294 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 295
296 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 297
298 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 299
300 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 301
302 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 303
304 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 305
306 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพอ่ื สขุ ภาพ
กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 307
เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๕ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ เคร่อื งสาํ อาง พ.ศ. ๒๕๕๘ ภมู ิพลอดลุ ยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ สงิ หาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปที ี่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศวา่ โดยท่เี ปน็ การสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเครอื่ งสาํ อาง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานติ บิ ญั ญัตแิ ห่งชาติ ดังตอ่ ไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญตั ินเ้ี รยี กวา่ “พระราชบญั ญตั ิเครอ่ื งสําอาง พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒ พระราชบัญญัติน้ีให้ใช้บังคับต้ังแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เปน็ ตน้ ไป มาตรา ๓ ใหย้ กเลิกพระราชบญั ญตั เิ ครือ่ งสาํ อาง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ ในพระราชบัญญตั ิน้ี “เคร่ืองสําอาง” หมายความวา่ (๑) วัตถุท่ีมุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอ่ืนใด กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ และให้หมายความรวมถึงการใช้กับฟันและเย่ือบุในช่องปาก โดยมีวัตถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ความสะอาด ความสวยงาม หรือเปลย่ี นแปลงลกั ษณะที่ปรากฏ หรือระงับกล่ินกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่าง ๆ นั้น ให้อยู่ในสภาพดี และรวมตลอดทั้งเครื่องประท่ินต่าง ๆ สําหรับผิวด้วย แต่ไม่รวมถึงเคร่ืองประดบั และเครอ่ื งแต่งตัวซึง่ เปน็ อปุ กรณภ์ ายนอกรา่ งกาย 308 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพอื่ สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๖ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา (๒) วัตถทุ ี่มงุ่ หมายสาํ หรับใชเ้ ปน็ สว่ นผสมในการผลิตเครือ่ งสาํ อางโดยเฉพาะ หรอื (๓) วัตถุอื่นท่กี าํ หนดโดยกฎกระทรวงให้เปน็ เคร่อื งสาํ อาง “ภาชนะบรรจุ” หมายความวา่ วัตถใุ ด ๆ ทใ่ี ชบ้ รรจหุ รอื หุม้ ห่อเคร่อื งสําอางโดยเฉพาะ “ขอ้ ความ” หมายความรวมถึง การกระทําให้ปรากฏด้วยตัวอักษร ภาพ ภาพยนตร์ แสง เสียง เครอื่ งหมายหรือการกระทาํ อย่างใด ๆ ท่ที ําใหบ้ ุคคลทั่วไปสามารถเขา้ ใจความหมายได้ “โฆษณา” หมายความว่า การกระทําไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือ ทราบข้อความเพอื่ ประโยชนใ์ นทางการค้า “ส่ือโฆษณา” หมายความว่า สิ่งที่ใช้เป็นส่ือในการโฆษณา เช่น หนังสือพิมพ์ ส่ิงพิมพ์ วิทยกุ ระจายเสยี ง วิทยุโทรทัศน์ โทรศพั ท์ ส่ืออเิ ล็กทรอนิกส์ หรอื ป้าย “ฉลาก” หมายความว่า รปู รอยประดษิ ฐ์ หรอื ขอ้ ความใด ๆ เกี่ยวกับเครื่องสําอางซ่ึงแสดงไว้ที่ เคร่ืองสําอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับเครื่องสําอาง ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อ และให้หมายความรวมถงึ เอกสารหรอื คู่มือสําหรบั ใชป้ ระกอบกับเครอ่ื งสําอาง “ผลิต” หมายความว่า ทํา ผสม เปล่ียนรูป แปรสภาพ ปรุงแต่ง แบ่งบรรจุ หรือเปลี่ยน ภาชนะบรรจุ “นําเขา้ ” หมายความวา่ นําหรอื สงั่ เขา้ มาในราชอาณาจักร “ส่งออก” หมายความว่า นาํ หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจกั ร “ขาย” หมายความว่า จําหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน ท้ังน้ี เพ่ือประโยชน์ในทางการค้า และใหห้ มายความรวมถึงมไี วเ้ พอื่ ขายดว้ ย “สารสาํ คญั ” หมายความวา่ วัตถทุ ีใ่ ช้เปน็ สว่ นผสมในการผลิตเคร่ืองสําอางที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ตามมาตรา ๖ (๓) หรือวัตถุท่ีทําให้เกิดสรรพคุณตามข้อความที่กล่าวอ้างไว้ในฉลาก หรือตามท่ีได้ จดแจง้ ไวต้ อ่ ผูร้ บั จดแจง้ ตามทร่ี ัฐมนตรปี ระกาศกําหนดตามมาตรา ๖ (๔) “สถานท่ี” หมายความว่า ท่ี อาคาร หรือส่วนของอาคาร และให้หมายความรวมถึงบริเวณ ของสถานท่ีด้วย “ใบรับจดแจง้ ” หมายความวา่ ใบแสดงรายละเอียดของเคร่ืองสําอางแต่ละผลิตภัณฑ์ที่ผู้รับจดแจ้ง ออกใหแ้ ก่ผู้จดแจ้ง “ผู้จดแจ้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับใบรับจดแจ้งการผลิตเพื่อขาย การนําเข้าเพอื่ ขาย หรือการรับจ้าง ผลติ เครือ่ งสาํ อางตามพระราชบัญญัตนิ ้ี “ผู้รับจดแจ้ง” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการเครือ่ งสําอาง “กรรมการ” หมายความวา่ กรรมการเครอ่ื งสาํ อาง “เลขาธกิ าร” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 309
เลม่ ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หนา้ ๗ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา “พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี” หมายความว่า ผู้ซงึ่ รัฐมนตรีแต่งตั้งใหป้ ฏบิ ัตกิ ารตามพระราชบัญญตั นิ ี้ “รฐั มนตรี” หมายความวา่ รัฐมนตรีผรู้ ักษาการตามพระราชบญั ญัตนิ ี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแตง่ ตง้ั พนกั งานเจ้าหนา้ ที่ ออกกฎกระทรวงกาํ หนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นคา่ ธรรมเนียม และกําหนดกจิ การอื่น กับออกระเบียบหรือประกาศ เพ่ือปฏิบัติการตามพระราชบัญญตั ินี้ การออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหน่ึง จะกําหนดอัตราค่าธรรมเนียม ให้แตกต่างกันโดยคํานึงถึงชนิดของเคร่ืองสําอาง ขนาดและกิจการของผู้ประกอบการ และประเภทของ การแก้ไขเปล่ยี นแปลงก็ได้ กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เม่ือได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแลว้ ให้ใช้บังคบั ได้ มาตรา ๖ เพ่อื ประโยชนใ์ นการคุ้มครองความปลอดภัยและอนามยั ของบุคคล ให้รัฐมนตรี โดยคาํ แนะนําของคณะกรรมการมอี าํ นาจประกาศกําหนด ในเรอ่ื งดังต่อไปนี้ (๑) ชือ่ ประเภท ชนิด หรือคณุ ลกั ษณะของเคร่ืองสาํ อางท่หี า้ มผลติ นําเข้า หรือขาย (๒) ชือ่ วตั ถุทห่ี า้ มใชเ้ ป็นส่วนผสมในการผลติ เครือ่ งสําอาง (๓) ช่ือ ปรมิ าณ และเง่อื นไขของวตั ถุท่ีอาจใชเ้ ป็นส่วนผสมในการผลิตเคร่ืองสําอาง (๔) ช่ือสารสําคัญ ประเภท ชนิด หรือคุณลักษณะของเครื่องสําอางท่ีทําให้เกิดสรรพคุณของ ผลิตภัณฑเ์ ครื่องสาํ อางท่ผี ลิตเพ่ือขาย นําเขา้ เพอื่ ขาย หรือรับจา้ งผลิต (๕) ลักษณะสถานท่ีผลิต เคร่ืองมือ เคร่ืองใช้ อุปกรณ์การผลิต ภาชนะบรรจุเคร่ืองสําอาง และสถานทนี่ ําเขา้ เคร่อื งสาํ อาง (๖) หลักเกณฑ์ วธิ กี าร และเง่ือนไขในการผลิตหรือนาํ เข้าเครือ่ งสาํ อาง (๗) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขเก่ียวกับการรับแจ้งและการรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์ จากการใช้เคร่ืองสาํ อาง (๘) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพ่ือขาย หรือผู้รับจ้างผลิต จัดเก็บข้อมูลเก่ียวกับเครื่องสําอางไวเ้ พื่อการตรวจสอบ (๙) สถานทีแ่ หง่ ใดในราชอาณาจักรเปน็ ด่านตรวจสอบเครือ่ งสาํ อาง (๑๐) หลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจดแจ้ง การออกใบรับจดแจ้ง การแก้ไขรายการ ใบรบั จดแจง้ การต่ออายใุ บรบั จดแจง้ และการออกใบแทนใบรบั จดแจง้ (๑๑) หลกั เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกย่ี วกับการผลิตหรอื นําเขา้ เครอ่ื งสําอางตามมาตรา ๑๖ (๑๒) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขในการยื่นคําขอและการออกหนังสือรับรองเก่ียวกับ เครือ่ งสําอาง (๑๓) หลักเกณฑก์ ารกาํ หนดคา่ คลาดเคลือ่ นสําหรบั เครอื่ งสําอางผดิ มาตรฐาน (๑๔) หลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงื่อนไขการขอความเห็นเก่ยี วกบั ฉลาก 310 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนินการสปาเพอื่ สขุ ภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๘ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา (๑๕) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงือ่ นไขการขอความเหน็ เกยี่ วกับการโฆษณา (๑๖) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกเก็บคืน การทําลาย และการส่งมอบ เคร่อื งสําอาง หมวด ๑ คณะกรรมการเครื่องสําอาง มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการเครื่องสําอาง” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทน กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสํานักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณบดคี ณะเภสชั ศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งซ่ึงเลือกกันเอง ให้เหลือจํานวนสองคน เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการจํานวนหกคน ในจํานวนน้ีจะต้องแต่งต้ังจากสมาคมหรือมูลนิธิท่ีมีวัตถุประสงค์เก่ียวกับการคุ้มครองผู้บริโภคสามคน และผู้ประกอบธุรกจิ เกี่ยวกบั การผลิต นําเข้าหรอื ขายเคร่อื งสาํ อางสามคน ให้รองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการแต่งต้ัง ขา้ ราชการสํานกั งานคณะกรรมการอาหารและยาคนหนึ่งเป็นผ้ชู ว่ ยเลขานุการ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการได้มาซ่ึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงอ่ื นไขทรี่ ัฐมนตรีประกาศกําหนด มาตรา ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสองปี และอาจได้รับ แต่งตงั้ อีกได้ แต่จะดํารงตําแหนง่ เกินสองวาระตดิ ตอ่ กันไม่ได้ ในกรณีท่กี รรมการผ้ทู รงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ รฐั มนตรีอาจแต่งตั้งผู้อ่ืนเป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิแทนได้ และให้ผู้ได้รับแต่งต้ังอยู่ในตําแหน่งตามวาระของกรรมการซ่ึงตนแทน เว้นแต่วาระของ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน รัฐมนตรีจะไม่ดําเนินการเพ่ือให้มีการแต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวฒุ ิแทนก็ได้ ทงั้ น้ี ใหค้ ณะกรรมการประกอบดว้ ยกรรมการเท่าท่ีเหลอื อยู่ เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหน่ึง หากยังมิได้มีการแต่งต้ังกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิข้ึนใหม่ ให้กรรมการผทู้ รงคณุ วุฒิซง่ึ พน้ จากตาํ แหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพ่ือดําเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการ ผูท้ รงคณุ วฒุ ิซึง่ ได้รับแตง่ ตงั้ ใหม่เข้ารับหนา้ ที่ มาตรา ๙ นอกจากการพน้ จากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒพิ ้นจากตาํ แหนง่ เม่ือ (๑) ตาย (๒) ลาออก กรมสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 311
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๙ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา (๓) รฐั มนตรีใหอ้ อกเพราะทจุ ริตต่อหนา้ ท่ี มคี วามประพฤตเิ สอ่ื มเสยี หรอื หยอ่ นความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบตั ิหรือมีลักษณะต้องหา้ มตามมาตรา ๗ วรรคสาม (๕) เปน็ บุคคลล้มละลาย (๖) เป็นคนไรค้ วามสามารถหรอื คนเสมอื นไร้ความสามารถ (๗) ไดร้ ับโทษจาํ คกุ โดยคําพพิ ากษาถงึ ท่ีสุดใหจ้ าํ คุก เว้นแต่เป็นโทษสาํ หรับความผิดท่ีได้กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหโุ ทษ มาตรา ๑๐ คณะกรรมการมีอํานาจหนา้ ท่ี ดังตอ่ ไปน้ี (๑) ให้คําแนะนําหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในเรื่องท่ีเก่ียวกับนโยบายและมาตรการควบคุม เคร่ืองสาํ อางตามพระราชบญั ญัติน้ี (๒) ใหค้ าํ แนะนําแก่รัฐมนตรใี นการออกประกาศตามมาตรา ๖ (๓) ให้คาํ แนะนาํ เกยี่ วกับการเพิกถอนใบรับจดแจง้ ตามมาตรา ๓๖ (๔) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกบั การเพิกถอนใบรับจดแจง้ ตามมาตรา ๓๗ (๕) ปฏบิ ัติการอื่นใดตามทก่ี ําหนดไวใ้ นพระราชบญั ญตั ินหี้ รอื ตามทร่ี ฐั มนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าก่ึงหนึ่งของ จาํ นวนกรรมการท้งั หมดจึงจะเปน็ องคป์ ระชุม ในการประชมุ คณะกรรมการ ถา้ ประธานกรรมการไมม่ าประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าท่ีได้ ให้ที่ประชุม เลือกกรรมการคนหน่งึ เปน็ ประธานในที่ประชมุ การวินิจฉัยช้ีขาดของท่ีประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหน่ึงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเทา่ กันใหป้ ระธานในที่ประชมุ ออกเสยี งเพ่มิ ขึน้ อกี เสยี งหนึง่ เป็นเสียงช้ีขาด มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอาํ นาจแต่งต้ังคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา ศึกษา หรือวิจัย เกี่ยวกับเร่ืองท่ีอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ มอบหมาย ให้คณะกรรมการกําหนดองค์ประชุม และวิธีดาํ เนินงานของคณะอนกุ รรมการไดต้ ามความเหมาะสม มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติหน้าท่ีตามพระราชบัญญัติน้ี ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา ๑๒ มีอํานาจออกคําส่ังเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสาร หรือวัตถุใด เพอื่ ใชป้ ระกอบการพิจารณาได้ หมวด ๒ การจดแจ้งและการรับจดแจ้งเครือ่ งสําอาง มาตรา ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอาง ต้องจดแจ้งรายละเอียดของเคร่ืองสําอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเม่ือผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งให้แล้ว จึงจะผลิตหรือนาํ เข้าเคร่ืองสําอางน้ันได้ 312 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนินการสปาเพอ่ื สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หนา้ ๑๐ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา การจดแจ้งและการออกใบรับจดแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ทรี่ ฐั มนตรปี ระกาศกาํ หนด ผู้จดแจ้งตามวรรคหน่ึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขในการผลิต นําเข้า หรอื การรบั จ้างผลิตเคร่อื งสาํ อางทรี่ ัฐมนตรีประกาศกาํ หนดตามมาตรา ๖ (๕) (๖) (๗) และ (๘) มาตรา ๑๕ ใบรบั จดแจ้งให้มอี ายสุ ามปีนับแต่วันทอ่ี อกใบรับจดแจ้ง ในกรณีท่ีผู้จดแจ้งประสงค์จะขอต่ออายุใบรับจดแจ้ง ให้ยื่นคําขอก่อนวันที่ใบรับจดแจ้งสิ้นอายุ เม่ือได้ยื่นคําขอและชําระค่าธรรมเนียมการต่ออายุพร้อมกับการย่ืนคําขอแล้ว ให้ใบรับจดแจ้งน้ันใช้ได้ต่อไป จนกวา่ ผรู้ บั จดแจ้งจะสง่ั ไม่ให้ต่ออายใุ บรับจดแจง้ น้ัน การขอต่ออายุใบรบั จดแจ้ง ใหเ้ ปน็ ไปตามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร และเง่อื นไขท่ีรัฐมนตรีประกาศกาํ หนด ผู้จดแจ้งซึ่งใบรับจดแจ้งของตนสิ้นอายุไม่เกินหนึ่งเดือน จะย่ืนคําขอต่ออายุและขอผ่อนผัน โดยแสดงเหตุผลในการท่ีมิได้ยื่นคําขอต่ออายุภายในกําหนด พร้อมท้ังชําระค่าธรรมเนียมการตอ่ อายุก็ได้ แตก่ ารขอผอ่ นผนั ไม่เป็นเหตใุ หพ้ น้ ผิดตามมาตรา ๖๔ มาตรา ๑๖ ผู้ซ่งึ ผลติ หรือนาํ เขา้ เครือ่ งสําอางเพือ่ เปน็ ตัวอย่าง เพื่อจดั นิทรรศการ หรือเพ่ือใช้ ในการศึกษา วิจัย หรือวิเคราะห์ทางวิชาการ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบจดแจ้งสําหรับเคร่ืองสําอาง ดังกล่าวตามมาตรา ๑๔ ผู้ได้รับการยกเว้นตามวรรคหน่ึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีรัฐมนตรี ประกาศกาํ หนด มาตรา ๑๗ ให้ผู้รับจดแจ้งมีคําสั่งไม่รับจดแจ้งเคร่ืองสําอางที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังตอ่ ไปนี้ (๑) เคร่อื งสําอางนน้ั ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๒) เคร่ืองสําอางน้ันใช้ชื่อไปในทาํ นองโออ้ วด ไมส่ ภุ าพ หรอื อาจทําให้เขา้ ใจผิดจากความจรงิ (๓) เคร่ืองสําอางที่ใช้ชื่อไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทยหรือส่อไปในทางทําลาย คณุ ค่าของภาษาไทย มาตรา ๑๘ ถา้ ใบรับจดแจ้งชาํ รดุ สญู หาย หรือถูกทําลายในสาระสําคัญ ให้ผู้จดแจ้งย่ืนคําขอรับ ใบแทนใบรบั จดแจ้งต่อผรู้ บั จดแจง้ ภายในสบิ หา้ วนั นบั แต่วันทที่ ราบการชํารดุ สญู หาย หรอื ถูกทาํ ลาย การขอรับใบแทนใบรับจดแจ้งและการออกใบแทนใบรับจดแจ้งตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงอื่ นไขท่รี ัฐมนตรปี ระกาศกาํ หนด มาตรา ๑๙ ในกรณีท่ีผู้จดแจ้งประสงค์จะขอแก้ไขรายการในใบรับจดแจ้ง ให้ย่ืนคําขอต่อ ผรู้ บั จดแจ้ง การขอแก้ไขรายการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขท่ีรัฐมนตรี ประกาศกาํ หนด กรมสนับสนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 313
เล่ม ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๑๑ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๐ ผู้จดแจ้งรายใดประสงค์จะขอออกหนังสือรับรองเก่ียวกับเครื่องสําอาง ให้ยื่นคําขอตอ่ ผรู้ ับจดแจ้ง การยื่นคําขอและการออกหนังสือรับรองตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไข ท่ีรฐั มนตรปี ระกาศกาํ หนด มาตรา ๒๑ การพิจารณาออกใบรับจดแจ้งตามมาตรา ๑๔ การพิจารณาแก้ไขรายการ ตามมาตรา ๑๙ และการออกหนังสือรับรองตามมาตรา ๒๐ ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอาํ นาจประกาศในราชกิจจานเุ บกษากาํ หนดผู้เชยี่ วชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงานท้ังในประเทศ และต่างประเทศในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจสถานประกอบการ การตรวจสอบ หรือตรวจวิเคราะห์เครื่องสําอาง และกําหนดอัตราค่าใช้จ่ายและวิธีการชําระค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ดังกล่าวได้ ทงั้ น้ี ให้ผูย้ ืน่ คาํ ขอเป็นผรู้ บั ผิดชอบค่าใชจ้ า่ ย หมวด ๓ ฉลากเครอ่ื งสําอาง มาตรา ๒๒ ผู้ผลติ เพื่อขาย ผูน้ ําเขา้ เพ่ือขาย และผรู้ บั จ้างผลิตเครื่องสําอางตอ้ งจัดให้มฉี ลาก ฉลากของเคร่ืองสาํ อางตามวรรคหน่ึง จะต้องมลี ักษณะดังต่อไปน้ี (๑) ใช้ข้อความท่ีตรงต่อความจริง ไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญ เกีย่ วกบั เครื่องสําอาง และไมใ่ ช้ข้อความทขี่ ัดตอ่ ศีลธรรม หรอื วัฒนธรรมอนั ดงี ามของไทย (๒) ใช้ข้อความภาษาไทย และมีขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจน และอาจมีภาษาต่างประเทศ ด้วยก็ได้ สําหรับเคร่ืองสําอางท่ีนําเข้าเพื่อขายให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องทําฉลากภาษาไทยท่ีภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อในขณะนาํ เขา้ ที่ด่านตรวจสอบเครอื่ งสาํ อาง แต่ตอ้ งจดั ทําฉลากเป็นภาษาไทยก่อนขาย (๓) ตอ้ งระบุข้อความดงั ตอ่ ไปนี้ (ก) ช่อื เคร่อื งสาํ อางและชื่อทางการค้า (ข) ช่ือและท่ตี ง้ั ของผู้ผลิต กรณที ผี่ ลิตในประเทศ ช่ือและท่ีตั้งของผู้นําเข้า และช่ือผู้ผลิต และประเทศท่ีผลติ กรณีทีน่ ําเขา้ (ค) ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนํา คําเตือน เดือน ปีท่ีผลิตและท่ีหมดอายุ เลขที่หรืออักษร แสดงครั้งทีผ่ ลติ และชื่อของสารทุกชนิดทใ่ี ช้เปน็ สว่ นผสมในการผลติ (ง) ข้อความอ่ืนเพ่ือคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์และเง่ือนไข ที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การกําหนดรายละเอียดตามวรรคสอง (๒) และ (๓) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไข ทีค่ ณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 314 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนนิ การสปาเพอื่ สุขภาพ
เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หนา้ ๑๒ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๓ ในกรณีที่ฉลากใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ เลขาธิการโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการมีอาํ นาจสง่ั ใหผ้ จู้ ดแจ้งเคร่อื งสําอางเลกิ ใช้ฉลากดังกล่าวหรอื ดาํ เนินการแก้ไขฉลากนนั้ ให้ถูกต้อง มาตรา ๒๔ ผู้จดแจง้ ผูใ้ ดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ ผู้จดแจ้งผู้น้ันอาจขอให้คณะกรรมการให้ความเห็นเก่ียวกับฉลากท่ีประสงค์จะใช้นั้นได้ ท้ังนี้ คณะกรรมการ จะต้องให้ความเห็นและแจ้งให้ผู้ขอทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันท่ีสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รบั คาํ ขอ ถา้ ไม่แจง้ ภายในกาํ หนดระยะเวลาดงั กล่าว ใหถ้ ือวา่ คณะกรรมการใหค้ วามเห็นชอบแล้ว การย่ืนคําขอและการให้ความเห็นตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไข ทร่ี ัฐมนตรีประกาศกําหนด หมวด ๔ การควบคุมเครอื่ งสําอาง มาตรา ๒๕ เมื่อมีประกาศตามมาตรา ๖ (๙) การนําเข้าเพื่อขายเครื่องสําอาง ต้องผ่าน การตรวจสอบของพนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี ณ ด่านตรวจสอบเคร่อื งสาํ อาง มาตรา ๒๖ ผจู้ ดแจง้ ตอ้ งผลติ หรอื นําเขา้ เคร่ืองสาํ อางใหต้ รงตามท่ไี ด้จดแจ้งไว้ มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพ่ือขาย นําเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสําอาง ดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องสาํ อางท่ีไมป่ ลอดภยั ในการใช้ (๒) เคร่อื งสาํ อางปลอม (๓) เครื่องสําอางผดิ มาตรฐาน (๔) เครื่องสําอางทีร่ ฐั มนตรปี ระกาศหา้ มตามมาตรา ๖ (๑) (๕) เคร่อื งสาํ อางทถี่ ูกส่ังเพกิ ถอนใบรบั จดแจ้งตามมาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗ มาตรา ๒๘ เครือ่ งสาํ อางที่มีลกั ษณะอยา่ งหนงึ่ อย่างใดดังต่อไปน้ี ให้ถือว่าเป็นเคร่ืองสําอาง ทีไ่ มป่ ลอดภัยในการใช้ (๑) เครอ่ื งสาํ อางท่ผี ลิตหรอื ใชภ้ าชนะบรรจุไม่ถูกสุขลกั ษณะอันอาจเปน็ อันตรายตอ่ ผู้ใช้ (๒) เคร่ืองสําอางที่มีสารอันสลายตัวได้รวมอยู่ด้วยและอาจทําให้เกิดเป็นพิษอันเป็นอันตราย ตอ่ ผใู้ ช้ (๓) เคร่อื งสาํ อางท่มี ีส่งิ ทอ่ี าจเป็นอันตรายต่อผูใ้ ชเ้ จอื ปนอยดู่ ้วย (๔) เครอ่ื งสําอางทีม่ ีวตั ถทุ ่ีหา้ มใช้เปน็ ส่วนผสมในการผลิตเครอื่ งสําอางตามมาตรา ๖ (๒) มาตรา ๒๙ เครอื่ งสาํ อางทม่ี ีลักษณะอยา่ งหน่ึงอยา่ งใดดงั ตอ่ ไปน้ี ให้ถือว่าเป็นเครื่องสําอางปลอม (๑) เครือ่ งสาํ อางทใี่ ช้ฉลากแจ้งช่อื ผผู้ ลติ ผูน้ ําเข้า หรือแหล่งผลติ ท่มี ิใชค่ วามจรงิ กรมสนับสนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 315
เล่ม ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๑๓ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา (๒) เคร่ืองสําอางซ่ึงมีสารสําคัญขาดหรือเกินกว่าร้อยละยี่สิบตามท่ีจดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้ง หรอื ตามท่รี ะบไุ วใ้ นฉลาก (๓) เครื่องสําอางท่ีใช้วัตถุอย่างหน่ึงอย่างใดที่ทําเทียมขึ้นเป็นสารสําคัญของเคร่ืองสําอางน้ัน หรือเป็นเคร่ืองสําอางที่ไม่มีสารสําคัญตามที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้งหรือไม่มีสารสําคัญตามที่ระบุไว้ ในฉลาก (๔) เครื่องสาํ อางทีแ่ สดงว่าเปน็ เคร่ืองสําอางที่ไดจ้ ดแจ้งไว้ซึง่ มิใช่ความจรงิ มาตรา ๓๐ เครื่องสําอางซึ่งมีสารสําคัญขาดหรือเกินกว่าที่ได้จดแจ้งไว้ต่อผู้รับจดแจ้ง หรือท่ีระบุไว้ในฉลากเกินเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ถึง ขนาดตามทก่ี าํ หนดไวใ้ นมาตรา ๒๙ (๒) ใหถ้ อื ว่าเป็นเครอื่ งสําอางผดิ มาตรฐาน มาตรา ๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้จดแจ้งฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของ รัฐมนตรีตามมาตรา ๖ (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) ให้ผู้รับจดแจ้งมีอํานาจสั่งให้ผู้น้ันระงับการกระทําที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ และให้มีอํานาจประกาศการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามดังกล่าว ใหป้ ระชาชนทราบ เพอื่ ประโยชนแ์ กก่ ารค้มุ ครองผู้บริโภคไดต้ ามควรแกก่ รณี มาตรา ๓๒ ห้ามมใิ ห้ผูใ้ ดขายเครอ่ื งสาํ อางดงั ต่อไปนี้ (๑) เคร่ืองสําอางทมี่ ไิ ด้จดแจง้ ตามมาตรา ๑๔ วรรคหนง่ึ (๒) เคร่ืองสาํ อางท่ไี ม่มฉี ลากตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง (๓) เคร่ืองสาํ อางทม่ี ีฉลากซง่ึ ไมเ่ ป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๑) (๔) เคร่ืองสาํ อางที่มีฉลากซงึ่ ไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) (๕) เครือ่ งสาํ อางท่ีมีฉลากซ่งึ เลขาธกิ ารส่ังเลิกใช้ตามมาตรา ๒๓ (๖) เครอ่ื งสําอางทหี่ มดอายุการใชต้ ามท่ีแสดงไวใ้ นฉลาก มาตรา ๓๓ ในกรณีมีความจําเป็นเพ่ือคุ้มครองความปลอดภัยและอนามัยของบุคคล เลขาธกิ ารมอี าํ นาจออกคําส่งั ให้ผูจ้ ดแจง้ ดําเนนิ การดงั ตอ่ ไปน้ี (๑) รายงานการดําเนินการเก่ียวกับเครื่องสําอางท่ีตนได้ผลิตหรือนําเข้าต่อสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (๒) จัดส่งตัวอย่างของเครื่องสาํ อางท่ีตนได้ผลิตหรือนําเข้าต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา มาตรา ๓๔ เม่ือมีการประกาศกําหนดให้วัตถุใดอาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง ตามมาตรา ๖ (๓) ใหถ้ ือว่าการใชว้ ัตถดุ ังกล่าวในเครื่องสําอางได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ หรอื กฎหมายอื่นทีเ่ ก่ียวข้อง 316 เอกสารความรู้ ผ้ดู ำ�เนนิ การสปาเพือ่ สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๑๔ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา วัตถุใดท่ีมีการกําหนดเป็นวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางได้ตามมาตรา ๖ (๓) ถ้าต่อมาได้มีการประกาศให้วัตถุนั้นเป็นวัตถุท่ีห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอางตามมาตรา ๖ (๒) ประกาศดังกล่าวจะใช้บังคับได้ เมื่อพ้นกําหนดหน่ึงร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ เว้นแต่กรณีที่จะ เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้ จะมีการกําหนดให้ใช้บังคับโดยทันทีหรือมีการกําหนดให้ใช้บังคับน้อยกว่า ระยะเวลาดงั กลา่ วก็ได้ มาตรา ๓๕ เพอื่ ประโยชน์ในการส่งออก ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าจะผลิตหรือนําเข้าเคร่ืองสําอาง เพื่อการส่งออกโดยมีคุณภาพ มาตรฐาน ฉลาก หรือรายละเอียดอ่ืน ๆ ตามที่ผู้สั่งซ้ือกําหนดก็ได้ แต่จะต้อง จดแจ้งรายละเอียดของเครื่องสําอางต่อผู้รับจดแจ้ง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ทเ่ี ลขาธิการกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา ห้ามมิให้ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าเพื่อการส่งออกตามวรรคหน่ึงขายเคร่ืองสําอางตามวรรคหน่ึง ในราชอาณาจกั ร หมวด ๕ การเพกิ ถอนใบรบั จดแจ้งเคร่ืองสําอาง มาตรา ๓๖ ผ้รู บั จดแจง้ มอี ํานาจสั่งเพิกถอนใบรบั จดแจง้ เครอื่ งสาํ อาง หากปรากฏว่า (๑) เครื่องสําอางนั้นเปน็ เครื่องสาํ อางที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๖ (๑) (๒) ผู้จดแจ้งไมป่ ฏบิ ตั ิตามมาตรา ๒๖ มาตรา ๓๗ เพอ่ื ประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้รับจดแจ้ง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมอี ํานาจสั่งเพกิ ถอนใบรบั จดแจ้งเครือ่ งสาํ อางได้ หากปรากฏวา่ (๑) ผู้จดแจ้งไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด ในมาตรา ๑๔ วรรคสาม (๒) เป็นเครอื่ งสําอางท่ีไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๓) เป็นเครื่องสําอางที่ผู้จดแจ้งได้เปล่ียนหรือเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการใช้หรือคุณประโยชน์ ของเคร่ืองสําอางเป็นยา อาหาร วัตถุที่ออกฤทธ์ิต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษ วัตถุอันตราย หรอื เครื่องมอื แพทย์ มาตรา ๓๘ คําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอาง ให้ทําเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้จดแจ้งทราบ โดยใหส้ ง่ หนงั สอื แจ้งไปยงั สถานทท่ี ี่ระบุไว้ในใบรับจดแจ้ง ตามวิธกี ารที่กาํ หนดไว้ในมาตรา ๓๙ หรอื มาตรา ๔๐ มาตรา ๓๙ การแจ้งคําส่ังเพิกถอนใบรับจดแจ้งเคร่ืองสําอางโดยวิธีให้บุคคลนําไปส่ง ถ้าผู้จดแจ้งไม่ยอมรับหรือในขณะนําไปส่งไม่พบผู้จดแจ้ง และหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ หรือทํางานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือน้ันไว้ในที่ซึ่ง เหน็ ไดง้ า่ ย ณ สถานท่ีนน้ั ต่อหนา้ พนกั งานเจา้ หน้าที่ทีไ่ ปเปน็ พยาน ก็ให้ถือว่าได้รบั แจ้งแล้ว กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 317
เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หนา้ ๑๕ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๔๐ การแจ้งคําสั่งเพิกถอนใบรับจดแจ้งเครื่องสําอางโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ใหถ้ ือวา่ ได้รบั แจ้งเมือ่ ครบกําหนดเจด็ วันนบั แต่วนั ส่ง เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อน หรอื หลังจากวันนน้ั หมวด ๖ การโฆษณา มาตรา ๔๑ การโฆษณาเครื่องสําอางต้องไม่ใช้ข้อความท่ีไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ ขอ้ ความที่อาจก่อใหเ้ กดิ ผลเสยี ต่อสงั คมเป็นสว่ นรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความท่ีเก่ียวกับ แหลง่ กําเนดิ สภาพ คณุ ภาพ ปริมาณ หรือลกั ษณะของเครอื่ งสําอาง ข้อความดังตอ่ ไปน้ี ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความท่ีอาจก่อให้เกิด ผลเสียตอ่ สงั คมเป็นสว่ นรวม (๑) ขอ้ ความทเี่ ปน็ เท็จหรือเกินความจริง (๒) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเกี่ยวกับเคร่ืองสําอาง ไม่ว่าจะกระทํา โดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือส่ิงใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรอื ไม่กต็ าม (๓) ขอ้ ความทแ่ี สดงสรรพคุณทเ่ี ปน็ การรกั ษาโรคหรอื ทม่ี ใิ ช่จดุ มุ่งหมายเป็นเครอื่ งสาํ อาง (๔) ขอ้ ความทท่ี ําใหเ้ ขา้ ใจว่ามีสรรพคุณบํารุงกาม (๕) ข้อความท่ีเป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทําผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรอื นาํ ไปสคู่ วามเส่ือมเสยี ในวฒั นธรรมของชาติ (๖) ขอ้ ความทีจ่ ะทาํ ใหเ้ กิดความแตกแยกหรอื เส่ือมเสียความสามคั คใี นหมู่ประชาชน (๗) ขอ้ ความอย่างอ่ืนตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาท่ีบุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความท่ีไม่อาจเป็นความจริงได้ โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความท่ตี อ้ งหา้ มในการโฆษณาตามวรรคสอง (๑) มาตรา ๔๒ การโฆษณาจะต้องไม่กระทําด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย หรอื จติ ใจ หรอื ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน หรืออนั อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแกผ่ ู้บริโภค มาตรา ๔๓ ในกรณีทเี่ ลขาธกิ ารเหน็ ว่าเครื่องสาํ อางใดอาจเป็นอนั ตรายแก่ผ้บู รโิ ภค ให้เลขาธิการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอาํ นาจออกคําส่งั ใหผ้ ูจ้ ดแจง้ หรอื ผูท้ าํ การโฆษณาดําเนินการ ดงั ตอ่ ไปนี้ (๑) กําหนดให้การโฆษณาน้ันต้องกระทําไปพร้อมกับคําแนะนําหรือคําเตือนเกี่ยวกับวิธีใช้ หรืออันตราย ตามเงื่อนไขท่ีคณะกรรมการกําหนด ทั้งนี้ โดยคณะกรรมการจะกําหนดเง่ือนไขให้แตกต่างกัน สําหรบั การโฆษณาท่ีใช้สือ่ โฆษณาตา่ งกันกไ็ ด้ 318 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนินการสปาเพ่อื สขุ ภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หนา้ ๑๖ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา (๒) จํากดั การใชส้ ือ่ โฆษณาสําหรบั เครือ่ งสาํ อางนั้น (๓) หา้ มการโฆษณาเคร่อื งสําอางนั้น ความใน (๒) และ (๓) ให้นํามาใช้บังคับแก่การโฆษณาท่ีเลขาธิการเห็นว่าขัดต่อศีลธรรม หรือวฒั นธรรมของชาตดิ ้วย มาตรา ๔๔ ในกรณีท่ีเลขาธิการเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอํานาจออกคําส่ังให้ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาดําเนินการ ดังต่อไปน้ี (๑) ให้แกไ้ ขข้อความหรือวธิ ีการในการโฆษณา (๒) ห้ามการใช้ขอ้ ความบางอย่างทีป่ รากฏในการโฆษณา (๓) ห้ามการโฆษณาหรอื ห้ามใช้วธิ กี ารนนั้ ในการโฆษณา (๔) ให้โฆษณาเพ่ือแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคท่ีอาจเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ทค่ี ณะกรรมการกาํ หนด ในการออกคําส่งั ตาม (๔) ใหเ้ ลขาธิการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีคณะกรรมการกําหนด โดยคํานงึ ถึงประโยชนข์ องผ้บู ริโภคประกอบกับความสจุ ริตในการกระทาํ ของผจู้ ดแจ้งหรอื ผูท้ ําการโฆษณา มาตรา ๔๕ ในกรณีท่ีเลขาธิการมีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จ หรือเกินความจริงตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง (๑) ให้เลขาธิการมีอํานาจออกคําสั่งใหผ้ ู้จดแจ้งหรือผู้ทําการ โฆษณาพสิ จู นเ์ พอื่ แสดงความจรงิ ได้ ในกรณีท่ีผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาอ้างรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรอง ของสถาบันหรือบุคคลอ่ืนใด หรือยืนยันข้อเท็จจริงอันใดอันหน่ึงในการโฆษณา ถ้าผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณา ไม่สามารถพสิ จู น์ไดว้ า่ ขอ้ ความท่ใี ชใ้ นการโฆษณาเปน็ ความจรงิ ตามทก่ี ลา่ วอา้ ง ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการมอี าํ นาจออกคาํ ส่งั ตามมาตรา ๔๔ ได้ มาตรา ๔๖ ผู้จดแจ้งหรือผู้ทําการโฆษณาเครื่องสําอางซ่ึงสงสัยว่าการโฆษณาของตน จะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ อาจขอให้คณะกรรมการให้ความเห็นในเรื่องน้ัน ก่อนทําการโฆษณาได้ ทั้งน้ี คณะกรรมการจะต้องให้ความเห็นและแจ้งให้ผู้ขอทราบภายในหกสิบวันนับแต่ วันที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้รับคําขอ ถ้าไม่แจ้งภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า คณะกรรมการให้ความเห็นชอบแลว้ การย่ืนคําขอและการให้ความเห็นตามวรรคหน่ึง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ทร่ี ฐั มนตรีประกาศกาํ หนด การให้ความเห็นของคณะกรรมการตามวรรคหน่ึงไม่ถือว่าเป็นการตัดอํานาจของคณะกรรมการ ทจ่ี ะพจิ ารณาวินจิ ฉัยใหมเ่ ปน็ อยา่ งอนื่ เมอื่ มเี หตุอนั สมควร การใดทไี่ ดก้ ระทาํ ไปตามความเห็นของคณะกรรมการ หรือที่ให้ถือว่าคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้ว ตามวรรคหน่ึงและวรรคสาม มิให้ถอื ว่าการกระทาํ นนั้ เป็นความผดิ ทางอาญา กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 319
เลม่ ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๑๗ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าท่ี มาตรา ๔๗ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีมีอํานาจ ดังตอ่ ไปนี้ (๑) เขา้ ไปในสถานท่ผี ลิต สถานที่นําเข้า สถานท่ีเก็บ หรอื สถานที่ขายเครื่องสําอาง ในเวลาทําการ ของสถานท่นี ั้น หรือเข้าไปในยานพาหนะท่บี รรทกุ เครอื่ งสาํ อาง ท้ังนี้ เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไป ตามพระราชบญั ญัตินี้ (๒) นําเคร่ืองสําอางหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นเครื่องสําอางซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในปรมิ าณพอสมควรไปเปน็ ตวั อยา่ งเพื่อตรวจสอบหรอื วิเคราะห์ (๓) ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ อาจเข้าไป ในสถานท่หี รอื ยานพาหนะใด ๆ เพ่อื ตรวจ ค้น ยึด อายัดเครื่องสําอาง เครื่องมือเคร่ืองใช้ ภาชนะบรรจุ หบี หอ่ ฉลาก เอกสาร หรือสิง่ ใด ๆ ท่เี กยี่ วขอ้ งกับเครื่องสําอางดังกล่าวซ่ึงสงสัยว่าจะใช้ในการกระทําความผิด หรอื น่าจะเก่ียวข้องกบั การกระทาํ ความผิด (๔) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จําเป็น เพื่อประกอบ การพิจารณาของพนกั งานเจ้าหน้าท่ี ในการปฏิบัติหน้าทต่ี ามวรรคหนง่ึ ใหผ้ ทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งอาํ นวยความสะดวกตามสมควร การปฏิบัติหน้าที่ตาม (๓) ต้องมีหมายค้น เว้นแต่มีเหตุอันควรเช่ือว่า หากเน่ินช้ากว่าจะเอา หมายค้นมาได้จะมีการยักย้าย ซุกซ่อน ทําให้เปล่ียนสภาพไปจากเดิม หรือทําลายหลักฐานท่ีเก่ียวข้องกับ การกระทําความผิด ให้ทําการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น แต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาวา่ ด้วยการคน้ มาตรา ๔๘ ในกรณีท่ีปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีว่ามีการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ วรรคหน่ึง มาตรา ๒๖ มาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๓๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีโดยได้รับอนุมัติจากเลขาธิการ มอี าํ นาจสงั่ ใหผ้ ้จู ดแจง้ ผขู้ าย หรอื ผู้ครอบครองเคร่ืองสําอางดังกล่าว เรียกเก็บคืนและทําลายเครื่องสําอางน้ัน หรือส่งมอบเครื่องสําอางนั้นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ภายในระยะเวลาท่ีพนักงานเจ้าหน้าที่กําหนด หรือ ในกรณีท่ีมีความจําเป็น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการจัดเก็บได้ โดยให้ผู้จดแจ้ง ผู้ขาย หรือผู้ครอบครอง เครื่องสําอางเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดําเนินการดังกล่าว ท้ังนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ท่ีรฐั มนตรปี ระกาศกําหนด มาตรา ๔๙ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ค้น บันทึกรายละเอียดแห่งการค้นและบัญชีรายละเอียด ส่ิงของที่คน้ ยึด หรืออายดั 320 เอกสารความรู้ ผดู้ �ำ เนนิ การสปาเพอื่ สขุ ภาพ
เล่ม ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หนา้ ๑๘ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา บนั ทกึ การคน้ และบัญชีตามวรรคหน่ึง ให้อ่านให้ผู้ครอบครองสถานท่ีหรือยานพาหนะ บุคคลท่ีทํางาน ในสถานที่หรือยานพาหนะนั้น หรือพยานฟัง แล้วแต่กรณี และให้บุคคลนั้นลงลายมือช่ือรับรองไว้ ถ้าไม่ยอม ลงลายมือช่ือรับรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีผู้ค้นบันทึกไว้และให้ส่งบันทึก บัญชี และสิ่งของท่ียึดไปยังสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยาโดยรีบด่วน มาตรา ๕๐ สง่ิ ของท่ียึดหรืออายดั ไว้ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ใหต้ กเปน็ ของกระทรวงสาธารณสขุ เพอ่ื จดั การตามระเบยี บท่กี ระทรวงสาธารณสขุ กําหนด เม่อื ปรากฏวา่ (๑) ไม่ปรากฏเจ้าของ หรือไม่มีผู้มาแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในเก้าสิบวัน นับแต่วนั ท่ีไดย้ ดึ หรอื อายดั (๒) ในกรณที ่ีไม่มกี ารดําเนนิ คดีและผ้เู ปน็ เจา้ ของหรือผคู้ รอบครองมิได้ร้องขอคนื ภายในเก้าสิบวัน นบั แต่วนั ทไ่ี ด้รบั แจง้ คําสัง่ ว่าไมม่ ีการดําเนินคดี (๓) ในกรณีที่มีการดําเนินคดีและพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือศาลไม่ได้พิพากษา ให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอคืนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันท่ีทราบคําส่ังเด็ดขาด ไมฟ่ ้องคดี หรือวันทศี่ าลมคี าํ พพิ ากษาถงึ ทสี่ ดุ แลว้ แต่กรณี มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ส่ิงของที่ยึดหรืออายัดไว้ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นของเสียง่าย หรือเปน็ ของที่ใกล้จะหมดอายกุ ารใช้งานตามที่กาํ หนดไว้ หรือในกรณีที่เก็บไว้จะเป็นการเส่ียงต่อความเสียหาย หรือจะเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาเกินค่าของสิ่งนั้น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะจัดการ ขายทอดตลาดสิ่งนั้นก่อนคดีถึงที่สุด หรือก่อนท่ีส่ิงน้ันจะตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ เงินค่าขาย ทอดตลาดสงิ่ นนั้ เมอื่ หกั คา่ ใชจ้ ่ายและคา่ ภาระติดพันทัง้ ปวงแลว้ เหลอื เงินจํานวนสทุ ธเิ ท่าใดให้ยึดไว้แทนสิ่งนั้น โดยฝากไวก้ ับธนาคารของรัฐ การดาํ เนินการตามวรรคหนง่ึ ใหเ้ ป็นไปตามระเบยี บท่กี ระทรวงสาธารณสุขกาํ หนด มาตรา ๕๒ ในการปฏิบัติหน้าท่ีตามมาตรา ๔๗ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทําการต่อหน้า ผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะ หรือถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่อยู่ในที่นั้น ก็ให้กระทําต่อหน้า บุคคลอ่นื อย่างน้อยสองคน ซงึ่ พนกั งานเจ้าหน้าท่ีไดร้ อ้ งขอมาเปน็ พยาน ส่ิงของใดท่ีได้ยึดหรืออายัด ต้องให้ผู้ครอบครองสถานที่หรือยานพาหนะ บุคคลท่ีทํางานในสถานที่ หรือยานพาหนะน้ัน หรือพยานดู แล้วแต่กรณี เพ่ือให้รับรองว่าถูกต้อง ถ้าบุคคลดังกล่าวน้ันรับรอง หรือไม่ยอมรับรอง ใหพ้ นกั งานเจ้าหน้าท่ผี ูป้ ฏิบตั หิ น้าที่บันทกึ ไว้ สงิ่ ของทีย่ ึดหรอื อายัดได้ ใหห้ อ่ หรือบรรจุหีบหอ่ ตีตราไว้ หรือให้ทาํ เครือ่ งหมายไวเ้ ปน็ สําคัญ มาตรา ๕๓ ในการปฏบิ ตั หิ น้าทีต่ ามพระราชบญั ญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีมีเหตุอันสมควร เลขาธิการอาจสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีเข้าดําเนินการสอบสวนร่วมกับ พนักงานสอบสวนไดต้ ามระเบยี บท่กี ระทรวงสาธารณสุขกําหนดโดยความเห็นชอบของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 321
เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หนา้ ๑๙ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา ในการนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๕๔ ในการปฏบิ ัติหน้าที่ พนกั งานเจ้าหนา้ ท่ีต้องแสดงบัตรประจําตวั ตอ่ บคุ คลทีเ่ กยี่ วขอ้ ง บตั รประจาํ ตัวพนกั งานเจา้ หน้าท่ใี หเ้ ปน็ ไปตามแบบท่รี ัฐมนตรปี ระกาศกาํ หนด มาตรา ๕๕ ให้เลขาธิการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ มีอํานาจประกาศผล การตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสําอาง หรือวัตถุท่ีสงสัยว่าเป็นเคร่ืองสําอางซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ี ท่ีนําไปตรวจสอบหรือวิเคราะห์ตามมาตรา ๔๗ (๒) ให้ประชาชนทราบ เพ่ือประโยชน์แก่การคุ้มครองผู้บริโภคได้ ทงั้ นี้ จะต้องใหเ้ จ้าของเครื่องสําอางมโี อกาสชี้แจง โต้แยง้ และแสดงพยานหลักฐาน ตามควรแกก่ รณี หมวด ๘ การอุทธรณ์ มาตรา ๕๖ ในกรณีผู้รับจดแจ้งไม่ออกใบรับจดแจ้งหรือไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้ง ผู้ขอจดแจ้ง หรือผู้จดแจ้งซ่ึงขอต่ออายุใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์คําส่ังดังกล่าวเป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน นบั แตว่ นั ที่ได้รับหนังสอื แจ้งการไมอ่ อกใบรับจดแจง้ หรือการไมต่ อ่ อายใุ บรับจดแจ้ง แล้วแตก่ รณี คาํ วินจิ ฉัยของรฐั มนตรีใหเ้ ป็นทสี่ ุด ในระหวา่ งการพจิ ารณาอุทธรณ์คําส่ังไม่ต่ออายุใบรับจดแจ้ง ก่อนที่รัฐมนตรีจะมีคําวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามวรรคสอง รัฐมนตรีมอี าํ นาจส่ังอนญุ าตให้ประกอบกิจการไปพลางกอ่ นไดเ้ มอื่ มีคาํ ขอของผู้อุทธรณ์ มาตรา ๕๗ ผู้จดแจ้งซ่ึงถูกเพิกถอนใบรับจดแจ้งมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรี ภายในสามสบิ วันนบั แตว่ ันทท่ี ราบคาํ ส่ังเพกิ ถอนใบรบั จดแจง้ ตามมาตรา ๓๘ คําวนิ ิจฉยั ของรฐั มนตรใี หเ้ ปน็ ทส่ี ดุ การอุทธรณต์ ามวรรคหนง่ึ ไมเ่ ปน็ เหตุใหท้ เุ ลาการบงั คบั ตามคําสัง่ เพิกถอนใบรบั จดแจง้ มาตรา ๕๘ ในกรณีท่ีผู้ได้รับคําส่ังของเลขาธิการตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ หรอื มาตรา ๔๕ ไม่พอใจคําส่ังดังกลา่ ว ใหม้ ีสทิ ธอิ ุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน นับแตว่ นั ที่ได้รับแจง้ คําส่ัง คาํ วินจิ ฉัยของรัฐมนตรใี ห้เป็นที่สุด การอุทธรณต์ ามวรรคหนงึ่ ไม่เปน็ เหตใุ หท้ เุ ลาการบงั คับตามคําส่ังของเลขาธิการ มาตรา ๕๙ การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ ให้รัฐมนตรี พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดระยะเวลาน้ัน ในการนี้ ใหข้ ยายระยะเวลาพิจารณาอทุ ธรณอ์ อกไปไดไ้ ม่เกินเกา้ สบิ วนั นับแต่วนั ทคี่ รบกาํ หนดระยะเวลาดังกลา่ ว 322 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนนิ การสปาเพอื่ สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๒๐ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา หมวด ๙ บทกําหนดโทษ มาตรา ๖๐ ผู้ใดผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสําอางอันเป็นการฝ่าฝืน ประกาศทีร่ ัฐมนตรอี อกตามมาตรา ๖ (๑) ต้องระวางโทษจําคกุ ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือท้ังจําทัง้ ปรับ ผูใ้ ดขายเครอ่ื งสําอางอนั เปน็ การฝา่ ฝนื ประกาศที่รัฐมนตรีออกตามมาตรา ๖ (๑) ต้องระวางโทษ จาํ คกุ ไม่เกินหกเดือน หรือปรบั ไมเ่ กินหา้ หม่ืนบาท หรือทั้งจาํ ทงั้ ปรับ มาตรา ๖๑ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคํา หรือไม่ส่งเอกสาร หรือวัตถุตามที่คณะกรรมการหรือ คณะอนุกรรมการส่ังตามมาตรา ๑๓ หรือตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคําส่ังตามมาตรา ๔๗ (๔) ต้องระวางโทษ จาํ คุกไมเ่ กนิ หน่งึ เดือน หรอื ปรับไม่เกินหนึง่ หมืน่ บาท หรือท้ังจําทั้งปรบั มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ วรรคหน่ึง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรอื ปรบั ไมเ่ กินห้าหมื่นบาท หรือทัง้ จําท้งั ปรับ มาตรา ๖๓ ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา ๑๔ วรรคสาม ตอ้ งระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท มาตรา ๖๔ ผู้จดแจ้งผู้ใดย่ืนคําขอต่ออายุใบรับจดแจ้งภายหลังที่ใบรับจดแจ้งส้ินอายุ แต่ภายในเวลาที่กําหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคส่ี ต้องระวางโทษปรับรายวัน วันละห้าร้อยบาท ตลอดเวลา ท่ียังไมย่ ื่นคําขอต่ออายุใบรบั จดแจ้ง มาตรา ๖๕ ผูใ้ ดไม่ปฏบิ ตั ิตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ตอ้ งระวางโทษปรบั ไมเ่ กนิ หนึ่งหม่ืนบาท มาตรา ๖๖ ผใู้ ดไมป่ ฏบิ ัติตามมาตรา ๑๘ วรรคหนง่ึ ตอ้ งระวางโทษปรบั ไม่เกินหน่ึงพนั บาท มาตรา ๖๗ ผู้ผลิตเพ่ือขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางซ่ึงไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา ๒๒ วรรคหน่ึง หรือใช้ฉลากที่ไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๑) ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินหกเดอื น หรอื ปรบั ไมเ่ กินห้าหมนื่ บาท หรือทงั้ จําทง้ั ปรับ ผ้ใู ดขายเคร่อื งสําอางโดยไม่มีฉลากตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๒) หรือขายเครื่องสําอางซ่ึงใชฉ้ ลากท่ีไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๑) อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไมเ่ กินสามเดอื น หรอื ปรบั ไมเ่ กนิ สามหมน่ื บาท หรอื ทั้งจาํ ท้งั ปรบั มาตรา ๖๘ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย หรือผู้รับจ้างผลิตเครื่องสําอางซ่ึงใช้ฉลาก ที่ไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน สามหมน่ื บาท หรือท้งั จาํ ทง้ั ปรบั ผู้ใดขายเครื่องสําอางซ่ึงใช้ฉลากท่ีไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) หรือ (๓) อันเป็น การฝา่ ฝืนมาตรา ๓๒ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหน่ึงเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือท้ังจํา ทั้งปรับ กรมสนบั สนุนบรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 323
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๒๑ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา มาตรา ๖๙ ผู้จดแจ้งซึ่งใช้ฉลากท่ีเลขาธิการส่ังเลิกใช้ตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุก ไมเ่ กนิ หกเดือน หรือปรบั ไม่เกินห้าหม่ืนบาท หรือทง้ั จาํ ทั้งปรบั ผู้ใดขายเครื่องสําอางอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๕) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรอื ปรบั ไมเ่ กินสามหม่ืนบาท หรอื ทงั้ จาํ ทั้งปรับ มาตรา ๗๐ ผ้ใู ดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ ตอ้ งระวางโทษปรับไม่เกนิ สองหมืน่ บาท มาตรา ๗๑ ผจู้ ดแจ้งผใู้ ดไม่ปฏิบัตติ ามมาตรา ๒๖ ตอ้ งระวางโทษปรับไมเ่ กินสองหม่นื บาท มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพ่ือขาย หรือรับจ้างผลิต เครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหน่ึงปี หรอื ปรบั ไม่เกินหนงึ่ แสนบาท หรือทั้งจาํ ทั้งปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ขายเคร่ืองสําอางท่ีไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๑) หรือ (๒) ตอ้ งระวางโทษจาํ คกุ ไม่เกนิ สามเดือน หรือปรับไม่เกนิ สามหมืน่ บาท หรือท้งั จาํ ทัง้ ปรับ มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพ่ือขาย นําเข้าเพ่ือขาย หรือรับจ้างผลิต เครื่องสําอางท่ีไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สองแสนบาท หรือทัง้ จาํ ทง้ั ปรบั ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ขายเครื่องสําอางท่ีไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๓) ตอ้ งระวางโทษจําคกุ ไม่เกินหกเดอื น หรือปรับไมเ่ กินห้าหมน่ื บาท หรือทัง้ จาํ ทั้งปรับ มาตรา ๗๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพ่ือขาย หรือรับจ้างผลิต เครอื่ งสําอางท่ไี ม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หา้ แสนบาท หรอื ท้งั จาํ ทงั้ ปรับ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๑) ขายเคร่ืองสําอางท่ีไม่ปลอดภัยในการใช้ตามมาตรา ๒๘ (๔) ตอ้ งระวางโทษจําคกุ ไมเ่ กินสามปี หรอื ปรับไมเ่ กนิ สามแสนบาท หรอื ทัง้ จาํ ทัง้ ปรบั มาตรา ๗๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพ่ือขาย หรือรับจ้างผลิต เครื่องสําอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน หนงึ่ แสนบาท หรือทงั้ จาํ ทง้ั ปรบั ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ขายเครื่องสําอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๑) หรือ (๒) ต้องระวางโทษ จาํ คกุ ไมเ่ กินสามเดอื น หรือปรบั ไม่เกินสามหมื่นบาท หรอื ทัง้ จําท้ังปรบั มาตรา ๗๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ผลิตเพื่อขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิต เคร่ืองสําอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สองแสนบาท หรือท้งั จาํ ทงั้ ปรบั ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๒) ขายเครื่องสําอางปลอมตามมาตรา ๒๙ (๓) หรือ (๔) ต้องระวางโทษ จําคุกไมเ่ กนิ หกเดือน หรือปรบั ไมเ่ กินหา้ หม่นื บาท หรือท้ังจาํ ทงั้ ปรับ 324 เอกสารความรู้ ผู้ดำ�เนนิ การสปาเพอ่ื สุขภาพ
เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๒๒ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกจิ จานุเบกษา มาตรา ๗๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๓) ผลิตเพ่ือขาย นําเข้าเพ่ือขาย หรือรับจ้างผลิต เคร่อื งสําอางผิดมาตรฐานตามมาตรา ๓๐ ตอ้ งระวางโทษปรับไม่เกนิ ส่ีหมืน่ บาท ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ (๓) ขายเครื่องสําอางผิดมาตรฐานตามมาตรา ๓๐ ต้องระวางโทษ ปรับไมเ่ กินห้าพันบาท มาตรา ๗๘ ผู้ใดขายเครอ่ื งสําอางทม่ี ไิ ด้จดแจ้งอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๑) ต้องระวางโทษ ปรบั ไมเ่ กนิ สองหม่นื บาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําของผู้ผลิตเพ่ือขาย ผู้นําเข้าเพื่อขาย หรือผู้รับจ้าง ผลิตเคร่ืองสําอาง ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรบั มาตรา ๗๙ ผู้ใดขายเคร่ืองสําอางท่ีหมดอายุการใช้อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๒ (๖) ตอ้ งระวางโทษปรับไมเ่ กนิ หน่ึงหมนื่ บาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําของผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นําเข้าเพ่ือขาย หรือผู้รับจ้าง ผลติ เครอ่ื งสําอาง ผกู้ ระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกนิ หา้ หม่ืนบาท มาตรา ๘๐ ผู้จดแจ้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําส่ังของเลขาธิการตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษ จาํ คกุ ไม่เกินสองเดอื น หรอื ปรับไมเ่ กนิ สองหมนื่ บาท หรอื ทั้งจาํ ทั้งปรบั มาตรา ๘๑ ผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าเพื่อการส่งออกซ่ึงไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจาํ คุกไม่เกินหกเดอื น หรอื ปรับไม่เกนิ ห้าหมน่ื บาท หรือทั้งจําทัง้ ปรบั ผู้ผลติ หรือผู้นําเขา้ เพอ่ื การส่งออกซ่งึ ฝ่าฝืนมาตรา ๓๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรอื ปรับไมเ่ กินหน่ึงแสนบาท หรือทงั้ จําทง้ั ปรบั มาตรา ๘๒ ผู้ใดผลิตเพ่ือขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเคร่ืองสําอางท่ีถูกเพิกถอน การจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือมาตรา ๓๗ (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี และปรบั ไมเ่ กนิ หา้ แสนบาท ผู้ใดขายเคร่ืองสําอางที่ถูกเพิกถอนการจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๑) หรือมาตรา ๓๗ (๒) หรือ (๓) ตอ้ งระวางโทษจําคกุ ไม่เกนิ สามปี และปรบั ไมเ่ กินสามแสนบาท มาตรา ๘๓ ผู้ใดผลิตเพ่ือขาย นําเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเคร่ืองสําอางที่ถูกเพิกถอน การจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๒) หรือมาตรา ๓๗ (๑) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหน่ึงปี และปรับไม่เกิน หนง่ึ แสนบาท ผู้ใดขายเคร่ืองสําอางที่ถูกเพิกถอนการจดแจ้งตามมาตรา ๓๖ (๒) หรือมาตรา ๓๗ (๑) ตอ้ งระวางโทษจาํ คุกไม่เกินหกเดอื น และปรบั ไมเ่ กินห้าหมน่ื บาท มาตรา ๘๔ ผู้ใดโฆษณาโดยไม่เป็นไปตามมาตรา ๔๑ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนงึ่ ปี หรอื ปรบั ไมเ่ กนิ หนง่ึ แสนบาท หรือทั้งจาํ ท้ังปรบั กรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 325
เล่ม ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๒๓ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๘๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเลขาธิการตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๔ ตอ้ งระวางโทษจําคกุ ไม่เกินหนึ่งปี หรอื ปรับไมเ่ กนิ หน่งึ แสนบาท หรอื ทั้งจําทงั้ ปรับ มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าท่ี ซึ่งปฏิบัติหน้าท่ี ตามมาตรา ๔๗ ตอ้ งระวางโทษจาํ คุกไม่เกนิ หน่งึ เดือน หรอื ปรบั ไม่เกินหนึง่ หม่นื บาท หรอื ทงั้ จาํ ทั้งปรบั มาตรา ๘๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ท่ีสั่งตามมาตรา ๔๘ ตอ้ งระวางโทษจาํ คกุ ไมเ่ กินหกเดือน หรอื ปรับไม่เกนิ ห้าหม่ืนบาท หรือท้ังจาํ ทั้งปรับ มาตรา ๘๘ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๘๔ หรือมาตรา ๘๕ เป็นความผิดต่อเน่ือง ผกู้ ระทาํ ตอ้ งระวางโทษปรบั วันละไมเ่ กนิ หนึ่งหม่นื บาทตลอดระยะเวลาทย่ี งั ฝ่าฝืนหรอื ยงั ไม่ปฏบิ ตั ใิ ห้ถูกต้อง มาตรา ๘๙ เม่ือศาลพิพากษาลงโทษผู้ใดเน่ืองจากได้กระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ วรรคหน่ึง หรือมาตรา ๒๗ ให้ศาลส่ังริบเคร่ืองสําอาง ภาชนะบรรจุ ฉลาก และอุปกรณ์สําหรับใช้กับเคร่ืองสําอาง ที่เก่ียวข้องกับการกระทําความผิดเสียทั้งส้ิน เว้นแต่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้อ่ืนซ่ึงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วย ในการกระทาํ ความผดิ ในกรณที ี่ศาลสงั่ ให้ริบทรพั ย์สนิ ตามวรรคหนึ่งแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคําร้องของเจ้าของแท้จริง ว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิด ให้ศาลส่ังให้คืนทรัพย์สินดังกล่าว ท้ังน้ี เจา้ ของแทจ้ ริงนัน้ ตอ้ งยื่นคาํ ร้องตอ่ ศาลภายในเก้าสบิ วันนบั แต่วันท่ีศาลมีคําพพิ ากษาถึงที่สดุ ทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบตามวรรคหนึ่ง ให้ตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทําลาย หรือจัดการ ตามทีเ่ ห็นสมควร มาตรา ๙๐ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติน้ีที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิด ที่มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี ให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ ท้ังน้ี ตามหลักเกณฑก์ ารเปรยี บเทียบที่คณะกรรมการกาํ หนด เมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนท่ีเปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีมี การเปรียบเทียบแลว้ ใหถ้ ือว่าคดีเลกิ กันตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา ให้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบพิจารณาดําเนินการตามความเหมาะสมเก่ียวกับทรัพย์สินที่อาจริบได้ ตามกฎหมาย แตใ่ นกรณีดงั ต่อไปนี้ การเปรียบเทียบจะทําไดเ้ ฉพาะเมือ่ (๑) สาํ หรับทรัพย์สินที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด เม่ือผู้ต้องหายินยอมให้ทรัพย์สินน้ันตกเป็นของ สาํ นกั งานคณะกรรมการอาหารและยา (๒) สําหรับทรัพย์สินท่ีได้มาโดยการกระทําความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จําหน่ายจ่ายโอน ถ้าอาจแก้ไขใหถ้ กู ต้องได้ เมอื่ ผตู้ อ้ งหายนิ ยอมและไดแ้ ก้ไขทรัพย์สินนั้นให้ถกู ตอ้ งแล้ว (๓) สําหรับทรัพย์สินท่ีได้มาโดยการกระทําความผิดและมีกฎหมายห้ามมิให้จําหน่ายจ่ายโอน ถ้าไม่อาจแกไ้ ขใหถ้ กู ตอ้ งได้ เม่อื ผตู้ อ้ งหายินยอม ให้ทรัพย์สินน้ันตกเป็นของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการนี้จะกาํ หนดให้ผูต้ ้องหาออกคา่ ใชจ้ า่ ยในการทําลายของกลางนัน้ ดว้ ยก็ได้ 326 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพอ่ื สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนท่ี ๘๖ ก หน้า ๒๔ ๘ กนั ยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา บทเฉพาะกาล มาตรา ๙๑ ในวาระเร่ิมแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการโดยตําแหน่งตามมาตรา ๗ ยกเว้นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา ปฏิบัติหน้าท่ีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติน้ี ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีกรรมการท่ีมาจากคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา และกรรมการ ผทู้ รงคุณวฒุ ิตามพระราชบัญญตั ินี้ ทงั้ นี้ ต้องไม่เกนิ หนึ่งรอ้ ยยส่ี บิ วันนับแตว่ ันทพ่ี ระราชบัญญตั นิ ้ใี ชบ้ งั คบั มาตรา ๙๒ คาํ ขอแจ้งรายละเอยี ดเครอ่ื งสําอางควบคุมท่ีไดย้ ืน่ ไว้ตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ถือว่าเป็นการขอจดแจ้งเคร่ืองสําอางตามพระราชบัญญัติน้ี โดยอนุโลม และผู้รับจดแจ้งมีอํานาจส่ังให้ผู้ย่ืนคําขอส่งเอกสารเพิ่มเติมแก่ผู้รับจดแจ้ง หรือแก้ไขเพ่ิมเติม คําขอแจง้ รายละเอยี ดเครื่องสําอางควบคมุ เท่าท่จี าํ เปน็ ได้ มาตรา ๙๓ ใบรับแจ้งเคร่ืองสําอางควบคุมท่ีออกตามพระราชบัญญัติเคร่ืองสําอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนวันท่พี ระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นใบรับจดแจ้งตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ใช้ได้ต่อไปอีกสามปี นับแตว่ ันทพี่ ระราชบญั ญัตนิ ้ีใชบ้ ังคบั มาตรา ๙๔ บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันท่ีพระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าท่ีไม่ขัดหรือแย้ง กบั บทบญั ญัติแห่งพระราชบัญญัตนิ ี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ใชบ้ งั คบั การดําเนินการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศตามวรรคหน่ึงให้ดําเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในสองปีนบั แต่วันที่พระราชบัญญัตนิ ีใ้ ชบ้ งั คับ หากไม่สามารถดําเนินการได้ ให้รัฐมนตรีรายงานเหตุผล ที่ไม่อาจดาํ เนินการไดต้ อ่ คณะรัฐมนตรีเพือ่ ทราบ ผรู้ ับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จนั ทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กรมสนบั สนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 327
อตั ราคา่ ธรรมเนียม (๑) ใบรับจดแจ้งการผลติ เพ่ือขาย ฉบบั ละ ๕,๐๐๐ บาท (๒) ใบรับจดแจ้งการนําเข้าเพื่อขาย ฉบบั ละ ๕,๐๐๐ บาท (๓) ใบรับจดแจ้งการรับจ้างผลติ ฉบบั ละ ๕,๐๐๐ บาท (๔) ใบแทนใบรับจดแจ้ง ฉบบั ละ ๑,๐๐๐ บาท (๕) คําขอจดแจ้ง ฉบบั ละ (๖) คําขอแก้ไขรายการในใบรับจดแจ้ง ครัง้ ละ ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท (๗) หนงั สอื รับรองตามมาตรา ๒๐ ฉบบั ละ ๑,๐๐๐ บาท (๘) การขอความเหน็ ตามมาตรา ๒๔ รายการละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๙) การขอความเห็นตามมาตรา ๔๖ เรื่องละ ๑๐,๐๐๐ บาท (๑๐) การตอ่ อายใุ บรับจดแจ้งครัง้ ละเทา่ กบั คา่ ธรรมเนียมใบรับจดแจ้งประเภทนนั้ ๆ (๑๑) คําขออื่น ๆ ฉบบั ละ ๑๐๐ บาท 3 28 เอกสารความรู้ ผ้ดู �ำ เนินการสปาเพ่อื สุขภาพ
เลม่ ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก หน้า ๒๕ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ราชกิจจานุเบกษา หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ โดยที่พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ใช้บงั คบั มาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญตั ิบางประการไมเ่ หมาะสมกบั สถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทย ซึง่ เปน็ ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนต้องเปล่ียนแปลงระบบการกํากับดูแลเคร่ืองสําอางให้เป็นระบบเดียวกัน คอื ระบบการแจง้ รายละเอยี ดเครอื่ งสําอางก่อนทีจ่ ะผลติ หรือนําเขา้ เครื่องสําอาง ในการนี้จึงต้องปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยเครื่องสําอางให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและระบบดังกล่าวอันเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรม เครอื่ งสําอางของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับสากล นอกจากนี้ เพ่ือเป็นการปรับปรุงมาตรการ คมุ้ ครองความปลอดภัยของผู้บรโิ ภคเก่ียวกบั ผลติ ภณั ฑ์เครอ่ื งสาํ อาง ท้งั ในด้านการหา้ มผลติ นาํ เขา้ หรือขายเครอ่ื งสาํ อาง บางประเภท การกําหนดวัตถุท่ีห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเคร่ืองสําอาง การกําหนดมาตรฐานของสถานท่ีผลิตเครื่องสําอาง ภาชนะบรรจุ การรายงานข้อมูลเกี่ยวกับเคร่ืองสําอาง มาตรการควบคุมฉลากและการโฆษณาเครื่องสําอาง และมาตรการควบคุมเครื่องสําอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ เคร่ืองสําอางปลอม และเครื่องสําอางผิดมาตรฐาน ให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค รวมท้ังปรับปรุงบทกําหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมย่ิงข้ึน จงึ จําเปน็ ต้องตราพระราชบญั ญัตินี้ กรมสนบั สนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 329
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๑๐ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา พระราชบัญญตั ิ สถานประกอบการเพ่อื สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙ ภมู พิ ลอดลุ ยเดช ป.ร. ใหไ้ ว้ ณ วันท่ี ๓๐ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจบุ นั พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยทีเ่ ป็นการสมควรมีกฎหมายวา่ ด้วยสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิตบิ ัญญัติแห่งชาติ ดงั ต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัติน้ีเรียกว่า “พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙” มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหน่ึงร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นตน้ ไป มาตรา ๓ ในพระราชบญั ญตั ินี้ “สถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ” หมายความวา่ สถานท่ีท่ตี ง้ั ข้ึนเพอื่ ดาํ เนินกิจการ ดงั ต่อไปนี้ (๑) กจิ การสปา อันได้แก่ บริการทเ่ี กี่ยวกบั การดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบําบัดด้วยนํ้า และการนวดร่างกายเป็นหลัก ประกอบกับบริการอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวงอีกอย่างน้อยสามอย่าง เว้นแต่เป็นการดําเนินการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือการอาบนํ้า นวด หรอื อบตัวที่เปน็ การใหบ้ รกิ ารในสถานอาบน้าํ นวด หรืออบตัวตามกฎหมายว่าดว้ ยสถานบรกิ าร 330 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนินการสปาเพือ่ สุขภาพ
เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หน้า ๑๑ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๒) กิจการนวดเพ่ือสุขภาพหรือเพ่ือเสริมความงาม เว้นแต่การนวดเพ่ือสุขภาพหรือเพ่ือเสริมความงาม ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลหรือในหน่วยบริการสาธารณสุขของหน่วยงานของรัฐ หรอื การนวดท่ีเป็นการใหบ้ ริการในสถานอาบน้ํา นวด หรืออบตวั ตามกฎหมายวา่ ดว้ ยสถานบรกิ าร (๓) กจิ การอ่นื ตามทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง “ผู้อนุญาต” หมายความวา่ อธิบดหี รือผู้ซงึ่ อธบิ ดมี อบหมาย “ผรู้ บั อนุญาต” หมายความว่า ผ้ไู ด้รับใบอนุญาตใหป้ ระกอบกิจการสถานประกอบการเพ่อื สุขภาพ “ผู้ดําเนินการ” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดําเนินการบริหารจัดการสถานประกอบการ เพอ่ื สุขภาพ “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า ผู้ได้รับการข้ึนทะเบียนให้ทําหน้าที่บริการเพื่อสุขภาพในสถานประกอบการ เพ่อื สขุ ภาพ “คณะกรรมการ” หมายความวา่ คณะกรรมการสถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพ “พนักงานเจ้าหน้าท่ี” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐซ่ึงดํารงตําแหน่ง ไม่ตํ่ากว่าข้าราชการพลเรือนสามัญระดับปฏิบัติการหรือเทียบเท่าซึ่งรัฐมนตรีแต่งต้ังให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ “อธบิ ดี” หมายความวา่ อธบิ ดกี รมสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพ “ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลดั กระทรวงสาธารณสุข “รฐั มนตร”ี หมายความวา่ รฐั มนตรีผรู้ ักษาการตามพระราชบญั ญัตนิ ี้ มาตรา ๔ ให้รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัติน้ี และให้มี อํานาจแตง่ ตงั้ พนักงานเจา้ หนา้ ท่ี ออกกฎกระทรวงกําหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเว้นคา่ ธรรมเนยี ม และกําหนดกิจการอืน่ เพื่อปฏิบัตกิ ารตามพระราชบัญญตั ินี้ การกําหนดค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดให้แตกต่างกัน โดยคํานึงถึงประเภทและ ขนาดของสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพท่กี ําหนดไว้ในใบอนญุ าตดว้ ยก็ได้ กฎกระทรวงนั้น เม่อื ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแลว้ ให้ใชบ้ ังคบั ได้ หมวด ๑ คณะกรรมการสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพ มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหน่ึง เรียกว่า “คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” ประกอบด้วย (๑) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปน็ ประธานกรรมการ กรมสนบั สนุนบรกิ ารสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 331
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๑๒ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการท่องเท่ียว อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการ คุ้มครองผ้บู ริโภค เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และผ้วู า่ การการทอ่ งเทีย่ วแห่งประเทศไทย (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งต้ังจากผู้มีความรู้ความสามารถด้านบริการ เพ่ือสุขภาพ ใหอ้ ธิบดีแต่งต้งั ข้าราชการของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพคนหน่ึงเป็นเลขานุการและอีกไม่เกินสองคน เปน็ ผูช้ ่วยเลขานุการ มาตรา ๖ กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ มิ วี าระการดาํ รงตาํ แหน่งคราวละสามปี เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิข้ึนใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตําแหน่งตามวาระน้ันอยู่ในตําแหน่งเพื่อดําเนินงานต่อไปจนกว่า กรรมการผู้ทรงคณุ วุฒิซ่งึ ไดร้ บั แต่งตัง้ ใหม่เข้ารบั หน้าท่ี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซ่ึงพ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่ง ติดต่อกนั เกนิ สองวาระไมไ่ ด้ มาตรา ๗ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการผ้ทู รงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งเมือ่ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เปน็ บุคคลลม้ ละลาย (๔) เป็นบุคคลวิกลจรติ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมอื นไร้ความสามารถ (๕) ได้รบั โทษจาํ คกุ โดยคําพพิ ากษาถึงที่สุดใหจ้ าํ คุก (๖) รฐั มนตรีให้ออกเพราะบกพรอ่ งต่อหนา้ ที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรอื หยอ่ นความสามารถ มาตรา ๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งต้ังผู้อ่ืน ดํารงตําแหน่งแทน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งต้ังกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งต้ังแทนตําแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระท่ีเหลืออยู่ ของกรรมการผทู้ รงคณุ วุฒซิ ่ึงได้แตง่ ต้งั ไวแ้ ล้ว ในกรณีท่ีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการท้ังหมดเท่าท่มี อี ย่จู นกว่าจะมกี ารแตง่ ต้งั กรรมการผู้ทรงคณุ วฒุ ิตามความในวรรคหนึ่ง มาตรา ๙ คณะกรรมการมอี าํ นาจหน้าท่ี ดงั ต่อไปน้ี (๑) เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการประกอบกจิ การสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ตอ่ รัฐมนตรี 332 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนนิ การสปาเพ่อื สุขภาพ
เลม่ ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หนา้ ๑๓ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๒) กําหนดมาตรการในการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน ตลอดจน การส่งเสริมบุคลากรท่ีเกี่ยวขอ้ งทกุ กลุม่ ให้เข้าถงึ และไดร้ ับประโยชน์ (๓) กําหนดหลักเกณฑ์การรับรองวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรที่ผู้ดําเนินการหรือผู้ให้บริการได้รับ จากสถาบนั การศึกษา หนว่ ยงาน หรอื องคก์ รต่าง ๆ (๔) กําหนดหลกั เกณฑก์ ารทดสอบและประเมินความร้คู วามสามารถของผู้ดาํ เนินการ (๕) ให้คาํ แนะนําแกร่ ัฐมนตรใี นการออกกฎกระทรวงตามพระราชบญั ญตั ิน้ี (๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามท่ี รฐั มนตรมี อบหมาย มาตรา ๑๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าก่ึงหน่ึงของ จํานวนกรรมการท้ังหมด จึงจะเป็นองคป์ ระชมุ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ใหท้ ป่ี ระชมุ เลอื กกรรมการคนหนงึ่ เป็นประธานในทป่ี ระชุม การวินิจฉัยช้ีขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหน่ึงให้มีเสียงหน่ึงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสยี งเท่ากัน ใหป้ ระธานในท่ีประชุมออกเสยี งเพม่ิ ขน้ึ อกี เสยี งหนง่ึ เป็นเสยี งชขี้ าด มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งต้ังคณะอนุกรรมการเพ่ือพิจารณาหรือปฏิบัติการ อยา่ งหน่งึ อย่างใดแทนคณะกรรมการหรือตามท่ีคณะกรรมการมอบหมายได้ การประชมุ คณะอนกุ รรมการ ใหน้ ําบทบญั ญัตมิ าตรา ๑๐ มาใช้บังคับโดยอนโุ ลม หมวด ๒ ใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียน มาตรา ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกจิ การสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ต้องได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการสถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพจากผูอ้ นญุ าต การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ คา่ ธรรมเนียมใบอนญุ าต ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเง่อื นไขท่กี ําหนดในกฎกระทรวง กฎกระทรวงตามวรรคสอง รัฐมนตรีจะกําหนดโดยแยกใบอนุญาตตามประเภท หรือขนาดของ สถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพกไ็ ด้ มาตรา ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพต้องมีอายุ ไม่ตา่ํ กวา่ ยสี่ บิ ปบี ริบูรณแ์ ละไม่มีลกั ษณะตอ้ งห้าม ดงั ตอ่ ไปน้ี กรมสนบั สนนุ บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 333
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หนา้ ๑๔ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๑) เป็นบุคคลล้มละลาย (๒) เปน็ บคุ คลวิกลจริต คนไรค้ วามสามารถ หรือคนเสมอื นไร้ความสามารถ (๓) เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงท่ีสุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเก่ียวกับเพศตามประมวล กฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการคา้ มนษุ ย์ หรือความผิดตามกฎหมายวา่ ด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี (๔) เปน็ ผเู้ จบ็ ป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด ใหโ้ ทษ (๕) เป็นผู้อย่ใู นระหวา่ งถกู ส่งั พกั ใชใ้ บอนุญาตประกอบกจิ การสถานประกอบการเพือ่ สุขภาพ (๖) เป็นผเู้ คยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ และยังไม่พ้น กาํ หนดสองปีนับถึงวนั ยืน่ คาํ ขอรบั ใบอนุญาตประกอบกจิ การสถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพ ในกรณีทีน่ ติ บิ คุ คลเปน็ ผ้ขู อรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ผู้มีอํานาจ จดั การแทนนติ บิ คุ คลน้นั ต้องมคี ณุ สมบตั แิ ละไมม่ ีลกั ษณะตอ้ งหา้ มตามความในวรรคหน่ึง มาตรา ๑๔ ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพให้มีอายุห้าปีนับแต่ วนั ทีอ่ อกใบอนญุ าต การขอต่ออายใุ บอนญุ าต ให้ผู้รับอนญุ าตย่ืนคําขอก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ และเม่ือได้ยื่นคําขอ ดังกล่าวแล้ว ให้ผู้ย่ืนคําขอประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพน้ันต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคําสั่ง ไม่ตอ่ อายใุ บอนุญาตจากผอู้ นญุ าต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตลอดจนชาํ ระคา่ ธรรมเนยี มตามทกี่ ําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๕ ให้ผู้รับอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการ เพอ่ื สขุ ภาพรายปีตามอัตรา หลักเกณฑ์ วธิ กี าร เง่อื นไข และภายในระยะเวลาทก่ี าํ หนดในกฎกระทรวง ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ชําระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาท่ีกําหนด ให้ผู้อนุญาต ส่ังพักใช้ใบอนุญาตประกอบกจิ การสถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพจนกว่าจะชาํ ระคา่ ธรรมเนียม ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามวรรคสองไม่ชําระค่าธรรมเนียมภายในหกเดือน นบั แต่วันส่งั พกั ใชใ้ บอนุญาต ใหผ้ ูอ้ นญุ าตสงั่ เพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๑๖ ใบอนญุ าตประกอบกจิ การสถานประกอบการเพ่อื สุขภาพส้ินสุดลง เม่ือผู้รับอนญุ าต (๑) ตาย เว้นแต่ไดด้ ําเนินการตามทีบ่ ัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ หรือสน้ิ สดุ ความเปน็ นติ ิบคุ คล (๒) เลกิ ประกอบกจิ การตามมาตรา ๑๙ 334 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนนิ การสปาเพ่ือสุขภาพ
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๑๕ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๓๒ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือวรรคสาม มาตรา ๑๗ การโอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้แก่บุคคล ซ่ึงมีคุณสมบัตแิ ละไมม่ ีลักษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๑๓ ใหก้ ระทาํ ได้ เมอื่ ได้รบั อนุญาตจากผอู้ นุญาต การขอโอนใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขท่ีกําหนด ในกฎกระทรวง มาตรา ๑๘ ในกรณผี ู้รบั อนุญาตถงึ แก่ความตายและทายาทมีความประสงค์จะประกอบกิจการ สถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพต่อไป ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๑๓ หรือในกรณีท่ีมีทายาทหลายคนให้ทายาทด้วยกันนั้นตกลงต้ังทายาทคนหน่ึงซ่ึงมีคุณสมบัติ และไมม่ ีลกั ษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๑๓ ย่ืนคําขอต่อผู้อนุญาตเพื่อขอรับโอนใบอนุญาตภายในเก้าสิบวัน นับแต่วนั ท่ผี ู้รบั อนุญาตตาย ถา้ มิได้ย่ืนคําขอภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าใบอนุญาตประกอบกิจการ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพนัน้ ส้ินสุดลง ในระหว่างระยะเวลาตามวรรคหน่ึง ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทซึ่งเป็นผู้ยื่นคําขอรับโอนใบอนุญาต เข้าประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพโดยมีหน้าท่ีและความรับผิดชอบเสมือนผู้รับอนุญาต ทั้งน้ี จนกวา่ ผอู้ นุญาตจะมคี ําสัง่ ไมอ่ นุญาต ถ้าผลการตรวจสอบปรากฏว่าผู้ย่ืนคําขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ ใหผ้ อู้ นุญาตมคี าํ ส่ังอนญุ าตแก่ผยู้ ่ืนคาํ ขอ การขอรบั โอนและการอนุญาตใหเ้ ปน็ ไปตามหลักเกณฑ์ วธิ กี าร และเงอ่ื นไขท่กี ําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๙ ผู้รับอนุญาตซ่ึงประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ พร้อมทั้ง ส่งคืนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพแก่ผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันท่ี เลิกประกอบกิจการ การเลิกประกอบกจิ การไมเ่ ปน็ เหตใุ ห้ผู้รบั อนุญาตพน้ จากความรบั ผดิ ทม่ี ีตามพระราชบัญญัติน้ี มาตรา ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะปฏิบัติหน้าท่ีเป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ตอ้ งได้รับใบอนญุ าตเป็นผดู้ าํ เนนิ การจากผู้อนุญาต การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต แบบใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการชําระ คา่ ธรรมเนียมใบอนุญาต ให้เปน็ ไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วธิ ีการ และเงื่อนไขทกี่ ําหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๑ ผขู้ อรับใบอนญุ าตเป็นผูด้ ําเนินการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติ และไมม่ ีลกั ษณะตอ้ งห้าม ดงั ตอ่ ไปน้ี กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 335
เลม่ ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หน้า ๑๖ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา ก. คณุ สมบตั ิ (๑) มอี ายุไมต่ ่ํากว่าย่สี ิบปบี รบิ ูรณ์ (๒) ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรด้านการบริการเพ่ือสุขภาพท่ีได้รับการรับรอง จากกรมสนับสนนุ บรกิ ารสุขภาพ (๓) ผา่ นการทดสอบและประเมินความรู้ความสามารถจากกรมสนับสนุนบรกิ ารสขุ ภาพ ข. ลกั ษณะต้องหา้ ม (๑) เป็นบุคคลวิกลจรติ คนไรค้ วามสามารถ หรือคนเสมอื นไร้ความสามารถ (๒) เปน็ ผเู้ คยต้องคาํ พิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเก่ียวกับเพศหรือความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี (๓) เปน็ ผู้เจ็บปว่ ยด้วยโรคติดตอ่ อันเป็นท่ีรงั เกยี จแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด ให้โทษ (๔) เปน็ ผอู้ ยูใ่ นระหว่างถกู สั่งพกั ใช้ใบอนุญาตเป็นผดู้ ําเนนิ การ (๕) เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการและยังไม่พ้นกําหนดหน่ึงปีนับถึง วันยื่นคําขอรับใบอนญุ าตเป็นผดู้ ําเนินการ มาตรา ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะปฏิบัติหน้าท่ีเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ให้ยื่นคาํ ขอข้นึ ทะเบียนเป็นผ้ใู หบ้ รกิ ารต่อผอู้ นุญาต การขึน้ ทะเบยี นตามวรรคหน่ึง ใหเ้ ป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงอื่ นไขทก่ี าํ หนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๓ ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คณุ สมบตั ิ (๑) มีอายไุ ม่ตา่ํ กวา่ สิบแปดปีบรบิ รู ณ์ (๒) ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรด้านการบริการเพื่อสุขภาพท่ีได้รับการรับรองจาก กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ ข. ลกั ษณะตอ้ งห้าม (๑) เปน็ บุคคลวกิ ลจริต คนไรค้ วามสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 336 เอกสารความรู้ ผดู้ ำ�เนนิ การสปาเพอื่ สขุ ภาพ
เลม่ ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หน้า ๑๗ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา (๒) เป็นผูเ้ คยตอ้ งคาํ พพิ ากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือความผิด เก่ียวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเก่ียวกับยาเสพติด หรือความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี กอ่ นวนั ยนื่ คําขอขนึ้ ทะเบยี น (๓) เปน็ ผ้เู จ็บปว่ ยด้วยโรคติดตอ่ อันเปน็ ทร่ี ังเกยี จแก่สงั คม โรคพิษสรุ าเร้อื รงั หรอื ติดยาเสพติด ให้โทษ หมวด ๓ หนา้ ทขี่ องผ้รู ับอนุญาตและผู้ดําเนินการ มาตรา ๒๔ ผู้รับอนุญาตต้องประกอบกิจการให้ตรงตามประเภทของสถานประกอบการ เพ่ือสขุ ภาพท่ีระบุไวใ้ นใบอนญุ าตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มาตรา ๒๕ การใช้ช่ือสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ท่ีอธิบดีประกาศ กาํ หนด มาตรา ๒๖ มาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภยั และการให้บริการในสถานประกอบการ เพอ่ื สขุ ภาพแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามทีก่ าํ หนดในกฎกระทรวง มาตรา ๒๗ สถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพประเภทใดต้องมผี ูด้ าํ เนนิ การใหเ้ ป็นไปตามหลักเกณฑ์ ทอ่ี ธบิ ดปี ระกาศกําหนด มาตรา ๒๘ ผูร้ บั อนุญาตมีหนา้ ท่ี ดงั ต่อไปนี้ (๑) แสดงใบอนญุ าตประกอบกิจการสถานประกอบการเพอ่ื สขุ ภาพไว้ในที่เปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพทีร่ ะบไุ วใ้ นใบอนุญาต (๒) จัดให้มีผู้ดําเนินการอยู่ประจําสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพตลอดเวลาทําการ พร้อมท้ัง แสดงชือ่ ผ้ดู าํ เนินการไว้ในทีเ่ ปดิ เผยและเหน็ ได้ง่าย (๓) จัดทาํ ทะเบียนประวตั ิผูด้ าํ เนินการและผู้ให้บริการ (๔) รกั ษามาตรฐานดา้ นสถานที่ ความปลอดภยั และการให้บริการให้เป็นไปตามที่ไดร้ ับอนญุ าต (๕) รับผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการตามมาตรา ๒๒ เท่านั้นเข้าทํางานในสถานประกอบการ เพอื่ สขุ ภาพ (๖) ไมโ่ ฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการเพอ่ื สุขภาพในลักษณะ ดังต่อไปนี้ (ก) ใชข้ ้อความโฆษณาอนั เปน็ เท็จหรือโอ้อวดเกินความเป็นจรงิ กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 337
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๑๘ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (ข) โอ้อวดสรรพคุณของการบริการเพ่ือสุขภาพ หรืออุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเคร่ืองมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ อันเป็นส่วนประกอบในการให้บริการว่าสามารถบําบัด รักษาหรือป้องกันโรคได้ หรือ ใชถ้ อ้ ยคําอื่นใดทมี่ คี วามหมายในทาํ นองเดยี วกัน (ค) โฆษณาในประการท่ีน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสําคัญเก่ียวกับการให้บริการ เพ่อื สุขภาพ (ง) โฆษณาที่มีลกั ษณะสอ่ ไปในทางลามกอนาจาร (๗) ควบคุมดูแลมิให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้อาศัย ในบริเวณใกล้เคยี ง (๘) ห้ามมิให้มีการจัดสถานที่หรือส่ิงอ่ืนใดสําหรับให้ผู้ให้บริการแสดงตนเพื่อให้สามารถเลือก ผู้ใหบ้ รกิ ารได้ (๙) ควบคุมดูแลมิให้มีการลักลอบหรือมีการค้าประเวณี หรือมีการกระทําหรือบริการที่ขัด ตอ่ กฎหมาย ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพ (๑๐) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการจําหน่ายหรือเสพเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล์ หรอื ผลิตภณั ฑ์ยาสูบในสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพ (๑๑) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ในสถานประกอบการเพ่อื สุขภาพ (๑๒) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ผู้มีอาการมึนเมาจนประพฤติตนวุ่นวาย หรือครองสตไิ ม่ไดเ้ ขา้ ไปในสถานประกอบการเพือ่ สุขภาพระหวา่ งเวลาทําการ (๑๓) ห้ามมิให้หรือยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนําอาวุธเข้าไปในสถานประกอบการ เพ่อื สขุ ภาพ มาตรา ๒๙ ผดู้ ําเนนิ การมหี นา้ ท่ี ดังตอ่ ไปนี้ (๑) จัดทําคู่มือปฏิบัติงานสําหรับบริการหรือคู่มือการใช้อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือ เครอื่ งใช้ต่าง ๆ และพัฒนาผูใ้ หบ้ รกิ ารให้สามารถใหบ้ ริการไดต้ ามคู่มือที่จัดทาํ ข้นึ (๒) ควบคุมดูแลการบริการ อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเคร่ืองมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐาน ถกู สขุ ลกั ษณะ และใช้ได้อยา่ งปลอดภยั (๓) สอบถามและบันทึกข้อมูลสุขภาพพ้ืนฐาน และคัดกรองผู้รับบริการเพ่ือจัดบริการท่ีเหมาะสม แกส่ ุขภาพของผูร้ บั บริการ (๔) ควบคุมดูแลผู้ให้บริการให้ปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด และควบคุมดูแล มใิ ห้ผู้ให้บรกิ ารออกไปให้บริการนอกสถานประกอบการเพือ่ สขุ ภาพในเวลาทาํ งาน 338 เอกสารความรู้ ผูด้ �ำ เนินการสปาเพ่อื สุขภาพ
เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หน้า ๑๙ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา (๕) จัดให้มีมาตรการดูแลความปลอดภัยในการทํางานและป้องกันมิให้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และบุคคลซ่ึงทํางานในสถานประกอบการเพอ่ื สุขภาพถกู ล่วงละเมดิ ทางเพศ นอกจากหน้าท่ีที่กําหนดไว้ในวรรคหน่ึง ให้ผู้ดําเนินการมีหน้าท่ีตามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ด้วย หมวด ๔ การพักใชใ้ บอนญุ าต การเพิกถอนใบอนุญาต และการลบช่ือออกจากทะเบียน มาตรา ๓๐ เม่ือปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าท่ีว่า ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าท่ี ท่ีได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) หรือ (๘) กฎกระทรวง หรือประกาศที่ออก ตามพระราชบัญญัติน้ี ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีมีอํานาจส่ังให้ผู้รับอนุญาตดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายใน ระยะเวลาทกี่ าํ หนด หากผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กําหนดตามวรรคหน่ึง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานต่อผู้อนุญาตเพ่ือพิจารณา ในการน้ี ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจส่ังพักใช้ใบอนุญาต ประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพได้จนกว่าจะได้ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อผู้รับอนุญาต ได้ดําเนนิ การแกไ้ ขใหถ้ กู ต้องแลว้ ให้ผอู้ นุญาตส่ังเพิกถอนคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตน้ัน ผรู้ บั อนญุ าตซ่ึงถกู ส่ังพกั ใชใ้ บอนุญาตตอ้ งหยดุ ประกอบกจิ การตามที่ถูกสั่งพกั ใช้ใบอนุญาต มาตรา ๓๑ เม่ือปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าท่ีว่า ผู้ดําเนินการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าท่ี ท่ีได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง กฎกระทรวง หรือประกาศท่ีออกตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงาน เจา้ หน้าทีม่ อี าํ นาจส่งั ให้ผดู้ ําเนินการปฏบิ ตั ติ ามหน้าท่ขี องตนใหถ้ ูกต้องภายในระยะเวลาทกี่ ําหนด หากผู้ดําเนินการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาท่ีพนักงานเจ้าหน้าที่กําหนดตามวรรคหน่ึง ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีรายงานผู้อนุญาตเพื่อพิจารณา ในการน้ี ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจสั่งพักใช้ใบอนุญาต เป็นผู้ดําเนินการในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพได้จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง เม่ือผู้ดําเนินการได้ปฏิบัติ ใหถ้ ูกตอ้ งแลว้ ให้ผ้อู นญุ าตสัง่ เพิกถอนคําส่ังพักใช้ใบอนุญาตนั้น ผู้ดําเนนิ การซงึ่ ถกู สั่งพกั ใช้ใบอนุญาตตอ้ งหยุดปฏิบัตหิ นา้ ท่ีตามท่ีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต มาตรา ๓๒ อธิบดีมอี าํ นาจสงั่ เพิกถอนใบอนญุ าต เมือ่ ปรากฏว่า (๑) ผรู้ บั อนญุ าตขาดคุณสมบัติหรอื มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) (๒) ผูร้ ับอนุญาตฝา่ ฝนื หรือไมป่ ฏิบตั ติ ามหน้าทที่ ี่บญั ญตั ิไวใ้ นมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) หรือ (๑๓) กรมสนบั สนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 339
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๓๐ ก หน้า ๒๐ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา (๓) ผู้รบั อนุญาตฝ่าฝนื คาํ ส่ังพกั ใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๓๐ (๔) ผู้ดําเนินการขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๑ ก. (๑) (๒) หรือ (๓) หรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๒๑ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) (๕) ผู้ดําเนินการฝ่าฝนื หรอื ไม่ปฏบิ ตั ิตามหนา้ ที่ที่บญั ญัติไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคสอง (๖) ผูด้ าํ เนนิ การฝา่ ฝนื คําสง่ั พักใช้ใบอนญุ าตตามมาตรา ๓๑ ในกรณีทผ่ี ู้รับอนุญาตเปน็ บุคคลธรรมดา หากอธิบดมี ีคําสง่ั เพกิ ถอนใบอนญุ าตตาม (๑) ให้สามารถ ประกอบกิจการสถานประกอบการเพ่อื สขุ ภาพได้ต่อไปอีกหกสบิ วนั นับแต่วันทอ่ี ธิบดีมคี าํ สัง่ เพิกถอนใบอนุญาต ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตเป็นนิติบุคคล และปรากฏต่อผู้อนุญาตว่าผู้มีอํานาจจัดการแทนนิติบุคคล ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ (๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๖) ให้ผู้อนุญาตแจ้งให้ ผู้รับอนุญาตแต่งต้ังบุคคลอื่นเข้าดํารงตําแหน่งแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้รับอนุญาต ไม่ดาํ เนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว ใหอ้ ธบิ ดมี คี ําสัง่ เพกิ ถอนใบอนญุ าต มาตรา ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ให้บริการผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่ กาํ หนดในมาตรา ๒๓ ใหผ้ อู้ นญุ าตลบชอื่ ผู้ใหบ้ ริการนั้นออกจากทะเบยี น มาตรา ๓๔ คําสั่งพักใช้ใบอนุญาต คําสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และคําสั่งลบชื่อออกจากทะเบียน ให้ทําเป็นหนังสอื แจ้งผูร้ บั อนุญาต ผดู้ าํ เนินการ หรือผ้ใู ห้บริการทราบ แลว้ แต่กรณี การแจ้งคําสั่งตามวรรคหน่ึงให้นําหมวดว่าด้วยการแจ้งตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองมาใชบ้ ังคับโดยอนุโลม หมวด ๕ พนักงานเจ้าหน้าท่ี มาตรา ๓๕ ในการปฏบิ ตั ิหนา้ ที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าทม่ี อี ํานาจ ดังตอ่ ไปน้ี (๑) เข้าไปในสถานประกอบการเพ่ือสุขภาพในระหว่างเวลาทําการของสถานท่ีน้ันเพ่ือตรวจสอบ หรอื ควบคุมใหเ้ ปน็ ไปตามพระราชบญั ญตั นิ ี้ (๒) เก็บอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเคร่ืองมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการให้บริการเพื่อสุขภาพ ในปรมิ าณพอสมควรเพ่ือเป็นตัวอยา่ งในการตรวจสอบหรือวิเคราะห์ (๓) ยึดหรืออายัดอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจนภาชนะบรรจุ หีบหอ่ ฉลาก และเอกสารกํากับ และเอกสารหรอื วัตถุอ่นื ใดที่มีเหตุอันควรเช่ือได้ว่าจะเก่ียวข้องกับการกระทํา ความผดิ (๔) มีหนังสือเรียกให้บุคคลท่ีเก่ียวข้องมาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่จําเป็น เพอื่ ประกอบการพิจารณาของพนกั งานเจ้าหนา้ ที่ 340 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนนิ การสปาเพอื่ สขุ ภาพ
เลม่ ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หนา้ ๒๑ ๓๑ มนี าคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา ให้ผู้รบั อนญุ าต ผู้ดําเนนิ การ ผใู้ หบ้ รกิ าร หรือบุคคลซง่ึ เปน็ พนกั งานหรือลูกจ้างของสถานประกอบการ เพอื่ สุขภาพนั้นอาํ นวยความสะดวกตามสมควร มาตรา ๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อบุคคลท่ีเกี่ยวข้อง บตั รประจําตัวพนกั งานเจา้ หน้าที่ให้เปน็ ไปตามแบบที่อธิบดปี ระกาศกาํ หนด มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าท่ี ให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา หมวด ๖ การอทุ ธรณ์ มาตรา ๓๘ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนญุ าต ไม่ใหต้ อ่ อายุใบอนุญาต ไม่ให้โอนใบอนุญาต หรือไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ ให้ผู้ขออนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต ผู้ขอรับโอนใบอนุญาต หรือผู้ขอขึ้นทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง การไม่ออกใบอนญุ าต การไม่ให้ตอ่ อายใุ บอนญุ าต การไม่ใหโ้ อนใบอนุญาต หรอื การไม่รบั ขนึ้ ทะเบียน แล้วแต่กรณี มาตรา ๓๙ ผรู้ ับอนุญาต ผู้ดาํ เนินการ หรือผู้ให้บริการ ซ่ึงถูกพักใช้ใบอนุญาต ถูกเพิกถอน ใบอนุญาต หรือถูกลบช่ือออกจากทะเบียน มีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อปลัดกระทรวง ภายในสามสิบวัน นบั แตว่ ันทไี่ ด้รับแจ้งคาํ สงั่ พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรอื คําสง่ั ลบช่อื ออกจากทะเบยี น แลว้ แต่กรณี การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคําส่ังพักใช้ใบอนุญาต คําสั่งเพิกถอน ใบอนุญาต หรือคําสั่งลบช่อื ออกจากทะเบยี น มาตรา ๔๐ การพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ ให้ปลัดกระทรวง พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้รับคําอุทธรณ์ ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจพิจารณา ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกําหนดเวลาดังกล่าว ในการน้ี ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลา ดังกล่าว คําวนิ ิจฉัยของปลดั กระทรวงใหเ้ ปน็ ทสี่ ดุ หมวด ๗ บทกําหนดโทษ กรมสนับสนนุ บริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสขุ 341
เลม่ ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หนา้ ๒๒ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกจิ จานุเบกษา มาตรา ๔๑ ผู้ใดใช้ช่ือหรือคําแสดงช่ือในธุรกิจว่า “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” “กิจการสปา” “นวดเพ่ือสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม” หรือกิจการอ่ืนตามท่ีกําหนดในกฎกระทรวง ท่ีออกตามความใน (๓) ของบทนิยามคําว่า “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” ในมาตรา ๓ หรือคําอื่นใด ท่ีมีความหมายเช่นเดียวกัน ในประการที่อาจทําให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยมิได้เปน็ ผรู้ ับอนุญาตตามพระราชบัญญัติน้ี ต้องระวางโทษปรับไม่เกนิ สีห่ มน่ื บาท มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หา้ หมื่นบาท หรือท้ังจาํ ท้งั ปรบั มาตรา ๔๓ ผใู้ ดฝา่ ฝนื มาตรา ๒๐ ตอ้ งระวางโทษปรบั ไม่เกินสองหมน่ื บาท มาตรา ๔๔ ผ้รู บั อนญุ าตผใู้ ดฝ่าฝนื มาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษปรับไมเ่ กินสห่ี ม่นื บาท มาตรา ๔๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๘ (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) หรือ (๑๓) หรือผู้ดําเนินการผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ วรรคสอง ตอ้ งระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมนื่ บาท มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หน่งึ หมน่ื บาท มาตรา ๔๗ ในกรณที ผ่ี กู้ ระทําความผิดเป็นนติ บิ ุคคล ถ้าการกระทาํ ความผดิ ของนิตบิ คุ คลนนั้ เกดิ จากการส่ังการ หรอื การกระทําของบคุ คลใด หรือไมส่ ั่งการ หรือไมก่ ระทําการอันเปน็ หน้าท่ีท่ีต้องกระทํา ของกรรมการผจู้ ัดการ หรือบคุ คลใด ซงึ่ รับผิดชอบในการดําเนนิ งานของนติ บิ ุคคลนัน้ ผูน้ นั้ ต้องรับโทษตามที่ บญั ญตั ิไว้สําหรบั ความผิดน้นั ๆ ดว้ ย มาตรา ๔๘ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้อนุญาตมีอํานาจเปรียบเทียบได้ ตามหลกั เกณฑ์ทอี่ ธบิ ดีประกาศกาํ หนด เม่ือผู้ต้องหาชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กําหนดแล้ว ให้ถือว่า คดีเลิกกนั ตามบทบัญญตั ิแห่งประมวลกฎหมายวธิ พี ิจารณาความอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๔๙ ผู้ประกอบกิจการ ผู้ดําเนินการ และผู้ให้บริการในสถานที่เพ่ือสุขภาพหรือ เพ่ือเสริมสวยท่ีได้รับการรับรองตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เร่ือง กําหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือ เพื่อเสริมสวย มาตรฐานของสถานท่ี การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสําหรับสถานท่ีเพื่อสุขภาพหรือเพ่ือเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ 342 เอกสารความรู้ ผู้ด�ำ เนนิ การสปาเพ่ือสุขภาพ
เล่ม ๑๓๓ ตอนท่ี ๓๐ ก หนา้ ๒๓ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๕๐๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาต ประกอบกิจการ คําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ หรือคําขอข้ึนทะเบียนเป็นผู้ให้บริการต่อผู้อนุญาต ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับ และเมื่อยื่นคําขอรับใบอนุญาตหรือคําขอ ขึ้นทะเบียนแล้ว ให้ประกอบกิจการ ดําเนินการ หรือให้บริการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งคําสั่งไม่ออก ใบอนญุ าตหรือไมร่ บั ขึ้นทะเบยี นจากผอู้ นญุ าต แล้วแต่กรณี ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยทุ ธ์ จนั ทรโ์ อชา นายกรัฐมนตรี กรมสนับสนุนบริการสขุ ภาพ กระทรวงสาธารณสุข 343
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296
- 297
- 298
- 299
- 300
- 301
- 302
- 303
- 304
- 305
- 306
- 307
- 308
- 309
- 310
- 311
- 312
- 313
- 314
- 315
- 316
- 317
- 318
- 319
- 320
- 321
- 322
- 323
- 324
- 325
- 326
- 327
- 328
- 329
- 330
- 331
- 332
- 333
- 334
- 335
- 336
- 337
- 338
- 339
- 340
- 341
- 342
- 343
- 344
- 345
- 346
- 347
- 348
- 349
- 350
- 351
- 352
- 353
- 354