Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Volleyball-knee-landing-Final

Volleyball-knee-landing-Final

Published by Bangbo District Public Library, 2019-05-08 05:12:39

Description: Volleyball-knee-landing-Final

Search

Read the Text Version

กรมพลศกึ ษา เอกสารงานวจิ ัยฉบับเผยแพร่ เรอื่ ง การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บข้อเข่า โดยใช้การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พน้ื ในนักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชน โดย ส�ำนักวทิ ยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Department of Physical Educationเอกสารงานวิจัยฉบับเผยแพร่ เรื่อง การประเมินภาวะเส่ียงต่อการบาดเจ็บข้อเข่า โดยใช้การทดสอบความผิดพลาดของ การลงสู่พื้นในนักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชน จัดท�ำโดย : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเท่ียวและกีฬา เลขที่ 154 ถนนพระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2214-2578 โทรสาร 0-2214-2578 เว็บไซต์: www.dpe.go.th ISBN 978-616-297-503-5 พิมพ์คร้ังท่ี 1 : พฤศจิกายน 2560 จ�ำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม ผลิตโดย : บริษัท กู๊ดอีฟน่ิง ติงค์ จ�ำกัด พิมพ์ท่ี: บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จ�ำกัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data เอกสารงานวิจัยฉบับเผยแพร่ เร่ือง การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ข้อเข่า โดยใช้การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พื้นในนักกีฬาวอลเลย์บอล ยุวชน.-- กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2560. 120 หน้า. 1. วอลเลย์บอล--วิจัย. 2. การบาดเจ็บทางการกีฬา--วิจัย. I. ชัชฎาพร พิทักษ์เสถียรกุล. II. ชื่อเรื่อง. 617.1027





คำ�นำ� กีฬาวอลเลย์บอล เป็นกีฬาประเภทหนึ่งท่ีเด็ก เยาวชนสนใจฝึกซ้อมเพื่อ การแข่งขันเป็นจ�ำนวนมาก เพื่อจะได้มีความสามารถเช่นเดียวกับรุ่นพ่ี โดยมีต้นแบบจาก ทมี วอลเลยบ์ อลหญงิ ทมี ชาตไิ ทย ทมี่ ผี ลงานการแขง่ ขนั โดยเปน็ ผนู้ ำ� ในระดบั อาเซยี น ลำ� ดบั แนวหน้าของเอเชีย และในระดับโลก อย่างต่อเน่ือง สิ่งส�ำคัญส�ำหรับผู้ฝึกสอนและนักกีฬาในการฝึกซ้อมหรือแข่งขันวอลเลย์บอลคือ ท�ำอย่างไรท่นี ักกีฬาสามารถแสดงศักยภาพทางกฬี าได้สงู สดุ และเกดิ การบาดเจบ็ นอ้ ยทีส่ ดุ ซึ่งต้องน�ำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬา เก่ียวกับลักษณะการเคล่ือนไหวร่างกาย ท่ีถูกต้องและไม่ถูกต้องมาใช้เป็นแนวทางที่จะท�ำให้นักกีฬาปฏิบัติได้ตามหลักการทาง ชีวกลศาสตร์ ตลอดจนผู้ฝึกสอนมีการวางแผนการฝึกสมรรถภาพทางกายให้เหมาะสมกับ ความสามารถของนักกีฬา และระยะเวลาส�ำหรับการแข่งขันแต่ละรายการ โดยผู้ฝึกสอน สามารถท�ำได้ด้วยตนเอง และควรเร่ิมใช้กับนักกีฬาตั้งแต่ระดับเด็ก คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างย่ิงว่า โครงการวิจัยเร่ือง การประเมินภาวะเส่ียงต่อ การบาดเจบ็ ขอ้ เขา่ โดยใชก้ ารทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พ้นื ในนักกีฬาวอลเลยบ์ อล ยุวชน สามารถสร้างความตระหนัก และส่งเสริมให้ผู้ฝึกสอน นักกีฬาและผู้ที่เก่ียวข้องน�ำ การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พ้ืนไปปรับประยุกต์ใช้ในกีฬาวอลเลย์บอล หรือ กีฬาประเภทอ่ืนท่ีมีการกระโดดบ่อยๆ เพ่ือให้นักกีฬามีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างถูกวิธี รวมท้ังแสดงความสามารถด้านกีฬาได้อย่างเต็มท่ีตั้งแต่ระดับเด็ก เยาวชน ต่อไป คณะผู้จัดท�ำ



หัวข้อวิจัย การประเมินภาวะเส่ียงต่อการบาดเจ็บข้อเข่าโดยใช้ การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พ้ืนในนักกีฬา หน่วยงาน วอลเลย์บอลยุวชน ปีท่ีท�ำการวิจัย ส�ำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ 7

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าคะแนนผิดพลาดของการกระโดดลงสู่พื้น (Landing Error Scoring System (LESS)) ในนกั กฬี าวอลเลยบ์ อลยวุ ชนทมี่ กี ารฝกึ ซอ้ ม เพ่ือเข้าร่วมการแข่งขันวิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาท่ีมี สุขภาพดีจากโรงเรียนในเขตจังหวัดภาคกลาง มีการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันอย่างน้อย 2 ปี และอาสาสมัครเข้าร่วม จำ� นวน 233 คน (ชาย 99 คน และหญิง 134 คน) น�้ำหนัก เฉล่ีย 41.85±12.11 กก. ส่วนสูงเฉลี่ย 148.59 ±9.93 ซม. การทดสอบโดยผู้เข้าร่วม วิจัยยืนบนกล่องท่ีมีความสูง 30 ซม. หลังจากน้ันกระโดดจากกล่องลงสู่พื้น โดยมีระยะ ห่างจากกล่อง 50% ของความสูงของผู้เข้าร่วมงานวิจัยแต่ละคน และกระโดดข้ึนตรงทันที กลับสู่อากาศด้วยความพยายามสูงสุด กล้องวิดีโอ 2 กล้องจะใช้ในการบันทึกการกระโดด ลงสู่พื้นทั้งทางด้านหน้าและด้านข้าง คะแนน LESS จะถูกประเมินตามเกณฑ์ของ Padua และคณะ (2009) ซ่ึงแบ่ง ลักษณะการเคล่ือนไหวร่างกายเป็น 17 หัวข้อและค่าคะแนนรวมเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มดี เยี่ยม (Excellent) กลุ่มดี (Good) กลุ่มปานกลาง (Moderate) และ กลุ่มไม่ดี (Poor) จากการวเิ คราะหท์ างสถติ ิ พบวา่ นกั กฬี าเพศหญงิ มคี า่ LESS ในกลมุ่ ปานกลาง (14.2%) และกลุ่มไม่ดี (21.0%) จ�ำนวนมากกว่านักกีฬาเพศชาย กลุ่มปานกลาง (11.2%) และ กลุ่มไม่ดี (6.9%) และเมื่อวิเคราะห์ค่า LESS แยกตามหัวข้อ พบว่า มีลักษณะการ เคล่ือนไหวร่างกาย 6 ข้อท่ีพบมากในกลุ่มไม่ดี ได้แก่ การกางข้อเข่าขณะเท้าเร่ิมสัมผัส พื้น มุมการงอข้อเข่า การงอข้อสะโพกและการงอล�ำตัวขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด ระยะขจัด เชิงมุมของข้อต่อ และภาพรวมในการประเมิน ลักษณะเหล่าน้ีเป็นปัจจัยเส่ียงให้เกิดการ บาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกระโดด ดังน้ัน นักกีฬายุวชนควรได้รับการพัฒนาเทคนิคการฝึก การกระโดดลงสู่พ้ืนที่ถูกต้องเพ่ือป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ค�ำส�ำคัญ การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พนื้ การลงสู่พ้นื นักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชน ภาวะเส่ียงต่อการบาดเจ็บ การบาดเจ็บข้อเข่า การบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า 9

Abstract

Abstract The purpose of this study was to investigate landing error scoring system (LESS) in youth volleyball players who competed in Mini-volleyball Thai-aero tournament. Participants were healthy volleyball players from the schools in the central region and have a minimum of 2 years experience in volleyball practice. The total of 233 participants (99 males and 134 females) were volunteered in this study. For the testing, participants stood on a 30-cm high box and jump to a distance of 50% of their height away from the box and immediately jump vertically to the air with maximum effort. Two video cameras were recorded a landing from both frontal and side views. LESS score was evaluated according to Padua et al (2009) which divided a score into 4 groups: Excellent, Good, Moderate and Poor. Statistical anal- ysis revealed that female volleyball players were in moderate group (14.2%) and poor group (21.0%). These numbers were greater than male volleyball players in moderate group (11.2%) and poor group (6.9%). The LESS item analysis showed that there were 6 common items in the poor group which were knee valgus at initial contact, knee flexion displacement, hip and trunk flexion at maximum knee flexion, joint displacement and overall impression. Therefore, youth athletes should receive proper landing technique to prevent future injuries. Key word: landing error scoring system = LESS, landing, youth volleyball player, injury risk, knee injury, anterior cruciate ligament injury 11

สารบัญ คำ�นำ� ������������������������������������������������������������������������������������������������� 5 บทคัดย่อ............................................................................................. 9 บทคัดย่อภาษาอังกฤษ........................................................................... 11 บทที่ 1 บทนำ�1�������������������������������������������������������������������������������������� 19 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม..................................................................... 27 บทที่ 3 วิธีดำ�เนินการวิจัย4���������������������������������������������������������������������� 41 บทที่ 4 ผลการวิจัย................................................................................ 47 บทที่ 5 อภิปรายผลการวิจัย.................................................................... 71 เอกสารอ้างอิง...................................................................................... 78 ภาคผนวก........................................................................................... 82 คณะผู้จัดทำ�1���������������������������������������������������������������������������������������� 120

สารบัญภาพ รูปที่ 2.1 โครงสร้างของข้อเข่า................................................................. 29 รูปที่ 2.2 ข้อต่อ Patellofemoral............................................................. 30 รูปที่ 2.3 การเคลื่อนไหวของข้อเข่า........................................................... 31 รูปที่ 3.1 การตั้งกล้องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล................................................ 44 รูปที่ 4.1 จำ�นวนร้อยละของนักกีฬาวอลเลย์บอลที่เข้าร่วมงานวิจัย จำ�แนกตามโรงเรียน4������������������������������������������������������������������ 48 รูปที่ 4.2 แผนภูมิค่าคะแนนความผิดพลาดขณะกระโดดลงสู่พื้นตามกลุ่มคะแนน ของนักกีฬาทั้งหมด................................................................... 51 รูปที่ 4.3 แผนภูมิค่าคะแนนความผิดพลาดขณะกระโดดลงสู่พื้นตามกลุ่มคะแนน ของนักกีฬาเพศชาย................................................................. 52 รูปที่ 4.4 แผนภูมิค่าคะแนนความผิดพลาดขณะกระโดดลงสู่พื้นตามกลุ่มคะแนน ของนักกีฬาเพศหญิง................................................................ 52 รูปที่ 4.5 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอข้อเข่า ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5�������������������� 53 รูปที่ 4.6 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอข้อสะโพก ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5��������������� 54 รูปที่ 4.7 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอลำ�ตัว ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5��������������������� 55 รูปที่ 4.8 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการกระดกข้อเท้าลง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5���������� 56 รูปที่ 4.9 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการกางข้อเข่า ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5������������������ 57 รูปที่ 4.10 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการเอียงลำ�ตัว ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น8���������������� 58 รูปที่ 4.11 จำ�นวนนักกีฬาที่มีความกว้างของเท้าทั้งสอง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น5� 59 รูปที่ 4.12 จำ�นวนนักกีฬาที่มีความแคบของเท้าทั้งสอง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น6�� 60

สารบัญภาพ (ต่อ) รูปที่ 4.13 จำ�นวนนักกีฬาที่มีตำ�แหน่งของเท้า ปลายเท้าหมุนเข้าด้านใน ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น.............................................................. 61 รูปที่ 4.14 จำ�นวนนักกีฬาที่มีตำ�แหน่งของเท้าหมุนออกด้านนอก ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น.............................................................. 62 รูปที่ 4.15 จำ�นวนนักกีฬาที่มีสมมาตรของเท้า ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น6�������������� 63 รูปที่ 4.16 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอข้อเข่ามากกว่า 45 องศา6����������������������� 64 รูปที่ 4.17 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอข้อสะโพก ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด6�������� 65 รูปที่ 4.18 จำ�นวนนักกีฬาที่มีการงอลำ�ตัว ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด6������������� 66 รูปที่ 4.19 จำ�นวนนักกีฬาที่มีมุมการกางข้อเข่า ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด6������� 67 รูปที่ 4.20 จำ�นวนนักกีฬาที่มีระยะขจัดเชิงมุมของข้อต่อ6������������������������������� 68 รูปที่ 4.21 จำ�นวนนักกีฬาของค่าคะแนนภาพรวมในการประเมิน6��������������������� 69

สารบัญตาราง ตารางที่ 4.1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมวิจัย จำ�แนกตามกลุ่มเพศ4����������������������������������������������������������� 49 ตารางที่ 4.2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของค่าคะแนน ความผิดพลาดขณะกระโดดลงสู่พื้นจำ�แนกตามกลุ่มคะแนน และเพศ............................................................................. 51 ตารางที่ 4.3 ร้อยละของค่าคะแนนในการงอข้อเข่าขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 53 ตารางที่ 4.4 ร้อยละของค่าคะแนนในการงอข้อสะโพกขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 54 ตารางที่ 4.5 ร้อยละของค่าคะแนนในการงอลำ�ตัวขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 55 ตารางที่ 4.6 ร้อยละของค่าคะแนนในการกระดกข้อเท้าลง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 56 ตารางที่ 4.7 ร้อยละของค่าคะแนนในการกางข้อเข่า ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 57 ตารางที่ 4.8 ร้อยละของค่าคะแนนในการเอียงลำ�ตัว ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 58 ตารางที่ 4.9 ร้อยละของค่าคะแนนความกว้างของเท้าทั้งสอง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ5������������������������������������������������������������������ 59 ตารางที่ 4.10 ร้อยละของค่าคะแนนความแคบของเท้าทั้งสอง ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 60

สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางที่ 4.11 ร้อยละของค่าคะแนนตำ�แหน่งของเท้า ปลายเท้าหมุนเข้าด้านใน ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������� 61 ตารางที่ 4.12 ร้อยละของค่าคะแนนตำ�แหน่งของเท้าหมุนออกด้านนอก ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������� 62 ตารางที่ 4.13 ร้อยละของค่าคะแนนสมมาตรของเท้า ขณะเท้าเริ่มสัมผัสพื้น จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 63 ตารางที่ 4.14 ร้อยละของค่าคะแนนที่มีการงอข้อเข่ามากกว่า 45 องศา จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 64 ตารางที่ 4.15 ร้อยละของค่าคะแนนที่มีการงอข้อสะโพก ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 65 ตารางที่ 4.16 ร้อยละของค่าคะแนนที่มีการงอลำ�ตัว ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 66 ตารางที่ 4.17 ร้อยละของค่าคะแนนมุมการกางข้อเข่า ขณะข้อเข่ามีการงอสูงสุด จำ�แนกตามเพศ6���������������������������������������������������������������� 67 ตารางที่ 4.18 ร้อยละของค่าคะแนนระยะขจัดเชิงมุมของข้อต่อ จำ�แนกตามเพศ6� 68 ตารางที่ 4.19 ร้อยละของค่าคะแนนภาพรวมในการประเมิน จำ�แนกตามเพศ6����� 69





บทที่ 1 บทนำ�

VOLLEYBALL กีฬาวอลเลย์บอล เป็นกีฬา ประเภททีมที่ทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทยสามารถสร้างผลงาน การแข่งขันโดยเป็นผู้น�ำในระดับอาเซียน ล�ำดับแนวหน้า ของเอเชีย และในระดับโลก อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา มากกว่า 15 ปี จนเป็นที่ประจักษ์ต่อคนไทยทั้งประเทศท่ี ร่วมชม และส่งก�ำลังใจในการแข่งขันทุกครั้ง สามารถเป็น ตน้ แบบทดี่ ใี หก้ บั เดก็ และเยาวชนสนใจเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อล มากข้ึน เพื่อจะได้มีความสามารถเช่นเดียวกับรุ่นพ่ี กฬี าวอลเลยบ์ อล เปน็ ประเภทกฬี าทไี่ มม่ กี ารปะทะกนั ในระหวา่ งการแขง่ ขนั แตม่ โี อกาสเกดิ การบาดเจบ็ ไดเ้ ชน่ เดยี ว กบั กฬี าประเภทอน่ื ได้ ลกั ษณะของการเลน่ กฬี าวอลเลยบ์ อล จะมีการเคล่ือนไหวต่อเนื่อง (dynamic) และแรงเร็ว (ballistic) การกระโดด (jumping) การลงสู่พื้น (landing) และการเคล่ือนที่ออกด้านข้างแบบซ้�ำๆ เป็นประจ�ำ ซึ่งเป็น ปจั จยั เสยี่ งทที่ ำ� ใหเ้ กดิ การบาดเจบ็ ในนกั กฬี าวอลเลยบ์ อลได้ โดยอวัยวะที่มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้สูง ได้แก่ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อไหล่ น้ิวมือ และหลัง เป็นต้น สาเหตุของการ เกดิ การบาดเจบ็ คอื การใชง้ านของอวยั วะดงั กลา่ วมากเกนิ ไป (overuse) หรือการบาดเจ็บเฉียบพลัน (acute injury) สำ� หรบั การบาดเจ็บเฉยี บพลันส่วนใหญ่จะเกดิ ขึ้นในระหวา่ ง การฝกึ ซอ้ ม การแขง่ ขนั การบาดเจบ็ เฉยี บพลนั ทพี่ บบอ่ ยทสี่ ดุ คือ ข้อเท้าแพลง จากการลงสู่พ้ืนแล้วเหยียบเท้าฝ่ายตรงข้าม หรือเพ่อื นร่วมทีม พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของการบาดเจ็บ เฉียบพลันท่ีพบจากการเล่นวอลเลย์บอล การบาดเจ็บที่ 20

มีการเคล่ือนที่ออกด้านข้าง แบบซ้�ำๆ มีการลงสู่พ้ืน (landing) มีการกระโดด (jumping) ลักษณะของการเล่น มีการเคล่ือนไหวแรงเร็ว (ballistic) กีฬาวอลเลย์บอล มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (dynamic) ข้อเข่าเกิดข้ึนในลักษณะเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ ต่อข้อต่อ หากนักกีฬาได้รับการบาดเจ็บจะ พบประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ของ ท�ำให้ไม่สามารถลงแข่งขันหรือฝึกซ้อมได้ การบาดเจบ็ ทพี่ บในนกั กฬี าวอลเลยบ์ อลระดบั ส่งผลกระทบต่อการวางแผนฝึกซ้อมและ ความสามารถสูง ปัจจัยเส่ียงต่อการเกิด แข่งขัน รวมท้ังท�ำให้โครงสร้างร่างกาย การบาดเจ็บที่ข้อเข่า คือ ความหนักของ ผิดรูป เกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง มีค่าใช้จ่ายสูง การฝึกและลักษณะของสนามท่ีมีพ้ืนผิวแข็ง ในการรกั ษา ซง่ึ ระยะเวลาการรกั ษาขน้ึ อยกู่ บั การกระโดดลงสพู่ นื้ ซำ้� ๆ ทำ� ใหเ้ กดิ แรงกระทำ� ความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ และการ ตอ่ เอน็ ลกู สะบา้ เชน่ การกระโดดตบ (spike) ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ซึ่ง หรือกระโดดสกัดกั้น (block) ตลอดจน การบาดเจ็บเร้ือรังมีค่าใช้จ่ายในการรักษา อาการบาดเจ็บเรื้อรัง เป็นต้น การบาดเจ็บ ค่อนข้างสูง ทีข้อเท้าและข้อเข่าพบได้บ่อยในกีฬา วอลเลยบ์ อลในรม่ มากกวา่ วอลเลยบ์ อลชายหาด เน่ืองจากพื้นทรายช่วยลดแรงกระแทก การประเมินภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บข้อเข่าโดยใช้การทดสอบความผดิ พลาดของการลงสู่พื้นในนักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชน 21

ปัจจัยภายใน การเคล่ือนไหวร่างกายให้ถูกต้องตามหลักการ ปัจจัยการป้องกัน ทางวทิ ยาศาสตร์การกีฬาในการเล่นวอลเลย์บอล การบาดเจ็บ ปัจจัยภายนอก การสวมรองเท้า การเล่นในสนามกีฬาที่ท�ำด้วยวัสดุ ลดแรงกระแทกต่อข้อต่อ ดังน้ัน ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาควรให้ความส�ำคัญและป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ ควบคู่กับการจัดโปรแกรมฝึกซ้อม และแข่งขัน ปัจจัยการป้องกันการบาดเจ็บสามารถ ท�ำได้ 2 ลักษณะ คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ การเคลื่อนไหวร่างกายให้ถูกต้องตามหลักการ ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาในการเล่นวอลเลย์บอล คือ การลงสู่พ้ืนจากการกระโดดด้วยเท้า 2 ข้าง พร้อมกับมีการย่อเข่า การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เป็นต้น ปัจจัย ภายนอก ได้แก่ การสวมรองเท้า การเล่นในสนามกีฬาที่ท�ำด้วยวัสดุลดแรงกระแทกต่อข้อต่อ เป็นต้น ปัจจัยภายในเป็นองค์ประกอบที่สามารถปรับแก้ไข และเสริมสร้างได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ 22

การเคล่ือนไหวขาท�ำให้เกิดแรงกระท�ำต่อข้อต่อต่างๆ ของขา ได้แก่ ข้อต่อ ในเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อสะโพก เป็นต้น ซึ่งการกระโดดขึ้นและลง เป็นการ เคลื่อนไหวท่ีเกิดข้ึนบ่อยในกีฬาวอลเลย์บอล หากไม่เคล่ือนไหวให้ถูกต้อง จะท�ำให้เกิดการบาดเจ็บต่อข้อเข่าได้ โดยเฉพาะการบาดเจ็บต่อเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament: ACL) Padua และคณะ (2009) รายงานว่า การเคล่ือนไหวขาท่ีไม่ถูกต้อง เช่น การงอข้อเข่า ข้อสะโพก และการก้มตัวน้อยกว่า คา่ มมุ ขอ้ ตอ่ ในการเคลอื่ นไหวขาทที่ ำ� ใหเ้ กดิ ประสทิ ธภิ าพสงู รว่ มกบั ขอ้ เขา่ มกี ารเอยี งบดิ เข้าในมากขนึ้ (knee valgus) และมีการหมุนขามากข้นึ (leg rotation) เป็นต้น ลักษณะ ท่ีกล่าวมานี้ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อเข่าได้ การที่ผู้ฝึกสอนสามารถรู้ว่านักกีฬา มีการเคล่ือนไหวขาขณะกระโดดข้ึนและลงสู่พื้นเป็นอย่างไร ถูกต้องตามหลักการ เคลื่อนไหวด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จะช่วยให้ผู้ฝึกสอนสามารถ วางแผนการฝึกเพื่อปรับแก้ไขการเคล่ือนไหวร่างกายได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การเรียนรู้การเคล่ือนไหวขาเป็นอย่างไรนั้น สามารถใช้การทดสอบความผิดพลาด ของการลงสู่พ้ืน (Landing Error Scoring System test = LESS) ซึ่งเป็นวิธี ท่ีมีความเท่ียงตรงส�ำหรับการประเมินการเคล่ือนไหวขาขณะกระโดดและลงสู่พ้ืน ตามหลักชีวกลศาสตร์ และสามารถท�ำได้ด้วยตนเอง โดยใช้การบันทึกภาพด้วย กล้องวิดีโอ 2 กล้องพร้อมกัน ขณะนักกีฬากระโดดจากกล่องลงสู่พื้น และกระโดด ขึ้นตรงทันทีด้วยความพยายามสูงสุด น�ำภาพวิดีโอมาวิเคราะห์และให้คะแนนตาม แบบประเมิน LESS ถ้าค่าคะแนนมาก แสดงว่ามีการเคล่ือนไหวขาไม่เป็นไปตาม หลักชีวกลศาสตร์ ผู้ฝึกสอนสามารถใช้วิธีการน้ีท�ำการประเมินได้ด้วยตนเอง ซึ่ง ในตอนเร่ิมต้นควรได้รับค�ำแนะน�ำจากผู้มีความรู้ก่อน 23

