นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี สำหรับวิธีการปราศรัยหาเสียงบนเวทีนั้นผู้สมัคร จะทำการวิเคราะห์ว่า ตนมีคะแนนตามหลังผู้สมัครอยู่เท่าใด การจัดเวทีปราศรัยผู้สมัครจะไม่ขึ้นคนเดียวแต่จะปราศรัยเป็น ทีมโดยอาศัยหัวหน้าพรรคหรือแกนนำคนสำคัญของพรรคที่เป็น ที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยมุ่งหวังที่จะทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาให้ได้ การจัดเวทีปราศรัยแบบนี้ จะต้องมีการจัดเตรียมผู้ฟังมาเป็น อย่างดี ส่วนผู้สมัครที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มที่คาดว่าจะชนะการ เลือกตั้ง มักจัดเวทีปราศรัยใกล้ตลาดสด โดยคาดหวังว่า ประชาชนที่มาซื้อสินค้าจะได้รับฟังคำปราศรัย ซึ่งข้อสังเกตเวที ในลักษณะนี้มักจะไม่ค่อยมีผู้มาฟังคำปราศรัยเลย ส่วนการ จัดตั้งหัวคะแนนนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่างเชื่อว่าการที่จะได้ คะแนนสนับสนุนจนชนะการเลือกตั้งนั้น จะต้องมีการจัดตั้ง หัวคะแนน การรณรงค์หาเสียงแต่เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้ชนะ การเลือกตั้ง ดังนั้น บุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดและมีบทบาทมากคือ “หัวคะแนน” งานที่เป็นภาระหนักของผู้สมัครจึงอยู่ที่การสรรหา หวั คะแนนทเ่ี ปน็ ผนู้ ำทอ้ งถน่ิ เชน่ กำนนั ผใู้ หญบ่ า้ น นกั การเมอื ง ในระดับท้องถิ่น เป็นต้น ผู้นำเครือญาติที่เป็นที่เคารพยำเกรง ของญาติ พี่น้อง และเป็นครอบครัวที่มีญาติพี่น้องมาก ผู้นำ ที่น่าเคารพเชื่อถือของคนในหมู่บ้าน ผู้ที่สามารถสื่อสารในการ ซื้อเสียงกับผู้มีสิทธิออกเสียงได้ เมื่อได้หัวคะแนนก็จะต้องเร่ง สร้างเครือข่ายในพื้นที่ การหาหัวคะแนน ที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อ ถือและสามารถควบคุมคะแนนเสียงได้นั้น เป็นที่หนักอกหนักใจ ของผู้สมัครมาก เพราะหัวคะแนนบางคนมีความเป็น “มืออาชีพ” รับหน้าที่เป็นหัวคะแนนให้กับผู้สมัครหลายคน 86
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องมีการบริหารคะแนนเสียง วิเคราะห์และควบคุมการหาคะแนนเสียงให้ได้ตามที่ต้องการ โดยแบ่งหัวคะแนนเป็นเกรดดี คือบุคคลที่มีความใกล้ชิดสนิท สนม ไว้วางใจและเชื่อถือได้ และหัวคะแนนรอง ซึ่งเป็นเกรด ธรรมดา ไม่มีความสนิทหรือผูกพัน แต่มีความสัมพันธ์แบบผิว เผิน เคยเกื้อกูลกัน ยังไม่เป็นที่ไว้วางใจได้มากนัก จึงทำให้เกิด หัวคะแนนแบบมืออาชีพขึ้น และเกิดการแย่งหัวคะแนนและมี ปัญหากับหัวคะแนน มีการแบ่งปันจัดสรรคะแนนที่อยู่ในการ ควบคุมให้ผู้สมัครไปบ้าง โดยให้อย่างมีเป้าหมายว่าจะให้ได้ คะแนนเท่าใด งานวิจัยที่สำคัญที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (ณรงค์ สินสวัสดิ์, 2520, น.110) ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ทัศนคติทางการเมืองกับ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง” พบว่า ผู้ที่มีความสนใจ ทางการเมืองมาก มีแนวโน้มที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง มากกว่าผู้ที่ไม่สนใจทางการเมือง โดยพบว่า ในกลุ่มผู้ที่สนใจทางการเมืองมากที่สุด จะมี เพียงร้อยละ 9 ที่ไม่ไป ออกเสียงเลือกตั้ง และมีถึงร้อยละ 27 ที่ไปออกเสียงเลือกตั้งและช่วยหาเสียงในระหว่างก่อนเลือกตั้ง ส่วนพวกที่สนใจทางการเมืองน้อยที่สุดนั้นมีถึงร้อยละ 47 ที่ไม่ ไปออกเสียง และมีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ที่ไปออกเสียง เลือกตั้งและช่วยหาเสียงเลือกตั้ง ส่วนผู้ที่มีความเลื่อมใสใน พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นพิเศษ มีแนวโน้มที่จะเข้ามี ส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าผู้อื่น ส่วนผู้ที่มีสถานภาพทาง 87
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี เศรษฐกิจและสังคม มักจะสนใจทางการเมืองและมีความ ปรารถนาทางการเมือง คือ อยากจะให้การเมืองเป็นไปใน รูปแบบที่ต้องการ บุคคลยิ่งมีอายุสูง ยิ่งจะสนใจการเมืองมาก ขึ้น มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น มีความกระตือรือร้นทาง การเมืองมากขึ้น และถ้าพ่อกับแม่มีความคิดเห็นในเรื่องการ เลือกตั้งตรงกัน ลูกก็จะมีความเห็นตรงกับพ่อแม่ด้วย แต่ถ้า พ่อกับแม่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องการเลือกตั้ง ลูกก็จะมี ความคิดเห็นที่ต่างกันไปด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกจะลงคะแนน เสียงเลือกตั้งตรงกับพ่อแม่ พรศรี ใจซ่ือ (2523) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่หมู่บ้านฝาย น้อย ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แก่ คุณลักษณะ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเรื่อง เพศ อายุ สถานภาพในครอบครัว การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ ชุมชน และระดับมาตรฐานการดำรงชีพของครอบครัวผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง การได้รับการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งจาก สื่อมวลชนและบุคคล อาทิ เจ้าหน้าที่ของทางราชการ ผู้สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ญาติ เพื่อนบ้าน และวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ความสำนึกทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตย ความคาดหวังจากบุคคลอื่น ๆ ความรู้ความ เข้าใจทางการเมือง และความสนใจทางการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง งานวิจัยที่สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง ได้แก่งานวิจัยที่สำคัญของ สุจิต บุญบงการและ 88
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2525, น.196-197) ในการศึกษาพฤติกรรม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วพบว่า ผู้ที่อยู่ในสถานะทาง เศรษฐกิจและสังคมต่ำมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงมาก กว่าผู้ที่อยู่ในสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง ผู้ที่อยู่ในเขต ชนบทมีแนวโน้มไปลงคะแนนเลือกตั้งสูงกว่าผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ ที่มีความเจริญสูงอย่างกรุงเทพมหานคร และผู้ที่ไปลงคะแนน เสียงส่วนใหญ่ไปออกเสียงเลือกตั้ง เพราะสำนึกในหน้าที่ของ พลเมืองดีมากกว่าที่จะให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ประเทศ หรือต้องการผลักดันให้คนที่ตนต้องการเป็นรัฐบาล การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งดังกล่าว จึงยังไม่ใช่กิจกรรมของ การแสดงออกถึงความมีประสิทธิภาพทางการเมือง (political efficiency) ดังนั้น ลักษณะของการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จงึ มแี นวโนม้ แบบมสี ว่ นรว่ มโดยถกู ชกั จงู (mobilized participation) นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมมีผล ต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คือ ผู้ที่อยู่ในชนบท ที่มีการศึกษาน้อย รายได้น้อย มีโอกาสถูกชักจูงให้ไปลงคะแนน เสียง ได้ง่ายกว่าผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ที่มีการศึกษา สูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและมีอายุในวัยกลางคน ส่วนผู้ที่อยู่ ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีการศึกษาสูง และเป็นเพศชายม ี แนวโน้มไปลงคะแนนเสียงเลือกเป็นพรรคการเมืองและคำนึงถึง นโยบายของพรรคการเมืองมากกว่าผู้ที่อยู่ในเขตชนบทที่ ประกอบอาชีพกสิกรรมและมีการศึกษาน้อย ซึ่งลงคะแนนเสียง เลือกตั้งโดยคำนึงถึงตัวบุคคลเป็นสำคัญ ส่วนผู้ที่ไม่ไปลง คะแนนเสียงเลือกตั้งมีจำนวนไม่น้อยที่อ้างว่า ตนไม่ไปใช้สิทธิ เพราะติดธุระจำเป็น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า การเลือกตั้ง 89
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ไม่สำคัญ ส่วนผู้ที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็ไปเพราะเห็นว่า เป็นหน้าที่ของพลเมือง รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงด้วย แสดงว่าการศึกษาไม่ได้มีผลให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เห็นความสำคัญของการเลือกตั้งมากขึ้น การศึกษามีผลแต่ เพียงทำให้มีความตระหนักในหน้าที่พลเมืองมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีความสนใจทางการเมืองและการ เลือกตั้งมีแนวโน้มที่จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าผู้ที่ไม่ สนใจ แต่ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ไม่สนใจในความเคลื่อนไหวทางการเมืองและการ เลือกตั้งเลย งานวิจัยที่สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้ง เป็นงานวิจัยของ สัมฤทธิ์ ราชสมณะ (2530, น. 36-71) ที่ศึกษา เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่พบว่ามีกระบวนการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ การเลือกตั้งและเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะเริ่ม จากการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นโยบายของพรรคการเมืองโดยผ่านสื่อหรือช่องทางใดช่องทาง หนึ่ง ประชาชนจะเลือกรับข่าวสารจนกระทั่งนำข่าวสารนั้น ไปเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัคร ให้เท่ากับจำนวนที่ ต้องการจะลงคะแนนให้ ขั้นตอนที่สอง เป็นการสร้างหลักเกณฑ์ และการให้น้ำหนักในการตัดสินใจเลือกตั้ง ซง่ึ เมอ่ื ผลู้ งคะแนนเสยี งเลอื กตง้ั ยอมรบั วา่ จะตอ้ งตดั สนิ ใจ และได้รับข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้สมัคร หรือผู้ลงคะแนน 90
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง เลือกตั้งมีความผูกพันกับผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ก็จะสร้าง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้สมัครที่ตนถูกใจโดยให้ความสำคัญ กับคุณสมบัติส่วนตัวของบุคคลนั้น ขั้นตอนนี้จะมีการรณรงค์ หาเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเห็นชอบกับ ผู้สมัคร ข่าวสารทั้งในด้านส่วนตัวและนโยบายของ พรรคการเมืองก็จะเริ่มเข้าสู่ประชาชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็จะเริ่มประเมินข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับ ว่าสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ตนตั้งไว้หรือไม่ ขั้นตอนที่สาม จะเป็นการจัดลำดับผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้น้ำหนักตาม หลักเกณฑ์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการประเมินผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่ละคนว่าควรจะได้รับการประเมินเท่าไร และนำไปสู่ขั้นตอน สุดท้ายคือ การตัดสินใจที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครคนใด ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีเหตุการณ์บางอย่างมาสอดแทรก เช่น การได้รับอิทธิพลทางการเงินจากหัวคะแนน แม้ว่าจะผ่าน กระบวนการขั้นตอนการตัดสินใจมาแล้ว จนกระทั่งได้ตัว ผู้สมัครที่ผ่านการประเมิน แต่เมื่อรับเงินหรือสิ่งของไปแล้ว อาจทำการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจไปลงคะแนนเสียงให้กับ ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเองรับสิ่งของ เงินทองมาก็ได้ กล่าวโดยสรุป การศึกษาข้อมูลทั่วไปของจังหวัด อุทัยธานี ตลอดจนแนวความคิด ทฤษฎี และเอกสารผลงาน วิจัยที่เกี่ยวข้องกับ “นักการเมืองถิ่น” ทำให้ได้ความชัดเจน พอสมควรในการที่จะนำประเด็นทั้งหมดนี้ไปทำการศึกษาถึง นักการเมืองถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีต่อไป 91
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี กรอบแนวคิดท่ีใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยได้นำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ความชอบธรรม ทางการเมืองการเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พฤติกรรมการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมือง วัฒนธรรม ทางการเมือง การบริหารคะแนนเสียง ระบบความสัมพันธ์เชิง เครือญาติ และระบบอุปถัมภ์ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการศึกษา “นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี” ในครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นที่เคยได้รับการ เลือกตั้งศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกตั้ง ศึกษาถึงการบริหาร คะแนนเสียง ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายการเลือกตั้ง และ ศึกษาว่าอะไรเป็นปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ (key success factor) ที่ทำให้นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ได้รับ ชัยชนะในการเลือกตั้ง ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาสร้าง กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Frame Work) เพื่อใช้เป็น แนวทางในการศึกษา คือ กรอบแกนรอวบแคนวิดคิดททีใ่ี่ใชชใน้ใกนารศกกึ าษารวศิจยั กึ ษาวิจัย 1 การบรหิ าร คะแนนเสียง 4 นักการเมืองถ่นิ 2 3 เครอื ขา ย สถานการณ วัฒนธรรม ทางการเมือง 92 จากกรอบแนวคิดดังกลาวทําใหเห็นความสัมพันธระหวางนักการเมืองถิ่น กบั การบริหารคะแนนเสียง (การจดั ตั้งองคกรในการหาเสยี ง ความพรอมดานทรัพยากรการเมือง การจดั ระบบหวั คะแนน การประเมินสถานการณคูแขง การวางกลยุทธในการหาเสียง พฤติกรรม การหาเสียงท้ังที่เปนแบบเปดเผยและไมเปดเผย) สถานการณ วัฒนธรรมทางการเมือง
แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เก่ียวข้อง จากกรอบแนวคิดดังกล่าวทำให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างนักการเมืองถิ่นกับการบริหารคะแนนเสียง (การจัดตั้ง องค์กรในการหาเสียง ความพร้อมด้านทรัพยากรการเมือง การจัดระบบหัวคะแนน การประเมินสถานการณ์คู่แข่ง การวาง กลยุทธ์ในการหาเสียง พฤติกรรมการหาเสียงทั้งที่เป็นแบบ เปิดเผยและไม่เปิดเผย) สถานการณ์ วัฒนธรรมทางการเมือง ที่เอื้ออำนวย และความสัมพันธ์กับเครือข่ายต่าง ๆ (พรรคการเมือง กลุ่มการเมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่น กลุ่ม ผลประโยชน์ กลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ สื่อมวลชน ตลอดจน กำนนั ผ้ใู หญบ่ ้าน) อกี ท้งั ศึกษาลงถึงภมู ิหลังของนักการเมอื งถิ่น ชาติกำเนิด ตระกูล เครือญาติ การศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ ทางการเมือง ชื่อเสียงและผลงาน และคุณลักษณะพิเศษส่วน บุคคล ซึ่งมีส่วนเอื้ออำนวยทำให้นักการเมืองถิ่นได้รับชัยชนะ ในการเลือกตั้ง นิยามศัพท์ การเมืองถิ่น หมายถึง ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ เกิดขึ้นภายในจังหวัดอุทัยธานี นักการเมืองถิ่น หมายถึง บุคคลที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดอุทัยธานี ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ภูมิหลัง หมายถึง ชาติกำเนิด ตระกูล เครือญาติ การ ศึกษา อาชีพ พื้นฐานประสบการณ์ทางการเมือง ความสามารถ พิเศษ ชื่อเสียง ผลงาน ตลอดจนคุณลักษณะส่วนบุคคล 93
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี การบริหารคะแนนเสียง หมายถึง การจัดตั้งองค์กรใน การหาเสียง ความพร้อมด้านทรัพยากรการเมือง การจัดระบบ หัวคะแนน การประเมินสถานการณ์คู่แข่ง การวางกลยุทธ์ใน การหาเสียง พฤติกรรมการลงคะแนนเสียง หมายถึง พฤติกรรม ทางการเมืองในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน โดย อาศัยปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อประชาชนเป็นตัวกำหนด ให้ลงคะแนนเสียงให้แก่นักการเมืองถิ่น เครือข่าย หมายถึง พรรคการเมือง กลุ่มการเมืองระดับ ชาติ กลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มมวลชน คู่แข่งทางการเมือง ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ที่มีส่วนทำให้ นักการเมืองถิ่นได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง 94
บ3ทท ี่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดอุทัยธานี ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอำนาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้ อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ดังนั้น เมื่อ ประชาชนคือเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนจึงเป็นผู้มี อำนาจกำหนดทิศทางการบริหารของประเทศ โดยกระทำผ่าน ช่องทางการเลือกตั้งเป็นสำคัญ เป็นการเลือกตัวคนเพื่อทำ หน้าที่แทนประชาชนตามที่ประชาชนมอบหมาย หรืออีกนัยหนึ่ง การเลือกตั้ง คือ เครื่องมือบ่งชี้เจตนารมณ์ของประชาชน ในทางการเมือง โดยการมอบหมายผ่านบุคคลที่เป็นผู้แทน จาก หลักการดังกล่าว การเลือกตั้ง คือ เครื่องมือของประชาชน ในการเลือกผู้ปกครองและเลือกชนิดของการปกครองด้วย แต่ในมุมมองของผู้ปกครอง การเลือกตั้ง คือ เครื่องมือในการ สร้างความชอบธรรมให้กับตัวเอง
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทย อาจสืบ ย้อนหลังไปได้ไกลถึง พ.ศ. 2476 นับเป็นเวลายาวนานกว่า 77 ปี จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2554 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปมาแล้วถึง 24 ครั้ง และการเลือกตั้ง ซ่อม 1 ครั้ง รวมเป็น 25 ครั้ง ในยุคสมัยของ 3 รัชกาล กล่าวคือ ในสมัยรัชกาลที่ 7 จำนวน 1 ครั้ง รัชกาลที่ 8 จำนวน 3 ครั้ง และรัชกาลที่ 9 จำนวน 21 ครั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร (ส.ส.) ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่ว่านี้ จัดขึ้นภายใต้ วัน เวลาและระบบการเลือกตั้ง ระบบการเมืองที่แตกต่างกัน ออกไปในแต่ละยุคแต่ละสมัยภายใต้วัตถุประสงค์และความ สนใจของประชาชนที่แตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์ของ บ้านเมือง เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา- สิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ประเทศ ไทยมีรูปแบบการปกครองและสถาบันทางการเมืองที่สำคัญ คือ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากความผันแปรทาง การเมือง ทำให้มีผลต่อการแก้ไขเพิ่มเติม การยกเลิกและ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่หลายฉบับ รัฐสภาไทยที่ผ่านมาจึงมี รูปแบบที่ต่างกัน มีจำนวนสมาชิกและที่มาต่างกันตาม สถานการณ์บ้านเมือง ในส่วนของ “การเมืองถิ่น” และ “นักการเมืองถิ่น” ของ จังหวัดอุทัยธานี จึงมีรูปแบบ ที่มาและจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่ สอดคล้องกับการเมืองในระดับชาติ ดังนี้ 96
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดที่ 1 ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภา ผู้แทนราษฎร โดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ประกาศตั้ง ผู้แทนราษฎรเป็นการชั่วคราวขึ้น จำนวน 70 คน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 สภาชุดนี้ เปิดการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 และปิดประชุมไปตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2476 หลังจากที่ประชุมไปได้ 59 ครั้ง ผ่านร่าง พระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย 53 ฉบับ และรัฐบาลตอบกระทู้ ของสมาชิกไป 20 กระทู้ ต่อมาได้มีการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 โดย นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา อ้างว่าคณะรัฐบาลโดยพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาบริหารงาน ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ ทำการปิดสภาแล้วงดใช้ รัฐธรรมนูญ แล้วจึงได้มีการแต่งตั้งสมาชิกซึ่งความจริงก็คือสภา ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งในชุดแรก 70 คน นั่นเอง สภาชุดนี้ได้เปิดสมัยประชุมวิสามัญครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2476 และได้มีมติของสภาแต่งตั้งสมาชิกเพิ่มขึ้น อีก 16 คน สภาชุดนี้ปิดประชุมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2476 ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้ พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้ เป็นที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร 97
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี สมาชิกรัฐสภาชุดนี้มีที่มาจากการแต่งตั้งจึงไม่มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดอุทัยธานี ร ัฐสภาชุดท่ี 2 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งท่ี 1 (15 พฤศจิกายน 2476) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 กำหนดให้มีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย สมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 และสมาชิก ประเภทที่ 2 มีจำนวนเท่ากัน โดยสมาชิกประเภทที่ 1 มีจำนวน 78 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมโดยวิธีรวมเขตจังหวัด ซึ่งให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อน แล้วให้ผู้แทนตำบลเลือก ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 โดยถือเกณฑ์ จำนวนราษฎรสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน สมาชิก ประเภทที่ 1 นี้ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ถึง วันที่ 9 ธันวาคม 2480 ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 78 คน เท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 โดยได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 เมื่อสมาชิกประเภทที่ 1 พ้นจากตำแหน่งตาม วาระแล้ว สมาชิกประเภทที่ 2 ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ถือเป็นการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม แบบรวมเขต โดยให้แต่ละจังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน แต่ถ้า จังหวัดใดมีประชากรเกินกว่าสองแสนคน ให้มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คน การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกนี ้ 98
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้ง ทั่วประเทศ 78 คน รวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 อีก 78 คน เป็น 156 คน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 เช่นกัน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน ในการเลือกตั้งครั้งแรกของจังหวัดอุทัยธานี มีผู้มีสิทธิ เลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 27,597 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 16,980 คน คิดเป็นร้อยละ 61.53 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานีเป็น คนแรกได้แก่ นายเทียบ นันทแพทย์ รัฐสภาชุดที่ 3 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งท่ี 2 (7 พฤศจิกายน 2480) รัฐสภาชุดนี้มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎรประกอบ ด้วย สมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 และสมาชิก ประเภทที่ 2 สมาชิกประเภทที่ 1 มีจำนวน 91 คน มาจากการเลือกตั้ง ของราษฎรโดยตรง เมอ่ื วนั ท่ี 7 พฤศจกิ ายน 2480 เปน็ การเลอื กตง้ั โดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนราษฎรได้ 1 คน และถอื เกณฑจ์ ำนวนประชากรสองแสนคนตอ่ ผแู้ ทนราษฎร หนึ่งคน สมาชิกประเภทที่ 1 ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 99
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 7 พฤศจิกายน 2480 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2481 สิ้นสุดโดยการ ยบุ สภาผแู้ ทนราษฎร อนั มสี าเหตุมาจากการทส่ี ภาผ้แู ทนราษฎร มีมติรับญัตติแก้ไขข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับวิธีการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีไว้พิจารณา เพื่อให้รัฐบาลเสนอรายละเอียดตาม งบประมาณใหช้ ดั เจน แตร่ ฐั บาลไมส่ ามารถปฏบิ ตั ติ ามเงอ่ื นไขได้ จึงยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 11 กันยายน 2481 เพื่อให้มี การเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ขึ้นใหม่ สมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 91 คน มาจากการแต่งตั้ง จากสมาชิกชุดเดิม จำนวน 78 คน และพระมหากษัตริย์ทรง แต่งตั้งเพิ่มอีก 13 คน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2480 เพื่อให้มี จำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่ 1 เมื่อมีการยุบสภาผู้แทน ราษฎรแล้ว สมาชิกประเภทที่ 2 ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ถือเป็นการ เลือกตั้งครั้งที่ 2 และเป็นการเลือกตั้งที่แตกต่างจากการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรก โดยเป็นการเลือกตั้งทาง ตรงให้ประชาชนสามารถไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรงนับเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรทางตรงเป็นครั้งแรกของประเทศ การเลือกตั้ง ในครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตการเลือกตั้งโดยถือเอา จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง บางจังหวัดมีเขตเลือกตั้งเดียว แต่บาง จังหวัดมีหลายเขตเลือกตั้ง เพราะในปี พ.ศ. 2480 มีพลเมือง เพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 91 คน มากกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดเดิม และได้มีการ 100
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เพิ่มขึ้นเท่ากับ จำนวนสมาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรประเภทท่ี 1 ทม่ี าจากการเลอื กตง้ั ทำให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งสิ้น 182 คน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 2 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน มี ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 36,149 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 21,474 คน คิดเป็นร้อยละ 59.41 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด อุทัยธานี ได้แก่ พระยาวิฑูรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) รัฐสภาชุดท่ี 4 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 3 (12 พฤศจิกายน 2481) หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั่วไป ครั้งที่ 2 พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แต่การบริหารงานของรัฐบาลมิได้เป็นไปอย่าง ราบรื่น ในที่สุดก็ต้องทำการยุบสภาผู้แทนราษฎรหลังจากที่ได้มี การเลือกตั้งยังไม่ครบปี การยุบสภาผู้แทนราษฎรสืบเนื่องมาจากการที่ นายถวิล อุดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดร้อยเอ็ดและ พรรคพวกได้เสนอญัตติเกี่ยวกับการร่างข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎรและการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2481 โดยเสนอให้มีการแจ้งรายละเอียด 101
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ของงบประมาณทั้งรายรับและรายจ่าย เพื่อให้สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรได้รับทราบ ซึ่งรัฐบาลไม่เห็นด้วย โดยผลการลง มติปรากฏว่ารัฐบาลเป็นฝ่ายแพ้ ด้วยคะแนนเสียง 42 ต่อ 40 พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงได้ยื่นใบลาออกจากนายกรัฐมนตรี แต่คณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่อนุมัติ จึงมีพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 และกำหนด ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 รฐั สภาชดุ นม้ี สี ภาเดยี ว คอื สภาผแู้ ทนราษฎร ประกอบดว้ ย สมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 จำนวน 91 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 โดยวิธีแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตเลือกตั้งมีผู้แทนราษฎรได้ 1 คน และถือเกณฑ์จำนวน ประชากรสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน สมาชิกประเภทที่ 1 ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2488 ทั้งนี้ได้มีการขยาย เวลาอยใู่ นตำแหนง่ ได้ 2 ครง้ั ๆ ละไมเ่ กนิ 2 ปี โดยพระราชบญั ญตั ิ ขยายกำหนดเวลาในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมีกรณีพิพาทอินโดจีนและสงครามมหาเอเซียบูรพา สิ้นสุดโดยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2488 เพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ใหม่ อันมีสาเหตุ มาจากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราช บัญญัติอาชญากรสงครามที่รัฐบาลเสนอเพื่อให้ลงโทษผู้ก่อให้ เกิดการปกครองตามลัทธิเผด็จการ 102
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี สมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 91 คน เป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรที่มาจากการแต่งตั้ง และเมื่อมีการยุบสภา ผู้แทนราษฎรแล้ว สมาชิกประเภทที่ 2 ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ต่อไป จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเป็นครั้งที่ 3 ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2481 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 36,621 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 18,857 คน คิดเป็นร้อยละ 51.49 ผู้ที่ ได้รับเลือกคือ พระยาวิฑูรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) รัฐสภาชุดท่ี 5 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งท่ี 4 (6 มกราคม 2489) หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 พ ั น เ อ ก ห ล ว ง พ ิ บู ล ส ง ค ร า ม ไ ด ้ ร ั บ ก า ร แ ต ่ ง ต ั ้ ง ใ ห ้ เ ป ็ น นายกรัฐมนตรี แต่โดยเหตุที่กองทหารประเทศญี่ปุ่นได้เคลื่อน กำลังเข้าสู่ประเทศไทยในปลายปี พ.ศ. 2484 และในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์สงคราม (สงครามโลกครั้งที่ 2) รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติขยายกำหนดเวลาการดำรง ตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกไปอีก 2 ปี ต่อมา สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ผ่านพระราชกำหนดนครบาล เพชรบูรณ์ ซึ่งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ทำให้ จอมพล 103
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ป.พิบูลสงคราม ตัดสินใจลาออกจาก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้นายควง อภัยวงศ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการขยายเวลาให้อยู่ในตำแหน่งของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรชุดเดิมออกไปอีก 2 ปี เนื่องจากประเทศอยู่ใน ภาวะสงคราม ซึ่งเป็นการขยายเวลาการอยู่ในตำแหน่งครั้งที่ 2 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง นายควง อภัยวงศ์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนต่อไป ต่อมา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ตัดสิน ใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2488 โดยให้ เหตุผลว่าสงครามสิ้นสุดลงแล้ว แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้รับการเลือกตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2481 จึงยุบ สภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ ในวันที่ 6 มกราคม 2489 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง แบบแบ่งเขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องเลือกตั้งจำนวน 96 คน รัฐสภาชุดนี้มีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ประกอบ ด้วยสมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มีจำนวน 96 คน มาจากการ เลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 โดยวิธีแบ่งเขต เลือกตั้ง สมาชิกประเภทที่ 1 ชุดนี้ ปฏิบัติหน้าที่ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2489 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 แต่เมื่อมีการ ประกาศใชร้ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2489 ในวนั ท่ี 104
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี 9 พฤษภาคม 2489 สมาชิกประเภทที่ 1 ยังคงอยู่ในตำแหน่ง ต่อไป สมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 96 คน มาจากการแต่งตั้ง เป็นสมาชิกชุดเดิม 91 คน และมีการแต่งตั้งเพิ่มอีก 5 คน เมื่อ วันที่ 30 มกราคม 2489 เพื่อให้มีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภท ท่ี 1 สมาชกิ ประเภทที่ 2 ชุดนี้ ส้ินสดุ ลงเมื่อวนั ท่ี 10 พฤศจิกายน 2489 เนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2489 จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 4 ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 38,758 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 18,687 คน คิดเป็นร้อยละ 48.21 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานีในครั้งนี้ คือ นายพร มากวงศ์ ร ัฐสภาชุดที่ 6 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายก- รัฐมนตรี แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ขอลาออก เนื่องจากแพ้มติใน สภาผู้แทนราษฎร กรณีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่าย ของประชาชนในภาวะคับขัน เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรโดยที่ รฐั บาลไมเ่ หน็ ดว้ ย แตผ่ ลการลงมตสิ ภาผแู้ ทนราษฎร รบั หลกั การ จึงเป็นผลให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง นายก- 105
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2480 ต่อมา นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น นายกรัฐมนตรี และได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2475 และใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489 ซึ่งมีการยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 โดยให้มี วุฒิสภาขึ้นแทน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 ได้กำหนดให้รัฐสภา มี 2 สภา คือ สภาผู้แทน และวุฒิสภา โดยสภาผู้แทน มีสมาชิกจำนวน 178 คน ประกอบด้วยสมาชิก ประเภทที่ 1 ในรัฐสภาชุดที่ 5 จำนวน 96 คน และได้มีการ เลือกตั้งเพิ่มขึ้นอีก 82 คน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2489 ใน 47 จังหวัด เนื่องจากพระราชบัญญัติการเลือกตั้งได้กำหนด เกณฑ์จำนวนประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนวุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 178 คน มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภา ผู้แทน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2489 (ตามบทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญ) รัฐสภาชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากการยึดอำนาจ การปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดย “คณะทหารของชาติ” ภายใต้การนำของพลโท ผิน ชุณหะวัน ในการเลือกตั้งผู้แทน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2489 เป็นการเลือกตั้งผู้แทนเพิ่มขึ้นตามบทเฉพาะกาลอีก 47 จังหวัด โดยให้ราษฎรเลือกตั้งโดยตรง และใช้วิธีแบ่งเขต ทำให้ได้ผู้แทน เพิ่มขึ้นอีก 82 คน ส่วนจังหวัดอุทัยธานีนั้น เมื่อคำนวณจาก จำนวนประชากรที่เปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติการ เลือกตั้งแล้ว ไม่มีผลทำให้มีจำนวนผู้แทนเพิ่ม จังหวัดอุทัยธานี จึงไม่ได้จัดให้มีการเลือกตั้งเพราะจำนวนประชากรยังอยู่ใน 106
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี เกณฑ์ที่มี ผู้แทนได้ 1 คน อีกทั้งการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพราะเป็นเพียงการเลือกตั้งเพิ่ม ร ัฐสภาชุดท่ี 7 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 (29 มกราคม 2491) นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ บริหารประเทศได้ไม่นาน ประเทศประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ และเกิดกรณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท- มหิดลเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นายปรีดี พนมยงค์ จึงขอลาออกจากตำแน่งนายกรัฐมนตรี แต่รัฐสภายังคงให้การสนับสนุน จึงดำรงตำแหน่งอีกครั้ง แต่เนื่องจากมีการโจมตีถึงกรณีการพัวพันกับการสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทำให้นายปรีดี พนมยงค์ ตัดสินใจลาออกอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมา ได้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ ตกต่ำ จนมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ในที่สุดรัฐบาลก็ตัดสินใจลาออก แต่รัฐสภายังให้การ สนับสนุนอยู่ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์จึงกลับมาดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำได้ ทำให้คณะทหาร พลตรี ผิน ชุณหะวัน ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ และประกาศใช้ 107
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2490 และจัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้น ในวันที่ 29 มกราคม 2491 โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ รัฐธรรมนูญได้กำหนดวิธีการ เลือกตั้งเป็นแบบรวมเขต โดยให้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490 กำหนดให้รัฐสภามีสองสภาคือ วุฒิสภา และสภา ผู้แทน โดยวุฒิสภา มีสมาชิก 100 คน มาจากการแต่งตั้ง เมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 ส่วนสภาผู้แทน มีสมาชิกจำนวน 99 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 โดยวิธีรวมเขตจังหวัด จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร เป็นครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 มสี มาชกิ สภาผแู้ ทนราษฎรได้ 1 คน มผี มู้ สี ทิ ธเิ ลอื กตง้ั 44,250 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 19,636 คน คิดเป็นร้อยละ 44.31 ผลการ เลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎร จงั หวดั อทุ ยั ธานี คอื พ.ต.ต. หลวงเจรญิ ตำรวจการ รัฐสภาชุดที่ 8 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังที่ 6 (26 กุมภาพันธ์ 2495) ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2491 ทำให้พรรค ประชาธิปัตย์มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด และนายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ดำรง 108
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ตำแหน่งอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่นานก็ต้องลาออกเพราะแรง กดดันทางการเมือง เปิดทางให้ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้น เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ และได้ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 ขึ้นประกาศใช้ ทำให้เปลี่ยนแปลง จำนวนประชากรกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ โดยทำให้มีผลต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่มขึ้นใน 19 จังหวัด แต่จังหวัดอุทัยธานี ไม่มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะยังคงอยู่ในเกณฑ์ให้มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้เพียง 1 คน ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2494 ทหารเรือก่อการกบฏ ขึ้นในนาม “กบฏแมนแฮตตัน” ซึ่งฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบ ปรามได้ แต่เหตุการณ์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของ รัฐบาลจนทำให้ จอมพล ป.พิบูลสงครามทำการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 เป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรถูก ยุบไป คณะรัฐประหารจึงได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2492 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2495 แทน ทำให้ระบบรัฐสภา เป็นสภาเดียว แต่มีสมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 จำนวน 123 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 โดยวิธีรวมเขตจังหวัด และสมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 123 คน มาจากการแต่งตั้ง จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 109
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,146 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 22,242 คน คิดเป็นร้อยละ 48.23 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้ง ครั้งนี้ คือ พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ รัฐสภาชุดท่ี 9 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังท่ี 7 (26 กุมภาพันธ์ 2500) ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ และในวันที่ 28 กันยายน 2498 ได้มีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก โดยพรรคการเมืองที่ได้จด ทะเบียนขึ้นเป็นพรรคการเมืองแรก คือ พรรคเสรีมนังคศิลา โดยมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาเมื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2495 ครบวาระการดำรงตำแหน่ง รัฐบาลจึงได้จัดให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปขึ้น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีพรรคการเมืองถึง 23 พรรค ส่ง สมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้ง โดยตรงแบบรวมเขต มีสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิก สองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มีจำนวน 160 คน จาก 110
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี การเลือกตั้งโดยตรงเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 โดยวิธีรวม เขตจังหวัด สมาชิกประเภทที่ 2 มีจำนวน 123 คน มาจากการ แต่งตั้ง เป็นสมาชิกประเภทที่ 2 ชุดเดิม สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยคณะทหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 7 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 53,592 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 37,458 คน คิดเป็นร้อยละ 69.89 ผู้ไม่ลงคะแนน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 0.22 บัตรเสีย 1,174 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.13 มีหน่วยเลือกตั้งจำนวน 78 หน่วย ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ นายทวาย เศรษฐพานิช พรรคการเมืองเสรีมนังคศิลา ได้รับคะแนนเสียง 21,905 คะแนน ร ัฐสภาชุดท่ี 10 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 8 (15 ธันวาคม 2500) หลังจากการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลาได้รับการ เลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดถึง 86 คน จอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายก- รัฐมนตรี แต่เมื่อเข้ามาบริหารประเทศไม่นาน ก็ถูกคณะทหาร 111
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการ ปกครอง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 ประกาศกฎอัยการศึก และยุบสภาผู้แทนราษฎร แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2500 รัฐสภาชุดนี้ มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท คือ สมาชิกประเภทที่ 1 และ สมาชิกประเภทที่ 2 โดยสมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 จำนวน 160 คน ตอ่ มาเมอ่ื วนั ท่ี 1 มกราคม 2501 มจี ำนวนผมู้ สี ทิ ธเิ ลอื กตง้ั จบชั้นประถมศึกษามากขึ้น ทำให้สมาชิกประเภทที่ 2 ต้องถูก จับสลากออก 26 คน แล้วเลือกสมาชิกประเภทที่ 1 ใน 5 จังหวัด จำนวน 26 คน รวมเป็น 186 คน ส่วนสมาชิกประเภท ที่ 2 นั้น แต่เดิมมีจำนวน 121 คน มาจากการแต่งตั้ง แต่เมื่อจับ สลากออกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2501 จะเหลือจำนวน 95 คน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยึดอำนาจการ ปกครองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยคณะปฏิวัติ ภายใต้ การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้เป็นการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 โดยมีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 43,612 คน ผู้มา ใช้สิทธิเลือกตั้ง 26,157 คน คิดเป็นร้อยละ 59.98 มีบัตรเสีย 618 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.35 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับ การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี คือ นายศิลป์ พิลึกฤาเดช พรรคสหภมู ิ 112
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดที่ 11 – สภาร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2500 พรรค สหภูมิได้รับการเลือกตั้งจำนวนมาก พลโท ถนอม กิติขจร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคสหภูมิและฝ่ายทหารได้รับการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้าบริหารประเทศ ต่อมา เกิดความวุ่นวายระส่ำระสายอันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจและ เกิดความขัดแย้งในกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงเข้าทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองเมื่อ วันที่ 20 ตุลาคม 2501 แล้วขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ใน การปฏิวัติครั้งนี้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ยุบพรรคการเมือง และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น โดยรัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้ง และให้รัฐบาลมีฐานะเป็นรัฐสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย หลังจากที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2506 จอมพลถนอม กิติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 จึงเป็นผลให้สภาร่างรัฐธรรมนูญที่ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ สิ้นสุดลง (3 กุมภาพันธ์ 2502 – 20 มิถุนายน 2511) 113
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดที่ 12 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 9 (10 กุมภาพันธ์ 2512) หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 มีการประกาศใช้กฏหมายพรรคการเมือง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 219 คน มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 โดยวิธีรวม เขตจังหวัด และมีวุฒิสภา ที่ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 164 คน รัฐสภาชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยึดอำนาจการ ปกครองประเทศเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 โดย คณะปฏิวัติภายใต้การนำของ จอมพล ถนอม กิติขจร จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งที่ 9 ขึ้นใน การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 83,208 คน ผู้มา ใช้สิทธิเลือกตั้ง 52,240 คน คิดเป็นร้อยละ 62.78 บัตรเสีย 3,389 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.49 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือก ตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี คือ นายศิริ ทุ่งทอง พรรคชาวนาชาวไร่ 114
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดท่ี 13 – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากการยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 โดยคณะปฏิวัติภายใต้การนำของ จอมพล ถนอม กิติขจร ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการ ปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิกจำนวน 299 คน มาจากการ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 สภานิติบัญญัติแห่งชาตินี้ สิ้นสุดลงเมื่อเกิดเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 โดยมีพระราชกฤษฎีกายุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2516 ร ัฐสภาชุดที่ 14 – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐสภาชุดนี้มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิกจำนวน 299 คน มาจากการเลือกตั้งโดยสมัชชา แห่งชาติ ซึ่งมีจำนวน 2,347 คน เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ เลือกตั้งกันเอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2516 สภานิติบัญญัติ แห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2518 เมื่อมีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 115
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดที่ 15 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังท่ี 10 (26 มกราคม 2518) หลังจากเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จัด ตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 กำหนดให้รัฐสภามีสองสภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดย สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 269 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 ส่วนวุฒิสภามีสมาชิกจำนวน 100 คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม ระหว่างการแบ่งเขตเลือกตั้งกับรวมเขต คือ กำหนดให้จังหวัด เป็นเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงด้วยพระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2519 สาเหตุมาจาก พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลขาดเอกภาพทำให้เกิดปัญหาและ อุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดิน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 10 ในคราวการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน มีผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง 117,378 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 59,609 คน คิดเป็น ร้อยละ 50.78 บัตรเสีย 6,829 ใบ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ 116
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัด อุทัยธานี คือ นายศิริ ทุ่งทอง รัฐสภาชุดท่ี 16 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังท่ี 11 (4 เมษายน 2519) ภายหลังจากที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหา และความวุ่นวายทางการเมืองอย่างมากเพราะมีการเดินขบวน เพื่อเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ การขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองที่มี แนวความคิดต่างกัน และความขัดแย้งของพรรคการเมืองที่ร่วม รัฐบาล ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีตัดสินใจ ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2519 โดยรัฐสภาชุดที่ 16 นี้ มีสองสภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดย วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 100 คน เป็นสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิม ที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 ส่วนสภาผู้แทน ราษฎร มีสมาชิกจำนวน 279 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้ง โดยตรงแบบผสมระหว่างการแบ่งเขตเลือกตั้งกับรวมเขต รัฐสภาชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยึดอำนาจการปกครอง ประเทศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยคณะปฏิรูปการปกครอง แผ่นดินภายใต้การนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 117
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 11 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2519 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 1 คน มีผู้มี สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 121,843 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 56,292 คน คิดเป็นร้อยละ 46.20 คน บัตรเสีย 2,405 ใบ ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ นายศิลปชัย นุ้ยปรี ร ัฐสภาชุดที่ 17 – สภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คณะปฎิรูปการปกครองแผ่นดินโดย พลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบพรรคการเมือง และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 กำหนดให้มีสภา เดียว คือ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยให้สภาที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินแทนไป พลางก่อน มีสมาชิกจำนวน 24 คน มาจากการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2519 สภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อมี การแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2519 118
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดท่ี 18 – สภาปฏิรปู การปกครองแผ่นดนิ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 กำหนดให้ มีสภาเดียว คือ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน มีสมาชิก จำนวน 340 คนมาจากการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2519 คณะรัฐบาลโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ได้บริหารประเทศโดยใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์และกลุ่ม หวั กา้ วหนา้ อยา่ งรนุ แรง กอ่ ใหเ้ กดิ ความไมพ่ อใจอยา่ งกวา้ งขวาง เป็นผลให้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้เข้ายึดอำนาจการ ปกครองประเทศอีกครั้ง และจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภา ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จึงสิ้นสุดลงเนื่องจากการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 รัฐสภาชุดท่ี 19 – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากที่คณะทหารภายใต้การนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้ายึดอำนาจการปกครองและมีการจัดตั้งคณะรัฐบาล ชุดใหม่ขึ้นบริหารประเทศ โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีการประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 กำหนดให้มี สภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิก 360 คน มาจากการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2520 สภา นิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 ตามรัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 119
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดท่ี 20 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังที่ 12 (22 เมษายน 2522) หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 กำหนดให้รัฐสภามีสองสภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยวุฒิสภามีสมาชิกจำนวน 225 คน มาจากการแต่งตั้งเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2522 เมื่อครบ 2 ปี สมาชิกจำนวนหนึ่งใน สามของจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือ 75 คน พ้นจากตำแหน่ง ด้วยวิธีจับสลาก และมีการแต่งตั้งเข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 75 คน ส่วนสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 301 คน มาจาก การเลือกตั้งโดยตรง เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 โดยจังหวัดที่ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัด เป็นเขตเลือกตั้ง จังหวัดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิน 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ไม่เกิน 3 คน สภาผู้แทนราษฎร ชุดนี้สิ้นสุดลงเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2526 อันมีสาเหตุมาจากสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎรมคี วามคดิ เหน็ ทแ่ี ตกตา่ งกนั เกย่ี วกบั วธิ กี ารเลอื กตง้ั สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 เป็นการเลือกตั้งทั่วไป และเป็นการเลือกตั้ง 120
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี โดยตรงแบบผสมระหว่างแบ่งเขตกับรวมเขต มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจะต้องทำการเลือกตั้ง 301 คน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 12 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 128,282 คน ผู้มาใช้สิทธ ิ เลือกตั้ง 64,972 คน คิดเป็นร้อยละ 50.65 มีบัตรเสีย 2,612 ใบ คิดเป็นร้อยละ 4.02 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 12 คือ พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ (สมัคร อิสระ) ได้คะแนน 39,221 คะแนน และนายศิริ ทุ่งทอง (พรรค เสรีธรรม) ได้คะแนน 28,632 คะแนน ร ัฐสภาชุดที่ 21 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังท่ี 13 (18 เมษายน 2526) ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ โดยคณะรัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากวุฒิสภาและ พรรคการเมืองจากพรรคเสรีธรรม พรรคชาติประชาชน และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิสระให้การสนับสนุนอยู่ แต่การ บริหารประเทศของรัฐบาลประสบปัญหาวิกฤติการณ์ทางด้าน เศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 121
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้านจึงได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ต้องตัดสินใจลาออก หลังจากนั้น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2523 และจัดตั้งคณะ รัฐบาลผสมขึ้นบริหารประเทศ ต่อมารัฐบาลได้ใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง ฉบับใหม่ขึ้น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2524 การตั้งพรรคการเมือง จึงเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อใกล้กำหนดครบ วาระการดำรงตำแหน่ง แต่ได้มีการดำเนินการทางการเมือง เพื่อให้คงบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ซึ่งให้ ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองได้ ทำให้ ถูกต่อต้านจากพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่คัดค้าน ทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 19 มีนาคม 2526 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรทั่วไปขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 2526 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 18 เมษายน 2526 ในครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งโดยตรง แบบผสม ระหว่างการแบ่งเขตเลือกตั้งกับรวมเขต มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่จะต้องทำการเลือกตั้ง 324 คน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากสภาผู้แทนราษฎร ลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 122
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 13 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 145,693 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 68,980 คน คิดเป็นร้อยละ 47.35 บัตรเสีย 3,650 ใบ คิดเป็นร้อยละ 5.29 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้งครั้งที่ 13 ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ)พล เริงประเสริฐวิทย์ พรรคสยามประชาธิปไตย คะแนนที่ได้รับ 43,701 คะแนน และนางสุทิน ก๊กศรี ผู้สมัครอิสระ คะแนนที่ได้ รับ 32,106 คะแนน รัฐสภาชุดท่ี 22 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังที่ 14 (27 กรกฎาคม 2529) ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2526 ปรากฏว่าไม่มีพรรคการเมืองใดมีจำนวน มากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ จึงได้สนับสนุนให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยจัดตั้งรัฐบาลผสม จากพรรคการเมืองต่าง ๆ คือพรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทยและพรรคชาติประชาธิปไตย รัฐบาลชุดนี้ได้ บริหารประเทศประมาณ 2 ปี ก็เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง เมื่อรัฐบาลเสนอพระราชกำหนดเกี่ยวกับการเงินในเรื่องเก็บ ภาษีรถยนต์บางประเภทเข้ารัฐสภา ปรากฎว่าสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลกลับลงมติร่วมกับ 123
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ฝ่ายค้านในการคัดค้านกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นผลให้การ เสนอกฎหมายไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา ทำให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจยุบสภาและ กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการ เลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 2529 การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม ระหว่างการแบ่งเขตเลือกตั้งกับรวมเขต แต่ละเขตเลือกตั้ง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 3 คน การเลือกตั้งครั้งนี้มีสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่จะต้องทำการเลือกตั้ง 347 คน และกำหนด ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง ส่วนวุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 260 คน มาจากวุฒิสภา ชุดเดิม จำนวน 243 คน และแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 17 คน สภา ผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 โดยมีสาเหตุมาจากพรรคการเมือง ร่วมรัฐบาลขาดเอกภาพก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการบริหาร ราชการแผ่นดิน จังหวัดอุทัยธานีได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 14 ในคราวการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2529 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 141,775 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 105,215 คน คิดเป็นร้อยละ 74.21 บัตรเสียจำนวน 3,544 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.37 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 14 ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ)พล เริงประเสริฐวิทย์ พรรค 124
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี สหประชาธิปไตย คะแนนที่ได้รับ 57,230 คะแนน และ นายตามใจ ขำภโต พรรคสหประชาธิปไตย คะแนนที่ได้รับ 50,825 คะแนน รัฐสภาชุดที่ 23 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งท่ี 15 (24 กรกฎาคม 2531) ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2529 ปรากฏว่ามีพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่สมาชิก ของพรรคได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 16 พรรค แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมากพอที่จะจัดตั้ง รัฐบาลได้ จึงได้สนับสนุนให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขึ้น ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และได้จัดตั้งรัฐบาล ผสมประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรค กิจสังคม และพรรคราษฎร รัฐบาลบริหารประเทศได้ประมาณ ปีเศษ ก็ต้องประสบปัญหาทางการเมืองอันเนื่องมาจากสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลส่วนหนึ่งได้เข้า ร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านดำเนินการคัดค้านพระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ ทำให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรง แบบผสม ระหว่างการแบ่งเขตเลือกตั้งกับการรวมเขต มีสมาชิกสภา 125
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ผู้แทนราษฎรที่จะต้องทำการเลือกตั้ง 357 คน และกำหนดให้ ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมือง ส่วนวุฒิสภา ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 267 คน มาจากวุฒิสภาชุดเดิม จำนวน 260 คน และแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 7 คน รัฐสภาชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากการยึดอำนาจปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 157,125 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 102,350 คน คิดเป็นร้อยละ 65.14 ผู้ไม่ลงคะแนน 46 คน บัตรเสีย 4,041 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.95 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้งครั้งที่ 15 นี้ ได้แก่ นายไพโรจน์ ทุ่งทอง พรรคพลังธรรม คะแนนที่ได้รับ 62,628 คะแนน และ พ.อ.(พิเศษ)พล เริงประเสริฐวิทย์ พรรค สหประชาธิปไตย คะแนนที่ได้รับ 49,012 คะแนน รัฐสภาชุดที่ 24 – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากที่คณะทหารได้ทำการยึดอำนาจปกครอง ประเทศ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความ สงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำรัฐประหาร ของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ทำให้รัฐสภาต้องสิ้นสุดลง และ มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 126
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี 2534 กำหนดให้มีสภาเดียว คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิก 292 คน มาจากการแต่งตั้ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2534 ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติและจัดทำรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ร ัฐสภาชุดที่ 25 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 16 (22 มีนาคม 2535) ห ล ั ง จ า ก ท ี ่ ไ ด ้ ม ี ก า ร ป ร ะ ก า ศ ใ ช ้ ร ั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห ่ ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้รัฐสภามีสองสภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยวุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 270 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 360 คน มาจาก การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยจังหวัดที่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เกิน 3 คนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขต เลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 185,906 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 113,569 คน คิดเป็นร้อยละ 61.09 ผู้ไม่ลงคะแนน 948 คน คิดเป็นร้อยละ 0.83 บัตรเสีย 127
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 4,066 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.58 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 16 นี้ ได้แก่ นายศิลป์ชัย นุ้ยปรี พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 37,433 คะแนน และพ.อ.พล เริงประเสริฐวิทย์ พรรคปวงชนชาวไทย คะแนนที่ได้รับ 34,404 คะแนน รัฐสภาชุดท่ี 26 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 17 (13 กันยายน 2535) หลังจากที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 ได้มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎรเปน็ การเลอื กตง้ั ทว่ั ไปขน้ึ ในวนั ท่ี 13 กนั ยายน 2535 โดยรัฐสภาชุดนี้มีสองสภา คือ วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิม จำนวน 270 คน ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 360 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภา ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 โดยมีสาเหตุมาจาก ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 184,496 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 114,641 คน คิดเป็นร้อยละ 62.14 ผู้ไม่ลงคะแนน 906 คน คิดเป็นร้อยละ 0.79 บัตรเสีย 128
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี 2,764 ใบ คิดเป็นร้อยละ 2.41 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 17 นี้ ได้แก่ นายศิลป์ชัย นุ้ยปรี พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 47,567 คะแนน และนายประเสริฐ มงคลศิริ พรรคประชาธิปัตย์ คะแนนที่ได้รับ 63,404 คะแนน รัฐสภาชุดท่ี 27 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังที่ 18 (2 กรกฎาคม 2538) หลังจากที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 ได้มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 โดยรัฐสภาชุดนี้มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภา ผู้แทนราษฎร โดยวุฒิสภา มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 270 คน มาจากการแต่งตั้ง ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 391 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากการยุบสภา ผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 โดยมีสาเหตุมาจาก พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลขาดเอกภาพในการบริหารราชการ แผ่นดิน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 18 เมื่อวันที ่ 2 กรกฎาคม 2538 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 217,058 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 134,387 คน คิดเป็นร้อยละ 129
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 61.91 ผู้ไม่ลงคะแนน 794 คน คิดเป็นร้อยละ 0.59 บัตรเสีย 4,709 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.50 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการเลือกตั้ง ครั้งที่ 18 นี้ ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ)พล เริงประเสริฐวิทย์ พรรค ความหวังใหม่ คะแนนที่ได้รับ 76,428 คะแนน และนายศิลป์ชัย นุ้ยปรี พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 76,186 คะแนน รัฐสภาชุดท่ี 28 การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 19 (17 พฤศจิกายน 2539) หลังจากที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 ได้มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผแู้ ทนราษฎรเปน็ การเลอื กตง้ั ทว่ั ไปขน้ึ ในวนั ท่ี 17 พฤศจกิ ายน 2539 โดยรัฐสภาชุดนี้ มีสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฏร วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 262 คน มาจาก วุฒิสภาชุดเดิมจำนวน 260 คน และมีการแต่งตั้งเพิ่มอีก 2 คน ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 393 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 โดย จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขต จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2539 รัฐสภาได้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 99 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วนำเสนอ เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาเห็นชอบในวันที่ 27 กันยายน 2540 130
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 โดย มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 219,418 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 137,190 คน คิดเป็นร้อยละ 62.52 ผู้ไม่ลงคะแนน 691 คน คิดเป็นร้อยละ 0.50 บัตรเสีย 4,511 ใบ คิดเป็นร้อยละ 3.29 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 19 นี้ ได้แก่ นายประเสริฐ มงคลศิริ พรรค ประชาธิปัตย์ คะแนนที่ได้รับ 72,586 คะแนน และ นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 53,601 คะแนน สภาผู้แทนราษฏรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากมีพระราช- กฤษฏีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 เนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มุ่งหมายให้มีการปฏิรูปทางการเมือง รัฐบาล จึงตัดสินใจยุบสภาเพื่อให้มีระยะเวลาในการจัดการเลือกตั้ง รัฐสภาชุดที่ 29 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังท่ี 20 (6 มกราคม 2544) หลังจากที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 รัฐสภาได้จัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ เลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และได้กำหนดให้มี การเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยสภา 131
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกทั้งสองสภาให้มาจากการ เลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ในแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน ประเภทที่ 2 มาจากการ เลือกตั้งของประชาชนในเขตเลือกตั้ง เขตละ 1 คน จำนวน 400 คน ผู้มีสิทธิออกเสียงคนหนึ่งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้เพียงเขตละ 1 คน สำหรับบัญชีรายชื่อ ให้เลือกได้หมายเลขของพรรคการเมืองนั้น และให้มีการนับ คะแนนรวมจากการลงคะแนนทั้งประเทศ จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 235,072 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 170,555 คน คิดเป็นร้อยละ 72.55 ผู้ไม่ลงคะแนน 4,138 คน คิดเป็นร้อยละ 2.43 บัตรเสีย 25,360 ใบ คิดเป็นร้อยละ 14.87 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับการ เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานีในการ เลือกตั้งครั้งที่ 20 นี้ ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 33,358 คะแนน และ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายนพดล พลเสน พรรคชาติไทย คะแนนที่ได้รับ 28,902 คะแนน สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้สิ้นสุดลงเนื่องจากครบวาระ การดำรงตำแหน่ง 4 ปี และได้มีการกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 132
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดท่ี 30 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 21 (6 กุมภาพันธ์ 2548) เนื่องจากการครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ของสภา ผู้แทนราษฎรชุดที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปขึ้นใหม่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบและวิธีการเดียวกับการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 โดยมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 241,097 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 179,042 คน คิดเป็นร้อยละ 74.26 ผู้ไม่ลงคะแนน 3,120 คน คิดเป็นร้อยละ 1.74 และ บัตรเสีย 11,870 ใบ คิดเป็นร้อยละ 6.63 ผลปรากฏว่าผู้ที่ได้รับ การเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ในการเลือกตั้งครั้งที่ 21 นี้ ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายประแสง มงคลศิริ พรรคไทยรักไทย คะแนนที่ได้รับ 32,880 คะแนน และ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายนพดล พลเสน พรรคชาติไทย คะแนนที่ ได้รับ 42,700 คะแนน 133
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี รัฐสภาชุดที่ 31 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งท่ี 22 (2 เมษายน 2549) การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ด้วยเหตุผลที่มีผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ลาออก จากตำแหน่ง ทำให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจคืนอำนาจให้กับ ประชาชน และได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งทางตรง แบบแบ่งเขต เลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบและวิธีการเดียวกับ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 20 และ 21 มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องทำการเลือกตั้งทั้งสิ้นจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง แบบแบ่งเขต 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน จังหวัดอุทัยธานี ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรเป็นครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยมีผู้มี สิทธิเลือกตั้ง 244,102 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 151,511 คน คิดเป็นร้อยละ 62.07 โดยผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง คือ นายสุภาพ โต๋วสัจจา พรรคไทยรักไทย แต่อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ไม่ยอมส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อแข่งขันกับพรรค ไทยรักไทย จึงเกิดปัญหาวุ่นวายในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติตามการร้องขอให้พิจารณาจาก ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อพิจารณาว่าการจัดการ เลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย จึงส่งผลให้ผล 134
การเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดอุทัยธานี การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกยกเลิกไป เพราะการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 และจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ใน วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด ดูไม่เป็นธรรม ทำให้พรรคการเมืองหลายพรรคต่างคว่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัครลง แข่งขัน หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยรักไทย ถูกศาล วินิจฉัยว่าผลการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฏหมายอีกทั้งยังถูกกล่าว หาว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อเลี่ยงเกณฑ์ 20 % จนถูก สำนักงานอัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมมีคำสั่งให้ยุบ พรรค เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 ส่งผลให้เกิดความวุ่นวาย ทางการเมือง กระทั่งเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจึงยังไม่ได้ดำรงตำแหน่งในสภา ผู้แทนราษฎรชุดนี้ รัฐสภาชุดที่ 32 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คร้ังที่ 23 (23 ธันวาคม 2550) ภายหลังจากการเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่ใช้อยู่ และจัดทำ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวสำหรับใช้ในการบริหารประเทศ พร้อมทั้งได้จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยเปิดให้มีการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 และได้ ประกาศใช้ และจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นการเลือกตั้งทางตรงแบบ 135
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248