Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คลายปม ๑

คลายปม ๑

Description: คลายปม ๑

Search

Read the Text Version

คลายปม ชยสาโร ภกิ ขุ



คลายปม ชยสาโร ภกิ ขุ

คลายปม ชยสาโร ภิกขุ พมิ พแ​์ จก​เปน็ ​ธรรม​ทาน ส​ งวนลิขสทิ ธิ์ ห้ามคดั ลอก ตดั ตอน หรือนำ�ไปพมิ พจ์ ำ�หนา่ ย หากท่านใดประสงคจ์ ะพิมพแ์ จกเป็นธรรมทาน โปรดติดต่อ มลู นิธปิ ญั ญาประทีป หรือ โรงเรยี นทอสี ​๑๐๒๓/๔๗ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ สุขมุ วิท ๗๑ เขตวัฒนา กทม. ๑๐๑๑๐ โทรศพั ท์ ๐-๒๗๑๓-๓๖๗๔ www.thawsischool.com, www.panyaprateep.org ​​พิมพ์​ครัง้ ท​ ่​ี ​๑ ​ ธนั วาคม ๒๕๕๑ จ�ำ นวน ๑๐,๐๐๐ เลม่ โดยครอบครวั ธนสารอกั ษร พมิ พ์​คร้ังท​ ​่ี ​๒ - ๓ เมษายน ๒๕๕๒ - กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๕๓ จำ�นวน ๑๑,๐๐๐ เล่ม ฉบบั ปรบั ปรงุ พมิ พค​์ รง้ั ​ท่ี​​๔ กันยายน ๒๕๕๔ จำ�นวน ๕,๐๐๐ เลม่ ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวนิ ทรานนท,์ วชิ ชุ เสรมิ สวัสดศ์ิ รี ขออนโุ มทนา ผตู้ รวจทานตน้ ฉบบั ศรวี รา อสิ สระ, ปองสม เรืองสวัสดพิ งษ,์ ชนินทร แย้มสอาด ผูอ้ อกแบบปก นทั ลี ทรัพยส์ าคร จ​ ดั ท​ �ำ โ​ดย ​ มูลนิธิปัญญาประทีป ​ดำ�เนนิ การพมิ พ์โดย บริษัท ควิ พริ้นท์ แมเนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศพั ท์ ๐-๒๘๐๐-๒๒๙๒ โทรสาร ๐-๒๘๐๐-๓๖๔๙

​ ค​​ �ำ น�ำ ​ ​ ​ หนังสือเล่มน้ีเกิดข้ึนจากความประสงค์ท่ีตรงกันของ หลายๆ ฝา่ ย ท่ตี อ้ งการจะมีหนังสือสกั เล่มหน่งึ รวบรวมคำ�ถาม ของญาติโยมและคำ�ตอบของพระอาจารย์ชยสาโร  ท่ีเกิดขึ้น ระหว่างการสอนปฏิบัติธรรมในโอกาสต่างๆ  และได้มีการ บันทึกเทปไว้  อันเช่ือว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆ ท่าน ทง้ั ท่ีได้ร่วมในการปฏบิ ตั ธิ รรม และญาตโิ ยมทั่วไป ในการตอบ คำ�ถามนั้น  พระอาจารย์จะอธิบายพร้อมยกตัวอย่างและ สอดแทรกอารมณข์ นั ซึ่งท�ำ ให้เหน็ วา่ การปฏิบัตธิ รรมไมจ่ ำ�เป็น ต้องเป็นเรื่องเครียดและสามารถเป็นธรรมบันเทิงได้  อีกทั้ง นำ�มาประยกุ ต์ใชใ้ นชีวติ ประจ�ำ วนั ไดเ้ ปน็ อย่างดี ขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่ได้ เมตตาอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มน้ีเพ่ือเผยแผ่และ แจกเป็นธรรมทาน  อีกท้ังยังได้เมตตาต้ังช่ือหนังสือว่า “คลายปม” ซ่ึงคณะผู้จัดท�ำ มีความซาบซึง้ ใจเป็นอยา่ งยิง่

ขอขอบพระคณุ และอนโุ มทนาบุญทกุ ๆ ท่าน ทม่ี ีส่วน ช่วยในการทำ�หนังสือเล่มน้ีให้ลุล่วงได้ด้วยความเรียบร้อย นับตง้ั แตผ่ ถู้ อดเทป ผู้ตรวจทาน ผอู้ อกแบบ และผู้ประสานงาน ทุกทา่ น อานิสงส์ที่เกิดจากการให้ธรรมเป็นทานในครั้งน้ี  คณะ ผู้จัดทำ�ขอน้อมถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่พระอาจารย์ชยสาโร และขอให้ญาติโยมทุกท่านจงเปี่ยมด้วยศรัทธา วิริยะ มีกุศล ฉันทะ  เร่งปฏิบัติ  และพัฒนาปัญญา  จนบรรลุสู่ภาวะแห่ง ความเป็นอิสระ เทอญ คณะผ้จู ัดทำ�

สรปุ ค�ำ ถาม ๑ : หากเราเคยทำ�ผิดศีลข้อ ๑ ฆ่าสัตว์โดยเจตนา ทุกวันนี้ยังรู้สึกเกรงกลัวต่อบาป  การที่เราปฏิบัติธรรมแล้ว แผ่เมตตา เจ้ากรรมนายเวรจะไดร้ ับมากหรือน้อยเพยี งใด และ ท�ำ อย่างไรจึงจะท�ำ ให้จิตคลายความเศรา้ หมอง (หนา้ ๑๓) ๒ : หากภรรยาปฏิบัติธรรม  แต่สามีฆ่าหนู  แมลง มด ต่างๆ ในบ้าน กรรมนั้นจะมผี ลต่อภรรยาและลกู อย่างไร หรือไม่ (หนา้ ๑๔) ๓ : การทต่ี อ้ งบงการให้ฆา่ สัตว ์ เช่น ปลวกขนึ้ บ้าน หรอื ท�ำ ลายรงั ตอ่ ทม่ี าอาศยั ในบา้ น  ถอื เปน็ บาปโดยตรง ไมท่ ราบ จะหลกี เลยี่ งอยา่ งไร ทำ�ไปแลว้ ไม่สบายใจ (หนา้ ๑๖) ๔ : เคยอ่านหนังสือว่า  พระโมคคัลลาเคยทำ� อนันตริยกรรมในอดีตชาติ  เป็นผลให้ท่านถูกรุมทำ�ร้ายก่อน นิพพาน ขอใหท้ า่ นอาจารยเ์ ล่าใหฟ้ งั (หน้า ๑๘) ชยสาโร ภิกขุ 1

๕ : อนันตริยกรรมคอื อะไร มอี ะไรบา้ ง (หนา้ ๑๙) ๖ : พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ  โทษ ประหารชวี ิต (หนา้ ๑๙) ๗ : มีญาติทำ�งานอยู่ในตำ�แหน่งที่ได้งบรับรองเดือน ละหลายหม่ืนเพ่ือใช้รับรองลูกค้า  แต่ใช้ไม่หมด  ญาติจึงมา บอกวา่ ถา้ ไปกนิ อาหารทไ่ี หน  ขอใหเ้ กบ็ ใบเสรจ็ รบั เงนิ มาใหด้ ว้ ย  กรณีอย่างนี้เป็นบาปกรรมหรือไม่  ท่านอาจารย์คิดว่าอย่างไร (หนา้ ๒๒) ๘ : ปจั จบุ ันหน่มุ สาว และวัยรุน่ สว่ นหนง่ึ จะมคี วาม สัมพนั ธท์ างเพศกอ่ นเวลาอันสมควร และกอ่ นแต่งงาน ถอื ว่า ผดิ ศลี ขอ้ สามหรือไม่ (หน้า ๒๕) ๙ : ผ้ทู ่เี ปน็ ตุด๊ กระเทย เกย์ ทอม ดี้ ในชาตินี้ ชาติท่ี แล้วประพฤติผิดศีลขอ้ กาเมใชห่ รอื ไม่ (หน้า ๒๘) ๑๐ : สามเี ปน็ คนเจ้าชู้ มภี รรยาหลายคน สามคี ดิ วา่ เขาไมผ่ ดิ เพราะเขายงั คงรกั เราอยู่ และรบั ผดิ ชอบดูแลทุกคน เรากย็ ังรกั เขาอยู่ แตจ่ ะอยู่อยา่ งไรไม่ใหร้ สู้ ึกทกุ ข์ จะท�ำ อย่างไร ใหเ้ ขาเลิกพฤตกิ รรมนี้ได้ (หน้า ๒๙) 2 คลายปม

๑๑ : การพดู หยาบ ผดิ ศลี หรอื ไม่ เพราะอะไร (หนา้ ๓๐) ๑๒ : โกหกเพอ่ื ใหพ้ อ่ แมส่ บายใจบาปหรอื ไม่ (หนา้ ๓๑) ๑๓ : โบราณสอนว่าถ้าลูกเถียงคำ�สอนของพ่อแม่ จะเป็นบาป แตถ่ า้ ลูกเถยี งดว้ ยเหตผุ ลและพูดในสิ่งทีถ่ กู ตอ้ งจะ เป็นบาปหรือไม่ (ค�ำ ถามของผเู้ ป็นลูก) (หนา้ ๓๓) ๑๔ : พูดปดเพื่อให้ผู้ป่วยสบายใจถือว่าผิดศีลหรือไม่ (หน้า ๓๔) ๑๕ : พดู ปดเพ่ือใหพ้ อ่ แมส่ บายใจ เป็นบาปไหม เช่น ซอ้ื ของราคาแพงให้ทา่ น เพราะอยากให้ทา่ นได้ใช้ของคณุ ภาพ ดี เม่อื ทา่ นถามราคากบ็ อกท่านว่าไมแ่ พง (หนา้ ๓๖) ๑๖ : การบรรลุถึงขั้นโสดาบันด้วยการรักษาศีลห้านั้น การพดู ความจริงไม่โกหก แต่ไมเ่ ข้มงวดเร่ืองสัมมาวาจา เชน่ ยังมพี ูดเพอ้ เจอ้ พูดสอ่ เสยี ด อยู่บา้ ง จะไดห้ รอื ไม่ (หนา้ ๔๑) ๑๗ : คนที่ชอบดื่มไวน์ส่วนหน่ึงจะอ้างว่าเพ่ือเข้า สังคมเพ่ือสขุ ภาพและใหเ้ หตุผลวา่ ด่ืมนิดเดียว ไมน่ า่ จะผดิ ศีล เพราะไม่ได้มนึ เมา ท่านอาจารย์เหน็ ว่าอย่างไร (หน้า ๔๑) ชยสาโร ภกิ ขุ 3

๑๘ : ขอถามเรื่องศีล ๕ ว่าการที่เรารักษาศีลด้วย กาย วาจา แตใ่ จคดิ ไม่คอ่ ยดี เชน่ คดิ ท�ำ ร้ายผู้อน่ื แต่ไมไ่ ด้ทำ� คิดชอบในส่ิงท่เี จ้าของหวง ถอื วา่ ผิดศีลหรอื ไม่ (หน้า ๔๖) ๑๙ : มีเพ่ือนที่เรารักและอยากให้มาในทางธรรมด้วย แต่เขามีความคิดว่าทุกวนั น้ีเขาประพฤติตนดแี ลว้ รักษาศลี ทัง้ หา้ ข้อแต่ไม่ยอมเขา้ วดั ปฏิบัตธิ รรม เขาคิดวา่ เราทำ�เช่นน้เี พราะ หวงั ผลในชาติหนา้ เราควรมีค�ำ แนะนำ�อยา่ งไรดี (หน้า ๔๙) ๒๐ : นั่งสมาธิบางคร้ังจะนึกถึงการทำ�ผิดศีลข้อต่างๆ ในอดีตต้ังแต่สมัยเด็ก  แม้ปัจจุบันจะรักษาศีลห้าบริสุทธิ์  แต่ เมอื่ นกึ ถึงบาปกรรมที่เคยทำ� จติ ใจมีความเศรา้ หมอง ทุกวนั นี้ พยายามสร้างแต่กรรมดี อุทิศส่วนบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร เสมอ แต่พอใจคิดถึงกรรมไม่ดีที่เคยสร้างไว้ก็ไม่สบายใจ ขอ พระอาจารย์โปรดแนะน�ำ วา่ ควรท�ำ อย่างไร (หนา้ ๕๑) ๒๑ : การซ้ือล็อตเตอร่ี  จับฉลาก  เล่นบิงโก  เกม ตา่ งๆ เพ่ือหวังจะถกู รางวัลใหญ่ นบั เป็นการพนันหรอื ไม่ เหน็ มีจดั ตามงานทัว่ ไป รวมทั้งงานของโรงเรยี นด้วย มหี ลกั ในการ พิจารณาอยา่ งไร (หนา้ ๕๒) ๒๒ : คนทุกคนมขี อ้ ดแี ละขอ้ ด้อยในตัวเอง การที่เรา 4 คลายปม

ทำ�แตส่ ิง่ ทด่ี ีประพฤตดิ ใี ห้คนอื่นเหน็ แตไ่ ม่ไดป้ ระพฤตขิ ้อดอ้ ย ขอ้ บกพร่องของเราใหผ้ อู้ น่ื รู้ ทำ�ให้คนอน่ื คิดวา่ เราดี อยา่ งนจ้ี ะ เป็นการโกหกหรอื ไม่ (หนา้ ๕๓) ๒๓ : การมีครอบครัว  มีลูก  สำ�คัญหรือจำ�เป็นไหม (หนา้ ๕๖) ๒๔ : การสอนลูกใหม้ ีความสุข เราควรเป็นตัวอยา่ งได้ ในลักษณะใด (หนา้ ๕๘) ๒๕ : ควรใช้ข้อธรรมะข้อใด  อบรมสั่งสอนเด็กท่ีชอบ แขง่ ขนั ตอ้ งชนะ ตอ้ งท�ำ ให้ดีท่ีสุด กลัววา่ ในอนาคตจะเครยี ด ในการดำ�รงชวี ติ และหาความสงบไม่ได้ (หน้า ๕๙) ๒๖ : เดก็ ทเ่ี รม่ิ มตี วั ตนมากขน้ึ ท�ำ ตามใจตนเองมากขน้ึ   เราควรฝึกอย่างไรโดยไม่ต้องทะเลาะและให้เด็กเห็นคุณค่าที่ ดีงาม (หนา้ ๖๑) ๒๗ : ถ้าครูจะฝึกเด็กในเร่ืองการสวดมนต์ให้ยาวมาก ขึ้นเป็นลำ�ดับจนเกิดสมาธิและความเพียรเพ่ิมมากข้ึนนั้น  เรา ควรใช้วิธีหรือเทคนิคใดในการฝึกท่ีจะไม่ให้เด็กเกิดความคิดใน เชงิ ลบต่อการสวดมนต์ (หนา้ ๖๓) ชยสาโร ภกิ ขุ 5

๒๘ : ขอคำ�แนะนำ�จากพระอาจารย์สำ�หรับเด็กที่ติด การเล่นเกม  นอนดึก  ชอบน้ําอัดลมและรับประทานอาหารท่ี ไมม่ ปี ระโยชน์ เชน่ อาหารขยะประเภทต่างๆ (หนา้ ๖๕) ๒๙ : ความเครียดจากการแข่งขันในท่ีทำ�งาน  งานท่ี ต้องก้าวหน้าตลอดไม่หยุดนิ่ง  เราเดินช้ารุ่นน้องแซง  ทำ�ให้ เครียดมาก ทา่ นมคี ำ�แนะนำ�อยา่ งไร (หน้า ๖๗) ๓๐ : ข้อท่ีหนึ่ง  การดูแลบิดามารดาขณะป่วยเข้า โรงพยาบาลจะได้บุญมากเพราะว่าได้เห็นว่าสังขารไม่เที่ยง เปน็ ทุกข์ อกี หนอ่ ยพอเราแกก่ ต็ ้องปว่ ยแบบน้ีเหมือนกัน ท�ำ ให้ รบี ขยันในทาน ศีล ภาวนาเพือ่ สามารถหลดุ พ้นจากวัฏสงสาร เกดิ ปญั ญาจากการดูแลทา่ นใชห่ รอื ไม่ ข้อท่ีสอง  บางคนบอกว่าดูแลบิดามารดาเมื่อป่วยได้ บญุ แล้วไมต่ ้องไปวัดกไ็ ด้เพราะบิดามารดาคอื พระในบา้ น แต่ ข้าพเจ้าคิดว่าต้องทำ�ทั้งสองอย่างจึงท้ิงท่านไปวัดบ้างเม่ือมี โอกาสบางครั้ง ไม่แนใ่ จวา่ ตนเองทำ�ถกู ตอ้ งหรอื ไม่ เพราะท่าน คงอยากให้ดแู ลทา่ นตลอดเวลา ทา่ นชว่ ยตัวเองไมไ่ ด้ ท่านเปน็ อัมพฤกษ์ (หนา้ ๗๐) ๓๑ : การที่เราขออโหสิกรรมในความประพฤติที่ไม่ดี งามต่อพ่อแม่และพ่อแม่ได้อโหสิให้เราแล้ว  แต่จิตของเรายังมี 6 คลายปม

อกุศล คอื ยงั โกรธตนเองอยู่ ยงั ปล่อยวางไมไ่ ด้ จะมีทางที่จะ ช่วยอย่างไร  ให้เราหายผูกใจเจ็บในตนเอง  และถึงแม้เราจะ ขออโหสิกรรมแล้ว เราก็ยังต้องแก้ไขกรรมชั่วนั้น ใช่หรือไม่ (หน้า ๗๑) ๓๒ : คุณแม่วัย  ๘๐  เดิมเป็นคนปฏิบัติธรรมอย่าง เคร่งครัด  แต่มาบัดนี้กลับเปล่ียนบุคลิกเป็นคนที่มองโลกและ มองคนในแงร่ ้าย ผูกโกรธ อาฆาต ไมใ่ ห้อภัย คอยจบั ผิดผูอ้ น่ื ท้งั ๆ ท่กี ารท�ำ งานของสมองดา้ นอืน่ ยังพรอ้ มบรบิ ูรณ์ ทำ�ตัวให้ ยากแก่การเตอื นและโกรธลูกหลานไปหมดทกุ คน ทั้งๆ ท่ีเขา เหล่านั้นได้พยายามเอาใจทุกอย่าง  ขอทราบว่าในกรณีเช่นนี้ ลูกหลานจะปฏบิ ตั ิตนเช่นไร (หนา้ ๗๔) ๓๓ : ขณะน้ีดูแลคุณพ่อท่ีป่วยอยู่  ซ่ึงท่านจะ หงุดหงิดกับความหวังดีท่ีเราเสนออยู่เสมอ  ทำ�ให้บางคร้ังเกิด ความเบื่อที่จะดูแลอย่างดีและเอาจริงเอาจังอย่างที่ตั้งใจไว้ เลยท�ำ เหมือนกับคิดว่าเป็นหน้าท ี่ ไม่ค่อยทำ�ด้วยใจ  ซึ่งคิดว่า เป็นการไม่ถูกต้อง  จึงอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาแนะนำ� ว่าควรจะนำ�ธรรมะข้อใดมาใช้  ให้เกิดแรงจูงใจท่ีจะอยาก ปฏิบัติต่อคุณพ่อเหมือนเดิม  คือทำ�ด้วยใจ  และขณะเดียวกัน สามารถดแู ลจติ ใจตัวเอง ไม่ใหห้ ว่ันไหว ข้นึ ๆ ลงๆ ตามความ หงดุ หงดิ ของคนอน่ื (หน้า ๗๗) ชยสาโร ภิกขุ 7

๓๔ : ในพื้นท่ี  ๓  จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการ เบียดเบียนชีวิตกันมาเป็นเวลาหลายปี  กรณีท่ีมีคล่ืนสึนามิ ทำ�ให้คนตายพร้อมกันนับแสน ตามหลักของพระพุทธศาสนา จะอธบิ ายเรื่องนี้วา่ อย่างไร (หน้า ๗๙) ๓๕ : ขอเรียนถามถึงวิธีปฏิบัติและการทำ�จิต  เวลา ป่วยท่ีโรงพยาบาล  หรือเวลาเจ็บหนักโดยเฉพาะอย่างย่ิงเวลา กอ่ นจะสน้ิ ใจ (หน้า ๘๓) ๓๖ : ในศาสนาพุทธ การชว่ ยให้คนปว่ ยหนักตายโดย ไมท่ รมานถอื เป็นการท�ำ บาปหรือไม่ (euthanasia) เช่น สมมติ ว่าหมอช่วยคนไข้ท่ีอยู่ในสภาพทรมานไม่มีทางรักษาให้จบ ชีวิตลงด้วยความเต็มใจของคนไข้  และขอถามเพ่ิมเติมว่าถ้า เรายอมใหห้ มอทำ� ยทู าเนเซยี ใหก้ บั พอ่ ทีร่ อ้ งขอให้ช่วยจบชวี ติ ในช่วงทรมานจากโรคท่ีรักษาไม่หาย  อย่างนี้ถือเป็นปิตุฆาต หรือไม่ (หนา้ ๙๐) ๓๗ : มคี นบอกว่าถา้ เราฆ่าตวั ตาย จะต้องชดใชก้ รรม ไปอกี ๕๐๐ ชาติ หมายถงึ ฆ่าตวั ตายไปอกี ๕๐๐ ชาติ อย่างนี้ กรรมกย็ งั ตามไปเรื่อยๆ ไมม่ วี ันหยุด พระอาจารยม์ คี วามเห็น อย่างไร (หน้า ๙๓) 8 คลายปม

๓๘ : สภาพจิตในช่วงที่กำ�ลังจะส้ินลมนั้น  มีความ สำ�คัญต่อภพชาติใหม่มากเพียงใด  จะมีอิทธิพลเหนือกว่าการ กระท�ำ ท่ีสะสมมาตลอดชวี ติ หรอื ไมอ่ ยา่ งไร (หนา้ ๙๔) ๓๙ : ผู้ที่มีครอบครัวและลูกที่โตแล้วได้มีโอกาส มาปฏิบัติธรรมเอง  ได้รับความสุขความสงบถือว่าเป็นการ ละเลยหน้าท่ีประจำ�ที่ทำ�ทางบ้าน  อาจจะทำ�ให้สามีและลูกๆ เดือดรอ้ นบา้ ง พระอาจารย์มีความคิดเหน็ อย่างไร (หน้า ๙๖) ๔๐ : มารดาอยากให้ลูกศิษย์แต่งงานมีครอบครัว บอกว่าเป็นผู้หญิงอยู่เป็นโสดคนเดียวไม่มีลูกหลาน  แก่ตัว จะล�ำ บาก ไมม่ ีลกู หลานคอยดูแล พยายามแนะน�ำ คนดๆี ให้ หากแตง่ งานกับคนดๆี คณุ แมจ่ ะได้หมดหว่ ง แต่พระพทุ ธเจ้า บอกวา่ ให้ประพฤตพิ รหมจรรย์ออกจากกาม ปฏบิ ัตธิ รรมให้ได้ มรรคผลนพิ พาน ควรจะปฏิบัติอย่างไรดี (หน้า ๙๘) ๔๑ : มาปฏิบัติธรรมแล้วทำ�ให้ลูกเล็กทุกข์ใจไม่อยาก ให้มา แบบนเ้ี ปน็ บาปหรอื ไม่ แตล่ กู อยู่บา้ นอา มเี พอื่ นและอา ดูแลอยา่ งดี (หน้า ๑๐๑) ๔๒ : มีวิธีใดจะจูงใจผู้ที่เป็นคนดีอยู่แล้วแต่ไม่สนใจ การปฏบิ ัตสิ มาธิ (หน้า ๑๐๓) ชยสาโร ภิกขุ 9

๔๓ : มีญาติและเพือ่ นฝูงมีนสิ ยั ดี จิตใจดี แตไ่ ม่สนใจ ปฏิบัตธิ รรม ควรจะใช้วธิ ใี ดในการโน้มน้าวให้เห็นข้อดีและเกดิ ฉนั ทะอยากปฏบิ ัติ (หน้า ๑๐๓) ๔๔ : คนดีวดั ไดอ้ ย่างไร ใครคอื คนดี (หนา้ ๑๐๔) ๔๕ : อยากเร่ิมปฏิบัติ  แต่ภารกิจการงานรัดตัวมาก ขอทราบหลักวิธีการแบง่ เวลา (หนา้ ๑๐๖) ๔๖ : ถ้าชวี ิตปจั จุบนั มีพร้อมทุกอย่างแลว้ ท้งั ด้านการ งานครอบครัวและทรัพยส์ นิ โดยอายยุ งั ไม่ถึง ๕๐ ปี ควรตงั้ เปา้ หมายชีวติ ท่เี หลอื อย่างไร (หน้า ๑๐๘) ๔๗ : ทำ�อย่างไรจึงจะดำ�รงชีวิตประจำ�วันอยู่ได้ด้วย จิตใจที่ผอ่ งใสดีงาม ร้สู กึ โกรธและหงดุ หงิดน้อยทส่ี ดุ ควรท�ำ อยา่ งไรกบั ความหงุดหงดิ และความโกรธ (หน้า ๑๑๐) ๔๘ : สมถะภาวนาเปรียบเหมือนการหยุด  ขณะที่ วิปัสสนาภาวนาเหมือนการดู  ในชีวิตการทำ�งานหากเรา ต้องการมีสติ  ขณะที่สงบเพ่ือให้มีปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ เร่ืองงานว่าควรปฏิบัติอย่างไร  น่ังสมาธิให้จิตรวมแล้วจึงเร่ิม พจิ ารณาเรื่องงานหรอื อย่างไร (หน้า ๑๑๒) 10 คลายปม

๔๙ : การปฏิบัติแบบไหนจึงจะเกิดปัญญาและเป็น ทางพ้นทุกข์  สำ�หรับผู้ที่ทำ�วิปัสสนาทำ�อย่างไรจึงจะถูกต้อง (หนา้ ๑๑๕) ๕๐ : ทำ�อย่างไรเมอื่ นัง่ สมาธไิ ปเรอ่ื ยๆ เปน็ ชว่ั โมง แต่ รับรู้ได้เพียงลมหายใจเข้าออกเท่านั้นเอง  ไม่เห็นมีประโยชน์ อะไรเลย (หนา้ ๑๒๐) ๕๑ : ทำ�ไมจิตถึงรวมเป็นสมาธิได้ยาก  ทั้งที่ฝึกนั่ง สมาธิ เดินจงกรม มาหลายปี อะไรคอื ตวั ปิดกน้ั สำ�คัญ ทีค่ วร ตอ้ งฝึกสงั เกต หรือใชแ้ ก้ปญั หาน้ี (หนา้ ๑๒๒) ๕๒ : นง่ั สมาธไิ ประยะหนง่ึ ลมหายใจจะละเอยี ด จะ ชา้ มาก จนไมร่ ู้สกึ ลมท่ีจมกู ควรท�ำ อยา่ งไรตอ่ ไป และจะทราบ อย่างไรวา่ รา่ งกายได้ออกซิเจนพอ (หนา้ ๑๒๖) ๕๓ : ขอพระอาจารย์เมตตาอธิบายเรื่องทุกขเวทนา ที่เกิดข้ึนระหว่างนั่งสมาธิ  เราควรพิจารณาหรือปฏิบัติต่อ ทุกขเวทนาอยา่ งไร ทีเ่ รียกว่าใชป้ ญั ญา (หน้า ๑๓๒) ๕๔ : ครูบาอาจารย์สอนว่าการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเร่ืองสำ�คัญมาก หากรักษาจติ ให้สงบไดแ้ ม้เพียงระยะสัน้ ๆ ชยสาโร ภกิ ขุ 11

จะไดบ้ ุญอานิสงสม์ หาศาล ขอพระอาจารย์โปรดอธิบายขยาย ความ (หนา้ ๑๓๕) ๕๕ : ขอพระอาจารย์โปรดเมตตาแนะนำ�วิธีที่ช่วยให้ จิตรวมเปน็ สมาธิเรว็ ขนึ้ นง่ั ตัง้ นานพอจิตเรมิ่ รวม ลมหายใจเรมิ่ ละเอยี ดก็กระดง่ิ พอดี (หน้า ๑๓๗) ๕๖ : เดนิ จงกรมส�ำ คญั อยา่ งไร ตอ้ งทำ�ร่วมกบั การน่งั สมาธิหรือไม่ (หนา้ ๑๓๙) 12 คลายปม

คลายปม ๑ ถาม : หากเราเคยทำ�ผิดศีลข้อท่ี ๑ ฆ่าสัตวโ์ ดยเจตนา ทุกวันน้ียังรู้สึกเกรงกลัวต่อบาป  การท่ีเราปฏิบัติธรรมแล้วแผ่ เมตตา เจ้ากรรมนายเวรจะไดร้ ับมากหรือนอ้ ยเพียงใดและทำ� อยา่ งไรจึงจะทำ�ใหจ้ ติ คลายความเศรา้ หมอง ตอบ : เมื่อเราผดิ ศลี แลว้ วิธีการช�ำ ระมีสามข้อ ๑. คอื หยดุ และยอมรบั ว่าตัวเองผิด ๒. เปิดเผยกบั กัลยาณมติ รโดย ไมป่ ดิ บงั อ�ำ พราง ๓. ตงั้ ใจวา่ จะไมท่ �ำ อีกตอ่ ไป นเี่ รียกวา่ เปน็ การชำ�ระศีล  เมื่อเราผิดศีลแล้ว  ความละอายต่อบาปความ เกรงกลัวต่อบาปเพ่ิมมากข้ึน  เรียกว่าเราได้กำ�ไร  ได้สิ่งท่ีดี ไดบ้ ทเรียน ความละอายต่อบาป ความเกรงกลวั ตอ่ บาป น้ันเป็นคนละเรื่องกับความรู้สึกผิด  ภาษาอังกฤษแปลคำ� รสู้ กึ ผิดว่า guilt หรอื รูส้ ึก guilty ความร้สู ึกผิดเปน็ กิเลส เปน็ นวิ รณ์ ไม่ใชส่ ่ิงที่ดี ความรสู้ กึ ผดิ ถือเปน็ อกุศล สว่ นความ ละอายตอ่ บาปถอื เปน็ กศุ ล ตอ้ งแยกแยะใหด้ ี จดุ นส้ี �ำ คญั มาก นักวิชาการบางคนกล่าวว่าวัฒนธรรมตะวันตกเป็น วฒั นธรรมของความรสู้ ึกผดิ เปน็ guilt culture ส่วนวัฒนธรรม ทางเอเชียเปน็ shame culture และวฒั นธรรมตะวนั ตกก็มี อิทธิพลมากขึ้นๆ guilt culture จึงแพรห่ ลายมากขน้ึ ดว้ ย ชยสาโร ภิกขุ 13

เมอ่ื เราทำ�ความผิด เราร้สู กึ ตัว เรากต็ ัง้ อกต้งั ใจไม่ ปิดบังอำ�พราง  ไม่หลอกตัวเองและคนอื่นว่าเราไม่ได้ทำ� ต้ังใจวา่ จะไมท่ �ำ ตอ่ ไป และตอ้ งปล่อยวาง ใหเ้ ราถือวา่ ในวันทที่ �ำ ผิดศีลนนั้ เหตปุ จั จัยเปน็ อยา่ งนั้น ความกดดันจากภายนอกเป็นอย่างน้ัน  สติปัญญาและความ อดทนของเรามีแค่นนั้ มันจึงเกิดพฤตกิ รรมที่เปน็ บาปเปน็ กรรม ขน้ึ มา ไม่ต้องมีอตั ตาตวั ตนของเราทีม่ คี วามผดิ ความรูส้ กึ ว่า ผดิ ถือเปน็ เรื่องอกุศลเพราะตง้ั ไว้บนฐานแหง่ ความมีอัตตาตวั ตน สว่ นความละอายตอ่ บาปเป็นคนละเรอื่ งกัน ความละอาย จะเกิดได้ต้องไม่มีอัตตาปรากฏอยู่  จึงจะถือเป็นความละอาย ความเกรงกลวั ต่อบาป ที่เราเรียกวา่ หิรโิ อตตปั ปะ เร่ืองแผเ่ มตตากเ็ ชน่ เดียวกนั เราไม่มญี าณหย่งั รู้ว่าใคร ได้รับมากน้อยแค่ไหน  เราทำ�เพราะมันช่วยให้จิตใจเรารู้สึก ดีข้นึ ถา้ มผี ทู้ ่ีจะรบั กร็ บั ไป ส่วนเรื่องท่ีเราร้สู กึ เศรา้ หมองน้นั ก็ เป็นเพราะเราอยากจะเศรา้ หมอง ถ้าจะใหจ้ ติ คลายความเศรา้ หมอง มันตอ้ งมีความรเิ ร่ิมจากภายในใจวา่ ต้องพยายามปลอ่ ย วางความเศรา้ หมอง ๒ถาม : หากภรรยาปฏิบัติธรรม แตส่ ามีฆา่ หนู แมลง มด ตา่ งๆ ในบ้าน กรรมนั้นจะมีผลตอ่ ภรรยาและลูกอย่างไร หรือไม่ 14 คลายปม

ตอบ : คงจะไม่ถึงลูกและภรรยาของผู้ฆ่า  ตามกฎ แหง่ กรรม เราท�ำ อะไรโดยเจตนาถอื เปน็ กรรม เจตนาดเี รียกวา่ กรรมดี  เจตนาไม่ดีเป็นกรรมร้ายกรรมช่ัว  ทุกคร้ังที่เราทำ� สง่ิ ใดกต็ าม ยอ่ มเปน็ การเพิม่ ความเคยชนิ ในการทำ�ส่งิ นนั้ ทำ�ให้ทำ�ได้ง่ายขึ้นๆ  ถ้าเราทำ�ความดีอะไรสักอย่างท่ีไม่เคย ทำ�เป็นคร้ังแรก  เราอาจจะต้องสู้กับกิเลส  หากเม่ือชนะกิเลส ไดค้ รัง้ หน่งึ การกระทำ�ครัง้ ท่ี ๒ คร้งั ท่ี ๓ จะง่ายขน้ึ เรอ่ื ยๆ เราก็จะสามารถสร้างนิสัยดๆี ขึ้นมาได้ ในทำ�นองเดยี วกนั เมอื่ เราท�ำ ความไม่ดี ครง้ั แรกอาจจะ รูส้ ึกวา่ ต้องฝืน ฝืนความละอาย ฝนื ความกลัว แต่การท�ำ ครง้ั ท่ี ๒ นน้ั จะงา่ ยข้นึ ครัง้ ที่ ๓ กย็ ิง่ ง่ายขนึ้ อีก เกดิ ความเคยชนิ ในการ ทำ�ความชั่วจนกลายเป็นเร่ืองธรรมดา ฉะนนั้ การฆา่ สัตว์แต่ละ ครั้งแมจ้ ะเปน็ สัตว์เลก็ สตั วน์ ้อย เปน็ แมลง เป็นมด ทกุ ครง้ั ที่ท�ำ กเ็ ปน็ การเพ่ิมนิสัย ท�ำ ให้ทำ�ง่ายขึ้น ครบู าอาจารยบ์ างทที ่าน สอนวา่ ผูฆ้ า่ มดได้ อยไู่ ปอย่มู าก็ฆา่ หนไู ด้ ฆ่าหนไู ด้ อยไู่ ปอยูม่ า ก็ฆา่ สุนัขได้ ฆ่าสุนขั ได้ ก็ฆา่ วัวได้ ฆา่ วัวได้ ในท่ีสุดกฆ็ า่ คนได้ ฆ่าคนไดอ้ กี หนอ่ ยกฆ็ ่าพอ่ แมไ่ ด้ ทา่ นว่าอยา่ งน้นั แม้ว่ามันจะไม่เป็นไปตามลำ�ดับถึงขนาดน้ัน  ความ เคยชินก็เป็นสง่ิ ท่ีน่ากลวั ทุกๆ ครงั้ ทสี่ ามฆี ่าก็เปน็ การเพิ่มนิสยั โหดร้ายมากขึน้ ทลี ะเลก็ ทีละน้อย ถา้ เขาเช่อื ว่ามสี ทิ ธิ์ทำ�ลายสง่ิ ที่เขาไม่ชอบ ความไมเ่ คารพชีวิตของสัตวก์ เ็ พิ่มขน้ึ ทกุ ครัง้ เป็น กรรมทส่ี ะสมเพิม่ มากข้นึ ความโหดรา้ ย ความเห็นแกต่ วั ต่างๆ ชยสาโร ภกิ ขุ 15

ที่เพ่ิมข้ึนทีละเล็กทีละน้อยอย่างน้ีคงต้องมีผลต่อความสัมพันธ์ กับคนรอบขา้ ง คอื ลกู และภรรยาดว้ ย นเี่ ป็นผลกระทบจากนสิ ัย หยาบทีเ่ พ่มิ ขน้ึ ทุกครั้งทม่ี ีการฆ่าสตั ว์ ๓ถาม : การทีต่ ้องบงการใหฆ้ า่ สตั ว์ เชน่ ปลวกขนึ้ บา้ น หรอื ท�ำ ลายรงั ตอ่ ทม่ี าอาศยั ในบา้ น  ถอื เปน็ บาปโดยตรง  ไมท่ ราบ จะหลกี เลย่ี งอยา่ งไร ท�ำ ไปแลว้ ไม่สบายใจ ตอบ : เวลาท่ีโยมสมาทานศีล  อาตมาได้อธิบาย บทบาทหน้าที่ของสิกขาบทในการพัฒนาชีวิต  ศีลแต่ละข้อ คือบทฝึกตวั เอง เรามบี ทฝึกกายวาจา เรยี กว่าสิกขาบท สว่ น การฝึกจิตใจจะเป็นเรื่องของการเจริญสติเจริญสมาธิ เป็นต้น เราไม่ถือว่าศีลแต่ละข้อเป็นบทบัญญัติอย่างเช่นบทบัญญัติ กีป่ ระการก็แล้วแตใ่ นบางศาสนา เราถือวา่ มนุษย์มีสติปัญญา เพียงพอที่จะวางความเป็นอยู่ในทางที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกัน และกัน ในทางที่เราสามารถสร้างประโยชน์สร้างความสขุ แก่ กนั ได้ ไมท่ �ำ บาปกรรมทางกายทางวาจา นค่ี อื อดุ มการณ์ อุดมการณ์  ถือว่าศีลแต่ละข้อมีส่วนช่วยความเป็นอยู่ ในครอบครวั ในชุมชน ในสังคมให้เปน็ ไปในทางสรา้ งสรรค์มาก ขนึ้ มันมีเหตมุ ผี ลอยา่ งน้ัน อย่างไรก็ตาม บางขอ้ โดยเฉพาะ ข้อแรก ในบางเวลามันรกั ษายาก ถ้าจะรกั ษาให้ละเอียดจริงๆ แม้กระท่งั พระสงฆ์เองก็ตาม เชน่ ในการบรหิ ารวัดใหญ่ๆ โดย เฉพาะวดั ป่า บางคร้ังปลวกข้นึ กุฏิ เป็นกฏุ ิทชี่ าวบ้านเขาสรา้ ง 16 คลายปม

ให้ดว้ ยความยากล�ำ บาก กว่าจะหาปัจจยั มาสรา้ งกฏุ นิ ี่ ใช้เวลา นาน ไมใ่ ช่เรื่องเลก็ นอ้ ย การทเี่ ราปล่อยใหป้ ลวกกนิ กฏุ ิ กถ็ ือว่า เป็นการไม่รับผิดชอบต่อเสนาสนะ  และไม่เคารพในบุญของ โยม แม้ว่าพระไมไ่ ด้ท�ำ เอง ก็เหมือนกับท�ำ เอง เพราะวา่ ต้อง อนญุ าตให้ลูกศิษยใ์ นวดั ไปจัดการ ฉะน้ันความบริสุทธ์ิในศีลข้อท่ี  ๑  เป็นเรื่องยากมาก คือถา้ จะเครง่ ครัดมาก มนั จะเปน็ ทงั้ เคร่งท้ังเครียด อยา่ งเชน่ ศาสนาเชน ญาติโยมบางคนไปอนิ เดยี อาจจะเคยเหน็ นกั บวช ในศาสนาเชน เดินไปไหนก็ต้องกวาดทาง แล้วต้องเอาผา้ ปดิ หน้าไว้เพ่ือกันไม่ให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยเข้าจมูกเข้าปากเวลา หายใจ คือถ้าจะเอาให้ถึงที่สุดแล้ว ก็อยู่ได้ยาก เช่น ขับรถมา ทีน่ ี่ (ปากช่อง) แต่ละคร้งั แมลงกต็ ้องตาย ขับรถไมใ่ ห้แมลง ตายได้ไหม ถา้ เปน็ อยา่ งนัน้ ก็ไม่ตอ้ งไปไหน เราเอาศีลเป็นมาตรฐาน  คือเป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นอุดมการณ์  เป็นมาตรฐานชีวิต  หมายถึงว่าเมื่อเราอยู่ใน เหตุการณ์ที่มีอะไรชวนให้เราฆ่าสัตว์  เราก็จะมีหลักการว่าไม่ ฆ่าก่อน พยายามทส่ี ดุ ท่ีจะไมท่ ำ�ลายชวี ิต อนั นัน้ คอื ความเพียร พยายาม แต่เมื่อถงึ ทีส่ ดุ แล้ว คดิ ทกุ วิถีทางแล้วทจี่ ะแก้ปัญหา โดยไมเ่ บียดเบยี นสตั ว์ แตเ่ ม่ือไม่ไหวจรงิ ๆ ก็ตอ้ งยอม กถ็ ือวา่ เปน็ บาปกรรมของคฤหัสถ์ เปน็ บาปกรรมของผคู้ รองเรือน แต่ อยา่ งนอ้ ยเราก็มีความพยายามอยู่ มคี วามเพยี รอยู่ พยายาม คดิ ทุกวิถีทางทจ่ี ะไม่ฆา่ แมจ้ ะยากจะล�ำ บาก หรอื ต้องเสยี เงนิ ชยสาโร ภิกขุ 17

บ้างก็ยอม  หากเมื่อถึงที่สุดแล้วก็ต้องถือว่าเป็นบาปกรรมท่ี เล่ียงไม่ได้  แต่เราเองไม่มีความยินดีในการฆ่าสัตว์  ไม่ได้ฆ่า สัตว์เพื่อหาผลประโยชน์  หรือเพราะขี้เกียจหาทางอ่ืน  เพราะ ทางนี้มันสะดวก  มันง่าย  คือเรายอมลำ�บากพยายามหาทาง เลอื กอน่ื แลว้ แตส่ ดุ ท้ายบางครงั้ มนั จำ�เปน็ เราจึงต้องยอมท�ำ ๔ถาม : เคยอ่านหนังสือว่า  พระโมคคัลลาเคยทำ� อนันตริยกรรมในอดีตชาติ  เป็นผลให้ท่านถูกรุมทำ�ร้ายก่อน นพิ พาน ขอใหท้ า่ นอาจารยเ์ ล่าใหฟ้ ัง ตอบ : ใช่  คือท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์  มีคนมาทำ�ร้ายท่าน  ท่านก็หนีไป  โดยใช้อิทธิ- ปาฏหิ ารยิ ์ แต่คนเหล่านน้ั ก็ยงั พยายามตามมาทำ�ร้ายท่านอกี ทา่ นจงึ คดิ วา่ นา่ จะตอ้ งมเี หตอุ ะไรสกั อยา่ ง จงึ ใชต้ าทพิ ยข์ องทา่ น จนไดท้ ราบว่ากรรมนี้หนีไม่พน้ เพราะเป็นกรรมท่เี หลืออยจู่ าก การท�ำ อนนั ตรยิ กรรมในชาตกิ อ่ น คอื หลงั จากท�ำ อนนั ตรยิ กรรม แลว้ ท่านตกนรกอยู่นานแสนนาน กว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่กรรมนั้นมันยังมีเหลืออยู่ เมื่อ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก  จึงต้อง ชดใช้กรรมนี้ให้หมด  นี่เป็นเหตุให้ท่านถูกทำ�ร้ายก่อนนิพพาน 18 คลายปม

๕ถาม : อนนั ตรยิ กรรมคอื อะไร มอี ะไรบา้ ง ตอบ : อนันตริยกรรม  คือกรรมที่ทำ�แล้วมีผลตายตัว แก้ไม่ได้  ผลตายตัวก็คือ  ต้องตกนรกอเวจี  คือไม่ใช่ว่าห้าม นพิ พานอยา่ งเดียว  แตห่ มายถึงว่าถา้ ท�ำ แลว้ แก้ไมไ่ ด้  องคุลมี าล ฆ่าคน ๙๙๙ คน แต่ไม่ได้ฆา่ พอ่ ฆา่ แม่ ฉะน้ัน ก็ยังไม่ถึงกรรมท่ตี ายตัวทีว่ ่าต้องตกนรกแน่นอน ทพ่ี ระพทุ ธเจ้า รีบไปโปรดในวันนั้น เพราะองคุลีมาลกำ�ลังจะไปฆ่าแม่ เป็น คนที่ ๑,๐๐๐  พระพุทธองค์รีบไปดักก่อนเพื่อโปรดองคุลีมาล ไม่ให้ทำ�อนันตริยกรรม อนนั ตรยิ กรรม ไดแ้ ก่ การฆา่ พ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหนั ต์ ทำ�พระสงฆ์ให้แตกแยกเป็นสังฆเภท  และทำ�พระพุทธเจ้าให้ ห้อพระโลหติ ๖ถาม : พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับโทษ ประหารชีวิต ตอบ : ไม่นานมานี้  อาตมาเคยพูดถึงเรื่องศีลธรรม กับการประหารชีวิตว่า  ในเมืองพุทธสมควรที่จะมีการ ประหารชีวิตไหม  และการประหารชีวิตเกิดจากแนวความคิด อย่างไร ขณะพูดเรื่องนี้มีผู้ใหญ่จากกระทรวงยุติธรรมร่วมฟัง ด้วยโดยที่อาตมาไม่ทราบ เมื่อได้คุยกันภายหลัง อาตมาจึง ถามความคิดเห็นส่วนตัวของท่าน ท่านบอกว่าแม้เรื่องเมตตา กรุณาเป็นเรื่องสำ�คัญของชาวพุทธ แต่ในบางครั้งจำ�เป็นต้อง ชยสาโร ภกิ ขุ 19

ลงโทษประหาร อย่างน้อยเพื่อเห็นแก่ญาติของผู้ที่ถูกฆ่า  ที่ ต้องการให้ฆาตกรใช้กรรมที่ตัวเองสร้างขึ้นมา เป็นการชำ�ระ ความแค้นอย่างหนึ่ง อาตมาว่านี่เป็นแนวความคิดของอารยธรรมตะวันตก ซ่ึงเปน็ วัฒนธรรมแก้แคน้ วฒั นธรรมพุทธไม่ใช่ตาตอ่ ตาฟันตอ่ ฟนั ไม่ใชว่ ฒั นธรรมทถ่ี ือว่าเรามสี ทิ ธิจะแก้แค้นคนทท่ี �ำ ร้ายเรา จุดเดน่ ขอ้ หนงึ่ ของวัฒนธรรมไทยอยทู่ ีก่ ารให้อภยั เรื่องของพรหมวิหาร ต้องเขา้ ใจให้ถกู อย่าให้กลายเป็น ว่าเมตตาแปลวา่ ไมเ่ อาเรือ่ งเอาราว ถ้าเมตตาใครคอื ไม่ลงโทษ พุทธศาสนาสอนเรื่องพรหมวิหารส่ี  ให้ถือเป็นชุด  การสอน อะไรเป็นชดุ เปน็ หมวด ๓ ขอ้ ๔ ข้อ ๕ ขอ้ ก็มเี หตุผล เราไม่ ควรจะดึงข้อใดข้อหน่ึงออกจากบริบท  เพราะมันรวมมากัน เป็นชุดซึ่งต้องทำ�งานเป็นองค์รวมในแต่ละหมวดของแต่ละ ชุดนน้ั ในพรหมวิหารสี่ เมตตา กรุณา มุทิตา ต้องมีอเุ บกขา อยเู่ บอ้ื งหลังเป็นหลักทส่ี ำ�คัญทส่ี ุด ในเร่ืองของเมตตา ถา้ เราเขา้ ใจกฎแหง่ กรรม เมอ่ื คน ท�ำ ความผดิ สมมตวิ า่ เปน็ การฆาตกรรม เราจะสงสารทงั้ สอง ฝา่ ย สงสารฝ่ายทถี่ ูกกระทำ� สงสารญาตขิ องผทู้ ่ีถูกฆ่าท่ีกำ�ลัง เปน็ ทกุ ข์ แต่เรากย็ งั สงสารฆาตกรด้วย เพราะเขาท�ำ บาปกรรม และเขาตอ้ งรบั ผลกรรมนน้ั ไม่ในชาติน้ี กต็ กนรกเม่อื ตาย พอ เราเข้าใจในกฎแห่งกรรม เรากส็ งสารฆาตกรดว้ ย เพราะเขา ต้องรับผลของกรรมทเี่ ขาทำ�ไว้ 20 คลายปม

การทเ่ี รามเี มตตา ตอ้ งการใหเ้ ขามีความสุขในทส่ี ดุ ไม่ ต้องการให้เขาเป็นทุกข์  ก็ต้องหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เขาทำ� สิ่งที่ไม่ดีอย่างน้ันอีก  หาวิธีท่ีจะทำ�ให้เขารู้สึกว่าได้ชำ�ระบาป ในระดับใดระดับหนึ่ง  พูดง่ายๆ  ว่าต้องมีการลงโทษอย่างใด อย่างหนง่ึ ไม่ใช่วา่ เมตตาสงสารคนท�ำ ความผิด โดยไม่เอาเรอื่ ง ปล่อย  ไม่ใช่เช่นน้ัน  เพราะเราก็ยอมรับว่าเขาเป็นคนทำ�บาป แล้วสังคมควรจะจัดการอย่างไรกับคนทำ�บาป  นี่เป็นส่ิงท่ีไม่ ค่อยมีใครคิด ส่วนใหญ่เราเอาระบบในต่างประเทศเป็นตัวอย่าง ทั้งๆ ท่ีเป็นระบบหรือวิธีจัดการกับคนทำ�ผิดคนทำ�ช่ัวท่ีไม่ค่อย ไดผ้ ล เชน่ ท่อี เมรกิ ามีคนติดคกุ ตดิ ตะรางตัง้ ๒ ลา้ นกวา่ คน ประเทศไหนๆ ก็ตาม ทุกวันน้ี คุกตะรางมนั ล้น ทางอุบลฯ ก็ เล่าว่า นักโทษต้องถกู บังคบั ให้นอนตะแคง เพราะหากนอน หงาย ทีน่ อนไม่พอ ตอ้ งนอนตะแคง หรอื บางทีกเ็ ข้าเวรกนั นอน เพราะหอ้ งขงั เตม็ มาก เราเคยพดู บ่อยๆ ว่า เร่อื งเทคโนโลยี เมืองไทยคงยากท่ี จะสู้ตา่ งประเทศได้ แตอ่ ะไรๆ ทเ่ี กีย่ วกบั มนุษย์และธรรมชาติ ของมนุษย์  เกี่ยวกับปัญญาและวิถีชีวิต  เมืองไทยน่าจะเป็น ผู้นำ�โลกได้  เพราะมีพุทธปัญญาซ่ึงเป็นความรู้ความเข้าใจใน ธรรมชาติของมนษุ ยท์ สี่ มบรู ณ์บริบรู ณ์ ฉะนั้นในเรื่องของการศึกษา  เรื่องจิตวิทยา  เรื่อง การจัดการกับปัญหาสังคม อะไรต่างๆ เราก็น่าจะใช้คำ�สอน ชยสาโร ภกิ ขุ 21

ของพระพุทธเจ้าไปหาวิธีการที่จะได้แบ่งปันให้กับเพื่อนร่วม โลกได้ ๗ถาม : มีญาติทำ�งานอยู่ในตำ�แหน่งท่ีได้งบรับรอง เดือนละหลายหม่ืนเพ่ือใช้รับรองลูกค้า  แต่ใช้ไม่หมด  ญาติ จึงมาบอกว่าถ้าไปกินอาหารท่ีไหน  ขอให้เก็บใบเสร็จรับเงิน มาให้ดว้ ย กรณีอย่างนเ้ี ปน็ บาปกรรมหรือไม่ ทา่ นอาจารยค์ ิด วา่ อยา่ งไร ตอบ : ใช่ มนั ผดิ ศีล ทำ�ไมไ่ ด้ อย่าไปทำ� เป็นเรือ่ งที่ ควรจะกลัว พระเราน้ีต้องระวังมาก อาตมายงั จ�ำ ได้ นข่ี นลกุ เลย ไม่มวี ันลืม ตอนทอ่ี าตมาบวชใหม่ๆ พระฝรงั่ องค์หนง่ึ ใน สมยั นน้ั ท่านกลับไปเย่ียมบ้าน บา้ นของทา่ นไม่ยินดีท่ที า่ นบวช ไม่สนับสนุน  ตอนท่านกลับไปท่านจะอึดอัดมาก  บังเอิญว่า สายตาของท่านไม่ค่อยดีต้องเปลี่ยนแว่น ตอนเปลี่ยนแว่นก็ ไปกับพช่ี าย ซึ่งมอี าการไม่คอ่ ยจะใจบญุ เท่าไหร่ ดูฝนื ๆ ทำ�ให้ พระทา่ นร้สู ึกอึดอัดใจมาก พอเขา้ ไปในร้านแล้ว ราคาแวน่ คอ่ นข้างจะแพง พี่ชาย ก็เลยบอกท่านว่า  ถ้าซ้ือในช่ือของพี่ชาย  ก็จะสามารถเบิก เงินจากบริษัท  หรือขอสิทธ์ิอะไรสักอย่าง  โดยพ่ีชายไม่ต้อง ออกเงิน  พระท่านน้ีก็ไม่ได้โลภอยากได้หรืออยากจะเอา สิ่งของทีเ่ จ้าของไมไ่ ด้ให้ แต่เพราะเกรงใจพช่ี าย คอื ทา่ นอยาก จะทำ�ตัวเป็นผู้เลี้ยงง่าย  ไม่อยากจะเป็นปัญหา  ยิ่งกับคนท่ี 22 คลายปม

ไม่ได้แสดงท่าว่ามีศรัทธา  อยากจะให้เป็นเรื่องง่ายๆ  ท่าน ก�ำ ลงั จะพูดวา่ ได้ แต่ร้สู ึกตวั มีสติทัน และรู้ว่าถ้าทา่ นอนญุ าต ท่านก็ปาราชิก  หมดความเป็นพระ  พระเราปาราชิกได้ง่าย นิดเดียว เพราะกรณีนถี้ อื ว่ามสี ว่ นในการเอาสงิ่ ทเี่ จ้าของไม่ได้ ให้  เปน็ การหลอกลวงบริษทั ซงึ่ นกึ ขน้ึ มาแล้วนา่ กลวั เปน็ ทส่ี ุด แต่ก่อนน้ีรู้สึกว่าปาราชิกเป็นเรื่องท่ีมีโอกาสท่ีจะเป็นไปได้ยาก มาก แตก่ รณีนี้ถา้ เผลอพูดวา่ “ตกลง” เผลอนดิ เดยี ว สามารถ เปน็ บาปรุนแรงไดเ้ ลย การอยู่ในโลกยิ่งต้องระมัดระวัง  พระมีเดิมพันสูง  คือ ทำ�อะไรเล็กอะไรน้อย  ทำ�สิ่งที่เป็นบุญ  ก็ได้บุญมากกว่าโยม ถ้าเป็นบาปก็บาปมากกว่าโยมเหมือนกัน  อย่างไรก็ตาม  ใน เมื่อโยมอยู่ในสังคมซึ่งส่วนมากคนจะไม่ค่อยสนใจ  อย่าง เช่น  เรอ่ื งซอฟท์แวรป์ ลอม เร่อื งอะไรทเ่ี ลยี่ งภาษี เลยี่ งลขิ สิทธิ์ อะไรต่างๆ พระเราก็ต้องเครง่ ครดั ท้ังๆ ท่คี นอนื่ เขาไม่ถือเลย แทบจะไม่ได้คิดเลย  มีพระท่ีวัดมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง ซอฟท์แวร์  เมื่อเกิดไม่แน่ใจว่าเราสามารถใช้อย่างนี้ได้หรือไม่  เลยเขียนจดหมายไปถามบริษัทท่ีอเมริกา  เขาเขียนกลับมาว่า ประทับใจมาก ต้ังแต่ต้งั บริษทั ฯ มา ไมเ่ คยมีใครทีค่ ดิ อยา่ งนี้ ขอถวายซอฟท์แวร์อีกชุดหนึ่ง  ราคาหลายพันบาทเหมือนกัน เร่ืองแบบนี้ไม่ค่อยได้ยินนะ  เขาประทับใจในความซื่อสัตย์ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเราต้องระมัดระวังเร่ืองการถือเอาสิ่งท่ี เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ชยสาโร ภกิ ขุ 23

24 คลายปม

๘ถาม : ปัจจุบันหนุ่มสาว  และวัยรุ่นส่วนหนึ่งจะมี ความสัมพันธ์ทางเพศก่อนเวลาอันสมควร  และก่อนแต่งงาน ถือวา่ ผดิ ศลี ข้อสามหรือไม่ ตอบ : เรื่องศีลข้อสาม สังเกตวา่ ไม่ระบุอะไรมาก การ แต่งงานเป็นเรื่องสมมติมากกว่าเป็นข้อตกลง  เป็นประเพณี วฒั นธรรม อย่างเช่น เมอื งไทยในอดตี การแต่งงานกไ็ มไ่ ด้เปน็ เร่ืองใหญ่เร่ืองโตมาก  หลังจากคบค้ากับทางตะวันตกซ่ึงให้ ความสำ�คัญกับงานพิธีกรรม ทางเมอื งไทยก็มแี นวโนม้ เปลยี่ น ตาม การจะเอาการแต่งงานเปน็ หลักหรอื ไม่น้ัน ก็เป็นเรอื่ งที่ไม่ แนใ่ จเหมอื นกนั หลักสำ�คัญของศีลข้อสาม  คือสองคนต้องมีวุฒิภาวะ เพียงพอ ต้องมีการตกลงกัน เร่ืองน้ีอาตมาไม่ร้จู ะตอบอยา่ งไร เพราะว่าถ้าโลกทเ่ี ปน็ จริงบอกวา่ หน่มุ สาวตอ้ งแต่งงานกนั กอ่ น จงึ จะมอี ะไรกนั ก็พูดไดแ้ ตไ่ ม่มีใครท�ำ ตาม เรยี กว่านอ้ ยคนทีจ่ ะ ทำ�ตาม  เท่าท่ีเห็นในบางประเทศที่พยายามจะเคร่งในเรื่องน้ี ท้ังๆ ที่สังคมสิ่งแวดล้อมก็มีแต่ย่ัวยุอารมณ์ทางเพศอยู่ตลอด เวลา เช่น การโฆษณาผา่ นส่ือต่างๆ มสี ินคา้ อันไหนไหมที่ไม่ เอาผู้หญิงแต่งตัวโป๊มาโฆษณา  เอาการยั่วยุทางเพศมาขาย ของได้ผลมากทส่ี ดุ ดูสือ่ ต่างๆ ท่แี วดล้อมเด็กๆ ทกุ วันน้ี ทกุ ส่งิ ทกุ อยา่ งก็ย่ัวยจุ ติ ใจไปทางดา้ นนี้ ถ้าหากวา่ เราปล่อยใหส้ ังคมเป็นอย่างนี้ ให้มกี ารกระต้นุ ให้สนใจเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ  ในขณะเดียวกันก็บอกว่า  ต้อง ชยสาโร ภิกขุ 25

แตง่ งานก่อนจงึ จะมปี ระสบการณ์ดา้ นนไี้ ด้ มนั กไ็ มส่ อดคล้อง กนั ทกุ วนั น้ี ร้สู กึ ว่ายกเร่ืองทางเพศว่ามันเป็นความสขุ เปน็ สง่ิ ทดี่ ี เปน็ สขุ สงู สุดอะไรอยา่ งนี้ กเ็ ป็นธรรมดาท่ีเดก็ วัยรนุ่ ก็ตอ้ ง สนใจ จะให้ดีเราก็ต้องมีการสอนตง้ั แตเ่ ด็กวา่ มันคืออะไร แล้ว มันมีโทษอย่างไร  มีคุณอย่างไร  เราต้องการให้เด็กเป็นผู้ท่ีมี เหตุผลและมีความรบั ผดิ ชอบทุกเรอ่ื ง ไมใ่ ชเ่ ฉพาะเรื่องทางเพศ อย่างเดียว ตอ้ งทกุ ๆ เร่อื ง เราต้องพยายามสอนให้เด็กสามารถท่ีจะอยู่เหนือ อารมณไ์ ด้ สามารถจะรวู้ า่ ตอ้ งการกต็ อ้ งการอยู่ แตว่ า่ ไมถ่ กู ตอ้ ง  แต่ถ้าสังคมรอบด้านคอยตอกย้ําว่าส่ิงน้ีมันดี  มันยอดเยี่ยม มันสนุกทสี่ ุด สุดยอดความสุข แตถ่ า้ ยงั ไมแ่ ตง่ งาน ไม่ไดน้ ะ ถ้าเป็นเด็กวัยรุน่ กต็ อ้ งต่อต้าน สดุ ท้ายปญั หาคืออะไร? ปัญหา คืออยากมีประสบการณ์ แตไ่ มค่ อ่ ยรูเ้ รอ่ื ง เด็กสิบสาม สิบสี่ ทอ้ งแลว้ กท็ �ำ แทง้ แลว้ กม็ ปี ญั หามากมาย เพราะฉะนน้ั เรอ่ื งน้ี อาตมาไม่มีคำ�ตอบที่ชัดเจนตามหลักพุทธศาสนา ถ้าพูดถึง ร้อยสองร้อยปีที่แล้ว  ตามหลักวัฒนธรรมไทยก็ถือว่าถ้าได้เสีย กนั แล้วเรียกวา่ เป็นแฟนเปน็ สามภี รรยากัน การยอมรับของสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป  อย่างเช่นเม่ือ ไม่ก่ีสิบปีที่ผ่านมาน้ีเอง  การท่ีผู้ชายผู้หญิงอยู่ด้วยกันโดยไม่ แต่งงานกันมีน้อยมาก  และจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ทุกวันน้ีมันเป็นเร่ืองธรรมดา  ผู้ท่ีจะแต่งงานน่ีดูจะน้อยกว่าผู้ที่ จะอยู่ด้วยกันเฉยๆ  แล้วก็ไม่มีใครว่าอะไร  อยู่ด้วยกันแต่ไม่ 26 คลายปม

คดิ จะแตง่ งาน พอใจจะอยู่กนั อย่างนี้ แล้วตอนน้กี ก็ ลายเป็น เรื่องธรรมดาในสังคมอังกฤษ  ซึ่งก็ไม่ต้องไปวิจารณ์ว่าถูกหรือ ผิดอย่างไร  ประเด็นนี้คงเนื่องจากว่าอิทธิพลของศาสนามี น้อยลง คนเหน็ ความส�ำ คญั ของพธิ แี ตง่ งานนอ้ ยลง คนเหน็ วา่ มันสำ�คัญว่าพอใจจะอยู่ด้วยกันไหม  รักกันไหม  เขาก็ยึดถือ แคน่ ้ัน ไมอ่ ยากจะไปผูกพนั เป็นพธิ ีกรรม  แต่กอ็ ยเู่ หมือนสามี ภรรยากัน การยอมรบั ของสงั คมเปลยี่ นแปลงไป จะเอาหลกั การแต่งงานนี้ยาก ท่ีอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ยังค่อนข้างที่จะมั่นคงใน ศาสนาของเขา  เขาก็จะรณรงค์เร่ืองทางเพศนี้ให้มากข้ึน ประเด็นสำ�คัญก็คือว่า  ตั้งแต่เด็กให้เราสอนเด็กให้รู้เท่าทัน ความรู้สึก  ไม่ยึดมั่นถือม่ันในความรู้สึก  ไม่วิ่งตามความรู้สึก พออายวุ ัยรนุ่ แล้ว ความรู้สึกทางเพศเร่มิ จะรุนแรง ถา้ มีรกั กร็ ู้ ว่านีค่ ือความรสู้ ึกอย่างหนง่ึ อันนีจ้ ะเป็นสง่ิ ท่ีดีท่ีสุด คอื ไมใ่ ห้ ชีวิตถูกกำ�หนดโดยความรู้สึกท่ีจะทำ�สิ่งท่ีจะนำ�มาซ่ึงความรู้สึก เดือดรอ้ นใจในภายหลัง ส่ิงสำ�คัญอีกประการคือ  การย้ําและการสอนให้เด็ก ผู้ชายเคารพเด็กผู้หญิง  เคารพสิทธิ์ผู้หญิง  ไม่บังคับ ผู้หญิง ไม่ใช่บังคับกายบังคับใจ นี่แหละที่สำ�คัญที่สุด ส่วนมากฝา่ ยท่ีรกุ รานคอื ฝ่ายผชู้ าย แล้วผู้หญิงก็ยอม เราต้อง เน้นสอนเด็กผู้ชายให้มีความเคารพในสิทธ์ิของผู้หญิงมากข้ึน แตว่ า่ อิทธิพลของส่ือมวลชนและภาพยนตร์ต่างๆ  มันไม่ช่วย ชยสาโร ภกิ ขุ 27

กันเลยในการสร้างบรรยากาศหรือสร้างการยอมรับท่ีถูกต้อง ภาพยนตร์ต่างๆ สมัยนี้  ผู้ชายผู้หญิงเจอกันไม่กี่นาทีก็ชวน ไปนอนกันแล้ว  กลายเป็นเรื่องธรรมดา  ถ้าเด็กเห็นอย่างนี้ ตั้งแต่เล็ก เขาก็เข้าใจว่า นี่คือธรรมดา ๙ถาม : ผ้ทู เ่ี ป็นตุ๊ด กระเทย เกย์ ทอม ดี้ ในชาติน้ี ชาตทิ ี่ แล้วประพฤตผิ ิดศีลขอ้ กาเมฯ ใช่หรอื ไม่ ตอบ : เร่ืองน้ีพูดยาก  อาตมาเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็น เพราะอะไร  แต่คิดว่า  ถ้าผู้ที่เคยเกิดเป็นผู้ชายมาหลายชาติ แล้วเกิดเป็นผู้หญิง  อาจจะมีอะไรท่ีเป็นกรรมผู้ชายติดตัวมา ทำ�ให้ชอบเพศเดียวกันหรือเป็นอะไรก็ได้  หรืออาจจะเกิดเป็น ผู้ชายหลังจากเกิดเป็นผู้หญิงมาหลายชาติก็เป็นไปได้  แต่ อาตมาว่าถึงอย่างไรก็ตาม  ชาวพุทธเราใจกว้าง  ใครจะ เป็นอะไรก็ช่างเถอะ  เราดูที่ความดีของเขามากกว่า  เขา เป็นคนดีไหม  เขาเป็นคนใจบุญไหม  แม้ว่าเขาจะมีความ ต้องการทางเพศอย่างไร  เขาสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบท่ี สงั คมยอมรับไดไ้ หม ปัญหาก็คือ  คนที่มีอะไรท่ีไม่เหมือนผู้อ่ืนหรือผิดปกติ อย่างใดอยา่ งหน่ึง เขามักจะยดึ มั่นถือมนั่ ในเร่ืองน้นั มาก เช่น ว่าฉันคอื เกย์ กลายเปน็ เอกลักษณค์ วามเป็นตวั ของเขาเลย ซึ่ง ท่ีจริงเป็นเรื่องของกาม  และเรื่องของกามก็เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของชีวิต  ไม่ใช่ท้ังหมด  ถ้าจะเอาความต้องการหรือเอาความ 28 คลายปม

พอใจในเรื่องกามเป็นเครื่องกำ�หนดชีวิตอย่างเดียว  อาตมา ว่ามันเกินไป มนั กเ็ ปน็ แคส่ ว่ นหนง่ึ ของชวี ติ เทา่ นน้ั เรอ่ื งคนเรา เคยผดิ ศลี ขอ้ ไหนในอดีต  เราไม่สามารถจะทราบได้  แต่ เรารู้ได้ว่า  ทุกวันนี้เรารกั ษาศลี ไดห้ รอื ไม่  ศลี กาเมฯ  เรา รกั ษาไดห้ รอื ไม่ ไมต่ อ้ งพดู ถงึ ชาติกอ่ น พูดถึงชาตนิ ี้ดีกวา่ ๑๐ถาม : สามีเปน็ คนเจา้ ชู้ มภี รรยาหลายคน สามีคิดว่า เขาไม่ผิด  เพราะเขายังคงรักเราอยู่และรับผิดชอบดูแลทุกคน เรากย็ งั รกั เขาอยู่ แตจ่ ะอยู่อยา่ งไรไม่ให้รสู้ กึ ทกุ ข์ จะทำ�อยา่ งไร ใหเ้ ขาเลิกพฤติกรรมน้ีเสยี ตอบ : เมียคนเดียวก็น่าหนักใจอยู่แล้ว  ไปมีมากกว่า น้ัน  ไม่เข้าใจเหมือนกัน  ไม่มีประสบการณ์ตรง  คงต้องช่ัง นา้ํ หนัก ชงั่ ผลดผี ลเสีย อยู่อยา่ งนตี้ อ่ ไปหรอื ไมอ่ ยตู่ อ่ ถา้ ชงั่ น้ําหนักแลว้ วา่ เหตผุ ลท่ีจะอยู่ตอ่ มีมากกวา่ กอ็ ยตู่ ่อ ถา้ เหตุผล ใหเ้ ลกิ มากกว่าเหตุผลอยู่ต่อ กเ็ ลกิ ควรตอ้ งพิจารณา ต้องใช้ ความคิด  ดูหลายแง่หลายมุม  คือเรารู้ว่าผู้ชายส่วนมากท่ี ขาดการฝึกอบรม  ขาดการขัดเกลาทางจิตใจ  จะมีความ อดทนน้อย  มีความเห็นแก่ตัวมาก  โยมผู้หญิงมีความ อดทนมากกว่า ฝกึ อบรมมากกวา่ สติปัญญาน่าจะมากกว่า กใ็ หอ้ ภัยบา้ ง สตปิ ญั ญาของผูช้ ายเจ้าชอู้ าจจะน้อยไปบ้าง  แตใ่ นขณะเดยี วกัน ก็ไม่ใชว่ า่ ฝา่ ยหญงิ จะยอมทกุ อยา่ ง บางที กต็ ้องบอกวา่ ถ้าจะอยู่ดว้ ยกนั ก็ตอ้ งมเี งอื่ นไขบางประการ ชยสาโร ภกิ ขุ 29

เรื่องรักน่ีอาตมาว่าไม่ใช่ประเด็นท่ีสำ�คัญท่ีสุด  ให้ เป็นกัลยาณมิตร  มีเมตตาต่อกนั มาก ๆ  จะดกี วา่   คนอยู่ ด้วยกันในลักษณะท่ีต่างเป็นทุกข์มีไม่น้อย  ส่วนมากอ้าง ความรัก  ความรักนี่มันเป็นอาการของโรคจิตชนิดหนึ่งที่ แพร่หลายมาก คงไม่มยี ารักษา เพียงแตข่ อใหบ้ รรเทาหน่อย พยายามเป็นเพ่ือนกันให้มากขึ้นๆ  ให้มีความเคารพนับถือกัน อยา่ เบยี ดเบียนกนั อยา่ ทำ�อะไรลับหลัง การทำ�อะไรให้อีกฝ่าย หนึ่งทุกข์ใจถือเป็นบาปกรรม  การไม่มีสัจจะต่อกันเป็นบาป เป็นกรรมแน่นอน  เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้คนทำ�บาปกรรม พอรกั แลว้ บางทีเหตผุ ลหายไปเลย ตกจากภพภูมเิ ดมิ ไปอีก ภพภมู ิหนึ่ง จากรักแรกพบ เป็นรักแลกภพ ๑๑ถาม : การพดู หยาบ ผดิ ศีลหรือไม่ เพราะอะไร ตอบ : เวลาที่พระพุทธองคท์ รงแสดงเรอื่ งศลี ท่านไม่ ได้แสดงเรื่องศีลห้าอย่างเดียว  ท่านจะแสดงอีกบทหน่ึงด้วย เรียกว่ากุศลกรรมบท  มี  ๑๐  ข้อ  สัมมาวาจาเป็นหน่ึงใน หมวดน้นั กต็ รงกบั ในอริยมรรคมีองค์แปด หมายถงึ งดจาก หนง่ึ การพูดเทจ็ หรือการโกหก สอง จากการพดู หยาบ สาม จากการพูดส่อเสยี ด คือทำ�ใหเ้ พ่ือนแตกแยกกัน ยใุ ห้แตกแยก กัน และสี่ คือ การพดู ไร้สาระเหลวไหล เป็นอาทิ การพูดหยาบก็เรียกว่าผิด  ถึงจะไม่ผิดในศีลห้า  ก็ยัง ผิดหลกั ศีล เพราะเป็นการพดู สิ่งท่ีไมค่ วรพูด เราพูดหยาบแล้ว 30 คลายปม

เป็นอยา่ งไรบา้ ง เรากลายเป็นคนหยาบ คิดกค็ ดิ หยาบ พดู กพ็ ูด หยาบ ถ้าเปน็ คนพูดหยาบกเ็ ปน็ ที่พอใจของคนหยาบ ไม่เปน็ ท่ี พอใจของคนดี เราอาจสงั เกตว่า พอเปน็ วัยร่นุ แลว้ บางทจี ะถือว่า การพดู หยาบมนั เท่ เหมอื นกบั วา่ เราเปน็ ผูใ้ หญแ่ ลว้ ก็เลย พดู หยาบ อันน้ีเปน็ ค่านิยมผดิ ๆ ของเด็กวยั รุน่ ทีว่ ่าจะต้อง ใชค้ �ำ หยาบมันจึงจะเท่ ถงึ จะเปน็ ผู้ใหญก่ ็ไม่พดู ดีกวา่ การพดู ท่ีจะกระทบกระเทือนจิตใจ  ถ้าเราไปว่าคนอ่ืนว่าเขาเป็นอย่าง นั้นเป็นอยา่ งนี้ ใชค้ ำ�หยาบ กเ็ ป็นธรรมดาว่าเขาตอ้ งโกรธ อาจ จะเกดิ เร่ืองชกตอ่ ย เกิดตีกนั ก็ได้ มนั จึงเป็นสงิ่ ทีไ่ ม่เหมาะสม แล้วก็ไม่เทอ่ ยา่ งทคี่ ดิ คำ�หยาบเป็นคำ�พูดของคนที่ขาดการขัดเกลา  เป็น คนชั้นต่ํา  ช้ันต่ําน่ีไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินเดือนน้อย หรอื วา่ เป็นกรรมกรแบกหาม แตห่ มายถงึ คนไม่มีคณุ ภาพ ๑๒ถาม : โกหกเพ่อื ใหพ้ ่อแมส่ บายใจบาปหรือไม่ ตอบ : ถ้าต้งั ใจพูดเร่อื งท่ไี ม่จริงมันก็บาป  แต่จะบาป มากบาปน้อยก็อย่ทู ่เี หตุผล  อย่างน้อยท่สี ุดถ้าเราโกหก  แล้ว ตอนหลังคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าเราโกหก  มันก็คงเป็นปัญหา ใชไ่ หม ตอ่ ไปเมอ่ื เราพดู ความจรงิ ทา่ นกไ็ มค่ อ่ ยอยากจะเชอ่ื เรา เพราะผ้ทู ่โี กหกจะเป็นผ้ทู ่คี นอ่นื ไว้ใจได้ยาก  และมีผลกรรมอีก อยา่ งหนง่ึ ถา้ เราเปน็ คนชอบโกหก เคยโกหก เราเองกจ็ ะไมค่ อ่ ย ชยสาโร ภิกขุ 31

เชอ่ื คนอน่ื ดว้ ย  เพราะเราคดิ วา่ ถา้ เปน็ เรานก่ี ค็ งไมพ่ ดู ความจรงิ เลยเอาความรสู้ กึ ของเราไปทบั ใสค่ นอน่ื   เราเองกไ็ มค่ อ่ ยจะพดู ความจรงิ ในเรอ่ื งน้ี คนอน่ื พดู เรากไ็ มเ่ ชอ่ื เขา ผลกรรมแบบนเ้ี หน็ ไดช้ ดั คอื ไมต่ อ้ งพดู ถงึ วา่ จะเหน็ ผลหลงั จากตายแลว้ หรอื รอชาติ หนา้ ทเ่ี หน็ ไดช้ ดั ในทนั ที ขอ้ หนง่ึ กค็ อื คนไมค่ อ่ ยจะเชอ่ื เรา ขอ้ สอง เรากไ็ มค่ อ่ ยเชอ่ื คนอน่ื ความไวว้ างใจซง่ึ กนั และกนั จะลดนอ้ ยลง เรอ่ื งการตอบค�ำ ถาม พระพทุ ธเจา้ วา่ มี ๔ อยา่ ง ซง่ึ ตอ้ งใช้ สตปิ ญั ญาเลอื กใหถ้ กู พจิ ารณาและแยกแยะค�ำ ถาม กรณแี รก บางค�ำ ถามควรจะตอบตรงไปตรงมาวา่ ใชห่ รอื ไมใ่ ช่ กรณที ส่ี อง ค�ำ ถามทเ่ี ราควรจะแยกประเดน็ ในการตอบ มนั ไมใ่ ชง่ า่ ยๆ ทจ่ี ะ ตอบว่าใช่หรือไมใ่ ช่ เพราะมเี หตุปัจจัยหลายอยา่ งมาเก่ยี วขอ้ ง ต้องรู้จักแยกประเด็น  กรณีที่สาม  คือย้อนถาม  หลวงพ่อชา ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของอาตมาท่านจะเช่ียวชาญในเรื่องนี้ จะยกตัวอย่างให้ฟงั ครง้ั หนึ่ง เคยมีโยมถามหลวงพอ่ ว่า ชาตหิ น้ามจี ริงไหม สวรรคน์ รกมีจริงไหม หลวงพอ่ ยอ้ นถามวา่ ถา้ หลวงพ่อตอบ โยมจะเช่อื ไหม โยมก็บอกว่าเชอ่ื ครับหลวงพอ่ หลวงพอ่ จงึ ยอ้ น ให้วา่ ถา้ โยมเชอ่ื โยมกโ็ งส่ ิ เพราะหลวงพ่อไม่มที างจะพิสูจน์ ให้โยมเห็นได้ว่ามีหรือไม่มี  บางทีการย้อนถามก็เป็นวิธีท่ีจะ เขา้ ถงึ ตวั ประเด็นได้ดมี าก กรณที ่ีส่ี คอื ไมต่ อบเลย พระพุทธเจ้า ทา่ นเหน็ วา่ ค�ำ ถามบางค�ำ ถามต้งั ไวบ้ นฐานที่ผิด ไมว่ ่าจะตอบ อย่างไรก็เป็นการเพิ่มความสับสนของผู้ถาม  ฉะน้ันท่านจะ 32 คลายปม

ไม่ตอบ ดงั น้นั เมอ่ื ใครถาม เรากต็ อ้ งพิจารณาวา่ ค�ำ ถามนัน้ ๆ เป็นคำ�ถามแบบไหน  ควรจะตอบอย่างไร  น่ีก็เป็นวิชาของ พระพุทธเจา้ เหมอื นกัน ๑๓ถาม : โบราณสอนว่าถ้าลูกเถียงคำ�สอนของพ่อแม่จะ เป็นบาป แตถ่ า้ ลกู เถียงด้วยเหตผุ ล และพูดในส่ิงทีถ่ กู ต้องจะ เป็นบาปหรอื ไม่ (ค�ำ ถามของผูเ้ ป็นลูก) ตอบ : ข้อทห่ี นง่ึ ต้องดเู จตนาของตัวเอง ข้อสอง ถงึ แม้ว่าเรามีเหตุผล  แต่อาจยังมีบางสิ่งบางอย่างที่เรานึกไม่ ถงึ คิดไมท่ นั อาจจะมคี วามรู้บางอยา่ งท่เี รายังไมม่ กี ็ได้ หรอื เหตุผลของเราอยู่ในกรอบที่แคบก็ได้  นั่นคือว่าให้เราถือหลัก เสมอว่า “เราอาจจะผดิ กไ็ ด้ๆ” อยา่ ไปมน่ั ใจรอ้ ยเปอร์เซนตว์ ่า เราเปน็ ฝา่ ยมเี หตผุ ล เราอาจจะผดิ กไ็ ด้ แมเ้ ราคดิ วา่ จะพดู ในสง่ิ ทถ่ี กู เรากต็ อ้ งคดิ ใหด้ ๆี กอ่ นดว้ ยวา่ สง่ิ ทพ่ี ดู จะเกดิ ผลอะไรบา้ ง บางทีเรามั่นใจว่าเราถูกแล้วท่านผิด  แต่พูดไปแล้วไม่ เกิดประโยชน์อะไร  แต่กลับสร้างปัญหามากขึ้น  ท่านก็หาว่า เราไมเ่ คารพนับถือ ให้รู้จักว่าอะไรควรพดู อะไรไมค่ วรพูด บาง สงิ่ บางอยา่ งเป็นเร่อื งจริง แตไ่ มต่ ้องพดู กไ็ ด้ พูดใหน้ อ้ ย ถา้ พูด ก็ต้องฉลาดในเรื่องกาลเทศะ  และต้องฉลาดในเรื่องอารมณ์ ตวั เอง ถา้ รู้สกึ ร้อน รสู้ กึ มีอารมณ์ อยา่ เพงิ่ พูด รอให้จิตใจเรา เยน็ เสยี กอ่ น แลว้ ดูวา่ จะพูดเรื่องน้กี บั ท่านจะพดู เวลาไหน พดู อย่างไรจงึ จะดี ชยสาโร ภิกขุ 33

เรื่องบางเร่ืองถ้ารู้สึกว่าอารมณ์เราร้อนมาก  ทุกครั้งก็ ต้ังใจจะพดู ดๆี พดู ไปพูดมาอารมณ์มนั แรงขึน้ ๆ อย่างน้ีจะท�ำ อย่างไรดี บางทตี ้องมีเพ่อื นทีด่ มี าน่ังเป็นกรรมการดว้ ย จะชว่ ย ได้เหมอื นกนั เรอ่ื งบางเรื่องอาจตอ้ งถามว่าจ�ำ เป็นไหมทจี่ ะต้อง พูดเอง หรือจะให้คนอ่นื พูดใหเ้ รา บางเรื่องแม้จะไมเ่ ห็นดว้ ย หรือรู้สึกขัดข้อง  บางทีต้องยอมอนุโลมแต่ต้องไม่ใช่เรื่อง ผิดศลี ที่ไม่ควรยอมกค็ อื ในเรือ่ งของศลี ธรรม ข้อพิจารณาอีกประการหนึ่งท่ีจะดูว่าเหตุผลเราถูก หรือไม่  ให้เช่ือและให้เทียบกับคำ�สอนของพระพุทธเจ้า อยู่เสมอ อนั นี้จะเป็นมาตรฐานทีแ่ น่นอน ๑๔ถาม : พดู ปดเพอ่ื ใหผ้ ปู้ ว่ ยสบายใจถอื วา่ ผดิ ศลี หรอื ไม่ ตอบ : เร่ืองนี้ต้องแยกประเด็น  เรื่องผิดศีล  คงผิด แนน่ อน เพราะวา่ ถา้ มเี จตนาทีจ่ ะพดู สง่ิ ท่ไี ม่จรงิ หรือเจตนา ที่จะให้คนเข้าใจผดิ เรียกวา่ เราทำ�ผิดศีล แตเ่ รอื่ งเหตผุ ลที่ เราพดู ปดนัน้ เราตอ้ งแยกประเดน็ ว่าเรามเี หตผุ ลอย่างไร เราก็ ชั่งนา้ํ หนักของเหตผุ ล ผลดีผลเสยี พยายามคดิ ให้ดี อาจจะมี ในบางกรณีท่ีเราคิดพิจารณาแล้ว  คิดทบทวนหลายคร้ังแล้ว รู้สึกว่าจะต้องยอมบาปในเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่าเจตนาดีกเ็ ลยไม่บาป เจตนาที่เราตอ้ งพูดสิ่งที่ไม่จรงิ น้ี เราตอ้ งเข้าใจดว้ ยว่า ทเี่ ราพดู ให้คนสบายใจ  อาจจะได้ผลดีในระยะส้ัน  แต่ก็อาจจะมีโทษ ตามมา 34 คลายปม

เชน่ สมมตวิ า่ คนป่วยรู้ความจรงิ จากคนอ่นื หรอื ว่าถงึ ขั้นที่จำ�เป็นต้องพูด  แล้วเราก็ต้องยอมรับว่าก่อนหน้าน้ี  เรา ไม่ได้พูดความจริง  เขาก็ต้องเสียความเชื่อถือ  และเสียความ ไว้วางใจในตัวเรา  เพราะเขาได้รู้ว่า  เราเป็นคนที่โกหกเขาได้ ความรสู้ กึ มนั ต่างกนั มากนะ ถา้ เรารู้ว่าเพื่อนของเราคนหน่ึง ไม่ ว่าดว้ ยเหตุผลอะไร เขาจะไมพ่ ูดเท็จ เรากไ็ วว้ างใจเขาได้ แต่ถา้ เรารู้วา่ หากเพ่ือนคนนเี้ หน็ วา่ สมควรโกหกเขาก็จะโกหก ถ้าไม่ สมควรกไ็ มโ่ กหก ความรู้สึกมนั จะเปลี่ยนไปมาก  เพราะเราจะ เกิดความไมไ่ วว้ างใจ การพูดความจริงย่อมดีกว่า  พูดถึงความสัมพันธ์ที่ ถูกต้อง  หากเราพูดความไม่จริงแม้จะด้วยเหตผุ ลดๆี   แตเ่ ม่ือ เราพูดไม่จริงตรงนี้  ก็ทำ�ให้ต้องพูดไม่จริงตรงนั้นด้วย  เพื่อจะ ได้สอดคล้องกนั มันก็กลายเป็นเรอ่ื งว่นุ วายไปเลย ประเด็นจึง อยู่ท่ีว่า  การพูดความจริงไม่ใช่ว่าต้องพูดทุกส่ิงทุกอย่างท่ี เปน็ จรงิ และในเวลาเดียวกนั เราก็เลย่ี งได้ โดยหาทางพูด เรือ่ งอ่ืน หรอื ไมพ่ ูดเลย หรอื ยิ้มก็ยังได้ วัฒนธรรมการย้ิมของไทยน่ีดีนะ  เขาทำ�อะไร  พูดอะไร  หากเราไม่อยากตอบ  เราก็ไม่ต้องไปโกหกเขา เพยี งแคเ่ รายมิ้ เร่อื งกจ็ บได้ ถ้าเป็นท่ีเมืองนอกอาจจะไม่ได้ผล  เขาจะสงสัยว่ายิ้ม อะไร ย้ิมอยา่ งนี้แปลวา่ อะไร ขณะที่คนไทยมารยาทดกี จ็ ะไม่ คดิ อย่างนนั้ จะรวู้ า่ เขาไม่อยากตอบ เขาไมส่ ะดวกจะตอบ มัน ชยสาโร ภิกขุ 35

เป็นศลิ ปะอยา่ งหนง่ึ ศลิ ปะในการพูด มนั เป็นสว่ นหนงึ่ ของการ เจริญด้วยสัมมาวาจา  ทำ�อย่างไรเราจึงจะพูดให้เขาสบายใจ โดยไมใ่ หศ้ ลี เราเสยี ทำ�ได้ไหม สมมติว่าเราเป็นหมอแล้วคนไข้ถามว่า ท่านคดิ วา่ ผมจะ หายไหม เราก็พูดได้ว่าเราหวังว่าจะหาย แม้เราจะรู้ว่าคงไม่ หาย ถ้าบอกความจริงเขาจะหมดกำ�ลังใจ แตเ่ ราก็ไมต่ อ้ งบอก ว่า หาย หาย หาย แน่นอน สบายใจได้ ไม่จ�ำ เปน็ ต้องยนื ยันหนกั แนน่ ถึงขนาดนน้ั ก็บอกวา่ หวังว่าจะหาย อยา่ งน้มี นั เปน็ การ เปลี่ยนประเด็นไป  เราก็บอกว่าอยากให้หาย  หวังว่าจะหาย แต่เรากต็ อ้ งเตรียมตัวพรอ้ มเสมอ เพราะพระพุทธเจ้าทรงสอน ว่าอะไรๆ มันก็ไม่แน่นอน  ขนาดสุขภาพดีมันยังไม่แน่นอนอยู่ แล้ว ยงิ่ ป่วยย่งิ มีโรคอยา่ งน้เี ราประมาทไม่ได้ เราตอ้ งพยายาม ท�ำ สมาธิให้มาก ทำ�จิตใจให้ดี ใหค้ ิดแตส่ ่ิงทีด่ ีท่ีงาม เรากใ็ ห้ ขอ้ คดิ ในทางทส่ี รา้ งสรรคไ์ ด ้ นเ่ี ปน็ เรอ่ื งของสตใิ นชวี ติ ประจ�ำ วนั บางทีการโกหกดูว่าเป็นทางออกง่ายๆ แตม่ นั ไม่ใชท่ างออกทดี่ ี ๑๕ถาม : พดู ปดเพอ่ื ใหพ้ ่อแมส่ บายใจ เป็นบาปไหม เช่น ซื้อของราคาแพงใหท้ า่ น เพราะอยากใหท้ ่านไดใ้ ช้ของคณุ ภาพ ดี เมอื่ ทา่ นถามราคากบ็ อกท่านว่าไมแ่ พง ตอบ : น่าลองถามพวกเราดูนะว่าคิดอย่างไรกับ เรอ่ื งนี้ เอ้า ใครว่าบาปยกมอื บาปหรอื ไม่บาปประมาณครึ่ง หน่ึงนะ ไม่ลงคะแนนกันก็มาก สงสยั จะคอยฟงั วา่ พระอาจารย์ 36 คลายปม

จะตอบว่าอย่างไร  ก่อนอ่ืนเราต้องคุยกันเร่ืองความหมายของ “บาป”  ศาสนาที่มีพระผู้เป็นเจ้าจะถือว่าบุญและบาป  คือ เป็นส่ิงท่ีพระผู้เป็นเจ้าพอใจหรือไม่พอใจ  สิ่งท่ีพระผู้เป็นเจ้า อนุญาตหรอื ไมอ่ นุญาต เปน็ ต้น เราจะรไู้ ดอ้ ยา่ งไรวา่ บญุ หรือ บาป หรือส่ิงทีเ่ รียกว่า ศีลคอื อะไรบา้ ง ก็ตอ้ งศึกษาพระคัมภรี ์ ของศาสนานน้ั ๆ เราจงึ จะรู้ ตวั เราเองไม่สามารถจะรไู้ ด้ เพราะ เราเปน็ สตั ว์ผู้มีบาป ร้หู ลงอยเู่ ป็นธรรมดา ความดี ความชวั่ บญุ หรือบาปในศาสนาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่พระศาสดาเป็นผู้กำ�หนด ไวใ้ นคมั ภีร์ สว่ นพทุ ธศาสนา เราเอาจติ ใจของมนษุ ย์เป็นหลัก ไม่ได้ เอาคัมภีร์เป็นหลัก เวลาที่สวดมนต์บทธรรมคุณ ก็มีคำ�ว่า “สันทิฏฐิโก” นน่ั หมายถึงว่าทุกคนสามารถรู้เหน็ เข้าใจไดด้ ว้ ย ตนเอง ในทางพุทธศาสนา เราเอากิเลสหรือความโลภ ความ โกรธ ความหลงเป็นหลกั ในการตัดสนิ เราจะเอาค่านยิ มหรอื ความเชื่อถือของคนท่ัวไปเป็นหลักไม่ได้  ถ้าสังคมเป็นสังคม สัมมาทิฐิ  ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์  มันก็จะตรงกัน  ส่ิงใดที่สังคม สรรเสรญิ สังคมอนญุ าต เรากร็ ูไ้ ด้ว่าเปน็ บญุ ทัง้ หมด ส่งิ ใดท่ี สังคมห้ามหรือสังคมตำ�หนิหรือผิดกฎหมาย  ถ้าเป็นสังคม สัมมาทฐิ ิก็ถือเปน็ บาปหมด แตใ่ นบางกรณีไมใ่ ช่อย่างนนั้ เชน่ กฎหมายบ้านเมอื ง พระอรยิ ะเจา้ ไม่ไดเ้ ปน็ ผูร้ า่ งกฎหมาย ผ้มู ี อำ�นาจในบ้านเมืองเป็นผู้ร่างกฎหมาย  ผู้มีผลประโยชน์ด้าน ต่างๆ ก็มีส่วนเกยี่ วข้องไมม่ ากกน็ อ้ ย เราจะเอาคมั ภรี เ์ ปน็ หลัก ชยสาโร ภิกขุ 37

ไม่ได้ เราจะเอากฎหมายบ้านเมืองหรือรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ไม่ได้ หรือจะเอาความเช่ือถอื หรือคา่ นิยมของสงั คมเปน็ หลักก็ ไม่ได้ แตเ่ ราเอาความจริงภายในเป็นหลกั ได้ ความจรงิ คอื การกระท�ำ อนั ใด การพดู อนั ใด ความคดิ อันใดท่ีประกอบด้วยกิเลสท้ังหลายท้ังปวง  ท้ังความโลภ  ความโกรธ  และความหลง  ความขดั เคอื ง  ความหงดุ หงดิ ร�ำ คาญ อารมณท์ ง้ั หลายในทางลบทอ่ี ยใู่ นขา่ ยของโทสะ เรากเ็ รยี กรวมกนั วา่ ความโกรธ ถา้ เราท�ำ อะไรดว้ ยเจตนา ทป่ี ระกอบดว้ ย ความโลภ ความโกรธ ความหลง  เราเรียก ว่าบาป  เร่ืองบุญหรือบาป  เราจะต้องรู้จักพิจารณาภายในว่า เรามเี จตนาอย่างไร เรื่องนเ้ี ปน็ เรอ่ื งสำ�คัญ อย่างไรก็ดี  ถ้าเรามีเจตนาท่ีจะให้คนอื่นเข้าใจสิ่งใด ก็ตามคลาดเคลื่อนจากความจริงเท่าที่เราเข้าใจ  คือตั้งใจให้ เขาเขา้ ใจผิด นั่นก็ถอื วา่ เราผิดศลี ขอ้ น้ี เพราะเรามเี จตนาท่จี ะ พดู สิ่งทไี่ ม่ตรงตามความเปน็ จริง ถามวา่ บาปไหม ถา้ ในกรณี นีค้ ืออยากใหผ้ ใู้ หญส่ บายใจ เราก็เสยี สละเงินทองของเรา ซื้อ ของดีให้คุณพ่อคุณแม่ด้วยความรักความกตัญญูก็เป็นการ กระทำ�ทีน่ า่ ชม แตเ่ มื่อทา่ นถาม ถา้ เราตงั้ ใจใหท้ ่านเข้าใจว่า ของราคาถูก ทั้งท่ีเปน็ ของแพง อยา่ งนอ้ ยเราก็ตอ้ งมคี วามรสู้ ึก อยู่บา้ งนดิ ๆ ใช่ไหม ตอ้ งมคี วามตะขิดตะขวงใจ นน่ั ก็คือความ เศรา้ หมองอย่างหนึง่ 38 คลายปม

นค่ี อื ผลเสียหรือโทษของการพดู เท็จพดู โกหก แมว้ า่ เป็นเพียงเร่อื งเล็กน้อยหรือเป็นเร่อื งการรักษาน้าํ ใจคนอ่นื แต่คุณธรรมคือสัจจะบารมีของเราจะถูกเบียดเบียนเล็กๆ นอ้ ยๆ ไปดว้ ย  อย่างน้อยมนั จะไม่เจรญิ งอกงามในระดับ ท่ีจะเป็นที่พึ่งแก่เราได้  ถ้าเรายอมอนุโลมในเรื่องเล็ก น้อย จะสงั เกตตัวเองไดว้ ่ากิเลสของเรามนั มกี ำ�ลังเพิ่มขน้ึ เราจะกลา้ คดิ กล้าทำ�ตามอ�ำ นาจกเิ ลสมากขน้ึ คือ ส่งิ ทเ่ี รา เหน็ วา่ จ�ำ เป็นหรือสมควรพูดเทจ็ จะเพิม่ มากขน้ึ เร่ืองน้ีตอนเริ่ม ต้นจะชดั เจนมาก คอื เจตนาดี ไม่อยากใหท้ า่ นเปน็ หว่ งวา่ เราใช้ เงนิ มากเกินไป ไม่อยากใหท้ า่ นมีความร้สู ึกทีไ่ มด่ ี แต่เมื่อมนั ได้ เรมิ่ แลว้ มันจะแผข่ ยายออกไปอกี นี่แหละโทษอยูต่ รงนี้ เพราะ วา่ มันไมไ่ ด้จบอยู่แคน่ ี้ ความรักสัจจะซง่ึ เป็นคุณธรรมทง่ี ดงาม จะลดน้อยลง เพราะวา่ มกี ารยกเว้นไวใ้ หแ้ ลว้ บางครงั้ เราอาจจะโนม้ น้าวใจตวั เองไวก้ อ่ นว่า ที่เราพูด เท็จนั้นเพราะไม่อยากให้ท่านไม่สบายใจ  แต่การที่เราโกหก หรือหลอกลวงตัวเองว่าทำ�เพ่ือคนอื่น  ที่จริงอาจจะไม่ใช่  อาจ จะเป็นวา่ กลัวย่งุ ขีเ้ กยี จอธิบาย หรอื อาจจะเป็นเหตผุ ลอย่าง อ่นื ท่ไี ม่บริสุทธิร์ อ้ ยเปอร์เซ็นต์ อาจจะบริสุทธส์ิ กั หกสบิ เจ็ดสบิ เปอรเ์ ซ็นต์ หรอื อาจจะไม่ใชเ่ ลยกไ็ ด้ อานิสงส์หรือประโยชน์ของ ศลี แตล่ ะขอ้ เพอ่ื เปน็ มาตรฐานท่ชี ดั เจน ทไี่ ม่ขน้ึ อยกู่ ับความคดิ ของเรา ความต้องการของเราหรือขึ้นกับกิเลสท้ังหลายของเรา ศลี จะทำ�ใหเ้ ราไมต่ ้องคดิ มาก ชยสาโร ภกิ ขุ 39

ถ้าไมม่ ีมาตรฐานทชี่ ัดเจนอาจเกดิ เรอื่ งได้ เชน่ พูดแลว้ คนอ่ืนอาจจะไมช่ อบเรา เขาอาจจะโกรธเรา เราอาจจะมีปัญหา อะไรสกั อยา่ ง จะพูดดไี หมหนอ ไมพ่ ดู ดีไหมหนอ จติ ใจไม่ สงบแลว้ หรอื กำ�ลงั จะวุน่ วาย หากเรามมี าตรฐานท่ีชัดเจนวา่ ยงั ไงๆ ก็จะไม่พูดเทจ็ ไม่โกหก สติปัญญาที่เกดิ ขึน้ วา่ ในเม่อื การพดู ความจริงอาจจะมผี ลไมด่ อี ย่างนน้ั อย่างนี้ ทำ�อย่างไร เราจึงจะแก้ปัญหาหรือป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดข้ึนโดยไม่เสีย ศีล มนั จะไม่วุ่นวายเหมอื นในกรณที คี่ ดิ ว่า เอะ๊ ...จะพดู จริงดี ไหมหนอ หรือจะพูดเทจ็ ดี อยา่ งนีไ้ มส่ งบ ถา้ มีมาตรฐานวา่ จะ ไมโ่ กหกเปน็ อนั ขาด แลว้ จงึ คิดพจิ ารณาว่าจะพดู อย่างไร ไม่ใหเ้ ขาเสยี นํา้ ใจหรอื เสียก�ำ ลงั ใจ นีค่ อื ทางออกของผู้ที่ ใชป้ ญั ญา ในกรณีนี้เราต้องใช้ปัญญาในการรักษาศีล  คือไม่ใช่ เด็ดขาดเบ็ดเสร็จว่าต้องจบอย่างน้ีๆ  แต่ว่าเป็นมาตรฐานซึ่ง ต้องใช้สติปัญญาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วัน  ถ้าเรารักษา ได้เราก็มีความสุข  เราควรจะสำ�รวจศีลของตัวเองบ่อยๆ  ถ้าทบทวนศีลของตัวเอง  รู้สึกว่าวันน้ีหรือหลายวันท่ีผ่านมา ศีลเราบริสทุ ธิ์ ถา้ ๑๕ วันทีผ่ ่านมามน่ั ใจว่าไม่เคยโกหกใคร ไม่เคยพูดเท็จกับใครไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ  จะมีความสุข มากๆ นะ มีความภาคภมู ิใจ รสู้ ึกเคารพนบั ถอื ตัวเองเพิม่ มาก ข้ึน  ครูบาอาจารย์เปรียบความรู้สึกเหมือนไหว้ตัวเองได้  น่ีคืออานิสงส์ของการรักษาศีล  สัจจะบารมีเจริญงอกงาม  40 คลายปม

ความเชื่อมั่นในตัวเองก็เพิ่มมากขึ้น คราวหน้าถ้าท่าน ถามว่า โอ้ ของน้ีดดู นี ะ แพงไหมลกู เราก็ตอบวา่ ของ คุณภาพดีสมราคาครับ (ค่ะ) ! ๑๖ถาม : การบรรลุถึงข้ันโสดาบันด้วยการรักษาศีลห้า นนั้ การพดู ความจริงไม่โกหก แต่ไมเ่ ข้มงวดเรอ่ื งสัมมาวาจา เช่น ยังมีพูดเพ้อเจอ้ พูดส่อเสยี ด อยูบ่ ้าง จะได้หรอื ไม่ ตอบ : พูดโกหก พูดหยาบ พดู สอ่ เสยี ดเปน็ กลุ่มหน่ึง พูดเพ้อเจ้อนี่แยกออกต่างหาก  อันนี้จะเห็นในวินัยสงฆ์ มสุ าวาทา พดู โกหก พดู หยาบ พดู สอ่ เสียด ๓ ขอ้ นี้ปรบั อาบัติ ปาจติ ตยี ์ สว่ นเพอ้ เจ้อ ปรบั อาบตั ิ ทกุ กฎ ทพุ ภาสติ โดยท่วั ไป ถือว่าสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุโสดาบันโดยตรงคือ  สามข้อแรก  เพราะว่าพระอริยเจ้าในข้ันต้น  คือพระโสดาบัน กย็ งั อาจพูดเพอ้ เจอ้ ไดบ้ า้ งในบางโอกาส แตจ่ ะไมเ่ หลวไหล เหมอื นคฤหสั ถ์ จะมีปรบั อาบตั ิเป็นเพอ้ เจอ้ ในระดับหนึ่ง แต่ ไมใ่ ชว่ ่าเป็นโสดาบันเพ้อเจ้อแลว้ ไม่เป็นไร อันนั้นไม่ใช่ ท่านก็ ยังมเี หลืออยูน่ ิดๆ แต่เรอ่ื งโกหก พดู หยาบ พดู ส่อเสียดน้ันไม่มี ๑๗ถาม : คนที่ชอบด่ืมไวน์ส่วนหนึ่งจะอ้างว่าเพื่อเข้า สังคม เพือ่ สขุ ภาพ และใหเ้ หตผุ ลวา่ ด่ืมนิดเดียว ไมน่ า่ จะผดิ ศลี เพราะไม่ไดม้ นึ เมา ท่านอาจารยเ์ ห็นวา่ อย่างไร ชยสาโร ภกิ ขุ 41

ตอบ : เร่ืองการเข้าข้างตัวเองนี่เห็นไหม  พอหมอคน สองคนบอกว่าดื่มไวน์นี่ดี แก้หลายโรค ข่าวนี้ดังทั่วประเทศ ดังเร็วมาก ทั้งๆ ท่ีภายหลงั ก็มีหมออีกพวกหนึง่ บอกว่าไมใ่ ช่ แต่ กรณหี ลัง ไมเ่ หน็ ใครเคยไดย้ ินเลยใช่ไหม จำ�ได้แตห่ มอท่บี อก ว่าดี  ขอพูดเร่ืองศีลนิดหน่ึงว่า  ถ้าเรามองศีลแบบจริยธรรม สากลแบบฝร่ัง เป็นขอ้ ๆ อยา่ งเชน่ ศีล ศาสนาน้ันก็มีศาสนาน้ี ก็มี แล้วเรากเ็ อาแค่การเบียดเบยี นคนอื่นเป็นหลักใหญ่ เราจะ ไม่เขา้ ใจระบบศลี ธรรมของศาสนาพุทธ ระบบศีลธรรมของพุทธไม่เหมือนระบบศีลธรรมใน ศาสนาอน่ื มขี อ้ แตกตา่ งทส่ี �ำ คญั มาก ในศาสนาทพ่ี ระผเู้ ปน็ เจา้ เป็นหลักก็ถือว่าศีลธรรมมาจากท่าน  ท่านเป็นผู้สั่งว่าต้อง อย่างนี้ เพราะพระผ้เู ป็นเจ้าหรอื เทพสูงสดุ ชอบอยา่ งนี้ ต้องการ ให้มนุษย์เป็นอย่างนี้  ถ้าเป็นอย่างนี้ให้รางวัล  ถ้าทำ�อย่างน้ี ลงโทษ เป็นระบบทพี่ ระผ้เู ป็นเจ้ากำ�หนดทุกอยา่ ง ถ้ามรี ะบบ เบด็ เสร็จเดด็ ขาดแบบน้ี มันกต็ อ้ งมีระบบเส้นสายตามมาดว้ ย ถ้าทำ�ผิดต้องใช้เส้นสายขอร้องให้ผ่อนหนักเป็นเบา  เพราะ วา่ ถ้าความผดิ ขึน้ อยกู่ นั ทา่ นองคเ์ ดียว ถ้าเราขอดๆี ท่านอาจ จะเหน็ ใจเรา อาจจะยกโทษใหเ้ รา อนั น้ีคอื ระบบศลี ธรรมของ ศาสนาท่มี ีเทพเจา้ สูงสดุ เป็นผู้บันดาลหรอื เป็นผบู้ ญั ญตั ิ กรณีของพุทธเรานี่ไม่ใช่อย่างน้ัน  เราถือว่ามนุษย์มี ศักยภาพเข้าถึงสิ่งที่แท้จริง  เข้าถึงส่ิงสูงสุดได้ด้วยการฝึก กาย วาจา ใจ ตามหลกั อรยิ มรรคมีองค์แปด ซ่ึงเป็นระบบ 42 คลายปม

องค์รวม ศีลคือการกระทำ�ทั้งกายวาจาที่จะนำ�ไปสู่สมาธิ และปญั ญา ถ้าเรามองแตใ่ นแงไ่ ม่เบยี ดเบยี นคนอนื่ ไม่ทำ�ให้ คนอ่นื เดอื ดร้อนใจ กเ็ ปน็ แคแ่ งห่ นึง่ ระดับหนึง่ ของศีล ถ้าเราเป็นชาวพุทธท่ีมีความเช่ือม่ันในคำ�สอน  และ พยายามจะปฏบิ ัติตามค�ำ สอนของพระศาสนา เราต้องการศลี ในระดับท่ีเป็นส่วนหน่ึงของมรรค  ศีลท่ีจะนำ�ไปสู่ความสงบที่ จะนำ�ไปสปู่ ญั ญา ในแงน่ ใี้ นระดับนี้ กนิ เหล้านี่ผิดอยา่ งชดั เจน สำ�หรับอาตมาไม่คิดอะไรมาก  ถ้าพระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าทำ� ก็ถอื ว่าทา่ นเป็นพ่อของเรา ทา่ นหา้ ม เราก็ไมต่ อ้ งดื่ม ไมต่ อ้ ง ไปคิดอะไรมาก ไม่ต้องมเี หตผุ ลอะไรมาก พระพุทธเจา้ ทา่ นวา่ ผู้ทจ่ี ะเจริญในธรรมไมค่ วรดม่ื ถา้ เราต้องการจะเจรญิ ในธรรม เราเชือ่ พระพุทธเจา้ ก็จบแค่น้นั ไม่ดืม่ เมอื่ เรารกั ษาศีลห้าครบ พอเราอ่านพระสตู ร ฟงั พระ เทศน์  คุณธรรมของอุบาสกอุบาสิกา  ศีลของพระอริยเจ้า ในระดบั โสดาบัน ท่านก็รกั ษาศลี หา้ ข้อ เรากน็ ึกในใจ เรากม็ ี เหมือนกันนะ  แสดงว่าถูกทางแล้ว  มันก็เกิดความปราโมทย์ เกิดปีติอยู่ในใจว่า  เราเป็นลูกที่ดีของท่าน  อาตมาว่าน่ีเป็น เหตผุ ล ส�ำ หรบั คนทไ่ี มเ่ คยศกึ ษาพทุ ธศาสนาเลยคงจะไมเ่ ขา้ ใจ ยง่ิ พวกทไ่ี ปอยเู่ มอื งนอกนานๆ  ไปสบั สนกบั ศาสนาตา่ งๆ  ไม่ แยกแยะ  หรือไปมองพุทธศาสนาแบบฝรั่งย่ิงไม่เข้าใจเลยใน เรือ่ งน้ี ชยสาโร ภกิ ขุ 43

เราต้องเรียนรู้ระบบพุทธศาสนา  ศีลธรรมของเรามี เอกลักษณ์อย่างไร  สัมพันธ์กับเร่ืองสมาธิปัญญาอย่างไรใน ชวี ิตทีด่ ีงาม มันจึงจะเขา้ ใจ หากดื่มเพ่ือเขา้ สงั คม สงั คมกไ็ ม่ ไดม้ ีเพียงอนั หนง่ึ อันเดียวมิใชห่ รอื สงั คมมนั เปน็ ปกึ แผ่น และมี อันหน่ึงอันเดียวที่ตายตัว  หรือมีข้อบังคับอย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาว่าไม่ใช่  มันมีหลายสังคมเหลือเกิน  มันไม่ใช่ว่าเรา มีหนา้ ท่ที ่จี ะปรับตัวเขา้ กบั สงั คมของพวกกนิ เหลา้ ท่ีจริงผู้ท่ีมีศรัทธาปฏิบัติธรรมควรจะเป็นคนช่วยนำ� สังคมในด้านศีลธรรม  เพราะพวกที่สนใจศึกษาคำ�สอนของ พทุ ธศาสนา ไม่วา่ จะเป็นอบุ าสกอบุ าสิกาท่ดี ี เป็นฝา่ ยฆราวาส ท่ีดีในสังคมพุทธเราน่ีแหละ  ควรจะเป็นผู้นำ�ในเร่ืองที่ดี  เขา ควรจะต้องเลิกดื่มเหล้าเพ่ือเข้าสังคมกับเรา  ไม่ใช่ว่าเรา จะต้องดื่มเพื่อเข้าสังคมกับเขา  และถ้าไม่กินเลยมันจะเสีย หายจรงิ ๆ หรือ ทำ�ไมประเทศมาเลเซีย ประเทศซาอดุ ิอาระเบีย ประเทศอิสลาม  เขาก็มีนักธุรกิจช้ันนำ�ที่ไม่ด่ืมไม่ใช่หรือ  ทุก วันน้ีอสิ ลามท่ีไม่ด่ืมก็มีมากมาย ฝรัง่ กย็ ังมบี างสว่ น ถงึ จะดม่ื สว่ นมากก็ไม่ใช่วา่ ดมื่ ทกุ คน อาตมาว่า  เร่ืองน้ีเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นชาวพุทธ ทดี่ ี เราต้องสร้างกระแส เช่นว่า “ขอโทษ ฉนั ไม่ดม่ื ฉนั ถอื ศลี ” “อ่ะ ถอื ศลี หรอื พทุ ธก็มีศีลด้วยหรอื ไมเ่ คยได้ยิน” ใช่ เราก็ งดเว้นจากการดื่มของพวกนี้  ฝร่ังเขาก็ประทับใจเหมือนกัน เคยคดิ แตว่ า่ อสิ ลามมศี ลี และเขา้ ใจวา่ ของพทุ ธอะไรๆ กไ็ ดท้ ง้ั นน้ั 44 คลายปม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook