Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือหลักสูตรฯ ระดับพื้นฐาน

คู่มือหลักสูตรฯ ระดับพื้นฐาน

Published by NCD e-Learning, 2021-11-29 07:48:09

Description: คู่มือหลักสูตรฯ ระดับพื้นฐาน

Search

Read the Text Version

E–Learning หลกั สูตรการเพมิ่ สมรรถนะการจดั การ โรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง (ระดบั พืน้ ฐาน) DDC 64043 กลุ่มพฒั นาคุณภาพบริการ กองโรคไม่ตดิ ต่อ กรมควบคุมโรค

หลกั สูตรการเพมิ่ สมรรถนะการจดั การ โรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง (ระดับพืน้ ฐาน) คณะทีป่ รกึ ษา ผู้อำนวยการกองโรคไมต่ ดิ ต่อ รองผอู้ ำนวยการกองโรคไมต่ ิดต่อ แพทยห์ ญิงศศิธร ตัง้ สวสั ด์ิ หวั หนา้ กลมุ่ พัฒนาคณุ ภาพบรกิ าร แพทย์หญงิ จรุ พี ร คงประเสรฐิ นางสาวณฐั ธวิ รรณ พันธม์ ุง รวบรวมและจดั ทำโดย นักวชิ าการสาธารณสุขปฏบิ ัติการ นกั วชิ าการสาธารณสุขปฏบิ ัตกิ าร นางสาววรัญญา ตรเี หลา นกั วชิ าการสาธารณสุขปฏบิ ัติการ นางสาวรุ่งนภา ลน่ั อรญั นางสาวสภุ าพร หน่อคำ กล่มุ พฒั นาคณุ ภาพบรกิ าร กองโรคไมต่ ดิ ตอ่ กรมควบคุมโรค หลกั สตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดับพนื้ ฐาน) ได้ผ่านการตรวจประเมิน และรับรองมาตรฐานผลติ ภัณฑ์ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ณ วันท่ี 16 พฤศจกิ ายน 2564 Citation: Division of Non Communicable Diseases. Department of Diseases Control. Diabetes and Hypertension management training course (Basic Level). Edition 1. Nonthaburi: Department of Disease Control (TH); 2021.

คำนำ ปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพ ของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2559 พบว่าทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ตดิ ตอ่ เรื้อรังประมาณ 41 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสยี ชวี ิตของประชากร โลกท้ังหมด สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ประมาณ 3.9 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก และยังพบว่าโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก็มีความรุนแรง ถือเป็นภัยคุกคาม ต่อวัยทำงานอย่างย่ิง และมีความจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน จากประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ ดังกล่าวข้างต้น การดำเนินงานเพ่ือป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรด้าน สาธารณสขุ ทมี่ ีความรู้ความสามารถเพอ่ื การจัดการโรค และจากการสำรวจข้อมูลบคุ ลากร System Manager (SM) และ Case Manager (CM) ใน NCD Clinic ปี 2562 พบว่า มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานน้อยไม่เพียงพอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการโยกย้าย เปลี่ยนงาน และลาออก เนื่องจากภาระงานท่ีหนัก ต้องรับผิดชอบ ท้ังในคลินิกและติดตามดูแลในชุมชนแบบองค์รวม จากปัญหาดังกล่าว กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สนับสนุนองค์ความรู้ ทักษะ ที่ถูกต้องและทันสมัย ในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ และเพ่ือให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันแบบ New Normal ในปีงบประมาณพ.ศ. 2563 ได้พัฒนารูปแบบการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเป็นแบบออนไลน์ โดยเริ่มจัดทำเป็นหลักสูตรระดับพนื้ ฐาน มีวัตถปุ ระสงค์หลักเพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขและเครือข่ายมีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการ ใหป้ ระชาชนเขา้ ถงึ บรกิ ารทม่ี ีคุณภาพ คู่มือหลักสูตรการเพิ่มสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดับพื้นฐาน) เป็นการรวบรวมข้อมูลในภาพรวมของหลักสูตรฯ ประกอบด้วย กรอบโครงสร้างหลักสูตร ขอบเขตเนื้อหา คุณสมบัตวิ ิทยากร ประเมินผลการอบรม และผลการดำเนินงานของหลักสูตรฯ เพ่ือเป็นแนวทางในการพัฒนา หลกั สูตรฯ ตอ่ ไป กลุม่ พัฒนาคณุ ภาพบรกิ าร กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ก

กิตติกรรมประกาศ การจัดทำคู่มือหลักสูตรการเพิ่มสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดับพื้นฐาน) สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับความกรุณาจากผู้บริหาร อาจารย์ท่ีปรึกษา และ คณะทำงาน ขอขอบพระคุณแพทย์หญิงศศิธร ต้ังสวัสด์ิ, นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกอง โรคไม่ติดต่อ, แพทย์หญิงจุรีพร คงประเสริฐ รองผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ, อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สำนักงาน วเิ ทศสัมพันธ์ กรมสุขภาพจิต, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด ไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลรามาธบิ ดี, โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จังหวัดชุมพร, สภาการพยาบาล, สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร, โรงพยาบาลตรัง จังหวัดตรัง, สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และผู้ท่ีมีส่วนร่วมทุกท่าน ท่ีสละเวลามาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และแนะนำ อันเป็นประโยชน์การจัดทำคู่มือเล่มน้ีให้มีความสมบูรณ์ ชัดเจน และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ศกั ยภาพบคุ ลากรให้มีคณุ ภาพต่อการดำเนินงานดา้ นโรคไม่ตดิ ต่อไป ข

สารบัญ หนา้ คำนำ ก กติ ติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญรูปภาพ ง สารบญั ตาราง จ บทสรปุ ผูบ้ ริหาร ฉ ชือ่ หลกั สูตร 1 ท่มี าและความสำคัญ 1 วัตถปุ ระสงคห์ ลักสตู ร 2 กลุ่มเป้าหมาย 2 รปู แบบการอบรม 2 ระยะเวลาการอบรม 2 โครงสร้างหลักสูตร 2 การประเมินผลการอบรม 6 การประเมินผลการใช้หลักสูตร 7 จบหลักสตู ร (ตัวอยา่ งใบประกาศนยี บัตร) 9 แผนการจัดทำหลักสูตร 10 เน้อื หาหลักสตู ร 12 - หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 1 Introduction 12 - หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 2 สมรรถนะการใหบ้ รกิ ารโดยตรงแกผ่ ปู้ ว่ ยเบาหวาน 17 และความดนั โลหิตสงู 78 - หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สมรรถนะการดำเนินงานกับครอบครัวและชมุ ชน 81 คณุ สมบตั ิวิทยากรผู้เชีย่ วชาญ 85 ภาคผนวก 86 - ภาคผนวก ก คำส่ังแต่งตงั้ คณะทำงานจดั ทำหลกั สูตรการเพม่ิ สมรรถนะ 90 การจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู 93 - ภาคผนวก ข ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียน – การเขา้ เรยี น หลักสตู รฯ - ภาคผนวก ค แบบสำรวจบุคลากรดา้ นโรคไม่ติดตอ่ ในการดำเนินงาน 94 96 NCD Clinic Plus ปี 2562 105 - ภาคผนวก ง แบบประเมินความพึงพอใจการใช้บทเรยี นออนไลน์หลักสูตรฯ - ภาคผนวก จ รายงานผลการดำเนนิ งานจดั ทำหลักสตู รฯ รอบ 12 เดือน - ภาคผนวก ฉ รายละเอยี ดแบบทดสอบความรู้ (Pre Test และ Post Test) ค

สารบญั รปู ภาพ หน้า รูปภาพท่ี 1 การวัดรอบเอว 18 รปู ภาพที่ 2 รูต้ ัวเลข รเู้ สี่ยง เลี่ยงโรคไมต่ ิดต่อ 21 รปู ภาพท่ี 3 การเตรยี มผู้ปว่ ยก่อนและระหวา่ งการวดั ความดันโลหติ 30 รปู ภาพท่ี 4 ตวั อยา่ งการบันทกึ และรายงานผลค่าความดนั โลหติ ท่บี ้าน 34 รูปภาพท่ี 5 แนวทางการประเมนิ ความเครยี ดและคดั กรองโรคซึมเศร้าในคลนิ กิ NCD 48 รูปภาพท่ี 6 แนวทางและขน้ั ตอนการจัดบรกิ ารหลังการประเมิน 52 รูปภาพที่ 7 หน้า Website HDC Service กระทรวงสาธารณสขุ 53 รูปภาพท่ี 8 การแบ่งจานอาหารขนาดมาตรฐาน 9 นิว้ 62 รูปภาพที่ 9 คำแนะนำสำหรับผดู้ ูแลใกลช้ ดิ และผู้ที่เกีย่ วขอ้ งกบั ผเู้ ป็นเบาหวาน 70 รปู ภาพที่ 10 ขอ้ แนะนำการฉดี ยาอนิ ซูลนิ สำหรบั หญงิ ตั้งครรภ์ 70 รปู ภาพที่ 11 คำแนะนำสำหรบั ดแู ลผเู้ ปน็ เบาหวานสำหรับครูและหวั หนา้ งานหรอื ผู้วา่ จา้ ง 71 รปู ภาพที่ 12 คำแนะนำสำหรับดูแลผเู้ ป็นโรคเบาหวานสำหรับเดก็ และวัยรนุ่ 71 รปู ภาพที่ 13 คำแนะนำสำหรับดูแลผู้เป็นโรคเบาหวานสำหรบั เดก็ และวยั รนุ่ 72 รูปภาพที่ 14 ปฏทิ นิ แสดงตำแหน่งฉดี อินซูลินจำนวนมากกว่า 1 คร้ังตอ่ วัน 72 ง

สารบัญตาราง หนา้ ตารางที่ 1 อปุ กรณ์การตรวจนำ้ ตาลในเลือดจากปลายนวิ้ แบง่ ตามบริบทของกลมุ่ ผใู้ ช้งาน 23 ตารางท่ี 2 การตรวจแบบ 7 จดุ (7-point profile) 25 ตารางท่ี 3 การตรวจแบบ 5 จุด (5-point profile) 25 ตารางที่ 4 การตรวจแบบ Staggered SMBG regimen 26 ตารางที่ 5 ระดับน้ำตาลในเลอื ด และเปา้ หมายการคมุ ระดับนำ้ ตาล 27 ตารางที่ 6 แบบทดสอบวดั ระดบั ความรนุ แรงในการเสพติดนโิ คติน Fagerstrom Test 38 ตารางท่ี 7 ขนาดและระยะเวลาในการใชย้ าชว่ ยเลิกบหุ รแ่ี ต่ละชนิด 41 ตารางที่ 8 แบบประเมินความเครยี ด (ST-5) 44 ตารางที่ 9 แบบประเมนิ โรคซมึ เศรา้ 9 คำถาม (9Q) 46 ตารางท่ี 10 ค่าความเหนอ่ื ยและระดับความเหน่อื ย 55 ตารางที่ 11 แสดงยารักษาโรคเบาหวาน ประสทิ ธภิ าพในการลด A1C และขอ้ พจิ ารณา 64 จ

บทสรุปผู้บริหาร เนื่องจากปัญหาโรคไม่ติดต่อเร้ือรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ การดำเนินงานเพื่อป้องกันควบคุมโรคไมต่ ิดต่อเร้ือรงั จำเป็นต้องอาศยั บุคลากรด้านสาธารณสุข ที่มีความรู้ความสามารถเพ่ือการจัดการโรค และจากการสำรวจข้อมูลบุคลากร System Manager (SM) และ Case Manager (CM) ใน NCD Clinic ปี 2562 พบว่า มี SM ที่ปฏิบัติงานจริง 663 คน ผ่านการอบรม 943 คน และ CM ท่ีปฏิบัติงานจริง 1,652 คน ผ่านการอบรม 3,155 คน จะเห็นว่ามีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานน้อยไม่เพียงพอ สาเหตุส่วนใหญ่เกดิ จากการโยกย้าย เปลยี่ นงาน และลาออก เนื่องจากภาระงานท่ีหนัก ต้องรับผดิ ชอบทง้ั ในคลนิ ิก และติดตามดูแลในชุมชนแบบองค์รวม จากปัญหาดังกล่าว กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญ อย่างย่ิงในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร สนับสนุนองค์ความรู้ ทักษะ ที่ถูกต้องและทันสมัยในการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ และเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันแบบ New Normal ในปีงบประมาณ 2562 จึงมีการสำรวจความต้องการหลักสูตรด้านการป้องกันควบคุมโรค NCDs ในรูปแบบ ออนไลน์ พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 52 เห็นด้วย ท่ีจะมีการจัดทำหลักสูตรฯ ในรูปแบบออนไลน์ เน่ืองจาก ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสำหรับกลุ่มเป้าหมาย/บุคลากรทุกระดับ ประหยัดเวลา และงบประมาณ รวมถึงสามารถ เรียนรู้ได้ทุกเวลา มีแหล่งเรียนรู้ท่ีกว้างขวางขึ้น มีข้อมูลที่ทันสมัย นำไปใช้อ้างอิงในการทำงานได้ อีกท้ังผู้เรียน สามารถเลอื กหลักสตู รทเี่ หมาะสมกบั การทำงานของตน ช่วยเพมิ่ ความมัน่ ใจให้กับผ้เู รียนเมือ่ ปฏบิ ตั ิงาน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงาน ป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ดังพันธกิจหลักสำคัญ คือ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จึงได้พัฒนารูปแบบการอบรมพัฒนา ศักยภาพบุคลากรเป็นแบบออนไลน์ โดยเริ่มจัดทำเป็นหลักสูตรระดับพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บุคลากร สาธารณสุขและเครือข่ายมีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี ปฏิบัติงานไดต้ ามมาตรฐาน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการพฒั นาคุณภาพบริการ ใหป้ ระชาชนเขา้ ถงึ บริการทมี่ คี ณุ ภาพ ฉ

โครงสรา้ งหลักสูตร 1. ชอ่ื หลักสูตร ชอ่ื หลักสตู ร : หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง ระดบั พ้นื ฐาน (หลักสูตรตอ่ เนือ่ ง) หน่วยงานทร่ี ับผดิ ชอบ : กลุ่มพัฒนาคุณภาพบริการ กองโรคไมต่ ิดตอ่ กรมควบคุมโรค 2. ท่ีมาและความสำคัญ ปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเร้ือรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2559 พบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิต จากโรคไม่ติดต่อเร้ือรังประมาณ 41 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด สำหรบั ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ประมาณ 3.9 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของการเสียชีวิตทั้งหมด กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) จึงถูกยกระดับเป็นวาระทางการเมืองที่สำคัญระดับโลก โดยสมัชชาองค์การ สหประชาชาติ ไดจ้ ัดประชมุ สมัชชาสหประชาชาติวา่ ด้วยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ตดิ ตอ่ ระหวา่ งผู้นำระดบั สูง ของประเทศและรับรอง “ประกาศปฏิญญาการเมือง ว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ (Political Declaration)” นำมาซึ่งการกำหนด 9 เป้าหมายระดับโลกในการควบคุมปัญหาโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ภายในปี 2568 ซ่ึงประเทศไทยได้ทำการรับรอง 9 เป้าหมายดังกล่าวให้เป็นเป้าหมายของประเทศ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อท่ีมีผู้ป่วยจำนวนมาก และยังพบว่าโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็มีความรุนแรง ถือเป็นภัยคุกคามต่อวัยทำงานอย่างย่ิง และมีความจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน จากประเด็นปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวข้างต้น การดำเนิน งานเพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเร้ือรัง จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรด้านสาธารณสุขท่ีมีความรู้ความสามารถเพ่ือการจัดการโรค จากการสำรวจข้อมูล บุคลากร System Manager (SM) และ Case Manager (CM) ใน NCD Clinic ปี 2562 พบว่า มีบุคลากร ผู้ปฏิบัติงานน้อยไม่เพียงพอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการโยกย้าย เปลี่ยนงาน และลาออก เน่ืองจากภาระงานที่หนัก ต้องรับผิดชอบท้ังในคลินิกและติดตามดูแลในชุมชนแบบองค์รวม จากปัญหาดังกล่าว การสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเร้ือรังจึงเป็นส่ิงสำคัญ และเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้อง กบั การใช้ชีวติ ประจำวันแบบ New Normal กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค จึงพัฒนารูปแบบการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเป็นรูปแบบ ออนไลน์ โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณพ.ศ. 2563 จัดทำเป็นหลักสูตรระดับพื้นฐานเพ่ิมสมรรถนะ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาองคค์ วามรู้ เพมิ่ พูนทกั ษะ ในการปอ้ งกันควบคุมโรคไม่ตดิ ตอ่ อยา่ งต่อเน่ือง หลักสตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง (ระดบั พ้นื ฐาน) : 1

3. วตั ถุประสงค์ 3.1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรการป้องกัน ควบคุมโรค NCDs ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือขา่ ยสุขภาพ ที่ปฏบิ ตั ิงานป้องกันควบคมุ โรคไม่ติดต่อ 3.2 เพ่ือพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายสุขภาพ ท่ีปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ ใหม้ ีความรู้ ทกั ษะ เจตคตทิ ่ดี ี ปฏบิ ัติงานได้ตามมาตรฐาน 4. กลมุ่ เปา้ หมาย ทมี สหวิชาชพี และภาคีเครือข่ายสุขภาพ ทีป่ ฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไมต่ ิดต่อ 5. รูปแบบการอบรม - การเรียนรูภ้ าคทฤษฎี ผา่ นการเรยี นการสอนแบบออนไลน์ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามอธั ยาศยั - ทำแบบทดสอบ กอ่ น – หลังเรยี น ในแต่ละบท - ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการเรียนการสอน - ทำแบบประเมนิ ความพึงพอใจ - ดาวนโ์ หลดใบประกาศนยี บัตร 6. ระยะเวลาการอบรม ระยะเวลา รวม 7 ชว่ั โมง (3 หนว่ ยการเรียนรู้ 13 เรื่อง) 7. โครงสรา้ งหลกั สูตร หลักสูตรการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง (ระดับพ้ืนฐาน) เน้ือหาใน หลักสูตรเน้นการสอนความรู้ ทกั ษะระดับพื้นฐานทส่ี ามารถนำไปปฏบิ ัติไดจ้ ริง มุ่งเนน้ ใหผ้ ู้เขา้ รับการอบรมสามารถ เข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่าย สะดวก เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานใน โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสง่ เสริมสุขภาพตำบล หลักสูตรฯ น้ีเป็นหลักสูตรต่อเน่ือง ทั้งหมด 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูง ซึง่ ปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 เร่ิมดำเนนิ การจัดทำหลักสตู รระดับพ้นื ฐาน รายละเอยี ดโครงสรา้ งหลักสูตร ดังน้ี หลักสตู รการเพมิ่ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดับพืน้ ฐาน) : 2

7.1 เนื้อหาประกอบดว้ ย 3 หนว่ ยการเรียนรู้ 13 เรือ่ ง ดงั น้ี หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 Introduction 1.1 เป้าหมาย สถานการณ์การบริการ, แนวทางการพัฒนาการบริการผู้ป่วย NCDs และ การประเมนิ ภาวะสุขภาพ (โรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู ) หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 2 สมรรถนะการใหบ้ รกิ ารโดยตรงแกผ่ ู้ปว่ ยเบาหวานและความดนั โลหิตสงู 2.1 การวดั รอบเอว การชงั่ น้ำหนกั และดชั นีมวลกาย (BMI) 2.2 การตรวจนำ้ ตาลในเลือดจากปลายนว้ิ 2.3 การวัดความดันโลหิต / HBPM / OBPM 2.4 ทกั ษะการใช้ MI แบบพ้นื ฐาน 2.5 การประเมินปัจจยั เส่ยี ง 2.5.1 การประเมินและบำบัดแก้ไขปจั จยั เสี่ยง (บุหร่ี) 2.5.2 ภาวะซมึ เศร้า 2.5.3 การประเมินโอกาสเสย่ี งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 2.6 การออกกำลังกาย 2.7 การจดั อาหารจานสุขภาพ 2.8 การใช้ยาในโรคเร้ือรังอยา่ งถูกต้อง 2.9 การตรวจเท้าพ้ืนฐาน (Complete foot Exam) หน่วยการเรยี นรู้ที่ 3 สมรรถนะการดำเนนิ งานกับครอบครวั และชุมชน 3.1 การเย่ยี มบ้านผปู้ ่วยโรคไมต่ ดิ ต่อเรื้อรัง 7.2 โครงสร้างหลกั สูตรและขอบเขตเนื้อหา ดงั น้ี ลำดบั หัวข้อวิชา / ขอบเขตเนอื้ หา เวลาการ อบรม หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 1 Introduction 1. เป้าหมาย สถานการณ์การบริการ, แนวทางการพฒั นาการบริการผู้ปว่ ย NCDs 30 นาที และการประเมินภาวะสุขภาพ คำอธบิ ายรายวิชา ศึกษาสถานการณโ์ รคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง ปัจจัยเสย่ี ง ของการเกดิ โรคเบาหวาน เรยี นรู้องคป์ ระกอบและเปา้ หมายของการดแู ลรกั ษา ผลการรักษาในปจั จุบัน รวมท้ังการติดตามการรักษา และประเมินภาวะสขุ ภาพ หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พน้ื ฐาน) : 3

ลำดับ หวั ข้อวิชา / ขอบเขตเนอ้ื หา เวลาการ อบรม หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 2 สมรรถนะการใหบ้ ริการโดยตรงแก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดนั โลหิตสูง 30 นาที 2. การวดั รอบเอว การชั่งน้ำหนัก และดชั นีมวลกาย 30 นาที คำอธิบายรายวิชา ศึกษาการประเมินสัดส่วนรูปร่างท่ีเหมาะสม ปริมาณการสะสม 30 นาที 30 นาที ของไขมันบริเวณช่องท้อง รวมถึงการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณค่าดัชนีมวลกาย 30 นาที นำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณไขมันในร่างกาย ซึ่งถือเป็นการคัดกรองเบ้ืองต้นเพ่ือใช้ในการ 30 นาที ประเมนิ และปรับพฤติกรรมผู้ปว่ ยอ้วนลงพงุ 3. การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนว้ิ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาทำความเข้าใจหลักการและความสำคัญ ทราบถึงอุปกรณ์ เทคนิค และวิธีการตรวจน้ำตาลที่ถูกต้อง สามารถแปลผล และให้คำแนะนำการตรวจ น้ำตาลในเลอื ดจากปลายนิว้ ในการทำงานประจำได้ 4. การวดั ความดนั โลหิต / HBPM / OBPM คำอธิบายรายวิชา ศึกษาความหมายทำความเข้าใจ หลักการ คำจำเพาะ ข้อแตกต่าง ของการวัดความดันโลหิตในสถานพยาบาล และการวัดความดันโลหิตที่บ้าน รวมถึง การเตรยี มอปุ กรณ์ วธิ ีการวดั ความดนั โลหิต การบนั ทกึ ผล และการอา่ นค่าท่ถี กู ต้อง 5. ทกั ษะการใช้ MI แบบพน้ื ฐาน คำอธิบายรายวิชา ศึกษาความสำคัญและหลักการในการเปล่ียนแปลงพฤติกรรม สุขภาพเทคนิคการสนทนาสร้างแรงจูงใจหรือ Motivational Interviewing (MI) เทคนิค การให้คำปรึกษา ใช้ทักษะพื้นฐานของ MI สามารถประยุกต์ - ผสมผสาน MI ในการ ปฏิบตั ิงานพ้นื ฐาน 6. การประเมินและบำบัดแกไ้ ขปัจจัยเสี่ยง (บุหรี่) คำอธบิ ายรายวิชา ศึกษาการประเมินความรุนแรงของการเสพตดิ สารนิโคตนิ ในควันบุหรี่ หรือบุหร่ีไฟฟ้า แบบประเมินการเสพติดนิโคตินแบบย่อ รวมถึงการให้คำแนะนำ และการบำบดั 7. การประเมินภาวะซึมเศรา้ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาการประเมิน/คัดกรองระดับความเครียด และอารมณ์ซึมเศร้า โดยใช้คู่มือแนวทางการใช้เคร่ืองมือสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน เพ่อื ให้คำแนะนำ/ใหค้ วามช่วยเหลอื ตามสภาพปัญหา หลกั สตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดบั พื้นฐาน) : 4

ลำดับ หวั ข้อวิชา / ขอบเขตเนือ้ หา เวลาการ อบรม 8. การประเมินโอกาสเสี่ยงตอ่ การเกดิ โรคหัวใจและหลอดเลือด 30 นาที คำอธิบายรายวิชา ศึกษาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของการประเมินโอกาสเส่ียง 30 นาที ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดใน 10 ปีข้างหน้า ประโยชน์ของการนำไปใช้ 30 นาที รปู แบบต่างๆของการประเมินโอกาสเส่ยี ง และวิธใี ช้อย่างถูกต้อง 30 นาที 30 นาที 9. การออกกำลังกาย คำอธิบายรายวิชา ศึกษาความหมาย ชนิด การจัดโปรแกรมออกกำลังกาย ข้อควรระวัง 15 นาที และประโยชน์ของการออกกำลังกาย เพ่ือให้กับบุคลากรทางสุขภาพสามารถแนะนำ วธิ กี ารออกกำลงั กายที่เหมาะสมสำหรบั ผูป้ ่วยเบาหวานและผ้ปู ว่ ยความดนั โลหติ สงู 10. การจดั อาหารจานสุขภาพ คำอธิบายรายวิชา ศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดอาหารสุขภาพ และสามารถ ดัดแปลงอาหารเพ่ือสุขภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและนิสัยการบริโภค รวมถึง ทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในด้านอาหาร โภชนาการ ให้คำแนะนำปรึกษาเบ้ืองต้น ดา้ นอาหาร และโภชนาการแก่ผู้เปน็ เบาหวานและความดนั โลหติ สูง 11. การใช้ยาในโรคเรอ้ื รังอย่างถกู ตอ้ ง คำอธิบายรายวิชา ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วยยา เนื้อหาประกอบด้วย กลไกการออกฤทธ์ิ, วิธีการใช้/ความถี่ในการบริหารยา, ผลข้างเคยี ง/ข้อควรระวัง และการติดตามทีส่ ำคัญ 12. การตรวจเท้าพ้นื ฐาน (Complete foot Exam) คำอธิบายรายวิชา ศึกษาทำความเข้าใจการตรวจเท้าขั้นพ้ืนฐานอย่างถูกต้อง ตามแนวทางปฏิบัติ การตรวจคัดกรอง ประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้า โดยใช้ “การตรวจเทา้ เบาหวาน 7 ข้นั ตอน 7 STEP Complete Foot Exam” หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 3 สมรรถนะการดำเนินงานกบั ครอบครวั และชุมชน 13. การเย่ียมบ้านผู้ป่วยโรคไมต่ ิดต่อเร้อื รงั คำอธิบายรายวิชา ศึกษาการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และครอบครัว ประเมินภาวะสุขภาพ ประเมินปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค และให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพท่ีเหมาะสมกับวิถีการดำรงชีวิต ของผปู้ ่วย หลกั สตู รการเพิ่มสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู (ระดับพนื้ ฐาน) : 5

8. การประเมินผลการอบรม ผ่านการอบรมหลักสูตรฯ การเรียนรู้แบบออนไลน์ มีแบบทดสอบก่อน - หลัง เรียน โดยผู้เรียนท่ีเรยี นจบ หลักสูตรจะตอ้ งทำข้อสอบก่อนเรียน ศึกษาบทเรียน และทำข้อสอบหลังเรียนผ่านทุกหัวข้อการสอน ทั้งหมด 13 เรื่อง (ขอ้ สอบหลังเรียน สอบผ่านทกุ หวั ขอ้ การสอน เกณฑ์ผา่ น 80% ขนึ้ ไป) เกณฑแ์ บบทดสอบหลงั เรียน ลำดับ หัวข้อวิชา จำนวน เกณฑ์ผ่าน 80% ขอ้ สอบ (คดิ เปน็ จำนวนข้อ) หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 1 Introduction 1. เป้าหมาย สถานการณ์การบริการ, แนวทางการพัฒนาการบริการ - - ผู้ปว่ ย NCDs และการประเมินภาวะสุขภาพ หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 2 สมรรถนะการใหบ้ ริการโดยตรงแก่ผู้ป่วยเบาหวานและความดนั โลหติ สูง 2. การวัดรอบเอว การชั่งนำ้ หนัก และดัชนีมวลกาย 7 6 5 3. การตรวจนำ้ ตาลในเลือดจากปลายนว้ิ 6 8 4. การวัดความดันโลหติ / HBPM / OBPM 10 7 5. ทักษะการใช้ MI แบบพืน้ ฐาน 8 6 6. การประเมินและบำบดั แก้ไขปัจจยั เสี่ยง (บหุ ร่)ี 7 2 7. การประเมนิ ภาวะซึมเศรา้ 2 6 8. การประเมินโอกาสเสีย่ งต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 7 8 9. การออกกำลงั กาย 10 8 10. การจัดอาหารจานสุขภาพ 9 8 11. การใช้ยาในโรคเร้อื รังอยา่ งถูกต้อง 10 7 12. การตรวจเทา้ พ้นื ฐาน (Complete foot Exam) 8 หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 3 สมรรถนะการดำเนินงานกับครอบครวั และชุมชน 7 13. การเย่ียมบา้ นผปู้ ่วยโรคไม่ติดตอ่ เรื้อรัง 8 * หมายเหตุ : การประเมินผลการทำข้อสอบหลังเรยี น เกณฑ์ผ่าน 80% โดยระบบจะคดิ เปน็ จำนวนขอ้ หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดับพืน้ ฐาน) : 6

9. การประเมนิ ผลการใชห้ ลักสูตร ประเมินผลจากการตอบแบบประเมนิ ความพงึ พอใจของผู้เข้ารับการอบรม เพื่อใช้วางแผน ปรับปรุง แก้ไขหลกั สตู รในปีต่อไป แบบประเมนิ ความพงึ พอใจการใชบ้ ทเรยี นออนไลน์ หลักสูตรการเพมิ่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง คำชี้แจง แบบประเมินฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้บทเรียนออนไลน์ ของหลักสตู รการเพิ่มสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง แบ่งเปน็ 3 ตอน ดงั น้ี ตอนที่ 1 ขอ้ มูลท่ัวไป 1. เพศ ชาย หญงิ 2. อายุ (ปี) ต่ำกวา่ 30 ปี 30 – 40 ปี 41–50ปี มากกวา่ 50 ปี 3. ตำแหน่ง แพทย์ พยาบาล นกั โภชนาการ นกั กายภายบำบดั นักวชิ าการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย เภสชั กร อื่นๆ ระบ.ุ ........................ 4. อายงุ านดา้ น NCD (ป)ี 1-3 ปี 3-6 ปี 6-10 ปี 10 ปขี ้ึนไป 5. สถานท่ปี ฏิบัตงิ าน ................................................................................................................................. ตอนท่ี 2 ความพงึ พอใจ โปรดทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องระดับความพึงพอใจตามความเป็นจริงเก่ียวกบั การใชบ้ ทเรียนออนไลน์ใน ครั้งน้ี ดงั น้ี 5= มากทส่ี ดุ 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = นอ้ ย 1= นอ้ ยทสี่ ุด รายการ ระดับความพึงพอใจ 54321 1. ด้านเน้อื หา 1.1 เนอ้ื หามีการแบง่ หัวข้อที่ชัดเจนและเหมาะสม 1.2 ความน่าสนใจและการดงึ ดูดความสนใจ 1.3 เนื้อหามีความถกู ตอ้ ง ครบถว้ นและทันสมยั หลกั สตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดับพืน้ ฐาน) : 7

รายการ ระดับความพึงพอใจ 54321 1.4 การถา่ ยทอดความรู้ของผู้สอนในแต่ละบทเรียน 1.5 ภาษาทใี่ ชใ้ นบทเรียนเข้าใจง่าย 1.6 ปรมิ าณเนือ้ หา และระยะเวลาสอนในแตล่ ะบทเรยี นมคี วามเหมาะสม 2. ดา้ นการออกแบบ 2.1 บทเรียนได้รบั การออกแบบใหผ้ ู้เรียนค้นหาเนอ้ื หาได้ง่าย และตรงตาม ความตอ้ งการ 2.2 การลงทะเบยี น และการเขา้ ถึง 2.3 ความเหมาะสมในการใชส้ ี ภาพ และตัวอกั ษร 3. ด้านการนำไปใช้ 3.1 การนำความรูท้ ่ีได้ไปประยุกต์ใชใ้ นการทำงาน 3.2 หลกั สูตรนี้มีประโยชน์ และควรตอ่ ยอดเน้ือหาในปีงบประมาณตอ่ ไป 4. ความพึงพอใจในภาพรวมหลักสูตร ตอนที่ 3 เน้ือหาทตี่ ้องการศกึ ษาในปงี บประมาณต่อไป และขอ้ เสนอแนะเพ่มิ เติม ............................................................................................................................. ....................................................... ............................................................................ ............................................................................................ ......... หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พ้นื ฐาน) : 8

10. จบหลักสูตร เม่ือจบหลักสูตรฯ ผเู้ ขา้ อบรมในรูปแบบออนไลน์ จะได้รับใบประกาศนยี บ ห

บัตร (ดังตัวอยา่ ง) หลกั สตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พื้นฐาน) : 9

11. แผนการจัดทำหลักสตู รฯ รปู แบบการอบรม ปีงบประมาณ ปงี บประม พ.ศ. 256 พ.ศ. 2563 - เผยแพร่ ประชาส 1. หลักสูตรระดบั พื้นฐาน : Basic Course - ขอรบั รองหลักสูต - สรุปผลการดำเนนิ ภาคทฤษฎี - ทบทวนหลักสูตรทเี่ กยี่ วข้อง อบรมออนไลน์ - จดั ทำกรอบโครงสร้างหลกั สตู ร หลกั สตู รระดับพ้ืน และเนื้อหาหลักสูตร (3 หน่วยการเรยี นรู้ 13 เรอ่ื ง) - จดั ทำเว็บไซต์ - ทดลองใชห้ ลักสตู ร 2. หลักสูตรระดบั กลาง : Intermediate Course ภาคทฤษฎี - - จัดทำกรอบโครงส อบรมออนไลน์ หลักสตู ร และเนื้อ หลักสตู ร (4 หนว่ 10 เรอื่ ง) - จดั ทำและพัฒนา - ขอหน่วยคะแนนก ตอ่ เนอื่ ง (CNEU) - เผยแพร่ ประชาส หล

มาณ ปงี บประมาณ ปงี บประมาณ 64 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 - 2567 สัมพันธ์ - - ตร นงานจัดทำ นฐาน สรา้ ง - ขอรบั รองหลักสตู ร - อหา - สรุปผลการดำเนนิ งานจัดทำ วยการเรยี นรู้ หลกั สูตร าเว็บไซต์ การศกึ ษา ) สัมพันธ์ ลักสตู รการเพิ่มสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู (ระดับพืน้ ฐาน) : 10

รูปแบบการอบรม ปงี บประมาณ ปงี บประม พ.ศ. 2563 พ.ศ. 256 3. หลกั สูตรระดบั สูง : Advance Course - 3.1 ภาคทฤษฎี - อบรมออนไลน์ 3.2 ภาคปฏิบัติ - - 4. ทบทวนหลักสตู ร ทบทวนหลกั สูตร 3 ระดบั หล

มาณ ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 64 พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 - 2567 - จัดทำกรอบโครงสร้าง - ขอรับรองหลักสตู ร หลักสูตร และเนื้อหา - สรุปผลการดำเนินงาน หลักสตู ร (5 เรอ่ื ง) จัดทำหลักสตู ร - จดั ทำและพฒั นาเวบ็ ไซต์ - ขอหน่วยคะแนนการศกึ ษา ฝึกปฏบิ ตั หิ วั ขอ้ 1. การจัดการข้อมลู ตอ่ เน่อื ง (CNEU) 2. การจัดการผ้ปู ว่ ยรายกรณี - เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ - วางแผนดำเนินการในปี งบประมาณ พ.ศ. 2567 ลักสตู รการเพมิ่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พื้นฐาน) : 11

เน้ือหาหลักสตู ร หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1 Introduction เร่อื ง เป้าหมาย สถานการณ์การบรกิ าร, แนวทางการพัฒนาการบริการผู้ปว่ ย NCDs และการประเมนิ ภาวะสขุ ภาพ 1.1 โรคเบาหวาน วิทยากร ศาสตราจารย์เกียรตคิ ุณแพทย์หญิงวรรณี นธิ ิยานนั ท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแหง่ ประเทศไทยฯ รปู แบบการเรียนรู้ บรรยายมีภาพประกอบ (ระยะเวลา 5 นาที) วตั ถุประสงค์/สาระสำคัญ เพื่อรบั ทราบสถานการณ์โรคเบาหวาน ปัจจัยเส่ียงของการเกิดโรคเบาหวาน เรียนรูอ้ งค์ประกอบ และเป้าหมายของการดแู ลรกั ษา ผลการรกั ษาในปัจจุบนั รวมทงั้ การตดิ ตามการรกั ษา ขอบเขตเน้อื หา 1.1.1 สถานการณโ์ รคเบาหวาน จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยท่มี ีอายุ 15 ปขี ึ้นไป ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนไทยทเี่ ป็นโรคเบาหวานเพ่มิ ขนึ้ อย่างต่อเน่ือง การสำรวจคร้ังล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2557 พบว่าคนไทยเป็นโรคเบาหวาน มีจำนวน 4.8 ล้านคน การเพ่ิมจำนวนคนเป็นโรคเบาหวานสัมพันธ์กับปัญหาโรคอ้วนที่เพ่ิมข้ึนอย่างมาก นอกจากน้ีคนไทย จำนวน 7.6 ล้านคนมีภาวะก่อนเบาหวาน คือมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่าปกติ ระหว่าง 100-125 มก./ดล. แต่ยังไม่ถึงระดับของโรคเบาหวาน ทำให้ความเส่ียงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลจาก Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าผู้ท่มี ีภาวะก่อนเบาหวานร้อยละ 1.9 จะเปลี่ยนเปน็ โรคเบาหวาน ดงั นั้นเพือ่ ลดจำนวน ผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องมีมาตรการดูแลผู้มีภาวะก่อนเบาหวานและผู้ที่มีความเส่ียงอื่นๆ เช่น อ้วน/อ้วนลงพุง มีประวัติ โรคเบาหวานในครอบครัว เพื่อปอ้ งกันไม่ใหเ้ กดิ โรคเบาหวาน 1.1.2 การเข้าถึงการรักษาและผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การสำรวจสุขภาพประชากรไทยเมื่อปี พ.ศ.2557 พบว่าร้อยละ 43 ของผู้ท่ีเป็นโรคเบาหวานไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรค ท ำให้ไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่รู้ตัว ว่าเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 2.7 ไม่ได้ไปรับบริการเพ่ือรักษาโรค ผู้ท่ีเข้ารับการรักษาและมีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร น้อยกว่า 130 มก./ดล. มีเพียงร้อยละ 23.5 การที่มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่รู้ตัวว่าตนเป็นโรคเบาหวาน จึงจำเป็นท่ีจะต้อง ตรวจคัดกรองใหพ้ บเพ่ือนำผู้ป่วยเขา้ สู่การรักษา สำหรับผปู้ ่วยที่ไม่เข้าสกู่ ารรักษาหรือรกั ษาแลว้ ยังควบคุมไม่ไดจ้ ะตอ้ งพัฒนา ระบบบรกิ ารและมาตรการการรกั ษาใหบ้ รรลผุ ลลพั ธต์ ามเปา้ หมาย 1.1.3 องคป์ ระกอบในการดูแลรกั ษาโรคเบาหวานและเป้าหมาย การดูแลรักษาโรคเบาหวานคือ การควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดและปัจจัยเสี่ยงร่วมท่ีมีอยู่ด้วยให้ได้ตามเป้าหมายหรือเกณฑ์ที่กำหนด จุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเท่าเทียมในสังคม และมีอายุขัยยืนยาวเท่ากับคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงร่วมท่ีสำคัญคือความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะอ้วน การสูบบุหร่ี ควันบุหร่ีและมลพิษ ในอากาศ หลักสตู รการเพิ่มสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดบั พืน้ ฐาน) : 12

การให้บริการควรเป็นระบบที่เข้าถึงง่าย มีทีมงานที่ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ ข้ึนกับขนาด ของสถานพยาบาล เช่น นักกำหนดอาหาร เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ฯลฯ เพื่อให้ความรู้โรคเบาหวานและสร้างทักษะ การปฏิบัติดูแลตนเองแก่ผูป้ ่วย และญาติ หรือผดู้ ูแลผู้ป่วย ทำให้เกิดความร่วมมือและบรรลุเป้าหมายของการรักษา มีระบบ ติดตามให้ผู้ป่วยมารับการรักษาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง มีระบบตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานและตรวจสุขภาพ มีระบบสบื หาปัญหาท่ีคาดว่าเป็นอุปสรรคในการรักษาหรือทำให้การรักษาไม่บรรลเุ ปา้ หมาย และใหค้ วามชว่ ยเหลอื หรือแกไ้ ข เท่าท่ีสามารถทำได้ อาจตอ้ งมีการเยย่ี มบา้ น การเรียนรู้เพ่ือนำมาปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้เหมาะสม สามารถเลือกกินอาหารได้อย่างถูกต้อง ใช้ชีวิต อย่างกระฉับกระเฉง มีกิจกรรมออกแรงหรือออกกำลังกายอย่างเพียงพอทุกวัน ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถบรรลุผลข้างต้นได้ โดยปรับการกินการอยู่เท่านั้นไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่ส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องใช้ยารว่ มด้วยนอกจากนี้ ครอบครัว ท่ีโรงเรียน ที่ทำงาน รวมทั้ง ชุมชนหรือสังคมรอบข้าง ควรรู้จักโรคเบาหวาน ซ่ึงอาจมีโอกาสให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานในการ ดูแลรกั ษาโรคได้ 1.1.4 เป้าหมายการควบคุมเบาหวาน ปัจจัยเส่ียง และผลสำเร็จของการให้บริการ การควบคุมเบาหวาน ใช้ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหรือค่าน้ำตาลสะสม (ฮีโมโกลบิน เอ 1 ซี; HbA1c หรือ A1C) เป็นตัววัด โดยเกณฑ์ข้ึนกับ ลักษณะของผู้ป่วยซง่ึ ประกอบด้วย อายุ ระยะเวลาท่ีเป็นเบาหวาน โรคร่วมทมี่ ีอยู่ ความสามารถในการดูแลช่วยเหลือตนเอง สภาพเศรษฐกจิ และสังคม โดยใช้เกณฑ์เปา้ หมายคอื A1C นอ้ ยกว่า 7% หรือ A1C นอ้ ยกว่า 8% ความดันโลหิตโดยท่ัวไปเป้าหมายคือน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท สำหรับผู้สูงอายุเป้าหมาย คือน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท ระดับแอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือดให้ต่ำกว่า 100 มก./ดล. ยกเว้นผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ระดบั แอลดีแอล คอเลสเตอรอลในเลือด ควรต่ำกวา่ 70 มก./ดล. ผู้ป่วยเบาหวานต้องไม่สูบบุหร่ีหรือรับควันบุหรี่ ควรหลีกเล่ียงฝุ่นและมลพิษทางอากาศ ผู้ป่วยท่ีอ้วนแนะน ำ ให้ลดน้ำหนักตัวลง 5-7% ของน้ำหนักขณะนั้น หากเป็นไปได้ควรจะลดลงจน ดัชนีมวลกาย (BMI) หรือรอบพุง อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานหรอื ใกลเ้ คยี ง การสำรวจผลการรักษาของโรงพยาบาลระดับต่างๆ ท่ัวประเทศพบว่า ผลลัพธ์การรักษาท่ีบรรลุเป้าหมายยังอยู่ ในเกณฑ์ต่ำกว่าที่ควร จำนวนผู้ป่วยท่ีรักษาแล้วการควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต และระดับ แอลดีแอล คอเลสเตอรอล ในเลอื ด ไดต้ ามเป้าหมายครบทง้ั 3 อยา่ ง มเี พียงร้อยละ 6.4 เทา่ น้นั 1.1.5 ฮีโมโกลบิน เอ 1 ซี (HbA1cหรือ A1C) และการผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbA1c หรือ A1C เป็นตัวแทนของค่าเฉล่ียระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 8-12 สัปดาห์ท่ีผ่านมา หรืออาจเรียกว่าเป็นค่าน้ำตาลสะสม เพราะเป็น น้ำตาลทีส่ ะสมอยู่ในเม็ดเลือดแดง ในสว่ นของฮีโมโกลบิน เอ 1 ซี จึงมีค่าเปน็ % ของฮีโมโกลบนิ รวม ในคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงท่ี จะอยู่ระหว่าง 70-160 มก/ดล. โดยทั่วไปก่อนอาหารจะมีค่าระดับน้ำตาล ในเลือดระหว่าง 70-99 มก./ดล. หลังกินอาหารระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น มีค่า 120-160 มก./ดล. ขึ้นกับระยะเวลา หลังจากกิน ชนิด และปริมาณอาหารที่กิน หลังกินอาหารระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงสุดที่ประมาณ 1 ชั่วโมงหลังเร่ิมกิน และจะลดต่ำลงจนถึงหรือใกล้เคียงระดับก่อนอาหารท่ีประมาณ 2-3 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานท่ีควบคุมได้ดี ค่าระดับน้ำตาล หลกั สตู รการเพิ่มสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดับพน้ื ฐาน) : 13

ในเลือดส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 80-180 มก./ดล. ผู้ป่วยท่ีควบคุมไม่ดีระดับน้ำตาลในเลือดจะแกว่งหรือผันผวนมาก อาจลดต่ำถงึ 30-50 มก./ดล. สลบั กบั ขน้ึ สงู มากเกินกวา่ 200-300 มก./ดล. ผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดแกว่งหรือผันผวนมาก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานง่ายขึ้น การวัดระดับ A1C ไม่สามารถแสดงการผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ณ ช่วงเวลาต่างๆ ของวัน ทั้งก่อนและหลังอาหารที่บ้านจึงมีประโยชน์ ควรทำในผู้ป่วยท่ีระดับ A1C ยังไม่ถึงเป้าหมาย ในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย ว่ามีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด เม่ือมีการเจ็บป่วยไม่สบาย การกินอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือดได้เองท่ีบ้านหากมีอุปกรณ์และเรียนรู้วิธีการตรวจอย่างถูกต้อง หรือตรวจวัดโดยผู้ที่มาเยี่ยมบ้าน การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดท่ีบ้านจะเกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าสามารถตรวจวัดอย่างถูกต้อง สามารถแปลผลท่ีตรวจได้ และสามารถปรับแกไ้ ขตนเองถา้ ระดบั น้ำตาลในเลอื ดตำ่ หรือสูงมากไป 1.2 โรความดันโลหติ สูง วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อาจารยค์ ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย รปู แบบการเรียนรู้ บรรยายมีภาพประกอบ (ระยะเวลา 5 นาที) วัตถุประสงค์/สาระสำคัญ เพ่ือรับทราบสถานการณ์ เป้าหมายการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง แนวทางการพัฒนาการ ควบคมุ ดแู ลโรคความดันโลหติ สงู และการประเมินภาวะสขุ ภาพ ขอบเขตเน้ือหา 1.2.1 สถานการณ์และเปา้ หมายการควบคุมโรคความดนั โลหติ สงู หลักสตู รการเพมิ่ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดับพ้ืนฐาน) : 14

1.2.2 แนวทางการพฒั นาการควบคมุ ดแู ลโรคความดันโลหติ สูง หลักสตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู (ระดบั พ้นื ฐาน) : 15

หลกั สตู รการเพิ่มสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดบั พื้นฐาน) : 16

หน่วยการเรยี นรู้ที่ 2 สมรรถนะการให้บริการโดยตรงแกผ่ ูป้ ว่ ยเบาหวานและความดันโลหติ สงู เรือ่ ง การวดั รอบเอว การชง่ั นำ้ หนกั และดชั นมี วลกาย (BMI) วทิ ยากร นางณกานต์ชญาน์ นววชั รินทร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปากนำ้ ชมุ พร จังหวดั ชมุ พร 2.1 การวัดรอบเอว (Waist Circumference) รปู แบบการเรยี นรู้ คลิปวดิ ีโอสาธิต ใช้เวลา 10 นาที วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพอื่ ประเมินสดั ส่วนรปู รา่ งทีเ่ หมาะสม ปริมาณการสะสมของไขมันบรเิ วณชอ่ งท้อง 2. เพ่ือใชใ้ นการประเมินและปรบั พฤติกรรมผู้ปว่ ยอว้ นลงพงุ สาระสำคญั เส้นรอบพุง หรือ เส้นรอบเอว เป็นการประเมินการสะสมของไขมันในช่องท้องเป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถบอกถึง ความเส่ียงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตลอดจนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน ซ่ึงเป็นกลุ่มโรค ที่เกดิ จากการท่ีมไี ขมนั ในช่องท้องมากเกินไป เคร่ืองมอื ทีใ่ ช้ สายวัดรอบเอว หรอื แบบชนิดชนดิ พกพา ทมี คี วามละเอียดเทา่ กับ 0.1 เซนตเิ มตร มคี วามชัดเจน เทคนคิ วิธกี าร การเตรยี ม ดา้ นผู้วัด 1. เตรยี มสถานที่ในการวดั ให้เหมาะสม ควรอย่ใู นทมี่ ดิ ชิด เปน็ ส่วนตัว ลบั ตาผคู้ น 2. จัดพน้ื ท่ีในการวดั ให้สะดวก โดยผ้วู ัดนั่งบนเกา้ อ้ี 3. เตรียมอปุ กรณ์สายวดั แบบบนั ทึกขอ้ มลู ปากกา แวน่ ตา (ในกรณีผ้วู ัดมปี ญั หาสายตา) 4. ในกรณที ี่ผรู้ บั บริการอว้ นมาก ตอ้ งมผี ชู้ ่วย 1 คน เพื่อจดั สายวดั เอวใหอ้ ยู่ในแนวขนานกบั พื้น วธิ วี ัดท่ีแนะนำคอื การวัดรอบเอวผา่ นสะดอื 1. การวัดรอบเอวให้ทำในช่วงเช้า ขณะยังไม่ได้รับประทานอาหาร (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ควรนดั หรอื ไปคัดกรองในช่วงเช้า) 2. ตำแหน่งที่วัดไม่ควรมีเส้ือผ้าปิด (ถ้าวัดสถานท่ีไม่เป็นส่วนตัววัดผ่านผ้าบางๆ ได้ แต่ถ้าวัดรอบเอวท่ีบ้าน ให้ยกเสือ้ ขึน้ ให้เหน็ พุงชัดเจน) 3. ในกรณวี ดั ผ่านเสือ้ ใหผ้ ู้ถูกวัดชีต้ ำแหนง่ สะดือ ให้กบั ผูว้ ดั 4. วดั ในชว่ งหายใจเขา้ หรอื ออกกไ็ ด้ แตต่ ้องเป็นชว่ งทีร่ อบเอวปกติ ไมแ่ ขม่วท้อง และไม่เบง่ ท้องตงึ 5. ผ้วู ดั นำสายวดั มาวดั เอวโดย ตอ้ งแน่ใจวา่ ไมต่ ดิ อะไร โดยใหด้ งึ สายวัดไปมา 6. นำปลายสายวดั ด้านตำแหน่ง 0 ของสายวัดมาวางท่ีตำแหน่งสะดอื และพันรอบเอวมาหาดา้ นหน้า 7. สายวัดจะต้องขนานกับพื้นและแนบพอดีกับลำตัวโดยท่ีไม่ได้กดลงไปในเนื้อวัดรอบเอว ให้อยู่ ในแนวขนานกบั พ้ืน หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดบั พื้นฐาน) : 17

8. อ่านค่ารอบเอวจากสายวัด โดยดจู ุดท่ีปลายสายวดั ด้านเลขศูนย์ชนกับสายวัดอีกด้าน เลข ณ จุดที่ชนนั้น เป็นเซนติเมตร 9. ในกรณีที่ผู้ถูกวัดอ้วนมาก ต้องมีผู้ช่วยในการจัดสายวัดให้อยู่ในแนวขนานกับพ้ืนหากไม่แน่ใจ หรือต้องการเข้มงวดกับผลการวัดรอบเอว อาจจะวัดซ้ำอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ ถ้าค่าที่ได้ไม่ตรงกับคร้ังแรก ให้วัดอีกครั้ง เปน็ คร้งั ที่สามและนำมาหาคา่ เฉลย่ี ระหว่าง 3 คร้ัง การแปลผล ตัวช้ีวัดงาน NCD แปลผลมาตรฐานรอบเอว (waist circumference) คือ ไม่เกินความสูงหารด้วย 2 ในท้ังสองเพศ ตวั อยา่ งเช่น ส่วนสงู เท่ากับ 160 เซนติเมตร นำมาหาร 2 ไดเ้ ท่ากบั 80 เซนตเิ มตร ดงั นัน้ รอบเอว ตอ้ งไม่เกิน 80 เซนตเิ มตร ขอ้ ควรระวงั /เคล็ดลบั 1. ตอ้ งมีการวัดความสูงท่ถี กู ตอ้ ง หรอื อาจตอ้ งมกี ารวัดใหม่ เมอ่ื มกี ารเปล่ยี นแปลง อยา่ งนอ้ ยปลี ะ 1 ครัง้ 2. ผวู้ ัด ตอ้ งแตง่ กายใหเ้ หมาะสม มีความคล่องตวั 3. ผ้วู ัดอยใู่ นทา่ นั่ง เพอ่ื ใหอ้ า่ นค่าวัดท่งี ่าย อยใู่ นระดับสายตา ไม่ปวดเมื่อยหลังถ้าต้องวัดรอบเอวจำนวนมาก สะดวก ต่อการบนั ทกึ คา่ รอบเอว 4. การหายใจเขา้ ออก ของแต่ละคนพุงปอ่ ง ยุบไมเ่ หมอื นกัน ให้ดชู ่วงทั้งช่วงเข้าและออก ให้วัดตอนที่พุงมีขนาดปกติ ไมแ่ ขมว่ หรอื เบ่ง รปู ภาพที่ 1 การวดั รอบเอว 2.2 การช่งั นำ้ หนกั และดชั นมี วลกาย (Body Mass Index: BMI) รปู แบบการเรียนรู้ คลิปวดิ ีโอสาธติ ใช้เวลา 8 นาที ความหมาย คอื การประมาณปรมิ าณไขมันในร่างกายเบื้องต้นโดยใช้ส่วนสูงและน้ำหนักตัว ความสำคัญต่องาน NCD เพ่อื ประเมินและคาดการณ์ ระดบั ไขมันในรา่ งกายอยู่ในเกณฑอ์ ะไร ถ้าสูงและอาจมีความเสี่ยงสูงท่ีจะปว่ ยด้วยโรค NCD เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง แต่ถ้าหากมีค่าดัชนีมวลกายต่ำเกินไป ก็อาจเส่ียงต่อการสูญเสียมวลกระดูก หรือการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันท่ีลดลง ค่าดัชนีมวลกายนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ปริมาณไขมันในร่างกาย ซ่ึงถือเป็นการ คดั กรองเบ้ืองตน้ หลักสตู รการเพมิ่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดบั พนื้ ฐาน) : 18

เทคนิควธิ ีปฏิบตั ิ ค่าดัชนีมวลกายมีค่าเท่ากับ น้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรสองคร้ัง ซ่ึงก่อนท่ีเราจะมาหาค่าดัชนี มวลกายกันนัน้ เราจะเหน็ ว่า การหาค่าดัชนีมวลกาย ประกอบด้วย น้ำหนักตวั ท่เี ป็นกิโลกรมั กบั ความสงู ที่เปน็ เมตร วธิ ีการคำนวณค่าดชั นีมวลกาย 1. ค่าดชั นีมวลกาย = นำ้ หนัก (กิโลกรมั ) หารด้วย [ความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2] ตัวอย่างเชน่ : น้ำหนักตวั 68 กิโลกรัม ความสงู 1.65 เมตร (165 เซนติเมตร) คา่ ดชั นีมวลกาย = 68 / (1.65 x 1.65) = 24.98 2. เม่ือได้ค่าดัชนีมวลกายแล้วก็จะนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของค่าดัชนีมวลกายเพื่อคัดกรอง วา่ ผ้ปู ่วยนั้นอยใู่ นคนกล่มุ ใด 3. โดยปกติคนเอเชียจะใช้ค่ามาตรฐานดัชนีมวลกายเท่ากัน ซ่ึงค่ามาตรฐานของดัชนีมวลกายเหล่าน้ี จะเป็นเกณฑ์โดยคร่าวๆ เท่าน้ัน และอาจแบ่งเป็น 4 ระดับใหญ่ๆ คือผอม น้อยกว่า 18.5 ปกติ 18.5-22.9 อ้วนเล็กน้อย 23.0-24.9 อว้ นปานกลาง (อว้ นระดับ 1) 25.0-29.9 อ้วนมาก (อ้วนระดับ 2) มากกว่า 30.0 การช่งั นำ้ หนกั (การเตรยี มพ้ืนที่ อปุ กรณ์ ในการชง่ั นำ้ หนกั ) 1. เคร่อื งชงั่ นำ้ หนกั ควรมกี ารตรวจสอบ เทยี บมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ 2. ตำแหนง่ ทว่ี างบนพ้นื ราบ ต้องปลอดภยั 3. ควรมีอปุ กรณใ์ หย้ ึดจบั ในกรณีผู้สงู อายุ หรือนงั่ รถเขน็ 4. ควรมเี กา้ อี้หรือโต๊ะ ใหส้ ำหรับวางส่งิ ของ กอ่ นข้นึ ชง่ั น้ำหนัก การชง่ั นำ้ หนกั ทถี่ ูกต้อง 1. ตรวจสอบความทย่ี งตรงของเคร่อื งชง่ั โดยให้ลกู ตมุ้ หรือเข็มชี้ในตำแหน่งเลขศูนยก์ ่อนชง่ั ทกุ ครัง้ 2. ถอดรองเท้า เสื้อผ้าที่หนามีน้ำหนัก หรือส่ิงของในกระเป๋าออก เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวท่ีแท้จริง ถ้าเป็น เครอ่ื งช่งั น้ำหนักแบบดจิ ติ อล ผ้ชู งั่ ต้องถอดถงุ เทา้ ด้วย 3. ใหย้ ืนตรงกลางแผน่ รองรับนำ้ หนกั หันหน้าเข้าหาเครือ่ งชั่งหรือหนา้ ปัด 4. เวลาอ่านผลผู้จดบันทึกจะต้องมองตรงๆบนตัวเลขท่ีจะอ่าน ถ้ามองเอียงจะทำให้คลาดเคลื่อน จากความเปน็ จริงได้ ถา้ จำนวนนำ้ หนักมเี ศษใหอ้ ่านทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง น้ำหนกั มีหน่วยเปน็ กิโลกรัม 5. ในการชั่งน้ำหนักเพื่อติดตามผล ควรใช้เครื่องชั่วตัวเดิมทุกคร้ัง และควรกำหนดเวลาช่ังน้ำหนักให้เป็น ช่วงเวลาเดยี วกัน โดยทวั่ ไปควรเป็นช่วงเช้า ข้อความระวังในการชงั่ น้ำหนัก 1. เวลา ควรช่ังน้ำหนักในวันเวลาเดียวกันทุกสัปดาห์ (หรือทุกวัน) การชั่งน้ำหนักท่ีดีที่สุดคือตอนเช้าหลัง ตื่นนอน จากกำจัดของเสยี ออกจากกระเพราะปัสสาวะ แต่จะตอ้ งเปน็ ชว่ งก่อนทานอาหารเชา้ 2. เสื้อผ้าและเคร่ืองประดับ ควรช่ังน้ำหนักในชุดเดียวกัน หรือช่ังโดยไม่สวมเส้ือผ้า เครื่องประดับ กระเป๋า เนือ่ งจากเสื้อผ้ามนี ้ำหนกั ท่แี ตกตา่ งกนั 3. ตำแหน่งวางเคร่ืองชั่งต้องวางตำแหน่งเดิมทุกคร้ังที่ชั่งน้ำหนัก ซ่ึงควรจะเป็นพื้นผิวเรียบและแข็ง โดยไม่ควรวางไว้บนพรม เพราะระดบั ท่ีไมเ่ สถียรอาจส่งผลตอ่ คา่ ทไ่ี ด้ 4. ยืนนิ่งๆ จะต้องยืนนิ่งๆ ด้วยน้ำหนักที่กระจายตัวเท่าๆ กันบนเท้า และเครื่องชั่งบางประเภทต้องการ ใหช้ ัง่ ด้วยเท้าเปล่าๆ เท่าน้ัน (สวมถุงเทา้ ตอ้ งถอดออก) หลกั สตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดบั พื้นฐาน) : 19

5. ประเภทเครื่องช่ัง น้ำหนกั ตวั จะข้ึนอย่กู ับประเภทเครื่องช่ังที่ใช้ กลไกการทำงานอาจต่างกนั ไปตามบริษทั การวดั ส่วนสูงในงาน NCD จะทำการวัดส่วนสูงปีละ 1 คร้ัง หรือเม่ือมีการเปลี่ยนแปลงความสูงท้ังกลุ่มป่วยและประชาชนท่ัวไป การวัดส่วนสูงในงาน NCD มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพและหาค่า BMI เพ่ือประเมินความเสี่ยง ไม่ได้วัดส่วนสูง เพอ่ื ประเมินภาวการณ์เจริญเติบโต • ในประชาชนท่ัวไปคดั กรองนำ้ หนัก ส่วนสงู ปลี ะ 1 คร้ัง • กลมุ่ ป่วยชง่ั นำ้ หนกั ทุกครัง้ ทมี่ ารับบริการ วัดส่วนสงู อยา่ งนอ้ ยปลี ะ 1 ครัง้ การวัดสว่ นสูงที่ถกู ต้อง การวัดส่วนสูงในประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีวัตถุประสงค์เพ่ือประเมินภาวะสุขภาพ ไม่ได้วัดเพ่ือ ประเมนิ ภาวการณเ์ จรญิ เติบโต เตรยี มตัวให้พรอ้ มสำหรับการวดั ส่วนสงู 1. ปรบั แนววดั ให้ต้ังฉาก 2. ยกแนววัดเหนือศีรษะ 3. ถอดรองเทา้ และถุงเท้า เราควรวัดสว่ นสงู ในขณะท่ีเท้าเปล่า เพราะรองเทา้ ถงุ เท้า หมวก ผา้ คาดผม หรือ ผกู หางมา้ ใหผ้ มของคณุ เรียบแบน มผี ลต่อความสงู 4. ยืนเอาหลังพิงแกนวัดส่วนสูง เท้าชิดกัน พยายามยืนให้ตรงที่สุด ให้ทั้งส้นเท้า หลัง ไหล่ และศีรษะชิด แกนวัด เกบ็ คางเขา้ และมองตรงไปข้างหน้ายืนตัวตรง 5. อ่านค่าความสงู เป็นเซนตเิ มตร แบบละเอยี ด เช่น 155.5 เซนตเิ มตร เปน็ ตน้ 6. ในกรณที ยี่ ืนไมไ่ ด้ สามารถใชค้ วามสงู ทีว่ ดั จากบัตรประชาชน ได้ ข้อความระวังในการวดั สว่ นสูง ควรวดั สว่ นสงู ในช่วงเชา้ เพราะในระหวา่ งวัน กระดกู สันหลงั ของคนเราจะเกดิ การหดตวั และทำใหเ้ ราเต้ยี ลง คณุ จึงควรวัดส่วนสงู ในช่วงเชา้ เพ่ือใหไ้ ด้ค่าที่มีความแมน่ ยำและสมบูรณ์ คา่ ดัชนีมวลกายแม้จะสามารถช่วยคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนได้ แต่ค่าดัชนีมวลกายก็ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ของการประเมินสุขภาพเท่าน้ัน จึงไม่สามารถระบุความเส่ียงสุขภาพได้ เนื่องจากคนบางกลุ่มนั้นอาจมีค่าดัชนีมวลกายสูง แต่ไม่ใช่คนที่เป็นโรคอ้วน หรืออาจมีผู้ป่วยบางคนผอมและมีค่าดัชนีมวลกายต่ำ แต่อาจมีความเสี่ยงอ่ืน เช่น ระดับของ คอเลสเตอรอล หรือไตรกลเี ซอไรด์ในเลือดสงู สูบบุหรี่ จงึ ตอ้ งใช้ปัจจัยอืน่ ๆ เสริมด้วย ถึงจะสามารถระบคุ วามเสยี่ งสขุ ภาพได้ หมายเหตุ - ขอความกรณุ าผู้เชีย่ วชาญ ช่วยดเู ร่ืองการชง่ั น้ำหนกั ในผู้ป่วย NCD ทีต่ อ้ งนัง่ รถเขน็ - การเลอื กซ้ือเครอ่ื งชั่งน้ำหนัก เพือ่ ให้ความรแู้ ก่ อสม. - การดแู ลรกั ษาเครอื่ งช่ังนำ้ หนกั เพอ่ื ใหค้ วามรูแ้ ก่ อสม. หลักสตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง (ระดับพื้นฐาน) : 20

การแปลผล เม่ือได้ค่าดัชนีมวลกายแล้วก็จะนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของค่าดัชนีมวลกาย เพ่ือคัดกรองว่าผู้ป่วยนั้น อยูใ่ นกลุ่มใด ตามตัวชี้วัด NCD BMI ไมค่ วรเกิน 25 กก./ม.2 รปู ภาพที่ 2 รตู้ ัวเลข ร้เู ส่ยี ง เลย่ี งโรคไมต่ ิดต่อ หลักสตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดับพนื้ ฐาน) : 21

เร่อื ง การตรวจนำ้ ตาลในเลือดจากปลายนว้ิ วทิ ยากร นางสาวรตั นาภรณ์ จีระวฒั นะ ผู้ปฏิบตั ิการพยาบาลขัน้ สงู โรงพยาบาลรามาธิบดี รูปแบบการเรยี นรู้ Online-learning ในรูปแบบการบรรยาย ผา่ น PowerPoint ร่วมกบั VDO วัตถปุ ระสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อใหผ้ ูเ้ รียนเขา้ ใจหลักการและความสำคัญของการตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว 2. เพ่อื ให้ผู้เรยี นทราบถึงอุปกรณ์ เทคนคิ และวิธกี ารตรวจน้ำตาลในเลอื ดจากปลายนว้ิ 3. เพอ่ื ใหผ้ ูเ้ รยี นสามารถแปลผล และใหค้ ำแนะนำการตรวจนำ้ ตาลในเลอื ดจากปลายนิ้วในงานประจำได้ วัตถปุ ระสงค์การตรวจนำ้ ตาลในเลือดจากปลายนวิ้ 1. การตรวจเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน 2. การตรวจเพอ่ื ติดตาม และประเมินผลการรักษา 3. การตรวจเพ่ือประเมินภาวะสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน เช่น กรณีที่มีภาวะฉุกเฉิน Hypoglycemia หรือ Hyperglycemia ความสำคญั การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ในการท่ีทำให้ทราบถึงระดับ น้ำตาลในเลือดที่เปล่ียนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซ่ึงนอกจากแพทย์จะนำผลการตรวจไปประเมินเพ่ือปรับแผน การรักษาแล้ว ผู้เป็นเบาหวานเองก็ใช้เป็นเคร่ืองมือสำคัญในการประเมินว่าการควบคุมเบาหวานของตนเองนั้นดีเพียงใด โดยนำไปปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ท้ังด้านโภชนาการ การใช้ยา และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดตามเป้าหมายการรกั ษา ดังน้ันบคุ ลากรทางการแพทย์ หรอื อสม. มีความจำเป็นที่ต้องเขา้ ใจถึงวิธีการใชเ้ ครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดอย่างถูกวธิ ี ปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน รวมท้ังดึงให้ผู้เป็นเบาหวานเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาโดยการให้ความรู้ และพฒั นาความสามารถแกผ่ ู้เปน็ เบาหวานในการตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนิว้ ด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose: SMBG) ไดอ้ ย่างถกู ตอ้ ง ชนิดของเคร่ืองตรวจน้ำตาลปลายน้ิวชนิดพกพา แบ่งตามหลักการวเิ คราะหข์ องเครอ่ื งตรวจน้ำตาลปลายน้วิ ชนิดพกพา สามารถแบง่ ไดเ้ ป็น 3 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. Photometric method เป็นการตรวจโดยใช้หลักการวัดแสง ท่ีเกิดจากความเข้มของสีที่เกิดจากการทำปฏิกิริยา ทางเคมขี องน้ำตาลและเอนไซม์บนแผ่นตรวจ (strip) โดยเคร่ืองตรวจนำ้ ตาลที่ใช้หลักการวัดแสงน้ีนิยมใช้ในอดีต และยังคงมี ใช้บ้างในปัจจุบนั 2. Biosensor หรือ Electrochemical เป็นการตรวจโดยใช้หลักการวัดอิเล็กตรอน ท่ีเกิดจากการทำปฏิกิริยา เฉพาะต่อน้ำตาลกลูโคส (glucose) และเอนไซม์บนแผ่นตรวจ (strip) ทำให้เกิดเป็นประจุไฟฟ้าวิ่งเข้าสู่ electrode เพอื่ แปลงค่าปรากฏเปน็ ปรมิ าณของกลูโคส (glucose) โดยเครอ่ื งตรวจนำ้ ตาลที่ใชห้ ลักการน้ีเป็นทนี่ ิยมใชใ้ นปัจจบุ นั หลักสตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดบั พื้นฐาน) : 22

3. Non-invasive glucometer ปัจจุบันมีการพัฒนาการตรวจน้ำตาลโดยไม่ต้องทำการเจาะเลือด โดยใช้หลักการ ยิงแสงเลเซอร์ การวัดสัญญาณทางสรีรวิทยาต่างๆ เพื่อนำมาประเมินผลเทียบค่าระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งปัจจุบันยั งไม่ได้ นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย และยังมีข้อจำกัดเร่อื งของความแม่นยำในการแปลผล อปุ กรณ์ทใี่ ช้ในการตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายนวิ้ อุปกรณ์การตรวจน้ำตาลในเลือดจากปลายน้ิว แบ่งตามบริบทของกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาล, อสม., และผ้เู ปน็ เบาหวาน (SMBG) ดังนี้ ตารางท่ี 1 อุปกรณ์การตรวจน้ำตาลในเลอื ดจากปลายนิว้ แบ่งตามบรบิ ทของกลมุ่ ผู้ใช้งาน อปุ กรณ์ บุคลากรทาง อสม. ผู้เป็นเบาหวาน การแพทย์   1. เคร่ืองตรวจน้ำตาลปลายน้ิวชนิด  หรอื POCT   พกพา ชนิดใชแ้ ลว้ ทิ้ง ป ากก าและเข็ม เจาะ 2. แผ่นตรวจวัดระดับน้ำตาลที่เฉพาะ  เลือด  กับเคร่ืองตรวจ  3. เขม็ เจาะ ชนดิ ใช้แล้วท้ิง  ข วด พ ล าส ติ ก ท่ี มี ความหนาหรือขวดแก้ว 4. สำลีแหง้ ปราศจากเช้อื   ท่มี ฝี าปดิ   5. แอลกอฮอล์ 70%    สมดุ บันทึกประจำตวั  6. ถงุ มอื  7. ภาชนะสำหรับทิ้งเข็ม ท่ีมีสัญลักษณ์  ชีววัตถุตดิ เชือ้ อันตราย 8. ถุงขยะตดิ เชื้อ  9. แบบบนั ทึกผล  เทคนคิ วิธีการ 1. การตรียมความพร้อมก่อนตรวจน้ำตาลปลายน้ิว 1.1 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่อง/แบตเตอร่ี 1.2 ตรวจสอบวันหมดอายุของแถบตรวจทุกครัง้ 1.3 ปรับระดับความลึกของเขม็ เจาะให้เหมาะกับสภาพของผิวหนงั 1.4 สอบถาม ตรวจสอบรายชอ่ื ผ้เู ขา้ รบั บรกิ าร 2. ข้นั ตอนการตรวจ 2.1 เตรยี มอปุ กรณ์ ให้พร้อม 2.2 ลา้ งมอื ให้สะอาดและเชด็ ให้แหง้ 2.3 สวมถงุ มอื (สำหรับบคุ ลากรทางการแพทย์ หรือ อสม.) หลกั สตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดับพ้นื ฐาน) : 23

2.4 เลือกตำแหน่งการเจาะ ได้แก่ น้ิวทไ่ี ม่ได้ใช้งานบ่อย เช่น กลางหรือน้ิวนาง โดยเจาะบริเวณด้านข้างของนิ้ว (เนื่องจากมีเสน้ ประสาทนอ้ ยกวา่ ตรงปลายนว้ิ ) 2.5 นวดคลึงปลายนิ้ว 2.6 เชด็ นิ้วทีจ่ ะเจาะดว้ ยสำลีแอลกอฮอล์ รอใหแ้ หง้ 2.7 เจาะเลือด - สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ หรือ อสม. แนะนำใหป้ ลดพลาสตกิ ทห่ี ัวเข็มเปดิ ใช้ตอ่ หน้าผ้ปู ่วยแต่ละราย เมอื่ ใช้เขม็ แล้วใหท้ ้งิ ลงกล่องทงิ้ เขม็ ทนั ที - สำหรับผู้เปน็ เบาหวาน ควรเปล่ียนเขม็ เจาะเลือดทกุ วันและไมใ่ ชเ้ ขม็ ร่วมกับผู้อนื่ 2.8 เช็ดเลอื ดหยดแรกออกด้วยสำลแี หง้ 2.9 แลว้ ใชเ้ ลือดหยดทีส่ อง ใสเ่ ลือดในแผน่ ตรวจ 2.10 ใชส้ ำลีแห้งกดบริเวณทีเ่ จาะจนเลอื ดหยุด 2.11 บันทึกและแปลผล 3. การทิง้ เข็ม 3.1 เขม็ เจาะเลอื ดทใ่ี ช้งานแล้วต้องทงิ้ ในภาชนะทป่ี ้องกันการแทงทะลุ เช่น พลาสตกิ หรอื โลหะท่ีมฝี าปิดมิดชดิ 3.2 ตดิ ปา้ ยชัดเจนวา่ เป็น ทที่ ิ้งเขม็ ขยะติดเชอ้ื 3.3 สำหรับประชาชน แนะนำใหน้ ำภาชนะทง้ิ เข็มมาฝากทิง้ ที่สถานพยาบาลตามจดุ ท่ีกำหนดไวเ้ ท่าน้นั 4. ความถีข่ องการตรวจน้ำตาลปลายน้วิ ความถ่ีของการตรวจน้ำตาลปลายน้ิวเป็นไปตามความเหมาะสมกับชนิดของเบาหวาน การรักษาที่ได้รับ ความจำเป็น และเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยแต่ละราย ซ่ึงผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ไดว้ างแผนร่วมกัน โดยมีคำแนะนำดังนี้ 4.1 ในผทู้ ฉี่ ดี อินซลู นิ - ฉีดอินซูลินชนิดผสม (premix insulin) วันละ 2 คร้ัง ควรตรวจอย่างน้อยวันละ 2 คร้ัง ก่อนอาหารเช้า และเย็นที่ตอ้ งฉดี ยา โดยอาจมกี ารส่มุ เจาะก่อนอาหารมอ้ื เที่ยง หรือก่อนนอนเพมิ่ เตมิ เพ่ือเปน็ ข้อมลู ในการปรับยา - ฉีดอินซูลิน 3 คร้ังข้ึนไป ควรตรวจก่อนอาหารท้ัง 3 มื้อ และควรสุ่มตรวจเพิ่มก่อนนอน และเม่ือสงสัยว่า มีภาวะนำ้ ตาลตำ่ กลางดึก ควรตรวจเลอื ดในชว่ งเวลา 2.00-4.00 น. - ฉีดอินซูลินก่อนนอน ควรตรวจก่อนอาหารเช้าทุกวัน หรืออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจตรวจก่อน อาหารมอื้ อื่นๆ สลบั กนั เพ่อื ดูแนวโนม้ ของระดับนำ้ ตาลถา้ ยงั ไม่ไดต้ ามเป้าหมายการรักษา 4.2 ในผู้ท่ีได้รับยาที่มีความเส่ียงทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรตรวจก่อนหรือหลังการออกกำลังกาย หรอื การขบั รถ และเดนิ ทางระยะเวลานาน 4.3 ควรตรวจน้ำตาลเมื่อสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือหลังการแก้ไขน้ำตาลในเลือดต่ำจนกว่า จะกลับมาปกติ 4.4 ในผู้ทม่ี ีความเจ็บป่วยควรตรวจอย่างน้อย 4 ครัง้ หรอื กอ่ นอาหาร เพอ่ื ประเมินภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง หลกั สตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหติ สงู (ระดบั พื้นฐาน) : 24

ตวั อย่างการตรวจนำ้ ตาลปลายนิว้ เพื่อใหไ้ ดป้ ระโยชน์สูงสดุ ตามคำแนะนำของ IDF ได้แก่ 1. การตรวจแบบ 7 จุด และ 5 จุด ติดต่อกัน 3 วัน จะเป็นการประเมินผลน้ำตาลแบบเข้มงวดก่อน ผู้เป็นเบาหวานมาพบแพทย์ เพ่ือดคู วามสัมพันธ์ของระดับน้ำตาล กับการรบั ประทานอาหาร ยาท่ีใช้ และพฤติกรรมการดูแล ตนเอง ตารางท่ี 2 การตรวจแบบ 7 จุด (7-point profile) วัน อาหารเชา้ อาหารกลางวัน อาหารเยน็ กอ่ นนอน ก่อน หลัง กอ่ น หลัง กอ่ น หลงั จนั ทร์ องั คาร พธุ พฤหัสบดี / / / / / / / ศุกร์ / / / / / / / เสาร์ / / / / / / / อาทิตย์ ตารางที่ 3 การตรวจแบบ 5 จดุ (5-point profile) วัน อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเยน็ กอ่ นนอน ก่อน หลัง ก่อน หลงั ก่อน หลัง จันทร์ อังคาร // / // // / // พุธ // / // พฤหัสบดี ศกุ ร์ เสาร์ อาทิตย์ หลกั สตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสงู (ระดับพืน้ ฐาน) : 25

2. การตรวจแบบ Staggered SMBG regimen เป็นการตรวจก่อนและหลังอาหารวันละมื้อ ติดต่อกัน 7 วัน เพื่อให้ทราบผลของอาหารแต่ละมื้อ โดยนำค่าน้ำตาลไปปรับแบบแผนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การปรับอาหาร อาจจะลดจำนวนครั้งเปน็ สลบั วนั เวน้ วันเป็นรปู แบบ meal based testing ได้ ตารางที่ 4 การตรวจแบบ Staggered SMBG regimen อาหารเช้า อาหารกลางวนั อาหารเย็น ก่อนนอน วัน ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลงั จนั ทร์ / / อังคาร / / พธุ / / พฤหัสบดี / / ศกุ ร์ / / เสาร์ / / อาทิตย์ / / 5. การแปลผล (เวชปฏิบตั สิ ำหรับโรคเบาหวาน 2560) 1. การตรวจเพือ่ คดั กรองโรคเบาหวาน ตรวจขณะอดอาหาร 8 ชวั่ โมง (fasting plasma glucose: FPG) FPG <100 mg% (ปกติ) FPG 100-125 mg% (วินจิ ฉัย IFG) FPG >126 mg% (สง่ เพ่อื ประเมนิ FPG ซำ้ ในวนั ถดั ไป เพอื่ วินิจฉัยเบาหวาน) 2. การแปลผลคา่ น้ำตาลในผู้เป็นเบาหวาน การแปลผลประกอบดว้ ย 4 ขนั้ ตอน ดงั นี้ 2.1 ค้นหาค่าทีผ่ ดิ ปกตจิ ากเป้าหมายทกี่ ำหนดไว้ เชน่ - คา่ น้ำตาลท่ีตำ่ กว่า 70 mg% - ค่านำ้ ตาลก่อนอาหารทส่ี งู กวา่ เป้าหมายทีต่ ้ังไว้ - คา่ น้ำตาลหลังอาหารที่สงู กว่ากอ่ นอาหารมากกว่า 50 mg% 2.2 ประเมนิ วา่ ความผิดปกตินนั้ เกิดข้ึนเวลาใดและบ่อยแค่ไหน 2.3 หาสาเหตทุ ่ีทำให้ค่าน้ำตาลผิดปกติ 2.4 หาแนวทางแก้ไข และปรบั พฤตกิ รรม หลักสตู รการเพิ่มสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดับพนื้ ฐาน) : 26

ตารางที่ 5 ระดับน้ำตาลในเลอื ด และเปา้ หมายการคมุ ระดับน้ำตาล ระดับน้ำตาลในเลอื ด เป้าหมายการคุมระดับนำ้ ตาล ขณะอดอาหาร เข้มงวดมาก เขม้ งวด ไม่เข้มงวด หลังอาหาร 2 ชัว่ โมง >70-110 80-130 140-170 นำ้ ตาลในเลือดสงู สุดหลงั อาหาร <140 - - <180 ภาวะนำ้ ตาลในเลือดตำ่ (hypoglycemia) < 70 mg% -แกไ้ ข 15-15 rules -ค้นหาปญั หาการเกดิ ภาวะ hypoglycemia -วางแผนหาแนวทางปอ้ งกันการเกิดซ้ำ ** แนะนำเรอ่ื งการปรับเปลย่ี นพฤติกรรม ท้งั ด้านโภชนาการ การใช้ยา การมีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลงั กาย** แนวทางการแก้ไขภาวะนำ้ ตาลในเลอื ดตำ่ (Hypoglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หมายถึง การมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ 7 มก./ดล. หรือต่ำกว่า มีอาการแสดง ได้แก่ รู้สึกหิว เหงื่อออก ใจสั่น มือส่ัน ตัวเย็น ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้อาการรุนแรงเพ่ิมข้ึนมีอาการ สับสน ชัก หมดสติ จนถงึ ขน้ั เสยี ชวี ติ ได้ 6. การดูแลรักษาเครอ่ื ง 1. เช็ดทำความสะอาดอปุ กรณ์ หลงั ใช้งาน 2. หลกี เลย่ี งการใชแ้ ละเกบ็ เครอื่ งในทร่ี ้อน (บรษิ ัทสว่ นใหญ่กำหนดอุณหภูมิ ไมเ่ กนิ 40 องศาเซลเซยี ส) 3. เกบ็ แผน่ ตรวจตามอณุ หภูมิท่ผี ้ผู ลติ กำหนด และมคี วามชน้ื เหมาะสม 7. การสอบเทียบเครอื่ งมือ การสอบเทียบเคร่ืองตรวจน้ันมีความแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อความมั่นใจว่าเครื่อง มีความถูกต้องเม่ือใช้คู่กับแผ่นตรวจ โดยการใส่ test strip chip หรือ key code แล้วปรับให้ code ตรงกับกล่อง ในกรณี เครอื่ งตรวจชนิด auto-code ไม่จำเปน็ ต้องสอบเทียบ 8. วิธีการสอบเทียบ 1. เปิดเครื่อง 2. ใส่ code ตามท่ีกำหนดของกล่อง strip เมื่อใส่แลว้ จะขน้ึ code ตามข้างกล่องกำหนด แสดงถึงไดส้ อบเทียบ เรยี บรอ้ ยแลว้ 3. ในกรณีที่เป็นเครอื่ งชนิด auto-code เครอ่ื งจะขน้ึ code ท่หี นา้ จอ 4. เคร่ืองบางบริษัทอาจกำหนดให้ทดสอบกับวัสดุควบคุมคุณภาพเพ่ือยืนยันผลการสอบเทียบ ซึ่งค่าที่อ่านได้ ควรอยใู่ นเกณฑท์ ีก่ ำหนด หลกั สตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดบั พ้ืนฐาน) : 27

คำแนะนำเพ่มิ เตมิ 1. ครัง้ แรกในการเริ่มใช้งาน ควรต้ังเวลาและวนั ทข่ี องเคร่ืองใหถ้ ูกตอ้ ง และตรวจสอบความถกู ต้องเป็นระยะ 2. เมือ่ เชด็ นว้ิ ด้วยสำลีแอลกอฮอล์แลว้ ควรรอให้แห้ง กอ่ นเจาะเลือดเสมอ 3. ในกรณีที่ตรวจปลายนิ้วใหแ้ ก่ผูป้ ่วยแลว้ ควรแจ้งผลและใหค้ ำแนะนำในการปฏิบัตติ วั แก่ผปู้ ว่ ยทุกครง้ั 4. ในกรณีท่ีสอนผู้ป่วย ควรสร้างความตระหนักถึงวัตถุประสงค์ของการตรวจน้ำตาลดว้ ยตนเองเพอื่ ให้เป็นเคร่ืองมือ ในการปรบั พฤติกรรมการดแู ลตนเอง มใิ ช่เพือ่ นำผลมาใหแ้ พทย์อย่างเดียว 5. ควรให้คำแนะนำผู้ป่วยถึงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่แสดงถึง ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ค่าน้ำตาลในเลือดสูง หรือคา่ error ตา่ งๆ ซึ่งมคี วามแตกตา่ งกนั ตามบริษทั ที่ผลติ ในการกำหนดความหมายของสญั ลกั ษณ์ ตัวอยา่ ง ความหมายสัญลกั ษณข์ อเครอื่ งตรวจน้ำตาลปลายนิ้วชนิดพกพาท่ีพบบอ่ ย ตวั อยา่ งเชน่ สญั ลักษณ์ LO หมายถึง ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าที่เครื่องสามารถแสดงผล ขึ้นอยู่กับบริษัทท่ีผลิตกำหนด เช่น ตำ่ กวา่ 10 หรอื 20 mg% สญั ลกั ษณ์ HI หมายถึง ค่าน้ำตาลในเลอื ดสูงกว่าทีเ่ ครอ่ื งสามารถแสดงผล ข้นึ อยู่กบั บรษิ ัทที่ผลิต กำหนด เชน่ สงู กวา่ 500 หรือ 600 mg% สัญลักษณ์ E9 หรือ รูปแบตเตอร่ี หมายถงึ แบตเตอรใ่ี กล้หมดขึ้นอย่กู ับบริษัทที่ผลิตกำหนด หลกั สตู รการเพิม่ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พื้นฐาน) : 28

เรอ่ื ง การวดั ความดันโลหติ /HBPM/OBPM วิทยากร นางณกานตช์ ญาน์ นววชั รินทร์ พยาบาลวชิ าชพี ชำนาญการ โรงพยาบาลปากน้ำชมุ พร จงั หวัดชมุ พร รปู แบบการเรียนรู้ บรรยายผา่ น PowerPoint และสาธติ ใช้เวลา 20 นาที ขอบเขตเน้ือหา 1. ปญั หาและความสำคญั โรคความดนั โลหิตสงู ปัญหาหลักของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย คือการท่ีผู้ป่วยไม่ได้ตระหนักว่าเป็นโรค และการที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้ลดลงมาตามเกณฑ์ปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตามพบว่าแนวโน้มของการ ไม่ตระหนักถึงการเป็นโรคของผู้ป่วยลดลง จากร้อยละ 72.4 ในปี พ.ศ. 2547 เหลือร้อยละ 44.7 ในปี พ.ศ. 2557 ในขณะ ท่ีสัดส่วนของผู้ที่ได้รับการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอท เพิ่มข้ึนจากร้อยละ 8.6 ในปี พ.ศ. 2547 มาเป็นร้อยละ 29.7 ในปี พ.ศ. 2557 (สมาคมความดันโลหิตสูงประเทศไทย แนวทางการรักษาโรคความดัน โลหติ สูงในเวชปฏบิ ัติทัว่ ไป พ.ศ. 2562) ประชาชนไทยผู้รับบริการผู้ป่วยนอก ปี 2563 จำนวน 60,490,727 UC ท้ังหมด 49,398,981 ประกันสังคม 8,642,014 ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ 6,806,312 ปี 2563 พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากรมากกว่า 6,235,620 คน ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย 2,630,874 คิดเป็นร้อยละ 42.19 และร้อยละของประชากร อายุ 35 ปีขนึ้ ไป ท่ีไดร้ ับการคัดกรองความดันโลหิตสงู ปีงบประมาณ 2563 เป้าหมาย 19,526,428 คดั กรองได้ 17,537,724 คิดเป็นร้อยละ 89.82 จะเห็นได้ว่าการวัดความดันโลหิตเป็นการประเมินภาวะสุขภาพพื้นฐานที่มีความสำคัญท้ังประชากร กลมุ่ ปกติ กล่มุ เสย่ี ง หรือกลุ่มป่วย 2. ความดนั โลหิต คอื เป็นการวัดการทำงานของหัวใจและแรงดันโลหิตในหลอดเลือด โดยความดันโลหิตท่ีวัดได้จะมี 2 ค่า ได้แก่ ค่าความดัน ซิสโตลิก คือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว หรือเรียกว่า ความดันโลหิตตัวบน และค่าไดแอสโตลิก คือ ค่าความดันขณะ ท่ีหัวใจคลายตัว หรือเรียกว่า ความดันโลหิตตัวล่าง มีหน่วยวัดเป็น มิลลิเมตรปรอท เราจะรายงานหรือบันทึกค่าความดัน เป็น 2 ค่าเสมอ โดยบอกค่าตัวบนก่อน และตามด้วยความดันตัวล่าง ค่าความดันตัวบนปกติ จะอยู่ท่ี 100-120 มม.ปรอท ค่าความดันโลหิตตัวล่างปกติจะอยู่ที่ 60-80 มม.ปรอท อย่างไรก็ตามค่าของความดันตัวบนและตัวล่างอาจเปล่ียนแปลงได้ ตามเพศ อายุ เชื้อชาติ ภาวการณ์เจ็บป่วย ภาวะเครียด น้ำหนักตัว รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น รีบเร่ง ออกกำลงั กาย โกรธ ตน่ื เต้น ตกใจ ก็จะมีผลต่อความดนั โลหติ ทงั้ ส้ิน 3. การวัดความดันโลหิต การเตรยี มผู้ป่วย แนะนำผู้ป่วยให้ไม่ดื่มชาหรอื กาแฟ และไม่สูบบุหร่ี ก่อนทำการวัดความดันโลหิตอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการปวดปัสสาวะ ควรแนะนำให้ไปปัสสาวะก่อน ให้ผู้ป่วยนั่งพักบนเก้าอ้ีในห้องท่ีเงียบสงบ เปน็ เวลา 5 นาที หลังพิง พนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง เท้า 2 ข้างวางราบกับพื้น ห้ามนั่งไขว่ห้าง ไม่พูดคุยทั้งก่อนหน้า และขณะวัดความดันโลหิต วางแขนซ้ายหรือขวาที่จะทำการวัดอยู่บนโต๊ะ โดยให้บริเวณที่จะพัน arm cuff อยู่ ระดับเดียวกับระดับหัวใจ และไม่เกร็ง แขนหรือกำมือในขณะทำการวดั ความดันโลหิต หลกั สตู รการเพิ่มสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหติ สูง (ระดบั พ้ืนฐาน) : 29

รปู ภาพที่ 3 การเตรียมผปู้ ่วยก่อนและระหวา่ งการวดั ความดันโลหติ การเตรียมเครื่องมือ ควรตรวจสอบมาตรฐานท้ังเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (mercury sphygmomanometer และเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ (automatic blood pressure measurement device) อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ และควรเลือกใช้ arm cuff ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดแขนของผู้ป่วย กล่าวคือส่วนท่ีเป็นถุงลม (bladder) ควรจะครอบคลุมรอบวงแขนผู้ป่วยได้ประมาณ ร้อยละ 80 สำหรับผู้ใหญ่ท่ัวไป ซ่ึงมีเส้นรอบวงแขน ประมาณ 27-34 ซม. ควรจะใช้ arm cuff ทมี่ ถี งุ ลมขนาด 16 ซม. X 30 ซม. การวัดความดันโลหิตโดยทั่วไปสามารถแบ่งตามสถานท่ีในการวัดง่ายๆ เป็น 2 แบบคือ การวัดความดันโลหิต ที่สถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ร้านขายยา คลินิกแพทย์ เป็นต้น เรียกว่า Office Blood Pressure (OBP) และการวัดความดันโลหิตท่ีบ้าน เรียกว่า Home Blood Pressure (HBP) หรือ Home BP ซ่ึงค่าความดัน โลหิตท่ีวัดได้จากสถานพยาบาลและค่าความดันโลหิตที่วัดได้จากท่ีบ้านจะมีความแตกต่างกัน ตามปกติระดับความดันโลหิต ที่วัดท่ีบ้านจากเคร่ืองวัดความดันโลหิตชนิดพกพา จะมีค่าต่ำกว่าค่าท่ีวัดได้ในสถานพยาบาลประมาณ 5 มม.ปรอท ทั้งความดันตัวบนและความดันตัวล่าง ดังนั้นเกณฑ์การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง จากการวัดความดันโลหิตท่ีสถานพยาบาล และทบี่ า้ นจงึ มเี กณฑท์ ี่ไม่เหมือนกนั หลกั สตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสงู (ระดับพน้ื ฐาน) : 30

4. ความดันโลหิตสงู (Hypertension) คือภาวะท่ีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก ≥140 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิก ≥90 มม.ปรอท โดยอ้างอิงจากการวัดความดันโลหิตท่ีสถานพยาบาล ส่วนความดันโลหิตสูง เมื่อวัดความดันโลหิตที่บ้าน คอื มคี า่ ระดบั ความดันโลหติ ซิสโตลิก ≥135 มม.ปรอท และ/หรือความดนั โลหิตไดแอสโตลิก ≥85 มม.ปรอท ดงั น้ี เกณฑ์การวนิ จิ ฉัยความดันโลหติ สูงจากการวดั ความดนั โลหิตด้วยวิธตี า่ งๆ วธิ ีการวัดความดนั โลหิต SBP (มม.ปรอท) และ/หรือ DBP (มม.ปรอท) การวดั ความดนั โลหติ ในสถานพยาบาล ≥140 ≥90 การวัดความดนั โลหติ ดว้ ยเครื่องชนิดพกพาท่ีบ้าน ≥135 ≥85 5. การวัดความดนั โลหติ ในสถานพยาบาล ในปัจจุบันจะเห็นเคร่ืองวัดความดันโลหิตแบบสอดแขนอัตโนมัติ จัดไว้ให้บริการในสถานพยาบาลเกือบทุกแห่ง ควรมกี ารเตรียมเคร่อื งวดั ความดันแบบสอดแขนดงั น้ี 5.1 การเตรียมวัดความดนั โลหติ ทส่ี ถานพยาบาล 1. ไมด่ ม่ื ชาหรือกาแฟ และไม่สูบบุหรี่ กอ่ นทำการวดั ความดนั โลหติ อยา่ งน้อย 30 นาที 2. หากมีอาการปวดปัสสาวะควรแนะนำให้ไปปสั สาวะก่อน 3. นง่ั พกั บนเก้าอี้ที่มีพนักพิง ในห้องท่เี งียบสงบเป็นเวลา 5 นาที 4. ไม่ควรวัดผา่ นเส้อื มีความหนา ควรถอดเสื้อคลมุ 5. นงั่ เกา้ อี้ ทหี่ ลังพิงพนกั เพ่ือไม่ตอ้ งเกร็งหลัง 6. เทา้ 2 ข้างวางราบกับพื้น หา้ มน่งั ไขว่หา้ ง 7. ไม่พูดคุยท้ังก่อนหน้าและขณะวดั ความดนั โลหิต 5.2 วธิ วี ัดความดนั โลหติ แบบสอดแขนอัตโนมตั ิ 1. สอดแขนใหส้ ดุ แขนวางในตำแหนง่ พอดกี บั เครื่อง 2. ไม่เกรง็ แขน ขยบั แขนหรอื กำมอื ในขณะทำการวดั ความดนั โลหิต 3. ในกรณผี ูป้ ่วยความดันโลหิตสูงทรี่ ับประทานยาความดนั ประจำต่อเน่ือง ต้องทานยาก่อนการวดั ความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตแบบสอดแขน เป็นเพียงการวัดความดันแบบคัดกรองเท่านั้น หากพบว่ามีระดับความดันโลหิต ผดิ ปกติ สถานพยาบาลต้องมเี คร่อื งวัดความดนั เพม่ิ เพ่ือใชใ้ นการประเมินหรือวินิจฉัย อาจเป็นแบบอัตโนมัติ หรอื แบบปรอท หรอื ใหไ้ ปวัดความดนั ที่บ้าน เพ่ือประเมนิ ภาวะความดันทถ่ี ูกตอ้ งต่อไป 6. การวัดความดันโลหิตท่ีบ้าน หรือ Home Blood Pressure หรือ Home BP หรือ Self-Monitoring Blood Pressure (SMBP) การวัดความดันโลหิตท่ีบ้านสามารถทำได้ทุกคน ไม่ว่าท่านมีความดันโลหิตทป่ี กติ หรือเสี่ยงท่จี ะป่วยเป็นโรคความดัน โลหิตสูง และแม้กระทั่งท่านท่ีเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรศึกษาถ่ายทอดความรู้ และให้ ความสำคญั กบั การวดั ความดนั โลหิตที่บ้าน หลักสตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดบั พ้ืนฐาน) : 31

6.1 ทำไมตอ้ งวดั ความดนั โลหติ ที่บ้าน 1. เพือ่ การคดั กรอง และวนิ ิจฉัยโรคความดันโลหติ สงู 2. เพื่อดผู ลการกนิ ยาลดความดนั หรือปรับเปล่ยี นพฤตกิ รรมเพื่อลดความดันโลหิต 3. เพอ่ื ใช้ในการปรบั เพ่ิม ลด เปลย่ี นเวลา เปลี่ยนวิธกี ารกินยา หรอื การหยดุ ยาลดความดนั โลหติ 4. เพื่อตง้ั เปา้ หมายในการดูแลตนเอง 6.2 การเตรยี มความพร้อมการวัดความดนั โลหิตดว้ ยตนเองทบ่ี ้าน การวัดความดันโลหิตท่ีบ้านแนะนำให้ใช้เคร่ืองวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ชนิดพันต้นแขนเท่าน้ันไม่ใช้ เคร่ืองวัดความดันแบบวัดจากข้อมือ (Wrist Blood Pressure) แบบนาฬิกาหรือ smart watch หรือจากโทรศัพท์มือถือ หรือ smart Phone ยกเว้น ผู้ป่วยที่มีต้นแขนใหญ่มากเกิน cuff สามารถใช้เครื่องวัดความดัน แบบวัดท่ีข้อมือได้ และห้าม เอาเคร่ืองวัดความดันแบบวัดที่ต้นแขนไปวัดที่ข้อมือ เพราะเป็นการวัดผิดตำแหน่ง ไม่เหมาะสมกับขนาดของ cuff ดังนั้น อสม. ต้องมี cuff ท่ีสามารถเปล่ียนได้ ให้เหมาะสมกับต้นแขน แต่หากผู้ป่วยไม่มีเคร่ืองวัดความดันโลหิตใช้เอง สถานพยาบาลควรจัดเตรียมไวใ้ หส้ ามารถยมื จากสถานพยาบาล หรือจาก อสม. ชุมชนไปทำการวัดทบี่ ้านได้ ดังนั้นแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้ง อสม. ควรฝึกทักษะ การสอน แนะนำ ผู้ป่วยหรือญาติ ให้เข้าใจถงึ การใช้เคร่ืองวัดความดนั โลหติ ท่บี ้านอย่างถูกต้อง ดงั นี้ 1. อธิบายถงึ ประโยชนท์ ีจ่ ะไดร้ ับจากการวัดความดันทบ่ี ้านเพ่อื ใหเ้ ห็นความสำคัญและใหค้ วามรว่ มมือ 2. สาธติ วิธีการใชเ้ คร่ืองวดั ความดนั โลหติ แบบอตั โนมัติ 3. สาธิตวธิ กี ารวดั ความดันโลหิตแบบอัตโนมตั ิดว้ ยตนเอง 4. ฝกึ ทกั ษะ ผปู้ ว่ ยหรือญาติให้สามารถวดั ความดันให้ถกู ตอ้ ง 5. วิธกี ารบนั ทกึ ผลคา่ ความดนั 6. การขอคำปรึกษาเม่ือมีปัญหาและอุปสรรค (ความดันสูงมาก เครื่องมือมีปัญหา หรือการจัดการเวลา ใน การบนั ทึกผล) 7. การเตรียมตัววัดความดนั โลหติ ดว้ ยตัวเองทบ่ี า้ น ผู้วัดควรมีการเตรียมตัวเองก่อนการวัดความดันโลหิต หากผู้ป่วยสูงอายุอาจให้บุคคลในครอบครัวเป็นผู้วัดความดัน โลหิตให้ ซง่ึ การเตรียมตัววัดความดนั โลหติ ด้วยตัวเองทีบ่ ้าน ดังนี้ 1. ไม่ควรสวมใสเ่ สื้อผ้าที่รดั แนน่ เกินไป 2. ไม่ดมื่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรอื เครอ่ื งดม่ื ผสม คาเฟอีน และไมส่ บู บหุ ร่ี ก่อนทำการวัด 30 นาที 3. ถา่ ยปสั สาวะให้ เรยี บรอ้ ย 4. นั่งพักที่เงียบสงบ เบาเสียงเพลง โทรทัศน์ นั่งบนเก้าอี้เป็นเวลา 5 นาที หลังพิงพนักเพื่อไม่ต้องเกร็งหลัง (ถ้าท่ีบ้านไมม่ เี ก้าอ้แี บบมพี นักพิง อาจให้น่งั บนเกา้ อี้ แต่ไมค่ วรน่งั พับเพยี บ หรอื น่งั พื้นขดั สมาธ)ิ 5. เท้า 2 ข้างวางราบกบั พืน้ ห้ามนงั่ ไขวห่ า้ ง 6. ไม่พดู คุย ก่อนและขณะวัด 7. แขนซ้ายหรอื ขวาท่ตี ้องการวดั วางอยูบ่ นโต๊ะ ไมต่ ้องกำมอื หลกั สตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสูง (ระดับพืน้ ฐาน) : 32

8. วธิ ีการวัดความดนั โลหติ ด้วยตนเอง 1. ต่อสายลมเข้าทเ่ี คร่ืองใหส้ นทิ ไมม่ ลี มหรือรอยรวั่ 2. เลือกแขนขา้ งท่ีไมถ่ นดั ถนัดขา้ งขวา วดั ข้างซ้าย และควรเป็นแขนข้างเดยี วกัน เวลาเดียวกันเสมอ ถกแขนเสื้อข้นึ 3. สอดแขนเข้าไปที่ปอกพันแขน ให้อยู่เหนือข้อพับแขน โดยให้สายลมอยู่บริเวณตรงกลางของท้องแขน หงายมือข้ึน ข้างบน วางแขนเป็นแนวราบแนบลงกบั โตะ๊ 4. ขยับ เล่ือน ผ้าพันแขนให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ โดยให้ลูกศรอยู่ตรงกลางท้องแขน ผ้าพันแขนอยู่เหนือข้อพับแขน 1-2 เซนติเมตร วิธีง่ายๆ คือ ใช้น้ิวชี้และนิ้วกลางวางไว้ที่ข้อพับแขนพันผ้าให้พอดีกับแขน ไมค่ บั หรอื หลวมจนเกินไป ทดสอบคือ เอานิว้ 2 น้ิวสอดเขา้ ไปได้ 5. กดป่มุ ทำงาน 6. นั่งผอ่ นคลาย จนกวา่ ผา้ พนั แขนจะคลายตวั 7. บนั ทึกคา่ การวดั ความดันลงไปในแบบบนั ทึก 8. วดั ซำ้ อีก 1 คร้ัง ทีแ่ ขนข้างเดมิ ตามข้ันตอนเดิม 9. บันทึกซำ้ อีกครงั้ 9. วิธีการบันทกึ คา่ ความดัน 1. วัดความดันวันละ 2 ช่วงเวลา คือช่วงเช้าและช่วงเย็น วัดช่วงเช้า 2 คร้ัง วัดช่วงเย็น 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 นาที (รวมวนั ละ 4 คร้ัง) 2. ชว่ งเช้าวัด 2 ครัง้ ห่างกันครั้งละ 1 นาที โดย - ควรวดั ความดันโลหติ ภายใน 1 ชว่ั โมง หลงั จากต่ืนนอน และหลงั จากปสั สาวะเรียบร้อยแล้ว - ควรวัดความดันโลหติ ก่อนรบั ประทานอาหารเชา้ - ในผปู้ ว่ ยความดนั โลหติ สงู ที่ทานยาลดความดนั ตอ้ งวัดก่อนการรบั ประทานยาลดความดนั โลหติ 3. ในช่วงเย็นวัด 2 คร้ัง ห่างกันครั้งละ 1 นาที หากตดิ ภารกิจ ทำงาน กิจกรรม ออกกำลังกาย ไม่ได้อยู่ท่ีบา้ นสามารถ วดั รอบคำ่ คอื ก่อนเข้านอนแทนได้ 4. ทำการวัดและบันทกึ อยา่ งถกู วธิ ีติดต่อกนั 7 วนั ไมเ่ ว้นสกั วันอย่างน้อย 3 วัน 5. นำผลท่ีได้ทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย โดยท่ัวไปการวัดคร้ังแรกมัก มีค่าสูงที่สุด อาจตัดค่าที่วัดได้ในวันแรกออก หรือจะนำมาคดิ รวมก็ได้ ถ้าไม่แตกต่างกันมาก และคำนวณหาคา่ เฉลย่ี 6. ค่าที่ได้จากการวัดความดันจะมี 2 ค่า คือค่าความดันช่วงเช้า กับช่วงเย็น หรือก่อนนอน ไม่แนะนำให้นำค่าความดัน ชว่ งเช้า กบั ช่วงเยน็ มาเฉลีย่ กันอกี คร้งั นอกจากตอ้ งการคา่ ความดนั โลหิต 1 ค่า เพ่ือรายงานผลการทำ HBPM 7. นำผลการวัดความดันโลหิตท่ีบ้านไปพบแพทยเ์ พ่ือ - ใชใ้ นการตัดสินใจเรม่ิ หรือปรับเปลีย่ นการรกั ษา - แนะนำให้ติดตามระดับความดันโลหิตจาก HBPM เป็นระยะ โดยเฉพาะหลังจากเริ่มหรือมีการปรับเปล่ียน ยาลดความดันโลหติ แตไ่ ม่แนะนำใหผ้ ปู้ ่วยปรบั ขนาดยาลดความดนั โลหิตดว้ ยตนเอง - สำหรับผู้ป่วยท่ีได้รับการรักษาเป็นเวลานานแล้ว ควบคุมความดันโลหิตได้ดีและไม่มีการปรับเปลี่ยน การรกั ษาใดๆ อาจวัดในชว่ ง 4-7 วนั กอ่ นพบแพทยค์ รั้งถดั ไปกเ็ พยี งพอ หลักสตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สงู (ระดับพื้นฐาน) : 33

แต่อย่างไรก็ตามหากการวัดความดันโลหิตท่ีบ้านนี้ก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ป่วย หรือผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ควรแนะนำให้หยุดการวัด HBPM ได้ รปู ภาพที่ 4 ตัวอย่างการบนั ทกึ และรายงานผลค่าความดันโลหิตที่บ้าน หลกั สตู รการเพมิ่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหิตสงู (ระดบั พ้นื ฐาน) : 34

ชอ่ื เรื่อง Motivational Interviewing for Changing Health Behavior of NCDs วทิ ยากร นายแพทย์เทอดศักดิ์ เดชคง ผ้อู ำนวยการสำนกั วิเทศสมั พนั ธ์ กรมสุขภาพจิต รูปแบบการเรยี นรู้: การฟงั บรรยาย, อ่านเอกสาร และการดสู าธติ วตั ถุประสงค์ เข้าใจในหลักการของ MI / สามารถใช้ทักษะพื้นฐานของMI / สามารถประยุกต์-ผสมผสาน MI ในงานพ้นื ฐาน สาระสำคญั แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันการเปล่ียนแปลงของพฤติกรรมสุขภาพ การเสริมสร้างแรงจูงใจน้ันบุคลากร สามารถใช้การสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อสร้างความร่วมมือ มองเห็นความสำคัญและความเป็นไปได้ในการเปล่ียนแ ปลง พฤติกรรมสุขภาพเทคนิคการสนทนาสร้างแรงจูงใจหรือ Motivational Interviewing (MI) เป็นเทคนิคการให้คำปรึกษา ที่มลี ักษณะ Active และ Directive มีสไตล์การสนทนาที่เนน้ ความรว่ มมือ ผู้ให้คำปรึกษาจะชักชวนให้ผู้รบั คำปรกึ ษามองเห็น ความเสย่ี งและเกิดความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง สามารถกา้ วข้ามความลงั เลสู่การลงมือปฏิบัติอยา่ งเปน็ รูปธรรม ขอบเขตเนอ้ื หา ดงั นี้ หลกั สำคญั ของเทคนิคการสนทนาสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing: MI) ไดแ้ ก่ 1. Collaboration คือ รว่ มมือ รว่ มเดนิ ทาง 2. Evocation คือ การดงึ ความตอ้ งการเปล่ียนแปลงมาจากตัวผปู้ ว่ ยเอง 3. Autonomy คอื การให้ผูป้ ่วยมโี อกาสเลือกและวางแผนดว้ ยตนเอง กรอบเนือ้ หา แบง่ ออกเปน็ 3 สว่ นๆ ละ 10 นาที คือ 1. Intro MI 2. Skills 3. Applied to routine work 1. Introduction MI NCD Motivation Interviewing Introduction วัตถปุ ระสงค์ 1. เพ่ือสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการสนทนาสร้างแรงจูงใจ ในผู้ปว่ ย NCDs 2. เพือ่ สรา้ งความเขา้ ใจในหัวใจหลักของการสนทนาสร้างแรงจูงใจ สาระสำคัญ เทคนิคการสร้างแรงจูงใจหรือ Motivational Interviewing (MI) เป็นเทคนิคการให้คำปรึกษาท่ีมีลักษณะ Active และ Directive มีสไตล์การสนทนาที่เน้นความร่วมมือ ผู้ให้คำปรึกษาจะชักชวนให้ผู้รับคำปรึกษามองเห็นความเสี่ยงและ เกดิ ความตอ้ งการทจี่ ะเปลยี่ นแปลงตนเอง สามารถกา้ วขา้ มความลังเลสกู่ ารลงมอื ปฏบิ ัติอยา่ งเป็นรูปธรรม หลักสำคัญของเทคนิคการสนทนาสรา้ งแรงจูงใจ (Motivational Interviewing : MI) ไดแ้ ก่ 1. Collaboration คอื ร่วมมอื ร่วมเดนิ ทาง 2. Evocation คอื การดงึ ความตอ้ งการเปลยี่ นแปลงมาจากตัวผปู้ ่วยเอง 3. Autonomy คอื การใหผ้ ู้ป่วยมีโอกาสเลือกและวางแผนด้วยตนเอง หลกั สตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดนั โลหติ สูง (ระดับพืน้ ฐาน) : 35

การสนทนาสร้างแรงจูงใจ การสนทนาสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing) เป็นรูปแบบการสนทนาให้คำปรึกษาที่มีลักษณะชนี้ ำ ผู้ให้คำปรึกษาใช้ทักษะเฉพาะในการกระตุ้นความตั้งใจ เพื่อให้บุคลากรก้าวข้ามความลังเลสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิด พฤติกรรมสุขภาพ MI มหี ลกั การสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. การสร้างความรว่ มมือ มากกวา่ การเผชิญหนา้ หรือเปน็ คนละพวก (Collaboration VS Confrontation) 2. การดึงความต้องการและความต้ังใจมาจากภายในตัวผู้รับการปรึกษามากกว่าการแนะนำส่ังสอน (Evocation VS Imposing) 3. การสรา้ งความรู้สึกถงึ ความเป็นไปได้และทำได้ด้วยตนเอง มากกว่าการเช่ือฟังและทำตาม (Autonomy VS Authority) ด้วยรูปแบบการสนทนาให้การปรึกษาท่ีเน้นผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลางร่วมไปกับสัมพันธภาพอันดี จงึ จะสามารถดึงให้ผ้มู ปี ัญหาหันมามองปัญหาและความเป็นไปไดใ้ นการเปลีย่ นแปลงตนเอง 4. ความเหน็ ใจ อยากช่วยเหลอื (Compassion) รูปแบบต่างๆ ของการสนทนาสรา้ งแรงจูงใจ 1. การให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA หรือ Brief MI) ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนัก เน้นการสร้างแรงจูงใจ ไม่เน้นคำแนะนำ ซ่ึงมีลักษณะเฉพาะกระตุ้นให้มองเห็นปัญหาเกิดแรงจูงใจ ทจ่ี ะเปลย่ี นแปลง 2. การให้คำปรึกษาแบบสั้น (Brief Intervention : BI) เป็นการให้คำปรึกษาแบบส้ัน ให้คำแนะนำบวกการ วางแผน ในแต่ละ session ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที วัตถุประสงค์ เพ่ือสร้างความตระหนักกระตุ้นให้มองเห็นปัญหา เกิดแรงจูงใจที่จะเปลย่ี นแปลงสามารถวางแผนที่เป็นไปได้ 3. การให้สนทนาเพ่ือสร้างแรงจูงใจอย่างเต็มรูปแบบ ด้วย Motivational Interviewing ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที จำนวนหลายครง้ั วัตถุประสงคเ์ พ่อื สร้างความตระหนกั สามารถวางแผนและกา้ วข้ามอปุ สรรคต่างๆได้ 4. การสนทนาสร้างแรงจูงใจท่ีมีความเหมาะสมในการสนับสนุนการมีพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่ วย NCDs คือรูปแบบท่ีเรียกว่า การให้คำแนะนำแบบส้ัน โดยใช้เวลา 5-10 นาที ซ่ึงจากการทดลองใช้ในประเทศไทย พบว่าการสนทนา ที่ทำตาม Visit ปกติเปน็ จำนวน 4 ครง้ั สามารถปรับเปลีย่ นพฤติกรรมสุขภาพจนส่งผลตอ่ ผปู้ ว่ ย 60-70% ขึ้นไป 2. Skills กระบวนการและทักษะใน Motivational Interview [3 As] Evocation ด้วยการ Ask for Reason Autonomy ดว้ ยการ Advice with Menu (นำเสนอทางเลอื ก) วัตถุประสงค์ 1. เพ่ือมคี วามรู้ ความเขา้ ใจและทกั ษะ 3 A โดยเฉพาะ Ask และ Advice 2. เพือ่ ให้มที ักษะ 3A ในการสนทนาสรา้ งแรงจงู ใจ หลักสตู รการเพ่ิมสมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดบั พนื้ ฐาน) : 36

สาระสำคัญ ผ้ใู หค้ ำปรึกษาตามแนวทางการสนทนาสรา้ งแรงจงู ใจจะใชท้ ักษะทจี่ ำเป็นในการสรา้ งความร่วมมือ กระตนุ้ ให้ผ้ปู ว่ ยคดิ พิจารณาจนเกิดความตระหนักและสนใจ มีความพร้อมในการรบั ฟังข้อเสนอแนะ ทักษะท่ีจำเป็น คือ 3 ทักษะ 3 เป็น ไดแ้ ก่ 1. Affirm (ชมเปน็ ) คือการค้นหาและแสดงความชน่ื ชมผู้ปว่ ย 2. Ask for reason (ถามเป็น) คือการใช้คำถามปลายเปิดท่ีกระตุ้นให้ผู้ป่วยคดิ พิจารณาถึงความเส่ียงผลกระทบ ซึง่ จะกลายเป็นเหตุผลในการเปลย่ี นแปลงตนเอง 3. Advice with menus (แนะเป็น) คือการใหข้ ้อมลู คำแนะนำที่มที างเลอื ก (choices) 3. Applied to routine work กระบวนการและทกั ษะในการประยุกต์ใช้ Motivational Interview: BA วตั ถุประสงค์ 1. เพอื่ เขา้ ในถงึ กระบวนการและทักษะของการให้คำแนะนำแบบสั้น Brief Advice :BA 2. เพอ่ื ใหส้ ามารถใหค้ ำแนะนำแบบสน้ั ได้ สาระสำคญั 1. กระบวนการสนทนาสรา้ งแรงจงู ใจมีกระบวนการหลัก 3 ประการ คอื 1.1 การเขา้ กันไดห้ รือ Engagement กับผ้ปู ว่ ย 1.2 การคน้ หาและสรา้ งแรงจงู ใจ (find out and strengthen Motivation) 1.3 การแสวงหาทางเลอื กทีเ่ หมาะสม (Advice with menus) 2. ผูใ้ ห้คำปรึกษาตามแนวทางการสนทนาสรา้ งแรงจูงใจจะใช้ทักษะท่ีจำเป็นในการสร้างความรว่ มมือกระตุ้นให้ผ้ปู ่วย คิดพิจารณาจนเกิดความตระหนกั และสนใจ มคี วามพร้อมในการรับฟงั ข้อเสนอแนะทักษะทจ่ี ำเป็น คอื ทกั ษะ 3 A ได้แก่ 1. Affirm ชื่นชมส่งิ ดี คอื การคน้ หาส่ิงดี ความตงั้ ใจ ความพยายามและแสดงความชนื่ ชมผปู้ ่วย 2. Ask for reason คือการใช้คำถามปลายเปิดที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยคิดพิจารณาถึงความเสี่ยงผลกระทบ ซึ่งจะกลายเป็นเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงตนเอง 3. Advice with menus คอื การให้ข้อมลู คำแนะนำที่มที างเลือก (choices) หลกั สตู รการเพิม่ สมรรถนะการจัดการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (ระดบั พืน้ ฐาน) : 37

ช่ือเรือ่ ง การประเมนิ และบำบดั แกไ้ ขปจั จัยเสี่ยง (ผลติ ภัณฑ์ยาสบู ) วทิ ยากร รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุทัศน์ รงุ่ เรืองหิรญั ญา ภาควชิ าอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว. รูปแบบการเรยี นรู้ การบรรยาย + PowerPoint ขอบเขตเน้อื หา การประเมนิ ความรุนแรงในการเสพติดนโิ คติน ในการประเมินความรนุ แรงของการเสพตดิ สารนิโคตนิ ในควันบหุ รห่ี รอื บหุ รี่ไฟฟ้านน้ั สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ 1. ใชแ้ บบประเมนิ ระดบั ความรุนแรงในการเสพตดิ นิโคตินท่ีเรียกว่า Fagerstrom Test for Nicotine Dependence (FTND) ซ่งึ ประกอบด้วยคำถามจำนวน 6 คำถาม ดังตารางท่ี 6 ตารางท่ี 6 แบบทดสอบวัดระดับความรุนแรงในการเสพติดนโิ คติน Fagerstrom Test คำถาม 0 คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 1. โดยปกติ คุณสบู บหุ รีว่ ันละกม่ี วนตอ่ วนั 10 มวนหรอื น้อย 11-20 มวน 21-30 31 มวนขึ้นไป กว่า มวน 2. คณุ มกั สูบบหุ รีม่ วนแรกหลังตนื่ นอนตอน มากกวา่ 60 นาที 31-60 นาที 6-30 นาที ภายใน 5 นาที เช้านานแคไ่ หน หลงั ตืน่ นอน หลงั ต่นื นอน หลงั ตนื่ หลังต่ืนนอน 3. คณุ สบู บุหร่จี ัดในชัว่ โมงแรกหลังตน่ื นอน ไม่ใช่ ใช่ - - มากกว่าในชว่ งอืน่ ของวนั ใช่หรอื ไม่ 4. บุหรมี่ วนไหนทคี่ ณุ ไม่อยากเลิกมากทสี่ ดุ มวนอืน่ ๆ มวนแรกใน - - ตอนเชา้ 5. คุณรู้สกึ หงดุ หงิดหรือย่งุ ยากไหมทตี่ อ้ งอยู่ ไม่รู้สึกย่งุ ยาก ร้สู ึกยุง่ ยาก - - ในเขตปลอดบุหรี่ เชน่ ในโรงภาพยนตร์ รถเมล์ รา้ นอาหาร 6. คณุ ยังตอ้ งสบู บหุ ร่ี แม้จะเจบ็ ปว่ ยจนตอ้ ง ไม่ใช่ ใช่ - - พกั รักษาตวั ในโรงพยาบาล ใชห่ รือไม่ หลักสตู รการเพ่มิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดับพื้นฐาน) : 38

การแปลผล: ใช้ระดบั คะแนนรวมทไ่ี ด้รับโดยหาก คะแนนรวมเทา่ กบั 0-2 หมายถงึ การตดิ นโิ คตนิ ระดบั ต่ำ คะแนนรวมเทา่ กับ 3-4 หมายถงึ การติดนิโคตนิ ระดบั ปานกลาง คะแนนรวมเท่ากับ 5-6 หมายถงึ การตดิ นิโคตินระดับสงู 2. ใช้แบบประเมินการเสพติดนิโคตินแบบย่อ ที่เรียกว่า Heaviness of Smoking Index (HSI) แบบประเมินน้ี ส้ันและทำได้ง่าย จึงเหมาะในเวชปฏิบัติมากกว่าแบบแรก แต่ในความเป็นจริงแบบประเมินน้ีก็คือ FTND แบบย่อนั่นเอง โดยนำเอาคำถามสำคญั แคเ่ พยี ง 2 ขอ้ แรกเท่านน้ั ของแบบประเมนิ FTND มาใช้ ไดแ้ ก่ ก. สบู วันละกม่ี วน? o 31 มวนข้นึ ไป (3 คะแนน) o 21-30 มวน (2 คะแนน) o 11-20 มวน (1 คะแนน) o ไมเ่ กนิ 10 มวน (0 คะแนน) ข. ตอ้ งสูบมวนแรกหลังต่นื นอนแล้วนานแค่ไหน ? o ทนั ทีหรอื ไม่เกนิ 5 นาที (3 คะแนน) o 5–30 นาที (2 คะแนน) o 30 นาท-ี 1 ชวั่ โมง (1 คะแนน) o เกิน 1 ชวั่ โมง (0 คะแนน) การแปลผลของ HSI: ใชร้ ะดับคะแนนรวมโดยหาก คะแนน 0-2 หมายถึง เสพติดนโิ คตินในระดบั ต่ำ (low addiction) คะแนน 3-4 หมายถงึ เสพตดิ นโิ คตินในระดับปานกลาง (moderate addiction) คะแนน 5-6 หมายถงึ เสพตดิ นโิ คตินในระดบั สงู (high addiction) การบำบดั โรคเสพติดนิโคติน เน่ืองด้วยผู้ป่วยโรคเรื้อรงั จำเป็นต้องมารับบริการตรวจติดตามอาการท่ีคลินิกโรคเร้ือรังเป็นประจำอยู่แล้ว จึงแนะนำ ให้คลินิกโรคเรื้อรังทุกๆ แห่ง พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในคลินิกของตนให้สามารถให้บริการเลิกบุหรี่แบบง่ายๆ ได้ หรืออย่างน้อยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสถานพยาบาลของตน เพื่อจัดให้มีบริการเลิกบุหร่ีอยู่ภายในคลินิก โรคเรอ้ื รังในรูปแบบของ one-stop service ท้งั น้เี พื่อให้เกิดความสะดวก และจงู ใจให้ผปู้ ว่ ยเหน็ ความสำคัญของการเลิกบหุ รี่ อันเป็นต้นเหตุหลักในการเกิดโรคเร้ือรังจำนวนมากน่ันเอง โดยทั่วไปการบำบัดผู้เสพติดนิโคตินไม่ว่ารูปแบบใดจำเป็น ต้องประกอบดว้ ยการรักษา 2 สว่ นร่วมกนั ได้แก่ ก. การแนะนำ (Advise) หรอื ให้คำปรกึ ษา (counseling) ข. การใชย้ าชว่ ยเลกิ บุหร่ี ทีเ่ หมาะสม หลกั สตู รการเพม่ิ สมรรถนะการจดั การโรคเบาหวานและความดันโลหิตสงู (ระดบั พนื้ ฐาน) : 39


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook