สว่ นท่ี 2 เป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื เพราะฉะนั้น การดำเนินการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายแต่ละเป้าหมายหลักจึงมีความเชื่อมโยง และ ส่งผลซึ่งกันและกันด้วย นอกจากนั้น การพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งเน้นให้ ความสำคญั กบั การพัฒนาในระดับพื้นท่ี ชุมชน ทอ้ งถนิ่ เพ่ือเป็นการสร้างความตระหนัก กระตุ้นให้ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมขน ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนารูปแบบหรอื แนวทางในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ด้วยตนเอง จะทำให้การแก้ไขปัญหานั้น เป็นไปอย่างสอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นท่ีและมีความยั่งยนื ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถติดตามความกา้ วหน้าของการ ดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบในแต่ละเป้าหมายย่อยจึงมีการ กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน (Global SDG indicators) เพื่อการติดตามและประเมินผล SDGs ประกอบด้วย ตวั ช้ีวดั 11 ตวั ช้วี ัด 2. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย : ยทุ ธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) การพฒั นาประเทศไทยนับตง้ั แต่แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เป็น ตน้ มา ไดส้ ง่ ผลใหป้ ระเทศมกี ารพฒั นาในทุกมิติ ท้ังในด้านเศรษฐกจิ ทป่ี ระเทศไทยไดร้ ับการยกระดับเป็น ประเทศในกลุ่มบนของกลุม่ ประเทศระดบั รายไดป้ านกลาง ในด้านสังคมที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนส่งผลให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจน และในด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศ ไทยมีข้อได้เปรียบในความหลากหลายเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการ พัฒนาที่สำคัญ อาทิ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2560 ที่ร้อยละ 3.9 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกวา่ ศักยภาพ เมอื่ เทยี บกบั ร้อยละ 6.0ตอ่ ปี ในชว่ งเวลาเกอื บ 6 ทศวรรษทผี่ า่ นมา โดยมสี าเหตุหลักจากการ ชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศและสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ โครงสร้าง เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภาคบริการและภาค เกษตรมผี ลติ ภาพการผลิตในระดับต่ำ ขาดการนำเทคโนโลยีเขา้ มาเพ่ิมประสิทธภิ าพในการผลิตประกอบ กับแรงงานไทยยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและสมรรถนะที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อน การพฒั นาของประเทศ นอกจากนั้น ศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย สำคญั ต่อการพัฒนาประเทศ แมว้ า่ การเขา้ ถงึ ระบบบริการสาธารณะ การศกึ ษา บริการสาธารณสขุ โครงสร้าง พื้นฐานต่าง ๆ และการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ ของคนไทยมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมี ปัญหาเรื่องคุณภาพการให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำ ให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ขณะที่ปัญหาด้านความยากจนยังคงเป็น ประเดน็ ทา้ ทายในการยกระดบั การพฒั นาประเทศใหป้ ระชาชนมีรายไดส้ ูงขนึ้ และแกป้ ญั หาความเหล่ือม ล้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการวางกลยุทธ์ระยะยาวในการฟื้นฟู การใช้ และการรักษาทรัพยากรอย่าง บูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ผ่านมายังขาดความชัดเจน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของประเทศยงั มปี ญั หาการใช้อย่างสน้ิ เปลืองและเสอื่ มโทรมลงอย่างรวดเรว็ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 46 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี งั่ ยนื ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ภาครัฐ การพัฒนาประเทศขาดความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการและ ปัญหาของประชาชน ขณะที่ความมั่นคงภายในประเทศยังมีหลายประเด็นที่ต้องเสริมสร้างให้เกิดความ เข้มแข็งลดความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอ ภาค การขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนส่งเสริมคนในชาติใหย้ ึดม่ันสถาบนั หลักเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคี ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงาน และวัยเด็กที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้การ พัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ มีความท้าทายมากขึ้น ทั้งในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินการคลังของ ประเทศในการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งจะ เปน็ ประเดน็ ท้าทายตอ่ การขับเคล่อื นประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแลว้ ปจั จัยและแนวโนม้ ทค่ี าดว่าจะส่งผลต่อการพฒั นาประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะมตี ำแหน่งท่ีต้ังที่สามารถเป็นศูนยก์ ลางในการเชื่อมโยงในภมู ิภาค และเปน็ ประตสู ูเ่ อเชีย แต่การทีม่ อี าณาเขตติดกับประเทศเพ่ือนบ้านหลายประเทศ ทำใหป้ ัญหาด้านเขต แดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังคงเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทย ยังคงต้องให้ความสำคัญกับปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความ เชื่อมโยงกันหลายมิติ ที่อาจเป็นประเด็นท้าทายต่อการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจร ะหว่างรัฐกับ ประชาชนและระหว่างประชาชนกับประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะ นำไปสูก่ ารแก้ปญั หาความขัดแยง้ ระหว่างกลุ่มประชากรไทยท่ีมีแนวคดิ และความเช่ือท่แี ตกต่างกันอย่าง ยง่ั ยืน นอกจากนี้ การขยายอิทธิพลและการเพิ่มบทบาทของประเทศมหาอำนาจที่อาจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ หรือเกิดการย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจ ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะที่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ องค์การ ระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ จะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎ ระเบียบ ทิศทางความสัมพันธ์ และมาตรฐานสากลต่าง ๆ ทั้งในด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และการ เปิดเสรใี นภมู ภิ าคทนี่ ำไปส่คู วามเช่อื มโยงในทุกระบบ อาจกอ่ ใหเ้ กิดความเสย่ี งด้านอาชญากรรมขา้ มชาติ และเศรษฐกิจนอกระบบ รวมทงั้ ปญั หายาเสพติด การคา้ มนษุ ย์ และการลกั ลอบเข้าเมอื ง ในทางกลับกัน ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยที ี่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อใหเ้ กดิ นวตั กรรมอยา่ งพลิกผัน อาทิ เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หุ่นยนต์และโดรน เทคโนโลยี พันธุกรรมสมัยใหม่ และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าว กระโดดเหล่านี้ คาดวา่ จะเป็นปจั จัยสนับสนุนหลักทช่ี ่วยทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ที่จะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น แนวโน้มสำคัญที่จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การ แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 47 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื รวมกลุ่มทางการค้าและการลงทุนทีจ่ ะมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงข้นึ ในการเพิ่มผลติ ภาพและสร้างความหลากหลายของสนิ ค้าและบริการที่ตอบโจทยร์ ูปแบบชีวติ ใหม่ ๆ นอกจากนั้น ประเทศไทยคาดว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี 2574 จะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายทุ ี่จะมีสัดส่วนเพิ่มขนึ้ อย่างตอ่ เน่ือง รวมทั้งการคาดการณ์วา่ ครอบครัวไทยจะมีขนาดเลก็ ลงและมีรปู แบบทห่ี ลากหลายมากขึ้น ประชากรในประเทศไทยจะมีช่วงอายทุ ี่แตกต่างกันและจะมีกลุ่มคนช่วงอายุใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผล ต่อทัศนคตแิ ละพฤตกิ รรมทีแ่ ตกตา่ งกนั ดังน้ัน การเตรียมความพรอ้ มของประชากรให้มีคุณภาพและการ นำเทคโนโลยที เี่ หมาะสมมาใชใ้ นการผลิตและการบรกิ ารของประเทศจะเปน็ ความท้าทายสำคัญในระยะ ต่อไป ในขณะเดียวกัน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาจทำให้เกิดความต้องการ แรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนจำนวนแรงงานไทยที่ลดลง ซึ่งปัจจัยด้านการเปดิ เสรีในภูมภิ าค และความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและ การย้ายถิ่นมีความสะดวกมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าออก ประเทศเพ่ิมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุม่ ประชากรทมี่ ีศกั ยภาพซง่ึ มีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายไปเรียนหรือ ทำงานในทวั่ ทกุ มมุ โลกสูงข้ึน ท้งั นี้ การยา้ ยถนิ่ สว่ นใหญ่มวี ตั ถุประสงคเ์ พ่อื แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยังคงเป็นประเทศผู้รับของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ประชากรไทยโดยเฉพาะแรงงานทักษะอาจมีแรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปยังประเทศที่มีระดับการ พัฒนาที่ดีกว่า อาจทำให้การแย่งชิงแรงงานมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการ เจรญิ เติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของบริบทสงั คมไทย นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรง มากขึ้น ทั้งในเชิงความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อ ชวี ติ และทรพั ย์สิน ระบบโครงสร้างพนื้ ฐานทีจ่ ำเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรท่ีสัมพันธต์ ่อเน่ือง กับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ ขณะที่ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไป ได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสยี ความสามารถในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่อม โทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละประเทศจะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การเป็น สังคมสีเขียว การรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจะได้รับ ความสำคัญและความสนใจจากนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น พลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก รวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหารมีแนวโน้มที่จะมี ความสำคัญเพิ่มมากขึ้น กฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น โดย กรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ที่สำคัญ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ บนั ทึกความตกลงปารสี จะไดร้ บั การนำไปปฏิบัติอย่างจริงจงั มากยิง่ ข้ึน แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วน ของการจ้างงานและอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ ๆ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัย คุกคามและความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ซับซ้อนขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้ แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 48 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี งั่ ยนื เทคโนโลยีเป็นเคร่อื งมือ การเคล่ือนย้ายอยา่ งเสรแี ละรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมลู ขา่ วสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยีและสินค้าและบริการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและ คาดการณ์ได้ยากการเกิดขึ้นของโรคระบาด และโรคอุบัติใหม่ที่จะส่งผลให้การเฝ้าระวังด้านการ สาธารณสุขในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ทวคี วามรุนแรงมากขึน้ ได้ หากไมม่ มี าตรการท่ีมีประสทิ ธิภาพในการป้องกันและรองรบั ผลกระทบต่าง ๆ ทค่ี าดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่ง รวมถงึ การเตรยี มความพร้อมเพื่อรองรับการเปลย่ี นแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบพลิกผันที่จะ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเข้าถึงเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และองค์ความรู้ สมัยใหม่มีระดบั ความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากรตา่ ง ๆ โดยการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยแี ละ นวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและอาชีพที่จะมีรูปแบบและลักษณะงานที่เปลี่ยนไป มี ความต้องการแรงงานที่มีสมรรถนะสูงเพิ่มมากขึ้นหลายอาชีพอาจหายไปจากตลาดงานในปัจจุบันและ บางอาชีพจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการทักษะระดับต่ำ ก่อให้เกิดความ เสย่ี งตอ่ ความม่ันคงและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ปรับตวั ไม่ทันหรือขาดความรูแ้ ละทักษะที่ทันกับยุค สมัยที่เปลี่ยนแปลงไป กระแสโลกาภิวัตน์ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขยายความเป็นเมือง วิถีชีวิตท่ี เปลีย่ นไปอย่างรวดเรว็ รวมท้ังการเปลยี่ นแปลงทางสภาพภูมอิ ากาศท่ีอาจจะมีความแปรปรวนมากยิ่งข้ึน ซึ่งปัจจัยทัง้ หมดดังกล่าวจะสง่ ผลให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศมคี วามซับซ้อน มากยิ่งข้นึ จากปจั จัยและแนวโน้มทค่ี าดว่าจะส่งผลต่อการขบั เคล่ือนการพฒั นาประเทศในมิติต่าง ๆ ข้างต้น เห็นได้ว่าบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มที่จะ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการ พัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ครอบคลุม ทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มีความร่วมมือในลักษณะประชารัฐจากภาคส่วนต่าง ๆ ใน รูปแบบของหุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดำเนินงานอย่างบูรณาการ เนื่องจากทุกมิติการพัฒนามีความ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน โดยประเทศไทยจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ สมรรถนะ และทกั ษะทสี่ อดคล้องกับการเปล่ียนแปลงตา่ ง ๆ สามารถรเู้ ทา่ ทนั และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตได้ อย่างมีความสุข มีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์และกติกาใหม่ ๆ และมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนา ระบบและปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน ทั้งในส่วนของระบบการเรียนการสอน และการ พัฒนาทกั ษะฝีมือท่ีสอดคลอ้ งกนั กบั การพัฒนาของคนในแต่ละช่วงวยั ระบบบรกิ ารสาธารณะ โครงสร้าง พื้นฐาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการสง่ เสริมเทคโนโลยีและนวตั กรรม เพื่อให้ประเทศไทยสามารถ ยกระดับเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวทันโลก จากการต่อยอดการพัฒนา บนพื้นฐานนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ส่งผลให้เกิดการสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจในทั้ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา ลดปัญหาความ เหล่อื มลำ้ และนำไปสกู่ ารเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนทกุ ภาคสว่ น นอกจากนี้ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกบั การสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงาน และอาหาร รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายเชิงนิเวศ การส่งเสริมการดำเนนิ ชีวติ และธุรกจิ และการพัฒนา แผนทน่ี าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 49 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื และขยายความเป็นเมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการมีข้อกำหนดของ รูปแบบและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ที่ชัดเจน ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ กฎหมาย ระบบภาษีต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาที่สามารถอำนวยความสะดวกและ ส่งเสริมให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถใช้จุดแข็งในเรื่องตำแหน่งที่ตั้งทาง ภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญของการ รวมกลุ่มความร่วมมอื กบั นานาประเทศในระดับภมู ิภาคและระดบั โลก เพือ่ กระชับและสร้างสัมพันธไมตรี เสริมสรา้ งความสมั พนั ธท์ างการทตู ซง่ึ จะก่อให้เกดิ การสร้างพลังทางเศรษฐกจิ และรกั ษาความมั่นคงของ ประเทศ โดยจำเป็นต้องสร้างความพร้อมในการที่จะยกระดับมาตรฐานและมีการปฏิบัติให้เป็นไปตาม ระเบียบกติกาสากลในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งให้มีการปฏิรูประบบราชการ และการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดีและเสถียรภาพทางการเมือง มีการส่งเสริมคนในชาติให้ ยึดมั่นสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และลดความขัดแย้ง ภายในประเทศ โดยที่นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับโครงสร้างและ ลักษณะพฤติกรรมของประชากรท่อี าจจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันมากข้ึน ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขโครงสร้างประชากร โครงสร้างเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการ วางแผนการพัฒนาที่รอบคอบและครอบคลุม อย่างไรก็ตาม หลายประเด็นพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ ระยะเวลาในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการปรับตัวซึ่งจะต้องหยั่งรากลึกลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิง โครงสรา้ ง การขับเคลือ่ นการพัฒนาใหป้ ระเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคตจึงจำเปน็ ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ ในระยะยาวท่ีต้องบรรลุ พร้อมทัง้ แนวยุทธศาสตร์หลักในด้านต่าง ๆ เพอื่ เปน็ กรอบในการขับเคล่ือนการ พัฒนาอย่างเป็นบูรณาการบนพื้นฐานประชารัฐเพื่อยกระดับจุดแข็งและจุดเด่นของประเทศ และ ปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนและจุดด้อยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นเป้าหมายใหญ่ใน การขับเคลื่อนประเทศ และถ่ายทอดไปสู่แผนในระดับอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับ ยทุ ธศาสตร์ ภารกิจ และพ้ืนท่ี ซึ่งรวมถงึ พืน้ ที่พิเศษต่าง ๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เขตพัฒนา พิเศษภาคตะวนั ออก เพอื่ ใหก้ ารพฒั นาประเทศสามารถดำเนนิ การได้อย่างมน่ั คง มงั่ ค่ัง และ ย่ังยืน วสิ ัยทศั น์ประเทศไทย “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อ สนองตอบตอ่ ผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมน่ั คง และยั่งยืนของ สถาบันหลักของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็น ปึกแผ่น มีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ความสามารถในการรักษา ผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกัน แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 50 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื อย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติ และศักดิศ์ รี ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และ ปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ การเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย์มีความเข้มแข็งเป็นศนู ย์กลางและ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลัง เพอื่ พฒั นาประเทศ ชมุ ชนมีความเขม้ แข็ง ครอบครัวมีความอบอนุ่ ประชาชนมคี วามม่ันคงในชีวติ มีงาน และรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีการออมสำหรับวัยเกษียณ ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และนำ้ มที ีอ่ ยู่อาศัย และความปลอดภยั ในชีวิตทรัพย์สนิ ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมี ความยั่งยืนจนเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สงู ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมี สุขได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ท้ังในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศเพื่อใหส้ ามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่ เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ การค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการ คมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลังในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังมี ความสมบรู ณ์ในทุนที่จะสามารถสรา้ งการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ไดแ้ ก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปญั ญา ทนุ ทางการเงนิ ทนุ ทเ่ี ปน็ เครอื่ งมอื เคร่อื งจักร ทนุ ทางสังคม และทนุ ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การ รักษาและการฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้าง มลภาวะตอ่ สงิ่ แวดล้อมจนเกนิ ความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนเิ วศ การผลิตและการ บริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมี ความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้อ อาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลมีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ ความสำคญั กบั การมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาคสว่ นในสังคมยึดถือและปฏิบตั ิตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกจิ พอเพียงเพื่อการพัฒนาอยา่ งสมดลุ มเี สถียรภาพ และย่งั ยนื แผนทนี่ าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 51 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพฒั นาอย่างตอ่ เนือ่ ง สงั คมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาตยิ ั่งยนื ” โดยยกระดับศกั ยภาพ ของประเทศในหลากหลายมิติ พฒั นาคนในทุกมิติและในทุกชว่ งวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้าง โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมี ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตาม ยทุ ธศาสตรช์ าติ ประกอบด้วย 1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย 2) ขดี ความสามารถในการแข่งขัน การพฒั นาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ 4) ความเทา่ เทียมและความเสมอภาคของสงั คม 5) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ ทรพั ยากรธรรมชาติ 6) ประสิทธิภาพการบรหิ ารจดั การและการเข้าถงึ การให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลตุ ามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมี ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพยี ง” และเปา้ หมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จงึ จำเปน็ ต้องกำหนดยทุ ธศาสตรก์ ารพฒั นาประเทศ ระยะยาวที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศได้รับการพัฒนายกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและ แผนทน่ี าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 52 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศเพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจาย ผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี เก่ง มีวินัย คำนงึ ถึงผลประโยชนส์ ่วนรวม และมศี กั ยภาพในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้ รบั ปรบั ใช”้ เทคโนโลยีใหม่ ไดอ้ ยา่ งต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพน้ื ฐาน ระบบสวสั ดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม กัน โดยไม่มใี ครถูกทิ้งไวข้ า้ งหลงั การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุล ระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนใน รปู แบบ“ประชารัฐ” โดยประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยทุ ธศาสตรช์ าติดา้ นความมัน่ คง ยทุ ธศาสตร์ ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับ สมดุลและพฒั นาระบบการบรหิ ารจัดการภาครัฐ ดังน้ี 1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติ มั่นคง ประชาชนมีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และมคี วามสงบเรียบร้อยในทกุ ระดบั ตั้งแตร่ ะดับชาติ สงั คม ชมุ ชน มงุ่ เน้นการพัฒนา คน เครื่องมือ เทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม และภัยพบิ ตั ไิ ดท้ ุกรูปแบบ และทกุ ระดบั ความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกนั และแกไ้ ขปัญหาด้านความ มั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วน ราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และองคก์ รท่ไี ม่ใช่รัฐ รวมถงึ ประเทศเพ่อื นบ้านและมติ รประเทศทั่วโลก บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้าน อนื่ ๆ ให้สามารถขับเคลอ่ื นไปได้ตามทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด 2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มเี ป้าหมายการพฒั นา ทม่ี งุ่ เน้นการยกระดบั ศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพ้นื ฐานแนวคดิ 3 ประการ ได้แก่ (1) “ต่อยอด อดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทาง ทรัพยากรธรรมชาตทิ ี่หลากหลาย รวมทัง้ ความไดเ้ ปรียบเชิงเปรยี บเทยี บของประเทศในด้านอ่ืน ๆ นำมา ประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลก สมัยใหม่ (2) “ปรับปัจจุบัน” เ พื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานของประเทศในมิติ ต่าง ๆ ทั้งโครงขา่ ยระบบคมนาคมและขนสง่ โครงสร้างพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจทิ ัล และ การปรับสภาพแวดลอ้ มให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่ ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพ่ือ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อ ยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้าง ฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการ ยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนใน ประเทศไดใ้ นคราวเดยี วกนั แผนทนี่ าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 53 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี งั่ ยนื 3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มี เปา้ หมายการพฒั นาทส่ี ำคัญเพ่ือพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวยั ให้เปน็ คนดี เกง่ และมคี ณุ ภาพ โดย คนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มี จิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธ รรม และ เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสาร ภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และ อนื่ ๆ โดยมสี ัมมาชีพตามความถนดั ของตนเอง 4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมาย การพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อ ส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากร ไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถ พึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานทสี่ ุด โดยรฐั ใหห้ ลักประกันการเข้าถึง บรกิ ารและสวัสดกิ ารท่มี คี ุณภาพอยา่ งเป็นธรรมและทว่ั ถงึ 5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตท่ีเป็นมิตรต่อ ส่ิงแวดลอ้ ม มเี ป้าหมายการพฒั นาที่สำคญั เพ่อื นำไปสู่การบรรลเุ ป้าหมายการพัฒนาท่ยี ั่งยืนในทกุ มติ ิ ทง้ั ดา้ นสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดลอ้ ม ธรรมาภิบาล และความเปน็ หุ้นสว่ นความรว่ มมือระหว่างกันท้ังภายใน และภายนอกประเทศอย่างบูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการ ดำเนนิ การบนพืน้ ฐานการเติบโตรว่ มกัน ไม่วา่ จะเป็นทางเศรษฐกิจ ส่ิงแวดล้อม และคณุ ภาพชีวติ โดยให้ ความสำคญั กบั การสร้างสมดลุ ท้งั 3 ด้าน อันจะนำไปส่คู วามย่งั ยนื เพอื่ คนรุ่นต่อไปอยา่ งแทจ้ ริง 6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาท หน่วยงานของรัฐทีท่ ำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะ สูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธ์ิและผลประโยชน์ส่วนรวม มีความ ทันสมยั และพรอ้ มท่ีจะปรับตวั ให้ทันต่อการเปล่ียนแปลงของโลกอย่ตู ลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างย่ิงการนำ นวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และ ปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุก ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และ โปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้าง จติ สำนึกในการปฏเิ สธไมย่ อมรับการทจุ ริตประพฤตมิ ิชอบอย่างส้นิ เชงิ นอกจากนนั้ กฎหมายตอ้ งมคี วาม ชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความ แผนทน่ี าทางการขบั เคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 54 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เป้าหมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื เหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่ เลอื กปฏบิ ตั ิ และการอำนวยความยตุ ธิ รรมตามหลักนติ ธิ รรม 3. ความเชอ่ื มโยงจากเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื (SDGs) สเู่ ป้าหมายการ พัฒนาประเทศไทย ประเทศไทยรว่ มลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ในคราวการประชุม สมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนวิ ยอรก์ สหรฐั อเมริกา เพอ่ื ร่วมกันบรรลกุ ารพฒั นาทางสงั คม เศรษฐกจิ และสิ่งแวดลอ้ มอย่างยั่งยืน โดยไมท่ ิ้งใครไวข้ า้ งหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยกำหนดใหม้ เี ป้าหมายการพัฒนาทีย่ ่งั ยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 17 เป้าหมายหลัก เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน SDGs มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ คือ สามารถใชเ้ ป็นเครื่องมือชีว้ ัด เพื่อประเมินความสำเรจ็ ของ การพัฒนาประเทศ และบ่งบอกสถานะความสำเร็จของการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยนื เมื่อเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงกับประเทศอื่น ๆ รวมถึง การนำตัวอย่างหรือต้นแบบของการพัฒนาท่ี ประสบผลสำเร็จ ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับของประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา ในแต่ละเป้าหมายให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้แต่ละประเทศนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและ พัฒนาประเทศต่อไป อย่างไรก็ตาม ในการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs มาใช้น้ัน สิ่ง สำคัญ คือ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักการที่ถูกต้อง นำไปปรับใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับ สภาพปัญหาหรือเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ ตั้งแต่ระดับประเทศลงไปจนถึงระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถน่ิ จงึ จะเกิดประโยชน์และส่งผลใหก้ ารพัฒนาประเทศเปน็ ไปอย่างย่ังยืน จากข้อมูลข้างต้นอาจสรุปได้ว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เป้าหมายหลัก กับ เป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ มีความสอดคล้องและเป็นไปใน แนวทางเดียวกัน เนื่องจากให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านการพัฒนาคน เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง สิ่งแวดล้อม สันติภาพและความยุติธรรม และความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเชื่อมโยงระหว่าง 169 เป้าหมายย่อย (Targets) ของ SDGs กับ 37 เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 23 ฉบับ และ 140 เป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ เพื่อประมวลความสอดคล้องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระดับประเทศกับระดับนานาชาติ และนำไปสู่การดำเนินงานของหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องในประเทศไทยให้สามารถบรรลุทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนและเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ได้ในคราวเดียวกัน เพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหนว่ ยงานของรัฐ พบวา่ เปา้ หมาย SDGs ท้ัง 17 เปา้ หมาย หลัก และ 169 เป้าหมายย่อยมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน และมีความ สอดคล้องกับเป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 22 ประเด็น ดัง ภาพต่อไปน้ี แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 55 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เป้าหมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื 4. ความกา้ วหน้าของการดาเนนิ งานตามเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ่งั ยนื 4.1 สรปุ สถานะผลการดำเนนิ งานขับเคล่ือนเป้าหมายการพฒั นาทย่ี ่ังยนื ภาพรวม จากรายงานการพฒั นาทยี่ ่งั ยนื ประจำปี พ.ศ. 2564 (Sustainable Development Report 2021) พบวา่ เป็นครัง้ แรกต้งั แต่มีการลงนามรับรองเป้าหมายการพัฒนาท่ยี ั่งยนื เมื่อปี 2015 ที่ ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเปา้ หมายการพฒั นาท่ียัง่ ยืนของโลกถอยหลงั การระบาดใหญ่ของโรคโควิด- 19 ได้ส่งผลกระทบทำให้เกดิ ภาวะวกิ ฤติต่อการพัฒนาท่ีย่ังยืนในทกุ ด้าน และทุกเป้าหมาย งบประมาณ หรือการลงทุนของทุกประเทศควรมุ่งพัฒนาไปที่เป้าหมายหลักสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยนื เช่น การศึกษา สุขภาพ พลังงาน เกษตรกรรม โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปน็ ต้น ซึง่ จากรายงานฉบับน้ี ได้ชใ้ี หเ้ หน็ ถึงประเด็นสำคัญของการดำเนินงานขับเคลื่อน SDGs โดยสรุป ดังนี้ 1) คะแนนดัชนีเฉลี่ยทั่วโลก ปี 2020 ลดลงจากปี 2015 ซึ่งเป็นปีแรกของการลงนาม รับรอง โดยคะแนนที่ลดลงมาจากอัตราความยากจนและการว่างงาน หลังจากการระบาดของโรคโควดิ - 19 ท่วั โลก 2) ประเทศกำลังพัฒนามีรายได้ต่ำ ไม่สามารถจัดหาเงินทุนเพื่อแก้ปัญหาภาวะฉุกเฉิน และฟ้นื ฟหู รือลงทุนทส่ี อดคล้องกับกับ SDGs ได้ 3) แนวทางการพัฒนา SDGs ยังสามารถใช้เป็นหลักการหรือกรอบแนวทางในการ ปรับตัว ฟนื้ ฟูการพฒั นาประเทศได้ แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 56 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื 4) ประเทศทีร่ ำ่ รวยยังคงสง่ ผลกระทบหรอื ลดทอนความสามารถของประเทศอื่นในการ บรรลเุ ป้าหมาย SDGs 5) การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เห็นถึงความสำคญั และความจำเปน็ ของการดแู ล สุขภาพถ้วนหน้าและการเขา้ ถงึ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ โครงสร้างพน้ื ฐานดา้ นดิจิทลั 6) การเกิดช่องว่างของข้อมลู หรือมสี ถิติท่ีเป็นทางการล่าช้า ทำใหเ้ ห็นความสำคัญและ ความจำเป็นของการพฒั นาความสามารถทางด้านข้อมลู หรือสถิติมากขึน้ 7) ความท้าทายของโลกจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอื่นๆ ในการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs จำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือหรือภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่เข้มแข็ง ท้ัง ภายในประเทศและระหว่างประเทศ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการหาแนวทางการรบั มอื หรอื แกป้ ญั หาร่วมกัน 8) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ มีความก้าวหน้าในการขับเคล่ือน SDGs มากกว่าภมู ิภาคอื่น ๆ ในการเปรยี บเทยี บทั้งในปี 2010 และปี 2015 9) ช่องว่างเกี่ยวกบั สถิติทางการของเปา้ หมาย SDGs ในหลายประเทศ ยังคงมีทั้งในแง่ ความครอบคลุมและความทันต่อความต้องการ โดยเฉพาะ SDG4 (คุณภาพด้านการศึกษา), SDG 5 (ความ เท่าเทียมระหว่างเพศ), SDG 12 (การมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ), SDG 13 (การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และ SDG 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและ ทรพั ยากรทางทะเล) 4.2 สรปุ สถานะและอันดับความก้าวหนา้ ของประเทศไทย จากรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี พ.ศ. 2564 (Sustainable Development Report 2021) สถานะและอันดบั ของประเทศไทยใน SDG Index พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดบั ท่ี 43 ของโลก จากทั้งหมด 165 ประเทศ ได้คะแนนรวมอยู่ที่ 74.2 คะแนน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมภิ าคเอเชยี ตะวันออกและเอเชียใต้ (65.7 คะแนน) ซึ่งเมื่อเทียบอันดับและคะแนนของประเทศไทยกับปี 2020 พบวา่ ประเทศไทยได้อนั ดบั และคะแนนลดลง โดยในปี 2020 ประเทศไทยได้อันดับที่ 41 มคี ะแนนรวม 74.5 คะแนน โดยเป้าหมาย SDGs ของประเทศไทยที่มีสถานะแย่ลง 4 เป้าหมาย และไม่มีเป้าหมายใด ขยบั ดขี น้ึ กล่าวคอื o SDG 2 (ขจัดความหิวโหย) จากสถานะท้าทาย (สีส้ม) เป็น ท้าทายมาก (สีแดง) ซ่ึง ตัวชี้วัดท่ีมสี ถานะแย่ลง คือ ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ และอัตราการส่งออกยาฆา่ แมลง (ตัวชี้วัด ใหม)่ o SDG 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) จากสถานะยังมีความท้าทาย บางส่วน (สีเหลือง) เป็น ท้าทาย (สีส้ม) ซึ่งตัวชีว้ ัดท่ีมีสถานะแย่ลง คือ อัตราการเติบโตของ GDP อัตรา การว่างงาน และการรบั ประกันสิทธิแรงงานขนั้ พืน้ ฐานอย่างมปี ระสิทธิผล แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 57 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื o SDG 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล) จากสถานะ ท้าทาย (สีส้ม) เป็น ท้าทายมาก (สีแดง) ซึ่งตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ ร้อยละของพื้นที่โดยเฉลี่ยที่ได้รับการ ปกป้องในพื้นที่ทางทะเลท่ีสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และดัชนสี ุขภาพมหาสมุทรด้านคะแนนน้ำ สะอาด (มลพิษทางทะเล) o SDG 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก) จากสถานะท้าทาย (สีส้ม) เป็น ท้า ทายมาก (สีแดง) ซึ่งตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ ขนาดพื้นที่เฉลี่ยที่ได้รับการปกป้องในพื้นที่บนบกท่ี สำคญั ตอ่ ความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นท่ชี ุ่มน้ำ แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 58 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 59 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 2 เปา้ หมายการพัฒนาท่ยี ง่ั ยนื แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 60 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
SDG4 Roadmap ส่วนท่ี 3 ความสาคญั ของเป้าหมาย การพัฒนาทยี่ ง่ั ยืน
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น ส่วนท่ี 3 ความสาคญั ของเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ความสาคญั ของเป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื (เปา้ หมายที่ 4) ตอ่ ประเทศไทย “เปา้ หมายท่ี 4 สรา้ งหลกั ประกนั วา่ ทกุ คนมกี ารศึกษาทม่ี คี ณุ ภาพอยา่ งครอบคลมุ และเทา่ เทยี ม และสนบั สนนุ โอกาสในการเรยี นรตู้ ลอดชวี ติ ” 1. ความสาคัญของการศึกษากับการพัฒนาประเทศ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 50 (4) ระบุให้บุคคลมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ มาตรา 54 รัฐมีหน้าที่ต้อง ดำเนินการให้เด็กทกุ คนไดร้ ับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตง้ั แต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรค หน่ึง เพอ่ื พัฒนาร่างกาย จิตใจ วินยั อารมณ์ สังคม และสติปญั ญาใหส้ มกับวยั โดยสง่ เสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย ให้ประชาชนได้รับ การศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการ ร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและภาคเอกชน ในการจดั การศึกษาทกุ ระดบั โดยรฐั มี หน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้ มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแหง่ ชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกีย่ วกับการ จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการ ศึกษาแห่งชาติด้วย การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถ เชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนา หรือให้ประชาชนได้รับ การศึกษา รัฐต้อง ดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน ให้ จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา และเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน หรือใช้มาตรการหรือกลไกทางภาษีรวมทั้งการให้ผู้บริจาคทรัพย์สินเข้ากองทุนได้รับ ประโยชน์ในการ ลดหย่อนภาษีด้วย ทั้งนี้ตามทีก่ ฎหมายบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องกําหนดให้การบรหิ าร จัดการกองทุนเป็นอิสระและกําหนดให้มีการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นอกจากนัน้ การปฏริ ูปประเทศ ตามมาตรา 257 จ. ดา้ นการศกึ ษา (1) ใหส้ ามารถเร่ิมดำเนินการให้เด็ก เล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการ พัฒนารา่ งกาย จติ ใจ วนิ ัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (2) ให้ดำเนินการ ตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนตามมาตรา 54วรรคหก ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้ รัฐธรรมนูญน้ี (3) ให้มีกลไกและระบบการผลติ คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครแู ละอาจารยใ์ ห้ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 62 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ได้ผมู้ จี ิตวิญญาณของความเป็นครู มคี วามร้คู วามสามารถอย่างแทจ้ รงิ ได้รับคา่ ตอบแทนที่เหมาะสมกับ ความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน รวมทั้งมีกลไกสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคล ของผู้ประกอบวิชาชีพครู (4) ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดย สอดคล้องกันท้ังในระดบั ชาติ และระดับพื้นท่ี การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กหรือผู้ใหญ่ได้รับความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และทัศนคติที่ดี นำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือดำเนินชีวิต การศึกษาจึงต้องมีระบบการจัดการท่ี สามารถให้ หรือสร้าง หรือถ่ายทอด ให้กับคนในสังคมทุกคน ทุกระดับ ทุกวัย ในรูปแบบที่หลากหลาย ท้ัง การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยการศึกษาในระบบ มุ่งเน้นให้ประชากรในช่วงวัย เรียนทุกคนได้รับการศึกษา ตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และ อุดมศึกษา เพ่ือให้มีความรู้ ประสบการณ์ และทกั ษะ มคี วามพรอ้ มสำหรบั การประกอบอาชีพหรือก้าวสู่ ตลาดแรงงาน ส่วนการศึกษานอกระบบ มุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชากรที่พลาดโอกาสทาง การศึกษาในระบบ หรือผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานหรือประกอบอาชีพ ได้เรียนรู้เพื่อให้มีทักษะและ ประสบการณเ์ พมิ่ ขึน้ เท่าทนั การเปลยี่ นแปลงของโลกไดด้ ้วย ดงั นั้น การศกึ ษาจึงเป็นเคร่ืองมือสำคัญใน การพฒั นาคนให้มีคุณภาพ มคี วามพรอ้ มสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การพฒั นาประเทศไทยนบั ตัง้ แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 1 เป็นต้น มา ได้ส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาในทุกมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามศักยภาพและ คุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้ว่าการเข้าถึง ระบบบริการสาธารณะ การศึกษา บริการสาธารณสขุ โครงสร้างพื้นฐานและการคุ้มครองทางสังคมของ คนไทยมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องคุณภาพการให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่าง กันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ เนอ่ื งจากทุกมิติการพฒั นามคี วามเกย่ี วข้องและสง่ ผลกระทบซ่งึ กันและกัน ดังนนั้ การพัฒนาประเทศจึง กำหนดให้มียทุ ธศาสตรช์ าติ เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศระยะยาว 15 ปี ที่ครอบคลุมทุกมิติและ ทุกด้านการพัฒนา การดำเนินงานอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ต้องมีการดำเนินงานแบบบูรณาการซึ่งการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ กับ การดำเนนิ งานเพื่อขับเคล่ือนเป้าหมายการพฒั นาทยี่ ่งั ยืน (SDGs) ดงั ทีไ่ ดก้ ลา่ วมาขา้ งต้น จะเห็นได้ว่า มี ความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดยี วกัน และสง่ ผลต่อกัน อกี ทง้ั มี “ทรพั ยากรมนุษย์” เป็นปัจจัย สำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ โดยแนวทาง ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มคี ณุ ภาพ พรอ้ มสนบั สนุนการพัฒนาประเทศนั้น จำเป็นต้องมุ่งเน้นการ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ พัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไป ข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มี พัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อ่ืน มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคต สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาท่ี 3 แผนทน่ี าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 63 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น รวมทั้งอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การ เป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีระดับสงู และนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกร ยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง” ซึ่งกลไกหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชาติให้บรรลุเปา้ หมายท่กี ำหนดไว้ในปี 2580 คอื แผนแมบ่ ทภายใตย้ ุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ฉบับ เป็นการกำหนดประเด็นในลักษณะที่มี การบูรณาการและเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้อง และประเด็นการพัฒนาจะไม่มี ความซ้ำซ้อนกันระหว่างแผนแม่บทฯ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถนำแผนแม่บทฯ ไปใช้ในทางปฏิบัติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการเกิดความสับสน โดยแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นแผน ระดับที่ 2ที่มีความสำคัญในการเป็นแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อให้บรรลุตาม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ และถ่ายทอดไปสู่แนวทางในการปฏิบัติในแผนระดับที่ 3 ของหน่วยงาน ตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 23 ฉบับ จึงมีการ กำหนดองค์ประกอบของแผนตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตผุ ลที่ต้องมีการระบุแนวทางการพัฒนาและ การดำเนินแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ที่ต้องสามารถสะท้อนผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ดา้ นท่เี ก่ยี วขอ้ งได้อย่างเปน็ รปู ธรรม สง่ ผลให้ประเทศและประชาชนทุกกลุ่มวัยจะได้รบั ประโยชน์ ดังนี้ วัยในครรภ์มารดาถึงปฐมวัย เด็กและมารดาทุกคนจะได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ท่ี ถกู ตอ้ งตามหลกั วชิ าการ โภชนาการ และสมวยั ผา่ นระบบบรกิ ารสาธารณะทม่ี ีกระจายครอบคลุมทั่วทุก ภูมิภาคอย่างทั่วถึง ด้วยบริการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย และมีคุณภาพ เด็กจะเกิดมา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ปลอดภัย สงบสุข เติบโตในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ดี มี ทรพั ยากรธรรมชาตทิ ีจ่ ำเปน็ ตอ่ การเติบโต ได้รับการเลี้ยงดูจากท้งั พ่อและแมข่ องเด็กท่ีจะมีเวลาให้กับลูก ของตนมากขนึ้ พร้อมทงั้ มสี ่ิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ท้ังเทคโนโลยแี ละนวตั กรรมการเล้ยี งดู และศูนย์ เด็กเล็กที่พ่อแม่ทุกคนสามารถเข้าถึง มีคุณภาพ และเอื้อต่อการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตได้อย่างดี มีทักษะ สุขภาพกายและสุขภาพใจท่ีดพี รอ้ มมีพัฒนาสมวยั วัยประถมศึกษา ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นช่วงการศึกษาภาคบังคับ จะได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพ มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะหลักที่ จำเปน็ ต่อผู้เรียนมีดิจิทัลแพลตฟอรม์ เพอื่ การเรยี นร้แู หง่ ชาติที่สามารถขยายความรู้และวิธีการเรียนไปสู่ โรงเรียน นักเรียน และครู ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนทุนทรัพย์ จะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึงในทุก ๆ พื้นท่ี เพื่อให้นักเรียนได้รบั การปูพืน้ ฐานความ พร้อมทั้งกาย ใจ และสติปัญญาให้พร้อมรองรับการพัฒนาของช่วงวัยต่อไป และได้รับการปลูกฝัง วัฒนธรรมการใช้ชีวิตในสังคมที่ดี ให้เป็นคนดี มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีวินัย พร้อมเตบิ โตเป็นคนที่มคี ณุ ภาพของประเทศต่อไป วยั รุ่น นกั ศกึ ษา จะไดร้ บั การเรียนรู้ให้มีทักษะและองคค์ วามรู้ทจ่ี ำเปน็ ต่อการเปล่ียนแปลง ในศตวรรษท่ี 21 อย่างมีคณุ ภาพ ได้รับการพัฒนาวินัย คณุ ธรรม จริยธรรม ตระหนกั ถงึ ความสำคัญของ การมีสุขภาวะที่ดี ได้รับความรู้และการพัฒนาสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการภาคการผลิตของ ประเทศ สร้างผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาประเทศไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้วด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี แห่งอนาคต ผ่านสถาบันศึกษายุคใหม่ทำหน้าที่ให้ความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ความรู้ในทางวิชาการท่ี แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 64 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น สามารถใช้องค์ความรูท้ างวชิ าการในการวิจัยและสร้างสรรค์นวตั กรรมในด้านวิทยาศาสตร์ สงั คมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และใส่ใจศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นไทย ที่สอดคล้องกับการ พฒั นาประเทศ สกู่ ารสรา้ งความสามารถในการแข่งขนั ของประเทศที่ทดั เทยี มกบั นานาประเทศท่วั โลก วยั ทำงาน จะไดร้ บั การพัฒนาศักยภาพทจี่ ำเป็นตอ่ การทำงานและการใช้ชีวติ อยา่ งต่อเนื่อง ให้เป็นคนไทยที่มีทักษะสูง มีองค์ความรฐู้ านสมรรถนะทส่ี อดคล้องกับความต้องการของตลาดงานในทุก สายอาชพี ท้ังในภาครฐั และเอกชน รวมทง้ั จะได้รบั การสนับสนนุ ให้มชี ่องทางการหารายได้ทห่ี ลากหลาย ขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ อาทิ ธุรกิจสตาร์ทอัพที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถเป็นช่องทางธุรกิจที่ขยายวงกว้างไปยังต่างประเทศ มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในมิติ ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันจะได้รับประโยชน์จากการกระจายความเจริญที่จะไปสู่ทุก ภูมิภาคของประเทศในอนาคต ส่งผลให้ประชากรวัยทำงานสามารถทำงานได้ในภูมิลำเนาของตนเอง มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว ทำให้ครอบครัวมีความอยู่ดีมีสุขเพิ่มมากขึ้น โดยที่แต่ละพื้นท่ี/ ภูมิภาคจะได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพทั้งในภาคอุตสาหกรรม บริการและท่องเที่ยว และภาคเกษตร มีโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องที่เอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตและการ ทำงาน วัยสูงอายุ จะได้รับการดูแลทั้งด้านสุขภาพ การดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ของผู้สูงอายุ ทั้งผู้สูงอายุวัยต้นอายุ ผู้สูงอายุวัยกลางอายุ และผู้สูงอายุวัยปลาย มีอุปกรณ์ที่ได้รับการ พฒั นาให้มคี วามทนั สมัย มีการประยุกต์ใชเ้ ทคโนโลยีและนวตั กรรมสมยั ใหม่ เพือ่ อำนวยความสะดวกแก่ ผูส้ งู อายใุ ห้สามารถดำเนนิ ชีวติ ได้อย่างมคี ุณภาพ สามารถชว่ ยเหลือตนเองได้ ไดร้ ับการบริการสาธารณะ ทม่ี ีประสทิ ธภิ าพและคุณภาพ อยู่ในสภาพแวดล้อมทเ่ี ปน็ มิตรและเอ้ืออำนวยตอ่ การดำเนินชวี ิต ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีส่วนร่วมทางสังคม มีสุขภาพกายและใจที่ดี และเป็นแรงพลังในการช่วยขับเคลื่อนและ พัฒนาประเทศ โดยสรุป การพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดไว้ได้น้ัน ปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ “คน หรือ ทรัพยากรมนุษย์” ของประเทศ กล่าวคือ ประเทศที่มีคนที่มี คณุ ภาพมีศกั ยภาพ ย่อมสามารถขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศได้อยา่ งยั่งยนื สำหรับเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน เป้าหมายท่ี 4 สร้างหลักประกันว่า ทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอยา่ งครอบคลุมและเทา่ เทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการให้คนทุกคนได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียมกัน และมีโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสอดคล้องกับแนวทางการ ดำเนินงานเพือ่ ให้บรรลเุ ปา้ หมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 65 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น 2. ความสอดคล้องระหวา่ งเป้าหมายการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืน (เป้าหมายท่ี 4) กบั เป้าหมายการพัฒนาประเทศ 2.1 เป้าหมายการพฒั นาทย่ี ง่ั ยนื เปา้ หมายที่ 4 เป้าหมายการพฒั นาทยี่ ัง่ ยืนด้านการศึกษา ภายในปี 2573 เปน็ การสร้างหลักประกัน วา่ เดก็ ชายและเดก็ หญิงทกุ คนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมธั ยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไมม่ คี ่าใชจ้ ่าย นำไปส่ผู ลลพั ธ์ทางการเรียนทีม่ ีประสทิ ธผิ ล สร้างหลักประกนั ว่าเด็กชายและเด็กหญิง ทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มี คุณภาพ เพื่อให้เด็กมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึง การศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัย ที่มีราคาที่สามารถจ่ายได้และมี คุณภาพ เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพ สำหรับ การจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษา และ สรา้ งหลักประกันว่ากลุ่มท่เี ปราะบางซ่ึงรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเดก็ เขา้ ถงึ การศึกษาและการฝึก อาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียมสร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ในสัดส่วนสูง ทั้งชายและ หญิง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่ จำเป็นสำหรบั ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการศึกษาสำหรบั การพฒั นาอย่างย่ังยืนและการมีวิถี ชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและในส่วน ร่วมของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สร้างและยกระดับอุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาท่ี อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการและเพศสภาวะ และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ป ลอดภัย ปราศจาก ความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน ขยายจำนวนทุนการศึกษาในทั่วโลกที่ให้สำหรับ ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยท่สี ุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศใน แอฟริกา ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรม ดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่อื สาร ดา้ นเทคนคิ วศิ วกรรม และวทิ ยาศาสตร์ ในประเทศพฒั นาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ และเพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพ รวมถึงการดำเนินการผ่านทางความ ร่วมมือระหวา่ งประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลงั พฒั นา เฉพาะอยา่ งย่ิงในประเทศพัฒนาน้อยท่ีสุด และรฐั กำลังพัฒนาทเ่ี ปน็ เกาะขนาดเลก็ แผนทน่ี าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 66 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 4) กับแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ คือ ประเด็นแผนแม่บท (2) การต่างประเทศ (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (11) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต และ (12) การพัฒนาการเรียนรู้ แผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา และแผนการศกึ ษาแห่งชาติ แผนทนี่ าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 67 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ความเชื่อมโยงของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กับเป้าหมายย่อยของแผนแม่บทภายใต้ ยทุ ธศาสตรช์ าติ เป้าหมายยอ่ ย (SDG Targets) ความเชอ่ื มโยงกับเป้าหมายย่อย เก่ียวข้อง เก่ยี วข้อง ของแผนแมบ่ ทฯ โดยตรง โดยอ้อม 4.1 สร้างหลักประกันวา่ เด็กชาย 120101 คนไทยไดร้ ับการศึกษาทม่ี ีคุณภาพ และเด็กหญิงทกุ คนสำเร็จการศึกษา ตามมาตรฐาน มที ักษะการเรยี นรู้ และทักษะ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาท่ีมี ทีจ่ ำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถ คณุ ภาพ เท่าเทยี ม และไมม่ ีค่าใชจ้ ่าย นำไปสู่ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต ผลลัพธท์ างการเรยี นท่ีมปี ระสิทธิผล ดขี น้ึ ภายในปี พ.ศ. 2573 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและ 110201 เด็กเกดิ อย่างมีคุณภาพ เด็กหญิงทุกคนเขา้ ถงึ การพัฒนาการดูแล มพี ฒั นาการสมวัย สามารถเข้าถงึ บริการ และการจัดการศึกษาระดับ ที่มคี ุณภาพมากข้นึ ก่อนประถมศึกษา สำหรบั เด็กปฐมวยั ทมี่ ี คณุ ภาพ เพื่อใหเ้ ด็กเหล่าน้ันมีความพร้อม 110301 วัยเรียน/วยั รุ่น มีความรู้และทักษะ สำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายใน ในศตวรรษที่ 21 ครบถว้ น รู้จักคิด วิเคราะห์ ปี พ.ศ. 2573 รกั การเรยี นรู้ มสี ำนึกพลเมือง มคี วามกล้า หาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการ 4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญงิ ทุกคน แก้ปัญหา ปรบั ตวั สื่อสารและทำงานร่วมกบั เข้าถึงการศึกษา อาชวี ศึกษา อุดมศึกษา ผู้อน่ื ได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชวี ิตดขี ึ้น รวมถึงมหาวิทยาลัยท่ีมคี ุณภาพในราคา 120101 คนไทยได้รับการศึกษาท่มี ีคุณภาพ ท่สี ามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573 ตามมาตรฐาน มที ักษะการเรียนรู้ และทักษะ ที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวติ ดีขึ้น แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 68 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น เป้าหมายย่อย (SDG Targets) ความเช่ือมโยงกบั เปา้ หมายย่อย เกย่ี วข้อง เกีย่ วข้อง 4.4 เพ่ิมจำนวนเยาวชนและผ้ใู หญ่ที่มีทักษะ ของแผนแมบ่ ทฯ โดยตรง โดยออ้ ม ทีเ่ กี่ยวข้องจำเปน็ รวมถงึ ทักษะทางด้าน เทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน 110301 วยั เรียน/วัยรุ่น มีความรู้และทักษะ การมีงานท่มี คี ุณค่า และการเป็น ในศตวรรษท่ี 21 ครบถว้ น ร้จู กั คิด วิเคราะห์ ผูป้ ระกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573 รักการเรยี นรู้ มีสำนึกพลเมือง มคี วามกล้า หาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการ 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้าน แก้ปัญหา ปรบั ตัว ส่ือสารและทำงานร่วมกบั การศึกษา และสร้างหลักประกันวา่ กลุ่มที่ ผูอ้ ่ืนได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชีวิตดีข้ึน เปราะบางซ่ึงรวมถึงผู้พิการ ชนพ้นื เมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชพี 110401 แรงงานมีศักยภาพในการเพ่ิม ทกุ ระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573 ผลผลิต มีทักษะอาชีพสงู ตระหนัก ในความสำคัญที่จะพัฒนาตนเองให้เต็ม ศกั ยภาพ สามารถปรับตัวและเรยี นรสู้ ่ิงใหม่ ตามพลวัตของโครงสร้างอาชีพและ ความต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น 110402 มีคนไทยที่มีความสามารถ และผู้เชีย่ วชาญต่างประเทศเข้ามาทำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพ่ิมข้ึน 120101 คนไทยไดร้ บั การศึกษาทม่ี ีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มที ักษะการเรียนรู้ และทักษะ ทจ่ี ำเป็นของโลกศตวรรษท่ี 21 สามารถ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชวี ิต ดขี ้ึน 120101 คนไทยไดร้ บั การศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มีทักษะการเรยี นรู้ และทักษะ ทีจ่ ำเป็นของโลกศตวรรษท่ี 21 สามารถเข้าถึงการเรียนรู้อย่างตอ่ เน่ือง ตลอดชวี ิตดขี ้ึน แผนทนี่ าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 69 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น เปา้ หมายย่อย (SDG Targets) ความเชื่อมโยงกบั เป้าหมายย่อย เกย่ี วข้อง เกีย่ วข้อง ของแผนแมบ่ ทฯ โดยตรง โดยออ้ ม 4.6 สร้างหลักประกันวา่ เยาวชนทุกคน และผู้ใหญ่ท้ังชายและหญิงในสัดสว่ นสูง 110301 วัยเรยี น/วัยรุ่น มีความรู้และทักษะ สามารถอ่านออกเขยี นได้และคำนวณได้ ในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รจู้ ักคดิ วิเคราะห์ ภายในปี พ.ศ. 2573 รักการเรยี นรู้ มีสำนึกพลเมือง มคี วามกลา้ หาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการ แกป้ ัญหา ปรับตวั สื่อสารและทำงานรว่ มกบั ผ้อู ่ืนได้อย่างมปี ระสิทธผิ ลตลอดชวี ติ ดีขึ้น 120101 คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มีทักษะการเรยี นรู้ และทักษะ ท่จี ำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดีขึ้น 4.7 สรา้ งหลักประกันวา่ ผเู้ รยี นทกุ คนได้รบั 100101 คนไทยเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์ มีความ ความรูแ้ ละทักษะทจี่ ำเป็นสำหรบั สง่ เสรมิ พร้อมในทุกมติ ิตามมาตรฐานและสมดุล การพฒั นาทย่ี ่งั ยนื รวมไปถงึ การศึกษา ทัง้ ด้านสตปิ ัญญา คุณธรรมจริยธรรม สำหรบั การพัฒนาทีย่ ั่งยืนและการมีวถิ ีชวี ิต มจี ิตวญิ ญาณท่ดี ี เข้าใจในการปฏิบตั ิตน ท่ียัง่ ยนื สทิ ธมิ นษุ ยชน ความเสมอภาค ปรบั ตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดีขึน้ ระหว่างเพศ การส่งเสรมิ วฒั นธรรมแห่ง 110301 วัยเรยี น/วัยรุ่น มีความรู้และทักษะ ความสงบสขุ และการไมใ่ ช้ความรนุ แรง ในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคดิ วิเคราะห์ การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชม รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้า ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการ หาญทางจริยธรรม มีความสามารถในการ ท่ีวัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนา แก้ปัญหา ปรับตวั ส่ือสารและทำงานรว่ มกับ ทีย่ ง่ั ยนื ภายในปี พ.ศ. 2573 ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลตลอดชวี ติ ดีข้ึน 120101 คนไทยได้รบั การศึกษาทีม่ ีคุณภาพ ตามมาตรฐาน มีทักษะการเรยี นรู้ และทักษะ ทีจ่ ำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชวี ิต ดขี นึ้ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 70 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น เปา้ หมายย่อย (SDG Targets) ความเช่อื มโยงกับเปา้ หมายยอ่ ย เกี่ยวข้อง เกยี่ วข้อง ของแผนแม่บทฯ โดยตรง โดยออ้ ม 4.a สรา้ งและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจน เคร่ืองมือและอุปกรณ์การศึกษาท่ีอ่อนไหว 120101 คนไทยไดร้ ับการศึกษาท่มี ีคุณภาพ ตอ่ เด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดใหม้ ี ตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะ สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ท่ีปลอดภยั ท่ีจำเป็นของโลกศตวรรษท่ี 21 ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมี สามารถเขา้ ถึงการเรยี นรู้อย่างต่อเนื่อง ประสิทธิผลสำหรับทุกคน ตลอดชีวติ ดขี ึ้น 4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาท่ัวโลกที่ให้แก่ 020202 ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศ ทย่ี ่งั ยืนกับตา่ งประเทศ เพื่อรว่ มกันบรรลุ พฒั นาน้อยทีส่ ุด รฐั กำลงั พฒั นาท่ีเป็น เปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ั่งยืนของโลก เกาะขนาดเลก็ และประเทศในทวปี แอฟริกา เพ่ือเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศกึ ษา รวมถึง 020202 ประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา การฝึกอาชพี และโปรแกรมด้านเทคโนโลยี ที่ยั่งยืนกับตา่ งประเทศ เพื่อรว่ มกันบรรลุ สารสนเทศและการส่ือสาร ด้านเทคนิค เป้าหมายการพัฒนาที่ย่ังยืนของโลก วศิ วกรรมและวิทยาศาสตร์ ในประเทศ 120101 คนไทยได้รบั การศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพฒั นาอนื่ ๆ ตามมาตรฐาน มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะ ภายในปี พ.ศ. 2563 ที่จำเป็นของโลกศตวรรษท่ี 21 สามารถ เข้าถึงการเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวติ 4.c เพิ่มจำนวนครทู ่ีมีคุณวฒุ ิ รวมถึงการ ดีขึน้ ดำเนนิ การผ่านความรว่ มมือระหวา่ งประเทศ ในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลงั พฒั นา โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในประเทศพัฒนา นอ้ ยทสี่ ุด และรฐั กำลังพัฒนาท่ีเป็นเกาะ ขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573 แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 71 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น 2.2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (2) ประเด็น การตา่ งประเทศ การต่างประเทศมีส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เพ่ือให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีความม่ันคง มงั่ ค่ัง และยงั่ ยืน โดยการดำเนินงานด้าน การตา่ งประเทศให้ไทยมีความพร้อมและมีบทบาทเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์เพื่อเป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีโลก และ มีความร่วมมือกับนานาชาติในลักษณะที่จะเกื้อหนุนต่อความก้าวหน้าในทุก ๆ ด้านของไทยและเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาคมโลกโดยรวม โดยปัจจุบันประเทศไทยมีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้นในเวที ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มอนุภูมิภาคและภูมิภาคเอเชีย และมีการขยายความร่วมมือใน ด้านต่าง ๆ อาทิ เศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม และทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ที่เข้มข้นขึ้น และการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นหลายศูนย์เป็น เง่อื นไขสำคัญต่อการปรับตัวด้านการต่างประเทศของประเทศไทย ดงั นน้ั แผนแมบ่ ทประเด็นการต่างประเทศ จึงได้กำหนดกรอบนโยบายต่างประเทศของไทยเพื่อให้ทุกส่วนราชการสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติท้ัง 6 ดา้ น ในมิติการต่างประเทศอย่างบูรณาการและเปน็ เอกภาพ เป้าหมาย การต่างประเทศไทยมีเอกภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยงั่ ยนื มีมาตรฐานสากล และมเี กยี รติภูมิในประชาคมโลก แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่างประเทศได้กำหนดเป้าหมาย คือ การต่างประเทศไทยมีเอกภาพ ทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีมาตรฐานสากล และมี เกียรติภูมิในประชาคมโลก ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นที่จะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ (1) มีความมั่นคง (2) มีความมั่งคั่ง ยั่งยืน (3) มีมาตรฐานสากล (4) มีสถานะและเกียรติภูมิ และ (5) มี พลัง โดยแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่างประเทศ จึงประกอบด้วย 5 แผน ยอ่ ยโดยสรปุ ดังน้ี ความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ มุ่งเสริมสร้างความมั่นคงของไทย และเสถียรภาพของภูมิภาคท่ามกลางภัยคุกคามทุกรูปแบบ โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในทุกระดับเพ่ือส่งเสริมความมั่นคงในทุกมติ ิและเตรียมความพร้อมของไทยในการรบั มือต่อความท้าทายด้าน ความมั่นคงจากภายนอก นอกจากนี้ การต่างประเทศไทยยังจะต้องดำเนินการเชิงรุกในด้านการเสริมสร้าง เสถยี รภาพในภูมภิ าคไปพร้อมกันด้วย เพ่อื ลดความเส่ียงหรือป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ของไทยในอนาคตได้ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่ผ่านมามีส่วนสำคัญมาจากรายได้จากการส่งออกและการ ท่องเที่ยว ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถรักษาระดับการขยายตัวได้ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง และต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศที่มีระดับค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าในยุคโลกาภิวัตน์ การที่ไทยจะ สามารถหลุดพ้นจาก “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” นี้ได้ต้องอาศัยการพัฒนาตามเป้าหมายที่มุ่งสร้าง เศรษฐกิจที่เน้นคุณค่าที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมทั้งเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากน้ี ประเทศไทย ยงั สามารถควา้ โอกาสทองของการท่ีเอเชียผงาดขนึ้ เปน็ ภูมภิ าคที่เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท่ีโดดเด่นที่สุดโดย แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 72 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น ใชป้ ระโยชนจ์ ากท่ตี ้ังเชิงภมู ิศาสตรข์ องไทย ควบคกู่ ับการสร้างความเช่ือมโยงดา้ นการคมนาคมและโลจิสติกส์ ในภูมิภาค และส่งเสริมความสะดวกในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากกรอบ ความร่วมมือระดับภมู ิภาคที่ไทยเปน็ สมาชิก เพ่ือสง่ เสริมให้ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าและการลงทุนใน เอเชียในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมและการบริการที่ไทยมีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน นอกจากเศรษฐกิจไทยจะพึ่งพาต่างประเทศในเชิงอปุ สงค์แล้ว ไทยยังต้องพ่ึงพาต่างประเทศในเชิงอุปทาน อีกด้วย ไทยจึงจะต้องใช้ประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเป็นหุ้นส่วนกับภาคส่วนต่าง ๆ ของตา่ งประเทศ เพอื่ ร่วมกันบรรลุเป้าหมายการพัฒนาท่ยี ่ังยืนของโลก การพัฒนาที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ สังคม โลกในปัจจุบันและในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเชื่อมโยงใกล้ชิด และการ แข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้การพัฒนาอย่างเป็นเอกเทศจากกฎเกณฑ์และมาตรฐานที่ได้รับการ ยอมรับอย่างเป็นสากลเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงกฎระเบียบและการบังคับใช้ของไทยในปัจจุบันยังขาดความสอดคล้องกับ กฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพันธกรณีระหว่างประเทศของไทยในหลายด้าน ทั้งยังมีอีก หลายประเด็นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และ สงั คมกบั นานาประเทศ จงึ มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่กระบวนการพฒั นาโครงสร้าง และกฎระเบยี บของไทย จะได้รับการพัฒนาและบังคับใช้ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพันธกรณี ของไทย และในขณะเดียวกนั ภาคสว่ นตา่ ง ๆ ของไทยก็ควรไดร้ ับการพัฒนาองค์ความรู้และขีดความสามารถ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ มาตรฐาน และพันธกรณีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบเชิงลบตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ นอกเหนือจากการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลแล้ว ไทยยังสามารถมีบทบาทในการร่วมเสนอแนวปฏิบัติที่ดีของไทยเพื่อร่วมพัฒนากฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพนั ธกรณตี า่ ง ๆ น้ี ไปพรอ้ มกนั ได้ด้วย การส่งเสริมสถานะและบทบาทของประเทศไทยในประชาคมโลก การส่งเสริม สถานะและอำนาจแบบนุ่มนวลของไทย สามารถกระทำได้ในสองแนวทางหลัก คือ ผ่านการเผยแพร่ วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของไทย และนโยบายการต่างประเทศของไทย อย่างไรก็ดี ไทยยังขาดการ ดำเนินการที่ส่งเสริมการนำจุดเด่นเหล่านี้มายกสถานะและสร้างอำนาจต่อรองเพื่อรักษาและเพิ่มพูน ผลประโยชน์ให้แก่ประเทศและประชาชนไทยในการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาคมโลกได้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ไทยจะต้องยกระดับการส่งเสริมเอกลักษณ์ของไทยให้สามารถนำไปสร้างมูลค่าได้ รวมถึง ต้องเน้นการดำเนินนโยบายที่เป็นการส่งเสริมสถานะของไทยในเวทีโลก พร้อมไปกับการสร้างขีด ความสามารถให้ทุกภาคส่วนของไทยสามารถร่วมเสริมสร้างสถานะของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบ การต่างประเทศมีเอกภาพและบูรณาการ การทำงานอย่างบูรณาการและ เอกภาพเป็นกุญแจสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานด้านต่างประเทศ ทุกประเด็นยุทธศาสตร์จะ สามารถบรรลุได้โดยการดำเนินงานด้านการต่างประเทศที่สอดรับกันอย่างเป็นทีมของทุกหน่วยงานทั้งใน ประเทศและในต่างประเทศบนเงื่อนไขเวลาและทรัพยากรของประเทศที่จำกัด เช่นเดียวกับการที่ต้องมีการ บริหารจัดการกำลังคนที่เหมาะสม มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับการ แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 73 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยแผนแม่บทประเด็นการต่างประเทศจะมุ่งส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม รวมถงึ ประชาชนไทยท่ัวไป ทั้งในประเทศและในตา่ งประเทศมสี ว่ น เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศมากขึ้น ทั้งในการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและในการร่วมขับเคลื่อน เพ่อื ให้การต่างประเทศเป็นเรื่องทีใ่ กลต้ วั สำหรบั ประชาชนไทย (10) ประเด็น การปรับเปลยี่ นคา่ นิยมและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ชาติให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากเป็น ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของประเทศในระยะยาว โดยการจะพัฒนาประชากรที่ดีและสมบูรณ์ นั้น นอกจากการยกระดับในด้านสุขภาวะและด้านทักษะการศึกษาแล้ว จะต้องพัฒนาด้านค่านิยมและ วัฒนธรรมที่ดีของประชาชนทุกกลุ่มวัยควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ในการ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกชว่ งวยั ใหเ้ ป็นคนดี เกง่ และมีคณุ ภาพ โดยในช่วงที่ผ่านมาประชากรไทยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม และไมต่ ระหนักถึงความสำคัญของการมวี นิ ยั ความซ่ือสัตย์สจุ รติ และการมีจิตสาธารณะ ดงั ปรากฏในผลการ สำรวจด้านคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ อาทิ การสำรวจโดยศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน) เมื่อปี 2561 พบว่า ปญั หาความซื่อสัตย์สุจริตทุจริตคอรัปชั่น เปน็ ปัญหาท่ีมีความรุนแรงมากทสี่ ุด (ระดับความรนุ แรง 4.13 จาก คะแนนเต็ม 5.00) และจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหามากท่สี ุด รองลงมาคือปัญหาจิตสำนึกสาธารณะเห็น แก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ซึ่งอาจสะท้อนการเปลี่ยนไปของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีค่านิยมยึด ตนเองเป็นหลักมากกว่าการคำนึงถึงสังคมสว่ นรวม เป้าหมาย คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และมีความรัก และ ภูมิใจในความเป็นไทย คนไทย นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต สังคมไทยมี ความสุขและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศมากขนึ้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ วฒั นธรรม เพ่ือปลูกฝังค่านยิ มและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของประชาชนไทยในช่วงระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการมวี นิ ัย ความซอื่ สัตยส์ ุจรติ การมจี ิตอาสา จติ สาธารณะ และความตระหนักถึงหนา้ ท่ตี ่อประโยชน์ สว่ นรวม รวมท้งั การสง่ เสริมให้ประชาชนยึดม่ันสถาบันหลักท่ีเป็นศูนยร์ วมจิตใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความภาคภูมิใจในความเป็นไทยที่มีอัตลักษณ์และความโดดเด่นจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ทั้งใน ด้านความมีน้ำใจความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีไมตรีและความเป็นมิตร โดยมุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วม ปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งบูรณาการร่วมระหว่างภาคีต่าง ๆ อาทิ ครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา ส่ือ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการหล่อหลอมคนไทยให้มคี ุณธรรม จริยธรรม ในลกั ษณะที่เป็น ‘วิถ’ี การดำเนินชวี ิต โดยวางรากฐานการพัฒนาคนใหม้ ีความสมบูรณ์ เริม่ ตง้ั แต่การพัฒนา คนให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของสถาบันสังคมและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง ทั้ง ครอบครวั ชมุ ชน ศาสนา การศึกษา ส่อื และภาคเอกชน โดยแผนแมบ่ ทฯ ประกอบด้วย 3 แผนยอ่ ย ดงั นี้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเสริมสร้างจิตสาธารณะ และการเป็นพลเมืองที่ดี ผ่านการเลี้ยงดูในครอบครัว การบูรณาการเรื่องความซื่อสัตย์ วินัย คุณธรรม จรยิ ธรรม ในการจัดการเรียนการสอน การสร้างความเข้มแข็งของสถาบนั ทางศาสนา การปลูกฝังค่านิยมและ แผนทนี่ าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 74 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น วัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การส่งเสริมให้คนไทยมีจิตสาธารณะ จิตอาสาและรับผิดชอบต่อส่วนรวม รวมทั้งการสร้างเสริมผูน้ ำการเปลย่ี นแปลงและต้นแบบที่ดที ้ังระดับบุคคลและองค์กร การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์จากภาคธุรกิจ โดยการ เสริมสร้างและพัฒนากลไก เพื่อให้ภาคธุรกิจ ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดี และการ ยกระดับการบริหารจัดการ รวมถึงมาตรการของภาครัฐเพื่อให้ภาคธุรกิจร่วมรับผิดชอบในการปรับเปลี่ยน คา่ นยิ มและวฒั นธรรม การใช้สื่อและสื่อสารมวลชนในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมของคนใน สังคม โดยการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ และเสริมสร้างค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชน และประชาชนทั่วไป พัฒนาสื่อ เผยแพร่ เพื่อสร้างเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และจัดสรรเวลาและเปิดพื้นที่ให้สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนในการปลูกจิตสำนึกและสร้างเสริมค่านิยมทด่ี ี (11) ประเดน็ การพัฒนาศกั ยภาพคนตลอดช่วงชีวติ ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศ เจรญิ กา้ วหน้าไปในอนาคต ซ่งึ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยขับเคล่ือนสำคญั ในการยกระดบั การพัฒนาประเทศ ในทุกมิติไปสู่เป้าหมายการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วที่ขับเคลื่อนโดยภูมิปัญญาและนวัตกรรมในอีก 20 ปี ข้างหน้า อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานและวัยเด็กที่ลดลงและ ประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างตอ่ เนื่อง จะเป็นปจั จยั เสี่ยงสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ มี ความท้าทายเพิ่มมากขึ้น ทั้งในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในการจัดสวัสดิการเพื่อดูแล ผู้สงู อายุท่ีเพ่ิมสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ความม่ันคงทางสังคม การบริหารจดั การทรัพยากรธรรมชาติอย่างย่ังยนื ซ่งึ จะเปน็ ประเด็นท้าทายต่อการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การ เป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยปจั จบุ นั โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสสู่ ังคมสูงวัย และจะ เปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ในช่วงปี 2564 ซึ่งทำให้ประชากรวัยแรงงานจะมีจำนวนสูงสุดและเริ่มลดลงอย่าง ต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว นอกจากนี้ อัตราการ เจรญิ พนั ธร์ุ วมของประชากรไทยในปี 2561 อย่ทู ี่ 1.58 ซง่ึ ตำ่ กวา่ ระดบั ทดแทน นอกจากน้ี กลมุ่ วยั ตา่ ง ๆ ยังคงมีปัญหาและความท้าทายในแต่ละกลุ่ม อาทิ โภชนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย ความสามารถทางเชาว์ ปญั ญา และความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มวัยรุ่น ผลิตภาพแรงงานต่ำในกลุ่มวัยแรงงาน และปัญหาสุขภาพ ของกลุม่ ผูส้ งู อายุ เป็นตน้ เป้าหมาย คนไทยทกุ ช่วงวยั มคี ุณภาพเพมิ่ ขนึ้ ได้รับการพัฒนาอย่างสมดลุ ทงั้ ด้าน ร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรมจริยธรรม เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในศตวรรษท่ี 21 รักการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชวี ติ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ อย่างเป็นระบบ โดยจำเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ มนุษย์ สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยซึ่งเป็นหน่วยที่ย่อยที่สุดเพื่อให้สามารถเป็นพลังในการ ขับเคลื่อนช่วยเหลือสังคม พัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 75 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคต จะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิต สาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็น พลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้องมีทักษะที่จำเป็นในโลกอนาคต สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี มีทักษะ สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาท่ี 3 รวมทั้งอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูงเป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงและนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง” แผนแม่บทประเด็น การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ได้กำหนดแผนย่อยไว้ 5แผนย่อย เพื่อพัฒนาและยกระดับทรัพยากร มนุษย์ในทกุ มิติและในทุกชว่ งวัยให้เต็มศักยภาพและเหมาะสม ดังนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ พฒั นาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยจำเป็นตอ้ งมุ่งเนน้ การพฒั นาและยกระดบั คนในทุกมิตแิ ละในทุกช่วง วัยให้เปน็ ทรัพยากรมนุษย์ท่ีดี เก่ง และมคี ุณภาพพร้อมขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็ม ศักยภาพซึ่งจำเป็นต้องมีการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร มนุษย์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และการมีระบบและกลไกรองรับการพัฒนา ทรพั ยากรมนุษย์ท่ีมปี ระสิทธิภาพ การพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย โดยจัดให้มีการเตรียม ความพร้อมให้แก่พ่อแมก่ ่อนการต้ังครรภ์ พรอ้ มทัง้ ส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กตั้งแต่เร่ิมต้ังครรภ์ ส่งเสริมและ สนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกระดับดำเนินงานตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กสู่มาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสารอาหารที่จำเป็นต่อสมองเด็ก การ กระตนุ้ พัฒนาการสมองและการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทีส่ มวยั ทุกด้าน การพฒั นาช่วงวัยเรียน/วัยรุ่น จัดให้มกี ารพฒั นาทักษะความสามารถที่สอดรับ กับทักษะในศตวรรษท่ี 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสามารถในการแก้ปัญหา ทซ่ี ับซ้อน ความคดิ สร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น จดั ใหม้ ีการพัฒนาทักษะด้านภาษา ศลิ ปะ ทักษะด้าน ดิจทิ ลั และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีท่ีสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ จดั ให้มี การพัฒนาทักษะในการวางแผนชีวิตและวางแผนการเงิน ตลอดจนทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับโลกการ ทำงาน จดั ใหม้ กี ารเรยี นรู้ทักษะอาชีพทส่ี อดคล้องกับความต้องการของประเทศ และทักษะชีวิตที่สามารถอยู่ ร่วมและทำงานภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนระบบบริการสุขภาพและอนามัยที่ เชื่อมต่อกันระหว่างระบบสาธารณสุขกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านความฉลาด ทางเชาวน์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มวัยเรียน/วัยรุ่น รวมทงั้ สร้างความอยากรู้อยากเห็นและ สรา้ งแรงจงู ใจใฝส่ ัมฤทธิ์ การพัฒนาและยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน ดว้ ยการยกระดับศักยภาพทักษะ และสมรรถนะของคนในช่วงวัยทำงานให้สอดคล้องกับความสามารถเฉพาะบุคคลและความต้องการ ของตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและผลิตภาพเพิ่มขึ้นให้กับประเทศ เสริมสร้างความ อยากรู้และยกระดับตนเอง สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ และความรู้ความเข้าใจและทักษะ ทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและหลักประกันของตนเองและครอบครัว ส่งเสริมและสนับสนุนการ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 76 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น พัฒนาความรู้ แรงงานฝีมือ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่ และสามารถพัฒนาต่อยอดความรู้ในการสร้างสรรค์ งานใหม่ ๆ และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับวัยทำงานผ่านระบบการคุ้มครองทางสังคมและการส่งเสริม การออม การส่งเสริมศักยภาพวัยผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุให้ พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกจิ และร่วมเปน็ พลงั สำคญั ตอ่ การพัฒนาเศรษฐกจิ ชมุ ชนและประเทศ ส่งเสริมและ พัฒนาระบบการออมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตหลังเกษียณ และหลักประกันทางสังคมที่ สอดคล้องกับความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต และส่งเสริมสนับสนุนระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแล ผ้สู งู อายุ พรอ้ มท้งั จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมติ รกับผ้สู ูงอายุ (12) ประเดน็ การพัฒนาการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ชาติให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของ ประชากรไทยทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับ การพัฒนาทั้งสอดคล้อง กับศักยภาพ ความสนใจ ความถนัด และการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ท่ี หลากหลาย อาทิ ภาษา ตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านทัศนะและมิติดนตรี กีฬาและการเคลื่อนไหวของ รา่ งกาย การจัดการตนเอง มนษุ ยสมั พันธ์ รวมถึงผูม้ ีความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบและปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน ทั้งในส่วนของระบบการ เรียนการสอน และการพัฒนาทักษะฝีมือ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวทันโลก ซึ่งการศึกษาและการ เรยี นรู้เป็นเคร่ืองมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนให้มีทักษะความรู้ ทกั ษะอาชีพบนฐานพหุปัญญา มี สมรรถนะที่มีคุณภาพสูง ร้เู ทา่ ทันการเปลีย่ นแปลง โดยในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าคนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาสูงขึ้น โดยมีจำนวน ปกี ารศกึ ษาเฉลี่ยของประชากรวยั แรงงานอายุ 15-59 ปี เพิ่มขนึ้ อย่างต่อเน่ืองจาก 8.8 ปี ในปี 2551 เปน็ 9.4 ปีในปี 2559 แต่ในภาพรวมคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทยยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อ พิจารณาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนขั้นพื้นฐาน ในปี 2560 พบว่า มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 และผลคะแนนสอบ PISA ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าอีกหลายประเทศที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน เนื่องจากข้อจำกัดที่สำคัญของการศึกษาไทย ทั้งปัญหาเรื่องหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนที่เน้นการ ท่องจำ ทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยสนับสนนุ การจัดการเรยี นการสอนและครูทีม่ ีคณุ ภาพยังกระจาย ไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในพนื้ ท่หี ่างไกล ขณะท่ีในระดับอาชีวศึกษายังมีเด็กที่สนใจเรยี นต่อสายอาชีพในสัดส่วนท่ี น้อย ส่วนระดับอุดมศึกษาพบว่ามีการเปิดหลักสูตรโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตลาดงาน บัณฑิตที่จบ ออกมาบางส่วนยังมปี ัญหาคุณภาพ เปา้ หมาย 1. คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะที่จำเป็นของ โลกศตวรรษที่ 21 สามารถในการแก้ปัญหา ปรบั ตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธผิ ล มี นสิ ัยใฝ่เรยี นรู้อยา่ งต่อเน่ืองตลอดชีวติ แผนทน่ี าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 77 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น 2. คนไทยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัดและ ความสามารถของพหุปญั ญา ดังนั้น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการพัฒนาการเรียนรู้ ได้ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เน้นทั้งการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน และการเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนา การศึกษาและการเรียนรู้ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาระบบ การเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษท่ี 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยน บทบาทครูการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อ พฒั นาผ้เู รียนใหส้ ามารถกำกับการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับตนเองได้อย่างต่อเนื่องแม้จะออกจากระบบการศึกษา แล้ว ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาคนไทยตามพหุปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ รวมถึงการสร้างเสริม ศักยภาพ ผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง โดยประกอบด้วย 2 แผนยอ่ ย ดงั น้ี การปฏริ ูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา ที่ใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการ พัฒนากระบวนการ เรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา รวมถึงจัดกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 พัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่เน้นการลงมือปฏบิ ตั ิ มกี ารสะท้อนความคิด/ทบทวนไตร่ตรอง พัฒนา ระบบการเรียนรู้ท่ีใหผ้ ู้เรียนสามารถกำกบั การเรียนรู้ของตนได้ เพือ่ ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างรายได้ รวมถึงมีทักษะด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต เปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ โดยวางแผนการผลิต พัฒนาและปรับบทบาท “ครู คณาจารย์ยุคใหม่” ให้เป็น “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ปรับระบบการผลิตและ พัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรร ผู้มีความสามารถสูงให้เข้ามาเป็นครู ส่งเสริมสนับสนุนระบบการพัฒนา ศักยภาพและสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งเงินเดือน สายอาชพี และระบบสนบั สนุนอนื่ ๆ การเพ่ิม ประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ ทุกประเภท โดยปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของโรงเรียนในทุกระดับ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ปรับปรงุ โครงสร้างการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพการศึกษา สง่ เสรมิ การมีส่วนร่วมจาก ภาคเอกชนในการจัดการศึกษา พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา โดยแยกการประกันคุณภาพ การศึกษาออกจากการประเมินคุณภาพและการรับรองคุณภาพและการกำกับดูแลคุณภาพการศึกษา ปฏิรูป ระบบการสอบที่นำไปสู่การวัดผลในเชิงทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 มากกว่าการวัดระดับความรู้ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและใช้เทคโนโลยีในการสร้างและจัดการความรู้ การเรียนการสอน และการจัด การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นท่ี การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัด ให้มีระบบการศึกษาและระบบฝึกอบรมบนฐานสมรรถนะที่มีคุณภาพสูงและยืดหยุ่น มีมาตรการจูงใจและ ส่งเสริมสนับสนุนให้คนเข้าสู่ใฝ่เรียนรู้ พัฒนาตนเอง รวมถึงการยกระดับทักษะวิชาชีพ พัฒนาระบบการ เรียนรู้ชุมชนให้เข้าถึงได้ทุกท่ี ทุกเวลา โดยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม พัฒนา ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลแฟลตฟอร์มเพื่อการศึกษาในทุกระดับทุกประเภทการศึกษาอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือสื่อการเรียนรู้ดิจิทลั ที่มีคุณภาพที่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการเรียนรแู้ ละพฒั นาตนเองผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ รวมถึง แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 78 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น การสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ โดยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ สถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีความโดดเด่นเฉพาะสาขาสู่ระดับนานาชาติ สร้างเครือข่ายความ ร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในระดับนานาชาติ รวมถึงการพัฒนา ศูนย์วิจัยเฉพาะทางศูนยฝ์ ึกอบรมและทดสอบในระดับภูมิภาค จัดให้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจัดให้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมของไทยและพัฒนาการของ ประเทศเพ่ือนบ้านในระบบการศึกษา และสำหรับประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนการแลกเปล่ียนเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและนักเรียนกบั ประเทศเพ่ือนบ้านในภูมภิ าคเอเชียอาคเนย์ การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ด้วยการพัฒนา และสง่ เสริมพหปุ ัญญา ผา่ นครอบครัว ระบบสถานศึกษา สภาพแวดล้อม รวมท้ังส่ือ โดยพฒั นาระบบบริหาร จัดการ กลไกการคัดกรองและการส่งต่อเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคนไทยตามพหุปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมสนับสนุนครอบครัว ในการเสริมสร้างความสามารถพิเศษตามความถนัดและศักยภาพ ทั้งด้านกีฬา ภาษาและวรรณกรรม สุนทรียศิลป์ ส่งเสริมสนับสนุนระบบสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการ สร้างและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษบนฐานพหุปัญญา ส่งเสริมสนับสนุนมาตรการจูงใจ แก่ภาคเอกชน และสื่อ ในการมีส่วนร่วมและผลักดันให้ผู้มีความสามารถพิเศษ มีบทบาทเด่นในระดับ นานาชาติ การสร้างเส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการทำงาน และระบบสนับสนุนที่เหมาะสมสำหรับผู้มี ความสามารถพิเศษ โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุนเพื่อผู้มีความสามารถพิเศษได้สร้าง ความเข้มแข็งและต่อยอดได้ จดั ใหม้ กี ลไกการทำงานในลักษณะการรวมตัวของกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษใน หลากสาขาวิชา เพอ่ื รวมนักวิจัยและ นกั เทคโนโลยีช้ันแนวหน้าเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์การ พัฒนาประเทศ และสร้างความร่วมมือและเชื่อมต่อสถาบันวิจัยชั้นนำทั่วโลก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ นักวจิ ัยความสามารถสูงของไทยใหม้ ศี ักยภาพสูงยิ่งขึ้น 2.3 แผนปฏริ ปู ประเทศด้านการศึกษา (ฉบบั ปรับปรุง) การปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษาและปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลาย ของการจัดการศึกษาและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวยั ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและ ความภาคภูมิใจในความเป็นไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมทั้งการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทาง การศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การ พฒั นาการจัดการเรยี นการสอนสู่การเรียนรฐู้ านสมรรถนะ เพือ่ ตอบสนองการเปล่ยี นแปลงในศตวรรษท่ี 21 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน จัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาโดยใช้ระบบทวิภาคีหรือระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็ม รปู แบบ เพอื่ นำไปสู่การจา้ งงานและการสร้างงาน และการปฏริ ปู บทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาล ของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย มี แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 79 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น กลไกสนับสนุนการขับเคล่ือนท่ีสำคัญ ไดแ้ ก่ การเรง่ ผลักดันร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ให้มีผลบังคับใช้ การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทางสังคมและสื่อ ในการสร้างความรู้ ความ เขา้ ใจ และมสี ่วนรว่ มในการขับเคลื่อนการปฏิรูป และความเปน็ เจา้ ของรว่ มในเป้าหมายและความสำเร็จ ของการปฏิรูปของประชาชน การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา และการทดลองนำร่องกิจกรรมปฏริ ูป ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องต่อบริบทพื้นที่อย่างยั่งยืน การ บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (Big Data for Education) ให้สามารถมาใช้ ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษา ติดตามเฝ้าระวังเด็กไม่ให้ออกจากระบบการศึกษา เพื่อให้การ ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที รวมถึงการติดตามผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนรายบุคคลให้ได้รับการพัฒนาอย่าง เตม็ ตามศักยภาพและความสนใจของผู้เรยี น การเปลี่ยนโลกทศั น์ทางการศึกษาของสาธารณชนในการ ส่ือสาร ปลูกฝัง พัฒนาวิธีคดิ ปรับเปลย่ี นค่านยิ ม ทศั นคติ ความคาดหวงั ต่อระบบการศกึ ษาที่มงุ่ เน้นไปสู่ การพัฒนาระบบการศึกษาอิงฐานสมรรถนะ ที่มุ่งให้ครูและนักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้และพัฒนา ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ การกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการติดตาม รวบรวมผลการ ดำเนินงานจากเจ้าภาพหลักในแต่ละกิจกรรม และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาตอ่ คณะกรรมการปฏริ ูปประเทศด้านการศึกษา ทั้งน้ี กิจกรรมปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศดา้ นการศึกษาดังกลา่ ว ได้คำนึงถึง เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 ที่บัญญัติให้มีการ ดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและมาตรา 258 จ (4) ที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาเด็กเล็ก การสร้างโอกาสทาง การศึกษา การปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาครู และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการ เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาและส่งเสริมพหปุ ัญญาที่หลากหลาย การพัฒนาศักยภาพคนทกุ ช่วงวัย และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความ เสมอภาคทางสังคมที่ให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ การสร้าง โอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพการรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ รวมถึงได้คำนึงถึงประเด็นปัญหาด้านการศึกษาของประเทศทั้งด้านคุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำ ทางการศกึ ษา ปญั หาของระบบการศึกษาทีเ่ ป็นอปุ สรรคตอ่ การสรา้ งขดี ความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ รวมถึงการบริหารและการจัดการศึกษา นอกจากนี้ ยังได้คำนึงถึงสถานการณ์และบริบทการ เปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาที่สำคัญ อาทิ สถานการณ์ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สารสนเทศที่ช่วยให้มีการสื่อสารไร้พรมแดนและสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและแหล่งความรู้ได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา และบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชากรทั่วโลกในทุก กลุ่มทุกวัย ที่จะต้องเผชิญความท้าทายกับวิถีชีวิตใหม่ เพื่อให้การศึกษาของประเทศสามารถรองรับ ความหลากหลายของการจดั การศกึ ษาและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 80 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น เปา้ หมาย กิจกรรมปฏริ ูปประเทศดา้ นการศกึ ษาและกลไกการขบั เคล่ือน กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่สง่ ผลใหเ้ กดิ การเปลีย่ นแปลงต่อประชาชนอย่างมนี ัยสำคญั แผนทน่ี าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 81 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น กิจกรรมปฏิรปู ทีจ่ ะส่งผลให้เกดิ การเปลยี่ นแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ 1. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็ก ปฐมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนวัยเรียน (3-5 ปี) เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการตลอด ช่วงชวี ติ ของบุคคล หากเดก็ ในช่วงวัยนี้ไม่ไดร้ ับการดูแลทเี่ หมาะสม โดยเฉพาะในครอบครวั ท่ดี ้อยโอกาสขาด ความพร้อมจะส่งผลให้สถานการณค์ วามเหลอ่ื มลำ้ ทางการศึกษาของประเทศมีแนวโนม้ ที่สูงข้ึน อยา่ งไรก็ ตามปัจจุบันเด็กในช่วงอายุกอ่ นวัยเรียนทีไ่ ม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาปฐมวัย อาทิ ศูนย์พัฒนาเด็ก เลก็ หรือห้องเรยี นระดบั อนุบาลยังมสี ัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 10 โดยส่วนใหญเ่ ป็นเด็กจากครอบครัวที่ มีฐานะยากจน พ่อแม่ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและทำงานอยู่ต่างถิ่น ซึ่งมักนำบุตรหลานเข้าเรียนระดับ อนุบาลล่าช้า หรือไม่ได้ส่งเข้าเรียน ทำให้เด็กเหล่านี้เสี่ยงต่อการมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่ล่าช้า ไม่ทัน เพ่อื น นับตัง้ แตเ่ ริม่ เขา้ ศึกษาในระดับประถมศึกษา ซงึ่ ชอ่ งว่างของความเหล่ือมล้ำด้านพฒั นาการนี้ หากไม่ ถูกค้นพบและได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที จะมีแนวโน้มแย่ลงในอนาคต ส่งผลต่อความสามารถในการ อา่ นออกเขียนได้ ทกั ษะการเรียนรู้ และความเส่ียงต่อการออกจากระบบการศกึ ษาก่อนสำเร็จการศึกษาขั้น พื้นฐานในที่สุด รวมทั้งยังมีเด็กและเยาวชนที่ออกนอกระบบการศึกษาจำนวนมากที่ไม่จบการศึกษาภาค บังคับ ไม่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังมีประชากรวัยแรงงานขาดทักษะด้านการอ่านและคณิตศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็น การขาดโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปฐมวัย และป้องกันเด็กเยาวชนออกจากระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบการค้นหา เฝ้าระวัง ติดตาม และช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย และติดตาม ช่วยเหลือเด็กและเยาวชน นอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อหรือได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือ สำรวจความพร้อมของเด็กปฐมวัยในการเข้าสู่การศึกษาระดับประถมศึกษา (School Readiness Survey) และการพฒั นาเคร่ืองมือการประเมนิ ศักยภาพดา้ นการอา่ นและคณติ ศาสตร์ในระดับการศึกษา ข้ันพนื้ ฐานของประชากรวยั แรงงาน (Workforce Readiness Survey) เพ่อื ใหส้ ังคมไทยได้เฝา้ ระวังและ ติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพและความเสมอภาคในการพัฒนาทรพั ยากรมนษุ ยข์ องไทย อย่างตอ่ เนื่อง ตลอดจนใหม้ ีกลไกการสนับสนุนอย่างเพียงพอท้งั ในการป้องกันและมาตรการแก้ไขปัญหา เดก็ และเยาวชนออกจากระบบการศึกษาต้งั แต่ระดบั ปฐมวัย การดำเนินงานในระดบั พนื้ ท่ี และต้นสังกัด และการติดตามความคืบหน้า และการระดมการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างต่อเนื่องอันจะช่วยลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษาการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยตาม กจิ กรรมปฏริ ูปนี้ นอกจากจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาท่ีย่งั ยืนของโลกข้อท่ี 4 (UN SDG4) แล้ว ยังเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิ จและ สงั คมของไทยใหส้ ามารถกา้ วออกจากกับดักรายไดป้ านกลาง (Middle Income Trap) สูก่ ารเป็นประเทศ รายได้สงู (High Income Country) ใหไ้ ดภ้ ายใน 20 ปี ตามเปา้ หมายของยุทธศาสตร์ชาตอิ ยา่ งยัง่ ยนื แผนทน่ี าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 82 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น เปา้ หมาย 1) เด็กปฐมวัยในช่วงก่อนวัยเรียน (3 - 5 ปี) ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ขาด แคลนทุนทรัพย์ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการจากสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งใน และนอกระบบการศึกษา รวมถึงระบบการศึกษาซึ่งจัดการโดยครอบครัวหรือกลุ่มของครอบครัวจน สำเร็จการศกึ ษาขนั้ พืน้ ฐาน หรอื ระดบั สงู กวา่ อย่างเสมอภาคตามศกั ยภาพและความถนัด 2) เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษากลับเข้าศึกษาต่ออย่างน้อยจนจบ การศกึ ษาภาคบังคับ และได้รบั การพัฒนาทกั ษะอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพทจ่ี ะพ่ึงพาตนเองใน การดำรงชวี ิตได้ 3) ประชากรวัยแรงงานมีทักษะด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ (Literacy & Numeracy Competency) ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานท่ีจำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวติ ในโลก ยคุ ปัจจบุ นั 4) เกิดระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปฐมวัยด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมท้ัง ภาคเอกชน แนวทางการดำเนนิ งาน 1) การพัฒนาเครื่องมือ และระบบบูรณาการทำงานเพื่อสนับสนุนการ ดำเนินการปฏิรูป โดยกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา และเป้าหมาย ร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบการค้นหา เฝ้าระวัง ติดตาม และ ช่วยเหลือเด็กให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย และติดตาม ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอก ระบบการศึกษาให้กลับเข้าศึกษาต่อหรือได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ พัฒนาเครื่องมือสำรวจความ พร้อมของเด็กปฐมวัยในการเข้าสู่การศึกษาระดับประถมศึกษา (School Readiness Survey) เป็นราย จังหวัด พัฒนาเครื่องมือการประเมินศักยภาพด้านการอ่านและคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของประชากรวยั แรงงาน (Workforce Readiness Survey) 2) การสนับสนุนนวัตกรรมการป้องกัน (Prevention) และการแก้ไข Correction) ปัญหาเด็กและเยาวชนออกจากระบบการศกึ ษาตั้งแต่ระดับปฐมวยั เพอ่ื ลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษาโดยสนับสนุนทุนการศึกษาและเงินอุดหนุนแก่เด็กที่มีฐานะครอบครัวยากจนในสถาน พฒั นาเด็กปฐมวัย จนถึงระดบั การศึกษาภาคบังคบั ท้งั ในสถานศึกษาและศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพตามความถนัดให้สามารถพึ่งพาตนเองในการ ดำรงชีวิตได้ พัฒนาระบบคัดกรองเด็กเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา สนับสนุนการพัฒนา ระบบฐานข้อมูล งานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมเชงิ สหวิทยาการ เพือ่ ป้องกนั และแก้ไขปัญหาการออก จากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน สร้างนวัตกรทางสังคม (Social Innovator) ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อร่วมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาการออกจากระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทย แผนทนี่ าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 83 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น 3) การสนบั สนนุ กลไกการดำเนินงานในระดับพน้ื ท่ี และตน้ สังกัด โดยสนับสนุน การพัฒนาสถานพัฒนาเดก็ ปฐมวัยใหม้ ีคณุ ภาพตามมาตรฐานสถานพฒั นาเด็กปฐมวยั แห่งชาติ สนบั สนุน องค์ความรู้ และพัฒนาทักษะให้แก่ครูปฐมวัย ครูผู้ช่วย และอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กเล็กทุกสังกัด รวมทั้ง การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับ ความต้องการและความสนใจ สนับสนุนการพัฒนาสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีข้อมูล องค์ความรู้ และเครื่องมือที่จำเป็นใน ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยนื สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็กอย่างยั่งยืนและ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ด้วยกระบวนการทางวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ของสถานศึกษาขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร (Protected and Isolated Schools) และ สถานศึกษาขนาดเล็กประเภทอืน่ ๆ พัฒนาและสร้างสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อตอ่ การพัฒนา ผ้เู รยี น ให้เดก็ มีความรู้สกึ ปลอดภัย มคี วามอบอนุ่ และมคี วามสขุ ในการเรียน 4) การติดตามความคืบหน้า และการระดมการมีส่วนร่วมของสังคม พร้อมทั้ง สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและดำเนินการร่วมกับองค์กรภาคเอกชน ภาค ประชาสังคม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมการมีส่วนร่วมสนับสนุนการดำเนินการปฏิรูป อย่างตอ่ เนอ่ื ง 2. การพฒั นาการจดั การเรยี นการสอนสกู่ ารเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนอง การเปลยี่ นแปลงในศตวรรษท่ี 21 การจัดการศึกษาของประเทศ จะต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และยุทธศาสตร์ชาติ คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้าน ประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และพลวัตของโลกยุคใหม่ ที่ส่งผลต่อวิถชี ีวิตของประชากรใน ทุกช่วงวัย ที่จะต้องเผชิญความท้าทายกับวิถีชีวิตใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการ เรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีส่วนร่วม และลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนไดร้ บั การพัฒนาไปส่ศู ักยภาพสูงสดุ ของแตล่ ะบุคคล เปน็ ผ้มู คี วามรู้ มีทักษะและ ใฝ่เรียนรู้ (Learning Skills) สามารถเชื่อมโยงนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง มีทักษะชีวิต (Life Skills) ในโลกยุคใหม่ ร้เู ท่าทนั การเปลย่ี นแปลงของสังคม เปน็ พลเมืองท่ีตนื่ รู้ (Active Citizen) มคี วามรบั ผิดชอบ มีจิต สาธารณะ มีความรักและความภาคภมู ิใจในความเป็นไทย โดยการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนตามหลักสูตร อิงมาตรฐาน (Standard-based Curriculum) ในปัจจุบันไปสู่การเรียนรู้ที่พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (Competency-based Learning) เป็นสำคัญ ทั้งนี้ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะแบบผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรูแ้ บบถักทอความรู้ ทักษะ คุณลักษณะผู้เรียนเข้าด้วยกันด้วยการลงมือปฏิบัติ จริง (Active Learning) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและเรยี นรู้อย่างมีความสุขและพัฒนาความเปน็ มนุษย์ที่สมบูรณ์ผ่านการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน การมีครู อาจารย์ที่มี สมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนและบริบทของท้องถิ่น ผู้บริหาร สถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีสมรรถนะในการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ การนิเทศการเรยี นรู้ แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 84 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถกำหนดเส้นทางและ จังหวะก้าวการเรียนรู้ของตนเอง (Personalized Learning) อย่างมีความหมาย มีการวัดและ ประเมินผลเพอ่ื พัฒนาผูเ้ รียนในทกุ มิติอยา่ งแทจ้ รงิ ตลอดจนมกี ารใชเ้ ทคโนโลยีทางการศกึ ษาท่ีเหมาะสม กับผเู้ รยี นและความพร้อมเพ่อื ให้การจัดการเรียนรูใ้ ห้มปี ระสิทธภิ าพสูงสดุ โดยจดุ เน้นของการจัดการศกึ ษาและการเรยี นรแู้ ต่ละระดบั ดงั นี้ ระดับก่อนอนบุ าล ส่งเสริมความรว่ มมือในการพัฒนาเด็กของผู้ปกครองและชุมชน เน้นการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ บ่มเพาะปลูกฝังวินัยและพัฒนาการที่ดีทั้งกาย ใจ และ อารมณ์ ระดับอนุบาล มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาจดั ประสบการณ์การเรียนรู้เพือ่ พัฒนาทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม บ่มเพาะปลูกฝังวินัย คุณธรรมและค่านิยมที่ดี ด้วยความร่วมมือ ระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน และสถานศึกษา พัฒนาการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ ลงมือปฏิบัติ (Enactive) ด้วย ประสบการณ์ตามมุมต่าง ๆ เพื่อให้สัมพันธ์กบั การเรียนรูข้ องสมอง และจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ให้เหน็ แบบอยา่ งของพฤตกิ รรมการดำเนินชีวติ ที่ดงี าม ระดับประถมศึกษา พัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามแนวทางพหุปัญญาให้ หลากหลายตามศักยภาพ พัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์จรงิ ผา่ นการบูรณาการกจิ กรรมการเรียนรู้ ที่ใช้ปัญหาหรือโครงงานเป็นฐาน (Problem-based Learning & Project-based Learning) รวมถึง พัฒนาทักษะสำคัญในการเรียนรู้ อันได้แก่ ทักษะทางภาษา ทักษะการคิด ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทักษะการคิดสร้างสรรค์ มีการวัดและการประเมินผลผู้เรียนที่มุ่งเน้นการ เรียนรู้ที่เป็นชิ้นงาน ผลผลิตเชิงประจักษ์ เสริมสร้างสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษท่ี 21 ให้ ผู้เรียนพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สร้างงาน สร้างนวัตกรรม ที่สามารถพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์ใน ท้องถิ่นได้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งต่อยอดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดเชิงระบบ ผเู้ รยี นสรา้ งความรูร้ ะดับความคดิ รวบยอด และระดับหลกั การใช้ความรผู้ ลิตผลงานอย่างสรา้ งสรรค์ เน้น ทักษะพื้นฐานทางการเรียนรู้และการดำรงชีวิต คือ ทักษะความเป็นมนุษย์ ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสังเคราะห์ ทักษะการสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการ สื่อสาร บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดี และส่งเสริมทักษะเฉพาะทางด้านความรู้ คำนึงถึง ความแตกตา่ งของแต่ละบุคคลตามความถนัด ความสนใจ ทั้งด้านวิชาการและพื้นฐานวิชาชีพ มีศักยภาพ ในการสร้างผลผลิตจากการเรียนรู้และต่อยอดนวัตกรรมคิดสร้างสรรค์ได้ มีนิสัยปรับปรุงพัฒนางานอยู่ เสมอ สร้างและผลิตผลงานใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว และ เชอื่ มโยงทัง้ ดา้ นสงั คม เศรษฐกจิ ชุมชน ท้องถิ่น ภูมภิ าค และประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งต่อยอดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูง ผ่านการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาหรือโครงงานเป็นฐาน ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ผลิตผลงานอย่าง สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว และสังคม ต่อยอดพื้นฐานทางการเรียนรู้และการดำรงชีวิต คือ ทักษะความเป็นมนุษย์ที่มี คุณค่าระดับสูง เน้นทักษะความเป็นผู้นำ รวมทั้งส่งเสริมทักษะเฉพาะทางด้านวิชาการและวิชาชีพและ แผนทน่ี าทางการขบั เคลอื่ นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 85 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น ฝกึ ประสบการณอ์ ยา่ งเขม้ ข้นในดา้ นความรู้ และสง่ เสริมการเรยี นรู้สรา้ งความรู้จากปฏิบตั ิการเชิงวิจัยท้ัง ในสถานศึกษาและชุมชน เพื่อพัฒนาให้เป็นนวัตกรรม ทั้งที่เป็นผลิตภัณฑ์และโครงการ ความร่วมมือ ปฏิบัติการวิจัยในระดับชุมชนเชื่อมโยงกับพหุวัฒนธรรม และบริบทของชุมชนท้องถิ่น ภูมิภาค และ ประเทศ ระดับอาชีวศึกษา เน้นการลงมือปฏิบัติจริงให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ พลิกผันให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ตามบริบทของภูมิภาคและโลก ส่งเสริมทักษะเฉพาะทางด้านวิชาการและ วิชาชีพและฝึกประสบการณ์อย่างเข้มข้นในด้านความรู้ ตามความถนัดความสนใจรายบุคคล และต่อยอด ทักษะความเป็นมนุษย์ผ่านการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาหรือโครงงานเป็นฐาน ทั้งในสถานศึกษาและสถาน ประกอบการที่มุ่งสร้างความคิดรวบยอดด้านการคิด ด้านคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมขั้นสูง และ ปลูกฝังจรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีความเป็นผูน้ ำ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มุ่งให้ประชาชนได้รับโอกาสการ เรียนรู้ สามารถนำหลักการมาใช้พลิกผันแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ตนเอง พัฒนางาน พัฒนาอาชีพ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เหมาะสมสอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและเทคโนโลยี ให้ประชาชนทุกช่วงวัยเรียนรู้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต พัฒนาสู่ การเปน็ สงั คมแหง่ การเรียนรู้ เปา้ หมาย 1) ผู้เรียนทุกระดับเป็นผู้มีความรู้ ทักษะและใฝ่เรียนรู้ มีทักษะในการดำรงชีวิต ในโลกยุคใหม่ ร้เู ทา่ ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก เปน็ พลเมืองทีต่ ื่นรู้ มีความรบั ผิดชอบ และมี จติ สาธารณะ 2) ครู/อาจารย์มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การออกแบบการ เรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีจิตวิทยาการเรียนรู้ สื่อและการใช้สื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและ การเรยี นรูก้ ารวดั และประเมินผลการเรยี นรู้ตามสภาพจรงิ มคี วามศรทั ธาในวิชาชีพและความเป็นครู 3) ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษามีสมรรถนะในการบริหารงาน วิชาการ และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ประกอบดว้ ย ดา้ นหลักสตู รการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและ เทคโนโลยเี พอ่ื การเรยี นรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจรงิ การนเิ ทศการจดั การเรยี นรู้ มี ภาวะผ้นู ำทางวชิ าการ มจี ติ วิทยาในการส่งเสริมและสรา้ งขวัญกำลังใจในการจัดการเรียนรู้ และมีมนุษย สมั พันธท์ ีด่ ีในการร่วมมือกับบคุ คล หน่วยงานและชมุ ชนในการส่งเสริมและสรา้ งระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ ปลอดภัยสำหรบั ผู้เรยี น แนวทางการดำเนินงาน 1) ปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ทุกระดับ ที่เน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนา กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบที่นำไปสู่สมรรถนะหลักที่จำเป็นในแต่ละระดับตามแนวทางการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก และการวัดผลประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรยี น ปฏิรูปการเรียนรู้ระดับห้องเรียนดว้ ยการปรับ แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 86 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น วิธีสอนจาก Passive Learning ที่เน้นป้อนข้อมูลโดยการท่องจำเนื้อหา มาเป็นการจัดกระบวนการ เรียนรู้แบบ Active Learning เพ่ือให้ผู้เรียนสร้างความรผู้ ่านกระบวนการคดิ ขั้นสูงเชิงระบบ ดว้ ยการให้ ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็น วิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบ ตัดสินใจบนพื้นฐานคุณธรรมและค่านยิ มเพ่ือ สงั คม ประเทศชาติ และนำความรูไ้ ปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างมีแบบแผน ตรวจสอบเพือ่ แก้ปัญหา พัฒนา จนเกิดผลผลิตที่ดีกว่า มีคุณค่าต่อสังคมมากกว่าเดิม และกำกับการเรียนรู้ของตนเองในการตรวจสอบ กลไกเชิงระบบของงานท่ีทำเพื่อเพมิ่ คณุ ค่า คุณธรรม คา่ นิยม และขยายประโยชน์สู่สังคมท่ีกวา้ งข้นึ ด้วย การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา การศกึ ษาตามอธั ยาศยั และระดบั อุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งระดบั การศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน 2) พัฒนาครูให้มีศักยภาพในการออกแบบการเรียนรู้ สามารถจัดและอำนวย กระบวนการเรยี นรู้ การใชส้ ื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ และวดั ผลประเมนิ ผลเพือ่ พฒั นาผ้เู รียน และ พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถกำกับดูแล ช่วยเหลือ แนะนำการโคช้ ครู รวมถึงการสร้างระบบนิเวศการเรียนรทู้ ป่ี ลอดภยั สำหรบั ผ้เู รียน 3) ปรับปรุงระบบการวัดผลและประเมินผล ให้มุ่งเน้นที่การประเมินผลผู้เรียน ตามสภาพจริง โดยพัฒนาวิธีการที่หลากหลายในการประเมินผู้เรียนที่เหมาะสมกับบริบทและศักยภาพของ ผูเ้ รยี น 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้กับภาคีเครือข่าย ตา่ ง ๆ ทง้ั ภายในและภายนอกโรงเรียน ในการเสริมสร้างการเรียนรู้ และยกระดับคุณภาพผู้เรียนทั้งด้าน ทรัพยากรและองค์ความรูด้ า้ นวชิ าการ ทักษะ และการบม่ เพาะคณุ ธรรม จริยธรรม ค่านิยมทีด่ ี 5) คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ประชุมหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ตดิ ตามความคบื หน้าในการดำเนนิ การ และรว่ มกบั กระทรวงศึกษาธิการ ประเมินผลการดำเนินงานและ ขยายผลต่อไป 3. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มี คุณภาพมาตรฐาน การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการพัฒนาคนของประเทศให้มีคุณภาพ เป็น มนุษย์ท่สี มบูรณส์ ามารถแข่งขันได้ในเวทโี ลก และหัวใจสำคัญที่สุดของกระบวนการจัดการศึกษาก็คือ “ครู” ท่ีเปน็ ผทู้ มี่ บี ทบาทหน้าท่ีสำคัญในการจัดการเรียนรู้และอบรมส่ังสอนผู้เรียนให้มคี วามรู้ เจตคติ มี ทักษะในการใช้ชีวติ สามารถเผชิญสถานการณ์และแกไ้ ขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้และดำรงตนในสังคมได้ อย่างเป็นสุข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 จ. ได้บัญญัติให้มีกลไก และระบบการผลิต คดั กรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูและอาจารย์ ให้ได้ผู้มีจติ วิญญาณความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) ได้กำหนดประเด็น ยุทธศาสตร์ทีเ่ นน้ ท้งั การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันและการเสริมสรา้ งและยกระดับการพฒั นาการศึกษาและ การเรียนรู้โดยปฏิรูปกระบวนการการเรียนรู้ทุกระดับชั้นที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษท่ี 21 มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนโฉมบทบาทครูให้เป็นครูยุคใหม่ โดยวางแผนการ แผนทน่ี าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 87 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ผลิต พัฒนาและปรับบทบาทครูและอาจารย์ยุคใหม่ให้เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ปรับระบบการผลิตและ พัฒนาครูตั้งแต่การดึงดูด คัดสรรผู้ที่มีความสามารถสูงและมีคุณลักษณะความเป็นครูเข้ามาเป็นครู ส่งเสริม สนับสนุนระบบพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะครูอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกประเภท บริบทของประเทศและโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนวัตกรรมของเทคโนโลยีและแหล่ง ความรู้ใหม่ รวมทั้งสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาตทิ ่ีรนุ แรงในปี 2019 มาจนปัจจุบนั น้ี คือการ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายทั้งใน “เชิงครง สร้าง” และ“เชิงพฤติกรรม” การจัดการศึกษาในโลกยุคใหม่ จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องและพร้อม รองรับกับการเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นทั้งปจั จุบันและอนาคต สถาบันการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบนั ผลิตครูจะต้องปรับบทบาทการผลิตครูที่มีสมรรถนะสูงและเป็นความต้องการของประเทศ โดยปรับ หลักสูตรและกระบวนการผลิตครูให้เหมาะกับสังคมยุคใหม่ สภาพพื้นที่ความถนัดและความสนใจของ ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย หลักสูตรและกระบวนการการผลิตครูจึงต้องปรับปรุงเพื่อตอบสนองต่อการ เปล่ยี นแปลงในสงั คมทต่ี ้องเรียนรู้ในเร่ืองใหม่ ๆ ทเ่ี กิดขน้ึ ครตู อ้ งไดร้ ับการฝกึ หัดและได้รบั การพัฒนาครู ประจำการจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้มีทักษะการใช้หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัด ประเมินผลและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีโอกาสรับ การศึกษาที่สอดคล้องกับความถนัดและความสามารถของตนเอง เป็นการเรียนรู้ควบคู่การทำงาน การ ประกอบอาชีพ สามารถผลิตผลงาน พึ่งพาตนเองได้ เรียนรู้จากการร่วมมือและการแบ่งปันในสังคม เรียนรจู้ ากแหล่งเรยี นรู้เชิงประวัตศิ าสตร์ การสรา้ งทักษะศตวรรษท่ี 21 และความเป็นพลเมืองท่ีเข้มแข็ง รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจรงิ (Applying) ครู ต้องเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของภูมิภาคและโลกและยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมและ จรรยาบรรณครูอยา่ งเขม้ แข็งในทา่ มกลางสงั คมทีเ่ ปลยี่ นแปลงและพลิกผัน อย่างไรก็ตาม จากรายงานวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า วชิ าชีพครูมปี ญั หาท้ังทางดา้ นปรมิ าณและคุณภาพ ในด้านการผลติ และพฒั นาครมู ีปัญหาท้งั ระบบ ต้งั แต่ ระบบบริหารจัดการและการกำกับควบคุม การคัดสรรคนมาเรียนครู มาตรฐานกระบวนการผลิตและ คณุ ภาพอาจารย์ การคัดกรองคนเข้าสู่อาชีพครูและการพัฒนาสง่ เสริมครูสง่ ผลให้คุณภาพการศึกษาของ ประเทศลดต่ำลง ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีสถาบนั อุดมศึกษาเฉพาะทางในการผลิตครูดังเช่นในอดีต ทำ ให้สถาบนั การผลติ ครูเกิดข้ึน จำนวนมากถงึ 127 แห่ง ซ่งึ สว่ นใหญ่ต่างก็เปิดหลักสูตรและผลิตบัณฑิตใน สาขาที่มีความซ้ำซ้อนกันและมีการลงทุนไม่มาก ทำให้จำนวนบัณฑิตครูมีมากเกินความต้องการ ยิ่งไป กวา่ นั้น สถาบนั ผลิตครยู ังมีมาตรฐาน มีกระบวนการและมีวิธีการบรหิ ารจัดการศกึ ษาแตกตา่ งกนั หลาย แห่งมีการเปิดรับนิสิต/นักศึกษาแบบเปิดหรือตลาดวิชา หลายแห่งมีการรับนิสิต/นักศึกษาเข้าเรียนครู โดยไม่มีการคัดเลือกตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาท่ีประสงค์จะได้คนเก่ง คนดีมาเรียนครู แต่ในบาง แห่งกลับมีการคัดเลือกคนที่มีความสามารถและจำกัดจำนวนรับที่เข้มงวด หลายแห่งผลิตบัณฑิตครูใน คณะต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คณะครุศาสตรห์ รอื ศึกษาศาสตร์ ทำให้คุณภาพของนิสิต/นักศึกษาที่เข้ามาเรียนและ คุณภาพของบัณฑิตแตกต่างกัน จากรายงานผลการสอบบรรจุบุคคลเข้ารับราชการครู ปี พ.ศ. 2563 มี ผู้สมัครและมีสิทธิ์สอบจำนวน 159,314 คน จากที่มีความต้องการ 18,987 คน แต่มีผู้สอบได้เพียง 10,375 คน หรือร้อยละ 6.8 ทำให้ได้ครูไปบรรจุเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น สิ่งเหล่าน้ี เป็นความสูญเปล่าทาง แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 88 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น การศึกษาของประเทศอย่างมหาศาล สอดคล้องกับการพิจารณาดัชนีคุณภาพของคณาจารย์ในคณะครุ ศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามระบบการให้คะแนนในการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา ระบวุ ่า คณาจารย์ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ของประเทศ ไทยมีคุณภาพอยู่ในระดับ “ต้องปรับปรุง” จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว เพราะคุณภาพคณาจารย์ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของบัณฑิตครูมากที่สุด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2556) นอกจากนี้ ในการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ก็ยังไม่สามารถส่งเสริมบ่มเพาะ ประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาหรือโรงเรียนที่เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ วชิ าชีพครยู ังไม่มคี ุณสมบัตทิ ่ีเหมาะสมเพียงพอ ครพู ี่เลีย้ งขาดความรู้ความเขา้ ใจในวชิ าชีพครูอย่างลึกซ้ึง และขาดทักษะในการเป็นครูพเี่ ล้ียง การนิเทศ การดูแลการฝึกปฏบิ ัติการสอน รวมท้ังการเป็นผู้สอนงาน (Coaching) ให้แก่นิสิต/นักศึกษา สิ่งต่าง ๆ เหล่าน้ี มีผลทำให้บัณฑิตครูมีคุณภาพลดลง จำเป็นต้อง พัฒนาโดยเรง่ ดว่ น สำหรับดา้ นการพัฒนาครูประจำการน้นั เน่ืองจากการเปลีย่ นแปลงของสงั คมเป็นไป อย่างรวดเร็วและรุนแรง ครแู ละบุคลากรทางการศึกษาจึงควรไดร้ ับการพัฒนาความรู้และทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็นในสังคมโลกยุคใหม่ที่ทันสมัยและเท่าทันโลก รวมทั้งพัฒนาความรู้และทักษะให้เกิดสมรรถนะ ในการปฏิบัติหน้าท่ี ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงครู และบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ที่ห่างไกล ทุรกันดารและด้อยโอกาส รวมถึงครูและบุคลากรใน สถานศึกษาและพน้ื ท่ีนวัตกรรมการศกึ ษาทเ่ี ป็นเป้าหมายของประเทศ นอกจากน้ี ยงั พบว่าปจั จุบนั มคี รูที่ ไม่มีวุฒิการศึกษาวชิ าชพี ครูยังคงค้างอยู่ในระบบและปฏิบตั ิหน้าที่อยู่ในสถานศึกษาเป็นจำนวนมาก ทั้ง ยังมีการรับครูใหม่ที่ไม่มีคุณวุฒิทางการศึกษาเข้ามาเป็นครูอยู่ตลอดเวลาทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ซึ่ง ครูและบุคลากรทางการศึกษาเหล่านี้ยังไม่มีความรู้ ทักษะและความสามารถพื้นฐานและคุณธรรม จรยิ ธรรมความเป็นครทู ่ีเพียงพอในการปฏิบัติหนา้ ทอ่ี ย่างมีคณุ ภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์วิชาชีพครูให้ลึกซ้ึง ย่ิงขึ้น และมที ักษะในการปฏบิ ัตหิ น้าท่ไี ด้ดี รวมถึงมีความรูแ้ ละทักษะในสังคมโลกยุคใหม่ท่ีเปลี่ยนแปลง ไป โดยมีการปรับปรุงระบบกลไกสง่ เสริม สนับสนุนให้ครูและบคุ ลากรทางการศึกษาให้มีความก้าวหนา้ ทางวิชาชีพอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบการประเมินการปฏิบัติงานและสมรรถนะ วิชาชพี และการเล่อื นวิทยฐานะและการปรับปรงุ คา่ ตอบแทนท่ีเหมาะสม ดงั น้นั ครแู ละบคุ ลากรทางการ ศึกษาประจำการทุกคนจึงต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของแต่ละบุคคล ทั้งด้านการใช้ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผลและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก ทักษะการสร้างสรรค์การวิจัยและนวัตกรรมและการสร้างผลงานทางวิชาการ การบริหารจัดการศึกษา และการนิเทศการศึกษา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมท่ีสามารถนำไปใชป้ ระโยชนใ์ น ชีวิตจริง (Applying) และยึดม่ันในคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณครอู ยา่ งเข้มแขง็ ซ่ึงเป็นพื้นฐานของ วิชาชีพครูที่สำคัญที่สุด ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรได้รับการอบรมให้มีสมรรถนะในการพัฒนา วิชาชีพด้วยระบบ PLC&CPD (Professional Learning Community & Continuous Professional Development) แผนทน่ี าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 89 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น เป้าหมาย กลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษามี คณุ ภาพมาตรฐาน 1) กลไกและระบบการผลิต คดั กรองครูและบุคลากรทางการศึกษาและอาจารย์ ให้มคี ณุ ภาพและประสิทธภิ าพ 2) กลไกและระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสายสามัญศึกษา และสายอาชีวศึกษา ให้มีคณุ ภาพ ประสิทธภิ าพและมีความกา้ วหน้าในการประกอบอาชีพ แนวทางการดำเนินงาน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะเป็นหน่วยงาน ผรู้ ับผดิ ชอบหลกั ในการทำงานรว่ มกบั หนว่ ยงานอน่ื ทเ่ี กยี่ วข้องในการดำเนนิ การ ดงั น้ี 1) ด้านกลไกและระบบการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ดำเนินการโดยพัฒนารูปแบบกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เข้า เรยี นครู และการพฒั นาเคร่อื งมือวัดและประเมนิ คุณลักษณะความเปน็ ครู พฒั นา/ปรบั ปรงุ หลักสูตรผลิต ครูตามสาขาวิชาและบริบทพื้นที่เพื่อสร้างความเป็นเลิศ ศึกษาและพัฒนารูปแบบ กระบวนการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูและระบบการนิเทศการศึกษาและการสอนงานของครูพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมครูที่มี คุณภาพและประสิทธิภาพ ศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะ และการพัฒนามาตรฐานและชี้วัด สมรรถนะอาจารยป์ ระจำหลักสตู รวิชาชีพครูของสถาบนั ผลิตครู และการพฒั นาอาจารย์ประจำหลักสูตร ให้มีสมรรถนะ พัฒนารูปแบบและหลักเกณฑ์การประเมินสมรรถนะอาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาชีพครู ของสถาบันผลิตครู การศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนหรือสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาชีพครู และการพัฒนาครูพี่ เลี้ยงให้มีสมรรถนะ และพัฒนารูปแบบและหลักเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน สมรรถนะครูพี่เลี้ยงในโรงเรียน หรือสถานฝกึ ประสบการณ์วชิ าชีพด้านวชิ าชีพครู 2) ด้านกลไกและระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสายสามัญ ศึกษาและสายอาชีวศึกษา ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ดำเนินการโดยศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและตัวช้ี วัดสมรรถนะครู และบุคลากรทางการศึกษา ศึกษาวิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะและการพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัด สมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม ความตอ้ งการจำเปน็ ศกึ ษาและพฒั นาระบบ/รูปแบบการนิเทศ การตดิ ตามชว่ ยเหลือครู และการพัฒนา สมรรถนะศึกษานิเทศก์ตามความต้องการจำเป็น ส่งเสริม สนับสนุนระบบกลไกให้ครูและบุคลากร ทางการศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการติดตามช่วยเหลือครูใหม่ ครูที่ไม่มีวุฒิทาง การศึกษา ครูที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณลักษณะไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานในหน้าท่ี ครูและ สถานศกึ ษาในท้องถิ่นยากจน หา่ งไกลและทุรกันดาร อาทิ การร่วมมอื กับชมุ ชน (PLC&CPD: (Professional Learning Community & Continuous Professional Development) การศ ึ ก ษาอ บรม และ แพลตฟอร์มกระบวนการจัดการเรียนรู้ การบริหารการศึกษาและการนิเทศการศึกษา ปรับปรุงระบบการ ประเมนิ การปฏบิ ตั งิ านและสมรรถนะวิชาชีพครู การพฒั นาระบบกลไกในการเลื่อนวิทยฐานะทไ่ี ด้รับการ แผนทนี่ าทางการขับเคลอ่ื นเป้าหมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 90 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ปรับปรุงใหม่และการคงวิทยฐานะของครูโดยนำผลการประเมินวิทยฐานะไปเป็นส่วนสำคัญในการ ประเมินและการปรบั ปรุงค่าตอบแทนทเี่ หมาะสม 4. การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็ม รูปแบบ นำไปสกู่ ารจ้างงานและการสร้างงาน การผลิตและพัฒนากำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศพบความไม่สอดคล้อง ในระดับสูงทั้ง (1) ความไม่สอดคล้องด้านระดับการศึกษาเนื่องจากมีการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีใน สัดส่วนสูง ขณะที่ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่จบสายอาชีพมากกว่า และ (2) ความไม่สอดคล้องด้าน สาขาวิชาซึ่งแรงงานในตลาดยังพบช่องว่างทักษะ (Skill Gaps) กล่าวคือมีทักษะไม่ตรงหรือต่ำกว่าที่ นายจ้างคาดหวังโดยเฉพาะทักษะด้านความรู้ที่ใช้ในการทำงาน นอกจากน้ี การผลิตบัณฑิตเพื่อให้มีขีด ความสามารถในระดับผู้พัฒนานวัตกรรมโดยใช้แนวทางการจัดการศึกษา STEM เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และ คณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยง แก้ปัญหา และการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ยังมีจำนวนน้อย ไม่ เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศเข้า ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษายังคงมีจำนวนน้อยกว่าผู้เรียนที่ศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสาย สามัญ แม้การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในรูปแบบอาชีวศึกษาทวิภาคีผู้เรียนอาชีวศึกษาจะมี สมรรถนะด้านอาชีพจากการฝึกงานหรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการนอกเหนือจากการเรียน ภาคทฤษฎีในห้องเรียน และมโี อกาสไดง้ านทำสูงเมื่อจบการศึกษา เป็นรปู แบบท่ีสถานศึกษาอาชีวศึกษา ให้ความสำคัญแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน “วิชาการ ประสานการปฏิบัติ” หรืออาชีวศึกษาทวิภาคีที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นให้มีคุณภาพและขยายวง กว้างในสถานศึกษาอาชีวศึกษาทุกแห่ง ให้สามารถจัดการเรียนการสอนระบบดังกล่าวได้อย่างเต็ม รูปแบบ กล่าวคือผูเ้ รยี นทุกคนทกุ สาขาวชิ าได้เข้าฝึกงานหรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการทีม่ ีคุณภาพ นอกจากน้ีควรสง่ เสริมให้สถานศึกษายกระดับคุณภาพและพฒั นาการจัดการเรยี นการสอนในสาขาวิชาท่ี เป็นจุดแข็งมีมาตรฐานสูงสูค่ วามเป็นเลิศในแตล่ ะแหง่ หรือสาขาที่สอดคลอ้ งกับการพัฒนาเชิงพื้นที่และ ทิศทางการพฒั นาและการลงทนุ ควบคู่กับการส่งเสริมการเป็นผ้ปู ระกอบการโดยความร่วมมือกับภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีและเน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น โดยการพัฒนา ระบบการอาชวี ศึกษาใน 3 ระดบั ดงั น้ี ระดบั ต้นนำ้ ปรบั ปรงุ คณุ ภาพปัจจัยนำเข้าในด้านอาชวี ศกึ ษาทวภิ าคี ได้แก่ 1) พฒั นาหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency-based curriculum) ซึ่งเป็น หลักสูตรที่จัดทำร่วมกับเจ้าของอาชีพโดยกำหนดความสามารถของผู้เรียนจากการวิเคราะห์ทักษะจาก การปฏิบัติงาน (Work Based) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น มีการ เรยี นภาคทฤษฎี การฝึกทักษะควบคู่กับการฝึกงานหรือฝึกอาชีพในสถานประกอบการอยา่ งเข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อให้ผ้จู บการศกึ ษาพร้อมทำงานเพ่ิมมากขึ้น แผนทน่ี าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 91 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น 2) เพิ่มขีดความสามารถครูหรืออาจารย์ให้มีวิธีคิดที่ถูกต้องมีจิตวิญญาณของความ เป็นครูมีองค์ความรู้ที่ลุ่มลึกและรอบด้าน สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในแต่ละ สาขาอาชีพมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ดา้ นทฤษฎีและวิชาการในห้องเรยี นและการฝึกทกั ษะ อาชีพในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากสถานศึกษาไปฝึกงานหรือฝกึ อาชพี ภายใต้สถานการณ์จริงในสถานประกอบการ มีความสามารถในการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีความ ทันสมัยมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Based แนวทางการพัฒนาครูหรือ อาจารย์ที่สำคัญโดยการสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพในสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครู หรืออาจารย์สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากสถานประกอบการมาพัฒนาทักษะและ เตรียมความพร้อมผู้เรียน ส่งเสริมการสร้างเครอื ข่ายครูวิชาชีพเพือ่ สรา้ งชุมชนแห่งการเรียนรู้ในกลุม่ ครู วิชาชีพแต่ละสาขา และเร่งพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการให้มีขีดความสามารถในการถ่ายทอดหรอื สอนงาน การวัดและประเมนิ ผล และระบบการดแู ลผู้เรยี น ใหแ้ ก่ผเู้ รยี นในระหว่างฝึกงานหรือฝึกอาชพี 3) พัฒนาความพร้อมในด้านปัจจัยหรือสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนการจดั การเรียนการสอนอาชีวศึกษา ให้แก่สถานศึกษาในด้านเครื่องมืออุปกรณ์การฝึกพื้นฐานในแต่ละสาขา อาชีพที่มีความทันสมัยและเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์หรือระบบการทำงาน จำลอง (Simulation) เพือ่ การเรยี นร้กู ่อนการฝึกงานหรือฝกึ อาชพี และการฝึกใชเ้ ครอ่ื งมอื อุปกรณ์ขั้นสูง ในสถานประกอบการ 4) สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติเชิงบวก ให้เห็นประโยชน์และ ความสำคัญในการพัฒนาการจัดอาชีวศึกษาให้ขยายวงกว้างไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ผู้ปกครอง ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย และสถานประกอบการ เพื่อการขยายการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคีอย่างมีมาตรฐาน คุณภาพสงู ระดบั กลางน้ำ พัฒนาระบบและกระบวนการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี ได้แก่ 1) สร้างกลไกการมสี ่วนรว่ มระหวา่ งสถานศึกษาและสถานประกอบการในฐานะ หุ้นส่วนสำคัญในการจัดอาชีวศกึ ษา อาทิ มาตรการทางภาษี ลดข้อจำกัดในด้านกฎหมาย ฯลฯ ส่งเสรมิ สนบั สนุนการจดั อาชวี ศึกษาทวภิ าคีให้มคี วามคล่องตวั มีประสทิ ธิภาพ อาทิ ระบบฐานข้อมูลเพ่ือการจัด การอาชีวศึกษาทวิภาคี นวัตกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่มีความยืดหยุ่น หลากหลายช่องทางและ วิธีการ ฯลฯ และจดั ระบบดูแลชว่ ยเหลอื ผเู้ รยี นในระหว่างการฝกึ งานหรอื ฝกึ อาชพี 2) สนับสนุนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการฝึกงานในสถานประกอบการโดย ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ องค์กรวิชาชีพ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ อาทิ สภา อุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมการเงินการธนาคาร สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สภาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ฯลฯ สร้างความเข้มแข็งการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการร่วม ภาครัฐและเอกชนเพื่อการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาในแต่ละสาขาอาชีพ (Skill Cluster Council) การ ปรับตัวระหว่างสถานศึกษาในฐานะผู้ผลิตและสถานประกอบการในฐานะผู้ใช้กำลังคนเพื่อผู้จบการศึกษามี ความพรอ้ มในการทำงาน “Ready to Work” ที่มีสภาวะพลวัต ซึ่งการฝึกงานจะช่วยพัฒนาผูเ้ รยี นท้งั ด้าน (1) ความสามารถในการส่อื สาร (2) ฝกึ ปฏสิ มั พนั ธ์ทางสังคม (3) มนษุ ยสมั พันธ์ (4) ทกั ษะฝมี อื (5) ความ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ ง่ั ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 92 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ย่ั ง ยื น มุ่งมั่น (6) แรงบันดาลใจ (7) จินตนาการ (8) วิสัยทัศน์ (9) ความคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์ (10) ความคิด สร้างสรรค์ และ (11) สภาวะผนู้ ำ 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนหาประสบการณ์อาชีพเพิ่มจากการหารายได้ระหว่างเรียน การเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและ นวตั กรรมอาชีพมาใช้ในธุรกจิ ได้ 4) ปรับระบบอาชีวศึกษาให้มีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับผู้เรียนทุก กลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สามารถพัฒนาและยกระดับสมรรถนะด้านอาชีพต่อเนื่องและสอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตร และ บรกิ ารปจั จบุ นั ในรูปแบบยกระดบั หรอื ปรับความรู้และทักษะ (Up Skill) อบรมเพอ่ื พัฒนาความรู้ทักษะใหม่ (Re Skill) หรือฝกึ อบรมทักษะอาชีพใหม่ (New Skill) 5) ปรับระบบการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอาชีวศึกษาทวิภาคีที่ เหมาะสมทั้งสมรรถนะหลัก (Score Skill) และสมรรถนะอาชีพ (Competency Skill) และการรับรอง มาตรฐานอาชีพผสู้ ำเร็จอาชวี ศึกษา ระดับปลายน้ำ เพิ่มระดับคุณภาพผู้สำเร็จอาชีวศึกษาทวภิ าคี ผลผลิต และผลลัพธ์ ของการยกระดบั คณุ ภาพการจดั อาชวี ศึกษาทส่ี ะท้อนผลต่อกลมุ่ เป้าหมายตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่ 1) ผู้เรียนอาชีวศึกษาทวิภาคีมีสมรรถนะด้านอาชีพและความพรอ้ มในการเข้าสู่ อาชีพ 2) ผู้เรียนอาชีวศึกษาทวิภาคีสามารถผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานอาชีพท่ี กำหนด 3) นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีแรงจูงใจในการเรียนในระดับ อาชีวศึกษามากขึ้นโดยปัจจัยหรือเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแรงจูงใจ อาทิ ค่าตอบแทนหรือรายได้ ตามสมรรถนะ การให้รางวัล การเข้าสู่ตำแหน่งงานหรือเลื่อนขั้นที่เหมาะสม (Career Path) การมี โอกาสหมุนเวียนการทำงานในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการทำงาน การตอบสนอง จากองค์กรและผู้บริหารต่อคำถามและข้อสงสัยของบุคลากร การฝึกทักษะฝีมือใหม่ให้แก่บุคลากร การ ฝึกอบรมเพิ่มองค์ความรู้อื่น ๆ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบการและบรรยากาศในท่ี ทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งมีการวางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพ เชือ่ มโยงระหว่างการศึกษาขัน้ พ้ืนฐานและอาชีวศึกษา เปา้ หมาย ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีทักษะที่ตรงตามความคาดหวังของสถานประกอบการและ ทักษะการเปน็ ผู้ประกอบการ สอดคลอ้ งกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ แนวทางการดำเนินงาน 1) จัดทำมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาสนใจเรียนสาย วิชาชีพ สร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการเรียนอาชีวศึกษาและ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 93 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น ความสำคัญของการเรียนระบบทวิภาคี พัฒนาระบบเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และระบบอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ระหว่างการฝึกงานหรือฝึกอาชีพอยู่ในสถานประกอบการต่างพื้นท่ี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน และผู้ปกครอง ส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี เพื่อให้ผู้เรียนได้รับค่าตอบแทนระหว่างฝึกงานหรือฝึกอาชีพ และมีความพร้อมเข้าสู่งานเมื่อสิ้นสุด โครงการ กำหนดมาตรการจูงใจผู้ประกอบการร่วมจดั การอาชีวศึกษาและการรับผู้เรียนเข้าฝึกงานหรือ ฝึกอาชีพ รวมทง้ั มีขอ้ ตกลงร่วมในการจ้างงานหลงั สำเรจ็ การศกึ ษา 2) พัฒนาระบบความร่วมมือ ระบบบริหารจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีเชิงพื้นที่ และการคัดกรองสถานประกอบการที่มีคณุ ภาพมาตรฐาน เพ่อื เข้าร่วมเปน็ ภาคีในการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวภิ าคคี วบคกู่ ับการพฒั นาอปุ กรณ์ เครื่องมอื พืน้ ฐานในการฝึกทักษะในสถานศึกษา รวมถงึ การเตรียม ความพร้อมของผู้เรยี นก่อนฝึกปฏบิ ตั ใิ นสถานประกอบการ หรือองคก์ รธรุ กิจต่าง ๆ 3) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพ เฉพาะด้านและเน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น ร่วมพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูอาชีวศึกษาในสถาน ประกอบการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีความเชื่อมโยงกับการรับรองมาตรฐาน อาชีพ/มาตรฐานฝีมือแรงงานสอดคล้องกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในสาขาที่สถาบันมีความโดดเด่น หรือ ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาและการลงทุนของประเทศ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถให้กับ สถานศึกษาอาชีวศึกษาในการพัฒนาและยกระดับกำลังคนด้านสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการปัจจุบันในรูปแบบ ยกระดับหรือปรับความรู้และทักษะ (Up Skill)อบรมเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะใหม่ (Re Skill) หรือ ฝึกอบรมทกั ษะอาชพี ใหม่ (New Skill) 4) คณะกรรมการปฏิรปู ฯ ประชุมหน่วยงานผรู้ ับผิดชอบตดิ ตามความคืบหน้าใน การดำเนนิ การ 5. การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา เพอ่ื สนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยนื สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีอัตราการเกิดของประชากร ไทยท่ลี ดลงอย่างต่อเนื่อง สง่ ผลใหเ้ ดก็ วยั เรยี น นักศกึ ษา วยั แรงงานมีจำนวนทล่ี ดลง แตค่ นมอี ายุยืนยาว ขึ้น ทำให้จำนวนที่นั่งเปิดรับของสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่มีเกินกว่าจำนวนของผู้สมัครเรียน ส่งผล กระทบต่อต้นทุนและรายได้ในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ในขณะท่ีสถาบนั อุดมศึกษามีกำลัง และทรัพยากรเพียงพอที่จะดำเนินการเรียนการสอนที่มีคุณภาพได้อีก อาทิ การจัดการเรียนการสอน สำหรับคนวัยทำงาน ในรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบกับ ภาคการผลิตและบริการต้องปรับตวั อยา่ งรวดเรว็ ในบริบทเศรษฐกิจและสังคมปัจจบุ นั กำลังคนตอ้ งปรบั ตัวตามใหท้ นั สถาบนั อุดมศึกษาควร มีบทบาทในการร่วมพัฒนากำลังคนวัยทำงานเหล่าน้ี โดยเฉพาะความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการ ทำงานยุคใหม่ และพบว่า “การพัฒนากำลังคนวัยทำงานในภาคการผลิตและบริการ” อาจเป็นภารกิจที่ สำคัญและเร่งด่วนไม่น้อยไปกว่า “การพัฒนาบัณฑิตใหม่” ซึ่งเป็นกลุ่มท่ีมปี ระสบการณ์ความเช่ียวชาญ แผนทนี่ าทางการขับเคลอื่ นเปา้ หมายการพัฒนาทยี่ งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 94 จังหวดั ฉะเชงิ เทรา
สว่ นท่ี 3 ค ว า ม สา คั ญ ข อ ง เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า ท่ี ยั่ ง ยื น สูง แต่ขาดคุณวุฒิหรือความรู้ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่การจ้างงานในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงความรู้เชิง วชิ าการในการตอ่ ยอดการทำงาน ด้วยเหตุน้ี สถาบันอุดมศึกษาจึงควรปรับบทบาทหรือขยายการให้บริการให้เอื้อต่อ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร สามารถรองรับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long-learning) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชากรทุกกลุ่ม อาทิ ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบชุดการเรียนรู้ ย่อย (Module Based) พร้อมกับระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) และ/หรือระบบคุณวุฒิฉบับย่อย (Micro Credential) เพื่อเป็นกลไกที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมให้วัยแรงงานเข้าถึง คุณวุฒิการศึกษาได้สะดวกและมีประสิทธิภาพสูง อันจะช่วยยกระดับศักยภาพและสร้างความก้าวหน้า ในอาชีพ หรืออาจสะสมเพื่อต่อยอดไปสู่การรบั รองคุณวุฒกิ ารศึกษาในระดบั ที่สูงขึ้นหรือระดับปริญญา ได้ นอกจากน้ี ยงั เป็นโอกาสใหอ้ ดุ มศึกษามีบทบาทในการพฒั นาคณุ ภาพโรงเรียน การพฒั นาคุณภาพครู การพัฒนาอาชีวศึกษารวมถึงการชว่ ยให้โรงเรียนปรับเปลี่ยนกระบวนการในการทำงานได้อย่างจริงจัง นอกจากนั้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยตาม เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวออกจากกับดักรายได้ปาน กลางสู่การเป็นประเทศรายได้สูง สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวในการพัฒนางานวิจัยและขีด ความสามารถของระบบวิจัยและศักยภาพของนักวิจัยให้มีความพร้อมและความสามารถในการผลิต งานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่าง ยั่งยืน เพื่อให้การดำเนินการปฏิรูปข้างต้นมีความยั่งยืนและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนไทย สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานกำกับจำเป็นต้องมีระบบธรรมาภิบาลที่เป็นที่ยอมรับ จากทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน ดังนั้น การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของ สถาบนั อดุ มศึกษาเพอ่ื สนบั สนุนการพฒั นาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยัง่ ยืน เปา้ หมาย 1) การสนับสนุนการพัฒนากำลงั คนเพื่อส่งเสรมิ การพัฒนาประเทศไทยออกจาก กับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน ระบบการอุดมศึกษาจำเป็นต้องดำเนินการปรับบทบาทใน กระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพรองรับการพัฒนาประเทศผ่านการยกระดับการพฒั นา ทกั ษะและการเรียนรูต้ ลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพอื่ การเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยกลไกสำคัญ 3 ประการได้แก่ (1) การศึกษาแบบ Cooperative and Work Integrated Education (2) การจดั การเรียนรแู้ บบ Module-Based Learning และ (3) การจดั การเรียนรู้ ที่เน้น Re-skill Up-skill New-skill โดยทั้งหมดน้ี จะต้องดำเนินการใน 7 เรื่อง โดยดำเนินการในระดบั ส่วนกลาง และระดับสถาบันอดุ มศกึ ษา 2) การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดัก รายไดป้ านกลางอย่างย่งั ยนื ระบบการอุดมศกึ ษาจำเปน็ ต้องปฏริ ูประบบการวิจยั และนวัตกรรมท้ังระบบ ตั้งแต่การพัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในสาขาที่มี ความสำคัญของประเทศ การเชื่อมโยงกระบวนการกำหนดยุทธศาสตร์การวจิ ัยของประเทศจากผ้มู ีส่วน ได้ส่วนเสีย จากกระบวนการวิจัยและนวัตกรรมสู่กระบวนการบริหารจัดการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ แผนทนี่ าทางการขบั เคลอ่ื นเปา้ หมายการพัฒนาทย่ี งั่ ยนื ดา้ นการศึกษา (SDG4 Roadmap) 95 จงั หวดั ฉะเชงิ เทรา
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241