การเขียนเชิงสร้างสรรค์ สุทธวิ รรณ อินทะกนก สำนกั วิชำศกึ ษำทวั่ ไป มหำวทิ ยำลัยรำชภฏั อุดรธำนี ๒๕๕๙
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ก คำนำ ตารา “การเขียนเชิงสร้างสรรค์” เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งท่ีนาไปใช้ประกอบ การเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยเพ่ือการสื่อสาร (GE๑๐๐๐๑) โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเรื่องการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผ่านเน้ือหา ทั้งหมด ๕ บท ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเก่ียวกับการเขียน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ประเภทของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ศิลปะและกลวิธีการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจาวัน ทั้งนี้ ผู้เขียนเล็งเห็นว่าการเขียน เชิ งส ร้า งส ร รค์ นั บ เป็ น ก า รเขี ย น ท่ี มี ป ระ โย ช น์ น า นั ป ก า รแ ก่ นั ก ศึ ก ษ าใน ก า รน าไป ประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจาวนั ได้ ในการจัดทาตาราเล่มน้ี ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าหนังสือ ตารา เอกสารต่างๆ ตลอดจนอาศัยประสบการณ์จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งยังได้พัฒนา ปรับปรุง แก้ไขเน้ือหาเพื่อให้เกิดความทันสมัยและสมบูรณ์เสมอมา แล้วจึงนามา เรยี บเรียงให้นักศึกษาไดน้ าไปใช้ในการเรียน ผู้เขียนขอขอบพระคุณผู้เขียนหนังสือ ตาราและเอกสารต่างๆ ท่ีได้นามาใช้ อ้างอิงในการเรียบเรียงตาราเล่มน้ี ตลอดจนขอขอบพระคุณบุคคลท่ีมีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ความชว่ ยเหลอื และเป็นกาลงั ใจในการจัดทาตาราจนเสร็จสมบูรณม์ า ณ โอกาสนี้ สทุ ธวิ รรณ อนิ ทะกนก พฤษภาคม ๒๕๕๙
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ข สารบญั คานา...............................................................................................................................ก สารบัญ............................................................................................................................ข บทท่ี ๑ ความรู้ท่ัวไปเกี่ยวกบั การเขียน........................................................................๑ ความหมายของการเขียน................................................................................................๑ วตั ถปุ ระสงคข์ องการเขียน..............................................................................................๒ ประโยชน์ของการเขียน...................................................................................................๔ องคป์ ระกอบของการเขียน.............................................................................................๔ ประเภทของการเขียน..................................................................................................... ๗ การพฒั นาทกั ษะการเขียน...........................................................................................๑๔ ขอ้ แนะนาในการเขียน..................................................................................................๑๖ บทสรุป.........................................................................................................................๒๑ บทที่ ๒ การเขยี นเชงิ สร้างสรรค์............................................................................๒๓ ความหมายของการเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์.......................................................................๒๓ ความสาคัญของการเขยี นเชิงสร้างสรรค์......................................................................๒๕ ลกั ษณะของการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์............................................................................๓๓ ลกั ษณะของนักเขยี นเชงิ สร้างสรรค์.............................................................................๓๘ บทสรปุ .........................................................................................................................๔๗ บทท่ี ๓ ประเภทของการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์........................................................๔๙ การเขยี นเชิงสร้างสรรคบ์ นั เทิงคด.ี ...............................................................................๕๐ การเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์สารคดี.....................................................................................๕๖ การเขียนสร้างสรรคใ์ นรูปแบบ.....................................................................................๖๔ การเขยี นสร้างสรรคใ์ นเนือ้ หา......................................................................................๖๘ การเขียนสร้างสรรค์ในแนวคดิ .....................................................................................๖๙ การเขยี นสรา้ งสรรคใ์ นกลวิธี........................................................................................๗๐ บทสรุป.........................................................................................................................๗๓
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ค บทที่ ๔ ศลิ ปะและกลวิธกี ารเขยี นเชิงสร้างสรรค์...................................................๗๕ การใช้คา......................................................................................................................๗๕ การใชป้ ระโยค..............................................................................................................๘๖ การเขียนย่อหน้า..........................................................................................................๙๙ การใชส้ านวนหรอื ท่วงทานองการประพนั ธ์...............................................................๑๐๗ ลกั ษณะของสานวนหรือทว่ งทานองการประพนั ธ์.....................................................๑๐๘ ศลิ ปะการเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์...................................................................................๑๑๓ บทสรุป......................................................................................................................๑๑๗ บทที่ ๕ การเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ในชีวติ ประจาวนั ..............................................๑๑๙ การเขียนวรรณกรรมออนไลน์...................................................................................๑๑๙ ประเภทของวรรณกรรมออนไลน์..............................................................................๑๒๐ นวนยิ าย....................................................................................................................๑๒๐ เร่อื งสัน้ ......................................................................................................................๑๒๓ แนวเรื่องและกลวิธกี ารเขียนวรรณกรรมออนไลน์.....................................................๑๒๕ การเขียนอนุทินออนไลน์........................................................................................... ๑๔๐ ประโยชน์ของการเขียนอนุทนิ ออนไลน์.....................................................................๑๔๐ หลักในการเขยี นอนทุ นิ ออนไลน์................................................................................๑๔๑ การเขียนบทความ.....................................................................................................๑๕๒ วตั ถุประสงคข์ องการเขยี นบทความ..........................................................................๑๕๒ ประเภทของบทความ................................................................................................๑๕๒ ลักษณะเฉพาะของบทความ......................................................................................๑๕๕ ข้ันตอนการเขียนบทความ.........................................................................................๑๕๕ บทสรุป......................................................................................................................๑๖๕ บรรณานุกรม................................................................................ .............................๑๖๗
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑ บทที่ ๑ ความรทู้ ่วั ไปเกยี่ วกับการเขยี น การเขียนนับเป็นทักษะการสื่อสารท่ีมีความสาคัญต่อชีวิตประจาวันของมนุษย์ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะการฟัง การพูด หรือการอ่าน เป็นท่ีทราบกันดีว่าการเขียนนั้น เป็นกระบวนการถ่ายทอดสารหรือเรื่องราวต่างๆ อาทิ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ สาระ ความร้สู ึกนึกคิด ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เขียนหรือผู้ส่งสารไปยังผู้อา่ นหรอื ผู้รับสาร การเขียนจึงเปรียบเสมือน “สะพาน” ในการนาพาผู้อ่านไปพบเห็นเร่ืองราวต่างๆ ตลอดจนเปิดประสบการณ์ในเรื่องท่ีผู้อ่านอาจจะไม่เคยรู้หรือพบเจอมาก่อน นอกจากนี้ การเขียนยังเปรียบเสมือน “เวที” ที่เปิดโอกาสให้นักเขียนได้แสดงฝีมือ หรือสร้างสรรค์ ผลงานของตนให้ผู้อ่านและสังคมได้รู้จัก ทั้งยังได้ประโยชน์นานัปการจากงานเขียน เหล่านัน้ อีกด้วย จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเขียนน้ันนับเป็นทักษะการสื่อสารที่มีความสาคัญ ต่อผู้เขียนและมีความสัมพันธ์กับผู้อ่านอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้เขียนนั้น จะต้องมีความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับทักษะการเขียนและวิธีเขียน เพื่อการสร้างสรรค์ งานเขียนที่ทรงคุณค่า ดังนั้นในส่วนน้ีจะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเก่ียวกับการเขียน วัตถุประสงค์ของการเขียน ประโยชน์ของการเขียน องค์ประกอบของการเขียน ประเภทของการเขียน การพัฒนาทักษะการเขียน ตลอดจนข้อแนะนาในการเขียน ซึ่งเป็นความรู้และความเข้าใจพื้นฐานที่จะสามารถนาไปใช้ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ต่อไป ความหมายของการเขียน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๒๑๒) ได้นิยาม คาว่า เขียน ไว้ว่า ก. ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือตัวเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่างๆ, วาด, แตง่ หนังสอื สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (๒๕๓๓ : ๑๓๔-๑๓๕) กล่าวว่า การเขียน คอื การเรยี บเรียงความรู้ ความคิดและประสบการณ์ตา่ งๆ ตลอดจนความรู้สึก นกึ คดิ และจินตนาการออกมาเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร
๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เปล้ือง ณ นคร (๒๕๔๑ : ๑) กล่าวว่า การเขียนคือการแสดงความคิด ความรสู้ ึกและความรู้ ซ่งึ อยู่ในใจออกใหผ้ ้อู ื่นรู้ สิริวรรณ นันทจันทูล (๒๕๔๓ : ๑๑) กล่าวว่า การเขียน คือ การถ่ายทอด ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ความรู้สึก และประสบการณ์ของผู้เขียน ไปยังผู้อ่าน ให้เข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียน โดยใช้ตัวอักษรในภาษา เปน็ เครื่องมอื จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ (๒๕๕๕ : ๒๘๗) กล่าวว่า การเขียน คือ การสอื่ ความหมายโดยการนาความรู้ ความคิด ความรสู้ กึ ประสบการณ์ และจนิ ตนาการ ของผู้เขียนออกมาเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจุดมุ่งหมายในการส่ือสาร ระหวา่ งผเู้ ขยี นกบั ผู้อา่ น วรวรรธน์ ศรียาภัย (๒๕๕๗ : ๒๔) กลา่ วว่า การเขยี น หมายถงึ การแต่งหนงั สือ โดยใช้ตัวอักษรและสัญลักษณ์ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และขา่ วสารจากผู้เขยี นไปยังผอู้ ่าน จากข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การเขียน คือ การถ่ายทอดความคิด ความรู้ จนิ ตนาการ อารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ออกมาเป็นเร่อื งราว โดยอาศัยตัวอกั ษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ในการส่ือความหมายจากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน เพ่ือให้เกิดความรู้ ความเขา้ ใจ ตลอดจนไดร้ บั อรรถรสในเร่ืองราวเหลา่ น้ัน วตั ถปุ ระสงค์ของการเขยี น การตั้งวัตถุประสงค์ของการเขียนน้ัน จะช่วยให้งานเขียนเกิดทิศทางท่ีชัดเจน ตรงตามความต้องการของผู้เขียน โดยวัตถุประสงค์ของการเขียนน้ันมีหลายประการ ทั้งนี้ ได้ประมวลวัตถปุ ระสงคข์ องการเขียนมาไว้ ๘ ประการ ดงั นี้ ๑. การเขียนเพ่ือเล่าเร่ือง เป็นการนาเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นลาดับ อยู่แล้วมาถ่ายทอดเป็นข้อเขียน อาจเป็นเรื่องราวท่ีผู้เขียนประสบเอง หรือเป็นเรื่องราว ท่ีเกิดข้ึนกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเกิดข้ึนในสังคมโดยท่ัวไป โดยอาจนามาเขียน ในรูปแบบการเขียนประเภทต่างๆ เช่น การเขียนสารคดี การเขียนบทความ การเขียนข่าว การเขียนอนุทิน (บันทกึ ประจาวัน) เปน็ ตน้
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓ ๒. การเขียนเพื่ออธิบาย เป็นการเขียนเพ่ือช้ีแจงหรืออธิบายให้ผู้อ่าน เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคาอธิบายเหล่านั้นได้ เช่น อธิบายวิธีใช้อุปกรณ์ ตา่ งๆ อธบิ ายขนั้ ตอนการประดิษฐ์สง่ิ ของ อธิบายวธิ ที าอาหาร เปน็ ต้น ๓. การเขียนเพื่อแสดงทรรศนะหรือการเขียนวิจารณ์ เป็นการเขียน แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือการวิเคราะห์ต่อเรื่องใดเร่ืองหน่ึง โดยอาศัย ข้อเท็จจริงและวิเคราะห์อย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผล เช่น การวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิจารณห์ นังสอื การวจิ ารณ์ละคร บทบรรณาธิการ บทความทัว่ ไป เป็นตน้ ๔. การเขียนเพ่ือสร้างจินตนาการ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมาย ให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการหรือเห็นภาพตามที่ผู้เขียนต้องการ โดยอาศัยกลวิธีทางภาษา เพ่ือทาให้เกิดภาพ เช่น การใช้โวหาร ภาพพจน์ เป็นต้น ส่วนมากมักเป็นการเขียนงาน ประเภทบันเทงิ คดี เป็นต้นวา่ นวนยิ าย นิทาน เรื่องส้ัน กวนี ิพนธ์ ๕. การเขียนเพ่ือโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะชักจูงให้ผู้อ่าน เกิดความคล้อยตามด้านความคิด ความเช่ือ หรือพฤติกรรมตามส่ิงท่ีผู้เขียนเสนอ เช่น การเขียนโฆษณา การเขียนคาขวัญ การเขยี นเชญิ ชวน เปน็ ตน้ ๖. การเขียนเพื่อล้อเลียนเสียดสี เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมาย ที่จะล้อเลียน เสียดสี หรือประชดประชันส่ิงใดส่ิงหน่ึงซึ่งอาจเป็นบุคคล เหตุการณ์ หรอื สถานการณ์ตา่ งๆ เชน่ การต์ ูนล้อเลียนการเมอื ง วรรณกรรมเสียดสีสงั คม เป็นต้น ๗. การเขียนเพ่ือกิจธุระ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการติดต่อเจรจาธุรกิจ กับบุคคล หน่วยงานองค์กรต่างๆ โดยมีรูปแบบการเขียนและลักษณะการใช้ภาษา ที่แตกต่างกันไปตามประเภทของกิจธุระ เช่น การเขียนหนังสือราชการ การเขียน จดหมายธุรกิจ การเขียนรายงานการประชุม การเขียนจดหมายสมัครงาน การเขียน จดหมายสว่ นตัว เปน็ ตน้ ๘. การเขียนเพ่ือปลุกใจ เป็นการเขียนท่ีผู้เขียนมีจุดประสงค์เพ่ือต้องการ กระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนักเห็นความสาคัญของส่ิงใดสิ่งหน่ึงหรือเพื่อให้เกิดความฮึกเหิม เช่น เพลงปลุกใจ บทความปลกุ ใจ เปน็ ตน้
๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ประโยชน์ของการเขียน ๑ . การเขียน เป็ น เค ร่ือ งมื อส่ื อส ารขอ งม นุ ษ ย์ท่ี ใช้ใน การถ่ายท อ ด ความรูส้ ึกนกึ คิด ความต้องการและประสบการณร์ ะหว่างกันและกนั ๒. การเขียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ ในแง่ของการท่ีมนุษย์ ใชก้ ารเขียนเพอ่ื ถา่ ยทอดภูมปิ ัญญา ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพธิ ีกรรมต่างๆ ของสงั คม ๓. การเขียนเป็นบันทึกทางสังคม ในแง่ของการสะท้อนสภาพสังคม ในยคุ สมัยตา่ งๆ ซ่ึงจะอานวยประโยชน์ให้แก่คนท้ังในปจั จบุ นั และอนาคต ๔. การเขียนช่วยจรรโลงสังคม หรือยกระดับสังคมให้พัฒนา โดยเฉพาะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น นิทานพ้ืนบ้าน คากลอน คาสอน นวนิยาย เปน็ ต้น ๕. การเขียนสามารถสร้างอาชีพนักเขียนและขยายโอกาสไปสู่อาชีพอ่ืนๆ ได้ เชน่ นกั แปล นกั พูดหรือพธิ กี ร นักประชาสมั พันธ์ นักวิจารณ์ เป็นตน้ ๖. การเขียนเป็นการพัฒนาสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ โดยฝึก กระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า แล้วเรียบเรียง ถ่ายทอดส่ิงต่างๆ จากความคดิ อย่างมีระบบออกมาเป็นงานเขียน องคป์ ระกอบของการเขียน กองเทพ เคลือบพณิชกุล (๒๕๔๒) ได้แบ่งองค์ประกอบของการเขียนไว้ ๔ ส่วน ไดแ้ ก่ ๑. เนื้อหา คือ สารหรือเร่ืองราวท่ีผู้เขียนต้องการถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้รับทราบ และเข้าใจ ทั้งนี้เนื้อหาน้ันอาจจะเป็นเหตุการณ์ สาระ ข้อคิดเห็น จินตนาการ ตลอดจน อารมณค์ วามรูส้ กึ ๒. ภาษา คือ ระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในการส่ือสาร ท้ังน้ี หมายความถึงถ้อยคา ประโยค ตลอดจนสานวนโวหารท่ีผู้เขียนใช้เป็นเครื่องมือสาคัญสาหรับการถ่ายทอด เนื้อหาหรือเร่ืองราวต่างๆ ดังนั้น ผู้เขียนจะต้องมีความรอบรู้ในการใช้ภาษา การเลือกใช้ถ้อยคา ระดับภาษา มาใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและรูปแบบงานเขียน เพอ่ื การสื่อความหมายอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๕ ๓. เคร่ืองหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนเพื่อช่วย ให้อ่านได้สะดวก และเป็นการป้องกันความเข้าใจผิด ของผู้อ่าน นอกจากนี้ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนยังสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจนย่ิงขึ้น เช่น การใช้เคร่ืองหมายปรัศนีและอัศเจรีย์ เป็นต้น ทั้งน้ีผู้เขียนควรเลือกใช้เคร่ืองหมายวรรค ให้เหมาะสมกับเน้ือหาและรูปแบบของงานเขยี น ๔. รูปแบบ รูปแบบของการเขยี นสามารถแบ่งได้เปน็ ๒ รูปแบบ ไดแ้ ก่ รูปแบบ ร้อยแก้วและรูปแบบร้อยกรอง ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการเขียน และเขียนให้ถูกต้อง ตามกฎเกณฑข์ องรูปแบบน้ันๆ นอกจากองค์ประกอบข้างต้นน้ี สิริวรรณ นันทจันทูล (๒๕๔๓ : ๑๑-๑๒) ไดแ้ บ่งองค์ประกอบสาคญั ของการเขียนไว้ ดังนี้ ๑. ผู้เขียน คือ ผู้ที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ ความรู้ ความต้องการ ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์ของตนไปยังผู้อ่าน โดยผู้เขียนจะต้องรวบรวม จัดระบบและเรียบเรียง เน้ือหาสาระเร่ืองที่จะเขียนอย่างเหมาะสม ก่อนท่ีจะถ่ายทอด ด้วยลายลักษณ์อักษรไปยังผู้อ่าน ท้ังน้ี ผู้เขียนจะต้องวิเคราะห์ผู้อ่านก่อนเสมอ เพื่อการส่ือความหมายที่เหมาะสมกับผู้อ่านและถูกกาลเทศะ อีกทั้งผู้เขียนจะต้องศึกษา วิธีการเขียน ลักษณะงานเขียน ตลอดจนต้องฝึกฝนการเขียนจนชานาญ จึงจะใช้ทักษะ การเขียนไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธิภาพ ๒. ผู้อ่าน คือ ผู้รับสารจากผู้เขียนซ่ึงถือเป็นองค์ประกอบสาคัญอย่างยิ่ง ในการเขียนเนื่องจากต้องเป็นผู้ท่ีทาความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนต้องการ ส่ือความหมาย ท้ังนี้ ผู้อ่านจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสถานภาพ หลากหลาย ความสนใจ หลากหลายฐานะ ซ่ึงผู้เขียนจะต้องคานึงถึงผู้อ่านเป็นสาคัญ ไม่ว่าจะเป็น ข้ันตอนเลือกเรื่องท่ีจะเขียน การใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราวนั้น จะต้องพิจารณา ถึงความเหมาะสมกับผอู้ ่าน ๓. เนื้อหาที่เขียน คือ เรื่องราวต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เขียนที่ถ่ายทอดด้วยการใช้ถ้อยคา ภาษาไปยังผู้อ่าน โดยเร่ืองราวท่ีเขียนนั้นควรเรียบเรียงข้ึนอย่างมีระเบียบ เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ ให้สารประโยชน์ และเสนอแนวความคดิ เชงิ สร้างสรรค์แก่ผู้อา่ น
๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๔. ส่ือ คือ ช่องทางหรือตัวกลางในการนาสารจากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร จดหมาย โทรเลข ป้ายประกาศ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้เขียน ควรใชส้ อ่ื ใหเ้ หมาะสมกบั งานเขียนเพอ่ื การส่ือความหมายได้อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ จากที่ได้กล่าวมา สามารถสรุปองค์ประกอบหลักของการเขียนได้ ๔ ประการ ดงั นี้ ๑. ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ท่ีสร้างและถ่ายทอดเร่ืองราวต่างๆ ผ่านงานเขียน จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสาคัญหลายประการที่เอื้อต่อการเขียนงานได้อยา่ งสร้างสรรค์ ได้แก่ ๑.๑ เปน็ ผทู้ ี่มจี ุดมุ่งหมายทช่ี ัดเจนในการเขยี น ๑.๒ เป็นผู้ท่มี คี วามคิดริเรม่ิ สร้างสรรค์ ๑.๓ เป็นผทู้ ม่ี ีความรคู้ วามเข้าใจในเรือ่ งท่จี ะเขยี น ๑.๔ เปน็ ผทู้ ี่มคี วามสามารถในการใชภ้ าษาในการเขียน ๒. เรื่องที่เขียนหรืองานเขียน ซ่ึงเป็นเน้ือหาต่างๆ เช่น ความรู้ สาระ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ที่ผู้เขียนถ่ายทอดไปยังผู้อ่าน ควรเรียงลาดับเน้ือหา อย่างสัมพันธ์และมีเหตุผลเพ่ือสร้างความเข้าใจให้ผู้อ่าน นอกจากนี้ งานเขียนท่ีดี จะต้องมีความถูกต้องของเน้ือหาสาระ มีความสวยงามของภาษา และมีคุณค่าต่อจิตใจ ใหป้ ระโยชนแ์ กผ่ ู้อา่ น ๓. กลวิธีการเขียน ซึ่งเป็นการใช้กลวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาให้สัมพันธ์กัน และกลวิธีการใช้ทางภาษาอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนการนาเสนอรูปแบบท่ีถูกต้อง เหมาะสม ท้ังนี้ สามารถสรุปกลวิธีการเขียนได้ ๒ ประการ ตามท่ี วรวรรธน์ ศรียาภัย (๒๕๕๗ : ๒๙) สรุปไว้ ดงั น้ี ๓.๑ ถูกขนบ คือ เป็นกลวิธีท่ีถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่กาหนด ท้ังเนื้อหา การใช้ภาษา และรูปแบบ งานเขียนบางอย่างมีขนบซ่ึงไม่สามารถแหวกได้ เช่น การเขยี นหนงั สอื ราชการ รายงานการประชุม เปน็ ต้น ๓.๒ สร้างสรรค์ คือ มีความแปลกใหม่อย่างมีคุณค่า การคิดสร้างสรรค์นั้น ข้ันแรกต้องพิจารณาว่างานเขียนช้ินนั้นๆ สร้างสรรค์ได้หรือไม่ เฉพาะงานที่สามารถ คิดสร้างสรรค์ได้จึงค่อยดาเนินการเขียนอย่างสร้างสรรค์ โดยอาจสร้างสรรค์ได้ที่เนื้อหา การใช้ภาษา และรปู แบบ เช่น เรื่องส้ัน นวนยิ าย สารคดี นทิ าน บทกวี บทเพลง เปน็ ตน้
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๗ ๔. ผู้อ่าน ซึ่งเป็นผู้ที่แปลความหมาย ตีความหมาย ตลอดจนทาความเข้าใจ เรอ่ื งราวที่ผเู้ ขียนต้องการถา่ ยทอด กล่าวโดยสรุป การเขียนจะมีประสิทธิภาพได้น้ัน ต้องอาศัยองค์ประกอบ หลายส่วนรวมกัน เช่น ผู้เขียนเองก็ต้องมีความสามารถด้านการเขียน และสามารถ สื่อสารให้ตรงตามความประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์ สานวน ภาษา คาศัพท์ โครงสร้างของประโยค ตลอดจนมีความรู้เก่ียวกับเน้ือหา ของเร่ืองที่จะเขียน รูปแบบการเขียน กลวิธีในการเลือกใช้ถ้อยคา และการเรียบเรียง เนื้อหาได้อย่างสมเหตุสมผล กะทัดรัด ได้ใจความ เพ่ือสร้างเร่ืองท่ีเขียนหรืองานเขียน ที่มีคุณภาพไปยังผู้อ่าน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางได้อย่างสัมฤทธ์ิผลตามเจตนา ของผู้เขยี นนนั่ เอง ประเภทของการเขียน การจัดแบ่งประเภทของการเขียน สามารถแบ่งได้โดยใช้เกณฑ์ ๒ เกณฑ์ ได้แก่ ๑. แบ่งตามลกั ษณะลลี าการเขียน แบ่งได้ ๒ ประเภท ดงั นี้ ๑.๑ งานเขียนประเภทร้อยแก้ว คือ การเขียนท่ีเรียบเรียงถ้อยคา โดยไม่มีข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ โดยผู้เขียนเรียบเรียงคาเป็นประโยคท่ีสื่อความ ได้ชัดเจนและเรียบเรียงตามหลักไวยากรณ์ภาษา งานเขียนประเภทนี้ เช่น สารคดี บทความ เรอ่ื งสน้ั นวนยิ าย จดหมาย ตารา หนงั สอื เปน็ ตน้
๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ดังข้อความตอนหน่ึงในหนังสือเรื่องวัตนาการ ของแบบเรียนภาษาไทย ซึ่งใช้ถ้อยคาภาษาท่ีเรียบเรียงเป็นประโยคโดยไม่มีข้อบังคับ ทางฉันทลักษณ์ ในการบรรยายความเป็นมาของรูปแบบการศึกษาของไทย ในสมัยโบราณ จินดามณี เป็นแบบเรียนท่ีใช้กันอยู่ในช่วงที่การศึกษาของไทยยังไม่พัฒนา เข้าสู่ระบ บ การเรียน การสอน คงกระท าอยู่ใน กลุ่ม ห รือเคห สถาน ของตน ก่อนท่ีจะไปศึกษากับพระภิกษุสงฆ์ หลักฐานท่ีว่าด้วยโบราณศึกษาของคนไทย ต้ังแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี ไม่มีหรืออาจจะสูญหายไปก็น่าจะเป็นได้ ท่ี พ อจะใช้เป็ น ห ลัก ฐาน อ้ างอิงได้ ก็คื อ บั น ทึ กข องช าวต่ างช าติท่ี เดิ น ท าง เข้ามาในราชอาณาจักรสยาม และกล่าวพรรณนาไว้ใน จดหมายเหตุของลาลูแบร์ เป็นหลักฐานหนึ่งที่สามารถจะใช้อ้างอิงได้ ลาลูแบร์เป็นอัครราชทูตฝรั่งเศส ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝร่ังเศส ที่เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระ น า ร า ย ณ์ ใน พ .ศ . ๒ ๒ ๒ ๙ ล า ลู แ บ ร์ ได้ อ ยู่ ใน ก รุ ง ศ รี อ ยุ ธ ย า ๓ เดื อ น ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาได้บันทึกเรื่องราวที่เขาได้พบเห็นในกรุงศรีอยุธยา และได้กลายมาเป็นหลักฐานสาคัญในการศึกษาเรื่องราวของชาวสยาม ผ่านสายตา ของชาวตา่ งประเทศ (ที่มา นยิ ะดา เหลา่ สุนทร. วตั นาการของแบบเรยี นภาษาไทย, ๒๕๕๒ หน้า ๓๔)
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๙ ๑.๒ งานเขียนประเภทร้อยกรอง คือ งานเขียนที่เรียบเรียงถ้อยคา ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ ซึ่งแต่ละชนิดมีลักษณะทางฉันทลักษณ์แตกต่างกันออกไป อาทิ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลติ ตัวอย่าง งานเขียนประเภทร้อยกรองของแรคา ประโดยคา ที่มีการใช้ถ้อยคาได้อย่าง สละสลวยตามฉนั ทลักษณ์เพ่อื ถา่ ยทอดอารมณ์ความรูส้ ึกผา่ นกวนี พิ นธ์ อารมณก์ วี ประหลาดมีประหลาดลับเกดิ กับจติ อ่อนไหวซาบทวีพลีฤทธิ์ ย่ัวย้อมชีวติ ได้พิสดาร ได้มาอย่างมหัศจรรย์ สาคญั ปานวา่ เปน็ ปาฏหิ าริย์ แนบเนยี นเนาสถติ จิตวิญญาณ เร้าจินตนาการอย่รู า่ ไป ให้สายตาพเิ ศษ ละเอียดสังเกตเหตุรว่ มสมัย ลุ่มลกึ ตรกึ ตรองมองกว้างไกล แมม้ องแปลกกว่าใครไมอ่ นาทร ความรู้สึกนึกคิด สง่ พลังนฤมิตผิดจากกอ่ น เปน็ พลงั ทรงคา่ สถาพร ร้อยสลักอักษรสาหรบั ใจ ไมม่ ีมาตรวัดจากดั ได้ ภาษากวี ซ่อนศกั ด์ซิ ่อนนัยใหเ้ น้ือความ งดงามยิ่งกว่าภาษาใด ปฏภิ าณบนกระดาษไมอ่ าจหา้ ม หลั่งถอ้ ยรอ้ ยสาร ฝากนามฝากงานสืบวงการกวี ประกาศศกั ดาพยายาม แรคา ประโดยคา คากลา่ วสนุ ทรพจน์ ในวันรบั พระราชทานรางวลั วรรณกรรม สรา้ งสรรค์ยอดเยี่ยมแหง่ อาเซียน (ท่ีมา สมบัติ จาปาเงนิ . (รวบรวม เรียบเรยี ง). รางวลั วรรณกรรมสรา้ งสรรค์ ยอดเยยี่ มแห่งอาเซยี น (รางวัลซไี รต)์ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๔๘, ๒๕๔๘ หน้า ๒๔๕)
๑๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒. แบง่ ตามลกั ษณะเนอื้ หา มี ๒ ประเภท ไดแ้ ก่ ๒.๑ งานเขียนแนวสารคดี คือ งานเขียนที่มีเนื้อหาเน้นการถ่ายทอดสาร ในลักษณะข้อมูล ข้อเท็จจริง สาระความรู้ในเร่ืองใดเรอ่ื งหน่ึง โดยใชภ้ าษาระดบั ทางการ ที่กระชับ ชัดเจน เรียบง่าย เพ่ือสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน เช่น หนังสือ ตารา บทความ ข่าว เปน็ ต้น ตัวอย่าง งานเขียนแนวสารคดี ดังตัวอย่างบทความวิชาการ เร่ือง การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการตกของฝนบริเวณลุ่มน้าห้วยคอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงข้อเท็จจริง เก่ียวกับปริมาณฝนในบริเวณลุ่มน้าห้วยคอกม้า โดยใช้ภาษาระดับทางการที่กระชับ ชัดเจนในการเขียน รวมท้ังมีการอ้างอิงข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ต่างๆ ท่ีเก่ียวกับฝน ปริมาณน้าฝน สภาวะฝน ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลการตกของฝน ประกอบ การบรรยาย ฝนเป็นแหล่งทรัพยากรน้าท่ีมีความสาคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน มนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้าในด้านต่างๆ ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และชุมชน อย่างไรก็ตาม หากมีมากเกินไปหรือน้อยไปก็อาจเป็นภัย ต่อมนุษย์ เช่น การเกิดน้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลาก หรือความแห้งแล้ง รวมไปถึง การชะล้างพังทลายของดิน ซ่ึงสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เป็นอย่างมาก และภัยพิบัติเหล่าน้ีเร่ิมมีแนวโน้มเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากข้ึน ซึ่งอาจ เป็ น ผ ล จ า ก ก า ร เป ล่ี ย น แ ป ล ง ส ภ า พ ภู มิ อ า ก า ศ ข อ ง โล ก แ ล ะ ค ว า ม แ ป ร ป ร ว น ของสภาพภูมอิ ากาศ การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นการเปล่ียนแปลงในช่วงเวลานาน หรืออย่างถาวร ส่วนความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นการเปล่ียนแปลง ของสภาพภูมิอากาศจากสภาพเดิมในระยะเวลาอันส้ัน (Intergovernmental Panel on Climate Change [IPCC], ๒๐๐๗) เช่น ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา หรือ ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ซ่ึงลักษณะการตกของฝนเป็นดัชนีหนึ่ง ท่ีสะท้อนถึงผลจากการเปล่ียนแปลงทั้งสอง ในอดีต ส่วนใหญ่นักวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจเพียงการเปล่ียนแปลงปริมาณน้าฝนสะสม เช่น ปริมาณน้าฝนรายเดือน รายฤดูกาล และรายปีเท่าน้ัน ส่วนการศึกษาความหนักเบา ความยาวนาน และจานวน คร้ังที่ฝนตกมีการศึกษาไม่มากนัก รวมถึงการศึกษาสภาวะฝนรุนแรง (Extreme
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๑ Events) ด้วย ซ่ึงหากทาการศึกษาข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดจะทาให้เข้าใจ ถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการตกของฝนมากขึ้น จากการศึกษาในอดีตพบว่า ก าร เป ล่ี ย น แ ป ล งข อ งลั ก ษ ณ ะ ก า ร ต ก ข อ งฝ น มี ค ว าม แ ต ก ต่ า งกั น ไป ใน แ ต่ ล ะ พ้ื น ท่ี ซ่ึงมีความแตกต่างทั้งในด้านสภาพภูมิประเทศและตาแหน่งที่ตั้ง แต่จากปัญหา สถานีวัดน้าฝนส่วนใหญ่ของประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณพ้ืนท่ีราบ จึงทาให้การศึกษาด้านนี้ ไม่ครอบคลุมบริเวณพื้นท่ีภูเขาสูง ทาให้การวิเคราะห์อาจมีความแตกต่างกับพื้นท่ีราบ ท้ังนี้ พื้นที่สูงยังเป็นแหล่งต้นน้า และเป็นพ้ืนที่ที่อ่อนไหวต่อการพังทลายของดิน ดังนั้น พื้นที่สูงจึงเป็นพื้นท่ีท่ีมีความสาคัญเป็นอย่างย่ิง โดยเฉพาะพื้นท่ีลุ่มน้าห้วยคอกม้า ถูกนามาใช้เป็นตัวแทนในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านน้ีอยู่เสมอเพราะมีการตรวจวัดข้อมูล การตกของฝนแบบอัตโนมัติต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเพียงพอท่ีจะ นามาวิเคราะห์หาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการตกของฝนได้ ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ จึ ง มี วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ เพื่ อ ศึ ก ษ า ก า ร เป ล่ี ย น แ ป ล ง ลั ก ษ ณ ะ ก า ร ต ก ข อ ง ฝ น ใน พื้ น ท่ี สู ง ซ่ึงจะทาให้เข้าใจลักษณะและการเปล่ียนการตกของฝนบนพ้ืนที่สูง จะได้เป็นประโยชน์ ในการจัดการลุ่มน้าในอนาคต ทั้งในด้านการวางแผนจัดการน้า การใช้ประโยชน์ที่ดิน การป้องกันการชะล้างพังทลายของดนิ และอ่นื ๆ ท่เี กี่ยวขอ้ ง (ทม่ี า สทิ ธโิ ชค กล่อมวญิ ญา และคณะ. การเปลีย่ นแปลงลักษณะการตกของฝน บรเิ วณลุ่มนา้ ห้วยคอกมา้ จังหวดั เชียงใหม่, ๒๕๕๙ หน้า ๖๗-๖๘)
๑๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒.๒ งานเขียนแนวบันเทงิ คดี คือ งานเขียนที่มีเนื้อหาเน้นการถ่ายทอดสาร ที่ตอบสนองอารมณ์ผู้อ่าน สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้แก่ผู้อ่าน ใช้ภาษา สละสลวย มคี วามงามทางวรรณศิลป์ ทาให้ผู้อ่านเกิดภาพหรอื จินตนาการ เช่น เร่ืองสั้น นวนิยาย นิทาน บทละคร บทกวี บทเพลง เปน็ ตน้ ตัวอย่าง งานเขียนแนวบันเทิง ดังตัวอย่างงานเขียนของนิ้วกลม เรื่อง ความรักเท่าท่ีรู้ ซึ่งมีการใช้ภาษาเชิงวรรณศิลป์สร้างความงามด้วยการซ้าคา อาทิ คาว่า “ก่อนท่ี” หรือ การใช้สญั ลกั ษณ์ คอื คาว่า “สีขาว” “สีดา” “สีเทา” “สีชมพู” และ “สีน้าเงิน” เพอ่ื ให้ผู้อา่ นจนิ ตนาการและตีความถงึ ความหมายของสีเหลา่ น้ัน ฉันคดิ ถึงสีขาว ก่อนท่ีจะมีเรอื่ งราวใดใด ฉนั คดิ ยอ้ นกลบั ไปไกล ก่อนทใ่ี ครจะไดพ้ บเจอกนั ก่อนทเ่ี ราจะค้นพบ ก่อนการสบตาระหว่างเธอกับฉัน กอ่ นทเ่ี ทา้ ของเราจะเดินมาเพื่อสวนกนั ทางเส้นนัน้ เป็นสีขาว ฉนั คดิ ถงึ วันกอ่ นนน้ั วนั ทช่ี ีวติ ของฉันไรเ้ รอื่ งราว ผา่ นวนั คนื อยา่ งวา่ งเปล่า ไร้ความทรงจา ไร้สง่ิ สวยงาม ทวา่ —กไ็ ร้ความโศกเศรา้ ดว้ ยเชน่ กนั
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๓ ฉันคดิ ถึงสีขาว กอ่ นทเ่ี ราจะร้องไห้ ก่อนทีเ่ ราจะเกบ็ ไปฝัน กอ่ นท่ีเราจะได้กุมมือกนั ก่อนทค่ี าทักทายแรกคานน้ั ถูกเอ่ยออกมา เธอยงั จาได้ไหม ตอนน้นั ทุกอยา่ งเปน็ สขี าว รอเรือ่ งราวมาเติมลงไป พื้นท่ีว่างเปล่าไร้ความหมายใด รอให้ใครมาใหค้ วามหมายมนั ตอนนนั้ ทกุ สง่ิ เป็นสีขาว ไรเ้ รอ่ื งราวดาหรอื เทา ชมพูหวานหรอื น้าเงนิ เศรา้ สขี าว—เฝ้ารอการเรมิ่ ต้น เมือ่ ทุกสิ่งสนิ้ สดุ ลงในวันนี้ ความวา่ งเปล่าปรากฏขน้ึ ตรงหน้าอีกหน ความวา่ งเปล่าปรากฏข้ึนในใจฉันอกี ครั้ง แต่คราวนีม้ นั ไมเ่ ป็นสขี าวอกี ตอ่ ไปแล้ว ความวา่ งเปล่าหลังผ่านเรือ่ งราว ไม่ได้เปน็ สขี าวอีกตอ่ ไป ฉันคิดถึงสีขาว เธอล่ะ--ทร่ี ัก กาลงั คิดถึงสิ่งใด. (ที่มา น้วิ กลม. ความรักเทา่ ท่ีรู้, ๒๕๕๕ หนา้ ๒๒-๒๔)
๑๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ การพัฒนาทักษะการเขยี น การเขียนน้ันเป็นทักษะท่ีต้องอาศัยท้ังความรู้และการฝึกฝน จึงจะสามารถ ถ่ายทอดเร่ืองราวหรือสารต่างๆ ไปยังผู้อ่านได้อย่างสมบูรณ์ ดังน้ัน ผู้เขียนจะต้อง ฝึกเขียนอย่างถูกหลัก ถูกวิธี และฝึกจนชานาญจนกลายเป็นผู้ที่มีความสามารถ ในการเขียน ดังที่ วาเล็ท (Valette) ฮีตัน (Heaton) และ ไวท์ (White) นักการศึกษา ต่างประเทศ (อ้างถึงใน จิตต์นิภา ศรีไสย์, ๒๕๔๙ : ๑๔๘) ได้ประมวลความสามารถ ในการเขยี น สรุปไดด้ งั น้ี วาเล็ท (Valette) กล่าวว่า ความสามารถในการเขียนเป็นความสามารถ ท่ีผู้เขียนต้องแสดงออกอย่างชัดเจนและเต็มที่ในการอธิบายส่ิงหนึ่งส่ิงใดให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้ตรงกับผู้เขียนต้องการส่ือ เน่ืองจากผู้เขียนไม่มีโอกาสให้คาอธิบายข้อสงสัยแก่ผู้อ่าน ได้ในทันทีทันใดเหมือนกับการฟังหรือการอ่าน แม้แต่การพูดก็มีโอกาสให้คาอธิบาย แทรกในบทสนทนาได้ ฮีตัน (Heaton) กล่าวว่า ผู้มีความสามารถในการเขียนต้องมีพ้ืนฐาน ในด้านการฟัง การพูด และการอ่านมาก่อน นอกจากนี้ ผู้เขียนยังต้องมีความรู้ ความสามารถทางด้านการใช้ภาษาได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อีกท้ังใช้ภาษา ได้เหมาะสมกับบุคคล สถานการณ์ มีความรู้ความสามารถด้านลีลาการเขียน สามารถเลือกใช้สานวนโวหารใหเ้ กดิ ลกั ษณะเฉพาะตวั สาหรับผู้เขียน ไวท์ (White) กล่าวว่า ความสามารถในการเขียนไม่ได้หมายความถึงการสร้าง ประโยคได้ถูกต้องเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความสามารถในการเขียนประโยคออกมา ได้ชัดเจน ตรงกับวัตถุประสงค์ท่ีจะเขียน คานึงถึงลีลาเฉพาะตัวของผู้เขียนและเอกภาพ ของเรือ่ งดว้ ยเช่นกัน ดังน้ัน ความสามารถในการเขียน คือ ความสามารถเฉพาะตัวของนักเขียน ที่เกิดจากความเข้าใจและความรู้ ท้ังด้านเนื้อหา ภาษาในการเขียน ตลอดจนกลวิธี การเขียนเพ่ือถ่ายทอดงานเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการแสดงเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของผู้เขยี นเอาไว้ด้วย
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๕ ในการสร้างความสามารถในการเขียนน้ัน ผู้เขียนควรรู้หลักการพัฒนา ทักษะการเขียนเพื่อสร้างสรรค์งานได้อย่างมีคุณ ภาพ ดังท่ี ดวงใจ ไทยอุบุญ (๒๕๕๐ : ๑๗-๑๘) ได้สรุปหลักการพัฒนาทักษะการเขียนไว้สาหรับการเขียน อย่างมปี ระสิทธภิ าพ ๖ ประการ ดงั นี้ ๑. ทกั ษะการเขียนเกิดจากการฝกึ ฝนและจะต้องทาอยา่ งมีระบบ คือ ๑.๑ ต้องฝกึ ฝนอย่างสม่าเสมอ ๑.๒ ต้องใช้เวลาฝกึ นานพอควรจึงจะเกิดความชานาญ ๑.๓ ต้องฝึกใหถ้ ูกวธิ ีและถูกหลกั เกณฑ์ - ต้องสะกดคาให้ถูก เรียบเรียงถ้อยคาให้สื่อความหมายได้ชัดเจน และร้จู ักการแบง่ วรรคตอนให้ถูกตอ้ ง - ต้องรู้จักเทคนิคเฉพาะในการเขียนเรอื่ งประเภทต่างๆ เช่น การเขียน เรยี งความ บทความ ทง้ั ในแง่วตั ถุประสงค์และเทคนิคการเขียน ๒. รู้จักแสดงออกโดยเขียนเรียบเรียงความรู้และความรู้สึกนึกคิดออกมา อย่างเป็นระเบียบ เพ่อื ให้ผู้อ่านเขา้ ใจตรงตามท่ตี อ้ งการ ๓. การเขียนเป็นการใช้ภาษา ซ่ึงต้องอาศัยการส่ังสมความรู้ความคิด จากการอ่านและการฟัง ถ้าฟังมาก อ่านมาก จะทาให้ผู้เขียนมีความรู้ เกิดความคิด กว้างไกล สามารถนาไปใช้ในการเขียนให้มีคณุ ภาพมากยิ่งข้ึน ๔. การเขียนเป็นหลักฐานท่ีผู้อื่นสามารถอ่านและนาไปอ้างอิงได้ ดังน้ัน จึงควรเขียนด้วยความระมัดระวัง และต้องรู้จักการสรรหาถ้อยคามาใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม ๕. งานเขียนจะมีคุณค่าได้ก็ต่อเม่ือทาให้ผู้อ่านพัฒน าความรู้ ความคิด และอารมณ์ งานเขยี นทมี่ ีคณุ ค่าประกอบด้วย ๕.๑ ใหค้ วามรู้แก่ผอู้ า่ น ๕.๒ ให้ความคดิ สร้างสรรคท์ ดี่ ีงามแกผ่ อู้ า่ นอยา่ งมีเหตมุ ีผล ๕.๓ ให้ผอู้ ่านมพี ฒั นาการทางอารมณ์และความรสู้ กึ ไปในทางท่ดี ี ๖. งานเขียนจะต้องคานึงถึงระดับความรู้ ความคิด และสติปัญญาของผู้อ่าน จึงควรระมัดระวังเร่ืองการใช้ถ้อยคาภาษา การเสนอความรู้และความคิดท่ีผู้อ่าน อาจไมม่ พี นื้ ฐานในเร่ืองน้นั ๆ
๑๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ข้อแนะนาในการเขียน ในการเขียนงานเขียนประเภทต่างๆ น้ัน ผู้เขียนควรคานึงถึงหลักในการเขียน เพื่อความถูกต้อง เหมาะสมตามกาลเทศะ เกิดความสละสลวย และเกิดความสร้างสรรค์ ในงานเขยี น ดังขอ้ แนะนาในการเขียน ได้แก่ ๑. ผเู้ ขยี นต้องมคี วามรู้ทางภาษา ๑.๑ ผู้เขียนควรเขียนสะกดคาให้ถูกต้อง เพื่อการส่ือความหมายท่ีถูกต้อง ในงานเขยี น และเพอ่ื สร้างความนา่ เชื่อถือใหแ้ ก่ผูเ้ ขยี น ๑.๒ ผู้เขียนควรศึกษาการใช้คาให้ถูกต้องตามความหมาย เพราะคา ในภาษาไทยมีหลายประเภท อาทิ คาท่ีมีความหมายโดยตรง คาท่ีมีความหมายโดยนัย คาท่ีมีความหมายตามประวัติ หรือคาที่มีความหมายตามบริบท หากผู้เขียนเข้าใจ ความหมายของคาอย่างถูกต้อง รวมท้ังเข้าใจสถานการณ์ในการนาถ้อยคาเหล่านั้นไปใช้ ก็จะสามารถเลือกใช้คาได้อย่างเหมาะสม และเกิดการส่ือความในงานเขียน ได้อยา่ งถูกตอ้ ง ๒. ผู้เขียนควรใช้ระดับภาษาให้เหมาะสม ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าในงานเขียน น้ันเป็นการเขียนประเภทใด เหมาะแก่การใช้ภาษาระดับใด เช่น ภาษาทางการ ก่ึงทางการ ภาษาสนทนา ภาษากันเอง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องใช้ภาษา ให้เหมาะแก่ระดับของบุคคลระดับต่างๆ อาทิ พระมหากษัตริย์ สามัญชน พระภิกษุ เปน็ ต้น ๓. ผู้เขยี นควรใช้ภาษาให้กระชับ โดยงดใช้คาหรือประโยคกากวม คาฟมุ่ เฟือย ตลอดจนการใช้คาและสานวนต่างประเทศ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้งานเขียน เกิดความฟุ่มเฟือย ยาวเยิ่นเย้อและกากวม จนทาให้ผู้อ่านเข้าใจยากและตีความหมาย ผดิ ในทส่ี ดุ ๔. ผู้เขียนควรใช้สานวนภาษาให้เหมาะสม ดังที่ สิริวรรณ นันทจันทูล (๒๕๔๓ : ๑๙-๒๓) ได้กล่าวถึงการใช้สานวนภาษาในการเขยี น สามารถสรุปได้ ดังนี้ ๔.๑ สานวนภาษาการประพันธ์ เป็นสานวนภาษาที่ใช้ในการประพันธ์ ท้ังตามแบบร้อยกรองและร้อยแก้ว ท้ังน้ี เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์ เกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหน่ึง เกิดจินตนาการตามท่ีผู้ประพันธ์ต้องการ ทั้งน้ี ผู้ประพันธ์จะต้องเลือกสรรถ้อยคาด้วยความประณีต สละสลวย อ่อนโยน หรือรุนแรง เลน่ สาบัดสานวน คารมคมคาย ตามความตอ้ งการทจ่ี ะเสนอแก่ผอู้ า่ น
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๗ ๔.๒ สานวนภาษาส่ือมวลชน เป็นสานวนภาษาที่ใช้ส่ือสารผ่านส่ือมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งการส่ือสารในลักษณะนี้ มีข้อจากัดหลายประการ เช่น ข้อจากัดในเร่ืองเวลาจัดทา ข้อจากัดในเร่ืองเวลา ทจี่ ะเผยแพร่ การแข่งขนั กันทางธุรกิจ การดึงดูดความสนใจของผู้อ่านเป็นต้น ซ่ึงเหล่าน้ี ล้วนมีผลทาให้ภาษาส่ือมวลชนมีลักษณะเฉพาะจนบางคร้ังเกิดความบกพร่องขึ้น เช่น ภาษาหนังสือพิมพ์ เป็นภาษาที่ไม่สละสลวย ไม่ถูกต้องตามแบบแผน เขียนสะกดคาผิด การใช้ภาษาสื่อความเกินจริงเพ่ือเรียกร้องความสนใจ การใช้ภาษาทาให้เกิดความเข้าใจ คลาดเคลือ่ น การใช้ถ้อยคาย่นยอ่ จนไมช่ ัดเจน เป็นต้น ๔.๓ สานวนภาษาโฆษณา เป็นสานวนภาษาที่ผู้ดาเนินธุรกิจใช้นาเสนอ เกี่ยวกับสินค้าและบริการให้เป็นท่ีรู้จัก และเร้าให้ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการน้ัน อย่างรวดเร็ว โดยภาษาโฆษณาในส่วนที่เป็นคาขวัญ มักจะใช้คาสั้นๆ จานวนคาน้อย แต่กินความหมายมาก ประโยคกะทัดรัดหรือเป็นเพียงกลุ่มคา นอกจากน้ี ยังมีการใช้คา ให้สะดุดหูสะดุดตา เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ รวมถึงการใช้กลุ่มคาท่ีสละสลวย กนิ ความหมายกวา้ ง ๔.๔ สานวนภาษาเฉพาะอาชีพ เป็นสานวนภาษาท่ีใช้ในกลุ่มสาขาอาชีพ ต่างๆ เช่น นักธุรกิจ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา แพทย์ ช่างก่อสร้าง เป็นต้น ซ่ึงมีบางส่วนแตกต่างจากภาษาที่ใช้สื่อสารกันทั่วไป ท่ีเห็นได้ชัด คือ มีคาศัพท์ เฉพาะสาขาอาชีพ ซ่ึงจะเข้าใจกันภายในวงการอาชีพเดียวกัน ส่วนคนนอกวงการ หรือกลุ่มอาชีพอนื่ อาจไมเ่ ขา้ ใจความหมาย ๔.๕ สานวนภ าษาท่ั วไป เป็นสานวนภ าษาที่ใช้ในการส่ือสารใน ชวี ิตประจาวัน เช่น การทักทาย พูดคยุ สนทนาเรื่องทั่วไป ไต่ถามทกุ ข์สุข เล่าเหตุการณ์ เรอื่ งราวท่ีเกดิ ขึ้น อธบิ ายขอ้ ความรรู้ ะหว่างบคุ คล ภายในกลมุ่ บคุ คล เป็นต้น ๕. ผู้เขียนควรใช้โวหารในการเขียนอย่างถูกต้อง ซึ่งโวหารในการเขียนน้ัน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ โวหารหลัก ซึ่งเป็นโวหารที่ใช้เป็นหลักในการเขียน ประกอบ ไปด้วยบ รรยายโวห ารและพ รรณ นาโวห าร ส่วนโวห ารเสริม คือ โวหารที่ใช้ประกอบโวหารหลักเพ่ือทาให้เกิดความชัดเจนในงานเขียนมากยิ่งข้ึน ประกอบไปด้วยเทศนาโวหาร อปุ มาโวหาร และสาธกโวหาร
๑๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๕.๑ บรรยายโวหาร คือ โวหารท่ีใช้ภาษาในการการบอกเล่าเรื่องราว อธิบายเร่ืองราวเหตุการณ์ ตลอดจนเสนอข้อเท็จจริง โดยการใช้ถ้อยคาภาษาที่กระชับ กะทัดรัด มีความชัดเจน มักใช้ในงานเขียนประเภทสารคดี (Fiction) เชน่ ตารา หนังสือ บทความทางวชิ าการ หนังสอื ราชการ ข่าว เป็นตน้ ๕.๒ พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่ใช้ในพรรณนาเรื่องราวต่างๆ เพ่ือทาให้ ผู้อ่านเกิดจินตนาการ เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์คล้อยตาม โดยการใช้ถ้อยคาภาษา ท่ีสละสลวย มีการใช้ภาพพจน์ การสรรคา การเล่นเสียงเล่นคา มักใช้ในงานเขียน ประเภทบันเทิงคดี (Non-fiction) เช่น บทกวี บทเพลง นวนิยาย เรื่องส้ัน นิทาน บทเพลง เปน็ ตน้ ๕.๓ เทศนาโวหาร คือ โวหารที่ใช้ภาษาโดยชี้ให้เห็นคุณ และโทษ ของส่ิงต่างๆ รวมท้ังข้อแนะนาหรือการส่ังสอนอย่างมีเหตุผล เพ่ือให้เกิดการคล้อยตาม และปฏิบัติตามที่ผู้เขียนเสนอแนะ เช่น พระบรมราโชวาท โอวาท พระธรรมเทศนา คาสง่ั สอน บทความจรรโลงใจ เป็นตน้ ๕.๔ อุปมาโวหาร คือ โวหารท่ีใช้ภาษาแสดงการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนข้ึน มักมีการใช้ถ้อยคาท่ีแสดงการเปรียบเทียบ เช่น เสมือน ประดุจ ดุจ ด่ัง ราวกบั เหมอื นกับ เหมอื นดง่ั เปน็ ต้น ๕.๕ สาธกโวหาร คือ โวหารที่ใช้ภาษาให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ด้วยการยกตัวอย่าง เช่น การยกนิทาน สุภาษิต คาพังเพย ตานาน ตลอดจนเหตุการณ์ เขา้ มาประกอบ เปน็ ต้น ๖. ผู้เขียนควรใช้ภาพพจน์ในการเขียนอย่างถูกต้อง เนื่องจากภาพพจน์ สามารถทาให้งานเขียนนั้นเกิดความสวยงามและเกิดความสร้างสรรค์ได้ โดยภาพพจน์ น้ันมีหลายประเภท (คณาจารย์รายวิชาภาษาไทยเพื่อการส่ือสาร, ๒๕๕๖ : ๒๔-๒๖) ดงั นี้ ๖.๑ อุปมา (Simile) เป็นการเปรียบเทียบส่ิงหนึ่งเหมือนกับอีกส่ิงหน่ึง เพ่ือให้เห็นภาพของส่ิงนั้นได้อย่างชัดเจน โดยการใช้คาเปรียบเทียบความเหมือน ของส่ิงหน่ึงกับส่ิงหน่ึง เช่น บ้านเงียบราวกับป่าช้า สวยเหมือนนางฟ้า ค้ิวโก่งดั่งคันศร เป็นต้น ในการอุปมามักจะมีคาแสดงการเปรียบมาเป็นคาเชื่อมโยง เช่น เหมือน เสมือน ดุจ ประดจุ ประหน่งึ ราว ราวกบั ดัง ดงั่ เฉก คล้าย เปน็ ต้น
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๑๙ ๖.๒ อุปลักษณ์ (Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบส่ิงหนึ่งเป็นอีกส่ิงหน่ึง เป็นการเปรียบเทียบโดยตรง ในการเปรียบแบบอุปลักษณ์มักจะมีคาว่า เป็น คือ เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ กีฬาเป็นยาวิเศษ ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ เธอคือโลกท้ังใบของฉนั เป็นตน้ ๖.๓ ปฏิภาคพจน์ (Paradox) เป็นการนาคาท่ีตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน มาใช้ในการแสดงความหมายร่วมกันได้อย่างไพเราะกลมกลืน เช่น น้าร้อนปลาเป็น นา้ เยน็ ปลาตาย ไฟหนาว รักดีหามจ่ัวรกั ชวั่ หามเสา เป็นตน้ ๖.๔ บุ คลาธิษฐาน (Personification) เป็น การสร้างให้ส่ิงไม่มีชีวิต แสดงอากัปกริ ิยาต่างๆ มีความรู้สกึ นึกคิดเหมือนกับคน เชน่ ตุ๊กตาเริงระบา ทะเลครวญ เปน็ ตน้ ๖.๕ อติพจน์ (Hyperbole) เป็นการกล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นการสร้าง มโนภาพ อารมณ์ ความรู้สึก หรือการกระทาให้ผู้อ่านเกิดความเพลินเพลิน ซาบซ้ึง หรอื สะเทือนใจ เชน่ รักคณุ เท่าฟ้า นา้ ตาแทบกลายเปน็ สายเลอื ด เป็นต้น ๖.๖ สัทพจน์ (Onomatopoeia) การใช้คาเลียนเสียงท่ีเกิดจากธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความไพเราะและความสมจริงในงานประพันธ์ เป็นต้นว่า การใช้เสียงสัตว์ เสยี งคลืน่ เสยี งฟ้าร้อง เสียงฝนตก เสียงระเบดิ เสยี งดนตรี ในการเขยี น เชน่ กอ๊ ก กอ๊ ก กอ๊ ก เธอมาทาไม มาซือ้ ดอกไม้ ดอกอะไร ฉนั น่ังฟงั คลื่นกระทบฝัง่ ดังครืนครืน ฉันไดแ้ ตฝ่ นื หวั ใจไม่ให้คดิ ถงึ เธอ ๖.๗ ปฏิ ปุจฉา (Rhetorical Question) เป็นการใช้ประโยคคาถาม ท่ีไม่ต้องการคาตอบ แต่ผู้เขียนต้องการแสดงความรู้สึกอย่างใดอย่างหน่ึงต่อผู้อ่าน หรือตอ้ งการกระตุ้นให้ผูอ้ า่ นคิดหรอื สนใจตอ่ สิง่ นน้ั เช่น ประชาไทยตายฟรแี ล้วกค่ี รั้ง เลอื ดไทยหลง่ั ปฐพแี ล้วกี่หน ประชาไทยตายฟรแี ล้วกี่คน จะเวยี นวนอย่างน้ีอกี กว่ี ัน ๖.๘ สัญลักษณ์ (Symbol) การใช้ส่ิงมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นตัวแทน ของสิ่งใดส่ิงหนึง่ ซ่งึ เปน็ รปู ธรรมหรอื นามธรรม
๒๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๖ .๙ น าม นั ย (Metonymy) เป็ น ก ารใช้ ค าห รือ วลี ซ่ึ ง บ่ งลั ก ษ ณ ะ ของส่ิงใดสิ่งหน่ึงมาแสดงความหมายแทนส่ิงนั้นท้ังหมด เพื่อหลีกเล่ียงการใช้คาธรรมดา และเปน็ การนาจุดสาคญั หรอื ลกั ษณะเด่นของสิง่ น้นั มากล่าว
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๒๑ บทสรุป การเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพน้ัน จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการ ด้วยกัน ทั้งผู้เขียน งานเขียน กลวิธีการเขียน และผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เขียน ซ่ึงจะต้องมีความรู้ในเร่ืองที่จะเขียน มีความคิดท่ีเป็นระบบชัดเจน ตลอดจนอาศัย การใช้ภาษาเขียนได้อย่างเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะและรู้จักศิลปะการเขียน ทั้งการเลือกสรรถ้อยคา การเลือกใช้โวหารภาพพจน์ เพ่ือเป็นพื้นฐานในการสร้างงาน เขียนท่ีมีความสวยงาม ตลอดจนมีคุณค่าทางปัญญาและอารมณ์แกผ่ ู้อ่าน อย่างไรก็ตาม ป ระสิ ท ธิภ าพ ข อ งก ารเขีย น จ ะเกิด ขึ้ น ได้ก็ ต่ อ เมื่ อผู้ เขีย น ฝึ ก ฝ น แ ละ มี ค วาม มุ่ งม่ั น ในการพฒั นาทักษะการเขียนจนเกิดประสบการณ์และความชานาญ
๒๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๒๓ บทที่ ๒ การเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์นับเป็นการเขียนท่ีประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือ ในแง่ของการเป็น “ศาสตร์” น้ัน การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นการถ่ายทอด ความรู้ ทรรศนะ อารมณ์ ตลอดจนประสบการณ์ผ่านภาษา ซ่ึงถือเป็นเคร่ืองมือสาคัญ ในการติดต่อส่ือสารของคนในสังคม ผู้เขียนจึงจาเป็นต้องอาศัยท้ังความรู้ทางภาษา หลักการและทฤษฎี ความลุ่มลึกของสาขาวิชาแขนงต่างๆ ที่ต้องการถ่ายทอด ตลอดจน อาศัยประสบการณ์ การเขียนเพ่ือถ่ายทอดเนื้อหาอันมีคุณ ค่าสารประโยชน์ ตลอดจนความแปลกใหม่ผ่านงานเขียนของตน ส่วนในแง่ของการเป็น “ศิลป์” นั้น กล่าวคือ การท่ีผู้เขียนจะเขียนได้อย่างสร้างสรรค์น้ัน ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ และความชานาญในการใช้เทคนิคกลวิธีการเขียน การใช้ท่วงทานองการเขียน รวมท้ังการใช้ศิลปะทางด้านภาษา สานวนโวหาร เพ่ือผลิตงานเขียนได้อย่างสวยงาม สร้างสรรค์และทรงคุณคา่ จากท่ีกล่าวมาข้างต้นนี้ เราจึงมิอาจปฏิเสธได้ว่าการเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น เป็นการเขียนท่ีมีความพิเศษโดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะในการถ่ายทอดเร่ืองราวต่างๆ จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน ซึ่งหากผู้เขียนน้ันเรียนรู้วิธีการเพ่ือนาไปพัฒนาการเขียน เชิงสร้างสรรค์แล้ว ผลงานเขียนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นสมบัติอันล้าค่าของสังคม ในการทีจ่ ะชว่ ยจรรโลงผคู้ นและสังคมให้มคี วามเจริญงอกงามในภายภาคหนา้ ตอ่ ไป ความหมายของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน ได้มีนักวิชาการนิยามไว้อย่างหลากหลาย สามารถนามาประมวลไวไ้ ด้ ดงั น้ี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๑๑๗๘) นิยามคา วา่ “สรา้ งสรรค์” ไวว้ ่า ก. สรา้ งให้มีข้นึ เป็นข้ึน, ว. มีลักษณะรเิ ร่ิมในทางดี เช่น ความคิด สร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์
๒๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เจือ สตะเวทิน (๒๕๑๗ : ๑๘) ได้กล่าวถึงการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) ไว้ว่าเป็นการเขียนท่ีใช้ความคิดของผู้เขียนเอง เพื่อแสดงให้เห็นว่า จะทาการอย่างหนึ่งท่ีแสดงสติปัญญาของตนเอง ไม่เขียนตามแบบใคร ไม่คัดลอกใคร โดยข้อเขียนที่นับว่าเป็นการเขียนสร้างสรรค์จะเป็นเร่ืองสมมติก็ได้ เช่น นวนิยาย เรอื่ งสนั้ บทความ บทละคร บทวิทยุ บทภาพยนตร์ คอลัมน์ตา่ งๆ เปน็ ต้น ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (๒๕๒๑ : ๒) ได้นิยามการเขียนสร้างสรรค์ไว้ว่า การเขียนสร้างสรรค์มีความหมายตรงกันข้ามกับการเขียนที่มุ่งประโยชน์ทางธุรกิจ หรือวิชาการต่างๆ ในความเรียงเชิงสร้างสรรค์ ผู้เขียนจะต้องสามารถใช้จินตนาการ หรือความคิดคานึงของผู้เขียนสารออกมาด้วยถ้อยคาที่สละสลวย ประทับใจผู้อ่าน ผูฟ้ ัง และใหค้ วามรสู้ กึ ในทางเพลดิ เพลินเจรญิ ใจและประดับสติปญั ญาไปดว้ ยในตัว สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๗) นิยามว่า การเขียนสร้างสรรค์ หมายถึง การเขียนที่เกิดจากความคิดริเร่ิม ไม่ลอกเลียนแบบ มีความแปลกใหม่ มีจินตนาการ ซ่ึงสอดประสานกับความงามทางภาษา สร้างสรรค์สติปัญญา ป ระเทืองอารมณ์ ผสมผสานกับการเสนอความคิดและถ้อยคาสานวนอันประกอบด้วยศิลปะ มีความคิด ริเริม่ สรา้ งสรรคท์ ัง้ รูปแบบ เนอ้ื หาสาระ กลวธิ ี ตลอดจนการใช้ถ้อยคาสานวนต่างๆ ประภาศรี สีหอาไพ (๒๕๓๑ : ๑) ได้นิยามการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า การเขียนแบบสร้างสรรค์ หมายถึง การเขียนที่ผู้เขียนสร้างคาและความจากจินตนาการ ของตนเองโดยมิได้ลอกเลียนแบบอย่างของผู้อื่น มีอิสระท่ีจะเลือกรูปแบบการเขียน โดยไม่อยู่ในกรอบของลักษณะของคาประพันธ์นัก ผลงานเช่นน้ีจึงมีความประณีต มคี ณุ ค่าทางความคิดรเิ ริม่ อยา่ งเด่นชดั โกชัย สาริกบุตร (๒๕๔๒ : ๙๙) อธิบายการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า เป็นการเขียนท่ีมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว แสดงความเป็นตัวของตัวเอง มีความแปลกใหม่ ไมซ่ า้ ใคร ไม่ลอกเลยี นผอู้ ่ืนโดยไมด่ ัดแปลง ปรบั ปรุงอะไรเลย ปราณี สุรสิทธ์ิ (๒๕๔๙ : ๔๐) นิยามการเขียนเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การเขียนที่ผู้เขียนสร้างคา แนวคิด จากจินตนาการของตนเองโดยไม่ได้ลอกเลียน แบบอย่างของผู้อื่น อีกทั้งยังมีอิสระท่ีจะคิดรูปแบบใหม่ๆ ท่ีแหวกจากของเดิมท่ีมีอยู่ เปน็ ผลงานท่ีมีคุณค่าทางความคดิ ริเร่ิมอยา่ งเดน่ ชัด
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๒๕ ถวัลย์ มาศจรัส (๒๕๕๐ : ๔) ได้นิยามการเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า การเขียน เชิงสร้างสรรค์ หมายถึง งานเขียนที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน ที่เขียนด้วยสานวนภาษาท่ีมีลักษณะเฉพาะของตนเอง หรือมีรูปแบบการเขียน ทมี่ คี วามแปลกใหม่ มคี ณุ คา่ และเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (๒๕๕๔ : ๔) นิยาม การเขียนเชิงสร้างสรรค์ไว้ว่า เป็นการเขียนท้ังร้อยแก้วร้อยกรอง สารคดี และบันเทิงคดีท่ีผู้เขียนมุ่งแสดงความคานึง และจินตนาการของตน ด้วยสานวนภาษาสละสลวย กลวิธีการเขียนไม่มีขอบเขตจากัด การแสดงออกในทุกองค์ประกอบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้เขียนและงานเขียนนั้น ต้องมีคณุ คา่ ทางอารมณ์และสติปัญญา จากที่กล่าวมาท้ังหมด สามารถสรุปได้ว่า การเขียนเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การเขียนท่ีผู้เขียนถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ความคิด จินตนาการ อารมณ์ ตลอดจน ประสบการณ์ ผ่านงานเขียนท่ีมีความแปลกใหม่ท้ังทางด้านรูปแบบและเน้ือหา โดยอาศัยศิลปะทางภาษา การใช้สานวนโวหาร ตลอดจนเทคนิควิธีการนาเสนอ ในรูปแบบต่างๆ ท่ีไม่ลอกเลียนแบบผู้ใด สร้างงานเขียนที่มีคุณค่า ให้ความเพลิดเพลิน จรรโลงใจ ตลอดจนใหส้ ารประโยชน์แก่ผู้อ่าน ความสาคญั ของการเขียนเชิงสรา้ งสรรค์ การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นการเขียนที่มีความสาคัญต่อการเรียนรู้ของคน การพัฒ นาสติปัญญ า ตลอดจนมีประโยชน์ต่อการทางานหลากหลายอาชีพ อาจกลา่ วไดว้ ่า มีความสาคัญและมีประโยชน์ทั้งในวงแคบและวงกวา้ ง ในวงแคบนั้น คือ การมีความสาคัญในด้านปัจเจก และในวงกว้างนั้น คือ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ น้นั สามารถสร้างประโยชน์ให้แกส่ งั คมสว่ นรวมได้ ดงั น้ี ๑. ความสาคญั ดา้ นปัจเจก ๑.๑ ฝกึ เชาวนไ์ หวพรบิ ของผูเ้ ขียน การเขียนเชิงสร้างสรรค์เปรียบเสมือนสนามฝึกการใช้เชาวน์ไหวพริบ ของผู้เขียน โดยที่ผู้เขียนนั้นต้องฝึกฝนการใช้กลวิธีสร้างความแปลกใหม่ให้แก่งานเขียน ของตน เป็นต้นว่า การฝึกสร้างคาในลักษณะต่างๆ เช่น การฝึกสร้างคาประสม คาซ้า คาซ้อน ตลอดจนวิธีพลิกแพลงคาให้มีเสียงไพเราะขึ้น ดังเช่นการใช้คาอัพภาส ในการเขียนเพือ่ เพิ่มจงั หวะและความไพเราะของเสยี ง
๒๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตวั อย่าง การใช้คาอัพภาสในงานเขียนเชงิ สร้างสรรค์เรอ่ื ง ลิลิตเตลงพ่าย “...สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโหเ่ อาฤกษ์ เอกิ อึงโห่เอาชยั สาดปนื ไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษ ยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกชักคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เง้ือดาบฟันฉะฉาด งา่ ง้าวฟาดฉะฉับ…” (ที่มา สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส, ๒๕๔๒ หน้า ๑๑๖-๑๑๗) ๑.๒ สร้างชอ่ื เสียงให้แกผ่ ้เู ขยี น หากผู้เขียนฝึกฝนการเขียนเชิงสร้างสรรค์จนชานาญ ผลงานมีเอกลักษณ์ และแสดงถึงความเป็นตัวตนของผู้เขียนโดดเด่นโดยไม่ซ้าใคร ผลงานของนักเขียน ก็เปรียบเสมือนบันไดในการนาพาผู้เขียนให้ประสบความสาเร็จในด้านอาชีพของผู้เขียน ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้แก่ผู้เขียนอีกด้วย นักเขียนเชิงสร้างสรรค์ท่ีผลงาน มีเอกลักษณ์ และได้รับรางวัลในระดับชาติและนานาชาติ มีหลายท่าน เช่น อังคาร กัลยาณพงศ์ รงค์ วงษ์สวรรค์ ชาติ กอบจิตติ ศรีฟ้า ลดาวัลย์ ปราบดา หยุ่น วาณิช จรุงกิจอนันต์ วินทร์ เลียววาริณ สราวุธ เฮ้งสวัสด์ิ (น้ิวกลม) ฐาวรา สิริพิพัฒน์ (ดร. ป๊อป) เจ. เค. โรลล่ิง J.K. Rowling เจ. อาร.์ อาร์. โทลคีน J.R.R. Tolkien เปน็ ตน้ ทั้งน้ี รางวัลงานวรรณกรรมเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซง่ึ ถือได้ว่าเป็นเวทีในการสร้างช่ือเสียงให้นักเขียนและผลงานของนักเขียนน้ันมีมากมาย สามารถประมวลไว้ได้ ดงั นี้ ๑. รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ๒. รางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาวรรณกรรม (Ramon Magsaysay Award) ๓. รางวลั ซีไรต์ (S.E.A. WRITE AWARD) ๔. รางวัลวรรณกรรมนานาชาติลุ่มน้าโขง หรือ แม่โขงอวอร์ด (Mekong River Literature Award : MERLA) ๕. รางวัลชอ่ การะเกด ๖. รางวัลพานแวน่ ฟา้ ๗. รางวัลศรบี รู พา ๘. รางวัลนราธิป
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๒๗ ๙. รางวัลศิลปาธร ๑๐. การประกวดหนังสือดีเดน่ ของกระทรวงศึกษาธกิ าร ๑๑. การประกวดงานเขียน “นายอินทร์อะวอร์ด” ๑๒. การประกวดวรรณกรรมเยาวชน “แว่นแกว้ ” ๑๓. การประกวดหนังสอื แปลดีเดน่ กระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. การประกวดเรอ่ื งส้ันมลู นธิ ิ สุภาว์ เทวกลุ ๑๕. การประกวดของสมาคมนักเขียนแหง่ ประเทศไทย ๑๖. การประกวดงานเขยี นประเภทตา่ งๆ ในคอลัมน์ ถนนนกั (ขอ) เขยี น ๑๗. การประกวดรางวัลแด่คนช่างขัน (Humourist Award) ๑๘. รางวลั “7 Bookawards” ๑๙. รางวลั หนงั สือแหง่ ชาติ (Nation Books Award) ๒๐. รางวลั เนบิวลา (Nebula Awards) ๒๑. รางวัลฮิวโก (The Hugo Awards, Science Fiction Achievement Award) ๑.๓ สรา้ งอาชพี ให้แกผ่ ้เู ขยี น ผู้เขียนที่มีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ การเขียนใช้ได้ในหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักเขียนวรรณกรรมนวนิยาย นักเขียน บทละครและภาพยนตร์ นักการประชาสัมพันธ์ นักแต่งเพลง นักโฆษณา โฆษก พิธีกร นกั โต้วาที นกั แปล เปน็ ตน้ ๑.๔ สร้างเอกตั ภาพของผเู้ ขียน คือ การใช้ภาษาตลอดจนท่วงทานองสานวนโวหารในการเขียนเชิง สร้างสรรค์น้ันสามารถสร้างและแสดงลักษณ ะเฉพาะตนของผู้เขียนที่ผู้อื่น ยากจะลอกเลยี นแบบได้
๒๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๒. ความสาคญั ด้านสงั คม ๒.๑ เกิดการสบื สานวัฒนธรรมทางภาษา การเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ันเป็นการพัฒนาภาษาในทางหน่ึง ซึ่งภาษานั้น เปรียบได้กับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในการที่นักเขียนสร้างสรรค์หรือต่อยอด ทางด้านคา ประโยค สานวนโวหาร ลีลา ตลอดจนท่วงทานองในงานของตนนั้น นับเป็นการพัฒนาภาษาและสืบสานภาษาประจาชาติของตนให้เกิดการเปล่ียนแปลง และพัฒนาต่อไปได้ ๒.๒ ถา่ ยทอดภมู ปิ ญั ญาด้านต่างๆ ใหส้ งั คม งานเขียนไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์น้ัน จะเป็นส่ิง ที่แสดงภูมิปัญญาไทยให้ผู้อ่ืนเห็น ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาในการประพันธ์ลักษณะต่างๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น นอกจากน้ี งานเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น ยังเป็นงานท่ีให้สารประโยชน์แก่ผู้อ่านในแง่ของการเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาหลายด้าน อาทิ ภูมิปัญญาด้านภาษา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาด้านศาสนา ภูมิปัญญา ดา้ นศลิ ปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้อ่านอกี ด้วย ๒.๓ จดุ ประกายความคดิ และช้นี าสงั คม งานเขียนเชิงสร้างสรรค์จานวนมากที่สร้างมาจากความคิด ประสบการณ์ ความฝัน และจินตนาการของผู้เขียน บางเรื่องนั้นมีแง่มุมที่แปลกแตกต่างจากกระแส ความคิดหลักของสังคม หรือเป็นเร่ืองท่ีจุดประกายความคิดและค่านิยมใหม่ๆ ใหแ้ กส่ งั คม
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๒๙ ตัวอย่าง งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของ ว. วชิรเมธี ที่จุดประกายความคิดเร่ือง ความรับผิดชอบต่อสังคมซ่ึงเป็นหน้าที่ร่วมกันของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะรวยหรือจน ก็ตาม เงินของมหาเศรษฐจี ะไม่มคี วามหมาย หากมันไม่ถูกนามาใชเ้ พื่อรับผดิ ชอบต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) เป็นหน้าท่ี ร่วมกันของเราทุกคน เราแต่ละคนต่างก็พ่ึงพาอาศัยซ่ึงกันและกันไม่ด้านใดก็ด้านหน่ึง เสมอ สังคมจะเป็นอย่างไรข้ึนอยู่กับความใส่ใจร่วมกันของเราทุกคน ไม่ว่าคนยากคนจน หรือมหาเศรษฐี เราต่างก็มีพันธกิจต่อสังคมไม่ต่างกัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่ผู้ที่เป็น เศรษฐีควรจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงกว่าคนท่ัวไป เนื่องเพราะเศรษฐีเป็นผู้ได้รับ อะไรต่อมิอะไรไปจากสังคมมากกว่าคนอ่ืน เงินทุกบาททุกสตางค์ท่ีได้จากการทาธุรกิจ เงินเหล่าน้ันล้วนหายไปจากกระเป๋าของประชาชนเพ่ือที่จะเพิ่มพูนมากข้ึนในกระเป๋า ของเศรษฐี เศรษฐีจึงเป็นหนี้สังคม และดังนั้น เขาจึงต้องคืนให้แก่สังคมมากกว่า คนทั่วไป แต่หากเขาไม่ใส่ใจมิติเชิงสังคมเลยแม้แต่น้อย ความเป็นเศรษฐีของเขาก็จะ ต่าตอ้ ยด้อยคา่ เขาเองกจ็ ะได้ชอ่ื ว่าเป็นเพยี งนกั สะสมความมั่งค่ังอันว่างเปลา่ เท่านั้นเอง (ที่มา ว. วชริ เมธ.ี คาถาชวี ิต ๒, ๒๕๕๗ หนา้ ๖๕)
๓๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวอย่าง เรื่อง เวลา ของชาติ กอบจิตติ ได้เสนอแนวคิดในแง่สัจธรรมของชีวิตมนุษย์ ตามหลักพระพุทธศาสนาว่า ทุกส่ิงในโลกนั้นล้วนเป็นส่ิงสมมติและปรุงแต่งขึ้นมา เพื่อตอบสนองกิเลสของมนุษย์เอง หากมองให้เห็นถึงแก่นแท้ผ่านวรรณกรรมเรื่องนี้แล้ว ผอู้ ่านจะไดเ้ รียนรู้และไดพ้ บกับคาวา่ “ไมม่ ีอะไรเลย” หรอื “อนิจจัง” น่นั เอง ยายสอนเดินลับประตูออกไปในความมืด บานประตูเรือนพยาบาลค่อยๆ เล่ือน ปดิ พรอ้ มกับไฟทส่ี ่องเตยี งยายอย่ดู บั มดื ลง... ในความมดื น้นั เสยี งเ-อ๊ี-ย-ด เหมอื นบานประตกู าลงั เปิด ไฟเบ้ืองบนส่องลงมาท่ีห้องลูกกรง สว่างจ้าจนแสบตา บานประตนู ั้นคอ่ ยๆ แง้ม เปิดออก ช้า ช้า...จนกว้างสุด เผยให้เห็นภายในห้องลูกกรง ไม่มีสิ่งใดเลย ไม่มีเครื่องใช้ ไมม่ ีของใช้สกั ชน้ิ ที่จะยนื ยันวา่ มใี ครเคยอาศัยอยใู่ นห้องนน้ั เป็นเพยี งหอ้ งวา่ งเปลา่ มนั เป็นเพียงห้องว่างเปลา่ ห้องว่างเปลา่ สกั ครไู่ ฟคอ่ ยๆ หร่ี แล้วดับลง เสยี งนาฬกิ าตบี อกเวลาทมุ่ ตรง... ตก๊ิ -ตอ็ ก ต๊ิก-ตอ็ ก ตก๊ิ -ต็อก ตก๊ิ -ต็อก ยงั คงดงั อยู่ตลอดเวลา... มา่ นคอ่ ยโรยตวั ปิดลง... (ท่ีมา ชาติ กอบจติ ต.ิ เวลา, ๒๕๓๗ หน้า ๒๓๒) ตัวอย่าง การเขียนบทกลอนสร้างสรรค์ในหนังสือ ฉันจึงมาหาความหมาย ของ วทิ ยากร เชียงกูล ที่นาเสนอแนวคิดเสียดสีปรัชญาการศึกษาของสังคมไทย ซึ่งมีบทบาท เป็นเพียงเคร่อื งมือในการรับใชอ้ านาจทางการเมือง ฉันเยาวฉ์ นั เขลาฉันทงึ่ ฉันจึงมาหาความหมาย ฉนั หวังเกบ็ อะไรไปมากมาย สุดท้ายใหก้ ระดาษฉันแผน่ เดยี ว มืดจรงิ หนอสถาบนั อันกว้างขวาง ปล่อยฉนั อ้างวา้ งขับเคีย่ ว เดนิ หาซ้ือปญั ญาจนหน้าเซยี ว เทยี วมาเทยี วไปไมร่ วู้ ัน (ทีม่ า วทิ ยากร เชยี งกูล. “เพลงเถอ่ื นแหง่ สถาบัน” ใน ฉนั จึงมาหาความหมาย, ๒๕๔๕ หนา้ ๑๕๘)
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓๑ ๒.๔ เป็นมรดกทางวฒั นธรรม งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้งร้อยแก้วร้อยกรองน้ัน ล้วนแต่มีคุณค่าในด้าน ความงามทางวรรณศิลป์ ซึ่งผู้ประพันธ์หรือกวีได้สร้างมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ งานเขียนตา่ งๆ ดงั ทีก่ ล่าวมาน้ันยังสอดแทรกประเพณวี ฒั นธรรม พระราชพิธี หรือพิธีกรรมด้านต่างๆ ของสังคม เช่น ประเพณีการเกิด การตาย การแต่งงาน การเทศนม์ หาชาติ รวมถึงความเชอ่ื ต่างๆ ของคนในสังคม เปน็ ตน้ ตัวอย่าง การบรรยายวิถชี ีวิตของชาวไทล้ือในจงั หวัดเชียงราย ประเพณีการเลยี้ งขันโตก รวม ถึงพิ ธีก รรม บ ายศ รีสู่ ขวัญ ซ่ึ งเป็ น พิ ธีก รรม ด้ังเดิม ขอ งชาวไท ลื้ อ ท่ี มี ค วาม สาคั ญ ในแง่ของการสร้างขวัญและกาลงั ใจตลอดจนสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชน ภมู ิปญั ญาชาวไทลื้อแบบโบราณที่ถกู เกบ็ รักษาโดยคนร่นุ ใหม่ เชียงรายถือว่าเป็นอีกจังหวัดหนึ่งท่ีเราเดินทางไปเที่ยวบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น การเดินเขาสัมผัสอากาศหนาวบนภู ไหว้พระ และเก็บยอดชามาคั่วเองด่ืมเอง ล้วนแต่ เป็นกิจกรรมท่ีทาใหไ้ ด้สมั ผัสและใกล้ชดิ กับธรรมชาติท้งั นนั้ วันนี้เป้าหมายของเราต่างออกไป เรากาลังเดินทางไปเรียนรู้อีกหน่ึงวิถีชุมชน และวฒั นธรรมของชาวไทลอ้ื ทอ่ี าศัยอย่ทู ี่บ้านศรีดอนชยั อ.เชียงของ จ.เชยี งราย พิพิธภัณฑล์ ้ือลายคา คือสถานที่รวบรวมวัฒนธรรมของชาวไทล้ือจากทั่วสารทิศ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะผ้าทอ ริเริ่มก่อตั้งโดย สุริยา วงศ์ชัย ชาวไทล้ือแท้ๆ ที่คิด สบื ทอดและรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเองและคนในชมุ ชนให้คงอย่ตู อ่ ไป เราพบกับ วัณลักษณ์ วงศ์ชัย คุณแม่ของผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ฯ “ลูกชายแม่ บอกว่าถ้าไม่อนุรักษ์ สิ่งนี้มันก็จะหายไปเพราะคนรุ่นใหม่ๆ คงไม่สนใจว่าวัฒนธรรม ของเรามันจะอยู่หรือไม่ เขาอยากจะเป็นคนที่ลุกข้ึนมาทาให้วัฒนธรรมชาวไทล้ือ ไม่สูญหาย ท่ีน่ีเราจะเน้นอนุรักษ์เร่ืองการทอผ้า มีการรวบรวมผ้าเก่าของชาวไทลื้อ หลายๆ จังหวัด ทาเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้ดูกัน ไม่ใช่แค่เฉพาะชาวไทลื้อ เทา่ นัน้ แตเ่ ปน็ ใครก็ได้” ท่ีน่ีมีหลายกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเลือกทาไม่ว่าจะเป็นการมาน่ังจิบกาแฟ ท่ีร้าน ‘ซังวาคาเฟ่’ ร้านกาแฟริมระเบียงท่ีมีวิวทุ่งนาไกลสุดลูกหูลูกตาเป็นของแถม ถ้ามานง่ั ชลิ ล์ช่วงหนา้ หนาวคงเย็นสบายไม่ใช่น้อย
๓๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ จากนั้นเราเข้าไปเรียนรู้และเยี่ยมชมพิพิธภัณ ฑ์ผ้าทอไทลื้อ ช้ันแรก ของพิพิธภัณฑ์เป็นท่ีรวบรวมประวัติของชาวไทลื้อท่ีเดิมทีอยู่ในเมืองจีน แล้วจึงอพยพ ไปตามประเทศต่างๆ เช่น ลาว พม่า ไทย ฯลฯ บริเวณช้ันสองบอกเล่าเร่ืองผ้าทอไทลื้อ ราวกับแกลเลอร่ี มีท้ังชุดขาวไทลื้อที่มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี และตัวอย่างลายผ้าทอ ในชอื่ ตา่ งๆ ป้ า วั ณ ลั ก ษ ณ์ เล่ า ว่ า ที่ น่ี เริ่ ม เป็ น ท่ี รู้ จั ก ม า ก ขึ้ น จ า ก นั ก ท่ อ ง เที่ ย ว แ ล ะ ค น ท่ี อยากเรียนรูเ้ ร่ืองการทอผ้าอย่างจรงิ จัง ทุกคนสามารถเข้ามาติดต่อเรียนรู้เรื่องการทอผ้า ไดอ้ ยา่ งใกลช้ ิดแบบตัวต่อตวั นอกจากน้ี พิพิธภัณฑ์ล้ือลายคายังมีลานกิจกรรมเพ่ือจัดการแสดงหรือ ทาพิธีบายศรีสู่ขวัญด้วย เราพบกับอินสม วงศ์ชัย พ่อหมอสาหรับพิธีบายศรีสู่ขวัญ พ่อหมอเล่าว่า “บายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีของชาวไทลื้อท่ีเกิดขึ้นเพ่ือเรียกขวัญ เรียกกาลังใจให้คุ้มครองปกป้องคนในหมู่บ้านท่ีกาลังป่วย ไม่สบาย ต้องเดินทางไกล หรอื เป็นคนที่ทาอาชีพเสี่ยงอันตรายอย่างทหารหรอื ตารวจ” เม่ือถึงเวลาท่ีกาหนด พ่อหมอหรือชายท่ีมีอายุมากท่ีสุดในหมู่บ้านจะนาฝ้าย ไปพันรอบบายศรีกับไก่ต้มและเร่ิมทาพิธีเรียกขวัญ กล่าวคาสู่ขวัญและเมื่อถึง ท่อนสุดท้ายก็จะให้พร ผูกขอ้ มือด้วยเชือกฝ้ายและอวยพรให้มสี ุข ไม่มีทกุ ข์ เรากร็ บั ขวัญ จากคณุ ยาย คณุ ลงุ หลายๆ คน จนเชือกฝ้ายเตม็ ข้อแขน พ่อหมอบอกว่าบายศรีสู่ขวัญยังเป็นพิธีที่ทาอยู่ทุกเม่ือเช่ือวัน นอกจากจะเป็น การให้พรคนใกล้ตัวแล้ว เราเชื่อว่าประเพณีอาจเป็นกุศโลบายหน่ึงที่ทาให้คนในชุมชน รกั ใคร่แนน่ แฟ้นและยังไปมาหาสูก่ ันเสมอ ตกเย็นเราเตรยี มท้องสาหรับรองรับ ‘ขันโตก’ ที่ประกอบไปด้วยอาหารสาหรับ แบบชาวเหนือและอาหารชาวไทล้ืออย่าง แกงแคไก่บ้าน น้าพริกหนุ่ม ไส้อั่ว แคบหมู หน่อไม้อบ แกงผักกาด ผักต้มและผักสดนานาชนิด รสชาติจะไม่เผ็ดมากเหมือนอาหาร ไทย ระหว่างท่ีเรากาลังเพลดิ เพลินกับอาหารไทลอ้ื กันอย่างเอรด็ อรอ่ ย ที่น่ียังมีการแสดง ของหนุ่มสาวชาวไทล้ือด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟ้อนหงาย ฟ้อนกะลา และฟ้อนเกี้ยวที่ผู้บ่าว ชาวไทลอื้ จะรอ้ งเล่นเพอื่ เก้ยี วสาว และเพิ่มความน่ารักย่ิงขึ้น เม่ือเราคิดว่าหนุ่มสาวเหล่าน้ียังสามารถร้องเล่น เต้นราไดเ้ ฉกเช่นชาวไทล้ือแบบเมือ่ วันวาน
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓๓ การแสดงหลายบทเพลงผ่านไปพร้อมๆ อาหารในขันโตกก็พร่องลงเร่ือยๆ ทริปเที่ยวเชียงรายในครั้งนี้ต่างจากครงั้ ก่อนๆ มาก การพบปะผู้คนและเรยี นรูว้ ัฒนธรรม ของชุมชน ทาใหเ้ ราหันมามองตัวเองวา่ เราอนุรักษค์ วามเปน็ ไทยอะไรไว้บ้าง (ทมี่ า ทรงกลด บางยข่ี ัน. (บรรณาธิการ). เชียงราย ภมู ปิ ัญญาชาวไทล้อื แบบโบราณ ท่ถี ูกเกบ็ รักษาโดยคนรุ่นใหม่, ๒๕๕๙ หนา้ ๖-๗) ลักษณะของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากท่ีได้กล่าวถึงความหมายของการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่า การเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ันมีความเฉพาะตัว กล่าวคือ การเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน จะเป็นการเขียนที่ผู้เขียนสร้างความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ ผนวกกับการใช้เทคนิควิธี การเขียนท่ีก่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์และสร้างสรรค์งานเขียนท่ีมีคุณค่าต่อผู้อ่าน โดยงานเขียนสร้างสรรค์น้ันเป็นการสร้างผลงานเขียนข้ึนใหม่จากผู้เขียนเองท้ังหมด หรือดัดแปลงบางส่วนแล้วมาต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานเขียนขึ้นมาใหม่ก็ได้ ซึ่งในส่วนน้ี จะกล่าวถึงลักษณะของงานเขยี นเชิงสรา้ งสรรคจ์ ากนักวชิ าการต่างๆ ดงั น้ี ชนะ เวชกุล (๒๕๒๔ : ๓๕) ได้สรุปลักษณะของการเขียนสร้างสรรค์ไว้ ว่ามี ๓ ประการ ๑. มีจินตนาการหรือความคิดคานึง คือ ผู้เขียนต้องสร้างจินตนาการ โดยการคัดเลือกความคิดต่างๆ เหล่านั้น ให้เกิดภาพในใจของผู้อ่านให้ได้ จะช่วยให้ ผ้อู ่านไดร้ สและมีความรูส้ กึ คลอ้ ยตามเป็นอนั หนงึ่ อนั เดยี วกับผูเ้ ขียน ๒. สานวนภาษาดี คือ ผู้เขียนต้องเลือกเฟ้นพลิกแพลงถอ้ ยคา และรปู ประโยค ให้สละสลวย น่าฟัง น่าอ่าน มีท่วงทานองในการเขียนดี ไม่มีลักษณะกระทบกระเทียบ เสียดสีผู้ใดผู้หนงึ่ ๓. มีคุณค่าทางด้านจิตใจและสติปัญญา คือ นอกจากจะให้ความเพลิดเพลิน แล้ว ควรให้ผู้อ่านเกิดคุณธรรมขึ้นในตน มีความรู้สึกนึกคิดเปลี่ยนแปลงไปในทางท่ีดี ก่อใหเ้ กดิ ความเรอื งปญั ญา และเป็นประโยชน์ตอ่ สว่ นรวม
๓๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ นอกจากน้ี ผลงานท่ีจะเขา้ ขา่ ยลักษณะของงานเขียนเชิงสร้างสรรค์นนั้ ควรเป็น งานท่ีไม่เกิดจากการลอกเลียนแบบผู้ใด มีความประณีต มีความโดดเด่น ตามลักษณะ ซง่ึ ประภาศรี สีหอาไพ (๒๕๓๑ : ๒-๓) ไดก้ ลา่ วไว้ ดังตอ่ ไปนี้ ๑. มีแนวเขียนเป็นจิตวิสัย (Subjective) กล่าวคือ ผู้เขียนมีข้อสังเกต ประสบการณ์ ความนึกคิด ความเห็น หรือมีจินตนาการของตนเอง แล้วจึงเขียน งานประพันธ์น้ันขึ้น การเขียนแบบสร้างสรรค์จึงแตกต่างจากแนวเขียนที่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) ซ่ึงมีเกณฑ์กาหนดบางประการเป็นกรอบอยู่ ดังน้ัน การเขียนท่ีมีแบบแผน และเกณฑก์ าหนด เชน่ การย่อความ การเขียนขา่ ว การเขยี นคานยิ าม การเขยี นรายงาน การถอดคาประพันธ์ การแปล เป็นต้น มีลักษณะเป็นวัตถุวิสัย ถือว่าไม่ใชก่ ารเขียนแบบ สร้างสรรค์โดยรูปแบบการเขียน ส่วนศิลปะในการเขียน หรือการแปลที่มี สานวนโวหารสละสลวย อาจใช้แนวเขียนแบบสรา้ งสรรคไ์ ด้ ตัวอย่าง บทประพันธ์ “เช่นแสงจันทร์” ของ “โบราณ” ผู้ประพันธ์ได้สอดแทรก ความคิดของตนเองในเร่ืองความมุ่งมั่นพยายามและความเอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่ที่ควรมีต่อผู้อ่ืน ผ่านคาตอบของดวงดาวได้อยา่ งงดงาม ดังขอ้ ความทท่ี าตัวหนาในบทประพนั ธ์ คืนนัน้ จันทรแ์ รม... ดวงดาวเกลอ่ื นกลาด ฉันถามดาวน้อยใหญ่ ไฉนอยู่สงู เกนิ เออื้ มสอย ดวงดาวเปล่งแสงระยิบระยบั แล้วกล่าวตอบฉัน “ไม่มีส่งิ ใดในโลกกวา้ ง ที่อยสู่ ูงเกินใฝ่ปอง หากเจา้ มีความมานะพยายาม จงดมู นษุ ย์ เท้าทั้งสองของเขาเคยสมั ผสั ดวงเดอื น ร่างกายของเขาเคยท่องเที่ยวไปในจักรวาล น่นั เพราะความมานะพยายามหรือไม่ จงอยา่ ท้อถอย
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓๕ และอย่าทะนงใจเม่อื ขึน้ ถึงจุดสงู สดุ ในชีวิต จงแจกจา่ ยเอื้อเฟ้อื แกผ่ ยู้ ากไร.้ ..” คืนนเ้ี ดอื นหงาย แสงจันทรเ์ จดิ จรัส หากมเิ คยบดบงั ดวงดาวดวงใด จงทาตนเช่นแสงจันทร์ ทีส่ ่องแสงอนั ออ่ นหวานนุม่ นวล กระจายไปทั่วทุกมมุ โลก แต่จงอย่าเป็นเชน่ แสงอาทิตย์ อันร้อนเร่าแรงกล้า ดจุ จะเผาทาลายทกุ สิง่ ให้มอดไหม้ (ทมี่ า โบราณ. ลานา : เชน่ แสงจนั ทร์, ๒๕๒๔ หน้า ๗) ๒. มีความแปลกใหม่และมีความสามารถในการแสดงออก โดยผู้เขียน สามารถทาให้ผู้อ่านเห็นภาพตามท่ีตนต้องการได้ด้วยถ้อยคาท่ีใช้ ตลอดจน การใช้ท่วงทานองสานวนลีลาการประพันธ์ท่ีแปลกใหม่ (Style) ของผู้เขียน เช่น เค้าโครงนวนิยายจากละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ไทย ส่วนใหญ่จะเห็นว่า เป็นงานท่ีสร้างเพื่อตามใจตลาด มีเค้าโครงเร่ืองรัก การตอ่ สู้ท่ีโลดโผนต่นื เต้น จบลงด้วย ความสุขหรือความเศร้าอย่างง่ายๆ ท่ีผู้ชมแทบจะเดาเร่ืองได้ แต่เค้าโครงเรื่อง เช่น คาพิพากษา ซีอุย สี่แผ่นดิน เป็นต้น นับว่ามีความแปลกใหม่ แตกต่างจากเร่ืองท่ัวไป ถือเป็นผลงานสร้างสรรค์ได้ นอกจากนี้ เร่ืองท่ีถ้าพิจารณาต้นเค้า (Original) แล้ว อาจมีความคล้ายคลึงกับเร่ืองของต่างประเทศ หรือเป็นเร่ืองที่นามาจากชีวิตจริง แต่ได้ ผลติ ผลงานขึ้นใหมเ่ หมอื นชีวิตจริงแต่ดัดแปลงเพ่ิมเตมิ ขน้ึ มาก กน็ ับวา่ มคี วามสรา้ งสรรค์ ซง่ึ โดยทั่วไปแล้วงานเขียนจากจนิ ตนาการนั้นสว่ นมากมักอยู่ในงานเขียนประเภทเรอ่ื งส้ัน นวนิยาย วรรณกรรม เป็นต้น
๓๖ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๓. การเขียนแบบสร้างสรรค์โดยท่ัวไปไม่ได้เป็นความเรียงเชิงศิลป์ หรือ กวีนิพนธ์ร้อยแก้ว (Poetic Prose) เสมอไป เพราะกวีนิพนธ์ร้อยแก้วนั้นเป็นการเขียน ที่วิจิตรบรรจงมาก เช่น วรรณคดีเรื่องพระปฐมสมโพธิกถา บทพระราชนิพนธ์ เร่ืองไกลบ้าน เป็นต้น คุณภาพของการเขียนสร้างสรรค์ข้ึนอยู่กับความสามารถท่ีผู้เขียน มีศิลปะในการเขยี นจนถือเป็นระดับของกวนี พิ นธ์ได้ ๔. การเขียนแบบสร้างสรรคใ์ นงานรอ้ ยกรอง ผู้เขียนนอกจากจะเสนอแนวคิด เค้าโครงเร่ืองท่ีแปลกใหม่แล้ว อาจไม่ยึดเอาฉันทลักษณ์ตามแบบแผนที่กาหนด ถือเป็น การแหวกเกณฑ์ลักษณะคาประพันธ์ ดังเช่น กวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ เรื่องอารมณ์ของน้าค้าง ใน ปณิธานกวี ซ่ึงมีการนาเอาสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่าง “น้าค้าง” มา ทากิริยาอาการเสมือนมีชีวิต เป็นต้นว่า น้าค้างเริงระบ้า น้าค้างหลับใหล หรือน้าค้าง ออ่ นแรง เรียกลักษณะแบบน้ีว่า การใช้บคุ ลาธิษฐาน ตวั อย่าง ดรู าอุษาโยคอยา่ โศกเศรา้ เร่งเร้าให้รุง่ รางสวา่ งไสว ฉันจะเริงระบาราอวยชยั ในลานาหนาวอะครา้ วปฐพฯี งามสะอาดเขยี วชอุ่มพุ่มสดศรี เพ่อื หยอ่ มหญ้าพฤกษาลดาชาติ นาทเี กษมสมยั กลางใจกัลป์ฯ โอยทานธาตนุ า้ ทุกชวี ี ลอยธารานาวาวิเศษศิลป์ เปน็ แรงบนิ ร่อนรอ้ งคะนองไพรฯ ฉันเคยหลบั ใหลในกลีบบุหงา ของแม่ธรณีศรศี ภุ สมัย เคยให้นกน้อยพลอยอาบกนิ ในป่าชัฎช้านา่ อัศจรรย์ ฉนั ออ่ นแรงระโหยระเหยสวรรค์ ฉันยอ้ ยหยาดวาดลายสไบทอง ฉันคือสายรุ้งร่งุ เรืองรองฯ แตง่ แตม้ ลายขจายทรายดินไป พอพน้ อรโุ ณทยั ใสแสง ออ้ มเมฆเอาแรงฟา้ วิลาวัณย์ (ทีม่ า อังคาร กลั ยาณพงศ.์ ปณธิ านกวี, ๒๕๓๕ หน้า ๖๒-๖๓)
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓๗ จากแนวความคิดของนักวิชาการข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ผลงานท่ีมีลักษณะ การเขยี นเชิงสร้างสรรคค์ วรมีลกั ษณะทั่วไป ดังน้ี ๑. มีความแปลกใหม่ ทางด้านรูปแบบ เนื้อหา ภาษา หรือความคิด โดยการสร้างสรรค์น้ัน คือ การริเร่ิมสร้างส่ิงใหม่ให้เกิดขึ้น โดยผู้เขียนเองจะต้องอาศัย ความสามารถ ทักษะ ตลอดจนแรงจูงใจผลิตงานเขียนออกมา โดยงานเขียน เชิงสร้างสรรค์นั้นต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ของความคิดริเร่ิมท่ีไม่ซ้ากับผู้อ่ืน หรืออาจเป็น ความคิดริเร่ิมท่ีเกิดจากของเดิมที่มีอยู่ แล้วเอามาผสมผสานจนเกิดเป็นของแปลกใหม่ กไ็ ด้ ๒. มีเอกลักษณ์ งานเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ันสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตน ของผู้เขียนได้ ซ่ึงความเป็นตัวตนดังกล่าวจะกลายเป็นเอกลักษณ์ทางงานเขียน ท่ีไม่ซ้าใคร และทาให้งานเขียนเกิดความโดดเด่นจนกลายเป็นสร้างสรรค์ในท่ีสุด อาทิ งานเขียนของ รงค์ วงษ์สวรรค์ หรือ วินทร์ เลียววาริณ ที่มีสานวนภาษา ที่เป็นเอกลักษณ์ มีการนาเสนองานเขียนร้อยแก้วและร้อยกรองรูปแบบอิสระ ตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์ของตัวเองผา่ นตัวละครและงานเขียนได้อย่างถงึ แก่น ยากจะหาผเู้ ปรียบเทยี บได้ ๓. มีคุณค่าต่อสังคม งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ไม่ใช่เพียงงานเขียนท่ีถ่ายทอด สารที่แปลกใหม่ไปยังผู้อ่านเท่านั้น แต่งานเขียนเชิงสร้างสรรค์ยังต้องทาหน้าที่ต่างๆ ให้แก่ผู้อ่านอีกด้วย เป็นต้นว่า การประเทืองปัญญาผู้อ่าน การให้อรรถรสทางอารมณ์ การขัดเกลาจิตใจผู้อ่าน ตลอดจนการจรรโลงสังคม ซึ่งส่ิงต่างๆ ท่ีกล่าวมานี้ สามารถตัดสินได้ว่า งานเขียนช้ินนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและสังคมหรือไม่ หากมดี งั ท่ีกล่าวมา ก็นบั ไดว้ ่าน่ันคอื งานเขยี นเชงิ สร้างสรรค์อยา่ งแทจ้ รงิ ๔. ไม่ลอกเลียนแบบ ซ่ึงผู้เขียนเชิงสร้างสรรค์ควรสร้างผลงานในรูปแบบใหม่ เนื้อหาใหม่ กลวิธีใหม่ แนวคิดใหม่เองท้ังหมด หรือใช้วิธีการต่อยอดความคิดเหล่าน้ัน และสร้างสรรค์ข้ึนมาใหม่เลยก็ได้ ซึ่งนักเขียนสร้างสรรค์ไม่ควรจะลอกเลียนผลงาน มาโดยไม่ซ่อื สตั ย์ แตค่ วรสร้างงานจากความคดิ และความสรา้ งสรรคข์ องตนเอง
๓๘ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ลักษณะของนักเขยี นเชิงสรา้ งสรรค์ ผ ล ง า น เขี ย น เชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ บ า ง เรื่ อ ง น้ั น ส า ม า ร ถ เป ล่ี ย น แ ป ล ง ค ว า ม คิ ด และพฤติกรรมของผู้อ่านได้ ดังนั้น ผู้ท่ีอยากจะเป็นนักเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้นควรระลึก ไว้เสมอว่า งานเขียนนั้นสามารถมีอิทธิพลต่อคนและสังคม หากเรียนรู้และฝึกฝน จนเป็นนักเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่ชานาญแล้ว ตนเองก็สามารถกลายเป็นบุคคล ที่สามารถช้ีนาสังคมไปในทางท่ีดีงามได้ ดังน้ัน ผู้เขียนนั้นจึงนับเป็นองค์ประกอบสาคัญ ประการแรกที่จะสร้างสรรค์งานเขียนออกมาได้อย่างสวยงามและมีคุณค่า โดยนักเขียน สร้างสรรค์น้ันมีคุณลักษณะสาคัญหลายประการ ดังที่ สมพร มันตะสูตร (๒๕๒๕ : ๗) และ ประภาศรี สหี อาไพ (๒๕๓๑ : ๒๕-๒๘) ไดก้ ลา่ วไว้ ดังนี้ ๑. ความรูใ้ นเร่ืองราวที่จะเขยี น ๒. ความคิดแปลกใหม่ที่จะนาเสนอหรือมีพ้ืนฐานของความคิดสร้างสรรค์ ไดแ้ ก่ ๒.๑ แรงบันดาลใจ (Inspiration) คือ ความรู้สึกเกิดขึ้นจากประสบการณ์ ทาให้สะเทือนอารมณ์ สร้างความคิดขึ้นมาจากส่ิงท่ีทาให้เกิดความรู้สึกน้ัน ผลงานวรรณศลิ ปข์ องกวมี กั เกดิ จากแรงบนั ดาลใจทัง้ สนิ้ ๒.๒ ความทรงจา (Memory) คือ การคิดถึงสิ่งท่ีผ่านมา เกิดภาพสะท้อน ที่ชัดเจนอยู่ทุกคราวท่ีระลึกถึง คนท่ีมีอดีตซับซ้อนสะเทือนใจมักจะเกิดความคิด สร้างสรรคใ์ นงานประพันธ์ไดล้ กึ ซ้ึง ๒.๓ ความศรทั ธา (Faith) ในอุดมการณ์ คือ ความคดิ ที่เกิดจากศรัทธาในใจ ที่ผู้เขียนยึดมั่นแนวคิด และสานวนเขียนจึงเป็นไปตามแนวทางน้ัน จนเป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง ๒.๔ ลานาเพลง (Song) คือ ทานองของถ้อยคาท่ีเกิดข้ึนในใจของผู้เขียน เรามักจะเข้าใจกันในความหมายท่ีว่า “พรสวรรค์” คนที่เป็นนักเขียนหรือนักกลอน อาจจะมีความคิดเล่นข้ึนมาในขณ ะท่ี ปล่อยอารมณ์ ไปถึงเรื่องใดเร่ืองหน่ึ ง เกิดจนิ ตนาการขึ้นดังที่เรยี กกนั ว่า “จินตกวี\" ๓. กลวธิ แี ละศิลปะในการใชภ้ าษา ๔. ความสามรถในการจดั ลาดับความคดิ และความสามารถในการประพนั ธ์
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๓๙ ๕. แสวงหา มีความพยายามที่จะประมวล ผสมผสาน เรียงความคิดหลาย รูปแบบเข้ามาไว้ด้วยกัน มีความกระตือรือร้นที่จะค้นหาคาตอบเพื่อการค้นพบผลผลิต ใหม่ท่ีเรียกวา่ นวัตกรรม (Innovation) ๖. มีจินตนาการ คิดสร้างเร่ือง มีประดิษฐ์การในงานสร้างสรรค์โดยมีข้ันตอน ตามลาดบั ได้แก่ ขนั้ เตรยี มงาน ขน้ั วิเคราะห์ ข้ันตกแต่งโครงร่างและขั้นทบทวน น อ ก จ าก คุ ณ ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ผู้ เขี ย น ส ร้ า งส รร ค์ ที่ ได้ ก ล่ าว ถึ งใน ข้ า งต้ น แ ล้ ว เพชรยุพา บรู ณส์ ิริจรงุ รฐั (๒๕๕๗ : ๑๙๓-๑๙๕) ได้กลา่ วถงึ วิธกี ารเตรยี มตวั สาหรับผทู้ ี่มี ความปรารถนาจะเปน็ นักเขยี นเชงิ สรา้ งสรรค์ควรฝึกฝน ดงั น้ี ๑. ฝึกการใชภ้ าษา ผู้ท่ีจะศึกษาและฝึกฝนการเขียนจะต้องมีพื้นความรู้ในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี ต้ังแต่เร่ืองคา ประโยค ไวยากรณ์ ระดับของภาษา ความเหมาะสมของภาษา ในกาลเทศะที่ต่างกัน เพราะหากไม่มีพ้ืนความรู้ทางภาษา ก็จะไม่สามารถแสดงความรู้ ความคดิ และศิลปะการเขียนของตัวเองใหผ้ ู้อ่านรบั รู้และเกดิ ความซาบซึ้งได้ ๒. หาประสบการณ์ อ่านมาก ฟังมาก นอกจากจะช่วยเร่ืองการเพ่ิมวัตถุดิบในการเขียนแล้ว ยังสามารถช่วยเพ่ิมพูน ความรูเ้ กี่ยวกบั ชวี ิตและอื่นๆ ได้ ๓. ชา่ งสงั เกตจดจา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหรือประสบการณ์ใดท่ีผ่านเข้ามาในชีวิต ควรหัดสังเกต และต้ังคาถามกับเรื่องนั้นๆ อย่างรอบคอบ เพราะบางทีเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ที่ดูเหมือนผิวเผิน ดูเป็นเร่ืองธรรมดา กลับสามารถนามาเป็นข้อมูลในการเขียนได้ แต่สงิ่ เหล่าน้ันจะสิน้ คณุ ค่าความหมายไปถา้ เราไมช่ า่ งสงั เกต ๔. มีความคิดเปน็ ของตัวเอง การ มี ค ว าม คิ ด แ ป ล กให ม่ แ ล ะค ม ค าย เป็ น พื้ น ฐ าน ส าคั ญ ข อ งก าร เขี ย น เชิ ง สร้างสรรค์ หากขาดประสบการณ์และความรู้ แม้จะคิดก็เป็นการคิดแบบเพ้อๆ ไม่มเี หตุผลและอาจเป็นอนั ตราย ๕. เตม็ เปย่ี มไปด้วยจนิ ตนาการ จินตนาการ คือ การสร้างภาพขึ้นในใจ แต่ต้องเป็นจินตนาการท่ีเปี่ยมไปด้วย ความรู้และความคิด แม้จะมีจินตนาการล้าหน้าความจริง แต่ก็มีความจริง เปน็ ฐานรองรบั จงึ มีความสมจรงิ น่าเช่อื ถือกว่า
๔๐ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ๖. ศกึ ษางานเขยี นท่ไี ดร้ บั การยอมรบั วา่ เป็นงานเขยี นที่ดี จิตรกรหรือนักวาดภาพที่ดี ต้องดูงานศิลปะหลากหลาย และพยายามศึกษา ก า ร จ ร ด ป ล า ย พู่ กั น ข อ ง ช่ า ง เขี ย น เห ล่ า นั้ น เพื่ อ เรี ย น รู้ ศิ ล ป ะ ที่ ได้ รั บ ก า ร ย ก ย่ อ ง จากน้ันก็นามาฝึกหัดเฉกเช่นเดียวกับการเขียน การได้รู้ ได้เห็น ได้ศึกษาตัวอย่างงาน ที่ดีๆ มีคุณค่ามากต่อผู้ริเริ่มศึกษาฝึกฝนการเขียน แต่ต้องไม่ลืมการนาตัวอย่างเหล่าน้ัน มาปรับใช้ให้เหมาะสม ไมใ่ ช่ศกึ ษาเพ่ือลอกเลยี นแบบ ๗. เลอื กฝกึ เขียนเร่ืองทีต่ นสนใจกอ่ น ความสนใจของผู้คน ร้อยคนก็สนใจร้อยแบบ ควรเลือกเขียนเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และสนใจก่อน ความรู้ความคิดที่มีอยู่จะช่วยให้เขียนได้ง่ายขึ้น มีกาลังใจที่จะฝึกเขียน ต่อไป ๘. ฝกึ เขยี นอย่างสม่าเสมอ การฝึกฝนอยา่ งสม่าเสมอต่อเนื่อง เป็นองค์ประกอบสาคัญสาหรับการประกอบ งานศิลปะทุกแขนง ในระหว่างการฝึกเราจะได้เรียนรู้ทดลอง แก้ไขข้อบกพร่องท่ีเคยมี ทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจน จนกระท่ังไม่ต้องคอยพะวงถึงหลักการเขียน กส็ ามารถเขยี นไดอ้ ย่างราบร่ืน จากข้างต้นน้ันสามารถสรุปได้ว่า การเป็นนักเขียนเชิงสร้างสรรค์น้ัน สามารถเป็นได้ไม่ยากจนเกินไปหากมีความมุ่งม่ัน มีแรงบันดาลใจท่ีจะถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ความรู้สึกของตนผ่านงานเขียน เสาะแสวงหาความรู้ เพ่ิมเติม ประสบการณ์ในชีวิตให้สูง เข้าใจธรรมชาติ ชีวิต และสังคม ฝึกการใช้ความคิดริเร่ิม สร้างสรรค์ ฝึกการเขียนจนเป็นนิสัย มีทัศนคติที่ดีต่อการเขียน ตลอดจนมองโลกในแง่ดี มคี ุณธรรม ทง้ั หมดที่กลา่ วมานี้จะเป็นคุณสมบตั ทิ ่ีสามารถสรา้ งนักเขียนและผลงานเขยี น เชงิ สร้างสรรค์ใหแ้ กส่ งั คมได้
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๔๑ ตัวอย่าง งานวรรณกรรมสร้างสรรค์รางวัลซีไรต์ ประจาปี ๒๕๒๗ เรื่อง ซอยเดียวกัน ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ซึ่งเป็นนักเขียนที่สามารถถ่ายทอดความคิดของตนเองผ่านงาน วรรณ กรรมสะท้อนสังคมได้อย่างชัดเจน เช่น ข้อความที่ทาตัวหนาในตอน “เมืองหลวง” ท่ียกมาน้ัน แสดงให้เห็นสภาพสังคมเมืองซ่ึงเต็มไปด้วยปัญหาการจราจร ติดขัด ผู้คนอาศัยกันอย่างแออัดคับค่ัง คนชนบทต้องจาใจมาหางานทาในเมืองหลวง เพ่ือหนีปัญหาความยากจน ตลอดจนสะท้อนภาพของความเป็นปัจเจกของสังคมเมือง ที่ผ้คู นไมใ่ สใ่ จกนั ผ่านการใช้ภาษาทแี่ สดงใหเ้ ห็นภาพไดอ้ ย่างชดั เจน ซอยเดยี วกัน เมอื งหลวง กผ็ า่ นไปอกี วัน ผมคิดขณะเก็บของบนโต๊ะ เดินออกจากท่ีทางานตรงด่ิงไปที่ป้ายรถเมล์ ผมอ่อนเพลียละเหี่ยใจเกินกว่าจะเดินทอดน่องมองบรรยากาศรอบๆ ตัว ไม่มีอะไร น่าสนใจให้มองอยู่แล้ว มันก็เหมือนกันทุกวันเวลาเลิกงาน มีแต่ผู้คนพลุกพล่านไปมา สีหน้าบอกบญุ ไม่รบั กนั ท้งั นน้ั ผมชะงักนิดหนึ่งตรงบริเวณก่อสร้างตึกแถวแห่งใหม่ มีก้อนหินขนาดไม่เล็กนัก ก้อนหนึ่งหล่นมาตรงหน้าผม ถ้าผมเดินเร็วกว่าน้ีอีกนิดเดียว มันก็อาจจะหล่นมา ลงหัวผม หินก้อนแค่น้ีคงจะแค่โน ไม่ถึงแตก ผมแหงนหน้ามองข้ึนไป เห็นคนงานกาลัง ทางานกนั วุ่นวายอยู่ ไม่มีใครสนใจวา่ มีกอ้ นหินก้อนหนึ่งเพิ่งจะหลน่ เฉยี ดหวั ผมไป ลมฝนทาท่าจะมา ฟ้ามืดครมึ้ ผมเรง่ เท้าขึน้ อีก อยากจะกลับถึงท่ีพักก่อนฝนตก แตค่ งไมม่ ีทาง เอาแค่ขึน้ รถเมล์ไดก้ อ่ นฝนตกกด็ แี ลว้ ผู้คนแน่นขนัดที่ป้ายรถเมล์เหมือนเคย ไม่มีใครเอาใจใส่ใคร ท่ีมาเป็นกลุ่ม ก็ยืนคุยกันพลางมองรถเมล์ที่ว่ิงมาเข้าป้ายไปพลาง ท่ีมาคนเดียวแบบผม ก็ย่ืนมองทาง ทรี่ ถเมลจ์ ะวิ่งมาอย่างเอาใจใส่ ผมนึกภาวนาในใจให้รถเมลค์ นั ท่ผี มจะขน้ึ ว่างสักหน่อย กภ็ าวนาไปอยา่ งนัน้ แหละ ดีกวา่ อยเู่ ปลา่ ๆ แนะ่ ...แน่นขนัดยัดทะนานมาทเี ดียว ผมเบียดข้ึนไป ขาข้างหน่ึงยืนได้บนบันได มือหนึ่งหนีบหนังสือไว้กับอก อีกมือหนึ่งโหนขอบประตูไว้ ผมนกึ ในใจวา่ โชคดที ี่ข้นึ รถได้ก่อนฝนจะหล่นลงมา
๔๒ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ รถเมล์เคล่อื นตะกุกตะกักไป เพราะเป็นช่วงเขา้ วงเวียนรถนานาชนิดต่างแย่ง กันที่จะจ่อหัวเข้าไปในวงเวียนเพื่อจะไปได้ก่อน จ่อกนั ไปจ่อกันมา รถเก๋งกบั รถแทก็ ซี่ ก็เลยจ่อเข้าไปเกยกัน รถย่ิงติดกันนงุ นงั เพราะไม่มีใครยอมใคร รถเมล์คนั ทผี่ มโหนอยู่ กระเสือกกระสนพ้นวงเวียนมาได้ ทิงความอลเวงไว้ข้างหลังมาติดเหนอะอยู่นิ่งๆ อีกทที ่สี ่ีแยกไฟแดง รถติดอยู่น าน เสียจน ผมต้องลงมายืน บนพื น ถนน เพื่ อผ่อน คลาย ความเม่ือยล้า ก็รถจะไปได้ยังไง ในเม่ือมันติดไขว้ไปมา สับสนไปหมด ไฟเขียวแดง อะไรไม่มีความหมาย เพราะท่ีได้ไฟเขียวก็ไปไม่ได้ มีรถติดคาอยู่กลางส่ีแยกเป็นแพ รถได้ไฟเขียวนันแทนท่ีจะอยู่นิ่งก่อน รอให้รถกลางสี่แยกออกได้ไปให้พ้นๆ ก็ไม่ยอม ต่างคันต่างก็กระดืบเคลื่อนไปจ่อคาไว้ กะว่าเมื่อไหร่ท่ีคันข้างหน้าตัวพ้นไป ก็จะได้ตาม ไฟเขียวประเด๋ียวเดียวก็กลายเป็นไฟแดง ทางฝ่ายไฟแดงเมื่อครู่นี ก็กลับเป็นได้ไฟเขียวขึนมา ก็ปฏิบัติในท้านองเดียวกัน คือคลานกระดืบขึนมา จ่อคาไว้ กว่าตารวจจราจรจะมายักย้ายโบกห้ามโบกให้ไปได้ รถท่ีติดคาอยู่กลางส่ีแยก น่ันกด็ ูจะทอดอาลัยไปตามๆ กัน รวมเวลาที่ตดิ นิ่งอยู่เฉยๆ อยู่ท่ีส่ีแยกน้ีเกือบครึง่ ช่ัวโมง ผมนะ่ อยากจะนอนบนพืน้ ถนนตรงท่ีรถตดิ น่นั เสียเลย เพราะปว้ั เปย้ี อ่อนเพลยี เต็มที … นับเวลาจากที่ผมข้ึนรถเมล์คันนี้มาก็ชั่วโมงหนึ่งแล้ว ระยะทางยังอีกไกล เหลอื เกนิ กวา่ ผมจะถึงทีพ่ ัก ผมหลับตาอย่างอ่อนระโหย ถอนใจอยา่ งเหนื่อยหนา่ ยท้อแท้ เวลาอย่างนีแหละท่ีผมอยากกลับบ้านต่างจังหวัด และผมไม่เข้าใจว่าท้าไม ผู้คนถึงได้มายดั เยยี ดกันอยู่ในกรุงเทพฯ เพียงแต่ผมเลือกได้ ผมจะไม่อยู่ในเมืองใหญ่ ที่เลวร้ายอย่างนี แต่น่ันแหละ คงจะมีใครๆ อีกเป็นหมื่นเป็นแสนที่คิดอย่างเดียว กบั ผม เพียงแต่วา่ เขาจะเลอื กได้ รถเมล์กระเสือกกระสนไปถึงป้ายอีกป้ายหนึ่ง ว่าทจ่ี ริงมันก็ถึงมาต้ังนานแล้วละ เพียงแต่ว่าไม่มีใครรู้เท่านั้นเอง จนกระท่ังโชเฟอร์ขยับรถไปได้อีกคร้ัง และกระเป๋า ตะโกนถามหาคนลง ...
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๔๓ นี่ผมจะต้องนั่งทรมานอยู่อย่างน้ีไปอีกนานแค่ไหน ผมอยู่บนรถเมล์นรกคันน้ี มาเกือบสองชั่วโมงแล้ว มันร้อน ความร้อนอบอ้าวในรถไม่ได้เบาบางลงเลย ผมรู้สึก คนั ยบุ ยิบไปทัง้ ตัว ส่ายหน้าเปา่ ลมรดหน้าอกตัวเองอยา่ งทอ้ แท้ ไม่มีใครบนรถพูดจากันเลย คนที่ยืนๆ กันอยู่ข้างหน้าผมแน่นไปหมดนัน ต่างยืนกันน่ิงๆ บางคนก้มหน้า บางคนมองตรงๆ ไปข้างหน้าอย่างไม่มีจุดหมาย บางคนมองไปท่ีพืนถนนอันนองไปด้วยน้า ผมรูท้ ีเดียวว่าทุกคนก้าลังใช้ความอดกลัน อดทน คิดดูแล้วความอดทนของมนุษย์นีช่างสูงไม่ใช่เล่น จนอยู่ในภาวะที่ทารุณ อย่างนี กไ็ ม่มีใครเอ่ยปากบ่น ไม่มใี ครพูด ไม่มีใครมีท่าทีว่าจะลงจากรถไปใหพ้ ้นๆ ถ้ารถคันนี้เป็นรถบรรทุกนักโทษจริงๆ ก็ดี ขออย่างเดียวให้มันวิ่งพาผมออกไป นอกเมือง ไปท่ีไหนก็ได้ขอให้ไปนอกเมืองท่ีซึ่งรถไม่ติดอย่างน้ี ท่ีซึ่งมีลมเย็นพัดผ่านได้ ท่ีซงึ่ ไม่ตอ้ งปิดหนา้ ต่างรถทุกบานจนร้อนอ้าวอบเจยี นร่างกายละลายเหลวอย่างน้ี ผมรู้สึกว่าผมกาลังจะหมดความอดทน ผมได้น่ังก็นับว่าดีกว่าคนอีกคร่ึงบนรถ คันนี้แล้ว แตค่ วามร้อนอบนน้ั กาลังจะทาให้ผมเปน็ บ้า ผมคิดถึงบ้านเกิดที่ต่างจังหวัด คิดถึงแฟนผม เพียงแต่ผมมีเงินสักก้อน ไม่ต้องใหญ่มากแล้วก็มีงานทาท่ีแถวบ้าน ผมก็คงไม่ต้องมาน่ังทรมาทรกรรม เหมอื นอย่างนี้ ผมคงแตง่ งานกับแฟนผมได้ ท้าไมผู้คนบนรถเมล์ถึงได้นั่งเป็นเบือเหมือนเป็นใบ้กันหมดอย่างนี รวมทัง ตัวผม ท้าไมไม่มีใครพูดจากันบ้าง คุยอะไรสนุกๆ เล่าสู่กันฟังบ้าง แทนท่ีจะน่ังนิ่งๆ ทรมานอย่างนี เมด็ ฝนยังคงโปรยอยู่บางๆ แต่ความร้อนในรถเมล์นรกมิไดบ้ รรเทาลง ...ร้องเพลงไงล่ะ ท้าไมไม่มีใครร้องเพลงขึนมา ท้าเป็นว่ารถคันนีเป็นรถทัศนาจร ไปต่างจังหวัด ร้องเพลงกันซี ร้องซี นั่งเป็นใบ้เหมือนคนบ้ากันอยู่ท้าไม มีประโยชน์ อะไรท่จี ะมานง่ั ทรมานนิ่งๆ อย่างนรี ้องเพลงกันซี ไม่มีใครร้องเพลงขึ้นมาเหมือนท่ีผมอยากให้มี...เพลงลูกทุ่ง ร้องเพลงลูกทุ่ง เพลงอะไรก็ได้ เอาเพลงเร็วๆ ก็ได้ ช้าๆ ก็ได้ ขอให้ร้องแล้วกัน ฝนตกรถติดของสุรชัย ไง เร้ว...ใครก็ได้ร้องเพลงหน่อย เอ้า น้าท่วมก็ได้ น้าท่วมน้องว่าดีกว่าฝนแล้ง พ่ีว่า น้าแห้งให้ฝนแล้งเสยี ยังดีกวา่ ...ของศรคีรไี ง ร้องหนอ่ ย รอ้ งหน่อย ผมจะเป็นลูกคู่
๔๔ | ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ความคิดคร่าครวญอยู่ในใจ รถเคล่ือนไปอีก และติดอีกทีท่ีสี่แยก นิ่งและนาน ผมรู้สึกเหมือนตัวเองกาลังจะสลายละลาย หลับตา หายใจยาว ผมคิดว่าผมไม่เหลือ ความอดทนอยู่แล้ว ผมควรจะลงจากรถ แวะกินก๋วยเต๋ียวสักชาม แล้วนั่งเล่น ในร้านก๋วยเตยี๋ วสักพกั ให้อาการดีข้ึนแล้วค่อยรอรถคันตอ่ ไป ... รถเมล์เคล่ือนมาติดอีกครั้งตรงสี่แยกก่อนจะเลี้ยว ถ้าเล้ียวไปถนนก็โล่ง แต่รถ ก็ติดอยู่นาน ไม่มีทีท่าว่าจะพ้นส่ีแยกไปได้ ความร้อนยังคงระอุอบ...ร้องเพลงซี ไอ้เพ่ือนยาก ร้องซี ร้องเพราะน่ีนา ร้องซี ผมเรียกร้องเขาอยู่ในใจ มีใครหลายคนแอบ มองผม เขาคงประหลาดใจมากท่ีเห็นปฏิกิริยาที่ผมแสดงออกกับเด็กหนุ่มเมื่อครู่นี้ แต่ผมไม่สนใจสายตาของใคร ผมชาเลืองไปทางหนุ่มนักร้องของผม ภาวนาให้เขา ร้องเพลงอีก เพราะพี่มันจน คนที่ไหนไม่แล... ฮะฮ่า...ไกลบ้านของขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด...คาภาวนาของผมเป็นผล ไอ้หนุ่ม เพ่ือนยากของผมร้องแล้ว เสียงเขาดังกังวานไปท้ังรถทีเดียว ไม่มีเสียงหัวเราะคิกๆ แล้ว ผมดีใจจริง ต้องจากบ้านจากพอ่ และแม่ คงชะแง้คอยวันฉันมา... แมผ่ มกเ็ หมือนกนั เสียงของไอ้หนุ่มนีม่ นั โหยฟงั สะเทอื นใจดีแท้ ต้องจากไกลมาลัยบ้านปา่ จากทุ่งนามาหางานทา้ ... ไอเ้ พือ่ นยาก เรากเ็ หมอื นกนั นะ่ ซี เพราะพมี่ นั จน ตอ้ งดินรนได้เรอื่ ย เขา้ สูก่ รงุ ส่กู รุงวิไล หัวใจพ่ีเศรา้ ระก้า... เศร้า ผมก็เศร้า ก็มันน่าเศร้า โถ...มาลัยบ้านป่า อนิจจาแฟนผม เม่ือไหร่เล่า หนอ เมอ่ื ไหร่เลา่ ทีผ่ มจะไดก้ ลับไปบา้ นไปแต่งงานกับเธอ ทา้ งานเหงื่อกายไหลฉ่า้ ตากแดดหนา้ ดา้ ต้องท้าเพราะจน... ใช่แล้วไอ้เกลอ เหมือนกัน ใช่แล้ว ไอ้เพื่อนยาก ขอเป็นเพื่อนด้วยคนเถอะวะ ผมมองเขาอย่างช่ืนชม หนุ่มนักร้องไม่สนใจใครเลย เขายังหลับตา ผมจ้องหน้าเขาไม่ วางตา หลายคนบนรถทาเช่นเดียวกับผม กระเป๋ารถเดินมายืนที่บันได ย้ิมๆ และมอง หนุ่มนักร้องของผม
ก า ร เ ขี ย น เ ชิ ง ส ร้ า ง ส ร ร ค์ | ๔๕ มาลัยจ๋า... น่ี มันต้องอย่างนี้ คนร้องเพลงลูกทุ่งเป็นต้องอย่างน้ี เสียงจ๋าของเขานั้น โหยหวนเอือ้ นยาวทอดหาย ผมเผลอเคาะนิว้ กบั หนงั สือให้จงั หวะ ...อย่าว่าพี่จาก เพราะความยากจนต้องจากหน้ามล เม่ือพ่ีไกลทรามวัย อย่าบน่ ถ้าพีห่ ายจนหนา้ มลคงสบาย... ใช่แล้วมาลัยบ้านป่า ใช่แล้วมาลัยจ๋า แฟนผมไม่ได้ชื่อมาลัยหรอก แต่ผมอยาก ให้แฟนผมชื่อมาลัยเหลือเกินเชียวตอนนี้ หนุ่มนักร้องขยับตัว หยดน้าใสกลิ้งจากตาผ่าน ร่องแก้มกร้านของเขา ผมใจหายวูบ น้าตาหรือเปล่า น้าตาจริงๆ ขนตาเขาชุ่มทีเดียว เปยี กเกาะกันเป็นแผง โถ...ไอ้เพอื่ นยาก ผมตบี ตนั พลอยแนน่ จมกู ขอบตารอ้ นไปดว้ ย เพราะไกลเธอ เผลอใจลอย... ลอย ผมก็ลอย ใครเลา่ จะไมล่ อย ถ้าเป็นอยา่ งผม ไกลคนทร่ี ักและไม่มีแววว่าจะ สมหวังอยา่ งนี้ คดิ ถงึ เธอ คิดถงึ เธอบอ๊ ยบอ่ ย ใจลอยกระวนกระวาย... น้าตาผมทาท่าจะเอ่อ แต่น้าตาของไอ้หนุ่มหยาดลงเป็นสาย เสียงเครือสะท้าน ของเขาได้ความรู้สึกสะเทือนใจเหลือเกิน โดยเฉพาะตรงที่ว่าคิดถึงเธอ คิดถึงเธอ บ๊อยบอ่ ย ผมตบี ตน้ื ในลาคอ รถเมล์เรม่ิ เคล่อื นออกชา้ ๆ ตวั ไกลหัวใจอยใู่ กล้ เจ้าอย่านอกใจละเมอ่ื พีไ่ กลบ้านนา ผมไม่แน่ใจนักหรอก ผมจากแฟนผมมานานแล้ว จดหมายก็ไม่ได้เขียนถึงกัน ผมปรบมือเมื่อเขาร้องจบ มีเสียงปรบมือตามผมดังก้องไปท้ังรถ ผมเสก้มหน้าขย้ีตา และลูบหนา้ เพอื่ ทาลายคราบนา้ ตาของตวั เอง เพราะไมต่ อ้ งการใหใ้ ครเห็น เสียงปรบมือและเสียงหัวเราะเบาๆ ยังคงดังขณะที่รถเลี้ยวว่ิงไปตามถนน อกี สายหน่งึ รถจอดป้าย ไอ้หนุ่มนักร้องลุกข้ึน กระเป๋าซ่ึงมองดูอยู่ตะโกนเสียงดัง “เดี๋ยวพ่ี นักรอ้ งจะลง” ทุกคนหันมามอง มีเสียงปรบมือดังอีก หนุ่มนักร้องของผมไม่ได้สนใจ กบั เสยี งปรบมอื คราบนา้ ตายงั อยู่ชน้ื บนหน้า
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178