สิ่งส�ำคัญส�ำหรับผู้ฝึกสอนและนักกีฬาในการฝึกซ้อม หรือแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล คือ ท�ำอย่างไรท่ีจะท�ำให้เกิดการบาดเจ็บน้อยท่ีสุด และนักกีฬาสามารถแสดง ศักยภาพทางกีฬาได้สูงสุด ซึ่งต้องน�ำองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนไหวขา ขณะลงสู่พื้นท่ีเป็นปกติและผิดปกติ มาใช้เป็นแนวทางที่จะท�ำให้นักกีฬาปฏิบัติได้ถูกต้อง ตามหลักการเคล่ือนไหวร่างกาย ตลอดจนผู้ฝึกสอนวางแผนการฝึกสมรรถภาพทางกาย ให้เหมาะสมกับความสามารถของนักกีฬาและระยะเวลาส�ำหรับการแข่งขันแต่ละรายการ โดยผู้ฝึกสอนสามารถท�ำได้ด้วยตนเอง และควรเริ่มใช้กับนักกีฬาต้ังแต่ระดับเด็ก สอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาล ด้านการพัฒนากีฬาด้วยการน�ำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม และยุทธศาสตร์ของกรมพลศึกษา ในการที่จะส่งเสริม และพัฒนาการกีฬา นันทนาการและสุขภาพโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนากีฬา ขั้นพ้ืนฐาน ส�ำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา จึงได้ท�ำการวิจัยเร่ือง การประเมิน ภาวะเส่ียงต่อการบาดเจ็บข้อเข่าโดยใช้การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พน้ื ในนักกีฬา วอลเลย์บอลยวุ ชน เปน็ การนำ� ความรวู้ ทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี าดา้ นชวี กลศาสตรก์ ารกฬี าเกยี่ วกบั การเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นกีฬามาสู่การปฏิบัติระหว่างการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน วอลเลย์บอล และผู้ฝึกสอนสามารถน�ำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ 24

วัตถุประสงค์ของ โครงการวิจัย 1. เพ่ือศึกษาลักษณะการเคลื่อนไหวข้อเข่า และร่างกายขณะลงสู่พ้ืนของ นกั กฬี าวอลเลยบ์ อลยวุ ชน โดยใชก้ ารทดสอบความผดิ พลาดของการลงสพู่ นื้ 2. เพ่ือศึกษาค่าคะแนนความผิดพลาดของการกระโดดลงสู่พ้ืน (LESS) จ�ำแนกตามกลุ่มคะแนนและเพศ ขอบเขตของ โครงการวิจัย กลุ่มประชากร คือ นักกีฬาวอลเลย์บอลรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ท่ีมีการ ฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรายการ “วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” พ.ศ.๒๕๕๙ ซ่ึงเป็นการแข่งขันที่มีการด�ำเนินการอย่างต่อเน่ือง และได้รับ การยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาวอลเลย์บอล สู่ระดับชาติ 25



บทที่ 2 ทบทววรนรณกรรม

2.1 กายวิภาคศาสตร์ ขอ้ เขา่ เปน็ หนงึ่ ในขอ้ ตอ่ ทมี่ ลี กั ษณะ ของข้อเข่า เป็นข้อต่อแบบบานพับ ท�ำหน้าที่ช่วยรับ นำ้� หนกั รา่ งกาย อกี ทงั้ ยงั เปน็ ตวั รบั แรงจาก พื้นในขณะท่ีมีการเคลื่อนไหวของกระดูก ซึ่งขณะยืนตรงข้อเข่าจะมีความม่ันคงและ มีความเสถียรภาพ เพราะว่าข้อต่ออยู่ใน แนวตั้งและตั้งฉากกับแนวระนาบ ซึ่งมี ความสอดคล้องกันระหว่างพื้นที่ผิวของ ขอ้ ตอ่ และแรงดงึ ดดู ของโลก แตถ่ า้ ดใู นลกั ษณะ ท่าทางของการงอเข่า การเคล่ือนไหวของ ข้อเข่านอกจากจะขึ้นกับโครงสร้างแล้ว ยงั ขน้ึ กบั เอน็ และกลา้ มเนอ้ื ทอ่ี ยรู่ อบๆ ขอ้ ตอ่ ข้อเข่าประกอบด้วยข้อต่อที่เกิดจากกระดูก ประกบกันสามชิ้นคือ กระดกู หนา้ แขง้ (tibia) กระดูกต้นขา (femur) และกระดูก สะบ้า (patella) ได้แก่ ข้อต่อ Tibiofemoral ข้อต่อ Patellofemoral และข้อต่อ Superior tibiofibular 28

ขอ้ ตอ่ Tibiofemoral เปน็ ขอ้ ตอ่ ท่ียาวท่ีสุดและแข็งแรงที่สุดในร่างกาย มีลักษณะแบบ condyloid คือข้อต่อที่มี การเคล่ือนไหว 2 ทิศทาง หรือเป็นแบบ บานพับที่ถูกประยุกต์ (modified hinge) โดยเป็นการผสมผสานระหว่างข้อต่อแบบ hinge และ pivot เขา้ ดว้ ยกนั ซง่ึ ในขอ้ ตอ่ นี้ การเคล่ือนไหวจะคลา้ ยคลึงกับขอ้ ศอกทม่ี ี การเคลือ่ นไหวแบบงอเขา้ และเหยียดออก อี ก ทั้ ง ยั ง ส า ม า ร ถ ห มุ น ไ ด ้ เ ล็ ก น ้ อ ย หมอนรองกระดูกเข่าด้านนอก (lateral meniscus) จะมีลักษณะเป็นรูปวงรีและ ติดอยู่ระหว่างด้านหน้าและด้านหลังของ กระดูก fibula และยังติดกับเอ็นไขว้หลัง รูปที่ 2.1 โครงสร้างของข้อเข่า (Robert Behnke. Kinetic Anatomy -3rd Edition. 2012) (posterior cruciate ligament, PCL) ซ่ึงหมอนรองกระดูกเข่าด้านนอกมีพื้นท่ี มากกวา่ หมอนรองกระดกู เขา่ ดา้ นใน (medial meniscus) ดังน้ัน เวลามีการเคลื่อนท่ีไปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หมอนรองกระดูกเข่า ด้านนอกจึงท�ำงานมากกว่าหมอนรองกระดูกเข่าด้านใน ส�ำหรับหมอนรองกระดูกเข่า ด้านในมีขนาดรองลงมาและเป็นรูปเส้ียวของวงรี มีส่วนท่ีติดกับเอ็นไขว้หน้า (Anterior cruciate ligament, ACL) หมอนรองกระดูกเป็นส่วนท่ีส�ำคัญมากของข้อเข่า เพราะช่วย ในการซึมซับแรงกระแทกท่ีกระท�ำกับเข่าในขณะเกิดการเหยียดเข่าและงอเข่า นอกจากนี้ มีเอ็นข้อต่อที่ช่วยในการพยุงข้อต่อคือ เอ็นยึดเข่าด้านข้างทั้งด้านนอก (Lateral collateral ligament, LCL) และด้านใน (Medial collateral ligament, MCL) ซ่ึง MCL เป็นเอ็นท่ีแบน มีส่วนในการป้องกันแรง valgus หรือเกิดแรงโดยตรงจากส่วนด้านในที่ส่งผลออกไป ด้านนอกซึ่งถือว่าเป็นกลไกที่มีความเส่ียงต่อการเกิดการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า MCL ตลอดจนมีการต้านการเกิดการหมุนเข้าด้านในและด้านนอกของเข่าอีกด้วย ส่วน LCL เป็นเอ็นท่ีรูปร่างบางและกลมกว่า MCL ช่วยในการต้านการเกิดแรง varus หรือเรียกว่า แรงท่ีกระท�ำจากด้านนอกกระท�ำต่อท่ีด้านใน (รูปที่ 2.1) 29

รูปที่ 2.2 ข้อต่อ Patellofemoral ข้อต่อ Patellofemoral ประกอบด้วย กระดูกสะบ้า (Patella) อยู่บริเวณตรงกลางของพื้นผิวปลายกระดูกต้นขา (Femur) กระดูกสะบ้า มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งล้อมรอบไปด้วยเอ็นกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps femoris) บทบาทหลักของกระดูกสะบ้าคือ เพ่ิมความ ไดเ้ ปรยี บเชงิ กลของกลา้ มเนอ้ื ตน้ ขา (Quadriceps) สว่ นขอ้ ตอ่ Superior tibiofibular ประกอบดว้ ย กระดกู Head of fibula รวมกบั ดา้ นขา้ งและ ด้านล่างของ tibial condyle ท�ำให้เกิดการเคล่ือนไหวและการหมุนของ กระดูกหน้าแข้งร่วมกับการงอข้อ 30

การเคลื่อนไหวของข้อเข่ามีความซับซ้อน เนื่องจากความไม่สมมาตรกันทั้งด้านใน และด้านนอกของข้อต่อ และการได้เปรียบเชิงกลของกระดูกสะบ้าที่อยู่ด้านหน้า เม่ือมีการ งอเข่า ในลักษณะของ close-chain เช่น ขณะที่ปลายเท้าติดพื้นหรือลักษณะที่มีการลง น�้ำหนัก กระดูกต้นขาจะถูกหมุนไปด้านหลัง พร้อมกับกระดูกหน้าแข้งจะมีการหมุนออก ดา้ นนอก และการบิดของกระดูก tibia ตามล�ำดบั แต่เมื่อมกี ารหมนุ เคลอื่ นไหวแบบ open- chain เช่น การเตะขาออกไปแล้วมีการงอขากลับเข้ามา จะมีการท�ำงานของกระดูก tibia และ femur ตามล�ำดับ จากการวิจัยเมื่อมีการหมุนกระดูก tibia ไปข้างหน้าและหมุนเข้า ด้านในโดยมีลักษณะการหุบขาเข้ามาด้วย การเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามในลักษณะ ของการเหยียดกระดูก femur ทุกอย่างจะมีการหมุนเข้าด้านใน รูปท่ี 2.3 การเคลื่อนไหวของข้อเข่า (Woo และคณะ, 1994) การเคลอื่ นไหวของขอ้ เขา่ จะถกู ควบคมุ โดยเอน็ ขอ้ ตอ่ กลา้ มเนอ้ื และโครงสร้างของเนื้อเยื่ออ่ืนๆ ที่อยู่รอบๆ ข้อเข่า ซึ่งข้อเข่าของ มนุษย์สามารถเคล่ือนไหวได้ 6 รูปแบบ ประกอบด้วย การหมุน (rotation) 3 แบบ คือ 1) การงอและการเหยียด (flexion & extension ) 2) การหมุนเข้าและหมุนออก (internal rotation & external rotation) และ 3) การกางออกและหุบเข้า (valgus & varus) และการเคล่ือน (translation) 3 ทิศทาง คือ 1) เคลื่อนด้านในและด้านนอก (medial & lateral) 2) ด้านหน้าและด้านหลัง (anterior, posterior) และ 3) ส่วนต้น กับส่วนปลาย (proximal & distal) (รูปท่ี 2.3) 31

2.2 การบาดเจ็บ Agel และคณะ (2007) ไดท้ ำ� การศกึ ษา ในกีฬาวอลเลย์บอล การบาดเจบ็ นกั กฬี าระดบั มหาวทิ ยาลยั เพศหญงิ ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี คศ. 1988–1989 ถึง ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ และคณะ (2534) นักกีฬาบาดเจ็บที่มารับการรักษาที่ ปี คศ. 2003–2004 พบว่า 55% ของ คลินิกกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การบาดเจ็บเกิดขึ้นที่รยางค์ส่วนล่าง และ เกิดข้นึ ท่ีข้อเข่ามากที่สุดในประเทศไทย การกีฬศาิรแิรหา่งชปจร�ำะเนทวศนไท6ย,0แล4ะโ6รงคพนยาบาล ธรี วฒั น์ กลุ ทนนั ท์ และคณะ (2534) ไดท้ ำ� การ ศึกษาบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ในชว่ งระยะเวลา 5 ปี จากนกั กฬี าบาดเจบ็ ทมี่ า รับการรักษาท่ีคลินิกกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์ การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย และ โรงพยาบาลศิริราช จ�ำนวน 6,046 คน เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลที่ได้รับการบาดเจ็บ 508 คน เป็นเพศชาย 277 คน และเพศหญิง 231 คน คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของนักกีฬา ที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด พบบาดเจ็บท่ีข้อต่อ และเอ็นยึดข้อต่อมากท่ีสุดถึงร้อยละ 47.43 โดยพบต�ำแหน่งส่วนขา (ร้อยละ 55.58) โดยเฉพาะขอ้ เขา่ พบมากทสี่ ดุ (รอ้ ยละ 31.62) นักกีฬาวอลเลย์บอล มบาากดทเจ่ีส็บุดทถ่ีขึง้อรต้อ่อยแลละะเ4อ7็นย.4ึด3ข้อต่อ รต้อ�ำยแหลนะ ่ง5ส5่วน.5ขา8 ที่ได้ร5ับ0กา8รบคานดเจ็บ เพศหญิง 231 คน ขร้้ออเยขล่าะพ3บ1มา.6กท2่ีสุด เพศชาย 277 คน 32

เช่นเดียวกับการศึกษาของ Agel และ ของร่างกายน้อยกว่าหรือมากกว่าปกติ คณะ (2007) พบบาดเจ็บท่ีกล้ามเน้ือเป็น จึงท�ำให้เกิดแรงกระท�ำจ�ำนวนมากต่อ ปัญหารองลงมา (ร้อยละ 24.08) และ เอน็ ไขวห้ นา้ ในขอ้ เขา่ (loading) จงึ มแี นวโนม้ พบมากที่สุดบริเวณหลังระดับเอว (ร้อยละ กอ่ ใหเ้ กดิ การบาดเจบ็ ได้ ซงึ่ มมุ การเคลอ่ื นไหว 44.60) บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นบาดเจ็บท่ี ข้อต่อท่ีไม่เป็นไปตามปกติขณะกระโดด ไมร่ นุ แรง เชน่ บาดเจบ็ ทเ่ี อน็ ยดึ ขอ้ ตอ่ ฉกี ขาด ขึ้น-ลงสู่พื้น การว่ิงหยุดเปลี่ยนทิศทาง (รอ้ ยละ 35.29) การอกั เสบ (รอ้ ยละ 26.47) ทันที เช่น มุมงอข้อเข่าน้อยกว่าปกติ และบาดเจ็บจากกล้ามเน้ือฉีกขาด (ร้อยละ ขอ้ เขา่ บดิ เขา้ ในมากกวา่ ปกติ (knee valgus) 25.55) อยา่ งไรกต็ าม โรคทไ่ี ดร้ บั การวนิ จิ ฉยั มุมข้อสะโพกหุบเข้าในมากกว่าปกติ (hip มากท่ีสุด คือ ปวดหลังระดับเอว (low back adduction) การก้มล�ำตัวน้อยกว่าปกติ strain) (ร้อยละ 11.40) และข้อเท้าแพลง (trunk flexion) เป็นต้น (ร้อยละ 11.21) ผลการศึกษาวิจัยจะเป็น แนวทางในการป้องกันการบาดเจ็บจาก กีฬาวอลเลย์บอล และแนวทางในการฟื้นฟู สมรรถภาพส่วนต่างๆ ให้แข็งแรงและ Anterior Cruciate Ligament: ACL เ ลี่ ย ง ต ่ อ ก า ร บ า ด เ จ็ บ ท่ี อ า จ จ ะ เ กิ ด ขึ้ น อย่างไรก็ตาม การศึกษาการบาดเจ็บใน นักกีฬายุวชนในประเทศไทยยังมีจ�ำนวน จ�ำกัด การบาดเจ็บท่ีส�ำคัญและพบได้ บ่อยมากในการเล่นกีฬาส�ำหรับข้อเข่า คือ การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าท่ีข้อเข่า และ การบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้าท่ีข้อเข่า เป็นการบาดเจ็บท่ีท�ำให้นักกีฬาต้องงดการ เล่นกีฬาเป็นเวลานาน หรือเลิกเล่นกีฬา หรือเกิดข้อเข่าเสื่อม (osteoarthritis) กีฬาที่ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดบาดเจ็บเอ็นไขว้ หน้าในข้อเข่า เป็นกีฬาที่มีการเคล่ือนไหว ในลักษณะกระโดดขน้ึ -ลงสู่พนื้ (jump landing) และการว่งิ หยดุ เปลย่ี นทศิ ทาง ทนั ที (cutting) เนอ่ื งจากการเคลอื่ นไหวทงั้ 2 ลกั ษณะน้ี มมี มุ การเคลอ่ื นไหวขอ้ ตอ่ ตา่ งๆ ข้อเข่าเส่ือม (osteoarthritis) 33

การทดสอบความผิดพลาดของการลงสู่พ้ืน เป็นเคร่ืองมือที่ใช้ทดสอบความผิดพลาดของ 2.3 การทดสอบ การลงสู่พ้ืนท่ีท�ำให้เกิดการบาดเจ็บของ ความผิดพลาด เอน็ ไขวห้ นา้ โดยในงานวจิ ยั ของ Padua และ ของการลงสู่พื้น คณะ (2009) ได้พัฒนาและทดสอบความ (Landing Error Scoring น่าเช่ือถือส�ำหรับการประเมินความเส่ียง System test =LESS) ต่อการเกิดการบาดเจ็บ ACL ใช้ผู้เข้าร่วม ทง้ั หมด 50 คนทงั้ เพศชายและเพศหญงิ โดย ให้ท�ำการกระโดดจากกล่องสูง 30 เซนติเมตร มีระยะห่างจากแผ่นวัดแรงเท่ากับ 50% ของ สว่ นสงู ของผเู้ ขา้ รว่ มวจิ ยั แตล่ ะคน พบวา่ คา่ สมั ประสทิ ธิ์ สหสัมพันธ์และข้อผิดพลาดมาตรฐานของการวัดมีค่าเท่ากับ 0.91 และ 0.42 ตามล�ำดับ โดยมี ค่าความเช่ือมั่นสูง แสดงให้เห็นว่าการทดสอบ LESS มีความน่าเชื่อถือและสามารถน�ำไป ใช้ในการประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา Padua และคณะ (2011) ได้ท�ำการวิจัย เครอ่ื งมอื LESS อกี ครงั้ โดยดคู วามนา่ เชอื่ ถอื เพอ่ื ประเมนิ ในเวลาจรงิ ซงึ่ ทำ� การวจิ ยั ในกลมุ่ ผู้มีสุขภาพปกติ จ�ำนวน 43 คน และได้ปรับรูปแบบการประเมินของ LESS จาก 17 ข้อ ให้เหลือเพียง 10 ข้อ ผลจากงานวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า LESS-RT ใช้งานง่ายสะดวกและ รวดเร็วกว่าแบบเดิม อีกทั้งยังมีความน่าเช่ือถือในการประเมินอีกด้วย Smith และคณะ (2012) ได้รายงานถึงการดูความเส่ียงท่ีเพิ่มขึ้นของการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าที่ข้อเข่า (ACL) แบบไมม่ กี ารปะทะ (Non-contact) โดยผเู้ ขา้ รว่ มงานวจิ ยั มาจากโรงเรยี นมธั ยมและมหาวทิ ยาลยั รวม 5047 คน จากหลายประเภทชนดิ กฬี า อาทเิ ชน่ ฟตุ บอล อเมรกิ นั ฟตุ บอล รกั บ้ี ฮอกก้ี ยิมนาสติก ลาครอส และวอลเลย์บอล ผลจากการประเมินพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างความเส่ียงของการเกิดการบาดเจ็บ ACL และผลของค่า LESS งานวิจัยน้ีจึงให้ ผลแยง้ วา่ LESS ไมส่ ามารถคาดการณก์ ารบาดเจบ็ ของ ACL ในกลมุ่ ประชากรทเี่ ปน็ นกั กฬี า ระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย 34

Padua และคณะ (2015) ได้น�ำ James และคณะ (2016) ได้ การประเมิน LESS มาใช้ศึกษาอีกครั้ง โดย น�ำ LESS มาศึกษาเกี่ยวกับคนท่ีเคย ใช้ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักกีฬาฟุตบอลเยาวชน มีประวัติการบาดเจ็บกับคนท่ีไม่เคยมี จ�ำนวน 829 คน ท้ังเพศชายและหญิงที่ ประวัติการบาดเจ็บเปรียบเทียบกันว่าพบ มีอายุต�่ำกว่า 13 ปี พบว่า ในการติดตาม ความแตกต่างของ LESS หรือไม่ ผู้เข้าร่วม ครั้งน้ีมีผู้เข้าร่วม 7 คนท่ีได้รับบาดเจ็บเอ็น วิจัยเป็นนักกีฬาฟุตบอล ดิวิช่ัน 1 ทั้งชาย ไขว้หน้าท่ีข้อเข่า (ACL) แบบไม่มีแรงปะทะ และหญิง สรุปได้ว่าไม่พบความแตกต่างท้ัง หรือไม่ได้เป็นการบาดเจ็บแบบโดยตรง ผู้ที่มีและไม่มีประวัติการบาดเจ็บ ในความ ซ่ึงผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บเหล่าน้ีมีคะแนน เสย่ี งทจี่ ะเกดิ การบาดเจบ็ ACL โดยประเมนิ LESS สูงกว่าผู้เข้าร่วมท่ีไม่ได้รับการ จาก LESS Everard และคณะ (2017) บาดเจบ็ ทำ� ใหส้ รปุ ไดว้ า่ แมจ้ ะมขี อ้ จำ� กดั ของ ได้น�ำเครื่องมือการประเมินสองเคร่ืองมือมา ขนาดตัวอย่าง LESS ก็ยังเห็นถึงศักยภาพ เปรียบเทียบดูความสัมพันธ์กันคือ LESS ในการเป็นเคร่ืองมือท่ีใช้ตรวจสอบความ และ Functional Movement Screen ซึ่ง เสี่ยงของการบาดเจ็บของ ACL ในนักกีฬา สองวิธีการประเมินน้ีแตกต่างกันในด้าน ฟุตบอลเยาวชน ในปีเดียวกัน Herman วิธีการทดสอบ ผู้เข้าร่วมการทดสอบเป็น และคณะได้ศึกษาเกี่ยวกับพ้ืนผิวท่ีใช้ในการ นักกีฬามหาวิทยาลัยผู้ชาย 98 คน พบว่า ลงสู่พ้ืน (landing) ที่แตกต่างกันสามแบบ ทั้งสองเคร่ืองมือไม่ได้มีความสอดคล้องกัน คือ สนามหญ้า สนามกีฬาแบบลาน และ เพราะรูปแบบการทดสอบแตกต่างกัน จึงไม่ กระเบอื้ ง โดยใชก้ ารประเมนิ ดว้ ย LESS เขา้ เหมาะสมที่จะใช้แทนกัน มาดูผลความแตกต่าง ในการศึกษาครั้งน้ี ใช้ผู้เข้าร่วมท่ีแตกต่างกันสามแบบคือ ผู้เข้าร่วมท่ัวไปท่ีไม่มีข้อจ�ำกัดของร่างกาย นักฟุตบอล และนักกีฬาลาครอส ใช้การวัด แบบวดิ โี อ 2 มติ ิ พบวา่ ไมม่ คี วามแตกตา่ งกนั LESSของพ้ืนผิวหรือข้อจ�ำกัดทางสถานะ 35

ส�ำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา (2556) ท�ำการ ศึกษาเร่ือง การวิเคราะห์ลักษณะและจ�ำนวนคร้ังการลงสู่ พ้ืนในนักกีฬาวอลเลย์บอลยวุ ชน โดยบนั ทกึ วดิ โี อนกั กฬี า วอลเลยบ์ อลทกุ ทมี ทเ่ี ขา้ รว่ มการแขง่ ขนั รายการ วทิ ยกุ ารบนิ ฯ มินิวอลเลย์บอล ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจ�ำปี 2555 และน�ำมา วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Focus X2 พบว่า ลักษณะการลง สู่พ้ืน นักกีฬาเพศชายและหญิงมีการลงด้วยเท้าคู่ เท้าซ้าย และเท้าขวา ตามล�ำดับ นักกีฬาเพศชายมีค่าเฉล่ียจ�ำนวน การกระโดดต่อเซทของแต่ละทีมมากกว่านักกีฬาเพศหญิง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ผู้ฝึกสอนควรสอนเทคนิค พนื้ ฐานการลงสู่พน้ื หลังจากการกระโดดท่ีถูกต้องให้กับ นักกีฬาตั้งแต่ระดับเด็ก เพือ่ ให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและ ป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาว Lobietti และคณะ (2006) รายงานวา่ ผู้ร่วมวิจัยเป็นนักวอลเลย์บอลชายท่ีร่วม วอลเลย์บอลเป็นหน่ึงในประเภทกีฬาท่ีมี แข่งอิตาลีลีกอาชีพ B1 จ�ำนวน 3 คน ผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุดในโลก (ผู้เล่นต�ำแหน่งตบ 2 คน ผู้เล่นต�ำแหน่ง นักกีฬามีการกระโดดตบและกระโดดสกัด ป้องกันตัวกลาง 1 คน) วิธีการ คือให้ ประมาณ 100 คร้ัง ในระหว่างการแข่งขัน ผรู้ ว่ มการวจิ ยั กระโดดลงจากมา้ ยมิ นาสตกิ สงู ทำ� ใหม้ โี อกาสเสย่ี งสงู ตอ่ การเกดิ ขอ้ เท้าแพลง 15 เซนตเิ มตร ทวี่ างอยหู่ นา้ ตาขา่ ย 1 เมตร ซึ่งเป็นการบาดเจ็บเฉียบพลันและการบาด ให้ลงสู่พื้นด้วยเท้าซ้าย 2 ครั้ง ลงเท้าคู่ เจ็บท่ีข้อเข่า (jumper knee) จากการใช้งาน 2 ครั้ง ติดตัวบอกต�ำแหน่งร่างกายที่ มากเกนิ ไป ซง่ึ การลงสพู่ น้ื จากการกระโดด เท้า หน้าแข้ง ต้นขาและสะโพกข้างขวาและ เป็นปัจจัยที่จะใช้ป้องกันการบาดเจ็บได้ ซ้าย ใช้ระบบ vicon 460 ร่วมกับกล้อง มีการแนะน�ำให้นักกีฬาลงสู่พ้ืนด้วยเท้า โทรทัศน์ 6 เครื่อง ในการวิเคราะห์ข้อมูล 2 ข้าง โดยเท้าวางราบกับพื้นพร้อมกับงอ ค�ำนวณค่ามุมข้อเท้า ข้อเข่า และข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อสะโพกด้วยมุมท่ีเหมาะสม ของขาซ้ายขณะลงด้วยเท้าซ้ายและลงด้วย ไม่มากหรือน้อยเกินไป และได้ท�ำการวิจัย เท้าคู่ พบว่า การให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับมุม เพื่อศึกษาการเคล่ือนไหวร่างกายขณะ การงอของข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า ลงสพู่ น้ื หลงั จากการกระโดดตบและหลงั จาก ขณะลงสู่พื้นในการเล่นวอลเลย์บอลจะช่วย การเคลอื่ นไปดา้ นขา้ งเพอื่ กระโดดปอ้ งกนั ลกู ปอ้ งกนั การบาดเจบ็ จากการใชง้ านมากเกนิ ไปได้ 36

Wang (2011) รายงานวา่ การบาดเจบ็ Wang (2011) ทเ่ี อน็ ไขวห้ นา้ (ACL) ในขอ้ เขา่ มกั เกดิ ไดบ้ อ่ ย สาเหตุของการบาดเจ็บที่เอ็นไขว้หน้า จากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล บาสเกตบอล จากการเล่นกีฬาท่ีไม่มีการชนหรอื ปะทะกัน และแฮนด์บอล ซึ่งมีการหยุดเพื่อกระโดด การลงสู่พน้ื (landing) (stop-jump) ดว้ ยขาคแู่ ละขาขา้ งเดยี วบอ่ ยๆ ในการเล่นกีฬาทั้ง 3 ชนิดข้างต้น การศึกษา การลดความเร่ง จ�ำนวนมากรายงานว่า การบาดเจ็บท่ี อย่างรวดเร็ว เอ็นไขว้หน้าจากการเล่นกีฬาที่ไม่มีการชน (deceleration) หรือปะทะกัน (non-contact ACL injury) สาเหตุเกิดจากการลงสู่พ้ืน (landing) การลดความเร่งอย่างรวดเร็ว (deceleration) และการเปลี่ยนทิศทางทันทีทันใด (sudden changes direction) ปัจจัยเส่ียงที่ท�ำให้เกิด การบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า พิจารณาจาก องค์ประกอบด้านชีวกลศาสตร์ของข้อเข่า (knee kinematics) ค่าแรงท่ีข้อต่อ (joint force) และโมเมนท์ของข้อต่อ (joint moment) ซ่ึงได้จากการค�ำนวณด้วยวิธี inverse dynamic ซ่ึงการหยุดก่อนการ กระโดดขึ้นจากพ้ืนท�ำให้เกิดแรงท่ีข้อต่อและ โมเมนท์ขณะงอข้อเข่ามากข้ึน ส่งผลให้เกิด การบาดเจ็บท่ีเอ็นไขว้หน้าจากการเล่นกีฬา ท่ีไม่มีการชนกัน การเปล่ียนทิศทางทันทีทันใด (sudden changes direction) 37

Zhang และคณะ (2015) ท�ำการศึกษาคุณสมบัติทางกลไกของเอ็นกล้ามเนื้อซ่ึงมี ความสัมพันธ์กับศักยภาพทางการกีฬา และการเกิดการบาดเจ็บ (tendinopathy) นักกีฬา ที่มีการกระโดดซ้�ำๆ บ่อยๆ ในการเล่นกีฬา จะท�ำให้เกิดแรงกระท�ำต่อเอ็นกล้ามเน้ือเป็น ประจ�ำสม่�ำเสมอ (habitual loading) กลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 40 คน เป็นบุคคลทั่วไป 10 คน นักกฬี าบาสเกตบอล 10 คน และนกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 10 คน อายรุ ะหวา่ ง 18-35 ปี ทำ� การวดั ความหนา (thickness) ความยดื หยนุ่ ของเอน็ กลา้ มเนอ้ื ในแนวแรงเฉอื น (shear elastic modulus) และพน้ื ทต่ี ดั ขวางของเอน็ ลกู สะบา้ สว่ นบน (proximal patellar tendon cross-sectional area) ขณะงอข้อเข่า 30 องศา ทั้งสองข้าง พบว่า นักกีฬาวอลเลย์บอล มีความยืดหยุ่นของเอ็นกล้ามเนื้อในแนวแรงเฉือนขาข้างท่ีถนัดลดลง 48.7% เม่ือเปรียบ เทียบกับบคุ คลทวั่ ไป ขาขา้ งทีไ่ ม่ถนัดลดลง 47.1% และพน้ื ทีต่ ัดขวางของเอ็นลกู สะบ้าสว่ น บนมีขนาดใหญ่ข้ึน 22-24% ของขาข้างที่ถนัดและไม่ถนัด นักกีฬาบาสเกตบอลมีความ ยืดหยุ่นของเอ็นกล้ามเนื้อในแนวแรงเฉือนขาข้างท่ีถนัดลดลง 18.9% เม่ือเปรียบเทียบกับ บุคคลท่ัวไป ขาข้างที่ไม่ถนัดลดลง 27.3% และพ้ืนท่ีตัดขวางของเอ็นลูกสะบ้าส่วนบนมี ขนาดใหญข่ น้ึ 24-29% ของขาขา้ งทถ่ี นดั และไมถ่ นดั กลมุ่ นกั กฬี าจะมพี นื้ ทต่ี ดั ขวางของเอน็ ลูกสะบ้าส่วนบนใหญ่ข้ึน แต่ความหนาของเอ็นลูกสะบ้าใกล้เคียงกับกลุ่มบุคคลท่ัวไป ดังนั้น เอ็นลูกสะบ้าส่วนบนมกี ารปรบั ตวั ในเรอื่ งคณุ สมบตั ทิ างกลไก (mechanical) และ โครงสร้าง (morphological) ของเอ็นกล้ามเนื้อ เมื่อมีการเล่นกีฬาที่เกี่ยวการ กระโดดเปน็ เวลานาน นอกจากน้ี อายแุ ละนำ้� หนกั ตวั มผี ลตอ่ คณุ สมบตั ขิ องเอน็ กลา้ มเนอ้ื จงึ มี แนวโนม้ วา่ นกั กฬี าทมี่ กี ารเคลอ่ื นไหวในลกั ษณะกระโดดเปน็ ประจำ� เปน็ เวลานาน มโี อกาสทจี่ ะเกดิ การบาดเจบ็ ทเ่ี อน็ ลกู สะบา้ เนอ่ื งจากคณุ สมบตั คิ วามยดื หยนุ่ และโครงสรา้ งของเอน็ เปลยี่ นแปลงไป 38

บุคคลท่ัวไป 10 คน นักกีฬาบาสเกตบอล 10 คน นักกีฬาวอลเลย์บอล 10 คน พน้ื ที่ตัดขวางของ พ้นื ท่ีตัดขวางของ ใเหอญ็นล่ขูกึ้นส2ะบ4้า-ส2่วน9บ%น ใเหอญ็นล่ขูก้นึ ส2ะบ2้า-ส2่วน4บ%น ลดลง (%) เม่ือเปรียบเทียบกับบุคคลท่ัวไป ขาข้างท่ีถนัด ขาข้างท่ีไม่ถนัด นักกีฬาวอลเลย์บอลมีความยืดหยุ่น 48.7% 47.1% ของเอ็นกล้ามเน้ือในแนวแรงเฉือน นักกีฬาบาสเกตบอลมีความยืดหยุ่น 18.9% 27.3% ของเอ็นกล้ามเน้ือในแนวแรงเฉือน Zhang และคณะ (2015) 39



บทที่ 3 วิธีดำ�เนินการวิจัย

กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยคร้ังนี้ เป็นนกั กฬี าวอลเลยบ์ อล ของโรงเรยี นทม่ี กี ารฝกึ ซอ้ มเพอ่ื การแขง่ ขนั วอลเลยบ์ อลยวุ ชน วิทยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ประจ�ำปี พ.ศ. 2559 ผู้เข้าร่วมการวิจัย รุ่นอายุ 12 ปี โดยผู้เข้าร่วมวิจัยต้องมีการฝึกซ้อม เพื่อการแข่งขันอย่างน้อย 2 ปี ตลอดจนมีสุขภาพดี โดยนักกีฬาจะถูกสุ่มจากโรงเรียนท่ีเข้าร่วมการแข่งขัน วทิ ยกุ ารบนิ ฯ มนิ วิ อลเลยบ์ อลทอี่ ยใู่ นเขตจงั หวดั ภาคกลาง สำ� หรบั นกั กฬี าทมี่ อี าการเจบ็ ปว่ ยกอ่ นการเกบ็ ขอ้ มลู อยา่ งนอ้ ย 3 เดือน หรือมีอาการบาดเจ็บ จะถูกคัดออกจากการเป็นผู้เข้าร่วม งานวิจัย นักกีฬาทุกคนและผู้ปกครองจะได้รับค�ำอธิบายเก่ียวกับโครงการ วิจัย และต้องเซ็นใบยินยอมเข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการรับรองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยมหิดล หนังสือรับรอง เลขที่ COA No. MU-CIRB 2016/118.1209 ก่อนเข้าร่วมงานวิจัย สุ่มนักกีฬาท่ีมีการฝึกซ้อมเพอ่ื การแข่งขัน “วอลเลย์บอลยุวชน วทิ ยุการบินฯ มินิวอลเลย์บอล ประจ�ำปี พ.ศ. 2559 รุ่นอายุ 12 ปี” ที่อยู่ในเขตจังหวัดภาคกลาง มีการฝึกซ้อมเพ่อื การแข่งขันอย่างน้อย 2 ปี มีสุขภาพดี และไม่มีอาการเจ็บป่วยก่อนการ เก็บข้อมูลอย่างน้อย 3 เดือน นักกีฬาทุกคนและผู้ปกครองจะได้รับ ค�ำอธิบายเกี่ยวกับโครงการวจิ ัย และต้องเซ็นใบยินยอมเข้าร่วมในงานวจิ ัย 42

เครื่องมือที่ใช้ กล้องวิดีโอ เคร่ืองหมายการค้า Sony รุ่น HDR- ในการวิจัย PJ675 และ Canon รุ่น HF M41 ประเทศญ่ีปุ่น รวม 2 กล้อง พร้อมขาตั้งกล้อง กล่องไม้ส�ำหรับยืนกระโดด ขนาดความสูง 30 เซนติเมตร จ�ำนวน 1 กล่อง เคร่ือง ช่ังน�้ำหนัก เครื่องหมายการค้า Tanita innerscan รุ่น BC-545 ประเทศญี่ปุ่น เคร่ืองวัดส่วนสูงของโรงเรียน ตลับเมตร สายวัด และเอกสารส�ำหรับบันทึกผล กล้องวิดีโอ เครือ่ งหมายการค้า Canon รุ่น HF M41 กล้องวดิ ีโอ เคร่อื งหมายการค้า Sony รุ่น HDR-PJ675 การจัดสถานที่ส�ำหรับการเก็บข้อมูล เคร่ืองวัดส่วนสูงของโรงเรียน 43

สถานที่ สนามฝึกซ้อมของแต่ละโรงเรียนในภาคกลางท่ี ดำ�เนินการวิจัย ถูกสุ่ม ประกอบด้วย จังหวัดสุพรรณบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี และลพบุรี 50% ความสูงของผู้เข้าร่วมวิจัย วิธีดำ�เนินการวิจัย พ้ืนที่ที่ กระโดดลง 346 ซม. กล่องสูง 30 ซม. 346 ซม. รูปท่ี 3.1 การตั้งกล้อง ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (อ้างอิงจาก Padua และคณะ, 2009) ผู้เข้าร่วมงานวิจัย ยืนบนกล่องท่ีมีความสูง 30 ซม จากนั้นให้กระโดดจากกล่อง ลงสพู่ น้ื และกระโดดขนึ้ ตรงทนั ทดี ว้ ยความพยายามสงู สดุ โดยมรี ะยะหา่ ง 50% ของความสงู ของผเู้ ขา้ รว่ มวจิ ยั แตล่ ะคน (รปู ที่ 3.1) ใชก้ ลอ้ งวดิ โี อ 2 กลอ้ ง ตง้ั หา่ งจากพน้ื ทท่ี กี่ ระโดดลง 346 ซม. ในระนาบด้านหน้า (frontal plane) และด้านข้าง (sagittal plane) ท�ำการ บันทึกวิดีโอขณะกระโดด เพื่อน�ำมาวิเคราะห์ในภายหลัง ผู้วิจัยจะอธิบายและสาธิตวิธีการ กระโดด ซง่ึ เปน็ ไปตามลกั ษณะทม่ี กี ารฝกึ ซอ้ มของนกั กฬี าแตล่ ะคน ทำ� การกระโดด จำ� นวน 3 คร้ัง โดยแต่ละคร้ังจะมีเวลาพัก 2 นาที 44

การวิเคราะห์ ข้อมูลการกระโดดที่ได้จากการบันทึกวิดีโอขณะ ข้อมูล กระโดด จะถูกน�ำมาวิเคราะห์โดยนักกายภาพบ�ำบัด และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จ�ำนวน 3 คน ตามการ ประเมินค่าคะแนนความผิดพลาดในการกระโดดลงสู่ พื้น โดยสถิติ Intra-class Correlation Coefficient (ICC) ท่ีใช้ในการวิเคราะห์ค่า inter-rater reliability (IRR) ของผู้ประเมินค่า LESS score ท้ัง 3 คน มีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นสูง โดยมีค่า ICC เท่ากับ 0.812 และค่า 95% confidence interval มีค่า ระหว่าง .708 ถึง .883 (F(56,112) = 5.447, p<.0001) นอกจากนี้ ค่าคะแนน LESS score ยังถูกน�ำมาวิเคราะห์เพ่ือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม และเพศ และแบ่งแยกตามหัวข้อ โดยใช้สถิติ Chi-Square Test 45



บทที่ 4 ผลการวิจัย

4.1 ผู้เข้าร่วมวิจัย ผู้เข้าร่วมวิจัยในการศึกษาวิจัยน้ี มีจ�ำนวน นกั กฬี าวอลเลยบ์ อลทง้ั หมด 233 คน จากโรงเรยี น 10 ที่เข้าร่วมในการแข่งขันวอลเลย์บอล 18 โรงเรยี น 9 24 ทมี จาก 6 จงั หวดั จำ� นวนนกั กฬี าวอลเลยบ์ อล 8 จ�ำแนกตามโรงเรียนได้แสดงในแผนภูมิแท่ง รูปที่ 7 4.1 6 ร้อยละ 5 4 3 2 1 0 บ้านบาง ุก้ง วัดเทพ ิพ ัทกษ์ บ้านซับส ุน่น บ้านแปลงไผ่- ุขนค ัลง ชุมชนวัดป่าขะ บ้านเขา ัหวนา วัดโบสถ์การ้อง วัดเลขธรรม ิกต ์ิตฯ วัดหนองคันจาม ึบงเขาย้อนฯ วัดดอนทองฯ ตลาดบางบ่อฯ บ้านคลองสองฯ วัดหนองหว้า บ้านหนองปลาไหล วัดหนองคู เจริญดีวิทยา บ้านใหม่ ุท่ง ิดนขอฯ รูปที่ 4.1 จ�ำนวนร้อยละของนักกีฬาวอลเลย์บอลท่ีเข้าร่วมงานวิจัยจ�ำแนกตามโรงเรียน 48

เพศชาย 99 คน เพศหญิง 134 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 คิดเป็นร้อยละ 57.5 จ�ำนวนนักกีฬาวอลเลย์บอล 233 คน จ�ำนวนนักกีฬาวอลเลย์บอลทั้งหมด 233 คน มีนักกีฬาวอลเลย์บอลยุวชนท่ีเป็น เพศชาย จ�ำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5 และเพศหญิงจ�ำนวน 134 คน คิดเป็น ร้อยละ 57.5 คุณลักษณะของผู้เข้าร่วมวิจัยจ�ำแนกตามเพศได้แสดงไว้ในตารางท่ี 4.1 ซึ่ง จากการทดสอบทางสถิติ ด้วย student t-test ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ตารางที่ 4.1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมวจิ ัยจ�ำแนก ตามกลุ่มเพศ คุณลักษณะของผู้เข้าร่วมวิจัย ชาย (n = 99) หญิง (n = 134) รวม (n=233) อายุ (ปี) 12.24 ± 0.85 11.88 ± 0.98 12.03 ± 0.95 น�้ำหนัก (กก.) 41.95 ± 13.18 41.78 ± 11.32 41.85 ± 12.11 ส่วนสูง (ซม.) 148.38 ± 10.77 148.75 ± 9.29 148.59 ± 9.93 ดัชนีมวลกาย (กก./ม.2) 18.73 ± 4.14 18.65 ± 3.69 18.69 ± 3.88 49


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook