Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore eknowledge-326-piteetum

eknowledge-326-piteetum

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-29 04:27:02

Description: eknowledge-326-piteetum

Search

Read the Text Version

พระพธิ ีธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม

พระพธิ ีธรรม ปีท่พี มิ พ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ผจู้ ัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พมิ พค์ ร้งั ที่ ๒ จำ� นวน ๒,๐๐๐ เลม่ ISBN 978-616-543-139-2 ที่ปรกึ ษา นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดกี รมการศาสนา พระสรภาณกว ี ท่ีปรกึ ษา พระครกู ัลยาณสิทธิวฒั น์ ที่ปรึกษา นางสาวพิไล จิรไกรศิริ ที่ปรึกษากรมการศาสนา นายชวลติ ศริ ิภิรมย์ ที่ปรกึ ษากรมการศาสนา คณะทำ� งาน รองอธบิ ดีกรมการศาสนา นางพิมกาญจน์ ชยั จติ ร์สกลุ ผู้อำ� นวยการกองศาสนูปถมั ภ์ นายเกรยี งศกั ดิ์ บุญประสิทธิ์ เลขานกุ ารกรมการศาสนา นายส�ำรวย นักการเรยี น เจ้าพนกั งานการศาสนาอาวโุ ส นายสพุ รหม สวสั ดิ์เมอื ง นกั วิชาการศาสนาช�ำนาญการพิเศษ นายโอสธี ราษฏรเ์ รอื ง นกั วชิ าการศาสนาชำ� นาญการ นายสมควร บญุ มี นักวชิ าการศาสนาช�ำนาญการ นายปิยวฒั น์ วงษ์เจริญ นักวิชาการศาสนาชำ� นาญการ นางสาวเรณู รัตนชัยเดชา นกั วชิ าการศาสนาปฏบิ ตั ิการ นายวิชาญ แฝกกลาง เจ้าหนา้ ท่กี ารศาสนา นายเอกพร เอียดจ้ยุ พสิ ูจน์อักษร นายบรบิ ูรณ์ ศรทั ธา ออกแบบปก/รปู เล่ม RT. DESIGN พมิ พท์ ี่ โรงพมิ พม์ หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๑๑ - ๑๗ ถนนมหาราช เขตพระนคร กรงุ เทพฯ ๑๐๒๐๐

ค�ำนำ� (คร้งั ที่ ๒) การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาท่ี พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้ในการบ�ำเพ็ญกุศลที่เก่ียวเนื่องกับศพหรือ ผู้ตาย เพ่ือเป็นการสร้างกุศลอุทิศผลบุญให้กับผู้ท่ีล่วงลับ ซึ่งความเชื่อ ดังกล่าว เกิดจากการท่ีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงปฏิบัติ ในคราวเสด็จไปเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ช้ัน ดาวดึงส์ โดยทั่วไปแล้วการสวดพระอภิธรรมมีการนิมมนต์พระสงฆ์ จำ� นวน ๔ รูป ๘ รปู สุดแล้วแตล่ ะพน้ื ท่ี แต่สำ� หรับงานพระบรมศพ พระศพ หรอื ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทม่ี ฐี านนั ดรศกั ดิ์ ช้นั ยศ หรอื อยใู่ น หลักเกณฑ์เทียบเกียรติยศพระราชทานแก่พระศพและศพของส�ำนัก พระราชวัง รวมท้ังบคุ คลซงึ่ ได้ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ จะได้รบั พระราชพระสงฆไ์ ปประกอบพธิ ีในการสวดพระอภธิ รรม เรียกวา่ “พระพธิ ีธรรม” ซึ่งในปัจจบุ ันน้ัน ประกอบด้วย ๑๐ พระอาราม ได้แก่ วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม วดั มหาธาตยุ วุ ราชรงั สฤษฎ์ิ วดั ราชสทิ ธาราม วัดระฆังโฆสติ าราม วัดจกั รวรรดิราชาวาส วดั อนงคาราม วดั สระเกศ วัดสุทศั นเทพวราราม วัดบวรนเิ วศวิหาร และวัดประยูรวงศาวาส กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม มีภารกิจหน้าทใ่ี นการ รับสนองงานพระราชพธิ ี พระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ พระอนเุ คราะห์ ในการนมิ นต์รับและสง่ พระพธิ ีธรรมไปสวดพระอภิธรรม

ดังน้ัน กรมการศาสนาจึงได้รวบรวม แก้ไขเร่ืองราวที่เก่ียวเนื่องกับ พระพธิ ธี รรม และจดั พมิ พ์หนังสือ “พระพิธีธรรม” ข้ึนคร้งั ที่ ๒ เพ่อื เป็น องค์ความรแู้ ก่ นักเรยี น นักศึกษา และผทู้ ่ีมีความสนใจ กรมการศาสนา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือพระพิธีธรรมน้ี จักก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนและผู้ท่ีสนใจอย่างกว้างขวาง สืบไป (นายมานสั ทารตั นใ์ จ) อธบิ ดกี รมการศาสนา

สารบัญ หนา้ ค�ำน�ำ บทที ่ ๑ การสวดพระอภธิ รรม ๑ บทสวดพระอภิธรรม ๑ ท�ำนองการสวด ๓ จุดประสงค์ของการสวดพระอภธิ รรม ๕ บทที่ ๒ ความเปน็ มาของพระพิธธี รรม ๖ ความหมายของพระพธิ ธี รรม ๘ ประวตั พิ ระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม ๑๐ วดั พระเชตพุ นวิมลมงั คลาราม ๑๐ วัดมหาธาตุยุวราชรงั สกฤษฎ์ิ ๑๒ วัดสทุ ัศนเทพวราราม ๑๓ วัดบวรนิเวศวิหาร ๑๔ วัดสระเกศ ๑๖ วดั ราชสทิ ธาราม ๑๗ วัดระฆงั โฆสิตาราม ๑๘ วัดจักรวรรดิราชาวาส ๑๙ วัดประยรู วงศาวาส ๒๐ วัดอนงคาราม ๒๑

สารบญั (ต่อ) หนา้ การแตง่ ต้ังพระพธิ ธี รรม ๒๒ ภารกจิ ของพระพธิ ีธรรม ๒๓ บญั ชีพระพิธีธรรมสวดจตรุ เวท ๒๕ บทที ่ ๓ อปุ กรณ์ในพธิ ีสวดพระอภธิ รรม ๒๘ ซา่ ง พระแท่นเตยี งสวด เตียงสวด อาสน์สงฆ์ ๒๙ ต้พู ระธรรม ๒๙ คัมภีร์พระอภิธรรม ๓๒ พดั ยศพระราชาคณะ ชั้นสามญั ยก ๓๓ พดั พระพธิ ธี รรม ๓๔ บทที่ ๔ บทสวดพระอภธิ รรม ๓๘ พระอภธิ รรม ๗ คัมภรี ์ ๓๘ พระธรรมใหม่ ๔๙ พระอภิธรรมมัตถสงั คหะ ๕๗ พระสหัสสนัย ๘๓ บทท ่ี ๕ โกศบรรดาศักด์ิ ๙๑ บทท่ ี ๖ หลกั เกณฑเ์ ทยี บเกยี รตยิ ศ ๙๕ พระราชทานแกพ่ ระศพและศพ บทท่ี ๗ การปฏบิ ัติหนา้ ท่ีของหน่อยราชการ ๑๒๔ บรรณานกุ รม ๑๒๙

พระพิธีธรรม บทที่ ๑ การสวดพระอภธิ รรม การสวดพระอภิธรรม เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ท่ีถือเป็นธรรมเนียมหรือประเพณีท่ีพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนใช้เป็น พิธีบ�ำเพ็ญกุศลท่ีเกี่ยวเนื่องกับศพหรือผู้ตาย ซึ่งเจ้าภาพจะนิมนต์ พระสงฆ์ จ�ำนวน ๔ รูป ไปสวดยังสถานที่ต้ังศพผู้ตาย โดยมากจะเป็น เวลาชว่ งค�่ำๆ หรอื ตอนกลางคนื ตามทเี่ จ้าภาพสะดวก (หากเป็นพระศพ ของเจ้านายจะจัดให้มีการสวดทั้งกลางวันและกลางคืนตามจ�ำนวนวันท่ี ก�ำหนด) พระสงฆ์ที่นิมนต์สวดถ้าเป็นศพของผู้ตายท่ีเป็นสามัญชน กจ็ ะนมิ นตพ์ ระสงฆ์ทั่วไป จำ� นวน ๔ รปู มาสวด แตถ่ ้าเปน็ ศพของบคุ คล หรือข้าราชการผู้ใหญ่ท่ีได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากสถาบัน พระมหากษตั รยิ ์ ตลอดจนพระศพเจา้ นาย สำ� นกั พระราชวงั จะมหี มายรบั สง่ั ใหก้ รมการศาสนาวางฎกี านมิ นต์ “พระพธิ ธี รรม” ซง่ึ มอี ยู่ ๑๐ สำ� รบั ๆ ละ ๔ รปู ซง่ึ ไดร้ บั การแตง่ ตง้ั จากเจา้ อาวาสพระอารามหลวง ๑๐ พระอาราม๑ คือ ๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ิ ๓. วัดสุทัศนเทพวราราม ๔. วัดบวรนิเวศวิหาร ๕. วัดสระเกศ ๖. วัดราชสิทธาราม ๗. วัดระฆังโฆสิตาราม ๘. วัดจักรวรรดิราชาวาส ๙. วดั ประยรุ วงศาวาส ๑๐. วดั อนงคาราม บทสวดพระธรรม บทสวดพระธรรมที่ใชส้ วด พระอภิธรรมนน้ั มีหลายบท เช่น บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ บทสวดพระธรรมใหม่ บทสวด ๑ จัดล�ำดับตามช้ันพระอารามหลวง 1

พระพิธธี รรม พระอภิธรรมมัตถสังคหะ บทสวดสหัสสนัย และบทสวดมนต์แปล (ซึง่ เป็นบทสวดส�ำหรบั วัดทม่ี ีฌาปนสถาน ให้พระสงฆท์ ี่ทำ� หน้าทสี่ วดได้ ฝึกหัดแล้วน�ำไปสวด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมฟังสวดได้เข้าใจใน ค�ำสวดมากขึ้น) แตบ่ ทสวดหลักที่ใช้สวดทั่วๆ ไป คือ บทสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซ่ึงตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรม วงศเ์ ธอ กรมพระยาดำ� รงราชานุภาพ ทรงนพิ นธไ์ วว้ ่า “เหตุผลท่ีใช้บท พระอภธิ รรมสวดในงานศพน้นั คงจะสืบเนื่องมาจากค�ำอธิบายในหนงั สือ ปฐมสมโพธขิ องสมเดจ็ ฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนเทศนาปริวัตร ปริเฉทที่ ๑๗ กล่าวว่า เม่ือพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์พิภพ ท ร ง ป ร า ร ถ จ ะ ป ร ะ ท า น พ ร ะ ธ ร ร ม เ ท ศ น า โ ป ร ด พ ร ะ พุ ท ธ ม า ร ด า ทรงพิจารณาว่า ค�ำส่ังสอนของพระองค์ท่ีทรงจัดไว้เป็นพระสูตร พระวินัย พระอภธิ รรม ใน ๓ ปฎิ ก ควรจะแสดงพระปฎิ กไหน เมือ่ ทรง พิจารณาไปก็ทรงเห็นว่า พระคุณของมารดาท่ีใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาหลวง หลายพนั เทา่ นัก พระสตู ร พระวนิ ัย ไมพ่ อท่ีจะแสดงทดแทนได้ ทรงเห็น แต่พระอภิธรรมปิฎกอยา่ งเดยี ว พอจะเทศนาทดแทนได้เท่านนั้ ” เพราะ เหตุน้ีกระมัง ท่านโบราณจารย์จึงใช้บทพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์เป็นบท สวดในพิธีบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตาย ซ่ึงถือว่าผู้ที่เป็นทายาทได้ แสดงออกซ่ึงความกตัญญูกตเวทีต่อบุคคลที่ตนเคารพ และสถานท่ี ที่พระพุทธองค์ทรงเลือกแสดงธรรมเพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่งอุบัติเป็น เทพบุตรอยู่ชั้นดุสิตจะได้ฟังธรรมด้วย และพระธรรมที่พระพุทธองค์ แสดงโปรดพุทธมารดากค็ ือ “พระอภิธรรม ๗ คัมภีร”์ ซ่ึงถอื ว่าเป็นหัวขอ้ ธรรมท่ีลึกซึ้งไม่เกี่ยวกับบุญบาป ไม่เก่ียวกับค�ำชักชวนให้ไปเกิดใน สวรรค์ และไม่เก่ียวกับการโน้มน้าวจิตใจเพ่ือให้เกิดความเช่ือความ ศรัทธาในพระพทุ ธศาสนาแต่อยา่ งใด แต่พระพุทธองคไ์ ด้ทรงแสดงธรรม 2

พระพิธธี รรม ทเี่ ปน็ ธรรมลว้ นๆ ทเี่ รยี กวา่ “อภธิ รรม” จนสามารถทำ� ใหพ้ ระพทุ ธมารดา และเทวดาจ�ำนวนมาก ไดด้ วงตาเหน็ ธรรมและได้มรรคผล ซง่ึ เปน็ สาเหตุ ให้ประชาชนทั่วไป มักนิยมสร้างหนังสือพระอภิธรรมพร้อมตู้ใส่ไว้ตาม วดั ตา่ งๆ เวลาการสวดพระอภิธรรม ธรรมเนียมของพุทธศาสนิกชน เมอื่ มบี คุ คลตาย จะมกี ารนมิ นต์พระสงฆส์ วดพระอภิธรรม ๒ ช่วงเวลา คอื ชว่ งเวลาท่ี ๑ เมอ่ื มบี คุ คลตายลงเจ้าภาพจะจัดสถานที่ต้ังศพ และ นิมนต์พระสงฆ์ จ�ำนวน ๔ รูป ไปสวดพระอภิธรรมในช่วงเย็นหรือ กลางคืน ตามกำ� หนดวนั และเวลาท่เี จา้ ภาพสะดวกและมีความประสงค์ จะนมิ นตพ์ ระสงฆ์สวด แต่ปัจจบุ นั วดั ที่มีฌาปนสถานจะกำ� หนดเวลาสวด พระอภิธรรมไว้เปน็ เวลาทแี่ น่นอน ชว่ งเวลาท่ี ๒ เรม่ิ สวดเมือ่ เวลาเร่มิ จดุ ไฟเผาศพที่อยู่บนเชิงตะกอนหรือบนจิตกาธาน หรือท่ีเรียกว่า การสวด หน้าไฟ ท�ำนองการสวด พระสงฆ์ท่ีนิมนต์มาสวดพระอภิธรรมในงานศพต่างๆ นั้น ใชท้ ำ� นองการสวดตา่ งกนั คอื ๑. ท�ำนองสังโยค เป็นการสวดเหมือนกับการสะกดตัว หนังสือประกอบค�ำอ่าน โดยสวดเป็นประโยค เช่นเดียวกับที่พระสงฆ์ สวดพระพุทธมนต์ไปเรื่อยๆ ซึ่งพระสงฆ์จะใช้สวดในงานศพของ ประชาชนทวั่ ไป ๒. ท�ำนองหลวง เป็นท�ำนองสวดที่มีระดับเสียงสูงต่�ำ เบาหนกั สั้นยาว ทมี่ ีลกั ษณะเป็นท�ำนองหลกั ซึ่งถือเปน็ ทำ� นองมาตรฐาน ของการสวดพระอภธิ รรมของพระพธิ ีธรรม ซงึ่ ทำ� นองหลวงน้ีจะแบ่งยอ่ ย 3

พระพิธีธรรม เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของบทสวดและวัด ซ่ึงพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลยฺ าณธมโฺ ม) วดั ราชสทิ ธาราม ไดอ้ ธบิ ายไวใ้ นหนงั สอื พระพธิ ธี รรม การสวดทำ� นองหลวง ดงั นี้ ๒.๑ ท�ำนองกะ คือ ท�ำนองสวดท่ีมีลักษณะว่าลงตัว ชดั เจน และเออ้ื นเสยี งมจี งั หวะหยดุ เปน็ วรรค ซง่ึ มี ๒ ลกั ษณะ คอื กะเปดิ มกี ารสวดเนน้ การออกเสยี งคำ� สวดชัดเจน และกะปิด เป็นการสวดเออ้ื น เสยี งยาวตอ่ เนอื่ งกนั ตลอดทง้ั บท ๒.๒ ทำ� นองเลอื่ น คอื การสวดทมี่ กี ารเออื้ นเสยี งสวดยาว ตอ่ เนอื่ งกนั ตลอดทงั้ บท ไมเ่ นน้ ความชดั เจนของคำ� สวด ซงึ่ บางครงั้ กเ็ รยี ก กะเลอื่ น หรือ กะเคลอ่ื น ๒.๓ ท�ำนองลากซุง คอื การสวดที่มีการออกเสยี งหนกั ลง ทท่ี รวงอกทกุ ตัวอักษร โดยการลากเสียงเอ้ือนจากหนักไปหาเบาว่าอย่าง นี้ตลอดทั้งบท เหมอื นอย่างการลากซุงหรอื ลากส่ิงของทห่ี นัก จะมเี สียง เคล่ือนแรงในช่วงแรกและเมือ่ ใกลจ้ ะหมดกำ� ลังก็จะเบาลง ๒.๔ ท�ำนองสรภัญญะ คือ ทำ� นองแบบการสวดสังโยค สวดเป็นรปู ประโยค และหยดุ ตามรปู ประโยคของฉันทลกั ษณ์ ซง่ึ จะมี การใชเ้ สียงเอ้อื นบ้างเลก็ น้อยไมใ่ ห้เสยี อกั ขระวธิ ี 4

พระพิธธี รรม จุดประสงค์ของการสวดพระอภิธรรม การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรมนอกจากเป็นการ สืบสานโบราณราชประเพณี ซ่ึงเป็นมรดกทางสงั คมของบรรพบรุ ษุ ที่ สบื ทอดจากรุ่นสรู่ ่นุ โดยมีวัตถปุ ระสงค์ ดงั นี้ ๑. เพื่อธ�ำรงรักษาค�ำสอนของพระพุทธศาสนา ท่ีเรียกว่า “มุขปาฐะ” เพราะเป็นการน�ำพระอภิธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมาสวด เน่ืองจากค�ำสอนในพระอภิธรรมน้ัน ล้วนเป็นค�ำสอนเพื่อให้คนที่มีชีวิต ต้ังอยู่ในความไมป่ ระมาท ๒. เพื่อเป็นการบ�ำเพ็ญกุศลอุทิศให้ผู้ตาย การท�ำบุญน้ันมี การบรจิ าคทาน รกั ษาศีล และเจรญิ ภาวนา ซง่ึ ถอื ว่าผู้ท่มี าร่วมงานทกุ ทา่ นไดร้ ว่ มกันทำ� บญุ และรว่ มกันอุทิศสว่ นกุศลให้แกผ่ ้ตู ายอกี ทงั้ เป็นการ แสดงออกซ่ึงความกตัญญูกตเวทตี อ่ บพุ การดี ้วย ๓. เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วยการรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณศี าสนพธิ ใี หม้ คี วามมัน่ คง ๔. ชว่ ยเปน็ กำ� ลงั ใจแกเ่ จา้ ภาพ เมอื่ คนอนั เปน็ ทรี่ กั หรอื คนใน ครอบครวั ตอ้ งจากไปอย่างไม่มวี ันกลบั ย่อมเกิดความเศรา้ โศกเสยี ใจ เมื่อได้เห็นญาติสนิทมิตรสหายบ้านใกล้เรือนเคียงได้แสดงน้�ำใจมาร่วมพิธี กส็ ามารถช่วยให้เจา้ ภาพคลายทุกขค์ ลายความโศกเศรา้ เสียใจลงได ้ 5

พระพิธีธรรม บทท่ี ๒ ความเป็นมาของพระพิธธี รรม ค�ำเรียกพระสงฆ์ท่ีสวดพระอภิธรรมว่า พระพิธีธรรม น้ัน เกิดข้ึนในสมัยใดไม่มีบันทึกไว้เป็นหลักฐานท่ีชัดเจน หากจะพิจารณา ตามที่สมเดจ็ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงมพี ระวนิ ิจฉยั ไว้ว่า “หม่อมฉันได้ไปเห็นในหนังสือพระราชนิพนธ์พิธี ๑๒ เดือน ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีรายช่ือวัดท่ีมีพระพิธี ธรรมมาแตเ่ ดิม ๙ วัด คอื วัดระฆงั วดั มหาธาตุ วัดราชสิทธ วัดพระเชตุพน วดั ราชบุรณ วดั สระเกษ วัดโมลโี ลก วัดหงส์ วัดอรุณ ล้วนเป็นวัดมีในรัชกาลท่ี ๑ ทั้งน้ัน ก็เข้าใจได้ว่า พระพิธีธรรมวัดระฆังเป็นหัวหน้า ด้วยเป็นวัดที่สถิตของ สมเด็จพระสังฆราช (ศร)ี วดั มหาธาตุอยถู่ ดั ลงมา กด็ ว้ ยเป็น ที่สถิตของสมเด็จพระวันรัต (สุข) พระพิธีธรรมวัดสุทัศน์ เพิ่มขึ้นใหม่ในรัชกาลท่ี ๓ และเลิกพระพิธีธรรมวัดโมลีโลก เปลยี่ นมาเป็นวดั บวรนิเวศเมอื่ รชั กาลที่ ๔ จึงมีพระพธิ ีธรรม ๑๐ ส�ำรับเช่นเป็นอยู่ทุกวันนี้ และพึงเห็นได้ต่อไปว่า พระพิธีธรรมมีขึ้นส�ำหรับสวดอาฏานาฏิยสูตรในพิธีตรุษต่อ กัน ๙ สำ� รบั พอรุง่ สว่างคงจะหวุดหวดิ บา้ ง พระบาทสมเดจ็ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้เพิ่มพระพิธีธรรมวัดสุทัศน์ ข้ึนอีกวัด ๑ ถึงรัชกาลท่ี ๔ จะเป็นแต่เพิ่มพระพิธีธรรม วดั บวรนเิ วศขน้ึ กจ็ ะมากเกนิ การจงึ โปรดใหเ้ ปลย่ี นพระพธิ ธี รรม 6

พระพิธธี รรม วัดโมลีโลกมาเป็นวัดบวรนิเวศ และมิได้มีการเพิ่มเติม ตอ่ มา”๒ เม่ือพิจารณาตามพระวินิจฉัยน้ีจะเห็นได้ว่า ได้มีการแต่งตั้ง พระสงฆ์ปฏบิ ตั หิ น้าทสี่ วดในงานพระราชพิธมี าแต่โบราณกาล ทั้งยงั ไดม้ ี การเปล่ียนแปลงพระพิธีธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอีกด้วย เช่น การเพิ่มพระพิธีธรรมวัดสุทัศน์ และการเปล่ียนแปลงพระพิธีธรรม วัดโมลีโลกมาเป็นวัดบวรนิเวศ เป็นต้น แต่จะเรียกพระสงฆ์ท่ีปฏิบัติ หน้าที่สวดนั้นว่าอย่างไร และเร่ิมมีการเรียกว่า พระพิธีธรรม แต่ครั้งใด ยังไม่ปรากฏชดั อนึ่ง เริง อรรถวิบูลย์ ได้กล่าวถึงจ�ำนวนพระพิธีธรรมและ จ�ำนวนสำ� รับพระพิธธี รรมประจำ� พระอารามหลวง ไวด้ งั นี้ “...ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลท่ี ๖ แหง่ กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ พระพิธธี รรมโปรดตงั้ ขึ้นประจำ� พระอาราม หลวงรวมด้วยกัน ๑๒ พระอาราม พระอารามหน่ึงๆ มี จำ� นวน ๔ รปู เรยี กว่า ๑ ส�ำรบั ไดย้ ินวา่ วดั ราชสิทธารามเปน็ วัดต้นส�ำหรบั จังหวัดธนบรุ ี ฝง่ั พระนคร ได้แก่ วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เป็นวดั ตน้ ซง่ึ วัดต้นทัง้ สองวดั น้ี เรยี กขานกันในหมู่ นักสวดและนักฟังสวดท่ัวไปวา่ ส�ำรับราชครู อันมี ความหมายว่าท่วงท�ำนองหรือกลเม็ดในการร้องสวดทุก วรรคตอน ไดร้ ักษาของเดมิ ซึ่งมีมาแต่คร้ังกรุงศรอี ยุธยาไว้ ไดท้ ุกประการ”๓ ๒ สาส์นสมเด็จ. ๒๕๐๕. หน้า ๑๗ – ๑๘. อ้างถึงใน เดชา ศรีคงเมือง. ๒๕๔๘. หน้า ๘๙. ๙๓. ๓ เริง อรรถวิบูลย์. ๒๕๑๒. หน้า ๔๕. เล่ม ๒. อ้างถึงใน เดชา ศรีคงเมือง. ๒๕๕๘. หน้า 7

พระพธิ ธี รรม และไดส้ นั นษิ ฐานในเรือ่ งช่อื ของพระพธิ ธี รรมไว้ ดังน้ี “...ที่มาของค�ำว่าพระพิธีธรรมน้ัน เดิมมาแต่ยุคก่อน รชั กาลท่ี ๔ เขียนโดยตรงด้วยทเี ดยี วว่า “พระพธิ ีท�ำ” ทรง ต�ำหนิว่า การเขียนอย่างนี้เป็นการมักง่ายและดาดเกินไป ความหมายของค�ำว่าพระพิธีท�ำนั้นหมายเอาพระสงฆ์ผู้มี ความรู้ความสามารถในอันจะประกอบพิธีการได้โดยเฉพาะ ซ่ึงแตกต่างไปจากพระสงฆ์อ่ืนๆ ทั่วไป ฉะน้ัน ค�ำว่า “พระพธิ ีธรรม” จึงเป็นตำ� แหน่งของสงฆ.์ ..”๔ เมอ่ื พจิ ารณาตามที่ได้อา้ งถงึ นจี้ ะเหน็ ไดว้ ่า ตำ� แหนง่ พระพธิ ี ธรรมเป็นต�ำแหน่งประจ�ำวัด มิได้เป็นต�ำแหน่งเฉพาะพระสงฆ์รูปหน่ึง รูปใด และค�ำว่า พระพิธีท�ำ ซ่ึงพ้องเสียงกับค�ำว่า พระพิธีธรรม ซึง่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัวทรงโปรดใหเ้ ปล่ียนนั้น นา่ จะมี มาต้ังแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ทรงโปรดให้ตั้งพระพิธีธรรมประจ�ำ พระอารามต่างๆ ความหมายของพระพิธีธรรม พระพธิ ธี รรม หมายถงึ พระสงฆใ์ นพระพทุ ธศาสนาทม่ี คี วามรู้ ความสามารถในอนั ทจ่ี ะประกอบพธิ ตี า่ งๆ ทางพระพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะ เกี่ยวกับการสวดในงานพระราชพิธีต่างๆ แต่เดิมมาน้ันพระสงฆ์ดังกล่าว ปฏบิ ัตเิ ก่ยี วกบั พิธตี ่างๆ คอื ๑) ท�ำหน้าท่ีสวดอาฏานาฏิยสูตร ในการพระราชพิธี สัมพัจฉรฉินท์ ซ่ึงในปัจจุบันพระราชพิธีดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปแล้ว คงเหลืออยู่แต่ในงานศาสนพธิ ขี องทอ้ งถิ่นทเี่ รยี กกนั วา่ สวดภาณยกั ษ์ ๔ เรื่องเดียวกัน. หน้า ๘๗. 8

พระพธิ ีธรรม ๒) ทำ� หนา้ ทส่ี วดจตรุ เวท คอื การสวดพระปรติ รทห่ี อศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อท�ำน้�ำพระพุทธมนต์ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัว ๓) ทำ� หน้าทส่ี วดพระอภิธรรม ในการศพท้ังท่ีเปน็ งานหลวง งานในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานเุ คราะห์ และพระอนเุ คราะห์ ๔) ท�ำหน้าที่สวดภาณวารในการพธิ มี งคล เชน่ การสวดใน พธิ ีพุทธาภิเษก เทวาภิเษก หรอื มังคลาภิเษก เป็นต้น ปจั จุบันหากกล่าวถึงพระพธิ ธี รรม หมายถงึ พระสงฆ์ที่สวด พระอภิธรรมงานศพหลวงและงานศพในพระบรมราชานุเคราะห์ พระราชานุเคราะห์ พระอนุเคราะห์ และสวดจตุรเวท เพื่อท�ำ น�ำ้ พระพทุ ธมนต์ เทา่ นนั้ ส่วนพระสงฆ์ทส่ี วดพระอภิธรรมในงานราษฎร์ ทั่วๆ ไป พระสงฆ์ที่สวดภาณยักษ์ และพระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษก ไม่เรียกว่า พระพิธีธรรม แต่พระพิธีธรรมจะไปสวดในงานราษฎร์ต่างๆ ดงั กล่าวนั้นกไ็ ด้ 9

พระพิธีธรรม ประวัติพระพิธีธรรม ๑๐ พระอาราม พระพิธีธรรมในอดีตและในปัจจุบัน มีเฉพาะแต่ใน พระอารามหลวงเท่านน้ั จะเป็นด้วยเหตุทพ่ี ระอารามเหลา่ นัน้ ต้งั อย่ใู กล้ พระบรมมหาราชวัง สะดวกในการนิมนต์มาสวดในงานของหลวงก็อาจ เป็นไดเ้ พราะการเดนิ ทางในสมัยก่อนมคี วามลำ� บาก อีกประการหน่งึ คอื พระสงฆ์ท่ีประจ�ำอยู่ในพระอารามหลวงเป็นผู้รอบรู้ขนบธรรมเนียม งานหลวง รู้วิธีการสวดวธิ ีการประกอบพิธีต่างๆ ดี ปจั จุบันนตี้ �ำแหนง่ พระพธิ ีธรรมทตี่ ้ังไวป้ ระจำ� พระอารามต่างๆ มีจำ� นวน ๑๐ พระอาราม พระพิธีธรรมประจ�ำพระอารามเหล่าน้ัน เริ่มมีการแต่งตั้งมาแต่คร้ังใด ไม่มหี ลกั ฐานปรากฎชดั แตเ่ น่อื งจากวัดตา่ งๆ ทม่ี พี ระพิธีธรรมปรากฏอยู่ ล้วนเป็นวัดท่ีได้สถาปนาข้ึนเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ ท้ังส้ิน ดว้ ยเหตุดงั กลา่ วนพี้ อจะสนั นษิ ฐานไดว้ า่ ตำ� แหนง่ พระพธิ ธี รรม ในกรุงรัตนโกสินทร์นั้นน่าจะเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราช และจะมเี พียงบางพระอารามเท่านนั้ ท่ีมีหลักฐานการเร่ิมต้ังปรากฏชัด เช่น วัดสุทัศนเทพวรารามและ วัดบวรนเิ วศวิหาร เปน็ ตน้ ประวัติพระพธิ ีธรรม ๑๐ พระอาราม มีดังนี้ ๑. พระพิธธี รรมวดั พระเชตพุ นวิมลมังคลาราม ตามหลกั ฐาน ปรากฎตามที่สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงมีพระวินิจฉัยว่า มีมาต้ังแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สิน้ พระชนม์ เม่ือวนั ท่ี ๗ ธันวาคม พุทธศกั ราช ๒๕๑๖ คณะสงฆ์วดั น้ี ได้ จดั ให้มีการบำ� เพญ็ กุศล จงึ ไดจ้ ดั พระสงฆข์ นึ้ อกี ๕ ส�ำรับ เพอ่ื ผลดั เปลย่ี น 10

พระพิธธี รรม กนั สวดท�ำนองหลวงถวายจนกระทงั่ ออกเมรุพระราชทานเพลงิ ต่อมาใน สมยั พระเดชพระคณุ พระวสิ ุทธาธบิ ดี (สง่า ปภสฺสโร ป.ธ.๘) ได้แตง่ ตงั้ พระพธิ ธี รรมข้นึ อย่างเปน็ ทางการ ซ่ึงมรี ายนามดังนี้ ๑) พระมหานพิ นธ์ เขมโก ป.ธ.๗ ๒) พระครูพิพฒั น์บรรณกิจ (สว่าง มหาวโี ร) ๓) พระสม ญาณโสภโณ ๔) พระเดน่ ดวง ต่อมาในพทุ ธศักราช ๒๕๔๙ พระมหานิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗ ไดร้ ับพระราชทานสมณศักด์เิ ป็นพระราชาคณะ นามว่า พระศรีสมโพธิ (นิพนธ์ เขมโก ป.ธ.๗) ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหลักส่ี เขตหลักส่ี กรุงเทพมหานคร พระเดชพระคุณพระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาส ในขณะน้ัน จึงมีการแต่งต้ังพระสงฆ์ขึ้นมาแทน คือ พระมหาวรวุฒิ ชิตธมฺโม ป.ธ.๗ ส�ำหรับพระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตามท่ปี ฏบิ ัติหน้าท่ีในปัจจบุ นั มีรายนามดังต่อไปน้ี ๑) พระมหาวรวุฒิ ชิตธมโฺ ม ป.ธ.๗, สส.ม. ๒) พระมหาประจวบ ยุตฺตโยโค ป.ธ.๘ พธ.บ. พธ.ม. ๓) พระครูสุนทรโฆสติ (สวา่ ง มหาวีโร) น.ธ.เอก ๔) พระมหาวิจติ ร นววฑฒฺ โน ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๕) พระมหาชัยวัฒน์ ชยวุฑฺโฒ ป.ธ.๗ ๖) พระมหาศภุ วฒั น์ ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.๖ ๗) พระมหามงั กร สิทฺธเิ มธี ป.ธ.๖ วท.บ. วท.ม. ๘) พระมหาสุริยา ปญญฺ าวชโิ ร ป.ธ.๗ 11

พระพิธีธรรม บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามใช้ใน ปจั จุบัน เป็นบทที่เรียกวา่ พระอภธิ รรม ๗ คมั ภีร์ และ พระธรรมใหม่ ทำ� นองการสวดของพระพธิ ธี รรมวดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม ท่ีใชใ้ นปจั จบุ ัน ได้แก่ ท�ำนองกะ ทำ� นองเล่อื น และทำ� นองลากซงุ ๒. พระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ิ สันนิษฐานได้ว่า เปน็ พระพิธีธรรมที่มีการสืบทอดกนั มาตัง้ แตส่ มยั รชั กาลที่ ๑ แตห่ ลักฐาน การแตง่ ต้ังน้ันไม่มีปรากฏแนช่ ัด ส�ำหรบั พระพธิ ธี รรมวัดมหาธาตยุ วุ ราช รังสฤษฎ์ิ ตามท่ีปฏบิ ัตหิ น้าทีใ่ นปัจจบุ ัน มรี ายนามดงั ตอ่ ไปน้ี ๑) พระครูปลดั เนียม ปภาโต น.ธ.โท ๒) พระมหาประสทิ ธิ์ สิริปญโฺ  ป.ธ.๙, พธ.ม. ๓) พระมหากฤษฎา สุปภาโส ป.ธ.๖ ๔) พระมหาชัยณรงค์ กนตฺ ธมฺโม ป.ธ.๔ ๕) พระมหาสมชาย ปญญฺ าวชิโร ป.ธ.๓ ๖) พระมหาอานนท์ อภิชาโน ป.ธ.๓ ๗) พระวารศุ ฐานวุฑฺโฒ ๘) พระศิรากร ปญฺญาพโล ๙) พระมหาชยั ยนั ต์ ขนตฺ วิ ีรโิ ย ป.ธ.๖ บทสวดท่ีพระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ใช้ใน ปจั จบุ นั เปน็ บททีเ่ รยี กวา่ พระธรรมใหม่๕ ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ิ ทใ่ี ชใ้ นปจั จุบนั ไดแ้ ก่ ท�ำนองเล่อื น และทำ� นองลากซงุ ๕ พระธรรมใหม่ มี ๗ บท คือ อาสวโคจฉกะ สัญโญชนโคจฉกะ คันถโคจฉกะ โอฆโคจฉกะ โยคโคจฉกะ นีวรณโคจฉกะ และเวทนโคจฉกะ 12

พระพธิ ีธรรม ๓. พระพธิ ธี รรมวัดสุทศั นเทพวราราม ได้รบั การแต่งตง้ั ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้กล่าวถึง พระพธิ ธี รรมไวใ้ นการเสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ถวายผา้ พระกฐนิ ในวนั พฤหสั บดี ขน้ึ ๗ คำ�่ เดอื น ๑๒ ปกี นุ จลุ ศกั ราช ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘) เมอื่ เสดจ็ ถงึ วดั ทรงรับผ้าไตร เสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเคร่ืองนมัสการ พระรัตนตรัย แล้วพระราชทานเทียนอุโบสถปาฏิโมกข์แก่พระองค์เจ้า โสณบณั ฑติ เพอื่ นำ� ไปถวายพระสงฆ์ เจา้ หนา้ ทไี่ ดก้ ราบทลู จำ� นวนพระสงฆ์ ในอารามใหท้ รงทราบ ไวว้ า่ พระราชาคณะ ๒ รูป พระฐานานุกรม ๙ รปู พระเปรียญ ๓ รูป พระพิธีธรรม ๔ รปู พระอนั ดับเรียนคนั ถธุระ ๑๒ รูป พระอนั ดบั เรยี นวปิ สั สนาธุระ ๓๕ รูป พระอนั ดบั เรยี นสวดมนต์ ๘๖ รปู รวมพระสงฆ์ทั้งหมด ๑๕๑ รูป จากนั้นทรงประกอบพธิ ถี วายผา้ พระกฐิน พระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวราราม ในอดีตที่พอสืบค้นได้ มีรายนาม พระพธิ ีธรรมดงั ต่อไปนี้ ๑) พระญาณโพธิ (เขม็ ) ๒) พระครูศพั ทสุนทร (เตมิ ) ๓) พระครูอมรโฆสิต (จนั ทร์) ๔) พระครูวนิ ยั ธรสุนทร ๕) พระครสู มุห์แสวง ๖) พระครูประทีปกิจจาทร ๗) พระครพู ิทักษถ์ ริ ธรรม ๘) พระครสู ุวฒั นประสทิ ธ์ิ ๙) พระมหาสุทศั น์ ๑๐) พระมหาสธุ น 13

พระพธิ ีธรรม ๑๑) พระมหาเอราวัณ ๑๒) พระครพู มิ นสรภาณ (ณรงค์ เขมาราโม)๖ สว่ นพระพิธธี รรมในชดุ ปัจจบุ ันมรี ายนามดงั ตอ่ ไปน้ี ๑) พระครสู ุนทรโชตยานวุ ตั ร ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๒) พระมหาสิงหา สฆํ สริ ิ ป.ธ.๙ ๓) พระมหา ดร. กรวิก อหสึ โก ป.ธ.๗ ๔) พระมหาค�ำแสน มงฺคลเสวี ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๕) พระมหาปรเมศร์ ภรู ทิ สฺสี ป.ธ.๖ ๖) พระมหาชรสั ญาณโสภี ป.ธ.๖ ๗) พระมหานิคม นิสโก ป.ธ.๖ ๘) พระมหาอรรถสทิ ธ์ิ อคสฺ ิทธฺ ิ ป.ธ.๔ ๙) พระมหานพรัตน์ ภททฺ วิญญฺ ู ป.ธ.๘ บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวรารามใช้ในปัจจุบัน เปน็ บทท่ีเรยี กว่า พระธรรมใหม่ ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดสุทัศนเทพวราราม ท่ีใชใ้ นปจั จุบัน ได้แก่ ท�ำนองสรภัญญะ และท�ำนองกะ ๔. พระพธิ ธี รรมวัดบวรนิเวศวหิ าร ได้รับการแตง่ ต้งั ข้นึ ในสมยั พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมพี ระราชดำ� ริให้เปลี่ยน พระพธิ ธี รรมวดั โมลโี ลกเปน็ พระพธิ ธี รรมวดั บวรนเิ วศวหิ ารแทน ตอ่ มาใน สมัยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เห็นว่าท�ำนองการสวดพระอภิธรรมของวัดนี้มีการสวดเล่นเสียงชวน ๖ ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งพระราชภัทรญาณ 14

พระพธิ ีธรรม เศร้าสลด จึงเป็นเหตุให้ไม่รับนิมนต์งานพระบรมราชานุเคราะห์ ตงั้ แตน่ น้ั มา ตอ่ มาเมอ่ื วนั พธุ ท่ี ๒ มกราคม พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ สมเดจ็ พระเจ้าพน่ี างเธอ เจา้ ฟา้ กลั ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครนิ ทร์ ไดส้ น้ิ พระชนม์ สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ซงึ่ ทรง เสดจ็ พระราชด�ำเนนิ ในการสวดพระอภธิ รรมเป็นประจำ� มพี ระประสงค์ จะสดบั พระพธิ ธี รรมวดั บวรนเิ วศวหิ าร จงึ รบั สง่ั ใหเ้ จา้ หนา้ ทกี่ รมการศาสนา อาราธนามาสวด ณ พระทนี่ ัง่ ดุสิตมหาปราสาท พระพธิ ธี รรมวดั บวรนเิ วศวิหาร ตามทป่ี ฏิบัติหน้าท่ใี นปจั จบุ นั มรี ายนามดงั ต่อไปนี้ ๑) พระครปู ลดั สัมพพิ ฒั นสตุ าจารย์ ๒) พระมหาฉตั รชยั สฉุ ตตฺ ชโย ป.ธ.๙ ๓) พระมหาจนิ ดา ฐานจินโฺ ต ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๔) พระมหาพิสิฐพงษ์ ปวิสฏิ ฺโ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก ๕) พระมหาสชุ าติ อภชิ าโต ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๖) พระมหาวริ ุฒิ อภนิ าโท ป.ธ.๗ ๗) พระมหาชัยรัตน์ วรสุโข ป.ธ.๖ ๘) พระปฏิภาณ ปญญฺ ธีโร ๙) พระเจรญิ สภุ วฑุ ฒฺ โิ ก ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๑๐) พระภาคิน สุชาโต บทสวดทพ่ี ระพธิ ธี รรมวัดบวรนิเวศวิหารใชใ้ นปจั จบุ ัน เป็นบทท่ี เรียกว่า พระอภิธรรมมตั ถสังคหะ๗ ซง่ึ มี ๙ ปริจเฉท ๗ พระอภิธรรมมัตถสังคหะ ประกอบด้วย ๙ ปริจเฉท ได้แก่ จิตตสังคหวิภาค เจตสิกสังคหวิภาค ปกิณณก สังคหวิภาค วิถีสังคหวิภาค วิถีมุตตสังคหวิภาค รูปสังคหวิภาค สมุจจยสังคหวิภาค ปัจจยสังคหวิภาค และ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค 15

พระพิธธี รรม ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดบวรนิเวศวิหารที่ใช้ ในปัจจุบนั ได้แก่ ทำ� นองสรภญั ญะ ๕. พระพิธธี รรมวดั สระเกศ จากค�ำบอกเล่าของพระครูธรรมธร บญุ ชู สทิ ธฺ ปิ ญุ โฺ  อดตี พระพธิ ธี รรม วา่ พระพธิ ธี รรมในอดตี ทม่ี พี รรษากาล มเี พยี งรปู เดยี ว คอื พระครวู มิ ลธรรมคณุ (ปลด) ซง่ึ ทา่ นไดเ้ ลา่ ใหฟ้ งั วา่ ไดร้ บั การแต่งตง้ั พรอ้ มกนั กับพระพิธีธรรมอกี ๙ วัด แตไ่ มท่ ราบรายละเอียดวา่ ชว่ งเวลาใด ตอ่ มาในสมยั สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาณ สมเดจ็ พระสงั ฆราช (อยู่ าโณทัย) หัวหนา้ พระพิธีธรรมจะไดร้ บั การแต่งตงั้ ชอื่ วา่ พระครู สรวฒุ พิ ิศาล ซึง่ มีอยหู่ ลายทา่ น เช่น พระครูสรวฒุ ิพศิ าล (จอ้ ย) พระครู สรวฒุ ิพิศาล (จำ� ปี) เปน็ ตน้ สำ� หรบั พระพธิ ธี รรมวดั สระเกศ ตามท่ปี ฏิบัติ หน้าทใ่ี นปัจจุบนั มีรายนามดงั ต่อไปน้ี ๑) พระครศู ัพทสุนทร (กจิ การ โชติปญโฺ ญ) ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, พธ.บ., พธ.ม. ๒) พระมหาศกั ดา สญุ าโณ ป.ธ.๗, พธ.บ., กศ.ม. ๓) พระมหามนตรี มนตฺ ญาโณ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ., ๔) พระมหากฤษณะ กติ ฺติปญฺโญ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก., พธ.บ. ๕) พระมหาชาญณรงค์ ชตุ ิปญฺโ ป.ธ.๗, มบ.ส. ๖) พระมหาศุภชัย สญุ าโณ ป.ธ.๖., น.ธ.เอก., ศน.บ. ๗) พระมหาศิริวัฒน์ ภรู ปิ ญฺโญ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๘) พระมหาวราวธุ ปญฺญาวโุ ธ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๙) พระมหาวรเชษฐ์ วรญาโณ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๑๐) พระมหาทวที รัพย์ โสภณญาโณ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก บทสวดทพี่ ระพธิ ธี รรมวดั สระเกศใชใ้ นปจั จบุ นั เปน็ บททเี่ รยี กวา่ พระธรรมใหม่ 16

พระพธิ ธี รรม ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดสระเกศท่ีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ท�ำนองเล่ือน และท�ำนองสรภญั ญะ ๖. พระพธิ ธี รรมวดั ราชสทิ ธาราม จากคำ� บอกเล่าของพระเถระ ในวัดราชสิทธาราม น้ัน เล่าให้ฟังวา่ การสวดพระอภิธรรมท�ำนองหลวง เดมิ มที ำ� นองอยา่ งไรไมท่ ราบแนช่ ดั แตท่ ำ� นองทใ่ี ชส้ วดในปจั จบุ นั เปน็ ทำ� นอง ที่พระมงคลเทพมนุ เี ป็นผู้แตง่ ทำ� นองข้ึน ซึ่งอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั ท�ำนองที่แต่งขนึ้ มาใหมน่ นั้ ถกู ใช้ในการบำ� เพ็ญ พระราชกุศลพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั ด้วย ซึ่งพระสงฆ์ที่ได้รับการฝึกท�ำนองสวดจากพระมงคลเทพมุนี ได้แก่ พระอาจารยเ์ ช่ือม พระ ม.ล.วรรณ พระอาจารยช์ ื้น พระอาจารย์ต่วน พระอาจารยเ์ จรญิ พระอาจารยแ์ ถม สำ� หรบั พระพธิ ธี รรมวดั ราชสทิ ธาราม ทป่ี ฏิบัติหน้าทใี่ นปัจจบุ นั มรี ายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระมหามอง อนิ ทฺ ปญฺโ ป.ธ.๕, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๒) พระมหาอภวิ ัฒน์ อภิวฑฒฺ โณ ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๓) พระมหาพรชยั กสุ ลจติ โฺ ต ป.ธ.๕, น.ธ.เอก, พธ.บ. ๔) พระครใู บฎีกาจกั รกฤษณ์ จกกฺ วโร น.ธ.เอก ๕) พระมหาหลอ่ านตุ ฺตโร ป.ธ.๕, น.ธ.เอก ๖) พระมหาโยธิน โชตปิ ญฺโ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดราชสิทธารามใช้ในปัจจุบัน เป็นบทท่ี เรียกวา่ พระอภิธรรม ๗ คมั ภรี ์ ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดราชสิทธารามท่ีใช้ในปัจจุบัน ไดแ้ ก่ ทำ� นองกะ 17

พระพิธธี รรม ๗. พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดท่ีมีพระพิธีธรรม มาตง้ั แตย่ คุ ตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ เชน่ เดยี วกบั วดั พระเชตพุ นวมิ ลมงั คลาราม และวดั มหาธาตุยวุ ราชรงั สฤษฎิ์ ซ่ึงพระมหาปรีชา ปสนโฺ น ป.ธ.๗ ไดเ้ ล่า ให้ฟังว่า พระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม ตามที่ปฏิบัติหน้าที่ในอดีต มีรายนามดังต่อไปน้ี ๑) พระมหาผนั (ผนั )๘ ๒) พระครโู ฆสติ สมณคณุ (พิกลุ ) ๓) พระมหาประจวบ ขนตฺ ธิ โร ป.ธ.๔๙ ๔) พระครูสิรธิ รรมวภิ ษู ติ (บรรเจิด) ๕) พระมหาทิม วิทิตธมโฺ ม ๖) พระครวู มิ ลธรรมธาดา (สวง) ๗) พระครปู ลัดสมคิด สริ ิวฑฒฺ โน ๘) พระบวรรงั สี ๙) พระมหาสมคดิ ปยิ วณฺโณ สว่ นชดุ ท่ที ำ� หน้าทีใ่ นยุคปัจจุบัน มีรายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระมหาปรีชา ปสนฺโน ป.ธ.๗ ๒) พระครูพิพิธวรกจิ จาทร (เผชญิ กววิ ํโส) ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๓) พระครปู ลัดธีรวัฒน์ (องอาจ ฉนทฺ ธมโฺ ม) ประโยค ๑-๒, น.ธ.เอก ๔) พระครูธรรมธรมานพ สุชาโต ๘ ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งพระเทพประสิทธิคุณ ๙ พระราชประสิทธิวิมล (ประจวบ) 18

พระพธิ ธี รรม ๕) พระครูสังฆรกั ษ์สมชาย อตพิ พฺ โล ๖) พระมหาดสุ ิต ภททฺ สาโร ป.ธ.๖ ๗) พระมหาวเิ ชยี ร ตกิ ขฺ ญาโณ ป.ธ.๙ ๘) พระมหาสุพิศ ธมมฺ คตุ โฺ ต ป.ธ.๘ บทสวดท่ีพระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตารามใช้ในปัจจุบัน เป็นบทที่เรียกว่า พระอภธิ รรม ๗ คมั ภรี ์ พระธรรมใหม่ บทสหัสสนยั ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดระฆังโฆสิตารามท่ีใช้ ในปัจจุบัน ไดแ้ ก่ ท�ำนองเล่อื น ๘. พระพิธีธรรมวัดจักวรรดิราชาวาส มีที่มาท่ีไปอย่างไรน้ัน ไมม่ ปี รากฏแนช่ ดั ซง่ึ พระครพู ศิ าลสนุ ทรกจิ (สำ� ราญ) เลา่ วา่ พระพธิ ธี รรม รุ่นอาจารย์ของทา่ นมี ๑) พระครูวินัยธร (เปล่ยี น) ๒) พระแมน้ เมธาวโร ๓) พระครใู บฎีกาไสว ๔) พระครปู ลัดสาคร สำ� หรบั พระพธิ ีธรรมวดั จักวรรดริ าชาวาส ตามทป่ี ฏบิ ตั ิหนา้ ท่ี ในปจั จบุ นั มรี ายนามดังต่อไปนี้ ๑) พระมหานิรนั ดร์ สุรยิ เมธี ป.ธ.๔ ๒) พระมหาเอกอาทติ ย์ อินทฺ วีโร ป.ธ.๕ ๓) พระมหาอวยชยั ธีรปญโฺ ญ ป.ธ.๔ ๔) พระมหาเฉลมิ พล ชยสทิ ธฺ ิ ป.ธ.๔ ๕) พระมหาถาวร กติ ฺตถิ าวโร ป.ธ.๗ ๖) พระมหาวรวุฒิ วรวญิ ญฺ ู ป.ธ.๕, น.ธ.เอก 19

พระพิธีธรรม ๗) พระมหาภูมเิ ทพ อภวิ ฑฒฺ โน ป.ธ.๓ บทสวดที่พระพิธีธรรมวัดจักวรรดิราชาวาสใช้ในปัจจุบัน เปน็ บททีเ่ รียกวา่ พระอภิธรรม ๗ คมั ภรี ์ พระธรรมใหม่ ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดจักวรรดิราชาวาสที่ใช้ ในปัจจุบนั ไดแ้ ก่ ทำ� นองกะ และทำ� นองเล่อื น ๙. พระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาส เริม่ มีในสมยั ทีพ่ ระธรรม ไตรโลกาจารย์ (อยู่ อุตฺตรภทฺโท) ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสรูปท่ี ๑๑ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๗๖ ได้เสนอขอแต่งต้ังคณะพระพิธีธรรม ประจำ� พระอารามน้ี๑๐ และได้รับฉันทานมุ ัตจิ ากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชริ ญาณวโรรส ให้มีคณะพระพธิ ีธรรมในวัดประยุรวงศาวาส เมอื่ พทุ ธศักราช ๒๔๕๙ พระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาส พระสุนทรวิหารการ (เลื่อน อินทรพิบูลย์) ซ่ึงเคยเป็นพระพิธีธรรม ได้เล่าว่า ในสมัยน้ันมี พระพิธีธรรมหลายรูป เช่น พระครูปลัดสุพจน์ (หลวงตาแพร เยื่อไม้) พระครปู ลัดสรุ ินทร์ ผลวงศ์ พระปลัดเกษม พระมหาสำ� รวม อตเิ มโธ พระสมหุ ถ์ ิร ถริ ปโ สว่ นพระพิธีธรรมชดุ ปัจจบุ ัน พระครูปลดั ศลี วัฒน์ ปรกฺกโม ได้เลา่ วา่ มีรายนามพระพธิ ธี รรมดงั ตอ่ ไปนี้ ๑) พระครูวิบลู ศาสนกจิ จาทร ๒) พระมหาบรรจง อาภากโร ป.ธ.๔, น.ธ.เอก ๓) พระครสู มหุ ร์ ะวี เขมธมฺโม น.ธ.เอก ๔) พระสมหุ ์กติ ตพิ งษ์ กิตฺตวิ โํ ส ๑๐ พระราชปริยัติดิลก และคณะ. ประวัติวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๐ ปี ๒๕๕๑. หน้า ๖๑ – ๖๓. 20

พระพธิ ธี รรม ๕) พระครพู พิ ธิ ธรรมภาณ ๖) พระมหาสาม อคคฺ ธมโฺ ม ป.ธ.๖ ๗) พระบณั ฑติ ปณฑฺ ติ จติ โฺ ต ๘) พระมหานพไกร จติ ฺตทนโฺ ต ป.ธ.๓ ๙) พระนติ ิภูมิ อภินนฺโท บทสวดท่ีพระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาสใช้ในปัจจุบัน เปน็ บททเ่ี รยี กวา่ พระธรรมใหม่ ท�ำนองการสวดของพระพิธีธรรมวัดประยุรวงศาวาสที่ใช้ ในปัจจุบัน ไดแ้ ก่ ท�ำนองกะ ๑๐. พระพธิ ธี รรมวดั อนงคาราม พระครปู ลดั บญุ นาค เขมปญโฺ ญ ซ่ึงเป็นพระเถระท่ีมีพรรษากาลมากและเป็นพระพิธีธรรมชุดปัจจุบัน เล่าใหฟ้ ังวา่ ท่านได้รบั การแต่งต้ังให้สวดพระอภิธรรมทำ� นองหลวงตง้ั แต่ พุทธศกั ราช ๒๕๐๐ และได้เลา่ ย้อนหลงั ไปวา่ ก่อนหนา้ น้ใี นสมยั ท่าน เจา้ ประคณุ สมเดจ็ พระพฒุ าจารย์ (นวม) อดตี เจา้ อาวาส รปู ที่ ๕ ไดแ้ ตง่ ตง้ั พระฐานานกุ รมของทา่ นเองเปน็ พระพธิ ธี รรม ได้แก่ พระครศู พั ท์สนุ ทร พระครอู มรโฆสิต (ชลอ) พระครอู รรถโกศล และพระมหาสพุ จน์ สุวโจ ส่วนพระพธิ ธี รรมวดั อนงคาราม ตามท่ปี ฏิบตั หิ นา้ ทใ่ี นปจั จุบนั มรี ายนาม ดงั ตอ่ ไปน้ี ๑) พระครปู ลดั บุญนาค เขมปญโฺ  ป.ธ.๔, น.ธ.เอก, ศน.บ. ๒) พระมหาเมอื งอินทร์ อาภากโร ป.ธ.๗, พธ.บ. ๓) พระมหาชมุ พล ชตุ ปิ ญฺโญ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๔) พระค�ำพนั ธ์ ธมฺมวิรโิ ย น.ธ.เอก ๕) พระครูศรกี ติ ตยาภนิ นั ท์ ป.ธ.๖, น.ธ.เอก ๖) พระมหาถนอม ถริ จิตโฺ ต ป.ธ.๙ ศศ.ม. 21

พระพิธธี รรม ๗) พระครสู ังฆรกั ษ์สวุ ทิ ย์ สุมงคฺ ลโิ ก น.ธ.เอก ๘) พระมหาคุณัฐ สภุ กจิ ฺโจ ป.ธ.๓, น.ธ.เอก บทสวดทพี่ ระพิธีธรรมวดั อนงคารามใช้ในปจั จุบัน เป็นบทที่ เรียกวา่ พระธรรมใหม่ ทำ� นองการสวดของพระพธิ ธี รรมวดั อนงคารามทใี่ ชใ้ นปจั จบุ นั ได้แก่ ท�ำนองกะ และท�ำนองเล่อื น การแต่งตั้งพระพิธีธรรม แม้ว่าต�ำแหน่งพระพิธีธรรม จะเป็นต�ำแหน่งประจ�ำพระอาราม ก็ตาม แต่ในแนวปฏิบัติแล้วจ�ำเป็นต้องแต่งตั้งพระสงฆ์ที่มีความรู้ ความสามารถมีความช�ำนาญในการสวดกับทั้งต้องรู้ระเบียบปฏิบัติใน งานหลวง พระสงฆท์ ่ีจะมคี ุณสมบัตดิ ังกล่าวได้ ต้องมใี จชอบ ต้องมมี านะ อดทน ขยนั ในการฝึกหัดฝึกซอ้ ม เพ่อื วา่ ในเวลาที่จะต้องไปปฏิบัตพิ ธิ กี าร พระศพ ศพในพระบรมราชานเุ คราะห์ พระราชานเุ คราะห์ พระอนเุ คราะห์ จะได้ไม่ขัดข้อง การที่พระมหากษัตริย์มิได้โปรดพระราชทานต�ำแหน่ง พระพธิ ธี รรมแกพ่ ระสงฆร์ ปู ใดรปู หนงึ่ กเ็ พอื่ สะดวกในการเฟน้ หาพระสงฆ์ ท่ีมีความสามารถ และช�ำนาญในการพิธี ปัจจุบันการแต่งตั้งพระสงฆ์ เป็นพระพิธีธรรม เป็นอ�ำนาจของเจ้าอาวาสในพระอารามน้ัน ท่ีจะ พิจารณาพระสงฆ์ท่ีมีความรู้ความสามารถและความช�ำนาญในการสวด ไปยังส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพ่ือจัดสรรนิตยภัตถวายใน ตำ� แหนง่ พระพธิ ีธรรมประจำ� พระอาราม พระสงฆท์ รี่ ับนิตยภัตต�ำแหนง่ น้ี มจี ำ� นวนพระอารามละ ๔ รูป และเม่อื พระพธิ ธี รรมทไ่ี ด้รับแต่งตง้ั ยา้ ยไป อยู่ท่ีอื่น ต้องลาออกจากต�ำแหน่ง ลาสิกขา มรณภาพ เจ้าอาวาสก็จะ พจิ ารณาคัดเลือกพระสงฆ์เปน็ พระพธิ ธี รรมแทนรปู ที่ขาดไป 22

พระพิธธี รรม อนึง่ ในพระอารามหนง่ึ ๆ แมจ้ ะมีพระพิธธี รรมประจ�ำพระอาราม ได้เพียง ๔ รปู แตก่ ม็ ิได้ตัดสทิ ธทิ์ ี่พระสงฆ์รูปอ่ืนๆ จะฝึกหัดสวดท�ำนอง สวดของพระพิธีธรรมสวด ทั้งนี้ก็เพื่อส�ำหรับทดแทนพระพิธีธรรมท่ีขาด ไปบ้าง เพ่ือสืบทอดวิธีการและท�ำนองสวดของแต่ละพระอารามมิให้ สูญหายไปกับกาลเวลา และเพ่ือให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมบ้าง เปน็ ทนี่ า่ ยนิ ดวี า่ หลายพระอารามพระสงฆฝ์ กึ หดั สวดทำ� นองไดค้ ลอ่ งแคลว่ มากกว่า ๔ รูปข้นึ ไป ภารกิจของพระพิธีธรรม แตเ่ ดิมมาพระพิธธี รรมมีภารกจิ หลายประการ เป็นตน้ วา่ ๑. สวดอาฏานาฏยิ ปรติ ร ในการพระราชพธิ สี มั พจั ฉรฉนิ ท์ (พธิ ตี รษุ ) ท่ีเรยี กว่า สวดอฏั นา หรือสวดภาณยักษ์ พิธีอาพาธพนิ าศฯ ๒. สวดภาณวาร คอื การสวดบทพระธรรมทจี่ ดั เปน็ หมวดหมู่ เชน่ สวดพระปรติ ร ๗ ตำ� นาน ๑๒ ตำ� นาน หรอื สวดธรรมคาถาในพธิ พี ทุ ธาภเิ ษก เทวาภเิ ษก มังคลาภเิ ษกฯ ๓. สวดพระอภธิ รรม ๗ คัมภีร์ ในพธิ กี ารศพ เชน่ สวดประจ�ำยาม คอื การสวดพระอภธิ รรมตามธรรมเนยี ม ซง่ึ แตโ่ บราณมกี ารสวดหนงึ่ ยาม สองยาม สามยาม ส่ียาม ในพิธีการพระศพ จะสวดตลอดส่ียาม จงึ เรียกวา่ สวดประจ�ำยาม การสวดพระอภิธรรมดงั กลา่ ว ปัจจุบนั พฒั นา ออกไปเป็นสวดพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท สวดสหัสนัย สวดพระมาลยั บ้าง 23

พระพธิ ีธรรม ๔. สวดพระอภิธรรมในเวลาเคลอื่ นพระศพ เชน่ สวดในการเชิญ พระศพออกจากพระบรมมหาราชวังไปยังพระเมรุท้องสนามหลวง เปน็ ต้น ๕. สวดพระอภิธรรมหน้าไฟ คือ การสวดพระอภิธรรมในช่วง การพระราชทานเพลงิ ศพ โดยสวดบนซา่ งเมร๑ุ ๑ สวดท่ซี า่ งส่ีมุมเมร๑ุ ๒ ๖. สวดจตุรเวท คือ การเจริญพระพุทธมนต์เจ็ดต�ำนาน ในวันพระ ๘ ค่�ำ ๑๔ คำ่� ๑๕ คำ่� ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง เพือ่ ท�ำน้�ำพระพทุ ธมนตถ์ วายพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ๑๑ ซ่างเมรุ เช่น เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส และเมรุลอยท่ีสร้างใช้ในการฌาปนกิจศพต่างๆ ๑๒ ซ่างส่ีมุมเมรุ เช่น พระเมรุมาศซึ่งสร้างที่ท้องสนามหลวง 24

พระพธิ ีธรรม 25

พระพธิ ีธรรม 26

พระพิธีธรรม ในปัจจุบันนี้ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ภารกจิ ของพระพธิ ธี รรม คือ การสวดพระอภิธรรมในการพระศพ และ การศพในพระบรมราชานเุ คราะห์ พระราชานเุ คราะห์ พระอนเุ คราะห์ การสวดจตุรเวทเพ่ือท�ำน�้ำพระพุทธมนต์ และสวดในกรณีมีการ พระราชพธิ พี ิเศษ เช่น พิธีทำ� นำ้� พระพุทธมนต์ เปน็ ต้น 27

พระพธิ ีธรรม บทที่ ๓ อปุ กรณใ์ นพธิ สี วดพระอภธิ รรม การสวดพระอภิธรรมไม่เหมือนกับการสวดพระพุทธมนต์ทั่วไป สง่ิ ทเี่ จา้ ภาพจะตอ้ งจดั เตรยี มเกย่ี วกบั เครอื่ งใชท้ เ่ี กยี่ วกบั การบำ� เพญ็ กศุ ลศพ เช่น โต๊ะหมูบ่ ูชาพระรตั นตรยั อาสนส์ งฆ์ ดอกไม้ เครือ่ งบูชาศพเปน็ ตน้ จะตอ้ งเตรยี มอปุ กรณเ์ ครอื่ งใชเ้ พมิ่ เตมิ ทเี่ กย่ี วกบั การสวดพระอภธิ รรม คอื ๑. การสวดพระอภิธรรมส�ำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ใน พระบรมราชานุเคราะห์ คอื ๑.๑ อาสน์สงฆ์ สำ� หรับพระสงฆ์ จ�ำนวน ๔ รูป น่งั สวด ๑.๒ ตู้พระธรรม พร้อมคมั ภีรพ์ ระอภิธรรม ๑.๓ เครอื่ งบชู าพระธรรม แจกนั ดอกไม้ ธปู เทยี น สำ� หรบั บชู าพระธรรม ๑.๔ พดั รองท่ีเก่ียวกับงานอวมงคล จำ� นวน ๔ เล่ม ๒. การสวดพระอภิธรรมในพิธกี ารพระศพ หรือ พธิ งี านศพใน พระบรมราชานเุ คราะห์ พระราชานเุ คราะห์ และพระอนเุ คราะห์ จะตอ้ งมี อุปกรณใ์ นพิธีโดยเฉพาะ เมือ่ ไดเ้ ห็นอปุ กรณ์ในพธิ กี ารกจ็ ะทราบได้ทนั ที ว่าเป็นพิธีสวดพระอภธิ รรมงานศพหลวง อปุ กรณ์ตา่ งๆ มดี ังน้ี ๒.๑ สถานที่น่ังสวด เรยี กว่า ซา่ ง (คดซ่าง๑๓ คดสรา้ ง สรา้ ง สา้ ง ส�ำซ่าง) พระแทน่ เตยี งสวด เตยี งสวด อาสน์สงฆ์ ๑๓ ซ่าง หมายถึง สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวอย่างปะร�ำ มียกพื้นอยู่ข้างใน ส�ำหรับพระสงฆ์น่ังสวดพระอภิธรรม ต้ังอยู่ ๔ มุมเมรุ 28

พระพิธธี รรม ๒.๒ ตูพ้ ระธรรมมี ๔ แบบ คอื ตทู้ องทึบ ตู้ประดับกระจก ตูล้ ายรดน�ำ้ ใหญ่ และตู้ลายรดนำ�้ เลก็ ๒.๓ คมั ภีรพ์ ระอภิธรรม ๒.๔ พดั ยศพระราชาคณะชนั้ สามญั ยก ใชต้ งั้ ตดิ กบั ตพู้ ระอภธิ รรม ๒.๕ พัดยศพระพธิ ธี รรม ๔ ดา้ ม มสี เี หลือง สีแดง สนี ำ�้ เงนิ และสเี ขียว ๒.๖ ที่บชู ากระบะมุกส�ำหรบั บชู าพระธรรม อปุ กรณต์ ่างๆ มีระเบยี บการใชแ้ ละขอ้ ปฏิบตั ทิ ี่แตกต่างกันไปดงั น้ี ๑. ซา่ ง (คดซา่ ง คดสรา้ ง สรา้ ง สา้ ง สำ� ซา่ ง) พระแทน่ เตยี งสวด เตยี งสวด อาสนส์ งฆ์ เปน็ สถานทสี่ ำ� หรบั พระพธิ ธี รรมนงั่ สวดพระอภธิ รรม ในงานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะมีการตั้งพระแท่น เตียงสวด ๒ พระแท่นทางมุขด้านทิศเหนือ ในงานพระเมรุมาศที่ ท้องสนามหลวง จะมีท่ีส�ำหรับพระพิธีธรรมน่ังสวดพระอภิธรรมที่ด้าน มุมของเมรุทง้ั ๔ มุมพระเมรุ เรียกวา่ ซา่ ง หรอื ซา่ งเมรุ ในงานพระบรม ราชานเุ คราะห์ พระราชานเุ คราะห์ พระอนเุ คราะหท์ จี่ ดั ตามวดั ตา่ งๆ จะมี อาสนส์ งฆเ์ ปน็ ทน่ี ง่ั สวดพระอภธิ รรม แตบ่ างวดั กม็ เี ตยี งสวดหรอื มซี า่ งดว้ ย เช่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เปน็ ต้น ๒. ตูพ้ ระธรรม ใช้ในเวลาสวด โดยตั้งไว้ดา้ นหนา้ พระพธิ ีธรรม ตู้พระธรรมน้มี รี ะเบยี บการใช้ในงานหลวงตา่ งๆ คือ 29

พระพธิ ธี รรม (๑) งานพระบรมศพและงานพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ชั้นเจา้ ฟ้าขึ้นไป สมเดจ็ พระสังฆราชเจา้ และสมเดจ็ พระสังฆราช ใช้ตู้ พระธรรมทองทบึ (๒) งานพระศพพระบรมวงศานวุ งศ์ชัน้ พระองค์เจ้า และ ราชนิกุล ใช้ตู้พระธรรมประดับกระจก 30

พระพธิ ธี รรม (๓) งานศพสมเด็จพระราชาคณะ ข้าราชการผู้ใหญ่ องคมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนญู ระดบั รฐั มนตรี ขึ้นไปซงึ่ เสียชวี ิตในขณะด�ำรงต�ำแหนง่ ใชต้ พู้ ระธรรมลายรดนำ้� ใหญ่ (๔) งานศพทอี่ ยใู่ นพระบรมราชานเุ คราะห์ พระราชานเุ คราะห์ และพระอนเุ คราะหใ์ ชต้ พู้ ระธรรมลายรดน�้ำเล็ก 31

พระพิธธี รรม ๓. คัมภีร์พระอภิธรรม แต่เดิมมาจะตั้งคัมภีร์พระอภิธรรม ไว้บนต้พู ระธรรมในขณะทีส่ วดสันนิษฐานวา่ เพอ่ื ให้พระสงฆ์อ่านในเวลา สวดเพอ่ื ปอ้ งกันความผิดพลาด ปัจจุบนั นม้ี ิไดน้ �ำออกวางบนตพู้ ระธรรม คงบรรจอุ ยูใ่ นต้พู ระธรรม และพระพิธีธรรมก็มิได้อ่านคมั ภรี ์ในขณะสวด แต่ประการใด และในการเชิญศพเวียนเมรุ พระสงฆ์จะนั่งเสลี่ยงอ่าน คมั ภรี ์พระอภิธรรม 32

พระพิธีธรรม ๔. พัดยศพระราชาคณะ ช้ันสามัญยก ใช้ต้ังติดตรงกลาง ตพู้ ระธรรม เร่ืองนม้ี ที ่มี าอยา่ งไรไม่ปรากฏ แตม่ กี ารสันนิษฐานวา่ ในการ พระศพ ในกรณีท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี เสด็จมาทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลเป็นการส่วนพระองค์ พระสงฆ์ต้อง ถวายอดเิ รก และพระสงฆ์ทีจ่ ะถวายอดเิ รกได้ ต้องเปน็ พระราชาคณะ ต้องใช้พัดยศ เนื่องจากแต่ก่อน พระราชาคณะมีจ�ำนวนน้อย เมื่อถึงคราวจ�ำเป็นรีบด่วน อาจท�ำให้ไม่สามารถหาพัดยศได้ทัน 33

พระพิธธี รรม จงึ จดั พดั ยศมาตง้ั เตรยี มไว้ และเหตทุ ใ่ี ชพ้ ดั ยศพระราชาคณะชนั้ สามญั ยก ซึง่ เปน็ พัดยศพระราชาคณะช้ันต้นนี้ เพราะมีธรรมเนียมวา่ พระสงฆท์ ี่มี สมณศักดส์ิ งู สามารถใชพ้ ดั ยศสมณศกั ดชิ์ ้ันต่�ำกวา่ ได้ แตพ่ ระสงฆจ์ ะใช้ พดั ยศทสี่ งู กวา่ สมณศกั ดข์ิ องตนมไิ ด้ ปจั จบุ นั พระสงฆส์ มณศกั ดมิ์ จี ำ� นวนมาก การสอ่ื สารตลอดท้งั ยานพาหนะสะดวก เม่ือเกิดมกี รณีดังกล่าว จ้าหนา้ ท่ี สามารถนิมนต์พระราชาคณะมาได้ทันท่วงที การต้ังพัดยศไว้คงถือตาม ธรรมเนียมเดิม และถือเปน็ เอกลกั ษณ์งานหลวงอีกประการหนึง่ ด้วย ๕. พดั พระพธิ ธี รรม การสวดในงานพธิ ศี พตา่ งๆ พระสงฆน์ ยิ ม ใช้พัดต้ังตรงหน้าในขณะท�ำการสวด พระพิธีธรรมมีพัดประจ�ำต�ำแหน่ง ทีเ่ รยี กว่า พัดพระพิธธี รรม ใช้ต้งั ตรงหน้าเวลาสวด พัดพระพิธีธรรมน้ี มจี ำ� นวน ๔ ดา้ ม ลกั ษณะเปน็ พดั หน้านาง แตล่ ะด้ามมสี ีต่างๆ กนั คือ สเี หลอื ง สแี ดง สนี �ำ้ เงนิ และสีเขียว เปน็ ผา้ แพร สีพืน้ เหมือนกนั ทั้ง สองดา้ น ปักไหมทองเป็นลักษณะคล้ายรศั มจี ากใจกลางพดั ดา้ มเปน็ ไม้ ลกั ษณะตบั คาบใบพดั ไว้ ตรงกลางทำ� ไมเ้ ปน็ แผน่ รปู วงกลมรี แกะตวั อกั ษร ดว้ ยมกุ คำ� วา่ พระพธิ ธี รรม แลว้ ฝงั ลงในเนอ้ื ไม้ ยอดพดั และสน้ พดั เปน็ งา (ปจั จบุ ันเปล่ียนเป็นวสั ดุคลา้ ยงาแล้ว) 34

พระพธิ ีธรรม พัดพระพิธีธรรมน้ี เมื่อใชใ้ นขณะสวดจะมีวธิ นี ั่งสวดและเรียงพัด เปน็ ๒ แบบ ไดแ้ ก่ เรยี งตามลำ� ดบั ศกั ดขิ์ องพดั ยศ และเรยี งตามคู่ การเรยี ง ตามลำ� ดบั ศกั ดข์ิ องพดั คอื สเี หลอื ง สแี ดง สนี ำ้� เงนิ สเี ขยี ว สว่ นการเรยี ง ตามคู่นั้น เริง อรรถวิบูลย์ ได้กล่าวถึงลักษณะพัดพระพิธีธรรมและ การใชไ้ วด้ งั น้ี “...พดั ยศพระพิธีธรรม มี ๔ ดา้ ม มสี ีต่าง ๆ กนั ดงั นี้ สีเหลือง ส�ำหรับแม่คู่รูปท่ี ๑ สีแดง ส�ำหรับแม่คู่รูปที่ ๒ สีนำ้� เงนิ เคียงแมค่ รู่ ูปที่ ๑ สีเขยี ว เคยี งแม่ครู่ ปู ท่ี ๒ เฉพาะ พัดยศพระพิธธี รรมน้ี ตรงใจกลางพดั ยศ ชา่ งสลักแกะด้วยมุก เปน็ อักษรว่า พระพิธธี รรม ฝังอย”ู่ ๑๔ การเรียงพัดพระพิธีธรรมและวิธีการน่ังสวดตามท่ีกล่าวถึง ก็จะเป็น สีน�ำ้ เงิน สเี หลือง สีแดง สเี ขยี ว เพราะสเี หลืองกบั สแี ดงเปน็ แม่คู่ นง่ั อยตู่ รงกลาง ส่วนสีน�ำ้ เงนิ เป็นลกู คูข่ องสเี หลอื งต้องนั่งดา้ นขวา ของสเี หลอื ง สเี ขยี วเปน็ ลกู คขู่ องสแี ดง ตอ้ งนงั่ ดา้ นซา้ ยของสแี ดง สว่ นการ ใชพ้ ดั พระพิธีธรรมในพธิ ีการอ่นื เช่น สดับปกรณ์ มาตกิ า บังสุกลุ เปน็ ตน้ นิยมนั่งเรยี งตามล�ำดบั ศักดิ์ของพัดยศ ๑๔ เริง อรรถวิบูลย์. เล่ม ๑, ๒๕๑๒. หน้า ๔๕. 35

พระพิธธี รรม การน่งั สวดบนซา่ ง 36

พระพิธธี รรม การสวดพระอภิธรรมศพพระราชานเุ คราะห์ การสวดหนา้ ไฟ 37

พระพิธธี รรม บทท่ี ๔ บทสวดพระอภิธรรม บทสวดทพ่ี ระพธิ ธี รรมใชส้ วดในการพธิ ตี า่ งๆ นนั้ แบง่ เปน็ ๒ ประเภท คือ บทสวดในการพิธีมงคล คือ การสวดจตุรเวท ได้แก่ การสวด พระปริตร ๗ ต�ำนาน กับบทสวดในการพิธีอวมงคล คือ การสวด พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ การสวดพระธรรมใหม่ การสวดพระอภิธรรม มัตถสังคหะ และการสวดคาถาธรรมบรรยายแปล จะแสดงเนอ้ื หาของ บทสวดต่างๆ พอเปน็ ตวั อยา่ ง ดังนี้ พระอภธิ รรม ๗ คมั ภรี ์ บทสวดพระอภิธรรม ๗ คมั ภรี ์ หรอื บทสวดพระอภธิ รรม ๗ บท ซึง่ เปน็ บทสวดพระอภธิ รรมทม่ี ี ๗ บทด้วยกัน คือ บทที่ ๑ บทพระสงั คณี หรือ พระธรรมสงั คณี เป็นบทท่วี า่ ดว้ ย เรอ่ื งกศุ ล คือ ความดี อกุศล คอื ความไมด่ ีหรอื ความชวั่ และท่เี ปน็ กลางๆ คือ ไมเ่ ป็นทง้ั ความดีและความชัว่ ทีเ่ รียกว่า อพั ยากฤต บทที่ ๒ บทพระวภิ งั ค์ เปน็ บทที่กล่าวถงึ การจำ� แนกส่วนประกอบ ของชีวติ ออกเป็น ๕ ขนั ธ์ คือ รปู เวทนา สัญญา สงั ขาร และวญิ ญาณ บทท่ี ๓ บทพระธาตกุ ถา เป็นบทท่ีวา่ ด้วยการเข้ากนั ไดข้ องธาตุ ตา่ งๆ เช่น เมื่อกระดูก เลอื ด ปสั สาวะ ลมหายใจ ความรอ้ นในร่างกาย ชอ่ งว่างในปาก ความร้สู กึ เปน็ ต้น 38

พระพธิ ีธรรม บทท่ี ๔ บทพระปคุ คลบญั ญตั ิ เป็นบททว่ี ่าดว้ ยการแบ่งประเภท ของบคุ คล คอื แบง่ ตามรปู รา่ งผวิ พรรณ แบง่ ตามอวยั วะการรบั รู้ แบง่ ตาม ลกั ษณะธาตทุ ้งั ๖ แบง่ ตามความเป็นจริง แบง่ ตามส่ิงท่เี ปน็ ใหญ่ในกาย แบ่งตามคณุ ธรรมของแตล่ ะบคุ คล บทที่ ๕ บทพระกถาวัตถุ เป็นบททีว่ า่ ด้วยการตัดสนิ ข้อขดั แย้ง เพื่อหาสิ่งทถ่ี กู ต้องตามค�ำสอนของพระพุทธเจา้ บทที่ ๖ บทพระยมก เป็นบททวี่ า่ ด้วยการจัดพวกคำ� สอนของ พระพทุ ธเจา้ เปน็ คๆู่ ซง่ึ เปน็ วธิ คี น้ หามลู เหตรุ ากเหงา้ ของเรอ่ื งราวทง้ั หลาย ของพระพุทธเจา้ ในฝ่ายดตี า่ งๆ บทท่ี ๗ บทพระมหาปฏั ฐาน เป็นบทท่วี ่าดว้ ยเรื่องปจั จัยในการ สนบั สนนุ ของแตล่ ะเรอ่ื ง เชน่ ปจั จยั สนบั สนนุ จากสง่ิ ทเ่ี ปน็ เหตุ ๖ ประการ ปจั จัยสนบั สนุนจากส่ิงทีเ่ ปน็ อารมณ์ ๖ ประการ เป็นตน้ พระอภธิ รรม ๗ บท หรือ ๗ คัมภรี น์ ีท้ า่ นโบราณจารย์สอนใหว้ ่า ย่อเฉพาะตัวหน้าเพ่ือง่ายแก่การจดจ�ำ ท่านจึงใช้กุศโลบายให้เยาวชน สมยั ก่อนทอ่ งจำ� เปน็ คาถาเสกน�ำ้ ล้างหนา้ ตนเองทุกๆ วนั ตอนเช้า จะเกดิ สรรพคณุ เปน็ สรรพมงคลยิง่ ดีนักแล คอื สัง วิ ขา ปุ กะ ยะ ปะ 39

พระพธิ ีธรรม พระธรรมสังคณี ธรรมทง้ั หลาย ท่เี ปน็ กุศล กุสลา ธมมฺ า อกสุ ลา ธมมฺ า ธรรมทั้งหลายทเ่ี ป็นอกุศล อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมทง้ั หลาย ทเ่ี ปน็ อพั ยากฤต กตเม ธมฺมา กุสลา ธรรมทัง้ หลาย ทีเ่ ปน็ กศุ ล เป็นไฉน ยสมฺ ึ สมเย ในสมยั ใด กามาวจรํ กุสลํ จติ ฺตํ กุศลจิตทเ่ี ปน็ กามาวจร เกิดพรอ้ ม อปุ ฺปนฺนํ โหติ ดว้ ยโสมนสั เจตสิก โสมนสฺสสหคตํ ประกอบพรอ้ มดว้ ยปัญญา เจตสิก าณสมฺปยตุ ตฺ ํ ปรารภอารมณ์ รูปารมฺมณํ วา รปู เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สททฺ ารมมฺ ณํ วา สงิ่ ทีม่ ีอยู่ปรากฏอยู่ คนธฺ ารมมฺ ณํ วา รสารมฺมณํ วา กห็ รอื วา่ เรอ่ื งราวใดๆ ยอ่ มเกิดข้ึน โผฏฺ พพฺ ารมฺมณํ วา ธมมฺ ารมฺมณํ วา ยํ ยํ วา ปนารพภฺ ตสมฺ ึ สมเย ในสมยั นั้น ผสฺโส โหต ิ ยอ่ มมคี วามกระทบกนั และกัน อวกิ เฺ ขโป โหติ ยอ่ มมีความไมฟ่ ุ้งซา่ น เย วา ปน ตสฺมึ สมเย ก็หรอื วา่ ในสมยั น้ัน ย่อมมสี ภาวะ ทไ่ี ม่มรี ปู รา่ ง อญเฺ ปิ อตถฺ ิ ปฏจิ จฺ (จิตและเจตสิก) ซงึ่ อาศยั กันและ สมปุ ฺปนฺนา กันเกิดขึน้ พรอ้ มกัน อรูปโิ น ธมฺมา แมเ้ หล่าอ่นื เหล่าใด อิเม ธมมฺ า กสุ ลา. สภาวะท้ังหลายเหลา่ นี้ คอื ธรรม ทง้ั หลายทีเ่ ปน็ กศุ ล 40

พระพิธธี รรม พระวิภงั ค์ ปญจฺ กฺขนฺธา ขันธ์ ๕ รูปกขฺ นฺโธ รปู ขันธ์ (หมวดแหง่ รูป ๒๘) เวทนากขฺ นฺโธ เวทนาขนั ธ์ สญฺ ากฺขนฺโธ สัญญาขันธ์ สงขฺ ารกขฺ นโฺ ธ สงั ขารขันธ์ วญิ ฺาณกขฺ นโฺ ธ วญิ ญาณขนั ธ์ ตตฺถ กตโม รูปกขฺ นโฺ ธ บรรดาขนั ธ์ ๕ นนั้ รูปขนั ธ์ เปน็ ไฉน ยงกฺ ญิ จฺ ิ รูป ํ รูป อย่างใดอย่างหน่ึง อตตี านาคตปจจฺ ุปปฺ นฺนํ รปู อดตี รูปอนาคต รูปปจั จุบัน อชฺฌตตฺ ํ วา พหทิ ธฺ า วา รปู ภายใน หรือ รปู ภายนอก โอฬารกิ ํ วา สุขมุ ํ วา รปู หยาบ หรอื รปู ละเอยี ด หีนํ วา ปณตี ํ วา รปู เลว หรอื รูปประณีต ยํ ทเู ร วา สนตฺ เิ ก วา รปู ไกล หรอื รปู ใกล้ อยา่ งใด ตเทกชฌฺ ํ อภสิ ญฺญหู ิตวฺ า รปู นนั้ ทรงประมวลย่นยอ่ เข้ารวมกนั อภสิ งฺขิปติ ฺวา อยํ วจุ ฺจติ รูปกฺขนโฺ ธ. นี้ ตรสั เรียกว่า รูปขนั ธ์ ฯ 41

พระพิธธี รรม พระธาตุกถา ธรรมะที่สงเคราะห์เขา้ กันได้ ธรรมะที่สงเคราะหเ์ ข้ากันไมไ่ ด้ สงฺคโห อสงคฺ โห ธรรมะที่สงเคราะหเ์ ขา้ กนั ไม่ได้ กบั ธรรมะที่สงเคราะห์เขา้ กันได้ สงฺคหิเตน อสงคฺ หติ ํ ธรรมะทส่ี งเคราะหเ์ ขา้ กันได้ กับ ธรรมะท่สี งเคราะห์เขา้ กันไม่ได้ อสงคฺ หเิ ตน สงฺคหติ ํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันได้ กบั ธรรมะทส่ี งเคราะหเ์ ข้ากนั ได้ สงคฺ หิเตน สงคฺ หติ ํ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากันไมไ่ ด้กับ ธรรมะที่สงเคราะห์เข้ากนั ไม่ได้ อสงฺคหิเตน อสงคฺ หติ ํ ธรรมะที่ประกอบกบั ธรรมอนื่ ได้ ธรรมะทไ่ี มป่ ระกอบกบั ธรรมะอนื่ สมปฺ โยโค วิปฺปโยโค ธรรมะที่ไม่ประกอบกบั ธรรมอื่น กบั ธรรมะทีป่ ระกอบกบั ธรรมอ่ืนได้ สมปฺ ยตุ ฺเตน วิปปฺ ยุตฺตํ ธรรมะที่ประกอบกับธรรมอ่ืนได้ ธรรมะท่สี งเคราะห์เข้ากับธรรมอน่ื วิปปฺ ยตุ เฺ ตน สมฺปยตุ ฺตํ ไมไ่ ดก้ บั ธรรมะทไ่ี มป่ ระกอบกบั ธรรมอน่ื อสงฺคหติ ํ 42

พระพิธธี รรม พระปุคคลบัญญัติ บัญญตั ิ มี ๖ ประการ บัญญัติว่า ขนั ธ์ ฉ ปญฺ ตตฺ โิ ย บัญญตั วิ ่า อายตนะ ขนธฺ ปญฺ ตตฺ ิ บัญญตั วิ า่ ธาตุ อายตนปญฺตตฺ ิ บญั ญตั วิ ่า สัจจะ ธาตปุ ญฺ ตตฺ ิ บัญญัติว่า อินทรีย์ สจฺจปญฺ ตฺต ิ บญั ญตั วิ า่ บุคคล อินทฺ รฺ ยิ ปญฺ ตฺติ บคุ คลบัญญตั ิ ปคุ ฺคลปญฺตฺติ แหง่ บคุ คลทั้งหลายมีเท่าไร กติ ตฺ าวตา ปคุ คฺ ลานํ ทา่ นผูห้ ลดุ พน้ จากกิเลสโดย ปคุ คฺ ลปญฺ ตฺติ บำ� เพ็ญวิโมกข์ ๘ มาก่อน สมยวมิ ตุ ฺโต ท่านผหู้ ลุดพน้ จากกเิ ลส โดยไมบ่ ำ� เพญ็ วโิ มกข์ ๘ อสมยวมิ ุตโฺ ต ทา่ นผมู้ ีสมาบตั ยิ ังกำ� เริบเป็น ธรรมดา (ปุถุชน) กุปปฺ ธมโฺ ม ท่านผู้มสี มาบัตไิ มก่ ำ� เริบเปน็ ธรรมดา (อริยบคุ คล) อกุปฺปธมฺโม ท่านผู้ยังเส่อื มจากสมาบัตเิ ปน็ ธรรมดา ปริหานธมฺโม ทา่ นผูไ้ มเ่ ส่ือมจากสมาบตั ิเป็นธรรมดา ท่านผู้ยงั ตอ้ งใส่ใจถงึ สมาบัติเนืองๆ อปริหานธมฺโม ท่านผู้ยงั ต้องรักษาสมาบตั ิเนืองๆ เจตนาภพโฺ พ อนรุ กฺขนาภพโฺ พ 43

พระพธิ ีธรรม ปุถุชชฺ โน ท่านผ้ยู ังละสกั กายทฏิ ฐิ วจิ กิ ิจฉา และสีลัพพตปรามาสไมไ่ ด้ โคตฺรภ ู ท่านผู้ประกอบดว้ ยธรรมะ ระหวา่ งช้ันบุคคล ภยปู รโต ท่านผู้ยังยินดพี อใจอย่ใู กล้สิง่ ทเี่ ป็นภยั อภยปู รโต ท่านผู้ไมย่ ินดพี อใจอยูใ่ กลส้ ง่ิ ทเ่ี ป็นภัย ภพพฺ าคมโน ทา่ นผู้สมควรก้าวลงส่กู ุศลธรรม อภพฺพาคมโน ท่านผู้ไม่สมควรกา้ วลงส่กู ศุ ลธรรม นิยโต ทา่ นผมู้ คี ตแิ นน่ อน (คนทำ� อนนั ตรยิ กรรม ๕ พวก นยิ ตมิจฉาทิฏฐิ และพระ อริยบุคคล ๘) อนิยโต ท่านผ้มู ีคตยิ งั ไม่แน่นอน ปฏิปนนฺ โก ท่านกำ� ลังปฏิบัตมิ รรค ๔ ผเลฏโต ทา่ นผ้ดู ำ� รงอยู่แลว้ ในผล ๔ อรหา ท่านผเู้ ป็นพระอรหนั ต์ อรหตตฺ าย ปฏปิ นฺโน. ทา่ นผู้ปฏิบตั ิ เพื่อความเป็น พระอรหนั ต์ฯ 44


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook