผมษวูาูณิจลรัยทวตั้งกคี หิเวาคมาดรมรแแหาลลสะะังลจหดงารหก์งขนัสข้อ้ันห้อผมรูวอื มูลิจกัยูาลรจหใัดหคหรร มหืืออวสั ดเก(ปหCามo็นdูหรinล gัก) 4
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เรียบเรียงข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์และสรุปผล การสรุป / ตรวจสอบความเป็นจริง คือการสรุปข้อมูล เพื่อให้เข้าใจว่า ข้อมูลที่ได้หมายถึงอะไร แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปยืนยันกับข้อมูล ที่ได้จากแหล่งข้อมลู อื่นๆ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมๆ กันในช่วงเวลา การเก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อประโยชน์ต่อการเก็บข้อมูล เพิ่มเติมในบางกรณี โดยหลังจากถอดเทปแล้ว ผู้วิจัยตีความ และลงรหัส หรือการให้รหัส (Coding) เพื่อจัดหมวดหมู่ย่อย (Sub-Categories) จากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด หลังจากนั้นผู้วิจัย จัดหมวดหมู่หลัก (Themes) ดังแสดงในแผนภาพ 2 แผนภาแผพนทภี่า2พทก่ี 2รกะรบะบววนนกาารรววเิ คิเรคาระหาขะอหมข์ ลู อ้ มูล ขอมูลจากผูใหขอ มลู ถอดเทป (Transcribe) ลงรหัส (Coding) จัดหมวดหมหู ลัก จดั หมวดหมูยอ ย (Themes) (Sub-Categories) ท่มี า : กระทบี่มวานก:ากรรวะิจับยขวอนงกผาูวริจวัยิจัยของผู้วิจัย ผวู จิ ยั เช่ือวาคําตอบท่ไี ดในระหวางการสัมภาษณ อาจจะคาดไมถึงหรือซับซอน ดังน้ันผวู ิจัยจึง มเตพอ่นั อ่ื งใยจใชวนื เายอขันกอ อกใขสมนอาาาูลกรมจรทแาูลสีไ่จรลใดทนะังะจกํากเคผากาวากริาจรู้ตวสแสัยดัหงิใจัมคเไนลภกรัยมงั้งราตตน่เถษะใาชี้นณึงหงผรืๆ่หอูววะิจหรว่าสัยือวอง่าทาดซสคงําคับัมสกลำัมาอซภตรภง้อาวกาอิเนษับษคบวณรณดัตาทเะถัปง์เหีุ่ปปไนนขรดข็นั้นะออ้สใขมผมงนูล้อคู้วูลไรขมสิจปอะําูลพัยงรหรกอสจอางวึงำมรตซ่รวาๆิจึ่อง้องมยักงกงีปับแใารซกตชะราถึ่งโ้เรยสามอเขชกกัีปมอน็บสมรตภขูละาออใาโรกดมยษแาผูลรชลดิ ณวเพนพะิเคล่ือ์ ์ รา สาดระาหหงรขคืออวขมาามูลด ตกบกพรอตง่อผกูว จิ ายั รสวาิเมคารรถาเะกห็บข์ขอ้อมมูลเลูพ่มิ เเพตมิื่อกยอ ืนนทยี่กันรขะบ้อวมนลู กใารนวกิจัยาจระสสัมิ้นสภุดาลษง ณแล์ ะผูวิจัยก็ไดเก็บขอมูล เวพิเค่ิมรเาตะิมหหขอลมาูลยทวิันธีดทวีเพย่ือกทันําใกหรขะอบมวูลนสกั้นาลรงในแกลวาทรวําิเกคารราแะสหดขงขออมมูลูลท่ีหผูลวิังจจัยาใกชนค้ันือทหํากลัางรจสารกุปเแกล็บะขตอรมวูจลสแอลบว ความจริงของขอมลู โดยแตล ะขน้ั ตอนจะดําเนินการไปพรอมๆ กนั
บทนำ ในการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลไป พร้อมๆ กับการเก็บข้อมูล เพื่อสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ จากแหล่งต่างๆ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย แต่ถ้า ข้อมูลใดผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่อง ผู้วิจัยสามารถเก็บ ข้อมูลเพิ่มเติมก่อนที่กระบวนการวิจัยจะสิ้นสุดลง และผู้วิจัย ก็ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติมหลายวิธีด้วยกัน กระบวนการในการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้วิจัยใช้คือ หลังจากเก็บข้อมูลแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลทันทีเพื่อทำให้ข้อมูลสั้นลง แล้วทำการแสดง ข้อมูล หลังจากนั้นทำการสรุปและตรวจสอบความจริงของ ข้อมูล โดยแต่ละขั้นตอนจะดำเนินการไปพร้อมๆ กัน 9. ความแกร่งทางวิชาการ ประเด็นความน่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็น สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าข้อค้นพบในงานวิจัยของตนนั้นมีคุณค่า และมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสงู การตรวจสอบข้อมูลแบบหลายทิศทาง ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการตรวจสอบข้อมูล จากหลายทิศทาง โดยนำข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informants) จากหลายๆ กลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาก ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่สรุปผลแล้วกลับไปให้ผู้ให้ ข้อมูลตรวจสอบ ซึ่งเรียกว่า การตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูล (Member checking) ว่าข้อมูลที่ได้มาตรงกับสิ่งที่ผู้ให้ข้อมูล ต้องการที่จะสื่อหรือไม่
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 10. การพิทักษ์สิทธิของผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยชี้แจงวัตถุประสงค์ของ การวิจัย พร้อมทั้งชี้แจงสิทธิของผู้ให้ข้อมูล ในการตอบรับหรือ ปฏิเสธในการเข้าร่วมวิจัยครั้งนี้ได้ตลอดเวลา แจ้งขออนุญาต ขอใช้เครื่องบันทึกเสียง พร้อมทั้งจดบันทึกประเด็นสำคัญขณะ สัมภาษณ์ ระหว่างการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสามารถยุติการให้ สัมภาษณ์ได้ตลอดเวลา ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็น ความลับ ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ลงนามในใบแสดงความยินยอมการ เข้าร่วมการวิจัย (Consent form) ซึ่งผู้วิจัยเสนอโครงร่างการวิจัย ต่อคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อพิจารณาตรวจสอบและอนุมัติ หลังจากอนุมัติแล้วจึงดำเนินการวิจัยสัมภาษณ์ 11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดตราด ตั้งแต่ มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดตราดได้รับการเลือกตั้งบ้าง และ ชัยชนะของนักการเมืองเหล่านี้ มีสาเหตุและปัจจัยอะไร สนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสำคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติฯลฯ ที่มี ต่อการเมืองในท้องถิ่นจังหวัดตราด 10
