137 2. แนวคิดทฤษฎีการเมอื งตามลทั ธิของขงจ้ือ 1. แบบไต้ท้ง เป็นระดบั ดสี ูงสุด เป็นระบบสากลนยิ ม ถอื ทกุ คนท่ัวโลกเป็นพี่น้องกัน ไม่มีการ แบ่งเป็นชาติ เป็นเผ่า เป็นพวก หรือแบ่งเป็นประเทศ เป็นแคว้น เป็นเมืองอย่างท่ีเป็นอยู่ในป๎จจุบัน การแบ่งทาํ ให้แตกแยก ทาํ ให้คนเกิดความแก่งแยง่ กนั เพ่ือแก้ป๎ญหาน้ี ขงจ้ือจึงได้เสนอให้ทุกคนสังกัด ชาติเดียวกัน คือ มนุษยชาติ ประชาชนพลโลกร่วมกันเป็นผู้คัดเลือกผู้ปกครองต้องต้ังคณะคนดีเป็น รัฐบาลโลกมาปกครองพลโลก หากเป็นได้ดังกล่าว ทุกคนจะมีความสุขถ้วนหน้า ขงจ้ือจึงเรียกการ ปกครองแบบน้ีว่า มหาสันติสุข (ไท้เพ้ง) เป็นการปกครองแบบฉบับสูงสุดในอุดมคติของขงจื้อ เขาต้ัง ความปรารถนาไวม้ ากที่ให้มกี ารปกครองแบบนี้เกิดขึ้นในโลก ไม่สนบั สนนุ ให้มีการแบง่ แยก 2. แบบเซียวคัง เป็นระดับดีรองลงมา ขงจ้ือมีความเห็นว่า หากไม่สามารถสร้างระบอบการ ปกครองแบบไต้ท้งได้ ก็ใช้แบบเซียวคัง การปกครองแบบน้ีถึงแม้จะมีการแบ่งเป็นชาติ เป็นเผ่า หรือ เป็นประเทศ เป็นแคว้น แต่หากได้ผู้ปกครองที่ดี ก็สามารถบันดาลสันติสุขมาให้ประชาชนได้เช่นกัน เพราะผ้ปู กครองทด่ี ีดังกล่าวจะปกครองราษฎรแบบพ่อปกครองลูก เพราะฉะนั้นการปกครองแบบนี้ก็ ดี เพียงแต่อํานวยความสุขให้เฉพาะราษฎรของตนเท่านั้น ไม่แผ่กว้างท่ัวไปอย่างแบบไต้ท้ง ขงจื้อจึง เรียกการปกครองแบบน้ีว่า จุลสันติสุข (เซ็งเพ้ง) (ดอบ บัวขาว และพิภพ ตังคณะสิงห์, 2513 หน้า, 34) ดังนั้น ความสําคัญของปรัชญาขงจื้ออยู่ท่ีคุณธรรม คุณธรรมเป็นจุดหมายปลายทางในการ ปกครองมนษุ ย์ในดา้ นการเมอื ง ส่วนวชิ าอืน่ เชน่ กวีนิพนธ์ และ ดนตรี เป็นต้น เป็นเพียงอุปกรณ์ท่ีจะ นําไปสคู่ ณุ ธรรม หากไปไม่ถงึ คณุ ธรรมก็ไรค้ วามหมาย เป็นต้น 2.1 แนวคิดความสัมพนั ธภ์ ายในรัฐตามทศั นะของขงจือ้ เม่ือสังคมท้ังหลายมารวมกันก็เป็นเหตุให้เกิดรัฐขึ้นมา เมื่อมีรัฐ หรือประเทศก็ต้องมี ผู้ปกครองหรือรัฐบาล คอยปกครองดูแลสังคมให้เป็นไปอย่างปกติสุข และเจริญก้าวหน้าต่อไป แต่ก็มี นักปกครอง หรือรัฐบาลทไ่ี มด่ อี ยู่มาก ใชว้ ธิ ีกดขี่ประชาชน อย่างเช่นคราวหนึ่งที่ขงจื้อพาคณะเดินทาง ไปรัฐซึ่งขณะเดินผ่านปุาใหญ่ ได้ยินเสียงร้องไห้ของหญิงคนหนึ่ง จึงให้จื้อก่งไปถาม หญิงคนน้ันได้ ตอบจ้ือก่งว่า น้าชายของฉันถูกเสือกัดตายไม่นานมาน้ี ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกัดตาย ต่อมา ลูก ชายของฉันก็ต้องมาตายเพราะถูกเสือกัดอีก จื้อก่ง ก็ถามว่า ก็ทําไมไม่ย้ายบ้านหนีไปเล่า หญิงคนนั้น ตอบว่า ก็ท่ีนี่ไม่มีรัฐบาลที่กดขี่ทารุณ จ้ือก่งจึงนําความมาบอกขงจื้อ ขงจ้ือฟ๎งด้วยความสลดใจ ได้ กลา่ วขน้ึ ว่า นกั ศึกษาทง้ั หลาย จงจาํ ไว้เถดิ อนั รฐั บาลทีก่ ดขี่ทารณุ น้ัน มันร้ายย่งิ กว่าเสอื เสียอกี
138 ด้วยเหตุน้ีจึงเป็นเคร่ืองจุดประกายที่มีความคิดที่จะมีนักปกครอง หรือรัฐบาลท่ีดีให้จงได้ จึง เป็นเหตุให้เกิดปรัชญารัฐ หรือปรัชญาการเมืองขึ้นมาโดยส่วนตัว ขงจื้อนิยมชมชอบรัฐศาสตร์จารีต นิติธรรมเนียมโบราณ ขงจื้อเช่ือว่า การท่ีจะสร้างให้เป็นคนดี ประการแรกต้องให้การศึกษาอบรมเสียก่อน โดย ขงจื้อจะเน้นหนักวิชา นิติธรรมเนียม-ประเพณี กวีนิพนธ์ และดนตรี มารยาททางสังคมเป็นแนวทาง ให้ดําเนนิ ไปสคู่ วามเปน็ อารยชน เปน็ คนเมือง มิใช่คนปุาขงจื้อ ได้กล่าวว่า อุปนิสัยของคนอาจปลูกฝ๎ง ขึ้นได้ด้วยกวีนิพนธ์ เสริมสร้างให้ม่ันคงด้วยจารีตประเพณี และทําให้สมบูรณ์ได้ด้วยดนตรี (ซิวไช, ปรชั ญาจีน แปลโดย สกล นลิ วรรณ , 2523 หนา้ , 74) ขงจ้ือมีลักษณะหลายอย่างท่ีคล้ายกับโสเครตีส เช่น ชอบเสาะแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุด หย่อน โซเครตสี กลา่ วว่า “ข้าพเจ้ารู้อย่างเดียวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้” ส่วนขงจ้ือก็กล่าวว่า “ลักษณะผู้รู้คือ รู้ตวั ว่ารอู้ ะไรบ้าง และไม่รู้อะไรบ้าง” (ดอบ บัวขาว และพภิ พ ตงั คณะสิงห์ 2513, หนา้ , 34) ขงจื้อเป็นคนรักดนตรีมาก จนได้รับเกียรติให้เป็นปรมาจารย์แห่งดนตรี และให้ความสําคัญ มากกับการศึกษา เขาเชื่อว่าคนที่ได้รับการศึกษาน้ันจะไม่ได้รับประโยชน์น้ันไม่มี เพราะฉะน้ันทุกคน ตอ้ งศกึ ษาเลา่ เรยี น ไมว่ ่าจะอยู่ในวัยไหน โดยขงจ้ือถูกถามว่า การศึกษาดีทุกเวลาทุกวัย หรือไม่ เขาก็ ตอบว่า การศกึ ษาดที ุกเวลา และทกุ วัยแต่ถ้าไดร้ ับการศึกษาเมื่อยังหนุ่มย่อมดีกว่า (ดอบ บัวขาว และ พิภพ ตังคณะสิงห์ เรื่องเดียวกัน, หน้า, 267) ขงจื้อมีความเช่ือว่า ทุกคนมีอัธยาศัยคล้ายกันโดย ธรรมชาติ คือ อยากเป็นคนดไี ม่อยากเปน็ คนช่วั แต่ที่ถลาํ ตวั เปน็ คนชั่วก็เพราะ 1 สาเหตุ คอื 1. ไมไ่ ดร้ ับการศกึ ษาอบรมจงึ ทาํ ใหไ้ มร่ วู้ า่ อะไรดีอะไรชวั่ 2. ความจําเปน็ บังคบั เชน่ ความอดอยาก ยากจน หากรฐั บาลแก้เหตุท้ัง 2 อย่างนี้ได้ก็ จะไมม่ คี นช่ัวอกี ตอ่ ไป ขงจื้อได้พิสูจน์ถึงทฤษฎีนี้แล้ว ได้ผลสมความมุ่งหมาย ในสมัยที่เขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวง ยตุ ธิ รรม ขงจื้อใชอ้ าํ นาจออกระเบียบแกไ้ ขนักโทษล้นคกุ คอื ประการแรก ศกึ ษาประวตั ินักโทษแต่ละคนตลอดถงึ ครอบครัวของเขา ประการที่สอง เชิญนักกฎหมายและผู้พิพากษา ได้บอกว่า ได้ศึกษาประวัตินักโทษแต่ ละคนปรากฏว่า นักโทษท้ังหมดเป็นคนเขลา ไม่ได้รับการศึกษาอบรม และเป็นคนยากจน คนรวย มักจะไดร้ ับการศกึ ษาจึงมอี าชพี เล้ียงชวี ิตได้ เม่อื คนรวยทําอาชญากรรมกอ็ าจหลบเลี่ยงโทษทัณฑ์ โดย ใหส้ ินบนแก่ผูพ้ ิพากษา เพราะฉะน้ันตอ้ งรบี ด่วน คอื ขจดั ความโงเ่ ขลาโดยใหก้ ารศกึ ษา และขจัดความ ยากจน โดยชว่ ยใหเ้ ขาสามารถประกอบอาชีพทซ่ี ่อื สัตย์สุจริต ขงจื้ออธิบายว่า ต้องเริ่มที่ตัวเรา ท่านเป็นนักกฎหมาย และผู้พิพากษา ก็ขออย่าพลิกกลับ ความยตุ ธิ รรม มกี ารตดั สนิ สาํ หรับคนจนอย่างหนึง่ อกี อยา่ งหนึง่ สาํ หรับคนรวย กฎข้อแรก คือ อย่าทํา
139 อะไรแก่ผู้อื่นอย่างที่ท่านก็ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อ่ืนทํากับท่าน ผลของการทดลองตามทฤษฎีของขงจื้อ ปรากฏวา่ ตอ่ มาอกี 2 ปี เรือนจําในแควน้ ลูว้ ่างเปล่า ไม่มนี ักโทษอยู่เลย ขงจอื้ เช่อื วา่ หากไดผ้ นู้ ําทด่ี เี ดน่ ทั้งความรแู้ ละคณุ ธรรมมาปกครองประเทศ ก็จะบันดาลความ ผาสุกและเจริญรงุ่ เรืองให้เกิดขึน้ แก่พลเมือง เขาใหค้ วามสาํ คัญแก่ผู้นําประเทศมาก ท่ีพาไปสู่จุดหมาย ปลายทาง คือ ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง เพราะความรู้ความสามารถและคุณธรรมท่ีสูงส่งของผู้นํา บันดาลให้เกดิ ความดขี องผ้นู ํากจ็ ะช่วยดึงดดู จิตใจของพลเมืองให้เอาแบบอยา่ ง 2.2 รูปแบบการบริหารการปกครองของขงจื้อ 2.2.1 ผูป้ กครอง คุณลักษณะของผูป้ กครองในทศั นะของขงจ้ือ จะต้องไม่เกียจคร้านในการปฏิบัติหน้าท่ี มีความซื่อสัตย์ ตั้งอยู่ในคุณธรรม ท้ังน้ีเพราะชีวิต และการเป็นอยู่ของประชาชนข้ึนอยู่กับผู้ปกครอง ผู้ปกครองที่ดี จึงต้องเข้าใจในส่ิงท่ีประชาชนต้องการจะต้องทํางานมีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อสังคม รู้ หน้าท่ีของตนมีสายตายาวไกล ซ่ึงส่วนหน่ึงรัฐจะต้องทําหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขอาณาประชาราษฎร์ ในยคุ ทส่ี ังคมมีการปกครองด้วยระบบกษัตริย์ ขงจ้ือถือว่าผู้นําเป็นผู้มีอํานาจสูงสุดในการปกครอง จึง จําเป็นตอ้ งมีคุณลกั ษณะ 3 ประการ คือ 1. มีอํานาจสงู สุด ใครจะละเมิดมไิ ด้ ถือวา่ กษตั ริยเ์ ป็นโอรสแหง่ สวรรค์ 2. มีความสามารถในการปกครองประชาชนใหอ้ ยเู่ ย็นเปน็ สุขตามวถิ ีแหง่ สวรรค์ 3. ร้จู ักเลือกคนดมี คี ุณธรรม เขา้ ไปบรหิ ารบา้ นเมือง ตา่ งพระเนตรพระกรรณ จะเห็นว่า ผู้ปกครองท่ีมีความรู้ความสามารถย่อมนําประชาชนไปสู่เปูาหมาย อีกทั้งยังเป็นที่ เคารพนับถือในฐานะโอรสแห่งสวรรค์แต่ในความหมายนี้เป็นการยกย่องผู้ปกครองในฐานะผู้มี คุณธรรมดุจดังเทพท่ีคอยเอื้ออํานวยความสุขสวัสดีแก่ประชาชนยามยาก แน่นอนว่าระบบคุณธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะบังคับให้เกิดข้ึนในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการคัดเลือกผู้ท่ีมีอุปนิสัยเท่านั้นเม่ือ พิจารณาผู้ปกครองในทัศนะของขงจื้อนั้น จะเห็นว่าคุณธรรมเป็นสิ่งท่ีมีความสําคัญต่อการปกครอง ประเทศโดยจะต้องเวน้ จากความไมช่ อบธรรม 5 ประการ คือ 1. จติ ใจชัว่ รา้ ยอํามหิต แต่สามารถซอ่ นเร้นได้อย่างมดิ ชดิ 2. ประพฤตชวั่ ต่ําทราม แตย่ ืนหยัดแนว่ แน่ 3. พดู จาโปปู ด มีอคติ ดว้ ยวาทศลิ ป์อย่างยอดเยยี่ ม 4. กอ่ นทาํ เข็ญดว้ ยความรู้สกึ กวา้ งไกล 5. เมตตาอย่างลน้ เหลือตอ่ ผกู้ ่อกรรมทาํ เขญ็ ผู้ปกครองในฐานะผู้ปกครองดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ภาพลักษณ์ที่ดี เช่น มีความเทยี่ งธรรม คํานึงถึงผลประโยชน์ของบ้านเมือง ไม่เห็นแก่พวกพ้องของตน
140 ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งจําเป็นที่จะต้องมีคุณธรรมเข้ามาควบคุมความประพฤติของตน โดย จะตอ้ งคํานงึ ถงึ คณุ ธรรม 5 ประการ คือ เมตตา ธรรมจรยิ า ปญ๎ ญา และสัจจะ 2.2.2 ระบบการเมือง (เสถียร โพธินนั ทะ, 2544 หน้า, 61) เม่ือมีผู้ถามขงจ้ือว่า “จะจัดระเบียบการปกครองรัฐอย่างไร” เขาได้ตอบว่า “จงใช้ปฏิทิน ของราชวงศ์แห่ (คือปฏิทินจันทรคติแบบเก่า) ใช้ยวดยานพาหนะของราชวงศ์เซียง ใช้เครื่องนุ่งห่ม ประดับกายของราชวงศ์จิว ส่วนการร้องรําทําเพลง จงใช้นาฏสังคีตของพระเจ้าซุ่น”หมายความว่า ขงจื้อคัดเลือกเอาระเบียบการปกครองท่ีดีเด่นของแต่ละราชวงศ์มาเรียบเรียงข้ึนใหม่ หาใช่ลอกมา ท้ังหมดไม่ เขาเสนออุดมคติการเมืองเป็นรูป “สากลนิยม”ไม่มีชาติชั้นวรรณะ ประชาชนมีความ เปน็ อยูอ่ ย่างเสมอภาค ทุกคนมีการมีงานทําเป็นหลักฐาน คนชราทุพพลภาพและเด็กได้รับการเล้ียงดู อย่างดี ผู้ปกครองก็ใช้วิธีคัดเลือกเอาคนดีที่สุดมีความสามารถท่ีสุดจากประชาชนช้ันมาเป็นรัฐบาล ไม่ให้ปกครองด้วยคณะหรือพรรคใด ในสมัยขงจื้อสามารถแบ่งระบบการเมืองออกเป็น 3 ระบบ ด้วยกัน คอื 1. ระบบการเมืองแบบพ่อปกครองลูก เป็นระบบการเมืองท่ีมีมาช่วงก่อนหน้า สมัยราชวงศ์โจว (ก่อนพ.ศ.579เป็นต้นไป) ระบบนี้กษัตริย์จะทําหน้าท่ีเหมือนพ่อ ส่วนประชาชนใต้ ปกครองก็จะเหมือนลูก ซึ่งจะต้องให้ความเคารพและเชื่อฟ๎งผู้เป็นพ่อ การสืบทอดตําแหน่งน้ีก็ข้ึนอยู่ กบั ว่า กษัตรยิ จ์ ะยกตาํ แหน่งใหใ้ คร ทัง้ นี้โดยความเหน็ ชอบของหัวหนา้ ชุมชนดว้ ย 2. ระบบเจ้าครองนครเป็นระบบการปกครองท่ีอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์โจวตอน ตน้ (ก่อนพ.ศ.579-228) เม่ือราชวงศ์ล่มสลายแล้ว กษัตริย์โจวได้แผ่อาณาเขตได้กว้างขวางย่ิงข้ึน ทํา ใหก้ ารดแู ลไมท่ ่ัวถึง กษัตรยิ โ์ จวจึงทรงแต่งต้ังผูแ้ ทนพระองค์ไปเป็นเจ้าปกครองแต่ละรัฐ ซ่ึงส่วนใหญ่ก็ เปน็ เชื้อพระวงศห์ รอื ไมก่ เ็ ป็นขนุ นางผ้ใู กล้ชิด 3. ระบบการเมืองแบบจักรพรรดิ เป็นระบบการเมืองที่เร่ิมต้นในช่วงต้นยุคชุน ชิว (ก่อนพ.ศ. 179-141) ซึ่งเป็นช่วงที่ระบบเจ้าครองนครเร่ิมเสื่อม ระบบเจ้าปกครองแบบจักรพรรดิ น้ีได้พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในปี พ.ศ. 322 เม่ือเจ้าครองนครชื่อฉินได้ใช้กําลังทหารของตนรวบรวมจีนให้ เป็นปึกแผ่น พร้อมกันน้ันก็ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์ฉิน มีพระนามท่ี ทราบกันว่า ฉินซือฮวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉ๋ินซีฮ่องเต้) ทําให้ประเทศจีนเป็นอาณาจักรเดียวภายใต้การ ปกครองของกษัตริยพ์ ระองคเ์ ดียวตามเดิม
141 2.2.3 ลกั ษณะรัฐปรัชญาของขงจื้อ ปรัชญาการปกครองของขงจ้ือ มีลักษณะเป็นปิตาธิปไตย(Paternalism) คือถือระบบพ่อเป็น ใหญ่ เป็นระบบพ่อปกครองลูก ตรงข้ามกับปรัชญาการปกครองของเม่งจื๊อท่ีถือระบอบมาตาธิปไตย (Maternalism) คอื ถือระบอบแมเ่ ปน็ ใหญ่ เปน็ ระบอบแม่ปกครองลกู โสกราตีส เป็นปรมาจารย์ทางปรัชญาของกรีกฉันใด ขงจื้อก็เป็นปรมาจารย์ทางปรัชญาของ จนี ตอ่ จากเหลาจื๊อฉันนั้น ปรชั ญาของขงจอ้ื มีอทิ ธพิ ลต่อวฒั นธรรมจีนมาก เพลโต ต้ังอคาเดมีสอนปรัชญา อาริสโตเติลต้ังลีเซียมสอนปรัชญาในกรีกทางซีกโลกตะวันตก ขงจ้ือศกึ ษา และมีความรู้เจนจบในวิชาอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสตร์ และดนตรี ขงจ้ือจึงนับว่าเป็นนักปรัชญาระดับอัจฉริยะผู้หนึ่งของจีน และตั้งสํานักสอน ปรัชญาเช่นเดียวกับเพลโต และอารสิ โตเติล 2.2.4 มโนทรรศนข์ องขงขื้อด้านการปกครอง ครั้งหนึ่งมีผู้ถามขงจอ้ื ว่า “จะปกครองรฐั ใหด้ ีอยา่ งไร” ขงจือ้ ตอบว่า “ผู้ปกครองรัฐ จงทําหนาท่ี ผู้ปกครองให้สมบูรณ์ ขุนนางเสนาบดีจงทําหน้าท่ีขุนนางเสนาบดีให้สมบูรณ์ บิดามารดาจงทําหน้าท่ี บดิ ามารดาให้สมบรู ณ์ บุตรธิดาจงทําหน้าที่บุตรธิดาให้สมบูรณ์” เมื่อทุกฝุายทําหน้าที่ของตนได้อย่าง สมบูรณ์ รัฐและประชาชนก็อย่ดู ีมสี ุขสมบรู ณ์ 2.2.5 แนวคิดของขงจอ้ื เกยี่ วกบั ระเบียบการจดั การปกครอง ขงจื้อ ได้เสนอแนวคิดในเรื่องการจัดระเบียบด้านการปกครองเอาไว้เป็นรูปแบบสากลนิยม (Universalism) คือ “การปกครอง จะต้องไม่มีช้ันวรรณะ ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอ ภาค มีงานทํา อุปการเล้ียงดูคนพิการทุพพลภาพ คนชรา และเด็ก จงเลือกเอาคนดีที่สุดมาเป็น ผู้ปกครอง” 2.2.6 แนวคดิ ของขงจื้อเร่อื งเอกภาพในววิ ธิ ภาพ ลัทธสิ ากลนยิ มของขงจอ้ื ก็เท่ากบั ลัทธิ Cosmopolitanism คือลทั ธจิ กั รวาลสากลนิยมของซิเซ โร นักปรชั ญาโรมันทม่ี แี นวคดิ ว่า มนุษยท์ ั้งโลกควรจะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียนกัน ไม่แบ่ง ช้ันวรรณะ ไม่แยกผิวแยกภาษา เช้ือชาติและศาสนา โดยทําวิวิธภาพ (Diversity) ให้เป็นเอกภาพ (Unity) ถือว่ามวลมนุษยชาติล้วนเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งส้ิน และให้แผ่ เมตตา โดยไม่จาํ กดั ประมาณ ( อปั ปมัญญาเมตตา )
142 ทัศนะคติของขงจ้ือ มองพลโลกเป็นครอบครัวเดียวกัน คือเป็นครอบครัวโลก ขงจื้อนิยมการ ปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Paternalism) เป็นการปกครองด้วยระบบคุณธรรม ( Merit system ) รกั ษาประชาชนเช่นเดียวกบั รักษาบตุ รของตน 2.2.7 คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมทางการเมืองของขงจื้อ (Political Morality) ขงจื้อ ได้เสนอแนวคิดด้านคุณธรรมทางการเมือง (Political Virtue) และจริยธรรมทาง การเมือง (Political Morality) เอาไว้ว่า “นักปกครองต้องแก้ไขความช่ัวความบกพร่องของตัวเอง ก่อน ประชาชนจงแก้ไขความช่ัวความบกพร่องของแต่คนก่อน นักปกครองและประชาชนต้องข่มจิต ข่มใจจากการกระทําผิดกระทําบาปของตนแต่ละคนก่อน คือต้องต้ังต้นแต่ควบคุมจิตใจของแต่ละคน เปน็ ปฐม แล้วขยายออกไปทค่ี รอบครวั จากครอบครวั ขยายไปท่ีรัฐ จากรัฐจากชาติ กข็ ยายไปทั่วโลก” ผู้ปกครองรัฐได้ “ต้องปกครองตนเองก่อน ต้องปกครองครอบครัวของตนเองให้ได้ก่อน เม่ือปกครอง ตน ปกครองครอบครัวได้ดีแล้ว ก็จะปกครอง ก็จักบริหารให้รัฐประสบสันติสุขได้ เม่ือรัฐมีความสงบ ความเรยี บร้อย ผู้น้นั ก็จกั ยงั โลกให้มคี วามสงบร่มเย็นและไพบูลยไ์ ด้” 2.3 แนวคิดของขงจอื้ เกยี่ วกบั การบรหิ ารการปกครอง ขงจ้ือได้เสนอแนวคิดในการบริหาร การปกครองเอาไว้ว่า “หากสมาชิกในครอบครัวเมตตา รักใคร่กันดี ก็ย่อมเป็นแบบอย่างให้คนทั้งรัฐ รักใคร่ปรองดองกันดี” “หากสมาชิกในครอบครัว เอื้อเฟื้อเผ่ือแผ่กัน ประชาชนทั้งรัฐก็จะเอื้อเฟ้ือเผ่ือแผ่กัน หากบุคคลในครอบครัวทุจริตคดโกง ประชาชนในรัฐก็จักทุจริตคดโกง วีรชนจึงต้องบําเพ็ญความดีด้วยตนเองก่อน ทําตนให้เป็นแบบอย่าง ก่อน แล้วจึงไปอบรมให้ผู้อ่ืนบําเพ็ญความดีตาม” ฉะน้ัน “นักปกครองจึ้งต้องตั้งต้นทําความดี เพื่อ ตนเองและครอบครวั กอ่ น” 2.3.1 วิธีอบรมตนเองตามแนวคิดของขงจื้อ ขงจื้อได้เสนอแนวคิดสําหรับอบรมตนเองไว้ หลายประการ คอื 1. เขา้ ใจเหตุผลในสถานการณต์ ่างๆจนแจม่ แจ้ง 2. เปน็ ผู้มีสตปิ ญ๎ ญา อันเนื่องมาจากเข้าถึงเหตุผล 3. ซือ่ สตั ยต์ อ่ อุดมคติ 4. จติ ตง้ั อย่ทู คี่ วามชอบธรรม เมอ่ื อบรมครบทั้ง 4 ข้อขา้ งต้นแลว้ ต้อง 1. ยอ่ มสามารถจัดครอบครัวให้มีระเบยี บได้ 2. สามารถปกครองรัฐให้ร่มเยน็ เปน็ สขุ ได้ 3. สามารถสร้างสนั ติภาพใหแ้ กโ่ ลกได้
143 ขงจือ้ ถอื ประชาชนเปน็ ใหญ่ ขงจอ้ื ได้กลา่ วไวเ้ กย่ี วกบั การถอื ประชาชนเป็นใหญ่ว่า 1. เมอ่ื สัมมาคารวะต่อประชาชน ประชาชนก็ไม่ดหู ม่นิ 2. เมอ่ื มนี ้าํ ใจเผอ่ื แผป่ ระชาชน ประชาชนกม็ ีความภกั ดี 3. เม่ือมีความซื่อสัตย์ต่อประชาชน ประชาชนก็ย่อมมีความเชื่อมั่นในตัว ผ้ปู กครอง 4. เม่ือมีความกระฉับกระเฉง ทํางานในหน้าท่ีอย่างเข้มแข็ง ก็ย่อมประสบ ความสําเร็จทเี่ ป็นประโยชน์ 5. เมื่อสร้างพระคุณให้ประชาชนแล้ว เม่ือจะใช้งานอะไร ประชาชนก็ย่อม กระทําดว้ ยความพึงพอใจ 2.3.2 สูตรในการปกครองรัฐของขงจื้อ นักปกครองที่จะเป็นนักปกครองท่ีดี ประสบความสําเร็จในการปกครองตามทรรศนะของ ขงจ้ือ นักปกครองผนู้ น้ั พึงมี 1. การอบรมตนใหม้ ีคณุ ธรรม 2. เคารพยกย่องผูม้ ีความรู้ความสามารถ 3. ปฏิบัติหน้าทต่ี อ่ บุคคลในสงั คมอยา่ งดีท่ีสดุ 4. ยกย่องผูม้ ีประสบการณม์ ากในวงสังคม และไม่พึงดหู มน่ิ 5. แผพ่ ระคณุ ในหมขู่ า้ ราชการทวั่ ไป 6. แผ่ความรกั ในราษฎรเหมือนบตุ รในอาทร 7. สง่ เสรมิ ศิลปะวิทยาการสาขาต่างๆใหเ้ จริญ 8. ให้การตอ้ นรบั ผตู้ ่างแดนทม่ี าค้าขายหรือมาสวามิภักดิ์ 9. ผูกนาํ้ ใจดว้ ยไมตรีกบั นานารัฐ ขงจือ้ ไดเ้ สนอหน้าทข่ี องนักบรหิ าร นกั ปกครอง เอาไว้ว่า “จงปฏิบัติหน้าท่ีของตนให้สมฐานะ เมื่อจะพูดอะไรออกไป กใ็ ห้ถกู ต้องตามทาํ นองคลองธรรม เม่ือพูดไม่ถูกทํานองคลองธรรม กิจกรรมใน หน้าที่ก็ย่อมไม่สัมฤทธิผล และนิติธรรมจารีตประเพณี ศิลปะนาฏดนตรี ย่อมไม่เจริญ การพิพากษา อรรถคดีก็ไรค้ วามยตุ ธิ รรม เมอื่ การลงโทษขาดยตุ ธิ รรม ราษฎรกอ็ ลเวง” 2.3.4 จริยธรรมทางการเมอื ง ขงจื้อมีความเช่ือว่าอุดมคติทางการเมืองไม่ได้ขึ้อยู่กับระบบการเมืองการปกครอง แต่ได้ให้ ความสําคญั ท่ีตัวบุคคลท้ังด้านร่างกาย และจิตใจหรืออาจเรียกว่า มนุษยนิยม ในความหมายที่ว่า “... ถ้านักการเมืองรู้จักแต่การแก้ไขจัดการผู้อ่ืน โดยเลือกแก้ไขจัดการกับตนเองก่อนอุดมคติที่วาดไว้ สวยงามก็มีค่าเท่ากับภาพเขียนวิจิตรที่ปราศจากชีวิตจิตใจ...” แม้แต่นักปรัชญาอย่างมาร์ก (Karl Marx 1818-1883๑๘๑๘-) ก็มีทัศนะในเชิงมนุษยนิยมเช่นเดียวกับขงจ้ือว่า “มนุษย์เป็นผู้สร้าง
144 ความคดิ ตา่ ง ๆ ขึ้นเอง ทง้ั นี้โดยได้รับอิทธพิ ลจากการพฒั นาพลังการผลิตโครงสร้างทางสังคม ซึ่งได้แก่ ความคิดทางการเมือง ปรัชญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และความนึกคิดต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็น ผลผลิตของมนุษย์ท้ังสิ้น...สิ่งเหล่านี้ จึงต้องเป็นส่ิงท่ีมีอยู่ในความคิดของมนุษย์ มนุษย์ไม่ได้มาจาก สวรรค์ หรอื มไิ ดอ้ ยใู่ นพระบญั ชาของพระเจา้ แตม่ นษุ ยส์ ร้างตวั เอง” แนวคิดเรื่องมนุษย์นิยมในทัศนะของขงจ้ือที่เก่ียวกับการปกครอง ก็ได้กล่าวถึงศักยภาพของ มนุษย์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสําคัญกว่าระบบอ่ืน ๆ ไว้ว่า “...บุคคลท่ีปรารถนาจักยังโลกให้ลุถึงสันติสุขตาม อุดมคติอันดีงามแห่งตนน้ัน ผู้น้ันจักต้องสามารถปกครองรัฐของตนให้เรียบร้อยได้ก่อน...จักต้อง ปกครองครอบครัวของตนให้สงบสุขได้ก่อน...จักต้องอบรมตนเองให้ดีก่อน...จักต้องตั้งจิตของเขาให้ ชอบธรรมกอ่ น...ก็จําต้องมีความซื่อสัตย์ม่ันคงในอุดมคติของเขาก่อน ผู้ซ่ึงจักซ่ือสัตย์มั่นคงต่ออุดมคติ ได้ ผู้น้ันก็ต้องเป็นคนมีสติป๎ญญาความรอบรู้ในเหตุการณ์อันเป็นฐานะหรืออฐานะ และบุคคลจะถึง พร้อมด้วยสติป๎ญญาอย่างนั้นต้องเป็นผู้ซึ่งเข้าถึงซึมซับในเหตุผลแห่งความเป็นไปของเรื่องราวต่างๆ โดยแจ่มกระจ่างชัดเจน เมื่อมีความเข้าใจในเหตุผลโดยถ่องแท้ ผู้น้ันย่อมช่ือว่ามีสติป๎ญญา ผู้มี สติปญ๎ ญายอ่ มมคี วามซือ่ สตั ย์ตอ่ อดุ มคติ ผู้แนว่ แนใ่ นอุดมคติ ใจของเขาก็ย่อมต้ังอยู่ในความชอบธรรม บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความชอบธรรม ย่อมช่ือว่าเป็นผู้มีตนอบรมดีแล้ว เม่ืออบรมตนของตนได้ดีแล้ว ก็ย่อมปกครองครอบครัวให้ดีได้ ผู้ซ่ึงสามารถจัดการกับครอบครัวได้เรียบร้อย ก็ย่อมสามารถท่ีจะ บริหารรัฐให้สันติสุขได้ เม่ือรัฐมีระเบียบเรียบร้อยดีแล้วบุคคลน้ันย่อมสามรถจรรโลงโลกให้มีความ รม่ เย็นไพบูลย์ได”้ นอกจากนี้ได้อรรถาธิบายอีกตอนหน่ึงว่า“...ฉะน้ัน วีรชนจึงจําต้องบําเพ็ญความดีด้วยตนเอง ใหเ้ ปน็ แบบฉบบั ก่อน ภายหลังจึงไปปกครองอบรมผู้อ่ืนให้บําเพ็ญความดีตามได้ ก็เมื่อตัวของตัวเอาดี ยังไม่ได้ท่ีจะให้ผู้อ่ืนเขาดีด้วยนั้นย่อมหาสําเร็จไม่เหตุฉะน้ี จึงต้องต้ังต้นความดีกันที่ตนเองและ ครอบครัวก่อน...” ขงจ้ือเชื่อว่า การที่จะสร้างให้คนเป็นคนดี เริ่มแรกจะต้องให้การศึกษาอบรมมีนิติธรรมเนียม ประเพณีตลอดถึงมารยาททางสังคมเป็นแนวทางให้คนดําเนินไปสู่ความเป็นอารยชน ส่วนกวีนิพนธ์ก็ เพ่ือให้ใจเห็นความงาม และเป็นระเบียบทําให้เกิดแรงบันดาลใจนําไปสู่การคิดคํานึงถึงความทรงจํา เก่าๆ ทั้งเป็นการเสริมสร้างการสมาคม และเป็นการระบายความไม่สมหวังของคนได้ด้วยส่วนวิชา ดนตรีก็เพ่ือให้ซาบซ้ึงถึงความไพเราะความกลมกลืนกัน ดังที่ขงจ้ือได้กล่าวไว้ว่า “อุปนิสัยของคนอาจ ปลูกฝง๎ ข้นึ ดว้ ยกวนี ิพนธ์ เสริมสรา้ งให้มนั่ คงด้วยจารีตประเพณแี ละทาํ ให้สมบรู ณไ์ ดด้ ว้ ยดนตรี” อยา่ งไรกต็ ามการศึกษาวิชาการต่าง ๆ จะต้องให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งน้ัน ๆ อย่างแจ่ม แจ้งหาใช่เป็นการศึกษาเพียงเพื่อให้เป็นไปตามข้ันตอนหรือกระบวนเท่าน้ันไม่ จําต้องคิดคํานึง วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ ท้ังในส่วนของทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง ดังท่ีขงจื้อได้กล่าวว่า
145 “การศึกษาโดยปราศจากความคิดกไ็ รป้ ระโยชน์ ทํานองเดียวกัน ความคิดที่ปราศจากการศึกษาก็เป็น อันตราย” เนื่องจากขงจื้อเช่ือว่า การศึกษามีส่วนสัมพันธ์ที่จะพัฒนาคนให้มีพัฒนาการทั้งในส่วนที่เป็น ประโยชน์ส่วนตัว และของประเทศชาติ เขาจึงกล่าวว่า “การไม่อบรมตนให้มีคุณธรรมความดีหน่ึง การไม่แสวงหาวิทยาความหน่ึง ประสบความชอบธรรมแล้วไม่อนุวัตรตามความชอบนั้นหน่ึงการไม่ สละความผดิ ดว้ ยการปรับปรงุ ตนใหม่หนึง่ ทงั้ หมดนี้เป็นความทุกข์ของฉัน”ดังนั้น ขงจ้ือจึงได้กล่าวถึง มรรควิธอี บรมตนเองเป็นสําคัญ ดังนี้ (เสถยี ร โพธนิ ันทะ ,2544) 1. แกะม้วย คอื ความเข้าใจเหตุผลในสถานการณต์ า่ ง ๆ อย่างแจม่ ชัด 2. ตไ้ี จ คือ ความเป็นผสู้ ตปิ ญ๎ ญาเพราะเหตเุ น่อื งมาจากเขา้ ถึงเหตุผล 3. เซง้ อ่ี คือ ความซ่อื สัตยต์ ่ออุดมคติ 4. เจย้ี ซิม คอื ความท่ีจิตต้งั อยู่ในความชอบธรรม 5. ซวิ ซงิ คือ ความทีต่ นไดอ้ บรมดีแล้วด้วยคณุ ธรรม 4 ขอ้ ขา้ งต้น 6. ซแี่ ก คอื ความสามารถทจี่ ดั การให้ครอบครวั มีระเบยี บเรยี บร้อยได้ 7. ต๊ีกก๊ คือ ความสามารถทป่ี กครองรฐั ใหร้ ม่ เย็นได้ 8. เพง้ เทียนเหีย คอื ความสามารถทจ่ี ะสร้างสนั ตภิ าพแก่โลกได้ เหตุผลของการอบรมตนในทัศนะของขงจ้ือ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการพัฒนาคน และ ประเทศชาติ อันไดแ้ ก่ การทํางานดว้ ยความดีคุณธรรม ซึ่งมุ่งการบําเพ็ญประโยชน์ต่อตนเองและผู้อ่ืน โดยไมค่ ดิ วา่ ตนควรจะไดอ้ ะไร หลกั ศีลธรรม ขงจ้ือ ใชศ้ ีลธรรมปกครองบา้ นเมือง รวมแล้วในหลกั มีอยู่ 4 ขอ้ คือ 1. เหริน หรือ เมตตาธรรม เหริน เป็นคุณความดีสูงสุดในหมู่มนุษย์ (จํานงค์ ทองประเสริฐ, 2537 หน้า,47) (ขงจื้อ หมายถึง มนุษยธรรม เป็นคุณธรรมท่ีเกิดขึ้นภายในจิตใจของคนตั้งแต่เกิด และ สามารถรับรู้ได้ พัฒนาได้ต้ังแต่ครอบครัวจนถึงระดับสังคม ครอบครัว คือโรงเรียนสอนศีลธรรม (Lin Yu–tang, 1939 p, 47) (นอกจากนั้นขงจ้ือ ยังได้กล่าวอีกว่า ผู้ท่ีปฏิบัติตนอยู่ในคุณธรรมเหล่าน้ี จะต้อง ประกอบไปด้วย ก. สภุ าพออ่ นโยน ข. ไม่เหน็ แก่ตัว ค. มีศรทั ธาทีด่ ี ง. ขยันขันแข็ง จ. มีความเมตตากรณุ า
146 2. จะต้องมีหลักหล่ี หรือ จารตี 3. หลกั เส้ยี ว หลกั กตัญํู ในคัมภรี ์กาพย์ มโี คลงบทหนึง่ ที่พรรณนาถึงเสีย้ วว่า โอ้ ข้าแต่บิดา ผ้ใู ห้กาํ เนิดฉนั โอ้ ขา้ แตม่ ารดา ผู้เฝูาคอยประคับประคอง ท่านทั้งสองต้องเฝาู เลย้ี งดู และคอยอุ้มชู เฝูาคอยเกอื้ การณุ ย์ ทา่ นทงั้ สองคอยดแู ลไม่เคยทอดทงิ้ มือทั้งสองท่ีคอยโอบอุ้ม หากแม้ฉันปรารถนา จะตอบแทนความเก้ือการุณย์นนั้ ยากแท้ จะเตมิ เต็ม (พระมหาบุญเรือง ปํฺญาวชิโร, 2541 หน้า,51) 4. หลกั จุงหยงุ หรือ หลกั สายกลาง จงุ หยงุ หมายถงึ ทางสายกลาง ซ่ึงประกอบขึ้นดว้ ยคํา 2 คํา คือ จงุ และหยงุ คําว่า จุง มคี วามหมายวา่ กลาง สว่ นคําวา่ หยุง หมายถงึ มรรควธิ ที ี่มนษุ ย์ควร ดาํ เนนิ เมอ่ื รวมกันเข้า จงึ หมายถึง ทางสายกลาง 2.3.5 ปรชั ญาการเมืองของขงจอ้ื ทีม่ ีอทิ ธพิ ลต่อสังคมไทย เมอื่ พจิ ารณาอิทธิพลของขงจอ้ื ทมี่ ีต่อสังคมไทย ในด้านมนษุ ยน์ ยิ มอาจไม่มีความเด่นชัดเท่าใด นกั เพราะส่วนใหญ่ประเทศไทยไดร้ บั อิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา รวมไปถึงการยอมรับลัทธิเทวนิ ยม หรือสมมติเทพที่ยอมนับถือผู้ที่มีอํานาจทางการปกครอง ในที่สุดได้กลายเป็นขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม หรือท่ีเรียกวา่ ภูมิปญ๎ ญาไทย อย่างไรกต็ าม ถ้าหากจะศกึ ษาลงไปใหล้ กึ ซึ้งแลว้ จะเห็นได้ว่า อิทธิพล และอารยธรรมจีนมีอยู่ มากมาย และมีอยู่ในระดับที่ลึกลงไปถึงรากของสังคมไทยยิ่งกว่าอิทธิพลของอินเดีย และถ้าจะ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ช่วง 200 ปีที่ผ่านมาของไทยนั้น จะไม่สามารถเข้าใจประวัติศาสตร์ และ พัฒนาการของสมัยรัตนโกสินทร์ได้เลย ถ้าไม่กล่าวถึงบทบาทของชาวจีน คนเชื้อสายจีน และ วัฒนธรรมของจีนที่ปรากฏในเมืองไทย อิทธิพลของขงจ้ือยังมีส่วนท่ีสัมพันธ์กับสังคมไทยโดยผ่าน 3 ทางคือ (1) คนจีนอพยพ จะเป็นเรื่องของการถ่ายทอดพิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คน จนี ท่ีอพยพเขา้ มาน้ันส่วนใหญ่จะนับถอื พระพุทธศาสนา เต๋า และขงจ้อื (2) สถาบันการศึกษา จะเป็นเรื่องของการถ่ายทอดหลักปรัชญาโดยตรงซ่ึงอยู่ใน รปู แบบของการศกึ ษา และงานวจิ ัยทางวชิ าการ (3) งานวรรณกรรมท่ัวไป จะมีทั้งหลักปรัชญาโดยตรง และอาจสะท้อนออกมาในรูป ของจารตี ประเพณีผสมกับคําสอนซ่ึงส่ิงดังกล่าวจะอยู่ท่ีการแสดงความกตัญํูต่อบรรพบุรุษ (การไหว้ เจ้าตามเทศกาลตา่ ง ๆ) ความซ่ือสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงาน ในท่ีสุดได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติของ ชาวจีน เชน่ เทศกาลตรุษจีน เป็นตน้ นอกจากนี้ยังมีส่วนได้รับอิทธิพลทางงานศิลปะ ส่วนนี้จะออกมาในรูปแบบของภาพเขียนใน รูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการออกแบบเสื้อผ้า และเคร่ืองประดับรวมไปถึงจิตรกรรมท่ีเป็นศิลปะของ ชาวจีนอีกด้วย
147 ด้านเศรษฐกิจ เป็นทที่ ราบกนั โดยท่ัวไปว่า นกั ธรุ กิจชาวจนี ส่วนใหญ่มกั จะประสบความสําเร็จ ดว้ ยความขยันหม่ันเพยี ร และความอดทนอยา่ งไรกต็ ามการท่ีนักธุรกิจจีนประสบความสําเร็จนอกจาก จะอาศัยคุณธรรมดังกล่าวแล้วยังมีการทํางานในรูปแบบของครอบครัวหรือกลุ่มใหญ่ท่ีพยายาม ส่งเสริมกันท้ังในส่วนของเงินลงทุนและกิจกรรมแห่งความกตัญํูท่ีมีต่อบรรพบุรุษอันถือเป็นความ รุ่งเรืองอย่างแท้จริงชาวจีนทําให้ธุรกิจในประเทศนั้นมีการขยายตัวหรือเจริญรุ่งเรืองเช่นดังประเทศ ไทยมีนักธุรกิจชาวจีนเช่นเดียวกับประเทศอ่ืนๆ ท่ัวโลก แต่ทั้งนี้ต้องยอมรับมีอิทธิพลทางคําสอนของ ขงจอ้ื อยู่พอสมควรท่นี ับได้ว่าเปน็ วิถชี ีวิตของชาวจีน 2.3.6 ปรชั ญาการเมืองของขงจือ้ ที่มีอทิ ธิพลดา้ นการเมืองในโลกปัจจุบัน แม้ปรัชญาการเมืองของขงจื้อจะไม่มีอิทธิพลครอบคลุมประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง ของจีนท้ังหมดแต่แนวความคิดก็เบ่งบาน และส่งอิทธิพลถึงระบบการเมืองการปกครองของจีนหลาย ยุคสมัยโดยเฉาะตั้งแต่สมัยช่วงหลังการล่มสลายของราชวงศ์ฉินเป็นมากระทั่งถึงการท่ีจีนมีการ เปล่ียนแปลงการปกครองแม้บางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์จะขึ้นจะลงบ้างเน่ืองเพราะอิทธิพล ของแนวคิดระบบอ่ืนแต่คําสอนของขงจ้ือก็ไม่เคยสูญหายไปจากประวัติศาสตร์การเมืองของจีน จึง กลา่ วไดว้ ่า ลทั ธิขงจอื้ จึงได้ครองตําแหนง่ สงู สดุ แหง่ การเป็นลทั ธทิ ถ่ี กู ต้องทางปรชั ญาในระบบการเมือง และวัฒนธรรมจนี อนึ่ง เมื่อพจิ ารณาถึงหนา้ ท่หี ลักที่สําคญั ทผี่ ู้ปกครองจะต้องทําก็คือ การพิจารณาถึง ความเป็นอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนเป็นพ้ืนฐาน ย่ิงกว่าน้ัน คุณธรรมเรื่องความกตัญํูก็ถูกนํามา เชอื่ มโยงกับการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะในกรณีช่วยปูองกันการเปล่ียนแปลงในลักษณะที่ขัดกับ เจตนารมณ์ของบรรพชน ดังคําอธิบายตอนหนึ่งว่า “ประเพณีท่ีบุตรจะต้องมีความกตัญํูต่อบิดา มารดาน้ัน เป็นเร่ือทางการเมืองอย่างชัด ๆ ทีเดียวในฐานะท่ีเป็นกําลังฝุายอนุรักษ์นิยมท่ีมีอํานาจอยู่ ในราชสํานกั ความกตญั ํทู ่ีบตุ รจะตอ้ งมีต่อบดิ ามารดน้ีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นเรื่องกีดขวางการปฏิรูป สถาบันได้อย่างชะงัดทีเดียว ผู้ท่ีชอบเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถเลิกล้มสิ่งท่ีราชวงศ์ได้เคยประพฤติ ปฏิบัติมาก่อนแล้วได้ง่าย ๆ เลย เพราะถ้าหากว่าทําเช่นนั้น ก็จะกลายเป็นว่าไม่มีความกตัญํูต่อ บรรพบุรุษของจักรพรรดไิ ป” เม่ือกล่าวถึงระบบการเมืองตามปรัชญาขงจ้ือมักจะนึกถึงระบบศักดินา หรือระบบขุนนาง ป๎จจุบันประเทศจีนได้เปล่ียนแปลงการปกครองไปแล้วทําให้ชวนสงสัยว่าอิทธิพลทางการเมืองของ ขงจ้อื จะหมดตามไปดว้ ย หรอื ไมน่ นั้ ความจรงิ หาเปน็ เช่นน้ันไม่ ทั้งนเ้ี ม่ือศึกษาโดยละเอียดแล้วจะเห็น ได้ว่า อิทธิพลทางด้านเมืองของขงจื้อไม่ได้หมดไปด้วยเลย ดังจะเห็นได้จากช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ดร.ซุน ยัต-เซน ได้ทําการปฏิรูปการปกครองโดยชูประเด็นเร่ืองประชาธิปไตยข้ึนในจีน ข้อสังเกตที่ น่าสนใจก็คือ ดร.ซุน ยัต-เซน เองก็ได้ยอมรับว่าแหล่งสําคัญทางความคิดของตนเก่ียวกับ ประชาธปิ ไตยกค็ ือ ขงจ้ือนน่ั เอง นอกจากนย้ี ังมปี ระเดน็ ทีม่ ีความสาํ คญั ตอ่ ระบบการเมืองการปกครอง ดังน้ี
