Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Description: สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Search

Read the Text Version

ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชือ่ และ คา่ นิยม ความคิดการตดั สินใจของคนแต่ละ พื้นที่ ดังนนั้ ๒ สงิ่ นมี้ คี วามสำคัญมาก คือ ภูมปิ ระเทศและคน อย่างนแี้ ล้วไมว่ ่าจะอยู่ ในระบบสงั คม หรือระบบเศรษฐกิจใดก็ตาม และแมก้ ระท่งั เร่อื งการเมอื งน้นั ตอ้ งออกแบบ ให้สอดคลอ้ งกับภูมิสงั คม เศรษฐกิจพอเพียง ในเบือ้ งต้นนัน้ คือ การประเมินตนให้รู้จักคน รู้จักภูมิประเทศ ทรงสอนให้มองมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลาทำงานพฒั นาจึงต้องมองทุกมิติ ทุกอย่างตอ้ งวางให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ และสังคมทแี่ ตกต่างกนั ไป การทีบ่ างโครงการลม้ เหลว เพราะเมือ่ คิดแผนใดขึ้นมาแล้วใช้เหมอื นกันทัว่ ประเทศ โครงการ ดังกลา่ วเมอื่ นำมาใช้อาจสอดคลอ้ งแค่เพียงบางภูมปิ ระเทศ บางกลมุ่ คน แต่ถ้านำไปใช้ทวั่ ทงั้ ประเทศ ก็จะไมป่ ระสบผลสำเร็จ ฉะนัน้ แมร้ ูปแบบจะต่างกันอยา่ งไรก็ตาม แต่จะมขี ั้นพืน้ ฐานทเี่ หมอื นกัน ไมว่ ่าจะอยูท่ ี่สวิสเซอร์แลนด์ อเมริกาใต้ ฝรั่งเศส หรืออยูท่ ีไ่ หนก็แลว้ แต่ ต้องปฏิบัติตามหลัก ของประชาธปิ ไตย คอื ความตอ้ งการของประชาชน อยภู่ ายใตค้ วามเหน็ ชอบของประชาชนประชาชนมสี ว่ นรว่ ม ในการบริหาร และต้องถือว่าเสียงคนสว่ นมากนำมาเป็นอำนาจสูงสดุ ประชาชนจะต้องมสี ทิ ธิเสรีภาพ และเสมอภาค ต้องวางแผนรูปแบบให้เหมาะสมกับภูมปิ ระเทศนนั้ ๆ ลกั ษณะธรรมชาติไมเ่ หมือนกัน อาทิ บางแหง่ ไมใ่ ห้สทิ ธสิ ตรีเลย เราจงึ ตอ้ งเคารพสิทธิของคนในแตล่ ะพืน้ ท่ี ทรงใช้ “ธรรม” ในการครองแผ่นดนิ หากเราศกึ ษาความหมายอนั ลกึ ซง้ึ ทแ่ี ฝงอยใู่ นพระปฐมบรมราชโองการ เราจะไดค้ วามรมู้ ากมายจาก พระองค์ “เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรม” ณ วนั น้ันพระองคท์ รงไดป้ ระกาศคำวา่ Good Governance แลว้ แต่เรากลับต้องมารอให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเสยี ก่อน แล้วจึงมาตระหนักถึงความสำคัญของคำว่า Good Governance หรอื ธรรมาภิบาลตามชาวตา่ งชาติ พระองคต์ รสั วา่ ธรรมะ คอื ความดี ความถกู ตอ้ ง หรอื ความยตุ ธิ รรม ตลอดเวลาทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวทรงครองสิริราชสมบัติมากว่า ๖๕ ปี ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยูใ่ นธรรมะ ๑๐ ประการ หรือ “ทศพธิ ราชธรรม” โดยเคร่งครัด พระองค์ทรงสอนประชาชนทกุ อยา่ ง ทัง้ จริยธรรม คุณธรรม ให้มีความรบั ผิดชอบ รักษาแผ่นดิน อิงหลกั ปรชั ญา ธรรมะ เศรษฐกจิ พอเพียง พระองค์ทรงทำทุกอยา่ ง ดว้ ยความเหนอ่ื ยยากเพ่อื ความสุขของประชาชน 44

ทรงวางรากฐานประชาธปิ ไตยและการพฒั นาอย่างยัง่ ยนื ดร.สเุ มธ ได้เลา่ ถึงภาพทีป่ ระทับใจซึ่งยังคงตรึงอยูใ่ นความทรงจำว่า วันหนึง่ หลังจากถวายงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ซึง่ พระองค์จะประทบั นัง่ กับพืน้ พระองค์ตรัสว่าสะดวกดี แผนทใี่ หญ่ กว็ างได้ อะไรกว็ างได้ พระองคท์ รงชไ้ี ปท่เี กา้ อ้แี ละตรสั ถามวา่ ทำไมพระเจา้ อย่หู วั ยังตอ้ งเหน่อื ย ตอ้ งลำบาก พระองคร์ บั สง่ั ว่า “...ทำไมพระเจา้ อยหู่ ัวต้องเหนด็ เหนือ่ ยอยอู่ ยา่ งน้ี ทตี่ อ้ งเหน็ดเหนื่อยก็เพราะ ประชาชนยังยากจนอยู่ และเมื่อเขายากจน เขาจึงไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพและ เม่ือเขาไม่มีอิสรภาพ เสรภี าพ เขาจงึ เป็นประชาธิปไตยไม่ได.้ ..” หากเราไปดูการทรงงานของพระองค์จะพบว่า ทรงเข้าไปช่วยแก้ไขปญั หาและพัฒนาประชาชน เพื่อแก้ไขปญั หาความยากจน แต่ทจี่ ริงแล้วเปา้ หมายของพระองค์ไปไกลกว่าทีเ่ รามองเห็น ไม่ใช่ เพยี งแคข่ จดั ความยากจน แต่เพือ่ เสรมิ สร้างความมัน่ คงและแข็งแรงให้กับประชาธิปไตย หากประชาชนยังยากจน ประชาธิปไตยทีบ่ ริสทุ ธิ์ก็ไม่เกิดขึ้น เกิดการชักจูงได้ง่ายอย่างต่อเนือ่ งแล้ว จะเปน็ ประชาธปิ ไตยได้อยา่ งไร ผลลัพธ์สุดท้ายทพี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงอยากเห็นก็คือ “การพฒั นาอย่างยั่งยืน” และ “ประชาธิปไตยที่เข้มแขง็ ” ซึง่ การปพู ื้นฐานของประชาธิปไตย มิใช่เรื่องของกฎหมาย ระเบียบ กตกิ า เพยี งอยา่ งเดยี ว หากพน้ื ฐานจรงิ ๆ คอื ต้องพัฒนาประชาชนให้หลดุ พ้นจากความยากจนกอ่ น จึงจะเป็นประชาธิปไตยได้ นับเปน็ การสร้างรากฐานสำคัญให้เกิดความเข้มแข็งในระบบการเมอื งไทย อย่างมนั่ คง โดยการทรงงานพัฒนาของพระองค์นัน้ ทรงใช้หลกั “เขา้ ใจ เขา้ ถึง พฒั นา” เสมอ นัน่ คือ ก่อนจะทำอะไรต้องมคี วามเข้าใจในภูมิประเทศ เข้าใจประชาชนในหลากหลายปญั หา ทงั้ ด้านกายภาพ จารีตประเพณี และวัฒนธรรม รวมถึงต้องทำให้ผทู้ ีเ่ ราจะไปพัฒนาเข้าใจเราด้วย 45

เพอ่ื การบรหิ ารจดั การ “ทรพั ยากรธรรมชาต”ิ และ “คน” ท่เี ปน็ เปา้ หมายหลักของการพฒั นาเปน็ ไปอย่าง มีประสทิ ธิภาพ โดยระบุปัญหาทีช่ ดั เจน และแก้ไขปัญหาได้อย่างบูรณาการ รอบคอบ ครบทุกมิติ เพือ่ ให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมัน่ คงและยั่งยืน อนั จะนำมาซึ่งความสุขแก่พสกนกิ รชาวไทย โดยมี แนวพระราชดำรอิ นั เป็นสจั ธรรมในการพฒั นาที่สำคญั ๆ ดังจะไดก้ ลา่ วถึงในบทตอ่ ไป จากพระปฐมบรมราชโองการ... สู่การทรงงานเพ่ือ “ประโยชนส์ ขุ ” สู่ปวงประชา นับตง้ั แตพ่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการและ ทรงหลงั่ ทกั ษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน ในการครองแผน่ ดนิ ดงั พระปฐมบรมราชโองการ พระองค์ทรงเริม่ ศึกษาถึงแนวทางการพัฒนา ประเทศตามทที่ รงตัง้ พระราชหฤทยั ไว้ โดยอำเภอหัวหินเป็นสถานทแี่ ห่งแรกทที่ รง เรม่ิ สำรวจพน้ื ท่ี ดนิ น้ำ อาชพี และความเป็นอยู่ ของประชาชน ทรงเริ่มต้นทดลองพัฒนา จากตำบลท่ีใกลก้ อ่ น โดยเสดจ็ พระราชดำเนิน บุกป่าฝ่าดงเข้าไปในหมบู่ า้ นทรุ กันดารในบริเวณนัน้ ทงั้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวและสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ออกเยีย่ มเยียนประชาชนเกือบทกุ วันในพื้นทีแ่ ทบทุกตำบล จากหวั หิน ประจวบคีรขี นั ธ์ เพชรบุรี ถึงราชบรุ ี ต่อมาทัง้ สองพระองค์ได้เสด็จฯ ทรงเยยี่ มราษฎรทวั่ ทกุ ภาค ทงั้ ภาคกลาง อีสาน เหนอื และใต้ แต่ละภาคจะเสด็จฯ นานเปน็ แรมเดือน เพือ่ ทรงหาทางแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ ให้มชี ีวิตความเป็นอยูท่ ีด่ ีขึน้ ตลอดจนส่งเสริมอาชีพว่าถิน่ ไหนเหมาะแก่การครองชีพอย่างไร โดยทรง ทราบถึงความทกุ ข์ของประชาชนผ่านการถ่ายทอดจากประชาชนสพู่ ระกรรณ และจากสายพระเนตร ทีท่ รงพบเห็นดว้ ยพระองคเ์ อง จวบจนถงึ ปัจจุบนั มพี ระราชดำรใิ หจ้ ัดตงั้ มลู นธิ ิต่างๆ ท้งั เพื่อการแพทย์ สาธารณสุข การศกึ ษา และการส่งเสรมิ อาชพี ฯลฯ และโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ ๔,๓๕๐ โครงการ โดยทกุ โครงการ มงุ่ เน้นช่วยเหลือและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยขู่ องประชาชน โดยไม่ทำลายสงิ่ แวดลอ้ มและ คำนงึ ถึงสภาพ “ภูมิสังคม” เปน็ สำคัญ ซึง่ มีหลายโครงการทมี่ ีชือ่ เสียงและได้รับการยอมรับทวั่ โลก อาทิ “โครงการฝนหลวง” กำเนิดจากพระมหากรณุ าธคิ ุณทที่ รงหว่ งใยในความทกุ ข์ยากของประชาชน 46

ในถิน่ ทรุ กันดาร ทปี่ ระสบปัญหา ขาดแคลนนำ้ เพือ่ การอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม ทรงศึกษาค้นคว้า แนวทางการทำฝนหลวงดว้ ยพระองคเ์ อง จนประสบผลสำเรจ็ โดยสำนกั สทิ ธบิ ตั ร ยโุ รปได้ออกสิทธิบตั รถวาย นับเป็น พระมหากษัตริย์พระองค์แรกและ พระองคเ์ ดียวในโลก ด้วยพระปรีชาสามารถและ มหากรุณาธิคุณอนั ลน้ พ้นนี้ เป็นที่ ประจักษ์ชัดแก่นานาประเทศทัว่ โลก ซ่งึ ตา่ งยกย่องสรรเสรญิ พระเกยี รตคิ ณุ และไดน้ อ้ มเกล้านอ้ มกระหม่อมถวาย รางวัลเกียรติคุณมากมาย รวมถึง “รางวัลความสำเร็จสูงสุดดา้ นการ พัฒนามนุษย์” ทนี่ ายโคฟี่ อานัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ไดข้ อพระราชทานพระบรมราชวโรกาส เขา้ เฝา้ และทลู เกลา้ ฯ ถวาย ท้งั น้ี ตวั อยา่ งโครงการท่สี ำคญั ๆ พร้อมบทสัมภาษณ์ผูท้ ีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนประชาชนในพืน้ ทีท่ ีไ่ ด้รับ ประโยชนส์ ุข ต่างซาบซึ้งในนำ้ พระราชหฤทัยและสำนกึ ในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ ัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นลน้ พ้น ซึง่ ได้แสดงให้เห็นประจักษ์ชัด ถงึ พระวริ ิยะอุตสาหะ และนำ้ พระราชหฤทัยอันเปย่ี มลน้ ด้วยความรกั และความเมตตาท่มี ตี อ่ ราษฎรไทย จนนานาประเทศลว้ นแซ่ซ้องพระเกียรติคุณอนั เกริกไกร และพระราชปณธิ านทที่ รงยดึ มนั่ มาตลอดกว่า ๖ ทศวรรษของการครองสริ ริ าชสมบัตวิ า่ พระองค์ไมเ่ พยี งแต่จะทรงเปน็ พระมหากษัตรยิ ท์ ท่ี รงครองราชย์ ยาวนานทส่ี ดุ ในโลก แตย่ งั เปน็ พระมหากษตั รยิ น์ กั พฒั นาทท่ี รงงานหนักท่สี ดุ ในโลกด้วย และทง้ั หลาย ท้ังปวงนี้ก็เพ่ือ... “ประโยชนส์ ขุ แห่งมหาชนชาวสยาม” น่ันเอง 47

“...คำว่า “พัฒนา” ก็หมายถึงทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมั่นคงมีความเจริญ ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ ก็เท่ากับตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตของแต่ละคน มีความปลอดภัย มีความเจริญ มีความสุข ฉะนั้นจึงเข้าใจได้ว่า การพัฒนาทุกอย่างเป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจะนำมาซึ่งความสุขความเจริญ และความพอใจของแต่ละบุคคลในประเทศ การพัฒนาคำเดียวนี้ก็กินความหมายมากมายดังที่ว่านี้ จึงต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่างที่จะให้สำเร็จผลตามที่ต้องการ ความมั่นคงและความสงบสุขของส่วนรวมเป็นอันที่หนึ่งสำหรับการพัฒนา วิชาการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกสิกรรม จะเป็นอุตสาหกรรมหรืออื่นๆ เป็นปัจจัยที่สอง ปัจจัยที่สามที่สำคัญที่สุดก็คือความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ที่จะพัฒนาและผู้ที่อยู่ในกลุ่มชน... ต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวไม่ขัดซึ่งกันและกัน จึงจะพัฒนาได้...” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะที่ปรึกษาเยาวชนและเยาวชนดีเด่น ณ ศาลาผกาภิรมย์ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๓

๒ สจั ธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน

สว่ นที่ ๒ สจั ธรรมแห่งแนวพระราชดำริ สู่การพฒั นาอย่างยงั่ ยืน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวมีแนวพระราชดำริ “การพฒั นาอย่างยัง่ ยืน” มานานกว่า หกทศวรรษ นับแต่เสด็จขึน้ ครองสริ ิราชสมบัติ ก่อนทจี่ ะมกี ารตื่นตัวและเกิดกระแสเรียกร้อง ให้ทุกประเทศหันมาใหค้ วามสำคญั กบั คน สงั คม และทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม โดยพระองค์ ทรงใหค้ วามหมายของการพฒั นาวา่ การพฒั นาน้นั ไมใ่ ชก่ ารทำใหเ้ กดิ ความกา้ วหนา้ แต่เพยี งอยา่ งเดยี ว แตจ่ ะต้องทำให้เกิดความมั่นคง โดยดำเนนิ การอยา่ งค่อยเปน็ ค่อยไป เพือ่ ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ ของคน โดยไม่ทำลายสง่ิ แวดลอ้ ม เพ่ือใหค้ นมีความสุขอย่างยง่ั ยืน การทรงงานพัฒนาของพระองค์ นบั เปน็ แบบอย่างของนักวางแผนโครงการทีด่ ี โดยพระองค์ จะทรงใช้วิธีการหาข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วยการศึกษาวิจัยเบือ้ งต้น เปน็ ขัน้ ตอนอยา่ งละเอียด ในการวางแผน ตลอดจนทรงทำการทดลองจนมั่นพระราชหฤทัยวา่ ไดผ้ ลดี จึงพระราชทานพระราชดำริ นัน้ ๆ แก่ประชาชนหรือหนว่ ยงานทเี่ กีย่ วข้องดำเนนิ โครงการ โครงการอันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ จำนวน ๔,๓๕๐ โครงการ จงึ ประสบผลสำเร็จ ตามแนวพระราชดำรแิ ละหลักการทรงงานของพระองค์ ทท่ี รงปฏิบัติตลอดมา โครงการอนั เนื่องมาจากพระราชดำริทพ่ี ระราชทานแก่ประชาชนดงั กล่าว เปน็ ความพยายาม ในการทำทุกวิถีทางเพอื่ ทีจ่ ะให้พสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยูท่ ี่ดีขึน้ ซึง่ ลว้ นสะทอ้ นให้เห็นถึง สัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริทีไ่ ด้นำประโยชนส์ ุขสปู่ ระชาชนและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อยา่ งยงั่ ยืน เมือ่ ประมวลแลว้ มีหลกั การและแนวพระราชดำริสำคัญๆ ทพี่ ระองค์ทรงยดึ เป็นหลัก ในการทรงงาน แบ่งเปน็ กลมุ่ ใหญ่ๆ รวม ๕ สัจธรรม ไดแ้ ก่ ๑. “เขา้ ใจ เข้าถึง พัฒนา” เพอื่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนประกอบด้วย แนวพระราชดำรเิ รอ่ื ง “ภมู สิ งั คม” การ “ระเบดิ จากขา้ งใน” “การมสี ว่ นรว่ ม” โดยยดึ “ประโยชนส์ ว่ นรวม” เปน็ สง่ิ สำคญั ในการดำเนนิ งาน

๒. “เรยี นรูจ้ ากหลักธรรมชาติ” ประกอบด้วยแนวพระราชดำริ “ธรรมชาตชิ ว่ ยธรรมชาติ” “การใช้อธรรมปราบอธรรม” และการ “ปลกู ป่าในใจคน” รวมถงึ การปลูก “หญ้าแฝก” ซ่ึงลว้ นเป็น วิธกี ารแกไ้ ขปญั หาทใ่ี ชห้ ลกั ธรรมชาติ ซงึ่ ไม่ต้องเสยี ค่าใช้จา่ ยมากและไม่ทำลายสิง่ แวดลอ้ ม ๓. “บริหารแบบบูรณาการ” ประกอบด้วยแนวพระราชดำริ “องค์รวม” ทที่ รงมองแนวทาง แก้ไขปญั หาอยา่ งเชื่อมโยงกัน แล้วจึง “ทำตามลำดับขนั้ ” โดยเน้นการ “บรกิ ารรวมทีจ่ ุดเดียว” ในลักษณะบริการแบบเบ็ดเสรจ็ เพอ่ื ความสะดวกและประโยชนแ์ กป่ ระชาชน ๔. “มุ่งผลสมั ฤทธ”์ิ ประกอบด้วยแนวพระราชดำริเรอื่ ง “ขาดทุนคอื กำไร” ท่ีเนน้ วา่ หากทำแล้ว ประชาชนมีความกินดีอยูด่ ี ถือเป็นกำไร อกี ทัง้ “ไม่ติดตำรา” และใช้เทคโนโลยที เี่ หมาะกับสภาพ ท่แี ท้จรงิ ของคนไทย โดยยดึ หลกั “ทำใหง้ ่าย” ในการดำเนินโครงการพฒั นาดา้ นตา่ งๆ ๕. “ชยั ชนะแห่งการพัฒนา” แนวพระราชดำรินปี้ ระกอบด้วย การ “ต่อสูก้ ับความยากจน” เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยขู่ องราษฎรให้มีความอยูด่ ีกินดี เมอื่ สำเร็จแล้วจึงถือเป็นชัยชนะ แหง่ การพฒั นา ทน่ี ำประชาชนไปสกู่ ารพง่ึ ตนเอง มอี สิ ระและเสรภี าพ อนั จะนำไปสกู่ ารเปน็ “ประชาธปิ ไตย” อย่างแท้จริง ในส่วนนีไ้ ด้นำเสนอให้เห็นถึงหลกั การทรงงานและแนวพระราชดำริดังกลา่ วข้างต้นในแต่ละเรือ่ ง พร้อมท้ังตวั อย่างโครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริโดยสงั เขป เพ่อื เปน็ ตวั อย่างใหเ้ หน็ ถงึ ความสำเรจ็ ของโครงการและประโยชน์สุขที่ “มหาชนชาวสยาม” ต่างได้รับ ด้วยความปลมื้ ปิติและสำนกึ ในพระมหากรุณาธคิ ณุ อยา่ งหาที่สดุ มไิ ด้