บทนำ 4. ได้ทราบถึงความสำคัญของพรรคการเมืองในการ เลือกตั้ง ส.ส. ในจังหวัดตราด 5. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ งๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สำหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป 11
บ2ทท ่ี สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดตราด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับนักการเมือง ถิ่นจังหวัดตราด ที่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2476 ถึงการเลือกตั้งครั้งหลังสุด พ.ศ. 2554 โดยมี วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยที่ ทำให้นักการเมืองถิ่นเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง 1. ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดตราด ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดตราดประกอบด้วย ที่ตั้ง และ อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ประชากร และการปกครอง ชื่อจังหวัด “ตราด” เพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็น ชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่นำมาทำไม้กวาด เพราะบริเวณรอบ
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง ตัวเมืองตราดในสมัยก่อนนั้นมีต้น “กราด” ขึ้นอยู่เป็นจำนวน มาก ดังนั้นประชาชนในจังหวัดตราดจึงเรียกชื่อเมืองว่า “กราด” และตอนหลังเรียกเพี้ยนมาเป็น “ตราด” และก็ใช้คำว่า “ตราด” จนตราบทุกวันนี้ 1.1 ที่ต้ัง และอาณาเขต จังหวัดตราดตั้งอยู่ที่ระหว่างละติจูด 11-12 องศาเหนือ และลองจิจูด 102 องศาตะวันออก ประกอบด้วยเกาะจำนวน 52 เกาะ มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,761,875 ไร่ โดยมีพื้นที่ทางทะเลประมาณ 7,257 ตารางกิโลเมตร ห่างจาก กรงุ เทพมหานครตามเสน้ ทางสาย บางนา–บา้ นบงึ –แกลง–ตราด เป็นระยะทาง 315 กิโลเมตร ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดต่อกับอ่าวไทย และน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดต่อกับ ประเทศกมั พชู า มที วิ เขาบรรทดั เปน็ แนวกน้ั เขตแดน ทศิ ตะวนั ตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (วัฒนธรรม พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด, 2542) 13
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด ภาพทภ่ีา3พทแี่ 3ผแนผทน่จี ทังี่จหังหววัดัดตตรราาดด ที่มา: สาํ นักงานคณะกรรมการการเลือกตง้ั จังหวัดตราด (2556) ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดตราด (2556) ทิศเหนือทตศิ ดิ เตหอนกบั อื อาํ เภอขลงุ จงั หวดั จันทบุรี และประเทศกมั พชู า ททศศิิ ตใตะวตันิดตอตดิออกตกอ่ ตบั กิดอบตัาวอ อไกำทับเยปภแรอละะขเนทลาศงุ นกนัมจ้ําพงั ทหชู ะาวเมลดั ีทปจิวรนั ะเขเททาบบศกรรุ รีัมแทพลัดชู เะาปปน รแะนเวทกศัน้ กเขมั ตพแดชู นา ทิศตะวนั ทตศิก ใตติดต้ อกบั อําเภอขลุง จงั หวัดจันทบรุ ี 1.2 ลกัตษิดณตะ่อภกูมับปิ อร่าะเวทไศทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา ดตอวนยเปหานเอืบลเญปักนจษทพณี่รระารตทภบณมูบิดศิ แปิรตตลเิรวะะ่อะณเปวทกภานัศับดูเขอิมบปาอีชอรตา้ืนะกณอเนหาท กบมศลรูเาิเกกวงาณัเมปะทพตน ั้งาทูชทงีร่ าเี่ๆาปมบน ทลีทแมุาผิวงนน ตเํา้ ขดทอินา่ีอนแบดุใลตมระสสรพมวทน้ื บนนัดรูใา้ํณหเปปญแร็นลเะวปแกลนอนาภบดวดูเลกขวงายั้เนปสเ ทูนงอืเทชก่ีรนเาขเบาดชสียางู วอยกดุฝันมง ทะเล สภ าพภูมิปรเะขเตทแศทด่ีปนร ากฏแบงไดเปน 4 ลักษณะ (วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร แเอมกนลํ้าักสษําณคญั แลห1ะล.ภ2าูมย.1สิปทตาญบิดิศยรญตตเิทาว่อเ่ีะณกจกวดิงั ทับันหจี่รอาวตากัดำบกเตเทลภรือ มุาอกดแขเ,มขล2าน5ุงบํ้า4รจ2เร)ปังทนหัดบวเรหัดเิ วมจณาันะทสทร่ีาํ บาหบุรรตี ับอทนาํ กนลาาขงา แวลแะลตะะปวันลกูอผอลกไซมง่ึ ประกอบดวย 1.2.2 ทรี่ าบบรเิ วณภูเขา บรเิ วณน้ีมพี ืน้ ที่กวา งมาก เน่อื งจากจังหวัดตราดมีภูเขากระจาย ตัวอ1ยูท4วั่ ไปโดยเฉพาะทางตอนเหนือ ไดแ ก อาํ เภอบอไร ทางทิศตะวนั ตก ไดแก อําเภอเขาสมิง ซึง่ เปน พน้ื ท่ที เ่ี หมาะแกการทําสวนผลไม ยางพารา และไรสบั ปะรด 1.2.3 ทส่ี ูงบรเิ วณภูเขา บรเิ วณท่เี ปน เกาะตา งๆ ซ่งึ สวนใหญมสี ภาพเปนพน้ื ท่ีปาไม
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 1 .2 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศ มีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดิน และพื้นน้ำ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงอุดมด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น หมู่เกาะต่างๆ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกัน ตอนเหนือเป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลางเป็น ที่ราบลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์แล้วลาดลงเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สภาพภูมิประเทศที่ปรากฏแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ (วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด, 2542) 1.2.1 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ราบ ตอนกลางและตะวนั ออก ซง่ึ ประกอบดว้ ยแมน่ ำ้ สำคญั หลายสาย ที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัด เหมาะสำหรับทำนาข้าว และปลูก ผลไม้ 1.2.2 ท่ีราบบริเวณภูเขา บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างมาก เนื่องจากจังหวัดตราดมีภูเขากระจายตัวอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะทาง ตอนเหนือ ได้แก่ อำเภอบ่อไร่ ทางทิศตะวันตก ได้แก่ อำเภอ เขาสมิง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ ยางพารา และไร่สับปะรด 1.2.3 ท่ีสูงบริเวณภูเขา บริเวณที่เป็นเกาะต่างๆ ซึ่ง ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้ 1.2.4 ที่ราบต่ำชายฝ่ังทะเล พื้นที่บริเวณนี้เป็นป่า ชายเลนอย่างหนาแน่น และยังเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิด ด้วย (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดตราดแบบบูรณาการ, ม.ป.ป.) 15
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดตราดเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกเนื่องจากมีพื้นที่ติด ทะเลและภูเขาโอบล้อม ฤดูกาลในจังหวัดตราดแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สั้นคือ ช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ฤดูร้อนมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส เป็นช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน ฤดฝู นมรี ะยะประมาณ 6 เดือน เรมิ่ ตงั้ แตช่ ่วงเดอื นพฤษภาคม – ตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ทะเลอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกชุก โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 – 5,000 มิลลิเมตรต่อปี (คณะกรรมการบริหาร ยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาจังหวัดตราด, ม.ป.ป.; เว็บไซต์จังหวัดตราด, 2556) 1.4 ประชากรและการปกครอง จังหวัดตราดมีประชากร 221,827 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลส่วนราชการต่างๆ ใน ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ส่วนราชการในระดับ จังหวัดแบ่งได้เป็นเป็น 2 ลักษณะ คือ หน่วยราชการบริหาร ส่วนภูมิภาคประจำจังหวัด และหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง ในจังหวัด หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคประจำจังหวัดของ จังหวัดตราด มีทั้งสิ้น 33 หน่วยงาน 16
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง หนว่ ยราชการบรหิ ารสว่ นกลางในจงั หวดั มี 53 หนว่ ยงาน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 8 หน่วยงาน องค์กรมหาชน 1 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารการพัฒนา พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หน่วยงานอิสระ มี 5 หน่วยงาน ได้แก่ ศาลจังหวัดตราด สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้งจังหวัดตราด อัยการจังหวัด ตราด อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด และทหาร การจัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหาร ส่วนตำบล (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2553; คณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา จังหวัดตราด, ม.ป.ป.; สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดตราด, 2551) 17
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 18 ตารางท่ี 1 แสดงจำนวนเน้ือท่ี ประชากร และส่วนการปกครองแยกตามอำเภอ ท ี่ อำเภอ จำนวนเน้ือที่ ตำบล หมบู่ า้ น อบต. เทศบาล จำนวนประชากร (ตร.กม.) เมอื ง ตำบล 1 เมืองตราด 936.559 14 98 9 1 4 91667 2 เขาสมิง 679.189 8 66 8 - 2 43107 2 18527 3 แหลมงอบ 152.00 4 27 3 - 2 24226 4 คลองใหญ่ 50.200 3 20 2 - 2 35279 - 2167 5 บ่อไร่ 280.00 5 33 4 - 1 6854 6 เกาะกูด 125.670 2 8 2 - 13 221827 7 เกาะช้าง 154800 2 9 1 - รวม 7 อำเภอ 2778.418 38 261 29 1 ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดตราด (ธันวาคม 2551)
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. แนวคิดในการวิเคราะห์ 2.1 การเมือง และพรรคการเมือง 2.1.1 การเมือง นักรัฐศาสตร์ชาวต่างประเทศได้ให้ความหมาย ของการเมืองไว้ดังต่อไปนี้ Saffell (1984) กล่าวว่า การเมืองคือ การควบคุมหรือการใช้อำนาจเหนือบุคคล หรือกลุ่มบุคคล เพื่อ ดำเนนิ การใหเ้ ป็นไปตามความประสงค์ของผมู้ ีอำนาจ ในขณะท่ี นักวิชาการชาวอเมริกัน 2 ท่านให้ความหมายของการเมือง ในลักษณะคล้ายๆ กันว่า การเมืองเป็นเรื่องของการได้มาซึ่ง อำนาจที่สามารถใช้ในการแบ่งปันผลประโยชน์ต่างๆ เพื่อตอบ สนองความต้องการของมนุษย์ แต่ต้องตั้งอยู่บนความชอบธรรม (Easton, 1979; Lasswell, 1936) ในขณะที่ Tansey (1995) มอง การเมืองว่าเป็น ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวกับรูปแบบโครงสร้าง การบริหาร การแบ่งปันผลประโยชน์ในรัฐโดยยึดระเบียบ กฎเกณฑ์เป็นหลัก และการเมืองยังเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย นักรัฐศาสตร์ไทยก็ได้ให้ความหมายของการเมือง ไว้หลายท่าน เช่น ชัยอนันต์ สมุทรวานิช (2523) ให้ความหมาย ของการเมืองว่าเป็น การรวมตัวกันของผู้ที่มีอำนาจเพื่อดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในหน่วยการปกครองหนึ่งๆ เพื่อจัดสรรและ แบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่สังคมเพื่อความอยู่รอดของสังคม และประเทศชาติ ส่วนสุขุม นวลสกุล (2527) กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องของอำนาจที่มีการแข่งขันกันเพื่อพัฒนาสังคมให้เจริญ 19
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น หรือกว่านานาอารยประเทศ จันทิมา เกษแก้ว (2540) ได้สรุปการเมืองว่า เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจเพราะเป็นความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและการ ปกครอง รวมถึงการจัดสรรและแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่สังคม โดยตั้งอยู่บนหลักความเป็นธรรม พฤทธิสาณ ชุมพล (2548) กล่าวว่า การเมืองคือระบบของความสัมพันธ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ เพื่อสังคมโดยมีอำนาจมา รองรับ เอกวทิ ย์ มณธี ร (2552, น. 110) ไดส้ รปุ ความหมาย ของการเมืองว่า “เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและการใช้ อำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับบุคคลทุกระดับในสังคม เนื่องจากการเมืองเป็นเรื่องของสาธารณะที่จะต้องมีผลกระทบ และเกี่ยวข้องกับทุกคนในรัฐนั่นเอง” จะเห็นได้ว่าการเมืองคือการกระทำใดๆ ก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ และหลังจากได้อำนาจมาแล้วผู้มีอำนาจ จะต้องจัดสรรประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชาชน โดยยึดหลัก ความเป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคมและจะต้องชอบด้วยกฎหมาย 2.1.2 พรรคการเมอื ง ในส่วนของความหมายของพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2551) ให้คำจำกัดความ ว่า “พรรคการเมือง” เป็นกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทาง การเมืองที่สอดคล้องกันมารวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรม ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสรรหาคัดเลือก 20
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง บุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ (ความหมายของพรรคการเมือง, ย่อหน้าที่ 1) พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองทำหน้าที่ประสาน ระหว่างรัฐบาลและประชาชน ดังนั้นพรรคการเมืองเมื่อได้รับ การเลือกตั้งแล้ว จะต้องนำเอาความต้องการที่แท้จริงของ ประชาชนมาแปลงเป็นนโยบายพรรค (สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง, 2551) เพื่อบริการประชาชน สังคม และประเทศ ชาติ สรุปได้ว่า พรรคการเมือง หมายถึง คณะบุคคล ที่มีทรรศนะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมหรือผลประโยชน์ ร่วมกัน รวมตัวกันจัดตั้งเพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และให้ได้มา ซึ่งอำนาจทางการปกครองประเทศในที่สุด 2.1.3 องคป์ ระกอบของพรรคการเมือง พรรคการเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนา การเมอื ง โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตย ซึ่งพรรคการเมืองต้องทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างส่วนที่เป็น ภาครัฐและส่วนที่เป็นประชาสังคมเข้าด้วยกัน โดยนำปัญหา หรือความต้องการของประชาชนมาแปลงเป็นนโยบาย และ ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบาย เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน 21
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2551) ได้สรุปองค์ประกอบที่สำคัญของพรรคการเมืองว่า Ä มีคณะบุคคลที่มีความคิดหรืออุดมการณ์ ทางการเมืองที่สอดคล้องมารวมตัวกัน Ä เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีการจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองถูกต้อง และมี การดำเนินกิจการของพรรคการเมือง ให้เป็นไป ตามนโยบายและข้อบังคับของพรรคการเมือง Ä มีเป้าหมายที่สำคัญในการสรรหาและคัดเลือก ส ม า ช ิ ก ข อ ง พ ร ร ค ล ง ส ม ั ค ร ร ั บ เ ล ื อ ก ต ั ้ ง เพื่อเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชน ในการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจ ฝ่ายบริหาร (องค์ประกอบของพรรคการเมือง, ย่อหน้าที่ 3) กล่าวโดยสรุป องค์ประกอบของพรรคการเมือง ได้แก่ การที่กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมือง และหน้าที่ที่สำคัญประการ แรกของพรรคการเมือง คือ การวิเคราะห์ความต้องการของ สังคมและประชาชนเป็นหลัก เพื่อนำมาพัฒนาเป็นวิสัยทัศน์ และ พันธกิจในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมและประเทศชาติใน ลำดับต่อไป 22
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 2.2 การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง (Election) เป็นกระบวนการที่ประชาชน มีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อเลือก ตัวแทนของตน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วประชาชนจะเลือกนักการ เมืองที่มีอุดมการณ์และแนวนโยบายที่สอดคล้องกับความ ต้องการของตน เพื่อเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง ตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐบาล ตลอดจนการกำหนด นโยบายสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ ในการเลือกตั้งนั้นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทย มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี 2. มีอายุไม่น้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง 3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง 4. ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ต้องไม่เป็นพระสงฆ์ สามเณร นักพรตหรือนักบวช ต้องไม่อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้ง ต้องไม่ถูกคุมขังด้วยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบ ดว้ ยกฎหมาย และตอ้ งไมว่ กิ ลจรติ จติ ฟน่ั เฟอื นหรอื ไมส่ มประกอบ (เอกวิทย์ มณีธร, 2552) บูฆอรี ยีหมะ (2550) ได้นำเสนอความสำคัญของการ เลือกตั้งไว้ดังนี้ 23
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด 1. การเลือกสรรนักการเมือง (Recruiting politicians) กระบวนการเริ่มตั้งแต่การสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค แจ้งความ จำนงเพื่อให้พรรคตัดสินใจส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง 2. การสร้างรัฐบาล (Making government) 3. การมีอิทธิพลต่อนโยบาย (Influencing policy) การ เลือกตั้งเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ นโยบายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา 4. การให้การศึกษาเรียนรู้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง (Education voters) ซึ่งช่วงที่สำคัญที่สุดคือช่วงการหาเสียง เลือกตั้ง เพราะเป็นช่วงที่ผู้สมัครนำเสนอวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือ นโยบายของพรรคการเมือง ผลงานในอดีตของรัฐบาล และ ประเด็นอื่นๆ ที่ส่งผลดีต่อรัฐบาล 5. การสร้างความชอบธรรม (Building legitimacy) การ เลือกตั้งช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่นักการเมืองในประเทศ ที่ปกครองแบบเผด็จการ ส่วนประเทศที่ปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยก็สามารถอ้างได้ว่า ตนได้รับการเลือกตั้งจาก ประชาชนให้เข้ามาทำหน้าที่ในการเป็นปากเป็นเสียงแทน ประชาชนในการบริหารประเทศ การเลือกตั้งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (สยาม ดำปรีดา, 2549, น. 460 อ้างอิงใน เอกวิทย์ มณีธร, 2552, น. 460) 1. การเลือกตั้งทั่วไป (General election) คือ การเลือกตั้ง ที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมาลงคะแนนเสียงพร้อมๆ กัน ทั้งประเทศ ซึ่งการเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นเมื่อสภาผู้แทนราษฎร หมดวาระ หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร 24
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง 2. การเลือกตั้งซ่อม (By election) เป็นการเลือกตั้งบุคคล เข้าไปทำหน้าที่แทนในกรณีที่ผู้แทนราษฎรขาดจากสมาชิกภาพ เช่น เสียชีวิต ลาออก ถกู ถอดถอนออกจากตำแหน่ง 3. การเลือกตั้งซ้ำ (Re-election) คือการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรใหม่อีกครั้งหนึ่งแทนตำแหน่งที่พ้นไป ในกรณี ที่มีการวินิจฉัยจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าการเลือกตั้งนั้น เป็นโมฆะ หรือผิดกฎหมาย กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีคุณสมบัติตาม เงื่อนไขที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนด ได้มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเลือกทั้งบุคคลและพรรคที่ตนเองเห็นว่าสามารถปฏิบัติ หน้าที่แทนตนในสภาผู้แทนราษฎรได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ทั้งนี้การเลือกตั้ง แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้งซ่อม และการเลือกตั้งซ้ำ 2.2.1 ประวัติการเลอื กตั้ง การเลือกตั้งเกิดขึ้นครั้งแรกหลังจากการปฏิวัติ ของ “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ประเทศ ไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา- สิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษตั รยิ ท์ รงเปน็ ประมขุ ไดน้ ำพระราชบญั ญตั ริ ฐั ธรรมนญู การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มา ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการบังคับใช้ 25
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ชั่วคราว ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (สยาม) ไทย กำหนดให้รัฐสภา ไทยเป็นระบบสภาเดียว (Unicameralism) เรียกว่า “สภาผู้แทน ราษฎร” ประกอบด้วย ส.ส. 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน และประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง โดยพระบรมราชโองการ (พรชัย เทพปัญญา, 2552, น. 35 - 36; พระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างเวลาที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาล ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช, 2475) สมาชิกทั้ง 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากัน และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สำหรับ การเลือกตั้ง เลือกเฉพาะสมาชิกประเภทที่ 1 เท่านั้น เป็นการ เลือกตั้งทางอ้อม โดยประชาชนเลือกตัวแทนของตนไปทำหน้าที่ เลือกผู้แทนราษฎรอีกต่อหนึ่ง โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ กรมการอำเภอดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบล ซึ่งผู้แทนตำบล จะเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎร และให้แต่ละจังหวัดมี ส.ส. ได้ 1 คนต่อราษฎร 200,000 คน ในการเลือกตั้งครั้งแรก มีผู้แทน ราษฎรทไ่ี ดร้ บั เลอื กตง้ั ทว่ั ประเทศ จำนวน 78 คน รวมกบั สมาชกิ ประเภทที่ 2 จำนวน 78 คน เป็น 156 คน สำหรับการเลือกตั้ง ครั้งแรกถูกกำหนดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 (พระราชกฤษฎี เล่ม 40 วันที่ 14 มิถุนายน 2476 เล่ม 355) โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนแรก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทน ราษฎร พลเรอื ตรพี ระยาศรยทุ ธเสนี และพลโทพระยาเทพหสั ดนิ เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 26
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง เมื่อ ส.ส. ชุดแรกหมดวาระในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ขึ้นในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 โดยการเลือกตั้งในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเลือกตั้งทางตรงครั้งแรกของไทย คือประชาชน สามารถใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้โดยตรง มีการแบ่งเขต การเลือกตั้งโดยถือเอาจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดย 1 เขตมี ส.ส. ได้ 1 คน จงั หวดั ทม่ี รี าษฎรเกนิ 200,000 คนใหม้ เี ขตเลอื กตง้ั เพิ่มอีก 1 เขต ต่อจำนวนพลเมืองทุกๆ 200,000 คน ทำให้มี ผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 91 คน รวมกับ สมาชิกประเภทที่ 2 จำนวน 91 คน เป็น 182 คน ในปี พ.ศ. 2489 รัฐสภาไทยได้เปลี่ยนจากระบบ สภาเดียวเป็นระบบ 2 สภา หรือ ระบบสภาคู่ (Bicameral) ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและพฤฒสภา ซึ่ง “พฤฒสภา” หมายถึง สภาของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัต ิ สูงกว่า ส.ส. ทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วุฒิสภา” และเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “สภาสูง” ซึ่งก็คือวุฒิสภา ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไปมาแล้ว 24 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา โดยครั้งล่าสุดมีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2554 (พรชัย เทพปัญญา, 2552; รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์, 2553; ภิญโญ ตันพิทยคุปต์, 2549) โดยการเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดนี้ สภาผู้แทนราษฎรจะต้องมี ส.ส.จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งจาก 2 ระบบ คือ ระบบเลือกตั้งแบบ สัดส่วนหรือระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน และระบบการ 27
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด เลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน (รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 1, 2554) 2.2.2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย ส.ส. มีหน้าที่ในการตรากฎหมาย การควบคุม การบริหารราชการแผ่นดิน และการให้ความเห็นชอบตามที่ กฎหมายกำหนด สภาผู้แทนราษฎร (2556) ได้กำหนด คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. (มาตรา 101) ไว้ดัง ต่อไปนี้ 1. คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 101) 1.1 มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 1.2 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวัน เลือกตั้ง 1.3 เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พรรค การเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง 1.4 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย 28
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัด ที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง - เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้ง - เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใน จังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี การศึกษา - เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าห้าปี 1.5 ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมี ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม 1.4 ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าว ในกรณีใดที่กำหนดถึงจังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด (คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม, ย่อหน้าที่ 1) จะเห็นว่า ส.ส. คือบุคคลที่อาสารับใช้ประชาชน ด้วยความจริงใจและด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม การลงสมัครรับ เลือกตั้ง โดยประชาชนในท้องที่นั้นๆ เลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตามกฎหมายกำหนด และประชาชนคิดว่าบุคคลคนนั้นสามารถ ที่จะเป็นตัวแทนหรือศูนย์กลางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ชุมชนของตน 29
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำ และภาวะผู้นำ 2.3.1 ผนู้ ำ (Leader) ผู้นำ คือบุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม ซึ่งได้รับ มอบหมายให้ปฏิบัติภาระหน้าที่ในตำแหน่งผู้นำ ส่วนคนที่เหลือ คือผู้ตาม (Yukl, 1998, pp. 3–4) ส่วน Du Brin (1998, p. 431) กล่าวว่าผู้นำคือบุคคล ที่ทำหน้าที่ประสานความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ตามกับบุคคลภายนอกหน่วยงาน เพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ส่วน Terry (1978, p. 108) กล่าวว่า ผู้นำเป็นผู้ที่มี อิทธิพลหรือมีอำนาจในการสั่งการให้ผู้ตามปฏิบัติในสิ่งที่ตน ต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของ Donnely, Gibson, and Ivancevich (1987, p. 274) และ McFarland (1979, pp. 214–215) ว่า ผู้นำเป็นผู้ที่มีความสามารถในการโน้มน้าวให้ผู้ตามทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ส่วนนักวิชาการไทยที่สรุปความหมายเกี่ยวกับ ผนู้ ำ ไดแ้ ก่ บญุ ทนั ดอกไธสง (2535, น. 266) ไดส้ รปุ คณุ ลกั ษณะ ของผู้นำว่า เป็นผู้ที่มีศิลปะและมีอิทธิพลต่อกลุ่ม ต้องอยู่แถว หน้าเพื่อนำกลุ่มหรือช่วยเหลือกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย ของหน่วยงาน ส่วนกวี วงศ์พุฒ (2542) กล่าวว่า ผู้นำเป็นผู้ที่มี อำนาจและมีอิทธิพล สามารถจูงใจเพื่อนร่วมงานให้ปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนต้องการ หรือคำสั่งด้วยความสมัครใจเพื่อบรรลุ เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ณัฐนรี ศรีทอง (2552) ได้สรุปความหมายของ ผู้นำว่า เป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่งโดยการคัดเลือกหรือแต่งตั้งจาก หน่วยงาน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานเป็นผู้กำหนด 30
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง เป้าหมายของหน่วยงาน ต้องประพฤติ ปฏิบัติตนให้มีความ เหมาะสมกับบทบาทการเป็นผู้มีอำนาจสั่งการแก่ผู้ตาม ให้ปฏิบัติงานไปในทิศทางที่ต้องการแรงจูงใจให้ผู้ตามทำงาน ให้ประสบความสำเร็จด้วยความสมัครใจ เต็มใจและด้วยความ กระตือรือร้น เป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประสานสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างผู้ตามและระหว่างบุคคลภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้ ประสบความสำเร็จตรงตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น (น. 2) จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้นำคือคนที่มีทั้ง ศาสตร์และศิลป์ในการสั่งการ หรือโน้มน้าวให้ผู้ตามปฏิบัติตาม คำสั่งด้วยความเต็มใจเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.3.2 ภาวะผู้นำ (Leadership) Jacob (1970) ให้ความหมายภาวะผู้นำ ว่าเป็น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อมั่นว่าหากทำตามแล้วจะบรรลุผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ (Stogdill, 1974, น. 411 อ้างใน ณัฐนรี ศรีทอง, 2552, น. 77) กล่าวว่า “ภาวะผู้นำเป็นความคิดริเริ่ม เพื่อรักษาโครงสร้างของความคาดหวังของผู้นำและความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ตามและเพื่อนร่วมงานในหน่วยงาน” McFarland (1979, p. 303 อ้างใน ณัฐนรี ศรีทอง, 2552, น. 77– 78) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “ภาวะความเป็นผู้นำเป็นความ สามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการของผู้นำซึ่งมีอิทธิพล ต่อผู้ตามและเพื่อนร่วมงานเพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้” 31
นักการเมืองถ่ินจังหวัดตราด Yukl (1998) กล่าวว่า ภาวะผู้นำคือ กระบวนการการใช้อิทธิพล ในการโน้มน้าวบุคคล ที่มีผลต่อวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อ บรรลุวัตถุประสงค์ Daft (1999) ให้ความหมายภาวะผู้นำว่า เป็น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามเพื่อบรรลุเป้าหมายของ หน่วยงาน ณัฐนรี ศรีทอง (2552, น. 77) กล่าวว่า ภาวะผู้นำเป็น นามธรรมอยู่ในรูปพลังงานที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของทุกคนใน สังคม ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำบางคนอาจไม่มีภาวะผู้นำเลยก็ได้ เนื่องจากไม่แสดงศักยภาพของตนในการนำผู้อื่นให้ทำกิจกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้ที่มีภาวะผู้นำอาจจะไม่มี ตำแหน่งใดๆ ทางสังคมเลย แต่อาจทำให้ผู้อื่นทำกิจกรรมบรรลุ ตามเป้าหมายด้วยความเต็มใจ มีอิทธิพลจนสามารถทำให้ บุคคลอื่น ชื่นชอบ เห็นคล้อยตามความคิด และเป็นเรื่องที่ทุก คนสามารถเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และนำไปใช้ได้จริงทุกสถานการณ์ ณัฐนรี ศรีทอง (2552, น. 78–79) กล่าวว่า ภาวะ ผู้นำควรประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ 1. คนที่มีความสามารถในการชี้แนะและกำหนด แนวทาง หรือวิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ตามและ เพื่อนร่วมงานสามารถปฏิบัติงานจนสำเร็จตามแผนที่ตั้งไว้ 2. คนที่มีความสามารถในการทำให้ผู้ตามและ เพื่อนร่วมงานเกิดความจงรักภักดี มีความเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกัน ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มใจ และด้วย ความกระตือรือร้น เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ 3. คนที่มีความสามารถเอาชนะอุปสรรค และ ปรับกลยุทธ์ในการทำงานให้เหมาะกับสถานการณ์ต่างๆ 32
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4. คนทม่ี คี วามสามารถในการปรบั ปรงุ บคุ ลกิ ภาพ ของตนเอง เพื่อให้ผู้ตามและเพื่อนร่วมงานเกิดความศรัทธา และพร้อมที่จะทำงานด้วยอย่างเต็มใจและเต็มกำลังความ สามารถ การศึกษาเรื่องภาวะผู้นำในสมัยก่อนเชื่อว่า ภาวะผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวหรือ เฉพาะบุคคล และสืบเชื้อสายกันได้โดยการถ่ายทอดทาง พันธุกรรม ดังนั้นผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมี ลักษณะผู้นำด้วย แต่แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัย (ณัฐนรี ศรีทอง, 2552) ภาวะผู้นำสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ทฤษฎีหลัก (Mosley, Pietri, & Megginson, 1995; ธวัช บุณยมณี, 2550; ณัฐนรี ศรีทอง, 2552; Yukl, 2006) ได้แก่ 1. ทฤษฎภี าวะผนู้ ำเชงิ คณุ ลกั ษณะ (Traits theory) 2. ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม (Behavior theory) 3. ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situation theory) 4. ทฤษฎภี าวะผนู้ ำแหง่ การเปลย่ี นแปลง (Transformation theory) 1. ทฤษฎีภาวะผนู้ ำเชงิ คุณลักษณะ (Traits theory) ภาวะผนู้ ำในแนวคดิ น้ี กลา่ วถงึ บคุ ลกิ ภาพทเ่ี หมาะสม กับคุณลักษณะของผู้นำ โดยพิจารณาลักษณะทางร่างกาย สติปัญญา และบุคลิกภาพ ซึ่งสามารถจำแนกได้ 6 ลักษณะ 33
นักการเมืองถิ่นจังหวัดตราด ดังนี้ (Stogdill, 1974, pp. 72–91) 1.1 คณุ ลกั ษณะทางรา่ งกาย (Physical characteristics) คือความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับคุณลักษณะทางด้าน ร่างกาย เพราะคนสมัยก่อนเชื่อว่าผู้นำที่มีรูปร่างสูงใหญ่จะได้ รบั ความเชอ่ื ฟงั จากผตู้ าม อาทิ อายุ สว่ นสงู นำ้ หนกั และรปู รา่ ง แต่ความคิดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับยุคปัจจุบัน 1.2 ภูมิหลังทางสังคม (Social background) อาทิ การ ศึกษา สถานภาพทางสังคม และการเลื่อนชั้นทางสังคม 1.3 สติปัญญาและความสามารถ (Intelligence and ability) ได้แก่ สติปัญญา ความเด็ดขาด ความรู้ ความคล่อง- แคล่วในการใช้คำพดู 1.4 บุคลิกภาพ (Personality) อาทิ ความสามารถใน การปรับตัว การมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น การมีความสมดุลใน อารมณ์และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ตนเอง เป็นต้น 1.5 คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน (Task – Related characteristics) อาทิ ความตอ้ งการความสำเรจ็ ความรบั ผดิ ชอบ ความคิดริเริ่ม และความมุ่งมั่น 1.6 คุณลักษณะทางสังคม (Social characteristics) ได้แก่ ความสามารถในการประสานความร่วมมือ ความ สามารถในการบริหารจัดการ ความสามารถด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ความสามารถในการมีส่วนร่วมกับสังคม 34
ทฤษฎีและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 2. ทฤษฎภี าวะผนู้ ำเชงิ พฤตกิ รรม (Behavior theory) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม มี 2 แบบ คือ การมุ่งงาน (Initiating structure or task oriented) และการมุ่งคน (Consideration or employee oriented) การมุ่งงาน หมายถึง การแบ่งงานกันทำ การตัดสินใจ และการประเมินผลงาน โดย คำนึงถึงตนเองคือผู้นำเป็นหลัก ส่วนการมุ่งคน หมายถึง พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งการเปิดรับและความเป็นมิตร และ การให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา (ณัฐนรี ศรีทอง, 2552; ธวัช บุญยมณี, 2550; นิพนธ์ กินาวงศ์, 2542) 3. ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situation theory) ภาวะผ้นู ำตามสถานการณ์ ภาวะผนู้ ำท่ีมีประสิทธผิ ล ควรจะประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ พฤติกรรมของผู้นำและ สถานการณ์ โดยประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้นำกับสมาชิก โครงสร้างงาน อำนาจตามตำแหน่งของ ผู้นำ วุฒิภาวะของผู้ตาม สภาพแวดล้อม ทฤษฎีภาวะผู้นำตาม สถานการณ์พยายามแยกปัจจัยด้านสถานการณ์ เพื่อพิสูจน์ว่า สถานการณ์ใดมีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำ (ธวัช บุณยมณี, 2550) 4. ทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปล่ียนแปลง หรือ ภาวะผู้นำเชงิ ปฏริ ูป (Transformational theory) ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ผู้นำที่ พยายาม ปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กรจากสภาวะหนึ่งไปสู่ 35
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211