148 ก. ความซื่อสตั ย์สุจริตของนกั การเมอื ง ความซ่ือสัตย์สุจริตต่อหน้าท่ีของนักการเมืองซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีอํานาจส่วนน้อย และท่ีทําหน้าที่ ในการปกครองประชาชนทั้งประเทศ ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะเพราะการทุจริตโดย อาศัยอํานาจหน้าที่อย่างชอบธรรม ทําให้สังคมโลกพยายามเรียกร้องให้ผู้ทําหน้าท่ีปกครองในระดับ ต่าง ๆ ได้กลับมาทบทวนถึงป๎ญหาดังกล่าว อันจะทําให้การบริหารและการบริการให้ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นไปด้วยความยุติธรรม ส่ิงที่ได้กล่าวในเบ้ืองต้นนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าหากผู้นํา หรือนักการเมืองไม่มีความตระหนัก และถือปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งในระดับผู้นําของประเทศ เพราะ ลาํ พังกฎหมายคงไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดคุณธรรมเหล่าน้ีได้ แต่ในทางตรงกันข้ามอาจก่อให้เกิดการ แย่งชงิ ทรัพยากร และก่อใหเ้ กดิ การเบียดเบียนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ดังท่ีพระธรรมปิฎก (พระพรหม คุณาภรณ์) ไดก้ ล่าวคาํ ปราศรยั ในวนั รับรางวบั การศึกษาเพ่ือสนั ติภาพ ประจําปี 2537 ของยูเนสโก ณ กรงุ ปารีส เม่อื วนั ที่ 20 ธันวาคม 2537 ว่า “การแสวงหาความสุขภายนอกอย่างน้ัน ประกอบด้วยการ แก่งแย่ง ช่วงชิงซ่ึงไม่เพียงแต่จะทําให้เราเกิดความขัดแย้งกับเพ่ือนมนุษย์เท่านั้นยิ่งกว่าน้ัน เน่ืองจาก ความสุขแบบนี้ต้องขึ้นต่อการเสพวัตถุเพียงอย่างเดียวจึงทําให้เราต้องฝากความสุขไว้กับวัตถุบํารุง บาํ เรอภายนอกมากยง่ิ ขึน้ แล้วกท็ ําใหเ้ ราสญู เสียอสิ รภาพ ” แม้คุณธรรมอาจไม่ใช่สิ่งท่ีวัดสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมก็จริงแต่ในความเป็นจริงป๎ญหา บางอย่างในสังคมโลกมีความจําเป็นต้องใช้ทุนทางคุณธรรมซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนานาประเทศมา เปน็ เคร่อื งมือในการตอ่ รองทางการเมอื ง เชน่ การเจรจาเพ่อื สนั ติของทูตในประเทศต่าง ๆ เป็นต้น แต่ ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศได้ใช้คุณธรรมซึ่งทุนทางสังคมบาง ประการมาร่วมแกป้ ญ๎ หาในระดบั ชุมชนรากหญา้ ใหม้ ากย่ิงข้ึน ข. สิทธิหน้าทีแ่ ละเสรภี าพของประชาชน ปจ๎ จบุ นั เรอ่ื งดังกลา่ วได้ถูกหยิบยกข้ึนมาเสนอในเวทีการเมืองโลกในหลายกรณี เพราะอย่าง น้อยที่สุดก็เป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้มีอํานาจบางส่วนของโลกได้คํานึงถึงความเป็นมนุษย์หรือสิทธิ มนษุ ยชนทีป่ ระชากรของโลกควรจะไดร้ ับตามความเหมาะสม ด้วยการออกกฎหมายที่ไม่ลิดรอนสิทธิ และเสรีภาพในการดําเนินชีวิตของประชาชน หรือเป็นไปเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหน่ึงอย่างไรก็ตาม นักการเมืองนักปกครองและประชาชนท่ีใฝุปรารถนาจะแก้ป๎ญหาของสังคมมนุษย์อย่างแท้จริงและ หวังที่จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์น่ันเอง จะต้องเป็นผู้มองการณ์ไกลไม่ใช่มองอยู่ที่ป๎ญหา เฉพาะหน้าในการด้ินรนตอ่ สู้เพื่อสิทธิเสรภี าพ และความเสมอภาคในบัดน้ีเท่านั้นแต่จะต้องเตรียมวาง แนวทางสําหรับการแก้ป๎ญหาระยะยาวให้พร้อมไว้แต่เนิ่นๆทีเดียวดังนั้น ผู้ปกครองบ้านเมืองและ ประชาชนที่ดีจะต้องคํานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนดังที่ขงจ้ือได้กล่าวว่า “สิ่งใดที่ประชาชน พอใจ เราจงพอใจ สิ่งใดท่ีประชาชนเกลียดชัง เราจงเกลียดชัง ผู้ใดทําได้อย่างน้ีจึงชื่อว่าเป็นบิดา มารดาของประชาชนผูท้ ี่ไดป้ ระชาชนไว้ กเ็ ทา่ กับไดร้ ฐั ไว้ผู้ละทงิ้ ประชาชนก็เท่ากบั เสียรัฐไป”
149 สรุปแนวคิดทางการเมอื งของขงจ้ือ จากการที่ได้ศึกษาปรัชญาการเมืองของขงจื้อ ทําให้ทราบว่าแนวความคิดทางการเมืองการ ปกครองของขงจ้ือว่า ส่วนใหญ่เป็นแนวความคิดแบบมนุษยนิยม (Humanism) กล่าวคือ มนุษย์มี ศักยภาพมากเพียงพอในการทจี่ ะสรา้ งสรรค์ตนเอง และสังคมให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้ โดยเน้นให้ทุก คนได้ทําตามบทบาทหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์แบบ ทั้งน้ีเพื่อประโยชน์เก้ือกูลของสังคมส่วนตัวใน ระดับครอบครัว และสังคมส่วนรวมในระดับประเทศชาติได้เป็นอย่างดีตามทัศนะการเมืองการ ปกครองของขงจ้อื สามารถพิจารณาในประเดน็ ต่าง ๆ ดงั นี้ 1. ด้านนโยบาย จะต้องสามารถแก้ไขป๎ญหาความเดือดร้อนของประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะด้านความอยู่ดีกินดี และการสร้างความเสมอภาคด้านสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนได้ เป็นอย่างดี 2. ด้านผู้ปกครอง ต้องมีความรู้ความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้แทนปวงชน และ สามารถจะดําเนินตามนโยบายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยคํานึงถึงบริบทของแต่ละสังคมท่ีเป็นพลัง แห่งการพัฒนาประเทศชาติทงั้ นกี้ เ็ พือ่ ความผาสกุ ของประชาชนเป็นหลัก 3. ด้านประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้กับ ประเทศโดยจัดให้มีการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบรวมไปถึงการศึกษาตามวิถีชีวิตเพราะขงจ้ือ เช่ือว่าการศึกษาจะสามารถพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดําเนินชีวิตอย่างเป็นปกติ สขุ ได้ 4. ด้านคุณธรรม มนุษย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้สร้างสรรค์ระบบคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม อย่างมีจิตวิญญาณโดยเปน็ การสง่ เสรมิ สิทธิ และเสรภี าพที่มนษุ ยค์ วรจะได้รับจากมนุษยด์ ว้ ยกันเอง ด้วยเหตุดังกล่าวน้ีจึงมีเห็นว่า ปรัชญาเอเชียทั้งหมดนอกจากมีความเป็นทฤษฏีแล้วยังต้อง นําไปประพฤติปฏิบัติ และพัฒนาชีวิตให้สูงสุด ขงจ้ือแม้จะเป็นนักปรัชญาจีนท่ีมีแนวความคิดทาง ปรัชญาท่มี อี ทิ ธพิ ลตอ่ สังคมจนี อยู่เปน็ อนั มากยงั ไดใ้ ช้บทบาทหน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในเวลา น้ันสร้างระบบปรัชญาจากวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่จึงทําให้แนวความคิดทางปรัชญาทางปรัชญา การเมืองของขงจื้อได้รับการตอบสนองเชิงปฏิบัติโดยการเชื่อมประสานระหว่างนโยบายผู้ปกครอง ประชาชน และคุณธรรมเพ่อื ใหส้ อดคลอ้ งกับบริบทของประเทศท่คี วรจะเป็น 3.แนวคดิ ทฤษฎีการเมอื งของลทั ธิเต๋า (Taoism) ลทั ธเิ ตา๋ หรือ ศาสนาเต๋า (Taoism) เปน็ ปรชั ญา และศาสนาทีม่ ีต้นกําเนิดในประเทศจนี เน้น การใช้ชวี ติ กลมกลืนกบั เตา๋ ซึ่งเปน็ แนวคดิ หลกั ในสาํ นักปรัชญาจีนสว่ นใหญ่ แตใ่ นศาสนาเต๋า เต๋า
150 หมายถงึ ต้นกําเนดิ แบบแผน และสารัตถะของสรรพสง่ิ (Pollard; Rosenberg; Tignor, Elizabeth; Clifford; Robert ,2011 p., 164) ไม่เนน้ เร่ืองพธิ กี รรมซับซ้อน และระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้ลัทธิเต๋าในแต่ละนิกายจะ มคี าํ สอนด้านจรยิ ธรรมแตกตา่ งกัน แต่โดยท่ัวไปเน้นหลักการเดียวกันคือ \"อู๋เว่ย\" หรือ ความไร้เจตนา ความเป็นธรรมชาติ และความเรยี บงา่ ย กบั สมบัติสามประการ ได้แก่ ความเมตตา ความมัธยัสถ์ และ ความอ่อนนอ้ มถ่อมตน ลัทธิเต๋า หรือศาสนาเต๋ากําเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทาง จักรวาลวทิ ยาจากสาํ นักยินหยาง และแนวปฏบิ ตั ิตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อ้ี จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อ และคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจําศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮ่ัน ลัทธเิ ตา๋ ในจ๊กก๊กเริม่ มีองค์กร และพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงป๎จจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น ๒ นิกายหลัก คือ สํานักฉวนเจิน และสํานักเจ้ิงอี หลังสมัยของเล่าจ๊ือ และจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรม ศาสนาเต๋าต่าง ๆ จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้ัง และพิมพ์เผยแพร่ตามรับส่ังของจักรพรรดิจีน และเป็น ศาสนาประจําชาตจิ นี มาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จงึ ไมไ่ ด้อย่ใู นอปุ ถัมภ์ของราชสํานัก ป๎จจบุ นั ลทั ธเิ ต๋า หรือศาสนาเต๋าเปน็ หนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการใน ประเทศจนี และประเทศไตห้ วนั แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก (You-Sheng 2010, p, 300) แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจํานวนหน่ึงในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (https://th.wikipedia.org/wiki/ลทั ธเิ ต๋า, สืบค้นเมื่อ 20 สงิ หาคม 2562 ) 3.1 ความเขา้ ใจเบื้องต้น นอกจากสํานักขงจื้อแล้ว สํานักเต๋าถือเป็นอีกหน่ึงสํานักความคิดที่มีอิทธิพลต่อปรัชญาและ วัฒนธรรมจีน ปรัชญาสํานักน้ีก่อกําเนิดข้ึนในยุคคลาสสิกของจีนเช่นเดียวกับปรัชญาสํานักขงจื้อคือ ยุคชุนชิว และจ้ันกั๋ว (ยุคฤดูไม้ผลิ-ฤดูใบไม้ร่วง และยุคสงครามระหว่างรัฐ 722-221 ก่อน คริสต์ศักราช) สํานักเต๋าเรียกอีกอย่างหน่ึงว่า ปรัชญาเหลา-จวง (Lao-Zhuang Philosophy) เพราะ อา้ งองิ เนื้อหาปรัชญาจากคัมภีร์หลกั ของสาํ นกั นี้คอื เต๋าเต๋อจิง (มักเรียกอีกอย่างว่า “คัมภีร์เหลาจื่อ”) และ จวงจ่ือ อีกทั้งเพื่อแยกแยะความคิดทางปรัชญาออกจากพวกนิตินิยม (Legalism) ในยุคสมัย ราชวงศ์ฮั่นท่ีนําความคิดของสํานักเต๋ามาปรับใช้ ท่ีเรียกว่าแนวคิด “หวง-เหลา” (Huang-Lao) และ แยกออกจากสํานักเต๋าใหม่ (Neo-daoism) ในยุคสมัยหลังราชวงศ์ฮั่น ซ่ึงมีลักษณะของความเป็น ศาสนาเต๋าและได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา หัวข้อสารานุกรมนี้จึงเน้นให้ความเข้าใจปรัชญาของ สาํ นกั เตา๋ ในยุคคลาสสกิ เทา่ นน้ั คําว่า “สํานักเต๋า” (เต๋าเจีย) ไม่ได้มีท่ีมาจากการเรียกสํานักความคิดที่มีผู้ก่อต้ังสํานักอย่าง ชัดเจน เหมือนอย่าง “สํานักขงจ่ือ” “เต๋าเจีย” เป็นคําที่ซือหม่าเชียนนักประวัติศาสตร์จีน (200 ปี
151 ก่อนคริสตศักราช) ได้จัดกลุ่มสํานักปรัชญาจีนเป็น 6 สํานัก คือ สํานักขงจ่ือ (หรูเจีย) สํานักเต๋า สาํ นกั มั่วจ่ือ (ม่อเจีย) สํานักหยินหยาง สํานักนิตินิยม (ฝุาเจีย) และ สํานักหมิง (หมิงเจีย) เกณฑ์การ แบง่ ของ ซอื หม่าเชยี นยดึ ตามข้อเสนอเร่ืองศิลปะในการปกครอง มไิ ดแ้ บ่งตามนักปรัชญาผู้ก่อต้ังสํานัก เน่ืองจากในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นแนวคิดหวง-เหลาซ่ึงตีความปรัชญาของเหลาจ่ือในมุมมองของนักนิติ นิยม มีอิทธิพลในสมัยนั้น นักประวัติศาสตร์จึงนึกถึงเน้ือหาความคิดของหวง-เหลาเป็นหลักเมื่อใช้คํา ว่า “เต๋าเจีย” แต่ทั้งน้ีได้กําหนดให้เหลาจ่ือ (600 ปีก่อนคริสตศักราช) และจวงจื่อ (ประมาณ 375- 300 ปีก่อนคริสตศักราช) เป็นนักปรัชญาคนสําคัญของสํานักเต๋า และได้จัดหวยนานจ่ือ (ประมาณ 140 ก่อนคริสตศักราช) และเล่ียจื่อ (ประมาณคริสตศักราช 400) เป็นส่วนหน่ึงของคัมภีร์ในสํานักนี้ ด้วย อยา่ งไรก็ตาม เหตุผลหลักของการเรียกแนวคิดน้ีว่า “สํานักเต๋า” เป็นเพราะปรัชญาสํานักน้ีให้ ความสาํ คญั กบั มโนทัศน์ “เต๋า” (วิถีหรือมรรควธิ ที ี่แท)้ เป็นหลกั มากกวา่ สาํ นักอ่ืน แม้ว่านักปรัชญาจีน ยุคคลาสสิกต่างมุ่งหาคําตอบว่าอะไรคือ “เต๋า” หรือมรรควิธีท่ีแท้ แต่ทั้งขงจ้ือ และมั่วจื่อ ต่างเน้นให้ คําอธิบายต่อมโนทัศน์ “เต๋า” ในเชิงเป็นวิถีมนุษย์เป็นหลัก ในขณะท่ีสํานักเต๋ามองมโนทัศน์ “เต๋า” เปน็ สามลักษณะคือ 1) เตา๋ ในฐานะเป็นวถิ มี นุษย์หรอื สงั คม 2) เทียนเต๋า หรอื วถิ ีธรรมชาติ และ 3) เต๋าอันยิ่งใหญ่ (Great Dao) หรือสรรพส่ิงที่กําเนิดขึ้นและดําเนินไปในจักรวาล ทั้งหมด สํานักเตา๋ เน้นใหค้ วามสําคญั กับเตา๋ ในแบบท่ีสอง และสามซ่ึงเป็นความเป็นจริงในเชิง อภปิ รชั ญา โดยมองวา่ การท่มี นษุ ยจ์ ะดาํ เนินชวี ติ ได้อยา่ งสอดคลอ้ งกลมกลืนกับเต๋าอันย่งิ ใหญจ่ ะตอ้ ง เข้าใจความเป็นจริงของวิถธี รรมชาติ และความสัมพนั ธ์ระหว่างมนุษยก์ บั โลก ในขณะที่สํานักขงจื้อ เนน้ เตา๋ ที่เป็นวิถมี นุษย์ หรือจรยิ ธรรมเป็นหลกั การที่สาํ นกั เต๋าถกเถยี งกบั สาํ นักขงจื้อในเรอื่ งความ หมายของ “เต๋า” กับ “เต๋อ” (คุณธรรมหรอื พลัง) นั้น มิได้ถกเถียงกันในแงก่ ารให้ความหมายเชงิ ภว วิทยา แตถ่ กเถียงกนั ในแง่ว่ามนุษยค์ วรจะตอบสนอง หรือมีปฏสิ มั พนั ธ์อยา่ งไรกบั มนุษย์ ปรากฏการณ์ และสง่ิ อืน่ ใดในโลกที่เปน็ บรบิ ทแวดล้อม และสัมพนั ธ์กับเรา สําหรบั สาํ นกั เตา๋ “เต๋า” จึงมใิ ชเ่ ป็นเพยี งความจรงิ บางอย่างที่ถูกคน้ พบ หากแต่เป็นทัง้ ทางทเ่ี ราเดนิ ตาม และทางท่ีเราถกู ปลอ่ ยไปตาม ดงั ทีจ่ วงจื่อ กล่าวไว้วา่ “อนั วถิ ที างจะเกิดขึ้นได้กเ็ พราะการเดินทาง” (ปกรณ์ ลมิ ปนุ สรณ์, 2450 หน้า ,36 ) การท่ีสํานักเต๋าเน้นการหวนกลับคืนสู่วิถีธรรมชาติและดูเหมือนมีท่าทีปฏิเสธสังคม พวกอัต นิยม (egoism) และกลุ่มที่หลีกล้ีสังคม จึงถูกจัดให้เป็นพวกสํานักเต๋าด้วย แต่ท้ังนี้ยังเป็นพวกเต๋า แรกเร่ิมซ่ึงยังไม่ได้พัฒนาความคิดเกี่ยวกับมรรควิธีอย่างชัดเจน นักปรัชญาของสํานักเต๋าที่พิจารณา
152 และให้คําตอบเชิงปรัชญาอย่างลุ่มลึกต่อป๎ญหาการจัดระเบียบสังคม การปกครอง และวิถีปฏิบัติใน การดําเนินชีวิตซึ่งเป็นป๎ญหาหลักในปรัชญาจีนยุคคลาสสิก คือ เหลาจื่อ และจวงจ่ือ แม้ว่าทั้งคู่จะ สนใจต่อความเป็นจริงสูงสุดหรือ “เต๋า” เหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างบางประการท่ีมีนัยสําคัญต่อ การศกึ ษาปรัชญาของทัง้ สอง คือ ท้ังเหลาจื่อ และจวงจ่ือมี “คู่สนทนา” หรือเปูาหมายในการถกเถียง โต้แย้งแตกต่างกัน การพิจารณาป๎ญหาเชิงปรัชญาบางประการจึงแตกต่างกันไปด้วย รวมทั้งวิธีการ เขียนคัมภีร์ก็แตกต่างกัน เหลาจ่ือเขียนเต๋าเต๋อจิงเป็นบทกวีสั้น ๆ ในลักษณะรําพึงรําพันผู้เดียว และ ม่งุ วพิ ากษ์วิจารณห์ ลกั การปกครองของสํานักขงจอ่ื ทใี่ ห้ความสําคัญกับจารีต วัฒนธรรม และคุณธรรม ต่าง ๆ เป็นหลัก ในขณะท่ีจวงจื่อเสนอปรัชญาของตนผ่านเรื่องเล่าท่ีในบางบทมีการสนทนาถกเถียง กัน และมีการใช้ภาษาที่เต็มไปด้วยวรรณศิลป์ท้ังอุปมาอุปไมย ปฎิบท และเร่ืองเล่าในเชิงขบขัน ประชดประชัน อีกท้ังจวงจ่ือมุ่งถกเถียงประเด็นเรื่องภาษา ความรู้ และความจริงกับนักปรัชญาสํานัก แห่งนามอย่างโดดเด่นโดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ฮยุ่ จื่อ สงิ่ ทีค่ วรพึงใส่ใจอกี ประการหนึ่งเมอ่ื ศกึ ษาปรชั ญาสาํ นกั เตา๋ คือ การมีกรอบความคิดว่า สํานกั ขงจื่อ และสํานักเต๋ามเี นือ้ หาความคดิ ท่ีตรงขา้ มกันเหมอื นขัว้ หยนิ -หยาง ภาพของสํานักเต๋าที่มัก เข้าใจกัน คือเป็นแนวคิดท่ีวิพากษ์ และเป็นส่วนเสริมปรัชญาสํานักขงจื่อ สํานักเต๋าจึงมักถูกมองว่า เป็นแนวคิดท่ีเน้นการไม่ตอบสนอง ให้ความสําคัญกับเพศหญิง รักความสันโดษ เน้นพัฒนาจิต วิญญาณ มีลักษณะเป็นรหัสลัทธิ และยึดถือวิถีชีวิตเฉกเช่นศิลปิน รวมทั้งมีท่าทีเชิงอนาธิปไตย วิมัติ นยิ ม สมั พทั ธนิยม และปฏิเสธสังคม ในทางตรงกนั ขา้ ม สาํ นักขงจ่ือมกั ถกู มองว่าเป็นแนวคิดท่ีเน้นการ สง่ั สอนคุณธรรม ยึดถือขนบจารีต และให้ความสําคัญกับการปกครองโดยอํานาจของกษัตริย์ และขุน นาง การมีกรอบความคิดว่าสองสํานักน้ีมีเน้ือหาความคิดท่ีตรงข้ามกันเหมือนข้ัวหยิน-หยาง เป็นการ ทําลายความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และซับซ้อนต่อปรัชญาท้ังสองสํานักนี้ อันท่ีจริงแล้วท้ังสองต่างมีพื้นฐาน ความคิดบางอย่างที่มีร่วมกันหรือใกล้เคียงกัน อาทิเช่น ท้ังสองสํานักต่างเน้นเร่ืองการขัดเกลาการ ฝกึ ฝนตน และมองการดาํ เนินชวี ิตในเชงิ สุนทรี นอกจากน้ี ยังให้ความสําคัญกับการแสวงหามรรควิธีท่ี เกี่ยวข้องกับชีวิตในโลกน้ีมากกว่ามุ่งหาความเป็นจริงท่ีเป็นนามธรรมและอุดมคติ อีกท้ังยังยอมรับ ลักษณะเฉพาะ และความสําคัญพื้นฐานของบุคคลในการมีส่วนร่วมกําหนดโลก โดยเล็งเห็น ความสัมพันธอ์ ยา่ งแยกไม่ออกของสิ่งแวดล้อม และบริบทที่ป๎จเจกบุคคลนั้นสัมพันธ์ด้วย เดวิด ฮอลล์ และโรเจอร์ เอมส์ (Hall, David and Roger T. 1998 ) เสนอว่าท้ังสองสํานักต่างเน้นแนวคิดเร่ือง “ความอ่อนน้อม” (deference) กล่าวคือ สําหรับสํานักขงจ่ือ แนวคิดนี้สะท้อนผ่านคุณธรรม ซู่ หรือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ในขณะที่สํานักเต๋าแนวคิดเร่ืองการอ่อนน้อม จะสะท้อนผ่าน อู๋เหวย หรือ การกระทาํ โดยไม่กระทํา อย่างไรก็ตาม สํานักเต๋า และสํานักขงจ่ือ มีความแตกต่างบางประการที่มีนัยสําคัญเช่นกัน พวกเตา๋ มองวา่ สํานกั ขงจ่อื เขา้ ใจมรรควิธีว่าเป็นวิถีแห่งมนุษย์ ซ่ึงเป็นการมองโลกโดยแบ่งแยกมนุษย์
153 กับธรรมชาติออกจากกันอย่างชัดเจน สํานักเต๋าจึงโต้แย้งสํานักขงจ่ือว่าไม่ได้ให้ความสําคัญกับโลก ธรรมชาติเท่าที่ควร จึงได้เน้นการขัดเกลา และฝึกฝนตนในบริบทของวัฒนธรรมหรือโลกมนุษย์เป็น หลัก แตส่ าํ หรับสํานกั เตา๋ การขัดเกลาฝึกฝนตนมิใช่กําหนดอย่างง่ายดายภายในบริบทของโลกมนุษย์ การดํารงอยู่ของมนุษย์ในกระบวนการทั้งหมดมิใช่จะถูกกําหนดโดยลดทอนเป็นเพียงคุณ ค่าและ เปาู หมายของมนษุ ยเ์ ท่าน้นั หากแต่จะต้องถอดถอนมนุษย์จากการเป็นศูนย์กลางในการกําหนดคุณค่า ความหมาย และหลกั ปฏิบตั ติ า่ ง ๆ แลว้ มีชวี ติ อย่างกลมกลนื กบั กระบวนการของโลกธรรมชาติ 3.2 มโนทัศนส์ าคญั ของปรชั ญาสานกั เตา๋ 1) เต๋า แม้ว่า “เต๋า” จะเป็นคําท่ีใช้ท่ัวไปในยุคคลาสสิกเพ่ือสื่อถึง “วิถี” “หนทาง” และ “การนํา ทาง” แต่สํานักเต๋าใช้คําน้ีเพ่ือสื่อถึงความเป็นจริงสูงสุดที่เป็นกระบวนการอันเป็นพลวัตของโลก ทั้งหมด และสอ่ื ถึง “วิถี” ธรรมชาติ สํานักเต๋ามองโลกว่าไร้ระเบียบและเป็นท่ีรวมความเป็นไปได้ของ แบบแผนต่าง ๆ การเข้าใจโลกจึงมิใช่การเข้าใจผ่านกฎวิทยาศาสตร์ที่สามารถนําไปอธิบาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้โดยอยู่บนโลกทัศน์ว่ามีความจริงสูงสุดเพียงหน่ึงเดียวท่ีอธิบายทุกส่ิงได้ (the One behind the many) การเข้าใจ “เต๋า” จะตอ้ งเขา้ ใจผา่ นกรอบความคิดเฉพาะบางกรอบ (เต๋อ) เสมอ ท้งั นี้เปน็ เพราะสํานักเต๋ารวมทั้งปรัชญาจีนยุคคลาสสิกท้ังหมด ไม่ได้มองจักรวาลในลักษณะที่มี ต้นกําเนิดมาจากอํานาจของผู้สร้าง (creation ex nihilo) และทุกส่ิงทุกอย่างดํารงอยู่และดําเนิน ภายในกฎเดียว (single-ordered world) หากแตม่ องว่าโลกธรรมชาตคิ ือทร่ี วมทุกสรรพส่ิง ซึ่งไม่อาจ แยกออกจากกันได้ และมีกระบวนการเคลื่อนไหวท่ีเป็นไปเอง โดยไม่ต้องมีกฎสากล หรือผู้กระทํา ภายนอกเป็นตัวกําหนด ด้วยเหตุนี้ ความต่อเน่ืองท่ีไม่อาจแยกออกจากกันได้ของสรรพสิ่งจึงทําให้ “เต๋า” เป็น “หน่ึง” เดียว ส่วนความแตกต่างของสรรพส่ิงในโลกทําให้ “เต๋า” มีความหลากหลาย และความเปล่ียนแปลงในโลกทาํ ให้ “เต๋า” เป็นกระบวนการท่มี ีการเปลีย่ นแปลงอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง นอกจากนี้ การท่ีนักปรัชญาจีนยุคคลาสสิกมองว่าเวลาไม่แยกออกจากปรากฏการณ์ หรือ สถานการณ์ทเ่ี กิดขน้ึ บนโลก ทาํ ใหแ้ นวคดิ เร่อื งการเป็นอมตะ ไม่ใช่ประเด็นท่ีนักปรัชญาจีนสนใจ การ หาความเป็นจริงท่ีอยู่เหนือกาลเวลาอย่างท่ีเพลโตหาในโลกของแบบ ไม่ปรากฏในปรัชญาจีนยุค คลาสสิก ด้วยเหตุนี้ “เต๋า” จึงไม่ใช่ความเป็นจริงเหนือกาลเวลาที่แยกต่างหากจากโลก หากแต่เป็น กระบวนการของการกลาย หรือการแปรเปลี่ยนภายในโลกทั้งหมด การท่ีสํานักเต๋าเสนอให้เราหวน กลับสู่ “เต๋า” หรือต้นกําเนิดของสรรพส่ิงจึงมิใช่การทําตัวให้อยู่เหนือกาลเวลา หากแต่คือการหลอม รวมกบั พลงั และทีม่ าของความเปลย่ี นแปลงในโลก การที่ท้ังเหลาจื่อ และจวงจ่ือมองว่า “เต๋า” เป็นความเป็นจริงสูงสุดที่ยากจะหยั่งถึง และไม่ สามารถให้นามได้ มิใช่หมายความว่ามนุษย์ไม่อาจเข้าใจความเป็นจริงนี้ได้เลย หากแต่เหลาจื่อ และ
154 จวงจื่อต้องการยํ้าเตือนว่าการเข้าใจ “เต๋า” ไม่อาจเข้าใจผ่านภาษาได้ทั้งหมด แม้ว่าท้ังคู่จะเข้าใจ ข้อจํากัดของภาษาในการส่ือความหมายของ “เต๋า” ก็จริง แต่ในเม่ือจําเป็นต้องใช้ภาษาสื่อความ ทั้ง สองจึงใชก้ ลวิธีทางวรรณศิลป์เพื่อใหผ้ คู้ นเขา้ ใจความเป็นจริงนี้ได้มากที่สุด สําหรับเหลาจื่อ “เต๋า” จะ ปรากฏผ่านกระบวนการกลายสภาพ (process of becoming) ของการมีสภาวะ (being) และไร้ สภาวะ (non-being) กล่าวคือ ทกุ สรรพสง่ิ จะต้องดาํ เนนิ ไปสภู่ าวะตรงข้ามเสมอ เช่น จากมืดไปสว่าง จากฤดูร้อนไปสู่ฤดูหนาว เป็นต้น ภาวะตรงข้ามนี้ไม่ใช่ข้ัวขัดแย้งหากแต่เป็นภาวะที่อิงอาศัยซ่ึงกัน และกนั ดังเช่นในเตา๋ เต๋อจิงบทท่ี 2 กล่าวถึงความน่าเกลียดอุบัติข้ึนเพราะมนุษย์รู้จักความสวย ความ ชว่ั อุบัตขิ นึ้ เพราะมนษุ ยร์ ้จู ักความดี และบทท่ี 11 กล่าวถึงประโยชน์ของ “การไร้สภาวะ” ว่าหากไม่มี ความวา่ ง หมอ้ ยอ่ มไม่อาจนาํ ไปใสน่ ํ้าได้ ล้อที่ไมม่ ชี อ่ งรูของดุมล้อ ย่อมไม่อาจใช้งานได้ เป็นต้น การ ทีเ่ หลาจอ่ื ใช้ปฎบิ ทในเต๋าเต๋อจิง เชน่ รปู ที่ไร้รูป สดับฟ๎งแต่มิอาจได้ยิน เป็นต้น ก็เพื่อสื่อให้เห็นว่าไม่มี สง่ิ ใดคงอยู่ในสภาวะใด ๆ นั้นโดยไม่มีการเปล่ียนแปลง สิ่งท่ีมีรูปย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะไร้รูป และ ที่มีรูปได้ก็เพราะมีความไร้รูปเกิดขึ้นด้วย การที่สรรพสิ่งดําเนินไปตามกระบวนการกลายของภาวะ หยิน-หยางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เหลาจื่อจึงกล่าวถึง “เต๋า” ในทํานองว่าเป็นต้นกําเนิดของสรรพส่ิง ดังท่ีในเต๋าเต๋อจิง บทที่ 42 บันทึกไว้ว่า “ธรรมวิถี (เต๋า) ก่อกําเนิดหนึ่ง หนึ่งก่อกําเนิดสอง สอง ก่อกาํ เนดิ สาม สามกอ่ กาํ เนดิ สกลส่ิง สกลสงิ่ ล้วนแบกไว้ซ่ึง ‘อิน’ (หยิน) และกอดไว้ซึ่ง ‘หยัง’ (หยาง) ประกอบดว้ ย ‘ปราณ’ (ชี)่ จนเกิด ‘ดุลยภาพ’ ” (ปกรณ์ ลมิ ปนสุ รณ์ , 2547 หน้า,84) อย่างไรก็ตาม การที่เหลาจื่อให้ภาพความเข้าใจอาการของ “เต๋า” ในเชิงอ่อน เช่น การใช้ สัญลกั ษณ์นํ้าทารก และเพศหญิงเพื่อส่ือถึงพลังของเต๋า มิได้หมายความว่า “เต๋า” คือความเป็นจริงท่ี เปน็ ข้วั “ไรส้ ภาวะ” เพียงอยา่ งเดียว ท้ังนี้เราต้องไม่ลืมว่า “การไร้สภาวะ” ก็ต้องอิงอาศัยกับ “การมี สภาวะ” ด้วย แต่ท่ีเหลาจ่ือให้ค่ากับพลังเชิงอ่อนก็เพราะการ “ไร้สภาวะ” เป็นความจริงพื้นฐานกว่า รุ่มรวยกว่า (ใช้ได้อย่างไม่จํากัด) และมีพลังสร้างสรรค์กว่า “การมีสภาวะ” น่ันเอง นอกจากนี้ ผู้คน มักมองไม่เห็น หรือไม่ให้ความสําคัญกับความเป็นจริงพ้ืนฐานน้ีจนกระท่ังให้ค่ากับการมีสภาวะ บางอย่างมากเกินไป เช่น ช่ือเสียง เกียรติยศ เหลาจื่อจึงเสนอให้มนุษย์หันมาหลอมรวมกับ “เต๋า” หรอื หวนคนื สู่ต้นกาํ เนิดด้วยการทาํ ตัวให้ “ไร้สภาวะ” หรือให้ค่ากับภาวะเชิงอ่อน เช่น ลดการกระทํา ลดความอยากความปรารถนา ลดความรู้ฝุายโลก เป็นต้น ด้วยเหตุน้ี สําหรับเหลาจื่อ “เต๋า” จึงมิได้ เป็นเพียงความเปน็ จรงิ เชิงอภิปรัชญาเท่าน้ัน แตร่ วมถึงวถิ ีปฏิบัติที่อาศัยอาการและพลังของ “เต๋า” ท่ี เป็นวิถีธรรมชาตเิ ปน็ แนวทางสาํ หรับการปฏิบตั ิของมนษุ ย์ ส่วนจวงจื่อมอง “เต๋า” เช่นเดียวกับเหลาจื่อ แต่จวงจ่ือแสดงความเข้าใจนี้ผ่านทัศนะท่ีมีต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ความรู้ และความจริง กล่าวคือ ความสามารถของมนุษย์ท่ีจะเอ่ยถึง “เต๋า” ในฐานะท่ีเป็นต้นกําเนิด และวิถีของจักรวาลข้ึนอยู่กับความสามารถของภาษาของมนุษย์ด้วย จวงจื่อกล่าวไวว้ า่
155 “สรรพสงิ่ นานากบั ตัวข้ากเ็ ป็นหนง่ึ เดยี วกนั ในเมื่อเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว การเอ่ยวาจาแก่กันจะ มไี ดฉ้ ันใด ในเมือ่ ได้เอย่ วาจากลา่ ววา่ เป็นหน่งึ เดยี วกันไปแลว้ การมิได้เอ่ยวาจาจะเป็นได้ฉันใด จํานวน 1 กับการกลา่ ววาจารวมกนั ได้เป็น 22 รวมกับ 1 ย่อมกลายเป็น 3 จากจุดน้ี หากสืบสาวดําเนินไป เรอ่ื ย ๆ แม้แตค่ ณิตกรผู้ปรีชาก็ยังมิอาจคํานวณถึงจุดจบได้ อย่าว่าแต่สามัญชนเช่นเราเลย ในเมื่อนับ จากความไมม่ ไี ปสู่ความมีอยูก่ ็ยังได้จาํ นวนเป็นถึง 3 เช่นนี้ การนับจากความมีอยู่ไปสู่ความมีอยู่ ก็ยิ่งมิ ต้องเอ่ยถึง จึงมคิ วรดาํ เนินการใด ๆ ปล่อยใหเ้ ป็นไปตามครรลองธรรมเถิด” (ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์, เร่ือง เดียวกนั หน้า, 44 ) คาํ กลา่ วของจวงจื่อดงั กล่าว ต้องการยํ้าเตือนว่าภาษามีข้อจํากดั และภาษาทําใหเ้ ขา้ ใจ คลาดเคลื่อนได้วา่ “เต๋า” มตี ัวตนหรือมีสภาวะอยา่ งแทจ้ รงิ ทง้ั น้เี พราะการใหน้ าม “เต๋า” ได้กาํ หนด ความมีสภาวะให้เกิดข้นึ ไปด้วย ดังท่จี วงจื่อกลา่ วไวว้ า่ “สรรพส่งิ มขี ้นึ ได้เพราะการขนานเรยี ก” (เร่อื ง เดียวกัน, หน้า 36) การเข้าใจ “เต๋า” อย่างถ่องแทจ้ งึ มอิ าจเกดิ ขึ้นได้ผา่ นการใชภ้ าษาเท่าน้ัน 2) เต๋อ “เต๋อ” มักถูกแปลว่า “คุณธรรม” ทําให้เข้าใจว่ามีความหมายเช่นเดียวกับ “คุณธรรม” ใน ปรัชญากรีก แต่ “เต๋อ” มีนัยเชิงจักรวาลวิทยาที่สัมพันธ์กับ “เต๋า” อย่างแนบแน่น “เต๋อ” ยังถูก แปลว่าเป็น “พลัง” ท่ีทําให้กิจต่างๆประสบความสําเร็จ “เต๋อ” จึงเป็นความสามารถท่ีจะแสดง หรือ ปฏิบัติตามมรรควิธีอย่างถูกต้องและงดงาม ความสามารถนี้รวมท้ังความสามารถที่ผ่านกระบวนการ ขัดเกลาตนและทไี่ ม่ต้องผ่านการเรยี นรู้ “เต๋อ” จึงอาจเปน็ ได้ท้งั สงิ่ ท่ตี ิดตวั มาแต่กําเนิด หรือเพ่ิมพูนได้ ภายหลัง นอกจากนี้ “เต๋อ” เปน็ มโนทัศน์ท่ีจะต้องเข้าใจควบคู่กับ “เต๋า” เพราะหากมองในภาพใหญ่ แล้ว “เต๋า” คือกระบวนการท่ีเป็นพลวัตของโลกท้ังหมด และเป็นที่รวมของส่ิงเฉพาะมากมาย ซ่ึงแต่ ละส่ิงเหล่าน้ีต่างมี “เต๋อ” ของตน แต่หากมองในภาพย่อยผ่านมุมมองของป๎จเจกบุคคลแล้ว “เต๋อ” ของคน ๆ น้ันจะตอ้ งพฒั นา หรือเพิ่มพนู ภายในบริบท หรือส่ิงแวดล้อมที่ส่ิงนั้นสัมพันธ์ด้วยเสมอ หาก มองในกรอบของปรัชญาสํานักขงจื่อแล้ว “เต๋อ” ของป๎จเจกบุคคลจะพัฒนา และเพ่ิมพูนได้ภายใน สง่ิ แวดล้อมที่เปน็ ชมุ ชนมนษุ ย์ทง่ี ดงามเทา่ น้นั ในขณะท่ีสํานักเต๋ามองว่า “เต๋อ” ของมนุษย์จะเพิ่มพูน หากพัฒนาในบริบทของโลกธรรมชาติซึ่งย่ิงใหญ่กว่า ภาพความสัมพันธ์ของ “เต๋า” และ “เต๋อ” จึง เป็นในลักษณะท่ี “เต๋า” เป็น “สนาม” หรือ “พื้นท่ี” (field) ส่วน “เต๋อ” เป็นองค์ประกอบหรือ มุมมองบางอยา่ งที่ “เฉพาะเจาะจง” (focus) ซ่งึ อยู่ในสนามนัน้ ตัวอย่างตัวบทที่ทําให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง “เต๋า” กับ “เต๋อ” ดังกล่าวได้ชัดเจนข้ึนคือ บทสนทนาระหว่างจวงจอื่ และฮุ่ยจ่อื ริมแม่น้ําหาว “จวงจือ่ กับฮุ่ยจ่ือกําลังเดินเล่นริมฝ๎ง่ แม่นา้ํ หาว จวงจื่อกล่าวขน้ึ มาว่า ‘ดูปลาซิวโน่นสิ มันแหวก ว่ายไปมาตามใจชอบ น่ีคือสง่ิ ปลาชอบจริง ๆ”
156 ฮยุ่ จื่อโต้ตอบวา่ “ท่านมิใชป่ ลา ท่านรู้ไดอ้ ยา่ งไรว่าปลาชอบอะไร” จวงจอ่ื ตอบกลับวา่ “ทา่ นมิใช่เรา ท่านร้ไู ด้อยา่ งไรวา่ เราไม่รูว้ ่าปลาชอบอะไร” ฮุ่ยจ่ือตอบว่า “เรามใิ ช่ทา่ น เราย่อมไม่ร้วู า่ ท่านรู้อะไร แต่ในขณะเดียวกัน ท่านก็มิใช่ปลาอย่าง แน่นอน ซึ่งย่อมพิสูจน์ว่าท่านก็ไม่รู้ว่าปลาชอบอะไร” จวงจื่อจึงตอบกลับไปว่า “เรากลับไปท่ีคําถาม เดิมของทา่ นดกี ว่า ท่านถามเราว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าปลาชอบอะไร ดังนั้นแสดงว่าท่านรู้อยู่แล้วว่าเรารู้ เมื่อท่านตั้งคําถามน้ันเรารู้ได้โดยการยืนอยู่ท่ีนี่ ท่ีริมฝ่๎งแม่นํ้าหาว” (สุวรรณา สถาอานันท์, 2539 หน้า, 135-136) ในบทน้ี จวงจื่อไม่ได้ต้องการใช้ความกํากวมของภาษาเพ่ือโต้แย้งฮุ่ยจื่อ หากแต่ต้องการ แสดงให้เห็นข้อจํากัดของวิธีการทางตรรกะท่ีฮุ่ยจ่ือใช้ รวมทั้งต้องการปฏิเสธความเป็นภววิสัยของ ความร้ทู ่ีแยกโลกทีถ่ ูกรู้ (เตา๋ ) ออกจากตวั ผู้รู้ (เตอ๋ ) กลา่ วคือ ความรู้ที่จวงจื่อมีเป็นความรู้ที่มาจากการ สัมพันธ์กับสรรพส่ิงตามกรอบความคิดในแต่ละสถานการณ์ ท้ังจวงจ่ือ ปลา และฮุ่ยจื่อ ต่างเป็นส่วน หน่ึงในสถานการณ์ริมฝ่๎งแม่นํ้าหาว ความรู้ “จากท่ีน่ี” เป็นความรู้ท่ีจวงจ่ือ “ลืม” การแบ่งแยกสิ่งท่ี ถกู รู้ คอื ปลาและฮ่ยุ จ่อื กับผ้รู ูค้ ือตัวจวงจือ่ อนั เปน็ การเชื่อมโยงโลกของปลาและฮุ่ยจ่ือ เข้ากับโลกของ จวงจื่อท่ีมีกรอบความคิดในการมองโลกตรงริมแม้น้ําหาว ณ กรอบความคิดในการมองโลกริมแม่นํ้า หาว จวงจ่ือตีความหรือใช้จินตนาการสรุปว่าอาการแหวกว่ายของปลาแสดงว่าปลากําลังมีความสุข อีกทั้งเช่ือมโยงกับโลกของฮุ่ยจ่ือด้วยการใช้วิธีทางตรรกะตอบโต้ จวงจื่อจึงหลอมรวมความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งที่กําลังถูกรู้กับผู้รู้จนไม่มีการแบ่งแยก ทําให้โลกของจวงจ่ือกับโลกของปลา และ ฮุ่ยจ่ือ สัมพันธ์กันได้ จวงจื่อจึงได้ร่ืนรมย์ไปพร้อมกับความสุขของปลา รวมทั้งรื่นรมย์ไปกับการปะทะคารม กบั ฮยุ่ จือ่ การที่ฮุ่ยจื่อถามจวงจ่ือว่ารู้ได้อย่างไรว่าปลามีความสุขจริงหรือ แล้วจวงจื่อตอบว่ารู้จากที่นี้ ริมแม่นํ้าหาว จึงเป็นการบอกว่าความรู้เชิงข้อเท็จจริงบางอย่าง (ความรู้ท่ีว่าปลามีความสุขจริง ๆ หรอื ไม่ และความรู้ท่ีว่าจวงจอื่ รู้ หรอื ไม่ว่าปลามีความสุข) อาจไม่สําคัญเท่ากับความรู้ท่ีเราสัมพันธ์กับ สรรพส่ิงตามกรอบความคิดในแต่ละสถานการณ์ ความรู้แบบน้ีต่างหากท่ีสําคัญในการดําเนินชีวิตได้ อย่างรื่นรมย์ บทสนทนาน้ีจึงสะท้อนข้อเสนอของสํานักเต๋าเร่ือง “อู๋จื้อ” หรือการละทิ้งความรู้ฝุาย โลก (ความรู้ท่ีมุ่งจัดการและควบคุมโลก) และความรู้ที่แบ่งแยกโลกอย่างเป็นภววิสัยด้วย ซึ่งเป็น ข้อเสนอหนงึ่ ทส่ี าํ นกั เตา๋ เสนอใหม้ นุษย์มีท่าทเี ช่นนี้เม่ือสมั พันธ์กับโลก 3) อู๋เหวย นอกจากจะเสนอให้ละท้ิงความรู้ฝุายโลก และความรู้ท่แี บ่งแยกผู้รู้ออกจากส่ิงที่ถูกรู้อย่างเป็น ภววสิ ยั แล้ว สํานักเตา๋ ยงั มองว่าการละทิ้งความรู้ดังกล่าวในท่ีสุดแล้วจะทําให้มนุษย์ปฏิบัติต่อโลกด้วย การกระทําท่ีสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติที่เรียกว่า “อู๋เหวย” เป็นที่ถกเถียงกันมากว่า “อู๋เหวย” หมายความว่าอยา่ งไร คําว่า “อู๋” ในภาษาจีนหมายถึง “ไม่มี” แต่เมื่อพิจารณาควบคู่ทั้งสองคําแล้วผู้ แปลส่วนใหญ่มักตีความในเชิงเป็นข้อกําหนดในการปฏิบัติว่าเป็นการ “หลีกเล่ียงการกระทํา”
157 บางอยา่ ง ปญ๎ หาจงึ อยู่ท่ีคําวา่ “เหวย” ซึง่ อาจหมายถงึ ใหห้ ลกี เล่ียงการกระทําท่ีมีการไตร่ตรอง หรือมี จุดมุ่งหมายบางอย่าง หรืออาจจะหมายถึงหลีกเล่ียงการกระทําที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ การตีความ เชน่ นีพ้ จิ ารณาจากท่าทขี องสํานักเต๋าที่ปฏเิ สธสังคม และให้ความสาํ คัญกบั โลกธรรมชาติ ในภาษาไทยมักแปล “อู๋เหวย” ว่า “การไม่กระทํา” ซ่ึงอาจทําให้เข้าใจคลาดเคล่ือนได้ว่าอู๋ เหวยคือ การน่ิงเฉยไม่กระทําอะไรเลย ท่ีจริงแล้วอู๋เหวย คือการกระทําที่ “จ้ือหราน” หรือ “เป็นไป เอง” ซึ่งเป็นการกระทําท่อี อ่ นนอ้ ม ไม่แทรกแซงบังคับ ไม่ตอ้ งใช้ความพยายาม และไม่ใช่การกระทําท่ี ยืนกรานอะไรบางอย่าง (nonassertive) หากมนุษย์ปฏิบัติต่อสรรพสิ่งด้วยท่าที “อู๋เหวย” กิจต่างๆ จะสามารถดําเนนิ ไปได้เอง ดงั ท่ีเต๋าเต๋อจิง บทที่ 37 บนั ทกึ ไว้วา่ “ธรรมวถิ ี (เตา๋ ) ยอ่ มประกอบนริ กรรม (อู๋เหวย) เป็นนิจ โดยมิมกี ิจใดที่ไม่ประกอบ แมน้ ราชะผู้เปน็ เจา้ สามารถผดุงไว้ได้ สกลสิ่งย่อมผนั แปรไปดว้ ยตนเอง” (ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์. , 2547 หน้า,74) อู๋เหวยจึงเป็นการกระทําท่ีตระหนักถึงตัวตนในฐานะที่เป็นส่วนหน่ึง และต้องสัมพันธ์กับ สรรพส่ิง เมื่อเราพัฒนา “เต๋อ” ของเรา และดําเนินตามเปูาหมายท่ีวางไว้ ในขณะเดียวกันเราก็ต้อง ส่งเสริมเกื้อหนุนส่ิงต่างๆ รอบตัวด้วย ในเต๋าเต๋อจิง จะกล่าวถึง “อู๋เหวย” ในบริบทของการปกครอง เป็นหลัก โดยเสนอว่า “การปกครองโดยไม่ปกครอง” ถือเป็นศิลปะแห่งการปกครองสูงสุด ดังในเต๋า เต๋อจงิ บทท่ี 57 บนั ทกึ ไวว้ ่า “อริยมนษุ ย์จึงกลา่ วไว้ว่า ‘ขา้ มิกอปรกรรม ประชาธรรมก็บังเกิดเอง ข้ารักนิ่งสงบ ประชาก็พบครรลองเอง ขา้ ปราศจากกจิ ประชาก็บริบรู ณ์เอง ขา้ มปิ รารถนา ประชาก็เรียบงา่ ยพอใจเอง” (เรือ่ งเดียวกนั , หนา้ , 114) โดยทั่วไป “อํานาจ” การปกครองท่ีรัฐใช้ เป็นอํานาจที่เกิดข้ึนโดยใช้กฎหมาย และกําลัง บงั คบั เป็นเครื่องมอื ควบคมุ ประชาชน แต่สาํ นักเต๋าเสนอให้รัฐลดการใช้อํานาจดังกล่าว แล้วหันมาใช้ “อํานาจ” ท่ีเป็นพลังเชิงอ่อนแทน กล่าวคือ รัฐควรหยุดการกระทําท่ีเป็น “อํานาจ” ในเชิงควบคุม คุกคาม ขู่เข็ญ เช่น ลดการออกคําสั่ง กฎหมาย การทําสงคราม ข้อกําหนด มาตรฐานคุณค่าต่าง ๆ การยกย่องเชิดชูให้รางวัลและลงโทษ การส่งเสริมวิทยาการความรู้ท่ีทําลายวิถีชีวิตด้ังเดิมของ ประชาชน เปน็ ตน้ สาํ นกั เต๋ามองว่าหากรฐั ทําเชน่ น้ีไดส้ งั คม และประชาชนทั้งหมดจะค่อย ๆ หวนคืน สู่วิถีธรรมชาติดั้งเดิมของตนได้เอง ด้วยหลักการปกครองโดยไม่ปกครองนี่เอง เหลาจ่ือจึงจัดอันดับให้ ผู้ปกครองท่ปี ระชาชนเพยี งรูว้ ่ามีอยู่ เปน็ ผ้ปู กครองท่ีดีท่สี ุด ดงั เตา๋ เต๋อจงิ บทท่ี 17 บันทกึ ไว้วา่ “เบือ้ งบนชั้นวเิ ศษสดุ ผอู้ ยเู่ บ้อื งล่างเพยี งรวู้ ่ามอี ยู่ ระดับถัดมา เบื้องล่างรสู้ ึกสนทิ ใจ ระดับถัดมา เบ้ืองล่างแซซ่ อ้ งสดุดี
158 ระดบั ถัดมา เบอ้ื งล่างหวาดหวัน่ ยําเกรง ระดบั ถดั มา เบื้องล่างปรามาสหมน่ิ แคลน” (ปกรณ์ ลิมปนสุ รณ์. 2547, หน้า, 34) สง่ิ ที่น่าสงั เกตประการหน่ึง คอื นอกจากสํานักเต๋าจะเสนอให้มนุษย์สัมพันธ์กับโลกโดยการให้ ละท้ิง “ความรู้” และ “การกระทํา” บางอย่างแล้ว ยังให้ลด “ความปรารถนา” ด้วย ประโยคที่ว่า “ขา้ มิปรารถนา ประชาก็เรียบง่ายพอใจเอง” มิใช่หมายความว่าไม่ให้ปรารถนาส่ิงใด หากแต่เป็นการ ให้ลดความปรารถนาทจ่ี ะครอบครองควบคมุ นน่ั เอง ส่วนในจวงจ่ือกลุ่มบทในไม่ได้อธิบาย “อู๋เหวย” ในบริบทของการปกครองอย่างโดดเด่นเฉก เช่น เต๋าเต๋อจิง แต่จวงจื่อเน้นให้ความเข้าใจ “อู๋เหวย” ในบริบทของป๎จเจกบุคคล โดยอธิบาย ลักษณะและท่าทีของผู้ท่ีสามารถปฏิบัติ “อู๋เหวย” หรือสามารถสร้างความกลมกลืนระหว่างตัวตน การกระทํา และโลกที่สัมพันธ์ได้อย่างกลมกลืนเป็นธรรมชาติ ผ่านทักษะและลีลาการแล่เน้ือของพ่อ ครวั ติง (จวงจื่อ บทที่ 3) (เรอ่ื งเดยี วกัน, หนา้ , 60-64) เร่ืองราวของพ่อครัวติงน้ีทําให้เข้าใจมากข้ึนว่าจวงจ่ือมองการกระทําที่กลมกลืนกับธรรมชาติคือการ กระทาํ ที่มาจากทักษะซ่งึ สามารถ “ลืม” การแยกแยะจนกระทาํ ไดโ้ ดยไม่ต้องใช้ความพยายาม 3.3 การแปรเปลยี่ น การท่ีสํานักเต๋าเสนอให้มนุษย์สัมพันธ์กับโลกด้วยท่าทีอ่อนน้อมเป็นเพราะสํานักเต๋ามองว่า โลกไรร้ ะเบียบและสรรพส่งิ ตา่ งแปรเปลย่ี นอย่างต่อเน่ืองจนไม่อาจหาจุด “เร่ิมต้น” และ “ส้ินสุด” ได้ บทท่ีมีชื่อเสียงในจวงจื่อท่ีทําให้เข้าใจเร่ืองความแปรเปล่ียนอย่างโดดเด่นท่ีสุดคือ บทที่ว่าด้วยจวงจ่ือ ฝน๎ ว่าเป็นผเี ส้อื “ครงั้ หนง่ึ จวงจือ่ ฝ๎นว่าเป็นผีเส้ือ รื่นเริงลอยร่อนด้วยจิตวิญญาณแห่งผีเสื้ออันแท้ จะรู้ ว่ามีตัวตนของความเป็นจวงจื่ออยู่ก็หาไม่ และโดยพลันทันใดน้ันก็ต่ืนฟื้นคืนมาพบว่ามีจวงจื่อเป็น ตัวตนอยู่จริง จึงไม่แน่ใจว่าจวงจื่อฝ๎นเป็นผีเสื้อ หรือผีเสื้อฝ๎นว่าเป็นจวงจ่ือกันแน่ จวงจื่อกับผีเส้ือนั้น ย่อมมีตัวตนแยกต่างจากกัน นี่แลจึงกล่าวว่าสรรพส่ิงย่อมแปรเปลี่ยนสภาวะ” (เร่ืองเดียวกัน, หน้า ,59) โดยท่ัวไป ผู้ท่ีตีความว่าจวงจ่ือเป็นวิมัตินิยม (scepticism) มักใช้บทนี้อ้างเหตุผลสนับสนุน ความคิดดงั กล่าว กล่าวคือ จวงจื่อกําลังยืนยันถึงการไร้ความสามารถท่ีจะรู้ว่าอะไรเป็นโลกแห่งความ จริงและโลกแห่งความฝ๎น แต่ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าบทดังกล่าว ไม่ได้แสดงท่าที วิมัตินิยม การท่ีจวงจ่ือเห็นว่าทั้งจวงจ่ือ และผีเส้ือน้ันแตกต่างกัน และแยกแยะออกจากกันได้ แต่พอ ตื่นแล้วกลับยังไม่แน่ใจ ตรงนี้เองท่ีเป็น “การต่ืน” อย่างแท้จริง เพราะทําให้จวงจ่ือรู้ว่าสรรพส่ิงต่าง แปรเปล่ียนไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่าง และความหมายได้อย่างเด็ดขาดชัดเจน แม้กระท้ัง ตัวตนของเราเม่ือสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ในสถานการณ์ของ “ผู้ฝ๎น” และ “ส่ิงที่ฝ๎นถึง” ธรรมชาติ และ จักรวาลจึงเป็นการคละกันระหว่าง “การมีสภาวะ” กับ “การไร้สภาวะ” ซึ่งทําให้สรรพส่ิงมีความ
159 แตกตา่ งซึ่งมีลกั ษณะเฉพาะของมนั แต่ก็อย่รู ่วมกนั สมั พนั ธ์กันเป็นหนึ่งเดียว การท่ีมนุษย์แบ่งแยกและ ให้ความหมายแก่โลกได้เป็นเพราะข้อกําหนดของมนุษย์เอง แต่มนุษย์มักคิดว่ามโนทัศน์ในทางภาษา สะท้อนความเป็นจริงของโลก ด้วยเหตุน้ี เม่ือมนุษย์กระทําต่อโลกในแต่ละสถานการณ์ จึงทําไปโดย ตอบสนองต่อมโนทัศน์เหล่าน้ี แทนที่จะกระทําโดยลื่นไหลไปตามสถานการณ์ท่ีเป็นอยู่ การเข้าไป จัดการ ควบคุม แทรกแซง และแบ่งแยกอย่างเป็นภววิสัยจึงเป็นการทําลายมากกว่าสร้างสรรค์ ดังที่ จวงจ่ือกลา่ วไว้ในบทสุดทา้ ยของจวงจื่อ กลุ่มบทในวา่ “เจ้าครองสมุทรทักษิณมีนามว่า “สู” (ว่องไว) เจ้าครองสมุทรทางทิศเหนือมีนามว่า “ฮู” (ฉับพลัน) ส่วนเจ้ากลางเกษียรสมุทรมีนามว่า “หุนตุ้น” (ความไร้ระเบียบ) สูกับฮูมักจะไปชุมนุม สําราญกันในอาณาเขตของหุนตุ้น และที่ได้รับการต้อนรับดูแลเป็นอย่างดีเสมอ ท้ังสองจึงปรึกษาหา วิธีที่จะตอบแทนน้ําใจของหุนตุ้น ได้ข้อสรุปว่า มนุษย์ท้ังหลายล้วนมีทวารเจ็ดไว้สําหรับพิศชม ดม ดอม ดื่มกนิ และสดับฟ๎ง โดยทห่ี นุ ต้นุ หามีแท้แต่ทวารเดียวไม่ จึงควรท่ีจะช่วยกันเจาะทวารให้ ดังน้ัน สูกับฮูจึงช่วยกันเจาะทวารให้หุนตุ้นวันละทวาร พอครบเจ็ดวัน หุนตุ้นก็ถึงแก่ความตาย” (เร่ือง เดียวกัน, หน้า,167) อย่างไรก็ตาม อาจเกิดคําถามได้ว่า แม้โลกจะไร้ระเบียบก็จริง แต่ทําไมสํานักเต๋าไม่เสนอให้ จัดการกับความไร้ระเบียบนั้น คําตอบคือ โลกที่ “ไร้ระเบียบ” ในที่น้ีคือโลกที่รวมสรรพส่ิงซึ่งไม่ได้มี ความสอดคล้องท่ีจะหากฎเกณฑ์อะไรเบื้องหลังได้ หากจะจัดระเบียบแทนที่จะปล่อยให้เป็นไปเอง ตามธรรมชาติ ก็ต้องคัดเลือกกฎเกณฑ์ของบางส่ิงให้อยู่เหนือสิ่งอ่ืน ๆ แต่สํานักเต๋ามองว่ามนุษย์ไม่ได้ มีฐานทางญาณวิทยาท่ีจะยืนยันได้ว่าเกณฑ์ของมนุษย์ หรือของสรรพชีวิตอ่ืนใดมีความถูก-ผิด เหนือกว่ากัน ดังเช่นที่จวงจ่ือต้ังคําถามเพ่ือถอดถอนความเป็นศูนย์กลางทางญาณวิทยาของมนุษย์ไว้ ว่า มนุษย์ย่อมไม่ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ และท่ีสูงตามต้นไม้ แต่ทําไมปลากลับชอบอยู่ในโคลนตม และ ลิงกลับชอบห้อยโหนบนต้นไม้ ทั้งมนุษย์ ลิง และปลา ต่างมีกรอบความคิดของตน ใครเล่าคือผู้รู้ใน การแสวงหาที่อยู่ทถี่ ูกต้อง เป็นตน้ (เร่อื งเดียวกนั , หนา้ ,49) การที่จวงจ่ือต้ังคําถามท้าทายต่อกรอบความคิดของมนุษย์ดังกล่าว ทําให้เกิดการถกเถียงว่า จวงจื่อมีแนวคิดเช่นเดียวกับสัมพัทธนิยม (relativism) หรือไม่ หากเราเข้าใจสัมพัทธนิยมว่าเป็น แนวคดิ ทต่ี รงขา้ มกับสมั บูรณ์นิยม (absolutism) ทีย่ ืนยนั วา่ มีความจริงแท้เพียงหน่ึงเดียว ก็อาจกล่าว ได้วา่ จวงจอื่ ห่างไกลจากสมั พัทธนิยมดงั กลา่ ว เพราะแม้จวงจือ่ จะมองว่าการเข้าใจโลกจะต้องมองผ่าน กรอบความคิดในบริบทสถานการณ์เฉพาะเสมอ แต่จวงจ่ือก็ยังยอมรับว่ามีความจริงแท้ หรือเต๋าอยู่ (perspectival realism) นอกจากน้ี ในแง่ของการปฏิบัติสัมพัทธนิยมก็มิได้ยืนยันให้เราปฏิบัติตาม ทฤษฎใี ด ๆ แต่จวงจอ่ื เสนอให้มนษุ ย์มีทา่ ทีออ่ นน้อม กลมกลนื ลนื่ ไหลอย่างมีสุนทรีตอ่ สรรพสง่ิ ท่ีว่า “อย่างมีสุนทรี” น้ันมีนัยสําคัญย่ิง เพราะลักษณะอย่างหน่ึงของท่าทีที่อ่อนน้อมต่อสรรพ สิ่งคือ การมีอารมณ์ หรือจิต/ใจ (ซิน) ที่โปร่งเบา และรื่นรมย์ การมีจิต/ใจดังกล่าว เป็นท้ังเครื่องมือ
160 ช่วยปลดปล่อยเราให้หลุดพ้นจากพันธนาการของกรอบความคิด หรือการแยกแยะทางตรรกะอย่าง ตายตัว รวมทั้งเป็นเคร่ืองแสดงว่าเราได้สัมพันธ์กับโลกอย่างกลมกลืนแท้จริง ตัวอย่างเช่น ท่าทีต่อ ความตาย โดยทวั่ ไปแล้วความตายของบุคคลใกล้ชิดเป็นเร่ืองน่าโศกเศร้า แต่จวงจ่ือกลับแสดงให้เห็น วา่ ความตายมใิ ช่การสญู เสยี และไมใ่ ชก่ ารสนิ้ สดุ ความแปรเปล่ียนของสรรพส่ิงทําใหเ้ รามองความตาย ได้ว่าเป็นการเร่ิมต้นใหม่ตามกระแสดแห่งการเปล่ียนแปลงที่ดําเนินไปตลอดเวลา การตายอาจมิใช่ การสญู เสียอยา่ งแท้จริง การขบั ร้องเลน่ ดนตรีของจวงจื่อในพิธีศพของภรรยาจึงเป็นอาการของผู้ท่ีเข้า ใจความแปรเปลยี่ นของโลกอยา่ งมีอารมณ์สนุ ทรี 4.แนวคิดทฤษฎีการเมืองของอินเดยี ปรัชญาอินเดียตามความเข้าใจของบุคคลทั่วไปอาจหมายถึง ปรัชญาของผู้คนในประเทศ อินเดียหรอื ปรัชญาฮนิ ดู แต่โดยความเป็นจริงแล้วคําว่า“ปรัชญาอินเดีย”มิใช่เพียงหมายถึงปรัชญาท่ี ก่อกําเนิดในประเทศอินเดียเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงดินแดนรอบ ๆ อันได้แก่ ปากีสถาน บังคลาเทศ ภูฏาน สิกขิม อัฟกานิสถาน เนปาล และศรีลังกา และมิใช่เพียงปรัชญาฮินดูเท่านั้น แต่ยังรวมพุทธ ปรัชญา ปรัชญาเชน รวมไปถึงปรัชญาวัตถุนิยมด้วย หากมีคําถามว่าปรัชญาอินเดีย มีความเป็นมา อย่างไร และเร่ิมต้นข้ึนเม่ือไร คงต้องย้อนกลับไปเมื่อช่วง 1500 ถึง 700 ปีก่อนคริสต์กาล ซ่ึงเป็น ช่วงเวลาท่ีชาวอารยันผู้ใช้ภาษาสันสกฤตข้ึนมามีอํานาจ และมีบทบาทในดินแดนแถบที่ราบลุ่มแม่นํ้า สินธุ บ้างวา่ ชาวอารยนั นั้นอพยพเขา้ มา และมีชยั ชนะเหนือชาวดราวิเดียนชนพ้ืนเมืองเดิม บ้างว่าชาว อารยันอยู่ในดินแดนส่วนน้ีมานานแล้วเพียงแต่ขึ้นมามีอํานาจ ณ ช่วงเวลานี้ ในทางปรัชญาแล้วที่มา ของชาวอารยันน้ันไม่สําคัญเท่ากับสิ่งที่พวกเขานํามาด้วยนั่นคือคัมภีร์พระเวท เราจึงเรียกยุคนี้ว่ายุค พระเวท (The Vedic Period) คัมภีร์พระเวทมี 4 เล่ม ได้แก่ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท ในแต่ละพระเวทน้ัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนคือ สัมหิตา หรือ มันตระ เป็นบทสวดร้อยกรองใช้สําหรับสวด สรรเสริญเทพเจ้า พราหมณะ เป็นบทร้อยแก้วท่ีว่าด้วยระเบียบวิธีในการนําบทสวดที่กล่าวไว้ ในสัมหิตามาใช้ประกอบพิธีกรรม อารัณยกะ เป็นส่วนท่ีมีการอธิบายความหมายทางปรัชญาของการ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ และอุปนิษัท เป็นบทสรุปแห่งอารัณยกะ เป็นตอนท่ีประมวลแนวความคิด ทางปรัชญาท่มี ีอยใู่ นคมั ภีร์พระเวทไว้ทั้งหมด คัมภีร์อุปนิษัทนี้มีอิทธิพลมากต่อปรัชญา และความเชื่อ ในอินเดียสมยั ต่อมา ในทางปรชั ญาถอื วา่ คัมภรี พ์ ระเวทในสว่ นอุปนิษัทมีความสําคัญที่สุด เพราะมีการ ตอบป๎ญหาสําคัญอันเกี่ยวเน่ืองกับความหมายของชีวิต กล่าวคือ อุปนิษัทกล่าวไว้ว่า แก่นแท้ หรือ ตัวตนของมนุษย์ (อาตมัน) นั้นเป็นหน่ึงเดียวกับความจริงแท้สูงสุด (พรหมมัน) ชีวิตมนุษย์น้ันอยู่ ภายใต้กฎแห่งกรรม หากเราต้องการสิ่งดีๆในชีวิตเราจะต้องทําแต่ความดี และป๎ญญาสามารถนํา
161 มนษุ ยใ์ หห้ ลุดพน้ จากการเวียนว่ายตายเกิดได้ มันตระ และพราหมณะแห่งพระเวทรวมเรียกอีกอย่าง ว่า กรรมกาณฑะ เพราะเป็นส่วนที่ว่าด้วยการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ส่วนอารัณยกะ และอุปนิษัท น้นั รวมเรียกวา่ ชญาณกาณฑะ เพราะเปน็ สว่ นทีว่ ่าด้วยความรใู้ นสง่ิ ต่าง ๆ เน่ืองจากคัมภีร์พระเวทน้ีถือเป็นของศักด์ิสิทธิ์และสงวนไว้สําหรับคนบางกลุ่มบางวรรณะ เท่านั้น ผู้ท่ีมีสิทธิที่จะศึกษาพระเวทได้นั้นจะต้องผ่านพิธีกรรมอย่างหน่ึงท่ีเรียกว่า “อุปนยน” (Upanayana) พิธีกรรมนี้จะไม่อนุญาตให้ ศูทรและสตรีเข้าร่วม สตรีและศูทรจึงไม่มีสิทธิ์ท่ีจะศึกษา พระเวท แตต่ ่อมาเพื่อให้คนจํานวนมากได้มีโอกาสศึกษาและตอบสนองความต้องการของคนเหล่าน้ัน จงึ เกิดมหากาพย์อินเดียสําคัญสองเรื่องได้แก่ มหากาพย์มหาภารตะและมหากาพย์รามายณะ ซ่ึงเป็น ท้ังวรรณกรรมและคัมภีร์ทางศาสนาที่ทําให้คนทุกวรรณะในสังคมสามารถศึกษาได้ ดังจะดูได้จากใน รามยณะของวาลมกี ิ ทา้ ยบทที่ 1 ของ พาลกณั ฑ(์ balakanda) ท่ีจารึกไวว้ ่า “ผูใ้ ดอ่านเรอ่ื งรามายณะ ซ่งึ ศกั ดิส์ ิทธ์ิดจุ พระเวท จะพน้ จากบาปทั้งปวงและได้ไปเสวย สุขในสวรรค์กบั ญาติของตน ถ้าพราหมณ์อ่าน กจ็ ะถึงความเป็นเลศิ ทางวาทศิลป์ ถา้ กษัตริยอ์ ่านก็จะ เป็นเจา้ เหนอื ชนท้งั ปวง ถา้ ไวศยะอา่ น กจ็ ะทํามาค้าขึ้น และถา้ ศทู รได้ฟ๎งกจ็ ะมคี วามยงิ่ ใหญ่” (ศรี รางค์ พลู ทรัพย์, 2545 หนา้ ,67) ยุคน้ีมีความน่าสนใจอยู่ที่มหากาพย์เราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคมหากาพย์ (The Epic Period) เป็นช่วงเวลาประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาลถึง คริสต์ศักราช 200 ในยุคน้ีนอกจากจะมีมหากาพย์ สําคัญสองเร่ือง แล้วยังมีงานวรรณกรรมสําคัญอ่ืน ๆ เกิดข้ึนอีกด้วยได้แก่ คัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมนู เป็นคมั ภีร์ที่กล่าวถึงการวางระเบียบของมนุษย์และสังคม คัมภีร์อรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะเป็นคัมภีร์ ที่อธิบายเรื่องการแสวงหา และความสําคัญของป๎จจัยในการดํารงชีวิตโดยเฉพาะอย่างย่ิงอํานาจ ทางการเมือง
162 มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi) ภาพที่ 7.1 มหาตมา คานธี (อังกฤษ: Mahatma Gandhi) (ท่มี า : /Google/https://th.wikipedia.org) 5.แนวคดิ ทฤษฎีการเมืองของ มหาตมา คานธี (Mahatma Gandhi) เป็นผู้นํา และนักการเมืองท่ีมีชื่อเสียงชาวอินเดีย และศาสนาฮินดู มีช่ือเต็มว่า โมหันทาส กรรมจันท คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) เกิดเม่ือวันท่ี 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 ในแคว้น คุชราต ทางทิศตะวันตกของอินเดียมารดาของ คานธีเป็นภรรยาคนที่ 4 ของบิดาของคานธี มหาตมา คานธี ใน ค. ศ. 1863 เดือนพฤษภาคม คานธีมีอายุ 13 ปีได้สมรสกับเด็กหญิงชื่อกัสตูรบา ซ่ึงอายุ มากกว่าคานธี ประมาณ 6 เดือนซึ่งสาเหตุที่คานธีสมรสเร็วนั้น มาจากประเพณีท้องถ่ินท่ีนิยมให้เด็ก แต่งงานกันเร็ว ๆ คานธีมีความสุขกับชีวิตคู่มากคานธี และกัสตูรบา มีบุตร-ธิดา รวมกันทั้งสิ้น 5 คน แต่คนหนึง่ ได้เสียชวี ติ ลงต้ังแต่ยงั เป็นทารกทาํ ใหเ้ หลอื 4 คนใน ค.ศ. 1888 เป็นปีท่ีบุตรคนแรก (ไม่นับ คนที่เสียชีวิตขณะเป็นทารก) ของคานธีได้ถือกําเนิดขึ้นและเป็นปีที่ทางครองครัวได้ส่งคานธีไปศึกษา วิชากฎหมายที่อังกฤษ โดยก่อนจะเดินทางคานธีได้ให้สัญญากับมารดาว่าจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และสุรา และจะไม่ยุ่งเก่ียวเกาะแกะกับสตรี เพ่ือให้มารดาได้อุ่นใจแล้วเดินทางไปอังกฤษ เมื่อไปถึง องั กฤษคานธีพบปญ๎ หาใหญใ่ นการดําเนินชีวติ ในอังกฤษ นั่นคอื วฒั นธรรมมารยาทส่ิงปลูกสร้างต่าง ๆ ในองั กฤษน้ันไม่เหมอื นอนิ เดีย คานธตี อ้ งระวงั ตนในเร่ืองมารยาทซงึ่ จะมาทาํ ตามคนอินเดียเหมือนเดิม ไม่ได้ คานธีต้องปรับตัวบุคลิกต่าง ๆ ให้เข้ากับคนอังกฤษให้ได้ และนอกจากนี้ อาหารในอังกฤษที่
163 ไม่ใช่เนื้อสตั ว์นนั้ ในสมยั นัน้ รสชาตจิ ะจดื มากจะกินเนอื้ สัตวท์ ไี่ มค่ วรเพราะไดใ้ ห้สัญญากับมารดาไว้แล้ว ป๎ญหาด้านอาหารนั้นทุเลาลงเม่ือคานธีได้รู้จักอาหารมังสวิรัติ และได้ซ้ือหนังสือคู่มือสําหรับนัก มังสวิรตั เิ ข้า คานธจี ึงได้มวี ธิ ีรับประทานมงั สวริ ัตอิ ยา่ งเปน็ สขุ ในองั กฤษ ส่วนมารยาท และวัฒนธรรมก็ ตอ้ งค่อย ๆ ปรบั ตัวไป และในที่สดุ คานธีกส็ าํ เรจ็ การศกึ ษา และสอบได้เป็นเนติบัณฑิต และเม่ือได้เป็น เนติบัณฑิตแล้วคานธี เดินทางกลับสู่อินเดียใน ค. ศ. 1892 เพื่อประกอบอาชีพ ในปีเดียวกันคานธี กลับมาลูกคนที่สองของคานธีก็กําเนิดข้ึน แต่ในด้านอาชีพแม้จะประสบความสําเร็จในการศึกษา แต่ การประกอบอาชพี ในช่วงแรกของคานธีนั้น ประสบความยากลําบากตะกุกตะกักแต่แล้วไม่นานต่อมา คานธีก็ได้งานชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นตัวแปร สําคัญ ท่ีทําให้คานธี กลายเป็นนักการเมืองที่มีช่ือเสียงโด่งดังใน เวลาต่อมา งานนั้นคือ ให้ไปเป็นทนายความให้ลูกความในประเทศแอฟริกาใต้ ดังนั้นใน ค. ศ. 1893 คานธีได้เดินทางไปประเทศแอฟริกาใต้โดย เม่ือเดินทางไปถึงคานธี ได้ซ้ือตั๋วรถไฟชั้น First Class (ชั้นท่หี รหู ราสะดวกสบายทส่ี ดุ ค่าตวั แพงทีส่ ดุ ) ไปยงั เมอื งทลี่ ูกความต้องการแต่ทว่าผู้โดยสารช้ัน First Class ที่ผิวขาวไม่พอใจท่ีคนผิวคล้ําอย่าง คานธีมาอยู่ร่วมชั้น First Class กับพวกเขาจึงไปประท้วง บอกเจ้าหน้าท่ีเจ้าหน้าท่ีจึงเดินมาสั่งให้ คานธีย้ายตู้โดยสารไปโดยสารของ Third Class (ช้ันไม่ สะดวกไม่หรูหราแต่ค่าตั๋วถูกที่สุด) ทั้ง ๆ ท่ีคานธีเสียเงินซ้ือตั๋ว Fire Class มาอย่างถูกต้องคานธี จึง ปฏิเสธทําใหค้ วามขดั แย้งในรถไฟช้ัน First Class รุนแรงขนึ้ เรื่อย ๆ จนในที่สุดคานธีก็ถูกเจ้าหน้าที่รุม ทําร้าย และคานธีถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนออกมาจากรถไฟ โดยเจ้าหน้าท่ีต่างอ้างว่ารถไฟชั้นหนึ่งน้ี สรา้ งสาํ หรบั ผโู้ ดยสารผวิ ขาวเทา่ นน้ั เหตกุ ารณ์นี้ทําให้คานธีเศร้าเสียใจเป็นอย่างย่ิง และย่ิงเศร้ามาก ย่ิงขึ้นเมือ่ ร้วู า่ ชาวผิวคลา้ํ เกอื บทุกคนถูกเหยียดหยามจากชนผิวขาวในแอฟริกาใต้ นับแต่น้ันคานธีก็ได้ เข้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวคลํ้าในแอฟริกาใต้ และเมื่อคานธีรู้ว่าการต่อสู้คร้ังน้ีไม่จบ ง่าย ๆ จึงได้เดินทางไปอินเดียในค.ศ. 1896 เพ่ือพาครอบครัวมาอยู่ด้วยกันท่ีแอฟริกาใต้ และกลับสู่ อนิ เดียในต้นปี ค.ศ. 1897 และใช้ชวี ติ ครอบครัวตอ่ จนมีลกู กับภรรยาตอ่ อีก 2 คน ค.ศ. 1901 คานธีเดินทางกลับอินเดียเพ่ือกลับไปประกอบอาชีพต่อ แต่มีเสียงเรียกร้องจาก ชาวอินเดยี ในแอฟรกิ าใต้ให้มาช่วยด้วย คานธีเดินทางกลับไปยังแอฟริกาใต้เพ่ือต่อสู้กับป๎ญหาน้ีต่อใน ค.ศ. 1902 แต่ว่าการต่อสู้ของคานธี เมื่อคร้ังก่อนนั้นให้ผลไม่ดีเท่าไรนัก ดังนั้นในครั้งนี้คานธีใช้วิธี \"สัตยาเคราะห์\" ซ่ึงคือการไม่ร่วมมือในกฎที่ไม่ยุติธรรม โดยไม่มีการใช้กําลังซึ่งวิธีน้ีได้ผลดีมากทําให้ คานธีรู้ว่าการประท้วง โดยไม่ใช้กําลังน้ันให้ผลดีกว่าที่คิด จึงพบวิธีท่ีแน่นอน และได้ผลดีในการ เรยี กรอ้ งความยุตธิ รรม โดยคานธีได้อยู่เรียกร้องความยุติธรรมน้ีจนถึง ค.ศ. 1914 ก็เดินทางออกจาก แอฟริกาใต้ คานธีเดนิ ทางกลับมาถึงอนิ เดยี ท่ีเมืองบอมเบย์ในค.ศ. 1915 คานธีตัดสินใจละท้ิงการแต่ง กายแบบตะวันตกดังที่เคย และหันมาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบด้ังเดิมของแคว้นคุชราต และเม่ือ เดินทางกลบั มาถึงชาวอนิ เดียจํานวนมากไปชุมนุมต้อนรับคานธีกลับบ้านอย่างล้นหลาม ไม่ก่ีวันต่อมา คานธีเดินทางไปหารพินทรนาถฐากูรมหากวีแห่งอินเดีย และรพิทรนาถนี้เองได้ขนานนามคานธีว่า
164 \"มหาตมา\" อันแปลว่า ผู้มีจิตใจสูงส่งให้แก่คานธีเป็นคนแรก และหลังจากนั้นคานธีได้เดินทางไปทั่ว ประเทศอินเดีย เพ่ือจะได้ไปรู้เหน็ ความเปน็ จริงในอินเดียอยา่ งรู้จริงเป็นเวลารวม 1 ปี ค.ศ. 1916 คานธีเร่ิมก่อกลุ่มเคล่ือนไหวเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนอินเดีย และ เรียกร้อง โดยวิธีขอความร่วมมอื ผนึกกําลังคนละเล็กคนละน้อยจนเป็นพลังท่ีสั่นประเทศได้ ประกอบ กับในช่วงนั้นอินเดียเป็นเมืองข้ึนของอังกฤษทําให้ต้องมีการเรียกร้องสิทธิที่อังกฤษพยายามกดข่ีชาว อินเดียตัวอย่างเช่นใน ค.ศ. 1919 ได้มีการประกาศกฎหมาย Rowlatt ซ่ึงเป็นกฎหมายท่ีกดขี่ชาว อินเดีย คานธีจึงประกาศขอความร่วมมือว่าในวันท่ี 30 มีนาคมค.ศ. 1919 ขอความร่วมมือให้คน อนิ เดียหยดุ งานแลว้ ประชาชนเป็นล้าน ๆ คนก็หยุดงานในวันน้ันสั่นคลอนอํานาจรัฐบาลอังกฤษอย่าง ชัดเจน คานธี รู้สึกอัศจรรย์แต่ไม่นานก็พบข้อเสียของการใช้วิธีสัตยาเคราะห์กับสังคมขนาดใหญ่ ๆ อย่าง อนิ เดยี ข้อเสียนนั้ คอื มีบางแหง่ ทบ่ี านปลายเกดิ การต่อสูใ้ ช้กาํ ลงั รัฐบาลอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้าง ในการจับกุมตวั คานธไี ป แตเ่ มือ่ คานธีถูกจับกุมเมืองต่าง ๆ ก็เกิดความเคียดแค้น และวุ่นวายจนเกือบ กลายเป็นเหตุจราจลระดับประเทศ ซึ่งหลังคานที่ได้รับอิสระในวันท่ี 13 เมษายน ค.ศ. 1919 และได้ รบั รู้เหตุการณ์ที่เกดิ บานบานปลายน้ี คานธีรู้สึกเสียใจมากจึงประกาศอดอาหารตนเอง 3 วันแต่ในวัน น้นั เองเปน็ วนั นักขตั ฤกษ์ของอินเดียประชาชนนับพันคนไปรวมตัวสังสรรค์กันที่สวนสาธารณะชัลลียัน วาลา เมืองอมฤตสระ แต่ว่าในวันนั้นนายพล Dyer ผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษในอมฤตสระรู้สึก เคียดแค้นชาวอินเดีย และต้องการให้ชาวอินเดียรู้ถึงอานุภาพอังกฤษจึงออกคําส่ังให้กองทัพรัวปืนใส่ กลมุ่ ประชาชนในชลั ลยี ันวาลา ทาํ ให้มีผเู้ สยี ชีวิตประมาณ 1,500 ศพบาดเจ็บประมาณ 3,000 คนเป็น ปฏิบัติการทางทหาร ที่ทําให้รัฐบาลอังกฤษเส่ือมเสียเกียรติยศอย่างยากจะฟ้ืนตัว การต่อสู้เพ่ือคน อินเดียดําเนินไปอย่างต่อเนื่องแต่ใน ค.ศ. 1922 ได้เกิดเหตุใช้กําลังต่อสู้กันอีกคร้ัง คานธีถูกจับกุมอีก ครัง้ ในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ และถูกศาลตัดสินจําคุก 6 ปี แต่ถูกปล่อยตัวออกมาก่อนกําหนดเพราะ เหตุผลทางสุขภาพใน ค.ศ. 1924 และตั้งแต่ถูกปล่อยตัว คานธีก็หันไปแก้ไขป๎ญหาที่เกิดจาก ภายในประเทศก่อน เช่น ฟ้ืนฟูเศรษฐกิจชนบทแก้ไขป๎ญหาการถือชนช้ันวรรณะในอินเดีย ป๎ญหา ความขัดแย้งระหว่าง ศาสนาฮินดู กับ มุสลิม ป๎ญหาความไม่เสมอภาคของสตรี และป๎ญหาต่าง ๆ ท่ี ไม่ได้เกิดจากการกดขจี่ ากตา่ งประเทศ ค.ศ. 1930 คานธี หวนกลับสู่สังเวียนการเมืองอันเร่าร้อน เพราะต้องการประท้วงกฎหมาย อังกฤษ ทีห่ า้ มคนอนิ เดยี ทําเกลือกนิ เองเป็นสิง่ ทไ่ี ม่สมควรที่จะไม่ให้คนอินเดียใช้ทรัพยากรของอินเดีย โดยในวันท่ี 12 มีนาคม คานธีได้เริ่มการเดินทางไปยังชายทะเลในตําบลทัณฑ์พร้อมกับประชาชนนับ แสนคนท่เี ต็มใจไปกับคานธี คานธีเดินทางเป็นเวลา 24 วัน 400 กิโลเมตรก็ไปถึงชายทะเลคานธีบอก ประชาชนนับแสนให้ร่วมกันทําเกลือกินเอง ดังนั้น ในวันน้ันคานธี และประชาชนนับหนึ่งแสนคน ได้ ทําเกลือจากทะเลกินเองเป็นการฝุาฝืนกฎหมายที่อังกฤษตั้งไว้ ทางการอังกฤษได้ดันทุรังจับกุมคานธี และประชาชนนับแสนคนในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1930 ทําให้จํานวนแรงงานอาชีพในอินเดีย
165 หายไปเป็นจํานวนมาก ทําให้ระบบเศรษฐกิจ และระบบบริหารงานของรัฐบาลอังกฤษเกิดความ ป๎่นปุวนอย่างใหญ่หลวงจน กระทั่งต้องปล่อยตัวประชาชนออกมาเรื่อย ๆ และรัฐบาลอังกฤษ ได้ ปลอ่ ยตวั คานธีใน ค.ศ. 1931 และในปีนน้ั คานธถี กู เชิญตวั ไปร่วมประชมุ หารือกบั รฐั บาลองั กฤษ โดย มนี ายกรฐั มนตรอี งั กฤษในขณะนั้นเป็นประธาน การประชุมครั้งนี้ไม่ได้ผลอะไรมากนัก เม่ือคานธีกลับ อินเดียก็ถูกจับอีก และก็ถูกปล่อยตัวอีก และหลังถูกปล่อยก็ใช้เวลาไปพัฒนาชนบทอีก จนเมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งท่ี 2 ก็กลับเข้าสู่วงการเมืองอีก มีการเดินขบวนรณรงค์แล้วก็ถูกจับ ใน ค.ศ. 1942 อีก แต่ครั้งน้ีระหว่างอยู่ในคุก กัสตูรบา ภรรยาคานธีได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 แล้ว สักพกั ก็ถูกปล่อยตัวใน ค.ศ. 1945 ไดม้ ีการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศจะ ให้อินเดียได้ปกครองตนเองนับเป็นการที่อิสระของอินเดียอยู่แค่เอื้อมแล้ว แต่ว่าก่อนจะให้อิสระ อินเดียอังกฤษต้องหารัฐบาลชาวอินเดียท่ีจะปกครองอินเดียต่อจากอังกฤษในช่วงแรก ๆ ของการมี อิสระคร้งั ของอนิ เดียในยคุ แห่งเทคโนโลยี แตท่ ว่า ไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่ นบั ถอื ศาสนาฮินด)ู กับ สันนิบาตมุสลิมใครจะมาปกครองการใหอ้ สิ ระอนิ เดีย จึงต้องลา่ ชา้ ออกไป ค.ศ. 1946 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิม และฮินดูในอินเดีย จนเกิดเป็นเหตุนอง เลอื ดรนุ แรงไปทว่ั ทกุ หวั ระแหง คานธีรสู้ ึกเสยี ใจมาก ท่ีอินเดียอยู่แค่เอ้ือม แต่ยังไม่ทันได้อิสรภาพชาว อินเดยี ก็ทะเลาะกนั เองเสยี น้ี คานธีจงึ ได้หอบสังขารวยั 77 ปี ลงเดนิ เท้าไปยงั ภูมิภาคต่าง ๆ ในอินเดีย เพือ่ ขอร้องใหช้ าวอนิ เดียหันมาสามัคคีกันหยุดทะเลาะกันเสียที ประชาชนอินเดียเห็นคานธีทําเช่นน้ีก็ รู้สึกตัวเลิกทะเลาะกันทําให้เกิดความสงบในชนบทได้เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1947 ได้มีการเจรจาตก ลงระหว่างพรรคคองเกรสกับสนั นิบาตสาม เคยได้ผลสรุปคือ เมื่ออินเดียได้รับเอกราชจะแบ่งประเทศ เป็น ๒ สว่ นโดยให้พ้ืนที่ท่ีคนส่วนใหญ่เป็นคนฮินดูเป็นประเทศอินเดียของพรรคคองเกรสแล้ว พ้ืนท่ีท่ี คนส่วนใหญ่เป็นคนมุสลิมให้เป็นประเทศบากสถานปกครองโดยสันนิบาตมุสลิมในท่ีสุด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 อินเดียเป็นอิสระจากอังกฤษ โดยสมบูรณ์ และในวันน้ันอินเดียก็แตกเป็น 2 ประเทศคือ อินเดียของชาวฮินดกู ับปากีสถานของมสุ ลิม แต่ว่าท้องที่ ๆ คนส่วนใหญ่เป็นศาสนาหนึ่งก็ใช่ว่าจะไม่มี คนอีกศาสนาหน่ึงอาศัยอยู่เลย ดังน้ันผู้ที่อยู่ในอาณาเขตประเทศท่ีเป็นท้องที่ที่คนส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาตรงข้ามก็ต้องอพยพ กล่าวคือ ผู้ที่เป็นมุสลิมในอินเดียก็ต้องอพยพไปปากีสถาน และผู้ที่เป็น ฮินดูในปากีสถานก็ต้องอพยพมาอินเดีย ในวันนั้นท้ังสองประเทศจัดงานฉลองอิสรภาพคร้ังใหญ่แต่ คานธีไมเ่ ขา้ รว่ มพธิ ีฉลองอิสรภาพ แต่ไดเ้ ดนิ ทางไปยงั กลั กตั ตาเพราะได้ข่าวว่ามุสลิม และฮินดูยังรบสู้ กันอยู่ คานธีเดินทางไปถึงที่ กัลกัตตา และขอร้องแต่ไม่เป็นผล จึงประกาศอดอาหารอีก คร้ังน้ีได้ผล มุสลิม และฮินดูในกัลกัตตาเลิกรบกันทันที และให้สัญญาว่าจะไม่มีการรบแบบน้ีเกิดอีก คานธีจึง เดินทางกลับเมืองหลวงนิวเดลฮีในวันท่ี 13 มกราคม ค.ศ. 1948 คานธีต้องการไปปากีสถานเพ่ือ สมานฉนั ทก์ บั ชาวมุสลิมท้ัง ๆ ท่ีคานธีเป็นฮินดู สันนิบาตมุสลิมจึงคัดค้านการเข้าปากีสถานของคานธี เพราะเกรงจะเกิดอันตราย คานธีจึงประกาศอดอาหารอีกครั้งเพ่ือสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมกับฮินดูใน
166 วันท่ี 18 มกราคม ค.ศ. 1948 องค์กรประชาชนในนิวเดลฮีให้คําม่ันว่าจะพิทักษ์รักษาชีวิตทรัพย์สิน และศาสนาของชาวมุสลมิ อย่างเตม็ ท่ี คานธีจงึ กลับมากินอาหารอกี คร้ัง และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ในตอนเย็นขณะทีค่ านธีอยูก่ ลางสนามหญ้ากาํ ลงั สวดมนตไ์ หวพ้ ระตามกิจวัตรขณะที่คานธีกําลัง พูดวา่ \"เหราม\" แปลว่า \"ข้าแต่พระผู้เปน็ เจา้ \" นาถูราม โคทเส ชาวฮนิ ดูผคู้ ลั่งศาสนาไม่ต้องการให้ฮินดู สมานฉันทก์ บั มสุ ลมิ ได้ยงิ ปืนใสค่ านธี 3 นัดจนคานธลี ม้ ลง และเมื่อแพทยไ์ ดม้ าพบคานธี ก็พบว่าคานธี ได้ส้ินลมหายใจแล้วในวัย 78ปี สรปุ แนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองในป๎จจุบันล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมา จากปรัชญาการเมืองท่ี พัฒนาข้ึนในซีกโลกตะวันตกแทบท้ังสิ้น ทั้งที่การเมืองเป็นส่ิงท่ีดํารงอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกท่ีทั่วโลกจึง นาํ ไปสขู่ ้อสงสยั ว่าเหตใุ ดจึงไม่ปรากฏว่ามีการนําเอาแนวคิดปรัชญาการเมืองแบบตะวันออกมาใช้บ้าง ขณะท่ีแนวคิดทางการเมืองตะวันตกต่างมุ่งแสวงหาอุดมการณ์ ทางการเมือง และพยายามคิดค้น วิธกี ารปกครองอย่างมีประสทิ ธภิ าพด้วยการ สรา้ งหลกั เกณฑ์ ออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ แ ต่ แ น ว คิ ด อดุ มการณท์ างการเมืองของซีกโลกตะวันออก เชน่ ปรัชญาเต๋ากลับเห็นในทางตรงกันข้าม เต๋ากลับมุ่ง นําเสนอการปกครองท่ีสอดคล้องกับวิถีทางแห่งธรรมชาตินั่น คือ ผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครองไม่ แยกออกจากกัน ปรัชญาเต๋าจึงไม่ได้มุ่งแสวงหาอุดมการณ์ทางการเมือง และสร้างเสริมกฎระเบียบ ตา่ ง ๆ แตก่ ลบั ม่งุ แสวงหาความชอบธรรมในการปกครองนั่นเอง หลกั การของขงจ้ือ 1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยเน้นเรื่องความเสมอภาค แต่ขงจื๊อบอกว่าคนเรานั้นไม่ เทา่ กนั 2. แนวคิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเรื่องเสรีภาพ จะเน้นเร่ืองป๎จเจกบุคคล (Individualism) แต่แนวคดิ ของขงจื้อน้นั มองวา่ แตล่ ะคนเปน็ สว่ นหนึ่งของสังคม หากคนใดคนหน่ึงทํา ไม่ดีก็จะมผี ลกระทบต่อสงั คม มีคนบอกว่าแนวคิดของขงจ๊ือเป็นแบบหมู่คณะนิยม (Collectivism) ซ่ึง Aristotle ก็มองแบบนี้เหมือนกัน โดยมอง The Whole มากกว่าส่วนย่อย แต่แปลกท่ีคนมองว่า แนวคิดของ Aristotle สอดคลอ้ งกบั ประชาธิปไตย แต่แนวคิดของขงจื๊อไมส่ อดคลอ้ ง 3. Pluralism ประชาธิปไตยป๎จจุบันเน้นเรื่องความหลากหลาย ประชาธิปไตยในสมัย Socrates, Plato, Aristotle น้นั จรงิ ๆ แล้วเป็นเผด็จการโดยประชาชน ข้อเสียของประชาธิปไตยคือ เน้นปรมิ าณ (Quantity) ไม่ได้เน้นคณุ ภาพ (Quality)
167 ขงจื๊อเป็นนักคิดแนวอนุรักษ์นิยม ส่วนหน่ึงเพราะเขาเน้นจารีตประเพณี เน้นเรื่องความ รับผิดชอบ เน้นเรื่องหน้าท่ี มุ่งที่จะธํารงสังคม ภายใต้กรอบท่ีเขาเห็นว่าสวยงาม ในมุมมองของเขา อะไรคอื ตัวแบบในมุมมองของขงจื๊อคําตอบคือ ราชวงศ์โจวตะวนั ตก เป็นแบบฉบับของแบบแผนความ ประพฤติท่ีเขาอยากให้สังคมจีนเป็น ในยุคนั้นจีนมีแต่ความสงบเรียบร้อย ตัวของขงจ้ือยู่ในยุคโจวตะ วันออกทีม่ แี ตส่ งครามรบพุ่งกนั หลักการของเต๋า เต๋าเป็นลัทธิสําคัญลัทธิหนึ่ง แต่ไม่ไดร้ ับความนิยมกวา้ งขวางเท่าขงจ๊ือ เต๋าจะแพร่หลายในหมู่ ป๎ญญาชน และศิลปิน ตัวอย่างที่สะท้อนแนวคิดเต๋า เช่น ภาพวาดท่ีเกี่ยวกับธรรมชาติ ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น ขณะที่ขงจื๊อเน้นเร่ืองครอบครัว ความอบอุ่น ความอุดมสมบูรณ์ แต่เต๋า เน้นเรื่องธรรมชาติ ปุาเขาลาํ เนาไพร ต้นไผ่ และความสันโดษ 1. เน้นธรรมชาติ อาจเรียกว่าธรรมชาตินิยม สอนให้ต้ังคําถามเพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของ สรรพสิ่งต่าง ๆ เช่น คําถามเก่ียวกับท่ีไปที่มาของสรรพส่ิง การทํางานของสิ่งต่าง ๆ ว่ามันทํางาน อยา่ งไร ระบบการเมืองประกอบด้วยอะไร เป็นอยา่ งไร มีปญ๎ หาอะไร 2. สรรพส่งิ ตามธรรมชาติ มันขัดแย้งและตรงกันข้าม เช่น มีดี จึงมีช่ัว มีสูงจึงมีตํ่า มีขาวจึงมี ดํา มีเปิดจึงมีปิด มีหญิงจึงมีชาย มีกลางวันจึงมีกลางคืน แนวคิดนี้มีความสําคัญมากในทางรัฐศาสตร์ คนที่จะเรียนรัฐศาสตร์ให้ประสบความสําเร็จต้องเป็นคนที่ช่างสงสัย (Scepticism) ต้องมี Critical Mind 3. หลัก อู๋ เหวย เอ้อ จื่อ ปกครองโดยไม่ต้องปกครอง ซ่ึงตรงน้ีสอดคล้องกับวิชาว่าด้วยการ รบของซุนหวู่ คือ รบโดยไม่ต้องรบ หลักการอันน้ีเป็นหลักการอันเดียวกับหลัก Laisssez-Faire = Capitalism ทุนนิยม คอื ปล่อยใหเ้ ป็นไปตามธรรมชาติ รฐั อยา่ เข้าไปควบคุม อยา่ เข้าไปแทรกแซง มีคนมองว่าประเทศในเอเชีย ที่เศรษฐกิจไม่เจริญเติบโต เพราะไม่ได้รับอิทธิพลมาจาก ตะวันตก นักเขียนชื่อ A.T.NUYEN บอกว่าไม่ใช่ เพราะคนเอเชียไม่ใช่ไม่มีแนวความคิดแบบทุนนิยม แต่อาจเปน็ เพราะเหตอุ นั อื่น หลักการของมหาตมะ คานธี หนึ่งในมหาบุรุษของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 เป็นผู้แสวงหาความจริงปฏิบัติความจริงด้วย ความมุ่งม่ันตลอดชีวิตของท่าน จนให้ชื่อหนังสืออัตชีวประวัติภาคแรกของชีวิตที่เขียนโดยละเอียด ขณะอยูใ่ นคุกว่า “ข้าพเจา้ ทดลองความจริง” ท่านเก่ยี วขอ้ งกบั การเมืองโดยไม่มีตําแหน่งทางการเมือง ใด ๆ เป็นตัวแทนของภาคประชาชนของชุมชนของประชาสังคม ผู้ใฝุหาสันติภาพไม่ใช่ด้วยการใช้ ความรุนแรง แต่ด้วยอหิงสาไม่ว่าในกรณีใด ๆ ความมุ่งม่ันเช่นนี้ต้ังอยู่บนศรัทธาในศาสนาสัจธรรมที่
168 ท่านสมั ผัส และสอนผ้คู นรวมทงั้ นกั การเมืองท่านชอบเล่าเรื่องมหาภารตะให้บรรดานักการเมืองฟ๎งว่า ขณะที่อรชุนจะออกรบก็เกิดความลังเลพระกฤษณะทรงแปลงร่างเป็นสารถี และตรัสกับอรชุน ด้วย สารแหง่ สัจธรรมชีวิตซึ่งกลายเป็นปรัชญาที่สําคัญท่ีสุดของฮินดูคือ ภควัทคีตา น้ันเอง เมือฟ๎งสารแห่ง ชีวติ น้จี บอรชุน จงึ ออกรบมหาตมะคานธสี อนนกั การเมืองว่าอย่ามัวแต่คิดว่าจะได้ หรือจะชนะถึงค่อย ทาํ ขอให้ทําเพราะเป็นหน้าท่ีเป็นสิ่งท่ี ต้องทําไม่ว่าแพ้หรือชนะพูดอีกนัยหนึ่งอย่าสนใจ “ผลลัพธ์” ว่า จะแพ้ หรือชนะได้ หรือเสียแต่ให้ทําเพื่อหลักการแห่งความจริงความถูกต้องความเป็นธรรมนี่คือหลัก คดิ ของ \"จิตนิยม\" (idealism) ท่ีต่าง หรือแทบจะตรงกันข้ามกับ “ปฏิบัตินิยม” (pragmatism) อย่าง แรกเป็นแนวคิดแบบตะวันออก และแบบศาสนาต่างๆแบบเต๋าท่ีเป็นท้ังวิถี และเปูาหมายพร้อมกัน เปูาหมายกลายเป็นวิถีท่ีค่อย ๆ เป็นจริงในขณะท่ีปฏิบัติ แต่ปฏิบัตินิยมเน้นผลลัพธ์ (Output) ไม่ให้ ความสําคัญกับกระบวนการ (process) บางคนบอกว่ากระบวนการเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงาน ด้วยซ้ําสําหรับคนเหล่าน้ี \"Means justifies the end” คือ จะใช้วิธีไหนก็ได้ขอให้ได้ผลก็แล้วกัน จิต นิยมยึดม่ันในหลักการหลักคิดความจริงความถูกต้องปฏิบัตินิยมยึดมั่นในผลลัพธ์แบบ แมวขาว แมว ดําไม่สําคัญ ขอให้จับหนูได้ก็แล้วกัน อย่างท่ี เต้ิง เสี่ยว ผิง พูดถึงแนวทางของจีนยุคใหม่ที่กลายพันธุ์ จากขงจ้ือมาถึงเหมา แล้วผสมกับทุนนิยมกลายเป็นเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม (Socialist Market Economy) ซึ่งไมไ่ ด้มวี ญิ ญาณของขงจ้ือ ของเล่าจ้ือให้ไดส้ มั ผสั แมแ้ ต่นอ้ ย
169 คาถามท้ายบท 1. จงอธิบายปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการเมืองของซีกโลกทางตะวันออก มาพอ เข้าใจ? 2. จงอธบิ ายแนวคดิ ทฤษฎที างการเมอื งของจนี มีแนวคิดในลกั ษณะใดบา้ ง ? 3. จงอธบิ ายแนวคิดทางการเมืองของลทั ธขิ งจื้อ พร้อมทง้ั อธิบายมาพอสังเขป? 4. แนวคิดทางการเมืองของลัทธิเต๋ามีแนวคิดที่ตรงข้ามกับแนวคิดทางการเมืองทางซีกโลก ตะวันตกอยา่ งไรบา้ ง อธิบายมาพอสงั เขป ? 5. จงอธิบายแนวคิดทางการเมืองของอินเดียมาพอเข้าใจ และการต่อสู้ทางการเมืองมหาตะ มะ คานธี มลี กั ษณะเปน็ อยา่ งไร อธบิ ายมาพอสงั เขป?
170
บทท่ี 8 พทุ ธศาสนากบั แนวคิดทางการเมือง วัตถุประสงค์ประจาบท เมื่อศึกษาเน้ือหาในบทนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ 1. อธิบายเป้าหมายการศึกษาของพระสมณโคดม ขอบเขตการศึกษาของพระสมณโค ดมตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้ 2. อธิบายกาเนิดสังคม รัฐบาล และวรรณะตลอดจนถึงการปกครองตามแนวทาง พระพุทธศาสนาได้ 3. อธิบายข้อปฏิบัติของพลเมืองตามแนวทางพระพุทธศาสนาและประเด็นอ่ืน ๆ ท่ี เก่ยี วขอ้ งกบั การปกครองตามแนวทางพระพทุ ธศาสนาได้ 4. อธิบายคาศัพท์ทางศาสนาพุทธท่ีนามาใช้ทางการเมือง และสถานภาพของพุทธ ศาสนากับสถาบนั การปกครองตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้ ขอบขา่ ยเนอื้ หา 1. เปา้ หมายการและขอบเขตศึกษาของพระสมณโคดม ตามแนวทางพระพทุ ธศาสนา 2. กาเนิดสังคม รฐั บาล วรรณะ และการปกครองตามแนวทางพระพทุ ธศาสนา 3. ข้อปฏบิ ตั ิของพลเมืองตามแนวทางพระพุทธศาสนา 4. ประเดน็ อ่นื ๆ ท่เี กี่ยวขอ้ งกบั การปกครองตามแนวทางพระพุทธศาสนา 5. คาศัพท์ทางศาสนาพุทธที่นามาใช้ทางการเมือง และสถานภาพของพุทธศาสนากับ สถาบันการปกครองตามแนวทางพระพุทธศาสนา ส่อื การเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. การบรรยายในช้นั เรียนดว้ ยโปรแกรม PowerPoint Presentation 3. เวบ็ ไซต์ท่เี กี่ยวข้อง 4 การสอนออนไลท์ Google Meet และ E-Classroom
171 การวัดและประเมนิ ผล 1. การแสดงความคิดเหน็ ในช้ันเรยี น 2. การถามตอบในชั้นเรียน 3. การทาแบบฝกึ หัดทา้ ยบท 4. การตอบคาถามรายบุคคลในสื่อออนไลน์
172 บทนา เราจะพบว่าความคิดของชาวอินเดียได้พัฒนาเป็นลาดับ ตั้งแต่เชื่อว่าสิ่งสูงสุดมีลักษณะเป็น รปู ธรรมมตี วั ตน มีชอ่ื เป็นเทพต่าง ๆ เชน่ วรุณ สรุ ยิ ะ วิษณุ ฯลฯ เปน็ ต้น จนกลายมาเป็นส่ิงนามธรรม ไม่มีตัวตน เช่น พรหม อาตมัน และพัฒนาไปสู่การมีตัวตนอีกครั้งหน่ึง เช่น ศิวะ วิษณุ พรหมา เป็น ต้น การศึกษาค้นคว้าเหล่านี้ก็เพ่ือท่ีจะรู้ว่าอะไรเป็นส่ิงที่มีอานาจมากท่ีสุด หรืออะไรเป็นส่ิงท่ีกาหนด ความเป็นไปของสรรพสง่ิ เพอ่ื ที่ว่าเม่อื ได้รจู้ ักแล้วตนกจ็ ะสามารถแสวงหาส่ิงที่ดีที่สุดให้กับตนเอง หรือ กลา่ วอกี อยา่ งหนง่ึ ก็คอื จะสามารถพบหาความสุขถาวรได้นน่ั เอง ดังนน้ั เมื่อเช่อื วา่ เทพเป็นผู้ก่อกาเนิดและบันดาลสรรพสิ่งได้ ก็จะหาวิธีเข้าถึงเทพนั้น ๆ และ เม่อื เชอ่ื ว่าส่ิงทีย่ ิ่งใหญ่เป็นนามธรรม เช่น พรหม (ในยุคทีไ่ ม่มรี ปู ) หรืออาตมัน ก็พยายามหาวิธีเข้าไปสู่ พรหม เป็นต้น ในยุคของพระสทิ ธัตถะ ปรชั ญาอินเดียกไ็ ดพ้ ฒั นามาอยใู่ นยุคที่เช่ือในสิ่งทีเ่ ปน็ นามธรรม คือ 1. สงิ่ ทีม่ ีอานาจสงู สดุ ไมม่ ตี ัวตน ไม่มเี พศ ไม่มกี าล ไมม่ ถี ่นิ ไม่รปู รา่ ง 2. เชื่อในวัฏสงสาร คอื ส่งิ มชี ีวิตท้งั หลายไม่ได้เกิดมาในภพเดียว ชาติเดียว แต่เกิดแล้ว ตาย วนเวยี นอยู่เช่นนี้ตลอดไป ซ่ึงหมายความว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะเผชิญทุกข์บ้างสุขบ้าง ตลอดไป ตามแต่กรรมท่ีตนกระทา การที่จะได้พบความสุขถาวรน้ัน จะมีได้ต่อเม่ือเราได้กลับเข้ามารวมกับ อาตมันหรือพรหมอันเป็นแหล่งกาเนิดเขาเท่าน้ัน ซึ่งนักแสวงหาการหลุดพ้นจากวัฎสงสารในศาสนา ฮินดไู ดค้ ิดวิธีการต่าง ๆ ข้นึ มามากมาย เช่น การทรมานตนเอง ออกไปอยู่ป่า ไม่ปฏิบัติตนเย่ียงผู้ครอง เรอื น เปน็ ต้น 3. แม้แต่โลกก็อยู่ในกฎเกณฑ์ของการแตกดับและเกิดใหม่เช่นกัน วาระของการเกิด และส้ินโลกเรียกว่ากัลป์ ประลัยกัลป์ คือวาระที่โลกได้ถูกทาลายลง สรรพสิ่งทั้งหลายก็จะกลับเข้าสู่ พรหมรอวาระของการแตกออกมาจากพรหมอีก ศาสนาเชนก็เกิดจากการที่มหาวีระเจ้าลัทธิเช่ือในสงสารวัฎ และแสวงหาวิธีให้หลุดพ้นจาก การเวียนว่ายตายเกิด เข้าสู่ความสุขนิรันดร์ ซึ่งจะพบได้เม่ือหลุดจากโลกอันเป็นทุกข์ เจ้าลัทธิอื่นใน สมัยพุทธกาลซง่ึ พระสมณโคดมได้กล่าวไว้ว่ามี 62 ลัทธินั้น โดยท่ัวไปก็ศึกษาถกเถียงอยู่ในประเด็นว่า โลกเปน็ วฏั หรอื ไม่ แทห้ รือไม่ เท่ยี งหรือไม่ มีท่ีสุดหรอื ไมม่ ีทส่ี ดุ เหล่านี้เป็นตน้ ในด้านการเมอื งการปกครองอินเดียในยุคพทุ ธกาลแบ่งเป็นแควน้ ๆ มที ั้งแคว้นเล็กแคว้นใหญ่ บางคร้ังแคว้นใหญ่ก็ไปตีแคว้นเล็กมาเป็นเมืองประเทศราช ความรุ่งเรืองของชาวอารยันครอบคลุม อินเดยี ตอนกลางขึน้ ไปทางเหนอื บางแควน้ ปกครองด้วยคนคนเดยี ว ซ่ึงมาจากการเลือกต้ังก็มี มาจาก การสืบทอดทายาทก็มี บางทีก็มีหลาย ๆ แคว้นมารวมกันเข้าแล้วผู้นาแคว้นหรือเจ้าผู้ครองแคว้น ร่วมกันปกครองก็มี แต่ไม่ว่าจะปกครองในรูปแบบใดก็ตาม ผู้ปกครองก็มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา
173 เหมือนกันประชาชนท่ัวไป มิได้มีฐานะเป็นเทพหรือสมมติเทพแต่อย่างใด คติเทพอวตารเป็นคติท่ีเกิด มาในภายหลัง จากการศึกษาจะพบว่าคาบางคาอาจมีความหมายของคาแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น คา วา่ กษัตริยห์ รือราชาของอินเดียก่อนยุคเทพอวตารกับยุคเทพอวตาร หรือกษัตริย์ในคติคริสต์ เหล่านี้มี ความหมายต่างกัน หรือในกรณีของคาว่าประชาธิปไตยในกรีก ซึ่งยอมรับการมีทาสแต่ประชาธิปไตย ของสัญญาประชาคมถือว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีทาส เสมอกันท้ังหญิง และชาย ดังนั้น ใน การศกึ ษาพทุ ธศาสนาเชิงการเมอื งจงึ ต้องคานึงถงึ เวลา และสถานท่กี อ่ กาเนดิ ของศาสนาด้วย 1. เป้าหมายการศกึ ษาของพระสมณโคดม ดังกล่าวแล้วตอนต้นว่ายุคแห่งการศึกษาของพระพุทธองค์เป็นยุคแห่งความเชื่อในเรื่อง วัฏสงสาร พระสมณโคดมก็เชื่อในประเด็นนี้เช่นกัน ทรงช้ีว่ามนุษย์เราตกอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รจู้ บสน้ิ “...สงสารนีก้ าหนดทส่ี ุดเบือ้ งต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมอ่ื เหล่าสัตวผ์ มู้ ีอวชิ ชาเปน็ ทกี่ างกนั้ มี ตัณหาเป็นเคร่ืองประกอบไว้ ท่องเท่ยี วไปมาอยู่ ท่สี ดุ เบื้องต้นยอ่ มไมป่ รากฏพวกเธอได้เสวยทกุ ข์ ความเย็นร้อน ความพนิ าศ ได้เพิ่มพนู ปฐพที ีเ่ ป็นปา่ ช้า ตลอดกาลนาน ดกู ่อนภกิ ษุทัง้ หลายกเ็ หตเุ พียง เท่านัน้ พอทเี ดยี วทีจ่ ะเบื่อหน่ายในสงั ขารท้ังปวง พอเพ่ือจะควายกาหนัด พอเพอ่ื จะหลุดพ้น...” (สงั . น.ิ 26/422/ 506-507) การเวียนว่ายตายเกดิ ทไี่ ม่ร้จู บ ทาใหม้ นษุ ย์ตอ้ งผจญอยู่กบั ความทุกข์ท่ไี ม่ร้จู บ “...บรุ ุษปน้ั มหาปฐพนี ี้ให้เป็นกอ้ น กอ้ นละเท่าเม็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นั้นเป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเราโดยลาดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่ พงึ ส้ินสุด สว่ นมหาปฐพีน้ี พงึ ถงึ การหมดส้ินไป...” (สัง.น.ิ 25/423/508-509) นี่คือคาเปรียบเทียบอธิบายว่าสงสารน้ันกาหนดท่ีสุดของเบื้องต้น คือจุดเริ่มต้นและเบื้อง ปลายคือจดุ สิ้นสดุ ไมไ่ ด้ หรอื อกี อย่างหนึ่งคือการเวียนวา่ ยตายเกดิ มอี ยู่อยา่ งไม่รู้จบนั่นเอง ในเชิงตรรก มนุษยจ์ งึ ตอ้ งพบกบั ชะตากรรม “...ผู้ประสพมรณกรรมของมารดา คร่าครวญ ร้องไห้อยู่...พวกเธอได้ประสพ มรณกรรมของบิดา...ของพี่ชายน้องชาย...พ่ีสาวน้องสาว...ของบุตร...ของธิดา...ความ เส่ือมแห่งญาติ ความเสื่อมแห่งโภคะ...ได้ประสพความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน ...” (สงั .น.ิ 26/426/510) เพ่ือชใ้ี ห้เห็นถึงความยาวนานของการเผชิญความทุกขย์ าก จึงเปรียบเทียบด้วยเวลา นอกจาก หน่วยนับเป็นปีแล้ว กัลป์เป็นหน่วยนับของการเกิดและสิ้นสุดโลก แต่มนุษย์จะต้องผจญชะตากรรม ในวัฏสางสารนบั กลั ป์ไมไ่ ด้
174 “...กัปหนึ่งนานแล มิใช่งา่ ยท่ีจะนบั กปั นนั้ ว่าเท่านปี้ ี ฯลฯ หรือวา่ เท่าน้ี 1,000,000 ป.ี .. เหมือนอยา่ งว่านครที่ทาด้วยเหลก็ ยาว 1 โยชน์ กว้าง 1 โยชน์ สงู 1 โยชน์ เตม็ ดว้ ยเมลด็ พันธ์ุผกั กาด มีเมล็ดพันธผุ์ ักกาดรวมกันเป็นกล่มุ ก้อน บรุ ษุ พึงหยิบเอาเมล็ดพนั ธผุ์ กั กาดเมล็ดหนงึ่ ๆ ออกจากนคร นน้ั โดยลว่ งไปหน่ึงรอ้ ยปีต่อหนง่ึ เมล็ด เมลด็ พันธผ์ุ กั กาดกองใหญ่นัน้ พึงถงึ ความสน้ิ ไป หมดไป เพราะ ความพยายามนยี้ ังเร็วกว่าแล สว่ นกปั หน่งึ ยงั ไม่ถึงความส้นิ ไป หมดไป กัปนานอย่างน้ีแล...” (สงั .ii. 26/431-432/511-516) อะไรเป็นความทกุ ขท์ ี่มนษุ ย์ต้องเผชิญ “...แมช้ าติ กเ็ ป็นทุกข์ แม้ชรา ก็เปน็ ทุกข์ แม้มรณะ กเ็ ปน็ ทุกข์ แม้โสกะ ปรเิ ทวะ (ความร่าไร ราพนั ) ทุกข์ (ความไมส่ บายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) กเ็ ปน็ ทกุ ข์ ความประสพสตั วแ์ ละสงั ขาร ซึง่ ไมเ่ ป็นท่ีรกั กเ็ ป็นทกุ ข์ ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขาร ซึง่ เป็นที่ รกั เป็นทกุ ข์ สตั วป์ รารถนาส่ิงใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อท่ีไมส่ มประสงค์น้นั ก็เปน็ ทุกข์ โดยอุปาทานขันธ์ 5 (ขนั ธ์ประกอบดว้ ย อุปาทานความถือม่นั ) เป็นทุกข.์ ..” (ทีฆ.มหา. 14/294/23) ดว้ ยเหน็ วา่ มนษุ ย์เราต้องตกอยู่ในกงกรรมแห่งความทุกข์อย่างไม่เห็นอดีต เห็นอนาคตนี่เอง จึง ทรงกล่าวว่า “...พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่า ชา้ ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนนั้ ดูกอ่ นภิกษุท้ังหลาย ก็เหตุเพียงเท่าน้ี พอทีเดียว เพื่อ จะเบอื่ หนา่ ยในสังขารท้งั ปวง พอเพอ่ื จะคลายกาหนัด พอเพื่อจะหลุดพน้ ...” ขอบเขตการศกึ ษาของพระสมณโคดม พระพทุ ธองคไ์ ด้ประกาศเป้าหมายและขอบเขตการศึกษาไวอ้ ยา่ งชดั เจน “...โลกเท่ียง โลกไม่เทีย่ ง โลกมที ี่สุด โลกไมม่ ที สี่ ุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันน้ัน ชีพอย่างหน่ึง สรีระอย่างหน่ึง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปก็มีอยู่ สัตว์เบ้ืองหน้าแต่ตายไป ไม่มีอยู่ สัตว์เบ้ืองหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบ้ืองหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หา มิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ดังนี้ เราไม่พยากรณ์...เพราะข้อน้ันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ เป็นเบ้ืองต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพ่ือความหน่าย เพื่อความคลายกาหนัด เพื่อ ความดับ เพ่ือความสงบ เพ่ือความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพ่ือนิพพาน...ความเห็นว่านี้ ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ น้ีความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังน้ีเรา พยากรณ.์ ..” (มัช.มัช. 20/152/304) ได้ทรงอธบิ ายเปรียบเทยี บเหตุทีพ่ ยากรณแ์ ละไมพ่ ยากรณ์วา่ “...เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิตของบุรุษน้ันพึงไปหานายแพทย์ผู้ชานาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้อง
175 ศรนนั้ พงึ กลา่ วอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร...มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้...สูงต่าหรือปานกลาง...ดาขาวหรือผิวสองสี... อยู่บ้านนิคมหรือนครโน้น เพียงใด เราจักไม่นาลูกศรน้ีออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรน้ัน พงึ กล่าวอยา่ งนวี้ า่ เรายงั ไม่รูจ้ ักธนทู ใ่ี ชย้ ิงเราน้ันวา่ เปน็ ชนิดมีแล่งหรือเกาทัณฑ์...สายที่ ยงิ เรานนั้ เปน็ สายทาด้วยปอ ผิวไมไ้ ผ่ เอ็น ป่านหรือเย่ือไม้ ลูกธนูท่ียิงเรานั้น ทาด้วยไม้ ท่ีเกิดเองหรือไม้ปลูก หางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้น เขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรอื นกชือ่ วา่ สิกิลหนุ (คางหยอ่ น)...ดังน้ีเพียงใด เราจักไม่นาลูกศรน้ีออก เพียงนั้น...บุรุษน้ันพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยท่ีแท้บุรุษนั้นพึงนากาละไป...” (มัช.มัช. 20/150/301-302) ข้อความดังกล่าวเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าต้องรีบผ่าตัดเอาลูกธนูออกเสียก่อน ไม่ใช่ สอบสวนทาความรู้จักกับธนู เพราะหากทาตามที่ผู้ถูกยิงอยากรู้ เขาก็จะต้องตายอย่างแน่นอน ฉะนั้น พระพทุ ธองค์จึงไม่ตอบคาถามหรือสนใจกับสิ่งท่ี “ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” เราจะพยากรณ์เฉพาะ “...เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์น้ีแล เราพยากรณ์ ...” (ที.สีล. 12/293/164) จากขอ้ สรุปดงั กล่าว เราจงึ พบวา่ พระไตรปฎิ ก ไมว่ ่าจะในสว่ นของพระสูตร หรือพระอภิธรรม จะมุ่งเรื่องทางธรรมเป็นส่วนใหญ่ เรื่องทางโลกมักจะปรากฏออกมาเป็นรูปของการยกตัวอย่าง หรือ เลา่ เชงิ เปรียบเทียบ เมอื่ มุ่งสู่ความเข้าใจในทางธรรมเสยี มากกว่า ความเหน็ ต่อสถานะของสังคมขณะน้ัน ลกั ษณะทางสังคมของอินเดยี ในยคุ พุทธกาลได้แบง่ ชนชั้นวรรณะกันแล้ว วรรณะทร่ี ู้จกั กันดี คอื กษตั รยิ ์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จากพระสูตรหลายสตู รไดแ้ สดงใหเ้ หน็ วา่ พระพุทธองค์มิไดป้ ฏเิ สธ ลกั ษณะทางสงั คมที่มกี ารแบง่ ชนชัน้ วรรณะกัน เช่นในวฑั ฒิสตู รกลา่ วถึงความเจรญิ 10 ประการ ได้ นับเอาการเจริญด้วยทาสเป็นความเจริญชนิดหนึ่ง (อัง.ทสก 38/74/234) ในพระวนิ ยั หา้ มการบวชให้ ทาสภกิ ษุรูปใดบวชให้ทาสต้องอาบัตทิ ุกกฎ (มหา. 6/109/258) ในอัคค)ญญสตู รก็อธบิ ายการเกดิ ของวรรณะต่าง ๆ ความเสมอภาค การมองเรื่องความเสมอภาคในพุทธศาสนาแตกต่างไปจากการมองเร่ืองความเสมอภาคของ ศาสนาคริสต์ หรือความคิดของกล่มุ สัญญาประชาคม 1. ความสามารถในการเข้าใจ สติปญั ญาของคน จะตา่ งกนั ทรงเห็นวา่
176 “...ธรรมทเ่ี ราได้บรรลนุ ล้ี ึก เห็นไดย้ าก รูต้ ามไดย้ าก เป็นธรรมสงบ ประณีต หย่ังไม่ไดด้ ้วย ความตรึก ละเอียดรู้ได้แต่บัณฑิต สว่ นหมสู่ ัตว์นี้เปน็ ผูย้ ินดี เพลดิ เพลนิ ใจในอาลยั ยากท่จี ะ เหน็ ปฏจิ จสมุปบาททเ่ี ป็นปจั จัยแห่งธรรมเหลา่ น้ไี ด้...” (มชั .มลู . 18/321/419-420) ทรงเหน็ วา่ มนษุ ย์เรามีความแตกตา่ งกนั ในเร่อื งสติปญั ญา “...เหล่าสตั ว์ผมู้ ีกเิ ลสดจุ ธุลใี นดวงตาน้อยกม็ ี ผูม้ กี เิ ลสดุจธลุ ีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอน ให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษภัยในปรโลก เปรียบ เหมือนในกออบุ ล...ดอกอุบล...บางดอกเกิดในน้า เจริญในน้า อยู่กับน้าจมอยู่ในน้า อัน น้าหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกดิ ในน้า เจริญในนา้ อยู่กับนา้ ต้ังอย่เู สมอกับน้า บางดอกเกิด ในน้า เจริญในน้าโผล่พ้นน้าข้ึนมาแล้วต้ังอยู่...บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวก สอนใหร้ ไู้ ด้ยาก (มัช.มูล. 18/323/421-422) ทรงจาแนกความสามารถของคนออกเป็น กล่มุ ๆ เพอ่ื เลือกธรรมะทจ่ี ะใชส้ อน 2. ความเห็นเรื่องวรรณะในสมัยพุทธกาล พราหมณ์นับเป็นผู้นาทางความคิด ความ เช่ือทถ่ี ูกท้าทายมากทีส่ ุด พราหมณ์กล่าวอ้างว่าตนเป็นวรรณะท่ีเลิศท่ีสุด เพราะเป็นวรรณะท่ีเกิดจาก ปากพรหม แตท่ รงเห็นวา่ “...ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นกษัตริย์ ถ้า อตั ภาพบังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็ย่อมถงึ ความนบั ว่าเป็นพราหมณ์ ถ้าอัตภาพบังเกิดใน สกุลแพศย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าแพศย์ ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทรก็ย่อมถึงความ นับว่าเป็นศูทร...” (มัช.มัช. 21/666/377) และ “...เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะ ความเป็นผู้เกิดในสกุลสูงก็หามิได้ แต่จะได้กล่าวว่า เลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดใน สกุลสูงก็หามไิ ด้ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งหามิได้ แต่ จะกล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งก็หามิได้ จะได้กล่าวว่าประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีโภคะมากก็หามิได้ แต่จะกล่าวได้ว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มี โภคะมากก็หามไิ ด้...เพราะวา่ บคุ คลบางคนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคาหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มี จิตพยาบาทเป็นมิจฉาทฐิ ิ...” (มชั .มชั . 21/664/374) กล่าวโดยสรุปก็คือ ทรงเห็นว่าการแยกวรรณะ แยกสกุลมีอยู่ และการได้วรรณะ หรือสกุล ยอ่ มเกิดแต่ผใู้ ดจะเกดิ ในวรรณะ หรือสกลุ ใด แตจ่ ะเกิดในวรรณะใดก็ย่อมประพฤตชิ ่ัวได้ ประพฤติดีได้ ไม่ต่างกัน จึงทรงเห็นว่าสกลุ หรือวรรณะไม่ใชเ่ หตทุ ่จี ะทาให้คนมคี วามแตกตา่ งกัน
177 “...กษตั ริย์ก็ดี พราหมณก์ ด็ ี แพศย์ก็ดี ศทู รกด็ ี ประพฤติกายทจุ รติ วจที จุ รติ มโนทุจรติ เปน็ มิจฉาทิฏฐิ ยดึ ถอื กรรมดว้ ยมิจฉาทฏิ ฐิ เพราะการยดึ ถือกรรมด้วยอานาจมจิ ฉาทฏิ ฐเิ ป็นเหตเุ บื้องหนา้ แตต่ าย เพราะกายแตกย่อมเขา้ อบาย ทุคคติ วนิ บิ าต นรก” (ท.ี ปา. 15/67/163) “...กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโน สุจริตเป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอานาจมิฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือกรรมด้วยอานาจ สัมมาทิฏฐิเป็นเหตุเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์” (ที.ปา. 15/68/163) ความแตกต่างกนั ของคนไมไ่ ด้เกิดขึ้นเพราะมวี รรณะต่างกัน “...เรอื่ งของสตั วท์ ง้ั หลายจะ เหมือนหรอื ไม่เหมอื นกันโดยธรรมเท่านน้ั หาใช่โดยอธรรมไม่” (ที.ปา. 15/64/162) ขอ้ สรุปของพระพทุ ธองค์คือ เครอ่ื งมือในการจาแนกคนว่าต่างกนั หรือไม่ คือ ธรรม โดย ความหมายของธรรมคือ อริยมรรคและนิพพาน (มหา. ปฐม. 1/314) อธรรมคือแนวทางที่ไมน่ าไปสคู่ วามรู้ ความจรงิ อันดบั ทกุ ขห์ รือไปสนู่ พิ พาน ฉะนั้นการยึดถืออยู่ในสีผิว ชาตติ ระกลู เป็นอธรรม อย่างไรกต็ าม หากจะถอื โดยวรรณะก็ทรงเหน็ ว่า “...บรรดาวรรณะทัง้ ๔ เหลา่ นี้ วรรณะใด เป็นภิกษผุ ้อู รหันตส์ ้ินอาสวะแล้ว อยู่จบแล้ว มกี รณยี ะ อันกระทาแลว้ ปลงภาระไดแ้ ล้ว ตามบรรลุ ประโยชนข์ องตนแลว้ มสี งั โยชน์ เคร่อื งผูกสตั ว์ไว้ในภพสน้ิ แลว้ นับแลว้ เพราะร้โู ดยชอบวรรณะนั้น ๆ ปรากฏวา่ เปน็ ผเู้ ลิศกวา่ วรรณะเหล่าน้ันโดยธรรม” (ท.ี ปา. 15/71/164) 3. ความเสมอภาคของพุทธศาสนาจงึ หมายถึง ความเสมอภาคในการประพฤติธรรม ไม่ใช่ความ เสมอภาคในความสามารถ สติปัญญา หรือหน้าที่ ความเสมอภาคอันเป็นท่ีสุดท่ีทรงเห็นว่าเป็นความ เสมอภาคทีไ่ มอ่ าจปดิ กน้ั ได้ คือ ความเสมอภาคในการบรรลธุ รรม และปรินิพพาน “...กษัตริย์ก็ดี ฯลฯ พราหมณ์ก็ดี ฯลฯ แพศย์ก็ดี ฯลฯ ศูทรก็ดี สารวมทาง กาย สารวมทางวาจา สารวมทางใจ อาศยั การเจรญิ โพธปิ กั ขิยธรรม (โพธิปักขิยธรรม 7 คือธรรมทนี่ าไปส่กู ารตรัสรู้ 37 ประการ คือ อิทธิบาท 4 สติ ปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8.) ท้ัง 7 แล้ว ย่อมปรินิพพานในโลกน้ีแล” (ที. ปา. 15/70/164) ทุกคนเสมอภาคในการท่ีจะประพฤติธรรม เข้าถึงธรรม และเข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นที่สุดของ วัฏสงสาร ทีส่ ุดของการสนิ้ ทกุ ข์
178 2. กาเนดิ สังคม รัฐบาล และวรรณะ การกลา่ วถึงกาเนดิ ของสงั คม ผปู้ กครอง และวรรณะนี้ ปรากฏอยู่ในอคั คัญญสูตร ทฆี นิกาย ปาฏิวรรค (ที.ปา. 15/51-72/144-165) 1. สมมติฐานการเกิดโลก เป็นไปตามสมมติฐานของวัฏสงสาร คือโลกได้เกิดขึ้น และ แตกสลายลง เกดิ ข้ึนและแตกสลายลง อยา่ งนี้โดยลาดบั ไป ไมร่ ู้จบ (ดใู นเรื่องกัลป) 2. ส่งิ มชี ีวิตก็อย่ใู นวฏั สงสาร คอื เกิดดับ เกิดดับ เปน็ ลาดบั ไปเช่นกนั 3. เมื่อโลกแตกสลายลง ยังไม่เกิดโลกใหม่ ส่ิงมีชีวิตทั้งหลายไปเกิดอยู่ในช้ันอาภัสสร พรหม สัตว์ที่อยู่ในอาภัสสรพรหมนี้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง “สาเร็จได้โดยทางใจ มีปิติเป็นภักษา มี รศั มีเอง ทอ่ งเท่ียวไปไดใ้ นอากาศ” 4. จักรวาล เป็นน้า อยู่ในความมืด จนเมื่อพัฒนามาเป็น “...ง้วนดิน ก็เกิดลอยอยู่บน น้า...” ลักษณะของง้วนดินคือ “เหมือนน้านมสดท่ีบุคคลเค่ียวแล้วทาให้เย็นสนิท แล้วปรากฏเป็นฝา อยู่ข้างบน ฉะนั้น ง้วนดินน้ันได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใสอย่างดี และเนยข้นอย่างดี ฉะนน้ั และไดม้ รี สอันนา่ ชอบใจเหมือนน้าผึ้ง อันปราศจากโทษฉะน้ัน...” สัตว์นั้นก็สงสัยว่าง้วนดินคือ อะไร จึงเอาง้วนดินนั้นขึ้นมาชิม “...เม่ือเขากาลังเอาน้ิวมือช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มอยู่ ง้วนดินนั้นก็ได้ ซ่านไปท่วั ความอยากกเ็ กิดข้ึนแกเ่ ขา...”สัตวอ์ นื่ ๆ เอาอย่างบา้ ง “..ตัณหากเ็ กิดขึ้นแกส่ ตั วเ์ หลา่ น้นั ...” 5. พัฒนาการของสัตวค์ อื มผี ิวพรรณวรรณะ และร่างกายแตกตา่ งกนั แลว้ สัตว์เหล่านั้น ก็เหยียดหยามกันว่าผิวพรรณของตนดีกว่า ลักษณะของผิวดินเปลี่ยนไป เป็นกะบิดิน (คล้ายเห็ด) เครอื ดิน (คล้ายลูกมะพร้าว) เปน็ ลาดบั 6. เกิดข้าวสาลี และสัตว์ได้กินข้าวสาลี ผิวพรรณและร่างกายของสัตว์ก็พัฒนาขึ้นไป อกี ทส่ี าคญั คือสตั ว์เหล่านั้นจากที่ไม่มีเพศกลายเป็นเกิดเพศหญิง เพศชาย สิ่งท่ีตามมาคือ “จึงได้เสพ เมถุนธรรม” จากการเสพเมถุนกันนไ้ี ดน้ าไปสู่การแยกเรือนกนั อยู่เป็นครอบครัว 7. จากการที่ใครจะเก็บกินข้าวสาลีก็ได้ โดยเก็บกินกันวันต่อวัน ต่อมาได้มีผู้คิดสะสม คอื นาข้าวสาลไี ปกนิ ทีละหลาย ๆ วัน 8. มีผู้สะสมข้าวสาลีเพ่ือการบริโภค ได้นาไปสู่การ “...เราควรแบ่งข้าวสาลีกันและพึง กั้นเขตคันดังน้ี...” และนาไปสู่ “...สัตว์บางตนมีความโลเล รักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขา ไม่ไดใ้ หบ้ รโิ ภค” นับเป็นการเกิด กรรมสิทธส์ิ ่วนตวั และปัญหาในการถอื ครองกรรมสิทธิ์ 9. เม่อื เกิดการลกั ทรพั ยข์ น้ึ สัตวท์ ้ังหลายจึงไดค้ ิดกันว่าต่อไปคงเกิดการโกหก และเกิด การต่อสู้กันในที่สุด “...อย่ากระน้ันเลย เราควรนับถือสัตว์ผู้หน่ึงซึ่งจะว่ากล่าวผู้ท่ีควรว่ากล่าวได้ ติ เตียนผู้ท่ีควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้น้ัน...” สัตว์
179 ท้ังน้ันจึงได้ “เข้าไปหาสัตว์ท่ีมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักด์ิใหญ่กว่า” มาทาหน้าที่ ดงั กลา่ ว “ชนผ้เู ป็นหัวหน้าอนั มหาชนสมมติ” จึงไดม้ ีข้ึน 10. ดังน้ันกษัตริย์ก็ดี ราชาก็ดี จึงเกิดข้ึนจากการที่เหล่าสัตว์ทั้งหลายเห็นพ้องต้องกัน จัดให้มขี น้ึ เปน็ “มหาสมมติ” เพอื่ คอยควบคมุ การอยรู่ ่วมกนั ของมนุษย์มิให้มีการละเมิดซึ่งกัน และกัน โดยเขาทั้งหลายก็จะใหค้ า่ ตอบแทนแก่ “มหาสมมต”ิ น้นั ดว้ ย 11. พราหมณ์เกิดข้ึนจากสัตว์บางพวกต้องการหลีกพ้นจากสิ่งชั่วร้ายท่ีมีข้ึนในหมู่สัตว์ คือ การลักทรัพย์ การมุสา เป็นต้น จึงได้ “...พากันลอยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย...” พวกเหล่านี้ เรียกว่า “พราหมณ์” วิถีชีวิตของพราหมณ์คือ การไปปลูกกระท่อมอยู่ในป่า ใช้วิธีการขออาหารเป็น มอ้ื ๆ จากชาวบ้าน แทนการหงุ ตม้ เอง 12. แพศย์ และศทู รเกดิ จากการแบง่ หนา้ ท่กี ารทางานกัน “...สัตว์เหล่าน้ันยึดม่ันเมถุน ธรรมแลว้ แยกประกอบการงาน...” 13. โดยสรุปก็คอื ตณั หาเปน็ เหตุใหเ้ กดิ ครอบครัว สังคม ในการอยู่ร่วมกันของสัตว์ที่มี ตัณหา จึงจาเป็นต้องมีการปกครอง ผู้ปกครองมิได้เกิดข้ึนเอง แต่ประชาชนสมมติพวกเขานั่นเองให้ เป็นผูป้ กครอง ฉะน้นั ตามคติน้ผี ู้ปกครองจึงเป็นบุคคลธรรมดาเหมือนพวกเขาท้ังหลาย 2.1 การปกครอง ในพระสูตรได้กล่าวถึงหน้าท่ี และการเป็นผู้ปกครองที่ดีไว้หลายแห่ง แต่ไม่ได้เสนอรูปแบบ การปกครองที่เห็นว่าดี โดยนัยนี้จึงหมายความเอาได้ว่าจะปกครองรูปแบบใดน้ันไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธ องค์จะสนพระทยั แต่ปกครองอย่างไรเป็นประเด็นสาคัญกว่า 2.2.1 หลกั การปกครอง จากกฎทัณฑสูตร (ที.ศีล. 12/206/48-49) ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกันถ้า ผ้ปู กครองปฏิบัติตามหลักการน้ี 1. ถา้ ประชาชนขยันเพาะปลูกและโครกั ขธรรม (เลย้ี งววั ) ผู้ปกครองพึง “เพ่ิมข้าวปลูก และขา้ วกนิ ให้แก่พลเมอื งเหล่าน้ันในโอกาสอนั สมควร” 2. ถ้าประชาชน “ขะมักเขม้นในพานิชยกรรม ขอพระองค์จงเพ่ิมทุนให้แก่พลเมือง เหลา่ นั้นในโอกาสอนั ควร 3. ถ้าขา้ ราชการขยนั กพ็ ระราชทางเบี้ยเลีย้ งและเงินเดือน
180 การปฏบิ ัตเิ ช่นน้กี ย็ งั ผลให้ “พลเมืองเหล่านั้นน่ันแหละ จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตน ๆ จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ อน่ึงกองพระราชทรัพย์มีจานวนมาก จักเกิดแก่ พระองค์ บา้ นเมอื งกจ็ ะตั้งมัน่ อยใู่ นความเกษม หาเสยี้ นหนามมิได้ ไม่มกี ารเบียดเบียนกนั ” 2.2.2 คุณธรรมของหัวหน้า มหากปิชาดก (ขุท. ชา. 59/1059/333) กล่าวถึงสิ่งที่กษัตริย์ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาต้อง ดแู ลผูใ้ ตบ้ งั คับบญั ชาว่า “...ควรแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ ยวดยานพาหนะ (หมายถึงโค เกวียน ผู้ขับ ข่ี) กาลังพล และนิคมทั่วหน้ากัน” สุมังคลชาดกพูดถึงคุณธรรมของกษัตริย์ไว้ดังนี้ (ขุท. ชา.59 ๕๙/ 1148-1154/495-497) 1. ตอ้ งไมม่ ีอคตใิ นการวินิจฉัยอรรถคดี 2. อยใู่ นทศพิศราชธรรม 3. ถือกศุ ลกรรมบถ 10 2.2.3 จริยวัตรของกษัตรยิ ์ ผ้ปู กครองทดี่ จี ะตอ้ งมคี วามประพฤตจิ รยิ วัตรดงั ปรากฏในจักกวัตติสูตร คือ (ท.ี ปา. 15/35/102-103) 1. ป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม แก่ประชาชน ไพร่พล กษัตริย์ท่ีทรงแต่งตั้งไป กษัตริย์ในหมู่ประเทศราช พราหมณ์ คฤหบดี ชาวบ้านทั้งหลาย ตลอดจนสัตว์เน้ือ นก (จักรพรรดิมี ฐานะสูงกวา่ กษัตริย์หรือราชา) 2. พงึ ให้ทรพั ยแ์ ก่บุคคลเหลา่ นน้ั 3. พึงสนทนาธรรมกบั สมณะพราหมณท์ ไ่ี ดป้ ระพฤติดีแลว้ ในสังวรชาดก (ขทุ . ชา. 60/1580-1583-1585-1586/85-86) ได้พดู ถึงศีลาจารวตั รทีด่ งี าม ของพระราชาไวว้ ่า 1. ไมร่ ิษยาและพึงเคารพฟงั คาสอนของสมณะ 2. ไม่ตดั เบีย้ เลี้ยง บาเหน็จบานาญของทหารหรอื ขา้ ราชการ 3. คุม้ ครองพอ่ คา้ ที่มาจากตา่ งแดน 4. เกื้อกลู พระประยรู ญาติ 2.2.4 ทศพิศราชธรรม หรือราชธรรม 10 จากอรรถกถา กกุ กุชาดก 1. ทาน (มุ่งในการใหม้ ใิ ชร่ ับ) 2. ศีล
181 3. การบรจิ าค (เสยี สละ) 4. ความซอื่ ตรง (ไม่โกหก หลอกหลวง) 5. ความอ่อนโยน (ไมถ่ ือตน มีคารวะ) 6. ความเครง่ ครัด (ในธรรม) 7. ความไม่โกรธ (ไม่ลุแก่อานาจ) 8. ความไมเ่ บียดเบียน (อวิหิงสา) 9. ความอดทน (ต่อการทางาน และประพฤติ ขนั ติ) 10. ความไมผ่ ดิ (ไมป่ ระพฤตผิ ิดไปจากธรรม) 2.2.5 กศุ ลกรรมบถ ๑๐ (มชั . มูล. 19/490/272-273) ประพฤติเรียบรอ้ ยทางกาย 3 1. ละการฆ่าสตั ว์ 2. ละการลกั ทรัพย์ 3. ไมล่ ะเมิดประเวณี ประพฤตเิ รียบรอ้ ยทางวาจา 4 1. ละการกลา่ วเท็จ 2. ละคาส่อเสยี ด 3. ละคาหยาบ 4. ละคาเพอ้ เจ้อ ประพฤติเรียบรอ้ ยทางใจ 3 1. ไมเ่ พ่งเอาทรพั ยผ์ ้อู น่ื 2. ไม่มจี ติ พยาบาท 3. มคี วามเห็นถูกตอ้ ง (ในธรรม) 3.ขอ้ ปฏิบตั ขิ องพลเมอื ง ด้วยทรงเห็นว่าสัตว์ท้ังหลายไม่อาจเข้าสู่อริยสัจได้พร้อมกัน ยังมีพวกท่ีคงติดอยู่ในโลกของผู้ ครองเรือน จึงได้แสดงธรรมของผู้ติดข้องทางโลกไว้ในสิงคาลสูตร (ที.ปฏิ 16/174-204/78-91) เพื่อ เปน็ แนวทางในการดารงชีวติ ดงั นี้ 1. สิ่งท่ีบุคคลพงึ ปฏิบตั ติ อ่ ตนเอง 1.1 กรรมกเิ ลส 4 ต้องละ
182 1.1.1 ปาณาตบิ าต 1.1.2 อทินนาทาน 1.1.3 มุสาวาท 1.1.4 คบหาภรรยาผอู้ นื่ 1.2 บาปกรรมโดยฐานะ 4 ไม่ทาบาปกรรม เพราะ 1.2.1 ฉนั ทคติ (ความรัก) 1.2.2 โทสาคติ (ความชัง) 1.2.3 โมหาคติ (ความหลง, ความเขลา) 1.2.4 ภยาคติ (ความกลวั ) 1.3 ไมเ่ สพในทางเส่อื มแหง่ โภคะ 6 1.3.1 เสพนา้ เมา 1.3.2 เทยี่ วไปในตรอกในเวลากลางคนื 1.3.3 เที่ยวดมู หรสพ (มีท่ีไหน ไปที่นั่น) 1.3.4 เล่นการพนนั 1.3.5 คบคนชวั่ เปน็ มิตร 1.3.6 เกียจครา้ น 2. การคบคน ตอ้ งรู้จักลกั ษณะมติ รแท้ มิตรเทยี ม 2.1 ลกั ษณะมิตรเทียม 2.1.1 ปอกลอก 2.2.2 คนดแี ตพ่ ดู 2.1.3 คนหัวประจบ (ด,ี ชั่วร่วมด้วย, แต่นินทาลบั หลัง) 2.1.4 ชักชวนในทางฉบิ หาย 2.2 ลกั ษณะมิตรแท้ 2.2.1 มิตรอปุ การะ (ดแู ล, เป็นทพี่ ึ่ง) 2.2.2 มิตรร่วมสุขร่วมทกุ ข์ (บอกความลับแก่เพื่อน, เก็บความลับเพ่ือน, ไม่ ทิ้งเพอ่ื นเมือ่ เกดิ อันตราย) 2.2.3 มิตรแนะประโยชน์ (ห้ามจากความช่ัว ให้อยู่ในความดี, ให้ฟังส่ิงที่ไม่ เคยฟงั , บอกทางสวรรค)์ 2.2.4 มิตรมีความรักใคร่ (ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพ่ือน, ยินดีในความ เจรญิ ของเพือ่ น, หา้ มคนทก่ี ล่าวโทษเพื่อน, สรรเสรญิ คนท่สี รรเสรญิ เพ่อื น)
183 3. ข้อปฏบิ ตั ติ ่อบิดามารดา 3.1 เลี้ยงดูท่าน 3.2 จกั รับทากิจของท่าน 3.3 จกั ดารงวงศ์ตระกลู 3.4 จักปฏบิ ัติตนใหเ้ ป็นผู้สมควรรบั ทรพั ยม์ รดก 3.5 เม่อื ทา่ นล่วงลับไปแลว้ ทาบุญอุทิศให้ท่าน 4. ข้อปฏบิ ัติต่อบตุ ร 4.1 ห้ามทาความชัว่ 4.2 ให้ตงั้ อยใู่ นความดี 4.3 ใหศ้ ึกษาศลิ ปวทิ ยา 4.4 หาภรรยาทีส่ มควรให้ 4.5 มอบทรัพยใ์ ห้ในสมยั 5. ขอ้ ปฏิบัติตอ่ อาจารย์ 5.1 ลุกขึ้นยืนรับ 5.2 เขา้ ไปยนื คอยต้อนรบั 5.3 ดว้ ยการเช่อื ฟงั 5.4 ดว้ ยการปรนนิบัติ 5.5 ดว้ ยการเรยี นศลิ ปวิทยาโดยเคารพ ๖. ข้อปฏิบัติตอ่ ศษิ ย์ 6.1 แนะนาดี 6.2 ให้เรียนดี 6.3 บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวทิ ยาทง้ั หมด 6.4 ยกยอ่ งใหป้ รากฏในเพอ่ื นฝูง 6.5 ทาความปอ้ งกนั ในทศิ ทั้งหลาย 6.6 ทาความป้องกนั ในทิศทงั้ หลาย 7. ขอ้ ปฏิบตั ติ อ่ ภรรยา 7.1 ด้วยยกยอ่ งว่าเปน็ ภรรยา 7.2 ด้วยไม่ดูหม่นิ 7.3 ดว้ ยไม่ประพฤตินอกใจ 7.4 ดว้ ยมอบความเปน็ ใหญใ่ ห้ 7.5 ดว้ ยใหเ้ ครอ่ื งแตง่ ตัว
184 8. ข้อปฏบิ ตั ติ อ่ สามี 8.1 จดั การงานดี 8.2 สงเคราะห์คนขา้ งเคยี งสามดี ี 8.3 ไมป่ ระพฤตนิ อกใจสามี 8.4 รักษาทรพั ย์ท่สี ามหี ามาให้ 8.5 ขยนั ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง 9. ขอ้ ปฏบิ ตั ติ ่อมิตร 9.1 ด้วยการใหป้ นั 9.2 ด้วยเจรจาถ้อยคาเป็นท่ีรัก 9.3 ด้วยประพฤตปิ ระโยชน์ 9.4 ดว้ ยความเปน็ ผมู้ ีตนเสมอ 9.5 ดว้ ยไม่แกล้งกลา่ วใหค้ ลาดจากความเปน็ จริง 10. ขอ้ ท่มี ิตรควรปฏบิ ตั ิตอ่ เรา 10.1 รักษามติ รผ้ปู ระมาทแลว้ 10.2 รกั ษาทรัพย์ของมิตรผ้ปู ระมาทแล้ว 10.3 เมอื่ มติ รมภี ัย เอาเปน็ ทพี่ ่ึงพานักได้ 10.4 ไมล่ ะท้งิ ยามวบิ ตั ิ 10.5 นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมติ ร 11. ข้อปฏบิ ตั ิตอ่ ทาสกรรมกร 11.1 จดั การงานให้ทาตามสมควรแก่กาลัง 11.2 ให้อาหารและรางวัล 11.3 รกั ษาในคราวเจบ็ ไข้ 11.4 แจกของมีรสแปลกประหลาดให้ 11.5 ปล่อยให้ในสมยั 12. ขอ้ ปฏบิ ตั ิทที่ าสกรรมกรพงึ มตี อ่ นาย 12.1 ลกุ ขึ้นทาการงานก่อนนาย 12.2 เลิกการงานทีหลังนาย 12.3 ถอื เอาแตข่ องที่นายให้ 12.4 ทาการงานใหด้ ขี ึน้ 12.5 นาคุณของนายไปสรรเสริญ
185 ๑๓. ขอ้ ปฏบิ ตั ิต่อสมณพราหมณ์ 13.1 ดว้ ยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา 13.2 ด้วยวจกี รรมประกอบด้วยเมตตา 13.3 ดว้ ยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา 13.4 ดว้ ยความเปน็ ผไู้ ม่ปดิ ประตู (เปดิ ประตตู อ้ นรับสมณพราหมณ์) ๑๔. ข้อปฏบิ ตั ทิ ี่สมณพราหมณพ์ งึ มีตอ่ ฆารวาส 14.1 ห้ามจากความชวั่ 14.2 ให้ต้ังอยู่ในความดี 14.3 อนุเคราะห์ด้วยใจงาม 14.4 ใหฟ้ งั สิง่ ทยี่ งั ไม่เคยฟงั 14.5 ทาสิง่ ทเ่ี คยฟงั แลว้ ใหแ้ จม่ แจ้ง 14.6 บอกทางสวรรคใ์ ห้ 4.ประเดน็ อนื่ ๆ ทเ่ี กี่ยวขอ้ งกับการปกครอง มีประเด็นย่อยอีกหลายประเด็นท่ีไม่ใช่กิจของรัฐโดยตรง แต่มีความเก่ียวเนื่องกับการ ปกครอง มีดังนี้ 4.1 ประมขุ ของศาสนาพทุ ธ ในขณะที่พระพุทธองคย์ งั ไม่ปรนิ ิพพาน ได้ทรงอยู่ในฐานประมุขของภกิ ษุท้ังหลายที่เปน็ สาวก พระองค์ทรงเป็นศาสดาที่แนะนาส่ังสอน ช้ผี ิด ชีถ้ กู และแก้ข้อสงสยั นานัปการใหส้ านุศิษย์ทั้งหลาย ดงั น้ันจึงเป็นที่วติ กกังวลของเหลา่ สาวกวา่ เม่อื ทรงปรินิพพานไปแลว้ จะมผี ้ใู ดมาทาหนา้ ท่นี ้ีแทน พระองค์ไดท้ รงแสวงหาคาตอบไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า “...ธรรมก็ดี วินัยกด็ ี อันใดเราแสดงแลว้ ได้ บัญญัตไิ ว้แลว้ แก่พวกเธอ ธรรมและวินยั อันนนั้ จักเปน็ ศาสดาแหง่ พวก เธอ...” (ที. มหา. 13/141/320) โดยเหตุดังนี้เราจะเห็นว่าประมุขของศาสนาพุทธทั้งมวลจึงไม่มีในปัจจุบัน จะมีก็แต่ประมุข ศาสนาพุทธของประเทศน้ันประเทศน้ี ซึง่ ไม่มีอานาจเหนอื ประมขุ ศาสนาพุทธของประเทศอื่น 4.2 การปกครองในหม่สู งฆ์ 1) อุปัชฌาย์สมัยพุทธกาล ขณะนั้นยังไม่ได้มีการกาหนดข้อบัญญัติว่าด้วยการบวช การดูแลหมู่สงฆ์ ได้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ได้รับคาติเตียนจากประชาชนว่าภิกษุนั้นมีมารยาทไม่
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214