Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสาร-สรุปคำบรรยายการอบรมการวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ 2559

เอกสาร-สรุปคำบรรยายการอบรมการวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ 2559

Published by E-books, 2021-03-15 06:36:38

Description: เอกสาร-สรุปคำบรรยายการอบรมการวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ 2559

Search

Read the Text Version

เอกสารสรปุ คาบรรยาย โครงการอบรม เรอื่ ง “การวจิ ัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์” ระหว่างวันท่ี 8 – 10 มิถุนายน พ.ศ.2559 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่

การเปดิ การอบรม กล่าวเปิดงานโดยคณบดีคณะนิติศาสตร์ สวัสดีผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน ผมในนามของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผมมีความรู้สึก ยนิ ดีเป็นอย่างย่ิงที่มโี อกาสไดม้ าเปิดโครงการอบรมการวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ และดีใจกับทุกทา่ นที่ได้ เข้าร่วมโครงการท่ีมีการอบรมถึง 3 วัน ในปัจจุบัน การวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ เราก็จะเห็นว่าการวิจัย ทางกฎหมายส่วนใหญ่ก็จะออกในแนว เรียกว่าศึกษาเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่การวิจัยกฎหมายเชิงสัมคม ศาสตร์ซ่ึงมีวิธีการวิจัยท่ีแตกต่างกันออกไป ซึ่งก็มีจานวนไม่มากนัก คณะนิติศาสตร์ก็เห็นความสาคัญของการ วิจัยในลักษณะดังกล่าว และเห็นความจาเป็นที่จะต้องเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของนักวิจัย นักวิชาการ นักพัฒนาทางด้านนิตศิ าสตรท์ ี่ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนต่างๆ ทั้งสถาบันอุดมศึกษาไม่วา่ จะเปน็ ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ดังนั้นในการจัดการอบรมเรื่องการวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ซ่ึงเป็นการอบรมในครั้งน้ี ก็ จะมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการวิจัยทางกฎหมายทาง สังคมศาสตร์ ซงึ่ จะเปน็ การทาความเข้าใจในประเด็นการวจิ ัยทางประวัติศาสตร์ กฎหมายในเชิงประวตั ิศาสตร์ กฎหมายในเชงิ มนษุ ยวทิ ยา การวิจยั กฎหมายในแนวสตรีนยิ ม และระเบยี บวธิ ีการวจิ ยั ทางสังคมศาสตร์ ซึง่ เป็น พื้นฐานของการพฒั นางานวจิ ัยในทางสังคมศาสตรต์ ่อไปในอนาคต บัดน้ีได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมในนามของคณะนิติศาสตร์ ขอกล่าวเปิดการอบรมการวิจัยกฎหมาย ทางสังคมศาสตร์ และก็ขออานวยพรให้การอบรมในวันนี้ได้ประสบความสาเร็จ และขอให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ตามทีท่ ่านประสงค์ ขอบคุณครบั

อธิบายรายละเอยี ดโครงการ โดย รศ.สมชาย ปรชี าศิลปกุล กาหนดของวันน้จี ะเป็นแบบน้ีนะครับ ชว่ งเชา้ ผมจะพูดเกยี่ วกับการวจิ ัยและโครงสรา้ งการวจิ ยั คืออัน น้ีก็ต้องขอโทษ มันอาจจะเชยๆ ไป ใครที่รู้อยู่แล้วก็ต้องขอโทษ เน่ืองจากมีบางคนยังไม่เคยทาวิจัยอย่างจริงจงั เพราะฉะนั้นผมคิดว่าการพูดเรอ่ื งนี้จะเป็นการปรับพ้ืนฐานทาความเข้าใจรว่ มกัน และช่วงบ่าย อาจารย์นัทมน จะพูดเร่อื งการวิจยั กฎหมายในแนวทางแบบนักมนษุ ยวทิ ยา หรือมานษุ ยวทิ ยาแบบนกั กฎหมาย

สรปุ คาบรรยาย หลกั การพ้นื ฐานของการวิจัย โดย รศ. สมชาย ปรีชาศลิ ปกลุ การวิจัยและโครงสร้างการวิจัยเป็นพื้นฐานของการวิจัย ในเบ้ืองต้นเวลาจะทาวิจัย ก็ต้องถามก่อนว่า “วิจัย” คืออะไร ถ้าพูดแบบให้ง่ายท่ีสุด ส่ิงท่ีเรียกว่าวิจัยก็คือ เราอยากรู้อะไร แล้วก็หาคาตอบกับเรื่องน้ันๆ วิทยานพิ นธ์ก็คือวจิ ยั แบบหนง่ึ วิจัย เร่ิมต้นงา่ ยๆ กค็ ือ เรามคี าถาม แลว้ เราอยากจะหาคาตอบกับเร่ืองนั้นๆ อัน นี้เป็นคาถามที่มันต่าสุดนะครับสาหรับงานวิจัย พอเรามีคาถามเกิดขึ้นแล้ว เราก็หาคาตอบ ผมจะยกตัวอย่าง เช่น มะเร็งเป็นเพราะพันธุกรรมหรือไม่ อันน้ีคือคาถาม อะไรคือสาเหตุของอัลไซเมอร์ มีคนชอบบอกว่าคนที่ เป็นอัลไซเมอร์เป็นคนที่ไม่ค่อยได้บริหารสมอง ตอนแรกผมก็เช่ืออย่างนั้น พอตอนหลังผมอ่านข่าวว่ามี ข้าราชการไปทางาน พอจะกลับบ้าน ขึ้นไปบนรถ ขับรถไม่เป็น คืออันน้ันเป็นอัลไซเมอร์แบบเฉียบพลัน อย่าง แม่ผมเป็นอัลไซเมอร์ แม่ผมเป็นผู้หญิงคนจีนท่ีไม่รู้หนังสือ เวลาจาก็จะจาเป็น PDF ไฟล์ คือจาเป็นภาพ ตอน แรกผมก็คิดว่าคงเป็นเพราะแม่ผมไม่ค่อยได้ใช้สมอง แต่พอมาตอนหลังผมก็มาคิดว่าแม่ผมใช้สมองเยอะ แม่มี ลูก 6 คน อะไรคือสาเหตุของอัลไซเมอร์ อันนคี้ ือคาถาม สิ่งที่เรียกว่างานวิจัย มันจะเริ่มต้นด้วยการมีประเด็นท่ีมันเป็นปัญหาท่ีเราอยากหาคาตอบ ทาไมปลา เข็มตวั เลก็ วาฬตัวใหญ่ ทาไมเราเลี้ยงปลาเข็มไปเร่อื ยๆ ปลาเขม็ ไม่กลายเปน็ วาฬ เพราะว่ามันคนละพันธุ์ อันน้ี คือคาตอบ หรอื คนจนเป็นคนขี้ขโมยจริงรึเปล่า อันน้คี อื คาถาม สิง่ ทีง่ านวิจยั จะทาคือ เวลาเราจะตอบ มนั ต้อง มีการพิสูจน์ ต้องมีการให้คาตอบท่ีเป็นเหตุเป็นผล ให้คนรับฟังได้ เช่น มะเร็งเป็นเพราะพันธุกรรมหรือไม่ คือ ตอนแรกๆ ที่มะเร็งเกิดข้ึนในโลกนี้ มีคนตั้งคาถามว่ามะเร็งเป็นเพราะพันธุกรรมหรือไม่ เพราะเค้าพบว่าใน สหรฐั คนเป็นมะเร็งเยอะ ในขณะญ่ีป่นุ คนเปน็ มะเร็งน้อย คนเลยตัง้ คาถามว่ามนั เป็นเพราะพันธุกรรมรึเปลา่ มี นักวิทยาศาสตร์เร่ิมต้นด้วยการต้ังคาถามว่าข้อสันนิษฐานนี้จริงหรือไม่ อันน้ีเป็นประเด็นคาถามอย่างหนึ่ง งานวิจยั จะตอบคาถามในเรื่องนีใ้ นเรอ่ื งวิธีการ ในสหรัฐคนเป็นมะเร็งเยอะมาก นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นเพราะพันธุกรรมหรือ DNA ของคนสหรัฐ มันตอบสนองต่อเช้ือมะเร็งมากกว่าคนญ่ีปุ่น จะพิสูจน์ข้อความน้ีว่าจริงหรือไม่จริงได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นจากการไปศึกษาคนอเมริกาที่อยู่ในญ่ีปุ่น และศึกษาคนญ่ีปุ่นที่อยู่ในอเมริกา เป็นช่วงระยะเวลา 1 generation เพ่ือดูว่าอัตราการเป็นมะเร็งมากน้อยขนาดไหน นี่ไง อยากรู้ว่าเป็นเพราะพันธุกรรมรึเปล่า เค้าก็ ไปศึกษาคนญี่ปุ่นไปอพยพไปอยู่อเมริกา และในขณะเดียวกันก็ไปศึกษาคนอเมริกาท่ีอพยพไปอยู่ญี่ปุ่น ศึกษา ยาวแบบเป็น generation แล้วเค้าก็ศึกษาอัตราการเป็นโรคมะเร็งว่าสูงรึเปล่า ผลออกมาว่าคนอเมริกาท่ีอยู่ ญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานอัตรามะเร็งต่า ในขณะท่ีคนญี่ปุ่นที่อพยพไปอยู่อเมริกาแล้วใช้ชีวิตแบบคนอเมริกาเป็น โรคมะเร็งสูง คืองานวิจัย เวลาตอบคาถามมันต้องเป็นแบบน้ี เพราะฉะนั้นสิ่งท่ีค้นพบจากงานวิจัยน้ีคือ พันธุกรรมไม่ใช่ปัจจัยสาคัญ งานวิจัยจะเป็นแบบน้ี จะเริ่มต้นจากการต้ังคาถาม แล้วเราจะทาการทดสอบมัน

ยงั ไง แล้วมันกต็ อ้ งมีขอ้ สรุปอะไรบางอย่าง คืองานวิจยั ชิน้ นม้ี นั ไม่ไดต้ ้องการบอกว่าอะไรคือสาเหตุทีส่ าคัญของ การเป็นมะเรง็ แต่มนั ต้องการถามวา่ ที่เชื่อวา่ สาเหตุมาจากพันธุกรรมนนั้ ใชร่ ึเปล่า มีอกี อันนึงคือ ตอนนั้นเปน็ ตอนที่มีความขัดแยง้ ทางการเมืองสงู แลว้ คนกบ็ อกว่าโทรทัศน์ไม่เป็นกลาง ช่องนี้เข้าขา้ งเสอื้ เหลือง ช่องนี้เขา้ ข้างเสือ้ แดง คาถามคือจะพสิ ูจน์อยา่ งไร ถ้าจะตอบด้วยงานวิจัยจะทาอย่างไร สมเกียรติ ต้ังกิจวานิช แห่ง TDRI สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ทาข้อความส่ง SMS มา 100 ข้อความ ใน 100 ขอ้ ความนั้นจะจดั อนั ดับอยา่ ง แดงมาก แดงปานกลาง เหลืองมาก เหลอื งปานกลาง แลว้ สง่ ไปทกุ ชอ่ ง แล้วดวู ่า มันออกเท่าไหร่ ออกอันไหนบ้าง โทรทัศน์เลือกออก แล้วเวลาจะบอกว่าช่องนี้มีความโน้มเอียงยังไง แกบอก จากขอ้ มลู ไม่ไดต้ อบจากความเห็น นแี่ หละ เวลาทาวจิ ัยมนั ต้องเป็นแบบนี้ หมายความว่าเวลาเราตอบงานวิจัย เราไม่ได้ตอบแค่บอกว่าไอ้คนนั้นเสื้อแดงเห็น ไอ้คนนี้เสื้อเหลืองเห็นๆ งานวิจัยไม่ได้ตอบแบบนี้ เวลามีคาถาม สงิ่ ท่ตี ามมาคอื จะทายังไงตอ่ อันนเ้ี ปน็ ขัน้ ตอนสาคัญ คนจนเป็นคนข้ีขโมยจริงรึเปล่า มีงานวิจัยของหลานปู่ของพระองค์เจ้ารพี คือ รศ.ดร.รตอ.มรว.อคิน รพีพัฒน์ งานช่ือ กาเนิดและจุดจบของสลัมแห่งหนึ่งในกรุงเทพ อ.อคิน เข้าไปศึกษาชุมชนตรอกใต้ในกรุงเทพ แลว้ อ.อคินก็เสนอส่ิงซง่ึ ผมคิดว่าคนฟังแล้วอง้ึ แกค้นพบวา่ ในชุมชนแออัดหรือทเ่ี ราเรียกวา่ สลัม เวลาคนไม่อยู่ บ้าน ชาวบ้านที่น่ีเปิดประตูแล้วเดินออกไปเลย และไม่มีคดีของหายเกิดข้ึน ในรอบปีนี่นับครั้งได้ ส่ิงที่ อ.อคิน เสนอ คือ ในขณะท่ีเราคิดว่าคนจนข้ีขโมย อ.อคินบอกว่า ไม่ จากงานวิจัยเชิงประจักษ์ของแก พบว่า เวลาจะ บอกว่าคนจนขี้ขโมย มันตอ้ งมเี งือ่ นไขอ่ืนๆ มากกวา่ น้ี ไมใ่ ช่แคเ่ พราะว่าจน งานวิจัยคือ มีคาถามเกิดข้ึน เราก็ต้องคิดหาวิธีหาคาตอบของมัน ในเบ้ืองต้น เวลาที่เราจะหาคาตอบ ผมคิดว่ามันมี 2 หลักใหญ่ๆ ท่ีสาคัญ คือ วิจัยเพื่อค้นหาความจริง ซ่ึงแบ่งเป็นความจริงของส่ิงท่ีเรียกว่า วทิ ยาศาสตรธ์ รรมชาติ กบั ความจรงิ ทางสงั คมศาสตร์ ซ่งึ ผมคดิ วา่ เราต้องแยกทาความเข้าใจกันก่อน ความจริง ของส่ิงที่เรียกว่าความจริงของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ กับความจริงท่ีเรียกว่าความจริงทางสังคมศาสตร์ ซึ่ง กฎหมายก็เป็นสว่ นหนึ่งของสังคมศาสตร์ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ ในทางวิทยาศาสตร์เช่ือว่า มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมายที่รอมนุษย์ไปค้นพบ และกฎเกณฑ์อันนั้นมันคือความจริงที่ไม่เปล่ียน เช่น เวลาขี่จักรยาน ทายังไงให้ไปได้เร็วที่สุด ถ้ามี 2 คนแข่ง กัน เราจะทาอย่างไรให้เราเร็วกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ทาตัวให้มีแรงต้านทานต่อลมน้อยท่ีสุด อันนี้คือความจริง แบบท่ีวิทยาศาสตร์ค้นพบ มันมีกฎเกณฑ์อยู่อย่างเดียว ส่ิงที่วิทยาศาสตร์ทา คือ ค้นหาความจริง จริงๆ แต่ ในทางสังคมศาสตร์มันจะเป็นความจริงอีกแบบหนึ่ง เป็นความจริงชนิดที่ถูกสร้าง เช่น เคร่ืองบินท่ีบินได้ทุก วันนี้ มันมาจากกฎเกณฑ์พ้ืนฐานของหลักฟิสิกซ์ข้อเดียว คือ เม่ือลดพัดผ่านพ้ืนผิวที่มีความเรียบไม่เท่ากัน จะ เกดิ การยกตวั ขึ้น ซ่งึ กฎขอ้ นีผ้ า่ นไปสิบปี รอ้ ยปีมันกไ็ ม่เปล่ียน นค่ี อื ความจริงทางวทิ ยาศาสตร์ นกั วิทยาศาสตร์

พยายามจะค้นพบความจริง จริงๆ มันคือความใฝ่ฝันของนกั วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนพยายาม จะคน้ พบส่งิ ทีไ่ มเ่ คยค้นพบมาก่อน หรอื กฎเกณฑ์ใหม่ๆ ในทางสังคมศาสตร์ เราไม่ได้อยู่กับความจริงทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว เราอยู่กับความจริง อีกชนิดหน่งึ ในทางวชิ าการเคา้ เรยี กว่า constructed ในทางสงั คมศาสตร์จะเชื่อวา่ มันเป็นความจรงิ ทถี่ ูกสร้าง ข้ึน เพราะง้ันเวลาเราอยู่กับความจริง มันจะมีความจริง จริงๆ กับความจริงท่ีถูกสร้างข้ึน อันน้ีสาคัญ เราต้อง แยกให้ได้ เพราะเรามักจะยึดว่าความจริงท่ีถูกสร้างเป็นความจริง จริงๆ เช่น ห้ามผู้หญิงเข้าไปในเขตพระธาตุ ชั้นใน อันน้ีเป็นความจริงที่ถูกสังคมสร้างข้ึน ไม่ได้เป็นความจริง จริงๆ ที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมา นัยะสาคัญของ ความจริงท่ีถูกสร้างข้ึน คือ มันเปลี่ยนได้ เพราะงั้นผมคิดว่าคนที่จะทาวิจัยได้ดี คืออย่ายึดม่ันถือม่ัน เพราะถ้า เรายึดมั่นถือมั่น มันจะทาให้เราถอยออกจากเร่ืองน้ันได้ยาก อันนี้สาคัญ เพราะถ้าเราตระหนักได้ว่ามันเป็น ความจริงทีถ่ ูกสรา้ งขนึ้ หมายความว่า มนั ถกู สร้างขนึ้ ภายใต้เงือ่ นไขหรือผลประโยชน์อย่างหนง่ึ อยา่ งเช่นเรื่อง ราคาน้ามนั ในประเทศไทย ที่ไหนถูกทส่ี ุด กรุงเทพถูกที่สุด นเี่ ปน็ ความจรงิ ในสังคมไทย มาอย่างยืดเยื้อยาวนาน คือน่าสนใจว่าราคาน้ามันที่ต่างจังหวัดแพงกว่า สมัยก่อนท่ีค่าแรงราคาไม่เท่ากัน ค่าแรงท่ีกรุงเทพสูงกว่าต่างจังหวัด แต่ราคาน้ามันต่างจังหวัดสูงกว่าท่ีกรุงเทพ ทาไมน้ามันท่ีกรุงเทพจึงต้อง ราคาถกู ทส่ี ุด เปน็ เพราะกรุงเทพมีบ่อน้ามันของตัวเองใช่รเึ ปลา่ เพราะมผี ้บู รโิ ภคเยอะกว่า หรือเพราะคิดราคา จากการเอากรุงเทพเป็นศูนย์กลางแลว้ คดิ ค่าขนสง่ บวกขนึ้ เร่ือยๆ ตามระยะทางการขนส่งนา้ มนั จะดว้ ยเหตุผล อะไรก็ตามที่ทาให้ราคาน้ามันท่ีกรุงเทพถูกท่ีสุด พอราคาน้ามันถูกมันไม่ใช่แค่ราคาน้ามันอย่างเดียว มันก็ ตามมาด้วยเร่ืองอ่ืนๆ อีก อย่างค่าครองชีพ ฯลฯ เพราะงั้นใครบอกว่าราคาน้ามันที่กรุงเทพกับต่างจังหวัด เท่ากันคอื ไม่จริง อนั นี้คอื ความจริงที่ถูกสร้างข้ึน หรอื ค่าไฟท่ีกรงุ เทพกับต่างจงั หวดั เท่ากนั หรือไม่ ทาไมทีค่าไฟ ถึงเท่ากันได้ แตท่ าไมราคาน้ามันถึงเท่ากนั ไม่ได้ สมัยผมเป็นเด็กจะได้ยินคาขวัญอย่างนึงว่า “ไม่มีความยากจนในหมู่คนขยัน” เป็นคาขวัญสมัย พล เอก เปรม เป็นนายก อันนี้ก็พูดกับตัวเองว่า “พ่อกูก็ขยันนะ แม่กูก็ไม่ข้ีเกียจนะ ตื่นต้ังแต่ตีห้า ทาไมเราถึงยัง จนอยู่” รวมถึงคาพูดในปัจจุบันที่ว่า “จน เครียด กินเหล้า” ชีวิตจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ชีวิตจะดีข้ึนเม่ือเลิกกินเหล้า ตง้ั ใจทางาน และจะใหด้ ีกต็ ้องทาบัญชีครวั เรือน อยา่ งนี้ครับ เราอยกู่ บั ความจรงิ ท่ีถูกสร้างเป็นจานวนมาก คณุ จงึ ตอ้ งตระหนักว่าความจริงท่ีมีมันเป็นความจริงทถ่ี ูกสร้างขึน้ เพื่อไม่ให้คุณเกาะอยู่กับเร่ืองน้ันๆ จนปล่อยจาก มันไม่ออก พอปล่อยจากมันไม่ออกจะทาให้เราต้ังคาถามการวิจัยได้ยากมากการวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็เพ่ือ อธบิ าย ถกเถยี ง โตแ้ ย้งสงิ่ เหล่าน้ี นาไปส่กู ารสร้างความจรงิ ชุดใหม่ กฎหมาย ในความเห็นผมกฎหมายเปน็ สว่ นหน่ึงของสังคมศาสตร์ มีความจริงเปน็ จานวนมากในระบบ กฎหมายซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างสนิทใจ เช่น ในเมืองไทย เม่ือเราโดนคดี เราไม่ยอมให้มีการทา เช่น “ถ้าคดี แพ้ ผมไม่รับตังค์ ถ้าชนะ แบ่งกัน 50 : 50” ทนายในเมืองไทยทาไม่ได้ แต่ถ้าเราเป็นลูกความ เราจะคิดว่า

ทนายคนนี้จะทางานเต็มท่ีม้ัย เต็มท่ี เพราะถ้าแพ้ทนายก็จะไม่ได้ตังค์เลย มองในแง่ลูกความมันดีจะตาย แต่ ทาไมเค้าถึงห้าม เพราะเค้ากลัวว่าคดีจะรกโรงรกศาล อ้าว ก็มันหน้าท่ีของศาลไม่ใช่เหรอที่ต้องตัดสินคดี คือ คร้ังแรกๆ ทีผ่ มฟงั ผมก็เออจรงิ ๆ เราไมค่ วรสนับสนนุ เพราะคนจะฟ้องกันเยอะ แตพ่ อมาคดิ ว่าถา้ สมมติผมโดน คดี ผมอยากได้แบบไหน อยากได้ทนายแบบท่ีมาหาทีนึงก็ห้าพันๆ พอถามว่าจะมีโอกาสชนะมั้ย ก็บอกว่า “โดยจรรยาบรรณทนายความเราบอกไม่ได้ว่าจะชนะ” (เพราะฉะนน้ั ก็เอามาอีกห้าพนั ) อยากได้แบบไหน แตน่ ่ี คือหลักการที่ทนายเมืองไทยยอมรับกันแบบนี้ ผมเข้าใจว่าอันน้ีเป็นแง่มุมท่ีมองลงมาจากผู้มีอานาจรัฐ แต่ถ้า มองจากแง่มุมของคนท่ีต้องใช้ทนาย ถามว่าเค้าอยากได้แบบไหน พอมองกลับไปท่ีกฎหมายท่ีเราเรียน ผมคิด ว่ามันมี “ความจริง” จานวนมากที่มนั ถกู สอนตอ่ ๆ กันมา แลว้ เราก็จาๆ กันมา และเราก็เช่อื ว่ามนั เปน็ หลักการ มันเป็นชองมันเช่นนั้น แต่สาหรับผมมันไม่ใช่ มันไม่ใช่ความจริงทางสังคม มันต่างจากลมท่ีพัดผ่านพ้ืนผิวที่ไม่ เทา่ กนั หรอื เอกสารราชการเป็นเอกสารทนี่ ่าเช่ือถอื หรือไม่ อาทิตยท์ ่ีแล้วผมเพิง่ ไปเยย่ี ม สแุ กว้ ลงุ ฟู หรืออ้าย นง เค้าถูกจับข้อหาบุกรุก คืออ้ายนงเป็นคนลาพูน ตอนแรกทางานรับจ้าง แต่พอวิกฤตปี 40 แกก็กลับบ้านที่ ลาพูน แกไปเห็นว่ามีพื้นที่นึงมีพ้ืนที่เยอะ คือสมัยก่อนมันเป็นพ้ืนที่ท่ีชาวบ้านใชเ้ ล้ียงวัวเล้ียงควาย แกก็เลยพา ชาวบ้านไป “ปฏิรูปท่ีดินโดยชมุ ชน” อันนี้ภาษาของอ้ายนง แต่ภาษาราชการคือการบุกรุก แกก็แย้งไปว่าไม่ได้ บุกรุก เพราะมันเป็นท่ีที่ชาวบ้านใช้เลี้ยงวัวเลี้ยงควานมานานแล้ว สักพักก็มีคนมาแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของท่ีดิน พรอ้ มถอื โฉนดมา เอกสารที่ออกโดยทางราชการ ตอนน้นั ชาวบ้านเข้มแข็งกเ็ ลยเอาจดหมายไปยื่นทศ่ี าลากลาง แกเอาชาวบ้านไปด้วยเป็นร้อย ผู้ว่าก็ลงมาเจรจาด้วย เรื่องไปถึงกรุงเทพ รัฐมนตรีก็ต้ังกรรมการข้ึนมาหนึ่งชุด เพอ่ื สืบสวนว่าโฉนดที่ดนิ น้นั ชอบหรือไม่ชอบ ตง้ั คณะกรรมการต้ังแตป่ ี 2543 ทางานกันมาเป็นสิบปี กรรมการ มีความเห็นว่าโฉนดฉบับนี้เป็นเอกสารท่ีไม่ชอบ เสนอให้เพิกถอน จากปี 2543 มาจนบัดนี้ ผ่านไปเกือบ 20 ปี เวลาจะเพิกถอนเอกสารสิทธิท่ีไม่ชอบในต่างจังหวัด ผู้ที่มีอานาจ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด คาถามคือผู้ว่าฯ ลาพนู ท่ีสว่ นใหญเ่ ปน็ ขา้ ราชการที่ใกลเ้ กษียณ จึงมักปัดไปใหผ้ วู้ ่าฯ คนตอ่ ไป เมื่อเดือนท่ีแลว้ ศาลฎีกาเพิง่ ตัดสิน ว่าอ้ายนงผิดข้อหาบุกรุก เอกสารท่ียืนยันเป็นเอกสารของทางราชการ คาถามคือ ถ้าในวันข้างหน้าโฉนดนี้ถูก เพิกถอนไป จะทาอยา่ งไรชาวบ้านท่ีตดิ คุกเพราะข้อหาบุกรกุ น้ี น่ไี ง “เอกสารราชการเปน็ เอกสารทเ่ี ชื่อถอื ได้” ดังนั้นมันจึงมีความจริงทางกฎหมายเป็นจานวนมาก ซึ่งเป็นความจริงที่ถูกสร้างขึ้นและทาให้มัน กลายเป็นความจรงิ เพราะฉะน้ันหมายความว่า มันเป็นความจริงทเ่ี ราเปลี่ยนได้ ถ้าเราเห็นว่ามนั ไม่ถูกต้อง แต่ อันน้ีสาคัญ เพราะนักกฎหมายมักยึดติด งานวิจัยมันเป็นแบบน้ี มันเป็นประเด็นท่ีเราคิดว่ามันเป็นปัญหา แล้ว เราอยากหาคาตอบให้กบั เรอื่ งนั้นๆ โครงสร้างงานวจิ ัย มีโครงสร้างใหญ่ๆ อันแรกคือคาถามหรือโจทย์วิจัย อันที่สองคือแนวคิดทฤษฎี อัน ที่สามคือการออกแบบงานวิจัย อันที่สี่คอื จริยธรรมงานวิจยั

คาถามการวจิ ยั หรอื โจทย์วจิ ัย คือ เร่ืองที่สาคัญท่ีสุด “หากปราศจากคาถาม การวิจัยไม่น่าจะเกิดข้ึน หรืออย่างน้อยการวิจัยท่ีมี คุณภาพไม่น่าจะเกิดข้ึน” อันน้ีเป็นคาพูดของ นิธี เอียวศรีวงศ์ ศาตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ เพราะฉะน้ัน เวลาทาวจิ ยั คาถามการวิจัยจงึ เป็นจุดเริม่ ต้นของงานวจิ ยั โดยตอ้ งเปน็ การตง้ั ประเด็นหรือข้อสงสัย คาถามการ วจิ ัยไม่ใช่การพรรณนา การพรรณนาหมายความวา่ เรายอมรับความจริงบางอย่าง สง่ิ ทเ่ี ราต้องเริ่มต้น คือ การต้ังคาถาม ปญั หาสาคญั คือนักกฎหมายมักตั้งคาถามไมเ่ ป็น เพราะเวลาเรา เรียนหนังสือ เราถูกสอนให้ตอบคาถาม เราไม่ค่อยถูกฝึกให้ตั้งคาถาม เราจึงมักยอมรับความจริงท่ีมันเป็นอยู่ การตั้งคาถามจะนาไปสู่การหาคาตอบ คาถามวิจัยคือจุดตั้งต้น เพราะงั้นสิ่งที่เราต้องทาคือฝึกต้ังคาถาม เช่น “การลงโทษทางอาญามีวัตถุประสงค์ให้บุคคลเกิดความหลาบจา” แต่เรากลับพบว่ามีการกระทาความผิดซ้า เกิดขน้ึ มากมาย ทาไมถงึ เป็นแบบน้นั นแ่ี หละคอื คาถามท่ตี ้องหาคาตอบ หรือ “กฎหมายคือข้อกาหนดท่ีทุกคน ต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนต้องได้รับการลงโทษ” อันนี้เป็นเชิงพรรณนา เมื่อเราต้ังคาถามก็จะเป็น มนุษย์ สามารถฝ่าฝืนกฎหมายอย่างชอบธรรมได้หรือไม่ และผู้ท่ีฝ่าฝืนกฎหมายอย่างชอบธรรม ควรถูกลงโทษอย่าง เดียวกบั อาชญากรรมหรือไม่ เพราะฉะนั้น เร่ิมต้น การต้ังคาถามการวิจัย โจทย์วิจัยสาคัญมาก จากประสบการณ์ผม ผมคิดว่ามี ปัจจยั อยู่ 3 ข้อท่ีจะทาให้เกดิ การตง้ั คาถามได้ดี คือ 1). มองโลกแบบคนชา่ งสงสยั 2). มีฐานความคิดกวา้ งขวาง 3). มีความกลา้ หาญทางจรยิ ธรรม ซ่งึ ถา้ จะสรปุ คุณสมบตั ิทจี่ ะทาให้ตั้งคาถามไดด้ ี กค็ ือ “ดวงตาทารก สมองนกั ปราชญ์ หวั ใจนกั รบ” ขอ้ แรก : มองโลกแบบคนชา่ งสงสัย ทีบ่ อกว่า “ดวงตาทารก” คือ เดก็ มักจะมคี าถามเยอะ แตก่ ม็ ักเป็นคาถามท่ีเราเองไม่ได้ต้ังคาถาม เช่น หนูเกิดมาได้อย่างไร หนูมาจากไหน หรือ ทาไมม้าถึงเป็นสีน้าตาล คาถามเหล่านี้เราไม่ถาม เพราะมันเป็นส่ิงที่ เรา “รู้ๆ กันอยู่” ท่ีเราไม่ถามอาจจะเพราะเรารู้แล้ว เราโตแล้ว น่ีแหละเป็นเร่ืองท่ีทาให้เราตั้งคาถามไม่ได้ เพราะทุกเร่ืองมีคาอธิบายไว้หมดแลว้ หรือเพราะเรื่องน้ีมนั ก็เป็นแบบน้แี หละ แตถ่ ้าเรามองโลกด้วยดวงตาของ ทารกท่ีไม่เคยเจอ ไม่เคยเห็น ไมเ่ คยไดย้ ินเรื่องราวแบบน้ีมาก่อน ให้ถอื วา่ สิ่งนั้นเปน็ สง่ิ ใหม่ทีไ่ ม่เคยเกดิ ข้ึน อย่างตอนที่ผมศกึ ษาเร่ืองพระองคเ์ จ้ารพี ผมพบขอ้ มลู ที่ไม่เคยมีคนพดู ถึงมาก่อน เช่น พระองค์เจ้ารพี ไม่ได้ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายไทยในทันทีท่ีตาย แลว้ ก่อนหนา้ นน้ั พระองคเ์ จา้ รพีถูกเรียกว่าอะไร แต่

พอมาหลัง พ.ศ.2500 ถูกเรียกว่าบิดาแห่งนักฎหมายไทย แล้วทาไมต้อง พ.ศ.2500 น่ีแหละ พอเรามีคาถาม มันก็จะนาเราไปสู่เร่ืองต่างๆ จนผมได้ข้อสรุปว่า พระองค์เจ้ารพีมีบทบาทต่อการปฏิรูปกฎหมาย แต่ว่าการยก ย่องพระองค์ไม่ได้เป็นมาอย่างสืบเนื่องตั้งแตพ่ ระองค์เจ้ารพีตาย เพิ่งถูกยกย่องหลังปี 2500 พระองค์เจ้ารพีมา พร้อมกับความเฟื่องฟูของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งถ้าใครไม่เห็นด้วยกับผม ไม่เห็นด้วยได้ แต่ต้องเถียง กันดว้ ยขอ้ มลู หรอื แนวคดิ เช่น หลักฐานท่ีผมเสนอมนั ไม่จริง การตคี วามของผมผิดพลาด การมองโลกดว้ ยดวงตาทารก จงึ เป็นการมองทอี่ ย่าพยายาม หรอื คุ้นเคย หรอื เชอ่ื ไปกับความรทู้ ่ีมันอยู่ รอบข้างเรา เช่น กฎหมายมีหลักว่า “ความไม่รู้กฎหมาย ไม่เป็นข้ออ้างท่ีทาให้พ้นไปจากความรับผิด” ละคุณ รู้ม้ัยว่ากฎหมายพระราชบัญญัติมีกี่ฉบับ น่ียังไม่รวมถึง กฎหมายกระทรวง ระเบียบของกรม กอง ต่างๆ อย่าง คนท่ีทาคดีป่าไม้จะรู้ว่าระเบียบมันเยอะมาก ไม่มีใครรู้หรอก แต่ส่ิงท่ีเราเรียนมา คือ “ความไม่รู้กฎหมาย ไม่ เป็นขอ้ อ้างทที่ าให้พน้ ไปจากความรับผิด” และมหี ลักการในทางกฎหมายอกี เยอะทเี่ รานามาตงั้ คาถามได้ ดังนน้ั การมองโลกด้วยสายตาของคนช่างสงสัย คอื อยา่ พยายามเชือ่ อะไรไปทุกอย่าง แตใ่ นความเป็น จริงมนั ทาได้ยาก อย่างการทีเ่ ราจะตงั้ ข้อสงสัยเรอ่ื งศาล เพราะบางทีเรากย็ ดึ ติดกบั มนั ไปโดยท่เี รากไ็ ม่รู้ตวั ข้อทีส่ อง : มฐี านความรทู้ กี่ ว้างขวาง เราอาจจะคิดถึงคาถามได้แต่เร่ืองที่ตามมาคือ โดยส่วนใหญ่คาถามมักจะเป็นคาถามที่เคยถูกถามกัน มาแลว้ โอกาสท่เี ราจะตั้งคาถามชนิดทว่ี ่าไม่เคยมีมนษุ ย์คนไหนตงั้ คาถามมาก่อนเลยมันยาก คาถามส่วนใหญ่ที่ เราตั้งมันมักจะมีคนต้ังมาแล้ว เพราะฉะนั้นเม่ือมันมีคนตั้งคาถามมาแล้ว หมายความว่าเขาได้เคยให้คาตอบ อะไรไวก้ ับคาถามนั้นๆ สมมตวิ ่าเขาให้คาตอบนั้นๆ เราไปคน้ พบ เราไปอา่ นแลว้ แล้วพบวา่ เค้าให้คาตอบ “ดี” มนั กห็ มายความวา่ คาถามของเราได้ถูกตอบไปเรียบร้อยแล้ว น่ีคือสิ่งท่ีต้องทา ภาษาวิชาการเรียกว่า “การทบทวนวรรณกรรม” หรือก็คือการไปอ่านดูว่าในเร่ือง น้ันๆ มันมีสถานะของความรู้อยู่อย่างไร เรื่องแต่ละเรื่องมันมักจะมีคนทาไว้เต็มไปหมดแล้ว เช่น เร่ืองสัญชาติ คนแรกท่ีเราควรพุ่งไปหา คือ ขาใหญ่ คนสาคัญๆ หรือก็คืองานท่ีเราต้องไปอ่าน พลาดไม่ได้ เพราะเร่ืองแต่ละ เร่ืองมันจะมีคนท่ียืนเป็นหลักอยู่ ทบทวนวรรณกรรมคือเราต้องรู้ว่าคนที่ยืนเป็นหลักอยู่เค้าคิดเร่ืองอะไร มัน เปน็ ยังไงบ้าง หรือหากเป็นเร่ืองแรงงาน คนสาคัญๆ ที่เราต้องไปอ่าน คอื เกษมสันต์ วิลาวลั ย์ หรอื ถ้าเปน็ เรื่อง แรงงานรัฐวิสาหกิจต้องไปอ่านงานของใคร ดังน้ัน พอเรามีคาถาม สิ่งท่ีตามมาหรือการมีฐานความรู้ที่ กว้างขวางคือ เราต้องรู้ว่าในเร่ืองนั้นๆ ใครคิดอะไรอยู่ หมายความว่า เค้าคิดยังไง เค้าทาอะไรอยู่ เค้ามีงาน วิชาการอะไรออกมาบา้ ง อนั นส้ี าคญั เพราะมนั จะทาให้งานของเราไมเ่ ชย ดังน้นั การทบทวนวรรณกรรมจึงสาคญั มันจะทาใหเ้ รารูว้ า่ เราจะเดนิ ต่อไดห้ รือไม่ได้ ความยากคือ ถา้ เป็นงานของฝร่ังซ่ึงก็มีความสาคัญไม่น้อย คือกฎหมายในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก และแนวคิด

เก่ยี วกบั กฎหมายก็เปล่ียนไปมาก เพราะฉะน้นั ถา้ หากใครทีไ่ มส่ นใจความเปล่ยี นแปลงทเ่ี กิดขนึ้ ในระดบั โลกเน่ีย หรือเกิดข้ึนในเรื่องของแนวคดิ ทฤษฎี มนั จะทาให้งานมันตามไม่ทนั ความรู้ทเี่ ขามอี ยู่ หรอื ท่เี ขาเถียงกันอยู่ ข้อสาม : มีความกลา้ หาญทางจริยธรรม เวลาทีเ่ ราตง้ั คาถามอะไร มนั จะมากระทบถึงความรู้ที่มใี นช่วงเวลานั้นๆ เพราะฉะน้นั การตั้งคาถามน้ัน มีผลกระทบไหม อาจจะมีผลกระทบก็ได้ ย่ิงถ้าเป็นการต้ังคาถามชนิดท่ีมันกระทบถึงระบบความรู้อย่างรุนแรง คือในอดีตถ้าใครอ่านประวัติกาลิเลโอ กาลิเลโอไปโต้แย้งศาสนจักร คือศาสนจักรมีการอธิบายว่าโลกเป็น ศูนย์กลางจักรวาล แต่กาลิเลโอเห็นต่าง กาลิเลโอเลยเสนอว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางจักรวาล ปรากฎว่า กาลิเลโอ ต้องขึ้นศาลไต่สวน และถูกตัดสินให้กักขังบริเวณ ในปัจจบุ ันเราอาจจะไม่เห็นแบบน้ี แต่ไม่ได้หมายความว่ามัน ไม่มอี านาจหรอื ระบบความร้กู ากบั ผมคิดว่าตัวอย่างซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางกฎหมาย แต่ผมยึดหนังสือเล่มน้ี อันท่ีจริงเป็นวิทยานิพนธ์ เป็น วทิ ยานพิ นธ์ซงึ่ ส่ันสะเทือนระบบความรู้เป็นอย่างมาก เล่มนี้นะครบั “การเมืองในอนเุ สาวรีย์ทา้ วสุรนารี” คน ทาคือสายพิน แก้วงามประเสรฐิ เป็นวทิ ยานพิ นธ์ท่ีประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ประมาณปี 2539 หรือ 38 เล่ม นี้มหี ลายประเด็น แต่ประเด็นทีใ่ หญ่มาก และกลายเป็นคาถามท่วี า่ ย่าโมมีตัวตนอยู่จรงิ มากน้อยแคไ่ หนในทาง ประวัตศิ าสตร์ วทิ ยานิพนธเ์ ลม่ น้มี นั มีคาถามหลกั ๆ สองเร่ืองด้วยกนั คอื คาถามวา่ อนุเสาวรียย์ า่ โมถูกใช้ในทาง การเมอื งหรือไม่ ใช้เปน็ ประเดน็ ทางประชาธปิ ไตย และมคี าถามวา่ ในหลักฐานทางประวตั ศิ าสตร์ ย่าโมมีตัวตน อยู่จริงมากน้อยขนาดไหน สิ่งท่ีคนทาวิทยานิพนธ์เรื่องนี้สื่อคือ ไอ้สิ่งต่างๆ ที่บันทึกเรื่องของย่าโม ต้นตอนั้นมี มากน้อยขนาดไหน เขาพบอะไร วทิ ยานิพนธเ์ รอ่ื งนี้เสนอว่าเอาเขา้ จริง จดุ กาเนิดเรอ่ื งย่าโมอยูใ่ นพงศาวดาร มี อยู่ประมาณ 3 บรรทัด แล้วสิ่งท่ีนักเขียนคู่บ้านคู่เมืองทาคืออะไร ขยาย 3 บรรทัดน้ี นางบุญเหลือหรือยา่ โม 3 บรรทัดนี้ ขยายขึ้นมา ในท่ีนี้มีคนโคราชไหมครับ วิทยานิพนธ์เรื่องน้ีพิมพ์ในหนังสือ และบอกว่าเม่ือค้น หลกั ฐานทางประวัตศิ าสตรท์ ้งั ของไทยและของลาว ทมี่ าของเรอ่ื งนีม้ ีอยู่ 3 บรรทดั อะไรเกิดขน้ึ สมมตุ ิวา่ หากถกเถยี งกนั ในทางวิชาการ อาจจะเถยี งกันว่าวิทยานิพนธเ์ ร่ืองนี้มีข้อมูลตกหล่นอะไรยังไง ชาวโคราชครบั มาชุมนุม และชาวโคราช มีอาจารย์โรงเรียนมัธยมที่โคราชมาชุมนุมแล้วก็ประท้วงวิทยานพิ นธ์ เล่มนี้ พร้อมกับเสนอว่า ให้ธรรมศาสตร์ทาวิทยานิพนธ์เพิ่มอีกหน่ึงเล่ม เพ่ือยืนยันว่าย่าโมมีตัวตนอยู่จริง อัน นั้นไม่ใช่วิทยานิพนธ์ครับ น่ันเป็นการปักธงแล้วก็หาเหตุผลประกอบ ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ และเล่มนี้ทางมติชนก็ ตัดสินใจเรียกคืนจากท้องตลาด คือคาถามอยู่ท่ีว่า เรื่องน้ีมันน่าสนใจตรงท่ี ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ ใครมาจับเราขึ้นศาลศาสนา แต่ถามว่ามันมีระบบความรู้ที่จะขัดขวางความกล้าหาญในการต้ังคาถามของเรา ไหม มคี รับ นเี่ ปน็ ตวั อย่างที่ดี จริงๆ มันมีเร่ืองเล่าว่า 2 ปีท่ีแล้ว มีนักศึกษาคณะสังคมที่ มช. อยากทาเร่ือง 112 การก่อสร้างความ กลัวในมาตรา 112 ให้ความรู้หน่อยนะครับ มาตรา 112 มีข้อความว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดง

ความอาฆาตมาดรา้ ยพระมหากษตั รยิ ์ พระราชินี รัชทายาท หรือผสู้ าเร็จราชการแทนพระองค์ ตอ้ งระวางโทษ จาคุกต้ังแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” คือมีคนอยากทาว่า ไอ้มาตรานี้มันทาให้เกิดความกลัว ตั้งแต่ผู้ต้องหา ใน กระบวนการยุติธรรมต้ังแต่ชั้นตารวจ อัยการ ศาล จนกระท่ังผู้ต้องหาที่อยู่ในคุก ผมฟังแล้วรู้สึกชอบมาก ผม บอกว่าให้ผ่านเลย คือเขาไม่ได้ทาเรื่องตีความ แต่ทาในทานองว่า เม่ือเกิดคดี 112 ขึ้นแล้วเนี่ย การเข้าไปใน กระบวนการแล้วจะถูกกดดันอย่างไร ต้ังแต่ตารวจจนถึงศาล แม้กระท่ังราชทัณฑ์ ผลกระทบภายใต้มาตรา 112 มนั เปน็ อย่างไรและทาใหค้ นทเ่ี ข้าไปเกย่ี วข้องรู้สึกน่ากลวั เป็นงานวิจัยทีน่ ่าสนใจมาก คือ งานวจิ ยั หวั ข้อน้ี ถกู เสนอไปทีภ่ าควชิ าหน่งึ ผลคืออะไรเกิดข้ึน ภาควิชาปัดผลุบ คนไม่เห็นด้วยก็ว่าผิดกฎหมาย ไม่ให้ทา ผลตอนหลังคือ คนทาก็ “ไม่ผิดครับ ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมาย” ก็รู้ล่ะไม่ผิด แล้วเขาก็มาหาผมและบอกว่า “อาจารย์ อาจารย์ช่วยเขียนให้ หน่อยว่าเรื่องน้ีทาได้ไม่ผิดกฎหมาย” คือเป็นครั้งแรกที่ผมต้องเขียนจดหมายรับรองว่า เรื่องท่ีนักศึกษาทามัน ไม่ผิดกฎหมาย ก็จริงแหละ มันไม่ได้ด่าใคร เป็นแค่วิเคราะห์เท่านั้นเอง คือ เวลาต้ังคาถามแบบน้ี เวลาเราตั้ง คาถามในงานวิจัย ผมคิดว่าเร่ืองแบบนี้คือสิ่งที่เรียกว่าความกล้าหาญทางจริยธรรม คือหมายความว่า ถ้า คาถามของเรามันไปกระทบกับระบบความรู้ท่ีมีอยู่ เม่ือไหร่ที่เราต้ังคาถามกระทบกับระบบความรู้ มันย่อมมี ปฏิกิริยาอะไรแน่นอนครับ มากน้อยแตกต่างกันไป คือคาถามที่ว่า ถ้าเกิดคาถามเราเป็นอย่างน้ี เรายังจะ เดินหน้าต่อไปหรือไม่ หรือว่าไม่ทาละ กลับดีกว่า เพราะอย่างน้ัน ผมคิดว่านี่เป็นตัวอย่างงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ดี ใครสนใจหาอ่านนะครับ เข้าใจว่าอยู่ในห้องสมุดไม่น่ามีวางขาย จะมีวางขายใต้ดินรึเปล่าไม่รู้ ผมได้เล่มน้ีตอน เรียนจบป.โทพอดี แล้วเพื่อนผมก็ซ้ือมาฝาก ตอนน้ันพลิกดูผ่านๆ ผมก็มั่นใจว่ามันต้องเป็นหนังสือท่ีมีคุณค่า ตอ่ ไปในอนาคตแน่นอน ราคานา่ จะข้ึนนะครับ เสยี ดายไม่ไดก้ ว้านซ้อื ไว้ หอ้ งสมดุ มีลองไปหาอา่ นครบั ผมคดิ วา่ สนุกดี เหน็ ด้วยไมเ่ หน็ ด้วยไมเ่ ปน็ ไร โต้แย้งไดน้ ะครับ งานวจิ ัยเห็นดว้ ยไม่เห็นด้วยไมเ่ ป็นไร โตแ้ ยง้ ได้ แตโ่ ตแ้ ยง้ ตอ้ งโต้แย้งการใช้ขอ้ มูล เพราะฉะนั้นไอ้ท่ีพูดไปผมให้ไปสามเรื่องที่สาคัญนะครับ จะตั้งคาถามงานวิจัยท่ีดีผมคิดว่าอันแรกคือ อย่างที่บอก “มองโลกด้วยดวงตาทารก” อย่าพยายามคุ้นเคยกับอะไรทุกเรื่อง ทุกเร่ืองมีคาตอบไปหมด ถ้ามี คาตอบก็จบครับ ไม่มีคาถาม อันท่ีสอง นอกจากดวงตาทารกแล้วเน่ีย เราต้องอ่านหนังสือเยอะ ฟังเยอะ คิด เยอะ ดวงตาทารกแต่สมองนักปราชญ์ ต้องอ่าน โดยเฉพาะในเรื่องท่ีเราสนใจ และในขณะเดียวกัน หัวใจ จะต้องเป็นนักรบ คอื หมายความวา่ ถา้ เรอ่ื งที่เราต้ังคาถามนั้นกระทบกับเร่ืองทเ่ี ป็นอะไรแลว้ เราจะทาต่อหรือไม่ เพราะฉะนน้ั ผมคดิ วา่ น่ีคือข้อสรุปจากทผ่ี มทางานและสอนหนงั สือมา ถือว่าเปน็ เงื่อนไขเบอ้ื งต้น ลกั ษณะคาถามวจิ ัยทดี่ ี

คราวน้ี ลักษณะคาถามวิจัยท่ีดี เมื่อก้ีเป็นปัจจัยทางานที่ดี แต่คาถามท่ีดี เบ้ืองต้น เรื่องท่ีสาคัญมาก คือเป็นเร่ืองท่เี ราสนใจ ถา้ เราไม่สนใจ จะทาก็ได้ แต่เวลาทาวิจยั อย่าลมื นะครบั ว่าเราต้องอยู่กับมัน อยา่ งน้อยก็ ต้ังปีหน่ึง เพราะฉะน้ันถ้าเป็นเร่ืองไม่สนใจแล้ว เราก็อยู่กับมันแบบ อะไร ไปเจอหัวข้อใหม่น่าสนใจเรื่อยๆ มัน จะทาให้เรามีความสุข เวลาทเี่ ราทางานวิจัยมนั ควรจะ โห เจออะไรใหมๆ่ เจอสิ่งนา่ สนใจ ไมใ่ ชท่ าไปทาไปแล้ว ก็ เฮ้อ เม่ือไหร่จะเสร็จเสียที มันต้องทาให้ยิ่งทาก็ตอ้ งยิ่ง ไม่รู้นะ มันควรทาให้เรากระฉับกระเฉง ทาให้เราเหน็ อะไรใหม่ๆ ประเด็นใหม่ๆ คือเพราะฉะน้ันมันก็ควรจะทาเร่ืองท่ีมีความสุข เร่ืองท่ีดีที่สุดคือเรื่องท่ีอยู่ในความ สนใจ แต่ละคนสนใจไม่เหมือนกันได้ ผมสนใจอะไร ผมสนใจวิจัยกฎหมายโดยใช้ประวัติศาสตร์ ผมสนใจ เร่ืองท่ีดิน ผมสนใจเร่ืองชาวบ้าน สนใจเร่ืองคนชายขอบผมก็จะสนุกกับเรื่องพวกนี้ ผมสนใจท่ีจะทาอะไรที่มัน ส่ันคลอนอานาจใหญ่ๆ อานาจความรู้นะครับ องค์ความรู้ใหญ่ๆ เช่น เร่ืองศาล เพราะฉะนั้นเวลาจะทา ก็ควร เลอื กเร่อื งทเี่ ราสนใจ เรื่องทีเ่ ราทุ่มเทกับมนั ได้ ทาแลว้ สนุกกับมันเร่ือยๆ คอื แน่นอนทบี่ างคนก็ต้องทาวิจัยแบบ รบั แหล่งทุนมา รับแหล่งทุนมาไมเ่ ป็นไรครับ แต่รับแหลง่ ทุนที่มนั ไปทางเดยี วกบั เราหน่อย เพราะฉะน้นั ข้อแรก คอื ความสนใจนั้นไมเ่ ป็นปญั หา แต่เลือกเรอื่ งที่เราสนใจครับ และทส่ี าคญั ก็คือว่า ผมคิดว่าถ้าไมต่ ่อยอดความรู้ เดมิ กต็ อ้ งทา้ ทายความรู้เดิม ถา้ ไม่ต่อยอดความรเู้ ดิมน่หี มายความว่าความรู้เดมิ น้เี ราจะต่อยอดได้ อีกแง่คือท้า ทายความรูเ้ ดมิ ผมคิดวา่ ถ้าใครท่ีทาทง้ั ต่อยอดทงั้ ทา้ ทาย มันจะทาใหง้ านของเราน้นั มีความหมาย ถ้าเราทางาน วิจัยเสร็จแล้วมันเงียบๆ ในแง่วิชาการอาจจะดี แต่งานท่ีจะดีมันก็ต้องมีการศึกษา ในแง่ของการถูกท้าทาย ท้า ทายหรือต่อยอดความรู้เดมิ ไปมากขึ้นๆ เรื่อยๆ หมายความวา่ เร่ืองนี้มีคนศกึ ษาแลว้ แตเ่ ราสามารถข้ามประเด็น ต่อยอดความรู้นั้นไปได้เรื่อยๆ แต่ละเรื่องมันคงมีความแตกต่างในแง่ของความรู้แบบเดิม ถ้าถามผม งานวิจัย ถ้าตอบความรู้แบบเดิม เหมือนเดิม อย่าไปทา เพราะเขาทากันไปแล้ว ถ้าทาให้ดีกว่าเขาไม่ได้อย่าทา เราต้อง ตอบให้ตา่ งจากเขา และถา้ เกดิ ให้ดี สามารถท้าทายชุดความรู้เดมิ ถ้าเมื่อไหรท่ า้ ทายชดุ ความรเู้ ดิม ผมคิดวา่ แค่ พดู ใหค้ นฟงั คนเขากจ็ ะ โห นี่คิดแบบใหม่ นแี่ หละคอื การท้าทายความรู้เดิม แตว่ ่าอยา่ งทผี่ มบอกว่ามันยากนะ ครับ เพราะฉะน้ันนี่คือเรื่องท่ีสาคัญ ส่วนจะกว้างจะแคบก็เป็นเร่ืองไป อันน้ีก็อยู่ท่ีแต่ละคนไม่พูดมากนะครับ คือเราต้องรูว้ า่ มันอยู่ในวสิ ยั ท่ีเราควบคุมได้ คราวนี้มนั มคี าถามอยา่ งหนึง่ ซ่งึ ยากมาก เป็นคาถามชนดิ ทวี่ ่า ดูเหมือนยากทจ่ี ะเปน็ ไปได้ อนั นี้ผมไม่รู้ ว่าต้องอาศัยการคิดอย่างไร ยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่ง เล่มนี้เป็นเล่มที่คาถามมันคงเป็นคาถามที่ถูกถามมาก ที่สดุ อ่านงานวจิ ัยมาเยอะนะครับ คือเล่มนีม้ ีประเด็นใหญ่ๆ สองสามประเดน็ แตป่ ระเด็นทผี่ มคิดว่า โอ้ มนั มัน มาก ส่ิงที่มันน่าสนใจคือ การอธิบายการเปล่ียนแปลงของรัฐไทย “ตามกฎหมายครอบครัว” เวลาเราเห็นการ เปลยี่ นแปลงของรัฐไทยเรามองอะไร รัฐธรรมนูญโน่น แตห่ นงั สอื เลม่ นี้กลับอธบิ ายการเปลย่ี นแปลงของรัฐไทย ตามกฎหมายครอบครัว โอโห คาถามนี้ ตอนแรกที่ผมอ่านก็อ้ึงแล้ว คือคาถามน้ีเป็นคาถามท่ีดูเหมือนว่ามันไม่ น่าจะสัมพันธ์กัน อันนี้เป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก คนน้ีเป็นฝรั่งนะครับ ก็ทาต้ังแต่กฎหมายเก่านะครับ

กฎหมายสมัย ร.5 แล้วก็มาอา่ นกฎหมายเก่า คาพิพากษาเก่าท่ีเมืองไทย ไม่รู้มีใครอ่านคาพิพากษาเก่าบ้างไหม แต่มันอ่านยากมาก ภาษากฎหมายเก่าอ่านยาก อันนี้ผมไม่รู้จะอธิบายยังไง มันมีการตั้งคาถามชนิดหนึ่งที่พอ ฟังปุ๊บก็รู้เลยว่า คาถามนี้เด็ดขาดมาก คือตอนแรกผมได้หนังสือเล่มน้ีมาก็ดูไม่มีอะไร มาน่ังอ่านแล้วก็ เฮ้ย ตกใจเยอะมาก ถ้าใครสามารถตั้งคาถามประมาณน้ีไง ก็อย่างท่ีผมบอกไปตอนต้น คือ งานวิจัยที่ดีต้องเร่ิมต้น จากคาถามที่ดี แต่การจะถามแบบน้ีได้หมายความว่ายังไง มันต้องผ่านการอ่าน ผ่านการคิดก่อน ก็อย่างเช่นดู กฎหมายน้ี กฎหมายครอบครวั กฎหมายครอบครัวคือใคร เรม่ิ ตน้ เมื่อไหร่ เราก็ เร่มิ ตน้ เมอื่ พ.ศ.2408 นะครับ ก่อนหนา้ นยี้ ังไม่มี จนมาสูก่ ารเปลี่ยนแปลงถึงปัจจุบนั พออา่ นหนังสือเล่มน้ีปุ๊บ เกต็ ปับ๊ กฎหมายครอบครัวเรา เกดิ ขน้ึ หลงั การเปล่ียนแปลงการปกครอง โดยเป็นกฎหมายครอบครัวสมัยใหม่ที่เรียกวา่ monogamy ผัวเดยี ว เมียเดียว เกิดข้ึน 2478 คือ คาถามแบบนี้ ถ้าใครสามารถสร้างคาถามหรือตั้งคาถามท่ีดูเหมือนไม่น่าจะ เก่ียวข้องกันได้มาเก่ียวข้องกัน มันดีนะครับ แต่กว่าจะต้ังคาถามแบบน้ีได้ ผมว่าต้องผ่านทักษะการอ่านมา พอสมควร อันนเ้ี ป็นตัวอย่างนะ เล่มนช้ี อื่ “Subject Siam” สนุกครบั มขี ายทเี่ ชยี งใหม่ สานักพมิ พ์ทีเ่ ชียงใหม่ เป็นคนพิมพ์นะครบั วัดอุโมงค์มีขาย คือถา้ ใครสนใจประวตั ิศาสตรก์ ฎหมาย เล่มน้ีสนกุ นะครบั มันก็จะมีการตั้งคาถามแบบนี้ล่ะครบั การต้ังคาถามชนิดที่ดูไม่นา่ เป็นไปได้แต่มันก็เป็นไปได้ ดังนั้นถ้า เราจะตั้งคาถาม ต้องลองตั้งคาถามท่ีแบบ ทาให้คาตอบมันดูกว้างขึ้นนะครับ เล่มนี้ก็สนุก เล่มนี้เป็นของ อาจารย์เดวิด เองเกิล กับอาจารย์จารุวรรณ อาจารย์เดวิดชอบมาเชียงใหม่เร่ือยๆ นะครับ คาถามการวิจัยก็ สนุก เล่มน้ีคือบอกว่า ดูเชียงใหม่ผ่านประวัติศาสตร์สามสิบปี เชียงใหม่ที่มีรถไม่กี่คันกลายเป็นแสนคัน อุบัติเหตุเกิดข้ึนเยอะเลย มากขึ้นๆ ส่ิงท่ีอาจารย์ทาคือ สามัญชนใช้กฎหมายในการฟ้องร้องมากขึ้น คือโจทก์ หลักๆ ก็เก็บข้อมูลทั้งช่วง 30 ปี น่ีคือความมหัศจรรย์ของฝร่ังอย่างนะครับ ท้ิงข้อมูลไว้ 20 กว่าปีแล้วมาเก็บ ขอ้ มลู อีกรอบ นกั วิชาการไทยเรายังไม่ทากันนะครับ สิ่งที่อาจารย์เดวิดทาและข้อเสนอของเขาก็น่าสนใจมาก เชียงใหม่กลายเป็นเมืองมากข้ึน คนมี การศึกษามากขึ้น รถมากข้ึน อุบัติเหตุมากขึ้น แต่ข้อสรุปของอาจารย์คือ สามัญชนใช้กฎหมายในการปกป้อง สิทธิของตนเองไม่เพิ่มข้ึนในนัยยะสาคัญ คือเพิ่มนิดหน่อย จากรถที่เพิ่มขึ้นมาเป็นแสนคัน สมมุติคดีเคยมี 100 ก็กลายเป็น 105 – 106 ไม่เยอะเลย เล่มน้ีผมคิดว่าน่าสนใจนะครับ เป็นงานสัก 2 – 3 ปี พยายามว่าเวลา ชาวบ้านใช้กฎหมาย มันมีเงื่อนไขปัจจัยอะไรบ้างท่ีทาให้ชาวบ้านตัดสินใจใช้หรือไม่ใช่กฎหมาย คืออาจารย์ เดวิดเป็นนักกฎหมายละเมิดนะครับ เรามักจะรู้สึกว่า เฮ้ย นักกฎหมายจะทาวิจัยยังไงว้า จะตีความยังไง วเิ คราะหค์ าพพิ ากษา แตอ่ าจารย์เดวิดทากฎหมายละเมิดในทางสังคม ชาวบ้านใช้หรือไม่ใชใ่ นทางกฎหมาย รอ อาจารยน์ ัทมนพูดตอ่ นะครบั อันน้ีเป็นส่วนของคาถามการวิจัย เป็นการต้ังต้นที่สาคัญ ถ้าคาถามที่ดีมันจะทาให้ เหมือนกับ เราทา ส่ิงที่มันน่าต่ืนเต้น แต่เม่ือไหร่คาถามจืด มันก็จะจืดต่อไป ดังน้ันเริ่มต้นเรื่องน้ีสาคัญท่ีสุด ส่วนใหญ่เวลาวิจัยก็

จะใช้เวลากับการคิดคาถามวิจัยให้ชัดเจน ดังนั้นการคิดถึงปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหานะครับ ถ้าเราใช้เวลากับมันคิด คาถามให้ทะลุปรุโปร่ง เราคิดกันมารอบคอบ พอเสร็จมันจะทาให้เราเดินไปได้ง่ายมากขึ้น นี่คือในส่วนของ คาถามการวิจยั ผมจะพดู ต่ออีกนิดกอ่ นกนิ ขา้ วนะครับ ผู้เขา้ อบรมแสดงความเห็น : คาถามมีค่ะว่า ไอ้เวลาโจทก์หนึ่ง จาเป็นต้องมีคาถามเดียว หรือมีคาถามย่อย หรือหลายคาถามก็ได้ ตอ้ งทายงั ไงคะ พอดคี วามร้นู อ้ ย เวลาคิดกฟ็ ้งุ นะ่ ค่ะ อ.สมชายแสดงความเห็น : ไม่จาเป็นต้องคาถามเดียวครับ คาถามควรไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเช่นหนังสือท่ีผมพูดๆ ไป อย่าง Subject Siam พูดถึงความเปล่ยี นแปลงทางกฎหมายของสมยั รัชกาลที่ 5 สว่ นหนึง่ ท่พี ูดคือกฎหมายครอบครัว เขาก็ดูการลอกเลียนแบบของรัฐไทยด้วยการเปล่ียนกฎหมาย แต่ถ้ามองง่ายๆ รัฐไทยในสมัยรัชกาลท่ี 5 เน่ีย มันมีความเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง อันน้ีคือโจทก์ใหญ่ แล้วเขาก็ดูงานเลียนแบบของรัฐไทย ท่ีเลียนแบบอังกฤษ มาเป็นกฎหมายครอบครัว เขามีคาถามใหญ่ แล้วก็มีคาถามย่อย แต่คาถามย่อยอยู่ใต้เงาของคาถามใหญ่ คือ โจทย์วิจัยจริงๆ แล้วมันจะมีหลายคาถามก็ได้ แต่มันต้องเป็นคาถามที่ไปด้วยกันนะครับ ส่วนใหญ่ผมก็เริ่มจาก งานอื่น อ่านของคนอื่น แล้วคิดว่าคาถามเราใช้เครื่องมือชนิดไหนได้บ้าง ทีน้ี นิดเดียวก่อนพักนะครับ เด๋ียวผม ขอพดู ตอ่ อกี สัก 10 นาทนี ะครับ กอ่ นทีเ่ ราจะพักกนั แนวคิดทฤษฎีแบบน้ี ค่อนข้างเป็นเร่ืองใหญ่ของนักเรียนกฎหมาย เพราะพอเรียนกฎหมาย แนวคิด ทฤษฎีน้ีเราไม่สู้จะคุ้นเคยเอาเสียเลย แนวคิดทฤษฎีสาคัญยังไง เราต้องเริ่มแบบนี้ก่อนนะครับ เวลาที่เราเห็น ปรากฎการณ์ต่างๆ เราไม่ได้เห็นข้อเท็จจริงนะครับ แต่เราจะให้ความหมาย ตัวอย่างง่ายๆ เราไม่ได้เห็นแค่ ผู้ชายจูบกัน แต่เราเป็นยังไง รู้สึกยังไง เราอาจจะไม่มีทัศนะท่ีต่างมาก แต่ถ้าเราเอารูปผชู้ ายจูบกันให้ปู่เราดู ปู่ เราก็เป็นไง ดีนะ อย่างนี้เหรอ เพราะฉะนั้นเราไม่ได้เห็นแค่ผู้ชายจูบกัน แต่เราให้ความหมายมันด้วย ผมอยาก ให้เราตระหนักเวลาเรามองปรากฎการณ์ต่างๆ เป็นไงครับ เขียวขจี สวยงามใช่ไหมครับ สมมุติคนท่ีต้องอยู่ ใกล้ๆ แบบน้ีจะรู้ว่าไงครับ นี่มันทุ่งข้าวโพด อุดมไปด้วยยาฆ่าแมลง สารเคมี ปุ๋ยนะครับ เข้าไปแล้วเป็นไง หายใจแล้วล้มตึงไปเลย ภาพนี้เราก็ให้นิยามต่างกัน ดังนั้นเราต้องตระหนักเวลามองปรากฎการณ์ว่า เราไม่ได้ เห็นแต่ข้อเท็จจริง เราให้อะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ภาพนี้ผมชอบใช้กับนักศึกษา เราเห็น อะไร คนพม่า อุ้มแม่ข้ามแม่น้ามาฝ่ังไทย คือเราไม่ได้เห็นแค่ภาพนะครับ สมมุติถามต่อ เราควรให้การ รักษาพยาบาลเขาไหม ควร ทาไมล่ะ ก็เขาป่วยมา ต้องรักษา เขาข้ามจากพม่ามาฝ่ังไทย เราจึงควรต้องให้การ รักษาเพราะเขาป่วย หรือ มันมีค่าต้นทุนในการรักษาพยาบาล เขาไม่มีตัง ไล่กลับได้ไหม ควรไหม ควรทายังไง กบั เขา

ผูเ้ ขา้ ร่วมแสดงความเหน็ : ก็ตอ้ งให้นะ่ คะ่ มนั เปน็ หลักพืน้ ฐานสทิ ธมิ นุษยชน ถา้ ใครปว่ ยมาก็ต้องรักษา แลว้ ย่ิงเขาเปน็ คนแก่ เป็น บคุ คลท่มี คี วามเปราะบาง คือเขากค็ วรต้องได้รับการดแู ลเปน็ พิเศษเพราะเขาเป็นคนแก่ อ.สมชายแสดงความเหน็ : ภาพน้ีคนมองไมเ่ หมือนกัน คนหนงึ่ กเ็ อ้ย นีเ่ ขาไม่มีตังจ่าย นกั สทิ ธมิ นุษยชนบอกว่า เราตอ้ งรกั ษา พอ เราให้การรักษา เขาหาย แล้วยังไงต่อ กลับไปก็ป่าวประกาศวา่ โรงพยาบาลฝ่ังไทยให้การรักษา ใจดีจังเลย ไม่ คดิ เงินดว้ ย วนั รุ่งขึน้ ชาวบ้านก็ข้ามมา 728 คน คนแก่หมดเลย ผ้เู ข้ารว่ มแสดงความเหน็ : อันน้ีเราก็คงต้องดูไปตามกฎหมายเข้าเมือง คือถ้าเป็นกรณีเดียวได้ แต่น่ีคือมันต้องแก้กันท้ังระบบน่ะ คะ่ แต่ถามว่า ปฏิเสธไมไ่ ด้เรื่องการรักษา อ.สมชายแสดงความเหน็ : ทาไมกรณเี ดียวได้ ผู้เข้าร่วมแสดงความเหน็ : มันเปน็ เรอ่ื งทีต่ ้องทาค่ะ อ.สมชายแสดงความเหน็ : ทีม่ ากค็ นแกน่ ะ เขาก็คนเหมอื นกนั นะ ผู้เขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : คอื ถ้าเขามาทั้งหมบู่ า้ นนะคะ กค็ วรตอ้ งคิดให้มากว่าอาจจะเป็นโรคระบาดอะไร อ.สมชายแสดงความเห็น : งั้นก็ยง่ิ ตอ้ งชว่ ยสิ ถา้ เป็นโรคระบาดอะไร ผู้เข้ารว่ มแสดงความเห็น :

งั้นเราก็ตอ้ งช่วยก่อน อาจจะมีวิธีอน่ื มี NGO เครือข่ายดา้ นสาธารณสขุ ไปทฝี่ งั่ พมา่ ปอ้ งกนั การเข้ามา แต่ก็ต้องช่วย ก็ต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน ตามหลักบริหารจัดการ ซึ่งไม่ใช่เกี่ยวกับคนชาติใด มันเป็นปัญหา เชิงโครงสร้างของเขา แตเ่ ราก็ต้องช่วยกอ่ น อ.สมชายแสดงความเห็น : คือมันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง คือจริงๆ ถ้าถามไม่ยาก ถ้าเขาบอกว่า กลับไมได้ เพราะพม่าบอกว่า ไม่ใช่คนพม่า เอาไงดี คือแบบนี้ นี่ไง พอเราเหน็ ภาพ สง่ิ ทีเ่ ราเหน็ คือ เราเหน็ คนๆ เดียวมา เราเหน็ ว่านคี่ ือเร่ือง ของสิทธิมนุษยชน แตพ่ อมาสกั รอ้ ยคน มนั กเ็ ป็นเรอ่ื งสทิ ธิมนษุ ยชนแต่มนั ต้องเปน็ เงื่อนไข จรงิ ๆ มนั ควรจะเปน็ สทิ ธิมนุษยชนเยอะๆ แต่พอคนมามากขนึ้ สทิ ธิมนุษยชนกลับเร่ิมยุบตวั นไ่ี ง เวลาเรามองเห็นแบบนี้ เราเหน็ คน ชาติ เราเห็นเขาเป็นคน (สิทธิมนุษยชน) หรือเห็นเขาเป็นคน (สัญชาติ) นี่ไง เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามอง เรา ไมไ่ ด้มองทุกอย่างดว้ ยข้อเท็จจริง แลว้ พอเรามอง มันก็จะมนี โยบาย มาตรา กฎหมายต่างๆ ตามมาเต็มไปหมด เพราะฉะน้ันนี่ไง เร่ิมต้นแบบน้ี ส่ิงที่อยู่ในหัว จะเรียกว่าแนวคิดทฤษฎี หรือรากฐานอะไรก็ได้ เรามองทุกอย่าง โดยมีอะไรอยู่ในหัว หรืออะไรก็ได้ มนั จะกากับเราในแต่ละเร่ืองๆ แนวคดิ ทฤษฎี ฐานความคดิ ทีนี้แนวคิดทฤษฎีท่ีสาคัญก็พูดง่ายๆ ส่ิงท่ีเรียกว่าแนวคิดทฤษฎีคืออะไร มีความสาคัญแบบน้ีครับ แนวคิดทฤษฎีคือคาอธิบายทจ่ี ะเชือ่ มโยงปรากฎการณ์ต่างๆ ปรากฎการณ์ท่ีเกิดข้ึนเป็นเร่ืองๆ เชื่อมโยงเข้าหา กัน ส่ิงท่ีเรียกว่าทฤษฎี แนวคิด ถ้าถามว่า เฮ้ย พ้ืนฐานจริงๆ คืออะไร คือการเชื่อมเร่ืองต่างๆ เข้าหากัน เชื่อม ปรากฎการณ์ด้วยมุมมองทเ่ี หมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน แตท่ ฤษฎจี ะร้อยเข้ามาด้วยกันได้ เชน่ หมิ ะละลาย แมลง แพร่กระจาย หมีขั้วโลกจมน้าตายมากขึ้น อันนี้เป็นข้อมูลที่เรารู้อยู่ เป็นปรากฎการณ์ท่ีเกิดขึ้นแต่ละที่ แต่เรา เช่ือมโยงไว้ดว้ ยแนวคิดทฤษฎีอะไร กรนี เฮ้าส์เอฟเฟค ทฤษฎีว่าด้วยเร่ืองโลกร้อนนะครบั หน้าที่ของทฤษฎีเป็น แบบนี้ มันเชอ่ื มปรากฎการณย์ ่อยๆ ซงึ่ ดูราวกับไมเ่ ก่ียวกันเขา้ มาหากนั ได้ ตวั อย่างท่ผี มชอบยกอยา่ งเช่น ผู้ชายตบผหู้ ญงิ ผู้ชายตาแหน่งใหญ่โต ผู้หญิงอยบู่ ้านเลี้ยงลูก ผชู้ ายตบ ผู้หญิง มันเป็นเรื่องย่อยๆ ท่ีดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ว่าไอ้เรื่องนี้มันถูกอธิบายให้มันเกิดข้ึนภายใต้ทฤษฎี ชุดเดียวกัน ว่ามันเกิดข้ึนเป็นเหตุเป็นผลกัน ไอ้ที่อยู่ท่ีทางานเป็นใหญ่เป็นโต ที่อยู่บ้านก็เลี้ยงลูก ท้ังหมด เชือ่ มโยงเข้าหากันด้วยแนวคิดที่เรียกว่า Feminism สตรีนยิ ม จดั การเชอื่ มเรอ่ื งพวกนเี้ ข้าหากนั น่ีไง ทฤษฎีทา หน้าที่อย่างน้ี เพราะฉะนั้นเวลาเรามองเรื่องอะไร เราจึงจะอยู่ภายใต้กรอบคิด เราทุกคนอยู่ภายใต้กรอบคิด อะไรบางอยา่ ง หรือหลายอย่างกากับอยู่ กรอบคดิ ชาตินยิ ม ทุนนิยม Feminism ความคดิ แบบน้นู แบบนี้เตม็ ไป หมด ส่ิงทเ่ี รยี กว่าทฤษฎี สาคญั ยงั ไง งานวจิ ยั สว่ นใหญ่ของนกั ศกึ ษาปริญญาโทในประเทศไทย สว่ นใหญ่ไม่คอ่ ย มีแนวคดิ ทฤษฎีอะไรกนั นะครบั ชว่ ง 2 – 3 ปีหลังเราไมค่ ่อยมแี นวคิดอะไรกนั ผมน่งั อ่านไปหลายร้อยเล่ม และ

พบว่านักกฎหมายไทยไม่ค่อยจบั แนวคิดทฤษฎีทางกฎหมายกัน ถามว่าไม่จับได้ไหม ในเมืองไทยก็ทาได้นะ แต่ มนั ก็จะแบบอยา่ งวา่ น่ะนะ แนวคดิ ทฤษฎสี าคญั เหมือนกนั แนวคดิ มันจะชว่ ยทาให้เรามองอะไรใหม่ๆ มนั จะเปิดให้มกี ารมองแบบ ใหมๆ่ เชน่ กฎหมายครอบครัว ถ้าไมม่ ีแนวคดิ แบบ Feminism การที่เราเห็นผวั ตบเมยี จะอธิบายว่ายังไง อันน้ี เป็นล้ินกับฟัน กระทบกันธรรมดา แต่ถ้าเกิดมองด้วย Feminism จะกลายเป็นความรุนแรงในครอบครัว ให้ ความหมาย นี่คือความสาคัญ เพราะมันทาให้เราเปลี่ยนมุมมองในการอธิบายหรือทาความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ แต่เร่ืองแนวคิดน้ันมีหลากหลาย สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรามีแนวคิดชาตินิยมก็จะไม่ควร รักษา แต่ถ้าเรามีแนวคิดสิทธิมนุษยชน เราก็จะมองว่าเขาควรรักษา นี่คือความสาคัญ ในแง่แรกมันจะช่วยทา ให้เรามองปรากฎการณ์แบบใหม่ และจะช่วยทาให้เราตั้งคาถามนะครับ ซึ่งเดี๋ยวจะส่งต่อให้อาจารย์นัทมนพดู ต่อนะครบั เดีย๋ วเราคงพกั กนิ ขา้ วกอ่ นนะครบั สรุปคาบรรยาย

การวิจยั กฎหมายเชิงสงั คมศาสตร์ โดย รศ. สมชาย ปรชี าศิลปกุล เด๋ียวหลังจากน้ีอาจารย์นทั มนจะพูดถึงการวิจัยกฎหมายแบบมานษุ ยวทิ ยา ในส่วนทฤษฎีผมจะค่อยๆ พูดเชื่อมโยงเก่ียวกับเรื่องน้ีนะครับ คือผมอยากพูดให้ชัดขึ้นหน่อย คือ การวิจัยกฎหมายมีสองแนวทางนะครับ ทผ่ี มบอกไปอย่างก่อนคอื การวิจยั กฎหมายแบบจารตี ชนนะครับ ที่จะเหน็ กนั โดยทว่ั ไป คอื 1. จารตี นิยม (Conservational Legal Research) และ 2. การวจิ ยั ทางเลือก (Alternative Legal Research) ซึ่งการวิจัยตรงน้ีเนี่ย เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์ท่ีกาลังจะพูดต่อไปน้ีนะครับ ทีน้ีมาพูดถึงแบบแรก กันก่อน คือ “การวิจัยกฎหมายแบบจารีตนิยม” มันเป็นการวิจัยกฎหมายที่เราเห็นกันโดยทั่วไป วิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาจานวนมากหรืองานวิจัยกฎหมายจานวนมากในเมอื งไทยผมคดิ วา่ มันมลี กั ษณะคล้ายๆ แบบน้ี มนั จะมีลกั ษณะเดน่ ๆ อยู่สามเรือ่ งด้วยกัน ทเ่ี รียกงานวิจัยทางกฎหมายแบบน้วี า่ จารตี นยิ มนะครับ งานวิจยั กฎหมายแบบจารีตนิยม 1. ให้ความสาคัญกับกฎหมายทีเ่ ปน็ ทางการ จะให้ความสาคัญกับกฎหมาย “ท่ีเป็นทางการ” คือหมายความว่า เป็นกฎหมายของรัฐน่ีแหละ จะไม่ สนใจกฎหมายท่ีไม่เป็นทางการ คือกฎเกณฑ์ท่ีไม่เป็นทางการหรือกฎหมายที่ไม่เป็นทางการมีหรอื ไม่ มีนะครบั แต่วา่ แนวความคิดการวิจยั กฎหมายแบบทเี่ รียกว่า “จารตี นิยม” นี้ จะไม่สนใจกฎหมายทีไ่ ม่ใชร่ ฐั เขยี นข้ึน หรือ ถ้าไม่ศึกษากฎหมายที่เป็นทางการ ก็มุ่งที่จะศึกษาสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายท่ีเป็นทางการ เช่น ตารวจ รัฐสภา ศาล คือถ้าเร่ิมต้นนะครับ เวลาท่ีนักกฎหมายคิดถึงพ้ืนที่ในการวิจัย เราก็จะคิดถึงกฎหมายท่ีเป็น ทางการ ซึ่งรวมท้ังกฎหมายและสถาบันด้วยนะครับ สถาบันก็อย่างเช่นสถาบันท่ีเกี่ยวข้องกับกฎหมาย อัยการ ตารวจ ทหาร ราชทัณฑ์ ศาล อะไรแบบนี้ล่ะครับ ก็จะเน้นอยู่ในกลุ่มนี้ อันน้ีผมเคยลองเปิดวิทยานิพนธ์ ส่วน ใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการศึกษากฎหมายท่ีเป็นทางการ ซ่ึงจะศึกษากฎหมายในระดับไหนก็เป็นเรื่องของเราอีกที อย่างเช่นจะศกึ ษากฎหมายทีเ่ ปน็ ทางการในระดับระหว่างประเทศ ประเทศอะไรกว็ า่ ไป 2. ใชท้ ฤษฎีท้ังหมด อันที่สองการวิจัยกฎหมายแบบจารีตนิยมนี่ใช้ทฤษฎีท้ังหมด ถามว่าใช้ทฤษฎีเป็นอย่างไร ผมว่าใช้ ทฤษฎีท่ีมีในแวดวงวิชาการทางด้านกฎหมาย ไม่ได้ประโยชน์ต่อไปในแวดวงอ่ืน เช่น ถ้าใครทาเรื่องท่ีพูดกัน เยอะ อยา่ งหลักการแบ่งแยกอานาจ กฎหมายสงู สดุ ของรัฐคอื รัฐธรรมนญู อะไรแบบน้นี ะครับ ทฤษฎที ่ีนามาใช้ ก็จะเป็นทฤษฎีในทางกฎหมายเป็นหลัก กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง สิทธิของผู้ลี้ภัยและความขัดแย้งท่ี เก่ยี วขอ้ ง คือสว่ นใหญ่ เวลาเราใช้ทฤษฎี มันก็จะเปน็ ทฤษฎีในเร่ืองนั้นๆ เชน่ ทฤษฎีสทิ ธิมนุษยชน สิทธิของผู้ลี้

ภัย ก็จะเปน็ ทฤษฎีท่ีค่อนข้างเป็นไปในทางกฎหมาย แล้วสงิ่ ที่เรามักจะเหน็ คือ พอเรามีทฤษฎเี สรจ็ ปุ๊บ เราก็จะ เอาทฤษฎีเป็นมาตรวัด จับมันไปวัดเลย เช่น ในเมืองไทยตอนน้ีผู้ล้ีภัยเป็นอย่างไร เราก็จะเรียงเลย เราจะเอา สิทธิผู้ล้ีภัยตามปฏิญญาอะไรต่อมิอะไรมาวัดเลย เอามาเป็นมาตรวัดและตีออกมาเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน เมืองไทย ปุ๊บ หรือสมมุติว่าเป็นเร่ือง แรงงานข้ามชาติในทางสิทธิมนุษยชน ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ คุณมีสิทธิ์อะไรบ้าง ใครมีปัญหากับใคร เราก็จะไปเอาแนวคิดเร่ืองทฤษฎีเหล่าน้ีมาคาดวัดด้วย ส่วนใหญ่ งานวิจัยกฎหมายมักจะเป็นแบบนี้ คือพอเจอทฤษฎีปุ๊บก็จะเอาทฤษฎีนั้นมาเป็นไม้บรรทัดวัด เพ่ือที่จะบอกว่า ของเราใช่ ไมใ่ ช่ ถูกไม่ถกู เหมาะสมไมเ่ หมาะสม คือเอาบรรทัดฐานทฤษฎมี าวดั ซง่ึ เป็นประโยชน์ไหม ก็พอเป็น ประโยชน์อยู่ คืออย่างน้อยก็ทาให้เห็นว่า ไอ้กฎหมายในสถานการณ์บ้านเรา หรือหลักการกฎหมายระหว่าง ประเทศ หลกั การทางกฎหมายอน่ื เอามาวดั น่ีมนั โอเคหรือไมโ่ อเค มันกพ็ อจะโอเคอยู่ แต่มองในอีกแง่หนึ่งคือ นอกจากการบอกว่ามันใช่หรือไม่ใช่แล้ว ถ้าถามผม คาถามคือ ทาไมถึงเป็น แบบน้ัน คือมันควรต้องมีความเข้าใจอะไรเพิ่มมากข้ึน เพราะฉะนั้น ส่ิงหนึ่งที่ผมเห็นคล้ายๆ เป็นช่องโหว่ท่ีทา ให้เรามักจะมปี ัญหาก็คือคลา้ ยๆ กับวา่ เรามีระเบยี บวา่ นักศึกษาจะต้องแตง่ กายแบบนี้ เรากเ็ อาระเบยี บมาเป็น มาตรวัดนักศึกษา หรือนักเรียน แล้วก็บอกว่านักเรียนแต่งกายผิดระเบียบ แบบน้ี แต่คาถามมันมีอยู่ว่า ทาไม เขาถึงแต่งกายผิดระเบียบแบบน้ัน หรือมากกว่านั้นคือ การแต่งกายผิดระเบียบนั้นส่งผลกระทบต่อการเรียน ของเขาหรือเปล่า คือ มนั ไมท่ าให้เราเขา้ ใจอะไรมากขึ้น เราเขา้ ใจเพียงแคว่ า่ เขาไม่ทาตามระเบียบ แต่ไมร่ ู้อื่นๆ มากกว่านั้น เพราะฉะน้ันผมคิดว่าการใช้แนวคิดทฤษฎีกฎหมายแบบน้มี ันมักจะผิดพลาดในปรากฎการณ์ที่เรา ต้องการศกึ ษานะครบั 3. มุง่ เน้นคาตอบทเี่ ปน็ รปู ธรรม อนั ท่สี าม อนั ที่สามน่เี ป็นเรื่องเวลามาวิจยั ทางกฎหมายแลว้ จะยุ่งยากนิดหน่อย คือการวิจัยกฎหมายที่ เรียกว่าเป็นแบบจารีตนิยมเนี่ย มักจะมุ่งเน้นคาตอบที่เป็นรูปธรรม มักจะเป็นการวิจัยเชิงรุก เวลาทาวิจัยทาง กฎหมายเน่ีย ส่วนใหญ่มักจะต้องมีคาตอบท่ีเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นคือ ถ้าเคยทาวิจัยมา พอบทท้ายของ งานวิจัยมักจะกาหนดให้มี “Recommendation” มีข้อหน่ึงให้เขียนอธิบายมา มีข้อเสนอแนะให้แก้กฎหมาย ข้อเสนอแนะในการปรับแก้ เปลี่ยนคาว่า “หรือ” เป็น “และ” แบบนี้ คืองานวิจัยทางกฎหมายส่วนใหญ่หรือ วิทยานิพนธ์เน่ีย มักจะถูกเรียกร้องให้มีคาตอบเป็นรูปธรรม เคยมีเพื่อนผมคนหน่ึงเรียนหนังสือ ทาเร่ือง เกี่ยวกบั สิทธชิ มุ ชน อาจารย์บอกว่า “สุดทา้ ย เธอตอ้ งได้ร่าง พรบ. ป่าชุมชนฯ 1 ฉบบั ” ถามวา่ ผดิ ไหม ก็ไม่ผิด คือถ้าเป็นงานวิจัยท่ีรับเงินจากแหล่งทุนมาเน่ีย มันก็คงต้องมี “Recommendation” เป็นข้อเสนอท่ีเป็น รูปธรรมไปเสนอ อันนี้ไม่แปลกนะครับ ใครท่ีทาหรือศึกษาเรื่องสัญชาติของแรงงานต่างด้าว สถานะของ แรงงานต่างด้าวในการบริการสาธารณสุขเน่ีย พอศึกษาเสร็จ มันควรมีการย่ืนข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรมว่า คุณจะต้องทาอะไรบ้าง หนึ่งสองสามส่ี โดยส่วนใหญ่ งานวิจัยทางด้านกฎหมายนะครับ ท่ีเป็นงานแบบ

traditional เน่ีย มักจะเรียกร้องให้มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม อันนี้ถ้าเกิดใครมีเวลา ลองไปนั่งอ่านวิทยานิพนธ์ ผมคิดว่านั่นคือลักษณะเด่นสามอย่าง ให้ความสาคัญกับกฎหมายเป็นทางการ หรือถ้าเกิดใครทาวิทยานิพนธ์ มาแลว้ หรือกาลังทาวิทยานิพนธ์ก็ได้ เราก็สตาร์ทกฎหมายทเ่ี ปน็ ทางการนะครบั ศกึ ษากฎหมายเป็นทางการใช่ ไหมครับ ลองนึกถึงวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ของเราก็จะทาเร่ืองกฎหมายที่เป็นทางการ แนวคิดทฤษฎีที่มีน้าหนัก ในทางกฎหมาย และเรากม็ ขี อ้ เสนอสดุ ทา้ ย อย่างเรื่องช้าง เราจะทายังไงควาญช้าง หรือวา่ เจาะดีเอน็ เอเลย ฝัง ชิพเลย เมื่อช้างถูกลักไปขายง่าย ก็ต้องฝังชิพกับช้าง คือมันต้องมีข้อเสนอแบบน้ี อันนี้ เป็นลักษณะงานวิจัย ทางกฎหมายท่เี รยี กว่า traditional อนั นีท้ เ่ี มืองไทยกาลังทากันอยู่ ทีนี้ งานวิจัยกฎหมายทางเลือกเน่ีย ทานองว่าใช้มุมมองทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์มามอง ผมคิด ว่างานวิจัยท่ีเมื่อก้ีพูดไปสาคัญไหม มันก็สาคัญนะครับ แต่ว่ามันมีปัญหาจานวนมากขึ้น ซึ่งเราจะหาคาตอบ ไม่ได้ ถา้ เราใช้ทฤษฎที างกฎหมายแต่เพียงอยา่ งเดียว อยา่ งเช่น เราเรียนกฎหมายมหาชน หลักของรฐั ธรรมนูญ ข้อหน่งึ ทส่ี าคญั คือ “รฐั ธรรมนูญเป็นกฎหมายสงู สดุ ” อันนเี้ ปน็ หลกั การนะครับ รัฐธรรมนญู เปน็ กฎหมายสูงสุด เพราะฉะน้ันเราถึงต้องมีการจัดโครงสร้างเพ่ือให้รัฐธรรมนูญมีผลเป็นกฎหมายสูงสุด มีศาลรัฐธรรมนูญ มีการ ตรวจสอบความชอบดว้ ยกฎหมาย มีอะไรเยอะแยะไปหมด เพราะรัฐธรรมนูญเปน็ กฎหมายสงู สดุ แต่คาถามใน เมืองไทยคือ จริงหรือ? อันนี้อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เขียนบทความชน้ิ หนง่ึ บอกว่า ไอ้ท่ีบอกว่ารัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสงู สุด มนั เปน็ การคดิ ตามฝร่ัง ลองอ่าน “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ขึ้นประโยคแรกคือ “ท่ีบอกว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ก็จาจากข้ีปากฝรั่งมา” ตลกดีนะ ประเทศไทยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด นะ มันหมายความว่าแบบนี้ครับ พอเราเรียนทฤษฎีทางกฎหมายเน่ยี สิ่งที่เราเห็นคือ ทฤษฎีทางกฎหมายและ ความเป็นจริงในสังคมไทยน้ันมันไปคนละทางกันอย่างสน้ิ เชิง ไม่รู้จะบอกยังไง ถ้าบอกเพียงแต่ว่า รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด เกิดมีเด็กมาถามว่า “อาจารย์ ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดแล้วทาไมฉีกกันจังเลย” แล้วเราจะตอบยังไง? ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดจริงแล้วคนฉีกทาไมไม่ถูกลงโทษล่ะ ใช่ไหม แต่เราฝ่า ฝืนอะไร เราฝ่าฝืนกฎกระทรวง กฎอะไรต่างๆ เราถูกลงโทษ แต่คนฉีกรัฐธรรมนูญไม่ถูกลงโทษ ไอ้การเรียน แบบนี้ การเรียนแต่ทฤษฎีกฎหมายแบบนี้มันเป็นปัญหา มันไม่สามารถตอบความเป็นจริงท่ีเกิดข้ึนในสังคมแต่ ละแหง่ ได้ ทฤษฎีสาคัญไหม สาคัญนะครับ เราต้องทาความเข้าใจว่าทาไมทฤษฎีเหล่าน้ีถึงเกิดขึ้น ทาไมมันถึง กลายเป็นกฎหมายสูงสุด มีกลไกอย่างไรบ้าง แต่ว่า เราใช้มันมาทาบวัดอย่างเดียวไม่ได้ อันนี้ผมคิดว่ามันเป็น ขอ้ แตกตา่ งที่ทาใหเ้ วลาคิดถึงงานวจิ ัยแบบเดมิ มนั ถึงมขี ้อจากดั อยูม่ ากนะครับ ไอ้ประโยคที่สองท่ีผมจะอ่านนี่เป็นข้อวิจารย์ของหมอประเวศ ข้อวิจารณ์ของคุณหมออันแรกนะครับ ในแรกในทางประวตั ศิ าสตร์ อนั ทส่ี องนะครับ ขอ้ วจิ ารณ์ของคณุ หมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ไมร่ ูใ้ ครต้ังให้

นะครบั ราษฎรอาวโุ สเนี่ย แกก็วจิ ารณ์ว่าการศึกษากฎหมายนี่ดาทะมนึ แคด่ าอย่างเดียวยงั ไม่ใชน่ ะ ดาทะมนึ มี ปัญหาเยอะมาก อันนี้เป็นข้อวิจารณ์นะครับ ด้วยเหตุผลผมคิดว่าเป็นแบบนี้นะ มันทาให้เราเห็นว่าการวิจัย กฎหมายแบบที่เรียกว่าจารีตเน่ีย มันเป็นปัญหา มันมีคาถามจานวนมากท่ีไม่ถูกตอบ อย่างเช่น เราสอนให้คน ทาตามกฎหมาย แต่คาถามคือ มีคนจานวนมากไม่ทาตามกฎหมาย เราจะตอบยังไง ทาไมคนจานวนมากไม่ทา ตามกฎหมาย มีงานลูกศิษย์ผมทาเร่ืองท่ีดิน สปก. เราน่าจะรู้นะครับว่ามันขายไม่ได้ ตกทอดให้แก่ทายาทได้ อย่างเดียว ลูกศิษย์ผมก็ลงเก็บข้อมูลท่ีอาเภอแม่แตง ไปในพ้ืนท่ีท่ีเขาประกาศแจกที่ดิน สปก. พบว่าชาวบ้าน ส่วนใหญ่ซ้ือขายท่ีดินไหมครับ สปก. ซ้ือขายนะ ชาวบ้านรู้ไหมว่ากฎหมายห้าม รู้ครับ แต่ชาวบ้านก็ยังทาอยู่ ทาไมชาวบา้ นถึงทาอย่างนน้ั ไม่รูห้ รอื วา่ มนั ผดิ กฎหมาย รู้ แต่ก็ยังทา ไอ้นแี่ หละ หากเราใชแ้ ต่กฎหมายภาครัฐ มาบงั คับเพยี งอย่างเดียว มนั ก็จะออกมาเป็น ห้ามขาย แต่ในความเป็นจริง ในโลกน้ี ชาวบ้านขายครับ แต่ว่าพ้ืนที่ที่นักศึกษาคนน้ีไปทาเน่ีย เค้ารู้ว่าเวลาขาย ก็ไม่ได้ขายสะเปะสะปะนะครับ เช่น เขาจะเร่ิมต้นจากการขายเครือญาติก่อน หมายความว่าเวลาขายเขาก็ ไม่ไดไ้ ปปกั ปา้ ยขายหรืออะไร กข็ ายให้เครอื ญาติก่อน คอื เขาอาจจะซ้ือกลบั คนื ก็ได้ถ้าขายให้เครือญาติ ถ้าขาย คนอื่นเอากลับคืนไม่ได้ แบบนี้ ผมคิดว่าเป็นการทาความเข้าใจกฎหมาย แต่ไม่ใช่แบบหนึ่งบวกสอง ไม่ได้มอง ในมมุ ผใู้ ช้บงั คบั กฎหมาย แต่เป็นการมองในมมุ ของผูท้ ถ่ี กู กฎหมายบังคับ ที่ผ่านมาเวลาเราเรียนกฎหมาย ส่วนใหญ่เราจะเรียนกฎหมาย เราก็จะเรียนว่ากฎหมายเป็นยังไง คน ตัดสินตัดสินเป็นอย่างไร ในขณะที่เราไม่เคยสนใจเลยถึงคนอีกฝ่ัง นี่คือตัวอย่างงานที่ผมคิดว่า การวิจัย กฎหมายท่ีเปล่ียนจุดยืน เป็นการศึกษาที่ผมคิดว่าสาคัญมากนะครับ หมายความว่าแทนท่ีเราจะศึกษาจากผู้มี อานาจ เราก็เปลี่ยนจดุ หรอื ย้ายจุด ซ่งึ ผมคดิ วา่ นสี่ าคญั นะครบั เพราะมนั จะทาให้เราเห็นกฎหมายท่ีตา่ งไปจาก เดิม เพราะฉะนั้นการย้ายจุด หรือการย้ายจุดยืนเน่ีย บางทีมันก็อาจจะยาก เพราะว่านักกฎหมายส่วนใหญ่ มักจะยนื จับคทู่ างดา้ นรัฐและยืนอยกู่ ับตัวบทกฎหมาย เพราะฉะนั้นเวลาจะย้ายจุดยืน จึงตอ้ งเปิดรับ จิตใจเปิด กว้างเปิดรับอะไรต่อมิอะไรถึงทาให้เราย้ายจุดยืนได้ และพอเราย้ายจุดยืนได้ มันก็จะทาให้เราเห็นโลกท่ี เปล่ียนไปมากข้ึน เพราะฉะนั้น จากท่ีผมพูดมาตอนแรก พยายามอย่ายึดติดกับความจริงทางกฎหมาย คือถ้า เราไม่ยึดติดว่ามันเป็นความจริงเน่ีย เราก็จะย้ายมุมมองของเราง่ายข้ึน พอเราย้ายมุมมอง งานวิจัยของเราจะ เปดิ ขน้ึ การวจิ ยั กฎหมายทางเลือก ทนี ้ี งานวจิ ัยทไี่ ม่ใช่แบบ traditional หรืองานวิจัยกระแสหลักเนยี่ มนั เป็นยงั ไงบ้าง คือแบบน้ีครบั งานวิจัยทางดา้ นสงั คมศาสตร์

งานวิจยั ทางกฎหมายทใี่ ช้แนวคดิ ทางสงั คมศาสตร์มนษุ ย์ศาสตร์ เร่มิ ตน้ ด้วยการใชแ้ นวคิด มุมมองทาง สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ เข้ามาเป็นเคร่ืองมือในการมอง คือถ้าเกิดเราใช้เคร่ืองมือในการมองท่ีกวา้ งข้ึน เรา มีเครื่องมือการมองท่ีมากขึ้น มันจะทาให้เราเห็นโลกท่ีเปลี่ยนไป คือ หากเราพูดว่าทฤษฎีคล้ายๆ กับแว่น เรา มองโลกด้วยแว่นสีอะไร ถ้าเรามองโลกด้วยแว่นของชาตินิยม มองทุกคนแบบชาตินิยม เราก็จะเห็น น่ันคือคน พมา่ ถา้ เรามองโลกดว้ ยแว่นของสิทธิมนุษยชน นัน่ คือคน ข้ึนอยู่กับวา่ เรามองด้วยแวน่ แบบไหน จริงๆ แนวคิด ทฤษฎีมันก็คล้ายๆ กัน เรามองมันได้หมด ถ้าเรามีแว่นอยู่อันเดียว และแว่นของเราเป็นแวน่ อะไรล่ะ กฎหมาย นิยม เวลามองอะไรก็มองผ่านกฎหมายนิยม มันก็จะเห็นอยู่แค่นี้ เห็นแต่ฝ่ังเดียว แต่ถ้าเรามองโลกด้วยแว่น หลายๆ แบบ เรากจ็ ะเหน็ อะไรท่มี ากขึ้น กว้างขวางขึ้น ผัวตบเมีย ถ้าเรามองโลกด้วยแว่นแบบหน่ึง เป็นอย่างไรครับ ผัวตบเมีย ส่วนหนึ่งก็ยอมรับกันว่าได้ เคยมีคาพิพากษาฎีกา ผัวซ้อมเมีย ซ้อมอยู่เรื่อยๆ ซ้อมเรื่อยๆ ก็ซ้อม เมียก็ว่ิงหนี พอว่ิงหนีผัวก็ตามไปจะเตะ เมียก็หยิบมีดมาแทงฟุบลงไปทีเดียว ตายคาที่เลย แล้วเร่ืองมันเป็นอย่างนี้ ศาลวินิจฉัยว่า ที่ผัวซ้อมเมียเนี่ย การกระทาทีส่ ามกี ระทาตอ่ ภรรยากเ็ ปน็ การกระทาไม่ใช่ครั้งแรก และคิดว่าการกระทาครั้งนไ้ี มร่ นุ แรงกว่าท่ีเคย เป็นมา การท่ีภรรยาป้องกันตัวด้วยการใช้มีดจึงถือว่าเป็นการป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ หมายความว่าไง น่ีไม่ได้ โดนเตะครัง้ แรก เมื่อไมไ่ ดโ้ ดนเตะครั้งแรกเป็นไงครบั กแ็ ปลวา่ มันก็ไม่ได้แรงเกนิ กว่าท่ีเคยเปน็ มาหรอก เพราะ อย่างนั้นจงึ ผิดทเี่ มยี หยบิ มดี เร็วไป คราวน้ีมองด้วยแว่นใหม่ สตรีนิยม คือจะซ้อมเมียไม่ว่าครั้งแรกหรือครั้งไหนมันก็เป็นส่ิงท่ีไม่ควรทา อันนี้แหละครับ เหตุการณ์ เรามองด้วยแว่นแบบไหน ถ้าเรามีแว่นท่ีหลากหลายก็จะทาให้เราเห็นอะไรต่อมิ อะไรไดก้ ว้างขวางขึน้ เพราะฉะน้นั แนวคิดทฤษฎมี ันถงึ สาคญั แบบนี้ล่ะครบั ชาวเขาในพืน้ ทป่ี า่ เปน็ ยังไง อาจจะ เป็นพวกทาไร่เลื่อนลอย น่ีเป็นพวกรักษาป่า หรือนี่เป็นพวกทาลายป่า เวลาเรามองไปปุ๊บเราก็มีแว่นหลายอัน เพราะฉะน้ันแนวคิดทฤษฎีจึงเป็นแบบนี้ ส่ิงที่เรียกว่างานวิจัยทางกฎหมายในทางสังคมศาสตร์ ใช้แนวคิด ทฤษฎีท่มี ันกว้างขวางมากขน้ึ อันนเ้ี ปน็ ตวั อย่างที่ผมลองยกมานะครบั งานวจิ ัยแนวสตรนี ิยม งานวิจัยแบบสตรีนิยม แนวคิดแบบนิติศาสตร์แนวสตรีนิยม เป็นแนวคิดหรือมุมมองกฎหมายท่ีมอง จากสายตาประสบการณ์ โลกของผู้หญิง นักเรียนกฎหมายส่วนใหญ่ของไทยนะครับ นักเรียนกฎหมาย เราไม่ เคยถูกสอนให้มองเห็นความไม่เป็นกลางทางเพศในกฎหมาย เวลาเราสอนกฏหมายนะครับ ชายหญิงสิทธิเท่า เทียมกัน แต่ว่าสตรีนิยมจะชวนเรามองเห็นความไม่เป็นกลางทางเพศ แนวคิดสตรีนิยมก็จะคิดแบบน้ีครับ นิติ เศรษฐศาสตร์ Law and Economics ในอเมริกาใช้กันเยอะ ในเมืองไทยแปลว่านิติเศรษฐศาสตร์ อันนี้เป็น ความพยายามท่ีจะใช้เร่ืองทางเศรษฐศาสตร์มาใช้วิเคราะห์กฎหมาย ในเมืองไทยมีคนทานิติเศรษฐศาสตร์ไม่ เยอะ คนท่ีทาเป็นหลักก็คือ สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้ก่อต้ัง TDRI ใครสนใจลองหาอ่านได้ เขาทาวิจัยเร่ือง

ต้นทุนการทาคดีอาญา อาจารย์สมเกียรติท่านใช้แนวทางการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เพ่ือดูว่าคดีอาญา ต้นทุนมันสักเท่าไหร่ ตั้งแต่เร่ิมดาเนินการ ฟ้องตารวจ ตารวจมีเงินเดือน เงินที่เราจ่ายตารวจ อัยการ คดีเนี่ย มันมีต้นทุนเท่าไหร่ เป็นคดีท่ีใช้ทรัพยากรมากน้อยขนาดไหน เพราะฉะน้ันก็นาไปสู่คาถามว่า เราควรทาให้คดี ทกุ คดเี ปน็ ความผิดอาญาตอ่ แผน่ ดนิ รึเปลา่ อนั นกี้ ็เป็นอีกงานวิจัยหนึ่ง ในเมืองไทย งานวจิ ยั แบบนิตเิ ศษรศาสตร์ยังไม่ถกู พดู ถึงมาก อันน้เี ข้าใจได้ เพราะนกั เรยี นกฎหมายเรา ส่วนมากเกง่ เลข นะครับ เกง่ เลข เอาใหม่ นักศึกษากฎหมายส่วนใหญ่กจ็ ะไม่เก่งเลข อที นี ้นี ติ เิ ศรษฐศาสตร์เน่ีย มันตอ้ งอาศัยทักษะท้ังสองด้าน ทัง้ ทางดา้ นกฎหมายและทางด้านคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จริงๆ เรอ่ื งน้ีเป็น เรื่องน่าสนใจ ผมเคยไปฟังเขาเถียงกัน เช่น เขาเถียงเรื่อง ความยุติธรรม นักกฎหมายและนักเศรษฐศาสตรจ์ ะ เถียงกันคนละแบบ นักเศรษฐศาสตร์จะพูดถึงความมีประสิทธิภาพ หมายความว่าเวลาลงโทษคน ต้องลงโทษ ให้เพียงพอท่ีเขาจะไม่กระทาความผิดอีก ต้องมีความชัดเจน แต่ความยุติธรรมของนักกฎหมายเป็นยังไง ความ ยุติธรรมของนักกฎหมายมันก็มึนๆ งงๆ อันนี้ไม่รู้นะครับ นิติเศรษฐศาสตร์เนี่ยผมว่าน่าสนใจนะครับ ผมอ่าน แนวคิดอ่านทฤษฎีมาบางอย่าง กฎหมายเชิงประวัติศาสตร์ การอธิบายกฎหมายเชิงประวัติศาสตร์ อันน้ีก็เป็น วิธีการอธิบายกฎหมายแบบหน่ึง เป็นแนวทางในการศึกษากฎหมายแบบหนึ่งซึ่งถามผมว่าจาเป็นไหม ผมว่า จาเป็นนะครับ จาเป็นมาก ถ้าเกิดใครกาลังทาวิจัยหรือวิทยานิพนธ์เน่ีย สิ่งท่ีเราจะเห็นไม่ว่าจะทาเร่ืองอะไรก็ ตาม เช่น การจับกุม การจับกุมแบบผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่เร่ิมต้นก็จะรีววิ กันว่า ประเทศไทยมีกฎหมายจับกมุ ในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร อยุธยาเป็นอย่างไร รัตนโกสินทร์เป็นอย่างไร สมมุติทาเร่ืองภาษี สุโขไทยเป็น อยา่ งไร อยธุ ยาเป็นอย่างไร รตั นโกสนิ ทรเ์ ปน็ อยา่ งไร มลี ูกศิษย์ผมนแี่ หละ ทาเรื่องกฎหมายแรงงาน ทาสมัยสโุ ขทัย กอ็ ้างอิงศิลาจารึกว่ามีกฎหมายแรงงาน ว่ามีข้อความเก่ียวกับเรื่องแรงงานอย่างไร อันนี้แหละครับ เป็นความไม่เข้าใจคอนเซปต์เร่ืองแรงงาน แรงงาน เปน็ ส่งิ ที่เป็นปรากฎการณ์ในสงั คมอุตสาหกรรม สโุ ขทัยจะไปมแี รงงานได้ไงมันมีแต่ไพร่กับทาส คอื หมายความ ว่าพอไม่มีคอนเซปต์ไม่มีแนวคิดปุ๊บก็ อ้อ กฎหมายแรงงานมีต้ังแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ แล้ว ยังมีตาราของนักกฎหมายแรงงานบางท่านท่ีมีเรื่องน้ีด้วย คล้ายๆ กัน กฎหมายแรงงานมีต้ังแต่สมัยอยุธยา สุโขทัย เหรอ? แรงงานเนี่ยหมายความว่า คนที่มีชีวิตอยู่ โดยการใช้แรงกายทางานแลกกับเงินทองมานะครับ ในสังคมไทยเร่ือยมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์เนี่ย เราไม่มี เรามีไพร่กับทาส แรงงานที่เป็นแรงงานเสรี เพ่ิงมา เกดิ ขึน้ หลังรัชกาลทห่ี า้ แรงงานส่วนใหญ่คอื แรงงานจีน คนจีนเขาก็มีแรงงานอิสระ แบบนี้แหละ ผมคิดว่าความเข้าใจกฎหมายในเชิงประวัติศาสตร์เนี่ย นักกฎหมายเรามีปัญหามาก มันถึง เกิดปรากฎการณ์ที่ผมเรียกว่างงงันมาก คือถ้าเกิดใครมีความรู้หรือศึกษาประวัติศาสตร์นะ เราจะพบว่านัก กฎหมายไทยอธบิ ายไดเ้ มามันมาก เช่น เสนยี ์ ปราโมช ปรมาจารยข์ องเราบอกวา่ ศิลาจารึก คอื Magna Carta ของสังคมไทย Magna Carta คือพวกขุนนางบังคับให้ราษฎรต้องจัดสัญญาว่าจะไม่ทานั่นทาน่ี จะเคารพ

กฎหมาย ให้ราษฎรยอมรับ คือให้ราษฎรเซ็นมา แล้วบอกว่าจะต้องทาอะไรไม่ทาอะไร เสนีย์ ปราโมชทา อยา่ งไร อา่ นศิลาจารกึ แลว้ บอกว่าน่ไี ง ของเราเก่ากวา่ นี่คือศลิ าจารกึ นีค่ อื Magna Carta ของเรา อันนี้เห็นได้ ชัดว่าไม่เข้าใจพื้นฐานสังคม อันน้ีไม่ว่านะครับว่าศิลาจารึกเป็นของจริงไม่จริง อันนี้ไม่เถียง แต่ว่าศิลาจารึกมนั เป็นคล้ายๆ คาประกาศของผู้ปกครอง แต่ Magna Carta มันเป็นการประกาศอานาจของผู้ปกครอง ถ้าจะไป อ่านเปรียบเทยี บต้องดอู ันน้ีครับ คาภีร์พระธรรมศาสตร์ คือรฐั ธรรมนูญ เมื่อกน้ี ่ีท่านเสนีย์ ปราโมชนะครับ มาต่อท่ีวิชา มหาคุณ ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ บอกว่า คาภีร์พระธรรมศาสตร์คือรัฐธรรมนูญ ของสังคมไทย รัฐธรรมนูญในสังคมสมัยใหม่เกิดจากอานาจรัฐนะครับ แต่คาภีร์พระธรรมศาสตร์คืออะไร รัฐธรรมนูญคือการบอกการแบ่งแยกอานาจรัฐตามหน่วยงานของรัฐ อันนี้บ่งบอกว่าถ้าเราไม่เข้าใจกฎหมายใน มิติเชิงประวัติศาสตร์ สิ่งท่ีจะเกิดขึ้นคือประวัติการณ์จับแพะชนแกะ เหมือนแรงงาน สมัยก่อนมีคาว่าแรงงาน ไหม มีแรงงาน มีกรรมสิทธ์ิ มีอะไรล่ะ เคยมีคนอธิบายหลักศิลาจารึกมาก่อนนะครับวา่ ค้าขายเสรีนะครับ เจ้า เมืองบ่เอาจังกอบ อะไรทานองนั้น เราก็สามารถสรุปได้ว่าสมัยก่อน คนไทยสามารถค้าขายได้อย่างเสรีอะไร แบบน้ี อันน้ีผมคิดว่าเป็นปัญหามาก เพราะฉะน้ันผมคิดว่าการทาความเข้าใจประวัติศาสตร์ มีความสาคัญนะ ครับ ความเข้าใจประวัติศาสตร์ในท่ีน่ีไม่ใช่การไปนั่งท่อง พ.ศ. นะครับ เพราะมันจะทาให้เราเข้าใจกฎหมาย นั้นๆ อย่างหนักแน่นมากข้ึน อย่างเช่นเร่ืองแรงงานเนี่ย ยังไงผมก็ยืนยันว่าสมัยสุโขทัยยังไม่มีแรงงานแน่ๆ เพราะมนั ยงั ไม่มแี รงงานเกิดขน้ึ เรามีแต่ไพร่ ทาส อนั นแ้ี หละทเี่ ราเรียกวา่ การใช้ การวิจัยกฎหมายในเชิงประวัติศาสตร์ ในเมืองไทย การวิจัยกฎหมายเชิงประวัติศาสตร์นี่ ผมคิดว่านี่ คือช่วงยุคตกต่า หมายความว่านักกฎหมายไม่สนใจประวัติศาสตร์ งานเชิงประวัติศาสตร์กฎหมายที่มีคนยก ย่องว่าดีทีส่ ุดนีเ่ ปน็ งานของอาจารยช์ าญวิทย์ยกย่องว่าดีที่สุด สมัยกอ่ นโนน่ สมยั มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์และ การเมอื งแล้วนะครับ ต่อมามีใครศกึ ษาเป็นล่าเปน็ สันเปน็ ชิ้นเป็นอนั บา้ งไหม กม็ ี แตก่ ็ตา่ งจากลอย อังคาร เปน็ งานวิจัยอีกแบบซึ่งไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ งานวิจัยกฎหมายเชิงประวัติศาสตร์ในสังคมไทยค่อนข้างแห้งแล้ง นักกฎหมายไม่ค่อยสนใจประวัตศิ าสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็ไม่ค่อยสนใจกฎหมาย งานที่ผมพูดไปส่วนหนงึ่ คือนักประวัติศาสตร์สนใจเอากฎหมายเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ถามว่ามีไหม มันก็มี แต่มันเป็นงานของ ฝร่ัง เพราะฉะน้ันผมคิดว่างานวิจัยกฎหมายเชิงประวัติศาสตร์จึงมีพื้นที่เหลือให้ทาเยอะมาก เช่นท่ีผมไปเสนอ ให้ลูกศิษย์ทา อย่างระยะความเปล่ียนผ่านของกฎหมายท้องถิ่นมาเป็นกฎหมายสมัยใหม่ ว่าไม่ได้มาอย่าง ราบร่ืน กฎหมายของสยามไม่ได้ประกาศชัยตามหัวเมืองแต่อย่างใด หลังรัชกาลท่ี 5 ถึงมีผลบังคับใช้ ระหว่าง น้ัน เจ้าเมืองจะใช้กฎหมายส่วนกลางไหม หรือไม่ยอม ต่อสู้ พวกน้ีเป็นการเปล่ียนแปลงทางกฎหมายที่มีคน สนใจนอ้ ยมาก เพราะฉะนน้ั ผมถึงคดิ วา่ มันมีพื้นทเ่ี ต็มไปหมด การวจิ ัยกฎหมายเชิงประวัติศาสตร์เนี่ย จริงๆ ผมกห็ ากนิ กับหัวข้อน้ีมาพอสมควรนะครับ และกห็ ากิน กับหัวข้อน้ีอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่ค่อยมีคนทาเท่าไหร่ ช่วงหลังๆ ก็มีทามากขึ้นนะครับ เนื่องจากคณะนิติศาสตร์

เราก็พยายามผลักดนั ให้หลายๆ คนไปเรยี นทางด้านประวัติศาสตร์ เพราะเราคิดว่าจะมเี คร่ืองมือในการมองที่ดี มากข้ึน แนวคิดทางมนุษยวิทยาทางกฎหมาย อันน้ีเป็นหัวข้อที่เร่ิมมีมากขึ้น ง่ายๆ มันคือการมองกฎหมาย แบบสามัญชน แทนที่จะมองกฎหมายจากการตีความของผู้เชี่ยวชาญ ก็มองกฎหมายแบบสามัญชนแทน เป็น การมองกฎหมายในชีวิตประจาวนั แทน ผ้คู นมองกฎหมายกับชีวิตประจาวันอย่างไร ปฏบิ ตั ติ ่อกฎหมายอย่างไร กฎหมายมสี ่วนมีอทิ ธพิ ลต่อชีวิตเขามากน้อยขนาดไหน ซงึ่ น่ีกเ็ ปน็ สงิ่ ทผ่ี มจะพดู ในรายละเอียดนะครับ คอื เรอ่ื งพวกนี้มันมเี ยอะกว่านนี้ ะครับ แนวคดิ ทางสังคมศาสตร์ มนษุ ยศาสตร์มีเยอะกว่านเี้ ยอะ แตใ่ น เมืองไทย เท่าท่ีผมเห็นว่ามีความพยายามท่ีจะทางานทางด้านนี้อย่างเรื่องใหญ่ๆ ท่ีมีคนพยายามจะเอามาใช้ เพราะฉะนั้นนกี่ เ็ ป็นแนวทางหรือมมุ มองท่ีเรามองแล้วจะนาไปใช้ประโยชน์อะไรไดบ้ ้าง แตย่ า้ นะครับวา่ มันยังมี แนวคิดอ่ืนอีกเป็นจานวนมาก ท่ีเป็นแนวคิด ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์นะครับ อันนี้เป็นส่วนหน่ึง เท่าน้ันนะครบั ขอ้ สังเกตบางประการ เรามแี นวคิดเยอะแยะเต็มไปหมด อนั นเี้ ป็นแนวคดิ ใหม่ๆ ทเ่ี รยี กว่า Critical Race Theory อนั น้ีผม แปลว่า ทฤษฎีแบบชาตพิ ันธุว์ ิพากษ์ อันน้เี ป็นการมองกฎหมายในสายตาของกลุ่มชาติพันธ์ุที่ถูกกดขี่ในแต่ละ สังคม หลักๆ มาจากอเมริกา มีท่ีมาจากคนผิวดา ท่ีเขาพยายามศึกษาว่าเขาถูกกฎหมายเอาเปรียบอย่างไร ถูก กดขี่อย่างไรประมาณน้ีนะครับ อันน้ีงานในอเมริกาจะมีเยอะ critical race theory นะครับ จริงๆ ผมมีงาน เป็นภาษาอังกฤษนะ ใครสนใจก็เชิญนะครับ เราไม่มีคนผิวดาก็จริง แต่ก็สามารถปรับใช้ได้กับกลุ่มคนท่ีอยู่ใน สถานะชนั้ ลา่ งของสงั คม เชน่ ถ้าทางเหนือกจ็ ะเป็นชาวเขา กลมุ่ ชาติพนั ธุ์ ภาคใต้ก็ชาวเล คนกลมุ่ ต่างๆ เหลา่ น้ี ระบบกฎหมายส่วนใหญ่มนั เป็นระบบกฎหมายท่ีออกแบบมาสาหรับชนชน้ั กลาง ผมู้ ีการศึกษา ผ้ทู ีส่ ่วนใหญ่จะ เข้าถึงมันได้ แต่ว่าถ้าเรามองจากสายตาของคนท่ีไม่ได้อยู่ในมาตรฐาน critical race theory เนี่ย ผมว่า นา่ สนใจ นเ่ี ป็นงานท่ที าได้ ใชไ่ หมครบั ผู้เขา้ รว่ มแสดงความคิดเหน็ : ขอถามเร่ืองท่ีชาวเลโดนน่ะค่ะ เช่นเร่ืองท่ีดิน ข้อขัดแย้งท่ีทุกคนพอจะทราบระหว่างชาวเลกับ บริษัทเอกชน ซ่ึงชาวเลไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ซึ่งจากการลงพ้ืนท่ี รู้สึกว่า ต่างคนก็ต่างอ้าง ชาวเลก็อ้างสิทธิ์ท่ี อยู่มาก่อน อีกฝั่งก็อ้างเร่ืองกรรมสิทธ์ิโดยชอบอย่างนี้ เราควรจะทาอย่างไรดี คาส่ังศาลตามท่ีเคยดูข่าวนะคะ บริษัทเอารถไปทาร้าย ไม่เชิงทาร้ายชาวบ้าน แต่ชาวบ้านได้รับผลกระทบ จึงควรได้รับความช่วยเหลืออย่าง ด่วน แต่ตอนน้ีจะทาอย่างไรยังไม่รู้เลยค่ะ ตอนน้ีชาวเลได้รับผลกระทบอยา่ งหนัก และไม่ใช่แค่ชาวเลทางใต้ ก็ ยงั มีพวกซาไกทย่ี งั ไดร้ บั ผลกระทบเยอะมาก คนเหล่านหี้ ากเรามองเข้าไปจรงิ ๆ เขาก็เปน็ ส่วนหนง่ึ ของสังคมเรา เหมอื นกนั ซ่งึ ตอนนที้ ี่อยากจะขอคือ อยากจะขอแบ่งงานอาจารย์อ่านบ้างนะ่ ค่ะ

อ.สมชายแสดงความคิดเหน็ : ไดๆ้ ผมมีเยอะ ลกู ศษิ ย์มาของานผมอ่านเยอะ อันน้เี ราเรียกว่าเปน็ การมองกฎหมายแบบคนชายขอบ พูดกันตรงๆ หมายความว่าเรามองกฎหมายแบบคนท่ีไม่ใช่มาตรฐานหลัก คือเมื่อไหร่ก็ตามเรามองกฎหมาย ตามมาตรฐานหลักเราจะไม่ค่อยเห็นปัญหา อย่างเช่น สมมุติเราถูกจับ เราก็ประกันตัวได้ ใช้เงินประกันตัว หลักทรัพย์ประกันตัว แต่เมื่อไหร่ที่เราถอยไปจากมาตรฐานหลัก เราลองคิดถึงตอนที่เราเป็นคนโดนบ้าง เพราะฉะน้นั วิธีการกฎหมายที่เรยี กวา่ มองแบบคนชายขอบจึงทาให้เราเห็นแง่มุมอะไรเพิ่มขน้ึ ซึง่ แบบนเ้ี นี่ย ผม คิดว่างานด้านมนุษยวิทยาทางกฎหมายน่าจะเข้ามามีบทบาทให้มากขึ้น แนวคิดมันมาจากคนผิวดาท่ีพูดถึง ประเด็นคนผิวสีในอเมริกา ส่วนอนั น้เี รยี กย่อๆ วา่ TWAIL ซึง่ มนั ยอ่ มาจาก Third World Approaches to International Law ผมแปลเปน็ ไทยว่า “มองกฎหมายต่างประเทศดว้ ยสายตาของโลกทส่ี าม” Third World Approaches to International Law อันนี้มีงานของฝรั่งเยอะครับ อ่านมันมาก คือ ทุกอย่างมันหมดนะครับ จริงๆ ผมจบกฎหมายมหาชน แต่เวลาผมอ่านเรื่องพวกน้ีก็สนุกดี Third World Approaches หมายความว่า มองกฎหมายระหว่างประเทศด้วยสายตาโลกท่ีสาม อันนี้จะเป็นวิธีการมองโดย การเข้าไปอยู่ในมาตรฐานระหว่างประเทศ แต่แทนท่ีจะมองด้วยสายตาโลกท่ีหน่ึง เปลี่ยนมามองจากสายตา โลกท่ีสาม เช่น เขามองเร่ืองการจัดการทรัพยากร มองเรื่องการจัดการเรอื่ งทรัพย์สนิ ทางปัญญา แล้วเขาจะให้ คาอธิบายต่างๆ ท่ีเป็นประโยชน์ เช่น ถ้าเรามองเรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจากมุมมองโลกที่หนึ่ง ก็จะ เป็นเร่ือง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีไว้เพื่อปกป้องคุ้มครอง พอมองจากโลกที่สามข้ึนไป เราจะได้อะไรท่ี มันต่างกันเยอะมาก เพราะฉะนั้นเรื่องพวกนี้จะมีงานที่เยอะมากนะครับ มีบางคนไปวิเคราะห์เรื่องการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ วิเคราะห์โดยการตีความ เขาวิเคราะห์ว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มันไม่ได้ข้ึนอยู่แค่ตอนสงครามโลกคร้ังที่ สอง ท้ังท่ีก่อนหน้านี้ตะวันตกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุประเทศอื่นเยอะแยะไปหมด ทาไมไม่เอาผิด ก่อนหน้าเกิด สงครามโลกครั้งทีส่ อง ตะวนั ตกฆ่าล้างเผา่ พันธุ์คนอื่นเต็มไปหมด ออกมาขา้ งนอกมายึดดินแดนนั่นนี่ แต่เพ่ิงมา เป็นกฏหมายระหว่างประเทศตอนที่หลังสงครามโลกคร้ังที่สอง เขาเสนอมุมมองแบบที่เราก็ต้อง เออ ใช่ เหมอื นกัน ในเล่มน้ี คนเขียนช่ือ William A. Schabas ผมมีไฟล์อยู่ อ่านเร่ืองนี้สนุกดี คือมันจะมีวิธีการมอง กฎหมายระหว่างประเทศจากสายตาโลกท่ีสาม ผมคิดว่ามีคนทาเยอะนะครับ นักวิชาการส่วนใหญ่ท่ีผมอ่าน มักจะเป็นนักวิชาการที่อ่านชื่อแล้วรู้เลยว่ามาจากอินเดีย อินเดียมีเยอะมาก อินเดียกับลาตินอเมริกาเยอะ เพราะฉะน้ันเราจะเห็นงานพวกนีเ้ กิดขนึ้ เยอะ ผมคดิ ว่าใครทสี่ นใจกฎหมายระหว่างประเทศ ผมคิดวา่ นจ่ี ะเป็น สง่ิ หน่ึงท่จี ะชว่ ยเปิดให้เห็นใหเ้ ข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศมากข้ึน นักกฎหมายระหว่างประเทศกระแสหลัก ก็จะบอกว่า กฎหมายกาเนิดขึ้นเพื่อการดารงอยู่ร่วมกันระหว่างรัฐต่างๆ ฯลฯ ส่วนพวกน้ีจะเป็นอีกแบบหนึ่ง เลยครับ พวกนี้จะได้รับอิทธิพลแบบมาร์กซิสหรือฟาสสิสซ่ึมหน่อยๆ อันนี้ก็น่าสนใจนะครับ มันมีทฤษฎีอีก

เยอะมาก เพราะฉะนั้นมันก็อยู่ที่คนว่าเราสนใจอะไร และทฤษฎีที่มันมี เราคิดว่าจะดึงตัวไหนมาใช้ ไม่ต้องใช้ ทง้ั หมดนะครบั เวลาเราทาแตล่ ะเร่อื งก็ดูว่า เรอ่ื งนเ้ี ราน่าจะใชอ้ ันนี้ได้ แลว้ เราก็ไปหางานวิจยั ทางด้านน้ีแล้วดึง หลกั ฐาน ดึงมาอ่านเป็นแนวทางทเี่ ราจะทา มนั มอี ยเู่ ยอะมากนะครบั แตข่ นึ้ อยูก่ ับวา่ เราสนใจในเร่ืองไหน แลว้ เราก็จะเร่ิมต้นจากแนวคิดในเรื่องนั้นๆ อันน้ีไม่ใช่แนวคิดในทางกฎหมายล้วนๆ นะครับ อันนี้เป็นแนวคิดที่ เรียกว่าทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เพราะฉะน้ัน แนวคิดมีอยู่เยอะครับ นอกจากท่ียกมานี่ยังมีอีกไหม มี ยังมอี ีก แต่อันน้เี ป็นการแนะนาแบบครา่ วๆ เบ้อื งตน้ นะครบั ทีน้ี ระเบียบวิธีวิจัยมันก็จะต่างออกไปอย่างมาก อย่างดูเร่ืองเอกสารงานวิจัยแต่เพียงอย่างเดียว โดย ส่วนใหญ่นักกฎหมายจะวิจัยเอกสารแต่เพียงอย่างเดียว แต่การวิจัยกฎหมายทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะตอ้ งไปทาระเบยี บวธิ วี ิจัยทห่ี ลากหลายมากขนึ้ เพ่ิมมากขนึ้ ซึง่ อันนเ้ี นี่ยเราอาจจะไม่ค้นุ เคย เพราะฉะนั้นเราก็ ต้องเรยี นรู้เรื่องใหม่ๆ เพิม่ ขน้ึ นะครบั อยา่ งเชน่ น่ีไม่ใช่งานวิจัยทางกฎหมายแตผ่ มคดิ ว่าเปน็ ตวั อย่างหนึ่งซ่ึงอัน นี้นานแล้วนะครับ เป็นงานวิจัยท่ีเขาศึกษาเรื่อง การศึกษากระบวนการการกลายเป็นหมอนวด เป็นการศึกษา เชิงสังคมวิทยานะครับ คือเขาศึกษาว่าการกลายเป็นหมอนวดไทย คือศึกษาว่าท่ามกลางหมอนวด เขาวาง ตัวอย่างไร เขามีชีวิตอย่างไร จะศึกษาเร่ืองน้ีอย่างไร เขาก็ไม่ได้ปลอมตัวนะ เข้าไปเป็นหมอนวดเลย อันนี้เป็น การศกึ ษาทางสังคมวทิ ยาท่เี รียกว่า เข้าไปเปน็ คนใน คือเรื่องบางเร่ืองในงานวิจัยนั้นเราสอบถามได้นะครับ เราใช้แบบสอบถามได้ เช่น จะโหวตรับหรือไม่ รับรัฐธรรมนูญเราสามารถใช้แบบสอบถามนะครับ แต่เรื่องนี้มันเป็นเรื่องไม่สามารถท่ีจะสอบถามได้ มันใช้ แบบสอบถามไม่ได้ เพราะมันเป็นเร่ืองที่ บอกไม่ถูกนะ เป็นหมอนวด ทาไมถึงเป็นหมอนวด คืออาชพี หมอนวด เขาคงรู้สึกอึดอัดน่ะ อย่างที่ทาเร่ืองหมอนวดก็ไปถามคนอ่ืนๆ ว่าทาไมถึงต้องเป็น ตอบว่าจน ชอบทาไหม ไม่ ชอบ ถามว่าทาแล้วได้อะไรไหม ไม่ได้อะไรหรอก เพราะฉะน้ันส่ิงที่ดีท่ีสุดที่ศุลีมาน นฤมลทาคือ การไปเป็นคน ใน เขา้ ไปเป็นหมอนวดเลยครับ และใช้วิธีการเป็นหมอนวดในการศึกษา ผเู้ ข้าร่วมแสดงความคิดเหน็ : เคยมีงานวิจัยท่ีคล้ายๆ กัน คือการเข้าไปในกระบวนการค้าบรกิ ารทางเพศ เป็นท้ังสองฝั่งเลย คือเป็น ทั้งผู้ซื้อ ล่อซ้ือ และพบว่ามีเด็กผู้ชาย ต้ังแต่อายุเก้า ถึงสิบห้าปี แล้วก็มาเป็นผู้ขายบ้าง ก็สรุปออกมาว่า โครงสร้างของการคา้ บริการทางเพศนัน้ เปน็ อย่างไร อ.สมชายแสดงความคิดเห็น :

แต่อันน้ีไม่ได้เข้าไปเป็นผู้ขายบริการนะครับ นี่คือเข้าไปเป็นหมอนวด เขาเข้าไปเพ่ือเข้าถึงข้อมูล ถึง สภาพอะไรต่างๆ คอื วิธกี ารศึกษาแบบนี้ งานมานุษยวทิ ยาน้นั จะทาเยอะนะครบั อยา่ งเชน่ มคี นท่ธี รรมศาสตร์ ทาเร่ืองคนไร้บ้านที่สนามหลวง จะศึกษาเร่ืองคนไร้บ้านต้องทาอย่างไร ก็ต้องไปเป็นคนไร้บ้าน คือคนท่ีทานี่ ชอบเร่อื งคนไร้บ้านมาก เป็นคนญีป่ นุ่ นะครับ เปน็ รนุ่ นอ้ งทญ่ี ีป่ ุ่น ทาเรอื่ งคนไร้บ้านท่ญี ีป่ ่นุ แลว้ ก็เลยมาทาที่ไทย ต่อ ก็อยู่แบบในบ้านกล่องกระดาษ ทาอย่างน้ีมาห้าปี ก็ปลอดภัยไม่มีปัญหา นอนกล่องกระดาษมา ก็ได้ข้อมูล มา อนั นแ้ี นวทางเขานะครบั หมายความว่าถ้าเราจะทางานวิจัยออกมาสักพักมันจะมี “ทาง” ของเรา ก็จะไปตามทางนี้แหละ นัก มานษุ ยวิทยาจะชอบทาแบบนี้ คือต้องเขา้ ไปเป็นคนใน หมายความวา่ เขาจะศกึ ษาใครกต็ ้องเขา้ ใจเขาอย่างถ่อง แท้ ไม่ใช่แบบ ทาไมถึงมาเป็นหมอนวด บ้านแตกสาแหรกขาด ครอบครัวไม่อบอุ่น ยากจน อันน้ีมันเป็นวิธกี าร ตอบแบบคุณหญิงคุณนายมาตอบ วิธีการแก้ไขเป็นอย่างไร เราต้องจัดการอบรมสั่งสอนเขาให้ดี เอาพระมา เทศน์ มานุษยวิทยาจะชอบทาแบบน้ี ทีนี้ถ้าใครจะทาแบบนี้ก็ต้องเรียนรู้อะไรเยอะเลยนะครับ หมายถึงเร่ือง ระเบียบวิธีวิจัยอะไรต่างๆ นะครับ ซ่ึงอันน้ีผมจะไม่ได้พูดอะไรในรายละเอียดมาก แต่ถ้าเราจะใช้แนวคิดทาง สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ระเบียบวิธีวิจัยมันเปลี่ยนไปแล้วจากการวิจัยเอกสาร ไม่ได้บอกว่าไม่ต้องวิจัย เอกสารนะครับ ยังต้องทาอยู่ เพียงแต่ว่าเราต้องรับข้อมูลจากด้านอื่นๆ ด้วยนะครับ อันนี้เราหาอ่านได้ นี่เป็น งานตีพมิ พ์กวา้ งขวางนะครบั เปา้ หมายของงานวจิ ยั ทีนี้พูดถึงเรื่องเป้าหมายของงานวิจัยนะครับ ถ้าเทียบกับงานวิจัยท่ีเรียกว่า traditional กระแสหลัก ส่วนใหญ่งานวิจัยกฎหมายกระแสหลักมักจะต้องการคาตอบที่เป็นรูปธรรมนะครับ แต่การวิจัยกฎหมายทาง สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์จะมีข้อเสนอหรือไม่มีข้อเสนอเป็นรูปธรรมก็ไม่ใช่เร่ืองใหญ่ ผมเข้าใจว่านี่เป็น อิทธิพลแนวคิดหลังสมัยใหม่ Post – modernism นะครับ อันนี้เรื่องส้ันนิดหนึ่งนะครับ พวก Post – modernism เนย่ี จะเปน็ แนวคิดท่ีต้องการ “ร้อื สรา้ ง” หมายถงึ การรื้อสร้างความจริงท่มี ันสถาปนาอานาจอยู่ คือการทาให้ความจริงที่เราเคยช่ือมันส่ันคลอน เช่น กฎหมายเป็นกลาง กฎหมายยุติธรรม สิ่งท่ีพวก Post – modern จะมาส่ันคลอนคือ กฎหมายไม่ได้เป็นกลาง กฎหมายไม่ได้ยุติธรรม ในทางวิชาการ แนวคิดแบบนี้ มักจะเข้าไปสั่นคลอนแบบแผนของความรู้กระแสหลัก เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นแบบน้ี การวิจัยกฎหมายในทาง สงั คมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ แบบทไ่ี ดร้ ับอทิ ธิพลจากพวกนี้มาเน่ีย ถามว่าจะต้องมี Policy recommendation ไหม ตอ้ งมขี อ้ เสนอแนะท่ีเป็นรูปธรรมไหม แนวคิดแบบ Post – modernism เน่ยี จะบอกว่า งานวจิ ยั ท่ีทาให้ เราสามารถเห็นความจริงอีกด้านที่มันต่างไปจากความจริงชุดเดิม ก็ถือว่าโอเคแล้ว ไม่จาเป็นต้องมี Policy recommendation เลยนะครับ ทาให้เราเผยให้เห็น เปิดให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในแง่มุมกฎหมายท่ีต่างไปจาก เดิม กถ็ ือวา่ ใช้ได้แล้ว

ฉะน้ันภายใต้อิทธิพลแนวคิดแบบนี้ การทาวิจัยกฎหมายด้วยแนวความคิดทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ผมจึงคิดว่าตอนจบมันไม่ค่อยจะเรียกร้องว่าจะต้องมี Policy recommendation เท่าไหร่ เปิด มาแล้วแบบ เออ เร่ืองน้ีมันเขียนมาต่างจากเดิน ท้าทายความรู้แบบเดิมก็ถือว่าบรรลุผลแล้ว ดังนั้นมันจึงเป็น ปญั หานิดหน่อยนะครบั เล่าให้ฟังหนอ่ ย คือผมมลี กู ศษิ ยท์ ี่จบปริญญาโททนี่ ่ีและทาวิจัยแบบน้ี เผยใหเ้ ห็นความ จริงอีกด้านหน่ึง แล้วไปสมัครงาน ก็นะ งานที่เปิดให้เห็นความจริงอีกด้านหน่ึง ซ่ึงท้าทายต่อความคิดกระแส หลัก คือผมก็เข้าใจนะ ว่าคนที่สัมภาษณ์เขาคงทาหน้าแบบ หือ คุณพูดอะไรเน่ีย มันไม่ใช่ งานวิจัยมันต้องมี ข้อเสนอแนะที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอันนั้นก็แล้วแต่ ถ้าถามผมนะครับ งานวิจัยหลายเรื่องท่ีผมเขียนก็ไม่ได้นาไปสู่ ข้อเสนอแนะอะไรเลย ผมทาแบบ เออ เรื่องนี้ผมมีความจริงอีกด้านหน่ึงมาเสนอ ที่จะโต้กับคนอ่ืน ผมคิดว่า สาหรับงานวิจัยเชิงสังคมศาสตร์อย่างน้ีรับได้ และเช่ือว่ามันไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเลยนะครับ ไม่จาเป็นต้องมี ข้อเสนอท่เี ป็นรูปธรรมอะไรก็ได้ เพราะแนวคิดแบบนต้ี ้องการร้ือสร้างความจริงท่ีสถาปนาอานาจอยู่ ถา้ ทาได้ก็ เป็นอันใชไ้ ด้แล้ว ที่พดู มาแบบนม้ี นั กม็ ีท้ังขอ้ แตกต่างและความยงุ่ ยากนะครับ สาหรับใครที่อยากจะลองทา ทฤษฎีมีหลากหลายนะครับ อันน้ีสาคัญมากนะครับ เพราะเวลาเราอา่ น งาน เช่น ถ้าเกิดเราไปอ่านงานสตรีนิยม สตรีนิยมก็จะมีคาของเขา เพศภาวะ เพศวิถี ถ้าเราไปอ่านพวก Post – modernism ก็จะมวี าทกรรม การร้ือสร้าง พอไปอา่ นงานแนวอ่ืน มนั ก็มคี าเยอะแยะเต็มไปหมด ไปอ่านงาน มนุษยวิทยาก็จะมี การเมืองในชีวิตประจาวัน มีอะไรเยอะแยะเต็มไปหมด แล้วนักกฎหมายกระแสหลักใน เมืองไทยก็ไม่ค่อยอ่านงานทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์เท่าไหร่ พอไปเจอปุ๊บบางครั้งก็จะ เออ น่ีพูดอะไร กันเน่ีย เขียนอะไรกัน ไม่รู้เร่ืองเลย และอีกอย่าง นักกฎหมายในเมืองไทยท่ีผมพบมักจะอยู่ในแวดวงนัก กฎหมาย เวลาเถียงอะไรกับนักกฎหมายผมมักจะเถียงกับเขาไม่ได้นะครับ เช่นเวลาจะเถียงปุ๊บเขาก็ มาตรา เจด็ มาตราเจด็ วรรคสอง แลว้ ก็ตีความอยา่ งน้ี ไม่ไดน้ ะ เพราะมนั มมี าตราย่ีสิบเจ็ดวรรคแปดก่อน นกั กฎหมาย กจ็ ะอยแู่ ตใ่ นวงแบบน้ี แล้วกใ็ ชว้ ิธีการตคี วาม ซ่งึ ผมยอมแพ้ ผมไปไม่ทัน อยา่ งเชน่ เวลาเราพูดเร่อื งสัญชาติ ผม ก็วิพากษ์ว่าสัญชาติในเมืองไทยเนี่ย มันก่อให้เกิดคร้ังแรกเม่ือสมัยรัชกาลที่ 5 ในตอนท่ีเกิดขึ้นแรกๆ สัญชาติ ไม่ใช่สัญชาติแบบที่คนต่างชาตินะครับ ใครท่ีเกิดในเมืองไทยมีลูกปุ๊บได้สัญชาติไทยเลย ไม่ต้องมาตรงมาตรา อะไรครับ ผมก็จบั คอนเซปต์ของกฎหมายแบบน้ี เพราะฉะนนั้ เรอื่ งมาตราเจ็ดวรรคแปด มันเปน็ อะไรก็ขอเปิดดู หนอ่ ยเถอะนะ พอเปิดดกู ต็ อ้ งงงวา่ มนั แปลว่าอะไร ผมเป็นตัวอย่างนักกฎหมายท่ีไม่ค่อยดีนะครับ คือ นักกฎหมายไม่ค่อยแลกเปล่ียนกับคนอ่ืน พอไม่ ค่อยแลกเปลี่ยนกับคนอ่ืน เราจึงไม่ค่อยเห็นวิธีการท่ีคนอ่ืนใช้ หรือแนวคิดที่คนอ่ืนใช้ ถ้าไปแลกเปลี่ยน มันจะ ทาให้เราเห็นอะไรมากข้ึน ผมเช่ือว่าการอ่าน การแลกเปล่ียนนี่เป็นประโยชน์มาก และเราก็เอาข้อมูล รากฐาน ความรู้ของคนอ่ืนๆ มาสร้างงาน ผมคิดว่าอันน้ี ในแง่หน่ึงเราคงต้องพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับสาขาวิชาความรู้ อืน่ ๆ มนั จะทาให้เรามีแวน่ ในการมองมากขึ้น และทาให้เราสามารถใช้ฐานข้อมูลทเี่ รามี เพอื่ ตอบวา่ จะวเิ คราะห์ มนั อย่างไร น่ีอาจจะเปน็ เรื่องยากนิดหน่อย เราเรมิ่ จากเรื่องท่เี ราสนใจ เชน่ ใครสนใจเรื่องสัญชาติ คนข้ามแดน

ข้ามรัฐ ผมคิดว่า critical race theory ใช้ได้ ใครสนใจกฎหมายระหว่างประเทศแบบเปลี่ยนมุมอ่าน มองจาก สายตาของโลกที่สาม ถ้าใครสนใจพวกสตรีนิยม ลองไปดูเร่ือง gender study, gender analysis มันมี เยอะแยะครับในแวดวงความรู้ น่ีจึงเป็นข้อท่ีค่อนข้างยงุ่ ยาก แต่ถ้าเกิดใครข้ามมันไปได้ เราก็จะได้ทางานทม่ี ัน สนุกมากข้ึน และทางานท่ีเราต้องไปแลกเปล่ียนกับคนอ่ืนได้ แลกเปล่ียนกับนักวิชาสาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางนะครับ ผมคิดว่าคนอย่างผมได้ประโยชน์จากพวกน้ีเยอะนะครับ ไป แลกเปลย่ี น นาเสนอ คุยกับเขาในแบบหนึ่ง นีค่ อื โดยรวมของ introduction นะครบั ว่าด้วยเรอื่ งภาพรวมของ การวิจยั มีใครอยากจะลองคุยอะไรเบื้องตน้ ไหมครบั ผู้เข้ารว่ มแสดงความเห็น : อยากเสนอนิดหนึ่งค่ะ ท่ีอาจารย์บอกว่าเราควรมองในสายสังคมบ้าง ตอนแรกไม่เห็นภาพเลยค่ะ เพราะเราเป็นนักกฎหมาย เวลามีปัญหาเราก็จะมองว่าอะไร ผิดอะไรยังไง แต่พอมีโอกาสได้ไปฝึกอบรมกับคน ท่ีไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ว่าในกลุ่มจะมีหลายสาขามาก ซึ่งปกติเวลาไปสัมมนาก็จะมีแต่นักกฎหมาย มาตรา คุย กนั เลย แต่พอมาเจอแบบนี้ ก็จะคยุ กนั ถงึ เรื่องการแกป้ ัญหา ซ่งึ มันนา่ สนใจมาก พอคยุ กนั จบแลว้ เรากบ็ อกว่า ผิด ผิดแน่นอน เปิดมาตรา แต่ฝั่งสังคมบอกว่าเด๋ียวก่อน ลองดูก่อนว่าต้นตอของปัญหามันคืออะไร การท่ีเรา จะแก้เราตอ้ งไปดูที่ต้นตอของปญั หา ถ้าแก้จะเป็นอย่างไร เราก็ร้สู กึ วา่ จริง เราไมเ่ คยมองออกมาจากนอกกรอบ เลยว่า เราต้องจับตัวบท แต่เม่ือได้ไปเข้าค่ายสัมมนาน้ันความคิดเราเปลี่ยนเลย เราได้เห็นว่าปัญหาบางอย่าง กฎหมายมนั ตอบไมไ่ ดน้ ่ะค่ะ อันน้ีเสนอจากประสบการณ์ส่วนตวั คะ่ ผูเ้ ขา้ ร่วมแสดงความเหน็ : มงี านของอาจารยส์ มชายทีเ่ คยอ่านตอนเรยี นแลว้ ประทับใจมาก ตอนน้ันเป็นฎีกาหนึ่ง พอไดอ้ ่านแล้ว ก็มีความสนใจ และได้มาคิดดูสองสามเร่ือง เร่ืองแรกคือเรื่องสถาบันตุลาการ ในบ้านเราตอนน้ีพบว่ามีการ อบรมจริยธรรมของสถาบันตุลาการโดยวิทยากรท่านหน่ึงซึ่งเคยเขียนหนังสือมาสามเล่ม ผมก็ไปเอาหนังสือ ท่านมาอ่าน (ตรงน้ีมีเสียงแทรกดังมาก ฟังไม่รู้เรื่อง) ก็ได้คอนเซปต์เร่ืองความจริยธรรม ศีลธรรมของสถาบัน ตุลาการไทยเน่ีย มันมาจากไหน ก็พยายามอ่านอยู่ แต่อ่านไป หาเร่ืองจริยธรรมท้ังสามเล่มประมาณห้าถึงหก หน้ากใ็ ชเ้ วลาประมาณปีหนงึ่ กย็ ังคิดตอ่ และเมอ่ื อาจารย์ตงั้ คาถามถงึ ที่มาที่ไปทางประวัติศาสตร์ ก็ยงั สงสัยว่า เขาใช้มาตรวัดทางศีลธรรมอันไหนมาจับ อันที่สองผมเขียนอยู่คือ ไอ้เรื่องเล่า กับเร่ืองอคติสี่มันมาจากไหน ถ้า ถามนักกฎหมายไทยก็ตอบว่ามันมาจากมนูพระธรรมศาสตร์ พอผมไปสืบฉบับมอญ ไม่มีเรื่องน้ีนะฮะ และไป สืบมนูพระธรรมศาสตร์ ก็ไม่มีเร่ืองนี้อีก แต่ว่าการกากับทางศีลธรรมในเรื่องของตุลาการ มันมีบทเขียนเยอะ มาก เป็นบทเป็นบรรพ์หนึ่งของพระเวทด้วยซ้า ก็จะเอามาโต้แย้งว่า ไอ้องค์ความรู้ทางศีลธรรมที่มากากับตลุ า การไทย มันมีปัญหา มันเป็นเรื่องท่ีไม่ได้ครอบคลุมทั้งระบบ และเกิดคอนเซปต์อะไรบางอย่างท่ีมันไม่นาไปสู่ ความยุติธรรมทางสังคมน่ีสิ ยกตัวอย่างเช่น อคติส่ี มันเพียงพอต่อการเป็นเสาหลักที่จะค้ายันไม่ให้ตุลาการ

ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอะไรก็แล้วแต่จริงหรือ แต่ถ้าเทียบตัวเทกซ์ในพระเวท นี่พูดถึงประวัติศาสตร์ของ การปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการหรือผู้วนิ ิจฉัย เขียนไว้เยอะมาก และมันไม่ได้หยาบแบบท่ีเขียนในประวัติศาสตร์ กฎหมายไทย อันนี้ก็เป็นเร่ืองท่ีสนใจในทางประวัติศาสตร์ อีกเร่ืองท่ีทากับทางเศรษฐศาสตร์คือเร่ืองการตีค่า ผลกระทบความเสียหายท่ีได้รับจากเหมืองทอง เวลาที่จะให้ศาลปกครองกาหนดค่าความเสียหายต่อบุคคล ศาลนึกไม่ออก เราก็ไม่รู้ว่าจะว่าอย่างไร พอไปเอาหลัก EDP มาใช้ ใครเป็นผู้ก่อใครเป็นผู้ใช้ มันไม่มีตัว แบบจาลองทางเศรษฐศาสตร์ไปรอบรับเขา อีกเร่อื งท่คี ุยกับเพ่อื นเขาก็ติงมาว่าใครท่ีเป็นคนสัง่ คอื ฝา่ ยปกครอง ที่ทาให้เอกชนต้องหยุดขุดขึ้นมา แต่ค่าความเสียหายที่เกิดจากการขุดทองข้ึนมาใช้ กับการไม่ขุดทองขึ้นมาใช้ อะไรมนั มีน้าหนักมากกว่ากัน อ.สมชายแสดงความเห็น : ผมเข้าใจว่าหากใครที่ตามเรื่องสิ่งแวดล้อม จะรู้ว่ามีปัญหาหนึ่งซ่ึงเป็นปัญหายืดเยื้อยาวนานคือการ คานวณค่าความเสียหาย ว่าคนที่ได้รับความเสียหายจากกรณีเหมืองนั้นต้องทายังไง น่ีเป็นปัญหากันมาต้ังแต่ สมัยโคบอลต์ บริษัทที่ทารังสีโคบอลต์แพร่กระจาย คือจริงท่ีโรงงานเป็นคนส่ังให้ชาวบ้าน แล้วชาวบ้านได้รับ ความเสียหายยังไง เป็นปัญหาที่ คือเรามีหลักคิดวิธีหน่ึงนะ แต่วิธีการคิดยังไงเน่ียสิ น่ีเป็นวิธีการทางานที่ผม เรียกว่ามันต้องเป็นสหสาขา จะตอบมันตอบยากมาก ผมก็ไม่มีความรู้ที่จะตอบ เพราะมันมีโมเดลของนัก เศรษฐศาสตร์ที่จะนามาคานวณได้หลายรูปแบบ ส่วนเร่ืองประวัติศาสตร์ไทย ผมคิดว่าหากสนใจก็ต้องทาต่อ วันน้ีเร่ิมมาต้ังคาถามเก่ียวกับเรื่องอุดมการณ์ หรือความน่าเช่ือถือของสถาบันตุลาการมากขึ้น เร่ิมเห็นตัวนี้ ทางาน ผเู้ ขา้ ร่วมแสดงความเหน็ : พอดีมีที่ฟังบรรยายในช่วงเช้า อาจารย์พูดถึงลักษณะการออกแบบงานวิจัย ว่าจะทายังไง อย่างเช่น เร่ืองทฤษฎี แนวคิด แล้วถ้าเราจะออกแบบงานวิจัยของเราให้สังคมได้มีคาตอบ ว่าไอ้สิ่งที่เราค้นพบ กระบวนการที่เราค้นพบ คาตอบอะไรสักอย่าง ที่จะทาให้คนในสังคมยอมรับ อาจารย์พอจะมีแนวคิด หรือว่า เราจะทายังไง มีแนวคิดยังไงดีคะ อย่างเช่น มีความพยายามอยู่ช่วงหนึ่งท่ี กสทช. จะพยายามบอกประชาชน ในช่วงระยะเวลาห้าหกปีท่ผี ่านมา เร่อื งผู้ให้บริการโดยบอกว่าจะทาใหผ้ ูใ้ ห้บริการให้บริการดว้ ยความเปน็ ธรรม ทาให้ความเสียหายเกิดขึ้นน้อยมาก พวกโฆษณาหรือ SMS โดนใจ คือถ้าคิดค่าเสียหายต่อคนมันน้อย แต่ถ้า คิดถึงค่าเสียหายท่ีเกิดขึ้นในมุมกว้าง คาถามคือ เราจะมีแนวคิด หรือวิธีคิดอย่างไรที่จะออกแบบงานวิจัย ออกมาเพื่อตอบปัญหาน้ี เพราะเท่าท่ีรู้สึกว่า ปัญหาหลักเลยก็คือ นอกจากเรื่องแนวคิด เร่ืองเครื่องมือ มันมี ข้อจากัดอยู่แล้วล่ะ การคิดในการออกแบบงานวิจัยก็ยาก อย่างเช่น ที่ผ่านมานิสิตที่จะทางานวิจัย เขาก็ ออกแบบงานวิจัยไมไ่ ดเ้ ลย ตัวเองก็มีขอ้ จากัดเหมือนกัน ก็เลยไมร่ ู้วา่ จะใหแ้ นวคิดกบั เขายงั ไง อ.สมชายแสดงความเห็น :

ผมพูดโดยรวมอย่างน้ีนะ คือ การออกแบบในแง่หน่ึง ถ้าใครได้อ่านท่ีต้องทา แต่ถ้าเกิดใครไม่อ่าน งานวิจยั กย็ าก ถ้าอ่านก็จะ เออ้ อันน้ที าแบบนไี้ ด้ อนั น้ที าแบบนั้นได้ จริงๆ คอื การไป ‘ยมื ’ มา ถา้ ถามผม ส่วน ใหญ่ผมใช้วิธีการหยิบยืม อ่านเล่มน้ัน เออ ใช้อย่างน้ีดี อย่างเช่น ผมเคยอ่านหนังสือของออสเตรเลียเล่มหนึ่ง เขาดูคาพิพากษาย้อนหลังร้อยปีในคดีข่มขืน เพ่ือดูว่าคดีข่มขืนในศาลออสเตรเลีย ตัดสินด้วยบรรทัดฐาน อย่างไรบ้าง ผมอ่านเสร็จแล้วก็คิดว่าดีมากเลย แบบนี้เราลองเอามาใช้กับคาพิพากษาของศาลไทย คือแต่ละ เร่ือง บางทีมันก็เป็นการหยิบยืมวธิ กี ารของคนอ่ืนมาปรับใช้ ลงตัวไม่ลงตัว ผมคิดว่าสิ่งที่ดีคือ ถ้าเกิดเราได้เห็น ได้อ่านงานวิจัยเรื่อยๆ มันก็จะทาให้เราเห็นว่างานวิจัยแบบน้ีจะต้องใช้ออกแบบการวิจัยยังไง เช่น ที่ผม ยกตวั อย่างในตอนเช้า เร่อื งการสง่ SMS เวลาผมอา่ นก็จะแบบ เออ ฉลาดเนอะ คดิ ได้อยา่ งไร อยา่ งเร่อื ง SMS เนย่ี ผมกม็ าวา่ เออ แล้วค่าบรกิ ารนี่ใครมานั่งคิด เออ อยากเขียน อันนกี้ ต็ อ้ งออกแบบ ผมก็คิดไปเรอื่ ยเปื่อยไม่ รู้คิดอย่างไร ในแง่ของระเบียบวิธีวิจัยก็เป็นอีกอย่าง สามารถรับได้ก็ดี อันน้ีผมคิดว่าต้องใช้ประสบการณ์มาก พอสมควร ขึ้นอยู่กับเรื่องไหน เช่นเรื่องเมื่อก้ีคือค่าเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมท่ีเม่ือก้ีพูดไป ผมคิดว่าเมื่อใคร สนใจกจ็ ะตอ้ งไปน่ังไล่อ่านงาน ซง่ึ ในอเมริการน่มี ีเยอะ ว่าเวลาเขาคานวณคา่ เสยี หายจะทาอยา่ งไร เขามีวิธีการ คานวณหลายอย่าง อย่างเช่น เนื่องจากการได้รับมลพิษเน่ีย อาจจะเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งก็ได้ เพราะฉะน้ันจะ ทาอยา่ งไร อาจจะ เอาไปเลยสบิ ล้าน เปน็ ไมเ่ ป็นก็ไปจดั การกันเอาเอง หรอื ใช้วธิ ีการวา่ คนไม่ใช่ก็คือไม่ได้ ถา้ ใช่ ก็มีการรักษาห้าปีสบิ ปีก็ว่าไป ก็มโี มเดลหลายแบบนะครับ เพราะฉะนนั้ ใครสนใจเร่ืองไหน ผมคิดว่าเร่มิ ต้นจาก การอ่านหรือดูงานวิจัยทเ่ี กีย่ วข้องมนั จะช่วยเราเยอะ เพราะฉะนัน้ ผมวา่ เราต้องดเู ปน็ เร่อื งๆ ไป ผเู้ ข้ารว่ มแสดงความเห็น : อยากแลกเปลี่ยนค่ะ สว่ นตัวเคยทาเร่ืองเกี่ยวกับอนุสัญญาการต่อต้านการทรมาน ซง่ึ จริงๆ แลว้ เราให้ สัตยาบันตั้งแต่ปีห้าศูนย์ เราก็พยายามทากันโดยใช้การร่างคู่ขนาน แบบร่างเป็นร่างพระราชบัญญัติมาเสนอ แล้วสิ่งท่ีเราพยายามจะสู้ คือไม่ถึงขั้นทาเป็นงานวิจัยออกมา ก็เอาเรื่องระเบียบต่างๆ การเรียกร้องค่าเสียหาย ในคดีอาญาจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐทรมาน เรามองเป็นปัญหา และพยายามตอบคนอื่น พยายามร่างเป็น กฎหมายออกมา ในท้ายที่สุด จากตอนแรกจุดยืนคือร่างออกมาเป็นประมวลฯ แต่สุดท้ายก็อาศัยกลไก คณะกรรมการต่อต้านฯ ก็มีแค่ควรจะเป็นบางมาตราท่ีเฉพาะ คือในแง่หนึ่งคือฉันไม่เอาประมวลละ กลับมาใช้ ร่างที่ร่างจากภาคประชาสังคม ส่วนตัวรู้สึกว่ามันเป็นการต่อสู้โดยใช้ข้อมูลในเชิงข้อเท็จจริง แต่จริงๆ แล้ว กระบวนการออกกฎหมาย ต้งั แต่ที่เราทา ต้งั แตใ่ นชนั้ ปริญญาโท วทิ ยานพิ นธ์ตา่ งๆ มันออกมาทางกฎหมายใน เชิงทางเลือกมากยิ่งข้ึน ควรจะไปศึกษาปัญหาจริงๆ และเสนอทางออกของปัญหามากกว่าการเอาตัวบทไป ทาบเฉยๆ น่ะค่ะ มันจะทาให้กระบวนการออกกฎหมายของเราค่อยๆ เปลี่ยน มองจากมุมในเชิงปัญหา ข้อเท็จจริง มากกวา่ ขอ้ กฎหมายคะ่

อ.สมชายแสดงความเห็น : ทาวิจัยแนวนี้แล้วจะทาให้การออกกฎหมายเปลี่ยนไปได้รึเปล่าไม่รู้นะ ครับ อันน้ีคุยกันแบบส่วนตัว เวลาผมทาอะไร ผมก็ไม่รู้ว่ามันเปล่ียนไม่เปลี่ยน แต่เวลาผมทาเสร็จก็จะรู้สึกมี ความสุข ไม่รู้นะ ผมอาจจะเป็นแบบ คือเราค้นพบว่ามันมีคาตอบในเรื่องนั้นๆ อยู่ และมันมีคาตอบที่ต่างจาก เดิม เราก็เผยแพร่ไป แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบบ พอทาเสร็จช้ินหนึ่งก็จะเกิดความปิติ อย่างเร่ืองที่เราค้างคา บัดน้ีเราได้คล่ีคลายไปเรียบร้อยแล้วที่ได้เขียนได้อ่าน ส่วนมันจะมีความเปลี่ยนแปลงขนาดไหน ตอนแรกผมก็ ร้สู กึ อยากใหม้ นั เปลีย่ น แตต่ อนนผี้ มกลับคดิ วา่ หวังวา่ มนั จะเป็นมรดกตกทอดต่อไป ผมไมไ่ ดค้ ดิ ในแง่ของความ เปล่ียนแปลงเชงิ สถาบนั แต่ถามว่ามันมีผลรเึ ปลา่ ผมคิดว่างานวิจยั อย่างเชน่ TDRI สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย พวกทีเ่ ขาทางานวิจัยและเผยแพร่ต่อสาธารณะ เขาก็หวงั วา่ มนั จะเป็นแรงกดดันท่ีทาให้เกดิ ความ เปล่ยี นแปลง แตถ่ า้ อยากได้แบบนั้น ต้องต้ังธงทีช่ ดั เจนว่าต้องการทาให้เกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างน้ผี มคิดว่า มันเป็นไปได้ คือเราต้องหวังให้มันเป็นประโยชน์สาคัญนะครับ เพราะมันจะเป็นการเปลี่ยนด้วยความรู้ การ เปลย่ี นแบบนี้ตอ้ งอาศัยเวลาหรืออะไรมากพอสมควร ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็น : ที่ได้พูดไปเม่ือก้ี จากประเด็นที่อาจารย์พูด ก็ได้ฟังหลายๆ คนมา แลกเปลย่ี น จะเหน็ ไดว้ า่ ปัจจุบันการวจิ ยั มจี านวนเยอะแยะมากมายมหาศาล คอื ในส่วนวิจยั ทเ่ี ปน็ วิทยานิพนธ์ ท่ีน้องๆ ปริญญาโทได้ค้นคว้าข้อมูลอะไรต่างๆ แต่ละเรื่องก็มีความน่าสนใจและเกิดประโยชน์มากมาย รวมไป ถึงแนวของ มช. เองก็เน้นในส่วนการทาวิจัยท่ีแก้ปัญหาหรือช่วยเหลือต่อสังคม โดยการนากฎหมายไปพัฒนา สงั คม หรือเกดิ การเปลี่ยนแปลงทางสงั คมในทางทด่ี ีมากข้ึนขนาดไหน แต่ทนี ้ี เรยี นถามอาจารยว์ า่ ทผี่ า่ นมาเรา มีการเน้น มีการวิเคราะห์ มีการสรุปข้อมูลไหมคะว่า งานวิจัยวิทยานิพนธ์เอง หรืองานวิจัยต่างๆ สามารถเอา ไปใชป้ ระโยชน์ และมีเรื่องไหนบา้ งทีเ่ หน็ ผลในเชิงประจักษ์ ทเี่ ห็นผลว่าจากการทีเ่ ราทางานตา่ งๆ มากมาย เกิด ประโยชน์ในทิศทางท่ีบวก หรือมันไปส่งผลกระทบถึงอะไรอย่างไร ปัญหาในทางสังคมมากน้อยขนาดไหน ไม่ งั้นจากท่ีเราเคยได้ข้อมูลมาว่า เราทางาน ทาวิจัยมา เราก็เอามาไว้บนหิ้ง แต่มันจะเอาไปใช้ประโยชน์จริงๆ ขนาดไหน เพราะไม่งั้นมันกจ็ ะมีงานใหม่ๆ เยอะไปหมด อาจจะทาซา้ ไปซ้ามา หรอื ทาออกมาเยอะ ก็ต้องอาศัย การอ่านอยู่พอสมควรนะคะกับการท่ีต้องมาอ่านหรือทบทวนวรรณกรรม งานบางชิ้นก็อาจจะไม่ได้ถูกอ่านเลย อาจารย์มขี อ้ มูลตา่ งๆ ทีน่ ามาแชรห์ รอื ใหค้ นอน่ื ไดท้ ราบไหมคะ อ.สมชายแสดงความเห็น : มันเป็นการยุ่งยากท่ีจะประเมินว่า งานวิจัยช้ินหน่ึงนาไปสู่ผลมากน้อยขนาดไหน อย่างเช่นเม่ือกี้ผม ยกตัวอย่างการเมืองในอนุเสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถามว่ากระทบขนาดไหน ผมคิดว่ามันน่าจะทาให้วิธีคิดของคน จานวนไม่น้อยเปลี่ยน หมายถึงคนที่เคยยึดม่ันถือมั่นในอนุเสาวรยี ์ต่างๆ ลดทอนลงมา แต่นี่ก็คือความยุ่งยากที่ เราไม่รู้จะวัดยังไง น่ีผมคิดว่ามันเป็นความยุ่งยากท่ีเราจะประเมินได้ว่า ผลกระทบของงานวิชาการที่สาคัญๆ อย่างผมยกตัวอย่างงานสาคัญ เช่นของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ทาให้เกิดผลกระทบเปล่ียนแปลงอย่างไร มัน

วัดยาก ในแง่หน่ึงคือ เรามองเห็นกระแสใหม่ๆ เกิดข้ึน เกิดกระแส เกิดการถกเถียงต่างๆ เพราะฉะนั้นผมมอง ว่างานวิชาการมันจะทาให้มีคนตามทางเดินไปเถียง ไปวิจารณ์กันมากข้ึนรึเปล่า งานวิชาการมันไม่สู้ต้องการ ปรับแก้กฎหมายเฉพาะเร่ืองนน้ั ๆ อย่างเช่น ต้องการยกเลิกความผิดอาญาในกฎหมายเช็คใหช้ ัดเจน แต่ถ้าเกิด อย่างนี้ ผมคิดว่าประเมินค่อนข้างยาก และผมก็ไม่รู้ว่าจะประเมินอย่างไร อย่างเวลาเห็นงานวจิ ัยช้นิ ใหม่ๆ ผม ไม่รู้ว่าจะวัดว่า อ้า น่ีเป็นงานช้ินเอกท่ีต้องอ่าน ต่อไปคนที่ทางานด้านน้ีต้องแวะมาคารวะงานนี้ก่อน จะเห็น ด้วยไม่เห็นด้วยต้องแวะมาคารวะก่อน เหมือนหลุมศพ ใครๆ ก็ต้องมาท่ีหลุมศพนี้ก่อน ผมคิดว่านี่เป็นความ ยากในการประเมินความเปลีย่ นแปลงนะครบั โอเคครับ ถ้าไม่มีปัญหาอะไร คิดว่านี้เป็น intro เบื้องต้นที่ผมคิดว่ามี งานวิจัย เบ้ืองต้นการวิจัย การ วิจัยกระแสหลัก การวิจัยกฎหมายเชิงทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ผมคิดว่าน่าจะได้อะไรกัน พอสมควร ตอ่ ไปกจ็ ะเป็นอาจารย์นัทมนนะครับ อาจารยจ์ ะมาพูดเร่ืองการวิจัยทางกฎหมายแนวมานุษยวิทยา ซง่ึ ในไทยผมคิดวา่ มีคนทาอยู่น้อยมาก อาจารย์นัทมนน่าจะเป็นงานแรกๆ ทท่ี า ใครที่สนใจงานกฎหมายสามัญ ชน ก็คงจะไดข้ ้อมลู อะไรมากขึ้นนะครบั สรปุ การบรรยาย การวิจยั กฎหมายเชงิ มานุษยวิทยา โดย ดร.นัทมน คงเจริญ

อ.สมชายแนะนา : เม่ือก่อน อ.นัทมน ก็จะเป็นหัวหน้าศูนย์สตรีนะครับ ที่ตอนแรกสนใจเร่ือง feminism แล้วตอนหลังก็ มาเรื่องชายขอบแทนนะครับ โดยที่เรียนก็คือ legal culture วัฒนธรรมกฎหมาย แต่สิ่งท่ีเข้าใจว่าระหว่างท่ี เรียนและทาวิทยานิพนธ์ก็คือเร่ืองมานุษยวิทยาทางกฎหมาย ซึ่งคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ใหม่ในวงวิชาการทาง กฎหมายนะครบั นา่ จะเป็นประโยชน์ ลองดูแนวทาง ตวั อย่างงานนะครบั เชิญครับอ.นัทมน อ.นทั มนบรรยาย : ขอบคุณสาหรับการแนะนาท่ีดีมาก พ่ีจะพูดต่อจากอาจารย์เล็กเม่ือเช้านะคะ ส่วนใหญ่พี่ไม่แน่ใจว่า พวกเราจบจากโรงเรียนกฎหมายยังไง พี่จบจากร้ัวที่อยู่ในคอกท่ีเป็นนักกฎหมายโดยเฉพาะ เราก็จะมีบัญชี สาหรับนักกฎหมาย ภาษาอังกฤษสาหรับนักกฎหมาย แล้วก็จะไม่เคยรู้จักโลกภายนอก จะอยู่ในกะลาของ ตัวเอง หมายความว่านักกฎหมายจะมีสายของตัวเอง แล้วเวลาเราฟังคนอื่น เราจะพูดภาษากฎหมาย และจะ อยใู่ นทางของกฎหมาย แต่วา่ ท่ีอ.ต๊ิกพดู ให้ฟัง ทีว่ ่าคุณอยู่แตใ่ นอาณาจักรของกฎหมายอยา่ งเดียวไม่ได้ มันก็จะ เป็นท่ีมาของส่ิงที่พี่เคยเรียนมา ก็กลับไปยังกะลาของตัวเอง อ.ท่ีสนิทกันกับพ่ีก็จะบอกว่างานท่ีพ่ีทาของป.เอก มนั เปน็ งานในเชงิ สังคมวิทยา ดงั นั้นตอนท่ีเราทาวิทยานิพนธ์ เราจะมีปญั หาอยู่ 2 อยา่ งคือ ปญั หาข้อกฎหมาย และปัญหาการใช้กฎหมาย ซ่ึงเดิมมันเป็นศัพท์ทางสังคมวิทยา ทีนี้อยากจะชวนเราให้มองภาพการวิจัยทาง กฎหมาย อยากจะชวนแสดงความคิดเห็น ลองเสนอในงานวิจัยทางกฎหมายที่เรารู้จัก ทั่วไปที่พบทั่วไปใน สงั คมไทย ผ้เู ขา้ ร่วมแสดงความคดิ เหน็ : อาวลั คอื อะไร อ.นัทมนแสดงความคิดเห็น : นี่ก็จะเป็นอย่างที่ อ.สมชายพูด เราก็จะไปดูวิธีคิดว่าเขาคิดยังไง เริ่มต้นทายังไง ไปดูตัวบท ต่อท้าย ด้วยคาพิพากษาว่าอย่างไร การใช้กฎหมายว่าอย่างไร ทีน้ีพี่คิดว่าทุกคนในแต่ละทาง ก็จะมีสายมหาชน พอสมควร แลว้ ก็ธรุ กจิ กบั IT Law พยี่ กตวั อย่างงานวิจัยเร่ืองน้ี เมอ่ื ปี 38 ซง่ึ พ่คี ิดว่าทกุ คนน่าจะพอคุ้นเคย คือ มันมาเป็นแพ็คเกต็ เลย คอื เมอ่ื เช้าท่ีแปะเว็บไซต์เอาไว้ให้ วา่ มนั มงี านวจิ ัยของ สตง. อยู่ จุดน้ี วารสารกฎหมาย บ้าง พี่ไปเจอตรงน้ี ก็สมัคร แล้วก็ดูงานวจิ ัยปรับปรงุ ระบบพรรคการเมือง ของบุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, การจัดต้ัง องค์กรเพ่ือสนับสนุนการเลือกต้ังให้เป็นไปด้วยความบริสุทธ์ิยุติธรรม ไพฑูรย์ บุญวัฒน์ การเสนอกฎหมาย ร่างการเงิน อย่างเน่ีย พี่คิดว่าทุกคนคุ้นเคยกับงานวิจัยชุดนี้ พ่ีอยากชวนให้ดูว่าเขามีการนาเสนอวิธีวิจัยยังไง งานช้ินน้ีพี่คิดวา่ หลายคนคงผ่านตามาแลว้ บ้าง อย่างของอ.วิษณุ เร่ืององค์กรอิสระ แล้วจากทั้งหมด 15 ช้ิน พ่ี ชวนให้นึกในใจว่างานวิจัยทางกฎหมายท่ีเป็นกระแสหลัก มันจะมีแนวคิด ไปดูตัวบทของประเทศน้ีว่าเขียน

ยังไง มีท่ีไหนทาบ้าง แนวคิดที่เอามาปรับ มันก็จะเป็นแนวคิดว่า ถ้าเราจะออกแบบกฎหมาย จะต้องทายังไง เพ่ือเขียนตัวบท และอธิบายการใช้ จากงานวิจัยชุดน้ี เขาเอาอะไรมาใช้ พ่ีอยากชวนให้เราตอบคาถามต่อไปน้ี อันแรก ถ้ามคี นประสบอบุ ัตเิ หตรุ ถชน เขาจะมปี ฏิกริ ยิ ายังไง เขาจะทายังไง ผเู้ ขา้ ร่วมแสดงความเหน็ : เรียกประกนั พรบ.คุม้ ครองผู้ประสบภัย แลว้ กแ็ จง้ ให้ อภปร.มาดคู นเจบ็ อ.นทั มนแสดงความเหน็ : คิดว่าจะแจ้งความไหม แล้วถ้ามีคนเจ็บไป รพ. จะฟ้องศาลไหม ถ้าศาลตัดสินแล้วจะสู้ไปถึงฎีกาเลย ไหม น่คี อื คาถามทพี่ เี่ อามาจากอาจารยเ์ ดวดิ เวเปอร์ งานทอ่ี .อธิบาย จะเลา่ ครา่ วๆ คือพ่ีคนหน่ึงกาลงั ยนื สมมุติ ซื้อลาบอยู่ มันเป็นตลาดตอนเย็น เขาก็ยืนซื้อกับข้าวอยู่ริมทาง บังเอิญมีคนหนึ่งขับรถ แล้วใส่เกียร์เดินหน้าพงุ่ ชนพ่ีคนน้ีบาดเจ็บ ก็เอาไปส่ง รพ. แล้วก็บอกว่า ไม่เป็นไรนะเด๋ียวจะมาดูแล เวลาผ่านไป ลุงคนขับก็ไม่โผล่มา อีกเลย อาจารย์ก็ไปถามอาจารย์อรรถจักร์ ว่าแลว้ ฟ้องไหม อ.กบ็ อก จะแจ้งความลุงก็แก่ สงสารแก แตเ่ มื่อก้ีท่ี บอกวา่ คนท่วั ไป เม่ือรถชน เกิดอุบตั ิเหตุ จะแจง้ ความ อย่างน้อย จะแจ้งใหต้ ดิ คกุ เขาได้อะไรมย้ั ในทางสังคม เขาว่ามันมีท้ังคดีแพ่งอาญา จะไปแจ้งความเรียกค่าเสียหายทางแพ่งก่อนแล้วค่อยมายอมความคดีอาญา แต่พี่ คนนั้นบอก สงสารคณุ ลุง แล้วชว่ งนี้ ดวงไม่ค่อยดี ไปสะเดาะเคราะหด์ ีกว่า นี่คือคาตอบท่ไี ดจ้ ากผ้เู สยี หาย ถาม ว่ามันตรงตามส่ิงที่เราคิดไหม หรือถ้าเป็นเรา เราชั่งน้าหนัก อะไรเป็นเครื่องตัดสินใจในการดาเนินคดีในเคส ต่างๆ หรือผวั เมยี ทะเลาะกนั อันนี้จะเปน็ พวก gender หรอื feminist เราจะได้ยินวาทกรรมทีบ่ อกวา่ ตารวจ ไม่ค่อยรับแจ้งความ เพราะไปๆ มาๆ ผัวเมียก็ไกล่เกลี่ย ดีกัน คือเราก็ใส่เลนส์ ท่ีพรุ่งน้ีอ.สมชายจะตัดแว่น feminist ให้เราคนละคู่ ทีนี้พ่ีอยากบอกว่า แล้วเราจะมีวิธีการต้ังคาถาม หรือวิธีการหาคาตอบในส่ิงต่างๆ ที่ คาถามมันเขียนไว้ในตัวบทไหม มันเขียนไว้ในคาพิพากษาไหม ไม่มี อาจารย์ก็ถามพี่บอกว่า ส่ิงที่อ.สมชายพูด ในงานวิจัยของกฎหมาย มันสรา้ งความเปล่ียนแปลงยงั ไง พ่ีอยากยกตัวอยา่ งงานของ อ.สมชายเร่ือง เพศวิถีใน คาพิพากษา คือกอ่ นหนา้ นัน้ ก็จะมีคาถามของเมื่อก้ีก่อน ว่าเออ ตารวจไมค่ ่อยรบั แจง้ ความ จรงิ หรือ มกี โี่ รงพัก ท่ีไม่รับ แล้วรู้ได้ยังไงว่าทาไมไม่รับแจ้งความ ทีน้ีพอ อ.สมชายพูดปุ๊บ คือมันพูดกันคนละภาษา ผู้พิพากษาก็ บอกว่าเราตดั สินคดโี ดยไมม่ อี คติใดๆ ท้งั สิ้น แต่ข้อมูลงานวิจัยทน่ี าเสนอบอกวา่ น่ไี ง คือมันสามารถตอบคาถาม โดยทเ่ี ราไม่ต้องมโนเอา น่ไี มไ่ ด้บอกว่าเขามโนนะ อีกอัน ไม่ตอ้ งตอบก็ได้ ปญั หาในการบังคบั ใชก้ ฎหมายอาญา มาตรา 112 คอื อะไร คาตอบไมไ่ ดอ้ ยู่ในตัวบท เราไม่สามารถท่ีจะหาคาตอบของคาถามนี้ไดจ้ ากเอกสารที่เขียน อยู่ ณ ตอนนี้ แต่มีงานของนพพล อาชามาศ ถ้าอยู่ในร้ัวมหาวทิ ยาลัยก็คงบอกได้ นี่เป็นงานเชงิ สงั คมวิทยาเชิง กฎหมาย ทีจ่ ะคน้ หาคาตอบทีไ่ ม่อยใู่ นตวั บทได้

แนวคิด ความหมายและขอบเขต สิ่งท่ีพ่ีจะชวนพูดกันคือ ในงานวิจัยเชิงกฎหมาย เชิงสังคมวิทยา อันแรกคือจะพูดถึงแนวคิด ขอบเขต อันทสี่ องคือแนวทางการวจิ ยั ส่วนขอ้ สงั เกตขอ้ ควรระวงั เก่ยี วกบั ตัวงานเป็นอันสดุ ท้าย ดูเรื่องขอบเขต มองอย่างกว้างๆ วิธีวิจัยมันอยู่ในความเชื่อว่ากฎหมายกับสังคมต้องไปด้วยกัน กฎหมายมันไม่ได้อยู่ลอยๆ แล้วเราก็เช่ือตามนั้น แต่มันมีที่มาที่ไป อันแรกคือ กฎหมายมันเป็นส่ิงท่ีมีชีวิต มัน เป็นผลผลิตของคน เม่ือกี้มันมีแนวคิดท่ีเก่ียวกับงานกระแสหลักที่ส่วนมากมันอยู่ในหนังสือ แนวคิดมีว่ายังไง เราศึกษาย้อนไปถึงตาราสมัยก่อน ตัวบทเขียนไว้ยังไง แต่บริบททางสังคมวัฒนธรรมจริงไหม ส่วนกฎหมายมี ชีวิต มนั มีรีแอคชัน่ มันมกี ารวจิ ัยกฎหมายจากกระแสหลกั ทเี่ ราค้นุ เคย ดตู วั บท ฎกี า มาสู่ตวั alternative วันน้ี ที่พ่ีจะพูดจะพูดในส่วนของสังคมวิทยากฎหมาย ข้อสังเกตคือ ทาไมเร่ืองป่าชุมชนจะเอา post – modern มา จบั ไม่ใช่ พน่ี ะ่ เปน็ พวก modern มาเลย เปน็ พวก conservative เลก็ ๆ อะไรอยา่ งน้ี อนั นค้ี อื anthropology of law sociology of law มันจะอยู่ในบริบทนี้แบบหลวมๆ เคลื่อนตัวไปมา ทีนี้พ่ีมีข้อสังเกตพ้ืนฐาน คนที่จะ ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยแบบน้ี จะต้องเช่ือว่ากฎหมายไม่ได้มีหนึ่งเดียว ไม่ได้ตราผ่านรัฐสภาเท่านั้น แต่เราต้อง มองกฎหมายกว้างขึ้น คือบางทีอาจจะไม่ได้เรียกว่ากฎหมาย แต่เรียกว่ากฎก็ได้ ในชุมชน มีระเบียบปฏิบัติ อย่างไร ดังนั้นคนที่จะทางานด้านนี้ควรเชื่อลึกๆ หรืออาจไม่เชื่อก็ได้ แต่มีมุมมองเผ่ือใจไว้สาหรับพหุนิยมทาง กฎหมาย ว่ามันไม่ใช่อันเดียว มันมีลาดับช้ัน มันมีการใช้ซ้อนกันอยู่ ต่อมาคือทาความเข้าใจว่ากฎหมายไม่ใช่ เท่ากับความเป็นธรรม มันถูกสร้างโดยคน มันคือการครอบงา อาจจะเป็นคนออกกฎหมาย อาจจะเป็นผู้นา ชุมชน อาจจะเป็นเจ้าอาณานิคม หรือตะวันตกตะวันออก กฎหมายคือเคร่ืองมืออย่างหนึ่งของคนท่ีออกมา ถ้า เราเปิดใจไว้อย่างน้ี มันจะนามาสู่เป้าหมายที่เราจะค้นพบส่ิงท่ีมีอยู่จริงในสังคม งานวิจัยแบบน้ีคือ indicator research เขา้ ไปดวู ่าในสังคมมันเกิดปรากฎการณ์อะไรขึ้น พีช่ อบคาวา่ ปรากฎการณ์มากเลย มนั เป็นอะไรก็ได้ เช่นไปซื้อของต้องมีสัญญาไหม เดินไปจ่ายตังซ้ือก๋วยเตี๋ยวมันมีสัญญาเกิดขึ้นไหม มีปรากฎการณ์เกิดข้ึนไหม อันนี้มันเป็นงานเชงิ ประจักษ์นิยม งานแบบนี้มีปัญหามาก เด๋ียวพี่จะบอกตอนท้ายว่าเราจะอธิบายอย่างไร เรา จะใช้แนวคิดทฤษฎีอยา่ งไรเพอ่ื อธิบายสิ่งทเ่ี ราเจอ นเ่ี ป็นสิ่งทต่ี อบยาก อันท่ีสอง ความหมาย มันล่ืนไหล แต่ไม่รู้ว่าอะไร อยู่ในฟากน้ี พอพุ่งออกไปก็เจอตรงน้ี ในแง่ของ งานวิจัยเชิงมานุษยวิทยา มันจะอยู่ในสามคาน้ี อันแรกคือ Legal Anthropology หรือ Anthropology of Law ถ้าแปลเปน็ ไทยก็คือมานุษยวิทยาเรยี นอะไร ศกึ ษาอะไร คนใช่ไหม anthro รากศัพท์คือคนใช่ไหม เคยมี ท่ีเคยเล่าให้ฟังว่าทาวิจัยเร่ืองช้าง เนื่องจากเคยอยู่ในกะลามาก่อน งานชิ้นแรกท่ีทาเจออาจารย์ฉลาดชาย คือ เก่ียวกบั การจดั การทรพั ยากรอะไรตา่ งๆ ทีนี้ฉลาดชายเปน็ นกั มานุษยวทิ ยา กจ็ ะมองว่าคนๆ นีค้ อื อะไร ทาให้พี่ ออกนอกกะลาของพี่ ตอนนั้นนิติศาสตร์เป็นสาขาของสังคม พ่ีก็จะเจอ ฉลาดชาย เจออ.อานันท์ เจอยศ เสร็จ

พอทาไปไดส้ กั 10 ปี วนั หนงึ่ พก่ี ไ็ ปลาวกบั อาจารย์พวกนี้ แลว้ กไ็ ดฟ้ ังเพลงทีว่ า่ “สิบหา้ ปี ทไ่ี ตเฮา หา่ งแดนดิน” เออ พีก่ ส็ งสยั ว่า 15 ปมี นั มายังไง อาจารย์ก็บอกวา่ “ทาวิจัยสิ” ค่ะ พี่ก็ไปหาว่า original แต่งเมื่อไหร่ 15 ปีนับจากไหน ก็เริ่มสนใจเร่ืองชาติพันธ์ุศึกษา วันหนึ่งก็ยัง ไม่ได้เจอนะวา่ 15 ปมี ายังไง ก็เจออ.ยศ กบ็ อกว่า “อาจารยย์ ศ ทาวจิ ัยเรอ่ื งคนไตด้วยสิ” อ.ยศกถ็ ามมาคาเดียว ท่ีถามพี่ แลว้ จนบดั นี้พีก่ ็ไม่ไดค้ าตอบแก แกถามวา่ “ไตไหนเหรอ” โอ้ อง้ึ ไปเลยคะ่ กลับไปดูไต 20 ปี ก็ยงั บอก ไม่ได้ว่าไตไหน ย้อนกลับมา anthropology คืออะไร คน sociology ล่ะ สังคมวิทยา มันก็มองหลวมๆ แต่ถ้า มองเชงิ กลไก มเี ร่อื งอะไรบ้าง มรี ะบบสังคมในเรื่องนัน้ ๆ เพราะฉะน้นั พจ่ี ะชวนพวกเราดูว่ามนั มีอยู่สองคา หรอื ตอนหลงั มคี าว่า Socio - Legal Studies ก็คืออยู่ในอาณาเขตกฎหมายกบั สังคม ทนี ้มี าดู anthro ก่อน ก็จะมคี นอธิบายเอาไว้โดยบอกวา่ มานษุ ยวิทยาทางกฎหมาย หมายถงึ การท่ีคน ในชุมชนมองว่าตนเองมีการจัดการกฎหมายอย่างไร มีวิธีการจัดการความขัดแย้งอย่างไร ในยุคแรก ถามว่า ศึกษาตัวเองไหม แต่มันไม่สนุก ไม่มีสีสัน เราเลยไปศึกษาคนที่เราไม่คุ้นเคย เราก็จะไปศึกษาคนท่ีต่างไป เพ่ือ หาคาตอบกลับมาเล่าให้คนในชุมชนเราฟัง คีย์เวิร์ดอยู่ที่ การศึกษาแบบนี้ให้ความสาคัญกับคน คือเห็นคน ไมไ่ ดเ้ หน็ เฉพาะทฤษฎีกฎหมาย ไมไ่ ด้เห็นเฉพาะ ม.7 ทวิ แตค่ นเปน็ ยงั ไง อย่ยู ังไง กฎหมายมันเกิดมาเพ่ืออะไร เกิดปัญหาอะไรกับคนในชุมชนน้ัน และจะแก้ไขอย่างไร แต่ละคนก็ใช้กฎหมายไม่เหมือนกันด้วย น่ีก็มองเห็น คน เช่นผพู้ ิพากษาท่ีเถียงกับอ.สมชาย วา่ คาพพิ ากษาปราศจากอคติ จริงหรอื แล้วเราจะดจู ดุ ยนื ของผพู้ พิ ากษา แต่ละคนได้อย่างไร เรามีแนวคิดอะไรมาอธิบาย ตอนนี้สิ่งที่จะชวนพวกเรานึกภาพกว้างๆ คือ มันต้องเห็นคน อย่างพี่ยืนซ้ือกับข้าวอยู่ที่ตลาด แล้วโดนรถชน พ่ีจันทร์คิดยังไงถึงไม่ฟ้อง แล้วสิ่งที่พี่จันทร์ทากับเราคิด เหมือนกันไหม อาจจะไม่เหมือน หรืออาจจะเหมือน ไม่รู้ ก็ต้องเป็นคนๆ ไป มันจะมีอยู่สองระดับด้วยกัน ระดบั แรกคอื การศึกษาวฒั นธรรมทางกฎหมาย มคี นทีเ่ ป็นนักสงั คมวิทยาเชงิ กฎหมายทใ่ี ห้นยิ ามไวว้ ่า สว่ นใหญ่ จะมีสองแบบ แบบแรกคือ Legal Culture การศึกษาวัฒนธรรมทางกฎหมาย เช่น เดี๋ยวเราจะมีคาถาม งานวิจัยที่เคยทา เช่น พวกเราคุ้นกับสิทธิชมุ ชน สิทธิชุมชนในรัฐธรรมนญู มันมีภาคบังคับสงู สุดไม่ใช่เหรอ แล้ว ทาไมมนั ถงึ ไม่ไดใ้ ช้บังคับ แตใ่ ชร้ ะเบยี บกรมป่าไม้ มติครม.ปี 41 แตถ่ า้ พูดถงึ เราเรียนหลักบรรดาศักด์กิ ฎหมาย แล้วใช่ไหม มาเทียบกันได้ไหม รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กับระเบียบมติครม. ซึ่งไม่รู้ว่ามีสถานะเป็น กฎหมายรึเปล่า แต่ทาไมเขาถึงใช้มากว่ารัฐธรรมนูญ พี่ก็เลยหาคาตอบโดยใช้ Legal Culture กับอันที่ 2 Legal Consciousness แต่ช่วงน้ีเราเกบ็ ไปก่อน Legal culture ถามว่าผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีแต่ละคดี หรือตัวชาวบ้านที่ใช้ระเบียบป่าชุมชนของ ตัวเอง แล้วชาวบ้านคิดยังไง มันจะมีภาพอธิบายอยู่ 2 ส่วน อยู่ท่ีคนเหมือนกับแหละ คนท่ีใช้กฎหมาย แต่คุณ มองระดับไหน ภาพรวมของสังคม คุณสามารถพูดได้ไหมวา่ สังคมไทย สิทธิชุมชนมคี ่าบังคับ แต่จริงๆ คนไม่ได้ ใช้กนั น่ะ ใชม้ ติ ครม. ตา่ งหาก ที่อนื่ ใชไ้ หม มนั มปี รากฎการณ์ทเ่ี กดิ ขึ้นในแตล่ ะที่ มันแสดงใหเ้ ห็นวัฒธรรมทาง

กฎหมาย เจ้าหน้าท่ีป่าไม้ ผู้พิพากษา ในขณะเดียวกัน ชาวบา้ นใชส้ ทิ ธชิ ุมชน ใชร้ ะเบยี บป่าชุมชนของเขา แล้ว เราเข้าไปศึกษาว่าพ้ืนที่หน่ึง ปรากฎการณ์ท่ีเกิดขึ้นคืออะไร อีกอันคือการเปล่ียนแปลงทางสังคม คือ legal movement ทท่ี าใหม้ นั เกดิ ความเปลย่ี นแปลงในสงั คม มันมีงานชิ้นหน่ึง เรียกว่า Law and Social Space กฎหมายเปลย่ี น สังคมเปล่ียน หรือกลับกัน มันมี ปฏสิ มั พันธก์ นั ดังน้ันไมว่ า่ ลูกศรจะไปทางไหน มันมปี ฏิสมั พันธก์ นั น่คี อื งานทเ่ี รียกว่าขอบเขตการวจิ ัยกฎหมาย เชิงมานุษยวิทยาเป็นอย่างนี้ ทีน้ีในแง่ของลักษณะงานวิจัยมานุษยวิทยาทางกฎหมายเป็นการท้าทายตัวบท กฎหมายว่า จริงๆ แล้วในความเป็นจริงมันมีการใช้กฎหมายโดยคนธรรมดา หรือโดยคนท่ัวไป หรือส่วนหน่ึง ของชมุ ชนอย่างไร จากที่พีบ่ อกว่า ถา้ เราเชอื่ ในเร่ืองของ legal moralism เราก็จะมองว่าในชุมชนจะมีกฎของ เขา ซงึ่ ท่อี ยู่ในเครื่องหมายคาพดู คือ “มันกว้าง” มนั อาจจะเป็นกฎในชุมชนที่ขัดแยง้ กับ พรบ.ป่าไม้ ขัดแย้งกับ รัฐธรรมนูญ ขัดแย้งกับตัวอ่ืนก็ได้ แต่ถามว่าเขาใช้อะไร ชาวบ้านหรือผู้คนปฏิเสธท่ีจะใช้หรือไม่ใช่ตัวกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น มีคนศึกษาเร่ืองแรงงานบ้างไหม มันมีงานอันหน่ึง ถามว่าปกติผู้ใช้แรงงานมีการจัดการข้อ พิพาทยังไง เขาใชก้ ฎหมายแรงงานเยอะไหม ผเู้ ขา้ ร่วมแสดงความเห็น : ทีท่ าคือเร่อื งลกู เรือประมง คอื เขากจ็ ะไมก่ ล้าใชอ้ ะไรเลยเพราะกลัว แตว่ ิธกี ารจัดการของเขาคอื ปล่อย มนั ไป เขาเลยเปน็ เหย่อื ทาใหน้ ายจ้างเอารดั เอาเปรยี บเขา ในสถานะของเขาทไี่ มม่ ีอานาจตอ่ รองอะไร อ.นทั มนแสดงความเหน็ : กใ็ นกฎหมายแรงงาน เขาสามารถเขา้ ถงึ หรือใชก้ ฎหมายตวั น้มี ากน้อยแค่ไหน เชญิ ค่ะ ผเู้ ข้าร่วมแสดงความเหน็ : เคยทาท่ี PTRI ความจริงแล้วเรื่องแรงงานของรัฐ มีผู้ตรวจแรงงาน ถ้าเกิดมีปัญหาเร่ืองแรงงานก็ สามารถติดต่อผู้ตรวจแรงงาน แล้วเขาจะเป็นคนเช็ค เป็นคนฟ้องศาล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งอันนี้คนท่ัวไป อาจจะไม่รู้ แต่ผู้ตรวจแรงงานก็มีปัญหาเหมือนกัน เรื่องงบประมาณ จานวนคน หรือภาษาอะไรพวกน้ี เพราะ มันจะเหมือนมีพ้ืนที่หน่ึงจังหวัด หรือหนึ่งเขตมีผู้ตรวจแรงงานกี่คน คนหน่ึงที่จะต้องเข้าไปดูแรงงานตามท่ี ต่างๆ ทาตามหลักเกณฑ์กฎหมายรึเปล่า ซ่ึงมันเป็นช่องว่างทางกฎหมายเหมือนกันในสภาพความเป็นจริงว่า หน่ึงคนสามารถดูแลพื้นที่และจานวนแรงงานทั้งหมดหรือไม่ แล้วยังต้องมาทาหน้าท่ียื่นคาฟ้อง ร่างฟ้องกับ อัยการ คนทั่วไปก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธ์ิเหมือนกัน แต่กลัวว่าเราเป็นลูกจ้าง เราไปบอกเขาแล้ว นายจ้างจะทา ยงั ไง จะไล่ออกรึเปลา่ อ.นัทมนแสดงความเห็น :

ถามอาจารย์ต่ออีกนิดหนงึ่ ว่า ผใู้ ชแ้ รงงานมองผตู้ รวจเป็นพวกเดียวกับตัวเองรึเปล่า หรอื มองเป็นพวก นายจา้ ง ผเู้ ข้าร่วมแสดงความเห็น : ในมุมมองของผมเอง ผมไม่เคยลงไปสอบถามผู้ใช้แรงงาน แต่เคยทางานวิจัยที่ต้องสอบถามผู้ตรวจ แรงงาน ซ่ึงคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่ามี แต่ถ้ารู้ ในคดีส่วนใหญ่ ผู้ตรวจแรงงานจะอยู่ฝ่ังลูกจ้างหมดเลย แล้วส่วน ใหญ่ผ้ตู รวจฯ จะเปน็ คนสู้คดีกับนายจ้าง อ.นทั มนแสดงความเห็น : ส่วนหน่ึงที่อยากจะขยายคือ ขอยืมที่อธิบายมาเทียบกับงานในเชิง socio - legal studies ในแง่ของ มุมมองจากผู้ใช้แรงงานมองกฎหมายแรงงานอย่างไร อันแรกคือมองว่าเป็นเครอ่ื งมือท่ีจะชว่ ยตวั เองไหม จะใช้ ไหม สองคือกฎหมายแรงงานก็เป็นเครื่องมือของนายจ้างที่จะควบคุมเขา อันท่ีสามคือมองว่าไม่ใช้เลย ใช้ วิธีการต่อรอง พอเป็นแรงงานผิดกฎหมายก็จะเร่ิมปฏิเสธไม่มาแถวนี้ นี่เป็นมุมมองต่อกฎ อย่างผู้ใช้แรงงาน มองหรือมีทัศนคติต่อกฎหมายแรงงานอย่างไร ท้ังท่ีเราบอกว่ามันเป็นกฎหมายของเขาม้ัง คือการเข้าไปศึกษา หาคาตอบว่าคนหรือชุมชนมองกฎหมายแรงงานยังไง ในแง่ของตัวการศึกษาเชิงนิติสังคมศาสตร์ ตัวผู้ใช้ แรงงานในเชิง anthro จะมองเป็นคนๆ จากผู้ใช้แรงงานคนหนง่ึ เช่นท่ียกตัวอย่างพี่จันทร์ไม่ฟ้องลุงคนขับ คือ มองจากคนๆ หน่ึง แต่ถ้ามองจากสังคมวิทยาก็จะมองจากระบบสังคม มีกลไกอะไรบ้าง สถาบันการศึกษาเป็น ยังไง ผ่านงาน มีประสบการณ์ยังไง ระบบฟ้องคดีเป็นยังไง ประกันสุขภาพเป็นยังไง เพราะฉะนั้นในแง่ของท่ีพ่ี ใช้ตัวสีเหลืองสองอันคือเป็น anthropology กับ sociology มันจะเป็นภาพประกอบในงานเชิงมานุษยวิทยา กฎหมาย เพ่ืออศึกษาค้นคว้ากฎหรือกฎหมายอย่างกว้าง โดยมีวิธีวิจัยเกี่ยวกับคน หรือชุมชนน้ัน ถ้าจะสรุป แบบง่ายๆ สาหรบั ขอบเขตความหมายก็จะเป็นแบบน้ี วธิ วี จิ ัย ทีนี้วิธีวิจัยก็คือว่า เราอาจจะต้องใช้ศาสตร์อ่ืนเข้ามาประกอบด้วย เช่น สังคมวิทยา มนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รฐั ศาสตร์ การเมือง บริบททางสังคม เศรษฐกิจ วฒั นธรรม ทกุ อย่างจะเป็นองค์ประกอบให้คนๆ หน่ึงตัดสินว่าจะใช้หรือไม่ใช่กฎหมาย ความเช่ือ ศาสนา จารีต พวกน้ีมีอิทธิพลหมด พ่ีมีข้อสังเกตอันหน่ึงคือ พวกวิธีวิจัยเราใช้คาว่า research methodology ตอนแรกพี่ไม่รู้ จนจบเอกแล้วก็ยังไม่รู้เลย ว่าไอ้ methodology มันคืออะไร มใี ครจะชี้แจงไดบ้ า้ ง มันต่างจาก research method ยังไง ผ้เู ขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : ถ้าพูดถึงความแตกต่าง ระเบียบวิธีวิจัยนี่ต้องขอออกตัวก่อนว่าจบต่างประเทศเนาะ ก็อาจจะมีคนละ มุมมอง ถือว่าแลกเปลี่ยนกันดีกวา่ ถ้าเป็นต่างประเทศ ตัวน้ีจะเป็นลักษณะของการต้ังคาถาม แล้วพยายามหา

ซึ่งคาตอบภายใต้สมมุติฐาน เป็นอะไรที่เรียกว่าครอบคลุมเป็นวงกล เพราะฉะน้ันทุกจุดคาตอบที่หาได้ก็จะอยู่ ภายใต้น้ัน โดยที่จะสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยที่ไม่มีคาถามต่อมา อาจจะเป็นการต้ังเคร่ืองมือซ่ึงจะหา คาตอบส่วนหน่งึ พิสูจน์กรอบของมัน ส่วนเคร่ืองมือวิจยั เช่นพวกแบบสอบถาม เพ่ือเอาคาตอบว่าได้มาแบบนี้ เพราะฉะน้ันเขาเรยี กวา่ ไมต่ า่ งกนั มาก อ.นทั มแสดงความเหน็ : ตอนนพี้ วกเราไดค้ าวา่ วธิ วี จิ ยั เชน่ การทาแบบสอบถาม จะเกบ็ ขอ้ มูลยงั ไง กต็ อ้ งเรียนกนั ต่อไป ผเู้ ข้าร่วมแสดงความเหน็ : ระเบยี บวธิ ีวิจยั กเ็ หน็ ดว้ ยกบั ท่านทแ่ี ล้ว ระเบียบคือวธิ ีหรอื เคร่ืองมือทจ่ี ะค้นหาคาตอบซ่ึงคาถาม และ การไดม้ าซง่ึ คาตอบมวี ิธยี ังไง ผูเ้ ขา้ รว่ มแสดงความเห็น : เปรียบเทียบง่ายๆ คือจะไปที่แห่งหนึ่งแล้วจะไปยังไง ใช้รถใช้เรือ ก็จะมีแบบแผน มีทางไป ก็จะเป็น ระเบยี บวธิ ีวิจยั คือเรามจี ดุ หมาย แลว้ เราจะมีแบบแผนทจ่ี ะหาคาตอบนัน้ ได้ยงั ไง ผเู้ ข้าร่วมแสดงความเหน็ : ก็คงเหมือนกับท่ีอาจารย์หลายๆ ท่านบอก คือเป็นแนวทางในการใช้หาเพ่ือที่จะได้คาตอบ ซึ่ง หลากหลายกว่า research method นิดหน่ึง คือตัวนี้จะเป็นวิธีการที่จะเอาไปใช้ ส่วนระเบียบวิธีคือจะดู ภาพรวมก่อนว่าการจะไปหาคาตอบท่ีเราต้องการ มแี นวคดิ อะไรบ้าง แล้วเราจะไปยังไง อ.นัทมนแสดงความเห็น : ก็รวมๆ คือ มีวิธีคดิ ยังไง อย่างท่อี าจารย์บอกวา่ ถา้ เราจะเดนิ จากตรงน้ีไปหลงั ห้อง เรามี เราโอเคแหละ ว่าเราไปได้หลายทาง ท่ีอยากจะชวนให้ดูวันแรกคือ พรุ่งนี้ตอนบ่ายอ.สมชายจะพูดถึงงานวิจัยนิติสตรีศาสตร์ feminist legal research ทีน้ีพวกเราคุ้นกับเฟมินิสต์ไหม แนวคิดของเฟมินิสต์ จากท่ีเม่ือกี้ที่บอกว่าเรามีวิธี คิดยังไงท่ีจะเดินไป พี่จะยกตัวอย่างของ feminist legal studies คือคนที่จะศึกษาเรื่องนี้เขาก็จะบอกว่า กฎหมายใครออก เป็นเครื่องมือของใคร ลักษณะของการออก nature เป็นการครอบงา การใช้อานาจรึเปล่า กระทงั่ การใช้ พี่เคยเป็นวิทยากรแล้วถามว่า เคยมีคนมาตบพวกเราไหม ถ้ามีเราจะทายังไง สมมุติพี่จะบอกว่า แล้ว พวกเราเป็นใคร อย่างน้อยท่ีเราอยู่ในท่ีนี้ก็ไม่ต่ากว่า นบ. หรือ ป.โท หรือ ป.เอก เราเป็นใคร เรามีวิธีคิดยังไง แตเ่ ราก็จะทาอยา่ งนี้ไม่ได้เสมอไป สมมุติพ่เี ป็น ดร. ทางเฟมนิ ิสต์ที่ถกู ผวั ตบ แล้วพก่ี ็ไม่เขา้ ใจ เรากจ็ ะหาเหตผุ ล ต่างๆ นาๆ เรื่องน้ีคือการสะท้อนวิธีคิดที่อยู่ในหัวเรา อย่างเช่น อย่างน้ีเป็น feminist รึเปล่า พี่ก็ไม่รู้หรอก

ตอนแรกพ่ีก็จะรสู้ กึ ว่าตัวเองเปน็ คนนา่ รัก คิขุ แตจ่ รงิ ๆ ไม่จริงเลย พีส่ ายโหด ถงึ จะขีแ้ ยก็ตาม แตไ่ มย่ อมนะ ไม่ กล้ามีใครมาตบนะ แต่มีค่ะ มีคนหน่ึงท่ีเป็นวิทยากรเขาก็บอกวา่ น่ีไม่ใช่ feminist apposes ถ้าจะเป็นจะต้อง นุ่มนวล ต้องละเอยี ดอ่อน ไมจ่ ริง คือแบบ ถ้าถามวา่ ทาไมถงึ ตบเขา มันมหี ลายเฉดไง พ่ีกาลังจะบอกว่า เฮ้ย วิธีคิด ถ้าเราจะใช้ feminist legal research คุณต้องกระเทาะให้ออกถึง กฎหมาย ระบบสังคม มันมีอะไรครอบงาอยู่ น่ีเป็นตัวอย่างแรกที่พี่จะชวนพวกเราคิดถึง research method ไม่ใช่แค่เก็บยังไง แต่เราคิดยังไง นี่คือสิ่งท่ีครอบงาเราอยู่ เราคิดยังไง ใช้วิธีคิดอะไร พี่ค้นพบว่าพี่โหดก็ตอนท่ี ต้องสอนระเบียบวิธีวิจัย นต่ี ัวอย่างแรก อยา่ งท่สี องที่บอกว่าชอบชาติพันธ์ุ พ่กี จ็ ะไปเรียนมาจากสานักหนึ่ง คน ที่ศึกษาด้านนี้คุณต้องกระเทาะให้ออกว่ากฎหมายคืออะไร เป็นเคร่ืองมือของเจ้าอาณานิคมจะโดยสมัครใจ หรอื ไม่ก็ตาม แลว้ กฎหมายไทยเปน็ ไทยไหม เพราะงั้นเราอาจจะไม่ได้ถูกบังคับ แต่เราเชิญมาร่างกฎหมาย แลว้ ใครร่าง มันมีกล่ินอายของกฎหมายตะวันตกหรือที่อ่ืนมา ในแง่ของ ill genius legal studies เขาจะมองว่า กฎหมายมันเปน็ ผลจากการล่าอาณานิคม จากที่อ่ืนแล้วมาปรบั ใช้ แลว้ จะทายังไง คนทีจ่ ะเช่ือและศึกษาเร่ืองน้ี คุณต้องรู้เท่าทันว่ามันเป็นยังไงซะก่อน ตัวอย่างเช่น พี่เคยเรียน ก็มีเพื่อน เพื่อนก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เขาเอา ก้อนหินให้มาลองจับดูว่ารู้สึกอะไรไหม ให้ อ.เมย์จับ อาจารย์สัมผัสได้ไหมว่าเกิดอะไร เพ่ือนพ่ีพูดซะพ่ีร้องไห้ สะอึกสะอ้ืน แบบ มันคือธรรมชาติ มันคือโลกที่มันสัมผัสความเย็นความร้อน เพ่ือนพี่มันมีมุมมองของเขาต่อ ธรรมชาติ แล้วระบบกฎหมายท่ีเป็นอยู่ทุกวันนี้มองธรรมชาติเป็นยังไง มองว่าเป็นทรัพยากรท่ีใช้ประโยชน์ได้ แต่ไมไ่ ดม้ องว่าเป็นธรรมชาติ น่ีคือวิธคี ดิ ท่ไี มไ่ ดเ้ หมอื นคนเมืองท่ีมองก้อนหนิ คุณมีวธิ ีการมองโลกในอีกมุมหน่ึง และนี่คือวิธีคิดในระบบกฎหมายตะวันตก มีใครสอนไหม พยาน อะไรเป็นพยานหลักฐานได้บ้าง พยานหลักฐานมันตอ้ งเป็นเอกสารลงลายมือช่ือผูต้ ้องรบั ผิดชอบ นี่คือระบบกฎหมายที่เราคุ้นเคย จะไปขนึ้ ศาล มีพยานอะไร ลงลายมือชอ่ื ซะ คาถามคือเราอยู่ในสงั คมแบบหนง่ึ แต่ถ้าเราจะ recode ว่า แล้วเขาอยู่ยังไงในสงั คมน้ี เขาไม่ใช่คนใน ชาติ ชาวบา้ นท่ีเปน็ กลมุ่ ชาติพันธุ์ท่เี อาก้อนหินให้พจ่ี บั ถามวา่ มีปากกาเหรอ มีกระดาษเหรอ ไมม่ ี มันเปน็ เรื่อง เลา่ จารีตประเพณขี องเขาเขียนไว้ไหม ไมน่ ะ มันเปน็ เรอื่ งเล่าต่อกนั มา นีค่ อื เสน้ ทางวธิ ีคดิ มนั ประกอบด้วยวิธี คิดยังไง เวลาเรามองก้อนหินข้างทาง เราจะมองว่ามันคืออะไร คนท่ีศึกษา ill genius studies จะบอกว่า มัน คือกฎหมายท่ีมีชีวิต มันคือวิธีปฏิบัติท่ีคนใช้กันอยู่ ปู่ย่าทากับหลานยังไง หลานทายังไง ต้องเขียนไหม ไม่ต้อง เขียน และถ้าเมื่อไหร่ที่คุณเขียนปุ๊บ มันตาย อยู่ในกระดาษ มันไม่ใช่ living law ท่ีเกิดขึ้นในสังคมจริงๆ ถ้า สัมภาษณ์แล้วได้อะไรก็จดไว้ ก็จะได้ปัจจุบัน แต่เดือนหน้าจะเป็นง้ีไหม อาจจะไม่ใช่ มันเป็นกฎหมายท่ีมีอยู่ จริงๆ พวกนี้จะเช่ือถึง telling story เร่ืองราวที่สืบต่อกันมา นิทานความเชื่อ เมื่อไหร่ที่พี่เขียนว่ามีเพ่ือนเอา ก้อนหินมาให้จับ แล้วพี่ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร น่ีคือเม่ือปีไหนแล้วก็ไม่รู้ มันคือปรากฎการณ์ที่ถูกสตาร์ฟน่ิง แล้ว นี่คือตัวอย่างทพี่ ีอ่ ยากจะใหไ้ ปดรู ะเบียบวธิ ีวจิ ยั ความคดิ แนวคิดทคี่ รอบงางานวจิ ัยเรา เราเชอ่ื ว่าอะไร เรา

ใช้อะไรมาครอบงา นี่คือการมองเพ่ือทาความเข้าใจ เวลาเราไปเก็บข้อมูลเราต้องมีคาอธิบาย หรือความเข้าใจ วา่ เราจะไปเจอ แล้วเราจะมอง เราจะเปิดรบั แนวคิดวธิ ีการทีเ่ ราจะเจอ เราจะอธบิ ายยังไง ทีนี้เป็น research method เครื่องมือที่เราจะเก็บ มีอะไรบ้าง ทั่วไปเป็นเอกสาร มีคนบอกว่าทาวิจยั ทางกฎหมายตอ้ งมกี ารวิจัยทางเอกสารเสมอ เราเลยี่ งไมไ่ ด้ เราสอบถามอย่างเดียวไมไ่ ด้ แค่ทบทวนวรรณกรรม ก็เป็นวิจัยเอกสารแล้ว อ่ืนๆ เช่นสัมภาษณ์ กลุ่ม สารวจ แล้วท่ีพี่อยากพูดคืองานวิจัยเชิงชาติพันธ์ุ พวกที่เก็บ ข้อมูลจากงานวิจัยพวกน้ีเราอาจจะใช้ได้ กรณีศึกษาอาจจะเก็บได้หลายแบบ สมมุติพ่ีจะทาเร่ืองแม่เมาะ พ่ีจะ ทาเก่ียวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เลือกมาเคสหน่ึง ทีนี้ถามว่าพี่จะเลือกยังไง อาจจะเลือก documentary research ก็ได้ ทบทวนวรรณกรรม ดูว่ามันมีเอกสารอะไรบ้างทางกฎหมาย มีคาพิพากษา คาส่ังกฎหมายที่เก่ียวข้องยังไง บังคับใช้ยังไง มีปัญหายังไง น่ีคือเอกสารล้วนๆ หรือจะใช้สัมภาษณ์ เข้าไปดูใน ชุมชน ไปดูท่ีที่ได้รับความเสียหายจากโรงไฟฟ้า หรือพี่ไปคุยกับกองทุนโรงไฟฟ้าก็ได้ นี่คือเราอาจจะใช้ เครื่องมือหลายๆ อันในการค้นหาคาตอบก็ได้ ไม่จากัดว่าเราจะใช้วิธีเก็บข้อมูลอย่างเดียว ข้อสังเกตคือถ้าเป็น คน กไ็ ปเจอ ไปพูด คนในทน่ี อี้ าจจะเปน็ คนในชมุ ชนก็ได้ พม่ี ีตัวอย่างงานที่แรกๆ จะไปในพน้ื ท่ีที่ไมร่ ้จู ัก แต่บาง งานกไ้ ปดู เช่น คนเชยี งใหมท่ ี่ประสบอุบัติเหตมุ อเตอรไ์ ซค์เขาดาเนินคดหี รือไม่ มนั กจ็ ะแยกกนั ไป จุดเดน่ ของงานวจิ ยั เชิงชาติพนั ธุ์ ในแง่ของการเจาะกลุ่มชาติพันธ์ุ จริงๆ ตอนท่ีทางานวิจัยแรกๆ อ.สมชายเคยบอกว่าอย่าได้บังอาจเค ลมว่าเราทากลุ่มนี้ ปกติงานเชิงมานุษยวิทยา เวลาเราจะเก็บข้อมูล ถามว่าต้องไปศึกษาชุมชนหนึ่ง คุณต้องใช้ เวลานานขนาดไหน ในการทาความรูจ้ กั ในชมุ ชน ต้องเขา้ ไปฝังตวั ในชุมชน งานหน่ึงทาอยู่ 20 ปี แต่ไมใ่ ชว่ า่ เขา จะอยู่ในนั้นตลอดนะ อย่างอ.เดวิด ใช้เวลา 30 ปีในการเก็บข้อมูลต้ังแต่ 1975 ท่ีแกมาเก็บข้อมูลคดีละเมิดที่ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2013 แกก็กลบั มาอีก ในงานศึกษาแบบนี้ กฎหมายไม่ไดใ้ ช้แบบเตม็ รูปแบบ อยา่ งทจ่ี ุล ศักด์ิเล่าให้ฟังว่า จะไปเป็นใครก็ไปใช้บริการ ไปให้บริการเลย ในงานเชิงมานุษยวิทยากฎหมาย เราเข้าไปเก็บ ขอ้ มลู สังเกตการ โดยทั่วไปเขาบอกวา่ อยา่ งนอ้ ยคุณต้องไป 1 รอบปี คอื วิถชี วี ติ ของคนในชมุ ชน 1 รอบปี วงจร ชีวิตเขาเป็นยังไง ก็ต้องเป็นรอบปีหน่ึง คือการเข้าไปศึกษาในพื้นท่ี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ โดยอาศัยบริบท ต่างๆ ของชุมชนน้ัน การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ เขาทายังไง กินยังไง อยู่ยังไง มาชุมนุมไหม น่ีคือการ สังเกตการณ์ นอกจากดูก็อาจจะไปชวนคุย ใครเคยไปลงเกบ็ ข้อมลู ในพื้นท่ี สว่ นใหญข่ องการเก็บข้อมูลท้องถิ่น จาเป็นไหม กไ็ ม่ แตถ่ า้ ลงก็จะเตมิ เต็มใหก้ ับงาน สมมุติว่าในแง่ของการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ เรามักจะไปคุยกับเขาด้วย คุยเรื่องอะไร ในแง่ วิถีชีวิต ถ้าในงานชาติพันธ์ุ มันจะเป็น life story หลังๆ มาสังเกตว่าคนที่ลงพื้นที่มักจะมีมาเลย พ้ืนที่นี้เป็นมา ยังไง โดยเฉพาะถา้ เปน็ ทีท่ ่ีนิยมไปทาวจิ ัยก็จะมีประวัติชมุ ชนให้เสรจ็ เลย เพราะจะมีหนว่ ยงานตา่ งๆ เขา้ ไปช่วย เสมอ แต่ไม่ใช่แบบข้อมูล จปฐ นะ แต่มาแบบ มาจากไหน ประกอบไปด้วยใครบ้าง แต่ถามว่าใช่ story ท่ีเรา

อยากได้ไหม ไม่เสมอไป สมมุติพี่อยากรู้ว่าชุมชนนี้มีวัฒนธรรมยังไง สร้างครอบครัวยังไง แต่งงานกันไหม ทา ยังไง ก็จะเอาประวัติของใครสักคน มันอาจจะเกิดจากการคุย อย่างที่เราพูดถึงกระบวนการการเป็นหมอนวด การสัมภาษณ์อย่างเดียวก็ต้องระวัง เขาอาจจะเล่าสิ่งท่ีเราอยากได้ยิน เช่น ทาไมขายตัว เพราะพ่อยากจน เป็นอัมพาต ต้องใช้เงินเรียน อะไรพวกนี้ คาถามก็ต้องใช้เคร่ืองมือหลายๆ อย่างประกอบกัน ในการเก็บข้อมูล ทีน้งี านทีก่ ารที่จะใหเ้ ขาเลา่ เรอื่ งเขาก็สาคัญ การศกึ ษาแบบ mythography กจ็ ะเป็นการศึกษาชุมชนทใ่ี ห้ข้อมลู ไดก้ ว้างและลึกตามที่นักวจิ ัยอยาก ได้ ทนี ใ้ี นแงข่ องการเข้าพ้นื ท่ี มันจะมเี งอื่ นไขคือ อนั นเี้ ป็นข้อสังเกตหรือขอ้ คดิ คอื เราต้องเข้าไปอยา่ งธรรมชาติ ไม่รบกวนวิถีชีวิตของเขา พี่เคยเข้าไปทาของ กกต ก็ไม่รู้หรอก ตอนน้ันเป็นนักกฎหมายเต็มตัว เราก็ไม่รู้เร่ือง อะไร วันน้ีว่างก่ีโมงก็ไป ชาวบ้านก็ไม่ว่าง เราก็จะต้องถามว่า เวลาไหนเขาสะดวก ถ้าเขาทาเย็น เราก็ต้อง กลางวัน สรุปคือตอนไปก็ไปตอนเย็น ชาวบ้านกินข้าวเสร็จแล้ว เขาก็จะมาน่ังล้อมวงคุยกัน อันที่ 2 ก็แฝงตัว สังเกตการณ์ อันท่ี 3 คนท่ีจะเข้าไป จะไปดุ่มๆ ได้ไหม ก็อาจจะได้เหมือนกัน แบบ มีกุญแจนาเราไปสู่พ้ืนท่ี ปรากฎว่าลูกศิษย์คนหน่ึงทาเร่ืองป่าแดง ถามว่าแล้วเข้าไปในชุมชนยังไง เขาก็บอกว่าขี่มอเตอร์ไซค์ไป ไปเจอ ใครก็เข้าไปคุยกับเขา เออ แล้วคนน้ีมาจากไหน เขาคงแนะนาตัวแหละ แต่จาเป็นเสมอไปไหมว่าต้องมีกุญแจ เข้าไปในชุมชน อยู่ๆ ไปชวนแม่ค้าร้านก๋วยเต๋ียวคุย พ่ีมีเพ่ือนคนหน่ึงเป็นตารวจ เขาก็จะแฝงตัวเพื่อดูว่า เออ เมอ่ื ไหรค่ นนี้จะขายซีดเี ถื่อน เขากจ็ ะไปกินกาแฟท่ีร้านน้ันทุกวนั จนวนั หน่ึง คอื ไปสองเดือนได้ คนขายกาแฟก็ ถามว่า “พ่ี จะจบั กจ็ บั ซะทเี ถอะ มาอยไู่ ด้ มานานแล้ว” เพอ่ื นพ่กี ็ตกใจแบบ รูไ้ ดไ้ ง ว่าเปน็ ตารวจ เขาก็ถาม แต่ พี่เพ่ิงกลับมาจากกรุงเทพเม่ือวาน ไปซื้อของ คนก็ทัก “อาจารย์” เราก็ เฮ้ย รู้ได้ไงเราเป็นอาจารย์ หน้าให้เปน็ มากเลยเหรอ พ่ีก็แบบ รู้ได้ไง คนขายก็บอก “คนท่ีมาซ้ือร้านนี้มีสองแบบ ไม่ผอ. ก็อาจารย์” พี่เลยประทับใจ มากว่าแบบ มองทะลุเลย คือ gatekeepers ก็สาคัญ ว่าเราจะได้ความไว้วางใจจากคนท่ีให้ข้อมูลในชุมชนรึ เปล่า พ่ีเคยไปทาวิจัยที่แม่ทา แล้วก็เรื่องจะเข้าไปชุมชนหนึ่งเน่ีย ที่ไปคือเป็นพ้ืนที่เปิดด้วยซ้า ถ้าใครเคยตาม ข่าว คือจะมีคนเข้าไปเขาก็รับแขกกันปกตินะ แต่ตอนพี่จะไปคือ พ่ีจะไปแม่ทา แล้วก็มีเหตุให้หน้าแตก เขาก็รู้ แล้ววา่ ไอน้ จี่ ะมาดีมาร้าย ปรากฎวา่ ท่แี มท่ าเคยทะเลาะกบั ป่าไม้ ปรากฎว่าพจ่ี ะใหเ้ จา้ หน้าทป่ี ่าไมแ้ นะนาว่าจะ ทาเร่ืองป่าชุมชน เจ้าหน้าท่ีก็พาเข้าไปเลย คือคิดภาพว่าเขาเพิ่งเผาไร่หัวหนา้ อุทยาน คือถ้าเราจะใช้เจ้าหน้าท่ี เป็น gatekeepers เข้าไป เขาจะพูดกับเราไหม อีกอันหน่ึงคือผู้ใหญ่บ้าน พวกเราคิดว่าผู้ใหญ่เป็นกุญแจเข้า ไปสู่ชุมชนท่ีดีไหม แล้วแต่นะ ต้องมีเซอร์เวย์เบ้ืองต้น ปรากฎว่าท่ีแม่ทาเหมือนกัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นคนทาร้าย เปน็ เจ้าของโรงเลื่อยหรือปา่ ไม้เถื่อน ชาวบ้านเป็นคนที่แจง้ ความจับ คือถ้าเราหูหนวกตาบอดเอาผู้ใหญ่บ้านพา เขา้ ไปในชมุ ชน ตายอีกเหมือนกนั ชาวบ้านก็ไมเ่ อา น่ีคอื ความสาคญั ของกุญแจ ทงั้ หมดน้ที ีเ่ ราจะเขา้ ไปในชุมชน อันแรกกค็ อื มนั เปน็ ขอ้ มูลชั้นตน้ ทเี่ ราเข้าไปเก็บได้ ถ้างานของเราเรา เข้าไปตอนนี้ เกิดเหตุการณห์ นึ่งขึ้น มันเป็น fact อย่างหนงึ่ อันท่ี 2 ความสาคัญของงาน คอื เราจะอธบิ ายยังไง อันน้ีคือความยากของงานวิจัยเชิงเก็บข้อมูล ยกตัวอย่างเช่นเราไปเจอชาวบ้านเก็บเห็ดถอบ ไข่มด แม่ก็ทา

หน้าท่ีว่าเก็บเท่าไหร่ เก็บช่วงไหน หญิงชายมีบทบาทต่างกัน น่ีเป็นเร่ืองที่เห็นอยู่รู้อยู่ ความดีงามของมันคือ เราสามารถเก็บเท่าท่ีเราเก็บได้ ถ้าไม่ได้ก็อยู่มันอย่างนั้นแหละ มันไม่เหมือนเอกสาร เรามีเอกสารปึกหน่ึง ถ้า เอกสารไม่เขียนคุณก็หยุดแค่น้ัน ถ้าเราลงพื้นที่เราก็สามารถพลิกแพลง ตั้งคาถามส่ิงที่คุณอยากได้ ถ้าไม่ได้ก็ เปลี่ยนคาถาม พี่เคยถาม ตอนนั้นโลกสวย คาถามพี่คือ พ่ีก็เอามาดู ไปดูชาติพันธุ์ในภาคเหนือท้ังหมด พี่ก็เออ แลว้ จะเจอชาตพิ นั ธุ์ท่ีทาป่าชมุ ชนยังไง อยากไดท้ จี่ ัดการป่าชมุ ชน แตค่ อื คาถามกผ็ ิดแลว้ ไง คดิ ว่าพีจ่ ะเจออะไร ถามใคร ใครจะเป็น gatekeepers ไม่ใช่ชุมชนธรรมดานะ ชุมชนด้ังเดิมนะที่จัดการป่าชุมชน เพราะอะไร เพราะมันยังมี agentic community เหลืออยู่ มันหายากมาก คาถามคือถ้าเป็นที่จินตนาการตอนนี้ แบบ ผีตองเหลอื ง ถา้ จะคดิ ออกตอนนนี้ ะ คาถามคือผีตองเหลืองเขาทาป่าชุมชนเหรอ โดย nature กไ็ มไ่ ด้ไปดว้ ยกัน แลว้ เพือ่ อะไร มีกลมุ่ มารีบูรเี หลือก่ีกลุ่มในประเทศไทย แลว้ เปน็ การจัดการปา่ ชุมชนไหม กไ็ ม่ใช่อีก แลว้ พี่จะรู้ ได้ไงใครทาป่าชุมชนบ้าง พ่ีจะไปท่ีไหน คุณอารยะก็แนะนาให้ว่าชุมชนที่จดั การป่าชมุ ชน พี่จะต้องไปหาท่ีไหน คะ ผเู้ ขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : เขา้ ไปทม่ี ูลนิธิทีเ่ ขาจดั การอยู่ อ.นัทมนแสดงความเห็น : พ่ีใช้วิธีนี้แหละ ไปดูว่าท่ีไหนทาป่าชุมชนบ้าง แล้วอีกแบบหน่ึงที่พี่ไม่ได้ไป คือกรมป่าไม้ กรมก็มีป่า ชุมชนเหมือนกัน การเก็บข้อมูลเชิงลึก และการมององค์รวม และการเก็บข้อมูลต่อเน่ือง คือเราต้องมองทุกมิติ แล้วมาประมวล ไปคุยกับเขาแล้วดูว่าเขาคิดยังไง สมมุติพี่อยากศึกษาเรื่องผู้หญิง พี่ก็ต้องเลือกคุยสักคนหน่ึง เขาเกิด โต สร้างครอบครัวยังไง ประกอบอาชีพยังไง นั่นคือ life story ของผู้หญิงคนน้ี แล้วหลังจากท่ีเราได้ แล้วยังไง วิธีวิเคราะห์มันจึงสาคัญว่าเราจะมองยังไง สมมุติพี่ทาเป็นวิถีชีวิตของผู้หญิงชาติพันธ์ุผ่านมุมมอง ของเฟมินิสต์ เช่นการถือครองทรัพย์สิน คือมันเป็นงานมานุษยวิทยา แต่มันจะมาเป็น legal anthropology ยังไง มันเป็นเม่ือเรามองผ่านมุมมองทางกฎหมาย เช่น วิถีชีวิตของผู้หญิงคนนี้เมื่อแต่งงาน แล้วสิทธิที่ ครอบครวั เปน็ ยงั ไง กับสามเี ป็นยงั ไง สทิ ธิในการดแู ลลูก ปรากฎว่าผู้หญิงคนน้หี ยา่ แล้วหย่าแลว้ ทาไง กฎหมาย ครอบครัว วัฒนธรรมท่ีเข้ามาครอบผู้หญิงคนนี้ เขาจะประกอบอาชีพอีกได้ไหม สิ่งที่ผูกติดเขาไว้กับสามี ความสัมพนั ธร์ ะหว่างแมผ่ ัวลูกสะใภ้ มองผ่านระบบกฎหมาย จากเดิมระบบกฎหมายของเรา ครอบครวั มรดก ทีด่ ิน มองผ่านกฎหมายชาตพิ นั ธ์แุ ละผหู้ ญงิ และถ้าเปน็ มานษุ ยวทิ ยา มองผา่ นกฎหมายกฎเกณฑ์ทเี่ ขาใช้ จุดออ่ นของงานวิจัยเชงิ ชาติพนั ธุ์ จุดอ่อนของงานเชิงชาติพันธเ์ุ น่ยี คือเราจะเอาตัวเอาอธิบาย อย่างท่ีพี่ถามว่าถ้ามีคนตบเราจะทายังไง คือน่ีเป็นมุมมองของเรา แต่ถ้าเป็นเขาล่ะ เขาทายังไง ตอบโต้ยังไง จุดอ่อนน้ีคือส่ิงที่เราต้องระวัง อย่าเอา

มุมมองความคิดของเรา หรือกระท่ังเราศึกษากฎหมายแบบน้ี เราศึกษากฎหมาย ประมวล เนติบัณฑิตไทย วชิ าการกฎหมายไทย ไปจบั กบั กฎหมายชาติพนั ธ์ุ ซึ่งเขาอาจจะไม่มรี ะบบอย่างที่เรารู้จัก แต่เรามองอย่างที่เรา คุ้นชนิ เพราะฉะนัน้ ต้องระวังแวน่ ตาของเรา อันท่ี 2 เวลาบอกเลา่ เรื่องราว มนั มคี วามซับซ้อนมากกว่านน้ั เช่น แรงงานผิดกฎหมาย ถามวา่ เขาคิดว่าเขาอาจจะถกู จับถ้าเขามารอ้ งเรียนหรือบังคับใชก้ ฎหมายแรงงาน จริงไหม เขามีขอ้ มูลไหม หรอื อยา่ งเช่น เขาไม่รูก้ ฎหมาย หรือเขาไมไ่ ว้ใจผู้ตรวจแรงงาน สมมตุ วิ ่านค่ี อื ความซบั ซ้อนของ ปัญหา สมมุติว่าเราเป็นอาจารย์ เป็นนักกฎหมาย เราจะต้องผดุงความยุติธรรม ท่ีปลูกฝังมาตั้งแต่แรก ทุกคน เชื่ออย่างนี้ไหม ถ้าเราปลูกฝังมาแบบนี้ ตอนนี้อบรมอาจารย์ใหม่ เราต้องรักสถาบัน เราต้องเป็นลูกช้าง ลูกแม่ โดม นี่คอื การปลูกฝัง หรอื ถา้ เปน็ MK คือต้องออกกาลังกาย ตอ้ งกินอาหารสุขภาพ น่ีคือการบอกเลา่ ว่าอะไรดี อะไรสิ่งท่ีเราควรทา มันเป็นเร่ืองจริงหรือส่ิงท่ีเราเชื่อ แล้วถ้าเราจะไปวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรข้ึนในสังคม มันคือ ความยาก ถ้าเราจะบอกวา่ คอื ผ้หู ญงิ คนหนง่ึ ยงิ สามีแลว้ รอ้ งไหร้ ้องห่ม ตารวจก็มาถามวา่ ยงิ จริงไหม จรงิ คอื มี งานเกี่ยวกับ better bride syndrome คือความลับ แบบผู้หญิงถูกซ้อมมากๆ ก็อาจจะลุกขึ้นมาทาอย่างไร อย่างหน่ึงได้ อย่างเช่นคดีแม่ใจยักษ์ตัดคอลูก แม่ที่ถูกท้ิงให้เลี้ยงลูกคนเดียว แล้วก็ต้องทางาน อยู่ใน สถานการณ์เครียด ตัดคอลูก ก็เป็นแม่ใจยักษ์ไป แต่ถ้าเป็นระบบกฎหมายที่ก้าวหน้า จะต้องฟังว่าข้อต่อสู้ของ ผู้หญิงคนน้ี มีสภาพจิตใจที่กดดัน ผลักดันให้เขาทาอย่างใดอย่างหน่ึง เขาไม่ได้เจตนา แต่คนนี้บอกสามีไม่เคย ซ้อมเลย ตารวจถามว่าแล้วเป็นยังไง เขาก็บอกว่า ฉันไม่ดีเอง ฉันทากับข้าวห่วย ฉันเลว ฉันอ้วน ไม่สมควรกับ การเป็นแม่ของลูก ฉันกลัวลูกฉันอาย ผู้หญิงคนน้ีถูกกระทาโดยสามี ทาร้ายจิตใจโดยพูดกรอกหูว่าแย่ อ้วน ป่วย ทากับข้าวไม่อร่อย ทาความสะอาดไม่ดี คือกลายเป็นโรคท่ีเป็นทางจิตใจข้ึนมา ทาให้เขาบอกว่าเขาฆ่า สามเี อง สารภาพ แตจ่ ากสงิ่ ท่เี ขาคิด หรอื เช่อื หรือในแง่ของกรศึกษาอันหน่ึงในสังคมอเมริกัน ที่เคยศึกษาเรื่อง civilize movement ของคนดาใน อเมริกา เขาว่าการศึกษาตรงนี้ จะมีจากคดีแรกๆ ที่เข้ามาตอบประเด็นว่า law and social เป็นไง จากการ บอกว่ากฎหมาย มีคาพิพากษาที่ว่า เราต้องแยกกันระหวา่ งคนดาคนข่าว แต่เราต้องเคลียร์กันนะ น่ีคือบรรทดั ฐานของศาลสูงแรกๆ แล้วคนดาที่ถูกจัดล่ะ เขาต้องรู้ว่าตาแหน่งแห่งที่ของเขาอยู่ตรงไหน น่ีคือส่ิงท่ีเราไปเก็บ ข้อมลู คอื เราตอ้ งรูใ้ ห้ไดว้ ่า เขาพูดอะไร เชน่ ผหู้ ญิงที่ฆ่าสามตี าย หรือคนดาทถ่ี กู หลอกให้เชื่อวา่ คุณเป็นคนต้อย ต่า โง่ น่ีคือความยาก อกี อนั คอื ปกตเิ ราไปในชุมชน เราต้องไม่ไปแทรกแซง เหมอื นเราเป็นช่างภาพสารคดี ไป ถ่ายทาชีวิตสัตว์โลก คุณต้องไม่แทรกแซง เสือกาลังกินกวาง คุณขัดขวาง กวางหนีรอด ปรากฎว่าเสือไม่ได้กิน อะไรมาสามเดือนแลว้ มีลูกอีกสามตัวอย่างน้ี แนวคิดนคี้ อื เราตอ้ งไม่เข้าไปแทรกแซงเวลาเกบ็ ข้อมลู พี่เขา้ ไปใน ชุมชน แล้วมีคนบอกว่า น่ีมีโซล่าร์เซลล์ มีจานดาวเทียม มีรถ มีอินเตอร์เน็ต เราควรจะแบบ บอกว่านี่เป็น เทคโนโลยีที่ไม่มีประโยชน์นะ กลับมาปลูกพืชเล้ียงสัตว์เหมือนเดิม เราทาได้ไหม คุณอย่าพัฒนาเลย อยู่แบบนี้ เถอะ ชีวิตแบบน้ีมันสวยงาม คือ เฮ้ย เรามาใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง ง่ายๆ ทีน้ีก็มีแบคแพคเยอะมาก ประเด็น คือเราไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซงรเึ ปล่า แต่ถ้าเราเจออะไรบางอย่าง พ่ีเคยไปสันป่าตอง คนงานทาเฟอร์นิเจอร์

นายจ้างเป็นคุณลุง ลูกจ้างก็จะรู้สึกว่าลุงเป็นผู้มีพระคุณ พอทางานเสร็จคุณลุงก็เล้ียงข้าวน้า แต่ไม่เคยให้ค่า ทดแทนสาหรับผู้ทุพลภาพ เราเป็นคนไปสัมภาษณ์ เราจะบอกว่า ลุงไม่จ่ายค่าตอบแทน คุณต้องไปฟ้อง ให้ลุง จ่ายนะ รเึ ปลา่ หรอื ถ้าเขาแบบ happy life ตลอด ลงุ เปน็ พี่ชายแม่ แม่กแ็ ฮปปีท้ ล่ี งุ ดูลูกของตัวเอง แตเ่ ราบอก ว่า ลุงทาผิด เราต้องฟอ้ งเรียกค่าทดแทน ประเดน็ แบบน้ี เราจะต้องแทรกแซงไหม ถ้าเป็นพี่ พจ่ี ะบอกวา่ ปล่อย ให้เขามีความสุขแบบนี้ต่อไปเถอะ แต่ถ้าสมมุติเราไปเจอเด็กผู้หญิง แล้วถูกพ่อข่มขืนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เราจะ ไมแ่ ทรกแซงเหรอ นเ่ี ป็นทฤษฎีนะ กญุ แจเขา้ สู่พ้นื ที่กต็ ้องระวังใหด้ ี การบอกเล่าเรื่องราวมันอาจจะเป็นมุมมอง ของเขาหรอื เรา ข้อคดิ ในงานวิจัยเชงิ มานษุ ยวิทยา แนวคิดวิธีการนาเสนอสาคัญมาก น่ีคือจุดอ่อนที่ต้องระวังอย่างมาก ตัวอย่าง มีงานในยุคแรกๆ ท่ีจะ ไปพื้นที่ไกลๆ ท่ีเราไม่รู้จัก เช่น เขาไปท่ีหมู่เกาะแถวปาปัวนิวกินี เพื่อไปดูว่าสังคมดั้งเดิมมีการจัดการ อาชญากรรมอย่างไร ระบบดง้ั เดมิ ท่ีใช้กับคนทาผิดกฎหมาย อนั ที่ 2 เป็นงานของคนท่ีถ้าจะเรียกวา่ เป็นเจ้าแม่ เป็นงานช้ินแรก เข้าไปดูในหมู่บ้านในแม็กซิโก ว่ามีวิธีการจัดการ การใช้วิธีจัดการข้อขัดแย้งในพ้ืนที่อย่างไร เขาเป็นท่ีเขียน anthropology of law อีกคนหน่ึงก็เป็นคนเขียนพหุนิยมทางกฎหมาย งานของเขาจะพูดถึง legal culture, legal consciousness เป็นยังไง 3 คนแรกเป็นนักมานุษยวิทยาที่เข้ามาศึกษากฎหมายท่ี เก่ียวกับมานุษยวิทยา อีกคนเป็นอาจารย์กฎหมาย เขาเข้าไปศึกษาชีวิตของผู้หญิงในชุมชนท่ีบอสซาวันน่า 2 พูดว่าเขามี life story เป็นยังไง การจัดการ สิทธิในทรัพย์สินเป็นยังไง สองคนนี้หย่าร้าง วิถีชีวิตหลังการหย่า เปน็ ยงั ไง ระบบกฎหมายทน่ี ามาใช้เป็นยงั ไงบ้าง งานที่เล่าให้ฟังของอ.เดวิด ชาวบ้านที่เชยี งใหม่เวลาได้รับอุบัติเหตุ เขามีท่าทียังไง เขาฟ้องตารวจไหม ฟ้องศาลไหม อ.เดวิดจะมองว่า จะมีการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลข สถิติ ตอน 30 ปีท่ีแล้วมีมอร์เตอร์ไซค์เท่าไหร่ ตอนน้ีมีเท่าไหร่ จานวนสถิติอุบัติเหตุเป็นเท่าไหร่ ท่ีโรงพัก ท่ีโรงพยาบาลบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ เท่าไหร่ เขาพบว่ามันไม่ได้มีนัยยะสาคัญ คือจานวนมอเตอร์ไซค์เพิ่มข้ึนมหาศาล แต่คดีเพ่ิมขึ้นนิดเดียว แกก็ สัมภาษณ์คนท่ีโรงพยาบาล ไปหลายๆ ครั้ง ถามว่าเกิดอะไรข้ึน คิดยังไง หลังเกิดอุบัติเหตุคิดยังไง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ จะเป็นวิธีท่ีใช้ว่า คนท่ีได้รับอุบัติเหตุมีวิธีคิด มองกฎหมายยังไง คือจากคนๆ หน่ึงถูกรถชน ก็จะ เป็นคนท่ีได้รับประสบการณ์ตรงน้ี อีกคนก็เป็นเพ่ือนกัน เป็นคนเจเนอเรชน่ั เดียวกัน งานวิจัยที่เขาทารว่ มกันก็ ไปดูว่า กฎหมายสิทธิคนพิการ คนพิการทาไมใช้หรือไม่ใช้กฎหมาย คิดยังไง เช่นคนหนึ่งบอกว่า ถึงเค้าต้องน่ัง วลิ แชร์ เขาก็ไม่ใช่คนพกิ าร เขาก็มีศกั ดิ์ศรี เขาไมจ่ าเปน็ ต้องใช้สิทธิต์ รงน้ี ปฏเิ สธทจ่ี ะใช้สทิ ธิ์ กจ็ ะเป็นวิธีคิดของ คนท่ีไม่เหมือนกัน น่ีคือ legal concustic อีกคนทาคนเดียว มาสัมภาษณ์นักกฎหมายของไทยท่ีทาเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน เขาทาเป็น journal Asian lawyer ซึ่งเขามาสัมภาษณ์ต้ังแต่ 30 ปีท่ีแล้ว แล้วก็มาทุกๆ 3 – 4 ปี เราเรยี กวา่ การทาแบบเปน็ ระยะๆ เพ่ือดคู วามเปลี่ยนแปลงของวถิ ชี ีวิตของคน

ทีน้ีดูของไทย งานด้านมานุษยวิทยาทางกฎหมายที่ทาโดยคนไทย คิดว่าทุกคนคงคุ้นกับงานช้ินนี้ คือ การเข้าไปดูสิทธิในสายตาของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นไง การจัดการทรัพย์สินเป็นไง ตามรัฐธรรมนูญยังไง มีเวลาไม่ มาก เลยจะขอถามว่ามีใครไม่คุ้นกับงานรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมบ้าง เล่าให้ฟังคร่าวๆ คือ เราน่ะจาข้ีปาก ฝร่ังมา ว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด แล้วทาไมยังเกิดการฉีกท้ิงกันบ่อย เขาอธิบายว่าจริงๆ แล้วมันมี รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม เรามองไม่เห็นแต่มันเป็นระบบกลไกโครงสร้างทางสังคมอยู่ ซ่ึงละเมิดมิได้ มี สถาบันอะไรอยู่ เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ กองทัพ ถามว่ามีตัวตนในทางโครงสร้างรัฐธรรมนูญแบบเป็น ทางการอยู่ตรงไหนเหรอ กองทัพอยู่ตรงไหนในรัฐธรรมนูญแบบกระดาษของเรา ไม่มีนะ อยู่ใน กระทรวงกลาโหม แต่พอในรัฐธรรมนูญที่เกิดข้ึนจริงในสังคมไทย ทาไมกองทัพถึงกลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาว อาจารย์อธิบายว่าน่ีคือสถาบันที่มีตัวตนจริงในสังคมไทย น่ีคือวิธีการอธิบายท่ีอาจารย์นิธิใช้วเิ คราะห์กฎหมาย รัฐธรรมนูญของไทย ว่ามี law in action อย่างไร อยากให้พวกเราดูว่ามันเป็น legal culture คือมองแบบ ภาพรวมว่าสถาบนั ทางกฎหมายของไทยมีอะไรบา้ ง สถาบันพระมหากษัตริย์ ศาสนา กองทัพ สส นักการเมือง ข้าราชการประจา แล้วมปี ฏิสมั พันธ์กันยงั ไง น่คี อื ของไทยเรา งานทเ่ี ล่าใหฟ้ งั ครา่ วๆ ตอนแรกท่ีสนั ปา่ ตองก็เป็น งานวจิ ยั แบบนี้อยา่ งหนึ่ง อันนี้เล่าให้ฟังเฉยๆ นะ พอทาวิทยานิพนธ์จบ ท่ีไปศึกษา 3 คน พี่อะไรที่อยู่เหมืองแร่ จาไม่ได้ อ้อ สมัย และจินตนา สามคนน้ีเขาคิดยังไง ที่มาทาคือ เอาน้ามาวาง โต๊ะจีนล่ม ทาแผงก้ันล่ม ถามว่าผิดกฎหมาย ไหม ผิดนะ แต่วิธีคิดวิธีมอง การพิทักษ์สิทธิ์เพ่ือการจัดการสิ่งแวดล้อมยังไง มีอีกเร่ือง เวลาเราไปเล่นพนันไก่ ชน เขาต่อรองไม่มีหลักฐานอะไรเลย แต่ทุกคนกลับมาใช้หน้ีพนัน ท้ังที่ไม่จาเป็นต้องใช้กันตามกฎหมาย อะไร คือสิ่งที่ทาใหเ้ ขากลับมาใช้หนี้ เปน็ สาเหตุใหค้ นสานกึ มาใช้หนี อันน้เี ป็นนติ สิ านึก เหมอื นอ.เดวดิ แองเกล สุดทา้ ย เรอ่ื งทเ่ี ล่ามาท้งั หมดคือความสาคัญคือ เราตอ้ งมีพ้ืนฐานคาอธบิ ายทางกฎหมายพอสมควร ว่า เราจะคิดยังไง นักสังคมวิทยาทางกฎหมายในยุคแรก เขาเขียนงานขึ้นมา เป็นต้นตารับของการเขียนงานทาง สังคมวิทยากฎหมาย เขียนนานมาก แต่ตอนน้ียังมีคนเขียนงานตาม เช่น living law ถ้าเราคีย์คาน้ีเราจะเห็น งานของแกเพ่ิมขึ้นมา จะมองแบบไหนก็แล้วแต่ แต่จะใช้คาอธิบายว่ากฎหมายท่ีมีชีวิตเป็นยังไง ของพ่ีก็มี วารสารนิติสังคมศาสตร์ อีกคน งานของเขาเองน้ันเป็นงานกฎหมายเป็นวิศวกรสังคา ซ่ึงมีข้อถกเถียงอยู่ เช่น คนที่เขียนเร่ือง legal system และ law and society คนนี้เนี่ยมีข้อถกเถียงเยอะมาก เช่น เราจะรู้ได้ยังไงว่า สังคมเรามีวัฒนธรรมของกฎหมายยังไง เราจะหามาได้ยังไง งานพ่ีพยายามอธิบายว่ารู้ได้ยงั ไงว่ามันไม่มีการใช้ กฎหมายป่าชุมชน จะเคลมว่านักกฎหมายไทยไม่ได้เคารพรัฐธรรมนูญ พ่ีจะทายังไง คนน้ีเขาจะบอกว่า ไปดู legal system ไปดูโรงเรียนกฎหมายว่ามนั มีนิติวธิ ียังไง ไปดูการสอบเนติ การสอบตั๋วทนาย ไปสอบผ้พู ิพากษา คืองานเขากว้างเกินไป งานของอ.เดวิดโต้แย้ง วิพากษ์ว่ามันกว้างมาก คุณไม่สามารถอธิบายได้อย่างเสร็จ สมบูรณ์ พูดง่ายๆ คือ คุณดูอุดมการณ์ทางกฎหมายยังไง เพ่ือดูว่าเขามีวัฒนธรรมในการใชก้ ฎหมายยังไง และ การใชก้ ฎหมยยุคใหม่ ปญั หาทีก่ ารทาวิจยั พอเราเขา้ ไปในเขตแดนตา่ งชาติ นักกฎหมายเยอะมาก มลี กู ศษิ ยค์ น

หนึ่งท่ีเขียนระเบียบวิธีวิจัยแบบ ตัวแปรนา ตัวแปรตาม เอาออกไปเลย มันไม่เมคเซ้นท์สาหรับงานวิจัยทาง กฎหมาย อะไรคือตัวแปรนาตัวแปรตามล่ะ จะอธิบายยังไง ไม่ต้องใช้ ลืมไปเลย หรือแม้แต่จะไปลงพ้ืนท่ี พ่ี อัญเชิญทฤษฎีมาประมาณ 4 ทฤษฎีมาเต็ม อาจารย์บอกว่าคืนไปให้หมด ขออย่างเดียวให้อธิบายได้อย่างเป็น ตรรกะและสมเหตุสมผล ไม่ต้องมามีตัวแปร สไลด์เดี๋ยวพี่โจจะปริ้นออกมาให้ ทุกอย่างที่เขียนบนนี้คือสามารถ ไปอา้ งองิ google ได้ มใี ครจะถามไหม ผู้เขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : เคยเป็นผชู้ ่วยนักวิจยั ของอ.อินเดยี เขาตัง้ คาถามวา่ ทาไมคนไทยถึงไปเทวสถานเยอะมากในปีท่ผี ่านมา ก็ทาระเบียบวิจัยอะไรกันไป เขาถามว่าทาไมคนไทยท่เี คลมวา่ ตัวเองเป็นพทุ ธเนี่ย ถงึ ไปเทวสถานเยอะข้ึน ผมก็ ทาหน้าที่เป็นคนไปถามว่า ผู้หญิงคนไหนท่ีกาหนดเป้าหมายมาในวัดนี้ ถ้าคนที่มาเกิน 20 ครั้งใน 1 เดือน เรา จะดูว่าอะไรทาให้เขามา ปรากฎว่างานวิจัยมันบอกว่า ทุกคนมีปัญหามาก และศาสนาเดิมไม่สามารถตอบ ปัญหาเขาได้อีกต่อไป คือเขาจะเชื่อหมอดูอะไรพวกน้ี ทุกคนเปลืองเงินจากการทเ่ี ช่ือว่าจะสามารถช่วยได้ เชน่ ถวายเจ้าแม่รา่ งทรง ซอ้ื เครื่องทรง ธรรมกายอะไรง้ี น่าสนใจมาก มนั เป็นฟลิ ด์งานทีส่ นุก แต่ยงั ไม่ได้เจอในแนว กฎหมาย แต่ถา้ มนั มีอะไรท่มี ันสนุก ความคาดหมาย ผเู้ ขา้ ร่วมแสดงความเห็น : มนั เกดิ จากการ manage ปัญหาของแต่ละคน ผูเ้ ขา้ ร่วมแสดงความเห็น : คอื ทกุ คนมีปัญหา และมีเปน็ แพทเทิร์นเลย คอื ไม่มีอะไรพึ่งพาในชีวติ อีกอย่างกจ็ ะเป็นพวกบลูคอร์ล่า พวก white collar กจ็ ะไปอีกทางหนึ่ง เหมอื นเป็นคนละช่วงชั้นกนั สุดทา้ ยคือจะไดร้ ับคาแนะนาแม้จากหมอดู หลายแห่ง หรอื รา่ งทรงหลายแหง่ กจ็ ะมาเปน็ แพทเทิรน์ เดียวกันว่าคุณมีองค์ คณุ ไม่ไดร้ บั องค์ ดงั นั้นจงึ ทาอะไร เป็นอุปสรรค ก็ต้องทาบุญ ทาทาน สวดมนต์ มาที่นี่ มันจะดีขึ้น งานวิจัยไม่ได้บอกตรงน้ี ไม่ได้บอกว่าดีขึ้นจริง ไหม แต่บอกว่า การทาของเขาเน่ีย ก่อนเข้าวัดรู้สึกยังไง เข้ามารู้สึกยังไง โอเคเราฟังดูแลว้ ก็แบบ เออ มีแบบน้ี ด้วย จ่ายเงินแล้วรู้สึกดีข้ึน คือบางคนก็ถูกหลอก บางคนก็เป็นร่างทรงไปแล้วก็มี คือมันมีคาอธิบายของเขา มี สังคมของเขา เช่นพิธีกรรมความเช่อื มาจากไหน YouTube หนังทพี่ าหุรดั อ.นทั มนแสดงความเหน็ : พี่มีส่วนท่ีอยากจะเสริมว่า เวลาเราทาวิจัยแบบนี้ มันไม่สามารถเอามา generalize ได้ เคสนี้ก็จะเป็น เคสน้ี อย่างพี่ทาชาติพนั ธุ์ พี่ทาปะกากะยอ จะเปน็ เหมือนปะกากะยอเหมอื นอีกท่หี น่ึงไหม กไ็ ม่ คาถามวา่ เม่ือ ไม่สามารถนามาเป็นตัวอยา่ งได้ แลว้ จะทาไปทาไม มีประโยชนอ์ ะไร มันจะแค่ความเข้าใจท่ีเราปติ ิทเ่ี ราสามารถ อธิบายอะไรบางอย่างรึเปลา่

ผเู้ ขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : เวลาทาวิจัยกม็ ีเคสมากมาย บางทีอาจจะเป็นเคสสองเคสแต่เราสามารถอธบิ ายสิ่งทเ่ี กิดขนึ้ ไดร้ ึเปลา่ อ.นทั มนแสดงความเหน็ : ย้อนกลับมาถึงตัวช้ีวดั ของเรา ต้องดูว่า ต้องทาเท่าไหร่ถึงสามารถอธิบายได้ ฟังได้ มีตรรกะ มีคนหนึ่ง ทาแคส่ ่ิงแวดล้อม เคสเดยี วเลย แลว้ ถามว่าเคสเดียวทาให้อธิบายอะไรไดบ้ ้าง หรอื ของอ.จา้ ย ทาสามคน เทียบ กับ human right rebounder เอามาเทียบได้ไหม ก็ไม่ได้ ทาแล้วมีประโยชน์อะไร ไม่มี พี่ทาสองหมู่บ้าน สะท้อนอะไร หนึง่ ไดไ้ หม พี่เคยคยุ กับอาจารยว์ า่ พ่จี ะทาสองหมู่บ้าน เพ่ือจะมาซ้อนเคสกนั ถา้ ทาอย่างเดียวคุณ ไม่มีตัวเปรียบเทียบ แต่ของพี่คือ คุณต้องมีตรรกะอธิบายสมเหตุสมผล ว่าทาเท่าน้ีทาไม มันจะเป็นจานวนการ เก็บข้อมูล ระยะเวลาที่เรามีศักยภาพที่เราจะทา สรุปคือไม่มีคาตอบว่าต้องเป็นจานวนเท่าไหร่ แต่ขึ้นอยู่กับว่า ทาไมถึงทาเท่านี้ แล้วเร่ืองที่อธิบายเกี่ยวกับชีวิตคน ว่าต้องทาเท่าไหร่ เดี๋ยวจะพูดถึงเชิงปริมาณ ว่าตัวเลขมัน powerful แตข่ องเรามันไมม่ ีการวัดเชิงปรมิ าณ มนั อยู่ทเี่ ราใชว้ ธิ คี ดิ ยังไงมากกว่า อ.สมชายแสดงความเหน็ : เราสามารถใช้วธิ ีการศึกษามานษุ ยวิทยาทางกฎหมายกับคนเมืองกไ็ ดน้ ะ อ.นัทมนแสดงความเหน็ : อย่างแรงงานก็ทาได้นะ อย่างที่บอกว่าไปคุยกับผู้ใช้แรงงานว่าเขามีมุมมองต่อกฎหมายแรงงานยังไง หรืองานที่ไปหาคนงานในธุรกิจป่าไม้ หรือคนท่ีแฝงเข้าไปเป็นผู้หญิง คุยคนน้ีคนเดียวเลย แต่หลายคร้ังนะ ถ้า ผู้หญิงคนนี้มาที่ตม. เขาก็จะถามว่าเป็นยังไง มีชีวิตความเป็นอยู่ยังไง ในแง่ของงานมานุษยวทิ ยากฎหมาย เอา เป็นวา่ มคี นทม่ี ีมมุ มองต่อ ในงานยุคแรกนะไปไกล ตอนน้ไี ม่ต้อง จริงๆ ในชุมชนอย่างเช่นผปู้ ระสบอบุ ัตเิ หตุจาก มอเตอรไ์ ซค์ก็เปน็ สังคมเมือง ไมจ่ าเป็นต้องไปพ้ืนท่ีไกลๆ ไมจ่ าเป็นต้องไปที่ทีค่ นไม่ร้จู ัก แมบ่ า้ น หรอื อย่างงาน ของอ.สมชายที่บอกว่ากระบวนการ ถ้าเราเอากฎหมายไปจับ คาตอบท่ีเรามักจะเจอหรือคาถามท่ีเราจะต้อง ถามคอื มนั เปน็ กฎหมายยังไง ตวั อยา่ งเชน่ เค้ามองกฎหมายยังไง เขาใชย้ งั ในชวี ิต เช่นทท่ี างาน มีการปฏิบัติต่อ กนั ในทท่ี างานยังไง ถ้ามเี รอ่ื งร้องเรียน วธิ กี ารร้องเรียน หรือการจดั การความขัดแย้งในองค์กร คณุ ทายังไง มนั คอื เร่ืองราว การวิจยั การแกไ้ ขความขัดแยง้ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทีไ่ หนก็ตาม ผเู้ ขา้ รว่ มแสดงความเหน็ : ถ้ามาทาท่ีชุมชน มันจะมีทาให้เกิดได้ไหมว่า สมมุติพูดถึงนิติสานึกของ cyberbullying มันจะทาได้ ไหม เราจะหาวิธวี เิ คราะห์ยงั ไง วธิ ีท่เี ขาคดิ เราจะทายังไง เบ้อื งตน้ พอจะเป็นไปได้ไหม อ.นัทมนแสดงความเหน็ :