นบั ตั้งแต่กระแสโลกได้เรียกร้องให้ใสใ่ จในการพัฒนาด้านสงั คมและสิง่ แวดล้อม นอกเหนอื จากการมงุ่ เน้นเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว อนั เป็นทศิ ทางใหม่ของการ พัฒนาทีเ่ รียกว่า “การพฒั นาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ซึ่งมลี ักษณะทสี่ ำคัญ คือ หนึ่ง เป็นเรือ่ งของการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของสงั คม ภายใต้ข้อจำกัดทาง สภาพแวดลอ้ มทไี่ ม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการทีจ่ ำเป็นของคน ในรุ่นต่อไป สอง คำนงึ ถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สงั คม และสงิ่ แวดลอ้ ม ทมี่ ีความเชือ่ มโยงกัน เช่น การขจัดความยากจน จำเป็นต้องคำนงึ ถึงการพิทกั ษ์สงิ่ แวดล้อมและความเปน็ ธรรมทางสังคม ประกอบกัน และ สาม มจี ุดมงุ่ หมายทจี่ ะบรรลถุ ึงสถานะแห่งความยงั่ ยืนของสังคมโลกโดยรวม ไมใ่ ช่ เพ่ือความยงั่ ยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององคก์ รใดองคก์ รหน่งึ ซึ่งหมายรวมถงึ วถิ กี ารบริโภค อยา่ งยง่ั ยืน และแหลง่ ทรพั ยากรที่ยง่ั ยืน การพฒั นา หมายถงึ “ทำใหม้ ่ันคง” เพ่อื ความเจรญิ และความสขุ อยา่ งย่งั ยนื แนวคิดการพัฒนาอยา่ งยงั่ ยืนดังกลา่ วนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวได้มแี นวพระราชดำริ มานานกวา่ หกทศวรรษ นบั แต่ทรงครองสิริราชสมบตั ิ โดยทรงให้ความหมายของการพัฒนากับเยาวชน จงั หวัดปทมุ ธานีวา่ “...การพัฒนาหมายถึง ทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพฒั นาประเทศก็ทำให้ บ้านเมอื ง มัน่ คงมคี วามเจรญิ ความหมายของการพฒั นาประเทศนี้กเ็ ท่ากับต้ังใจทจี่ ะ ทำให้ชีวิต ของแต่ละคนมคี วามปลอดภัย มีความเจรญิ มีความสุข...” 52

จากพระราชดำรัสนีแ้ สดงว่า การพัฒนาจะต้องทำให้เกิดความมัน่ คง และเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติและ ประชาชนประเดน็ ท่นี ่าสนใจคอื การพฒั นา ไม่ใช่การทำให้เกิดความก้าวหน้าแต่เพียง อยา่ งเดยี วแตจ่ ะตอ้ งทำใหเ้ กดิ ความมน่ั คงดว้ ย นน่ั หมายความวา่ เปา้ หมายของการพฒั นา ตามแนวพระราชดำริคือการพฒั นาเพอ่ื ให้ บรรลุถึงความม่ันคงและความเจริญก้าวหน้าของประเทศน่ันเอง เม่ือประเทศชาติมีความม่ันคง และเจรญิ ก้าวหน้า ประชาชนในชาตกิ จ็ ะมคี วามมนั่ คงปลอดภยั มีความเจริญและความสุขตามไปดว้ ย ยกระดับความเปน็ อย่ขู องประชาชนดว้ ยความรกั โดยไม่ทำลายสง่ิ แวดล้อม การพัฒนา ซึง่ ถือว่าเปน็ สงิ่ ทดี่ ีและพึงปฏิบัติ ทำให้คนจำนวนไมน่ ้อยเห็นว่า การพัฒนาจะต้อง พยายามเร่งรีบกระทำให้เกิดผลโดยเร็ว แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงเห็นว่า การพัฒนาควร ต้องทำอย่างค่อยเปน็ ค่อยไป ไมใ่ ช่ทำด้วยความกระหายในสิง่ ใหม่ หรือความแปลกใหมข่ องสิง่ ทจี่ ะ พัฒนา และมใิ ช่กระทำเพียงเพราะความต้องการของผูพ้ ัฒนาเท่านัน้ แต่พระองค์ทรงตระหนกั ถึงความ สำคัญของ “การพฒั นาอย่างยั่งยืน” ด้วย ดังทสี่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณเ์ กี่ยวกับหลกั การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ในหนังสือ “พระมหากษตั ริย์นักพัฒนา เพ่อื ประโยชน์สุขสปู่ วงประชา” ความตอนหน่ึงวา่ “...เป้าหมายในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “การพัฒนา ที่ยั่งยืน” เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยูข่ องคน โดยไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม ให้คน มีความสุข โดยต้องคำนึงเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ความเชือ่ ทางศาสนา เชื้อชาติ และ ภูมิหลงั ทางเศรษฐกจิ สงั คม แมว้ ่าวธิ ีการพฒั นามีหลากหลาย แต่ท่สี ำคญั คือนักพฒั นา จะตอ้ งมีความรกั ความห่วงใย ความรับผิดชอบ และการเคารพในเพอื่ นมนุษย์...” ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจึงทรงเน้น การพฒั นาท่ตี วั คน โดยทรงเหน็ วา่ หากประชาชนในประเทศมีสุขภาพสมบูรณแ์ ขง็ แรงพรอ้ มดว้ ยสขุ ภาพจติ ทดี่ ีแล้ว ยอ่ มสง่ ผลให้เป็นบคุ ลากรมีความพร้อมในการรว่ มเสริมสร้างและพัฒนาประเทศให้มคี วามเจริญ กา้ วหน้าย่งิ ขึ้นต่อไป ในระยะแรกพระองคจ์ ึงทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศดว้ ยการรักษา ปอ้ งกนั และเสริมสร้างสุขภาพอนามยั ตลอดจนสงเคราะหร์ าษฎรที่ยากไร้ ดงั คำกล่าวสดุดีจาก นายโคฟี อนั นนั เลขาธิการสหประชาชาติ ในโอกาสทลู เกล้าฯ ถวายรางวัลอันเนอื่ งมาจากผลงานการพัฒนาชนบท มากมายของพระองค์ ความตอนหนง่ึ ว่า 53

“พระองค์ทรงเอือ้ มพระหัตถ์เออื้ ไปยงั บรรดาผูท้ ยี่ ากจนทีส่ ุด และเปราะบาง ทสี่ ุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของ พวกเขาเหล่านัน้ และให้ความช่วยเหลือ พวกเขาเหลา่ นนั้ ให้สามารถยนื หยัด ดำรง ชวี ติ ของตนเองตอ่ ไป ไดด้ ว้ ยกำลงั ของตวั เอง… โครงการเพอ่ื การพฒั นาชนบทตา่ งๆ ขององค์ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ยังประโยชนใ์ ห้ กับประชาชนนบั เป็นลา้ นๆ ทัว่ ทั้งสงั คมไทย” พร้อมๆ กับการดูแลสุขภาพและทกุ ข์สุขของราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวจะทรงงาน พัฒนาประเทศด้วยแผนงานหรือโครงการพัฒนาต่างๆ ทีเ่ หมาะสมกับสภาพภูมสิ งั คม และไมท่ ำลาย ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม เพือ่ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยทู่ ดี่ ีขึ้น โดยทรงมี พระราชกระแสเตือนให้ชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ อยา่ งสูงสดุ อย่เู นอื งๆ ซง่ึ แสดงใหเ้ หน็ วา่ พระองคท์ รงตระหนักถงึ ความสำคญั ของ “การพฒั นาอยา่ งยง่ั ยนื ” มานานแล้ว พระมหากษัตริยน์ กั พฒั นา ทรงนำสจั ธรรมพัฒนาไทยอยา่ งย่ังยืน ความสำเร็จของการพัฒนาอย่างยงั่ ยืนตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว เกดิ ข้นึ จากหลกั และวธิ กี ารทรงงานของพระองคท์ ่ีทรงยดึ ม่นั ปฏบิ ัตติ ลอดมา เหน็ ไดจ้ ากพระราชจรยิ าวตั ร ในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงเป็นแบบอย่างของนกั วางแผนโครงการทที่ รง ใช้วิธีการหาข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ด้วยการศึกษาวิจัยเบอื้ งต้น ดังมีแนวทางปฏิบัติทีเ่ ริม่ จาก ทรงศึกษาข้อมูลต่างๆ เป็นขั้นตอนอย่างละเอยี ดในการวางแผนโครงการใดโครงการหนึง่ ก่อนจะ พระราชทานพระราชดำรนิ ้นั ๆ ซ่งึ มขี ้ันตอนโดยสรปุ คือ  การศกึ ษาข้อมูล กอ่ นเสดจ็ พระราชดำเนนิ ไปยงั พน้ื ท่ใี ดๆ จะทรงศึกษาเอกสาร ข้อมลู แผนท่ี ต่างๆ เพอื่ ให้ทราบถงึ สภาพในท้องถิ่นน้นั ๆ อยา่ งละเอียดกอ่ นเสมอ l การหาขอ้ มูลในพืน้ ที่ เมือ่ เสด็จฯ ถึงพื้นทีน่ ัน้ ๆ ก็จะทรงหาข้อมลู รายละเอียดเพิม่ เติม อกี ครง้ั หนงึ่ เพอื่ ให้ไดข้ อ้ เทจ็ จริงและข้อมูลล่าสุด เชน่ สอบถามประชาชนถึงการประกอบอาชพี สภาพ หมู่บ้าน ภมู ปิ ระเทศ ดนิ ฟา้ อากาศ สภาพแหลง่ นำ้ ฯลฯ สำรวจพ้นื ทท่ี เ่ี สดจ็ ฯ โดยทอดพระเนตรพ้นื ท่จี รงิ ท่ีทรงคาดวา่ ควรดำเนินการพฒั นาได้ หรอื สอบถามเจา้ หนา้ ท่ฝี า่ ยต่างๆ ถงึ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ 54

พร้อมทงั้ ทรงคำนวณวิเคราะห์ด้วยว่า เมอื่ ดำเนนิ การ แลว้ จะได้ประโยชนอ์ ยา่ งไร คุม้ ค่ากับการลงทนุ หรือไม่ เพียงใด และอยา่ งไร แล้วจึงพระราชทานพระราชดำริ ให้เจ้าหนา้ ทที่ เี่ กีย่ วข้องไปพิจารณาในรายละเอยี ดตาม ขนั้ ตอนต่อไป นอกจากนัน้ เมือ่ ได้จัดทำเป็นโครงการอนั เนือ่ ง มาจากพระราชดำริแล้ว จะเสด็จฯ กลับไปยังพืน้ ที่ โครงการนัน้ ๆ ทกุ ครัง้ ทมี่ พี ระราชวโรกาส เพือ่ ทอดพระเนตรความก้าวหนา้ ของโครงการ และทรง ติดตามผล หากเกิดปัญหาและอปุ สรรคต่างๆ พระองค์จะทรงแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหานนั้ ๆ ใหส้ ำเรจ็ ลุล่วงด้วย โครงการอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำรทิ ีพ่ ระราชทานแก่ประชาชนทั่วทัง้ ประเทศนนั้ เป็นจดุ เริม่ ต้นของความพยายามในการดำเนินการ ทุกวิถีทางเพือ่ ทีจ่ ะให้พสกนกิ รของพระองคม์ ี ความเปน็ อยทู่ ด่ี ขี ้นึ ดว้ ยเหตนุ ้ี พระองคจ์ งึ ทรงมพี ระราชปรารถนาท่ีจะเสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงเย่ียม ราษฎรทกุ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นป่าลกึ หรือขุนเขาทรุ กันดาร เพือ่ ทรงสมั ผัสชีวิตความเป็นอยขู่ องพสกนิกร อย่างใกล้ชดิ และทรงทราบถงึ ความเดือดรอ้ นตลอดจนความตอ้ งการของราษฎร เพื่อที่จะทรงช่วยเหลือ ปดั เป่าหรอื สนองความตอ้ งการของเขาเหลา่ นน้ั ดังปรากฏชัดในพระราชกรณยี กิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทีท่ รงมุง่ พัฒนาประชาชน และประเทศมาเป็นเวลายาวนาน โดยมีสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ และพระบรมวงศานวุ งศ์ ทุกพระองค์ทรงงานเคียงข้างพระองค์ ด้วยพระราชหฤทยั เปยี่ มล้นด้วยพระเมตตา ซึง่ เปน็ ทปี่ ระจักษ์ แกช่ าวไทยและชาวโลกวา่ พระองคท์ รงเปน็ “พระมหากษตั รยิ น์ กั พฒั นา” อยา่ งแทจ้ รงิ ดว้ ยแนวพระราชดำริ การทรงงานพัฒนาทีล่ ว้ นเปน็ สจั ธรรม โดยมีเป้าหมายหลักคือพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ประชาชนชาวไทย พร้อมทั้งอนุรกั ษแ์ ละฟ้นื ฟทู รัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ มใหค้ งอยู่อยา่ งย่งั ยืน การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ได้ก่อให้เกิดโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ มากมายถึง ๔,๓๕๐ โครงการ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงสัจธรรมแห่งแนวพระราชดำริทไี่ ด้นำ ประโยชน์สุขสูป่ ระชาชนและความเจริญก้าวหน้าของประเทศอยา่ งยัง่ ยนื เมือ่ ประมวลโดยสงั เขปแล้ว มหี ลกั การสำคญั ๆ ท่ีพระองค์ทรงยึดเป็นหลกั ในการดำรแิ ละพระราชทานแนวพระราชดำริ โดยแบ่งเป็น กล่มุ ใหญๆ่ รวม ๕ สัจธรรม ได้แก่ เข้าใจ เข้าถงึ พัฒนา... เพอ่ื ตอบสนองความตอ้ งการของประชาชน เรียนร้จู ากหลกั ธรรมชาติ บริหารแบบบรู ณาการ ม่งุ ผลสมั ฤทธ์ิ และชัยชนะแหง่ การพัฒนา โดยแตล่ ะ หลักการมีแนวพระราชดำริ ดังน้ี 55

๑. “เขา้ ใจ เข้าถงึ พัฒนา” เพอ่ื ตอบสนองความต้องการของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงทุม่ เทเวลาเกือบทัง้ หมดให้กับการปฏิบัติพระราชกรณยี กิจ เพือ่ ราษฎร ดงั ทไี่ ด้พระราชทานสมั ภาษณแ์ กห่ นงั สือพมิ พต์ า่ งประเทศว่า “การเป็นพระเจา้ แผ่นดนิ น้นั ตอ้ งเป็นตลอด ๒๔ ช่ัวโมง ไมม่ เี วลาหยุดได”้ มิใช่เพียงเท่านนั้ พระองค์ยงั ทรงคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญดังคำตอบ ขอ้ ซกั ถามของ ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ รองราชเลขาธกิ ารและวทิ ยากรพเิ ศษสำนักราชเลขาธกิ าร ในชว่ งท่ี เดนิ ทางไปบรรยายพเิ ศษเรอ่ื งเก่ยี วกบั ประเทศไทย โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษตั รยิ แ์ ละพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั รชั กาลปจั จบุ นั กบั ประเทศไทย ท่ีนครลอสแองเจลิส รฐั แคลฟิ อรเ์ นยี ประเทศสหรฐั อเมรกิ า เม่อื เดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๐ ความตอนหนึง่ วา่ “...ระบอบพระมหากษัตริยข์ องไทยน้นั กค็ อื ระบอบความต้องการของประชาชน ประชาชนจะต้องการใหพ้ ระมหากษตั ริยไ์ ปทางไหน ระบอบพระมหากษตั รยิ ก์ จ็ ะตามไป ทางนน้ั ...” 56

“เขา้ ใจ เขา้ ถึง พัฒนา” หัวใจของหลกั การทรงงาน พระราชกรณยี กิจทัง้ ปวงทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงปฏิบตั ิมาตลอดเวลากว่า ๖๗ ปีนนั้ จึงเป็นการทรงงานเพือ่ ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะหมมู่ วลพสกนิกรยากไร้และ ด้อยโอกาสท่ียังขาดปัจจัยสี่ในการดำรงชวี ิต ทง้ั น้เี พ่อื พฒั นาและยกระดับคณุ ภาพชวี ติ ความเปน็ อยใู่ หพ้ น้ จากความทกุ ขย์ าก โดยทรงใชห้ ลกั “เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา” ในการทรงงานมาโดยตลอด หลักการของ “เข้าใจ เขา้ ถึง พฒั นา” นจี้ ะต้องดำเนินในลักษณะ ของสามห่วงคลอ้ งกัน ถ้าห่วงหนึง่ ห่วงใดขาดออกไป การพัฒนาหรือ แก้ไขปญั หาก็จะไม่มีประสิทธิภาพ โดย ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกุล เลขาธิการ มูลนธิ ิชัยพัฒนา ผถู้ วายงานใกล้ชิด เบือ้ งพระยคุ ลบาทตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ ไดก้ ลา่ วไวใ้ นบทความเรอ่ื ง“ประสบการณ์ สนองพระราชดำริเรยี นรหู้ ลกั การทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว” ในหนงั สอื “การทรงงานพฒั นาประเทศ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยูห่ ัว” ความว่า “ทรงใช้หลัก “เขา้ ใจ เขา้ ถึง พัฒนา” นนั่ คือก่อนจะ ทำอะไร ต้องมคี วามเข้าใจเสยี ก่อน เข้าใจภูมปิ ระเทศ เข้าใจคนในหลากหลายปัญหา ทัง้ ด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณแี ละวัฒนธรรม เปน็ ตน้ และระหวา่ งการดำเนินการน้นั จะตอ้ งทำใหผ้ ้ทู ่เี ราจะไปทำงานกบั เขา หรอื ทำงานใหน้ ้นั “เขา้ ใจ” เราดว้ ย เพราะถา้ เราเขา้ ใจแตเ่ ขาฝา่ ยเดยี วโดยท่ีเขาไมเ่ ขา้ ใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกดิ ขน้ึ ตามท่เี รามุ่งหวงั ไว้ “เข้าถงึ ” ก็เชน่ กนั เมอื่ รูป้ ญั หาแลว้ เขา้ ใจแลว้ กต็ อ้ งเข้าถงึ เพอื่ ใหน้ ำไปสกู่ ารปฏิบตั ิให้ได้” ดังน้นั ผ้ทู ี่จะปฏิบตั งิ านพัฒนาจงึ ต้องศึกษาอย่างลึกซงึ้ เพ่ือให้เขา้ ใจความหมายของคำว่า “เข้าใจ เข้าถงึ พฒั นา” เพอื่ ให้สามารถปฏิบัติภารกิจการพฒั นาในขัน้ ต่อไปไดอ้ ย่างถกู ต้อง ดังน้ี “เขา้ ใจ” คือการทำอะไรต้องมีความเข้าใจหรือเกิดปัญญารู้ข้อมลู พื้นฐานหรือความจริง ทงั้ หมดก่อน ในทุกมิติทงั้ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สภาพสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต การค้นหาราก ของปญั หาและความตอ้ งการทแี่ ทจ้ ริงของชุมชน ซึง่ ต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ เช่น การเข้าไปพูดคุย 57

สร้างความคุน้ เคย คลุกคลกี ับคนในพืน้ ที่ การวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลอยา่ งรอบด้าน จากคนในพื้นทีท่ ีป่ ระสบปญั หาจริง และ ไมไ่ ด้หมายเพียงถึงการทีข่ ้าราชการต้อง เข้าใจชาวบ้านในพื้นทเี่ ท่านนั้ แต่หมาย รวมถึงข้าราชการผปู้ ฏิบัติต้องทำให้บรรดา ชาวบา้ นในพื้นทีเ่ ข้าใจข้าราชการผูป้ ฏิบตั ิ เขา้ ใจการทำงาน เขา้ ใจประโยชน์โภคผล ขอ้ ดี ข้อเสยี ในฐานะผรู้ ับผลกระทบ ผรู้ ับบริการ และผู้ทีม่ ีส่วนได้ส่วนเสียด้วย “เข้าถึง” เป็นเรือ่ งการสอื่ สาร และสร้างการมีสว่ นร่วม โดยมงุ่ สือ่ สารสร้างความเข้าใจและ ความมนั่ ใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมสี ่วนร่วม ในกระบวนการพฒั นา มากทสี่ ุด โดยผู้พฒั นาจะต้องมีจติ ใจหรือร้สู กึ ถงึ ปัญหา ความทกุ ขค์ วามเจ็บปวด ของคนในพื้นที่ และเกิดสำนกึ ร่วมฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ไปด้วยกัน โดยยึดมนั่ ในความจริงทวี่ ่าไม่ว่า มนุษย์จะแตกต่างทางเชือ้ ชาติ สีผวิ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม แต่เราทกุ คนเป็นมนุษย์เหมอื นกัน นอกจากน้ี ผ้ปู ฏบิ ัตติ อ้ งเขา้ ถงึ “ใจ” คอื อย่ใู นใจของชาวบ้านในพน้ื ท่ีอยา่ งประทบั ใจในความถกู ตอ้ งดงี าม ปฏสิ มั พนั ธ์เป็นไปอยา่ งเหมาะสม ถูกต้องตามขนบธรรมเนยี ม วัฒนธรรม และจารตี ประเพณี บนพ้นื ฐาน ของการใหเ้ กยี รตแิ ละใหอ้ ภยั ซ่งึ กนั และกนั เป็นข้นั ตอนท่ตี อ้ งใชเ้ ทคนคิ วธิ ที ่แี ยบยล ผ้นู ำองคก์ รตอ้ งเขา้ รว่ ม กิจกรรมกับผรู้ ่วมงานในลักษณะ “คุณเออื้ ” “คุณอำนวย” หากมีปัญหาอปุ สรรคก็พร้อมทีจ่ ะร่วมมอื แก้ไข ไม่ใชห่ ลกี หนหี รือปลอ่ ยใหเ้ ปน็ หน้าทคี่ วามรับผดิ ของผูร้ ่วมงาน “พัฒนา” คอื การใชท้ กั ษะการบริหารจัดการทสี่ ามารถรวมปจั จยั ตา่ งๆ เชน่ ทนุ คน องคค์ วามรู้ เทคโนโลยี ศาสนา วัฒนธรรม มาช่วยพัฒนาคน สังคม และประเทศให้ดีขึน้ เจริญขึ้น การพัฒนาที่ ถูกต้องจะเกิดขึน้ ได้ก็ต่อเมอื่ มคี วามเข้าใจทีถ่ ูกต้องเป็นพื้นฐาน และมกี ารเข้าถึงเปน็ พลังขับเคลอื่ น ทำให้เกิดการพัฒนาแบบมสี ่วนร่วม ตอบสนองความต้องการทแี่ ท้จริงของชุมชน และไมไ่ ด้จำกัดเพียง การพัฒนาวัตถุหรือการทำให้เกิดบริโภคนิยม แต่ต้องเป็นการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทและ ความตอ้ งการอยา่ งแท้จรงิ ดว้ ยการดำเนินการอย่างเป็นรปู ธรรมเพอ่ื เสรมิ สรา้ งทำใหเ้ จรญิ หรอื เปล่ียนแปลง แก้ไขไปในทางทีด่ ีขึ้น ด้วยมาตรการทีถ่ ูกต้องตามหลกั วิชา ใช้เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม เพือ่ ให้ผลของ การพัฒนาทีท่ ำนัน้ เกิดประโยชนส์ ูงสดุ และจะละเลยสิง่ ทีส่ ำคัญทสี่ ุดคือ การพัฒนา “จิตใจ” ของทัง้ ข้าราชการและชาวบ้านไม่ได้ 58

การตอบสนองความตอ้ งการของประชาชนตามหลกั การ“เขา้ ใจเขา้ ถงึ พฒั นา”ดงั กลา่ วพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ ัวทรงให้คำนงึ ถึงสภาพภูมปิ ระเทศและสงั คมวิทยา หรือทที่ รงเรียกว่า “ภูมิสังคม” พรอ้ มกับ “มงุ่ พัฒนาคน” เพอ่ื ให้การพัฒนาเปน็ การ “ระเบดิ จากข้างใน” โดยการสร้างความเขม้ แขง็ ใหค้ นในชมุ ชนมีสภาพพรอ้ มท่ีจะรบั การพฒั นา หรอื ปรบั ตวั ไดท้ ันกบั การเปล่ยี นแปลง ท้งั น้ี ทรงใหย้ ึดหลกั “การมีส่วนรว่ ม” ด้วยการเปดิ โอกาสให้ทกุ ภาคส่วน โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ผูม้ สี ว่ นได้ส่วนเสยี ได้ร่วมกัน แสดงความคดิ เหน็ โดยทรงใหถ้ อื “ประโยชน์สว่ นรวม” เปน็ ส่ิงสำคญั ในการดำเนินงานตา่ งๆ เพ่อื ตอบสนอง ความต้องการของประชาชนโดยรวมและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิง่ ขึ้นต่อไป ตามแนว พระราชดำรแิ ละตัวอย่างพระราชกรณยี กจิ รวมทงั้ โครงการตา่ งๆ ดงั น้ี แนวพระราชดำริ ๑.๑ ภูมสิ งั คม : ดนิ นำ้ ลม ไฟ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงยดึ ว่า จะพัฒนา อะไรหรือทำการสิง่ ใด ให้ยดึ หลักสำคัญ คือความสอดคล้องกับภูมิสงั คม คือคำนงึ ถึงสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสงั คม หมายรวมถึงคน ซึง่ ย่อมมีขนบธรรมเนยี ม ประเพณี ความเชือ่ และวิถีชีวิตทแี่ ตกต่างกันตลอดจนควรตระหนกั ถึง อตั ลกั ษณ์และภูมปิ ญั ญาในท้องถน่ิ นั้นๆ ดว้ ย ดงั แนวพระราชดำรดิ ังน้ี  ภูมิ คอื สภาพแวดล้อม ทอี่ ยรู่ อบๆ อันไดแ้ กท่ รัพยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม หรือ ดนิ น้ำ ลม ไฟ และ สงั คม คอื มนุษย์ท่อี ยู่ในสภาพแวดล้อม 59

เนอื่ งจากสภาพภูมปิ ระเทศยอ่ มแตกต่างกัน เช่น ทางเหนอื เปน็ ภูเขา ทางใต้เปน็ พรุ ภาคกลาง เปน็ ท่ีราบล่มุ สว่ นอสี านเปน็ ท่รี าบสงู เปน็ ตน้ และท่สี ำคญั คอื “คน” ท่ีอยู่ในพ้นื ท่ีตา่ งกนั ย่อมคดิ ตดั สนิ ใจ ต่างกนั ไปตามวฒั นธรรม ค่านิยม ส่ิงแวดลอ้ ม ประเพณี และการอบรม พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว จงึ ทรงยดึ หลกั วา่ จะพัฒนาอะไรหรอื ทำการส่งิ ใด ใหย้ ึดหลักความสอดคลอ้ งกบั ภมู สิ งั คมเป็นสำคัญ เกีย่ วกับหลกั การภูมสิ งั คมดังกลา่ ว ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนธิ ิชัยพัฒนา ได้ให้ สัมภาษณอ์ ธบิ ายความหมายอย่างชดั เจนไว้ในเรือ่ ง “พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั กบั โครงการอันเน่ือง มาจากพระราชดำริ” ในหนงั สือ “การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว” ความตอนหน่งึ วา่ “พระองค์ทรงสรปุ ให้ฟงั ในวนั หน่ึงวา่ ตอ้ งเคารพภูมิสงั คม ภมู ิ คือ ดิน นำ้ ลม ไฟ ส่วนสงั คม คือ คน ซึง่ เป็นคนในมิตทิ ี่มีขนบธรรมเนยี มประเพณี ความเชอื่ และคา่ นิยมของเขาด้วย พระองคท์ รงสอนใหเ้ รารอบรู้หมดทุกอย่างในการทำงาน เช่น เวลาทำโครงการเราคดิ แต่จะวางโครงการ บนแผน่ กระดาษเทา่ นัน้ แต่เมอื่ ได้ถวายงานจึงได้เรียนรู้ว่า กิจกรรมหรือโครงการนจี้ ะต้องมีครบทุกมิติ แตก่ อ่ นเราดแู ตม่ ติ กิ ายภาพ ดเู ปน็ ถนน เป็นสะพาน เปน็ ตกึ อาคาร เราดเู พยี งแคน่ ้นั แตพ่ ระองคท์ รงสอน ใหเ้ หน็ ถงึ มติ ิของคน หรือความจรงิ ท่วี า่ “คน” คอื ผ้ใู ช้ถนน เปน็ ส่งิ มชี วี ิต คนใชเ้ ขาพรอ้ มจะใชห้ รอื เปลา่ การไปลาดยางถนนในขณะทีเ่ ขาใช้เกวียนเป็นพาหนะอยู่ ถ้าลาดยางแลว้ เขาจะใช้หรือเปลา่ เหมาะสม หรือไม่ เพราะฉะนัน้ ทรงสอนให้มองมติ ิต่างๆ อย่างครบถ้วน เวลาทำงานพัฒนาจึงต้องมองทุกมติ ิ ทกุ อย่างต้องวางใหส้ อดคล้องกับภมู ิประเทศและสงั คมที่แตกต่างกนั ไป”  ศึกษาและพัฒนาโดยยึดปัญหาและสภาพแวดลอ้ มของแต่ละพืน้ ทีเ่ ป็นหลกั แก้ไขปัญหา ให้สอดคล้องสัมพนั ธ์กับลักษณะภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจ และสังคม คำนึงถึง “คน” ซึ่งย่อมมีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชอื่ และวิถชี ีวิตทตี่ ่างกัน ทรงยดึ ถือสภาพความเปน็ จริงของภูมปิ ระเทศและสังคมวิทยาเกี่ยวกับประชาชนในพืน้ ที่ พัฒนาเป็นหลกั ด้วยทรงมหี ลักว่า การดำเนนิ งานใดก็ตาม ต้องคำนงึ ถึงประชาชนในทอ้ งถิ่นก่อน เพราะประชาชนเหลา่ นีเ้ ป็นผูท้ ีไ่ ด้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน ทงั้ ในแง่การเปน็ ผใู้ ช้และการดำเนนิ ชีวิต ดังนัน้ จึงต้องเรียนรูศ้ ึกษาสภาพของธรรมชาติในแต่ละพื้นทที่ แี่ ตกต่างกัน เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจ อยา่ งถ่องแท้และลึกซึ้ง ซึง่ จะช่วยเปน็ หนทางนำไปสกู่ ารวางแผนดำเนินงานทสี่ อดคล้องและตอบสนอง ความต้องการของราษฎรในชุมชนและประสบผลสำเร็จ กล่าวคือ ก่อนทีล่ งมอื พัฒนาจะต้อง สามารถตอบคำถามทเี่ กี่ยวข้องกับสภาพภูมปิ ระเทศ และวิถีชีวิตของผคู้ นในสังคมในแต่ละ ทอ้ งทีใ่ ห้ได้เสียก่อน นบั เปน็ ตัวกำหนดหลกั ทีจ่ ะต้องนำมาพิจารณาและนำมาใช้ให้เปน็ ประโยชน์ ต่อการพัฒนา คำตอบของคำถามเหลา่ นจี้ ะเป็นหลกั การสำคัญของการพัฒนาพืน้ ทตี่ ามแนว 60

พระราชดำริได้อยา่ งเหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศ และ ด้วยความร่วมมอื อันดีของ ประชาชน ซง่ึ กจ็ ะบรรลเุ ปา้ หมาย ทีว่ างไว้ได้อย่างสมบูรณ์ในทีส่ ดุ ดังพระบรมราโชวาทในพิธี พระราชทานปริญญาบตั ร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ความตอนหนึ่งว่า “...ในการทีจ่ ะนำหลักวชิ าที่ไดเ้ ล่าเรียนไปใชเ้ พือ่ ประกอบกิจการงานต่อไปนนั้ ควรจะคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของท้องที่ และถึงผลสะท้อนอันอาจเกิดมีขนึ้ โดยเฉพาะในประการต่างๆ จะไดเ้ ป็นหลักประกันวา่ กิจการงานที่จะทำขึน้ นนั้ ได้ พิจารณาศึกษาโดยรอบคอบในทุกๆ ด้านแล้ว ชอบดว้ ยหลักปฏิบัติที่เหมาะสมกับ สภาพและความต้องการของประเทศเรา...”  ตระหนักและเคารพในอัตลักษณ์ ของแต่ละสังคมและภูมิภาค รวมถึงภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่น ที่มีคณุ ค่า “ภูมิปัญญาท้องถิน่ ” หรือภูมปิ ญั ญาชาวบ้าน เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึ้นจากการสังเกตความคิด ตลอดจนการประดิษฐ์คิดค้นของชาวบ้าน ทัง้ ในรูปของวัตถุสิง่ ประดิษฐ์ต่างๆ และในรูปของ นามธรรม เช่น ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี นทิ านพืน้ บา้ น เปน็ ต้น และนำมาประพฤติปฏิบัติ จนเปน็ ทยี่ อมรับในท้องถิน่ พระองค์ทรงเห็นว่าสงิ่ เหลา่ นเี้ ปน็ สงิ่ สำคัญทตี่ ้องนำมาศึกษาให้เข้าใจ และนำไปปรับใช้ให้สอดคลอ้ งและกลมกลืนกับวิชาการแผนใหมอ่ ย่างเป็นระบบและต่อเนอื่ งเปน็ กระบวนการเดียวกัน เป็นการผสมผสานเทคโนโลยเี ก่าใหมใ่ ห้กลมกลืน ชาวบา้ นสามารถรับไปและ นำไปใช้ได้จริงอย่างเหมาะสมลงตัว และเกิดประโยชนอ์ ย่างสูงสุดแก่ชาวบ้านด้วย และทสี่ ำคัญคือ จะต้องตระหนกั อยเู่ สมอว่าประชาชนในท้องถิน่ เป็นผูใ้ ช้ เป็นผูท้ ีไ่ ด้รับผลกระทบจากสิง่ ทีเ่ กิด และเปน็ ผู้ที่ต้องดำเนนิ ชีวิตอยูใ่ นท้องถ่นิ นนั้ 61

๑.๒ ระเบิดจากขา้ งใน การจะเข้าไปพัฒนาชุมชนใดๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรง ยดึ หลักว่า คนในชุมชนนัน้ ต้องมี ความพรอ้ มและยนิ ดที จ่ี ะรว่ มดำเนนิ การ พัฒนานัน้ ๆ ประหนึง่ ว่าต้องเป็น การระเบดิ จากข้างในหรือประสงค์ ทจ่ี ะร่วมดำเนินการน้ันเอง จึงจะเป็น การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้ อยา่ งแทจ้ รงิ โดยหากได้ผลดแี ล้วจึงขยายผลออกไปในวงกวา้ งตอ่ ไป ดังแนวพระราชดำริ ดังน้ี  สร้างความเข้มแข็งใหค้ นในชมุ ชนท่เี ข้าไปพัฒนา ใหม้ สี ภาพพรอ้ มท่ีจะรบั การพฒั นา เม่อื คน ในชุมชนพร้อมแลว้ จะระเบิดความพร้อมภายในทีม่ ีอยูข่ ้างในตนเอง ทัง้ ความคิด ความร่วมมือ ความสามคั คี ออกมาพัฒนา สร้างความเขม้ แขง็ ของชุมชนได้เอง นอกจากน้ี หากประชาชนไม่ตอ้ งการ อยา่ ไปยดั เยยี ดอะไรให้ ดงั เชน่ การดำเนนิ งานโครงการตา่ งๆ ใหแ้ กป่ ระชาชนนน้ั พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั จะพระราชทานพระราชดำริแก่หนว่ ยงานท่ีเก่ียวขอ้ งอย่เู สมอๆ ดังพระราชดำรสั จาก “เทดิ ไทอ้ งค์ราชนั ปราชญแ์ หง่ นำ้ ๑๐๔ ปี กรมชลประทาน” ความตอนหน่ึงวา่ “...การเข้าใจถึงสถานการณ์และสภาพการณ์ของผู้ท่ีเราจะช่วยเหลือน้ันเป็น สง่ิ สำคญั ทส่ี ดุ การชว่ ยเหลอื ใหเ้ ขาไดร้ บั ในสง่ิ ทค่ี วรจะไดร้ บั ตามความจำเปน็ อยา่ งเหมาะสม จะเปน็ การชว่ ยเหลอื ทไี่ ด้ผลดที ี่สดุ เพราะฉะนนั้ ในการชว่ ยเหลอื แตล่ ะคร้ัง แตล่ ะกรณ ี จำเปน็ ท่เี ราจะพจิ ารณาถงึ ความต้องการและความจำเปน็ กอ่ น และต้องทำความเขา้ ใจ กับผู้ที่เราจะชว่ ย ให้เราเข้าใจดว้ ยว่า เขาอยู่ในฐานะอย่างไร สมควรทีจ่ ะได้รบั ความช่วยเหลอื อยา่ งไร เพยี งใด อีกประการหน่งึ ในการช่วยเหลอื น้ัน ควรยดึ หลกั สำคญั ว่า เราจะช่วยเขาเพอ่ื ให้เขาสามารถช่วยตนเองไดต้ ่อไป...”  เมอ่ื คนในชมุ ชนเข้มแข็งแล้ว จึงดำเนนิ งานพฒั นาและขยายออกไปสู่สงั คมภายนอก ไมใ่ ช่ เอาความเจรญิ จากสงั คมภายนอกเขา้ ไปสชู่ มุ ชนหรอื หมบู่ า้ น ซง่ึ มกั จะเกดิ ปญั หา เพราะประชาชนไมส่ ามารถ ปรับตัวไดท้ ันกบั กระแสการเปล่ียนแปลงที่มาจากภายนอกและก่อให้เกิดปญั หาตา่ งๆ ตามมา สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงเลา่ ถึงการทรงงานพฒั นาราษฎรในพื้นที่ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ในหนังสอื “พระมหากษตั รยิ ์นกั พฒั นา เพ่อื ประโยชนส์ ขุ สู่ปวงประชา” ดงั ความตอนหนึ่งว่า 62

“...ทรงมวี ธิ ีการของพระองค ์ คือ การเสดจ็ ฯ ไปในป่า บนเขา ตอนแรกจะเสด็จฯ แบบยังไม่ได้มีการตดั ถนนเขา้ ไป พระองคต์ อ้ งเสด็จฯ เข้าไปอย่างลำบาก เพราะว่า พระองค์ไม่ต้องการจะให้คนอนื่ มาเอาเปรียบคนขา้ งใน ในขณะทีเ่ ขายังไม่เข้มแขง็ พอ พอพฒั นาใหเ้ ขาเข้มแข็งแลว้ เขาจะออกมาเอง คอื ระเบดิ จากข้างใน...” ในการสรา้ งความเขม้ แขง็ ของชมุ ชนเพอ่ื ใหเ้ กดิ การพ่งึ ตนเอง พระองคท์ รงเนน้ แนวทางดำเนนิ งาน ให้เกิดการรวมตัวของคนในหมูบ่ า้ นในลกั ษณะต่างๆ เช่น กลุม่ ชมรม สหกรณ์ บริษัทเครือข่าย หรือ องค์กรชาวบ้าน พร้อมทัง้ ให้มกี ารเรียนรู้ การจัดการ และการแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อสง่ ผลให้เกิดการเปลยี่ นแปลงหรือการพัฒนาด้านต่างๆ พร้อมทงั้ เสริมสร้างให้คนในชุมชนมีความ เอือ้ อาทรต่อกัน นอกจากน้ี พระองคไ์ ดพ้ ระราชทานพระราชดำรหิ ลกั การ “บวร” ใหน้ ำบา้ น วดั โรงเรยี น/ราชการ ซึง่ เปน็ สถาบันหลักของสังคมไทยทเี่ ป็นสายใยยดึ เหนีย่ มชุมชนมาแต่อดีต ทีก่ ่อให้เกิดการเกื้อกูล สนบั สนนุ ซ่งึ กนั และกนั ชว่ ยใหส้ ังคมไทยดำรงอย่อู ย่างสันตสิ ขุ มาชา้ นาน มาใชใ้ นการพฒั นาและแกป้ ัญหา ในระดับชมุ ชน ในลักษณะ ๓ ประสาน เพอ่ื ร่วมมอื บำเพญ็ ประโยชน์แก่ชุมชนอยา่ งเกื้อกลู กัน สถาบันครอบครัว (บา้ น) ซง่ึ ประกอบดว้ ยชาวบ้านและกลุม่ บุคคลต่างๆ ในชมุ ชน สถาบันศาสนา (วัด) ประกอบด้วยเจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อบุ าสิกา และกลุม่ หรอื ชมรมทางศาสนา ซ่งึ ในความหมายในเชงิ กวา้ ง อาจจะหมายรวมถงึ องคก์ ร หรอื สถาบันทางศาสนาตา่ งๆ ในชุมชนนนั้ ๆ ดว้ ย สถาบันการศกึ ษา/ราชการ (โรงเรียน/ราชการ) ประกอบด้วย ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบคุ คลากรทางการศึกษาอนื่ ๆ ทงั้ ในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลยั และองค์กร ทางการศึกษาอนื่ ๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐในชุมชน อาทิ กำนนั ผใู้ หญบ่ า้ นคณะกรรมการหมูบ่ า้ น อบต. สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล เปน็ ตน้ รวมท้ังระบบกลไกในการบริหารท่ีมาจากรัฐในรปู อนื่ ๆ 63

หลกั “บวร” จึงหมายถึงการนำสถาบนั หลักในชุมชนมาเปน็ กลไกในการพัฒนาและ สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าทเี่ ปน็ แกนกลางในการพัฒนา ตัดสนิ ใจ แก้ปัญหาตนเอง และ ชุมชน กำหนดแผนแมบ่ ทชุมชนด้วยการร่วมกันคิด สร้าง และบริหารจัดการชุมชนของคนในท้องถิ่น ทร่ี ว่ มกนั เปน็ เจ้าของ ๑.๓ การมีส่วนรว่ ม ก่อนจะพระราชทานแนวพระราชดำริ โครงการใดๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว จะทรงใหค้ วามสำคญั กบั การสอบถามประชาชน โดยการทำ “ประชาพิจารณ์” เน้นการอธิบาย ถึงความจำเป็นและผลทจี่ ะเกิดจากโครงการ ด้วยวิธีประนีประนอม เพื่อหลกี เลีย่ งความ ขดั แยง้ โดยยดึ หลกั ประโยชนส์ งู สดุ ของสว่ นรวม และประเทศชาติ ดังแนวพระราชดำรดิ ังนี้  เน้นการทำประชาพจิ ารณ์ตง้ั แต่กอ่ นเร่ิมโครงการ โดยศกึ ษาข้อมูลพนื้ ท่แี ละนำมาวางแผน ให้ความช่วยเหลือ โดยทรงให้ความสำคัญกับการระดมสติปัญญา การให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ มสี ว่ นร่วมในการพัฒนาตง้ั แตเ่ ริม่ โครงการ ดงั พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ขา้ ราชการพลเรอื น เน่ืองในวนั ข้าราชการพลเรือน เม่ือวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๖ ความตอนหนึ่งว่า “...สำคญั ที่สุด จะตอ้ งหัดทำใจให้กว้างขวางหนกั แนน่ รูจ้ ักรับฟงั ความคิดเห็น แม้กระทัง่ คำวพิ ากษว์ ิจารณ์จากผูอ้ นื่ อย่างฉลาด เพราะการรจู้ กั รบั ฟังอย่างฉลาดนนั้ แท้จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อนั หลากหลาย มาอำนวยการปฏิบัติ บริหารงานให้ประสบความสำเรจ็ ที่สมบูรณ์น่ันเอง.” สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณใ์ นหนังสือ “พระมหากษัตริย์นกั พัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสูป่ วงประชา” ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงเป็นตน้ แบบ “ประชาพิจารณ”์ ความตอนหนง่ึ ว่า “ก่อนจะเสดจ็ ฯ ไปทรงงานตามที่ต่างๆ จะทอดพระเนตรจากแผนท่ที างอากาศ ก่อนวา่ ควรจะเสด็จฯ ที่ไหน หรอื จะทรงแกป้ ัญหาในพื้นท่ีอยา่ งไร เช่น สามารถนำน้ำ 64

จากตรงนีไ้ ปเลี้ยงนาตรงโนน้ ได้ประโยชนแ์ ละจะตอ้ งมีรายจา่ ยจากการก่อสร้าง หรือดำเนนิ งานเท่าไหร่ จะไดผ้ ลจา่ ยกลับคืนภายในกีป่ ี และที่สำคัญต้องไปคุยกับ ชาวบ้านก่อนวา่ เขาต้องการไหม ถ้าเขายังไม่ตอ้ งการ ยังไม่สบายใจที่จะทำเราก็ไปทำ ทีอ่ นื่ ก่อน นนั่ คือ ทรงทำประชาพจิ ารณด์ ว้ ยพระองคเ์ องทรงทำตรงน้ันเลย”  เนน้ การรอมชอมในการเจรจา หลีกเลย่ี งการจะสร้างปัญหาความเดือดรอ้ นใหค้ นกล่มุ หน่งึ โดยสร้างความสะดวกสบายและผลประโยชน์ใหค้ นอีกกลมุ่ หนึ่ง ไมว่ ่าพื้นทหี่ รือโครงการนัน้ ๆ จะมีความ เหมาะสมทางดา้ นเทคนคิ และวชิ าการ ตลอดจนกอ่ ประโยชนท์ างดา้ นเศรษฐกจิ และสงั คมประการใดกต็ าม พระองคท์ รงถอื หลักใหป้ ระชาชนท่มี สี ่วนไดเ้ สยี ในชมุ ชนน้นั เองไดเ้ ขา้ มารว่ มมีส่วนในการตดั สินใจ ด้วยตนเอง การดำเนินโครงการหรือการแก้ไขปัญหาของสว่ นรวม ควรเป็นมติของชุมชนนัน้ ประโยชน์ ท่ไี ดจ้ ากโครงการหรอื การแกไ้ ขปญั หาจะตกเปน็ ของทุกคนโดยส่วนรวม ไม่ใชข่ องคนใดคนหน่งึ หรอื กล่มุ ใด กลมุ่ หนง่ึ ดงั นนั้ ประชาชนผ้มู สี ่วนได้สว่ นเสยี เปน็ ผกู้ ำหนดวิถีทางพฒั นาของตนเองซง่ึ เป็นวิธีการท่รี จู้ ัก กนั ดใี นหมู่นกั พัฒนา  อธิบายถึงความจำเป็นและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากจะทำโครงการใดจะทรงชี้แจงถึง เหตุผลความจำเป็นและผลทจี่ ะเกิดขึ้นแก่ทกุ ฝา่ ย รวมทงั้ ผูน้ ำชุมชนในท้องถิ่น เมือ่ ประชาชนในพืน้ ที่ เหน็ ดว้ ยแลว้ หนว่ ยราชการตา่ งๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งและรว่ มดำเนนิ การมคี วามพรอ้ ม จงึ จะพระราชทานพระราชดำริ ใหด้ ำเนนิ โครงการน้ันๆ ต่อไป โดยมีหลกั ปฏบิ ัตใิ นการมสี ว่ นร่วม ดร.สเุ มธ ตนั ตเิ วชกลุ ไดก้ ลา่ วถงึ วธิ ที ่พี ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ทรงทำประชาพจิ ารณไ์ วใ้ นการ บรรยายเรอ่ื ง “ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพยี งกบั ความเปน็ ประชาธปิ ไตยท่ีย่งั ยนื ” ในการอบรมหลกั สูตรพฒั นา การเมอื งและการเลือกตงั้ ระดบั สงู รุน่ ที่ ๔ เมือ่ วนั ท่ี ๕ เมษายน ๒๕๕๖ จัดโดยสถาบันพฒั นาการเมอื ง และการเลือกตง้ั สำนักงานคณะกรรมการการเลอื กต้ัง วา่ 65

“เราทุกคนคงคุน้ เคยและไม่เห็นว่าแปลกกับภาพทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวเสด็จพระราชดำเนิน ลงจากรถ พร้อมกล้อง วิทยุสื่อสาร และสิ่งทีข่ าดไม่ได้คือแผนที่ โดยพระองค์จะประทบั พับเพียบ กลางวงชาวบ้าน ซักถามถึงสภาพพื้นที่ ของชุมชนนนั้ ๆ เป็นชัว่ โมงๆ ทกุ ครัง้ จะมีแผนทีก่ างไว้ทพี่ ระเพลา เมื่อทรงซักถามและอธิบายกันจนเข้าใจในฉบับชาวบ้านแลว้ จงึ ทรงนำไปปรกึ ษาหารอื กบั เจา้ หนา้ ทอ่ี กี ชน้ั หนง่ึ เปน็ วงจรประชาพจิ ารณอ์ ยา่ งครบถว้ น”  ยดึ หลกั ประชาชนทกุ คนต้องไดป้ ระโยชนจ์ ากโครงการสาธารณะ และคนส่วนใหญต่ อ้ งดแู ล ชว่ ยเหลอื คนส่วนนอ้ ย วิธีการทำประชาพิจารณ์ของพระองค์ เปน็ วิธีทเี่ รียบง่ายและตรงไปตรงมา โดยพระองค์จะทรง อธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลทจี่ ะได้รับจากโครงการพัฒนากับพสกนกิ รทีม่ าเฝา้ ฯ แหนล้อมรอบอยู่ หลังจากน้นั จะทรงถามถงึ ความสมัครใจและใหต้ กลงกนั เองในกลุ่มท่ีจะไดร้ บั ประโยชน์และกลุ่มท่ีจะตอ้ ง เสยี สละในขณะน้นั เลย หลังจากไดม้ ีการตกลงใจโดยเสยี งเป็นเอกฉนั ท์แลว้ กจ็ ะทรงเรยี กผ้นู ำท้องถน่ิ เชน่ กำนนั ผใู้ หญบ่ า้ น จนกระทง่ั ถงึ นายอำเภอ และผวู้ า่ ราชการจงั หวดั ใหม้ ารบั ทราบและดำเนนิ การในขน้ั ตน้ เช่น การจัดการในปัญหาเรือ่ งกรรมสทิ ธิ์ในที่ดิน ก่อนทจี่ ะพระราชทานให้หนว่ ยงานปฏิบัติทเี่ กีย่ วข้อง ดำเนินการในเชงิ บริหารและวชิ าการต่อไปจนเสรจ็ สนิ้ โครงการ การเข้ามามสี ่วนร่วมในทกุ ระดับของทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องนนั้ จะมีทัง้ ในสว่ นของประชาชนและ ในภาครฐั การท่ีประชาชนร้จู กั การชว่ ยตนเองและชว่ ยเหลือซ่งึ กนั และกนั ประกอบกบั การชว่ ยเหลอื ของรฐั จะช่วยสร้างประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติในทสี่ ุด ดังพระราชดำรัสทีไ่ ด้พระราชทานแก่ผูน้ ำ สหกรณ์ท่ัวประเทศ เม่ือครง้ั เขา้ เฝ้าทูลละอองธลุ พี ระบาท ณ ศาลาดสุ ดิ าลัย สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ิต เม่ือวันท่ี ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖ ความตอนหนง่ึ วา่ “...การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันน้ีลึกซ้ึงมาก เพราะว่าจะต้องร่วมมือกัน ในทกุ ดา้ น ท้งั ในดา้ นงานการท่ที ำดว้ ยรา่ งกาย ท้งั ในดา้ นการทท่ี ำดว้ ยสมอง และงานการทท่ี ำ ดว้ ยใจ ทกุ อยา่ งน้ขี าดไมไ่ ด ้ ตอ้ งพรอ้ ม งานทท่ี ำดว้ ยรา่ งกาย ถา้ แตล่ ะคนทำกเ็ กดิ ผลขน้ึ มาได ้ เชน่ การเพาะปลกู กม็ ผี ลขน้ึ มา สามารถท่จี ะใชผ้ ลน้นั ในดา้ นการบรโิ ภคคอื เอาไปรบั ประทาน หรือเอาไปไว้ใช้ หรือเอาไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้มาเลีย้ งชีพได้ถ้าแต่ละคนทำไป โดยลำพังแต่ละคน งานทีท่ ำนัน้ ผลอาจไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และอาจจะไม่พอเพียง ในการเลี้ยงตวั เอง ทำให้มีความเดือดรอ้ น ฉะนัน้ จะตอ้ งช่วยกัน แมใ้ นขนั้ ท่ีทำในครอบครวั กจ็ ะตอ้ งชว่ ยกนั ทกุ คนในครอบครวั กช็ ว่ ยกนั ทำงานทำการเพ่อื ท่จี ะเลย้ี งครอบครวั ใหม้ ชี วี ติ อยู่ได้ แต่ว่าถ้าร่วมกันหลายๆ คนเป็นกลุ่มเป็นก้อน ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสทิ ธภิ าพ มีความสามารถ มผี ลไดม้ ากขน้ึ ” 66

๑.๔ ประโยชนส์ ่วนรวม ในการดำเนนิ การใดๆ เพื่อให้เกิด “ประโยชนส์ ว่ นรวม” นนั้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงเน้นให้ปฏิบตั ิหน้าทขี่ องตนอย่างเต็มความสามารถและรวดเร็ว มีความยุติธรรม และไมม่ อี คติต่อ การดำเนินงาน รวมถึงลดการคิดถึงประโยชน์ส่วนตน กิจการทดี่ ำเนนิ การนนั้ ก็จะสามารถบรรลุผล และเปน็ ประโยชน์ตอ่ สว่ นรวมอยา่ งแทจ้ รงิ ดังแนวพระราชดำริดงั น้ี  ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ ขยันขันแข็ง บริสุทธิ์ใจ อย่างระมัดระวัง ดังพระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยเมือ่ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ เนอื่ งในโอกาส ขึ้นปีใหม่ ๒๕๒๘ ความตอนหน่ึงวา่ “…แตล่ ะคนนัน้ เป็นองคป์ ระกอบส่วนหนึง่ ๆ ที่จะรวมกันขึน้ เป็นชาติบ้านเมือง... ผูใ้ ดมีภาระหน้าทีอ่ นั ใดอยู่ ก็ต้องขวนขวายปฏิบัตใิ ห้สำเรจ็ ลุล่วงไปโดยพลันดว้ ย ความรูแ้ ละความสามารถ ดว้ ยความสะอาดกายสะอาดใจ ด้วยไมตรจี ิตมิตรภาพและ ด้วยความเมตตาปรารถนาดตี อ่ กนั ผลการปฏบิ ัตติ นปฏิบตั ิงานของแตล่ ะคนแต่ละฝา่ ย จักได้ประกอบส่งเสริมใหป้ ระเทศชาตมิ ีความสมบูรณ์มั่นคงขนึ้ ตามที่มุ่งหมาย…”  เร่งกระทำให้สำเรจ็ ลุล่วงโดยเรว็ โดยเฉพาะการแก้ไขปญั หาต้องลงมอื ทำเลยจะไมเ่ สยี เวลา และเกดิ ผลทนั ที ดังพระราชดำรสั ในพธิ เี ปดิ การสมั มนาการเกษตรภาคเหนือ จงั หวดั เชยี งใหม่ เมอื่ วันที่ ๒๖ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๒๔ ความตอนหนง่ึ วา่ “...ทสก. ย่อจากคำว่า ทำเสียก่อน คอื ถ้าเห็นที่ไหนควรทำก็ลงมือทำเลย หากทำช้าไปปีหนงึ่ เท่ากับขาดรายไดเ้ ท่าทีค่ วรได้ และเมือ่ รวมกับโครงการที่แพงขึน้ ก็เท่ากบั ขาดทนุ ...” 67

 เพลาการคิดถงึ ประโยชน์ เฉพาะตัว และไม่นำประโยชน์ ส่วนน้อยเข้ามาเกี่ยวข้องรวมถึง ต้องไมข่ ัดแยง้ กัน ดังพระราช ดำรัสพระราชทานแก่ประชาชน ชาวไทย เมอื่ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๔ ในโอกาสขึน้ ปใี หม่ ๒๕๓๕ ความตอนหน่ึงว่า “…การทำนบุ ำรงุ บา้ นเมอื งน้นั เปน็ งานสว่ นรวมของคนท้งั ชาตจิ งึ เปน็ ธรรมดาอยเู่ อง ทีจ่ ะต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้าง จะให้ทุกคนทุกฝ่ายมีความคิดเห็นสอดคล้องต้องกัน ตลอดทกุ ๆ เร่อื งไป ยอ่ มเปน็ การผดิ วสิ ยั เพราะฉะน้นั แตล่ ะฝา่ ย แตล่ ะคนจงึ ควรจะคำนงึ ถงึ จุดประสงค์ร่วมกัน คือความเจริญไพบูลย์ของชาติเป็นข้อใหญ่ ทุกฝ่ายชอบที่จะทำใจ ให้เที่ยงตรงเป็นกลาง ทำความคิดเห็นให้กระจ่างแจ่มใส ทำความเข้าใจอันดีในกันและกัน ใหเ้ กิดขึ้น แลว้ นำความคดิ เห็นของกันและกันนน้ั มาพิจารณาเทยี บเคยี งกนั โดยหลกั วิชา เหตุผล ความชอบธรรม และความเมตตาสามัคคีให้เห็นแจ้งจริง ทุกฝ่ายจะสามารถ ปรบั เปล่ยี นความคดิ และวธิ ีปฏิบตั ิใหส้ อดคล้องเขา้ รูปเขา้ รอยกนั ได้ทุกเร่ือง…”  ให้ความยุติธรรมเที่ยงตรงและไม่มีอคติต่อการดำเนินงาน โดยให้ถือเรื่องวิธีการและ ข้อปฏิบัติซึ่งอาจแตกต่างกันเปน็ สงิ่ ปลีกยอ่ ยทีส่ ำคัญรองลงมา และให้ถือผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ มากกวา่ วา่ งานน้นั เปน็ ของใคร ดงั พระราชดำรสั พระราชทานแกป่ ระชาชนชาวไทย เม่ือวนั ท่ี ๓๑ ธนั วาคม ๒๕๓๒ ในโอกาสขนึ้ ปีใหม่ ๒๕๓๓ ความตอนหนง่ึ วา่ “…การแก้ปัญหานัน้ ถ้าไม่ทำให้ถูกเหตถุ ูกทาง ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง มกั จะกลายเปน็ การเพ่ิมปญั หาใหม้ ากและยงุ่ ยากข้ึน แตล่ ะฝา่ ยจงึ ควรจะต้ังใจพยายาม ทำความคดิ ความเหน็ ใหก้ ระจา่ งและเทย่ี งตรง เพ่ือจักไดส้ ามารถเข้าใจปญั หาและเข้าใจ กันและกันอย่างถูกตอ้ ง ความเขา้ ใจทีถ่ ูกต้องแน่ชัดน้ี จะช่วยให้เล็งเห็นแนวทางปฏิบตั ิ แก้ไขอนั เหมาะสม ซง่ึ จะนำไปใชอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ อีกประการหนึง่ อนั เป็นขอ้ สำคญั ทุกฝ่ายจะต้องตระหนกั ในใจเสมอ ว่าประโยชน์ส่วนรวมนัน้ เป็นประโยชนท์ ี่แต่ละคน พึงยดึ ถอื เปน็ เปา้ หมายหลกั ในการปฏบิ ตั ิตนและปฏบิ ตั ิงาน เพราะเปน็ ประโยชนท์ ย่ี ่งั ยนื แท้จรงิ ซ่ึงทกุ คนมีสว่ นไดร้ บั ท่วั ถึงกัน…” 68

และพระบรมราโชวาทเนอื่ งในพระราชพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมอ่ื วนั ท่ี ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ ความตอนหน่งึ วา่ “...การทำงานใหญๆ่ ทกุ อยา่ งตอ้ งการเวลามากกว่าจะทำสำเร็จ ผ้ทู เ่ี ร่มิ โครงการ อาจไม่ทันทำให้สำเร็จโดยตลอดดว้ ยตนเองก็ได้ ตอ้ งมีผู้อืน่ รบั ทำต่อไป ดงั นัน้ ไม่ควร ยกเอาเรอื่ งใครเป็นผู้เริม่ งาน ใครเป็นผู้รบั ชว่ งงาน ขึน้ เป็นขอ้ สำคัญนกั จะต้องถือ ผลสำเร็จที่จะเกดิ จากงานเป็นใหญ่...”  คำนงึ ถงึ ประโยชนข์ องสว่ นรวมเปน็ สำคญั การปฏบิ ตั พิ ระราชกรณียกจิ และการพระราชทาน พระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลอื พสกนกิ รในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว มแี นวพระราชดำริวา่ คนที่ใหเ้ พ่อื ส่วนรวมนั้นมไิ ด้ใหส้ ว่ นรวมเพียงอยา่ งเดียว แตเ่ ปน็ การใหเ้ พ่ือตวั เองสามารถที่จะมีส่วนรวม ทจ่ี ะอาศยั ได้ ย่ิงทำยิง่ มีความสขุ และเป็นประโยชน์ท่ยี ั่งยนื อยา่ งแท้จรงิ ดงั พระราชดำรัสเนือ่ งในโอกาส วันเฉลมิ พระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๑๙ ความตอนหนึ่งว่า “...ตอ้ งทำเพอื่ ประโยชน์ส่วนรวม ก็เพราะเหตวุ ่าประโยชน์ส่วนรวมนีเ้ ป็น ประโยชนส์ ่วนตวั แต่ละคนตอ้ งการให้ ประโยชน์ส่วนตัวสำเรจ็ คือมีความพอใจนเี้ อง แต่วา่ ถ้าไม่คดิ ถึงประโยชน์ส่วนรวม ก็ไม่ไดป้ ระโยชนส์ ่วนตัว เพราะว่า ถ้าส่วนรวม ไม่ไดร้ บั ประโยชนส์ ่วนตวั พังแน.่ .. นเี่ ป็นข้อสำคญั ฉะนนั้ ความรสู้ ึกหรอื ขอ้ สังเกต อันนเี้ ป็นจุดสำคญั มาก ทีจ่ ะต้องทำความเขา้ ใจกับตวั เอง ว่าประโยชน์ส่วนตัวนนั้ คอื ประโยชน์สว่ นรวม หรอื จะว่าประโยชนส์ ว่ นรวมน้ัน คอื ประโยชน์สว่ นตวั พดู กลบั กนั ได ้ คำพูดบางคำกลับกันไม่ได้ แตค่ ำพูดนีก้ ลับได้ ประโยชนส์ ่วนรวมคอื ประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์สว่ นตัวคือประโยชนส์ ่วนรวม ขอ้ นก้ี ็เป็นข้อสังเกตอยา่ งหน่ึง” และพระราชดำรัสพระราชทานแก่นกั ศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ณ มหาวิทยาลัย สงขลานครนิ ทร์ วทิ ยาเขตปตั ตานี เมือ่ วันท่ี ๑๑ กนั ยายน ๒๕๒๓ ความตอนหน่ึงวา่ 69

“...การทำเพอ่ื ประโยชนส์ ว่ นรวมนน้ั ไดป้ ระโยชนม์ ากกวา่ ทำเฉพาะประโยชนส์ ว่ นตวั และสามารถบอกได้ว่า คนไหนทำเพ่ือประโยชนส์ ว่ นตวั แทๆ้ ลว้ นๆ เช่อื วา่ ประโยชนน์ ้นั จะไม่ได้เท่ากับรวบรวมของหนกั มาวางบนหัวแล้วแบกเอาไว้ตลอดเวลา ซึง่ ก็ไม่สบาย กห็ นัก ก็เหนอ่ื ย แตถ่ า้ ผใู้ ดทำเพอ่ื สว่ นรวม ยิ่งมาก ยงิ่ ด ี ย่ิงเบา ย่ิงคล่องแคลว่ วอ่ งไว และยิ่งมีความสขุ ...” และพระราชดำรัส เมอื่ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ พระราชทานพร เ น ือ่ ง ใ น วั น ขึ ้น ป ใี ห ม ่ป ี ๒ ๕ ๕ ๓ ความตอนหน่งึ วา่ “...จะคดิ จะทำสิง่ ใด ตอ้ งคิดหน้าคิดหลังให้ดีให้ รอบคอบ ทำให้ดีให้ถูกตอ้ ง ขอ้ สำคัญจะตอ้ งระลึกรโู้ ดย ตระหนักวา่ ประโยชน์สว่ นรวมน้ัน เปน็ ประโยชน์ท่แี ต่ละคนพึงยดึ ถอื เปน็ เปา้ หมายหลกั ในการประพฤติตวั และปฏิบัตงิ าน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จรงิ ซงึ่ ทุกคน มีส่วนได้รบั ทั่วถึงกัน ความสุขความสวสั ดีจกั ไดเ้ กิดมีขนึ้ ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติ บ้านเมืองไทย ดงั ทที่ กุ คนทกุ ฝ่ายได้ตั้งใจปรารถนา...” ทัง้ นี้ การทจี่ ะกระทำให้ได้ผลเปน็ ประโยชน์สว่ นรวมนัน้ จำเปน็ ทีจ่ ะต้องรูซ้ ึง้ ถึงประโยชน์ ทีแ่ ทเ้ ปน็ เบอื้ งต้นก่อน ซึ่งมีอยู่ ๒ ประการ คือ ประโยชน์ส่วนตัว ทที่ ุกคนมสี ทิ ธิจะแสวงหาและได้รับ แต่ต้องด้วยวิถีทางทสี่ ุจริต และเปน็ ธรรม กับประโยชน์สว่ นรวม ซึง่ เป็นประโยชน์ของชาติทีแ่ ต่ละคน มีสว่ นร่วมอยู่ การทำงานทกุ อย่างจะต้องให้ได้ประโยชน์แทท้ ัง้ สว่ นตัวและส่วนรวม ประโยชนน์ ัน้ จึงจะ สมบูรณแ์ ละมัน่ คงถาวร โดยทกุ ฝ่ายจะต้องตระหนกั ในใจเสมอว่าประโยชน์ส่วนรวมนัน้ เป็นประโยชน์ ทแี่ ต่ละคนพึงยดึ ถือเปน็ เป้าหมายหลักในการปฏิบตั ิตนและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชนท์ ยี่ งั่ ยนื แทจ้ รงิ ซง่ึ ทกุ คนมสี ว่ นไดร้ บั ทว่ั ถงึ กนั ดงั พระบรมราโชวาทในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั รและอนปุ รญิ ญาบตั ร ของจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั เมื่อวนั ท่ี ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ความตอนหน่ึงวา่ “...การกระทำท่สี ร้างสรรคน์ ัน้ คือการกระทำท่ไี ด้ผลเป็นประโยชน์แก่ทุกๆ ฝ่าย ได้เตม็ เปย่ี มตรงตามจุดประสงค ์ ไม่มีการสญู เสยี เปลา่ หรือหากจะเสยี กเ็ สียน้อยทส่ี ดุ การทีจ่ ะกระทำให้ได้เช่นนัน้ บุคคลจำเป็นต้องอาศยั ความมีสติพจิ ารณาให้เห็นถึง เหตุผลทแ่ี ท ้ คือแกน่ แทห้ รือหลกั การของเร่อื งตา่ งๆ จบั เหตจุ ับผลอนั ตอ่ เน่อื งกนั ทง้ั หมด ใหถ้ ูกตอ้ ง คอื จดั ระเบียบการของเรอ่ื งใหด้ ี...” 70

ตวั อยา่ งพระราชกรณียกิจ การจะเข้าไปพัฒนาชุมชนใดๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรงยึดหลัก “ภูมิสังคม : ดนิ น้ำ ลม ไฟ” ที่ให้ความสำคญั กับสภาพแวดลอ้ มทีอ่ ยูร่ อบตวั คน รวมทั้งทรงทำประชาพิจารณใ์ ห้ประชาชน ได้เขา้ มา “มสี ว่ นรว่ ม” โดยทรงเนน้ อธบิ ายถึงความจำเปน็ และผลที่จะเกดิ จากโครงการ เพอื่ หลีกเลยี่ ง ความขัดแย้ง รวมทัง้ สอบถามความเห็นว่ามีความพร้อมและยินดีทจี่ ะร่วมดำเนนิ การพัฒนานนั้ ๆ หรือไม่ เพือ่ ใหเ้ ปน็ การ “ระเบดิ จากขา้ งใน” โดยยึด “ประโยชน์สูงสดุ ของส่วนรวมและประเทศชาต”ิ โดยหากไดผ้ ลดแี ลว้ จงึ ขยายผลออกไปในวงกวา้ งตอ่ ไป ดงั พระราชกรณียกจิ และโครงการอันเน่ืองมาจาก พระราชดำริมากมายกว่า ๔,๓๕๐ โครงการ ทีล่ ว้ นเป็นการทรงงานเพือ่ มุง่ ประโยชน์สขุ แก่ประชาชน และประเทศชาติเปน็ หลกั ใหญ่ โดยทรงเริม่ ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหนา้ ทีเ่ ป็นปจั จัยสำคัญในการ ดำรงชวี ติ เพ่อื ใหพ้ สกนิกรของพระองคม์ คี ณุ ภาพชวี ติ ท่ดี ขี ้นึ จนถงึ การวางรากฐานการพฒั นาท่มี น่ั คงและย่งั ยนื โดยแยกออกเปน็ ประเภทตา่ งๆ ได้ ๘ ประเภท คอื การพฒั นาแหล่งน้ำ ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ ม การเกษตร การสง่ เสริมอาชีพ การคมนาคม/สอื่ สาร สาธารณสขุ สวัสดิการสังคม และโครงการ สำคัญอ่นื ๆ  การพฒั นาแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริสว่ นใหญ่ มจี ุดมุง่ หมายเพื่อช่วยแก้ไข ปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนเกีย่ วกับน้ำ จนสามารถตอบสนองความต้องการพืน้ ฐานของ ราษฎรได้เป็นหลัก และมีหลายโครงการทีม่ วี ัตถุประสงค์หลายๆ อย่างไปพร้อมกัน เพือ่ ให้มกี าร ใช้น้ำอยา่ งคุม้ ค่าและเกิดประโยชน์สงู สดุ โดยแบ่งเปน็ ๕ ประเภท คือ (๑) การพัฒนาแหลง่ น้ำ เพือ่ การเพาะปลกู และอปุ โภคบริโภค อาทิ การทำฝนเทียมหรือฝนหลวง โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ และฝายทดนำ้ (๒) การปอ้ งกนั และบรรเทาปัญหาอุทกภัย อาทิ การก่อสร้างคันกั้นนำ้ และคลองผนั น้ำ 71

การปรับปรุงสภาพลำนำ้ การระบายน้ำออกจากพืน้ ทีล่ ุม่ และโครงการแก้มลิง (๓) การแก้ไข ปญั หาคุณภาพน้ำ เช่น การแก้ไขปญั หาน้ำเค็มรุกลำ้ ลำน้ำ ทำความเสียหายแก่พื้นทเี่ พาะปลูก การใช้คุณภาพน้ำดีช่วยบรรเทานำ้ เน่าเสยี ในลำคลองในพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร การบำบดั นำ้ เสยี ด้วยผักตบชวา และโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิง่ แวดลอ้ มแหลมผกั เบีย้ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น (๔) โครงการพัฒนาแหล่งนำ้ เพือ่ การอนุรักษ์ต้นนำ้ ลำธาร โดยการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร หรอื ฝายชะลอความลุ่มช้นื และ (๕) โครงการพฒั นาแหลง่ นำ้ เพ่อื การผลิตไฟฟา้  ทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดลอ้ ม โครงการอันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ สว่ นใหญเ่ ปน็ วิธีการทำนบุ ำรุงและปรับปรุง สภาพทรพั ยากรและส่ิงแวดลอ้ มใหด้ ขี น้ึ อาทิ การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน นำ้ และปา่ ไม้ ซึ่งมีสาระโดยสรุป ได้แก่ (๑) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน ไดพ้ ระราชทานพระ ราชดำรใิ นการ แกป้ ญั หา เรื่องดิน ทัง้ ในแง่ของการแก้ปัญหาดินที่ เส่ือมโทรม ขาดคณุ ภาพ และการขาดแคลนท่ีดนิ ทำกนิ สำหรบั เกษตรกร อาทิ สนับสนุนใหเ้ กษตรกรเรยี นรู้ และเข้าใจวธิ ีการอนุรกั ษ์ดนิ และนำ้ การจดั สรรและปฏิรปู ทด่ี นิ (๒) การอนุรกั ษท์ รัพยากรแหลง่ น้ำ อาทิ พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชืน้ เพื่อสร้างระบบ วงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสดุ (๓) การอนรุ ักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อาทิ การปลกู ปา่ โดยไม่ต้อง ปลูกปา่ ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อยา่ ง และป่าชายเลน  การเกษตร แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาประสทิ ธิภาพการผลิตทางเกษตรทีส่ ำคัญคือ การทที่ รงเนน้ ในเรือ่ งของการค้นควา้ ทดลอง และวจิ ัยหาพนั ธุพ์ ืชต่างๆ ใหมๆ่ ทัง้ พืชเศรษฐกิจ เชน่ ข้าว หม่อนไหม ยางพารา ฯลฯ พืชเพือ่ การปรบั ปรงุ บำรงุ ดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกบั แมลงศตั รพู ืช รวมทัง้ พันธุ์สัตว์ต่างๆ ทเี่ หมาะสม เช่น โค กระบอื แพะ พันธุ์ปลา และสตั ว์ปกี ทัง้ หลาย เพือ่ แนะนำ ให้เกษตรกรนำไปปฏิบตั ิได้ราคาถูก ใช้เทคโนโลยที งี่ ่ายและไม่สลบั ซับซ้อน และทรงเห็นว่าการพัฒนา การเกษตรทจ่ี ะไดผ้ ลจรงิ น้ัน ตอ้ งลงมือทดลองค้นคว้า ปฏบิ ตั ิอย่างคอ่ ยเป็นคอ่ ยไป ม่งุ ใชป้ ระโยชนจ์ าก ธรรมชาติใหม้ ากทีส่ ุด 72

 การสง่ เสริมอาชพี สำหรับการส่งเสริมอาชีพนัน้ หากเป็น โดยทางออ้ มแลว้ โครงการอันเนอื่ งมาจาก พระราชดำริสว่ นใหญ่ เมือ่ ได้ดำเนนิ การบรรลุ วัตถุประสงค์ของโครงการอันเนอื่ งมาจาก พระราชดำรแิ ล้วจะทำใหเ้ กดิ การสง่ เสรมิ อาชพี แกร่ าษฎรในพน้ื ทใ่ี กลเ้ คยี ง โดยเฉพาะศนู ยศ์ กึ ษา การพัฒนาอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ ท้ังหลายน้นั จุดม่งุ หมายท่ีสำคัญของการจดั ตงั้ ขึน้ มาเพื่อทีจ่ ะให้มกี ารศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพือ่ แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ท่ีเหมาะสมกบั สภาพแวดล้อมและการประกอบอาชพี ของราษฎรท่ีอาศยั อยู่ในภมู ิภาคน้ันๆ เพ่อื ใหร้ าษฎร สามารถนำไปปฏบิ ัติได้อยา่ งจริงจงั สว่ นโครงการประเภทการสง่ เสรมิ อาชพี โดยตรงนัน้ มีจำนวนไม่นอ้ ย ทัง้ นเี้ พื่อเปน็ การ ช่วยเหลือให้ประชาชนสามารถพึง่ ตนเองได้ ดงั เชน่ โครงการศลิ ปาชีพท่ัวประเทศ โครงการ ฝกึ อบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยกี ารเกษตร ในหมบู่ า้ นรอบศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาฯ โครงการ สง่ เสริมอุตสาหกรรมนำ้ มันปาลม์ ขนาดเล็ก โครงการศูนยบ์ ริการการพัฒนาขยายพันธุ์ ไมด้ อกไม้ผลบา้ นไร่ จังหวัดเชียงใหม่ และ โครงการอน่ื ๆ อกี มาก  การคมนาคม/สอื่ สาร โครงการอันเนอื่ งมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสือ่ สารและเทคโนโลยีจะเกี่ยวกับ การปรบั ปรงุ ถนนหนทางทง้ั ในชนบททอ่ี ยหู่ า่ งไกลความเจรญิ เพอ่ื ใชส้ ญั จรไปมาและนำสนิ คา้ ออกมาจำหนา่ ย ภายนอกไดโ้ ดยสะดวก รวมถงึ โครงการขยายถนน สรา้ งสะพานตา่ งๆ ทีไ่ ดพ้ ระราชทานแนวพระราชดำริ เพือ่ แก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนในกรุงเทพมหานครให้ได้รับความสะดวกยงั ผลสูค่ วามเจริญ เติบโตทงั้ ด้านสงั คมและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ 73

 สาธารณสขุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสขุ เป็นอยา่ งยงิ่ ดังจะเห็นได้ว่า โครงการทพี่ ระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ เป็นการพระราชทานพระราชทรัพย์สว่ นพระองค์ ในการก่อสร้างสถานบริการสาธารณสุข และระยะต่อมาเป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ ประชาชน เมอื่ ประชาชนมีร่างกายทสี่ มบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสูส่ ุขภาพจิตทีด่ ี และสง่ ผลให้การพัฒนา เศรษฐกจิ และสังคมดีตามไปด้วย  สวสั ดกิ ารและสงั คม โครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริด้านสวัสดิการสงั คม เป็นโครงการเพือ่ ช่วยเหลือราษฎร ให้มที ีอ่ ยูอ่ าศัย ที่ทำกิน และได้รับสงิ่ อำนวยความสะดวกขั้นพืน้ ฐานทีจ่ ำเปน็ ในการดำรงชีวิต ทั้งนีเ้ ป็น การสง่ เสรมิ ใหร้ าษฎรมคี วามเปน็ อยทู่ ด่ี ขี น้ึ โดยจดั หาทอ่ี ยอู่ าศยั และทท่ี ำกนิ ใหแ้ กร่ าษฎร ตลอดจนสง่ิ จำเปน็ ขน้ั พ้นื ฐานท่ปี ระชาชนพงึ จะไดร้ บั เชน่ แหล่งนำ้ เพ่อื ใชใ้ นการอปุ โภคบรโิ ภค เพอ่ื ใหม้ าตรฐานความเป็นอยู่ ของราษฎรดขี นึ้ พออยู่ พอกิน ดำรงชีวิตอย่ดู ว้ ยความผาสุก  โครงการพระราชดำริทสี่ ำคัญอ่นื ๆ โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริทีส่ ำคัญอืน่ ๆ ได้แก่ โครงการอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ นอกเหนือจากโครงการท้งั ๘ ประเภททร่ี ะบมุ าแลว้ ขา้ งตน้ เช่น โครงการกอ่ สรา้ งเขอื่ นป้องกันนำ้ ทะเล กัดเซาะอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบรุ ี และโครงการด้านการศึกษา การวิจัยการจัดและ พฒั นาท่ีดนิ เป็นต้น 74

“เขา้ ใจ เขา้ ถงึ พฒั นา” : หลกั การพฒั นาเพอ่ื ความสขุ ของปวงประชาอยา่ งยง่ั ยนื พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญและความสมั พันธ์ของภูมสิ ังคม ได้แก่ ทรัพยากร ธรรมชาติ สิง่ แวดลอ้ ม และมนุษย์ ทีจ่ ะต้องดำเนนิ ชีวิตอยูร่ ่วมกันอย่างยัง่ ยืน ทรงชี้แนะถึงความสำคัญของการอนรุ ักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมควบคู่ไปกับ การพฒั นาคน ดงั น้นั ความเส่อื มโทรมและการสญู เสียทรพั ยากรธรรมชาตทิ ่ีเกดิ จากการใชอ้ ยา่ งฟ่มุ เฟอื ย ไม่ย้งั คิด ขาดความระมัดระวงั น้ัน จำเป็นท่จี ะตอ้ งมีการสรา้ งเสรมิ ขนึ้ มาทดแทน เพ่อื มใิ ห้เกิดผลกระทบ ต่อวงจรชีวิตของการอยูร่ ่วมกันของสรรพสิง่ ในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นไปตามแนวพระราชดำริในเรื่อง “การพฒั นาอย่างยั่งยืน” ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบตั รแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลัย ณ จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั เม่อื วนั ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓ ความตอนหนงึ่ ว่า “...การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึน้ นัน้ จะตอ้ งสรา้ งและเสริมขึน้ จาก พ้ืนฐานเดิมท่ีมีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพนื้ ฐานไม่ดหี รือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะ เพมิ่ เติมเสริมต่อให้เจรญิ ดีขนึ้ ไปอกี นัน้ ยากทีจ่ ะทำได ้ จึงควรเข้าใจให้แจง้ ชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจรญิ แล้วยังจะตอ้ งพยายามรกั ษาพืน้ ฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่องพรอ้ มๆ กันไปด้วย...” 75

๒. เรยี นรจู้ ากหลกั ธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ทรงยึดธรรมะเปน็ ทีต่ ั้ง ในการหาวิธีการแก้ปญั หาหรือแนวทาง การพัฒนา ไมว่ า่ จะเป็นเร่ืองดนิ นำ้ อาชพี และส่งิ แวดล้อม ซง่ึ คำว่า “ธรรมะ” ในท่นี ้ี คือ “ธรรมชาต”ิ พระองคท์ รงศึกษา เรยี นร้หู ลัก “ธรรมชาตชิ ่วยธรรมชาต”ิ เพอ่ื นำมาใชใ้ นการแกไ้ ขปญั หาอยา่ งยั่งยนื ทรงมองปญั หาธรรมชาติอยา่ งละเอยี ด โดยหากตอ้ งการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใชธ้ รรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ การแก้ไขน้ำเนา่ เสยี แทนทจี่ ะทรงพิจารณาถึงโรงงานบำบดั นำ้ เสยี กลบั ทรงมองว่าในธรรมชาติ จะมีขบวนการอะไรทสี่ ามารถแก้ไขปัญหานีไ้ ด้ เช่น การใช้บ่อตกตะกอน เพื่อให้เกิดการตกตะกอนขึ้น โดยกระบวนการทางธรรมชาติ การใชว้ สั ดทุ ่มี อี ย่ใู นป่าเชน่ หนิ ตน้ ไม้ท่ตี ายแล้ว นำมาทำเปน็ ฝายชะลอน้ำ เพื่อให้ปา่ มีความชุ่มช้นื แทนการสร้างดว้ ยซเี มนต์ เปน็ การป้องกนั ไฟป่าและเพิม่ ปรมิ าณป่าใหม้ ากย่งิ ข้ึน โดยไมต่ ้องปลกู ทรงใชห้ ญา้ แฝกเพ่ือการอนุรักษ์ดินและนำ้ เน่ืองจากแนวลำต้นของหญา้ แฝกชว่ ยชะลอ ความเรว็ ของนำ้ ทีไ่ หลผ่านหน้าดิน และรากของหญ้าแฝกช่วยยดึ ดินป้องกันการพังทลายได้ พระองค์ทรงใช้หลัก “การใชอ้ ธรรมปราบอธรรม” ในการบำบัดน้ำเสยี โดยพิจารณาหาพืช บางชนดิ ทสี่ ามารถกรองน้ำเน่าเสยี นำมาใช้เป็นเครื่องกรองน้ำธรรมชาติทไี่ ม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ไม่ทำลายสิง่ แวดล้อม การนำน้ำดขี บั ไลน่ ้ำเสีย เพ่ือเจอื จางนำ้ เสยี ใหก้ ลบั เป็นน้ำดี โดยใช้หลักของนำ้ ข้ึน นำ้ ลงตามธรรมชาติ การใชข้ ยะและมูลโคซ่งึ เปน็ ของเสียมาหมักจนไดแ้ กส๊ ชวี ภาพท่ีนำมาใชเ้ ปน็ เชอ้ื เพลงิ ได้ ตลอดจนทรงอนรุ กั ษ์ทรพั ยากรป่าไมใ้ หค้ นอยู่รว่ มกับปา่ ได้อยา่ งย่งั ยืนโดยใช้วธิ ีการ “ปลูกป่าในใจคน” เปน็ ต้น โดยมแี นวพระราชดำรแิ ละตวั อย่างพระราชกรณียกิจ รวมท้ังโครงการต่างๆ ดังน้ี 76

แนวพระราชดำริ ๒.๑ ใช้ธรรมชาตชิ ว่ ยธรรมชาติ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั ทรงมแี นวทางการแกไ้ ขปญั หาธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มอยา่ งย่งั ยืน โดยทรงทำความเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึง้ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามสี ่วนร่วมแก้ปญั หาสงิ่ แวดล้อม และใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ซึ่งเปน็ การแก้ปัญหาทีป่ ระหยดั และไม่ก่อให้เกิดปญั หาการทำลาย ทรพั ยากรธรรมชาติในอนาคต โดยมีแนวพระราชดำริดังต่อไปน้ี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำความเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง โดยทรงสน พระราชหฤทัยและศึกษาปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เพือ่ เข้าถึงความจริงในทฤษฎีความสมดุลของ ธรรมชาติ อันได้แก่ ป่าไม้ น้ำ ดิน และสงิ่ มชี ีวิต ซึง่ พึง่ พิงกันอย่างมปี ฏิสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน ดว้ ยวถิ ที างธรรมชาตอิ ย่างเปน็ วฏั จกั ร ดงั พระบรมราโชวาท พระราชทานแกค่ ณะกรรมการสโมสรไลออนส์ สากล ภาค ๓๑๐ (ประเทศไทยและประเทศลาว) เม่ือวนั ท่ี ๒๕ กนั ยายน ๒๕๑๒ ความตอนหน่งึ วา่ “...อาจมบี างคนเขา้ ใจวา่ ทำไมจงึ สนใจเรอ่ื ง ชลประทาน หรือเรือ่ งป่าไม้ จำได้ว่าเมื่ออายุ ๑๐ ขวบ ท่โี รงเรียนมีครคู นหนง่ึ ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไป แล้ว สอนเร่อื งวทิ ยาศาสตร ์ เรื่องการอนรุ ักษ์ดิน แลว้ ใหเ้ ขยี นว่าภูเขาตอ้ งมีป่าไมอ้ ย่างนั้น เมด็ ฝน ลงมาแล้วจะชะดินลงมาเรว็ ทำให้ไหลตามน้ำไป ทำให้เสียหาย ดินหมดจากภูเขาเพราะไหล ตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้เรือ่ งการ อนุรกั ษด์ นิ และเป็นหลักของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รกั ษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อน ตลอดตัง้ แต่ดนิ บนภูเขาจะหมดไป กระทัง่ การที่จะมีตะกอนลงมาในเขือ่ น มีตะกอน ลงมาในแม่น้ำทำใหเ้ กดิ น้ำท่วม นน่ี ะ เรียนมาต้ังแตอ่ าย ุ ๑๐ ขวบ...”  พระองค์มีพระราชประสงคใ์ ห้ประชาชนใกลช้ ดิ กบั ธรรมชาติ โดยเข้ามามีสว่ นร่วมในการ แก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อม ปลกู จิตสำนึกให้ราษฎรรัก หวงแหน และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสงิ่ แวดล้อม ดังพระราชดำรัสเมือ่ ครัง้ เสด็จพระราชดำเนนิ ทรงเยีย่ มโครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำ หน่วยที่ ๑๘ แมต่ ะละ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมอื่ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ความตอนหนง่ึ ว่า 77

“…ทุกคนจะต้องชว่ ยกันดแู ลรกั ษาป่าไม้ ซงึ่ เป็นของส่วนรวมและรว่ มมือกับ เจา้ หนา้ ทปี่ า่ ไม้ในงานปลกู ปา่ ทดแทนจะได้มนี ำ้ เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก สำหรบั พนั ธพ์ุ ชื ทเ่ี หมาะสมกบั สภาพพน้ื ทก่ี จ็ ะสง่ เสรมิ ใหค้ นปลกู ตอ่ ไป ทง้ั น ้ี โครงการฯ จะชว่ ยเหลอื แนะนำในด้านหลกั วิชาการเกษตรและระบบชลประทาน…” พระราชดำรัส ณ สำนกั งานเกษตรภาคเหนอื จังหวดั เชยี งใหม่ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๒๔ ความตอนหนึง่ วา่ “...ถา้ หากเราทำ “ปา่ ๓ อยา่ ง” ใหช้ าวบา้ นเหน็ ประโยชนแ์ ละไดใ้ ชป้ ระโยชน ์ เขากจ็ ะ รักษาประโยชน์ เขาจะไม่ทำลาย และใครมาทำลาย เขาก็ป้องกัน หมายความว่า ชาวบา้ นน้ัน ถ้าเราให้โอกาสให้เขามีอยูม่ ีกินพอสมควร ก็จะเป็นเจา้ หนา้ ทีป่ ่าไม้ให้เรา เปน็ จำนวนมาก อยา่ งในร่องหบุ เขาเลก็ ๆ ท่มี เี พยี ง ๕๐ ไร่ กจ็ ะทำเปน็ หมบู่ า้ นใหช้ าวบา้ น มาอย ู่คำวา่ ชาวบา้ น น้จี ะเรียกว่าชาวบา้ นกไ็ ด ้ชาวเขากไ็ ด ้กเ็ ปน็ ชาวบา้ นทง้ั น้ัน เคยไปถาม ชาวเขาพดู ถึงเรอื่ งว่าจะทำโครงการอะไรๆ “เราก็ตอ้ งชว่ ยกันรักษานะ” เขาบอกว่า “หมู่เฮาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน” ก็หมายความว่าเป็นชาวบ้านเหมือนกัน ช่วยกันทำ เขาก็อยากอยูใ่ ต้กฎหมาย ทำงานทีส่ ุจริต ถ้าเราทำอะไรที่ดีมีเหตผุ ล เขาก็จะรกั ษา “ปา่ ๓ อยา่ ง” ให้เรา ถา้ จะถอื ว่า “ป่า ๓ อยา่ ง” นี ้ ไมใ่ ช่รักษาตน้ นำ้ ลำธารแล้ว ก็เปน็ ความคดิ ท่ีผดิ เพราะวา่ ต้นไม ้ จะเปน็ ต้นอะไรก็ตาม มปี ระโยชนท์ ้ังนัน้ ใช้ประโยชน์จาก ตน้ ไม้น้ัน และมปี ระโยชน์ท่ี ๔ คอื อนรุ กั ษ์ดินและอนุรกั ษ์ต้นน้ำลำธาร...” พระราชดำรัสเมอื่ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยยี่ มโครงการหลวงพัฒนาต้นนำ้ หนว่ ยที่ ๒๖ ห้วยขุนคอง อำเภอเชียงดาว จงั หวดั เชยี งใหม่ เมือ่ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๓๐ ความตอนหนึ่งว่า 78

“…ควรขยายการปลูกป่าเหนือฝายทดน้ำ โดยให้ราษฎรร่วมมือกับเจ้าหน้าท่ี ในการปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ เพือ่ เพิม่ ความชุม่ ชืน้ ของดนิ นอกจากนัน้ อาจฝึกให้ราษฎร ชว่ ยทำหนา้ ทพ่ี นักงานดูแลรกั ษา เพราะต่างฝา่ ยต่างกม็ ปี ระโยชนร์ ่วมกนั ดูแลพ้ืนทร่ี าบ ในหุบเขาก็ตอ้ งพฒั นาให้เป็นนาปลูกขา้ วสำหรับราษฎรทำกิน โดยจัดทำระบบ ชลประทานใหร้ าษฎรสามารถทำกินได้บรบิ รู ณแ์ ล้วจะเลกิ ปลูกฝิ่นโดยสิน้ เชิง…” และพระราชดำรสั ทีเ่ ขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จงั หวดั ราชบรุ ี เมื่อวันท่ี ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ความตอนหนงึ่ วา่ “...ให้ช่วยดแู ลรกั ษาป่าอย่าไปรังแกป่า ถ้าปล่อยทิง้ ไว้ไม่ให้ใครไปรบกวน ระยะเวลา ๓๐ – ๔๐ ปี ป่าแห่งนี้จะฟื้นคนื สภาพจากป่าเต็งรงั เป็นป่าเบญจพรรณ...” ทรงมองอยา่ งละเอียดถึงปัญหา ธรรมชาติ หากต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะตอ้ งใชธ้ รรมชาตเิ ขา้ ชว่ ยเหลอื เพอ่ื ไมใ่ ห้ เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม อาทิ การจัดการนำ้ เสียตามแนวพระราชดำริ ใช้หลักการ “น้ำดีไล่น้ำเสีย” หลกั การ บำบัดนำ้ เสยี ด้วยผักตบชวา ทฤษฎีการ บำบัดนำ้ เสยี ด้วยการผสมผสานระหว่าง พืชนำ้ กับระบบการเติมอากาศ ระบบปรับปรุงคุณภาพนำ้ ด้วยรางพืชร่วมกับเครือ่ งกลเติมอากาศ ทฤษฎีการบำบดั นำ้ เสยี ด้วยระบบบอ่ บำบัดและวัชพืชบำบดั “กังหันน้ำชัยพฒั นา” ดังพระราชดำรัส เก่ยี วกับการจดั การนำ้ เสียทีจ่ ังหวัดสกลนคร เม่ือวันที่ ๑๕ พฤศจกิ ายน ๒๕๒๘ ความตอนหนงึ่ วา่ “...กรรมวธิ ีทดลองกำจัดปัญหานำ้ เน่าเสียในเขตกรุงเทพมหานคร มีหลายวิธีดว้ ยกัน ทั้งนแี้ ล้วแต่พนื้ ทีแ่ ละสภาพแวดล้อมของแต่ละเขต และจะ สังเกตให้ไดว้ ่าแต่ละวิธีล้วนมุง่ ใชป้ ระโยชน์จากธรรมชาติไม่ทางใดก็ทางหนงึ่ เพราะจะสามารถประหยดั คา่ ใช้จ่ายในการดำเนนิ งานลงไดเ้ ปน็ จำนวนมาก...” ในการอนุรกั ษแ์ ละพฒั นาดนิ พระองคม์ พี ระราชดำรใิ หป้ ลกู หญา้ แฝกเพอ่ื แกไ้ ขปญั หาการพงั ทลาย ของหน้าดิน เปน็ การอนรุ ักษ์ดินและน้ำ โดยใช้หลักธรรมชาตชิ ว่ ยธรรมชาติ เนอื่ งจากแนวลำต้นของ หญ้าแฝกชว่ ยชะลอความเรว็ ของน้ำท่ีไหลผา่ นและป้องกนั การพงั ทลายของหนา้ ดนิ โดยไดม้ ีพระราชดำริ ให้ศึกษาพันธุห์ ญ้าแฝกทีเ่ หมาะสมกับสภาพพื้นทตี่ ่างๆ และทรงให้ทดลองปลูกทศี่ ูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนือ่ งมาจากพระราชดำริและพืน้ ทีอ่ ืน่ ๆ ทเี่ หมาะสมอยา่ งกว้างขวาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว 79

ไดพ้ ระราชทานแนวพระราชดำริ ระหวา่ ง เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรงาน โครงการศนู ย์ศกึ ษาการพฒั นาหว้ ยทราย อันเน่อื งมาจากพระราชดำรเิ ม่อื วนั ท่ี ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๕ ความตอนหน่ึงวา่ “...ดนิ แขง็ อยา่ งนใ้ี ชก้ ารไมไ่ ด้ แต่ถ้าเราทำแนวหญ้าแฝกที่ เหมาะสมมีฝนลงมาความชืน้ ก็ จะอยู่ในดิน รากแฝกมันลกึ มาก ถึงให้เป็นเขอื่ นกั้นแทนที่จะขดุ พืชจะเปน็ เข่อื นท่มี ชี ีวิต แลว้ ในทส่ี ดุ เนอ้ื ทต่ี รงน้ันกจ็ ะเกดิ เปน็ ผวิ ดนิ เราจะปลกู อะไรกไ็ ด้ ปลกู ตน้ ไมก้ ไ็ ด ้ ปลูกผัก ปลกู หญา้ อะไรก็ไดท้ ้ังน้ัน...” และพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ผสู้ ำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ เมอ่ื วันที่ ๒๕ กรกฎคม ๒๕๔๐ ความตอนหนึ่งวา่ “...ปลกู หญา้ แฝกจะตอ้ งปลกู ใหช้ ดิ กนั เปน็ แผง และวางแนวใหเ้ หมาะสมกบั ลกั ษณะ ภมู ปิ ระเทศ เปน็ ตน้ วา่ บนพ้ืนทส่ี งู จะตอ้ งปลกู ตามแนวขวางของความลาดชันของรอ่ งนำ้ บนพนื้ ที่ราบจะตอ้ งปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามรอ่ งสลับกับพชื ไร ่ ในพืน้ ที่เก็บกักน้ำ จะตอ้ งปลกู เปน็ แนวเหนือแหลง่ น้ำ หญา้ แฝกมหี ลกั วิธดี ังน้ี จะช่วยปอ้ งกนั การพังทลาย ของหนา้ ดิน รักษาความชุม่ ชนื้ ในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพษิ ตา่ งๆ ไม่ใหไ้ หลลง แหลง่ น้ำ ซ่ึงจะอำนวยผลประโยชนอ์ ยา่ งย่งิ แกก่ ารอนรุ ักษ์และนำ้ ตลอดจนการฟ้นื ฟดู นิ และป่าไมใ้ ห้สมบูรณข์ น้ึ ...” และพระบรมราโชวาทในพธิ พี ระราชทานปรญิ ญาบตั รของหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ เม่ือวนั ท่ี ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ความตอนหน่งึ วา่ “...หญา้ ท่มี คี ณุ อยา่ งหญา้ แฝก ซ่งึ เปน็ ประโยชนอ์ ยา่ งยง่ิ แกก่ ารอนรุ ักษ์ดนิ และนำ้ เพราะมีรากทีห่ ยัง่ ลึกแผ่กระจายลงไปตรงๆ ทำให้อมุ้ นำ้ และยึดเหนีย่ วดินไดม้ ั่นคง และมีลำต้นชิดติดกันแนน่ หนาทำให้กักตะกอนดิน และรกั ษาหน้าดินได้ด.ี ..” นอกจากนสี้ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดพ้ ระราชทานสัมภาษณเ์ กยี่ วกับ คุณสมบตั ิของหญ้าแฝกไว้ในหนังสือ “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพือ่ ประโยชนส์ ุขสูป่ วงประชา” ความตอนหนึง่ ว่า 80

“...พระบาทสมเดจ็ พระเจ้า อยหู่ วั ทรงแนะนำใหใ้ ช้ “หญา้ แฝก” ในการพัฒนาดิน เพราะรากของหญา้ แฝกข้ึนหนา งอกตรง ไมแ่ ผไ่ ปไกล สามารถยดึ และปอ้ งกนั ดนิ พังทลาย รกั ษานำ้ และความชืน้ ได ้ เหมือนมีเขือ่ นอยูใ่ ต้ดนิ สามารถทำให้ดินทีแ่ ขง็ เช่น ดนิ ลกู รังรว่ นซุยได ้ หญา้ แฝกมหี ลายพันธ์ทุ ่ีใช้ไดต้ ามความเหมาะสม ใบของหญา้ แฝก ยังสามารถนำมาผลติ เปน็ สนิ ค้าหัตถกรรมไดอ้ ีกด้วย เปน็ แรงจงู ใจทำใหเ้ กษตรกรสนใจ ปลกู หญา้ แฝกกัน...” ๒.๒ ใช้อธรรมปราบอธรรม แนวพระราชดำรกิ ารแกไ้ ขปญั หาธรรมชาติ และสงิ่ แวดล้อมอย่างยงั่ ยนื ของพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อยูห่ วั ที่สำคัญ อีกประการหนึ่งคือ การใช้ ความเปน็ ไปและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และ ทรงใช้สงิ่ ทไี่ ม่มีประโยชน์ให้เกิดประโยชนใ์ นการ แก้ปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มทไี่ มต่ ้องใช้เงินลงทนุ มาก แต่มีประสิทธภิ าพสงู โดยมแี นวพระราชดำริดงั ต่อไปน้ี ใช้ความเป็นไปและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แก้ปัญหาและเปลีย่ นแปลงสภาวะทไี่ ม่ปกติให้เป็น ปกติ อาทิ ปรากฏการณ์นำ้ ขึ้นนำ้ ลง ดงั พระราชดำรัส เม่อื วนั ที่ ๔ เมษายน ๒๕๓๘ ความตอนหนึ่งวา่ “...การจัดการควบคุมระดับนำ้ ในคลองสายต่างๆ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การจดั ระบบ ระบายนำ้ ในกรงุ เทพมหานครนัน้ สมควรวางระบบให้ถูกตอ้ งตามสภาพการณ์และ ลกั ษณะภูมปิ ระเทศ ซึ่งควรแบง่ ออกเป็น ๒ แผนด้วยกันคอื แผนสำหรบั ใชก้ บั ในฤดูฝน หรือฤดนู ำ้ มากน้ี กเ็ พ่ือประโยชนใ์ นการปอ้ งกนั นำ้ ทว่ ม และเพ่ือบรรเทาอทุ กภยั เปน็ สำคญั แต่แผนการระบายน้ำในฤดูแล้งน้ัน ก็ตอ้ งจดั อีกแบบหน่งึ ต่างกนั ออกไป เพอ่ื การกำจดั หรือไล่นำ้ เนา่ เสียออกจากคลองดงั กล่าวเปน็ หลัก...” ใช้สงิ่ ทีไ่ ม่มีประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ อาทิ การใช้ผกั ตบชวาซึง่ เป็นวัชพืชในการบำบัดน้ำเสีย ดังพระราชดำรัสเมอื่ ครั้งเสด็จพระราชดำเนนิ หนองสนม จังหวัดสกลนคร เมือ่ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ความตอนหน่ึงวา่ “...ผักตบชวาที่ใช้ประโยชน์ในการเพิม่ ปริมาณออกซเิ จนให้กับนำ้ เสีย กับดูด สิ่งโสโครกออกจากน้ำเสียนัน้ ต้องหมัน่ เปลี่ยนออกจากบ่อนำ้ เสียเป็นระยะๆ ก่อนท่ี จะเนา่ และเรมิ่ ลดประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ทั้งน้ี ควรทดลองหาวธิ ีสับเปลี่ยน 81

แพผักตบชวาทงี่ ่ายที่สดุ นอกจากน้ันต้องเตรยี มสถานที่สรา้ งโรงงานบรเิ วณขอบหนอง เพื่อแปรสภาพผกั ตบชวาท่ีใชง้ านแลว้ ใหเ้ ปน็ ปุ๋ยหมกั เชื้อเพลิง...” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว มพี ระราชดำริให้นำขยะและมูลสตั ว์ซึ่งเป็นของเสีย มาผลิตแกส๊ ชวี ภาพเพ่อื ใชเ้ ปน็ เช้อื เพลิง โดยทรงเรม่ิ ตน้ จากการผลติ แกส๊ ชวี ภาพจากมลู โคนมในการดำเนิน งานโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อไม่ให้มูลโคทีเ่ ปน็ ของเสียเหลา่ นนั้ ต้องทงิ้ ไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยนำ มาเกบ็ ใสถ่ งั หมักผลติ เปน็ แก๊สชีวภาพใช้ในโรงโคนม ซึ่งไดก้ า๊ ซมแี ทนกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ และกา๊ ซอืน่ ๆ ทีใ่ ช้เปน็ เชือ้ เพลงิ ได้ ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ในงานนทิ รรศการอุทยานวิจัยและ งานเกษตรแหง่ ชาติ ประจำปี ๒๕๓๘ ทพ่ี ระราชทานพระราชดำรใิ นการผลติ แกส๊ จากขยะ ความตอนหนง่ึ วา่ “ดูดแกส๊ มาทำไฟฟ้าเราเหน็ ด้วย แต่ว่าขอ อีกข้ันหน่ึง มเี วลาอกี ประมาณสกั ๕ ปี ท่จี ะมาทำไฟฟา้ ด้วยขยะทส่ี ลายไบโอแกส๊ ออกไปแลว้ เอาออกไปและกม็ าเผาด้วยเคร่อื ง สำหรบั กรองมลพิษที่ออกมาจากการเผาตัง้ แต่ตน้ ก็มาฝัง แล้วเราก็ดูดแก๊สออกมาใช้ แล้วขดุ หลังจากนนั้ นำมาเผาไดข้ เี้ ถ้าแล้วนำไปอัด หมดจากหลุมนีก้ ็เอาขยะมากลบ กผ็ ลติ ๑๐ ปีครบวงจรแลว้ ” ๒.๓ ปลกู ป่าในใจคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัวทรง เลง็ เห็นถึงการแก้ไขปัญหาการฟืน้ ฟู ทรพั ยากรธรรมชาตดิ ว้ ยการปลกู จติ สำนึก ในการรักผนื ปา่ ให้แก่คนเสยี ก่อน เพือ่ ให้ พวกเขารักและดูแลผนื ปา่ ของตนเองด้วย ตนเอง ดว้ ยการสรา้ งความเขา้ ใจกบั ราษฎรใหร้ ถู้ งึ ประโยชน์ของปา่ และมีสว่ นรว่ มในการอนรุ กั ษ์ จนสามารถ จดั ต้งั กลุ่มอนรุ กั ษป์ า่ เพอ่ื ชว่ ยกนั ดแู ลรกั ษาปา่ ใหก้ ลบั มามคี วามอดุ มสมบูรณ์ ดงั พระราชดำรสั พระราชทาน แกเ่ จา้ หนา้ ท่ปี า่ ไม้ ณ หน่วยงานพัฒนาตน้ นำ้ ท่งุ จอ๊ เมือ่ ปี ๒๕๑๙ ความตอนหนง่ึ วา่ “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านัน้ กจ็ ะพร้อมกนั ปลูกตน้ ไมล้ งบนแผน่ ดนิ และรกั ษาตน้ ไม้ด้วยตนเอง...” ทัง้ นี้ การปลูกป่าในใจคนมหี ลักการสำคญั คอื  สรา้ งความเขา้ ใจกบั ราษฎรใหร้ ถู้ งึ ประโยชนข์ องปา่ และการอยรู่ ว่ มกบั ปา่ อยา่ งพง่ึ พาอาศยั กนั ซ่ึง ดร.สุเมธ ตันตเิ วชสกุล เลขาธกิ ารมูลนธิ ิชัยพฒั นา ได้ขยายความถงึ แนวพระราชดำริปลกู ปา่ ในใจคน ในบทความเรื่องสวนพฤษศาสตร์กับบทบาทการอนรุ ักษ์พรรณไม้ หนงั สอื พิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ 82

ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๓๓ ว่า “...คำว่าปลกู ต้นไมใ้ นใจคน หมายถึง ประการที่ ๑ ต้องเข้าใจว่าเราปลกู ต้นไมท้ ำไม ไม่ใชแ่ คเ่ อาตน้ ไมล้ งหลมุ ถา่ ยรปู กนั เสรจ็ แล้วกท็ ้ิงๆ ขวา้ งๆ จริงๆ คือต้องให้เห็นประโยชน์ ว่าประโยชน์คืออะไร จำเป็นตอ่ ชวี ติ อยา่ งไร ประการท่ี ๒ ปลูกตน้ ไมเ้ ปน็ การปลกู จิตสำนึกเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม ดนิ นำ้ ลมไฟทีอ่ ย่รู อบตวั เรา...”  ให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมใน การปลูกป่า เพื่อให้เกิดความรู้สกึ รัก และหวงแหนต้นไมร้ วมถึง ปา่ ที่ตนเองได้ปลกู ไว้  เกิดการจัดตัง้ กลุม่ อนุรักษ์ป่า ช่วยกัน ดูแล รักษาป่า การสรา้ งฝายชะลอ ความชมุ่ ช้นื ป้องกนั การตดั ไม้ การเกิดไฟปา่ ตลอดจนร้จู กั นำพืชปา่ มาบรโิ ภคใช้สอย ตวั อย่างพระราชกรณียกจิ จ า ก แ น ว พ ร ะ ร า ช ด ำ ริ ข้ า ง ต้ น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวทรงนำไป ใช้ในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดลอ้ ม ทีใ่ ช้ธรรมชาติในการดูแล ธรรมชาติ ก่อให้เกิดความสมดุลอย่าง ยัง่ ยนื ดังโครงการตามแนวพระราชดำริ หลายโครงการ อาทิ การใช้เครือ่ งกรองน้ำ ธรรมชาติ แก๊สชีวภาพจากมลู โคใน โครงการสว่ นพระองคต์ ามแนวพระราชดำริ การบำบดั น้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและ พชื น้ำ สระเตมิ อากาศชวี ภาพบำบดั การเตมิ อากาศโดยใชก้ งั หนั น้ำชยั พฒั นา การผสมผสานระหวา่ งพชื นำ้ กบั ระบบเตมิ อากาศ ระบบปรบั ปรงุ คณุ ภาพน้ำดว้ ยรางพชื รว่ มกบั เครอ่ื งกลเตมิ อากาศ การใชน้ ำ้ ดไี ลน่ ้ำเสยี การจัดการลมุ่ น้ำบางนรา การทดลองปลูกหญ้าแฝกภายในศูนยศ์ ึกษาการพัฒนาอนั เนอื่ งมาจาก พระราชดำริ และพื้นทตี่ ่างๆ การปลกู ป่าโดยไมต่ ้องปลูก การปลูกปา่ ๓ อยา่ งประโยชน์ ๔ อย่าง 83

การสรา้ งฝายอนรุ กั ษต์ น้ นำ้ การฟน้ื ฟู ปา่ ชายเลน โครงการพัฒนาพื้นที่ ลุม่ น้ำแมอ่ าวอันเนือ่ งมาจาก พระราชดำริ โครงการพัฒนาพืน้ ที่ ล ุม่ น ้ำ ห้ ว ย บ า ง ท ร า ย ต อ น บ น อ นั เ น ือ่ ง ม า จ า ก พ ร ะ ร า ช ด ำ ริ โครงการบา้ นเล็กในป่าใหญ่ และ โครงการป่ารกั นำ้ ดังน้ี  เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ โดยการนำผักตบชวามาทำหนา้ ท่ีดูดซบั ความสกปรกและโลหะหนัก รวมทั้งสารพิษจากนำ้ เน่าเสีย หรอื ทพ่ี ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรยี กว่า “ใชอ้ ธรรมปราบอธรรม” ในโครงการปรบั ปรุงบึกมักกะสนั ทีท่ รงศึกษาด้วยพระองค์เอง ซึ่งจากการทดสอบคุณภาพนำ้ ในบึงพบว่ามีค่าออกซิเจนทีล่ ะลายในนำ้ ตามจุดต่างๆ มีปริมาณเพิม่ ขึน้ แสดงว่าน้ำในบึงเมอื่ ได้รับการปรับปรุงโดยทัว่ ไปมีคุณภาพดีขึน้ ดังพระราชดำรสั เมอ่ื วนั ท่ี ๑๕ พฤศจกิ ายน ๒๕๒๘ ความตอนหนึ่งว่า “...บงึ มกั กะสนั น้ี ทำโครงการ ท่เี รยี กว่าแบบคนจน โดยใชห้ ลกั วา่ ผกั ตบชวาท่มี อี ยู่ ทวั่ ไปนัน้ เป็นพืชดดู ความโสโครกออกมาแลว้ ก็ทำใหน้ ้ำสะอาดขน้ึ ได ้ เปน็ เครื่องกรอง ธรรมชาติใชพ้ ลงั งานแสงอาทติ ย ์ และธรรมชาตขิ องการเตบิ โตของพชื ...” พระราชดำรสั เม่ือวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ ความตอนหน่ึงว่า “...ภารกจิ หลกั ของโครงการฯ น้ใี นฤดแู ลง้ คอื การกำจัดน้ำโสโครกดว้ ยผกั ตบชวา ส่วนในฤดฝู นให้ทำหนา้ ที่เก็บกักนำ้ และระบายนำ้ ส่วนเกิน สำหรบั ภารกิจรอง ได้แก่ การใช้ผักตบชวาทำปุ๋ยหมัก เชอื้ เพลิง เยื่อสาร ตลอดจนการส่งเสรมิ การปลูกพชื ผัก น้ำชนดิ ต่างๆ เช่น ผักบุ้ง และการปรับปรงุ คุณภาพนำ้ ให้สามารถเพาะเลีย้ งปลา นำ้ จดื ได.้ ..” และพระราชดำรสั เมอื่ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ความตอนหนึ่งวา่ “...อยา่ งทท่ี ำบงึ มกั กะสนั เราทำอยา่ งนเ้ี พราะเหตใุ ด เพราะวา่ ถา้ ใสเ่ ครอ่ื งมนั เพม่ิ สิง่ โสโครกที่เป็นอนั ตราย แตถ่ ้าทำแบบธรรมชาติมันจะลด อย่างเช่นปลูกหรอื ส่งเสริมผักตบชวา ผักตบขวานีจ่ ะกินคาร์บอนไดออกไซด์แล้วก็กินสิ่งโสโครก เราเอา ออกมาแลว้ กม็ าทำเปน็ ป๋ยุ กใ็ หค้ าร์บอนไดออกไซด์เหมอื นกนั แตก่ น็ ้อยกว่า เราสามารถ ที่จะเอาไปใส่ปุย๋ ให้ต้นไม้ ให้มันกินคารบ์ อนไดออกไซด์อกี ที คอื วา่ ตอ้ งดใู นวธิ ีการ 84

อนั ใดทีไ่ ม่เพิม่ คารบ์ อนไดออกไซด์ คือไมเ่ พิ่มส่งิ ทีก่ ลัว สว่ นเกย่ี วขอ้ งกบั เรือ่ งที่จะขยายแล้วก็ทำให้มีคาร์บอน ไดออกไซดม์ ากขึ้น กต็ อ้ งพยายามหา เทคโนโลยีในการที่จะปล่อยคาร์บอน ไดออกไซด์ใหน้ อ้ ยลง หรอื ปล่อยในท่ี ที่จะมีการดูดซมึ คารบ์ อนไดออกไซด์ ไม่ปล่อยขนึ้ ไปในส่วนบนทีจ่ ะไปทำลาย การปอ้ งกันไม่ให้ความรอ้ นหลดุ ออกไป...”  แกส๊ ชวี ภาพจากมลู โคในโครงการสว่ นพระองค์ ตามแนวพระราชดำริพระองค์ทรงมสี ายพระเนตร อนั กว้างไกลและทรงเข้าใจถึงกลไกทางธรรมชาติ พระองค์ทอดพระเนตรผลพลอยได้จากโรงโคนม ซึง่ ก็คือมลู โค เพื่อไมใ่ ห้มูลโคเหลา่ นัน้ ถูกขนไปทงิ้ เปลา่ ประโยชน์ จึงมพี ระราชดำริให้ทดลองผลิตก๊าซชีวภาพ จากมลู โค โดยใช้กระบวนการนำมลู โคมาหมักซึง่ จะได้ “แกส๊ ชวี ภาพ” สำหรบั ใช้เปน็ เชอื้ เพลิงในโครงการส่วนพระองค์และโรงโคนม สวนจติ รลดา นอกจากนีพ้ ระองค์ยงั มพี ระราชดำริ ให้นำกากทีเ่ หลอื จากบอ่ หมกั แก๊สชีวภาพไปทำเปน็ ปุย๋ โดยมูลโคทีเ่ ป็นสารละลายหรือกากทเี่ หลือจากการผลิตแก๊สชีวภาพทอี่ ยูใ่ นถังหมกั สว่ นหนงึ่ จะถูกนำ ไปใช้สำหรับเพาะเลีย้ งสาหร่ายเกลียวทอง ซึ่งสาหร่ายชนดิ นีส้ ามารถนำไปทำเปน็ อาหารสำเร็จรูป เพอ่ื ใชเ้ ล้ยี งปลา กากท่เี หลืออีกสว่ นหน่งึ นำไปทำเปน็ ป๋ยุ ใส่แปลงเพาะปลูกพชื เพอ่ื นำไปทำเปน็ อาหารสัตว์ และกากบางส่วนนำไปใช้สำหรับบำรุงบ่อเพาะพันธุ์ปลานลิ อกี ด้วย ซึง่ พระองค์ได้ทอดพระเนตรถึง คุณประโยชน์ของเหลอื อย่างมูลโคอย่างคมุ้ ค่ารวมถงึ การนำกลับมาใชใ้ หมใ่ นทกุ ๆ ด้าน  การบำบดั น้ำเสยี ดว้ ยระบบบอ่ บำบดั และพชื นำ้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั ทรงนำวธิ กี าร ทางธรรมชาติประกอบด้วย ๔ ระบบ คือ ระบบบ่อบำบดั นำ้ เสยี ระบบบ่อชีวภาพ ระบบหญ้ากรอง และระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้ปา่ ชายเลน มาใช้บำบดั น้ำเสยี ชุมชน โดยมีพระราชดำรัสพระราชทาน วธิ กี าร เมื่อวันที่ ๑๒ กนั ยายน ๒๕๓๓ ความตอนหนง่ึ วา่ 85

“...โครงการทีจ่ ะทำนไี้ ม่ยากนกั คือว่าก็มาเอาสิง่ ทีเ่ ป็นพษิ ออก พวกโลหะหนกั ตา่ งๆ เอาออก ซงึ่ มีวธิ ีทำ ต่อจากนนั้ ก็มาฟอกใส่อากาศบางทีก็อาจไม่ตอ้ ง ใส่อากาศ แลว้ กม็ าเฉลี่ยใส่ในบงึ หรือเอาน้ำไปใส่ในทุ่งหญ้า... ทางใต้ออสเตรเลียมีโครงการเอานำ้ เสียนไี้ ปใส่คลอง แล้วใส่ท่อไปใกล้ทะเล แลว้ ทำเปน็ สระ เปน็ บอ่ ใหญม่ ากเปน็ พ้นื ทต่ี ้ังเปน็ ร้อยไร ่ หลายรอ้ ยไร ่ เขากไ็ ปทำใหน้ ้ำน้ัน หายสกปรกแล้วกเ็ ทลงทะเล...” ตัวอย่างทีเ่ ห็นผลชัดเจนคือ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสงิ่ แวดลอ้ มแหลมผักเบีย้ อนั เนือ่ ง มาจากพระราชดำริ อำเภอบา้ นแหลม จังหวัดเพชรบุรี เปน็ พื้นทศี่ ึกษาทดลองการบำบัดน้ำเสียด้วย ระบบบอ่ บำบัดและวัชพืชตามแนวพระราชดำริ โดยนำนำ้ เสยี มาจากเทศบาลเมอื งเพชรบุรี แลว้ สง่ ต่อ ดว้ ยระบบท่อมายงั พื้นที่โครงการฯ การบำบดั แบง่ เปน็ ๔ ระบบ คอื ระบบบอ่ บำบัดน้ำเสีย (Lagoon Treatment) กักพักนำ้ เสยี ไว้ในระยะเวลาทเี่ หมาะสม เติมออกซิเจนด้วยกระบวนการสงั เคราะห์ แสงของแพลงค์ตอนและสาหร่ายอาศัยแรงลมช่วยเติมอากาศ การยอ่ ยสลายสารอินทรีย์ เปน็ ต้น ระบบพชื และหญา้ กรองนำ้ เสยี (Plant and Grass Filtration) ใชพ้ ืชชว่ ยบำบดั ระบบพื้นทีช่ ุ่มน้ำเทียม (Constructed Wetland) ทำแปลงหรือบอ่ นำ้ เพือ่ บำบดั นำ้ เสียโดยปลกู พืชน้ำ ๒ ชนดิ คือ กกกลม (กกจันทรบูร) และธูปฤษี ช่วยในการบำบัดน้ำเสยี ระบบแปลงพืชป่าชายเลน (Mangrove Forest Filtration) ใช้หลกั การเจือจางระหว่างน้ำเสียกับน้ำทะเล ซึ่งสามารถพิสจู น์ได้ว่าระบบบำบดั น้ำเสยี ดว้ ยบอ่ บำบดั และพชื ท้งั ๔ ระบบ สามารถบำบัดน้ำเสียได้เป็นอยา่ งดี นอกจากนี้ ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบดั น้ำเสยี บริเวณหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยน้ำเสยี จากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อ สง่ ผ่านการบำบัดให้ดี ในระดับหน่งึ ก่อนส่งตอ่ ไปยังแปลงพืชน้ำบำบดั แล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป  สระเตมิ อากาศชวี ภาพบำบดั เปน็ พระราชดำรกิ ารจดั การนำ้ เสยี โดยใชเ้ ครอ่ื งจกั รกลเตมิ อากาศ มาช่วยเพมิ่ ออกซเิ จนให้ละลายในนำ้ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั โดยพระราชทานพระราชดำริว่า “การใชว้ ธิ ที างธรรมชาติแต่เพียงอยา่ งเดยี วไมเ่ พียงพอในการบำบดั น้ำเสยี ใหด้ ีข้ึน จำเป็นตอ้ งใช้เครือ่ งเติมอากาศลงไปในนำ้ โดยทำเปน็ ระบบสระเตมิ อากาศ (Aerated Lagoon)” ซ่งึ การดำเนนิ การดงั กล่าวจะใชอ้ อกซเิ จนตามธรรมชาตจิ ากพชื น้ำและสาหรา่ ยโดยไดน้ ำมาทดลอง ใชท้ ่ีบงึ พระราม ๙ ดว้ ยการสบู น้ำจากคลองลาดพรา้ วเขา้ ในบ่อเตมิ อากาศ เพ่อื ใหแ้ บคทีเรยี ยอ่ ยสลายสาร อนิ ทรีย์ในนำ้ เสียโดยปฏิกิริยาแบบการให้ออกซิเจนอย่างต่อเนอื่ ง จากนัน้ จะไหลไปยงั บอ่ กึง่ ไร้อากาศ 86

เพื่อบำบัดสารอนิ ทรียท์ ีห่ ลงเหลอื ในบ่อนำ้ ก่อนปล่อยทงิ้ ในคลอง ลาดพรา้ วเดมิ ผลปรากฏวา่ คณุ ภาพ น้ำในคลองดขี ้นึ  การเติมอากาศโดยใช้ กังหันนำ้ ชัยพฒั นา พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ได้เสด็จ พระราชดำเนนิ ทอดพระเนตร สภาพนำ้ เสียในพืน้ ทหี่ ลายแห่ง หลายครั้ง ทง้ั ในเขตกรงุ เทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวดั พร้อมทัง้ พระราชทานพระราชดำริเกีย่ วกับการแก้ไขนำ้ เนา่ เสยี ในระยะแรกระหว่างปี ๒๕๒๗ - ๒๕๓๐ ทรงแนะนำให้ใช้นำ้ ทีม่ ี คุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสยี และวิธีกรองนำ้ เสียด้วยผกั ตบชวา และพืชนำ้ ตา่ งๆ ซ่งึ กส็ ามารถช่วยแกไ้ ขปญั หาไดผ้ ลในระดบั หนึ่ง ต่อมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ เป็นต้นมา สภาพความเนา่ เสียของ น้ำบริเวณต่างๆ มอี ตั ราแนวโนม้ รุนแรงมากยิง่ ขึน้ การใช้วิธี ธรรมชาตไิ ม่อาจบรรเทาความเนา่ เสียของนำ้ อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพเท่าท่ีควร พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อย่หู วั จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครือ่ งกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิต ได้เองในประเทศ ซึง่ มีรปู แบบ “ไทยทำ ไทยใช”้ โดยทรงไดแ้ นวทางจาก “หลกุ ” ซึ่งเปน็ อุปกรณว์ ิดน้ำ เข้านาอนั เป็นภมู ิปญั ญาชาวบา้ นเปน็ จดุ คดิ คน้ เบ้อื งตน้ จนสามารถพัฒนาเปน็ “กังหนั น้ำชัยพัฒนา” สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานสัมภาษณ์ในหนังสอื “พระมหากษตั รยิ น์ กั พฒั นา เพอ่ื ประโยชนส์ ขุ สปู่ วงประชา” เกย่ี วกบั กงั หนั นำ้ ชยั พฒั นาความตอนหนง่ึ วา่ “พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวทรงคิดคน้ “กังหันนำ้ ชัยพฒั นา” มีทั้งหมด ๗ โมเดล เป็นเครื่องชว่ ยเติมออกซเิ จนในนำ้ เพือ่ แก้ปัญหาน้ำเนา่ โดยทรงจดสทิ ธบิ ัตร เมอ่ื ป ี ๒๕๔๕ นบั เปน็ เครอ่ื งเตมิ อากาศเครอ่ื งท ่ี ๙ ในโลกทจ่ี ดสทิ ธบิ ตั ร กงั หนั นำ้ ชยั พฒั นา ได้รับรางวัลระดับนานาชาตหิ ลายรางวลั และได้นำไปใชไ้ กลทีส่ ุดในสวนสาธารณะ กรงุ บรสั เซลส ์ ประเทศเบลเย่ยี ม” ทงั้ นี้ หลกั การทำงานของกังหันนำ้ ชัยพัฒนาจะใช้ใบพัดเคลอื่ นนำ้ และช่องรับนำ้ ไปสาดกระจาย เปน็ ฝอย เพือ่ ให้สัมผสั กับอากาศได้อย่างทัว่ ถึง ทำให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้ 87

อยา่ งรวดเร็ว และในช่วงทีน่ ้ำเสียถูกยกขึ้น มากระจายสัมผสั กบั อากาศตกลงไปยงั ผวิ นำ้ จะทำให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไป ก่อให้ เกิดการถ่ายเทออกซิเจนอกี ส่วนหนึง่ ซึ่ง กังหันนำ้ ชัยพัฒนาจะใช้ประโยชนไ์ ด้ทัง้ การเตมิ อากาศ การกวนแบบผสมผสาน และ การทำให้เกดิ การไหลตามทิศทางที่กำหนด  การผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียอีกระบบหนึ่ง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวได้พระราชทานพระราชดำริเปน็ ประเดิม กรณรี ะบบหนองสนม โดยมี แนวทางการดำเนนิ งานประกอบด้วย ๓ สว่ น คอื ๑) การบำบดั นำ้ เสยี ด้วยกกอยี ปิ ต์ โดยการปลอ่ ยน้ำเสยี เขา้ ไปบนลานกอ้ นกรวดเสยี กอ่ น เพือ่ ให้ก้อนกรวดทำหนา้ ทีก่ รองสารแขวนลอยออกจากนำ้ เสีย พร้อมกับช่วยเติมก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะ ช่วยให้เกิดจุลนิ ทรียเ์ กาะตามก้อนกรวดมากขึ้น อนั จะนำไปสกู่ ารย่อยสลายสารอนิ ทรียท์ มี่ ีอยใู่ นน้ำเสีย ได้มากขึ้น แล้วจึงปล่อยน้ำเสียผา่ นตะแกรงดักเศษขยะทตี่ ิดตัง้ ไว้ทางด้านทา้ ยของลานนนั้ ออกไปยังบอ่ ทปี่ ลกู กกอียิปตไ์ ว้ เพอ่ื กำจดั สารอนิ ทรีย์ในน้ำเสยี อีกตอ่ หน่ึง จากน้นั จึงปล่อยให้ไหลเข้าสู่บ่อตกตะกอน ตามธรรมชาติ ๒) การเรง่ การตกตะกอนและการลดสารพษิ โดยใชก้ งั หันนำ้ ชัยพัฒนาเติมกา๊ ซออกซเิ จน เข้าไปในน้ำเสียในข้ันตอนสุดท้ายของสว่ นแรก เพอื่ เรง่ การยอ่ ยสลายสารอินทรียท์ ี่ละลายอยูใ่ นนำ้ นน้ั ให้ กลายเปน็ ตะกอนจลุ นิ ทรยี ์ (sludge) ท่ีตกตะกอนไดร้ วดเรว็ แล้วปล่อยนำ้ เสยี ท่ตี กตะกอนดงั กล่าวแลว้ น้นั เข้าสบู่ ่อผักตบชวา เพื่อให้ผกั ตบชวาดูดซับสารพิษต่างๆ ทเี่ หลอื อยูไ่ ว้ ต่อจากนัน้ จึงส่งน้ำเสยี นนั้ กลบั เขา้ ส่บู ่อตกตะกอนอีกคร้งั หนงึ่ เพือ่ ใหไ้ ด้นำ้ ทใ่ี สสะอาดยิ่งขึน้ ๓) การปรบั ปรงุ คณุ ภาพน้ำให้ดยี ิง่ ขึน้ โดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนาเติมอากาศเข้าไปเป็น ขนั้ สุดทา้ ย พร้อมกบั ปลกู ผักตบชวากั้นเปน็ คอกเรียงสลับกนั เปน็ แถวๆ ไว้ เพ่อื ดดู ซบั สารพษิ อีกครงั้ หนึ่ง และเป็นทีอ่ ยอู่ าศยั ของสตั วน์ ำ้ ด้วย การทดลองท่ีหนองสนม จงั หวดั สกลนคร พสิ จู นไ์ ดว้ ่าคุณภาพนำ้ ใน หนองสนมใสสะอาดยงิ่ ข้ึน  ระบบปรับปรงุ คุณภาพน้ำด้วยรางพืชร่วมกบั เครือ่ งกลเติมอากาศ ในการบำบดั นำ้ เสยี จากเดมิ ทใ่ี ชก้ ารเตมิ อากาศลงไปในนำ้ เพยี งอยา่ งเดยี ว แมจ้ ะทำใหน้ ำ้ มอี อกซเิ จน และคุณภาพดีขึ้น แต่มีแหลง่ นำ้ บางแห่งทีม่ ีสาหร่ายเซลเดียวสเี ขียวและสารปนเปอื้ นทเี่ ปน็ อาหาร 88

ของสาหรา่ ยปะปนอยู่ในนำ้ ดว้ ย ทำให้นำ้ ยงั คงมสี ีเขียวคลำ้ และ ดเู หมือนวา่ นำ้ ยงั เสียเหมอื นเดมิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว จงึ มพี ระราชดำรใิ หพ้ ฒั นาระบบ การปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึน้ ด้วยการใช้ระบบรางพืชร่วมกับ เครือ่ งกังหันชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศแบบอดั อากาศและดูดน้ำ โดยนำตน้ พืช บางชนดิ ท่ีสามารถดดู ซมึ สารปนเป้ือนมาเปน็ อาหารในการเจรญิ เตบิ โตได้ เชน่ ตน้ กก ตน้ เตย ตน้ พทุ ธรกั ษา บวั เป็นตน้ ทำให้สาหรา่ ยไมม่ อี าหารในการเจรญิ เตบิ โต นำ้ จึงใสข้ึน ระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยรางพืชร่วมกับเครื่องกลเติมอากาศ ตามแนวพระราชดำริ ประกอบดว้ ยอุปกรณ์สำคัญๆ ประกอบดว้ ย ๑) กังหันชัยพฒั นา หรือ เครื่องกลเติมอากาศแบบอดั อากาศและดูดน้ำ จะเลือกใช้ แบบไหนนัน้ ขน้ึ อยกู่ บั สภาพของแหลง่ นำ้ หากแหลง่ นำ้ มีขนาดใหญ่และลึกควรใชเ้ ครอื่ งกงั หนั ชยั พฒั นา แต่ถ้าแหล่งนำ้ ไม่ลึกมากควรใชเ้ ครอื่ งกลเติมอากาศแบบอดั อากาศและดูดน้ำ ๒) รางพืช จะสร้างไว้บริเวณขอบสระนำ้ ทีใ่ กลก้ ับจุดทนี่ ำ้ เสียมากทสี่ ุด เปน็ รางที่ ทำดว้ ยคอนกรีต หรือไม้ก็ได้ ซึ่งมีอยู่ ๒ ขนาด คอื ขนาดเล็ก ๐.๕ x ๑๐ x ๐.๕ เมตร และขนาดใหญ่ ๑.๐ x ๒๐ x ๐.๕ เมตร จะวางในแนวเส้นตรง หรือโคง้ หรอื แบ่งเป็นชว่ ง ๆ กไ็ ด้เช่นกนั ข้ึนอยู่กับลักษณะ และความเหมาะสมของพนื้ ที่ 89

๓) พืชแชน่ ้ำ เช่น พุทธรักษา ปักษาสวรรค์ ต้นเตย เป็นต้น ปลูกไว้ในรางพืชโดยใช้ ทรายหยาบเป็นวสั ดุสำหรบั ปลูกพชื ส่วนจะเลือกพืชแชน่ ำ้ ชนิดไหนน้นั ขึน้ อยกู่ บั พน้ื ท่ี ความเหมาะสม และภูมทิ ศั น์ ซึง่ เมื่อปลกู แลว้ จะตอ้ งดสู วยงามกลมกลืนกบั สถานท่ี ๔) เคร่ืองสูบน้ำ ขนาดเสน้ ผ่าศนู ย์กลางไม่เกนิ ๒ นวิ้ เพื่อสูบนำ้ จากแหล่งน้ำให้ไหลผา่ น รางพชื อยา่ งช้าๆ แล้วไหลกลบั ลงส่แู หล่งน้ำอกี ครง้ั วนเป็นวัฏจักรอย่างนีป้ ระมาณวนั ละ ๖-๑๒ ชว่ั โมง ขึน้ อย่กู ับสภาพแหล่งนำ้ น้ันว่ามนี ้ำเสยี มากนอ้ ยแค่ไหน ๕) ตคู้ วบคมุ ไฟฟ้าและสายไฟใตน้ ้ำ เน่ืองจากกงั หนั ชยั พฒั นา หรอื เครอ่ื งกลเตมิ อากาศ แบบอดั อากาศและดูดนำ้ ตลอดจนเครื่องสูบนำ้ จะต้องใช้ไฟฟ้าในการขับเคลอื่ นระบบดังกลา่ ว สามารถลดปริมาณสาหร่ายชั้นต่ำ ซึง่ เป็นสาเหตุขอนำ้ ทีม่ สี เี ขียว ลดจำนวนการใช้เครื่องกล เติมอากาศ ลดพืน้ ทที่ ใี่ ช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทำให้น้ำใสขึน้ น้ำสีเขียวลดลง กลนิ่ เหม็น หายไป สามารถวัดสภาพนำ้ ได้ง่าย และดูการเจริญเติบโตของพืชโดยไม่ต้องใช้เครื่องมอื ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งหากพืชหยุดเจริญเติบโตแสดงว่าแหลง่ น้ำนนั้ ๆ มีคุณภาพนำ้ ดีขึ้น นอกจากนี้ ราคายังถูกดูแลรักษาง่ายและช่วยทำให้ภูมทิ ศั นข์ องพืน้ ทีส่ วยขึน้ อีกด้วย เป็นไปตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว ในปัจจุบนั ได้ติดตั้งในแหล่งน้ำอนื่ ๆ ไปแลว้ กว่า ๑๗๑ แห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั โรงพยาบาลมวกเหลก็ เทศบาลตำบลทา่ มว่ งจังหวัดกาญจนบุรี หนองโสน จังหวัดนครราชสีมา สระมุจลนิ ท์ในวัดมหาโพธิมหาวิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งกรมทรัพย์สนิ ทางปัญญา ไดท้ ลู เกล้าฯ ถวายจดทะเบยี น และออกสิทธบิ ตั ร เลขที่ ๒๙๐๙๑ ใหก้ ับระบบปรับ ปรุงคุณภาพน้ำ ดว้ ยรางพชื ร่วมกบั เครอื่ งกลเติมอากาศ เมือ่ วนั ท่ี ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓  นำ้ ดีไล่นำ้ เสีย เปน็ หลกั การบำบดั นำ้ เสยี โดยการทำใหเ้ จอื จาง (Dilution) ตามแนว ทฤษฎีการพัฒนาอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ “นำ้ ดไี ลน่ ้ำเสีย” พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั ทรงใช้ปรากฏการณ์นำ้ ขึ้นน้ำลงตามกฎแรงโนม้ ถ่วงของโลก (Gravity Flow) โดยการใช้นำ้ ทีม่ ีคุณภาพดีช่วยผลกั ดันนำ้ เนา่ เสียออกไป และช่วยให้นำ้ เน่าเสียมีสภาพเจือจางลง ทงั้ นี้ โดยรับนำ้ จากแมน่ ำ้ เจา้ พระยา หรือจากแหลง่ นำ้ ภายนอก ส่งเข้าไปตามคลองต่างๆ เชน่ คลองบางเขน คลองบางซือ่ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ หรือคลองบางลำพู เปน็ ต้น ซึ่งกระแสน้ำ จะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยทีเ่ ชือ่ มกับแมน่ ำ้ เจ้าพระยาอกี ด้านหนึง่ ดังนัน้ เมอื่ การกำหนดวงรอบเกี่ยวกับการไหลของนำ้ ไปตามคลองต่างๆ นับแต่ปากคลองทีน่ ำ้ ไหลเข้าจนถึง 90

ปลายคลองทีน่ ำ้ ไหลออกได้อยา่ งเหมาะสม โดยทนี่ ำ้ สามารถไหลเวียนไปตามลำคลองได้ตลอดแล้ว ยอ่ มสามารถเจอื จางนำ้ เนา่ เสยี และชกั พาสง่ิ โสโครกไปไดม้ าก ซง่ึ จะเปน็ วธิ กี ารชว่ ยบรรเทานำ้ เนา่ เสยี ในคลอง ตา่ งๆ ตอนช่วงฤดูแลง้ ไดอ้ ย่างดี ดังพระราชดำรัส เมอื่ วนั ที่ ๑๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๓๙ ความตอนหนึ่งวา่ “...นอกจากจะใช้คลองเปน็ ทางระบายนำ้ แลว้ กใ็ ชน้ ้ำผลกั หรือเรียกวา่ ชกั โครก เพ่อื ช่วยใหน้ ำ้ ในลำคลองตา่ งๆ ดขี นึ้ เอาเร่มิ ๓ คลองกอ่ น คือ คลองเทเวศร ์ คลอดหลอด และคลองแสนแสบ ยังเหลือตอ้ งทำต่อคอื คลองลาดพรา้ วทีเ่ ชือ่ มจากคลองแสนแสบ ไปทะลุคลองดอนเมือง จากโครงการนปี้ รากฏว่าได้ผล นำ้ ในคลองสะอาดขึน้ มาก วธิ ีการ “ชกั โครก” ก็คือ ใช้การปิดเปิดนำ้ ให้ได้จังหวะ เวลานำ้ ขึน้ สูงก็เปิดประตนู ้ำ ให้นำ้ ดีเขา้ มาไล่น้ำเนา่ เวลาน้ำทะเลลงกเ็ ปิดประตูถา่ ยน้ำออกจากคลองไปด้วย...” และพระราชดำรเิ ม่อื คราวเสดจ็ พระราชดำเนินไปทอดพระเนตรท่บี รเิ วณปากคลองเปรมประชากร เม่อื วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๑ ความตอนหนึ่งวา่ “...คลองเปรมประชากรช่วงตอนล่างเป็นคลองสายหนึง่ ทีส่ ามารถรับนำ้ จากแม่นำ้ เจ้าพระยาไปช่วยบรรเทานำ้ เสีย โดยส่งกระจายไปตามคลองตา่ งๆ ของกรงุ เทพมหานคร จึงควรขุดลอกคลองนพี้ รอ้ มกำจัดวัชพืชเพือ่ ให้เป็นคลอง สายหลกั ในการผันนำ้ คณุ ภาพดีไปชว่ ยบรรเทาให้นำ้ เสียใหเ้ จอื จางลง...” จากแนวพระราชดำรดิ งั กลา่ วขา้ งตน้ น้ี จงึ บงั เกดิ กรรมวธิ ใี นการบำบดั นำ้ เสีย ๒ ประการ ตามแนว พระราชดำริ “นำ้ ดไี ล่นำ้ เสยี ” คอื วิธีที่หนึ่ง ให้เปิดประตูอาคารควบคุมนำ้ รับน้ำจากแมน่ ้ำเจ้าพระยาในช่วงจังหวะนำ้ ขึน้ และ ระบายออกสู่แม่นำ้ เจ้าพระยาตอนระยะนำ้ ลง ซึง่ มีผลทำให้น้ำตามลำคลองมโี อกาสไหลถ่ายเทกันไปมา มากขึ้นกวา่ เดิม เกดิ มีการหมุนเวียนของนำ้ ท่ีมสี ภาพเน่าเสีย กลิ่นเหมน็ กลายเป็นน้ำทีม่ ีคณุ ภาพดีข้ึน 91

วธิ ีที่สอง ให้ขุดลอกคลอง เปรมประชากรพร้อมทงั้ กำจัดวัชพืช เพ่อื ให้เป็นคลองสายหลักในการผันน้ำ คุณภาพดีไปช่วยบรรเทาให้น้ำเสยี เจอื จางลงและใหค้ ลองเปรมประชากร ตอนลา่ งเปน็ คลองท่ีสามารถรบั น้ำจาก แมน่ ำ้ เจา้ พระยาไปชว่ ยบรรเทานำ้ เสยี โดยส่งกระจายไปตามคลองต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร ส่วนคลอง เปรมประชากรตอนบนนัน้ ให้หาวิธี รบั น้ำเขา้ คลองเป็นปรมิ าณมากอยา่ งรวดเรว็ เพอ่ื เปน็ การเพ่มิ ระดบั นำ้ ใหส้ งู ข้นึ จะไดส้ ามารถกระจายน้ำ เข้าสทู่ ุง่ บางไทร-บางปะอนิ เพื่อการเพาะปลูก และเพื่อให้คลองเปรมประชากรตอนบนมลี กั ษณะเป็น อา่ งเกบ็ นำ้ ใช้ผลักดนั นำ้ เนา่ เสียในคลองเปรมประชากรตอนล่างตอ่ ไปได้ แนวพระราชดำริสองประการนี้ แสดงถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ ัว ว่าทรงเชีย่ วชาญในด้านการแก้ไขปญั หาสิง่ แวดล้อมอย่างแทจ้ ริง และเป็นวิธีการบำบดั น้ำเสียอย่างง่าย ประหยดั พลงั งาน และสามารถปฏิบตั ิได้ตลอดเวลา ซึง่ แสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสูงยิ่งในพระวิริยะ อุตสาหะท่ีทรงทมุ่ เทเพ่อื ความสขุ ของปวงชนชาวไทย  การจัดการลมุ่ นำ้ บางนรา จังหวัดนราธิวาส ในอดตี มีแตค่ วามอดุ มสมบรู ณ์ ต่อมาเกดิ ปญั หา นำ้ เคม็ รกุ ลำ้ เขา้ มาในแมน่ ำ้ บางนรา เมอ่ื ฝนตกหนกั จะเกดิ ปญั หานำ้ ทว่ มในพน้ื ทเ่ี กษตรกรรมเปน็ บรเิ วณกวา้ ง ขณะเดียวกันไม่มแี หล่งน้ำและระบบเก็บกักน้ำ จึงทำให้ขาดแคลนนำ้ จืด อกี ทงั้ น้ำปา่ ไหลผา่ นพืน้ ทพี่ รุ กลายเป็นน้ำเปรีย้ วไม่สามารถนำมาใชอ้ ปุ โภคบริโภคได้ พระบาทสมเด็จพระเจา้ อย่หู วั ทรงใชห้ ลกั ความเขา้ ใจในวิถธี รรมชาติของนำ้ การข้นึ ลงของน้ำ ตามแรงโนม้ ถว่ งของโลก ความแปรเปล่ยี นของสภาพแวดลอ้ ม และการนำระบบชลประทานสมยั ใหม่ เขา้ มาช่วยในการจัดการน้ำให้เกิดความสมดลุ และสอดคล้องกับวถิ ีการดำเนนิ ชีวิตของราษฎร โดยพระราชทานพระราชดำรใิ หก้ รมชลประทานกอ่ สรา้ งประตรู ะบายนำ้ ท่ีปากแมน่ ้ำบางนรา พรอ้ มระบบ ชลประทานและระบบระบายนำ้ ในพน้ื ท่ีตามความเหมาะสม เพ่อื ทำหน้าท่ชี ว่ ยเหลือราษฎรในการกกั เกบ็ นำ้ จืด บรรเทาอทุ กภัย และป้องกนั น้ำเคม็ โครงการพัฒนาพื้นทลี่ ุม่ น้ำบางนราอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ มวี ิธีการและขัน้ ตอนดำเนนิ งาน ตามแนวพระราชดำริ ทีม่ ีหลกั การสำคัญวา่ ต้องหากลวิธแี ยกน้ำ ๓ รส คือ นำ้ จดื น้ำเค็ม และนำ้ เปรย้ี ว 92

ทีผ่ สมปนเปกันจนไมส่ ามารถใช้ในการอปุ โภคบริโภคและทำการเกษตรกรรมได้ ให้สามารถกลับมาใช้ ประโยชนไ์ ดอ้ กี ครง้ั นบั ตง้ั แตก่ ารสรา้ งประตรู ะบายนำ้ บางนราตอนบนและตอนลา่ ง จดั วางระบบชลประทาน โดยการใช้แรงโน้มถ่วงของโลก สูบนำ้ ด้วยไฟฟ้า และสบู นำ้ ด้วยเครือ่ งสบู นำ้ ขนาดเลก็ เคลอื่ นที่ จัดวาง ระบบระบายน้ำเพือ่ บรรเทาอทุ กภัยและระบายน้ำเปรี้ยว และลำดับสุดทา้ ยเปน็ การบริหารจัดการนำ้ โดยอาศยั ศาสตร์การบริหารจดั การนำ้ อย่างสมดุล คือ ควบคุมประตูระบายน้ำให้รกั ษาระดับน้ำที่ระดับ กักเก็บตามทีก่ ำหนด พร้อมทงั้ ควบคุมการเปิด-ปดิ บานปิดกั้นน้ำเค็มรุกลำ้ ได้อย่างถาวร รวมถึงมรี ะบบ รับส่งสญั ญาณข้อมลู ทางไกลช่วยในการควบคุมการเปิด-ปิดอาคารบงั คับนำ้ มีผลทำให้สามารถ บรรเทาภาวะอกุ ทกภยั โดยลดจำนวนวนั น้ำทว่ มขัง และบรรเทาความเสยี หายแกผ่ ลผลติ การเกษตรได้ ตลอดจนชว่ ยลดปัญหานำ้ เปรีย้ วในแม่น้ำบางนราให้มคี ุณภาพดีกว่าเดิม และทสี่ ำคัญประชาชน ในท้องถิ่นไมไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการดำเนินโครงการ แต่กลบั ช่วยให้วิถีชวี ิตดีข้ึน จากอาชพี เดิมทเ่ี คยทำ คอื การทำประมงพน้ื บ้านซง่ึ มรี ายไดไ้ ม่แน่นอน เปล่ียนเป็นการเล้ียงปลาในกระชงั ทำใหม้ รี ายไดท้ ่แี น่นอน และเปลีย่ นจากเลยี้ งปลากะพงเป็นเลีย้ งปลาเกา๋ แทน ซึง่ เป็นปลาที่มรี าคาขายสูง การจดั การลุ่มน้ำบางนรานับเปน็ ตวั อย่างของการพฒั นาภมู สิ ังคมท่ดี ใี นการใชท้ รพั ยากรธรรมชาติ ทมี่ อี ยา่ งถูกต้อง เป็นการผสมผสานวิทยาการแนวใหมก่ ับหลกั ธรรมชาติ และวิถีชีวิตของผูค้ น อยา่ งกลมกลืน เกดิ ประโยชน์สงู สดุ ตอ่ ชีวติ มนษุ ย์และสงิ่ แวดลอ้ มอยา่ งยั่งยืน  การทดลองปลูกหญ้าแฝกภายในศนู ย์ศึกษาการพฒั นาอนั เนือ่ งมาจากพระราชดำริ และพน้ื ทตี่ ่างๆ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั พระราชทานแนวทางการทำงานแก่กลุม่ ผ้เู ชี่ยวชาญ และ มรี ับสัง่ ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนือ่ งมาจากพระราชดำริ และศูนยศ์ ึกษาการพัฒนา เขาหนิ ซอ้ นอนั เน่ืองมาจากพระราชดำริ ศกึ ษาทดลองปลกู หญ้าแฝกเพอ่ื ปอ้ งกนั ดนิ พงั ทลายในระยะแรก 93