นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ศาลได้มีคำสั่งคืนสิทธิให้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ด้วย กระแสและสถานการณ์ทางการเมือง แต่ได้รับความร่วมมือจาก สื่อในการประชาสัมพันธ์ทำให้ประชาชนจำได้ ประกอบกับ สื่อมวลชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ลงข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ในกรณีดังกล่าว เป็นการประชาสัมพันธ์ที่ทำให้ประชาชนสนใจ จนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น อันเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ได้รับความไว้ วางใจจากชาวอุทัยธานี ให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ด้านการบริหารคะแนนเสียง การที่มีพื้นฐานและ ประสบการณ์ทางการเมืองจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาก่อน นับได้ว่าเป็นผลดีและได้ แสดงบทบาทให้ประชาชนได้เห็นศักยภาพและผลงานที่คลุกคลี กับประชาชนได้มีความคุ้นเคย นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมด้าน ทรัพยากรทางการเมือง การจัดระบบหัวคะแนน การประเมิน สถานการณ์ รวมทั้งการวางแผนกลยุทธ์และกลวิธีในการ กำหนดความสำเร็จและชัยชนะการเลือกตั้ง โดยมีฐานคะแนน เสียงจาก นายชาดา ไทยเศรษฐ จึงเป็นผลให้การบริหารจัดการ คะแนนเสียงเป็นไปด้วยความสำเร็จที่ส่งผลให้ นายอดุลย์ เหลืองบริบรู ณ์ ได้รับการเลือกตั้ง ด้านเครือข่ายและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง ซึ่งมีส่วนเกื้อหนุนให้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักการเมือง ท้องถิ่นและกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะ นายชาดา ไทยเศรษฐ ที่มีการจัดระบบหัวคะแนนและฐานคะแนนเสียงที่ดี ทำให้การเมืองในจังหวัดอุทัยธานีมีลักษณะที่สัมพันธ์กัน 186
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ระหว่างกลุ่มการเมืองในระดับชาติและการเมืองระดับท้องถิ่น ซึ่งการเลือกตั้งคราวนี้เป็นการเลือกตั้งซ่อม ดังนั้น การอาศัย ภาวะผู้นำ ของนายชาดา ไทยเศรษฐ จึงถือว่ามีความสำคัญ ประกอบกับประชาชนยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาในนโยบายของ พรรคชาติไทย(เดิม) ซึ่งภายหลังจากการถูกยุบพรรค พรรคชาติ ไทยได้จดทะเบียนขึ้นใหม่ ภายใต้ชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ดังนั้น ค่านิยมของประชาชนยังคงศรัทธาในนโยบายของพรรค ชาติไทย(เดิม) ที่สามารถทำงานให้เห็นเป็นรูปธรรมตั้งแต่สมัย นายนพดล พลเสน ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองของ พรรคชาติไทย(เดิม) ได้ลงมาช่วยเหลือในการหาเสียงอย่างเต็ม ที่ จึงกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ ที่ส่งผลให้ นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี นายกุลเดช พัวพัฒนกุล นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เป็นผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 24 เขตเลือกตั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 โดยสมัคร ในนามพรรคประชาธิปัตย์ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เป็นคนจังหวัดอุทัยธานีโดย กำเนิด เรียนจบระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนเมืองอุทัยธานี จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนวัดราชาธิวาส สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์และปริญญาโททาง 187
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ได้เข้าทำงานในสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์(สาขาอุทัยธานี) หลังจากนั้นได้ลาออกมาประกอบ อาชีพส่วนตัว โดยเป็นเจ้าของสำนักงานทนายความ ทำธุรกิจ เกี่ยวกับการเกษตรและมีฟาร์มปศุสัตว์ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล มีความสนใจในการเมือง จงึ มคี วามเกย่ี วขอ้ งกบั การเมอื งในระดบั ทอ้ งถน่ิ มากอ่ น โดยในปี พ.ศ.2538 เคยเป็นรองประธานสภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี ต่อมาในปี พ.ศ.2539 เป็นต้นมา ได้รับความไว้วางใจให้ดำรง ตำแหน่งนายกเทศมนตรีอีก 2 สมัยติดต่อกัน และคือจุดเริ่ม ต้นทางการเมืองระดับชาติในโอกาสต่อมา เนื่องจากได้มีโอกาส ในการทำงานและรับใช้ประชาชนในการให้บริการสาธารณะ อย่างเป็นรูปธรรม การผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งนี้ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล นับว่ามีพื้นฐานและประสบการณ์ ทางการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน และเคยเป็นผู้สมัครรับการ เลือกตั้งซ่อม เมื่อปี พ.ศ.2552 มาแล้ว จึงเป็นผลดีและได้แสดง บทบาทให้ประชาชนได้เห็นศักยภาพ และผลงานที่คลุกคลีกับ ประชาชนให้มีความคุ้นเคย นอกจากนี้ในด้านการบริหาร คะแนนเสียง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ได้ใช้แนวทางของ นายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในการ หาเสียง กล่าวคือ เดินทางพบปะประชาชนให้มากที่สุด โดยถือ ได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ ด้านสถานการณ์การเมืองขณะนั้น ปรากฏว่าในเขต เลือกตั้งที่ 1 กระแสตอบรับของพรรคประชาธิปัตย์และความ 188
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี เชื่อถือในนโยบายการหาเสียง ประเด็นการรับจำนำข้าวเปลือก ยังคงได้รับความศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างดี ส่วนในด้วน เครือข่ายนั้น ด้วยเหตุที่ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เคยมีผลงานที่ ประจักษ์ชัดในระดับท้องถิ่นและกลุ่มมวลชนมาก่อน ได้ช่วย เป็นแรงผลักดันให้มีความโดดเด่นในการปรากฎและแสดงตน ต่อสาธารณะ อีกทั้งภูมิหลังและเครือญาติ อาชีพและการศึกษา ยังสามารถเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการมีสำนักงานทนายความเป็นของตนเอง การทำไร่ อ้อยและปศุสัตว์ที่มีอยู่แต่เดิม นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการหาเสียงที่คู่แข่งทางการเมือง จับทางได้ยาก โดยไม่มุ่งเน้นการจัดตั้งองค์กรในการหาเสียง อย่างเป็นทางการ มีเพียงศูนย์อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด เพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุผลที่น่ารับฟังและเชื่อถือคือ เป็นการ ป้องกันผ้ไู มห่ วังดี ทำลายระบบการจัดการหาเสยี งไดเ้ ปน็ อย่างดี กรณีดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ ส่งผลให้ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในสมัยนี้ 189
บ5ทท ี่ บทวิเคราะห์ ในการศึกษาเกี่ยวกับ นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า นักการเมืองถิ่น ถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความ สำคัญทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น ซึ่งมีผล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ภายในจังหวัดอย่างมาก จากการศึกษา เอกสารและสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลนักการเมืองถิ่น ผู้วิจัย จึงขอวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้ 1. ภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น เมื่อพิจารณาถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น จังหวัด อุทัยธานี ด้านชาติกำเนิด ตระกูล เครือญาติ ครอบครัว การศึกษา อาชีพ พื้นฐานประสบการณ์ทางการเมือง ความรู้ ความสามารถ ชื่อเสียง ผลงาน และคุณลักษณะส่วนบุคคล แล้ว พบว่าสามารถสรุปแยกเป็นประเด็นที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 1.1 การมีความรู้ความสามารถสูงและมีผลงานที่มีชื่อเสียง บุคคลที่มีจุดเด่นด้านความรู้ความสามารถสูง และมี ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ พระยาวิฑูรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) สามารถสอบ เนติบัณฑิตไทยได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี และเป็นคนไทยคนแรกที่ สำเร็จวิชากฎหมายสูงสุดจากประเทศสหรัฐอเมริกา และ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม ผู้พิพากษาในศาลคดีต่างประเทศ เจ้ากรมกองฎีกา กรม ราชเลขาธิการ ผู้ช่วยราชเลขาธิการในแผนกกฤษฎีกา อธิบดี กรมกฤษฎีกา และองคมนตรี และลาออกจากราชการเมื่ออายุ เพียง 39 ปี แสดงให้เห็นว่าได้ดำรงตำแหน่งสำคัญตั้งแต่อายุ ยังน้อย นายพร มากวงศ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยคลังจังหวัด อุทัยธานี คลังจังหวัดอุทัยธานี สำรองเป็นผู้พิพากษาหัวหน้า ศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ต.ต.หลวงเจริญตำรวจการ ได้ไปรับราชการที่มณฑล ปัตตานี เป็น นายเวรผู้บังคับการมณฑลปัตตานี และย้ายไปรับ ราชการอีกหลายจังหวัด และดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ ผู้กำกับ การตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุง นายศิลปชัย นุ้ยปรี จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประกอบ อาชีพด้านวิศวกรชลประทาน มีผลงานที่มีชื่อเสียงทางด้าน วิศวกรแหล่งน้ำ 192
บทวิเคราะห์ พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นนายทหารคน สนิทของพลเอก กฤษณ์ สีวะรา ตั้งแต่ ผบ.กรม 1 ผบ.พล 1 ผบ.ทบ. และ ผบ.สูงสุด แม้เป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม พันเอก(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ ก็ได้เป็นนาย ทหารคนสนิทมาโดยตลอด นายตามใจ ขำภโต เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ในธนาคารกรุงไทยมาก่อน ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมาก 1.2 การมีภูมิหลังที่เป็นคนพื้นเพทางจังหวัดอุทัยธานี นักการเมืองถิ่นหลายคนเป็นคนพื้นเพทางจังหวัด อุทัยธานี แต่บุคคลที่มีจุดเด่นในด้านการมีภูมิหลังเป็นคนพื้นเพ ทางจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ นางสุทิน ก๊กศรี ซึ่งนอกจากจะเป็น คนพื้นเพจังหวัดอุทัยธานีแล้ว ยังประกอบอาชีพหลักในพื้นที่ โรงสีข้าว อยู่ในพื้นที่มาโดยตลอด ในขณะที่นักการเมืองถิ่น คนอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะไปทำงานหรือรับราชการที่อื่นจนมี ชื่อเสียงแล้วจึงกลับมาจังหวัดอุทัยธานี 1.3 การอาศัยความมีพ้ืนฐานหรือประสบการณ์ทาง การเมือง บุคคลที่มีจุดเด่นในด้านการมีพื้นฐานหรือประสบการณ์ ทางการเมือง เคยเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ นักการเมือง ระดับท้องถิ่นมาก่อน ได้แก่ นายศิริ ทุ่งทอง เคยเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาก่อน นางสุทิน ก๊กศรี เคยเป็นสมาชิกสภา จังหวัดเขตอำเภอห้วยคต นายสุภาพ โต๋วสัจจา เคยเป็นสมาชิก สภาจังหวัดอุทัยธาน ี นายชาดา ไทยเศรษฐ เคยเป็นสมาชิก 193
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี สภาเทศบาลเมืองอุทัยธานี นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ เคยเป็น ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี (นายชาดา ไทยเศรษฐ) นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เคยเป็น รองประธานสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี มาก่อน 1.4 ด้านคุณลักษณะนิสัย บุคคลที่มีจุดเด่นด้านคุณลักษณะนิสัย ได้แก่ นายพร มากวงศ์ เป็นบุรุษร่างเล็ก เพรียวลม ท่าทาง ละมุนละม่อม และอมยิ้มในทีเสมอ เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีเรื่องพูดคุยให้ผู้ฟังรู้สึกสนุกอยู่เสมอ เป็นคนค่อนข้างสันโดษ นิสัยร่าเริง คุยสนุก มีเมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความ อดทน มุมานะสูง เป็นผู้มีอัธยาศัยดีงาม พูดจาไพเราะ เป็นที่ ประทับใจของผู้ที่ได้พบเห็น นอกจากนี้ยังเป็นคนคล่องแคล่ว ว่องไว มีไหวพริบดี พูดเร็ว เดินเร็ว ชอบทำอะไรเร็ว แต่ไม่เคย ผิดพลาด ไม่ชอบการเอาชนะด้วยการโต้เถียง และที่สำคัญที่สุด เป็นคนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงไม่ชอบ การทุจริตหรือคอรัปชั่น พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ เป็นคนคุยสนุกสนาน พูดตรง ปากกับใจตรงกัน ไม่มีลับลมคมใน หน้าไหว้หลังหลอก คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่เกรงกลัวว่าจะขัดใจใคร เป็นคนที่ แยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องส่วนรวมได้ เป็นคนฟังเหตุผล ไม่ใช่ดันทุรัง ไม่ถือเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ คนไหนดีก็จะ ยกย่อง คนไหนไม่ดีก็จะตำหนิ มีความเป็นกันเองกับทุกคน ไม่ถือตัว มีเรื่องสนุกสนานคุยให้ฟังได้ตลอด เป็นกันเอง เป็นคน 194
บทวิเคราะห์ รกั งาน มคี วามรบั ผดิ ชอบสงู เอาการเอางาน พดู ดงั ทา่ ทเี ฉยี บขาด ไม่ชอบการหากินในทางที่มิชอบเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว นายศิลป์ พิลึกฤาเดช เป็นคนใจดี มีนิสัยโอบอ้อมอารี เข้าถึงประชาชนได้ดี พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นคนคล่องแคล่ว ว่องไว มีจิตใจ โอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อบุคคลอื่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นคนที่มีเพื่อน มาก เป็นคนจริงจัง พูดคำไหนคำนั้น เอาจริงเอาจังต่อคำพูด ถ้ารับปากเรื่องอะไรแล้วต้องทำให้ได้ นายประเสรฐิ มงคลศริ ิ เปน็ คนหนมุ่ ไฟแรง มอี ดุ มการณ์ แรงกล้า มีบุคลิกที่นอบน้อมถ่อมตน นายนพดล พลเสน เป็นคนบุคลิกดี อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นบุคคลติดดิน ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนประชาชนเสมอ นายสภุ าพ โตว๋ สจั จา เปน็ คนเรยี บรอ้ ย มมี นษุ ยสมั พนั ธด์ ี นายชาดา ไทยเศรษฐ เป็นคนจริงจัง พูดคำไหนคำนั้น ตรงไปตรงมา กล้าได้กล้าเสีย กล้าตัดสินใจ มีใจนักเลง มีบารมีกว้างขวาง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เป็นคนมีนิสัยยิ้มแย้ม สุภาพ เรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ขยันลงพื้นที่เยี่ยมเยียนประชาชน 1.5 ด้านคุณสมบัติส่วนตัว บคุ คลทม่ี จี ดุ เดน่ ทางดา้ นคณุ สมบตั สิ ว่ นตวั ไดแ้ ก่ นางสทุ นิ ก๊กศรี ที่อาศัยความเป็นผู้หญิงคนแรกที่มีความกล้ามาลงเล่น 195
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี การเมืองแม้จะเริ่มต้นจากการเมืองระดับท้องถิ่น เป็นคนที่มี ความกล้าในการแสดงออก ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ 1.6 ด้านอาชีพ บุคคลที่มีจุดเด่นด้านอาชีพที่ทำให้คุ้นเคยกับประชาชน ในพื้นที่มาก ได้แก่ นายศิลป์ พิลึกฤาเดช ประกอบอาชีพรับราชการครู ในจังหวัดอุทัยธานี และมีความคุ้นเคยรู้จักชาวบ้านในพื้นที่ อย่างดี เพราะขี่จักรยานไปเยี่ยมเยียนชาวอำเภอบ้านไร่ เป็นประจำ แม้จะมีระยะทางไกลมาก ห่างจากจังหวัดถึง 70 กิโลเมตร แต่ก็ไม่ได้ย่อท้อ อาศัยความคุ้นเคย ไปนั่งล้อมวง รับประทานอาหารกับชาวบ้านเป็นประจำ นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ ประกอบอาชีพค้าขายและ รับเหมาก่อสร้าง ชอบออกพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนเป็น ประจำ สม่ำเสมอ อีกทั้งการประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างจึง ทราบปัญหาในพื้นที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ นายชาดา ไทยเศรษฐ ประกอบอาชีพค้าขายเนื้อสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี จึงมีบารมีกว้างขวาง โดยเฉพาะ ในวงการค้าขายเนื้อสัตว์ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ประกอบอาชีพทนายความ และธุรกิจการเกษตรไร่อ้อยและฟาร์มปศุสัตว์ 1.7 การเป็นผู้ท่ีมีความสามารถด้านการพูด บุคคลที่มีจุดเด่นทางด้านการพูดโน้มน้าว ได้แก่ นายศิริ ทุ่งทอง เป็นคนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านการพูด 196
บทวิเคราะห์ มีวาทศิลป์ดี เป็นคนพูดเก่งในการโน้มน้าวจิตใจคน ชอบ วิพากษ์วิจารณ์ จัดได้ว่าเป็น “ดาวสภา” คนหนึ่ง 1.8 การอาศัยเครือญาติ ตระกูล ครอบครัว ส่งเสริมและ สนับสนุน บุคคลที่มีจุดเด่นทางด้านการอาศัยเครือญาติ ตระกูล ครอบครัวช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุน ได้แก่ นายไพโรจน์ ทุ่งทอง เนื่องจากบิดา คือ นายศิริ ทุ่งทอง ซึ่งเคยเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรมาก่อน จึงใช้ฐานคะแนนเสียงเดิมของบิดา ในการหาเสียง 2. การบริหารคะแนนเสียง 2.1 การใช้บุคคลท่ีมีความเป็นมืออาชีพทางการเมือง บุคคลที่ใช้บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพทางการเมือง มาช่วยในการบริหารคะแนนเสียง ได้แก่ นายศิลป์ พิลึกฤาเดช มีน้องชายชื่อนายเฉย กล่ำปทุม ซึ่งเป็นกำนันอยู่ที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และเป็น หัวคะแนนให้กับนายสวัสดิ์ คำประกอบ ขณะนั้น ซึ่งมี ประสบการณ์ทางด้านการเมืองมาช่วยในการหาเสียง แม้แต่ตัว นายสวัสดิ์ คำประกอบ เองก็ยังเคยมาช่วยหาเสียงให้ นายนพดล พลเสน มีความสนิทสนมมากกับ นายเฉลิม ชัย บัวประทุม ซึ่งเป็นอดีตกำนัน และนายธีระชัย บัวประทุม ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาจังหวัดและประธานสภาจังหวัด อุทัยธานี 197
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 2.2 การใช้ระบบหัวคะแนนท่ีมีประสิทธิภาพ บคุ คลทม่ี กี ารจดั ตง้ั ระบบหวั คะแนน จากกำนนั ผใู้ หญบ่ า้ น และเป็นหัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ นายศิริ ทุ่งทอง พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ และนายอดุลย์ เหลืองบริบรู ณ์ 2.3 การมีความพร้อมด้านทรัพยากรทางการเมือง บุคคลที่มีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทางการเมือง ได้แก่ นายศิริ ทุ่งทอง ประกอบอาชีพทางด้านโรงสีข้าว จึงมี ความพร้อมทางด้านทุนทรัพย์ในการนำรถฉายหนังเคลื่อนที่ไป ช่วยในการหาเสียง เช่าเครื่องขยายเสียง เช่าเครื่องไฟ และ เช่าเครื่องฉายหนัง เพื่อจูงใจให้คนมาฟัง พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็นคนที่มีฐานะ การเงินดี เป็นเจ้าของธุรกิจโรงงานสับปะรด นอกจากนี ้ ยังแต่งงานกับครอบครัวตระกูลล่ำซำ ซึ่งเป็นตระกูลมหาเศรษฐี อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นางสุทิน ก๊กศรี มีกิจการโรงสีข้าว จึงมีความพร้อม ทางทุนทรัพย์ที่ใช้ในการหาเสียง นายไพโรจน์ ทุ่งทอง มีอาชีพเป็นสถาปนิกและ มีกิจการโรงสีข้าวเป็นอาชีพพื้นฐานของครอบครัวตนเอง จึงมี ความพร้อมทางด้านทุนทรัพย์ที่ใช้ในการหาเสียง 198
บทวิเคราะห์ 2.4 การบริหารคะแนนเสียงเป็นไปอย่างมีระบบ บุคคลที่มีการบริหารคะแนนเสียงอย่างมีระบบ มีการจัด ตั้งองค์กรในการหาเสียง การประเมินสถานการณ์ ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ นายนพดล พลเสน นายประแสง มงคลศิริ นายชาดา ไทยเศรษฐ ทุกคนล้วนแล้ว แต่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการจัดตั้งองค์กรในการ หาเสียง มีศูนย์อำนวยการการเลือกตั้ง ที่คอยติดตาม สถานการณ์ และประเมินสถานการณ์ของคู่แข่งอยู่ตลอดเวลา 2.5 การวางกลยุทธ์ในการหาเสียง บุคคลที่มีการวางกลยุทธ์ในการหาเสียง ได้แก่ นางสุทิน ก๊กศรี ใช้ความเป็นผู้หญิงที่กล้าแสดงออก และชอบใช้คำพูด “เลือกใครก็ Lifeboy เลือกป๊อยดีกว่า” (ป๊อย เป็นชื่อเล่นของนางสุทิน ก๊กศรี) นายไพโรจน์ ทุ่งทอง ใช้กลยุทธ์ในการหาเสียงที่เรียบ ง่าย และมีพฤติกรรมในการหาเสียงแบบเปิดเผย โดยใช้ป้าย ประชาสัมพันธ์การหาเสียงในยุคต้นแบบ เช่นเดียวกับวิธีการ หาเสียงของนักการเมืองในกรุงเทพมหานคร นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ ใช้กลยุทธ์ที่เน้นหนักที่เน้น หนักไปในทางเดินเคาะประตูบ้าน ออกหน่วยเคลื่อนที่ ประชาสัมพันธ์ มีพฤติกรรมในการหาเสียงที่ไม่เปิดเผยมาเป็น ระยะเวลานาน ไปร่วมงานบุญ งานเทศกาลต่าง ๆ ของ ชาวบ้านมาโดยตลอด 199
