142 ปัญหาการศกึ ษาท่ีพบจากรายงานผลการศกึ ษาความสามารถในการแข่งขนั โลก สรุ นิ ทร์ พิศสวุ รรณ (2556) แถลงการณเ์ ร่อื งปัญหาการศึกษาไทยกับการด้อยขีดความสามารถใน การแข่งขันระดับโลก จากการท่ีองค์กร World Economic Forum (WEF) ได้เสนอ รายงานผลการศึกษา ความสามารถในการแข่งขันโลก (Global Competitiveness Report 2013-2014) โดยชว้ี ่า 1) คณุ ภาพการศึกษาท้ังระดับพ้ืนฐานมธั ยมและอุดมศึกษาของไทยอยู่ในระดับร้ังท้าย หลายประเทศ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ คําว่า “คุณภาพตํ่าอย่างผิดปกติ” สะท้อนถึงความไม่เชื่อถือ ยอมรับในคุณภาพการศึกษา ไทยโดยรวม และจะสง่ ผลให้ความเช่ือม่ันในประเทศด้านอ่ืน ๆ ในอนาคตต้องถูกกระทบกระเทือนไปด้วย 2) ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และความไม่ต่อเน่ืองทางด้านนโยบาย ระบบราชการท่ี ซับซ้อนไร้ประสิทธิภาพ การทุจริตคอร์รัปช่ันที่แพร่หลาย ระบบพรรคพวกเส้นสาย ทําให้ความเชื่อมั่นในสถาบัน สาธารณะของไทยตาํ่ ลง มผี ลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขนั ของประเทศ 3) เสนอแนะให้รีบเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการจัดระบบองค์กร คุณภาพการ เรียนการสอนและทรัพยากรด้านส่ือ ห้องสมุดและแล็บทดลอง โดยกล่าวว่า ประเทศไทยใช้งบประมาณด้าน การศึกษา ปีละกว่า 5 แสนล้านบาท (งบประมาณ 2556) คิดเป็นกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดินมี บุคลากรเฉพาะในกระทรวงศึกษาธิการเกือบ 5 แสนคน มีอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 56,180 คน แต่จากรายงาน ของ WEF ยงั กลา่ ววา่ การศกึ ษาของไทยมคี ุณภาพตํ่าอยา่ งผดิ ปกติ 4) เสนอแนะให้ความสําคัญคือ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นปัจจัยเพ่ิมพูนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แต่กลับได้รับงบประมาณน้อยมาก เพยี ง 19,636 ลา้ นบาท คดิ เปน็ ร้อยละ 0.8 ของงบประมาณแผน่ ดนิ หรือ 300 บาทต่อหัวประชากรประเทศ 5) รายงานของ WEF กล่าววา่ ตวั ถ่วงความสามารถในการแข่งขันดา้ นนวัตกรรมของประเทศไทย คือ การท่ีรัฐบาลลงทุนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอ่ืนและจํานวน สิทธิบัตรท่ีนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ไทยจดทะเบียนทั้งในและ นอกประเทศก็อยู่ในอันดับท้ายๆของโลก ประกอบกับนักธุรกิจและนักลงทุนมีความเชื่อม่ันในการพัฒนานวัตกรรมองค์กรธุรกิจ และสถาบันอุดมศึกษาของ ไทยในระดบั ตา่ํ มาก 6) จากผลสํารวจทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษพบว่ายังร้ังท้ายด้านภาษาซ่ึงเป็น เครื่องมือสําหรับการแข่งขันบนเวทีภูมิภาคอาเซียนและในตลาดโลก เช่นในพ.ศ. 2555 ดัชนีวัดระดับความรู้ทาง ภาษาอังกฤษของ Education First (EF English Proficiency Index- EPI) ของคน ไทยอยู่ในลําดับ 53 ของ 54 ประเทศท่ีได้รับการสํารวจดีกว่าประเทศลิเบียซ่ึงอยู่ในภาวะสงครามการเมือง สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างย่ิง เพราะกฎบัตรอาเซยี นกาํ หนดว่า ภาษาอังกฤษคือภาษาใชง้ านของอาเซียน เอกสารทุกชิ้น การประชุมทุกครง้ั การ ตอ่ รองทุกเร่อื งจะตอ้ งใชภ้ าษาอังกฤษเท่าน้นั
143 7) เยาวชนไทยมีเครื่องมือ ไอทีและโทรศัพท์มือถือกันเกือบทุกคน ไม่ได้ใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เพ่ิมพูนปัญญาจากขุมความรู้ไซเบอร์ แต่ใช้เพ่ือความสนุก เล่นเกม และติดตามข่าวบันเทิงมากกว่า จึงมีสถิติ ออกมาวา่ คนไทยใชอ้ นิ เทอรเ์ นต็ เพอื่ หาขอ้ มลู น้อยเม่ือเทยี บกับจาํ นวนเครื่องมือไอทีทม่ี ีอยู่ 8) ทักษะภาษาอังกฤษที่สูงข้ึนในทุกประเทศนําไปสู่การยกระดับคุณภาพของการศึกษาใน หอ้ งเรยี นจะเปล่ียนพลวัตและปฏิสมั พนั ธ์ระหวา่ งครกู ับนักเรยี น นกั เรยี นจะมีขอ้ มลู มากขน้ึ จากแหลง่ ขอ้ มลู ไซเบอร์ มีผลบังคบั ให้ครูผูส้ อนต้องเตรียมการสอนมากขึ้นเพอื่ รับมอื กับเดก็ ทคี่ น้ หาขอ้ มูลมาลว่ งหน้า จากการศึกษาผลการวิจัย รายงานของ WEF และกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) ของสํานักเลขาธิการสภา สรุปได้ว่าปัญหาสําคัญท่ีส่งผลกระทบต่อบริบทการจัดการศึกษา ได้แก่ 1) ดา้ นการพฒั นาคุณภาพผู้เรียน สถานศกึ ษา การประเมินคุณภาพสถานศึกษา 2) ด้านการผลิตและพัฒนา ครูอาจารย์ 3) ด้านการเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารและจัดการศึกษาและการส่งเสริมการมีส่วนร่วม รวมท้ังการ กระจายอํานาจ 4) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา 5) การผลิตและพัฒนากําลังคน 6) ด้านการเงินเพื่อการศึกษา 7) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 8) ด้านกฎหมายการศึกษา 9) ด้านการศึกษาตลอดชีวิต 10) ด้านการส่ือสาร ภาษาองั กฤษและดา้ นการเมอื งการปกครอง จากการปฏิรูปการศึกษาท่ีกล่าวมาข้างต้นแล้ว ในการพัฒนาการศึกษาที่เริ่มจากการสร้าง หลักสตู รทมี่ ปี ระสิทธิภาพสําหรบั พฒั นาผเู้ รียนให้มีคณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์ และมกี ระบวนการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียน เป็นสาํ คัญเพ่ือสรา้ งความรู้และประสบการณใ์ ห้กับผู้เรียน และเพ่ือให้สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใชใ้ นการพัฒนา สงั คมต่อไปในยุคโลกาภวิ ัตน์ (พรรณอร อุชุภาพ, 2561) และทางออกสําหรบั การจัดการศึกษาการหาแนวทางใน การพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต กลยุทธ์ในการพัฒนาการศึกษาในปจั จบุ นั และอนาคต ครูเป็นบุคลากรที่มีความจําเป็นในการพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตซึ่งจะต้องมีความ เข้าใจทิศทางการพัฒนาการศึกษาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพ่ือนํามาประยุกต์ใช้ในการ จัดการศึกษาให้สอดคล้องตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สอดคล้อง กับการพัฒนาประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ซ่ึงครูจึงต้องวางแผนในการจัดการ เรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียนตามกลยุทธ์ท่ีสถานศึกษากําหนดท่ีสอดคล้องแนวทางในการบริหารการศึกษาของ สถานศึกษาในประเด็นต่าง ๆ (สํานักงานเลขาธิการสภาการศกึ ษา, 2550, น.44-45)
144 วสิ ัยทัศนใ์ นการพฒั นาการศกึ ษาไทย วิสัยทัศน์เป็นแนวคิดท่ีมีมุมมองกว้าง ไกล และลึก เพ่ือนํามาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา การศกึ ษา ซง่ึ กําหนดไว้ (พรรณอร อชุ ุภาพ, 2561) ดังนี้ 1. การพัฒนาการศึกษามุ่งให้คนไทยทุกคนมีการศึกษาอย่างท่ัวถึง มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ท้ัง ด้านสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสมานฉันท์ ดํารงชีวิตอย่างสันติวิธี ประชาธิปไตย มีความ ภาคภูมใิ จในความเป็นมนุษยแ์ ละการเป็นคนไทยบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 การเป็นพลโลกท่ีมีคุณภาพ มีความรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีความรู้ สามารถด้านภาษา ท้ังภาษาไทย ภาษาสากล ภาษาท่ีใช้ในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะการคิด วเิ คราะห์ 3. ความสามารถเรียนรไู้ ดด้ ว้ ยตนเองและตลอดชวี ิต มีจิตสาธารณะ รกั การทํางาน มคี วามอยู่ดี มี สขุ สามารถพงึ่ ตนเอง มีทกั ษะการประกอบอาชีพ ร้จู ักรกั ษาและพัฒนาทรพั ย์สนิ ทางปญั ญา 4. การมีศักยภาพท้ังการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยคํานึงถึง การดูแลรกั ษาวฒั นธรรม ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม ตลอดจนมคี วามสามารถในการแข่งขนั ในสังคม ด้วยเศรษฐกิจ ฐานความรู้ได้อย่างยงั่ ยืน วตั ถุประสงคใ์ นการพัฒนาการศกึ ษา การพัฒนาการศึกษาจะให้บรรลุเป้าหมายได้น้ัน จําเป็นต้องกําหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อ เป็นแนวปฏบิ ตั ิ (พรรณอร อุชุภาพ, 2561) ดังนี้ 1. เพื่อปลูกฝังและพัฒนาให้คนมีคุณธรรมนําความรู้เป็นคนดีมีเหตุผล มีความรักในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีจิตสาธารณะ รู้จักประมาณ รู้จักอนุรักษ์ สร้างเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม มีภูมิคุ้มกัน มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีสมรรถนะและทักษะในการ ประกอบอาชีพ พร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถในการแข่งขนั และนาํ ประเทศเข้าสสู่ ังคมเศรษฐกจิ ฐานความรู้ 2. เพ่ือเสริมสร้างสังคมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ สนั ตวิ ธิ แี ละมวี ถิ ปี ระชาธปิ ไตยอย่างยงั่ ยืน 3. เพ่ือพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เป็นฐานในการพัฒนาคนและสร้างสังคม ภูมิปัญญาและ การเรยี นรู้
145 ยทุ ธศาสตร์และการดําเนินงาน การพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้นั้น หน่วยงานและผู้รับผิดชอบที่ เก่ียวขอ้ งต้องร่วมกันกําหนดการดําเนินงานดงั นี้ 1. การพฒั นาการศึกษาปฐมวัย ควรมีมาตรการการดาํ เนนิ งานดงั น้ี (1) การพัฒนาและเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยทุกคน ทงั้ เด็กปกติ ผู้ยากไรด้ อ้ ยโอกาส เดก็ พิการและทุพพลภาพอย่างทว่ั ถงึ เพื่อเข้ารบั การศึกษาในระดบั การศึกษาขน้ั พ้ืนฐานต่อไป (2) การพฒั นาครแู ละบุคลากรดา้ นการศึกษาปฐมวยั ให้มคี วามรู้ ความสามารถในการฝึก เดก็ ใหร้ ู้จักช่วยตนเองได้ รวมทัง้ สนับสนุนสื่อและวสั ดุอุปกรณใ์ หเ้ พียงพอและเหมาะสม 3) การส่งเสริมสถานศึกษาท้ังที่เป็นโรงเรียนและศูนย์การเรียนใหม่ มีความพร้อมและ ศกั ยภาพในการจดั การเรียนการสอนเด็กปฐมวัยไดอ้ ยา่ งมีคุณภาพและประสิทธิภาพ (4) การส่งเสริมสนับสนุนพ่อแม่ผู้ปกครอง องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถ่ิน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมให้มีความรู้และจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างท่ัวถึง และมีคุณภาพ 2. การพัฒนาการศึกษาขน้ั พื้นฐาน ควรมีมาตรการการดาํ เนินงาน ดังน้ี (1) เร่งพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้รับความรู้ มีความสามารถและมีทักษะในการคิด วิเคราะหแ์ ละการแก้ปัญหาเต็มตามศักยภาพ ตามอายแุ ละช่วงวัย มผี ลการประเมนิ การเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทุกกลุ่มสาระวชิ า โดยเฉพาะวิชาวทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพ่ือเปน็ รางวดลง การดาํ รงชีวิตและเรยี นตอ่ ในระดับที่ สงู ขึ้นตอ่ ไป (2) เร่งรัดพัฒนาสถานศึกษาขนาดเล็ก และสถานศึกษาท่ีไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ การศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานด้านวิชาการ และการจัดสรรงบประมาณ ส่ือ เทคโนโลยี ครู และบุคลากรแกส่ ถานศึกษาขนาดเลก็ ให้เพียงพอ (3) เร่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะที่เน้นผู้เรียนเป็น สาํ คญั (4) ส่งเสริมให้คนไทยทุกคนได้รับโอกาสและการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงมัธยมศึกษา อยา่ งมีคุณภาพในทุกสถานท่ี ทัง้ สถานศกึ ษาของรัฐ เอกชน และสถาบนั อื่น ๆ ท่จี ัดการศึกษา (5) ส่งเสริมและสนับสนุนการเรยี นรขู้ องเดก็ ที่มีความสามารถพิเศษ กล่มุ ดอ้ ยโอกาสและ เดก็ พิการอย่างทัว่ ถงึ (6) สง่ เสริมสนับสนนุ พอ่ แม่ ผปู้ กครอง องคก์ ร/สถาบันใหม้ ีส่วนร่วมจดั การศกึ ษา ขน้ั พืน้ ฐานและไดร้ บั การสนับสนนุ อยา่ งทว่ั ถึง
146 3. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมการดํารงชีวิตในบริบทของสิ่งแวดล้อมอย่าง ยัง่ ยนื ควรมีมาตรการการดําเนินงาน ดงั นี้ (1) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับและประเภทการศึกษาท้ังการศึกษา นอกระบบ และการศกึ ษาตามอัธยาศัย ทใี่ ช้คุณธรรมนาํ ความรใู้ ห้ผูเ้ รียนเปน็ คนดี เคนเกง่ และมีความสขุ สามารถ บูรณาการการเรียนรกู้ ับวถิ ีชีวติ อยา่ งมีคณุ ภาพและมคี ุณธรรม เปน็ คนเกง่ มปี ระสิทธิภาพ (2) จัดกระบวนการเรียนการสอนในทุกระดับและประเภทการศึกษา โดยบูรณาการใน เรื่องของคุณธรรม จริยธรรม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการรักษาภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ค่านิยม ของความเป็นไทยไวใ้ นหลกั สูตร และรายวิชาเพ่ือใหผ้ ้เู รยี นสามารถนาํ ไปใช้ในการดาํ รงชีวติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ส่งเสริมและพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครองและผู้มีส่วน เกยี่ วข้อง ระยะทค่ี ุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ (4) ยกย่องและส่งเสริมบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันทางศาสนา สถานประกอบการ ส่ือมวลชน และสถาบันสังคมอื่นให้มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการ พฒั นาคณุ ธรรมจริยธรรมแกผ่ ู้เรยี นและประชาชน (5) ส่งเสรมิ และสนบั สนุนวัฒนธรรมประชาธิปไตย การเสริมสร้างสมานฉันท์และการทํางาน (6) สร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณธรรมนําความรู้ในเขตพื้นท่ีโดยเชื่อมโยงบ้านวัด และ โรงเรยี น (7) การส่งเสริมและสนับสนุนสื่อประเภทต่าง ๆ ที่มีสาระเพ่ือให้ความรู้และพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดาํ รงชวี ิตให้กับสังคม 4. การส่งเสริมสนบั สนนุ การวิจยั และพฒั นาการศึกษา ควรมีมาตรการการดาํ เนินงาน ดังน้ี (1) ส่งเสริมและสนับสนุนครู คณาจารย์ในทุกระดับและประเภทการศึกษาดําเนินการ วจิ ยั และมีศกั ยภาพในการวิจัยและพัฒนา (2) ส่งเสริมให้การวิจัยและพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ/ ประเภท รวมท้ังการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวตั กรรมเพอ่ื การพฒั นาประเทศ (3) ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนานักวิจัยและบุคลากรด้านการวิจัยให้มี คณุ ภาพและประสิทธภิ าพ (4) จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาเพ่ือเป็นองค์กรกลางในการศึกษาวิจัย และพัฒนาการศึกษา (5) ส่งเสรมิ การระดมทรพั ยากรและจดั ต้ังกองทุนเพื่อการพฒั นาดา้ นการวิจัยและพัฒนา การศกึ ษา
147 5. ครูในยุคแหง่ การเปล่ียนแปลง ซง่ึ ลักษณะของครใู นยุคแห่งการเปลย่ี นแปลง (เพม่ิ วุธ บุบผามาตะนงั , 2543, น.43-46) (1) มคี วามร้เู กย่ี วกับเทคโนโลยแี ละสอ่ื การเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ อนิ เทอรเ์ น็ต ซีดีรอม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฯลฯ เพราะส่ิงต่าง ๆ เหล่านี้นับวันแต่จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการ มากขึ้น ส่งผลให้ครูและผู้เรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น ศึกษาได้ด้วยตนเองมากข้ึน การเรียนรู้เป็นสิ่งท่ีง่าย สนุกสนาน น่าติดตาม และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ท้ังในห้องเรียน นอกห้องเรียน และตามอัธยาศัย อันจะ ส่งผลให้ผู้เรียนในสหัสวรรษใหม่เป็นคนฉลาด มีความเชื่อม่ันในตนเองสูง เป็นตัวของตัวเองมากข้ึน จึงจําเป็นที่ครู จะตอ้ งปรบั ตัวให้ทนั กบั การเปล่ยี นแปลงและการรุกเข้ามาของส่ิงต่าง ๆ เพ่ือใหส้ ามารถนาํ สิง่ ต่าง ๆ เหลา่ นมี้ าใช้ให้ เกิดประโยชนต์ อ่ การศกึ ษาได้อยา่ งแท้จริง (2) เป็นคนทันสมัย มีวิสัยทัศน์ มีลักษณะมองกว้าง คิดไกล ใฝ่ดี รู้ทันการเปล่ียนแปลง ของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา มีความรู้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และ นโยบายต่าง ๆ ทเี่ ก่ยี วขอ้ ง เป็นคนสนใจใคร่รู้ ศกึ ษาค้นคว้าวิจัย การฝึกอบรม ดงู านเพ่อื พัฒนาตนเอง และพัฒนา งานในหนา้ ทใ่ี หท้ ันสมยั อยเู่ สมอ (3) มีหัวใจนักปราชญ์ ด้วยความเชื่อท่ีว่าคนจะเป็นคนท่ีมีความสามารถได้จะต้องมี ทักษะในการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน รู้จักการปรับบทบาทในด้านต่าง ๆ ให้สมดุล เช่น พยายามลดการ พูดจา แล้วเพิ่มการฟังและการอ่านให้มากข้ึน ที่เราลดการพูดลงแล้วหันมาฟังเสียงรอบข้างบ้าง เราอาจจะได้ยิน เสียงสะท้อนอันอาจจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียน การสอนให้มีประสทิ ธภิ าพได้ (4) เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวก สืบเนื่องจากความเจริญ ทาง เทคโนโลยีสารสนเทศท่ีนับวันจะเข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการศึกษา ดังนั้นครูคงจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจาก ผู้สอน (Instruction) เป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitator) เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าและสร้างความรู้ด้วย ตนเอง โดยครูควรอํานวยความสะดวกในเร่ืองวัสดุ อุปกรณ์สื่อและเทคโนโลยตี ่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และระบบสารสนเทศอื่น ๆ เพ่ือให้ผู้เรียนได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาความรู้ความสามารถอย่างเต็ม ตามศกั ยภาพแตล่ ะบุคคล (5) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้เรียนเป็นสําคัญ เน้นการให้ความสําคัญไปที่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด ซ่ึงตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เป็นการจัดประสบการณ์ท่ีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมในการคดิ วางแผน ปฏิบตั ติ ามแผน จนสามารถสรปุ เป็นองค์ความร้ไู ดด้ ว้ ยตนเอง ซึง่ มีหลักการสําคัญ ดงั นี้ 5.1 C หมายถึง Construct คือ การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองด้วย กระบวนการ การสร้างความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูลและสรุป เปน็ องคค์ วามรู้
148 5.2 | หมายถงึ Interaction คอื การใหผ้ ู้เรียนมีปฏิสัมพนั ธต์ ่อกัน เรียนรู้รว่ มกัน ครแู ลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณแ์ ก่กนั และกัน เป็นต้น 5.3 P หมายถึง Physical Participation คือ การให้ผู้เรียนได้มีบทบาท การมี ส่วนร่วม การเรียนรู้ การทาํ กิจกรรมในลกั ษณะท่ีผู้เรียนไดแ้ สดงออกทางกาย 5.4 P หมายถึง Process Learning/Product คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วย กระบวนการทจ่ี าํ เปน็ ในการดาํ รงชีวติ ควบคไู่ ปกบั การสรา้ งผลงานหรอื องค์ความรู้ 5.5 A หมายถึง Application คือ การให้ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ ในชีวติ ประจําวันเพอื่ ช่วยให้ผูเ้ รยี นเห็นคณุ ค่าของการเรียนอย่างแทจ้ รงิ 6. มีคณุ ธรรมจริยธรรม เช่น ความเมตตากรุณา ความเสียสละอดทน ความยตุ ธิ รรม ความซ่ือสตั ย์ สุจริต ความละอายและเกรงกลวั ตอ่ บาป ฯลฯ เพราะส่ิงต่าง ๆ เหลา่ น้จี ะเป็นตัวกํากับ ควบคุมใหค้ รูใช้ความรทู้ ี่มีอยู่ ไปในทางท่สี ร้างสรรค์ เกิดประโยชนแ์ ก่วงการศึกษาอย่างแท้จริง 7. การวัดและประเมินผลตามสภาพท่ีแท้จริง (Authentic Assessment) เพื่อให้การเรียน การ สอนเป็นไปอย่างมีความหมาย สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเป็นการจัดท่ีได้ใช้ความรู้ ความสามารถท่ี แท้จริงของผู้เรยี น ซึ่งสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจงาน การรายงานตนเอง การ ตรวจบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง การใช้ข้อสอบท่ีเน้นการปฏิบัติจริง และการใช้แฟ้ม สะสมผลงาน (Portfolio assessment) ฯลฯ ซึ่งการวดั และประเมนิ ผลตามสภาพทแี่ ท้จรงิ มีผลดี เชน่ 7.1 การเพม่ิ แรงจูงใจในการเรียนของผเู้ รียน 7.2 การพฒั นาทกั ษะทางวิทยาการระดับสงู แกผ่ เู้ รยี น 7.3 การพฒั นาทักษะการทํางานเป็นทีม 7.4 การปรับเปลีย่ นการเรยี นรู้จากนามธรรมเปน็ รูปธรรม 7.5 ผูเ้ รยี นทราบพัฒนาการและได้ปรบั ปรงุ งานอยา่ งตอ่ เน่ือง 7.6 การวดั ความสามารถของผ้เู รยี นได้อย่างรอบด้าน 7.7 เป็นการวัดทีส่ อดคล้องกับชวี ติ จรงิ 7.8 ผเู้ รียนมีส่วนร่วมได้คิดสร้างสรรคแ์ ละแสดงผลงานดว้ ยตนเอง จากแนวคิดที่กลา่ วมาสรุปได้วา่ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบนั และอนาคตนนั้ บุคคล ท่ีมีความสําคัญของสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการนิเทศครูและใช้เทคนิคการสอนงาน เพ่ือให้การ บริหารการศึกษามีทิศทางการดําเนินงานท่ีเหมาะสมสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ.2552-2561) ตลอดจนการประเมิน คุณภาพการจัดการศึกษาของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มี ความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ซ่ึงสอดคล้องกับผลการวิจัยของสมกิต บุญยะโพธิ์ (2555, น.315-
149 319) ที่ได้วิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษา สูค่ วามเปน็ เลศิ พบว่า การบรหิ ารสถานศกึ ษาขนั้ พื้นฐานสู่การเปน็ เลิศประกอบดว้ ย 6 องค์ประกอบ คือ (1) ภาวะ ผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา (2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู (3) การวางแผนกลยุทธ์ (4) การบริหาร ทรัพยากรบุคคล (5) กระบวนการบริหารจัดการ และ (6) ความคาดหวังต่อความสําเร็จของผู้เรียน โดย องค์ประกอบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบ ด้านความคาดหวังต่อ ความสําเร็จของผู้เรียนและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์ประกอบด้านการวางแผน กลยุทธ์และองค์ประกอบด้าน กระบวนการบรหิ ารจดั การ สภาวการณ์การเปลย่ี นแปลงของโลกในศตวรรษท่ี 21 ท่ีมีนยั สาํ คญั ต่อการจัดการศึกษาไทย และ กาํ หนดภาพรวมของเป้าประสงค์หลักของการจดั การศึกษาของไทย บริบทการเปลย่ี นแปลงสําคญั ที่มผี ลกระทบต่อ ประเทศไทยท่ีจะมีผลกระทบและนัยสําคัญต่อภาคการศึกษา เรียนรู้ของประเทศไทยที่สําคัญ ประกอบด้วย 3 ระดบั ดงั น้ี (กฤษณพงศ์ กรี ติกร, 2552) 1) แนวโน้มการเปลีย่ นแปลงของโลก (Global Trend) ท่ีสาํ คญั คอื พลวัตการเปลย่ี นแปลงโลกจากการก้าวผา่ นจากศตวรรษที่ 20 เขา้ สศู่ ตวรรษที่ 21 ส่ิง ที่โลกจะเปลี่ยนไปจากศตวรรษท่ี 20 สู่ศตวรรษที่ 21 สรุปเป็นประเด็นสําคัญได้ 3 กระแส ได้แก่ (1) กระแสการ เปลี่ยนแปลงจากศตวรรษแห่งอเมริกา (American Century) สู่ศตวรรษแห่งเอเชีย (Asian Century) (2) กระแส การเปล่ียนจากยุคแห่งความมั่งค่ังสู่ยุคแห่งความสุดโต่ง ทั้งธรรมชาติ การเมืองและธุรกิจ และ (3) กระแสการเริ่ม เปล่ยี นแกนอาํ นาจจากภาครฐั และเอกชนส่ภู าคประชาชน (citizen centric governance) หรือประชาภิบาล นอกจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว แรงขับเคลื่อนที่จะมีผลกระทบและนัยสําคัญต่อ ภาคการศึกษาเรียนรู้ของประเทศไทยที่มีความสําคัญมากเช่นกัน คือ แรงขับเคลื่อนใน ระดับภูมิภาคและบริบท ประเด็นภายในประเทศไทย (Local Issues) ตลอดจน ยุทธศาสตรข์ อง ประเทศ (Country Strategy) 2) แรงขบั เคลอ่ื นในระดับภมู ภิ าค (Regional Forces) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกมีมากขึ้น โดยกรอบความร่วมมือที่มี ความสําคัญใกล้ชิดกับประเทศไทยมากคือ การรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และการ รวมกลุ่มของเอเชียตะวันออก (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) 3) ประเด็นภายในประเทศไทย (Local Issues) และยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategy) ประเด็นปัญหาภายในประเทศไทยท่ีสําคัญของไทย คือ ความเหล่ือมลํ้า กับดักประเทศรายได้ ปานกลาง วิกฤตด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลงทางครัวเรือน สําหรับเรื่องทิศทางยุทธศาสตร์ของประเทศน้ัน รัฐได้กําหนดยุทธศาสตร์ของประเทศ 4 ยทุ ธศาสตรห์ ลกั คอื
150 (1) ยุทธศาสตรส์ รา้ งความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Growth & Competitiveness) (2) ยทุ ธศาสตร์สรา้ งโอกาสบนความเสมอภาคและเท่าเทยี มกันทางสังคม (Inclusive Growth) (3) ยทุ ธศาสตร์การเตบิ โตบนคุณภาพชีวิตทเ่ี ป็นมิตรกบั สิง่ แวดลอ้ ม (Green Growth) (4) ยุทธศาสตร์ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยให้นํ้าหนักความสําคญั เร่ืองการพัฒนาการศึกษาเป็นหนึ่งในรายละเอียดยุทธศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันมีความท้าทายเร่ืองการนําไปสู่การ ปฏิบัติเพื่อให้เกดิ การยกระดบั คณุ ภาพการศึกษาอย่างแทจ้ รงิ นอกจากนี้ปรชั ญาการศึกษาไทยในศตวรรษท่ี 21 ปรชั ญาพ้ืนฐานท่ีเป็นรากฐานแห่งระบบ การศึกษา ไทยในศตวรรษท่ี 21 ที่จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิมมีดังน้ี (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2556) 1. ปรับเปลี่ยนอัตลกั ษณ์ (Identity) คนไทย จากเดิมแต่ละคนมีสถานะเป็นแค่เพียงพลเมืองไทย (Thai-Thai) สู่ความเป็นคนไทยที่เป็นส่วน หนึ่งของพลเมืองโลก (Global-Thai) ซึ่งหมายถึงความจําเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับพลวัตการ เปลยี่ นแปลงในประชาคมโลก เครือขา่ ยของประชาคมโลก รวมถงึ การปลุกจติ สํานกึ ต่อโลก 2. ปรบั เปลีย่ นจุดเน้น (Reorientation) จากการเน้นการสร้างคนเพ่ือป้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ (People for Growth) เพื่อตอบ โจทย์สังคมอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวไปสู่การเน้นการสร้างการเติบโตเพื่อรองรับการสร้าง และปลดปล่อย ศักยภาพของผคู้ นในสังคม (Growth for People) เพือ่ ตอบโจทย์สงั คมองคค์ วามรู้ 3. ปรบั เปลย่ี นกระบวนทัศน์ (Paradigm) จากความพยายามเอาชนะธรรมชาติ (Controlling Nature) มาเป็นการอยู่รวมกับ ธรรมชาติ (Living with Nature) พัฒนาอย่างยงั่ ยืน 4. ปรับเปลี่ยนวฒั นธรรม จากการเป็นสังคมที่คนมุ่งมั่นแข็งขันฟาดฟันต้องเอาชนะผ้อู ่ืน (Competition-Driven) มา เป็นการทํางานร่วมกับ คนอ่ืนในลักษณะเก้ือกูลแบ่งปัน (Collaborative-Culture) คนเก่งช่วยเหลือคน ท่ีด้อยกว่าเรียกหาส่ิงที่ดีที่สุดสา หรบั ตนเองและส่วนรวมไปพร้อม ๆ กัน ผคู้ นมีความเมตตาดาํ เนนิ ชีวติ ในความเปน็ มติ รไมตรจี ติ ต่อกันและกนั 5. ขับเคลอ่ื นประเทศไทยไปสโู่ ลกทห่ี นง่ึ (First World Nation) จากท่ีมองแต่การมุ่งไปสู่การเปน็ ประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) ซึ่งให้ ความสําคญั เฉพาะมิติเศรษฐกิจเป็นสําคัญ มาเป็นการคํานึงถึงประเด็นด้านสังคม วัฒนธรรม โดยเฉพาะการสร้างเกียรติภูมใิ น ความเป็นชาติ (Dignity of Nation) ให้คนไทยมีความเข้าใจใน ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติไทย มี จิตสาํ นกึ และตระหนกั ในคณุ คา่ ของความเป็นไทย กอ่ เกดิ เปน็ ความรักความภูมิใจ ทุ่มเทกําลังกายใจเพื่อประโยชน์ สุขของประเทศชาติ
151 การจดั การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกําหนดแนวทางยทุ ธศาสตรใ์ นการจัดการเรยี นรู้ โดย รว่ มกันสรา้ งรปู แบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสรา้ งประสิทธภิ าพของการจดั การ เรยี นรู้ในศตวรรษท่ี 21 โดยเน้น ท่ีองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียนเพื่อใช้ในการดํารงชีวิตในสังคมแห่งความ เปล่ยี นแปลงในปัจจุบัน สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2556) รายงานผลการศึกษาฉบับ สมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง การกําหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษท่ี 21 กล่าวถงึ การจัดสภาพสง่ิ แวดลอ้ มการเรยี นรูข้ องศตวรรษท่ี 21 ดงั นี้ 1. การจัดการเรยี นการสอน ต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนยก์ ลางอย่างแท้จริง เพ, ขีด ความสามารถและ ฝึกฝนทักษะในการเรียนรู้ตลอดชวี ิตและการเรียนร้อู ย่างรอบดา้ น การเรียนการ สอนต้องส่งเสรมิ ให้ผู้เรียนมีความ กระตือรือร้นและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนมีทักษะในการใช้ชีวิต (Life Skills) ท้ังนี้ การ จัดการเรียนการสอนควรมีความหลากหลาย อาศัยเครือข่ายการเรียนรู้ยึดหลักการดูแลแบบครบวงจร ส่งเสริม แรงใจ (Passion) ให้ความสําคัญกับความเป็นปัจเจกของผู้เรียนแต่ละคน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีทางเลือกที่ หลากหลายในการเรียน และการฝกึ อบรม 2. ครู ให้นิยามใหม่กับ “ครู” โดยปรับเปล่ียนจากบทบาทแบบดั้งเดิมที่ครูเป็นผู้ถ่ายโอน ความรู้ สู่การเป็นครูท่ีให้คําปรึกษา เป็นผู้ชี้แนะ เป็นผู้อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ท้ังนี้ต้องสร้างครู คุณภาพสูง ควรมีระบบการพัฒนาครูอย่างครบวงจร วางระบบในการช่วยพัฒนา ศักยภาพการสอนของครูอย่าง ครบวงจร เช่น อัตราเงนิ เดือน เส้นทางอาชีพ ระบบครูพ่เี ลี้ยง (Mentor) เครอื ข่ายพัฒนาตนเองของครู และการให้ ความช่วยเหลือด้านสื่อการสอน ควรขยายขอบเขตการพฒั นาศกั ยภาพของครใู ห้ครอบคลุมตลอดช่วงอายุงาน 3. หลกั สูตร ตอ้ งปรับเปลย่ี นหลักสตู รให้สอดคลอ้ งกบั แนวทางการพฒั นาประเทศ เนน้ การเรียนรู้ อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า ที่ผ่านมาหลักสูตรการเรียนการสอนในเชิง วิชาการของประเทศไทยใน ปัจจุบันไม่ได้มีปัญหามากนัก แต่ครูยังประสบปัญหาในการนําไปปฏิบัติ เน่ืองจากการขาดแคลนสื่อการสอนท่ี เหมาะสม การขาดแคลนบุคลากรครู และการท่ีครูมีภาระงานอ่ืน ๆ ค่อนข้างมาก ส่ิงที่ควรเพิ่มเติมในหลักสูตรคอื การมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถ ประยุกต์ใช้ทักษะท่ีมีอยู่ในชีวิตประจําวันได้ให้อ่านออกเขียนได้ วางโครงสร้าง หลกั สูตรเป็นกรอบแนวทาง ใหอ้ ิสระกบั โรงเรียนและครูในการกาํ หนดวิธีการจัดการเรียนการสอน แต่มกี ารควบคุม มาตรฐานอย่างเข้มงวด 4. การประเมิน ควรเน้นการประเมินให้สอดรับกับเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์การ เรียนรู้ของ นักเรียน ไม่มุ่งเน้นเพียง “การสอนเพ่ือการสอบ” กําหนดตัวช้ีวัดประเมินผลให้สอดคล้อง กับเป้าประสงค์ ระดับประเทศ นอกจากนี้ ควรมีการทบทวนเป้าหมายท่ีแท้จริงของการศึกษาของ ประเทศ เน้นการประเมิน
152 พัฒนาการการเรียนรู้ (Formative Assessment) สร้างความหลากหลายในกระบวนการประเมิน (Diversifying Assessment Processes) 5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเรียนรู้จะเป็นปัจจัยท่ีช่วยแผ่ขยาย การศึกษาเรียนรู้ที่มีคุณภาพแก่ผ้เู รียนและประชาชนคนไทยท้งั ประเทศ ดังน้ันจึงจําเปน็ ต้องให้ความสําคัญกับการ สร้างระบบการจัดการความรู้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนา ระบบการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยให้การ จัดการเรียนการสอนเข้าถึงชุมชนได้ค่อนข้างทั่วถึงและมี มาตรฐาน โดยหัวใจสําคัญคือ การให้ความสําคัญกับ เนื้อหาสาระ (Content) และการนํามาใชอ้ ย่างบูรณาการ จากการศึกษาแนวคิดและปรัชญาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า การศึกษาในศตวรรษท่ี 21 จําเป็นต้องเน้นพัฒนาผู้เรียนอย่างสมดุล การศึกษาต้องเป็นไปเพ่ือการพัฒนาประเทศชาติและสังคมอย่างย่ังยืน สร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ในทุก ๆ ด้าน และผู้เรียนสามารถค้นพบศักยภาพของตนเองและใช้ ศักยภาพนั้นได้อย่างเต็มท่ี การสร้างระบบการศึกษาท่ีสามารถเอื้อให้เกิดการเรียนแบบรู้จริง ให้ความสําคัญกับ ผู้เรียนเปน็ ศนู ยก์ ลาง และดาํ เนินการใหเ้ กดิ ผลในทางปฏบิ ัติอยา่ งแทจ้ ริง ปลูกฝังกระบวนการคดิ เน้นความร่วมมือ ระหว่างทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วม ของภาคเอกชนและภาคประชาชน ตลอดจนการเช่ือมโยงการศึกษา และการทํางาน การจัดการศึกษา ควรเป็นไปในแนวทางกระจายอํานาจ วางระบบการบริหารจัดการที่สมดุล ระหว่างการรวมศูนย์และ การกระจายอํานาจ สร้างโอกาสให้กับท้องถ่ิน แต่ต้องมีการควบคุมมาตรฐานและ คุณภาพจากสว่ นกลาง จากที่กล่าวมาข้างต้น การเปล่ียนแปลงการศึกษาตามบริบทของสังคม เศรษฐกิจ นโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงาน น้ันมีส่วนเก่ียวข้องและส่งผลต่อการจัดการจัดการศึกษาของประเทศเราอย่างมาก ท้ังน้ี หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องในส่วนของสถาบันการศึกษาควรเข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกันผนึกกําลังในการสร้าง นวัตกรรมด้านการศึกษาท่ีมีประโยชน์ต่อการศึกษาของประเทศเพ่ือให้ผู้เรียนสามารถดํารงชีวิตในโลกท่ามกลาง ความเปล่ียนแปลงและเพ่ือที่จะยกระดับการศึกษาไทยให้สามารถตอบโจทย์กับสังคมโลกที่มีการเปล่ียนแปลงไป อย่างรวดเรว็ ในทกุ ด้าน
153 เอกสารอา้ งองิ กฤษณพงศ์ กรี ตกิ ร. (2552). วกิ ฤตกิ ระบวนทัศนม์ โนทัศน์เพ่อื การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศกึ ษา. พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชพี คร.ู กรงุ เทพฯ : สํานักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. เพิม่ วุธ บบุ ผามาตะนงั . (2543). ครูไทยในสหัสวรรษใหม่. วารสารวชิ าการ. กระทรวงศึกษาธกิ าร. สมหมาย ปวะบุตร. (2558). ตาราหลักการศึกษา. สืบค้นจาก www.eledu.ssru. ac.th/sommai/file.php / 1 /Book_1_.pdf สาํ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2556). ยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ. 2556 – 2558. กรุงเทพฯ: องคการรบั สงสินค้าและพสั ดุภณั ฑ (ร.ส.พ.).
154
155 บทท่ี 6 การจดั การคุณภาพการศกึ ษา นิรนั ดร์ สุธีนิรนั ดร์ ความนา คุณภาพและความสามารถในการจัดการศึกษา ที่จะทาให้การศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตของ ประชาชน การให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่าง ต่อเน่ือง เพ่ือการปฏิรูปการศึกษาของประเทศมีเป้าหมาย ดังน้ัน การจัดการศึกษาจึงต้องมีความหลากหลาย และสอดคล้องกับกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการศึกษารัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 กาหนดใหร้ ัฐจัดการศกึ ษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ให้ทว่ั ถงึ และมคี ุณภาพโดยไม่ เก็บค่าใช้จ่าย (มาตรา 43) ทรัพยากรทางการบริหารการศึกษา เป็นปัจจัยท่ีมีอยู่ภายในองค์การ และมี ความสาคัญเป็นอย่างย่ิงโดยเฉพาะทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ ในการบริหารจัดการท้ังด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไป โดยผ่านกระบวนการวางแผนการปฏิบัติตามแผน การกากับ ติดตาม และการ ประเมิน / สะท้อนกลับ และการมสี ่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนและท้องถ่ิน ให้เกดิ ประโยชน์สงู สุดใน การใช้ทรัพยากรทางการบริหารการศึกษา การท่ีจะพัฒนาชุมชน สังคม หรือการพัฒนาประเทศให้เกิดความ เจริญก้าวหน้า ต้องพัฒนาความคิดความสามารถของตน เป็นพ้ืนฐาน ในการพัฒนาคน ต้องใช้ “การศึกษา” เป็นเครื่องมือในการพัฒนา การจัดการศึกษาก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์การหรือเครือข่าย เน่ืองจาก อาจจะมผี ลในทางจติ วทิ ยาเปน็ อยา่ งย่งิ กล่าวคือ ผทู้ ี่เข้ามามสี ว่ นร่วมย่อมเกดิ ความภาคภูมิใจที่ได้เปน็ ส่วนหนึ่ง ของการบรหิ าร ความคดิ เห็นถกู รบั ฟัง และนาไปปฏิบัติเพอ่ื การพฒั นาเครือข่าย และทีส่ าคัญผูท้ มี่ ีสว่ นร่วมจะมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของเครือข่าย ความรู้สึกเป็นเจ้าของจะเป็นพลังในการขับเคล่ือนเครือข่ายท่ีดีที่สุด การ ดาเนินการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมนี้ ต้องมีความเข้าใจในแนวคิดเป็นกรอบ เพื่อให้เกิดผลและมีประสิทธิภาพ สูงสุดจงึ เปน็ กลยุทธห์ น่งึ ทจ่ี ะทาใหช้ ุมชน เกดิ ความเปลยี่ นแปลงก้าวหนา้ ไปตามทิศทางท่ีต้องการ นับไดว้ ่าเป็น เรื่องท่ีนักการศึกษาและนักพัฒนาชุมชนควรให้ความสาคัญ ทาความเข้าใจเพ่ือเป็นพื้นฐานในการนาไปปฏิบัติ ใหบ้ รรลุผลตอ่ ไป การจัดการศึกษาตามพระราชบญั ติการศกึ ษาแห่งชาติ การจัดการ น้ันเป็นคารวมที่ครอบคลุมการดาเนินการบางส่งิ บางอย่างโดยมีเป้าหมายที่มุ่งบรรลุอยา่ ง ชัดเจน มีการกาหนดรปู แบบกระบวนการ มีการจัดองคก์ าร มกี ารมอบหมายผ้รู บั ผิดชอบชัดเจน มผี ดู้ าเนนิ การ เทคโนโลยี เพือ่ สนับสนุนการดาเนนิ การให้เกิดผลตามเป้าหมายที่กาหนด กระบวนการทั้งหมดน้ีคือการจัดการ ซ่ึงต้องกระทาอย่างเป็นระบบ มีแผน มีเป้าหมาย มีผู้รับผิดชอบ และเครื่องกลไกท่ีนาไปสู่ความสาเร็จได้ การ จัดการศึกษา จึงเป็นกระบวนการท่ีมีระบบ มีเป้าหมายชัดเจน คือการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะ
156 เปน็ ดา้ นร่างกาย จติ ใจ สติปญั ญา คุณธรรม ค่านิยม ความคดิ การประพฤติ ปฏบิ ตั ิ ฯลฯ โดยคาดหวงั วา่ คนที่ มีคุณภาพน้ีจะทาให้สังคมมีความม่ันคง สงบสุข เจริญก้าวหน้าทันโลก แข่งขันกับสังคมอื่นในเวทีระหว่าง ประเทศไทย คนในสงั คมมคี วามสุข มีความสามารถประกอบอาชพี การงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่รู ่วมกัน ได้อยา่ งสมานฉันท์ (สานักงานปฏริ ปู การศึกษา, 2545, น 4–5) ความมุง่ หมายของการจดั การศึกษา ตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้อง เป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้ อย่างมีความสุข”ตามความข้างต้น เป้าหมายของ การจัดการศึกษาจึงอยู่ท่ีคนไทยท่ัวไป ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดีมีประโยชน์มีความครบถ้วนทุกด้าน คอื 1. ทางกาย คือมีคุณภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง หมายความว่า การจัดการศึกษาต้องครอบคลุมถึง กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย เช่น ส่งเสริมการออกกาลังกาย ส่งเสริมกีฬาส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ รวมทงั้ จดั สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่เอ้ือต่อสุขลักษณะปลอดจากภาวะมลพษิ ปลอดจากยาเสพติด และ ปลอดจากภัยทั้งหลายที่อาจกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นภัยจากมนุษย์ (อุบัติเหตุ การประทุษร้าย) หรือธรรมชาติ (น้าท่วม ไฟไหม้ พายุ โรคภัยไข้เจ็บ) นอกเหนือจากหน้าท่ีในการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแล้ว ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาต้องคาดการณ์และเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้า เพ่ือผอ่ นคลายหรือแก้ไขปัญหาไดท้ นั การณ์ 2. ทางจิตใจ คอื มีจติ ใจทีอ่ ดทนเขม้ แขง็ สามารถเผชญิ กบั ปญั หาหลากหลายทเี่ กิดได้อยา่ งมสี ติ มีความ รับผดิ ชอบ มีระเบียบวนิ ัยในตัวเองสามารถอดทน อดกล้ันตอ่ แรงกดดันต่าง ๆ 3. ความรู้ คือการมุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ความรู้เก่ียวกับตนเองและความสัมพันธข์ องตนเองกับสังคม ความรู้และทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ ความรู้ ท้งั ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเขา้ ใจ และประสบการณ์เร่ืองการจัดการ การบารุงรกั ษา และ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอย่างสมดุล ความรู้เก่ียวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยการประยุกต์ภูมิปัญญาไทย ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวติ อยา่ งมคี วามสขุ 4. คุณธรรมและจริยธรรม แสดงออกในรูปของพฤติกรรมที่พึงประสงค์รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มคี วามละอายต่อการประพฤติตนในทางเสื่อมเสียก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผอู้ ืน่ และสังคม 5. มวี ฒั นธรรมในการดารงชวี ิต รกั วัฒนธรรมไทย มเี อกลักษณ์ไทย มีมรรยาทและการวางตนในสังคม รู้จักประมาณตนเอง 6. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้ได้รับการศึกษาจะเป็นสมาชิกท่ีดีของสังคมมีความเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อผู้อ่ืน ประนีประนอมมีความเมตตากรุณา มีความสัมพันธ์ท่ีดีต่อผู้อื่นและดาเนินบทบาทของตนเองได้อย่าง เหมาะสม
157 คุณลักษณะที่กล่าวข้างต้น อันเป็นเป้าหมายของการจัดการศึกษานี้ เร่ิมต้นที่ผู้เก่ียวข้องกับการจัด การศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ปลูกฝังถ่ายทอดอบรม หมายความว่าครู ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาต้องเป็น ตวั อยา่ งท่ดี ี คอื รกั ษาหรอื พฒั นาคณุ ลักษณะท่ดี ีไวเ้ ป็นแบบอย่าง คุณลักษณะที่ดีอันเป็นที่พึงประสงค์นี้ถือเป็นมาตรหรือดัชนีชี้วัดครู ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากร ทางการศึกษา โดยผู้นาชุมชน และประชาชนต้องช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนยกย่องและต้ังความคาดหวังให้ แม่แบบสาหรับลูกหลานตน ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน คุณลักษณะดังกล่าว เพราะหากแม่แบบไม่ดี เยาวชนก็ จะยดึ ถอื เปน็ แบบอย่างการประพฤติปฏิบัติของพวกเขาตามไปดว้ ย หลักการในการจัดการศกึ ษา หลักสาคัญในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542) กาหนดไว้ 3 ประการ คอื การศกึ ษาตลอดชีวิต การมีสว่ นร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งอธบิ ายเพิม่ เติมได้ดังนี้ (สานักงานปฏริ ูปการศึกษา, 2545 น.26–37) 1. การศึกษาตลอดชวี ติ ถอื วา่ การจัดการศกึ ษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชวี ติ สาหรับประชาชน หลักการ คือ คนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต การศึกษาน้ีต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิต การงานเท่านั้น เพราะไม่เพียงบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน คนแต่ ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาบุคคลและวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว จึงจาเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัว เพือ่ ใหส้ ามารถรองรบั การเปลีย่ นแปลงได้อย่างเหมาะสม 2. การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมน้ันแสดงออกได้หลาย ลักษณะ เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุน ทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กาลังใจและปกปอ้ งผู้ปฏิบัติงานท่ีมุ่งประโยชนต์ ่อสว่ นรวม หลักการ นี้ถือว่าอนาคตของประเทศและความจาเริญรุ่งเรืองต่อส่วนรวม เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนมิใช่ถกู จากดั โดยตรงในการจดั การศึกษา ดงั น้ัน จงึ เป็นทั้งสิทธแิ ละหน้าทขี่ องคนไทยทุกคนท่จี ะเข้าร่วมในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพ่ือแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการจัดการศึกษา ช่วย ส่งเสริมสนบั สนนุ ใหเ้ กิดการพัฒนาและช่วยดูแลการศกึ ษาให้เปน็ ไปอย่างถูกตอ้ งตามทานองคลองธรรม 3. การพัฒนาต่อเนื่อง การศึกษาเป็นเร่ืองท่ีต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไป ไม่หยุดยง้ั ดังน้นั การจัดการศกึ ษาต้องให้ความสาคัญกบั การพัฒนาสาระและกระบวนการเรยี นรู้อยา่ งต่อเนื่อง การพัฒนาน้ีมีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเน้ือหาสาระท่ีมีอยู่ และ การติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากร ทางการศึกษา ต้องถือเป็นภาระหน้าที่สาคัญ มีการปรับปรุงตนเองให้ทันโลกและทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ ต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมเพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ท้ังน้ี การรับความรู้มาถ่ายทอดโดยปราศจาก ดุลยภาพอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด จึงเป็นหน้าท่ีของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันดูแลให้ความรู้ใหม่ ๆ เป็น ประโยชน์ต่อผเู้ รยี นและสงั คมอย่างแทจ้ ริง
158 กลา่ วโดยสรุป สิ่งทีส่ าคญั และควรทาความเข้าใจในการสร้างวสิ ยั ทศั การเปลีย่ นแปลง และการพัฒนา องค์การในการบริหารการศึกษา นั้น คือการจัดการศึกษาตามพระราชบัญติการศึกษาแห่งชาติ ความมุ่งหมาย ของการจัดการศึกษา และหลักการในการจัดการศึกษา ซ่ึงเป็นสิ่งที่นักบริหารการศึกษาในการนาไปปฏิบัติใน สถานศึกษา เพื่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงและการพัฒนาองค์การทางการศึกษาให้สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศได้ รปู แบบการจดั การศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาท่ีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กาหนดนั้นแบ่งออกเป็น 3 รปู แบบใหญ่ ๆ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศกึ ษานอกระบบ และการศึกษาตามอธั ยาศยั 1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาท่ีกาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลาของ การศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบน้ี หมายถึงการศึกษาที่จัดรูปแบบไว้แน่นอนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ส่วนใหญ่จัดในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือสถาบนั การศึกษาท่ีมีช่ือเรยี กอย่างอนื่ ซึ่งเรารู้จกั คุ้นเคยกนั ดีอยู่แล้ว การศกึ ษาในระบบอาจ จัดในชัน้ เรียนหรือเปน็ การศกึ ษาทางไกลกไ็ ด้ 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาท่ีมีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการ จัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเง่ือนไขสาคัญของการสาเร็จการ ศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละ กลมุ่ ตัวอย่างของการศึกษานอกระบบ ไดแ้ ก่ การศึกษานอกโรงเรียน การฝกึ อบรมหลักสตู รตา่ ง ๆ เป็นต้น 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ผู้เรียน เรียนด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความ พร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อ่ืน ๆ การศึกษารูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเรียนรู้สามารถใช้เวลาที่ปลอดจากภารกิจการงาน อื่นศึกษาเล่าเรียนได้ จึงเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ท้ังน้ี รูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัยมี หลากหลาย เช่น การฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาจากเอกสาร การเย่ียมชม การชมการสาธิต การรับฟัง รายการวิทยุกระจายเสียง รายการวิทยุโทรทัศน์ การสืบค้นเนื้อหาสาระจากอินเทอร์เน็ตหรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นต้น เน่ืองจากรัฐมีหน้าที่ร่วมกับชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ ต่าง ๆ ผู้บริหารและครูควรเข้ามามีส่วนใกล้ชิด รว่ มมอื กบั ประชาชนเพ่ือส่งเสรมิ การเรยี นรู้ตลอดชวี ติ ดว้ ยรปู แบบวธิ กี ารต่าง ๆ บทบาทหน้าทีผ่ เู้ ก่ียวข้องกบั การจัดการศกึ ษา การบรหิ ารจัดการศึกษาในสถานศกึ ษา มีรปู แบบการจดั การศกึ ษาทพี่ ระราชบญั ญตั กิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กาหนดนั้นแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศกึ ษาตามอัธยาศยั โดยมีบทบาทหน้าทผี่ เู้ กี่ยวข้องกับการจดั การศกึ ษา ดงั ต่อไปน้ี
159 คณะกรรมการ 1. คณะกรรมการสถานศกึ ษา มีหน้าทสี่ ่งเสรมิ สนับสนนุ ให้คาปรกึ ษา และข้อเสนอแนะในการจดั การ อาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อพัฒนาแนวทางในการดาเนินงานของวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วย การอาชีวศึกษา และตามกฎหมายอ่นื ทกี่ าหนดใหเ้ ป็นอานาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการสถานศึกษา 2. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา มหี น้าที่เปน็ ผู้ช่วยเหลือในการบริหาร สถานศึกษา โดยพิจารณา ให้ความเห็น เสนอแนะเกยี่ วกบั เรื่องตา่ ง ๆ ดงั นี้ 1) กาหนดเป้าหมาย นโยบายและยทุ ธศาสตร์ในการพฒั นาสถานศกึ ษา 2) พจิ ารณาใหค้ วามเห็นชอบแผนพัฒนาสถานศกึ ษาและแผนปฏิบตั กิ าร ประจาปี 3) กาหนดแผนรับนักเรียน นักศึกษา การยุบ ขยายและเพ่มิ ประเภทวชิ าสาขาวิชา ที่เปดิ สอนในสถานศึกษา 4) เรือ่ งอื่น ๆ ท่ผี ู้อานวยการวิทยาลัยเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถนศกึ ษา 5) กากบั ติดตามผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา 1. ผู้อานวยการสถานศึกษา เป็นผู้บริหารสูงสุด สถานศึกษา มีหน้าที่ และความรับผิดชอบบังคับ บัญชาบุคลากรในสถานศึกษา บริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กากับ ดูแลเก่ียวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหาร งานบุคคล การบริหารทั่วไป งานอ่ืนท่ีเก่ียวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานท่ีปฏิบัติ คือ บังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา มีอานาจหน้าท่ี บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของ สถานศึกษา 1) วางแผนพัฒนาการศกึ ษา ประเมนิ และจัดทารายงานเกีย่ วกับกิจการของสถานศึกษา 2) จัดทาและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาส่ือนวัตกรรมและ เทคโนโลยที างการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล 3) ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอกระบบ และ ตามอธั ยาศัย 4) จัดทาระบบประกนั คุณภาพการศึกษา 5) บริหารงบประมาณ การเงนิ และทรพั ยส์ นิ 6) วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการส่งเสริมประสิทธิภาพในการ ปฏิบัตงิ าน วินยั การรกั ษาวินัย การดาเนินการทางวนิ ยั การออกจากราชการ การอทุ ธรณ์ และรอ้ งทกุ ข์ 7) จัดทามาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏบิ ตั งิ านตามมาตรฐานของขา้ ราชการครแู ละบุคลากรทางการศึกษา 8) สง่ เสริมสนบั สนนุ บคุ ลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอยา่ งต่อเนื่อง
160 9) ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถ่ิน ในการระดมทรัพยากร เพ่ือการศึกษาและให้บริการ วชิ าชีพแก่ชุมชน 10) จดั ระบบควบคมุ ภายในสถานศึกษา 11) จดั ระบบการดแู ลช่วยเหลอื ผู้เรียน 12) เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป รวมท้ังที่ได้รับมอบอานาจ สัญญาในราชการของ สถานศึกษาตามวงเงนิ งบประมาณทสี่ ถานศึกษาได้รบั ตามท่ไี ด้รบั มอบอานาจ 13) ปฏบิ ตั ิงานอืน่ ที่เกี่ยวข้อง และทไ่ี ด้รับมอบหมาย 2. รองผู้อานวยการสถานศึกษา มีหน้าท่ี และความรับผิดชอบรองจากผู้อานวยการสถานศึกษา โดย ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อานวยการสถานศึกษาในการช่วยบริหารกิจกรรมของสถานศึกษา การ วางแผนปฏิบัติงาน การควบคุม กากับ ดูแล เก่ียวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหารงาน บุคคล การบริหารท่ัวไปและงานอ่ืนที่เกี่ยวข้อง โดยมีลักษณะงานท่ีปฏิบัติงานจากผู้อานวยการสถานศึกษา โดยช่วยปฏบิ ัตริ าชการในเรือ่ งต่อไปนี้ คอื 1) บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับนโยบายและวัตถุประสงค์ ของสถานศึกษา 2) วางแผนพฒั นาการศึกษา ประเมินและรายงานผลการจัดการศกึ ษา 3) จัดทาและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และ เทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวดั ผลประเมนิ ผล 4) ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งในระบบ นอกระบบ และ ตามอัธยาศัย 5) จดั ทาระบบประกนั คุณภาพการศึกษา 6) การบรหิ ารการเงิน การพัสดุ และทรัพยส์ ินอืน่ ๆ 7) วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการ ปฏิบัตงิ าน วินัย การรักษาวนิ ัย การดาเนนิ การทางวินยั และการออกจากราชการ 8) จัดทามาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศกึ ษา 9) ส่งเสริมสนบั สนุนบุคลากรในสถานศกึ ษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 10) ประสานความรว่ มมอื กับชุมชนและทอ้ งถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและใหบ้ ริการ วิชาชพี แก่ชุมชน 11) จัดระบบควบคมุ ภายในสถานศกึ ษา 12) จดั ระบบดแู ลช่วยเหลือผ้เู รียน 13) ปฏิบัตงิ านอืน่ ตามทไ่ี ด้รับมอบหมาย
161 ครู – อาจารย์ และบุคลากรอน่ื ๆ 1. ครูผู้ช่วย มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบเก่ียวกับการจัดการเรียนการสอนการส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏบิ ัติงานทางวิชาการของสถานศกึ ษาและมหี น้าทใี่ นการเตรียมความพร้อมและพฒั นาอยา่ งเข้ม ก่อนแตง่ ตง้ั ใหด้ ารงตาแหนง่ ครู และปฏิบตั ิหนา้ ท่ีอ่นื ตามทไ่ี ดร้ บั มอบหมายโดยมีลกั ษณะงานทป่ี ฏิบัติดังนี้ คอื 1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการท่ี หลากหลายโดยเน้นผู้เรยี นเป็นสาคัญ 2) จัดอบรมส่งั สอนและจดั กิจกรรมเพอื่ พฒั นาผู้เรียนให้มีคณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ 3) ปฏิบตั ิงานวิชาการของสถานศึกษา 4) ปฏบิ ัติงานเกย่ี วกับการจดั ระบบการดแู ลช่วยเหลอื ผเู้ รยี น 5) ปฏิบตั หิ นา้ ทอี่ ่นื ตามทผี่ ู้บังคบั บญั ชามอบหมาย 2. ครู มีหน้าท่ีและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนา ผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บคุ คลในชุมชน และสถานประกอบการเพ่ือรว่ มกันพัฒนาผู้เรยี น การบริการสงั คมด้านวชิ าการและดา้ นวิชาชีพ และปฏิบตั หิ น้าที่อ่นื ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลกั ษณะงานท่ีปฏบิ ตั ดิ ังนี้ คือ 1) ปฏิบัติงานเก่ียวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการท่ี หลากหลายโดยเน้นผู้เรยี นเปน็ สาคญั 2) จัดอบรมสง่ั สอน และจดั กิจกรรมเพือ่ พฒั นาผเู้ รียน ใหม้ ีคุณลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ 3) ปฏิบตั งิ านวชิ าการของสถานศกึ ษา 4) ปฏบิ ตั ิงานเก่ียวกบั การจดั ระบบการดูแลชว่ ยเหลือผูเ้ รียน 5) ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนและสถานประกอยการเพื่อนร่วมกัน พัฒนาผเู้ รยี นตามศกั ยภาพ 6) ทานุบารงุ ส่งเสรมิ ศลิ ปวฒั นธรรม แหล่งเรียนรู้และภูมิปญั ญาทอ้ งถน่ิ 7) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินพัฒนาการผู้เรียนเพื่อนามาพัฒนาการเรียนการสอนให้มี ประสิทธภิ าพยิ่งขึ้น 8) ปฏบิ ตั ิหน้าทอ่ี น่ื ตามท่ีผู้บังคบั บญั ชามอบหมาย 3. พนักงานราชการ ลูกจ้างประจา และลูกจ้างชั่วคราว มีหน้าที่ และความรับผู้รับผิดชอบตามท่ี ผ้บู ังคบั บัญชามอบหมายให้ปฏบิ ัติ ผู้ปกครองและชมุ ชน 1. ให้การสนบั สนุนในกจิ กรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา 2. ร่วมมือกบั สถานศกึ ษาในการจดั กจิ กรรมตา่ ง ๆ 3. เสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนางานของสถานศึกษา 4. ดูแล เอาใจใส่นักเรียน นักศกึ ษาในปกครองในด้านการเรยี น และความประพฤติ
162 5. เปน็ กระบอกเสยี งประชาสัมพันธ์ขา่ วสารของสถานศึกษา 6. ร่วมพัฒนาปรับปรงุ เพ่อื การประกันคุณภาพของสถานศึกษา การจัดการทรพั ยากรทางการศกึ ษา การจัดการศึกษาจะให้มีคุณภาพได้จะต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่ายในสังคม มีการระดม ทรัพยากรเพ่ือใช้ในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลาย จากสภาพปัญหายังมีการระดมทรัพยากรที่เกิดจาก แหล่งอื่น ๆ เพ่ือนามาใช้ในการจัดการศึกษา เช่น เงินอุดหนุนจากท้องถ่ิน การบริจาคจากชุมชนยังมีอยู่น้อย ทรัพยากรทางการบริหารการศึกษา จึงเป็นส่ิงที่ทาให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ ทรัพยากรทางการ ศกึ ษา จงึ ครอบคลมุ อยใู่ นความหมายต่าง ๆ ไม่วา่ จะมองในแง่ของทางเศรษฐศาสตร์ หรือทางการบริหารก็ตาม การดาเนินการเก่ียวกับทรัพยากรเหล่านี้ต้องมีความเข้าใจในแนวคิดเป็นกรอบ เพื่อให้เกิดผลและมี ประสทิ ธภิ าพสูงสุด ความหมายของทรพั ยากรทางการศึกษา มนี ักวชิ าการหลายทา่ นได้กล่าวถงึ ความหมายของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาไว้ ดงั น้ี กวินทร์เกียรติ นนธพ์ ละ (2552, น.16) กล่าวว่า ทรัพยากรทางการบรหิ ารท่ีเก่ียวเน่อื งกับสถานศึกษา โดยตรงน้ัน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1)คนหรือบุคลากร 2)อาคารสถานท่ีหรือแหล่งเรียนรู้ 3)อาคารสถานทห่ี รือแหลง่ เรียนรู้ และ 4)งบประมาณ เตือนใจ ไชยโคตร (2555, น.18) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง แหลง่ ต่าง ๆ หรอื สิ่งต่าง ๆ ที่สามารถนามาใชใ้ ห้เกดิ ประโยชน์สูงสุดในการบริหารการศึกษา อาพล ราวกลาง (2555, น.20) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาหมายถึง ปจั จยั ทุกสงิ่ ทัง้ ทางตรงและทางอ้อมทเี่ ก่ียวข้องกับการจดั การศกึ ษาซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรหลัก 4 อย่าง คอื บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการที่ดี ทรัพยากรและทรัพยากรทางการศึกษาซ่ึงมีความ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาประสบความสาเร็จตามเป้าหมายของการจัด การศึกษา วรพงษ์ เถาว์ชาลี (2556, น.13) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง ทรัพยากรทางการศึกษาเป็นปัจจัยพ้ืนฐานที่เก่ียวกับการจัดการศึกษาให้ประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายและ ประสทิ ธภิ าพต้องอาศยั ทรพั ยากร 4 อยา่ ง คอื บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และการจดั การทด่ี ี จักรกฤษณ์ พุทธะ (2556, น.13) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง ปัจจัยพ้ืนฐานท่ีเก่ียวกับการจัดการศึกษาให้ประสบผลสาเร็จตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพต้องอาศัย 4 อย่าง คือ บคุ ลากร งบประมาณ วัสดอุ ุปกรณ์และการจัดการที่ดี สังเวียน มาลาทอง (2556, น.18) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง ปัจจัยใด ๆ ที่ใช้ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล เงิน วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลสารสนเทศ การบริหารจดั การ เพ่อื ให้การดาเนนิ การจดั การศกึ ษาให้บรรลุวตั ถุประสงค์
163 พัชณียา หานะพันธ์ (2557, น.12) ไดใ้ หค้ วามหมายว่า การบรหิ ารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง ปัจจัยทุกสิ่งทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เก่ียวข้องกับการศึกษาซ่ึงประกอบดว้ ยทรพั ยากรหลัก ได้แก่ เงินทุนหรือ งบประมาณ บุคคล วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี อาคารสถานท่ีและการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้การจดั การศึกษา ประสบความสาเร็จตามท่ีสถานศึกษากาหนดไวอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพและมปี ระสิทธิผล สมใจ คัสกรณ์ (2559, น.13) ได้ให้ความหมายว่า การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หมายถึง ปัจจัยทุกส่ิงท้ังทางตรงและทางอ้อมท่ีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรหลัก 4 อย่าง คือ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการท่ีดี ทรัพยากรและทรัพยากรทางการศึกษาซ่ึงมีความ เก่ียวข้องสัมพันธ์กัน จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาประสบความสาเร็จตามเป้าหมายของการจัด การศกึ ษา กล่าวโดยสรุป ทรัพยากรทางการบริหารการศึกษา คือ กระบวนการที่ทาให้ปัจจัยสนับสนุนการจัด การศึกษาประสบความสาเร็จตามที่สถานศึกษากาหนดและตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ปจั จยั หลกั ในการสนบั สนุนการจัดการศึกษา ไดแ้ ก่ บคุ คล งบประมาณ วัสดอุ ปุ กรณ์ เทคโนโลยี อาคารสถานท่ี การบรหิ ารจดั การ เป็นตน้ โดยเปน็ ข้อสังเกตได้ว่า เปน็ สิ่งท่ีมีความสาคัญต่อองค์การเปน็ อย่างมาก องค์การจะ ประสบผลสาเร็จได้มากน้อยแค่ไหนข้ึนอยู่กับการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์การนั้น ๆ ให้คุ้มค่าและเกิด ประโยชน์มากท่ีสุด และในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการนาทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพ่ือลดต้นทุน และเพม่ิ ประสิทธภิ าพในการปฏบิ ัตงิ านให้เกิดความถูกต้อง และรวดเร็วและคาดวา่ ในอนาคตจะมกี ารพัฒนานา เทคโนโลยีทที่ ันสมัยมาใชม้ ากย่งิ ขน้ึ เพ่อื มารองรบั การทางานในยุคปัจจบุ ันท่ีมีการแขง่ ขนั กนั สูง บทบาทและความสาคัญของการบรหิ ารทรัพยากรทางการศึกษา มีนักวิชาการหลายท่านไดก้ ลา่ วถึงความสาคัญของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาไว้ ดงั น้ี ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2550, น.32-33) กล่าวว่า ทรัพยากรการบริหาร อันได้แก่ 4 M’s ประกอบดว้ ย คน (Man) เงิน (Money) วตั ถุดิบ (Material) และวธิ กี าร / จดั การ (Method / Management) ถูกนาเข้าในระบบเพ่ือการประมวลผลหรือการบริการทเี่ ตบิ โตและพัฒนาก้าวหน้าไปพร้อมกับอุตสาหกรรมการ ผลิต และการบริการท่ีเติบโตและพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็วทาให้ทรัพยากรเพียง 4 ประการเร่ิมไม่เพียงพอ สาหรับเป้าหมาย จึงได้เพิ่มข้ึนอีก 2 M’s เป็น 6 M’s ได้แก่ เคร่ืองจักรกล (Machine) และ การตลาด (Market) ในขณะเดียวกันการทางานที่มองเห็นถึงความสาคัญ หรือคุณค่าของจิตใจของผู้ปฏิบัติงานมีมากขึ้น โดยให้ความสาคัญกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคนงานมากขึ้น จึงเพ่ิมขวัญและกาลังใจ (Morale) เข้าไปเป็น 7 M’s และเมื่อโลกก้าวเขา้ สยู่ คุ โลกาภิวัตน์ (Globalization) ระบบการสอ่ื สารไรพ้ รหมแดนทต่ี ิดต่อ เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกทาให้การติดต่อส่ือสารรวดเร็วใครไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลย่อม เสียเปรียบในเชิงธุรกิจจึงได้เพิ่ม ข้อมูลข่าวสาร (Message) เข้าไปในทรัพยากรกระบวนการผลิต รวมเป็น 8 M’s ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้จะเพ่ิมขึ้นไปเร่ือย ๆ ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ระบบอุตสาหกรรมการผลิตการจัดจาหนา่ ย และการบรกิ ารยงั คงพัฒนาและกา้ วไปไม่หยุดยั้ง
164 เปรมชัย สโรบล (2550, น.30-31) ทรัพยากรการบริหารในองค์การที่มีความสาคัญต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน ทั้งองค์การบริหารราชการหรือองค์กรธุรกิจ ซึ่งปัจจัยทางการบริหารท่ีมี ความสมบรู ณ์ และคุณภาพสูงย่อมจะก่อให้เกดิ ประโยชน์สงู สุดท้ังโดยทางตรงและทางอ้อม ท้งั นจ้ี ากการศึกษา ปัจจัยทางการบริหารหรือทรัพยากรทางการบริหาร (Administrative Resources) 4 ประการ คน เงิน วัสดุ สิ่งของ และวิธีการจัดการหรือที่เรียกว่า 4 M’s ซ่ึงเป็นแนวคิดทฤษฏีการบริหารผสมผสานกับกระแสการ เปล่ียนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ ทาให้องค์การมีการนาระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information) และเทคโนโลยี (Technology) ซง่ึ หมายถึงการนาเอาวทิ ยาศาสตรป์ ระยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติการโดยทั่ว ๆ ไปที่ เรียกกันว่า IT มาใช้ในกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพ่ือการพัฒนาการผลิตและการบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งข้ึนโดยลดต้นทุนด้านแรงงาน ด้าน วัสดุลง ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารในยุคปัจจุบันจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการไปเพื่อให้องค์กรสามารถทา หน้าที่ได้ดีย่ิงขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นปัจจัยสาคัญ ท่ีต้องตระหนักถึงเป็นอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mis : Management Information System) องค์กรนามาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และในขณะเดียวกันยังเป็น การเปิดโอกาสในการรับประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ท่ีเข้ามาในองค์กร ซ่ึงทรัพยากรทางการบริหาร ดังกล่าวเป็นองค์ประกอบหลักในกระบวนการดาเนินงานตั้งแต่ 1)การกาหนดวัตถุประสงค์ท่ีแน่นอน (Objectives) 2)การกาหนดทรัพยากรในการบรหิ าร (Resources) 3)การประสานงานระหว่างกันหรือเรียกได้ ว่ามปี ฏกิ ริ ิยาระหว่างกัน สิทธิศักด์ิ เติมทอง (2554, น.14) กล่าวว่า ความสาคัญในการบริหารทรัพยากรน้ันมีหลายประการ เช่น เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพในการทางานของหน่วยงานเนื่องจากความจากัดของหน่วยงาน และเพื่อเป็นการส่งเสริม กิจกรรมใหม่ ๆ การบริหารทรัพยากรนอกจากจะเปน็ การบริหารเพื่อให้หนว่ ยงานดาเนนิ กิจกรรมปกตธิ รรมดาของ หน่วยงานแล้ว ยังเปน็ การบริหารทรัพยากรเพื่อเสาะแสวงหาความคิดใหม่ ๆ คาตอบใหม่ ๆ เป็นตน้ ปรชี า คมั ภีรปกรณ์ และคณะ (2556, น.6-7) กล่าววา่ ทรัพยากรทางการศกึ ษามี 2 ดา้ น ดงั น้ี 1. ด้านปรมิ าณ ปริมาณของทรัพยากรมผี ลต่อการดาเนินกจิ กรรม ดังนี้ 1.1 ประสิทธิภาพของกิจกรรม ถ้าหากทรัพยากรมีเพียงพอต่อการดาเนินกิจกรรมขององค์การจะ ทาให้การดาเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงข้ามถ้าปริมาณของทรัพยากรมีไม่เพียงพอการดาเนินงาน ของกจิ กรรมจะไมส่ ามารถมีประสิทธภิ าพได้ 1.2 ประสิทธิผลของกิจกรรม ถ้าหากปริมาณของทรัพยากรมีไม่เพียงพอ การดาเนินกิจกรรมก็ อาจจะไม่บรรลุเป้าหมายได้ ถ้าหากการดาเนินกิจกรรมขาดทรัพยากรหรือทรัพยากรไม่เพียงพอ การดาเนิน กจิ กรรมก็ไมส่ ามารถบรรลเุ ปา้ หมายหรือมปี ระสิทธผิ ลได้ 1.3 การเลือกกจิ กรรมที่จะปฏบิ ตั ิ ปรมิ าณจะเปน็ ตัวกาหนดตัวหนึ่งในการเลือกกจิ กรรมท่ีเหมาะสม ในการดาเนินกิจกรรมตามความเป็นจริงนัน้ กจิ กรรจะเปน็ ตัวกาหนดทรัพยากร แต่ในบางกรณีทรัพยากรจะเป็น ตัวกาหนดกิจกรรม เน่ืองจากข้อจากัดของทรัพยากรและความจาเป็นที่จะต้องดาเนินกิจกรรมให้บรรลุหรือ สาเร็จภายในเวลาที่จากัด
165 2. ด้านคุณภาพ คุณภาพของทรัพยากรมีผลต่อการดาเนินกิจกรรมขององค์การ มีนัยยะคล้ายคลึงกับ ปริมาณของทรพั ยากรดังทกี่ ลา่ วมาแล้วคือ 2.1 ประสิทธิภาพของกิจกรรม คุณภาพของทรัพยากรจะมีผลต่อประสิทธิภาพของกิจกรรม ค่อนข้างสูงในบางคร้ัง แม้ทรัพยากรจะมีจานวนมาก แต่ถ้าหากเป็นทรัพยากรที่ปราศจากคุณภาพการดาเนิน กจิ กรรมก็ปราศจากประสิทธภิ าพได้ 2.2 ประสทิ ธิผลของกิจกรรม ประสทิ ธิผลของกิจกรรมหรือประสทิ ธิผลขององค์การมีความสัมพันธ์ ค่อนข้างสูงกับคุณภาพของทรัพยากร ถ้าหากการดาเนินกิจกรรมใดทรัพยากรมีคุณภาพไม่ดี ประสิทธิผล อาจจะมแี ต่จะคอ่ นข้างต่ากว่าการมที รัพยากรที่มีคุณภาพสูง 2.3 คุณภาพของกิจกรรม คุณภาพของกิจกรรมมีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากกับคุณภาพของ ทรพั ยากร ถา้ หากการดาเนินกจิ กรรมใดแล้วไดท้ รัพยากรท่มี คี ุณภาพสูง คุณภาพของกิจกรรมกจ็ ะดไี ปดว้ ย สมใจ คัสกรณ์ (2559, น.14) กล่าวว่า ทรัพยากรเป็นตัวกลางหรือตัวกระตุ้นท่ีทาให้กิจกรรมของ โรงเรยี นหรอื หนว่ ยงานดาเนนิ ไปได้ และทรัพยากรจะมีบทบาทต่อกิจกรรม หรอื การดาเนินภารกิจของโรงเรียน หรอื หนว่ ยงานทัง้ ในด้านของปริมาณและคณุ ภาพทาใหก้ ารทางานสาเรจ็ ลงได้ดว้ ยดี กล่าวโดยสรุป บทบาทและความสาคัญของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา คือ มีความสาคัญต่อ สถานศึกษาเป็นอย่างมาก สถานศึกษาที่จะประสบผลสาเร็จได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ทรพั ยากรของสถานศึกษาน้ัน ๆ ใหค้ ุม้ ค่าและเกิดประโยชน์มากที่สดุ โดยเปน็ ทส่ี ังเกตได้วา่ ในปัจจบุ ันมกี ารนา ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพ่ือลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ให้เกิดความ ถูกต้องและรวดเร็ว และคาดว่าในอนาคตจะมีการพัฒนานาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้มากยิง่ ข้ึน เพื่อมารองรับ การทางานในยุคปัจจุบันท่ีมีการแข่งขันกันสูง ทรัพยากรเป็นตัวกลางหรือตัวกระตุ้นท่ีทาให้กิจกรรมของ สถานศึกษา หรือหน่วยงานดาเนินไปได้ และทรัพยากรจะมีบทบาทต่อกิจกรรม หรือการดาเนินภารกิจของ สถานศึกษา หรือหน่วยงานทั้งในดา้ นของปรมิ าณและคุณภาพทาให้การทางานสาเร็จลงได้ด้วยดี การประกนั คณุ ภาพการศึกษาตามมาตรฐานคณุ ภาพการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (2554ข) ได้ดาเนินการนาผลการประกันคุณภาพ การศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีแนวทางในการ ดาเนินการประเมิน 2 วิธี ได้แก่ 1) การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการนาผลการ ปฏิบัติงานพัฒนาโรงเรียนเป็นปกติ มาสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง 2) การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการศึกษา โดยการสรา้ งเคร่ืองมือวดั สาหรบั ตัวบ่งช้ีทุกตวั แลว้ ประเมนิ คุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียน แลว้ สรปุ เขยี นรายงานการประเมินตนเอง
166 การประเมนิ และการพัฒนาคณุ ภาพการศกึ ษา การปฏิบัติงานในความรับผิดชอบให้ดีข้ึนจะต้องมีการประเมิน และเมื่อมีการประเมินก็ต้องเตรียม รับทราบผลท้งั ทางบวกและทางลบ ซ่ึงไม่ว่าผลจะเป็นเชน่ ไร ก็สามารถใชเ้ ปน็ ขอ้ มูล เพ่ือการปรับปรุง พัฒนาได้ ทั้งนั้น ขอแต่เพียงให้ได้ข้อมูลท่ีสอดคล้องกับความเป็นจริง ทาไมต้องมีการประเมิน ตามที่ทุกคนเข้าใจกันว่า การประเมินเป็นการประมาณหรือตัดสินคุณภาพของส่ิงใดส่ิงหนึ่ง โดยอาศัยผลท่ีได้จากการวดั ไปเปรยี บเทียบ กับเกณฑ์หรือข้อกาหนดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ การประเมินจึงเป็นกิจกรรมสาคัญกิจกรรมหนึ่งในการบริหาร จัดการหรือการดาเนินงานทั่วไป การประเมินผลการดาเนินงานของสถานศึกษาในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหน่ึง ก็ คอื การตรวจสอบ เพื่อให้ทราบความจริงวา่ ผลการดาเนินงานในชว่ งน้นั เป็นอย่างไร มีอะไรเด่น อะไรด้อย อะไร ดี อะไรไม่ดี สิ่งไหนท่ีทาสาเร็จ หรือทาไม่สาเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน ผลการประเมินทาให้ผู้ปฎิบัติทราบสภาพ จริงในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ยิ่งถ้าผู้ประเมินกับผู้ปฎิบัติไม่ใช้คนเดียวกันจะทาให้ข้อมูลที่ได้ ตรงไปตรงมา น่าเชื่อถือมากกว่า เน่ืองจากถ้าผู้ประเมินกับผู้ปฎิบัติเป็นคนเดียวกันอาจเกิดความลาเอียงทาให้ ข้อมูลเข้าข้างตัวเองทาให้ผลเบ่ียงเบนไปจากความเป็นจริง การประเมินท่ีสามารถแสดงข้อเท็จจริงได้อย่าง ถูกตอ้ ง จะเปน็ ขอ้ มูลทเ่ี ป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุง แกไ้ ข หรือพัฒนาการดาเนนิ งานต่อไป เพราะผล การประเมินทาให้รู้ว่าการดาเนินงานในเร่ืองไหนดี ไม่ดี อย่างไร ผู้ปฏิบัติก็จะได้นาไปปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงในเร่ืองท่ีปฏบิ ัติจดั ทายังไม่ดี ให้ดีขึ้นหรือเร่ืองท่ีดอี ยู่แลว้ ให้ดยี ิ่งข้ึนไปอีก การประเมินเป็นพื้นฐาน ของการพัฒนา การกระทาใดที่มุ่งหวังให้มีการพฒั นา จะต้องอาศัยการประเมิน เพื่อปรบั ปรุงพฒั นาถูกต้อง ใน ชีวิตประจาวันเราต้องอาศัยการประเมิน และใช้ผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การประเมิน ช่วยให้ได้ข้อมูลในการพัฒนา ผู้ที่พัฒนาโดยอาศัยการประเมินจะสามารถพัฒนาได้ถูกต้อง รวดเร็ว แต่ถ้าจะ พัฒนาโดยไม่อาศัยการประเมินจะเป็นการเส่ียง ไม่แน่ใจว่าจะพัฒนาให้ได้ถูกต้องหรือไม่ในการประชุมสัมนา ต่าง ๆ เรามักจะพบวา่ ผทู้ ่ีจัดอบรมสมั นา จัดให้ผู้ทีเ่ ข้าอบรมสมั นาตอบแบบสอบถามความคิดเหน็ ในด้านตา่ ง ๆ เช่น สถานท่ี เอกสารประกอบ วิทยากร สิ่งอานวยความสะดวก และการบริการต่าง ๆ ว่ามีความเหมาะสม มากน้อยเพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขอะไร ข้อมูลในการอบรมสัมมนาดีไม่ดีเรื่องใด เพ่ือประโยชน์ในการ ปรบั ปรุงแกไ้ ขใหด้ ีขนึ้ กว่าเดิม สภาพปญั หาเกีย่ วกบั การประเมินในสถานศึกษา สานักงานรบั รองมาตรฐานและประเมนคุณภาพการศึกษา (องคก์ ารมหาชน) (2547) การประเมนิ เป็น กิจกรรมสาคัญอย่างหนึ่งในวงการประกันคุณภาพการศึกษา และหวังว่าจะสามารถนาผลการประเมินไปใช้ใน การพัฒนาต่อไป แต่ในทางปฎิบัติรู้สึกว่าจะประสบปัญหาโดยเฉพาะในสถานศึกษาที่เป็นหน่วยปฎิบัติในการ ประกันคุณภาพภายใน พบว่า มีความสับสนกับบริบทในการประเมินคุณภาพมาก ปัญหาเกี่ยวกับการประเมิน สถานศกึ ษาดงั กล่าวเป็นข้อ ๆ ดงั นี้
167 1. ความเชื่อพ้ืนฐานท่ีไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมิน เน่ืองจากบุคลากรในสถานศึกษาบางคน บาง กลุ่ม ยังเข้าใจว่าการประเมินว่าเป็นการตรวจสอบ ของหน่วยงานที่มีอานาจหรือผู้บังคับบัญชา เพื่อวินิจฉัย ตัดสินใจใหค้ ุณให้โทษตอ่ ผปู้ ฎบิ ัตหิ รือผู้ท่อี ยูภ่ ายใต้บังคับบญั ชาจงึ ทาให้ผู้ปฏิบัติเกิดความวิตกกงั วล เครียด เม่ือ จะมีการประเมินหรือถูกประเมิน ดังน้ันจะมีวิธีการไหนก็ตามที่จะทาให้ผู้ประเมินตัดสินใจในการประเมิน เพ่ือให้ได้มาซ่ึงประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง ก็ทาทุกอย่างแม้จะไม่ใชว่ ิธกี ารที่ถูกตอ้ ง หรือข้อมูลสอดคลอ้ ง กับความเป็นจริงที่เกิดข้ึนก็ตาม สถานศึกษาท่ีมีความเช่ือเช่นนี้ก็จะพยายามจดั ฉากให้ทุกส่ิงทุกอยา่ งดูดี แม้ว่า ผลทไ่ี ดก้ ารประเมินจะไมเ่ กิดผลในการพฒั นากต็ าม 2. ความเชื่อที่ถูกต้องของการประเมิน คือ การค้นหาความจริงเพื่อนาผลไปใช้ในการพัฒนา เม่ือใดมี การประเมินก็จะได้ความจริงเม่ือนั้น และเม่ือทราบความจริงแล้วก็ได้ใช้ความจริงน้ัน เป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการ ปรับปรุงแก้ไขและนาไปพัฒนาต่อไป ถ้ามีส่วนไหนท่ียังบกพร่อง ผลการประเมินก็บอกว่าบกพร่อง และผู้ ประเมนิ กจ็ ะไดป้ รกึ ษาหารือเพ่ือใหเ้ กดิ ประโยชนต์ ่อผู้ถกู ประเมนิ ในการแสวงหาแนวทางการปรบั ปรุง แกไ้ ข สง่ิ ยง่ิ บกพร่องเหล่าน้นั ทาให้สามารถแกไ้ ขสิง่ ที่บกพรอ่ งดีขน้ึ ได้ในที่สดุ 3. ผู้ประเมินยังประเมินไม่ถูก ปัญหาน้ีส่วนใหญ่เป็นเรื่องการประเมินภายในของสถานศึกษาท่ีมุ่งหวัง ให้บคุ ลากรได้ประเมินผลการปฏิบตั ิงาน เพอ่ื ปรับปรุงพัฒนางาน โดยสถานศึกษามอบหมายให้มีกลุ่มหรือคณะ บุคคล เป็นผู้ทาหน้าท่ีประเมินการปฏิบัติงานโครงการต่าง ๆ แต่ผู้ทาหน้าที่ประเมินยังทาไม่ถูกต้องตามหลัก ของการประเมินเพราะไม่เข้าใจว่าการประเมินคืออะไร ไม่ทราบว่าผลการประเมินวัดได้มาอย่างไร เกณฑ์ กาหนดมาจากไหน ซึ่งหากไม่เข้าใจหลักการประเมินดังกล่าว ผู้ประเมินก็ประเมินได้ข้อมูลไม่สอดคล้องกับ ความตอ้ งการ หรือประเมนิ นั้นผลท่ีได้อาจไม่ตรงตามความเปน็ จริงที่เป็นอยู่ เชน่ ผปู้ ระเมินอาจตัดสนิ คุณภาพ การปฏิบัติงานว่าดี ไม่ดี ไม่เหมาะสม จากประสบการณ์หรือความรู้สึกของผปู้ ระเมินเองไม่ไดต้ ัดสินบนพ้ืนฐาน ของข้อมูลที่ปรากฏข้ึนจริงหรือการปฏิบัติหน้าที่จริง ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ แถมบางคร้ังอาจจะเป็นโทษเกิด โต้แย้งหรือทะเลาะวิวาทกับผู้ถูกประเมินก็ได้ ในส่วนของการตรวจวัด เพื่อทราบขนาด หรือปริมาณของส่ิงท่ี เราจะประเมิน คงมีวิธีการหลากหลายตามที่แต่ละสถานศึกษากาหนด แต่ส่ิงท่ีสาคัญก็คือไม่ว่าจะตรวจวัดโดย วิธไี หน จะต้องไดข้ ้อมลู ที่ถกู ต้อง ยุตธิ รรม ไม่ลาเอยี ง หรือขึ้นอย่กู ับอารมณ์ของผตู้ รวจวดั ไมเ่ ช่นน้นั แล้วก็จะได้ ขอ้ มลู ทเ่ี บ่ียงเบนไปจากความเป็นจริง ผู้ประเมนิ จะต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาวา่ การประเมินที่ถูกต้อง มาจาก เกณฑ์การประเมินท่ีแน่นอน และผลจากการวัดที่ยุติธรรม หากข้อมูลทั้งสองส่วนไม่สมบูรณ์ ผลการประเมินก็ ไมถ่ ูกตอ้ ง ๆ ไม่สามารถนามาใชป้ ระโยชนไ์ ด้ 4. ผู้ถูกประเมินไม่กล้ายอมรับความจริง เน่ืองจากในการประเมินแต่ละครั้งจะต้องปรากฏผลไม่ ทางบวกก็ทางลบ ถ้าเป็นในทางบวก คือ ดี มีคุณภาพ มีความเหมาะสม ถ้าเป็นไปในทางลบก็ตรงกันข้าม คือ ไมด่ ี ไมม่ ีคุณภาพ ยังไม่เหมาะสม ผู้ถูกประเมนิ บางคนยอมรับไดแ้ ค่ผลประเมินทางบวก แต่ถ้าเปน็ ผลในทางลบ จะยอมรับไม่ได้ เรื่องไหนประเมนิ แลว้ ว่าไม่ดี ผู้ถูกประเมินไม่พอใจผู้ประเมิน และอาจกล่าวหาวา่ ผปู้ ระเมนิ ไม่มี ความยุติธรรม ไม่มีความเป็นธรรม ไม่ถูกต้อง ประเมินไม่ตรงตามความเป็นจริง ฯลฯ ข้อมูลจากการประเมินก็ ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง จะนาไปใช้เพื่อปรับปรุงเพื่อพัฒนาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์ เพราะแก้ได้ไม่ตรงจุ ด คลาดเคล่ือนจากสภาพความเป็นจริง หน่วยงานต่าง ๆ ในสังคมไทย ยังให้เกียรติและให้ความเคารพนับถือผู้
168 อาวุโสหรือผู้บังคับบัญชา ในกรณีท่ีผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินหัวหน้า หรือผู้บังคับบัญชาของตนเองก็จะ หลีกเล่ยี งผลการประเมินเปน็ ทางลบ พยายามพูดแตส่ ่ิงทีด่ ี สิ่งที่ควรยกยอ่ งสรรเสริญทั้ง ๆ ทคี่ วามเปน็ จรงิ แล้ว ไม่ได้เป็นเช่นน้ัน เพราะเข้าใจธรรมชาติของคนที่ชอบฟังคนยกยอ่ ง ชมเชย มากกว่าการตาหนิ การประเมินใน หน่วยงานน้ันคงได้เพียงรูปแบบ แต่ไม่สามารถนาผลมาใช้ประโยชน์ได้ หน่วยงานที่หวังจะใช้ผลการประเมิน เพ่ือการปรับปรุงพัฒนาต่อไปก็ต้องให้บุคลากรในหน่วยงานทุกคนยอมรับผลการประเมินไม่ว่าจะเป็นไปใน ทางบวกหรอื ลบ ขอแคใ่ หเ้ ป็นความจริงทส่ี ามารถเป็นข้อมูลที่ถูกต้องเพ่ือการปรบั ปรุงแก้ไข การปรบั ปรงุ แก้ไข โดยอาศัยผลการประเมินท่ีไมค่ ลาดเคล่ือนไสอดคล้องตามความเป็นจริง และไมเ่ หน็ แกห่ นา้ หรือเกรงอกเกรงใจ ผูป้ ระเมนิ สถาบนั การศกึ ษาน้นั ก็จะสามารถพฒั นาได้อยา่ งแน่นอน 5. นาผลการประเมินมาใชไ้ ม่ค้มุ ค่า การประเมนิ แตล่ ะครัง้ จะตอ้ งส้นิ เปลืองทรัพยากร ท้งั คน เงิน เวลา และผลกระทบตอ่ การดาเนนิ งานต่าง ๆ ในสถานศกึ ษา เพ่ือหวงั ท่จี ะนาผลการประเมินน้ันไปใชป้ ระโยชน์ต่อไป แต่ในหน่วยงานที่มีการประเมินยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากผลการประเมินให้คุ้มค่า ให้สมกับที่ได้ลงทุนลงแรงไป การที่สถานศึกษาไม่ได้ผลจากการประเมินใช้ เน่ืองจากขึ้นอยู่กับนโยบายของหัวหน้างานท่ีไม่ได้สั่งการ หรือ มอบหมายใหบ้ คุ ลากรนาผลไปใช้อย่างต่อเนื่อง เพราะเน้อื หาสาระทีบ่ ุคลากรทาการประเมนิ ไมส่ อดคล้องกับที่ ปฏิบัติอยู่จริง ๆ ในสถานศึกษา ผู้ประเมินมีการปรับปรุงเพียงแต่ให้มีวิธีการประเมินและมีเคร่ืองมือให้ ครบถ้วน มีเอกสารสมบูรณ์ เพ่ือสามารถนาเสนอต่อผู้มาตรวจสอบได้ทราบ โดยท่ีข้อมูลตามเอกสารเหล่าน้ัน ไม่สอดคล้องกบั ทบี่ ุคลากรไดป้ ฏิบัตจิ ริงในสถานศึกษา เมือ่ ผลเป็นเช่นนี้ กค็ งนามาใช้ปรบั ปรงุ การปฏิบัติจริง ๆ และไม่เป็นผลดีต่อสถานศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับการประเมิน เป็นเร่ืองท่ีสถานศึกษาจะต้องทาความเข้าใจกับ บุคลากรทุกฝ่ายเพ่ือช่วยขจัดปัญหา ถ้าบุคลากรของสถานศึกษาตระหนักถึงความสาคัญของการประเมิน เข้าใจและสามารถปฏิบัติการประเมินได้ถูกต้อง กล้ายอมรับผลการประเมิน แม้ว่าบางส่ิงบางอย่างจะต้อง เป็นไปในทางลบ และสามารถใช้ผลการประเมินเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงงานได้จริง การประเมินก็เป็น เร่ืองคุ่มค่า มีประโยชน์และมีความสาคัญต่อการพัฒนาสถานศึกษาได้จริง ๆหากสถานศึกษาและบุคลากรใน สถานศึกษายอมรับในหลักการเก่ียวกับการประเมิน เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาจะต้องปรับปรุงพัฒนางานได้ อย่างต่อเนื่อง และถูกต้องโดยอาศัยการประเมิน เมื่อได้ผลจากการประเมินแล้วก็นาผลมาปรับแก้ในการ ทางานเมือ่ ทาไปได้ระยะหนง่ึ ทาเป็นวัฏจักรอยูเ่ ชน่ นีต้ ่อไปเรื่อย ๆ หากใหบ้ คุ ลากรได้ทากันทุกคน งานทงั้ หมด ในสถานศึกษากจ็ ะพัฒนาไปอยา่ งเปน็ ระบบตามจุดประสงคท์ ่ีต้องการ วธิ ที ี่ 1 การประเมินผลการปฏบิ ัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการนาผลการปฏิบัตงิ านพัฒนา โรงเรยี นเป็นปกติ มาสรุปเขยี นรายงานการประเมนิ ตนเอง สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมนคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2547) การประเมินผล การปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการศึกษาวิธีนี้ โรงเรียนไม่ต้องสร้างเครื่องมือวัด แต่ครูทุกคนในโรงเรียนต้อง ช่วยกันเกบ็ รวบรวมขอ้ มูลทไี่ ดจ้ ากการปฏิบตั งิ านท่โี รงเรยี นมอบหมายเปน็ ปกติ ให้สอดคล้องกบั ตวั บง่ ช้ี แลว้ มา สรุปรวมกันเป็นหมวดวิชา/งาน/ฝ่าย โดยให้สรุปจากความถ่ีมากท่ีสุด สาหรับข้อมูลตัวบ่งช้ีเดียวกัน แต่ได้มา จากหลายวิชา/หลายงาน แลว้ สรุปเขยี นรายงาน กระบวนการดาเนินงาน อาจจะมลี ักษณะ ดงั นี้
169 1. แตต่ ้ังคณะกรรมการประเมินคุณภาพการจัดการศกึ ษาภายในโรงเรียน ซง่ึ อาจจะประกอบดว้ ย รอง ผู้อานวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มการบริหาร หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้มีหน้าที่ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มการบริหาร/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน ตามตัวบ่งชี้ รายงานข้อบกพร่องที่ไม่เป็นไปตามระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนท่ีได้กาหนดไว้ ให้ ผบู้ ริหารทราบ เพ่อื การดาเนินการแก้ไขตอ่ ไป แล้วสรุปเขียนเป็นรายงานการประเมินตนเอง 2. แต่ละกลุ่มการบริหาร / กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน วิเคราะหผ์ ลการปฏิบตั ิงาน หรือผลการจดั การ เรียนการสอนทสี่ อดคล้องกับมาตรฐาน และตวั บง่ ช้ีของมาตรฐานการศึกษาระดบั การศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน 3. แต่ละกลุ่มการบริหาร /กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน ปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่ โรงเรียนมอบหมายอย่างเป็นปกติ (อาจจะปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงา นของโรงเรียน ถ้าโรงเรียนได้จัดทามาตรฐานการปฏิบัติงานไว้แล้ว พร้อมกับเก็บข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานเป็นปกติ แยก เปน็ มาตรฐาน และตัวบ่งชท้ี ่ไี ด้วเิ คราะห์ไวใ้ นข้นั ตอนท่ี 2 โดยเกบ็ ขอ้ มลู เปน็ ระดบั คุณภาพของการจดั การศึกษา ตามมาตรฐานการศกึ ษาของโรงเรียนทไี่ ด้กาหนดไว้ พร้อมเก็บหลักฐานการประเมนิ ไว้สาหรบั การตรวจสอบ 4. แต่ละกลุ่มการบริหาร/ กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในฝ่าย/ หมวด/งานเดียวกันมาสรุปเป็นคุณภาพการพัฒนาโรงเรียน โดยนาข้อมูลของผลการปฏิบัติงานที่เป็นตัวบ่งช้ี เดียวกันจากผูป้ ฏบิ ตั งิ าน มาสรุปให้เปน็ ผลสดุ ท้ายสาหรับตัวบ่งช้ีนัน้ ๆ โดยสรปุ จากความถงึ ของระดบั คุณภาพ ของตัวตัวบ่งช้ีน้ัน ถ้าความถ่ีของระดับคุณภาพใดมีมากที่สุดให้สรุปว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ตามตัวบ่งช้ีน้ัน เป็นไปตามระดับคุณภาพท่ีมีความถี่มากท่ีสุด บางตัวบ่งชี้ อาจจะต้องสรุปรวมจากหลายหมวด เพือ่ ตอบตวั บง่ ชี้ ซึง่ แลว้ แตด่ ุลพินจิ ของโรงเรียน 5. สรปุ คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรยี น จากขอ้ มลู ทเ่ี กบ็ รวบรวมไว้ 6. แกไ้ ขข้ อ้ บกพร่องของผลการจัดการศกึ ษาของโรงเรยี น (มาตรฐานและตวั บง่ ช้ี ทยี่ งั มคี ณุ ภาพไมเ่ ป็น ทน่ี ่าพอใจ) 7. สรปุ เขยี นรายงานการประเมินตนเอง วธิ ีท่ี 2 การประเมนิ ผลการปฏิบตั งิ านตามมาตรฐานการศกึ ษา โดยการสร้างเคร่ืองมือวดั สานกั งานรับรองมาตรฐานและประเมนคุณภาพการศึกษา (องคก์ ารมหาชน) (2547) การประเมินผล การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา วิธีน้ีสถานศึกษาต้องสร้างเคร่ืองมือวัดคุณภาพการจัดการศึกษา ของ โรงเรียนทุกตัวบ่งช้ี แล้วนามาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในระยะเวลาที่ต้องการทราบผล การจัดการศึกษาของสถานศึกษา วิธีนี้ สถานศึกษาอาจจะต้องทางานมาก คือ ต้องสร้างเคร่ืองมือประเมินทุก ตัวบ่งชี้ แล้วทาการประเมินคณุ ภาพทุกตวั บง่ ช้ี ซ่งึ ต้องใช้เวลา และต้องจดั การเก่ยี วกับเครื่องมือประเมนิ ให้เป็น ระบบ เช่น เครื่องมือประเมินท่ีเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของนักเรียน ต้องนามาเข้ากลุ่มรวมกันไว้หมด แล้วนามาประเมินนักเรียน เมื่อได้ผลการประเมินแล้ว ต้องนาคาตอบของนักเรียนมาแยกออกตามมาตรฐาน และตัวบ่งช้ี เพื่อการสรุปรายงาน เป็นต้น กระบวนการดาเนนิ งานอาจจะเป็น ดงั นี้
170 1. แต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเครอ่ื งมือเก็บรวบรวมข้อมลู 2. สรา้ งเครอ่ื งมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตามมาตรฐาน และตวั บ่งชี้ทกุ มาตรฐาน 3. แต่งตงั้ คณะกรรมการตรวจประเมินคณุ ภาพภายในสถานศกึ ษา ทปี่ ระกอบด้วยบุคลากรจากทุกฝ่าย ของโรงเรียน พร้อมทั้งมอบหมายให้ทาการตรวจประเมินข้ามฝา่ ยกัน เพื่อจะได้พบข้อบกพร่องของการทางาน ง่ายขน้ึ ซึง่ จะได้ชว่ ยกนั แกไ้ ขข้อบกพร่องนนั้ ต่อไป 4. อบรม/ทาความเข้าใจเก่ียวกับการปฏิบัติหน้าท่ีตรวจประเมินภายใน และทาความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐาน และตัวบง่ ช้คี ณุ ภาพการศึกษา และเคร่อื งมือที่ใช้ในการเกบ็ รวบรวมข้อมลู ตลอดจนการสรุปผลการ ประเมิน 5. โรงเรียนวางแผนกาหนดระยะเวลาในการประเมนิ คณุ ภาพของสถานศึกษาตลอดปี 6. กรรมการตรวจประเมินวางแผนกาหนดระยะเวลาในการทาการตรวจประเมินคุณภาพภายใน แต่ ละคร้งั แลว้ แจง้ ใหผ้ รู้ ับการตรวจประเมินทราบลว่ งหนา้ อย่างนอ้ ย 2 สัปดาห์ 7. คณะกรรมการตรวจประเมินเตรียมเอกสาร และเคร่ืองมือประเมินหลาย ๆ ตัวบ่งช้ีเข้าด้วยกัน สาหรับการถามบุคลากรแต่ละประเภท เช่น ควรตรวจสอบเคร่ืองมือประเมินที่ใช้กับนักเรียนท้ังหมด แล้ว ออกแบบว่าจะจัดทาก่ีฉบับ จะจัดพิมพ์อย่างไร จะดาเนินการอย่างไร เป็นต้น เพ่ือไม่ให้เกิดความราคาญแก่ ผู้ตอบแบบสอบถาม/ผู้รับการประเมิน ซึ่งถ้าทาการสอบถามบ่อย หรือสอบถามทุกวัน จะทาให้เกิดความ ราคาญและความเบอ่ื หนา่ ยของผู้ตอบ อนั จะทาให้ไดข้ อ้ มลู ทไ่ี ม่ตรงกับความเปน็ จรงิ 8. ดาเนินการตรวจประเมิน โดยใช้เคร่ืองมือประเมินท่ีสร้างข้ึนและเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่พบตาม เครื่องมอื ประเมนิ 9. สรปุ ผลการตรวจประเมิน 10. เขียนรายงานผลการประเมนิ ตนเอง 11. สง่ รายงานใหห้ น่วยงานตน้ สังกดั ผเู้ ก่ียวข้อง และสาธารณชน ตามความเหมาะสม คุณภาพผ้เู รยี นทสี่ งั คมปจั จุบันคาดหวัง สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2556). ได้ดาเนินการกาหนดยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ. 2556 – 2558.จากการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีผ่านมา สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ให้ ขอ้ เสนอแนะ วสิ ัยทัศน์ เก่ยี วกบั คนไทยยุคใหม่ในยุคของการปฏริ ูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ. 2552 - 2561) ที่ต้องการเห็นคนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและมีนิสัยใฝ่ เรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสามารถในการส่ือสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถทางานเป็นกลุ่ม ตลอดจนมีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสานกึ และความภาคภูมใจในความเปน็ ไทยยึดม่ันการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมขุ รังเกยี จการทุจริตและต่อต้านการซื้อสิทธ์ิขายเสียงและสามารถก้าวทันโลก เม่ือสรปุ รวมโดยย่อ คือ คนไทย ยุคใหม่ได้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีสติรู้ทัน มีปัญญารู้คิด มีสมรรถนะและมีคุณธรรม รับผิดชอบต่อครอบครัว
171 ประเทศชาติและเป็นพลเมืองดีของโลกโดยมุ่งปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเปน็ ระบบ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1)การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย 2)การเพ่ิมโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และ 3)การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมโดยเพ่ิม บทบาทของผู้ท่ีอยู่ภายนอกระบบการศึกษาร่วมบริหารและจัดการศึกษา ด้วยหลักการปฏิรูป การศึกษาใน ทศวรรษท่ีสองนีย้ ังคงสอดคล้องกบั เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศกึ ษาแห่งชาติโดยเฉพาะในหมวดที่ว่าด้วย การประกันคุณภาพการศึกษานอกจากนี้ รัฐบาลชุดปัจจุบันได้กาหนดกรอบแนวทางการปรับปรุงการศึกษาไว้ 4 ประการ นั่นคือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่โดยได้กาหนดเป้าหมาย ยทุ ธศาสตร์และตัวบง่ ชค้ี วามสาเรจ็ ไวด้ ังน้ี 1. การศึกษาไทยมคี ุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล 2. คนไทยใฝร่ ู้ : สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง 3. คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรม มีจิตสานึกและค่านิยมท่ีพึงประสงค์เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมีจิต สาธารณะมีวฒั นธรรมประชาธิปไตย 4. คนไทย คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการ แกป้ ัญหา มีความคิดริเรม่ิ สรา้ งสรรค์มีความสามารถในการส่ือสาร จากความเคล่ือนไหวของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน นอกจากสถานศึกษาจะมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้มี คณุ ลักษณะท่ีพงึ ประสงค์ สอดคลอ้ งกับความต้องการของชุมชน และสังคมในท้องถ่ินของตนแล้วสถานศึกษาจะต้อง ผนวกสิ่งท่ีผู้เรียนควรได้รับการพัฒนา และมีคุณภาพตามวิสัยทัศน์ท่ีสังคมในอนาคตควรจะเป็นด้วย เพื่อให้ผู้เรียน สามารถดารงชวี ติ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การกาหนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2554ข) ได้กามาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกาหนด เก่ียวกับคุณลักษณะ คุณภาพท่ีพึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อ ใช้เป็นหลกั ในการเทียบเคียงสาหรับการสง่ เสรมิ และกากบั ดูแลการตรวจสอบ การประเมินผล และการประกัน คุณภาพทางการศึกษามาตรฐานการศึกษาท่ีมีอยู่ในปัจจุบันมีหลายระดับ เช่น มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน มาตรฐานการศึกษาปฐม มาตรฐานการศึกษาของเขตพืน้ ท่ีการศึกษา มาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา อีกทั้ง ยังมีการกาหนดมาตรฐานขึ้นหลายประเภท เช่น มาตรฐานการแนะแนว มาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาตรฐานลูกเสือและเนตรนารี มาตรฐานการบริหาร และการจัด การศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน เป็นต้น แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะเห็นว่ามาตรฐานทั้งหลายนั้นมี วตั ถุประสงค์เฉพาะและมเี ป้าหมายคือ คุณภาพผูเ้ รยี นเปน็ สาคัญทั้งน้ัน ตามกฎกระทรวงได้กาหนดไว้ว่า การกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษานั้นต้องกาหนดให้ สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาข้ัน พื้นฐาน ตามท่ีกระทรวงศึกษาธิการกาหนดและต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมท้ัง
172 คานึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถ่ินด้วย ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาของ ชาติ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานรวมทั้งระดับปฐมวัย มาตรฐานของสานักงานเขตพ้ืนที่ การศึกษา มาตรฐานคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรของสถานศึกษา นโยบายของหน่วยงานส่วนกลาง คุณลักษณะ พิเศษของผู้เรยี นท่ีสถานศึกษา ทอ้ งถ่นิ และชมุ ชนคาดหวัง เชน่ ความมสี านึกรกั บา้ นเกดิ การเปน็ ยวุ เกษตรกร การ อนุรักษ์อาชีพท้องถ่ิน/พื้นบ้าน การมีทักษะในอาชีพ (อาชีพใดอาชีพหนึ่ง) ความสามารถเฉพาะทางด้านใดด้าน หนึง่ เปน็ ตน้ นามาสงั เคราะหห์ ลอมรวมกาหนดเป็นมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา อยา่ งไรกต็ ามสถานศึกษา ต้องพึงตระหนักเสมอว่า มาตรฐานที่เก่ียวกับคุณภาพผู้เรียน เป็นเป้าหมายสูงสุดในการจัดการศึกษา ของ สถานศกึ ษา มาตรฐานการศกึ ษา ระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน มาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการศึกษา มาตรฐานหนว่ ยงานต้น ของชาติ ของสถานศกึ ษา สังกดั (เนน้ ที่คุณภาพผเู้ รยี น) มาตรฐานคุณภาพ ความตอ้ งการ ผเู้ รยี นตามหลกั สูตร และบริบทของ สถานศึกษา สถานศกึ ษา เอกลักษณ์ ความตอ้ งการ ของสถานศกึ ษา ของชุมชน และท้องถนิ่ ภาพที่ 6.1 ตัวแปรท่สี มั พันธ์และเชอื่ มโยงสมู่ าตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา ที่มา : สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน (2554) มาตรฐานการศึกษาทีส่ ถานศกึ ษากาหนดข้นึ นน้ั ควรมีการระบุตัวช้ีวัดทีเ่ ป็นองค์ประกอบของมาตรฐาน น้ัน ๆ ให้ชัดเจนเพ่ือให้เกิดความสะดวกและความเข้าใจตรงกันในการวัดและประเมินและการสื่อสารกับ ผู้เก่ียวข้องในการกาหนดมาตรฐานนน้ั ควรประกอบด้วยผ้มู ีสว่ นได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แห่งนั้น ๆ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และคณาจารย์ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นาชุมชน นักปราชญ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัย/แหลง่ ความรู้ใกล้เคียง เจ้าของกิจการ/สถานประกอบการในชุมชน บุคคลท่ีเกี่ยวข้องเหล่าน้ี ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีส่วนร่วมในการกาหนดคุณภาพผู้เรยี น เม่ือทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันในคุณภาพ ผู้เรียนตามมาตรฐานที่ร่วมกันกาหนด จึงมีความเต็มใจและยินดีที่จะผลักดัน สนับสนุนและทางานร่วมกับ สถานศกึ ษาใหพ้ ัฒนาไปสู่เปา้ หมายไดใ้ นเวลาอนั รวดเร็วและย่ังยนื
173 การจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา สานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน (2554) ไดด้ าเนนิ การจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เป็นเอกสารที่แสดงโครงการ กิจกรรม วธิ กี ารที่ได้ ผ่านการคิดมาแลว้ ลว่ งหน้า โดยผู้มสี ว่ นเกย่ี วขอ้ งทุกฝ่ายรว่ มกันคิดและพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ สาหรบั เป็น เครื่องช้ีนาการดาเนินการใด ๆ ท่ีสอดรับกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ การวางแผนมักมีการกาหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมายและกรอบเวลาของการดาเนินการตามแผนอย่างชัดเจน ในสถานศึกษาต้องมีการจัดทา แผน 2 ประเภท คือ 1. แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งเป็นแผนที่มรี อบระยะเวลาการพฒั นาที่มุ่งคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อาจเป็นแผน 3 ปี แผน 4 ปี หรือแผน 5 ปี แล้วแต่ความเหมาะสม ตามบรบิ ทของสถานศึกษา แผนประเภทนี้จะสะท้อนกระบวนการวางแผนเชงิ กลยุทธ์ทจี่ ะใช้ในการพฒั นาหรือ ปรับปรงุ เพือ่ นาไปสูเ่ ป้าหมาย ไดค้ ณุ ภาพตามมาตรฐานที่วางไว้ (Strategic Plan / Improvement Plan) 2. แผนปฏิบัติการประจาปี (Action Plan / Operation plan) ซึ่งแตกออกมาจากแผนพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อการดาเนินงานเป็นรายปี แผนปฏิบัติการประจาปีแต่ละปีควรมี จุดเน้นที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมนอกจากความชัดเจนในการดาเนินกิจกรรมตามกรอบเวลา สถานที่ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบแล้ว สถานศึกษาต้องกาหนดกิจกรรมการติดตามตรวจสอบการดาเนินงาน ความก้าวหนา้ ของการ ดาเนินงาน การปรับปรุงแก้ไขเพ่ือให้การดาเนินงานมีประสิทธิภาพ ราบร่ืน คล่องตัว มีการประเมินตนเอง อัน นาไปสู่การได้ข้อมูลสารสนเทศเพ่ือนาไปเขียนรายงานประจาปีท่ีเป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในของ สถานศกึ ษาต่อไป การจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต้องผ่านการคิด และวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มาแลว้ อย่างรอบด้าน และรอบคอบโดยอาจใชว้ ิธี SWOT Analysis Balanced Scorecard หรอื วิธกี ารอื่น ๆ ท่ีสถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสมสาหรับเป็นเข็มทิศชี้นาการดาเนินงานตามกลยุทธ์เพื่อนาไปสู่การบรรลุตา ม วิสัยทัศน์ และมาตรฐานการศึกษาท่ีสถานศึกษาวางเป้าหมายไว้ส่วนการจดั ทาแผนปฏิบัติการประจาปีจะมีการ ระบุวตั ถุประสงค์ เปา้ หมาย การจดั สรรทรพั ยากร และกรอบเวลาของการดาเนนิ งานตามแผนอยา่ งชัดเจน ในการจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาสามารถตรวจสอบตนเองไดว้ ่าเป็น แผนพฒั นาที่มีคณุ ภาพหรือไม่โดยพิจารณาจากประเด็นที่กฎกระทรวงกาหนดให้ต้องดาเนนิ การ ดงั นี้ 1. ศกึ ษาสภาพปญั หาและความต้องการท่จี าเปน็ ของสถานศกึ ษาอยา่ งเป็นระบบ 2. กาหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสาเร็จของการพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและเป็น รปู ธรรม 3. กาหนดวิธีดาเนินงานท่ีมีหลักวิชา ผลการวิจัยหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพฒั นาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพอ่ื นาไปส่มู าตรฐานการศึกษาท่กี าหนดไว้
174 4. กาหนดแหล่งวทิ ยาการภายนอกท่ใี ห้การสนับสนนุ ทางวชิ าการ 5. กาหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและดาเนินงานตามที่ กาหนดไว้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ 6. กาหนดบทบาทหน้าทแ่ี ละแนวทางการมีส่วนรว่ มของบิดา มารดา ผู้ปกครอง และองคก์ รชุมชน 7. กาหนดการใชง้ บประมาณและทรพั ยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาอย่างต่อเนือ่ ง สานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน (2554) ได้มกี ารพัฒนาคุณภาพการศึกษาอยา่ งต่อเน่ือง กล่าว คือ ความย่ังยืนของการดาเนินโครงการ/กิจกรรมตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มี การปรับเปลี่ยนในทางท่ีดีขึ้นอย่างสม่าเสมอมีการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายใน ผลการตรวจสอบคุณภาพ ผลประเมินอื่น ๆ ท่ีเกี่ยวข้องมาเป็นฐานวางแผนพัฒนาทุกระยะ หรือทุกรอบการพัฒนากระบวนการพัฒนา คุณภาพการศึกษานั้น สถานศึกษาต้องยึดคุณภาพท่ีสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐาน การศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเองจัดระบบและ โครงสร้างท่ีเหมาะสม วางแผนและดาเนินงานตามแผนด้วยจิตสานึกท่ีว่า “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็น ภาระงานปกติที่ทกุ คนจะต้องรับผิดชอบผลทเี่ กิดขึ้นรว่ มกัน การดาเนนิ งานมีความกา้ วหนา้ อยา่ งตอ่ เนื่อง สง่ ผล ถึงคณุ ภาพผู้เรียนท้ังสถานศึกษา” การทาให้คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเน่ืองนั้น สถานศึกษาควรคานึง ถึงส่ิง ต่อไปนี้ 1. สร้างจิตสานึก การพัฒนาให้เกิดข้ึนกับครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา โดยถือว่าการพัฒนา ระบบประกันคุณภายในสถานศึกษา เป็นวฒั นธรรมการทางานปกติของสถานศึกษา 2. กาหนดมาตรฐานการศึกษาที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างเด่นชัด เพ่ือสร้างความรู้สึก เป็นเจ้าของสถานศึกษาร่วมกัน จัดระบบและโครงสร้างท่ีเหมาะสม วางแผนและดาเนินงานตามแผนโดยเน้น ระบบคุณภาพ มีการติดตาม และประเมินผลการดาเนินงาน ตามรอบระยะเวลาที่เหมาะสมและปฏิบัติอย่าง ตอ่ เนือ่ ง 3. นาผลประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมินตนเองหรือจากหน่วยงานต้นสังกดั ไปใช้ในการปรบั ปรุง และพัฒนาคุณภาพการศกึ ษา โดยมีการใช้ข้อมลู และสารสนเทศอยา่ งชาญฉลาด 4. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยครูและบุคลากร ทุกคนในสถานศึกษา ต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ รู้จักพัฒนาตนเอง ใฝ่เรียนรู้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และแบ่งปันความรู้ตลอดเวลา เกิดทีมผู้เช่ียวชาญในเรื่องต่าง ๆ อย่างหลากหลายจนได้รับการยอมรับ จากผู้เก่ียวข้อง มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์การอื่น ๆ มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ สถานศึกษาจดั ทาขน้ึ
175 บทบาทหน้าที่ และภารกจิ สาคญั ของหนว่ ยงานทเี่ ก่ยี วข้อง ดังได้กล่าวแล้วว่าการดาเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา เก่ียวข้องกับ บุคลากรทุกคน ทุกฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ตลอดท้ังสถานศึกษาต้องพร้อมรับการประเมิน ภายนอกด้วย ดังน้ัน สถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างย่ิง หน่วยงานต้นสังกัด สานักงานเขต พื้นท่กี ารศกึ ษา มีบทบาทหนา้ ท่ีและภารกจิ สาคญั ทต่ี อ้ งดาเนนิ การเพ่ือพฒั นาคุณภาพการศกึ ษา ดังนี้ เพ่ือให้การดาเนินงานตามภารกิจข้างต้นของหน่วยงานต้นสังกัดสานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและ สถานศึกษาขับเคล่ือนไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปล่ียนแปลงของสภาพสังคมในอนาคตรวมท้ังมีการ พัฒนาสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาย่ิงขึ้นบุคลากรของหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาควรมี บทบาทหน้าที่และภารกิจสาคัญในการกาเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มี รายละเอยี ด ดังนี้ สถานศกึ ษา หน่วยงานตน้ สงั กัด/ สานกั งานเขตพื้นทกี่ ารศกึ ษา 1) ดาเนินการประกนั คุณภาพภายในอย่างต่อเนอื่ ง สานักงานเขตพืน้ ทกี่ ารศกึ ษา เป็นประจาทุกปโี ดยปฏิบตั ิตามแนวทางที่ 1) สร้างความตระหนัก ความเชอื่ และความเขา้ ใจที่ กฎกระทรวงกาหนด ถูกตอ้ งเก่ยี วกบั การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา 2) จดั ทารายงานประจาปที ่เี ปน็ รายงานประเมิน 2) ร่วมดาเนนิ การวางระบบประกนั คณุ ภาพภายใน คณุ ภาพภายในเสนอตอ่ คณะกรรมการสถานศกึ ษา ของสถานศกึ ษาให้เขม้ แข็ง หน่วยงาน ต้นสงั กดั และหนว่ ยงานที่เกยี่ วขอ้ ง 3) นิเทศ กากบั ดแู ลและส่งเสรมิ ใหร้ ะบบการ 3) นาผลการประเมนิ คณุ ภาพทงั้ ภายในและ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาดาเนินไปอย่าง ภายนอกและผลการประเมินอื่น ๆ ที่เก่ยี วข้องไป ต่อเนอ่ื ง ประกอบการจัดทาแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของ 4) ศกึ ษา วเิ คราะห์ วจิ ัย กิจกรรม/รูปแบบและ สถานศกึ ษา เทคนคิ วธิ ีการประกนั คุณภาพภายในท่มี ี 4) ประกาศมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษาให้ ประสทิ ธภิ าพโดยพัฒนาจากสถานศึกษาต้นแบบ สาธารณชนรับทราบ เพ่อื ร่วมกันพัฒนาสถานศกึ ษา และขยายผลไปยังสถานศึกษาแห่งอน่ื ท่ีมบี รบิ ท 5) จดั ทาแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของ เดยี วกนั ต่อไป สถานศกึ ษาและดาเนนิ งานตามแผนโดยใช้หลกั การ 5) ดาเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพ มีส่วนรว่ มอย่างจรงิ จัง การศกึ ษาของสถานศึกษาแต่ละแหง่ อยา่ งน้อย 6) บรหิ ารจัดการทรัพยากรใชอ้ ยา่ งคุม้ ค่าและ หนึ่งคร้งั ในทุกสามปี และแจ้งผลให้สถานศึกษา แสวงหาเพิม่ เติมอยา่ งพอเหมาะ ทราบรายงานผลให้สาธารณชนรบั ทราบเพื่อ 7) กรณผี ลการจดั การศกึ ษาของสถานศกึ ษาไดไ้ ม่ รว่ มมือกันพฒั นาให้กา้ วหน้าต่อไป ผา่ นเกณฑม์ าตรฐาน สถานศึกษาต้องจดั ทา
176 สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกดั / สานักงานเขตพนื้ ที่การศกึ ษา แผนพัฒนาคุณภาพและเสนอ สมศ.ภายใน 30 วัน หน่วยงานตน้ สงั กัด นับแต่วันท่ไี ด้รบั แจ้งผลการประเมิน 1) จัดทาแนวทาง/คมู่ ือการดาเนนิ งานการ ประกนั คุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวง เพ่อื ใหก้ ารดาเนนิ งานเปน็ ไปในทิศทางเดียวกนั 2) จัดสรรทรัพยากร ท้งั งบประมาณ บุคลากร สิ่งอานวยความสะดวกท่เี ปน็ ความจาเปน็ พน้ื ฐานใหแ้ กส่ ถานศึกษา 3) ตดิ ตามตรวจสอบการพฒั นาคุณภาพการจัด การศึกษาของสถานศกึ ษาทุกปี 4) ศึกษา วิเคราะห์ วจิ ัยและพัฒนานวตั กรรมท่ี เกย่ี วขอ้ งกบั การพฒั นาคุณภาพสถานศึกษา ศึกษาวิจยั สถานศึกษาท่จี ดั การศึกษาได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพและถอดประสบการณ์เผยแพร่แก่ สถานศึกษาโดยทั่วไป 5) ประกาศผ่อนผนั การปฏบิ ตั ิและวางแนวทาง ในการประกนั คุณภาพภายในใหก้ ับสถานศึกษา กรณีทเ่ี ขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาแจ้งว่าสถานศกึ ษา แหง่ น้ัน ไม่สามารถปฏบิ ัตงิ านบางประการ ตาม แนวปฏบิ ัตทิ ี่กาหนดไว้ในกฎกระทรวงได้ ตารางท่ี 4.1 บทบาทหนา้ ท่ี และภารกจิ สาคัญของหน่วยงานท่เี กย่ี วข้อง ท่ีมา : สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน, (2554) เพื่อให้การดาเนินงานตามภารกิจข้างต้นของหน่วยงานต้นสังกัด สานักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและ สถานศึกษาขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในอนาคตรวมท้ังมีการ พัฒนาสอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษายิ่งข้ึน บุคลากรของหน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาควรมี บทบาทหน้าที่และภารกิจสาคัญในการดาเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มี รายละเอียด ดังน้ี
177 บุคลากรระดบั สถานศึกษา 1. ผูบ้ ริหารสถานศกึ ษา และคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 1.1 เตรยี มความพร้อม - ศึกษาแนวคิด ระเบียบ กฎหมายท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ แนวคิดของการประกันคุณภาพการศึกษา พระราชบญั ญตั ิการศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ.2542 และทีแ่ ก้ไขเพ่มิ เติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 4 และหมวด 6 กฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา (ฉบับปี พ.ศ.2546 และฉบับปี พ.ศ.2553 ) มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการศึกษาข้ันพ้ืนฐานมาตรฐานเพ่ือการประเมิน คณุ ภาพภายนอกและมาตรฐานการศึกษาระดบั เขตพื้นที่การศึกษา - สร้างความตระหนักและจิตสานึกแก่บุคลากรให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม คุณภาพในการ ปฏิบัตงิ าน เพือ่ การพฒั นาการจดั การศึกษาอยา่ งยั่งยืน เปน็ ผลให้คุณภาพผเู้ รยี นมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นโดย ลาดับ - ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากรในสถานศึกษามีการเพ่ิมพูนความรู้ความสามารถ มีขวัญกาลังใจในการ ปฏบิ ัตหิ นา้ ทพ่ี ัฒนางานตามระบบประกันคณุ ภาพภายในอย่างมคี ุณภาพเป็นไปตามระยะเวลาทีก่ าหนด - กาหนดนโยบาย โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในสังกัดและมอบหมายงานให้มีผู้รับผิดชอบ ชดั เจนตรงตามความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความถนดั และความสนใจ - กาหนดเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา และตัวบ่งชี้ระดับสถานศึกษาโดยนาข้อมูลและ สารสนเทศที่ไดจ้ ัดทาไว้รวมท้ังข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบทผ่ี ่านมา ผลการประเมิน คุณภาพภายใน ผลการทดสอบระดับชาติและผลการประเมินที่เก่ียวข้อง มาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วจึง จัดทาแผนงาน/โครงการให้สอดคลอ้ งกับเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาและตัวบง่ ช้ีท่ีกาหนดไว้ - กรณีสถานศึกษาขนาดใหญ่หรือขนาดกลางควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดบั สถานศึกษา มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน โดยให้หลายฝ่ายมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ผู้แทน นกั เรียน คณะกรรมการสถานศกึ ษา องคก์ ารภาครัฐและภาคเอกชนในทอ้ งถ่นิ รองผู้อานวยการสถานศกึ ษา ครผู ู้สอน ทุกระดับการศึกษา โดยมีจานวนตามที่เห็นสมควรส่วนสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อยมากอาจไม่จาเป็นตอ้ ง ตง้ั คณะกรรมการประกันคุณภาพภายใน แตค่ วรแต่งตั้งคณะทางานในภาพรวมของสถานศึกษา ทีก่ าหนดภาระหน้าท่ี ทแี่ ต่ละคน ตอ้ งรับผิดชอบงานท่ีชดั เจนซ่งึ หมายรวมถงึ งานประกนั คณุ ภาพภายในด้วย - จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ การดาเนินงานท่สี อดรบั ตามเปา้ หมายและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา และระบบการประกันคณุ ภาพภายใน โดยจัดใหม้ ขี ้อมูลย้อนหลังไม่นอ้ ยกวา่ 3 ปี เพ่อื เห็นแนวโนม้ ความก้าวหน้าในการพัฒนาสถานศึกษา ได้แก่ สภาพการดาเนินงานด้านบริหาร ผลการตรวจสอบคุณภาพ การศึกษารายปีของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา รอบแรกและรอบที่ 2 รวมท้ังข้อเสนอแนะจากการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบการประเมินที่ผ่านมาข้อมูลนักเรียนที่จาเป็น สาหรับการวางแผน เช่น ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนรายบุคคล ห้องเรียน ระดับช้ัน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ผลการ เรียนเฉลี่ยรายปีในภาพรวมของสถานศึกษา เพ่ือเทียบเคียงกับผลการประเมินระดับชาติ ข้อมูลด้านสุขภาพ กาย สุขภาพจติ คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ของผเู้ รียนรายช้นั / รายปี จานวนนกั เรยี นลาออกกลางคัน นักเรียน
178 ท่มี พี ฤตกิ รรมเสย่ี ง นกั เรียนที่มคี วามสามารถพเิ ศษ นักเรยี นทม่ี ภี าวะผ้นู า เปน็ ตน้ ข้อมลู เกี่ยวกับครผู ้สู อน เชน่ จานวนครูจาแนกตามวุฒิการศึกษา สัดส่วนครูต่อผู้เรียน สัดส่วนครูต่อนักเรียนใน 1 ห้องเรียน เป็นต้น ตลอดจนจัดเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น ข้อมูลด้านงบประมาณ ทั้งน้ี เพ่ือสร้างเป็นข้อมูล พ้ืนฐาน (Baseline Data) และเปน็ จดุ เรม่ิ ของการพฒั นาคณุ ภาพอย่างเปน็ ระบบต่อไป 1.2 ดาเนินการ - จัดทาคู่มือ/แนวดาเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพระดับสถานศึกษา โดยให้บุคลากรหลาย ฝ่ายในสถานศึกษามีส่วนร่วมดาเนินการ ซ่ึงช่วยให้การดาเนินงานมีลักษณะการมีส่วนร่วมท่ัวท้ังองค์กร (School wide) และเป็นหลักฐานแสดงถึงความตระหนัก และความพยายามของสถานศึกษาท่ีเด่นชัดข้ึนและ นาสกู่ ารปฏิบตั ิอย่างเป็นรูปธรรม สาหรับสถานศึกษาขนาดเล็กอาจจัดทาแนวทางดาเนินงานอย่างย่อก็ได้ - ปฏิบัตติ ามแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่กาหนดอย่างเป็นระบบ 1.3 ประเมินผล - นิเทศ ติดตามตรวจสอบให้บุคลากรในสถานศึกษาดาเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายใน อยา่ งเขม้ แข็ง ปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง เป็นระบบสมั พันธ์กนั ทกุ ฝา่ ยใช้แผนงาน/ โครงการเป็นเข็มทิศในการ ปฏิบัติงานจริงใช้ข้อมูลและสารสนเทศ ผลการประเมินภายในและภายนอกเพ่ือประโยชน์ในการพัฒนาและ เพ่อื การจัดทารายงานประจาปี - ประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาทุกด้านทุกปี ท้ังด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้าน ผู้เรียน ใหค้ รบถ้วนตามมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาทกุ ระดบั ทโ่ี รงเรยี นจดั การศึกษา - นาผลการติดตามตรวจสอบมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาแล้วประมวลผล เป็นข้อมูลและ สารสนเทศในการจดั ทาเป็นรายงานประจาปีต่อไป 1.4 พฒั นาและปรับปรงุ - ประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ผลงานให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและ หนว่ ยงานท่เี กย่ี วข้องรับทราบรว่ มช่นื ชมผลงาน - นาผลไปวางแผนพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาให้ต่อเนื่องเป็นระบบต่อไป 2. ครู 2.1 เตรยี มความพรอ้ ม - ศึกษาแนวคิด ระเบียบ กฎหมายท่ีเกี่ยวข้อง เช่น เดียวกับผู้บริหารสถานศึกษาทาความเข้าใจถึง คุณประโยชน์ของระบบการประกันคุณภาพการศึกษา - จัดทาระบบสารสนเทศท่ีเกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลนักเรียนรายบุคคลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ท่ีตนสอนหรือรับผิดชอบ(กรณีเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ) ข้อมูลด้านสุขภาพ ด้านคุณลักษณะอัน พงึ ประสงค์ สถติ ิการมาเรียน ขอ้ มูลสว่ นตัวของครูเอง ได้แก่ ดา้ นการศึกษาอบรมหรือการดูงาน ข้อมลู แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถ่ินท่ีครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น ทั้งน้ีควรจัดทาให้อย่างต่อเน่ืองและเป็นปัจจุบัน (ครูมี แฟม้ ประวัตแิ ละผลงานของตนเอง)
179 - ร่วมกาหนดเป้าหมายคณุ ภาพผู้เรยี นในภาพรวมของสถานศกึ ษา และจดั ทาหลักสูตรสถานศกึ ษา - จัดทาแผนพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตนรับผิดชอบ เป็นรายบุคคลจัดทาหน่วยการเรียนรู้/ แผนการจัดการเรียนการสอนผลิตและใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถ่ินท่ีท้าทายการเรียนรู้ของผู้เรียนทา ให้รสู้ กึ สนกุ และตอ้ งการแสวงหาตาตอบหรือความรู้ในสว่ นอืน่ ๆ เพิม่ เตมิ ต่อไปอีกใช้วิธีการวัดและประเมินผล หลาย ๆ วิธีท่ีสอดคล้องกับกิจกรรมท่ีให้ผู้เรียนปฏิบัติ เพ่ือการพัฒนาและตัดสินผลการเรียนได้อย่างถูกต้อง สะท้อนแนวทางในการปรับปรุงผู้เรียนได้อย่างถ่องแท้รวมทั้งจัดทาแผนงาน/โครงการท่ีได้รับมอบหมายเป็น พเิ ศษโดยเน้นกิจกรรมท่ีใหค้ วามสาคญั กับผู้เรียนเปน็ อนั ดบั ตน้ - ให้ความร่วมมือในการจัดทาแผนงาน/โครงการ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ระดับ สถานศึกษา นโยบาย เป้าหมาย การจัดการศกึ ษาระดับสถานศกึ ษา 2.2 ดาเนินการ - จัดการเรียนรู้และกิจกรรมตามหลักสูตรสถานศึกษา และหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียน การสอนวัดผล และประเมนิ ผล ตามสภาพจริงรวมท้ังบนั ทึกผลการจัดการเรยี นการสอนเพ่ือนาไปปรับปรุงและ พฒั นาวิธสี อน/จัดการเรยี นรูใ้ ห้มปี ระสทิ ธภิ าพยิ่งขนึ้ - ปฏิบตั ติ ามแผนงาน/โครงการโดยเน้นผเู้ รยี นเป็นสาคญั ตามท่ไี ด้รับมอบหมาย 2.3 ประเมนิ ผล - ประเมนิ และสรปุ ผลการจัดการเรยี นการสอน และการดาเนินงานตามแผนงาน/โครงการ - เขียนรายงานการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ รายภาคเรียนแล้ว รวบรวมสรปุ เปน็ รายงานประจาปี - นาเสนอหรือรายงานผลแก่ผู้ท่ีเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครองคณะกรรมการ สถานศกึ ษา ชุมชนหรอื สาธารณชน เป็นต้น 2.4 พัฒนาและปรับปรงุ - นาผลการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา หน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียน การสอน และผลการปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ มาศึกษาวิเคราะห์จุดเด่น จุดท่ีควรพัฒนาเป็นรายบุคคล รายชั้น รายภาค รายปี เพ่ือกาหนดเป็นเป้าหมายใหม่ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพให้ มากท่ีสดุ 3. นกั เรยี น - กาหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อให้รู้จักการวางแผนพัฒนาระบบการคิด การแก้ปัญหา และพฒั นาคณุ ธรรมจริยธรรม ในตัวผูเ้ รียนตามสภาพความเป็นจริงได้เปน็ อย่างดี - มีส่วนร่วมและและให้ความร่วมมือกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษา/หนว่ ย หรือแผนการจัดการเรียนรู้และแผนงาน/โครงการ - ให้ข้อมูลแก่ผู้เก่ียวข้องตามความเป็นจริง โดยการแสดงความคิดเห็นให้สัมภาษณ์ หรือแสดง นทิ รรศการ/ผลงานทเี่ กดิ จากการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
180 4. คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผปู้ กครองนกั เรียน องคก์ ารภาครัฐและภาคเอกชน - จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่ สภาพการ ดาเนินงานด้านบริหาร การจัดแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพทางภูมิศาสตร์หรือบริบทของชุมชน การปกครอง อาชีพ สภาพเศรษฐกิจของทอ้ งถิน่ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีและค่านยิ มของท้องถน่ิ - ร่วมกาหนดนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งช้ีระดับสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูล ทอ้ งถนิ่ ตามสภาพจริง - ร่วมส่งเสริมบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างมืออาชีพ เสนอความคิดเห็นพัฒนาเชิง วิชาการสนับสนุนหรือระดมทุนทรัพย์ เพ่ือการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ติดตามการใช้ งบประมาณใหเ้ ปน็ ไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ขวัญกาลังใจในการปฏบิ ตั ิหน้าที่ของบคุ ลากรในสถานศกึ ษา - พัฒนาสภาพแวดล้อมสถานที่ของโรงเรียน และให้การส่งเสริมสนับสนุนให้มีสื่อ/ อุปกรณ์แหล่ง เรยี นรแู้ ละภมู ปิ ัญญาท้องถิน่ รวมท้ังการจัดสาระการเรียนร้ทู อ้ งถิ่น ใหเ้ อ้อื ตอ่ การจัดการเรียนรตู้ ามสภาพจรงิ - ติดตามตรวจสอบและประเมินคุณภาพสถานศกึ ษา โดยให้ข้อมลู ตามความเป็นจริง - ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง สามารถนาสู่การปฏิบัติ จรงิ ได้อยา่ งสอดคล้อง ตอ่ เน่อื ง เป็นระบบ บ่งบอกถึงความเปน็ ตวั ตนของสถานศกึ ษาไดช้ ัดเจนตามสภาพจริง สรปุ การจดั การคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการท่ีมรี ะบบและมีเป้าหมายท่ีชดั เจนในการนาองคค์ วามรู้ ที่ได้มาประยุกต์กับการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกท้ังยังสอดคลองกับ การจัดการศึกษาของชาติ คือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุข ท้ังน้ีกล ยุทธการสร้างความร่วมมือกับบุคลากรทางการศึกษาและชุมชนเพื่อพัฒนาผเู้ รียน ซ่ึงมีความสัมพันธส์ อดคลอ้ ง กับหลักการจัดการศึกษา และแนวทางจัดการศึกษาตามนโยบายการจัดการศึกษาระดับชาติด้วย เก่ียวกับ หลักการจัดการศึกษาน้ัน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน ให้ สังคมหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่าง ต่อเนอ่ื ง การสง่ เสริมกระบวนการเรียนร้ใู นชมุ ชน รวมคน ร่วมคิด รว่ มทา รว่ มสรปุ บทเรยี น และร่วมรบั ผลจาก การกระทา การใช้ทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน การส่งเสริมการนาภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัด การศึกษา ตลอดทง้ั การสง่ เสริมและสนบั สนุนใหส้ ถานศึกษาเป็นศูนยก์ ลางการเรียนรู้ในชุมชน
181 เอกสารอ้างอิง กวินทร์เกยี รติ นนธพ์ ละ. (2552). แนวทางในการใช้ทรัพยากรทางการศกึ ษาร่วมกนั ของสถานศึกษาในเขต พน้ื ทกี่ ารศึกษาเพชรบรุ ี เขต1. วทิ ยานพิ นธ์ศกึ ษาศาสตร์ดุษฎบี ณั ฑติ สาขาวิชาการบรหิ ารการศกึ ษา บณั ฑติ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . จักรกฤษณ์ พุทธะ. (2556). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สงั กัด สานักงานเขตพ้นื ที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธค์ รุศาสตรมหาบณั ฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชยี งราย. เตือนใจ ชยโครต. (2555). บทบาทการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของนายกองค์การบริหาร สว่ นตาบลจังหวดั บรุ ีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครศุ าสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าการบรหิ ารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั บุรีรมั ย.์ ปรชี า คมั ภรี ปกรณ์ และคณะ. (2556). การบรหิ ารทรพั ยากรทางการศึกษา. ในประมวลชุดวิชาการบริหาร ทรพั ยากรทางการศึกษา. หน่วยท่ี 1. พมิ พค์ ร้ังท่ี 8. นนทบุรี : มหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธิราช. เปรมชยั สโรบล. (2550). ปัจจัยการบริหารทีม่ ีอทิ ธิพลต่อคณุ ภาพการศึกษาของโรงเรียนนายรอ้ ยพระ จุลจอมเกล้า. ดุษฎนี ิพนธป์ ริญญาปรัชญาดษุ ฎีบัณฑติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยั ศิลปากร. พชั ณยี า หานะพนั ธ์. (2557). การศึกษาสภาพ ปญั หาและแนวทางแกป้ ัญหาการบริหารทรพั ยากรทาง การศกึ ษาของผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา สังกดั สานักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษามธั ยมศึกษา เขต 31 และ ผู้บรหิ ารสถานศึกษาสงั กัดองค์การบริหารสว่ นจังหวดั นครราชสีมา. วิทยานพิ นธค์ รุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าการบรหิ ารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั นครราชสมี า. วรพงษ์ เถาว์ชาล.ี (2556). ประสทิ ธิภาพการบรหิ ารสถานศกึ ษาท่ีสมั พันธ์กบั การเป็นโรงเรยี นมาตรฐานสากล ของโรงเรียนมธั ยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานพิ นธ์ปริญญาปรชั ญาดุษฎีบณั ฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศลิ ปากร. ศิริวรรณ เสรรี ตั นแ์ ละคณะ. (2550). การจดั การและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธรี ะฟิลม์ และไซเทก็ ซ.์ สมใจ ดสั กรณ์. (2559). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบรหิ ารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรยี นขยาย โอกาสทางการศึกษา ในสานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสนิ ธ์ุ เขต 2. วทิ ยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารจดั การการศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏกาฬสนิ ธุ์. สงั เวยี น มาลาทอง. (2556). การศกึ ษาสภาพการระดมทรัพยากรเพ่ือการศึกษาในสถานศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน สังกัดสานกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาจนั ทบุรี. วิทยานิพนธ์ครศุ าสตร มหาบัณฑติ สาขาวชิ าการบรหิ ารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ราไพพรรณี.
182 สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน. (2554ข). แนวทางการพฒั นาระบบประกันคณุ ภาพใน สถานศึกษาสานกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พน้ื ฐานตามกฎกระทรวงว่าดว้ ยระบบ หลกั เกณฑ์ และวธิ กี ารประกันคณุ ภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พ์ชมุ นุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจากดั . สานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ชดุ ฝึกอบรมผนู้ าชุมชน : ประมวลสาระ. กรุงเทพฯ : สานักงานปฏิรูป การศึกษา. สานกั งานรบั รองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญตั ิ การศกึ ษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพ่ิมเตมิ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พรกิ หวานกราฟฟคิ . สานกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2556). ยทุ ธศาสตร์การศกึ ษา พ.ศ. 2556 – 2558. กรงุ เทพฯ: องคการรับสงสนิ ค้าและพัสดุภณั ฑ (ร.ส.พ.). สทิ ธิศกั ดิ์ เตมิ ทอง. (2554). ความสมั พันธ์ระหว่างการบริหารทรพั ยากรทางการศึกษากับประสทิ ธผิ ลของ สถานศกึ ษาขน้ั พ้ืนฐาน สงั กัดสานกั งานเขตพนื้ ที่การศึกษามัธยมศกึ ษาเขต 33. วิทยานพิ นธ์ครศุ าสต รมหาบัณฑิต สาขาวชิ าการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยั ราชภัฏสุรินทร์. อาพล ราวกลาง. (2555). แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพ่อื การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาด เล็กกล่มุ โรงเรียนปง 2 สังกดั สานักงานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาประถมศกึ ษาพะเยา เขต 2. วิทยานพิ นธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบรหิ ารการศึกษา มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ .
183 บทท่ี 7 การออกแบบ และการดาเนนิ การประกันคณุ ภาพการศกึ ษา พัชรา เดชโฮม การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการหรือกิจกรรมท่ีดาเนินการเพื่อสร้างความมั่นใจได้ว่า สถานศึกษาจะสามารถจัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานโดยนักเรียนหรือผู้สาเร็จการศึกษาจะต้องมีความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะต่าง ๆ ตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับของสังคมสามารถ เป็นพื้นฐานท่ีจะนาไปสู่การพัฒนาตนเองของมนุษย์เรา ดังนั้นคนเราจึงควรได้รับการศึกษาท่ีเหมาะสมและมี คุณภาพคนท่ีสามารถดารงชีวิตอยู่ได้อย่างถูกต้องตามครรลองครองธรรมและได้รับสิ่งดี ๆ ท่ีเหมาะสมจะ สะท้อนออกมาให้ปรากฏต่อสาธารณชนในหลายแง่มมุ เชน่ การมเี ป้าหมายสงู สดุ ท่ีจะนาความรู้น้นั มาใช้ให้เกิด ประโยชนต์ อ่ ตนเองและสังคมหรอื สามารถในการเข้าใจตัวเองและอยรู่ ่วมกบั คนอนื่ ในโลกรวมท้ังสัตว์และสรรพ ส่ิงท้ังหมด การศึกษาจึงเป็นเหมือนปัจจัยในการดารงชีวิตที่ทุกคนต้องแสวงหาและเพ่ิมพูนอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันการศึกษาดงั กลา่ วนั้นต้องมีคุณภาพเป็นที่เช่อื ถือยอมรับไดด้ ้วย การออกแบบระบบการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา การประกนั คุณภาพการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 7) ได้กล่าวถึง แนวคิดการประกันคุณภาพ การศกึ ษาไวว้ ่า มีการดาเนนิ งาน 3 ขัน้ ตอน ดังนี้ 1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกาหนดมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนา สถานศกึ ษาใหเ้ ข้าสู่มาตรฐาน ซงึ่ ประกอบดว้ ย 1.1 การกาหนดมาตรฐานด้านผลผลติ ปจั จัย และกระบวนการ 1.2 การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน หมายถึง การพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา 2. การตรวจสอบคณุ ภาพ (Quality Audit) เปน็ การตรวจสอบและตดิ ตามผลการดาเนินงานให้เป็นไป ตามมาตรฐานท่กี าหนด ประกอบด้วย 2.1 การประเมนิ ความกา้ วหนา้ ของการจดั การศกึ ษา 2.2 การตดิ ตามและตรวจสอบจากหนว่ ยงานท่เี กยี่ วขอ้ ง 2.3 การปรับปรุงคุณภาพสถานศกึ ษาทมี่ คี ุณภาพไม่ถงึ เกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานท่ี เก่ียวข้อง 3. การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดย หน่วยงานท่ีกากับดแู ลในเขตพ้ืนที่ และหน่วยงานตน้ สังกัดในสว่ นกลาง ประกอบดว้ ย
184 3.1 การทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3.2 การประเมินเพ่ือรองรับมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา 3.3 การประเมนิ ผลการพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาในภาพรวมหรอื การประเมนิ คณุ ภาพ การศึกษา ดังน้ัน การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จึงเป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการโดยผู้บริหารและครูในสถานศึกษาร่วมกัน กาหนดเปา้ หมายทีช่ ดั เจน ตารางท่ี 7.1 แสดงความแตกต่างระหว่างการประกนั คณุ ภาพภายในและภายนอก การประกันคุณภาพภายใน การประกันคุณภาพภายนอก ผู้รับผิดชอบ :โรงเรยี น ผรู้ ับผิดชอบ : สานกั งานรับรองมาตรฐาน และประเมนิ สานกั งานเขตพื้นท่ีการศึกษา คณุ ภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สม ศ.) กระบวนการ กระบวนการ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ การประเมินคุณภาพ ประเมนิ คุณภาพ การให้การรบั รอง ประโยชนท์ ไ่ี ดจ้ ากการประกันคุณภาพการศึกษา 1. ผู้เรียนและผปู้ กครองมหี ลักประกนั และความมนั่ ใจวา่ สถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เปน็ ไปตามมาตรฐานท่ีกาหนด 2. ครูได้ทางานอย่างมืออาชพี มีการทางานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มี ประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเน่ือง ทาให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง และชมุ ชน 3. ผ้บู รหิ ารได้ใช้ภาวะผู้นา และความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความ โปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานท่เี กย่ี วขอ้ ง กอ่ ใหเ้ กดิ ความภาคภูมใิ จและเป็นประโยชน์ต่อสงั คม
185 4. กรรมการสถานศกึ ษาได้ทางานตามบทบาทหนา้ ที่อยา่ งเหมาะสม เปน็ ผ้ทู ที่ าประโยชน์ และมีส่วน พัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับ ความไว้วางใจใหม้ าเปน็ กรรมการสถานศึกษา 5. หน่วยงานที่กากับดูแล ได้สถานศึกษาท่ีมีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซ่ึงจะช่วย แบ่งเบาภาระในการกากับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพ ของสถานศึกษา 6. ชุมชนและสงั คมประเทศชาติ ไดเ้ ยาวชนและคนที่ดี มคี ุณภาพและศกั ยภาพทจี่ ะช่วยพฒั นา องค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติตอ่ ไป 7. ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน ในระดับสถานศึกษาการ ประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงการสร้างความม่ันใจโดยการใช้ข้อมูลสารสนเทศและองค์ความรู้และการวางแผน ป้องกันปัญหาท่ีจะเกิด ต้ังแต่ในข้ันการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการ เรียนรู้ตามหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การติดตาม ตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เพ่ือให้มีการแก้ไข ปรับปรงุ คุณภาพอยา่ งตอ่ เนื่อง การประเมนิ คุณภาพผลผลิต การจัดทารายงาน และนาเสนอขอ้ มูลการประเมิน สาหรับ การตัดสนิ ใจในระดบั ต่างๆ และ สาหรบั การวางแผนพฒั นาคณุ ภาพของสถานศกึ ษาในระยะต่อไป หลักการสาคัญของการประกนั คุณภาพการศกึ ษาภายในสถานศึกษาระบบการศึกษาข้ันพนื้ ฐานการประกัน คุณภาพการศึกษาครอบคลุมถึงมวลกิจกรรมและภารกิจทางวิชาการและทางการบริหารการจัดการท่ีมี การ วางแผนล่วงหน้า และมกี ารประสานสัมพันธ์อย่างเปน็ ระบบ เพื่อทีจ่ ะสร้างความม่นั ใจท่ีสมเหตสุ มผลว่าผู้เรียน จะมีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาท่ีได้กาหนดไว้ (สานักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ, 2543 : 7) ระบบการประกันคณุ ภาพของสถานศกึ ษา ตอ้ งใชห้ ลกั การบรหิ ารที่เปน็ ระบบครบวงจรแบบ PDCA คอื 1. ร่วมกันวางแผน (Plan) 2. รว่ มกันปฏิบัติตามแผน (Do) 3. ร่วมกนั ตรวจสอบ (Check) 4. ร่วมกนั ปรับปรุง/นาไปใช้ (Action)
186 รว่ มกนั วางแผน (Plan) การตรวจสอบ การควบคุม และประเมินคุณภาพ รว่ มกันปรบั ปรุง/ ร่วมกันปฏิบัตติ าม นาไปใช้ แผน (Do) รว่ มกันตรวจสอบ (Check) ภาพท่ี 7.1 ความสัมพนั ธร์ ะหว่างระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา กับแนวคิดการบริหารทีเ่ ป็นระบบครบ วงจรแบบ PDCA ทมี่ า: สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาแหง่ ชาติ (2543 : 7) หลักเกณฑ์และแนวปฏบิ ัติเกยี่ วกับกับการประกันคณุ ภาพภายใน หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเก่ียวกับกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้ น พ้ืนฐานน้ัน ในปี 2554 คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กาหนดหลักเกณฑ์ และแนวปฏบิ ตั ิไว้ดงั นี้ (คณะกรรมการประกันคณุ ภาพภายในระดับการศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน, 2554) หลักการสาคัญ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ดาเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมี ความรคู้ วามเขา้ ใจ และปฏบิ ตั ิตามหลกั การของการประกนั คุณภาพภายในของสถานศึกษาดังต่อไปน้ี 1. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนท่ีต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่แต่ละคนได้รับ มอบหมาย 2. การประกันคณุ ภาพมุ่งพฒั นาการดาเนินงานตามความรับผดิ ชอบของตนให้มีคุณภาพดีย่ิงข้ึนเพราะ ผลการพฒั นาของแต่ละคนก็คือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา 3.การประกันคุณภาพเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยให้เป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ตอ้ งดาเนินการอย่างต่อเน่อื ง ไมใ่ ช่ทาเพือ่ เตรียมรบั การประเมินเป็นคร้ังคราวเท่าน้ัน
187 4. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากความรว่ มมือของบคุ ลากรทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องไม่สามารถวา่ จา้ งหรือ ขอใหบ้ ุคคลอน่ื ๆ ดาเนนิ การแทนได้ 5. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากการยอมรับและนาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการ พฒั นาคณุ ภาพการจัดการศกึ ษาของสถานศึกษา (สาเนา) การดาเนนิ งานของสถานศกึ ษา ใหส้ ถานศกึ ษาระดับการศึกษาข้นั พื้นฐานดาเนินการดังต่อไปน้ี 1. การกาหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ดาเนนิ การดังนี้ ให้สถานศึกษาและผู้เกยี่ วข้องดาเนนิ การและถือเป็นความรบั ผดิ ชอบร่วมกนั ดังนี้ 1.1 ศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและตวั บ่งช้ีวา่ ด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่ กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ 1.2 พิจารณาสาระสาคัญที่จะกาหนดในมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการ ส่งเสรมิ ของสถานศึกษา 1.3 กาหนดคา่ เป้าหมายความสาเรจ็ ของแต่ละมาตรฐานและตัวบง่ ช้ี 1.4 ประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งช้ีว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องท้ังภายในและภายนอกรับทราบ ท้ังน้ีสถานศึกษาอาจกาหนดมาตรฐาน การศกึ ษาของสถานศึกษาเพมิ่ เตมิ นอกเหนือจากท่ีกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้ 2. การจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาท่ีมุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศกึ ษา ดาเนนิ การดังนี้ 2.1 ให้สถานศึกษาจัดทาแผนพฒั นาการจัดการศกึ ษา ดังนี้ 2.1.1 ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจาเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยใชข้ ้อมลู ตามสภาพจริง 2.1.2 กาหนดวิสัยทศั น์ พันธกจิ และเปา้ หมายดา้ นต่างๆ โดยมงุ่ เน้นที่คณุ ภาพผเู้ รียนทีส่ ะท้อน คุณภาพความสาเร็จอยา่ งชดั เจนและเป็นรูปธรรม โดยทุกฝ่ายมสี ว่ นรว่ ม 2.1.3 กาหนดวิธีการดาเนินงานกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลท่ีอ้างอิงได้ ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา การจัดประสบการณก์ ารเรียนรู้ กระบวนการเรยี นรู้ การสง่ เสรมิ การเรียนรู้ การวัดและประเมนิ ผล การพฒั นาบคุ ลากร และการบรหิ ารจัดการเพื่อให้บรรลเุ ปา้ หมายตามมาตรฐานท่ีกาหนดไว้ 2.1.4 กาหนดแหล่งเรยี นรูแ้ ละภมู ปิ ญั ญาท้องถ่ินจากภายนอกท่ีให้การสนับสนนุ ทางวิชาการ 2.1.5 กาหนดบทบาทหน้าท่ีอยา่ งชัดเจนให้บุคลากรของสถานศกึ ษาและผู้เรียนร่วมรบั ผิดชอบ และดาเนนิ งานตามท่ีกาหนดไวอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ 2.1.6 กาหนดบทบาทหน้าท่ีและแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครององค์กร หน่วยงาน ชุมชน และทอ้ งถนิ่
188 2.1.7 กาหนดการใชง้ บประมาณและทรัพยากรอยา่ งมปี ระสิทธิภาพใหส้ อดคล้องกบั กิจกรรม/ โครงการ 2.1.8 เสนอแผนพัฒนาการจัดการศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและหรือ คณะกรรมการสถานศกึ ษา และหรอื คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาใหค้ วามเหน็ ชอบ 2.2 ให้สถานศกึ ษาจัดทาแผนปฏบิ ตั ิการประจาปี ดังนี้ 2.2.1 จัดทาแผนปฏิบัติการประจาปีท่ีสอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา 2.2.2 ใหก้ าหนดปฏิทินการนาแผนปฏิบตั ิการประจาปี ไปสู่การปฏบิ ตั ิท่ชี ดั เจน 2.2.3 เสนอแผนปฏิบัติการประจาปีต่อคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพ้ืนฐานและหรือ คณะกรรมการสถานศึกษา และหรือ คณะกรรมการบริหารสถานศกึ ษาให้ความเหน็ ชอบ 3. การจดั ระบบบริหารและสารสนเทศ ดาเนินการดงั น้ี 3.1 จัดโครงสร้างหรือระบบการบริหารงานของสถานศึกษาท่ีเอ้ือต่อการพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา 3.2 กาหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สะดวก ต่อการเขา้ ถงึ และการใหบ้ รกิ าร หรอื การเช่อื มโยงเครือขา่ ยกับหนว่ ยงานต้นสังกัด 3.3 นาขอ้ มูลสารสนเทศไปใชป้ ระโยชน์ในการบรหิ ารและการพฒั นาการเรยี นการสอน 4. การดาเนินงานตามแผนพฒั นาการจดั การศึกษาของสถานศกึ ษา ดาเนนิ การดังน้ี 4.1 นาแผนปฏิบตั ิการประจาปี แตล่ ะปี สูก่ ารปฏิบัติ ตามกรอบระยะเวลา และกจิ กรรมโครงการที่ กาหนดไว้ 4.2 ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบตามท่ีได้ กาหนดอย่างมปี ระสทิ ธิภาพและเกดิ ประสทิ ธิผลสูงสุด 5. การจัดใหม้ ีการตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษา ดาเนินการดังน้ี 5.1 กาหนดผูร้ บั ผดิ ชอบในการตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศกึ ษาระดับสถานศกึ ษา 5.2 ติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาท้ังระดับบุคคลและระดับสถานศึกษาอย่างน้อยภาคเรยี น ละ 1 ครง้ั 5.3 รายงานและนาผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาไปใชป้ ระโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา 5.4 เตรยี มการและให้ความร่วมมือในการตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจากหนว่ ยงานต้นสังกดั 6. การจัดใหม้ ีการประเมินคณุ ภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา ดาเนินการดงั น้ี 6.1 ให้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในอย่างน้อย 3 คน ท่ีประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกท่ีหน่วยงานต้นสังกัดขึ้นทะเบยี นไว้อย่างน้อย 1 คน เข้ามามสี ว่ นร่วมในกระบวนการประเมินคุณภาพ ภายในของสถานศกึ ษาอยา่ งน้อยปี ละ 1 ครง้ั 6.2 ดาเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้วธิ ีการ และ เครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
189 7. การจัดทารายงานประจาปีทีเ่ ป็นรายงายประเมินคณุ ภาพภายใน ดาเนินการดงั น้ี 7.1 สรุปและจัดทารายงานประจาปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ สะท้อนคุณภาพผู้เรยี นและผลสาเรจ็ ของการบริหารจัดการศึกษาตามรปู แบบท่ีหน่วยงานต้นสงั กัดกาหนด 7.2 นาเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษาข้ันพื้นฐาน และหรือคณะกรรมการสถานศึกษา และหรือคณะกรรมการบริหารสถานศกึ ษาให้ความเห็นชอบ 7.3 เผยแพรร่ ายงานต่อสาธารณชน หนว่ ยงานตน้ สังกดั และหนว่ ยงานทีเ่ กยี่ วข้อง 8. การจัดใหม้ กี ารพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาอยา่ งต่อเนือ่ ง ดาเนนิ การดงั น้ี 8.1 ส่งเสริมแนวความคิดเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาท่ีมุ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างต่อเน่ืองให้เกิดข้ึนกับครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ จนเปน็ วัฒนธรรมคุณภาพในการทางานปกตขิ องสถานศึกษา 8.2 นาผลการประเมนิ คณุ ภาพภายในของสถานศึกษา จากการประเมนิ ตนเองหรือจากหน่วยงานท่ี เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศเพ่ือนาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาการบรหิ ารและการเรียนการสอนอยา่ งต่อเนื่อง 8.3 เผยแพรผ่ ลการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาและแลกเปลยี่ นเรยี นรเู้ พ่ือใหเ้ กดิ การพัฒนา การดาเนนิ งานของหนว่ ยงานตน้ สงั กดั ให้หน่วยงานต้นสังกดั ท่มี ีสถานศึกษาระดบั การศกึ ษาข้ันพื้นฐานในความรับผิดชอบ ดาเนนิ การดังน้ี 1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมท่ีเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพ ภายในอยา่ งตอ่ เนือ่ ง 2. ส่งเสริม สนบั สนนุ และรว่ มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเก่ียวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน เช่น ระบบข้อมูลสารสนเทศ แผนพัฒนาคณุ ภาพการจดั การศึกษาของสถานศึกษา การจัดทารายงานประจาปี เป็นตน้ 3. พัฒนาผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาใน สงั กดั ท่ีรับผดิ ชอบ จดั ทาทะเบียนรายชอ่ื และประกาศให้สถานศึกษาทราบ 4. กากับและดูแลคุณภาพการศกึ ษาเพ่ือยกระดบั หรือรักษามาตรฐานคุณภาพการศึกษา 5. จดั ใหม้ กี ารติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ครัง้ ตอ่ ปี และแจ้งผล การติดตามตรวจสอบใหส้ ถานศึกษาทราบ 6. นาผลการติดตามตรวจสอบคณุ ภาพไปใชว้ างแผนและพัฒนาคณุ ภาพการศึกษาอย่างต่อเนอื่ ง 7. เผยแพร่ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัดระดับเหนือข้ึนไป และ สาธารณชน 8. เช่ือมโยงผลการประเมินคุณภาพภายนอกกับผลการประเมินภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพ การศกึ ษา 9. สร้างเครือข่ายคุณภาพเพือ่ รว่ มพัฒนาระบบการประกนั คณุ ภาพการศึกษา 10. ประกาศ เผยแพร่ผลการปฏบิ ตั ดิ ีของสถานศกึ ษาในสังกดั ต่อสาธารณชนและหนว่ ยงานตา่ ง ๆ
190 การดาเนินการประกนั คณุ ภาพการศึกษา มีขัน้ ตอนการดาเนินการ ดังนี้ 1. ทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา โดยทบทวนงานต่าง ๆ ท่สี ถานศกึ ษาได้ทาการวางแผนไว้ให้ ทกุ คนเข้าใจ และนาไปปฏบิ ัติ 2. ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และตามแผนปฏิบัติราชการของ สถานศกึ ษาโดยดาเนนิ การ ดงั นี้ 2.1 ให้ผู้เก่ียวข้องและผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาท่ี รับผิดชอบ และปฏิบัติงานตามแผน/โครงการ ท่ีรับผิดชอบให้เต็มความสามารถ พร้อมเก็บรวบรวมหลักฐาน การปฏบิ ัตงิ านไวอ้ ยา่ งเป็นระบบ ที่คน้ หางา่ ย รวดเร็ว 2.2 ติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และติดตามการทางานตามโครงการที่ ไดร้ ับมอบหมาย 2.3 แกไ้ ข ปรับปรุงขอ้ บกพรอ่ งทพ่ี บจากการติดตามการปฏบิ ตั งิ าน 3. นเิ ทศ กากบั ติดตามผลการดาเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระหวา่ งที่ ทกุ ฝ่ายของสถานศึกษาได้ดาเนินงานไป ขณะเดียวกัน ก็ช่วยกนั แก้ไขปญั หาท่ีเกิดขนึ้ ใหส้ าเร็จลุลว่ งไป เพ่ือให้ คุณภาพของสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานท่ีกาหนดไว้เร็วขึ้น การตรวจสอบ ทบทวน และปรบั ปรุงคณุ ภาพ การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศกึ ษาของสถานศึกษา โดยดาเนนิ การ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมกมาตรวจสอบคณุ ภาพการศกึ ษาของถานศกึ ษา 2. กาหนดระยะเวลา และแนวทางการตรวจสอบ หรือวางแผนการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบ และ ทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาควรทาการตรวจสอบ ทั้งการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน การปฏิบัติงาน และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา (มาตรฐาน และตัวชีว้ ดั ) ของสถานศกึ ษาด้วย 3. ดาเนินการตรวจสอบตามแผนท่ีวางไว้ สาหรับการประเมินสภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาของสาถานศึกษาครั้งที่ 2 หลังจากได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของ สถานศึกษา ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยนาเคร่ืองมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างข้ึนมาแล้วในข้อ 1.3 ของ ข้ันตอนท่ี 2 (การวางแผนฯ) และทาการประเมินคณุ ภาพการศึกษา ดังข้อ 1.4 และจัดทาสารสนเทศหรอื ข้อมูล พ้นื ฐานของสถานศกึ ษาคร้ังที่ 2 ตามขอ้ 1.5 ของขั้นตอนท่ี 2 (การวางแผนฯ) ทงั้ น้เี พ่ือตรวจสอบความก้าวหน้า ของตวั ช้ีวัด และมาตรฐานคณุ ภาพการศึกษา ทีบ่ กพรอ่ งท่พี บจากการประเมนิ คร้ังที่ 1 และเพือ่ ตรวจสอบ และ แกไ้ ขสิ่งท่ยี ังไมเ่ ป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศกึ ษาต่อไป การพฒั นาและการปรับปรุงคณุ ภาพการศกึ ษาของสถานศึกษา 1. ปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานทพี่ บว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏบิ ตั ิงาน และมาตรฐานคุณภาพ การศกึ ษาของสถานศกึ ษา
191 2. ติดตาม ตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามระยะเวลาท่ีเหมาะสมท่ีผู้ปฏิบัติได้กาหนดไว้ว่าจะแก้ไขเสร็จ ท้ังนี้ เพอื่ ใหแ้ น่ใจว่า ขอ้ บกพรอ่ งที่พบ ไดร้ ับการแก้ไขอยา่ งจรงิ จัง 3. สรุปผลการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบการประกันคณุ ภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยการจดั ทารายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) 4. สาหรับงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนดไว้ ให้พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ดีย่งิ ขนึ้ ต่อไป การประเมนิ และรบั รองคุณภาพ การเตรยี มการเพ่ือรับการประเมินจากสานักงานรบั รองมาตรฐาน และประเมนิ คณุ ภาพการศึกษา โดย ดาเนนิ การ ดงั นี้ 1. ผเู้ กีย่ วขอ้ งจัดเตรียมหลักฐานการปฏิบัติงาน และขอ้ มลู ต่าง ๆ ตามมาตรฐานคณุ ภาพการศึกษาขั้น พื้นฐาน และรายงานการประเมินตนเองไว้ล่วงหน้าให้พร้อม เพื่อรับการประเมินจากองค์กรภายนอก ที่เป็น ผู้แทนสานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ตามกาหนดระยะเวลาท่ีองค์กรภายนอกจะ มาประเมนิ คณุ ภาพของสถานศึกษา 2. รับการประเมินจากองค์กรภายนอก โดยองค์กรภายนอก จะทาการประเมินคุณภาพของ สถานศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานท้ัง 4 มาตรฐาน ซ่ึงเมื่อองค์กรภายนอกจึงส่งรายงาน ขอ้ เทจ็ จริงดังกลา่ วให้กับสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมนิ คุณภาพการศึกษา 3. ถ้าสานกั งานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา พิจารณารายงานข้อเท็จจรงิ แล้วเห็น ว่า สถานศึกษามีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครบถ้วนท้ัง 4 มาตรฐาน ก็จะให้การ รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งหมายความว่าสถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพ การศึกษาจากสานักงานรบั รองมาตรฐาน และประเมินคณุ ภาพการศกึ ษาแล้ว ซ่งึ การรบั รองดงั กลา่ วจะมอี ายุ 5 ปี คือ เมื่อครบ 5 ปี สถานศึกษาจะต้องถูกประเมินคุณภาพาใหม่ทั้งหมด 4 มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ระหว่าง ที่สถานศึกษาได้รับใบรับรองคุณภาพการศึกษา องค์กรภายนอกจะมาทาการประเมินคุณภาพการศึกษาของ สถานศกึ ษาอยา่ งสม่าเสมอ ตลอดเวลา 4. ถ้าสถานศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษา ตอ้ งปรับปรงุ คุณภาพของสถานศกึ ษาให้ได้มาตรฐาน ตามระยะเวลาทคี่ ณะกรรมการประเมินกาหนดแลว้ ข้อรับ การประเมินใหม่ แต่ถ้าถึงระยะเวลาที่กาหนดแล้วสถานศึกษายังมีการพัฒนายังไม่ถึงเกณฑ์ สานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ต้องรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน เพื่อให้ ดาเนนิ การปรับปรงุ แก้ไข การสร้างเคร่ืองมือเก็บรวมรวมข้อมลู การสร้างเคร่ืองมือเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะดาเนินการได้ดังนี้ กาหนดกรอบการตรวจประเมิน คุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพ้ืนฐานตามมาตรฐาน และตัวบ่งช้ีคุณภาพการศึกษาข้ัน พื้นฐาน โดยวางแผนกาหนดส่ิงต่อไปนี้ ด้านที่จะประเมิน (ผลผลิต/กระบวนการ/ปัจจัย) มาตรฐานที่จะ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240