Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore lamtharn3

lamtharn3

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-03-14 08:29:32

Description: lamtharn3

Search

Read the Text Version

เม่ือร้อยปีท่ีแล้วฉะเชิงเทราทั้งจังหวัดเต็มไปด้วยป่ารกทึบ มีสัตว์ใหญ่มากมาย  รวมท้ังช้างและเสือ  แน่นอนย่อมเต็มไปด้วย ภยันอันตราย แตม่ ีวัดเล็กๆ วัดหนึง่ ในอำ� เภอสนามชยั เขต ท้ังๆ ท่ีอยู่ ในปา่ ลกึ  กระนนั้ ผคู้ นมากมายกพ็ ากนั ดน้ั ดน้ เขา้ ไปโดยไมก่ ลวั อนั ตราย ใดๆ วดั นนั้ คอื  วดั ซำ� ปา่ งาม สว่ นเจา้ อาวาสคอื  หลวงพอ่ คง สวุ ณณฺ หลวงพ่อคง  เป็นพระกรรมฐานที่ชอบความสงบสงัด  แต่ผู้คน ท่ัวทุกสารทิศรู้จักท่านในฐานะพระเกจิอาจารย์  ที่ปรีชาสามารถทั้ง ด้านพุทธศาสน์และไสยเวทย์  มีช่ือเสียงเล่ืองลือด้านอิทธิปาฏิหาริย์ และคาถาอาคม  วัตถุมงคลของท่าน  ไม่ว่าเหรียญ  แหวน  ตะกรุด ผา้ ยันต ์ ลว้ นเปน็ ท่ีต้องการของผู้คนต้ังแต่สมัยท่านยังมีชวี ิตอย ู่ และ มผี ปู้ รารถนาครอบครองและหวงแหนจวบจนทุกวนั น้ี แต่ท่านยังมีคุณวิเศษอีกอย่างหน่ึง  ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่กล่าวขาน กันมากนัก โดยเฉพาะสมัยนี้ น่ันคือความเมตตากรณุ า 151 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๘๓  หรือ  ๗๖  ปีก่อน  ณรงค์  เทวานฤมิตรกุล เปน็ เดก็ อาย ุ ๘ ขวบ วนั หนง่ึ พอ่ ชวนไปรว่ มงานทำ� บญุ อายคุ รบ ๑๐๖ ปี ของหลวงพ่อคง  สมัยน้ันไม่มีรถ  ต้องขี่ม้าเข้าไป  จากพนมสารคาม ไปสนามชัยเขต  ระยะทางแค่  ๔๐  กิโลเมตร  แต่ต้องเดินทางเป็นวัน เพราะเปน็ ป่าทึบ มีแตท่ างเสน้ เลก็ ๆ ตัดผา่ น ตอนออกจากบ้าน  ณรงค์เล่าว่า  นอกจากข้าวของที่จะเอาไป ทำ� บญุ แลว้  พอ่ ยงั เอาหอมหวั แดงพวงใหญ่ ๓ - ๔ พวงใสย่ า่ มไปดว้ ย เด็กน้อยแปลกใจว่าเอาไปท�ำไม  แถมยังเก็บไว้กับตัว  ราวกับของมีค่า แตก่ ไ็ มไ่ ด้ถาม เมื่อข่ีม้าไปได้ไม่นาน  ก็เข้าสู่เขตป่าดงดิบ  ต้นไม้แน่นขนัด  แสง แดดส่องลงมาไม่ถึง  มองข้ึนไปไม่เห็นฟ้า  ตอนบ่ายแก่ๆ  จู่ๆ  ม้าซ่ึง ก�ำลังว่ิงอยู่ดีๆ  ก็หยุดชะงัก  ยกขาหน้า  พร้อมกับส่งเสียงร้องตกใจ จนเดก็ ตกลงมาจากหลงั มา้  สว่ นมา้ กล็ ม้ ลงไปนอน ไมย่ อมลกุ  พอ่ รบี ล้วงเอาหอมหัวแดงออกมาจากย่าม  เรียกให้ลูกเอามือขย้ีหอม  แล้ว ป้ายท่ีจมูกม้า  เพียงเท่านั้นม้าก็ตกใจ  รีบลุกข้ึนยืน  ทั้งพ่อทั้งลูกก็ กระโดดข้ึนม้าทันที  พอข้ึนม้าเรียบร้อย  ม้าก็ว่ิงอย่างรวดเร็วแบบ ไม่คดิ ชวี ติ เอาเลย เดก็ น้อยสงสัย ถามพอ่ วา่ มา้ เป็นอะไร คำ� ตอบคือ “เสอื ” 152

“มา้ มนั ไดก้ ลนิ่ เสอื  มนั เลยหมดแรง นอนรอใหเ้ สอื มากนิ ” แลว้ พ่ออธิบายต่อว่าท่ีเอาหอมแดงมาทุบแล้วป้ายจมูกเสือก็เพื่อดับกลิ่น เสือนัน่ เอง หอมหวั แดงยงั ทำ� ให้มา้ แสบจมูก จงึ ว่งิ แบบไม่คดิ ชีวติ พ่อยังเล่าให้เด็กน้อยฟังว่า  หลังจากม้าลุกข้ึนแล้ว  เห็นเสือ ตวั หน่งึ  ใหญม่ าก อย่ดู า้ นหลงั หา่ งประมาณ ๒๐ เมตรเทา่ นั้นเอง พอมา้ วงิ่ ควบไปไดอ้ กี ชว่ั โมงกวา่  มนั กท็ ำ� ทา่ จะหยดุ  พอ่ ตอ้ งเอา หอมแดงป้ายจมูกม้าเพ่ือให้ม้าวิ่งต่อ  ท�ำอย่างนี้  ๓-๔  คร้ัง  ในท่ีสุดก็ ถงึ วดั ซำ� ปา่ งาม หลงั จากทชี่ ะลอมา้ ลง หลวงพอ่ คงกม็ าปรากฏตวั อยู่ หนา้ วัด ประโยคแรกท่ีหลวงพ่อคงทกั คอื “เปน็ ไง ร้วู ่าจะมาเลยใหล้ กู นอ้ งไปรับ” พ่อก้มลงกราบ  แล้วบอกว่า  “ลูกน้องหลวงพ่อท�ำเอาผมกับ  ไอห้ นเู กอื บแย่” ลูกนอ้ งหลวงพอ่ ก็คอื เสอื โคร่งนั่นเอง หลวงพอ่ คงทเ่ี ดก็ นอ้ ยเหน็ นนั้  เดนิ เหนิ คลอ่ งแคลว่  ราวกบั อายุ ๕๐-๖๐ ปี ถ้าไม่บอกก็ไม่รวู้ า่ ทา่ นอาย ุ ๑๐๖ ปี คืนน้ันทั้งพ่อและลูกพักในโบสถ์  ซ่ึงก่อสร้างด้วยซุงต้นใหญ่ๆ เนื่องจากเป็นคืนเดือนหงายจึงมองเห็นรอบโบสถ์ได้ชัดเจน  ตกดึก เดก็ นอ้ ยปวดฉ ่ี จงึ ลกุ ขนึ้ มาจะเดนิ ออกไปฉ ่ี แตท่ นั ทที ม่ี องออกไปทาง 153 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

หน้าต่างโบสถ์  ก็ชะงักและตกใจ  เพราะท่ีเห็นก็คือ  เสือตัวใหญ่  ๗ - ๘ ตัว  ก�ำลังเดินไปมารอบโบสถ์  เด็กน้อยหายปวดฉี่ทันที  รีบกลับไป นอนข้างพ่อ  เงยหน้าทีไรก็เห็นเสือเดินไปเดินมาตลอดทั้งคืน  รุ่งเช้า จงึ หายไป เร่ืองราวข้างต้นดูเหลือเชื่อ  แม้แต่ณรงค์ก็ยอมรับว่า  “เล่าให้  คนสมัยนีฟ้ ัง ก็มีแตค่ นหาว่าโม ้ แต่เรอ่ื งนจ้ี รงิ ท่ีสุด ๗๐ กวา่ ปผี า่ นไป  ยงั ไม่เคยลมื เลย”  เร่ืองน้ีคงจะสูญหายไปตลอดกาลหากลูกชายของณรงค์  คือ ปริญญา  เทวานฤมิตรกุล  ไม่ได้สอบถามและบันทึกเอาไว้เมื่อไม่นาน มาน้ี  เสือน้ันเป็นสัตว์ดุร้าย  แต่ก็กลายเป็นสัตว์เช่ือง  เม่ืออยู่ใกล้ หลวงพ่อคง  จนกลายเป็น  “ลูกน้อง”  ของท่าน  นั่นคงไม่ใช่เพราะ คาถาอาคมของท่านเท่าน้ัน หากยังเป็นเพราะเมตตาอันไมม่ ปี ระมาณ ของทา่ น ทา่ นจงึ อยทู่ า่ มกลางสงิ สาราสตั วน์ อ้ ยใหญโ่ ดยไมเ่ ปน็ อนั ตราย แถมบารมีของท่านยังปกแผ่ไปยังสานุศิษย์ทั้งหลาย  จะว่าไปแล้วที่ คนกับเสืออยู่ด้วยกันได้ฉันมิตรเพราะต่างเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคง น่ันเอง 154

หลวงพ่อคง สุวณฺณ ก�ำเนิด ประมาณ ปพี .ศ. ๒๓๗๗  ชาตภูม ิ แขวงเมืองพระตะบอง มรณภาพ พ.ศ. ๒๔๘๕ สิริอาย ุ ๑๐๘ ปี   ทา่ นบรรพชาเปน็ สามเณรเมอ่ื อาย ุ ๑๕ ป ี จนอายคุ รบบวชจงึ อปุ สมบท เป็นพระภิกษุ  และเริ่มศึกษาพุทธาคมและไสยเวทย์จากพระคณาจารย์ ชาวเขมรที่มีช่ือเสียงด้านเวทมนตร์  ภายหลังท่านย้ายมาอยู่วัดซ�ำป่าง่าม จังหวดั ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อคงเป็นพระเกจิอาจารย์ท่ีมีช่ือเสียงโด่งดังและเป็นท่ีเคารพ ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะชาวเมืองฉะเชิงเทรา และใกล้เคียง  วัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนเป็นท่ีนิยมและแสวงหาในแวดวง นกั นยิ มสะสมพระเครอ่ื งและเหรียญคณาจารย์ โดดเด่นท่สี ุดคือ “เหรียญรูป อารม์  เน้ือเงินลงยา” ปี พ.ศ. ๒๔๘๓



สมเด็จพระสังฆราชท่ีครองวัดบวรนิเวศวิหารนับแต่อดีตถึง ปจั จบุ นั ม ี ๔ พระองค ์ สององคส์ ดุ ทา้ ยไดแ้ ก ่ สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้ กรมหลวงวชิรญาณวงศ์  และสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระ สังฆราช องค์แรกนั้นเป็นราชสกุล  กล่าวคือเป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั  สว่ นองคห์ ลงั นน้ั เปน็ สามญั ชน อุปนิสัยก็แตกต่างกันมาก  องค์แรกพูดตรง  โผงผาง  มีอารมณ์ขัน เป็นกันเอง สว่ นองค์หลังน้นั พดู จาสุภาพเรยี บรอ้ ยและไมค่ ่อยพูดเลน่ แตส่ ง่ิ หนงึ่ ทที่ ง้ั สององคม์ เี หมอื นกนั คอื  เคยมคี วามคดิ ทจี่ ะสกึ  จนถงึ ขัน้ เตรยี มการไวพ้ ร้อมแลว้ 157 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

สมเดจ็ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชริ ญาณวงศ ์ สมัยยงั หนุ่ม เป็นพระมหาชื่น  วัดบวรนิเวศวิหารสมัยน้ันเจ้าอาวาสคือ  สมเด็จพระ มหาสมณเจา้  กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ทรงกวดขนั ในเรอ่ื งระเบยี บ วินัยมาก  พระรูปใดท�ำผิดแม้เพียงเล็กน้อย  บางคร้ังพระองค์ก็ถึงกับ เกร้ียวกราด  พระมหาชื่นคงเจอพิโรธของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าอยู่ หลายครงั้  จงึ เบอื่ หนา่ ยในเพศบรรพชติ  วนั หนง่ึ ไดไ้ ปกราบทลู พระองค์ ว่า  จะขอลาสิกขา  สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงฟังแล้วก็มิได้ตรัส วา่ กระไร  พระมหาชื่นจึงไปหาฤกษ์สึก  แล้วให้โยมไปเตรียมผ้านุ่งมาไว้ ให้พร้อม  หนึ่งวันก่อนจะถึงฤกษ์สึก  บังเอิญพระบาทสมเด็จพระ- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่  เสด็จฯ  มาที่วัดบวรฯ  เพ่ือทรงเยี่ยมสมเด็จพระ- มหาสมณเจา้  จากนน้ั ไดเ้ สดจ็ ฯ ตรงมาทกี่ ฏุ ขิ องทา่ น โดยทรงยนื อยทู่ ่ี หน้าประตูกุฏิ  คร้ันพระมหาช่ืนเห็นพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาท่ีกุฏิก็ตกใจ แทบส้ินสติ  เพราะพระองค์ไม่เคยเสด็จฯ  เช่นนี้มาก่อน  พระมหาชื่น ท�ำตัวไม่ถูก  จึงน่ังรับเสด็จอยู่ในกุฏิ  ครั้นจะเชิญเสด็จฯ  เข้ามาก็พูด ไมถ่ กู พระเจ้าอยูห่ ัวรับสัง่ วา่  “ไดย้ ินวา่ คุณจะสกึ หรอื  ?” พระมหาช่นื กถ็ วายพระพรรบั ว่าจรงิ 158

พระองคร์ บั สงั่ ตอ่ ไปวา่  “ฉนั กไ็ มว่ า่ อะไรหรอก แตอ่ ยากจะบอก  ให้รู้ว่า  คนอย่างคุณน้ันบวชเป็นพระแล้วหายาก  ถ้าสึกออกมาเป็น  ฆราวาสก็หาง่าย” ไดย้ นิ เชน่ นน้ั พระมหาชน่ื กเ็ ลยตดั สนิ ใจไมส่ กึ  สว่ นผา้ ทเี่ ตรยี มไว้ ก็ใหโ้ ยมน้องชายไป  นบั แตน่ น้ั ทา่ นกไ็ มค่ ดิ สกึ อกี เลย มนั่ คงในเพศบรรพชติ  และเจรญิ ในสมณศักด์ิเป็นล�ำดับ  จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสิน้ พระชนมด์ ้วยพระชนมาย ุ ๘๖ พรรษา  สว่ นสมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสงั ฆราช นน้ั  เมอ่ื ครงั้ ท่ี ยังเป็นพระมหาเจริญ  เปรียญเจ็ดประโยค  อายุ  ๒๔  ปี  ท่านตั้งใจจะ ลาสกิ ขา จงึ ไดก้ ราบทลู ลาสมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้  กรมหลวงวชริ ญาณ- วงศ์  ซ่ึงเป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์  พระองค์ได้รับส่ังว่า  “คุณ  เจรญิ ไปคดิ ใหมอ่ กี ท ี บวชเปน็ พระนน้ั ยาก สกึ สงิ า่ ย กนั กเ็ คยคดิ จะสกึ   มาเหมอื นกนั ”  อย่างไรก็ตามดูหมือนท่านจะไม่เปลี่ยนใจ  ได้ท�ำหนังสือขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา  ผ่านกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ)  ตามแบบแผนประเพณีในฐานะที่เป็นพระมหาเปรียญ แต่ระหว่างที่เดินเรื่องอยู่น้ัน  โยมมารดาของท่านทราบข่าวว่าพระ 159 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ลูกชายจะสึก  จึงได้รีบเดินทางจากเมืองกาญจน์มาหาท่ีวัดบวรนิเวศ ทนั ท ี ครนั้ มาถงึ กไ็ ดบ้ อกกบั พระลกู ชายดว้ ยนำ�้ เสยี งจรงิ จงั วา่  “ถา้ คณุ   มหาจะสึก ดฉิ นั กจ็ ะผกู คอตาย” เพียงเท่านี้พระมหาเจริญก็รีบท�ำเร่ืองถอนหนังสือขอลาสิกขา และเลิกล้มความต้ังใจท่ีจะสึก  นับแต่น้ันท่านก็พากเพียรในการศึกษา และปฏิบัติ  จนส�ำเร็จเป็นมหาเปรียญ  ๙  ประโยค  อีกทั้งเจริญใน สมณศักด์ิเป็นล�ำดับ  จนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช  และ สิน้ พระชนม์ดว้ ยพระชนมาย ุ ๑๐๐ พรรษา สองเหตุการณ์ท่ีกล่าวมา  ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์เล็กๆ  ท่ี กนิ เวลาไมก่ น่ี าท ี มคี ำ� พดู แคไ่ มก่ ค่ี ำ�  แตม่ คี วามสำ� คญั อยา่ งยง่ิ ตอ่ ชวี ติ ของสมเดจ็ พระสงั ฆราชทงั้ สองพระองค ์ รวมทง้ั ตอ่ พทุ ธศาสนาไทย และเมืองไทย  เพราะหากไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวชีวิตของท้ังสอง พระองคจ์ ะตอ้ งหกั เหไปอกี ทางหนง่ึ  ซง่ึ หมายความวา่ เมอื งไทยจะไมม่ ี สมเด็จพระสังฆราชที่เปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถและเป็นแบบอย่าง แหง่ คุณธรรมดงั สองพระองค์  160



เมอื่  ๕๐ ปกี อ่ น หากไปถามคนอดุ รวา่  รจู้ กั พระเทพวสิ ทุ ธาจารย์ ไหม  ส่วนใหญ่คงได้แต่ส่ายหน้า  แต่ถ้าถามถึง  “หลวงปู่ดีเนาะ” ทกุ คนจะรจู้ กั เปน็ อยา่ งด ี เพราะทา่ นเปน็ พระทช่ี าวอดุ รใหค้ วามเคารพ นบั ถือเป็นอยา่ งยิง่ หลวงปู่ดีเนาะ  มีนามเดิมว่า  บุ  ปลัดกอง  เกิดที่จังหวัดนคร- ราชสีมา  เม่ือ พ.ศ. ๒๔๑๕  ต่อมาครอบครัวของท่านได้อพยพมาอยู่ ที่อ�ำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ  ๒๓  ปี  บวช ได้  ๓  พรรษาก็ได้ไปจ�ำพรรษาที่วัดมัชฌิมาวาส  และอยู่ประจ�ำท่ีวัดนี้ โดยตลอด  จนได้เป็นเจ้าอาวาส  และได้รับเล่ือนสมณศักดิ์เป็นล�ำดับ จนเปน็ พระราชาคณะชัน้ เทพ 162

เหตุท่ีท่านมีฉายาว่า  “หลวงปู่ดีเนาะ”  ก็เพราะว่าเวลาท่านพูด คยุ กบั ใครกต็ าม ทา่ นชอบกลา่ วคำ� วา่  “ดเี นาะ” อยเู่ ปน็ นจิ  ไมว่ า่ เรอื่ ง ท่ีท่านได้รับฟงั นั้นจะเป็นเร่อื งรา้ ยเพียงใดกต็ าม มิใช่แต่เรื่องที่ท่านได้ยินเท่านั้น  เวลามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับ ท่าน แม้เป็นเรื่องไม่ดีหรือเรื่องร้าย ท่านก็กล่าวคำ� ว่า “ดีเนาะ” และ ไม่ได้มีทีท่าเป็นทุกข์ร้อนแต่อย่างใด  ท่านมีอารมณ์ดีอยู่เสมอเพราะ มองทกุ อย่างเปน็ เรือ่ งดีไปหมด มเี รอ่ื งเลา่ วา่ วนั หนง่ึ  ทา่ นไดร้ บั นมิ นตไ์ ปเทศนท์ บ่ี า้ นโยม เจา้ ภาพ แจ้งว่าจะมารับแต่เช้า แต่หลวงปู่น่ังรอจนสายโยมก็ไม่มาสักท ี ท่าน จงึ วา่  “ไม่มา กด็ เี หมือนกนั เนาะ เราฉนั ข้าวของเราดีกวา่ ” ฉันได้สักพัก  โยมก็มารับ  พร้อมกับขอโทษหลวงปู่ท่ีมาช้า เน่ืองจากรถเสีย  ท่านหยุดฉันกลางคัน  พูดกับโยมว่า  “อือ  ก็ดีเนาะ  ไปฉันท่ีงานเนาะ” นั่งรถไปได้สักพัก  ปรากฏว่าเคร่ืองดับ  คนขับแจ้งว่ารถเสีย หลวงปกู่ ็วา่  “ดเี นาะ ไดห้ ยดุ พกั ชมววิ  เนาะ” หลังจากคนขับซ่อมรถพักใหญ่  ก็เอ่ยปากขอให้หลวงปู่ช่วย เข็นรถ  ท่านยิ้มแล้วบอกว่า  “โอ้  ดีเนาะ  ได้ออกก�ำลังเนาะ”  ว่าแล้วก็ ออกแรงชว่ ยเขน็ รถจนวงิ่ ได้ 163 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

กวา่ รถจะไปถงึ บา้ นงาน กเ็ ลยเทย่ี งแลว้  เปน็ อนั วา่ วนั นนั้ หลวงปู่ แทบไม่ได้ฉันข้าวเลย  แต่ท่านก็ยังยิ้มได้  ท่านน่ังพักสักครู่  เจ้าภาพก็ นิมนตท์ า่ นขนึ้ เทศน์ “ดเี นาะ มาถงึ กไ็ ดท้ ำ� งานเลยเนาะ” วา่ แลว้ ทา่ นกข็ นึ้ ธรรมมาสน์ เทศน์จนจบ  มีคนชงกาแฟถวาย  แต่เผลอตักเกลือใส่แทนน�้ำตาล หลวงปู่จิบกาแฟไปหนึ่งค�ำ  แล้วก็บอกโยมว่า  “โอ้ดีเนาะ  ดีๆ”  แล้วก็ วาง ลูกศิษย์เห็นหลวงปู่ไม่ฉันกาแฟแล้ว  จึงอยากด่ืมต่อเพื่อเป็น สิริมงคล  คร้ันด่ืมกาแฟไม่ทันจะกลืนก็พ่นพรวดออกมา  “เค็มปี๋เลย  หลวงปู่ ฉันเขา้ ไปไดย้ งั ไง” “กด็ เี นาะ ฉนั กาแฟหวานๆ มานาน” หลวงปวู่ า่  “ฉนั เคม็ ๆ บา้ ง  ก็ดีเหมือนกัน” อีกเร่ืองหน่ึงซึ่งเป็นท่ีกล่าวขานกัน  คราวหนึ่งโจรได้ขึ้นกุฏิ หลวงปู ่ พร้อมกับเอาปนื จที้ า่ น แล้วประกาศวา่  “น่ีคอื การปล้น อย่า  ขดั ขืนนะหลวงป่”ู หลวงปู่แทนที่จะสะทกสะท้าน  กลับยิ้มให้โจร  แล้วกล่าวว่า  “ปล้นกด็ ีเนาะ”  164

โจรชะงักด้วยความแปลกใจ  ถามหลวงปู่ว่า  ถูกปล้นท�ำไมถึง ว่าดี  หลวงปู่ตอบว่า  “ท�ำไมจะไม่ดีล่ะ  ก็ข้าต้องทนทุกข์ทรมานเฝ้า  ไอ้สมบัติบ้าๆ  น่ีต้ังนานแล้ว  เอ็งเอาไปเสียให้หมดข้าจะได้ไม่ต้อง  เฝา้ มันอีก” โจรขู่ว่า  น่ีไม่ใช่แค่ปล้นนะ  แต่เขาตั้งใจจะฆ่าหลวงปู่ด้วย  เพื่อ ปิดปากเจ้าทรัพย ์ “ฆ่าก็ดีเนาะ” หลวงปู่ตอบ โจรแปลกใจจงึ ถามวา่  ถกู ฆา่ มนั ดตี รงไหน หลวงปตู่ อบวา่  “ขา้   มนั แกแ่ ลว้  ตายเสยี ได้ก็ด ี จะได้ไมท่ กุ ขร์ ้อนอะไร”  โจรรสู้ กึ ออ่ นใจเลยบอกวา่  “ถา้ อยา่ งนน้ั ฉนั ไมฆ่ า่ หรอก” “ไมฆ่ า่   ก็ดีเนาะ” โจรสงสัยถามหลวงปวู่ ่า “ท�ำไมฆา่ ก็ด ี ไมฆ่ า่ ก็ดีอีก” หลวงปตู่ อบวา่  “การฆา่ มนั เปน็ บาป เอง็ จะตอ้ งชดใชเ้ วรทงั้ ชาตนิ  ้ี และชาตหิ นา้  อยา่ งนอ้ ยตำ� รวจเขาจะตอ้ งตามจบั เอง็ เขา้ คกุ  เขา้ ตะราง  หรือไมก่ ็ถูกฆา่ ตาย ตายแล้วกย็ ังตกนรกอีก” ในที่สุดโจรก็เปลี่ยนใจ บอกหลวงปู่  “ถ้าอย่างนั้นฉันไม่ปล้น  หลวงปู่แลว้ ” หลวงปู่ตอบเหมอื นเดมิ วา่  “ไม่ปลน้ กด็ ีเนาะ” 165 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

โจรผู้นี้ภายหลังได้ส�ำนึกบาป  มอบตัวกับต�ำรวจ  เม่ือพ้นโทษ ออกมา  ก็ขอบวชกับหลวงปู่ เป็นเพราะหลวงปู่มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ  ขณะเดียวกับค�ำว่า “ดเี นาะ” ของทา่ นกเ็ ตอื นใจใหผ้ คู้ นรจู้ กั หาประโยชนจ์ ากเหตกุ ารณต์ า่ งๆ ทเ่ี กดิ ขน้ึ  ไมว่ า่ ดหี รอื รา้ ย เปน็ เสมอื นการสอนธรรมทกี่ ระชบั สน้ั  แตม่ ี ความหมายลึกซ้ึง  ดังนั้นเมื่อท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชน้ั เทพ จงึ มรี าชทนิ นามวา่  “สาธอุ ทุ านธรรมวาท”ี  ซงึ่ แปลวา่  “ผูส้ อนธรรมโดยกลา่ วคำ� วา่ ดเี นาะ” ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสเป็นเวลานานถึง  ๖๒  ปี  จน กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๓ จึงไดถ้ งึ แก่มรณภาพลง สริ ิอายุ ๙๘ ปี 166

พระเทพวสิ ุทธาจารย์ (หลวงปดู่ เี นาะ) นามเดมิ  บุ ปลดั กอง  กำ� เนดิ  พ.ศ. ๒๔๑๕ ชาตภูม ิ บา้ นดู ่ ต�ำบลบา้ นดอน อำ� เภอปักธงชยั  จังหวัดนครราชสมี า อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ วัดบา้ นบ่อน้อย ต�ำบลเชยี งยืน อำ� เภอเมืองจังหวดั อดุ รธานี  มรณภาพ ๑๐ มนี าคม ๒๕๑๓ สริ ิอายุ ๙๘ ปี เม่ืออุปสมบทท่านได้รับฉายาว่า  “ปุฺสิริ”  จ�ำพรรษา  อยู่ท่ีวัดบ้าน โนนสว่าง  บ้านทุ่งแร่  เมื่ออยู่ครบ  ๓  พรรษาท่านได้ย้ายไปจ�ำพรรษาอยู่ท่ีวัด มัชฌมิ าวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ “หลวงปดู่ เี นาะ” ตามปกตวิ สิ ยั  ทา่ นชอบอทุ านหรอื กลา่ วคำ� วา่  “ดเี นาะ” และค�ำว่า  “ส�ำคัญเนาะ”  ไม่ว่าเรื่องท่ีท่านได้รับฟังน้ัน  จะเป็นดีหรือเร่ืองร้าย เพยี งใดกต็ าม กจ็ ะเอย่ ปากอทุ านวา่  ดเี นาะ หรอื  สำ� คญั เนาะ และทา่ นจะเรยี ก คนทว่ั ไปรวมทงั้ พระภกิ ษแุ ละสามเณร หรอื คฤหสั ถ ์ วา่  “หลวง” จากคำ� อทุ าน หรอื คำ� พดู ทที่ า่ นหลวงปตู่ ดิ ปากนเ้ี อง ประชาชนและลกู ศษิ ยข์ องทา่ นหลวงปู่ จงึ ตงั้ ฉายา หรอื สมานาม ทา่ นหลวงปวู่ า่  “หลวงปดู่ เี นาะ” แมก้ ระทง่ั ในการ ไดร้ บั  พระราชทานเลอ่ื นสมณศกั ดข์ิ องทา่ นนนั้  ราชทนิ นามของทา่ นกย็ งั มคี ำ� วา่  “สาธอุ ทุ านธรรมวาท”ี  ซงึ่ แปลวา่  “ดเี นาะ” อยใู่ นราชทนิ นามของทา่ นดว้ ย ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดมัชฌิมาวาสนาน  ๖๓  ปี  ก่อนจะมรณภาพด้วย โรคชรา



ลกู ศษิ ยข์ องหลวงปมู่ น่ั  ภรู ทิ ตโฺ ตทม่ี ชี อ่ื เสยี ง สว่ นใหญเ่ ปน็ พระ ธรรมยตุ  แตท่ เี่ ปน็ พระมหานกิ ายกม็ ไี มน่ อ้ ย ทโี่ ดดเดน่ กค็ อื  หลวงพอ่ ทองรัตน์  กนฺตสีโล  หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย  และหลวงพ่อชา  สุภทฺโท ทงั้ สามองคน์ อกจากเปน็ ศษิ ยข์ องอาจารยท์ า่ นเดยี วกนั แลว้  ยงั มคี วาม สมั พนั ธใ์ นฐานะอาจารยแ์ ละศษิ ยด์ ว้ ย กลา่ วคอื หลวงพอ่ ทองรตั นเ์ ปน็ อาจารยข์ องหลวงปกู่ นิ ร ี สว่ นหลวงปกู่ นิ รเี ปน็ อาจารยข์ องหลวงพอ่ ชา หลวงพ่อทองรัตน์เม่ือคร้ังยังเป็นเด็ก  มีนิสัยไปทางนักเลง หัวร้ัน  ครั้นเป็นหนุ่มก็ชอบพูดจาคึกคะนอง  โผงผาง  และเป็นนักเลง สุรา  แต่ขยันขันแข็งในการท�ำงาน  เมื่อบวชก็ยังไม่ท้ิงนิสัยโผงผาง แต่ถ้าเปน็ การปฏิบตั ธิ รรมแลว้  ทา่ นเอาจริงเอาจงั มาก 169 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เม่ือบวชได้  ๖  พรรษา  ท่านได้ขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ เสาร์ กนฺตสีโล  และหลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต  หลังจากได้รับการฝึกฝน อบรมอยา่ งหนกั แลว้  ทา่ นไดร้ บั มอบหมายจากหลวงปมู่ นั่ ใหไ้ ปจำ� พรรษา ที่ถ้�ำแห่งหน่ึง  โดยพระอาจารย์ใหญ่ก�ำชับว่าถ้าไม่ครบ  ๓  พรรษาก็ ไมต่ ้องลงมา ในพรรษาแรกทถ่ี ำ�้ แหง่ นนั้  คนื หนงึ่ ขณะทท่ี า่ นกำ� ลงั นงั่ สมาธอิ ยู่ ได้ยินเสียงกึกก้องราวฟ้าจะทลาย  ภูเขาทั้งลูกส่ันสะเทือนราวกับ แผน่ ดนิ ไหว ทา่ นรสู้ กึ กลวั จบั ใจ ขนและผมลกุ ชชู นั  เหงอ่ื ออกทว่ มตวั เม่ือความกลัวถึงขีดสุด  ก็ได้ยินเสียงกระซิบท่ีหูว่า  “ในสากลพิภพน ี้ สรรพสัตว์ตลอดท้ังเทพ  พรหม  ยม  ยักษ์  ทั้งหลายท้ังปวง  ล้วน  เคารพและย�ำเกรงต่อพระพุทธเจา้ ทั้งส้ิน เราเป็นลูกศิษย์พระตถาคต  จะไปกลัวอะไร” เม่ือได้ยินเช่นน้ันสติของท่านก็กลับคืนมา  ความกลัวหายไป ความแกล้วกล้ามาแทนที่  นับแต่นั้นความกลัวไม่เคยเกิดขึ้นกับท่าน อีกเลย  ท่านเล่าถึงเหตุการณ์คร้ังน้ันว่า  “อาการหายกลัวคร้ังนี้มี อานภุ าพมากกวา่ ครง้ั ทผ่ี า่ นมาหลายรอ้ ยพนั เทา่  เดนิ จงกรม นง่ั สมาธิ มีแต่ความเยือกเย็น  สบาย  ข้าวปลาอาหารไม่หิว  เป็นอยู่  ๗  วัน ๗  คืน  นอนก็ไม่นอน” 170

ว่ากันว่าถ้�ำนั้นมีพระธุดงค์ไปมรณภาพหลายรูปแล้ว  ถ้าไม่ เขม้ แขง็  อดทนตอ่ ความยากลำ� บาก อกี ทงั้ มภี มู จิ ติ ภมู ธิ รรมทกี่ ลา้ แขง็ กอ็ ยยู่ าก แตท่ า่ นกส็ ามารถภาวนาแตผ่ เู้ ดยี วในถำ�้ นนั้ ตลอด ๓ พรรษา เมอ่ื ครบก�ำหนด ทา่ นไดล้ งมากราบหลวงปมู่ นั่  และเลา่ เรอ่ื งตา่ งๆ ให้ ฟัง  หลวงปู่มั่นออกปากว่า  “ทองรัตน์  เดี๋ยวนี้จิตของท่านเท่ากับ  จติ ของผมแล้ว ตอ่ ไปน้ีท่านจะเทศนจ์ ะสอนคนอนื่ ก็จงสอนเถิด” ทา่ นยงั เลา่ ถงึ ประสบการณก์ ารภาวนาทภ่ี เู ขาลกู หนงึ่ วา่  ขณะที่ เดนิ จงกรม มใี บไผร่ ว่ งลงมาตรงทางเดนิ มากมาย แลว้ มลี มหมนุ อยา่ ง แรง  จู่ๆ  อากาศก็กลายเป็นน�้ำ  ใบไผ่กลายเป็นปลาหลดมากมาย แหวกวา่ ยอย ู่ ปรากฏการณด์ งั กลา่ วเกิดข้ึนอยู่นาน ท่านรู้ทันทีว่านี้เป็นนิมิต  จึงตะโกนว่า  “ใบไผ่ผีบ้า  หน้าหมา  โคตรพ่อโคตรแมม่ ึง มึงหลอกกู ใบไผ่ก็เปน็ ใบไผ่ อากาศกเ็ ปน็ อากาศ  มึงอยา่ มาหลอกก ู สิง่ ใดเกดิ  สิง่ น้ันกด็ ับ”  ประโยคหลังท่านพูดซ�้ำๆ  “สิ่งใดเกิด  สิ่งน้ันก็ดับ”  ในที่สุด นิมิตนั้นกห็ ายไป ทกุ อยา่ งกลับคนื เหมอื นเดิม หลวงพอ่ ทองรตั นช์ อบธดุ งคเ์ ปน็ วตั ร บางครงั้ กไ็ ปอยชู่ ว่ ยครบู า อาจารย์  คอยดูแลพระเณรไม่ให้ประพฤติตัวนอกลู่นอกทาง  ซึ่ง ก็ได้ผลเพราะพระเณรกลัวท่านมาก  เน่ืองจากท่านใช้วิธีถึงลูกถึงคน 171 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

นอกจากพดู ตำ� หนติ รงๆ ไม่ออ้ มค้อมแลว้  บางคร้งั กใ็ ชว้ ิธแี รงๆ คราวหนึ่งมีพระรูปหนึ่งภาวนาผิดทาง  เกิดหลงขึ้นมา  คิดว่า ตนเองเหาะได้  จึงส่งเสียงเอะอะโวยวายด้วยความดีใจ  จึงขอให้ หลวงปู่เสาร์จัดการ  ท่านเดินตรงไปยังพระรูปน้ันทันที  แล้วใช้ก�ำปั้น อัดที่กกหูเต็มแรง  จนพระรูปนั้นถึงกับล้มกองกับพ้ืน  สักพักก็ได้สติ กลบั คนื มา นเ้ี ปน็ วิธแี กอ้ ารมณข์ องหลวงพ่อทองรตั น์ ทไี่ มเ่ หมอื นใครและ ไมม่ ีใครเหมอื น ในช่วงปัจฉิมวัย  ท่านได้มาพ�ำนักที่ป่าช้าบ้านคุ้ม  อ�ำเภอวาริน- ช�ำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี  และอยู่อย่างต่อเน่ืองนานกว่า  ๑๐  ปี จนกลายเปน็ วัดปา่ บ้านคุ้ม ทา่ นเขม้ งวดในการสอนพระเณรมาก ทา่ นเคยกลา่ ววา่  “ใครมา  บวชปฏิบัติในส�ำนักนี้  ให้มีความพากเพียรน่ังสมาธิ  เดินจงกรม  อย่า  ให้น้อยกว่า  ๓  ช่ัวโมง  วันหนึ่งกับคืนหน่ึงให้กิเลสเอาไป  ๒๑  ชั่วโมง  ถ้าท�ำความเพียร  ท�ำจิตให้สงบจากกิเลสได้ไม่ถึง  ๓  ชั่วโมงต่อวัน  เป็นอย่างน้อย  ออกพรรษาให้สึกออกไปช่วยพ่อแม่ท�ำไร่ท�ำนา  ช่วย  พ่อแม่ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ดีกว่ามาบวชไมม่ คี วามเพียร” 172

ท่านยังย้�ำอีกว่า  “ท�ำความเพียรน้อยกว่า  ๓  ช่ัวโมง  เอาชนะ  กิเลสไม่ได้หรอก  มรรคผลนิพพานโน่น  อยู่ฟากตายโน้น  ต้องกินน้อย  นอนนอ้ ย ขยันมาก อดทนมาก ไมก่ ลัวลำ� บาก ไม่กลวั กิเลส เอาชนะ  กเิ ลสใหไ้ ด ้ จงึ จะเหน็ มรรคผลนิพพาน” ในปีท่ีท่านจะมรณภาพ  ท่านบอกให้ชาวบ้านหาฟืนมาไว้ให้เต็ม โรงครัว  ท่านให้เหตุผลว่า  “  ปีน้ีจะมีการใช้ฟืนมาก”  นอกจากนั้นยัง ทำ� ใหท้ ำ� ซมุ้ โคง้ ประตทู างเขา้ วดั  เพราะ “จะมรี ถยนตม์ ามาก” ชาวบา้ น ได้ยินแล้วก็แปลกใจมากเพราะแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยมีรถยนต์เข้าถึง หมบู่ ้านเลย หลังจากน้ันไม่นาน  ท่านก็ปวดท้องอย่างกะทันหัน  อาพาธได้ เพยี ง ๒ วนั ก็มรณภาพในวันท ี่ ๒๑ กันยายน ๒๔๙๙ สริ ิอายุ ๖๘ ปี 173 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล



เอ่ยช่ือ  หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ  ไม่มีชาวอีสานคนใดที่ไม่รู้จัก ส่วนใหญ่รู้จักกิตติศัพท์ของท่านในทางคาถาอาคม  และเครื่องราง ของขลงั  ยงิ่ มขี า่ วลอื วา่ คนนน้ั คนนร้ี อดตายจากอบุ ตั เิ หต ุ เชน่  ตกึ ถลม่ รถคว่�ำ  เพราะมีพระเคร่ืองของท่านห้อยคอ  ผู้คนก็ยิ่งศรัทธาและ นบั ถอื ทา่ นมากขน้ึ  ตา่ งพากนั มาหาทา่ นจากทกุ สารทศิ  เพอื่ หวงั บารมี ของท่านค้มุ หัวหรอื อำ� นวยโชคลาภ แมม้ หี ลายคนทส่ี มหวงั  แตก่ ม็ ไี มน่ อ้ ยทผ่ี ดิ หวงั  วนั หนง่ึ มหี ญงิ ผหู้ นงึ่ มาตอ่ วา่ ทา่ นวา่  “ลกู ชายไดเ้ อาโฉนดทด่ี นิ มาใหห้ ลวงพอ่ เหยยี บ  แล้ว  ท�ำไมยังขายที่ไม่ได้”  ท่านตอบว่า  “ก็มึงเอาแต่ใจมึงเอง  มึง  ไม่เอาใจคนซ้ือเขา  ให้กูเหยียบจนตีนบวมมึงก็ขายไม่ได้ด๊อก  ถ้ามึง  เอาใจคนซอื้  มึงก็ขายได้” 175 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

อีกคราวหนึ่งมีคนมาต่อว่าท่านว่า  “ลูกชายฉันก็ห้อยเหรียญ  ของหลวงพ่อ  แล้วท�ำไมมันขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนกับรถสิบล้อตายได้”  หลวงพ่อตอบว่า “ก็ลูกมึงมันขี่เร็วตั้ง  ๑๒๐  กิโล  ตอนมันข่ีถึง  ๘๐  กูก็โดดลงแล้ว” เคยมีลูกศิษย์ทักท้วงท่านว่า  หลวงพ่อมอบวัตถุมงคลให้แก่ ทุกคน  ไม่เว้นแม้กระท่ังโจรผู้ร้าย  อย่างนี้ไม่บาปหรือ  ท่านตอบว่า “ใครขอกูก็ให้  ไม่เลือกยากดีมีจน  กูจะไปรู้หรือว่ามันเป็นใคร  ถ้ามัน  เป็นโจร  เม่ือมันได้รับประโยชน์จากของที่กูแจก  มันคงคิดได้ว่าเป็น  เพราะพระศาสนา มันจะได้เขา้ มาสนใจปฏิบตั ิธรรม” หลวงพ่อคูณเป็นผู้ท่ีมีเมตตาสูง  ท่านอยากช่วยเหลือชาวบ้าน โดยเฉพาะคนที่ตกทุกข์ได้ยาก ท่านจึงไม่ค่อยขัดศรัทธาญาตโิ ยม ใคร ขออะไร หากไมเ่ กนิ เลยทา่ นกม็ กั ให ้ แตใ่ นเวลาเดยี วกนั ทา่ นกพ็ ยายาม เตือนผู้คนว่าอย่ามัวแต่พึ่งท่านหรือเคร่ืองรางของขลังของท่าน จนประมาทหรอื ละเลยการท�ำกจิ ของตน วตั ถมุ งคลของทา่ นจะดวี เิ ศษ แคไ่ หน หากเจา้ ของตงั้ อยใู่ นความประมาท หรอื ไมม่ คี วามเพยี รพยายาม กม็ ิอาจประสบความสำ� เรจ็  หรือมีโชคลาภได้ สมัยที่ท่านยังไม่มีช่ือเสียงโด่งดัง  ท่านเคยไปจ�ำพรรษาที่วัด แห่งหนึ่ง  พระที่วัดนั้นประหลาดใจที่ท่านรู้อนาคตได้แม่นย�ำ  เป็นที่ เลื่องลือจนมีญาติโยมมาหาท่านไม่ขาด  พระรูปหนึ่งอดสงสัยไม่ได้จึง 176

ไปถามทา่ นวา่ ทา่ นทำ� ไดอ้ ยา่ งไร หลวงพอ่ ชไ้ี ปทน่ี กตวั หนงึ่  แลว้ บอกวา่ “นกมันบอกกระมัง”  ไม่ว่าพระรูปน้ันจะซักไซ้อย่างไร  ท่านก็ไม่พูด หนกั เขา้ ทา่ นกบ็ อกวา่  “กกู เ็ ดาสง่ ไปอยา่ งนนั้ แหละ อยา่ ถอื เปน็ อารมณ์  เลย” เคยมีคนถามหลวงพ่อว่า  ถ้าเรียกหลวงพ่อว่าพระอริยเจ้าจะ ได้ไหม  ท่านมองหน้าผู้พูดและกล่าวว่า  “กูหรืออริยเจ้า  ตัวกูเองยัง  เอาไม่รอดเลย จะเป็นอริยเจา้ ได้อย่างไร อย่างดีก็เป็นได้แค่หลวงตา  แกๆ่  ขอชาวบา้ นเขากินไปวนั ๆ เท่านนั้ ” นอกจากการสงเคราะห์ญาติโยมด้วยธรรมะและการเป็นที่พึ่ง ทางใจแล้ว  การช่วยเหลือด้วยวัตถุท่านก็ใส่ใจอย่างมาก  เงินท่ีผู้คน นำ� มาถวายทา่ น รวมทงั้ เงนิ จากการเชา่ วตั ถมุ งคลทงั้ หลาย ทา่ นนำ� ไป บริจาคเพ่ือสาธารณประโยชน์เป็นประจ�ำ  เช่น  สร้างโรงเรียน  โรง พยาบาล  มหาวิทยาลัย  ถนนหนทาง  รวมแล้วน่าจะเป็นจ�ำนวนนับ พันล้านบาท  มีคราวหนึ่งหลวงพ่อถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา  ๗๒  พรรษา  เป็นเงิน  ๗๒  ล้าน บาท มคี นมาทกั วา่ ทา่ นควรถวาย ๗๓ ลา้ นบาท จงึ จะถกู  ทา่ นตอบวา่ “ดแี ลว้  ถกู แลว้  มงึ เอามาลา้ นหนงึ่  รวมกบั ของก ู จะไดเ้ ปน็  ๗๓ ลา้ น” ปรากฏวา่ ผูท้ ีพ่ ูดทกั น้ันถึงพูดไมอ่ อก 177 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

แม้หลวงพ่อคูณจะปรารภด้วยความถ่อมตนเสมอว่า  ท่านเป็น หลวงตาแก่ๆ  ความรู้น้อย  แต่ท่านเป็นผู้ท่ีมีปฏิภาณ  และฉลาดใน การเปรยี บเปรย สทุ ธชิ ยั  หยนุ่  นกั หนงั สอื พมิ พช์ อ่ื ดงั  เคยถามทา่ นวา่ “หลวงพ่อ  วัตถุมงคลของวัดเป็นท่ีนิยมมากมาย  หลวงพ่อไม่กลัวจะ  มีร่ัวไหลบ้างหรือ  หลวงพ่อท�ำอย่างไร”  หลวงพ่อเอาไม้เคาะท่ีศีรษะ ทีละคน  แล้วตอบว่า  “ไอ้หัวล้าน  มึงจะให้กูสับหมูไม่มีเศษติดเขียง  เลยหรือ” หลวงพ่อคูณได้รับสมณศักด์ิเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเม่ือ อาย ุ ๖๙ ป ี หลงั จากนนั้  ๑๒ ปกี ไ็ ดเ้ ลอื่ นสมณศกั ดเิ์ ปน็ พระราชาคณะ ช้ันเทพ  แต่ท่านก็ยังปฏิบัติตนเหมือนเดิมไม่เปล่ียนแปลงไปจากเดิม สมัยเป็นพระบ้านนอก  หน่ึงในน้ันคือ  การเรียกตนเองว่า  ‘กู’  เรียก ญาติโยมว่า  ‘มึง’  รวมทั้งนั่งยองๆ  จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท่าน เคยมีคนถามทา่ นเรือ่ งน้ ี ทา่ นตอบวา่   “เพราะสัญชาตญาณกูถนัดอย่างนี้  กูก็นั่งตามถนัดกู  กูพูด  กบั ใคร มนั กม็ แี ตก่ กู บั มงึ  พวกข้าราชการทกุ ระดบั  จะเปน็ ขน้ั ไหน กกู ็  ไมไ่ ปเจรญิ พรคณุ ทา่ นกบั มนั ...กไู มเ่ ปน็  มแี ตก่ กู บั มงึ  ทกุ ตวั คนภายใน  แผ่นดินไทยนี้ จะเป็นผู้บัญชาการต�ำรวจ  ผู้บังคับบัญชาการทหาร  อะไรก็แลว้ แต่ กไู ม่เคยพดู คณุ กับมัน” 178

พ.ศ. ๒๕๓๕ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี เสด็จฯ ทรงยกชอ่ ฟ้าอโุ บสถ เททองหลอ่ พระประธานวัดบ้านไร่ ก่อน ถงึ วนั เสดจ็ ฯ ขา้ ราชการหลายคนไดก้ ำ� ชบั หลวงพอ่ ใหร้ ะมดั ระวงั สำ� นวน ท่ีใช้อยู่ประจ�ำ  รวมทั้งแนะน�ำการใช้ค�ำราชาศัพท์ท่ีถูกต้อง  ว่ากันว่า เมือ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี เสด็จฯ มาท�ำ พิธีเสร็จแล้ว  ตรัสถามอะไรก็มีแต่ข้าราชการช้ันผู้ใหญ่คอยถวาย ค�ำอธิบาย  ส่วนหลวงพ่อคูณนิ่งเงียบ  ซ้�ำมีท่าทางอึดอัดจนผิดปกติ ในทสี่ ดุ จงึ ตรสั ถามหลวงพอ่ คณู วา่  “ทำ� ไมหลวงพอ่ ไมพ่ ดู กบั หนลู ะ่ คะ” หลวงพ่อคูณตอบว่า  “ก็ไอ้น่ีมันไม่ให้กูพูดกับมึง”  ว่าแล้วก็ช้ีน้ิวไปที่ นายอำ� เภอดา่ นขุนทด สามปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนาง เจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ เสดจ็ ฯ มายงั วดั บา้ นไร ่ เพอื่ ทรงประกอบพธิ ี บรรจพุ ระบรมสารรี กิ ธาตทุ บี่ ษุ บกเหนอื พระอโุ บสถวดั บา้ นไร่ หลงั จาก ที่เสด็จฯ  กลับ  ลูกศิษย์ถามหลวงพ่อว่า  “ในหลวงตรัสอะไรกับหลวง  พ่อบ้าง”  หลวงพ่อคูณตอบมาว่า  “มึงรู้ไหม  มือพระองค์เป็นมือคน  ทำ� งานอยา่ งกะ๊ ชาวไรช่ าวนา แขง็ กระดา้ งมากๆ” เมอื่ ถกู ถามวา่  หลวง พอ่ ใชค้ ำ� เรยี กพระองคว์ า่ อะไร หลวงพอ่ ตอบวา่  ประโยคแรกทพี่ ระองค์ รับส่ังก็คอื  “หลวงพ่อครบั  พดู ตามปกตนิ ะครบั  ผมเป็นคนไทย” 179 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

หลวงพอ่ คณู  ปรสิ ุทโฺ ธ วดั บ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสมี า นามเดิม คณู  ฉัตรพ์ ลกรัง  ก�ำเนิด  ๔  ตุลาคม  ๒๔๖๖ ชาตภมู  ิ บา้ นไร่ อำ� เภอดา่ นขุนทด จงั หวัดนครราชสมี า อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ วดั ถนนหกั ใหญ่ อำ� เภอด่านขนุ ทด จังหวดั นครราชสีมา  สมณศักด ์ิ พระเทพวทิ ยาคุณ มรณภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ สริ ิอายุ ๙๑ ป ี พรรษา ๗๑  เน่ืองจากโยมบิดามารดา  เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก  ท่านจึงอยู่ในความ อปุ การะของนา้ สาว เมอ่ื อายรุ าว ๖-๗ ขวบ ไดเ้ ขา้ เรยี นหนงั สอื  ทง้ั ภาษาไทย และภาษาขอม ไดร้ บั การสอนคาถาอาคม เพอื่ ปอ้ งกนั อนั ตรายตา่ งๆ เดก็ ชาย คณู จงึ มีความรใู้ นวชิ าไสยศาสตร์มาแตบ่ ดั นั้น เมอ่ื อปุ สมบทแลว้  ทา่ นไดฝ้ ากตวั เปน็ ศษิ ยห์ ลวงพอ่ แดง วดั บา้ นหนอง- โพธิ์  หลวงพ่อแดง  พาไปฝากตัวเป็น  ลูกศิษย์หลวงพ่อคง  พุทธสโร  ซึ่งได้ แนะน�ำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาล�ำเนาไพร  ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูง ตอ่ ไป ทา่ นเคยธดุ งคไ์ ปถงึ ประเทศลาวและประเทศกมั พชู า บำ� เพญ็ กรรมฐาน อย่างเข้มข้น หลังจากนัน้ จึงได้กลับส่ถู ิน่ เกดิ ทบี่ า้ นไร ่ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๙๖  หลวงพอ่ คณู เปน็ พระทเี่ ปย่ี มดว้ ยเมตตากรณุ ามาก สงเคราะหญ์ าตโิ ยม โดยไมเ่ ลอื กหนา้  อกี ทงั้ ยงั มอบเงนิ บรจิ าคจำ� นวนมากมายนบั ไมถ่ ว้ นเพอื่ สรา้ ง

โรงพยาบาลและโรงเรยี นหลายแหง่   พินัยกรรมท่ีหลวงพ่อคูณท�ำไว้  เมื่อวันท่ี  ๒๕  มิถุนายน  ๒๕๔๓  มี ใจความส�ำคัญ  ระบุให้มอบสังขารแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ภายในเวลา ๒๔  ช่ัวโมงนับแต่มรณภาพ  เพื่อให้นักศึกษาแพทย์น�ำไปศึกษาค้นคว้า  ส่วน การประกอบพิธบี ำ� เพ็ญกศุ ล เมือ่ ส้ินสุดการศึกษาค้นควา้  ของภาควิชากาย- วิภาคศาสตร์ฯ  มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว  ให้จัดอย่างเรียบง่าย  ละเว้นการ พิธีสมโภชใดๆ  ท้ังห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ  โกศ  และพระราชพิธี  อื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ  โดยให้คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัย ขอนแก่น  ประกอบพิธี  เช่นเดียวกับที่จัดให้แก่อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษา แพทยป์ ระจำ� ป ี ร่วมกับอาจารยใ์ หญท่ า่ นอ่ืน



หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ถือก�ำเนิดเม่ือวันท่ี  ๔  ตุลาคม  ๒๔๓๑ ดงั นน้ั เมอ่ื ถงึ เดอื นตลุ าคม ๒๕๒๖ คณะศษิ ยจ์ งึ จดั งานฉลองในโอกาส ที่ท่านมีอายุครบ  ๘  รอบ  หรือ  ๙๖  ปีบริบูรณ์  โดยก�ำหนดจัดงาน วันที่ ๒๙ ตลุ าคม หน่ึงวันก่อนเร่ิมงานหลวงปู่มีอาการผิดปกติตั้งแต่เช้ามืด  คือ อ่อนเพลีย  ปวดเม่ือยตามร่างกาย  กระสับกระส่าย  ตัวร้อนคล้ายจะ เปน็ ไข ้ หลงั จากหมอมาตรวจรา่ งกายแลว้ ถวายยาใหฉ้ นั  รา่ งกายของ ทา่ นกด็ เู ปน็ ปกติแต่ยงั เพลียอยู่ 183 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ตลอดท้ังวันท่านได้สนทนาธรรมกับลูกศิษย์  น้�ำเสียงชัดเจน สติสัมปชัญญะสมบูรณ ์ ตอบคำ� ถามเก่ียวกับปฏิบัติข้ันปรมัตถ์ได้เป็น อย่างดี คณะศษิ ย์จึงคิดวา่ หลวงปู่คงไมเ่ ปน็ อะไร มีช่วงหนึ่งท่านปรารภว่า  “ในทางโลกเขามีส่ิงท่ีมี  แต่ในทาง  ธรรมมีส่ิงที่ไม่มี”  เมื่อมีผู้ถามถึงความหมาย  ท่านก็ขยายความว่า “คนในโลกนต้ี อ้ งมสี ง่ิ ทมี่  ี เพอื่ อาศยั สง่ิ นนั้ เปน็ อย ู่ สว่ นผปู้ ฏบิ ตั ธิ รรม ตอ้ งปฏบิ ตั จิ นถึงสง่ิ ท่ีไม่มี และอยู่กบั ส่ิงที่ไมม่ ี” วนั รงุ่ ขนึ้ ซง่ึ เปน็ วนั เรม่ิ งานฉลองอายหุ ลวงป่ ู แตเ่ ชา้ ทา่ นมอี าการ กระสับกระส่ายเล็กน้อย  และปวดเท้าซ้ายข้ึนมาถึงบ้ันเอว  อีกท้ัง มีไข้ขึ้นเล็กน้อย ชีพจรมีอาการเต้นผิดปกต ิ อาการเปล่ียนไปมาแบบ ทรงๆ ทรดุ ๆ เมอ่ื หมอมาตรวจอาการ พบวา่ ความดนั อยใู่ นระดบั ปกติ คร้ันหมอจะถวายน�้ำเกลือเข้าเส้น  หลวงปู่ปฏิเสธ  สั่งให้เอาสายออก ท่านบอกว่าขออยู่เฉยๆ  ดีกวา่ คร้ันพระครูนันทปัญญาภรณ์ผู้เป็นศิษย์กราบเรียนว่า  จะพา หลวงปไู่ ปรกั ษาทโี่ รงพยาบาลในกรงุ เทพฯ ทา่ นรบี ตอบปฏเิ สธ โดยให้ เหตุผลว่า  “ถึงไปก็ไม่หาย”  ท่านพระครูฯ  เรียนว่า  “ครั้งก่อนหลวงปู่  หนกั กวา่ นย้ี งั หายได ้ ครงั้ นไี้ มห่ นกั เหมอื นแตก่ อ่ น ตอ้ งหายแนๆ่ ” ทา่ น ตอบว่า “น่ันมนั ครงั้ ก่อน น่ไี มใ่ ชค่ รงั้ กอ่ น” 184

ตอนบ่ายหลวงปู่หลับตาอยู่ในอาการสงบ  หายใจเป็นปกติแต่ แผว่ เบามาก เมอื่ ลมื ตาขนึ้ มา มอี าการผอ่ งใสสดชนื่ มาก ทา่ นพระครฯู เรียนถามท่านว่า  “หลวงปู่หลับหรือเข้าสมาธิขอรับ”  หลวงปู่ตอบว่า “พิจารณาลำ� ดบั ฌานอย”ู่ สโี่ มงเยน็ หลวงปอู่ อกมานง่ั รบั แขกขา้ งนอก หลงั จากนนั้ ไดก้ ลบั เขา้ หอ้ ง นอนนงิ่ เฉย ศษิ ยส์ งั เกตวา่  ผวิ ของทา่ นเปลง่ ปลง่ั ผดิ ธรรมดา ประมาณหน่ึงทุ่ม  หลวงปู่ลืมตาขึ้น  จากน้ันได้สั่งให้พระท่ีคอยดูแล รบั ใชท้ า่ นซงึ่ มปี ระมาณ ๘ - ๙ รปู สวดมนตใ์ หท้ า่ นฟงั  พระเหลา่ นนั้ เรม่ิ ฉงนสงสัย แต่ก็พรอ้ มใจกนั สวดมนตเ์ จด็ ตำ� นานจนจบ จากนน้ั หลวงปบู่ อกใหส้ วดเฉพาะโพชฌงคสตู ร รวม ๓ จบ แลว้ สวดปฏิจจสมุปบาท  อีก ๓ จบ  คืนน้ันบทสุดท้ายที่ท่านให้สวดคือ มหาสตปิ ฏั ฐานสตู ร เมอื่ สวดจบหลวงปยู่ งั อยใู่ นอาการปกต ิ มชี ว่ งหนงึ่ ท่านให้พาออกไปนอกกุฏิเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์  หลวงปู่เพ่งมองไปท่ี ศาลาหน้ากุฏิของท่าน  ซ่ึงมีพระเณรและฆราวาสจ�ำนวนมาก  ชุมนุม ปฏิบัติธรรมอยู่  จากน้ันท่านได้กวาดสายตามองไปรอบๆ  วัด  ราวกับ จะให้ศีลใหพ้ รและอ�ำลาลูกศษิ ยข์ องทา่ น ตีสองของวันท่ี  ๓๐  ตุลาคม  หลวงปู่แสดงธรรมให้แก่ลูกศิษย์ ในหอ้ งเรอื่ ง “ลกั ษณาการแหง่ พทุ ธปรนิ พิ พาน” โดยอยใู่ นอริ ยิ าบถ นอนหงาย น�ำ้ เสียงปกติธรรมดา 185 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ท่านได้บรรยายอยา่ งเปน็ ขนั้ ตอน สุดท้ายได้กลา่ ววา่ “พระองคไ์ มไ่ ดเ้ ข้าสพู่ ระนพิ พานในฌานสมาบตั อิ ะไรทไ่ี หนหรอก  เม่ือพระองค์ออกจากจตตุตถฌานแล้ว  จิตขันธ์หรือนามขันธ์ก็ดับ  พร้อมไม่มีอะไรเหลือ  ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบง�ำอ�ำพรางให้หลงใหล  ใดๆ ทงั้ สนิ้  เปน็ ภาวะแหง่ ตนเองอยา่ งบรบิ รู ณ ์ ภาวะอนั นน้ั จะเรยี กวา่   “มหาสุญญตา”  หรือ  “จักรวาลเดิม”  หรือเรียกว่า  “พระนิพพาน”  อย่างใดอยา่ งหน่งึ กไ็ ด้” แลว้ ท่านกส็ รุปวา่  “เราปฏบิ ัติมากเ็ พอ่ื ถึงภาวะอนั นี้” หลังจากนน้ั ท่านก็ไมพ่ ดู อะไรอีกเลย ประมาณตสี ามหลวงปนู่ อนสงบนงิ่  หายใจเบาๆ คลา้ ยนอนหลบั ปกต ิ ศษิ ยท์ กุ คนรดู้ วี า่ ทา่ นใกลจ้ ะละสงั ขารแลว้  จงึ ไมร่ บกวนทา่ น เพอื่ ใหท้ ่านปลอ่ ยวางสงั ขารตามสบาย ไมม่ ใี ครทราบวา่ หลวงปลู่ ะสงั ขารตอนไหน ผทู้ พ่ี ยาบาลดา้ นซา้ ย เชอื่ วา่ หลวงปหู่ ยดุ หายใจเวลา ๐๔.๑๓ น. สว่ นผทู้ เี่ ฝา้ ดา้ นขวา เขา้ ใจ วา่ ลมหายใจของหลวงปสู่ นิ้ สดุ เวลา ๐๔.๔๓ น. นบั เปน็ การละสงั ขาร ที่นมุ่ นวลแผว่ เบามาก ราวกบั ใบไมแ้ หง้ ทีค่ ่อยๆ รอ่ นสูพ่ ้ืน 186

“นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอย  เป็นความ  งดงาม  บริสุทธ์ิ  และสงบเย็นอย่างส้ินเชิง”  พระครูนันปัญญาภรณ์ ตัง้ ขอ้ สังเกต หลายปีก่อนหน้าน้ันหลวงปู่ได้เคยไปเย่ียมศิษย์รูปหน่ึงซึ่งใกล้ จะมรณภาพ ทา่ นไดก้ ลา่ วแนะนำ� สน้ั ๆ วา่  “การปฏบิ ตั ทิ งั้ หลายทเ่ี รา พยายามปฏบิ ตั มิ า กเ็ พอื่ จะใชใ้ นเวลานเ้ี ทา่ นนั้  เมอ่ื ถงึ เวลาทจี่ ะตาย ใหท้ ำ� จติ เปน็ หนง่ึ  แลว้ หยดุ เพง่  ปลอ่ ยวางทงั้ หมด” เมอื่ ถงึ วาระของ หลวงปู่  ท่านได้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่ลูกศิษย์  ท่ียาก จะลมื เลือนได้ 187 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล



ครบู าอาจารยผ์ ปู้ ฏบิ ตั ดิ ปี ฏบิ ตั ชิ อบทง้ั หลาย ชวี ติ ของทา่ นไมไ่ ด้ นา่ ศกึ ษาเรยี นรเู้ มอ่ื ครองผา้ กาสาวพสั ตรแ์ ลว้ เทา่ นน้ั  ประสบการณใ์ น วัยหนุ่มของท่านขณะเป็นคฤหัสถ์ก็มักมีเรื่องน่าสนใจ  เพราะบ่งบอก ถงึ อปุ นสิ ยั บางอยา่ งของทา่ น ทส่ี ง่ ผลใหด้ ำ� รงเพศพรหมจรรยไ์ ดอ้ ยา่ ง มัน่ คง หาไมก่ ็สะทอ้ นถงึ จุดหกั เหทนี่ �ำไปสู่ชวี ิตทงี่ ดงาม หลวงพอ่ ชา สภุ ทโฺ ท เคยบวชเณรเมอ่ื อาย ุ ๑๓ ป ี หลงั จากนน้ั ๓  ปีก็ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน  ใช้ชีวิตไม่ต่างจากคนหนุ่มท้ังหลาย คือเม่ือวา่ งจากการทำ� ไร่ทำ� นากเ็ ทีย่ วเตรส่ นกุ สนาน 189 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ชว่ งนั้นหนมุ่ ชาได้ไปมาหาสกู่ บั รุ่นพค่ี นหนึง่ ซึ่งนับถอื กันเหมอื น พนี่ อ้ ง รนุ่ พคี่ นนเี้ คยบวชพระแตต่ อ่ มาไดส้ กึ มาแตง่ งาน มลี กู ไดไ้ มน่ าน เขาก็ล้มป่วยและเสียชีวิต  หนุ่มชาได้ไปอยู่ช่วยงานศพตลอดงาน ครน้ั เผาศพแลว้ ก็ยงั พกั คา้ งคนื ทบ่ี ้านของผู้ตาย เพื่อเปน็ เพอ่ื นภรรยา และลูกๆ  ของเขา ตกดกึ คนื ทส่ี อง แมม่ า่ ยซง่ึ ยงั สาวไดล้ กุ จากหอ้ งมานอนอยขู่ า้ ง หนมุ่ ชาตรงชานบา้ น แลว้ ควา้ มอื เดก็ หนมุ่ ลบู ไลไ้ ปตามรา่ งกายของเธอ เจตนาเพอ่ื ปลกุ เรา้ ความรสู้ กึ ของเขา จะเปน็ เพราะแรงปรารถนาชวั่ วบู หรอื เพราะอยากได้เด็กหนมุ่ มาเป็นคู่ชวี ิตเพอื่ ช่วยท�ำมาหากนิ  ก็มิอาจ ทราบได้  แต่หนุ่มชาหาได้ตอบสนองไม่  กลับแกล้งหลับสนิทจนหญิง สาวตอ้ งเลิกราและลกุ กลับไปเอง ตอ่ มาหนมุ่ ชาไดพ้ บรกั กบั หญงิ สาวคนหนงึ่  เธอรบั ปากวา่ จะรอ ชายหนมุ่ บวชทดแทนคณุ พอ่ แมส่ กั หนงึ่ พรรษา จากนน้ั คอ่ ยแตง่ งานกนั ตอนนนั้ หนมุ่ ชาตงั้ ใจมน่ั จะทใ่ี ชช้ วี ติ รว่ มกบั เธอ “ผมฝนั วา่ จะมเี ขามาอย ู่ เคยี งขา้ งชว่ ยกนั ทำ� ไรท่ ำ� นา หากนิ กนั ไปตามประสาโลก” หลวงพอ่ ชา เล่าถึงความฝนั ของท่านในวัยหนุ่มใหแ้ ก่ลกู ศิษย์หลายปตี ่อมา แต่ยังไม่ทันท่ีหนุ่มชาจะได้บวช  เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น “อยมู่ าวนั หนง่ึ ผมกลบั จากนา สวนทางกบั เพอ่ื นรกั  เขาบอกผมวา่  ชา  อีนางเราเอาแล้วนะ  ผมฟังแล้วตัวชาไปหมด  ซึมไปหลายช่ัวโมง” 190

แม้จะเจ็บปวดกับความผิดหวัง  แต่หนุ่มชาก็ไม่ลืมท่ีจะท�ำตาม สญั ญาทไี่ ดใ้ หไ้ วก้ บั พอ่ แม ่ นนั่ คอื อปุ สมบทใหท้ า่ นไดเ้ กาะชายผา้ เหลอื ง แตแ่ ทนทจ่ี ะบวชแคห่ นงึ่ พรรษา ทา่ นไดบ้ วชตลอดชวี ติ  ไมเ่ พยี งมรณ- ภาพในผา้ เหลอื ง หากยงั กลายเปน็ พระสปุ ฏปิ นั โนทนี่ �ำความสวา่ งไสว สู่จิตใจของผู้คนมากมาย ทงั้ ในไทยและต่างประเทศ อีกท่านหน่ึงท่ีชีวิตวัยหนุ่มค่อนข้างโลดโผน  คือ  หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านเล่าว่าตอนเป็นหนุ่ม  ชอบตามเพื่อนๆ  ไปจีบสาว  สมัยน้ัน โอกาสที่ชายหนุ่มจะสนทนากับหญิงสาวเป็นเรื่องยาก  เพราะพ่อแม่ ฝ่ายหญิงกีดกัน  ผู้หญิงก็ต้องรักนวลสงวนนาง  ดังนั้นหากหนุ่มชอบ สาว  ก็ต้องเป็นฝ่าย  “รุก”  เอาเอง  วิธีหนึ่งก็คือ  “แอบจกสาว”  ใน ตอนกลางคืน  นั่นคือ  เจาะรูฝาบ้าน  (ซึ่งเป็นใบตองกุง)  แล้วเอามือ ล้วงเข้าไปจับตามตัวของผู้หญิง  หากหญิงสาวรู้ตัว  ร้องโวยวาย  จน พ่อแม่ตื่นขนึ้  ชายหนุ่มกต็ ้องรีบว่งิ หนใี ห้เร็วทส่ี ดุ หนมุ่ ชอบเหน็ เพอ่ื นทำ� อยา่ งนนั้  กอ็ ยากจะทำ� บา้ ง ตกกลางคนื ก็ ไปซมุ่ ใกลบ้ า้ นหญงิ สาวทห่ี มายปอง แตค่ นื นน้ั คนในบา้ นของหญงิ สาว นอนดึก  หนุ่มชอบรอแล้วรอเล่า  ไฟข้ีไต้ในบ้านของสาวก็ไม่ดับสักที ในทสี่ ดุ ชายหนุ่มกเ็ ผลอหลบั  มารสู้ ึกตัวอกี ทีก็เม่อื พอ่ ของสาวมาปลกุ ให้ต่นื  เพราะเช้าแล้ว เปน็ อนั วา่ แผนการจกสาวไม่ส�ำเร็จ 191 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ตอ่ มาหนมุ่ ชอบไดช้ อบพอกบั สาวนางหนง่ึ ชอ่ื พา เธอกม็ ใี จใหเ้ ขา พอ่ แมข่ องเธอกเ็ หน็ ดว้ ย จงึ ปลงใจวา่ จะแตง่ งานกนั  แตแ่ ลว้ มวี นั หนง่ึ ขณะที่ได้อยู่ใกล้กัน  หนุ่มชอบถือโอกาสถูกเน้ือต้องตัวหญิงสาว  ด้วย การยืน่ มือไปสมั ผสั หนา้ อกของเธอ บงั เอญิ เพอ่ื นของเธอเห็นเขา้  จึง พูดทักท้วง  สาวพาจึงร้องโวยวายและด่าทอชายหนุ่ม  เพ่ือเป็นการ แก้เขิน หนมุ่ ชอบทง้ั อายผคู้ นและโกรธหญงิ สาว แตต่ อ้ งยอมทน เพราะ ตัวเองเป็นฝ่ายผิด  ตอนน้ันเองท่ีหนุ่มชอบตัดสินใจว่าไม่ขอเอาเธอ มาเป็นเมีย  “ขนาดน้ียังด่าเราได้ถึงปานน้ี  ถ้าแต่งงานไปแล้วไม่ด่าเรา  เชา้ เย็นเข้าไปหรอื  ?” นบั แต่วนั นนั้ เขาก็ไม่มีใจให้เธออีกเลย ตามประเพณีอีสานเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว  ฝ่ายชายต้อง ชดใช้ค่าเสียหาย  พ่อแม่ของฝ่ายหญิงยื่นข้อเสนอ  ๓  ทาง  คือ  หนึ่ง แตง่ งานกนั  โดยเรยี กคา่ สนิ สอด ๕ บาท สอง ถา้ ไมแ่ ตง่ งานกบั ลกู สาว ของเขา ฝา่ ยชายจะตอ้ งถกู ปรบั  ๑๒ บาท สาม ถา้ ไมย่ อมรบั ทงั้ สอง ขอ้  กจ็ ะต้องตดิ คกุ ตดิ ตะราง แมข่ องหนมุ่ ชอบอยากใหล้ กู แตง่ งานกบั หญงิ สาว จะไดเ้ สยี เงนิ แค ่ ๕ บาท แตห่ นมุ่ ชอบยงั โกรธทถ่ี กู ผสู้ าวดา่  จงึ ปฏเิ สธทจ่ี ะแตง่ งาน และยอมเสียค่าปรับ  ๑๒  บาท 192

สุดท้ายพ่อแม่ของหนุ่มชอบต้องขายควายไป  ๕  ตัว  ได้เงินมา ๑๒ บาท จา่ ยเปน็ คา่ ปรบั  หากเทยี บเปน็ เงนิ สมยั นกี้ เ็ ปน็ จำ� นวนหลาย หมื่นบาท แม้ต้องสูญเสียเงินเป็นจ�ำนวนมาก  แต่ผลดีท่ีตามมาคือ  ท�ำให้ หนุ่มชอบมีโอกาสบวชและบวชได้นาน  จนกลายเป็นครูบาอาจารย์ท่ี มีลูกศษิ ยม์ ากมาย  “ถ้าบ่มีเหตกุ ารณ์น้ีเกิดข้นึ มาเป็นเรอื่ งเตอื นใจให้คิด เรากะบ่ได้  บวชงา่ ยๆ เรอื่ งรา้ ยแตก่ ลายเปน็ ดกี บั เจา้ ของ” คอื บทสรปุ ของหลวงปู่ ชอบ  ฐานสโม 193 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล



สมเดจ็ พระญาณสงั วร สมเดจ็ พระสงั ฆราช เปน็ พระสงั ฆราช องค์เดียวแห่งวัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นสามัญชน  ทรงเป็นชาวเมือง กาญจนบุรีโดยก�ำเนิด  คร้ังทรงพระเยาว์มีชื่อว่า  ดช.เจริญ  คชวัตร หลังจากโยมบิดาถึงแก่กรรม  ครอบครัวล�ำบากมาก  โยมป้าจึงขอไป อปุ การะเลย้ี งดูและสง่ เสยี จนเรียนจบประถม ๕ เดก็ ชายเจรญิ มสี ขุ ภาพไมด่ ตี ง้ั แตเ่ ลก็  เจบ็ ไขม้ าตลอด เคยปว่ ย หนัก  จนญาติผู้ใหญ่ถึงกับบนว่าถ้าหายดีเป็นปกติ  จะให้บวชแก้บน ดังน้ันเมื่อเด็กชายเจริญหายเป็นปกติ  จึงบรรพชาเป็นสามเณร ท่านเป็นผู้ใฝ่ในการศึกษา  จึงได้ไปเรียนท่ีส�ำนักวัดบวรนิเวศ  และได้ อุปสมบททีน่ น่ั  ไดฉ้ ายา สวุ ฑฒฺ โน 195 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

พระมหาเจริญมีความพากเพียรในการศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้เปรียญ  ๙  ประโยค  ซ่ึงเป็นประโยคสูงสุดเม่ืออายุ  ๒๙  ปี ตลอดเวลาที่ครองเพศบรรพชิต  ท่านได้รับการสนับสนุนจากโยมแม่ คือโยมกิมน้อย  เป็นอย่างยิ่ง  ตอนที่ท่านสอบได้เปรียญ  ๗  ประโยค โยมแม่ได้ถวายผ้าอาสนะซึ่งเย็บกับมือ  แต่ด้วยความเคารพนับถือ โยมแม่มาก  ท่านจึงมิได้ใช้น่ัง  แต่ใช้เป็นผ้ากราบพระ  ดังนั้นนอกจาก การบูชาคุณคุณพระรัตนตรัยแล้ว  ท่านยังได้กราบระลึกถึงโยมแม่ ซึ่งเป็นบุคคลส�ำคัญในชีวิตของท่าน  กระท่ังโยมมารดาเสียชีวิตแล้ว ท่านกย็ ังใชเ้ ปน็ ผา้ กราบอยู่เสมอ เหตุการณ์ผ่านพ้นไปหลายสิบปี  พระมหาเจริญได้เจริญใน สมณศกั ด ์ิ จนไดร้ บั สถาปนาเปน็ สมเดจ็ พระสงั ฆราช พระองคก์ ย็ งั ทรง บ�ำเพ็ญพระองค์ไม่ต่างจากเดิม  คือเคร่งครัด  เรียบง่าย  และมัธยัสถ์ ยังทรงใช้กระบอกกรองน้�ำแบบโบราณ  ออกจากวัดไม่สวมรองเท้า ฉันหนเดียวในบาตร  วันหน่ึงพระองค์เรียกพระอนิลมาน  ศากยะ  ผู้ช่วยเลขานุการ ของพระองค์เข้าพบ  แล้วตรัสถามหาผ้าอาสนะผืนหน่ึงว่าหายไปไหน ทา่ นอนลิ มานจำ� ไดว้ า่ เคยเหน็  แตค่ ดิ วา่ เปน็ เศษผา้ ขรี้ วิ้  พระองคถ์ งึ กบั กร้ิว  ตรัสว่า  “ผ้านี้เป็นของส�ำคัญของท่ีน่ี  เป็นผ้าท่ีโยมแม่ท�ำให้  ท่ีน ่ี คดิ ถงึ โยมแมก่ ไ็ ดก้ ราบผา้ ผนื นเี้ ปน็ ประจำ� ” คำ� วา่  ‘ทน่ี ’ี่  เปน็ สรรพนาม 196

ทีใ่ ชแ้ ทนพระองค์เวลาตรสั กับผู้ใกลช้ ดิ ทา่ นอนลิ มานรบี กลบั ไปหาทนั ท ี แตไ่ มพ่ บ จงึ ไปรอื้ ถงั ขยะกลาง ของวดั  แตก่ ไ็ มพ่ บอกี  ในทสี่ ดุ กพ็ บวา่ ผา้ ผนื นน้ั ซกุ อยใู่ นกองเศษผา้ ตรง ซอกใต้ท่ปี ระทับของพระองค์นัน้ เอง  ผ้าผืนน้ีแม้ดูไร้ค่าแต่มีความหมายอย่างย่ิง  สะท้อนถึงความ กตญั ญแู ละความผกู พนั อนั ลกึ ซง้ึ ทส่ี มเดจ็ พระสงั ฆราชทรงมตี อ่ โยมแม่ ทแี่ มเ้ ปน็ คนธรรมดาสามญั  แตม่ อี ทิ ธพิ ลอยา่ งยงิ่ ตอ่ ความเจรญิ งอกงาม ในทางธรรมของพระองค์ 197 พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

สมเด็จพระญาณสงั วร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฒฺ โน) วดั บวรนเิ วศวหิ าร กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  (เจริญ  สุวฑฺฒโน)  เป็น สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ท่ี  ๑๙  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  สถิต  ณ  วัดบวร- นิเวศวิหาร  ทรงได้รับสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมพิ ลอดลุ ยเดช  พระองค์มีพระนามเดิมว่า  เจริญ  คชวัตร  ประสูติเม่ือวันที่  ๓  ตุลาคม ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเปน็ สามเณรเมอ่ื  พ.ศ. ๒๔๖๙ ทว่ี ดั เทวสงั ฆาราม จงั หวดั กาญจนบุรี  ต่อมาได้ไปศึกษาต่อ  ณ  วัดบวรนิเวศวิหาร  ทรงมีอุตสาหะใน การศึกษาพระปริยัติธรรมจนส�ำเร็จประโยค  ๙  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔  ทรงได้รับ พระราชทานสมณศกั ดช์ิ น้ั สามญั ทพ่ี ระโศภณคณาณรณ์ เมอื่  พ.ศ. ๒๔๙๐ ขณะ มีพระชนมายุ  ๓๕  พรรษา  นับแต่น้ันก็ทรงเจริญก้าวหน้าในสมณศักด์ิเร่ือย มา ในป ี ๒๔๙๙ ขณะทรงเปน็ พระราชาคณะชน้ั เทพ ทรงไดร้ บั มอบหมายจาก สมเดจ็ พระสงั ฆราชเจา้  กรมหลวงวชริ ญาณวงศ ์ ใหเ้ ปน็ พระอภบิ าลพระบาท สมเด็จพระเจา้ อยู่หัวขณะทรงผนวชเปน็ พระภิกษ ุ ณ วัดบวรนเิ วศวหิ าร พ.ศ. ๒๕๑๕  ท่านได้รับเล่ือนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะช้ันสมเด็จ ที่สมเด็จพระญาณสังวร  และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเม่ือ พ.ศ. ๒๕๓๒  ทรงด�ำรงต�ำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช  ๒๔  พรรษา  ส้ินพระชนม์  เม่ือ วนั ท ี่ ๒๔ ตลุ าคม ๒๕๕๖ พระชนมาย ุ ๑๐๐ พรรษา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook