Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การพัฒนาหลักสูตร

การพัฒนาหลักสูตร

Published by educat tion, 2021-04-16 02:37:52

Description: การพัฒนาหลักสูตร

Search

Read the Text Version

40 หรือสนองความสนใจของตนเองน้ัน เด็กจะต้องลงมือกระทาอย่างใดอย่างหนึ่ง และกระบวนการน้ีเองจะ เกิดข้ึน หลักการนี้ทาให้เกิดวิธีการเลียนแบบ แก้ปัญหา (Problem Solving) หรือเรียนด้วยการปฏิบัติ (Learning by Doing) และจากหลักการท่ีว่า การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลง คนเราจะหยุดพัฒนาไม่ได้ ดงั นั้น การเรียนรู้ของคนเราจึงมิได้หยุดอยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่จะดาเนินไปตลอดชีวิตของผู้เรียน ทาให้ เกิดความเชื่อว่า การศึกษาคือชีวิต (Education is Life) หลักสูตรที่จัดตามแนวปรัชญาน้ี ได้แก่ หลักสูตร แบบประสบการณ์หรือกิจกรรม (Experience or Activity Curriculum) การจดั หลักสตู รตามแนวคิดของพิพฒั นาการนยิ ม หนา้ ที่ของโรงเรยี นแบบดังกล่าว ได้แก่ การ เตรียมพร้อมท่ีจะให้ผู้เรียนเกิดความร่วมมืออย่างกระตือรือร้นต่อการเปล่ียนแปลง จุดเน้นท่ีสาคัญของ โรงเรียนตามแนวปรัชญาน้ีอยูท่ ่ีการเรยี นรวู้ ิธกี ารคิดมากกว่าสิง่ ท่จี ะคิด จุดเนน้ อยู่ทีก่ ารทดลอง จงึ ไม่มีการ ให้ความสาคัญแก่เนื้อหาใดเป็นพิเศษ แต่จะใช้ประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวกาหนดหลักสูตรและเนื้อหาทุก ชนิด การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงเนน้ วิธีการทางวทิ ยาศาสตร์ มาจัดการเน้อื หาวิชาโดยยึดประสบการณ์ เป็นศูนย์กลาง หรือ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการฝึกหัดทาโครงการต่าง ๆ เพื่อฝึกแก้ปัญหา โดย อาศัยการอภิปราย ซักถาม และการถกปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นลักษณะของการจัดการศึกษาท่ีมุ่งให้ผู้เรียน มคี วามสามารถ ที่จะพจิ ารณาตัดสนิ ใจ โดยอาศยั ประสบการณ์และผลท่เี กิดจากการทางานเป็นกลุ่ม ท้ังน้ี โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีความสามารถที่จะควบคุมการเปล่ียนแปลง และปรับปรุงตนเองให้อยู่ในสังคม ได้อยา่ งมีความสขุ (วิทวฒั น์ ขตั ตยิ ะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม, 2549: 36 - 37) ข้อสงั เกตในการพัฒนาหลักสูตร ตามแนวปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนยิ ม มดี ังน้ี 1. ประสบการณ์ของมนุษย์เป็นพื้นฐานของความรู้ มนุษยเ์ รียนรู้สภาพการณ์ของทุกส่ิงในโลก น้ีที่กาลังเปลี่ยนแปลง ดังนั้นกระบวนการเรยี นรู้ทางวิทยาศาสตร์จะทาให้ผ้เู รียนรวู้ ่า คิดอย่างไร 2. กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างไร เน้นการคิดอย่างไร มากกว่าคิดอะไร กระบวน การศกึ ษาเนน้ กระบวนการของกลุ่ม (Group Process) และมาตรฐานของกลุ่ม (Group Norms) 3. โรงเรียนเป็นสถาบันทางสงั คม และฝึกวิถที างแบบประชาธิปไตย มีเสรีภาพภายใตก้ ฎเกณฑ์ ของประชาธปิ ไตย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม ยังพบว่ามี ข้อด้อย คือ ผู้เรียนมีความรู้ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ขาดระเบียบวินัยขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดทัศนคติที่จะอนุรักษส์ ถาบันใด ๆ ของสังคม การศึกษาด้อยในคุณภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้าน สติปัญญา เพราะการสอนที่เน้นความต้องการและความสนใจของผู้เรียนนั้น ผู้เรียนส่วนมากยังขาดวุฒิ ภาวะพอที่จะรู้ความสนใจของตนเอง ธรรมชาติของเด็กชอบเล่นมากกว่าเรียน โดยการจัดหลักสูตรให้ สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนทั้งหมดเป็นส่ิงท่ีทาได้ยาก เพราะความสนใจ และความ

41 ต้องการบางอย่างของผู้เรียนอาจจะไม่มีประโยชน์ในชีวิต และการเรียนการสอนท่ีเน้นการปรับตัวขอ ง ผู้เรยี นใหเ้ ขา้ กับสงั คมและสิ่งแวดล้อม อาจทาให้สูญเสียความเปน็ ตัวของตวั เอง 4. ปรัชญาการศึกษาสาขาปฏริ ปู นิยม (Reconstructionism) ธีโอดอร์ บราเมลด์ (Theodore Beamed) นักปรัชญาการศึกษาช้ันนาของอเมริกาได้รับ เกยี รติใหเ้ ปน็ บิดาของปฏิรูปนิยม เนื่องจากปฏิรูปนิยมแยกออกมาจากพิพัฒนาการนิยม แนวคิดและความ เช่ือของปรัชญาการศึกษาสาขาปฏริ ูปนยิ ม มีความเชื่อเก่ียวกับผเู้ รียน ผู้สอน หลกั สูตร กระบวนการเรียน การสอนท่ีเน้นในเรื่องชีวิตและสังคม ตลอดจนลักษณะของการจัดการศึกษาว่า คล้ายคลึงกับปรัชญา การศึกษาสาขาพิพัฒนาการนิยม แตกต่างกันตรงที่เป้าหมายของสังคมท่ีแตกต่างกัน และแนวความคิด ของพิพัฒนาการนิยมเองมีลักษณะเป็นกลางจึงไม่สามารถนาไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จาเป็น ได้ (ทิศนา แขมมณี, 2556: 28) หลักสูตรท่ีจัดตามแนวปรัชญาน้ี ได้แก่ หลักสูตรท่ียึดหลักสังคมและการดารงชีวิต (Social Process and Life Function Curriculum) และหลักสูตรแบบแกน (Core Curriculum) ความมุ่งหมาย ของหลกั สตู รจะเน้นการพัฒนาผ้เู รยี นให้มีความรู้ ความสามารถ และทศั นคติทจ่ี ะออกไปปฏิรปู สงั คมให้ดีขึน้ เนื้อหาวิชา และประสบการณ์ท่ีเลือกมาบรรจุในหลักสูตรจะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของ สงั คมเป็นส่วนใหญเ่ น้ือหาวชิ าเหลา่ นจี้ ะเนน้ หนักในหมวดสังคมศึกษา การสอนจะไมเ่ น้นการถา่ ยทอดวชิ าความรู้ โดยการบรรยายของผู้สอนมากเหมือนหลักสตู รใน ปรัชญาสารนิยม แตม่ ุ่งส่งเสริมให้ผเู้ รียนสารวจความสนใจความตอ้ งการของตนเอง และสนองความสนใจ ด้วยการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเน้นการอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเร่ืองท่เี ก่ียวกบั ปัญหาของสังคม พร้อมท้ังหาขอ้ เสนอแนะ และแนวทางในการปฏริ ูปสงั คมดว้ ย การจัดตารางสอนไม่ออกมาในรูปแบบตารางสอนตายตัว (Block Schedule) แต่จะออกมาในรูป ของตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Schedule) บางคาบเป็นเวลาช่วงส้ัน ๆ สาหรับการบรรยายนาของ ผู้สอน บางคาบเปน็ ชว่ งเวลาสาหรับการศึกษาค้นคว้าดว้ ยตนเอง การประเมินผลนอกจากจะวัดผลการเรยี นทางดา้ นวชิ าความรแู้ ล้วยังวัดผลทางดา้ นพัฒนาการ ของผเู้ รียน และทศั นคติเกยี่ วกับสงั คมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนาหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ยังพบว่ามีข้อด้อย คือ ถ้าระบบและบรรยากาศทางการเมืองไม่เอ้ืออานวยต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว การพัฒนาหลักสูตรตาม แนวคิดปรัชญาการศึกษาสาขาน้ีก็สาเร็จได้ยาก โดยการทโี่ รงเรยี นจะไปเปล่ียนระบบคา่ นิยมของสังคมก็มี โอกาสเป็นไปได้น้อย เว้นแต่สังคมน้ันจะมีเป้าหมายท่ีจะเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ซึ่งการเปล่ียนแปลงอาจ เกิดขึ้นได้ ถา้ การเปล่ยี นแปลงน้นั เหมาะสมกับสภาพและปญั หาทเ่ี กดิ ขน้ึ ในสงั คม

42 5. ปรัชญาสาขาอตั ถภิ าวนิยมหรือปรชั ญาสวภาพนิยม (Existentialism) แนวคิดและความเชื่อ ปรัชญาสาขานี้แพร่หลายในปลายคริสต์ศตวรรษท่ี 19 โดยมีเซอเรน โอบึย เคยี ร์เคอกอร์ (Soren Aabye Kierkegaard) เปน็ ผรู้ ิเริ่ม และฌอ็ ง ปอล ซาทร์ (Jean Paul Sartre) ได้เผยแพร่ต่อมา จนถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีความเชื่อว่าบุคคลย่อมเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพ และ ความรับผิดชอบของตัวเอง แต่ละคนสามารถกาหนดชีวิตของตนเองได้เป้าหมายของสังคมนั้นต้องมีความ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้คนเรามีอิสรภาพ และมีความรับผิดชอบ และส่ิงน้ีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราพยายาม เปิดโอกาสหรือยอมรับให้ผู้เรียนมีสิทธิเสรีภาพ ท่ีจะเป็นผู้เลือกเอง ผู้สอนเป็นเพียงผู้กระตุ้น หลักสูตรก็ ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระทุกสาขาวิชา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความถนัดและความสนใจ ของตนเอง หลักสูตรท่ีจัดตามแนวปรัชญาน้ี ได้แก่ หลักสูตรเอกัตตภาพ (Individualized Curriculum) (ทศิ นา แขมมณี, 2556: 27) กระบวนการเรียนการสอนของผู้สอนจะให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนมากที่สุดเท่าที่จะทาได้ โดยยึด หลักให้ผู้เรียนได้มีโอกาสรู้จักตนเอง มีผู้สอนกระตุ้นให้แต่ละบุคคลได้ใช้คาถาม นาไปสู่เป้าหมายที่ตนเอง ต้องการ ซ่ึงเป็นการจัดการศึกษาท่ีเน้นผู้เรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ตัวอย่างวิชาที่เด่นชัด สาหรบั ปรัชญาการศกึ ษาอตั ถิภาวนิยม ได้แก่ วิชาศลิ ปศกึ ษา เป็นตน้ ขอ้ สงั เกตการพฒั นาหลักสูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาอตั ถิภาวนยิ ม มีดงั น้ี 1. เน้นเอกัตบคุ คลเป็นสาคัญ คานึงถงึ ความแตกตา่ งส่วนบุคคลจึงทาใหแ้ นวคิดทีจ่ ะสง่ เสรมิ ให้ ผเู้ รียนมคี วามรูส้ ึกว่าตนเองประสบความสาเรจ็ 2. มุ่งส่งเสริมผู้เรียนใน 4 ประการคือ การพัฒนาตนเอง อิสรภาพ การเลือก และความ รับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาหลกั สูตรตามแนวปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนยิ ม ยังพบว่ามีข้อด้อย คือ ในสภาพที่สังคมรักเสรีภาพและความเป็นอิสระส่วนตัวของบุคคลเหนือส่ิงอ่ืน ทาให้สภาพการจัดการ เรียนการสอนในห้องเรียนเงียบเหงา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างของผู้เรียนลดน้อยลง การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การร่วมมือกันทางความคิดของผู้เรียนเป็นไปได้ยาก หลักสูตรที่ยดึ แนวความคิด ของปรัชญาอตั ถิภาวนิยมเป็นลักษณะของหลกั สตู รทีผ่ เู้ รยี นขาดปฏสิ ัมพันธ์กบั สังคม 6. ปรชั ญาวเิ คราะห์ (Philosophical Analysis) ปรัชญาวิเคราะห์เป็นปรัชญาแนวใหม่ แนวคดิ และความเช่ือปรชั ญาวิเคราะห์ เม่ือนามาใช้กับ การศึกษาจะนามาใช้ในลักษณะของการวิเคราะห์ความคิดรวบยอดทางการศึกษา ข้อความต่าง ๆ ทาง การศึกษา เช่น ความพยายามจะอธิบายว่าการสอนคืออะไร การสอนกับการเรียนต่างกันอย่างไร ซ่ึงการ นาไปใชใ้ นการศกึ ษา สงัด อุทรานนั ท์ (2532: 68) ไดอ้ ธิบายไว้ดงั ภาพที่ 2.1

43 กข คง จ ภาพที่ 2.1 การวิเคราะห์ความคิดรวบยอดทางการศกึ ษาตามแนวปรัชญาวิเคราะห์ สงัด อทุ รานันท์ (2532: 68) ก หมายถึง กฎเกณฑ์พนื้ ฐานคา่ นิยมหรอื จุดหมายปลายทาง ข หมายถึง ขอ้ เทจ็ จริงต่าง ๆ ทมี่ าจากการสังเกตหรือทฤษฎแี ละแนวคิดตา่ ง ๆ ค หมายถึง สิง่ ท่กี ารศกึ ษาจะตอ้ งทา ง หมายถึง ข้อเทจ็ จริงตา่ ง ๆ ที่ได้จากการสังเกตและประสบการณ์ จ หมายถึง วธิ กี ารเรียนการสอนและการบริการ ตัวอยา่ งเชน่ เรายอมรับกฎเกณฑ์ (ก) ตามความคิดของอรสิ โตเตลิ วา่ ชวี ิตท่ดี เี ป็นชวี ิตทม่ี ีความสุข และอริสโตเติลได้เสนอแนวคิดซ่ึงเป็นข้อเท็จจริง (ข) ว่าถ้าจะให้คนมีชีวิตท่ีดีแล้วจาเป็นต้องให้เขาได้มี ความรู้ความช่วยเหลือใช้จากการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และปรัชญา ดังน้ันเราก็จะได้ข้อสรุปว่า (ค) โรงเรียนผู้สอนให้การศึกษาแก่ผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และปรัชญา ต่อจากนั้นในข้ันตอน ต่อไปเราก็พิจารณา (ง) ว่าในสภาพความเป็นจริงแล้ว การให้ความรู้เก่ียวกับคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ ปรชั ญา ควรจะดาเนินการอยา่ งไร ในที่สุดเรากจ็ ะได้แนวทางในการจดั การเรียนการสอน (จ) ตามต้องการ กล่าวได้โดยสรปุ ว่า การที่เราจะพจิ ารณาว่าการศกึ ษาควรจัดข้ึนเพือ่ สิ่งใดและจะมวี ิธีจัดการศกึ ษา ไดอ้ ยา่ งไรนน้ั จาเป็นจะตอ้ งวเิ คราะหก์ ฎเกณฑ์ และข้อเทจ็ จรงิ ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและข้นั ตอน ปรัชญาวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์ถึงแนวความคิดทางปรัชญาท่ีมีอยู่แล้ว เพ่ือหาเหตุผลสาหรับ สนับสนุน แนวความคิดท่ีเพงิ่ เกิดใหม่ เนื่องจากปรัชญาสาขานี้เป็นแนวคิดใหม่ ดังนั้นความเข้าใจเกย่ี วกับ แนวคดิ นี้จึงยงั ไม่แพร่หลายนกั จากแนวปรัชญาสากลและแนวปรัชญาการศึกษาที่ได้นาเสนอในเบ้ืองต้นผู้เขียนสามารถสรุปเป็น ตารางแสดงการเปรียบเทยี บดงั ต่อไปนี้ (แฝงกมล เพชรเกล้ยี ง, 2559)

44 ตารางที่ 2.1 การเปรยี บเทียบปรชั ญาสากลและปรชั ญาการศึกษา สมัย ปรัชญาทั่วไป ปรัชญาการศกึ ษา สมยั เก่า จิตนยิ ม (Idealism) สารัตถนยิ ม (Essentialism) สัจนยิ ม (Realism) นิรนั ตรนิยม (Perenialism) เทวนยิ ม (Neo-Thomism) สมัย ปฏิบตั กิ ารนิยม พพิ ฒั นาการนยิ ม (Progressivism) ปัจจบุ นั (Pragmaticism or Experimentalism) ปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) แนวคดิ อตั ถิภาวนิยม (Existentialism) อตั ถิภาวนยิ ม หรือสวภาพนิยม ใหม่ ปรชั ญาวิเคราะห์ (Philosophical (Existentialism) Analysis) ปรชั ญาวิเคราะห์ (Philosophical Analysis) กล่าวได้โดยสรุปว่า ปรัชญาการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สาคัญในการพัฒนาหลักสูตร แต่ถึง อย่างไรก็ตามในการนาแนวคิดของปรัชญาการศึกษาลัทธิต่าง ๆ มาใช้ในการกาหนดองค์ประกอบของ หลักสูตรนั้น ย่อมท่ีจะส่งผลแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นจุดมุ่งหมาย เน้ือหาสาระ กิจกรรมการเรียน การสอน และการประเมินผลหลักสตู ร ทั้งน้ีอาจเป็นการยากท่จี ะนาหลักการแนวคิดของปรัชญาการศกึ ษา เพียงปรัชญาเดียวมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ในทางปฏิบัติจริงน้ันมักดาเนินการในลักษณะผสมผสาน ปรชั ญาการศึกษา 2. พืน้ ฐานดา้ นจิตวิทยา จิตวิทยามีส่วนสาคัญต่อการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร โดยเฉพาะจิตวิทยาพัฒนาการและ จิตวิทยาการเรยี นรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับจิตวทิ ยาพฒั นาการ พัฒนาการเป็นกระบวนการเปล่ียนแปลงท่ีเป็นระบบระเบียบ ท้ังในด้านรูปร่าง ขนาด และ โครงสร้างตลอดจนคณุ ภาพ และประสทิ ธิภาพในการทางานของรา่ งกาย การเปลี่ยนแปลงซึ่งได้รบั อิทธิพล จากวุฒิภาวะการเรยี นรู้ และสิ่งแวดล้อมนี้ เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างร่างกายและจิตใจ นอกจากหลักสูตรจะ มีส่วนขององค์ความรู้ที่เก่ียวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์ซ่ึงจะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเอง เข้าใจ ธรรมชาติของมนุษย์แล้ว องค์ความรู้เหล่าน้ียังมีประโยชน์ในแง่ท่ีสามารถนาไปใช้กับผู้เรียนหรือศึกษา ผู้เรียน เพ่ือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของผู้เรียน ซ่ึงแฮส (Hass, 1977: 89) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรควรนาพ้ืนฐานทางพัฒนาการ 5 ด้านมาใช้ คือ

45 1) พ้ืนฐานทางชีววิทยาของความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) วุฒิภาวะทางกาย 3) พัฒนาการและ สมั ฤทธิผลทางสติปัญญา 4) พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และ 5 พฒั นาการทางสงั คมและวฒั นธรรม ในทนี่ ้จี ะขอกลา่ วถงึ จติ วทิ ยาพฒั นาการของมนุษย์ จติ วทิ ยาการเรยี นรู้ พฒั นาการของมนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการทางานประสานกันระหว่างองค์ประกอบที่สาคัญ 2 อย่าง คือ วฒุ ิภาวะ และการเรียนรู้ 1. วุฒิภาวะ (Maturity) หมายถึง กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายท่ี ทาให้เกิดความพร้อมที่จะทากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ ใด ๆ หรือเป็นไปโดยธรรมชาติ วุฒิภาวะประกอบด้วย วุฒิภาวะทางด้านร่างกาย และวุฒิภาวะทางด้านจิตใจ ตามปกติ กระบวนการพัฒนาของมนุษย์จะดาเนินควบคู่กันไปทั้งร่างกายและจิตใจ วุฒิภาวะทางร่างกายเจริญเต็มที่ เมอื่ เข้าสูว่ ยั ผใู้ หญต่ อนตน้ 2. การเรยี นรู้ (Learning) การเรียนรู้เป็นการเปล่ียนแปลงพฤตกิ รรมอันเป็นผลมาจากประสบการณก์ าร เรียนรู้อาจเกิดข้ึนด้วยการจงใจ หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้ังใจก็ได้ เช่น การคิดคานวณเป็นการเรียนรู้แบบจงใจ และการเล่นฟุตบอลทาให้เรียนรู้กระบวนการทางานร่วมกนั หรือทาให้เกิดเรียนรู้เร่ืองความสามัคคี ซ่ึงเป็นการ เรยี นรู้แบบไม่ไดต้ ้งั ใจ เราสามารถแบ่งกระบวนการพัฒนาและการเจริญเติบโตของมนุษย์ตามลักษณะของ การเปล่ียนแปลงทีเ่ ดน่ ชดั ออกเป็น 6 ระยะด้วยกนั คือ 1) กระบวนการพัฒนาและการเจริญเตบิ โตภายใน ครรภ์ 2) กระบวนการพฒั นาและการเจริญเตบิ โตของวยั ทารก 3) กระบวนการพฒั นาและการเจริญเตบิ โต ของวัยเด็ก 4) กระบวนการพัฒนาและการเจริญเติบโตของวัยรุ่น 5) กระบวนการพัฒนาและการ เจรญิ เติบโตของวยั ผใู้ หญ่ และ 6) กระบวนการพฒั นาและการเจรญิ เตบิ โตของวยั ชรา ซง่ึ ในบทนีจ้ ะกล่าวเฉพาะระยะท่ีมีความสาคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรตอ้ งศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลการ พฒั นาหลกั สูตร คือ กระบวนการพฒั นาและเจริญเตบิ โตของวยั เดก็ และวยั รุ่นเทา่ น้ัน กระบวนการพัฒนาของเด็กเป็นกระบวนการพัฒนาที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีพัฒนาการที่ แตกตา่ งกันมาก จงึ ไดแ้ บ่งพฒั นาการในวยั เดก็ ออกเป็น 3 ระยะ คอื วยั เดก็ ตอนตน้ วัยเด็กตอนกลาง และ วัยรุ่น 1. วัยเด็กตอนต้น (2 – 5 ปี) ได้แก่ 1) เด็กเรียนรู้การสร้างมโนทัศน์อย่างง่ายเก่ียวกับสังคมและ ความเป็นจริงทางวัตถุ 2) เด็กเรียนรู้เสถียรภาพทางกาย 3) เด็กเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเพศและการ สารวมทางเพศ 4) เด็กเรียนรู้การฝึกควบคุมและการขับถ่ายของเสีย 5) เด็กเรียนรู้การพูด 6) เด็กเรียนรู้

46 การรับประทานอาหาร 7) เด็กเรียนรู้การเดิน 8) เด็กเรียนรู้การฝึกปรับตัวทางอารมณ์ให้เข้ากับบิดา มารดา พน่ี ้อง และบคุ คลอื่น และ 9) เดก็ เรยี นร้กู ารจาแนกส่ิงท่ถี กู และสงิ่ ทผี่ ดิ 2. วัยเด็กตอนกลาง (6 – 12 ปี) ไดแ้ ก่ 1) การฝึกทักษะทางกายท่ีจาเปน็ ต่อการเล่นเกมงา่ ย ๆ 2) การสร้างเจตคติท่ีดีต่อตนเองในฐานะอินทรีย์ที่กาลังพัฒนา 3) เรียนรู้การเข้ากับคนอื่นในระดับอายุ เดียวกันได้ 4) เรียนรู้บทบาททางสังคมที่เหมาะสมของเพศชายและเพศหญิง 5) พัฒนาทักษะพ้ืนฐานการ อ่าน การเขียน และการคานวณ 6) พัฒนามโนทัศน์ที่จาเป็นสาหรับการดารงชีวิตประจาวัน 7) พัฒนา หิรโิ อตัปปะ ศลี ธรรมและค่านยิ มตา่ ง ๆ 8) สรา้ งความสามารถในการพ่งึ พาตนเอง และ 9) พฒั นาเจตคติท่ี มตี อ่ สถาบันและกลมุ่ ทางสังคม 3. วัยรุ่น (12 – 18 ปี) ได้แก่ 1) การสร้างความสัมพันธ์กับคนท่ีมีระดับอายุเดียวกันท้ังสองเพศ เป็นความสัมพันธ์ในรูปใหม่ที่มีวุฒิภาวะสูงขึ้น 2) การสร้างความสามารถในการดาเนินบทบาททางสังคมของ เพศชายหรือหญิง 3) การยอมรับในรา่ งกายและการใช้รา่ งกายอยา่ งมีประสิทธิภาพ 4) การสรา้ งอารมณท์ ่ีเป็น อสิ ระของตนเอง 5) การสร้างหลักประกันในการพ่ึงตนเองทางเศรษฐกิจ 6) การเลือกอาชีพและการเตรียมตัว เพื่อประกอบอาชีพ 7) การเตรียมตัวเพือ่ แต่งงานและสาหรับชีวิตครอบครัว 8) การพัฒนาทักษะทางสติปัญญา และมโนทัศน์ที่จาเป็นสาหรับประชากรท่ีมีความสามารถ 9) ความปรารถนาและสัมฤทธิผลของพฤติกรรมท่ี รบั ผดิ ชอบต่อสงั คม และ 10) การมีคา่ นยิ มและจรยิ ธรรมต่าง ๆ ท่ใี ชเ้ ป็นหลกั ในการประพฤตปิ ฏิบตั ิ ความสาคญั ของจิตวิทยาพฒั นาการต่อการพัฒนาหลกั สูตร จากพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาที่กล่าวมาแล้ว สามารถนามาพิจารณาใน การจดั ทาหลกั สตู ร ดงั นี้ 1. การออกแบบ จัดทา และพัฒนาหลักสูตรควรกาหนดวิชาต่าง ๆ ไว้อย่างมีระเบียบและ สอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนด้านวุฒิภาวะและความพร้อม รวมท้ังความยากง่ายของเนื้อหาวิชา และนามาจัดลาดบั รายวชิ าท่เี รยี นกอ่ นหลังอย่างเหมาะสม 2. การออกแบบ จัดทาและพฒั นาหลักสูตรต้องคานึงถึงความแตกต่างระหวา่ งบคุ คล 3. การออกแบบ จดั ทาและพฒั นาหลกั สตู ร ควรคานึงถงึ ผลประโยชน์ท่จี ะเกดิ แกผ่ เู้ รียน 4. การออกแบบ จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ควรคานึงถึงอัตราความเร็วของการเจริญเติบโต และพัฒนาการในวัยต่าง ๆ ของผเู้ รยี น 5. การออกแบบ จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ควรคานึงถึงความจริงท่ีว่าในแต่ละวัยพัฒนาการ ยอ่ มแสดงออกเด่นชดั แตกต่างกนั ไป 6. การออกแบบ จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ควรคานงึ ถึงความแตกต่างทางเพศ 7. การออกแบบ จดั ทาและพฒั นาหลกั สูตร ควรคานงึ ถึงการปรงุ แตง่ บคุ ลกิ ภาพ

47 8. การออกแบบ จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ควรมุ่งส่งเสริมพัฒนาการปัจจุบันให้เป็นรากฐาน ของการพัฒนาในอนาคต 9. การออกแบบ จัดทาและพัฒนาหลักสูตร ควรเร่ิมต้นจากสิ่งท่ัวไปก่อนเข้าสู่สิ่งท่ี เฉพาะเจาะจง พน้ื ฐานเก่ยี วกับจติ วิทยาการเรยี นรู้ การพัฒนาหลักสูตรน้ัน นักพัฒนาหลักสูตรต้องมีความรู้ความเข้าใจในเร่ืองของการเรียนรู้ของ มนุษย์ว่า มนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไรในสถานการณ์ใด หรือมีอะไรเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้บ้าง ธรรมชาติ ของกระบวนการเรยี นรู้มอี ทิ ธิพลต่อหลกั สตู รในหลายลกั ษณะและในการพัฒนาหลักสตู ร จาเปน็ ต้องอาศัย ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จึงเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่ต้องศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ถ่องแท้ ทั้งน้ีโดยพิจารณาว่าในการเรียนเด็กเรียนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้างท่ีบั่น ทอนหรือส่งเสรมิ ประสิทธภิ าพในการเรยี นของเดก็ เพื่อท่ีจะไดพ้ จิ ารณาทฤษฎีท่ีเหมาะสมทสี่ ดุ มาใชใ้ นการ พัฒนาหลกั สตู รใหม้ ีประสทิ ธิภาพ 1. ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทกุ หนทุกแห่งในชีวิตประจาวัน ไม่จากัดว่าจะเกิดจากการลองผิดลอง ถูก การวางเง่ือนไข หรือการเรียนแบบก็ตาม ถือได้ว่าทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น การเรียนรู้คือ การท่ี บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงน้ัน สามารถเกิดข้ึนได้ท้ังพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน และการ เปล่ียนแปลงไดท้ งั้ ด้านความรู้ อารมณ์ และทักษะ 2. ทฤษฎกี ารเรียนรู้ (Theories of Learning) นักจิตวิทยาหลายคนได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์และสัตว์ ทาให้เกิดทฤษฎี การเรียนรู้หลายทฤษฎี บุคคลเหล่านั้น ได้แก่ ธอร์นไดค์ พาฟลอฟ กัทรี สกินเนอร์ เพียเจต์ ฯลฯ นักจิตวิทยา เหลา่ น้ีไดศ้ ึกษาเก่ียวกบั การเรียนร้ทู ี่แตกต่างกนั ออกไป จงึ สามารถจดั กลมุ่ ของผทู้ ี่ศึกษาเกี่ยวกับการเรยี นรู้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism Theories) และจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธิ นยิ ม (Cognitive Theories) 2.1 จติ วทิ ยาการเรยี นร้กู ลุ่มพฤตกิ รรมนิยม จิตวิทยาการเรียนรู้ในกลุ่มน้ีรู้จักกันท่ัวไปในทฤษฎี S - R ซ่ึงมีแนวคิดว่าการเรียนรู้ เกิดข้ึนจากพฤติกรรมท่ีเป็นการตอบสนองสิ่งเร้า นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมท่ีมีชื่อเสียงในกลุ่มนี้ ได้แก่ เอ็ดวาร์ด ลี ธอร์นไดค์ อิวาน พาฟลอฟ และบี เอฟ สกินเนอร์ ฯลฯ ซงึ่ มีความเช่ือว่า ศาสตร์แห่งจิตวิทยา จะต้องยึดการศึกษาเฉพาะ สิ่งท่ีสังเกตได้จากภายนอก เช่น การเคล่ือนไหวของกล้ามเน้ือ ส่ิงเร้าทาง

48 กายภาพ และโดยส่วนใหญ่นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมจะทาการศึกษาทดลองกับสัตว์และเด็กทารก เพราะถอื ว่าเปน็ นกั ชีววิทยาผ้ซู ่ึงมคี วามสนใจเกีย่ วกับกิจกรรมของอินทรยี ภ์ ายใต้สภาพการณ์ต่าง ๆ 2.1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์หรือทฤษฎีการเช่ือมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's Connected Theory) เอ็ดวาร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thorndike) ธอร์นไดค์ถือว่าการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การศึกษาถึงการเรียนรู้น้ันผู้เรียนตอ้ งมีปัญหาก่อน ธอร์นไดค์ได้พูดถึงทฤษฎีการเรียนรู้วา่ การเรียนรู้เป็น การเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connection) ระหว่างส่ิงเร้า (Stimulus) กับปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) ทฤษฎีของธอร์นไดค์ คอื การลองผิดลองถูก (Trial and Error) เขาสรุปว่า การกระทาผดิ ลอง ถกู สามารถนาไปสู่การเชือ่ มโยงระหว่างส่ิงเร้ากับการตอบสนอง เช่น การทดลองแก้ปัญหา จะใช้หลาย ๆ วิธี แตล่ ะวิธกี ็ตอบสนองตา่ ง ๆ กัน และก็จะมวี ธิ ที ่ีตอบสนองทดี่ แี ละน่าพอใจทส่ี ุด ธอร์นไดค์ได้สรุปเป็นกฎเกี่ยวกับการเรียนรู้ 3 ข้อ (Hergenhahn and Olson, 1993: 56 – 57, อ้างถงึ ในทิศนา แขมมณ,ี 2550: 51 – 52) สามารถนาไปใชใ้ นการเรียน การสอนได้ คือ 1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) กฎน้ีกล่าวถึงสภาพการเรียนรู้จะเกิดข้ึนได้ต้องมี ความพร้อมทุกด้าน ทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นด้านผู้สอน คือ มีความพร้อมด้านการเตรียมเน้ือหาสาระ ท่จี ะถ่ายทอด เตรียมส่ือการสอนที่มีประสิทธิภาพ ด้านผู้เรียนก็ต้องมีความพร้อมในเรื่องความสนใจที่จะรับรู้ เนอ้ื หาในแต่ละหน่วยการสอน มคี วามพร้อมดา้ นสตปิ ญั ญาอารมณ์ สงั คม และภาวะทางรา่ งกาย 2. กฎแห่งผล (Law of Effect) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี หากผู้เรียนรู้ผลการกระทา ผลจากการ กระทาจะเป็นเหตุท้าทายความสามารถกระทาอีก หรือเม่ือแสดงพฤติกรรม การเรียนรู้แล้วถ้าได้รับผลท่ี พึงพอใจผ้เู รยี นยอ่ มตอ้ งการจะเรยี นรูต้ ่อไปอีก 3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ส่ิงใดก็ตามหากได้มีการกระทาบ่อย ๆ ก็จะเกิดความ ชานาญเกดิ ทักษะ หรอื เรยี กว่า กฎแหง่ การใช้ (Law of Uses) เมอื่ นาส่ิงท่เี รยี นรู้ไปใชบ้ อ่ ย ๆ จะทาใหก้ าร เรียนรู้นน้ั คงทนถาวร และสิ่งใดก็ตามหากท้ิงไว้นาน ๆ ย่อมทาได้ไม่ดีเหมือนเดมิ หรือในที่สุดก็เกดิ การลืม จนไมไ่ ด้เรยี นร้อู กี เลยหรอื เรยี กวา่ กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuses) 2.1.2 ทฤษฎีการเรียนรขู้ องพาฟลอฟ (Classical Conditioning Theory) พาฟลอฟ (Pavlov. Ivan, 1849-1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ได้ศึกษาการเรียนรู้โดยกาหนด เงื่อนไข (Conditioning) คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองท่ีต้องวางเง่ือนไข พาฟลอฟ เรียกวา่ ทฤษฎเี ง่ือนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) พาฟลอฟ สรปุ เป็นหลกั ทฤษฎี 4 ประการ คอื

49 1. กฎการลดพฤติกรรม หมายถึง การตอบสนองจะลดน้อยลงเร่ือย ๆ ถ้าให้ร่างกายได้รับส่ิงเร้าท่ี วางเงอ่ื นไขอย่างเดียวหรือความสัมพันธร์ ะหวา่ งสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเรา้ ที่ไมว่ างเงื่อนไขห่างกันออกไป มากขึ้น การลบพฤติกรรมมิใช่การลืม แต่เป็นเพียงการลดลงเร่ือย ๆ เช่น การให้แต่เสียงกระด่ิงโดยไม่ให้ ผงเนอื้ ตามมาจะทาให้ปฏกิ ริ ยิ านา้ ลายไหลลดลงเรื่อย ๆ 2. กฎแห่งการคืนกลับ หมายถงึ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงอ่ื นไขที่ลดลงเพราะไดร้ ับแตส่ ิ่ง เร้าท่ีวางเง่ือนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฏข้ึนอีกและเพ่ิมมากขึ้น ๆ ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้อย่าง แท้จริงโดย ไม่ต้องมีสิ่งเร้าท่ีวางเงื่อนไขมาเข้าช่วย เช่น การท่ีสุนัขน้าลายไหลอีกเม่ือได้ยินเสียงกระดิ่ง อย่างเดียวโดยไมต่ ้องมีผงเนอ้ื เข้ามาคกู่ บั เสยี งกระดิ่ง 3. กฎความคลา้ ยคลึงกัน หมายถึง ถา้ รา่ งกายมีการเรยี นรู้โดยแสดงอาการตอบสนองจากการวาง เงื่อนไขต่อสิ่งเรา้ ที่วางเง่ือนไขหน่ึงแล้ว ถ้ามีส่ิงเร้าอื่นทม่ี ีคุณสมบตั ิคล้ายคลึงกันกับส่ิงเร้าท่วี างเงื่อนไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเง่ือนไขน้ัน เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้าลายไหลจากการส่ันกระด่ิงแล้ว เมือ่ ได้ยนิ เสยี งระฆังหรอื เสียงทใ่ี กล้เคียงกันกจ็ ะมอี าการนา้ ลายไหล 4. กฎการจาแนก หมายถึง ถ้าร่างกายมีการเรียนรู้ด้วยการแสดงอาการตอบสนองจากการวาง เงือ่ นไขต่อสง่ิ เร้าทวี่ างเงือ่ นไขเดิม ร่างกายจะตอบสนองแตกต่างไปจากส่งิ เรา้ ท่วี างเงอ่ื นไขนัน้ เช่น ถา้ สุนัข มีอาการน้าลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเม่ือได้ยินเสียงการเคาะไม้จะรู้สึกถึงความแตกต่างและจะไม่มี อาการนา้ ลายไหล ในการพัฒนาหลักสูตรสามารถประยุกต์หลักการวางเงื่อนไขไปใช้ในการเรียนการสอน สุนีย์ ภู่พันธ์ (2546: 106 - 107) ได้กลา่ วไว้ ดงั นี้ 1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล การสอนจะต้องคานึงถึงสภาพทางร่างกายและอารมณ์ ของผ้เู รยี นแต่ละคนวา่ ใครเหมาะทจี่ ะสอนเนอ้ื หาอะไร หรือใหเ้ กดิ การตอบสนองอยา่ งไร 2. การวางเงื่อนไข การวางเงื่อนไขเป็นเร่ืองท่ีเกี่ยวกับพฤติกรรมทางอารมณ์ ซ่ึงผู้สอนสามารถทาให้ ผเู้ รียนรู้สกึ ชอบ หรือไม่ชอบเนื้อหาท่เี รียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนหรือแม้แตต่ ัวผสู้ อนได้ 3. การลบพฤติกรรมท่ีวางเงื่อนไข นอกจากผู้สอนเป็นผู้วางเงื่อนไขให้เด็กสนใจในการเรียนแล้ว ผู้สอนยังนาความรู้เก่ียวกับการลดพฤติกรรมไปลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิดข้ึนในตัวเด็กไปใช้ในกา ร จดั การเรยี นการสอนได้ 4. การสรุปความเหมือนและความแตกต่าง ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีโอกาสพบส่ิงเร้าใหม่ ๆ เพื่อจะได้ใช้ความรู้และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น โดยส่งเสริมให้ ผูเ้ รยี นสรุปความเหมือนในทางบวก

50 2.1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทา (Operant Conditioning Theory) สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เชื่อว่า หลักการเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับ สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทาของพฤติกรรมนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม นัน้ ทฤษฎีนีเ้ น้นการกระทามากกว่าส่งิ เร้าทผ่ี ู้สอนกาหนดขึ้น จงึ สรุปเปน็ กฎการเรียนร้วู า่ กฎการเสรมิ แรง ซ่งึ แบง่ ออกเป็น 2 วิธี คือ 1. การเสริมแรงทันที หรือการเสริมแรงแบบต่อเน่ือง ( Immediately or Continuous Reinforcement) หมายถึง การเสริมแรงทุกครั้งเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นการเสริมแรง โดยใชค้ วามสมา่ เสมอ 2. การเสริมแรงเป็นคร้ังคราว (Partially Reinforcement) หมายถึง การเสริมแรงที่ไม่สม่าเสมอ คอื มีการเสรมิ แรงบ้างในบางครัง้ หรือบางครั้งก็งดการเสริมแรงบา้ งสลับกันไป การเสริมแรงแบบเป็นครั้ง เป็นคราว แบ่งออกเปน็ 4 ลักษณะ คอื 2.1) การเสริมแรงโดยใช้กาหนดเวลาแบบแนน่ อน เช่น ทุก 2 นาที ทุก 5 นาที เป็นต้น 2.2) การเสริมแรงโดยใช้พฤติกรรมกาหนดแบบแน่นอน เช่น แสดงพฤติกรรมตามท่ี กาหนดไว้ 5 ครั้งจะได้รับการเสริมแรง 1 คร้ัง 2.3) การเสริมแรงโดยการใช้ช่วงเวลาเป็นเกณฑ์ เช่น ถ้า แสดงพฤติกรรมได้ ภายใน 5 นาที จะได้รับการเสริมแรง 1 ครั้ง และ 2.4) การเสริมแรงโดยใช้ช่วงของ พฤติกรรมเป็นเกณฑ์ เช่น แสดงพฤตกิ รรมในช่วง 3 ถึง 5 ครัง้ จะไดร้ บั แรงเสรมิ 1 ครง้ั กล่าวได้โดยสรุปว่า ระยะแรกของการฝึกนั้นต้องให้รางวัลตอบสนองทุกครั้งการเรียนรู้จะเร็วข้ึน และดาเนินไปอย่างได้ผลเป็นท่ีน่าพอใจแต่เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว ควรจะเป็นการเสริมแรงแบบแน่นอน และใช้การเสริมแรงแบบเป็นระยะ ท้ังนี้เพื่อเป็นการช่วยผู้เรียนให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพความเป็น จริงของเหตกุ ารณ์มชี วี ติ เพ่ือการตอบสนองของบคุ คลไมจ่ าเป็นต้องได้รบั การเสริมแรงทุกคร้งั แนวคิดสาคญั อีกอย่างหน่ึงที่ได้จากทฤษฎีของสกินเนอร์ คือ การตั้งจุดมุ่งหมายเชงิ พฤติกรรม ถ้า ผสู้ อนไม่สามารถต้ังจุดมุ่งหมายเชงิ พฤตกิ รรมได้ ผ้สู อนก็ไม่อาจบอกได้วา่ ผู้เรียนประสบผลสาเร็จในส่ิงที่มุ่ง หมายหรอื ไม่ และผู้สอนไม่อาจเสริมแรงได้อยา่ งเหมาะสม เพราะไม่ทราบว่าจะให้แรงเสริมหลงั จากผู้เรยี น มีพฤติกรรมใดในชั้นเรียน แรงเสริมเป็นส่ิงท่ีสาคัญมาก โดยเฉพาะการเสริมแรงในข้ันทุติยภูมิ ซึ่งได้แก่ การแสดงสีหน้า การชมเชย คะแนน ความรู้สึกท่ีได้รับความสาเร็จและโอกาสท่ีได้ทาในส่ิงท่ีต้องการ ใน การเรียนการสอนผสู้ อนจะตอ้ งเสริมแรงเหลา่ นอ้ี ย่างเหมาะสม

51 2.2 จติ วทิ ยาการเรียนรกู้ ลุม่ พทุ ธนิ ิยม นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมเป็นกลุ่มท่ีอาศัยการใช้เหตุผล เป็นเคร่ืองมือในการอธิบายปรากฏการณ์ ทางจิตวิทยา และการเรียนรู้ท่ีเกิดขึ้นกับจิตวิทยากลุ่มดังกล่าว ได้แก่ จิตวิทยากลุ่มเกสตอลท์ และ นกั จิตวิทยารุ่นใหม่เช่น เพียเจต์ บรูเนอร์ และกาเย่ เป็นต้น ข้อตกลงเบ้ืองต้นของทฤษฎีน้ี คือ พฤติกรรม ของบุคคลจะข้ึนอยู่กับการรู้ - การคิด เก่ียวกับสถานการณ์ที่พฤติกรรมบังเกิดขึ้น ทฤษฎีกลุ่มนี้จะเน้น ความหมายท่ีมีต่อตนเองของบุคคล การอ้างสรปุ หลกั การและการเรียนด้วยการค้นพบเอง 2.2.1 ทฤษฎีของกล่มุ เกสตอลท์ (Gestalt's Theory) นักจิตวิทยากลุ่มน้ีมีหลักการและแนวคิดแตกต่างไปจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม การคิดและ กระบวนการแก้ปัญหา การเรยี นรใู้ นทศั นะของกลุ่มเกสตอลทเ์ กิดจากความคิดในลักษณะของการหยั่งเห็น (Insight) มิใช่เกิดจากการลองผิดลองถูก หรือการตอบสนองสิ่งเร้าง่าย ๆ ท่ีสังเกตได้ กลุ่มเกสตอลท์ อธิบายว่าการเรียนรู้ คือ “การหยั่งเห็น”และได้ให้คาจากัดความของการหยั่งเห็นว่า เป็นความรู้สึกใน ความสัมพันธ์เป็นวิธีการอันมีเหตผุ ลท่ีจะแก้สถานการณ์ท่ีเป็นปัญหา เป็นการแปลความหมายของสิ่งท่ีเขา ได้รับเข้ามา เพื่อจะได้ใช้เป็นรากฐานในการปฏิบัติการต่าง ๆ การหย่ังเห็นเป็นของผู้เรียนเอง ผู้สอนไม่ สามารถจะถ่ายทอดการหยั่งเห็นให้แก่ผู้เรียนได้ แต่ผู้เรียนจะต้องพัฒนาข้ึนมาเองจากง่ายถึงยากข้ึนไป เร่อื ย ๆ และสมบรู ณ์มากย่งิ ข้ึน โดยมีหลกั การดงั นี้ 1. วิธกี ารแก้ปญั หาโดยการหย่ังเหน็ จะเกิดขนึ้ ทนั ทที ันใด เป็นความกระจ่างแจ้งในใจ 2. การเรียนรู้การหยั่งเห็น คือ การท่ีผู้เรียนมองเห็น รับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็น การตอบสนองของสิง่ เร้าเพียงอยา่ งเดียว 3. ความรู้เร่ืองความผู้เรียน หรือประสบการณ์ของผู้เรียนล้วนมีส่วนท่ีจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ หย่งั เห็นเหตุการณท์ เ่ี ป็นปญั หา และชว่ ยใหก้ ารหยั่งเห็นเกิดขน้ึ ได้รวดเรว็ (1) กฎการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตอลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิด จากประสบการณ์ และการเรียนรูใ้ น 2 ลักษณะตามท่ี บิกก์ (Bigge, 1982: 190-202) ไดแ้ บ่งไว้ คอื (1.1) การรับรู้ (Perception) เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วน คือ หู ตา จมูก ล้ิน และผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ท้ังหมด ดังน้ันกลุ่ม เกสตอลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็น 4 กฎ เรียกว่ากฎแห่งการจัดระเบียบ (The Law of Organization) คือ 1) กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) 2) กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity) 3) กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) และ 4) กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)

52 (1.2) การหย่ังเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใดในขณะที่มีปัญหา โดยการมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาต้ังแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่าได้ คน้ พบแลว้ ผ้เู รยี นจะมองเห็นชอ่ งทางการแกป้ ัญหาข้นึ ไดท้ นั ทีทนั ใด 2.2.2 การเรียนรตู้ ามแนวคดิ ของเพยี เจต์ เพียเจต์ (Jean Piaget) มีแนวคิดท่ีอยู่บนรากฐานของท้ังองค์ประกอบท่ีเป็นพันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อมซ่ึงเป็นหลักท่ีเขาใช้ในการอธิบายพัฒนาการทางสติปัญญา อันเป็นทฤษฎีธรรมชาติระยะ ขั้นตอนของการพัฒนาการแต่ละตอน มีความสัมพันธ์กับความเจริญเติบโตทางสติปัญญา ซึ่งกาหนดโดย วุฒิภาวะทางพันธุกรรม มิใช่องค์ประกอบทางด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถเป็นทฤษฎีการฝึกฝน เพราะ ประสบการณ์ของเด็กที่ได้จากส่ิงแวดล้อมมีส่วนกาหนดอายุพัฒนาการของเด็กแต่ละคน เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลาดับของระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดย ปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อมพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ มีลักษณะดังนี้ (Lall and Lall, 1983: 45 - 54) 1. ข้ันการรับรู้ทางประสาทและการเคล่ือนไหว (The Sensorimotor Period) (อายุแรกเกิด – 2 ปี) เป็นระยะแรกของพัฒนาการ เด็กขาดความสามารถในกิจกรรมทางสัญลักษณ์ แต่เพียเจต์รู้สึกว่าในระยะ สองปีแรกนี้ เด็กได้สร้างโครงสร้างใหญ่และโครงสร้างย่อยทางสติปัญญาแล้ว ซ่ึงจะทาหน้าที่เป็นตัวแยก พฒั นาการทางการรบั รู้ และสติปญั ญาในเวลาตอ่ มา เป็นระยะทเ่ี ด็กเปลี่ยนจากระยะช่วยเหลอื ตนเองไม่ได้ เลย มาเป็นระยะที่พอจะช่วยเหลือตัวเองได้บ้างในบางกิจกรรม ความเปล่ียนแปลงพ้ืนฐานในระยะน้ีอาจ ไดแ้ ก่ การรับรู้ตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มของเขาเปลยี่ นไปในขณะที่เขาเริ่มเขา้ ใจและควบคุมมนั ได้ 2. ข้ันก่อนการใช้ความคิด (The Preoperational Period) (อายุ 2 - 7 ปี) เป็นระยะท่ีเด็กเริ่มใช้ สัญลักษณ์และภาษาเป็นเครื่องมือแทนเหตุการณ์ และวัตถุจากสิ่งแวดล้อมแทนท่ีจะเป็นเพียงการ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพในขณะน้ัน เด็กจะสรา้ งและใช้สัญลักษณ์แทนส่งิ ของและการกระทา และ สามารถสร้างการกระทาขึ้นมาใหม่ หรอื เลียนแบบการกระทาทเ่ี กิดขึน้ มาแล้วหลาย ๆ ชั่วโมงได้ ในขณะที่ แต่ก่อนเด็กตอบสนองต่อสง่ิ แวดล้อมของเขาได้เฉพาะทเี่ กิดกับเขาโดยตรงและทันทีเทา่ นั้น แตใ่ นชว่ งนี้เขา เริ่มพัฒนาความสามารถท่ีจะเก็บสิ่งต่าง ๆ ไว้ในสติปัญญาของเขา และเก็บไว้ใช้โอกาสต่อมา แต่อย่างไรก็ ตามเขายงั ไมส่ ามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างผใู้ หญ่ได้ ในการกระทาบางอยา่ ง

53 3. ข้ันการใช้ความคิดทางรูปธรรม (The Concrete Operation Period) เด็กในระยะน้ีจะ สามารถแยกแยะระหวา่ งขั้นหรือกลมุ่ ของวตั ถุ เช่น ส่งิ มชี ีวติ ตรงข้ามกับสิ่งไม่มชี ีวิต นอกจากนีเ้ ด็กในระยะ การใช้ความคิดทางรูปธรรม สามารถสัมพันธ์การนับด้วยวาจากับการนับจานวนสิ่งของได้ ในระยะนี้เขา สามารถแก้ปัญหาง่าย ๆ โดยใช้เหตุผลมากกว่าการลองผิดลองถูก เขาสามารถเรียกปัจจุบันออกจากอดีต ได้ และจัดเรียงอันดบั ส่งิ ของจากส่ิงเลก็ ท่ีสุดไปส่สู งิ่ ใหญ่ทส่ี ดุ ได้ 4. ข้ันการใช้ความคิดทางนามธรรม (The Formal Operation Period) เป็นระยะที่เด็กมีอายุ ต้ังแต่ 11 หรือ 12 ปขี ึน้ ไป เมอ่ื เด็กย่างเขา้ ในวัยนเี้ ขาสามารถจดั การกับตวั แปรหลายตวั ในเวลาเดียวกันได้ และมคี วามเข้าใจความสมั พนั ธ์เชงิ นามธรรม ในระยะนกี้ ารหาเหตุผลของเขามลี กั ษณะเหมือนของผู้ใหญ่ ระดบั ของพัฒนาแตกต่างกนั ไปตามบุคคล การพัฒนาไปสู่ระยะการใชค้ วามคิดทางนามธรรม เป็น ผลมาจากสิ่งท่ีเพียเจต์เรียกว่า “การถ่ายทอดทางสังคม” (Social Transmission) ซ่ึงหมายถึง ประสบการณ์นั่นเอง เพื่อเป็นสมมติฐานไว้ให้เลือก เขาแนะนาว่าแต่ละคนมีความแตกต่างกันในแง่ของ ความถนัด และองค์ประกอบอันน้ีรับผิดชอบต่อความแตกต่างที่เห็นได้ชัดในการพัฒนาประเภทของ ลกั ษณะการคิดในระยะการใชค้ วามคดิ แบบนามธรรม แนวคิดของเพียเจต์อาจนาไปใช้ในการประเมินศักยภาพทางสติปัญญา เพ่ือจัดหลักสูตร การ เรียนรู้ตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน และการเรียนรู้จะข้ึนอยู่กับพัฒนาการทางสติปัญญาของ แต่ละคน น่ันคือการเน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเองมากท่ีสุด ผู้สอนเป็นเพียงผู้ร่วมมือในกระบวนการ เรียนรู้ และเป็นผู้เตรียมเนื้อหาและประสบการณ์ท่ีจะให้เด็กได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองเท่าน้ัน และ พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีความสาคัญในเรื่องการวดั ผล เช่น เด็กท่ีพัฒนาในขั้นประสาทรับรู้และการ เคล่ือนไหวก็ควรวัดผลจากการกระทาหรือกิจกรรมทางกลไกหรือการวัดผลเด็กในขั้นปฏิบัติการคิดด้วย นามธรรมก็ต้องวัดด้วยการใช้เหตุผลท่ีลึกซึ้ง นอกจากน้ีความเชื่อและความคิดของเพียเจต์เก่ียวกับ พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกาหนดเน้ือหา และ กิจกรรมใหเ้ หมาะกับผ้เู รียนในแตล่ ะวยั 2.2.3 การเรยี นรู้ตามแนวคดิ ของบรูเนอร์ เจอโรม เอส บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) อธิบายลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของ มนุษย์ออกเป็น 3 ข้นั คอื 1. การเรียนรู้จากการสัมผัส (The Enactive Mode) ได้แก่ การเป็นตัวแทนผ่านทางการกระทาด้วย ตนเอง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับวัตถุเหล่าน้ันที่ให้ความจริงเกี่ยวกับวัตถุข้ันน้ีเปรียบได้กับขั้นประสาท รบั ร้แู ละการเคล่อื นไหวของเพียเจต์ เปน็ ข้นั ท่เี ด็กจะเรยี นรจู้ ากการกระทามากที่สุด

54 2. การเรียนรู้จากภาพความจา (The Iconic Mode) ได้แก่ รูปแบบท่ีเก่ียวกับการใช้จินตนาการ เพ่ือท่ีจะสรุปและใช้แทนการกระทา เด็กสังเกตและจาลักษณะหรือผิวนอกของวัตถุท่ีเห็นได้ ขั้นน้ีเปรียบ ได้กับขัน้ ก่อนปฏบิ ัติการคดิ ของเพียเจตซ์ งึ่ จะควบคุมขัน้ การคดิ ก่อนเกดิ ความคิดรวบยอด และการคิดแบบ ทางนามธรรมลา้ ลกึ ในวัยน้ีเดก็ จะเกี่ยวขอ้ งกับความจริงมากขึ้น จะเกดิ ความคิดจากการรับรูเ้ ป็นส่วนใหญ่ อาจจะมจี นิ ตนาการบา้ งแต่ยังไม่สามารถคดิ ไดล้ ึกซึ้งนัก 3. การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ (The Symbolic Mode) เป็นพัฒนาการข้ันสูงสุด ข้ันน้ีเด็กจะสามารถ เข้าใจความสัมพันธ์ของส่ิงของ สามารถเกิดความคิดรวบยอดในส่ิงต่าง ๆ ที่ซับซ้อนได้มากขึ้น การใช้ สัญลักษณ์ทางภาษามีความคล่องและได้ผลมากกว่าการกระทา หรือภาพ ซ่ึงนาไปสู่จุดสูงสุดของ ความสามารถทางพุทธิลักษณะได้ ขั้นน้ีเปรียบได้กับขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม และขั้นปฏิบัติการคิดด้วย นามธรรมของเพียเจต์ เด็กจะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งของ สามารถเกิดความคิดรวบยอดในส่ิง ต่าง ๆ ท่ีซับซ้อนได้มากข้ึน แม้ว่าลักษณะของการเรียนรู้ท้ัง 3 ประเภทนี้จะจัดลาดับขั้นตอนเอาไว้ แต่ ทฤษฎีของบรูเนอร์ไม่ยึดข้ันทกี่ าหนดไว้เป็นกฎตายตัวเหมือนทฤษฎีของเพยี เจต์ เพียเจต์เน้นข้อจากดั ของ ความสามารถของเด็กในแตล่ ะขั้นแตบ่ รเู นอร์เนน้ ผลงานท่เี ด็กทาได้สาเร็จ การนาทฤษฎีของบรเู นอร์ไปประยกุ ต์ใช้ในการพัฒนาหลักสตู ร ควรคานึงถึงส่งิ ต่อไปน้ี 1. เกี่ยวกับโครงสร้างของความรู้ หลักสูตรโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนมาให้ความสาคัญต่อการจัด ระเบียบหรือการจัดเรียบเรียงเน้ือหา หรือโครงสร้างของความรู้ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็น ความสัมพันธ์ระหวา่ งความรู้หรือประสบการณเ์ ดมิ กบั ความรู้หรือประสบการณใ์ หม่ โดยนัยนี้ การสอนของ ผู้สอนจะต้องมีวิธีการซ่ึงจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงโครงสร้างพ้ืนฐาน หรือจัดเรียบเรียงความรู้ต่าง ๆ ใหอ้ ยู่ในรปู ที่มีความสัมพันธ์กัน และใหส้ อดคล้องกับพัฒนาการทางสตปิ ญั ญาให้มากทส่ี ุด 2. เก่ียวกับความพร้อม การท่ีคนเราจะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพน้ัน จาเป็นต้องใช้หลักสูตร ให้เหมาะสมกับความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จะต้องจัดรูปแบบของกิจกรรม ทักษะ และการฝึกหัดให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความเจริญงอกงามทางสติปัญญาของเด็ก จาก แนวคิดข้างต้น บรูเนอร์ได้เสนอหลักสูตรแบบใหมเ่ รียกว่า หลกั สูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ซ่ึง เปน็ หลักสูตรทีจ่ ดั สอนพน้ื ฐานทุกวชิ าให้กับเดก็ ทุกระดบั 3. เก่ียวกับการจูงใจ บรูเนอร์ได้เน้นเก่ียวกับการจูงใจ เขาช่ือว่ากิจกรรมทางการใช้สติปัญญาจะ ประสบผลสาเร็จอย่างเต็มที่ก็ต่อเม่ือผู้เรียนมีความพอใจ ผู้สอนควรสร้างแรงจูงใจภายนอกแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเปน็ แรงจงู ใจภายใน

55 3. ข้อมลู พ้ืนฐานด้านสงั คมและวัฒนธรรม สถานศึกษาเป็นส่วนย่อยส่วนหน่ึงในชุมชน และในภาพกว้างสถานศึกษาจัดเป็นส่วนหนึ่งของ สังคมด้วย แต่สถานศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ดีได้ก็ต่อเม่ือสถานศึกษาสามารถทางานร่วมกับ ชมุ ชนได้ สถานศึกษาแต่ละแห่งต่างกม็ ีลักษณะเช่นเดียวกับชมุ ชนน่ันคือ ในแต่ละชุมชนต่างก็มีวัฒนธรรม ของตนเอง วัฒนธรรมเป็นเสมือนกรอบของมาตรฐานท่ีแสดงให้เห็นถึงความเชื่อและค่านิยมที่ได้ปฏิบัติ มาแล้วเป็นอย่างดี สังคมและวัฒนธรรมและหลักสูตรของสถานศึกษาจึงต้องเก่ียวข้องกันเสมอ (Wood, 1990: 33) การศึกษาทาหน้าที่สาคัญคือ อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลัง และ ปรับปรงุ เปล่ียนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากบั การเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่าง ๆ โดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึง ปรารถนา เพราะฉะน้ันหลักสูตรที่จะนาไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม อย่างแยกไม่ออก และโดยธรรมชาตขิ องสงั คมและวฒั นธรรม มกั มีการเปลย่ี นแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรจงึ จาเป็นตอ้ งคานึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีเป็นปจั จบุ ันอย่เู สมอ ประเดน็ ท่ี ควรคานงึ ถึงมดี ังนี้ 1. โครงสร้างของสังคม การพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องศึกษาโครงสร้างของสังคมท่ีเป็นอยู่ใน ปจั จุบันและแนวโนม้ โครงสร้างสงั คมในอนาคต เพื่อทจ่ี ะได้ข้อมูลมาจัดหลักสูตรว่า จะจดั หลักสูตรอยา่ งไร เพ่ือยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพ่ือการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไปสู่การ พัฒนาอุตสาหกรรม และนวตั กรรมสมยั ใหม่ตามความจาเปน็ 2. ค่านิยมและความเชื่อของคนในสังคม เน่ืองจากการศึกษาเป็นตัวการท่ีทาให้เกิดการ เปล่ียนแปลงในสังคม ดังน้ันการพัฒนาหลักสูตรจึงจาเป็นต้องศึกษาถึงค่านิยมต่าง ๆ ในสังคมไทยว่า ค่านิยมชนิดไหนสมควรจะได้รับการเปลี่ยนแปลง หรือดารงไว้ หรือค่านิยมชนิดไหนควรสร้างข้ึนใหม่ เพอื่ ให้มคี วามเหมาะสมกับสภาพสงั คมไทยในปจั จุบันให้มากที่สุด 3. ธรรมชาติของคนในสังคม ธรรมชาติของคนในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันออกไป ท้ังน้ีข้ึนอยู่ กับสภาพพ้ืนฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมนั้น ๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ควรคานึงถึงลักษณะธรรมชาติ บคุ ลิกภาพของคนในสงั คม โดยศกึ ษาพิจารณาว่าลักษณะใดควรจะคงไว้ ลักษณะใดควรจะเปลี่ยนแปลงไป ในทางท่ีพึงประสงค์ของสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อท่ีจะจัดการศึกษาในอันท่ีจะสร้างบุคลิกลักษณะของคน ในสงั คมตามท่สี ังคมตอ้ งการ เพราะหลกั สตู รเปน็ แนวทางในการสร้างลกั ษณะสังคมในอนาคต

56 4. การช้ีนาสังคมในอนาคต การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นาสังคมในอนาคตด้วย เพราะใน อดีตท่ีผ่านมาระบบการศึกษา และระบบพัฒนาหลักสูตรของไทยเป็นลักษณะของการตั้งรับมาโดยตลอด ฉะนั้นการจัดการศึกษาที่ดีควรใช้การศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการพัฒนาประเทศในอนาคตให้เป็นไปตาม เป้าหมายทวี่ างไว้ นักพฒั นาหลักสูตรจงึ ควรศกึ ษาข้อมลู ต่าง ๆ ท่เี ป็นเคร่อื งชนี้ าสังคมในอนาคต 5. การคานึงถึงความหลากหลายของคนและวัฒนธรรมในสังคม เน่ืองจากในสภาพสังคมปัจจุบัน เป็นสังคมยุคโลกาภิวัตน์ มีการไหลบ่าของคนแต่ละสังคม ดังนั้นสังคมจึงเป็นท่ีรวมของกลุ่มคนท่ีมีความ แตกต่างในด้านเชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม และความเช่ือ ในการจัดหลักสูตรสถานศึกษาควรคานึงถึงเรื่อง เหลา่ นด้ี ้วย 6. ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคม วัฒนธรรม เปน็ สัญลักษณอ์ ันสาคัญท่จี ะแสดงให้ทราบว่าเขาเหล่านัน้ เปน็ คนในสงั คมเดียวกนั หรอื เปน็ คนชาติเดียวกัน การพัฒนาหลักสูตรจงึ จาเป็นต้องคานงึ ถงึ ศาสนาและวัฒนธรรม ความรู้และหลักธรรมทางศาสนาต่าง ๆ นามา บรรจไุ ว้ในหลักสตู ร กล่าวได้โดยสรุปว่า หลักสูตรมีพื้นฐานจากสังคมเป็นพ้ืนฐานท่ีสาคัญที่สุด นั่นก็เพราะหลักสูตร ได้รบั อิทธิพลมาจากทางสังคมมากท่สี ดุ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าสถานศึกษาเป็นสถาบันทางสงั คม สมาชิก ในสังคมเปน็ ผ้สู ร้างและพัฒนาสถานศกึ ษา เพ่อื ให้สนองต่อความต้องการของสังคมนนั้ ๆ 4. ข้อมูลพื้นฐานดา้ นเศรษฐกจิ การศึกษาเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมอื สาคัญในการ พฒั นาคนซึ่งเป็นสว่ นประกอบท่ีสาคญั ที่สุดในทุกระบบเศรษฐกิจ เพราะระบบเศรษฐกิจจะเจริญก้าวหน้า ได้เพียงใดข้ึนอยู่กับคุณภาพของคนในสังคมน้ัน การพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ (หรรษา นลิ วิเชียร, 2547: 57) 1. การเตรียมกาลังคน การให้การศึกษาเป็นส่ิงสาคัญในการผลิตกาลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อปอ้ งกันการสูญเปล่าทางการศกึ ษา และเพ่ือ ลดปญั หาการว่างงานอนั เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ 2. การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรควรเน้นการส่งเสริมอาชีพส่วนใหญ่ของคนในประเทศ จัด หลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น เพ่ือพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมเป็น การยกระดับรายได้คนใน ชุมชนให้สูงขึ้น เพ่ือลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ลดการหล่ังไหลของประชาชนเข้าไปทางานตาม เมืองใหญ่ สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าท่ีสาคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันจัดทาหลักสูตรเพื่อพัฒนา อาชีพใหบ้ รรลุผล

57 3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันประเทศไทยกาลังพัฒนาจากเกษตรกรรมไปสู่ ภาคอตุ สาหกรรมมากขึน้ เรื่อย ๆ นักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาข้อมูลแนวโน้มและทศิ ทางการขยายตวั ทาง อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมดา้ นไหนที่ควรจะได้รับการพัฒนาหรอื สง่ เสรมิ หรือเป็นอุตสาหกรรมทตี่ ้องการ และจาเป็นของสังคมหรือของโลก เพื่อท่ีจะได้พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อม สาหรับการขยายตัวทางดา้ นอตุ สาหกรรม สามารถผลติ ผู้จบการศึกษาทีส่ ามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ อยา่ งเหมาะสม 4. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทย การพัฒนาหลักสูตรต้องคานึงถึง การพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย ในหลักสูตรจะต้องบรรจุเนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีการ ปลูกฝังจิตสานึกในความรับผิดชอบร่วมกัน การสร้างค่านิยมในการทางานร่วมกัน การไม่เอารัดเอาเปรียบ กัน ความขยันหมั่นเพียร การรู้จักอดออม การมีสติรู้คิด การมีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ การสร้างเสริม ความสามารถในการผลิต การสร้างงานและการประกอบอาชีพ ถ้าหลักสูตรในระดับตา่ ง ๆ ได้บรรจุและปลูกฝัง ส่ิงเหล่านี้ไว้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามระดับการศึกษาแล้ว ผู้จบการศึกษาก็จะเป็นบุคคลที่สามารถ พัฒนาตนเองใหม้ ีประสทิ ธิภาพทางเศรษฐกิจภายใต้ความเจรญิ ทางด้านเศรษฐกิจได้อยา่ งเหมาะสม 5. การลงทุนทางการศึกษา การจัดการศึกษาในทุกระดับต้องใช้งบประมาณของรัฐ โดยเฉพาะ การศึกษาข้ันพน้ื ฐาน การจดั การศึกษาควรคานึงถึงงบประมาณเพื่อการศึกษา แหล่งเงินท่ีจะช่วยเหลือรัฐ ในรูปงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตรควรจัดให้สอดคล้องกับงบประมาณของรัฐ ไม่ว่าในด้านการ จัดการเรียนการสอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เพ่ือให้การใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และต้อง คานึงถงึ ผลตอบแทนจากการลงทุนในดา้ นกาลังคน ปริมาณ และคุณภาพ 5. ขอ้ มูลพืน้ ฐานด้านการเมอื งการปกครอง การเมืองการปกครองเป็นเร่ืองที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน ในสังคมหมู่มาก จาเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนหรือกติกาต่าง ๆ สาหรับสมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกัน เพื่อ ความสงบเรียบร้อยและการอยรู่ ่วมกันอย่างสนั ติ ดังน้ันการเมืองการปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกบั บทบาท หนา้ ที่ สิทธิ และความรบั ผิดชอบท่ีบคุ คลพึงมีต่อสงั คมและประเทศชาติ การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ในฐานะท่ีการศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดี ให้แก่สังคมให้อยู่ในระบบการปกครองของประเทศชาติ ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีสิทธ์ิหน้าท่ีและความ รับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร และควรแสดงแนวคิดและปฏิบัติตนอย่างไร หลักสูตรของประเทศต่าง ๆ จึง ควรบรรจุเน้ือหาวิชาและประสบการณ์ท่ีจะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็น ระเบยี บเรียบรอ้ ย และสนั ติสุข

58 วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม (2549: 51) กล่าวโดยสรุปไว้ว่า ข้อมูลท่ี เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนามาเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสตู รก็คือ ระบบการเมอื งและระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ และรากฐานของประชาธปิ ไตย เป็นต้น 1. ระบบการเมืองการปกครอง เนื่องจากการศึกษาเป็นเคร่ืองมืออันหน่ึงของสังคม ดังนั้นการศึกษา กับระบบการเมืองการปกครองจึงแยกกันไม่ออก หลักสูตรของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ ประถมศึกษาซ่ึงเป็นการศึกษาข้ันพ้ืนฐานมักจะบรรจุเน้ือหาสาระของระบบการเมืองการปกครองไว้ เพ่ือสร้าง ความเข้าใจให้ประชาชนอยู่ร่วมกนั ในสังคมได้ด้วยความเปน็ ระเบยี บเรียบรอ้ ย ในบางประเทศที่ต้องการปลูกฝัง อุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ประชาชน จะบรรจุเนื้อหาเก่ียวกับระบบการเมืองการปกครองไว้ในหลักสูตร ระดับต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ เพราะฉะน้ัน ในการพัฒนาหลักสูตรควรเลือกเน้ือหาวิชาประสบการณ์เรียนรู้ และ การจัดใหม้ ีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองทตี่ ้องการปลูกฝัง 2. นโยบายของรัฐ เน่ืองจากการศึกษาเป็นส่วนหน่ึงของระบบสังคมจึงมีความจาเป็นต้องสอดคล้องกับ ระบบอ่ืน ๆ ในสังคม การท่ีจะให้ระบบต่าง ๆ สามารถเก้ือหนุนส่งเสริมซ่ึงกันและกันจึงจาเป็นจะต้องมีการ ประสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่าน้ัน ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายแห่งรัฐเพื่อเป็นแนวทางในการ ดาเนินงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องและสอดคล้องซ่ึงกันและกัน นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศกึ ษา ในการพฒั นาหลักสูตรควรจะได้พจิ ารณานโยบาย ของรัฐด้วย เพือ่ ที่จะได้จดั การศกึ ษาให้สอดคลอ้ งกนั 3. รากฐานของประชาธิปไตย จากการท่ีประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 น้ัน ความรู้ความเข้าใจตลอดจน ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยในสังคมไทยยังไม่เพียงพอ หลักสูตรในฐานท่ีเป็นเครื่องมือ สาหรับพัฒนาคนควรท่ีจะได้วางรากฐานที่เก่ียวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอัน ถูกต้องซึง่ จะสรา้ งสรรคใ์ ห้ทุกคนอยู่รว่ มกนั ในสงั คมได้อย่างสันตสิ ขุ และไม่มีการเอารดั เอาเปรียบซง่ึ กันและกัน 6. ข้อมลู พื้นฐานดา้ นสภาพปญั หาและแนวทางการแกไ้ ขปัญหาในสังคม สภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของสังคม เป็นข้อมูลพื้นฐานท่ีสาคัญที่ต้องศึกษา สังคมไทยปัจจุบันกาลังประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ ท้ังปัญหาส่ิงแวดล้อม ปัญหาสภาพสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมือง ซึ่งการจะแก้ปัญหาเหล่าน้ีมีท้ังระยะส้ันและระยะยาว และการ แก้ปัญหาอาจทาได้ช่ัวคราวหรืออย่างถาวร การจัดการศึกษาเพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสาคัญ ที่ นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาแล้วนามาสร้างเป็นหลักสูตร ปัญหาสาคัญ ๆ ที่ควรศึกษาดังท่ี (วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม, 2549: 52) ไดส้ รุปไวค้ ือ

59 1. ปญั หาทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การขยายตัวของอุตสาหกรรม และการใช้เทคโนโลยี ทาให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติในสังคมไทยมากขึ้น เช่น ปัญหาการทาลายป่าไม้ ปัญหา ความเสื่อมโทรมของดิน ปัญหาน้าเสีย และอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ สมควรท่ีจะได้ศึกษาข้อเท็จจริงถึงสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข เพ่ือท่ีจะนาไปเป็นข้อมูลในการจัด การศึกษาและพัฒนาหลกั สตู ร 2. ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมักจะเกิดข้ึนจากการเปลี่ยนแปลง ของสังคม ซ่ึงมีสาเหตุมาจากความเจริญทางวัตถุและวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว ด้วยอิทธิพลของการส่ือสาร ทาให้คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากโดยเฉพาะคนในวัยหนุ่มสาว หรือเยาวชน ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ที่ยึดมั่นในวัฒนธรรม เดิม ทาให้เกิดปญั หาเก่ียวกับยาเสพติด ปัญหาทางเพศ ปัญหาอาชญากรรม ซง่ึ การศึกษาปญั หาเหล่านี้จะ เป็นข้อมูลในการจัดหลักสูตร เพื่อเตรียมเยาวชนให้สามารถดารงอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมี ความสขุ และไม่เกดิ ปญั หา 3. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาหลักสูตรควรได้ศึกษาปัญหาทางด้านเศรษฐกิจท้ังในอดีต ปจั จุบัน และแนวโน้มปัญหาที่จะเกิดข้ึนในอนาคต เพื่อท่ีจะได้นาข้อมูลทางเศรษฐกจิ ท่ีได้มาจดั การศึกษา ท่ีสอดคล้องกับทรัพยากรทางธรรมชาติ และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพ่ือกาหนด จุดมุ่งหมายของหลักสูตร การสร้างหลักสูตรรายวิชา และการบรรจุเน้ือหาสาระให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ทาให้ผู้ท่ีจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ สามารถออกใบ ประกอบอาชีพได้ และสามารถดารงอยู่ได้ในสังคมท่ีมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ โดยไม่เป็น ปญั หาหรือภาระของสงั คม หรือจัดการศึกษาเพื่อให้บคุ คลสามารถสรา้ งงานได้ 4. ปัญหาทางด้านการเมืองการปกครอง สภาพปัญหาทางด้านการเมืองของไทยเป็นมาอย่าง ยาวนานสมควรท่ีการศึกษาจะเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาทางด้านการเมือง คือ การให้ความรู้และ ปลูกฝังในเร่ืองของประชาธิปไตย จึงควรท่ีนักพัฒนาหลักสูตรจะได้ตระหนักและพัฒนาหลักสูตร เนือ้ หาวชิ า หรอื กจิ กรรมการเรียนการสอน ให้สามารถพฒั นาผู้เรยี นใหม้ จี ิตสานึกและความรู้สึกรับผิดชอบ ต่อการเมอื งการปกครองของประเทศ 7. ขอ้ มลู พนื้ ฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทาให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเกิด ความจาเป็นต้องเพ่ิมความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ แล้วต้องเปลี่ยนแปลงเจตคติใหม่ ทาให้เกิดความจาเป็นจะต้อง สร้างคุณธรรมและความคิดใหม่ เพ่ือให้คนในสังคมสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

60 โดยใช้การศึกษาทาหน้าที่สร้างประชาชน ที่มีคุณภาพและมีความสามารถปรับตัว ให้เข้ากับความเจริญ ทางด้านวทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม หลักสตู รทนี่ ามาใช้จึงจาเปน็ ต้องมีความสอดคล้อง กับความเจริญทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ปัจจุบันประเทศไทยได้นาเอาความก้าวหนา้ ทางดา้ นวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในสังคมอย่างกว้างขวางในทุก ๆ ด้าน ทาให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและ สง่ิ แวดล้อมทงั้ ทางตรงและทางอ้อม ดงั นั้นผู้เขียนจึงมคี วามเห็นว่า การจดั การศึกษาควรให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ท่ีเป็นผลกระทบจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมท้ังให้เขาได้รับข้อมูลต่าง ๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้เขาสามารถเลือกตัดสินใจ ใช้วิธีการปฏิบัติท่ีถูกต้อง ดังน้ันนักพัฒนาหลักสูตรต้อง ศกึ ษาข้อมูลทางด้านวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีท้ังในปจั จุบนั และแนวโน้มความเจริญในอนาคต เพอื่ ทจ่ี ะ ได้พฒั นาหลักสูตร เพื่อพฒั นาคนใหส้ ามารถดารงตนอย่ไู ด้อย่างเหมาะสม ในสงั คมท่เี ปลี่ยนแปลงไป 8. ขอ้ มลู พนื้ ฐานด้านสภาพของสังคมในอนาคต จากสภาพการเปล่ียนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความเจริญก้าวหน้าทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในปัจจุบัน ช้ีให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มท่ีจะ พัฒนาทางด้านอตุ สาหกรรมมากข้ึน ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่หลากหลายสาขา จากสภาพการ เปลยี่ นแปลงดังกลา่ ว มผี ลทาใหส้ งั คมเปล่ียนแปลงไปดังน้ี 1. จะมกี ารสง่ เสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) รวมทัง้ อตุ สาหกรรมท้องถิ่น (OTOP) มากขน้ึ 2. งานอาชีพอิสระมีแนวโน้มจะมีความสาคัญมากขึ้นในอนาคต ท้ังน้ีเนื่องจากลักษณะของการ ผลติ อตุ สาหกรรมสว่ นใหญม่ กั จะเปน็ การผลติ แบบใชท้ นุ มากกว่าแรงงาน 3. ในอนาคตสภาพสังคมจะมีการแขง่ ขันและการต่อสู้เพ่ือความอยู่รอดเฉพาะตัวมากขึ้น เพราะที่ดิน ทากินไม่สามารถขยายเพิ่มให้สมดุลกับประชากรได้ ทาให้เกิดการเข้ามาทางานในเมืองมากขึ้น และ ภาคอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถรองรับแรงงานได้ทั้งหมด เพราะฉะนนั้ การแข่งขันเพ่ือความอยรู่ อดจงึ มีมากข้ึน 4. การประพฤติปฏิบัติของคนไทยจะเปล่ียนไปจากวัฒนธรรมด้ังเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี และการหลั่งไหลเข้ามา ของวฒั นธรรมตะวนั ตก ซงึ่ จะมีผลกระทบต่อคุณธรรมจรยิ ธรรม คา่ นยิ ม และส่ิงแวดลอ้ มของสังคมไทย 5. ในอนาคตคาดว่าการดาเนินชีวิตของคนไทยจะประสบปัญหา ท้ังในด้านสุขภาพและ การ ประกอบอาชีพมากขึ้น ซ่ึงเป็นผลกระทบมาจากการเปล่ียนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจ และการเพ่ิมของ ประชากร

61 9. ข้อมลู พน้ื ฐานจากบุคคลภายนอก และนักวิชาการสาขาตา่ ง ๆ ข้อมูลพื้นฐานจากบุคคลภายนอกเป็นข้อมูลที่สาคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ ข้อมูลในการพัฒนา หลกั สตู รสามารถครอบคลุมความจาเปน็ ในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างกว้างขวาง ขอ้ มลู ดงั กลา่ ว ได้แก่ ข้อมูล จากนักวิชาการในสาขาวิชาต่าง ๆ นกั การศึกษา หรือบุคคลท่ีเก่ียวข้องกับการใช้ผลผลิตของการจัดการศึกษา คือ สถานประกอบการทผี่ ู้จบการศกึ ษาเข้าไปสู่ หรืออาจจะเรียกขอ้ มลู จากสถานประกอบการ เป็นตน้ 1. ข้อมูลจากนักวิชาการ นักวิชาการแต่ละสาขาท่ีมีความรู้ ความสามารถ ความชานาญเฉพาะ ทาง ย่อมรู้ทฤษฎี หลักของธรรมชาติ โครงสร้าง และระดับความยากง่ายของความรู้ในแต่ละศาสตร์ของ ตนเป็นอย่างดี คณะพัฒนาหลักสูตรจะต้องปรึกษาและร่วมมือกับนักวิชาการเหล่าน้ี เก่ียวกับการกาหนด จดุ มุง่ หมายการเรียนรู้ในแต่ละสาขาวิชา ในการกาหนดเน้ือหาวิชาความกว้างความลกึ และความต่อเน่ือง สัมพันธ์ของเนื้อหาเรื่องในทางปฏิบัติ การพัฒนาหลักสูตรของไทยยังขาดข้อมูลทางด้านนี้มาก ทาให้เกิด การสูญเปล่าทางการศึกษา นักวิชาการสาขาต่าง ๆ จึงน่าจะมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรโดยร่วมเป็น คณะกรรมการพฒั นาหลักสูตรในแตล่ ะสาขา เพอ่ื สรา้ งหลกั สตู รทสี่ มเหตสุ มผลและสมจริงทางวิชาการ 2. ข้อมูลจากสถานประกอบการ สถานประกอบการเป็นแหล่งข้อมูลท่ีสาคัญแหล่งหนึ่งที่ นักพัฒนาหลักสูตรไม่ควรมองข้าม เพราะหลักสูตรจะต้องผลิตคนสู่สถานประกอบการต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรในระดับอาชีวศึกษา ความต้องการของสถานประกอบการเป็น ข้อมูลสาคัญท่ีนักพัฒนาหลักสูตรควรนาไปพิจารณา เพื่อจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ผู้จบ หลกั สูตรสามารถเข้าไปสูส่ ถานประกอบการได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ 10. พืน้ ฐานทางประวัตศิ าสตรแ์ ละการศึกษาหลกั สตู รเดิม หากนักพัฒนาหลักสูตรได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และประวัติการศึกษาแล้วได้มาวิเคราะห์หา คาตอบจากคาถามเหล่านี้ หรือคาถามอื่นที่มีประโยชน์เหมาะสมก็จะช่วยให้ได้คาตอบท่ีเป็นประโยชน์ และเป็นขอ้ มลู ในการจัดการศกึ ษาและพัฒนาหลักสูตรปัจจุบนั ไดเ้ ปน็ อย่างดี เพราะฉะน้ัน การที่ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรเก่า เนื่องจากในการพัฒนาหลักสูตรนั้น เราต้อง ต้ังต้นจากสิ่งท่ีเรามีอยู่หรือใช้อยู่ จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ก็เพื่อตรวจสอบว่าหลักสูตรท่ีใช้อยู่น้ันดี หรือไม่อย่างไร อะไรที่ดีอยู่แล้ว มีอะไรท่ีบกพร่อง ล้าสมัย หรือไม่สามารถสนองความต้องการของผู้เรียน และสังคมที่เปลีย่ นแปลงไป จดุ เดน่ จดุ ด้อย ข้อดี ข้อบกพร่องขององค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรทั้งใน แง่ของประสิทธิภาพของการนาไปใช้ รวมท้ังความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเหล่าน้ีเป็นข้อมูลใน อดีตที่มีคุณค่าแก่การจัดทาหรือพัฒนาหลักสูตรปัจจุบันซ่ึงในการศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติ การศึกษาควบคู่กันไปนั้น ธารง บัวศรี (2532: 128) ได้แสดงความคิดเห็นว่า หากลองตั้งคาถามต่าง ๆ

62 แล้ว ลองพิจารณาหาคาตอบจะช่วยให้เห็นความเหมาะสมของการจัดการศึกษาในขณะน้ัน ตัวอย่าง คาถาม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในขณะน้ันเป็นอย่างไร การจัดการศึกษามีจุดมุ่งหมาย จะแก้ปัญหาดังกล่าวหรือไม่ วิธีการที่ใช้แก้ปัญหาช่วยได้หรือไม่ การจัดการศึกษามีส่วนช่วยยกระดับ เศรษฐกิจหรือทาให้ระบบสังคมดีขึ้นหรือไม่ มีสิ่งชี้บอกใด ๆ หรือไม่ ที่แสดงว่าหลักสูตรได้คานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล หรือพัฒนาการของผู้เรียน หลักสูตรได้ส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือ ปรบั ปรุงวัฒนธรรมอย่างไร หลกั สตู รมกี ารส่งเสริมจิตสานกึ ในการช่วยตนเองหรือไม่ ฯลฯ 11. พนื้ ฐานเกีย่ วกับธรรมชาติของความรู้ การพัฒนาหลักสูตรจะต้องเก่ียวข้องกับความรู้ ไม่ว่าการนาความรู้มาบรรจุไว้ในหลักสูตร หรือ การจัดหมวดหมู่ความรู้ให้เหมาะสม เพราะฉะน้ันนักพัฒนาหลักสูตร จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเร่ือง ของความรู้เก่ียวกับแนวคิดของความรู้ โครงสร้างของความรู้ หรือโครงสร้างของสมองกับพัฒนาการ ทางด้านความรู้ และแบบฉบับของการสร้างความรู้ความเข้าใจ เพราะข้อมูลดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนา หลักสตู รเป็นอย่างยิ่ง ไมว่ า่ จะเป็นการออกแบบหลกั สตู รหรอื การจดั ทาหลกั สูตรกต็ าม แนวคดิ เกี่ยวกบั ความรู้ 1. ความรู้ คือ วิชาหรือสาขาท่ีเกิดจากการประมวลข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ เข้าเป็นหมวดหมู่ อย่างเป็นระเบียบ ตามแนวคิดน้ีเชื่อว่า ความรู้ต่าง ๆ ท่ีมนุษย์ได้ค้นพบ ได้เรียนรู้ หรือได้รวบรวมข้ึนใหม่ คอื สิ่งที่ได้ถูกประมวลเข้าไวด้ ้วยกันเปน็ หมวดหมู่ท่ีเรียกกนั ว่าเป็นวชิ า และเป็นสาขาวิชา ถ้าหากเอาวิชา รวมกันเข้าให้อยู่ภายใต้ความหมายที่กว้างข้ึน ตามแนวความคิดน้ีรูปแบบของหลักสูตรจะมีลักษณะเป็น หลกั สูตรรายวิชาซง่ึ มงุ่ ให้ผู้เรียนไดเ้ รียนรู้เนื้อหาวชิ าเปน็ สาคัญ 2. ความรู้ คือ ผลท่ีเกิดจากประสบการณ์ ตามแนวคิดน้ีเช่ือว่า ความรู้ไม่ใช่วิชา เพราะวิชาถ้าอยู่ โดยลาพังจะไม่เกิดอะไรข้ึน แต่ความรู้เป็นผลจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับหรือผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ กับสงิ่ แวดล้อมหรือสิ่งท่ตี ้องการเรยี นรู้ ทาให้เกิดการเปล่ยี นแปลงในตวั ผเู้ รียนขึ้น นักพัฒนาหลกั สตู รที่อยู่ ตามแนวคิดนี้ ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิชาเป็นพน้ื ฐาน ในการจัดทาหลกั สูตร แต่จะจัดหลักสูตรให้สอดคล้อง กบั ความตอ้ งการของผูเ้ รียน 3. ความรู้ คือ ส่ิงที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างวิชากับสาขาวิชาต่าง ๆ กับประสบการณ์ ตามแนวคิดน้ีเป็นการรวมสองแนวคิดข้างต้นเข้าด้วยกัน เพราะเห็นว่าทางเน้ือหาวิชาและประสบการณ์ ต่าง ๆ ลว้ นมีความสัมพันธต์ ่อการออกแบบหลักสูตร ซึ่งแนวคิดน้ชี ่วยในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร มากโดยเฉพาะในการแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล การทาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ของผู้เรียน และการทาหลักสูตรให้ยืดหยุน่

63 โครงสร้างของความรู้ ในอดีตการเลือกความรู้บรรจุลงในหลักสูตร จะพิจารณาในแง่ของการเลือก เนื้อหาให้เหมาะสม เพ่ือให้บรรลุจุดม่งุ หมายของหลักสูตร ต่อมาเร่ิมสนใจเจาะลึกเบื้องหลังของความรู้ เมื่อเบน จามิน เอส บลมู (Benjamin S. Bloom) ได้จัดระบบการจาแนกจุดประสงค์การเรียนรู้แสดงถึงพสิ ัยต่าง ๆ ของ ความรู้ ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย ต่อมาบรุนเนอร์ (Jerome S.Bruner) ได้วิเคราะห์ความรู้ที่มี อยใู่ นสาขาวิชาต่าง ๆ โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนทเ่ี ปน็ ขอ้ เทจ็ จริง (Facts) ส่วนท่ีเป็นหลักเกณฑ์ (Principles) และส่วนที่เป็นมโนทัศน์ (Concepts) เพราะฉะน้ัน ในการจัดทา หลักสูตรความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของความรู้เป็นสิ่งจาเป็นท่ีนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อจะได้บรรจุข้อมูลความรู้ลงในหลักสูตรให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และ ทักษะพิสัย อีกทั้งสามารถเลือกความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์ หรือมโนทัศน์ ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ ในระดับต่าง ๆ ได้ โครงสร้างของสมองกับพัฒนาการทางความรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสมองกับ พฒั นาการทางความรู้ มีผลต่อการออกแบบหลักสูตร เพราะสมองของคนเรา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ละ สว่ นมีคณุ สมบตั ิเฉพาะตัว สมองสว่ นข้างซา้ ยควบคุมการกระทาบางอย่าง เช่น การอ่าน การเขียน การคิด เลข และการลาดับความคิดเป็นขั้นตอน รวมท้ังการคิดแบบวิทยาศาสตร์ส่วนสมองข้างขวาจะควบคุมการ ทางานในด้านศิลปะ การสร้างมโนทัศน์ในส่ิงที่สมองเห็น ความคิดคานึง จินตนาการ และความเพ้อฝัน เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตร จะต้องคานึงถึงความสาคัญของการจัดวิชาที่มีส่วนส่งเสริมสมองทั้งสอง ขา้ งใหส้ มดุลกัน พัฒนาสมองทง้ั 2 ด้านไปพร้อม ๆ กัน แบบฉบบั ของการสรา้ งความร้คู วามเขา้ ใจ แบบฉบับของความรคู้ วามเข้าใจ หมายถงึ วิธีการท่แี ต่ละ คนยึดถือเป็นหลักในการประมวลข้อมลู และแสวงหาความหมายของข้อมูลนั้น การท่ีทราบว่าผู้ใดมีแบบฉบับ ในการสร้างองค์ความรู้ความเขา้ ใจอย่างไร จะช่วยให้สามารถกาหนดเน้ือหา และวธิ ีการเรียนการสอนได้อยา่ ง เหมาะสม ทาให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้สูงข้ึน เพราะแบบฉบับของความรู้ความเข้าใจเป็นปัจจัยสาคัญ อย่างหนึง่ ท่ีมีผลตอ่ การเรียนของเดก็ ประเภทของความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจน้ัน ศาสตราจารย์โจเซฟ อี ฮิล (Joseph E. Hill) อธิการบดีของวิทยาลัยชุมชนโอคแลนด์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาวิจัยและ จาแนกไว้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทท่ีแสดงสัญลักษณ์ (Symbolic Orientation Set) 2) ประเภทที่ เก่ียวกับวัฒนธรรมในการตัดสินใจ (Cultural Determinant Set) 3) ประเภทที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล (Modalities of Inference Set) และ 4) ประเภทที่เกี่ยวกับความจา (Memory Set) (ธารง บัวศรี, 2532: 113 - 114)

64 ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ดังกล่าว มีความสาคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัด การเรียนการสอน นับตั้งแต่การเลือกสิ่งท่ีต้องเรียนรู้ การสร้างความสมดุลทางความรู้ การจัดหลักสูตรที่ สร้างความเข้าใจในตนเอง และความสามารถในการแก้ปัญหา สามารถสนองความแตกตา่ งระหว่างบุคคล และการสร้างศักยภาพในการเส่ียงหาความรู้ความเขา้ ใจตามท่ีผู้เรียนถนัด เพราะฉะนน้ั นักพฒั นาหลกั สูตร จงึ ควรใหค้ วามสนใจขอ้ มูลดงั กลา่ วขา้ งตน้ ด้วย บทสรุป การพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องใช้ข้อมูลพ้ืนฐานในด้านต่าง ๆ มาพิจารณา เพ่ือใช้ประกอบในการ พัฒนาหลักสูตร โดยข้อมูลเหล่าน้ีจะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรในการทาการตัดสินใจ การออกแบบหลักสูตรได้ อย่างชัดเจน เหมาะกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน สอดคล้องกับความต้องการของสังคม สามารถ พฒั นาใหผ้ ู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และทัศนคตทิ ี่ต้องการได้ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญา การศึกษา ได้แก่ แนวคิดของปรัชญาการศึกษาและแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนตามปรัชญาน้ัน ๆ 2) ข้อมูล พื้นฐานด้านจิตวิทยา ได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ 3) ข้อมูลพ้ืนฐานด้านสังคมและ วัฒนธรรม ได้แก่ โครงสร้างของสังคม ค่านิยมและความเชื่อของคนในสังคมธรรมชาติของคนในสังคม การ ช้นี าสังคมในอนาคต การคานึงถึงความหลากหลายของคนและวัฒนธรรมในสังคม และศาสนาและวัฒนธรรม ในสังคม 4) ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การเตรียมกาลังคน การพัฒนาอาชีพ การขยายตัวทางด้าน อุตสาหกรรม การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทย และการลงทุนทางการศึกษา 5) ข้อมูลพื้นฐานด้านการเมือง การปกครอง ได้แก่ ระบบการเมืองและระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ และรากฐานของประชาธิปไตย 6) ข้อมูลพื้นฐานด้านสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในสังคม ได้แก่ ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาทางด้าน การเมืองการปกครอง 7) ข้อมูลพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต 8) ข้อมูล พน้ื ฐานดา้ นสภาพสังคมในอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) อุตสาหกรรมท้องถิ่น (OTOP) มีมาก ข้ึน งานอาชีพอิสระมีแนวโน้มจะมีความสาคัญมากขึ้น สภาพสังคมจะมีการแข่งขนั และการต่อสู้เพ่ือความอยู่ รอดเฉพาะตัวมากขึ้น การประพฤติปฏิบัติของคนไทยจะเปล่ียนไปจากวัฒนธรรมด้ังเดิม และการดาเนินชีวิต ของคนไทยจะประสบปัญหา 9) ข้อมูลพ้ืนฐานจากบุคคลภายนอกและนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูล จากนักวิชาการ ข้อมูลจากสถานประกอบการ 10) ข้อมูลพ้ืนฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตร เดิม ได้แก่ การศึกษาประวัติศาสตร์ และการศึกษาประวัติการศึกษา และ 11) ข้อมูลพื้นฐานด้านธรรมชาติ

65 ของความรู้ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ โครงสร้างของความรู้ โครงสร้างของสมองกับพัฒนาการทางความรู้ แบบฉบับของการสร้างความรู้ความเขา้ ใจ และประเภทของความรู้ความเข้าใจ เอกสารอ้างอิง ดนุชา ปนคา. (2556). “การวจิ ยั และพฒั นาหลักสูตรตามทฤษฎกี ารศึกษาเพ่ือสังคมที่ดีกวา่ ”. วารสาร ศลิ ปากรศึกษาศาสตรว์ ิจัย. 5(2), 322-334. ทศิ นา แขมมณ.ี (2550). รูปแบบการเรยี นการสอนทางเลือกทหี่ ลากหลาย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ________. (2556). ศาสตร์การสอน: องคค์ วามรู้เพ่ือการจดั กระบวนการเรียนรู้ทมี่ ีประสิทธภิ าพ. (พิมพ์ คร้งั ที่ 15). กรงุ เทพฯ: สานักพมิ พ์จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . ธารง บัวศรี. (2532). ทฤษฎหี ลกั สตู ร. (พมิ พ์ครงั้ ที่ 2). กรงุ เทพฯ: ครุ สุ ภาลาดพรา้ ว. บุญชม ศรสี ะอาด. (2555). การพัฒนาหลักสูตรและการวจิ ัยเกยี่ วกบั หลกั สูตร. กรงุ เทพฯ: สวุ รี ยิ าสาสน์ . ไพฑูรย์ สนิ ลารัตน.์ (2553). CCPR กรอบคิดใหม่ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลัยธรุ กิจบัณฑติ ย.์ แฝงกมล เพชรเกลยี้ ง. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการพฒั นาหลกั สูตรและการจดั การศึกษาไทย. กรงุ เทพฯ: สหธรรมมิก. วชิ ยั วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรยี นการสอนภาคปฏบิ ตั ิ. กรุงเทพฯ: สุวรี ิยาสาสน์ . วทิ วฒั น์ ขัตตยิ ะมาน และอมลวรรณ วรี ะธรรมโม. (2549). การพัฒนาหลักสูตร. สงขลา: คณะ ศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยทักษณิ . วทิ วัส รุ่งเรืองผล, กฤษฎารตั น์ วฒั นสุวรรณ และสุรตั น์ ทีรฆาภิบาล. (2562). “การพัฒนาหลกั สูตรและ แนวทางการสอน เพื่อสรา้ งนักการตลาดสู่ประเทศไทย 4.0”. วารสารสงั คมวจิ ยั และพัฒนา. 1(1), 1-27. สงัด อทุ รานนั ท์. (2532). พนื้ ฐานและการพัฒนาหลกั สูตร. (พมิ พ์ครง้ั ท่ี 3). กรุงเทพฯ: มิตรสยาม. สาโรช บัวศรี. (2514). ขอ้ คดิ เกยี่ วกับปรชั ญาการศึกษาไทย: ความคดิ บางประการทางการศึกษา. กรงุ เทพฯ: กรมการฝึกหดั คร.ู สชุ ีรา มะหเิ มือง. (2559). แนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรขู้ องไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพฯ: สานักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา. สุนีย์ ภพู่ นั ธ์. (2546). แนวคิดพ้นื ฐานการสรา้ งและพฒั นาหลักสูตร. เชยี งใหม่: เดอะโนว์เลจ เซ็นเตอร์.

66 หรรษา นลิ วิเชียร. (2547). การพัฒนาหลักสตู รโดยใชโ้ รงเรยี นเป็นฐานหลกั การและแนวปฏบิ ัต.ิ ปัตตานี: มหาวทิ ยาลัยสงขลานครินทร์. Bigge. M. L. (1982). Learning theories for teachers. (4th ed.). New York: Harper & Row, Publishers. Hass. G. (1977). Curriculum Planning: A New Approach. Boston: Allyn and Bacon. Lall. G. R. & Lall, B. M. (1983). Ways children learn. Illinois: Charles C. Thomas Publishers. Ornstein. A. C. (1993). Curriculum Foundations, Principles and lssues. (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon. Pavlov. I. P. (1849 - 1936). Lectures on Conditioned Reflexes. New York: International Publishers. Saylor, J. G., & Alexander, W. M. (1974). Planning curriculum for schools. Holt, Rinehart and Winston. Wood. G. H. (1990). Teaching for Democracy educational Leadership 48. (3rd ed.). 32 -37.

67 บทท่ี 3 การพฒั นาหลกั สูตร ธนภัทร จันทร์เจริญ บทนา การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนการจัดการเรียนรู้ เพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเปล่ียนแปลง พฤติกรรมตามจุดประสงค์ท่ีกาหนดไว้ และเป็นการวางแผนการประเมินผลเพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ในตัวผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์ท่ีมุ่งหมายหรือกาหนดไว้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพ่ือนาผลท่ีได้ไป ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลักสูตรท่ีดีจะต้องเหมาะสมและสอดคล้อง กับสภาพวิถีชีวิต สังคมของผู้เรียน สภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาการ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ตลอดจนแนวนโยบายของรัฐต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน จึงจะสามารถพัฒนา ผเู้ รยี นให้เท่าทนั ต่อการเปล่ียนแปลงของสังคมและสามารถดารงชีวติ อยดู่ ีได้ ความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งท่ีเห็นได้อย่างชัดเจนมาก เพราะการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นระดับใด รูปแบบใด ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยหลักสูตรเป็นเข็มทิศชี้นาแนวทางในการจัด การศึกษาท้ังสิ้น การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องดาเนินการอย่างมีหลักการ มีระบบ และพัฒนาอย่างต่อเน่ือง บนพื้นฐานของความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่ายทุกระดับ ตลอดจน ผู้เชี่ยวชาญภายนอกด้วย จึงจะถือได้ว่ากระบวนการพัฒนาหลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ ไดใ้ นวงวชิ าการ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท่ีมีประสิทธิภาพ จาเป็นอย่างยิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา และทาความเข้าใจในองค์ความรู้ท่ีเก่ียวข้องอย่างละเอียดลึกซ้ึงและครอบ คลุมในศาสตร์อย่างชัดเจน และเพียงพอ ฐานความคิดของการพัฒนาหลักสูตรอยู่ท่ีความเช่ือ ปรัชญา และโลกทัศน์ของผู้รับผิดชอบ ในการพัฒนาหลักสูตร กอปรกับจะต้องมีความรู้ในหลักวิชาท่ีถูกต้องและชัดเจนเก่ียวกับแนวคิดทฤษฎี ด้านการพัฒนาหลักสูตรควบคู่กันไป ในบทน้ีจะได้นาเสนอแนวคิดและทฤษฎีท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนา หลักสูตรในประเด็นตา่ ง ๆ ประกอบด้วย ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร ความสาคัญของการพัฒนา หลักสูตร หลักการพัฒนาหลักสูตร คาศัพท์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร คาถามและขอ้ แนะนาในการพฒั นาหลกั สูตรและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ซ่ึงมีรายละเอยี ดตามลาดับ หวั ขอ้ (ธนภัทร จนั ทร์เจริญ, 2561: 39-53) ดังนี้

68 1. ความหมายของการพฒั นาหลกั สูตร การพัฒนาหลักสูตร ตรงกับคาศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Curriculum Development ซึ่ง นกั การศกึ ษาและนกั พฒั นาหลักสูตรไดใ้ ห้ความหมายไว้ ดงั น้ี ทาบา (Taba, 1962A: 82) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปล่ียนแปลงปรับปรุง หลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดีย่ิงข้ึน ท้ังในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเน้ือหา การเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผลและอนื่ ๆ เพ่ือให้บรรลุจุดมงุ่ หมายใหมท่ ีว่ างไว้ กู๊ด (Good, 1973: 157) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ 2 ประการ คือ 1) การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้มีความเหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบ โรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน หลักสูตร วิธีสอน รวมท้ังการประเมินผล โดยจัดให้มีการปรับปรุง หลักสูตรทั้งระบบติดต่อกันไปหรือปรับปรุงโปรแกรมการศึกษาให้เหมาะสม และ 2) การเปลี่ยนแปลง หลักสูตร หมายถึง การดัดแปลงให้แตกต่างออกไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ โดยการเปลีย่ นแปลงแบบหลักสตู ร เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 86) ให้ความหมายของการพัฒนา หลักสูตรว่า หมายถึง การจัดทาหลักสูตรเดิมท่ีมีอยู่แล้วให้ดีข้ึน หรือเป็นการจัดทาหลักสูตรใหม่โดยไม่มี หลักสูตรอยู่ก่อน การพฒั นาหลักสตู รอาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอ่ืน ๆ สาหรับนกั เรียนดว้ ย วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525: 10) ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า หมายถึง การพยายาม วางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ ตรงตามจุดมุ่งหมายท่ีกาหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตร และการสอน คือ ระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน การกาหนดจุดมุ่งหมาย เน้ือหาสาระ การปรับปรุงตาราแบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและการประเมินผลการใช้หลักสูตร การปรับปรุงแก้ไข และการให้การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตร และการสอน รวมท้ังการบริหารและบริหารหลักสูตร ศกั ด์ิศรี ปาณะกุล และคณะ (2556: 5) กล่าวว่า การพฒั นาหลักสูตร หมายถึง การจัดทาหลกั สูตร ขนึ้ มาใหม่ โดยท่ียังไม่เคยมีหลักสูตรน้ันมาก่อนเลย กับในอีกความหมายหน่ึง หมายถึง การจัดทาหลักสูตรท่ีมี อย่แู ล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2559: 75) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตรมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) เป็นการพัฒนาหลักสูตรเดิมท่ีมีอยู่แล้วให้ดีข้ึน และ 2) เป็นการจัดทาหลักสูตรใหม่ท่ีไม่มีหลักสูตรเดิม อยู่ก่อนเลย ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะท่ีดีขึ้น สอดคล้องกับสภาพสังคม และบรรลุตามจุดมงุ่ หมายท่ีกาหนดไว้

69 จากแนวคิดของนกั หลักสตู รทไี่ ด้กล่าวมาข้างต้น สรุปได้วา่ การพัฒนาหลักสูตรมีความหมายกว้าง ครอบคลุม 2 นัย คือ 1) การสร้างหลักสูตรข้ึนมาใหม่โดยท่ียังไม่เคยมีหลักสูตรน้ันปรากฏมาก่อน หรือ 2) การพัฒนาหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีย่ิงขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะสมสอดคล้องกับ โรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน หลักสูตรและวิธีสอน รวมท้ังการประเมินผล เพอื่ พฒั นาผเู้ รยี นใหม้ คี ณุ ลกั ษณะทีด่ ตี ามจุดมุ่งหมายหรอื ความคาดหวงั ที่กาหนดไว้ 2. ความสาคญั ของการพฒั นาหลกั สตู ร โลกในปัจจุบันมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงท่ีรวดเร็ว รุนแรง ต่อเน่ือง สลับซับซ้อน และเป็นพลวัต อยู่ตลอดเวลา การเปล่ียนแปลงดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขนึ้ จากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและสงิ่ ที่เกิดข้ึน จากการสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์จากความคิดของมนุษย์ โดยอาศัยความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และวิทยาการต่าง ๆ ส่งผลกระทบให้สังคม เศรษฐกิจ และด้านอ่ืน ๆ เกิดการเปล่ียนแปลงตามไปด้วย การศึกษาจึงไม่อาจหยุดน่ิงและใช้วธิ ีการตั้งรับเหมือนในอดีตได้อีกต่อไป การใช้หลักสูตรเกา่ หรอื หลกั สูตร เดิม ๆ เพ่ือการจัดการเรียนรู้แบบเดิมจะไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นต้นทุนทางสังคมท่ีมี คุณค่าและ มีคุณภาพสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ได้กระบวนการพัฒนา หลักสูตรจึงต้องกระทาอยู่อย่างต่อเน่ืองเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และก้าวทันต่อความต้องการของสังคมอย่างเพียงพอ การพัฒนาหลักสูตรมีความสาคัญต่อปัจจัยในด้าน ตา่ ง ๆ ดังนี้ (ศักดิศ์ รี ปาณะกลุ และคณะ, 2556: 5-6) 1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สภาวะการเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ระบบ การค้าในระดับโลกหรือภูมิภาคท่ีมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศมีหลายอย่างมากข้ึน การปรับตัว ทางการค้าไม่เท่าทันสภาวะการเปลี่ยนแปลงระดับโลกทาให้เสียเปรียบคู่แข่งในต่างประเทศ อาชีพ เกดิ ใหม่มมี ากขึน้ ทกุ ขณะ การพัฒนาใหผ้ ู้เรยี นสามารถสรา้ งอาชพี ได้ดว้ ยตนเองจงึ มีความจาเป็นมากข้นึ 2. การพัฒนาด้านการเมืองและการปกครอง การปลูกฝังแนวความคิดท่ีช่วยส่งเสริมความเป็น ประชาธิปไตยอย่างถูกต้องเป็นส่ิงสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาในเร่ืองการซ้ือสิทธิ ขายเสียงในการเลือกผู้แทนแต่ละครงั้ ท่ียงั คงมีมากอยู่ให้หมดไป 3. การพัฒนาด้านสังคม โดยสังคมคาดหวังท่ีจะให้การศึกษาช่วยปลูกฝังและถ่ายทอดวัฒนธรรม ท่ีดีงามของสังคมให้ดารงคงอยู่ต่อไป ซ่ึงในขณะน้ีการไหลบ่าทางวัฒนธรรมจากต่างประเทศกาลัง เคล่ือนย้ายเข้ามาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากส่ืออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนปัญหาสังคมในกลุ่มวัยรุ่น เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาสังคมอันเน่ืองมาจากการพัฒนาประเทศ

70 ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น สภาพสังคมท่ีมีความแตกต่างกันมากของสังคมเมืองกับสังคมชนบท สภาพ ปัญหาต่าง ๆ เหล่าน้ี หลกั สตู รทพี่ ฒั นาใหม่ต้องช่วยพฒั นาสงั คมให้ดขี นึ้ ไดด้ ว้ ย 4. การพัฒนาด้านวิชาการ ความรู้ทางด้านวิทยาการต่าง ๆ มีความเจรญิ และเพ่ิมข้ึนรวดเร็วมาก โดยเฉพาะความรู้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทาให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ท่ีส่งผล กระทบต่อการเปล่ียนแปลงของสังคม เช่น เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนความรู้ ใหม่ ๆ ด้านชีวภาพการปรับแต่งพันธุกรรม การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องสามารถเตรียมผู้เรียนให้พร้อม รับมอื กบั วิทยาการใหม่ ๆ ไดท้ นั กบั ความกา้ วหน้าทเี่ กิดขน้ึ 5. การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกิน ขีดจากัด มีผลต่ออนาคตของคนรุ่นต่อ ๆ ไป ทาให้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ ปัญหามลพิษทางน้า ทางบกและทางอากาศมีมากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรต้องช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงได้ โดยสอนให้ผู้เรียน เกิดความรู้ รบั รู้ และตระหนกั ในปญั หาทเ่ี กดิ ขนึ้ เพ่ือจะได้ชว่ ยป้องกนั และแก้ไขปญั หาต่อไปในอนาคต 3. หลกั การพัฒนาหลักสตู ร กระบวนการพัฒนาหลักสูตรท่ีมีประสิทธิภาพจะต้องมีการวางแผนการดาเนินงานอย่างเป็นระบบ มีลาดับขั้นตอนท่ีต่อเนื่อง ชัดเจนและถูกต้อง จึงจะทาให้การพัฒนาหลักสูตรน้ันมีคุณภาพ การดาเนินการ เพื่อพัฒนาหลกั สตู รจาเปน็ ตอ้ งคานึงถงึ หลกั การสาคัญ ดังนี้ (ชัยวฒั น์ สทุ ธริ ัตน์, 2559: 75-76) 1. การพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องมีผู้นาท่ีเช่ียวชาญและมีความสามารถเร่ืองการพัฒนาหลักสูตร เป็นอย่างดี 2. การพัฒนาหลักสูตรจาเปน็ ตอ้ งได้รับความชว่ ยเหลือ ความรว่ มมอื และการประสานงานอย่างดี จากบุคคลท่เี กยี่ วขอ้ งทกุ ฝา่ ยทุกระดับ 3. การพัฒนาหลักสูตรจาเป็นต้องมีการดาเนินงานอย่างเป็นระเบียบแบบแผนต่อเน่ืองกันไป เร่ิมตั้งแต่การวางจุดมุ่งหมายในการพัฒนาหลักสูตรจนถึงการประเมินผลหลักสูตร ในการดาเนินงาน จะต้องคานึงถึงจุดเร่ิมต้นในการเปลี่ยนแปลงว่า การพัฒนาหลักสูตรจะเร่ิมที่จุดใด จะเป็นการพัฒนา ส่วนย่อย หรือการพัฒนาทั้งระบบ และจะดาเนินการอย่างไรในข้ันต่อไป ส่ิงเหล่าน้ีเป็นสิ่งท่ีผู้มีหน้าที่ ในการพัฒนาหลักสูตรไม่ว่าจะเป็นผ้เู ช่ียวชาญทางด้านการจัดหลักสูตร ครูผู้สอนหรือนักวิชาการทางด้าน การศึกษาและบุคคลต่าง ๆ ที่เก่ียวข้อง จะต้องร่วมมือกันพิจารณาอย่างรอบคอบและดาเนินการอย่าง มรี ะเบยี บแบบแผนทีละขัน้ ตอน 4. การพัฒนาหลักสูตรจะต้องรวมถึงผลงานต่าง ๆ ทางด้านหลักสูตรท่ีได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่าง มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารหลักสูตร เน้ือหารายวิชา การทาการทดสอบหลักสูตร การนาหลักสูตร ไปใช้ หรือการจดั การเรียนการสอน

71 5. การพัฒนาหลักสูตรท่ีมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการฝึกอบรมให้กับครูประจาการ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรใหม่ ความคิดใหม่ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ การพัฒนาหลกั สตู รจาเป็นทีจ่ ะต้องคานึงถึงประโยชน์ในการพัฒนาจิตใจ และทัศนคตขิ องผเู้ รียนดว้ ย 4. คาศัพท์ท่ีเก่ียวกับการพัฒนาหลกั สตู ร ในการศึกษาทฤษฎีการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคาศัพท์อยู่หลายคาที่มี ความหมายเฉพาะ แต่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ (สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์, 2559: 221; มนสิช สิทธิสมบูรณ์. ม.ป.ป.: 4-6) การร่างหลักสูตร (Curriculum Planning) หมายถึง กระบวนการการสร้างหลักสูตร ซ่ึงจะ กลา่ วถึงหลักสูตรในรูปท่คี าดหวังหรือทเ่ี ป็นแผนอยา่ งหน่งึ การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนท่ีนักเรียนใช้ มิได้หมายถึงการวางแผนหลักสูตร แต่จะเป็นผลท่ีเกิดขึ้นจากการวางแผน หลกั สูตร การสร้างหลักสูตร (Curriculum Construction และ Curriculum Revision) เป็นคาศัพท์ที่ใช้ กนั มาแตด่ ง้ั เดมิ หมายถงึ การเขียนและการปรบั ปรุงรายวชิ าทศ่ี กึ ษา การปรับปรุงหลักสูตร (Curriculum Improvement) หมายถึง การปรับปรุงหรือการวางแผน หลักสูตรในส่วนท่ีเป็นเป้าประสงค์มากกว่าท่ีจะหมายถึงกระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีเก่ียวกับวิชาและเนื้อหาวิชาท่ีจะนาไปสอน ในกรณีท่ีมองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาท่ีจะ นาไปสอน ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรก็จะกล่าวถึงในการเลือกเนื้อหาและการจัดการเนื้อหาลงในระดับ ชัน้ ต่าง ๆ จากความหมายของคาศัพท์ท่ีได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น อาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร มีความหมายกว้างโดยจะหมายถึง การดาเนินการจัดทาหลักสูตรขึ้นมาใหม่หรือการจัดทาหลักสูตรท่ีมีอยู่ แล้วให้ดีข้ึนก็ได้ ซึ่งคาศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกับการพัฒนาหลักสูตรมากท่ีสุดก็คือ การร่างหลักสูตร (Curriculum Planning) สาหรับการสร้างหลักสูตร ( Curriculum Construction) ค่อนข้างจะมี ความหมายแคบ คือ มุ่งถึงการสร้างหลักสูตรหรือจัดทารายวิชาขึ้นมาใหม่เพียงอย่างเดียว ส่วนการปรับปรุง หลักสตู ร (Curriculum Improvement) ก็ค่อนข้างจะมุ่งถึงการจัดทาหลักสูตรโดยอาศัยหลักสูตรที่มอี ยู่เดิม เปน็ รากฐาน จงึ มีความหมายทแ่ี คบกวา่ คาว่าการพัฒนาหลักสตู ร

72 5. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรโดยท่ัวไปส่วนมากมักจะพัฒนามาจากแนวคิดของนักการศึกษา ชาวต่างชาติ แต่ละรูปแบบอาจจะมีรายละเอียดหรือข้ันตอนที่แตกต่างกันออกไปอยู่บ้าง การเลือกใช้ ขึน้ อยู่กบั ความเหมาะสมและความสนใจของผู้พัฒนาหลักสูตร การนาเสนอในส่วนนจ้ี ะขอนาเสนอรูปแบบ ของการพฒั นาหลกั สูตรตามแนวคดิ ดงั นี้ 1. รปู แบบการพัฒนาหลกั สูตรของไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ไทเลอร์ได้เสนอแนวคดิ พ้นื ฐานในการพัฒนาหลักสตู ร โดยระบุว่าการพัฒนาหลกั สูตรนัน้ ตอ้ งตอบ คาถามสาคญั ใหไ้ ด้ทงั้ 4 ขอ้ คือ (Tyler, 1949: 3) 1) มคี วามมงุ่ หมายทางการศึกษา (Educational Purposes) อะไรบา้ งท่ีโรงเรียนควรจะแสวงหา 2) มีประสบการณ์ทางการศึกษา (Educational Experiences) อะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้น เพ่อื ให้บรรลจุ ดุ ประสงคท์ ี่กาหนดไว้ 3) จะจัดประสบการณ์ทางการศกึ ษาอยา่ งไรจงึ จะทาให้การสอนมีประสทิ ธิภาพ 4) จะประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึง จดุ ประสงคท์ ีก่ าหนดไว้ จากคาถามข้างต้นนามาสู่การกาหนดรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ซ่ึงสามารถอธิบาย รายละเอยี ดในแต่ละประเดน็ ได้ ดังน้ี 1) การกาหนดวัตถุประสงค์ (Identify General Objectives) เป็นการคัดเลือกวัตถุประสงค์ ของหลักสูตร โดยอาศัยแหล่งข้อมูล 3 ทางคือ ข้อมูลทางด้านเน้ือหาวิชา ข้อมูลด้านผู้เรียน และข้อมูล ทางสังคม โดยเรียกว่าวัตถุประสงค์ช่ัวคราว (Tentative General Objectives) เม่ือเลือกวัตถุประสงค์ ได้แล้ว ต้องนามากล่ันกรองโดยใช้เกณฑ์การพิจารณา 2 ด้าน คือ พิจารณาจากปรัชญาการศึกษา ของโรงเรียนปรัชญาทางสังคมและจิตวิทยาการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ที่ผ่าน การกล่ันกรองแล้ว จะเป็นลักษณะ วตั ถุประสงค์ทเี่ จาะจงมากขึ้น ซึ่งไทเลอรเ์ รียกวา่ จดุ ประสงคก์ ารเรียนการสอน (Instructional Objectives) 2) การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of Educational Experiences) โดยคัดเลือก ให้สอดคลอ้ งกบั วตั ถุประสงค์ หลกั การเรียนร้แู ละพัฒนาการของผู้เรยี น 3) การจัดเรียงลาดับประสบการณ์การเรียนรู้ (Organization of Learning Experiences) เป็นประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลาดับขั้นตอน ต้องมีเน้ือหาครบทุกด้านท้ังด้าน ความคิด หลักการ ค่านิยมและทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และธรรมชาตขิ องเนอื้ หาท่มี ีความแตกตา่ งกนั

73 4) การประเมินผลประสบการณ์การเรียนรู้ ( Evaluation of Learning Experiences) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพฒั นาหลกั สูตร เนื่องจากเปน็ ข้ันตอนที่ตรวจสอบว่าประสบการณ์ การเรยี นรู้ ทจี่ ดั สาหรบั ผูเ้ รียนน้นั บรรลตุ ามวัตถปุ ระสงคท์ ก่ี าหนดไว้หรอื ไมเ่ พียงใด จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ เป็นการใช้ข้อมูลท่ีหลากหลายในการคัดเลือก จุดมุ่งหมาย โดยอาศัยข้อมูลด้านเน้ือหาวิชา ข้อมูลทางด้านสังคม และข้อมูลด้านตัวผู้เรียน มาช่วย ในการกาหนดจุดมุ่งหมายช่ัวคราวและมีการกลั่นกรองด้วยข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา และจิตวิทยา การเรียนรู้ อีกคร้ังเพ่ือกาหนดเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของหลักสูตร ต่อมาจึงดาเนินการเลือก และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้หลักความต่อเน่ืองจากระดับหน่ึงไปยังอีกระดับหนึ่งท่ีสูงขึ้น จากสิ่งท่ี เกิดกอ่ นไปส่สู ิ่งที่เกิดขนึ้ ภายหลัง หรอื จากสิ่งท่ีง่ายไปสู่สิง่ ที่ยากและบรู ณาการ และการประเมินผลโดยยึด หลกั การใช้เคร่อื งมอื ทีม่ คี วามเปน็ ปรนยั มีความเช่อื ม่ันไดแ้ ละมคี วามเทีย่ งตรง 2. รูปแบบการพฒั นาหลักสูตรของทาบา (Hilda Taba) ทาบาเป็นนักการศึกษาอีกผู้หน่ึง ท่ีมีแนวคิดเก่ียวกับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท่ีมีข้ันตอน คล้ายรูปแบบของไทเลอร์ ซึ่งประกอบดว้ ย 7 ขน้ั ตอน ดังนี้ (Taba, 1962B: 456-459) 1) การศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ (Diagnosis of Needs) ตรวจสภาพปัญหาและความต้องการ และความจาเป็นต่าง ๆ ของสังคมและผูเ้ รียน 2) การกาหนดจุดมุ่งหมาย (Formulation of Objective) การกาหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน หลงั จากการได้ศึกษาวเิ คราะหค์ วามต้องการแลว้ 3) การเลือกเน้ือหาสาระ (Selection of Content) จุดมุ่งหมายท่ีกาหนดแล้วจะมีส่วนช่วยเหลือ ในการเลือกเน้ือหาสาระ ซ่ึงนอกจากจะต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัยและความสามารถของผู้เรียน แลว้ ยงั จาเป็นตอ้ งมีความเชื่อถือและมคี วามสัมพนั ธต์ ่อผูเ้ รียนด้วย 4) การจัดรวบรวมเน้ือหาสาระ (Organization of Content) เน้ือหาสาระท่ีเลือกได้ตอ้ งนามา จดั ลาดบั โดยคานึงถึงความต่อเน่ือง ความยากง่าย วุฒิภาวะ ความสามารถและความสนใจของผเู้ รยี น 5) การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (Selection of Learning Experiences) ครูผู้สอน หรือผู้ท่ีเก่ียวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์เรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาแ ละจุดมุ่งหมาย ของหลักสตู ร 6) การจัดประสบการณ์เรียนรู้ (Organization of Learning Experiences) ประสบการณ์ เรียนรคู้ วรจัดโดยคานงึ ถงึ เน้อื หาสาระและความตอ่ เนือ่ ง

74 7) การกาหนดสิ่งท่ีจะประเมินและวิธีการประเมินผล ( Determination of What to Evaluate and of the Ways and Means of Doing it) คือ การตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไร เพ่อื ตรวจสอบวา่ บรรลุตามจุดมุง่ หมายที่กาหนดไวห้ รอื ไม่ และกาหนดดว้ ยว่าจะใชว้ ิธีประเมินอย่างไร ทั้งนี้ การดาเนนิ การทั้ง 7 ขั้นตอนนี้ ผู้พัฒนาหลักสูตรไมจ่ าเป็นต้องเร่ิมทีข่ ้ันแรกเสมอไป สามารถ เริ่มไดจ้ ากข้นั ตอนท่ตี นเองถนดั หรอื มีความสนใจขน้ั ใดขนั้ หนึง่ กไ็ ด้ 3. รปู แบบการพัฒนาหลักสูตรของเซย์เลอรแ์ ละอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 265) ได้นาเสนอรูปแบบ การพฒั นาหลักสูตรทีม่ ขี ัน้ ตอนสมั พันธ์ต่อเนื่องกนั ดังภาพที่ 3.1 เปา้ หมาย การออกแบบหลกั สูตร การนาหลกั สตู รไปใช้ การประเมนิ หลกั สตู ร จดุ ประสงค์และ ผู้วางแผนหลกั สูตร ผูส้ อนด้วยประสบการณ์ นกั พฒั นาหลกั สตู ร และครเู ลือกวิธี ขอบเขต คดั เลือกเนอ้ื หาและจดั หรอื สาระการเรยี นรู้วธิ ี การประเมินหลกั สตู ร ประสบการณ์การ สอน และสอื่ เพือ่ ช่วยให้ เรียนรู้ใหส้ อดคลอ้ งกัน ผูเ้ รยี นเกดิ การเรยี นรู้ ผลย้อนกลบั และปรับปรุง ภาพที่ 3.1 รูปแบบการพัฒนาหลักสตู รของเซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander, 1974: 265) จากภาพท่ี 3.1 จะเห็นได้ว่าเซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท่ีเป็น เชิงระบบโดยเร่ิมที่การกาหนดเป้าหมายของหลักสูตรไว้ก่อน แล้วจึงออกแบบสร้างหลักสูตร หลังจากน้ัน จึงนาหลักสูตรไปใช้ และประเมินผลหลักสูตรตามลาดับ ซ่ึงประมวลผลแล้วต้องมีการนาผล ท่ีได้จาก การประเมินไปปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้งหน่ึงเพื่อให้ได้หลักสูตรท่ีมีคุณภาพสูงขึ้นขบวนการพัฒนาหลักสูตรน้ี จะดาเนนิ การตอ่ เนอ่ื งกันเป็นวงจรทีไ่ มส่ น้ิ สดุ 4. รปู แบบการพัฒนาหลกั สตู รของ โอลิวา (Oliva) แบบจาลองการพัฒนาหลักสตู รของโอลวิ าเป็นความสัมพันธอ์ ย่างละเอยี ดระหว่างองค์ประกอบท่ี เปน็ สาระสาคัญครอบคลมุ กระบวนการพฒั นาหลักสตู รตงั้ แต่ตน้ จนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทาความเขา้ ใจ แต่ละข้ันโดยตลอด จากข้อมูลพืน้ ฐานการพฒั นาหลักสูตรด้านปรชั ญาถึงการประเมนิ หลักสูตร แนวคิดนเ้ี ป็น กระบวนการทางานที่เปน็ ระบบ เปน็ วงจร เชอ่ื มโยงกนั ซง่ึ แสดงไดด้ ังภาพท่ี 3.2

75 ปรชั ญา จดุ มุง่ หมาย วตั ถปุ ระสงค์ การวางแผน การสอน การประเมินผล ภาพท่ี 3.2 แบบจาลองการพัฒนาหลักสตู รของโอลวิ า http://lifestyemyself.blogspot.com/p/oliva.html (เขา้ ถงึ เมอื่ 7 สิงหาคม 2562) โอลิวา (Oliva, 1992: 171-175) ได้แนวคิดในการพฒั นาหลักสูตร โดยขยายความคิดของ ตนเอง จากท่ีได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรไว้ เม่ือปี ค.ศ. 1976 ไว้แล้ว กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ของโอลวิ า ได้เสนอองคป์ ระกอบต่าง ๆ ดงั น้ี 1) กาหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษา ปรัชญาและหลักจิตวิทยาการศึกษา ซ่ึงเป้าหมายน้ี เปน็ ความเชอ่ื ทีไ่ ด้มาจากต้องการของสังคมและผเู้ รียน 2) วเิ คราะห์ความตอ้ งการของชมุ ชน ผูเ้ รยี นและเนื้อหาวชิ า 3) กาหนดจุดหมายของหลักสูตร 4) กาหนดวัตถปุ ระสงค์ของหลักสตู ร 5) จดั โครงสร้างของหลักสตู รและนาหลักสตู รไปใช้ 6) กาหนดจุดหมายของการเรยี นการสอน 7) กาหนดจุดประสงคก์ ารเรียนการสอน 8) เลอื กยทุ ธวธิ ีการจดั การเรียนการสอน 9) เลือกวธิ กี ารประเมินผลกอ่ นเรียนและหลังเรยี น 10) นายทุ ธวธิ ีการจดั การเรียนการสอนไปใช้ 11) ประเมินผลการจดั การเรียนการสอนไปใช้ 12) ประเมนิ ผลหลกั สูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ โอลิวา มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียน การสอนอยา่ งเปน็ ข้ันตอนซ่ึงสามารถอธบิ ายได้ดงั ภาพที่ 3.3

76 ภาพที่ 3.3 กระบวนการพฒั นาหลักสูตรของโอลิวา (Oliva) http://lifestyemyself.blogspot.com/p/oliva.html (เขา้ ถงึ เม่ือ 7 สิงหาคม 2562) 5. รปู แบบการพัฒนาหลักสูตรของโบแชมพ์ (Beauchamp) โบแชมพ์ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเชิงระบบ (Model of Curriculum System) ซ่ึงระบบ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสาคัญ คือ ตัวป้อน เน้ือหาและกระบวนการ และผลผลิต (Beauchamp, 1981: 145-149) รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของโบแชมพ์ เริ่มจากการวิเคราะห์ตัวป้อนเข้าของระบบ หลักสูตร โดยพิจารณาถึงพ้ืนฐานทางการศึกษาลักษณะของชุมชน ลักษณะและบุคลิกภาพของบุคคล รวมท้ังยังได้วิเคราะห์หลักสูตรที่มีอยู่ ความรู้ของมนุษย์และเน้ือหาวิชาแต่ละวิชา คุณค่าทางสังคม และวัฒนธรรม และความสนใจของผู้เรียน เพ่ือนาข้อมูลเหล่านี้มากาหนดขอบเขตในการทาหลักสูตร เลือกบุคลากรท่ีเก่ียวข้อง เลือกลาดับการดาเนินงานและวิธีการดาเนินงานโดยเลือกวัตถุประสงค์ ของหลักสูตร เลือกรูปแบบของหลักสูตร วางแผนและเขียนหลักสูตร จัดวิธีการในการนาหลักสูตรไปใช้ ตลอดจนวิธีการประเมินผลและการปรับปรงุ หลักสูตร สาหรับด้านผลผลติ นัน้ จะได้หลักสูตรที่ประกอบด้วย เน้ือหาที่เพิ่มขึ้นโดยอาศัยผู้ที่มีส่วนเก่ียวข้องได้ช่วยกันสร้างข้ึน มีการเปลี่ยนแปลงเจตคติ และได้ข้อคิดเห็น ในการนาหลักสตู รไปสู่การปฏบิ ัติดงั ภาพที่ 3.4

77 ตวั ป้อน เนือ้ หาและกระบวนการ ผลผลติ (Input) (Output) (Content and Processes) -พื้นฐานทางการศกึ ษา -ได้หลักสูตรที่ประกอบดว้ ย -ลกั ษณะของชุมชน -ขอบเขตในการทาหลักสูตร เน้ือหาท่เี พิ่มขนึ้ โดยผู้ทม่ี สี ว่ น -ลกั ษณะและบุคลกิ ภาพของ -เลือกบุคลากร เกี่ยวข้อง บุคคล -เลือกลาดบั การดาเนินงาน -เปลี่ยนแปลงเจตคติ -วเิ คราะห์หลักสตู รท่มี อี ยู่ และวิธีการ -ได้ขอ้ คิดเห็นในการนา -ความรขู้ องมนษุ ยแ์ ละ -ดาเนนิ งานโดยการเลือก หลักสตู รไปส่กู ารปฏิบตั ิ เนอื้ หาวิชาแต่ละวิชา วตั ถุประสงค์ของหลักสูตร -คุณคา่ ทางสังคมและ วฒั นธรรม -วางแผนและเขยี นหลักสตู ร -ความสนใจของผูเ้ รียน -จัดวธิ ีการในการนาหลกั สูตรไปใช้ -จดั วธิ ีการในการประเมนิ ผล และการปรับปรงุ หลกั สตู ร ภาพท่ี 3.4 รปู แบบการพฒั นาหลกั สูตรของโบแชมพ์ (Beauchamp, 1981: 146) จากภาพที่ 3.4 จะเห็นได้ว่ารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของโบแชมพ์ เริ่มจากการวิเคราะห์ ตัวป้อนเข้าของระบบหลักสูตร โดยพิจารณาถึงพ้ืนฐานทางการศึกษาลักษณะของชุมชน ลักษณะ และบุคลิกภาพของบุคคล รวมท้ังยังได้วิเคราะห์หลักสูตรที่มีอยู่ ความรู้ของมนุษย์และเน้ือหาวิชาแต่ละวิชา คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม และความสนใจของผู้เรียน เพื่อนาข้อมูลเหล่านี้มากาหนดขอบเขต ในการทาหลักสูตร เลือกบุคลากรที่เก่ียวข้อง เลือกลาดับการดาเนินงานและวิธีการดาเนินงานโดยเลือก วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เลือกรูปแบบของหลักสูตร วางแผนและเขียนหลักสูตร จัดวิธีการในการนา หลกั สตู รไปใช้ ตลอดจนวธิ ีการประเมนิ ผลและการปรับปรุงหลกั สตู ร สาหรับด้านผลผลิตนน้ั จะได้หลกั สตู ร ที่ประกอบด้วยเนื้อหาท่ีเพิ่มขึ้นโดยอาศัยผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องได้ช่วยกันสร้างขึ้น มีการเปล่ียนแปลงเจตคติ และไดข้ ้อคิดเห็นในการนาหลักสตู รไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ 6. รปู แบบการพฒั นาหลักสูตรแบบ Backward Design วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกลู (2559: 203-206) ไดศ้ ึกษาแนวคดิ ของ วิกกนิ แกรนท์และเจย์แมคทิค (Wiggins Grant & Jay McTighe, 1998: 2) แล้วนาเสนอวา่ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรแบบ Backward Design มรี ากฐานจากความคิดในเรอ่ื ง“ ความเข้าใจ (Understanding)” ซ่งึ บุคคลท้ัง 2 ดังกล่าวได้เสนอ แนวคิดไว้ในหนังสือช่ือ“ Understanding by Design” ที่เน้นการเริ่มต้นจากเป้าหมายหรือผลลัพธ์ท่ี ตอ้ งการ แลว้ จงึ ดาเนนิ การพัฒนาหลักสูตรโดยเทยี บจากผลการเรียนรู้กับมาตรฐานและความต้องการทจ่ี ะ

78 ให้ผู้เรียนมีพฤติกรรม นอกจากนั้นยังต้องคานึงถึงความรู้พ้ืนฐานของผู้เรียน แบบแผนของหลักสูตร การ วัดผล และมาตรฐานจากภายนอกด้วย สาระสาคัญของการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทาง Backward Design ประกอบด้วยขน้ั ตอน 3 ขัน้ ตอน คอื ขัน้ ตอนที่ 1 การกาหนดผลลพั ธท์ ่ีต้องการ (Identify Desired Results) ขน้ั ตอนแรกน้เี ริ่มต้นจาก การต้ังคาถาม 3 ประการคือ 1) ผู้เรียนควรมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทาอะไรได้บ้าง 2) ความเข้าใจที่จะทาให้เกิดคุณค่ามีอะไรบ้าง 3) ความเข้าใจน้ันจะกาหนดได้อย่างไร การดาเนินการ ในข้ันนี้จึงต้องตรวจสอบมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ และความมุ่งหวังของชุมชน แล้วนามา กาหนดความคาดหวังของหลักสูตรกาหนดกรอบแนวคิด จัดลาดับเนื้อหาสาระ ซ่ึงสามารถลาดับเป็นภาพ วงแหวนซ้อนกนั 3 วง ดังภาพท่ี 3.5 คุณค่าที่ใกลเ้ คยี ง ความสาคญั ของ ความรู้ และลงมือทา ความคงอย่ขู อง ความในใจ ภาพที่ 3.5 การจดั ลาดับหลกั สูตรแบบ Backward Design (Wiggins & McTigle, 1998: 10) จากภาพที่ 3.5 อธิบายได้ว่า 1) วงแหวนท่ีใหญ่ท่ีสุดกล่าวถึงคุณค่าท่ีใกล้เคียง เป็นเน้ือหา ที่กาหนดในภาพกว้างที่เกี่ยวข้องหรือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ เช่น กาหนดว่าต้องการให้ผู้เรียน มีความสามารถในการอ่านเขียน ฟัง มองเห็น ศึกษา วิจัย หรืออื่น ๆ ในด้านใดบ้าง 2) ในวงแหวน ตอนกลางเป็นความรู้ที่สาคัญ (ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ และหลักการ) และทักษะ (กระบวนการ กลยุทธ์ วิธีการ) ซ่ึงเป็นส่วนท่ีกาหนดถึงประเด็นสาคัญ ๆ ที่ทาให้ผู้เรียนรอบรู้ทั้งนี้การตรวจสอบความรู้ อาจใช้

79 วิธีการวัดผลทั้งแบบอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม โดยกาหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จาเป็นที่จะทาให้ ผู้เรียนมีผลการปฏิบัติได้สาเร็จลุล่วง และ 3) วงแหวนตอนในที่เล็กที่สุด เป็นการแสดงถึงความคงอยู่ ของความเข้าใจในกระบวนวิชาโดยที่ “ความคงอยู่ (Enduring)” กาหนดเฉพาะใจความสาคัญที่ต้องการ ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซ้ึงและยังคงความรู้นั้นไว้ ทั้งนี้เพื่อยืนยันว่าเน้ือหาใดบ้างที่มีคุณค่า ต่อความเข้าใจ ดังนั้นเน้ือหาในส่วนน้ีจึงควรได้รับการคัดเลือกภายใต้เกณฑ์ท่ีชัดเจน กล่าวคือควรเป็น เนื้อหา หัวข้อและกระบวนการที่มีลักษณะ ดังน้ี 1) เป็นประเด็นสาคัญ 2) เป็นหลักการสาคัญของวิชา น้นั ๆ 3) ตอ้ งมคี วามชัดเจน และ 4) มีศกั ยภาพพอเพียงที่จะทาใหผ้ ูเ้ รยี นผกู พันกับสงิ่ นน้ั ๆ ตลอดไป ข้ันตอนท่ี 2 พิจารณาผลที่ยอมรับได้ (Determine Acceptable Evidence) เป็นขั้นตอนที่เน้น การตรวจสอบถึงหน่วยการเรียนรู้และกระบวนวิชาในลักษณะการวัดผลที่คาดว่าจะเกิดแก่ผู้เรียน โดยจะต้องมีการยอมรับเกี่ยวกับแผนการเรียนรู้ที่จะทาให้ผู้เรียนประสบความสาเร็จดังน้ันหน่วย การ เรีย นหรื อกร ะบว นวิช าจึง ต้อง คานึ งถึง ข้ันต อนการจั ดกิจ กร ร มกา รเรี ยนท่ี ส่งเ สริม ควา มสา เร็ จ ของผู้เรียนอย่างไรก็ตามในการวัดผลต้องคานึงถึงช่วงเวลาและวิธีการวัดผลด้วย ซึ่งลาดับขั้นตอนวิธี การวัดผลจะเร่ิมตั้งแต่การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจเพียงใดโดยดาเนินการอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การซักถามปากเปล่า การสังเกต พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ ในระหว่างดาเนินการสอนอาจมี แบบทดสอยย่อยด้วยแบบทดสอบ นอกจากนี้ให้มีการสรา้ งเสริมทางวิชาการและให้ตอบคาถามปลายเปิด และทา้ ยทีส่ ดุ จึงประเมินผลการปฏบิ ตั ดิ ว้ ยการวดั ผลตามสภาพจรงิ ขน้ั ตอนท่ี 3 การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนและการสอน (Plan Learning Experiences and Instruction) ในขน้ั ตอนสุดทา้ ยน้ีเป็นการออกแบบการจดั ประสบการณก์ ารเรยี นการสอนทีจ่ ะให้เกิด ความคงอยู่ของความเข้าใจอยู่ในความทรงจาตลอดไปจึงเน้นการวางแผนการจัดกิจกรรมการสอน โดยคานึงถึงประเด็นหลักดังต่อไปน้ี 1) ความรู้ (ข้อเท็จจริง) มโนทัศน์ และหลักการ) รวมทั้งทักษะ หรือกระบวนการท่ีผู้เรียนจะมีความรู้และพฤติกรรมท่ีคาดหวัง 2) กิจกรรมท่ีจะทาให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะตามท่ีต้องการ 3) วัสดุอุปกรณ์ท่ีจะช่วยเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย และ 4) แบบของ การสอนที่ครอบคลุมจุดมุ่งหมายได้อย่างมปี ระสิทธผิ ล 7. รูปแบบการพัฒนาหลักสตู รของวิชัย วงษ์ใหญ่ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2535: 76-77) ได้นาเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร (Integrated Curriculum Development Model) ประกอบด้วยระบบใหญ่ ๆ 3 ระบบ คือ ระบบ การร่างหลักสูตร ระบบการนาหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตร ระบบท้ัง 3 จะสัมพันธ์ ตอ่ เนอื่ งกันเพอ่ื ใหเ้ กิดภาพรวมทีเ่ ป็นเอกภาพของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังภาพท่ี 3.6

80 ระบบการร่างหลกั สตู ร ระบบการนาหลักสตู รไปใช้ ระบบการประเมินหลักสูตร -ส่งิ กาหนดหลักสูตร -การขออนุมัตหิ ลักสตู ร -การวางแผนการประเมนิ -รปู แบบหลักสตู ร หลักสตู ร -การตรวจสอบหลกั สตู ร -การวางแผนการใชห้ ลกั สูตร -การเกบ็ ข้อมูล -การปรบั แก้หลกั สูตรก่อน -การวิเคราะห์ขอ้ มูล -การดาเนนิ การใช้หลกั สตู ร นาไปใช้ -การรายงานข้อมลู ภาพท่ี 3.6 รปู แบบการพัฒนาหลักสูตรของวชิ ยั วงษใ์ หญ่ (วชิ ยั วงษใ์ หญ่, 2535: 76) จากภาพที่ 3.6 รปู แบบการพัฒนาหลกั สูตรของ วชิ ยั วงษใ์ หญ่ ท้ัง 3 ระบบมรี ายละเอยี ด ดังน้ี 1. ระบบการร่างหลกั สูตร ประกอบดว้ ย 4 ขน้ั ตอน ยอ่ ย ๆ คือ 1.1 ส่ิงกาหนดหลักสูตร คือ ข้ันของการเตรียมศึกษาข้อมูลพ้ืนฐานด้านต่าง ๆ ที่จะนามาใช้ สาหรบั การพฒั นาหลกั สูตร อนั ได้แก่ 1) ส่ิงกาหนดทางวชิ าการ เปน็ สิ่งสาคญั ย่ิง นักพัฒนาหลักสตู รตอ้ งพยายามหายทุ ธวธิ ปี รับ ความหลากหลายทางความคิดของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ และความสาคัญของสาขาวิชาต่าง ๆ ให้มี เอกภาพเปน็ ไปตามหลักการและโครงสรา้ งของหลกั สูตรท่กี าหนดไว้ 2) สิ่งกาหนดทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตร ควรต้อง ศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ ของส่ิงกาหนดเหล่าน้ีอย่างชัดเจนและถูกต้องตามหลักการ จะช่วยให้ การกาหนดรูปแบบ โครงสร้าง และมาตรฐานการศึกษาได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลในด้านนี้ ได้แก่ ความเชื่อ ค่านิยม ความคาดหวังของสังคม ความต้องการจัดการศึกษา หลักสูตรที่จะพัฒนา ในอนาคต ผู้สาเรจ็ การศึกษาตามหลกั สูตรควรมีบทบาทอย่างไรในสงั คม วฒั นธรรมและเศรษฐกิจ 3) ส่ิงกาหนดทางการเมือง จะบ่งชี้ถึงงบประมาณ ระยะเวลาและคุณภาพของการจัด การศกึ ษา เพือ่ ใหส้ อดคลอ้ งกับความจาเป็นตามสภาพการเมอื ง 1.2 รูปแบบหลักสูตร เป็นขั้นของการนาข้อมูลพ้ืนฐานจากส่ิงกาหนดหลักสูตรต่าง ๆ มาใช้ เพื่อกาหนดรูปแบบหลักสูตรข้อควรมีลักษณะใด ความมีโครงสร้างและองค์ประกอบหลักสูตรอย่างไร ซง่ึ จะสะท้อนให้เห็นภาพรวมและมาตรฐานการศึกษาของแต่ละหลักสูตร 1.3 การตรวจสอบหลักสูตร เป็นข้ันของการตรวจสอบคุณภาพและศึกษาความเป็นไปได้ ของหลักสูตรท่ีร่างข้ึนเพ่ือปรับปรุงแก้ไขก่อนนาไปใช้จริง วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี เช่น จัดประชุมสัมมนา ผู้เช่ียวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องน้ัน วิจัยเอกสารหลักสูตร การใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) การทดลองใชห้ ลักสูตรเพอื่ ให้ได้ขอ้ มูลทนี่ าไปสู่การปรับแก้กอ่ นนาไปใชต้ ่อไป

81 1.4 การปรับแก้หลักสูตรก่อนนาไปใช้ เป็นการนาข้อมูลจากข้อ 1.3 ท่ีได้จัดหรือสังเคราะห์ เป็นหมวดหมู่ชัดเจน มาปรับแก้ไขหลักสูตรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ท้ังนี้ควรทบทวน ให้รอบคอบว่าข้อมูลส่วนใดท่ีจะใช้เพ่ือปรับแก้หลักสูตรส่วนใด และถ้าปรับแก้แล้วจะไปกระทบหลักการ โครงสร้างของหลักสูตรมากน้อยเพยี งใดรวมทงั้ ชี้แนวทางปฏิบัตใิ ห้ชดั เจนขึ้นหรือไม่ 2. ระบบการใชห้ ลกั สูตร ประกอบด้วยข้นั ตอนยอ่ ย 3 ขนั้ คือ 2.1 การขออนุมัติหลักสูตร เม่ือได้ตรวจสอบคุณภาพและปรับแก้ไขหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว ข้ันตอนต่อไปก่อนจะนาหลักสูตรไปใช้ก็คือ ต้องนาหลักสูตรไปเสนอหน่วยงานระดับสูงเพ่ือขอความเห็นชอบ ให้นาไปใช้ได้ เช่น ขออนุมัติจากผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวง ศึกษาธกิ าร หรอื หนว่ ยงานทมี่ อี านาจในการอนมุ ัตใิ ชห้ ลกั สตู ร 2.2 การวางแผนใช้หลักสูตร เป็นขั้นตอนท่ีดาเนินควบคู่กันกับขั้นการขออนุมัติหลักสูตร เพราะ ต้องรอเวลาการอนุมัติ ข้ันน้ีเป็นการวางแผนการใช้หลักสูตรประกอบด้วย 1) การประชาสัมพันธ์หลักสูตร 2) การเตรียมงบประมาณ 3) การเตรียมความพร้อมของบุคลากรท่ีเก่ียวข้องกับหลักสูตร 4) การเตรียมวัสดุ หลักสูตร 5) การเตรียมงานสนับสนุนอาคารสถานท่ี 6) การเตรียมระบบบริหารหลักสูตรของสถาบันการศึกษา 7) การฝกึ อบรมเชงิ ปฏบิ ัติการให้กับผู้สอน และ 8) การประเมินผลและติดตามการใชห้ ลกั สตู ร 2.3 ขั้นดาเนินการใช้หลักสูตรหรือบริหารหลักสูตร ถือเป็นขั้นตอนท่ีสาคัญ ดังมีคากล่าวว่า “หลักสูตรแม้จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างใด ถ้าผู้สอนผู้สนใจ ไม่เปล่ียนแปลงพฤติกรรมการเรียน การสอน หลักสูตรใหม่นั้นก็ไม่มีความหมาย” ดังนั้น นอกจากนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องใช้ศาสตร์ คือ การวางแผนการใช้อย่างเป็นระบบและเทคโนโลยีการศึกษามาช่วยเสริมแล้ว ยังต้องใช้ศิลป์ คือต้อง สร้างความเข้าใจกับผู้ใช้หลักสูตรให้ชัดเจนซ่ึงได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น บุคคลทม่ี บี ทบาทสาคญั มากในการทาให้การใชห้ ลกั สูตรประสบความสาเรจ็ 3. ระบบการประเมินหลักสูตร คือ ขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการ เปรียบเทียบระหว่างผลการใช้หลักสูตรท่ีวัดได้กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรว่าการปฏิบัติจริงนั้นได้ผล ใกล้เคียงกับวตั ถปุ ระสงค์ที่กาหนดหรอื ไม่ จุดประสงคข์ องการประเมินหลักสูตร คือ 3.1 เพื่อศกึ ษาว่าหลกั สตู รเมือ่ นาไปปฏบิ ตั ิจริงได้ผลเพียงใด บรรลุวัตถปุ ระสงคห์ รือไม่ 3.2 เพื่อคน้ หาแนวทางปรบั ปรงุ หลักสูตร หากพบสิง่ บกพร่อง 3.3 เพื่อวิเคราะหข์ อ้ ดีและข้อเสยี ของวิธกี ารจดั ประสบการณ์การเรียนรู้ 3.4 เพ่ือช่วยการตัดสินใจของฝ่ายบริหารว่า ควรจะใช้หลักสูตรนี้ต่อไปอีกหรือไม่ โดยระบบ การประเมินหลักสูตรมี ดังน้ี 1) การวางแผนการประเมินหลักสูตร ว่าจะประเมินหลักสูตรในส่วนใดบ้าง เช่น ประเมินเอกสารหลักสูตร ประเมินระบบย่อย ๆ ของระบบหลกั สูตร หรือประเมนิ ท้ังระบบ พร้อมท้ัง

82 วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) การเก็บข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ตามท่ีวางแผน 3) การวิเคราะห์ขอ้ มูล คอื การนาข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ตามแผนท่ีกาหนด และ 4) การรายงาน ข้อมูล คือ การจัดทารายงานเพ่ือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและเพื่อการตัดสินใจของคุณค่าของ หลักสตู รวา่ เปน็ ไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ต้องปรบั แก้ไขสว่ นใด 8. รปู แบบการพัฒนาหลักสูตรของ สงดั อุทรานนั ท์ สงัด อุทรานันท์ (2532: 38-43) ได้เสนอแนะวัฏจักรของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ข้ันตอน ดังภาพที่ 3.7 ภาพที่ 3.7 รูปแบบการพัฒนาหลกั สูตรของสงดั อทุ รานันท์ (สงัด อทุ รานันท์, 2532: 39) จากภาพท่ี 3.7 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สงัด อุทรานันท์ ได้อธิบายวัฏจักร ของกระบวนการพัฒนาหลกั สูตรท้ัง 7 ข้ันตอนได้ ดงั น้ี ข้ันท่ี 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เป็นกระบวนการท่ีมีความสาคัญและเป็นข้ันตอน ของการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา ความต้องการทางของสังคมและผู้เรียน จะช่วยให้ สามารถจัดหลักสตู รใหส้ นองต่อความตอ้ งการและสามารถแก้ปัญหาแตกต่าง ๆ ได้ ข้ันท่ี 2 การกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นขั้นตอนที่กระทาหลังจากการวิเคราะห์และได้ ทราบถึงสภาพปัญหา ตลอดจนความต้องการต่าง ๆ การกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้น เป็นการมุ่ง แกไ้ ขปญั หา และสนองความตอ้ งการทีไ่ ด้จากการวิเคราะห์ข้อมูล

83 ขั้นท่ี 3 การคัดเลือก การจัดเนื้อหาสาระ และการจัดการเรียนรู้ เน้ือหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้ ทนี่ ามาจัดไวใ้ นหลักสูตรต้องผ่านการพิจารณากล่ันกรอง และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ ขนั้ ที่ 4 การกาหนดมาตรการวัดผลประเมินผล ข้ันน้ีมุ่งทีจ่ ะหาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อท่ีใช้ในการวัด ประเมินวา่ วดั ผลประเมินผลอะไรบ้าง ซ่ึงสอดคล้องกับเจตนารมณห์ รือจุดม่งุ หมายของหลักสตู ร ข้ันที่ 5 การทดลองใช้หลักสูตร ขั้นตอนนี้มุ่งหาจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหลักสูตร หลังได้มกี ารรา่ งหลักสตู รเสร็จแลว้ ท้งั น้ีเพือ่ หาวธิ ีแก้ไขและปรับปรงุ แกไ้ ขให้ดยี งิ่ ขึน้ ขั้นที่ 6 การประเมินผลการใช้หลักสูตร หลังจากได้นาหลักสูตรไปทดลองใช้แล้ว ก็ควรประเมินผล จากการใช้ว่า หลักสูตรที่สร้างขนึ้ มีความเหมาะสม สอดคลอ้ งและมีจดุ ใดบ้างที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขบ้าง ขั้นท่ี 7 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร หลังจากท่ีได้มีการตรวจสอบและประเมินเบื้องต้นแล้ว หาพบว่ายังมีข้อบกพร่องจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องหรือเหมาะสมก่อนท่ีจะนาหลักสูตรไปใช้ใน สถานทจ่ี รงิ ท้งั นี้เพ่ือใหห้ ลกั สตู รไดบ้ รรลุตามเป้าหมายท่ีกาหนดไว้ จากแนวคิดของ สงัด อุทรานันท์ สรุปข้ันตอนของการพัฒนาหลักสูตร คือ การวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐาน การกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การคัดเลือกเนื้อหาสาระ การกาหนดแนวทาง การวัดผล ประเมนิ ผล การทดลองใชแ้ ละการปรบั ปรุงแกไ้ ข การนาหลักสูตรไปใช้ และนามาปรบั ปรงุ แกไ้ ข 6. ประเดน็ คาถามและข้อแนะนาในการพัฒนาหลกั สูตร ในการดาเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร ผู้มีส่วนเก่ียวข้องจาเป็นต้องศึกษาและทาความเข้าใจ ในประเดน็ ดงั ต่อไปน้ี (สนุ ทร โคตรบรรเทา, 2553: 34-37) 1. กระบวนการวางแผนหลักสูตรมีคาถาม ดังนี้ 1) ผู้แต่งต้ังสมาชิกคณะกรรมการวางแผน หลักสูตรเป็นใคร 2) ผู้ท่ีเข้ามาเป็นผู้แทนในคณะกรรมการมีใครบ้าง 3) ผู้กาหนดลาดับความสาคัญ มาตรฐานและสมรรถภาพเป็นใคร 4) ความต้องการ ปัญหาและประเด็นโต้แย้ง มีการกาหนดไว้อย่างไร 5) ผู้ต้ังเปา้ หมายและวตั ถุประสงคเ์ ปน็ ใคร และ 6) เปา้ หมายและวัตถุประสงค์เปน็ ประเภทใดบา้ ง 2. กระบวนการการนาหลักสูตรไปใช้มีคาถาม ดังน้ี 1) ผู้กาหนดว่าความรู้อะไรสาคัญท่ีสุดเป็นใคร 2) ผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับวัสดุและส่ือการสอนเป็นใคร 3) ผู้ประเมินครูเป็นใคร และใช้เกณฑ์วัดอย่างไร 4) ผูต้ ัดสนิ ใจวา่ จะมกี ารเตรยี มและวิธีการฝกึ ครูสาหรบั โครงการเป็นใคร และ 5) ผู้กาหนดว่าจะต้องใชเ้ งิน และทรพั ยากรมากหรือนอ้ ยเป็นใคร 3. กระบวนการประเมินผลหลักสูตรมีคาถาม ดังน้ี 1) ผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการประเมินผล หลักสูตรเป็นใคร 2) ผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีดาเนินการประเมินข้อทดสอบและวิธีการนาไปใช้เป็นใคร 3) การ ประเมินผลสัมพันธ์กับเป้าหมายและวัตถุประสงค์หรือไม่ 4) โครงการใช้ได้หรือไม่ ใช้ได้มากน้อยเพียงใด

84 และจะปรับปรุงได้อย่างไร 5) ผู้รับผิดชอบในการรายงานผลลัพธ์และการเผยแพร่เป็นใคร และ 6) ต้องมี การเปรียบเทียบหรือตัดสินใจเกยี่ วกับโครงการหรือไมว่ า่ ทาไมต้องทาและไม่ทา 4. ข้อแนะนาสาหรับผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตรมี ดังนี้ 1) คณะกรรมการสร้างหลักสูตรควร ประกอบดว้ ยครู ผู้ปกครองและผู้บรหิ ารสถาบัน ซึ่งอาจจะมนี ักเรียนเป็นกรรมการด้วยกไ็ ด้ 2) คณะกรรมการ ควรสร้างพันธกิจหรือความมุ่งหมายในระยะแรกหรือในการประชุมคร้ังแรก ๆ 3) ควรพิจารณาความต้องการ และอันดับความสาคัญให้สอดคล้องกับนักเรียนและสังคม 4) ควรมีการทบทวนเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ของสถานศกึ ษา แต่ไม่ควรถอื เป็นเกณฑน์ าทางในการพัฒนาหลักสตู ร เกณฑเ์ ช่นน้ีตามปกตจิ ะกาหนดปรัชญา การศกึ ษากว้าง ๆ ทจ่ี ะนาทางการพัฒนาหลักสูตร 5) ควรเปรยี บเทียบการออกแบบหลกั สตู รต่าง ๆ ในแง่ขอ้ ดี และข้อบกพร่อง เช่น ค่าใช้จ่าย การกาหนดตารางเรียน ขนาดชั้นเรียน อาคารสถานที่ บุคลากรท่ีต้องการ และความสัมพันธ์กับโครงงานปัจจุบันท่ีกาลังทาอยู่ เป็นต้น 6) เพื่อช่วยให้ครูเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับการ ออกแบบหลักสูตรใหม่ หรือปรับปรุงหลักสูตร ควรช้ีให้เห็นทักษะด้านพุทธิศึกษาและด้านสุนทรียภาพท่ี คาดหวัง ความคิดรวบยอดและผลลัพธ์สุดท้าย 7) ผู้อานวยการสถานศึกษามีผลกระทบสาคัญต่อการพัฒนา หลักสูตร จากการมีอิทธิพลเกี่ยวกับบรรยากาศของสถานศึกษาและการสนับสนุนกระบวนการทาหลักสูตร 8) ผู้บริหารเขตพ้ืนท่ีโดยเฉพาะผู้อานวยการเขตพ้ืนที่ มีผลกระทบการพัฒนาหลักสูตรเพยี งผิวเผิน เพราะงาน และความสนใจมีศูนยร์ วมอย่ทู ่ีกจิ กรรมการบริหารจดั การบทบาททางหลักสูตรมนี อ้ ย แตก่ ารสนับสนนุ และรอ การอนุมัติมีความจาเป็น 9) การศึกษาของรัฐย่ิงมีผลกระทบต่อการพัฒนาหลักสูตรน้อยลง แม้ว่าหลายฝ่าย จัดพิมพ์คู่มือเอกสารและรายงานท่ีเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ดี นักการศึกษาเหล่าน้ีเป็นผู้กาหนดนโยบาย กฎ และระเบียบที่มีผลกระทบต่อหลักสูตรและการสอน และ 10) อิทธิพลของกลุ่มสนใจพิเศษและนักการเมือง ท้องถิ่น ไม่ควรมองขา้ มการแบ่ง เป็นฝ่ายหรอื ความขัดแย้งมักเปน็ อุปสรรคตอ่ ความพยายามที่มีเหตผุ ลสาหรับ การปฏิรูปและการเจรจาอย่างมีความหมายระหว่างนักการศึกษากบั ผู้ปกครองในเรอื่ งเกยี่ วกับการศึกษา 7. กระบวนการพฒั นาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรมีกระบวนการที่เปน็ ข้ันตอน ดงั น้ี (สริ พิ ัชร์ เจษฎาวิโรจน์, 2559: 224-225) 1. การศึกษาข้อมูลพน้ื ฐาน เป็นการศึกษาขอ้ มูลในด้านต่าง ๆ ท่เี ก่ียวข้องกบั โรงเรียนและนักเรยี น สภาพและปัญหาของชุมชน เพ่ือใช้เป็นแนวทางในการกาหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตร เชน่ จดุ หมาย เน้ือหาสาระ กจิ กรรม การวัดและการประเมินผล 2. การกาหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เป็นการบอกถึงความต้องการอย่างชัดเจนที่ปรารถนา จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สาคัญแก่ผู้เรียน ควรเขียนให้สอดคล้องกับปรัชญาหรืออุดมการณ์ สนอง ความต้องการของผ้เู รียนและสังคม รวมทั้งแก้ปญั หาของสังคมและสามารถปฏิบัตไิ ดจ้ รงิ

85 3. การออกแบบหลักสูตร เป็นการหารูปแบบ วิธีการวางแผนพัฒนาหลักสูตร จัดเตรียม องค์ประกอบหลัก เช่น เน้ือหาสาระ วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมหรือประสบการณ์ของ ผเู้ รียน เพื่อกาหนดแนวทางการดาเนินงาน 4. การนาหลักสูตรไปใช้ เป็นการนาเอาหลักสูตรที่ได้พัฒนาตามขึ้นตามข้ันตอนที่กาหนดไปทดลอง ใช้สอนกับผู้เรียน ประสิทธิภาพของหลักสูตรข้ึนอยู่กับคณะครูท่ีสอน ถ้ามีความมุ่งมั่นในการสอนแบบบูรณา การและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสม จะทาให้บรรลุผลสาเร็จด้วยดี และในการใช้หลักสูตรนั้น อาจจะตอ้ งมีการยืดหยุน่ เน้ือหาสาระหรือวิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกบั ผูเ้ รียนดว้ ย 5. การประเมินผลหลักสูตร เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับคุณค่าของหลักสตู ร ประเมนิ เพ่ือตรวจสอบ ดูเนื้อหาสาระ กจิ กรรม ประสบการณก์ ารเรียนรู้ท่ีจัดให้ผู้เรียนวา่ เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด การบรู ณาการ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้หรือไม่ และมีข้อสังเกตใดเกิดขึ้นในระหว่างใช้หลักสูตรบ้าง สรุปเป็น ประเดน็ ๆ และบนั ทึกไว้ 6. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร เป็นการทบทวนดูองค์ประกอบท้ังหมดของหลักสูตรต้ังแต่ข้ันท่ี 1 จนถงึ ข้นั ท่ี 5 เพื่อดูว่าจะมีส่วนใดท่ีตอ้ งปรับปรงุ แก้ไขบ้าง ดว้ ยเหตุผลใด และใช้วิธกี ารใด อีกทง้ั ข้อสังเกต ท่ไี ด้ควรนามาประกอบในการพิจารณาปรบั ปรุงแก้ไขหลกั สตู รดว้ ย บทสรปุ จากหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเก่ียวกับการพัฒนาหลักสูตรท่ีได้นาเสนอมาในเบื้องต้น ได้ชี้ให้เห็น ว่า ประเทศชาติจะพัฒนาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษา การศึกษาจะดีได้ก็ต้องอาศัยหลักสูตรท่ีมีคุณภาพ หลักสูตร จะมีคุณภาพก็ต้องดาเนินการอยา่ งมีหลักการ มีระบบและพัฒนาอย่างต่อเน่ือง โดยอาศัยความร่วมมือและการ มีส่วนร่วมของผู้เก่ียวข้องทุกฝ่ายทุกระดับ กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยหลายขั้นตอน ซ่ึงต้องทา ให้สาเร็จตามลาดับเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรมีความสมบูรณ์ งานท่ีต้องทาในแต่ละข้ันตอนนั้นมีความ หลากหลาย แต่ก็มีการกาหนดผลที่แน่นอนเอาไว้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกิจกรรมท่ีทาเป็นวัฏจักร มี ความเป็นพลวัตรมากกว่าจะเป็นกิจกรรมคงท่ี การพัฒนาหลักสูตรโดยท่ัวไปต้องยึดหลักพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณภาพท้ังด้านความรู้ ทักษะที่จาเป็นสาหรับการดารงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และมีคุณธรรม จริยธรรม ที่สาคัญต้องสามารถแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยา่ งต่อเนื่องในอนาคตได้ กระบวนการพัฒนา หลักสูตรโดยรวมควรประกอบด้วย ขั้นตอน การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน การกาหนดหลักการ การ กาหนดจุดมุ่งหมาย การเลือกและจัดเนื้อหาหลักสูตร การกาหนดแนวทางการประเมินผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน การตรวจสอบคุณภาพและปรับแก้หลักสูตรก่อนนาไปใช้ นอกจากน้ีหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นแล้วยังต้องมีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมทันสมัยอยเู่ สมอ เป็นวัฎจกั รของการพัฒนาท่ีไม่หยุดยั้ง เพอ่ื ให้ได้หลักสูตรท่ี เทา่ ทนั ต่อบริบทและสภาพการณ์ของโลกทีม่ ีการเปลยี่ นแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

86 เอกสารอา้ งอิง ชยั วัฒน์ สทุ ธิรัตน์. (2559). การพฒั นาหลกั สูตร ทฤษฎีสกู่ ารปฏบิ ตั ิ. (พมิ พค์ รง้ั ที่ 5). กรงุ เทพฯ: วีพรนิ ท์. ธนภทั ร จันทรเ์ จริญ. (2561). การพฒั นาหลกั สูตร. ในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพฒั นา หลักสตู ร คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั บา้ นสมเด็จเจ้าพระยา. กรงุ เทพฯ: สหธรรมมิก. มนสิช สิทธสิ มบรู ณ.์ (ม.ป.ป.). ศาสตรห์ ลกั สตู ร. พิษณโุ ลก: มหาวทิ ยาลยั นเรศวร. วชิ ัย วงษ์ใหญ่. (2523). พัฒนาหลักสตู รและการสอน: มติ ใิ หม.่ กรงุ เทพฯ: รงุ่ เรืองธรรม. . (2525). พฒั นาหลักสตู รและการสอน–มิติใหม่. (พมิ พ์คร้ังท่ี 3). กรุงเทพฯ: สวุ รี ยิ าสาส์น. . (2535). การพฒั นาหลักสตู รแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: สุวีรยิ าสาส์น. วโิ ฬฏฐ์ วฒั นานมิ ติ กลู . (2559). การพัฒนาหลกั สูตรและการสอน ปจั จัยความสาเร็จของการจดั การศกึ ษา. กรุงเทพฯ: สหธรรมมกิ . ศกั ดศิ์ รี ปาณะกุล และคณะ. (2556). หลกั สตู รและการจดั การเรียนร.ู้ (พิมพ์ครั้งท่ี 3). กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลัยรามคาแหง. สงัด อุทรานนั ท์. (2532). พ้ืนฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พมิ พ์ครัง้ ที่ 3). กรงุ เทพฯ: มติ รสยาม. สิรพิ ัชร์ เจษฏาวโิ รจน์. (2559). การพฒั นาหลักสตู รสถานศึกษา. (ฉบับปรับปรงุ ใหม่). กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง. สนุ ทร โคตรบรรเทา. (2553). การพฒั นาหลักสตู รและการนาไปใช.้ กรุงเทพฯ: ปัญญาชน. Beauchamp, G. A. (1981). Curriculum Theory. (4th ed). Liiinois: F. E. Peacock Publisher. Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. (3rd.ed). New York: McGraw Hill. Oliva. P. F. (1982). Developing the curriculum. New York: Harper Collins. Saylor, J. G. & Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. New York: Holt, Rinehart and Winston. Taba, H. (1962A). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World, INC. . (1962B). Curriculum: Theory and Practice. Javanovich: Harcourt, Brace. Tyler, R. (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction: Syllabus for Education 305. Chicago: The University of Chicago Press. Wiggins G. & McTighe, J. (1998). Understanding by design. Prentice Hall, Inc.

87 บทที่ 4 การสรา้ งหลกั สตู ร วโิ ฬฏฐ์ วัฒนานิมติ กูล บทนา ดงั ได้กล่าวแล้วในบททีผ่ ่าน ๆ มาเกี่ยวกบั ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุม 2 นัย คือ 1) การสร้างหลักสูตรข้ึนมาใหม่โดยที่ยังไม่เคยมีหลักสูตรน้ันปรากฏมาก่อน 2) การพัฒนาหลักสูตร เดิมที่มี อยู่แล้วให้ดีย่ิงขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากข้ึน เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของระบบการศึกษาสถานศึกษา จุดมุ่งหมายของการสอน วิธีการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผล อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมุมมอง ของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรจะครอบคลุมกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ประกอบด้วย การสร้าง หลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร ดังนั้นในการศึกษาเก่ียวกับกระบวนการสร้าง หลักสูตรนั้นควรมีความเข้าใจที่ตรงกันในเบื้องต้นก่อนว่า การสร้างหรือจัดทาหลักสูตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณีดังกล่าวแล้ว กล่าวคือ (1) การสร้างหลักสูตรข้ึนใหม่ (2) การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรท่ีมีอยู่เดิม สาหรับในทน่ี ้จี ะใชค้ าว่า “การสรา้ งหลกั สูตร” โดยใหห้ มายความถึงการสรา้ งหลักสูตรท้ัง 2 กรณีดงั กลา่ ว เม่ือกล่าวถึงการสร้างหรือจัดทาหลักสูตรน้ัน คงต้องพิจารณาทบทวนถึงแนวคิดของนักการศึกษา ต่าง ๆ ที่ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรไว้หลายแนวทางด้วยกัน แต่ถ้าหากพิจารณาเฉพาะเจาะจง ลงไปในสว่ นทีเ่ ปน็ การสรา้ งหลกั สตู รแล้ว จะเหน็ ได้วา่ มีขัน้ ตอนสาคญั ๆ ในการสร้างหลักสูตร 10 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การวิเคราะหข์ ้อมลู พน้ื ฐาน 2. การกาหนดจดุ หมายของหลกั สตู ร 3. การกาหนดรูปแบบและโครงสรา้ งของหลกั สูตร 4. การกาหนดจดุ ประสงค์ของวชิ า 5. การคดั เลือกเนือ้ หาวชิ า 6. การกาหนดจดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ 7. การกาหนดประสบการณก์ ารเรยี นรู้ 8. การกาหนดกิจกรรมการเรยี นการสอน 9. การกาหนดวิธกี ารประเมนิ ผลการเรยี นรู้ 10. การจัดทาวัสดุหลักสตู รและสอื่ การเรียนการสอน

88 เมอ่ื ได้ดาเนนิ การครบท้งั 10 ขนั้ ตอนแล้ว จะไดห้ ลักสูตรทีอ่ าจเรียกได้วา่ “หลักสตู รต้นแบบ” ซ่ึง เป็นหลกั สูตรที่มีองค์ประกอบของหลกั สูตรท่ีครบถ้วน ที่พรอ้ มจะนาไปทดลองใชเ้ พื่อการปรบั ปรุงแก้ไขให้ สมบูรณ์ย่ิงขึ้น ภายหลังจากน้ันจึงนาหลักสูตรนี้ไปสู่กระบวนการนาไปใช้ปฏิบัติจริง และกระบวนการ ประเมนิ หลักสูตรต่อไป สาหรบั สาระของบทน้ี จะไดน้ าเสนอขั้นตอนในการสรา้ งหลักสูตรทั้ง 10 ข้ันตอน ดงั กลา่ วขา้ งตน้ ดงั นี้ ข้นั ตอนท่ี 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพน้ื ฐาน ในการสร้างหลักสูตรน้ัน ก่อนที่นักพัฒนาหลักสูตรจะกาหนดองค์ประกอบสาคัญของหลักสูตร ไดแ้ ก่ จุดหมาย เน้ือหาสาระ ประสบการณ์เรียนรู้ ฯลฯ เพอ่ื ให้ผเู้ รียนมีพัฒนาการในดา้ นตา่ ง ๆ และบรรจุ เป้าหมายท่ีกาหนดนั้น นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่สาคัญ และสัมพันธ์กับ การศึกษานั้น ๆ อาทิ ปรัชญาการศึกษาของประเทศหรือสังคมคืออะไร ผู้เรียนและสังคมมีสภาพปัญหา และความต้องการจาเป็นอะไร การสนองความต้องการทางจิตวิทยาของปัจเจกบุคคลได้อย่างไร เป็นต้น ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับข้อมูลพื้นฐานเหล่าน้ีจะช่วยกาหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรได้อย่าง เหมาะสมและทาให้หลักสูตรท่ีสรา้ งขึ้นนส้ี ามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและ สงั คมไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ อย่างไรก็ตามวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน อาจกระทาได้หลากหลายวิธี ซ่ึงในท่ีน้ีจะ นาเสนอวิธีการไว้ 2 ประการ คือ การวิเคราะห์สถานการณ์และการประเมินความจาเป็น มีสาระสาคัญ สรปุ ได้ ดังน้ี 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situational Analysis) ในการประมวลข้อมูลพื้นฐานเพื่อการสร้างหลักสูตร อาจเร่ิมตันด้วยการตรวจสอบสถานการณ์ ต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยวเิ คราะห์จากองคป์ ระกอบของสถานการณ์ดังต่อไปน้ี 1.1 องค์ประกอบภายนอก ประกอบดว้ ย 1.1.1 นโยบายและเปา้ หมายของการจดั การศกึ ษา 1.1.2 การเปล่ยี นแปลงและความคาดหวงั ทางดา้ นสงั คมและวฒั นธรรม 1.1.3 แนวโน้มของเนือ้ หาวิชาทเี่ ปลย่ี นแปลงไป 1.1.4 แหล่งสนบั สนนุ การเปลยี่ นแปลง เชน่ งบประมาณ แหลง่ วิทยาการต่าง ๆ เปน็ ต้น 1.2 องคป์ ระกอบภายใน ประกอบดว้ ย 1.2.1 ผู้เรียน เช่น พัฒนาการของผู้เรียน พัฒนาการทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ พฒั นาการดา้ นจรยิ ธรรม คา่ นิยม เจตคติ ความตอ้ งการ แนวโนม้ พฤติกรรมทางสงั คมในอนาคต เปน็ ต้น

89 1.2.2 ผู้สอน เช่น ความสนใจของผู้สอน ความคาดหวังของผู้สอน เจตคติของผู้สอนต่อการ พฒั นาหลักสูตร รปู แบบการสอน การประเมนิ ตนเอง และจดุ เด่นและด้อยของผู้สอน เปน็ ต้น 1.2.3 บรรยากาศภายในสถานศึกษา เช่น จานวนผู้สอนในสถานศึกษา จานวนอาคาร สถานที่และห้องเรียน จานวนอุปกรณ์และส่ือต่าง ๆ ข้อมูลเก่ียวกับงบประมาณ ปัญหาที่เกิดจากการใช้ หลกั สูตรและกระบวนการเรียนการสอน เปน็ ตน้ 2. การประเมนิ ความจาเปน็ (Need Assessment) ภายหลังจากการวิเคราะห์สถานการณ์และมีข้อมูลในข้ันต้นแล้ว ในอันดับต่อมานักพัฒนา หลักสูตรควรประเมินความจาเป็น ซึ่งต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลท้ังข้อคิดเห็นและ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยจะตอ้ งกระทาอย่างเป็นทางการ โดยมีสิ่งทตี่ อ้ งดาเนินการ สรุปไดด้ งั นี้ 2.1 การกาหนดแหล่งข้อมูล กลุ่มบุคคลที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความจาเป็น ได้แก่ บุคคลต่อไปนี้ พ่อแม่และประชาชนทั่วไป กลุ่มนักการศึกษา นักการเมืองและผู้มีอานาจหน้าที่ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ชานาญการด้านสังคม นายจ้าง องค์กรแรงงาน ผู้ท่ีเพิ่งสาเร็จการศึกษา ผู้ที่ไม่สาเร็จการศึกษา และองคก์ รในชุมชน เปน็ ต้น 2.2 วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินความจาเป็น นักพัฒนาหลักสูตรสามารถดาเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลไดใ้ น 2 ลกั ษณะ คือ 2.2.1 การประเมินความจาเป็นอย่างเป็นทางการ การรวบรวมข้อมูลเพื่อ การประเมินความ จาเปน็ อย่างเป็นทางการเปน็ กระบวนการท่ีตอ้ งใช้เวลา วิธกี ารทห่ี ลากหลาย ใช้บุคลากรหลายฝ่ายซึ่งอาจ สง่ ผลใหม้ คี า่ ใชจ้ า่ ยจานวนมาก การรวบรวมดาเนนิ การไดห้ ลายวิธี อาทิ 2.2.1.1 แบบสอบถาม ซ่ึงเป็นเคร่ืองมือที่สามารถแจกจ่ายไปอย่างรวดเร็ว และทั่วถึง และเสีย ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก วิธีการนี้มักใช้ควบคู่กับวิธีการอื่น เช่น การสัมภาษณ์ เป็นต้น เพ่ือเป็นการตรวจสอบ ความเท่ียงตรงของขอ้ มลู 2.2.1.2 การสัมภาษณ์ เป็นวิธีที่ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลได้พบกับผู้ให้ข้อมูลโดยตรงและได้ข้อมูลท่ี ละเอียดมากข้ึน แต่ต้องใช้เวลามากอีกท้ังข้อมูลท่ีได้รับข้ึนอยู่กับทักษะของ ผู้สัมภาษณ์ ซ่ึงจาเป็นต้องมีการ ฝึกทักษะการสมั ภาษณโ์ ดยเฉพาะก่อน 2.2.1.3 การรับฟังจากสาธารณะ การรับฟังขอ้ มูลจากชุมชนเปน็ การเก็บ ข้อมูลในระยะเวลาส้ัน ๆ ไม่เปน็ ทางการ วธิ ีนอ้ี าจมขี ้อจากัดตรงที่ทุกคนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ส่วนใหญผ่ ู้ทม่ี ีชอ่ื เสียงและ ผ้ทู ี่เปน็ ท่ีรจู้ ักมักจะเป็นผผู้ ูกขาดการพดู เปน็ สว่ นใหญ่ 2.2.1.4 การวิเคราะห์ดัชนีทางสังคม โดยพิจารณาจากข้อมูลทางสถิติที่มีการรวบรวมไว้แล้ว และ นามาเป็นดัชนบี ง่ ชี้ความจาเปน็ เช่น สถิติการมงี านทา สถิติทางด้านประชากร และปญั หาทางสุขภาพ เป็นตน้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook