Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิวัฒนาการภาษาไท

วิวัฒนาการภาษาไท

Published by yajing li, 2021-08-07 13:13:17

Description: วิวัฒนาการภาษาไท

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอน ววิ ัฒนาการภาษาไทย มัลลกิ า มาภา สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั อดุ รธานี

เอกสารประกอบการสอน วิวฒั นาการภาษาไทย มลั ลกิ า มาภา ศศ.ม. (ภาษาไทย) สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั อุดรธานี

คำนำ ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างหน่ึงที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารกันเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมท่ีมีระบบสมอง แตกต่างจากสัตว์ท่ัวไปมีความคิดท่ีไมห่ ยุดน่ิง มคี วามคิดสรา้ งสรรค์พัฒนาการเปล่ียนแปลงการใช้ชีวติ อยู่เสมอ ภาษาซ่ึงเป็นกลไกสาคญั ของมนษุ ยจ์ งึ อาจมีการเปลีย่ นแปลงควบคู่กนั ไปกับสงั คมมนษุ ย์ คาและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่างๆได้ตามความเส่ือม ความเจริญ ของสังคมมนุษย์ในแต่ละยุคสมยั ภาษาไทยเป็นภาษาประจาชาติของสังคมไทยก็มีการเปล่ียนแปลงต้ั งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ การเปลี่ยนแปลงทางภาษาค่อยๆเกิดขึ้นและดาเนินไป จากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอก ซึ่งการเปล่ียนแปลงในปัจจัยดังกล่าวของภาษาไทยนั้นอาจเปล่ียนแปลงได้ทั้งการออกเสียง ระบบเสยี ง ความหมายของคา และหนา้ ท่ขี องคาในบรบิ ทตา่ ง ๆ ได้ เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิวัฒนาการภาษาไทยน้ี ผู้เขียนเรียบเรียงขนึ้ จากการค้นควา้ เอกสาร ตารา หนังสือต่าง ๆ เพ่ือให้เนื้อหามีความหลากหลายน่าสนใจอีกท้ังยังทาให้ผู้สอนและผู้เรียนได้เข้าใจ การเกิดภาษา การเปล่ียนแปลงของภาษาไทย ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสาคัญของภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซ่ึงเราในฐานะที่เกดิ เป็นคนไทย ใช้ภาษาไทยในการส่ือสารควรเล็งเห็นคณุ ค่า และความสาคัญของการใช้ภาษาไทยใหถ้ ูกต้อง และรกั ษาใหค้ งอยู่สืบไป มลั ลิกา มาภา 2559

สารบัญ หนา้ ก คานา ค สารบญั 1 แผนบรหิ ารการสอนประจารายวชิ าวิวัฒนาการภาษาไทย 9 บทที่ 1 ธรรมชาติภาษาและทฤษฎกี ารเปล่ียนแปลงภาษา 9 10 ความหมายของวิวัฒนาการทางภาษา 10 ความเปลี่ยนแปลงของภาษา 12 ปจั จยั ที่กอ่ ให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางภาษา 12 ทฤษฎกี ารเปลย่ี นแปลงทางภาษา 13 14 การเปลย่ี นแปลงภายใน 15 การเปล่ยี นแปลงภายนอก 19 การเปลย่ี นแปลงด้านตัวอักษร 19 คาถามท้ายบท 20 บทที่ 2 การเปลย่ี นแปลงด้านเสียง 20 การกลมกลืนเสียง 20 การผลักเสียง 21 การสบั ท่เี สียง 24 การลดเสียง 29 การเพ่มิ เสยี ง 29 คาถามทา้ ยบท 30 บทท่ี 3 การเปล่ียนแปลงด้านคาศัพท์ 31 ศพั ทส์ ูญ 31 ศัพท์สูญโดยสนิ้ เชงิ ศพั ท์สูญพอสนั นิษฐานคาได้ ศัพท์สญู ไปบางส่วน

ง หน้า 32 สารบัญ (ต่อ) 35 41 การพฒั นาศพั ทโ์ ดยวธิ ปี ระสมคา 41 คาถามท้ายบท 42 บทท่ี 4 การเปลีย่ นแปลงด้านความหมาย 43 ปจั จยั ทีท่ าให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางความหมายของคา 43 การพจิ ารณาลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย 45 การเปลย่ี นแปลงทางความหมาย 45 46 ความหมายแคบเข้า 51 ความหมายกวา้ งออก 51 ความหมายย้ายที่ 52 คาถามท้ายบท 55 บทท่ี 5 คายมื และการเปลี่ยนแปลงดา้ นไวยากรณ์ 59 ลกั ษณะของการยืมคา 65 การยืมคาภาษาบาลีและสันสกฤต 66 การสรา้ งคาตามแบบไวยากรณ์ภาษาบาลแี ละสันสกฤต การยืมคาภาษาเขมร 71 การสร้างคาแบบไวยากรณ์ภาษาเขมร 71 คาถามท้ายบท 72 74 บทท่ี 6 อกั ษรไทยและววิ ฒั นาการของอักษรไทย 77 อกั ษรก่อนลายสือไทย 79 อักษรต้นแบบของลายสือไทย 82 ลายสอื ไทยของพ่อขนุ รามคาแหง 84 อกั ษรสมยั พญาลิไทย 89 อกั ษรไทยสมัยกรงุ ศรีอยุธยา อกั ษรไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์และพฒั นาการ พฒั นาการของอักษรไทยสมยั รัตนโกสินทร์ คาถามทา้ ยบท บรรณานุกรม ภาคผนวก

สารบัญภาพ จ ภาพที่ 6.1 ตวั อักษรลายสือไทยของพอ่ ขุนรามคาแหง พ.ศ. 1835 หน้า ภาพท่ี 6.2 พยัญชนะและสระอักษรไทยสมัยพญาลิไทย พ.ศ.1900 76 ภาพที่ 6.3 อกั ษรอรยิ กะ ของพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกล้าเจ้าอย่หู ัว 79 ภาพท่ี 6.4 อกั ษรและระบบอกั ขรวิธขี องพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยหู่ ัว 84 ภาพท่ี 6.5 ตัวอย่างอักขรวธิ ีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 86 88

แผนบรหิ ารการสอนประจาวชิ า ววิ ัฒนาการภาษาไทย รหสั วชิ า TH02101 3 (3-0-6) รายวิชา วิวัฒนาการภาษาไทย (Development of Thai Language) ............................................................................................................................................................. คาอธบิ ายรายวชิ า วิวัฒนาการและการเปลย่ี นแปลงของภาษาไทยตัง้ แต่สมยั สุโขทยั จนถึงปัจจบุ นั วตั ถปุ ระสงคท์ ัว่ ไป 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยด้านหน่วย เสียง คาศพั ทค์ วามหมาย และตัวอกั ษร 2. เพ่ือให้นักศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ความแตกต่างของภาษาแต่ละสมัย ได้ แก่ สมัยสโุ ขทยั สมัยอยธุ ยาตอนตน้ อยธุ ยาตอนกลาง อยุธยาตอนปลาย และสมยั รัตนโกสินทรต์ อนต้น 3. เพื่อให้นักศึกษาเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนเกี่ยวกับวิวัฒนาการของภาษาไทย และตระหนักถึง ความสาคญั ของภาษาไทยอนั เป็นภาษาประจาชาติ

2 6 ชว่ั โมง 6 ช่วั โมง เนอื้ หา 6 ชวั่ โมง บทที่ 1 วิวัฒนาการทางภาษาและทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของภาษา ความหมายของวิวัฒนาการทางภาษา ความเปลย่ี นแปลงของภาษา ทฤษฎกี ารเปล่ียนแปลงทางภาษา การเปล่ยี นแปลงภายใน การเปล่ยี นแปลงภายนอก สรุป แบบฝึกหัด เอกสารอา้ งองิ บทที่ 2 การเปลี่ยนแปลงด้านเสยี ง การกลมกลนื เสียง การผลกั เสียง การสบั ท่ขี องเสยี ง การลดเสียง การเพ่มิ เสียง สรปุ แบบฝกึ หดั เอกสารอา้ งอิง บทท่ี 3 การเปลี่ยนแปลงด้านคาศัพท์ การสญู ศัพท์ ศัพทส์ ูญโดยสิน้ เชิง ศพั ท์สูญไปบางส่วน ศัพท์สูญพอสันนิษฐานได้ การเพ่ิมศพั ท์ การสร้างคาศพั ท์ขึ้นใชด้ ว้ ยวธิ ีการประสมคา สรุป แบบฝกึ หัด เอกสารอา้ งอิง

บทท่ี 4 การเปลี่ยนแปลงดา้ นความหมาย 3 ความหมายแคบเข้า 6 ชั่วโมง ความหมายกว้างออก ความหมายยา้ ยที่ 9 ชัว่ โมง สรุป แบบฝกึ หดั 12 ชว่ั โมง เอกสารอ้างอิง บทที่ 5 คายมื และการเปล่ยี นแปลงด้านไวยากรณ์ คายมื ภาษาบาลแี ละสันสกฤต การสร้างคาตามแบบไวยากรณบ์ าลีและสนั สกฤต คายืมภาษาเขมร การสรา้ งคาตามแบบไวยากรณ์เขมร สรุป แบบฝึกหดั เอกสารอา้ งองิ บทที่ 6 อกั ษรไทยและวิวัฒนาการของอกั ษรไทย อกั ษรในประเทศไทยกอ่ นสมยั สุโขทัย อักษรต้นแบบของลายสอื ไทย ลายสือไทยของพ่อขนุ รามคาแหง อกั ษรไทยสมยั พญาลิไทย อกั ษรไทยสมยั กรุงศรีอยธุ ยา อกั ษรไทยสมัยกรงุ รัตนโกสินทร์ อักษรเฉพาะแบบ สรุป แบบฝึกหัด เอกสารอา้ งองิ

4 วิธีสอนและกิจกรรม 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน วชิ าวิวฒั นาการภาษาไทย 2. ผู้สอนบรรยายเนอื้ หาในชน้ั เรยี น 3. ศึกษาคาศัพท์ปัจจุบัน เอกสารสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึก ศึกษาอักษรสมัยโบราณ และวเิ คราะห์ตามทฤษฎกี ารเปล่ยี นแปลงภาษา 4. แบ่งกลุ่มศึกษาเน้ือหาและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพ่ือให้นักศึกษาเรียนรู้ ร่วมกนั รูจ้ ักการแบ่งหนา้ ท่รี บั ผิดชอบในการทากจิ กรรม 5. รว่ มอภปิ รายเน้อื หาและทาแบบฝกึ หดั ในชน้ั เรียน 6. มอบหมายให้ไปศึกษาคน้ คว้าความรเู้ พ่ิมเติม เพอ่ื ทบทวนและพฒั นาความรใู้ ห้มากขน้ึ 7. มอบหมายแบบฝึกหดั เป็นการบา้ น 8. ผู้สอนสรุปเนือ้ หาเพิม่ เติม ส่ือการเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชา ววิ ัฒนาการภาษาไทย 2. บัตรตวั อกั ษรสมยั สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสนิ ทร์ตอนต้น 3. ผงั วิวัฒนาการอักษรไทย 4. เครอื่ งฉายแผ่นทบึ 5. คอมพิวเตอร์ , power point 6. ตวั อยา่ ง Mind Map เร่ืองวิวัฒนาการอักษรไทย 7. แอปพลเิ คชนั พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554 8. แบบฝกึ หดั 9. ใบความรู้ การวดั ผลและการประเมินผล 70% 15% การวัดผล 25% 1. คะแนนระหวา่ งภาคเรียน 10% 20% 1.1 แบบฝกึ หัด 30% 1.2 รายงาน/ช้นิ งาน 1.3 กิจกรรมในชนั้ เรียน 1.4 สอบกลางภาค 2. คะแนนสอบปลายภาคเรียน

5 การประเมินผล 80 – 100 ระดบั ผลการเรียน A คะแนนระหวา่ ง 75 – 79 ระดับผลการเรียน B+ คะแนนระหว่าง 70 – 74 ระดบั ผลการเรยี น B คะแนนระหว่าง 65 – 69 ระดับผลการเรยี น C+ คะแนนระหวา่ ง 60 – 64 ระดบั ผลการเรียน C คะแนนระหวา่ ง 55 – 59 ระดับผลการเรียน D+ คะแนนระหวา่ ง 50 – 54 ระดบั ผลการเรียน D คะแนนระหว่าง 0 – 49 ระดบั ผลการเรียน F คะแนนระหว่าง

6

7 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 1 เรอ่ื ง วิวฒั นาการทางภาษาและทฤษฎกี ารเปลยี่ นแปลงภาษา หัวข้อเน้ือหา 1. ความหมายของววิ ฒั นาการทางภาษา 2. ความเปลีย่ นแปลงของภาษา 3. ทฤษฎีการเปล่ยี นแปลงทางภาษา 3.1 การเปล่ียนแปลงภายใน 3.2 การเปลีย่ นแปลงภายนอก 4. สรุป วตั ถุประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม เมื่อเรียนบทเรยี นน้ีแล้วนักศกึ ษาสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปน้ี 1. อธิบายความหมายของวิวัฒนาการภาษาไทยได้ 2. อธิบายธรรมชาตขิ องภาษาที่มีการเปล่ยี นแปลงได้ 3. อธบิ ายทฤษฎกี ารเปลีย่ นแปลงภาษาท้ังปจั จยั ภายในและปจั จัยภายนอกได้ วธิ ีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอน 1. ผ้สู อนบรรยายเนอื้ หาบทท่ี 1 จากเอกสาร และ power point 2. ยกตัวอยา่ งคา ประโยคปัจจุบนั ท่มี กี ารเปลี่ยนแปลง และแสดงความคดิ เหน็ ร่วมกนั 3. นักศึกษาสรุปเนอ้ื หา อภิปราย และแสดงความคิดเหน็ ร่วมกนั 4. นกั ศึกษาตอบคาถามทา้ ยบท ส่อื การเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชา วิวัฒนาการภาษาไทย บทท่ี 1 2. เครือ่ งฉายแผ่นทบึ 3. คอมพวิ เตอร์ , power point เร่ือง ความหมายววิ ัฒนาการภาษาไทย ความเปล่ียนแปลงภาษา และทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงภาษา 4. แบบฝึกหัด

8 การวดั และการประเมินผล 1. สังเกตพฤตกิ รรม 2. การมสี ่วนรว่ มในชน้ั เรยี น 3. ตรวจแบบฝึกหดั ทา้ ยบท

9 บทที่ 1 วิวัฒนาการทางภาษาและทฤษฎกี ารเปลยี่ นแปลงภาษา มนุษย์เป็นสัตว์สังคมท่ีต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ และการอยู่ร่วมกันเช่นน้ี จาเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องติดต่อสัมพันธ์กัน มนุษย์มีความสามารถ มีสมองที่ ฉลาดกว่าสัตว์ท่ัวไป ดังนั้นเมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มมนุษย์จึงคิดหาวิธีการสนทนาหรือสร้างรหัส เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันและกันของคนในกลุ่ม และมีการปรับเปล่ียนเรื่อยมา เร่ิมต้ังแต่การส่ือสาร โดยใช้การเลียนเสียงสัตว์จนกระท่ังเป็นภาษาพูด แต่แม้ว่าจะมีการสร้างรหัสหรือภาษาขึ้นม า ก็ใช่ว่าทุกที่จะใช้ภาษาพูดเหมือนกัน ด้วยความเป็นกลุ่ม หรือถ่ินท่ีอยู่ต่างกัน ดังนั้นก็ย่อมเกิด การสร้างภาษาพูดที่แตกต่างกันด้วย ภาษาพูดดังกล่าวอาจมีมาถึงปัจจุบัน หรืออาจสูญหายไปตาม กาลเวลา ซึ่งอาจข้ึนอยู่กับช่วงเวลา และผู้ใช้ภาษาน้ัน ๆ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงคนในปัจจุบัน คงจะใช้การเลยี นเสยี งสัตวส์ ือ่ สารกนั เช่นอดตี ผา่ นมา จากการเปล่ียนแปลงดังกล่าว จะเห็นได้ว่าภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะ ภาษาทม่ี นุษยย์ งั ใชเ้ ป็นเคร่อื งมือสื่อสารความเขา้ ใจกันและกนั ในสังคมหนึ่ง ๆ ความหมายของววิ ัฒนาการทางภาษา ราชบัณ ฑิ ตยสถาน (2556 : 1124) ได้ให้ ความห มายของ “วิวัฒ น าการ” ว่า เปน็ กระบวนการเปลย่ี นแปลงหรือคลีค่ ลายไปสูภ่ าวะท่ดี ขี นึ้ ธวัช ปุณโณทก (2553 : 11-15) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงภาษาหรือวิวัฒนาการภาษา ไว้ว่า ภาษาเป็นเคร่ืองมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารซึ่งกันและกัน ฉะน้ันจึงเกิดการเปล่ียนแปลงอยู่เสมอ ไม่ว่าภาษาใด และภาษาท่ีใช้ส่ือสารกันจะมีการเปล่ียนแปลงมากหรือน้อยข้ึนอยู่กับการใช้ส่ือสารว่า สื่อสารบ่อยคร้ังเพียงใด นอกจากนี้การรับวัฒนธรรม ศาสนา หรือมีอาณาเขตติดต่อกันก็ย่อมทาให้ ภาษาเปลย่ี นแปลง อนั เนือ่ งมาจากการปนภาษาได้ จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ภาษาทุกภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอซ่ึงเป็น ธรรมชาติของภาษาท่ีใช้พูดกันในชีวิตประจาวันหรือเรียกว่า ภาษาท่ียังไม่ตาย อาทิ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น สว่ นภาษาทีไ่ ม่มใี ครใชพ้ ูดกันในชวี ิตประจาวันหรือเรียกว่า ภาษา ที่ตายแล้ว ย่อมไม่มี การเปล่ียนแปลงเกิดขึ้น อาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต โดยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของภาษา จะมีการเปล่ียนแปลงไปอย่างช้า ๆ ในลักษณะ วิวฒั นาการ (Evolution) ซ่ึงหมายถึงบางส่วนของภาษามีลักษณะคงท่ีโดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่บางส่วนของภาษา เกิดการเปล่ียนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น คาว่า แพ้ ในสมัยสุโขทัย หมายถึง ชนะ ซ่ึงในปัจจุบัน หมายถงึ สู้ไม่ได้ ทนไมไ่ ด้ ตรงข้ามกับชนะ เปน็ ตน้

10 ความเปลย่ี นแปลงของภาษา ภาษาเป็นเคร่ืองมือท่ีมนุษย์ใช้ในการส่ือสารกัน สังคมมนุษย์เป็นสังคมท่ีไม่หยุดนิ่ง เพราะมนุษย์มีสมองมีปัญญาท่ีจะคิดสร้างสรรค์พัฒนาเปลี่ยนแปลงชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น อยู่เสมอ ภาษาซ่ึงเป็นกลไกสาคัญของมนุษย์จึงอาจเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คาและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงเพ่ิมขึ้นหรือหดหายไปพร้อม ๆ กับความเปลี่ยนแปลง ความเจริญ และความเสื่อมของสังคมมนุษย์ ภาษามักจะเปล่ียนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย ภาษาไทยสมัยสุโขทยั ไม่เหมือนกับภาษาไทยสมัยอยุธยาท้ังหมด ภาษาไทยสมัยอยุธยาย่อมไม่เหมือน ภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ แต่กใ็ ช่ว่าจะแตกต่างไปเสียทีเดยี วความเปลีย่ นแปลงทางภาษาจะค่อย ๆ เกิดขึ้น และดาเนินไป หรืออาจจะเปล่ียนเม่ือใด ความเปลี่ยนแปลงท่ีเกิดกับภาษานอกจะเกิดจาก ปัจจัยในตัวภาษาแล้ว ยังอาจเกิดจากปัจจัยภายนอก คือ อิทธิพลของภาษาอื่นอีกด้วย ภาษา อาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในด้านการออกเสียง ระบบเสียง ความหมายของคา และหน้าที่ของคาใน บริบทตา่ ง ๆ (กาญจนา นาคสกลุ และคณะ, 2554 : 4) วิวัฒนาการหรือความเปล่ียนแปลงภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ซ่ึงเกิดกับ ภาษาที่ยังไม่ตาย เพราะมนุษย์ยังใช้ภาษานั้น ๆ ในการส่ือสารกัน ภาษาจะเสื่อมสูญไปหรือจะพัฒนา ได้น้ัน ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง ความเจริญด้านต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัย ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวน้ีขึ้นอยู่กับปัจจัยท่ีทาให้ภาษาเกิดการเปล่ียนแปลงไปทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ของภาษานั่นเอง ปัจจยั ที่ก่อใหเ้ กดิ การเปลีย่ นแปลงทางภาษา ปราณี กุลละวณชิ ย์ (2548 : 380-381 อ้างถงึ ใน ณฐั วรรณ ชั่งใจ, 2555: 22-24) ไดเ้ สนอ แนวคิดเกย่ี วกบั ปจั จัยทีก่ ่อให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงทางภาษาสรุปไดด้ งั นี้ 1. ความแตกต่างของภาษาท่มี ีอยู่ในสังคม ความแตกต่างของภาษาที่มีอยู่ในชุมชนเดียวกันมีความแตกต่างกันในเร่ืองต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ การศกึ ษา เปน็ ต้น 2. สภาพทางจิตวทิ ยาของผพู้ ดู ภาษา สังคมประกอบด้วยชนช้ันหลายชนช้ัน ผู้ท่ีอยู่ในชนชั้นต่างๆกันบางชนช้ันต้องการ ยกระดับตนเองนาไปสชู่ นั้ ทส่ี ูงกวา่ หรือบางชนช้ันก็พอใจในชนช้นั ของตนเอง ลักษณะความต้องการ เปลีย่ นแปลงนี้เป็นสภาพทางจติ วิทยา ซึ่งจะแสดงออกในการใช้ภาษา เช่น ความนิยมในการใชเ้ สยี ง บางเสียงเพ่ือแสดงว่าตน อยู่ในกลุ่มคนท่ีตนนิยมหรือการขัดขืนไม่ยอมออกเสียงบางเสียงตามคน ส่วนมากในสงั คมเพ่อื รกั ษาศกั ดศิ์ รีชนชัน้ ของตน 3. ลักษณะการออกเสียงของผพู้ ูดภาษา ในการพูดนั้นผู้พูดภาษาไม่ได้ออกเสียงชัดเจนทุกพยางค์ทุกคา บางครั้งก็พูดย่นย่อ ลดพยางค์ลงเช่น มหาวิทยาลัย เป็น มหา’ลัย เป็นต้น บางคร้ังเม่ือเทียบกับพยัญชนะเดี่ยว

11 แล้วเสยี งพยญั ชนะควบกล้า กอ็ อกเสียงยากกว่า ผ้พู ูดจึงไม่ออกเสียงพยญั ชนะเสียงที่ 2 ในพยัญชนะ ควบกล้า เช่น ปลา ออกเสียงเป็น ปา ทั้งน้ีในการออกเสียงไม่ชัดเจนของคาควบกล้าไม่ได้ เป็นปัญหาใน การฟังมากนัก เพราะความหมายของคาว่า ปลา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการออกเสียงคา ควบกล้าที่ถูกต้องเท่าน้ัน แต่ต้องข้ึนอยู่กับบริบทด้วย ด้วยเหตุน้ี ผู้พูดจึงไม่จาเป็นต้องออกเสียง ชัดเจนทุกครั้ง จึงเป็นผลทาให้ ผู้พู ดขาดความระมัดระวังในการออกเสียงอันทาให้เกิด การเปล่ียนแปลงมากข้ึน 4. ความเจรญิ กา้ วหนา้ ทางวิทยาการ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการนับว่ามีส่วนสาคัญเป็นอย่างยิ่งท่ีทาให้ภาษาเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความหมาย คือ วัตถุอย่างหน่ึงอาจมีการดัดแปลงไปตามความเจริญ ทางวิทยาการ ในขณะท่ีคาที่ใช้แทนวัตถุน้ันไม่เปล่ียน ดังน้ันในเวลาที่ต่างกัน คาคาเดียวกัน แทนของสองสิ่งท่ีไม่เหมือนกันหรืออาจพูดได้ว่า ความหมายของคาเปลี่ยนแปลงไป เช่น สมัยที่ยังไม่มนี ้าอัดลม คาว่า “น้า” หมายถึง น้าดื่มตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันหมายรวมถึง น้าอัดลม กไ็ ด้ เชน่ ประโยคทวี่ ่า “จะด่มื นา้ อะไรครบั ” 5. คุณสมบตั ิของภาษา นักภาษาศาสตร์โครงสร้างพูดถึงคุณสมบัติของภาษาอย่างหนึ่ง คือ ความสมมาตรในภาษา ซ่ึงระบบเสียงในภาษาจะแสดงลักษณะน้ีโดยท่ัวไป เช่น ถ้ามีเสียงสระหน้าก็มีเสียงสระหลังคู่กันไป ถ้ามีเสียงสูงก็มักจะมีเสียงต่า ดังนั้นเม่ือเกิดมีการเปล่ียนแปลงท่ีมีผลทาให้เกิดลักษณะไม่สมมาตร ในภาษา จะผลกั ดันใหเ้ กิดการเปลย่ี นแปลงตอ่ เนอ่ื ง ซง่ึ จะทาให้เกิดผลในลกั ษณะสมมาตรขนึ้ ใหม่ นอกจากในเรื่องคุณสมบัติความสมมาตร ภาษายังมีลักษณะความประหยัดด้วย กล่าวคือ โดยทั่วไปภาษาจะไม่อนุญาตให้มี 2 รูป ท่ีมีความหมายเหมือนกันทุกประการ เมื่อมีการยืมคาเข้ามา ใน ภ า ษ า แ ล ะ ค า ค า น้ั น มี ค ว า ม ห ม า ย เห มื อ น กั บ ค า ท่ี มี อ ยู่ เดิ ม ห รื อ ค า ท่ี ยื ม เข้ า ม า จ ะ ต้ อ ง มี การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย เพ่ือให้คงอยู่ในภาษาได้ทั้งคู่ เช่น คาว่า “ย่าง” ซึ่งแต่เดิม มีความหมายว่า เดิน ได้เปล่ียนมามีความหมายว่า “เคล่ือนเข้าสู่ และใช้กับเวลา เช่น ย่างเข้าสู่ ปีท่ี 9” ความหมายท่ีเปลี่ยนแปลงไปของคาว่า ย่าง ในภาษาไทยมาตรฐานน้ีน่าจะเกิดข้ึน เมอื่ มีการยมื คาวา่ “เดิน” ซึ่งมาจากภาษาเขมรเขา้ มาใช้นั่นเอง 6. การเปลยี่ นแปลงภาษาเน่ืองจากการยืมคาภาษาต่างประเทศ นักภาษาศาสตร์ท่ีศึกษาเกี่ยวกับเร่ืองคายืม เห็นว่า คายืมภาษาต่างประเทศท่ีเข้ามาใช้ สอื่ สารร่วมกันในภาษาไทย สามารถทาให้ภาษาเปล่ียนแปลงได้มากท้ังด้านเสียง คา และโครงสร้าง ประโยค เราจึงสามารถสรุปไดว้ ่า การยืมเป็นสาเหตุหนึง่ ที่ทาใหภ้ าษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไป 7. ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะการออกเสียงเช่น ภาษาไทย ถิ่นใต้ มีภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ทะเล ลมแรง ฝนตกชุก ฉะน้ันจาเป็นจะต้องเปล่งเสียงแข่งกับลมและฝน จึงนิยมออกเสียงส้ันและจะเน้นพยางค์หลังให้ชัดเจน จึงมักเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูง เช่น ตลาด ออกเสียงเปน็ ลา้ ด ถนน ออกเสียงเป็น นน่ เปน็ ต้น

12 ปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เกิ ด ก า ร เป ลี่ ย น แ ป ล ง ภ า ษ า ข้ า ง ต้ น มี ปั จ จั ย ห ล า ย ด้ า น ท่ี ท า ใ ห้ ภ า ษ า เกิดการเปลี่ยนแปลง ท้ังปัจจัยภายใน เช่นสภาพทางจิตวิทยาของผู้พูด ลักษณะการออกเสียง ของผู้พูดภาษา เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเกิดจากตัวผู้ใช้ภาษาเอง ส่วนปัจจัยภายนอก ท่ีทาให้ภาษาเปล่ียนแปลง เช่น การยืมภาษาต่างประเทศ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เป็นต้น ซงึ่ ปจั จัยดังกล่าวเป็นบริบทแวดล้อมท่ที าให้ภาษาเกิดการเปลยี่ นแปลง ทฤษฎีการเปล่ียนแปลงทางภาษา ธวัช ปุณโณทก (2553: 17-22) ได้อธิบายถึงทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางภาษา (Rule of Language Change) ตามทฤษฎขี องนกั ภาษาศาสตรไ์ วด้ งั นี้ 1. การเปลี่ยนแปลงภายใน (Internal Change) การเปล่ียนแปลงภายใน หมายถึง กระบวนการเปล่ียนแปลงของโครงสร้าง หน่วยคา หน่วยเสียงของภาษานั้น ๆ ซ่ึงเป็นไปตามธรรมชาติและอิทธิพลของภาษานั้น ๆ ไม่ได้รับอิทธิพลจาก ภาษาอ่ืนเข้ามาปะปน การเปลยี่ นแปลงภายในของภาษาทวั่ ไปมี 3 ลักษณะ ดังน้ี 1.1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียง (Sound Change) คือการเปลยี่ นแปลงหน่วย เสียงของคาให้ต่างไปจากเดิมโดยเจตนา หรือไม่เจตนาก็ตาม เป็นผลให้คาคานั้นออกเสียงเพ้ียนไป ตา่ งไปจากเสยี งเดิมหลายกรณี เชน่ 1.1.1 การลดเสยี ง หรือเสยี งกรอ่ น หรอื เสียงหาย 1.1.2 การเพม่ิ เสยี ง 1.1.3 การสบั เสียง 1.1.4 การชดเชยเสียง การเพิ่มเสียงและการลดเสียง จะพิจารณาถึงหน่วยเสียง สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ที่ หายไปหรือเพ่ิมขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงเป็นหน่วยเสียงอ่ืน ๆ เช่น เสียง /ญ/ นาสิก เหมือนชาวอีสาน ชาวเหนือออกเสียงคาว่า /ญาก/ /แม่ญิง/ ซ่ึงยังคงเสียง /ญ/ นาสิกไว้ แต่คนไทยภาคกลางออก เสยี งเปน็ เสียงเดยี วกบั /ย/ 1.2 การเปล่ียนแปลงด้านคาศัพท์ (Vocabulary Change) คือหน่วยคาที่ เปล่ียนแปลงไปโดยมีความหมายเปล่ียนไป หรือมีคาอื่นมาใช้แทนท่ีความหมายบางส่วนหรือแทนท่ี ความหมายจนหมดคาเหล่านน้ั จะเลิกใช้ในที่สุด เชน่ คาว่า “พี” (หมายถึงอ้วน) ปัจจุบันมีคาว่า “อ้วน” มาแทนท่ีความหมาย จนคาว่า พี ไม่มีใครใช้พูดจากัน นอกจากใช้เป็นคาซ้อนว่า “อ้วนพี” แต่หากพิจารณาคาในสมัยสุโขทัย พบว่าในไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงผู้คนใน อุตตรกุรุทวีป ว่า “...บ่มิพี บ่มิผอม” แสดงว่าในสมัย สุโขทัยใช้คาว่า พี และเม่ือพิจารณาภาษาไทยถิ่นท้ังภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้ พบว่าท้ัง 3 ภาค ยงั ใช้คาวา่ พี ไม่นยิ มใชค้ าว่า อว้ น

13 1.3 การเปล่ียนแปลงทางด้านความหมาย (Semantic Change) คือ ความหมาย ของคาเปลี่ยนแปลงไป แต่เสียงของคายังคงเดิม การเปล่ียนแปลงความหมายนี้ไม่มีการผูกพันกับ เสียง น่ันคือ เสียงคงที่แต่ความหมายเปลี่ยนไป โดยท่ัวไปนักภาษาศาสตร์จะศึกษาการเปล่ียนแปลง ความหมาย 3 ลักษณะ ดงั น้ี 1.3.1 ความหมายแคบเข้า 1.3.2 ความหมายกวา้ งออก 1.3.3 ความหมายย้ายท่ี 2. การเปลีย่ นแปลงภายนอก (External Change) คอื การเปลี่ยนแปลงท่ีได้รบั อทิ ธิพลจากภาษาอ่ืนทีม่ ีความสัมพันธ์สืบทอดวัฒนธรรมกันมาแต่ สมัยโบราณ ภาษาท่ีมีอิทธิพลต่อภาษาไทยมาแต่สมัยอดีต ได้แก่ ภาษาบาลี สันสกฤต และภาษาเขมร ส่วนในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อภาษาไทยมาก เพราะชาติตะวันตก มีความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา และด้านวิทยาการสมัยใหม่ นักวิชาการที่ศึกษาวิทยาการจากตะวันตกจึงมักนาคาภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ปะปนกับภาษาไทย ทั้งคาศัพท์ทางวิชาการและศัพท์ทั่วไป นอกจากน้ีคนไทยรุ่นใหม่มักพูดภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทย อนั เป็นสาเหตใุ หม้ ีคาภาษาอังกฤษเข้ามาปะปนมากขน้ึ เชน่ อเี มล อนิ เทอรเ์ นต็ ดจิ ทิ ัล ฯลฯ การที่ภาษาต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลต่อภาษาไทย อันเป็นผลให้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลง ท้ังคาศัพท์ และไวยากรณ์ นักภาษาศาสตร์เรียกว่า การเปล่ียนแปลงภายนอก ซึ่งจะสรุป กระบวนการเปล่ียนแปลงภายนอกได้ดังนี้ 2.1 การยืมคา คือการนาคาภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย โดยปรับเสียง ให้เหมาะสมกับภาษาไทยบ้างเปล่ียนแปลงความหมายบ้าง คายืมท่ีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาษาไทย ไดแ้ ก่ 2.1.1 คาภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต 2.1.2 คาภาษาเขมร 2.1.3 คาภาษาองั กฤษ 2.1.4 คาภาษาจีน 2.1.5 คาภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาชวามลายู ภาษาฝร่ังเศส ภาษาโปรตุเกส เปน็ ต้น ในท่ีนี้จะให้ความสาคัญกับภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เพราะมีอิทธิพลต่อ การพฒั นาภาษาไทยมากทั้งวงศศ์ ัพท์และไวยากรณ์ วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ (2526 :130-133) ลักษณะการยืมคาภาษาหน่ึงในอีกภาษาหนึ่ง อาจทาได้ 3 ลกั ษณะใหญ่ ๆ ดังน้ี 1. การทับศัพท์ หมายถงึ การนาคาจากอกี ภาษาหนง่ึ ไปใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยตรง โดยไม่มี การเปล่ยี นแปลงรปู ใด ๆ เช่น โต๊ะ กวยจบั๊ เทนนิส (Tennis) ทัวร์ (Tour) เป็นตน้ 2. การแปลศัพท์คาเดิม หมายถึง การยืมความหมายของอีกภาษาหน่ึงมาใช้ โดยแปล ความหมายของศัพท์ชนิดคาต่อคา เช่น Back sheep แปลเปน็ แกะดา

14 Movie star แปลเป็น ดาราภาพยนตร์ เป็นตน้ 3. การยืมความหมาย หมายถึง การยืมความหมายซึ่งไม่มีใช้ในภาษาไทยมาแต่เดิม และ สร้างคาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ให้เข้ากับความหมายที่ยืมเข้ามา โดยมักเป็นศัพท์ในวงวิชาการต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความรจู้ ากต่างประเทศ เชน่ วิจยั ยมื ความหมายมาจากคาว่า Research รายงาน ยืมความหมายมาจากคาวา่ Report 2.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านไวยากรณ์ (Grammar Change) คือการเปลี่ยนแปลง ระบบโครงสร้างของภาษาไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเปล่ียนแปลงระบบการสร้างคา นั่นคือ คายืม ภาษาต่างประเทศท่ีเข้ามามีอิทธิพลต่อระเบียบไวยากรณ์ ได้แก่ ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ ซ่ึงคายืมภาษาบาลีสันสกฤตนั้นได้นาวิธีการสร้างคามาเป็นส่วนหน่ึงของไวยากรณ์ ไทยดว้ ย คอื คาสมาส และ การสนธิ ส่วนคายืมภาษาเขมรนั้นก็ได้นาวธิ กี ารสร้างคาแบบภาษาเขมร เขา้ มาเปน็ ส่วนหนงึ่ ของไวยากรณไ์ ทย เรยี กว่า คาแผลง 3. การเปล่ยี นแปลงด้านตวั อักษร (Palaeographic Change ) อักษรไทย เป็นหัวข้อหนึ่งในการศึกษาเร่ืองวิวัฒนาการของภาษาไทย แต่นักภาษาศาสตร์จะ ไม่ให้ความสาคัญเรือ่ งตัวอกั ษรเหมือนกับภาษาพูด เพราะเห็นว่าตัวอักษรของชาตติ ่าง ๆ น้ันผนั เสียง ได้ไม่ตรงกับเสียงพูด จึงคิดสัญลักษณ์แทนเสียงพูดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า “สัทอักษร” และเห็นว่า มีประสทิ ธิภาพในการจดบนั ทึกเสยี งพูดได้ดีทีส่ ดุ อย่างไรก็ตาม การศึกษาเร่ืองวิวัฒนาการของภาษาไทยตามทฤษฎีการเปล่ียนแปลงทางด้าน ภาษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ครอบคลุมถึงวิวัฒนาการของภาษาไทยโดยรวมถ้าไม่ได้กล่าวถึงเรื่อง วิวัฒนาการอักษรไทย เพราะภาษาพูดและภาษาเขียน (ในท่ีนี้หมายถึง ตัวอักษร) ของไทยน้ันได้มี พัฒนาการควบคู่กันเสมอมาทุกยุคทุกสมัย อีกประการหน่ึง ตัวอักษรคือลายเส้นขีดเขียนเป็นรูป สัญลักษณ์ใช้ส่ือความหมายแทนเสียงพูด ซ่ึงคนในสั งคมน้ันยอมรับและเข้าใจความหมาย ของสัญลักษณ์ตรงกัน ฉะนั้นภาษาพูดและภาษาเขียนของไทยจึงมีวิวัฒนาการเกี่ยวเน่ือง ซึ่งกนั และกัน สรุป การเปลี่ยนแปลงหรือวิวฒั นาการภาษาเป็นการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดข้ึนตามธรรมชาตขิ องภาษา โดยเฉพาะภาษาพดู ทใี่ ช้สื่อสารกันในชีวิตประจาวัน ซึ่งภาษาดังกลา่ วมีการเปลี่ยนแปลงมากบา้ งน้อย บ้างข้ึนอยู่กับปัจจยั ภายใน เช่น การเปล่ียนแปลงดา้ นเสียง ด้านคา ด้านความหมาย เป็นตน้ นอกจาก การเปลี่ยนแปลงภายในแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงภาษาท่ีเกิดจากปัจจยั ภายนอก เช่น ดา้ นภูมศิ าสตร์ ดา้ นศาสนา ดา้ นเทคโนโลยี เป็นต้น ซง่ึ ปจั จัยน้ที าใหเ้ กดิ การยืมภาษาขึ้นน่ันเอง การศึกษาการเปล่ียนแปลงภาษานั้น หากผู้ศึกษาต้องการศึกษาเปรียบเทียบย้อนไปถึงอดีต คงเป็นไปไม่ได้ท่ีจะได้ศึกษาจากเสียงพูด เพราะไม่มีหลักฐานใดที่จะสืบสาวได้เลย ดังน้ันการศึกษา ดงั กลา่ วจงึ ตอ้ งอาศัยการศกึ ษาด้านอักษรควบคไู่ ปด้วย ดังเช่นการศึกษาภาษาไทย เป็นตน้

15 แบบฝึกหัด 1. วิวฒั นาการ หมายถงึ อะไร 2. เพราะเหตุใดบางภาษาจึงมีการเปลี่ยนแปลง และบางภาษาไม่มีการเปล่ียนแปลง จงอธิบาย 3. ขบวนการเปลย่ี นแปลงภาษาทเ่ี กิดจากปัจจยั ภายนอกของภาษาเกิดจากสาเหตุใด 4. จงบอกข้อแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงภาษาที่เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอก 5. นอกจากการวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงของภาษาท่ีเกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัย ภายนอกแล้วเพราะเหตุใดจงึ ตอ้ งวเิ คราะหก์ ารเปลี่ยนแปลงภาษาด้านอักษร 6. ภาษาไทย เป็นภาษาทีม่ ีการเปลี่ยนแปลงหรอื ไม่ เพราะเหตใุ ด อธบิ าย 7. ผู้ (ผู้ชาย) แต่งหญิง อัลไร ศัพท์วัยรุ่นดังกล่าวมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางภาษา หรอื ไม่ อย่างไร 8. จงยกตัวอย่างคาศัพท์ในปัจจุบันท่ีมกี ารเปลยี่ นแปลงทางด้านเสียง พร้อมอธบิ ายลักษณะ การเปล่ียนแปลงด้านเสียง 9. จงยกตวั อยา่ งคาศพั ทท์ ใี่ ชใ้ นปัจจบุ นั ท่มี กี ารเปลี่ยนแปลงดา้ นความหมาย 10. ภาษาในส่ือสังคมออนไลนม์ ผี ลกระทบตอ่ การจดั การเรียนการสอนหรือไม่ อย่างไร

16 เอกสารอา้ งองิ กาญจนา นาคสกุล และคณะ. (2554). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม1, พิมพ์คร้ังท่ี 2. กรุงเทพฯ: สานกั วชิ าการและมาตรฐานการศึกษา สถาบนั ภาษาไทย. ณัฐวรรณ ชั่งใจ. (2555). ววิ ัฒนาการของภาษาไทย.กรงุ เทพฯ: สานักพมิ พม์ หาวิทยาลยั รามคาแหง. ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย. ราชบัณฑติ ยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมี. วไิ ลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. กรงุ เทพฯ: สานกั พมิ พ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

17 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 2 เรื่อง การเปล่ยี นแปลงด้านเสยี ง หวั ข้อเนอื้ หา 1. การเปลีย่ นแปลงภาษาดา้ นเสียง 1.1 การเปล่ียนแปลงเสยี งในบางคา เช่น 1.1.1 การลดเสียงหรอื เสยี งหาย 1.1.2 การสบั ทขี่ องเสยี ง 1.1.3 การเพิม่ เสียง 1.1.4 การกรอ่ นเสียง 1.1.5 การเพิม่ เสยี ง 1.2 การเปล่ยี นแปลงตามลกั ษณะของหนว่ ยเสียงในภาษาไทย ไดแ้ ก่ 1.2.1 การเปลย่ี นแปลงดา้ นหนว่ ยเสียงพยญั ชนะ 1.2.2 การเปล่ียนแปลงดา้ นหน่วยเสยี งสระ 1.2.3 การเปลย่ี นแปลงดา้ นหนว่ ยเสียงวรรณยกุ ต์ 2.สรปุ วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม เม่ือเรยี นบทเรียนนี้แล้วนกั ศึกษาสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้ 1. อธิบายทฤษฎกี ารเปล่ยี นแปลงเสยี งในภาษาไทยได้ 2. อธบิ ายวิวฒั นาการการเปล่ียนแปลงด้านเสยี งในภาษาไทยได้ 3. วเิ คราะหค์ าภาษาไทยสมัยต่างๆทมี่ กี ารเปลยี่ นแปลงดา้ นเสยี งได้ วธิ สี อนและกจิ กรรมการเรยี นการสอน 1. บรรยายเน้ือหาจากเอกสาร และ power pointเรอื่ ง การเปลีย่ นแปลงภาษาด้านเสยี ง 2. นักศกึ ษาสรปุ เนือ้ หา อภิปราย และแสดงความคดิ เหน็ ร่วมกัน 3. นกั ศึกษาทาแบบฝกึ หดั ทา้ ยบทท่ี 2 4. นกั ศกึ ษาวเิ คราะหก์ ารเปลีย่ นแปลงด้านเสียงจากหลักศลิ าจารกึ สมยั สุโขทัยที่กาหนดให้ 5. ให้นักศึกษาทา mind mapping เรือ่ ง การเปลย่ี นแปลงภาษาไทยด้านเสียง สอื่ การเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวิชา ววิ ัฒนาการภาษาไทยบทที่ 2

18 2. เคร่ืองฉายแผน่ ทึบ 3. แบบฝกึ หัด 4. Power point เรื่อง การเปล่ียนแปลงเสียง ไดแ้ ก่ การเปลี่ยนแปลงดา้ นหนว่ ยเสียง และการเปลยี่ นแปลงเสยี งในบางคา การวดั และการประเมินผล 1. สงั เกตพฤติกรรม 2. การมีสว่ นร่วมในชน้ั เรียน 3. ตรวจแบบฝกึ หดั ท้ายบท

19 บทที่ 2 การเปล่ยี นแปลงดา้ นเสยี ง ความหมายการเปลีย่ นแปลงเสยี ง การเปล่ียนแปลงเสียง คือการเปลี่ยนแปลงของคาในภาษา อันเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของภาษา และมักจะเป็นไปเองตามธรรมชาติของภาษา กล่าวคือ ไม่มีผู้ใดจงใจเปลี่ยน แต่เมื่อใช้คาไปนานๆ คาน้ันๆ จะ เกิดปรากฏการณ์อย่างหน่ึงคือ มีการเปล่ียนแปลงไปจากเดิม มากบ้างน้อยบ้างและการเปล่ียนแปลงน้ีจะเป็น กระบวนการต่อเนื่องอย่างมีกฎเกณฑ์ กล่าวคือลักษณะการเปล่ียนแปลงนั้นจะอธิบายได้ตามกฎเกณฑ์ของ ภาษาโดยเฉพาะการเปล่ียนแปลงทางเสียงของคา ซึ่งจะอธิบายได้ตามลักษณะของการเกิดของเสียงและการ เปลี่ยนแปรไปตามฐานกรณ์ของเสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะนน้ั ๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้นักภาษาศาสตร์ยอมรับ โดยท่ัวไปว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ คือมีเหตุผล มีกระบวนการซงึ่ สามารถจะอธบิ ายได้ เช่น คา ว่า ตกใจ ต๊ักแตน หกล้ม เมื่อเราใช้พูดกันโดนไม่ระมัดระวัง กล่าวคือ ออกเสียงไปตามสะดวก จะพบว่าส่วน ใหญ่แล้วมักจะมีเสียง กะ แทรกอยู่กลางคา เป็น ตกกะใจ ต๊ักกะแตน หกกะล้ม เป็นต้น หรือคาบางพวกเม่ือ เราใช้พูดกันเพื่อส่ือสารความหมาย แต่มิได้เน้นเสียงให้ชัดถ้อยชัดคา บางคร้ังเสียงของคาบางส่วนจะหายไป หดไป โดยไม่ได้ต้ังใจ เช่น เถิด ซีก อันไร อันหนึ่ง เม่ือออกเสียงโดยไม่ระมัดระวัง เสียงของคาบางส่วนจะหด หายไปเปน็ เถอะ ซี่ อะไร อน่ึง เป็นต้น ลักษณะเช่นน้ีจะเห็นได้ว่าเสียงของคาหายไปและเสียงของคาเพิ่มข้ึนก็ มี (ตามตวั อยา่ งข้างต้น) ถา้ เราศึกษาคาในภาษาไทยแลว้ จะพบว่า มีคาอยจู่ านวนมากท่ีมกี ารเปล่ียนแปลงทางด้านเสียงของคา และการเปลี่ยนแปลงนี้มีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ครั้นเรานาคาที่มีการเปล่ียนแปลงทางเสียงมาศึกษาดู ขั้นตอนและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายลักษณะด้วยกัน เช่น การ เพ่ิมเสียง การลดเสียง (เสียงหาย) การสับเสียง การกลมกลืนเสียง ลักษณะการเปล่ียนแปลงเสียงของคาใน ภาษาไทยเหล่าน้ี ถ้านามาวิเคราะห์ ดูกระบวนการเปล่ียนแปลง และข้ันตอนของการเปล่ียนแปลงแล้วเราจะ สามารถอธิบายได้ตามลกั ษณะการเกดิ เสียง (ฐานกรณ์)(ธวชั ปุณโณทก, 2553 : 23) ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเสยี ง ณัฐวรรณ ช่ังใจ (2555 : 79-85) ได้กล่าวถึงขบวนการเปลี่ยนแปลงภาษาด้านเสียงในภาษาไทย มหี ลายลักษณะ ดังน้ี 1. การกลมกลนื เสียง การกลมกลืนเสียงคือ การท่ีเสียงเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมหรือไปตามเสียงข้างเคียง หลังจาก การเปลี่ยนแปลงเสยี งท่ีเปล่ียนไปจะมคี วามคล้ายคลึงกบั เสียงข้างเคียงในบางกรณีก็เหมือนกันถ้าเปลี่ยนไปแล้ว คลา้ ยคลงึ กันก็เรยี กว่าการกลมกลืนละม้าย ถา้ เปลีย่ นไปแลว้ เสียงทเี่ ปลี่ยนเหมือนกับเสยี งข้างเคียงทกุ ประการ

20 เรียกว่า การกลมกลืนสมบูรณ์ เช่น กันไตร เปลีย่ นเสียงเป็น กรรไกร (เป็นขบวนการที่แพรห่ ลาย มากกวา่ ขบวนการทางเสยี งดา้ นอน่ื ๆ) 2. การผลกั เสยี ง เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงเสียงที่ตรงข้ามกันกับการกลมกลืนเสียง กล่าวคือ หลังจากเกิด การเปลี่ยนแปลงแล้ว เสียงที่เปล่ียนไปจะเหมือนกับเสียงข้างเคียงน้อยลงหรือกลายเป็นเสียงท่ีต่าง ออกไปจากเสียงใกล้เคียง การเปล่ียนแปลงเสยี งชนิดนี้ไม่เกิดแพร่าหลายเหมือนกับการกลมกลืนเสียง และลักษณะอีกอย่างหน่ึงของการผลักเสียงท่ีต่างจากการกลมกลืนเสียง คือ มีเสียงบางชนิดเท่านั้นท่ี เกิดการผลักเสียงได้ เช่น เสียงเหลว เสียงนาสิก และเสียงประเภทที่เกี่ยวข้องกับเส้นเสียงท้ังหลาย เชน่ เสยี งช่องคอ เสยี งลม 3. การสบั ท่ีเสยี ง การเปล่ียนแปลงของเสียงในคา บางคร้ังก็เกิดขึ้นโดยเสียงในคาสับเปลี่ยนตาแหน่งกัน การเปล่ยี นแปลงในลักษณะนี้อาจเกิดเฉพาะกับคาบางกลมุ่ แต่ในบางภาษาก็เปน็ การเปลีย่ นแปลงทั่ว ทั้งภาษา หมายความว่า เม่ือใดก็ตามที่มีเสียง 2 เสียงชนิดใดชนิดหน่ึงเกิดร่วมกันในคา ๆ เดียวจะ เกดิ การสับทเี่ สยี งกนั เชน่ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยอีสาน (บางถน่ิ ) ตะไกร กะไต ตะกรุด กะตุด ตะกรา้ กะต้า จากัด กาจัด 4. การลดเสยี ง (เสยี งหาย) การลดเสียง หรือเสียงหายไป หมายถึงการเปล่ียนแปลงทางด้านเสียงของคา คือเสียงจะหด สั้น หรือหดหาย แต่ความหมายของคานั้นยังคงเดิม ไม่เปล่ียนแปลงความหมายเพราะว่าการ เปลี่ยนแปลงของความหมาย และการเปล่ียนแปลงทางเสียงนั้น มีขั้นตอนและกระบวนการ เปลี่ยนแปลงไม่เกี่ยวเนื่องผูกพันกัน ดร.วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้อธิบายไว้ในหนังสือภาษาและ ภาษาศาสตร์ว่า “ในการเปล่ียนแปลงเสียงและความหมายไม่มีความผูกพันกัน ความหมายจะ เปลี่ยนไปโดยเสยี งยังคงเดิม หรอื เสียงอาจจะเปลีย่ นไปโดยความหมายยงั คงเดมิ ” ฉะน้ันในการศึกษาการเปล่ียนแปลงทางเสียงของคาในครั้งน้ี จะยึดความหมายเป็นเกณฑ์ใน การพิจารณา กล่าวคือ คาใดมีลักษณะการเปล่ียนแปลงทางเสียงแต่ความหมายยังคงเดิมจะนามา วเิ คราะห์ดูว่ามีกระบวนการเปล่ียนแปลงอยา่ งไร มรี ูปแบบอยา่ งไร แล้วจดั เป็นกลุ่มๆ ที่มีลักษณะการ เปลย่ี นแปลงทางเสยี งเหมือนกัน และอธบิ ายลักษณะการเปลย่ี นแปลงนัน้ ๆ ตามแนวของภาษาศาสตร์ จากการศึกษาข้อมูลเพ่ือวิเคราะห์ดูการเปล่ียนแปลงทางเสียงของภาษาไทย จะพบว่าคาที่มี การเปลี่ยนแปลงทางเสียงมาก ไดแ้ กก่ ล่มุ คาทใ่ี ชใ้ นการสอ่ื สาร สื่อความหมายกนั ในชีวติ ประจาวนั และ โอกาสที่ก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางเสียงน้ันเกิดจากการพูด (ภาษาพูด) ส่วนภาษาเขียนนั้นไม่มี

21 โอกาสที่จะเกิดการเปล่ียนแปลง กล่าวคือ ในขณะท่ีพูดคนมักจะปล่อยเสียงออกมาตามสบายแล้วแต่ ล้ินจะพาไป ไม่ค่อยระวังบังคับให้ออกเสียงชัดถ้อยชัดคานานๆ เสียงของคาจะหดสั้นเกิดเป็นเสียง กรอ่ น การลดเสียงนั้นคนเรามกั จะลดเสียงกันโดย ไม่ได้ตัง้ ใจ เพียงแต่ต้องการให้ผ้ฟู ังเข้าใจเทา่ นั้น จึง มักจะเน้นบางเสียง บางตอน ส่วนเสียงท่ีไม่ได้เน้น หรือตอนท่ีไม่ได้เน้น จะทาให้เสยี งหายไปโดยไม่ได้ ต้ังใจ เช่นเถดิ -เถอะ อย่าเพิ่ง-อย่าเพอะ ลูก-ลุ,โละ(ใต้) ลักษณะนี้เป็นการลดเสียงหลังคา การลดเสียง นั้นส่วนใหญ่จะพบว่ามีการลดเสียงกลางคามากกวา่ ลักษณะอื่นๆ เช่น ฉันนั้น-ฉะนัน้ ฉนั น้ี-ฉะนี้ คือลด เสียง /น/ ลกั ษณะเช่นนเ้ี รียกว่าลดเสียงกลาง หรือ ลดเสียงกลางคา ส่วนลดเสียงหน้าคานั้นมีปรากฏ น้อยมาก และมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อน เช่น หรือไม่–ไหม-มะซึ่งมีการเปล่ียนระดับเสียง วรรณยุกต์ดว้ ย 5. การเพิ่มเสยี งของคาในภาษาไทย การเปล่ยี นเปล่ยี นทางดา้ นเสยี งของคาอกี ลกั ษณะหนึ่งก็คอื การเพ่ิมเสียงของคา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์โดยท่ัวไปของคาในภาษาไทย กล่าวคือ คาใดที่ออกเสียงไม่สะดวกนักมักจะมีการ เปลี่ยนแปลงเสียงของคาเพ่ือให้ออกเสียงง่ายขึ้น สะดวกขึ้น โดยเฉพาะคาท่ีมี 2 พยางค์ขึ้นไปและ พยางค์หน้ามีเสียงพยญั ชนะอุบ อโฆษะ สิถิล ฐานกรณ์เพดานอ่อน เช่น /ก/ การออกเสียงอยู่กลางคา ของพยัญชนะประเภทนล้ี าบาก ออกเสียงบาก ฉะน้ันเวลาพูดคนมักจะออกเสยี งต่อเน่ืองกัน คือแทรก เสียง กะ กลางคา เช่น ตกใจ – ตกกะใจ ตุ๊กตา – ตุ๊กกะตา นกยาง – นกกะยาง ลูกตา – ลูกกะตา ฯลฯ เป็นต้น ลักษณะเช่นตัวอย่างที่ยกมาน้ันจะเห็นว่าขณะที่ออกเสียงนั้นมีเสียงกลางเพิ่มขึ้นมา ซึ่ง เป็นการเปล่ียนแปลงทางด้านเสียงของคาที่เรียกว่า “การเพิ่มเสียงของคา” แต่ความหมายของคา เหลา่ น้ันหาไดม้ ีการเปลี่ยนแปลงไม่ ส่วนคาท่ีเป็นพยางค์เดียว ขณะท่ีออกเสียงจะมีความรู้สึกว่าเสียงห้วนไป ส้ันไป จึงมีการเติม หน่วยคาที่ไม่มีความหมายลงไปข้างหน้าคาคล้ายๆ กับการเติมอุปสรรคแต่เป็นอุปสรรคไม่ได้หรือจัด อยู่ในกลุ่มอุปสรรคไม่ได้ เพราะคาที่ไม่มีความหมายเหล่าน้ีเมื่อเติมอยู่หน้าคาน้ันไม่ได้แสดง ความหมายใดๆ หรือช่วยให้คาเดิมน้ันมีหน้าทใี่ นประโยคเปลี่ยนไป ฉะนั้นจะจัดอยู่ในพวกคาอุปสรรค จึงไม่น่าจะถูกต้อง ตัวอย่างเช่น โดด – กะโดด, กระโดด เดี๋ยว – ประเดี๋ยว โจน – กะโจน, กระโจน เอว – กะเอว, กระเอว กา – อีกา เก้ง – อีเก้ง ฯลฯ สังเกตได้ว่าคาเหล่าน้ีก่อนเติมเสียงหน้า และ เมอื่ เติมเสียงหนา้ (หนว่ ยคาทไ่ี มม่ ีความหมาย) ความหมายของคาไมม่ ีการเปลย่ี นแปลงใดๆ และหนา้ ที่ ของคาตามไวยากรณ์ ก็ไมม่ ีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งส้ิน ฉะนั้นลักษณะเช่นนี้จึงจัดอยู่ในการเพิ่มเสียง ของคา ชนดิ การเพิ่มเสียงหน้าคา การเพิ่มเสียงยังมีอีกลักษณะหนง่ึ คือเพม่ิ หน่วยคาท่ีไม่มีความหมายลงไปท้ายคา เพ่ือสะดวก ในการออกเสียงและเพื่อคล้องจอง (บางกรณี) ซ่ึงนักไวยากรณ์ไทยมักจะเรียกคาประเภทนี้ว่า “คา อทุ านเสรมิ บท หรอื คาอุทานสรอ้ ยบท” แต่ถ้าเราพิจารณาในด้านการเปลีย่ นแปลงเสียงของคาแล้วก็ น่าจะสรปุ ไดว้ ่าเป็นการเพิ่มเสียงอยา่ งหนึ่ง แบบหนงึ่ คือการเพม่ิ เสียงทา้ ยคา ตัวอย่างเชน่ วดั – วัดวา (อาราม) ส่วย – ส่วยสา(อากร) รบ – รบรา (ฆ่าฟัน) สี – สีสัน (วรรณ) ฯลฯ ลักษณะการเพิ่มเสียง

22 ทา้ ยคาดังตัวอย่างท่ียกมาน้ันถ้าเราพิจารณาทางด้านความหมายจะพบว่า ความหมายของคานั้นไม่ได้ มีการเปล่ียนแปลงใดๆ กล่าวคือ ก่อนเพิ่มเสียงท้ายคาและหลังจากเพ่ิมเสียงท้ายคาแล้ว ความหมาย ของคาเหลา่ น้ันยงั คงทีไ่ มม่ กี ารเปล่ียนแปลง ฉะน้นั จึงจดั อยู่ในกลุ่มลกั ษณะการเพิ่มเสียงทา้ ยคา ตวั อยา่ งการเพ่มิ เสยี งในสมยั สุโขทัยเชน่ การเพ่ิมเสยี ง /ระ/ ในภาษาไทยปัจจุบัน เช่น คาว่า “กดงี ” ในจารึกหลกั ท่ี 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปจั จบุ ันออกเสียงเปน็ “กระดิง่ ” คาวา่ “กทา” ในจารกึ หลักที่ 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสียงเป็น “กระทา” คาว่า “ปต”ู ในจารกึ หลักท่ี 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสียงเป็น “ประตู” การเพ่มิ เสียง /อะ/ ในภาษาไทยปจั จบุ นั เช่น คาว่า “ทเล” ในจารึกหลักที่ 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปจั จุบนั ออกเสียงเปน็ “ทะเล” คาว่า “ตวนนตก” ในจารกึ หลกั ที่ 1 ของพ่อขนุ รามคาแหง ปัจจุบนั ออกเสียงเปน็ “ตะวัน” คาว่า “มแม” ในจารกึ หลักที่ 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปัจจุบันออกเสยี งเปน็ “มะแม” นอกจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางด้านเสียงในบางคาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยัง สามารถวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงเสียงตามระบบเสียงในภาษาไทยได้ (ราตรี ธันวารชร ,2548:19- 61) ดงั นี้ 1. การเปล่ียนแปลงระบบเสียงพยญั ชนะ เช่น 1.1 คาในภาษาสุโขทัยมีความแตกต่างทางด้านหนว่ ยเสียงพยญั ชนะต้น เช่น คาวา่ “ขดาร” ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสยี งเปน็ กระดาน คาว่า “เทพดา” ในจารึกหลกั ที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจุบันออกเสยี งเป็น เทวดา คาวา่ “พีหาร” ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปจั จบุ นั ออกเสียงเป็น วิหาร 1.2 คาในภาษาสโุ ขทัยมคี วามแตกต่างทางดา้ นหน่วยเสยี งพยญั ชนะทา้ ย เชน่ คาว่า “กดู ”ี ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปจั จุบันออกเสยี งเปน็ กฏุ ิ (กดุ -ต)ิ 2. การเปลีย่ นแปลงระบบเสยี งสระ ภาษาสโุ ขทยั มีความแตกตา่ งทางดา้ นหนว่ ยเสยี งสระกบั ภาษาไทยปจั จุบนั คอื 2.1 คาในภาษาสุโขทยั ใชส้ ระเสียงสั้น ภาษาไทยปจั จุบนั ใช้สระเสยี งยาว เชน่ คาว่า “เข๋า” ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจุบันออกเสียงเป็น “ข้าว” 2.2คาในภาษาสุโขทยั ใช้สระเสยี งยาว ภาษาไทยปจั จุบนั ใชส้ ระเสยี งส้นั เช่น คาวา่ “ญนี ” ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขนุ รามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสียงเปน็ “ยิน” คาว่า“กดีง”ในจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจุบันออกเสียงเป็น “กระด่ิง” คาวา่ “เปน” ในจารึกหลักท่ี 1 ของพอ่ ขุนรามคาแหง ปัจจุบันออกเสยี งเปน็ “เป็น” 2.3 คาในภาษาสุโขทยั ใช้สระเสียงหนงึ่ ภาษาไทยปจั จบุ ันใช้สระอีกเสียงหน่ึง เช่น

23 คาวา่ “โสง” ในจารกึ หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจุบันออกเสยี งเป็น “สอง” คาวา่ “ชอ่ ย” ในจารกึ หลกั ท่ี 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปจั จบุ ันออกเสียงเป็น “ชว่ ย” คาว่า “โนน” ในจารกึ หลกั ที่ 1 ของพ่อขนุ รามคาแหง ปัจจบุ ันออกเสียงเปน็ “นอน” คาว่า “เถงิ ” ในจารึกหลกั ที่ 1 ของพ่อขนุ รามคาแหง ปจั จุบนั ออกเสยี งเป็น “ถงึ ” 3. การเปล่ียนแปลงระบบเสียงวรรณยุกต์ มดี งั นี้ 3.1 เสียงวรรณยุกต์สามัญในภาษาสุโขทัย กลายเสียงเป็นวรรณยุกต์เอก ในภาษาไทย ปัจจุบนั เช่น คาวา่ “ฏ” ในจารึกหลักท่ี 1 ของพ่อขนุ รามคาแหง ปจั จุบนั ออกเสยี งเปน็ “ตอ่ ” คาว่า “กดงี ” ในจารกึ หลักท่ี 1 ของพ่อขุนรามคาแหง ปัจจุบนั ออกเสยี งเปน็ “กระด่ิง” 3.2 เสียงวรรณยุกต์สามัญในภาษาสุโขทัย กลายเสียงเป็นวรรณยุกต์โท ในภาษาไทย ปจั จุบัน เชน่ คาว่า “ลนน” ในจารึกหลักที่ 1 ของพอ่ ขุนรามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสียงเป็น “ล่นั ” คาว่า “แพล” ในจารึกหลกั ที่ 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปัจจบุ นั ออกเสียงเปน็ “แพร่” 3.3 เสียงวรรณยุกต์สามัญในภาษาสุโขทัย กลายเสียงเป็นวรรณยุกต์ตรี ในภาษาไทย ปจั จบุ นั เช่น คาวา่ “ทงง” ในจารึกหลกั ท่ี 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปจั จุบันออกเสยี งเปน็ “ทั้ง” คาวา่ “แท” ในจารึกหลกั ที่ 1 ของพอ่ ขนุ รามคาแหง ปัจจุบนั ออกเสยี งเปน็ “แท”้ 3.4 เสยี งวรรณยกุ ต์เอกในภาษาสโุ ขทัย กลายเสยี งเป็นวรรณยุกต์โท เชน่ คาว่า “ก่” ในจารึกหลกั ที่ 1 ของพอ่ ขุนรามคาแหง ปจั จุบันออกเสียงเป็น “ก็” สรปุ การเปลย่ี นแปลงดา้ นเสียงเป็นการเปลี่ยนแปลงทีเ่ กิดขน้ึ ตามธรรมชาตขิ องภาษาโดยเฉพาะ ภาษาพูดแต่การเปล่ยี นแปลงเสยี งน้ผี ู้พูดอาจเจตนาหรอื ไมเ่ จตนาใหเ้ ปลีย่ นแปลงก็ได้ การเปล่ียนแปลงด้านเสียงน้ี หมายถึง เสียงใดเสียงหน่ึงท่ีมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สามารถพิจารณาลักษณะการเปล่ียนแปลงได้ท้ังหน่วยเสียง และการเปล่ียนเสียงในบางคา โดยวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงเสียงจากระบบเสียงในภาษาไทยทั้งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ การเปล่ียนแปลงด้านเสียงในภาษาไทยมีหลายลักษณะ ได้ แก่ การกลมกลืนเสียง การผลักเสียง การสับเสียง การลดเสียงหรือเสียงหาย การตัดเสียง การเพิ่มเสียง การเปลี่ยนแปลง เหล่านี้จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงตามฐานกรณ์ และเปล่ียนแปลงมากบ้างน้อยบ้างตามการใช้ภาษา และชว่ งระยะเวลาจากอดตี ถึงปจั จบุ ัน

24 แบบฝึกหัด 1. การเปลี่ยนแปลงเสยี งหมายถึงอะไร 2. การเปล่ยี นแปลงภาษาดา้ นเสียงเกิดจากสาเหตุใด 3. การเปลี่ยนแปลงดา้ นเสยี งมีกี่ลกั ษณะ อะไรบ้าง อธิบาย 4. จงวเิ คราะห์คาที่ขีดเสน้ ใต้ต่อไปนวี้ ่า เป็นการเปล่ียนแปลงเสียงในลักษณะใด จงอธิบาย 4.1ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู(จากรึกหลักท่ี 1 ด้านท่ี 1 บรรทดั ที่ 15-16) 4.2 มนนจกกกล่าวเถิงเจ๋าเถิงขุนบ่ไร๋ไปลนนกดีงอนนท่านแขวนไว๋(จากรึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 34-35) 4.3 เปรตจาพวกหนึ่งมชี า้ งมา้ ข้าคน มียว่ั ยานคานหามทองขเ่ี ทย่ี วไปโดยอากาศ (ไตรภมู ิ : 27) 4.4 แลผ้พู ิภากษากระลาการพงึ มละเวน้ เสยี ซ่งึ โมหะนั้น (กฎหมายตราสามดวง 1:54) 4.5 เชานาเปนชือ่ พวกคนทีท่ านานนั้ เหมอื นอย่างเชาทุ่ง เปนต้นนัน้ (อกั ขราภธิ านศรับท์ : 171) 5. ภาษาถนิ่ ใต้ อีสาน มีลกั ษณะเปล่ยี นแปลงด้านเสียงดา้ นใดมากทส่ี ดุ อธบิ าย และยกตัวอย่าง 6. จงยกตัวอย่างคาท่มี ีการเปลี่ยนแปลงดา้ นเสียงสระ และพยญั ชนะมาอย่างละ 5 คา 7. เหตใุ ดคนสว่ นใหญจ่ งึ ไม่นยิ มออกเสยี งคาควบกลา้ โดยเฉพาะในภาษาพูด 8. จงยกตวั อย่างศพั ท์สแลงในปจั จุบนั ทีม่ ีการเปลีย่ นแปลงด้านเสยี ง 9. การเปลยี่ นแปลงดา้ นเสยี งมีผลตอ่ การใชภ้ าษาไทยทไี่ ม่ถูกต้องหรือไม่ อยา่ งไร 10. นกั ศกึ ษามแี นวทางแก้ไขปัญหาการใช้ภาษาของวยั รุ่นปัจจบุ นั ได้อย่างไร

25 เอกสารอา้ งอิง ณฐั วรรณ ช่ังใจ. (2555). วิวัฒนาการของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั . ราตรี ธนั วารชร. (2548). วิวัฒนาการของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.์

26

28 แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 3 เรือ่ ง การเปลยี่ นแปลงด้านคาศพั ท์ หัวขอ้ เนือ้ หา 1. การเปล่ยี นแปลงดา้ นศพั ท์ 1.1 การสญู ศัพท์ หรือศพั ท์สญู 1.1.1 ศัพท์สูญโดยสนิ้ เชิง 1.1.2 ศพั ทส์ ญู ไปบางสว่ น 1.1.3 ศัพท์สูญพอสนั นิษฐานคาได้ 1.2 การเพม่ิ ศพั ท์ 2. สรปุ วัตถปุ ระสงค์เชงิ พฤตกิ รรม เม่ือเรียนบทเรียนนแ้ี ล้วนักศกึ ษาสามารถแสดงพฤติกรรมต่อไปน้ี 1. มีความรคู้ วามเข้าใจทฤษฎกี ารเปล่ยี นแปลงภาษาไทยดา้ นคาศัพท์ได้ 2. อธิบายลักษณะการเปลย่ี นแปลงตา่ งๆดา้ นคาศพั ท์ได้ 3. วเิ คราะห์การเปล่ยี นแปลงภาษาไทยด้านคาศพั ทใ์ นลกั ษณะตา่ งๆได้ วธิ ีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอน 1. บรรยายเนื้อหาจากเอกสารบทที่ 3 และ power pointเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภาษา ดา้ นคาศพั ท์ 2. นักศกึ ษาสรุปเนื้อหา อภปิ รายแสดงความคิดเห็นร่วมกัน 3. นักศกึ ษาตอบคาถามทา้ ยบท 4. นักศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภาษาด้านต่างๆจากคาที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 และ หลักท่ี 2 สอ่ื การเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนวชิ า ววิ ัฒนาการภาษาไทยบทที่ 3 2. เครอ่ื งฉายแผ่นทึบ 3. แบบฝกึ หดั 4. Power point เร่อื ง การเปลยี่ นแปลงด้านคาศพั ท์ ได้แก่ การสูญศัพท์ และการเพิ่มศัพท์

28 การวดั และการประเมนิ ผล 1. สงั เกตพฤติกรรม 2. การมีสว่ นรว่ มในช้นั เรยี น 3. ตรวจแบบฝกึ หดั ท้ายบท 4. การนาเสนอผลการวเิ คราะหห์ น้าช้นั เรยี น

29 บทท่ี 3 การเปล่ยี นแปลงด้านคาศพั ท์ คาท่ีใช้ส่ือสารพูดจากันในชีวิตประจาวันน้ัน ย่อมมกี ารเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นั่นคือ คาบางคาไม่นิยม ใช้พูดจากันในสมัยต่อมา หรือมีคาอ่ืนมาใช้แทนความหมายได้ดีกว่า ในท่ีสุดคนรุ่นหลังก็เลิกใช้ เราเรียกคา เหล่าน้ันว่า ศัพท์สูญ ในขณะเดียวกันคาใหม่ท่ีนามาใช้แทนท่ีนั้นก็เป็นการ เพิ่มศัพท์ การเพิ่มศัพท์น้ันมักจะ เป็นคายืมจากภาษาบาลี สันสกฤต หรือเขมร โดยเห็นว่ามีความหมายตรงชัดมากกว่าคาเดมิ ในท่ีสุดคาเดิมก็มี การใชน้ ้อยลง หรอื เลิกใชพ้ ดู จากนั ในสมัยหลงั ต่อมา คงปรากฏอยใู่ นเอกสารโบราณ เราจงึ เรยี กกว่า ศพั ทส์ ญู การเพิ่มศัพท์และศัพท์สูญ (การเพ่ิมคาและการลดคา) เป็นการพัฒนาคาและสานวนไทยแบบหนึ่ง ถึงแม้ว่าการลดศัพท์หรือศัพท์สูญดูเหมือนว่าจะเป็นการเส่ือมทางด้านภาษา แต่ความเป็นจริงแล้วคาท่ีเป็น “ศัพท์สูญ” นั้นเป็นคาที่ไม่ใช่ส่ือสารในสมัยหลัง ซ่ึงสมัยหนึ่งจะนิยมใช้คาเหล่าน้ันก็ตาม แต่คาศัพท์สูญ เหล่านั้นหายไปก็เพราะมีการสร้างคาอื่นมาแทนท่ีความหมายอาจจะสร้าง 2 คา หรือ 3 คา เพื่อแทนท่ี ความหมายที่ละเอียดอ่อน มีแง่ความหมายที่ตรงใจผู้พูด เช่น เข้า (กูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า) ใช้คาว่า ขวบ ปี แทนความหมาย หรอื หลวก ใช้ ฉลาด เกง่ รู้ เปน็ ตน้ ลกั ษณะการเปล่ียนแปลงคาศพั ท์ ในภาษาโบราณมีคามรดกจานวนหนึ่งท่ียังคงใช้อยจู่ นถึงปัจจุบัน โดยยังรกั ษาความหมายเดมิ ไว้และมี คาอีกจานวนหนงึ่ ท่ีเปลีย่ นแปลงด้านรูปศัพท์และความหมาย ซงึ่ ธวัช ปณุ โณทก (2553 : 51-57)อธบิ ายดังน้ี 1. คาที่มีใช้สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน (คามรดก) คาจานวนหน่ึงมีปรากฏอยู่ในศิลาจารึกและยัง นิยมใชก้ ันในปัจจุบัน ซ่ึงคาประเภทนี้เรียกว่า “คาพื้นฐาน” หรือ “คามรดก” เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ชือ่ ท้อง เดียว คน ผู้ชาย ผู้หญิง ตาย เล็ก ใหญ่ เจ้าเมือง เข้า ไพร่ฟ้า ตัว พุ่ง หนี เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามบางคาก็มี คาอ่ืนมาแทนบ้าง เพ่ือแสดงความหมายสุภาพ เช่น บิดา มารดา แทนคาว่า พ่อ แม่ หรือประชาชน แทนคา ว่า “ไพร่ฟ้า” เพราะไพรฟ่ ้ามกั จะใชก้ ับ พระเจา้ แผ่นดนิ สว่ น “ประชาชน” จะใชก้ บั รฐั บาล เปน็ ตน้ 2. ศัพทส์ ญู หรือการสูญศัพท์ คือคาโบราณท่ไี มน่ ิยมใช้ในปจั จบุ นั หรือเลกิ ใช้แลว้ บางคายังมีคาอธิบายอยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ส่วนบางคาไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรม ตัวอยา่ งเชน่ เสือง ตู เผอื อา้ ย เตียมแต่ เข้า (ขวบ ป)ี ท่อ เกลื่อนเข้า หนีญญ่าย พา่ ยจแจ้น แมว้ า่ บางคายงั มีใช้ อยู่ในภาษาถน่ิ บ้าง แต่ในภาษาภาคกลางไม่ปรากฏว่าใชน้ านแล้ว จงึ เรียกว่า “ศพั ทส์ ูญ” ศัพท์สูญน้ีไม่ได้หมายความว่าภาษาไทยหรือคาไทยไม่พัฒนา แต่ความจริงแล้วเรามีคาอ่ืนมาใช้แทน ความหมายคาเหลา่ น้ี ดังได้อธิบายไว้แล้ว 3. คาที่ใช้สมัยโบราณและปัจจุบันยังใช้อยู่แต่อาจมีการเปล่ียนแปลงบ้าง ได้แก่ เตียมแต่ (ต้ังแต่) ขน้ึ ใหญ่ (เติบใหญ่) ขุน เปลี่ยนความหมายบ้าง คือสมัยโบราณหมายถึง เจ้าเมือง หรือกษัตริย์ เช่น ขุนสามชน

30 พ่อขุนรามคาแหง แต่สมยั อยธุ ยาคาว่า “ขุน” ลดความสาคัญลงมาเป็น “ขุนนาง” ระดบั รองลงมา แต่ปัจจุบัน มีความหมายกว้างออก เช่น ขุนเขา ขุนนาง ขุนพล ขุนขวาน ขุนกระบ่ี เป็นต้น “ขับ” โบราณใช้กับ “ขับช้าง ขับม้า” ปจั จุบันใชก้ บั พาหนะ เช่น ขับรถ ขบั เรือ ขบั เกวียน ฯลฯ 4. คาที่ใช้สมัยโบราณและปัจจุบันยังใช้อยู่แต่เปลี่ยนความหมาย ได้แก่ หน้าใส (ไพร่ฟ้าหน้าใส) โบราณหมายถึง ตกใจ หน้าซีดเผือด แต่ปัจจุบัน หน้าใส มีความหมายว่า ช่ืนชม ยินดี หน้าตาสดใส คาว่า “แพ”้ ในสมัยโบราณหมายถึง มชี ยั ชนะ หากปราชยั จะใช้คาว่า “พา่ ย” แต่ปจั จุบันมคี าว่า “ชนะ” ตรงข้ามกับ พ่ายมาแทนท่ีคาว่า “แพ้” และนิยมใช้เป็นคาคู่ว่า “พ่ายแพ้” หรือ “แพ้พ่าย” ความหมายเดิมของคาแพ้ (มี ชัย) จงึ เปลย่ี นเป็นตรงกนั ขา้ ม คือ พา่ ย ส่วนในภาษาไทยถน่ิ อ่นื ๆ ยังใช้ แพ้ ในความหมายว่า ชนะ ทุกแห่ง การสูญคาศพั ท์ ธวัช ปุณโณทก (2553 : 57)ได้อธิบายเก่ียวกับการสูญคาศัพท์หรือศัพท์สูญว่า หมายถึงคาท่ีปรากฏ อยู่ในเอกสารโบราณสมัยสุโขทัย (ศิลาจารึกและไตรภูมิพระร่วง) แต่ในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว โดยมีคาใหม่มาใช้ แทนความหมายคาศัพทน์ ั้น ศัพท์สูญเหล่านัน้ บางครั้งก็ยงั ใชก้ ันอยใู่ นภาษาถิ่น (เหนือ อสี าน ใต้และในกลมุ่ คน ไทยนอกประเทศ) บางคร้ังก็ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณสมัยอยุธยา และต้นกรุงรัตนโกสินทร์บางคายังใช้อยู่ ในปัจจบุ นั ในลกั ษณะคาซ้อน เช่น ตดั สิน (สนิ -ตดั เช่น ตัดตีนสินมือ) เป็นตน้ ในการศึกษารูปแบบของศัพท์สูญน้ันต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการหาตัวอย่างคา วลี และ ประโยค ในเอกสารโบราณและเอกสารภาษาถ่ิน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงคาศัพท์ตาม แนวอรรถศาสตร์ แต่อยา่ งไรก็ตาม คงไม่สามารถอธิบายได้ชดั เจนทุกคาศพั ท์ จากการศึกษารูปแบบของการเปล่ียนแปลงคาศัพท์โบราณว่าสูญไปอย่างส้ินเชิง หรือยังปรากฏอยู่ใน ภาษาถ่นิ หรือปรากฏอยู่ในคาประสม กระบวนการเปลยี่ นแปลงคาศพั ทด์ ังกล่าวนั้นอาจจะอธิบายได้ ดังน้ี(ธวัช ปุณโณทก, 2553 : 57-107) 1. ศัพท์สูญโดยสิ้นเชิง หมายถึง คาศัพท์โบราณท่ีปรากฏอยู่ในศิลาจารึก และไตรภูมิพระร่วง ใน ปัจจุบันไม่มีผู้ใดพูดผู้ใดเขียนและเข้าใจคาศัพท์เหล่าน้ัน คาศัพท์เหล่านั้นยังปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณสมัย อยุธยา และสมัยต้นรัตนโกสนิ ทร์ หรือมีในพจนานกุ รมฉบับราชบัณฑิตยสถานบ้าง ท่ีเขยี นไวว้ ่า (โบ.) หมายถึง คาศัพท์โบราณ เชน่ เข้า-ขวบ, ปี (กูขึน้ ใหญไ่ ดส้ ิบเก้าเข้า-ศิลาจารึก) แต่งแง่ – แต่งตัว (จงึ เอาศพน้ันอาบน้าแล แต่งแง่ หรอื ฝูงชนทั้งหลายแต่งแง่แผต่ นแล้-ไตรภมู ิพระร่วง) คาศัพทโ์ บราณข้างตน้ น้นั ไดพ้ บอยู่ในเอกสารสมัยอยุธยาบ้าง เช่น เด็ก 7 เข้า เฒ่า 70 (กฎหมายตราสามดวง ลักษณะพยาน) และ ข้ากระไดกระแหน่ แตง่ แงแ่ ผ่ตนท่า (ลิลิตพระลอ) 2. ศัพท์สูญพอสันนิษฐานคาได้ หมายถึงคาศัพท์ที่เคยใช้อยู่ในสมัยโบราณ ท่ีปรากฏอยู่ในศิลาจารึก และไตรภูมิพระร่วง ปัจจุบันภาษามาตรฐานเลิกใช้แล้ว แต่ในภาษาถิ่น(อีสาน เหนือ ใต้ และกลุ่มคนไทยนอก ประเทศ) ยังใช้กนั อยู่ในปัจจบุ ัน คาศัพท์กลุ่มนี้บางคายังปรากฏอยใู่ นเอกสารสมัยอยุธยาและสมยั รตั นโกสินทร์ ตอนต้นบ้าง เชน่ หลวก - ฉลาด ตัวอย่าง “สังฆราชปราชญเ์ รียนจบปิฎกไตร หลวกกว่าปู่ครูทงั้ หลายในเมือง

31 นที้ กุ คน” (ศิลาจารกึ หลักท่ี 1) สู - พวกเอง (พหูพจน์บรุ ุษที่ 2) ตัวอย่าง ให้ถอื เข้าหนม (ขนม) นนั้ อยูใ่ นมอื สู เมือ่ ใดสูท้งั หลายเอาเข้าหนมนัน้ แล้ว (ไตรภมู พิ ระรว่ ง) คาศัพท์โบราณข้างต้นน้ัน ในภาษาไทยมาตรฐานปัจจุบันเลิกใช้แล้ว และปรากฏอยู่ในเอกสาร โบราณและวรรณคดีบ้าง ส่วนในภาษาถิ่นยังใช้พูดกนั อยู่ เช่น หลวก (ฉลาด) ภาษาถ่ินภาคเหนือ ใช้สื่อสารกัน ประจาวัน เช่น “อย่าหลวก (อวดฉลาด) ก่อนหมอ อย่าซอ (ร้องเพลง) ก่อนป่ี” ส่วนคาว่าสูนั้นชาวอีสานยังใช้ พูดกันประจาวนั เชน่ “บ่ไปนาสหู รอก” (ไม่ไปกบั พวกเองหรอก) 3. ศัพท์สูญไปบางส่วน หมายถึงคาศัพท์โบราณที่ใช้อยู่ในสมัยสุโขทัย (ในศิลาจารึกและไตรภูมิพระ รว่ ง) นั้นเป็นคาอสิ ระมคี วามหมายเฉพาะ แต่ในปจั จุบนั ไม่ใชเ้ ปน็ คาอสิ ระ พบแตใ่ นคาประสมนัน่ คือ คาศพั ท์ที่ ใชอ้ ิสระ (คาโดด) นัน้ ได้สญู ไป คงเหลอื เป็นส่วนหนึ่งของคาประสม เชน่ ยิน แปลว่า รสู้ ึก, รับรู้ พบใชเ้ ป็นคาอิสระในไตรภูมิพระรว่ งจานวนมาก เช่น ให้รู้อันยินอันเจ็บอันปวด (หน้า 92) ยินรกั ยินใครหนักหนา (หนา้ 106) แลยนิ ละอายแกค่ าอันทา่ นมาชวน (หนา้ 96) แลยนิ หลากยนิ ดที ุกคน (หน้า 51) ในปัจจุบันเราใช้คาว่า ได้ยิน (รับรู้ทางหู) ซึ่งความหมายแคบลง ส่วนคาว่ายินดียินร้าย เป็น คาประสมท่ยี งั รักษาความเดิมไว้ (รสู้ ึก รับร้)ู และไม่พบใช้เป็นคาอิสระวา่ ยิน (รู้สึก รบั ร)ู้ ในปัจจุบนั เคียด แปลว่า โกรธ พบใช้เป็นคาอิสระในไตรภูมิพระร่วง เช่น บ่มิให้เคียดอันจะเสียบุญ (ไตรภูมิ พระรว่ ง หนา้ 91) หรอื เหตวุ า่ บ่มไิ ด้ขงึ้ เคียด (ไตรภูมิพระร่วง หน้า 114) - บัดน้ีพ่ี ให้ปัตยเปนทาน ให้บั นดาลคงเคียด ชาวสีพีกัน เกียดพิ โรธโกรธขับไกล (มหาชาติคาหลวง หมิ พานต)์ - ข้าแต่ ป่ิ น เกล้าเจ้าหั วเอ๋ย บั ด นี้ สี พี เขาคุม เคียด เกียด จัก กระท าโท ษ พ ระองค์ (มหาชาตคิ าหลวง หิมพานต์) - ก็เอากลออมน้ากรดยด (กระเดียด) คยด (เคียด) ในใจหญิกหญิก ไห้กสิกกสิกไปพลาง (มหาชาตคิ าหลวง ชชู ก) - เชอญแม่มาสงวนสภาศ (สมพาส) อย่าคยด (เคียด) คาดแก่กัน อ่อนฮา (มหาชาติคาหลวงชู ชก) ในปัจจุบันใช้เป็นคาประสม เช่น เคียดแค้น ข้ึงเคียด โกรธเคียด ซึ่งความหมายเปล่ียนไปเล็กน้อย คือ ลดความหนักแน่นลงมา ส่วนในภาษาถิ่นภาคอีสานยังใช้พูดกันในชีวิตประจาวัน เช่น อย่าเคียดข้อยเด้อ (อย่า โกรธฉันนะ) ภาษาถ่ินภาคเหนอื ยงั ใช้พดู ในชีวติ ประจาวันเช่นกนั แตอ่ อกเสียงเป็น “เก๊ียด” การพัฒนาคาศพั ท์โดยวิธีประสมคา(การเพิม่ ศพั ท์ดว้ ยวธิ กี ารสรา้ งคา)

32 ภาษาคาโดด มีวิธีสร้างคาศัพท์โดยวธิ ีการนาคามูลมารวมกันเพ่อื ให้เป็นคาศัพท์ใหม่ มีความหมายใหม่ ซึ่งต่างจากตระกูลภาษาท่ีมีวิภัติปัจจัย ซ่ึงสร้างคาศัพท์โดยวิธีเติมวิภัตติ หรือปัจจัย เกิดคาศัพท์ใหม่ มี ความหมายใหม่ การสร้างคาศพั ท์ของภาษาไทยโดยวธิ คี าประสม (คาซ้อน คาซ้า คาคู่) นนั้ บางครัง้ ก็มีข้อจากัด อยู่มาก เน่ืองจากคามูลนั้นมีความหมายไมก่ ว้างขวางและซับซ้อนมากนัก จึงไม่สามารถจะสร้างคาศัพท์ใหม่ให้ มีแง่มุมความหมายตรงกับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลในสภาวะเหตุการณ์ใหม่ วิทยากรใหม่ๆ ที่ก้าวหน้า จึงใช้ วิธีเพ่ิมคาศัพท์โดยการยืมคา (ภาษาอังกฤษ จีน บาลี สันสกฤต เขมร)ซ่ึงการยืมคาเป็นการพัฒนาคาศัพท์ของ ภาษาไทยวิธีหน่ึง และมีความสาคัญไม่น้อยกว่าการพัฒนาคาศัพท์โดยวิธีสร้างคาประสม การสร้างคาประสม นัน้ เปน็ การเพ่ิมคาศพั ท์ตามระบบไวยากรณภ์ าษาไทย สงั คมไทยในสมัยโบราณน้ัน มีความจาเป็นจะต้องใช้คาศัพท์ส่ือสารกันไม่มากนัก คร้ันเม่ือสังคมเจริญ พัฒนามากขึ้น มีการสร้างสรรค์เครื่องมือเคร่ืองใช้ในการดารงชีพมากข้ึน จึงจาเป็นจะต้องเพ่ิมคาศัพท์มาใช้ เรียกส่ิงของต่างๆ ชาวไทยก็สร้างคาศัพท์ข้ึนมาโดยระเบียบวิธีของภาษาไทย คือนาคามูลมาประสมกันเพื่อให้ เกิดคาศัพท์ใหม่ใช้กันอย่างกว้างขวางต่อมา คาศัพท์เหล่านั้นใช้สืบต่อกันมาบ้าง เลิกใช้บ้าง และมีการสร้าง คาศพั ทใ์ หม่เพิ่มเตมิ อีกบา้ ง ซ่งึ เป็นธรรมชาตขิ องภาษาทุกชาติทกุ ภาษา 1. ประเภทของคาประสม จากการศึกษาคาประสมท่ีสร้างข้ึนมาใช้สื่อสารกันในภาษาไทยนั้น พบว่าความหมายของคาประสม (คาศัพท์ใหม่) นั้น จะมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคามูลอยู่ นั่นคือ ความหมายของคาประสมนั้นจะมีลักษณะ เด่นๆ ทางด้านความหมายของคามูลท่ีประกอบเป็นคาประสม แต่กระน้ันก็ตามคาประสมบางประเภทมี ความหมายต่างไปจากคามูลมากจนหาลักษณะเด่นของคามูลท่ีประกอบเป็นคาประสมไม่ได้ก็มี หากพิจารณา ความหมายของคาประสมและลักษณะเดน่ ของคามลู แลว้ พบวา่ มีคาประสม 3 ประเภท ดังน้ี 1.1 คาประสมที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องด้วยคามูล คือความหมายของคาประสมน้ันจะแสดง ความหมายเด่นๆ ของคามูล น่ันคือ คาหลักท่ีอยู่ข้างหน้าจะแสดงความหมายเด่นกว่าคารองซึ่งอยู่ข้างหลัง คา ประสมประเภทน้ีเป็นคาประสมท่ีมจี านวนมากทีส่ ดุ เช่น - สินจา้ ง สนิ สอด สนิ ไถ่ สนิ สมรส สนิ เดมิ สินบน สินทรัพย์ สินเชือ่ - ชาวบ้าน ชาวเมอื ง ชาวเขา ชาวดอย ชาวประมง ชาววงั ชาวไร่ ชาวนา ชาวไทย ชาวจีน ชาว เขมร ชาวลาว ชาวพม่า - นักเรยี น นกั รอ้ ง นกั รบ นกั เลง นกั กฬี า นักวิง่ นกั ลว้ ง นกั ดนตรี นักมวย - แม่ค้า แม่บ้าน แม่ครัว แม่เล้ียง แม่ม่าย แม่คุณ แม่เล้า แม่ยาย แม่มด แม่นม แม่ซื้อ หรือมี ความหมายคลี่คลายออกไป เช่น แม่ทัพ แม่กอง แม่เหล็ก แม่แม่ยาย แม่มด แม่นม แม่ซ้ือ หรือมีความหมายคล่ีคลายออกไป เช่น แม่ทัพ แม่กอง แม่เหล็ก แม่งาน แม่แรง แม่พิมพ์ แมบ่ ท - ของดี ของขวญั ของกลาง ของคาว ของร้อน ของลับ ของวา่ ง ของหวาน ของใช้

33 - ของอ้ ขอตวั ขอโทษ ขอทาน ขอรอ้ ง ขอรบั ขอแรง - ใจดี ใจร้อน ใจเร็ว ใจร้าย ใจพระ ใจจืด ใจดา ใจโหดเห้ียม ใจเย็น ใจน้อย บางครั้งใช้คามูล สบั กนั มีความหมายตา่ งออกไป เช่น ดีใจ ร้อนใจ เย็นใจ น้อยใจ - นา้ ใจ นา้ ตา นา้ คา นา้ ยา นา้ นงิ่ นา้ เน่า น้ากรด น้าสม้ น้าหวาน นา้ เยน็ - ค่แู คน้ คู่กดั คู่หู คู่ขา คคู่ ิด คูใ่ จ คูอ่ าฆาต คู่เคียง คู่สร้าง คมู่ อื - ขวญั ใจ ขวัญหาย ขวัญเสีย ขวญั หนี ขวัญออ่ น ขวญั ตา 1.2คาประสมที่เน้นคาเน้นความหมายให้เด่นชัดย่ิงขึ้น คาประสมประเภทนี้มักจะสร้างจากคามูลท่ีมี ความหมายใกล้เคียงกัน โดยมีวัตถุประสงค์เน้นคาให้ความหมายเด่นชดั ยงิ่ ข้ึน เน่ืองจากคาบางคามเี สียงใกล้กัน ขณะท่ีพูดนั้น ผู้ฟังอาจจะฟังไม่ชัด ผู้พูดจึงหาคาท่ีมีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาพูดซ้อนกัน เพื่อ เน้นย้าให้ฟังเข้าใจดีข้ึน เช่น ใหญ่โต ย้ิมแย้ม ชักนา การใช้คาที่มีความหมายเหมือนกันมาย้าคาเน้นคานานๆ เขา้ จงึ เกดิ เป็นคาประสม (คาซอ้ น) ขนึ้ มาอีกกลุม่ หน่งึ เช่น - ด่าทอ ดา่ แช่ง สาปแชง่ - ยิม้ ย่อง ยิ้มแยม้ ย้ิมหัว - เยาะเย้ย เย้ยหยนั เยาะเย้า ยว่ั เย้า - ตอ่ ตี ต่อสู้ ตอ่ ต้าน - ถามไถ่ สอบถาม - ติดต่อ ตดิ ตาม ตดิ พัน - เกบ็ งา เกบ็ ออม เก็บหอม 1.3 คาประสมท่ีมีความหมายเชิงอุปมา คือคาประสมที่มีความหมายต่างไปจากคามูลมาก นั่นคือ ความหมายของคาประสมนั้นจะใชค้ วามหมายเชิงเปรยี บเทยี บของคามูล เชน่ - ขม่ ขี่ (ข่ม-กด, ทบั ข-่ี นง่ั ครอ่ ม) แปลว่า กดฐานะให้ตา่ ลง - ข่มเหง(ขม่ -กด, ทับ เหง-บีบ) แปลว่า ใช้กาลงั รังแก - ขม่ ขนื (ขม่ -กด, ทับ ขนื -ฝืน) แปลว่า บังคบั ให้ทาตาม - อบรม (อบ-ทาใหก้ ล่นิ หอม รม-ใชค้ วามรอ้ นทาให้แห้ง) แปลวา่ สงั่ สอน ขดั เกลา - เสยี ตวั (เสีย-เส่ือมคุณภาพ ตวั -ตน, รปู ) แปลว่า (ผหู้ ญิง)ถกู ชายรว่ มประเวณี - เสยี หาย (เสีย-เส่ือมคุณภาพ หาย-ไม่ปรากฏ) แปลว่า เสอ่ื มทราม สูญไป - เดือดร้อน (เดอื ด-น้ารอ้ นพล่งุ ขึ้น ร้อน-ตรงขา้ มกับเย็น) แปลว่า ไม่เป็นสุข ลาบาก - ยนื ยนั (ยนื -ตัง้ อยู่ ยัน-ดนั , คา้ จนุ ) แปลว่า คงคาพูดโดยแนน่ อน รับรอง 2. การสรา้ งคาโดยวิธปี ระสมคา คาประสม คือการสร้างใหม่ มีความหมายใหม่ข้ึนมาใช้พูดจากัน เน่ืองจากมนุษย์มีความจาเป็นที่ จะต้องใช้คาจานวนมากขึ้นในการส่ือสารกนั หรือต้องการแง่ความหมายท่ลี ะเอียดอ่อนข้ึนจึงต้องคิดคาศัพท์ข้ึน

34 ใหม่ หรือนาคาเดิมท่ีมีอยแู่ ล้วมาประสมกันเพื่อให้เกิดคาท่ีมแี ง่ความหมายใหม่ วธิ ีการนาคาเดิมมาประสมกนั น้ี เรยี กว่า “คาประสม” ซึ่งหมายความรวมถึง คาซอ้ น คาคู่ คาซ้า ด้วย ลกั ษณะดังกล่าวเป็นการพัฒนาคาไทยให้ มพี อใชใ้ นการสือ่ สาร และมีแงค่ วามหมายตรงกบั ใจผู้พดู คาเดิมที่มารวมกันเป็นคาประสม เรียกว่า “คามูล” โดยทั่วไปจะใช้คามูลท่ีมีความหมายเด่นเป็น คาหลกั วางไว้ข้างหน้า และคามูลท่ีมลี ักษณะรองมาไว้หลัง คาประสมทเี่ กดิ ใหม่น้ีแม้จะมีความหมายใหม่ แตจ่ ะ ยังมีเค้าความหมายเดิมของคามูลเหล่านั้นอยู่ เช่น ไฟฟ้า (มีแสง) ไฟขีด (มีแสง ความร้อน) แม่น้า แม่ทัพ แม่เหล็ก แม่งาน แม่เลา้ (แม-่ หัวหน้า เป็นใหญ)่ ฯลฯ 2.1 คาประสมเช่น โรงไฟฟา้ โรงงาน โรงรถ โรงอาหาร โรงนา รถไฟ รถราง รถไฟฟ้า รถยนต์ รถเกง๋ กล้วยแขก เรอื นหอ น้าปลา น้าตาล นา้ หมาก น้าตา นา้ ใจ น้าคา น้าฝน นา้ ยา เรืออวน เรอื แจว เรือยนต์ เรอื หางยาว เรอื ไฟ หบี เสียง ตหู้ นังสอื โอ่งน้า ห้องนา้ 2.2 คาซอ้ น คือคาประสมประเภทหน่งึ โดยนาคามลู ที่มีความหมายใกล้เคียง กนั หรือเหมือนกันมารวมเป็นคาใหม่ มคี วามหมายใหม่ จึงเรยี กต่างออกไปว่า “คาซ้อน” คามูลท่ีมารวมกันนั้น มักจะเป็นคามรดก รวมกับคาเกิดใหม่ จึงมักแสดงความหมายของคาให้ชัดเจนย่ิงข้ึน เช่น อ้วนพี เส่ือสาด ฉับ ไว ฝดื เคือง เป็นตน้ 2.2.1 คาซ้อนที่แสดงความหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือเน้นความหมายของคามูลท้ัง สอง ซงึ่ มักจะเกดิ จากคามูลท่เี ป็นคามรดกหรอื คาไทยถิ่น รวมกับคาเกดิ ใหม่ เช่น เกบ็ หอม เติบโต อ้อื ฉาว อึงม่ี ตัดสนิ แตกฉาน เข็ดหลาบ แปดเปอื้ น เกยี่ วขอ้ ง ติดแจ 2.2.2 คาซอ้ นท่ีแสดงความหมายเชงิ อุปมา บางครั้งก็ไมแ่ สดง เค้าความหมายของคามูล แตเ่ ป็นความหมายใหม่โดยนยั คาเหล่าน้ีมกั จะเกิดจากคาไทยปจั จบุ นั เชน่ ยนื ยัน ซดั ทอด โต้แย้ง ขาดแคลน ชกั จงู สอดแนม ขดั แย้ง ลว่ งเกนิ หยาบคาย คนุ้ เคย ซื่อตรง เดือดรอ้ น แก้ไข กดี กัน เบียดบงั หลอกลวง 2.3 คาซา้ คอื การออกเสียงคามูลซา้ กัน 2 ครงั้ ขนึ้ ไป คาซ้านี้สรา้ งขึ้น

35 เพ่อื เน้นความหมายของคา และบางครัง้ ยงั มคี วามหมายตา่ งไปจากคามูลดว้ ย เช่น พๆี่ นอ้ งๆ ผวั ๆ เมียๆ ลกู ๆ หลานๆ งูๆ ปลาๆ เพ่ือนๆ หนุ่มๆ สาวๆ ใกล้ๆ ไกลๆ สงู ๆ ดาๆ ขาวๆ เบาๆ คอ่ ยๆ หนักๆ เลวๆ บางคร้งั ซ้าคาเพ่ือเนน้ ความหมาย โดยเปลย่ี นเสียงคาหนา้ เป็นเสยี งตรี เช่น ดด๊ี ี บ๊อยบอ่ ย บา๊ งบาง ดา๊ ดา เบ๊าเบา แด๊งแดง ค๊าวขาว เคย้ี วเขยี ว แรง้ แรง คม้ คม ซ้วยสวย ซา้ วสาว ฯลฯ สรุป ก า ร เป ลี่ ย น แ ป ล ง ด้ า น ค า ศั พ ท์ ห ม า ย ถึ ง ค า ใด ค า ห น่ึ ง เป ลี่ ย น แ ป ล ง ไป จ า ก เดิ ม ซ่ึงการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดจากระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป หากไม่ได้ใช้คาน้ันแล้ว คาศัพท์เหล่านั้นก็ย่อม กลายเป็น ศัพท์สูญไป และเมื่อมีศัพท์ที่สูญไป ก็ย่อมมีการเพิ่มคาศัพท์เข้ามาใช้เพ่ือให้เพียงพอต่อการส่ือสาร และเขา้ กบั ยุคสมัยท่ีเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น การเพิ่มศัพท์โดยการสร้างคา การเพิ่มศัพท์โดยการยืมภาษาอ่ืน มาใชแ้ ทนท่ศี ัพทส์ ญู แบบฝกึ หัด 1. การสูญศัพทเ์ กดิ จากสาเหตุใด 2. การเพม่ิ ศพั ท์เกดิ จากเหตผุ ลใด 3. ลกั ษณะของศัพท์สญู มอี ะไรบา้ งอธบิ าย 4. จงวิเคราะห์การเปล่ียนแปลงด้านการสูญศัพท์ จากหลักศิลาจารึก หลักท่ี 1 ของพ่อขุนรามคาแหง (วโิ รจน์ ผดงุ สุนทรารักษ,์ 2540:87) พรอ้ มอธิบายลักษณะการเปลย่ี นแปลง

36 5. จากเนื้อความจารึกหลักท่ี 1 ในข้อ 2 นักศึกษาคิดว่าคาใดสามารถนามาสร้างคาแบบไทยได้ ยกตัวอยา่ งการสร้างคาให้ชัดเจน 6. นอกจากการสร้างคาแบบไทยแล้ว ยังมีวิธีการเพ่ิมศัพท์ในภาษาไทยด้วยวิธีอื่นหรือไม่ อย่างไร จง อธบิ าย 7. นักศึกษาคดิ วา่ คาศัพทเ์ ก่ยี วกับอะไรทม่ี แี นวโนม้ วา่ จะกลายเปน็ ศัพท์สญู อธบิ ายและยกตวั อยา่ ง

37 เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. (2548). ประชุมจารึก ภาค 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นต้ิงแอนด์ พบั ลิชช่ิง จากดั (มหาชน). ธวัช ปุณโณทก. (2553).วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย.กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั . วิโรจน์ ผดุงสุนทรารักษ์. (2540). อักษรไทยและอักษรขอมไทย.กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคาแหง. ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา, พิมพ์คร้ังท่ี 2. กรงุ เทพฯ: บริษัท สหมติ รพรนิ้ ตงิ้ อแนดพ์ บั ลสิ ชง่ิ จากัด.

38

40 แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 4 เรือ่ ง การเปลี่ยนแปลงด้านความหมาย หัวข้อเน้ือหา 1. ปจั จัยท่ีทำให้เกดิ กำรเปลี่ยนแปลงทำงควำมหมำยของคำ 2. กำรพจิ ำรณำลกั ษณะกำรเปลย่ี นแปลงทำงควำมหมำย 3. กำรเปล่ียนแปลงควำมหมำย 3.1 ควำมหมำยแคบเข้ำ 3.2 ควำมหมำยกวำ้ งออก 3.3 ควำมหมำยย้ำยท่ี 4. สรปุ วตั ถปุ ระสงค์เชงิ พฤตกิ รรม เม่อื เรยี นบทเรียนน้แี ลว้ นักศึกษำสำมำรถแสดงพฤติกรรมต่อไปน้ี 1. สำมำรถอธบิ ำยปัจจัยทท่ี ำให้เกิดกำรเปลยี่ นแปลงทำงควำมหมำยของคำได้ 2. สำมำรถวเิ ครำะหค์ ำทีเ่ กดิ กำรเปล่ียนแปลงทำงควำมหมำยตำมลักษณะตำ่ งๆได้ วธิ สี อนและกิจกรรมการเรยี นการสอน 1. บรรยำยรำยละเอียดเน้ือหำจำกเอกสำร และ power pointเร่ืองกำรเปลี่ยนแปลง ภำษำด้ำนควำมหมำย 2. นักศึกษำสรปุ เนอ้ื หำ อภิปรำยแสดงควำมคิดเหน็ รว่ มกนั 3. นกั ศึกษำตอบคำถำมท้ำยบท 4. นักศึกษำวิเครำะห์กำรเปลี่ยนแปลงของภำษำด้ำนควำมหมำยจำกวรรณกรรมท่ี กำหนดให้นำเสนอชั่วโมงถัดไป สือ่ การเรยี นการสอน 1. เอกสำรประกอบกำรสอนวชิ ำ วิวฒั นำกำรภำษำไทยบทท่ี 4 2. เคร่ืองฉำยแผน่ ทบึ 3. คอมพิวเตอร์ , power point เรอ่ื ง กำรเปลี่ยนแปลงภำษำด้ำนควำมหมำย 4. แบบฝกึ หัด

40 การวดั และการประเมนิ ผล 1. สงั เกตพฤติกรรม 2. กำรมีสว่ นรว่ มในช้นั เรยี น 3. ตรวจแบบฝกึ หดั ท้ำยบท 4. กำรนำเสนอผลกำรวเิ ครำะหห์ น้ำช้นั เรยี น

41 บทที่ 4 การเปล่ียนแปลงด้านความหมาย ในกำรศึกษำกระบวนกำรเปล่ียนแปลงของคำศัพท์นั้น นักภำษำศำสตร์จะศึกษำกำรเปลี่ยนแปลง 2 ลักษณะ คือ 1) กำรเปล่ียนแปลงด้ำนเสียงของคำศัพท์ 2) กำรเปลี่ยนแปลงด้ำนควำมหมำย น่ันคือศึกษำว่ำ คำศัพท์หน่ึงๆ ในสมัยอดีตกบั ปัจจุบันนั้นใช้ควำมหมำยแตกต่ำงกันอยำ่ งไร หำกพบว่ำมีควำมหมำยแตกตำ่ งกัน มำกก็เรียกว่ำ “ควำมหมำยย้ำยท่ี” ส่วนคำที่ควำมหมำยแตกต่ำงกันไม่มำกนักคือคงควำมหมำยเดิมอยู่ส่วน หน่งึ กเ็ รียกกว่ำ “ควำมหมำยกว้ำงออก หรอื ควำมหมำยแคบเขำ้ ” ในกำรอธิบำยกำรเปลี่ยนแปลงควำมหมำยของคำศัพท์ในท่ีนี้จะอธิบำย 2 ลักษณะ คือ1) กำร เปลี่ยนแปลงควำมหมำยโดยสิ้นเชิง และ 2) กำรเปลย่ี นแปลงควำมหมำยของศพั ทบ์ ำงส่วน น่นั คือ ควำมหมำย เดมิ กับควำมหมำยปัจจุบันยังมีควำมหมำยเกย่ี วเนื่องกันทั้งควำมหมำยเดมิ และควำมหมำยใหม่(ธวัช ปุณโณทก ,2553 : 94-95) ปจั จัยท่ีทาให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงทางความหมายของคา ณฐั วรรณ ช่ังใจ (2555 : 145-147) ได้กล่ำวถงึ ปจั จัยที่ทำใหเ้ กิดกำรเปลี่ยนแปลงทำงควำมหมำยของ คำไว้ดังนี้ 1. ความเจริญกา้ วหนา้ ทางวิทยาการ นั่นคือ คำๆหน่ึงที่เดิมหมำยถึงส่งิ หน่ึงท่ีมีลักษณะรูปร่ำงและ คุณสมบัติที่แน่นอน ต่อมำควำมเจริญก้ำวหน้ำทำงวิทยำกำรทำให้ส่ิงน้ันมีรูปร่ำงคุณสมบัติเปล่ียนแปลงไป เช่น “ปำกกำ” เมื่อแปลตำมรูปศัพท์ จะหมำยถึงปำกของนกชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะแหลมเหมือนเครื่องมือท่ี ใช้เขียนซึ่งมรี ปู ร่ำงเดียวกบั ปำกของนก โดยต้องใสก่ บั ด้ำมใช้จุ่มหมึกเขียน นอกจำกนี้อำจเป็นเหตุให้ควำมหมำยของคำบำงคำที่มีหลำยควำมหมำยเกิดควำมล้ำสมัยและสูญ หำยไปในท่ีสุด น่ันคือ เดิมคำบำงคำมีควำมหมำยเพ่ือบ่งบอกลักษณะหรือคุณสมบัติบำงอย่ำง แต่เมื่อ วทิ ยำกำรท่ีเจริญก้ำวหน้ำมำกขึ้นจึงมีคำอ่ืนมำแทนท่ีทำให้ควำมหมำยของคำดังกล่ำวไม่เป็นที่นิยมใช้จนเส่ือม ควำมหมำยและสูญหำยไปในที่สุด เช่น คำว่ำ “บำท” เดิมมีควำมหมำยเก่ียวกับคำบอกเวลำ หมำยถึง ช่วงเวลำเท่ำกับ 1 ใน 10 ของชั่วโมง เท่ำกับ 6 นำที (รำชบัณฑิตยสถำน,2556 : 621 - 622) ซ่ึงเร่ิม ปรำกฏใช้ในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่นิยมดูเวลำจำกเงำแดดโดยใช้เท้ำเดินนับจำกเงำแดด น้ันนับเป็น 1 บำท 2 บำท แต่เม่ือไทยได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกรำวสมัยรัชกำลที่ 5 ที่อำศัยกำรดู เวลำจำกนำฬิกำตำมเข็มนำทีและช่ัวโมงแทน ดังนั้นควำมหมำยเก่ียวกับกำรบอกเวลำของคำว่ำ “บำท” จึง เกิดกำรเปล่ยี นแปลงในลกั ษณะสญู ควำมหมำยไปในท่ีสดุ 2. ความเปรียบ (Metaphor)กำรท่ีมนุษย์มองเห็นควำมคล้ำยคลึงของสิ่งใดส่ิงหนึ่ง จึงนำไป เปรียบเทียบกันในทำงใดทำงหนึ่ง อำทิ รูปร่ำง คุณสมบัติ ฯลฯ ส่งผลให้ควำมหมำยของคำกว้ำงออกไปมำก

42 ข้ึน เช่น คำว่ำ “น้อยหน่ำ” ตำมรูปศัพท์หมำยถึง ผลไม้ชนิดหนึ่งท่ีมีเปลือกขรุขระเป็นตำๆมีขนำดพอมือ สำหรับมือถอื ได้ (รำชบัณฑติ ยสถำน,2556:612)ดังนั้นผทู้ ี่ใช้ลูกระเบิดเห็นควำมคล้ำยคลงึ กนั ระหว่ำงลูกระเบิด กับลูกน้อยหน่ำ จึงใช้คำว่ำ “น้อยหน่ำ” ในควำมหมำยของระเบิดด้วยเหตุน้ีจึงทำให้ศัพท์ดังกล่ำวมี ควำมหมำยเพ่มิ มำกขึน้ 3. การใช้คาร่วมกัน คำๆหน่ึงท่ีใช้ร่วมกันกับอีกคำหนึ่งจนบ่อยคร้ัง อำจส่งผลให้เกิดควำมหมำย กว้ำงมำกขึ้น โดยนำควำมหมำยที่เกิดร่วมด้วยมำรวมไว้ ต่อมำคำดังกล่ำวสำมำรถใช้เด่ียวๆได้โดยมี ควำมหมำยแทนอีกคำหนึง่ ไดเ้ ลย ภำษำไทยมักพบกำรเปล่ียนแปลงลักษณะนี้ในคำซ้อน เช่นคำว่ำ “แพ้ชนะ” คำคู่เดียวกันน้ีใน สมัยก่อนคงใช้ “พ่ำยแพ้” คำว่ำ “พ่ำย” มีควำมหมำยว่ำ แพ้ แต่ควำมหมำยของคำว่ำ “แพ้” หมำยถึงชนะ ดงั ท่ปี รำกฏในศลิ ำจำรกึ ของพอ่ ขุนรำมคำแหงว่ำ “ตนกูพุ่งช้ำง ขุนสำมชนตัวชื่อมำสเมืองแพ้ ขุนสำมชนพ่ำยหนี พ่อกูจ่ึงข้ึนชื่อกูชื่อพระ รำมคำแหง” คำว่ำ “แพ้” ในที่น้ีคือ ชนะ แต่ในปัจจุบัน คำว่ำ “แพ้” หมำยถึง สู้ไม่ได้ ทนไม่ได้ ตรงกันขำ้ มกบั ชนะ นอกจำกนพ้ี บว่ำ คำบำงคำมีลักษณะเป็นคำซ้อน นนั่ คือ มีควำมหมำยเหมือนกัน แต่ต่อมำมีกำร เปล่ียนแปลงจำกลักษณะคำซ้อนเป็นคำเดี่ยว และมีควำมหมำยใหม่เช่นคำว่ำ “เสียหำย” ในปัจจุบันคำว่ำ “เสีย” ในภำษำกรุงเทพฯ เมื่อใช้เป็นคำเดี่ยวก็ไม่ได้มีควำมหมำยว่ำ หำย แต่ใช้ในควำมหมำยวำ่ อยู่ในสภำพ ท่ีทำงำนไม่ได้หรือใช้งำนไม่ได้ นอกจำกนี้คำว่ำ “เสียหำย” ก็มีควำมหมำยใหม่ ซึ่งทำให้เสียหำยไม่ได้อยู่ใน ลักษณะคำซ้อนต่อไป 4. คาต้องห้าม(Taboo words) คำบำงคำอำจเป็นคำที่ต้องห้ำม ซ่ึงอำจใช้แล้วมีควำมหมำยส่อไป ในทำงที่ไม่ดีหรือมีควำมไปในทำงลบ ดังน้ันคนเหล่ำนี้จึงไม่สำมำรถใช้ได้ จึงเล่ียงไปในควำมหมำยอื่นแทน เชน่ คำว่ำ “แก่” มีควำมหมำยไปในทำงลบ หมำยถึง ไร้ประโยชนห์ รือไรส้ มรรถภำพ เพอ่ื เล่ียงควำมหมำย ทีส่ ่อไปในทำงลบน้จี ึงใช้คำวำ่ “ผ้สู งู อำยุ” แทนคำว่ำ คนแก่ หรอื คำว่ำ “สลมั ” เปล่ียนมำใชค้ ำว่ำ “ชุมชน แออดั ” แทน เป็นตน้ การพจิ ารณาลกั ษณะการเปล่ียนแปลงทางความหมาย กำรเปลี่ยนแปลงทำงควำมหมำย อำจพิจำรณำได้ 2 ลักษณะ สรุปได้ดังน้ี (ดุษฎีพร ชำนิโรคศำนต์, 2526: 44) 1. พิจารณาความหมายโดยตรงของคา กล่ำวคือ คำหนึ่งท่ีมีควำมหมำยอย่ำงหนึ่งเกิดกำร เปล่ยี นแปลงยำ้ ยท่คี วำมหมำยเป็นอีกควำมหมำยหน่ึง เชน่

43 สนิ สอด ควำมหมำยเดิม สนิ บน ควำมหมำยปจั จุบัน ทรัพย์สินที่ให้แก่บิดำมำรดำหรือผู้ปกครองฝ่ำยหญิงที่จะ แต่งงำนเปน็ ค่ำนำ้ นมข้ำวปอ้ น หรือควำมหมำยด้ำนกฎหมำย หมำยถงึ ทรัพย์สินซึ่ง ฝ่ำยชำยให้แก่บิดำ มำรดำ ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ำยหญิงแล้วแต่กรณี เพ่ือตอบแทนกำรทหี่ ญิงยอมสมรส 2. พิจารณาจากบริบทของคา กล่ำวคือ คำอำจจะปรำกฏบริบทที่ต่ำงไปจำกเดิมถ้ำคำหนึ่งเคย ปรำกฏในบริบทท่ัวๆไปที่มีใช้อย่ำงกว้ำงขวำง หรือหลำยควำมหมำย แต่ต่อมำคำดังกล่ำวปรำกฏในบริบทที่ แคบกว่ำเดิมหรือมใี ช้น้อยลง ซ่ึงคำนั้นจะมคี วำมหมำยแคบเขำ้ หรอื คำหนึง่ เคยปรำกฏในบริบทเฉพำะคำนัน้ มี ควำมหมำยแคบ แต่ต่อมำคำนั้นปรำกฏในบริบทกว้ำงกว่ำเดิม มีใช้เพิ่มมำกขึ้น คำน้ันจะมีควำมหมำยกว้ำง ออก การเปลย่ี นแปลงทางความหมาย การเปลี่ยนแปลงความหมาย หมำยถึง ควำมหมำยของคำใดคำหน่ึงมีกำรเปล่ียนแปลงไปโดยมี ลักษณะเพิ่มข้ึนหรือลดน้อยลง รวมไปถึงอำจมีควำมหมำยเปลี่ยนไปจำกเดิมโดยสิ้นเชิง ซึ่งคำในภำษำไทย ต้งั แต่สมยั สุโขทัยจนถงึ สมยั ปัจจบุ ันมกี ำรเปล่ียนแปลงทำงควำมหมำยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ(ณฐั วรรณ ช่ัง ใจ, 2555 : 148-153) ดังนี้ 1. ความหมายแคบเข้า หมำยถึง ส่ิงท่ีคำนั้นมีควำมหมำยถึงหรืออ้ำงถึง โดยมีจำนวน ประเภท ปรมิ ำณหรือขอบเขตทน่ี ้อยลง ซึ่งคำทมี่ ีควำมหมำยแคบเข้ำมีลกั ษณะต่ำงๆ ดงั น้ี 1.1 คำซ่ึงสมัยหนึ่งเคยมีควำมหมำยกว้ำง ต่อมำเปล่ียนไปมีควำมหมำยเฉพำะเจำะจงข้ึน เชน่ คำวำ่ ขบั แปลวำ่ บงั คบั ข่ี ไลต่ อ้ น (ในปจั จบุ นั มีควำมหมำยว่ำควบคุมพำหนะ แต่สมยั โบรำณใช้กับสัตว์พำหนะ) คำว่ำ ขับ (บังคับ ขี่ ไล่ต้อน) เป็นคำศัพท์โบรำณใช้สืบต่อมำจนสมัยปัจจุบัน ซ่ึง ปัจจุบันน้ันมีควำมหมำยเฉพำะบังคับควบคุมพำหนะเท่ำนั้น ไม่ใช้ขับกับสัตว์ ขับ ในสมัยสุโขทัยและสมัย อยุธยำน้ันใชใ้ นควำมหมำยบงั คบั ควบคมุ ท้ังสตั วแ์ ละพำหนะ ตวั อยำ่ ง - ขุนสำมชนเจ้ำเมืองฉอดมำท่อเมืองตำก พ่อกูไปรบขนุ สำมชนหัวซ้ำย ขนุ สำมชนขับมำหวั ขวำ ขนุ สำมชนเกลื่อนเข้ำ ไพรฟ่ ้ำหน้ำใสพ่อกหู นีญญำ่ ยพำ่ ยจแจ(้ น) กูบ่หนีกขู ี่ชำ้ งเบกพลกูขับเข้ำ ก่อนพอ่ กู กตู อ่ ช้ำงด้วยขนุ สำมชน (ศิลาจารึกหลกั ท่ี 1) - เจ้ำศรีศรทั ธำรำชจุลำมุนีจงึ ขับแมช่ ้ำงไล่ตำมตี (ศิลาจารกึ หลักที่ 2) - มำตรำหน่ึง ขับฝูงวัวไปลุยเข้ำ (ข้ำว) ท่ำนเสียก็ดี ขับฝูงควำยไปลุยเข้ำ (ข้ำว) ท่ำนเสียก็ดี ขับโขลง(ช้ำง)ลุยเข้ำ (ข้ำว) ท่ำนเสียก็ดี ท่ำนให้ไหมโดยระบิลเมือง (กฎหมายตราสามดวง ลกั ษณะเบ็ดเสรจ็ หนา้ 382)

44 - อน่ึงผู้ใดบังอำจขับล้อเกวียนเหยียบลัดเข้ำ(ข้ำว) ท่ำนเมื่อเป็นรวงไซร้ ท่ำนให้เจ้ำไร่นำเจ้ำนำ ปลดเอำกระบือโคเทียมเกวียนมำนั้นไว้ตอนหน่ึง แลขำเกวียนขำหนึ่งค่ำเท่ำใดให้ไหมเท่ำนั้น (กฎหมายตราสามดวง ลักษณะเบ็ดเสรจ็ หนา้ 382) คำวำ่ ขับ ในสมยั โบรำณมคี วำมหมำยว่ำ ควบคุมสตั ว์และพำหนะ สมัยหลงั ตอ่ มำ (กำหนดยุคสมัยไม่ได้) จึงมีกำรแยกคำมำใช้ให้เหมำะสมยิ่งขึ้น คือใช้คำว่ำ ขี่ ไล่ ต้อน ในควำมหมำยควบคุม บังคับสัตว์ และใช้คำว่ำ ขับ ในควำมหมำยควบคุมบังคับพำหนะ เช่น ขับรถ ขับเรือ ขับเครื่องบิน ขับเกวียน ฯลฯ และคำทีม่ คี วำมหมำยเกย่ี วเนอ่ื งกันอกี จำนวนหนึง่ คือ ขบั ไล่ ขับข่ี ขับเค่ียว เป็นต้น คำวำ่ หนุ่ม แปลวำ่ วยั รนุ่ วัยกำยำ (ปจั จบุ นั แปลวำ่ วยั ร่นุ วัยกำยำ เพศชำย แตใ่ นสมัย โบรำณหมำยถึงทั้งเพศชำย เพศหญิง) คำว่ำ หนุ่ม เป็นคำมรดกใช้ในภำษำไทยถิ่นอ่ืนๆ ด้วยและยังคง ควำมหมำยเดิมว่ำ วัยรุ่น วัยกำยำ ใช้ท้ังเพศชำย เพศหญิง แต่ในภำษำมำตรฐำนปัจจุบันคำว่ำ หนุ่ม นั้น หมำยถึงวัยรุ่น วัยกำยำ ใช้เฉพำะเพศชำย ส่วนเพศหญิงเรำจะใช้ว่ำ สำวและมักจะใช้คู่กันว่ำวัยหนุ่มสำว ส่วน ในสมัยสโุ ขทยั นนั้ ใช้ หน่มุ หมำยถงึ วยั รนุ่ วยั กำยำ ทง้ั สองเพศ ดงั ตัวอยำ่ ง - หญิงท้ังหลำยอันยังหนุ่ม และจะควรมีลูกนั้น ที่ใต้ท้องน้อยภำยในแห่งตน แร่งมำเกิดนั้น มีก้อนเลอื ดก้อนหน่งึ (ไตรภมู ิพระร่วง หนา้ 38) - เมื่อเขำยังหนุ่มอยู่นั้นก็ดี เมื่อเขำจะแรกรักใคร่กันก็ดี เมื่อเขำแรกได้กันเป็นผัวเป็นเมียก็ดีแล เขำอยดู่ ว้ ยกนั แลเสพเมถุนไสแ้ ต่ ๗ วันนนั้ แล (ไตรภูมิพระร่วง หนา้ 46) - (เทพธิดำ) ประดับด้วยสนิมอำภรณ์รุ่งเรือง แลมีรูปโฉมโนมพรรณหนุ่มแลงำมดังสำวอันได้ 16 ปีอย่ชู ว่ั ตนแล (ไตรภูมพิ ระร่วง หนา้ 100) - แลมีรูปโฉมโนมพรรณอันงำมด่ังสำวอันได้ 16 เข้ำ แลรูปเขำน้ันบ่ห่อนรู้เฒ่ำรู้แก่แลหนุ่ม ดังน้ันชว่ั ตนทุกๆ คนแล (ไตรภูมิพระรว่ ง หนา้ 45) คำว่ำ หนุ่ม (วัยรุ่น วัยกำยำ) ใช้ในยุคเดียวกับคำว่ำ บ่ำว-สำว (มีควำมหมำยว่ำชำย-หญิง) ภำยหลังสมัยอยุธยำคำว่ำ บ่ำว เปลี่ยนควำมหมำยไปเป็นบ่ำวไพร่ (คนรับใช้) คำว่ำ สำว (แปลว่ำ หญิง) ไม่มี คำแสดงเพศชำยเป็นคู่ จึงนำคำว่ำ หนุ่ม (วัยรุ่น วัยกำยำ) มำใช้เป็นคำคู่ว่ำ หนุ่มสำว เป็นผลให้คำว่ำ หนุ่มใน ยุคหลังต่อมำเปล่ียนควำมหมำยเป็น “เพศชายวัยกายา”ในขณะเดียวกันคำว่ำ สำว ก็เปล่ียนควำมหมำยเป็น “วัยกายาของเพศหญงิ ” ในภำษำมำตรฐำนปัจจุบันจงึ ใช้ หนุ่ม ในควำมหมำยว่ำ เพศชำย วยั กำยำเพศเดียว (ไม่รวมเพศหญิงเหมอื นควำมหมำยสมัยโบรำณ) และมีคำที่เกี่ยวเน่ืองกันอีก เช่น หน่มุ น้อย วัยหนุ่ม หนุ่มแน่น หนมุ่ เหน้ำ และหนมุ่ เหน้ำสำวสวย หนมุ่ สำวพรำวเสน่ห์ เป็นต้น 1.2 คำซึ่งสมัยหนึ่งเคยมีหลำยควำมหมำย ต่อมำมคี วำมหมำยนอ้ ยลง เชน่ ลมุ่ แปลวำ่ ตำ่ ใต้ ขำ้ งล่ำง (ปัจจุบันหมำยถงึ พ้ืนดินตำ่ เรยี กว่ำที่ลุม่ ท่ีดอน) คำวำ่ ลมุ่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook