Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 50นักการเมืองถิ่นลพบุรี

50นักการเมืองถิ่นลพบุรี

Published by Meng Krub, 2021-06-07 11:41:43

Description: เล่มที่50นักการเมืองถิ่นลพบุรี

Search

Read the Text Version

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี โดย ดร.ธนกร จารตุ งั้ สกลุ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ธนกร จารตุ ัง้ สกลุ . นกั การเมอื งถน่ิ จงั หวดั ลพบรุ -ี - กรงุ เทพฯ : สถาบนั พระปกเกลา้ , 2558. 168 หน้า. 1. นักการเมือง - - ลพบุรี. 2. ลพบุรี - - การเมืองการปกครอง l. ชื่อเรื่อง. 342.2092 ISBN 978-974-449-XXX-X รหัสสิง่ พมิ พข์ องสถาบนั พระปกเกลา้ สวพ.58-XX-500.0 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสอื 978-974-449-XXX-X ราคา พมิ พค์ ร้งั ท่ี 1 มีนาคม 2559 จำนวนพิมพ ์ 500 เล่ม ลิขสิทธิ ์ สถาบันพระปกเกล้า ทป่ี รึกษา ศาสตราจารย์(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตร รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้แต่ง ดร.ธนกร จารุตั้งสกุล ผพู้ ิมพ์ผโู้ ฆษณา สถาบันพระปกเกล้า จัดพิมพโ์ ดย สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-141-9607 โทรสาร 02-143-8177 http://www.kpi.ac.th พมิ พท์ ่ี บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด 745 ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 02-243-9040-4 โทรสาร 02-243-3225

นักการเมืองถิ่น จังหวัดลพบุรี ดร.ธนกร จารุต้ังสกุล สถาบันพระปกเกล้า อภินันทนาการ

คำนำ การศึกษาการเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมาคงมิอาจ ปฏิเสธได้ว่ายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาติเป็นส่วนใหญ่ สถาบันบันพระปกเกล้า โดยสำนักวิจัยและพัฒนาจึงได้ริเริ่ม และดำเนินการโครงการวิจัยสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นขึ้น เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ขาดหายไปของภาค การเมืองที่มีการศึกษากันอยู่ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า “การเมืองถ่ิน” หรือการเมืองในจังหวัดต่าง ๆ เป็นการศึกษาเรื่องราวของ การเมืองที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณของท้องถิ่นเป็นรายจังหวัด อันเป็นปรากฏการณ์ ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมืองระดับ ชาติอีกระนาบหนึ่ง รายงานวิจัย “นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี” เป็น ผลงานทางวิชาการชิ้นหนึ่งที่อยู่ภายใต้โครงการดังกล่าว ซึ่งทาง สถาบันพระปกเกล้า ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าได้ดำเนินการ ศึกษาวิจัย จนได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ของการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี จึงหวังอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัยฉบับนี้จะมีส่วนช่วยเติมเต็ม องค์ความรู้ทางการเมืองที่ยังขาดอยู่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจ ปรากฏการณ์ทางการเมืองในระดับจังหวัดให้มีความชัดเจน ยิ่งขึ้น รวมทั้งจะเป็นแรงกระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยการเมือง การปกครองไทยเพิ่มเติมต่อไป ดร.ธนกร จารตุ ้งั สกลุ ผ้วู จิ ัย

บทคัดย่อ การสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่นในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับ การเลือกตั้งในจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อทราบ ถึงเครือข่ายและกลวิธีในการหาเสียงของนักการเมือง โดยใช้วิธี การศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์จากการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรีมีพื้นฐานมาจากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ นักธุรกิจ บุคลากรทางการศึกษา อดีตข้าราชการในท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่น นักกฎหมาย และบุคคลที่มีตำแหน่งใน สมาคมหรือชมรมประจำจังหวัด สำหรบั ผทู้ ไ่ี ดร้ บั การเลอื กตง้ั เปน็ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร จังหวัดลพบุรี เป็นนักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรีที่มีเครือข่าย สัมพันธ์ ฉันท์เครือญาติทางการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับ ประเทศมีน้อยราย คือ ตระกูลจิระพันธ์วานิช ตระกูลวรปัญญา

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี ตระกูลเกรียติวินัยสกุล ตระกูลธาราภูมิ ตระกูลสุดลาภา ตระกูลเชื้อเพ็ชร พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และนายอำนวย คลังผา บทบาทของกลมุ่ ผลประโยชนใ์ นการสนบั สนนุ นกั การเมอื ง ถิ่นในจังหวัดลพบุรี พบว่า จากการที่จังหวัดลพบุรีถูกพัฒนาให้ เป็นเมืองทหาร ทำให้กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มผู้สนับสนุน ทางการเมืองแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป ที่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่สนับสนุนบุคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเฉพาะเจาะจง (ยกเว้นนักการเมืองเก่าแก่ที่มีความ คุ้นเคย) แต่สังเกตได้ว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่สัมพันธ์กับภูมิหลัง ของนักการเมือง เช่น ถ้านักการเมืองมีอาชีพเป็นเป็นครูมาก่อน กลุ่มที่สนับสนุนก็คือ กลุ่มเพื่อนครูและลูกศิษย์ ถ้านักการเมือง มีเครือญาติเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะใช้ฐานเสียง เดียวกัน เป็นต้น ต่อมาขยายฐานเสียงโดยใช้วิธีการเข้าถึง ประชาชนในพื้นที่ให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนจน เป็นที่ยอมรับนับถือในชุมชน ส่วนอีกกลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการ ทหารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาชนทั่วไป จึงทำให้บริบท การเมืองเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของพรรคการเมืองในช่วง เวลาต่าง ๆ จากข้อสังเกตของผู้วิจัยจึงสันนิษฐานว่า อาจเป็น เพราะปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทหารกับการเมือง บทบาทของพรรคการเมืองในการสนับสนุนและสัมพันธ์ กับนักการเมืองถิ่นในจังหวัดลพบุรี จากข้อมูลการเลือกตั้งแสดง ให้เห็นได้ว่า พรรคการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด ลพบรุ ตี ง้ั แตอ่ ดตี ประกอบดว้ ย พรรคชาตไิ ทย พรรคประชาธปิ ตั ย์ VII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี พรรคกิจสังคม พรรคราษฎร ความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย พรรคภมู ิใจไทยชาติพัฒนา กลวิธีที่ใช้ในการหาเสียง นักการเมืองถิ่นในจังหวัด ลพบุรีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มักใช้เทคนิควิธีการหาเสียง ที่เหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การฉายภาพยนตร์ การแจก สิ่งของ และเปลี่ยนเป็นแจกเงินตราในภายหลัง การช่วยเหลือ อุปถัมภ์ ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอาศัยผลงานหรือบารมีของ เครือญาติ การเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญประเพณี กิจกรรมทาง สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ การลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพบปะพูดคุย ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้วิธีการช่วยเหลือ เป็นที่ พึ่งให้กับชาวบ้านอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และการทำงาน เพื่อการพัฒนาชุมชน พัฒนาประชาชนอย่างทุ่มเท การนำ ผลงานเก่าในขณะเป็นนักการเมืองท้องถิ่น และนโยบายพรรค มาใช้ในการหาเสียง การนำผลงานและชื่อเสียงในตำแหน่ง ข้าราชการประจำมาใช้ในการหาเสียง VIII

Abstract The purpose of this study was to collect and examine date concerning characteristics of Lopburi local politicians who have been elected to parliament. The study examined politicians’ personal histories, relationships, and campaigners. Data were collected through review of relevant documents and interviews. Data were analyzed qualitatively and organized into thematic patterns. Researcher not found history data in local political period between 1932 - 1987. The study found that Lopburi local politician could be categorized in six types: businessmen, educators, retired local government officials, local politicians, lawyers, and members of provincial associations. Most elected Lopburi politicians were from local political families. The important local political families are the Jirapanwanit family, the Worapanya family, the Keatvinaisakul family, the Tharaphum family, The Sudlapa family, the

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี Chearpet family, Gen. Teanchai Sirisampan, and Mr. Umnui Klangpha (in modern local politics between 1983 and 2001). The biggest two Iinterest groups that support local politicians in Lopburi Province are people in the agriculture sector and army officers. The popular political parties in Lopburi Province were found to be the Thai-National Party, the Democrat Party, the Social Work Party, the Ratsadorn Party, the New Aspiration Party, the Thai Rak Thai Party, the Pear Thai Party, and the Bhumjaithaichartpattana Party. Politician in Lopburi Province had the main campaign strategy and method such used election handbill in many stays are movie showing, gave a thing, and gave money. Some candidates demonstrated outstanding ability and participated in local cultural events to be well-known among the people.

สารบัญ หน้า คำนำ บทคัดย่อ IV Abstract V บทที่ 1 บทนำ VII ที่มาและความสำคัญของการศึกษา 1 วัตถุประสงค์ในการศึกษา 1 ขอบเขตในการศึกษา 3 วิธีการศึกษา 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4 บทที่ 2 ข้อมลู ท่วั ไปของจงั หวดั ลพบุร ี 4 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ 6 สภาพเศรษฐกิจ 6 สภาพสังคมและวัฒนธรรม 14 การบริหารและการปกครอง 18 ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 20 22

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี หนา้ บทที่ 3 แนวคิด ทฤษฎี และงานวจิ ยั ท่เี กยี่ วขอ้ ง 43 แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองและการหาเสียง 44 แนวคิดเกี่ยวกับชนชั้นนำ 47 บทท่ี 4 นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุร ี 51 ภมู ิหลังทางการเมืองของจังหวัดลพบุรี 51 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดลพบุรี 57 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดลพบุรี 77 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ 118 สรุปภาพรวมการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 118 สรุปผลการวิจัย 122 อภิปรายผล 125 ข้อเสนแนะ 137 บรรณนานกุ รม 138 ภาคผนวก 141 XII

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี สารบัญแผนภาพ หน้า ภาพที่ 1 แผนที่จังหวัดแสดงการแบ่งเขตการปกครองระดับอำเภอ 21 ภาพที่ 2 แผนที่แบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 37 จังหวัดลพบุรี 3 กรกฎาคม 2554 48 ภาพที่ 3 ลักษณะสำคัญของทฤษฎีผู้นำ XIII

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 สรุปจำนวนเขตการปกครองของจังหวัดลพบุรี 20 จำแนกตามอำเภอ ตารางที่ 2 สรุปประวัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 23 และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดลพบุรี ตารางที่ 3 สรุปผลการเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 71 ของจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) XIV

บทนำ บ1ทท ่ี ที่มาและความสำคัญของการศึกษา การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ได้สร้างระบบการเมืองแบบที่ประชาชนเลือก ผู้แทนของตนเข้าไปทําหน้าที่กําหนดนโยบายสาธารณะแทนตน ทั้งใน ระดับชาติและระดับท้องถิ่น ที่ผ่านมาในระดับชาติ ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 23 ครั้ง มีการเลือกตั้งสมาชิกพฤติ สภาทางอ้อม 1 ครั้ง ใน พ.ศ. 2489 และมีการเลือกตั้งสมาชิก วุฒิสภาโดยตรงครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2543 ในขณะที่ในระดับท้องถิ่นก็ได้จัดให้มีการเลือกตั้งตัวแทนเพื่อทํา หน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายรูปแบบพัฒนาขึ้น ตามลําดับ

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี อย่างไรก็ตาม คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการศึกษาการเมือง การปกครองไทยที่ผ่านมายังมุ่งเน้นไปที่การเมืองระดับชาต ิ เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ขาดหายไปของภาคการเมืองที่ศึกษากันอยู่ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองถิ่น” หรือ “การเมืองท้องถิ่น” ที่เป็นการศึกษาเรื่องราวของการเมืองที่เกิดขึ้นในอาณา- บริเวณของท้องถิ่นที่เป็นจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ที่เป็นภาพคู่ขนานไปกับการเมือง ระดับชาติ อีกระนาบหนึ่ง เพราะในขณะที่เวทีการเมือง ณ ศูนย์กลางของ ประเทศกําลังเข้มข้นด้วยการชิงไหวชิงพริบของนักการเมืองใน สภา และพรรคการเมืองต่าง ๆ อีกด้านหนึ่งในพื้นที่จังหวัด ลพบุรี บรรดาสมัครพรรคพวกและผู้สนับสนุนทั้งหลายก็กําลัง ดําเนินกิจกรรมเพื่อรักษาฐานเสียงในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ก า ร ล ง พ ื ้ น ท ี ่ พ บ ป ะ ป ร ะ ช า ช น ต า ม ส ถ า น ท ี ่ แ ล ะ ง า น บ ุ ญ งานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งที่นักการเมืองผู้หวังชัยชนะในการ เลือกตั้งมิอาจขาดตกบกพร่องได้ ภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดได้สะท้อนให้เห็นถึงหลาย สิ่งหลายอย่างของการเมืองไทยที่ดําเนินมาต่อเนื่องยาวนาน ในแง่มุมที่จะไม่สามารถพบได้เลยในการเมืองระดับชาติ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจแก่ การศึกษามิใช่น้อย เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ที่ยังขาดหาย และ หากนําสิ่งที่ได้ค้นพบนี้มาพิจารณาอย่างลึกซึ้ง จะเป็นการสร้าง ความเข้าใจการเมืองไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในมุมมองที่แตกต่าง จากการมองแบบเดิมๆ

บทนำ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัด ลพบุรี 2. เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการ เมืองในจังหวัดลพบุรี 3. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่ม ผลประโยชน์และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศา- คณาญาติ ที่มีส่วนในการสนับสนุนทางการเมืองแก่นักการเมือง ในจังหวัดลพบุรี 4. เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของพรรค การเมืองกับนักการเมืองในจังหวัดลพบุรี 5. เพื่อทราบถึงวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของ นักการเมืองในจังหวัดลพบุรี ขอบเขตของการศึกษา อาศยั การเมอื งของนกั การเมอื งระดบั ชาตติ ง้ั แตก่ ารเลอื กตง้ั ทั่วไปครั้งแรกจนถึงการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งล่าสุดในจังหวัดลพบุรี โดยให้ความสําคัญกับเครือข่ายและ ความสัมพันธ์ของนักการเมือง บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มที่ไมเป็นทางการต่าง ๆ บทบาท และความสัมพันธ์ของ พรรคการเมืองกับนักการเมืองภายในจังหวัดลพบุรี ตลอดจน รปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ ง ๆ ทน่ี กั การเมอื งใชใ้ นการเลอื กตง้ั แต่ละครั้ง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี วิธีการศึกษา อาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสําคัญในการ ศึกษา ได้แก่ 1. การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 2. การสัมภาษณ์บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลโยงใยไปถึง นักการเมืองคนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ที่ยังมีชีวิตอยู่ ญาติพี่น้อง และเครือข่าย ต่างๆ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เข้าใจถึงกลไกทางการเมืองในจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่มี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน 2. ได้ทราบว่าตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกเป็นต้นมา มีนักการเมืองคนใดในจังหวัดลพบุรี ได้รับการเลือกตั้งบ้าง และชัยชนะของนักการเมืองเหล่านี้มีสาเหตุและปัจจัยอะไร สนับสนุน 3. ได้ทราบถึงความสําคัญของกลุ่มผลประโยชน์และ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว วงศาคณาญาติ ที่มีต่อ การเมืองในท้องถิ่น 4. ได้ทราบถึงความสําคัญของพรรคการเมืองในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดลพบุรี 5. ไดท้ ราบรปู แบบ วธิ กี าร และกลวธิ ตี า่ ง ๆ ทน่ี กั การเมอื ง ใช้ในการเลือกตั้ง

บทนำ 6. ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” สําหรับเป็นองค์ความรู้ในการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยต่อไป

บ2ทท ่ี ข้อมูลทั่วไป ของจังหวัดลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลาย และมีความต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีหลักฐานสำคัญ ทแ่ี สดงถงึ ความเจรญิ ขอ้ มลู ทว่ั ไปของจงั หวดั ลพบรุ มี รี ายละเอยี ด ต่อไปนี้ ท่ีต้ังและสภาพภูมิศาสตร์ 1.1 ท่ีตั้งและขนาด จงั หวดั ลพบรุ ี ตง้ั อยภู่ าคกลางของประเทศไทย บนฝง่ั ซา้ ย ของแม่น้ำลพบุรี ซึ่งอยู่ทางขอบตะวันออกของที่ราบภาคกลาง ตอนล่าง และมีพื้นที่แผ่กระจายต่อเนื่องกับขอบที่ราบสูงโคราช มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือตาม เส้นทางถนนพหลโยธิน 153 กิโลเมตรหรือตามเส้นทางรถไฟ

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี ประมาณ 133 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,641.86 ตาราง กิโลเมตร (สำนักงานสถิติจังหวัดลพบุรี, 2553) 1.2 อาณาเขต จังหวัดลพบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ 8 จังหวัด ดังนี้ คือ ทิศเหนือ ตดิ กบั อำเภอตากฟา้ และอำเภอตาคลี จงั หวดั นครสวรรค์ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ทศิ ตะวันออก ติดกับ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอ เทพสถิต และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอ หนองโดน จังหวัดสระบุรี ทิศตะวนั ตก ติดกับ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ทศิ ใต้ ติดกับ อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระพุทธบาท และอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 1.3 ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดลพบุรี จากรายงาน การสำรวจของกรมพัฒนาที่ดิน 2532 สามารถแบ่งตามธรณี สัณฐาน (จังหวัดลพบุรี, 2554, องค์การบริหารส่วนจังหวัด ลพบุรี, 2554) ได้ดังนี้ 1.3.1 ที่ราบน้ำท่วมถึงเกิดจากการทับถมของตะกอน ลำน้ำใหญ่ในฤดูน้ำหลากแต่ละปี น้ำจากแม่น้ำลำคลองจะไหล ท่วมบริเวณนี้แล้วจะพัดพาเอาตะกอนมาทับถมกันทุกปี ทำให้ เกิดมีสภาพเป็นที่ราบ มีความลาดเทน้อยกว่าร้อยละ 1 พื้นที่ กว้างใหญ่อยู่ในอำเภอท่าวุ้ง บ้านหมี่และอำเภอเมืองลพบุรี พื้นที่บริเวณนี้จะสูงกว่าระดับน้ำทะเล 2 - 20 เมตร ส่วนการ ทับถมของตะกอนใหม่จากแม่น้ำป่าสักจะทำให้เกิดเป็น ที่ราบลุ่มเป็นแนวแคบ ๆ ตามความยาวของแม่น้ำ ซึ่งไหลผ่าน อาณาเขตอำเภอชัยบาดาล และอำเภอพัฒนานิคมจาก ทิศเหนือลงทิศใต้ ที่ราบลุ่มบริเวณนี้จะมีความสูงจากระดับน้ำ ทะเลประมาณ 25 - 60 เมตร บริเวณพื้นที่ราบลุ่มนี้ถูกใช้ ประโยชน์ในการทำนาส่วนใหญ่และได้ผลดี 1.3.2 ลานตะพักน้ำกลางเก่ากลางใหม่รวมทั้ง เนินตะกอนรูปพัดส่วนใหญ่พบเกิดอยู่ติดต่อกับที่ราบน้ำท่วมถึง ลักษณะสภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบมีความลาดเทน้อย กว่า 1 เปอร์เซ็นต์ พบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอโคกสำโรงโดยจะมีความสูงจาก ระดับน้ำทะเลประมาณ 8 - 20 เมตร สำหรับเนินตะกอนรูปพัด พบเกิดเป็นส่วนน้อยและมักอยู่บริเวณเชิงเขา การใช้ประโยชน์ ที่ดินบริเวณเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ทำนาซึ่งให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดลพบุรี 1.3.3 ลานตะพักน้ำเก่าเกิดจากการทับถมของตะกอน ลำน้ำที่มาทับถมกันนานแล้ว โดยแบ่งเป็นลานตะพักน้ำระดับ ต่ำซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 20 - 50 เมตร และ ลานตะพักน้ำระดับสูง ซี่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50 - 70 เมตร ลานตะพักน้ำระดับต่ำส่วนใหญ่พบอยู่ติดต่อกับ ลานตะพกั นำ้ กลางเกา่ กลางใหม่ มคี วามลาดเทนอ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 1 และพบเป็นบริเวณเล็กน้อย ในเขตอำเภอโคกสำโรงและอำเภอ พัฒนานิคม ใช้ประโยชน์ในการทำนาเป็นส่วนใหญ่ ให้ผลผลิต ค่อนค้างต่ำ ส่วนลานตะพักน้ำระดับสูงมีพื้นที่ติดต่อและสูงขึ้น มาจากลานตะพักน้ำระดับต่ำ สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นใหญ่ มีความลาดเท 2 - 8 เปอร์เซ็นต์ พบเป็นบริเวณเล็กน้อยในเขต อำเภอโคกสำโรงและอำเภอพัฒนานิคมใช้ประโยชน์ในการทำไร่ 1.3.4 พื้นผิวที่ถูกกัดกร่อนและเนินเขา พื้นที่เป็นลูกคลื่น ส่วนใหญ่มีความลาดเท ประมาณ 2 -16 เปอร์เซ็นต์ สภาพ ภูมิประเทศแบบนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างในเขตอำเภอ ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรงและทางด้าน ทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ที่ดินจะใช้ ประโยชน์ในการปลกู พืชไร่ 1.3.5 ภูเขาพื้นที่บริเวณนี้เกิดจากการโค้งตัวและการ ยุบตัวของผิวโลก ทำให้มีระดับความสูงต่ำต่างกันมากมีความ ลาดเทมากกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ และมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 100 - 750 เมตร พบอยู่กระจัดกระจายในอำเภอ ชัยบาดาล อำเภอพัฒนานิคม อำเภอโคกสำโรง และทางด้าน ทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำกสิกรรม บริเวณนี้เป็นที่ลาดชันเชิงซ้อน

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี 1.4 ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไป ร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกัน ไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุด ในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า นั้น ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้ามืด จะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึง หนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมถึงมกราคม เป็นช่วงที่มี อากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี (จังหวัดลพบุรี, 2554, องค์การ บริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, 2554) 1.5 ด้านทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดลพบุรีเคยปกคลุมด้วยป่าไม้ที่มี ค่าทางเศรษฐกิจค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นป่าดิบแล้งผืนใหญ่ใน บรเิ วณลมุ่ แมน่ ำ้ ปา่ สกั ปา่ เบญจพรรณ และปา่ แดง หรอื ปา่ เตง็ รงั ในเขตเชิงเขา ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลพบุรีนับว่ามีสภาพ เสื่อมโทรม และปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ของจังหวัด มีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม พ.ศ. 2525 พบว่าสภาพป่าไม้มีเนื้อที่ร้อยละ 4.69 ของเนื้อที่ จังหวัด ต่างกับภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2504 ซึ่งมีเนื้อที่ป่าร้อยละ 33.95 จะเห็นว่าในช่วงเวลา 21 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าไม้ลดลง ร้อยละ 29.26 และมีสภาพเป็นป่าที่ถูกทำลายใน 2528 จังหวัด ลพบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้ 174,375 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 4.50 ของ 10

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี เนื้อที่จังหวัด (จังหวัดลพบุรี, 2554) ในปี 2540 มีการสำรวจพบว่าพื้นที่ป่าได้ถูกบุกรุกทำลาย ไป จนเหลือป่าที่สมบูรณ์เพียง 123,125 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.18 ของพื้นที่จังหวัดจากการที่ป่าไม้ในจังหวัดมีสภาพลดลง กรมป่าไม้จึงได้อนุรักษ์ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ไว้ ปัจจุบัน มีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 4 แห่ง รวมเนื้อที่ 1,110,108.25 ไร่ (1,776.17 ตร.กม.) ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา สลับซับซ้อน ได้แก่ ป่าซับลังกา ป่าวังเพลิง ป่าชัยบาดาล ป่าเขาเพนียด (องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, 2554) จังหวัดลพบุรีมีป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 4 แห่ง และ มีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 2 แห่งได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติป่าซับลังกา มีพื้นที่ (248,987.50 ไร่) ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังเพลิงม่วงค่อมลำนารายณ์ มีพื้นที่ (447,081.25 ไร่) ป่าสงวนแห่งชาติป่าชัยบาดาล มีพื้นที่ (396,562.50 ไร่) ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเพนียด มีพื้นที่ (17,477 ไร่) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ 1.6 ประวัติจังหวัดลพบุรี ลพบุรี เมืองแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องทาง วัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 11

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังคงอุดมไปด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) หลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา อายุ ระหว่าง 4,500 - 3,500 ปี ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ อายุระหว่าง 3,500 - 2,700 ปี ที่บ้านโคกเจริญ - การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด อายุระหว่าง 2,700 - 2,300 ปี ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ - ชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรือง ทางวัฒนธรรมประมาณ 1,000 ปี เช่น เมืองโบราณซับจำปา อำเภอท่าหลวง เมืองโบราณดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง เมือง ใหม่ไพศาลี อำเภอโคกเจริญ - การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เหรียญ ทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ตามคตินิยม ของอินเดียที่บ้านหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง แสดงให้เห็นการ พัฒนาการของเมืองลพบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-14 ว่า พิจารณาจากชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาเป็น ศูนย์กลางทางการค้าและเมื่อได้รับอิทธิพลทางศิลปะ และ ความเชื่อทางศาสนา ของอินเดีย ก็กลายมาเป็นศูนย์กลางทาง ศาสนา - ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 15-18 อิทธิพลทางวัฒนธรรม ขอมหรือเขมร ทำให้ศิลปกรรมต่าง ๆ ของลพบุรี มีรูปร่าง 12

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดลพบุรี คล้ายคลึงกับศิลปะเขมรเป็นอย่างมากได้แก่ ปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ ปรางค์แขกลพบุรียังเป็นศูนย์กลางด้านศิลป- วิทยาการในสมัยสุโขทัย ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า พ่อขุนราม- คำแหงได้เสด็จมาศึกษาเล่าเรียนที่เขาสมอคอน ใน พ.ศ.1788 และพ่อขุนงำเมือง ราชโอรสแห่งเมืองพะเยา ได้เสด็จมาศึกษาที่ เขาสมอคอนเช่นกันใน พ.ศ.1797 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระราชวังขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับ ใน พ.ศ.2209 และเสด็จมา ประทับที่ลพบุรีนาน 8-9 เดือน ลพบุรีจึงเปรียบเสมือนราชธานี แห่งที่ 2 รองจากกรุงศรีอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเมือง ลพบุรี ใน พ.ศ.2406 และสร้างหมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นเป็น ที่ประทับภายในพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (บุรีรัตน์, 2542) ยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตย ราว พ.ศ.2480 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้พัฒนาเมืองลพบุรี ให้เป็นศูนย์กลางทางการทหาร และวาง ผังเมืองใหม่ โดยแยกชุมชนและสถานที่ราชการออกจาก เมืองเก่า ทำให้ดูสง่างามกว่าเดิมและได้สร้างสิ่งก่อสร้างศิลปะ แบบอาร์ตเดโดขึ้นหลายแห่ง เช่น ตึกชาโต้ ตึกเอราวัณ โรงภาพยนตร์ ทหารบก เป็นต้น ลพบุรีจึงเป็นเมืองเล็ก ๆ เมือง หนึ่ง ที่อุดมด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและมีความ เป็นอมตะนคร ไม่หายไปจากความทรงจำของทุกยุคทุกสมัย (บุรีรัตน์, 2542) 13

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี 2. สภาพเศรษฐกิจ 2.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ภาพเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีในปี 2553 พบว่า ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 94,751 บาทต่อคนต่อปี โดยทั้ง จังหวัดมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 73,660 ล้านบาท เป็นอับดับที่ 23 ของประเทศ รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ สาขาการอุตสาหกรรม มากทส่ี ดุ ถงึ รอ้ ยละ 28.8 คดิ เปน็ มลู คา่ 21,209 ลา้ นบาท รองลงมา เป็นสาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ ร้อยละ 16.9 คิดเป็นมูลค่า 12,432 ล้านบาท (จังหวัดลพบุรี, 2554) 2.2 การประกอบอาชีพ จังหวัดลพบุรีมีสถิติจำนวนผู้มีงานทำจำแนกตามอาชีพ ดังนี้ ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิค สาขาต่าง ๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง เสมียนพนักงานบริการและ พนักงานในร้านค้าและตลาด ผู้ปฏิบัติงานที่มีฝีมือในด้าน การเกษตรและการประมง ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทาง ฝีมือและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ปฏิบัติการโรงงานและ เครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการอาชีพขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ใน ด้านการขายและการให้บริการ (องค์การบริหารส่วนจังหวัด ลพบุรี, 2554) 2.3 รายได้เฉล่ีย ผลการสำรวจข้อมูล จปฐ.ปี 2553 ของสำนักงานพัฒนา ชุมชนจังหวัดลพบุรี ซึ่งได้ ทำการสำรวจครัวเรือนในจังหวัด 14

ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดลพบุรี ลพบุรี ทั้งหมด จำนวน 115,610 ครัวเรือน ปรากฏว่า ครัวเรือน มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 23,000 บาท/คน/ปี) จำนวน 676 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.58 (สำนักงานสถิติจังหวัด ลพบุรี, 2553) 2.4 ผลิตภัณฑ์สำคัญและมีช่ือเสียง จังหวัดลพบุรีมีผลิตภัณฑ์สำคัญและมีชื่อเสียง จำนวน 105 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย (จังหวัดลพบุรี, 2554) 2.4.1 ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม มี 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องดื่มน้ำข้าวโพด สาโทตะเคียนคู่ น้ำเกสรดอกทานตะวัน สุรากลั่น 30 และ 35 ดีกรี 2.4.2 ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้ ของตกแต่ง และ ของที่ระลึก มี 40 ประเภท ได้แก่ กรอบรูปไม้ จานโชว์เบญจรงค์ เครื่องปั้นดินเผาเพ้นท์สี โคมไฟกะลามะพร้าว ตะกร้าเชือก มัดฟาง ตุ๊กตาขนมปังปั้นต้นไม้กับลิง ตะกร้าสานเชือกมัดฟาง ดอกไม้ประดิษฐ์ผ้าใยบัว ผ้าห่มกันหนาว ดอกไม้ประดิษฐ์จาก ดินไทย (ดอกพิทุเนีย) กระเป๋าผ้ามัดหมี่ทรงหลุยส์มีระบาย ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินหอม (ดอกดาวเรือง) กระจาดหวาย เข็มขันหินสี ดอกบัวสายจากผ้า ใยบัว ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินหอม (ดอกกล้วยไม้แวนด้าฟ้ามุ้ย) ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย ตะกร้าเชือกมัดฟาง รูปปั้นเต่า (เรซิ่น) งานประดิษฐ์จากดินปั้น กล่องกระดาษทิชชู ดอกบาน ไม่รู้โรยจากดินไทย ดอกไม้ประดิษฐ์ กระเป๋าผ้าดอกไม้ประดิษฐ์ จากดินไทย เครื่องปั้นดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุแปรรูป 15

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี หมวกเชือกมัดฟาง ช้างทองเหลืองลายไทย หัตถกรรมถักจาก เชือกมัดฟาง ผลิตภัณฑ์จักสานพลาสติก กระเป๋าผ้าบาติก ตะกร้าจักสานก้านลานลายดอกพิกุล เครื่องสานจากพลาสติก ชุดเครื่องนอน เศวตฉัตรเทพหัสดิน กรงนกไม้มงคล กรงนก ผ้ามุ้งสำหรับรถยนต์ 2.4.3. ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร มี 33 ประเภท ได้แก่ ปลาส้มฟัก ข้าวกล้องหอมนิล ไข่เค็มดินสอพอง ข้าวธัญญาหาร ธารา คุ๊กกี้ช้อคโกแลคชิพ ไข่เค็มใบเตย น้ำผึ้งดอกทานตะวัน คุ๊กกี๊ทานตะวัน ปลาร้าสับสมุนไพร ทองม้วนแม่แม้นศรี กระยา สารท ขนมทองม้วน มะม่วงแช่อิ่มชอนโต้ ข้าวแต๋นน้ำแตงโม ขนมเปี๊ยะแม่ประเสริฐ ขนมเปี๊ยะตุลาการ ข้าวตังทานตะวัน ผักปลอดสารพิษบล็อกฉ่อย กะหรี่พัฟฟ์เมล็ดทานตะวันปรุงรส ข้าวโพดคั่วโบราณอบมะพร้าว ไหมทองธัญพืช น้ำพริกเผา ทานตะวัน เมล็ดทานตะวันอบน้ำผึ้ง ปลาซิวแก้วทอดกรอบ สมุนไพร ทองม้วนฟักทอง น้ำพริกตาแดง ไอศกรีมนมสดบ้าบิ่น มะพร้าวอ่อน เห็ดโคนน้อยดอง green shine น้ำมันมะพร้าว ชนิดแคปซูล กวนเชียงปลา ไข่เค็มนกกระทา 2.4.3 ผ้าและเครื่องแต่งกาย มี 21 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าฝ้ายมัดหมี่ 4 ตะกรอ ผ้าทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกรอ ผ้าทอ 4 ตะกรอลายหยาดพิรุณ ผ้าทอ 4 ตะกรอลายกอแก้ว ผ้าทอมัดหมี่ 4 ตะกรอลายกระจับ ผ้ามัดหมี่ลายพิกุล- วังนารายณ์ ผ้ามัดหมี่ 4 ตะกรอลายสายใยรักเศรษฐกิจ พอเพียง ผ้ามัดหมี่ 4 ตะกรอลายเข็มขัดนาค ผ้าชุดสไลด์มัดหมี่ (4 ตะกอ 49 ลำ) ชดุ บรุ ษุ สรอ้ ยขอ้ มอื (เงนิ ) สรอ้ ยขอ้ มอื หวายแถว 16

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี สร้อยเงินลายล้อแม็ก กระเป๋าจากผ้ามัดหมี่ กระเป๋า เสื้อเชิ้ต ชาย-หญิง เสื้อปักลกู ปัดสร้อยคอ ผ้านุ่งป้าย แหวนพลอย 2.4.5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร มี 7 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยาบำรุงร่างกายตราสิงห์แดง สบู่สมุนไพรกะลามะพร้าว สบู่ใบบัวบก ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า (ครีมบำรุงผิวขมิ้น, ครีมบำรุง) โรลออนสารส้ม แชมพสู มุนไพร ดินสอพองบริสุทธิ์ 2.5 การเกษตรกรรม 2.5.1 การกสิกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ของจังหวัดลพบุรี ประกอบอาชีพด้านการกสิกรเป็นหลักโดยใน พ.ศ. 2552/2553 พืชที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด ได้แก่ ข้าวนาปี มีพื้นที่เพาะ ปลูก 988,842 ไร่รองลงมาได้แก่ อ้อยโรงงาน มีพื้นที่เพาะปลูก 626,591 ไร่ ข้าวนาปรัง มีพื้นที่เพาะปลูก 443,839 ไร่ (สำนักงาน สถิติจังหวัดลพบุรี, 2553) 2.5.2 การปศุสัตว์ การปศุสัตว์ในจังหวัดลพบุรี มีความ สำคัญในการผลิตทางการเกษตรรองลงมาจากการกสิกรรม โดยชนิดของสัตว์ที่เลี้ยงกันมากเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของ จังหวัด ได้แก่ ไก่ สุกรโคเนื้อ และโคนม โดยมีพื้นที่ปศุสัตว์ กระจายในทุกอำเภอ การเลี้ยงไก่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ พัฒนานิคมโคกสำโรง เมืองลพบุรี และหนองม่วง การเลี้ยงสุกร ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอพัฒนานิคม โคกสำโรง เมืองลพบุรี และท่าวุ้ง ส่วนการเลี้ยงโคกเนื้อและโคนมส่วนใหญ่อยู่ในเขต พื้นที่อำเภอพัฒนานิคม โคกสำโรงเมืองลพบุรี และท่าวุ้ง และ ส่วนการเลี้ยงโคเนื้อและโคนมส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอำเภอ พัฒนานิคม โคกสำโรงและชัยบาดาล 17

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 2.5.3 การประมง จากการที่จังหวัดลพบุรีมีแม่น้ำสาย สำคัญไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรีแม่น้ำบางขาม และยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้มีการ ทำการประมงกระจายไปทั่วจังหวัด นอกจากนั้น เกษตรกร ยังขุดบ่อเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา ทำไร่ อีกด้วย 3. สภาพสังคมและวัฒนธรรม 3.1 ประชากร ลพบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จาก หลักฐานทางโบราณสถานเป็นสิ่งที่แสดงได้ชัดเจนว่าลพบุรี เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน และมีสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์ ทำให้ประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนถึง ปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่ สืบเชื้อสายมาจากจีน ลาวเวียงจันทน์ และชาวไทยพวนที่สืบ เชื้อสายมาจากเชียงขวาง โดยอำเภอที่มีความหนาแน่นของ ประชากรมากที่สุดคือ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอที่มีความ หนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดคือ อำเภอท่าหลวง จากการสำรวจจำนวนประชาการของจังหวัดลพบุรี โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ เดือนธันวาคม 2554 มีประชากรรวมทั้งสิ้น 756,127 คน ความหนาแน่นของ ประชากรเฉลี่ยทั้งจังหวัดประมาณ 121.96 คนต่อตาราง กิโลเมตร (องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, 2554) 18

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 3.2 การศึกษา ในปีการศึกษา 2553 จังหวัดลพบุรี มีสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 421 แห่ง มีครู/อาจารย์ 6,144 คน และนักเรียน นิสิต นักศึกษา 119,708 คน และจำนวนห้องเรียน 5,264 คน ซึ่งอัตราส่วนครู/อาจารย์ ต่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็น 1: 19 และอัตราส่วนห้องเรียน ต่อ นักเรียน เป็น 1: 22 (องค์การ บริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, 2554) 3.3 การนับถือศาสนา จังหวัดลพบุรี (2554) ได้สำรวจการนับถือศาสนา ของประชากร รวมถึงจำนวนศาสนสถาน พบว่าศาสนาพุทธ มีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาคือศาสนาอิสลาม และศาสนา คริสต์ ตามลำดับ จำนวนพระภิกษุในศาสนาพุทธ 4,917 รูป และสามเณร 373 1,046 สำหรับจำนวนศาสนสถาน ศาสนา พุทธประกอบด้วย วัดจำนวน 705 วัด วัดพระอารามหลวง จำนวน 4 วัด ที่พักสงฆ์จำนวน 71 แห่ง วัดร้าง จำนวน 166 วัด ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกค์ โบสถ์ จำนวน 2 แห่ง นิกาย โปรเตสแตนท์ มีคริสจักร จำนวน 12 แห่ง ศาสนาอิสลาม มีมัสยิด จำนวน 3 แห่ง (จังหวัดลพบุรี, 2554) 3.4 การสาธารณสุข ในปี 2553 จังหวัดลพบุรี มีจำนวนโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งสิ้น 11 แห่ง มีจำนวนเตียง 1,165 เตียงบุคลากรด้าน สาธารณสุขที่สำคัญ คือ แพทย์ มีจำนวน 103 คน ทันตแพทย์ มีจำนวน 39 คน เภสัชกร มีจำนวน 42 คนและพยาบาล มีจำนวน 1,038 คน (องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี, 2554) 19

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี 4. การบริหารและการปกครอง 4.1 เขตการปกครอง จังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 122 ตำบล 1,126 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 21 เทศบาล (3 เทศบาลเมือง 18 เทศบาลตำบล) 104 องค์การ บริหารส่วนตำบล ดังนี้ ตารางท่ี 1 สรปุ จำนวนเขตการปกครองของจงั หวัดลพบรุ ี จำแนกตามอำเภอ อำเภอ พื้นท่ี ตำบล ระยะทางหา่ ง (ตร.กม.) หมบู่ ้าน จากจงั หวดั 23 เมืองลพบุรี 565.613 13 (กม.) โคกสำโรง 982.456 17 223 0.3 ชัยบาดาล 1253.000 11 137 35 ท่าวุ้ง 242.829 21 136 96 บ้านหมี่ 585.697 9 128 15 พัฒนานิคม 959.151 6 157 31 ท่าหลวง 538.865 5 86 46 สระโบสถ์ 304.605 5 45 78 โคกเจริญ 317.140 6 46 64 ลำสนธิ 447.000 6 53 77 หนองม่วง 445.503 122 48 123 66 57 รวม 6641.860 ที่มา: จังหวัดลพบุรี, 2554 1126 20

ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 12 4.2 โครงสร้างบริหารส่วนราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ส่วนราชการในจังหวัดลพบุรีแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาคจำนวน 28 หน่วยงาน (2) ส่วนราชการบริหารส่วนกลาง จำนวน 50 หน่วยงาน และ มีหน่วยทหารทั้งสิ้น 16 หน่วย แบ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม 1 หน่วย คือ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ กองทัพบก 13 หน่วย ประกอบด้วย ส่วนกลาง 10 หน่วย และส่วนภูมิภาค 3 หน่วย (จังหวัดลพบุรี, 2554) ภาพที่ 1 แผนภทา่จี พังหทวดั่ี 1แสแดผงนกาทรแีจ่ บังงหเขวตัดกแาสรปดกงคกราอรงรแะบด่งบั เอขาํ ตเภกอารปกครอง ระดับอำเภอ ที่มา: จังหวัดลพบุรี, 2554 21 ท่ีมา: จงั หวดั ลพบุรี, 2554 5. ขอมลู เกยี่ วกับการเลือกตัง้

นักการเมืองถ่ินจังหวัดลพบุรี 5. ข้อมูลเก่ียวกับการเลือกต้ัง 5.1 การแบ่งเขตเลือกต้ัง และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ประชาชนชาวไทยเริ่มใช้วิธีการสรรหา ตัวแทนเข้าไปควบคุมหรือบริหารประเทศ โดยผ่านกระบวนการ เลือกตั้ง ครั้งแรกเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา การเลือกตั้ง 8 ครั้งแรก ของจังหวัดลพบุรีมี จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2542) และไม่มีการกำหนดให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2554) สรุปประวัติการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และจำนวนสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของจังหวัดลพบุรี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 22

ตารางที่ 2 สรุปประวตั กิ ารเลือกตัง้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และจำนวนสมาชิกสภาผแู้ ทนราษฎรของจงั หวดั ลพบุรี จำแนกตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนญู และท่ีมาของ การเลือกต้งั ทวั่ ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร เลือกต้งั สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติธรรมนูญ - การปกครองแผน่ ดนิ สยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 - - กำหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวคือ “สภาผู้แทนราษฎร” สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 - - มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คน ทำให้มีสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 1 1 1 ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 “รัฐธรรมนูญแห่งราช- - อาณาจกั รไทย พ.ศ. 2475” กำหนดให้รัฐสภามีสภาเดียวคือ “สภาผู้แทนราษฎร” แต่ มีสมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 23 สมาชิกประเภทที่ 1 หรือ ส.ส.78 คน เป็นการเลือกตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 1 โดยอ้อมแบบ “รวมเขตจังหวัด” (เขตจังหวัดคือเขตการ (15 พ.ย. 2476) เลือกตั้ง) ใช้อัตราราษฎร 200,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 24 รัฐธรรมนญู และทีม่ าของ การเลอื กต้งั ทวั่ ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชิกสภาผ้แู ทนราษฎร เลอื กตัง้ สภาผู้แทนราษฎร (เขต) (คน) สมาชิกประเภทที่ 1 หรือ ส.ส.91 คน เป็นการเลือกตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 โดยตรงแบบ แบ่งเขต เขตละ 1 คน (เขตจังหวัดคือเขต (7 พ.ย. 2480) 1 1 การเลือกตั้ง) ใช้อัตราราษฎร 200,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน 1 1 ไม่เปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 1 1 (12 พ.ย. 2481) 1 1 ไม่เปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 4 (6 ม.ค. 2489) ต า ม รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ที่ 3 “ รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง การเลือกตั้งเพิ่มเติม ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489” กำหนดให้รัฐสภามี จากครั้งที่ 4 2 สภา คือ สภาผู้แทน และพฤติสภา สภาผู้แทน สมาชิก (5 ส.ค. 2489) มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบ่งเขตเลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 เขต) ราษฎร 100,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี เป็นการเลือกตั้งเพิ่มใน 47 จังหวัด จังหวัดลพบุรี ได้ ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน

รฐั ธรรมนญู และท่มี าของ การเลอื กต้งั ทวั่ ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร เลือกตัง้ สภาผู้แทนราษฎร (เขต) (คน) ต า ม รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ท่ี 4 “ รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 5 ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490” (29 ม.ค. 2491) 1 1 กำหนดให้รัฐสภามี 2 สภา คือ สภาผู้แทน และวุฒิสภา สภาผู้แทน สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบ่งเขต 1 1 เลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 เขต) ราษฎร 200,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี เป็นการเลือกตั้งเพิ่มใน 47 จังหวัด จังหวัดลพบุรี ได้ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน ต า ม รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ท่ี 5 “ รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 6 ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492” ยังคงกำหนดให้รัฐสภา (26 ก.พ. 2495) มี 2 สภา คือ สภาผู้แทน และวุฒิสภา สภาผู้แทน สมาชิก มาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบ่งเขตเลือกตั้ง (จังหวัดละ 1 เขต) แต่มีการลดจำนวนราษฎร 200,000 คน เป็น 150,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน มีการประกาศพระบรม ราชโองการให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 พ.ศ.2517 มาใช้ บังคับ เนื่องจากเกิดการรัฐประหาร สมาชิกประเภทที่ 1 หรือ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแบบ รวมเขต รวมจังหวัด (จังหวัดละ 1 เขต) ราษฎร 200,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 5 ปี ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 25

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 26 รัฐธรรมนญู และท่ีมาของ การเลอื กตัง้ ทว่ั ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชกิ สภาผูแ้ ทนราษฎร เลือกต้ัง สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) ต า ม รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ ฉ บั บ ที่ 6 “ รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 7 1 1 ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 แก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. (26 ก.พ. 2500) 2495” กำหนดให้รัฐสภามีสภาเดียว มีสมาชิก 2 ประเภท ส.ส.ของจังหวัดลพบุรีที่ได้รับ คือ การเลือกตั้งสังกัดพรรค สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง จำนวน 160 คน และสมาชิก เสรีมนังคศิลา ซึ่งเป็นพรรค มาจากการแต่งตั้ง จำนวน 123 คน อันดับแรกที่มีสมาชิกได้รับการ สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แบบรวมเขตจังหวัด เลือกตั้งมากที่สุด (จังหวัดละ 1 เขต) ราษฎร 150,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ ในวาระ 5 ปี เป็นครั้งแรกที่มีการสมัคร ส.ส. ในนาม พรรคการเมือง จากการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500 ซึ่งนำโดย จอมพล การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8 1 2 สฤษดิ์ ธนรัชต์ กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 (15 ธ.ค. 2500) ธันวาคม 2500 จำนวนส.ส. 160 คน เป็นการเลือกตั้ง จำนวน ส.ส.ของจังหวัดลพบุรี โดยตรงแบบ “รวมเขตจังหวัด” ใช้อัตราราษฎร 150,000 มีเพิ่มเป็น 2 คน หนึ่งในผู้ที่ได้ คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 5 ปี รับการเลือกตั้งสังกัดพรรค สหภูมิ ซึ่งเป็นพรรคที่มีสมาชิก ได้รับการเลือกตั้ง อันดับสอง

รฐั ธรรมนูญ และที่มาของ การเลือกตัง้ ทั่วไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชกิ สภาผู้แทนราษฎร เลอื กตั้ง สภาผู้แทนราษฎร (เขต) (คน) จากการปฏิวัติโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เมื่อวันที่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 9 1 3 20 ตุลาคม 2502 และประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครอง (10 ก.พ. 2512) ราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 (รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7) จำนวน ส.ส.ของจังหวัดลพบุรี ต่อมามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 “รัฐธรรมนูญ มีเพิ่มเป็น 3 คน ผู้ที่ได้รับการ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511” รัฐสภามี 2 สภา คือ เลือกตั้งสองในสามสังกัด วุฒิสภา และสภาผู้แทน สหประชาไทย ซึ่งเป็นพรรค สภาผู้แทน สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง รวมเขต ที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้ง จังหวัด (จังหวัดละ 1 เขต) ราษฎร 150,000 คน ต่อ ส.ส. 1 อันดับแรก และคนที่ 3 สังกัด คน อยู่ในวาระ 4 ปี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น พรรคอันดับที่สอง (มีการจด ทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่ ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 27 ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2511)

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 28 รัฐธรรมนญู และทม่ี าของ การเลอื กต้งั ท่วั ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร เลือกตั้ง สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) การประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 10 2 4 พ.ศ. 2515” (ฉบับที่ 9) เกิดขึ้นหลังจากหัวหน้าคณะปฏิวัติ (26 ม.ค. 2518) ออกประกาศของคณะปฏิวัติที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย เป็นครั้งแรกที่ จังหวัดลพบุรี รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติต่าง ๆ และเกิดเหตุการณ์ แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 วิกฤติทางการเมืองขึ้น เขต แต่ละเขตสามารถ ต่อมามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 “รัฐธรรมนูญ เลือกส.ส. ได้ 2 คน แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517” รัฐสภามี 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ราษฎร 150,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี ส.ส.ทุกคนต้องสมัคร ในนามของพรรคการเมือง ไม่เปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11 2 4 (4 เม.ย. 2519)

รฐั ธรรมนูญ และทม่ี าของ การเลอื กตั้งทว่ั ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎร เลือกตั้ง สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) จากการยึดอำนาจการปกครองโดยคณะปฏิรูปการปก การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 12 2 4 ครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ (22 เม.ย. 2522) และพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมนันทน์ ทำให้มีการยกเลิก ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง สองคน รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ สังกัดพรรคกิจสังคม ซึ่งเป็น 11 ในวันที่ 22 ตุลาคม 2519 และรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 พรรคที่มีสมาชิกได้รับการ (ฉบับชั่วคราว) ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 ตามลำดับ เลือกตั้งอันดับแรก และม ี ภายหลังจากได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ ฉบับที่ 13 ผู้สมัครในนามพรรคเสรีธรรม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521” รัฐสภามี ซึ่งเป็นพรรคอันดับที่ 5 ที่ได้รับ 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้ง ส่วนอีกคน สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง ไม่สังกัดพรรคการเมือง โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ราษฎร 150,000 ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 29 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างถูก ต้องตามกฎหมาย แต่ได้มีการจัดตั้งองค์กรและมีการหา เสียงในนามของพรรคการเมือง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 30 รัฐธรรมนูญ และทม่ี าของ การเลอื กตั้งทั่วไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร เลอื กตั้ง สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ราษฎร 150,000 (18 มิ.ย. 2526) 2 3 คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างถูก ต้องตามกฎหมาย แต่ได้มีการจัดตั้งองค์กรและมีการหา เสียงในนามของพรรคการเมือง ผู้สมัคร ส.ส. ในครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง เพราะยังอยู่ในช่วงของการบังคับใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายบังคับให้พรรคการเมืองต้องส่ง สมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนี้ (324 คน)

รฐั ธรรมนูญ และท่มี าของ การเลือกตัง้ ท่วั ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกต้งั สภาผู้แทนราษฎร (เขต) (คน) จากเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งของ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 14 2 5 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 (ไม่ใช่บทเฉพาะกาล) กำหนดให้ใช้ (27 ก.ค. 2529) วิธีการเลือกตั้งเป็นคณะ แบบรวมเขตรวมเบอร์ คือเลือก เนื่องจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ของ เป็นคณะเบอร์เดียวกัน ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จ ั ง ห ว ั ด ล พ บ ุ ร ี ม ี จ ำ น ว น ครั้งที่ 1 พ.ศ.2528 เปลี่ยนแปลงให้กลับไปใช้วิธีเดิม คือ ประชากรเพิ่มขึ้นจึงสามารถ แบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) เลือกตั้ง ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน ผู้ สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง ที่ได้รับเลือกตั้ง สามในห้า โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ราษฎร 150,000 สังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งเป็น คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น อันดับที่สอง ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 31 สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 15 2 5 โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ราษฎร 150,000 (24 ก.ค. 2531) คน ต่อ ส.ส. 1 คน อยู่ในวาระ 4 ปี แต่ผู้สมัครส.ส.ทุกคน ผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง สามในห้า ต้องสังกัดพรรคการเมือง และพรรคการเมืองนั้นจะต้องส่ง สังกัดพรรคชาติไทย ซึ่งเป็น สมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน พรรคที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ทั้งหมด อันดับที่หนึ่ง

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 32 รัฐธรรมนูญ และทีม่ าของ การเลอื กตง้ั ทัว่ ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชกิ สมาชิกสภาผ้แู ทนราษฎร เลอื กตงั้ สภาผูแ้ ทนราษฎร (เขต) (คน) จากการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษา การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 16 2 5 ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำของ (22 มี.ค. 2535) พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำให้มีการประกาศใช้ “ธรรมนูญ จังหวัดลพบุรีไม่ได้รับผล การปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534” (ฉบับที่ 14 ฉบับ กระทบจากการเปลี่ยนแปลง ชั่วคราว) ในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ดังกล่าว คือ มีเขตเลือกตั้ง ต่อมามีการจัดทำรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 15) “รัฐธรรมนูญ และจำนวน ส.ส.เท่าเดิม แต่ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534” รัฐสภามี 2 สภา คือ เริ่มมีความหลากหลายในการ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร เลือกพรรคการเมืองมากขึ้น สภาผู้แทนผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) จำนวน ส.ส. 360 คน ใช้อัตราเฉลี่ยจำนวนราษฎรทั้งประเทศต่อ ส.ส. 360 คน (เป็นจำนวนคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนราษฎรที่ เพิ่มขึ้น) อยู่ในวาระ 4 ปี ไม่เปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 17 2 5 (13 ก.ย. 2535)

รัฐธรรมนญู และทม่ี าของ การเลอื กตง้ั ทั่วไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชกิ สภาผ้แู ทนราษฎร เลอื กตงั้ สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) จากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 ครั้งที่ 1-4 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 18 พ.ศ. 2535 และครั้งที่ 5 พ.ศ. 2538ทำให้ สภาผู้แทนผู้แทน (2 ก.ค. 2538) 2 5 ราษฎร มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 391 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) จำนวนราษฎร 2 5 150,000 คนต่อ ส.ส. 1 คน ผู้สมัครส.ส.ทุกคนต้องสังกัด พรรคการเมือง และพรรคการเมืองนั้นจะต้องส่งสมาชิก เข้าสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ (98 คน) ของ จำนวน ส.ส.ทั้งหมด มีการเพิ่มจำนวน ส.ส.จาก 391 คน เป็น 393 คน แต่ยังคง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 19 ใช้หลักการกำหนดที่มาของส.ส.ดังเดิม (17 พ.ย. 2539) ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 33

นักการเมืองถิ่นจังหวัดลพบุรี 34 รัฐธรรมนูญ และที่มาของ การเลอื กตั้งท่วั ไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลอื กตงั้ สภาผูแ้ ทนราษฎร (เขต) (คน) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 5 5 (ฉบับที่ 16) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ (6 ม.ค. 2544) ศักราช 2540 (ฉบับที่ 16) สภาผู้แทนราษฎร ส.ส.จำนวน จังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการ 500 คน แบ่งออกเป็นส.ส.ประเภทบัญชีรายชื่อ 100 คน เลือกตั้งออกเป็น 5 เขต มีผู้ที่ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งประเทศ ได้รับเลือกเป็น ส.ส. เขตละ โดยการเลือกพรรค และส.ส.แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง 1 คน มีจำนวน 400 คน ใช้เกณฑ์คำนวณประชากรต่อ ส.ส. 1 คน กำหนดให้แต่ละเขตการเลือกตั้งมีส.ส. 1 คน หรือที่ เรียกว่า “เขตเดียวเบอร์เดียว” ไม่เปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 21 5 5 (6 ก.พ. 2548)

รฐั ธรรมนญู และที่มาของ การเลือกต้งั ท่ัวไป จำนวนเขต จำนวนสมาชิก สมาชกิ สภาผู้แทนราษฎร เลือกตง้ั สภาผแู้ ทนราษฎร (เขต) (คน) จากการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 22 2 5 ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (23 ธ.ค. 2550) (คปค.) ภายใต้การนำของ พล.อ.สนธิ บุญรัตกรินทร์ ต า ม บ ท บ ั ญ ญ ั ต ิ ข อ ง ทำให้มีการประกาศใช้ “ธรรมนูญการปกครองราช รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร อาณาจักร พ.ศ.2549” (ฉบับที่ 17 ฉบับชั่วคราว) ในวันที่ ไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) 1 ตุลาคม 2549 พ.ศ. 2554 (3 มีนาคม พ.ศ. ต่อมามีการจัดทำรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่ 18) “รัฐธรรมนูญ 2554) แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550” รัฐสภามี 2 สภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 480 คน แบ่งออก เป็นส.ส.ประเภทบัญชีรายชื่อ 80 คน ซึ่งมาจากการเลือก ข้อมูลท่ัวไปของจังหวัดลพบุรี 35 ตั้งโดยตรงของประชาชนทั้งประเทศ โดยการเลือกพรรค และส.ส.แบบแบ่งเขตการเลือกตั้งมีจำนวน 400 คน ใช้ เกณฑ์คำนวณสัดส่วนจากจำนวนประชากรทั่วประเทศ ต่อส.ส. 400 คน และกลับไปใช้วิธีการแบ่งเขตแบบเก่า คือ แบบเขตใหญ่เรียงเบอร์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook