¢¹Á¢ºà¤ÕéÂÇËÅÒ¡ËÅÒÂÂËÕè ŒÍ ¡Òí Åѧä´ÃŒ Ѻ ¤ÇÒÁ¹ÔÂÁà¾ÁÔè ¢é¹Ö àÃÍè× Âæ ã¹Í¹Ô à´ÂÕ เห็นมูลค่าตลาดและการขยายตัวของตลาดสแน็คในอินเดียแบบนี้ก็คิดถึง สแน็คของไทยข้ึนมาทันที แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับ ภาคเอกชนไทยของเราเก่งมาก ปัจจุบันสแน็คของไทยหลายรายการสามารถหาที่ยืนในตลาดน้ีได้แล้ว แม้จะยังไม่ได้ มีส่วนแบ่งตลาดมากมายเหมือนบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง PepsiCo แต่ก็ถือว่า ประสบความสา� เรจ็ ในระดบั หนงึ่ เชน่ ขา้ วเกรยี บกงุ้ ฮานามิ ถว่ั ลนั เตาอบกรอบสแนค็ แจค็ ถ่ัวทองการ์เด้น เป็นต้น โดยเฉพาะถ่ัวทองการ์เด้นท่ีประสบความส�าเร็จอย่างมาก ในตลาดอนิ เดีย ตอ้ งขอบอกว่านายแน่มาก ท�าไดย้ งั ไง...เอาถ่วั ไปขายแขกได้ หยัง่ งี้ขอ กด LIKE ใหล้ า้ นคร้งั เลยครบั !!! ตีพิมพ์ในหนงั สอื พมิ พฐ์ านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2556 101
ไปลงทุนำในำอินำเดยี กนั ำดีกวา่ CHAPTER5
104
5.1 ถงึ เวลาไปลงทุนในอนิ เดยี กันหรือยงั - โดย ปิยรตั น์ เศรษฐศริ ไิ พบลู ย ์ - อนิ เดยี มคี วามพรอ้ มแทบจะทกุ อยา่ งแลว้ ไมว่ า่ จะเปน็ การเกษตร อตุ สาหกรรม ไอที การศกึ ษา หรือแมแ้ ตก่ �าลงั ซ้อื มหาศาลของผูบ้ ริโภค ดว้ ยเหตุนบ้ี รษิ ัทต่างชาติจงึ ไม่ละความพยายามที่จะบุกเข้าสู่ตลาดอินเดีย แม้ว่าหลายรายจะเข้ามาพบเจอกับ อุปสรรค ถงึ กบั ตอ้ งชอกช�า้ กันไปบา้ งตามสมควร อินเดียก�าลังพยายามเปิดประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามดูแล ผลประโยชน์ของคนภายในประเทศด้วย ดังน้ันหลายอุตสาหกรรมหากไม่ถูกจ�ากัดไว้ ใหเ้ ฉพาะคนอนิ เดยี กถ็ กู กา� หนดเพดานการครอบครอง และเนอื่ งจากตลาดอนิ เดยี ใหญ่ มาก การจะพรวดพราดฉายเดยี่ วเขา้ มาตะลุยบุกเจาะตลาดเองนัน้ อาจจะถกู นอ็ คยก แรกได้ง่ายๆ ด้วยเหตุน้ีบริษัทต่างชาติจ�านวนมากที่มองเห็นโอกาสท่ีก�าลังเติบโตของ อินเดีย จึงเข้ามาท�าธุรกิจผ่านการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น บางรายต้องต้ังสถาบัน อบรมฝกึ อาชพี เพือ่ ถา่ ยทอดโนวฮ์ าว (know how) เช่น บรษิ ทั เปอโยต์ ผผู้ ลติ รถยนต์ มแี ผนสรา้ งโรงงานกา� ลงั ผลติ 170,000 คนั ตอ่ ปใี นเมอื งซานนั ดท์ างตะวนั ตกของอนิ เดยี นอกจากจะเตรียมงบลงทุน 4 หมืน่ ลา้ นรปู ี (ราว 2.8 หมน่ื ลา้ นบาท) ส�าหรบั โรงงาน ผลิตแล้ว เปอโยต์ยังได้ลงนามร่วมกับรัฐคุชราต สร้างสถาบันพัฒนาฝีมือยานยนต์ ให้คนอนิ เดยี ควบคกู่ นั ไปด้วย 105
ตอ้ งยอมรบั วา่ หลายบรษิ ทั ทเ่ี ขา้ มาในอนิ เดยี แลว้ อยไู่ ดไ้ มย่ ดื กม็ ี ในบรรดา 50 บริษัทรว่ มทนุ ระหวา่ งอนิ เดยี กับตา่ งชาตทิ ่ีต้องแยกทางกนั ไปในท่สี ุดนนั้ มบี รษิ ทั ชนั้ น�ำ ของโลกรวมอยดู่ ว้ ย เชน่ บรษิ ัท มหนิ ทรา (Mahindra) บรษิ ทั ยกั ษใ์ หญใ่ นวงการรถยนต์ และการขนสง่ ของอนิ เดยี แยกทางกบั เรอโนลต์ บรษิ ทั รถจากฝรงั่ เศส หลงั จากรว่ มงาน กนั มา 4 ปี บรษิ ัทฮีโรข่ องอินเดยี กบั บริษัทฮอนด้าของญ่ปี นุ่ สะบัน้ รกั หลังรว่ มงานกัน มา 27 ปี สถาบันการเงินของอเมรกิ าอย่างเมอรร์ ลิ ลินช,์ มอร์แกน สแตนเลย์ และ โกลแมน แซค ล้วนเคยจบู ลาการรว่ มทนุ กบั บรษิ ทั อนิ เดยี มาแล้วท้ังนน้ั ล่าสุด บริษัท เทเลนอร์ จากนอร์เวย์ ซ่ึงถือหุ้นร้อยละ 67.25 ในบริษัท ยูนินอร์ (Uninor) บริษัทผใู้ หบ้ รกิ ารโทรศพั ท์เคลื่อนทีอ่ นั ดับ 7 ในอินเดียกก็ ำ� ลังฟดึ ฟัด จะหาค่ใู หม่ หากบรษิ ทั ยนู ิเทค (Unitech) ของอนิ เดยี ไมย่ อมร่วมใสเ่ งนิ ซื้อหุ้นเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่สดใสก็มีให้เห็น เช่น บริษัท ร้อกเวิธ ผู้ผลิต เฟอร์นิเจอร์ของไทย ท่ีครองส่วนแบ่งผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส�ำนักงานในประเทศไทยเกิน รอ้ ยละ 50 ได้เร่ิมขยายการลงทนุ มาตั้งโรงงานท่อี ินเดีย ด้วยเหตุผลหลกั คือเรือ่ งตน้ ทุน และถ้าทุกอย่างลงตัว โรงงานที่อินเดียก็จะเป็นฐานการผลิตส�ำหรับตลาดเอเชียใต้ รฐั มนตรีอุตสาหกรรมเปดิ สำ� นักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ทม่ี มุ ไบ ซ่งึ พร้อมอำ� นวยความสะดวกเอกชนไทยท่ีตอ้ งการลงทนุ ในอินเดยี 106
และตะวันออกกลางของบริษัท ในขณะท่ีโรงงานในไทยจะเป็นฐานผลิตรองรับตลาด ประชาคมอาเซยี น ทั้งนี้ ใบเบิกทางส�ำคัญของร้อกเวิธคือ พันธมิตรที่มีเครือข่ายในอินเดีย อีกทง้ั การเขา้ ไปเปน็ บริษัทแรกๆ ทต่ี ัง้ โรงงานในนคิ มอตุ สาหกรรม Sri City ซ่ึงเปน็ เขต เศรษฐกิจพิเศษ ไดร้ ับสิทธปิ ระโยชน์ในด้านภาษี การส่งรายได้กลบั ประเทศ ปราศจาก ปัญหาสหภาพแรงงาน และท่ีส�ำคัญไม่ต้องปวดหัวกับเร่ืองการหาท่ีดิน การจับจอง ท่ีดิน เพราะนิคมอุตสาหกรรมรับผิดชอบแล้ว ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะมีโรงเรียน โรงพยาบาล สวสั ดกิ ารต่างๆ มากมายเสริมใหพ้ นกั งานและครอบครวั ซงึ่ มาทำ� งานใน โรงงานตา่ งๆ ในนคิ มอตุ สาหกรรม รอ้ กเวธิ ไดใ้ หค้ ำ� มนั่ ไปแลว้ วา่ จะดแู ลเรอ่ื งเฟอรน์ เิ จอร์ ทงั้ หมดใหโ้ รงเรยี น และเปน็ ไปได้วา่ โรงงานทั้งหลายท่ีจะตามมาตงั้ ทีน่ ิคมอุตสาหกรรม น้ีน่าจะไดใ้ ช้บรกิ ารเฟอรน์ ิเจอรส์ �ำนักงานจากบริษทั ไทยรายนี้ จะว่าไปตลาดอินเดียกเ็ หมอื นห้นุ โอกาสเตบิ โตสูง ทม่ี าพร้อมความเสีย่ งสงู เช่นกนั นักลงทุนทป่ี ระสบความสำ� เร็จมกั นิยมทฤษฎี “อยา่ ใส่ไข่ไว้ในตะกรา้ ใบเดียว” การปรบั พอรท์ อยา่ งสมดลุ ณ เวลาทเี่ หมาะสมเปน็ แผนระยะยาวทที่ ำ� ใหก้ า้ วไปขา้ งหนา้ ไดอ้ ยา่ งมนั่ คง ในขณะเดยี วกนั หากตอ้ งถอยกถ็ อยอยา่ งมหี ลกั คำ้� ทอ่ี นิ เดยี มบี รษิ ทั ไทย มาลงทุนบา้ งแล้ว มสี ถานทูต สถานกงสลุ และหน่วยงานการค้าทม่ี ีความช�ำนาญใน ตลาด สามารถช่วยประสานงานสง่ เสรมิ การจบั ค่ธู รุ กจิ ได้ และในปีหนา้ (2555) ทาง สถานทูตไทยก็มีแผนจะเชิญนักธุรกิจไทยและผู้บริหารท่ีมีประสบการณ์ในการท�ำธุรกิจ ในอินเดียมารว่ มงานสัมมนา ซงึ่ ก�ำลงั จะจัดข้นึ ทีป่ ระเทศไทย...ถึงเวลาทผี่ ู้ประกอบการ ไทยจะคิดถงึ การเพิม่ ไขล่ งในตะกร้าแลว้ หรือยัง ตพี ิมพใ์ นหนงั สือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เม่อื วันท่ี 2 ตลุ าคม 2554 107
5.2 เอกชนไทยไปอินเดยี ต้องก้าวข้ามอคติเดิมๆ - โดย พศิ าล มาณวพฒั น์ - เดือนหน้านายกรัฐมนตรีจะกลายเป็นผู้น�าไทยในประวัติศาสตร์ท่ีเยือน อินเดียอย่างเปน็ ทางการ 2 ครั้งในปเี ดยี วกนั โดยคร้งั แรกเม่ือปลายมกราคมเป็นแขก เกยี รติยศสงู สุดคนเดยี วของวนั สถาปนาสาธารณรัฐ และชว่ ง 20 - 21 ธนั วาคม 2555 กรงุ นวิ เดลี อนิ เดยี จะปพู รมแดงตอ้ นรบั ผนู้ า� อาเซยี น 10 ประเทศ เพอ่ื ฉลองความสมั พนั ธ์ ครบ 20 ปี อนิ เดีย - อาเซยี น ซึง่ อนิ เดียให้ความสา� คญั มากทส่ี ุดงานหนึ่ง ก่อนจะมาถงึ งานฉลองใหญ่โดยผู้น�าในครงั้ นี้ อนิ เดยี ได้วางแผนปูพ้ืนไว้ด้วย กิจกรรมหลายหลาก เร่ิมจากการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนกับอินเดียด้านเกษตร และด้านพลงั งาน ตอ่ ด้วยการเดนิ เรือยอ้ นยุคจากอนิ เดยี ไปประเทศอาเซียน เพอ่ื รา� ลึก ความสัมพันธ์ทางการค้า วัฒนธรรม และศาสนาท่ีเคยรุ่งเรืองในช่วง 700 ปีท่ีแล้ว โดยใช้เรอื “สธุ าสนิ ี” เรือฝึก 3 เสากระโดงของกองทัพเรอื อนิ เดยี ซึง่ มีก�าหนดจะแวะ กรุงเทพฯ และภเู ก็ตประมาณตน้ เดือนมนี าคม 2556 ด้านกิจกรรมทางบก มีการแสดงความเช่ือมต่อระหว่างอินเดียกับอาเซียน ผ่านงานคาร์แรลล่ี คือขบวนรถยนต์จากประเทศสงิ คโปรผ์ า่ นมาเลเซีย ไทย กมั พชู า ลาว พม่าและอินเดียกว่า 7,743 กิโลเมตร โดยจะผ่านประเทศไทยมากที่สุด ด้วยระยะทาง 2,200 กิโลเมตร และมีกิจกรรมทางธุรกิจและวัฒนธรรมตลอดทาง ซงึ่ นายกรฐั มนตรขี องไทยจะเปน็ ประธานพธิ ปี ลอ่ ยรถทบ่ี รเิ วณพระบรมรปู ทรงมา้ ในวนั อาทติ ย์ท่ี 2 ธนั วาคม 2555 109
นายกฯ ยงิ่ ลกั ษณ์ เยอื นอนิ เดีย 2 คร้งั ในรอบปี แสดงใหเ้ ห็นถึงความสมั พันธ์ไทย - อินเดียทีใ่ กล้ชดิ กิจกรรมแรกของผู้น�ำอาเซียนในวันแรกท่ีไปถึงกรุงนิวเดลีคือ การต้อนรับ ขบวนรถ 11 ประเทศ ที่กลางกรุงนิวเดลีร่วมกับตัวแทนเยาวชน นักการทูตรุ่นใหม่ เกษตรกร ศลิ ปิน นกั แสดง และบรรณาธกิ าร/ผูส้ ือ่ ข่าวจากทุกประเทศสมาชิกอาเซยี น ที่รัฐบาลอินเดียลงทุนเชิญให้ไปเยือนอินเดีย เพื่อมุ่งหวังผลให้เกิดความประทับใจต่อ อนิ เดยี และระหวา่ งกัน ส�ำหรับภาคธุรกิจก็จะเป็นจุดเด่นของการฉลองความสัมพันธ์เช่นกัน เพราะ ภาคเอกชนอนิ เดียเปน็ โตโ้ ผจัดงาน India - ASEAN Business Fair (IABF) คูข่ นานกบั การประชมุ สดุ ยอดผนู้ �ำทีก่ รุงนวิ เดลี 18 - 20 ธนั วาคม ระหว่างงานจะมกี ารประชมุ สภา ธุรกจิ อาเซียน - อินเดยี มีการเชญิ ภาคเอกชนจากทกุ ประเทศอาเซียนไปรว่ มกับบริษทั อินเดยี ออกบธู เน้นการเจรจาจับคูธ่ รุ กิจ (บที ูบ)ี เป็นหลกั งานครั้งกอ่ นบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซยี จดั บรษิ ัทชั้นนำ� ไป แต่ อาเซยี นอ่นื รวมทงั้ อนิ เดยี จดั ผู้สง่ ออกท่ตี ้องการค้าปลกี ไปเปน็ หลกั ปีนี้เพือ่ เน้นการจับ ค่ใู ห้ชดั เจน จึงก�ำหนดสาขาหลัก 7 สาขา คอื ยานยนต/์ เครือ่ งไฟฟา้ เคมภี ณั ฑ์/ยา /พลาสติก โครงสร้างพ้ืนฐาน/ก่อสร้าง อัญมณี/เครื่องประดับ เกษตร/อาหารแปรรูป สิ่งทอ/เครื่องแตง่ บ้าน/เฟอร์นิเจอร์ และบรกิ ารไอท/ี สขุ ภาพ/อายุรเวชศาสตร์ กรมสง่ เสรมิ การส่งออกไดจ้ องพ้ืนท่ีในงานไว้แลว้ 285 ตารางเมตร ในอาคาร ทม่ี คี วามโดดเดน่ มาก สถานทตู กไ็ ดพ้ ยายามประสานอยา่ งเตม็ ทใี่ หส้ ถาบนั ภาคเอกชน 110
ไทยตื่นตัวและใช้ประโยชน์จากโอกาสน้ี เพราะเป็นสิ่งที่เอกชนไทยมักขอให้ภาครัฐ ช่วยอยเู่ นืองๆ คือการจัดให้พบหุ้นสว่ นฝา่ ยอนิ เดยี แม้สาขาทั้งเจ็ดข้างต้น สถานทูตก็เป็นผู้ผลักดัน โดยพิจารณาจากประเภท ของธรุ กจิ ไทยทลี่ งทนุ ในอนิ เดยี อยแู่ ลว้ และศกั ยภาพทจี่ ะเขา้ ไปได้ แตเ่ ทา่ ทสี่ ดบั ตรบั ฟงั ดูยงั ตดิ ขัดเรื่องทา้ ทายเดมิ ๆ ทเ่ี ป็นปกติในสงั คมไทย ขอ้ ทา้ ทายแรกคอื การไหลเวยี นของขอ้ มลู ขา่ วสาร การประสานงานทง้ั ระหวา่ ง หน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง และกับภาคเอกชนและระหว่างเอกชนกันเอง สรุปคือ ทำ� อยา่ งไรขอ้ มลู ทม่ี ปี ระโยชนแ์ ละครบถว้ นจะไปถงึ ทเี่ อกชนทสี่ นใจได้ ถกู บรษิ ทั ถกู ตวั บคุ คล และถกู เวลา สิ่งที่สถานทูตท�ำได้คือ การประสานงานกับฝ่ายอินเดียและระหว่างหน่วย ราชการไทยในอินเดียอย่างต่อเนื่อง แล้วรายงานผ่านช่องทางราชการและผ่านเว็บไซต์ thaiindia.net ทที่ ำ� ไวเ้ พอื่ นกั ธรุ กจิ ไทยทส่ี นใจอนิ เดยี โดยเฉพาะ เวลานก้ี ย็ งั ตามตดิ โดยตรง วา่ จะไปรว่ มไดก้ ร่ี าย ถงึ เวลาจรงิ สว่ นใหญอ่ าจอยากตามตดิ นายกรฐั มนตรมี ากกวา่ กไ็ ด้ ขอ้ ท้าทายทส่ี องคือ นกั ธุรกจิ ไทยมคี วามสนใจอินเดยี แบบหลายหลาก ตั้งแต่ สนใจจรงิ ลงทุนจริง สนใจเพราะตามกระแส ไปจนถงึ พูดอย่างเดียววา่ อนิ เดยี ส�ำคญั แตไ่ มม่ แี อ๊คช่นั เพราะยังไม่พร้อมหรือจมปลักอยู่ในอคติเดิม กลมุ่ แรกคอื บรษิ ทั ชน้ั นำ� ไมก่ บ่ี รษิ ทั ทสี่ นใจจรงิ เพราะมองวา่ ตน้ ทนุ ถกู ตลาด มีขนาดใหญ่ เข้าไปลงทนุ แลว้ จริง รู้จักอนิ เดียจริง ไม่ตอ้ งรอการชี้นำ� จากภาครฐั สิง่ ท่ี ต้องการจากภาครัฐมีเร่ืองเดียว คือขอให้ช่วยท�ำความตกลงกับอินเดียเพ่ือยกเว้นการ เก็บเงินเข้ากองทุนส�ำรองเล้ียงชีพอินเดีย หรือหากต้องจ่ายเงินสมทบ ก็ขอเบิกคืนได้ ทันทที ก่ี ลับประเทศ ไมต่ ้องรอจนอายุ 58 ปี กลมุ่ ทส่ี องคอื บรษิ ทั ทสี่ นใจอนิ เดยี แตอ่ ยากพง่ึ พาราชการในการจบั คหู่ นุ้ สว่ น ธุรกิจ ซึง่ ทีมประเทศไทยในอินเดยี ชว่ ยได้ และทไ่ี ด้ท�ำไปแลว้ ในปนี ้คี ือ การจัดสมั มนา หลายครัง้ ทั้งท่ีเดลีและกรงุ เทพฯ และการนำ� คณะนักธรุ กิจเหล่านีไ้ ปพบมขุ มนตรีและ เอกชนอนิ เดยี ทรี่ ฐั คชุ ราต ซงึ่ เปน็ รฐั เดน่ ในอนิ เดยี ทส่ี ามารถตอบคำ� ถามภาคเอกชนไทย ท่ีฝากไว้กับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เมื่อต้นปีได้เกือบหมด โดยเฉพาะที่ดินต้ังโรงงาน น�้ำ ไฟ และแรงงาน 111
นอกจากน้ัน ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าของกระทรวงพาณิชย์ก็ท�ำกิจกรรม ชว่ ยผสู้ ง่ ออกไทยไดเ้ ปน็ อยา่ งดแี ละตอ่ เนอื่ ง โดยเฉพาะเฟอรน์ เิ จอรแ์ ตง่ บา้ นและอญั มณี กลุ่มที่สามคือ บริษัทที่สนใจแต่ไม่อยากเสี่ยง เพราะท�ำธุรกิจในบ้านหรือ รอบบ้านก็ดีอยู่แล้ว บางอย่างผลิตแทบไม่ทัน เมื่อเร็วๆ นี้ ฝ่ายเอกชนอินเดียไป ขอร้องสถานทูตให้เชิญเอกชนไทยดา้ นช้ินสว่ นรถยนตก์ บั แปรรูปอาหารไปร่วมจบั คู่ทาง ธรุ กิจท่ีรฐั คชุ ราตในเดอื นมกราคมศกหนา้ พร้อมออกคา่ ใช้จา่ ยร่วมงานหลายแสนบาท ใหด้ ว้ ย แต่สดุ ท้ายไมม่ ีใครจากไทยสนใจ แบบน้สี ถานทตู งง ไม่ร้จู ะตอบอินเดยี อยา่ งไร ไทยจึงยงั ดดู อี ยู่ กลุ่มสุดท้ายคือ ข้อท้าทายที่สาม คนไทยส่วนใหญ่ทั้งภาคเอกชนและ ภาครัฐยังไม่ก้าวข้ามอคติเดิมๆ เอกชนกลุ่มนี้ต้องเปิดใจและค้นหาความจริงอีกด้าน ของเหรยี ญ เพราะมผี ้กู ล่าวถงึ อนิ เดยี ว่า ไมว่ ่าจะมองเห็นอะไรในอินเดีย ในความเปน็ จริงจะสามารถคน้ หาสง่ิ ตรงขา้ มเร่อื งนน้ั ๆ ได้เชน่ กนั เอกชนไม่ว่าอยกู่ ลุ่มใด หากมงุ่ มัน่ กบั อนิ เดียแลว้ จำ� เปน็ ตอ้ งทำ� ความเข้าใจ อนิ เดยี อยา่ มองจากมาตรฐานฝา่ ยเราเปน็ หลกั ใหค้ วามสำ� คญั กบั ขอ้ ตกลงภาษาองั กฤษ หาหนุ้ สว่ นอนิ เดยี ทด่ี ีเปน็ พันธมติ ร และถา้ จะให้ดียิ่งข้นึ ควรจา้ งนกั บัญชี นกั กฎหมาย อนิ เดียไว้ใช้งาน เรอ่ื งปวดหัวจะลดลง โดยสรุปภาคเอกชนไทยส่วนใหญ่ยังพอใจในการท�ำธุรกิจในบ้าน หรืออย่าง มากในประเทศเพ่ือนบ้าน จะกระตือรือร้นกันทีก็ต่อเม่ือมีการเยือนระดับสูงช่ัวครั้ง ชั่วคราว แต่ภาครัฐก็ไม่ควรผิดหวัง เพราะยังมีเอกชนไทยที่ต่ืนตัว เปิดใจและพร้อม โกอนิ เตอรท์ ี่สมควรได้รบั การสนบั สนุนและน่าจะมมี ากข้ึนเร่อื ยๆ ตีพมิ พใ์ นหนังสือพมิ พก์ รงุ เทพธรุ กจิ เมอ่ื วนั ที่ 21 พฤศจกิ ายน 2555 112
114
5.3 รู้จักบีโอไออนิ เดยี - โดย ดร. แจม่ ใส เมนะเศวต และคณิน บุญญะโสภัต - สืบเน่ืองมาจากการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรี น.ส. ย่ิงลักษณ์ ชินวัตร และภาคเอกชนไทยที่กรุงนิวเดลีเม่ือวนั ที่ 25 มกราคม 2555 หนว่ ยราชการไทยทัง้ ใน อินเดียและไทยก็ได้ท�างานอย่างเข้มแข็ง ติดตามผลของการหารืออย่างใกล้ชิดเพ่ือหา หนทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของเอกชนไทยที่มีวิริยอุตสาหะข้ามน้�าข้ามทะเลมา ลงทนุ เปดิ กจิ การในอนิ เดยี ชอ่ื เสยี งของบรษิ ทั ไทยเหลา่ นเ้ี ปน็ ทเ่ี ชดิ หนา้ ชตู าของแบรนด์ ไทยแลนดเ์ ปน็ อย่างยง่ิ ล่าสดุ เอกอคั รราชทูตไทยประจา� อินเดยี นายพศิ าล มาณวพัฒน์ ไดเ้ ดนิ สาย เคาะประตูเข้าพบหน่วยงานที่เป็นด่านหน้าต้อนรับนักลงทุนต่างชาติสู่อินเดีย คือ กรมนโยบายและส่งเสรมิ อตุ สาหกรรม (Department of Industrial Policy & Promotion - DIPP) ภายใต้กระทรวงการคา้ และอตุ สาหกรรมอนิ เดยี ทง้ั นี้ DIPP ท�าหน้าทคี่ ลา้ ยกับ บีโอไอบ้านเรา ท่านทตู พิศาล ได้หารือกับนาย Talleen Kumar อธิบดี DIPP และไดท้ าบทาม ใหอ้ ธบิ ดี Talleen มาเป็นวทิ ยากรพเิ ศษให้กบั ภาคเอกชนไทย เพ่อื ตอบปัญหาข้องใจ ต่างๆ เกย่ี วกับการทา� ธรุ กิจในอนิ เดยี DIPP มีความส�าคัญอย่างไร DIPP ได้ริเร่ิมโครงการเปิดศูนย์ถาม - ตอบ ทุกปัญหาเรื่องการลงทุน โดยได้ร่วมกับสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย (Federation of Indian Chambers of Commerce and Industry - FICCI) และรฐั บาลรฐั 115
ตา่ งๆ จดั ต้งั องค์กรรฐั วิสาหกิจ Invest India จัดท�ำเวบ็ ไซต์ investindia.gov.in เพือ่ ให้ ข้อมูลชว่ ยเหลือและส่งเสริมเอกชนตา่ งชาตใิ นการลงทุนในอนิ เดีย อีกไม่ช้าไม่นาน investindia.gov.in จะเปดิ ใหบ้ ริการ query system ใหเ้ อกชน ต่างชาติสามารถส่งค�ำถามและแจ้งปัญหาผ่านเว็บไซต์ ทั้งท่ีเก่ียวข้องกับรัฐบาลกลาง และรฐั บาลของรฐั ต่างๆ เบอื้ งตน้ วางแผนทีจ่ ะตอบค�ำถามแกผ่ ู้สนใจภายใน 48 ชัว่ โมง แต่จะพัฒนาใหเ้ ร็วขึน้ เป็นภายใน 24 ชัว่ โมง Invest India ยงั เสนอขอ้ มลู โอกาสในการลงทนุ แยกตามสาขาและตามรฐั ตา่ งๆ ในอินเดยี และจะพฒั นาใหม้ ีการเสนอขอ้ มูลแกน่ กั ธรุ กจิ ตา่ งชาติเปน็ รายประเทศด้วย อกี หนงึ่ โครงการของ DIPP ทนี่ กั ลงทนุ ไทยควรทราบคอื การปฏริ ปู กระบวนการ ขอใบอนุญาต ท้ังนี้ โครงการ e-Biz จะอ�ำนวยความสะดวกให้นักลงทุนต่างชาติ ใชข้ อใบอนุญาตด�ำเนินธุรกจิ (No Objection Certificate (NOC), Licenses) จากหลาย หนว่ ยงานของอนิ เดยี ได้ใน portal เดยี ว นกั ธรุ กิจเพยี งกรอกข้อมูลลงบนเวบ็ ไซตใ์ นท่ที �ำงานของตน จากน้นั DIPP จะ สง่ ขอ้ มลู คำ� ขอใบอนญุ าตแตล่ ะประเภทไปตามหนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วขอ้ งในรฐั บาลกลางและ รัฐบาลท้องถ่ิน ผู้ย่ืนใบอนุญาตสามารถใช้หมายเลขค�ำร้องติดตามผลการพิจารณา ได้จากเว็บไซต์ และเมือ่ อนุมัตแิ ล้วสามารถพิมพ์ใบอนญุ าตจากคอมพวิ เตอร์ไปใช้ได้ โครงการดังกล่าวจะปฏิรูปการท�ำงานของราชการอินเดีย ช่วยเร่งรัด หน่วยงานต่างๆ ของอินเดยี ให้พิจารณาคำ� รอ้ งของนักลงทนุ เรว็ ขนึ้ เน่อื งจากผูบ้ รหิ าร ระดับสูง เช่น ปลัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สามารถตรวจสอบได้ว่า คำ� รอ้ งไปลา่ ช้าอยู่ท่ีเจ้าหนา้ ท่คี นใด ในหน่วยงานใดเกบ็ ดองไว้เพอื่ หวังอามิสสนิ จา้ ง ปัจจบุ นั โครงการ e-Biz อยรู่ ะหวา่ งการพฒั นาระบบการจา่ ยเงนิ คา่ ธรรมเนยี ม ซง่ึ อธิบดี Talleen ต้องการพฒั นาใหเ้ ป็นจ่ายเพียงแค่คร้งั เดยี ว และ e-Biz จะแยกจา่ ย ต่อไปยงั หนว่ ยงานทอี่ นุญาตตอ่ ไป โดยรัฐอานธรประเทศจะนำ� ร่องโครงการ และมรี ฐั ทีจ่ ะเข้าร่วมอกี 4 รฐั ไดแ้ ก่ นวิ เดลี หรยาณา ทมฬิ นาฑู และมหาราษฏระ สำ� หรับ รัฐอื่นๆ นั้น ราชาสถานและเบงกอลตะวนั ตกไดแ้ สดงความสนใจแลว้ 116
สถานทตู เชญิ InvestIndia และ DIPP มาบรรยายพเิ ศษใหก้ บั เอกชนไทยในอนิ เดียทีก่ รงุ นวิ เดลี ข่าวดสี �ำหรับเอกชนไทยก็คือ ในวันท่ี 27 เมษายน 2555 นาย Talleen Kumar จะนำ� ทมี investindia.gov.in และหน่วยราชการอินเดียอืน่ ๆ ท่เี กี่ยวข้อง เป็นผ้บู รรยาย ในการสมั มนาพเิ ศษเร่อื งการลงทุนในอนิ เดีย ซึ่งสถานเอกอัครราชทตู ณ กรุงนวิ เดลี จัดใหภ้ าคเอกชนไทยโดยเฉพาะ ทา่ นนกั ธรุ กจิ ในประเทศไทยทส่ี นใจบนิ มาเขา้ รว่ มสมั มนาดงั กลา่ วทก่ี รงุ นวิ เดลี สามารถตดิ ตามรายละเอียดและก�ำหนดการได้จากเวบ็ ไซต์ “http://www.thaiindia.net” ตีพมิ พใ์ นหนงั สอื พมิ พ์กรุงเทพธรุ กจิ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 117
5.4 การลงทนุ ในอนิ เดีย : ภาครัฐปทู างไว ้ รอเอกชนไทยสานตอ่ - โดย คณนิ บญุ ญะโสภัต - ภาครัฐไทยและอินเดียแสดงความพร้อมเต็มที่ในการปูทางและเปิดโอกาส ให้เอกชนไทยไปลงทุนในอินเดีย โดยนับเป็นครั้งแรกท่ีน�าผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ส่งเสริมการลงทุนอินเดียมาพบกบั เอกชนไทยที่จรงิ จังกบั ตลาดอินเดียอย่างใกล้ชดิ การสัมมนาในหัวข้อ Doing Business in India : Forum for Thai Executives ท่ีจัดไปเมอ่ื วันที่ 14 กนั ยายน 2555 ท่กี รุงเทพฯ สะท้อนภาพความเอาใจใสแ่ ละจริงจัง ของภาครฐั เพอื่ ตอบสนองความกระตอื รอื รน้ ของเอกชนไทย โดยบรษิ ทั ไทยกวา่ 130 ราย ที่ได้รับการคัดสรรว่ามีแผนการลงทุนที่ชัดเจนและมุ่งมั่นกับตลาดอินเดีย ได้มา รว่ มงานรบั ฟังการบรรยายจากผบู้ รหิ าร Invest India และ iNDEXTb ทเ่ี ปน็ หนว่ ยงาน สง่ เสรมิ การลงทุนของรฐั บาลกลางและรัฐคุชราตตามล�าดับ นอกจากการให้ข้อมูลจากผู้บรรยายจากอินเดียและสถานทูตอินเดีย ในกรุงเทพฯ ในชว่ งเชา้ แลว้ ช่วงบ่ายยังเปดิ โอกาสให้นกั ธุรกจิ ทเ่ี ขา้ รว่ มไดล้ งทะเบียน เพ่ือหารือตัวต่อตัวกับผู้บรรยาย และพบกับผู้บริหารของทีมประเทศไทยในอินเดีย น�าโดยท่านทูตพิศาล มาณวพฒั น์ นายชาญชัย จรญั วฒั นากจิ กงสลุ ใหญ่เจนไน และ นายทอมวิชย์ ชาญสรรค์ กงสุลใหญม่ มุ ไบ 119
รปู แบบการสมั มนาทลี่ งลกึ รายละเอยี ดเจาะจงรฐั คชุ ราต ทเ่ี ปน็ รฐั ทม่ี ศี กั ยภาพ ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอินเดีย และยังไม่มีนักลงทุนไทยไปต้ังฐานการลงทุนถาวร แถมการเปิดโอกาสให้เอกชนไทยได้แลกเปล่ียนความคิดเห็นและสอบถามเร่ืองลู่ทาง การลงทนุ ท�ำใหผ้ เู้ ขา้ รว่ มไดป้ ระโยชน์ตรงประเด็นและตรงความต้องการ นอกจากผบู้ รหิ าร/เจา้ ของธรุ กจิ MSMEs ทสี่ นใจอนิ เดยี แลว้ บรษิ ทั ขนาดใหญ่ ของไทยที่มีฐานในอินเดีย เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บริษัท อิตาเลียนไทยฯ บริษทั พฤกษา ศรไี ทยซปุ เปอรแ์ วร์ และบริษทั ร้อกเวิธ กไ็ ด้สง่ ผู้บริหารเขา้ ร่วมด้วย การสัมมนาครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการชี้ช่องโอกาสธุรกิจไทยในอินเดียและรัฐคุชราต เปน็ การเฉพาะ แตย่ งั รวมถงึ การปดั ฝนุ่ แกไ้ ขปญั หาขจดั ความขดั ขอ้ งทางธรุ กจิ ของบรษิ ทั ทีไ่ ด้มาลงทุนแลว้ ในอนิ เดยี นอกจากนี้ อนาคตของการลงทุนไทยในอินเดียอาจจะมีลู่ทางสดใส เม่ือ ผู้แทนอมตะ คอร์ปอเรช่ัน ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีม ประเทศไทยในอินเดีย แสดงให้เห็นว่าอินเดียเป็นแหล่งการลงทุนท่ีไม่ควรมองข้าม การลงทุนสาธารณูปโภคพ้ืนฐานขนาดใหญ่นั้น สองฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดย เฉพาะในรัฐคุชราตที่จะอ�ำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ในเรื่องการจัดสรรพ้ืนท่ีให้ และนิคมอุตสาหกรรมอมตะของไทยท่ีมีช่ือเสียงและมาตรฐานระดับโลกก็จะดึงดูด นักลงทุนและบริษัทท้ังไทยและต่างชาติท่ีเป็นลูกค้าอุ่นใจและตามมาตั้งฐานพร้อมกัน ในอินเดีย ท้ังนี้ หากนักลงทุนไทยหลากสาขาสามารถเกาะกลุ่มกันเข้าไปลงทุนใน ลกั ษณะ cluster รว่ มกนั ตง้ั ถนิ่ ฐานภายในนคิ มอตุ สาหกรรมทช่ี กั ธงไทย กจ็ ะไดป้ ระโยชน์ มหาศาลกว่าการเขา้ ไปอยา่ งโดดเดย่ี ว ไม่วา่ จะเปน็ เรอ่ื งอ�ำนาจการต่อรอง การจัดสรร สร้างสภาวะแวดล้อมให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ การสร้างระบบ การบริหารจดั การให้เทยี บเท่ากับมาตรฐานและความคนุ้ เคยของเอกชนไทย ผลจากการสมั มนาและการพบปะตวั ตอ่ ตวั ในชว่ งบา่ ยพบวา่ ภาคเอกชนไทยยงั ตอ้ งทำ� การบา้ นเรอ่ื งตลาดอนิ เดยี มากขนึ้ เพราะมขี อ้ มลู รายละเอยี ดปลกี ยอ่ ยหลากหลาย หนว่ ยงานสง่ เสรมิ การลงทนุ ในอนิ เดยี อยา่ ง Invest India และ iNDEXTb กม็ คี วามพรอ้ ม ที่จะช่วยเหลือ ทั้ง Invest India ที่จะช่วยอธิบายนโยบายกฎระเบียบของอินเดีย ใหป้ ระสานขอ้ มลู ไปยงั รฐั เปา้ หมาย แสวงหาพนั ธมติ รทางธรุ กจิ ในทอ้ งถนิ่ และชว่ ยเหลอื ใหข้ อ้ มลู ประเดน็ ตา่ งๆ เชน่ พน้ื ทกี่ ารลงทนุ หรอื ระเบยี บตา่ งๆ ใหเ้ ขา้ ใจ ในขณะท่ี iNDEXTb กท็ ำ� หน้าท่ีเดียวกัน เพียงแต่จะจำ� กัดเฉพาะการลงทุนในพืน้ ทร่ี ฐั คุชราต 120
สถานทูตไทยจับมือ DIPP ไขปัญหาการลงทนุ ของเอกชนไทยในอนิ เดียท่กี รงุ เทพฯ ในส่วนของช่องทางการช่วยเหลือนั้นก็มีความสะดวกสบาย ฝ่ายอินเดียได้ พฒั นาข้อมูลและระบบออนไลนต์ ่างๆ บนเวบ็ ไซต์ของตน และในส่วนของสถานทูตเอง กม็ เี ว็บไซต์ thaiindia.net ทใ่ี หข้ อ้ มูลนกั ลงทุนอนิ เดยี อยา่ งต่อเนอ่ื ง สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยในอินเดียก็พร้อมให้ความช่วยเหลือ และอา้ แขนตอ้ นรบั นกั ลงทนุ ไทยไปอนิ เดยี ซง่ึ หลงั จากการสมั มนาน้ี ทตู ไทยกจ็ ะนำ� ทมี นักธุรกิจไปเยี่ยมรัฐคุชราตเพื่อชมศักยภาพของรัฐด้วยตาของตนเอง อีกทั้งยังจะได้มี โอกาสยำ้� ถงึ ความจรงิ จงั ของธรุ กจิ ไทยทม่ี ตี อ่ รฐั คชุ ราต กบั มขุ มนตรที เ่ี ปน็ ผบู้ รหิ ารสงู สดุ ของรฐั ดว้ ย สงิ่ ทห่ี นว่ ยงานอนิ เดยี ตอ้ งการความชดั เจนจากภาคเอกชนทกี่ ำ� ลงั จะเรม่ิ เขา้ ไป ในอนิ เดยี ในขณะนี้ คอื แผนการลงทนุ ทช่ี ดั เจน มกี ารระบถุ งึ แผนการจดั ตงั้ โรงงาน พนื้ ท่ี และปัจจัยพื้นฐานของโรงงาน สินค้าที่จะผลิต ต้องการสร้างหุ้นส่วนกับธุรกิจอินเดีย ประเภทไหน อยา่ งไร และมแี ผนการจ้างงานอย่างไรบ้าง เพ่อื ทีห่ น่วยงานอนิ เดียทใ่ี ห้ ความชว่ ยเหลอื จะไดว้ างแผนและแนะนำ� ใหต้ รงจดุ ทงั้ เรอื่ งการวางโครงสรา้ งพนื้ ฐานใน อินเดยี แนะนำ� หุน้ ส่วนอินเดยี ท่เี หมาะสม และชว่ ยเหลอื เร่อื งการขอวีซ่า ทใี่ นส่วนหลงั นี้ สถานทูตอินเดียในไทยจะชว่ ยพิจารณา 121
ภาครัฐสองฝ่ายได้ท�ำหน้าท่ีเต็มท่ีเพื่อเตรียมความพร้อมแก่การลงทุนของ เอกชนไทยในอินเดีย ซ่ึงจะต้องมีปัจจัยที่ดี 5 ด้านเป็นส�ำคัญ ท่ีท่านทูตไทยได้สรุป ในช่วงท้ายของการบรรยาย ได้แก่ Good Understanding ความเขา้ ใจในอินเดีย ซงึ่ หน่วยงานรัฐไทยและอินเดยี ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการให้ข้อมูล เช่น การสัมมนาน้ีท่ีสถานทูตเป็นหัวแรงหลัก ในการจดั ใหข้ อ้ มลู แกเ่ อกชนทส่ี นใจ รวมทง้ั การให้ขอ้ มลู อยา่ งต่อเนื่องบน thaiindia.net ทส่ี ำ� คญั คอื การเปลย่ี นแปลงทศั นคตเิ กา่ ๆ ในแงล่ บทม่ี ตี อ่ คนอนิ เดยี ความเขา้ ใจ ทดี่ จี ะเปน็ รากฐานในการลงทนุ ทจี่ ะประสบความสำ� เรจ็ ทอ่ี ยบู่ นพน้ื ฐานของความเชอ่ื มนั่ และไว้เน้อื เชือ่ ใจกัน Good heart การต้งั ใจดีทจี่ ะมาลงทุนทอ่ี นิ เดีย โดยการนำ� ระบบธรรมาภิบาล มาใช้ และระบบธุรกิจท่ดี ที ี่จะเป็นประโยชนแ์ กอ่ นิ เดยี ด้วย Good partner พนั ธมติ รท้องถ่ินทดี่ ที ่ีคอยชว่ ยเหลือและช้ีชอ่ งการทำ� ธรุ กจิ ให้ ประสบความสำ� เร็จ Good lawyer ทีป่ รึกษาด้านกฎหมายทีจ่ ะชว่ ยใหค้ �ำปรกึ ษาแก้ไขปัญหาต่างๆ ทงั้ เรอ่ื งกฎระเบยี บการลงทุน และภาษี และสุดท้ายทส่ี �ำคญั และขาดไปไม่ได้คอื Good luck เพราะไมว่ ่าจะไปลงทนุ ทไี่ หน กต็ อ้ งพรอ้ มเผชญิ กบั ความทา้ ทาย แตข่ อใหค้ ำ� นงึ วา่ หนว่ ยงานรฐั พรอ้ มสนบั สนนุ เอกชนทกุ ท่านเสมอ ตีพมิ พ์ในหนงั สือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เม่ือวนั ที่ 23 กนั ยายน 2555 122
อย่ารอชา เอกชนำไทย เขาไปอนิ ำเดยี แลว CHAPTER6
6.1 ธุรกจิ ยกั ษ์ใหญไ่ ทย เจาะขมุ ทรพั ยอ์ นิ เดีย - โดย สนิ ีนาถ พันธ์เจรญิ วรกุล - เม่อื วันท่ี 14 - 17 กรกฎาคมท่ผี า่ นมา “ฐานเศรษฐกิจ” มโี อกาสร่วมคณะ เดินทางไปยังเมืองเจนไนและบังกาลอร์ของอินเดีย เพ่ือเยี่ยมชมการท�างานของกลุ่ม ธุรกิจไทยที่เข้ามาลงทุนในอินเดีย ตามค�าเชิญชวนของท่านเอกอัครราชทูตพิศาล มาณวพัฒน์และสถานเอกอัครราชทตู ไทย ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งการเดินทางไปในครง้ั น้ี นอกจากจะไดไ้ ปเยย่ี มชมสถานทจี่ รงิ ทบ่ี รษิ ทั จากไทยเขา้ มาลงทนุ เปดิ ธรุ กจิ ในอนิ เดยี แลว้ เรายงั ไดพ้ บปะพดู คยุ กบั ผบู้ รหิ ารของบรษิ ทั ไทยจา� นวน 3 บรษิ ทั ไดแ้ ก่ ซพี ี กรปุ๊ บรษิ ทั รอ้ กเวธิ ซสิ เตม็ ส์ เฟอรน์ เิ จอร์ (อนิ เดยี ) ไพรเวท จา� กดั และบรษิ ทั พฤกษา เรยี ลเอสเตท จา� กดั (มหาชน) ถงึ บรรยากาศของการเขา้ มาลงทนุ ทา� ธรุ กจิ ในอนิ เดยี วา่ เปน็ อยา่ งไรบา้ ง ชนชั้นกลางขยายเปน็ โอกาสของซีพี ซีพี กรุ๊ป นับได้ว่าเป็นบริษัทไทยรายแรกๆ ท่ีเข้ามาบุกเบิกตลาดอินเดีย โดยเร่ิมต้นจากการส่งทีมงานมาส�ารวจศักยภาพของการลงทุนเก่ียวกับอุตสาหกรรม เลี้ยงกุ้งในปี 2535 ก่อนที่จะขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันซีพีมีธุรกิจหลัก ในอนิ เดีย 3 ประเภทคอื ธุรกิจสตั วน์ �้า ซ่งึ มีส�านักงานใหญต่ ั้งอยทู่ ่เี มืองเจนไน ธุรกจิ สตั วบ์ กมสี า� นักงานใหญอ่ ยู่ท่ีบงั กาลอร์ และธุรกจิ เมล็ดพันธุ์ นายปรีดา จุลวงษ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ (อนิ เดีย) จ�ากัด กล่าววา่ ในส่วนของธุรกจิ สตั ว์บกของซพี ใี นอนิ เดยี การลงทุนมุ่งเน้น 125
ไปทธ่ี ุรกิจเลยี้ งไกเ่ น้ือ ผลติ อาหารสัตว์เพ่อื ใชเ้ องและจำ� หน่าย ผลิตลูกไก่ คอนแทรก็ ต์ ฟาร์มมิ่ง และล่าสุดก�ำลังรุกเข้าสู่ธุรกิจอาหาร ด้วยการน�ำไก่ทอดและไก่ย่างแบรนด์ ห้าดาวมาทดลองขายในบังกาลอร์ รวมถึงก�ำลังมองโอกาสเพ่ิมผลิตภัณฑ์ไก่ไข่ด้วย ท้ังนี้เพ่ือท�ำการตลาดให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสอดรับกับแผนการเติบโตที่วางไว้ ไมต่ ำ่� กว่าร้อยละ 30 ต่อปีในชว่ ง 5 ปขี ้างหนา้ จงึ มีการวางโครงข่ายไว้ใน 5 พน้ื ท่ี เพื่อป้อนตลาดหลกั ได้แก่ นวิ เดลี มุมไบ กลั กัตตา เจนไน บังกาลอร์ ส�ำหรับโอกาสในตลาดอินเดีย นายปรีดามองว่ายังมีอีกมาก เนื่องจากคน อินเดียบริโภคเนื้อสัตว์น้อยมาก แม้ไก่จะเป็นเนื้อสัตว์หลักแต่การบริโภคยังอยู่เพียง 2.5 กโิ ลกรัม/คน/ปี เม่ือเทียบกบั คนไทยทีบ่ รโิ ภคประมาณ 10 กโิ ลกรมั /คน/ปี ดงั น้ัน จึงมองว่าการทีช่ นชั้นกลางของอนิ เดียมีการขยายตัวมากขึ้น การบริโภคเนอื้ ไก่จะมาก ขึน้ ตามมา “เพยี งแคก่ ารบริโภคเพิม่ ขน้ึ เปน็ 3 - 5 กโิ ลกรัม กเ็ พมิ่ บรมิ าณไดม้ หาศาล เราจึงมองจดุ น้ีเปน็ โอกาสของเรา” ปจั จบุ นั ซพี มี กี ำ� ลงั การผลติ ไกอ่ ยทู่ ี่ 2.5 ลา้ นตวั ตอ่ สปั ดาห์ และบรษิ ทั ตงั้ เปา้ หมาย ขยายก�ำลังการผลิตเพิ่มอีกหน่ึงเท่าตัวเป็น 5 ล้านตัวต่อสัปดาห์ในช่วง 5 ปี ข้างหน้า นายปรีดาเชื่อวา่ ในอกี 5 ปี ซีพจี ะสามารถกา้ วขน้ึ มาเป็นผผู้ ลิตไก่อันดับ 2 ของอินเดีย จากในปัจจุบันท่ีมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 และเชื่อว่าในอนาคตก็มี โอกาสก้าวถึงต�ำแหน่งผู้น�ำ ด้วยจุดแข็งคือการควบคุมต้นทุนการผลิตได้ต�่ำกว่าคู่แข่ง แต่ขณะเดียวกันมีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการผลิตท่ีทันสมัย รสชาติมีความ สม�ำ่ เสมอมากกว่า ดีมานด์ - ซัพพลายอสังหาฯ ต่างกนั มาก จากธุรกิจเล้ียงสัตว์ มาถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ท่ีมีบริษัท พฤกษา เรยี ลเอสเตท จำ� กัด (มหาชน) เขา้ มารุกตลาดอนิ เดียตง้ั แต่ปี 2552 โดยยดึ หัวหาด เปิดโครงการ “พฤกษา ซิลวานา” อยู่ที่พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง บงั กาลอร์ นายนภาวธุ ประจำ� เมอื ง รองกรรมการผจู้ ดั การฝา่ ยธรุ กจิ และการกอ่ สรา้ งใน ต่างประเทศของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จ�ำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลกับเรา วา่ โครงการพฤกษา ซลิ วานา มพี นื้ ท่ี 68 ไร่ ปลกู เปน็ บา้ นเดยี่ วและทาวนเ์ ฮาสท์ งั้ หมด 321 ยูนติ ปัจจบุ ันขายไปแล้วกวา่ รอ้ ยละ 65 และมลี ูกบ้านเข้ามาอย่แู ลว้ กว่า 50 ครอบครวั ซ่งึ ถือวา่ ประสบความสำ� เร็จมาแล้วครึ่งทาง 126
ซีพเี ปน็ บริษทั ไทยเจ้าแรกๆ ทบ่ี กุ อินเดีย ตอนน้กี ิจการขยายไปไกล ทำ� ไก่ห้าดาว และ Five Star Café สำ� หรับคนอนิ เดีย สำ� หรบั โครงการพฤกษา ซลิ วานา ทางบรษิ ทั เลอื กทจี่ ะเจาะกลมุ่ ลกู คา้ ทม่ี รี ายได้ อยูใ่ นระดับกลาง คือประมาณ 1 - 2.5 แสนรปู ีตอ่ ปี (ประมาณ 5 หมนื่ - 1.25 แสนบาท) โดยลูกค้าส่วนใหญ่ร้อยละ 70 - 80 เป็นคนที่ท�ำงานด้านไอที หลังจากนี้ พฤกษา มีแผนจะซอื้ ท่ดี ินอกี 2 แปลงในเมอื งบังกาลอร์เพ่ือพฒั นาเปน็ คอนโดมิเนียม “คาดว่า แปลงแรกถ้าไม่ติดเร่ืองเอกสารท่ีดิน จะซื้อได้ในเดือนสิงหาคมปีน้ี ส่วนอีกแปลงหนึ่ง น่าจะประมาณต้นปี 2557 และเปิดขายได้กลางปีหน้า รวมถึงเรามีแผนจะซ้ือที่ดิน ที่มุมไบในปี 2557 เพ่ือท�ำเป็นคอนโดมิเนียมหรืออพาร์ตเมนต์ราคา 3 - 4 ล้านรูปี (ประมาณ 1.5 - 2 ล้านบาท)” นายนภาวุธกล่าว แล้วพฤกษามองเหน็ โอกาสในตลาดอสังหารมิ ทรพั ย์อนิ เดียอยา่ งไร จึงเลือก มาทน่ี ่ี นายนภาวธุ ตอบวา่ ความต้องการบา้ นของคนอนิ เดยี ขณะนอี้ ยู่ท่ี 25 ลา้ นยนู ติ และคาดวา่ จะเพม่ิ ขนึ้ เปน็ 60 ลา้ นยูนิตในอีก 18 ปีขา้ งหน้า แตป่ ที ผ่ี ่านมาซพั พลาย มเี พยี ง 8 แสนยูนติ และคาดว่าจะมปี ระมาณ 1 ลา้ นยูนิตในปนี ้ี ซ่งึ ถา้ สามารถหาซ้อื ที่ดนิ ได้ กจ็ ะสามารถเตบิ โตได้ถงึ ระดับรอ้ ยละ 30 - 40 ต่อปี อยา่ งไรกด็ ี การหาที่ดิน นบั เปน็ ข้อจ�ำกดั สำ� คัญประการหนึง่ ด้วยกฎหมายท่ซี ับซอ้ นและกระบวนการขออนุมัติ จากทางการทย่ี าวนาน 127
สถานทตู และสถานกงสุล เมอื งเจนไน เยยี่ มชมโครงการบา้ นจดั สรร ระดับกลางของบ้านพฤกษา ชานเมืองบังกาลอร์ ตลาดเฟอรน์ เิ จอรท์ ่ีใหญ่กว่า 30 เท่า รอ้ กเวิธ บรษิ ัทผลิตเฟอรน์ ิเจอรส์ ำ� นกั งานรายใหญข่ องไทยเปน็ อกี หนงึ่ บรษิ ัท ทีเ่ ลอื กมาขยายฐานการผลติ ทีอ่ ินเดยี โดยเข้ามาเริ่มก่อตัง้ โรงงานแห่งแรกเมื่อปี 2552 ในนิคมอุตสาหกรรมศรซี ิตี้ ซง่ึ ตง้ั อยปู่ ระมาณ 55 กโิ ลเมตร ทางเหนือของเมืองเจนไน นายชาครติ วรชาครยี นนั ท์ กรรมการผจู้ ดั การใหญ่ บรษิ ทั รอ้ กเวธิ ซสิ เตม็ ส์ เฟอรน์ เิ จอร์ (อนิ เดยี ) ไพรเวท จำ� กดั กลา่ วถงึ เหตผุ ลทเ่ี ลอื กอนิ เดยี วา่ เนอื่ งจากมปี ระชากรจำ� นวนมาก จงึ มองวา่ นา่ จะมคี วามตอ้ งการเฟอรน์ เิ จอรส์ ำ� หรบั สำ� นกั งานมาก ขณะเดยี วกนั คแู่ ขง่ ขนั ในตลาดยังมนี อ้ ยเมือ่ เทยี บกบั การไปตง้ั โรงงานทต่ี ลาดใหญอ่ นื่ ๆ เช่น จีน ภาพรวมของตลาดเฟอร์นิเจอร์อนิ เดยี ปัจจุบนั มีมูลคา่ 7 พนั ล้านรูปี คิดเปน็ ขนาดใหญก่ วา่ ตลาดในไทยถงึ 30 เทา่ โดยมอี ัตราการเติบโตในระดบั รอ้ ยละ 20 ตอ่ ปี สำ� หรบั เซก็ เมนตเ์ ฟอรน์ เิ จอรส์ ำ� นกั งานทรี่ อ้ กเวธิ ทำ� ตลาดอยกู่ ม็ กี ารเตบิ โตอยใู่ นระดบั ท่ี ใกลเ้ คยี งกนั ทง้ั นรี้ อ้ กเวธิ ถอื เปน็ บรษิ ทั แรกๆ ทน่ี ำ� เฟอรน์ เิ จอรส์ ำ� นกั งานสมยั ใหมเ่ ขา้ มา ท�ำตลาดในอนิ เดยี ซ่ึงมีการใชเ้ ฟอรน์ เิ จอรส์ มยั ใหมใ่ นส�ำนักงานไม่มากนัก 128
เมื่อถามถึงการเข้ามาลงทุนในอินเดียว่ารู้สึกพึงพอใจหรือยัง นายชาคริต กลา่ ววา่ “ยงั ไมพ่ อใจเทา่ ไหร่ แตเ่ รารอู้ ยแู่ ลว้ วา่ ตอ้ งมาในระยะยาว ชว่ งนเ้ี ปน็ ชว่ งของการ พฒั นาศกั ยภาพพนักงาน เราจะคอ่ ยๆ เปดิ ตลาดซงึ่ มีขนาดใหญม่ าก ปที แ่ี ลว้ ยอดขาย ของเราอยู่ท่ี 380 ล้านรปู ี คาดวา่ ปีนจ้ี ะท�ำได้ 700 ลา้ นรปู ”ี ร้อกเวิธให้ความส�ำคัญกับเรื่องของโลจิสติกส์เป็นส�ำคัญ ดังนั้นแนวทางการ ขยายธรุ กจิ จงึ ตอ้ งการใหโ้ รงงานอยใู่ กลล้ กู คา้ มากทส่ี ดุ โดยแผนการทวี่ างไวค้ อื โรงงาน ในไทยทอี่ ยทู่ นี่ คิ มอตุ สาหกรรมบางปะอนิ และนวนครจะผลติ ปอ้ นตลาดอาเซยี น โรงงาน ทเ่ี จนไนจะปอ้ นตลาดอนิ เดยี และแอฟรกิ า นอกจากนยี้ งั มแี ผนการจะเปดิ โรงงานอกี หนงึ่ แหง่ ในรฐั คชุ ราตในปี 2560 เพือ่ ป้อนตลาดอนิ เดยี เหนอื และตะวนั ออกกลาง กระนน้ั ใชว่ า่ การมาขยายฐานธรุ กจิ ทอ่ี นิ เดยี จะราบรน่ื ไปเสยี ทง้ั หมด ผบู้ รหิ าร ของท้ัง 3 บริษัทต่างประสานเสียงถึงอุปสรรคส�ำคัญที่ต้องประสบ ไม่ว่าจะเป็นด้าน โครงสรา้ งพ้ืนฐาน โดยเฉพาะไฟฟา้ ทีไ่ มเ่ พยี งพอ ดา้ นการบรหิ ารจัดการคนทีย่ ังยดึ ติด เรื่องชนช้ันวรรณะและมีข้อเรียกร้องที่หลากหลาย ตลอดจนปัญหาของระบบราชการ กฎหมาย และภาษีทซ่ี ับซ้อน ตีพมิ พใ์ นหนังสอื พมิ พ์ฐานเศรษฐกิจ เมอ่ื วนั ที่ 28 กรกฎาคม 2556 129
6.2 กลยทุ ธถ์ ูกทาง ตลาดถูกใจ : ศรไี ทยซุปเปอรแ์ วรใ์ นอินเดีย - โดย คณนิ บุญญะโสภตั - ประธานกรรมการบริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์เผยกลยุทธ์ในการด�าเนินงานใน อนิ เดยี ใหธ้ รุ กจิ เตบิ โต โดยคา� นงึ ถงึ ประเภทสนิ คา้ ใหส้ อดคลอ้ งกบั การวางเครอื ขา่ ยการ ขายตรง การสร้างศักยภาพใหต้ วั แทนขาย และการหาหนุ้ ส่วนธุรกิจท้องถิ่นที่เชือ่ ใจได้ และมีความสามารถ เป็นรากฐานในการปักหลักและขยายธุรกจิ อย่างม่นั คงในอนิ เดีย เป็นประจ�าท่ีทูตไทยในนิวเดลีจะเปิดบ้านต้อนรับนักธุรกิจไทยท่ีแวะเวียน ผา่ นมา ใหไ้ ดร้ ว่ มแลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ บอกเลา่ ประสบการณ์ และแจง้ การดา� เนนิ ธรุ กจิ รวมถงึ ปญั หาตา่ งๆ ใหท้ ราบและไปชว่ ยแกไ้ ข ซง่ึ เมอ่ื วนั ท่ี 23 พฤศจกิ ายน 2555 ทผ่ี า่ น มาก็เชน่ เดยี วกนั ทูตไทยเปิดบา้ นต้อนรับและเลยี้ งอาหารกลางวันคุณสนน่ั องั อุบลกลุ ประธานกรรมการบรษิ ทั ศรไี ทยซปุ เปอรแ์ วร์ จา� กดั (มหาชน) พรอ้ มลกู ชายและลกู สาว คอื คณุ การนั ย์ และคุณปยิ ะพร พร้อมด้วยคณุ ราเกส ซงิ ห์ ผูอ้ �านวยการส่วนปฏบิ ตั ิการ กลยทุ ธ์และพัฒนาองคก์ ร ในบรรยากาศท่เี ปน็ กันเอง คุณสน่ันน�าศรีไทยเข้ามาในอินเดียกว่า 30 ปีแล้ว จึงมีความช�่าชองและมี ประสบการณส์ งู ในการทา� ธรุ กจิ ทนี่ ี่ โดยเปดิ เผยวา่ กลยทุ ธข์ องบรษิ ทั ในการกระจายการ ขายสินคา้ โดยเฉพาะเมลามีนยี่หอ้ Superware อยู่ทีก่ ารท�าการขายตรง หรอื Direct Sales ตามกลุม่ แม่บา้ นชาวอินเดียทั่วไป 131
กลุ่มแม่บ้านเหลา่ นี้จะมีเวลาวา่ งหลงั ดูแลบา้ นในช่วงกลางวัน ในขณะทีส่ ามี หรือลกู ๆ ออกไปท�ำงานและเรียนหนงั สอื ศรีไทยจึงใชช้ อ่ งทางเครือขา่ ยแม่บ้านที่จะมี การนดั พบทานนำ้� ชากนั สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารสาธติ การใชผ้ ลติ ภณั ฑต์ า่ งๆ ของศรไี ทยใหแ้ ก่ กลมุ่ แมบ่ า้ นซื้อไปใช้ต่อๆ กัน โดยการโฆษณาสรรพคุณแบบปากต่อปาก เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มแม่บ้านท่ีเป็นตัวแทนขาย ในกลยุทธ์ น้ีของศรีไทย คณุ สน่นั บอกว่า จะเปน็ การสรา้ งใหแ้ มบ่ ้านเป็นนักธุรกจิ หรือ Business Women ให้มรี ายได้ มีโอกาสในการท�ำงาน เพราะหากปล่อยใหพ้ วกเธอเหล่านัน้ อยู่ บ้านเฉยๆ กจ็ ะไม่เกดิ ประโยชน์อะไร ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ในอินเดียเองก็สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ด้วยการ จดั คอร์สอบรมระยะเวลา 12 สัปดาห์ให้แกแ่ ม่บ้านกลุ่มนี้ เพ่อื สรา้ งศกั ยภาพในฐานะ ตัวแทนขาย ใหย้ ืนหยัดท�ำธุรกจิ ได้ด้วยตวั เอง ถอื ว่าจับจุดพลังสตรีในอนิ เดียได้อย่างดี เพราะกลุ่มสตรที ม่ี ีบทบาทหลงั บ้าน เหล่าน้ี สามารถพัฒนาศักยภาพได้ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้ลองสัมผัสการท�ำธุรกิจ โดยการให้ความรู้และเสริมทักษะ ท�ำให้เครือข่ายแม่บ้านพัฒนาเป็นเครือข่ายธุรกิจที่ แพรข่ ยายไปได้เรื่อยๆ ปจั จบุ นั เครอื ขา่ ยแมบ่ า้ นทนี่ ำ� สนิ คา้ ของศรไี ทยซปุ เปอรแ์ วรไ์ ปกระจายบอกตอ่ กนั ปากต่อปาก มมี ากถึง 36,000 รายแล้ว คณุ สนน่ั บอกอกี วา่ สำ� หรับคนอินเดยี สนิ คา้ เมลามีนเปน็ สินค้าของใช้ในบา้ น ท่ีมคี ่า มักจะซือ้ เกบ็ ไว้ใช้ในโอกาสส�ำคญั ๆ และส�ำหรบั กลมุ่ แมบ่ ้านแล้ว นยิ มซื้อเกบ็ สะสมไวห้ ลากหลายลวดลาย เป็นความสุขของแม่บ้านทมี่ เี ครอ่ื งครัวสวยๆ หลายลาย ให้เลือกใช้ จงึ ไมต่ อ้ งกงั วลว่าผูซ้ ื้อสินค้าของศรไี ทยไปใช้จะไม่ซอ้ื ไปใชอ้ กี นอกจากน้ี คุณสน่ันยังย้�ำถึงความส�ำคัญของคู่ค้าชาวอินเดียท่ีต้องมีความ ตรงไปตรงมา มคี วามซอื่ สตั ย์ และไวใ้ จได้ ซงึ่ เปน็ หวั ใจสำ� คญั ในการทำ� ธรุ กจิ ในอนิ เดยี ให้สำ� เร็จ หากมผี ้คู อยชว่ ยเหลือและช้ชี อ่ งทางแก้ไขปัญหาตา่ งๆ ในอินเดียแล้ว จะยิ่ง ทำ� ใหก้ ารด�ำเนินธุรกิจกา้ วหนา้ แต่กวา่ จะท�ำธุรกิจจนส�ำเร็จในอินเดียไดข้ นาดนี้ ศรีไทยซปุ เปอรแ์ วรก์ ็ลองผิด ลองถูก และล้มลกุ คลกุ คลานพอสมควร คณุ สน่ันเล่าใหฟ้ ังว่า ในชว่ ง 3 ปแี รกที่เข้ามา 132
คณุ สนัน่ อังอุบลกุล ประธานศรีไทยฯ พบทมี ประเทศไทยท่นี ิวเดลี อินเดีย ธุรกิจยังไม่ได้ก�ำไร แถมตัวแทนจ�ำหน่ายสินค้าขณะนั้น ยังลอกเลียนสินค้า ให้เหมือนกับตน้ ฉบับจนแทบจับไมไ่ ด้ โชคดีท่ีคุณสนั่น มีความช�ำนาญและละเอียดรอบคอบในสินค้าของตัวเอง จึงสามารถแยกได้วา่ ช้ินไหนเป็นศรีไทยแท้ อันไหนเป็นของปลอม ในปี 2556 นี้จะครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งย่ีห้อศรีไทยซุปเปอร์แวร์ บริษัท มีแผนที่จะฉลองความส�ำเร็จตามเมืองใหญ่ๆ ในอินเดีย อีกทั้งแย้มว่ามีแผนจะลงทุน ทางท่ตี ้ังในตอนเหนอื ของอนิ เดยี ในระยะเวลาอันใกล้ด้วย นอกจากจะต้องจับตาความก้าวหน้าในตลาดอินเดียที่หยุดไม่อยู่ของ ศรไี ทยซปุ เปอรแ์ วรแ์ ลว้ ผปู้ ระกอบการไทยหัวใจแกรง่ ควรดศู รไี ทยเปน็ ตน้ แบบถงึ ความ ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในการท�ำธุรกิจในอินเดีย อันเป็นปัจจัยส�ำคัญให้บริษัทก้าวมา ได้ยาวนานจนถึงทุกวนั นี้ ลงในเวบ็ ไซต์ www.thaiindia.net วนั ที่ 29 พฤศจิกายน 2555 133
134
6.3 เมอื่ บริษัทไทย รบั งานสร้างเขอ่ื นใหญใ่ นอนิ เดยี - โดย ศศริ ทิ ธ ìิ ตนั กลุ รัตน ์ - ในอินเดียมีบริษัทไทยระดับบิ๊กเข้าไปปักธงไทยท�าธุรกิจอย่างสง่าผ่าเผยอยู่ หลายบริษัท นับตั้งแต่ บรษิ ัท อติ าเลียนไทย ดเี วล๊อปเมนต์ (ITD) ท่มี ีโครงการก่อสร้าง ขนาดใหญแ่ ทบทุกภาค บริษทั เครอื เจริญโภคภณั ฑ์ทีเ่ ร่มิ ลงหลกั ปักฐานตง้ั แต่ ปี 2535 มีธุรกิจอาหารสตั วน์ �้า สตั ว์บก และโรงงานรวม 9 แหง่ บรษิ ัท ไทยซมั มิท ทล่ี งทนุ ผลติ ชิน้ สว่ นรถจักรยานยนต์ และบรษิ ทั พฤกษา เรียลเอสเตท ท่แี ม้เพง่ิ เริม่ ธรุ กจิ ในอินเดยี ไดไ้ มน่ าน แตธ่ ุรกิจบ้านจดั สรรระดับกลางก็ไปได้สวย โครงการแรกท่ีเมอื งบงั กาลอร์ ถูกจบั จองตั้งแตย่ งั ไมท่ นั สร้างเสร็จ หลายๆ โครงการทบี่ รษิ ทั เหลา่ นท้ี า� อยเู่ ปน็ เรอ่ื งทา้ ทายไมน่ อ้ ย หนง่ึ ในโครงการ ทนี่ า่ จะมคี วามทา้ ทายสงู สดุ คอื โครงการสรา้ งเขอ่ื นไฟฟา้ พลงั นา้� โคลแดม (Koldam) ท่ี รฐั หมิ าจลั ประเทศ หา่ งจากเดลไี ปทางเหนอื ถา้ นง่ั รถไปกใ็ ชเ้ วลาประมาณ 8 - 9 ชว่ั โมง เขื่อนโคลแดมตงั้ อยูบ่ นแมน่ า้� สัตรจุ (Satluj) สูง 167 เมตร เม่อื สร้างเสร็จ จะเปน็ เขอื่ นทีส่ งู เป็นอนั ดบั สองของอินเดีย และจะสามารถผลติ กระแสไฟฟา้ จ่ายให้แก่ บ้านเรือนรวมถึงพ้นื ทกี่ ารเกษตรของชาวอนิ เดยี ในหลายรฐั กว่า 150 ลา้ นคน ไม่ว่าจะ เปน็ รัฐหมิ าจัลประเทศ หรยาณะ ปัญจาบ เดลี ราชสถาน จัมมแู ละแคชเมยี ร์ ด้วย ก�าลังผลิตถงึ 800 เมกะวัตต์ มากกวา่ เขอ่ื นศรีนครนิ ทร์ท่ีมีกา� ลงั ผลิต 720 เมกะวัตต์ 135
ตอ้ งถือเปน็ ความภาคภมู ิใจของคนไทยอย่างมาก ท่ีบรษิ ทั ไทยได้รบั ความไว้ วางใจจากรฐั บาลอนิ เดยี เพราะไฟฟา้ เปน็ เรอ่ื งสำ� คญั ของอนิ เดยี ดว้ ยจำ� นวนประชาชน กว่า 1 พันล้านคน แมว้ า่ รฐั พยายามผลติ ไฟฟา้ ด้วยแหลง่ พลังงานต่างๆ ไม่วา่ จะเป็น ถา่ นหิน พลงั นำ้� พลงั ลม พลงั แสงอาทิตย์ พลงั งานนวิ เคลยี ร์ กย็ ากมากที่จะผลิตได้ เพียงพอ ผูค้ นหลายรอ้ ยล้านยงั ต้องแบง่ ปันใช้ไฟฟ้ากนั วนั ละไม่กีช่ ั่วโมง ฉะนน้ั การมสี ว่ นรว่ มของบรษิ ทั ไทยในเรอื่ งน้ี เปน็ เรอื่ งทคี่ ยุ ไดเ้ ตม็ ปากวา่ มสี ว่ น ช่วยอินเดียในการพัฒนาประเทศ กับท้ังยังเป็นการสร้างงานให้กับคนอินเดียจ�ำนวน มาก จากการวา่ จา้ งบรษิ ทั อนิ เดยี กวา่ 40 บรษิ ทั รวมถงึ แรงงานอนิ เดยี ทอ้ งถน่ิ มากกวา่ 1,000 คนร่วมงานกอ่ สร้าง เป็นการประกาศให้อินเดียรู้จักไทยในศักยภาพด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการ เปน็ เมืองท่องเทย่ี ว อาหารอร่อย แหลง่ ชอ็ ปปงิ้ หรอื สถานทจี่ ดั งานแต่งงาน แต่การทำ� ธรุ กิจในอนิ เดีย เปน็ ทีร่ ู้กนั ว่าไม่ง่าย ปัญหาใหญ่ของงานดา้ นการ กอ่ สรา้ ง คือเรื่องการส่งมอบพน้ื ท่ี โดยเฉพาะในโครงการก่อสร้างเข่ือนซง่ึ ครอบคลุม พน้ื ทีข่ นาดใหญ่ การสรา้ งเขอ่ื นโคลแดม เรมิ่ ตงั้ แตป่ ี 2547 โดยมนี ายชา่ งประสทิ ธิ์ รตั นารามกิ วิศวกรใหญ่มือดีของ ITD เป็นคนบุกเบิก ต้ังแต่การระเบิดเขาทั้งลูกให้เป็นพื้นท่ี ท้องเข่ือน การผันน�้ำจากแม่น�้ำสัตรุจให้ไหลไปทางอ่ืนในช่วงการก่อสร้าง จนถึงการ ขนย้ายเคร่ืองจักรอุปกรณ์ขนาดยักษ์เข้ามาใช้งานในพื้นที่ โดยมีคนงานไทยของ ITD อีกกว่า 100 ชีวิตเป็นเพื่อนร่วมงานกับมีลูกมือชาวอินเดียอีกหลายร้อยที่ต้องคอยจ้ี สอนงานตอ่ เน่ือง ปญั หาสารพดั เกดิ ขนึ้ อยหู่ ลายระลอก ตง้ั แตช่ าวบา้ นไมย่ อมมอบพนื้ ที่ ทำ� ให้ คนงานเริ่มงานก่อสร้างได้ไม่เต็มร้อย ไม่สามารถน�ำดินมาใช้ถมเข่ือน ความล่าช้าใน การนำ� เขา้ เครอ่ื งจกั รอปุ กรณก์ ารกอ่ สรา้ ง การแกไ้ ขเพม่ิ เตมิ แบบกอ่ สรา้ งในนาทสี ดุ ทา้ ย การสื่อสารกบั คนงาน ไปจนถึงปัญหายอ่ ยๆ เช่น การสัง่ วสั ดุก่อสร้าง ปัญหาวีซ่าและ ใบอนุญาตของคนงานไทย ทั้งหมดนี้ ท�ำให้โครงการต้องล่าช้าไปกว่าก�ำหนด แต่ก็ ไมผ่ ดิ ปกติส�ำหรบั การกอ่ สรา้ งทกุ อย่างในอินเดยี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของอินเดีย (National Thermal Power Corporation Limited - NTPC) ซงึ่ เปน็ ผวู้ า่ จา้ ง ITD รสู้ กึ รอ้ นใจ ผบู้ รหิ ารการไฟฟา้ จงึ มาพบทตู ไทยถงึ บา้ นเพอื่ ขอใหช้ ว่ ยพดู จากบั ITD เปน็ ระยะตงั้ แตต่ น้ ปี เพอ่ื อาศยั ทางราชการเพม่ิ นำ้� หนกั อกี ทาง 136
ทูตไทยแสดงความเข้าใจและขอบคุณการไฟฟ้าอินเดียที่ให้ความยืดหยุ่นกับ บรษิ ทั ในดา้ นตา่ งๆ อยา่ งดี แตป่ ัญหาความลา่ ชา้ ทเ่ี กดิ ขน้ึ หลายอยา่ งอยนู่ อกเหนอื การ ควบคมุ ของบริษทั ซง่ึ ท�างานแบบมมี าตรฐาน ไมป่ ระนปี ระนอมคณุ ภาพ เม่ือกลางเดือนพฤศจิกายนท่ีผ่านมา ทูตไทยรับค�าเชิญฝ่ายอินเดียไปไซต์ งานสร้างเข่ือน โดยมี ดร. ณัฐวุฒิ อทุ ยั เสน รองประธานกรรมการบรหิ ารบรษิ ทั ITD บินไปจากกรุงเทพฯ ทีมสถานทูตได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้บริหารการไฟฟ้า อนิ เดีย และมกี ารประชมุ ร่วมกนั กบั ทีมงานกา� กบั ดูแลการสรา้ งของฝา่ ยอนิ เดยี ทา� ให้ มีโอกาสได้รับฟังและขอร้องให้ท้ังทีมช่างไทยและช่างอินเดียช่วยเหลือกันด้วยความ สามัคคีมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งสองทีมต่างก็มีเร่ืองความน่าเช่ือถือเป็นเดิมพันเหมือนกัน เม่ือไปตรวจไซตง์ านด้วยกัน ท�าให้ผบู้ ริหารฝา่ ยอนิ เดยี เขา้ ใจความลา� บากของชา่ งไทย มากยง่ิ ขนึ้ เช่นเดียวกับการไปครั้งแรกเมื่อปีกลาย ทูตไทยและเพ่ือนข้าราชการจาก สถานทตู อกี 2 คน ถอื โอกาสคา้ งคนื ทแี่ คมปท์ พี่ กั ใกลไ้ ซตง์ านกอ่ สรา้ ง หวั หนา้ ฝา่ ยกงสลุ ไดม้ โี อกาสพดู คยุ กับคนงานไทยเกือบ 100 คน ทตู ไทยชนื่ ชมคนงานไทยทั้งหมดทใี่ ช้ ความอดทนทา� งานอย่ใู นอนิ เดยี ซง่ึ มวี ถิ ชี วี ิตและวฒั นธรรมท่ีแตกตา่ ง และรดู้ วี ่าทกุ คน อยากใหง้ านเสรจ็ เรว็ ๆ เพราะคดิ ถึงบา้ น นา่ ชนื่ ใจทว่ี ศิ วกร นายชา่ ง คนงาน พนกั งานทงั้ ชายและหญงิ มขี วญั และกา� ลงั ใจทด่ี ี คนงานทโี่ คลแดมมอี าหารไทยรสเด็ดใหไ้ ดอ้ ิ่มทอ้ งทุกม้อื ด้วยฝีมอื แมค่ รวั ไทยท่ี ITD จ้างให้ประจ�าอยทู่ ี่แคมป์ ไมใ่ ช่แค่น้นั ยังมีห้องใหฝ้ ึกซอ้ มดนตรี อปุ กรณค์ รบครนั ท้ังกลอง เบส กีตาร์ สนามแบดมินตนั และทีวผี ่านดาวเทยี มท่ีดชู ่องไทยไดท้ ั้ง 3, 5, 7, 9 กับอนิ เทอรเ์ น็ตไรส้ าย ท�าใหไ้ มร่ ู้สึกหา่ งไกลจากเมอื งไทย ทา� ธรุ กจิ ในอนิ เดยี มที งั้ โอกาสทจ่ี ะประสบความสา� เรจ็ และความทา้ ทายทเ่ี ปน็ แบบฝึกหดั ใหท้ ดสอบ ถา้ ผา่ นอินเดียไปได้ก็หายหว่ งไม่ว่าจะต้องไปทา� ธรุ กิจทไ่ี หนอีก คนไทยทเี่ ขอ่ื นทกุ คนจงึ เปน็ เสมอื นทตู แรงงานของไทยทโ่ี ชวฝ์ มี อื ใหต้ า่ งชาตไิ ดป้ ระจกั ษ์ ตีพมิ พใ์ นหนังสือพมิ พ์ฐานเศรษฐกิจ เมอื่ วนั ท่ี 2 ธันวาคม 2555 à¢×Íè ¹â¤Åá´Á·ÕèÍµÔ ÒàÅÕ¹ä·Â 137 ໹š ¼ÃÙŒ ºÑ àËÁÒ¡‹ÍÊÃÒŒ §
6.4 เอกชนไทยกับอุตสาหกรรมชน้ิ สว่ น ยานยนตใ์ นอินเดีย - โดย ประพนั ธ ์ สามพายวรกจิ - การท่ีอนิ เดียผลติ รถยนต์มากเป็นอันดบั 6 ของโลก ขณะท่ไี ทยเป็นอันดบั 9 ของโลก เมอ่ื รวมกนั มปี รมิ าณการผลติ สงู กวา่ เยอรมนี เปน็ รองแคจ่ นี สหรฐั ฯ และญป่ี นุ่ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และโอกาสในการร่วมมือ กนั ของท้ังสองประเทศ เมอื่ พดู ถงึ อตุ สาหกรรมยานยนต์ ทกุ คนกค็ งจะทราบกนั ดวี า่ เปน็ อตุ สาหกรรม ทีเ่ ชดิ หนา้ ชูตา สรา้ งรายไดใ้ ห้กับประเทศไทยมากมายมหาศาลในแตล่ ะปี ในปี 2555 ปเี ดยี ว ไทยผลติ รถยนตไ์ ดม้ ากกว่า 2.4 ลา้ นคนั อุตสาหกรรมผลิตและประกอบรถยนต์นี่เอง ก็ได้สร้างอานิสงส์ส่งต่อไปยัง อุตสาหกรรมชน้ิ สว่ นยานยนต์ของไทย ท่กี ็ไม่นอ้ ยหน้าประเทศไหน เพราะรถยนต์ก็เกดิ มาจากการน�าชนิ้ ส่วนมาประกอบกันจนเปน็ รถขึน้ มานนั่ เอง ประเทศไทยมบี ริษทั ผลติ ช้ินสว่ น ท้งั tier 1 และ tier 2 เปน็ ต้นไปรวมกัน ไม่ต�่ากว่า 2,300 บริษัท เรียกว่าเป็นการแข่งขันท่ีดุดันพอสมควร แต่นั่นก็หมายถึง ความลึกซงึ้ ในธุรกิจ ความเช่ียวชาญของเอกชนไทยในสาขานี้ เหตุนี้เองที่ท�าให้แม้แต่ประเทศอินเดียที่มีประชากรมากกว่า 1,200 ล้านคน ในปี 2555 ผลติ ยานยนตไ์ ด้มากกว่า 4 ลา้ นคัน มากเปน็ อนั ดับ 6 ของโลก มากกว่า ไทยเกอื บ 2 เทา่ หันมามองและตอ้ งการรว่ มมอื กบั ประเทศไทยในสาขาดังกล่าว 139
เหน็ ไดช้ ดั จากการสมั มนาโอกาสการลงทนุ ในอนิ เดยี จดั โดย Invest India (BOI ของอนิ เดีย) ทก่ี รงุ เทพฯ เมือ่ 19 มนี าคม ท่ผี า่ นมา ท่ีอตุ สาหกรรมชนิ้ สว่ นยานยนต์ ถูกเลอื กให้เป็นสาขาเป้าหมายที่อินเดียตอ้ งการไดร้ บั การลงทุนจากประเทศไทย นางสุภาค นาควี รองผู้อ�ำนวยการบริหาร สมาคมผู้ผลิตช้ินส่วนยานยนต์ อินเดีย (ACMA) กล่าวระหว่างการสัมมนากลุ่มย่อยด้านช้ินส่วนยานยนต์ว่า อินเดีย ตอ้ งการใหเ้ อกชนไทยไปลงทนุ ในดา้ นดงั กลา่ ว พรอ้ มน�ำ know-how เข้ามาในอนิ เดยี และรว่ มมอื กบั อนิ เดยี ในการวจิ ยั และพฒั นา สรา้ งสรรคผ์ ลติ ภณั ฑใ์ หค้ รบวงจรจากตน้ นำ้� สปู่ ลายนำ�้ เพอ่ื เพ่ิม value ให้แก่อุตสาหกรรมดังกล่าวในอนิ เดยี นางนาควียังได้กล่าวอีกว่า ข้อได้เปรียบของการเข้ามาลงทุนในอินเดียใน สาขาดงั กลา่ ว เมอื่ เปรียบเทียบกับสาขาอ่นื ๆ กค็ อื เป็นสาขาท่มี คี วามคลอ่ งตวั ในการ ทำ� ธรุ กจิ มาก เรม่ิ จากการเปน็ อตุ สาหกรรมทไ่ี ม่มขี น้ั ตอนการขออนญุ าตท่ีซบั ซ้อน ไม่มี ปัญหาการนำ� เขา้ วัตถุดบิ แถมยงั ไดล้ ดภาษี นักลงทนุ ตา่ งชาติลงทนุ ไดร้ ้อยเปอรเ์ ซน็ ต์ เพ่ือแก้ข้อสงสัยของเอกชนไทย ท่ียังคงเก้ๆ กังๆ เมื่อพูดถึงการเข้าไปท�ำ ธรุ กจิ ในอินเดยี Invest India ยังได้เชิญใหบ้ ริษัทไทยอยา่ งกลมุ่ บรษิ ัทไทยซัมมทิ ผผู้ ลิต ชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของไทยที่เข้าไปท�ำธุรกิจน้ีจนประสบความส�ำเร็จในอินเดีย มาแบง่ ปันประสบการณใ์ นวงสัมมนา คุณประมวล แก้วใส หัวหน้าโครงการอินเดียของไทยซัมมิทเล่าให้ผู้ร่วม สัมมนาทั้งไทยและอินเดียฟังว่า ไทยซัมมิทเข้าไปท�ำธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในอนิ เดยี มาตงั้ แตป่ ี 2546 เพราะเหน็ ศกั ยภาพของจำ� นวนประชากรและการเจรญิ เตบิ โต ทางเศรษฐกจิ ของอินเดยี ที่หมายถึงจำ� นวนรถยนตบ์ นท้องถนนท่มี ากข้ึน การเข้าไปท�ำธุรกิจในอินเดียของไทยซัมมิทนั้น ก็คงเหมือนเอกชนต่างชาติ สว่ นใหญท่ ต่ี อ้ งเรมิ่ ดว้ ยการหาหนุ้ สว่ นทอ้ งถนิ่ ทจ่ี ะคอยชว่ ยเหลอื ในการตดิ ตอ่ ประสานงาน ตามขน้ั ตอนกระบวนการขอทำ� ธรุ กจิ ในอนิ เดยี ทค่ี อ่ นขา้ งซบั ซอ้ น โดยไทยซมั มทิ จบั มอื กบั JBM Group ของอินเดยี ซึง่ เป็น supplier ขาประจำ� ให้ Maruti Suzuki ดว้ ยแบรนด์และคุณภาพของผลติ ภณั ฑ์ทนี่ ่าเช่อื ถอื ถูกใจบรษิ ัทรถยักษ์ใหญ่ ที่เคยร่วมงานกันมาก่อนอยู่แล้ว และกลยุทธ์ประกบโรงงานประกอบรถยนต์ ท�ำให้ joint - venture น้ีประสบความส�ำเรจ็ มีโรงงานผลิตชนิ้ ส่วน 6 แหง่ ในอนิ เดยี การเข้าไป ในอนิ เดยี ของไทยซมั มิทจึงถือว่าถูกทีถ่ กู ทางถูกเวลามาก 140
แต่แน่นอนหนทางของไทยซัมมิทก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ความแตกต่าง ทางวฒั นธรรม ปญั หาดา้ นภาษากเ็ ปน็ อปุ สรรคสำ� คญั ทไี่ ทยซมั มทิ ตอ้ งเผชญิ หรอื แมแ้ ต่ เรอ่ื งสหภาพแรงงานหรือวีซ่าส�ำหรับคนทำ� งาน เม่อื เรว็ ๆ นี้ ไทยซัมมทิ กไ็ ด้ตัดสินใจแยกทางจากหุ้นสว่ นอินเดยี และออกมา ท�ำธุรกิจด้วยตัวเองอย่างเต็มตัวในอินเดีย โดยก�ำลังก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งแรกโดย คนไทยร้อยเปอร์เซ็นตใ์ นบังกาลอร์และเจนไน การท่ีไทยซัมมิทยังคงไม่ถอนตัวจากตลาดอินเดียและยอมเดินเด่ียวโซโล กย็ ่อมแสดงว่าโอกาสยงั มีอีกมาก ดงั นน้ั เอกชนไทยที่สนใจลงทุนในอนิ เดยี ในสาขานี้ น่าจะพอมองเห็นหนทางแล้วว่าจะเข้าไปในรูปแบบใด ในเม่ืออินเดียเองก็สนใจให้เรา เข้าไปลงทนุ และเราเองกม็ ีศกั ยภาพ อตุ สาหกรรมทมี่ หึมาขนาดนีน้ ่าจะท�ำใหเ้ อกชน ไทยต่นื ตวั ไดไ้ มน่ อ้ ย หากติดขัดอนั ใด กรมส่งเสริมการสง่ ออกของไทย หรือ BOI ที่ตอนนกี้ �ำลัง มงุ่ สง่ เสริมการลงทนุ ไทยในตา่ งประเทศ และกำ� ลังจะเปดิ สำ� นกั งานส่งเสรมิ การลงทุน แหง่ แรกในอนิ เดยี ทเ่ี มอื งมมุ ไบในเรว็ ๆ นี้ รวมถงึ สถานทตู และสถานกงสลุ ไทยในอนิ เดยี ก็น่าจะพร้อมใหค้ �ำปรกึ ษาและชว่ ยเหลือเตม็ ท่ีแน่นอน ลงในเวบ็ ไซต์ thaiindia.net วนั ที่ 4 เมษายน 2556 141
142
6.5 เครือโรงแรมไทยรดุ หน้า บกุ ตลาด hospitality อนิ เดีย - โดย ดร. แจ่มใส เมนะเศวต - ไมว่ า่ ใครทมี่ าอนิ เดยี ตา่ งบน่ เปน็ เสยี งเดยี วกนั วา่ หอ้ งพกั ทน่ี ร่ี าคาแพง เปรยี บได้ กับนวิ ยอรก์ หรือลอนดอน คนท่เี ขา้ ใจวา่ อะไรๆ ในอินเดียถกู ไปซะหมด ก็คงผดิ หวังไป ตามๆ กนั ราคาห้องพักในอินเดียที่สูงกว่าบ้านเราหลายเท่า เกิดจากเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ขน้ั พนื้ ฐาน น่นั คอื อุปสงคม์ ากกว่าอุปทาน กระทรวงท่องเท่ียวอินเดียได้จ้างบริษัท HVS India บริษัทท่ีปรึกษาของ อตุ สาหกรรมบรกิ าร และ World Travel and Tourism Council (WTTC) รว่ มกันทา� การ วิจัยเร่ืองอนาคตของธุรกิจโรงแรมในอินเดีย ซึ่งมีผลออกมาในรูปแบบสมุดปกขาวที่มี ข้อสรุปว่า อินเดียต้องสร้างห้องพักเพิ่มข้ึน 180,000 ห้อง ใช้เงินลงทุนกว่า 25,500 ลา้ นดอลลาร์สหรฐั และตอ้ งจา้ งพนกั งานเพิ่มขนึ้ ถึง 211,000 คน เพอื่ ที่จะสามารถ รองรบั จ�านวนนักเดินทางทั้งภายในอินเดียและระหว่างประเทศ ซ่ึงจะเพ่มิ ขึ้นจาก 810 ล้านคนในปัจจบุ นั ถึง 1,747 ลา้ นคนภายในปี ค.ศ. 2021 เป็นท่ีน่าภูมิใจท่ีเครือโรงแรมของไทยได้น�าหน้าเทรนด์นี้และเข้ามาบุกเบิก ตลาดการท่องเท่ียวและบริการบ้างแล้ว แม้ว่าการสร้างโรงแรมในอินเดียเป็นเรื่องท่ีมี 143
ความทา้ ทายสงู ส�ำหรบั คนอนิ เดียเองกต็ าม เนือ่ งจากกฎระเบยี บทีไ่ ม่อ�ำนวยการลงทุน ราคาที่ดินที่แพงมหาศาล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความช�ำนาญและประสิทธิภาพ สาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากร ปัจจัยเหล่าน้ีท�ำให้สาขา การบรกิ ารโรงแรมในอินเดียเติบโตไปได้ชา้ นักธุรกิจไทยท่ีเขา้ มารายแรกๆ คอื เครอื เซน็ ทารา ซ่ึงได้เปิดรีสอรท์ บตู คิ ท่ใี ช้ ชื่อว่า Moksha Himalaya Spa Resort ทีเ่ มือง Parwanoo รฐั หมิ าจัลประเทศในหุบเขา หมิ าลยั เน้นการท่องเท่ยี วเชิงธรรมชาตแิ ละสุขภาพ นอกจากนี้ เครอื เซน็ ทารามแี ผน จับมือกับกลุ่ม Acron ดีเวลอปเปอร์เชื้อสายอินเดีย เปิดสปาไทยในแฟรนไชส์ Spa Cenravee และรา้ นอาหารไทยและเอเชยี ฟวิ ช่นั อีก 3 รา้ นในนาม Chili - Hip, Vibes, และ Zing ทร่ี สี อร์ทหรูในเมอื ง Candolim เมอื งชายทะเลชือ่ ดงั ของรัฐกวั ล่าสุด เลอบัว (Lebua) โรงแรมหา้ ดาวภายใต้บริษทั Challenge Group ธรุ กิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของตระกลู บวั เลิศ ไดเ้ ปิดตัวโรงแรมเลอบวั เดลี (Lebua Delhi) อยา่ งไมเ่ ป็นทางการไปเมอ่ื ไมน่ านมาน้ี ปัจจบุ นั Lebua Delhi เป็นโรงแรมขนาดใหญ่ ทส่ี ดุ ของกลมุ่ มี 400 หอ้ ง ใชเ้ งนิ ลงทนุ หลกั พนั ลา้ นซอื้ กจิ การโรงแรมหนงึ่ และปรบั ปรงุ สถานทใ่ี หม่ Lebua Delhi ตัง้ อย่แู ถว Dwarka ซ่ึงเป็นท�ำเลใกลท้ ่าอากาศยานอนิ ทริ า คานธี ใชเ้ วลาเดนิ ทางเพยี ง 20 นาที อยทู่ างทศิ ตะวนั ตกของกรงุ นวิ เดลี กลมุ่ ผบู้ รหิ าร ตั้งเปา้ หมายเปิดตวั อยา่ งเปน็ ทางการในเดอื นกันยายนศกน้ี ที่เป็นขา่ วฮอื ฮาของวงการ fine dining ของอินเดีย คือ Lebua Delhi ประกาศ ตัวเปิดภัตตาคารอินเดียท่ีแพงที่สุดในโลก หัวละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ท้ังนี้ CEO ชาวอนิ เดียของเลอบัว นาย Deepak Ohri ใหส้ ัมภาษณ์ว่า รา้ นอาหารอนิ เดียดงั กลา่ ว จะไดเ้ ชฟระดบั สามดาวมชิ าลนิ มาเขยี นเมนใู หไ้ มซ่ ำ้� กนั ในแตล่ ะวนั นอกจากนี้ นาย Ohri จะนำ� Sirocco บารช์ อ่ื ดงั บนดาดฟา้ ของตกึ State Tower ในกรงุ เทพฯ มาเปดิ สาขาทเี่ ดลี ดว้ ย งานนข้ี าเทย่ี วคงตอ้ งลองไปดวู า่ Sirocco II จะเทยี บเทา่ ตน้ ตำ� รบั ไดม้ ากนอ้ ยเพยี งใด เลอบัวมีแผนที่จะขยายสาขาไปยังรัฐกัว สถานที่พักตากอากาศบนชายฝั่ง ทะเลอาระเบยี คาดวา่ โครงการดังกล่าวจะเรม่ิ เปิดตัวในเดือนพฤษภาคมปีหนา้ จะมี ห้องพกั 14 หอ้ ง และมีวลิ ลา่ 40 หลงั อกี ทง้ั กำ� ลงั ส�ำรวจทำ� เลทีเ่ มืองโคชนิ ในรฐั เกรละ ทางตะวันตกเฉียงใตข้ องอนิ เดีย 144
เครือโรงแรมดสุ ติ เปน็ รายล่าสดุ ท่ีเข้าไปบุกอนิ เดยี เครือโรงแรมเก่าแก่ของไทยอย่างดุสิตก็ไม่ตกขบวนรถไฟ เห็นโอกาสทองใน อตุ สาหกรรม hospitality ของอนิ เดยี เชน่ กนั ใชย้ ทุ ธศาสตรน์ ำ� เอกลกั ษณเ์ ฉพาะของการ บรกิ ารในแบบฉบบั ไทย รวมทงั้ สถาปตั ยกรรมไทยโมเดริ น์ และอนิ เดยี ประยกุ ต์ ดไี ซนโ์ ดย บริษทั Bunnag Architect ของไทย มาสรา้ งความประทบั ใจให้กบั ลกู ค้าชาวอนิ เดียและ นานาชาติ เนน้ การสรา้ งบรรยากาศรน่ื รมยแ์ ละสงบนง่ิ เปรยี บเสมอื นโอเอซสิ ทา่ มกลาง ความวนุ่ วาย ใหแ้ ขกไดพ้ กั ผอ่ น ชารจ์ แบตเตอรใ่ี หเ้ ตม็ ทกี่ อ่ นตอ้ งกลบั เขา้ สชู่ วี ติ ประจ�ำวนั โรงแรม Dusit Devarana New Delhi เปน็ โครงการรว่ มทนุ ระหว่างบรษิ ทั Dusit International และบรษิ ัท Bird Group ของอนิ เดีย ซ่ึงมีธุรกจิ ท่ีเน้นการบริการดา้ นการ ทอ่ งเทยี่ วและการบนิ จงึ ไมน่ า่ แปลกใจวา่ พรอ็ พเพอรต์ แี้ รกของดสุ ติ ในอนิ เดยี ตง้ั อยใู่ กล้ สนามบินทั้งในและระหว่างประเทศของกรุงนวิ เดลี โดยใชเ้ วลาเดินทางเพยี ง 10 นาที ก็จะถึงโรงแรม ผู้สร้างหวังว่าจะสามารถเปิดประตูต้อนรับลูกค้าได้ในเดือนกันยายน ปนี ้ี และอกี ไมน่ าน เครอื ดสุ ติ เลง็ ทจ่ี ะขยายกจิ การไปเมอื งชยั ปรุ ะและเมอื งฤาษเี กษดว้ ย 145
เห็นได้ว่า นักธุรกิจไทยได้เข้ามาท�ำกิจการท้ังในแบบเป็นเจ้าของเองร้อย เปอรเ์ ซน็ ตแ์ ละการมีห้นุ สว่ นในพื้นท่ี ในท้งั สองกรณี การลงทนุ ในระดบั น้ีจะตอ้ งพ่งึ พา คนท้องถนิ่ ทีไ่ วใ้ จได้ โดยเฉพาะบริษัทอินเดียที่มชี อื่ เสียงนนั้ ต่างมีเครอื ขา่ ยรู้จกั กับผมู้ ี อำ� นาจตดั สนิ ใจในภาครฐั ซงึ่ สำ� คญั ยงิ่ สำ� หรบั การฝา่ ฟนั เทปสแี ดงอนั โดง่ ดงั ของราชการ อนิ เดยี ไปได้ โดยท่ีกฎระเบียบอินเดียปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนสร้างโรงแรม บรษิ ทั ทีป่ รกึ ษา HVS India และ WTTC ไดแ้ นะนำ� มาตรการท่จี ะช่วยปลดล็อกและ สนบั สนุนธุรกจิ ในสาขาดงั กล่าว อาทิ การยกระดบั ใหธ้ ุรกิจ hospitality มีสทิ ธิเทียบเทา่ กับโครงการโครงสร้างพื้นฐานอ่ืนๆ การจัดต้ังหน่วยราชการหน่วยเดียวที่มีอ�ำนาจ เคลียรก์ ารขอใบอนญุ าตท้ังหมดในการสรา้ งโรงแรม การปรบั ระบบภาษบี รกิ ารให้เปน็ เอกภาพมากขนึ้ รวมทงั้ การเปลยี่ นกฎวซี า่ ทอ่ งเทย่ี วอนั เขม้ งวด ใหน้ กั ทอ่ งเทย่ี วสามารถ เดนิ ทางเขา้ - ออกอินเดียไดโ้ ดยไมต่ ้องท้งิ ช่วงถึง 60 วนั ท้ังน้ีทั้งนั้น ผู้มีอ�ำนาจตัดสินใจในเร่ืองดังกล่าวมิใช่กระทรวงการท่องเท่ียว อนิ เดยี แตเ่ ปน็ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลงั ซง่ึ มไิ ดเ้ ปน็ ผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี ในเร่ืองดังกล่าวมากนัก ความเปล่ียนแปลงน่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก และธุรกิจ hospitality ก็คงต้องเผชิญกบั อุปสรรคทกี่ ล่าวถึงต่อไป ความพยายามและความอดทนของเอกชนไทยท่กี ล้าเขา้ ตลาดอนิ เดียนัน้ เปน็ ท่ีนา่ ชน่ื ชมและนา่ นับถือจริงๆ ตีพิมพใ์ นหนังสอื พมิ พ์ฐานเศรษฐกจิ เม่อื วนั ที่ 15 เมษายน 2555 146
ธรุ กจิ ท่องเท่ยี วและบรกิ ารไทย เปาหมายใหมท่ ่อี นิ ำเดีย CHAPTER7
148
7.1 คนไทยทา� ไดด้ ีกวา่ เป็นผ้ผู ลติ (ตามส่ัง) - โดย พศิ าล มาณวพัฒน ์ - การเตรียมรับมือกับผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลทุกรัฐบาลดูเน้น การตง้ั “เป้า” ตัวเลขส่งออกสินค้าไทยไปภมู ิภาคนั้น ประเทศน้ี เปน็ เทา่ นั้น เทา่ น้ี เปอร์เซ็นต์อยู่เนืองๆ เป้าและตัวเลขส่งออกเป็นสิ่งท่ีเข้าใจง่าย แต่ก็มีข้อเท็จจริงอีก หลายด้านที่ไม่ควรมองข้าม ข้อเท็จจริงแรกเป็นเร่ืองของโลกการค้าท่ีไร้พรมแดน ตัวอย่างเช่น สินค้าท่ี เขา้ ทา่ เรอื หรือสนามบินในเนเธอรแ์ ลนด์สามารถถกู ขนสง่ ข้ามแดนไปเยอรมนี ฝรงั่ เศส หรืออังกฤษได้ภายในไม่ก่ีช่ัวโมง จึงควรจะต้ังเป้าสินค้าออกไปสหภาพยุโรปท้ังกลุ่ม มากกว่าการให้ความส�าคัญกับตัวเลขส่งออกของที่แต่ละประเทศสมาชิกอียู นอกจาก นี้ เราก็ไมค่ วรขะมกั เขม้นศกึ ษาดูงานเรื่องจะเจาะประตเู ข้ายโุ รปที่ทา่ เรือ สนามบินใด เกินไปจนกว่าผู้ผลิตไทยจะเปล่ียนสภาพจากลูกจ้างผลิตตามส่ัง แล้วส่งมอบที่ท่าเรือ/ สนามบินในไทย มาเป็นผู้ผลิตสินค้าท่ีมีแบรนด์เนมของตนแล้วหาตลาดและกระจาย สนิ ค้าในประเทศเป้าหมายเอง ขอ้ เทจ็ จรงิ ทส่ี อง การลงทนุ ของบรษิ ทั ไทยในตา่ งประเทศ ยอ่ มมผี ลกระทบตอ่ ตวั เลขส่งออกของไทย อาทิ บรษิ ทั ผลติ อาหารสตั ว์หรอื ชน้ิ ส่วนยานยนต์ของไทยทเ่ี คย ผลิตสินค้าส่งไปจ�าหน่ายอินเดีย เม่ือตัดสินใจเข้าไปต้ังโรงงานผลิตในอินเดียเองแล้ว ก็กลายเปน็ สง่ จา� หนา่ ยภายในอินเดยี หากยงั สามารถสง่ ออกไปประเทศที่สามตอ่ ก็จะ มีผลท�าให้ตัวเลขส่งออกสินค้าชนิดนี้จากไทยไปอินเดียกับประเทศที่สามน้ันๆ ลดลง แล้วตวั เลขส่งออกจากอินเดียไปประเทศทสี่ ามจะเพมิ่ ข้ึน 149
นอกจากน้ี มบี รษิ ทั ไทยทสี่ ามารถซอ้ื หรอื ควบกจิ การบรษิ ทั ในตา่ งประเทศมาก ขนึ้ เรอ่ื ยๆ อาทิ โรงแรมในนครนิวยอรก์ และกรงุ ลอนดอน โรงสุราวสิ กี้ในสกอตแลนด์ โรงงานปลาทนู า่ ในฝรงั่ เศส และลา่ สดุ บอ่ กา๊ ซทโ่ี มซมั บกิ ซง่ึ รายไดเ้ หลา่ นอี้ ยใู่ นตวั เลข สง่ ออกของประเทศนนั้ ๆ หากนำ� เขา้ มาไทยกเ็ ปน็ สนิ คา้ เขา้ ไทย การตดั สนิ ใจนำ� เขา้ - สง่ ออก ธุรกิจเหล่านเี้ ปน็ เร่ืองของภาคเอกชน ข้อเท็จจริงทีส่ าม ถึงแม้ภาคราชการจะมีบทบาทสงู ในการสง่ เสรมิ สนิ ค้าออก ประเภทอัญมณี เสอ้ื ผ้า เครื่องหนัง เครื่องตกแต่งบ้าน และอาหาร แตก่ ็มบี ทบาทได้ จ�ำกัดในการก�ำหนดเป้าสินค้าส่งออกของไทยสิบรายการแรกท่ีเป็นสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ รถยนต์ เครอื่ งคอมพิวเตอร/์ สว่ นประกอบ แผงวงจรไฟฟา้ ฯลฯ โรงงานเหล่าน้ี สว่ นใหญล่ งทนุ โดยบรษิ ทั ขา้ มชาตทิ ม่ี โี รงงานในประเทศอน่ื ๆ ดว้ ยเชน่ กนั การตดั สนิ ใจ ว่าจะให้โรงงานใดผลิตส่งไปจ�ำหน่ายแทนโรงงานใด หรือเป็นส่วนประกอบของอีก โรงงานในอกี ประเทศหนง่ึ จะอยใู่ นดลุ พนิ จิ ของผบู้ รหิ ารบรษิ ทั นนั้ ๆ ทด่ี ตู น้ ทนุ คา่ ใชจ้ า่ ย เป็นสำ� คัญ มิใชด่ ลุ พินิจของข้าราชการที่ถูกสัง่ ให้ทำ� “เป้า” ข้อเทจ็ จริงทสี่ ีค่ อื เกอื บทกุ ฝา่ ยมกั เน้นตัวเลขส่งออกของสนิ ค้าเปน็ หลกั แต่ ตัวเลขส�ำคัญท่ีถูกมองข้ามไม่ค่อยมีใครสนใจช่วยกันสนับสนุนอย่างจริงจังคือ ตัวเลข สนิ ค้าบริการ ชาวสวนปลูกกล้วยไม้ มีนายหน้ามารับซื้อถึงฟาร์มเพ่ือไปส่งมอบในอินเดีย แต่ถกู กดราคาต่ำ� หากใชด้ อกกล้วยไมผ้ สมกับการบรหิ ารจดั การ เป็นการใหบ้ รกิ ารรับ จัดดอกไม้ในอินเดีย แบบหลังย่อมท�ำเงินรายได้เข้าประเทศมากกว่าเป็นลูกจ้างปลูก ดอกไม้ขายราคาถูกหลายสิบเท่าตวั ถ้าจะมองหาธุรกจิ ที่ทำ� เงนิ ในอนิ เดยี ทีต่ ้องใช้ฝีมือประณีตระดับคนไทยและ ยงั มแี วววา่ จะเปน็ ทต่ี อ้ งการของตลาดไปอกี นานคอื ธรุ กจิ การจดั ดอกไมต้ ามโรงแรมหรู ในเมอื งใหญ่ และในงานแตง่ งานของลกู หลานมหาเศรษฐี ดอกไมย้ อดนยิ มทใี่ ชป้ ระดบั ในงาน คือ ดอกกล้วยไม้โดยเฉพาะแวนดา้ ซึ่งเป็นค่านยิ มของคนอนิ เดียสมัยใหมท่ ่ี เหน็ วา่ แสดงถงึ ความมรี ะดบั และโกห้ รู ความงดงามมเี อกลกั ษณข์ องกลว้ ยไมไ้ ทย บวกกบั ฝมี อื ประณตี จดั ดอกไมแ้ บบ มศี ลิ ปะของคนไทย จึงเป็นโอกาสงามทางธุรกิจของเถา้ แก่ยคุ ใหมข่ องไทย 150
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240