Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 102วิทยาศาสตร์และเทคดนโลยีเพื่อป้องกันภัยพิบัติ

102วิทยาศาสตร์และเทคดนโลยีเพื่อป้องกันภัยพิบัติ

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-05-20 10:32:26

Description: 102วิทยาศาสตร์และเทคดนโลยีเพื่อป้องกันภัยพิบัติ

Search

Read the Text Version

วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี เพอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พิบตั ิ และตวั อยา งงานวจิ ยั และนวตั กรรมในประเทศไทย

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อการบรหิ ารจัดการภยั พบิ ตั ิ และตวั อยางงานวจิ ยั และนวตั กรรมในประเทศไทย สำนักงานพฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแี หง ชาติ ISBN: 978-616-12-0203-3 พิมพค รง้ั ท่ี 1 มีนาคม 2555 จำนวน 3,000 เลม เผยแพร/ หามจำหนา ย สงวนลขิ สิทธิ์ พ.ศ. 2552 ตาม พ.ร.บ. ลขิ สิทธิ์ พ.ศ. 2537 สำนกั งานพฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแี หงชาติ ไมอนญุ าตใหค ดั ลอก ทำซ้ำ และดัดแปลง สวนใดสวนหน่ึงของหนังสือฉบับนี้ นอกจากจะไดร ับอนุญาตเปนลายลักษณอักษรจากเจา ของลิขสิทธ์ิเทาน้นั วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจดั การภัยพิบัตแิ ละตัวอยา งงานวิจยั และนวัตกรรม ในประเทศไทย/ สำนกั งานพัฒนาวิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีแหง ชาติ -- สมุทรปราการ : แอดวานซ พร้ินติ้ง เซอรวสิ , 2555. 150 หนา : ภาพประกอบ ISBN: 978-616-12-0203-3 1. ภยั พบิ ตั ิ – การจดั การ – ไทย 2. ภัยพิบัติ -- การปองกันและ ควบคุม I. สำนกั งานพัฒนาวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยแี หง ชาติ II. ช่อื เรอื่ ง HV555.T5 363.3480973 จดั ทำโดย สำนักงานพฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ กระทรวงวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยี 111 อุทยานวทิ ยาศาสตรป ระเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนงึ่ อำเภอคลองหลวง จงั หวัดปทมุ ธานี 12120 โทรศัพท 02 564 7000 โทรสาร 02 564 7002-5 http://www.nstda.or.th ผลิตและออกแบบโดย งานออกแบบ ฝายสื่อวทิ ยาศาสตร สำนักงานพัฒนาวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยแี หง ชาติ

สารจากผูอำนวยการ สำนักงานพัฒนาวทิ ยาศาสตร และเทคโนโลยีแหง ชาติ ทศวรรษท่ผี า นมามภี ัยพบิ ัติขนาดใหญ เกิดขึน้ ในหลายประเทศ ทว่ั โลก มผี เู สยี ชวี ติ จำนวนมาก สรา งความเสยี หายตอ ทรพั ยส นิ ระบบเศรษฐกจิ สังคมและส่ิงแวดลอ ม คดิ เปน มูลคา มหาศาล ในอนาคตแนวโนมการเกิด ภัยพิบัติรปู แบบตางๆ ท้ังวาตภยั อุทกภัย ดนิ โคลนถลม ภยั หนาวและภยั แลงในทุกภูมภิ าคของโลก และผลกระทบตางๆ จะทวีความรนุ แรงมากขึ้น ดวยความถี่และขนาดความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภมู อิ ากาศและสภาวะโลกรอ น และในชว งหลายปท ผ่ี า นมา ประเทศไทย ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงหลายครั้ง ส่งผลกระทบ ตอ เศรษฐกิจมากข้ึนโดยลำดบั นบั แตการเกิดคลน่ื ยกั ษสึนามิ เมอ่ื ป 2547 การเกิดอุทกภยั ปลายป 2553 อุทกภัยทางภาคใตเดือนมีนาคม 2554 และลาสดุ อุทกภยั ชวงปลายป 2554 ซ่ึงครอบคลมุ พ้ืนทหี่ ลายจังหวดั สรางความเสียหายตอ ทรัพยส นิ และมผี ูเสียชวี ิตจำนวนมาก การบรหิ ารจัดการภัยพบิ ตั ดิ ว ยวิธกี ารและเครื่องมือตา งๆ สำหรับ การเตรยี มความพรอ มกอ นเกดิ เหตุ การรบั มอื ในภาวะฉกุ เฉนิ การบรรเทาทกุ ข ชวยชีวิต และการฟนฟูบูรณะหลังเกิดภัยพิบัติลวนมีความตองการองค ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก สำนักงาน พฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยแี หง ชาติ (สวทช.) ในฐานะทเี่ ปนองคก ร ท่รี ับผิดชอบต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

ของประเทศไทย ไดเ ล็งเหน็ ถึงความสำคัญในการสรา งความตระหนักถงึ บทบาทของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีที่มีตอการบริหารจัดการภัยพิบัติ จึงไดจัดใหเรื่องน้ีเปนประเด็นหลักของการประชุมวิชาการประจำปของ ป 2554 และ 2555 เปน เวลา 2 ป ตดิ ตอกัน เอกสารฉบบั น้ี เปนเอกสารเผยแพรในการประชุมวชิ าการ สวทช. ประจำป 2555 (NAC2012: รูสพู บิ ัติภัย ไปกับวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลย)ี ซ่งึ นำเสนอแนวคิด บทเรียนจากเหตุการณภัยพิบัติที่สำคัญทั้งในและ ตางประเทศ รวมถึงตัวอยางของการนำวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมา มาประยุกตใชในการบริหารจัดการภัยพิบัติของตางประเทศ นอกจากนี้ เรายังไดพยายามรวบรวมและนำเสนอขอมูลที่เก่ียวกับผลงานวิจัยพัฒนา และนวตั กรรมเพอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ ทม่ี กี ารสรา งสรรคใ นหนว ยงาน ภาครัฐ สถาบนั การศึกษา และภาคเอกชนไทย เพ่ือเปนการจดุ ประกาย ในการแลกเปลย่ี นเรยี นรรู ะหวา งหนว ยงาน รวมไปถงึ การสรา งความตระหนกั ถึงงานนวัตกรรมดีๆ ที่มีอยูเปนจำนวนมากในประเทศไทยใหประชาชน ทัว่ ไปไดรบั ทราบ สวทช. หวังเปนอยางยิ่งวา เอกสารฉบับน้ี จะเปน กาวหนึง่ ทสี่ ำคญั ใหผ ทู ท่ี ำงานในการรงั สรรคน วตั กรรมตา งๆ เพอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ ไดมีการรวมกลุมเพ่ือตอยอดองคความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ของกนั และกนั ตอ ไป เราอาจจะหา มภยั พบิ ตั ไิ มใ หเ กดิ ขน้ึ ไมไ ด แตเ ราสามารถ รว มกนั ปอ งกนั เตรียมพรอม และลดผลกระทบจากภัยพิบัติตา งๆ เหลานน้ั ดวยการบูรณาการวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเขากับการบริหารจัดการ และการเตรียมพรอมในดานอ่นื ๆ ดร.ทวศี กั ด์ิ กออนนั ตกลู ผอู ำนวยการ สำนักงานพฒั นาวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีแหงชาติ

สารบัญ สารผูอำนวยการ 3 สำนกั งานพฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแหง ชาติ 7 บทนำ 11 สว นท่ี 1 วิทยาศาสตรและเทคโนโลยเี พ่ือ 12 การบรหิ ารจดั การภัยพิบัติ 12 13 1. ลักษณะและความสำคัญของภัยพิบตั ิ 17 1.1 นยิ ามของการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ธิ รรมชาติ 18 1.2 ความสญู เสยี จากภัยพบิ ัติธรรมชาติ 20 2. บทบาทของวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีใน 21 การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ัติ 22 2.1 การบรหิ ารจัดการภัยพิบัติ 24 2.2 บทบาทของวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีใน 26 การบรหิ ารจัดการและการลดผลกระทบจากภัยพบิ ตั ิ 2.2.1 การเฝา ระวงั และการเตรยี มพรอมดา นขอมลู ขาวสารเกยี่ วกบั ภยั พบิ ตั ิ 2.2.2 การพยากรณและคาดการณอ ันตรายจากภยั พบิ ัติ 2.2.3 การปอ งกนั และลดความเสยี หายจากภัยพบิ ตั ิ 2.2.4 การลดความเปราะบางและเส่ยี งตอความเสียหาย ของระบบโครงสรา งพน้ื ฐานสำคญั ยิง่ ยวด

2.2.5 การเตือนภยั และเผยแพรแ นวทางการปฏิบัตทิ ่ี 28 เหมาะสมภายใตค วามเสีย่ งจากภัยพบิ ตั ิ 29 33 2.2.6 การประเมนิ ความสามารถในการรองรับภัยพิบตั ิ 34 3. การประยุกตใ ชว ิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ 57 68 ภัยพบิ ตั ิธรรมชาติ: กรณีศกึ ษาประสบการณต า งประเทศ 76 3.1 การประยกุ ตใชว ิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพอ่ื 97 98 การจดั การภยั พบิ ัตธิ รรมชาติในประเทศญีป่ ุน 112 3.2 การประยกุ ตใชวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พื่อ 167 การจดั การภยั พบิ ัติธรรมชาตใิ นประเทศสหรฐั อเมริกา 3.3 การประยกุ ตใ ชวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พือ่ การจดั การภัยพบิ ตั ิธรรมชาติในประเทศไตหวนั 4. บทสรปุ และขอ เสนอแนะ สว นท่ี 2 การเกดิ ภัยพบิ ัตใิ นประเทศไทย และตวั อยางผลงานวจิ ัยและนวัตกรรมทเ่ี กีย่ วของ 1. สถานการณด านภยั พบิ ตั ิในประเทศไทย 2. ตวั อยา งของผลงานวจิ ยั และนวัตกรรมเพ่ือการบริหารจดั การ ภัยพิบตั ิในประเทศไทย รายชอ่ื คณะทำงาน

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยเี พอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พิบตั ิ 7 บทนำ ปญ หาภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตมิ แี นวโนม ทวคี วามรนุ แรง ถอื เปน ภยั อบุ ตั ิ ใหมที่คุกคามทุกประเทศในโลกและอาจกอใหเกิดความเสียหายเพ่ิมข้ึน ดังนน้ั ความพยายามในการปอ งกนั อนั ตรายจากภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตนิ บั ไดว า มคี วามสำคญั มากขน้ึ ในทกุ ประเทศทว่ั โลก เพอ่ื ลดความสญู เสยี ทง้ั ชวี ติ และ ทรพั ยสินอนั เกิดจากความผันผวนทางธรรมชาติ ซึ่งความพยายามดงั กลาว ปรากฏภาพใหเห็นชัดเจนในรูปของแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติ ธรรมชาตซิ ง่ึ อาจเปน เรอ่ื งทเ่ี กนิ ความสามารถของมนษุ ยใ นอดตี แตก ลบั เปน เรื่องที่เปนไปไดในปจจุบัน ดวยการนำวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมา ประยุกตใ ชอ ยางเปน ระบบ นำไปสอู งคค วามรทู สี่ ามารถใชง านไดอยา งมี ประสทิ ธิภาพ ผา นความรว มมือกันในทกุ ระดบั อยา งไรกต็ าม การรบั มือกบั อันตรายจากภัยพบิ ตั ธิ รรมชาตยิ ังคง เปนประเด็นความทาทายสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ในขณะทเี่ ราไมส ามารถหยดุ ยงั้ การเกดิ แผน ดนิ ไหวพายุหรอื ภเู ขาไฟระเบดิ แตเรายังสามารถประยุกตความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีและ

8 วิธีทางเทคนิคที่เราไดสั่งสมมา นำมาใชในการเพิ่มความตานทานของ อาคารบา นเรือนและสิง่ กอ สรา งตอแผนดินไหวและลมพายเุ หลา น้ัน รวมถึง สามารถแจงเตือนภัยลวงหนาเก่ียวกับภัยภูเขาไฟระเบิดและพายุที่กำลังจะ เกิดขึ้น ซึ่งทำใหเราสามารถจัดระเบียบสังคมและชุมชนตอบสนองตาม คำเตอื นไดอ ยา งเหมาะสม ทำใหส ามารถชว ยชวี ติ ผคู นและปกปอ งสนิ ทรพั ย ไดอยา งมีนยั สำคัญ จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าในช่วงกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมานี้ องคความรูทางวิทยาศาสตรเกี่ยวกับการศึกษาปรากฏการณและอันตราย จากภัยพิบัติธรรมชาติ และวิธีการดานเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ รับมือไดขยายตัวอยางมาก ซึ่งความกาวหนาอยางรวดเร็วนี้ ชวยสราง ความเขา ใจเก่ียวกบั สาเหตุและปจ จัยของปรากฏการณทางธรรมชาติ และ ในแงของเทคนิคในการตานทานภัยพิบัติเหลานั้น จนเปนเหตุผลสำคัญ ใหเกิดแนวคิดการริเริ่มทศวรรษสากลของการลดผลกระทบจากอันตราย จากภัยพบิ ตั ิ โดย The Resolution of the United Nations General Assembly ประกาศใหชวงเวลานบั แตท ศวรรษท่ี 1990 เปนตนมา เปน ทศวรรษสากลในการลดภัยพบิ ัติธรรมชาติ รวมถงึ เรยี กรอ งความพยายาม จากท่ัวโลกในการใชความรูทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีท่ีมีอยู รวมทง้ั องคค วามรใู หมท ่ีจำเปน เพ่ือใชใ นการสนบั สนนุ การการดำเนนิ การ เชงิ นโยบายสาธารณะในการบริหารจดั การภยั พบิ ตั ิ นอกจากนี้วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีสมัยใหมไดถูกพัฒนาขึ้น เพือ่ ลดความเส่ียงจากอันตรายทางธรรมชาติ และชว ยสรางสภาพแวดลอ ม และองคประกอบอ่นื ๆ ทง้ั ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสมกบั ความเส่ียง จากธรรมชาตเิ หลา นนั้ เชน ความกาวหนาเกี่ยวกับวิศวกรรมการออกแบบ และกอ สรา ง อาทิ การออกแบบโครงสรางอาคารสูงที่สามารถทนทานตอ แผนดนิ ไหว ซง่ึ จุดเดน และความทา ทายของนวัตกรรมเพ่อื การลดภยั พิบตั ิ

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยเี พ่อื การบริหารจดั การภัยพบิ ัติ 9 เหลาน้กี ค็ อื ความสามารถในการเพม่ิ ขีดความสามารถในการควบคุมหรือ รับมือกับเหตกุ ารณภยั พบิ ัติไดโดยอตั โนมตั ิ โดยไมสงผลกระทบหรือแพร ความเสยี หายขยายไปสมู ติ ิดานเศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง อยา งไรกต็ าม แมว ทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยจี ะสามารถประยกุ ตใ ช เพอ่ื แกป ญ หาทซ่ี ับซอนของภยั พบิ ัติธรรมชาติ แตจากสภาพความเปน จรงิ ทางสังคมที่ประกอบจากองครวมพหุภาพ วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี จึงเปนเพียงสวนหนึ่งของความตอเนื่องจากการวิจัยและพัฒนาแบบ สหวทิ ยาการ เพอ่ื สงผานนวตั กรรมไปสูก ลุมผใู ชงานในสงั คมทอี่ าจไมใช ผเู ช่ยี วชาญดานวิทยาศาสตร ดงั นนั้ นกั วทิ ยาศาสตรจำเปนจะตอ งทำงาน เพื่อบูรณาการรวมกับหนวยงานผูเกี่ยวของแขนงอื่นๆ รวมถึงผูกำหนด นโยบายทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้สามารถนำวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยไี ปบูรณาการรว มกับองคค วามรูอ นื่ ๆ ในสว นทเี่ กินกวาขอบเขต ของวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยไี ดอยางเหมาะสม เอกสารฉบบั น้ี แบงการนำเสนอเปน 2 สว น โดยในสวนที่ 1 เป็นการนำเสนอแนวคิด องค์ความรู้เชิงทฤษฎี และประสบการณ์ใน การประยุกตใชวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพ่ือการบริหารจัดการภัยพิบัติ ของตางประเทศ รวมถึงการสังเคราะหจากแนวคิดและบทเรียนดังกลาว จัดทำเปนขอเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยเี พอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ธิ รรมชาติ สว นท่ี 2 เปน การนำเสนอ ขอ มลู และประสบการณภ ยั พบิ ตั ติ า งๆ ทป่ี ระเทศไทยประสบ พรอ มทง้ั ตวั อยา ง งานวจิ ยั และนวตั กรรมทีม่ ีการสรางสรรคขึน้ ในประเทศไทย ทง้ั ในสวนของ งานวิจยั และนวตั กรรมที่มาจากการดำเนนิ งานของ สวทช. และหนวยงาน อน่ื ๆ ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงและ การรวบรวมนวตั กรรมของภาครฐั ภาคเอกชนอน่ื ๆ ในประเทศไทย



สว นท่ี 1 วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยี เพอื่ การบริหารจดั การภัยพิบัติ

12 1. ลกั ษณะและความสำคญั ของภยั พบิ ัติ 1.1 นยิ ามของการบรหิ ารจดั การภัยพบิ ตั ิธรรมชาติ สำนักงานวาดวยกลยุทธระหวางประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ แหงสหประชาชาติ (United Nations International Strategy for Disaster Reduction: UNISDR; 2004) ใหค วามหมายของคำวา “การบรหิ ารจดั การ ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster risk management)” หมายถึง กระบวนการอยา งเปนระบบในการใชแ นวทางการบรหิ าร การจดั การ และ ทกั ษะและความสามารถในการดำเนนิ กลยทุ ธ นโยบาย และขดี ความสามารถ ในการรับมอื เพอ่ื ลดผลกระทบจากภยั พบิ ตั ิ และยงั ใหความหมายของคำวา “ภยั พิบัติ (Disaster)” วา หมายถึง เหตกุ ารณรุนแรงทขี่ ดั ขวาง (disruption) การทำงานของสงั คม ซ่งึ เปนเหตใุ หเ กดิ ความเสียหายในวงกวา งตอมนษุ ย เศรษฐกจิ และสิ่งแวดลอ ม จนเกินกวากำลงั ความสามารถทีส่ งั คมจะรบั มือ ไดด ว ยทรพั ยากรท่มี อี ยูของตนเอง (UNISDR, 2005) อยางไรก็ตาม แมภัยพิบัติโดยท่ัวไปจะหมายรวมท้ังภัยพิบตั ิทีเ่ กิด จากธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภัยพิบัติได้ สรา งความเสยี หายแกป ระเทศไทดยทง้ั ทางเศรษฐกจิ สงั คม และสง่ิ แวดลอ ม รุนแรงจนไมอาจประเมินคาได อีกทั้งยังมีแนวโนมที่จะทวีความรุนแรง เพิ่มข้ึนอยางตอ เนือ่ งในอนาคต โดยเฉพาะอยางยง่ิ ภยั ภบิ ัติธรรมชาติท่าม กลางความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน

วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพอ่ื การบรหิ ารจดั การภัยพบิ ตั ิ 13 1.2 ความสูญเสียจากภยั พิบัติธรรมชาติ นบั ตั้งแต่กำเนิดโลกในบรรพกาล โลกของเราได้ประสบกับ วกิ ฤตกิ ารณค วามรนุ แรงและการเปลย่ี นแปลงอยา งมากมายอนั เนอ่ื งมาจาก ภัยพิบัตธิ รรมชาติ ซึง่ ปจ จุบนั ทุกประเทศโลกก็ยังคงประสบอยู ท้ังน้ี เปนที่ ประจักษกันโดยทั่วไปแลววา ภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นนับเปนภัยที่กอ ความเสียหายทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม อย่างมหาศาล นอกจากน้ี ท้งั ภาครฐั และประชาชนยงั ตองใชท รัพยากรอกี เปน จำนวนมาก เพื่อชวยเหลือและบูรณะฟนฟูพื้นที่ที่ไดรับความเสียหายจากภัยพิบัติ ธรรมชาตหิ ลงั จากเหตุการณ ความสูญเสียจากภัยพิบัติธรรมชาติ เมื่อพิจารณาจากจำนวน ผเู สยี ชีวติ จากภยั พิบัตธิ รรมชาติจะพบวา ภยั พิบตั ธิ รรมชาตทิ ค่ี ราชวี ติ เปน จำนวนมาก มักจะเปนภัยพิบัติธรรมชาตทิ ่ีเกดิ ขึน้ ในอดีตชวงศตวรรษที่ 20 (ตารางท่ี 1) โดยพบขอนาสังเกต ดงั นี้ • ภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตทิ ค่ี รา ชวี ติ ผคู นมากทส่ี ดุ คอื อทุ กภยั ในขณะท่ี รองลงมาเปน แผนดินไหว วาตภยั และสนึ ามิ ตามลำดับ • ประเทศทส่ี ญู เสยี ชวี ติ จากภยั พบิ ตั ทิ างธรรมชาตมิ ากทส่ี ดุ คอื จนี รองลงมาเปน อนิ เดยี เฮติ และเวยี ตนาม ตามลำดบั (ไมน บั รวม ภัยพิบัติแผนดินไหวในทะเลเมดิเตอรเรเนียนตะวันออก ในป พ.ศ. 1744 (ค.ศ. 1201) เนือ่ งจากไมทราบประเทศแนชดั )

14 ตารางท่ี 1 ภยั พิบตั ธิ รรมชาติท่คี ราชีวติ มนษุ ยม ากทส่ี ดุ ลำดบั ประเภทภยั พิบัติ สถานที่ หนวย: พนั คน ปทเี่ กิด จำนวน 1 อทุ กภยั แมน ำ้ แยงซี และแมน ำ้ ฮวงโห (ค.ศ.) ผเู สียชวี ติ 1931 1,000-2,500 2 อทุ กภัย แมน้ำฮวงโห 1887 900-2,000 1201 1,100 3 แผน ดนิ ไหว ทะเลเมดเิ ตอรเ รเนยี น 1970 500-1,000 ตะวันออก 1556 830 1976 242-655 4 พายไุ ซโคลน ปากแมน ำ้ คงคา 2010 316 1839 300 5 แผนดนิ ไหว มณฑลซานซี 1881 300 6 แผน ดินไหว เมอื งถงั ซาน มณฑลเหอเปย 1642 300 2004 225-275 7 แผน ดนิ ไหว เมืองปอรโตแปรงซ เฮติ 8 พายไุ ซโคลน เขตโคธาวารตี ะวนั ออก รัฐอันตรประเทศอินเดยี 9 พายไุ ตฝนุ เมอื งไฮฟอง เวียดนาม 10 อุทกภยั เมอื งไคเฟง มณฑลเหอหนาน 11 แผนดินไหว มหาสมุทรอินเดีย และสนึ ามิ ที่มา: wikipedia, List of natural disasters by death toll, December 2010. http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_natural_disasters_by_death_toll http://mrvop.wordpress.com/2011/04/05/themostdangerdiaster/ http://www.armageddononline.org/Casualty-by-Natural/the-worst-disasters.html อยางไรก็ตาม แมภัยพิบัติธรรมชาติที่คราชีวิตมนุษยมากที่สุด สว นใหญ่เกิดในอดีต หากแต่เมื่อพิจารณาความสูญเสียจากภัยพิบัติ ธรรมชาติจากมูลคาความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติแลวกลับ พบว่า ภัยพิบัติธรรมชาติที่สร้างความเสียหายในแง่ของมูลค่าเสียหาย มากที่สุด 20 อันดับแรก สวนใหญเกิดขึ้นในชวงทศวรรษที่ผานมานี้ (ค.ศ. 2002-2011) (แผนภาพที่ 1)

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยเี พื่อการบรหิ ารจดั การภยั พิบตั ิ 15 แผนภาพที่ 1 ภยั พิบัตธิ รรมชาตทิ ่สี รา งมูลคาความเสียหายมากทีส่ ุด (หนว ย: พันลานเหรยี ญสหรัฐฯ) ที่มา: The Economist, March 2011 ย่ิงไปกวา นน้ั สวสิ รี (Swiss Re, December 2011) บรษิ ทั ประกนั ภยั รายใหญ่จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เปิดเผยว่า มูลค่าความเสียหาย จากภัยพิบัติธรรมชาติในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) จะสูงที่สุดเป็น ประวัติการณ จากเหตกุ ารณแ ผน ดนิ ไหวในนิวซีแลนดแ ละญี่ปุน อุทกภยั ในไทย ตลอดจนเฮอรริเคนรุนแรงหลายครั้งในสหรัฐฯ (ตารางที่ 2) โดยประมาณการณว า ความเสยี หายทางเศรษฐกจิ (Economic loss) ซ่ึง รวมท้ังความเสยี หายท่ีทำประกันภัยและไมไ ดท ำประกนั ภยั ประมาณ 350

16 พันลานเหรียญสหรัฐฯ หรือมูลคาความเสียหายเฉพาะที่ประกันภัยเปน ผรู บั ผิดชอบ (Insured loss) ประมาณ 108 พนั ลานเหรยี ญสหรัฐฯ เพม่ิ ขึน้ จากป พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ทม่ี ีมลู คาความเสยี หายทางเศรษฐกจิ (Economic loss) จากภยั พบิ ัตธิ รรมชาตเิ พยี ง 226 พันลา นเหรยี ญสหรฐั ฯ หรอื มลู คา ความเสยี หายเฉพาะทป่ี ระกนั ภยั เปน ผรู บั ผดิ ชอบ (Insured loss) ประมาณ 43 พันลานเหรียญสหรัฐฯ ตารางท่ี 2 ภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตทิ ี่มีมูลคาความเสียหายสงู สดุ 10 อนั ดับแรก ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) หนวย: พันลานเหรียญสหรฐั ฯ ลำดบั ประเภทภยั พิบตั ิ สถานที่ วันเริ่มตน มูลคา ความเสียหาย* 1 แผนดินไหว ญ่ีปุน 11 มี.ค. 2011 135 และสนึ ามิ 2 แผนดนิ ไหว นิวซแี ลนด 27 ก.ค. 2011 12 3 อทุ กภัย ไทย 27 ก.ค. 2011 8.0 - 11.0 4 พายุทอรน าโด รฐั อลาบามา 22 เม.ย. 2011 7.3 สหรฐั ฯ 5 พายทุ อรน าโด รฐั มสิ ซูรี สหรัฐฯ 20 พ.ค. 2011 6.7 6 พายุเฮอรเิ คนไอรนิ สหรฐั ฯ 22 ส.ค. 2011 4.9 7 อุทกภยั ออสเตรเลีย 9 ม.ค. 2011 2.3 8 พายุ สหรฐั ฯ 3 เม.ย. 2011 300 9 พายุ สหรัฐฯ 8 เม.ย. 2011 1.5 10 พายุ สหรัฐฯ 14 เม.ย. 2011 1.4 *มลู คา ความเสยี หาย ประเมนิ จากตน ทนุ ความเสยี หายเฉพาะทป่ี ระกนั ภยั เปน ผรู บั ผดิ ชอบ (Insured loss) ทีม่ า: Swiss Re, December 2011

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพอ่ื การบรหิ ารจัดการภัยพบิ ตั ิ 17 2. บทบาทของวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยใี นการบรหิ ารจดั การ ภัยพบิ ตั ิ แมวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีจะไมใชกลไกหลักในการบริหาร จดั การภยั พบิ ตั ิ แตว ทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยกี เ็ ปน เครอ่ื งมอื ทม่ี คี วามสำคญั อยา งยง่ิ ในการเพม่ิ ศกั ยภาพใหก ลไกการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั มิ ปี ระสทิ ธภิ าพ ยิ่งขึ้นกว่าในอดีตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณูปการของ วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในการศึกษากระบวนการการเปล่ียนแปลงที่ สำคญั ทางธรรมชาติ ซึ่งทำใหเ ราเขา ใจถึงกระบวนการทนี่ ำมาซึ่งอันตราย สมู นุษย์ จากปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ รวมไปถึง การนำวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมาประยุกตใชเพ่ือการบริหารจัดการ ภัยพิบัติในทุกขั้นตอน ตั้งแตการปองกันภัยพิบัติจนถึงการฟนฟูบูรณะ ตลอดจนการพฒั นาเพอ่ื สรา งความย่ังยืน องคความรูทางวิทยาศาสตรที่ศึกษาเก่ียวกับความรุนแรงทาง ธรรมชาตินนั้ ถกู พัฒนาขน้ึ เปน ระบบอยา งกวา งขวาง ตง้ั แตก ารคนควาหา ความจรงิ ทไี่ ดจากการศกึ ษาเรียนรู สังเกต และทดลอง เพ่อื ศกึ ษาสาเหตุ ของการเกิดภยั พบิ ัตติ างๆ เชน อทุ กภัย ลมพายุ แผน ดินไหว ดนิ ถลม ภูเขาไฟระเบดิ และสนึ ามิ เปน ตน เรอ่ื ยไปจนถึงการศึกษาถงึ ผลกระทบ ของภัยพิบตั ิที่มีตอ มนุษย โดยศกึ ษาผา นองคความรูทางวิทยาศาสตรแ ละ เทคโนโลยแี ขนงตา งๆ ทงั้ วทิ ยาศาสตรพ น้ื ฐาน และวทิ ยาศาสตรธรรมชาติ ตลอดจนสาขาวชิ าวทิ ยาศาสตรป ระยกุ ตดานสิง่ แวดลอ ม เชน อุทกศาสตร ธรณวี ทิ ยา ภูมศิ าสตรก ายภาพวทิ ยา วิทยาแผนดนิ ไหว วิทยาภูเขาไฟ อตุ ุนิยมวทิ ยา และชีววทิ ยา เปนตน ทั้งหมดกเ็ พื่อมุง ศกึ ษาเพื่อไขความลบั จากความซับซอ นของธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ ม

18 ยง่ิ ไปกวา นี้ องคค วามรทู างวทิ ยาศาสตรย งั พฒั นาไลเรยี งไปถงึ การประยุกตวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวและพัฒนาระบบ นิเวศน์ เช่น เพื่อการสร้างสภาพแวดล้อม อาทิ องค์ความรู้ด้าน วศิ วกรรมศาสตร สถาปต ยกรรมศาสตร และวสั ดศุ าสตร ควบคไู ปกับ การสรา งสภาพแวดลอมเชิงนโยบาย อาทิ วทิ ยาศาสตรก ารบริหารจดั การ รวมไปถึงความกาวหนาสำคัญทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีซ่ึงอาจนับ ไดวาเปนการพลิกประวัติศาสตรหนาใหมของความพยายามในการเอา ชนะธรรมชาติในปจจบุ นั ดวยการพัฒนาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก และการประยุกตใชเพื่อการพยากรณอากาศขนาดใหญ ซึ่งเปนที่มาของ ขอมูลสำคัญในปจจุบันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ผลกระทบตอ สภาพแวดลอ มของโลก กเ็ ปน ผลทไ่ี ดจ ากกระบวนการดงั กลา วน้ี 2.1 การบริหารจัดการภัยพบิ ตั ิ (Disaster Management) การบริหารจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ การเตรียมการก่อนเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทกุ ข การชว ยชวี ติ ผปู ระสบภยั และการฟน ฟบู รู ณะหลงั เหตกุ ารณ ภัยพิบัติ ในอดีตการบริหารจัดการภัยพิบัติมักเน้นเรื่องการช่วยเหลือ บรรเทาทกุ ขเปน หลัก แตแนวโนมของการบรหิ ารจดั การภัยพบิ ตั ิสมยั ใหม จะมีลักษณะของการเตรียมการเชิงรุกมากขึ้น โดยดำเนินการดวยวิธีการ ตา งๆ เพอ่ื หลกี เลย่ี งการสญู เสยี ชวี ติ และทรพั ยส นิ ทจ่ี ะเกดิ ขน้ึ จากภยั พบิ ตั ิ รวมทง้ั มาตรการที่ครอบคลุมการแกไขปญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเปน การวางแผนเพอ่ื เผชญิ หนา กบั สถานการณต ง้ั แตก อ นเกดิ เหตุ ระหวา งเกดิ เหตุ และหลังเกิดเหตุทตี่ อเน่อื งจนครบกระบวนการ เรียกวา วงจรการบริหาร จดั การสาธารณภยั ประกอบดว ย

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อการบรหิ ารจัดการภยั พบิ ัติ 19 2.1.1 การปอ งกัน (Prevention) คอื การดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงหรือขัดขวางมิใหภัยพิบัติและ ความสญู เสียเกิดข้นึ แกช วี ิต ทรัพยส นิ และชมุ ชน 2.1.2 การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) คือ กิจกรรมท่ีมุงในการลดผลกระทบและความรุนแรงของภัยพิบัติ ทีก่ อ ใหเกดิ อนั ตรายและความสูญเสยี แกชุมชนและประเทศชาติ เนือ่ งจาก การปองกันและการบรรเทาผลกระทบมีความหมายใกลเคียงกันใน หลายประเทศจงึ ใชม าตรการทง้ั 2 ดา นควบคกู นั การบรรเทาความสญู เสยี จากภัยพิบัติเปนเรื่องกวางขวางและครอบคลุมการดำเนินงานหลายดาน จึงตองการการประสานงานทีด่ ี 2.1.3 การเตรียมพรอ ม (Preparedness) คอื การเตรียมการลวงหนาเพ่ือเพิ่มขีดความสามารถใหกับรัฐบาล องคก รปฏิบัติ ชุมชน และปจ เจกบคุ คล ในการเผชญิ กบั ภาวการณเ กิดภัยพิ บัติไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการปองกันและบรรเทาตองการ ผลักดันในเชิงนโยบาย ขณะที่การเตรียมพรอมเปนบทบาทหนาที่ของ หนว ยปฏบิ ัตจิ ำนวนมากทตี่ อ งประสานงานกัน 2.1.4 การรบั สถานการณฉ กุ เฉนิ (Emergency Response) คอื การปฏบิ ตั อิ ยา งทนั ทที นั ใดเมอ่ื ภยั พบิ ตั เิ กดิ ขน้ึ โดยมมี าตรการตา งๆ เพือ่ ชวยชีวิต ปอ งกนั อันตราย และความสูญเสียตางๆ 2.1.5 การฟนฟูบูรณะ (Recovery and Reconstruction) การฟนฟูบูรณะเปนขั้นตอนที่ดำเนินการเม่ือเหตุการณภัยพิบัติ ผานพน ไปแลว เพอ่ื ใหพ น้ื ทห่ี รอื ชมุ ชนทไ่ี ดร บั ภยั พบิ ตั กิ ลบั คนื สสู ภาพทด่ี ขี น้ึ ระดับหนง่ึ ซง่ึ อาจจะตองใชร ะยะเวลา 5-10 ป

20 2.1.6 การพฒั นา (Development) ขั้นตอนการพฒั นาภายหลงั เหตุการณภ ัยพิบตั ิ ซง่ึ มีขอบเขตกวา ง กวา การพฒั นาเฉพาะพน้ื ทท่ี ไ่ี ดร บั ความเสยี หาย โดยครอบคลมุ ถงึ การทบทวน และศกึ ษาประสบการณก ารบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ทิ เ่ี กดิ ขน้ึ แลว ทำการปรบั ปรงุ ระบบการดำเนินงานตางๆ ที่มีอยูใหมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อลดความ สูญเสยี ใหน อยท่สี ดุ 2.2 บทบาทของวิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีในการบรหิ าร จดั การและการลดผลกระทบจากภัยพบิ ัติ แมวิทยาการเพ่ือการบริหารจัดการภัยพิบัติจะกาวหนาอยางมาก โดยเห็นไดจำนวนผเู สียชีวิตจากเหตุการณภัยพิบัติท่ลี ดลงอยางมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณภัยพิบัติในอดีต อยางไรก็ตาม ตนทุนและ ความสูญเสียจากภัยพิบัติในแงของมูลคาที่เปนตัวเงินกลับเพิ่มข้ึนมหาศาล โดยเฉพาะอยา งยิ่ง การสูงขน้ึ ของตนทนุ ในการรับมอื สถานการณฉกุ เฉิน (Emergency Response) และการฟื้นฟูบูรณะ (Recovery and Reconstruction) ซง่ึ แสดงใหเห็นถึงความไรป ระสทิ ธิภาพของกลยุทธก าร บริหารจดั การกอนเกดิ ภยั พบิ ตั ิ ในข้ันตอนของการปอ งกัน (Prevention) การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) และการเตรยี มพรอ ม (Preparedness) ซ่ึงท้ังหมดเปนหนาที่ของทุกภาคสวนท่ีเก่ียวของท่ีจะตองหาวิธีในการตัด วงจรความเสยี หายจากภัยพบิ ัติ โดยเฉพาะอยา งการเพิม่ ขีดความสามารถ ในการลดผลกระทบจากภัยพิบัติดวยการประยุกตใชวิทยาศาสตรและ เทคโนโลยี ค ณ ะ อ นุ ก ร ร ม ก า ร ว า ด ว ย ก า ร ล ด ผ ล ก ร ะ ท บ จ า ก ภั ย พิ บั ติ (Subcommittee on Disaster Reduction) แหง สหประชาชาติ ไดร ะบุ ถึงองคป ระกอบสำคัญในการลดผลกระทบจากภยั พิบตั ิ 4 ประการ ไดแ ก การสรา งความตระหนกั และเขา ใจถงึ อนั ตรายทเ่ี กดิ จากภยั พบิ ตั ิ การเขา ถงึ

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยเี พือ่ การบรหิ ารจดั การภัยพบิ ตั ิ 21 ขอมูลความเสยี่ งเมอ่ื มีเหตุการณอันตรายเกิดข้ึน การสรา งความปลอดภัย แกบุคคลภายในอาคารบานเรือนและสถานที่ทำงานใหรอดพนอันตราย จากภัยพิบตั ิ สภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสหรัฐฯ (National Science and Technology Council) ได้ให้ความสำคัญต่อการใช้วิทยา- ศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชวยลดความสูญเสียท้ังชีวิตและทรัพยสินจาก เหตุการณภ ัยพิบัติ โดยกลาวถึงแนวทางการพัฒนาและประยุกตวิทยา- ศาสตรและเทคโนโลยีเพ่อื การลดผลกระทบจากภยั พิบตั ิไว 6 ประการ ดังน้ี 2.2.1 การเฝาระวังและการเตรียมพรอมดานขอมูลขาวสาร เก่ียวกบั ภัยพบิ ัติ การพัฒนาและประยุกตใชวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในการเฝา สงั เกตการณ เพอื่ การไดมาซงึ่ ขอมูลทีถ่ กู ตอ งครอบคลุม ตรงความตองการ และทันเวลา สามารถมาใชในการวางแผนและเตรียมการรบั มือฉุกเฉินได อยางมีประสทิ ธิภาพ โดยเฉพาะอยา งยิง่ การนำขอมูลมาใชใ นการระบุ และเตรยี มการรับมอื กับอนั ตรายจากภยั พบิ ัติท่ีกำลงั จะเกดิ ขนึ้ ซงึ่ จำเปน ตองรวบรวมและตีความขอมูลอยางทันการณ (real-time) เพื่อใชเปน ขอมูลประกอบการตัดสินใจที่ถูกตองใหแกผูเกี่ยวของทั้งในภาคประชาชน นักวทิ ยาศาสตร หนว ยงานรบั มอื และบรหิ ารจดั การภยั ฉกุ เฉนิ และผกู ำหนด นโยบาย และสามารถใชป ระโยชนจ ากขอ มูลไดท ันที โดยมแี นวทางในการ พัฒนาวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีท่เี กี่ยวของ ดังน้ี • การพัฒนาอุปกรณ์สำรวจโลก เครื่องมือสำรวจระยะไกล (remote sensing) และเทคโนโลยกี ารตรวจสอบแบบทนั การณ (real-time) นบั ไดว า มคี วามสำคญั จำเปน อยา งมากในการสรา ง ความเขาใจแบบทนั การณ (real-time) เก่ยี วกับอนั ตรายจาก ธรรมชาติ และสามารถนำขอ มลู ไปใชป ระโยชนใ นการคาดการณ และเตอื นภยั พบิ ตั ไิ ดอ ยา งมปี ระสทิ ธภิ าพ เพอ่ื สรา งความเขา ใจ

22 ทถี่ ูกตองเกี่ยวกับอันตรายจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะอยางยิ่ง การพัฒนาอุปกรณ์ประเภทเครือข่ายเซนเซอร์ (sensor networks) เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคาม ทางธรรมชาติ ซึ่งการพัฒนาเครือข่ายเซนเซอร์ (sensor networks) ไมเ พยี งแตจ ะตอ งถกู ตอ งและนา เชอ่ื ถอื แลว ยงั จะตอ ง พัฒนาในมิติของความหลากหลายและรายละเอียดของส่ิงที่ ตอ งการตรวจสอบ • การพฒั นาระบบจดั เกบ็ รวบรวมขอ มลู พน้ื ทเ่ี ชงิ กายภาพ โดยใช เทคโนโลยีดานภมู สิ ารสนเทศ เชน Geographic Information System (GIS) และ Global Positioning Systems (GPS) เขา สรู ะบบทส่ี ามารถใหบ รกิ ารแบบทนั การณ (real-time) และ คณุ ภาพสงู รวมทั้งบรู ณาการเขา กับขอมูลดา นเศรษฐกิจและ สังคม เพอ่ื วตั ถุประสงคใ นการรับสถานการณฉ กุ เฉนิ • การกำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บ เผยแพร และวเิ คราะห ขอ มูล ใหเปน ทยี่ อมรบั ในทกุ ระดบั เพ่อื เพม่ิ ความรวดเร็วใน การถายโอนขอมูล สามารถใชประโยชนรวมกันจากขอมูล ระหวา งหนว ยงานตา งๆ และสรางความนา เชื่อถอื ของขอมูล ท้ังน้ี ควรกำหนดเปน มาตรฐานกลางรว มกนั สำหรบั ทุกระดับ เพื่อเปนการอำนวยความสะดวกในการวิเคราะหและเผยแพร ขอ มูลแบบบรู ณาการ ใหส ามารถใชประโยชนไดร วมกันท้ังใน ระดบั ทองถนิ่ ภมู ภิ าค ตลอดจนในระดับชาติ 2.2.2 การพยากรณแ ละคาดการณอันตรายจากภยั พิบตั ิ การพัฒนาและประยุกตใชวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพ่ือ พยากรณและการคาดการณอันตรายจากธรรมชาติ โดยใหความสำคัญ กับการวิจัยข้ันพ้ืนฐานเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติท่ี อาจกอใหเ กดิ อันตรายตา งๆแกม นุษย รวมถึงการทำความเขา ใจถึงเหตุและ

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พ่อื การบรหิ ารจดั การภัยพิบตั ิ 23 ปจจัยของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติเหลานั้น เพื่อสามารถ พยากรณ์และคาดการณ์รูปแบบ ลักษณะ และเวลาของอันตรายจาก ภัยพิบัติธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นไดลวงหนาอยางแมนยำ ซึ่งนอกเหนือจาก การเก็บรวบรวมขอมูลทท่ี ันการณ (real-time) แลว ยังจำเปนตองพัฒนา แบบจำลองท่ีสามารถสนับสนุนความเขาใจเก่ียวกับกระบวนการทาง ธรรมชาตทิ ีซ่ บั ซอน และยกระดับความสามารถในการประเมินผลกระทบ ท่เี กดิ โดยมแี นวทางในการพัฒนาวทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีทีเ่ ก่ียวของ ดังน้ี • การพฒั นาแบบจำลอง ทง้ั แบบจำลองคาดการณ (modeling) และแบบจำลองมโนภาพ (visualization) โดยการพัฒนา แบบจำลองใหค รอบคลมุ ในทกุ มติ ขิ องการศกึ ษาการเปลย่ี นแปลง ทางธรรมชาติ ไดแ ก แบบจำลองอตุ นุ ยิ มวทิ ยา แบบจำลอง ธรณีวิทยา การจัดการทรัพยากร และแบบจำลองสังคม ศาสตร รวมไปถึงแบบจำลองกระบวนการเปล่ยี นแปลงทาง กายภาพ เคมี และชวี ภาพ ในระบบนเิ วศน เพอ่ื สรา งความ เขาใจแจมชัดเกี่ยวกับปจจัยหรือเงื่อนไขของการเกิดภัยพิบัติ รปู แบบการเกิดภัยธรรมชาติ ลักษณะของผลกระทบ และ การประเมินผลกระทบตอชีวิต ทรัพยสิน และสิ่งแวดลอม ท้ังน้ี ประโยชนสำคญั ของการสรา งแบบจำลองชัน้ สงู มีอาทิ เพื่อแสดงใหเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่เกิดข้ึน ตลอดเวลา เพือ่ ระบุความผิดปกติทอี่ าจกอใหเกิดความเส่ยี ง ตอระบบนิเวศน์ เพื่อคาดการณ์และประเมินอันตรายจาก ภัยพิบัติ และเพ่อื ใชในการวางแผนการจัดการกบั เหตุการณ อนาคต นอกจากน้ี ยงั รวมถงึ การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการ ไดมาซึ่งขอ มูล ผลลพั ธ และแนวทางเรง ดว นเพ่อื ลดผลกระทบ เกี่ยวกบั ภัยพิบตั ธิ รรมชาติ ซึง่ ถูกตอง แมน ยำ และทันเวลา

24 • การพัฒนาคุณภาพข้อมูล ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ สำหรบั การคาดการณแ ละการวจิ ยั โดยการปรบั ปรงุ การจดั เกบ็ และการสำรวจขอมลู อยางตอ เนื่องและสม่ำเสมอ • การขยายและปรับปรุงเครือขายการเขาถึงทรัพยากรใน การพัฒนาแบบจำลอง ทัง้ ขอ มลู เคร่อื งมือ อปุ กรณ และ ทรพั ยากรตางๆ ทจ่ี ำเปน ในการคำนวณ จำลอง วเิ คราะห และคาดการณ 2.2.3 การปองกันและลดความเสียหายจากภยั พบิ ัติ การพัฒนา และคดิ คนนวตั กรรมทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ทส่ี ามารถลดอนั ตรายจากภยั พบิ ตั ไิ ดอ ยา งมปี ระสทิ ธภิ าพ และสงั คมสามารถ เขา ถงึ ได รวมถงึ การประยกุ ตใ ชว ทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พอ่ื ประกอบการ วางแผนการใชประโยชนที่ดิน และกฎหมายแบงเขตพื้นที่ความเสี่ยงจาก ภยั พิบตั ิ (zoning) นอกจากนี้ ยังรวมถึงเทคโนโลยี เชน การออกแบบ และการเลือกวัสดุและสิ่งปลูกสรางอัจฉริยะท่ีสามารถรองรับอันตรายจาก ภัยพบิ ตั ิ ซง่ึ สามารถตอบสนองตอ เงอ่ื นไขของการเปลย่ี นแปลงทางธรรมชาติ ได โดยเทคโนโลยีดงั กลา วนี้ จะตองถูกนำมาประยุกตใ ชใ นการกอ สราง อาคารและโครงสรางพนื้ ฐานในเขตพน้ื ที่เสยี่ งภัยพบิ ัติ ซ่ึงจะสามารถลด ความเสยี หายของสังคมจากความเปราะบางตอภยั พิบตั ิ โดยมีแนวทางใน การพฒั นาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยที ี่เกย่ี วขอ ง ดงั นี้ • การพัฒนาระบบโครงสรางพนื้ ฐานและสิ่งปลูกสราง ดวย เทคโนโลยกี ารกอ สรา งขน้ั สงู พฒั นาเทคโนโลยแี ละวสั ดกุ อ สรา ง ทีส่ ามารถทำใหส ่งิ ปลกู สรางมีความอัจฉรยิ ะ สามารถปรบั ตวั และแกไ ขปญหาตางๆ ไดด วยตนเอง เชน การติดตั้งระบบ อจั ฉรยิ ะตา งๆ และการเลอื กใชว สั ดกุ อ สรา งทม่ี คี วามยดื หยนุ สงู นอกจากน้ี การออกแบบระบบโครงสรา งสิง่ ปลูกสรางจะตอง คำนึงถึงความสามารถในการรองรับภัยพบิ ัติ รวมท้งั การเลือก

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พ่ือการบรหิ ารจดั การภัยพิบัติ 25 ใชเทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหมท่ีสามารถรักษาความคงทน ถาวรไดแมในยามเกดิ ภยั พบิ ตั ิ เชน การประยกุ ตใชเทคโนโลยี สิง่ ปลกู สรางอจั ฉริยะ (smart building technologies) ซง่ึ ทำใหส ง่ิ ปลกู สรา งสามารถตรวจสอบความเสยี หายและประเมนิ ความม่ันคงเชิงโครงสรา ง ไดดวยตนเอง • การสนับสนุนแนวทางการลดผลกระทบจากภัยพิบัติดวย แนวทางที่ไมใชดานโครงสรางทางวิศวกรรมควบคูไปดวย โดยนอกเหนือจากการใชประโยชนจากความกาวหนาทาง เทคโนโลยกี ารกอ สรา งแลว ยงั จะตอ งควบคไู ปกบั การสนบั สนนุ การบงั คบั ใชม าตรการลดผลกระทบจากภยั พบิ ตั ใิ นลกั ษณะอน่ื ๆ ที่นอกเหนือไปจากวิธีการดานโครงสรางทางวิศวกรรม เชน ขอกำหนดการใชประโยชนที่ดิน (land use) และระเบียบ การแบง เขตพน้ื ท่ี (zoning) ซง่ึ พจิ ารณาจากขอ มลู ดา นธรณวี ทิ ยา และสภาพภมู อิ ากาศ รวมไปถึงการวางแผนกำหนดนโยบาย ส า ธ า ร ณ ะ โ ด ย พิ จ า ร ณ า ถึ ง แ น ว ท า ง ใ น ก า ร ล ด ต น ทุ น ความเสยี หายและการบูรณะฟน ฟทู ีต่ ำ่ ที่สุดรว มอยดู วย • การประเมินผลประโยชนที่เปนตัวเงินจากการลดผลกระทบ จากภยั พิบตั ิดวยแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร แบบจำลอง ทางเศรษฐศาสตรมีความสำคัญอยางมากสำหรับใชเปนขอมูล สนับสนุนการตัดสินใจก่อนการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพ่อื ใชในการประเมินความสามารถในการลดตนทุนคาใชจาย ท่ีจะไดรับจากนโยบายลดผลกระทบจากภัยพิบัติขององคกร ทง้ั ในระดบั ทอ งถน่ิ และในระดบั ประเทศ กอ นเรม่ิ ลงทนุ โครงการ ลดผลกระทบจากภัยพบิ ัติดงั กลาว อยางไรก็ตาม จำเปนตอ งมี ขอ มลู ทน่ี า เชอ่ื ถอื เพอ่ื ใชใ นแบบจำลองเศรษฐศาสตรเ ชงิ ประจกั ษ รวมทง้ั ควรคำนงึ ถงึ ปจ จยั ดา นผลกระทบทางออ มและผลกระทบ ภายนอก รวมไวในแบบจำลองดงั กลาวดว ย

26 2.2.4 การลดความเปราะบางและเสี่ยงตอความเสียหาย ของระบบโครงสรางพนื้ ฐานสำคญั ย่งิ ยวด (Reduce vulnerability of interdependent critical infrastructure) การปองกันระบบสาธารณูปโภคและโครงสรางพื้นฐาน เปนสิ่ง จำเปนอยางมากในการพัฒนาความสามารถในการรองรับภัยพิบัติของ สงั คม โดยเฉพาะอยา งย่งิ ในยามที่สังคมกำลงั ประสบกับภยั พิบตั ริ นุ แรง โดยนักวิทยาศาสตรและประชาชนท่ัวไปในสังคมจะตองตระหนักและ สามารถระบุถึงความเชื่อมโยงภายในระบบสาธารณูปโภคและโครงสราง พ้ืนฐานสาธารณะ เชน ระบบบริการสื่อสาร ไฟฟา ประปา ระบบการเงนิ พลงั งาน การขนสง และสาธารณสขุ ดว ยการพฒั นาแบบจำลองทีแ่ สดงให ถึงความเชอ่ื มโยงภายในระบบ รวมถงึ ระบคุ วามลอ แหลม ตลอดจนสามารถ ศกึ ษาแนวทางแกไขความลอแหลมเหลานั้นได ทั้งนี้ การปองกันระบบ สาธารณูปโภคและโครงสรางพ้ืนฐานสาธารณะเปรียบเสมือนการสราง รากฐานท่แี ข็งแกรง อนั จะทำใหส ังคมสามารถตอบสนองตออันตรายท่อี าจ เกิดขึ้นไดอยางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางในการพัฒนา วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยที ่เี กย่ี วขอ ง ดังนี้ • การพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพ่ือปองกันความ เสียหายเช่อื มโยงภายในระบบโครงสรางพ้นื ฐานสาธารณะ (Prevent cascading failures in public infrastructure systems) พฒั นาวธิ กี าร เครอ่ื งมอื และแบบจำลอง สำหรับ การประเมินและวิเคราะหความเปราะบางและการเชื่อมโยง ภายในระบบสาธารณูปโภคและโครงสรางพ้ืนฐานสาธารณะ เพ่อื ลดความเสยี หายอนั เกดิ จากการลุกลามผานการเชื่อมโยง ภายในระบบ และเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณูปโภคและ โครงสรา งพน้ื ฐานสาธารณะใหส ามารถดำเนนิ การใหบ รกิ ารได อยา งตอเนอื่ ง แมในยามเกิดภัยพิบัติ โดยระบบสาธารณูปโภค และโครงสรางพ้ืนฐานสาธารณะท่ีแข็งแกรงจะตองสามารถ

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พ่ือการบรหิ ารจดั การภัยพบิ ัติ 27 ปอ งกนั ความเสยี หายไดท ง้ั จากภยั พบิ ตั ธิ รรมชาติจากฝมือมนุษย และสามารถแกไขปญหาไดอยา งรวดเรว็ ซ่งึ หมายรวมถงึ ความสามารถในการจำแนกและซอมแซมความเสียหาย อยางรวดเร็ว โดยไมจ ำเปนตอ งหยดุ ใหบ ริการ และไมสงผล กระทบถึงสวนประกอบอื่นๆ นอกจากนี้ ระบบสาธารณปู โภค และโครงสรา งพ้นื ฐานสาธารณะตางๆ จะตองถกู ออกแบบให สามารถปกปองและสงผลกระทบตอประชาชนให้น้อยที่สุด และควรทำการประเมินความเสี่ยงเพื่อศึกษาผลกระทบจาก ดำเนินการตามแผนงาน เพื่อพิจารณาหามาตรการที่ เหมาะสมท่ีสุดในการลดความเส่ียงตอระบบสาธารณูปโภค และโครงสรา งพน้ื ฐานสาธารณะจากภยั คกุ คามตา งๆ • การยกระดับความสามารถในการปองกันระบบสาธารณสุข ทง้ั กอนและหลังเกิดเหตุการณภยั พบิ ตั ิ เนอ่ื งจากการบรกิ าร สขุ ภาพจะตอ งสามารถใหบ รกิ ารไดอยางตอเนื่อง และตองไม บกพรอ งดา นประสทิ ธภิ าพและความรวดเรว็ เพอ่ื ลดผลกระทบ ตอทง้ั ชวี ติ มนุษย สัตว และสิง่ แวดลอ ม ใหน อ ยทส่ี ดุ เปน สำคญั โดยเฉพาะอยา งยง่ิ ในยามเกิดภยั พิบตั ิ ดงั นน้ั การประยุกต วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อสรางความเขาใจและ คาดการณถ งึ ผลกระทบจากภยั พบิ ตั ทิ จ่ี ะมตี อ ระบบสาธารณสขุ จะสามารถชวยปกปองและเตรียมการประชาชนจากอันตราย ไดท งั้ ในยามกอนและหลงั เหตุการณภัยพิบัติ รวมไปถึง การ ประยุกตวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพ่ือออกแบบระบบ สาธารณปู โภคดา นสขุ ภาพใหส ามารถรกั ษามาตรฐานสขุ อนามยั และการปองกันการปนเปอนภายในระบบการส่งจ่ายน้ำ แม้ในยามหรือหลังเหตุการณ์ภัยพบิ ัติ นอกจากน้ี ควร พั ฒ น า น วั ต ก ร ร ม วิ ท ย า ศ า ส ต ร ด า น แ บ บ จ ำ ล อ ง ท่ีใ ช ใ น การประเมินกระบวนการรับมือตอสถานการณฉุกเฉินเพื่อยก

28 ระดับความรวดเร็วและความมีประสิทธิภาพในการจัดการ ภัยคุมคามตอ บริการสขุ ภาพสาธารณะ และประการสุดทา ย คือการนำความรูทางวิทยาศาสตรเกี่ยวกับภัยคุกคามที่ อาจกระทบตอระบบสาธารณสุขมาใชในการวางแผนรับมือ สถานการณฉุกเฉนิ 2.2.5 การเตอื นภยั และเผยแพรแ นวทางการปฏบิ ตั ทิ เ่ี หมาะสม ภายใตค วามเสย่ี งจากภัยพบิ ัติ พัฒนาและประยุกตหลกั การทางสงั คมศาสตร ทัง้ ดา นเศรษฐกจิ และพฤตกิ รรมมนษุ ย เพอ่ื เสรมิ สรา งกระบวนการปฏสิ มั พนั ธท างสงั คมดา น ตา งๆ ของประชากร เชน การสอ่ื สาร ความไววางใจ และความเขาใจ ซึ่งกันและกัน ในสังคม เพือ่ เผยแพรและสงเสรมิ แนวทางการปฏบิ ตั ภิ ายใต ความเสย่ี งจากภยั พบิ ัติ นอกจากน้ี ยงั จะตอ งเผยแพรขอมลู ขา วสารท่มี ี ประสิทธิภาพเกี่ยวกับอันตรายจากภัยพิบัติ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ขอมูล การคาดการณแ ละเตอื นภยั พบิ ตั ิทถี่ กู ตอ งแมน ยำนา เชอ่ื ถอื และเขา ถงึ ไดเพอ่ื สรางความเขาใจและความไววางใจของประชาชนตอขอมูลขาวสารตางๆ ทห่ี นว ยงานกลางเผยแพร เพอ่ื ประชาชนจะสามารถปฏบิ ตั ติ วั ในขณะเผชญิ กบั ภยั พบิ ตั ไิ ดอ ยา งเหมาะสม และสอดคล้องกับแนวทางซึ่งหนวยงานกลาง คาดหวัง โดยกระบวนการเหลา น้ี นบั เปนความทาทายสำคญั ในการ บูรณาการงานวิจยั ดา นสงั คมศาสตรค วบคกู บั วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยี • การสรางจิตสำนกึ ของสาธารณชนจากภัยพิบตั ิ โดยการใชเทคโนโลยีเพ่อื การเผยแพรขอมูลท่เี ช่อื ถือไดทุกดาน ทีเ่ กีย่ วกบั ภยั พบิ ตั แิ กป ระชาชนและผกู ำหนดนโยบาย เพอ่ื การ วางแผนบริหารจดั การกบั ภัยพบิ ัตทิ ่เี หมาะสม

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพ่อื การบริหารจดั การภยั พิบัติ 29 • การแจง เตอื นประชาชนดว ยขอ ความทช่ี ดั เจน เขา ใจงา ย และ สามารถดำเนินการไดท นั ที การใชร ะบบเทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารเพอ่ื การสอ่ื สาร ยามฉุกเฉินท่ีมีความครอบคลุมทั้งในเชิงเน้ือหาและเชิงพ้ืนท่ี เพ่ือใชแจงขอมูลเตือนภัยแกประชาชนและเพ่ือประชาสัมพันธ แนวทางปฏิบัติท่ีจะตองดำเนินการในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน โดยระบบส่ือสารฉุกเฉินดังกลาวควรครอบคลุมถึงส่ือและชอง ทางการสือ่ สารทีม่ ีอยูทุกประเภท รวมไปถงึ โทรศพั ทเคลอ่ื นท่ี เคเบลิ ทวี ี และอินเทอรเ นต็ และควรมเี ครือขายท่ีครอบคลมุ เพียงพอท่ีจะสงขอมูลเตือนภัยไปยังประชาชนในทุกสถานท่ี ท่ีตอ งการ แมจะอยูใ นพ้นื ทหี่ างไกล นอกจากนี้ ในดานของ ขอความที่ใชแจงเตือนภัยนั้น ก็ควรกำหนดขึ้นบนพื้นฐาน การรับรแู ละประชาชนสามารถเขาใจไดชัดเจนในแตละทองถ่นิ และควรเปน ขอ ความทถ่ี กู กำหนดขน้ึ โดยผมู สี ว นเกย่ี วขอ งโดยตรง และควรเปน บคุ คลซง่ึ เปน ทร่ี จู กั อยา งดใี นพน้ื ท่ี เชน การมอบหมาย ใหผ ใู หบ รกิ ารสขุ ภาพชมุ ชนเปน ผกู ำหนดขอ ความเตอื นภยั ดา น สุขภาพในพื้นทนี่ ้นั ๆ ซ่ึงขอ ความแจง เตือนภยั ไมค วรละเลยถึง การถายทอดใหประชาชนทราบถึงสภาพความรุนแรงของ ภัยพิบัติแบบทันการณที่ประชาชนจะเห็นถึงการเปล่ียนแปลง ไดดว ย • การพัฒนานโยบายการสงเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติท่ี เหมาะสมภายใตความเสย่ี ง และสอดคลองกบั องคค วามรู ดา นสงั คมศาสตร เน่ืองจากการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการจูงใจใหผูรับสาร ยอมปฏบิ ัตติ ามอยา งเหมาะสมนน้ั นอกจากจะใชอ งคความรู ดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีการสื่อสารแลว ยังจะตอง

30 บู ร ณ า ก า ร ร ว ม กั บ อ ง ค ค ว า ม รู ด า น พ ฤ ติ ก ร ร ม ศ า ส ต ร ประชากรศาสตร และองคความรูทางสังคมศาสตรแ ขนงอ่ืนๆ ประกอบดว ย ทัง้ น้ี ก็เพื่อเปาประสงคส ำคญั ในการสรา งความ เขา ใจและความตระหนักรว มในสงั คม ความมปี ระสทิ ธภิ าพใน แงข องการปฏบิ ตั ทิ เ่ี หมาะสมทง้ั ในระดบั บคุ คลและระดบั องคก ร โดยเฉพาะอยา งยง่ิ การสรา งความเขา ใจใหป ระชาชนรบั ทราบ ถงึ ทีม่ าของเหตุการณภยั พบิ ัติ สามารถกระตนุ ใหประชาชน ปฏบิ ตั ติ ามไดอ ยา งเหมาะสม และอาจหมายรวมไปถงึ การสรา ง แรงจูงใจใหประชาชนรวมปฏิบัติในแนวทางของการชวยลด ผลกระทบจากภัยพบิ ัติ ทงั้ กอ นและในยามเกดิ ภยั พิบัติ 2.2.6 การประเมนิ ความสามารถในการรองรบั ภยั พบิ ัติ หนว ยงานกลางดา นการรองรบั ผลกระทบจากภยั พบิ ตั จิ ะตอ งทำงาน รว มกับมหาวทิ ยาลัย รัฐบาลทองถน่ิ และภาคเอกชน เพื่อรว มกนั กำหนด ตวั ชว้ี ดั และมาตรฐานประสทิ ธภิ าพในการประเมนิ ความสามารถในการรองรบั ภัยพิบัติ ดวยปจจัยที่สอดประสานและตัวชี้วัดที่ไดรับการปรับปรุงอยาง สม่ำเสมอ เพื่อใหสามารถรับทราบถึงระดับของขีดความสามารถในการ รองรับภัยพิบัติของพื้นที่ ทั้งนี้ รวมถึงการสนับสนุนการเปรียบเทียบ ขีดความสามารถระหวา งพ้นื ที่ และเรงดำเนนิ การเพ่ือลดความแตกตางเชงิ เปรยี บเทยี บระหวางพ้ืนที่น้ัน นอกจากนีก้ ารตรวจสอบมาตรฐาน และตวั ชว้ี ัด มคี วามจำเปน อยา งยงิ่ ใการประเมินความเสียหาย การฉายภาพ สะทอนของการเปล่ียนแปลงเทคโนโลยีและผลการดำเนินนโยบาย รวมถงึ การตรวจสอบภาพรวมความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการดำเนิน การตามแผน โดยมีแนวทางในการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีที่ เก่ียวขอ ง ดังน้ี

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยเี พอ่ื การบรหิ ารจดั การภยั พิบัติ 31 • การประเมินความเสี่ยงเพ่ือใชประกอบการตัดสินใจใน การวางแผนและการลงทุน การประเมินความเส่ียงเพื่อประเมินโอกาสความนาจะเกิด (probability) และความรนุ แรงตอ ความเสียหายจากเหตุการณ ภยั พบิ ตั ิ และเพือ่ ใชระบุพ้ืนท่ีเสย่ี งภัย โดยผลการประเมนิ ที่ สมบรู ณจะสามารถใชเ ปนขอ มูลประกอบการลงทนุ และการ ตัดสินใจเลอื กพ้นื ที่ในการปอ งกันชุมชนและส่งิ แวดลอ ม ทง้ั น้ี เพอ่ื การประเมนิ ผลกระทบจากภยั พบิ ตั ทิ ช่ี ดั เจน นอกเหนอื จาก องคความรูดา นวิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีแลว ยังตอ งอาศัย องคความรูดานพฤติกรรมมนุษย ซึ่งมีผลโดยตรงตอความ นาจะเปนของการเกิดเหตุการณความสูญเสียรุนแรงที่สืบเน่ือง จากภยั พิบตั ดิ วย • การประเมินความความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติ ของชมุ ชนและส่ิงแวดลอม โดยครอบคลุมถึงการประเมินประสิทธิภาพในการรับมือกับ ผลกระทบจากภัยพิบัติท้ังที่เกิดข้ึนตามธรรมชาติและจากฝมือ มนุษย โดยอา งองิ อยบู นพ้นื ฐานของการวิจยั ทางวิทยาศาสตร เพอ่ื ปอ งกนั ความสญู เสยี ของทรพั ยากรทางธรรมชาตใิ นระหวา ง เกิดเหตุการณภ ัยพบิ ตั ิ • การสรางการเรียนรจู ากเหตกุ ารณภ ยั พบิ ตั ติ างๆ การศึกษาวเิ คราะหเ หตุการณภ ยั พบิ ตั ใิ นอดีตพรอมทัง้ เผยแพร ผลลัพธท่ไี ดจากการศึกษา เพ่อื ใชเปน แรงสนับสนนุ การวิจัยที่ เก่ยี วกบั ภัยพบิ ัตใิ หเกิดขน้ึ อยา งตอ เนอ่ื ง และเพอื่ ใชเ ปนขอ มลู ในการวางแผนการลดผลกระทบจากภยั พิบัตใิ นอนาคต โดย การวางแผนงานในชว งกอ นการเกดิ ภยั พบิ ตั คิ วรจะตอ งสามารถ ใชประโยชนไดทันทีเมื่อเกิดภัยพิบัติ และควรผลักดันไปถึง

32 การวางแผนกิจกรรมในชวงของการรับมือสถานการณฉุกเฉิน และการฟนฟบู รู ณะในอนาคตไวล ว งหนา จากทัง้ หมดที่กลา วมา จะพบโดยประจักษว า ความกาวหนาดา น วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมีสวนเกี่ยวของกับการบริหารจัดการเพื่อลด ผลกระทบจากภัยพิบัติในทุกทุกมิติ อยางไรก็ดี เพียงการประยุกตใช วิทยาศาสตรและเทคโนโลยีอาจยังไมเพียงพอท่ีจะใชลดผลกระทบจาก ภัยพิบัติได้ทั้งหมด หากแต่การบูรณาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รว มกับงานวิจัยและองคความรูแขนงอื่นๆ ก็มีความสำคัญและจำเปนไม ยงิ่ หยอนไปกวากนั อยางไรก็ตาม แมวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีจะเปนเครื่องมือที่ สำคญั ในการบรหิ ารจดั การและลดผลกระทบจากภยั พบิ ตั ิ แตเ พอ่ื การบรหิ าร จัดการและลดผลกระทบจากภัยพิบัติท่ีมีประสิทธิภาพสมบูรณอยางยั่งยืน น้ัน สงิ่ ซึ่งสำคญั ยง่ิ กวาคือ ศกั ยภาพในการการตดั สนิ ใจเชงิ นโยบายดา น การบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติท่ีมีประสิทธิภาพของหนวยงาน ผกู ำหนดนโยบายสาธารณะในทกุ ระดบั และองคป ระกอบสุดทายท่ีสำคัญ ที่สุดคอื ความรวมมอื จากภาคประชาชนและเอกชนในทุกแงม ุม และทกุ ระดับของสังคม เพื่อสรางความเปลี่ยนแปลงที่จะตองเกิดขึ้นทั้งในระดับ นโยบายควบคูไปพรอ มระดับความรบั รูข องสังคม ดังน้นั ความเขาใจและ การยอมรับจากสงั คมจงึ เปน สงิ่ ทีส่ ำคัญทส่ี ุดอยางหลกี เล่ียงไมได ภายใต บรบิ ทของการบรู ณาการเหลานี้ วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีพรอมแลวท่ี จะเปนกลไกในการยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการและลด ผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและ สรางความปลอดภัยแกทงั้ ชวี ติ และทรัพยสินใหบ ังเกดิ สบื ไปอยางยั่งยืน

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพือ่ การบรหิ ารจดั การภัยพิบัติ 33 3. การประยกุ ตใชวิทยาศาสตร และเทคโนโลยเี พอ่ื การบรหิ ารจดั การ ภัยพิบัตธิ รรมชาติ : กรณีศึกษา ประสบการณตา งประเทศ ปญหาภัยพบิ ตั ธิ รรมชาตทิ ี่มีแนวโนมทวีความรนุ แรง และอาจกอ ใหเ กดิ ความเสยี หายเพ่มิ ข้ึน ถอื เปน ภยั อุบตั ิใหมท ค่ี ุกคามทกุ ประเทศในโลก ซ่ึงแมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเพื่อรองรับภัยพิบัติธรรมชาติ จะดำเนนิ การมาอยา งตอ เนอ่ื ง แตก ย็ งั ไมม ปี ระสทิ ธภิ าพเพยี งพอทจ่ี ะรบั มอื กับภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตทิ เ่ี กดิ ขน้ึ ไดอ ยา งสมบรู ณ โดยในหลายประเทศ ไมเ วน แมก ระทง่ั ประเทศผนู ำดา นวทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยขี องโลก ตา งกป็ ระสบ ปญ หาความรุนแรงและความเสียหายมากกวาที่คาดการณไว จึงจำเปน ตอ งศึกษากรณภี ยั พิบตั ิธรรมชาติตางๆ ท่ีเกดิ ข้นึ ในตางประเทศ เพื่อนำ บทเรียนและประสบการณจากตางประเทศมาใชเปนขอมูลและแนวทาง ในการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหาร บริหารจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในประเทศไทยในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การประยกุ ตใ ชว ทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พอ่ื การปอ งกนั บรรเทาผลกระทบ และเตรยี มพรอ ม กอ นเกดิ ภยั พบิ ตั ธิ รรมชาตไิ ดอ ยา งมปี ระสทิ ธภิ าพ สามารถ ใหการชว ยเหลอื ผปู ระสบภยั ไดอ ยา งเปน ระบบในยามเกดิ ภยั พบิ ตั ิ สามารถ บูรณะฟนฟูพื้นที่ประสบภัยใหกลับสูภาวะปกติไดอยางรวดเร็วหลังเกิด ภยั พบิ ตั ิ ตลอดจนสามารถบูรณาการแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติ ธรรมชาติรว มกับกระบวนการพฒั นาประเทศไดอยา งยัง่ ยนื

34 3.1 การประยกุ ตใ ชว ทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พอ่ื การบรหิ าร จดั การภยั พิบตั ิธรรมชาติในประเทศญป่ี นุ กรณีศึกษาเหตุการณแผนดินไหวฮันชิน ในเมืองโกเบ จังหวัด เฮยี วโกะ ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) และเหตุการณแผน ดินไหวและคลน่ื สนึ ามิ ในเขตโทโฮกุบนเกาะฮอนชู ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ประเทศญี่ปุนอยูในเขตเส่ียงภัยท่ีสุดของการเกิดแผนดินไหว มีภัยพิบัติขนาดใหญเกิดขึ้นบอยครั้ง ทำใหญี่ปุนมีการเตรียมการรองรับ และพัฒนาระบบการบริหารจดั การภยั พิบตั ิจนมีความกาวหนาและทนั สมยั ทสี่ ดุ ของโลกในปจ จบุ นั อยา งไรกต็ าม การพฒั นาระบบการบรหิ ารจดั การ ภยั พบิ ตั ทิ ม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพของญป่ี นุ ในปจ จบุ นั สว นหนง่ึ มาจากบทเรยี นของ การดำเนนิ การทล่ี ม เหลวและขาดประสทิ ธภิ าพในการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ ของรัฐบาลญี่ปุนในกรณีแผนดินไหวฮันชิน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) โดยเฉพาะอยางยิ่งจุดออนที่สำคัญคือ แนวทางปองกันภัยพิบัติที่เนน มาตรการดานโครงสรางและวศิ วกรรมเปน หลกั นอกจากนั้น ลกั ษณะทต่ี ั้ง ของเมืองโกเบซึ่งไดรับการประเมินวาเปนพื้นที่ที่ไมนาจะเกิดแผนดินไหว จึงทำใหท ้งั รัฐบาลทองถ่นิ และประชาชนขาดการเตรยี มพรอ ม อยางไรกด็ ี ในอีกดานหน่งึ เหตแุ ผน ดนิ ไหวฮันชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) นไี้ ด กลายเปน จดุ เปลย่ี นสำคญั ทก่ี อ ใหเ กดิ การเปลย่ี นแปลงนโยบายดา นการบรหิ าร จัดการภัยพิบัติภายในประเทศและขยายไปสูการดำเนินนโยบายระหวาง ประเทศของญป่ี นุ เชน การกำหนดบทบาทเปน ผนู ำในภมู ภิ าคดา นการบรหิ าร จัดการภัยพิบัติ มีการริเริ่มและผลักดันการจัดทำแผนงานป้องกันและ บรรเทาภยั พบิ ตั เิ ฮยี วโกะ เปน ตน รวมทง้ั ไดย กระดบั ประสทิ ธภิ าพการบรหิ าร จัดการภัยพิบัติของประเทศญ่ีปุนจนไดรับการยอมรับวาเปนระบบที่ดีท่ีสุด ในโลกในปจ จุบัน โดยในดานการกำหนดนโยบายสาธารณะเก่ียวกับการบริหาร จดั การภยั พบิ ตั นิ น้ั รฐั บาลญป่ี นุ ไดว างโครงสรา งการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีเพอ่ื การบรหิ ารจดั การภัยพบิ ตั ิ 35 ด้วยการจัดตั้งสภาการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ (Central Disaster Management Council) ซง่ึ มนี ายกรฐั มนตรเี ปน ประธาน ทำหนา ทเ่ี ปน องคก ร ดา นนโยบายและการสั่งการเมื่อเกิดภัยพิบัติระดับประเทศ โดยมีเครื่องมือ ที่สำคัญและไดร ับการยอมรบั วาเปน ระบบท่ดี ที ่ีสดุ ในโลก คอื ระบบการ คาดการณแ ละระบบเตอื นภยั ทท่ี นั การณท ร่ี วดเรว็ แมน ยำ และมปี ระสทิ ธิภาพ อยางไรก็ตาม เหตกุ ารณภ ัยพบิ ัตแิ ผน ดนิ ไหวและ คลน่ื สนึ ามิ ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ทเี่ กิดขน้ึ นับเปน ภยั พบิ ตั ทิ ส่ี รางความเสียหาย ในเชิงมลู คา ครัง้ รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตรยุคปจจุบัน ซึ่งความรุนแร งที่เกิดขึ้นเกินกวาระบบทม่ี อี ยจู ะปอ งกนั ความเสยี หายไดท ง้ั หมด แตอ ยา ง นอ ยทส่ี ดุ ระบบการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ ซง่ึ หมายรวมถงึ การประยกุ ตใ ช วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยที ม่ี ปี ระสิทธภิ าพของญ่ีปุน กส็ ามารถชว ยชวี ิต ผปู ระสบภัยชาวญปี่ ุนไวไดเปน จำนวนมากโดยประจักษ 3.1.1 ลกั ษณะและผลกระทบของภยั พบิ ัติ เหตกุ ารณแ ผน ดนิ ไหวฮนั ชนิ ในเมอื งโกเบ จงั หวดั เฮยี วโกะ (The Great Hanshin Earthquake) ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เกดิ ข้ึนเมอื่ วนั อังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เวลา 05.46 น. ตามเวลา ทอ งถนิ่ โดยเปนแผนดินไหวความรนุ แรงขนาด 7.2 แมกนจิ ูด-ตามมาตรา รกิ เตอร บริเวณตอนใตของจงั หวดั เฮียวโกะประเทศญีป่ ุน มีศูนยกลางอยทู ี่ ระดับ 16 กิโลเมตรใตจุดเหนือศูนยกลางแผนดินไหวบริเวณเกาะอาวาจิ ซง่ึ อยหู า งจากเมืองโกเบ 20 กโิ ลเมตร เปนเวลาประมาณ 20 วินาที ในดานความเสียหาย พบวา มผี ูเ สียชีวติ มากกวา 6,434 คน บา นเรอื นพังพลายกวา 200,000 หลงั โครงสรา งยกระดับของทางดว นสาย ฮันชิน พังทลายเปน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ปน จ่ันของทาเรือโกเบ เสยี หายกวา หนง่ึ รอ ยตวั มลู คา ความเสยี หายทง้ั สน้ิ ประมาณ 10 ลา นลา นเยน (ประมาณ 102.5 พันลา นเหรยี ญสหรัฐฯ) คิดเปนรอ ยละ 2.5 ของผลติ ภัณฑ มวลรวมประชาชาติประเทศญี่ปุน ในปน ้นั

36 เหตกุ ารณแ ผน ดนิ ไหวและคลน่ื สนึ ามิ ในเขตโทโฮกุ บนเกาะฮอนชู (Tohoku Chiho Taiheiyo-oki Jishin) ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เกิดขึ้นเม่อื วันท่ี 11 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เวลา 14.46 น. ตามเวลาทองถิ่น โดยเปนแผนดินไหวท่ีเกิดใตทะเลความรนุ แรงขนาด 9.0 แมกนจิ ดู -ตามมาตรารกิ เตอร นอกชายฝง ประเทศญป่ี นุ จดุ เหนอื ศนู ยก ลาง แผนดินไหวมีรายงานวา อยูนอกชายฝงตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะ โทโฮะกุ โดยมจี ดุ เกดิ แผน ดนิ ไหวอยลู กึ ลงไปใตพ น้ื ดนิ 32 กโิ ลเมตร นบั เปน เหตกุ ารณแ ผนดนิ ไหวคร้งั รนุ แรงที่สดุ ในประวตั ศิ าสตรญ ี่ปนุ และเปนหนงึ่ ในหาแผนดินไหวคร้ังรุนแรงที่สุดของโลกเทาท่ีมีการบันทึกสมัยใหมมา ตงั้ แต พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) และกอใหเกดิ คลื่นสนึ ามทิ ำลายลา งซง่ึ สงู ทสี่ ุดถึง 40.5 เมตร ในมิยาโกะ อวิ าเตะ โทโฮะกุ บางพืน้ ทพ่ี บวาคลื่นได พัดพาลกึ เขา ไปในแผน ดนิ ลกึ ถงึ 14 กโิ ลเมตร และมคี ลน่ื ทเ่ี ลก็ กวา พดั ไปยงั อกี หลายประเทศหลายชัว่ โมงหลงั จากนัน้ ไดม ีการประกาศเตือนภัยสนึ ามิ และคำสง่ั อพยพตามชายฝง ดา นแปซฟิ ก ของญป่ี นุ และอกี อยา งนอ ย 20 ประเทศ รวมท้งั ชายฝงแปซฟิ ก ทง้ั หมดของประเทศอเมรกิ าเหนอื และอเมรกิ าใต ซ่งึ นอกเหนือไปจากการสูญเสียชีวิตและการทำลายลา งโครงสรา งพน้ื ฐานของ ญปี่ ุนแลว คลนื่ สึนามดิ ังกลาวยังกอ ใหเ กิดอุบัตเิ หตนุ วิ เคลียรขึ้น ซงึ่ หลักๆ เปน อบุ ตั เิ หตแุ กนปฏกิ รณป รมาณหู ลอมละลายระดบั 7 ในโรงไฟฟา นวิ เคลยี ร ฟุกุชิมะไดอิชิ และการกำหนดพื้นที่อพยพได้มีผลกระทบถึงราษฎรนับ หลายแสนคน แผน ดนิ ไหวดงั กลา วรนุ แรงเสยี จนทำใหเ กาะฮอนชเู ลอ่ื นไปทาง ตะวนั ออก 2.4 เมตร พรอ มกบั เคลอ่ื นแกนหมนุ ของโลกไปเกอื บ 10 เซนตเิ มตร ในดา นความเสียหายน้ัน สำนกั งานตำรวจแหง ชาติญ่ปี ุน ระบวุ า มผี เู สียชวี ิตกวา 15,729 ราย บาดเจบ็ 5,719 ราย และสญู หาย 4,539 ราย ในพน้ื ท่ีสบิ แปดจงั หวัด รวมถึงอาคารทถี่ กู ทำลายหรือไดรบั ความเสียหาย กวา 125,000 หลัง อกี ทง้ั ความเสียหายอยา งหนักตอถนนและรางรถไฟ เชนเดียวกับเหตุเพลิงไหมในหลายพื้นที่ และเขื่อนแตก บานเรือนราว 4.4 ลา นหลังคาเรือนทางตะวนั ออกเฉยี งเหนอื ของญป่ี ุนไมม กี ระแสไฟฟา

วิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยเี พื่อการบรหิ ารจัดการภยั พบิ ตั ิ 37 ใช และประชาชนอกี ราว 1.5 ลานคนไมม นี ้ำประปาใช เครอ่ื งกำเนดิ ไฟฟา หลายเครื่องไมส ามารถใชการได และเครอ่ื งปฏิกรณน ิวเคลยี รอ ยางนอ ย สามเครือ่ งไดรบั ความเสยี หาย เนือ่ งจากแกส ไฮโดรเจนท่ีเกิดขึน้ ในอาคาร คลุมเครอื่ งปฏกิ รณช ั้นนอก ย่ิงไปกวานน้ั ยังไดม ีการประกาศสถานการณ ฉกุ เฉิน โรงไฟฟานิวเคลียรฟุกุชิมะไดอิชิเกิดระเบิดขึ้นเกือบ 24 ชั่วโมง หลังเหตแุ ผนดนิ ไหวครั้งแรก อยา งไรกต็ าม แรงระเบดิ ในพน้ื ท่ไี มรวมสาร กัมมันตรังสีอยูดวย (กลาวคือ แรงระเบิดเกิดจากแกสไฮโดรเจน ไมใชเปน แรงระเบิดที่เกิดจากผลของสารกัมมันตรังสี)ประชาชนซึ่งอยูอาศัยในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิและรัศมี 10 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้านิวเคลยี รฟุกุชิมะไดนิถกู สงั่ อพยพ ประมาณการความเสยี หายเบอ้ื งตน เฉพาะทเ่ี กดิ ขน้ึ จากแผน ดนิ ไหว อยรู ะหวา ง 14,500 ถงึ 34,600 ลา นเหรยี ญสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางญ่ปี ุน อดั ฉีดเงินเขา สรู ะบบอยางนอ ย 15 ลานลานเยน เม่ือวันท่ี 14 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เพอ่ื พยายามฟน ฟสู ภาพการตลาดใหก ลบั คนื สสู ภาพปกติ และเม่ือวันท่ี 21 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ธนาคารโลกไดประมาณ การความเสียหายสูงถึงระหวา ง 122,000 ถึง 235,000 ลานเหรยี ญสหรัฐฯ และรัฐบาลญ่ีปุนประกาศวามูลคาความเสียหายจากภัยพิบัติแผนดินไหว และคลนื่ สนึ ามิอาจมมี ูลคาสงู ถึง 309,000 ลา นเหรยี ญสหรัฐฯ ซึง่ ทำให ภัยพบิ ตั คิ รง้ั นเ้ี ปน ภยั พบิ ตั ทิ ส่ี รา งความเสยี หายมากทส่ี ดุ เทา ทม่ี กี ารบนั ทกึ มา 3.1.2 การประยุกตใ ชว ิทยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีในขัน้ ตอน การบริหารจดั การภยั พิบตั ธิ รรมชาติ 1) การปองกนั (Prevention) • เหตกุ ารณแ ผน ดนิ ไหวฮันชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) โครงสรางพื้นฐานเพือ่ ปอ งกันภัยแผนดนิ ไหว: ประเทศญป่ี ุน มกี ารปรบั ปรงุ มาตรฐานการกอ สรา ง โครงสรา งอาคาร โรงเรยี น โรงพยาบาล ระบบสาธารณูปโภคพ้นื ฐาน ทง้ั ระบบคมนาคม

38 ระบบไฟฟา ระบบประปา โครงขา ยโทรศพั ท สิง่ อำนวย ความสะดวก และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถป้องกัน ความสูญเสียจากภัยพิบัติโดยเฉพาะแผนดินไหวขนาดใหญ ได โดยในป พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ไดม กี ารปรบั ปรงุ มาตรฐาน การกอสรางโดยคำนึงถึงหลักวิทยาศาสตรเพื่อรองรับภัย แผนดนิ ไหว อยา งไรกต็ าม แมว า ประเทศญป่ี นุ จะมคี วามพรอ มในการปอ งกนั ความสญู เสยี จากแผน ดนิ ไหว โดยเฉพาะอยา งยง่ิ สง่ิ ปลกู สรา ง ยุ ค ใ ห ม ทั้ ง อ า ค า ร แ ล ะ ถ น น มี ก า ร อ อ ก แ บ บ เ พื่ อ ป อ ง กั น ความเสียหายแผ่นดินไหว แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นยังมี อาคารเกาจำนวนมากท่ีกอสรางดวยเทคโนโลยีท่ีลาสมัยไม สามารถตานทานความรุนแรงไดจึงพังถลมลงมาหรือไดรับ ความเสียหายจากการเกดิ เพลิงไหม • เหตุการณแ ผน ดนิ ไหวและคล่นื สึนามิ ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) โครงสรา งพน้ื ฐานเพอ่ื ปอ งกนั ภยั แผน ดนิ ไหว: แมใ นป พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ประเทศญ่ีปุนไดป รับปรุงมาตรฐานการกอสราง โดยคำนึงถึงหลักวิทยาศาสตรเพื่อรองรับภัยแผนดินไหว สำหรบั สง่ิ กอ สรา ง อาคาร โครงสรา งพน้ื ฐาน และสาธารณปู โภค ตา งๆ แตเมื่อเกิดแผน ดนิ ไหวฮนั ชินทเี่ มอื งโกเบซงึ่ มีผูเสยี ชวี ติ มากกวา หกพนั คน ยง่ิ ทำใหม กี ารวจิ ยั และพฒั นาวธิ กี ารปอ งกนั แผ่นดินไหวที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การปรับปรุง มาตรฐานการก่อสร้างของประเทศอีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ซ่ึงมีความเขมงวดและมรี ายละเอยี ดเพ่มิ มากขนึ้ ปจจบุ นั อาคารและสง่ิ กอ สรา งในประเทศญป่ี นุ ไดร บั การออกแบบ ให้มีความยืดหยุ่น มีระบบป้องกันภัยต่อแผ่นดินไหวได้ดี

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยีเพ่อื การบรหิ ารจัดการภยั พบิ ัติ 39 ใชว ัสดุทนไฟ ลาสดุ ไดอ อกแบบใหอ าคารท่สี รา งใหม โดย เฉพาะอาคารสงู ทกุ แหง เอนไปมาไดข ณะแผน ดนิ ไหว นอกจากน้ี เทคโนโลยอี จั ฉริยะ ทำใหร ะบบรถไฟฟา ทัง้ ใตดินและบนดนิ จะหยุดวิ่งทันทขี ณะเกิดแผน ดนิ ไหว รวมถึงรัฐบาลญป่ี ุนไดม ี การเตรยี มการปอ งกันเหตแุ ผน ดนิ ถลม โครงสรางพนื้ ฐานเพือ่ ปองกันภยั สนึ าม:ิ การปองกันสึนามิโดยใหความสำคัญกับการวางผังเมือง ชายฝงทั่วประเทศฝงตะวันออกของประเทศซ่ึงตองเผชิญกับ ภัยจากคลน่ื สนึ ามแิ ละแผน ดนิ ไหวบอยครั้ง จะมีการกอสรา ง สถานทห่ี ลบภยั สถานทร่ี องรบั การอพยพ และกำหนดเสน ทาง การอพยพ สำหรับบริเวณดานหนาของชายฝงที่มีประชากร หนาแนน บางแหงไดม ีการสรา งกำแพงกันนำ้ ทวม และทาง ระบายน้ำเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของคล่ืนและลดแรงกระแทก ของคลื่นมีการสรา งกำแพงปอ งกันสึนามหิ รอื เข่ือนก้นั น้ำ ทม่ี ี ความสูงตงั้ แต 4-10 เมตร แมวา คลื่นสึนามิท่ีเขา กระทบจะมี ความสงู มากกวา เครอ่ื งกดี ขวางทีไ่ ดส รางข้นึ แตกำแพงเหลาน้ี ยังอาจชวยลดความเรว็ หรือความสงู ของคลืน่ ได ในเขตมิยากิ ไดม กี ารกอสรา งเขอ่ื นก้ันน้ำตามแนวชายฝง มคี วามสงู 5 เมตร รวมทง้ั มกี ารปลกู ปา สนทม่ี คี วามกวา งตง้ั แต 50 เมตร ไปจนถงึ หลายร้อยเมตร เพื่อป้องกันความเสียหายจากคลื่นสึนามิ ซง่ึ เปน โครงการของรฐั บาลทอ งถน่ิ ซง่ึ คาดการณจ ากประสบการณ ในอดีตวาพ้ืนท่ีแถบน้ีมีโอกาสไดรับผลกระทบจากคล่ืนสึนามิ ความสงู ประมาณ 3 เมตร อยางไรกต็ าม คลื่นสนึ ามิท่ีพัดขึน้ ฝงเมอื่ วันที่ 11 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) กลับมคี วามสงู เกินกวา ทีค่ าดการณไวถ งึ 2 เทา จงึ ไมส ามารถปองกนั ความ เสียหายได

40 2) การบรรเทาผลกระทบ (Mitigation) • เหตุการณแผน ดินไหวและคลนื่ สึนามิ ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) จากประสบการณและลักษณะทางภูมิศาสตรของประเทศ รัฐบาลญ่ีปุนไดประเมินวาอาจเกิดแผนดินไหวและคล่ืนสึนามิ รนุ แรงขนาด 8.2-8.5 รกิ เตอร และคลน่ื สนึ ามสิ ูง 38.2 เมตร ในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น สภาการบริหารจัดการภัยพิบัติ แหงชาติญี่ปุน (Central Disaster Management Council) ซ่งึ มีนายกรัฐมนตรีเปนประธาน เปนองคก รดา นนโยบาย และ การสง่ั การเมอ่ื เกดิ ภยั พบิ ตั ริ ะดบั ประเทศ โดยมเี ครอ่ื งมอื ทส่ี ำคญั เชน ระบบขอมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการภัยพิบัติ ซง่ึ เปน สว นหนึ่งของ E-Japan Program โดยระบบขอมลู สารสนเทศนม้ี กี ารวางระบบตัง้ แตป พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) และเชอื่ มตอ ดว ยระบบส่อื สารไรส ายเมื่อป พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) เพอ่ื การสอ่ื สารระหวา งรฐั บาลกลาง เมอื งใหญ เขตจงั หวดั องคกรทอ งถ่นิ จนถงึ ระดบั หมูบานและประชาชน โดยเชอื่ มตอ เขา กับเครอื ขา ยการสื่อสารเพอื่ การปอ งกันภยั พิบตั ิ ผา นระบบ ดาวเทยี ม และโทรศพั ทเ คลอ่ื นท่ี รวมทง้ั มหี นว ยงานรบั ผดิ ชอบ การกภู ัยและการบรหิ ารจดั การในภาวะฉกุ เฉินโดยตรง ไดแก Fire and Disaster Management Agency (FDMA) ซงึ่ อยู ภายใตกระทรวงกิจการภายในและการสอื่ สารญี่ปุน นอกจากนี้ สภาการบรหิ ารจัดการภยั พบิ ตั ิแหง ชาติญ่ีปนุ ได จดั ทำแผนรองรบั ภยั พบิ ตั จิ ากแผน ดนิ ไหวและคลน่ื สนึ ามบิ รเิ วณ ภาคเหนอื ของชายฝงทะเลแปซิฟค เมอ่ื ป พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และตอมาในป พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) สภาการบรหิ าร จัดการภัยพิบัติแหงชาติญ่ีปุนไดกำหนดยุทธศาสตรเพื่อลด จำนวนผเู สียชวี ิตจากภัยพิบัตขิ ้นึ

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยเี พ่ือการบริหารจดั การภยั พิบตั ิ 41 ระบบการเฝา ระวังและการเตอื นภยั : ปจจุบันระบบการเฝาระวังและการเตือนภัยท่ีญี่ปุนพัฒนาข้ึน เปน ทีย่ อมรับโดยทวั่ ไปวาเปนระบบเตือนภัยท่รี วดเรว็ แมน ยำ และมีประสิทธิภาพทสี่ ุดในโลก โดยหนวยงานหลกั รบั ผดิ ชอบ ดา นตรวจสอบ ตดิ ตามและแจง เตอื นภยั อนั เกดิ จากภยั ธรรมชาติ คอื ศนู ยอ ตุ นุ ยิ มวทิ ยาของญป่ี นุ (The Japanese Meteorological Agency: JMA) ซง่ึ ในภาวะปกติ JMA จะทำหนา ทเ่ี ปน ศนู ยบ รกิ าร ดา นสภาพอากาศของรฐั บาลญป่ี นุ ทำหนา ทร่ี วบรวมและรายงาน ขอ มลู สภาพอากาศ รวมทง้ั พยากรณอากาศสำหรับประเทศ ญี่ปุ่น มีฐานะเป็นหน่วยงานกึ่งอิสระสังกัดกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภคและการขนส่ง นอกจากนี้ ยังรับผิดชอบ การสังเกตการณ การเตือนภัยแผน ดนิ ไหว คลนื่ สึนามิ และ การปะทขุ องภูเขาไฟ โดยติดตง้ั จุดตรวจวดั ความรนุ แรงของ แผน ดนิ ไหว 627 จดุ ทวั่ ประเทศ JMA มสี ำนักงานใหญอยูท่ี กรงุ โตเกียว และมีสำนักงาน 6 แหงในภูมิภาคตางๆ ของญี่ปนุ นอกจากนี้ JMA ยังเปนศูนยก ลางอุตุนยิ มวิทยาสว นภมู ิภาค แปซฟิ ก ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื และทำหนา ทใ่ี หค ำปรกึ ษาเกย่ี วกบั ไซโคลนเขตรอนในภมู ภิ าคดวย ระบบแจง เตือนภัยแผน ดินไหว:1 ระบบเตือนภัยแผนดินไหวของประเทศญี่ปุนทำงานอัตโนมัติ ภายใน 3 วนิ าที หลงั เกดิ แรงสัน่ สะเทอื นทีศ่ ูนยก ลาง โดยคลนื่ 1 ระบบแจงเตือนภัยแผนดินไหวลวงหนา ทำงานโดยรวบรวมขอมูลจากหนวยตรวจจับสัญญาณ แผนดนิ ไหวทีม่ ีมากกวา 1,000 แหงทั่วประเทศ เม่ือเกิดแผน ดินไหว เครอ่ื งตรวจจบั สัญญาณ จะเรม่ิ ทำงานโดยจะหาจดุ พิกดั ของศูนยกลางการไหว ความรุนแรง และประเมนิ ความเสย่ี งของพืน้ ที่ โดยรอบจดุ ศนู ยกลาง แลว สงคล่นื ขนาดเลก็ เรียกวา คล่นื ปฐมภมู ิ (P-wave: Preliminary Tremor) ออกมา เมื่อเครื่องตรวจจับสัญญาณจะประมวลผลต่างๆ แล้วส่งเข้าไปยังศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหว สวนกลาง คือ สำนักงานอุตนุ ยิ มวทิ ยาของญ่ปี ุน ภายในเวลาไมก วี่ นิ าทีกอ นที่คล่ืนแผน ดินไหวแบบ รนุ แรง S-wave (Principal Motion) จะแผขยายออกมา ระบบนไี้ ดมกี ารทดลองใชมานานและพฒั นา ข้ึนมาจนสามารถประกาศใชอยางเปน ทางการเมื่อตนเดอื นตลุ าคมป พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)

42 แผนดินไหวใชเ วลา 90 วินาทใี นการเดนิ ทางถึงกรุงโตเกียว หรือประชาชนจะมเี วลาราว 1 นาท2ี ในการหาทกี่ ำบังภยั หลงั ไดร บั สญั ญาณเตอื นภยั ลว งหนา โดยเมอ่ื เกดิ แผน ดนิ ไหว ระบบ ดังกลาวจะสงสัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติถึงประชาชนโดยตรง ทางโทรศพั ทเคล่อื นที่ และผานสถานีโทรทศั น วทิ ยุ รวมทัง้ การแจงเตอื นในสถานประกอบการ โรงงาน โรงพยาบาล และ โรงเรยี น ผา นระบบ Area Mail Disaster Information Service ระบบแจง เตอื นภยั สึนาม:ิ การเตือนภัยสึนามิของประเทศญ่ีปุนใชเวลาทำงานอัตโนมัติ ภายใน 3 นาทีหลังเกดิ แผนดินไหว โดยคลืน่ สนึ ามใิ ชเ วลา เดินทาง 6 นาทกี อนพดั ถลมชายฝง ทีอ่ ยูใกลจุดศูนยก ลาง แผน ดินไหว ซงึ่ พืน้ ที่ทถี่ กู ทำลายรนุ แรงมากทสี่ ุด ประชาชนมี เวลาราว 15 นาที ในการอพยพไปสทู ี่ปลอดภยั รฐั บาลญป่ี นุ ตดิ ตง้ั ระบบเตอื นภยั สนึ ามแิ ลว เสรจ็ เมอ่ื ป พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) ประกอบดว ย เซน็ เซอร 300 ตวั รอบพน้ื ผวิ มหาสมทุ ร และเซน็ เซอรใตน ำ้ 80 ตัว เพื่อตรวจจับแรงสน่ั สะเทือน และ ตดิ ตามความเปลย่ี นแปลงปจ จยั ทจ่ี ำเปน ในการพยากรณก ารเกดิ สนึ ามิ ไดแ ก การเคลอ่ื นไหวของศนู ยก ลางใตพ น้ื ผวิ มหาสมทุ ร และระดับความรุนแรงของแผนดินไหว ซึ่งไดรับการคำนวณ โดยคอมพิวเตอรอัตโนมัติ มีการจัดทำแบบจำลองเพื่อชวย ในการคำนวณมากกว่า 100,000 แบบจำลอง ร่วมกับ การตรวจสอบรวมกันทั้งคนและเครื่องมือ เพื่อแสดงผลของ การเกิดสนึ ามิ โดยแสดงความสูง ความเร็ว ตำแหนง และ 2 เหตแุ ผนดนิ ไหวเมอื่ วนั ที่ 11 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เกดิ ขึ้นเวลา 14 นากิ า 46 นาที 45 วนิ าที ในขณะที่ ระบบเตอื นภยั แผนดินไหว ทำงานอัตโนมตั ิเมอื่ เวลา 14 นากิ า 46 นาที 48 วินาที โดยคล่ืนแผน ดินไหวใชเ วลา 90 วินาทใี นการเดินทางถงึ กรงุ โตเกยี ว

วทิ ยาศาสตรและเทคโนโลยเี พื่อการบริหารจดั การภยั พิบัติ 43 ระยะเวลาที่จะซัดถึงชายฝง ศูนยเตือนภัยสึนามิภูมิภาคจะ เผยแพร่ข้อมูลเตือนภัย โดยสายการติดต่อภาคพื้นดินและ ดาวเทยี มตอ ไปยงั องคก รและสาธารณะสวนประชาชนทีอ่ าศัย อยูนอกพ้ืนที่ดงั กลา วกจ็ ะมกี ารแจงใหเ ตรยี มพรอม และคอย เฝา ติดตามสถานการณจากศูนยเ ตอื นภยั เทคโนโลยีในการวัดการเกิดแผนดินไหวและการประเมินระดับ ความรุนแรงของสึนามิของญี่ปุน ไดรับการพัฒนามาตลอด ทำใหม คี วามรวดเรว็ แมน ยำขน้ึ เรอ่ื ยๆ โดยมเี ปา หมายระยะเวลา การเตือนภัยลดลงทุกปี จาก 20 นาที ในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ลดมาเปน 13 นาทใี นป พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และ 3 นาที ในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ตามลำดับ เมอ่ื เกดิ เหตกุ ารณวันที่ 11 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ขึน้ การแจง เตอื นภยั ทร่ี วดเรว็ และมปี ระสทิ ธภิ าพ ทำใหเ ดก็ นกั เรยี น ประถมสามารถอพยพไปสทู ป่ี ลอดภยั ไดอ ยา งรวดเรว็ ประชาชน สว นใหญสามารถอพยพข้นึ ทส่ี ูงหรอื อาคารสงู ทอ่ี ยูใกลช ายฝง ที่ถูกกำหนดใหเปนสถานท่ีรองรับกรณีสึนามิโดยติดต้ังปาย สัญลักษณอ ยา งชดั เจนบนผนงั ดานบนของอาคาร ในขณะที่ บานทุกหลงั มรี ะบบเซนเซอรตดิ ต้ังท่มี ิเตอรแกส หากตรวจจบั แผน ดนิ ไหวทม่ี ีความรุนแรงเกนิ 5 ริกเตอร จะตดั การจายแกส โดยอัตโนมัติ ทำใหชวยลดโอกาสการเกิดเพลิงไหมเมื่อเกิด แผนดนิ ไหว 3) การเตรยี มพรอ ม (Preparedness) • เหตกุ ารณแผน ดนิ ไหวฮันชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) แผน ดนิ ไหวฮนั ชนิ ทำใหเ หน็ จดุ ออ นหลายประการของการเตรยี ม พรอ มของภาครัฐญป่ี นุ โดยเฉพาะอยางยิง่ จดุ ออ นท่ีสำคญั คอื แนวทางปองกันภัยพิบัติท่ีเนนมาตรการดานโครงสรางและ

44 วศิ วกรรมมากเกนิ ไป นอกจากนี้ เน่ืองจากลกั ษณะท่ีตง้ั ของ เมืองโกเบซึ่งไดรับการประเมินวาเปนพื้นที่ที่ไมนาจะเกิด แผนดินไหว จึงมีประชาชนสวนหนึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานใน เมืองโกเบ เพราะเห็นว่าเป็นเมืองที่ปลอดภัยกว่าเมืองอื่น จงึ ทำใหท ้งั รัฐบาลทองถ่ินและประชาชนขาดการเตรียมพรอม • เหตุการณแผนดินไหวและคลื่นสึนามิ ในป พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) การเตรยี มพรอมใหกบั ประชาชน: ประเทศญี่ปุนถือวาปจจยั สำคญั ในการรบั มือกบั ภยั พิบัติ คือ การสรางความรู ความเขา ใจ และการกระตนุ ใหประชาชน เกิดความตระหนักรูถึงภัยพิบัติท่ีอาจเกิดข้ึนไดตลอดเวลา โรงเรียนและหนว ยงานตางๆ มกี ารบรรจหุ ลกั สูตรและกิจกรรม ตา งๆเกี่ยวกบั ภยั พบิ ตั ิ และการเตรียมพรอม กำหนดวธิ ีปฏบิ ัติ และมีการฝกซอมกรณีเกิดภัยพิบัติโดยเฉพาะแผนดินไหวเปน ประจำ3 3 นอกจากนี้ ญี่ปุนกำหนดใหว ันท่ี 1 กนั ยายน ของทกุ ป เปน วนั ปอ งกันภยั พบิ ตั ิแหงชาติ เพอื่ รำลกึ ถงึ เหตุการณแผนดินไหวรุนแรงทสี่ ดุ ทคี่ ันโต ซงึ่ เกิดข้นึ เม่ือวันท่ี 1 กนั ยายน พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) มีผูเสยี ชวี ิต กวา 140,000 คน เหตกุ ารณค ร้งั น้ันทำใหเ มอื งโตเกยี วและโยโกฮามาถูก ทำลายไปทัง้ หมด ในวันปอ งกนั ภัยพบิ ตั ิแหงชาติของทุกป โรงเรยี น สถานีดับเพลิง และภาคเอกชน ไดร วมกันฝก ซอ มแผนรบั มอื แผน ดินไหวและเหตุเพลงิ ไหม รวมถึงการสอนเดก็ อนุบาลใหจัดแถวอยาง เปนระเบียบ สวมส่ิงปองกนั ศรี ษะกระแทก ซ่งึ ปกติใชเ ปนทน่ี ั่งในหองเรียน นอกจากนี้ ในทองถน่ิ ทมี่ ี ความเสี่ยงมากก็มีการเตรียมพรอมในระดบั ทองถ่นิ เชน ที่เมอื งชิซโู อกะ ในเขตโตไกจะจดั สปั ดาห ของการปองกนั ภยั พิบตั ิและอาสาสมัครปอ งกันภัยพิบัติ และมกี ารฝกซอ มอพยพหนีภยั สนึ ามิตามแนว ชายฝง การฝก ซอมเพื่อรบั มอื ตอภยั แผน ดนิ ไหวและคลน่ื สนึ ามทิ ีร่ ัฐบาลญป่ี นุ ดำเนนิ การมขี อบเขตท่ี ครอบคลมุ ครบทกุ ดา นและทกุ คน แมค ณะรฐั มนตรญี ป่ี นุ กม็ กี ารซอ มจดั ประชมุ ฉกุ เฉนิ โดยมกี ารฝก ซอ ม เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นทั้งทางอากาศและทางน้ำ รวมทั้ง การฝกซอมการใหความชวยเหลือทางการแพทยที่เตรียมการเพ่ือการกูภัยหรือชวยเหลือฉุกเฉิน การเตรยี มพรอ มของรัฐบาลและประชาชน รวมถึงการฝก ฝนอยา งสมำ่ เสมอ

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพอื่ การบริหารจดั การภัยพิบัติ 45 4) การรบั สถานการณฉ ุกเฉนิ (Emergency Response) • เหตกุ ารณแ ผน ดินไหวฮนั ชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) การรับสถานการณในสภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลญ่ีปุนในกรณี แผนดินไหวท่ีโกเบยังดำเนินการอยางขาดประสิทธิภาพ เนอ่ื งจากแผน ดนิ ไหวโกเบเกดิ ขน้ึ ในชว งเวลาทก่ี ารพฒั นาระบบ โทรคมนาคมยังไมกาวหนามากนักโทรศัพทเคลื่อนท่ีและ การสอ่ื สารทางอนิ เทอรเ นต็ ยงั ไมแ พรห ลาย เมอ่ื เกดิ แผน ดนิ ไหว ระบบไฟฟา และระบบโทรศพั ทพ น้ื ฐานถกู ทำลาย พน้ื ทป่ี ระสบภยั ภัยพบิ ตั จิ งึ ถกู ตดั ขาดจากรฐั บาลกลาง ในขณะทค่ี ณะรฐั มนตรี ไดรับรายงานท่ีผิดพลาดวาแผนดินไหวเกิดขึ้นที่เมืองเกียวโต ซงึ่ หา งจากโกเบถงึ 50 กิโลเมตร รฐั บาลกลางจึงไมมีขอ มูล และการประเมินสถานการณอ ยางถกู ตอ งและทันทวงที ความชว ยเหลอื ของภาครัฐ เปน ไปอยางลาชา และยากลำบาก เน่อื งจากเสน ทางคมนาคมถกู ตัดขาด การเดนิ ทางเขาสูพ ้ืนท่ี ตอ งใชถ นนสายยอ ยทีอ่ ยรู ะดบั พน้ื ดนิ แตเสนทางกถ็ ูกปดทับ ดว ยเศษซากปรกั หกั พงั ตา งๆ ท่ีทับถมกนั ทำใหไ มสามารถ ใชสญั จรได • เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) ถาไมนับรวมภัยพิบัติซ้ำซอนจากเหตุการณความเสียหายของ โรงไฟฟา พลงั งานนวิ เคลยี รฟ กุ ชุ มิ ะแลว การใหค วามชว ยเหลอื จากเหตุการณแผนดินไหวและคล่ืนสึนามิโดยเฉพาะรัฐบาล ทอ งถิ่นเปนไปอยางรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเปนผล จากการเตรยี มการทด่ี ี อยา งไรกต็ าม เนอ่ื งจากพน้ื ทป่ี ระสบภยั เ ป น พื้ น ท่ี ท่ี มี ป ร ะ ช า ก ร เ ป น ผู อ ยู อ า ศั ย เ ป น จ ำ น ว น ม า ก การหลบหนีหรือการชวยเหลือไปยังที่ปลอดภัยจึงไมอาจ

46 ดำเนนิ การไดท นั ทง้ั หมด นอกจากนเ้ี นอ่ื งจากโรงพยาบาลและ เวชภัณฑถ กู ทำลายเสยี หาย จงึ มีประชาชนที่อพยพไปอยใู น ศูนยหลบภัยเสียชีวิตเพ่ิมภายหลังอีกหลายรายโดยเฉพาะ ผสู ูงอายุ นอกจากน้ี จากความเสียหายของโรงไฟฟา พลังงานนิวเคลียร ฟุกชุ มิ ะ ทเ่ี กดิ การรว่ั ไหลของสารกมั มนั ตภาพรงั สี สง ผลใหเ กดิ ความลาชาตอการใหความชวยเหลือและฟนฟูพื้นท่ีประสบภัย จากคล่ืนสนึ ามิ เจา หนา ทไี่ มสามารถนำรา งผูเสยี ชวี ติ ในระยะ อันตรายรอบโรงไฟฟานวิ เคลยี รออกมาไดจ ำนวนมาก รฐั บาลญี่ปุ่นได้จัดที่พักพร้อมอาหาร น้ำดื่ม ผ้าห่ม และ สิ่งอำนวยความสะดวกใหผ ปู ระสบภยั ทงั้ กรณีบา นเรอื นถกู ทำลายจากคลื่นสึนามิและกรณีตองอพยพ เนื่องจากอยูใน พน้ื ท่ใี กลเ คยี งโรงไฟฟา นิวเคลยี รทเี่ สยี หาย โดย ณ วันท่ี 29 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) มปี ระชากรในญ่ปี นุ จำนวน 175,020 คน ยงั พกั อยใู นศนู ยช ว ยเหลอื ทว่ั ประเทศ รวมทง้ั ในท่ี พักพิงช่ัวคราว 2,367 แหงโดยรฐั บาลญี่ปนุ ไดก ำหนดใหพ ืน้ ที่ ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟา พลงั งานนวิ เคลียรฟกุ ชุ มิ ะ ซึ่งมีประชากรประมาณ 177,500 คน เปนเขตอพยพ 5) การฟน ฟบู รู ณะ (Recovery and Reconstruction) • เหตุการณแ ผน ดินไหวฮนั ชนิ ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) รัฐสภาญ่ปี ุนตองใชงบประมาณจำนวนมหาศาล เพ่อื ใชจา ย ในการบรู ณะและฟนฟูพน้ื ที่ประสบภัยในโกเบ โดยหนวยงาน รบั ผดิ ชอบหลกั คอื กระทรวงทด่ี นิ โครงสรา งพน้ื ฐานและการขนสง ซ่ึงทำงานรวมกบั องคกรและหนวยงานทองถน่ิ ในการบูรณะ ซอ มแซมสาธารณปู โภคและโครงสรา งพน้ื ฐานตา งๆ จนสามารถ

วทิ ยาศาสตรแ ละเทคโนโลยีเพ่ือการบริหารจัดการภัยพบิ ตั ิ 47 ใชก ารได โดยการฟน ฟูบูรณะสว นใหญแลว เสร็จกลับสสู ภาพ เดมิ ตองใชระยะเวลาถงึ กวา 7 ป -- การใหบ รกิ ารนำ้ ประปา ไฟฟา แกส และโทรศพั ทใ ชงาน ไดทัง้ ระบบเมอ่ื เดอื นกรกฎาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) หรอื หลงั เกดิ แผนดนิ ไหว 6 เดือน -- ระบบคมนาคมและขนสงทางรางเปดใชงานไดในเดือน สงิ หาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) หรอื หลังเกดิ แผน ดินไหว 7 เดอื น -- ทาเรือสวนใหญเปดใหบริการแตระบบทางดวนยังไม สามารถใหบ ริการได หลงั เกดิ แผน ดนิ ไหวหนึ่งป -- ในเดอื นมกราคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) หรอื 4 ป หลังเกดิ แผน ดนิ ไหว บา นพกั อาศยั จำนวน 134,000 หลงั ไดร ับการกอสรา งใหม แตยงั มผี ูประสบภัยสวนหนึ่งยงั คง ตอ งอาศัยอยใู นทพ่ี กั ฉกุ เฉิน • เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ในปี พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) หลังจากการเกิดภัยพิบัติจากเหตุแผนดินไหวและคลื่นสึนามิ เม่อื วนั ท่ี 30 มนี าคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) รฐั บาลญปี่ ุน ไดพิจารณาแนวทางเพื่อตั้งใหพ้ืนที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุ แผนดนิ ไหวและคลน่ื สึนามิเมอ่ื วนั ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) เปนเขตฟนฟพู ิเศษ เพ่ืออำนวยความสะดวกใน การฟน ฟูบานเมือง โดยจะมีมาตรการชวยเหลอื ตางๆ เชน การจดั เก็บภาษีอตั ราพเิ ศษ และการยกเวนกฎระเบยี บตางๆ ทเ่ี ปน อุปสรรคตอการฟน ฟู

48 6) การพฒั นา (Development) • เหตุการณแผน ดนิ ไหวฮนั ชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) หนวยงานทองถ่ินไดปรับการวางผังเมืองซึ่งชวยปองกัน แผน ดนิ ไหว กำหนดแนวปอ งกนั ไฟ สรา งถนนและสง่ิ กอ สรา ง ทีม่ มี าตรฐานสงู สามารถตา นทานแรงสน่ั สะเทอื นแผน ดนิ ไหว รวมท้ังสงเสริมใหมีการใชวัสดุกันไฟในการกอสรางบานและที่ อยูอาศยั รัฐบาลญป่ี นุ ไดร ณรงคแ ละใหค วามรแู กป ระชาชนถงึ การปฏบิ ตั ติ น ในบา น ในโรงเรยี นและสถานทท่ี ำงาน ทำใหช าวญป่ี นุ ตระหนกั ในขั้นตอนการปฏิบัติตนอยางขึ้นใจ เชน การปดทอแกส การตดั ไฟฟา กอ นอพยพไปสทู ก่ี ำบงั ทม่ี น่ั คง เมอ่ื เกดิ แผน ดนิ ไหว เด็กนกั เรยี น จะอพยพไปอยใู นสนามหญาเปด โลง ในขณะที่ หนวยกูภัยท่ีพรอมจะออกใหความชวยเหลืออยางเปนขั้นตอน ซึ่งเปนมาตรการรับมือแผนดินไหวท่ีชาวญ่ีปุนไดถายทอด ความรูตอ กนั รฐั บาลมีการจัดทำคูมือเรื่องภัยแผนดินไหว รวบรวมลำดับ ขั้นตอนตั้งแตกอนเกิดระหวางเกิด และหลังเกิด เพื่องาย ตอการศกึ ษาและการปอ งกันที่สามารถใชไดจ ริง ในป พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) รัฐบาลญี่ปุนไดผานกฎหมายซึ่งเพิ่ม ความเขมงวดกับระเบียบกอ สรางอาคาร ตลอดจนกำหนดให สง่ิ ปลกู สรา งใหมจ ะตอ งตา นทานแรงสน่ั สะเทอื นจากแผน ดนิ ไหว อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ ยังไม่ครอบคลุมถึงอาคารเก่า จำนวนมากท่ียังเสี่ยงตอความเสียหายจากแผนดินไหวใน อนาคต

วิทยาศาสตรและเทคโนโลยเี พ่ือการบรหิ ารจัดการภัยพบิ ตั ิ 49 ภายหลังการเกิดภัยพิบัติ รัฐสภาญี่ปุนไดพิจารณาประเด็น การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ขิ องประเทศ โดยไดเ รยี กรอ งใหร ฐั บาล ยกระดบั ขดี ความสามารถในการประเมนิ สถานการณ ปรบั ปรงุ มาตรฐานการกอ สรา งอาคาร ส่งิ ปลกู สรางถนน และระบบ สาธารณปู โภค เพอ่ื ใหโ ครงสรา งพน้ื ฐานเหลา นม้ี คี วามแขง็ แรง และยืดหยนุ พอท่จี ะรับมือกับแรงส่นั สะเทือนจากแผนดินไหวได รวมทง้ั การเตรยี มความพรอ มใหก บั รฐั บาลกลาง รฐั บาลทอ งถน่ิ และชมุ ชนอยางจริงจงั หน่วยงานที่ปรึกษาด้านการพัฒนาของญี่ปุ่น (Official Development Assistance) สรปุ บทเรยี นสำคญั จากเหตกุ ารณ แผน ดนิ ไหวฮนั ชนิ วา หนว ยงานของรฐั มขี ดี ความสามารถจำกดั ในการรกั ษาชวี ิตของประชาชน ชุมชนจงึ เปนกลไกที่มีบทบาท สำคญั ในการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ทิ เ่ี กดิ ขน้ึ ขอ สรปุ นไ้ี ดน ำไปสู ขอ เสนอการเปลย่ี นแปลงนโยบายดา นการบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ิ จากเดมิ ทเ่ี นน วิศวกรรมปอ งกัน (Engineer-Oriented) ไปสู แนวทางบริหารจัดการแบบบูรณาการซ่ึงรวมถึงการจัดการ ภยั พบิ ตั ทิ เ่ี นน บทบาทของชมุ ชน และการตระหนกั ถงึ ความจำเปน ในการจดั ต้งั หนว ยงานจัดการภาวะฉกุ เฉนิ ระดับชาติ นอกจากน้ี จากแผน ดนิ ไหวฮันชิน ในป พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เปนจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ดานการบริหารจัดการภัยพิบัติภายในประเทศและขยายไปสู การดำเนนิ นโยบายระหวา งประเทศของญป่ี นุ เชน การกำหนด บทบาทเปนผูนำในภูมิภาคดานการบริหารจัดการภัยพิบัติ มีการริเร่ิมและผลักดันการจัดทำแผนงานปองกันและบรรเทา ภัยพิบัติเฮียวโกะ เปนตน รวมทั้งไดยกระดับประสิทธิภาพ การบรหิ ารจดั การภยั พบิ ตั ขิ องประเทศญป่ี นุ จนไดร บั การยอมรบั วาเปน ระบบที่ดีท่สี ดุ ในโลก