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี นายประแสง มงคลศิริ นำกลยุทธ์ในการหาเสียงที่ นักการเมืองญี่ปุ่นชอบใช้ มาใช้ในการหาเสียง โดยการยืนแจก นามบัตร แนะนำตัว ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ในการทำงาน นายชาดา ไทยเศรษฐ ใช้กลยุทธ์ในการหาเสียงที่เน้น หนักไปในทางเยี่ยมเยียนประชาชน ที่มีความต่อเนื่องยาวนาน ทำการบ้านทั่วทั้งพื้นที่ในจังหวัดมานานแล้ว เมื่อถึงเวลา เลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องเน้นกลยุทธ์ใดเป็นพิเศษ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเข้าถึง ประชาชนเป็นรายบุคคล เข้าร่วมงานเทศกาลต่าง ๆ อย่าง สม่ำเสมอ 3. สถานการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง 3.1 การใช้สถานการณ์ทางการเมือง บุคคลที่ใช้สถานการณ์ทางการเมืองในการเอื้ออำนวยให้ ชนะการเลือกตั้งได้แก่ นายศิริ ทุ่งทอง ได้ใช้สถานการณ์ความขัดแย้งทาง การเมือง ช่วงที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึมในเขต พื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เพราะเป็นพื้นที่ที่การคมนาคมไม่สะดวก ยากต่อการเข้าถึง เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกล ไม่ค่อยมีใครกล้า เข้าไป เพราะกลัวในเรื่องความไม่ปลอดภัยในชีวิต แต่สถานการณ์ดังกล่าวกลับเป็นประโยชน์ต่อ นายศิริ ทุ่งทอง ในการนำรถฉายหนังเข้าไปฉายหนังให้ประชาชนดูในพื้นที่ 200
บทวิเคราะห์ ทำให้ประชาชนเมื่อเห็นหน้านายศิริ ทุ่งทอง เข้ามาในพื้นที่ จะรู้สึกดีใจมาก นายประเสริฐ มงคลศิริ ได้ใช้สถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมือง ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และมี นายแพทย์ที่เข้าไปช่วยเหลือถูกยิงตาย นายประเสริฐ มงคลศิริ ได้นำพวงหรีดดำไปวางเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ นายสุภาพ โต๋วสัจจา ได้ใช้สถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2549 ที่มีการชุมนุมประท้วง ของกลุ่มพันธมิตร และเป็นช่วงที่กระแสความนิยมในพรรค ไทยรักไทยยังคงมีอยู่มาก 3.2 การใช้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ บุคคลที่ใช้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในการเอื้ออำนวย ทำให้ชนะการเลือกตั้งได้แก่ นายศิลปชัย นุ้ยปรี ได้ใช้สถานการณ์ที่ประชาชนชาว จังหวัดอุทัยธานีได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากการขาดแคลน แหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะอาชีพหลักของชาว จังหวัดอุทัยธานีคืออาชีพทางด้านเกษตรกรรม การทำนา จึงได้ ชูประเด็นเรื่องการแก้ไขแหล่งน้ำเป็นประเด็นหลักในการหาเสียง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ได้ใช้สถานการณ์ที่ชาวนา ชาวไร่ หรือเกษตรกรได้ประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลพรรค ประชาธิปัตย์ ในการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรสำหรับการ หาเสียง 201
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 3.3 การใช้วัฒนธรรมทางการเมือง บุคคลที่ใช้วัฒนธรรมทางการเมืองที่อิงกับกระแสความ นิยมในพรรคการเมือง ได้แก่ นายนพดล พลเสน ได้ใช้กระแสความนิยมชมชอบ ในพรรคชาติไทยอยู่แล้ว เป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนและ ส่งเสริมในการหาเสียง ในขณะที่ นายประแสง มงคลศิริ ได้อาศัยความนิยม ชมชอบในพรรคไทยรกั ไทย ทอ่ี าศยั ภาวะผนู้ ำของ พ.ต.ท.ทกั ษณิ ชินวัตร ที่นโยบายของพรรคไทยรักไทยสามารถทำให้เห็นได้เป็น รูปธรรม “ประชานิยม” นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ได้ใช้ความนิยมในพรรคประชา- ธิปัตย์อยู่แล้ว เป็นฐานสำคัญในการสนับสนุนการหาเสียง 4 . ความสัมพันธ์กับเครือข่าย 4.1 การสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่มีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีจุดเด่นในการสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ ที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการเข้าถึงจิตใจประชาชน เมื่อ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องอะไรก็ตาม ชาวบ้าน ร้องขออะไร ก็จะจัดการให้ตลอด ถ้ารับปากจะช่วยเหลือแล้ว ตอ้ งทำใหไ้ ด้ ไดแ้ กน่ ายทวาย เศรษฐพานชิ และ พ.อ.(พเิ ศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 202
บทวิเคราะห์ 4.2 การได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง บุคคลที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต้นสังกัด อย่างจริงจังในทุก ๆ ด้าน คือ นายประแสง มงคลศิริ ที่ได้รับ การสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทย อย่างเต็มที่ มีการจัดตั้ง องค์กรในการหาเสียงและกระทำอย่างเป็นระบบ มีการทำงานที่ มีข้อมูลสนับสนุนตลอด ได้รับการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร ทางการเมืองจากพรรคไทยรักไทย มีการจัดระบบหัวคะแนนที่ อิงกับหลักวิชาการตลอด มีการทำโพลและประเมินสถานการณ์ ทุกระยะ พรรคไทยรักไทยจะส่งข้อมูลให้ตลอดเพื่อให้ผู้สมัคร ต้องทำการบ้านทุกวัน อีกทั้งกระแสความนิยมในพรรค ไทยรักไทยก็ดีมาก 4.3 การมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายอย่างใกล้ชิด บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่าย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนักการเมืองระดับท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด และมีความสัมพันธ์ อันดี ได้แก่ พ.อ.(พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ นางสุทิน ก๊กศรี นายไพโรจน์ ทงุ่ ทอง นายธรี พนั ธ ์ วรี ะยทุ ธวฒั นะ และนายกลุ เดช พัวพัฒนกุล 4.4 การสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายส่ือมวลชน ปัจจุบันการสื่อสารมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบถึงบทบาทนักการเมืองถิ่นให้ ประชาชนได้ทราบและประกอบการตัดสินใจ ในการมีส่วนร่วม ทางการเมือง ได้เลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนของ ตนเองและพบว่า บุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเครือข่าย 203
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี สื่อมวลชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด จนได้รับความร่วมมือในการนำ เสนอขา่ วสารและบทบาททางการเมอื งเปน็ ประจำ คอื นายนพดล พลเสน 204
บ6ทท ี่ สรุป อภิปรายผล การศึกษาวิจัยภายใต้โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูล นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี โดยจากการศึกษาเอกสารและ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ทำให้ทราบถึง กลไกทางการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี ตั้งแต่มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งแรกจนถึง ปัจจุบัน ทราบถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ทราบถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งนักการเมืองถิ่นในจังหวัด อุทัยธานี ทราบถึงการบริหารคะแนนเสียงของนักการเมืองถิ่น ในจังหวัดอุทัยธานี ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย การเลือกตั้งกับนักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ทราบถึง ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ (Key success factors) ที่ส่ง ผลให้นักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี ได้รับชัยชนะในการ เลือกตั้ง กล่าวคือ
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ปัจจัยท่ีเป็นตัวกำหนดความสำเร็จท่ีส่งผลให้ นักการเมืองถ่ินได้รับการเลือกต้ัง เมื่อพิจารณาจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ปัจจัยต่าง ๆ ที่มี ส่วนสนับสนุนให้ผู้สมัครได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง พบว่า 6.1 ภูมิหลังและประสบการณ์การเมือง ของนักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 6.1.1 ด้านคุณลักษณะ ภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น เมื่อ พิจารณาถึงภูมิหลังของนักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี ด้าน ชาติกำเนิด ตระกูล เครือญาติ ครอบครัว การศึกษา อาชีพ พื้นฐานประสบการณ์ทางการเมือง ความรู้ความสามารถ ชื่อเสียง ผลงาน และคุณลักษณะส่วนบุคคลแล้ว พบว่า นักการเมืองถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี มักอาศัยจุดเด่นในด้าน คุณลักษณะนิสัยเป็นหลักในการหาเสียงโดยเป็นคนที่มี อัธยาศัยดี เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีเรื่องพูดคุยให้ผู้ฟังรู้สึกสนุก อยู่เสมอ นิสัยร่าเริง คุยสนุก มีเมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความอดทน มุมานะสูง พูดจาไพเราะ ตรงไปตรงมา เป็นคนที่ มีเหตุผล มีความเป็นกันเองกับทุกคน ไม่ถือตัว มีเรื่อง สนุกสนานคุยให้ฟังได้ตลอด เป็นคนรับผิดชอบในหน้าที่การ งาน มีนิสัยโอบอ้อมอารี เข้าถึงประชาชนได้ดี ชอบช่วยเหลือ ผู้อื่น เป็นคนจริงจังต่อคำพูด พูดคำไหนคำนั้น เอาจริงเอาจัง ต่อคำพูด ถ้ารับปากเรื่องอะไรแล้วต้องทำให้ได้ เป็นบุคคล ติดดิน ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนประชาชนเสมอ 6.1.2 ด้านความรู้ความสามารถพิเศษ เป็นลำดับรองลง มา เรื่องการเป็นบุคคลที่มีจุดเด่นด้านความรู้ความสามารถสูง 206
สรุป อภิปรายผล และมีผลงานที่มีชื่อเสียง การอาศัยความเป็นบุคคลที่มีพื้นฐาน หรือประสบการณ์ทางการเมือง เคยเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ นักการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน การเป็นบุคคลที่มีภูมิหลัง ที่เป็นคนพื้นเพทางจังหวัดอุทัยธานี การมีจุดเด่นทางด้านอาชีพ ที่ทำให้เข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้ง่าย และทำให้ประชาชนใน พื้นที่มีความคุ้นเคยกับนักการเมืองถิ่น นอกเหนือจากนี้ก็เป็น ในเรื่องอาศัยจุดเด่นทางด้านคุณสมบัติพิเศษส่วนตัว ด้านความ สามารถในการพูด และอาศัยเครือญาติ ตระกูลและครอบครัว ในการส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านการเมือง 6.2 ด้านการบริหารคะแนนเสียง เมื่อพิจารณาถึงเรื่องการจัดตั้งองค์กรในการหาเสียง ความพร้อมในด้านทรัพยากรทางการเมือง การจัดระบบ หัวคะแนน การประเมินสถานการณ์ การหาข่าวคู่แข่ง การวาง กลยุทธ์ในการหาเสียง และพฤติกรรมในการหาเสียงทั้งแบบที่ เปิดเผยและไม่เปิดเผย พบว่า นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานี นิยมใช้การวางกลยุทธ์ในการหาเสียงที่มีพฤติกรรมในการหา เสียงทั้งที่เป็นแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยมาอย่างต่อเนื่อง พบปะเยี่ยมเยียน ช่วยเหลือประชาชน ร่วมงานบุญ งาน เทศกาลต่าง ๆ มาตลอดเป็นเวลานาน ทำการบ้านทั่วทั้งพื้นที่ ในจังหวัดมานานแล้ว เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องเน้น กลยุทธ์ใดเป็นพิเศษ รองลงมาก็เป็นเรื่อง การบริหารคะแนน เสียงอย่างมีระบบ มีการจัดตั้งองค์กรที่ใช้ในการหาเสียงอย่าง เป็นรูปแบบ และการมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทาง การเมือง การมีระบบจัดตั้งหัวคะแนนที่มีประสิทธิภาพ และการ 207
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ใช้บุคคลที่มีความเป็นมืออาชีพทางการเมืองมาช่วยในการ บริหารคะแนนเสียง 6.3 ด้านสถานการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง จากการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่น นิยมใช้ สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดปัญหา เป็นจุดเด่นเพื่อ เอื้ออำนวยให้ชนะการเลือกตั้ง รองลงมาก็เป็น การใช้ วัฒนธรรมทางการเมืองที่ประชาชนชื่นชอบนิยม โดยอิงกระแส ความนิยมในพรรคการเมืองเป็นหลัก และการใช้สถานการณ์ ทางด้านเศรษฐกิจในการเอื้ออำนวยที่ประชาชนได้รับความ เดือดร้อนเอื้ออำนวยให้ชนะการเลือกตั้ง 6.4 ด้านความสัมพันธ์กับเครือข่ายต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี นิยมสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างแนบแน่นกับเครือข่าย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนักการเมืองระดับท้องถิ่น รองลงมาเป็น เรื่องการสร้างเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในการช่วยเหลือปัญหา ต่าง ๆ มาโดยตลอด และการสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย สื่อมวลชนที่ให้เป็นผู้นำเสนอข่าวและบทบาทในการทำงานของ นักการเมืองถิ่น อันดับสุดท้ายเป็นเรื่องที่ได้รับการสนับสนุนจาก พรรคการเมืองต้นสังกัดอย่างเข้มแข็ง ซึ่งมีข้อสังเกตจากการ ศึกษาพบว่า พรรคการเมืองต้นสังกัดไม่ค่อยได้ให้การสนับสนุน นักการเมืองถิ่น จังหวัดอุทัยธานีเท่าใดนัก นักการเมืองถิ่น จึงต้องใช้ความรู้ความสามารถตลอดจนปัจจัยที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในการช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด 208
สรุป อภิปรายผล จากที่กล่าวมา จึงแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด ความสำเร็จ (key success factors) ภายใต้กรอบแนวคิดการ ศึกษาวิจัยและผลการศึกษา พบว่าปัจจัยด้านภูมิหลังและ ประสบการณ์ทางการเมืองของนักการเมืองถิ่น ด้านการบริหาร คะแนนเสียงและด้านสถานการณ์และวัฒนธรรมทางการเมือง อีกทั้งในด้านความสัมพันธ์กับเครือข่ายต่าง ๆ มีความ สอดคล้องกัน ตามกรอบแนวคิดการศึกษาวิจัย ที่ส่งผลและ ทำให้นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานีได้รับการเลือกตั้ง แต่ อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าว เป็นสิ่งที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เมื่อรูปแบบการเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง และวิถีชีวิตของประชาชนชาวจังหวัดอุทัยธานี เปลี่ยนแปลงไป ข้อเสนอแนะ 1. ประเด็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยเหตุ ที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่ง ในกระบวนการทางการเมืองและมีความจำเป็นสำหรับการเมือง ทุกระดับรวมทั้งการปกครองท้องถิ่น ซึ่งกำหนดขึ้น บนพื้นฐาน ของการกระจายอำนาจ ที่มุ่งเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง โดย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเลือกตั้ง การร่วมตรวจสอบ การทำงานขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น การสมัครเป็น นักการเมืองท้องถิ่น เป็นต้น 209
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี 2. ประเด็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเมืองไทยกับระบบ อุปถัมภ์ เนื่องจากระบบอุปถัมภ์เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ระบบประชาธิปไตยของไทย จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเห็นถึงผลเสียของระบบดังกล่าว ที่เป็นสาเหตุให้การเมืองไม่พัฒนาไปข้างหน้าเท่าที่ควรจะเป็น 3. ประเด็นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ควรนำ เนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปจัดทำหนังสือเสริม การอ่าน เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา สังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้เข้าใจถึงพัฒนาการทางการเมืองและพฤติกรรมการ เลือกตั้งของจังหวัดอุทัยธานี อันนำไปสู่การป้องกันและแก้ไข ปัญหาการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงได้ในอนาคต 210
บรรณานุกรม ภาษาไทย กระทรวงมหาดไทย, ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี, กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2528 กระทรวงมหาดไทย, รายงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เล่มที่ 1 (ม.ป.ท., ม.ป.ป.) กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, การเลือกตั้ง พรรคการเมืองและ เสถียรภาพของรัฐบาล, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มาสเตอร์เพรส, 2531), หน้า 2-5. กาญจนา แก้วเทพ, จิตสำนึกของชาวนา : ทฤษฎีและแนววิเคราะห์ แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง. (กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2527) หน้า 108-115. การุญ วรฉัตร, การหาเสียงเลือกตั้ง: การซื้อสิทธิ ขายเสียง, ใน หนังสือ รพี ราชภัฎอยุธยา 2553, ธาตรี มหันตรัตน์ บรรณาธิการ, พระนครศรีอยุธยา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา, 2553
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ข้อมูล สถิติ ผลการเลือกตั้ง ส.ส. 2 ก.ค.2538, (กรุงเทพมหานคร : กองการ เลือกตั้ง กรมการปกครอง, 2538) ข้อมูล สถิติ ผลการเลือกตั้ง ส.ส. 17 พ.ย.2539, (กรุงเทพมหานคร : กองการเลือกตั้ง กรมการปกครอง, 2539) ข้อมูล สถิติและผลการเลือกตั้ง ส.ส.2550, (กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง,2550) คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ, เอกสารรายงานการวิจัย เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ, (กรุงเทพมหานคร : สภา วิจัยแห่งชาติ, 2538), หน้า 22-23. ชูสง่า ฤทธิประศาสน์, “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” หนังสือท่ี ระลึกในพิธีถวายพระกฐินพระราชทาน กรมการ ปกครอง ปี พ.ศ. 2517 ณ วัดธรรมิการาม อำเภอเมือง ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : 6 ตุลาคม 2517, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการ ปกครอง, 2517), หน้า 2. ณรงค์ สินสวัสดิ์, การเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา, 2520) หน้า 110. เตช บุนนาค. การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435 – 2458. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. ทศพล สมพงษ์, กระบวนการเลือกต้ังและปัจจัยในการตัดสินใจ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2545) หน้า 164 - 168. เทศาภิบาลฉบับพิเศษ “เลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535”, (กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) 212
บรรณานุกรม นิยม รัฐอมฤต, “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”, ใน การเมือง การปกครองไทยในรอบ 60 ปแี หง่ การครองสริ ริ าชสมบตั ิ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, นรนิติ เศรษฐบุตร, บรรณาธิการ (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2550), หน้า 69-70. ประชัน รักพงษ์ และ รักฎา บรรเทิงสุข, กระบวนการเลือกตั้งและปัจจัย ในการตัดสินใจเลือกต้ังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2545) หน้า 60 - 63. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดอุทัยธานี, กรุงเทพมหานคร : บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2528 พรศรี ใจซื่อ, ปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2523 หน้า ก-ข. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, การเลือกต้ังกับการพัฒนาทางการเมืองไทย ใน เอกสารการสอบชุดวิชาปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2532. “พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 14. (30 พฤษภาคม ร.ศ. 116) พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, สมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ, กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2544. พิมลจรรย์ นามวัฒน์, การเลือกตั้ง ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา สถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: หจก. คุณพินอักษรกิจ, 2528. เพิ่มพงษ์ เชาวลิตและศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี, หาคะแนนเสียงอย่างไร ใหไ้ ดเ้ ปน็ ส.ส., (กรงุ เทพมหานคร : นติ ธิ รรม, 2531) หนา้ 86. 213
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี มนุชญ์ วัฒนโกเมร, ข้อมูลพ้ืนฐานพรรคการเมืองปัจจุบันและ พ ร ร ค ก า ร เ มื อ ง กั บ ก า ร เ ลื อ ก ต้ั ง ปี 2 5 2 2 - 2 5 2 9 (กรุงเทพมหานคร : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยความสนับสนุนของ Konrad Adenauer Foundation, 2529) รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 2 และ 3 ราชกิจจานุเบกษา, 2440 วัชรา ไชยสาร, ระบบการเลอื กตง้ั กบั การเมอื งไทยยคุ ใหม,่ พมิ พ์คร้ังที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544), หน้า 10. วารสารกำนัน ผู้ใหญ่บา้ น. เล่ม 50. (ธันวาคม 2542). วิสุทธิ์ โพธิแท่น, แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย, กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550. ศรสี มภพ จติ รภ์ ริ มยศ์ ร,ี ภาวณิ ี ไชยภาค และจนิ ดา เลง่ ซา้ ย, กระบวนการ เลือกต้ังและปัจจัยในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสงขลา. (กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า, 2545) หน้า 446. สมัย สุทธิธรรม, สารคดี ชุด ถิ่นทองของไทย จังหวัดอุทัยธานี, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2542 สัมฤทธิ์ ราชสมณะ, กระบวนการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2530, หน้า 36-71. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 67 ปี สมาชิกรัฐสภาไทย, (กรุงเทพมหานคร : กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร, 2542), หน้า 13. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี, สิงหาคม 2554 214
บรรณานุกรม สีดา สอนศรี, “การเลือกตั้งในฟิลิปปินส์” การเลือกต้ังในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ : ศึกษาเฉพาะประเทศอินโดนิเซีย มาเลเซยี ฟลิ ิปปินส์ และไทย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รายงานการวิจัยเรื่อง พฤติกรรม การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย เสนอต่อ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ.2525, หน้า 196-197. สุทธิชัย ปทุมล่องทอง, ที่น่ีประเทศไทย : ท่องเที่ยวภาคกลาง, (กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2549), หน้า 493 สุพรรณี ชะโลธร, “ภูมิศาสตร์การเลือกตั้ง,” ใน คลังสมองสามสิบสอง สิงห์ดำ, เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์, บรรณาธิการ (กรุงเทพ มหานคร : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์จุฬา, 2541), หน้า 550. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, การสื่อสารกับการเมือง, (กรุงเทพมหานคร : ประสิทธิ์ภัณฑ์ แอนด์ พริ้นติ้ง, 2545), หน้า 52-53. แสวง รัตนมงคลมาศ, รวมบทความวิชาการพัฒนาสังคม : แนวคิด และปฏิบัติการ. (กรุงเทพมหานคร : คณะพัฒนาสังคม สถาบันพัฒน บริหารศาสตร์, 2535) หน้า 17. หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายหลักเกณฑ์ทั่วไปของการเลือกต้ัง, กรุงเทพมหานคร: หจก.โอเดียนสโตร์, 2512. ภาษาอังกฤษ Anthony Downs. The Economic Theory of Democracy, New York : Harper, 1957 p. 57 Charles E. Merriam and Harold F. Gosnell. Non-Voting : Causes and Methods of Control, Chicago : University of Chicago Press, 1924, pp. 132-5 215
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี David Butler and others, Democracy at the Polls: A Comparatives Study of Competitive National Elections, (Washington D.C.: American Enterprise Institute for Public Policy Research,1981), p.216 Kenneth Janda, Jeffrey M. Berry and Jerry Goldman, The Challenge of Democracy, (Boston: Houghton Mifflin Company,1999), p. 213. Martin Harrop and William L. Miller, Elections and Voters : A Comparative Introduction, (London: Macmillan Education Ltd., 1987), p. 145-146. Milbrath Lester W. and Goel M.L.. Political Participation : How and Why Do People Get Involved in Politics. Chicago : Rand McHally College Publishing Company, 1977. P.2. Paul F. Lazarsfeld, Berelson and Hazel Gande3t. The People’s Choise : How the Voter Makes Up His Mind in a Presidential Campaign. Hew York : Duell. Sloan & Pearce, 1944 The Universal Declaration of Human Rights (10 December 1948), Article 21. Verba Sidney. Nie Normal H. and Kim Jee-on. Participation and Political: Equality in Seven Nation Comparision. Cambridge : Cambridge University Press, 1978. P.46. 216
ภาคผนวก ภาคผนวก ก รายช่ือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ต้ังแต่ปี พ.ศ. 2476-2554 จังหวัดอุทัยธานี
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 218 รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2476-2554 จังหวดั อุทัยธานี คร้งั ท่ ี วนั เลอื กตัง้ วธิ ีการเลือกต้ัง ผไู้ ดร้ บั เลือกตั้ง สมยั ที่ สังกดั พรรค 1 15 พ.ย.2476 ทางอ้อม นายเทียบ นันทแพทย์ 2 7 พ.ย. 2480 แบ่งเขต พระยาวิฑูรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) 1 ไม่สังกัดพรรค 3 12 พ.ย. 2481 แบ่งเขต พระยาวิฑูรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) 4 6 ม.ค. 2489 แบ่งเขต นายพร มากวงศ์ 1 ไม่สังกัดพรรค 5 29 ม.ค. 2491 รวมเขต พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ 6 26 ก.พ. 2495 รวมเขต พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ 2 ไม่สังกัดพรรค 7 26 ก.พ. 2500 รวมเขต นายทวาย เศรษฐพานิช 8 15 ธ.ค. 2500 รวมเขต นายศิลป์ พิลึกฤาเดช 1 ไม่สังกัดพรรค 9 10 ก.พ. 2512 รวมเขต นายศิริ ทุ่งทอง 10 26 ม.ค. 2518 นายศิริ ทุ่งทอง 1 ไม่สังกัดพรรค 11 4 เม.ย. 2519 แบ่งเขต+รวมเขต นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ (นุ้ยปรี) 12 22 เม.ย. 2522 แบ่งเขต+รวมเขต พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 2 ไม่สังกัดพรรค แบ่งเขต+รวมเขต นายศิริ ทุ่งทอง 1 เสรีมนังคศิลา 1 สหภมู ิ 1 ชาวนาชาวไร่ 2 ชาวนาชาวไร่ 1 ชาติไทย 1 ไม่สังกัดพรรค 3 เสรีธรรม
ครงั้ ท ่ี วันเลือกตัง้ วธิ ีการเลือกตง้ั ผู้ได้รับเลอื กตัง้ สมยั ที ่ สังกดั พรรค 13 18 เม.ย. 2526 แบ่งเขต+รวมเขต พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ นางสุทิน ก๊กศรี 2 สยามประชาธิปไตย 14 27 ก.ค. 2529 พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ แบ่งเขต+รวมเขต นายตามใจ ขำภโต 1 ไม่สังกัดพรรค 15 24 ก.ค. 2531 นายไพโรจน์ ทุ่งทอง พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 3 สหประชาธิปไตย 16 22 มี.ค. 2535 แบ่งเขต+รวมเขต นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ (นุ้ยปรี) พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ 1 สหประชาธิปไตย 17 13 ก.ย. 2535 นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ (นุ้ยปรี) แบ่งเขต+รวมเขต นายประเสริฐ มงคลศิริ 1 พลังธรรม 18 2 ก.ค. 2538 พ.อ. (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์ นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ (นุ้ยปรี) 4 สหประชาธิปไตย 19 17 พ.ย.2539 แบ่งเขต+รวมเขต นายประเสริฐ มงคลศิริ นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ 2 ชาติไทย แบ่งเขต+รวมเขต 5 ปวงชนชาวไทย 3 ชาติไทย แบ่งเขต+รวมเขต 1 ประชาธิปัตย์ 6 ความหวังใหม่ 4 ชาติไทย 1 ประชาธิปัตย์ ภาคผนวก 219 1 ชาติไทย
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี 220 ครั้งท ี่ วนั เลือกตั้ง วธิ ีการเลือกตั้ง ผไู้ ดร้ บั เลอื กตัง้ สมัยท ี่ สังกัดพรรค 20 6 ม.ค. 2544 แบ่งเขต+บัญชีรายชื่อ นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ 2 ชาติไทย นายนพดล พลเสน 1 ชาติไทย 21 6 ก.พ. 2548 แบ่งเขต+บัญชีรายชื่อ นายประแสง มงคลศิริ 1 ไทยรักไทย นายนพดล พลเสน 2 ชาติไทย 22 2 เม.ย. 2549 แบ่งเขต+บัญชีรายชื่อ นายสุภาพ โต๋วสัจจา 1 ไทยรักไทย 23 23 ธ.ค.2550 รวมเขต+สัดส่วน นายชาดา ไทยเศรษฐ์ 1 ชาติไทย นายนพดล พลเสน 3 ชาติไทย 24 11 ม.ค.2552 เลือกตั้งซ่อม นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ 1 ชาติไทยพัฒนา 25 3 ก.ค. 2554 แบ่งเขต+บัญชีรายชื่อ นายกุลเดช พัวพัฒนกุล 1 ประชาธิปัตย์
ภาคผนวก ภาคผนวก ข ภาพนักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2476-2555 นายเทียบ นันทแพทย์ (1 สมัย) 15 พฤศจิกายน 2476 พระยาวฑิ รู ธรรมพเิ นตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) (2 สมัย) 7 พฤศจิกายน 2480 12 พฤศจิกายน 2481 นายพร มากวงศ์ (1 สมัย) 6 มกราคม 2489 221
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ (2 สมัย) 29 มกราคม 2491 26 กุมภาพันธ์ 2495 นายทวาย เศรษฐพานชิ (1 สมัย) 26 กุมภาพันธ์ 2500 นายศลิ ป์ พิลกึ ฤาเดช (1 สมัย) 15 ธันวาคม 2500 222
ภาคผนวก นายศิริ ทุง่ ทอง (3 สมัย) 10 กุมภาพันธ์ 2512 26 มกราคม 2518 22 เมษายน 2522 นายศลิ ปชยั เชษฐศลิ ป์ (นยุ้ ปร)ี (4 สมยั ) 4 เมษายน 2519 22 มีนาคม 2535 13 กันยายน 2535 2 กรกฎาคม 2538 พ.อ. (พเิ ศษ) พล เริงประเสรฐิ วิทย์ (6 สมัย) 22 เมษายน 2522 18 เมษายน 2526 27 กรกฎาคม 2529 24 กรกฎาคม 2531 22 มีนาคม 2535 2 กรกฎาคม 2538 223
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี นางสทุ นิ ก๊กศรี (1 สมัย) 18 เมษายน 2526 นายตามใจ ขำภโต (1 สมัย) 27 กรกฎาคม 2529 นายไพโรจน์ ทุง่ ทอง (1 สมัย) 24 กรกฎาคม 2531 224
ภาคผนวก นายประเสรฐิ มงคลศริ ิ (2 สมัย) 13 กันยายน 2535 17 พฤศจิกายน 2539 นายธีรพนั ธ์ วีระยุทธวฒั นะ (2 สมัย) 17 พฤศจิกายน 2539 6 มกราคม 2544 นายประแสง มงคลศริ ิ (1 สมัย) 6 กุมภาพันธ์ 2548 225
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี นายนพดล พลเสน (3 สมัย) 6 มกราคม 2544 6 กุมภาพันธ์ 2548 23 ธันวาคม 2550 นายสุภาพ โต๋วสัจจา (1 สมัย) 2 เมษายน 2549 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ (2 สมัย) 23 ธันวาคม 2550 3 กรกฎาคม 2554 226
ภาคผนวก นายอดุลย์ เหลืองบริบรู ณ์ (1 สมัย) 11 มกราคม 2552 นายกุลเดช พัวพัฒนกลุ (1 สมัย) 3 กรกฎาคม 2554 227
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ภาคผนวก ค แผนที่จังหวัดอุทัยธานี 228
ภาคผนวก ง รายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ ลำดบั ชอ่ื สมาชิก ชอื่ ผ้ใู หส้ ัมภาษณ ์ สถานะและ ตำแหนง่ วนั เดอื น ปี ท ่ี สภาผ้แู ทนราษฎร ข้อมลู จากเอกสาร ความสมั พันธ ์ ผู้ใหส้ ัมภาษณ ์ ทีส่ มั ภาษณ์ ข้อมลู จากเอกสาร - - 1 นายเทียบ นันทแพทย์ - - - นางประไพพรรณ บูแชท์ - 2 พระยาวิฑรู ธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันท์) 3 นายพร มากวงศ์ บุตร ประธานกองทุน มากวงศ์ 10 ก.ย. 2553 - บูแชท์ เพื่อการศึกษา เด็กที่ขาดแคลน 4 พ.ต.ต. หลวงเจริญตำรวจการ นายบริสุทธ์ นวมะวัฒน์ หลาน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัด 12 ก.ย. 2553 ทุ่งนาไทย อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี 5 นายทวาย เศรษฐพานิช นางศรีรัตน์ คณานนท์ธรรม บุตร นักธุรกิจ 14 ก.ย. 2553 6 นายศิลป์ พิลึกฤาเดช และนางทิวา อมรรัตนกุล นางบังอร สาสกุล ภาคผนวก 229 บุตร ข้าราชการบำนาญ 17 ก.ย. 2553
นักการเมืองถ่ินจังหวัดอุทัยธานี ลำดับ ชอื่ สมาชกิ ช่ือผู้ใหส้ ัมภาษณ์ สถานะและตำแหนง่ วนั เดอื น ปี 230ท่ี สภาผแู้ ทนราษฎร ทีส่ ัมภาษณ์ นายไพศาล ทุ่งทอง ความสัมพันธ์ ผใู้ ห้สมั ภาษณ์ 19 ก.ย. 2553 นายเผด็จ นุ้ยปรี 22 ก.ย. 2553 7 นายศิริ ทุ่งทอง บุตร นักธุรกิจ 24 ก.ย. 2553 8 นายศิลปชัย เชษฐศิลป์ น้องชาย นายกองค์การบริหาร (นุ้ยปรี) ส่วนจังหวัดอุทัยธานี 27 ก.ย. 2553 (ปัจจุบัน พ.ศ.2554) 24 ก.ย. 2553 9 พ.อ. (พิเศษ) พล นายจำนง พันธ์เขตรการ คนสนิท สมาชิกสภาจังหวัด 2 ต.ค. 2553 เริงประเสริฐวิทย์ อุทัยธานี 4 ต.ค. 2553 (ปัจจุบัน พ.ศ.2554) 10 นางสุทิน ก๊กศรี ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - - 11 นายตามใจ ขำภโต นายจำนง พันธ์เขตรการ คนสนิท สมาชิกสภาจังหวัด อุทัยธานี (ปัจจุบัน พ.ศ.2554) 12 นายไพโรจน์ ทุ่งทอง ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - อดีตสมาชิกสภา 13 นายประเสริฐ มงคลศิริ ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง ผู้แทนราษฎร - อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร
ลำดบั ช่อื สมาชิก ชือ่ ผใู้ หส้ ัมภาษณ์ สถานะและ ตำแหนง่ วัน เดอื น ปี ท่ ี สภาผู้แทนราษฎร ความสัมพนั ธ ์ ผ้ใู ห้สัมภาษณ ์ ทส่ี ัมภาษณ์ 6 ต.ค. 2553 14 นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 10 ต.ค. 2553 13 ต.ค. 2553 15 นายนพดล พลเสน นายพิเชษฐ ชัยวัน คนสนิท ข้าราชการบำนาญ 16 นายประแสง มงคลศิริ ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง 18 ต.ค. 2553 - อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 21 ต.ค. 2553 17 นายสุภาพ โต๋วสัจจา ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - อดีตสมาชิกสภา 26 ต.ค. 2553 ผู้แทนราษฎร 25 ม.ค. 2555 18 นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 19 นายอดุลย์ เหลืองบริบรู ณ์ ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - อดีตสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร 20 นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ให้สัมภาษณ์ด้วยตนเอง - สมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ภาคผนวก 231
นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นายธาตรี มหนั ตรตั น ์ วัน/เดือน/ปีเกิด 7 มกราคม 2506 ภมู ิลำเนาเกิด จังหวัดอุทัยธานี ที่อยู่ปัจจุบัน 427 หมู่ 5 ตำบลหนองฉาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 61110 การศึกษา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสตู รประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง การอบรม ประกาศนียบัตรวิชาการว่าความ สภาทนายความแห่งประเทศไทย ประกาศนียบัตรกฎหมายการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประวัติการทำงาน 2548- 2551 อาจารย์ประจำสถาบันกฎหมายไทย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2551-ปัจจุบัน อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประสบการณ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา E-mail : [email protected] 232
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248