พืชไรเ่ ศรษฐกิจ| 187 ภาพท่ี 8-7 ลกั ษณะฝกั ถ่ัวเหลือง ท่มี า: กรมวิชาการเกษตร (2552) 6. เมลด็ ถ่ัวเหลืองมีรูปร่าง และขนาดของเมล็ดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ กลม แบน ค่อนข้างกลม และ ยาว มีเมลด็ ขนาดตงั้ แต2่ กรมั ตอ่ 100 เมล็ด ถงึ มากกวา่ 40 กรัมต่อ 100 เมล็ด ถั่วเหลืองโดยทั่วไป จะมีนํ้าหนักเมล็ดแห้ง2-25 กรัมต่อ 100 เมล็ด สีของเปลือกหุ้มเมล็ดถ่ัวเหลืองจะมีหลายสี โดยทั่วไป ถัว่ เหลอื งจะมเี ปลือกหมุ้ เมลด็ สีเหลือง (ภาพที่ 8-8) ส่วนสีอื่น ๆ ที่พบได้แก่ สีเขียว สีนํ้าตาล สีนํ้าตาล อมแดง สีเทา สีดํา หรือเมล็ดมีสองสี มีเปลือกหุ้มเมล็ดต้ังแต่ด้านถึงมัน นอกจากน้ันแต่ละพันธ์ุยังมีสี ของขั้วเมล็ดแตกต่างกันออกไป เช่น สีนํ้าตาลอ่อน สีน้ําตาลเข้ม และสีดํา ซึ่งความมันและสีของขั้ว เมลด็ จะแตกตา่ งกนั เลก็ นอ้ ยเมือ่ ปลูกในสภาพแวดลอ้ มท่ีแตกต่างกนั ภาพท่ี 8-8 ลกั ษณะเมล็ดถ่ัวเหลือง ทมี่ า: กรมวชิ าการเกษตร (2552) ถิ่นกาเนดิ และสภาพแวดลอ้ ม ถ่ัวเหลืองมีถนิ่ กําเนิดอยู่ในประเทศจีน สันนิษฐานว่าอาจเป็นตอนกลางหรือตอนเหนือของจีน เพราะมีการพบถ่ัวเหลืองพันธุ์ปุา (Glycine ussuriensis) อยู่ในแถบน้ีโดยท่ัวไป แต่ที่ยอมรับกันมาก ที่สุด ไดแก บริเวณหุบเขาแม่นํ้าเหลือง เพราะอารยะธรรมของประเทศจีน ถือกําเนิดท่ีน่ัน ประกอบ กับมีจารึกคร้ังแรกเก่ียวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2,295 ป ก่อนพุทธกาลท่ีหุบเขาน้ําเหลือง (ภาพที่ 8-9)
188 |ดรุณี พวงบุตร จากน้ันถ่ัวเหลืองได้มีการแพรกระจายเข้าสู่ประเทศเกาหลีและญ่ีปุน เม่ือ 200 ปก่อนคริสตกาล แล้ว เข้าสยู่ โุ รปในชว่ งหลงั พ.ศ. 2143 และสูสหรฐั อเมรกิ า พ.ศ. 2347 สําหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกถั่วเหลืองกันมาช้านานแล้ว เริ่มปลูกในภาคเหนือของ ประเทศทจ่ี งั หวัดเชียงใหมแ่ ละลําพนู ซง่ึ ตอ่ มาได้ขยายไปยังภาคอน่ื ๆ ของประเทศ พันธุท่ีนิยมปลูกใน ขณะนั้นมี 2 พันธุคือ พันธุเมล็ดเล็กกับพันธุเมล็ดใหญ่ ซึ่งขนาดเล็กกว่าพันธุ์ของจีนและญ่ีปุน และ ให้ผลผลิตค่อนข้างต่ํา ต่อมาได้มีการนําพันธุ์จากต่างประเทศ เพื่อนํามาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ให้ เหมาะสมต่อสภาพการปลูกในประเทศไทย และให้ผลผลิตสูงขึ้น จนถึงปัจจุบันมีการแนะนําพันธ์ุถั่ว เหลืองหลายพันธุ์ให้แก่เกษตรกร สภาพนิเวศวิทยาของถ่ัวเหลืองที่สามารถปลูกได้อยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ 30-35 องศาเหนือจนถงึ เส้นแวงท่ี 105–110 องศาตะวันออก ภาพท่ี 8-9 แหลง่ กําเนดิ ของถั่วเหลอื ง ทีม่ า: Han et al (2016) ระยะการเจรญิ เติบโตและการพัฒนาของถว่ั เหลอื ง 1. ระยะการเจริญเติบโตทางลําต้น (vegetative stage) การพิจารณาระยะการเจริญเติบโต ในช่วงน้ี ถือเอาลําดับของข้อเป็นสําคัญ ข้อ (node) ไดแก่ ส่วนของลําต้นที่ใบมีการพัฒนาขึ้น เมื่อใบ หลดร่วงจะพบแผลเป็น (scar) เหลือไว้ให้เห็น การท่ีข้อถูกใช้เป็นตัวกําหนดระยะการเจริญเติบโต เน่ืองมาจากเป็นลักษณะปรากฏอยู่ท่ีลําต้นตลอดไป ไม่ได้หลุดรวงไปเหมือนใบ ในการนับจํานวนข้อ และลําดับของข้อจะใช้นับข้อท่ีอยู่บนลําต้น (main stem) เท่านั้น ระยะการเจริญเติบโตทางลําต้น ของถวั่ เหลือง แบ่งได้ดงั ภาพท่ี 8-10 และมีการอธบิ ายรายละเอียดของแตล่ ะระยะตามตารางที่ 1
พชื ไร่เศรษฐกจิ | 189 ระยะ VE ระยะ VC ระยะ V1 ระยะ V2 ระยะ V4 ภาพที่ 8-10 ระยะการเจรญิ เติบโตทางด้านลําตน้ ท่ีมา: กรมวิชาการเกษตร (2552) 2. ระยะการเจริญเติบทางดา้ นการเจริญพนั ธ์ุ (reproductive stage) เรมิ่ ตั้งแตถ่ ่ัวเหลืองเรม่ิ ออกดอก ติดฝกั ตดิ เมล็ด และมีพัฒนาจนถงึ การสะสมน้าํ หนกั แหง้ ของเมลด็ จนถึงการสุกแก่ ระยะ การเจรญิ เติบโตทางดา้ นการเจรญิ พนั ธ์ุของถ่วั เหลอื ง แบ่งได้ดงั ภาพท่ี 8-11 และมกี ารอธิบาย รายละเอียดของแต่ละระยะตามตารางท่ี 8-1 ระยะ R1 ระยะ R2 ระยะR3 ระยะ R4 ระยะ R5 ระยะ R6 ระยะ R7 ระยะ R8 ภาพที่ 8-11 ระยะการเจรญิ เตบิ โตทางการเจรญิ พนั ธุ์ ท่มี า: กรมวิชาการเกษตร (2552)
190 |ดรุณี พวงบตุ ร ตารางท่ี 8-1 ระยะการเจริญเติบโตของถวั่ เหลือง ตัวย่อ ระยะการเจริญเติบโต ลกั ษณะที่ปรากฏ การเจริญเติบโตทางด้านลาตน้ (vegetative stage) VE ระยะเร่ิมงอก (emergence) พชื มีใบเลย้ี งงอกโผลเ่ หนือผิวดิน VC ระยะใบเลี้ยง (cotyledon) ใบเลี้ยงแยกออกจากกัน ใบจริงคแู่ รกท่เี ป็นใบเด่ยี ว (unifoliate leaves) บนข้อท่ี 1 V1 ระยะขอ้ ที่ 1 (first node) ใบจรงิ ค่แู รกท่ีเป็นใบเด่ียวบนข้อท่ี 1 แผ่ขยายเต็มที่ ใบจริงที่เป็นใบประกอบแบบสามใบย่อย (first trifoliate leaf) บนข้อถัดไปเร่ิมคลี่กางและขอบใบ ไม่ติดกนั V2 ระยะข้อท่ี 2 (second node) ใบจรงิ แบบสามใบย่อยบนข้อที่ 2 แผ่ขยายเต็มทใี่ บ จริงบนข้อถัดไปเริ่มคลก่ี างและขอบใบไม่ตดิ กนั V3 ระยะขอ้ ที่ 3 (third node) ใบจริงแบบสามใบย่อยบนข้อที่ 3 แผข่ ยายเต็มท่ี ใบ Vn ระยะขอ้ ที่ n (n-node) จรงิ บนขอ้ ถัดไปเริ่มคลีก่ างและขอบใบไม่ติดกนั ใบจริงบนข้อที่ n บนลําตน้ หลกั ทม่ี ีใบจริงแบบสาม ใบย่อย แผ่ขยายเต็มที่ การเจริญเติบทางด้านการเจรญิ พนั ธ์ุ (reproductive stage) R1 ระยะเร่ิมออกดอก (beginning มีดอกแรกบานบนข้อใดข้อหน่ึงของลาํ ต้นหลัก bloom) R2 ระยะออกดอกเต็มท่ี (Full bloom) มดี อกบานบนข้อใดข้อหน่ึงใน 2 ขอ้ นับจากขอ้ บนสดุ ของตน้ หลักซึง่ มีใบแผ่ขยายเต็มที่ R3 ระยะเร่ิมติดฝัก (Beginning pod) มีฝกั ยาว 5 มลิ ลเิ มตร บนข้อใดขอ้ หน่งึ ใน 4 ข้อ นับ จากข้อบนสดุ ของลาํ ตน้ หลัก ซ่ึงมีใบแผ่ขยายเต็มที่ R4 ระยะฝักเต็ม (full pod) มีฝักยาว 2 เซนติเมตร บนขอ้ ใดข้อหนึ่งใน 4 ขอ้ นบั จากข้อบนสดุ ของลําตน้ หลัก ซึ่งมีใบแผ่ขยาย เต็มท่ี R5 ระยะเร่ิมตดิ เมลด็ (Beginning ภายในฝักมีเมลด็ ยาว 3 มิลลิเมตร บนข้อใดข้อหนึง่ seed) ใน 4 ข้อนับจากข้อบนสดุ ของลําตน้ หลัก ซง่ึ มีใบแผ่ ขยายเตม็ ท่ี R6 ระยะเมล็ดโตเต็มที่ (full seed) มีเมลด็ สเี ขยี วโตเตม็ ชอ่ งว่างภายในฝักบนข้อใดข้อ หนงึ่ ใน 4 ขอ้ นับจากข้อบนสดุ ของลําตน้ หลัก ซง่ึ มี ใบแผข่ ยายเต็มที่ R7 ระยะเริ่มสุกแก่ (beginning ฝกั ใดฝกั หนง่ึ บนลาํ ต้นหลกั เรมิ่ มสี นี ํ้าตาลหรือเร่ิมสุก maturity) แก่ R8 ระยะสกุ แก่เต็มที่ (full maturity) ฝักมสี นี ํา้ ตาลหรอื สุกแกเ่ ต็มท่ีประมาณ 95 เปอร์เซน็ ต์
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 191 การปลูกและการเกบ็ เกี่ยว การปลูกถ่ัวเหลืองเพ่ือผลิตเมล็ดพันธ์ุที่มีคุณภาพดีในประเทศไทย สามารถปลูกได้ท้ังในฤดู แล้งและฤดูฝน การปลูกถ่ัวเหลืองในฤดูแล้ง ส่วนใหญ่แหล่งปลูกจะอยู่ในเขตชลประทานและมีช่วง ปลกู ที่เหมาะสม คอื หลงั ฤดูทํานาปี เร่ิมตั้งแตกลางเดอื นธันวาคมถึงกลางเดือนมกราคม ส่วนถั่วเหลือง ฤดูฝน มีพ้ืนที่ปลูกบนท่ีดอนเริ่มปลูกในเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม ปริมาณนํ้าฝนและ อุณหภูมิมีผลกระทบตอการเจริญเติบโตผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดพันธ์ุถัวเหลือง ดังน้ันการปลูก ในช่วงทเ่ี หมาะสมจะช่วยใหถ้ วั่ เหลอื งเจริญเตบิ โตดี และใหผ้ ลผลิตและคุณภาพสูง วธิ กี ารปลกู ถวั่ เหลอื ง 1. ฤดแู ล้ง ชว่ งเวลาท่ีเหมาะสม คอื ตง้ั แตก่ ลางเดอื นพฤศจิกายนถึงกลางเดอื นมกราคม แต่ถ้า สามารถปลูกได้เร็วโดยปลูกให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนธันวาคมจะได้ผลดีมาก ทั้งน้ีเพราะสามารถหลีก เลยี งอากาศหนาวเย็นขณะเร่ิมงอกได้ และในช่วงการติดฝัก สร้างเมล็ด จะมีอุณหภูมิไม่สูงมาก และที สําคญั สามารถเกบ็ เกย่ี วได้กอ่ นที่จะมฝี นตกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะถ้าถ่ัวเหลืองถูกฝนในระยะสุกแก่ถึง ชว่ งเก็บเกยี่ วจะทําใหผ้ ลผลติ เสียหายและเมลด็ พันธุ์มคี ณุ ภาพตาํ่ 2. ฤดูฝน ช่วงเวลาทีเหมาะสม คือกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม การปลูกก่อน หน้าน้ีช่วงเก็บเกี่ยวอาจกระทบช่วงท่ีฝนตกหนัก สําหรับถ่ัวเหลืองพันธุ์นครสวรรค์ 1 แนะนําให้ปลูก ต้นฝน ถ้าปลูกปลายฝนเมล็ดจะปริและแตก วิธีปลูกถว่ั เหลอื ง 1. สภาพนา ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเคร่ืองปลูกทําหลุมกว้าง 2–3 เซนติเมตร ลึก3-4 เซนตเิ มตร แลว้ หยอดเมล็ดพันธ์ุ 4–5 เมล็ดต่อหลมุ โดยมีระยะปลกู 25 × 25 เซนติเมตร 2. สภาพไร่ ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเครื่องปลูกทําหลุมกว้าง 2–3 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดพนั ธุ์ 4–5 เมล็ดต่อหลุม หลุม โดยมีระยะปลูก 50 × 25 เซนติเมตร แต่ถ้า ใช้เคร่ืองปลกู เครื่องจะปลกู แบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จํานวน 20-25 ต้นตอ แถว การเกบ็ เกยี่ วและนวดถว่ั เหลอื ง ถั่วเหลืองมีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 90-100 วัน ระยะเวลาท่ีถั่วเหลืองแก่เก็บ เกี่ยวได้จะสังเกตได้จากใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงหล่นไปเป็นส่วนมาก ฝักเปล่ียนเป็นสีน้ําตาล การเก็บเก่ียวอาจใช้มีดหรือเคียวเก่ียวท้ังต้นและนํามาตากให้แห้ง ประมาณ 2-3 แดด แล้วนํามานวด โดยนํามากองแล้วใช้ไม้ฟาดหรือใช้แทรกเตอร์แล่นทับหรือใช้เครื่องนวดติดเคร่ืองยนต์ก็ได้ เสร็จแล้ว จึงนํามารอ่ นหรอื ฝัดเอาแต่เมล็ดที่สะอาด เมล็ดถ่ัวที่จะใช้ทําพันธุ์จะต้องนําไปตากให้แห้งสนิท วิธีเก็บ
192 |ดรุณี พวงบุตร ท่ีให้มีความงอกสูงได้นาน 10 เดือน คือตากเมล็ดให้แห้งสนิทและเก็บไว้ในห้องเย็น แต่สําหรับ เกษตรกรทั่วไป วิธีท่ีเหมาะสมคือ เก็บเมล็ดท่ีแห้งไว้ในภาชนะที่ปิดฝาได้สนิท เช่น ปีบสังกะสีหรือ พลาสติก มัดปากถุงให้แน่นและเก็บไว้ในห้องที่ไม่ชื้นจะเก็บไว้ได้นานประมาณ 5 เดือน โดยที่มีความ งอกมากกวา่ 70 % สามารถนําไปใช้ปลกู ได้สถานการณ์การผลติ และการตลาดของถ่ัวเหลอื ง โรคและแมลงท่สี าคัญของถัว่ เหลือง โรคของถวั่ เหลืองมีมากมายหลายชนดิ แตล่ ะชนิดแสดงผลอย่างรุนแรงเป็นแห่ง ๆ ไป คือบาง โรครุนแรงที่หนึ่งแต่ไม่รุนแรงในอีกท่ีหน่ึง การระบาดของโรคบางชนิดจัดว่าเป็นอุปสรรคสําคัญของ การขยายการปลกู ถั่วเหลืองในประเทศไทย โรคสําคัญๆ ที่ระบาดแล้วมีผลทําลายรุนแรงหรือค่อนข้าง รุนแรง ดังน้ี 1. โรคราสนิม (rust) อาการเร่ิมเป็นท่ีใบล่างเม่ือถ่ัวเหลืองเร่ิมออกดอก หรือก่อนออกดอก เลก็ นอ้ ย แล้วลามข้ึนใบบน เมอื่ เรมิ่ เป็นจะปรากฏเป็นจุดสีน้าํ ตาลเล็ก ๆ ใต้ใบ จุดค่อย ๆ เพิ่มข้ึน จุดนี้ มลี ักษณะและสคี ลา้ ยสนิมเหล็กเมื่อเป็นมากใบกจ็ ะร่วง ถ้าเหลอื งเป็นโรคน้ใี ห้ฝักลบี เมล็ดเล็ก 2. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) แสดงอาการบนใบเป็นจุดแผลสีนํ้าตาลเข้ม จุดแผล ค่อนข้างโต 2-10 มิลลิเมตร นอกนั้นพบท่ีก่ิง ลําต้น ที่ฝักก็มีแผลสีนํ้าตาลจนดําเป็นวง ๆ เมล็ดลีบย่น เสยี หาย 3. โรคราน้ําค้าง (downy mildew) แสดงอาการบนใบคอื มจี ดุ ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน ต่อไปจุด นน้ั จะกลายเป็นสเี ทาหรือนา้ํ ตาลดาํ โรคน้มี ีอยหู่ ลายสายพันธุ์ (races) 4. โรคใบด่าง (soybean mosaic) ถ่ัวเหลืองเป็นโรคน้ีจะมีใบย่น มีสีเข้มระหว่างเส้นใบ ต้น ถ่ัวแคระแกรน ก้านใบส้ัน ฝักเล็ก โรคน้ีติดมากับเมล็ด ดังนั้นควรทําลายต้นที่เป็นโรคเสียก่อน เก็บ เกยี่ ว การปอู งกันโรคน้กี ระทําโดยใชเ้ มลด็ พนั ธุ์จากตน้ หรือแปลงท่ีไม่เปน็ โรค 5. หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว (bean fly) เป็นหนอนของแมลงวัน เป็นแมลงสีดํา ปีกใส ซ่ึง วางไข่ตรงโคนต้นหรือก้านใบของถ่ัวเหลือง ไข่ฟักเป็นตัวหนอนมีสีเหลืองอ่อนก็ชอนไชไปในลําต้น ทํา ใหถ้ วั่ เหลอื งชะงกั การเจรญิ เติบโต ถา้ หนอนไชถึงยอดก็ทาํ ให้ยอดอ่อนเห่ียว ไม่เจริญเติบโตต่อไปแต่จะ แตกแขนงมากขน้ึ ทาํ ใหม้ ีขอ้ ส้ัน ผลผลิตลด 6. หนอนมว้ นใบ เปน็ หนอนของผเี สื้อกลางคนื หลายชนดิ หนอนพวกน้ีจะชักใยดึงใบถั่วเหลือง เข้าหากนั เป็นทีอ่ าศยั แล้วออกมากัดกินใบถัว่ เหลอื งจนเหลือเพียงเส้นใบ 7. หนอนชอนใบ เปน็ หนอนของผเี ส้ือกลางคืน ซ่ึงจะชอนไชเข้าไปอยู่ใต้ผิวใบ กัดกินใบจนย่น ห่อเสียรูปทรง ทําให้ต้นถัว่ เหลืองแคระแกรนไม่เจรญิ เตบิ โต เพล้ียอ่อน 8. เพล้ยี อ่อน ทาํ อันตรายถั่วเหลืองตัง้ แต่เปน็ ตน้ ออ่ นจนถึงตดิ ฝัก ชอบระบาดในฤดูแล้ง ทําให้ ต้นอ่อนยอดหงกิ งอไมเ่ จริญ ฝกั ออ่ นเสียหาย เมลด็ ลีบ
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 193 สถานการณก์ ารผลติ และการตลาดของถั่วเหลืองของโลก 1. สถานการณก์ ารผลติ ถ่วั เหลอื งของโลก จากการวิเคราะหพ์ ้นื ปลูกถว่ั เหลืองของโลก ในช่วงปี 2555-2559 พบว่าเพ่ิมข้ึนเล็กน้อยเพียง ร้อยละ 0.03 โดยในปี 2559/60 มีพื้นท่ีปลูก 3,210 ล้านไร่ เพิ่มจากปี 2558/59 ท่ีมีพื้นท่ีปลูก 3,200 ล้านไร่ ประเทศท่ีมีพ้ืนปลูกมากที่สําคัญ 3 ลําดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา (ภาพที่ 8-12) ภาพที่ 8-12 พนื้ ทีป่ ลูกถัว่ เหลืองใน 5 ประเทศผู้ผลติ สาํ คัญ ตั้งแตป่ ี 2555 - 2559 ที่มา: FAO (2017) จากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลผลิตถ่ัวเหลือง ในปี 2555-59 พบว่าผลผลิตถ่ัวเหลืองของ โลกเพิ่มข้ึนร้อยละ 6.63 ต่อปี โดยในปี 2559/60 มีผลผลิตรวม 351.25 ล้านตัน สูงข้ึนจาก 313.71 ลา้ นตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 11.97 ประเทศผู้ผลิตสําคัญ 3 ลําดับแรกของผลผลิตโลก ผลิตได้รวม 288.82 ล้านตัน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา คิดเป็นร้อยละ 82.23 (ภาพท่ี 8-13) นอกจากน้ียังพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกายังผลผลิตต่อพื้นท่ีสูงสุด คือ 430 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ บราซิลและอาร์เจนตินา ส่วนประเทศไทยมีผลผลิตอยู่ที่ 260 กิโลกรัมต่อไร่ (ภาพที่ 8- 14) จากข้อมลู ช้ใี ห้เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีผลผลิตรวมสูงที่สุด เนื่องจากมีผลผลิตต่อพื้นท่ีสูงสุด ดว้ ย
194 |ดรณุ ี พวงบตุ ร ภาพที่ 8-13 ผลผลติ ถั่วเหลอื งของประเทศ 5 อันดบั แรกของโลกในปกี ารผลิต ตัง้ แต่ปี 2555 -2559 ทม่ี า: FAO (2017) ภาพท่ี 8-14 ผลผลิตตอ่ พ้นื ท่ีถวั่ เหลืองของประเทศ 5 อันดับแรกของโลก ตัง้ แต่ปี 2555- 2559 ทีม่ า: FAO (2017)
พชื ไร่เศรษฐกิจ| 195 2. สถานการณก์ ารตลาดถ่ัวเหลืองของโลก จากการวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออก ในช่วงปี 2555/56 - 2559/60 การส่งออกเมล็ดถั่ว เหลืองโลกเพิ่มขึ้นรอ้ ยละ 9.96 ตอ่ ปี ในปี 2559/60 มกี ารส่งออก 147 ล้านตัน เพ่ิมขึ้นจาก 132 ล้าน ตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 9.9 (ตารางที่ 1) ประเทศส่งออกสําคัญอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา โดยท้ัง 3 ประเทศ มีปริมาณส่งออกรวม 129.19 ล้าน ตัน คิดเปน็ ร้อยละ 87.61 ของปรมิ าณสง่ ออกโลก จากการวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการใช้ ในช่วงปี 2555-59 พบว่าความต้องการใช้เมล็ด ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ํามันมีปริมาณเพิ่มข้ึนทุกปี เพิ่มข้ึนจาก 274 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 5.8 เนื่องจากความต้องการใช้นํ้ามันถ่ัวเหลืองเพ่ือการอุปโภคและบริโภคของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มข้ึน โดยเฉพาะจีนซ่ึงเป็นผู้ใช้เมล็ดถั่วเหลืองรายใหญ่ของโลกมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และภาคปศุสัตว์จึงมีความต้องการเมล็ดถ่ัวเหลือง เพ่ือสกัดน้ํามันและนํากากถ่ัวเหลืองไปใช้ในอาหาร สัตว์ จากการวิเคราะห์สถานการณ์การนําเข้า ในช่วงปี 2555/56 - 2559/60 การนําเข้าเมล็ดถ่ัว เหลืองโลกเพ่ิมขึ้นร้อยละ 9.92 ต่อปี ในปี 2559/60 มีปริมาณการนําเข้า 143 ล้านตัน เพิ่มข้ึนจาก 133 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 9.9 (ตารางท่ี 8-2) โดยจีนมีการนําเข้ามากท่ีสุดเท่ากับ 92.50 ลา้ นตัน คิดเปน็ ร้อยละ 64.42 ของปริมาณนําเข้าโลก เน่ืองจากผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ภายในประเทศ สําหรับประเทศไทยนําเข้าเมล็ดถ่ัวเหลืองเป็นอันดับ 5 ของโลก ปี 2559/60 นําเข้า ปรมิ าณ 3.08 ลา้ นตนั หรือร้อยละ 2.14 ของปริมาณนําเข้าของโลก ตารางท่ี 8-2 แสดงปริมาณการผลิต การนาํ เขา้ และสง่ ออกของถัว่ เหลืองโลก ในปี 2555-59 รายการ 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 2559/60 อัตราเพิ่ม (ล้านตัน) (ลา้ นตัน) (ร้อยละ) (ล้านตัน) (ลา้ นตัน) (ล้านตัน) ผลผลิต 268 282 320 313 351 6.6 การนาํ เขา้ 97 1130 124 133 143 9.9 132 147 9.9 การส่งออก 100 112 126 274 288 5.8 ความตอ้ งการใช้ 231 243 264 ทม่ี า: สํานกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร (2560b) ในปี 2554/55 - 2558/59 ราคาเมล็ดถ่ัวเหลืองในตลาดสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มลดลงอย่าง ต่อเน่ือง ร้อยละ 11.02 ต่อปี แต่ในปี 2558/59 ราคา 346 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงจาก 356 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.81 สาหรับตลาดบราซิลราคาเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2554/55- 2558/59 ลดลงร้อยละ 9.99 ต่อปี แต่เม่ือเปรียบเทียบปี 2558/59 กับปี 2557/58 ราคา
196 |ดรุณี พวงบตุ ร ลดลงไม่มากนัก ร้อยละ 1.55 จาก 388 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็น 382 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งน้ี ปริมาณผลผลิตถ่ัวเหลืองของสหรัฐอเมริกาและบราซิลเพ่ิมขึ้นร้อยละ 16.95 และร้อยละ 10.96 ตามลาดบั สถานการณ์การผลิตและการตลาดถ่ัวเหลืองของไทย 1. สถานการณก์ ารผลติ จากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิต พบว่าการเนื้อท่ีเพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองยังคง ลดลงอย่างต่อเน่ือง ท้ังน้ีมีสาเหตุจากการดูแลรักษายุ่งยาก ต้องใช้แรงงานมาก และเม่ือเปรียบเทียบ ผลตอบแทนการปลูกถ่ัวเหลืองจะมีรายได้ต่ํากว่าพืชแข่งขันอื่น ๆ เช่น ข้าวโพดเล้ียงสัตว์ ข้าวโพด หวาน เป็นต้น โดยคาดว่าปี 2561/62 จะมีเนื้อที่เพาะปลูก 0.15 ล้านไร่ ผลผลิต 40,994 ตัน และ ผลผลิตตอ่ ไร่ 274 กโิ ลกรัม (ภาพที่ 8-15) 900,000 280 800,000 275 700,000 270 600,000 265 500,000 400,000 260 300,000 255 200,000 250 100,000 0 245 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 ภาพท่ี 8-15 พน้ื ท่ปี ลูก ผลผลติ รวม และผลผลติ ต่อไรข่ องถว่ั เหลืองของไทย ในปี 2550- 2559 ท่ีมา: สาํ นักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2560a) พ้ืนที่ปลูกถ่ัวเหลืองท่ีสําคัญในประเทศไทย อยู่ในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียราย ขอนแก่น ชัยภูมิ เลย เป็นต้น (ภาพที่ 8-16) เน้ือที่เพาะปลูกถั่วเหลือง ปี 2559 ลดลงจากปี 2558 ถึงแม้ว่า ภาครัฐจะมีการส่งเสริมให้ขยายเน้ือท่ีเพาะปลูก แต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงขึ้นตามปัจจัยการผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับไมจ่ งู ใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกเพมิ่ ขน้ึ ประกอบกับขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดีท่ีได้ มาตรฐานส่งผลให้เกษตรกรปรับเปล่ียนไปปลูกพืชอ่ืน เช่น ข้าวโพดหวาน ถั่วเขียว อ้อยโรงงาน และ
พืชไร่เศรษฐกจิ | 197 พืชผัก ส่วนผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น เน่ืองจากปริมาณนํ้าไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นถ่ัว แต่ ภาพรวมผลผลติ ลดลงตามการลดลงของเน้ือทีเ่ พาะปลกู ภาพที่ 8-16 พ้นื ที่ปลกู ถว่ั เหลืองของไทย ทมี่ า: สาํ นักงานเศรษฐกจิ การเกษตร (2560c) 2. สถานการณก์ ารตลาด จากการวเิ คราะหส์ ถานการณ์ความต้องการใช้ของไทย ในปี 2561 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ด ถั่วเหลืองมีปริมาณ 2.93 ล้านตัน โดยในปี 2561 คาดว่ามีสัดส่วนการใช้ผลผลิตภายในประเทศ ร้อย ละ 1.02 และนําเขา้ รอ้ ยละ 98.98 ของปริมาณความตอ้ งการใชท้ ง้ั หมด (ตารางท่ี 2) จากการวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออก ในปี 2561 คาดว่าปริมาณการส่งออกเมล็ดถ่ัว เหลืองของไทยมีปริมาณ 8,000 ตัน เพ่ิมขึ้นจาก 6,500 ตัน ในปี 2560 ร้อยละ 23.08 โดยเป็นการ ส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองสายพันธ์ุธรรมชาติ ไม่มีการดัดแปรงพันธุกรรม (Non-GMO) ท่ีผลิตได้ ภายในประเทศ และตลาดสง่ ออกส่วนใหญ่อยใู่ นทวปี เอเชยี (ตารางท่ี 2)
198 |ดรณุ ี พวงบุตร จากการวิเคราะห์สถานการณ์การนําเข้า พบว่าการนําเข้าเมล็ดถั่วเหลืองค่อนข้างทรงตัวตาม ราคาเมล็ดถั่วเหลืองและความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมในประเทศ คาดว่าปี 2561 การนําเข้ามี ปรมิ าณ 2.90 ลา้ นตนั เนอื่ งจากราคาปรับตัวสูงข้ึน ส่วนราคาที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2561 คาดว่า ราคาเมลด็ ถั่วเหลอื งทีเ่ กษตรกรขายไดป้ รับตวั สงู ข้นึ เลก็ น้อย (ตารางท่ี 8-3) ตารางท่ี 8-3 แสดงปริมาณการผลติ การนาํ เขา้ และส่งออกถ่ัวเหลืองของไทย ในปี 2556-60 รายการ 2556 2557 2558 2559 2560 อตั ราเพม่ิ ขึน้ (ตัน) (ตัน) (ตนั ) (ตัน) (ตนั ) (ร้อยละ) ผลผลิต 65,112 56,565 53,439 42,302 41,898 -11.1 การสง่ ออก 1,089 11,595 9,317 5,477 6,500 17.6 การนาํ 1,678,678 1,898,295 2,557,384 2,957,729 2,900,000 16.6 ความต้องการใช้ 1,743,790 1,954,860 2,610,823 3,000,031 2,941,898 15.9 ทีม่ า: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2560b) ถั่วเหลืองและผลติ ภัณฑ์การแปรรูป ถวั่ เหลอื งสามารถนํามาใช้ประโยชนไ์ ด้ทุกส่วน ดงั น้ี 1. สว่ นตา่ ง ๆ ของถ่วั เหลอื ง คอื ใบ ลําต้น เปลอื กเมื่อเก็บเก่ียวและนวดเรียบรอ้ ยแล้ว และไถ กลบลงสดู่ นิ รวมท้ังปมท่ตี กค้างในดินจะเปน็ ปุ๋ยอนิ ทรีย์ท่ดี ีทสี่ ุด ช่วยในการปรบั ปรงุ บํารงุ ดิน 2. เมล็ดของถัว่ เหลอื งนาํ มาใช้เป็นอาหารท่ีมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเมล็ด ถ่ัวเหลืองจะถูก นาํ ไปใช้เปน็ วตั ถุดิบสําหรับอตุ สาหกรรมการผลติ เป็นผลติ ภณั ฑ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งแบ่งตามวิธีการผลิต เป็น 2 ลกั ษณะ คอื ผลิตภณั ฑจ์ ากถั่วเหลืองทไ่ี ม่ผา่ นการหมักและผ่านการหมักก่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่ว เหลอื งทไ่ี มผ่ า่ นการหมกั 2.1. ผลติ ภัณฑ์จากถั่วเหลอื งท่ีไมผ่ า่ นการหมกั 1. นํ้ามันถั่วเหลือง เป็นนํ้ามันท่ีมีคุณภาพดีมีกรดไขมันท่ีไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fatty Acid) 80-85 เปอร์เซ็นต์ ซ่ึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล น้ํามันถ่ัวเหลืองใช้สําหรับปรุงอาหาร ทําปลากระป๋อง เนยเทียม น้ํามันสลัด สีหมึก กลีเซอรีน และสบู่ ส่วนกากถั่วเหลืองที่สกัดน้ํามันออก แลว้ นาํ ไปใช้เป็นอาหารสตั ว์ได้อย่างดเี พราะมโี ปรตนี สงู ประมาณ 40 - 45 เปอรเ์ ซน็ ต์ 2. นํ้านมถ่ัวเหลือง หรือท่ีเรียกกันทั่วไปว่านมถั่วเหลือง สามารถใช้เป็นอาหารของคนได้ทุก เพศทุกวัย เป็นอาหารเสริมด่มื แทนนมววั ได้ดีพอสมควรแม้วา่ คุณค่าทางโภชนาการของนมถั่วเหลืองจะ ดอ้ ยกวา่ นมววั แต่กส็ ามารถนาํ ไปปรบั ปรงุ คุณภาพใหใ้ กล้เคียงกับนมวัวได้ เหมาะสําหรบั ผู้ทแ่ี พน้ มววั
พชื ไรเ่ ศรษฐกจิ | 199 3. เต้าหู้ เป็นอาหารพื้นเมืองของคนไทย นิยมรับประทานโดยท่ัวไป สามารถทําอาหารได้ หลายแบบ ราคาถูก เต้าหู้ที่ขายในท้องตลาดมีหลายลักษณะ ซึ่งได้แก่ เต้าหู้แข็ง เต้าหู้อ่อน เต้าหู้ เหลือง เต้าหหู้ ลอด เต้าหแู้ หง้ เป็นตน้ 4. เต้าฮวย มีลักษณะล้ายกับเต้าหู้อ่อน แต่เน้ือน่ิมกว่า จัดเป็นอาหารหวานท่ีรับประทาน ร่วมกับนํ้าขิง ซ่ึงคนท่ัวไปในประเทศไทยนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง สําหรับกรรมวิธีในการทํา เต้าฮวย 5. ฟองเต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์ท่ีอยู่ในความนิยมของคนไทยเช่นเดียวกัน แต่มีขอบเขตการใช้ จํากัด ซ่ึงนิยมใช้ประกอบอาหารประเภทแกงจืดเป็นหลัก การทําฟองเต้าหู้จะทําร่วมกับการทําเต้าหู้ เน่ืองจากการเตรียมการในข้ันตอนการทําน้ําเต้าหู้เป็นข้ันตอนการทําเช่นเดียวกัน สําหรับขั้นตอนใน การทําฟองเตา้ หู้ 6. ถ่ัวงอก เป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อผู้บริโภค เพราะนอกจาก คุณภาพของโปรตีนและไขมันจะไม่เปล่ียนแปลงไปมากนัก แต่จะได้ไวตามีนซี และไวตามีนเอ ใน ปริมาณท่ีเพิ่มข้ึน แต่การรับประทานถั่วเหลืองหัวโตจะต้องทําให้สุกก่อนเพื่อให้โปรตีนมีประสิทธิภาพ สูง กรรมวิธใี นการทําถ่วั งอกหวั โต 7. แปงู ถวั่ เหลืองท่ีมไี ขมนั เตม็ เป็นแปงู ทีม่ ีคณุ คา่ ทางโภชนาการสูงใช้แก้ปัญหาในด้านทุพโภช นา โดยเฉพาะโรคขาดโปรตีนและแคลอรี่ นอกจากนี้ยังสามารถนําไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเน่ืองได้ หลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหารเสริมเด็กอ่อน อุตสาหกรรมทําขนมอบ และอุตสาหกรรมทํา นํา้ นมถั่วเหลอื ง เปน็ ตน้ 8. ถัว่ เหลอื งไขมันเต็ม (Full fat soy) เป็นอาหารสัตว์ที่อุดมด้วยไขมันในปริมาณสูง เหมาะท่ี จะใช้เล้ียงลูกสุกรแรกเกิดถึงอายุประมาณ 1 เดือน หรือน้ําหนักประมาณ 15 กก. ซ่ึงจะทําให้ลูกสุกร โตเร็ว โดยมีกรรมวิธีในการทํา คือ ใช้เมล็ดถ่ัวเหลืองท่ีคัดคุณภาพทําความสะอาดแล้วนําไปทําให้สุก และตีให้ปนุ โดยผ่านขบวนการเอ็กซท์ รูด ( Extruder ) ซง่ึ เปน็ ขบวนการเบ็ดเสร็จในตัวคือทําให้สุกและ ตีให้ปุนเรียบร้อย โดยเครอื่ ง Extruder 2.2 ผลติ ภณั ฑท์ ่ผี ่านการหมกั (Fermented Product) ผลิตภณั ฑเ์ หลา่ นี้ มักจะใชเ้ ป็นสารชรู สอาหารทาํ ใหอ้ าหารมรี สชาตดิ ี กล่นิ นา่ รบั ประทาน ไดแ้ ก่ 1. ซีอ้ิว ใช้เป็นเครื่องจิ้มและเคร่ืองปรุงอาหารแทนนํ้าปลาหรือเกลือ โดยเฉพาะอย่างย่ิงใน อาหารจนี และอาหารมังสวิรตั 2. เต้าเจ้ียว นํามาใช้ประกอบอาการประเภท ผัด ซุป ทอด และใช้เป็นส่วนประกอบของ นํ้าจ้ิม ซึ่งนิยมบริโภคกันท่ัวไป การทําเต้าเจี้ยวทําได้ 2 ลักษณะ ซึ่งมีข้ันตอนกรรมวิธีในการผลิต เช่นเดียวกับซีอ้ิว ลักษณะแรก ทําโดยการดูดน้ําซีอิ๊วออกเหลือแต่เนื้อถั่วนําไปปรุงเติมแต่งรสใหม่ จะ
200 |ดรณุ ี พวงบตุ ร ได้เต้าเจี้ยวที่คุณภาพไม่ดีราคาถูก ลักษณะท่ีสอง ไม่ต้องผ่านการดูดนํ้าซีอิ้วออกใช้ทั้งหมดจะได้ เตา้ เจี้ยวที่มคี ุณภาพดรี าคาแพง 3. เตา้ หยู้ ี้ นอกจากจะนาํ ไปใช้เป็นสารชูรสในการบริโภคเป็นเครื่องจ้ิม เช่น อาหารประเภทสุ ก้แี ล้ว ยงั นาํ มาบริโภคกับข้าวต้มโดยตรง นา้ํ มนั ถั่วเหลือง นมถ่ัวเหลือง เต้าหู้ เตา้ ฮวย ฟองเต้าฮวย ถั่วงอก แปงู ถ่ัวเหลอื ง อาหารสัตว์ ซอี ้วิ เต้าเจี้ยว เตา้ หูย้ ้ี ภาพท่ี 8-17 ตัวอยา่ งผลติ ภัณฑจ์ ากถ่วั เหลอื ง
พชื ไร่เศรษฐกิจ| 201 ถว่ั เขยี ว ถ่ัวเขยี ว มชี ื่อวทิ ยาศาสตร์วา่ Phaseolus aureus Roxb. จัดเป็นพืชตระกลู ถว่ั ทใ่ี หเ้ มล็ดท่มี ี เปลือกสเี ขยี ว แต่เนอ้ื เมลด็ สเี หลอื ง ถ่วั เขยี วเปน็ พชื ท่มี ีอายุสัน้ ประมาณ 60-65 วัน จงึ ใช้น้ําน้อยกวา่ พชื ไรอ่ นื่ หลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืชหลายชนิด เชน่ พชื แซม พืชหมุนเวยี น ผลผลิตของถว่ั เขยี วสามารถนําไปบริโภคได้หลายอย่าง เมลด็ เปน็ แหล่งของโปรตนี ส่วนตน้ สามารถใช้ เปน็ ปุย๋ พชื สดใหป้ ริมาณไนโตรเจนสงู นอกจากนี้ ถว่ั เขยี วใชเ้ ปน็ วัตถุดบิ ในการผลติ แปูง วุ้นเสน้ เพาะ ถั่วงอก และประกอบอาหารอื่น ๆ ถ่วั เขยี วมสี องชนิด ได้แก่ ถวั่ เขียวผวิ มัน และถ่วั เขียวผิวดาํ 1. ถว่ั เขยี วผิวมัน (mungbean, green gram; Vigna radiata ถว่ั เขยี วชนดิ นี้ ได้แก่ พันธุ์อู่ ทอง 1 กําแพงแสน 1 ชัยนาท 60 และ ชัยนาท 36 และ มอ. 1 เป็นตน้ 2. ถัว่ เขียวผวิ ดํา (black gram; Vigna mungo ถว่ั เขียวชนดิ น้ี ได้แก่ พนั ธุอ์ ูท่ อง 2 และ พษิ ณโุ ลก 2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถ่ัวเขียว เป็นพรรณไม้ล้มลุกเน้ืออ่อน และจะมีอายุนานเพียงไม่เกิน 1 ปี ลําต้นจะมีขนเป็นสี นํ้าตาล และจะแตกก่ิงก้านสาขา ความสูงทรงพุ่มประมาณ 30-150 เซนติเมตร (ภาพท่ี 18-8) ซึ่ง ขนึ้ อยู่กบั พันธุ์ ลําตน้ เป็นเหลย่ี ม มีขนออ่ นปกคลุม ทงั้ นี้ถัว่ เขียวบางสายพนั ธ์อุ าจมีลักษณะลาํ ตน้ เล้ือย ภาพที่ 8-18 ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ของถวั่ เขียว ทมี่ า: Shutterstock (2017)
202 |ดรณุ ี พวงบตุ ร 1. ราก (root) ถ่ัวเขียวมีรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) เหมือนกับถั่วเหลืองและมีรากแขนง (lateral root) เจรญิ แตกออกมาจากรากแก้ว รากของถั่วเขยี วมกั หยงั่ ลกึ และรากแขนงเยอะ ทําให้ถั่ว เขียวเติบโตได้เร็วดินท่ีมีความช้ืน บริเวณรากมักจะพบปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียม (rhizobium spp.) ทําหน้าทช่ี ว่ ยตรงึ ไนโตรเจน (ภาพที่ 8-19) ภาพท่ี 8-19 ลักษณะรากถ่ัวเขยี ว ท่มี า: Lyons (2017) 2. ลาตน้ (stem) ถวั่ เขียวเปน็ พชื ล้มลุก มลี ักษณะลําตน้ ตงั้ ตรง แตกกิ่งกา้ นเปน็ พ่มุ ความสงู ทรงพุ่มประมาณ 30-150 เซนตเิ มตร ซึ่งขึ้นอยูก่ ับพนั ธ์ุ ลําต้นเป็นเหลยี่ ม มขี นอ่อนปกคลมุ ท้งั นี้ถ่วั เขียวบางสายพนั ธ์ุ อาจมลี กั ษณะลาํ ตน้ เล้อื ย (ภาพท่ี 8-20) ภาพที่ 8-20 ลกั ษณะต้นถั่วเขยี ว ทมี่ า: Feedipedia (2016)
พชื ไร่เศรษฐกิจ| 203 3. ใบ (leaf) เปน็ ใบประกอบ ออกสลับกนั ก้านใบยาว มใี บย่อยอยสู่ ามใบอย่บู นก้าน มลี กั ษณะทรงกลมรี โคนใบมน ปลายใบเรยี ว มีกา้ นใบยอ่ ยส้นั มีมือเกาะออกที่ปลายใบ มีขนอ่อนๆ มีสเี ขียว (ภาพท่ี 8-21) ภาพที่ 8-21 ลักษณะใบถว่ั เขียว ท่ีมา: Traditional Chinese Medicine Wiki (2016) 4. ดอก (flower) ดอกมีลักษณะเป็นช่อ (inflorescence) เกิดข้ึนบริเวณมุมใบด้านบนบริเวณปลายยอด และ กิ่งก้าน ช่อดอกประกอบด้วยก้านดอก (peduncle) ยาว 2-13 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกเกิดเป็นกลุ่ม จํานวนดอกประมาณ 10-15 ดอก สีดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว และสมี ว่ ง (ภาพท่ี 8-22) ภาพท่ี 8-22 ลกั ษณะดอกถ่ัวเขยี ว ทม่ี า: Traditional Chinese Medicine Wiki (2016)
204 |ดรณุ ี พวงบตุ ร 5. ฝัก และเมล็ด (pod and seed) ฝักมีลักษณะกลมยาว สีเขียว ปลายโคง้ งอเลก็ น้อย โดยเฉพาะถว่ั เขียวผิวมัน ส่วนถัว่ เขยี วผวิ ดําฝักจะตรง และสนั้ กว่าถ่วั เขียวผวิ มนั เมอื่ แกจ่ ะมีสีน้ําตาลจนถึงสดี ําตามอายุ และขึ้นอยกู่ บั พันธุ์ ฝัก จะมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด 100 เมลด็ หนักประมาณ 2-8 กรมั ข้ึนอยู่กับพันธุ์ (ภาพท่ี 8-23) ภาพที่ 8-23 ลกั ษณะฝักละเมล็ดถ่ัวเขียว ท่มี า: Traditional Chinese Medicine Wiki (2016) ถ่ินกาเนดิ และสภาพแวดลอ้ ม ถวั่ เขียวมีถน่ิ กาํ เนดิ อยใู่ นทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ในประเทศอนิ เดีย (ภาพท่ี 8-24) ต่อมาได้มีปลูกกัน มากในเขตรอ้ นหลายประเทศทว่ั โลก ซึ่งมกี ารแพรากระจายไปสปู่ ระเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย สว่ นในประเทศไทยมีปลกู หลายสายพนั ธุ์ India ภาพที่ 8-24 แหลง่ กาํ เนดิ ของถว่ั เขยี ว ท่ีมา: Pinterest (2016)
พชื ไร่เศรษฐกจิ | 205 ระยะการเจริญเติบโตและการพฒั นาของถ่ัวเขียว การเจริญเติบโตของถว่ั เขียวแบง่ ออกเปน็ 2 ระยะ คอื ระยะการเจริญเติบโตทางด้านลําต้นและ การเจรญิ เตบิ โตทางด้านการเจริญพนั ธ์ุ ซ่งึ มรี ายละเอยี ดดงั น้ี 1. การเจริญเติบโตทางด้านลําต้น (vegetative stage) โดยระยะน้ี จะพิจารณาโดยการนับ จํานวนข้อบนลาํ ตน้ หลกั เรม่ิ ที่ unifoliolate nodes เปน็ ขอ้ ที่ 1 จนถงึ ข้อสุดท้าย ซึ่งข้อท่ีนับจะต้องมี ใบประกอบท้ัง 3 ใบแผ่ขยายเต็มที่ โดยเร่ิมจากระยะ VE (emergence) เป็นระยะใบเล้ียงโผล่พ้นดิน ระยะ VE เป็นระยะขอบใบของใบจริงคู่แรก ไม่ม้วนติดกัน ระยะ V1 เป็นระยะท่ีใบจริงคู่แรก บนลํา ตน้ หลกั คลขี่ ยายเต็มท่ี ระยะ V2 เป็นระยะท่ีใบประกอบชุดแรก บนลําต้นหลัก คล่ีขยายเต็มท่ี จนถึง Vn เปน็ ระยะทใี่ บประกอบขอ้ ที่ n บนลาํ ตน้ หลัก คลขี่ ยายเต็มที่ 2. การเจริญเติบโตทางดา้ นการเจรญิ พนั ธุ์ (reproductive stage) โดยระยะนีจ้ ะเร่ิมพิจารณา ตง้ั แต่ระยะ R1 คอื ดอกแรกบาน ระยะ R2 คือ เร่ิมมีฝัก ระยะ R3 คือ เร่ิมมีเมล็ด ระยะ R4 คือ ฝักมี เมล็ดสีเขียวเต็มฝัก ระยะ R5 คือ ฝักเริ่มเปล่ียนสี ระยะ R6 คือ เร่ิมมีฝักแก่ และระยะ R7 คือ ฝักแก่ เก็บเก่ียว (90%) ฤดูการปลกู ถว่ั เขียวและวธิ กี ารปลกู ฤดกู ารปลกู แบ่งได้ 3 ฤดู คือ 1. ต้นฤดฝู น ปลูกในช่วงระหวา่ งเดอื น พฤษภาคม-กรกฎาคม คิดเป็นผลผลิตประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตทงั้ ปเี ป็นการปลูกกอ่ นทํานาหรือพืชไร่อ่ืน 2. ปลายฤดูฝน ปลูกในช่วงเดอื นสิงหาคม-กันยายน คดิ เป็นผลผลิตประมาณรอ้ ยละ 80 ของ ผลผลติ ทง้ั ปี พนื้ ที่ปลูกส่วนใหญเ่ ป็นทีด่ อน เป็นการปลูกหลังเก็บเก่ยี วพชื ไรห่ ลกั เชน่ ข้าวโพด ผลผลติ ที่ไดค้ ่อนข้างสูงและเมลด็ มีคุณภาพดี 3. ฤดแู ลง้ จะปลกู ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยอาศัยความช้ืน ในดิน ถ้าเก็บเก่ียวข้าวช้าความชื้นในดินเหลือน้อย ควรมีการให้น้ํา 1-2 ครั้ง เพราะถ้าอุณหภูมิต่ํากว่า 15 องศาเซลเซยี ส ถวั่ เขยี วจะชะงักการเจรญิ เตบิ โต ควรรอให้อณุ หภูมสิ ูงกว่าน้ีจึงค่อยปลูก โดยเฉพาะ ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ควรปลูกหลังจากอากาศหนาวหมดไปแล้ว คือประมาณเดือน กุมภาพนั ธ์
206 |ดรุณี พวงบตุ ร วิธีการปลูก วธิ ปี ลกู ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ดพนั ธ์ุ ถ้ามีความงอกต่าํ กวา่ รอ้ ยละ 80 ควร เพ่ิมจํานวนเมล็ดพนั ธุ์ทีจ่ ะใชป้ ลูกให้มากข้ึน วิธีปลกู ทาํ ได้ 2 แบบคือ 1. ปลูกแบบหวา่ น ควรเตรียมแปลงปลกู ให้ดีแลว้ หวา่ นเมล็ดพนั ธใุ์ หส้ มํ่าเสมอ มฉิ ะนั้นผลผลติ จะตํา่ คณุ ภาพเมล็ดลดลง การหวา่ นทีเ่ หมาะสมคือใช้เมลด็ พันธุ์ 4-5 กิโลกรัม หวา่ นอยา่ งสมํา่ เสมอใน เนอื้ ท่ี 1 ไร่ 2. ปลูกแบบเป็นแถว ใช้ระยะแถว 50 เซนตเิ มตร ระยะหลุม 20 เซนติเมตร หยอดหลมุ ละ 3- 4 เมลด็ หรือจะโรยเป็นแถวหลงั จากงอกแล้วถอนให้เหลอื 15-20 ตนั /แถว แถวยาว 1 เมตร การเกบ็ เกย่ี วถั่วเขยี ว ถ่ัวเขียว เป็นพืชท่ีมีการสุกแก่ของฝักไม่พร้อมกัน อายุเก็บเก่ียวของถ่ัวเขียวข้ึนอยู่กับพันธุ์ ความชื้นดินและสภาพภูมิอากาศ โดยท่ัวไปจะเก็บเก่ียว 2 คร้ัง ครั้งแรกเม่ือถ่ัวเขียวมีฝักแก่ 80 เปอร์เซน็ ต์ และคร้ังที่ 2 หลังจากเก็บเก่ียวครั้งแรกประมาณ 14 วัน การเก็บเก่ียวโดยใช้มือปลิดฝักแก่ ท่ีเปลี่ยนเป็นสีดําการเก็บเกี่ยวด้วยเคร่ืองจักรกล จะเก็บเก่ียวเมื่อถ่ัวเขียวมีฝักแก่ประมาณ 80 เปอร์เซน็ ต์ทาํ ใหเ้ ก็บเกีย่ วถว่ั เขียวได้เรว็ แต่มีข้อเสีย คือทําให้สูญเสียเมล็ดถ่ัวเขียวที่ยังไม่แก่ผลผลิตจะ มสี ิง่ เจือปนมาก และคณุ ภาพผลผลิตจะตํา่ กวา่ การเก็บเกีย่ วด้วยมอื หลังเก็บเก่ียวนําฝักถ่ัวเขียวไปผ่ึงแดด เพื่อให้ความชื้นฝักและเมล็ดลดลงเหลือประมาณ 11- 13เปอร์เซ็นต์ แล้วนวดกะเทาะ ซึ่งสามารถทําได้โดยนําฝักไปบรรจุในถุงหรือกระสอบ แล้วใช้ไม้ทุบ นาํ ฝักถ่วั เขียวมากองสูงบนลานนวดประมาณ 25 เซนตเิ มตร แล้วใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กท่ีปล่อยลม ยางรถให้อ่อน ยํ่าบนถ่ัวเขียว โดยใช้ความเร็วรอบของเคร่ืองต่ําเพื่อลดการแตกหักของเมล็ด ใช้เคร่ือง กะเทาะฝัก ท่ีมีความเร็วรอบ 550 รอบต่อนาทีหลังจากนั้นทําความสะอาดเมล็ดด้วยวิธีการร่อนแล้ว ฝัดแล้วนําเมลด็ ไปผ่ึงแดดเพ่ือลดความช้ืนให้เหลือ 11-12 เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุเมล็ดในกระสอบปุาน ทสี่ ะอาดเพอ่ื เกบ็ รกั ษาหรือส่งจาํ หน่าย โรคและแมลงทส่ี าคญั ของถัว่ เขียว 1. โรครากเน่าและโคนเน่า (root and basal stem rot) อาการพบทุกระยะการเจริญเติบโต ของถ่วั เขยี ว คือ รากเน่าเป็นสีน้ําตาล โคนต้นส่วนที่ติดดิน และผิวนอกของรากรอบๆ โคนต้นเน่าเป็น แผลสีน้ําตาล ถ้าในแปลงมีความชื้นสูง อาการของโรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว และจะพบเส้นใยสีขาว ละเอียดปกคลุมบริเวณแผล ต้นถ่วั เขยี วท่ีเปน็ โรคจะเหี่ยวและแห้งตาย 2. โรคราแปูง (powdery mildew) พบการระบาดในทุกระยะการเจริญเติบโต และบนทุก ส่วนของต้นถ่ัวเขียว โดยจะพบเส้นใยสีขาวคล้ายผงแปูงโรยอยู่บนใบหรือส่วนของพืชที่ถูกเชื้อราเข้า ทาํ ลาย ต่อมาใบจะเปล่ียนเป็นสีแดงและแห้งตายไป เชื้อราเข้าทําลายระยะต้นกล้า อาจทําให้ต้นกล้า
พืชไรเ่ ศรษฐกิจ| 207 ตาย แต่ถ้าเช้ือราเข้าทําลายในระยออกดอกจะทําให้ต้นแคระแกร็น ติดฝักน้อย ฝักและเมล็ดมีขนาด เล็กลง 3. โรคใบจุดสีน้ําตาล (cercospora leaf spot) พบบนใบแผลเป็นจุดสีน้ําตาลค่อนข้างกลม ขอบแผลไม่สมํ่าเสมอ ตรงกลางแผลมีสีเทาขนาดแผลตั้งแต่ 1-5 มิลลิเมตร ถ้าสภาพแวดล้อม เหมาะสมแผลจะขยายใหญอ่ ย่างรวดเร็ว ทาํ ให้ใบเหลืองแห้งและร่วงหล่นไป ในช่วงระยะออกดอก ถึง เริ่มติดฝักถั่วเขียวจะเป็นโรคใบจุดสีน้ําตาลมาก และจะรุนแรงมากก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะมี ผลกระทบต่อผลผลิตอย่างมาก โดยจะทําให้ฝักลีบและขนาดเมล็ดเลก็ ลง 4. เพล้ียไฟ ลักษณะการเข้าทําลาย เพล้ียไฟทําลายโดยดูดนํ้าเล้ียงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ใบยอด ตาดอก และดอก เป็นต้น โดยใช้ปากขูดขีดพืชทําให้เกิดแผลบริเวณเนื้อเย่ือและทําลาย เซลล์ ทาํ ใหใ้ บพชื เปลยี่ นเปน็ สีนํ้าเงิน และน้ําตาลในทสี่ ดุ ส่วนตา่ งๆ พชื เกิดอาการหงิกงอบิดเบี้ยวแห้ง กรอบและจะหลุดร่วงกอ่ นเวลา 5. เพลี้ยอ่อน ลักษณะการเข้าทําลาย เพล้ียอ่อนดูกินนํ้าเลี้ยงตามยอด ใบอ่อน ช่อดอก ทํา ให้ผลผลิตแคระแกร็น ยอดหงิกงอ ดอกร่วง ฝักอ่อนบิดเบี้ยว ผลผลิตลดลง มูลของเพลี้ยอ่อนเป็น อาหารของราดําทําให้ราดําเจริญเติบโตปกคลุมเต็มไปหมด พบตลอดฤดูปลูก แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงนาน อากาศร้อน และแห้งแลง้ จะเกิดการระบาดอยา่ งรุนแรง 6. หนอนม้วนใบ เม่ือหนอนโตขึ้นจึงกระจายกันออกไปเพ่ือหาใบพืช หรือชักใยดึงเอาใบ หลายๆ ใบมาห่อรวมกัน แล้วอาศัยกินอยู่ในใบที่ม้วนนั้น จนเหลือแต่เส้นใบ นอกจากนั้นยังทําลายตา กิง่ หรอื ดอก ทาํ ให้ไม่แตกกิ่งและไม่ออกดอกด้วย เมื่อหนอนกินใบที่ม้วนน้ันหมดก็จะย้ายไปม้วนใบอ่ืน ตอ่ ไป 7. หนอนกระทู้ผัก โดยทําลายใบ ดอกและฝักอ่อน ระยะท่ีก่อนให้เกิดความเสียหายแก่ ผลผลิตมากคือ ตั้งแต่ระยะออกดอกถึงระยะติดเมล็ด ถ้าหนอนกระทู้ผักระบาดในช่วงออกดอก ติด เมลด็ จะทําให้ผลผลติ ลดลง 8. หนอนเจาะฝักมารูคา่ ลกั ษณะการทําลาย หนอนเจาะฝักมารูค่า ทําความเสียหายให้กับถ่ัว เขียวโดยกัดกินเกสร ดอก ก้านดอก และรังไข่จนหมด แล้วหนอนจะเคล่ือนย้ายไปเจาะกินดอกอ่ืนๆ ตอ่ ไป หนอนตวั หนงึ่ สามารถทําลายดอกถวั่ ได้ 4-6 ดอก เมอื่ ทําลายดอกหมดแลว้ หนอนจะเจาะเขา้ ไป ทาํ ลายฝักท่อี ยตู่ ดิ กบั ดอก หรอื ติดกบั ใบและกดั กนิ เมล็ดภายในฝัก ทาํ ใหผ้ ลผลิตลดลง
208 |ดรณุ ี พวงบตุ ร สถานการณ์การผลิตและการตลาดถัว่ เขยี วโลก 1. สถานการณก์ ารผลิต จากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตถั่วเขียวโลก พบว่าพื้นที่เก็บเก่ียวถ่ัวเขียวมีแนวโน้ม ลดลงเล็กน้อย โดยประเทศที่มีพ้ืนที่เก็บเก่ียวมากที่สุด คือ อินเดีย รอลงมา ได้แก่ เมียนมาร์ บราซิล และเม็กซโิ ก ตามลําดบั (ภาพที่ 8-25) 70.0 60.0 62.5 64.5 India Myanmar 56.9 56.9 59.2 Brazil Mexico 50.0 Tanzania Kenya 40.0 Thailand 30.0 17.3 18.6 18.7 19.0 19.3 20.0 16.9 17.6 19.9 17.9 16.2 10.0 9.7 11.0 10.5 97..78 9.8 6.6 6.8 6.6 7.3 0.0 0.8 0.8 0.7 0.6 0.6 2555 2556 2557 2558 2559 ภาพท่ี 8-25 พืน้ ทเ่ี กบ็ เกี่ยวถั่วเขียวใน 7 ประเทศผู้ผลติ สาํ คัญ ต้งั แต่ปี 2555 - 2559 ทีม่ า: FAO (2016) จากการวเิ คราะห์สถานการณ์ผลผลิตถัว่ เขยี วโลก พบว่าผลผลติ รวมถ่ัวเขียวมีแนวโนม้ ลดลง เลก็ นอ้ ย โดยประเทศท่ีมผี ลผลติ สงู ทีส่ ุด คือ เมียนมาร์ รองลงมา ได้แก่ อนิ เดยี บราซลิ และเม็กซิโก ตามลาํ ดบั ในขณะทผี่ ลผลิตตอ่ พื้นท่มี ีแนวโน้มเพ่ิมเล็กน้อย (ภาพท่ี 8-26) โดยประเทศที่มผี ลผลิตต่อ พนื้ ที่สูงสุด คือ ประเทศเมยี นมาร์ มีผลลิตเฉลย่ี 270 กโิ ลกรมั ต่อไร่ รองลงมา คือ ประเทศบราซลิ มี ผลลิตเฉล่ยี 165 กโิ ลกรัมต่อไร่ (ภาพที่ 8-27)
พชื ไร่เศรษฐกิจ| 209 6.0 5.2 India 4.7 4.9 Myanmar 5.0 4.4 Brazil Mexico 4.0 Tanzania Kenya 4.0 4.2 4.3 Thailand 3.7 3.6 3.9 3.3 3.1 2.6 3.0 2.8 2.9 2.0 1.0 1.1 1.3 1.3 1.0 1.1 0.6 0.7 0.6 0.8 0.7 0.0 0.1 0.1 0.1 0.1 0.1 2555 2556 2557 2558 2559 ภาพที่ 8-26 ผลผลิตถวั่ เขยี วใน 7 ประเทศผ้ผู ลติ สาํ คญั ต้ังแต่ปี 2555 - 2559 ทม่ี า: FAO (2016) 300 India 270 Myanmar Brazil 249 259 Mexico 250 231 237 Tanzania Kenya 200 Thailand 165 164 165 173 162 150 100 124 111284 112214 125 111215 111 106 94 91800 99 94 65 64 68 66 66 50 0 2556 2557 2558 2559 2555 ภาพที่ 8-27 ผลผลติ ต่อพน้ื ท่ีถว่ั เขยี วใน 7 ประเทศผ้ผู ลติ สาํ คญั ต้ังแต่ปี 2555 - 2559 ที่มา: FAO (2016)
210 |ดรุณี พวงบตุ ร 2. สถานการณ์การตลาด( จากการวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดถ่ัวเขียวโลก พบว่ามปี รมิ าณสง่ ออกมีแนวโน้มลดลง โดยประเทศผู้ส่งออกสาํ คญั 5 ประเทศแรก ได้แก่ เมยี นมาร์ จีน ออสเตรเลีย บราซลิ และอนิ เดีย (ภาพท่ี 8-28) สว่ นการนําเข้า พบว่ามีปริมาณการนาํ เข้าเพิ่มขนึ้ อยา่ งมาก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย มปี ริมาณการนาํ เข้าสงู ท่สี ดุ รองลงมา คือ บราซลิ และสหรัฐอเมริกา (ภาพท่ี 8-29) 1800 1600 Myanmar 1400 China 1200 1000 Australia 800 Brazil 600 India 400 200 0 2552 2553 2554 2555 2556 ภาพท่ี 8-28 ปรมิ าณการสง่ ออกถวั่ เขยี วใน 5 ประเทศผู้ส่งออกสาํ คัญ ต้ังแตป่ ี 2552 - 2556 ทีม่ า: FAO (2016) 1.20 1.00 India 0.80 Brazil 0.60 USA Mexico 0.40 Italy 0.20 0.00 2553 2554 2555 2556 2552 ภาพท่ี 8-29 ปริมาณการนาํ เข้าถ่ัวเขยี วใน 5 ประเทศผู้สง่ ออกสําคัญ ต้ังแต่ปี 2552 - 2556 ทมี่ า: FAO (2016)
พชื ไรเ่ ศรษฐกจิ | 211 สถานการณก์ ารผลิตและการตลาดถว่ั เขยี วของไทย 1. สถานการณ์การผลิต จากการวเิ คราะห์สถานการณ์การผลติ ถว่ั เขียวของไทย พบว่ามีพน้ื ทป่ี ลูกเพ่มิ ขน้ึ รอ้ ย 0.81 ใน ปี 2559/60 มีพ้นื ที่ปลกู เพม่ิ ขึ้นเป็น 0.86 ล้านไร่ จากในปี 2558/59 มีพ้ืนที่ปลูก 0.85 ล้านไร่ ส่วน ผลผลติ รวมและผลผลิตเฉล่ยี มแี นวโนม้ เพมิ่ ข้ึน ร้อยละ 2.4 และ 1.74 ตามลาํ ดบั (ตารางท่ี 3) ตารางที่ 8-4 พ้นื ทีป่ ลกู ผลผลติ รวม และผลผลิตตอ่ ไรข่ องถั่วเขยี วไทย รายการ ปี 2558/59 ปี 2559/60 ผลต่าง (ร้อยละ) 862,260 0.81 พืน้ ทป่ี ลกู (ไร)่ 855,304 100,720 2.40 117 1.74 ผลผลิต (ตนั ) 98,360 ผลผลติ ต่อไร่ (กิโลกรัม) 115 ท่มี า: สาํ นักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2560a) 2. สถานการณ์การตลาด จากการวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดถั่วเขยี วของไทย พบว่ามีปรมิ าณการส่งออกถัว่ เขียว ทงั้ 2 ชนิด มีแนวโนม้ ลดลง แต่มีปรมิ าณการนําเขา้ เพมิ่ ขึ้น โดยเฉพาะถวั่ เขยี วผิวดาํ มีการปรมิ าณการ นําเข้าเพ่ิมขึ้นเป็น 2 เท่า ในขณะที่ถ่วั เขยี วผวิ มนั มีปริมาณการนาํ เข้าลดลง โดยตลาดนาํ เข้าทสี่ าํ คัญ ไดแ้ ก่ เมยี นมาร์ และสหรัฐอาหรบั อิมเิ รสต์ สําหรับถวั่ เขียวผวิ มันนําเขา้ ปริมาณ 12,348.06 ตนั มูลค่า 431.82 ลา้ น โดยตลาดนําเขา้ ที่สาํ คญั ได้แก่ ออสเตรเลยี เมยี นมาร์ และอารเ์ จนตนิ า (ตารางท่ี 4) ตารางท่ี 8-5 ปรมิ าณและมลู คา่ การสง่ ออกและนําเขา้ ถวั่ เขียวของไทย ชนดิ การส่งออก การนาเข้า ถวั่ เขียวผวิ ดาํ ปี 2558 ปี 2559 ปี 2558 ปี 2559 ปรมิ าณ (ตัน) 4,737.92 2,521.64 7,263.46 14,934.09 มูลค่า (ล้านบาท) 225.60 153.33 294.82 807.04 ถ่ัวเขยี วผวิ มัน ปรมิ าณ (ตนั ) 16,812.66 12,951.56 16,816.26 12,348.06 670.09 431.82 มลู ค่า (ลา้ นบาท) 623.96 476.84 ทมี่ า: สาํ นกั งานเศรษฐกิจการเกษตร (2560b)
212 |ดรุณี พวงบตุ ร ถ่ัวเขยี วและผลติ ภณั ฑ์การแปรรูป ผลผลิตถั่วเขยี วส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศเพื่อการบริโภคโดยตรง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต่างๆ โดยนําไปใช้ในอุตสาหกรรมเพาะถั่วงอก อุตสาหกรรมขนมหวาน การผลิตแปูงถั่วเขียว และวุ้น เสน้ 1. แปูงถ่วั เขยี ว แปงู ถว่ั เขียวทผี่ ลิตจาํ หนา่ ยอยู่ 2 ลักษณะตามประโยชน์ใช้สอยท่ีแตกต่างกัน คือ แปูงถั่วเขียว ดัดแปลงเป็นแปูงถว่ั เขียวท่มี ีขายตามท้องตลาดท่วั ไป สามารถนํามาใช้เป็นส่วนผสมในการทําขนมไทย และขนมต่างชาติได้ทันที และแปูงถั่วเขียวธรรมชาติเป็นแปูงท่ีนําไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวุ้นเส้น หรือก๋วยเตี๋ยวเซ่ียงไฮ้ 2. ว้นุ เสน้ เปน็ ผลติ ภัณฑแ์ ปรรูปของแปูงถัว่ เขยี วที่นยิ มใช้ประกอบอาหารหลายชนิด อาทิ ยํา วุน้ เส้น ผดั วุ้นเสน้ ตม้ วุ้นเสน้ หรือแกงจืด เปน็ ตน้ 3. ถว่ั งอก ปัจจบุ นั ประมาณกันวา่ ความต้องการถ่ัวเขียวในอุตสาหกรรมการเพาะถ่ัวงอกสูงถึง 26,000 ตัน/ปี หรือประมาณ 71 ตันต่อวัน แต่ถ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเทศกาลกินเจแล้วยอด การบริโภคถ่ัวงอกในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอีกกว่าเท่าตัวทีเดียว รายการอาหารจํานวนมากมีการใช้ถ่ัวงอก เป็นส่วนประกอบ ทําให้ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับถั่วงอกมากกว่าผักอ่ืนๆ นอกจากนี้ส่ิงท่ีน่าแปลกใจ กว่าน้ัน คือ ไทยสามารถส่งออกถ่ัวงอกบรรจุกระป๋อง ในแต่ละปีสูงถึงประมาณ 200,000 กระป๋อง มลู คา่ ประมาณ 1 ล้านบาท 4. ขนมหวาน ส่วนใหญ่จะบริโภคในลักษณะถ่ัวเขียวต้มน้ําตาล นอกจากนี้ถั่วเขียวนั้นเป็น ส่วนประกอบสาํ คญั ในอตุ สาหกรรมการผลติ ขนมไทย เช่น ลูกชบุ เม็ดขนุน
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 213 แป้งถ่ัวเขียว วุ้นเว้น http://raanthai.co.uk ถว่ั งอก ถ่วั เขยี มต้มนา้ ตาล ขนมเมด็ ขนุน ขนมลกู ชุบ ภาพท่ี 8-30 ตวั อย่างผลิตภณั ฑ์จากถ่ัวเขยี ว
214 |ดรุณี พวงบตุ ร ถ่ัวลสิ ง ถัว่ ลสิ ง (peanut or groundnut) มชี อ่ื วทิ ยาศาสตรว์ ่า Arachis hypogaea L. เปน็ พชื ตระกลู ถว่ั ท่ีมีความสําคญั ทางเศรษฐกิจพชื หน่งึ ทงั้ น้เี น่ืองจากถั่วลสิ ง เปน็ แหลง่ ของโปรตีน นาํ้ มนั แร่ ธาตุ และวิตามนิ ซ่งึ ถั่วลิสงน้ันสามารถใชบ้ ริโภคไดท้ ้ังฝักสด เชน่ ถว่ั ตม้ และฝักแห้ง นอกจากนย้ี งั สามารถนํามาแปรรูปทั้งเปน็ ขนมและอาหารต่าง ๆ หรือใช้เป็นวัตถุดิบเพ่ือนาํ มาสกดั น้าํ มัน และกากที่ เหลือจากการสกัดนาํ้ มัน ยังใช้เป็นแหล่งโปรตีนในส่วนผสมของอาหารสตั ว์ สว่ นเศษซากตน้ และใบถ่ัว ลสิ งทเ่ี หลอื จากการเก็บเกี่ยวจะช่วยในการปรับปรุงบาํ รุงดินและช่วยเพมิ่ ผลผลติ ให้กับพชื ท่ีปลกู ตาม ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ ถ่ัวลิสงเป็นพืชล้มลุก มีอายุประมาณ 100-140 วัน สูง 25-80 เซนติเมตร ใบประกอบ มีใบ ย่อยรูปกลมรี ปลายใบมน ดอกเด่ียวออกตามง่ามใบ กลีบดอกสีเหลือง เม่ือดอกได้รับการผสม เรียบร้อยแลว้ จะเกิดจากการยดื ตวั ของเนื้อเย่ือซ่ึงอยู่ท่ีฐานของรังไข่แทงลงไปใต้ดินบริเวณรอบๆ ของ ลาํ ต้น แลว้ เจรญิ ต่อไปกลายเป็นฝกั อยใู่ ต้ดิน ฝักมีลกั ษณะกลมยาว เปลือกมีรอยยน่ ภายในมีเมล็ด 1-4 เมล็ด (ภาพท่ี 8-31) เมล็ดของถว่ั ลสิ งมีเย้อื ห้มุ สีตา่ งๆ กนั สามารถนาํ ไปต้มรับประทานได้ ภาพที่ 8-31 ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ของถว่ั ลิสง ท่ีมา: Wikipedia (2016)
พชื ไรเ่ ศรษฐกิจ| 215 1. ราก (root) รากของถ่ัวลิสงมีระบบรากลึก ซึ่งเป็นระบบราก ประกอบด้วยรากแก้ว รากแขนง ถ่ัวลิสงมี ระบบรากลึกถึง 1.0 - 1.5 เมตร (ภาพท่ี 8-32) ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและพันธ์ุท่ีปลูก ที่รากถ่ัวลิสง จะมีปมและมีแบคทีเรียไรโซเบียมเข้าไปอาศัยอยู่ข้างใน ซึ่งแบคทีเรียนี้จะทําหน้าที่ในการตรึง ไนโตรเจนในอากาศ นาํ มาใช้เปน็ ธาตุอาหารในดิน ปมของแบคทเี รยี ไรโซเบยี ม จะสร้างเม่ือถั่วลิสงอายุ ได้ประมาณ 15-20 วันหลังปลูก ภาพที่ 8-32 ลกั ษณะรากถัว่ ลสิ ง ท่ีมา: ผูเ้ ขียน 2. ใบ (leaf) ใบถวั่ ลสิ งจะเรยี งสลบั กนั บนต้น ใบเป็นรูปรีแตล่ ะใบจะประกอบดว้ ยใบย่อย 4 ใบย่อย ก้านใบ ยาวประมาณ 3-7 เซนตเิ มตร และมหี ใู บ ใบที่เกิดบนลําตน้ หลักจะมีขนาดเท่ากนั แตใ่ บทเี่ กิดบนแขนง จะมีขนาดแตกตา่ ง โดยปกติใบล่างจะมขี นาดเลก็ กกวา่ ใบที่อย่ตู อนบนของแขนง (ภาพที่ 8-33) ภาพท่ี 8-33 ลักษณะใบถวั่ ลิสง ทม่ี า: ผู้เขียน
216 |ดรณุ ี พวงบตุ ร 3. ลาํ ตน้ (stem) ทรงต้นถวั่ ลิสงแบง่ ไดเ้ ป็น 2 ชนดิ คอื ทรงพ่มุ ตัง้ และทรงพุ่มเลอื้ ย ลําต้นถั่วลิสงสูงประมาณ 25- 80 เซนติเมตร ขน้ึ อยกู่ ับพันธุ์ (ภาพท่ี 8-34) ทรงพุ่มตง้ั ทรงพ่มุ เลื้อย ภาพที่ 8-34 ลักษณะทรงต้นถัว่ ลสิ ง ทม่ี า: ผเู้ ขียน 4. ชอ่ ดอก (inflorescence) และดอก (flower) ช่อดอกถัว่ ลสิ ง จะมดี อกประมาณ 3-5 ดอก เกิดบริเวณซอกก้านใบกบั ลําต้น สว่ นดอกถ่ัวลสิ ง มเี หลอื งหรอื สีสม้ และไม่มีก้านดอก (ภาพท่ี 8-35) ภาพท่ี 8-35 ลักษณะดอกถวั่ ลสิ ง ท่ีมา: ผู้เขียน
พืชไร่เศรษฐกิจ| 217 5. เขม็ (peg) เขม็ เปน็ ลกั ษณะหน่งึ ของถ่วั ลิสงท่ีมลี ักษณะต่างไปจากพืชอ่ืน ๆ โดยหลงั จากดอกบานและได้รบั การผสมตดิ จะเจริญต่อไปเปน็ เข็ม ซ่ึงแทงลงไปในดิน เพื่อพัฒนาไปเป็นฝักต่อไป (ภาพที่ 8-36) ภาพที่ 8-36 ลักษณะเขม็ ถว่ั ลสิ ง ที่มา: Ontario (2012) 6. ฝกั (pod) และเมล็ดถัว่ ลสิ ง (seed) ฝกั มีลกั ษณะยาวรีหรือกลม หรือมลี กั ษณะคอดกว่ิ ข้นึ อยกู่ ับพนั ธ์ุ เมื่อฝักแก่จะเห็นลายบนฝัก ชัดเจน แต่บางพันธุ์อาจจะไม่มี เปลอื กเป็นสีนา้ํ ตาล ภายในฝกั จะเมลด็ อยู่ 1-4 เมล็ด ซ่ึงเย่อื หมุ้ เมลด็ มี สแี ตกต่างกันไป (ภาพที่ 8-37) ภาพท่ี 8-37 ลกั ษณะฝักและเมล็ดถวั่ ลสิ ง ที่มา: ผเู้ ขียน
218 |ดรณุ ี พวงบุตร ถิน่ กาเนิดและสภาพแวดล้อม ถ่ัวลิสงมีถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ บริเวณประเทศโบลิเวียและบราซิล (ภาพที่ 8-38) หลังจากนนั้ ได้แพร่กระจายไปสู่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกากลาง เช่น เม็กซิโก หลังจากน้ันก็มีการ แพร่กระจายไปยังทวีปแอฟริกาและทวีปยุโรป ส่วนทวีปเอเชีย มีการแพร่กระจายคร้ังแรกในศตวรรษ ท่ี 16 จากการนาํ เขา้ จากทวปี แอฟริกา โดยนักเดินเรือชาวโปตุเกสและสเปน เข้ามายังประเทศอินเดีย และหลังจากนน้ั มีการปลูกกันแพรห่ ลายในประเทศต่าง ๆ ในเอเชยี สภาพนิเวศวทิ ยาของถว่ั ลิสง พบว่าถ่ัวลิสงสามารถปลกู ไดต้ ้ังแต่เสน้ รุง้ ที่ 40 องศาเหนือและ ใต้ สามารเจริญเตบิ โตได้ดีในเขตรอ้ นหรือกึ่งร้อนชืน้ ภาพที่ 8-38 แหลง่ กําเนิดของถ่ัวลสิ ง ที่มา: Dakatine (2016)
พชื ไรเ่ ศรษฐกิจ| 219 ชนิดของถ่ัวลสิ ง ถ่ัวลสิ งสามารถจําแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ โดยใช้ลักษณะการแตกกิ่งและลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ (Purseglove, 1977) คอื 1. เวอร์จเิ นีย (virginia type) ถ่วั ลสิ งประเภทนีเ้ ป็นถัว่ ลสิ งทีม่ อี ายุยาวประมาณ 130-150 วัน มกี ารแตกก่ิงแบบสลบั (alternate branching) ลาํ ต้นเปน็ พุ่ม มที ัง้ ลาํ ตน้ เล้ือย (true runner) และเป็นพุ่มเลือ้ ย (spreading bunch) ใบมีสเี ขยี วเขม้ กิ่งขา้ งหรือแขนงยาวกว่าความยาวของลาํ ต้น หลัก บนลาํ ตน้ หลกั จะไม่มีดอกแต่ดอกจะเกดิ กับกิ่งแขนง ฝักเกดิ กระจายบนกงิ่ แขนง การออกดอกตดิ ฝักจงึ กระจายไม่พร้อมกัน เมล็ด และฝัก มขี นาดใหญ่ โดยทวั่ ไปหนง่ึ ฝักมี 2 เมลด็ เย่อื หุ้มเมลด็ มสี ี นา้ํ ตาลเขม้ (russet brown) เมล็ดเม่ือแกจ่ ะมีระยะพักตวั (dormancy) ไมส่ ามารถงอกได้ทันที เช่น พันธุข์ อนแกน่ 60-3 2. สะแปนิช–วาเลนเซีย (spanish-valencia type) ถั่วลิสงประเภทน้ี มีลําต้นเป็นพุ่มตรง (erect bunch) มีการแตกก่ิงแบบเรียงตามลําดับ (sequential branching) ความยาวของกิ่งข้างส้ัน กว่าลําต้นหลัก ใบมีสีเขียวอ่อน ดอกส่วนใหญ่จะเกิดท่ีลําต้นหลัก ฝักและเมล็ดมีขนาดเล็ก โดยทั่วไป หนึง่ ฝกั มี 2-6 เมล็ด เยอื่ หุม้ เมล็ดมสี แี ตกตา่ งกนั มาก เช่น สีมว่ ง สีแดง สีน้ําตาลเข้ม เป็นต้น เมล็ดไม่มี ระยะพักตัว อายเุ กบ็ เกย่ี วสัน้ ประมาณ 90-110 วนั สะแปนิช-วาเลนเซีย สามารถแยกออกเปน็ 2 กลมุ่ คอื 3. สะแปนิช ถ่ัวลิสงกลุ่มนี้มีลําต้นตั้งตรง มีการแตกกิ่งก้านสาขามาก ลําต้นและก่ิงยาว เท่ากัน มีดอกบนก่ิงแขนงและบนลําต้นหลัก ฝักหนึ่งมี 1-2 เมล็ด ฝักเป็นกระจุกบริเวณโคน เยื่อหุ้ม เมล็ดมสี จี าง หรือขาว เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์นํ้ามันสูง ทนทานต่อความแห้งแล้งและดินเลวได้ดี มีอายุเก็บ เก่ยี วประมาณ 90-100 วนั เชน่ พนั ธ์ุไทนาน 9 ขอนแกน่ 60-1 ขอนแกน่ 5 มข. 40 และ มข. 60 4. วาเลนเซีย ถ่ัวลิสงกลุ่มนี้มีลําต้นตั้งตรง เป็นพุ่มสูง ลําต้นหลักและก่ิงค่อนข้างโต แตก กิ่งก้านสาขาน้อย โดยมากมีก่ิง 4-6 ก่ิง ก่ิงมักจะยาวกว่าลําต้นหลัก มักมีสีม่วงท่ีต้นและก้านใบ ใบมีสี เขียวจางและขนาดใบใหญ่กว่าพวกเวอร์จีเนีย ฝักหน่ึงจะมี 3-4 เมล็ด ฝักมีขนาดใหญ่ ลายท่ีฝักและ จะงอยทป่ี ลายฝักเหน็ ได้ชดั เจน เมลด็ มีทงั้ แบบปอู มและยาวรี เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีม่วง สีแดง สีน้ําตาลแดง และสีนํ้าตาลอ่อน เมล็ดไม่มีระยะพักตัว มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100-110 วัน เช่น พันธ์ุขอนแก่น 4 และขอนแกน่ 60-2 ระยะการเจริญเตบิ โตของถวั่ ลิสง (growth stage) ระยะการเจริญเติบโตถวั่ ลสิ งสามารถจาํ แนกออกเป็นระยะต่าง ๆ ตาม Boote (1982) ดงั ตารางที่ 8-6
220 |ดรณุ ี พวงบตุ ร ตารางที่ 8-6 ระยะการเจรญิ เติบโต (growth stage) ของถั่วลิสง Code ระยะการเจรญิ เตบิ โต (Growth stage) VE งอก : มองเห็นสีเขยี วส่วนของพืชโผลพ่ น้ ผิวดนิ ขน้ึ มา V0 กลบี เล้ียงแผแ่ บนที่ระดบั ผวิ ดิน V1 ข้อที่ 1 ของลําตน้ หลักมีใบจรงิ แผ่ขยายเตม็ ท่ี V(n) มขี ้อ N ข้อที่กง่ิ กระโดง สใ่ี บย่อยชดุ ท่ี N แผข่ ยายเต็มที่ ใบย่อยนอนราบ R1 เรมิ่ ออกดอก : มดี อก 1 ดอกทขี่ ้อใดข้อหน่ึง R2 เริ่มแทงเข็ม : มีเข็ม 1 เขม็ ยาวเกิน 1 มลิ ลเิ มตรแทงลงสู่ดนิ R3 เริ่มติดฝัก : มีเข็มใดเขม็ หนึง่ พัฒนาท่ีสว่ นปลายเร่มิ พองขึ้นมามคี วามกว้างเปน็ 2 เทา่ ของ เส้นเข็มปกติ R4 ติดฝกั เตม็ ที่ : มี 1 ฝกั ทขี่ ยายเต็มที่ตามขนาดมาตรฐานของพันธ์ุ R5 เริม่ ติดเมลด็ : มหี น่งึ ฝกั ทข่ี ยายเต็มทแ่ี ลว้ ซึง่ เม่ือผา่ กลางจะเหน็ เมล็ดอ่อน R6 เมลด็ เต็ม : มีหนึง่ ฝักทม่ี ีเมล็ดเตม็ ช่องภายในฝักขณะยังสดอยู่ R7 เริ่มแก่ : มหี นึ่งฝกั ท่ีเร่ิมแสดงสสี ันตามธรรมชาตขิ องถัว่ แก่ ฝักเรม่ิ เป็นสนี ้ําตาล เปลือกหุ้ม เมล็ดเริ่มเปน็ สีชมพูอมเทา R8 แกพ่ อเก็บเกยี่ ว : มี 2/3 ถงึ 3/4ของฝักท้งั หมดที่เปลอื กหุ้มเมล็ดเปล่ยี นเปน็ สีชมพอู มเทาแล้ว R9 แกเ่ กนิ : มีหน่ึงฝกั ท่ีเปลือกหุ้มเมลด็ ภายในเป็นสีนาํ้ ตาลแกมสม้ และหรือเข็มสลายตัวไป แล้วตามธรรมชาติ ทมี่ า : Boote (1982) การผลติ ถ่วั ลสิ ง ระบบการปลูกถัว่ ลสิ งของประเทศไทยแบง่ ออกเป็น 2 ฤดู ไดแ้ ก่ 1. การปลกู ในฤดฝู น แบ่งเป็น 2 ชว่ ง คือ 1.1 ต้นฤดูฝน การปลูกช่วงต้นฤดูฝนน้ีส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกระหว่างเดือนเมษายนถึง พฤษภาคม เกบ็ เก่ยี วเดอื นกรกฎาคมถงึ สิงหาคม การปลูกในชว่ งต้นฤดฝู นมกั จะเป็นการปลูกในบริเวณ พ้ืนที่ดอนน้ําท่วมไม่ถึงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา เลย อุดรธานี สุรินทร์ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกําแพงเพชร เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก แพร่ พะเยา ลําปาง สุโขทัย ภาคกลาง ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี จันทบุรี ฉะเชงิ เทรา ชลบุรี ตราด ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ และ ภาคใต้ ไดแ้ ก่ จงั หวัด พังงา ตรัง สําหรับท่ีดอน บริเวณที่มีวัชพืชน้อย ไม่ต้องเตรียมดินมาก ให้ไถเปิดร่อง แล้วหยอดเมล็ด ส่วนพื้นที่ท่ีมีวัชพืช หนาแน่น ให้เตรยี มดินโดยไถ 1 ครง้ั ลกึ 10-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 คร้ัง แล้วคราด เก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหล ของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง สําหรับการปลูกต้นฤดูฝนน้ัน มักจะมีปัญหาในเร่ืองการเก็บเกี่ยว เพราะถ้าปลูกเร็วเกินไป ถ่ัวลิสงจะสุกแก่และต้องเก็บเก่ียวใน
พืชไร่เศรษฐกิจ| 221 ขณะที่มีฝนตกชุก โรคอาจจะระบาดรุนแรง โดยเฉพาะกรณีเช้ือราท่ีทําให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซิน ทาํ ให้คณุ ภาพของเมล็ดตํ่าไม่เป็นท่ีต้องการของตลาด นอกจากนี้แล้วยังอาจจะเกิดปัญหาการงอกของ เมลด็ คาฝักถา้ เก็บเกี่ยวลา่ ชา้ และยังมปี ญั หาในเรื่องการตากเมลด็ รวมท้ังมผี ลผลติ ตํ่า 1.2 ปลายฤดูฝน เป็นการปลูกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เก็บเก่ียวเดือนตุลาคมถึง พฤศจิกายน โดยเกษตรกรจะปลูกบนพื้นที่ดอนในพ้ืนท่ีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด มหาสารคาม ศรีสะเกษ หนองคาย อุบลราชธานี มุกดาหาร ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดตาก เชียงราย พิจิตร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดนครนายก เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และภาคใต้ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ระนอง การปลูกปลายฤดูฝนน้ีเกษตรกรมีการ เตรียมดนิ ปลกู เชน่ เดียวกับการปลูกในต้นฤดูฝน ช่วงปลายฤดูฝน โดยทั่วไปจะมีปริมาณฝนน้อยและ ตกอยู่เฉพาะฤดูฝน ทําให้ฤดูปลูกส้ัน ถ่ัวลิสงท่ีปลูกในช่วงนี้มักจะกระทบแล้งในช่วงปลายฤดูปลูก ซึ่ง เป็นระยะเติมเต็มเมล็ดและสุกแก่ ถ่ัวลิสงท่ีจะสามารถให้ผลผลิตได้น้ันข้ึนอยู่กับความสามารถในการ ปรบั ตัวและปริมาณความชืน้ ดนิ ทสี่ ามารถเก็บกกั ไว้ได้ 2. การปลกู ในฤดูแล้ง มี 2 แบบ คอื 2.1 การปลูกโดยอาศัยนํ้าชลประทาน โดยทั่วไปเป็นการปลูกถ่ัวลิสงในท่ีนาซ่ึงจะปลูกใน ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม โดยเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด กาฬสินธ์ุ อุดรธานี มุกดาหาร สกลนคร ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลําพูน เชียงใหม่ พะเยา อุตรดิตถ์ เป็นต้น นอกจากนีย้ ังมอี ยบู่ า้ งบางจังหวัดของภาคกลาง ในแต่ละปีพ้ืนที่ปลูกถั่วลิสงในเขตชลประทาน น้ีมีจํานวนไม่แน่นอน การปลูกถ่ัวลิสงโดยอาศัยนํ้าชลประทาน น้ีถ่ัวลิสงมักจะไม่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะแหง้ แล้งยกเว้นบริเวณที่มีน้ําชลประทานไม่เพียงพอ การปลูกให้เตรียมดินปลูก เช่นเดียวกับการ ปลูกในฤดูฝน โดยยกร่องปลูกสูง 20-25 เซนติเมตร เพ่ือใหน้ ้ําได้สะดวก 2.2 การปลูกหลังการทํานาโดยไม่มีนํ้าชลประทาน การปลูกโดยอาศัยความชื้นที่เหลือหลัง การเก็บเกี่ยวข้าวนี้เกษตรกรควรปลูกให้เร็วท่ีสุดหลังจากเสร็จส้ินการทํานาเพราะดินยังมีความชุ่มชื้น เหลืออยู่สูง โดยในพ้ืนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ จะปลูกถั่วลิสงทันที หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว โดยเกษตรกรจะเก่ียวตอซังออกจากแปลงนา ทําการไถคราดจนดิน ละเอียด โดยไถดิน 2 คร้ัง และพรวน 1-2 ครั้ง แล้วไถเป็นแนวหยอดเมล็ดถ่ัวลิสงให้ลึกแล้วกลบ ถ้า ปลกู ล่าชา้ ถัว่ ลสิ งมโี อกาสประสบความแหง้ แล้งได้ เน่อื งจากความชนื้ ในดนิ จะคอ่ ย ๆ ลดลงเรอ่ื ย ๆ
222 |ดรุณี พวงบตุ ร การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวถ่ัวลิสงเป็นข้ันตอนที่สําคัญในการผลิตถั่วลิสงให้มีคุณภาพดี ซึ่งมีวิธีการนับอายุ การเกบ็ เกยี่ ว (กรมสง่ เสริมการเกษตร, 2557) ดงั น้ี 1. การกาํ หนดอายุเก็บเกย่ี ว การนับอายุ ภายใตส้ ภาพแวดล้อมท่ีเหมาะสม ถั่วลิสงแต่ละพันธ์ุ จะใชเ้ วลาคอ่ นข้างคงที่ ในการเจริญเตบิ โตจนถงึ ใหผ้ ลผลิต โดยท่ัวไปถั่วลิสงท่ีปลูกในประเทศไทยจะมี อายุเก็บเกี่ยวฝักสด (เพ่ือการบริโภคในรูปถั่วต้ม) ประมาณ 85 - 95 วัน และมีอายุเก็บเกี่ยวฝักแก่ เตม็ ที่อายุประมาณ 95 - 110 วนั 2 การสงั เกตสีของเปลอื กฝกั ดา้ นใน ทําการสุ่มถอนต้นถั่วลิสงหลายๆ จุดในแปลงมาตรวจนับ หากมีเปอรเ์ ซ็นต์ของฝักทีม่ เี ปลือกฝักด้านในเปลี่ยนสีเป็นสีน้ําตาลดํามากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า ถงึ อายเุ ก็บเก่ียวท่เี หมาะสม การถอนหรอื ขดุ ต้นถ่วั ลสิ ง การเก็บเก่ยี วในขณะท่ดี ินยงั มคี วามช้ืนบา้ งจะช่วยใหถ้ อนตน้ ถ่วั ขน้ึ โดยงา่ ย แตถ่ ้าดินแห้งจะตอ้ งใช้จอบหรือเครื่องมือช่วยขุด การใช้เครื่องมือในการขุดจะต้องระมัดระวัง ไม่ให้ฝักถั่วลิสงเกิดรอยแผลหรือเกิดได้น้อยที่สุด จากนั้นปลิดฝักด้วยมือ หรือเคร่ืองปลิด ร่วนดินออก แล้วคัดฝกั เสีย ฝักเน่าและฝักที่เป็นแผลออกหลังจากปลิดฝักถั่วแล้ว ต้นถั่วสามารถใช้เลี้ยงสัตว์หรือไถ กลบบาํ รงุ ดนิ ทาํ ให้พืชที่ปลูกตามมีการเจริญเตบิ โต และให้ผลผลิตเพิ่มข้นึ ฝกั ที่ปลดิ แลว้ ควรนําไปตาก ให้แห้งบนตะแกรงตาข่าย แคร่ หรือผ้าใบ โดยไม่ให้ฝักถั่วสัมผัสพ้ืนดิน กองถ่ัวหนาไม่เกิน 5 เซนติเมตร พลิกกลับกองถ่ัววันละ 2-3 คร้ัง เพื่อให้ฝักแห้งสมํ่าเสมอทั่วท้ังกอง ในช่วงท่ีมีแดดจัดใช้ เวลาตากประมาณ 3 - 5 วัน เพือ่ ให้ความชื้นลดลงต่ํากว่า 9 เปอร์เซน็ ต์ โรคและแมลงทีส่ าคญั ของถั่วลสิ ง 1. โรคโคนเน่าหรือโคนเน่าขาด มีลักษณะอาการ ต้นเห่ียวเหลือง ยุบตัว โคนต้นเป็นแผลสี นํา้ ตาลพบกล่มุ สปอร์สดี ําปกคลมุ บริเวณแผล เมอ่ื ถอนขนึ้ มาส่วนลําตน้ จะขาดจากส่วนราก 2. โรคลําต้นเนา่ หรอื โคนเนา่ ขาว (Sclerotium stem rot) มีลักษณะอาการ ยอด ก่ิง และลํา ต้นเหย่ี วยุบเปน็ หยอ่ มๆ พบแผลเน่าทสี่ ว่ นสัมผสั กบั ผิวดิน บริเวณที่ถูกทําลายจะมีเส้นใยสีขาว รวมท้ัง เม็ดสเคลอโรเทียของเช้ือราที่มีสีขาว โดยเฉพาะในพ้ืนท่ีที่มีการปลูกพืชแน่นเกินไป และปลูกซ้ําที่เดิม พบพชื เปน็ โรคในช่วงหลงั จากตดิ ฝักถึงเกบ็ เกย่ี ว 3. โรคยอดไหม้ (bud necrosis) ลักษณะอาการ ในระยะ 2 สัปดาห์หลังต้นถ่ัวงอกใบจะมีจุด สีซีด หรือเป็นปื้นสีน้ําตาลบนใบท่ีเช้ือเข้าทําลาย จากน้ันเส้นใบซีดหรือจุดกระสีซีดบนใบยอด ก้านใบ และก่งิ โคง้ งอ ถ้าเป็นโรคในระยะกลา้ ถ่ัวลสิ งจะตายหรือแคระแกร็นไม่ติดฝัก ถ้าเป็นโรคระยะต้นโตทํา ให้การติดฝักลดลง 4. โรคใบจุด ลักษณะอาการ แผลเป็นจุดสีดําหรือสีนํ้าตาล ขนาด 1 - 8 มิลลิเมตรขอบแผล อาจมีวงสเี หลืองล้อมรอบ ระยะแรกพบทใ่ี บลา่ งตอ่ มาลุกลามสใู่ บบนอาการรนุ แรงทาํ ให้ใบเหลือง ขอบ
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 223 ใบบิดเบ้ียว ไหม้แห้งดํา และร่วงก่อนกําหนดพบโรคทุกแหล่งปลูก สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ํา แพร่กระจายโดยนกและแมลงโดยท่ัวไประบาดร่วมกบั โรคราสนมิ 5. โรคราสนิม ลักษณะอาการ แผลเป็นตุ่มสีน้ําตาลถึงนํ้าตาลเข้ม ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายทั่วบนใบ ต่อมาแผลจะแตก พบสปอร์ของเชื้อราสีนํ้าตาลคล้ายสนิมเหล็กจํานวนมากคลุม บริเวณปากแผล สปอร์ปลิวไปตามลมและน้ําแพร่กระจายโดยนกและแมลง โดยท่ัวไประบาดร่วมกับ โรคใบจุด 6. หนอนชอนใบถ่ัวลิสง ลักษณะและการทําลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเส้ือกลางคืนสีนํ้าตาลยาว ประมาณ 5 มิลลิเมตร หนอนฟักออกจากไข่และชอนเข้าไปกัดกินเน้ือเยื่อของใบเหลือไว้แต่ผิวใบบน และด้านลา่ ง ต่อมาใบจะแห้งเป็นสีขาว เมื่อหนอนโตมากขึ้นจะออกมาพับใบถ่ัวหรือชักใยเอาใบถ่ัวมา รวมกัน อาศัยกัดกินและเข้าดักแด้ในใบนั้น ถ้าระบาดรุนแรงจะทําให้ต้นถ่ัวแคระแกร็น ใบร่วงหล่น ผลผลติ ลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ 7. เพลี้ยอ่อนถั่ว ลักษณะและการทําลาย เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เคลื่อนไหวช้า หัวมีขนาดเล็กกว่าส่วนอก ส่วนท้องโต ลักษณะอ้วนปูอม มีท่อเล็กๆ ยื่นยาวไปทาง ส่วนท้าย 2 ท่อ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินนํ้าเล้ียงตามยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก และเข็ม ทําให้ต้น แคระแกรน็ ใบอ่อนและยอดอ่อนหงิกงอ ดอกรว่ ง 8. เพลยี้ ไฟ ลกั ษณะและการทาํ ลาย เพลีย้ ไฟท่ีทําลายถว่ั มหี ลายชนิด เป็นแมลงขนาดเล็กยาว ไม่เกิน 2 มิลลิเมตร สีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลดํา เคลื่อนไหวว่องไว ดูดกินน้ําเล้ียงตามยอดอ่อน ใบ และ ดอก ทําให้ใบหงิกงอบิดเบี้ยว มีรอยขีดข่วน เพล้ียไฟบางชนิดทําลายใบ ทําให้มีลักษณะเหมือนไขติด อยู่เส้นกลางใบและหลังใบ สีน้ําตาลคล้ายสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทําให้ยอดไหม้และตาย เพล้ียไฟ บางชนิดเป็นพาหะนําโรคยอดไหม้ ทําให้ต้นถั่วชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซน็ ต์ 9. เส้ียนดิน ลักษณะและการทําลาย เสี้ยนดินเป็นมดชนิดหน่ึง ขนาดเท่ามดแดงความกว้าง ของสว่ นหัว 1.2 - 1.6 มิลลิเมตร ความยาวของส่วนหัว 1.4-1.9 มิลลิเมตร ทําลายฝักถ่ัวลิสง โดยการ เจาะเปลือกถั่วเปน็ รแู ล้วกัดกนิ เมลด็ ในฝัก หลงั จากน้ันจะนําดนิ เขา้ ไปไวใ้ นฝักแทนเมล็ดท่ีถูกทาํ ลาย
224 |ดรณุ ี พวงบตุ ร สถานการณ์การผลติ และการตลาดถวั่ ลสิ งโลก 1. สถานการณก์ ารผลิต จากการวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตถั่วลิสงโลก พบว่าพื้นที่ปลูกและเก็บเกี่ยวมีแนวโน้ม ลดลงอย่างมาก โดยตั้งแต่ปี 2010-2013 มีพ้ืนท่ีเก็บเก่ียวลดลงเหลือ 112,000 แฮกแตร์ เน่ืองจาก เกษตรกรหันไปปลูกพืชไร่ชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนท่ีสูงกว่า เช่น มันสําปะหลัง อ้อย เป็นต้น (ภาพท่ี 8-38) โดยประเทศมีพื้นท่ีเก็บเก่ียวสูงที่สุด คือ ซูดาน เซเนกัล เมียนมาร์ เป็นต้น ส่วนประเทศไทยมี พน้ื ทเี่ ก็บเกย่ี ว 3,000 เฮกตาร์ (ภาพท่ี 8-39) จากการวิเคราะห์สถานการณ์ผลผลิตถ่ัวลิสงโลก พบว่าผลผลิตรวมถั่วลิสงมีแนวโน้มลดลง เล็กนอ้ ย โดยประเทศทม่ี ผี ลผลติ สงู ท่ีสดุ คอื จีน อินเดยี ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย ตามลําดับ (ภาพท่ี 8-40) ในขณะท่ีผลผลิตต่อพ้ืนที่มีแนวโน้มเพ่ิมเล็กน้อย โดยประเทศท่ีมีผลผลิตต่อพ้ืนท่ีสูงสุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผลลิตเฉลี่ย 612 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือ ประเทศจีน มีผลลิตเฉล่ีย 544 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนประเทศไทยมีผลผลิตเฉล่ีย 270 กิโลกรัมต่อไร่ (สํานักงานเศรษฐกิจ การเกษตร, 2556) ภาพที่ 8-39 พื้นทเ่ี กบ็ เกี่ยวและผลผลติ รวมถวั่ ลสิ งโลก ต้งั แตป่ ี 2004 ถึง 2014 ท่ีมา: FAO (2014)
พชื ไรเ่ ศรษฐกิจ| 225 ภาพท่ี 8-40 พ้นื ที่เกบ็ เกยี่ วถ่ัวลิสงใน 10 ประเทศผู้ผลิตสาํ คัญ ในปี 2014 ที่มา: FAO (2014) ภาพที่ 8-41 ผลผลิตรวม ถ่ัวลิสงใน 10 ประเทศผ้ผู ลิตสาํ คัญ ในปี 2014 ท่มี า: FAO (2014)
226 |ดรุณี พวงบตุ ร 2. สถานการณ์การตลาด จากการวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดถั่วลิสงโลก ในปี 2555-59 พบว่าปริมาณส่งออกมี แนวโน้มเพิ่มข้ึน โดยในปี 2559 มีการส่งออก 2,346,400 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีปริมาณการ ส่งออก 1,931,706 ตัน คิดเป็นร้อย 21.46 โดยประเทศผู้ส่งออกสําคัญ 10 ประเทศท่ีสําคัญ ได้แก่ อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา อินเดีย จีน เซเนกัล บราซิล ไนจีเรีย เนเธอร์แลนด์ อิยิปต์ และเยอรมัน ตามลําดับ (ภาพที่ 8-42) ส่วนการนําเข้าพบว่ามีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นเช่นเดียวกัน พบว่ามีปริมาณการ นําเข้าเพ่ิมขึ้นอย่างมากในปี 2559 มีการนําเข้า 1,666,279 ตัน เพ่ิมขึ้นจาก 1,287,951 ตัน ในปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 29.37 โดยประเทศผู้นําเข้าสําคัญ 10 ประเทศท่ีสําคัญ ได้แก่ จีน เนอเธอร์ แลนด์ อนิ โดนเี ซยี เมก็ ซโิ ก เยอรมนั นี รัสเซีย แคนาดา อังกฤษ ฟิลิปปินส์ และไทย ตามลําดับ (ภาพท่ี 8-43) ภาพท่ี 8-42 ปรมิ าการส่งออกถ่ัวลสิ งของ 10 ประเทศผ้สู ง่ ออกสูงทีส่ ดุ ในปี 2016 ทมี่ า: APEDA (2017) ภาพท่ี 8-43 ปรมิ าการนาํ เขา้ ถ่ัวลิสงของ 10 ประเทศผสู้ ง่ ออกสูงทส่ี ดุ ในปี 2016 ที่มา: APEDA (2017)
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 227 สถานการณ์การผลติ และการตลาดถ่วั ลิสงของไทย 1. สถานการณ์การผลติ จากการวเิ คราะห์สถานการณ์การผลติ ถว่ั ลิสงของไทย พบวา่ มีพนื้ ท่ปี ลกู ลดลงร้อยละ 8.82 โดยในปี 2559/60 มีพื้นทปี่ ลูกลดลงเปน็ 123,909 ไร่ จากในปี 2558/59 มีพื้นทป่ี ลูก 135,902 ไร่ ส่วนผลผลติ รวมมีปรมิ าณลดลงรอ้ ยละ 8.14 โดยในปี 2559/60 มผี ลผลิตรวม 33,379 ตัน ลดลงจาก ปี 2558/59 มผี ลผลิต 36,337 ตนั และผลผลติ เฉลย่ี มแี นวโนม้ เพิ่มขึน้ เล็กนอ้ ย จาก 267 กโิ ลกรัมต่อ ไร่ เป็น 269 กโิ ลกรัมต่อไร (ตารางท่ี 8-7) ตารางท่ี 8-7 พ้ืนทีป่ ลกู ผลผลิตรวมและผลผลิตตอ่ ไร่ของถ่ัวลิสงไทย รายการ ปี 2558/59 ปี 2559/60 ผลต่าง (ร้อยละ) พนื้ ท่ปี ลูก (ไร)่ 135,902 123,909 -8.82 ผลผลิต (ตัน) 36,337 33,379 -8.14 ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 267 269 0.75 ท่ีมา: สาํ นกั งานเศรษฐกิจการเกษตร (2560a) 2. สถานการณ์การตลาด จากการวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดถั่วลิสงของไทย พบว่าปริมาณการส่งออกถั่วลิสงทั้ง เปลือกมีแนวโนม้ เพ่ิมข้ึนเกิน 2 เท่า ในปี 2559 ท่ีมีการส่งออก 518 ตัน เพ่ิมจาก 225 ตัน ในปี 2558 ในการสง่ ออกถ่ัวลิสงกะเทาะเปลือกก็เช่นเดียวกัน ส่วนการนําเข้า พบว่าปริมาณการนําเข้ามีแนวโน้ม เพม่ิ ขึน้ เชน่ เดียวกนั โดยตลาดนําเข้าทส่ี ําคญั ได้แก่ จนี อนิ เดยี พมา่ และลาว (ตารางท่ี 8-8) สว่ นราคาท่ีเกษตรกรขายได้ พบว่ามแี นวโนม้ สงู ข้ึน โดยในปี 2559 ราคาถ่วั ลสิ งฝักสดท่ขี าย ได้ 25.79 บาทต่อกโิ ลกรมั เพ่ิมจาก 21.44 บาทตอ่ กิโลกรมั ในปี 2558 ตารางที่ 8-8 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกและนําเขา้ ถ่ัวลสิ งของไทย ชนิด การส่งออก การนาเข้า ถว่ั ลิสงทงั้ เปลือก ปี 2558 ปี 2559 ปี 2558 ปี 2559 ปริมาณ (ตนั ) 225.37 518.04 7,857.18 11,593.68 มูลค่า (ล้านบาท) 3.94 30.83 196.98 415.71 ถ่ัวลสิ งกะเทาะเปลือก ปรมิ าณ (ตนั ) 48.43 913.45 40,326.12 50,390.76 มูลคา่ (ล้านบาท) 1.77 23.45 1,509.04 2,111.23 ท่มี า: สาํ นักงานเศรษฐกจิ การเกษตร (2560b)
228 |ดรณุ ี พวงบตุ ร พ้ืนทป่ี ลูกถว่ั ลสิ งทส่ี าํ คัญของไทย อย่ใู นภาคเหนอื ในจังหวดั เชยี งราย น่าน ลําปาง ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี บรุ ีรมั ย์ และกาฬสนิ ธ์ุ ภาคกลาง อยูใ่ นจังหวัดสโุ ขทัย นครสวรรค์ และชยั นาท และภาคตะวนั ตก อยูใ่ นจงั หวดั ตาก กาญจนบุรี และเพชรบรุ ี (ภาพท่ี 8-44) ภาพท่ี 8-44 พ้นื ทีป่ ลูกถ่วั ลสิ งในประเทศไทย ที่มา: สาํ นักงานเศรษฐกจิ การเกษตร (2556)
พืชไร่เศรษฐกิจ| 229 ถั่วลสิ งและผลติ ภัณฑ์การแปรรูป ถ่ัวลิสง จัดเป็นวัตถุดิบหลักที่สําคัญที่มีการนํามาใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ชนดิ ท้ังในรปู แบบของเมลด็ และฝกั โดยสว่ นใหญ่เมล็ดถ่ัวลิสงมีการนํามาใช้ในการแปรรูปเป็นขนมขบ เค้ยี ว สว่ นประกอบของอาหารและเปน็ น้ํามนั 1. ขนมขบเคีย้ ว มีการเมลด็ หรอื ฝกั ถ่วั ลสิ งมาแปรรูปในหลากหลายชนิด เชน่ ถว่ั ทอด ถวั่ อบ ถั่วคัว่ ทราย ถวั่ ตัด ถ่วั แผ่น เนยถัว่ เปน็ ตน้ 2. สว่ นประกอบของอาหาร เมล็ดถ่ัวลสิ ง นอกจากนํามาใช้เป็นขนมขบเค้ียว แล้วยังมกี ารนํา ใชเ้ ป็นส่วนประกอบของอาหารหลายประเภท ได้แก่ ผัดไทย แหนมคลุก ส้มตาํ ก๋วยเตี๋ยว ไอศกรีม สาคู กระยาสารท เป็นต้น 3. น้ํามันถว่ั ลิสง เมล็ดถ่วั ลิสงมนี ้ํามนั ประมาณ 50% นา้ํ มนั ถัว่ ลสิ งมกี ลนิ่ เฉพาะตัว และมีกรด ไขมนั (fatty acid) ชนดิ ทมี่ ปี ระโยชน์ตอ่ รา่ งกาย 2 ชนดิ คือ oleic acid และ linoleic acid อย่สู งู กว่าน้าํ มนั ชนิดอนื่ ๆ ซึ่งมกี รดไขมันชนดิ นอ้ี ยู่น้อยมาก น้ํามันถ่ัวลิสง ได้จากการสกัดเมล็ดถั่วลิสง ซ่ึงมีปริมาณน้ํามันอยู่ประมาณ 45-55% เป็น นํ้ามันชนิดไม่อ่ิมตัวสูงถึง 80% โดยเป็นกรดไขมันไม่อ่ิมตัวเชิงเดี่ยวถึง 50% และไขมันไม่อ่ิมตัว เชงิ ซอ้ น (กรดไลโนเลอกิ ) 30% จึงเป็นน้ํามันท่ีเป็นท่ีนิยมมากข้ึนในปัจจุบันเพราะช่วยลดปริมาณคลอ เลสเตอรอล และไม่เส่ียงต่อการรับอนุมูลอิสระ แต่ก็เป็นนํ้ามันท่ีเหม็นหืนง่าย ใช้ทอดความร้อนสูง ๆ ไมไ่ ด้ ใช้ทํานํา้ มนั สลัด ใชผ้ ัดทอดตม้ ตามปกติได้การผลิตนาํ้ มันถวั่ ลิสง สามารถทาํ ได้ 2 วธิ ี คือ 3.1 น้ํามันถั่วลิสงสกัดธรรมชาติ สามารถทําได้ด้วยวิธีการบีบอัดแบบไฮโดรลิกและแบบสกรู เพลส จะได้นํ้ามันประมาณ 30-40% นํ้ามันท่ีได้มีสีเหลืองอ่อน กล่ินหอมของถ่ัวลิสง มีคุณค่าทาง อาหารสูง นอกจากใชบ้ รโิ ภคไดด้ แี ลว้ ยังเป็นท่นี ิยมใช้เปน็ นาํ้ มนั นวดตวั 3.2 น้ํามันถ่ัวลิสงผ่านกรรมวิธี ทําโดยนํานํ้ามันถ่ัวลิสงที่ได้จากวิธีธรรมชาติ แล้วมาผ่าน กรรมวิธที าํ ใหบ้ ริสทุ ธิอ์ ีกคร้งั
230 |ดรณุ ี พวงบุตร นํ้ามนั ถั่วลสิ ง เนยถว่ั ขนมขบเคยี้ ว ถ่ัวทอดแผน่ ถั่วตดั ถัว่ คั่วทราย สว่ นประกอบของอาหารคาว หวาน ภาพที่ 8-45 ตวั อย่างผลิตภัณฑ์จากถว่ั ลสิ ง
พชื ไร่เศรษฐกจิ | 231 สรุป พชื ตระกูลถว่ั ท่ีจดั เปน็ เศรษฐกจิ ของประเทศไทย คือ ถ่ัวเหลือง ถ่ัวลิสง และถ่ัวเขียว ซึ่งมีการ ปลูกเพ่ือนํามาใช้ประโยชน์เป็นพืชอาหารมนุษย์ ส่วนผสมอาหารสัตว์ และใช้เป็นพืชบํารุงดิน นอกจากนี้ถัว่ ลิสงและถว่ั เหลอื ง ยังถกู จดั เปน็ พชื นํ้ามันด้วย โดยเฉพาะถว่ั เหลือง เนื่องจากส่วนเมล็ดมี การนําไปใชใ้ นการสกัดน้าํ มนั เป็นสว่ นใหญ่ และใช้บริโภคเป็นอาหารโดยตรงด้วย ส่วนกากหรือเปลือง ถ่ัวเหลือง มีการนําไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ ซ่ึงมีปริมาณความต้องการใช้ในแต่ละปีเป็น จํานวนมาก ทําให้มีความต้องการใช้ในประเทศมากขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการ เลีย้ งสตั ว์ ทําใหก้ ารผลิตไมเ่ พียงพอตอ่ ความตอ้ งการใช้ อยา่ งไรก็ตาม พบวา่ พื้นท่ีการปลูกพืชตระกูลถั่วท้ัง 3 ชนิด มีปริมาณลดลงทุกปี ส่งผลทําให้มี ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ และมีการนําเข้าจากต่างประเทศเป็นจํานวน มากในแต่ละปี สง่ ผลทาํ ให้มีราคาเพมิ่ ขึน้ เมล็ดของพืชตระกูลถั่วท้ังสามชนิด ส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ ซ่ึงมีการแปรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลากหลายชนิด ส่วนกากของถั่วเขียวและถั่วลิสง ถูกนําไปใช้ปุ๋ยบํารุงดิน ส่วนกาก ถั่วเหลือง ถูกนําไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซ่ึงเป็นส่วนที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจํานวน หลายล้านบาทในแตล่ ะปี
232 |ดรุณี พวงบตุ ร แบบฝึกหัดท้ายบท 1. ถ่ัวเขยี วมแี หล่งกําเนิดอยใู่ นทวปี อะไร และอยู่ในประเทศอะไร 2. ถวั่ เหลอื งมีแหล่งกําเนิดอยู่ในทวีปอะไร และอยู่ในประเทศอะไร 3. ถ่วั ลิสงมแี หล่งกาํ เนิดอยใู่ นทวีปอะไร และอยู่ในประเทศอะไร 4. จงบอกแนวโน้มสถานการณก์ ารผลิตและการตลาดในปัจจบุ นั ของถว่ั เขียว ถ่ัวเหลอื ง และถว่ั ลสิ ง 5. จงบอกสถานการณ์การผลิตของถั่วเขียว ถ่วั เหลือง และถั่วลิสง ของประเทศไทยในปัจจบุ นั 6. จงบอกแหล่งปลูกทส่ี ําคญั ในประเทศไทยของถ่ัวเขยี ว ถ่วั เหลือง และถั่วลสิ ง 7. จงบอกประเทศผ้ผู ลิตและสง่ ออกท่สี ําคัญของถั่วเขียว ถ่ัวเหลอื ง และถ่ัวลสิ ง 8. จงบอกประเทศคูค้า-คแู่ ขง่ ที่สาํ คัญ ของถั่วเขียว ถัว่ เหลือง และถว่ั ลสิ ง 9. จงบอกผลิตภณั ฑ์การแปรรูปทส่ี าํ คัญของถว่ั เขยี ว ถ่ัวเหลอื ง และถั่วลสิ ง มาอย่าง 3 ชนิด 10. จงวิเคราะห์สถานการณ์การผลิตในอนาคต ของพืชตระกูลถวั่ ทง้ั 3 ชนิด
พืชไรเ่ ศรษฐกจิ | 233 เอกสารอา้ งอิง กรมส่งเสรมิ การเกษตร. (2557). การปลกู ถ่ัวลิสง. โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จาํ กัด. 28 หนา้ . กรมวิชาการเกษตร. (2552). ถั่วเหลือง. [Online]. Available http://www.doa.go.th /fcri/images/files/soybean [2017, January 26]. สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2556. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 213 หนา้ . สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560a). สถิติการเพาะปลูกของประเทศไทย ปี 2560. กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 194 หนา้ . สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560b). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สาคัญและแนวโน้ม ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 211 หนา้ . สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560c). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ.์ 99 หนา้ . สมชาย ผะอบเหลก็ . (2550). เอกสารวชิ าการถั่วเหลือง: ถ่ัวงอกจากถั่วเหลอื ง. สถาบนั วิจัยพชื ไร่ กรมวิชาการเกษตร. 76 หนา้ Agriculture Organization [FAO]. (2014). Food and Agriculture Organization Corporate Statistical Database. Groundnut. Rome. Agricultural & Processed Food Products Export Development Authority [APEDA]. (2017). Statistics. [Online]. Available: http://agriexchange.apeda.gov.in/[2017, January 26] Boote, K.J. 1982. Growth stages of peanut (Arachis hypogaea L.). Peanut Science 9: 35–40. Dakatine. (2016). The peanut. [Online]. Available: http:// www.toonuts.com/[2016, January 26] Feedipedia. (2016). Mung bean (Vigna radiata). [Online]. Available: http:// www.feedipedia.org/[2016, January 26] Fehr, W.R., and C.E. Caviness. (1977). Stages of soybean development. Special report 80. Iowa State University of Science and Technology, Ames. Iowa Food and Food and Agriculture Organization [FAO]. (2016). Food and Agriculture Organization Corporate Statistical Database. Mung been. Rome.
234 |ดรณุ ี พวงบตุ ร Food and Agriculture Organization [FAO]. (2017). Food and Agriculture Organization Corporate Statistical Database. Soybeaan. Rome. Han Y,Zhao X, Liu D, Li Y,. Lightfoot D.A, Yang Z, Zhao L, Zhou G, Wang Z, Huang L, Zhang Z, Qiu L, Zheng H and W. Li. (2016) .Domestication footprints anchor genomic regions of agronomic importance in soybeans. New Phytologist. 209: 871–884. Lyons, S. (2014). Soil matter. [Online]. Available: http:// soilsmatter.wordpress.com/ [2014, January 26] Major Exporting Countries of Groundnuts. 2017. [Online]. Available: http://www.agriexchange.apeda.gov.in [2017, January26] Ontario. (2012). Peanut. Online]. Available: https://www.omafra.gov.on.ca/[2012, January 26] Pinterest. (2016). Mung bean. [Online]. Available: https://www.pinterest.com/[2016, January 26] Purseglove, T.W. (1977). Tropical crops dicotyledons, pp. 224–235. Longman, Group Ltd. London. Shutterstock. (2017). [Online]. Available: https://www.shutterstock.com [2017, January 26]. Traditional Chinese Medicine Wiki. (2016). Mung bean (Vigna radiata). [Online]. Available: http:// https://tcmwiki.com/[2016, January 26] Wikipedia. (2016). [Online]. Available: https://th.wikipedia.org/wiki/ถ่ัวลิสง/[2016, January 16].
บรรณานกุ รม กรมการค้าต่างประเทศ. (2560). ผลิตภัณฑ์จากข้าวและนวัตกรรมข้าวไทย. [Online]. Available: http://www.thairiceforlife.com/riceproducts/index [2017, January 26]. กรมวิชาการเกษตร. (2547). อ้อย. [Online]. Available: http://agebook.lib.ku.ac.th/ index.php/component/content/article/556 [2017, January 10]. กรมวิชาการเกษตร. (2552). ถ่ัวเหลือง. [Online]. Available: http://www.doa.go.th /fcri/images/files/soybean [2017, January 26]. กรมสง่ เสริมการเกษตร. (2555). คู่มือปาลม์ น้ามัน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรมส่งเสรมิ การเกษตร. (2557). การปลกู ถวั่ ลิสง. โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จากดั . 28 หนา้ . กรม ศุลก ากร . (2560). สถิ ติกา รส่ งออ กน้า ตาล ทร าย. [Online]. Available: http://www.customs.go.th [2017, January 10]. กรุงเทพธุรกิจ. (2015). ข้าวโพดอาหารสัตว์. [Online]. Available: http://www.bangkokbiznews.com/[2015, March 6]. ก่งิ แก้ว คุณเขต. (2551). องค์ความรู้: เทคโนโลยีการปลูกข้าว. สานักวิจัยและพัฒนาข้าว. กระทรวง เกษตรและสหกรณ์. 73 หน้า. บริษัทน้ามันพืชไทย จากดั . (2016). [Online]. Available:http://thailandtrustmark.com/[2016, March 6]. บรษิ ัทไอออนิค จากัด. (2014). ขา้ วโพด. [Online]. Available: http://www.ionique.co.th/[2014, February 6]. ประสทิ ธิ์ วังภคพัฒนวงศ์. (2553). โภชนาการของขา้ วและนวัตกรรมการใช้ประโยชน์. วาสารคลินิก อาหารและโภชนาการ 40: 32-40. ปลายแป้นพิมพ.์ (2010). ยางพารา. ยางพารา. [Online]. Available: http://www.bloggang.com/ [2010, September 13]. ณรงค์ฤทธ์ิ อดุลย์ฐานานุศักด์ิ และลัดดา ธรรมวิทยสกุล. (2561). อุตสาหกรรมปาล์มน้ามันไทย: ใน บริบทใหม่ท่ีท้าทาย. [Online]. Available: https://www.bot.or.th/[2017, January 26]. ณรรธราวธุ เมอื งสขุ . (2559). ยางพารา กับ คนใต้ และวัฒนธรรมการเมืองแบบใต้. มติชนออนไลน์. ธวัช หะหมาน. (2559). คู่มือโรควินิจฉัยโรคอ้อย. สานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้าตาลทราย. กระทรวงอุตสาหกรรม. ธีระพงศ์ จันทรนิยม. (2559). คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ามันอย่างมีประสิทธิภาพ. ศูนย์วิจัย และพัฒนาการผลิตปาลม์ นา้ มนั . หาดใหญ่ ดจิ ิตอล พรน้ิ ท์. 123 หนา้ .
236 |ดรุณี พวงบุตร นราพิมล. (2014). ส่วนประกอบของข้าว. Online]. Available: http://narapimon.com [2014, January 26]. พลัง สุรหิ าร. (2558). ข้าวโพดและการปรบั ปรงุ พันธุ์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 189 หนา้ พมิ พ์เพ็ญ พรเฉลมพงศ์และนิธิยา รัตนปานนท์. (2017). Food wiki. [Online]. Available: https:// http://www.foodnetworksolution.com/[2017, January 26] ศยามล แก้วบรรจง. (2558). ศึกษาวิธีเก็บรักษาละอองเกสรตัวผู้ยางพาราในไนโตรเจนเหลว. วารสารยางพารา. 36: 13-19. สุรกิตติ ศรีกุล. (2547). การจัดการสวนปาล์มนา้ มัน. เอกสารวชิ าการปาล์มนา้ มนั . หนา้ 35-60. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2015). มันส้าปะหลัง: ลักษณะทาง พฤกษศาสตร.์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [Online]. Available: http://www3.rdi.ku.ac.th/ [2017, January 16]. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). ข้าวโพด: การปลูกข้าวโพด. [Online]. Available: https://www3.rdi.ku.ac.th/[2017, January 26]. สถาบันวิจัยยาง. (2549). โรคและศัตรูยางพาราท่ีส้าคัญในประเทศไทย. กรมวิชาการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมการค้ามันสาปะหลังไทย. (2560). ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันส้าปะหลัง. [Online]. Available: http://ttta-tapioca.org/ [2017, January 16]. สมชาย ผะอบเหล็ก. (2550). เอกสารวชิ าการถ่วั เหลอื ง: ถั่วงอกจากถัว่ เหลือง. สถาบนั วิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. 76 หนา้ สมชาย ชวนอุดม. (2558). การเก็บเกี่ยวขา้ วโพดและปัญหาในการเก็บเกี่ยว. วารสาร Postharvest Newsletter. 4: 5-7. สานกั งานคณะกรรมการออ้ ยและน้าตาลทราย. (2559).รายงานพื้นท่ีปลูกออ้ ยปกี ารผลติ 2558/59. กระทรวง อุตสาหกรรม. 124 หน้า. สานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้าตาลทราย. (2560). สถานการณ์อ้อยและน้าตาลทรายภายในประเทศ. กระทรวง อตุ สาหกรรม. สานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2559). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถ่ัวเหลือง ถ่ัวเขียว และถั่วลิสง ทิศทาง พืชเศรษฐกิจไทยในอาเซียน. พรทรพั ยก์ ารพมิ พ์. กรงุ เทพฯ. 160 หนา้ . สานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2560). ยางพารา. [Online]. Available: http://www.arda.or.th/ [2017, January 16]. สานกั งานพฒั นาการวิจัยการเกษตร. (2560). ปาลม์ น้ามัน. [Online]. Available: http://www.arda.or.th/ [2017, January 26].
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266