Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Description: สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Search

Read the Text Version

ในเรือ่ งอนื่ ก็เป็นเชน่ เดียวกัน ระเบียบการหรือวิชาการตา่ งๆ ที่นำมาใชบ้ างที ไมเ่ หมาะสมกับสภาพของประเทศ หรือนสิ ยั ใจคอของคนไทย...”  เรียนรจู้ ากประสบการณ์และทดลองหาแนวทางปฏิบัตโิ ดยไม่ยึดติดกับทฤษฎี บางครั้ง การดำเนนิ งานประสบปญั หา และไม่มวี ธิ กี ารแกไ้ ขหรอื ปรากฏอย่ใู นตำรา ตอ้ งนำประสบการณไ์ ปปรบั ใช้ ให้สอดคลอ้ งกับสภาพปัญหา โดยพินจิ พิจารณาอยา่ งลกึ ซึ้ง และทดลองหาแนวทางปฏิบัติในการแก้ไข ปัญหา ให้สอดคลอ้ งกบั สถานการณ์ เพื่อกอ่ ประโยชนต์ ่อสว่ นรวมมากทสี่ ุด หากไดผ้ ลกน็ ำมาดำเนินการ เป็นโครงการพระราชดำริ ดังพระบรมราโชวาทเนือ่ งในโอกาสพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แกข่ ้าราชการ ณ ศาลาดสุ ดิ าลยั เมอื่ วันที่ ๒๘ มถิ ุนายน ๒๕๑๖ ความตอนหนึ่งว่า “...งานนจี้ ะตอ้ งทำดว้ ย ความรู ้ คือความรูห้ ลักวิชาใน แตล่ ะงานที่ท่านไดป้ ระกอบอยู่ นอกจากความร้ใู นหลกั วิชาการ แล้ว จะตอ้ งมีความรทู้ ี่จะมา ปฏบิ ัต ิ นำเอาวชิ าน้นั มาปฏิบัติ ให้ถูกตอ้ งตามเหตุการณ์ซึง่ บางทีก็ไม่มีอยูใ่ นตำราและ จะตอ้ งอาศัยความคดิ พจิ ารณา ที่รอบคอบของตนเองเพ่อื ให้ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ส ถ า น ก า ร ณ์ บางสถานการณ์ เมื่อเราไปเจอก็พยายามที่จะซกั เอาหลักวชิ าทีไ่ ดเ้ ล่าเรียนมา หรือไดป้ ระสบมามาปฏิบัติ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ลุล่วงไปโดยเรยี บร้อยแต่ถ้ามาใช้ ความพจิ ารณา ที่รอบคอบ ท่ีลึกซ้ึง ก็จะผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายนัน้ ไปโดยด ี เปน็ ประโยชน์แกส่ ่วนรวม...” และพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะเอกอคั รราชทตู และกงสุลใหญไ่ ทยประจำภูมิภาค เอเชยี -แปซฟิ ิก ณ พระตำหนกั จติ รลดารโหฐาน เมือ่ วันท่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ความตอนหนงึ่ วา่ “...โครงการตามพระราชดำร ิ โครงการเหลา่ น้ ี ขอบอกทนั ทวี ่าไมใ่ ช ่ ไมไ่ ด้ทำมาจาก ทฤษฎี เป็นการทำแบบที่เขาเรยี กวา่ ทางปฏิบัติ คอื ไปเห็นอะไรที่ไหนแล้วก็นึกวา่ ควรจะปฏิบตั อิ ยา่ งไร ก็ทดลองปฏบิ ตั ิไป...” 144

๔.๓ ทำให้ง่าย อาจกลา่ วไดว้ า่ การ“ทำใหง้ ่าย”หรอื “Simplicity” เป็นหลักคดิ ท่สี ำคญั ท่ีสุดของการพฒั นาประเทศในรปู แบบ ของโครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ ซง่ึ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ ัวทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และใช้ กฎธรรมชาติเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างง่ายๆ แตต่ รงจุดและไดผ้ ล ซ่งึ มีแนวพระราชดำริสำคัญ ดงั น้ี  ดัดแปลง ปรบั ปรงุ และหาวธิ ีแก้ไขงาน พัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ ด้วยวิธีง่ายๆ ทำสิ่งทีย่ ากให้กลายเป็นงา่ ย ทำสิง่ ทีส่ ลับซบั ซอ้ น ให้เขา้ ใจงา่ ย และสอดคลอ้ งกับสภาพแวดลอ้ มและ ความเป็นอยู่ ทัง้ ประเพณแี ละแนวปฏิบตั ิของสงั คม ในชมุ ชนน้ันโดยหากใชห้ รือทดลองแล้วได้ผล สามารถนำมาใชเ้ ป็นหลักปฏิบัติตอ่ ไปได้ ดังพระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ และ คณะเจา้ หน้าท่ีท่ีเกย่ี วขอ้ งกบั การดำเนินงานของศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ เม่ือวนั ท่ี ๒๖ สงิ หาคม ๒๕๓๑ ณ ศาลาดสุ ิดาลัย สวนจติ รลดา พระราชวังดสุ ิต ความตอนหน่งึ วา่ “...การแกป้ ญั หานน้ั อาจจะมคี นวา่ ไมถ่ กู หลกั วชิ ากไ็ ด ้ ไมเ่ ปน็ ไร โดยมากเราพยายาม ทจ่ี ะทำอะไรทง่ี า่ ยๆ แลว้ ในทส่ี ดุ ถา้ ทำงา่ ยๆ แลว้ ไดผ้ ลกจ็ ะเปน็ หลกั วชิ าโดยอตั โนมตั .ิ ..”  คิดคน้ การช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ในลักษณะการดำเนนิ งานทีง่ ่าย ไมย่ ุ่งยากซับซ้อน หรือใชเ้ ทคโนโลยีสูงเกินไป เพราะจะทำให้ไม่คมุ้ กบั การลงทุนและอาจทำให้เกษตรกร เป็นหน้ี โดยอาศยั ประสบการณ์ การเรยี นรู้ และการสังเกต ดงั พระราชดำรสั ณ ศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาภพู าน อันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ เมอ่ื วนั ที่ ๒๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๓ ความตอนหนึ่งวา่ “…ในการส่งเสริมให้เกษตรกรเลีย้ งสัตวน์ ัน้ จะต้องแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ สำหรับคนที่เลีย้ งสัตวจ์ ริงจงั ไปซือ้ อาหารสัตว์มาให้ มีอาหารเสรมิ ตา่ งๆ และมีอกี ส่วนหนงึ่ สำหรบั ข้าราชการแท้ๆ ในชนั้ ตำ่ กว่ามันตอ้ งมีนะ ถ้าเราคิดจะเลี้ยงชัน้ สูง ตลอดเวลาชาวบา้ นเขาสไู้ มไ่ หว ถา้ มอี ะไรผดิ ปกตไิ ปหน่อยจะลม่ จม เปน็ หน้แี ลว้ เสรจ็ เลย ปีหนึง่ กป็ ลดหนเี้ ขาไม่ได้ แตถ่ ้าแจกชาวบ้านทพ่ี ื้นทตี่ อ้ งใหอ้ ะไรง่ายที่สุด...” และพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ิต เมอื่ วนั ที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๓๔ ความตอนหน่ึงว่า 145

“...ทจ่ี รงิ พวกเรา กไ็ ดไ้ ปดูงานมาแลว้ กลบั มาทำกแ็ บบของเขา แต่ทำไมค่ อ่ ยสำเร็จ. ท่เี ราทำสำเร็จก็คือทำแบบของเขานน้ั แหละ แตว่ ่าเรามาทำแบบชาวบา้ น แบบไทยๆ. ความจรงิ เราทำมาก่อนเขาทำ ทำแบบหมูบ่ ้านสหกรณ์. เราก็ทำเหมือนกันแต่เราทำ วธิ กี ารแบบ “คนจน” ไม่ไดม้ ีการลงทนุ มากหลายอยา่ งของเขา เรากท็ ำไปแล้ว...”  ใช้กฎแห่งธรรมชาตเิ ป็นแนวทางดำเนนิ การแก้ไขปัญหาอย่างตรงจดุ ด้วยรูปแบบง่ายๆ และใช้ได้จริง รวมทัง้ เหมาะสมกับสภาพปัญหา สอดคลอ้ งกับสภาพความเปน็ อยู่ และระบบนเิ วศ โดยส่วนรวม ตลอดจนยดึ หลักการแก้ไขปัญหาจากมุมมองของผทู้ เี่ ราจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ดังที่ ดร.สเุ มธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้กลา่ วไว้ในหนังสือ “กษัตริยน์ กั พัฒนา” ความตอนหนงึ่ ว่า “...วิธีการแก้ไขปญั หาต่างๆ นัน้ ทรงใช้ความเรียบง่าย ใช้ธรรมชาติเข้าแก้ไข กันเองอยูต่ ลอดเวลา ถ้าเป็นเรื่องทีเ่ กี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชน จะทรงสวมวิญญาณ ของเกษตรกรเข้าไปแก้ไขปัญหา พระองค์ตรัสอยูเ่ สมอว่า อยา่ ได้เอาอะไรทชี่ าวบา้ นไม่สามารถทำได้ ไปยัดเยยี ดใหเ้ ขา วิธกี ารแกไ้ ขปญั หาของพระองค์นั้น บางครงั้ เรยี บงา่ ยจนกระทงั่ เรานึกไมถ่ ึง...” และกลา่ วไว้ในหนังสอื “การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว” ความตอนหนึง่ ว่า “...สงิ่ ใดทเี่ ป็นเรื่องสลบั ซับซ้อนก็คิดทำให้ง่ายๆ อยา่ งโครงการพระราชดำริเกี่ยวกับ ปัญหานำ้ เสียบึงมักกะสันด้วยการใช้ผักตบชวา ซึง่ มีอยูใ่ นธรรมชาติมาดูดซึมเอาโลหะหนกั ซึง่ เป็น ต้นตอของน้ำเนา่ เหม็น หรอื การแก้ไขปญั หาพงั ทลายของหน้าดนิ การปลูกหญ้าแฝก...” 146

นอกจากน้ี ดร.สเุ มธยงั ไดก้ ล่าวถงึ แนวพระราชดำริ “ทำใหง้ า่ ย” ในพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ไว้ในหนงั สอื “ชีวิตพอเพยี ง” ความตอนหนงึ่ ว่า “ด้วยวิถีแห่งพระชนม์ชีพแล้ว เรียกว่าทรงเรียบง่าย เวลามปี ญั หาอะไร กท็ รงคน้ พบวธิ กี ารทเ่ี รยี บงา่ ยเสมอในการหาทางออก คนเราหากบรรลถุ งึ จดุ จดุ หนง่ึ แลว้ จะเหน็ ไดว้ า่ ความเรยี บงา่ ยน่ีเปน็ ศิลปะช้ันสงู ของสติปญั ญาท้งั หมด แตค่ นท่วั ไปท่พี อเป็นนักวชิ าการแลว้ มักจะแกไ้ ขปญั หาท่ีสลบั ซบั ซอ้ นดว้ ยวธิ กี ารท่ียงุ่ ยากซบั ซอ้ น เพราะคดิ วา่ น่ันเป็นของโก้ ถา้ แกง้ า่ ยๆ แลว้ อาจจะทำให้ดูหมดภูมิไปแต่สำหรับพระองคแ์ ล้ว ทรงใช้สิง่ ทีม่ ีอยู่ในธรรมชาตนิ นั่ แหละแก้ไข ธรรมชาติเอง ไมไ่ ด้ยึดแบบพวกเราทีต่ อ้ งเอาเครอื่ งไมเ้ คร่อื งมอื ไฮเทคมาใช้ อยา่ งภูเขาแห้งแล้ง โปรดให้ทำฝายชะลอน้ำ ก็เอาดินเอาเศษกิง่ ไม้ทีต่ กๆ อยูใ่ นบริเวณภูเขานัน้ มาอุด ไมต่ ้องไปหาจากทไ่ี หน ทรงมศี ลิ ปะชัน้ สูงทีเดยี ว ในการนำปจั จัยตา่ งๆ มารวมตวั กันเพอ่ื ประโยชน์ อีกทางหนง่ึ ซงึ่ คนทัว่ ไปมองไมอ่ อก วิธีการมองในลักษณะนี้ ผมมองว่าต้องเปน็ ปราชญ์ถึงมองออก เหมือนพระพุทธเจ้ารับสงั่ ว่า ธรรมะกอ็ ยู่ตรงน้นั แหละ พระองคท์ ่านไมไ่ ดท้ รงมีพระราชดำรขิ ้นึ มาใหม่ แตว่ า่ ทรงไปคน้ พบ ฉันใดฉนั น้ัน ทรงมรี บั ส่งั วา่ ปญั หาอยู่ตรงนัน้ วธิ แี ก้ไขกอ็ ย่ตู รงนน้ั เพยี งแตจ่ ะทำอยา่ งไรจงึ จะเอาสตปิ ัญญามาคดิ แก้ จนสามารถสง่ ผลลัพธ์ออกมา…” 147

ตวั อยา่ งพระราชกรณยี กิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว และ สมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ พระราชทรพั ยส์ ่วนพระองคใ์ นการรเิ ร่มิ โครงการ ต่างๆ มากมาย โดยทรงตระหนักว่าผลรับจาก การเสยี สละนจ้ี ะนำประโยชนส์ ขุ สปู่ ระชาชนอยา่ ง อเนกอนันต์ ทรงเนน้ การเรยี นรจู้ ากประสบการณ์ และทดลองหาแนวทางปฏิบัติโดยไมย่ ึดติดกับ ทฤษฎี และเทคโนโลยสี มยั ใหมท่ ่ีไม่เหมาะสมกบั สภาพแวดลอ้ มทางธรรมชาติและความเปน็ อยู่ ของประชาชน ทรงมุง่ พัฒนาบนรากฐานของการอนุรักษ์และพัฒนาทสี่ มดุล โดยผสมผสานวิธีการ ท่หี ลากหลายดว้ ยวธิ ที ่ีเรยี บงา่ ย ไม่ซบั ซอ้ นสอดคล้องกบั บรบิ ทแวดล้อม ภมู ปิ ัญญาด้งั เดมิ รวมท้ังเทคโนโลยี ทีท่ ันสมัย ดังโครงการตามแนวพระราชดำริทีส่ ำคัญ อาทิ การสร้างเขือ่ น การสร้างเสน้ ทางคมนาคม ท้ังถนนในภมู ิภาคและชนบท และแกไ้ ขปัญหาการจราจรในกรงุ เทพมหานคร รวมท้ังโครงการฟารม์ ตวั อยา่ ง การพัฒนาดา้ นการศึกษา โครงการแกม้ ลงิ การแก้ไขปัญหานำ้ เค็มจากการทำนาเกลือ โครงการธนาคาร โค-กระบือ การแกป้ ญั หาดินเพ่อื การเพาะปลูก การฟนื้ ฟูทรัพยากรปา่ ไม้ การอนรุ ักษ์ทรพั ยากรแหลง่ นำ้ โครงการปรับปรุงคลองลดั โพธิอ์ ันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ และการผลิตพลงั งานทดแทนจากผลิตผล ทางการเกษตร ดังน้ี  การสรา้ งเขอื่ นตา่ งๆ การสร้างเขือ่ นนบั เป็นการลงทนุ ทีม่ ี ค่าใช้จ่ายรวมถึงผลกระทบทเี่ กิดแก่ประชาชน และพืน้ ทีใ่ นบริเวณทสี่ ร้างอยา่ งมหาศาล แต่ด้วยแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยู่หวั ท่ที รงยดึ หลัก “ขาดทนุ คือกำไร” ดังกล่าว พระองค์จึงมพี ระราชดำริดำเนนิ โครงการสร้างเขื่อนต่างๆ หลายเขื่อน ซึ่งหาก จะประเมินค่าการลงทุนแลว้ นบั ว่าได้ก่อให้ เกิดประโยชนท์ ีค่ ุ้มค่าและคุม้ ทนุ อย่างยัง่ ยนื โดยสามารถใช้ประโยชนจ์ ากการสร้างเขือ่ น 148

ได้มากมายไม่ว่าจะเปน็ การชลประทานเพือ่ การอุปโภคบริโภคการเกษตร การผลิตกระแส ไฟฟ้า และการบริหารจัดการนำ้ เพื่อการปอ้ งกัน น้ำทว่ มและนำ้ แล้ง ฯลฯ ซึง่ ล้วนแลว้ แต่เปน็ การสรา้ งประโยชนอ์ ยา่ งอเนกอนนั ตใ์ หก้ บั ประชาชน และประเทศชาติ อาทิ เข่ือนเจา้ พระยา เปน็ เขอ่ื นระบายนำ้ ท่ีใหญ่ ท่ีสดุ ในประเทศไทย กอ่ สรา้ งระหว่าง ปี ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐ เพื่อทดนำ้ ส่งให้พืน้ ทีใ่ นเขตโครงการ ชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ ๑๗ จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี สพุ รรณบรุ ี สงิ ห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี พระนครศรอี ยธุ ยา สระบุรี นครปฐม ปทมุ ธานี นนทบุรี กรงุ เทพมหานคร นครนายก สมุทรสาคร สมทุ รปราการ และฉะเชิงเทรา รวมพื้นที่ ๗,๒๕๐,๐๐๐ ไร่ เขื่อนนใี้ ช้ประโยชนท์ างด้าน การชลประทาน การทดน้ำเพือ่ การเกษตร การอนรุ ักษ์พันธุส์ ตั ว์นำ้ โดยระบายน้ำจากแม่นำ้ ในภาคเหนือสูภ่ าคกลางและอ่าวไทยและสามารถใชผ้ ลติ ไฟฟา้ ด้วย เขือ่ นขุนด่านปราการชล ตัง้ อยูท่ ีบ่ า้ นทา่ ด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมอื ง จังหวัดนครนายก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวมพี ระราชดำริให้สร้างขึน้ เพือ่ แก้ไขปญั หาในพื้นทีล่ ุม่ น้ำนครนายก ทขี่ าดแคลนนำ้ ในฤดูแลง้ ส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปญั หาน้ำท่วม เนือ่ งจากพื้นทสี่ ว่ นใหญเ่ ปน็ ทรี่ าบทมี่ ี ความลาดเอียงนอ้ ยทำให้น้ำระบายออกยาก น้ำจึงทว่ มขังเป็นเวลานาน จากสภาวะนำ้ ท่วมแช่อยเู่ ปน็ เวลานานสลับกับความแลง้ ซำ้ ซากทำให้ดินกลายสภาพเป็นกรดท่ีเรียกวา่ “ดนิ เปรี้ยว” จากปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวจึงพระราชทานพระราชดำริสร้างเขื่อน คลองท่าดา่ นฯ ซง่ึ เข่อื นไดอ้ ำนวยประโยชนแ์ กช่ าวลุ่มนำ้ นครนายกอย่างมาก อาทิ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทีส่ ามารถจัดสรรนำ้ อย่างเปน็ ระบบ สำหรับพื้นทีเ่ กษตรกรรมและการอปุ โภคบริโภค และช่วยบรรเทา อทุ กภัยแก่พืน้ ทที่ งั้ สองฝัง่ ของแม่นำ้ นครนายกเกษตรกรได้รับประโยชนจ์ ากโครงการ รวมทัง้ ใช้น้ำ ชลประทานชะล้างดินเปรีย้ วเพื่อการเพาะปลูก และเปน็ แหลง่ เพาะพันธุป์ ลาและแหลง่ ประมงน้ำจืด ตลอดจนเป็นแหลง่ ท่องเทีย่ วเชิงอนรุ ักษ์แห่งใหม่ทำให้ราษฎรมรี ายได้เพิม่ ขึน้ ดังพระราชดำรัส เมอื่ วันท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๓๖ ความตอนหนึ่งว่า “...โครงการเขือ่ นเก็บกักน้ำคลองทา่ ดา่ นจังหวดั นครนายก ซึ่งสรา้ ง ณ บริเวณ ที่ตกจากนำ้ ตกเหวนรกลงมานัน้ เป็นโครงการทีม่ ีความสำคญั มากเพราะนอกจาก จะช่วยให้ราษฎรมีนำ้ ใชเ้ พาะปลูกในฤดแู ล้งได้เป็นจำนวนมากนับแสนแสนไร่แล้ว 149

เขอื่ นแห่งนีก้ ็จะสามารถเก็บกักน้ำ อทุ กภัยของทุกปีไวไ้ ด้หมดจะไม่ทำให้ เกิดภาวะนำ้ ท่วมพืน้ ทีก่ ารเกษตรใน บริเวณจงั หวัดนครนายกอกี ตอ่ ไป และ ขณะเดยี วกนั ในฤดแู ลง้ น้ำจากเข่อื นกจ็ ะ ถูกระบายเพอื่ ชะล้างดินเปรีย้ วในหลาย อำเภอของนครนายกอีกด้วย...”  การสรา้ งเส้นทางคมนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวมีพระราชดำริให้เปดิ เส้นทางการพัฒนาสชู่ นบททีห่ ่างไกล อันเปน็ ปจั จัยพื้นฐานทสี่ ำคัญของการนำความเจริญไปสูช่ นบท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มี ความเปน็ อยูท่ ีด่ ีขึน้ โดยพระองค์ได้เสด็จฯ ไปในพื้นทีอ่ ันตรายหลายแห่ง เพื่อพระราชทานขวัญและ กำลงั ใจแกเ่ จา้ หน้าท่ีท่เี ขา้ ไปดำเนนิ การบกุ เบิกสรา้ งเสน้ ทาง นำมาซ่งึ โครงการกอ่ สรา้ งถนนอันเน่อื งมาจาก พระราชดำรมิ ากมายหลายสายท่ีพระราชทานแกพ่ สกนิกรท่วั ประเทศ รวมท้งั ทรงหว่ งใยปัญหาการจราจร ทีแ่ ออดั บนทอ้ งถนนในกรุงเทพมหานคร จึงทรงให้พัฒนาการจราจรทางถนนทงั้ เส้นทางสายหลกั และสายรองต่างๆ ท้งั ในเมืองและโดยรอบ แมว้ ่าการสร้างถนนดังกล่าวต้องใชง้ บประมาณจำนวนมาก แต่เมือ่ ทรงพิจารณาถงึ ผลประโยชน์ ที่ราษฎรจะได้รบั ในการสัญจร การมีคณุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี ึน้ และเป็นประโยชน์ต่อการพฒั นาประเทศ โดยรวมแล้ว ทรงเห็นวา่ คุม้ คา่ ที่จะลงทุน โดยมเี ส้นทางคมนาคมทีม่ พี ระราชดำริให้ก่อสร้าง หรือปรบั ปรงุ อาทิ ๑) การสรา้ งถนนในภูมิภาคและชนบท อาทิ ถนนสายห้วยมงคล ซึง่ นับเป็นโครงการ สร้างถนนสายแรกทที่ รงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้จัดสร้างเมอื่ ปี ๒๔๙๕ เมอื่ ครั้งเสด็จฯ ประทบั แรม ณ วังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จพระราชดำเนินผา่ นหมูบ่ ้านห้วยมงคล จนรถพระทีน่ งั่ ตกหล่ม บรรดาประชาชน ทหาร ตำรวจ กว่า ๑๐ คน ได้เข้ามาช่วยกันออกแรง ดันรถใหห้ ลดุ จากหลม่ และสามารถเดินรถตอ่ ไปไดใ้ นท่สี ุด พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั ไดท้ รงสอบถาม ชาวบ้านท่ีเขา้ มาชว่ ยดนั รถพระท่ีน่ังถงึ สภาพความเป็นอย่ขู องราษฎรในหมู่บ้าน ชาวบ้านไดก้ ราบบังคมทูล ตอบว่า อยากได้ถนนมากทสี่ ุดเพราะการเดินทางไมส่ ะดวก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัด “ถนนสายห้วยมงคล” ออกสตู่ ลาดหัวหิน เพือ่ ให้เกษตรกรได้มถี นน นำผลิตผลเกษตรออกไปสู่ตลาดในเวลาเพยี ง ๑๕-๒๐ นาทเี ทา่ น้นั นบั เป็นจดุ เร่มิ ตน้ ของเสน้ ทางบำบัดทกุ ข์ บำรุงสขุ แกท่ วยราษฎร์ในกาลสืบมา 150

พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงแนะนำหนว่ ยงาน ราชการทีเ่ กี่ยวข้องให้ก่อสร้างถนนอกี หลายเสน้ ทาง เพือ่ อำนวยความสะดวกด้านการสญั จรของราษฎร รวมถึงเพือ่ เสริมสร้างความมนั่ คงของประเทศชาติ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ภาคเหนือ และภาคใต้ และมีพระราชดำริให้ดำเนินการปรับปรุง ถนนในพน้ื ท่ที รุ กนั ดาร เพอ่ื อำนวยประโยชน์ใหพ้ สกนกิ ร ทีอ่ าศัยอยูใ่ นหมบู่ า้ นต่างๆ สามารถเดินทางติดต่อถึงกัน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยตลอดเส้นทาง โดยมเี สน้ ทางทท่ี รงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ใหจ้ ดั สรา้ ง อาทิ ปี ๒๕๑๓ เส้นทางสายอำเภอรามัน-บ้าน ตะโละหะลอ อำเภอรอื เสาะ จงั หวดั นราธวิ าส เพอ่ื พฒั นา ความม่ันคงทางการเมืองและพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คม ปี ๒๕๑๙ สายปราจีนบุร-ี เขาใหญ่ ทางหลวงหมายเลข ๓๐๗๗ จงั หวัดปราจีนบุรี เป็นเส้นทาง สายยทุ ธศาสตร์ใหร้ ถยนตท์ หารผ่าน เพอื่ ความมน่ั คงของประเทศบริเวณชายแดนกัมพชู า ปี ๒๕๒๑ สายอำเภอระแงะ-บ้านดุซงญอ-นิคมพัฒนาภาคใต้ และสายบ้านสามแยก- อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพือ่ พัฒนาเศรษฐกิจและสงั คม รวมทัง้ สายบ้านวาก-บ้านใหม่- บ้านแม่ตะไคร้ ทางหลวงหมายเลข ๑๒๒๙ จังหวัดเชียงใหม-่ ลำพูน เพื่อปรับปรุงเสน้ ทางข้ามภูเขา อำเภอสันกำแพง จงั หวดั เชยี งใหม่ ไปอำเภอแม่ทา จงั หวัดลำพูน เพ่ือประโยชน์ ๒) การแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร ตลอดหลายทศวรรษทผี่ ่านมา แมจ้ ะมี การพัฒนาโครงข่ายถนนมากมาย แต่ยงั ไม่เพียงพอกับปริมาณรถทเี่ พิม่ ขึน้ ในอัตราก้าวกระโดด และการเดินทางของผูค้ นทีอ่ าศัยอยใู่ นกรุงเทพฯ และปริมณฑลทีม่ มี ากถึง ๑๗ ลา้ นคนต่อเทีย่ วต่อวัน อันนำมาส่ปู ญั หาการจราจรติดขัด ทกุ ความเดอื ดรอ้ นของประชาชนล้วนอย่ใู นสายพระเนตรของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั เสมอ พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปญั หาการจราจรในกรุงเทพฯ มาอยา่ งต่อเนือ่ ง นบั ตัง้ แต่ปี ๒๕๑๔ ทีม่ พี ระราชประสงค์ให้ปรับปรุงเสน้ ทางทมี่ ีอยเู่ ดิม และก่อสร้างถนนสายใหม่ เพือ่ ต่อเติมและเชื่อมโยงโครงข่ายถนนให้สมบูรณแ์ ละสมดุล ดังพระราชดำรัส เมือ่ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗ ความตอนหนึง่ ว่า 151

“...สำหรบั การจราจร เครอ่ื งมอื นน้ั สำคัญทีส่ ุดก็คอื ถนน ก็ตอ้ งมีถนน ที่เหมาะสม มีเครือ่ งควบคุมจราจรที่ เหมาะสม และมกี ฎเกณฑข์ องแต่ละแหง่ แ ต ล่ ะ ส่ ว น ข อ ง ผิ ว จ ร า จ ร น ัน้ ใ ห้ เหมาะสม อนั นกี้ ็ไม่ใชเ่ รือ่ งของ นิติศาสตร ์ ไม่ใช่เรอื่ งของรฐั ศาสตร ์ หรอื ของตำรวจ หรอื ของศาล เป็น เรอื่ งของวศิ วกรรม ก็จะตอ้ งทำ วิศวกรรมให้ดขี ึน้ คอื หมายความวา่ ทำให้ถนนดขี นึ้ ให้สอดคล้อง ซึง่ เป็นการบ้าน ทีห่ นักทส่ี ุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สรา้ งมาเปน็ เวลา ๒๐๐ ปแี ล้ว ไม่ได้มีแผนผังเมอื ง ทีจ่ ริงๆ จังๆ ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่วา่ ไม่คอ่ ยไดป้ ระโยชน์มากนัก เพราะวา่ คนไทย ตามชอ่ื เปน็ คนไทย คอื มอี สิ ระบงั คบั กนั ไมไ่ ด ้ จะสรา้ งอะไรกส็ รา้ ง อยากจะสรา้ ง เดยี๋ วน้กี ส็ รา้ ง กไ็ ปขวางกบั คนอืน่ คอื ขวางทางอนื่ อันนก้ี ็เลยแก้ไขไม่ได้...” โดยพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริ ทัง้ การปรับปรุงและก่อสร้างถนนสายต่างๆ เกิดเป็น ถนนวงแหวนชัน้ ในรอบกรุงเทพฯ หรือถนนรัศมีเชือ่ มต่อระหว่างพื้นทขี่ องกรุงเทพฯ รวมทงั้ การเพิม่ ประสิทธิภาพถนนด้วยการขยายช่องทางจราจร เพอื่ เชื่อมโยงโครงขา่ ยถนนใหส้ มบูรณ์ อาทิ การขยายผิวการจราจรและเพมิ่ เส้นทางคมนาคม พระองค์ได้พระราชทานให้ดำเนนิ การ ท้งั แบบเรง่ ดว่ นในจดุ วกิ ฤต และแบบระบบโครงขา่ ยจราจร การแกป้ ัญหาจราจรเฉพาะหนา้ อย่างเรง่ ดว่ น อาทิ โครงการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟสายใต้จากสถานีบางกอกนอ้ ยถึงถนนจรัญสนทิ วงศ์ และพระราชทานนามวา่ “ถนนสทุ ธาวาส” การขยายพ้ืนผิวจราจร เชน่ โครงการถนนหยดน้ำ และการ ปรบั ปรงุ ขยายผิวจราจรโดยรอบอนุสาวรยี ป์ ระชาธปิ ไตย โครงการกอ่ สรา้ งถนนเลียบบึงมักกะสนั จากถนน ศรีอยุธยาถึงถนนอโศก-ดินแดง การขยายช่องทางโดยไม่ทำลายภูมทิ ศั นเ์ ดิม เช่น โครงการสะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ และโครงการกอ่ สรา้ งสะพานคู่ขนานสะพานมฆั วานรงั สรรค์ เป็นตน้ การแก้ปัญหาการจราจรอย่างเป็นระบบโครงขา่ ย พระองค์ได้มีพระราชดำริให้ก่อสร้าง เส้นทางใหม่ เชื่อมต่อถนน และสร้างทางวงแหวนเลีย่ งเมอื ง เพือ่ บรรเทาปญั หาจราจรภายใน กรุงเทพฯ เนอื่ งจากเป็นจุดศูนยก์ ลางในการลำเลียงขนสง่ สินค้าเข้าและออก อาทิ เมือ่ ปี ๒๕๑๔ มพี ระราชประสงค์ให้สร้างถนนเพิม่ ขึ้น เพื่อแก้ไขปญั หาจราจรพระราชทานเป็นของขวัญแก่ประชาชน คือโครงการถนนวงแหวนรัชดาภิเษก (ถนนวงแหวนชั้นใน) แทนการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ 152

ทท่ี างราชการจะจดั สรา้ งและนอ้ มเกลา้ ฯ ถวายเป็นของขวัญ เนอื่ งในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีรัชดาภิเษก โครงข่ายจตุรทิศตะวันตก-ตะวันออก และเหนอื -ใต้ เพือ่ เชือ่ มเส้นทาง จราจรด้วยถนน สะพาน และปรับปรงุ เส้นทางเดมิ และเสน้ ทางใหม่ใหเ้ ช่อื มกนั อย่างสมบูรณ์ โครงการพระราชดำรทิ าง คูข่ นานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ได้ทอดพระเนตรเห็นการจราจรทีต่ ิดขัดเป็นอย่างมากบริเวณสะพาน สมเด็จพระปิน่ เกล้า ต่อเนอื่ งไปจนถึงถนนบรมราชชนนี จึงพระราชทานแผนทกี่ ารก่อสร้างทางคูข่ นาน ทที่ รงร่างด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองแก่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไข โดยการ ก่อสร้างทางคูข่ นานลอยฟ้าจากแยกอรุณอมรินทร์ไปจนถึงแยกพุทธมณฑลสาย ๒ อนั เป็นการเพิม่ ขีดความสามารถในการรองรับการจราจร จากบริเวณสะพานสมเด็จพระปนิ่ เกลา้ จนถึงทางแยกตลงิ่ ชัน ถนนบรมราชชนนีทัง้ ขาเข้าและขาออกโดยไม่ติดสญั ญาณไฟจราจร โครงการสะพานพระราม ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวได้มีพระราชดำริชีแ้ นะว่า ควรก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก ๑ แห่ง บริเวณถนนอรุณอมรินทร์ไปเชื่อมกับ ถนนวิสุทธิกษัตริย์ใกลก้ ับธนาคารแห่งประเทศไทย เพือ่ รองรับปริมาณการจราจรทีเ่ พิ่มขึน้ จากการเปดิ ใช้เสน้ ทางคูข่ นานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี รวมทงั้ เพิม่ จุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ฝัง่ พระนครและธนบุรี และเปน็ จุดเชือ่ มต่อ “โครงข่ายจตุรทิศ” พระองค์จึงได้พระราชทาน พระราชหัตถเลขาแนวแผนผงั สะพานให้กรุงเทพมหานครนำไปศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการ อีกทงั้ โปรดเกลา้ ฯ พระราชทานชื่อของสะพานแห่งใหม่นวี้ ่า “สะพานพระราม ๘” ซึ่งได้ช่วยแบง่ เบา ปริมาณการจราจรทีข่ ้ามแมน่ ้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานสมเด็จพระปนิ่ เกลา้ และผอ่ นคลายปญั หา การจราจรในถนนท่ตี ่อเนือ่ งจากสะพานสมเด็จพระปิน่ เกลา้ ทัง้ ฝั่งพระนครและฝงั่ ธนบุรเี ปน็ อันมาก โครงการสะพานภมู พิ ล ๑ และสะพานภมู พิ ล ๒ หรอื ช่อื อย่างไม่เปน็ ทางการวา่ “สะพานวงแหวน อตุ สาหกรรม” เป็นโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ใหก้ ่อสร้างขน้ึ เช่อื มตอ่ เขตราษฎรบ์ รู ณะและเขตยานนาวา กรงุ เทพมหานคร กับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญเ่ ข้าไว้ด้วยกัน 153

เพือ่ เป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนถ่ายลำเลียงสนิ ค้าจาก ทา่ เรือกรุงเทพฯ ต่อเนือ่ งไปจนถึงพืน้ ทอี่ ตุ สาหกรรมในจังหวัด สมุทรปราการ และภมู ิภาคอ่นื ๆ ของประเทศ เพ่อื ไมใ่ หร้ ถบรรทกุ วิง่ เขา้ ไปในตัวเมอื งหรือทศิ ทางอ่ืน อนั เปน็ สาเหตุของการจราจร ติดขดั โดยรอบ การแกไ้ ขปญั หาการจราจรรอบโรงพยาบาลศริ ริ าช แมว้ า่ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั จะทรงประทบั ณ โรงพยาบาลศริ ริ าช พระองคย์ ังทรงหว่ งใยท่จี ะแกไ้ ขปญั หาใหพ้ สกนกิ รอยู่ตลอดเวลา โดยเมอื่ วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ พระองค์ได้พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้ผูท้ ีเ่ กีย่ วข้องเฝา้ ฯ กราบบังคมทลู ถวายรายงานโครงการแกไ้ ขปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาล ศิริราช ซึ่งเปน็ การดำเนินการต่อเนือ่ งกับโครงการทางคู่ขนาน ลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี และสะพานพระราม ๘ เพ่อื บรรเทาปญั หาการจราจรในบรเิ วณดังกลา่ ว พระองค์มีพระราชกระแสรับสัง่ ให้หน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง ร่วมกันดำเนินงานสำรวจและออกแบบ โครงการก่อสร้างต่างๆ อาทิ การตอ่ เชอื่ มสะพานพระราม ๘ กบั ถนนพรานนก และพทุ ธมณฑลสาย ๔ งานขยายสะพานอรุณอมรินทร์ ตลอดจนผวิ การจราจรกลับรถใต้สะพานอรุณอมรินทร์ และสะพาน ข้ามคลองบางกอกนอ้ ย ถนนจรัญสนทิ วงศ์ การก่อสร้างทางลอดใต้ทางสามแยกไฟฉาย และสะพาน ข้ามแยกถนนเลียบทางรถไฟ เพื่อเพิ่มโครงข่ายถนนทเี่ ชือ่ มโยงพื้นทฝี่ งั่ ตะวันตกและตะวันออกของ กรุงเทพฯ และเพิม่ ประสทิ ธิภาพการจราจรบริเวณแยกอรุณอมรินทร์ แยกศิริราช แยกพรานนก สามแยกไฟฉาย และทางแยกอนื่ ๆ ทีต่ ่อเนือ่ งกัน พร้อมกันนนั้ ยังช่วยลดจุดตัดและทางแยก สญั ญาณไฟจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์ ทเี่ ปน็ ส่วนหนึง่ ของถนนวงแหวนรัชดาภิเษก ซึ่งช่วยให้ ถนนวงแหวนรัชดาภิเษกฝง่ั ธนบรุ สี ัญจรได้สะดวกขึน้ โอกาสนี้ พระองค์ทรงซักถามเกี่ยวกับการจัดทำระบบรถไฟฟ้าบริเวณโดยรอบโรงพยาบาล ศริ ริ าช และการพฒั นารถไฟความเรว็ สงู ไปส่สู ว่ นภมู ภิ าคตา่ งๆ โดยมพี ระราชดำรัสตอนหนึง่ วา่ “...ทีจ่ ริงรถไฟนจี้ ะได้ประโยชน์มาก เพราะวา่ ดีกว่าการคมนาคมทางถนน ทางถนนแพงมาก รถไฟจะถูกลงไปมาก ดีสำหรบั การเศรษฐกิจของไทย ถ้าทำได้ สำเรจ็ โดยเรว็ ...” 154

 โครงการฟาร์มตัวอยา่ ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชนิ นี าถ มพี ระราชประสงค์ ท่ีจะช่วย ใหร้ าษฎรหลุดพน้ จากความยากลำบาก แม้จะตอ้ งเสียสละพระราชทรพั ย์ เพ่ือลงทนุ ในโครงการเปน็ จำนวนมาก พระองคก์ ็ทรงยินดี ไดม้ ีพระราชดำริ ใหจ้ ดั ต้ัง “ฟารม์ ตัวอยา่ ง” ขน้ึ สำหรบั ฝึกอาชีพทางด้านการเกษตรเพือ่ ให้ สามารถนำไปปฏิบตั ิได้จริงและเป็น แ ห ล ่ง ศึ ก ษ า ข้ อ ม ูล แ ล ะ ถ่ า ย ท อ ด เทคโนโลยีด้านการเกษตรให้สามารถ นำไปใช้ในพื้นทไี่ ด้ ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยูข่ องราษฎร นอกจากนพี้ ระองค์มีพระราชประสงค์ ทรงช่วยเหลอื ประชาชนทตี่ กงานจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจเมือ่ ปี ๒๕๔๐ ทรงให้ขยายผล โครงการไปในหลายจังหวัดทกุ ภาคของประเทศกวา่ ๕๖ แห่ง พระองค์มพี ระราชดำริให้จัดตัง้ ฟาร์มตัวอยา่ งขึน้ ภายใต้โครงการ “หมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำร”ิ ณ บา้ นดงยอ ตำบลขวา้ ง อำเภอเมือง จงั หวดั สกลนคร เปน็ แหง่ แรก โดยโครงการฯ ไดม้ กี ารสร้างบ้านพกั เกษตรกร ๒๐ หลงั และจดั แบง่ ที่ดินเพือ่ ทำการเกษตรครอบครวั ละ ๒ ไร่ รวมท้งั จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคให้แก่ราษฎรให้มีงานทำ เปน็ หมบู่ ้านตัวอยา่ งทีท่ ำการเกษตรโดยไม่ใช้ ปุย๋ และยาฆ่าแมลง และเปน็ แหลง่ ผลติ อาหารปลอดสารพิษ สำหรับเลยี้ งคนในหมบู่ ้าน และเมอื่ เหลอื จากการบริโภคสามารถนำไปจำหนา่ ยเสริมสร้างรายได้อีกทางหนงึ่ ด้วย ซึ่งได้มกี ารขยายโครงการไป ในพื้นทต่ี า่ งๆ ดงั บทความจากหนงั สอื “กำไรของแผน่ ดิน” โดยนายสหสั บุญญาวิวฒั น์ ผ้ชู ว่ ยเลขาธกิ าร พระราชวงั ฝา่ ยกจิ การพิเศษ ซงึ่ สรุปสาระสำคัญไดด้ ังนี้ เมื่อวนั ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ สมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเย่ียมราษฎรชาวไทยภเู ขาท่บี ้านขนุ แตะ หม่ทู ่ี ๑๒ ตำบลดอยแกว้ อำเภอจอมทอง จงั หวดั เชยี งใหม่ ซึง่ ราษฎรชาวไทยภูเขาทีไ่ ด้รับการบำบัดให้เลกิ ยาเสพติดแล้ว จำนวนประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน มาเข้าเฝา้ ฯ และขอพระราชทานความช่วยเหลอื ของานทำ ทรงให้ข้าพเจ้าและคณะทีต่ ามเสด็จฯ ดำเนินการโครงการฟาร์มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพ่อื พระราชทานความช่วยเหลือ เมื่อเริ่ม 155

ดำเนนิ งานในขัน้ แรก โครงการฟาร์ม ตวั อยา่ งตามพระราชดำริ บา้ นขนุ แตะ จา้ งคนงานชาวเขามาทำงานประมาณ วนั ละ ๔๐ คน กอ่ นวนั เสด็จฯ ไปทรง ตรวจเยยี่ มโครงการฯ ในปี ๒๕๔๑ ได้รับสงั่ ถามว่าทฟี่ าร์มตัวอย่างนี้ จ้างคนงานไว้เท่าไร ข้าพเจ้ากราบ บังคมทูลว่า ประมาณ ๔๐ คน ซึ่งไมถ่ ูกต้องตามพระราชประสงค์ ของพระองค์ทที่ รงให้จ้างคนยากจน เข้ามาทำงานให้มากกว่าน้ี ข้าพเจ้าได้กราบบงั คมทูลไปว่าถ้าจ้างคนงานเข้ามาทำงานมากๆ อาจจะต้องขาดทนุ เพราะผลผลิตยงั น้อยอยู่ พระองคร์ ับส่งั วา่ “...อย่ามาพูดเรอื่ งกำไรขาดทุนกับฉันนะ ฉันตอ้ งการให้คนจนมีงานทำมากๆ ขาดทนุ ของฉนั คอื กำไรของแผน่ ดนิ ... การทท่ี ำใหค้ นยากจนในชมุ ชนนน้ั ๆ มงี านทำ พวกเขา มรี ายได้มเี งินเลย้ี งครอบครัว ไมต่ อ้ งไปเปน็ โจร ไมต่ ้องไปเปน็ ขโมย ไมต่ อ้ งไปยงุ่ เกย่ี วกบั ยาเสพตดิ ไมต่ ดั ไมท้ ำลายปา่ ไมไ่ ปเผาปา่ ตำบลนน้ั อำเภอนน้ั จงั หวดั นน้ั กม็ คี วามสขุ มีความสงบสขุ ประเทศชาติก็มีความสขุ มีความสงบ น่ีแหละคือกำไรของแผ่นดิน...”  การพฒั นาดา้ นการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงตระหนกั ว่าการศึกษาเปน็ ปจั จัยสำคัญในการเสริมสร้าง และพัฒนาความคิด สติปัญญา ความประพฤติและคุณธรรมของคนในชาติ จึงมีพระราชปณิธานทีจ่ ะ สง่ เสริมการศึกษาให้แพร่หลาย ทงั้ ในเมอื งและในชนบททที่ ุรกันดารโดยเฉพาะเด็กยากจนและ ด้อยโอกาส เพือ่ จะได้มคี ุณภาพชีวิตทีด่ ีขึ้น โดยมีแนวพระราชดำริด้านการศึกษาทีส่ ำคัญ สรุปไดด้ งั นี้ ๑) ทรงสนบั สนนุ ใหป้ ระชาชนไดร้ บั การ ศกึ ษาอยา่ งทว่ั ถงึ ในทกุ ระดบั โดยทรงมีแนวพระราชดำริ ใหว้ างรากฐานความรแู้ ละการศกึ ษาอยา่ งท่ัวถงึ และเพยี งพอโดย “สร้างโอกาสใหป้ ระชาชนไดร้ ับความรู้” ในทกุ ระดับของการศึกษา ทัง้ ในและนอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย นบั ตัง้ แต่ในระดับปจั เจก บุคคลจนถึงระดับประเทศ โดยทรงเห็นว่าการลงทุนเพือ่ ให้ประชาชนได้รับการศึกษายอ่ มบังเกิดผล ค้มุ คา่ เน่อื งจากคนเป็นปัจจยั สำคญั ในการพฒั นาประเทศตอ่ ไป ดงั พระราชดำรสั พระราชทานแกน่ กั ศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ณ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ เมอื่ วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๔ ความตอนหนงึ่ วา่ 156

“...แต่ละคนใชเ้ งินงบประมาณหรือเงินของมหาวิทยาลยั ใช้ไปคนละแสนบาท... ทางมหาวทิ ยาลัยจะตอ้ งมีงบประมาณคนละปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ก็ขอให้เรียน เพ่อื ใหค้ ้มุ เงินน้ี ถา้ เรียนได้ความร้แู ละสามารถไปปฏบิ ตั ติ ่อไปกค็ ุ้ม ไมม่ ใี ครเสยี ดายเงนิ น้ี เพราะว่าที่จะได้ประโยชน์จากผู้ท่ีเรียนดีแล้วก็ฝึกดีทำตัวให้เป็นประโยชน์ก็คุ้มและ ประเทศชาตจิ ะกา้ วหนา้ ...” โดยพระองคไ์ ดพ้ ระราชทานพระราชทรพั ยส์ ว่ นพระองคห์ รอื ทด่ี นิ ในการจดั สรา้ งโรงเรยี นตา่ งๆ อาทิ การจดั ตง้ั โรงเรยี นสำหรบั เยาวชนชาวเขาและเยาวชนในชนบทหา่ งไกล และพระราชทานนามโรงเรยี นวา่ โรงเรยี นเจา้ พ่อหลวงอุปถัมภ์ นอกจากนี้ ทรงจัดต้งั โรงเรียนรม่ เกล้า สำหรับเยาวชนในท้องถนิ่ ชนบท หา่ งไกลหรอื พ้นื ท่เี ส่ียงภยั ในภาคตา่ งๆ ตลอดจนทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯ ใหม้ ลู นธิ ริ าชประชานเุ คราะห์ จัดสร้างโรงเรียนให้แก่ทอ้ งทีท่ ปี่ ระสบภัยพิบัติต่างๆ เรียกว่า โรงเรยี นราชประชานเุ คราะห์ ซึง่ ปจั จุบัน มีกระจายอยูท่ ัว่ ประเทศ และทรงสนับสนุนให้จัดตั้ง โรงเรยี นราชประชาสมาสัย เพือ่ เป็นสถานศึกษา อยปู่ ระจำสำหรับเยาวชนทีเ่ ปน็ บุตรธิดาของคนไข้โรคเรื้อน ซึง่ มิได้ติดโรคจากบดิ ามารดา ทรงส่งเสริม การจัดตั้งและดำเนนิ กิจการโรงเรียนสำหรับเด็กพิการทุกประเภท โรงเรยี นสงเคราะห์เดก็ ยากจนในวัด หลายแหง่ โรงเรียนจิตรลดา โรงเรยี นราชวินิจ และโรงเรียนราชวินติ มัธยม สำหรบั บุตรขา้ ราชบรพิ าร ในพระราชวังและประชาชนในทอ้ งถิน่ รวมถึงโรงเรียนพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นโรงเรียน พระราชทานสาธิตแห่งแรกของกรงุ เทพฯ ตลอดจนทรงรบั โรงเรียนวงั ไกลกงั วลและโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลยั ไวใ้ นพระบรมราชูปถมั ภ์ รวมทัง้ ทรงริเริ่มให้มีสถาบันเกีย่ วกับการพัฒนาการบริหาร อันเปน็ ส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยได้พระราชทานพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพฒั นบริหารศาสตร์ หรือ NIDA ๒) พระราชทานทนุ การศกึ ษาในทกุ ระดบั พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงพระกรณุ าพระราชทาน ทนุ การศึกษาและรางวัลต่างๆ ทุกระดับการศึกษา เช่น ทุนการศึกษาในมูลนธิ ิช่วยนกั เรียนขาดแคลน 157

ทนุ การศกึ ษาแกน่ กั เรยี นชาวเขา รางวลั แก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น ระดับ ประถมและมัธยมศึกษาทัง้ ประเทศ ทนุ มูลนธิ ิราชประชานเุ คราะห์เพือ่ เกอ้ื หนนุ ครอบครวั ทป่ี ระสบสาธารณภยั รวมทัง้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฟ้ืนฟูทนุ เล่าเรียนหลวง เพอ่ื ส่งเยาวชน ไปศึกษาวิทยาการระดับสงู สาขาต่างๆ ในตา่ งประเทศ นอกจากน้ี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถได้พระราชทาน พระราชทรัพยเ์ ป็นทนุ ประเดิมให้แก่ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย จัดตัง้ ทุนชือ่ ว่าทนุ พระราชทานช่วยเหลือการศึกษาตามสมควร แก่อตั ภาพและความสามารถของตน โดยทรงรับนกั เรียนยากจนขาดโอกาสทางการศึกษาทที่ รงพบ ในระหว่างเสดจ็ ฯ ไปทรงเย่ียมราษฎรในถนิ่ ทรุ กันดาร ให้เปน็ นักเรยี นในพระบรมราชานุเคราะห์ รวมถงึ พระราชทานทนุ การศกึ ษาแกเ่ ดก็ พกิ ารใหเ้ ขา้ รบั การศกึ ษาในโรงเรยี นการศกึ ษาพเิ ศษ และมพี ระราชเสาวนยี ์ ให้กองราชเลขานกุ ารฯ ติดตามผลการศึกษาอยา่ งต่อเนอื่ ง และช่วยเหลอื เพือ่ ให้ไปประกอบอาชีพ เลยี้ งตนเองได้ ๓) จัดทำโครงการสารานกุ รมสำหรบั เยาวชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวได้พระราชทาน โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริทีส่ ำคัญแก่เยาวชน คือโครงการสารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชน มพี ระราชประสงค์ให้เปน็ หนังสอื ความรูท้ ีเ่ หมาะแก่เด็กในวัยต่างๆ รวมทงั้ ผูใ้ หญก่ ็สามารถ ใชป้ ระโยชนไ์ ด้ โดยพระองค์ทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบายเรอื่ งตา่ งๆ แตล่ ะเรอื่ งเป็นสามตอนหรอื สามระดับ สำหรับให้เดก็ แตล่ ะรุน่ อ่านเขา้ ใจ ทัง้ เดก็ รุน่ เล็ก รุน่ กลาง และรุน่ ใหญ่ รวมถึงผูใ้ หญ่ ผู้สนใจอ่านได้อีกระดับหน่ึง เพ่ือเปิดโอกาสให้บิดามารดาสามารถใช้หนังสือน้ันเป็นเคร่ืองมือ แนะนำวิชาแก่บตุ รธิดา และให้พีแ่ นะนำวิชาแก่น้องเปน็ ลำดับกันลงไป นอกจากนัน้ เมือ่ เรื่องหนึง่ เรือ่ งใดมคี วามเกี่ยวพันต่อเนอื่ งถึงเรือ่ งอนื่ ๆ ก็ให้อา้ งองิ ถึงเรื่องนัน้ ๆ ด้วยทุกเรื่องไป ด้วยประสงค์จะให้ ผูศ้ ึกษาทราบและตระหนกั ว่าวิชาการแต่ละสาขามีความสมั พันธ์เกี่ยวเนือ่ งถึงกัน ควรศึกษาให้ครบถ้วน ทวั่ ถึง 158

๔) พระราชทานการศกึ ษาเพอื่ พฒั นาอาชีพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวยังมพี ระราชดำริ ดว้ ยว่าราษฎรในชนบท โดยเฉพาะในทอ้ งทท่ี รุ กนั ดารควรไดร้ ับการศกึ ษาเพ่ือให้สามารถพฒั นาคณุ ภาพ ชีวิตและยกระดับความเปน็ อยู่ ให้สามารถอยูไ่ ด้โดยการ “พึง่ ตนเอง” ซึง่ เปน็ การพัฒนาอย่างยัง่ ยนื โดยพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อให้เปน็ แนวทางในการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยูข่ องราษฎร ในท้องถิ่นชนบทใหช้ ่วยตวั เองได้ ๕) สรา้ งศูนยศ์ กึ ษาการพฒั นาฯ ใหร้ าษฎรเรียนรู้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ไดพ้ ระราชทาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาจำนวน ๖ ศูนย์ กระจายอยูใ่ นภาคต่างๆ ตามสภาพภูมศิ าสตร์ทีแ่ ตกต่างกัน เพื่อให้เปน็ แหลง่ ศึกษาสรรพวชิ า ค้นควา้ ทดลอง สาธติ และดงู านทงั้ ของส่วนราชการและประชาชน  โครงการแก้มลิง เมอื่ เกิดสภาวะนำ้ ทว่ มหนกั ในลมุ่ แมน่ ้ำเจ้าพระยาในปี ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ได้พระราชทานแนวพระราชดำริการปอ้ งกันน้ำท่วมในพืน้ ทบี่ ริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดว้ ยพระราชวนิ ิจฉยั ของพระองค์ ไมม่ รี ะบไุ ว้ในตำราใดๆ ท้ังน้ี ไดท้ รงเปรยี บเทยี บการกินอาหารของลิง หลังจากทีล่ ิงเคี้ยวกลว้ ยแลว้ จะยงั ไม่กลนื แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทงั้ สองข้างแลว้ ค่อยๆ ดุนกลว้ ย มากินในภายหลงั เช่นเดียวกับกรณกี ารผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทัง้ น้ำทีข่ ึน้ มาตามซอยต่างๆ เมอื่ นำ้ ทะเลหนนุ ให้ไปเก็บไว้ทบี่ งึ ใหญ่ทีอ่ ยูใ่ กล้กับพืน้ ทชี่ ายทะเลและมีประตูน้ำขนาดใหญ่ปดิ กัน้ น้ำ เม่อื เวลานำ้ ทะเลลดลงใหเ้ ปิดประตรู ะบายนำ้ ออกไปบึงจะสามารถรบั นำ้ ชุดใหม่ต่อไป ดงั พระราชดำรสั เม่ือวนั ท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๓๘ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจติ รลดา ความตอนหนง่ึ วา่ 159

“...ตามนิสัยของลิงก็ยังคงเป็นลิง เพราะวา่ เราจำได้ เมือ่ อายุ ๕ ขวบ มีลิง เอากล้วยไปให ้ มันกเ็ ค้ยี ว เคี้ยว เคย้ี ว แลว้ ใส่ไว้ในแกม้ ลงิ ตกลง “โครงการแกม้ ลิง” นี้ มีที่เกิดเมอ่ื เราอาย ุ ๕ ขวบ เมื่ออายุ ๕ ขวบ ก็นเี่ ป็นเวลา ๖๓ ปมี าแล้ว ลิงสมยั โนน้ ลิงโบราณ เขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคีย้ วแล้ว เอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” นำ้ ท่วมนีจ้ ะเปรอะไปหมด อย่างทีเ่ ปรอะปีน ี้ เปรอะไป ทัว่ ภาคกลาง จะตอ้ งทำ “แก้มลิง” เพอื่ ที่จะเอาน้ำปีนไี้ ปเก็บไว ้ เวลานำ้ ทะเลขนึ้ ไม่สามารถที่จะระบายออก เมือ่ ไม่สามารถระบายออกนำ้ ทะเลก็ขนึ้ มา ดนั ขึน้ ไป ตามแม่น้ำ ขึน้ ไปเกือบถึงอยุธยา ทำให้น้ำลดลงไปไม่ได ้ แล้วเวลา น้ำทะเลลง นำ้ ที่เออ่ ขึน้ มานนั้ ก็ไม่สามารถทีจ่ ะกลับเขา้ ในแม่น้ำ เจา้ พระยา ก็ท่วมตอ่ ไป จึงตอ้ งมี แกม้ ลงิ ...” เมือ่ เกิดนำ้ ทว่ มก็ให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักนำ้ ให้รวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็น บ่อพักน้ำอนั เปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึง ระบายนำ้ ลงทะเลเมอื่ ปริมาณนำ้ ทะเลลดลง โดยทรงให้ดำเนนิ โครงการแก้มลงิ ทีส่ ำคัญในเขต กรุงเทพฯ ได้แก่ โครงการแก้มลงิ ฝัง่ ตะวันออกและฝัง่ ตะวันตกของแมน่ ำ้ เจ้าพระยา และโครงการ แก้มลงิ นอกเขตกรุงเทพฯ ทีเ่ อือ้ ประโยชนก์ ับในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ โครงการแก้มลิงแมน่ ้ำทา่ จีน ตอนลา่ ง โครงการแก้มลงิ คลองมหาชยั -สนามชยั และโครงการแกม้ ลงิ คลองสนุ ัขหอน นอกจากน้ี พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั ทรงหว่ งใยในความเดอื ดรอ้ นของพสกนิกร และไดเ้ สด็จ พระราชดำเนนิ ออกตรวจสภาพน้ำทว่ มกรงุ เทพมหานครดว้ ยพระองคเ์ อง ภายหลังจากเหตกุ ารณน์ ้ำท่วม กรงุ เทพมหานคร ปี ๒๕๒๓ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั ได้พระราชทานพระราชดำรแิ นวทางแกไ้ ข ปัญหานำ้ ท่วม ๕ ประการ ได้แก่ (๑) เร่งระบายน้ำออกสูท่ ะเล โดยผา่ นแนวคลองทางฝัง่ ตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร (๒) จัดให้มีพื้นทีส่ เี ขียว (Green Belt) เพือ่ กันการขยายตัวของเมือง และเพือ่ แปรสภาพให้เปน็ ทางระบายนำ้ เมือ่ มนี ำ้ หลาก (๓) สร้างระบบป้องกันนำ้ ทว่ มในเขตกรุงเทพมหานคร (๔) สร้างสถานทเี่ ก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ ในพืน้ ทกี่ รุงเทพมหานคร เพื่อช่วยในโครงการปอ้ งกันนำ้ ทว่ ม และ (๕) ขยายทางนำ้ หรือเปดิ ทางนำ้ ในจุดทผี่ า่ นทางหลวงหรือทางรถไฟ รวมถึงการแก้ไขปัญหา นำ้ ท่วมพ้นื ทีใ่ นกรงุ เทพฯ ปริมณฑล และพนื้ ทอ่ี ืน่ ๆ 160

 การแก้ไขปญั หาน้ำเค็มจากการ ทำนาเกลือ ใ น ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เ ฉ ยี ง เ ห น อื มักเกิดปญั หาน้ำเค็มอันเนือ่ งจากการทำ นาเกลอื อาทิ ในเขตอำเภอวานรนวิ าส และอำเภอบา้ นม่วง จังหวัดสกลนคร อำเภอบา้ นดุง จังหวดั อุดรธานี และอำเภอ บรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งผปู้ ระกอบการทำนาเกลือมกั ปลอ่ ย น้ำเค็มจากลานตากเกลือหรือนำ้ ฝนทีต่ กชะลานตากเกลือลงไปตามร่องนำ้ และลำห้วยบริเวณข้างเคียง โดยไม่มีการควบคุมเท่าทคี่ วร น้ำเค็มจึงไหลตามร่องนำ้ และลำห้วยต่างๆ แพร่กระจายเข้าไปในพื้นที่ เหล่านนั้ เปน็ บริเวณกว้าง จนไมส่ ามารถปลกู ข้าวได้ หรือได้รับผลผลิตข้าวนอ้ ยลง จึงทำความเสยี หาย ใหแ้ ก่ผ้ปู ระกอบอาชพี ทำนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ได้พระราชทานพระราชดำริแนวทางทีผ่ ูท้ ำนาเกลอื ไมท่ ำความ เสียหายให้แก่พืน้ ทปี่ ลกู ข้าวใกล้เคียง เป็นวิธีทที่ ำง่ายๆ โดยประยกุ ต์ใช้หลักวิชา ด้วยการให้ผทู้ ำ นาเกลอื จัดพื้นทสี่ ว่ นหนงึ่ ทบี่ ริเวณลานตากเกลอื ขุดเป็นสระสำหรับรองรับน้ำเค็มทปี่ ลอ่ ยทงิ้ จากลาน ตากเกลือทัง้ หมด เก็บไว้ในสระเพื่อรอการระเหยหรือไหลลงในดิน โดยบอ่ บาดาลเล็กๆ ทีข่ ุดขึน้ เพือ่ ระบายนำ้ ลงสูช่ ัน้ นำ้ เค็มใต้ดินทสี่ ูบขึ้นมา สระน้ำดังกลา่ วจะมีขนาดและความลกึ เท่าใด ต้องกำหนด ให้สมั พันธ์กับบริเวณนำ้ ทงิ้ จากลานตากเกลอื และความสามารถของน้ำในสระทีไ่ หลลงไปใต้ดิน ให้มี ความสมดุลพอดีกันโดยไม่ทำให้นำ้ เค็มไหลล้นไปยังลำห้วยข้างๆ อกี ต่อไป ดังพระราชดำรัส เม่อื วันท่ี ๔ ธนั วาคม ๒๕๓๓ ณ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ความตอนหนงึ่ ว่า “...วิธีซงึ่ ก็ไม่ยากนักในการทำนาเกลือ และจะป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย มากเกินไปคือสูบนำ้ จากในดนิ ขน้ึ มาแลว้ มาทำนาเกลอื และเมอ่ื ใช้น้ำนั้นแลว้ แทนท่ีจะ เทไปในหว้ ยกเ็ ทลงไปในดนิ อกี ท ี ซ่ึงเปน็ การกระทำทท่ี ำไดเ้ พราะว่าดูดนำ้ ข้นึ มาจากในดนิ ก็มีเกลือขึน้ มาด้วย ย่อมทำให้มีโพรงในใต้ดิน ก็นำน้ำเอาลงไปแทนที ่ ก็เป็นการทำ ที่ทำกนั ได้ แล้วก็ไม่ส้นิ เปลืองมากนกั ... น้ำในหว้ ยจะไม่เคม็ นาข้าวจะทำได.้ ..”  โครงการธนาคารโค-กระบอื เมือ่ วนั ที่ ๓๐ มถิ นุ ายน ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูห่ วั ไดเ้ สด็จพระราชดำเนนิ เยี่ยมราษฎร ในพ้นื ท่ีโครงการพฒั นาท่รี าบเชงิ เขา จงั หวดั ปราจนี บรุ ี ในครง้ั น้นั ราษฎรไดถ้ วายฎกี าวา่ ขาดแคลนววั ควาย 161

ใชไ้ ถนา ต้องเชา่ มาใช้งานในราคาแพงมาก บางคราวเมื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรแลว้ ก็กลายเป็น ค่าเช่าไปเกือบหมด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมปศุสัตว์ หาทางชว่ ยเหลอื ราษฎรโดยการตงั้ ธนาคารโค-กระบือข้ึน ซ่ึงคำวา่ “ธนาคาร โค-กระบอื ” เปน็ ศพั ท์ท่ี พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวทรงคดิ ขึน้ ใหม่ หมายถึง ศูนย์กลางรวบรวมโคและกระบือ โดยมี บญั ชีควบคุมดูแลรักษา แจกจ่ายให้ยืมเพือ่ ใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม และเพิ่มปริมาณโคและ กระบอื ตามหลักการธนาคาร ดังพระราชดำรัสทพี่ ระราชทานแก่คณะสมาชิกผรู้ ับนมสวนจิตรลดา คณะสมาชิกผูเ้ ลีย้ งโคนม และคณะผนู้ ำกลุ่มสหกรณ์ทเี่ ข้าเฝา้ ฯ เมอื่ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๓ ได้ทรงอธิบายถึงพระราชดำริในเรือ่ งนี้ ความตอนหนึ่งวา่ “...เรือ่ งธนาคารกระบือนนั้ เป็นเรือ่ งที่นับว่าใหม่สำหรับโลก เพราะวา่ โดยมาก ในโลกปัจจุบันนกี้ ็นึกแต่ทีจ่ ะมีความก้าวหนา้ ในทางที่จะใชเ้ ป็นเครอื่ งจักรกลไก สำหรับมาช่วยทำการเกษตร ทำการกสิกรรม แตม่ าเดยี๋ วนี ้ รสู้ ึกจะเกิดความลำบาก เพราะวา่ เชอื้ เพลิงแพง จงึ ทำให้ความก้าวหนา้ ในดา้ นเครอื่ งทุน่ แรงจะเสียไป ฉะนัน้ จงึ ต้องพยายามหาทางที่จะใช้เครือ่ งทุ่นแรงแบบโบราณก็คือใชส้ ัตวพ์ าหนะ สัตว์ทีจ่ ะใชใ้ นงานสำหรบั การเกษตร เช่น โคหรือกระบือ การทีจ่ ะมีโคหรอื กระบือนนั้ ก็มีปัญหามากเพราะวา่ ชาวนาชาวไร่ไม่มีทุนพอทีจ่ ะไปซอื้ หรือแม้จะเลี้ยงก็อาจจะ ลำบาก จงึ มีความคิดขึน้ มาวา่ ถ้าทำเป็นหนว่ ยหนึง่ ที่มีโคหรือกระบือไวพ้ รอ้ มที่จะให้ ชาวนา ชาวไรไ่ ดใ้ ชก้ ็จะเปน็ การดี จึงทำในรูปทเ่ี รียกวา่ ธนาคาร...”  การแก้ปัญหาดนิ เพือ่ การเพาะปลูก โดยการพัฒนาคุณภาพดินจากสภาพเสอื่ มโทรม ใหด้ ีข้ึนด้วยวธิ ีการแบบง่ายๆ ตามสภาพพืน้ ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวมีพระราชดำริในการแก้ไขปญั หาดินพรุหรือดินเปรี้ยวโดยเน้น ศึกษาทดลองค้นคว้าวิจัย และพัฒนาพืน้ ทีด่ ินพรุให้สามารถนำมาใช้ประโยชนใ์ นด้านเกษตรกรรม ใหไ้ ดม้ ากท่สี ดุ เชน่ ทรงใชว้ ธิ กี าร “แกล้งดนิ ” การใชห้ นิ ปูนปรบั สภาพน้ำเปรย้ี ว ซง่ึ เม่อื ไดด้ ำเนินการตาม พระราชดำริแลว้ ปรากฏว่าพืชสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี และเป็นแบบอย่างในการแก้ไข ปญั หาดินเปรีย้ ว ดังแนวพระราชดำริในการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด ทีไ่ ด้พระราชทานให้แก่ข้าราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และข้าราชบริพาร ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงตรวจแปลงศึกษา การเปลีย่ นแปลงความเป็นกรดของดินกำมะถัน ในหนงั สอื “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวกับการ พฒั นาการเกษตรไทย” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ความตอนหนึง่ ว่า “...น่ีเปน็ เหตุผลอยา่ งหน่ึง ทพ่ี ดู มา ๓ ปแี ลว้ หรอื ๔ ปกี ว่า ต้องการน้ำสำหรับมาให้ ดินทำงานดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อแล้วก็มาทำทีน่ ี่แล้วมันได้ผล... 162

อันนีผ้ ลงานของเราทีท่ ำที่นเี่ ป็นงานที่สำคญั ทีส่ ุด เชอื่ วา่ ชาวต่างประเทศเขามาดู เราทำอยา่ งนแ้ี ล้วเขาก็พอใจ...” พระองค์มีแนวพระราชดำริแก้ปญั หาดินทรายอย่างง่ายๆ ด้วยการปลกู หญา้ ตามแนวระดับเพื่อ ยึดดนิ และใหเ้ กดิ ป๋ยุ อินทรยี ์ ส่วนปัญหาดนิ ดานและดนิ ลูกรงั ไดพ้ ระราชทานพระราโชบาย “ปา่ ไมห้ ม่บู า้ น” ใหร้ าษฎรเป็นเจา้ ของดำเนนิ การปลูกปา่ และบำรุงรกั ษาตน้ ไมเ้ อง  การฟนื้ ฟูทรัพยากรปา่ ไม้ โดยการส่งเสริมระบบวงจรปา่ ไมด้ ้วยวฏั จกั รธรรมชาติ โครงการพฒั นาพ้นื ท่ดี นิ เส่อื มโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จงั หวัดราชบุรี เปน็ แนว พระราชดำริเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปา่ ด้วยวัฏจักรธรรมชาติ โดยมีวิธีการทีเ่ รียบง่ายและประหยัด ในการดำเนนิ งาน ตลอดจนสง่ เสรมิ ระบบวงจรปา่ ไมใ้ นลักษณะธรรมชาตดิ ง้ั เดมิ ดงั พระราชดำรกิ ารปลูกปา่ โดยไม่ต้องปลูกดว้ ยวธิ ีการ ๓ วิธี จากหนงั สือ “กษัตริยน์ ักพัฒนา” ความตอนหนงึ่ วา่ “...ถ้าเลือกได้ทีท่ ี่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านัน้ ไวต้ รงนนั้ ไม่ต้องไปทำอะไรเลย ปา่ จะเจรญิ เติบโตขึน้ มาเปน็ ปา่ สมบูรณ์โดยไมต่ ้องไปปลกู เลยสกั ตน้ เดียว...” “...ไม่ไปรังแกปา่ หรือตอแยต้นไม ้ เพยี งแต่คมุ้ ครองใหข้ ้ึนเองไดเ้ ทา่ น้นั ...” 163

“...ในสภาพป่าเต็งรัง ป่า เสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไร เพราะ ต อ ไ ม้ ก็ จ ะ แ ต ก กิ ่ง อ อ ก ม า อ กี ถึงแม้ต้นไม้ไม่สวย แต่ก็เป็น ต้นไม้ใหญ่ได้...”  การอนรุ ักษท์ รพั ยากรแหลง่ น้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงตระหนกั ว่าประชาชนส่วนใหญม่ ีอาชีพ ทางการเกษตรและอาศัยนำ้ ฝน จึงทรงเนน้ การอนุรักษ์และพัฒนาแหลง่ น้ำเป็นพิเศษ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตัง้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนอื่ ง มาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาค้นคว้าเกีย่ วกับรูปแบบทเี่ หมาะสม ของการพัฒนาพืน้ ทีต่ ้นนำ้ ลำธาร ก่อให้เกิดความชุ่มชืน้ และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพือ่ การอุปโภคบริโภค โดยพระราชทานแนวพระราชดำริให้มกี ารสร้างฝายชะลอความชุ่มชืน้ (Check Dam) ในศูนยศ์ ึกษาฯ ดังกลา่ ว ดังพระราชดำรัส เมอื่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ณ อำเภอแมล่ าน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ความตอนหนึง่ ว่า “...ใหพ้ ิจารณาดำเนินการสรา้ งฝายราคาประหยดั โดยใชว้ สั ดรุ าคาถกู และหาง่าย ในทอ้ งถ่นิ เช่น แบบทง้ิ หนิ คลมุ ดว้ ยตาข่ายปดิ ก้นั ร่องน้ำกบั ลำธารเลก็ ๆ เปน็ ระยะๆ เพ่อื ใช้เกบ็ กกั นำ้ และตะกอนดนิ ไวบ้ างสว่ น โดยนำ้ ท่กี กั เกบ็ ไวจ้ ะซึมเข้าไปในดนิ ทำใหค้ วาม ชุ่มช้ืนแผข่ ยายออกไปทง้ั สองข้าง ตอ่ ไปจะสามารถปลกู พันธ์ไุ มป้ อ้ งกนั ไฟ พันธไ์ุ มโ้ ตเรว็ และพันธุไ์ มท้ ิ้งใบ เพื่อฟ้นื ฟูพนื้ ท่ตี น้ น้ำลำธารใหม้ ีสภาพเขียวชอมุ่ ขึ้นเปน็ ลำดับ...” พระองคท์ รงยดึ หลกั งา่ ยๆ คอื “ธรรมชาตแิ ละธรรมดา” โดยใช้วัสดุราคาถูกทหี่ างา่ ยในพื้นท่ี เพอื่ จัดทำท่อส่งและลำเหมือง สำหรับเก็บน้ำไว้ในดิน เพือ่ แผข่ ยายความชุ่มชืน้ แก่สงิ่ แวดล้อมในพืน้ ที่ และเพอ่ื การเพาะปลกู ดงั พระราชดำรสั ณ ศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาหว้ ยฮอ่ งไครฯ้ เมอ่ื วนั ท่ี ๓ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๒๙ ความตอนหนึง่ วา่ “...การผันน้ำจากอ่างเก็บนำ้ ในระดบั บนลงไปตามแนวรอ่ งนำ้ ตา่ งๆ เพือ่ ชว่ ย ความชมุ่ ชืน้ ค่อยๆ แผ่ขยายตวั ออกไป สำหรับนำ้ ส่วนทีเ่ หลือก็จะไหลลงอ่างเก็บน้ำ 164

ในระดับต่ำลงไปเพือ่ นำไปใช้ประโยชน์ทางด้านงานเกษตรกรรมต่อไป ในการน้ีควรเริ่ม ปลูกป่าทดแทนตามแนวร่องนำ้ ซึง่ มีความชมุ่ ชืน้ มากกว่าบริเวณสันเขา จงึ จะทำให้ เป็นผลโดยเรว็ นอกจากนนั้ ยังเป็นการประหยัดกล้าไม้และปลอดภัยจากไฟป่า ด้วย เมือ่ ร่องนำ้ ดังกล่าวมีความชุม่ ชืน้ เพิม่ ขึน้ ลำดับตอ่ ไปก็ควรสร้างฝายต้นนำ้ เปน็ ระยะๆ เพ่อื คอ่ ยๆ เกบ็ กกั นำ้ ไว ้ แลว้ ตอ่ ทอ่ ไมไ้ ผส่ ง่ นำ้ ออกทง้ั สองฝง่ั รอ่ งน้ำ อันจะเปน็ การชว่ ยแผ่ขยายแนวความชมุ่ ชื้นออกไปตลอดแนวร่องนำ้ ...”  โครงการปรบั ปรุงคลองลัดโพธิอ์ นั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ โดยการปรับปรุงสภาพลำน้ำ และใช้ประโยชน์จากพลงั งานน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวมีพระราชดำริให้ขุดลอกลำน้ำในบริเวณทีต่ ื้นเขิน ตกแต่งดิน ตามลาดตลิง่ ทีถ่ ูกกัดเซาะ กำจัดวัชพืชหรือทำลายสงิ่ กีดขวางทางนำ้ ไหล และกรณีลำนำ้ มแี นวโค้งมาก เปน็ ระยะไกล ทรงใหข้ ดุ คลองลัดเช่อื มบรเิ วณดา้ นเหนือโคง้ กบั ดา้ นทา้ ยโคง้ ซ่งึ จะทำใหน้ ำ้ ไหลผา่ นไดเ้ รว็ ข้นึ ซึง่ เป็นวิธีการทีง่ ่ายไม่สลบั ซับซ้อน เช่น โครงการปรับปรุงคลองลดั โพธิ์อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวได้มพี ระราชกระแสรับสัง่ ให้หนว่ ยงานทีเ่ กี่ยวข้องร่วมกันวางโครงการ ขุดลอกคลองลัดโพธิข์ ึ้น เนือ่ งจากทรงเห็นว่าแมน่ ้ำเจ้าพระยาตอนล่างในเขตจังหวัดสมทุ รปราการ 165

มลี กั ษณะโคง้ ออ้ มคลา้ ยกระเพาะหมเู ปน็ ระยะทาง ถงึ ๑๘ กโิ ลเมตร หากสามารถขยายและปรบั ปรงุ คลองลัดโพธิ์ทีเ่ ชือ่ มต่อด้านเหนือโค้งแมน่ ำ้ และ ปลายโค้งแม่นำ้ มคี วามยาวเพียง ๖๐๐ เมตร จะช่วยยน่ ระยะทางระบายน้ำได้สนั้ ลงและเร็ว ขนึ้ น้นั จะสามารถบรรเทาปญั หานำ้ ท่วมได้ นอกจากนี้ พระองค์มพี ระราชดำริ สรา้ งประตรู ะบายนำ้ ทค่ี ลองลดั โพธเ์ิ พอ่ื ปดิ -เปดิ ในช่วงเวลาต่างๆ เช่น ประตูระบายนำ้ จะ ปิดในช่วงหนา้ แล้งเพือ่ ปอ้ งกันนำ้ ทะเลไหล กลับเข้ามาในแม่นำ้ เจ้าพระยาและจะเปดิ ประตเู พอ่ื ระบายนำ้ ในชว่ งนำ้ หลากทม่ี นี ำ้ ไหลบา่ มาจากทางภาคเหนอื เป็นต้น และเมอื่ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัวมีพระราชดำริให้ศึกษาการใช้ พลงั งานนำ้ ทีร่ ะบายผ่านคลองลดั โพธิ์ให้เกิด ประโยชน์ โดยมีพระราชกระแสรบั สงั่ วา่ “...โครงการคลองลัดโพธจ์ิ ะทำประโยชนไ์ ด้อย่างมหศั จรรย์ มพี ลงั งานมหาศาล จะใชพ้ ลงั งานน้ำทร่ี ะบายผ่านคลองทำประโยชน์อยา่ งอ่ืนด้วยได้หรอื ไม่...” และพระราชดำรัสเมือ่ วันที่ ๔ ธนั วาคม ๒๕๔๙ ณ ศาลาดุสิดาลยั สวนจติ รลดา พระราชวังดุสิต ความตอนหนึง่ วา่ “...อปุ กรณท์ ม่ี อี ยแู่ ลว้ คอื ทพ่ี ระประแดง ทม่ี อี ปุ กรณท์ เ่ี วลานำ้ ขน้ึ กกั เอาไว ้ แลว้ ก็ เวลาน้ำลง ปล่อยใหล้ ง... ได้ทำโครงการท่จี ะปล่อยน้ำออกไปได้ เวลาน้ำลง แล้วกเ็ วลา นำ้ ขึน้ ก็ปิดเอาไว้ ตรงนัน้ คลอง ๖๐๐ เมตรเท่านนั้ เอง ถ้าเปิด มันก็ทะลักเข้ามาใน แม่นำ้ เจ้าพระยา ถ้าปิด น้ำจะออ้ มไป ถงึ คลองเตย ออ้ มไป อนั นี้วิธที จ่ี ะบริหารน้ำใหด้ ี ก็วธิ ีทีท่ ำให้ทราบวา่ เวลาไหนน้ำกำลังขึน้ ปล่อยให้ออกไป ออ้ มไปที่ทางคลองเตย กวา่ จะถึงตรงปลาย น้ำก็ลง...” 166

 การผลติ พลังงานทดแทนจากผลติ ผลทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวมีพระราชดำริทีเ่ รียบง่าย ประหยดั และสร้างระบบนเิ วศ ให้เกิดความสมดุล โดยทรงให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทย พึ่งตัวเองได้ในด้านพลังงาน รวมทงั้ รองรับปญั หาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ตลอดจนเปน็ การนำเศษ วัสดุเหลือใช้มาทำประโยชนใ์ ห้คุ้มค่าทีส่ ุด พระองค์มีพระราชดำริว่า ควรนำแกลบมาใช้งานให้เปน็ ประโยชน์ ทงั้ ด้านการทำเป็นปยุ๋ สำหรับปรับปรุงสภาพดิน และทำเปน็ เชือ้ เพลิง โดยได้ทดลองนำวัสดุ ต่างๆ คือ แกลบบด ผักตบชวา และขีเ้ ลอื่ ยจากถุงเพาะเห็ดมาอดั เป็นเชือ้ เพลงิ แท่งทใี่ ห้ความร้อน ได้ดี ซึ่งปัจจุบนั มจี ำหน่ายแก่บคุ คลทวั่ ไป ดังพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนองสนม เมือ่ คราวเสด็จ พระราชดำเนนิ ไปทอดพระเนตรโครงการหนองสนม จังหวัดสกลนคร เม่อื วนั ที่ ๒๖ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๒ ความตอนหน่งึ ว่า “...ต้องเตรยี มสถานที่สร้างโรงงานบรเิ วณขอบหนอง เพือ่ แปรสภาพผักตบชวา ที่ใช้งานแล้ว ให้เปน็ ปยุ๋ หมกั เชอ้ื เพลงิ ... ช่วยประหยดั คา่ ขนสง่ ผักตบชวา” มุ่งผลสัมฤทธิ์ : เพอื่ ประโยชนส์ ขุ ของปวงประชาและการพัฒนาทีย่ ่งั ยืน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย่หู วั ทรงงานดา้ นต่างๆ เพอื่ แก้ไขปญั หาใหร้ าษฎรโดยทรงทุม่ เทเสยี สละ ความสุขสว่ นพระองคเ์ พ่อื มงุ่ ผลสมั ฤทธ์คิ อื ประโยชนส์ ขุ และความกนิ ดอี ยดู่ ีของประชาชนท่ที รงถอื เปน็ กำไรของพระองค์ แมจ้ ะตอ้ งใชเ้ งนิ ลงทุนหรอื พระราชทรพั ย์มากมายกต็ าม โดยทรงยึดหลักความเรยี บงา่ ย และไม่ติดตำรา ด้วยการคิดค้นและดัดแปลงวิธีแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับ ธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม เพอ่ื เป็นรปู แบบใหป้ ระชาชนสามารถเขา้ ถงึ และนำไปปรบั ใชไ้ ดเ้ อง โดยไมต่ อ้ ง พงึ่ พิงหรือใชจ้ า่ ยให้ส้นิ เปลือง อนั นำไปสูก่ ารพง่ึ ตนเองและการพฒั นาอยา่ งยงั่ ยนื 167

๕. ชยั ชนะแห่งการพฒั นา ความหมายของพระราชดำริ “ชัยชนะแห่งการพฒั นา” นัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงอธิบายไว้ในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารจกั รพนั ธ์เพญ็ ศิริ เม่ือวนั ท่ี ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ความตอนหน่งึ ว่า “...ประโยชน์อนั พงึ ประสงค์ของการพฒั นาน้นั กค็ ือ ความผาสกุ สงบ ความเจรญิ มั่นคง ของประเทศชาตแิ ละประชาชน. แต่การทีจ่ ะพฒั นาให้บรรลุผลเป็นประโยชน์ ดงั กล่าวได ้ จำเป็นที่จะต้องพฒั นาฐานะความเป็นอยูข่ องประชาชนให้อยู่ดีกินด ี เป็นเบือ้ งตน้ ก่อน เพราะฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนนัน้ คือรากฐานอย่างสำคญั ของความสงบและความเจรญิ ม่นั คง. ถ้าประชาชนทุกคน มฐี านะความเป็นอยทู่ ่ีดแี ล้ว ความสงบ และความเจรญิ ย่อมจะเป็นผลก่อเกิดต่อตามมาอย่างแนน่ อน. จึงอาจพดู ไดว้ ่า การพัฒนาก็คอื การทำสงครามกับความยากจนเพือ่ ความอยู่ดี กินดีของประชาชนโดยตรง. เมือ่ ใดก็ตาม ที่ประชาชนมีความอยูด่ ีกินดีและ ประเทศชาติมีความสงบ มีความเจริญ เมือ่ นนั้ การพัฒนาจึงจะถือไดว้ า่ ประสบ ความสำเร็จ เปน็ ชัยชนะของการพัฒนาอย่างแทจ้ ริง...” นอกจากนี้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้ให้สมั ภาษณใ์ นหนงั สือ “การทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ” วา่ พระองคร์ บั ส่งั วา่ การแกป้ ญั หาของประชาชนและประเทศชาติ ไม่ใช่เรอื่ งงา่ ยเป็นงานยาก การเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา เหมือนกับการเข้าสงคราม แตเ่ ป็น 168

การทำสงครามทไ่ี มใ่ ชอ้ าวธุ เปน็ การ ตอ่ สู้กับปัญหาเพือ่ นำไปสูช่ ยั ชนะ โดยใช้กระบวนการพฒั นาและ ในทัศนะของพระองค์ การพัฒนา ท้ังดา้ นเศรษฐกจิ สังคม และการเมือง หรืออะไรก็ตาม ต้องพัฒนา “คน” ด้วยการให้ความสำคัญในทุกมิติ ซึง่ เป็นธรรมดาทีห่ นทางไปสูก่ าร พัฒนานนั้ ย่อมจะมีปัญหาและ อุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะการทำงานทมี่ ีระเบยี บแบบแผนของทางราชการทีจ่ ำเป็นต้องมี การปฏบิ ตั งิ านตามขน้ั ตอน ซง่ึ ในบางครง้ั อาจไมท่ นั ตอ่ เหตกุ ารณใ์ นการชว่ ยเหลอื ประชาชนอยา่ งทนั ทว่ งที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวจึงทรงให้ก่อตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” ขึน้ ในรูปแบบขององค์กรเอกชน เพือ่ ให้ การดำเนินการช่วยเหลือประชาชนสามารถกระทำได้ด้วย ความรวดเร็วและคล่องตัว เพือ่ มุ่งสู่ชัยชนะแห่งการพัฒนา และการกนิ ดอี ย่ดู ีของประชาชน ดงั พระราชดำรสั พระราชทาน เมอื่ วนั ท่ี ๔ ธันวาคม ๒๕๓๗ อนั เปน็ ท่มี าของชอื่ มูลนิธชิ ัยพฒั นา ความตอนหนง่ึ วา่ “...ชัยชนะของประเทศนี ้ โดยงานของมูลนธิ ิชยั พฒั นานนั้ ก็คือ ความสงบ... เป็นเมืองไทยที่มีความเจรญิ ก้าวหนา้ จนเป็นชัยชนะของการพัฒนา ตามที่ไดต้ ัง้ ชือ่ มลู นิธชิ ยั พัฒนา ชยั ของการพัฒนาน้ีมจี ุดประสงค์ คอื ความสงบ ความเจรญิ ความอย่ดู ี กนิ ดี...” และพระราชดำรสั เมื่อวันท่ี ๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๘ ความตอนหน่งึ ว่า “มลู นธิ ชิ ยั พฒั นา มไิ ดม้ หี นา้ ทโ่ี ดยตรงทจ่ี ะบรรเทาทกุ ขแ์ กป่ ระชาชนใหม้ กี นิ ใหส้ ามารถ ที่จะดำเนนิ ชีวติ ที่สร้างสรรค ์ โดยช่วยในการให้มีสิ่งที่เป็นอปุ กรณ์ หรอื จะเป็นสิ่งที่ เปน็ ปจั จัยใหส้ ามารถทจ่ี ะทำการทำมาหากนิ โดยมปี ระสทิ ธภิ าพ โดยเฉพาะเก่ยี วขอ้ งกบั โครงการในดา้ นการเกษตรก็ไดท้ ำมาก และในด้านเกีย่ วข้องกับสิง่ แวดล้อมก็ได้ทำ เพือ่ ที่จะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวติ ดีที่สุดเป้าหมายก็คอื ความเจรญิ รงุ่ เรอื ง ของประเทศชาติ ซงึ่ ถอื ว่าเป็นชัยชนะ” 169

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว จึงทรงงานหนกั โดยมไิ ด้ว่างเว้นเสมอมาเพือ่ ต่อสูก้ ับ ความทกุ ข์ยากของประชาชน ดังคำกลา่ วของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและ รัฐบุรุษ ในการปาฐกถาพิเศษ (ทีม่ า กองสารนิเทศ กรมกจิ การพลเรอื นทหาร กองบญั ชาการทหารสงู สุด) ความตอนหน่งึ วา่ “...พระองคม์ เิ คยทรงดดู ายกบั ความทกุ ข์ ความเดือดร้อนของประชาชน ไม่เคย ทรงว่างเว้นทจี่ ะคิดหาวิธีการอนั ทันสมัย มาพฒั นาการกนิ ดอี ยู่ดขี องราษฎรของพระองค์ เพื่อให้ราษฎรได้รับประโยชนส์ ขุ ทรงมี พระราชดำรัสอยูเ่ สมอว่าประชาชนไทย ส่วนใหญ่ยังยากจน พระองค์ตอ้ งทรงต่อสู้ กับศัตรูคือความยากจนของราษฎร โดยทรงหาวิธีการตอ่ สู้กับความทุกขย์ ากอยู่ ตลอดเวลา เพอ่ื ให้ประชาชนของพระองคช์ นะความยากจนให้ได้...” การมงุ่ สู่ “ชัยชนะแห่งการพัฒนา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว จึงเปน็ การพัฒนาและยกระดับชีวิตความเปน็ อยู่ ของราษฎรให้มคี วามเจริญ และอยดู่ ีกินดี โดย “ต่อสูก้ ับความยากจน” ของมวลราษฎร ด้อยโอกาสในชนบททเี่ ป็นประชากรส่วนใหญ่ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ใ ห้ พ้ น จ า ก ค ว า ม ท ุก ข์ ย า ก เมอื่ ประชาชนพ้นจากความทกุ ข์ยาก สามารถ พึ่งตนเองได้ กจ็ ะมีอิสระและเสรภี าพ อนั จะนำ ไปสูก่ ารเป็น “ประชาธิปไตย” อยา่ งแท้จริง โดยมีแนวพระราชดำรทิ ี่สำคญั สรุปได้ดังน้ี 170

แนวพระราชดำริ ๕.๑ การต่อสูก้ ับความยากจน อาจกล่าวได้ว่า การทรงงานแก้ไขปัญหาให้แก่พสกนกิ รในทกุ ๆ เรื่องของพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยู่หวั นบั เป็นการตอ่ ส้กู บั ความยากจนเพอ่ื ยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ และใหร้ าษฎรสามารถมชี วี ติ อยู่ ไดต้ ามอตั ภาพอยา่ งมคี วามสขุ และยง่ั ยนื โดยการสรา้ งความเขม้ แขง็ ใหช้ มุ ชน ดแู ลรกั ษาและสง่ เสรมิ สขุ ภาพ ประชาชนส่งเสริมอาชีพและรายได้ และความรู้ ดังแนวพระราชดำริดังน้ี  ทรงให้ความช่วยเหลือและพฒั นาคนในชนบทเป็นหลักใหญ่ ตั้งแต่การพระราชทาน หรอื สรา้ งโครงสรา้ งพน้ื ฐานท่ีจำเป็นตอ่ การผลิตและประกอบอาชพี ของประชาชน จนถงึ การสง่ เสรมิ ความรู้ และอาชพี เพอื่ ยกระดับคุณภาพชวี ติ ตามแนวพระราชดำรกิ ารตอ่ สู้กับความยากจน สรปุ ไดด้ งั นี้  การสร้างความเข้มแข็งให้ชมุ ชนดว้ ยการพระราชทานสิง่ จำเป็น หรอื สร้างโครงสรา้ ง พืน้ ฐานหลัก ท่ีจำเปน็ ต่อการผลิต อนั เปน็ รากฐานนำไปสกู่ ารพึง่ ตนเองได้ในระยะยาว โครงสร้างพืน้ ฐานทสี่ ำคัญ อาทิ แหลง่ น้ำ ซึง่ เปน็ ปัจจัยสำคัญทีจ่ ะช่วยให้เกษตรกร ทตี่ ้องพึง่ พาอาศัยน้ำฝนได้มโี อกาสทีจ่ ะผลิตได้ตลอดปี การผลิตได้ตลอดปีเปน็ เงื่อนไขข้อแรก ทจี่ ะช่วยให้ชุมชนพึง่ ตนเองได้ในเรือ่ งอาหารได้ในระดับหนงึ่ และเมือ่ ชุมชนเข้มแข็งแลว้ ก็อาจจะ มกี ารสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานอืน่ ๆ ทจี่ ำเป็นต่อการยกระดับรายได้ของชุมชน เช่น เสน้ ทางคมนาคม เพ่อื การขนส่งพืชผล เป็นตน้ ดังพระราชดำรัสเมื่อ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ ณ พระตำหนกั จิตรลดารโหฐาน ความตอนหน่ึงว่า 171

“... เร่ืองนำ้ น้ ี กเ็ ปน็ ปจั จัยหลกั ของมวลมนุษย ์ ไมใ่ ชม่ นษุ ยเ์ ทา่ น้ันเอง แมส้ ง่ิ มชี ีวติ ทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืชก็ต้องมีน้ำ ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่านำ้ เป็นสื่อ หรือเป็น ปัจจยั สำคญั ของสิง่ มีชีวิต แม้สิง่ ไม่มีชีวิตก็อาจตอ้ งการนำ้ เหมือนกัน มิฉะนนั้ ก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตถุตา่ งๆ ในรูปผลึก ก็ตอ้ ง มีน้ำในนนั้ ดว้ ย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิง่ ทีไ่ ม่มีรปู ฉะนนั้ น้ำนกี้ ็เป็นสิง่ สำคัญ ทีก่ ล่าวถึงขอ้ นีก้ ็จะได้ให้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนาขนั้ แรกหรอื สิง่ แรกทีน่ ึกถึง ก็คอื ทำโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการสิง่ แวดล้อมทำให้น้ำด ี สองอย่างนี้ อ่นื ๆ กจ็ ะเปน็ ไปได ้ ถา้ หากวา่ ปญั หาของนำ้ น้ ี เราไดส้ ามารถทจ่ี ะแกไ้ ข หรืออยา่ งนอ้ ยทส่ี ดุ ก็ทำให้เรามีน้ำใชอ้ ย่างเพยี งพอ ฉะนัน้ การพัฒนานัน้ สิง่ สำคัญก็อยูต่ รงน ี้ นอกจากนี้ ก็เป็นสิ่งทีต่ ่อเนอื่ ง เช่น วิชาการในดา้ นการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึงวิชาการ ท่เี ก่ยี วข้องกับอุตสาหกรรม หรอื การค้า หรอื การคลงั อะไรพวกนก้ี ต็ ่อเนือ่ งต่อไป”  การดูแลรกั ษาและส่งเสรมิ สุขภาพประชาชน ด้วยทรงตระหนักว่า หากพสกนิกรทัง้ ปวงมีสขุ ภาพแข็งแรง พร้อมด้วยสขุ ภาพจิตทดี่ ีแล้ว ยอ่ มมีแรง กำลงั ในการประกอบอาชพี ยกระดบั ความ เป็นอยขู่ องตนเอง สง่ ผลให้เป็นบุคลากร ทมี่ คี วามพร้อมในการร่วมเสริมสร้างและ พัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ยิง่ ขึน้ ต่อไป รวมทงั้ ขจัดปญั หาสงั คม ด้านตา่ งๆ ในระยะแรกๆ ของการเสด็จพระราชดำเนนิ ทรงเย่ยี มราษฎรในสว่ นภูมิภาค พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ จงึ ทรงมพี ระราชดำรดิ า้ นการแพทย์ สาธารณสขุ และสังคมสงเคราะห์ เพ่อื ช่วยเหลอื ราษฎรท่ยี ากไรใ้ นถิ่นทรุ กันดาร ดังพระบรมราโชวาทท่ีพระราชทาน เม่อื วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ ความตอนหนง่ึ ว่า “...การรกั ษาความสมบูรณ์ของร่างกายเป็นปัจจยั ของเศรษฐกิจทีด่ ี และสังคม ที่มั่นคงเพราะรา่ งกายที่แข็งแรงนนั้ โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจติ ใจสมบูรณ์ และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ด ี พร้อมทัง้ รา่ งกายและจติ ใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์ สรา้ งสรรคเ์ ศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที.่ .. สุขภาพทีส่ มบูรณ์ในรา่ งกาย และจติ ใจน้นั เปน็ รากฐานของการสรา้ งสรรค์จรรโลงประเทศ อนั จะเปน็ ทางขจัดปญั หา ของสังคมส่วนสำคญั ลงได้ และจะทำให้การพฒั นาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ บรรลุถึงความสำเร็จ มน่ั คง และเจรญิ กา้ วหน้า...” 172

และดังพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ พระราชทานแก่คณะบคุ คลต่างๆ ทีเ่ ข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมือ่ วันที่ ๑๑ สงิ หาคม ๒๕๓๑ ความตอนหนึ่งว่า “...ข้าพเจา้ เห็นว่าเรอื่ งสุขภาพอนามัยนีเ้ ป็นสิง่ สำคัญ เพราะเป็นพนื้ ฐาน ของสิ่งมีชีวติ ทั้งมวล ดังคำกล่าวทีว่ ่า “จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยูใ่ นร่างกายที่แขง็ แรง” หากประชาชนมีสขุ ภาพอนามยั สมบูรณ์ ไมเ่ จบ็ ไข้ไดป้ ่วย เขากจ็ ะมีสตปิ ญั ญาเลา่ เรียน ประกอบสัมมาอาชพี สร้างสรรคค์ วามเจรญิ ต่างๆ ให้แก่ชาติบ้านเมือง ดังนั้น ถา้ เราจะกลา่ วว่า “พลเมอื งท่แี ข็งแรงย่อมสามารถสรา้ งชาตทิ ่ีมน่ั คง” กค็ งจะไมผ่ ิด...” นอกจากนี้ ท่านผหู้ ญงิ จรุงจิตต์ ทขี ะระ รองราชเลขานกุ ารในพระองค์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึง่ เป็นผูห้ นึง่ ทไี่ ด้มีโอกาสถวายงานใกล้ชิดสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ได้ให้ สมั ภาษณถ์ ึงเรื่องดังกลา่ วในหนังสอื “สมเด็จพระบรมราชินนี าถนักพัฒนา เพอ่ื ปวงประชาสขุ ศานต”์ ความตอนหนง่ึ วา่ 173

“...สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในการช่วยเหลือประชาชน โดยรับสงั่ เสมอว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงสอนว่า การชว่ ยเหลอื โดยการเอาของไปแจกกเ็ ปน็ เหมอื นการแกป้ ญั หาเฉพาะหนา้ ใหเ้ ขาไดเ้ ทา่ นน้ั เราจะทำอยา่ งไร ท่จี ะช่วยเขาได้ในระยะยาว คอื ให้เขายนื หยดั ได้ด้วยตัวเอง จงึ จะเป็นการชว่ ยเหลอื อยา่ งแท้จริง สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ จงึ ทรงรบั พระราชดำรขิ องพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั และทรงปฏิบตั ิพระราชกรณยี กิจด้วยกัน โดยก่อนนเี้ สด็จพระราชดำเนินพร้อมกันสองพระองค์ รวมท้งั สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกฎุ ราชกมุ าร สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี สมเด็จพระเจ้าลกู เธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลยั ลกั ษณ์ อคั รราชกุมารี จะเสดจ็ ฯ ดว้ ยกันหมดทุกพระองค์ และจะทรงแบ่งงานกัน เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรแหล่งน้ำ ที่ทำมาหากินของชาวบา้ น และทรงสอบถามทุกข์สุขของชาวบ้าน และทรงพบกับหัวหน้าครอบครัว ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ก็ทรงดูแลครอบครัวเขา คือ แมบ่ า้ นและเด็กๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย เพราะทุกครั้งทีเ่ สด็จฯ ออกไปจะทรงนำขบวนแพทย์ทุกแขนง ทอี่ าสามาทำงาน ทัง้ แพทย์หัวใจ สมอง กระดูก อายรุ กรรม แพทย์เด็ก และจักษุแพทย์ เรียกว่า “หนว่ ยแพทยพ์ ระราชทาน” เพื่อเปิดหนว่ ยเฉพาะกจิ ขน้ึ ในชว่ งทีพ่ ระองค์เสด็จฯ... ตอนนนั้ ทูลกระหม่อมยังทรงพระเยาว์ก็ทรงตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถด้วย ทกุ พระองค์ทรงแบง่ กันดูแลราษฎร เพื่อยกระดับ ความเปน็ อยขู่ องราษฎรให้ดขี ้ึน...”  การส่งเสริมอาชพี และรายได้ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต ด้วยโครงการต่างๆ ให้ราษฎรสามารถเลีย้ งปากเลีย้ งท้อง และสามารถยืนหยดั พึง่ ตัวเองได้ เช่น การจัดตัง้ ศูนย์ศกึ ษา การพฒั นาอันเน่อื งมาจากพระราชดำริในภมู ภิ าคต่างๆ เพอ่ื เป็นศนู ยร์ วมการศกึ ษาคน้ ควา้ ทดลอง วจิ ยั 174

และแสวงหาแนวทางและวิธีพัฒนาทีเ่ หมาะสมสอดคลอ้ งกับสภาพแวดลอ้ ม และการประกอบอาชีพ ของราษฎรท่ีอาศยั ในแถบน้นั การฝึกอาชพี ราษฎรกบั มลู นธิ สิ ง่ เสริมศลิ ปาชพี ในสมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ์ิ พระบรมราชนิ นี าถ และการจดั ต้งั บรษิ ทั สวุ รรณชาด จำกดั ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ เพอ่ื จำหน่ายสนิ คา้ ทีผ่ ลติ จากโครงการท่ที รงส่งเสรมิ ไว้ เป็นต้น ดังพระราชดำรัสทสี่ มเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานในพิธีเปิดการประชุม และนทิ รรศการเรื่อง “มรดกสิง่ ทอของเอเชยี : หัตถกรรมและอตุ สาหกรรม” ณ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ เมอ่ื วนั ท่ี ๓๐ มกราคม ๒๕๓๕ ความตอนหนึง่ วา่ “...การทขี่ ้าพเจา้ เรมิ่ งาน ศลิ ปาชพี ข้ึนน้ัน ข้าพเจ้าต้ังใจ จะสรรหาอาชพี ใหช้ าวนาท่ยี ากจน เลีย้ งตวั เองได้เป็นเบือ้ งต้น ทั้งนี้ เนือ่ งจากข้าพเจ้าได้มีโอกาส ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวไปเย่ียมราษฎร ตามชนบทมาหลายสิบปีไดพ้ บวา่ ร า ษ ฎ ร ส่ ว น ใ ห ญ่ เ ป็ น ช า ว น า ชาวไร่ทีต่ อ้ งทำงานหนัก และต้องเผชญิ อปุ สรรคจากภัยธรรมชาติมากมาย... ทำให้ชาวนาชาวไร่มักยากจน การนำสิ่งของไปแจกราษฎรผูป้ ระสบภัยธรรมชาต ิ เป็นเพียงบรรเทาความเดอื ดร้อนเฉพาะหน้า ซงึ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภวา่ เป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน ควรจะหาวิธีอืน่ ทีช่ ่วยให้ราษฎร พึ่งตนเองได้...”  การส่งเสรมิ หรือสรา้ งเสริมสิ่งที่ชาวชนบทขาดแคลนทีส่ ำคัญคอื “ความรู”้ ทรงเห็นว่า ชาวชนบทควรมีความรู้เรือ่ งการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีทีเ่ หมาะสม ดงั พระราชดำรสั สมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ความตอนหน่ึงว่า “...พวกเราตอ่ สู้กับความ ยากจน ความหิว ขาดความร ู้ อยา่ งทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัวทรงรับสัง่ กับนกั ข่าว BBC เวลาเขาถามพระองคท์ ่านว่า “เสดจ็ มา ทำอะไรกันทีช่ ายแดน มีทหารล้อมหนา้ ล้อมหลัง จะมาสูก้ ับคอมมิวนสิ ตห์ รือ?” พระองค์ทรงรับสัง่ วา่ “พวกเรามาอยูท่ ีน่ ีก่ ็เพราะที่นขี่ าดน้ำทำกิน เรามาสู้กับ ความยากจน นานาประการ เพอื่ ใหค้ นไทย เปน็ ไทแกต่ นอยา่ งแทจ้ ริง ใหเ้ หมาะสมกบั ระบอบประชาธิปไตย ทท่ี ่านทัง้ หลายก็สนับสนุนอยูม่ ใิ ชห่ รอื ...” 175

 การนำความรดู้ า้ นเทคโนโลยีการเกษตรทีเ่ หมาะสมเขา้ ไปถึงมือชาวบ้านอย่างเป็นระบบ และตอ่ เน่ือง เป็นขบวนการเดียวกนั เป็นเทคโนโลยกี ารผลติ ที่ชาวบา้ นรบั ได้ และสามารถนำไปปฏิบัติ อยา่ งไดผ้ ลจริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงนำความรูท้ างสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทกุ สาขา วิชามาใช้ในการพฒั นาทุกแขนง ไมท่ รงปิดก้นั เทคโนโลยใี หม่จากตา่ งประเทศ แตท่ รงเน้นวา่ จะต้องเลือก ใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชนม์ าปรับปรุงใช้ได้ดีพอ เหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศ ดังพระบรม ราโชวาทในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั รของสถาบันเทคโนโลยพี ระจอมเกลา้ ประจำปกี ารศกึ ษา ๒๕๒๐ เมอ่ื วันที่ ๓๐ ตลุ าคม ๒๕๒๑ ความตอนหน่งึ วา่ “...เทคโนโลยีชว่ ยให้ประหยัดไดอ้ ย่างดีเลิศในการสร้างเครอื่ งมืออเิ ล็กทรอนิกส์ แต่ก่อนเครือ่ งมืออิเล็กทรอนกิ ส์ทำได้ยากยิง่ และมีราคาสูง คนส่วนน้อยเท่านนั้ ทีไ่ ดร้ ับ ประโยชนจ์ ากเคร่ืองมือดงั กล่าว แต่ปัจจบุ ันเทคโนโลยชี ่วยให้สรา้ งและผลิตได้โดยง่าย และสะดวกดว้ ยราคาต่ำ อยา่ งเคร่ืองรบั วทิ ยทุ รานซิสเตอรเ์ วลาน้ีใชก้ นั ได้อยา่ งแพร่หลาย ทำใหค้ นทว่ั ไปได้รบั ประโยชนใ์ นดา้ นขา่ วสารและการบนั เทงิ โดยทว่ั ถงึ ในด้านอ่นื ๆ เช่น เกษตรกรรม อุตสาหกรรม แมจ้ ะเปน็ เพยี งงานระดับชาวบา้ น เทคโนโลยกี อ็ าจจะช่วยได้ เป็นอย่างดี ยกตวั อย่างเชน่ การทำยางพารา ถ้าทำตามแบบพนื้ บ้านซงึ่ ทำกัน ตามมตี ามเกดิ ขาดความระมดั ระวังในความสะอาดเรียบรอ้ ย กม็ กั ได้ยางทม่ี คี ณุ ภาพตำ่ ทำใหข้ ายไมไ่ ดเ้ ตม็ ราคา แต่ถา้ นำเทคโนโลยอี ยา่ งง่ายๆ มาใช้ ใหม้ กี ารใชก้ รรมวิธที ่ถี กู ตอ้ ง และแนน่ อนสมำ่ เสมอ ก็จะไดย้ างแผน่ ท่มี ีคณุ ภาพไดม้ าตรฐานขายได้เตม็ ราคา...” 176

๕.๒ ประชาธปิ ไตย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงเหน็ วา่ การจะสรา้ งความเปน็ ประชาธปิ ไตย ให้กับประชาชนและประเทศได้นนั้ จำเป็น จะต้องต่อสูก้ ับความยากจน เพราะหาก ประชาชนยงั ต้องต่อสเู้ พือ่ ความอยูร่ อดของ ชีวิต จะทำให้ขาดอสิ รภาพและเสรีภาพ ทจี่ ะแสดงความคิดเห็นหรือเข้ามามสี ว่ นร่วม ในการพัฒนาประเทศ รวมทัง้ ระบบการบริหารประเทศ จะต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม จงึ จะช่วยใหเ้ ป็นประชาธปิ ไตยไดอ้ ย่างแทจ้ รงิ ดังแนวพระราชดำริ ดังนี้  ประชาธิปไตยในฐานะพระมหากษัตรยิ ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงมแี นวพระราชดำริ ของคำว่า “หน้าทีข่ องพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบ ประชาธปิ ไตย” คอื ทำอะไรกต็ ามท่ีเป็นประโยชน์ ดงั ความ ตอนหนง่ึ ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระราชดำรสั ตอบคำถาม บรรษัทการกระจายเสยี งแห่งองั กฤษ หรือ British Broadcasting Corporation (BBC) ซง่ึ ขอพระราชทานสมั ภาษณเ์ ม่ือปี ๒๕๒๒ เก่ยี วกบั บทบาท และหน้าท่ขี องสถาบันพระมหากษตั ริย์วา่ “...การทจ่ี ะอธบิ ายวา่ “พระมหากษตั รยิ ”์ คอื อะไรน้นั ดเู ปน็ ปญั หาทค่ี อ่ นขา้ งยาก พอสมควร โดยเฉพาะในกรณขี องขา้ พเจา้ ซ่งึ ถกู เรยี กโดยคนท่วั ไปวา่ เปน็ พระมหากษตั รยิ ์ แต่โดยหนา้ ทท่ี ่ีแท้จรงิ แลว้ ดจู ะหา่ งไกลจากหน้าทพ่ี ระมหากษตั ริยท์ เี่ คยรู้จกั หรอื เข้าใจ กนั มาแตก่ อ่ น หนา้ ทข่ี องขา้ พเจา้ ในปจั จบุ นั กค็ อื อะไรกต็ ามท่เี ปน็ ประโยชน ์ ถา้ จะถามวา่ ข้าพเจ้ามีแผนการอะไรบ้างในอนาคต คำตอบก็คือ ไม่มี เราไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น ภายภาคหน้า แตว่ า่ อะไรจะเกดิ ขนึ้ กต็ าม เรากจ็ ะเลอื กทำแต่สิ่งที่เปน็ ประโยชน์ นั่นเปน็ แผนการที่เพียงพอแลว้ สำหรับเรา...”  ประชาธิปไตยท่ีแท้จรงิ คอื การทป่ี ระชาชนพ้นจากความทุกขย์ าก มีอสิ ระเสรีภาพ มคี วามคิด และไม่เบียดเบียนกัน ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นกั ศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสเสด็จฯ ไปทรงดนตรี ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมือ่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งวา่ 177

“...ประชาธปิ ไตยนน้ั ทแ่ี ทก้ ค็ อื ประเทศทม่ี ปี ระชาชนทม่ี คี วามคดิ ทม่ี คี วามพจิ ารณา ที่รอบคอบ เพอื่ ให้บ้านเมืองมั่นคง ให้บ้านเมืองอยูไ่ ด้โดยไม่เบียดเบียนซึง่ กันและกัน แล้วก็เชื่อวา่ มที างทจ่ี ะปฏบิ ัติได้โดยเฉพาะเมอื งไทย...” และดงั พระราชดำรสั ในพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัว เม่ือปี ๒๕๒๔ ความตอนหน่ึงว่า “...ทเ่ี ราตอ้ งเหนอ่ื ยเชน่ น ้ี เพราะประชาชนชาวไทยยงั ยากจนอย ู่ ความยากจนทำให้ ขาดอสิ รภาพเสรภี าพ ถา้ ประชาชนยงั ไมม่ อี สิ รเสรภี าพ สงั คมไทยกไ็ มเ่ ปน็ ประชาธปิ ไตย” นอกจากน้ี ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ ไดก้ ลา่ วถงึ แนวพระราชดำรขิ องพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั เกย่ี วกบั ประชาธิปไตยในการอภิปรายเรื่อง “พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว” ในหลักสูตร วิทยาลยั ปอ้ งกันราชอาณาจักรภาครัฐและเอกชน รุน่ ที่ ๒ ณ มหาวิทยาลยั กรุงเทพวิทยาเขตรังสติ เม่อื วันท่ี ๑๖ มถิ นุ ายน ๒๕๔๙ วา่ “...ทรงเคยมพี ระราชดำรัสว่า สาเหตุทพี่ ระเจ้าแผ่นดินต้องเหนือ่ ยยากทำงานอย่างหนัก จนทกุ วันนี้ เพราะประชาชนยงั ยากจนอยู่ และเมือ่ เขายากจนอยนู่ นั้ เขาจึงไมม่ ีอสิ รภาพ เสรีภาพ แลว้ เขาจะเป็นประชาธปิ ไตยไดอ้ ย่างไร จดุ หมายปลายทางของพระองคไ์ ปไกลย่งิ กวา่ น้นั คอื ประชาธปิ ไตย... ประชาธิปไตยคงไมต่ ้องเขียนเปน็ มาตราใดออกมา แต่คือการทปี่ ระชาชนจะอยกู่ ันอยา่ งเปน็ สุขและ ท้องอิม่ อยา่ งไรวันนนั้ คือวันทปี่ ระชาชนจะรูจ้ ักคำว่าประชาธิปไตยจริงๆผมฟังแล้วผมขนลกุ ทรงมอง อะไรไปไกลกวา่ พวกเรามาก...” 178

 ประชาธปิ ไตยในการปฏบิ ตั ิพระราชกรณยี กจิ มอี ย่ใู นทุกขน้ั ตอนกระบวนการ ดงั ท่ี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวถึงพระปรีชาสามารถและพระปรีชาญาณด้านการพัฒนาประชาธิปไตยของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวผ่านโครงการในพระราชดำริของพระองค์ว่า เปน็ สิง่ ทีห่ ลายคนอาจจะมองไมเ่ ห็น หรือมองข้ามไป ในพระราชกรณียกิจต่างๆ ทมี่ ี คนสว่ นใหญ่เห็นว่าทำไปตามพระราชประสงค์หรือ ความปรารถนาของพระองค์ ซง่ึ โดยแทจ้ รงิ แลว้ ไมใ่ ช่ เหน็ ไดจ้ ากการตง้ั ชอ่ื โครงการ โดยโครงการในระยะแรกๆ ทีเ่ กิดขึน้ เช่น โครงการหุบกะพง จะอยูภ่ ายใต้ชื่อ “โครงการตามพระราชประสงค”์ ต่อมาปี ๒๕๒๔ เมือ่ มีการจัดตัง้ สำนกั งานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ (สำนกั งาน กปร.) พระองค์ตรสั ว่า “ชอ่ื แบบน้เี ผดจ็ การมาก ฉันเปน็ ทปี่ รึกษาของชาต ิ ไม่ใชส่ งั่ อะไรไปแลว้ ต้องทำ ต่อไปนใี้ หเ้ รยี กว่าโครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำร”ิ หมายความว่ารับสง่ั อะไรไปแล้ว เปน็ หนา้ ท่ีของฝา่ ยท่เี ก่ียวขอ้ งจะไปสงั เคราะหแ์ ละดำเนินการ  ประชาธิปไตยในการปกครอง ทรงยดึ หลกั ความ ถูกต้องและยุติธรรม โดยทรงปฏิบตั ิและดำรงพระองค์ใน ทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด ซึง่ ตรงกับ “ธรรมาภิบาล” หรือ “Good Governance” ตามหลักสากลในปัจจุบัน โดย ดร.สเุ มธ ได้กล่าวถึงเรื่องประชาธิปไตยในการปกครอง ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั วา่ “ตลอดเวลาท่ผี มไดร้ บั ใช้ ใตเ้ บ้อื งพระยคุ ลบาท พระองคท์ รงยดึ หลกั ตอ้ งถกู ตอ้ งทกุ อย่าง แมก้ ระทงั่ ชาวบา้ นและเอกชนถวายเงินโดยเสด็จตาม พระราชกุศล ซึ่งบางครัง้ เราเห็นว่ามีเงินนอี้ ยจู่ ะนำไปทำ โครงการพระองคจ์ ะไมท่ รงอนุญาต ทรงตรสั วา่ คนเขาใหท้ ำบุญ อย่างเดยี ว พระองคจ์ ะทรงเครง่ ครดั มาก สำหรับปญั หาเรื่องการเมืองการปกครอง พระองค์ จะทรงรกั ษาความเป็นกลาง หากตราบใดทกุ อย่างยังดำเนนิ การ ไปได้โดยกลไกทมี่ อี ยู่ จะไมท่ รงเข้าไปยุง่ เกีย่ ว แมแ้ ต่โครงการของมลู นิธิชัยพัฒนา พระองค์ทรงเตือน ให้ระวังอยูเ่ สมอ ไมใ่ ห้ไปซ้ำซ้อนกับงานของรัฐบาล ในส่วนไหนทรี่ ัฐบาลเข้าไปดูแลแลว้ มลู นิธิ ก็ไมจ่ ะเข้าไปอกี และเมือ่ ครั้งทีผ่ มเปน็ เลขาธิการสภาพัฒน์ และเป็นเลขาธิการ สำนกั งาน กปร. ด้วย พระองค์จะทรงให้ตรวจสอบอยตู่ ลอดว่าโครงการนีร้ ัฐบาลทำหรือยัง เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน โดยเด็ดขาด ยึดหลักว่า ไมซ่ ้ำซ้อน ไม่แยง่ ไมแ่ ข่ง แต่จะเปน็ ทีมเสริม สถาบันพระมหากษัตริย์ของเรา ในยามเกิดวิกฤตกจ็ ะเปน็ เหมอื นเครอ่ื งมอื บางอยา่ งทท่ี ำใหป้ ระเทศเดินหนา้ ไปได้” 179

ตัวอยา่ งพระราชกรณียกจิ การตอ่ สกู้ บั ความยากจนตามแนวพระราชดำรแิ ละพระราชกรณยี กจิ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ดังกลา่ ว ได้ก่อให้เกิดโครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริด้านต่างๆ มากมาย เพือ่ ให้ประชาชน ของพระองค์หลดุ พ้นจากความยากจนและความความทุกข์ยาก และพึง่ ตนเองได้ อันจะนำไปสูก่ ารมี อสิ ระและเสรภี าพที่จะนำพา “ประชาธิปไตย” มาสูป่ ระชาชนและประเทศชาติอยา่ งแทจ้ รงิ พระราชกรณียกิจและโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริทีม่ ุง่ ต่อสูใ้ ห้ประชาชนของพระองค์ หลดุ พ้นจากความทกุ ข์ยากดังกลา่ ว มตี ัง้ แต่การแก้ปญั หาเกษตรกรไมม่ ีทีด่ ินทำกินของตนเอง การสง่ เสรมิ สุขภาพ การปอ้ งกนั โรคและรกั ษาพยาบาล การสง่ เสรมิ อาชพี และรายได้ รวมท้งั การนำความรู้ และเทคโนโลยเี พอ่ื ใชใ้ นการแกไ้ ขปัญหาหรอื เพ่มิ ผลผลิตใหเ้ กษตรกร อาทิ การปรบั ปรงุ สภาพดนิ เปรย้ี วจดั และการผลติ ไบโอดีเซลจากนำ้ มันพืช โดยจะทรงใช้หลกั ประชาธิปไตยในการทรงงานทุกโครงการ ในทกุ ลำดบั ขน้ั ตอน เร่มิ จากตอ้ งผ่านความเหน็ ชอบจากประชาชนและหนว่ ยงานตา่ งๆ ท่เี กย่ี วขอ้ ง โดยการ สอบถามและระดมความคดิ เหน็ จากทุกฝ่ายอยา่ งเป็นข้นั ตอน รวมถงึ ทรงใชพ้ ระราชอำนาจภายใตร้ ะบอบ ประชาธิปไตย ตามหนา้ ทีแ่ ละสทิ ธิของพระมหากษัตริย์ทัว่ โลกคือ หน้าทีแ่ ละสทิ ธิในการให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา และตักเตอื น ดังโครงการและตัวอย่างพระราชกรณยี กิจ ดงั นี้  โครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริเพอื่ แกป้ ัญหาเกษตรกรไมม่ ที ่ีดนิ ทำกินของตนเอง เมือ่ ปี ๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงมพี ระราชดำริจัดหาทีด่ ินให้แก่เกษตรกร ในการเพาะปลูกเพือ่ ให้มรี ายได้พอเพียงเลีย้ งครอบครัว เนือ่ งจากเกษตรกรแต่ละรายในขณะนัน้ มีทดี่ ินทำกินนอ้ ยมาก และเปน็ ดินด้อยคุณภาพ กอปรกับน้ำแล้งไมเ่ พียงพอต่อการเพาะปลกู โดยทรงริเริ่มโครงการจัดพัฒนาทีด่ ินตามพระราชประสงค์หุบกะพง ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อช่วยเหลอื เกษตรกรกลุม่ สวนผักชะอำจำนวน ๘๓ ครอบครัว ทีข่ าดแคลน ทุนทรัพยแ์ ละไม่มีที่ดนิ ทำกินของตนเอง 180

ต่อมา พระองค์ได้พระราชทานทดี่ ินทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน ๕๑,๙๖๗ ไร่ ๙๕ ตารางวา ในพนื้ ท่ี ๘ จังหวัด คือ พระนครศรอี ยธุ ยา ปทมุ ธานี นครนายก นครปฐม ราชบรุ ี เพชรบรุ ี สระบุรี และฉะเชงิ เทรา ใหแ้ กส่ ำนักงานการปฏริ ปู ทด่ี ินเพ่อื เกษตรกรรม (สปก.) เมอ่ื วนั ท่ี ๒๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เพอื่ นำไปจัดสรรทด่ี นิ ให้แกช่ าวนาท่ยี ากจนไม่มีทด่ี ิน ไดใ้ ชเ้ ปน็ ทที่ ำมาหากนิ เพือ่ เล้ยี งชีพตอ่ ไป  โครงการเกยี่ วกบั การสง่ เสริมสขุ ภาพ ปอ้ งกนั โรค และการรกั ษาพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงปฏิบัติพระราชกรณยี กิจมากมาย เพื่อให้ประชาชนคนไทย มีสุขภาพร่างกายทสี่ มบรู ณแ์ ข็งแรง อาทิ การส่งเสรมิ สุขภาพ ทรงสง่ เสริมการเลีย้ งปลาเพื่อเป็นแหลง่ อาหารโปรตีนให้กับราษฎร รวมทัง้ ทรงทดลองเลยี้ งโคนมในบริเวณสวนจิตรลดา ซึง่ ต่อมาทรงส่งเสริม ให้มกี ารเลีย้ งโคนมอยา่ งกว้างขวาง ด้วยทรงตระหนักถึงคุณค่าของนมและทรงปรารถนาให้ คนไทยได้บริโภคนมอย่างเพียงพอ สำหรับการปอ้ งกันโรค การป้องกันโรค เช่น เมอื่ ปี ๒๕๐๑ เกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ และอกี ๓๕ จังหวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดตั้ง “ทุนปราบอหิวาตกโรค” ขึ้น และพระราชทานเครือ่ งฉดี ยา ป้องกนั แบบใหม่ท่ที ันสมัยและฉีดไดร้ วดเรว็ พรอ้ มอุปกรณ์ผลติ วคั ซนี แกส่ ภากาชาดไทย และทรงใหจ้ ดั ตง้ั “หนว่ ยยวุ พทุ ธสงเคราะห”์ ขน้ึ เพอ่ื จดั อบรมเยาวชนใหม้ คี วามรแู้ ละเขา้ ใจพษิ ภยั ของยาเสพตดิ เปน็ ตน้ สำหรับการรักษาพยาบาล ทุกครั้งทเี่ สด็จฯ เยีย่ มราษฎรในทอ้ งถิน่ ทรุ กันดาร จะพระราชทาน แพทยห์ ลวงให้รกั ษาราษฎรทีเ่ จบ็ ป่วย โดยทรงให้จัดต้งั “หน่วยแพทย์เคล่ือนทีพ่ ระราชทาน” ซ่ึงมกี าร จัดบริการอยา่ งเป็นระบบเสมือนเปน็ โรงพยาบาลเคลอื่ นที่ โดยไมค่ ิดค่ารักษาพยาบาล และหาก มผี ้ใู ดเจบ็ ปว่ ยอาการรา้ ยแรง จะทรงรบั ไวเ้ ป็นคนไขใ้ นพระบรมราชานเุ คราะห์ และ “โครงการแพทยห์ ลวง เรอื เวชพาหน”์ เป็นอกี โครงการหนงึ่ ทที่ รงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ ให้สภากาชาดไทยจัดหาเรือใช้เป็นพาหนะนำหน่วยแพทยเ์ คลอื่ นทไี่ ปรักษาราษฎรทมี่ บี า้ นเรือนอยตู่ าม ลำนำ้ และเดินทางไปรบั การรักษาที่โรงพยาบาลในเมอื งลำบาก เปน็ ต้น 181

นอกจากน้ัน เพ่อื ใหร้ าษฎรไดร้ บั บรกิ ารดา้ นการแพทยเ์ ป็นการถาวร พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั จึงพระราชทานพระราชดำริ “โครงการหมอหมูบ่ ้าน” โดยคัดเลือกคนหนุม่ สาวในหมบู่ ้าน มารับการอบรมให้มคี วามรู้ สามารถให้ยาและรักษาพยาบาลเบอื้ งต้นเมอื่ คนในหมบู่ ้านเจ็บปว่ ย และตดิ ตอ่ สง่ ตวั ผ้ปู ว่ ยไปรกั ษา ณ โรงพยาบาลเม่อื จำเปน็ รวมท้งั ใหค้ วามรดู้ า้ นบำรงุ รกั ษาสขุ ภาพอนามยั แก่คนในหมบู่ ้าน และ “คลินิกศนู ย์แพทย์พัฒนา” ให้บริการตรวจรักษาโรคแก่ประชาชนโดยไม่มุง่ ผลกำไร โดยแพทยผ์ ชู้ ำนาญจากโรงพยาบาลตา่ งๆ หมนุ เวยี นมาปฏบิ ตั งิ าน โดยระยะแรกพระองคพ์ ระราชทาน พระราชทรัพย์จำนวนหนึง่ จัดต้ังบรษิ ัทข้นึ บรหิ ารงาน ตอ่ มาไดโ้ อนเปน็ โรงพยาบาลของทางราชการ  มูลนธิ ิส่งเสริมศลิ ปาชีพ ในสมเดจ็ พระนางเจา้ สิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ้ า ฯ พระบรมราชินนี าถ ทอดพระเนตร เห็นชาวบ้านทีม่ าเฝ้าฯ รับเสด็จ แต่งตัวด้วยผ้าพื้นเมอื งทีส่ วยงาม จึงทรงตระหนกั ว่า คนเหล่านี้ แมจ้ ะยากจน แต่มคี วามรูแ้ ละฝีมือ ในการทำงานศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผา้ ไหม การสานกระเปา๋ การปักผา้ การทำเครื่องปัน้ ดินเผา จึงทรงสง่ เสริมให้ราษฎรได้ทำงานฝีมือทีค่ ุน้ เคยเป็นอาชีพเสริม เพือ่ เพิ่มพูนรายได้ให้กับครอบครัว จัดทำเปน็ โครงการศิลปาชีพ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให้จัดตัง้ “มูลนธิ ิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์” โดยทรงรับเป็นประธานมลู นธิ ิ และให้อยใู่ นพระบรมราชินูปถัมภ์ รวมทัง้ พระราชทานทนุ เริม่ แรกเป็นเงิน ๑ ลา้ นบาท ต่อมารัฐบาล ได้จัดตั้งกองศลิ ปาชพี ในสำนกั ราชเลขาธิการ ภายหลังได้เปลยี่ นชื่อเป็น “มูลนธิ ิส่งเสรมิ ศลิ ปาชพี ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชนิ นี าถ” วตั ถปุ ระสงคส์ ำคญั ของมูลนิธสิ ง่ เสรมิ ศลิ ปาชพี ฯ คอื เพอ่ื หาอาชพี เสรมิ เพ่มิ รายไดใ้ หแ้ กป่ ระชาชน ทปี่ ระสบปญั หาในการเพาะปลูก หรือประชาชนทวี่ ่างจากฤดูกาลเพาะปลูก ให้ได้มีงานทำอยูก่ ับบา้ น ซ่งึ จะสง่ ผลใหร้ าษฎรไมต่ อ้ งละท้งิ ถ่นิ ฐานของตนเพ่อื ไปทำงานในเมืองใหญ่ๆ อนั จะกอ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาชมุ ชน แออัดตามมา นับว่าเป็นการช่วยราษฎรผูม้ รี ายได้นอ้ ยเหล่านไี้ ด้อกี ทางหนึง่ และสำหรับชาวไทยภูเขา ซึง่ เคยมอี าชีพปลูกฝิน่ ก็ทรงส่งเสริมให้หันไปประกอบงานฝมี ือทีม่ ีความชำนาญอยูแ่ ล้ว คือการเยบ็ ปกั ถกั รอ้ ย และการเปน็ ชา่ งเงนิ หรอื ชา่ งทองแทน นับได้วา่ ลดปัญหายาเสพตดิ ไดร้ ะดับหนึ่ง 182

เปา้ หมายทสี่ ำคัญยงิ่ อกี ประการหนงึ่ คือการธำรงรักษา และฟื้นฟูหัตถกรรม แบบไทยโบราณซึง่ กำลังจะเสอื่ มสูญ ให้สามารถกลับมาแพรห่ ลาย เช่น การทอผา้ ไหมมัดหม่ีลวดลายโบราณ การทอผา้ แพรวา การจักสานยา่ นลิเภา การทำเครื่องถมเงิน ถมทอง และการทำครั่ง เป็นต้น เนือ่ งจาก ศิลปหัตถกรรมประเภทนีต้ ้องใช้ฝีมอื เวลา และความอดทน ทำให้หาผูส้ นใจจะสืบทอด วชิ าเหลา่ น้ีเป็นอาชีพได้ยากยงิ่ นอกจากนี้ ทรงใหจ้ ัดตั้งโรงฝึกศลิ ปาชพี สวนจติ รลดาขึน้ ภายในเขตพระราชฐานสวนจติ รลดา เพือ่ เป็นศูนยก์ ลางของการเรียนการสอนศิลปาชีพแขนงต่างๆ และเป็นศูนยก์ ลางการผลิตผลติ ภัณฑ์ ศิลปาชีพจากราษฎรทัว่ ประเทศ โดยสมาชิกรุน่ แรกคัดเลอื กมาจากครอบครัวของข้าราชบริพารจำนวน ๑๐ คน มาฝกึ หดั การทอจกและจกั สานไม้ไผ่ ตอ่ มา จำนวนสมาชกิ ไดเ้ พ่มิ ข้นึ เรอ่ื ยๆ ปจั จบุ ันมสี มาชกิ กวา่ ๗๐๐ คน สว่ นใหญ่มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โรงฝึกศิลปาชีพ เปดิ สอนงานศิลปาชีพแขนงต่างๆ ๒๖ แผนก ได้แก่ แผนกถมเงินและถมทอง เคร่อื งเงนิ และเครอ่ื งทอง ครำ่ เงนิ และครำ่ ทอง จกั สานยา่ นลเิ ภา จกั สานไมไ้ ผ่ สานเส่อื กระจดู แกะสลกั ไม้ แกะสลักหิน แกะสลักหนงั ทอผ้าไหม ทอผา้ ฝา้ ย ทอผ้าจก ทอผ้าไหมแพรวา ปกั ซอยแบบไทย ตดั เย็บ ทอพรม งานป้ัน ตกุ๊ ตาไทย เขยี นลาย เคร่อื งป้ันดนิ เผา ประดบั มกุ ตกแตง่ ดว้ ยปกี แมลงทบั ดอกไมป้ ระดษิ ฐ์ ช่างไมแ้ ละช่างหวาย และบรรจุภัณฑ์ ซ่งึ ได้ผลติ ผลงานออกมามากมาย ต่อมาจึงได้มกี ารตัง้ ศูนยศ์ ิลปาชีพในภาคต่างๆ ทัว่ ประเทศ อาทิ ศูนยศ์ ิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร จงั หวดั พระนครศรอี ยุธยา ศนู ยศ์ ลิ ปาชพี บ้านกดุ นาขาม อำเภอเจรญิ ศลิ ป์ จงั หวดั สกลนคร ศูนยศ์ ิลปาชีพบ้านจาร อำเภอบ้านมว่ ง จังหวัดสกลนคร ศูนย์ศิลปาชีพบา้ นแม่ต๋ำ อำเภอเสริมงาม จงั หวดั ลำปาง ศนู ย์ศลิ ปาชพี จงั หวดั แมฮ่ ่องสอน อำเภอเมอื งแมฮ่ ่องสอน จงั หวดั แม่ฮ่องสอน ศนู ยศ์ ลิ ปาชพี เครือ่ งปนั้ ดินเผาทกั ษิณราชนเิ วศน์ อำเภอเมอื ง จังหวัดนราธิวาส และศูนย์ศิลปาชีพบา้ นเนนิ ธัมมัง อำเภอเชียรใหญ่ จังหวดั นครศรีธรรมราช เปน็ ตน้  การปรบั ปรงุ สภาพดินเปรยี้ วจดั ดินเปรี้ยวจัดของประเทศไทยมีกรดกำมะถันอยูม่ ากจนเป็นพิษต่อพืช สภาพกรดทรี่ ุนแรง ยังก่อให้เกิดปัญหาสบื เนือ่ งอกี ด้วย กล่าวคือ มีการปลดปลอ่ ยไอออนของโลหะทเี่ ปน็ พิษต่อพืช และธาตอุ าหารบางอย่างอยใู่ นรปู ท่ีเปน็ ประโยชนน์ อ้ ยตอ่ พชื ปัญหาดินเปรี้ยวจัดจึงสลับซบั ซอ้ นอยา่ งยิ่ง 183

แต่ด้วยพระปญั ญาอนั ลกึ ซึ้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงรอบรู้เปน็ อย่างดีว่า การขังนำ้ ยอ่ มสร้าง ดุลยภาพทางเคมีขึ้นใหมใ่ นดินดังกล่าว โดยดินจะปลดปล่อยกรดและไอออนอันเป็นพิษออกมาสูน่ ้ำ มากขึ้น การระบายนำ้ ในช่วงเวลาถัดไปทเี่ หมาะสมจึงย่อมจะช่วยลดสภาพอนั ไม่พึงประสงค์นีล้ งได้ ด้วยกลไกธรรมชาติภายใต้การควบคุมนำ้ ดังกลา่ วสภาพกรดในดินก็ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง และ ข้าวทีป่ ลูกก็ค่อยๆ ให้ผลผลติ สงู ขึน้ นอกจากนี้ การใส่ปนู ในปริมาณและจังหวะทีเ่ หมาะสมก็จะช่วยให้ กระบวนการปรบั ปรงุ ดนิ เปรยี้ วบรรลุผลไดร้ วดเรว็ ข้นึ ประเทศไทยมพี ืน้ ทีด่ ินเปรี้ยวจัดไม่ต่ำกว่า ๘ ล้านไร่โดยประมาณ ดินเปรี้ยวจัดโดยมาก จะพบตามพืน้ ทพี่ รุ บริเวณทีร่ าบลมุ่ ชายทะเล และบริเวณทรี่ าบลุม่ ภาคกลางซึ่งโดยทวั่ ไปทีใ่ ช้ทำนา แต่มักให้ผลผลติ คอ่ นข้างตำ่ หากปลกู โดยไมม่ ีการปรับปรงุ คุณภาพดิน ในระหวา่ งการเสดจ็ พระราชดำเนนิ แปรพระราชฐานประทบั แรม ณ พระตำหนกั ทกั ษณิ ราชนเิ วศน์ จงั หวดั นราธวิ าส ในปี ๒๕๓๔ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ไดม้ พี ระราชดำรใิ หพ้ จิ ารณาปรบั ปรงุ พ้นื ท่พี รุ ดงั พระราชดำรัส ความตอนหนงึ่ ความว่า “...ดว้ ยพืน้ ที่จำนวนมาก ในจงั หวัดนราธิวาสเป็นทีล่ ุม่ ต่ำ มีน้ำ ขงั ตลอดป ี ดนิ มีความอุดมสมบูรณ์ตำ่ ก สิ ก ร จ ำ น ว น ม า ก ไ ม่ มี ที ท่ ำ กิ น แม้ระบายนำ้ ออกหมดแล้วยังยาก ทีจ่ ะใช้ประโยชนท์ างการเกษตร ใหไ้ ดผ้ ล ท้งั น้เี น่อื งจากดนิ มสี ารไพไรท์ ทำให้เกิดกรดกำมะถันเมื่อดนิ แห้ง ทำให้ดนิ เปรยี้ วควรปรบั ปรุงดิน ให้ดีข้ึน ดงั นนั้ จงึ เห็นควรที่จะมี การปรับปรุงพัฒนาโดยให้มีหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องเขา้ มาดำเนินการศกึ ษา และพัฒนาพืน้ ที่พรรุ ว่ มกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเรจ็ ของโครงการไปเป็น แบบอยา่ งในการพัฒนาพนื้ ทพ่ี รุอ่นื ในโอกาสตอ่ ไป...” จากผลการดำเนนิ การปรับปรุงดินเปรีย้ วจัดดังกล่าว การพัฒนาดินเปรี้ยวจึงประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ และทรงถือเป็นชัยชนะแห่งการพัฒนา ดังทีท่ รงมีพระราชกระแสรับสงั่ เมอื่ คราว เสดจ็ พระราชดำเนนิ บา้ นโคกอฐิ -โคกใน อำเภอตากใบ จงั หวดั นราธวิ าส เมอ่ื ปี ๒๕๓๕ ความตอนหนง่ึ วา่ 184

“...เราเคยมาโคกอฐิ -โคกใน มาดูเขาช้ีตรงน้ันๆ เขาทำแตว่ ่าเขาไดเ้ พยี ง ๕-๑๐ ถงั แต่ตอนน้ีได้ข้ึนไปถงึ ๔๐-๕๐ ถงั กใ็ ชไ้ ด้แลว้ ต่อไปดนิ กจ็ ะไมเ่ ปร้ยี วแลว้ เพราะว่าทำให้ เปรีย้ วเต็มท่แี ลว้ โดยทข่ี ดุ อะไรๆ ทำให้เปรยี้ วแล้วกร็ ะบายรสู้ ึกวา่ นบั วันเขาจะดีข้ึน... อันนสี้ ิเป็นชัยชนะทีด่ ใี จมากที่ใชง้ านได ้ แล้วชาวบ้านเขาก็ดขี ึน้ แตก่ ่อน ชาวบ้านเขาตอ้ งซ้อื ขา้ ว เด๋ียวนเี้ ขามีขา้ วอาจจะขายได.้ ..”  โครงการเก่ียวกบั เทคโนโลยีด้านต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ทรงเนน้ เรื่องการค้นคว้า ทดลอง และวิจัย เพือ่ นำความรู้ ทไี่ ด้เผยแพร่แนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ด้วยราคาถูกและใช้เทคโนโลยที งี่ ่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยเกษตรกรสามารถทำได้ด้วยตนเอง อาทิ ด้านการเกษตร พระองค์ทรงมพี ระราชดำริเสริมสร้าง ส่งิ ท่ชี าวบ้านชนบทขาดแคลนและตอ้ งการในดา้ นเกษตรกรรมและการใชเ้ ทคโนโลยสี มัยใหม่ท่เี หมาะสม รวมทงั้ ศึกษาค้นคว้าและวิจัยพันธุพ์ ืชพันธุส์ ัตว์ชนดิ ต่างๆ ตลอดจนการศึกษาเกีย่ วกับแมลงศัตรูพืช การศึกษาสภาพของดนิ และพฒั นาให้สามารถทำการเกษตรได้ ดังน้ี ดา้ นพลังงานทดแทน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงห่วงใยเรือ่ งน้ำมนั ในโลกซึ่งนบั วันจะ คอ่ ยๆ หมดไป จงึ ทรงใหค้ วามสนพระราชหฤทยั เกย่ี วกบั พลงั งานทดแทน กอ่ นทจ่ี ะเกดิ ภาวะนำ้ มนั ขาดแคลน ด้วยทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานทดแทนทีจ่ ะนำมาใช้ภายในประเทศ และช่วยเหลอื ใหเ้ กษตรกรลดตน้ ทุนการผลติ รวมท้งั สามารถผลติ พลงั งานข้นึ มาใชไ้ ดเ้ อง ดงั พระราชดำรสั พระราชทาน แก่เอกอคั รราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ไทยทวั่ โลกทเี่ ข้าเฝา้ ฯ เนือ่ งในโอกาสประชุมประจำปี เมอื่ วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๘ ความตอนหน่งึ วา่ 185

“...การท่นี ำ้ มนั แพงข้นึ คนซ้ือกต็ กใจ เพราะว่านำ้ มนั น้ันเปน็ สง่ิ ท่จี ะช่วยใหท้ ำมา หากินได้ และถ้านำ้ มันแพงแล้วค่าตอบแทนในอาชีพมันคงที่ หรอื ค่าใช้จ่ายมากขึน้ แต่รายไดน้ ้อยลง อยา่ งนบ้ี างคนเกือบจะอยู่ไม่ได ้ ฉะนั้น จะตอ้ งคน้ คว้าน้ำมันเชอื้ เพลงิ ทดแทนที่ราคาถูก... เรอื่ งพลังงานทดแทนนนั้ เป็นการนำพืชมาทำพลังงานทดแทน และมีหลายชนิดศึกษามาหลายสิบปี ไม่ใช่เพงิ่ จะมาทำตอนนำ้ มันแพงขนึ้ ครงั้ ละ ๔๐ สตางค…์ . สำหรบั เชอื้ เพลิงทีจ่ ะไดจ้ ากดินโดยการปลูกนัน้ ก็ตอ้ งให้สามารถปลูก ในราคาท่ีประหยัด...” พ ร ะ อ ง ค์ จึ ง ท ร ง ริ เริ ่ม การศกึ ษาวจิ ยั เรอ่ื งพลงั งานทดแทน รูปแบบต่างๆ ผ่านโครงการ สว่ นพระองค์สวนจติ รลดาอยา่ งเปน็ รูปธรรม มาอยา่ งต่อเนือ่ งกว่า ๓๐ ปี โดยมพี ระราชดำริให้นำ พืชผลการเกษตรมาผลติ เป็น พลงั งานทดแทน เพือ่ ให้คนไทย พ่งึ ตวั เองไดใ้ นดา้ นพลังงาน รวมท้งั รองรับปัญหาราคาพืชผลเกษตร ตกต่ำ ตลอดจนเปน็ การนำเศษวัสดุเหลอื ใช้มาทำประโยชน์ให้คุม้ ค่าทสี่ ดุ และสร้างระบบนิเวศให้เกิด ความสมดลุ อาทิ ผลติ แกส๊ ชวี ภาพจากมลู โค ทง้ั ดา้ นการทำเปน็ ปยุ๋ สำหรบั ปรบั ปรงุ สภาพดนิ และทำเปน็ เช้อื เพลิง โดยได้ทดลองนำวัสดุต่างๆ อาทิ แกลบบด ผกั ตบชวา และขี้เลือ่ ยจากถุงเพาะเห็ดมา อัดเปน็ เชอ้ื เพลงิ แท่งท่ีใหค้ วามรอ้ นไดด้ ี ซง่ึ ปจั จบุ ันมจี ำหนา่ ยแกบ่ คุ คลท่วั ไป รวมทง้ั ผลิตแกส๊ ชวี ภาพจาก มลู โคนม ได้ก๊าซมีเทนกว่า ๕๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ และก๊าซอ่นื ๆ ทีใ่ ชเ้ ปน็ เชอ้ื เพลงิ ได้ การวจิ ยั และพฒั นาโรงงานแปรรปู ปาลม์ นำ้ มนั หรอื ไบโอดีเซล พระองค์ทรงค้นพบว่า ปาล์มนำ้ มัน เป็นพืชทีใ่ ห้ปริมาณน้ำมนั สูงกว่าพืชน้ำมันชนดิ ใดๆ ในโลก จึงมพี ระราชดำริให้ทำการวิจัยและพัฒนา โรงงานแปรรูปปาลม์ นำ้ มัน โดยทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลยั สงขลานครินทร์ทำการ วิจัยและพัฒนาโรงงานสกัดนำ้ มันปาล์มขนาดเลก็ ให้กล่มุ เกษตรกรสวนปาล์มรายย่อย และจัดสร้าง 186

โรงงานทดลองขน้ึ ทส่ี หกรณน์ คิ มอา่ วลกึ จงั หวดั กระบ่ี และไดพ้ ฒั นาปรบั ปรงุ เครอ่ื งจกั รหลายครง้ั จนกระทง่ั ปี ๒๕๓๑ ได้รับสัง่ ให้สร้างโรงงานแปรรูปน้ำมนั ปาลม์ ขนาดเลก็ ครบวงจรทศี่ ูนยศ์ ึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส และในปี ๒๕๔๓ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และกองงานสว่ นพระองค์ วงั ไกลกงั วล อำเภอหวั หนิ จงั หวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ เรม่ิ การทดลองใชน้ ำ้ มนั ปาลม์ เปน็ เช้อื เพลงิ สำหรบั เครอ่ื งยนตด์ เี ซล และจากการทดสอบพบวา่ นำ้ มนั ปาล์มกล่นั บรสิ ุทธ์ิ ๑๐๐ เปอรเ์ ซน็ ต์ สามารถใช้เปน็ น้ำมนั เชื้อเพลงิ สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยไม่ต้องผสมกับน้ำมันเชือ้ เพลงิ อนื่ ๆ หรืออาจใชผ้ สมกับน้ำมนั ดีเซลไดต้ ้ังแต่ ๐.๐๑ เปอร์เซน็ ต์ไปจนถึง ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์ จากการจดุ ประกายความคดิ การพฒั นาพลงั งานทดแทนดงั กลา่ ว ประกอบกบั เมอ่ื ครง้ั ทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวเสด็จพระราชดำเนนิ ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองทา่ ด่านจังหวัดนครนายก ในวันที่ ๒ มถิ นุ ายน ๒๕๔๔ รถยนต์พระท่นี ัง่ ติดสตกิ๊ เกอรท์ า้ ยรถวา่ “รถคนั นีใ้ ช้น้ำมนั ปาลม์ ๑๐๐ %” ทำให้มีการเคลอื่ นไหวและตืน่ ตัวในการศึกษาค้นคว้าทดลอง และทำวิจัยเกีย่ วกับการนำน้ำมันพืช มาใชเ้ ปน็ เชอ้ื เพลิงกนั อยา่ งกวา้ งขวาง ส่วนใหญเ่ ปน็ การนำนำ้ มันพชื และนำ้ มันมะพรา้ วมาใชใ้ นเครอ่ื งยนต์ และเรยี กเช้อื เพลิงท่ไี ดจ้ ากนำ้ มันพืชนี้รวมๆ ว่า “ไบโอดเี ซล” ในปี ๒๕๔๗ จึงได้เริ่มมกี ารศึกษาเกี่ยวกับการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมนั พืชทใี่ ช้แล้ว โดยโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ร่วมกับหนว่ ยงานและบริษัทต่างๆ ดำเนินการสร้างอาคาร และอปุ กรณ์ผลิตไบโอดีเซลขึน้ ในบริเวณงานทดลองผลิตภัณฑ์เชือ้ เพลงิ โครงการส่วนพระองค์ฯ และปีถดั มาบรษิ ทั บางจากปโิ ตรเลียม จำกดั (มหาชน) ไดน้ อ้ มเกล้าฯ ถวายการปรบั ปรงุ กระบวนการผลิต ไบโอดเี ซลเพ่อื ลดตน้ ทนุ การผลิต และไดผ้ ลิตภณั ฑท์ ่ีมคี ณุ ภาพดขี น้ึ ตลอดจนกรมพฒั นาพลงั งานทดแทน และอนรุ ักษ์พลงั งาน กระทรวงพลังงาน ได้สนองพระราชดำริด้วยการให้การสนับสนุนและส่งเสริม ใหป้ ระชาชนทไบโอดเี ซลจากนำ้ มันพืชใชแ้ ลว้ เพอ่ื ใชเ้ ตมิ เคร่อื งยนต์ทางการเกษตรด้วย ตอ่ มา สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดพ้ ระราชทานพระราชดำรใิ หส้ ำนกั งาน มูลนิธิชัยพัฒนาประสานกับมหาวิทยาลยั สงขลานครินทร์ เพื่อจัดทำโครงการเกีย่ วกับปาล์มนำ้ มนั และ พืชพลังงานทดแทน ประกอบดว้ ย โครงการจัดสร้างโรงงานสกัดน้ำมนั พชื และผลติ ไบโอดเี ซล โครงการ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านไบโอดีเซลเพื่อการแข่งขัน โครงการวิจัยการทดสอบใช้น้ำมนั ปาลม์ ดิบ และไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซล และโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์จากอตุ สาหกรรม ปาล์มนำ้ มนั สำหรับใช้ในการศึกษาทดลองการผลิตนำ้ มันทีจ่ ะใช้เปน็ พลงั งานทดแทนจากพืช และผลิต น้ำมนั ไบโอดเี ซลแบบครบวงจรจากนำ้ มันพชื ท่ีใชแ้ ลว้ และน้ำมันพชื พลงั งานชนิดตา่ งๆ เพอ่ื เป็นตวั อยา่ ง ใหแ้ กช่ ุมชนในโอกาสตอ่ ไป ปจั จบุ นั มผี ู้เดนิ ทางมาเย่ียมชมการดำเนนิ งานของโรงงานสกดั นำ้ มนั พชื และผลติ นำ้ มนั ไบโอดเี ซล ครบวงจรเปน็ จำนวนมาก ทง้ั น้ี เพ่อื ศกึ ษาและนำไปเป็นต้นแบบให้แกช่ ุมชนขนาดเล็กได้ใชเ้ ปน็ ตัวอย่าง 187

นอกจากน้ี จากบันทึกข้อมูลของสำนักราชเลขาธิการในการเข้าเฝ้าฯ ของ ดร.สเุ มธ ตนั ติเวชกุล ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์สถาบันสารสนเทศทรัพยากรนำ้ และการเกษตร และ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขานุการสถาบนั ฯ เมือ่ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ พระองค์ได้รับสงั่ เรือ่ งน้ำมันปาล์ม หรือการทำไบโอดีเซลว่า จะต้องคิดให้รอบด้าน ไมเ่ ช่นนัน้ จะเปน็ การนำนำ้ มันดีเซลมาทำไบโอดีเซล เน่ืองจากตอ้ งนำดเี ซลมาใชเ้ ตมิ รถเพอ่ื ขนไบโอดเี ซล การนำไบโอดเี ซลใหม้ าใชป้ ระโยชน์ไดจ้ รงิ ควรทำเพอ่ื รองรบั การใช้งานในพื้นที่ เพือ่ ไมต่ อ้ งขนส่ง ตลอดจนสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงเคยเลา่ ถวายวา่ ได้ใหท้ ำวจิ ยั ส่วนอ่นื ประกอบดว้ ย เพอ่ื เป็นผลผลิตข้างเคียง อาทิ กลเี ซอรีน มาการีน และถ่าน หากทำได้ครบอย่างนี้ เป็นการเพ่มิ มูลค่าให้สงู ขน้ึ ผลผลติ เพมิ่ ขน้ึ และพึง่ ตนเองได้ “แกส๊ โซฮอล”์ พลงั งาน ทดแทนนำ้ มนั เบนซิน สำหรบั พลังงาน ทดแทนนำ้ มนั เบนซนิ พระองคม์ ี พระราชดำรใิ หศ้ กึ ษาตน้ ทนุ การผลิตเอทานอลจากอ้อย เพอ่ื รองรบั สถานการณใ์ นอนาคตท่ีอาจจะเกดิ ภาวะ น้ำมนั ขาดแคลนหรอื ราคาอ้อยตกตำ่ ตง้ั แตป่ ี ๒๕๒๘ การนำออ้ ยมาแปรรปู เป็นเอทานอลเพ่อื ใชเ้ ป็นพลังงาน ทดแทน จงึ เปน็ แนวทางหนง่ึ ทจ่ี ะแกป้ ญั หา ซง่ึ แมว้ า่ ในชว่ งปี ๒๕๒๘ - ๒๕๓๐ นำ้ มนั เบนซนิ ยงั คงมรี าคาถกู แตพ่ ระองคย์ ังทรงใหศ้ กึ ษาวจิ ยั ปรบั ปรงุ และพฒั นาเอทานอลอย่างตอ่ เน่อื งมาตลอด ดงั น้ัน เม่ือเกดิ วกิ ฤต ราคาน้ำมนั ขึน้ สงู จึงได้มีการนำผลการศึกษาวิจัยพลังงานทดแทนตามพระราชดำริมาต่อยอดขยายผล ในเชิงพาณิชย์อย่างรวดเรว็ ทงั้ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวได้พระราชทานเงินทนุ วิจัยสำหรับการดำเนินงานเพือ่ ใช้ จัดสร้างอาคารและซื้ออุปกรณต์ ่างๆ ในขั้นต้น โดยในปี ๒๕๔๐ โครงการสว่ นพระองค์ฯ ร่วมกับ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (บรษิ ทั ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปจั จบุ นั ) และสถาบันวจิ ยั วทิ ยาศาสตร์ และเทคโนโลยแี หง่ ประเทศไทย ดำเนินการปรับปรงุ คุณภาพของเอทานอลทใ่ี ชเ้ ตมิ รถยนต์ โดยสามารถ กลั่นเอทานอลท่มี คี วามบรสิ ทุ ธ์ิรอ้ ยละ ๙๙.๕ แล้วนำกลบั มาผสมกบั น้ำมันเบนซนิ ธรรมดาในอัตราสว่ น ๑ : ๙ ได้แกส๊ โซฮอลท์ ม่ี คี ่าออกเทนเทียบเทา่ นำ้ มนั เบนซิน ๙๕ 188

ตอ่ มาบรษิ ทั ปตท.จำกดั (มหาชน)รว่ มกบั โครงการส่วนพระองคฯ์ ผลติ และจำหน่ายนำ้ มันแกส๊ โซฮอล์ ซึ่งเปิดจำหนา่ ยแก่ประชาชนทวั่ ไป และภายในเวลาไมก่ ีป่ ี นำ้ มันแก๊สโซฮอล์ได้รับความนยิ มในหมู่ ประชาชนอยา่ งกวา้ งขวาง เปน็ พลงั งานสำคญั ในปจั จบุ นั ซง่ึ นอกจากชว่ ยลดการนำเขา้ นำ้ มนั ไดส้ ว่ นหนง่ึ แลว้ ยังช่วยลดมลพิษในอากาศไดอ้ กี ดว้ ย โครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำรทิ กุ โครงการ ลว้ นทรงศึกษาและทำประชาพิจารณ์ เพือ่ ให้ ประชาชนไดเ้ ขา้ มามสี ว่ นรว่ มอยา่ งแทจ้ รงิ อาทิ โครงการเขอ่ื นขนุ ดา่ นปราการชลอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ ทีบ่ า้ นท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยพระองค์ทรงมพี ระราชดำรัสเกี่ยวกับ โครงการดังกลา่ ว ในโอกาสทีร่ ัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ขอเข้าเฝา้ ฯ และ พระราชทานพระราชดำริเพื่อนำความกราบบงั คมทูลเชิญเปน็ องค์ประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนา แหลง่ นำ้ เมอ่ื วันที่ ๒๐ กนั ยายน ๒๕๕๔ ความตอนหนงึ่ ว่า “โครงการขนุ ดา่ น เปน็ โครงการท่ี นา่ สนใจ ถอื วา่ เปน็ เขอ่ื นทม่ี คี วามกา้ วหนา้ สรา้ งขน้ึ มาดว้ ยเทคนคิ สมยั ใหม ่ ใหมท่ ส่ี ดุ ที่มีอยู่ในเมือง นบั วา่ เป็นโครงการใหญ่ ที่เป็นประโยชน์กับการชลประทาน ในภาคกลาง ซ่งึ ไม่เคยมใี หญ่โตขนาดน ้ี ใกล้กรุงเทพฯ ถือว่าเป็นโครงการที่ เรียกวา่ แหวกแนว เราเลยสรา้ งเสร็จ เรยี บรอ้ ยแลว้ เปน็ ประโยชนต์ อ่ ประชาชน ทันทีเลยซงึ่ ตามปกตโิ ครงการในภาคกลางนีส้ รา้ งยาก เพราะว่าหาที่ยาก และสถานที่ ที่สร้างเป็นทีจ่ ำกัด แต่นีน่ ับว่าเป็นโครงการทีน่ ่าดู แล้วก็โครงการทีม่ ีประโยชน์ อยา่ งมากสำหรบั หลายจังหวัด รวมท้งั จังหวดั พระนคร ซ่ึงต้องการโครงการชลประทาน อย่างยิง่ ที่โครงการชลประทานในภาคกลาง ใกล้กรุงเทพฯ ฝ่ายชลประทานน่าจะ อธิบายกับประชาชนไดว้ ่าเป็นโครงการที่ทายาก และเป็นโครงการทีส่ ำเรจ็ ขึน้ ได้ โดยนับวา่ เร็ว จงึ เป็นโครงการที่นา่ สนใจ ชาวบ้านในเขตโครงการนนั้ ย่อมทราบดี ความสำคญั ของโครงการนี ้ เพราะว่าครงั้ แรกที่ไปเขตนนั้ ไดค้ ยุ กับชาวบ้าน ชาวบ้าน เขายินดมี าก เขาสนับสนุนโครงการนอี้ ย่างยิ่ง ซงึ่ ตามปกติโครงการแบบนจี้ ะมี การคัดค้านมาก เพราะวา่ จะตอ้ งมปี ญั หาเร่อื งทด่ี ิน มปี ญั หาเร่อื งท่ขี องชาวบา้ น แตน่ ่ไี มม่ ี ปัญหา เขาเห็นดว้ ย และเขาอยู่ในท้องที่นนั้ เขาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะทำ โครงการ และโครงการมีประโยชน์จริงๆ” 189

และดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั ความตอนหน่ึงวา่ “...มีคนบอกว่าโครงการพระราชดำริแตะตอ้ งไม่ได ้ ขอ้ นเี้ ป็นความคดิ ทีผ่ ิดหรอื เป็นความคดิ ที่ไม่ถูกตอ้ งนกั เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะตอ้ งไม่ได้ เมอื งไทยไมเ่ จรญิ ...” รวมทัง้ การบอกเล่าของ ดร.สเุ มธ ตันติเวชกุล เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในการบรรยายเรื่อง “การน้อมนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติเพื่อให้บ้านเมืองมคี วามมัน่ คงเปน็ ปกติสุข” ในการประชุมสมั มนา เชิงปฏบิ ตั ิการปลดั จงั หวัดและนายอำเภอ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซติ ้ี จอมเทยี น พัทยา เมอื่ วนั ท่ี ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ความตอนหนึง่ ว่า “ในการดำเนินโครงการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวจะทรงทำประชาพิจารณ์ทกุ โครงการ และทำอย่างแทจ้ รงิ ไม่ใชร่ ปู แบบท่เี ราชอบทำ ทรงทำต้งั แตว่ นั แรกท่ที รงคดิ โครงการ เสดจ็ พระราชดำเนิน ไปหาประชาชน กางแผนทอี่ ยูท่ ่ามกลางประชาชน นายอำเภอ หรือข้าราชการทไี่ ด้เคยตามเสด็จฯ จะเป็นพยานได้ดี ทรงทำประชาพิจารณ์ แล้วตรัสด้วยถ้อยคำธรรมดา อธิบายว่า ทำอย่างไร แลว้ ทรงถามประชาชนวา่ เหน็ ดว้ ยไหม บางแหง่ ประชาชนกเ็ สนอความเหน็ ท่ตี า่ งไป เพราะรจู้ กั พน้ื ท่ีดกี วา่ พระองคก์ ท็ รงรบั ฟงั เปน็ การทำประชาพจิ ารณ์รอบวง พอประชาชนเกล่ยี ประโยชน์ไดค้ รบถว้ นหมดแลว้ ก็กลับมาทฝี่ า่ ยปฏิบัติ คือนายอำเภอ ป่าไม้ ชลประทานจังหวัด ว่า ประชาชนพร้อมแลว้ พวกท่าน พร้อมหรือไม่ ทรงถามหมดเลยแต่ละโครงการ บางโครงการในภาคใต้ ประชาชนไม่เห็นด้วย พระองค์ กท็ รงยกเลิกโครงการพระราชดำรนิ นั้ ทรงเปน็ ประชาธปิ ไตยจรงิ ๆ” 190

 การใชพ้ ระราชอำนาจในการปกครองภายใต้ระบอบประชาธปิ ไตย พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงลงพระปรมาภไิ ธยพระราชทานรฐั ธรรมนญู ซง่ึ เปน็ กฎหมายสงู สดุ ขน้ึ จำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง โดยทรงอยูภ่ ายใต้รัฐธรรมนญู และพระราชทานอำนาจสูงสุด ไปสูป่ วงชนชาวไทย ในฐานะองค์พระประมุขอันเปน็ ทีเ่ คารพสูงสุด ทรงอยเู่ หนอื การเมอื งและ การล่วงละเมิดทั้งปวง พระองค์ทรงใชอ้ ำนาจอธปิ ไตยทางรฐั สภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามท่ีกำหนดไวใ้ นรฐั ธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย ในการใชอ้ ำนาจนติ บิ ญั ญตั โิ ดยตรากฎหมายตา่ งๆ นั้น เม่ือทรงลงประปรมาภิไธย และประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาแลว้ จงึ ใหใ้ ชบ้ งั คบั เปน็ กฎหมายได้ นอกจากนน้ั ยงั ทรงไวซ้ ง่ึ พระราชอำนาจ ในการตราพระราชกฤษฎีกาต่างๆ โดยไม่ขดั ตอ่ กฎหมาย นอกจากน้ี พระองคท์ รงใชพ้ ระราชอำนาจตามบทบาทหนา้ ทแ่ี ละความรบั ผดิ ชอบของพระมหากษตั รยิ ์ ทว่ั โลก ดงั คำกล่าวของ ดร.สุเมธ ตนั ตเิ วชกุล เลขาธิการมลู นิธชิ ยั พฒั นาในการบรรยายเร่อื ง “ปรชั ญา ของเศรษฐกิจพอเพียงกับความเปน็ ประชาธิปไตยทยี่ ัง่ ยนื ” การอบรมหลักสตู รพัฒนาการเมอื งและ การเลือกตง้ั ระดบั สูงร่นุ ท่ี ๔ณสถาบันพฒั นาการเมอื งและการเลือกตง้ั สำนกั งานคณะกรรมการการเลอื กตง้ั เมอื่ วันท่ี ๕ เมษายน ๒๕๕๖ ความตอนหนง่ึ ว่า “...ความจริงพระมหากษัตรยิ ์ทวั่ โลกมหี นา้ ท่ีความรบั ผิดชอบอยู่ ๓ ประการด้วยกัน ประการแรก คือ The Right to Advice หนา้ ทีแ่ ละสิทธิในการใหค้ ำแนะนำ ซง่ึ หากรฐั บาลเห็นด้วยกน็ ำไปปฏบิ ตั ิ และหากไมเ่ ห็นด้วยก็ไม่ต้องนำไปปฏิบัติ ซึง่ ไมถ่ ือว่ามคี วามผิด ดังตัวอยา่ งทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระเจา้ อย่หู วั พระราชทานแนวพระราชดำรแิ ละคำแนะนำ เร่อื ง “การบรหิ ารจดั การน้ำ” ต้งั แตป่ ี ๒๕๓๘ 191

โดยทรงให้รายละเอียดการบรหิ ารจัดการ เช่น พื้นทตี่ รงไหนควรทำ Flood way เปน็ ต้น แต่ไมม่ ีผูใ้ ดตระหนักถึงความสำคัญของแนว พระราชดำริดังกล่าว จนเกิดเหตุการณ์ มหาอทุ กภัยในปี ๒๕๕๔ ต่างจึงระลึกได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงแนะนำ มาเปน็ เวลาลว่ งหน้าถึง ๑๖ ปีแล้ว ประการทีส่ อง คือ The Right to be Consult หน้าทแี่ ละสทิ ธใิ นการทรงเปน็ ท่ปี รกึ ษา โดยใครมาขอพระราชทานคำปรกึ ษา พระองคก์ จ็ ะพระราชทานให้ทกุ คร้งั ดงั ท่ีนายกรัฐมนตรี ขอเข้าเฝา้ ฯ ถวายรายงานเรือ่ งน้ำ และขอพระราชทานคำปรึกษา ก็พระราชทานคำปรึกษาให้ หรอื แม้แต่ลุงมี ลงุ มาที่อย่หู ัวไร่ปลายนาเขียนจดหมายมา พระองคย์ ังทรงตอบ โดยพระองค์ทรงยึดถอื ว่า ใครเขาถามหรอื มาปรกึ ษาอะไร ตอ้ งตอบ โดยเฉพาะฎกี าท่ชี าวบ้านรอ้ งเรยี นมา หรอื ขอคำแนะนำเร่อื งนำ้ ดิน หรอื การประกอบอาชพี หรอื ตวั เองต้องทนทกุ ข์อะไร ต้องตอบพร้อมท้งั หาทางแก้ไขให้เขาดว้ ย ประการสุดท้าย คือ The Right to Warn หนา้ ที่และสิทธิในการตักเตอื น เมอื่ ทรงมี พระบรมราชวินจิ ฉยั ว่าจะมภี ัยอันตรายจะมาสูป่ ระเทศ พระองค์จะทรงเตือน ตัวอยา่ งทีเ่ ห็นได้ชัดคือ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาฯ” และ “พฤษภาทมิฬ”... ขอให้สงั เกตว่าทัง้ ๒ เหตุการณ์ทพี่ ระองค์ทรงมี พระราชดำรัสนนั้ จะไม่เคยทรงระบเุ ลยว่าใครผดิ ใครถูก พระองค์รับสัง่ กับผมว่า ไม่ทรงมอี ำนาจทีจ่ ะไป ชี้ว่าใครผิดใครถูก มีขบวนการทางกฎหมายอยแู่ ลว้ เพียงแต่พระองค์ทรงเรียกสติของผทู้ เี่ กี่ยวข้อง กลับคืนมา พระองค์ไม่ทรงเข้าไปยุ่งเกีย่ ว ทรงระวังพระองคม์ าก”  การสรา้ งความม่นั คงเพ่ือความเปน็ ประชาธิปไตยของประเทศ เมอื่ ศึกษาถึงพระราชกรณยี กิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทีท่ รงปฏิบตั ิมาเปน็ ระยะเวลายาวนานแล้ว จะพบว่าสิง่ ที่ พระองค์คำนึงถงึ ตลอดเวลา คือ ความสงบสขุ และความมนั่ คงของประเทศและสังคมไทย ดังที่ ดร.สเุ มธ ตันตเิ วชกลุ เลขาธกิ ารมลู นิธิชัยพฒั นา กลา่ วไวใ้ นการบรรยายเรอื่ งเดยี วกันในขา้ งตน้ ความตอนหนง่ึ ว่า “บทบาทของพระองค์ในการสร้างความมน่ั คงของประเทศ จะไมท่ รงลงไปรบ แตพ่ ระองค์ทรงไป ชแ้ี นะ จงึ เปน็ ท่ีมาของแนวพระราชดำรกิ ารจดั สรรท่ีดนิ ส.ป.ก. (สำนักงานการปฏริ ปู ท่ดี นิ เพอ่ื เกษตรกรรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ)์ ให้ผูก้ ่อการร้ายทมี่ ามอบตัวได้มีทที่ ำกินในพืน้ ทปี่ ่าเสอื่ มโทรม โดยทรงเห็นว่ารัฐนา่ จะดำเนนิ การตามความเหมาะสมของสภาพพื้นทีน่ นั้ ๆ เพื่อให้กรรมสทิ ธิ์แก่ราษฎร 192

ได้ทำกินอยา่ งถูกกฎหมาย แต่มไิ ด้เป็นการออกโฉนดทีจ่ ะสามารถนำไปซือ้ ขายได้ เพียงแต่ให้ออก ใบสัญญารับรองสิทธิทำกนิ (สทก.) แบบมรดกตกทอดแกท่ ายาทให้สามารถทำกินได้ตลอดไป และดว้ ย วิธีการนไี้ ด้ช่วยให้ราษฎรมกี รรมสิทธิท์ ีด่ ินเป็นของตนเองและครอบครัว โดยไม่อาจนำทีด่ ินนนั้ ไปขาย และไม่ไปบกุ รุกพ้นื ที่ป่าสงวนอืน่ ๆ” นอกจากนี้ นายอานันท์ ปนั ยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กลา่ วไว้ในหนังสือ พระมหากษัตริย์ นักวทิ ยาศาสตร์ ความตอนหน่งึ วา่ “เม่อื ตดิ ตามถงึ พระราชกรณียกจิ ท่พี ระองคท์ รงปฏบิ ัตติ ลอดระยะเวลา ท่ียาวนาน พบวา่ ส่ิงท่ีพระองคท์ รงคำนึงถงึ ตลอดเวลา ๓ ประการ คอื ประการแรก ความสงบของสงั คมไทย ไมว่ า่ จะเป็นพระราชกรณียกจิ ในเรอ่ื งโครงการหลวง โครงการในพระราชดำริ ซง่ึ เม่อื มองผวิ เผินแล้วจะเหน็ วา่ เปน็ การใหค้ วามชว่ ยเหลือตอ่ เกษตรกร แตแ่ ท้ท่ีจรงิ แล้วเป็นโครงการเสรมิ สรา้ งความม่นั คง เสถยี รภาพ ของประเทศใหอ้ ย่ดู กี นิ ดี ประการทส่ี อง ทรงเน้นเตือนสติคนไทยใหร้ ้รู กั สามคั คี บ้านเมืองไทยไมม่ ปี ญั หา ในเรือ่ งการแบ่งแยกเชือ้ ชาติ ดินแดน ศาสนา พระองค์จึงทรงปลกู ฝงั ให้คนไทยรูจ้ ักปฏิบตั ิตนในหนา้ ที่ ให้ถูกต้อง ใครมีปญั หาก็ให้แก้ไขกันไป ใครมหี นา้ ทอี่ ะไรก็ปฏิบัติกันไป สว่ นประการสุดท้าย พระองค์ ทรงให้ความชว่ ยเหลือต่อผูด้ ้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุม่ เกษตรกรซึง่ เป็นกระดูกสนั หลงั ของชาติ ได้มี ความเปน็ อย่ทู ีด่ ีขน้ึ และสามารถชว่ ยเหลอื ตนเองและสังคมได้” ชยั ชนะแห่งการพฒั นา : เพือ่ ความผาสกุ และประชาธปิ ไตยของชาวไทย ตลอดระยะเวลานบั ตัง้ แต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรง “ต่อสู้กับ ความยากจน” ด้วยการแก้ไขปญั หาและพัฒนาประเทศ เพือ่ ให้ประชาชนได้รับประโยชนส์ ุขสูงสดุ ช่วยให้ราษฎรโดยเฉพาะอย่างยงิ่ ทหี่ ่างไกลความเจริญและยากไร้ ได้กินดีอยูด่ ีและมคี ุณภาพชีวิต ท่ดี ขี ้นึ อาทิ ทรงดแู ลรกั ษาและสง่ เสรมิ สุขภาพประชาชน สรา้ งความเขม้ แขง็ ใหช้ มุ ชนดว้ ยการพระราชทาน สิง่ จำเป็นหรือสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานหลักทีจ่ ำเปน็ ต่อการผลิต สง่ เสริมอาชีพและรายได้ ฯลฯ ทัง้ นี้ เพือ่ ให้ประชาชนสามารถพึง่ ตนเองได้ และเมือ่ พึ่งตนเองได้ก็จะมอี ิสระและเสรีภาพ อันนำไปสูก่ ารเป็น “ประชาธปิ ไตย” อยา่ งแท้จริง 193