Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore A2กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บริการสาธารณะ

A2กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บริการสาธารณะ

Published by Meng Krub, 2021-03-03 05:39:14

Description: A2กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บริการสาธารณะ

Search

Read the Text Version

เอกสารการเรียนรู้ หน่วยท่ี 2 การปรับปรุงการให้บริการท่ีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการรับ การให้บริการสาธารณะโดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน People’s Audit บริการอันเป็นเป้าหมายสูงสุดการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมี ประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ ประชาชนผู้รับบริการ ดังน้ันการยกระดับการให้ บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) อย่างเป็นระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ อย่างย่ิงต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการให้บริการสาธารณะเพ่ือให้บริการดังกล่าวมีคุณภาพตรง ตามความตอ้ งการของประชาชนและสามารถแก้ไขขอ้ บกพร่องไดอ้ ย่างตรงจดุ สถาบันพระปกเกลา้ 47/101 หมู่ 4 ถ.ตวิ านนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศพั ท์ 02-527-7830-9 โทรสาร 02-527-7824 เวบไซต์ www.kpi.ac.th การให้บริการสาธารณะฯ หน่วยที่ 2 ISBN : 978-974-449-412-2 สวพ.52-05.1-1-1,000.1,000 ราคา 79 บาท

สถาบนั พระปกเกล้า เอกสารการเรียนรู้ หน่วยท่ี 2 การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน People’s Audit กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บรกิ ารสาธารณะ . ประชาธิปไตยพหนุ ิยม อทุ ยั วรรณ กาญจนกามล . สำนึกพลเมอื ง ผูช้ ่วยศาสตราจารยท์ ศพล สมพงษ ์ . การเมืองภาคพลเมอื ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทศพล สมพงษ ์ . วสิ ยั ทัศนข์ า้ ราชการ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยท์ ศพล สมพงษ์ . การบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักงาน ก.พ.ร. . ผวู้ ่าซีอีโอ : กลไกส่คู วามสำเรจ็ ในการพฒั นาประเทศ สำนักงาน ก.พ.ร.

เอกสารการเรียนร ู้ การให้บรกิ ารสาธารณะโดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน People’s Audit ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 การใหบ้ ริการสาธารณะโดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน เร่อื งที่ 1. ประชาธปิ ไตยแบบมสี ว่ นร่วม (Participatory Democracy) เรื่องที่ 2. การบริหารจัดการบา้ นเมืองทด่ี ี เรือ่ งท่ี 3. การยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมสี ่วนรว่ มของประชาชน : People’s Audit for Thailand หน่วยท่ี 2 กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บริการสาธารณะ เรื่องท่ี 4. ประชาธปิ ไตยพหุนยิ ม เรอ่ื งท่ี 5. สำนกึ พลเมอื ง เรอ่ื งท่ี 6. การเมอื งภาคพลเมอื ง เรอ่ื งท่ี 7. วิสัยทัศน์ข้าราชการ เรอื่ งท่ี 8. การบริหารงานจงั หวัดแบบบรู ณาการ เรื่องที่ 9. ผวู้ า่ ซอี ีโอ :กลไกสู่ความสำเร็จในการพฒั นาประเทศ หน่วยที่ 3 การค้นหาความตอ้ งการในการยกระดับการให้บรกิ ารสาธารณะ เรอ่ื งที่ 10. การเตรยี มการสำรวจความพงึ พอใจและการเลือกตัวอยา่ ง เรื่องท่ี 11. การเข้าถงึ ชุมชนเชิงบวก เครื่องมอื การทำงานแนววัฒนธรรมชมุ ชน เรื่องท่ี 12. เทคนคิ การทำงานอยา่ งมีส่วนร่วมกับชุมชน...การศกึ ษาวิเคราะหช์ มุ ชนอย่างมีส่วนร่วม เรอ่ื งที่ 13. พลังชุมชน: ตอ้ งเสริมสร้างจากข้างใน เรอ่ื งที่ 14. เทคนคิ การวิเคราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล หนว่ ยท่ี 4 แนวทางการสร้างการมีสว่ นรว่ ม เรอ่ื งที่ 15. การมีส่วนรว่ มของประชาชนในโครงการพัฒนาชุมชน เรื่องท่ี 16. การเปน็ หุน้ สว่ นระหว่างรฐั ภาคเอกชนและประชาชน (Partnership) เรอ่ื งที่ 17. ธรรมนญู พลเมือง (Citizen’s charter) เรอ่ื งท่ี 18. เทคโนโลยีเพอ่ื การมสี ว่ นร่วม วิธกี ารเอ้อื อำนวยการใช้กระบวนการกล่มุ ข้ันพืน้ ฐาน หน่วยที่ 5 กระบวนการพัฒนาและเทคนคิ การให้บริการสูค่ วามเป็นเลศิ สำหรบั ประเทศไทย เรอื่ งท่ี 19. คู่มอื การสร้างความเปน็ เลศิ ในการใหบ้ รกิ ารสาธารณะสำหรับประเทศไทย หน่วยที่ 6 การบูรณาการนำแนวคดิ ไปสกู่ ารปฏิบัต ิ เรอ่ื งที่ 20. การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบตั กิ าร เรื่องท่ี 21. การบรู ณาการจากแนวคดิ สกู่ ารปฏบิ ตั ิ โดยใชเ้ ทคนิคการวเิ คราะห์ศักยภาพองคก์ ร (SWOT) หนว่ ยที่ 7 การประเมนิ ผลแบบมสี ่วนร่วม เรอ่ื งที่ 22. แนวทางการประเมนิ ผล เรื่องที่ 23. การประเมนิ ผลอย่างมีสว่ นรว่ มเพ่ือเสริมสร้างพลังชุมชน : คมู่ ือสำหรบั ผูป้ ระสานใหเ้ กดิ กระบวนการเรยี นรู้ หรอื ผ้ชู ว่ ยกระบวนการกลุ่ม เรอ่ื งที่ 24. เทคนิคการถอดบทเรียน เรื่องที่ 25. การประเมนิ ผลการฝกึ อบรม เรอ่ื งที่ 26. ตวั แบบของการรว่ มยกระดบั การให้บริการสาธารณะ 1, 2, 3



การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน People’s Audit เอกสารการเรยี นรู้ หนว่ ยที่ 2 กระบวนทัศน์ใหม่ ในการให้บริการสาธารณะ สถาบนั พระปกเกลา้

กระบวนทศั น์ใหม่ในการให้บรกิ ารสาธารณะ สงวนลขิ สิทธ์ ิ © 2552 ISBN : 978-974-449-412-2 พิมพ์คร้ังท่ี 1 กุมภาพันธ ์ 2552 จำนวนพมิ พ์ 1,000 เล่ม บรรณาธิการ ดร.ถวิลวดี บุรกี ุล และนายวิศิษฎ ชชั วาลทิพากร ออกแบบและ นายสุชาติ วิวัฒนต์ ระกลู จัดประกอบหนา้ ภาพประกอบ บษุ ปรศั ว ์ ปานทอง จดั พมิ พ์โดย สำนักวิจยั และพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า อาคารศนู ย์สมั มนา ช้นั 5 สถาบนั พฒั นาขา้ ราชการพลเรอื น (ก.พ.) 47/101 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมอื ง จังหวัดนนทบรุ ี 11000 โทรศัพท์ (66 – 2) 5277830 – 9 โทรสาร (66 – 2) 5277824 http://www.kpi.ac.th พมิ พ์ท่ี

คเํ า นํ า อกสารนี้จัดทำขึ้นจากผลการวิจัยเรื่องการวัดระดับการให้บริการของหน่วยงานของ รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ซึ่งได้พัฒนามาเป็นหลักสูตรการให้บริการสาธารณะโดยการมี ส่วนร่วมของประชาชน โครงการวิจัยนี้จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสถาบัน วิชาการในกำกับของประธานรัฐสภาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP ) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ ประชาชนมีความพึงพอใจ เพราะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการ โดยในการดำเนิน โครงการร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชการ สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนา เอกชนหรือสื่อมวลชน วัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงการให้บริการที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการรับบริการอันเป็น

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) เป้าหมายสูงสุดการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมี ประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ ประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้นการ ยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) อย่าง เป็นระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการให้บริการ สาธารณะเพื่อให้บริการดังกล่าวมีคณุ ภาพตรงตามความต้องการของประชาชนและสามารถ แก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะอย่างเป็นระบบและเป็นรปู ธรรม นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะมีคุณภาพ และสนองตอบต่อความ ต้องการของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนา มีเครื่องมือและวิธีการในการกระทำนี้โดยจัดทำเป็นกระบวนการอบรมให้ความรู้และ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นข้อมูลอ้างอิงด้านเครื่องมือและวิธีการต่างๆ โดยได้รวบรวมเนื้อหา ความรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าร่วมกับการเข้าอบรมให้ความรู้ด้านการยกระดับการให้ บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อจบการรับการ ถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรแล้วจะสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้ต่อไปในอนาคต สถาบันขอขอบคุณคณะทำงาน คณะที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชน ทุกๆ คน ที่มีส่วนช่วยให้โครงการ (People’s Audit) นี้ดำเนินการไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลและขอขอบคุณโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำ ประเทศไทย (UNDP) และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตลอดจน หน่วยงานเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนโครงการด้วยดีตลอดมา และขอขอบคุณผู้ที่ช่วย เขียนเอกสารนี้ทกุ ท่านมา ณ ที่นี้ สถาบันพระปกเกล้า กมุ ภาพันธ์ 2552 IV สถาบันพระปกเกลา้

ส า ร บั ญ หนา้ เรอื่ ง 1 3 เร่ืองที่ 4 ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม 10 ความเปน็ มา 11 แนวคดิ ประชาธิปไตยพหุนยิ ม 12 สรุป แนวคดิ ประชาธปิ ไตยพหนุ ยิ ม 13 ข้อวจิ ารณท์ ีม่ ตี ่อแนวคดิ ประชาธิปไตยพหนุ ิยม 14 การแก้ไขปญั หาความขดั แยง้ โดยสันตวิ ิธีผา่ นกระบวนการประชาธปิ ไตยพหุนิยม 15 เราสามารถจัดบรรยากาศเชน่ ไรไดบ้ า้ ง 16 อานสิ งค์ของการเรียนรรู้ ว่ มกนั ในกจิ กรรม กรณศี กึ ษาประชาธปิ ไตยพหนุ ยิ มของไทยในอดีต ปัจฉิมบท

การให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนรว่ มของประชาชน (People’s Audit) เรอ่ื ง หนา้ เร่ืองท่ี 5 สำนกึ พลเมือง 17 19 ความนำ 34 34 จิตสำนึกสาธารณะ (Public Mind) 36 37 คณุ ลกั ษณะแหง่ การเป็นพลเมือง 38 1. ความร ู้ 2. คา่ นยิ มและคณุ ธรรม ค่านยิ ม (value) 43 3. การมีสว่ นรว่ มพลเมือง (civic participation) 45 ข้นั ตอนพัฒนาการจิตสำนึกเกีย่ วกับ “สังคม” ของคนไทย 48 50 เรอื่ งท่ี 6 การเมอื งภาคพลเมือง 55 56 บทนำ 56 58 พัฒนาการของประชาสังคม 61 ความหมายของประชาสงั คม 63 ประเภทของประชาสงั คม บทบาทของประชาสงั คมในการเมืองภาคพลเมือง 1. ดำเนนิ กิจกรรมทางการเมืองท่ีเปน็ กจิ กรรมเพ่อื สว่ นรวม 2. ดำเนินกจิ กรรมทางการเมืองในฐานะความเป็นพลเมอื ง 3. ดำเนินกจิ กรรมทางการเมอื งแบบพหนุ ยิ ม เร่อื งท่ี 7 วิสัยทัศนข์ า้ ราชการ บทนำ การบรหิ ารจดั การในยุคของการเปลย่ี นแปลง VI สถาบนั พระปกเกล้า

ประชาธิปไตยแบบมีส่วนรว่ ม (Participatory Democracy) เร่อื ง หนา้ อทิ ธิพลของกระแสแนวคิดทางวชิ าการท่ีมอี ทิ ธิพลตอ่ การเปลีย่ นกระบวนทศั น์ 67 ของการบรหิ ารจัดการ 1 ทฤษฎเี ศรษฐศาสตร์ในแบบนีโอคลาสิค (Neo-classical economics) 67 และทฤษฎเี ศรษฐศาสตรเ์ ชงิ สถาบนั (Institutional economics) 2 แนวคิดการจัดการนยิ ม (managerialism) 69 3 หลักการประชารฐั (Participatory State) 72 74 สถานการณ์การปฏริ ปู ระบบราชการของประเทศไทย วิสัยทศั นข์ องแผนปฏริ ปู ระบบบรหิ ารภาครัฐ 80 ข้าราชการในฐานะกลไกสำคัญในการขับเคล่ือนมุ่งสู่วิสยั ทัศน์ 82 พลังอำนาจแห่งวิสัยทัศน ์ 84 เรอ่ื งที่ 8 การบรหิ ารงานจังหวัดแบบบรู ณาการ ความเป็นมา 87 ความหมายของการบริหารงานจังหวัดแบบบรู ณาการ 89 หลกั การของการบรหิ ารงานจังหวัดแบบบูรณาการ 89 การจัดทำยุทธศาสตร์กล่มุ จังหวัด/จังหวัด 91 ยุทธศาสตร์กล่มุ จังหวัด 91 ยุทธศาสตร์จังหวัด 93 การติดตามและประเมนิ ผลการดำเนินงานของจงั หวัด 94 เรอื่ งที่ 9 ผวู้ ่าซีอโี อ :กลไกสู่ความสำเรจ็ ในการพฒั นาประเทศ 97 สถาบันพระปกเกลา้ VII



เรอ่ื งที่ 4 ประชาธิปไตยพหนุ ยิ ม ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล ความเปน็ มา ประชาธิปไตยพหุนิยมถือได้ว่า เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ไม่ถึงศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากก่อตัวของการเมือง สังคม และ วัฒนธรรมแบบใหม่ ในหลายประเทศทั่วโลก ภายหลังจากการการ เปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยความหวัง ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ก้าวหน้า แต่ผลปรากฏว่าการสร้าง

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีสว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) ประชาธิปไตยในช่วงแรกนั้น ผลลัพธ์กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ เกิด รัฐบาลเผด็จการ ลัทธิชาตินิยม มีการระบาดของคอรัปชั่น เกิดความเสื่อมทรามทาง สภาพสังคม ศีลธรรมของประเทศ ทั้งในประเทศโลกที่สามหรือประเทศด้อยพัฒนา ทั้งหลาย รวมไปถึงสังคมอเมริกันซึ่งในเวลาต่อมาสะท้อนให้เห็นได้จากขบวนการ เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิด้านต่างๆ โดยเฉพาะสิทธิคนผิวสีและขบวนการต่อต้านสงคราม เวียดนามในทศวรรษที่ 60 และ 70 จะเห็นได้ว่าระบอบประชาธิปไตยที่ถูกนำมาใช้จำกัดวงอยู่เฉพาะคนชั้นนำ เท่านั้น เกิดอำนาจรวมศูนย์อยู่ภายในรัฐและสถาบันทางการเมืองตั้งแต่รัฐสภา รัฐบาล และพรรคการเมืองต่างๆ ประชาธิปไตยดังกล่าวไม่ตอบสนองต่อความ ต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง รัฐไม่เหลียวแลผลประโยชน์ของคนชั้นล่าง คนกลุ่มน้อย ในขณะเดียวกันเป้าหมายของชนชั้นนำจะได้รับความสำคัญเหนือกว่า เป้าหมายของคนส่วนอื่นๆ อยู่เสมอ ดังนั้นจึงเกิดความคิดในการ ปกครองประเทศในช่วงทศวรรษที่ 60 ถึง 70 ในสังคมอเมริกันว่า สังคมควรมีหลายศูนย์อำนาจและไม่มี ศูนย์ใดมีอำนาจเบ็ดเสร็จแต่เพียงศูนย์เดียว ควรมีกลุ่มองค์กร กลุ่มผลประโยชน์ สมาคม สถาบันต่างๆ รวมทั้งสถาบันศาสนา เป็นพื้นฐาน สังคมหลายศูนย์เพื่อให้มีการถ่วง ดุลอำนาจช่วง ลดความรุนแรงของการ ใ ช ้ อ ำ น า จ แ ล ะ แ ส ว ง ห า ข ้ อ ยุ ต ิ โ ด ย สันติวิธี ความคิดในเชิงดังกล่าวเป็น ที่มาของประชาธิปไตยแบบพหุนิยม  สถาบันพระปกเกล้า

ประชาธิปไตยพหนุ ิยม ประชาธิปไตยพหุนิยมจึงเน้นความหลากหลายในเชิง กลุ่มคน กลุ่มองค์กร วัฒนธรรม ความเชื่อ และวิถีชีวิต ในขณะเดียวกันในความ หลากหลายนั้นก็มีค่านิยม วัฒนธรรมหรือคุณธรรมบางอย่างเป็น องค์ประกอบร่วมกัน แนวคดิ ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม แนวคิดพหุนิยม เริ่มต้นและนำมาใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยผู้ที่จะมาเป็น ประธานาธิบดีนั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มต่างๆ เพราะกลุ่มต่างๆ เป็น ที่มาของคะแนนเสียง เป็นที่มาของทรัพยากรทางการเมือง และเป็นที่มาของอำนาจทาง เศรษฐกิจกล่าวคือ 1. อำนาจของสังคมนั้นจะกระจาย แบ่งกันอยู่ตามกลุ่มต่างๆ ของสังคม 2. ประชาชนทุกคนต่างก็มีบทบาทที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจของรัฐบาล โดยผ่านกลุ่มต่างๆ ในสังคมภายใต้แนวคิดของประชาธิปไตย 3. ไม่มีกลุ่มใดที่จะมีอำนาจที่จะครอบงำเหนือสังคม 4. คุณลักษณะที่ปรากฏที่เป็นพหุนิยมนั้นมีทั้งอำนาจตามแนวระนาบ และแนวดิ่ง 5. แต่ละกลุ่มจะมีความเป็นอิสระ มีอำนาจในตนเองและภายในกลุ่ม สถาบนั พระปกเกลา้

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) นักสังคมวิทยา ได้ให้คำกัดความของระบบการเมืองที่มีความเป็นพหุนิยมว่า เป็นระบบการเมืองที่กลุ่มต่างๆ ทั้งหลายในสังคมสามารถที่จะมีอิทธิพลผลักดัน กำหนดนโยบายสาธารณะ ในลักษณะที่มีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือกลุ่มจำนวนหยิบมือ สามารถที่จะควบคุม หรือผูกขาดการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อกลุ่มและพวกพ้อง ของตนเองได้ และยิ่งไปกว่านั้น ระบบการเมืองดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มมี บทบาทและมีส่วนอย่างสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะร่วมกันโดยผ่านการ เจรจาต่อรองและประสานประโยชน์กัน อำนาจของสังคมนั้นจะกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของสังคม อำนาจที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงอำนาจในการตัดสินใจและเป็นอำนาจตัดสินใจแล้วมีผลผูกพันทางการเมือง ประชาธิปไตยแบบพหุนิยมจะมีคุณลักษณะพุ่งเป้าไปที่การก่อให้เกิด ประชาธิปไตยในวิถีที่ประชาชน สามัญชนมีการเปล่งเสียงดังขึ้นในการ กำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ  สถาบันพระปกเกล้า

ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม รูปแบบใหม่หลายรูปแบบ ของการมีส่วนร่วมจะเริ่มผุด พรายให้เห็นจากการปฏิบัติการ ของภาคประชาสังคมทั้งในระดับ ท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับ ภูมิภาค ซึ่งเลยไปถึงในบางครั้ง ระดับโลก ในระดับเครือข่าย องค์กรพัฒนาเอกชน โดย เฉพาะอย่างยิ่งความพยายามที่ จะทำให้เกิดการกระจายอำนาจ และการก่อตั้งส่วนที่เป็นอิสระ แนวคิดพหุนิยมนี้ได้มีการนำไปอธิบายในหลายๆ ด้าน เพื่อจะอธิบาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ในสังคม หมายถึงสังคมที่มีกลุ่มต่างๆ มาอยู่ร่วมกันในสังคม เดียว เช่น ชนกลุ่มน้อย กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มทางศาสนาที่อาศัยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ของระบบวัฒนธรรมหลักร่วมกัน แต่ก็คงไว้และให้ความนับถือวิถีชีวิต ค่านิยมและ วัฒนธรรมที่แต่ละกลุ่ม ยึดถือซึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมย่อย ซึ่งตามแนวคิดนี้นั้น มองว่าประชาชนทุกคนต่างมีบทบาทมีอำนาจในการ ตัดสินใจของรัฐบาล แต่สามารถกระทำได้โดยผ่านกลุ่มต่างๆ ตามแนวคิด ประชาธิปไตย และจะไม่มีกลุ่มใดมีอำนาจครอบงำเหนือสังคม ไม่มีอำนาจครอบงำ กลุ่มอื่น กลุ่มผลประโยชน์หลากหลายสามารถที่จะผลักดันผลประโยชน์ของกลุ่มตนให้ ได้รับการตอบสนองโดยวิธีการประนีประนอม สถาบนั พระปกเกลา้

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) สรุปแนวคิดในการศึกษาวิเคราะห์เชิงพหุนิยม เป็นรูปแบบดังนี้ นำเข้า กระบวนการตัดสินใจ ผลลพั ธ์ ความต้องการ นโยบาย (กลอ่ งดำ) - รัฐสภา รมต. - รัฐบาล สิ่งแวดลอ้ ม พรรคก ารเมือง สิ่งแวดลอ้ ม สะทอ้ นกลบั กลมุ่ ก กลมุ่ ข กลุม่ ค กล่มุ ง กลุ่ม …. ประชาชน  สถาบนั พระปกเกลา้

ประชาธปิ ไตยพหนุ ยิ ม จากภาพจะสามารถอธิบายได้ว่า แนวทางเข้าถึงแบบพหุนิยม ได้ดังนี้ 1. ประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ประชาชนคนหนึ่งอาจจะเป็นสมาชิก กลุ่มต่างๆ ได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มโดยไม่จำกัดและโดยสมัครใจ 2. สมาชิกกลุ่มส่งผ่านความต้องการผ่านไปยังกลุ่มที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ หรืออาจจะส่งความต้องการข้ามไปยังพรรคการเมืองหรือข้ามไปยัง รัฐมนตรีเลยก็ได้แล้วแต่ช่องทางที่สะดวก (แต่แนวคิดนี้ประชาชนจะได้ รับการสนองก็โดยการเป็นสมาชิกกลุ่ม ส่วนปัจเจกชนนั้นไม่ค่อยมี น้ำหนักอาจจะไม่ได้รับการตอบสนองก็ได้) 3. กลุ่มก็จะส่งผ่านความต้องการของกลุ่มตนไปยังพรรคการเมือง 4. พรรคการเมืองซึ่งได้รับฐานการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ทางการเมืองก็จะต้องพยายามหาคนที่เป็นตัวแทนของพรรคตนเอง เข้าไปบริหารประเทศ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าพรรคการเมืองก็คือ กลุ่มบุคคลที่มีแนวความคิด มีอุดมการณ์เดียวกันหรืออาจคล้ายคลึง กันตั้งเป็นพรรคการเมือง เพื่อส่งสมาชิกของตนเองเข้าไปใช้อำนาจ บริหารงาน 5. มีการนำความต้องการของประชาชนกลุ่มต่างๆ เข้าสู่กระบวนการ ตัดสินใจ ซึ่งในกระบวนการตัดสินใจดังกล่าวไม่สามารถอธิบายให้ ชัดเจนได้ว่าทำไมถึงตัดสินใจอย่างนั้น ในทฤษฎีระบบเรียกกระบวนการตัดสินใจนี้ว่า “กล่องดำ ”(Black Box) การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น ถึงแม้ว่า สถาบันพระปกเกล้า

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีส่วนรว่ มของประชาชน (People’s Audit) กระบวนการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และผู้ตัดสินใจคือ รัฐสภา หรือรัฐบาล แต่ในแนวคิดพหุนิยมนี้ยังถือว่าอำนาจในการ ตัดสินใจจะอยู่ที่กลุ่มต่างๆ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจนั้นถูกล๊อบบี้ หรือคัดเลือกโดยกลุ่มที่สนับสนุนอันเป็นกลุ่มที่มีเสียงในการลงคะแนน นั่นเอง 6. กำหนดนโยบายผ่านกระบวนการ แล้วนำไปสู่การปฏิบัติ 7. เมื่อปฏิบัติแล้วมีผลกระทบต่อการกระทำอย่างไรก็จะย้อนกลับมายัง ประชาชนใหม่ 8. ในแนวคิดนี้จะอธิบายได้เฉพาะในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น ลักษณะการส่งผ่านความต้องการของแต่ละกลุ่มจะกระทำในลักษณะ ดังภาพนี้ กลมุ่ ก กลมุ่ ข กลมุ่ ค กลมุ่ ... กลุ่ม ง กำหนดนโยบาย กลุม่ G กลุ่ม E กลุ่ม F  สถาบันพระปกเกลา้

ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม จากรูปแสดงให้เห็นว่ากลุ่มต่างๆ มีการผลักดันในการกำหนดนโยบาย แนวความคิดพหุนิยมนั้นเชื่อว่าผลประโยชน์ ทรัพยากรหรือคุณค่าต่างๆ ในสังคมจะ เกิดขึ้นตามทิศทางของการผลักดันของกลุ่ม ซึ่งหมายถึงกลุ่มอิทธิพลนั่นเอง และ นโยบายที่ตัดสินใจออกมาแล้วก็ผูกพันกับสังคม ต้องมีการปฏิบัติตาม มีผู้ได้รับ ผลประโยชน์และประโยชน์ มีการแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ กลุม่ ก ผ้กู ำหนด ผลกั ดนั กลุ่ม ข และทกั ษะอำนาจ ผลกั ดัน นโยบาย และทกั ษะอำนาจ ทางการเมอื ง ทางการเมือง ผลลพั ท์ ผลลพั ท์ นโยบายสาธารณะทีก่ ล่มุ ตอ้ งการ นโยบายสาธารณะทีก่ ล่มุ ตอ้ งการ จากรูปจะเห็นได้ว่าผู้กำหนดนโยบายจะถูกอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทั้ง 2 ด้าน กดดันให้รัฐบาลหรือผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ สถาบันพระปกเกล้า

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีสว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) สรปุ แนวคดิ ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม 1. อำนาจของสังคมนั้นกระจายอยู่ตามกลุ่มต่างๆ มิใช่กระจุกตัวอยู่ใน กลุ่มเล็กๆ 2. กลุ่มต่างๆ นั้นจะมีการแข่งขันในทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตน 3. ความต้องการของประชาชนหรือปัจเจกชนจะได้รับการตอบสนอง ผ่านกลุ่ม 4. รัฐเป็นเพียงตัวกลางที่รักษากติกา เป็นตัวกลางในการแข่งขันในทาง การเมือง เมื่อมีการตัดสินใจทางการเมืองอย่างไรแล้ว รัฐมีหน้าที่ รักษากติกาให้เป็นไปตามนั้นจะไม่แทรกแซงกิจการใดๆ 5. ไม่มีกลุ่มใดครอบงำหรือผูกขาดในทางการเมือง 6. ประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มหลายกลุ่ม ดังนั้นการต่อสู้กดดันทาง การเมืองจึงไม่แหลมคมมากนัก 10 สถาบันพระปกเกล้า

ประชาธปิ ไตยพหนุ ยิ ม ขอ้ วจิ ารณท์ ม่ี ตี อ่ แนวคิด ประชาธิปไตยพหุนยิ ม 1. แนวคิดนี้เกิดขึ้นในสังคมอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหมายถึงกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรมที่มีการแตกแยกย่อยของอาชีพมากมาย แต่ในสังคมจารีตประเพณีจะไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก 2. พหุนิยมเป็นแนวคิดอนุรักษ์นิยม เพราะเชื่อว่าระบบที่มีอยู่เป็นระบบที่ ดีอยู่แล้ว 3. บางครั้งผลประโยชน์ที่รัฐบาลพิจารณาให้ไม่ใช่ความต้องการของคน ส่วนใหญ่แต่เป็นอาจเป็นความต้องการของผู้นำกลุ่มที่อ้างกลุ่มบังหน้า 4. ข้อเท็จจริงสังคมจะมีลักษณะเป็นชนชั้นของคนที่มีฐานะร่ำรวย 5. ความคิดที่ว่าไม่มีกลุ่มใดมีอำนาจครอบงำกลุ่มใดหรือสังคมและรัฐบาล เป็นกลางในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นอาจไม่เป็นความ จริงเพราะว่ากลุ่มแต่ละกลุ่มในสังคมนั้น มีทรัพยากรทางการเมืองไม่ เหมือนกัน เช่นที่อเมริกาธุรกิจขนาดใหญ่จะอำนาจมาก เพราะว่าเป็น ที่มาของเงินภาษี อำนาจของรัฐ ที่สร้างงาน ความแข็งแกร่งของประเทศ รัฐจึงไม่กล้าที่จะตัดสินใจที่ก่อให้เกิดผลเสียแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ สถาบันพระปกเกลา้ 11

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) การแก้ไขปญั หา ความขัดแย้งโดยสันตวิ ิธ ี ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยพหุนยิ ม ในโลกปัจจุบันที่เผชิญหน้าเข้าหากันในปัจจุบัน การก่อเกิดบรรยากาศ และวิถี ชีวิตแบบพหุนิยมประชาธิปไตย แต่ละฝ่ายจะต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้ 1. สามารถเห็นโลกจากมุมมองของผู้อื่น 2. มีความความอดทนต่อการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีความเชื่อที่ แตกต่างจากเรา 3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างได้อย่างสร้างสรรค์ และ มีความสามัคคี 4. ความสามารถในการแสดงความคิดเห็น และเจรจาต่อรอง เมื่อมีความ ขัดแย้งเกิดขึ้น เราอาจทดลองภายในกลุ่มของเราเอง ให้มีการพัฒนากลุ่มให้มีความสามารถ ดังกล่าวข้างต้นโดยการจัดบรรยากาศเสวนาพูดคุยกันระหว่างผู้ที่มีความคิดเห็นที่ แตกต่างกัน และหาความหมายของการสนทนา และริเริ่มโครงการความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างผู้ที่มีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา อย่างสมานฉันท์จนกระทั่งมีการรับ รู้ใหม่ๆ ในเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของกันและกัน ภายใต้การเปิดใจ พุดคุยกัน ในมุมมองที่แตกต่างกัน มีการสะท้อนความรู้สึกของกันและกันและ ตระหนักรู้ในตัวเอง 12 สถาบันพระปกเกล้า

ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม เราสามารถจัดบรรยากาศเช่นไรไดบ้ ้าง 1. มีการจัดกิจกรรมของศูนย์วัฒนธรรม 2. มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ และอยู่ร่วมกัน 3. มีกิจกรรมที่เป็นบริการชุมชนร่วมกัน เช่น การสร้างเสริมสุขภาพชุมชน อาทิ การออกกำลังกายร่วมกัน การเล่นกีฬา การจัดเทศกาลอาหาร อร่อยที่หลากหลายเชื้อชาติ จัดท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่รื่นรมย์ และไม่ ทำลายธรรมชาติ สถาบันพระปกเกล้า 13

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) อานสิ งค์ของการเรยี นร้รู ่วมกันในกจิ กรรม เป็นการภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ในการพัฒนาชุมชนอาทิ 1. มีความรู้ในเรื่องตัวเอง หมายถึง ความตระหนักรู้ว่าเรามีความสามารถ ในทางใดบ้าง มีความเข้มแข็ง และอ่อนแอในเรื่องใด 2. มีความกล้า อันหมายถึง สามารถคิด และทำสิ่งที่เห็นว่ามีคุณค่า และมี ความเชื่อใดๆ โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น 3. มีความมั่นคงต่อพันธะสัญญา แสดงออกด้วยความเมตตา และ ซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อผู้อื่น 4. มีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความ สามารถในการ “ฟัง” ด้วยความเข้าใจ 5. มีความอดทนเป็นยอด ซึ่งหมายถึง ทักษะในการจัดการปัญหา อย่างสันติ นำไปสู่ทักษะในการสื่อสารที่เกิดการร่วมมือที่ดีระหว่างกัน และกัน 14 สถาบนั พระปกเกล้า

ประชาธปิ ไตยพหนุ ิยม กรณศี ึกษาประชาธปิ ไตยพหุนยิ ม ของไทยในอดีต แนวคิดประชาธิปไตยพหุนิยมที่อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยที่ผ่านมา คือ กรณีการร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สาเหตุที่มีการร่าง รัฐธรรมนูญก็เพราะคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อนนั้น มิได้เขียนข้อบังคับ หลายฉบับ หลายข้อบังคับ ที่จะนำมาซึ่งการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกคนดีเข้าสู่สภา ซึ่งถือว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แต่เดิมนั้นเมื่อ มีการเลือก สส.แล้วมิได้เป็นการเมืองแบบตัวแทน เพราะผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สส.แล้วสามารถดำเนินการตามวิธีการของตนเองได้โดยประชาชนไม่มีอำนาจในการ ตรวจสอบ จึงได้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่โดย สภาได้แต่งตั้ง สสร.และสสร.ได้ร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้มีการคัดสรรได้คนดี มีศีลธรรม และมีความสามารถเข้าไปเป็นผู้ใช้อำนาจ เมื่อมีความคิดนี้เกิดจึงการ เคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มสภาพ แวดล้อม กลุ่มเครือข่ายการสื่อสาร หรือกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ โดยกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ได้แสดงความต้องการของตนผ่านทางองค์กรที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งก็คือ สสร.ทั้ง 99 คน จนกระทั่งได้เป็นร่างนโยบายหรือกฎหมายออกมาให้คนในสังคมต้อง ปฏิบัติตาม ซึ่งเมื่อได้มีการตัดสินใจแล้วก็ต้องปฏิบัติตามและเมื่อได้มีการปฏิบัติตาม กฎหมายที่ออกมานี้แล้วก็ เกิดปัญหาตามมา เช่น ในการเลือกตั้ง สว. ในวันที่ 4 มีนาคม 2543 จะพบมี สว.ถูกแขวนทำให้มีการเลือกตั้งหลายครั้งกว่าจะ สว.ครบ 200 คน นี่คือ เป็นผลย้อนกลับมา สถาบันพระปกเกลา้ 15

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) ปจั ฉิมบท มีนักวิชาการหลายกลุ่มได้ให้ข้อสังเกตประชาธิปไตยพหุนิยมว่า ความเป็น ”พหุนิยม” จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีการจำกัดอำนาจของรัฐไม่ให้มีมาก เกินไปจนกลายเป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง มีการแยกอำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดหลัก แห่งการแบ่งแยกอำนาจรวมทั้งหลักการเลือกตั้งตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดอำนาจ ประการต่อมา ความเข้มแข็งขององค์กรที่เป็นอิสระและหลากหลายของ กลุ่มองค์กร สมาคมทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา อาชีพ มีความสำคัญมากที่สุดใน การถ่วงดุลอำนาจรัฐ ด้วยการเป็นกลุ่มที่มีความสนใจหลากหลายในจุดย่อยๆ ของแง่ มุมทางสังคมหรือความเป็นพหุนิยมขององค์กรสังคมนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดใน การทัดทานกับการเกิดทรราชหรือเผด็จการ 16 สถาบนั พระปกเกล้า

เรื่องที่ 5 สำนกึ พลเมือง ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ทศพล สมพงษ ์ รความั นำ ฐ (state) กับสังคม (society) มีความสัมพันธ์กันในเชิงอำนาจ หากรัฐ มีอำนาจครอบงำสังคม (state society) รัฐจะมีอำนาจทางการเมือง (political power) เป็นพลังขับดัน โดยใช้กลไกของรัฐ (state apparatus) เป็นเครื่องมือครอบงำสังคม รัฐแบบนี้บุคคลอันเป็นพลเมืองและกลุ่มองค์กรต่างๆ ในสังคม จะมีอำนาจทางการเมืองน้อย เป็นสังคมที่ปราศจากพลังอำนาจทางการเมือง

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) ในทางตรงกันข้าม หากสังคมมีอำนาจเหนือรัฐ (civil society) เป็นสังคมที่บุคคลและ องค์กรต่างๆ มีอำนาจทางการเมือง การเมืองย่อมเป็นการเมืองของพลเมืองไม่ใช่ การเมืองของรัฐ บุคคลซึ่งเป็นพลเมืองในสังคมที่ประชาชนมีอำนาจเหนือรัฐนั้น ต้อง เป็นบุคคลที่มีความสำนึกในอุดมการณ์ประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วม ทางการเมือง สำนึกในสิทธิหน้าที่ ความเสมอภาคและเสรีภาพ มีสำนึก สาธารณะ เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เป็นบุคคลที่สามารถรวม กลุ่มเป็นองค์กร ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย และดำเนินกิจกรรมสาธารณะอย่าง ต่อเนื่องยาวนานจนสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายหรือความต้องการของ องค์กรหรือชุมชนได้ บุคคลในสังคมแบบนี้ต้องมีเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้อันเป็นกระบวนการของสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning society) และสังคมดังกล่าวนี้ คือ ประชา-สังคมหรือ civil society ที่เกิด ขึ้นในชุมชนทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด และอาจรวมไปถึงการพัฒนา เป็นเครือข่ายระดับประเทศ 18 สถาบันพระปกเกลา้

สำนกึ พลเมอื ง ประชาสังคมเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย แตกต่างแต่ไม่แตกแยก ภาค ประชาชนมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อประโยชน์สุขของพลเมืองเป็นสำคัญ การเมืองไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐ หากแต่เป็นของพลเมือง ประชาชนมีความเป็นพลเมือง เพราะเป็นผู้มีสำนึกในอันที่จะมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมอย่างกระตือรือร้น รับผิดชอบ และมีคุณธรรม และการที่ประชาชนจะมีความเป็นพลเมืองได้นั้น จะต้องมีโครงสร้าง ทางสังคมเป็นกลไกที่สามารถหล่อหลอมให้บุคคลในสังคมมีความเป็นพลเมืองได้ ซึ่งนั่นก็คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการหรือโครงสร้างทางสังคม นั่นเอง จิตสำนกึ สาธารณะ (Public Mind) ความเป็นพลเมือง (Citizen) มีความหมายที่สะท้อนให้เห็นบทบาท หน้าที่ และ ความรับผิดชอบของสมาชิกทางสังคมที่มีต่อรัฐ กินความกว้างกว่าคำว่า “ประชาชน” และราษฎร คำว่า “ประชาชน” เป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ผู้ ปกครอง หรือกลไกของผู้ปกครอง คำว่า “ราษฎร” เป็นผู้ที่ถูกปกครอง ที่เจ้านายหรือข้าราชการใช้เรียก บุคคลในอาณัติหรือใต้บังคับบัญชา หรือในพื้นที่ปกครองของตนเอง ส่วนคำว่า “พลเมือง” เป็นประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการ ปกครองและการบริหารงานของรัฐ ด้วยสำนึกรับผิดชอบว่าตนเองเป็น สมาชิกของสังคมที่มีส่วนสำคัญในโครงสร้างทางสังคม ที่จะต้องรับผิดชอบ สังคมร่วมกัน สถาบันพระปกเกล้า 19

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) มีประชาชนคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าเรื่องของ การเมืองการปกครอง เป็นเรื่องของชนชั้นนำ ชนชั้น ปกครอง และเป็นเรื่องของเจ้านาย และกล่าวสำหรับ ประชาชนคนไทยเองมักจะคิดว่ามีหน้าที่เพียงเชื่อฟัง รับใช้ และปฏิบัติตามโดยไม่ควรมีหน้าที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ การเมืองการปกครอง นี่คือกรอบความคิดที่กำลังจะเป็นอุปสรรคอันใหญ่ ห ล ว ง ข อ ง ส ั ง ค ม ไ ท ย ท ี ่ ก ำ ล ั ง ย ่ า ง ก ้ า ว ไ ป สู ่ ส ั ง ค ม ประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะว่าชนชั้นนำ นักการเมือง และ ชนชั้นปกครองมักจะมีความพยายามที่จะแยกประชาชน คนไทยออกจากการเมืองการปกครอง ซึ่งในที่สุดแล้ว ตราบใดที่การเมืองการปกครองไม่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของประชาชน ย่อมเป็นดัชนีชี้วัดว่า นี่คือความล้มเหลวของการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยของไทยก็ว่าได้ สังคมไทยในยุคประชาธิปไตย ประชาชนคนไทย ส่วนหนึ่งมักจะถูก ครอบงำโดยชนชั้นนำ ชนชั้นปกครอง และนักการเมือง ให้มีความรู้สึกว่าไม่ ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง และในที่สุดทำให้ชนชั้นนำ ชั้นปกครอง ได้มีแนวทางเข้ามาเสวยสุข เสวยอำนาจการปกครอง โดย วิธีการรวบรวมศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองไว้อย่างเป็นเบ็ดเสร็จ 20 สถาบนั พระปกเกลา้

สำนึกพลเมือง สำนึกแนวความคิดแบบน ี้ จึงถูกฝังแน่นในหมู่ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะ คนจน คนด้อยโอกาส และคนไทยทั่วไปที่หวังพึ่งพิงของรัฐ เป็นผู้คอยรับการอุปถัมภ์ จากรัฐ สังคมไทยและคนไทย จึงมีความเคยชินอยู่กับการรอคอยการสงเคราะห์ คอยรับการอุปถัมภ์และรับบริการจากรัฐ ชนชั้นนำและนักการเมืองมากกว่าใช้ความ คิด วิธีคิด ถึงความสำนึกแห่งความตื่นตัวในเรื่องของสิทธิและความรับผิดชอบ ร่วมกันและเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมืองและการพัฒนา รวมทั้งมีความต้องการที่จะ ดูแลชะตากรรมชุมชนของตนเอง ดังนั้นจึงเห็นว่าอะไรหรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่ทีกี่รกระทำโดยรัฐ จึงมักจะถูก ละเลยและถูกทำลาย โดยประชาชนคนไทยอย่างง่ายดาย ขาดซึ่งจิตสำนึกสาธารณะที่ ดูแลรักษา เช่น โทรศัพท์สาธารณะ ป้ายประกาศ ถนนสาธารณะ ขยะมูลฝอย แม่น้ำลำธาร และในบางสิ่งบางอย่างก็ถูกใช้ หรือนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือย เป็นต้นว่า น้ำประปา ไฟฟ้า ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ใครจะทำอะไรในสังคมไทย ก็สามารถกระทำได้โดยขอบใจ หรือ อาจจะตามอำนาจใจ ถือว่าธุระไม่ใช้หน้าที่ของประชาชน เป็นต้น โรงงานอุตสาหกรรม ปล่อยน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นก็ถือว่าธุระไม่ใช้ หรือโครงการของรัฐจะสร้างความเสียหาย และจะก่อให้เกิดอุบัติภัยจนถึงแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่อชุมชนของตนเองเพียงใดก็ตาม ก็ถือว่าธุระไม่ใช่ แม้ว่าคนของรัฐ นักการเมือง ข้าราชการ จะมีพฤติกรรมประพฤติมิชอบ จะคอร์รัปชั่น และจะโกงการเลือกตั้งจะมีการซื่อเสียงกันสักเพียงใดก็ตาม ก็ถือว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง สถาบันพระปกเกล้า 21

การให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) แม้ในปัจจุบันนี้จะพอมีกลุ่มองค์กรประชาชน นักวิชาการที่มีความประสงค์ให้ สังคมไทยกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีโอกาสเข้ามีส่วนร่วม ในทางการเมืองการปกครองบ้างก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่มุ่ง หวังให้ประชาชนคนไทยเข้ามีส่วนร่วมทั้งด้านการเมือง การปกครอง การพัฒนาสังคม ไทยให้มากขึ้นก็ตาม ก็ไม่แน่ใจนักว่าประชาชนคนไทยโดยทั่วไปจะมีจิตสำนึก สาธารณะสักเพียงใด จิตสำนึกสาธารณะก็คือ ความสำนึกในความเป็นประชาชนคนไทย ตระหนักในสิทธิและความรับผิดชอบที่จะช่วยกันสร้างสรรค์สังคม และมี ความเป็นพลเมืองที่มีศักดิ์ศรีและมีส่วนร่วมในเรื่องส่วนร่วม โดยมุ่งหวังที่ จะต้องการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครองพร้อมที่จะดูแลกำหนด ชะตากรรมของตนและชุมชน เพื่อสร้างเมืองและสร้างชุมชนให้น่าอยู่ด้วย คนในสังคมไทยโดยมิต้องเพียงแต่หวังแต่หวังพึ่งรัฐ ชนชั้นนำ ผู้ปกครอง และนักการเมืองเท่านั้น สังคมไทยปัจจุบันภาวะการเกิดสำนึกสาธารณะของกลุ่ม องค์กรชุมชน ได้เริ่ม เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และเริ่มมีกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ ในรูปของกลุ่มและองค์กรต่างๆ เป็นต้นว่า การก่อเกิดของกระบวนการกลุ่มชมรม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มออม-ทรัพย์เพื่อการผลิต เพื่อสร้าง ระดมทุนในการพึ่งตนเอง กลุ่มฮักบ้านเกิด กลุ่มรักเมืองน่าน กลุ่มองค์กรสตรี กลุ่ม อนุรักษ์สมุนไพร องค์กรพิทักษ์เด็ก กลุ่มชุมชนทางอากาศ (จส.100) กลุ่มเด็กรักป่า ภาคอีสานตลอดจนกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นๆที่ยังมิได้กล่าวไว้ใน ที่นี้ 22 สถาบนั พระปกเกลา้

สำนึกพลเมอื ง นี่คือจิตสำนึกสาธารณะของประชาชนคนไทยที่กำลังจะเติบใหญ่ขึ้นมาและผม เห็นว่าเป็นเพียงก้าวแรกที่จะช่วยกันสร้างกระแสความตื่นตัวของคนไทย ได้มีความ สำนึกในความเป็นคนไทยที่จะต้องคอยช่วยกันสร้างชุมชนและสังคมไทยร่วมกัน คอย ช่วยกันตรวจสอบดูแลมีส่วนร่วมในการกอบกู้สังคมไทยในอนาคต ใครก็ตามที่คิดว่าระบอบประชาธิปไตยประกอบด้วยพรรคการเมือง การเลือก ตั้งและรัฐสภาเท่านั้น นับว่าเป็นคนที่ขาดความเข้าใจปมเงื่อนการทำงานระบบนี้ไปโดย สิ้นเชิง หรือไม่ก็มีเจตนาบิดเบือนตัวระบอบให้สอดรับรับกับผลประโยชน์ของตนเอง อันที่จริงองค์ประกอบชี้ขาดที่สุดของระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชน สถาบนั พระปกเกลา้ 23

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) แน่นอนกล่าวแค่นี้คงยังไม่พอ เพราะสำหรับนักการเมืองหรือผู้เกี่ยวข้องกับการ แสวงหาอำนาจ ตลอดจนนักคิด นักเขียน สื่อมวลชนกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า นักเคลื่อนไหวทางสังคม คำว่า ประชาชนมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอ บางครั้งในฐานะ จุดมุ่งหมาย บางทีเป็นข้ออ้างความชอบธรรม และมีอยู่ไม่น้อยที่ถูกใช้เป็นถ้อยคำ กดขวัญผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ประชาชนมิได้เป็นแค่นามธรรมทางการเมือง หากมีการดำรง อยู่ที่เป็นจริง มีชีวิตมีปัญหา มีการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง หลายมิติ กระทบกระทั่งกับ ผู้กุมอำนาจ ขัดแย้งกันเอง มีทุกข์โศก ร้อนหนาว มีเรื่องพอใจ มีสิ่งไม่พอใจ และที่ แน่ๆ คือมีผลประโยชน์ที่หลากหลายและเป็นรูปธรรม เช่นนี้แล้ว การเอ่ยถึงประชาชนอย่างเลื่อนลอย แม้จริงใจปานใด ก็อาจไม่ช่วย ให้อะไรดีขึ้น ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมอบภาระในการคัดสรรผู้ปกครองไว้ในมือ ประชาชน จะว่าไปก็นับว่าเป็นภาระที่หนักอย่างยิ่ง ในระบอบดังกล่าวลักษณะ นามธรรมของประชาชน เป็นที่มาของความชอบทำทั้งปวง ทว่าสภาพรูปธรรมของ ประชาชนบางทีก็ให้ผลตรงข้ามกัน การใช้อธิปไตยของปวงชนกลายเป็นการเสีย อธิปไตยให้คนหยิบมือเดียว อย่างน้อยสี่ปีครั้ง บางทีก็ถี่กว่า ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่า ใน ห่วงเวลาระหว่างนั้น ประชาชนเกือบทุกหมู่เหล่ากลับรู้สึกถูกกระทำโดยผู้ที่ตนเองเลือก โดยไม่สามารถป้องกันตัวได้ สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยของเราด้วยสาเหตุสองประการ ประการแรกเป็นเพราะตัวระบอบไม่มีพื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการแสดงออก หรือการ ใช้อำนาจทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าพื้นที่ดังกล่าวจะ จัดสรรและจัดตั้งกันอย่างไร ประการต่อมาเป็นเพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็เคยคุ้นอยู่ 24 สถาบนั พระปกเกลา้

สำนกึ พลเมอื ง กับการถูกยกอ้างให้เป็นผู้มีอำนาจในลักษณะนามธรรม ส่วนรูปธรรมของชีวิตหากไม่ คิดยอมจำนนก็หวังพึ่งผู้กุมอำนาจอยู่ร่ำไป สาเหตุทั้งสองประการมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ชัดเจน การก่อเกิดของประชาธิปไตยในประเทศ นั้น จริงๆ ก็มิใช่เรื่องราวที่ย้อนถอยไปไกล นัก แต่นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับวิถี ประวัติศาสตร์ที่นำพามาสู่ระบบนี ้ เรามีทั้งข้อได้เปรียบที่แตกต่างไป จากการคลี่คลายของระบอบ ประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งทำให้การถ่าย สำเนาระบอบการเมืองฝรั่งมาใช้เป็นเรื่อง ที่ทำไม่ได้และไม่จำเป็นต้องทำ ในหมู่ประเทศตะวันตกการก่อเกิดของรัฐชาติสมัยใหม่กับการวิวัฒน์ของ ระบอบประชาธิปไตยนั้น เป็นกระบวนการที่เกือบจะแยกจากกันไม่ได้ สำนึกเรื่อง สิทธิเสรีภาพปลุกเร้าให้ผู้คนเร่งรื้อถอนอำนาจรัฐโบราณ และสร้างหน่วยสังกัดใหม่ อันเรียกว่า ชาติ ขึ้นมาแทนที่พันธนาการดังเดิม ขณะที่การเติบโตของระบบ เศรษฐกิจเสรีกับปรัชญาชีวิต และปรัชญาการเมืองที่หลุดพ้นจากโบราณสมัย ยิ่งช่วย วางรากฐานให้ความสัมพันธ์ใหม่ในทางการเมืองและทางสังคม สถาบันพระปกเกลา้ 25

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) จากนั้นเราก็เริ่มเรียกคนที่อยู่ในอาณาจักร “คนในบังคับ” ตามอย่างที่ฝรั่งเรียก ขานคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในอาณานิคมของตน แน่ละอันนี้อาจอนุโลมได้ว่าเป็นต้น ทางของฐานะ “พลเมือง” ซึ่งคนไทยจะได้ถือครองอีกหลายปีต่อมา แต่ถ้าย้อนถอยไป พินิจถึงสภาพสมัยนั้น มันก็เป็นเพียงการกำหนดสังกัดว่า ใครอยู่ภายใต้สังกัดใด ยิ่งมี การยกเลิกโครงสร้างระบบไพร่ ระบบทาส และสร้างระบบราชการการสมัยใหม่ขึ้นมา แทนที่ สำนักเรื่องสังกัดดังกล่าวยิ่งจำเป็นสำหรับการปกครองประเทศ เพราะราษฎร จะต้องหันมาเชื่อฟังรัฐบาลและข้าราชการ แทนเชื่อฟังขุนนางโบราณที่เคยเป็น นายใกล้ตัว พูดกันตามความจริงการเลิกไพร่เลิกทาสกับการยกเลิกระบบการปกครอง โดยขุนนางนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งในทางความหมายสัมพันธ์ทางการเมืองแล้วหมายถึง การยกเลิกโครางสร้างและความสัมพันธ์หลักในสังคมไทยลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม สำนึกเรื่องสังกัดอำนาจรัฐมิใช่สิ่งเดียวกันกับสำนึก เรื่องชาติ และการเลิกไพร่ทาส ปล่อยให้ผู้คนแตกปัจเจกโดยไม่มีปรัชญา ชีวิตที่รักเสรีภาพ หรือมีแนวคิดทางการเมืองเรื่องส่วนรวมมาแทนที่ความ เคยชินเก่า รวมทั้งไม่มีโครงสร้างทางการเมืองที่เปิดกว้างมารองรับ ไม่เพียง แต่ทำให้วัฒนธรรมอุปถัมภ์ค้ำจุนตกค้างต่อไปเท่านั้น หากยังทำให้การ เคลื่อนไหวของปัจเจกชนที่เกิดตามหลังมาในบรรยากาศเหล่านี้เป็นเรื่องไร้ ทิศทางและขาดเยื่อใยกับสังคม ในขณะที่รัฐไทยเริ่มแปรรูปเติบใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ 26 สถาบันพระปกเกลา้

สำนกึ พลเมือง เช่นนี้แล้ว สำนึกเรื่องหน้าที่ “พลเมือง” ของคนไทยจึงไม่สมประกอบมา ตั้งแต่แรก แม้ในปี พ.ศ. 2475 จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบอื่นๆ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงการยกฐานะพระ มหากษัตริย์ขึ้นอยู่เหนือการเมืองเท่านั้น โดยอาศัยระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำ หน้าที่เป็นทั้งสถาบันการเมืองและกลไกการปกครองไปในเวลาเดียวกัน ยิ่งไปกว่านี้ คณะผู้ก่อการไม่ว่าจะโดยเจตนาดีหรืออันใดก็ตาม ได้เสริมขยายบทบาทของรัฐมาก ขึ้นอีกด้วยการเข้าไปอุปถัมภ์สังคมในแทบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ การ ศึกษา หรือวัฒนธรรม อันนี้ถ้ามองในแง่ดีก็อาจจะเป็นการตอบโต้ จุดหมายอันจำกัด ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ผลทางลบที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่พ้นก็คือ พื้นที่ใน การฝึก “พลเมือง” ไทยให้เอาการเอางานในการดูแลทั้งชีวิตของตนเอง และกิจการ ของบ้านเมืองกลับยิ่งหดแคบลงไปประชาชนที่ค้นพบ “นายใหม่” ในรูปของเจ้าหน้าที่ ของรัฐ และไม่รั้งรอที่จะเข้าไปฝากเนื้อฝากตัว ส่วนที่หาสายใยแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ชีวิตไป ตามยถากรรม คนไทยได้เรียนรู้หน้าที่พลเมือง แต่เพียงสิ่งที่รัฐกำหนดให้ จะแจ้งเกิด แจ้งตายอย่างไร เสียภาษีอย่างไร ที่ไหน ให้ปลูกข้าวปลูกพืชเพื่อการส่งออกช่วง ใดดี เป็นต้น การเป็นพลเมืองดีของ ประเทศนี้ถูกนิยามไว้ที่ความร่วมมือกับ รัฐ เชื่อฟังนโยบาย คล้อยตามผู้มีอำนาจ เป็นสำคัญ เช่นนี้จึงได้ก่อรูปการของ จิตสำนึกแบบ “คนเป็นของรัฐ” ขึ้นฝัง รากลึกมาถึงปัจจุบันนั่นคือจิตสำนึกและ ความเข้าใจว่ารัฐมีหน้าที่บริหารจัดการ สถาบันพระปกเกล้า 27

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ควบคุม ดูแล ให้บริการและแก้ไขสารทุกสุขดิบแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง ยิ่งเมื่อ ระบบราชการถูกสถาปนาขึ้นรับใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐชาติ ก่อนหน้าที่สังคมจะรับ เอาความคิดประชาธิปไตยเข้ามาเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่กลไกรัฐและระบบ ราชการซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องนั้นเรื่องนี้นโยบายนั้นนี้ รวมถึงการมีอาณาเขตพื้นที่ทั้งที่ มองเห็นและไม่เห็นอย่าง “สถานที่ราชการห้ามเข้า” ขีดเส้นแห่งความรับรู้ว่านี้ของรัฐนี่ ของหลวง โดยอะไรที่เป็นของราษฎร์ก็เหลือแต่เพียงภายในขอบเขตรั้วบ้านของตน เท่านั้น เราจึงบ่นกันเองมานานแล้วว่า คนไทยไม่มีจิตสำนึกสาธารณะสมบัติสาธารณะ อย่างโทรศัพท์สาธารณะ สวนสาธารณะ ห้องสมุดสาธารณะ ส้วมสาธารณะ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่าที่เป็นสาธารณะทั้งหลายจึงมักเสียหาย ไม่มีใครรู้สึกเป็น เจ้าของที่จะดูแลรักษา ขยะมูลฝอยก็ขว้างทิ้งให้พ้นบริเวณบ้านตัวคาราโอเกะจะเปิด เพลงดังขนาดไหนก็ไม่เห็นเกี่ยวกับใครในสาธารณะ เพราะก็ไม่เห็นมีใครลุกขึ้นเรียก ร้องสิทธิในการรักษาสุขภาพหูของตนหรือของสาธารณะไหนๆ รถยนต์มอเตอร์ไซด์จะ พ่นควันดำก็ช่างสาธารณะปะไร จนแม้เมืองใหญ่ๆ อย่างกรุงเทพฯ ก็กลายเป็น สาธารณะที่ไม่มีใครรู้สึกเป็นเจ้าของผูกพันแต่อย่างไร นโยบายสาธารณะใดที่ราชการ ประกาศใช้โดยอ้างประโยชน์สุขของสาธารณะ จึงไม่มีผลสัมฤทธิ์สักกี่มากน้อย นอกเสียจากเวลาที่คนไทยเดือดร้อนจากสมบัติสาธารณะหรือนโยบายสาธารณะ จึงจะ เพรียกหาการแก้ไขจากรัฐและราชการ อย่างที่เห็นในรายการประเภท “ทุกข์ชาวบ้าน” ตามทีวีและสื่อต่างๆ ก็เพราะคนไทยไม่มีมโนทัศน์เกี่ยวกับสาธารณะ ปมเงื่อนสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถสร้างพลเมืองที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อ ตัวเอง และต่อส่วนรวมขึ้นมาได้ แฝงเร้นอยู่ในเงื่อนไขทั้งการเมืองและทางเศรษฐกิจที่ โตคู่กันมา 28 สถาบันพระปกเกลา้

สำนึกพลเมือง ในทางการเมืองการปกครอง สิ่งที่เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตยทุกวันนี้ แท้จริงแล้วยังคงสืบทอดโครงสร้างบริหาราชการแผ่นดินแบบรวมศูนย์มาจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบอบอำนาจนิยม พูดอีกแบบหนึ่ง คือ เวลาขึ้นสู่อำนาจ ใช้วิธีหาเสียบกับชาวบ้าน แต่เวลาใช้อำนาจกลับสั่งการลงไปผ่านข้าราชการทุกระดับชั้น ยังไม่ต้องเอ่ยถึงว่าจุดมุ่งหมายของรัฐในการ “อุปถัมภ์สังคม” ซึ่งสืบทอดมาจาก ระบอบอำนาจนิยมนั้น ยังมิได้รับการทบทวนแก้ไข หากถูกนำมาดัดแปลงให้เป็น อุปกรณ์สำคัญในการรณรงค์หาเสียงเอาชนะคู่แข่งทางการเมือง ดังนั้น เราคงไม่ต้องประหลาดใจนักที่อำนาจรัฐ “ประชาธิปไตย” ก็ สามารถทะเลาะกับชาวบ้านถึงขั้นฆ่าฟันกันได้ และยิ่งไม่ต้องประหลาดใจที่ “สำนึกไพร่” ยังคงดำรงอยู่มากกว่าสำนึกพลเมือง กระทั่งเป็นปัจจัยชี้ขาด ผลการเลือกตั้งในหลายย่านหลายบ่อน ขณะเดียวกันพื้นที่สำหรับการ ปกครองตนเองโดยตรง และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ของ ประชาชน ก็ยังคงถูกจำกัดด้วยขนาดใหญ่โตและอำนาจอันเร้นลับของรัฐ รวมศูนย์ ที่ระบอบประชาธิปไตยเป็นผู้สืบทอดมรดก สถาบันพระปกเกล้า 29

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) ในด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็สืบทอดทั้งนโยบายและวิธีการ ทำงานทางด้านนี้มาจากระบอบอำนาจนิยมโดยแทนกล่าวได้ว่า ไม่มีความแตกต่าง อะไรที่เป็นนัยสำคัญ ผลจากการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยมส่งออกซึ่งเริ่มมาแต่ครั้ง ระบอบเผด็จการทหาร ทำให้เกิดคนชั้นกลางในเมืองทั้งในรูปของนักธุรกิจ คนทำงาน ออฟฟิศ และผู้ประกอบการอาชีพสารพัดที่ห้อมล้อมโยงใยอยู่กับการให้บริการคนชั้น นี้ แต่ในขณะที่เราอาจกล่าวได้ว่า คนชั้นกลางเคยมีบทบาททางการเมืองที่สร้างสรรค์ ในห้วง พ.ศ. 2515 และห้วง พ.ศ. 2535 ในทางเศรษฐกิจคงต้องยืนยันว่า พวกเขา กลับดิ้นไม่พ้นกรอบการดูแลของรัฐ เพราะฉะนั้น แทนที่คนเหล่านี้จะมีบทบาทเป็น พลังบุกเบิกในเรื่องสำนึกพลเมืองที่ทั้งรับผิดชอบตนเองและห่วงใยส่วนทั้งหมด พวก เขาทั้งร้องขอและกดดันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งให้มาคุ้มครองผลประโยชน์ของตน โดยไม่แยแสส่วนที่เหลือของประเทศชาติเท่าใดนัก ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่กำลัง เฟื่องฟูแนวคิดเรื่อง ตัวใครตัวมัน ยิ่งแพร่ระบาดเหล่าโรคร้าย มิหนำซ้ำในช่วงดังกล่าว คนเหล่านี้ ยังรุกเข้าสู่ชนบทเพื่อถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรธรรมชาติโดยมิคิด แบ่งปันให้ผู้ใด พอเกิดวิกฤติเศรษฐกิจพวกเขาก็เรียกร้องกดดันให้รัฐบาลให้มากอบกู้ ฐานะ กระทั่งให้ช่วยขจัดปัดเป่า หนี้สินส่วนตัว ฐานะครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองของคนชั้นกลางมีผลอย่าง ยิ่งต่อการรักษา โครงสร้าง อำนาจรัฐ แบบรวมศูนย์เอาไว้ เพราะพวกเขาคือ ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดจากระบบเศรษฐกิจที่มีเมืองเป็นศูนย์กลาง เศรษฐกิจที่ จะคงอยู่ในรูปเดิมไม่ได้ หากชุมชนชนบทมีอำนาจจัดการทรัพยากร และ ดำเนินการผลิตอย่างเป็นอิสระจากเครือข่ายธุรกิจในเมือง 30 สถาบนั พระปกเกล้า

สำนึกพลเมอื ง การที่ประเทศไทยเราล้มเหลวในเรื่องนี้มาตลอด บางทีอาจจะเป็นเรื่องดีความ อ่อนด้อยของพรรคการเมืองและนักการเมืองในประเทศไทย ตลอดจนกลุ่มชนที่เป็น ฐานทางเศรษฐกิจสังคมของพวกเขา ทำให้ในบางด้านเราไม่เคยขาดความเคลื่อนไหว นอกระบบ และไม่เคยขาดภูมิปัญญาที่อยู่ห่างจากศูนย์อำนาจ นับวันประชาชนไทยยิ่ง จะถูกบังคับให้พึ่งตนเอง ทั้งในทางความคิด และการดำรงชีพ เพียงแต่ว่าสำนึกแบบนี้ ยังมีอยู่ในจำนวนคนที่น้อยเกินไป จากที่ลำดับมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า สำนึกพลเมืองในประเทศ ไทยนั้นถูกกดทับไว้อย่างหนักหน่วง ด้วยวิถีดำเนินทางประวัติศาสตร์ ซึ่ง ไม่เหมือนซีกโลกตะวันตก แต่กระนั้นก็ตามความไม่ครบถ้วนและความไร้ ประสิทธิภาพของระบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่ กลับผลักดันให้การสร้าง สำนึกพลเมืองหรือการมีบทบาททางการเมืองโดยตรงของประชาชน กลาย เป็นความจำเป็นเร่งด่วนขึ้นมา กระทั่งบางทีอาจจะเป็นทางออกที่ถูกต้อง เพียงทางเดียวในวันนี้ สถาบนั พระปกเกล้า 31

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) การฝันถึงพรรคการเมืองและระบอบรัฐสภาที่บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ เราไม่จำเป็นต้องรอให้สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นเสียก่อนที่จะแก้ปัญหาของบ้านเมืองได้ สิ่งที่ พึงทำมากกว่านั้น การระดมสรรพกำลัง และภูมิปัญญาคนทั้งประเทศ มาปัดเป่าความ ทุกข์ร้อนของตนเอง กล่าวอีกแบบหนึ่งก็คือ คิดถึงอำนาจหรือพลังประชาชนใน ลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ประชาชนต้องเป็นตัวละครทางการเมืองที่มีชีวิตและ บทเด่นอย่างแท้จริงมิใช่เป็นเพียงฉากหลังให้ผู้ใดร่ายรำ แน่นอนการแก้ไขโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและโครงสร้างทาง กฎหมายเพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนหมู่เหล่าต่างๆ ดูแลตนเอง ถือเป็นเรื่องจำเป็น แต่ในขณะเดียวกันการเปิดพื้นที่ในเชิงโครงสร้างเหล่านี้อาจจะไม่มีประโยชน์มากนัก ถ้าหากพื้นที่ในรูปการจิตสำนึกยังคงปิดตาย ข้อแรกเป็นงานการเมือง ข้อหลังเป็นงาน ความคิด โลกยุคใหม่และเสรีประชาธิปไตย ยังคงทำให้คนรุ่นใหม่ต้องการสำนึกใหม่ใน เรื่องสิทธิและเสรีภาพ มากขึ้นมาก เส้นแบ่งขอบเขตความเป็นส่วนตัว ส่วนรวม ทั้งใน เชิงพื้นที่และเชิงตัวตนชัดเจนขึ้น อย่างน้อยก็รู้ว่าสิทธิของปัจเจกชนจะต้องสอดคล้อง ต่อความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นกันกับที่ชุมชนท้องถิ่นเริ่มเรียนรู้จนถึงสำนึกรู้ว่ารัฐ และนโยบายพัฒนาที่ผิดพลาด ไม่อาจตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพวกและ ท้องถิ่นตนได้ จำเป็นที่ต้องรวมกลุ่มร่วมมือ พึ่งตนเอง รวมถึงการทวงถามสิทธิการให้ บริการ ความพยายามในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการต่อรองกับนโยบาย สาธารณะที่ส่งผลกระทบการสร้างสำนึกทางการเมืองจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของ ระบอบประชาธิปไตยไทย กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมืองในขบวนการประชาสังคม กระบวนการทางสังคมที่สำคัญอันเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นกระบวนการที่สามารถสร้าง 32 สถาบนั พระปกเกลา้

สำนึกพลเมอื ง ความเป็นพลเมืองในประชาสังคมได้นั้นคือ การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (civic education) อันเป็นกระบวนการปลูกฝังเพื่อสร้างบุคคลให้สามารถดำรงชีวิต อยู่ในประชาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสร้างสังคมที่การเมืองมีความเข้มแข็ง มีองค์กรปกครองตนเองและมีกลุ่มหรือสมาคมต่างๆ ที่ประชาชนรวมกลุ่มกันเพื่อ สร้างประโยชน์และความผาสุกของส่วนรวม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคม ต้องมีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองให้สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองอย่าง เข้มแข็ง เป้าหมายของการศึกษาในประชาสังคม คือ การทำให้บุคคลมีเหตุมี ผล มีความสามารถหรือฉลาดในอันที่จะเลือกกระทำกิจกรรมที่เกิด ประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคม สามารถเห็นว่าผลที่ตามมาของการกระทำ นั้นเป็นอย่างไร ส่งผลดีหรือเสียอย่างไร ซึ่งนั่นคือการเป้าหมายเพื่อสร้าง บุคคลให้ตระหนักถึงทางเลือกแห่งการกระทำอันเป็นกระบวนการใช้เหตุผล ของมนุษย์ การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในประชาสังคม เป็นการศึกษาที่จะทำให้ ประชาชนมีความผูกพันยึดมั่นกับการสร้างความดี และผลประโยชน์ส่วนรวม รักษา สิทธิเสรีภาพ ยึดหลักสันติธรรม ทำตามหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม เป้าหมายของการเรียนรู้ทางสังคมดังกล่าวนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ประชาชนมีส่วนร่วม กับการเมืองการปกครอง ร่วมกิจกรรมสาธารณะอันเป็นการสร้างพันธกิจของพลเมือง ให้เกิดขึ้นซึ่งเป็นการกระบวนการที่ทำให้ประชาชนมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในประชาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมแห่งการเรียนรู้อันเป็นสังคมที่มีเครือข่ายแห่งการ เรียนรู้ที่หลากหลายและกว้างขวาง ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีการปฏิบัติร่วม สถาบันพระปกเกล้า 33

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) กัน (interactive learning through actions) เป็นกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลที่ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม การศึกษาดังกล่าวจึงถือว่าที่แยกออกจากสังคมแต่เป็นการ ศึกษาหรือเรียนรู้ตลอดชีพ ที่ดำรงอยู่ในประชาสังคม เพื่อประชาชนจะได้มีความรู้ เกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง (civil rights) หน้าที่ของพลเมือง (civic duty) ความรับ ผิดชอบต่อส่วนร่วม (responsible citizenship) มีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ คณุ ลักษณะแหง่ การเป็นพลเมือง บุคคลที่จะมีคุณลักษณะแห่งความเป็นพลเมืองในประชาสังคมนั้นต้องเป็นผู้มี (1) ความรู้ (knowledge) เกี่ยวกับสถานบันทางการเมือง ระบอบการเมือง อุดมการณ์ทางการเมืองและสังคม องค์กรทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (2) ค่านิยมและคุณธรรม (value and virtue) และ (3) การมีส่วนร่วม 1. ความรู้ คือ การรับรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ พฤติกรรม เหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและภูมิอากาศ เป็นความรู้ขั้น พื้นฐานสำหรับสร้างบุคคลให้มีวิถีชีวิตความเป็นพลเมืองในประชาสังคม (civic life) 34 สถาบันพระปกเกล้า

สำนึกพลเมือง ความรู้เพื่อให้บุคคลมีความเป็นพลเมืองต้องสร้างหรือเรียนรู้ได้จากในโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน การเรียนรู้ในระบบโรงเรียนเป็นการให้การศึกษาซึ่งมีการ กำหนดหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคคลให้เรียนรู้ในสาระอันสอดคล้องกับความสามารถ หลักสูตรการเรียนการสอนมีเนื้อหาที่สะท้อนความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็น พื้นฐานของการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแบบประชาสังคมอย่างดีและมีความสุข ส่วนการ ศึกษานอกระบบโรงเรียนนับเป็นกระบวนการของสังคม ซึ่งดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของ บุคคลตลอดเวลา และเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งอย่างแท้จริงให้กับประชาสังคม จึงสมควรจะมีองค์กรทางสังคมที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ซึ่ง เป็นกลุ่มคนที่พ้นวัยอยู่ในสถาบันการศึกษาหารือการศึกษาในระบบแล้ว เช่น ใน สหรัฐอเมริกา มีศูนย์ทางการศึกษาที่เชื่อว่า Center for Civic Education เป็น องค์กรที่ช่วยกันให้ความรู้หรือการศึกษาเพื่อพัฒนาประชาชนให้มีความเป็นพลเมือง โดยที่มีบุคคลหลายฝ่าย มารวมกัน ซึ่งได้แก่ อาจารย์ ข้าราชการ และนักการศาสนา มาช่วยกันบริหารให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป องค์กรนี้เป็นองค์กรของภาคเอกชน ที่มารวมตัวกันโดยความสมัครใจหรือทำแบบอาสาสมัครรายวิชาที่บริการให้ความรู้แก่ ประชาชนได้แก่ (1) การเมืองการปกครอง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะของการเมือง การปกครองรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ตลอดจน การสะท้อนให้เห็นความจำเป็นของการเมืองการปกครอง (2) หลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญอเมริกา (3) หน้าที่ของรัฐบาล (4) หลักการและคุณค่าของประชาธิปไตย อันเป็นระบอบการปกครองของ อเมริกา (5) ความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกากับต่างประเทศ และ (6) บทบาทหรือหน้าที่ของพลเมือง (Center for Civic Education 1994) สถาบันพระปกเกล้า 35

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) หากกล่าวเฉพาะสังคมประชาธิปไตย ความรู้ที่พลเมืองต้องเรียนรู้ คือคุณค่า อุดมการณ์ หลักการและการปฏิบัติในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย อันได้แก่ สิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น ความเท่าเทียมกัน ความสามัคคี การอนยู่รวมกันอย่าง ปรองดอง สงบ และสันติ การเคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองที่ถือ หลักการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่และเคารพต่อเสียงส่วนน้อย การปกครองที่ใช้ กฎหมายเป็นหลัก การปกครองที่รัฐบาลและรัฐสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชน การปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด รัฐบาลใช้อำนาจในกรณีที่จำเป็นหรือเกิดความ เสียหายต่อส่วนร่วมเท่านั้น สิทธิส่วนบุคคล สิทธิของชุมชนและกลุ่มได้รับการคุ้มครอง อำนาจอธิปไตยจะถูกละเมิดไม่ได้ รวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ 2. ค่านิยมและคณุ ธรรม ค่านยิ ม (value) เป็นการให้คุณค่าเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง (Civil value) อันได้แก่ คุณค่า ของความมีเสรีภาพ ซึ่งเป็นสิ่งหวงแหน บุคคลต้องมีเสรีภาพตามสิทธิของความเป็น พลเมือง การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การยกย่องนับถือศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประชาชนในประชาสังคมต้องมีความนิยมใน ระบอบการปกครอง ยึดมั่นในอุดมการณ์ของชาติเป็นสำคัญ เห็นประโยชน์ส่วนรวม สำคัญกว่าส่วนตน สำหรับคุณธรรม (virtue) เป็นคุณธรรมของพลเมือง (Civic virtue) อันเป็นความดีงาม ซึ่งเป็นสมบัติพื้นฐานของความเป็นพลเมือง อันได้แก่ การ มีวินัยในตนเอง (Self discipline) ความกล้าหาญทางจริยธรรม (moral courage) เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นและปกปักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม กล้าที่จะต่อ ต้านอำนาจรัฐ หรือไม่เชื่อฟังรัฐ หากเห็นว่ารัฐละเมิดสิทธิของประชาชน เป็นบุคคลผู้มี จิตใจเอื้ออาทร มีเมตตากรุณา ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก มีจิตใจสาธารณะ (Public mind) มีความอดทนในความแตกต่าง และหลีกเลี่ยงความแตกแยก มีความ ผูกพันและยึดมั่น การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 36 สถาบันพระปกเกลา้

สำนึกพลเมือง คุณธรรมของพลเมืองเป็นรากฐานสำคัญในอันที่จะทำให้ประชาชนมี พฤติกรรมและมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเหมาะสมและถูกต้อง ดังนั้น การสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับพลเมืองจึงเป็นการสร้างความโน้มเอียง (disposition) และความผูกพันของบุคคล (commitment) อันเป็น ลักษณะทางจิตของบุคคล ที่สะท้อนหรือชี้ให้เห็นทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ซึ่งเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมไปในแนวทางประชาธิปไตย 3. การมีสว่ นรว่ มพลเมือง (civic participation) เป็นพฤติกรรมของพลเมืองในอันที่จะแสดงออก เพื่อมีอิทธิพลต่อการเมือง สังคม เช่น การกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย การปฏิบัติราชการอันเป็นผล กระทบต่อส่วนร่วม การมีความเสมอภาค (Capacity) ของบุคคลที่เข้าไปดำเนินหรือ ร่วมกิจกรรมสาธารณะ และการมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม นั่นคือ พลเมืองใน ประชาสังคม ต้องเป็นบุคคลต้องไม่มีความเฉยเมยทางการเมือง เป็นบุคคลผู้ที่มีความ กระตือรือร้น ตื่นตัวทางการเมืองตลอดเวลา และพร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการ เมืองทุกขณะ หากเห็นว่าการมีส่วนร่วมนั้นเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มตนเองและสังคม ส่วนรวม องค์ประกอบในตัวบุคคลผู้ซึ่งมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น ได้แก่ ความรู้ ซึ่งช่วยให้บุคคลสามารถมีสติปัญญา รู้เท่าทันเหตุการณ์ พิจารณา ตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผล วิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และนอกจาก ความรู้แล้ว บุคคลผู้เป็นพลเมืองยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม อันเป็น คุณสมบัติที่สะท้อนถึงความดีงาม การยึดมั่นในความดีร่วมกันของสังคม (Common good) อันเป็นการโน้มเอียงให้บุคคลมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ทางการเมือง เพื่อสนองตอบต่อประโยชน์โดยส่วนรวม สถาบันพระปกเกล้า 37


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook