Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 2017-06-16-3-17-2455408

2017-06-16-3-17-2455408

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-10-05 21:43:21

Description: 2017-06-16-3-17-2455408

Search

Read the Text Version

11. ผู้ที่ไม่ได้รับการประเมินและตรวจร่างกายอย่างละเอียด บางโรคอาจยังไม่แสดง อาการ ผู้ป่วยเองกไ็ มร่ ูต้ ัว หลายกรณีอาจตรวจพบได้กอ่ นนวด จงึ นวดอยา่ งระมดั ระวังได้ 12. ผู้นวดทป่ี ระสบการณน์ ้อย ไมค่ วรท�ำการดดั กระดูกสันหลัง 6.3) ข้อหา้ ม/ ข้อควรระวังส�ำหรับการนวดไทย 1. มีไขส้ งู เกิน 38.5 องศาเซลเซียส 2. ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 3. ความดันโลหิตสูงเกิน 160/100 มิลลิเมตรปรอท และมีอาการหน้ามืด ใจส่ัน ปวดศีรษะ คลนื่ ไส้ อาเจยี น 4. บรเิ วณทม่ี แี ผลเปดิ แผลเรอ้ื รงั หรือเป็นโรคผวิ หนังที่ติดต่อได้ 5. บริเวณท่มี กี ารบาดเจบ็ ภายใน 48 ช่วั โมง 6. บรเิ วณทผ่ี ่าตัดภายในระยะเวลา 1 เดือน 7. บรเิ วณทมี่ หี ลอดเลอื ดดำ� อักเสบ 8. โรคติดเช้อื เฉยี บพลนั 9. โรคหรอื อาการเกีย่ วกบั กระดกู เช่น กระดูกเปราะบาง กระดูกพรนุ รนุ แรง เน้อื งอก ทก่ี ระดกู หรือไขสันหลงั บรเิ วณทม่ี ีกระดูกแตก หกั ร้าวที่ยังไมต่ ดิ ดี 10. สตรมี ีครรภ์ 11. ผสู้ ูงอายุ เดก็ 12. โรคหลอดเลือด เชน่ หลอดเลอื ดแดงโป่ง หลอดเลอื ดอกั เสบ หลอดเลือดแข็ง 13. เบาหวาน 14. กระดกู พรนุ 15. เลือดแข็งตวั ผดิ ปกติ มปี ระวัติเลอื ดออกผดิ ปกติ กินยาละลายลมิ่ เลือด 16. ข้อหลวม ขอ้ เคลอื่ น ข้อหลดุ 17. บรเิ วณท่มี ีการผ่าตัด ใส่เหลก็ หรอื ข้อเทียม 18. บริเวณทแี่ ผลยังไมห่ ายสนทิ 19. ผิวแตกงา่ ย 20. บรเิ วณทป่ี ลูกถา่ ยผิวหนัง 94 เอกสารความรู้ ผูด้ ำ�เนนิ การสปาเพ่อื สขุ ภาพ

6.4) อาการไม่พึงประสงค์หลังนวด (Atchision J. W., et al., 1996) อาการไม่พึงประสงค์ภายหลังนวด อาจมีสาเหตุจากท้ังผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เช่น อาจไม่มีการซักประวัติผู้รับบริการ หรือผู้ให้บริการขาดความช�ำนาญ ไม่ได้ฝึกฝนวิธีการนวด ทถี่ ูกต้อง ในขณะนวดใช้นำ้� หนกั มากเกนิ ไป ส�ำหรับสาเหตุจากผู้รับบริการ อาจเนื่องจากการท่ีผู้รับบริการมีความวิตกกังวล เช่น เปน็ การนวดครงั้ แรก ไมท่ ราบรายละเอียดข้ันตอนการนวด อาการไม่พึง่ ประสงคแ์ บ่งเปน็ 2 ระดบั ดงั น้ี 1. ระดับไม่รนุ แรง อาการระดบั นี้อาจหายได้เองใน 2 – 3 วนั สามารถดแู ลตัวเองทีบ่ ้านได้ ได้แก่ การถกู กระตนุ้ ระบบประสาทอตั โนมตั มิ ากเกนิ ไป เมอ่ื นวดบรเิ วณแนวกระดกู สนั หลงั อาจมีอาการความดันต�่ำ ขนลุก เหง่ือแตก ซึ่งถ้าเป็นบริเวณคอก็อาจมีอาการมึนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ถา้ เป็นบรเิ วณเอวประจำ� เดือนกอ็ าจเกดิ ผิดปกติ อาการระบมหรือรู้สึกไม่สบายตามร่างกาย (Haldeman S., 1993) กล้ามเน้ือ อกั เสบเลก็ นอ้ ยเพราะลงแรงนวดมากเกนิ ไป 2. ระดบั รนุ แรง อาการระดับน้ีเป็นเหตุให้ผู้รับบริการเกิดความเจ็บป่วยถึงข้ันต้องรักษาทางการแพทย์ มีรายงานถงึ ความพกิ ารจนถึงเสียชวี ิต แม้วา่ จะเกิดนอ้ ยเพียง 1 ใน 1 - 1.5 ล้านคน (Powell F. C., 1992) ส่วนมากเกิดจากการดัดกระดูกสันหลังร่วมด้วย ผลแทรกซ้อนดังกล่าว ได้แก่ อัมพาตจาก โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาตจากการบาดเจ็บไขสันหลัง รากประสาทไขสันหลังส่วนล่างบาดเจ็บ หัวใจลม้ เหลว หรือแมแ้ ตเ่ สยี ชวี ิตกเ็ คยมรี ายงานในตา่ งประเทศ (Crue B. L., 1957) ซง่ึ มักเกิดจาก เทคนิคไมถ่ ูกต้อง หรอื วนิ จิ ฉยั ผิด กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 95

2. การใช้น�ำ้ เพอื่ สุขภาพ การใช้น�้ำเพื่อสุขภาพในสถานประกอบการสปา เร่ิมต้ังแต่ผู้รับบริการเข้ามาในสถานท่ี จากการบรกิ ารเครือ่ งด่ืมทจี่ ดั ไวต้ ้อนรับ ผ้าเย็นหรอื ผา้ อุน่ การอาบ แช่ การอบไอน้ำ� รวมถึงวิธีการ ตา่ งๆ หลากหลาย แสดงวา่ นำ�้ ไมว่ า่ จะอยใู่ นสถานะของเหลว ของแขง็ หรอื ไอนำ�้ มผี ลดตี อ่ รา่ งกาย อยา่ งแทจ้ ริง ซึ่งผูใ้ ห้บริการตอ้ งมอี งค์ความรู้วิธีการบรกิ ารอย่างถูกต้อง 2.1 ความรูพ้ นื้ ฐานของน�้ำและสุขภาพ น้�ำเป็นองค์ประกอบท่ีส�ำคัญยิ่งของทุกชีวิต ร่างกายคนเรามีน�้ำเป็นส่วนประกอบ มากกว่าร้อยละ 75 กระจายอยู่ภายในเซลและระหว่างเซล เน้ือเย่ือและอวัยวะท่ัวร่างกาย โมเลกุล ของสารตา่ งๆ ในร่างกาย มรี ปู ร่างลักษณะและทำ� งานภายใต้อิทธพิ ลของนำ้� ทห่ี ้อมลอ้ มอยู่ ปฏกิ ริ ยิ า ทง้ั หลายในรา่ งกายต้องเกิดข้นึ ในนำ้� และตอ้ งอาศัยนำ�้ ส�ำหรับการขนส่งอาหารหรอื ของเสียต่างๆ สมดุลของน้ำ� ภายในรา่ งกาย ร่างกายสูญเสียน�้ำส่วนหน่ึงออกไปทุกวัน สูญเสียทางปัสสาวะวันละประมาณ 1.5 ลิตร สูญเสียทางผิวหนังเป็นเหง่ืออีกประมาณวันละ 480 ลบ.ซม. ทางลมหายใจ 240 ลบ.ซม. และสูญ เสียไปพร้อมกับอุจจาระวันละ 60 ลบ.ซม. ดังน้ันร่างกายจึงสูญเสียน้�ำไปรวมทั้งส้ินวันละประมาณ 2,400 ลบ.ซม. และจำ� เป็นตอ้ งได้รบั นำ�้ เขา้ ไปทดแทนในปริมาณท่ีเทา่ กัน กจิ กรรมในชีวิตประจำ� วนั ความเจบ็ ป่วย ตลอดจนอุณหภูมิและความชนื้ ของสงิ่ แวดล้อม มีผลต่อปริมาณน้�ำ หากเปน็ ไข้ หรอื อากาศร้อนและช้ืนมาก ร่างกายจะสญู เสยี น�ำ้ มากขนึ้ รา่ งกายไดร้ บั นำ้� จากอาหารและกระบวนการยอ่ ยสลายประมาณครงึ่ หนง่ึ ของนำ�้ ทส่ี ญู เสยี ไปในแตล่ ะวัน และเราตอ้ งดืม่ น้�ำเพม่ิ อกี ครึง่ หนงึ่ หรอื วันละ 1,200 ลบ.ซม.เพ่ือให้เกิดสมดลุ อย่างไร ก็ดเี ราควรดื่มน�ำ้ มากกว่านเี้ พือ่ ป้องกันการขาดนำ้� การด่ืมน้�ำมากไมเ่ ปน็ อนั ตราย เนือ่ งจากรา่ งกาย ขบั ส่วนเกนิ ออกทางไตได้โดยงา่ ย หากไมไ่ ดป้ ว่ ยเป็นโรคหัวใจ หรอื โรคไต การทำ� งานทกุ อยา่ งของรา่ งกายตอ้ งอาศยั นำ้� อยา่ งเพยี งพอ นำ้� เปน็ สว่ นประกอบภายใน เซลลแ์ ละหมุ้ อยโู่ ดยรอบเซลล์ สดั สว่ นทเ่ี หมาะสมของนำ�้ ภายในและภายนอกเซลล์ สำ� คญั มากตอ่ การ ท�ำงานของเยื่อหุ้มเซลล์ซ่ึงมีหน้าท่ีควบคุมการดูดซึม แลกเปลี่ยนน�้ำและสารต่างๆ อย่างเหมาะสม เนื้อเยื่อในอวัยวะทุกชนิดต้องท�ำงานในสภาพแวดล้อมท่ีเป็นของเหลว ตราบใดที่เราด่ืมน�้ำ อยา่ งเพยี งพอ ทกุ สว่ นของรา่ งกายจะสามารถทำ� งานไดด้ ว้ ยประสทิ ธผิ ลสงู สดุ หากดม่ื นำ้� ไมเ่ พยี งพอ 96 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนินการสปาเพ่อื สุขภาพ

ก็จะเกิดภาวะ ‘ร่างกายแล้งน�้ำ’ อวัยวะทุกระบบจะไม่สามารถท�ำงานได้เป็นปกติ แต่ร่างกายจะ มีกลไกท่ีลดความเสียหาย จะสงวนน้�ำไว้ใช้ส�ำหรับเนื้อเยื่อและอวัยวะท่ีมีความส�ำคัญย่ิงยวดต่อ การดำ� รงชีวิตเทา่ น้นั และปลอ่ ยใหเ้ นอ้ื เยอื่ ทไ่ี ม่ส�ำคัญขาดแคลนน�ำ้ ไป ภาวะขาดน้ำ� ในรา่ งกาย น�้ำเป็นตัวควบคุมการทำ� งานของร่างกาย เมอื่ รา่ งกายขาดนำ�้ จะแสดงอาการตา่ งๆ เชน่ อ่อนเพลีย หงุดหงิด หรือเศร้าหมอง รวมท้ังรู้สึกอยากด่ืมเคร่ืองดื่ม กาแฟ ชา หรือน้�ำอัดลม หรือ เคร่ืองดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อร่างกายขาดน้�ำเร้ือรังเป็นเวลานาน จะเกิดความผิดปกติของสุขภาพได้ หลายอย่าง เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ กระเพาะอาหารอักเสบ ความดันโลหิตสูง จุกเสียด ปวดตามข้อ อ่อนเพลียเรื้อรัง คนเราควรด่ืมน�้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันปัญหาจากการขาดน�้ำ ความรู้สึกคอแห้ง กระหายนำ้� แสดงวา่ รา่ งกายขาดนำ�้ คอ่ นขา้ งมากแลว้ จงึ ควรจบิ นำ�้ เสมอๆ ไมร่ อจนรสู้ กึ กระหายนำ้� วธิ ดี วู า่ รา่ งกายไดร้ บั นำ�้ เพยี งพอหรอื ไมค่ อื ดสู นี ำ�้ ปสั สาวะ หากรา่ งกายไดร้ บั นำ้� เพยี งพอ ปสั สาวะจะใสหรอื มสี เี หลอื งจางๆ เครอื่ งดม่ื ประเภทชา กาแฟ นำ้� อดั ลม และแอลกอฮอล์ มฤี ทธเ์ิ รง่ ให้ ไตขับปสั สาวะมากขึ้น ดงั นนั้ การดื่มเครอ่ื งดมื่ เหลา่ นี้ นอกจากจะไมช่ ว่ ยใหร้ ่างกายได้รบั น้�ำมากข้นึ แล้ว ยังกลับซ�้ำเติมให้ร่างกายขาดน�้ำมากขึ้น การดื่มน้�ำเปล่าหรือน�้ำผักผลไม้ ช่วยให้ร่างกายมีน้�ำ อยา่ งเพยี งพอได้ดที ่สี ดุ การใชน้ ำ�้ ภายนอกร่างกาย นอกจากต้องดื่มนำ�้ เพ่ือให้การท�ำงานของเซลลแ์ ละอวัยวะต่างๆเปน็ ปกตแิ ลว้ ยังจ�ำเปน็ ต้องใช้น�้ำภายนอกร่างกายเพ่ือบ�ำรุงสุขภาพด้วย กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันใช้น้�ำประมาณ วันละ 200 ลิตร ส�ำหรับท�ำความสะอาดร่างกาย และช�ำระล้างสิ่งต่างๆท้ังในบ้านและนอกบ้าน การอาบน�ำ้ ฝักบัวหนง่ึ ครั้งจะใช้น้�ำประมาณ 20 ลิตร สว่ นการแชต่ ัวในอ่างจะใชน้ ้ำ� ถงึ 110 ลติ ร การอาบน้�ำบ่อยๆมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะร่างกายก�ำจัดพิษออกทางต่อมเหง่ือท่ี ผิวหนัง โลหะหนกั เชน่ สารตะกัว่ ถูกขบั ออกจากรา่ งกายด้วยวิธนี ี้ แมก้ ารขบั เหง่ือจะเกดิ ขน้ึ อยู่ตลอด เวลา แต่เราจะรู้สึกเมื่ออากาศร้อนหรือมีกิจกรรมทางกายมาก และอาจถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย ทางผวิ หนงั หากไมอ่ าบน�ำ้ หรอื ใสเ่ สอ้ื ผา้ ท่ใี ชแ้ ลว้ และไมไ่ ดซ้ กั การใช้น้ำ� ทำ� ความสะอาดบา้ นจะช่วย ลดปรมิ าณจลุ นิ ทรีย์ ท�ำใหอ้ ากาศบรสิ ุทธ์ิ ปอ้ งกนั โรค ร่างกายสดช่นื และมีสุขภาพดี ปริมาณไอน�้ำ หรือความช้ืนในอากาศมีผลต่อสุขภาพร่างกาย อากาศแห้งจัดจะมีประจุไฟฟ้าลบน้อย ซ่ึงมีผู้ศึกษา พบว่าท�ำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้าและเจ็บป่วยง่าย บริเวณที่มีน้�ำพุ น้�ำตก บ่อน้�ำ หรือล�ำธาร จะมี ปรมิ าณไอน�ำ้ และประจไุ ฟฟ้าลบมาก ทำ� ให้บรรยากาศสดชน่ื อารมณ์แจม่ ใส กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 97

คณุ สมบัติทางกายภาพของน�ำ้ น้�ำจัดเป็นของไหลนอกเหนือจากลม มีคุณสมบัติทางกายภาพหลายประการที่น�ำมาใช้ ประโยชน์ส�ำหรับสุขภาพได้ โดยเฉพาะกิจกรรมทเ่ี ก่ยี วข้องกบั น�ำ้ เช่น อาบแช่ วา่ ยนำ้� หรอื บริหาร รา่ งกายในน�ำ้ คุณสมบัตเิ หลา่ นี้ได้แก่ 1) แรงดนั นำ้� บรเิ วณผวิ นำ�้ มแี รงดนั เทา่ กบั แรงดนั บรรยากาศปกติ ทร่ี ะดบั ลกึ ลงไปใต้ ผวิ นำ้� จะมแี รงดนั นำ�้ กระจายออกไปในทกุ ทศิ ทาง ยงิ่ ลกึ มากแรงดนั จะมากขน้ึ ขณะแชอ่ ยใู่ นนำ�้ ระดบั อก แรงดันน้�ำกระท�ำรอบอก จึงท�ำให้ต้องออกแรงหายใจแรงขึ้น หากไม่คุ้นจะรู้สึกอึดอัด เป็นการช่วย บรหิ ารกล้ามเนอ้ื หัวใจใหแ้ ขง็ แรง นอกจากนีย้ ังชว่ ยให้เลือดและน�้ำเหลืองไหลเวยี นไดส้ ะดวกข้นึ 2) แรงพยงุ ลอยตวั ขณะวตั ถอุ ยใู่ นนำ้� จะมแี รงพยงุ ลอยตวั กระทำ� ตอ่ วตั ถนุ นั้ ในแนวตงั้ วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน�้ำจะลอยน้�ำ วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้�ำจะจมน�้ำ ร่างกาย ปกตมิ คี วามหนาแนน่ เฉล่ีย 0.974 ดงั นัน้ เม่อื แชอ่ ย่ใู นน�้ำทัง้ ตวั จะลอยปรม่ิ น้�ำ แรงพยุงลอยตัวท�ำให้ น�้ำหนักตัวท่ีแช่น้�ำลดลง คุณสมบัตินี้มีประโยชน์ส�ำหรับผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น อ้วน น้�ำหนักตัวมาก มีปัญหาเรื่องกระดูกและข้อ หรือผู้ป่วยอัมพาต เพราะขณะอยู่ในน้�ำตัวจะเบา สามารถเคลื่อนไหวออกกำ� ลงั หรอื บริหารร่างกายได้งา่ ยกว่าบนบก และมคี วามปลอดภัยมากกวา่ 3) แรงต้านทานวัตถุต่างๆ จะเคล่ือนท่ีในน�้ำได้ยากกว่าในอากาศ เนื่องจากน้�ำมี ความหนาแน่นมากกว่าอากาศ เกิดแรงต้านทานต่อการเคล่ือนไหวได้มากกว่า ขณะแช่อยู่ในน้�ำจะ เคลอื่ นไหวไดช้ า้ การออกกำ� ลงั กายในนำ�้ ทมี่ แี รงตา้ นทานมปี ระโยชนใ์ นการสรา้ งกลา้ มเนอ้ื ทแี่ ขง็ แรง ผลทางสรรี วิทยาของนำ้� สรีรวิทยา คือการศึกษาเก่ียวกับการท�ำงานของระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น การหายใจ การไหลเวียนเลือด และอื่นๆ ขณะอาบน้�ำหรือลงไปอยู่ในสภาพแวดล้อมท่ีเป็นน�้ำ ระบบต่างๆ ของร่างกายจะเปลี่ยนแปลง ซ่ึงท�ำให้เกิดผลดี สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้บ�ำบัดรักษา การศึกษาเรื่องวารบี ำ� บัดจงึ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจประโยชน์และอันตรายของการใชน้ ำ�้ เพ่ือสขุ ภาพได้ดีข้นึ 1) สรรี วทิ ยาของการควบคุมอณุ หภมู ิรา่ งกาย ในศตวรรษท่ี 19 มกี ารศกึ ษาผลทางสรรี วทิ ยาของการถา่ ยเทความรอ้ นจากนำ้� สรู่ า่ งกาย และน�ำวิธีการใช้น�้ำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับความร้อนเพื่อการบ�ำบัดรักษาและฟื้นฟูโรคหลายชนิด นอกจากประโยชน์ตามหลกั การแพทย์แผนปจั จบุ นั แล้ว ความรเู้ หลา่ นี้ชว่ ยอธิบายใหเ้ ข้าใจสรรพคณุ ต่างๆของวารีบ�ำบัดและการแพทยพ์ ืน้ บ้าน ซ่ึงใชค้ วามร้อนรว่ มกับน�้ำในการรักษาโรคต่างๆ 98 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนินการสปาเพอื่ สขุ ภาพ

มนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นต้องควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา โดยมีศูนย์ ควบคุมอยู่ท่ีสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซ่ึงจะควบคุมอุณหภูมิร่างกายอยู่ท่ี 37 องศาเซลเซียสหรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ หากอณุ หภมู ิรา่ งกายสูงหรอื ต่�ำกว่านีร้ ะบบต่างๆ อาจท�ำงานผิดปกติ เป็นอนั ตรายถงึ ชีวิตได้ ร่างกายปกติจะมีความร้อนเกิดข้ึนมากและต้องระบายออกเพื่อป้องกันมิให้อุณหภูมิสูง เกินไป ร่างกายก�ำจัดความร้อนโดยอาศัยการพาความร้อนเป็นกลไกหลัก ความร้อนท่ีเกิดข้ึนใน ร่างกายจะถ่ายเทสู่ผิวหนังด้วยระบบไหลเวียนเลือด เพ่ือระบายออกจากร่างกายโดยการขับเหงื่อ และทางลมหายใจ หากอณุ หภมู สิ ิ่งแวดลอ้ มหนาวเย็นมาก รา่ งกายจะลดการสญู เสยี ความร้อนโดยการหด ตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนังท่ัวร่างกาย ท�ำให้มีเลือดพาความร้อนไปสู่ผิวหนังน้อย ในทางตรงกัน ขา้ มหากอากาศภายนอกรอ้ นอบอา้ ว รา่ งกายจะพยายามระบายความรอ้ นออกไปใหม้ ากขน้ึ โดยการ ขยายหลอดเลอื ดที่ผวิ หนังและมกี ารสรา้ งเหง่ือมากขึ้นเพื่อควบคมุ อุณหภูมิร่างกายให้เปน็ ปกติ 2) การเปลีย่ นแปลงทางสรีรวิทยาขณะอาบแชน่ �้ำรอ้ นและน�ำ้ เย็น ขณะลงไปอาบแช่อยู่ในน้�ำร้อนหรือน�้ำเย็น ร่างกายยังจ�ำเป็นต้องควบคุมให้อุณหภูมิ ภายในคงที่เสมอ หากน้�ำมีอุณหภมู พิ อดีคอื ระหวา่ ง 33-35 องศาเซลเซยี ส จะเกดิ ความสมดลุ ของ การถา่ ยเทความรอ้ นระหวา่ งรา่ งกายกบั นำ้� คอื รา่ งกายไมไ่ ดร้ บั หรอื สญู เสยี ความรอ้ นจากนำ�้ แตห่ าก น้�ำมีอุณหภูมิเย็นกว่านี้จะเกิดการสูญเสียความร้อนจากร่างกายรวดเร็ว และร่างกายต้องพยายาม สงวนความรอ้ นไวโ้ ดยควบคมุ ให้หลอดเลอื ดตามผวิ หนงั หดตัวเล็กลง เลือดไปเลย้ี งนอ้ ย การหดตวั ของหลอดเลือดทั่วร่างกายขณะแช่น�้ำเย็นนี้ นอกจากจะท�ำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนน้อยลงแล้ว ยังมีผลท�ำให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้นและท�ำให้อัตราชีพจรช้าลงด้วย หากแช่น�้ำเย็นจัดมาก ร่างกายจะสูญเสียความร้อนมากขึ้น กล้ามเนื้อจะกระตุ้นเพ่ือสร้างความร้อนมาทดแทนเพื่อรักษา อณุ หภมู ิภายในไวไ้ ม่ให้ต่ำ� กวา่ 37 องศาเซลเซยี ส ในทางตรงกันข้าม เม่ืออาบแช่น้�ำอุ่นที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ร่างกายจะ ระบายความรอ้ นออกไดย้ ากข้นึ เมื่อแชใ่ นนำ�้ อนุ่ 36 - 37 องศาเซลเซียส เส้นเลือดบรเิ วณผวิ หนัง จะขยายตัวเพื่อระบายความร้อนออกให้ได้มากขึ้น การขยายตัวของหลอดเลือดตามผิวหนังนี้มีผล ท�ำให้มีเลือดค่ังอยู่ตามผิวหนังมาก เลือดไหลกลับสู่หัวใจน้อยลง หัวใจต้องเต้นเร็วข้ึนและมีเลือด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆน้อยลง สมองและอวัยวะภายในร่างกายจะได้รับเลือดและออกซิเจนน้อยลง ระบบประสาทควบคมุ การเคลอื่ นไหวลดลง อาจท�ำใหเ้ ปน็ ลมเพราะสมองได้รับเลอื ดไมพ่ อเพยี งได้ กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 99

ดังกล่าวข้างต้น มนุษย์ใช้น�้ำน�ำความร้อนและความเย็นให้แก่ร่างกายเพ่ือการบ�ำบัด รักษาด้วยหลากหลายวิธี คุณสมบตั ิของน�้ำรอ้ นสามารถชว่ ยลดอาการเจ็บปวด กระตุน้ การขับเหงื่อ การไหลเวียนเลือด ลดอาการกล้ามเน้ือเกร็ง อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ ลดการคั่งของเลือดใน ทรวงอก และไซนัส ในทางตรงกันข้าม คุณสมบัติของน�้ำเย็นก็สามารถใช้ระบายความร้อนให้ รา่ งกายเพอื่ ประโยชน์ดา้ นสขุ ภาพ เช่น การประคบเยน็ เพื่อห้ามเลอื ด การเชด็ ตัวเพ่ือลดอาการไข้ การอาบแช่น�้ำเย็นเพื่อกระตุ้นระบบประสาท สามารถบรรเทาอาการปวดหลัง การบาดเจ็บ เพราะทำ� ใหผ้ วิ หนงั ชา รสู้ กึ เจบ็ นอ้ ยลง ลดอาการเลอื ดคง่ั ปอ้ งกนั การบวมหลงั อาการเคลด็ หรอื ฟกชำ�้ การอักเสบ และการปวดขอ้ 3) ปฏกิ ิรยิ าตอบสนองเม่อื ใบหนา้ สมั ผัสน้�ำ เม่ือสัตว์ท่ีมีกระดูกสันหลังด�ำน�้ำหรือโดนน้�ำสัมผัสใบหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยาเป็นล�ำดับต่อเนื่อง คือ กลั้นหายใจ หัวใจจะเต้นช้าลง อัตราชีพจรลดต�่ำ เลือดแดงจาก หัวใจไปเล้ียงสมองและไขสันหลังมากข้ึน ในขณะที่มีเลือดไปเล้ียงอวัยวะท่ีทนต่อการขาดออกซิเจน ได้นาน เช่น กล้ามเน้ือผิวหนังและล�ำไส้ จากการทดลองในคนพบว่า บริเวณหน้าผากระหว่างค้ิว ท้ังสองข้างจะไวต่อการกระตุ้นด้วยน้�ำมากกว่าท่ีอ่ืนๆ ยิ่งน้�ำเย็นมากเท่าใดปฏิกิริยาก็ยิ่งมากขึ้น เท่านั้น จากข้างต้น การล้างหน้าด้วยน้�ำเย็นก็ดีหรือการประพรมน้�ำท่ีบริเวณใบหน้า จะช่วยให้ มเี ลือดและออกซเิ จนไปเลย้ี งสมองมากขน้ึ ทำ� ใหร้ ู้สกึ สดช่นื แจ่มใส การเปลี่ยนแปลงทางสรรี วทิ ยาขณะแชน่ ้�ำ เม่ืออาบแช่น�้ำในอ่างน�้ำหรือลอยคอในน�้ำ การท�ำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย จะมกี ารเปลี่ยนแปลงหลายระบบ ซึง่ นำ� มาประยุกตใ์ ชส้ �ำหรับวารีบำ� บัดได้ ท่สี ำ� คญั มดี งั นี้ 1) ระบบไหลเวียนเลือด เกิดการเปลี่ยนแปลงมากท่ีสุดขณะร่างกายแช่อยู่ในน�้ำ ระบบ ไหลเวียนเลือดจะท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แรงพยุงของน�้ำและแรงดันน้�ำจะช่วยให้เลือด ด�ำไหลจากแขนขาและอวัยวะต่างๆกลับสู่ทรวงอกได้สะดวก เพราะแรงดึงดูดของโลกลดลง มีเลือด กลับสู่หัวใจมากข้ึน และสามารถบีบตัวส่งเลือดไปเล้ียงร่างกาย หัวใจจะสูบฉีดเลือดแดงไปเล้ียง อวัยวะต่างๆเพ่ิมข้ึนจากปกติถึงร้อยละ 30 หัวใจไม่ต้องท�ำงานหนักและชีพจรช้ากว่าบนบก ความ ดันโลหติ ขณะแช่น�ำ้ ก็จะต่ำ� กว่าเล็กน้อยด้วยเช่นกนั 100 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนินการสปาเพ่อื สุขภาพ

2) ระบบหายใจ ขณะแชน่ ำ�้ แรงดนั นำ�้ บบี ใหท้ รวงอกเลก็ ลงและตอ้ งออกแรงสดู ลมหายใจ เข้ามากขึน้ เปน็ การบรหิ ารกล้ามเนือ้ หายใจให้แขง็ แรง แรงดนั ของน�ำ้ ท�ำใหอ้ อกซเิ จนและก๊าซตา่ งๆ ที่ละลายอยใู่ นเลือดกระจายไปสูเ่ นื้อเยื่อตา่ งๆได้ดีขึ้น 3) ระบบกลา้ มเนอื้ กระดกู และขอ้ ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากแรงพยงุ ของนำ�้ ทำ� ใหน้ ำ้� หนกั ตวั ลดลง ขณะแชน่ ำ�้ การยนื แชใ่ นนำ้� ระดบั คอ นำ�้ หนกั ตวั จะลดเหลอื เพยี งรอ้ ยละ 10 และการยนื แชใ่ นนำ�้ ระดบั ทรวงอกท�ำให้นำ้� หนักตวั เหลอื เพยี งร้อยละ 30 ลกั ษณะดงั กล่าวมปี ระโยชน์ ทำ� ใหก้ ระดกู และขอ้ ตอ่ ไม่ต้องแบกรบั น้�ำหนักมาก เคลือ่ นไหวไดง้ ่าย การออกกำ� ลงั กายในนำ้� มีประโยชน์ส�ำหรบั ผมู้ ปี ัญหา โรคอว้ น โรคขอ้ กระดูก หรืออาการบาดเจ็บซ่งึ เปน็ อุปสรรคต่อการออกกำ� ลังกายบนบก 4) ระบบต่อมไร้ท่อ ระหว่างแช่น้�ำจะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย หลายชนิด ทำ� ให้มีการขับปัสสาวะมากกวา่ ปกติและมีการขับเกลือโซเดยี มเพิ่มมากขึ้นดว้ ย 5) ผลต่อจิตใจ การสัมผัสน�้ำทางสายตา การได้ยิน การสัมผัสที่ผิวหนัง และการพยุง ของน�้ำ ท�ำให้จิตใจรู้สกึ สดชืน่ และผอ่ นคลาย สมองโลง่ ลดความตงึ เครยี ด หลกั การท่ัวไปของการใชน้ ำ้� เพื่อสขุ ภาพ การใช้น�้ำเพื่อสุขภาพอาจจ�ำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ การใช้น�้ำในเชิงรับ (Passive use) และการใช้น�้ำในเชิงรกุ (Active use) ดังน้ี 1) การใช้น้�ำเพื่อสุขภาพในเชิงรับ เป็นการใช้น�้ำเพ่ือบ�ำบัดรักษาภายนอกร่างกาย เพื่อผลต่อสุขภาพ บริการน้�ำเพ่ือสุขภาพเชิงรับ เช่น การอาบแช่ในน้�ำแร่ น้�ำพุร้อนต่างๆ ซึ่ง ส่วนใหญ่มักเป็นแหล่งน้�ำธรรมชาติ และเป็นรูปแบบท่ีใช้มาต้ังแต่โบราณ โดยเฉพาะในประเทศท่ี อยใู่ นภูมอิ ากาศหนาวเย็น หลายวัฒนธรรม เชน่ ยุโรป จีน และญ่ีปุ่น การใช้อ่างน้ำ� วน และการใช้ กระแสน�้ำนวดก็จดั เปน็ การใชน้ �ำ้ เพื่อสุขภาพเชิงรับเช่นกนั 2) การใช้น�้ำเพ่ือสุขภาพในเชิงรุก เป็นรูปแบบการใช้น�้ำเพ่ือสุขภาพสมัยใหม่ที่ พัฒนาขึ้นมาตามค่านิยมในปัจจุบันว่า การท่ีจะมีสุขภาพดีนอกจากอาศัยการบ�ำบัดในเชิงรับแล้ว บุคคลควรลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆอันเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง เช่น การออกก�ำลัง กายและการควบคมุ ความเครยี ด ตวั อยา่ งการใชน้ ำ้� เพอ่ื สขุ ภาพในเชงิ รกุ คอื การออกกำ� ลงั กายในนำ้� ฝกึ การผอ่ นคลายและสมาธใิ นนำ้� การนวดในนำ้� และโยคะนำ�้ เปน็ ตน้ กจิ กรรมเหลา่ นอี้ าศยั คณุ สมบตั ิ ของนำ�้ ช่วยใหไ้ ดป้ ระโยชน์มากข้ึน กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 101

2.2 รูปแบบของการใช้น้ำ� เพ่ือสุขภาพ รปู แบบของการใช้นำ้� เพือ่ สขุ ภาพที่มกี ารปฏิบัตอิ ยู่ในปจั จบุ นั มดี งั นี้ 1) การแช่ตัวในอ่างน�้ำ (Baths) การแช่ตัวหรือร่างกายบางส่วนในน้�ำ เป็นประเพณี ท่ีสืบทอดกันมาต้ังแต่สมัยกรีกและโรมัน ข้อมูลระบุ ฮิปโปเครติสซ่ึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการแพทย์ ไดแ้ นะนำ� ใหใ้ ชน้ ้�ำในการบ�ำบดั รกั ษาทางการแพทย์ โดยชใี้ ห้เห็นว่าธรรมชาติมี สว่ นในการรักษาร่างกายของมนษุ ย์ การแช่ตวั ในสถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพทน่ี ยิ ม ดงั น้ี 1.1) การแชต่ วั ในนำ�้ อนุ่ (Neutral warm bath) อณุ หภมู ขิ องนำ�้ เหมาะสมประมาณ 33 - 37.8 องศาเซลเซยี ส ดว้ ยระดับนำ้� ท่วมหัวไหลข่ องผู้รบั บริการ และระยะเวลาแช่ตัวอย่างนอ้ ย 15 - 20 นาที 1. ประโยชน์ของการแชน่ ำ�้ อ่นุ • ชว่ ยใหก้ ลา้ มเนื้อผอ่ นคลาย บรรเทาอาการกล้ามเนอื้ ยึดตดิ • ชว่ ยให้หลอดเลือดขยายตัว ความดนั โลหิตลดลง • ช่วยให้เลอื ดไปเลี้ยงกล้ามเน้ือ และบริเวณผวิ หนงั ดขี ึน้ • ท�ำให้เนื้อเย่ือในร่างกายได้รับอาหารและออกซิเจนเพิ่มขึ้น อีกทั้งช่วยขับสารพิษ ออกจากรา่ งกาย • ช่วยกระต้นุ ระบบภมู คิ มุ้ กนั • ชว่ ยคลายเครียด 2. วิธกี ารให้บริการ • เตรียมพรอ้ มอา่ งน�้ำ ทั้งด้านความสะอาด ปรมิ าณ และอุณหภมู ิน้ำ� • แจ้งให้ผู้รับบริการถอดเสื้อคลุมออก และลงน่ังเอนกายในอ่าง ท่ีมีระดับน้�ำท่วม หัวไหล่ • ให้ผู้รับบริการผ่อนคลายในน�้ำประมาณ 15 - 20 นาที ข้ึนอยู่กับการตั้งอุณหภูมิ ในอา่ งนำ้� หากอณุ หภูมสิ ูง ระยะเวลาการแช่ต้องน้อยกวา่ การตั้งอณุ หภูมิต�่ำ • เม่อื ครบเวลาทีก่ ำ� หนด เตรียมเสื้อคลมุ ให้ผู้รับบรกิ ารใสห่ ลังลงแช่น�ำ้ • ใหผ้ ู้รับบริการนั่งพักและบริการนำ้� ดื่ม 102 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพื่อสุขภาพ

1.2) การแชต่ ัวในนำ�้ รอ้ น (Hot bath) อณุ หภูมทิ ีใ่ ชใ้ นการแช่ตัวประมาณ 40 องศา เซลเซียส ส่วนใหญ่คนเอเชียไม่อาจทนต่อความร้อนนี้ได้ อุณหภูมิและระยะเวลาท่ีใช้อาจปรับได้ ตามความร้สู ึก โดยผู้ให้บรกิ ารตอ้ งอยูด่ ้วยตลอดเวลา 1. ประโยชนข์ องการแชต่ วั ในน�ำ้ ร้อน • ช่วยใหผ้ ทู้ มี่ ปี ญั หาการนอนไมห่ ลับเรื้อรงั นอนหลบั ได้ง่าย • ช่วยใหผ้ อ่ นคลาย • ชว่ ยขับสารพษิ ออกจากร่างกาย • ชว่ ยกระตนุ้ ใหโ้ ลหติ ไหลเวียนดีขนึ้ • ช่วยบรรเทาอาการปวดกลา้ มเนอ้ื และข้อต่างๆ 2. ข้อควรระวังในการแช่ตวั ในน�้ำร้อน • ไม่ควรแช่นานเกินไป เพราะอาจเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมได้ และไม่ควรแนะน�ำ ผู้มภี าวะต่อไปน้ี • ผู้มปี ระวตั ิความดันโลหติ สูง • ผู้มปี ระวตั ิโรคหัวใจ • ผมู้ ปี ระวตั ลิ มชกั 3. วิธีการให้บรกิ าร • เตรียมอ่างนำ�้ ใหพ้ ร้อม ด้านความสะอาด ปรมิ าณน�้ำ และอณุ หภูมิ • แจ้งให้ผู้รับบริการถอดเส้ือคลุมออก และช่วยให้นั่งลงเอนกายในอ่างท่ีมีระดับน�้ำ ทว่ มหัวไหล่ • จัดให้ผรู้ บั บริการผอ่ นคลายในน�้ำที่ตัง้ อุณหภมู ิไวเ้ หมาะสม 15 นาที • เม่อื ครบเวลาทก่ี ำ� หนด เตรยี มเสื้อคลมุ ให้ผู้รับบริการใส่หลงั ลงแชน่ �้ำ • ใหผ้ ูร้ ับบรกิ ารนงั่ พักและบริการนำ�้ ด่มื 1.3) การแชต่ ัวในนำ�้ เย็น (Cold bath) การแชต่ ัวในนำ�้ เยน็ อุณหภมู คิ วรอยปู่ ระมาณ 12–15 องศาเซลเซียส กำ� หนดเวลาประมาณ 30 วนิ าทีก่อนเพอื่ ใหร้ ่างกายได้ปรบั ตวั กรมสนับสนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 103

1. ประโยชน์ของการแชใ่ นน้�ำเยน็ • ช่วยใหเ้ สน้ โลหิตหดตวั • ชว่ ยลดอาการอกั เสบ • ช่วยกระตนุ้ ภูมิตา้ นทานของร่างกาย • ชว่ ยรักษาอุณหภมู ิภายในร่างกาย 2. ขอ้ ควรระวงั สำ� หรับการแช่ในน�้ำเย็น ไม่ควรแนะนำ� สำ� หรบั ผ้มู ีภาวะต่อไปนี้ • ผมู้ ปี ระวัติเป็นโรคเบาหวาน • ผ้มู ปี ระวตั ไิ วต่อความเยน็ หรอื ทนความเย็นไม่ได้ • ผู้มปี ระวตั โิ รคหัวใจ • ผู้มปี ระวตั ิเปน็ โรคความดันโลหติ ต่ำ� • ผกู้ �ำลังมีประจำ� เดอื น 3. วธิ ีการให้บรกิ าร • เตรยี มอ่างนำ้� ใหพ้ ร้อม ด้านความสะอาด ปรมิ าณนำ�้ และอณุ หภมู ิ • แจ้งให้ผู้รับบริการถอดเส้ือคลุมออก และช่วยให้นั่งลงเอนกายในอ่างที่มีระดับน้�ำ ท่วมหวั ไหล่ • จัดให้ผู้รับบริการผ่อนคลายในน�้ำที่ต้ังอุณหภูมิและเวลาไว้เหมาะสม ระยะเวลา ขน้ึ อยูก่ บั การตัง้ อุณหภมู ิของอา่ งนำ�้ • เม่อื ครบเวลาท่ีก�ำหนด เตรียมเสอ้ื คลุมใหผ้ รู้ บั บรกิ ารใสห่ ลงั ลงแชน่ ้ำ� • ใหผ้ รู้ ับบรกิ ารนั่งพกั และบรกิ ารน�ำ้ ดื่ม 1.4) การแช่ตวั ในน้ำ� อนุ่ สลบั กบั การอาบนำ้� เย็น (Alternate bath) วตั ถปุ ระสงค์ หลักเพื่อกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้ท�ำงานดีข้ึน โดยผู้ให้บริการต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของอุณหภูมเิ ปน็ อย่างดี 104 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

ขอ้ ควรระวังส�ำหรบั การแช่ตวั น�ำ้ อนุ่ สลบั กับการอาบน้�ำเยน็ ไมค่ วรแนะนำ� บรกิ ารแก่ผมู้ ีภาวะต่อไปนี้ • ผ้มู ปี ระวตั โิ รคหวั ใจ • ผูม้ ปี ระวตั โิ รคความดนั โลหิตสงู • ผู้มปี ระวตั กิ ารติดเชอ้ื ทไ่ี ตและกระเพาะปัสสาวะ 2) การแช่ตัวในอ่างน้�ำวน (Whirlpool) มีการใช้อ่างน�้ำวนมานานกว่า 35 ปี ใน ประเทศสหรฐั อเมรกิ า อา่ งนำ้� วนทเี่ ปน็ ทรี่ จู้ กั อยา่ งแพรห่ ลายคอื อา่ งนำ้� วนจากซุ ซ่ี (JACUZZI) อา่ ง น�ำ้ วนประกอบด้วย 2 สว่ นทีส่ ำ� คัญคือ สว่ นหวั ฉีดทีพ่ ่นน้�ำออกมากระทบร่างกาย ช่วยกระตุน้ ระบบ ประสาทและระบบการไหลเวียนเลือด และ ส่วนท่อพ่นอากาศให้เกิดฟองอากาศ และเพิ่มปริมาณ ออกซเิ จน อณุ หภูมทิ เี่ หมาะสมสำ� หรบั อา่ งน้�ำวนคอื 30 – 38 องศาเซลเซยี ส เวลาทค่ี วรแชอ่ ่างนำ้� วน ประมาณ 15 – 45 นาทขี ้นึ อยู่กับวตั ถุประสงคข์ องการใชอ้ า่ งน้ำ� วน การเลอื กอ่าง ควรค�ำนงึ ถึงสง่ิ ส�ำคญั ดังต่อไปนี้ • ราคาเหมาะสมท่ีจะซือ้ หรอื ลงทนุ ในครั้งแรก • ขนาดเหมาะแก่การใชง้ านท่ีก�ำหนดไว้ • เลือกซ้ือจากผู้จ�ำหน่ายที่น่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในการติดตั้งและการบริการ หลงั การขายท่ดี ี • ระบบป้ัมน้�ำเงยี บและทนทาน ไม่รบกวนขณะใช้งาน • พิจารณาระบบการกรองและฆ่าเช้ือ เพราะการใช้งานไม่เหมือนกับอ่างบ�ำบัด (Hydrotherapy bath tub) อ่างน้�ำวนใช้วิธีการหมุนเวียนของน้�ำ ผ่านระบบ การกรองและฆ่าเชื้อเหมือนในสระว่ายน�้ำและสระบ�ำบัด ส่วนน�้ำท่ีใช้ในอ่างบ�ำบัด หลงั จากใช้งานแลว้ ต้องป๊มั ออกท้ิงทุกครง้ั • อ่างน�้ำวนท่ีมีระบบท�ำความร้อนที่ดี สามารถควบคุมอุณหภูมิได้และมีตัวตัดไฟ เมือ่ เกดิ เหตุฉกุ เฉนิ • พิจารณาอา่ งทม่ี ีระบบความปลอดภยั สงู สามารถหยดุ ได้ทันทเี ม่ือเกิดเหตุฉุกเฉิน กรมสนบั สนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 105

ประโยชนข์ องการใช้อ่างนำ้� วน • บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง • ผอ่ นคลายความเครยี ด • ช่วยใหน้ อนหลบั สบาย • ผู้มปี ญั หาโรคขอ้ ชว่ ยบรรเทาอาการปวด • ทำ� ให้การไหลเวียนโลหติ ดีข้ึน • มปี ระโยชน์สำ� หรบั ผูม้ ปี ัญหากล้ามเนือ้ เอน็ และขอ้ ตอ่ • ใชก้ บั ผู้ท่เี ป็นอัมพาตคร่ึงท่อน (Paraplegic) และกลา้ มเน้ือขาอ่อนแรง (Polio) • ลดอาการอกั เสบ ขอ้ ควรระวงั ในการใชอ้ า่ งน้�ำวน ไม่ควรแนะน�ำผมู้ ีภาวะตอ่ ไปน้ี • ผูม้ ีประวตั ิโรคเบาหวาน • สตรีมคี รรภ์ • ผูม้ อี าการเส้นเลือดขอด • ผไู้ วต่อความรอ้ นของน�้ำ วิธกี ารให้บริการ • เตรียมพรอ้ มอ่างน้�ำ ท้งั ด้านความสะอาด ปริมาณ และอณุ หภูมิน้�ำ • แจ้งให้ผู้รับบริการถอดเส้ือคลุมออก และลงน่ังเอนกายในอ่าง ท่ีมีระดับน้�ำท่วม หัวไหล่ • ให้ผู้รับบริการผ่อนคลายในน�้ำประมาณ 15 - 20 นาที ขึ้นอยู่กับการต้ังอุณหภูมิ ในอ่างน�้ำ หากอุณหภมู สิ ูง ระยะเวลาการแช่ต้องนอ้ ยกว่าการตงั้ อุณหภูมติ ำ�่ • เมอื่ ครบเวลาท่กี �ำหนด เตรยี มเสื้อคลมุ ใหผ้ ูร้ บั บริการใสห่ ลังลงแช่นำ้� • ใหผ้ ู้รับบรกิ ารน่งั พกั และบริการน้ำ� ดม่ื 106 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนนิ การสปาเพอื่ สขุ ภาพ

3) การฉีดพ่นด้วยน�้ำ (Douche) เป็นวิธีการบ�ำบัดด้วยน้�ำ ซึ่งผู้ให้บริการต้องผ่าน การฝึกฝนมาอย่างดี มีความรู้เก่ียวกับกายวิภาคและสรีรวิทยา โดยใช้หัวฉีดท่ีมีแรงดันน�้ำสูง ฉดี ไปตามรา่ งกาย ชว่ ยใหร้ า่ งกายผอ่ นคลาย นอนหลบั งา่ ยขนึ้ รปู แบบของการฉดี พน่ รา่ งกายดว้ ยนำ้� ทน่ี ิยมใชม้ ีดงั นี้ 3.1) Vichy shower หรือ Rain shower เป็นการบ�ำบัดด้วยน้�ำโดยให้ผู้รับบริการ นอนอยู่บนเตียงซึ่งมีราวหัวฉีดอยู่เหนือเตียงประมาณ 5 จุด หรือมากกว่า เพ่ือฉีดน�้ำลงมาด้วย ความแรงท่ีก�ำหนดตามวตั ถุประสงค์ อุณหภูมิ และทิศทาง ปกตใิ ช้นำ�้ อ่นุ เพอื่ ใหเ้ กดิ การผ่อนคลาย 1. ข้อดขี องการใช้ Vichy shower • ชว่ ยใหผ้ ่อนคลาย • ชว่ ยใหก้ ารไหลเวยี นโลหติ ดขี ้นึ • ช่วยในการบำ� บัดผมู้ ีปัญหาการเคล่อื นไหวรา่ งกาย • ด้วยแรงดนั น�้ำท่ีมีไม่มาก จงึ ใช้ชว่ ยผ้มู ีปัญหาเสน้ เลอื ดขอด ใหเ้ ลือดไหลเวยี น 2. ข้อควรระวังในการใช้ Vichy shower • ไมค่ วรใชก้ บั สตรมี คี รรภโ์ ดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรก • ไม่ควรใช้กับผู้มีปัญหาผิวหนัง เช่น ลักษณะเป็นผื่นแดง มีตุ่มพุพองตกสะเก็ด (Eczema) 3. การเตรยี มสถานท่ีสำ� หรับการบรกิ าร • พ้นื ห้องตอ้ งแห้ง กอ่ นท่ผี ูเ้ ขา้ รบั บรกิ ารจะเขา้ ไปใช้บรกิ าร • ตรวจสอบอณุ หภมู นิ �ำ้ และอุณหภูมหิ อ้ งให้เหมาะสม 4. วิธีการใหก้ ารบริการ • ช่วยผ้รู บั บริการข้ึนเตยี ง จดั ให้นอนคว่�ำ • จดั แผงก้นั หนา้ ผู้รับบริการใหเ้ รียบร้อย • เปิดเครื่อง ให้น้�ำฉีดพ่นลงมา เป็นเวลาประมาณ 10 นาที เลื่อนแผงกั้นหน้าออก ใหน้ อนหงาย ด้วยท่าสบาย เลื่อนแผงกัน้ หนา้ ไวใ้ นต�ำแหนง่ ท่ีถกู ตอ้ ง • เปดิ เครื่องฉดี พ่นน้�ำลงมาอกี ประมาณ 10 นาที • ปดิ เครอ่ื ง จัดเสอื้ คลุมและผ้าเช็ดตัวให้ผ้รู ับบริการ • ช่วยลงจากเตียงพาไปทีห่ ้องพักรบั รองพรอ้ มบริการน้ำ� ด่มื กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 107

5. การดูแลหลังการบริการ • ใหน้ อนพักประมาณ 20 นาที • ให้ด่มื นำ้� สะอาดหลายๆแกว้ • ใหใ้ ชค้ รีมหรือโลชนั่ ทาผวิ กายให้ท่ัว 3.2) Scotch hose หรือ Jet shower เป็นวิธีการบ�ำบัดด้วยน�้ำ ซ่ึงผู้ให้บริการต้อง ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี มีความรู้เรื่องกายวิภาคและสรีรวิทยา ใช้หัวเจ็ทที่มีแรงน�้ำสูง ฉีดไปตาม จุดบนร่างกายของผู้รับบริการ โดยให้ยืนห่างประมาณ 4 เมตร ปกตินิยมใช้น้�ำอุ่นเพื่อให้กระตุ้น การไหลเวียนโลหิตได้ดี แต่อาจใช้น้�ำเย็นให้บริการ หลังการออกก�ำลังกายหรือระหว่างพักการ แขง่ ขันกีฬา 1. ขอ้ ดขี องการใช้ Jet shower • กระต้นุ การทำ� งานของระบบไหลเวยี นโลหติ • กระต้นุ การทำ� งานของระบบน�ำ้ เหลอื ง 2. ข้อควรระวังการใช้ Jet shower ไมค่ วรใชก้ บั ผมู้ ภี าวะตอ่ ไปนี้ • ผมู้ ปี ระวตั ิเสน้ เลอื ดขอด โดยเฉพาะในช่วงทมี่ อี าการรนุ แรง • ผูม้ ีประวตั ิโรคหวั ใจ • ผมู้ ปี ระวตั เิ ปน็ โรคความดันโลหติ สูง • ผมู้ อี าการอกั เสบ • สตรมี คี รรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตัง้ ครรภ์ • ผมู้ ีปญั หาโรคผิวหนงั เอ็กซมิ ่า (Eczema) ในระยะรนุ แรง • ผู้มีปัญหาเกีย่ วกบั ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดระยะรุนแรง • ผู้มีประวตั โิ รคลมชกั • ผู้ทปี่ ว่ ยโรคมะเรง็ 3. การเตรยี มสถานทีก่ อ่ นใหก้ ารบริการ • พน้ื ห้องตอ้ งแหง้ ก่อนทีผ่ ู้เขา้ รบั บรกิ ารจะเข้าใช้ • ต้ังอณุ หภมู ิน้�ำที่ประมาณ 34 องศาเซลเซียล 108 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพ่ือสุขภาพ

4. วธิ กี ารให้บริการ อธิบายให้ผู้รับบริการทราบว่า น้�ำท่ีใช้นวดนั้นมีความแรงมาก ควรจับราวข้างผนังไว้ ตลอดเวลา และระยะเวลาทใ่ี ช้ในการบริการ 15 – 20 นาที 3.3) Swiss shower เปน็ วิธกี ารบำ� บดั ด้วยน้ำ� โดยมหี วั ฉีด 9 หวั หรอื มากกวา่ ฉีดนำ�้ ตัง้ แตศ่ รี ษะถึงบริเวณดา้ นขา้ งลำ� ตวั ชว่ ยให้รา่ งกายผอ่ นคลาย นอนหลับง่ายขึ้น อีกทัง้ ชว่ ยบรรเทา อาการปวดหลงั เร้ือรงั ได้ ขอ้ ควรระวังในการใช้ Swiss shower ไมค่ วรแนะน�ำผมู้ ภี าวะต่อไปน้ี • ผมู้ ปี ระวตั โิ รคหวั ใจ • ผู้มีประวตั ิเกีย่ วกับเส้นเลอื ด 4) การอบไอนำ�้ เรยี กอีกอย่างวา่ การบำ� บดั ด้วยความร้อนเปียก (Steam bath) เป็น วิธีการใช้น้�ำเพ่ือสุขภาพท่ีพบได้ทั้งในสังคมตะวันตกและตะวันออก ไอน�้ำสามารถเก็บและถ่ายเท ความร้อนให้ร่างกายได้ดีเท่าๆกับขณะอาบแช่ในน้�ำ ด้วยอุณหภูมิที่ใช้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส ความร้อนจะมีผลต่อร่างกายเช่นเดียวกับการอาบแช่ในน�้ำร้อน การสูดหายใจเอาอากาศท่ีมีไอน้�ำ อยมู่ ากเขา้ ปอดจะสง่ ผลดตี อ่ รา่ งกายและจติ ใจ การอบไอนำ�้ จงึ อาจใชร้ ว่ มกบั สมนุ ไพรหรอื นำ�้ มนั หอม ระเหยตามวิธีการบ�ำบัดรักษาโดยใช้กล่ินหรือ สุคนธบ�ำบัด (Aromatherapy) ไอน้�ำร้อนจะเป็นตัว พากลิน่ เขา้ สรู่ ่างกาย นอกจากอบท้ังรา่ งกายแล้วการบ�ำบดั ด้วยไอน้ำ� อาจใชเ้ ฉพาะทีไ่ ด้ ดังนี้ ภาพท่ี 30 บรรยากาศภายในหอ้ ง Steam bath กรมสนับสนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 109

หลักสรีรวทิ ยาของการอบไอน�ำ้ การอบไอนำ�้ มวี ตั ถปุ ระสงคเ์ บอ้ื งตน้ เพอ่ื ใหร้ า่ งกายขบั เหงอ่ื โดย 2 ปจั จยั หลกั คอื อากาศรอ้ น กับความชื้นของไอน้�ำ เนื่องจากน�้ำเป็นตัวพาความร้อนได้ดีกว่าอากาศ จึงใช้คุณสมบัติข้อน้ีมา พัฒนาเป็นหอ้ ง อบไอน�้ำ เพอื่ วัตถุประสงค์ชว่ ยขบั เหง่อื ห้องท่ีมีอุณหภูมิสูง ร่างกายจะรับรู้อุณหภูมิท่ีสูงข้ึน รับรู้อุณหภูมิได้ด้วยมวลอากาศ หรอื ไอน้�ำทม่ี ากระทบผวิ กาย ห้องทีม่ คี วามชืน้ ต�ำ่ ไอน�้ำมีน้อย รา่ งกายจะรบั รู้ความร้อนได้ชา้ ท�ำให้ อยใู่ นพนื้ ทนี่ น้ั ไดน้ าน แตห่ ากรา่ งกายรอ้ นขนึ้ เกดิ การขบั เหงอื่ เหงอื่ กจ็ ะระเหยจากผวิ กายไดส้ ะดวก เกดิ การระบายความรอ้ นไดเ้ รว็ จะรสู้ กึ สบายไมอ่ ดึ อดั กรณนี คี้ ลา้ ยกบั อากาศกลางทะเลทราย แมว้ า่ อากาศร้อนจัด แตไ่ อน้�ำมนี อ้ ย ร่างกายจะทนอยู่ในพน้ื ที่น้นั ได้นาน ในอีกสภาวะหนึ่ง ถ้าอยู่ในห้องที่มีความชื้นสูง แม้อุณหภูมิจะสูงไม่มาก แต่ไอน้�ำ จะพาความร้อนมากระทบผิวกายได้รวดเร็ว เราจะรับรู้ความร้อนได้ในเวลาไม่นาน ขณะเดียวกัน เม่ือร่างกายขับเหง่ือแต่ความชื้นในห้องสูงเหง่ือระเหยไม่สะดวก ความร้อนระบายจากร่างกายได้ ไมเ่ ตม็ ทท่ี ำ� ใหร้ สู้ กึ อดึ อดั เชน่ เดยี วกบั ความรสู้ กึ เวลาฟา้ ครมึ้ ฝน ดว้ ยเหตนุ ค้ี นเราจะอยใู่ นหอ้ งอบไอนำ้� ไมไ่ ด้นาน หากอย่นู านเกนิ ไป อาจเกิดอนั ตรายต่อเน้ือเย่อื หรือเอนไซมใ์ นเซลล์ได้ ระดับความร้อนและความชื้นสัมพัทธ์เป็นตัวก�ำหนดความรู้สึกสบาย หรืออึดอัด และ จะอยู่ในหอ้ งอบไอนำ้� แบบนน้ั ๆได้นานเพยี งใด การอบไอน้�ำแบบรัสเชียนหรือสตีมบาธ (steam bath) โดยท่ัวไปเป็นห้องที่กรุด้วย กระเบ้ืองห้องน�้ำหรือโมเสก มีระบบไอน�้ำอยู่ภายนอกห้องโดยมีช่องปล่อยไอน�้ำเข้าภายในห้อง อกี ทอดหนง่ึ การอบแบบนรี้ ะดบั ความชนื้ จะสงู มาก พาความรอ้ นสผู่ วิ กายไดร้ วดเรว็ อณุ หภมู ใิ นหอ้ ง อาจไม่ทันร้อนมาก แตจ่ ะร้สู ึกร้อนเรว็ 5) การใช้น�้ำเพ่ือสุขภาพรูปแบบอ่ืนๆ จากกระแสความนิยมในการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวม มีการน�ำหลักการและวิธีปฏิบัติของระบบการแพทย์ทางเลือกต่างๆ เข้ามาผสมผสาน ในการดแู ลรักษาสขุ ภาพ เกิดการพัฒนารปู แบบการใชน้ ำ�้ ใหม่ๆ ขึ้น เชน่ 110 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนินการสปาเพื่อสุขภาพ

วตั สุ (Watsu) เกดิ จากการรวมคำ� วา่ ชอิ ตั สุ (Shiatsu) ของญป่ี นุ่ กบั Water ชอิ ตั สุ ซง่ึ เปน็ วธิ กี ารบำ� บดั รกั ษาทางการแพทยแ์ ผนโบราณของญป่ี นุ่ โดยผใู้ หบ้ รกิ ารจะประคองตวั ผรู้ บั บรกิ าร ที่ลอยตัวในน�้ำอุ่น นวด และเคลื่อนไหว เพ่ือยืดเหยียดส่วนต่างๆของร่างกายตามหลักการปฏิบัติ ของชิอัตสุ คุณสมบัติเรื่องแรงพยุงของน้�ำช่วยท�ำให้ตัวเบาเคล่ือนไหวได้ง่าย ผู้รับบริการแบบวัตสุ จะร้สู กึ ผอ่ นคลายร่างกายและจิตใจ ไอชิ (Ai Chi) เปน็ รูปแบบทีอ่ าศัยหลักการออกกำ� ลงั กายแบบไทเก๊ก ผ้รู บั บริการยนื ในน�ำ้ ระดบั ทรวงอก และเคล่อื นไหวร่างกายในจังหวะชา้ ๆ ตามวิธีบรหิ ารร่างกายควบคู่กับการฝึก หายใจลกึ โดยใช้แรงดนั น�้ำเป็นแรงต้านการเคลื่อนไหวและต้านการหายใจ โยคะน�้ำ (Water Yoga) เป็นรูปแบบท่ีพัฒนาจากการฝึกหายใจแบบโยคะร่วมกับ การใชแ้ รงพยงุ ของน�้ำในการบรหิ ารรา่ งกายด้วยท่าทางต่างๆ ซงึ่ ท�ำไดง้ า่ ยกว่าบนบก การลอยตัวในน�้ำ (Floatation) การนอนลอยตัวในอ่างน�้ำพิเศษที่บรรจุน�้ำผสม เกลือยิปซ่ัมที่มีความถ่วงจ�ำเพาะสูงจนสามารถพยุงตัวให้ลอยน�้ำได้ โดยไม่ต้องใช้เคร่ืองช่วยพยุง การลอยตวั ในนำ้� จะทำ� ใหร้ า่ งกายรสู้ กึ ผอ่ นคลายเตม็ ทเี่ พราะแรงดงึ ดดู ของโลก กลา้ มเนอ้ื ทว่ั รา่ งกาย ผ่อนคลาย ตึงตัวน้อยลง การลอยตัวในน้�ำช่วยให้จิตใจสงบ ลดความเครียด มักใช้แสงและเสียงท่ี เหมาะสมประกอบ การออกก�ำลังกายในน้�ำ เป็นรูปแบบการใช้น้�ำเพื่อส่งเสริม บ�ำบัดรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ ในเชิงรุก ท่ีพัฒนาขึ้นภายหลังการใช้น้�ำในรูปแบบอื่นๆ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านสรีรวิทยา ในปัจจุบันการออกก�ำลังกายในน�้ำท�ำได้ท้ังในแหล่งน้�ำต่างๆ เช่น แม่น้�ำ คลอง ทะเล หรือสระว่าย นำ�้ นอกจากนน้ั ชว่ ยฟน้ื ฟโู รคขอ้ เสอื่ มและอกั เสบ เพราะเปน็ การออกกำ� ลงั โดยไมต่ อ้ งรบั นำ�้ หนกั ตวั ไรแ้ รงกระแทก มคี วามปลอดภยั มาก แรงพยงุ แรงดนั นำ้� ชว่ ยใหร้ ะบบไหลเวยี นโลหติ มปี ระสทิ ธภิ าพ สามารถประยุกต์ใชก้ บั ผรู้ บั บรกิ ารได้ทกุ เพศทกุ วัย 6) ภาวะตดิ เชอื้ จากการใชน้ ำ้� การติดเช้ือจากสระน้�ำและอ่างอาบแช่ อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พยาธิ หรือเช้ือไวรัส ผวิ หนงั หรอื สารคัดหล่ังอ่นื ๆของผรู้ บั บริการทปี่ ่วยเปน็ แหลง่ แพร่เช้ือทีส่ �ำคญั เช้อื โรคในน้�ำหรอื ตาม อปุ กรณต์ า่ งๆ ในปรมิ าณทม่ี ากพอ อาจทำ� ใหผ้ รู้ บั บรกิ ารคนตอ่ ไปตดิ เชอื้ ทผ่ี วิ หนงั ได้ โดยเฉพาะเชอ้ื โรค ประเภทไวรสั และเชอื้ ราต่างๆ เชอื้ จุลินทรยี บ์ างอย่างท่มี อี ย่ตู ามธรรมชาติ เช่น เชื้อพยาธิอมีบา และ แบคทเี รียตา่ งๆ สามารถเจริญเติบโตในน้�ำ ตามสระว่ายน�ำ้ อ่างสปาหรอื อปุ กรณ์รอบๆ เชอ้ื ไวรสั ทมี่ ี การระบาดตามสระว่ายน�้ำและสปามีหลายชนิด มักเกิดจากการใช้คลอรีนท�ำลายเชื้อจุลินทรีย์ในน�้ำ ไม่ถูกวธิ ี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 111

เชอ้ื แบคทเี รยี หลายชนดิ แพรจ่ ากการใชส้ ระนำ�้ และอา่ งอาบนำ�้ เชน่ ชกิ เกลลา่ และอโี คไล ซงึ่ พบไดบ้ อ่ ยเมอื่ ใชน้ ำ้� เพอ่ื สนั ทนาการ นอกจากนน้ั ยงั มแี บคทเี รยี ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ การตดิ เชอ้ื จากสระนำ้� และอา่ งสปาอกี หลายชนดิ เชน่ เชอ้ื ลเี จนเนลลา่ ทท่ี ำ� ใหเ้ กดิ อาการอกั เสบของเยอ่ื หมุ้ ปอด โดยเฉพาะ ในผ้สู ูงอายทุ ่สี ุขภาพไม่แขง็ แรงที่ใช้บริการสปาบอ่ ยๆ การควบคมุ เชื้อชนดิ น้ีในสปาท�ำได้ยากเพราะ ต้องใช้ระดบั คลอรนี สงู กวา่ ปกติ แบคทีเรียบางชนิดอาศัยอยู่ในสระน้�ำและอ่างน�้ำวนได้ บริเวณอ่างสปา ทางเดิน ท่ีน่ัง และบริเวณเปียกชื้น เป็นสถานที่เจริญเติบโตของเช้ือได้ดี เช้ือเหล่าน้ีอาศัยอาหารจากผิวหนังท่ีติด ลงไปในนำ�้ และเจรญิ เตบิ โตในนำ้� รอ้ นทมี่ อี ณุ หภมู สิ งู ถงึ 41 องศาเซลเซยี สได้ นอกจากนก้ี ระแสนำ้� วน ช่วยให้เช้ือได้รับอาหารและอากาศอย่างท่ัวถึง เจริญเติบโตได้ดี จึงเป็นปัญหาที่พบในอ่างน�้ำวนท่ี ท�ำให้ผู้รับบริการติดเช้ือเป็นผ่ืนและตุ่มหนองตามผิวหนังใต้เส้ือผ้า หรือเกิดอาการติดเชื้ออักเสบใน รูหู อปุ กรณเ์ ครอ่ื งใชท้ เี่ กยี่ วกบั นำ�้ เชน่ หวั ฉดี นำ้� จะตอ้ งทำ� ความสะอาดและแชน่ ำ้� ยาฆา่ เชอื้ โรคอย่างสมำ่� เสมอ นอกจากนีย้ งั ตอ้ งทำ� ความสะอาดระบบกรองและปรับอากาศในหอ้ งใหป้ ราศจาก เช้ือโรคดว้ ย แม้ในปัจจุบันยังขาดการวิจัยภาวการณ์ติดเชื้อจากวารีบ�ำบัดในรูปแบบอ่ืนๆ ท่ีไม่ใช่ การอาบแช่ในอ่างน�้ำ หรือสระว่ายน้�ำ เช่น การใช้ลูกประคบ แต่อาจคาดได้ว่าการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ขาดการดูแลรักษาความสะอาดและการฆ่าเช้ือโรคที่ถูกวิธี เช่น การใช้ลูกประคบซ�้ำๆ กัน หลายครง้ั อาจท�ำใหม้ ีการแพร่เชอ้ื โรคจากผรู้ ับบริการคนหนึ่งไปสอู่ กี คนหน่ึงได้ การใช้สมุนไพรกบั ห้องอบไอน�้ำซึ่งทิ้งไว้ข้ามคืนอาจแพร่เชื้อราหรือเช้ือโรคอ่ืนๆ ได้ สุขภาพของผู้ให้บริการวารีบ�ำบัด เองก็มีส่วนส�ำคัญในการควบคุมการแพร่เชื้อโรคและภาวะติดเชื้อ ดังน้ันผู้ให้บริการจึงต้องดูแล สุขภาพ ไมเ่ ป็นโรคติดเชือ้ หรือเป็นพาหะทน่ี ำ� เชอ้ื โรคไปสูผ่ ู้รับบรกิ ารและผใู้ ห้บรกิ าร 7) การป้องกนั อันตรายจากความรอ้ น การให้บริการวารีบ�ำบัดในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ มีการใช้ความร้อนร่วมกับ น้�ำเพ่ือการบริการ ทั้งการอาบแช่น้�ำร้อน การอบไอน้�ำ การประคบด้วยลูกประคบนึ่ง ดังนั้น ผู้ให้ บริการจึงจ�ำเป็นต้องมีความรู้เก่ียวกับอันตรายท่ีอาจเกิดขึ้นจากการใช้ความร้อน และสามารถ ป้องกันอันตรายเหล่านั้นได้ เช่น การอาบแช่น�้ำร้อนหรือการอบไอน�้ำ อันตรายท่ีต้องระมัดระวังคือ การเปล่ียนแปลงของระบบไหลเวียนเลอื ด เกดิ เลือดค่ังตามผิวหนัง ท�ำใหเ้ ลอื ดไหลกลบั สหู่ ัวใจนอ้ ย ความดนั โลหติ ลดลง เนอื้ เยอ่ื และอวยั วะตา่ งๆ จะไดร้ บั เลอื ดนอ้ ยลง หากสมองไดร้ บั เลอื ดไมเ่ พยี งพอ 112 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนนิ การสปาเพ่ือสุขภาพ

จะท�ำให้เป็นลมหมดสติและเสียชีวิตได้ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการอาบน�้ำพุร้อนในประเทศไทย หลายราย จึงควรมีความรู้และเข้าใจวิธีให้บริการท่ีถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากอาบแช่น้�ำร้อน อบไอน�ำ้ หรอื อบความรอ้ นแห้ง ดังนี้ 7.1) ไมค่ วรกำ� หนดอุณหภูมนิ ำ้� หรอื อุณหภมู ิหอ้ งไอนำ�้ สูงกวา่ 40 องศาเซลเซยี ส 7.2) ไม่ควรอาบแชน่ ้�ำร้อน หรืออบไอน้ำ� อบความร้อนแหง้ นานเกนิ กวา่ 15 นาที 7.3) ควรดื่มนำ�้ ใหเ้ พียงพอก่อนรบั บริการ เพอ่ื ป้องกันการสูญเสยี น้�ำ 7.4) ไมค่ วรดำ� น้ำ� ขณะแชอ่ าบในอา่ งน้�ำร้อน 7.5) ระมัดระวังขณะผู้รับบริการเปล่ียนอิริยาบถ เช่น จากนอนเป็นนั่งหรือลุกยืน ความดันโลหติ อาจตก เกดิ เป็นลมหน้ามืดได้งา่ ย ในการใช้น�้ำร่วมกับความร้อนเมื่อบ�ำบัดร่างกายเฉพาะส่วน เช่น การประคบ ต้อง ระวังเซลล์และเน้ือเยื่อบริเวณท่ีสัมผัสกับความร้อนตาย หากผิวหนังรับความร้อนมากเกินไป อาจพองและมีน้�ำเหลือง มีอาการเจ็บปวด ปริมาณความร้อนท่ีผิวหนังได้รับนอกจากจะขึ้นอยู่กับ อุณหภมู แิ ล้ว ยังขน้ึ กบั ระยะเวลาทีส่ ัมผัสความรอ้ นด้วย รวมท้ังปจั จัยอ่ืนๆ เชน่ ความหนาบางของ ผวิ หนัง บรเิ วณตาตุ่ม หรอื หนา้ แข้งทมี่ เี นอื้ เย่ือใตผ้ วิ หนงั นอ้ ย ความร้อนจะสะสมอย่ใู นเนอ้ื เยือ่ มาก ท�ำให้เกิดอันตรายได้ง่ายกว่าบริเวณอ่ืนที่มีเนื้อมาก การไหลเวียนเลือดบริเวณใกล้เคียงก็มีผลต่อ การระบายความร้อน ดังนั้นผู้รับบริการที่เลือดไหลเวียนไม่ดี เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคระบบประสาทที่ท�ำให้เส้นเลือดปลายมือเท้าตีบแคบ จะเกิดอันตรายจากแผลไหม้ได้ง่าย ตอ้ งระมัดระวังเปน็ พิเศษ กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 113

3. การบริการอื่นๆ อีกอย่างนอ้ ย 3 อยา่ งทีก่ �ำหนดไว้ใน สถานประกอบการสปาเพอื่ สุขภาพ พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ก�ำหนดให้กิจการสปา เพื่อสุขภาพ ได้แก่ บริการที่เก่ียวกับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบ�ำบัดด้วยน�้ำและ การนวดร่างกายเปน็ หลัก ประกอบกับบริการอ่นื ตามทีก่ �ำหนดในกฎกระทรวงอกี อยา่ งนอ้ ย 3 อย่าง ดังน้ี 3.1 การบริการทใ่ี ชค้ วามร้อน 1) การอบความรอ้ นแหง้ หรือ เซาน่า (Sauna) 1.1) ความเปน็ มาของการอาบน�ำ้ แบบเซาน่า หรือ ฟินนิช การอาบน�้ำแบบฟินนิชเกิดขึ้นเมื่อหลายพันปีมาแล้ว การวิเคราะห์ทางสังคมวิทยายัง ไมอ่ าจสรปุ ไดว้ า่ การอาบนำ�้ แบบเซานา่ เรม่ิ ตน้ จากทใี่ ด อาจมาจากชาวทวิ ตนั (Teutons) ชาวสลาฟ (Slavs) หรอื ชาวฟนิ (Finnish) แตอ่ าจสงั เกตไดว้ า่ ในพนื้ ทป่ี า่ สนแถบยโุ รปเหนอื ไดพ้ ฒั นาวธิ อี าบนำ้� หลายรูปแบบ พบวัฒนธรรมการอาบน�้ำแบบเซาน่าในแถบแอตแลนติกเหนือ แลปแลนด์ของ ชาวนอรเ์ วย์ ฟนิ แลนด์ คาเรเลยี รสั เชยี เหนอื ไซบเี รยี ชายฝง่ั แปซฟิ กิ ชาวอนิ เดยี นแดง และเอสกโิ ม การอาบน�้ำแบบฟินนิชเป็นวัฒนธรรมที่เร่ิมจากผู้คนในแถบถิ่นป่าสน ซึ่งท�ำงานหนัก ร่างกายต้องการไม่เพียงอาบนำ้� ช�ำระล้างเหง่ือไคล แต่กล้ามเน้ือทั้งแขนและขาของพวกเขาต้องการ ขับล้างของเสยี และฟ้นื ฟูเพือ่ การท�ำงานอนั หนกั หนว่ งในวันต่อไป พวกเขาพบว่าการชโลมร่างกาย ใหเ้ ปียกนำ�้ และนัง่ ใหอ้ อกเหงอ่ื อยรู่ ิมกองไฟในกลางป่าสามารถชว่ ยไดม้ าก การอาบนำ้� เซานา่ ของชาวฟนิ ถอื เปน็ วฒั นธรรมประจำ� ชาตอิ ยา่ งหนง่ึ ตงั้ แตป่ ี ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480) มแี พทยแ์ ละนกั จติ วทิ ยาชาวฟนิ รว่ มกนั กอ่ ตง้ั สมาคมเพอ่ื นนกั อบเซานา่ (Suomalaisen Saunan Ystävät) เพ่ือวัตถุประสงค์ในการค้นคว้าหลักและวิธีการเซาน่าที่ถูกต้องมีประโยชน์ ต่อสุขภาพอนามัย และเผยแพร่ความรู้ให้แก่คนทั่วโลก สมาคมน้ีได้ร่วมกับมูลนิธิพิพิธภัณฑ์การ กีฬาแห่งชาติของฟินแลนด์ รวบรวมข้อมูลไว้มากมาย ปัจจุบันยังมี สมาคมเซาน่าแห่งฟินแลนด์ (The Finnish Sauna Society) และเว็บไซดเ์ วอชวลฟนิ แลนด์ (The Virtual Finland) ที่รวบรวม เผยแพร่วิชาการว่าด้วยการเซานา่ อนั เปน็ เอกลกั ษณข์ องฟนิ แลนด์เผยแพร่ไปท่ัวโลกด้วย 114 เอกสารความรู้ ผ้ดู ำ�เนินการสปาเพื่อสขุ ภาพ

เซาน่าส�ำหรับชาวฟินจึงไม่แต่เพียงเป็นสถานท่ีท�ำความสะอาดร่างกาย แต่ยังใช้เพ่ือ การพักผ่อน คลายเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย ในชนบทถ้าชาวฟินจะหาพื้นที่สร้างบ้าน ท่ีชายป่า มักเลือกสถานท่ีริมทะเลสาบเพื่อสร้างเซาน่าก่อน และระหว่างที่เขาก�ำลังเหน่ือยกับ การสรา้ งบา้ นหลงั จรงิ จะไดพ้ กั ผอ่ นระหวา่ งวนั อนั หนกั หนว่ งดว้ ยการอบเซานา่ และกระโดดลงแชน่ ำ�้ ทะเลสาบเยอื กแขง็ เมอ่ื เขาสรา้ งบา้ นเสรจ็ แลว้ มอี าคนั ตกุ ะมาเยอื น ชาวฟนิ ผรู้ กั การเซานา่ จะเชอ้ื เชญิ อาคันตุกะร่วมเซานา่ เหมอื นกับการเชิญแขกกินเลย้ี ง เซาน่าแพร่ไปในยุโรปในกีฬาโอลิมปิก นักกีฬาฟินแลนด์เรียกร้องให้จัดต้ังเซาน่าไว้ สำ� หรบั พวกตนเสมอ ทั้งทปี่ ารสี เบอรล์ ิน ลอนดอน สมยั สงครามโลก ทหารชาวฟนิ น�ำเอาการอบ เซาน่าไปปฏิบัตทิ แ่ี นวหน้าดว้ ย ความสามารถทางการกฬี าและความเข้มแขง็ ในการสู้รบของทหาร ชาวฟินเป็นเคร่ืองประกันคุณภาพว่า การอบเซาน่ามีผลดีเพียงใด ภายหลังเม่ือชาวฟินย้ายถ่ินฐาน ไปทำ� มาหากนิ ในสหรัฐอเมริกากไ็ ด้เผยแพร่วัฒนธรรมเซานา่ ทีน่ นั่ ด้วย 1.2) ชนดิ ของห้องเซาน่า การอาบน้ำ� แบบเซาน่ามหี ลายประเภท แบ่งตามลักษณะ ดงั น้ี 1) เซานา่ ใต้ดิน หรอื ก่ึงใต้ดนิ (Underground or Semi-underground sauna) เป็นแบบฉบับด้ังเดิมซึ่งน่าจะมีก�ำเนิดต้ังแต่มนุษย์ยังอาศัยอยู่ในถ้�ำและก่อไฟผิง เซาน่าชนิดนี้ กอ่ สรา้ งงา่ ย ตามรมิ ทะเลสาบหรอื ลำ� ธาร แถบชายปา่ ทชี่ าวฟนิ อาศยั ถงึ อยใู่ ตด้ นิ แตก่ ต็ อ้ งกรดุ ว้ ยไม้ โดยรอบ ขอ้ ดขี องเซานา่ ชนดิ นค้ี อื เกบ็ รกั ษาความรอ้ นไวไ้ ดด้ ี ไมส่ ญู เสยี ไปกบั อากาศหนาวภายนอก 2) เซาน่ารมควนั (Smoke sauna) เปน็ เซาน่าแบบหอ้ งโถงไม้ มกี อ้ นหนิ บนเตาไฟ เมอ่ื ตดิ เตาแลว้ ควนั จะอบอวลอยใู่ นหอ้ ง นกั มานษุ ยวทิ ยาเชอ่ื วา่ เซานา่ แบบนนี้ า่ จะเปน็ ทงั้ ทอ่ี ยอู่ าศยั ยุง้ สำ� หรบั ตากธัญญาหาร โรงนาสำ� หรับสตั วเ์ ลยี้ ง และหอ้ งอาบเหงอ่ื ไปดว้ ยในตัว 3) เซาน่ามีปล่อง (Chimney sauna) ยุคปัจจุบันบริษัทประกันเน้นเร่ือง ความปลอดภยั ของเซาน่า จงึ มีการสร้างปลอ่ งไฟ ใหค้ วันลอยออกอีกทางหน่ึง หอ้ งเซานา่ สร้างใหม่ จงึ ต้องปรบั สภาพใหเ้ ปน็ แบบหลังน้ี กรมสนบั สนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 115

1.3) หลกั การและวิธกี ารอบเซาน่าแบบด้งั เดิม 1) โครงสรา้ งของหอ้ งเซานา่ แบบด้ังเดมิ ห้องเซาน่าท�ำจากไม้สน ซ่ึงกล่ินของมันจะเป็นแบบฉบับของฟินนิชบาธ ไม้สนมี คุณสมบัติดูดซับความช้ืนท่ีเหลืออยู่จากการใช้งานประจ�ำวันได้ ห้องจึงแห้งอยู่เสมอ ถ้าระหว่างใช้ งานท�ำใหร้ อ้ นเพยี งพอ และไมไ่ ด้ถูกพรมน�้ำจนชมุ่ โชก ไม้ดังกล่าวต้องไมท่ าสารเคลือบผวิ เพราะจะ ท�ำใหค้ ณุ สมบตั ิการดูดซบั ความชืน้ เสียไปหอ้ งเซานา่ ประกอบด้วยโครงสรา้ งหลักๆ ดงั นี้ ภาพท่ี 31 โครงสร้างห้องเซาน่า 1.–3. บนั ไดเลอ่ื นเข้าออกได้ สำ� หรบั เดนิ ข้ึนไปยังแครน่ อน 4. แครส่ �ำหรับนอนหรอื นง่ั 5. แทง้ คน์ �ำ้ ร้อน 6. เตา 7. ห้องแต่งตัว 116 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนินการสปาเพ่ือสุขภาพ

ภาพท่ี 32 วธิ ใี ชห้ ้องเซาน่า เวลาใช้งาน ให้ข้ึนไปบนแคร่นอน ปฏบิ ัติดังรปู คือ 1. มา้ น่งั เล็กใช้เปน็ บันได 2. ม้านั่งยาวใช้เป็นข้ันบันได 3. ราวพาดเท้า 4. แคร่สำ� หรบั นอนหรือนั่ง 5. ที่พาดศีรษะ 2) การเตรียมความพร้อม 1. การเตรยี มหอ้ งเซาน่าใหอ้ ณุ หภมู ิห้องกระจายท่วั ถึงตามที่ก�ำหนดไว้ 2. เตรียมตวั และปฏิบัตติ นอย่างถูกตอ้ ง ดงั น้ี 2.1) อบเซาน่าสปั ดาหล์ ะครัง้ 2.2) หลังรบั ประทานอาหาร ควรเว้นระยะหลังอาหารสัก 1 - 2 ชวั่ โมง 2.3) ไม่ควรอบเซาน่าขณะออ่ นเพลยี 2.4) ไมอ่ บเซาน่าอยา่ งรบี รอ้ น เพราะจะไมไ่ ดผ้ ่อนคลายเต็มที่ 2.5) ไมค่ วรดื่มแอลกอฮอลก์ อ่ นเข้ารบั บรกิ าร กรมสนบั สนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 117

3) ขนั้ ตอนการอบ ประกอบดว้ ยขัน้ ตอนหลักๆ คือ 1. การขบั เหงอื่ เปน็ วธิ ขี บั พษิ จากรา่ งกาย และชว่ ยเพม่ิ กำ� ลงั ขบั เหงอื่ ออกแรกๆ สมาคม เซาน่าแหง่ ฟินแลนดแ์ นะน�ำอุณหภมู ิที่ 80 - 90 องศาเซลเซยี ส (สูงสดุ ไมเ่ กนิ 100 องศาเซลเซียส) ความชน้ื ทมี่ ไี มม่ ากชว่ ยใหผ้ รู้ บั บรกิ ารอยใู่ นหอ้ งอบไดน้ านประมาณ 10 - 20 นาที หอ้ งทอี่ ณุ หภมู สิ งู เหงอื่ กจ็ ะออกไดด้ ี ไมแ่ นะนำ� ใหใ้ ชท้ า่ นง่ั เพราะศรี ษะจะรอ้ นเกนิ ไป และไมแ่ นะนำ� ใหช้ โลมเสน้ ผมจน เปยี กโชกหรอื ใหผ้ ้าเปยี กศรี ษะ ซง่ึ จะยงิ่ นำ� ความรอ้ น เมื่อเหง่ือออกในห้องร้อนและแห้งพอสมควรแล้ว ก็อาจสลับด้วยการท�ำร่างกายให้เย็น คือกระโดดลงในน�้ำเยอื กแข็งทท่ี ะเลสาบหรอื อาบน�้ำเย็น 2. การเพิ่มความชื้น ห้องเซาน่าท่ีร้อนจน ไม่จ�ำเป็นต้องพรมน�้ำลงบนก้อนหินมากนัก เพยี งแคน่ ำ�้ จากกง่ิ เบริ ช์ ทพี่ รมลงไปกพ็ อแลว้ ธรรมเนยี มของชาวฟนิ ถา้ อบเซานา่ อยดู่ ว้ ยกนั หลายคน การพรมน�ำ้ จะปรับตามสภาพที่พอทนได้ของผู้ท่ีออ่ นแอกว่า 3. การฟาดตัวด้วยก่ิงเบิร์ช ก่ิงเบิร์ชเป็นเครื่องหมายของเซาน่าต้นแบบ ให้ใช้กิ่งเบิร์ช จมุ่ นำ้� วางสมั ผสั กบั หนิ รอ้ น จะเกดิ ควนั จางๆทใี่ หค้ วามหอมไปทว่ั หอ้ ง จากนนั้ ฟาดไปทว่ั ทกุ สว่ นของ รา่ งกายไม่เวน้ แม้แต่ฝ่าเทา้ เลือดจะมาเล้ยี งผวิ กายไดด้ ี ชว่ ยขบั พษิ ทางผวิ หนงั ได้ดยี ง่ิ ข้นึ 4. การฟอกสบู่ ห้องเซาน่าต้นแบบมีขนาดกว้าง เพื่อให้ลงจากแคร่นอนมาฟอกตัวท่ี พื้นช้ันล่างของเซาน่า จังหวะน้ีไม่ต้องการความร้อนมาก ให้ปิดประตูห้องไอน�้ำ แต่ถ้าใช้ตู้เซาน่า ขนาดเล็ก กต็ อ้ งอาบนำ�้ ฟอกสบู่อีกห้องหน่งึ วิธีฟอกสบู่ในเซาน่ามีลักษณะเฉพาะคือ ใช้สบู่ก้อนเล็กๆใส่ลงในถังไม้ที่มีน�้ำร้อน คลา้ ยช่างตดั ผมผสมสบสู่ �ำหรับโกนหนวด จากนัน้ ใช้นำ้� สบู่ฟอกไปทั่วร่างกาย ฟาดตัวดว้ ยก่งิ เบิรช์ อีกแลว้ จงึ ล้างสบอู่ อก วธิ นี ี้กล่ินหอมของเบริ ช์ ตดิ ผวิ กายผู้อาบ ใหค้ วามสดช่ืนจนตลอดวนั รุ่งขึน้ 5. การราดน�้ำ ล้างสบู่ออกให้หมดด้วยน�้ำอุ่น อาจอาบน�้ำฝักบัวก็ได้ เพ่ือให้ตัวเย็น เม่ือต้องการเลิกอบ หลังราดน�้ำก็เป็นกระบวนการท�ำตัวให้เย็นและการรอให้ผิวแห้ง ควรปล่อยตัว ให้แหง้ เองตามธรรมชาติ หลงั ออกจากเซานา่ ควรนอนพกั ผอ่ น 15 นาที และใหด้ มื่ นำ�้ ปรมิ าณทเี่ พยี งพอ ชาวฟนิ แลนด์ นยิ มรับประทานอาหารมอื้ อรอ่ ยร่วมกันหลังอบเซานา่ 118 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนินการสปาเพือ่ สุขภาพ

1.4) หลกั การและวิธกี ารอบไอน้�ำในปจั จุบนั เมื่อทราบหลักการอบเซาน่าตามแบบด้ังเดิมแล้ว เราอาจประยุกต์หลักการและ วธิ กี ารอบไอน้ำ� ดงั นี้ 1) วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพอ่ื เสรมิ สรา้ งสขุ ภาพ ชาวบา้ นในยโุ รปเชอื่ วา่ การอบไอนำ�้ สลบั จมุ่ ตวั ในนำ้� เยน็ ช่วยให้สขุ ภาพแขง็ แรง 2. เพื่อการบ�ำบัดโรค แพทย์ทางธรรมชาติบ�ำบัดอาจใช้การอบไอน�้ำร่วมกับ วารีบ�ำบดั วธิ อี ่ืนๆ เพือ่ บำ� บัดโรค 2) อุปกรณ์ อุปกรณ์ในการอบไอน้�ำแบบตะวันตกประกอบด้วย ห้องอบ ระบบให้ความร้อน ระบบนำ้� เยน็ ห้องพักผอ่ นระหว่างการอบ 1. ห้องอบ ห้องอบแบบฟินนิชหรือเซาน่าเป็นตู้อบท�ำจากไม้สน ไม้สนฟินแลนด์มีสรรพคุณดี หางา่ ยในทอ้ งถน่ิ เมอื งหนาว ตดั ทำ� เปน็ แผน่ กระดาน รางลน้ิ ประกอบเปน็ ตอู้ บไดส้ ะดวก สสี นั สะอาดตา มีกล่ินยางสนเล็กน้อย ซึ่งเม่ือถูกความร้อนจากไอน้�ำจะระเหย ให้กล่ินหอมอ่อนๆ ช่วยให้โล่งจมูก ตามหลักสุคนธบ�ำบัด และเม่ือรอ้ นเตม็ ท่ียังดูดซบั ความชนื้ ใหล้ ดลงได้อีกด้วย 2. ระบบใหค้ วามรอ้ น เซานา่ สมยั ใหมใ่ ชเ้ ตาไฟฟา้ โดยมกี อ้ นหนิ อคั นวี างอยเู่ หนอื เตาเปน็ ตวั เกบ็ และใหค้ วามรอ้ น ในหอ้ งมสี อื่ นำ� ความรอ้ น 2 อยา่ งคอื อณขู องอากาศและอณขู องไอนำ้� อากาศเปน็ ตวั พาความรอ้ นหลกั ไอน้�ำ ที่เกิดจากการพรมน้�ำลงบนก้อนหินเป็นตัวประกอบ พยายามเก็บรักษาอุณหภูมิในห้องให้มี ความร้อนสูงและความชื้นต่�ำโดยเพ่ิมความร้อนของเตาไฟฟ้า เพ่ือผู้อบจะเหงื่อออกได้ดีและหายใจ สะดวก พรมน�้ำเท่าที่จ�ำเป็น การพรมน้�ำแต่ละครั้งจะเพ่ิมความช้ืนในห้อง ไอน�้ำจะพาความร้อน กระทบผวิ กายผูอ้ บมากกวา่ อณูของอากาศ ทำ� ให้รสู้ กึ ร้อนเรว็ แตข่ ับเหงือ่ ออกล�ำบาก และจะทนนั่ง อยู่ไม่ไดน้ าน 3. พ้นื ทีน่ ่งั พกั ผ่อนระหว่างการอบ ผู้รับบริการควรมีเวลาน่ังพักผ่อนระหว่างการอบ เพ่ือให้ร่างกายปรับสภาพและ ผอ่ นคลายจติ ใจ ในพน้ื ทีอ่ ีกส่วนหนงึ่ กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 119

4. วธิ ีการอบ การอบเซาน่า มีหลักการเหมือนกับการอบโดยใช้ความร้อนรูปแบบต่างๆ ท่ีกล่าวมา คืออบไอร้อนแล้วสลับลงบ่อน้�ำเย็น 3 รอบ เริ่มด้วยร้อนแล้วจบด้วยเย็น ระหว่างน้ันสลับน่ังหรือ นอนพกั ผ่อน มีข้นั ตอนการปฏิบัติดังนี้ 4.1. อบรอ้ น ใหผ้ ทู้ จ่ี ะอบเซานา่ หรอื สตมี เขา้ นง่ั ในหอ้ งอบจนเหงอ่ื ออก ความชนื้ ใน หอ้ งเซานา่ มมี ากอยแู่ ลว้ สำ� หรบั อากาศเมอื งไทย จงึ ไมต่ อ้ งเนน้ การพรมนำ้� ลงบนเตา ถา้ เปน็ แบบสตมี กม็ ไี อร้อนปล่อยเข้าในหอ้ ง ขณะเดียวกนั ควรจับเวลาการอบ เมอ่ื อบไปได้ 3 - 5 นาทใี นหอ้ งเซานา่ และ 5 – 10 นาที ในห้องสตมี สว่ นใหญจ่ ะรอ้ นเต็มที่ ส�ำหรบั คนไทยซึ่งไม่ค่อยชินกับการอบไอน�ำ้ ก็ใหอ้ อกจากหอ้ งอบ แล้วลงจุ่มตวั ในบ่อน�้ำเยน็ สำ� หรบั ชาวตะวนั ตกทชี่ นิ กบั การอบไอนำ�้ อาจนง่ั อยู่ ไดน้ านกวา่ นน้ั แตต่ อ้ งเตอื นใหส้ งั เกตอาการของตนเอง วา่ ไมม่ อี าการหนา้ มดื หรอื เปน็ ลม แนะนำ� วา่ ผ้เู พ่งิ เข้าใช้ครง้ั แรกให้อบ 2 - 3 นาที และอยไู่ ด้ 5-10 นาที เม่อื รา่ งกายชนิ กบั ความรอ้ นแล้ว 4.2. ลงบอ่ น�ำ้ เย็น ประเทศไทยความช้ืนสงู จงึ ไมค่ วรน่ังนาน เมือ่ อบในห้องสตีม 5 - 10 นาทีแล้ว ใหผ้ ู้รบั บริการออกจากห้องแล้วลงบ่อนำ�้ เยน็ เพื่อลดความรอ้ นร่างกาย ให้แช่อยใู่ น น้�ำเย็นประมาณ 1-2 นาที แลว้ ข้ึนจากบ่อน้ำ� เย็น เขา้ อบไอรอ้ นใหม่ ท�ำสลับกันเช่นนี้ 3 ครั้ง เร่ิมต้นที่การอบร้อนและจบลงด้วยการแช่บ่อน้�ำเย็น สถานประกอบการเพอื่ สขุ ภาพทไี่ ดม้ าตรฐานควรจดั ใหม้ บี อ่ นำ�้ เยน็ รปู แบบการอบไอนำ�้ แบบตะวนั ตก จงึ ถกู ต้องและเกิดประโยชนส์ มบูรณ์ ในกรณีท่ีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพไม่อาจจัดหาบ่อน�้ำเย็นได้ อย่างน้อย ต้องมีระบบน�้ำสระหรือน�้ำฝักบัวท่ีอุณหภูมิปกติไว้เพื่อลดความร้อนจากร่างกาย แต่ประโยชน์ท่ีได้ ยอ่ มน้อยลงตามล�ำดับ 5. ผลทไ่ี ด้ในการอบร้อนสลบั เยน็ การอบรอ้ นสลับเยน็ ตามแบบการอบไอน้�ำของตะวันตกเกิดผลดงั น้ี • ช่วยให้ผิวหนังท�ำงานดี สามารถขับสารเสียทางผิวหนังโดยต่อมเหงื่อและ ตอ่ มไขมันดีขนึ้ • เลอื ดหมุนเวียนผ่านผิวหนงั มากข้นึ ผวิ พรรณผอ่ งใส • ช่วยให้หายใจสะดวก ไอน้�ำในปริมาณท่ีพอเหมาะช่วยให้ทางเดินหายใจชุ่มช้ืน เซลลข์ นทที่ างเดนิ หายใจจะชะลา้ งสง่ิ สกปรกทเ่ี กาะตดิ อยู่ และเลอื ดหมนุ เวยี นมายงั เย่อื บผุ ิวหนังมากข้นึ ชว่ ยใหเ้ ซลล์เยอ่ื บุได้อาหารหล่อเลยี้ งดขี ้นึ 120 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพือ่ สุขภาพ

• ช่วยให้ระบบน้�ำเหลืองขจัดสารเสียได้ดีขึ้น ด้วยผลของการถูผิวหนังและกระตุ้น น้�ำเหลืองด้วยเสน้ ใยธรรมชาติ • ช่วยให้ระบบประสาทท�ำงานดี ผู้คนสมัยใหม่ใช้ชีวิตอยู่กับความเครียด ระบบประสาทอตั โนมัตไิ มร่ จู้ ักการผอ่ นคลาย เม่ืออบรอ้ นระบบประสาทอัตโนมตั ิจะ เกดิ การผ่อนคลาย เมือ่ ลงบอ่ น�้ำเยน็ ประสาทอตั โนมัติจะเร่งการท�ำงาน เมอื่ ท�ำร้อน สลบั เยน็ จะชว่ ยใหร้ ่างกายผอ่ นคลาย และปรบั ตัวได้ง่ายในชีวิตประจำ� วัน • ช่วยให้ระบบฮอร์โมนท�ำงานได้สมดุล การอบร้อนสลับเย็นท�ำให้ระบบฮอร์โมน เสรมิ สรา้ งและสลายเปน็ พลงั งานสลบั กนั ไปมา ชว่ ยใหร้ า่ งกายปรบั การหลงั่ ฮอรโ์ มน ได้วอ่ งไวขนึ้ ตามสภาพแวดล้อม การอบไอน�้ำไม่ว่าจะเป็นแบบตะวันตกหรือการอบสมุนไพร ไม่ได้ช่วยลดความอ้วน หรือลดน�้ำหนักจริงจัง เพราะน�้ำหนักตัวที่ลดลงไปเป็นเพียงปริมาณน�้ำที่ขับออกทางเหงื่อเท่านั้น แต่การอบร้อนสลับเย็นมีข้อดีในการช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนท่ีเผาผลาญอาหารและใช้อาหาร เสริมสรา้ งร่างกายใหไ้ ด้สมดุล ช่วยควบคมุ น้�ำหนกั ใหเ้ ป็นปกติ • ชว่ ยให้อวัยวะภายในทำ� งานดี ปรบั ตัวตามสภาพแวดลอ้ มได้เร็วขึน้ • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยก�ำจัดของเสีย เช้ือโรค เซลล์มะเร็งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การอบไอน้�ำร้อนสลับเย็น โดยเนื้อแท้คือการน�ำร่างกายคืนสู่ธรรมชาติ ให้รู้จักร้อน รู้จกั หนาว ช่วยเสริมสรา้ งสขุ ภาพใหแ้ ขง็ แรง ป้องกนั โรค 6. ข้อบ่งชี้และข้อควรระวงั ของการอบไอนำ้� 6.1. การอบไอน�ำ้ แบบตะวนั ตก มขี อ้ บ่งช้ีคอื • เพอื่ เสรมิ สุขภาพและปอ้ งกันโรคส�ำหรับคนท่วั ไป • ควรอยูใ่ นความดูแลของแพทย์ธรรมชาตบิ �ำบัด การอบร้อนสลับเยน็ อาจน�ำมาเสรมิ การรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเครียด อาการนอนไม่หลับ โรคภูมิต้านทานไวเกิน โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงท่ีไม่ถึงกับอยู่ในสภาวะวิกฤต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ท�ำงานมากหรือน้อยเกินไป โรคกระเพาะอาหาร โรคล�ำไสร้ ะคายเคอื ง อาการท้องผกู อาการปวดเมอื่ ยตัว ฯลฯ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 121

6.2. ข้อควรระวัง บคุ คลทน่ี ี้ถือเปน็ กลุ่มเสยี่ ง ไดแ้ ก่ • สตรีมีครรภ์ การอบร้อน ท�ำให้เลือดไปกองตามแขนขา เลือดท่ีจะเลี้ยงร่างกาย สว่ นกลางนอ้ ยลง ทำ� ให้เลอื ดไปเลีย้ งมดลกู นอ้ ยลงดว้ ย • ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสงู โรคเบาหวาน ทอ่ี ยู่ระหวา่ งการรักษาด้วยยา • ผูท้ ี่ดื่มแอลกอฮอล์ ใหร้ ะวังความดันโลหติ ตำ�่ • ผู้ป่วยโรคไมเกรน การอบไอน้�ำอาจไปขยายเส้นเลือด ท�ำให้มีอาการปวดหลัง การอบได้ ผู้รับบริการควรปรึกษาแพทย์หากไม่ม่ันใจ และหากแพทย์อนุญาตให้ปฏิบัติก็ควรฝึก ทีละนอ้ ย เชน่ อบสัก 1 - 2 นาที แลว้ อาบน้ำ� ฝกั บวั ธรรมดา โดยท�ำรอบเดยี วในคร้งั แรก วนั ต่อไป อบนาน 2 - 3 นาที แลว้ อาบนำ้� ฝักบวั ทำ� สัก 2 รอบ วนั ตอ่ ไปอบนาน 3 - 5 นาที แล้วลงบ่อนำ้� เยน็ ทลี ะนอ้ ย เมือ่ ท�ำไปสกั 3-4 วนั กส็ ามารถอบรอ้ น 3 - 5 นาที แลว้ ลงบ่อน�้ำเย็น 1 - 2 นาที เช่นเดยี วกับคนอนื่ 7. อันตรายท่ีพบบ่อย จากการอบไอน�้ำแบบตะวันตก อนั ตรายทพ่ี บบอ่ ย คอื อาการหนา้ มดื เปน็ ลม หมดสติ ซง่ึ เกดิ จากความรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณ์ ของผปู้ ระกอบการ และผรู้ บั บรกิ าร คอื คดิ วา่ การอบไอรอ้ นทำ� ใหส้ บายชว่ ยผอ่ นคลาย หรอื ลดนำ�้ หนกั จึงพยายามอยู่ในตู้อบซาวน่าหรือสตีมให้นานท่ีสุด เช่นคร้ังละ 30 นาที ผลก็คือ เส้นเลือดขยาย ท้ังตัว เลือดส่วนใหญ่จะไปกองตามแขนขา เลือดส่วนกลางมีน้อยลง จึงหมุนเวียนไปสมองน้อยลง ทำ� ใหเ้ ปน็ ลม หนา้ มดื หรอื หมดสติ บางคนถงึ กบั สญู เสยี การรบั รสู้ ถานทแี่ ละความทรงจำ� ไปชว่ งเวลา หน่งึ หลังอบไอน�ำ้ นานจนเกนิ ไป 3) ความช้นื สมั พทั ธแ์ ละอุณหภมู ทิ เี่ หมาะสมของเซาน่า เมื่อการอบเซาน่าแพร่ไปหลายประเทศและถูกประยุกต์ใช้ตามแต่ละสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เซาน่าในแต่ละทอ้ งถน่ิ อาจมวี ิธีปฏบิ ัติแตกตา่ งจากแบบฉบับด้งั เดมิ ประเด็นที่เห็นพ้องร่วมกันคือ เซาน่าเป็นการอาบเหง่ือท่ีใช้ความร้อนของห้องอบ อ�ำนวยให้เกิดการขบั เหงื่อออก อากาศในห้องเซาน่าจึงควรเปน็ อากาศท่คี อ่ นข้างแห้ง อณุ หภูมอิ าจ สูงได้มากโดยท่ีผู้อบสามารถอยู่ได้อย่างสบาย อย่างไรก็ดีสถาบันต่างๆ แนะน�ำระดับความชื้นและ ความร้อนที่เหมาะสมของหอ้ ง เซานา่ ไว้แตกตา่ งกนั กลา่ วคอื 122 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพือ่ สุขภาพ

วทิ ยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแหง่ อเมริกา (American College of Sports Medicine) ระบุไว้ในต�ำรา ACSM’s Health/Fitness Standards and Guidelines (Second edition) ว่า “อุณหภูมิและความช้ืนที่แนะน�ำในการการอบเซาน่าคือ 170 - 180 องศาฟาเรนไฮต์ (77 - 82 องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 5 ” ด้วยความชื้นสัมพัทธ์ท่ีต่�ำมากจึงเรียก เซาน่าว่าเป็นการอบแบบแห้ง ต�ำรา Health and Beauty Therapy – A Practical Approach for NVQ Level 3 ซง่ึ เปน็ ตำ� ราทใ่ี ชส้ อนในสถาบนั การสอนสปาเทอราปขี ององั กฤษ และโรงเรยี นสอนวชิ าชพี ความงาม และสขุ ภาพ สปาชีวาศรม (Chiva-Som Academy) ใชเ้ ป็นต�ำรามาตรฐานในการสอนได้ ระบุว่า “อุณหภูมิของเซาน่าอาจแปรเปล่ียนได้ต้ังแต่ 50 - 120 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิท่ีก�ำลังสบาย สำ� หรบั ผู้รับบริการใหมท่ ี่ยังไมค่ ุ้นกับเซานา่ ควรอยทู่ ่ี 60 - 80 องศาเซลเซียส ความชื้นสมั พทั ธ์ที่ ก�ำลงั สบายอยปู่ ระมาณร้อยละ 50 - 60” ส่วนต้นต�ำรับชาวฟินแลนด์ วิเฮอจัวรี (H. J. Viherjuuri) ซ่ึงเป็นนักวิจัยทางสังคม ว่าด้วยเซาน่า พิมพ์หนังสือ Sauna book ในปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) ให้ความรู้เร่ืองประวัติ และวัฒนธรรมการอาบนำ�้ ทั่วโลก ซ่ึงต่อมาได้แปลเป็นภาษาตา่ งๆมากมาย “ความแตกต่างระหว่าง การอาบแบบฟนิ นชิ กบั การอาบแบบตรุ กกี ็คือ การอาบแบบตุรกใี ชอ้ ากาศชืน้ สว่ นเซาน่าใช้อากาศ แห้ง แม้ว่าความช้ืนอาจจะมีได้บ้าง” “อุณหภูมิของการอาบแบบฟินนิชจะสูงกว่าแบบตุรกีอย่าง ชัดเจน เนื่องจากอากาศแห้งร่างกายทนร้อนได้ดีกว่า อุณหภูมิอาจสูงถึง 280 องศาฟาเรนไอต์ (138 องศาเซลเซยี ส) โดยอณุ หภมู กิ ำ� ลงั ดอี ยทู่ ่ี 190 - 200 องศาฟาเรนไฮต์ (88 - 93 องศาเซลเซยี ส)” “ในห้องเซาน่าท่ีร้อนเต็มท่ีและแห้งดี การพรมน้�ำลงบนก้อนหินจะไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิใน ห้องเท่าใดนัก อุณหภูมิท่ีเหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 175 องศาฟาเรนไฮต์ โดยมีความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 30 จะเปน็ สภาวะที่กำ� ลงั สบาย” ในหอ้ งเซาน่าแห้ง ผู้อบอาจนงั่ อยไู่ ดน้ านประมาณ 20 นาที แตส่ �ำหรับหอ้ งเซานา่ ช้นื อาจนั่งอยไู่ ดร้ าว 5 นาทีเท่านัน้ จะเหน็ ไดว้ า่ ตวั เลขความชนื้ สมั พทั ธท์ เ่ี หมาะสมสำ� หรบั การอบเซานา่ ตามความเหน็ ของ แตล่ ะสถาบันแตกต่างกันอย่างมาก จงึ ควรประยกุ ตใ์ ช้ให้เหมาะสม ตามหนังสืออุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า “ประเทศไทยต้ังอยู่ในเขตร้อน ใกลเ้ สน้ ศนู ยส์ ตู ร มอี ากาศรอ้ นชน้ื ปกคลมุ เกอื บตลอดปี มคี วามชนื้ สมั พทั ธเ์ ฉลย่ี ตลอดปรี อ้ ยละ 72 - 74 และลดลงเหลอื รอ้ ยละ 62 - 69 ในชว่ งฤดรู อ้ น” ดว้ ยเหตนุ ค้ี วามชนื้ สมั พทั ธท์ เ่ี หมาะสมสำ� หรบั เซานา่ ในประเทศไทยจึงน่าจะมีตัวเลขท่ีแตกต่างออกไป ด้วยประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ ตู้เซาน่าท่ี ศูนย์ธรรมชาติบ�ำบัดในกรุงเทพฯ เม่ือเปิดเคร่ืองท�ำงานจะมีระดับความชื้นที่ร้อยละ 60 และ เมื่อผู้อาบเดินเข้าออกภายหลังการชุบตัวในบ่อน้�ำเย็น ความช้ืนในห้องจะอยู่ที่ร้อยละ 70 - 80 กรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 123

แมจ้ ะไมพ่ รมนำ้� ลงบนเตาเลยกต็ าม สว่ นอณุ หภมู จิ ะอยทู่ ปี่ ระมาณ 60 องศาเซลเซยี ส ซง่ึ ในสภาวะนนั้ ผู้อาบจะใช้เวลาทเี่ หมาะสมแก่การอบ คอื คราวละไม่เกิน 5 นาที หลกั คิดส�ำหรบั ผู้ประกอบการเซา น่าคือ พยายามตั้งอุณหภูมิให้สูงเข้าไว้ และต้องเปิดเป็นเวลานานๆ ทั้งพยายามลดความเปียกช้ืน ของพ้ืนท่ีรอบเซาน่าเพื่อให้ความร้อนในตู้ขับไล่ความช้ืนออกไปให้เหลือน้อยท่ีสุด ช่วยเอื้อภาวะ เหง่ือออก และน่ังได้นานขึน้ 4) วธิ กี ารอบ การอบเซานา่ และการอบไอนำ้� หรอื สตมี มหี ลกั การเหมอื นกนั คอื อบไอรอ้ นแลว้ ลงบอ่ นำ�้ เยน็ สลับกัน 3 รอบ เริม่ ด้วยรอ้ นแลว้ จบดว้ ยเย็น ระหว่างน้ันสลบั ดว้ ยการนง่ั หรือนอนพักผอ่ น มีข้นั ตอน การปฏบิ ัตดิ ังน้ี 1. อบร้อนให้ผู้ที่จะอบเซาน่า เข้าน่ังในห้องอบ ซึ่งส่วนมากจะมีม้าน่ังยาวอยู่ในห้อง ให้นั่งอยู่ในที่ร้อนจนกระทั่งเหงื่อออก ความชื้นของห้องเซาน่ามักมีมากอยู่แล้วส�ำหรับอากาศ อยา่ งเมอื งไทย จงึ ไมต่ อ้ งเนน้ การพรมนำ�้ ลงบนเตา ขณะเดยี วกนั ไมล่ มื ทจี่ ะปรบั นาฬกิ าทรายในหอ้ ง ซง่ึ ใช้เป็นเครอ่ื งจับเวลาการอบ เม่ืออบไปได้ประมาณ 3 - 5 นาที ให้ออกจากห้องอบ แล้วราดน�้ำเย็นท้ังตัวหรือ อาบฝักบัว ส�ำหรับชาวตะวันตกท่ีชินกับการอบ อาจนั่งอยู่ได้นานกว่าน้ัน แต่ให้สังเกตอาการของ ตนเอง วา่ จะไมม่ อี าการหนา้ มดื หรือเปน็ ลม ทัง้ น้แี นะนำ� วา่ ส�ำหรับผอู้ บเซาน่าใหมใ่ หใ้ ช้ 2 - 3 นาที ในครง้ั แรก และอยู่ได้ 5 - 10 นาทีเม่อื ชนิ แล้ว 2. กระตุ้นผิวหนังและระบบน�้ำเหลือง ให้เลือดหมุนเวียนท่ัวร่างกายได้ดียิ่งข้ึนและ เพื่อให้ระบบน้�ำเหลืองท�ำงานขจัดสารเสียได้ดี ชาวฟินใช้การฟาดด้วยกิ่งเบิร์ช แต่ในประเทศอ่ืนๆ ท่ีหากิ่งเบิร์ชไม่ได้อาจใช้การถูผิวหนังด้วยเส้นใยธรรมชาติ อาจใช้รังบวบท่ีสะอาดถูไปตามร่างกาย ส่วนต่างๆ มีหลักการถผู ิวหนงั ดงั น้ี คอื • แขน ถูจากปลายมือเป็นแนวยาวเข้าหาต้นแขนจนรอบ หมุนวนบริเวณข้อพับหน้า ขอ้ ศอกและรกั แร้เพอ่ื เน้นการกระต้นุ ตอ่ มน้�ำเหลอื ง • ขา ถูจากปลายเทา้ เปน็ แนวยาวเขา้ หาโคนขาจนรอบ หมนุ วนบริเวณข้อพับหลังเข่า และบริเวณขาหนีบเพอ่ื เน้นการกระตนุ้ ต่อมน�ำ้ เหลอื งบรเิ วณดังกลา่ ว • ล�ำคอ ถจู ากบรเิ วณขากรรไกรเปน็ แนวลงถึงระดบั ไหปลารา้ ไล่รอบลำ� คอ • หนา้ อก ถลู งจากใต้ไหปลารา้ เป็นแนวยาวลงถึงขาหนบี 124 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพ่ือสุขภาพ

• แผ่นหลงั ถูลงจากบ่าเปน็ แนวแยวถงึ บรเิ วณสะโพก • ใบหน้า ไม่ต้องถูเพราะเส้นใยธรรมชาติจะหยาบเกินไป หรืออาจใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชบุ น�ำ้ เย็นถจู ากกลางหนา้ ผากไปขมับ จากโหนกแกม้ ทงั้ สองขา้ งไปขมบั และถูจาก ปลายคางไปยังขมบั ท้ังสองขา้ ง 5) ประโยชนข์ องการถูผิวหนัง การถดู ้วยเสน้ ใยธรรมชาติ คอื กระต้นุ ต่อมเหงอ่ื และตอ่ มไขมนั ผิวหนงั ใหข้ บั สารเสยี กระตุ้นการระบายน้�ำเหลือง พาสารเสียจากเซลล์ที่ปลายมือปลายเท้าและตาม ผิวกายส่วนกลาง ระบายสู่ระบบน�้ำเหลือง กระตุ้นต่อมน�้ำเหลืองซึ่งท�ำหน้าท่ีท�ำลายหรือระบายสารเสียผ่านท่อน�้ำเหลือง ส่วนกลางเขา้ สู่ระบบเลอื ดดำ� สง่ ไปกำ� จัดทต่ี ับและไตเปน็ ต้น 6) การปอ้ งกันอนั ตรายจากการอบเซาน่า 1) ห้องอบ ควรมีกระจกหนาพอ ทนต่อความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้องอบ ห้ามใช้ กระจกเงาเคลือบสารปรอทด้านหลัง 2) ควบคมุ อณุ หภมู ใิ นหอ้ งเซานา่ ใหอ้ ยใู่ นระดบั ทเ่ี หมาะสม ไมค่ วรปรบั เปลย่ี นไปมาอาจ ทำ� ใหเ้ คร่อื งก�ำเนิดความรอ้ นเสีย 3) เครอ่ื งก�ำเนิดความรอ้ น อยู่ในสภาพดี ไมช่ ำ� รดุ ไมร่ าดนำ�้ ลงบนเคร่อื งจนเกดิ ไฟฟ้า ลดั วงจร 4) ผู้รับบรกิ ารอบต้องมสี ุขภาพปกติ ไม่เป็นโรคทางระบบไหลเวยี นโลหิต ระบบหายใจ มีไข้สูง ภาวะติดเช้ือ หรอื ภาวะแอลกอฮอล์คงั่ ในร่างกาย 5) ผู้รับบริการอบต้องรดน้�ำหรือราดน�้ำตามล�ำตัว แขนขาทุกส่วน ให้เปียกก่อนเข้า หอ้ งเซานา่ และหา้ มอยใู่ นหอ้ งเกนิ 30 นาทไี มว่ า่ กรณใี ด หากรสู้ กึ มอี าการผดิ ปกตใิ หร้ บี ออกจากหอ้ ง แลว้ นงั่ พกั จบิ นำ้� ก่อนไปอาบนำ้� หรือราดตัว 6) ผูร้ ับบริการอบไมน่ ่งั ใกลเ้ ครือ่ งกำ� เนดิ ความร้อนโดยตรง อาจมีผลเสยี ตอ่ ผิวหนัง กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 125

2) การอบสมนุ ไพร การอบสมนุ ไพร เปน็ ภมู ปิ ญั ญาทางการแพทยแ์ ผนไทยทใี่ ชด้ แู ลสขุ ภาพสตรี ในชว่ งของ การอยู่เดือนหลังคลอดมาแต่โบราณ เพื่อฟื้นฟูร่างกาย โดยการนวด การประคบ การอบสมุนไพร รวมถึงกรรมวิธีอ่ืนๆ เช่น การนาบหม้อเกลือ การเข้าตะเกียบ การอาบน้�ำสมุนไพร การรมตา การนั่งถา่ น เปน็ ต้น การอบสมุนไพรมีหลักการ ใช้ไอน�้ำท่ีได้จากการต้มสมุนไพรจนเดือดรมทั่วร่างกาย โดยอาศยั วัสดุ อุปกรณ์ และสมุนไพรต่างๆที่หาได้ในครัวเรอื น เช่น ชาวบา้ นจะต้มสมุนไพรในหมอ้ ดนิ จนเดอื ด เอาสมุ่ ใบใหญม่ าคลมุ ทบั ดว้ ยผา้ หม่ เพอื่ เกบ็ กกั ความรอ้ น เมอ่ื เขา้ ไปนง่ั ในสมุ่ กจ็ ะเปดิ ฝา หมอ้ ใหไ้ อนำ้� จากสมนุ ไพรรมไปทว่ั รา่ งกาย หากไมม่ สี มุ่ อาจใชเ้ พยี งผา้ หม่ คลมุ ตวั ทำ� เปน็ กระโจมให้ เขา้ ไปนง่ั จงึ มกั เรยี กการอบสมุนไพรแบบนว้ี า่ ‘การเขา้ กระโจม’ ประโยชนข์ องการอบสมนุ ไพรเปน็ ผลจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ 1. ผลจากไอน้�ำ ความร้อนและความชุ่มชื้นเมื่อผ่านผิวหนังจะกระตุ้นการขับเหง่ือ ชว่ ยชำ� ระสง่ิ สกปรกทต่ี กคา้ งอยตู่ ามรขู มุ ขน ทำ� ความสะอาดผวิ ใหส้ ดชนื่ เปลง่ ปลง่ั มนี ำ้� มนี วล กระตนุ้ การไหลเวียนโลหติ คลายปวดคลายเม่ือยกลา้ มเน้ือ 2. ผลจากตวั ยาสมนุ ไพร ซึง่ มีสรรพคณุ แตกตา่ งกนั ไป เชน่ • สมุนไพรท่ีมีน้�ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าไพล เหง้าขมิ้นชัน เหง้าข่า เหง้ากระทือ เหงา้ วา่ นนำ�้ ตน้ ตะไคร้ กระเพรา ในหนาด การบรู เปน็ ตน้ มสี รรพคณุ ทำ� ใหโ้ ลง่ จมกู ขยายหลอดลม ฆา่ เชอ้ื โรคบางชนิด • สมุนไพรทมี่ ีรสเปรย้ี ว เช่น ใบมะขาม ใบสม้ ปอ่ ย ผลมะกรูด เป็นต้น มฤี ทธ์เิ ปน็ กรด อ่อนๆ ช่วยช�ำระส่ิงสกปรกออกจากผิวหนัง • สมุนไพรที่มีสารที่ระเหิดแลว้ มกี ลนิ่ หอม เชน่ การบูร พมิ เสน ชว่ ยบ�ำรงุ หวั ใจ รักษา โรคผวิ หนงั • สมุนไพรท่ีมีสรรพคุณเฉพาะ เช่น ผักบุ้ง เหงือกปลาหมอ ทองพันช่ัง ส�ำมะงา ช่วยแก้ผด ผืน่ คนั รักษาโรคผิวหนัง หัวหอม หวั เปราะหอม บรรเทาหวดั คดั จมูก ผักบ้งุ ผกั ชีล้อม ลดอาการอกั เสบ บวม แกเ้ หนบ็ ชาและน�ำ้ เหลืองเสยี เป็นต้น 126 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอื่ สุขภาพ

นอกจากใช้ดูแลหลังคลอดแล้ว ในปัจจุบันมีการน�ำเอาการอบสมุนไพรไปปรับใช้ ในสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพและสปาเพ่ือสุขภาพ โดยอาจตัดสมุนไพรบางชนิดที่มี สรรพคุณเก่ียวกบั การดูแลหลังคลอดออก ปรบั เปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องใชใ้ ห้สะดวกและปลอดภยั เช่น เปลยี่ นจากหมอ้ ดนิ เปน็ หมอ้ ไฟฟา้ เดนิ ทอ่ จากหมอ้ ตม้ เพอ่ื สง่ ไอนำ�้ เขา้ ไปในกระโจม แทนการตงั้ หมอ้ ในกระโจม ใช้กระโจมส�ำเร็จรูปท่ีมีโครงเพื่อความแข็งแรงและใช้งานสะดวก สามารถถอดผ้าคลุม ทำ� ความสะอาดไดง้ า่ ย บางแหง่ ทำ� เปน็ หอ้ งอบหรอื ใชต้ อู้ บไอนำ้� สำ� เรจ็ รปู แทนการใชก้ ระโจม เปน็ ตน้ 2.1) ประโยชน์ของการอบสมุนไพร • กระตุน้ การไหลเวยี นเลือด • ผ่อนคลายความเครียด • คลายปวดคลายเมอ่ื ย ลดอาการกล้ามเนอื้ เกร็ง • ขบั เหงอื่ บรรเทาอาการผดผนื่ คัน ชว่ ยใหผ้ ิวพรรณสดใส • ท�ำให้ทางเดนิ หายใจชมุ่ ช้นื ช่วยละลายเสมหะ • ชว่ ยเสรมิ สรา้ งภมู ิคุม้ กนั และฟน้ื ฟูสมรรถภาพของรา่ งกาย 2.2) ตำ� รบั ยาอบสมุนไพร ต�ำรับยาอบสมุนไพร ทน่ี ยิ มใช้ในปจั จุบันมี ดงั นี้ 1. ตำ� รับมูลนธิ สิ าธารณสุขกบั การพัฒนา เหงา้ ไพล ขมิ้นชัน ขงิ ตะไครต้ ้น ผิวสม้ โอ หัวหอมแดง ใบมะขาม ใบส้มเส้ยี ว ผกั ชลี อ้ ม ผักบุ้งขัน รากหญ้าคา เปลือกชะลูด ผลกระวาน ดอกกานพลู เกลือ และการบูร (หากหาตัวยาได้ ไมค่ รบก็ใชเ้ ทา่ ท่ีหาได้ แต่ควรมเี หงา้ ไพลและการบูรซึ่งเป็นตวั ยาส�ำคญั ) 2. ต�ำรับโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวดั พระเชตพุ นฯ (วัดโพธ)ิ์ ไพล 1 กิโลกรมั ตะไคร(้ ต้น)5 ต้น มะกรดู 3 ลูก ปอกเอาแตผ่ วิ (ตามต�ำรบั โบราณจะ ใช้ทง้ั ลูก โดยแตล่ ะลกู ใหผ้ า่ เป็น 4 ช้ิน - ใช้ 3 ทงิ้ 1 รวมเปน็ 9 ชิ้น) ผกั บุ้งแดง (ใชท้ ้งั รากและต้น ส่วนท่ีดที ี่สุดคอื ตรงบริเวณคาบลกู คาบดอก) 1 กอบมอื ใบมะขาม ใบส้มปอ่ ย วา่ นชักมดลกู วา่ นน้ำ� เถาเอ็นอ่อน เปลือกชะลูด อย่างละ 1 หยบิ มอื การบูร พมิ เสนอย่างละ 1 รำ� หดั หอมหวั แดงท้งั เปลือก 5 - 6 หัว กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 127

3. ตำ� รับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภยั ภูเบศร ใบส้มป่อย ข่า ใบตะไคร้ ใบมะขาม ไพล (ไพลเหลืองหรือไพลด�ำ) ลูกมะกรูดหรือผิว มะกรดู ใบมะดนั 4. ต�ำรบั อน่ื ๆที่เน้นไปตามสรรพคณุ ยา เชน่ • ยาอบรักษาโรคผิวหนัง ใช้พญายอ กระดูกไก่ด�ำ ขมิ้นชัน ใบสะเดา ใบหนาด ใบเปลา้ • ตำ� รบั ยาอบแกป้ วดเมอื่ ย ใชไ้ พล ขมนิ้ ชนั ตะไคร้ ใบและผวิ มะกรดู ใบหนาด วา่ นนำ้� ใบสม้ ป่อย เหงอื กปลาหมอ ชะลดู กระวาน เกสร 5 สมุลแว้ง พมิ เสน การบรู • ต�ำรับยาอบสมุนไพรคลายเครียด ใช้ใบเล็บครุฑ ลวกน้�ำข้าวแล้วตากให้แห้ง หัวเปราะหอม ผลมะกรูดอ่อนแก่ ใบหนาด เปล้าใหญ่เปล้าเล็ก ขม้ินชัน ขมิ้น อ้อย ไพล ว่านน�้ำ ว่านหอมแดง ตะไคร้หอม เตยหอม น�ำยาท้ังหมดตากให้แห้ง เอามาตม้ อบ ใสพ่ มิ เสน การบรู เล็กนอ้ ย 2.3) สรรพคุณสมุนไพร • เหง้าไพล แก้ปวดเม่ือย ลดอาการอักเสบ แกเ้ คล็ดขดั ยอก ฟกช�ำ้ • มะกรูด/ ผิวมะกรูด แกล้ มวงิ เวียน • ตะไคร้ ใชแ้ ต่งกลน่ิ หอมสดช่นื • ใบมะขาม แก้อาการคัน และบ�ำรงุ ผวิ • ใบส้มป่อย ใชบ้ �ำรุงผิว แกโ้ รคผวิ หนัง • รากผกั บุ้ง สำ� หรับบำ� รุงสายตา • ขมน้ิ ชัน ลดอาการอักเสบ แกโ้ รคผิวหนัง • การบรู ใช้แตง่ กลน่ิ และบ�ำรงุ หวั ใจ • พิมเสน ใชแ้ ต่งกล่ิน บ�ำรงุ หัวใจ แก้หวัด • เถาเอน็ ออ่ น มีสรรพคณุ แก้ปวดเม่ือย แก้เส้นตงึ 128 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพื่อสุขภาพ

• ว่านนำ�้ ช่วยขับเหงอื่ แก้หวัดลงคอ หลอดลมอกั เสบ • ชะลดู ใช้แต่งกลิน่ บ�ำรุงหัวใจ • ว่านชักมดลูก มีสรรพคุณช่วยมดลูกเขา้ อู่ แก้ปวดประจำ� เดอื น แก้มดลูกพิการ • ใบข้ีเหลก็ มีสรรพคุณ เปน็ ยาระบาย ช่วยใหน้ อนหลบั 2.4) วธิ กี ารอบสมุนไพร 1. ก่อนเข้าอบให้อาบน�้ำท�ำความสะอาดร่างกาย ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้นท่ีสุด (บางต�ำราใหใ้ ช้วา่ นนางคำ� ฝนหรอื ต�ำค้นั เอานำ้� ฝนกับเหล้าและการบูร ทาให้ทวั่ ตวั เพื่อแกพ้ ิษร้อน) 2. ต้มน้�ำในหม้อเคลือบหรือหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจนเดือด ใส่สมุนไพรลงไป ปิดฝาไว้จน เดือดเป็นไอน�ำ้ ยกหม้อลงจากเตา นำ� ไปวางในกระโจม 3. เมื่อเข้าไปน่ังในกระโจมแล้ว ค่อยๆแง้มฝาหม้อ ปล่อยให้ไอน�้ำรมท่ัวล�ำตัว ใบหน้า และสว่ นต่างๆของร่างกายอย่างสม�่ำเสมอ 4. ควบคมุ อณุ หภมู ใิ หอ้ ยรู่ ะหวา่ ง 40 - 45 องศาเซลเซยี ส ใชเ้ วลาการอบไมเ่ กนิ 30 นาที อาจแบง่ เป็น 2 รอบๆละ 15 นาที และออกมาพัก 3 - 5 นาที พรอ้ มจบิ น้�ำอุน่ หรือน�้ำทอ่ี ณุ หภูมหิ อ้ ง เพื่อชดเชยการเสยี เหงื่อ (ผทู้ ่ีไมเ่ คยอบ อาจแบง่ เปน็ 3 รอบ ๆละ 10 นาที) 5. เมอ่ื อบเสรจ็ ใหน้ �ำน�ำ้ สมุนไพรในหม้อที่ยงั อนุ่ ๆ อาบ สระผม ขดั ถตู ามตวั หลังเชด็ ตัวแห้งให้นั่งพักสักคร่ึงช่ัวโมง อย่าเพิ่งตากลมหรืออาบน�้ำเย็นทันที ให้ด่ืมน้�ำหรือน้�ำผลไม้ชดเชย การเสียเหง่อื 2.5) ข้อห้ามในการอบสมนุ ไพร 1. มีไขส้ งู มากกวา่ 38 องศาเซลเซียส 2. เป็นโรคติดตอ่ รา้ ยแรงทกุ ชนดิ 3. มีโรคประจำ� ตวั ได้แก่ โรคไต โรคหวั ใจ โรคลมชกั โรคหอบหดื ระยะรนุ แรง โรคตดิ เช้ือระบบทางเดินหายใจรุนแรง ในรายท่มี ีความดันโลหิตสงู 180 มิลลเิ มตรปรอท สามารถอบไดต้ าม ดลุ ยพนิ จิ ของแพทย์ แต่ตอ้ งไดร้ ับการดแู ลอยา่ งใกล้ชดิ กรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 129

4. สตรมี ีครรภ์ หรอื ขณะมปี ระจ�ำเดอื น 5. ผู้ท่ีมกี ระดูกแตกหกั แผลเปิด แผลอักเสบ 6. ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลยี อดนอน อดอาหาร ทอ้ งเสียหรือหลงั รบั ประทานอาหาร 7. ปวดศรี ษะชนดิ รนุ แรง คลน่ื ไส้ 2.6) ข้อควรระวัง 1. ไม่ควรอบนานเกิน 30 นาที (ปกติจะอบครั้งละ 15 นาที แล้วออกมาพักก่อนอบต่อ อีกครง้ั ) 2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่มีอาการชาหรือสูญเสียความรู้สึกตามร่างกาย ผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต คนชรา ตอ้ งมีบุคลากรควบคมุ ดแู ลอย่างใกล้ชดิ ไม่ให้อบนานหรอื อบทอี่ ุณหภูมิ สงู มากเกนิ ไป 3. ขณะอบสมุนไพร ถ้ารู้สึกอึดอดั หายใจไม่ออก ใหอ้ อกมาพกั นอก กระโจม หา้ มฝนื อบต่อไป 4. ระวงั อย่าใหไ้ อรอ้ นสมั ผสั บรเิ วณร่างกาย 5. ดูแลความปลอดภัยและระมัดระวังอันตรายจากอปุ กรณไ์ ฟฟ้าทีใ่ ช้ 2.7) ขนาดหอ้ งอบสมุนไพรท่ีไดม้ าตรฐาน ห้องอบสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน ควรมีขนาดกว้าง 1.9 เมตร ยาว 1.9 เมตร สูง 2.3 เมตร เพื่อไม่ใหค้ บั แคบเกินไป สามารถใหบ้ ริการได้คร้งั ละ 3 – 4 คน พน้ื และฝาผนัง ควร เปน็ พืน้ ปนู ขัดหนา้ เรียบ ท�ำความสะอาดได้ง่าย หรืออาจปูดว้ ยกระเบือ้ งเคลอื บ ชว่ ยใหส้ วยงามและ ท�ำความสะอาดได้ง่ายเช่นกัน ประตูห้อง ควรเป็นแบบเปิดออก ปิดมิดชิดแต่ไม่มีกลอนจากด้าน ใน อาจเจาะเป็นช่องกระจกที่สามารถมองจากภายนอกเห็นภายในห้องได้ ต้องมีเทอร์โมมิเตอร์ ส�ำหรบั วัดอุณหภูมิ ภายในห้องอบอุณหภูมิ 42 – 45 องศาเซลเซยี ส ซงึ่ สามารถตรวจสอบอุณหภมู ิ จากภายนอกหอ้ งมนี าฬกิ าจบั เวลาซงึ่ สามารถตงั้ เวลาได้ มเี ครอื่ งชง่ั นำ้� หนกั เครอื่ งวดั ความดนั โลหติ และปรอทวดั ไข ้ 130 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนนิ การสปาเพ่อื สขุ ภาพ

3.2 การบริการท่ีใช้ความเย็น ประเทศฟินแลนด์และรัสเชียซ่ึงมีอากาศหนาว นิยมการอบไอน�้ำแบบพื้นบ้านของ ประเทศ จะอาศัยความเย็นจากแหล่งน้�ำเยน็ ธรรมชาติ เช่น ลำ� ธารหรอื สระน�ำ้ ธรรมชาตทิ ่นี ้�ำอาจจบั ตวั เปน็ นำ้� แขง็ ในฤดหู นาว ชาวบา้ นจะเจาะนำ้� แขง็ สว่ นบนเปดิ เปน็ ชอ่ งเพอื่ จมุ่ ตวั ลงในนำ�้ ทม่ี อี ณุ หภมู ิ จุดเยอื กแขง็ สลับกับการอบไอรอ้ น เมอ่ื พฒั นามาเปน็ สถานบรกิ ารอบไอนำ้� ในเวลาตอ่ มาอาจใชน้ ำ�้ เยน็ ธรรมชาตจิ ากระบบ ประปา แต่ถ้าอากาศร้อน จะต้องมีระบบท�ำน้�ำเย็น (Chiller) ติดตั้งไว้เพื่อปรับอุณหภูมิน�้ำให้เย็น แล้วปล่อยเข้าบ่อเย็นสำ� หรบั ผ้รู ับบรกิ ารแช่ตวั อณุ หภูมทิ ่นี ิยมใชอ้ ยู่ระหว่าง 4 - 15 องศาเซลเซียส ระบบน้�ำเย็นเป็นเร่ืองส�ำคัญ เพ่ือช่วยบรรเทาความร้อน และช่วยปรับสมดุลระบบ รา่ งกาย ปจั จบุ นั การอบไอนำ้� แพรห่ ลาย แตป่ รากฏวา่ ผปู้ ระกอบการไมม่ คี วามรคู้ วามเขา้ ใจเรอื่ งนี้ จงึ มไิ ดจ้ ดั ระบบนำ�้ เยน็ ไว้ บางแหง่ มแี ตผ่ รู้ บั บรกิ ารไมม่ คี วามรคู้ วามเขา้ ใจ ผดู้ ำ� เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ จึงควรเนน้ ความสำ� คัญเรื่องน้ี 3.3 การบริการผิวกาย การดูแลผิวหนา้ ผิวกาย รวมทงั้ การดแู ลเลบ็ เสน้ ผม หนังศรี ษะ ขนและกำ� จัดขน เป็น สิ่งที่ควรให้ความส�ำคัญ เน่ืองจากสภาพภายนอกร่างกายคือผลสะท้อนการท�ำงานของระบบต่างๆ ภายในรา่ งกาย ซงึ่ เสรมิ กนั อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ บคุ ลากรทท่ี ำ� งานดา้ นนจ้ี งึ ควรเรยี นรแู้ ละเขา้ ใจการ ท�ำงานต่างๆภายในร่างกาย เช่น ผิวหนัง (Skin) การไหลเวียน (Vascular system) การหายใจ (Respiratory system) การย่อยอาหาร (Digestive system) การขับถ่าย (Excretory system) เพื่อน�ำมาประยุกตใ์ ช้ในการดูแลผิวหน้า ผวิ กาย ได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพมากยงิ่ ข้นึ ผวิ หนงั เปน็ อวยั วะใหญท่ ส่ี ดุ ของรา่ งกาย มลี กั ษณะหนาบางแตกตา่ งกนั สว่ นทบี่ างทสี่ ดุ คือเปลอื กตา และใบหู มคี วามหนาประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนที่หนาทส่ี ุดคอื ฝา่ เท้า มีความหนา ประมาณ 1 - 2 มลิ ลเิ มตร โดยทวั่ ไปผวิ หนงั จะมคี วามหนาประมาณ 1 - 2 มลิ ลเิ มตร การเขา้ ใจสภาพ ของผิวหนัง และใส่ใจอย่างสมำ่� เสมอจะส่งผลให้สขุ ภาพผวิ ดี ไม่ให้เกดิ โรคผิวหนงั กรมสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 131

1) โครงสร้างผิวหนัง ภาพที่ 33 โครงสรา้ งผิวหนงั ผวิ หนงั แบง่ เป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชน้ั หนงั ก�ำพร้า (Epidermis) ชน้ั หนงั แท้ (Dermis) และ ชน้ั ไขมนั (Subcutis) ในแตล่ ะชนั้ จะแบง่ เปน็ ชนั้ ยอ่ ยๆอกี หลายชน้ั และมตี อ่ มตา่ งๆ อกี มากมาย เชน่ ต่อมเหงื่อ ตอ่ มไขมนั เปน็ ต้น ซง่ึ จะมหี นา้ ที่แตกต่างกันออกไป 1.1) ชน้ั หนงั ก�ำพรา้ (Epidermis) เป็นชัน้ ทอ่ี ย่นู อกสุด ทำ� หนา้ ทีช่ ว่ ยปกป้องผวิ จากสารพษิ แบคทีเรยี และการสญู เสียน้ำ� ชั้นหนังก�ำพร้าแยกได้เป็น 5 ช้ันย่อย ซึ่งมีส่วนในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (keratinisation) ประกอบด้วย 1. Basal layer หรือ stratum basale เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ซึ่งเซลล์คีราติโนไซต์ (keratinocyte) ถูกผลติ และถือว่าเปน็ ชัน้ ท่เี ซลล์ยงั มชี ีวติ 2. Prickle layer หรอื stratum spinosum เซลลค์ รี าตโิ นไซตใ์ นสว่ นนจ้ี ะผลติ โปรตนี ท่ี เรียกว่า เคราตนิ (Keratin) มลี กั ษณะเลก็ เรยี ว ในผวิ ชนั้ นยี้ ังมเี ซลล์แลงเกอรฮ์ านส์ (Langerhans) ท�ำหน้าทีต่ รวจจบั สงิ่ แปลกปลอม โดยเฉพาะสารทท่ี �ำให้เกดิ ผ่นื แพ้ สัมผัส (allergic contact dermatitis) 3. Granular layer หรอื stratum granulosum ชน้ั นจ้ี ะเปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของกระบวนการ ผลดั เซลลผ์ วิ เซลลจ์ ะเรม่ิ มลี กั ษณะแขง็ และเรม่ิ เปลยี่ นเปน็ เคราตนิ และลพิ ดิ (Lipid) 132 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

4. Clear layer หรอื stratum lucidium เซลลใ์ นช้ันนจี้ ะอัดตวั กนั อยูอ่ ย่างหนาแนน่ และมีลักษณะแบนราบ ไมส่ ามารถแยกตวั ออกจากกนั ได้ 5. Horny layer หรือ stratum corneum มีลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ เรียงกันขนาน กับผวิ เปน็ เซลลท์ ่ตี ายแล้ว จะหลดุ ลอกออกเป็นข้ีไคล (desquamation process) เซลล์ใน horny layer จะถกู เคลือบไวด้ ้วยไขมนั ท่เี ซลล์ผิวผลิตขนึ้ มา (lipids barriers) ประกอบด้วย free fatty acid cholesteral และ ceramide ท�ำหน้าท่ีเป็นเกราะป้องกันผิวจาก แบคทเี รยี เช้อื รา สารเคมีต่างๆ และใหค้ วามชุม่ ช้ืน ถา้ ผิวของเราขาดไขมนั เหลา่ นผี้ ิวจะแห้งหยาบ ลอกเป็นขยุ ติดเชอ้ื โรคไดง้ า่ ย และเกิดผน่ื แพไ้ ด้ 1.2) ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชนั้ สว่ นใหญข่ องผวิ หนัง ในช้ันนีจ้ ะพบ • เส้นใยคอลลาเจน (Collagen fiber) คือ โปรตีนคอลลาเจน เป็นส่วนประกอบที่ มีมาก (ประมาณร้อยละ 97.5 โดยน�้ำหนัก) ท�ำให้ผิวหนังเกิดความแน่นและแข็ง แรง คอลลาเจนในเนื้อเย่ือต่างๆจะมีการสลายและสร้างข้ึนใหม่เพื่อทดแทนกัน ตลอดเวลา ชนั้ หนังแทห้ นาท่สี ุดอยู่หลังต้นขา และหนา้ ท้องตามลำ� ดบั • เส้นใยอีลาสติค (Elastic fiber) มีอยู่ประมาณร้อยละ 4 ของน้�ำหนักผิวหนัง มหี น้าท่ีชว่ ยใหผ้ วิ เกิดความยืดหยุ่น เสน้ ใยนี้จะเสอ่ื มสภาพเม่ือผิวถูกแดดจดั • ผม ขน และปมุ่ รากขน (hair and hair follicles) • กลา้ มเนอื้ พยงุ ขน (Arrector pilorum muscles) ทำ� หนา้ ทใ่ี หข้ นตงั้ ขนึ้ เวลารา่ งกาย รู้สกึ หนาว • เส้นประสาท (Nerve) ควบคุมการท�ำงานของต่อมเหงื่อ กล้ามเนือ้ เรียบของหลอด เลอื ดและกลา้ มเนอ้ื ขนาดเลก็ ทอ่ี ยบู่ รเิ วณรากขนหรอื ผม และทำ� ใหเ้ ราเกดิ ความรสู้ กึ สมั ผสั ตา่ งๆ เชน่ เจบ็ ปวด คัน ถกู กด กระแทก รบั รูแ้ รงสั่นสะเทือน รับรู้อณุ หภมู ิ ท่ีเปลี่ยนแปลง • หลอดเลือด เส้นเลอื ด (Blood vessels) หลอดเลือดทม่ี าเล้ียงผวิ หนงั จะเป็นแขนง เล็กๆ ที่ทะลุผ่านชั้นเนื้อเย่ือไขมันข้ึนมา ท�ำหน้าท่ีน�ำอาหารมาเลี้ยงเซลล์ผิวหนัง และยังชว่ ยปรบั อุณหภูมริ า่ งกาย รวมถงึ ควบคมุ ความดันโลหติ • น้�ำเหลือง (Lymph vessels) ระบบน�้ำเหลืองท�ำหน้าทคี่ วบคมุ ความดันของน้ำ� ทอี่ ยู่ ระหว่างเซลลแ์ ละชว่ ยถ่ายเทของเสียจากผิวหนัง กรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 133

• ต่อมน�้ำมัน (Sebaceous glands) พบได้ท่ัวร่างกายยกเว้นฝ่ามือและฝ่าเท้า ต่อมน้�ำมันในส่วนต่างๆของร่างกายมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ละต่อมจะประกอบด้วย เซลล์ที่สร้างไขมันอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ท�ำหน้าที่สร้างไขผิว (Sebum) เคลือบผิว เพ่ือชะลอการสญู เสยี นำ้� การเจรญิ เตบิ โตของตอ่ มนำ้� มนั ขน้ึ อย่กู บั ฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ในเพศชายจะมีการสร้างไขมันมากกว่าเพศหญิง การสร้างไขมันจะ มีการเปล่ียนแปลงไปตามวัย เม่ืออายุมากขึ้นการสร้างไขมันจะลดลง สังเกตได้ว่า คนชราจะมผี ิวค่อนขา้ งแห้ง • ต่อมเหง่ือ (Sweat gland) จะอยู่บริเวณส่วนล่างของหนังแท้ หรือบริเวณรอยต่อ ของชน้ั หนงั แท้ และชน้ั ไขมนั มที อ่ เปดิ ออกสภู่ ายนอกผวิ หนงั ทำ� หนา้ ทข่ี บั เหงอื่ และ ของเสยี ออกจากรา่ งกาย ขบั เหงอื่ ประมาณวนั ละ 700 - 900 ซซี ี และประมาณ ร้อยละ 99 ของเหง่อื จะเปน็ น้�ำ นอกนนั้ จะเปน็ ไขมัน เกลอื และอื่นๆ • ตอ่ มกล่นิ (Apocrine gland) พบไดบ้ ริเวณรักแร้ อวยั วะเพศ รอบทวารหนัก ตอ่ ม ชนิดน้ีจะอยู่ทชี่ ้นั ไขมันใต้ผิวหนัง และมที ่อเปดิ อยูเ่ หนอื ทอ่ เปิดของตอ่ มไขมัน ต่อม กลน่ิ มหี น้าทีส่ ร้างกล่ินและควบคุมอุณหภมู ขิ องรา่ งกาย 1.3) ชน้ั ของไขมนั หรอื เน้อื เยื่อไขมัน (Subcutis หรือ subcutaneous tissue) ช้ันนีจ้ ะทำ� หน้าท่เี ป็นฉนวนปอ้ งกนั แรงกระทบจากภายนอก ชว่ ยเก็บสะสมพลงั งานไว้ ใชใ้ นยามทจี่ ำ� เปน็ หรอื ขาดแคลน ทำ� ใหผ้ วิ หนงั เคลอื่ นไหวไดโ้ ดยไมต่ ดิ กบั อวยั วะอน่ื ๆ ดา้ นลา่ ง ชนั้ นี้ ประกอบดว้ ยเซลลไ์ ขมนั (fat cell หรอื cellulite) จำ� นวนมากทอ่ี ยรู่ วมกนั เปน็ กลมุ่ อาจพบบางสว่ น ของเสน้ ประสาท เส้นเลอื ด และทอ่ น�ำ้ เหลืองรวมอยดู่ ว้ ย ผวิ หนังช้นั หนังแทแ้ ละชั้นไขมันนแี้ ยกออก จากกนั ไมช่ ัดเจนนัก สว่ นใหญอ่ าศยั การดูปรมิ าณของไขมนั จำ� นวนของเซลลไ์ ขมันที่อย่ใู นชัน้ ไขมัน แตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของร่างกาย ยิ่งกว่าน้ันการกระจายตัวของไขมันยังแตกต่างกันระหว่าง ผู้หญิงกับผู้ชาย ผิวหนังจะเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ร่างกายบางส่วนก็ไม่มีไขมัน เชน่ เปลือกตา ถุงอณั ฑะ และอวัยวะเพศชาย (Penis) เป็นตน้ เซลล์ไขมันอยู่ในเส้นใยโครงร่างตาข่ายของเนื้อเย่ือเก่ียวพัน เซลล์ไขมันมีหน้าท่ี สะสมไตรกลีเซอไรด์ การย่อยสลายตัวของไขมันไปเป็นกรดไขมันอิสระและกลีเซอรอล การสะสม ไตรกลเี ซอไรดม์ ากเกนิ ไป ทำ� ใหก้ อ้ นไขมนั สะสมผดิ ปกติ ผนงั หลอดเลอื ดของเซลลไ์ ขมนั จะรวั่ ทำ� ให้ มีน้�ำซึมผ่านออกจากเซลล์ไขมันและเกิดการคั่ง ท�ำให้เน้ือเยื่อรอบเซลล์ไขมันอ่อนแรงและรูปทรง ของเซลล์เสียหาย เซลล์ไขมันจะดันโป่งมายังชั้นผิวหนังทำ� ให้เกิดลักษณะเป็นปุ่ม ๆ หรือที่เรียกว่า ‘เซลลูไลท์ (Cellulite)’ เม่ือใดที่เซลลูไลท์ไปกดทับเนื้อเยื่อจะท�ำให้น้�ำเหลืองและเลือดมี การหมนุ เวียนได้ชา้ ลง 134 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพ่ือสขุ ภาพ

เซลลูไลท์เกิดในผู้หญิงง่ายกว่าผู้ชาย เน่ืองจากความแตกต่างของโครงสร้างเนื้อเย่ือ เก่ียวพัน เน้ือเย่ือเก่ียวพันของผู้ชายจะกระจายตัวมากกว่าเนื้อเย่ือเก่ียวพันของผู้หญิงซ่ึงมี การจดั เรยี งตวั เปน็ แนวตง้ั อยรู่ ะหวา่ งชนั้ หนงั แทแ้ ละชนั้ ไขมนั ทำ� ใหม้ เี สน้ ใยขนานยดึ อยกู่ บั ผวิ เปน็ ชอ่ งวา่ งระหวา่ งเซลล์ ทใ่ี ดมเี สน้ ใยชนดิ นกี้ จ็ ะปรากฏ ‘ผวิ เปลอื กผลสม้ ’ การสะสมของไขมนั อาจเกดิ ได้ แม้ในบุคคลที่มีน้�ำหนักธรรมดาหรือคนผอม บริเวณที่ไวต่อการสะสมของเซลลูไลท์คือต้นขา และเป็นตำ� แหนง่ ทีม่ กั ตอ้ งได้รับการดแู ล โครงสรา งชน้ั ไขมันในผหู ญงิ โครงสรา งชนั้ ไขมันในผชู าย ชั้นหนงั ก�ำพร้า ชน้ั ชห้ันนหังนกงัาํ พแทรา้ ไขมันช้นั บน ช้นั เหซนลังลแไ์ ทขมัน เสน้ ใยเกีย่ วพนั ภาพทภี่ 3าพ4ทโี่ค4รโงคสรรง้าสงรชา น้ังขไอขงมชันน้ั ไขมนั เซลลูไลท เปน คาํ ที่ใชเ รียกลกั ษณะเน้ือเย่อื ท่ีเกาะตวั เปนปุม ๆ ทาํ ใหผ ิวดูไมราบเรียบ หรอื อีกนยั หน่ึง เรยี กวา \"ผวิ เปลอืเซกลผลสูไลม ท\" ข์ ้ันเปต็นอนคก�ำาทร่ีใเชกิด้เรเียซลกลลไู ักลษทแณบะงเนปนื้อเ3ย่ือขท้นั ่ีเตกอานะดตงั ัวนเ้ี ป็นปุ่ม ๆ ท�ำให้ผิวดูไม่ราบเรียบ หรอื ที่เรียก ‘ผิวเปลอื ก1ผ) ลคสอ้มมแ’ พข็ค้นั ตหอรือนกเฟารรมเกเดิซเลซลลไู ลลทไู ล (ทCoแ์ mบ่งpเaปcน็t o3r Fขiัน้rmตอCนeดllังuนlit้ี e) ในข้ันนี้ เซลลไขมัน จะเกิดอาการคั่ง1ไ)ขมคันสอวมนแมพาก็คจะหบรวือมใหเญฟกิรว์มาปเกซตลิ 2ล-ูไ3ลเทท์า(แcลoะmเรpิ่มaจcับtตัวoกrันเfปirนmกลุมcกeอllนulจiะteท)ําใหในหขน้ันงแนท้ี  เสือ่เซมลลงไ์ แขลมะนัระจบะเบกหดิ ลมอไีดขเลมอื นั ดคเสงั่ ยี สสว่ภนาพมากจะบวมใหญก่ วา่ ปกติ 2 - 3 เทา่ และเรมิ่ จบั ตวั กนั เปน็ กลมุ่ กอ้ น จะทำ� ให้หนังแทเ้ สื่อมล2ง) เแซลละลรูไละบทชบนหิดลนอมุ ด(เSลoอื fดt เCสeียllสuภlitาeพ)ในข้ันทสี่ อง เน้อื เย่อื ในช้นั ไขมันและช้นั หนังแทจะ เส่อื มลงชดั เจนม2าก)ขเึน้ ซเลปลน ไูผลลใทห์ชเซนลิดลนไ ขมุ่มนั (ขsยoาfยtใหcญelข lu้นึ แliลteะ)รวใมนตขัวจนั้ ับตก่อนั ไเปปน เกนลอื้ ุมเทยาํอ่ื ใใหนรชะบน้ั บไขไหมลนั เวแียลนะโชลนั้ หหติ แนลังะ น้าํ แเหทล้จอื ะงเเสสื่อ่ือมมปลรงะชสัดิทเธจิภนามพาลกงขมึ้านกจเนปก็นอผใหลใเกหิด้เกซาลรลส์ไะขสมมันขอขงยขาอยงเใหหลญวใ่ขน้ึนชแอ ลงวะา รงวรมะหตวัวา จงับเซกลันลเ รปว็นมกทลั้งเุ่มซลทลไ�ำขใมหัน้ จะรหะยบุดบกไาหรทลําเหวนียานทเ่ีคลวือบดคแุมลแะลนะ�้ำเปเหล่ียลนือรงูปเสไข่ือมมันปแรละะสสิทารธอิภาาหพารลองืน่ มลางกอยกาง่อชใาหๆ้เกวิดัฏกจาักรรสนะี้เรสง มกขารอเงกเดิ หกลลวุมใกนอชน่อเลง็ก ๆไแชขลั้นวอปบมทะหา่ัื่นน่ีเนรสรนงะทาลผียัรงสม่ีสงกแวิะาิทอะวหหทรสยาธถเวนมฉิภ่าม่า\"งั่ือไผงองาวจยิวชเงพใาซเลเน้าปกหขงลชลน็นอๆลั้นหือ้นัง์ผ“นกรรวิวผผังวะโัฏิวแลมบปกเทจสปาทบรักจมรลต้ังไเะ\"รือเสีนหบซนจกื่อทลาะล้ีผเมรเง่ีสปลลวป่ลงะสรไ์ียกรงสขาม เะนากมนม\"สรโฏื่อไไนัิทลเดวขงกจธหชม้ึ้จนิดิภะัดิตะาบหกาเจเทนพจรยลา่มิผ�นำขกุ่ดุมิใวดสอกกกหหวงราา้อ้ยกนร้ารระกนงังสรทบจาตะังเรล�ำาบเบาคบกห็กขไวรหีบนน่านา้ัผนลๆย้าะกวิเทลหวโเาปทข้อียโ่คีรปานรมี่เเวหรตรผโกบียลตาีนา้อคกหีนกทผนนัุมิตไวี่สลรดไแท่าะาปขวลําสญยรม‘ใะมผะหนันพเไสิวปกิว้วทลิทชเจรลปั่ีสงีแ้ะธะย่ี งะลบิลภเนราสะือวา่ิมนรมนนพกสูปใ้วิไกผรนทวไหาาลขช้ใํารวังนสมใเแ้ันตผห้มชมันาหาผมข’้นัแผนิวาอื ผลลจหยังาะิวะแนลญสปอทังกาพรหม้เราาลฉยรอรกัองอื่อาเงฏบนสยหากขอ่ืยนลาอา้ึนมใงรนนน หนังแท้จะบา3งล) งเซเนลล่ือูไงลมทาชจนาิดกแกขา็งร(สHังaเrคdรCาeะlหlu์โlปitรeต)ขีนั้นไตรอ้ปนรสะุดสทิทาธยขิภอางพการทส�ำะใสหม้ผเซิวลหลนูไลังทหยจ่อะเนกยิดากนอนแแลขะ็ง ๆทําสใในหาบมผริาวิเรหวถณนมังชมอ้ันีรงหอเนหยงั บ็นแุมท‘ขผ กนิวลาเุมดปกใลหออื ญนกข ผสอลางมไสขาม้ มร’ันถไมแดลอช้ะงเเดั หซเล็นจลไนดไ โขชดมัดยนั เกจเหนาลรในาบนขบี ี้ถณผูกะิวลยเอขืนมา้ รเหมอาื่บอกใดชันว มยดือช้วคัน้ ยลตนําา้ิวขจชาะย้ีแรโลูสปะัมรนผติว้ัสีนหไทดัวี่มถแีลึงมกักษ่มอณนือไะขแมขัน็ง แข็งเปน ลูก ๆ การกาํ จดั เซลลไู ลททาํ ไดหลายวิธี กเชรนมสกนารบั นสวนดุนกบารรใิกชาเครรสอ่ืุขงภมาอื พคลก่ืนรไะฟทฟราวงสาธารณสุข 135 ขอควรปฏบิ ัติหลงั การทาํ ทรที เมนทก าํ จดั เซลลไู ลท

3) เซลลูไลท์ชนิดแข็ง (hard cellulite) ขั้นตอนสุดท้ายของการสะสมเซลลูไลท์ จะเกิดก้อนแข็ง ในบริเวณชั้นหนังแท้ กลุ่มก้อนของไขมันและเซลล์ไขมันเหล่าน้ีถูกล้อมรอบด้วย ช้ันตาข่ายโปรตีนที่มีลักษณะแข็ง ท�ำให้ผิวหนังมีรอยบุ๋มขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในขณะยนื เม่ือใชม้ ือคลำ� จะสมั ผสั ได้ถงึ กอ้ นไขมันแข็งเปน็ ลกู ๆ การก�ำจัดเซลลไู ลท์ท�ำไดห้ ลายวธิ ี เชน่ การนวด การใชเ้ คร่อื งมอื คลื่นไฟฟ้า ขอ้ ควรปฏิบัติหลงั วธิ กี ารกำ� จดั เซลลไู ลท์ 1) ดม่ื น�้ำมากๆวนั ละ 9 - 10 แก้ว 2) ออกกำ� ลังกายอย่างพอเหมาะและสมำ�่ เสมอ 3) รบั ประทานอาหารทถี่ ูกหลักโภชนาการ 2) หนา้ ทขี่ องผวิ หนงั ผิวหนังท�ำหน้าท่ีปกป้องอวัยวะส่วนอ่ืนของร่างกาย ช่วยรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ ในระดับปกติ ส่งเสริมการท�ำงานของระบบไหลเวียนเลือด ช่วยน�ำเลือดไปเล้ียงส่วนต่างๆ ของรา่ งกาย และสง่ เสรมิ การทำ� งานของระบบนำ�้ เหลอื งในการขบั ของเสยี ออกจากรา่ งกายผา่ นรขู มุ ขน หน้าทข่ี องผวิ หนังแยกออกได้ดังนี้ 1. Sensation รบั ความรสู้ กึ 2. Heat Regulation ควบคมุ อุณหภูมิ 3. Absorption ซมึ ซบั สารอาหาร วิตามนิ 4. Protection ปกคลมุ ร่างกาย แสงแดด และสิง่ แปลกปลอม 5. Elimination ขับถา่ ยของเสยี 6. Secretion สร้างตอ่ มนำ�้ มัน 7. Vitamin D สรา้ งวติ ามนิ D 3) ประเภทของผวิ ตามพ้ืนฐานแบ่งออกไดด้ ังน้ี 3.1) ผิวธรรมดา จะมีน�้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 15 - 25 เป็นผิวท่ี ละเอียดมีปริมาณไขมันท่ีพอเหมาะ มีความชุ่มชื้นและสดใส แต่บริเวณใบหน้าท่ีเป็นช่วงทีโซน (T-ZONE) ไดแ้ ก่ บรเิ วณหนา้ ผาก จมกู และคาง มคี วามมนั มากกวา่ สว่ นอน่ื ซง่ึ ถอื วา่ เปน็ เรอื่ งปกติ ในคนคนเดยี วกนั อาจจะมลี กั ษณะของผวิ ทแ่ี ตกตา่ งกนั ได้ ขน้ึ อยกู่ บั สภาพรา่ งกายและสงิ่ แวดลอ้ มดว้ ย 136 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สุขภาพ

ลกั ษณะทมี่ องเหน็ ไดด้ ว้ ยตาเปลา่ และจากการสมั ผสั มลี กั ษณะละเอยี ด นมุ่ รขู มุ ขนเลก็ มคี วามมนั ระดับปกติ 3.2) ผวิ แห้ง จะมนี �ำ้ เปน็ สว่ นประกอบน้อยกว่าผวิ ธรรมดาคือ มีนำ�้ อยู่ในเคราตนิ น้อย กวา่ รอ้ ยละ 10 และอาจเกดิ จากต่อมไขมันผลิตนำ�้ มนั ไดน้ อ้ ย ผิวจงึ สญู เสยี ความชน้ื ได้งา่ ย สังเกตได้ จากลกั ษณะผวิ ตงึ อาจลอกเปน็ ขยุ หรอื แตกได้ สผี วิ ซดี จาง มปี รมิ าณเหงอื่ ออกนอ้ ย ไวตอ่ การกระตนุ้ รอบปากแห้ง ตึงรอบดวงตาเกิดรอยเห่ยี วย่นเลก็ ๆ ลักษณะท่ีมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและจากการสัมผัส ลักษณะผิวดูด้าน ลอกเป็นขุย สีผิวซดี ปรมิ าณเหง่ือน้อย ไวตอ่ การกระตุน้ เกิดริ้วรอยเหย่ี วย่นได้งา่ ย 3.3) ผวิ มนั มนี ำ้� เปน็ สว่ นประกอบในปรมิ าณใกลเ้ คยี งกบั ผวิ ธรรมดา (15 -25%) เพยี งแต่ มีน้�ำมันมากกว่าปกติเนื่องจากต่อมไขมันมีการสร้างน้�ำมันมากเกินไป ท�ำให้เกิดการอุดตันและ กลายเป็นสิวได้ง่าย เช่นในวยั รนุ่ มกี ารกระตุ้นการสรา้ งฮอรโ์ มนเพศ ส่งผลใหต้ ่อมไขมันถกู กระตุ้น ตามไปด้วย ทำ� ให้มนี �้ำมันมากเกนิ ไป ผิวหนา้ จะมีความมนั และเกดิ เปน็ สวิ ไดง้ ่าย ลกั ษณะทมี่ องเหน็ ไดด้ ว้ ยตาเปลา่ และจากการสมั ผสั มนี ำ้� มนั ทเี่ กนิ ปกตเิ คลอื บอยบู่ นผวิ เสมอ ท�ำให้หน้ามันตลอดเวลา รูขุมขนกว้าง ผิวมันที่มีสิวอุดตัน รูขุมขนกว้าง แต่ขับไขมันออกมาไม่ได้ ตามปกติ เป็นสาเหตใุ หเ้ กิดสิวเสยี้ น ทาแป้งมกั ไมต่ ดิ ผิว 3.4) ผวิ ผสม คือผิวทม่ี ีลกั ษณะต้งั แต่ 2 ชนดิ ขน้ึ ไปประกอบกนั ลักษณะที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและจากการสัมผัส โดยท่ัวไปส่วนใหญ่พบว่าบริเวณ ทโี ซน ได้แก่ หน้าผาก จมูก และรอบรมิ ฝปี าก จะมคี วามมัน สว่ นบรเิ วณแกม้ รอบดวงตาและลำ� คอ จะแหง้ 4) ปจั จัยที่ท�ำใหผ้ วิ มคี วามแตกต่างกนั ลกั ษณะผวิ ทแี่ ตกตา่ งกนั ทงั้ ความละเอยี ด สผี วิ ความมนั ลกั ษณะของขน ผม และรขู มุ ขน ความหนา หยาบกร้าน ผิวเนียนบางนุ่ม อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ ท้ังลักษณะภายนอก โครงสร้าง ภายใน สภาพสง่ิ แวดล้อมตา่ งๆ เชน่ 4.1) พันธุกรรม เป็นตัวก�ำหนดลักษณะต่างๆ ของผิวแต่ละคน ลักษณะของผิวและ สผี วิ จะคลา้ ยกนั ในบคุ คลทเี่ ปน็ เครอื ญาตกิ นั รวมถงึ เชอ้ื ชาติ ในคนผวิ ขาวจะมโี อกาสเกดิ โรคผวิ หนงั ได้ง่ายกว่าคนผิวด�ำ เน่ืองจากมีเม็ดสีเมลานินที่ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต ท�ำให้ มีโอกาสเกิดมะเร็งทีผ่ ิวหนงั ได้งา่ ยกว่า กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 137

4.2) อายุ ความแตกต่างของอายุหรือวัย ท�ำให้ผิวหนังมีลักษณะและโครงสร้างท่ี แตกตา่ งกันด้วย • ผิวทารกหรือผิวเดก็ มีความละเอียด ออ่ นนมุ่ น่าสมั ผัส เป็นผวิ ทีอ่ ่อนบาง มีโอกาส ทีจ่ ะเกดิ การแพห้ รือระคายเคืองได้งา่ ย • ผิววัยรุ่น มีการสร้างและผลิตฮอร์โมนเพ่ิมมากข้ึน ต่อมไขมันถูกกระตุ้นมากขึ้น ท�ำให้ผวิ หนา้ มัน เปน็ สาเหตุสำ� คญั ของการเกิดสิวในวัยร่นุ • ผวิ ชราหรอื ผวิ สงู วัย มีลกั ษณะของผวิ ท่แี หง้ กร้านมีร้ิวรอยมากข้นึ มคี วามเห่ียวย่น ช้ันผิวจะบางลง เกิดการอกั เสบได้ง่าย ถ้าเปน็ แผลจะหายช้า 4.3) อาหารและนำ�้ การบรโิ ภคอาหารท่มี ปี ระโยชนถ์ ูกสุขลกั ษณะ ได้สารอาหารและแรธ่ าตคุ รบถว้ น ดืม่ นำ้� เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย มีส่วนท�ำให้ผิวมีสุขภาพดี อาหารโปรตีนเป็นต้นก�ำเนิดของ คอลลาเจน ผูใ้ หญ่ควรได้รับโปรตีนอย่างนอ้ ยประมาณวนั ละ 100 กรัม • วิตามินและเกลือแร่ ท�ำให้ผิวหนังมีสุขภาพดีเป็นอย่างมาก ส�ำหรับวิตามินท่ีควร ใส่ใจเป็นพเิ ศษคอื วิตามนิ ซี อี และแคลเซียม โดยเฉพาะวติ ามินซี (Vitamin C) ชว่ ยท�ำให้ฝ้า รอยด่างด�ำ จางเร็วขึน้ • การสูบบุหรี่และด่ืมสุรา ท�ำให้ระบบทางเดินอาหาร และระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี ร่างกายได้รับสารอาหารและออกซิเจน ท่เี ปน็ ประโยชน์ตอ่ เซลลผ์ ิวลดนอ้ ยลง 4.4) การออกก�ำลังกาย มีผลให้การสูบฉีดโลหิตดีข้ึน เซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ผิว ได้รับสารอาหารมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ ท�ำให้ผิวแข็งแรงข้ึน และยังช่วยก�ำจัดของเสียออกจาก ร่างกาย แต่อย่าหักโหมเกินไป ควรเลือกประเภท และระยะเวลาในการออกก�ำลังกายให้เหมาะแก่ วยั และสภาพรา่ งกายดว้ ย 4.5) การพักผ่อน การพักผ่อนไม่เพียงพอหรืออดนอน ท�ำให้ปริมาณเลือดท่ีมา หล่อเล้ียงลดลง ร่างกายและเซลล์ผิวได้รับออกซิเจนและสารอาหารลดลง ส่งผลให้ผิวไม่สดใส ดูหมองคล�ำ้ ขอบตาด�ำ ถา้ เป็นสิวการอดนอนอาจท�ำใหส้ วิ เหอ่ ขึน้ มาได้ 138 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนนิ การสปาเพอ่ื สขุ ภาพ

4.6) ยาและสารเคมี เมื่อร่างกายได้รับยาบางชนิดเข้าไปอาจมีผลท�ำให้ผิวเกิดการ เปลยี่ นแปลงในลักษณะตา่ งๆได้ เช่น ยาเม็ดคุมก�ำเนิดท�ำใหเ้ กดิ ฝ้า หรือรอยดา่ งด�ำ ยาสเตียรอยด์ อาจทำ� ใหเ้ กิดผิวมันและเป็นสวิ ได้ อาการแพ้ยาต่างๆทำ� ให้ผวิ หนงั เกดิ รอยผน่ื คนั ตมุ่ น�ำ้ หรอื ลมพษิ ได้ 4.7) เพศ ลกั ษณะของผวิ หนงั ในชน้ั หนงั แทข้ องเพศชายมคี วามหนากวา่ เพศหญงิ ผวิ จงึ ทนทานตอ่ สภาพแวดลอ้ มไดด้ กี วา่ เพศชายมคี อลลาเจนหนาแนน่ กวา่ ผวิ หนงั จงึ แขง็ แรงไมห่ ยอ่ นยาน เท่าเพศหญิง นอกจากน้ียังมีฮอร์โมนเพศชายท่ีท�ำให้ต่อมไขมันสร้างน้�ำมันได้มากกว่า ผิวหนังจึง ชมุ่ ชน้ื ไมแ่ หง้ สว่ นเพศหญงิ มกี ารใชเ้ ครอ่ื งสำ� อางมากเปน็ การทำ� รา้ ยผวิ หนงั ยงิ่ ขน้ึ จงึ ทำ� ใหเ้ พศหญงิ ดูแก่ ผิวหนงั เหยี่ วย่น หย่อนยาน มากกวา่ เพศชายในวยั เดยี วกัน 4.8) แสงแดด มีอิทธิพลต่อผิวหนังเป็นอย่างมาก เน่ืองจากผิวหนังเป็นอวัยวะท่ีต้อง สัมผสั กับแสงแดดมากทส่ี ุด ถา้ ไดร้ บั แสงแดดเป็นเวลานาน ผิวจะดแู ห้งหยาบกรา้ น มีสีคลำ�้ ขนึ้ สผี ิว ไม่สม่ำ� เสมอ การดูแลผิวกาย (Body treatment) อวยั วะสว่ นตา่ งๆภายนอกรา่ งกายจำ� เปน็ ตอ้ งไดร้ บั การดแู ลไมแ่ พใ้ บหนา้ เพราะผวิ พรรณ ทสี่ ะอาดเนยี นนมุ่ ทำ� ใหน้ า่ สมั ผสั กลนิ่ กายอนั หอมสดชน่ื ทำ� ใหผ้ ทู้ อี่ ยใู่ กลม้ คี วามสขุ สบายใจ ดงั นนั้ จงึ ควรเอาใจใสร่ ่างกายและผิวอยา่ งสม�ำ่ เสมอ การใหบ้ รกิ ารดแู ลผิวกายในสถานประกอบการสปาเพอ่ื สุขภาพประกอบดว้ ย 1) การแช่/อาบ (Bath) เป็นรปู แบบการใช้น้�ำเพ่อื สขุ ภาพท่ีเกา่ แกท่ ่สี ุด มหี ลากหลาย วิธีซึ่งพบได้ในหลายวัฒนธรรม เช่น กรีก โรมัน จีน และญี่ปุ่น การแช่อาบมีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลายอย่าง การแช่น้�ำท่ีอุณหภูมิใกล้เคียงกับร่างกายนาน 20 - 30 นาทีจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และสดช่ืน การแชน่ ้ำ� อ่นุ ชว่ ยแก้อาการนอนไมห่ ลบั และลดความเครียด การแช่น�้ำร้อนช่วยลดอาการ ปวดขอ้ และชว่ ยการหายใจให้ดีข้นึ การแช่น้ำ� เย็นใชส้ �ำหรบั ลดไข้และกำ� จัดอาการเหน่อื ยลา้ กระต้นุ ใหร้ สู้ กึ กระปรก้ี ระเปรา่ ชว่ ยลดอาการบวมและการอกั เสบ (อา่ นเพม่ิ เตมิ ในบทการใชน้ ำ�้ เพอ่ื สขุ ภาพ) กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 139

2) การขัดผิว (Body scrub) เป็นวิธีการท�ำให้เซลล์ผิวที่ตายแล้ว (dead cell) หลดุ ลอกออก ทำ� ใหผ้ วิ เนยี นนมุ่ สดใส และการขดั ดว้ ยนำ้� หนกั มอื ทเ่ี หมาะสมจะทำ� ใหเ้ กดิ การผอ่ นคลาย ลดอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การขัดผิวมักมีช่ือเรียกตาม ส่วนผสมหลักทใี่ ช้ เช่น • การขัดโดยใช้ใยบวบหรือส่วนผสมของใยบวบ (Loofah scrub) เพื่อก�ำจัดเซลล์ที่ ตายแลว้ วิธีนีอ้ าจชว่ ยกระตนุ้ การไหลเวียนเลอื ดและท�ำใหเ้ กิดการผอ่ นคลาย • การขดั โดยใชน้ �้ำมนั และเกลอื ผสมกัน (Salt Glow) ชว่ ยสมานผวิ • การขัดโดยใชเ้ มลด็ งาบดละเอยี ด (Sesame Scrub) ชว่ ยบำ� รงุ ผวิ ให้ชุ่มช้นื ประโยชน์ของการขัดผิว • ขจัดเซลล์ผวิ ทเ่ี สือ่ มสภาพ ขจดั สิ่งสกปรก • ให้ผิวหยาบกรา้ นกลับนมุ่ นวล เปลง่ ปลั่งและสดใสมากขึ้น • กระตุน้ การสรา้ งเซลล์ผวิ ใหม่ • กระตนุ้ การไหลเวยี นเลอื ด • เตรยี มผวิ เพ่อื รบั สารอาหารท่ีมีประโยชน์จากบริการอ่ืนๆที่จะตามมา 3) การนวดตวั (Body massage) การนวดตวั มหี ลากหลายประเภท วธิ กี ารแมจ้ ะตา่ งกนั แต่หลักการเดียวกันคือ ให้เกิดความสบาย การนวดท่ีถูกวิธีมีผลโดยตรงต่อระบบประสาท การไหลเวียนเลือด และการท�ำงานของระบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการมีสุขภาพและความงาม วิธกี ารนวดมกั คล้ายคลงึ กัน คือใชว้ ิธีการลบู วน สบั ตบ ตี บดิ ผนวกกบั ความเข้าใจในโครงสรา้ งและ ระบบตา่ งๆ ของร่างกาย ประโยชนข์ องการนวดตวั • ใหค้ วามรูส้ ึกผ่อนคลาย • สง่ เสรมิ สขุ ภาพรา่ งกายและจติ ใจใหด้ ีขึน้ • บรรเทาความเหนือ่ ยลา้ ของรา่ งกายและจิตใจ • ปรับปรุงการทำ� งานของระบบอวยั วะภายในทง้ั ทางตรงและทางอ้อม • หลอดเลือดขยายตัว เลอื ดไหลเวียนไดด้ ี • กล้ามเนอื้ ไดร้ ับการบำ� รงุ ให้ดขี ึน้ • ช่วยให้ผิวยืดหยุ่นและกระชบั ขึน้ 140 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนินการสปาเพอื่ สุขภาพ

• ชว่ ยให้ไขมนั ส่วนเกินท่ีสะสมใตเ้ นือ้ เยื่อผิวแตกตวั • ทำ� ให้ระบบการย่อย การดดู ซมึ และการก�ำจดั ของเสียทำ� งานได้ดขี ึ้น • ปรบั ปรงุ กระบวนการเผาผลาญของเนื้อเยอ่ื • ช่วยใหร้ ะบบต่อมนำ้� เหลอื งทำ� งานได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ 4) การพอกผิวกาย (Body wrap หรือ body mask) การพอก หมายถึง การน�ำผลิตภัณฑ์ทาผิวจนทั่วแล้วท้ิงไว้ตามเวลาที่ก�ำหนด เพ่ือให้คุณประโยชน์จากส่วนผสมต่างๆ ซึมผ่านรูขุมขนเข้าไปเสริมการท�ำงานของระบบต่างๆในร่างกาย วิธีการพอกเพื่อขจัดส่ิงสกปรก ออกจากร่างกายผ่านทางเหงื่อมมี านานนบั ศตวรรษ การพอกผวิ กายจงึ เป็นวิธีการท่ีมีประสิทธิภาพ ในการช่วยขจัดสารพิษ ของเสีย และของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย เหมาะอย่างยิ่งส�ำหรับ ผทู้ ตี่ อ้ งการขจดั สารพษิ (Detox) บรรเทาอาการปวดเมอื่ ย กระชบั กลา้ มเนอื้ กระชบั ผวิ ทห่ี ยอ่ นยาน ขจดั เซลลูไลท์ และไขมนั ส่วนเกนิ การพอกผิวกายมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การพอกด้วยผลไม้ (Fruit wrap) การพอกด้วยโคลน (Mud wrap) การพอกตัวด้วยสมุนไพร (Herbal wrap) การพอกตัวด้วย สาหรา่ ย (Algae wrap) ประโยชน์ของการพอกผวิ กาย • ผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดเมือ่ ยกล้ามเน้อื และขอ้ ตอ่ • ขจัดสารพษิ ออกจากร่างกาย ช่วยให้สุขภาพดีขึน้ • ลดสัดสว่ นเฉพาะบรเิ วณ • กระชับผวิ ให้เนยี นเรยี บ • คืนความยืดหยนุ่ ใหแ้ กผ่ ิว • ผิวดอู อ่ นเยาว์ มสี ุขภาพดี • ลดจดุ ด่างด�ำ และรอยแผลเปน็ ขอ้ ห้ามขอ้ ควรระวงั ในการบริการพอกผิวกาย มีปัจจัยเสีย่ ง ดงั นี้ 141 • สตรีมคี รรภ์ (Pregnant) • ภาวะโรคหวั ใจ (Heart disorder) • เส้นเลือดขอด (Varicose veins) • มแี ผลเปดิ ถลอก (Cuts / Abrasions) กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข

• โรคเบาหวาน (Diabetes) • โรคขอ้ อกั เสบ รูมาตซิ มึ (Arthritis / Reanimation) • โรคความดันโลหิตสงู (High blood pressure) • การไหลเวยี นเลอื ดผดิ ปกติ (Circulation disorder) • โรคเสน้ เลือดตบี เลือดคง่ั (Thrombosis) • โรคไต (Kidney problems) • โรคลมบ้าหมู (Epilepsy) • กอ่ นหรือหลงั การกำ� จดั ขน (Pre & Post waxing) 5) การพอกมือ พอกเทา้ ด้วยพาราฟิน (Paraffin treatment) พาราฟนิ ใชใ้ นสถานเสรมิ ความงามและสปา เพอื่ การบำ� รงุ ผวิ ทแี่ หง้ กรา้ นใหก้ ลบั นมุ่ นวลนา่ สมั ผสั การเคลอื บดว้ ยพาราฟนิ เสมอื นการทำ� มนิ เิ ซานา่ ใหเ้ กดิ ความชมุ่ ชนื้ กระตนุ้ การหมนุ เวยี นเลอื ด ท�ำให้ผิวนุ่มนวล มีชีวิตชีวา วิธีการดูแลบ�ำรุงผิวด้วยพาราฟินไม่ยุ่งยาก พาราฟินเหลวจะเปลี่ยน สภาพเป็นถุงมือพาราฟินที่แนบสนิทกับผิว มีคุณสมบัติในการเก็บความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่ละคร้ังท่ี จุ่มมอื หรอื เท้าลงในหม้ออนุ่ เนอ้ื พาราฟนิ จะเคลอื บเปน็ ชน้ั ๆ เก็บความรอ้ นได้นานถงึ 10 – 15 นาที ความร้อนน้ีจะเปิดรูขุมขน ช่วยให้ครีมบ�ำรุงแทรกเข้าสู่ผิว กักเก็บไอร้อน เกิดความชุ่มช้ืนแก่ผิว เหมาะอย่างย่ิงส�ำหรบั มอื หรอื เทา้ ที่บวมหรอื เมอื่ ยลา้ และยงั เปน็ การแก้ปัญหาผวิ หนังแหง้ กรา้ นได้ ประโยชนข์ องการพอกมอื และเท้าดว้ ยพาราฟิน 1. การทำ� พาราฟินมือช่วยให้ผวิ มืออ่อนนุ่ม ชุ่มชน้ื และผ่อนคลายความเมอ่ื ยลา้ 2. พาราฟินเท้าช่วยผ่อนคลายบริเวณข้อต่อและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำ� ใหก้ ารนวดเท้ามปี ระสิทธิภาพมากข้ึน 6) การดแู ลเลบ็ เลบ็ (nail) มีเฉพาะในคนและสัตวเ์ ลี้ยงลกู ด้วยนมเท่าน้นั ลักษณะเปน็ แผน่ รูปตวั ยู (U) ประกอบด้วยโปรตีนชนิดหน่ึงท่ีเรียกว่า เคราติน มีลักษณะแข็งและใส สีชมพูของเล็บเกิดขึ้นจาก รา่ งแหของหลอดเลอื ดซง่ึ วางอยใู่ ตเ้ ลบ็ เลบ็ ถกู สรา้ งใหมข่ น้ึ ทกุ วนั โดยดนั สว่ นทส่ี รา้ งขน้ึ กอ่ นใหเ้ ลอ่ื น ออกมา เล็บท�ำให้ปลายน้ิวแข็ง เพื่อช่วยในการหยิบจับส่ิงของ และป้องกันอันตรายท่ีอาจเกิดขึ้น กับน้ิวสว่ นปลาย 142 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนนิ การสปาเพื่อสุขภาพ

โครงสร้างของเล็บประกอบดว้ ย • โคนเล็บ (matrix) เป็นส่วนทม่ี ชี ีวิต เป็นสว่ นสร้างเลบ็ • รากเล็บ (nail root) เซลล์สว่ นที่มีหน้าท่สี รา้ งเนอ้ื เลบ็ • เซลล์สร้างเน้ือเย่ือสว่ นปลาย (lunula) • ตัวเล็บหรอื แผ่นเลบ็ (nail plate) • เลบ็ สว่ นปลายทีย่ ่ืนออก เปน็ เซลลท์ ต่ี ายแล้ว (free edge) • เน้ือเยอื่ รองรับเล็บ (nail bed) • จมกู เล็บ (cuticle) เนอ้ื เยื่อทปี่ กป้องบรเิ วณโคนเล็บ • ผวิ หนังท่ีอย่ตู ิดกับเลบ็ (eponychium) เปน็ ส่วนประคองเล็บดา้ นโคน • ผิวหนงั ท่ปี กคลมุ ด้านขา้ งทัง้ ซา้ ยและขวาของแผ่นเล็บ (lateral nail fold) • ผวิ หนงั สว่ นปลาย ทำ� หน้าที่ปกปอ้ งเล็บดา้ นปลาย (hyponychium) ภาพที่ 35 โครงสรา้ งของเล็บ (Nail structure) ท่มี า : http://www.aafp.org/afp/2008/0201/p339.html. Archived November 22, 2013 กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 143


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook