Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้

มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-11-08 00:42:50

Description: มรดกทางวัฒนธรรมภาคใต้

Search

Read the Text Version

ชาวใต้นิยมเลี้ยงนกไว้ดูเลน่ เช่น นกเขาชวาที่ขันเสยี งหวาน นกกรงหวั จุก เปน็ ต้น นกกรงหวั จุก เรือนภาคใต้จึงมักมีกรงนกแขวนเป็นส่วนประกอบ เมื่อมีการขยายตัวของครอบครัวและ แยกครัวออกมาจากเรอื นนอน โดยใชน้ อกชานเป็นตวั เชื่อมแตล่ กั ษณะนอกชานของภาคใต้ มักจะแคบเพราะมีฝนตกชุกท�ำให้การเดินติดต่อระหว่างเรือนแต่ละหลังสะดวกขึ้น บางที่ ส่วนนอกชานจะก่ออิฐและถมดินขึ้นให้ได้ระดับกับระเบียงและใช้ปลูกต้นไม้ขนาดเล็ก สว่ นหลังคาจะเปน็ หลังคาทรงสูงมีความลาดชัน เพอื่ ใหน้ ้�ำฝนไหลผา่ นโดยสะดวก โดยท่วั ไป หลังคามี ๔ แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาบรานอร์ และหลังคามนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันไดเน่ืองจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้ เสาเรือนไม่นิยม ฝังลงไปในพื้นดินแต่จะใช้ตอม่อหรือฐานเสาหรือเรียกว่า “ตีนเสา” ท�ำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ท�ำจากก่ออิฐฉาบปูนรองรับตัวเรือน วิธีการสร้างบ้านเรือนนั้นจะประกอบ ส่วนตา่ ง ๆ ของเรือนบนพนื้ ดินกอ่ นแล้วจงึ ยกส่วนโครงสร้างตา่ ง ๆ ขน้ึ ประกอบเปน็ ตัวเรือน อีกทีหนึ่งท�ำให้สะดวกในการเคล่ือนย้าย ซึ่งนิยมย้ายบ้านทั้งโดยใช้คนหาม หลังจากถอด ส่วนทีม่ ีน้�ำหนักมากออกก่อน เช่น ฝา และกระเบอ้ื งมุงหลงั คา เปน็ ตน้ สว่ นฝาเรอื น นยิ มใช้ ไม้ตเี กลด็ ตามแนวนอน หรอื ฝาสายบัวในแนวต้งั ประตูหน้าตา่ งใชแ้ กนหมุนวงกบเข้าเดือย แกะสลกั เปน็ รปู ดาวหรอื ดอกไม้ บานประตหู นา้ ตา่ งเซาะรอ่ ง แกะเปน็ ลวดลาย บานหนา้ ตา่ ง ท�ำเป็นลูกฟัก กรอบบนและกรอบลา่ งฉลโุ ปรง่ เพื่อระบายอากาศ 149

เดิมชาวใต้ไม่นิยมสร้างร้ัวก้ันบริเวณเรือน แต่จะปลูก ไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน หรือกล้วย เพื่อให้ได้ร่มเงา และการแสดงอาณาเขตของบรเิ วณบา้ นเรอื น ซงึ่ นยิ มสรา้ งแยกกนั เปน็ หลงั ๆ การวางตวั เรอื นจะหนั หนา้ เขา้ หาเสน้ ทางสญั จรทง้ั ทางนำ�้ และทางบก ซง่ึ จะสามารถรบั ลมบกและลมทะเลได้ การวางตวั เรอื น ดงั กลา่ วทำ� ใหช้ าวใตใ้ ชท้ ศิ ทางการนอนทนี่ ยิ มหนั ศรี ษะไปทางทศิ ใต้ ซงึ่ เรยี กวา่ “ทศิ หวั นอน” สรา้ งเปน็ โรงเรอื นขนาดเลก็ เรยี กวา่ เรอื นขา้ ว หรอื หอ้ งขา้ ว สำ� หรบั เกบ็ ขา้ วเปลอื กไวใ้ นบรเิ วณบา้ น เรอื นชาวสวน ยางพาราจะมโี รงสำ� หรบั ทำ� นำ�้ ยางใหเ้ ปน็ ยางแผน่ และมที ต่ี ากยาง เพื่อส่งโรงงาน เรือนชาวประมงจะมีที่ตากปลา หรือผลิตผลทาง การประมงอื่น ๆ ส่วนอาคารพาณิชย์ หรือร้านค้าจะนิยมสร้าง เป็นเรือนแถวสองชั้น ขนานไปกับเส้นทางสัญจร ลักษณะของ เรือนแถวนัน้ เป็นท่ีนิยมมากในภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอ�ำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้ังอยู่ท่ามกลางเทือกเขา เม่ือฝนตกหนัก เพียงชั่วข้ามคืน ก็จะเกิดน�้ำท่วมได้เสมอ ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านน้ี จึงประกอบดว้ ย “แพบก” ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านไมช้ ั้นเดียวตัง้ อยู่ บนบก แตม่ แี พลกู บวบไมไ้ ผร่ องเปน็ ฐานอยดู่ า้ นลา่ ง บา้ นแตล่ ะหลงั ผูกอยู่กับเสายาวด้วยห่วงกลม บ้านลอยข้ึนได้เม่ือน้�ำท่วม และจะลดลงสู่พ้ืนดินเองเมื่อน�้ำลด ซึ่งเป็นการปรับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ให้สอดคลอ้ งกบั สภาพแวดลอ้ มทางธรรมชาติ เรือนพกั อาศยั ทางภาคใต้ นบั ไดว้ า่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทม่ี คี ณุ คา่ ทางสถาปตั ยกรรมพน้ื ถนิ่ เนอ่ื งจากเรอื นเหลา่ นี้ สรา้ งขน้ึ โดยภูมิปัญญาของช่างไม้ท่ีแสดงฝีมือเชิงช่างในการออกแบบ เรือนพักอาศัยให้มีรูปทรงที่เหมาะกับภูมิอากาศ ใช้วัสดุก่อสร้าง ทหี่ าไดใ้ นทอ้ งถิ่น แพบก อำ� เภอคีรีรัฐนิคม จงั หวัดสุราษฎร์ธานี 150

วังเจา้ เมอื งพัทลงุ ตั้งอยู่ท่ีถนนอภัยอภิรักษ์ ต�ำบลล�ำป�ำ อ�ำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เดิมเป็นท่ีว่า ราชการและเปน็ ทพี่ กั อาศยั ของเจา้ เมอื งพทั ลงุ ปจั จบุ นั เทศบาลเมอื งพทั ลงุ ไดป้ รบั ปรงุ และเปดิ ให้ เข้าเยย่ี มชม ภายในพ้ืนทป่ี ระกอบด้วย วงั เกา่ ผู้สรา้ งและเปน็ เจา้ ของวัง คือ พระยาอภัยบริรักษ์ (น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง สร้างเพื่ออยู่อาศัยและใช้เป็นท่ีว่าราชการเมืองด้วย แตไ่ มป่ รากฏหลกั ฐานแนช่ ดั วา่ สรา้ งในปใี ด ภายหลงั เมอ่ื พระยาอภยั บรริ กั ษถ์ งึ แกอ่ นจิ กรรม วงั เกา่ จึงตกเป็นมรดกแก่บุตรชาย คือ หลวงศรีวรวัตร (พิณ จันทโรจวงศ์) และตกทอดเป็นมรดก ของคุณประไพ มุตตามระ บุตรี ก่อนจะมอบวงั เก่าให้แก่กรมศลิ ปากร วงั เจา้ เมืองพทั ลงุ (วังเก่า) อำ� เภอเมอื งพัทลงุ จงั หวัดพทั ลุง 151

สภาพภายในวงั เจ้าเมอื งพทั ลงุ (วงั เก่า) อำ� เภอเมอื งพัทลงุ จงั หวดั พัทลงุ วงั เกา่ เปน็ เรอื นไทยใต้ถุนสูง ๓ หลงั สรา้ งติดกัน หลงั ที่ ๑ และหลังที่ ๒ เปน็ ห้องนอน ส่วนหลังท่ี ๓ เรียกว่า “ห้องแม่ทาน” หมายถึง ห้องท�ำคลอด ซึ่งห้องท่ี ๓ นี้ มีลักษณะเป็น ห้องยาวครอบคลุมพื้นที่แนวห้องโถงหน้าเรือนหลังท่ี ๑ และ ๒ ด้วย ระหว่างเรือนหลังเล็ก กับเรือนแฝด มีชานขนาดเล็กค่ัน มีโอ่งมังกรขนาดใหญ่รูปไข่ไว้ใส่น้�ำท่ีบ่าวไพร่หาบจาก คลองล�ำปำ� มาใหเ้ จ้าเมอื งอาบ ตรงขา้ มกบั เรือนแฝดก้นั เป็นหอ้ ง ๆ ใช้เป็นยงุ้ ฉางเก็บขา้ วเปลอื ก ขา้ วสาร มีหอ้ งครัว หอ้ งเก็บของ และหอ้ งสขุ า วัสดุท่ใี ชใ้ นการสรา้ งเป็นไมท้ ้งั หมด วิธกี ารประกอบเรอื นใช้ “ลูกสกั ” หรือล่ิมไม้เชือ่ มยึด แทนตะปู ซงึ่ เปน็ วธิ ขี องชา่ งไทยแตโ่ บราณ ภายหลงั การบรู ณะชานเรอื นหายไปแตม่ ลี านปกู ระเบอื้ ง ดินเผาเข้ามาแทนที่ วังในปัจจุบันเป็นเรือนไทยภาคใต้ผสมภาคกลาง มีเรือนใหญ่ทรงไทยแฝด อยู่ตรงกลาง ตัวเรือนยกพื้นสูง เสากลมปักดิน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ด้านหน้าเรือนใหญ่ เป็นเฉลียงย่ืนไปทางทิศตะวันตก ถัดไปเป็นชานส�ำหรับใช้ว่าราชการหรือประกอบพิธีการต่าง ๆ สดุ ชานเป็นเรอื นครัว มีบันไดข้นึ ๒ ทาง วงั ใหม่ พระยาอภยั บรริ กั ษ์ (เนตร จนั ทโรจวงศ์) เป็นผ้สู ร้างขึ้นด้านหลงั วังเกา่ ทางดา้ น ทศิ ใต้ติดกับล�ำคลองล�ำป�ำ ชาวบา้ นจงึ เรียกวังใหม่วา่ “วงั ใหมช่ ายคลอง” หรือ “วงั ชายคลอง” มลี กั ษณะเปน็ กลมุ่ เรอื นไทย ๕ หลงั ประกอบดว้ ย เรอื นประธานเปน็ ทพ่ี กั ของพระยาอภยั บรริ กั ษ์ ฯ เจ้าเมือง พร้อมภรรยาและบตุ ร ลักษณะเป็นเรือนแฝด ๒ หลัง สว่ นอีก ๓ หลงั เปน็ เรือนขนาดเลก็ มีห้องนอนและระเบียงหน้าห้องเหมือนกันใช้เป็นท่ีอยู่ของอนุภรรยาและบุตร อีก ๑ หลัง เปน็ เรอื นครัว เรอื นทกุ หลงั สร้างด้วยไม้แบบเรือนไทยโบราณ 152

วงั เจา้ เมอื งพทั ลงุ (วังเก่า) อำ� เภอเมอื งพทั ลุง จงั หวัดพัทลุง หรือ วงั ชายคลอง 153

ศลิ ปหตั ถกรรม ภาคใตม้ งี านศลิ ปหตั ถกรรมทมี่ ชี อื่ เสยี งเปน็ ทรี่ จู้ กั กนั อยา่ งแพรห่ ลาย หลากหลายประเภท เชน่ เคร่ืองถม เคร่อื งจักสานย่านลเิ ภา ผ้า เรอื กอและ ฯลฯ เคร่ืองถม เคร่ืองถมเป็นศิลปหัตถกรรมท่ีมีช่ือเสียงของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยช่างถม น�ำภาชนะโลหะหรือเครื่องประดับมาวาดลวดลายลงไปบนผิว แล้วสลักลวดลายโดยเอากรดกัด ส่วนช่องไฟระหว่างลายให้ลึกลงเป็นร่อง ผลิตภัณฑ์ที่ท�ำส�ำเร็จจึงได้ช่ือว่า “เคร่ืองถม” จากนั้น จึงน�ำไปเผาไฟ แล้วเอาเงินหรือทองมาบดละเอียดเป็นผงผสมกับปรอท เผาให้หลอมละลาย แลว้ จงึ ทาลงบนชน้ิ งานนนั้ นำ� มาขดั แลว้ ทำ� ซำ้� คอื ทาแลว้ ขดั อกี หลายๆ ครงั้ จนเงางามเปน็ ทพี่ อใจ ซึ่งถ้าท�ำด้วยเงิน เรียกว่า “ถมเงิน” ถ้าท�ำด้วยทอง เรียกว่า “ถมทอง” และถ้าท�ำด้วยทั้งเงิน และทอง เรยี กวา่ “ถมปรกั มาศ” ซ่ึงค�ำวา่ “ปรัก” หมายถงึ เงนิ สว่ น “มาศ” หมายถึง ทอง 154

155

156

เครื่องถมนคร ท่ีท�ำในเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเคร่ืองถมคุณภาพดี และฝีมือประณีต งดงามท่ีสุดในปัจจุบัน มีการเรียนการสอนสืบทอดอยู่ท่ีวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมคือ “โรงเรียนช่างถม” ตั้งข้ึนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง) ขณะเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช เพราะเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของวิชาช่างถม และตระหนักว่าหากไม่อนุรักษ์ไว้ ต่อไปในภายภาคหน้าศิลปกรรมแขนงน้ีอาจจะสูญหายไป จึงได้จัดตั้งโรงเรียนข้ึนโดยจ้างครูมาสอน โดยบริจาคเงินนิตยภัตของท่านเป็นเงินเดือนครู และอปุ ถัมภโ์ รงเรยี นน้มี าโดยตลอด 157

เครอื่ งจกั สานยา่ นลิเภา เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะท่ีจังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีช่ือเสียงในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีก�ำเนิดจากการจักสานย่านลิเภาเป็นข้าวของ เคร่ืองใช้พื้นบ้าน ท่ีมีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี จนกระทั่งเป็นที่รู้จักของคนเมืองหลวง เมอ่ื เจา้ นายจากหวั เมอื งใต้ นำ� ขนึ้ มาถวายในราชสำ� นกั และเผยแพรใ่ นหมเู่ จา้ นายมาตง้ั แตส่ มยั ตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ จนถงึ พ.ศ. ๒๕๑๓ สมเดจ็ พระนางเจ้าสิริกติ ิ์ พระบรมราชนิ นี าถ พระบรมราชชนนพี นั ปีหลวง มีพระราชดำ� ริ ให้สอนการสานย่านลิเภาในโครงการศิลปาชีพ มีการพัฒนารูปแบบได้อย่างสวยงามประณีต เป็นท่ีนิยม อย่างกว้างขวาง ทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และท่ัวประเทศ นอกจากนี้ งานจักสานย่านลิเภา แสดงให้เห็นถึง ฝีมืออันประณีต ความอุตสาหะของช่างผู้ผลิต ซ่ึงสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ครอบครอง หรือผู้เป็นเจ้าของ อกี ด้วย 158

เคร่ืองจักสานย่านลิเภา เป็นศิลปหัตถกรรมท่ีมีช่ือเสียงของภาคใต้ ท�ำมาจากย่านลิเภาซึ่งเป็นพืช ในตระกลู เฟริ น์ หรอื เถาวลั ยช์ นดิ หนง่ึ ภาษาไทยถน่ิ ใตเ้ รยี กเถาวลั ยว์ า่ “ยา่ น” ซง่ึ มคี ณุ สมบตั ทิ ด่ี คี อื ลำ� ตน้ เหนยี ว เหมาะกับน�ำมาจักสานเป็นภาชนะเคร่ืองใช้ต่างๆ แหล่งผลิตส�ำคัญได้แก่ที่บ้านหม่น ต�ำบลท่าเรือ อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช จงั หวดั นครศรีธรรมราช ท่ีได้พัฒนาเป็นสินคา้ ทม่ี ชี ่อื เสียงทง้ั ในระดบั ประเทศและต่างประเทศ สรา้ งอาชีพและรายได้ให้แกป่ ระชาชนในทอ้ งถิน่ กระบวนการผลิตเคร่ืองจักสานย่านลิเภา เริ่มจากการน�ำย่านลิเภามาจักผิวเป็นเส้นๆ แล้วชักรีดให้ เสน้ เรยี บ เสมอกัน จากน้นั น�ำมาสานขัดกบั ตัวโครงท่ที �ำจากหวาย และไมไ้ ผใ่ หเ้ ป็นภาชนะเครื่องใช้ตา่ ง ๆ เช่น กระเชอ เชี่ยนหมาก กล่องใส่ยาเส้น พาน ป้ันชา ขันดอกไมธ้ ูปเทียน กรงนก กระเปา๋ ถือ เปน็ ตน้ งานจักสาน ย่านลิเภา นอกจากจะงดงามด้วยลวดลายของการจักสานแล้ว ยังงดงามด้วยสีผิวธรรมชาติของย่านลิเภาและ สีผิวของตอกเส้นยืนท่ีท�ำจากไม้ไผ่ หรือไม้ลิงโร ท�ำให้เกิดสีสลับกันงดงาม บางครั้งยังเสริมส่วนประกอบด้วย เครอ่ื งถมเงนิ และถมทอง เพ่ือเพ่ิมมลู คา่ ความงาม และคณุ คา่ ของเครอ่ื งจักสานย่านลเิ ภาใหส้ งู ข้นึ 159

ผ้า ผ้าเป็นหน่ึงในปัจจัย ๔ ส่ิงของจ�ำเป็นในชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์ ในอดีตสังคมเกษตรกรรมทุกครัวเรือนได้รับการศึกษาถ่ายทอดวิชา การทอผา้ เพื่อใชส้ อยในครอบครวั การแตง่ กายชาวภาคใต้ใชผ้ ้าหลายรูปแบบ ท้งั ผา้ ฝา้ ย ผ้าแพร ผ้าเขยี นลายเทียน ผ้ามัด - ย้อม อันเป็นเอกลกั ษณ์ แตกต่างจากภาคอ่ืน ๆ ในอดีตโดยท่ัวไปชาวปักษ์ใต้นิยมนุ่งผ้าคล้ายผ้าขาวม้ามีสีแดง การนุ่งผ้าปาเต๊ะหรือบาติกที่มีลวดลายสีสันหลากหลายเป็น ความนิยมในช่วงหลัง ซ่ึงได้รับอิทธิพลของผ้ามาเลเซีย อินโดนีเซีย ชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมนุ่งโสร่งที่มีความคล้ายกับผ้าขาวม้าของ ภาคอีสาน ผชู้ ายสว่ นใหญจ่ ะนยิ มนุง่ ผา้ โสร่ง ผูห้ ญิงจะนุ่งผ้าปาเต๊ะหรอื ผ้าบาติก ปัจจุบนั คนใต้ส่วนใหญก่ จ็ ะนุง่ เส้ือผ้าตามสมยั นิยมท่มี ีขายอย่ตู าม ท้องตลาดทั่วไป ผ้าที่มีช่ือเสียงของภาคใต้ เช่น ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช ผ้าทอพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ้าทอเกาะยอ จังหวัดสงขลา ผ้าทอนาหมน่ื ศรี จังหวัดตรงั เปน็ ตน้ ผ้ายกเมืองนคร ผ้ายกเมืองนคร เป็นผ้าทอพ้ืนเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการยกย่องว่า เป็นผ้ายกที่ลวดลายสีสันวิจิตรงดงามเป็นแบบอย่างผ้าช้ันดี ซ่ึงน่าจะท�ำสืบเนื่องกันมาต้ังแต่ สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวกันว่า เม่ือครั้งเมืองนครศรีธรรมราช ยกกองทัพไปปราบกบฏเมืองไทรบุรีและได้กวาดต้อนครอบครัวเชลยกลับมา พร้อมทั้งช่างฝีมือ ต่าง ๆ รวมท้ังช่างทอผ้ายก หลังจากนั้นจึงพัฒนาการทอผ้ายกข้ึนอันเป็นการผสมผสานทาง วัฒนธรรมกับความรู้ด้ังเดิมโดยใช้กรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนด้วยความพิถีพิถัน ประกอบกับ วัสดุท่ีน�ำมาทอเป็นสิ่งท่ีสูงค่ามีราคา จึงปรากฏหลักฐานว่าผ้ายกเมืองนครเป็นงานประณีตศิลป์ ช้ันเย่ียมมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนเป็นเอกลักษณ์ของ การทอผ้ายกเมืองนครทีข่ น้ึ ชื่อในเวลาต่อมา ข้ันตอนและวิธีการทอผ้ายกเมืองนครคล้ายการทอผ้าขิดหรือผ้าจก ต่างกันที่บางคร้ัง ผ้ายกเมืองนครจะทอเป็นลวดลายพิเศษ มีตะกอเขาลอยยกดอกแยกเส้นยืนต่างหาก ซ่ึงจะยก ครง้ั ละกเ่ี ส้นกไ็ ดต้ ามลวดลายที่ไดอ้ อกแบบไว้ อีกทง้ั มลี ายมีเชงิ ทีแ่ ปลกออกไป การทอจึงต้องใช้ ขนั้ ตอนและวธิ ีการเกบ็ ลายดว้ ยไมเ้ รียวปลายแหลม ตามลวดลายท่ีกำ� หนดจนครบ คัดยกเสน้ ยืน ขน้ึ เปน็ จงั หวะ มลี วดลายเฉพาะสว่ นสอดเสน้ พ่งุ ไปสานขัดตามลายทค่ี ัดไว้ การเกบ็ ตะกอเขาลอย ยกดอกเพื่อผู้ทอจะได้สะดวกไม่ต้องคัดเก็บลายทีละเส้น อันเป็นความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และเทคนคิ เฉพาะตัวของช่างแกะดอกผกู ลาย การรอ้ ยตะกอเขาลายน้ใี ช้เวลามาก เพราะต้องท�ำ ดว้ ยมอื ทง้ั หมด บางลายตอ้ งใชเ้ วลาหลายเดอื นกวา่ จะมดั เขาแลว้ เสรจ็ และเมอื่ รอ้ ยตะกอเสรจ็ แลว้ ถา้ เปน็ กก่ี ระตกุ จะทอได้อย่างรวดเรว็ แต่ถา้ เปน็ กีโ่ บราณจะทอได้ช้า การทอผ้ายกดอกนส้ี ามารถ ตกแตง่ ลวดลายให้สวยงามหลากสสี นั 160

ผา้ ยกเมอื งนคร 161

162 ผา้ ยกเมอื งนคร

ผา้ ยกเมอื งนครมี ๓ รปู แบบ ไดแ้ ก่ ผา้ แบบมกี รวยเชงิ ซอ้ นหลายชน้ั กรวยเชงิ จะมคี วามละเอยี ดออ่ นชอ้ ย ลวดลายหลายลกั ษณะประกอบกนั รมิ ผา้ จะมลี ายขอบผา้ เปน็ แนวยาวตลอดท้งั ผนื พืน้ ผา้ จะมกี ารทอสลบั สดี ้วยเทคนคิ การมัดหม่ีเปน็ สีตา่ ง ๆ เช่น แดง น�้ำเงิน ม่วง ส้ม น�้ำตาล ลายท้องผ้าพบนิยมทอผ้าพื้นและยกดอก เช่น ยกดอกลายเกร็ดพิมเสน ลายดอกพิกุล เป็นต้น นิยมทอด้วยเส้นทอง เป็นผ้า ส�ำหรับเจ้าเมือง ขุนนางช้ันสูงและพระบรมวงศานุวงศ์ ผ้าแบบมีกรวยเชิงช้ันเดียว ลักษณะกรวยเชิงจะสั้น ทอค่ันด้วยลายประจ�ำยามก้ามปู ลายประจ�ำยามเกลียว ใบเทศ ไม่มีลายขอบในส่วนของลายท้องผ้านิยมทอด้วยเส้นไหมเป็นลวดลายต่าง ๆ เชน่ ลายดอกพกิ ลุ ลายก้านแย่ง ลายดอกเขมร ลายลูกแก้วฝงู เป็นตน้ นยิ มทอด้วย เส้นทองหรอื เส้นเงนิ เปน็ ผา้ ส�ำหรับคหบดีและเจ้านายลกู หลานเจ้าเมอื ง และผา้ แบบ มีกรวยเชงิ ขนานกบั ริมผา้ ลวดลายกรวยเชงิ ถกู ดดั แปลงมาไวท้ รี่ ิมผ้าดา้ นใดดา้ นหนึง่ โดยผสมดัดแปลงน�ำลายอ่ืนมาเป็นลายกรวยเชิงเพื่อให้สะดวกในการทอและ การเก็บลายสามารถทอได้เร็วขึ้น ผ้าลักษณะนี้มีทั้งทอด้วยไหม ทอด้วยฝ้ายหรือ ทอผสมฝ้ายแกมไหม เป็นผา้ สำ� หรับสามัญชนทวั่ ไปใชน้ ุง่ ทพี่ บจะเป็นผา้ นงุ่ ส�ำหรับ สตรี หรอื ใชเ้ ป็นผา้ นงุ่ ส�ำหรบั เจ้านาคในพธิ อี ุปสมบท ส่วนลวดลายผ้ายกเมืองนครส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่พบเห็นได้อยู่รอบตัว ของช่างทอผ้า ลวดลายเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ซึ่งอาจแบ่งออก เป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลายพันธุ์ไม้ เช่น ลายดอกพิกุล ลายดอกพิกุลแก้ว ลายดอกพิกุลล้อม ลายดอกพิกุลก้านแยก ลายดอกพิกุลสลับลายลูกแก้ว ลายดอกมะลริ ว่ ง ลายดอกมะลิตูมก้านแย่ง ลายดอกไม้ ลายใบไม้ ลายเครอื เถา ฯลฯ กลุ่มลายสัตว์ เช่น ลายม้า ลายหางกระรอก ลายหิ่งห้อยชมสวน ลายแมงมุม ก้านแย่งฯลฯ กลุ่มลายเรขาคณิต เช่น ลายเกล็ดพิมเสนทรงสี่เหล่ียม ลายเกล็ด พิมเสนรูปเพชรเจียระไน ลายก้านแย่ง ลายราชวัติ (ลายยกดอกก้านแย่ง หรือลายหลังนกเขา) ลายเก้าก่ี ลายดาสมุก ลายตาราง ฯลฯ นอกจากน้ียังมี กลุ่มลายเบ็ดเตล็ด เช่น ลายไทยประยุกต์ ลายไทยประยุกต์ผสม ลายพิมทอง รวมทัง้ ลายอ่ืน ๆ ทีไ่ มท่ ราบชื่อลาย ผ้ายกเมอื งนคร 163

ผา้ ทอพมุ เรยี ง ผ้าทอพุมเรียงเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของต�ำบลพุมเรียง อ�ำเภอ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวไทยมุสลิมท่ีอพยพมาจากเมืองสงขลา เมืองปัตตานี และเมอื งไทรบรุ ี ซง่ึ สบื เชอื้ สายมาจากชาวมลายใู นหมเู่ กาะอนิ โดนเี ซยี เปน็ ผถู้ า่ ยทอด ความรูก้ ารทอผ้าทต่ี ดิ ตัวมาด้วยวธิ ีการสงั เกต จดจ�ำ และฝึกฝนโดยไม่มกี ารจดบนั ทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ส่ังสมเป็นภูมิปัญญาและสืบทอดกันมาหลายชั่วคน จนเป็นที่ ยอมรบั กนั โดยทวั่ ไปในความสวยงามของลายผา้ และความประณตี ของฝมี อื การทอผา้ อันเปน็ เอกลกั ษณ์ของภาคใตแ้ ตกตา่ งจากผา้ ทอของภูมิภาคอน่ื ๆ เปน็ ผา้ ทอยกดอก ดว้ ยไหม หรอื ด้นิ เงนิ มลี วดลายสวยงาม เช่น ผา้ ยกชุดหน้านาง ผา้ ยกดอกถมเกสร และผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น การทอผ้านี้ เป็นหน้าท่ีของผู้หญิงทั้งชาวไทยมุสลิม ชาวไทยพุทธ เพ่ือใช้สอยในครอบครัว โดยเฉพาะหญิงสาวที่จะออกเรือนจ�ำเป็น จะต้องเรียนรู้วิธีการทอผ้า เพ่ือเตรียมไว้ใช้ในการแต่งงาน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเคร่ืองใช้ต่าง ๆ ที่ท�ำด้วยผ้า การมีฝีมือในการทอผ้าจึงนับเป็นการแสดงถึง ความเปน็ กุลสตรีอยา่ งหนึ่ง ผา้ พมุ เรยี ง แบง่ ออกไดเ้ ปน็ ๓ ประเภทไดแ้ ก่ ผา้ ฝา้ ย ผา้ ไหม และผา้ ไหมปนฝา้ ย ซึ่งกรรมวิธีในการทอผ้าเรียกว่า ยกดอก ซ่ึงท�ำให้เกิดลวดลาย ใช้วิธีเก็บตะกอลาย เชน่ เดยี วกับการทอขิด โดยการยกตะกอ เพือ่ แยกเส้นด้ายยนื ให้ด้ายเส้นพงุ่ ผ่านไป เฉพาะเส้น จะยกครั้งละกี่เส้นก็ไดแ้ ล้วแต่ลวดลายที่ต้องการ เมือ่ ทอพุ่งกระสวยไปมา ควบคกู่ บั การยกตะกอ จะเกดิ เปน็ ลวดลายนนู ขนึ้ จากผนื ผา้ ดา้ ยเสน้ พงุ่ นยิ มใชด้ นิ้ เงนิ ดิ้นทองเพ่ือเพิ่มความงดงาม ลวดลายดั้งเดิมท่ีนิยม เช่น ลายยกเบ็ด ลายดอกพิกุล ลายคชสีห์ ลายราชสหี ์ ลายครุฑ ลายกนิ รี ลายเทพนม ลายเบญจรงค์ ลายศรวี ิชัย ลายกริช ลายโบต๋นั ลายราชวัตร ลายก้านตอ่ ดอก ลายผา้ ยกเชงิ ครุฑ และลายนพเก้า ช่างทอผ้าที่ต�ำบลพุมเรียง จะมีลวดลายต้นแบบที่ใช้เป็นตัวอย่างเก็บดอกผ้าเรียกว่า “ครูผ้า” อาจจะเป็นผ้าท่ีปักด้วยไหม เป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเศษผ้ายกท่ีช่างทอ เก็บไวแ้ ตเ่ ดิม 164 ผ้าทอพมุ เรยี ง

ผา้ ทอพมุ เรยี ง 165

ผา้ ทอเกาะยอ หรอื ผ้าเกาะยอ ผ้าทอเกาะยอ หรือผ้าเกาะยอเป็นผ้าทอพ้ืนเมืองของชาวต�ำบลเกาะยอในทะเลสาบ สงขลา อำ� เภอเมอื งสงขลา จงั หวดั สงขลา ชาวเกาะยอรจู้ กั การทอผา้ เพอ่ื ใชใ้ นครวั เรอื นไมน่ อ้ ยกวา่ สมยั รตั นโกสนิ ทรต์ อนตน้ สนั นษิ ฐานวา่ ชาวจนี อพยพมาอยเู่ กาะยอไดน้ ำ� การทอผา้ มาดว้ ย จนผา้ ทอ เกาะยอได้กลายเป็นศิลปหัตถกรรมอันมีช่ือเสียงของภาคใต้ ระยะแรกการทอใช้ก่ีมือและใช้ตรน แทนกระสวย ใชฝ้ า้ ยทปี่ ลกู เอง ใชส้ ที ยี่ อ้ มเองโดยนำ� เปลอื กไมม้ ายอ้ มสี ปจั จบุ นั ใชท้ งั้ ไหมประดษิ ฐ์ ไหมแท้ และฝ้าย ผ้าทีท่ อมที ั้งผา้ ขาวม้า ผา้ ผดสร่ง และผา้ ทอยกดอกด้วยตะกอ มีต้ังแต่ ๔ - ๖ - ๘ ตะกอ ส่วนลวดลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอเกาะยอในยุคแรกเป็นลายเรียบ ต่อมาเม่ือ มีการค้าขายกับต่างประเทศจึงได้ประดิษฐ์ลายเพิ่มเติมข้ึนมา ประมาณกว่า ๔๐ ลาย ได้แก่ ลายราชวัตรดอกเล็ก ลายราชวัตรดอกใหญ่ ลายลูกแก้ว ลายดอกพะยอม ลายหางกระรอก ลายดอกพิกุล ลายผกากรอง ลายรสสุคนธ์ ลายเกร็ดแก้ว ลายหยดน้�ำ ส�ำหรับลายราชวัตรนั้น ถอื วา่ เปน็ ผา้ ลายดอกทมี่ ตี น้ กำ� เนดิ มาจากเกาะยอ ตอ่ มากลายเปน็ ผา้ ทอลายนยิ มของผา้ ทอเมอื งใต้ และเป็นลายท่ีได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จ ประทับ ณ เมืองสงขลา การทอผา้ เกาะยอแบง่ เปน็ ๒ ลกั ษณะ คอื การทอสลบั สี และการทอยกดอก การทอสลบั สี เป็นการทอผ้าแบบพื้นบ้าน ใช้ตะกอเพียง ๒ ตะกอ โดยท�ำการยกเส้นด้ายยืนเพ่ือสอดด้าย พุง่ เขา้ ไปทำ� ให้เกดิ เปน็ ผนื ผา้ การทอผ้าแบบพน้ื บ้านนี้ แบง่ ออกเป็น ๒ แบบ คอื การทอสลบั สี ซ่ึงเป็นการทอผ้าสลับสีทั้งด้ายยืนและด้ายพุ่งเช่น การทอ ผ้าขาวม้า และการทอแบบตีเกลียว สลับสี เช่น ผ้าหางกระรอก ผา้ ตาสมทุ ์ (ตาสมกุ ) หรอื ลายตะเครียะ สว่ นการทอยกดอก เปน็ การ ทอผ้าเพ่ือให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ บนผืนผ้าจะใช้ตะกอเป็นตัวท�ำลวดลายในการทอผ้าเกาะยอ มีต้งั แต่ ๒ ตะกอ ๔ ตะกอ ๖ ตะกอ ๘ ตะกอ จนถึง ๑๒ ตะกอ เชน่ ผ้าลายต่าง ๆ ซ่งึ คณุ ภาพและ ความละเอียดของลวดลายตา่ งขน้ึ อยู่กบั จำ� นวนของตะกอทีใ่ ช้ 166

ผ้าทอนาหม่นื ศรี ผา้ ทอทอนาหมน่ื ศรี เปน็ ผา้ ทอพน้ื เมอื งของชาวตำ� บลนาหมนื่ ศรี อำ� เภอนาโยง จงั หวดั ตรงั ซึง่ มชี อ่ื เสยี งในด้านผา้ ทอพ้นื เมืองมาต้ังแต่อดีต เม่อื ครงั้ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจา้ อย่หู วั เสดจ็ ประพาสหัวเมอื งปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๒) ขณะทรงดำ� รงพระราชอสิ รยิ ยศสมเดจ็ พระบรมโอรสาธิราช เจา้ ฟา้ มหาวชริ าวธุ สยามมกุฎราชกมุ าร ไดท้ อดพระเนตรผา้ ทอทเี่ มอื งตรงั ภายหลงั ในระหวา่ งสงครามโลกครงั้ ท่ี ๒ การทอผา้ ไดข้ าดหายไปชว่ งหนง่ึ เพราะขาดเสน้ ดา้ ยทจ่ี ะ ใช้ทำ� วตั ถดุ ิบ รวมทง้ั การทอผา้ ประจ�ำบา้ นทใ่ี ชว้ สั ดธุ รรมชาตปิ ัน่ ฝา้ ยยอ้ มสเี องกล็ ดลง เน่ืองจาก การมเี สน้ ใยยอ้ มสีสำ� เรจ็ รปู เขา้ มาแทนท่ี หรือการมีผา้ จากโรงงานและเสอ้ื ผา้ สำ� เรจ็ รปู ท่ีสามารถ ซ้อื ได้งา่ ยกว่าการลงมอื ทอเอง ต่อมาเมือ่ ราว พ.ศ. ๒๕๑๔ การทอผา้ นาหม่ืนศรีฟน้ื คืนมาอีกครง้ั ผ้าทอนาหมื่นศรี แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของผืนผ้าได้ ๓ ชนิด ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าตา และ ผา้ ยกดอก ซึ่งแตล่ ะชนดิ แบง่ ยอ่ ยเป็นช่ือลายตา่ งๆ ได้อกี หลายลาย ลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรีได้แก่ โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสีสันของ ผืนผา้ ผู้ทอท่ีมีฝีมือจะน�ำลายหลาย ๆ ลายมารวมไว้ เช่น ลายลกู แก้วใหญ่ ลายลูกแก้วสี่หน่วยใน ลายดอกจนั บางผืนประสมเฉพาะชุดลูกแก้ว เป็นต้น สว่ นทเี่ ปน็ เอกลักษณ์ดา้ นสี ถา้ เปน็ ประเภท ผ้าหม่ และผ้าเช็ดหน้ายกดอก ทีท่ อขน้ึ ใช้เองหรือใหแ้ กก่ นั จะใช้ด้ายยนื สีแดง ยกดอกสีเหลอื ง มี บา้ งทยี่ กดอกสขี าวหรอื สเี ขยี ว หากเปน็ ผา้ ทอเพอ่ื จำ� หนา่ ยจะมกี ารเปลย่ี นแปลงสดี า้ ยยนื และดา้ ย พงุ่ ตามความตอ้ งการของท้องตลาด และในกรณที อใชเ้ อง ยังคงเป็นสีแดงเหลอื งไม่เปลยี่ นแปลง 167

ผ้าทอนาหมื่นศรี ผา้ ทอนาหม่นื ศรี 168

ผา้ ทอนาหม่นื ศรี ผ้าทอนาหมื่นศรี มีหลายรูปแบบตามประโยชน์ใช้สอย ได้แก่ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าสำ� หรับนุ่งห่ม เช่น ผ้าผืนยาวส�ำหรับโจงกระเบน ผ้าถุง ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าเบี่ยงหรือผ้าสไบ และผ้าทอด้วย จุดประสงคพ์ ิเศษ เช่น ผ้าพานชา้ ง ผ้าอาสนะ และผ้าตัง้ ผา้ พานชา้ ง เปน็ ผา้ ทท่ี อเปน็ ผา้ เชด็ หนา้ ตอ่ กนั ยาวๆ จำ� นวน ๘ - ๑๒ ผนื พบั ทบกนั เปน็ ๔ ทบ วางบนพานและพาดข้ึนไปบนหีบศพก่อนเผา ผ้าพานช้างจะทอเป็นตัวอักษรเรียงเป็นบรรทัด เปน็ คำ� กลอนหรอื โคลงประวตั ผิ ตู้ าย มคี ตสิ อนใจใหย้ ดึ มน่ั ในคณุ ความดี เปน็ มรณานสุ ติ เมอื่ เผาศพแลว้ เจ้าภาพจะตัดแบ่งผ้าพานช้างออกเป็นช้ิน ๆ ถวายพระ เพ่ือใช้เป็นผ้าเช็ดปาก เช็ดมือ หรือแจก ญาตพิ น่ี ้อง ผา้ เบย่ี ง หรอื ผา้ สไบ ทอสำ� หรบั ใชพ้ าดบา่ หม่ เฉยี งไหล่ นยิ มใชท้ งั้ ผชู้ ายและผหู้ ญงิ แตส่ ว่ นใหญ่ ผู้สูงอายุมักใช้ห่มไปท�ำบุญท่ีวัดหรือไปงานพิธีต่าง ๆ หรือเจ้าบ่าวเจ้าสาวใช้ห้อยไหล่ในพิธีแต่งงาน ผ้าเบี่ยงนิยมทอเป็นลายลกู แกว้ เชิงเปน็ สไี ม่มีลาย สที ่นี ยิ มกนั คือ พ้นื สแี ดงลายสเี หลอื งทอง ผ้าขาวม้า เป็นผ้าอเนกประสงค์ ชาวปักษ์ใต้นิยมมีผ้าขาวม้าไว้ติดประจ�ำตัว ผ้าขาวม้าของ นาหมื่นศรีทอจากฝ้าย มีขนาดใหญ่กว่าผ้าขาวม้าทั่วไป เน่ืองจากใช้เป็นผ้าห่มและผ้าห้อยไหล่ของ คนเฒ่าคนแก่ขณะไปงานพิธีต่าง ๆ ด้วย และมีความประณีตงดงามโดยส่วนกลางผืนจะทอสลับสี เป็นลายราชวัตรท่ีละเอียดประณีต (ผ้าขาวม้าลายราชวัตร) มีลายยกสลับเป็นเชิงค่ันก่อนถึงชาย หรอื เชงิ ผา้ ซงึ่ ทอเปน็ ร้ิว ขอบรมิ ผ้านิยมใชส้ ีแดง 169

เรือกอและ ค�ำวา่ “กอและ” หรอื “กแุ หละ” เปน็ ค�ำภาษามาลายู บางครง้ั เรียกวา่ “โกและ” หมายถึง พลิกไปพลกิ มา ตะแคง โคลงแคลง ลักษณะ ท่ีโคลง ๆ ชาวมุสลมิ ใช้ค�ำว่า “กอและ” ผสมกบั ค�ำว่าปาระฮู เปน็ “ปาระฮูกอและ” ซงึ่ หมายถึงเรอื กอและนั่นเอง เรือกอและเป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็ก ในแถบจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาสและปัตตานี เรือกอและท่ีใช้ใบ ในการขับเคล่ือนมีรูปร่างเพรียวยาว ต่อด้วยไม้กระดานโดยท�ำให้ส่วนหัวและส่วนท้ายสูง นิยมทาสีและเขียนลวดลายด้วยสีสันฉูดฉาดอย่างงดงาม ลวดลายบนลำ� เรอื กอและเปน็ การผสมผสานระหวา่ งลายมลายูลายชวาและลายไทยเชน่ ลายกนกลายบวั ควำ�่ บวั หงายลายหวั พญานาคหนมุ านเหนิ เวหา รวมท้ังลายหัวนกในวรรณคดี เช่น “บุหรงซีงอ” หรือ “สิงหปักษี” ซึ่งมีตัวเป็นสิงห์ หรือราชสีห์ ส่วนหัวเป็นนกคาบปลาไว้ที่หัวเรือ เชอื่ กนั วา่ มเี ขย้ี วเลบ็ และมฤี ทธเิ์ ดชมาก ดำ� นำ้� เกง่ จงึ เปน็ ทนี่ ยิ มของชาวเรอื กอและมาแตอ่ ดตี งานศลิ ปะบนลำ� เรอื เปน็ เสมอื น “วจิ ติ รศลิ ปบ์ นพลวิ้ คลนื่ ” และยงั เปน็ ศลิ ปะเพอ่ื ชวี ติ เพราะเรอื กอและมไิ ดอ้ วดความอลงั การของลวดลายเพยี งอยา่ งเดยี ว แตย่ งั เปน็ เครอ่ื งมอื ในการจบั ปลาเลย้ี งชพี ชาวประมงดว้ ย จนกระท่ังกล่าวกันวา่ “ลกู แม่นำ้� บางนราไมม่ เี รอื กอและหาปลาก็เหมือนไม่ใสเ่ สื้อผ้า” 170

ลวดลายบนเรอื กอและ การตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและเป็นวัฒนธรรมทางศิลปะที่ส�ำคัญอย่างหน่ึง ท่ีสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทยภาคใต้ตอนล่าง ที่ตั้งถ่ินฐานอยู่ใกล้แหล่งน�้ำ และทะเล ซ่ึงส่วนใหญ่มีอาชีพประมงเป็นหลัก เรือกอและจึงเป็นพาหนะทางน�้ำท่ีเป็นของคู่กับ ชาวประมงในแถบนี้ สามารถใช้สอยในการท�ำประมงและการขนส่งสินค้าและนันทนาการ เรอื กอและเปน็ เอกลกั ษณ์ของชาวประมงในเขตจงั หวดั ภาคใตต้ อนลา่ งมาชา้ นานแล้ว เรอื กอและ มคี วามแตกตา่ งจากเรอื ประเภทอน่ื ๆ โดยเฉพาะการตกแตง่ ลวดลายจติ รกรรมบนเรอื เรอื กอและ เปรียบด่ังศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าชิ้นหน่ึง มีสีสันฉูดฉาดสะดุดตา มีลวดลายประดิษฐ์ที่มีความ ประณีต ละเอยี ดอ่อนสวยงามยิง่ นกั บริเวณต่อเรือกอและสืบเน่ืองมาจากบริเวณชายฝั่งแหลมมาลายู ทางด้านตะวันออก ของอ่าวไทยนบั ตั้งแต่อำ� เภอยะหยิ่ง อำ� เภอปานาเระ อำ� เภอสายบรุ ี จงั หวดั ปตั ตานี เร่ือยไปจนถงึ อ�ำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แหล่งต่อเรือกอและท่ีมีชื่อเสียงอยู่ท่ีบ้านทอน ต�ำบลโคกเคียน อ�ำเภอเมืองนราธิวาส จงั หวดั นราธิวาส 171

นอกจากนี้ เรือกอและยังเกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถ่ิน ทั้งพุทธศาสนาและศาสนาอิสลาม คือ ประเพณีแห่พระของภาคใต้จะมีชุมนุม เรือพระ มีงานฉลอง มีการแข่งขันเรือกอและอย่างสนุกสนาน ส่วนชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะมีวันส�ำคัญทางศาสนา เช่น วันฮารีรายอ ซึ่งจะมีการละเล่น มีมหรสพครึกครื้น ตลอดทั้งมีการแขง่ ขันเรอื กอและด้วย โดยเฉพาะจงั หวดั นราธวิ าสได้ฟน้ื ฟกู ารแข่งขันเรือกอและหน้าพระทนี่ ่ัง ชงิ ถว้ ยพระราชทานเปน็ ประจำ� ทกุ ปี มปี ระชาชนมาเฝา้ ฯ รบั เสดจ็ และชมการแขง่ ขนั เรอื กอและ ดว้ ยความสนกุ สนาน ทำ� ใหเ้ กดิ ความรกั ความสามคั คี ของประชาชนในท้องถ่ิน ส่วนจังหวัดปัตตานีจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและเป็นประจ�ำปีของงานแห่เจ้าแม่ล้ิมกอเหนี่ยว โดยจัดแข่งขันเรือกอและ ในแมน่ ้ำ� ปัตตานี เพือ่ ฟืน้ ฟปู ระเพณกี ารแขง่ ขนั เรอื กอและ ทัง้ ยังเปน็ การสง่ เสริมการท่องเที่ยวอกี ด้วย เรือกอและ 172

ศลิ ปะการแสดง มรดกดา้ นศลิ ปะการแสดงท่รี จู้ กั กันอย่างแพรห่ ลาย ไดแ้ ก่ หนงั ตะลุง โนรา (มโนราห์) นอกจากน้ี ยงั มอี ีกมาก เชน่ กาหลอ (การประโคม ดนตรีของชาวใต้) เพลงบอก (การเลน่ กลอนสดของชาวใต้) รองเง็ง (ศิลปะการเต้นรำ� พ้ืนเมอื งของชาวไทยมสุ ลิม) ฯลฯ หนงั ตะลุง หนังตะลงุ เป็นมหรสพพืน้ บ้านทน่ี ยิ มแพรห่ ลายและผกู พนั กบั วถิ ีชีวิตชาวใต้มายาวนาน ต้ังแต่คร้ังอดีต เดิมนิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่างๆ ของชุมชน แต่จะไม่นิยม ในงานระดับครอบครัว เช่น งานแต่งงาน งานศพ ดังน้ันในอดีตงานวัด หรืองานเฉลิมฉลอง ส�ำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ แต่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวไม่ยึดถือเคร่งครัด เช่นแต่ก่อน นอกจากความบันเทิงแล้ว หนังตะลุงยังสะท้อนค่านิยมและโลกทัศน์ของชาวใต้ ท่ีแฝงอยู่ในเนื้อเร่ืองที่เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ด�ำเนินเร่ืองด้วยบทร้อยกรอง ทีข่ บั รอ้ งเปน็ สำ� เนียงท้องถนิ่ หรือที่เรียกกันวา่ การ “วา่ บท” มบี ทสนทนาแทรกเป็นระยะ และ ใชก้ ารแสดงเงาบนจอผ้าเปน็ สง่ิ ดึงดดู สายตาของผู้ชม การว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนงั ตะลงุ เป็นคนแสดงเองทง้ั หมด ภายในพิพิธภัณฑ์หนงั ตะลุง สชุ าติ ทรพั ยส์ ิน อำ� เภอเมอื งนครศรธี รรมราช จงั หวดั นครศรีธรรมราช ษี 173

ภายในพิพธิ ภัณฑห์ นังตะลงุ สชุ าติ ทรพั ย์สนิ อ�ำเภอเมืองนครศรธี รรมราช จงั หวัดนครศรธี รรมราช 174

หนังตะลุงมีต้นก�ำเนิดจากอินเดีย เรียกว่า “ฉายานาฏก” ซึ่งได้เข้ามาแพร่เข้าในเอเชีย ตะวนั ออกเฉยี งใตร้ วมทง้ั ประเทศไทย โดยผา่ นเขา้ มาทางมาเลเซยี และภาคใตข้ องไทย ชาวมลายู เรยี กวา่ “วายงั กเุ ลต” วายงั แปลวา่ รปู หรอื หนุ่ สว่ นกเุ ลต แปลวา่ เปลอื ก หรอื หนงั สตั ว์ วายงั กเุ ลต จึงหมายถึง รูปหรือหุ่นรูปท่ีท�ำด้วยหนังสัตว์ ปรากฏหลักฐานว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๓ พระยาพัทลุง (เผือก) ได้น�ำหนังจากเมืองพัทลุงเข้ามาเล่น ในแถวนางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร เรียกว่า “หนัง” หรือ “หนังควน” จึงเป็นเหตุให้ชาว กรงุ เทพมหานครเรยี กว่า “หนงั พัทลุง” เขา้ ใจว่าภายหลงั ไดเ้ พี้ยนเปน็ “หนงั ตะลุง” 175

176

177

178 การเชิดหนงั ตะลงุ

หนังตะลงุ คณะหนง่ึ มีตัวหนังตะลุงประมาณ ๑๒๐ - ๒๐๐ ตัว ตัวหนังที่ต้องมี ได้แก่ ษี พระอิศวร เจ้าเมือง พระ นาง ยักษ์ และตัวตลก โดยเฉพาะตัวตลกเป็นตัวประกอบส�ำคัญของหนังตะลุง ทที่ ำ� ใหค้ นดเู กดิ ความสนกุ สนาน เปน็ ผทู้ ค่ี อยชว่ ยเหลอื ตวั เอก มปี ระมาณ ๘ - ๑๕ ตวั เชน่ เทง่ หนนู ้ยุ สแี กว้ (คกู่ บั เณรพอน) ยอดทอง ขวญั เมอื ง สะหม้อ เป็นต้น ส่วนเคร่ืองดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงในอดีต ได้แก่ ปี่ กลอง ทบั ฉ่งิ และโหมง่ ปจั จุบนั มีเครอื่ งดนตรีอนื่ ๆ เข้ามา ประสม เช่น ใช้กลองชุด หรือกลองทัมบ้าของดนตรีสากล แทนกลอง ท่ใี ชก้ นั มาแตเ่ ดมิ ใชไ้ วโอลนี ออร์แกนหรือซอดว้ ง แทนปี่ หรือประสม กับปี่ เป็นตน้ นอกจากน้ี ยังมีอุปกรณ์ส�ำหรับเก็บรูปหนังตะลุงเรียกว่า “แผงรูป” ท�ำด้วยไม้ไผ่ท่ีจักสานเป็นแผงน้�ำหนักเบาจ�ำนวนคู่หนึ่ง นยิ มสานเปน็ ลายลูกแกว้ มไี ม้หนบี ๒ คู่ สำ� หรบั หนีบแผงทั้ง ๒ ขา้ งให้ ประกบรปู หนงั ตะลุงท่จี ัดเข้าแผงแล้วให้กระชับ การเชิดหนังตะลงุ ษี 179

180

โนรา หรือ มโนราห์ โนรา หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะการละเล่นอันเก่าแก่ของชาวภาคใต้ที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ชาวใต้ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ข้ึนมาเพ่ือสนอง ความต้องการของชีวิตและสังคม จึงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาช้า นานอย่างแนบแน่น สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและความเป็นไปของสังคมไว้เกือบ ทุกแงท่ กุ มมุ เพราะนอกจากโนราจะมบี ทบาทในฐานะทเี่ ปน็ ส่อื บนั เทงิ แลว้ ยังมบี ทบาทในฐานะ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมท่ีเกี่ยวกับความเช่ือของชาวบ้านอีกด้วย วิถีชีวิตของชาวใต้ในอดีต จึงมีความเกี่ยวข้องกับโนราอย่างแยกไม่ออก การแสดงโนราอาจแบ่งออกได้ ๒ ประเภท คือ โนราทีใ่ ช้การแสดง และโนราทีใ่ ชใ้ นพิธีกรรม หรอื ทเี่ รยี กว่า “โนราลงคร”ู หรอื “โนราโรงคร”ู “โนราลงครู” 181

การแสดงโนราเป็นการละเล่นที่มีท้ังการร่ายร�ำ บทร้อง ประกอบดนตรี บทเจรจา และบางทีก็มีการแสดงเร่ืองด้วย เครอื่ งดนตรขี องโนราคล้ายกบั เครอื่ งดนตรีของหนังตะลงุ คอื มที บั กลอง ป่ี โหมง่ ฉง่ิ และแตระ เครอื่ งดนตรเี หลา่ นจ้ี ะใชป้ ระกอบจงั หวะ และเสยี งร้องใหเ้ ข้ากันกับการร�ำ ก่อนออกตัวแสดงจะมีการโหมโรงและอัญเชิญ เริ่ม การแสดงด้วยการโหมโรงและอัญเชิญ หรือ “กาศครู” ก่อนตัว แสดงจะออกมาร่ายร�ำหน้าเวที มีการกล่าวบทหน้าม่านเรียกว่า “ก�ำพรดั หนา้ ม่าน” โดยใช้ลลี ากลอนหนังตะลงุ ตอ่ จากน้ันตวั แสดง แต่ละตัวจะออกมาร่ายร�ำ เสร็จแล้วเข้าไปนั่งท่ีพนัก หรือเตียง ซ่ึงแต่เดิมท�ำด้วยไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันใช้เก้าอ้ีแทน ว่าบทร่ายแตระ แล้วท�ำบท “สีโต ผันหน้า” โดยร้องบทและตีท่าตามบทน้ัน ๆ หลังจากร�ำบทร่ายแตระเสร็จแล้ว ก็จะว่ากลอนส่ี กลอนหก กลอนแปด กล่าวกับผู้ชาย หรือว่าเรื่องอื่น ๆ โดยมีลูกคู่รับ เสร็จแล้วก็เข้าโรงร�ำเช่นน้ี หลาย ๆ ตัวแล้วจึงมีตัวพรานออกมา บอกเร่ือง ตัวพรานจะสวมหน้ากาก เรียกว่า “หัวพราน” หรือ “หน้าพราน” ซึ่งแกะจากไม้ทาสีให้มองดูตลก มีลักษณะจมูกใหญ่ แก้มป่อง ปลายจมูกและแก้มทาสีแดง โนราถือว่าหน้าพรานเป็น ส่ิงศักด์ิสิทธิ์ การละเล่นมีการเจรจาภาษาถ่ินบ้าง ภาษากลางบ้าง สลบั กบั กลอน ใชบ้ ทกลอนบรรยายเรอ่ื ง โดยตวั แสดงเปน็ ผวู้ า่ กลอน แต่หากเป็นการแข่งโนราประชันโรง ก็จะมีวิธีการซับซ้อนกว่านี้ โดยท่ัวไปมักจะแสดงในงานเทศกาลนักขัตฤกษ์ งานมงคลทั่วไป หรอื งานเฉลมิ ฉลองตา่ ง ๆ บางโอกาสกแ็ สดงตามคตคิ วามเชอ่ื ทเ่ี ปน็ พิธีกรรมเพื่อแก้บนหรือ “แก้เหฺมฺรย” ในพิธีโรงครูของครอบครัว ท่มี ีเช้อื สายตายายโนรา เครือ่ งแตง่ กายของโนราใชเ้ ครอ่ื งทรงอย่างกษตั ริย์ มเี ทริด ผ้าห้อยหน้า เจียระบาด สร้อยตาบหางหงส์ ปีกนกแอ่น ปีกเหน่ง เสื้อ ๒ ช้ัน ช้ันในเป็นผ้าธรรมดา ชั้นนอกร้อยลูกปัดคาดรอบอก รอบแขน สวมก�ำไลมือเทา้ สวมเลบ็ ปลายแหลมงอนเรยี ว การสวม เคร่ืองแต่งกายทุกคร้ังต้องเสกคาถา แป้งท่ีใช้ทาต้องเสกด้วยคาถา และลงอกั ขระ 182

กาหลอ ในอดีต กาหลอเป็นเคร่ืองประโคมส�ำคัญอย่างย่ิงของชาวภาคใต้ กล่าวได้ว่า เป็นการประโคมที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์กว่าการเล่นชนิดอ่ืน นอกจากมีความไพเราะแล้ว ยังเป็น ที่หวาดกลัวของชาวบ้านโดยท่ัวไป มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวภาคใต้โดยเฉพาะ เมืองนครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง ซ่ึงการประโคมชนิดน้ีจะจ�ำกัดอยู่เพียงงานศพ งานบวชนาค และงานขึน้ เบญจารดน�ำ้ คนเฒา่ คนแกเ่ ท่าน้นั สิ่งส�ำคัญของกาหลอ คือ ครูกาหลอและเพลงกาหลอ เพลงกาหลอทุกเพลงมีเนื้อเพลง แต่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้เป่าปี่ คือ ผู้ที่จดจ�ำสืบต่อมา เพลงกาหลอไม่นิยม น�ำมาร้อง เล่น เพราะถือเป็นสิ่งอัปมงคลแก่ชีวิต ส่วนเคร่ืองดนตรีของกาหลอคณะหน่ึงมีเพียง ๓ อย่าง รวมกันแลว้ มีท้ังหมด ๖ ช้นิ คือ ปฮี่ ้อหรอื ปหี่ อ้ ๑ เลา กลอง ๒ ใบ ไม้ตกี ลองทน ๑ อัน ฆ้อง ๒ ใบ วงกาหลอ 183

เพลงบอก เพลงบอกเป็นการละเล่นอย่างหน่ึงในเทศกาลต่าง ๆ ทั่วไปของชาวใต้ บริเวณจังหวัด ภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง ไดแ้ ก่ จงั หวดั ชมุ พร จงั หวดั สรุ าษฎร์ธานี จงั หวัดนครศรธี รรมราช จงั หวดั ตรัง และจังหวดั สงขลา อปุ กรณใ์ นการเลน่ ไดแ้ ก่ ฉ่งิ และคณะผูข้ ับรอ้ ง ชาวใต้ส่วนใหญ่เชื่อว่าเพลงบอกมาจากการบอกกล่าว เพลงบอกเป็นการละเล่น ท่ีนอกเหนือจากให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ในเร่ืองสงกรานต์ เชน่ ประวัติความเป็นมาของสงกรานต์ ช่อื ของนางสงกรานต์ และความรเู้ รือ่ งอนื่ ๆ เช่น คำ� สอน วัฒนธรรมประเพณี ลักษณะการละเล่น พอถึงปลายปี เดือนส่ี เดือนห้า เป็นช่วงเวลาท่ีชาวนา ในภาคใต้ส่วนมากเก็บเก่ียวเสร็จ พอพลบค่�ำจะตระเวนไปตามหมู่บ้านโดยมีคนในหมู่บ้าน เปน็ ผนู้ ำ� ทางและคนปลกุ เจา้ ของบา้ น เมอื่ เจา้ ของบา้ นเปดิ ประตู แมเ่ พลงจะขบั เพลงบอกขนึ้ ในทนั ที เนื้อความตอนแรกมักจะเป็นบทไหว้ส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ และกล่าวชมชาวบ้าน เจ้าบ้านมีรางวัลให้กับ คณะเพลงบอก และคณะเพลงจะตระเวนต่อไปจนเช้า เพลงบอกคณะหน่งึ ๆ มีผเู้ ลน่ ไมม่ ากนัก ไดแ้ ก่ แม่เพลง ๑ คน และลกู คอู่ ีก ๔ คน ส่วนดนตรีประกอบมีเพียงอย่างเดยี วคือ ฉงิ่ การรอ้ ง เพลงบอกใช้ภาษาถ่ินใต้ ใช้ปฏิภาณร้องไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น วิธีเล่นหรือขับเพลง ส�ำหรับ วิธีการขับเพลงบอก เมื่อแม่เพลงร้องจบวรรคแรกลูกคู่ก็รับคร้ังหนึ่งโดยรับว่า ว่าเอ้ว่าเห่ พร้อม ๆ กัน ต้องตีฉ่ิงให้เข้ากับจังหวะ ในเพลงบอกบทหนึ่ง ๆ มีจ�ำนวนวรรคอยู่ ๔ วรรค วรรคหนงึ่ ๆ มีจำ� นวนคำ� ไมแ่ น่นอน 184

รองเงง็ รองเงง็ เปน็ ศลิ ปะเตน้ รำ� พน้ื เมอื งของชาวไทยมสุ ลมิ มคี วามสวยงามทง้ั ลลี าการเคลอ่ื นไหว ของเทา้ มอื และร่างกาย รวมท้ังเคร่อื งแต่งกายอนั งดงามของนกั แสดงชายหญงิ การเต้นรองเงง็ เปน็ การเตน้ ทส่ี ภุ าพ คอื ไมม่ กี ารถกู เนอ้ื ตอ้ งตวั กนั ผชู้ ายสมคั รเตน้ มสี ทิ ธโ์ิ คง้ ผหู้ ญงิ หรอื พารท์ เนอร์ ได้ทกุ คนแต่ละคนมลี ีลาการเต้นแตกต่างกัน เครื่องแตง่ กายของผู้เตน้ รองเง็งส่วนใหญเ่ ปน็ แบบพนื้ เมือง คือ ผชู้ ายสวมหมวกไมม่ ีปกี หรือท่ีเรยี กวา่ หมวกแขก สีดำ� บางทศ่ี ีรษะสวมซะตางนั หรือโพกผ้าแบบเจ้าบ่าวมสุ ลิม นงุ่ กางเกง ขายาว ขากวา้ งคลา้ ยกางเกงจนี สวมเสอ้ื คอกลมแขนยาวผา่ ครง่ึ อกสเี ดยี วกบั กางเกง แลว้ ใชโ้ สรง่ แคบ ๆ ยาวเหนอื เข่าสวมทบั กางเกง เรยี กวา่ “ผ้าสลิ ินงั ” หรือ “ผ้าซาเลนดัง” ถ้าเปน็ เจ้านาย หรอื ผมู้ เี งนิ มกั ใชผ้ า้ ไหมยกดน้ิ ทองดนิ้ เงนิ ฐานรองลงมาใชผ้ า้ ไหมเนอื้ ดตี าโต ๆ ถดั มาใชผ้ า้ ธรรมดา ส่วนผู้หญงิ สวมเสือ้ แขนกระบอกเรียกเสอ้ื บนั ดง ลกั ษณะเส้อื แบบเขา้ รูปปดิ สะโพก ผา่ อกตลอด ตดิ กระดมุ ทองเปน็ ระยะ สเี สอื้ สดสวยและเปน็ สเี ดยี วกบั ผา้ ปาเตะ๊ ยาวอหรอื ซอแกะ๊ ซง่ึ นงุ่ กรอมเทา้ นอกจากน้ียงั มีผ้าคลุมไหล่บาง ๆ สตี ัดกับสเี ส้อื ที่สวม การเต้นรองเง็งส่วนใหญ่มีชายและหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกชายหญิง ห่าง กนั พอสมควร ใช้ลลี ามอื และลำ� ตัวเคลอ่ื นไหวไปข้างหนา้ ขา้ งหลังใหเ้ ขา้ กบั ดนตรี ความสวยงาม ความน่าดูของศิลปะรองเง็งอยู่ที่การใช้เท้าเต้นให้เข้ากับจังหวะส่วนการร่ายร�ำเป็นเพียง องคป์ ระกอบ เครอ่ื งดนตรที ใี่ ชบ้ รรเลงในการแสดงรองเงง็ ไดแ้ ก่ รำ� มะนา ฆอ้ ง ไวโอลนิ และกตี าร์ 185

อาหารพืน้ บ้าน น้ำ� พริก “น้ำ� ชบุ ” อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์น่าล้ิมลอง แต่รสชาติ มีความจัดจ้านเผ็ดร้อนกว่าอาหารภาคอ่ืนๆ เนื่องในอดีตจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลาง การเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวามาก่อนท�ำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นต�ำรับในการใช้เคร่ืองเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก ในอาหารพ้ืนบ้านภาคใต้ ดังน้ันอาหารพื้นบ้านภาคใต้จึงมีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหาร อินเดียใต้ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย ซ่ึงจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคใต้ท่ีอยู่ ตดิ ทะเลทง้ั สองดา้ นทำ� ใหภ้ าคใตม้ อี าหารทะเลอดุ มสมบรู ณ์ หาไดง้ า่ ยในทอ้ งถน่ิ และมหี ลากหลาย ชนิดท้ังกุ้ง หอย ปู และปลา แต่สภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวท�ำให้ภาคใต้มีสภาพอากาศร้อนช้ืน ฝนตกตลอดปี อาหารรสจัดจงึ ชว่ ยให้ร่างกายอบอนุ่ ปอ้ งกันการเจ็บป่วยได้อีกดว้ ย เอกลกั ษณ์อยา่ งหนง่ึ ของอาหารปักษใ์ ต้ คอื เคร่อื งจิ้ม ได้แก่ น�้ำบูดู และนำ้� พริก น้ำ� บูดู ไดม้ าจากการหมกั ปลาทะเลผสมกบั เกลอื คลา้ ยกบั นำ�้ ปลารา้ ของชาวอสี าน แตก่ ลน่ิ นำ้� บดู จู ะรนุ แรง นอ้ ยกว่า เนื่องจากน�ำ้ บูดมู รี สเค็ม ชาวใตโ้ ดยเฉพาะชาวไทยมุสลมิ นยิ มรบั ประทานน�้ำบดู ูจงึ นำ� มา ใสอ่ าหารแทนน้�ำปลา แหลง่ ทม่ี ีการท�ำน�้ำบดู ูมาก คือ จงั หวดั ยะลาและปัตตานี นอกจากนี้ น้�ำบดู ู ยงั ใชเ้ ปน็ เครอ่ื งปรงุ “ขา้ วยำ� ” อกี ดว้ ย สว่ นนำ้� พรกิ ชาวใตเ้ รยี กวา่ “นำ้� ชบุ ” อาหารพน้ื บา้ นภาคใต้ ทม่ี ชี อ่ื เสียง เชน่ แกงไตปลา แกงสม้ ออดิบ (คนู ) ข้าวยำ� ปลากระบอกต้มสม้ ฯลฯ ข้าวยำ� แกงไตปลา 186

แกงส้ม ข้าวยำ� แกงไตปลา ไตปลา หรือพงุ ปลา ได้จากการนำ� พงุ ปลา เชน่ ปลาทู มารดี เอาไสใ้ นออก ลา้ งพงุ ปลาใหส้ ะอาดแลว้ ใสเ่ กลอื หมกั ไวป้ ระมาณ ๑ เดอื น หลังจากนั้นจึงจะน�ำมาปรุงอาหารได้ แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทาน ร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคูก่ ันไปด้วย เพอ่ื ชว่ ยลดความเผ็ดร้อน แกงส้มออดิบ (คูน) มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไป ทางรสเผด็ รอ้ น เปรย้ี ว สรรพคณุ ชว่ ยในการขบั ลม ชว่ ยใหเ้ จรญิ อาหาร มะนาว และส้มแขกมีรสเปรี้ยว สรรพคุณชว่ ยแก้ไอ ขบั เสมหะและมวี ิตามนิ ซสี งู ขา้ วยำ� เป็นอาหารที่มชี อ่ื เสียง และเป็นอัตลักษณ์ของอาหารชาวใต้ อย่างหน่ึง ข้าวย�ำจะอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับน�้ำบูดูเป็นส�ำคัญ เวลาน�ำมาใส่ ขา้ วยำ� ตอ้ งเอานำ�้ บดู มู าปรงุ รสกอ่ น จะออกรสหวานเลก็ นอ้ ยแลว้ แตค่ วามชอบ ข้าวยำ� ทปี่ รงุ ส�ำเรจ็ แล้วมหี ลากหลายรสชาตดิ ว้ ยกนั ไดแ้ ก่ รสมันของมะพรา้ ว รสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบและน�้ำมะนาว รสเค็มหวานจากน้�ำบูดู รสเผ็ดของ พรกิ ปน่ ปัจจบุ ันข้าวยำ� ไดช้ อื่ ว่า เปน็ อาหารบ�ำรุงธาตุ นอกจากนี้ ชาวใตน้ ยิ ม รับประทาน “ขนมจีน” รองจากขา้ วอีกดว้ ย 187

แกงไตปลา ตม้ ไก่ขม้นิ แกงกะทิ 188

น้�ำพรกิ “นำ้� ชบุ ” พรอ้ ม “ผกั เหนาะ” 189

ชาวใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรส หวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกข้ีหนูสด พริกขี้หนูแห้ง และพริกไทย ซ่ึงชาวใต้เรียกพริกว่า “ดีปลี” ส่วน พริกไทย เรียกว่า “พรกิ ” สว่ นรสเคม็ ไดจ้ ากกะปิ เกลือ รสเปรยี้ วได้จากสม้ ชนิดตา่ ง ๆ เช่น ส้มแขก น�้ำส้มลูกโหนด ตะลิงปลิง ระก�ำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น นอกจากน้ี อาหารท้องถ่ินยังนิยมใส่ขม้ิน และ “เคย” หรอื กะปิเปน็ เคร่ืองปรุงรสอาหารอกี ด้วย สะตอผดั กะปกิ ุ้ง 190

สะตอ น้�ำพรกิ ผกั เคียง ลกู เหรียง ดังที่กล่าวในข้างต้น อาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วยเพื่อลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งชาวภาคใต้ เรยี กวา่ “ผกั เหนาะ” ส่วนบางทอ้ งทเ่ี รยี กวา่ “ผักเกรด็ ” เนอื่ งจากภาคใต้มพี ชื ผกั ชนิดตา่ ง ๆ มาก และหาไดง้ ่าย การรบั ประทานผักเหนาะกบั อาหาร ปักษใ์ ต้ ชนิดของผักจะคล้ายๆ กัน หรืออาจเป็นผกั ทผี่ ้รู ับประทานชอบก็ได้ ผักเหนาะมีผักนานาชนดิ บางอยา่ งเปน็ ผกั ชนดิ เดยี วกับภาคกลาง เช่น มะเขอื เปราะ ถั่วฝกั ยาว ถ่วั พู ฯลฯ แต่กม็ ผี กั อกี หลายอยา่ งทีร่ จู้ กั กนั เฉพาะคนภาคใต้เทา่ นั้น ผักทีม่ ีชื่อและเป็นเอกลกั ษณ์ของภาคใต้ ได้แก่ สะตอ ลูกเหรียง ลูกเนยี ง ยอดมะม่วงหมิ พานต์ สะตอ ลกั ษณะเปน็ ฝกั ยาว สเี ขียว ต้องปอกเปลอื กแล้วแกะเมด็ ออกกอ่ นรบั ประทาน อาจใช้ท้งั เม็ดหรอื นำ� มาห่ัน ปรงุ อาหารโดยใช้ผดั กับ เนื้อสัตว์หรือใส่ในแกง นอกจากนี้ ยังใช้ต้มกะทิรวมกับผักอื่น ๆ หรือใช้เผาทั้งเปลือกให้สุก แล้วแกะเม็ดออกรับประทานกับน�้ำพริก หรอื จะรบั ประทานสด ๆ โดยไมต่ อ้ งเผาก็ได้ ถ้าต้องการเกบ็ ไวน้ าน ๆ น�ำมาดองเกบ็ ไว้ ดองได้ทั้งเปน็ เม็ด และดองเป็นฝกั ลูกเหรียง ลักษณะคล้ายถ่ัวงอกหัวโต แต่หัวและหางใหญ่กว่ามาก สีเขียว ต้องแกะเปลือกซึ่งเป็นสีด�ำออกก่อนจะรับประทาน นิยมรับประทานสด ๆ หรอื น�ำไปผัดกบั เน้อื สัตว์ หรอื น�ำไปดอง รับประทานกับแกงต่าง ๆ หรือกับน้ำ� พรกิ กะปิ หรือกบั หลนก็ได้ ลูกเนียง ลักษณะกลม เปลือกแข็งสีเขียวคล�้ำเกือบด�ำ ต้องแกะเปลือกนอกแล้วรับประทานเนื้อใน ซึ่งมีเปลือกอ่อนหุ้มอยู่ เปลือกอ่อนนี้ จะลอกออกหรือไมล่ อกกไ็ ดแ้ ล้วแตค่ วามชอบ ใชร้ ับประทานสด ๆ กบั น้�ำพริกกะปิ หลนแกงเผด็ โดยเฉพาะแกงไตปลา ลูกเนยี งท่แี ก่จดั ใชท้ �ำเปน็ ของหวานได้ โดยนำ� ไปต้มใหส้ กุ แล้วใสม่ ะพร้าวทนึ ทกึ ขดู ฝอยและนำ�้ ตาลทรายคลกุ ใหเ้ ขา้ กนั 191

วัฒนธรรมประเพณี วัฒนธรรมประเพณที เ่ี ปน็ เอกลักษณ์ภมู ปิ ญั ญาของชาวใต้ เช่น ประเพณสี ารทเดอื น ๑๐ ประเพณีชกั พระ งานฮารีรายอ งานเทศกาลกนิ เจ งานเฉลิมฉลองเจา้ แมล่ มิ้ กอเหน่ียว จังหวัดปัตตานี ฯลฯ ประเพณีสารทเดอื น ๑๐ ประเพณีสารทเดือน ๑๐ เป็นการท�ำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ตามความเช่ือเร่ือง “ปุพพเปตพลี” ในพุทธศาสนา หรือท่ีเรียกว่า “ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ช่ัว” หากผใู้ ดกระทำ� ความชว่ั ไว้ เมอ่ื ตายไปจะตกนรก และเกดิ เปน็ “เปรต” เมอ่ื ถงึ วนั แรม ๑ คำ�่ เดอื น ๑๐ เปรตจะไดร้ บั การปลอ่ ยตวั ใหก้ ลบั มาพบญาตพิ นี่ อ้ งและลกู หลานในเมอื งมนษุ ย์ เพอ่ื มาขอสว่ นบญุ สว่ นกศุ ลทญี่ าตอิ ทุ ศิ ให้ หลงั จากนนั้ เมอ่ื ถงึ วนั แรม ๑๕ คำ�่ เดอื น ๑๐ จะกลบั ไปยงั เมอื งนรกดงั เดมิ “หมฺรบั ” ท่ีจัดเตรียมสำ� หรับน�ำไปถวายพระสงฆเ์ พื่ออุทศิ ส่วนกุศลแดบ่ รรพบุรษุ ในประเพณีสารทเดอื น ๑๐ 192

193

พิธีทำ� บญุ อุทิศส่วนบุญใหบ้ ุพการีและญาตผิ ูล้ ่วงลบั (ตายาย) ในงานท�ำบญุ สารทเดือน ๑๐ งานบญุ ใหญ่มี ๓ วนั คอื วันแรม ๑๓ คำ�่ เดอื น ๑๐ หรือ “วนั จ่าย” เป็นวนั เตรยี มขา้ วของเคร่ืองใช้ในการทำ� บญุ วนั แรม ๑๔ คำ�่ เดอื น ๑๐ หรอื วนั “ยกหมรฺ บั ” และถอื เปน็ วนั “ตงั้ เปรต” ดว้ ยหมรฺ บั หมายถงึ เสลย่ี งทป่ี ระกอบตกแตง่ อาหารนานาชนดิ ทจี่ ดั ใสภ่ าชนะพรอ้ มในการทจี่ ะนำ� ไป ถวายวดั เพ่อื อทุ ศิ ส่วนบุญแดบ่ รรพบุรษุ ในอดีตจะใชข้ า้ วรองกระบงุ แลว้ ใสห่ ัวหอมแดง กระเทียม จากนนั้ จึงใสอ่ าหารคาวหวาน อกี ทั้งยังมกี ารน�ำ ของใช้ในชวี ิตประจำ� วนั เช่น หมอ้ กระทะ รวมถึงสิง่ ของเครือ่ งใชอ้ นื่ ๆ เช่น ถว้ ย ชาม และน�ำ้ มันกา๊ ด หมากพูล กานพูล การบูร พมิ เสน ยาเสน้ บหุ ร่ี เปน็ ตน้ และวันแรม ๑๕ ค�่ำ เดือน ๑๐ หรอื “วนั ฉลองหมฺรบั ” หรือเป็นวนั สารท เปน็ วนั สดุ ทา้ ยของการท�ำบุญตามประเพณี มกี ารทำ� บญุ เลย้ี งพระ และทำ� พธิ บี ังสกุ ลุ กระดกู เพอ่ื อทุ ศิ ส่วนบญุ แกบ่ รรพบรุ ษุ และญาตมิ ติ รผู้ลว่ งลับ อกี ทั้งถอื เป็น “วนั สง่ เปรต” อีกดว้ ย 194

ประเพณชี ักพระ ประเพณีชักพระนี้ บางท้องถิ่นเรียกว่า “ประเพณีลากพระ” เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวใต้ ได้มีการสืบทอดกันมาต้ังแต่โบราณ ตามพุทธประวตั วิ า่ เม่ือพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ ๗ พรรษา และในพรรษาท่ี ๗ ไดเ้ สดจ็ ไปจำ� พรรษา ณ สวรรค์ชน้ั ดาวดึงส์เพื่อโปรดพระพุทธมารดา ครนั้ ออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม ๑ ค่ำ� เดือน ๑๑ ได้เสดจ็ กลบั มายงั โลกมนษุ ย์ ในการน้ี พุทธบรษิ ัท ๔ อนั ประกอบดว้ ย ภิกษุ ภิกษณุ ี อุบาสก และอบุ าสิกา ซ่งึ รอคอยพระพทุ ธองคม์ าเปน็ เวลานานถึง ๓ เดอื น ครัน้ ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสดจ็ กลบั จึงได้รับเสดจ็ และได้นำ� ภัตตาหารคาวหวาน ไปถวายดว้ ย ผไู้ ปทหี ลงั นง่ั ไกล ไมส่ ามารถเขา้ ไปถวายภตั ตาหารดว้ ยตวั เองได้ จงึ ใชใ้ บไมห้ อ่ อาหารและสง่ ผา่ นชมุ ชนตอ่ ๆ กนั ไป เพอ่ื ขอความอนเุ คราะห์ ต่อผู้นั่งใกล้ ๆ ถวายแทน งานบุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถ่ินว่า “ต้ม” เป็นขนมประจ�ำประเพณีท�ำด้วยข้าวเหนียว หอ่ ด้วยใบไม้ออ่ น ๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพรา้ ว หรอื ใบกะพอ้ เป็นต้น ประเพณชี กั พระ 195

งานฮารรี ายอ งานฮารีรายอ จัดขนึ้ ภายหลังจากการถอื ศีลอดของชาวไทยมุสลิม การถือศีลอดนี้ จะงดเว้นการบรโิ ภคอาหารทุกชนิด รวมท้ังการเสพเมถนุ ด้วย มกี ารส�ำรวมกาย วาจา จติ ใจ ทเี่ ปน็ สว่ นส�ำคัญที่ในการควบคุมการด�ำรงชวี ิต หลกั การปฏิบตั ินั้นตลอดเวลาท่ีพระอาทติ ยข์ นึ้ และพระอาทติ ยต์ ก เป็นเวลา ๓๐ วัน ในช่วงเดือน ๙ โดยการนับจากจันทรคติ และเม่ือถึงวันที่ ๑ ของเดือน ๑๐ จะเป็นวันฮารีรายอ ซึ่งถือว่าเป็นงานเฉลิมฉลอง ท่ีย่ิงใหญ่ของชาวมุสลิมงานหน่ึง เช่น ชาวมุสลิมในจังหวัดปัตตานี จะมีการแต่งกายอย่างสวยงาม และจะไปชุมนุมกันท่ีบริเวณมัสยิดกลางเพ่ือ ประกอบพิธีทางศาสนาอิสลามอย่างพรอ้ มเพรียงกัน งานเทศกาลกินเจ งานเทศกาลกินเจเป็นงานประเพณีส�ำคัญของชาวไทยเช้ือสายจีน จัดข้ึนเป็นประจ�ำทุกปี ในวันข้ึน ๑ ค่�ำ จนถึง ๙ ค�่ำ เดือน ๙ เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน เทศกาลน้ีมีกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย วัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อเป็นการอภัยทาน อันเป็นกุศโลบายการรักษาศีล เพื่อให้ระยะเวลา ๑ ปีน้ัน คนในจังหวัดและผู้ที่นับถือได้ปฏิบัติธรรมช�ำระร่างกายให้บริสุทธิ์ และน�ำส่งผลประพฤติดีน้ัน น�ำสู่ดวงวิญญาณของ บรรพบุรุษ ภาพโดยรวมกิจกรรม การแสดงออก การกินเจน้ันจะเป็นในรูปแบบท่ีชาวจีนหรือบุคคลท่ัวไปเรียกว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ จะรับประทานเฉพาะผัก ไม่มีเน้ือสัตว์เลย แต่เพื่อการชักน�ำดังกล่าวน้ัน ในปัจจุบันท้ังศาลเจ้า และผู้ขายอาหารได้น�ำผักพวกนั้นมาดัดแปลงเป็น รปู อาหารคลา้ ยเนอื้ สตั ว์ มกี ารแปรรปู อาหาร การประกอบอาหารอาศยั การเทยี บเคยี งรปู แบบเนอื้ สตั วท์ คี่ นุ้ เคย เทศกาลกนิ เจทม่ี ชี อ่ื เสยี งของภาคใต้ คอื เทศกาลกนิ เจทจี่ งั หวดั ภเู กต็ ซงึ่ ชาวภเู กต็ เรยี กวา่ “ประเพณกี นิ ผกั ” เชน่ ศาลเจา้ อำ� เภอกระทู้ จะเปน็ สถานทแ่ี ละบรเิ วณในการประกอบพธิ กี รรม ทางกลางวนั และกลางคนื ในงานมีพิธีกรรมอัญเชิญเทพเทวดาส่ิงศักด์ิสิทธ์ิ มาประทับร่างทรง และใช้อุปกรณ์การทรมานกายเพ่ือเป็นการพิสูจน์ความศักด์ิสิทธ์ิ ดว้ ยของมคี ม เชน่ มีด การลุยไฟ เป็นตน้ 196

เทศกาลกินเจ อำ� เภอหาดใหญ่ จงั หวดั สงขลา 197

198


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook