99
พระพุทธรูปในพระระเบยี ง วัดพระบรมธาตไุ ชยา อ�ำเภอไชยา จังหวดั สรุ าษฎรธ์ านี พระพุทธรปู หินทรายสแี ดง ศลิ ปะอยธุ ยา สกุลช่างไชยา ประดษิ ฐาน ณ ลานภายในก�ำแพงแกว้ ด้านทศิ ตะวันออกเฉียงเหนอื ของพระวหิ ารหลวง วัดพระบรมธาตุไชยา 100
พระบรมธาตไุ ชยา อ�ำเภอไชยา จงั หวัดสรุ าษฎรธ์ านี รูปแบบองค์พระบรมธาตุไชยาในปัจจุบัน ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เม่ือคร้ังด�ำรงสมณศักด์ิเป็น พระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้ว เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๕๓ โดยการบูรณะตกแตง่ องค์พระบรมธาตุเจดยี ์ฉาบปนู ผวิ บางๆ ทั่วท้ังองค์ พระบรมธาตุพร้อมทั้งเสริมยอดท่ีหักหล่นหายไป และได้สร้างพระวิหารหลวงข้ึนใหม่ในฐานเดิม พรอ้ มทง้ั ได้รวบรวมพระพุทธรปู ไว้ในพระวิหารคดดงั ทเ่ี ห็นในปจั จุบนั นอกจากน้ี ภายในวัดพระบรมธาตุไชยา ยังพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุเป็นจ�ำนวนมาก มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงปัจจุบัน เช่น พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปส�ำริด พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปศิลาทรายแดงศิลปะอยุธยา แสดงให้ เห็นวา่ วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดทเี่ ก่าแกส่ ืบเนอื่ งมาจนถึงปจั จบุ นั 101
วัดหลง ต้งั อยใู่ นแนวสนั ทรายไชยา เปน็ วดั กึง่ กลางระหว่างวดั เวยี งและวดั แก้ว ถกู รอื้ เหลือเพียง ฐานเม่ือคราวบูรณะพระบรมธาตุไชยา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพ่ือไปท�ำก�ำแพงแก้ว กรมศิลปากร ได้ท�ำการขุดแต่ง พบฐานอาคารที่มีแผนผังรูปกากบาท สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษ ท่ี ๑๔ - ๑๕ สว่ นประกอบทีเ่ หลอื คือ ฐานเจดยี ์เป็นฐานบัวลกู แก้ว ๑ ชดุ อยู่ในผงั รปู กากบาท ขนาด ๒๑.๖๕ x ๒๑.๖๕ เมตร ย่อมุมรับกับฐานเรือนธาตุทรงจัตุรมุข ถัดขึ้นมาประกอบด้วย ฐานเขยี ง บรเิ วณก่ึงกลางฐานเขยี งเว้นเปน็ รอ่ งและกอ่ อิฐเวน้ ชอ่ ง เหนอื ฐานเขียงเปน็ ฐานบัวคว�ำ่ ท้องไม้คาดด้วยลูกแก้ว มีร่องรอยของเสาติดผนัง มีลักษณะฐานคล้ายฐานทักษิณ มีทางข้ึนทาง ตะวันออกเขา้ สู่หอ้ งโถงกลาง วัดหลงมีขนาดเจดีย์ใหญ่กวา่ วัดพระบรมธาตุ ๑ เท่าและใหญก่ ว่า วัดแก้วเล็กน้อย 102
103
วดั แกว้ ต้ังอยู่ทางทิศใต้ของวัดหลง อาคารส�ำคัญได้แก่ เจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐไม่สอปูน อยใู่ นผงั รูปกากบาท ฐานชนั้ ลา่ งสุดเปน็ ฐานเขียงสเ่ี หลี่ยมจัตรุ ัส ลกั ษณะเป็นฐานทักษณิ มีบันได ทางขน้ึ ดา้ นตะวนั ออกและตะวนั ตก ตวั อาคารเรอื นธาตเุ ปน็ อาคารทรงจตั รุ มขุ ผนงั ดา้ นนอกอาคาร ตกแตง่ ดว้ ยเสาตดิ ผนงั และเซาะรอ่ งผา่ กลางเสาจากโคนไปถงึ ยอด เสารปู แบบนพี้ บในจนั ทกิ ะลาสนั ท่ีชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย และคล้ายกับเสาติดผนังในศิลปะจาม ประเทศเวียดนาม มุขด้านทิศใต้ยังคงสภาพดี ด้านในมีลักษณะเป็นห้องคูหาปรากฏเสาประดับกรอบประตูก่ออิฐ ด้านข้างมีซุ้มจ�ำลองย่อส่วนมาจากรูปแบบอาคารจริง ซ่ึงปัจจุบันส่วนยอดหักพังไปหมดแล้ว ประตทู างเขา้ มขุ ดา้ นทศิ ใตม้ กี รอบประตู ทบั หลงั ประตแู ละธรณปี ระตู ทำ� จากหนิ ปนู อยใู่ นสภาพ ดง้ั เดิม 104
105
106 เจดียท์ รงปราสาท วัดแกว้ อ�ำเภอไชยา จงั หวัดสรุ าษฎรธ์ านี
107
พระบรมธาตนุ ครศรธี รรมราช ประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ซ่ึงเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ต้ังอยู่ภายในเขตก�ำแพงเมืองโบราณค่อนมาทาง ทศิ ใต้ ปจั จบุ ันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช ต�ำบลในเมอื ง อำ� เภอเมอื งนครศรีธรรมราช จังหวดั นครศรีธรรมราช พระอารามแห่งนี้ เดิมเรยี กวา่ “วัดพระบรมธาตุ” หรอื “วดั พระธาต”ุ ภายหลงั ไดเ้ ปลยี่ นชอ่ื เปน็ “วดั พระมหาธาต”ุ แตป่ ระชาชนสว่ นใหญย่ งั คงเรยี ก “วดั พระบรมธาต”ุ หรอื “วดั พระธาต”ุ ประวัติการสร้างวัด ปรากฏอยู่ในหลักฐานเป็นต�ำนานที่เรียบเรียงขึ้นในสมัยอยุธยา ได้แก่ ต�ำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชและต�ำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซ่ึงทั้งสองเร่ืองน้ี มเี นอื้ หาคลา้ ยกบั คมั ภรี ท์ าฐาวงั สะของลงั กา ซง่ึ ผแู้ ตง่ ไดผ้ กู เรอ่ื งราวของพระบรมธาตไุ วก้ บั ตำ� นาน ของพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ซ่ึงสอดคล้องกันว่าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร สร้างข้ึน เมื่อ พ.ศ. ๘๕๔ โดยพระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารและบาคู (นักบวช) ชาวลังกา เป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้ว และสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เพอื่ บรรจไุ ว้ ตอ่ มา พ.ศ. ๑๗๑๙ พระเจา้ ศรธี รรมาโศกราช ไดท้ ำ� การสรา้ งเมอื งนครศรธี รรมราชขนึ้ พรอ้ มการบรู ณะองคเ์ จดยี ข์ นึ้ มาใหมเ่ ปน็ ทรงสาญจิ ตอ่ มาในสมยั พระเจา้ จนั ทรภาณศุ รธี รรมาโศกราช กษัตริย์พระองค์ที่ ๒ ได้นิมนต์พระภิกษุจากลังกามาตั้งคณะสงฆ์และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมทรงลงั กา อันเป็นแบบท่ปี รากฏอยูใ่ นปจั จุบัน 108
109
110
111
อ1ง1ค2พ์ ระบรมธาตุ นครศรธี รรมราช และ เจดียร์ าย
เดิมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นศาสนสถานกลางของเมืองนครศรีธรรมราช และถือวา่ เป็นเขตพทุ ธาวาสจะไมม่ พี ระสงฆ์จำ� พรรษา แตไ่ ดก้ ำ� หนดให้พระสงฆ์ท่ีจำ� พรรษาในวดั ต่าง ๆ ที่อยรู่ ายล้อม ท�ำหนา้ ท่ีดูแลพระบรมธาตุเจดีย์ ตอ่ มาเมือ่ มีการเปลย่ี นแปลงการปกครอง ของคณะสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหต้ ง้ั คณะสงฆข์ น้ึ ดแู ลมตี ำ� แหนง่ เปน็ พระครโู ดยมพี ระครเู หมเจตยิ านรุ กั ษเ์ ปน็ หวั หนา้ และมผี ชู้ ว่ ย อีก ๔ รูป คือ พระครูกาเดิม พระครูการาม พระครูกาแก้ว และพระครูกาชาด มีหน้าท่ีดูแล พระธาตุเจดีย์ร่วมกัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี ราเมศวร อุปราชปักษ์ใต้ ได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาจ�ำพรรษาและพระราชนาม ชอื่ วดั ใหมว่ า่ “วัดพระมหาธาตวุ รมหาวหิ าร” องค์พระบรมธาตเุ จดีย์ เปน็ เจดยี ์ทรงระฆังทมี่ ีอทิ ธพิ ลศลิ ปะลงั กา อายรุ าวพทุ ธศตวรรษ ที่ ๑๘ ซงึ่ สรา้ งเพม่ิ เตมิ ในภายหลงั องคพ์ ระบรมธาตลุ อ้ มรอบดว้ ยระเบยี งคด หรอื ภาษาไทยถนิ่ ใต้ เรียกว่า “พระด้าน” มีวิหารธรรมศาลาต้ังอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนท้ายย่ืนเข้าในระเบียงคด คล้ายผังวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น ภายในระเบียงคดยังมีส่ิงก่อสร้างอ่ืนๆ เช่น เจดีย์ราย วิหาร พระทรงม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา ส่วนปลียอดของพระบรมธาตุเจดีย์หุ้มด้วยแผ่นทองค�ำ โดยมีทั้งที่เป็นแผ่นทองเรียบ แผ่นทองดุนลาย และแผ่นทองท่ีมีจารึก ซ่ึงเก่าที่สุดอยู่ในสมัย อยธุ ยาตอนกลาง พทุ ธศตวรรษท่ี ๒๒ ยอดบนสุดเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ถกั จากลูกปดั ร้อยเขา้ กนั ดว้ ยเส้นลวดทองค�ำ เจดีย์รายภายในระเบียงคด เป็นเจดีย์ขนาดเล็กที่เรียงเป็นแถวโดยรอบองค์ พระบรมธาตุเจดีย์ มีจ�ำนวนราว ๙๐ องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็ก จ�ำลองจาก พระบรมธาตเุ จดียใ์ หย้ ่อสว่ นลงมา อายสุ มัยราวพุทธศตวรรษท่ี ๒๑ - ๒๒ ลงมา นอกจากนี้ ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ยังมีโบราณสถานส�ำคัญอีกหลายแห่ง เช่น พระวิหารหลวงหรือพระอุโบสถ ซ่ึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม มีพระพุทธรูป “พระเจ้าศรีธรรมโศกราช” ทรงเคร่ืองอย่างกษัตริย์ วิหารพระมหาภิเนษกรมณ์ (พระทรงม้า) ทางข้ึนไปบนลานประทักษิณ วิหารทับเกษตร วิหารเขียน และวิหารโพธ์ิลังกา ซ่งึ เป็นทีจ่ ัดแสดงโบราณวตั ถุ 113
มัสยดิ กรอื เซะ ตง้ั อยรู่ มิ ทางหลวงแผน่ ดนิ สาย ๔๒ (ปตั ตานี - นราธวิ าส) บา้ นกรอื เซะ ตำ� บลตนั หยงลโู ละ อ�ำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปตั ตานี ไมป่ รากฏหลกั ฐานการกอ่ สร้าง แต่จากลักษณะรปู แบบทาง ศิลปกรรม สันนิษฐานว่า มัสยิดกรือเซะสร้างข้ึนในสมัยอยุธยา ที่มีความสัมพันธ์กับการนับถือ ศาสนาอสิ ลามในยคุ แรกๆ ในดินแดนประเทศไทย หนังสือสยาเราะห์ปัตตานี ของนายหะยีหวันหะซัน กล่าวว่า มัสยิดกรือเซะ สร้างโดย สุลต่านลองยุนุส ใน พ.ศ. ๒๒๖๕ ในสมัยอยุธยา แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จเน่ืองจากเกิดสงคราม แย่งชิงราชสมบัติกัน ต่อมาได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองตานีไปตั้งอยู่ที่บ้านปูยุด จึงท�ำให้ การก่อสร้างมัสยิดกรือซะต้องหยุดชะงักลงจนกระท่ังร้างไปในท่ีสุด นอกจากนี้ ยังมีต�ำนาน เล่าสืบตอ่ กันมาอีกหลายต�ำนาน เม่ือ พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรได้ประกาศข้ึนทะเบียนโบราณสถานมัสยิดกรือเซะ หลังจากนนั้ มกี ารบรู ณะหลายครัง้ ปัจจบุ ันทางราชการได้บรู ณะมัสยิดแหง่ น้ีใหด้ ขี น้ึ โดยปรับปรุง บริเวณโดยรอบแต่ลักษณะรูปแบบการก่อสร้างยังคงสภาพเดิมไว้ พร้อมทั้งได้สร้างร้ัวล้อมรอบ มัสยดิ ดว้ ย 114
115
116
117
วัดมชั ฌิมาวาส ตง้ั อยทู่ ถ่ี นนไทรบรุ ี ตำ� บลบอ่ ยาง อำ� เภอเมอื งสงขลา จงั หวดั สงขลา ยายศรจี นั ทร์ คหบดี ผมู้ ง่ั คง่ั ในเมอื งสงขลา เปน็ ผสู้ รา้ งในสมยั อยธุ ยาตอนปลาย จงึ ไดช้ อื่ วา่ “วดั ยายศรจี นั ทร”์ ภายหลงั เม่ือมีผู้สร้าง “วัดเลียบ” ขึ้นทางทิศเหนือ และ “วัดโพธิ์” ข้ึนทางทิศใต้ของพระอารามแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า “วัดกลาง” และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหม่นื วชริ ญาณวโรรส เสด็จเมืองสงขลา ทรงเปล่ียนช่อื วัดเป็นภาษาบาลีวา่ “วดั มัชฌมิ าวาส” คร้ันต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ยกขึ้นเป็น พระอารามหลวงช้ันตรี พระอารามแห่งน้ี ได้รับการบรู ณปฏิสังขรณเ์ ร่ือยมา ในรชั กาลท่ี ๑ แหง่ กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ เจ้าพระยาอินทครี ี (บุญหยุ้ ) ผู้สำ� เรจ็ ราชการเมืองสงขลาได้สรา้ งพระอโุ บสถและศาลาการเปรียญ ขึ้นใหม่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้ส�ำเร็จราชการเมืองสงขลา ได้บูรณะและ สร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบันพร้อมด้วยศาลาการเปรียญ หอไตร ศาลาฤาษี และก�ำแพงวัด หลังจากนั้นได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่ิงส�ำคัญภายในวัดมีเป็นจ�ำนวนมาก เชน่ พระอโุ บสถ พระวหิ าร ศาลาฤาษี พระอุโบสถ เป็นอาคารทรงไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เลียนแบบพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม สร้างระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๐ - ๒๔๐๓ เป็นฝีมือช่างหลวงในกรมช่างสิบหมู่จาก กรงุ เทพฯ รว่ มกบั ชา่ งเมืองสงขลา สว่ นประกอบของชอ่ ฟ้ามีแตต่ วั ล�ำยองไม่มนี าคสะด้งุ เสารอง พระอุโบสถเป็นสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม ประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มมงกุฎ หน้าบันท้ังภายนอกและ ภายในเปน็ ประตมิ ากรรมปนู ปน้ั นนู สงู ปดิ ทองและตดิ กระจก หนา้ บนั ดา้ นทศิ ตะวนั ออกเปน็ รปู ปน้ั พระพรหมสี่หน้าทรงหงส์ ล้อมด้วยกนกลายไทย ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปปั้นพระอินทร์ ทรงช้างเอราวัณ ส่วนหน้าบันด้านในทิศตะวันออกและหน้าบันด้านในทิศตะวันตก เป็นรูปปั้น ราหอู มจนั ทร์ พระเจดยี ์แบบจนี หรอื ถะ และพระวิหาร วัดมชั ฌมิ าวาส อ�ำเภอเมืองสงขลา จงหวัดสงขลา 118
119
ภ1า2ยใ0นพระอโุ บสถ วดั มัชฌมิ าวาส อำ� เภอเมอื งสงขลา จงั หวัดสงขลา
พระประธานในพระอโุ บสถ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหินอ่อน ปางสมาธิ พุทธลักษณะแบบ ไทยผสมจีน ฝีมือปั้นหุ่นเป็นฝีมือช่างท้องถ่ินแล้วน�ำไปแกะสลักหินอ่อนท่ีประเทศจีน สร้างโดย พระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้ส�ำเร็จราชการเมืองสงขลา เป็นผู้ส่ังการให้ช่างจีนท�ำการออกแบบ ก่อสร้างพระพักตร์ของพระพุทธรูปหยก มีพระเกตุมาลาท�ำด้วยทองค�ำ ประดิษฐานอยู่ภายใน บุษบก สองข้างมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่อง เป็นการจัดลักษณะเดียวกับพระพุทธเทววิลาส หรือหลวงพอ่ ขาว วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร ภายในพระอุโบสถ มีจิตรกรรมฝาผนังท้ังส่ีด้าน เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนผนังปูน เป็นงานฝีมือช่างหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และเทพชุมนุม ถือว่าเป็นจิตรกรรมที่เด่นและส�ำคัญย่ิง องค์ประกอบของภาพ มีความงดงาม และบรรจุเรื่องราวไว้สมบูรณ์มาก ท้ังได้สะท้อนภาพของสังคม แสดงให้เห็น วฒั นธรรมการแตง่ กาย การละเลน่ ประเพณี ความเชอื่ ตลอดจนสภาพชวี ติ ความเปน็ อยใู่ นสมยั นนั้ 121
จติ รกรรมฝาผนงั ภายในพระอุโบสถ วดั มัชฌมิ าวาส อ�ำเภอเมอื งสงขลา จงั หวดั สงขลา 122
พระวหิ าร เป็นอาคารก่ออฐิ ถอื ปนู เจา้ พระยาอนิ ทคีรี (บุญหุ้ย) สร้างทบั ท่ีเดิมซ่ึงเคยเปน็ พระอุโบสถ หนา้ บนั เปน็ ไมจ้ �ำหลักลวดลายทีง่ ดงาม ศาลาษี เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) ผู้ส�ำเร็จราชการเมืองสงขลา เป็นผู้สร้างข้ึน บรเิ วณคอสองมจี ติ รกรรมภาพษดี ดั ตน รวม ๔๐ ทา่ แตล่ ะทา่ มจี ารกึ เปน็ คำ� โคลงสส่ี ภุ าพอธบิ าย ค�ำโคลงเหล่าน้ีเลือกคัดลอกมาจากเร่ืองโคลงภาพษีดัดตน ที่จารึกไว้บนผนังศาลารายในวัด พระเชตพุ น ฯ กรุงเทพ ฯ และด้านในหนา้ บันของศาลาท้ังสองข้างเขียนภาพเครื่องยาไทย ตอน ล่างเขยี นบรรยายตวั ยา สรรพคณุ และวิธีใช้ 123
วดั เทพนมิ ิต ตั้งอยตู่ �ำบลบา้ นกลาง อ�ำเภอปะนาเระ จงั หวัดปัตตานี เดมิ ช่ือ “วัดบา้ นกลาง” อยใู่ น ความปกครองของเมืองยะหริ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ชายขอบติดต่อกับเมืองสายบุรี เล่าสืบกันมาว่า เดมิ ทเี ดยี วทนี่ เี่ ปน็ ชมุ ชนของชาวไทยพทุ ธ แตไ่ ดเ้ กดิ สงครามระหวา่ งสองเมอื ง เรยี กวา่ “ศกึ เจะ๊ บ”ุ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่แถบน้ีจึงได้ย้ายไปอยู่ท่ีอ่ืนช่ัวคราว คร้ันเข้าสู่ภาวะปกติ ที่บริเวณนี้ กม็ ีชุมชนไทยมุสลิมเกิดข้นึ แล้ว ท�ำให้ต้องไปต้ังบา้ นเรอื นแถวบา้ นกระพอ้ แทน ซงึ่ อยหู่ า่ งออกไป ไมม่ ากนักและสร้างวดั ใหม่ข้นึ ทน่ี ่นั ส่ิงส�ำคัญภายในวดั คอื อโุ บสถ เปน็ อาคารทรงไทยก่ออิฐถอื ปนู ขนาด ๕ หอ้ ง หลงั คา ทรงไทยซอ้ น ๓ ช้ัน มงุ กระเบ้อื ง มีปกี นกรอบ หนา้ บนั เป็นพื้นเรียบ ยกพืน้ สูงประมาณ ๑.๕ เมตร มีเสารายรอบนอกต้งั ขึน้ รับขอ่ื ซุ้มหนา้ ต่างเปน็ ปนู ป้ันทรงมงกฎุ เชน่ เดยี วกนั กับซ้มุ ประตู ภายใน อุโบสถ มพี ระประธานองค์ใหญ่ ๓ องค์ ผนังท้ัง ๔ ด้าน มีภาพเขยี นจติ รกรรม เขยี นดว้ ยสฝี ุน่ ฝีมือช่างพื้นบ้านของปักษ์ใต้ ลายเส้นแบบง่าย ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น เร่ืองราว พทุ ธประวตั ิ ทศชาตชิ าดก เทพชุมนุม สถานทปี่ ระดิษฐานรอยพระพทุ ธบาท พญาฉัททันต์ชาดก เมขลา รามสูร ประวตั พิ ระสาวก และรามเกียรติ์ เน้นใชส้ ีสันจัดจา้ นตดั กัน อยา่ งสีครามกบั สีส้ม สเี ขยี วกับสแี ดง เขยี นข้นึ ในรชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อย่หู ัว รชั กาลท่ี ๔ พระประธานในพระอโุ บสถวัดเทพนมิ ิต อ�ำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี 124
125
อุโบสถวัดเทพนิมติ อำ� เภอปะนาเระ จังหวดั ปัตตานี 126
จิตรกรรมฝาผนงั เล่าเร่ืองพระมาลัยโปรดสวรรค์ อโุ บสถวดั เทพนิมิต อำ� เภอปะนาเระ จังหวัดปตั ตานี จติ รกรรมฝาผนังเล่าเรอ่ื งพุทธประวตั ิ ตอนเสด็จออกมหาภเิ นษกรมณ์ อุโบสถวดั เทพนมิ ิต อ�ำเภอปะนาเระ จงั หวัดปัตตานี 127
วัดปิบผลวิ นั ต้ังอยู่ทบี่ ้านตะปัง หมทู่ ่ี ๒ ตำ� บลศาลาใหม่ อำ� เภอตากใบ จังหวดั นราธวิ าส วดั ปบิ ผลิวนั เป็นวดั โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสรา้ งท่ีชดั เจน แต่มีหลักฐานว่า วัดแหง่ นพี้ ระอธกิ ารพุด ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ผ่านทางเจ้าเมืองกลันตัน และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ พระราชทานวสิ งุ คามสมี า เมอ่ื วนั ท่ี ๑๑ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ สิ่งส�ำคัญภายในวัดคือ อุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน เครื่องบนมุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ท�ำด้วยปูนปั้น หน้าบันตกแต่งด้วยลายปูนปั้นประดับกระจก รปู พระอนิ ทรท์ รงชา้ งเอราวณั และเทพนมในลวดลายพนั ธพ์ุ ฤกษา ภายในมภี าพจติ รกรรมฝาผนงั เร่ืองพุทธประวัติ หนา้ บนั อโุ บสถ วดั ปบิ ผลิวัน อ�ำเภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส 128
อโุ บสถ วดั ปบิ ผลวิ นั อำ� เภอตากใบ จังหวัดนราธวิ าส 129
ซุ้มประตูตอนบนประดิษฐาน พระพทุ ธรปู ปางสมาธิ พนื้ หลังเป็นลวดลายพนั ธุพ์ ฤกษา อุโบสถ วัดปบิ ผลวิ นั อ�ำเภอตากใบ จงั หวัดนราธิวาส จติ รกรรมฝาผนงั ดา้ นหลังพระประธาน เป็นภาพเทพชมุ นุม อโุ บสถ วดั ปบิ ผลิวัน อำ� เภอตากใบ จังหวัดนราธวิ าส 130
พระประธานเปน็ พระพทุ ธรูป ปูนปัน้ ลงรกั ปิดทอง ปางสมาธิ ภายในอโุ บสถ วดั ปบิ ผลิวัน อ�ำเภอตากใบ จงั หวัดนราธวิ าส 131
วัดหงสาราม ต้ังอยู่บ้านท่าข้าม หมู่ท่ี ๑ ต�ำบลท่าข้าม อ�ำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เดิมช่ือว่า “วดั ทา่ ข้าม” ตอ่ มาไดเ้ ปล่ียนชอ่ื เปน็ “วดั หงสาราม” ส่วนช่ือท่จี ารกึ ภายในกฏุ สิ งฆ์ซึ่งสรา้ งขึ้นใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว เรียกวา่ “วัดใหมเ่ มืองยิรงิ ” สิ่งส�ำคัญภายในวัด ได้แก่ กุฏิสงฆ์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นเรือนไม้ แบบเรอื นเครอื่ งสบั ทรงไทยแฝดชนั้ เดยี ว ยกพนื้ สงู และมเี รอื นอกี หลงั หนง่ึ เชอ่ื มตอ่ ในแนวเดยี วกนั ด้านตะวันตก ตัวกุฏิตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวบนพื้นไม้ เร่ืองพุทธประวัติ และมฆมานพและเทวาสุรสงคราม และตกแต่งด้วยงานจ�ำหลักไม้ ฉลุไม้ และเขียนสีส่วนต่างๆ ของตัวเรือนอย่างสวยงาม นอกจากน้ี ยังมีศาลาการเปรียญ อาคารโรงครัว และศาลาไม้ ศิลปกรรมพื้นถนิ่ ภาคใต้ กุฏสิ งฆ์ เปน็ เรอื นเครือ่ งสบั แฝด วดั หงสาราม อำ� เภอปะนาเระ จงั หวัดปตั ตานี 132
จติ รกรรมฝาผนงั เล่าเรื่อง พทุ ธประวัติ ตอนโปรดพระประยรู ญาติ กฏุ ิ วดั หงสาราม อำ� เภอปะนาเระ จังหวัดปัตานี 133
วดั ชลธาราสงิ เห ตงั้ อยทู่ บ่ี า้ นทา่ พรุ หมทู่ ่ี ๓ ตำ� บลเจะ๊ เห อำ� เภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส เปน็ พระอารามหลวง ช้ันตรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนเนินทรายระหว่างแม่น�้ำตากใบและพรุบางน้อย สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๐๓ โดยพระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) ได้ขอท่ีดินจากพระยาเดชานุชิต ท่ีทางกรุงเทพมหานครแต่งต้ังมาปกครองรัฐกลันตัน เดิมเรียก วัดท่าพรุ หรือ วัดเจ๊ะเห ตามชอ่ื หมบู่ า้ น ตอ่ มาไดม้ าเปลยี่ นชอ่ื เปน็ วดั ชลธาราสงิ เห ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยขนุ สมานธาตวุ สิ ทิ ธ์ิ (เปล่ียน กาญจนรัตน์) นายอ�ำเภอตากใบ เป็น “วัดชลธาราสิงเห” ที่มีความหมายว่า วัดริมน�้ำ ท่ีสร้างดว้ ยพระภิกษุท่มี บี ญุ ฤทธ์ปิ ระดจุ ราชสหี ์ (พระครโู อภาสพทุ ธคุณ) ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ท่านอาจารย์พดุ ไดส้ รา้ งพระอโุ บสถแทนโบสถ์นำ้� เดมิ ท่ีอยูก่ ลางแมน่ ้ำ� โดยมอบให้พระไชยวัดเกาะสะท้อนเป็นช่างก่อสร้างและเขียนภาพในพระอุโบสถ พระธรรมวินัย (จยุ้ ) และทดิ มี ชาวสงขลาชว่ ยกนั เขยี นภาพในพระอโุ บสถ ในกฏุ ิ สรา้ งพระประธานในพระอโุ บสถ และกำ� แพงแกว้ ลอ้ มรอบพระอโุ บสถ เมอื่ สรา้ งเสรจ็ จงึ ขอพระราชทานวสิ งุ คามสมี าใน พ.ศ. ๒๔๒๖ พระอุโบสถ หันหน้าไปทางล�ำน�้ำตากใบ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นอาคารเคร่ืองก่อ หลังคาซ้อนช้ันทางด้านหน้าและหลังพระอุโบสถ มีชายคาปีกนกลดหล่ันลงมา ๓ ช้ัน มีเสานางเรียงส่ีเหลี่ยม ไม่มีบัวหัวเสารองรับเชิงชาย เคร่ืองบน เครื่องล�ำยองมีช่อฟ้า ตัวล�ำยอง ใบระกา หางหงส์ อันเป็นการประดับตกแต่งแบบ สมยั รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ ภายในพระอโุ บสถประดษิ ฐานพระประธานชาวบา้ นเรยี ก หลวงพอ่ ใหญ่ ภายในพระอุโบสถเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเร่ืองพุทธประวัติ ภาพไตรภูมิ ภาพเทพชุมนุม นอกจากนี้ยังมีภาพแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนตากใบ เช่น ชาวจีนก�ำลังแบกสินค้า เรือนแพแบบตา่ ง ๆ แพะซงึ่ เปน็ สัตวท์ ี่เลยี้ งในชุมชน เป็นต้น ด้านนอกพระอุโบสถประกอบด้วย ใบเสมาและซมุ้ เสมา ก�ำแพงแกว้ และซุ้มก�ำแพงแกว้ พระอโุ บสถ วดั ชลธาราสิงเห อำ� เภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส 134
135
จิตรกรรมฝาผนัง เลา่ เรอื่ งพุทธประวตั ิ ตอนเสด็จลงจากสวรรคช์ ัน้ ดาวดึงส์ จิตรกรรมฝาผนงั เลา่ เร่อื งพทุ ธประวัติ ตอนอัญเชิญพระบรมศพพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบดิ าไปถวายพระเพลิง ภายในพระอุโบสถ วัดชลธาราสิงเห 136
กฏุ ิเจ้าอาวาส วดั ชลธาราสงิ เห อำ� เภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ วัดชลธาราสงิ เห ยังมีส่ิงก่อสรา้ งสำ� คญั อกี หลายอย่าง เชน่ วิหาร กฏุ ิ ศาลา บ่อนำ�้ หอระฆงั หอไตร ศาลาท่าน้ำ� เปน็ ตน้ มีลกั ษณะทางสถาปัตยกรรมภาคใตท้ ่ไี ด้รับอทิ ธิพล จากตะวนั ตก คือ การประดบั ลวดลายไมฉ้ ลุ เรยี กว่า ลวดลายขนมปงั ขิง อนงึ่ วดั ชลธาราสงิ เหน้ีไดช้ อื่ วา่ “วดั พทิ กั ษแ์ ผน่ ดนิ ไทย”เนอื่ งจากในรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจา้ อย่หู ัว ได้มกี ารปักปนั เขตแดนกบั องั กฤษ ซ่งึ องั กฤษได้ท�ำการปกั ปนั เขตแดน เข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห ๒๕ กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจา้ อยู่หัวจึงทรงโต้แย้งว่า วดั ชลธาราสงิ เห เป็นวดั ไทยทม่ี คี วามส�ำคัญเปน็ มรดกทางพทุ ธศาสนา ฝ่ายอังกฤษยอมรับและเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงล�ำน้�ำโกลก ท�ำให้อ�ำเภอ ตากใบ อ�ำเภอแว้ง และอ�ำเภอสุไหงโกลกอยู่ในการปกครองของไทยจนถงึ ปจั จุบนั 137
โบราณวัตถ ุ ในภาคใต้พบโบราณวัตถุเป็นจ�ำนวนมาก มีอายุเก่าแก่ต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์กระท่ังถึงปัจจุบัน ซึ่งโบราณวัตถุต่างๆ เหล่าน้ี เก็บรักษา และจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาตติ า่ ง ๆ โดยเฉพาะในพพิ ิธภัณฑสถานแหง่ ชาติ ชุมพร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ ถลาง และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา กลองมโหระทึก เป็นกลองหล่อจากส�ำริด เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม ลักษณะ ทรงกระบอก สว่ นบนและส่วนลา่ งผายออก ทีห่ นา้ กลองมีลวดลายประดบั เชน่ รูปพระอาทิตย์ เรือ เป็นต้น บางคร้ังท�ำเป็นประติมากรรมลอยตัวรูปกบขนาดเล็กพบในวัฒนธรรมดองซอน หรือดงเซิน (Dong Son culture) ในประเทศเวียดนาม และแพร่กระจายอยู่ในจีนตอนใต้ และเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ ลวดลายบนกลองมโหระทึก 138
กลองมโหระทึกส�ำรดิ พบทแ่ี หลง่ โบราณคดเี ขาสามแกว้ อำ� เภอเมืองชุมพร จังหวัดชมุ พร อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๕ - ๖ 139
พระคเณศ สำ� รดิ อายปุ ระมาณพุทธศตวรรษท่ี ๑๘ พระคเณศ ส�ำริด อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ พบที่ เทวสถานโบสถพ์ ราหมณ์ อำ� เภอเมืองนครศรธี รรมราช จงั หวดั นครศรีธรรมราช 140
ศิวลึงคท์ องคำ� บนฐานเงนิ และแผน่ ทอง ๓ แผ่น อายุประมาณพุทธศตวรรษ ๑๑ - ๑๒ พบอยใู่ นผอบเงนิ ในถำ้� พลีเมือง อำ� เภอสิชล จงั หวดั นครศรีธรรมราช 141
พระโพธสิ ตั วอ์ วโลกิเตศวร ส�ำรดิ อายุประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ - ๑๓ ขุดไดจ้ ากควนสราญรมย์ อำ� เภอพนุ พิน จงั หวัดสรุ าษฎรธ์ านี 142
พระพุทธรปู สำ� ริด อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ พบจากการขดุ แตง่ โบราณสถานวัดโมคลาน อำ� เภอท่าศาลา จังหวดั นครศรีธรรมราช 143
ศิวลึงค์ หินปูน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ พบที่ หอพระอิศวร อำ� เภอเมอื งนครศรธี รรมราช จงั หวัดนครศรธี รรมราช จกั ร ส�ำริด อายุประมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๒ ขุดคน้ พบทโี่ บราณสถานเขาศรวี ิชยั อำ� เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎรธ์ านี 144
ลกู ปดั หนิ ตา่ งๆ ลูกปดั (bead) เป็นเครื่องประดบั ท�ำจากวสั ดตุ า่ งๆ เชน่ หิน แร่ กระดูก ฟัน เปลือกหอย อายุประมาณพทุ ธศตวรรษ ๖ - ๑๑ ทองคำ� สำ� รดิ เป็นตน้ น�ำมาขัดฝนหรือหลอ่ ใหเ้ ป็นรปู ลักษณต์ า่ งๆ กนั เชน่ ทรงกลม ทรงกระบอก แผ่นแบน รูปสัตว์ ฯลฯ มีรูร้อยด้าย หรือเชือกเป็นเส้น เพ่ือประดับตกแต่งร่างกายหรือสถานท่ี เชน่ ลกู ปัดแก้ว ลกู ปัดหนิ เป็นตน้ ลกู ปดั กดั สี (etched bead) เปน็ ลกู ปดั หนิ มลี กั ษณะเปน็ ลายสขี าวบนพนื้ สดี ำ� สนี ำ้� ตาล หรือสีส้ม ท�ำจากหินอะเกต (Agate) และคาร์นีเลียน (Carnelian) ด้วยวิธีการใช้กรดก�ำมะถัน กัดให้เป็นลวดลาย มีแหล่งผลิตในประเทศอินเดีย ในภาคใต้ของประเทศไทยพบที่เขาสามแก้ว จงั หวดั ชุมพร ควนลกู ปดั จังหวดั กระบี่ 145
ลูกปัดแก้วรูปใบหน้าบุคคล อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษท่ี ๖ - ๑๑ ชน้ิ ส่วนลูกปัดแกว้ โมเสกลายตา่ ง ๆ อายปุ ระมาณพทุ ธศตวรรษที่ ๖ - ๑๑ พบที่ พุมเรียง อ�ำเภอไชยา จังหวดั สรุ าษฎรธ์ านี 146
ลูกปัดจ�ำหลักลาย (etched bead) เป็นลูกปัดที่ตกแต่งเขียนลวดลายในเนื้อ ลูกปัดหนิ และลกู ปัดแกว้ โดยกระบวนการทางเคมี จากวสั ดตุ า่ ง ๆ เชน่ โปแตส ตะกว่ั ยางไม้ มตี น้ กำ� เนดิ จากตะวนั ออกกลาง เข้ามาแพร่หลายในอินเดีย และเป็นสินค้าชนิดหนึ่งท่ีน�ำมาจากอินเดียเข้ามาในเอเชียตะวันออก 147 เฉยี งใต้ ในภาคใต้ พบในหลายพนื้ ที่ เชน่ แหลง่ โบราณคดภี เู ขาทอง จงั หวดั ระนอง แหลง่ โบราณคดี ควนลูกปัด อำ� เภอคลองทอ่ ม จงั หวดั กระบ่ี ลูกปัดแบบมีตา (eyed bead) เป็นลูกปัดแก้วหลายสีแบบหน่ึง มีลักษณะพิเศษคือ มจี ดุ ขาวและสีดำ� ซอ้ นกนั คล้ายดวงตาอยู่โดยรอบ บนพื้นสเี ขม้ มแี หล่งผลติ อยใู่ นประเทศอยี ปิ ต์ และประเทศในแถบเมดิเตอรเ์ รเนยี น ส่วนในประเทศไทยพบตามแหลง่ โบราณคดสี มัยทวารวดี ประติมากรรม (sculpture) เป็นงานศิลปกรรมท่ีสร้างขึ้นด้วยการแกะสลัก การปั้น การหล่อ หรือวิธีการใด ๆ จนท�ำให้เกิดรูปทรงที่มีปริมาตร ซ่ึงในพ้ืนที่ภาคใต้พบประติมากรรม เนอื่ งในพทุ ธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ - ฮนิ ดู ทมี่ คี วามงดงามเปน็ จำ� นวนมาก ทง้ั แกะสลกั จากหนิ และหลอ่ ส�ำริด
สถาปตั ยกรรม สถาปตั ยกรรมทีเ่ ปน็ เอกลักษณข์ องภาคใต้ เชน่ เรอื นพนื้ ถิน่ ภาคใต้ เรือนพักอาศยั ในภาคใตม้ ลี กั ษณะร่วมกับเรอื นไทยในภาคอนื่ ๆ คือ เปน็ เรอื นไทยไมย้ กพื้นสงู ใต้ถุนสูง ฝาใช้กระดาน ไมไ้ ผส่ าน หรอื สังกะสี เคร่ืองมุงหลังคาเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถ่ิน ใต้ถุนเรือนไทยใช้เป็นท่ีพักผ่อนหย่อนใจ เก็บของประกอบอาชีพเสริม เช่น ท�ำกรงนก สานเสื่อกระจูด หรือเปน็ คอกสตั ว์ ประเภทของเรือนมีท้ังเรอื นเครอ่ื งสับ เรอื นเครื่องผกู และเรอื นกอ่ อิฐฉาบปูน ซง่ึ เรอื นเคร่อื งผกู ไดแ้ ก่ เรอื นพกั ช่วั คราวของชาวนา หรือชาวประมงที่ปลกู เรียงรายไปตามชายฝง่ั ทะเลทั้งสองดา้ น คอื ฝั่งทะเลอันดามนั และอ่าวไทย เรือนไทยพ้ืนถ่ินภาคใต้นิยมสร้างเรือนนอน มีระเบียงตามยาว มีหลังคาคลุม ต่อด้วยชานโล่ง หากต้องการสร้างเรือนเพิ่มมักสร้างเป็น เรอื นคู่ เรอื นเคยี งเชื่อมกันด้วยชาน มีเรือนครัวขวางด้านสกัด เรือนพื้นถิน่ ภาคใต้ ลักษณะเปน็ เรอื นไทยใต้ถนุ สูง 148
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208