Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ilovepdf_merged

ilovepdf_merged

Published by ทวีศักดิ์ ใครบุตร, 2021-07-14 08:54:07

Description: ilovepdf_merged

Search

Read the Text Version

ภาษาบาลีเพอื การค้นควา้ พระพุทธศาสนา รายวชิ า BU5006 คณะศาสนาและปรชั ญา มหาวทิ ยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย วทิ ยาเขตศรลี ้านชา้ ง

เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ภาษาบาลีเพื่อการค้นคว้าพระพทุ ธศาสนา BU๕๐๐๖ Pali and Buddhist Studies ทวีศักดิ์ ใครบุตร รวบรวมเรียบเรียง ภาควชิ าพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรชั ญา วทิ ยาลัยศาสนศาสตร์ศรีลา้ นช้าง วิทยาเขตศรีล้านช้าง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวทิ ยาลัย พ.ศ.๒๕๖๓

คำนำ รายวิชาภาษาบาลีเพื่อการค้นคว้าพระพุทธศาสนา รหัสวิชา BU๕๐๐๖ (Pali and Buddhist Studies) เป็นรายวิชาบังคับเลือกทางพระพุทธศาสนา ภาควิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา ถือเป็น หลักสูตรที่มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลัยจดั ให้นักศึกษาทีศ่ ึกษาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ศึกษาเล่า เรียนอันเป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่มพี ระพทุ ธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อนั เป็น ความภาคภมู ิใจในฐานะทเี่ กิดมาเป็นคนไทย ปัจจุบนั มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวิทยาลัยยงั ไม่มีตำราหรือเอกสาร ประกอบการบรรยายในรายวิชานี้อย่างเพียงพอ ส่วนท่ีพอจะมีอย่บู ้างก็กระจดั กระจายไม่ตรงกับหลักสตู รมากนัก ทำให้นักศึกษาต้องค้นคว้าจากตำราหลายเล่ม อีกท้ังนักศึกษามีจำนวนมากและมีแนวโน้มท่ีจะมากข้ึนทุกวัน จึง จำเป็นที่จะต้องมีการผลิตตำราหรือเอกสารทางวิชาการขึ้นมาเพื่อนักศึกษาได้ใช้ประกอบในการศึกษาค้นคว้า การผลิตตำราหรือเอกสารประกอบคำบรรยายเป็นการแสดงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยอีกทางหนึ่ง ในด้าน ความพร้อมท่จี ะผลติ บณั ฑติ ท่มี ีคณุ ภาพและมคี ุณธรรมตามปรชั ญาการศึกษาของมหาวทิ ยาลยั ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิเจาของเอกสารตำราทางวิชาการ บทความ เว็บไซตต่างๆ ตลอดจน หนังสอื ตำราเรยี นดังท่ปี รากฏในบรรณานกุ รมของเอกสารประกอบการสอนเลม่ นี้ซ่ึงผู้เรียบเรียงไดใชเ้ ปน็ แนวทาง และขอ้ มลู ในการเรยี บเรียงจนสำเรจ็ ลุล่วงไปไดดว้ ยดี หวังเป็นอย่างย่ิงว่าเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้ จะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ท่ีเก่ียวข้อง ขอขอบคุณท่านท่ีมีส่วนร่วมในการตรวจเอกสารและให้คำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อให้เอกสารประกอบการสอนน้ี สำเร็จลลุ ้วงไปด้วยดี หากมีขอ้ บกพรอ่ งผิดพลาดประการใดทเี่ กดิ ข้ึนในส่วนใดส่วนหน่ึง ต้องขออภัยมา ณ โอกาส น้ดี ว้ ย ทวศี กั ด์ิ ใครบตุ ร รวบรวมเรยี บเรียง

ภาษาบาลีเพื่อการค้นควา้ พระพุทธศาสนา Pali and Buddhist Studies ผ้เู รียงเรียง : ทวีศกั ดิ์ ใครบตุ ร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลยั ที่ปรึกษา : พระมหาวิเชยี ร ธมฺมวชโิ ร,ดร. รองอธิการบดี มมร.วข.ศรีลา้ นช้าง พระครปู รยิ ตั สิ าทร,ดร. อาจารยป์ ระจำหลักสูตร พระมหาวัฒนา สรุ จิตฺโต,ดร. ผอ.ศูนยบ์ ริการวิชาการ มมร.วข.ศรีลา้ นช้าง พระครพู สิ ุทธิธรรมาภรณ์ ผอ.วทิ ยาลัยศาสนศาสตร์ มมร.วข.ศรีลา้ นชา้ ง พระมหาจิณกมล อภริ ตโน ผอ.สำนักงานวิทยาเขต มมร.วข. ศรีลา้ นช้าง ผ้ทู รงคณุ วุฒติ รวจสอบทางวิชาการ พระศรรี ชั มงคลบณั ฑติ , รองศาสตราจารย์ มหาวทิ ยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร ดอกจนั ทร์ มหาวิทยาลยั มหามกุฏราชวิทยาลยั ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิษณพงษ์ ศรจันทร์ มหาวิทยาลยั มหามกฏุ ราชวทิ ยาลัย ผ้ชู ่วยศาสตราจารย์ ดร.หอมหวล บัวระภา มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ กองบรรณาธิการ : นายทวีศักด์ิ ใครบตุ ร นายธนวัฒน์ ชาโพธิ์ นายเตชทตั ปักสังขาเนย์ นางสาวพรพมิ ล เพ็งประพา ขอ้ มลู ทางบรรณานุกรมของหอสมดุ แห่งชาติ นายทวีศักด์ิ ใครบุตร ภาษาบาลเี พื่อการค้นคว้าพระพทุ ธศาสนา–เลย :สำรวยกอ๊ ปปีบ้ า้ นใหม,่ 2563 188 หนา้ รวมปก ISBN พิมพ์คร้ังท่ี 1 : พ.ศ. 2563 จำนวน 200 เล่ม ลขิ สิทธิ์ ของนายทวีศักดิ์ ใครบุตร ห้ามลอกเลียนแบบไม่วา่ สว่ นใดของหนงั สือเล่มน้ี นอกจากได้รับอนญุ าตเป็นลายลักษณ์อกั ษรกับนายทวศี ักดิ์ ใครบตุ ร จัดพิมพ์ : นายทวศี กั ดิ์ ใครบุตร พิมพท์ ่ี : โรงพมิ พส์ ำรวยก๊อปปี้ 37/6 ถ.วิสุทธิเทพ ต.กุดป่อง อ.เมอื ง จ.เลย 42000 [email protected]

สารบัญ หนา้ ก เร่ือง ข คำนำ ๑ สารบญั ๒ แผนบริหารการสอนประจำบทเรยี นท่ี ๑ ๓ บทที่ ๑ ประวตั ิความเป็นมาและวิวฒั นาการของภาษาบาลี ๓ ๔ ๑.๑ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยภาษาอะไร ๗ ๑.๒ ภาษาบาลีคอื อะไร ๘ ๑.๓ ประวตั ิภาษาบาลีโดยสงั เขป ๘ ๑.๔ อกั ษรท่ใี ช้เขียนภาษาบาลี ๑๐ ๑.๕ พระพทุ ธเจ้าแสดงธรรมด้วยภาษามคธหรอื บาลี ๑๘ ๑.๖ ลำดบั ช้ันคัมภีร์ภาษาบาลี ๒๑ ๑.๗ ววิ ัฒนาการของภาษาบาลี ๒๒ ๑.๘ ความมหัศจรรยข์ องภาษาบาลี ๒๓ ๑.๙ การใชค้ ำท่ยี มื มาจากภาษาบาลี ๒๔ ๑.๑๐ สรุปท้ายบท ๒๕ ๑.๑๑ คำถามทบทวนประจำบทที่ ๑ ๒๖ ๑.๑๒ เอกสารอา้ งองิ ประจำบทที่ ๑ ๒๙ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทเรียนที่ ๒ ๓๐ บทท่ี ๒ วรรณคดีภาษาบาลีในประเทศไทย ๓๙ ๒.๑ ยุคทองแห่งพระพทุ ธศาสนาในล้านนา ๔๐ ๒.๒ หนังสอื ทแ่ี ตง่ เปน็ ภาษาบาลีในประเทศไทย ๔๒ ๒.๓ จากล้านนาสูร่ ัตนโกสินทร์ ๔๓ ๒.๔ หลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีในปจั จบุ ัน ๔๔ ๒.๕ คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๒ ๔๕ ๒.๖ เอกสารอ้างอิงประจำบทที่ ๒ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทเรยี นที่ ๓ บทที่ ๓ ไวยากรณภ์ าษาบาลี

๓.๑ บาลไี วยากรณ์ ๔ ภาค ข ๓.๒ ความหมายของอักษร ๓.๓ เทยี บอักษรโรมนั ท่ีใชเ้ ขียนภาษาบาลี ๔๕ ๓.๔ การเขียนภาษาบาลดี ้วยอกั ษรโรมัน ๔๖ ๓.๕ วิธีเขยี นและอ่านออกเสียงในภาษาไทย ๔๕ ๓.๖ ฐานกรณ์ของอักขระ ๔๘ ๓.๗ พยัญชนะสงั โยค ๔๙ ๓.๘ หลักการใช้สระบางตัวของภาษาบาลี ๕๑ ๓.๙ สรุปทา้ ยบท ๕๓ ๓.๑๐ คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๓ ๕๔ ๓.๑๑ เอกสารอ้างองิ ประจำบทที่ ๓ ๕๕ แผนบริหารการสอนประจำบทเรียนท่ี ๔ ๕๖ บทท่ี ๔ คำนาม (Nouns) ๕๘ ๔.๑ คำนามนาม ๕๙ ๔.๒ คุณนาม ๓ ชั้น ๖๐ ๔.๓ สพั พนาม ๖๐ ๔.๔ ลงิ ค์ ๖๘ ๔.๕ วจนะ ๖๙ ๔.๖ วิภัตติ ๖๙ ๔.๗ การันต์ ๗๐ ๔.๘ การแจกวิภตั ติของนามนาม ๗๑ ๔.๙ กตปิ ยศัพท์ ๗๒ ๔.๑๐ สรปุ ท้ายบท ๗๒ ๔.๑๑ คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๔ ๘๔ ๔.๑๒ เอกสารอ้างองิ ประจำบทที่ ๔ ๙๒ แผนบริหารการสอนประจำบทเรยี นที่ ๕ ๙๓ บทท่ี ๕ สัพพนามหรอื สรรพนาม ๙๕ ๕.๑ วธิ แี จกปรุ ิสสพั พนาม ๙๖ ๕.๒ วธิ ีแจก กึ ศพั ท์ ๙๗ ๙๗ ๑๐๔

๕.๓ สรุปทา้ ยบท ค ๕.๔ คำถามทบทวนประจำบทที่ ๕ ๕.๕ เอกสารอ้างอิงประจำบทท่ี ๕ ๑๐๗ แผนบรหิ ารการสอนประจำบทเรยี นที่ ๖ ๑๐๘ บทท่ี ๖ สงั ขยา การนับจำนวนในภาษาบาลี ๑๑๖ ๖.๑ การแจกสงั ขยาด้วยวิภตั ติท้งั ๗ ๑๑๗ ๖.๒ การนบั สงั ขยานามนาม ๑๑๘ ๖.๓ การแจก เอก ศพั ท์ ๑๑๘ ๖.๔ ปรู ณสงั ขยา ๑๒๐ ๖.๕ สังขยาตัทธิต ๑๒๐ ๖.๖ สรุปท้ายบท ๑๒๒ ๖.๗ คำถามทบทวนประจำบทที่ ๖ ๑๒๓ ๖.๘ เอกสารอา้ งองิ ประจำบทที่ ๖ ๑๒๙ แผนบริหารการสอนประจำบทเรียนท่ี ๗ ๑๒๙ บทที่ ๗ กริ ยิ าในภาษาบาลี (Verb) ๑๓๑ ๗.๑ กิริยาอาขยาต ๑๓๒ ๗.๒ นามกติ ก์ ๑๓๓ ๗.๓ กิริยากิตก์ ๑๓๓ ๗.๔ สรปุ ท้ายบท ๑๔๐ ๗.๕ คำถามทบทวนประจำบทที่ ๗ ๑๔๒ ๗.๖ เอกสารอา้ งอิงประจำบทท่ี ๗ ๑๔๖ แผนบริหารการสอนประจำบทเรยี นที่ ๘ ๑๔๗ บทท่ี ๘ ประโยคหรือวาจกในภาษาบาลี ๑๕๐ ๘.๑ การแปลภาษาบาลี ๑๕๑ ๘.๒ โครงสร้างรปู ประโยคภาษามคธ ๑๕๒ ๘.๓ ตัวอยา่ งการแปลภาษาบาลี ๑๕๓ ๘.๔ สรปุ ท้ายบท ๑๕๓ ๘.๔ คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๘ ๑๕๙ ๘.๕ เอกสารอ้างองิ ประจำบทท่ี ๘ ๑๖๐ ๑๖๔ ๑๖๘

ง แผนบรหิ ารการสอนประจำบทเรียนที่ ๙ ๑๖๙ บทที่ ๙ เรียนร้ภู าษาบาลีด้วยคำศพั ท์ทางพระพทุ ธศาสนาและพทุ ธศาสนสุภาษิต ๑๗๐ ๙.๑ ความนำ ๑๗๐ ๙.๒ ความหมายของสุภาษติ ๑๗๐ ๙.๓ พุทธศาสนสภุ าษติ คำแปล ท่ีมาของภาษติ ๑๗๑ ๙.๔ สรุปท้ายบท ๑๘๓ ๙.๕ คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๙ ๑๘๔ ๙.๖ เอกสารอ้างอิงประจำบทท่ี ๙ ๑๘๕ บรรณานกุ รม ๑๘๖

จ รหสั วชิ า แผนบริหารการสอนประจำรายวิชา ๓ (๓-๐-๖) ชอ่ื รายวชิ า BU ๒๐๐๖ ภาษาบาลเี พ่ือการค้นคว้าพระพุทธศาสนา Pali and Buddhist Studies คำอธบิ ายรายวิชา ศกึ ษาหลักไวยากรณ์ การอ่านและการแปลภาษาบาลีเบื้องต้น การใชภ้ าษาบาลีและการใช้ คำภาษาบาลี ในภาษาไทย ภาษาบาลีกับพระพุทธศาสนา คัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับภาษาบาลี ฝึกทดลองศกึ ษาคน้ ควา้ เน้อื หาพระพุทธศาสนาสัน้ ๆ หรอื โดยย่อจากเอกสารภาษาบาลี จดุ ประสงค์การเรยี นรู้ ๑. เพ่อื ศกึ ษาวธิ กี ารอา่ น-เขยี นบาลีให้ถกู ตอ้ งตามหลักของภาษา ๒. เพ่ือศึกษาวิธีการแปลบาลีให้ถูกต้องตามหลักภาษา ๓. เพือ่ ศกึ ษาการใช้บาลแี ละการใชค้ ำภาษาบาลีในภาษาไทย ๔.เพื่อศกึ ษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับบาลี ๕.เพอื่ ฝกึ ทดลองศกึ ษาค้นคว้าเนือ้ หาพระพุทธศาสนาส้นั ๆ ๖. เพื่อส่งเสรมิ การศึกษาภาษาบาลซี งึ่ เป็นเป็นภาษาเฉพาะทางพทุ ธศาสนาให้แพร่หลาย หัวขอ้ ประเดน็ หลกั ในการสอน ๑.ศึกษาอักขระวิธี สมัญญาภิธาน สระภาษาบาลี พยัญชนะภาษาบาลี ฐานของอักขระภาษา บาลี กรณข์ องอักขระภาษาบาลี เสยี งของอกั ขระพยญั ชนะสงั โยค ๒.ศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่องนามนาม คุณนาม สัพพนาม ลิงค์ วจนะ วิภัตติ อายตนิบาต การันต์ ๓.ศกึ ษาหลักบาลีไวยากรณเ์ รอ่ื งสพั พนามหรอื สรรพนาม วิธีแจกปุรสิ สัพพนาม ๔.ศึกษาหลักบาลีไวยากรณ์เร่ืองสังขยา การนับจำนวนในภาษาบาลี การแจกสังขยาด้วย วภิ ตั ติทง้ั ๗ การนับสงั ขยานามนาม ๕.ศึกษาหลักบาลีไวยากรณ์เร่ืองคำกิริยาในภาษาบาลี (Verb) กิริยาอาขยาต นามกิตก์ กริ ยิ ากติ ก์

ฉ ๖.ศึกษาหลกั บาลีไวยากรณเ์ รือ่ งประโยค หรือวาจกในภาษาบาลี ๗. ฝกึ ทดลองศกึ ษาคน้ คว้าเน้ือหาพระพุทธศาสนาจากคัมภรี ท์ างพุทธศาสนา ๘.ฝกึ หดั แปลภาษาบาลเี ป็นภาษาไทย และภาษาไทยเปน็ ภาษาบาลีดว้ ยศพั ท์งา่ ย ๆ การวดั และประเมินผล ๑.การมสี ่วนร่วมในช้นั เรียน ๒๐ คะแนน ๒.รายงาน ๒๐ คะแนน ๓.สอบกลางภาค ๒๐ คะแนน ๔.สอบปลายภาค ๔๐ คะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน เกณฑ์การประเมินผล ชว่ งคะแนน เกรด ค่าระดับ ระดบั ๘๐-๑๐๐ A ๔.๐ ดีเยี่ยม Excellent ๗๕-๗๙ B+ ๓.๕ ดมี าก Very Good ๗๐-๗๔ B ๓.๐ ดี Good ๖๕-๖๙ C+ ๒.๕ ค่อนข้างดี Above Average ๖๐-๖๔ C ๒.๐ พอใช้ Average ๕๕-๕๙ D+ ๑.๕ อ่อน Below Average ๕๐-๕๔ D ๑ อ่อนมาก Poor ๐-๔๙ F ๐ ตก Fail

แผนการสอนประจำบทเรียนที่ ๑ หัวข้อเนอ้ื หาประจำบท บทที่ ๑ ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของภาษาบาลี ๖ ช่ัวโมง ๑.๑ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยภาษาอะไร ๑.๒ ภาษาบาลีคืออะไร ๑.๓ ประวัติภาษาบาลีโดยสังเขป ๑.๔ อกั ษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี ๑.๕ พระพทุ ธเจา้ แสดงธรรมดว้ ยภาษามคธหรอื บาลี ๑.๖ ลำดบั ช้ันคมั ภรี ภ์ าษาบาลี ๑.๗ ววิ ฒั นาการของภาษาบาลี ๑.๘ ความมหัศจรรยข์ องภาษาบาลี ๑.๙ การใช้คำท่ียืมมาจากภาษาบาลี วัตถุประสงค์เชงิ พฤติกรรม ๑.นักศกึ ษาเข้าใจประวัติและววิ ัฒนาการของภาษาบาลไี ด้ถูกตอ้ ง ๒.นักศึกษาเขา้ ใจและอธิบายหลักอกั ษรภาษาบาลีได้ถูกตอ้ ง ๓.นกั ศกึ ษาสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับประวัตคิ วามเปน็ มาของภาษาบาลไี ด้ถกู ต้อง วิธีการสอนและกิจกรรม ๑.ศึกษาเอกสารคำสอนและบรรยายนำเป็นเบ้ืองต้น ๒.บรรยาย ๓.แบง่ กลมุ่ อภปิ ราย ๔.คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๑ สือ่ การเรียนการสอน ๑.เอกสารประกอบการเรียนการสอนและเอกสารอน่ื ๒.PowerPoint สรุปบทเรยี น ๓.รปู ภาพ คลปิ วดี ิโอ สไลด์ การวดั และประเมนิ ผล ๑.สังเกตพฤติกรรมในระหว่างเรยี น ๒.การค้นควา้ มอบหมายงานเดี่ยว งานกลุ่ม ๓.ความสนใจในบทเรยี น การซกั ถาม ๔.การเขยี นรายงาน การรายงานผลการค้นคว้าหน้าชน้ั เรยี น ๕.การสอบวดั ผลความรแู้ ตล่ ะบทเรยี น

๒ บทที่ ๑ ประวตั แิ ละวิวฒั นาการของภาษาบาลี ภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เป็นภาษาที่บันทึกหลักคำสอนของ พระพุทธศาสนามาตงั้ แต่ในสมยั พุทธกาล เช่อื กนั วา่ พระพุทธเจา้ ทรงใช้ภาษาบาลใี นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้น การศึกษาประวัติและ วิวฒั นาการของภาษาบาลีในบทน้ี จงึ เปน็ เพยี งข้อมลู เบือ้ งต้นเทา่ น้ัน หากนกั ศกึ ษาตอ้ งการศึกษาอย่างละเอียดต้อง ศกึ ษาวิชาวรรณคดบี าลี ดงั นัน้ ในบทนจี้ งึ นำเสนอโดยสังเขป การศกึ ษาพุทธวจนะ การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับ จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือการหลุดพ้นนั่นคือนิพพาน แต่การที่จะหลุดพ้นนั้นเป็นเร่ืองของแต่ละบุคคล บางคนเพียงได้ฟังการแสดงธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุทันที แต่ บางคนอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายกัปจึงจะบรรลุได้ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นนอกจากจะเรียกว่า พระธรรมวินยั แลว้ งมีคำเรยี กวา่ พระสัทธรรม สัทธรรม หมายถงึ ธรรมอนั ด,ี ธรรมทแ่ี ท,้ ธรรมของสัตบุรษุ , หลกั หรือแก่นศาสนา นั่นก็คือคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าน้นั ไดก้ ำหนดสงิ่ ท่จี ะต้องศึกษาไว้ ๓ ประการคือ ๑. ปริยตั ตสิ ัทธรรม หมายถึงสทั ธรรมคือคำส่ังสอนจะต้องเลา่ เรียน ได้แกพ่ ุทธพจน์ เป็นการศึกษาทาง ทฤษฎีคอื การศกึ ษาพระธรรมวินัยให้มีความรู้เป็นพื้นฐานโดยแจ่มแจ้งเสยี ก่อนวา่ คำสอนของสมเดจ็ พระสัมมาสัม พทุ ธเจา้ มอี ะไรบ้าง ถ้าจะนำมาปฏบิ ตั ิจะทำอย่างไร และเมอ่ื ปฏิบัตแิ ลว้ จะไดผ้ ลอยา่ งไร ๒. ปฏิปัตติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือการนำเอาพระธรรมวินยั มาปฏบิ ตั ดิ ้วยกาย วาจา ใจ ๓. ปฏิเวธสัทธรรม คือสัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และ นิพพาน เป็นขั้นที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า๑ ผู้ศึกษาพระ ปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรผู้มีศรัทธาที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา บุคคลที่ เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วมีภารกิจที่ต้องทำสองประการ คือประการแรกได้แก่คันถธุระ การศึกษาพระ ธรรมวินยั ซ่งึ พระพุทธเจา้ ได้ทรงส่ังสอนไว้ การศึกษาชนิดน้เี นน้ ภาคทฤษฎี และประการทส่ี องคือวิปสั สนาธุระ การ เรยี นพระกรรมฐานโดยเน้นลงไปท่ีการปฏิบตั ิทางกายวาจาและใจ ๑มหามกุฏราชวิทยาลัย,อรรถกถาวินัย มหาวิภังค์,เล่ม ๑ ภาค๑,(กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕), หน้า ๗๔๐.

๓ สำหรับการศกึ ษาที่เรียกวา่ “คันถธุระ” นั้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระพุทธองค์ ทรงสั่งสอนสาวกเป็นประจำทุกวัน ดังที่ปรากฏในพุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ ๑. ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสดจ็ บณิ ฑบาต ๒. สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓.ปโทเส ภิกขฺ ุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแกเ่ หล่าภกิ ษุ ๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เทีย่ งคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่าง ทรงตรวจพิจารณาสัตว์ทีส่ ามารถและที่ ยงั ไมส่ ามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรอื ไม่๒ พระเทพดิลกกล่าวอ้างไว้ว่า “การบำเพ็ญพุทธกิจทั้งห้าประการของพระพุทธเจ้าเป็นการบำเพ็ญ โลกกัตถจรยิ าที่ยอดเย่ียม”๓ การแสดงพระธรรมเทศนา คำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยพระโอฏฐ์ ตามที่พระองค์จะทรง โปรดประทานพระสทั ธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ทฟ่ี ังมที ัง้ พระภิกษสุ งฆ์และคฤหัสถ์ สำหรับ พระภิกษุสงฆ์นั้น เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วกน็ ำมาถา่ ยทอดแก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิ กต่อกันไป เนื่องจากในกลุ่มผู้ฟังนั้นมีหลายเช้ือชาติ หลายภาษา พระพุทธองค์ทรงใช้ภาษาอะไรในการแสดงธรรม จงึ เปน็ ปญั หาที่นักปราชญท์ ั้งหลายถกเถยี งกันมาโดยตลอด พระพุทธเจา้ ทรงแสดงธรรมดว้ ยภาษาอะไร การศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่าคันถธุระหรือการศึกษาพระปริยัติธรรมซึ่งมี ๙ ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อทุ าน อติ วิ ตุ ตกะ ชาดก อัพภตู ธรรม และเวทัลละ พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถศุ าสน์น้ี พระพุทธเจ้าทรงแสดง ดว้ ยภาษาบาลี แตท่ ว่าภาษาบาลีคือภาษาอะไรกันแน่ ภาษาบาลีคอื อะไร ในสมัยพุทธกาลบรรดาสาวกผู้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายวรรณะทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และมาจากหลายเมือง ซ่ึงแตเ่ มอื งคงจะมีภาษาพูดของตนเอง เนื่องพระพุทธเจ้าเป็นนิรุตติ ปฏิสัมภิทาคือฉลาดในภาษา ดังนั้นคงต้องใช้หลายภาษาในการแสดงพระธรรมเทศนาดังนี้มีผู้กล่าวไว้ว่า “สมัย พุทธกาล ภาษาต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศพระศาสนาแสดงธรรมสั่งสอนประชาชนนั้นมีมากภาษาท้ัง ๒มหามกุฏราชวิทยาลัย,อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕),หนา้ ๑๔๗. ๓พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ), ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหามกฏุ ราชวิทยาลัย,๒๕๔๒),หนา้ ๔๗.

๔ ประเภทภาษาปรากฤต ทั้งประเภทภาษาสันสกฤต แต่ก็เป็นเครือของภาษาอริยกะทั้งนั้น ส่วนมากก็เป็นประเภท ภาษาปรากฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามคธที่เป็นภาษาสามัญซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้พูดกันทั่วๆไปในท้องถน่ิ อันอยู่ในอิทธิพลของภาษามคธที่เรียกว่า อสุทธมาคธี ส่วนน้อยก็เป็นประเภทภาษาสันสกฤตคือภาษาปรากฤตท่ี ปรับปรุงดีแล้ว คำสั่งสอนในสมัยพุทธกาลนั้น ก็หาเรียกว่าบาลีไม่ เพราะพระพุทธองค์กำลังสั่งสอนอยู่ คำสั่งสอน คร้งั นน้ั เป็นแต่ตรัสเรียกรวมๆว่าธรรมซงึ่ ทรงระบุไว้ ๙ ลักษณะเรยี กว่านวังคสตั ถุศาสน์๔ ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่ ๒ ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษาสันสกฤต ในภาษาปรากฤต แบ่งย่อยออกเป็น ๖ ภาษา คอื ๑.ภาษามาคธี ภาษาทใ่ี ชพ้ ดู กันอยูใ่ นแคว้นมคธ ๒.ภาษามหาราษฎรี ภาษาท่ีใช้พดู กันอยใู่ นแคว้นมหาราษฎร์ ๓.ภาษาอรรถมาคธี ภาษาก่ึงมาคธี เรยี กอกี อย่างหน่ึงวา่ ภาษาอารษปรากฤต ๔.ภาษาเศารนี ภาษาท่ใี ชพ้ ดู กันอยใู่ นแควน้ ศรู เสน ๕.ภาษาไปศาจี ภาษปี ศี าจ หรือภาษาชั้นตำ่ และ ๖. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลงั ทไ่ี วยากรณไ์ ดเ้ ปลย่ี นไปเกอื บหมดแล้ว ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้นต่อมา พระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรีลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์แก้ไขดัดแปลงรูปแบบ ไวยากรณใ์ หก้ ระทดั รัดยิ่งขน้ึ จึงมชี ื่อใหม่วา่ “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เปน็ ภาษาจารกึ พระไตรปฎิ กดังที่เราเห็นอยู่ใน ปจั จุบัน คำว่า บาลี มาจากคำวา่ ปาลี ซง่ึ วิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจยั ๆ ทีเ่ นื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี(ภาสา) แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่ง พระพทุ ธวจนะ เพราะเหตนุ นั้ ภาษานน้ั ชอื่ วา่ ปาลี แปลโดยอรรถวา่ ภาษาท่รี กั ษาไวซ้ ่งึ พระพุทธวจนะ๕ ประวัตภิ าษาบาลีโดยสังเขป ภาษาบาลี (Pali จากศัพทภ์ าษาเดิมว่า Pāli) เปน็ ภาษาของอินเดยี ฝา่ ยเหนือในสมยั ราวครสิ ต์ศตวรรษ ที่ ๗-๖ กอ่ นคริสต์กาล อย่ใู นตระกูลอนิ โดยุโรเปยี น (Indo-European) และอยูใ่ นกลุ่มอนิ โดอารยัน (Indo-Aryan) เช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าอยู่ในกลุ่มอินโดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง (Middle Indo-Aryan หรอื Middle Indic) แต่ผ้ทู ่ีค้านว่าไมใ่ ช่ เป็นภาษาสมัยใหมก่ ว่าน้นั กม็ ี เป็นภาษาปรากฤต (ภาษาถิ่นในอินเดียสมัยนั้น) ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นภาษาของถิ่นใดกันแน่และมีต้น กำเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่ส่วนใหญ่ลงมติกันว่าเป็นภาษาอินดิกสมัยกลางรุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่น ๆ โดยดูจากรปู ภาษา ภาษาบาลีใชก้ ันแพรห่ ลายในฐานะภาษาทีใ่ ช้เขยี นคมั ภีร์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ๔โปร่ง ชื่นใจ, น.ท.,พระพทุ ธเจา้ ทรงใชภ้ าษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พิมพค์ รง้ั ที่ ๒, (กรุงเทพฯ: โรง พมิ พ์มหามกฏุ ราชวิทยาลยั ,๒๕๓๒),หน้า ๒๑. ๕พระมหาฉลาด ปริญฺ าโณ,คู่มอื การเรียนบาลไี วยากรณ์, (กรงุ เทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง,๒๕๓๐),หนา้ ๒.

๕ ความหมายของคำว่า Pāli โดยปรกติแปลกันว่า แถว แนว ขอบเขต เป็นต้น ผู้นับถือพุทธศาสนาส่วน ใหญเ่ ชอ่ื วา่ บาลี คอื ภาษาของชาวมคธ ซงึ่ มถี ิ่นท่ีอยทู่ างใต้ของแคว้นพหิ ารปจั จุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ทก่ี รงุ ราชคฤห์ เมอื งหลวงของแควน้ มคธนาน คงจะใช้ภาษามคธในการเผยแพร่พุทธศาสนา ความเชือ่ น้แี พร่หลาย มากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน จะเห็นได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม. อนั หมายถงึ มคธ คำวา่ ภาษามคธ น้ีเป็นช่ือที่เรยี กกนั ในเมืองไทยเทา่ นั้น ศัพทเ์ ฉพาะท่ีเปน็ ชื่อภาษาของชาวมคธ คอื คำว่า มาคธี (Māgadhī) แต่ก็มผี ูแ้ ยง้ ว่า ลักษณะของภาษามาคธีตา่ งกันบาลีหลายประการ จงึ ไม่น่าจะเป็นภาษาเดยี วกนั เช่น ๑.ใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุมเสียง เดยี ว คอื เสยี งอสุ มุ ชนิดตาลุชะ (palatal ś) ไมใ่ ช่เสยี งอุสุมชนดิ ทันตชะ (dental s) เหมอื นบาลี ๒.เสียง r ทบ่ี าลมี ี มาคธไี ม่มี ใชเ้ สยี ง I แทน ๓.เสียงทา้ ยคำนาม a การันตว์ ิภตั ติท์ ี่ ๑ เอกพจนท์ บ่ี าลเี ป็น o มาคธเี ป็น e ๔.เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) บางครั้งก็หายไป บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นเสียง j ไม่คงเดิม ตลอดเหมอื นบาลี นักปราชญผ์ ใู้ ห้เหตุผลนี้ที่สำคญั มีอยู่สองคนคอื บุร์นุฟ (Burnouf) และลาสเลน (Lassen)๖ แตเ่ หตุผลดงั กลา่ วกม็ ผี ู้แยง้ วา่ เหตุท่เี ปน็ เชน่ นัน้ เพราะพระพุทธเจา้ เป็นชาวแคว้นโกศล มใิ ชแ่ คว้นมคธ สำเนียงพูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่นนั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูดภาษามคธแบบชาวโกศล อีก ประการหนงึ่ พระองคไ์ ดต้ รัสว่า ไม่ควรยึดมัน่ ในภาษาถิ่นใดถิน่ หน่ึง เมอื่ เสด็จไปสอนท่ีใดกค็ งจะทรงใชภ้ าษาถิ่นน้ัน ภาษาจึงอาจเกิดการปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไป ภาษามาคธีที่พระพุทธเจา้ ตรัสจึงไม่ ควรจะใช่ภาษามาคธีบริสุทธท์ิ ่ชี าวมคธใชพ้ ูดกัน เพราะไดร้ ับอทิ ธพิ ลมาจาภาษาอืน่ เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ เรารู้จักลักษณะภาษามาคธีอย่างทีเ่ ป็นอยู่นี้จากบทละครสันสกฤต ซึ่งเขียนข้ึน หลงั สมยั พทุ ธกาลเป็นเวลานาน ไมม่ ใี ครรู้วา่ ในสมัยพุทธกาลภาษาภาษามาคธีมลี ักษณะอยา่ งไร อาจคล้ายคลึงกับ ภาษาบาลีมากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุข ปาฐ (Oral Tradition) กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไมม่ ใี ครใช้พูดกนั แลว้ ในขณะที่ภาษามาคธีซ่ึง ยังไม่ตายได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปไปเรื่อย ๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษา เดียวกัน นักปราชญ์บางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard) คูห์น (E. Kuhn) และ ฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า พระมหินทรเถระ โอรสพระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธ ศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาบาลี เมื่อลังการับคำสอนทางพุทธศาสนาจึง รับภาษานั้นมาใชด้ ้วย และภาษานเ้ี องทีไ่ ดว้ วิ ฒั นาการมาเป็นภาษาบาลที เ่ี รารจู้ ักกนั ๖พระมหาเสฐยี รพงษ์ ปุณณวณฺโณ, โครงการตำราสงั คมศาสตรแ์ ละมนษุ ยศาสตร์, (พระนคร: โรงพมิ พ์ ไทยวฒั นาพานชิ ,๒๕๑๔), หนา้ ๘.

๖ นักปราชญ์กลุม่ นีส้ ันนิษฐานว่าต้นกำเนดิ ของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณท่ีเรารู้จกั กัน นักปราชญ์กลุม่ น้ี สันนิษฐานว่าต้นกำเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัย ตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุชเชนี เพราะพระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดน แบร์ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาท่ี ลังกา๗ ผรู้ ู้บางกลุม่ ไมบ่ อกประวัตขิ องภาษาวา่ มีกำเนิดแต่ไหน เพยี งแตแ่ ปลคำวา่ Pāli ว่ามาจาก Pāla แปลวา่ คมุ้ ครอง รกั ษา หมายถึง เป็นภาษาทีค่ มุ้ ครองรกั ษาพทุ ธศาสนาไว้ให้ยนื ยงต่อมาตราบเทา่ ทุกวนั น้ี บางคนก็เชื่อว่าภาษาบาลีอาจเปน็ ภาษาทีพ่ ระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น (artificial language) เพื่อใช้ เปน็ ภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา เพราะไมต่ ้องการเลือกทีร่ ักมักทชี่ งั ด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหน่ึง แต่ได้ ดดั แลปงให้ออกเสยี งง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต รปู คำหลายรปู คลายความซบั ซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถ่ินใด อาจเปน็ การรวมและหลอมออกมาใหม่แลว้ ต้งั ช่อื ใหม่กเ็ ปน็ ได้ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้ ไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร คำว่า Pāli เดิมเป็นคำที่ใช้ เรยี กคำสอนของพระพุทธเจา้ ไมใ่ ช่ชอ่ื ภาษา เชน่ ในสำนวนว่า \"ในพระบาล\"ี ภาษานไ้ี ด้ชื่อว่า Pāli หรอื บาลี เพราะ ใช้ถ่ายทอดพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับภาษาพระเวทซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวท เพราะใช้บันทึกคมั ภรี ์พระเวท ภาษาบาลีนั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมด บ้างว่า เป็นภาษาชาว โกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระศาสดา ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้น พระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของ พระองค์ ในการประกาศพระศาสนา ๑. บางท่านก็เห็นวา่ บาลีเป็นภาษาอวันตีโบราณ เพราะพระมหินท์ เป็นชาวเวทิสาคีรใี นอวนั ตี นำเอา ภาษานี้ไปลงั กา ๒. บางมตกิ ็วา่ เปน็ ภาษาอินเดยี ภาคใต้ ๓. แต่มตสิ ว่ นใหญ่ยนื ยนั วา่ เป็นภาษามคธโบราณท่ี เรียกว่า \"มาคธี\" จดั อยใู่ นสกลุ ภาษาปรากฤต เม่ือ สรุปมติตา่ งๆ เหลา่ น้ี เราได้สาระทีน่ า่ เชอื่ อยขู่ อ้ หนึง่ คอื ภาษาบาลใี นพระไตรปฎิ กนั้นเป็นภาษามคธอย่างแนแ่ ท้ คำ ว่า \"บาลี\" นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำนี้ยังเลือนมาจากคำว่า \"ปาฏลี\" ซึ่งหมายถึงเมือง ปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงรา ชคฤห์ แต่เหตุใดภาษาบาลีจึงสูญไปจากอนิ เดีย นั่นก็เพราะเมือ่ แคว้นมคธเสื่อมอำนาจลง ภาษาอื่นไดไ้ หลเข้า มาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆ สลายตัวเอง โดยราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ ผูกขาดภาษาใดภาษาหนงึ่ ในการแสดงธรรม พระองค์เองตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆ ๗เสนาะ ผดงุ ฉตั ร,ความรเู้ บอื้ งตน้ เกี่ยวกับวรรณคดีบาลี,(กรุงเทพฯ: โรงพมิ พ์มหาวทิ ยาลัยมหามกุฏราช วทิ ยาลยั ,๒๕๓๒),หน้า ๖๗.

๗ ของอนิ เดยี ได้ ทรงแสดงธรรมดว้ ยหลายภาษา ทรงอนญุ าตใหเ้ รียนพุทธพจนด์ ้วยภาษาท้องถิ่นได้ คร้ังหนึ่งมีภิกษุพี่ น้องสกลุ พราหมณ์ ทูลขอพุทธานญุ าต ยกพุทธพจนข์ ึ้นสู่ภาษาเดยี วเชน่ กบั ภาษาในพระเวททรงติเตียน แต่เหตุไฉน ปฐมสังคายนาจงึ ใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดยี วข้ึนสู่สังคตี ิเล่า เหตผุ ลมีดังนคี้ อื ๑) การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ ภาษาท้องถ่ินของตนๆทปี่ ระชมุ กไ็ มเ่ ป็นอันประชุม ไม่เปน็ ระเบียบ ๒) ภาษาบาลี เป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำกันในมคธย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ต้องเลือก ภาษานี้ ๓) พระอรหนั ต์ ผูเ้ ขา้ ประชุม เขา้ ใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธหรือชาวเมืองอื่นที่ขนึ้ อยู่กับมคธ ๔) มคธในครงั้ นน้ั เป็นมหาอำนาจชน้ั หน่งึ ในอินเดยี มเี มืองข้ึน เช่น โกศล วัชชี กาสี จมั ปา ภาษา มคธจึงเปน็ ภาษาท่ีมีอิทธพิ ลในยุคนน้ั ๘ อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อ่ืนๆ ทใี่ ชภ้ าษาท้องถิ่นไม่ใชม่ คธรองรับพุทธพจน์ก็ยังมีอีกมากกว่ามาก นั่นคือ เหตผุ ลท่ีใชภ้ าษาบาลใี นการบนั ทกึ หลกั คำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท อกั ษรที่ใช้เขยี นภาษาบาลี เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้ตัวอักษรในภาษานั้นเขียนเช่น อักษรไทย พราหมี,เทวนาครี, สหี ล, พม่า, มอญ,ขอม,ลาว โรมนั เป็นต้น๙ ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจำโดยแท้ ใช้ใน ถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็น ขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียงได้ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และ ใน ปจั จุบนั อกั ษรโรมันก็เปน็ ท่ีนยิ มใช้มากที่สุดในการศึกษาภาษาบาลีเชน่ เดยี วกบั ภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลท่ีกล่าว มาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเปรียบเทียบเสียงระหวา่ งภาษา ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วยและเมื่อถ่าย เสียงด้วยอกั ษรตัวโรมัน ก็จะใชช้ ่อื ย่อเปน็ ภาษาอังกฤษวา่ P นักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ มีลักษณะมี ลักษณะที่สำคญั คือ(๑) ภาษาบาลีเป็นอุตตมภาษาคอื ภาษาชั้นสูง (๒) ภาษามคธเปน็ มูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัย แรกตัง้ ปฐมกปั ๑๐ ๘เสถียร โพธนิ ันทะ,ประวตั ศิ าสตร์พระพทุ ธศาสนา,พิมพ์ครั้งท่ี ๔, (กรงุ เทพฯ:โรงพิมพ์มหามกุฏราช วิทยาลัย,๒๕๔๓), หน้า ๗๑. ๙ฉลาด บญุ ลอย,ประวัตวิ รรณคดีบาลตี อน ๑, (พระนคร: โรงพมิ พ์มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๐๕), หน้า ๒๓. ๑๐พระเทพเมธาจารย์ (เชา้ ฐติ ปญุ ฺโญ),แบบเรียนวรณคดปี ระเภทคมั ภีรบ์ าลไี วยากรณ์, (พระนคร : โรง พิมพ์ประยูรวงศ,์ ๒๕๐๔), หน้า ๑๙.

๘ พระพทุ ธเจา้ แสดงธรรมด้วยภาษามคธหรอื บาลี ภาษาบาลี เป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพระเวท ภาษาบาลี คือ ภาษาท่ี ชาวมคธใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า “ภาษามาคธี” พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษานี้ประกาศพระศาสนาของ พระองค์ ภาษามาคธีนีแ้ บ่งออกเปน็ ๒ ประเภท คอื ๑. สุทธมาคธี เป็นภาษาของชนช้นั สูง คอื ภาษาของกษัตริย์หรอื ภาษาทางราชการ ๒.เทสยิ าหรือปรากฤต ได้แก่ ภาษาประจำถิ่น พระพทุธเจ้าทรงใช้สุทธมาคธีเป็นหลักในการประกาศคำสั่งสอนของพระองค์ และในสมัยนั้นทรงเผย แผ่พระธรรมด้วยวิธมี ุขปาฐะ โดยมไิ ด้มบี นั ทึกหรือเขียนเป็นลายลักษณอ์ ักษร ภาษาบาลนี น้ี ำมาใช้บันทึกพุทธวจนะ เป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ถือเปน็ ภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน ส่วนศาสนานกิ ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกพุทธวจนะ และ ต่อกใ็ ช้ภาษาบาลจี ารึกพระธรรมลงในพระไตรปฎิ ก ซงึ่ เปน็ ตำราหลกั ทางพระพุทธศาสนาอย่างไรก็ตาม ภาษาบาลี กม็ ีลักษณะเช่นเดยี วกนั กับภาษาสันสกฤต คือใช้เป็นภาษาเขยี นในพระไตรปฎิ กของพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ได้ใช้พูด หรือใช้เขียนในชีวิตประจำวัน จึงไม่มีการเจริญเติบโต ไม่มีวิวัฒนาการเหมือนกับภาษาอื่นๆ ภาษาอสุทธมาคธีใน สมัยพุทธกาลได้รับการปรับปรุงมาเป็นสุทธมาคธีในปัจจุบัน ดังที่มีผู้บันทึกอ้างไว้ว่า “ภาษามคธส่วนที่เป็นสุทธ มาคธี ในปัจจุบันมีปรากฏอยู่ทั่วไป ทั้งในคัมภีร์พระไตรปิฎก ทั้งในอรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ แต่ภาษามคธ ส่วนท่ีเปน็ อสุทธมาคธียคุ พทุ ธกาล ท่ีทรงใชป้ ระกาศพระศาสนา แสดงธรรมสงั่ สอนประชาชนนั้น ในปจั จบุ ันไม่อาจ นำมาแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ เพราะพระเถรอรหันตสาวกท่านได้ชำระปรับปรุงเรียบเรียงเป็นสุทธมาคธีไป หมดแลว้ ๑๑ ดังนั้น ภาษามคธหรือภาษาบาลีที่ใช้ศึกษาในปัจจุบันตามคัมภรี ์ตา่ งๆจึงเป็นประเภทภาษาที่ได้รับการ ปรับปรุงมาจากภาษามคธในสมัยพุทธกาล ลำดับชัน้ คมั ภีร์ภาษาบาลี คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านจารึกไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ด้วยภาษาบาลีซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นของ คัมภรี ต์ า่ งๆ ไดด้ ังน้ี ๑.พระไตรปิฎก เป็นหลกั ฐานชัน้ หน่งึ เรียกวา่ บาลี ๒.คำอธบิ ายพระไตรปฎิ กเป็นหลักฐานชั้นสอง เรยี กวา่ อรรถกถา หรอื วัณณนา ๓.คำอธิบายอรรถกถา เป็นหลกั ฐานช้ันสาม เรียกวา่ ฎกี า ๔.คำอธบิ ายฏกี า เปน็ หลักฐานชั้นส่ี เรยี กวา่ อนฏุ กี า ๑๑โปร่ง ชื่นใจ, น.ท.,พระพุทธเจ้าทรงใชภ้ าษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พมิ พค์ รั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกฏุ ราชวิทยาลัย,๒๕๓๒), หน้า ๒๔.

๙ ๕.นอกจากนี้ ยังมีหนงั สอื ทีแ่ ต่งข้ึนภายหลังเป็นทำนองอธบิ ายเร่ืองใดเร่ืองหน่ึงที่มีในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “ทีปนี” หรือ “ทีปิกา” หรือ “ปทีปิกา” และหนังสือที่ อธิบายเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ที่มีในคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนา หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “โยชนา” หนังสือทั้งสอง ประเภทนี้จดั เป็นคัมภีร์อรรถกถา ส่วนคัมภีรช์ ื่ออย่างอื่นต่อจากนี้ไปมีหลายประเภทบางทที ่านก็ใช้คำรวมๆกันไป วา่ ตพั พนิ ิมุต แปลว่าคัมภรี ท์ ่พี ้นหรอื นอกเหนอื จากนน้ัน๑๒ คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์เหลา่ นี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด เพราะเป็นหลักฐาน ชั้นแรกสดุ คำสอนทอี่ ยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์ โดยจัดแบง่ เป็น ๓ หมวด คือคือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม ภาษาบาลีเป็นภาษาที่จารึกคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท ในขณะที่ภาษา สันสกฤตใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธศาสนาฝา่ ยมหายาน จะเห็นได้ว่า คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด เพราะ เป็นหลักฐานชัน้ แรกสดุ คำสอนทอ่ี ย่ใู นพระไตรปิฎกนน้ั มีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธ์แบ่งเป็น ๓ หมวด คอื หมวด ที่หนึ่ง พระวินัย ว่าด้วยเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้อบังคับควบคุมกิริยา มารยาท ของภิกษุสงฆ์ มีทั้งข้อห้ามและข้อ อนุญาต ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์ มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หมวดที่สอง พระสูตร ว่า ด้วยเร่อื งราว นทิ าน ประวัติศาสตร์ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงส่ังสอนและทรงสนทนากับบุคคลทั้งหลายอันเกีย่ วกับชาดก ต่างๆ ที่ทรงสอน เปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมย เป็นต้น มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ หมวดที่สาม พระ อภิธรรมวา่ ดว้ ยธรรมขั้นสูง คือ ว่าด้วยเรื่องเฉพาะคำสอนที่เป็นแก่น เป็นปรมัตถ์ ในรูปปรชั ญาล้วนๆ มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คำสอนทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขนั ธน์ ั้น เรยี กว่า “ธรรมวินยั ” ธรรมวนิ ัยเปน็ สง่ิ สำคญั มากทีส่ ุดของชาวพุทธ เพราะถือเปน็ ส่ิงแทนองค์พระศาสดา ดังพุทธพจน์ท่ีตรัส กับพระอานนท์ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยอันใดที่เราบัญญัติไว้แล้ว แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมะและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ” ดังนั้น กล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกเปน็ คัมภรี ท์ ีส่ ำคัญมากท่ีสุดของชาวพทุ ธ พระไตรปิฎกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้ง พุทธกาล ตอ่ มาพทุ ธศาสนาแพรห่ ลายไปในนานาประเทศทีใ่ ชภ้ าษาอื่น ประเทศตา่ งๆ เหลา่ น้ัน มีธิเบตและจีนเป็น ต้นได้แปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลเี ป็นภาษาของตน เพ่อื ประสงคท์ ่ีจะให้เรยี นร้ไู ดง้ า่ ย จะไดม้ คี นเล่อื มใสศรัทธา มาก ครัน้ ไมม่ ใี ครเลา่ เรียนพระไตรปิฎก ต่อมาก็คอ่ ยๆ สญู ส้นิ ไป สนิ้ หลกั ฐานท่จี ะสอบสวนพระธรรมวนิ ัยให้ถ่องแท้ ได้ ลัทธิศาสนาในประเทศฝ่ายเหนอื เหลา่ น้ันกแ็ ปรผันวิปลาสไป ส่วนประเทศฝ่ายใต้มี ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร ประเทศเหล่านี้คิดเห็นมาแต่เดิมว่า ถ้าแปล พระไตรปิฎกเป็นภาษาอื่นโดยทิ้งของเดมิ เสยี แล้ว พระธรรมวินัยก็คงคลาดเคล่ือน จึงรักษาพระไตรปิฎกไว้ในเปน็ ภาษาบาลี ๑๒พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยทุ ธ ปยตุ โฺ ต),พระไตรปิฎก: สงิ่ ท่ชี าวพุทธต้องรู้, (กรงุ เทพฯ: ธรรมสภา ,๒๕๕๐),หนา้ ๕๓.

๑๐ การเล่าเรียนคันถธุระก็ต้องเรียนภาษาบาลีให้เข้าใจเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงเรียนพระธรรมวินัยใน พระไตรปิฎกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองประเทศฝ่ายใต้จึงสามารถรักษาลัทธิศาสนาตามหลักธรรมวินัยยั่งยืนมาได้ การศกึ ษาเลา่ เรียนพระปรยิ ตั ธิ รรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากจะเป็นการศึกษาหลกั ธรรมคำสัง่ สอนแล้วยังได้ ชื่อว่า เป็นการสบื ตอ่ อายุพระพุทธศาสนาไว้อีกดว้ ย โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไมร่ ้ภู าษาบาลีแล้ว ก็ จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก ถ้าขาดความรู้เรื่องพระไตรปิฎกแล้ว พระพทุ ธศาสนากจ็ ะตอ้ งเส่อื มสูญไปดว้ ยด้วยเหตุน้ี พระมหากษัตริยผ์ ู้เป็นศาสนูปถมั ภกต้ังแต่โบราณมาจงึ ทรงทำนุบำรุง สนบั สนุนการเลา่ เรียนพระปริยัติ ธรรม และทรงยกย่องพระภิกษุสามเณรที่เรียนรู้พระพุทธวจนะให้มีฐานันดร พระราชทานราชูปการต่างๆ มีนิตย ภตั เป็นต้น จึงได้ทรงจดั ใหม้ วี ิธีการสอบพระปริยัติธรรมเพ่ือให้ปรากฏต่อชาวโลกทั่วไปว่า พระภกิ ษุสามเณรรูปใดมี ความรู้มากนอ้ ยแค่ไหนเพียงไร เมื่อปรากฏว่า พระภิกษุสามเณรรูปใดมีความรู้ถึงขั้นที่กำหนดไว้ พระมหากษัตริย์ก็ทรงยกย่อง พระภิกษุสามเณรรปู ปั้นให้เป็น “มหาบาเรียน” คร้นั อายุพรรษาถึงชน้ั เถรภูมิ ก็ทรงต้ังให้มีสมณศักดิ์ในสังฆมณฑล ตามควรแกค่ ณุ ธรรมและความร้เู ป็นครู อาจารย์ สง่ั สอนพระปรยิ ตั สิ ืบๆ กนั มาจนปจั จบุ นั วิวัฒนาการของภาษาบาลี ภาษาบาลมี ีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ สามารถศึกษาได้จากคมั ภีร์ท่จี ารึกคำสอนของพระพุทธศาสนา ซงึ่ คมั ภีรภ์ าษาบาลีมกี ารจำแนกความสำคญั ตามลำดบั คือ ๑. คมั ภีรพ์ ระไตรปฎิ ก พระไตรปิฎก หมายถึงคัมภีร์ที่บันทึกพระพุทธพจน์ไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ คัมภีร์ คือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระวินัยปิฎกมี ๕ พระคัมภีร์ แบ่งเป็น ๘ เล่ม พระสุตตันตปิฎกมี ๕ นิกาย ๓๗ พระคัมภีร์ จัดเป็น ๒๕ เล่ม จากเล่มท่ี ๙-๓๓ พระอภธิ รรมปฎิ ก ๑๒ เลม่ จากเลม่ ที่ ๓๔-๔๕ นักศึกษาจะไดศ้ กึ ษาในชั้นตอ่ ไป ๒. คมั ภีร์อรรถกถา คัมภีร์อรรถกถาได้แก่คัมภีร์ที่วรรณนาธิบายลีนัตถบทในพระไตรปิฎกให้กระจ่างชัดโดยอรรถสมบัติ พยญั ชนสมบตั ิ บาลีมตุ ตกะ นานาวินิจฉยั ตลอดจนอาจรยิ วาทระดบั ต่าง ๆ หรอื ท่ีเรยี กวา่ ปกิณณกเทศนา อันพระ ผูม้ ีพระภาคทรงแสดงไวใ้ นที่ตา่ ง ๆ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คอื ๑๓ ๑. พุทธสังวัณณิตะ คำอธิบายที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเอง เรียกว่าปกิณณกเทศนา ดังคำว่า “ตตฺถ ตตฺถ ภควา ปวตฺติตา ปกิณฺณกเทสนาเยว หิ อฏฺฐกถา” หรือดังคำว่า ปฐมสงฺคีติยํ ยา อฏฺฐกถา สงฺคีตาติ วจเนน สา ภควโต ธรมานกาเลปิ อฏฺฐกถา สํวิชฺชตตี ิ” ๒. อนุพทุ ธสงั วณั ณติ ะ คำอธิบายไขความทีพ่ ระสาวกทั้งหลายได้พรรณนาไว้ ๑๓มหาวทิ ยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย, คมั ภีรพ์ ุทธศาสตร์ http://oldaad.mcu.ac.th/html/scripture.html (13/02/05)

๑๑ คมั ภรี ์อรรถกถาตามท่ีกลา่ วมานั้น เมื่อจะแยกออกโดยยุคสมยั สามารถแบ่งอรรถกถาเหล่าน้ันออกได้เป็น ๒ คือ (๑) โบราณอรรถกถา ได้แกอ่ รรถกถารนุ่ เกา่ (๒) อภินวอรรถกถา ได้แกอ่ รรถกถาที่เรียบเรียงรจนาขึ้นใหม่ ๑.โบราณอรรถกถา เป็นอรรถกถาที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งได้ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง และ พระมหินทเถระนำไปลังกา ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาสงิ หล ซึง่ นยิ มเรียกวา่ สหี ลอรรถกถา ได้แกค่ มั ภรี เ์ หลา่ น้ี คอื (๑) มูลอรรถกถา ได้แก่พุทธสังวัณณิตะและอนุพุทธสังวัณณิตะที่ยกขึ้นสู่การสังคายนาทั้ง ๓ ครั้งแลว้ พระมหินทเถระนำไปสลู่ งั กา ต่อมาพระชาวสงิ หลแปลเปน็ ภาษาสิงหล (๒) มหาอรรถกถา ได้แกอ่ รรถกถาเก่าท่ีพระพุทธโฆสาจารย์เป็นต้นถือเป็นเคา้ โครงในการรจนา อภนิ วอรรถกถา (๓) มหาปจั จรอี รรถกถา ไดแ้ กอ่ รรถกถาทพ่ี ระมหาเถระรจนาบนแพ (๔) กุรนุ ทีอรรถกถา ได้แก่อรรถกถาทรี่ จนาโดยพระมหาเถระผอู้ ยู่ในกุรนุ ทวี ัลลวิ หิ าร (๕) อันธกอรรถกถา ได้แก่อรรถกถาท่ีพระเถระรจนาด้วยอันธกภาษา (๖) สงั เขปอรรถกถา ได้แกอ่ รรถกถาทพี่ ระเถระรจนาโดยการย่อความของคมั ภีรม์ หาปัจจรีอรรถ กถา หรอื บางทเี รยี กว่าจูฬปจั จรอี รรถกถา (๗) อรยิ อรรถกถา ได้แก่อรรถกถาทรี่ จนาดว้ ยอริยภาษา (๘) ปนั นวารอรรถกถา ไดแ้ ก่อรรถกถาท่รี วบรวมคำวนิ ิจฉัยออกมาจากคมั ภีรม์ หาอรรถกถา ๒.อภินวอรรถกถา ได้แก่อรรถกถาที่พระพุทธโฆสาจารย์เป็นต้นแปลเรียบเรียงจากสีหลอรรถกถาข้นึ ใหมด่ ้วยภาษามคธแบ่งออกเปน็ ๒ ประเภทคอื (๑)วติ ถารอรรถกถา ได้แก่ อรรถกถาที่แต่งโดยพิสดาร แตไ่ ล่เนอ้ื ความไปตามลำดับบทที่มีใน พระไตรปิฎกคือ อรรถกถาพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์ผู้รจนาวินยอรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา เพ่ือ อธบิ ายความในพระวนิ ยั ปิฎกท้ัง ๘ เล่ม (๒)อรรถกถาพระสตุ ตันตปฎิ ก พระพุทธโฆษาจารย์ได้แตง่ อรรถกถาพระสตุ ตันตปฎิ กคือทีฆ นิกาย อรรถกถาช่อื สุมังคลวลิ าสนิ ี มัชฌมิ นิกาย อรรถกถาชือ่ ปปัญจสูทนี สังยตุ ตนกิ าย อรรถกถาชอ่ื สารัตถัปปกา สินี อังคุตตรนิกาย อรรถกถาชื่อมโนรถปูรณี ในขุททกนิกาย คือขุททกปาฐอรรถกถา ปรมัตถโชติกาและธัมม ปทัฏฐกถา อิติวุตตกอรรถกถา ปรมัตถทีปนี สุตตนิบาตอรรถกถา ปรมัตถโชติกา เปตวัตถุอรรถกถา ปรมัตถ ทีปนี เถรคาถาอรรถกถา ปรมัตถทปี นี ชาตกัฏฐกถา สันนษิ ฐานวา่ พระพุทธโฆสาจารยเ์ ป็นผู้แตง่ อทุ านอรรถกถา ปรมัตถทีปนี วมิ านวัตถุอรรถกถาปรมตั ถทีปนี จริยาปฏิ กอรรถกถา ปรมัตถทปี นีพระธัมมปาลเถระเป็นผู้แต่ง นิเท สอรรถกถา สทั ธัมมปั ปชั โชติกา พระอปุ เสนเถระเปน็ ผูแ้ ตง่ ปฏิสัมภทิ ามรรคอรรถกถา สัทธัมมปกาสินี พระมหานา มะเป็นผู้แต่ง พุทธวังสอรรถกถา มธุรัตถวิสาลินี พระพุทธทัตตเถระเป็นผู้แต่ง อปทานอรรถกถา วิสุทธชนวิลาสินี ไม่ทราบผู้แต่ง อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้รจนาคือ ธัมมสังคณีอรรถกถา อัฏฐสาลินี วภิ งั ค์อรรถกถา สัมโมหวโิ นทนี กถาวตั ถอุ รรถกถา ปัญจปกรณัฏฐกถา ปคุ คลบัญญัติอรรถกถา ปญั จปกรณัฏฐกถา

๑๒ ธาตุกถาอรรถกถา ปัญจปกรณัฏฐกถา ยมกอรรถกถา ปัญจปกรณัฏฐกถา ปัฏฐานอรรถกถา ปัญจปกรณัฏฐกถา สังคหอรรถกถา พระเถระผู้รจนาเลือกเฉพาะบาลีนัตถบทมาอธิบาย หรือรวบรวมอรรถาธิบายในส่วนที่เป็นบาลี มุตตกะ หรือยอ่ ความอรรถกถา เพอ่ื สะดวกแก่การทรงจำ เช่น ๑. กงั ขาวติ รณอี รรถกถา พระพุทธโฆสาจารย์ ๒. วนิ ยสงั คหอรรถกถา พระสารีบตุ รเถระแหง่ วดั เชตวนั ในลงั กาทวีป ๓. วนิ ยสังคหอรรถกถา (ฉบับย่อ) พระชินกูมีนเถระ ในสมยั องั วะ ๔. วนิ ยสังเขป พระเถระผ้ไู ม่ปรากฏนาม ๕. วนิ ยวนิ ิจฉยะและอตุ ตรวินจิ ฉยะพระพทุ ธทตั ตเถระผรู้ จนาพุทธวงั สอรรถกถา ๖. ขทุ ทสกิ ขา พระธมั มสิริเถระ ๗. มูลสิกขา นิปณุ ปทสงั คหะ สลี าวหะ พระเถระผไู้ ม่ปรากฏนาม ๘. สีมาลังการะ สีมาสงั คหะ พระวาจิสสรเถระ ๙. สกิ ขาปทวลัญชนะ ปาติโมกขวโิ สธนี สมี าสัมพันธนี พระเถระผูไ้ ม่ปรากฏนาม ๑๐. ปาตโิ มกขปทัตถอนวุ ณั ณนา พระวจิ ติ ตาลงั การเถระ ๑๑. วินยคูฬหัตถทีปนี พระสัทธัมมโชติปาลเถระ สุตตันตสังคหอรรถกถา วิสุทธิมัคคปกรณะ พระพทุ ธโฆสาจารย์ อภธิ มั มสงั คหอรรถกถา ๑. อภธิ มั มัตถสงั คหะ ปรมัตถวินจิ ฉัย นามรูปริจเฉท พระอนรุ ุทธเถระ ๒. อภิธรรมาวตาร รปู ารปู วิภาค พระพทุ ธทตั ตะเปน็ ผรู้ จนา ๓. เขมาปกรณ์ พระเขมาเถระ ๔. นามจารทีปกะ พระสัทธัมมโชติปาละชาวพมา่ ๕. สจุ ิตตาลงั การ ชีปะขาวชาวพมา่ ชื่อโภตูต่อ ๖. ปรมตั ถพนิ ทุ พระเจา้ จะสวา ๗. สัจจสงั เขป พระธมั มปาลเถระ ๘. ปรมัตถสงั คหะ พระวิสทุ ธเิ ถระ ๙. วีสตวิ ัณณนาปาฐะ พระมุนนิ ทโฆสเถระ คัมภรี เ์ หลา่ นี้บางเล่มได้รบั การแปลเปน็ ไทยแล้ว ผู้สนสามารถศกึ ษาคน้ คว้าได้ ๓.คัมภีร์ฎีกาคัมภีร์ฎีกา ได้แก่ฎีกาที่อธิบายลีนัตถบทในคัมภีร์วินัยอรรถกถา และสุตตันตอรรถกถา ฎีกาในสว่ นนเ้ี รยี กวา่ ปุราณฎกี า, อภินวฎีกา สว่ นคัมภีรอ์ ภิธมั มฎีกาแยกเปน็ มูลฎกี าและอนุฎกี า แบ่งเปน็ ๒ คอื ๑. คมั ภีรฎ์ กี าที่อธบิ ายลีนัตถบทในคัมภีรอ์ รรถกถา เชน่ (๑) วนิ ยฎีกาคอื ๑. วชิรพุทธิฎีกา พระวชริ พุทธเิ ถระ ๒. สารัตถทปี นฎี กี า พระสารีปตุ ตเถระ

๑๓ ๓. วิมติวโิ นทนฎี ีกา พระโกฬยิ กสั สปเถระ (๒) สุตตันตฎกี า ๑.ทีฆนิกาย สีลักขันธวัคคฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี ทีฆนิกาย มหาวัคคฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี ทีฆนิกาย ปาถิกวัคคฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสกฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสกฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสกฎีกา ชื่อลีนัตถัปปกาสนี สังยุตตนิกาย สัง ยตุ ตฎีกา ช่ือลนี ัตถัปปกาสนี อังคุตตรนิกาย อังคุตตรฎกี า ชอ่ื ลีนัตถัปปกาสนี พระธัมมปาลเถระเป็นผแู้ ตง่ ๒.ทฆี นกิ าย สีลักขันธวคั คอภินวฎีกาชือ่ สาธุวิลาสินี พระญาณาภิวงั ส ธัมมเสนาปตมิ หาเถระ ๓. องั คุตตรนิกาย อังคตุ ตรฎีกา ชอ่ื สารตั ถมญั ชูสา พระสารปี ุตตเถระ ๔.ขทุ ทกนิกาย ขทุ ทกปาฐฎีกา ชอ่ื ปรมัตถสูทนี พระอาทิจจเถระ ๕. ขทุ ทกนกิ าย ธัมมปทปรุ าณฎกี า ชอ่ื ธมั มปทตั ถทปี นี พระเถระไม่ปรากฏนาม ๖. ขุททกนิกาย ธัมมปทอภินวฎีกา ช่ือธมั มปทมหาฎกี า พระวรสัมโพธเิ ถระ ๗.ขุททกนิกาย ชาตกฎีกา ชื่อลนี ัตถปกาสนี พระธมั มปาลเถระ ๘. ขุททกนิกาย ชาตก(อภินว)ฎีกา ปัญญาสามเี ถระ นอกจากน้ี ยังมขี ุททกนกิ ายฎกี าอกี หลายคมั ภรี ์ ซ่ึงผู้รจนาคัมภรี ป์ ิฎกตอ่ มา แตไ่ มก่ ล่าวว่าใครเปน็ ผู้แต่ง มีอยู่ในลงั กา เช่น ๑. อทุ านฎกี า ๒. อติ ิวุตตกฎีกา ๓. สตุ ตนบิ าตฎีกา ๔. วมิ านวตั ถุฎีกา ๕. เปตวตั ถุฎกี า ๖. เถรคาถาฎีกา ๗. เถรคี าถาฎีกา ๘. เถราปทานฎีกา ๙. พุทธวงั สฎีกา ๑๐. จรยิ าปิฎกฎีกา ๑๑. มหานทิ เทสฎีกา (๓) อภิธัมมฎีกา (เรียกว่ามูลฎีกา) เช่น ธัมมสังคณีมูลฎีกา วิภังคมูลฎีกา ปัญจปกรณมูลฎีกา พระ อานันทเถระ นอกจากนีย้ งั มคี ัมภรี อ์ ภิธัมมฎีกาทีอ่ ธิบายอภธิ มั มลนี ตั ถบทอีก เชน่ ๑. อภธิ ัมมนยปกาสนี พระเถระผู้ไม่ปรากฏนาม ๒. ธาตุกถาฎีกาวณั ณนา ธาตุกถาอนฎุ กี า ยมกวัณณนาฎกี า แต่งโดยพระตโิ ลกครุเถระ ๓. ยมกวิสัชชนา ปฏั ฐานุทเทสทีปนี รปู เภทปกาสนี พระญาณเถระ (แลดสี ยาดอ) ๔. ปัฏฐานวณั ณนาฎีกา พระตโิ ลกครุเถระ

๑๔ ๕. ปัฏฐานสารทปี นฎี ีกา พระสัทธมั มาลังการเถระ ๖. ปัจจยัตถปั ปกาสนี ปจั จยฆฏนปกาสนี พระชัมพธุ รเถระ (๔) คัมภีร์คันถันตระประเภทสัททศาสตร์ คัมภีร์คันถันตระประเภทสัททศาสตร์นี้นับเป็นคัมภีร์มูลราก ของพระปริยตั ิธรรมมี ๔ คอื ๑.คัมภีรไ์ วยากรณ์ ๒.คัมภรี พ์ จนานกุ รม ๓.คัมภีรฉ์ ันท์ ๔.คมั ภีร์อลงั การะ ๑. คัมภีร์ไวยากรณ์ เป็นคัมภีร์ที่แสดงข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของมคธภาษาได้อย่างเป็นระบบ นักปราชญ์จดั คมั ภีร์เหล่านน้ั ไว้เปน็ ๒ ระดับ คือ (๑) คมั ภีร์ไวยากรณ์ใหญ่ โดยคมั ภรี ์ไวยากรณใ์ หญม่ ีองค์ประกอบ ๓ อย่าง คอื ๑.สูตร ๒.วุตติ ๓.อทุ าหรณ์ คัมภรี ไ์ วยากรณใ์ หญ่ นกั ปราชญ์แบ่งออกเปน็ ๓ สาย คอื ๑.กจั จายนะ ๒.โมคคลั ลานะ ๓.สัทท นตี ิ คัมภีรไ์ วยากรณ์ใหญ่สายกัจจายนะ มีรายช่ือดังนี้ ๑. กจั จายนพยากรณะ พระมหากัจจายนเถระ ๒. นยาสะ ช่ือมุขมัตตทีปนี พระวชริ พทุ ธิเถระ ๓. นยาสฎกี า ชื่อสันเปียน อำมาตยช์ ือ่ สันเปียน ๔. นยาสฎกี า ชือ่ นริ ตุ ติสารมญั ชสู า พระทาฐานาคราชคุรุเถระ ๕. มขุ มัตตสาระ พระคุณสารเถระ ๖. มขุ มัตตสารฎกี า พระคณุ สารเถระ ๗. ปทรปู สิทธิ พระพุทธัปปิยเถระ ๘. ปทรปู สิทธฎิ ีกา พระพุทธปั ปิยเถระ ๙. สุตตนิทเทส พระสัทธัมมโชตปิ าลเถระ ๑๐. กจั จายนวณั ณนา พระมหาวชิ ติ าวเี ถระ ๑๑. กจั จายนัตถทีปนี พระชาคราภวิ ังสเถระ ๑๒. พาลาวตาร พระสทั ธัมมกิตตเิ ถระ ๑๓. พาลาวตารปรุ าณฎกี า ชือ่ สโุ พธกิ า พระสิริสุมังคลยตสิ สรเถระ ๑๔. พาลาวตารอภินวฎีกา พระเรวตเถระ ๑๕. กจั จายนสังเขป พระชาคราภวิ ังสเถระ ๑๖. นริ ตุ ตสิ ารมัญชสู าฎีกา พระสริ ิสนุ ันทธัมมราชปวราธปิ ติเถระ คัมภรี ไ์ วยากรณใ์ หญ่สายโมคคลั ลานะ มีรายชอ่ื ดงั นี้ ๑. โมคคลั ลานพยากรณ์ พระโมคคัลลานเถระ ๒. วุตตวิ ิวรณปญั จิกา พระโมคคัลลานเถระ ๓. โมคคัลลานปญั จกิ าฎีกา ชื่อสารตั ถวิลาสินปี ญั จิกา พระสงั ฆรกั ขิตมหาสามิเถระ ๔. ณวฺ าทโิ มคคัลลานะ พระสังฆรักขิตมหาสามเิ ถระ ๕. ปทสาธนะ พระปยิ ทัสสีเถระ

๑๕ ๖. ปทสาธนฎีกา ชื่อ พทุ ธปั ปสาธนี พระวาจิสสรเถระ ๗. นิรุตตทิ ีปนี พระญาณธชเถระ (แลดสี ยาดอ) ๘. ปโยคสิทธิ พระวนรัตนเมธังกรเถระ ๙. โมคคัลลานปัญจิกาปทีปะ พระราหลุ เถระ คัมภีร์ไวยากรณ์ใหญส่ ายสทั ทนีติ มรี ายชอื่ ดังนี้ ๑. สทั ทนตี ิ ปทมาลา พระอคั ควังสเถระ ๒. สัททนีติ ธาตุมาลา พระอัคควงั สเถระ ๓. สัททนตี ิ สตุ ตมาลา พระอัคควังสเถระ ๔. สัททนีตฎิ กี า ชอื่ สาธชุ ชนปโมทนี พระปญั ญาสามิเถระ ๒. คัมภีร์ไวยากรณ์น้อย มีองค์ประกอบไม่ครบทั้ง ๓ เหมือนคัมภีร์ไวยากรณ์ใหญ่ แต่ก็รจนาขึ้นเพื่อ อธิบายอรรถนัยอันลึกซ้ึงในคัมภีร์ไวยากรณใ์ หญ่นั่นเอง โดยมุง่ หมายให้โสตุชนได้เข้าถึงอรรถนัยอันสุขุมคัมภีรภาพ ในพระไตรปฎิ ก อรรถกถา เปน็ ต้น ซ่งึ มรี ายช่ือดงั นี้ ๑. สมั พนั ธจนิ ตา พระสงั ฆรกั ขติ มหาสามิ ๒. สมั พนั ธจนิ ตาปรุ าณฎกี า พระมหากสั สปเถระ ๓. สมั พนั ธจินตาอภนิ วฎกี า พระตปิ ิฎกธราอภยเถระ ๔. การิกา พระธมั มเสนาปตเิ ถระ ๕. การิกาฎีกา พระธมั มเสนาปติเถระ ๖. สัททตั ถเภทจินตา พระสทั ธัมมสิรเิ ถระ ๗. สัททัตถเภทจินตาปุราณฎกี า พระติปิฎกธรอภยเถระ ๘. สทั ทัตถเภทจินตาอภนิ วฎีกา พระเถระผไู้ ม่ปรากฏนาม ๙. สัททัตถเภทจนิ ตาทีปนี ๑๐.กจั จายนสาระ พระยสเถระ ๑๑. กัจจายนสารปุราณฎกี า พระสริ สิ ทั ธัมมวสิ าลเถระ (มปี ระมาณ ๗๑ เล่ม) (๕) คัมภรี ์พจนานุกรม ได้แก่คัมภีร์ทรี่ วบรวมนามนามตา่ ง ๆ บ้าง ใหค้ วามหมายของธาตุตา่ ง ๆ บ้าง แบง่ ออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. คมั ภรี ์พจนานกุ รมประเภทอภิธาน มีรายชื่อดงั นี้ (๑) อภิธานัปปทปี กิ า พระมหาโมคคลั ลานเถระ (ชาวลงั กา) (๒) อภธิ านปั ปทีปิกาฎกี า สริ ิจตุรังคพลมหาอำมาตย์ (๓) อภิธานัปปทีปิกาสูจิ พระสุภูตเิ ถระ (๔) ธาตวุ ตั ถสงั คหะ พระวสิ ุทธาจารเถระ (๕) ธาตมุ ญั ชสู า พระสลี วังสเถระ (๖) ธาตุปปัจจยทีปนี พระวรสัมโพธเิ ถระ (มอี ยู่ ๒๓ เลม่ )

๑๖ ๒.คมั ภีรพ์ จนานุกรมประเภท ปาลิ-ไทย มีรายชอ่ื ดังน้ี (๑) ปาฬิลิปกิ รม พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลกั ษณ์) ๒. อกั ขรานุกรมธรรมบท พระยาพจนสนุ ทร (เรือง อติเปรมานนท)์ ๓. บาลีสยามอภิธาน ต. นาคประทปี ๔. ธาตุปปทปี กิ า หลวงเทพดรณุ านุศษิ ย์ ๕. ปทานุกรมธรรมบท พระยาปริยัตธิ รรมธาดา ๖. ปทานุกรมมังคลัตถทีปนี คณะจตรุ มิตร (เปรยี ญ) ๗. ปทานุกรมสมันตปาสาทกิ า คณะจตรุ มติ ร (เปรยี ญ) ๘. วจนานุกรมสมาสทอ้ ง พระเทพวราภรณ์ (เปลย่ี น ปุณฺโณ ป.ธ.๙) ๙. ศัพท์หมวดไทยบาลี พระมหาพรหมา ปญญฺ าทีโป ป.ธ.๙ ๑๐. พจนานุกรมศพั ท์พระพทุ ธศาสนาไทย-อังกฤษ และองั กฤษ-ไทย สุชพี ปญุ ญานุภาพ ๑๑. พจนานกุ รมบาลี-สันสกฤต ไทย-องั กฤษ หน่วยวิจยั ทางพระพทุ ธศาสนา ๑๒. พจนานกุ รมบาลี-ไทย แปลก สนธริ กั ษ์ ๑๓. พจนานกุ รมบาลี-ไทย ฉบับนักศึกษา พระอุดรคณาธิการ (ชวนิ ทร์ สระคำ) ๑๔. พจนานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤ นาถ ๑๕.พจนานุกรมพทุ ธศาสตร์ (ฉบับประมวลธรรม) พระราชวรมนุ ี (ประยทุ ธ์ ปยุตโฺ ต) ๑๖. พจนานกุ รมพุทธศาตร์(ฉบับประมวลศพั ท)์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ๑๗. คัมภีร์พระอภิธานศัพท์ บาลี-ไทย ฉบับ ว.พ.ต. ๑๘. พจนานกุ รมบาลี-สนั สกฤต-ไทย องั กฤษ น.ท.ฉลาด บญุ ลอย, เสฐียร พันธรงั ษี ๑๙. พจนานกุ รมบาลไี ทย ป.หลงสมบุญ ๒๐. ปทานุกรมพระไตรปิฎก ฉบบั บาลี-ไทย พระราชปริยตั ิโมลี (สมศกั ดิ์ อุปสโม) ๓.คัมภีร์ฉันท์ ได้แก่คัมภีร์ที่แสดงฉันท์ของภาษาบาลีที่กำหนดบังคับบาทต่าง ๆ ด้วยมาตรา เสยี งหนกั -เบาเปน็ ต้น มีรายชือ่ ดงั นี้ ๑. วุตโตทัย พระสังฆรักขติ มหาสามิ ๒.วตุ โตทัยปุราณฎีกา พระนววมิ ลพทุ ธิ (ชาวเมอื งพกุ าม) ๓. ฉนั โทสารตั ถวิกาสนิ ี อภินวฎีกา พระสทั ธมั มญาณเถระ ๔.วจนตั ถโชติกอภนิ วฎกี า พระเวปลุ ลเถระ ๕. กวิสารอภนิ วฎกี า พระธัมมานันทเถระ ๖. สุททุ ทสวกิ าสนอี ภินวฎกี า ปฐมเซกผิวเถระ ๗. ฉปั ปจั จยทปี กอภินวฎีกา พระปัญญาสหี เถระ (มี ๒๒ เลม่ )

๑๗ ๔.คัมภีร์อลงั การะ ได้แก่คัมภีร์ทีแ่ สดงถงึ ความวจิ ติ รพิสดาร ความงดงาม ความสามารถในการนำ บทบาลตี ่าง ๆ มาใชใ้ นการแต่งฉนั ทเ์ ปน็ ต้น มรี ายชือ่ ดงั น้ี ๑. สุโพธาลงั การะ พระสังฆรักขิตมหาสามิปาทเถระ ๒. สโุ พธิลังการปุราณฎีกา พระสงั ฆรกั ขติ มหาสามปิ าทเถระ ๓. สโุ พธาลงั การอภนิ วฎีกา พระสริ ิธัมมกิตติรตนปัชโชตเถระ ๕.คัมภีร์บันทึกประวัติศาสตร์ คัมภีร์คันถันตระประเภทบันทึกประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ได้แก่คัมภีร์ที่บันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้า พระสาวก ตลอดถึงประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา เป็นต้น มี เป็นจำนวนมาก เช่น ๑. ทปี วังสะ พระโบราณเถระผไู้ ม่ปรากฏนามชาวลังกา ๒. ทีปวังสฎกี า พระชาคราภิวงั สธชติปฏิ กธรมหาธัมมราชาธริ าชครุ ุมหาเถระ แหง่ วัดทักขิณาราม เมอื งบนั ดล ๓. มหาวงั สะ พระมหานามเถระเปน็ ตน้ ชาวลังกา ตามคำอาราธนาของทีฆสนั ตเสนาบดี ๔. มหาวังสฎีกา พระมหานามเถระ ฯลฯ เสนาบดี ๕. จฬู วังสะ พระมหานามเถระ ชาวลงั กาผู้รจนามหาวังสะ ๖. มหาโพธิวังสะ(เดมิ เป็นภาษาสหี ฬ) พระอรหันตเถระรูปหนึ่ง ต่อมา พระมหาอุปติสสเถระชาว สิงหฬแปลเปน็ ภาษามคธ ๗. มหาโพธวิ ังสฎกี า หรือ สหัสสรังสีฎีกา พระมหากัสสปเถระ ชาวพม่า ในรชั สมัยของพระเจ้านร ปติ สมยั พุกาม ๘. ทาฐาธาตุวังสะ เดิมเป็นภาษาสิงหล พระเถระผู้ไม่ปรากฏนาม (ต่อมา พระธัมมกิตติเถระผู้ เป็นศิษยข์ องพระสารบี ุตรผู้รจนาสารัตถทีปนี เป็นตน้ แปลเป็นภาษามคธ ๙. ทาฐธาตวุ ังสฎีกา พระมหาสาม(ิ ชาวลงั กา ผู้อยใู่ นมหาวิหาร เมอื งอนุราธะปุระ) ๑๐. อนาคตวงั สปาฬิ พระเถระชาวลังกาผู้ไมป่ รากฏนาม ๑๑. อนาคตวงั สอรรถกถา(ชอื่ สมนั ตภัททกา)พระมหาอุปติสสเถระ ๑๒. อนาคตวังสอรรถกถา(ชอ่ื อมตรสธารา)พระมหาอปุ ติสสเถระ ๑๓. มหาถูปวังสะ พระวาจิสสรเถระ ๑๔. อุปาสกาลงั การ พระอานันทาจารย์ ชาวลังกา ๑๕. ปรติ ตฎีกา พระเตโชทีปเถระ ชาวพมา่ ๑๖. โสตตั ถกนี ทิ าน พระจูฬพทุ ธโฆสเถระ ชาวลังกา ๑๗. ตถาคตุปปตั ติ พระญาณคมั ภรี ์ ชาวพกุ าม ๑๘. พุทธโฆสุปปตั ติcและอรหตั ตมัคควัณณนา พระเถระชาวพุกามผไู้ มป่ รากฏนาม ๑๙. วชริ สารัตถสังคหะ วชิรสารัตถสงั คหฎกี า พระสริ ิรัตนปัญญาเถระ ๒๐. ราชนิ ทราชนารมภิเธยยทปี นี พระเถระชาวเมอื งปนิ ยะผไู้ มป่ รากฏนาม

๑๘ ๒๑. ราชินทราชนามภิเธยยทีปนี พระอนันตธชเถระ หรือ ราชินทราชนาภิเธยยโสธนี (ต่องปี ลาสยาดอ) ๒๒. ราชาธริ าชนามัตถทีปนี พระญาณวรเถระ(ปฐมะจ่อออ่ งสง่ั ทาสยาดอ) ๒๓. ราชนิ ทราชสุธมั มจารทีปนี พระปัญ ญาสามเี ถระ (มองถอ่ งสยาดอ) ๒๔.ราชินทราชปุญญทปี นี พระสังฆเถระสลหิ สยาดอ ๒๕. โลกทปี นี พระปตูจีสังฆเถระ หรอื ปตจู ีสยาดอ ๒๖. โลกุปปตั ติปกาสนี อคั คปัณฑิตเถระ ๒๗. โลกทีปกสาระ พระเมธงั กรเถระชาวพมา่ ๒๘. โลกปญั ญัตติ พระเถระชาวลงั กาผไู้ มป่ รากฏนาม ๒๙. โลกวทิ ู พระอนันตธชเถระ (ต่องปลี าสยาดอ) ๓๐. โอกาสทปี นี พระปตจู สี ังฆเถระ หรือ ปตูจีสยาดอ ๓๑. โอกาสโลกสทู นี พระเถระผูไ้ มป่ รากฏนาม คัมภีร์ประเภทนี้ยังมีอีกมาก เท่าที่ฝ่ายคัมภีร์พุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รวบรวมไว้ ได้นำมาเสนอเพยี งบางสว่ นเทา่ น้นั ๑๔ คัมภีร์ภาษาบาลีมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นให้ยึดพระไตรปิฎกเป็นหลักฐาน ชั้นแรก จากน้นั จงึ ค่อยตรวจทานดตู ามอรรถกถา ส่วนคมั ภีรใ์ นลำดบั ต่อๆมาก็ถือวา่ เป็นหลักฐานที่เป็นพัฒนาการ ของภาษาบาลีตามลำดบั ความมหัศจรรยข์ องภาษาบาลี ศาสนาทั้งหลายในโลกน้ี ต่างมีภาษาสำหรับจารึกศาสนธรรมคำสอนของพระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนา นัน้ ๆ ภาษาสนั สกฤตผ้นู บั ถือศาสนาพราหมณ์นับถือวา่ เปน็ ภาษาอันศักดิส์ ิทธ์ิ เพราะจารกึ คำสอนอขงพระเวทฉัน ใด แมภ้ าษาบาลีก็เปน็ เช่นเดียวกัน ชาวพทุ ธท้งั หลายฝ่ายเถรวาทก็นบั ถือว่าเป็นภาษาศักด์สิ ทิ ธ์ เพราะจารึกพระ ธรรมอันเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่อนุพุทธยุคหลักได้ศึกษาเรียนรู้พระพุทธ ธรรมได้โดยง่าย พระมหาเถระทั้งหลายผู้แต่งคัมภีร์อรรถกถา และฎีกา เป็นต้น ต่างใช้ภาษาบาลีเป็นหลกั ในการ แต่งคัมภรี เ์ หลา่ นนั้ ฉะนั้น การที่จะมีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทโดยถูกต้องและสมบูรณ์แบบที่สุด นั้นขึ้นกับภูมิความความแตกฉานภาษาบาลีเป็นสำคัญ เพราะพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปัจจุบันเรียก กันว่า “พระไตรปิฎก” นน้ั ลว้ นอย่ใู นรปู ของภาษาบาลที ั้งสน้ิ เนอื่ งจากภาษาบาลีเป็นภาษารักษาไว้ซ่ึงพระพุทธ วจนะ ภาษาบาลีมีความมหัศจรรยพ์ อสรุปได้ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ภาษาบาลเี ป็นภาษาทีไ่ ม่เสื่อม ๑๔มหาวิทยาลยั มหาจฬุ าลงกรณ์ราชวทิ ยาลัย http://oldaad.mcu.ac.th/html/scripture.html

๑๙ ภาษาบาลีนับว่าเป็นภาษาที่สูงกว่าภาษาทั้งหลาย เพราะสมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ และสภาวนิรุตติ คำ ว่า สภาวนิรุตตินั้น หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลีย่ นแปลงความหมายและอธิบาย มีอำนาจในการแสดงอรรถและ อธิบายได้แน่นอน เป็นภาษาที่ผู้วิเศษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงใช้อยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง สภาวนิรุต ติ หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อม ตั้งอยู่โดยปกติ ส่วนภาษาอื่นๆ เมื่อถึงกาลหนึ่งย่อม เปลี่ยนแปลง และเสื่อมได้ สำหรับภาษาบาลแี ล้วจะไม่มกี ารเปลี่ยนแปลงและเสื่อมเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ใน กาลไหนๆ หากจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเสื่อมสลายก็เป็นเพราะผู้ศึกษา ผู้แสดง ผู้สอน เรียนผิด แสดง ผิด และสอนผิด แม้ถึงกระนั้น ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอดกาล เพราะท่านกล่าวไว้ในสัมโมทวิโน ทนีวา่ สถานท่พี ูดภาษาบาลีมากทสี่ ดุ คือ นรก ดริ จั ฉาน เปรต โลกมนุษย์ สวรรค์ และพรหมโลก กล่าวอธิบาย ว่า เมอื่ โลกแตกสลาย พรหมโลกมิได้เข้าข่ายการแตกสลายด้วย ฉะนนั้ พรหมโลกแตกสลาย พรหมโลกมิได้เข้า ข่ายการแตกสลายดว้ ย ฉะน้นั พรหมโลกจึงตง้ั อยู่ไดส้ ภาพเดมิ ๒.ภาษาบาลีเป็นมลู ภาษา ภาษาบาลีจัดเป็นภาษาของมนุษย์ในยุคแรกของโลก เพราะเมื่อโลกถึงการแตกสลาย พรหมโลกมิได้ แตกสลายไปด้วย ฉะนั้นพรหมโลกจงึ ต้ังอยู่ในสภาพเดมิ โดยไม่มีการเปลีย่ นแปลง มีอธิบายเพิม่ เตมิ อีกเลก็ น้อย ว่า มนุษย์ในยุคแรกของโรคนั้น เป็นผู้จุตมิ าจากพรหมโลกด้วยอุปาทปฏิสนธิ มนุษย์ดังกล่าวนัน้ พูดภาษาบาลีซงึ่ เป็นภาษาที่ใช้กันในพรหมโลกเป็นต้น ฉะนั้น นักไวยากรณ์จึงมีความเชื่อว่า ภาษาบาลี เป็นมูลภาษาคือเป็น ภาษาทมี่ นษุ ย์ในยคุ แรกใช้พดู กนั ดงั ท่ีคมั ภรี ์ปทรูปสิทธิ ได้กลา่ วว่า สา มาคธี มลู ภาสา นรา ยายาทกิ ปปฺ ิกา พรฺ หฺมาโน จสฺสตุ าลาปา สมพฺ ุทฺธา จาปิ ภาสเร ฯ แปลว่า นรชนผู้เกิดในปฐมกัป พรหม แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย และบุคคลผู้มิได้สดับคำพูด ของมนุษย์เลย กลา่ วด้วยภาษาใด ภาษานัน้ คอื มาคธี ภาษามคธเปน็ ภาษาด้ังเดมิ ๑๕ ภาษามาคธี เป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้พูดกันโดยมนุษย์ต้นกัปป์ พวกพรหม พระพุทธเจ้า และบุคคลผู้ที่ ยงั ไม่เคยได้ยนิ คำพดู จากบคุ คลอ่ืน ๓. ภาษาบาลีเป็นสภาวนิรุตติ ท่านแสดงไว้ในสัมโมมหวิโนทนีว่า ภาษาบาลีเป็นสภาวนิรุตติหมายความว่าเป็นภาษา ธรรมชาติ อธิบายว่า แม้ผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังภาษาอื่นมาก่อน หากมีความสามารถในการคิดและพูดได้เอง เขาคงจัดพูด ภาษาบาลีอันเป็นภาษาที่เขาสนใจเท่านั้น หมายความว่า ในหนทางอันยืดยาวแห่งสังสารวัฏอันกำหนดนับไม่ได้ นั้น มีการกำหนดเม็ดพืชของภาษาบาลีอยู่ ผู้ที่เดินทางไกลในสังสารวัฏล้วนเคยพูดเคยท่องบ่นภาษาบาลี มาแล้ว โดยนับไม่ถ้วน นั้น เมื่อถึงเวลาพูดจริงแม้จะไม่เคยพูดภาษาบาลีมาก่อน ก็สามารถพูดภาษาบาลีได้เอง ทง้ั นี้ปรากฏข้ึนมาเพราะพชื พันธแ์ หง่ สภาวนริ ุตตนิ ั่นเอง ๔.ภาษาบาลเี ปน็ นิรตุ ติปฏิสมั ภทิ าญาณ ๑๕หลวงเทพดรุณานุศิษฎ์ (ทวี ธรรมธชั ),บาลีไวยากรณพ์ เิ ศษ, (กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔), หน้า ๑.

๒๐ ภาษาบาลี นอกจากจะได้ชื่อวา่ สภาวนริ ตุ ติแลว้ ยงั ชือ่ วา่ เป็นเหตแุ หง่ นิรตุ ติปฏสิ ัมภิทาญาณอีกดว้ ย ผู้ท่ี ได้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณแล้ว จะสามารถรู้ภาษาบาลีได้เอง เช่นเดียวกันความแตกฉานในภาษาบาลีก็เป็น ปจั จัยส่วนหนง่ึ แหง่ การได้บรรลปุ ฏสิ ัมภทิ าญาณ ๕.ภาษาบาลีเป็นภาษารกั ษาพระศาสนา ภาษาบาลี มิใชจ่ ะสมบูรณด์ ว้ ยคุณดังกล่าวมาแล้วเท่าน้ัน ยงั ไดช้ ่ือว่าเป็นภาษารักษาพระ พุทธศาสนาอีกด้วย “การดำรงไว้ซึ่งวินัยกรรมที่รู้กันว่าเป็นอายุของพระศาสนา” นั้น จัดเป็นคำพูดที่ถูกทีเดียว เพราะในการทำสังฆกรรมมี อุโบสถ ปวารณา อุปสมบท และสมมติสีมา เป็นต้น จะสำรวจได้ด้วยดีและถูกต้อง ตามแบบแผนพุทธบญั ญัติ ถ้าไม่มวี นิ ัย กรรมเก่ียวเนื่องด้วยการสวดกรรมวาจาแล้ว ถอื วา่ กรรมไมส่ ำเรจ็ แต่สงั ฆ กรรมนั้นๆ จะสำเร็จได้ด้วยดีก็ด้วยผู้สวดกรรมวาจาสามารถสวดกรรมวาจา ออกเสียงสิถิล ธนิต วิมุตติ และ นิคคหิต ไดถ้ ูกต้องชดั เจน และผทู้ ่ีสวดได้ถกู ตอ้ งชดั เจน จะตอ้ งมคี วามรูแ้ ตกฉานในพยัญชนะพุทธิ ๑๐ ประการ มีสิถิลและธนิตเป็นต้น ซึ่งแสดงถึงวิธีสวดภาษาบาลี เมื่อมีความรู้แตกฉานในพยัญชนะพุทธิ ๑๐ ประการ แล้ว จึงสวดกรรมวาจาได้ถูกตอ้ งชัดเจน และสังฆกรรมย่อมสำเร็จสมบูรณต์ ามพุทธประสงค์ หากไม่เรียนรู้ภาษา บาลีก็ไม่สามารถสวดกรรมวาจาให้สำเร็จได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงกล่าวสรุปได้ว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มี ความสำคัญอนั สงู สุดต่อความดำรงม่นั ส้ินกาลนานแห่งพระพทุ ธศาสนา ๖.ภาษาบาลเี ปน็ ภาษาอจนิ ไตย กลา่ วกนั ว่า พระพทุ ธองค์ทรงแสดงพระธรรมจกั กัปปวัตตนสตู ซ่ึงเปน็ ปฐมเทศนาด้วยภาษาบาลี เมื่อ เป็นเช่นนั้นน่าจะมีปัญหาว่า ผู้ที่ฟังพระธรรมจักรเทศนาทั้งหลาย (หมายถึงพระปัญจวัคคีย์) หากไม่รู้ภาษาบาลี แลว้ จะเขา้ ใจพระธรรมจกั รเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงได้อยา่ งไร? ตอบไดว้ ่า ขอ้ ที่กลา่ ววา่ พระองคท์ รงแสดงพระ ธรรมจกั รด้วยภาษามคธนัน้ เป็นความจริงทเี ดยี ว ถึงแม้วา่ ปฏคิ คาหกบุคคลผู้รับฟังธรรมทง้ั หลาย จะรเู้ ฉพาะภาษา ของตนอยา่ งเดยี วกจ็ รงิ ขอยกตัวอย่างเชน่ ชนชาวทมิฬก็นึกวา่ (พระพทุ ธองค)์ แสดงธรรมโปรดเขาด้วยภาษาทมิฬ ชนชาวอันธกะทั้งหลายก็นึกว่า (พระพุทธองค์) ทรงแสดงธรรมโปรดเขาด้วยภาษาอันธกะเช่นเดียวกัน การที่ผู้ฟัง ทั้งหลายนึกเช่นนั้นเป็นเพราะอานุภาพแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่า “วาจาอจินไตย” อันมีอยู่ในอจินไตย ดว้ ยเหตดุ ังกลา่ ว การท่ีจะศึกษาพุทธธรรมหมคี วามรู้ความเข้าใจแตกฉาน อยา่ งล่มุ ลึกในอรรถธรรมได้ดีนัน้ จำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เข้าใจในภาษาบาลี ที่เรียกว่ามูลภาษาเสียก่อน ดังนั้น คัมภีร์นิรุตติทีปนี จึงนับได้ว่าเป็น ตำราพื้นฐานของ การศึกษาภาษาบาลี ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เข้าใจหลักภาษาก่อน จากนั้นจึงค่อยเข้าไป ศึ กษา พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา เปน็ ตน้ สืบตอ่ ไป๑๖ เนื่องจากภาษาเป็นภาษาที่มีหลักไวยากรณ์ ดังก่อนที่จะศึกษาภาษาบาลีจึงต้องรู้จักไวยากรณ์ภาษา บาลีตามสมควร การใช้คำท่ยี มื มาจากภาษาบาลี ๑๖เวทย์ บรรณกรกุล,ความอศั จรรยข์ องภาษาบาลี, http://www.medeepali.net/pali.html(13/02/05)

๒๑ ภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบันมีคำที่ยืมมาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ซึ่งคำยืมจากภาษาบาลีสามารถ แบง่ เปน็ ประเภทได้ตามลักษณะการใชด้ งั ต่อไปน้ี๑๗ ๑.ใช้เป็นราชาศัพท์ คำว่า”ราชาศัพท์”แปลตามตัวอักษรว่า \"คำที่ใช้สำหรับพระราชา\" แต่ที่จริงราชา ศัพท์เปน็ คำท่ีใช้สำหรับกล่าวถงึ และตดิ ต่อสือ่ สารกบั พระมหากษตั ริย์ พระราชินี องคร์ ชั ทายาท ตลอดไปจนถงึ พระ บรมวงศานวุ งศ์ โดยแบง่ ตามลำดบั ชนั้ และใชค้ ำแตกต่างกันออกไป ราชาศัพทท์ ่สี รา้ งจากคำบาลีมีมาก เชน่ พระ บรมราโชวาท พระราชเสาวนยี ์ พระวรกาย พระสุณิสา พระราชทาน พระโอษฐ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ ธารพระกร พระสธุ ารส เป็นตน้ ๑๘ ในทางปฏิบัติ คำว่าราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คฤหัสถ์ใช้กับพระสงฆ์และพระสงฆ์ใช้ในหมู่พระสงฆ์ กันเองด้วย เช่น อาพาธ มรณภาพ นมัสการ อีกทั้งยังหมายรวมถึงคำภาษาแบบแผนและคำสุภาพทั่ว ๆ ไปซ่ึง ใช้กับขา้ ราชการและสภุ าพชนอกี ด้วย๑๙ ๒.ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา ในที่นี้คำว่าศัพท์เฉพาะทางศาสนาใช้ในความหมายที่แยกจากราชา ศัพท์สำหรับพระสงฆ์ คือหมายถึงแต่คำที่มีความหมายทีเ่ ข้าใจกันเป็นการเฉพาะในศาสนาใดศาสนาหน่ึง อันอาจ เป็นพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ หรือศาสนาอื่น ๆ ก็ได้ศัพท์เฉพาะเหล่านี้นิยม สร้างหรือยืมจากบาลี เช่น นิวรณ์ มุสาวาท โผฏฐัพพะ อิทธิบาท เวทนา ตันตระ ศีลมหาสนิท แต่บางคร้ัง ราชาศัพทส์ ำหรบั พระสงฆ์กบั ศัพท์เฉพาะทางศาสนาอาจปนกนั ก็ได้ เพราะพระสงฆเ์ ป็นผทู้ ำพธิ ีทางศาสนา ๓.ใช้ในภาษาแบบแผน แบง่ ได้เปน็ สองกลุม่ ก. คำภาษาแบบแผนทว่ั ไป คือ คำทร่ี ะบุไว้ในพจนานุกรมวา่ \"แบบ\" มใี ชแ้ ต่ในภาษาหนังสือ ไมไ่ ดใ้ ช้พูด เป็นประจำ ใช้ได้ทั้งในร้อยแก้วและรอ้ ยกรองการเปลี่ยนแปลงเสียงของคำจากภาษาเดิม มักเป็นไปตามธรรมชาติ โดยไมเ่ จตนาหรือไม่มีเลย เชน่ กนก นารี กมล จารุ เป็นตน้ ข.คำภาษาร้อยกรอง คือคำที่ระบุไว้ในพจนานุกรมว่า \"กลอน\" ใช้เฉพาะในร้อยกรอง และโดยปรกติ การเปลี่ยนแปลงเสียงของคำมักเปน็ ไปเพื่อความเหมาะสมกับบทประพันธ์ ที่เรียกว่าการกลายเสียงโดยเจตนา ดว้ ย เชน่ เวหน สรุ ยิ ง เกศา มยุเรศ มาลี ราตรี ๔.ใช้ในภาษามาตรฐานหรอื ใช้เปน็ คำสภุ าพ ใช้ท้งั ในภาษาพดู และภาษาเขยี น เชน่ คำพูดอยา่ งเป็นพิธี การหรอื เอกสารของทางราชการ เชน่ บิดา มารดา สามี ภริยา ภรรยา บตุ ร ธดิ าเป็นตน้ ๕. ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ คือคำที่สร้างขึ้นในสมัยหลังเพื่อให้มีความหมาย ตรงกับคำภาษาตะวันตก โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งอังกฤษในวชิ าการแขนงต่าง ๆ โดยมากมกั สรา้ งข้ึนในลกั ษณะคำสมาส หรอื คำประสม จากคำภาษาบาลี และ/หรอื สันสกฤตทม่ี ีใชอ้ ยู่ในภาษาไทยแล้ว แตบ่ างทีก็อาจมกี ารหาคำใหม่ที่ยัง ๑๗ศภุ รางศุ์ อินทรารุณ,ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย, <http://www.huso.buu.ac.th/thai/web/personal/subhrang/208322/208322chap1-2.htm>(20/08/58) ๑๘ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานกุ รมไทย, (กรุงเทพฯ: ราชบณั ฑิตยสถาน, ๒๕๔๖), หน้า ๙๕๒. ๑๙เรื่องเดยี วกัน, หน้า ๙๕๒.

๒๒ ไม่เคยใช้ในภาษาไทยมาใช้ก็ได้ เช่น เจตคติ นันทนาการ บรรณรักษ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มัณฑนศิลป์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ วิศวกร ปรนัย อัตนยั ๖.ใช้เป็นคำสามัญ คือคำภาษาพูดที่ใช้สนทนาทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อายุ เศรษฐี โรค ปัญหา ภาษา ชาติ ประเทศ สตั ว์ หิมะ เวลา อาหาร ๗.ใชเ้ ป็นช่อื เฉพาะ แบง่ ได้เปน็ สองกลุม่ คอื ก.ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลใน ประวัติศาสตร์ ตำนาน และเทพนิยายต่าง ๆ ฯลฯ ของอินเดีย ซึ่งรับมาโดยตรงไม่เปลี่ยนแปลงจากชื่อในภาษา บาลีสันสกฤต ชื่อเหล่านี้บางครั้งจะมีหน่วยคำนำหน้าว่า พระ (phrá-) หรือ พระนาง (phrá-naŋ) สุดแต่ว่าจะ เป็นชายหรือหญิง เพื่อแสดงความยกย่องนับถือ เช่น (พระ, ดวง, วัน) อาทิตย์ (พระ, ดวง, วัน) จันทร์ (พระ,ดาว, วัน) อังคาร มกราคม (มกร-อาคม) เมษายน (เมษ-อายน) กุมภ์ มีน พฤษภ พระศิวะ พระวิษณุ พระ(นาง) ลกั ษมี พระราม พระลักษมณ์ ศกนุ ตลา เป็นต้น ข.ชื่อสถานที่และอ่ืน ๆ เช่น ชื่อจังหวัด อำเภอ แม่น้ำ และภูเขา เปน็ ตน้ ซง่ึ ประกอบขึ้นหรือนำมา จากภาษาบาลีเช่น กาญจนบุรี ชัยนาท นครราชสีมา นราธิวาส มุกดาหาร สกลนคร สุราษฏร์ธานี นครชัยศรี พิบูลมงั สาหาร ไพศาลี อุทุมพรพิสัย อนิ ทนนท์ นอกจากชื่อสถานที่เหล่านี้ ชื่อเฉพาะอื่น ๆ ในประเทศไทยก็มักตั้งขึ้นโดยใช้คำหรือประสมคำข้ึนจาก ภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ชื่อบุคคล บริษัทห้างร้าน สิ่งก่อสร้าง สมาคม วัด สถานศึกษา สถานที่ ราชการ องคก์ าร สถาบนั ต่างๆ เป็นต้น โดยทผ่ี ตู้ ้ังมักเปลีย่ นเสียงและความหมายใหเ้ ข้ากบั ความต้องการของตน ภาษาไทยท่ใี ชใ้ นปัจจุบนั จึงยมื คำภาษาบาลมี าใชเ้ ปน็ จำนวนมาก การได้เรยี นร้ปู ระวัติความเป็นมาและ ววิ ัฒนาการของภาษาบาลีกจ็ ะทำให้ร้จู กั และเขา้ ใจภาษาบาลีมากยิ่งขน้ึ สรุปทา้ ยบท ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลีนั้น ผ่านกาลเวลามายาวนาน บางครั้งอาจมีคนเข้าใจผิดคิดว่า เป็นภาษาของตนเอง แท้จริงแล้วคำบางคำมีรากฐานมาจากภาษาบาลี ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลกล่าวกันว่ามีการแต่ง คมั ภรี ์ภาษาบาลีแลว้ เชน่ เนตติปกรณ์ รจนาขึ้นโดยพระมหากัจจายนะ ซึ่งเชื่อกันว่ามชี ีวติ ในสมัยพุทธกาล ในบทนี้ ไม่ประสงค์จะวเิ คราะหค์ ัมภีร์ใหล้ กึ ซ้ึงนัก เพยี งต้องการใหผ้ เู้ ริม่ ศกึ ษาทราบวา่ ภาษามคธหรือภาษาบาลนี ั้นมีประวัติ และวิวฒั นาการมาตามลำดับ มีหลกั ไวยากรณ์เฉพาะ และปจั จบุ นั ภาษาบาลีก็ยังใช้ศึกษาสำหรบั พระภิกษุสามเณร ในประเทศทีน่ ับถือพระพทุ ธศาสนาเถรวาท หรอื แมแ้ ตใ่ นมหาวิทยาลยั ชน้ั นำก็ยังมีวชิ าเอกวา่ ภาษาบาลีโดยเฉพาะ ดังนั้นกุลบุตรผู้ศึกษาภาษาบาลีจึงควรภาคภูมิใจว่าเราได้ศึกษาภาษาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นภาษาท่ี บนั ทึกคำสอนของพระพทุ ธศาสนา

๒๓ คำถามทบทวนประจำบทที่ ๑ -------------------------------- ๑. ภาษาบาลีหรือภาษามคธมคี วามเป็นมาอย่างไร ๒.ทำไมพระพทุ ธเจา้ จึงทรงใช้ภาษาบาลใี นการเผยแผพ่ ระพทุ ธศาสนา ๓. คำว่า “ปาลี” หมายถึงอะไร ๔. ท่านคดิ ว่าภาษาบาลีนั้นมีประวตั ิความเปน็ มาอย่างไร ๕. ภาษาบาลมี คี วามสัมพนั ธก์ บั ภาษาไทยหรอื ไม่ อยา่ งไร ๖. ทำไมพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจงึ ต้องสวดดว้ ยภาษาบาลี ๗. ภาษาบาลเี ป็นภาษาอจินไตยหมายความว่าอย่างไร ๘. ภาษาบาลีเปน็ ภาษารกั ษาศาสนาได้อย่างไร ๙. คำวา่ “นวังคสัตถุศาสน์” หมายถงึ อะไร และประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง ๑๐.ภาษาบาลกี บั ภาษามาคธเี ป็นภาษาเดียวกนั หรอื ไม่ มีเหตผุ ลอย่างไร ๑๑. การศกึ ษาภาษาบาลหี รือภาษามคธมีประโยชนต์ ่อการศึกษาและคน้ คว้าพระพุทธศาสนาอย่างไร ๑๒. คัมภรี อ์ รรถกถาหมายถึงคมั ภรี เ์ ชน่ ใด ท่านเคยอา่ นคมั ภรี ์อรรถกถาเล่มใดมาบา้ ง มเี นื้อหาวา่ ด้วยเร่ืองอะไร จงอธบิ าย ๑๓. คมั ภรี ม์ ังคลัตถทปี นีจดั อยู่ในคมั ภรี ช์ น้ั ใด เนอื้ เรื่องโดยยอ่ วา่ ด้วยเรื่องอะไร มีประโยชนอ์ ย่างไรต่อการศกึ ษาทางพระพุทธศาสนา ๑๔. คัมภีร์ชนิ กาลมาลีปกรณจ์ ดั อยใู่ นคมั ภีรช์ ้ันใด ใครเปน็ ผ้แู ต่ง เน้ือหาวา่ ดว้ ยเรื่องอะไร ๑๕. ไวยากรณ์ภาษาบาลีท่ีใชเ้ รยี นในประเทศไทยปจั จุบนั เป็นคมั ภีร์ไวยากรณ์สายใด จงอธิบาย ๑๖. ปัจจุบันนค้ี วรส่งเสรมิ การแตง่ คัมภีรด์ ว้ ยบาลหี รือไม่ เพราะเหตุใด ๑๗. พระเถระชาวไทยท่แี ตง่ คมั ภรี ด์ ว้ ยภาษาบาลมี ีใครบ้าง จงบอกเทา่ ทท่ี ราบ ๑๘. ท่านจะมีวธิ กี ารในการศึกษาบาลีอย่างไร ๑๙. คัมภรี ภ์ าษาบาลเี ล่มใดทค่ี วรส่งเสรมิ ให้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา ๒๐. ทา่ นคดิ ว่าอนาคตของภาษาบาลีจะเป็นอย่างไร ๒๑. จงบอกภาษาไทยทีย่ มื มาจากภาษาบาลี พอสงั เขป ๒๒. ประโยชน์ของการศึกษาบาลคี ืออะไร ๒๓. ภาษาบาลีมีความมหศั จรรยอ์ ย่างไร ๒๔. หลกั สูตรบาลีทใ่ี ชใ้ นปัจจบุ นั น้ีเอือ้ ตอ่ การศกึ ษาภาษาบาลีมากน้อยเพยี งใด จงอธิบาย ๒๕. การสวดมนต์ของพระภกิ ษไุ ทยในปจั จบุ ันทำไมต้องสวดเปน็ ภาษาบาลี จงให้เหตุผล

๒๔ เอกสารอา้ งองิ ประจำบทที่ ๑ -------------------------------- ฉลาด บุญลอย.ประวัติวรรณคดีบาลีตอน ๑.พระนคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั , ๒๕๐๕. โปร่ง ชื่นใจ,น.ท.พระพทุ ธเจา้ ทรงใช้ภาษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา.พมิ พค์ รง้ั ท่ี ๒,กรงุ เทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลยั ,๒๕๓๒. พระมหาฉลาด ปรญิ ฺ าโณ.ค่มู ือการเรียนบาลไี วยากรณ์.กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,๒๕๓๐. พระเทพดลิ ก(ระแบบ ฐติ ญาโณ). ประวัติศาสตรพ์ ระพทุ ธศาสนา.พิมพ์ครงั้ ที่ ๕,กรุงเทพฯ:มหามกุฏราช วทิ ยาลัย,๒๕๔๒. พระพรหมคณุ าภรณ(์ ประยุทธ ปยตุ โฺ ต).พระไตรปฎิ ก: สิง่ ท่ีชาวพุทธต้องรู้.กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,๒๕๕๐. พระเทพเมธาจารย์ (เชา้ ฐิตปุญโฺ ).แบบเรียนวรณคดีประเภทคมั ภีร์บาลีไวยากรณ์.พระนคร: โรงพิมพ์ ประยูรวงศ,์ ๒๕๐๔. พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโฺ ณ. โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร.์ พระนคร: โรงพิมพไ์ ทย วฒั นาพานิช,๒๕๑๔. มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั .อรรถกถาวนิ ยั มหาวภิ ังค์,เลม่ ๑ ภาค ๑.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลยั ,๒๕๒๕. มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั .อรรถกถาทฆี นิกาย สีลขันธวรรค.กรงุ เทพฯ: มหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั ,๒๕๒๕. ราชบณั ฑติ ยสถาน. พจนานกุ รมไทย.กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๖. เสนาะ ผดงุ ฉตั ร.ความรู้เบ้อื งตน้ เกีย่ วกับวรรณคดบี าลี.กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกฏุ ราชวทิ ยาลยั , ๒๕๓๒. เสถยี ร โพธนิ ันทะ.ประวตั ิศาสตรพ์ ระพทุ ธศาสนา.พิมพค์ รั้งที่ ๔,กรงุ เทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,๒๕๔๓. หลวงเทพดรุณานศุ ษิ ฎ์ (ทวี ธรมธชั ).บาลีไวยากรณ์พิเศษ.กรงุ เทพฯ: มหามกกุ ราชวิทยาลยั ,๒๕๓๔. Website: http://oldaad.mcu.ac.th/html/scripture.html http://www.medeepali.net/pali.html http://www.huso.buu.ac.th/thai/web/personal/subhrang/208322/208322chap1-2.htm

แผนการสอนประจำบทเรียนท่ี ๒ หัวขอ้ เน้ือหาประจำบท บทท่ี ๒ วรรณคดีภาษาบาลใี นประเทศไทย ๖ ชว่ั โมง ๒.๑ ยุคทองแหง่ พระพทุ ธศาสนาในลา้ นนา ๒.๒ หนังสอื ที่แตง่ เปน็ ภาษาบาลใี นประเทศไทย ๒.๓ ภาษาบาลจี ากล้านนาสูร่ ัตนโกสินทร์ ๒.๔ หลกั สูตรการศกึ ษาภาษาบาลใี นปัจจุบนั วัตถปุ ระสงค์เชงิ พฤตกิ รรม ๑.นักศึกษาเข้าใจเกี่ยววรรณคดีภาษาบาลีในประเทศไทยอยา่ งถกู ตอ้ ง ๒.นกั ศึกษารแู้ ละเข้าใจหนงั สือท่ีแตง่ เป็นภาษาบาลใี นประเทศไทยไดถ้ ูกตอ้ ง ๓.นกั ศกึ ษามีความเขา้ ใจประวัติภาษาบาลีในยุคลา้ นนาและยุครัตนโกสนิ ทร์ได้ถกู ต้อง ๔.นักศึกษาเขา้ ใจหลกั สูตรการศึกษาภาษาบาลีในปจั จุบนั ได้ถกู ต้อง วิธกี ารสอนและกิจกรรม ๑.ศึกษาเอกสารคำสอนและบรรยายนำเปน็ เบื้องตน้ ๒.บรรยาย ๓.อภิปราย ๔.แบง่ กลุม่ อภปิ ราย ๕.คำถามทบทวนประจำบทท่ี ๒ สือ่ การเรยี นการสอน ๑.เอกสารประกอบการเรียนการสอนและเอกสารอ่ืน ๒.PowerPoint สรุปบทเรียน ๓.รปู ภาพ คลิปวดี โิ อ สไลด์ การวดั และประเมนิ ผล ๑.สงั เกตพฤตกิ รรมในระหวา่ งเรียน ๒.การค้นควา้ มอบหมายงานเดย่ี ว งานกลมุ่ ๓.ความสนใจในบทเรยี น การซักถาม ๔.การเขยี นรายงาน การรายงานผลการคน้ คว้าหนา้ ชนั้ เรยี น ๕.การสอบวัดผลความรู้แต่ละบทเรยี น ๖.การสอบวดั ผลกลางภาคเรยี น ๗.การสอบวัดผลปลายภาคเรยี น

๒๖ บทที่ ๒ วรรณคดภี าษาบาลใี นประเทศไทย ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้น้ัน ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาจะมีวรรณกรรมมากกว่า ประเทศท่ีไม่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะว่าประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามีประชากรที่รู้หนังสือมากกว่า โดยเฉพาะพวกผูช้ ายได้มีโอกาสบวชเรียน จึงมีความรู้ด้านนิทานชาดกต่าง ๆ และมีความรู้ทางด้านภาษาดีกว่าผู้ ที่ไมไ่ ดบ้ วชด้วย สำหรับวรรณกรรมที่ถือว่ามีค่านั้น อาจแบ่งออกไดเ้ ป็น ๒ ประเภทคือ (๑) จารึกภาษาบาลี และ (๒) วรรณกรรมภาษาบาลี ๑.วรรณกรรมประเภทจารึก จารึกท่ีมีข้อความภาษาบาลีอักษรปัลลวะที่พบในประเทศไทยตามภูมิภาคต่างๆ มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๕ กลุ่มคือ ๑. จารึกเนื้อความแสดงธรรม ๒. จารึกเนื้อความแสดงเหตุการณ์ ๓. จารึกแสดงเน้ือความนมัสการพระ รตั นตรัย ๔. จารกึ แสดงเน้อื ความปรารถนา ๕. จารึกเนอ้ื ความปกณิ ณกะ๑ ๑. จารึกเนื้อความแสดงธรรม จารึกภาษาบาลีในกล่มุ นี้เท่าท่ีสำรวจพบมี ๕๐ หลกั แบ่งเป็นกลุ่มตาม เน้ือหาคือ ๑.๑.กลุ่มจารึกคาถาเย ธมฺมา ที่ค้นพบมีประมาณ ๒๐ หลักเช่นท่ีระเบียงด้านขวาองค์ พระปฐมเจดีย์ บนสถูปศิลา บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ หน้าศาลเจ้าข้างองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม โดยใช้ อกั ษรอนิ เดยี ใตท้ ่เี รยี กวา่ ปัลลวะ ข้อความเปน็ คาถาคัดมาจากคัมภรี ม์ หาวรรค พระวินยั ปฎิ กมีขอ้ ความวา่ เย ธมฺมา เหตปุ ฺปภวา เตสํ เหตงุ ตถาคโต (อาห) เตสญฺจ โย นิโรโธ เอววํ าที มหาสมโณติ ฯ (ว.ิ มหา ๔/๖๕/๗๔.) นอกจากนั้นยังพบบนแผ่นอิฐหลักท่ี ๓๐ บ้านท่ามะม่วง ตำบลจระเข้สามพัน อำแภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี พบที่บ้านพรหมทิน ตำบลหลุมข้าว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พบที่เมืองศรีเทพ จังหวัด เพชรบูรณ์ เป็นต้น แสดงว่าจารึกคาถาเย ธมฺมา มีกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนประเทศไทย ๑.๒. กลุ่มจารึกสารธรรมเอกเทศ คือแต่ละหลักมีเนื้อหาตามความสนใจหรือตามท่ีเห็น คุณค่าเฉพาะหลัก ท่ีรวบรวมได้มี ๑๘ หลัก เป็นจารึกสมัยก่อนสุโขทัย ๕ หลัก จารึกสมัยสุโขทัย ๘ หลัก จารึก อยธุ ยา ๔ หลัก และสมัยรตั นโกสนิ ทร์ ๑ หลกั ๒ ๑.๓. กลุ่มจารึกคาถายอ่ อรยิ สัจ ๔ เม่ือจารกึ คาถาเย ธมมฺ า สน้ิ สดุ ลงในสมยั สุโขทยั และ ได้เกิดจารึกกลุ่มสาระธรรมข้ึนแทนสืบเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา ทางอาณาจักรล้านนาได้เกิดนิยมสร้างจารึก ๑สภุ าพรรณ ณ บางช้าง, วิวัฒนาการงานเขยี นภาษาบาลีในประเทศไทย: จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาสน์ ประกาศ, (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวทิ ยาลยั ,๒๕๒๙), หน้า ๑๕. ๒เร่อื งเดียวกัน,หนา้ ๓๔.

๒๗ แสดงคาถาย่ออรยิ สัจ ๔ ข้ึน โดยได้รับอิทธิพลจากลังกา เท่าที่ค้นพบมี ๙ จารึก เช่น จารึกท่ีฐานพระพุทธรูปวัด เกศศรี จังหวดั เชียงราย จารึกดว้ ยอกั ษรสงิ หล ประมาณปี พ.ศ. ๒๐๐๐ มคี วามว่า ปฐมํ สกลกขฺ ณเมกปทํ ทุติยาทปิ ทสฺส นิทสฺสนํ นทิ สฺสนฺโต สมณิ ทนุ ิมา สมทู สนิทู วภิ เช กมโต ปฐเมน วนิ า ฯ แปลไดใ้ จความว่า “บทแรกเปน็ บทท่ีหนึ่งแสดงลักษณะแหง่ ตน เว้นแล้วจากบทแรก แสดงบทมีบทท่ี สองเป็นต้น พงึ จำแนก (สาระแหง่ อรยิ สัจ) โดยลำดบั แกง่ อกั ษรย่อคอื ส.ม.น.ิ ท.นิ.ม. ส.ม.ทุ ส.นิ.ทุ๓ ๑.๔. กลุ่มจารกึ สาระนิพพาน มีเนอื้ ความกล่าวถึงนิพพานหรือความสงบว่าเป็นสุขอย่าง ย่งิ เท่าท่ีคน้ พบมเี พียงสามหลกั สร้างขึน้ ในสมัยรัตนโกสนิ ทรท์ ัง้ สิ้น ๒. จารึกเนื้อความแสดงเหตุการณ์ เป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เช่นจารึกวัดดอน จงั หวดั ลำพนู โดยพระเจ้าสรรพสิทธ์ิ แหง่ นครหรภิ ุญชัย ประมาณปพี ุทธศักราช ๑๖๑๐-๑๖๔๑ ข้อความในจารึก วา่ สพพฺ าธิสิทฺธฺยาขยฺ รถฺสเรน ฉพฺพสี วสสฺ สีน ปโยชิเตน อุโปสถาคารวรํ มโนรมํ มยา กตญเฺ ชตวนาลยํลยํ. ตเิ สกวสฺสีน มยา จ ตสมฺ ึ กโต หิโตทฺธารณโกว อาวโส อาวาสกิ ํ ภิกฺขวรํ สุสีลํ สทา จ อุปฏฐฺ หนํ อกํ เว. สาปายิกํ เหมมยญฺจ เจตยิ ํ กตํ พหนุ เฺ ตปิฏกํ อเลกขฺ ํ มจุ จฺ นฺตุ ทกุ ฺขา สขุ ติ า จ สตฺตา รติพฺพเลน รตนฺตยสมึ.๔ ไม่ได้แปลเปน็ ภาษาไทยให้ผศู้ ึกษาฝึกแปลไปดว้ ย นอกจากน้ันยังมีจารึกวัดกุดดู่หรือวัดจามเทวี ลำพูน จารึกปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา จารึกแม่ นาเมอื ง นครสวรรค์ จารึกเมอื งไชยา จังหวดั สุราษฏร์ธานี เป็นต้น ๓. จารึกแสดงเนือ้ ความภาษาบาลีกลา่ วนมัสการหรือสรรเสริญคณุ พระรตั นตรยั จารึกเนินสระบัว เป็นศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีขาว ขนาดกว้าง ๔๐ เซนติเมตร ยาว ๑๗๗ เซนติเมตร หนา ๒๘ เซนติเมตร ลักษณะตัวอักษร จารึกเนินสระบัว จารึกเป็นตัวอักษรอินเดียใต้ สมัยหลังปา ๓เรอื่ งเดยี วกนั ,หน้า ๗๕. ๔เรอ่ื งเดียวกนั ,หนา้ ๙๒.

๒๘ ลวะ เป็นภาษา ขอมและภาษาบาลี ในตอนที่เป็นภาษาบาลีเขียนเป็น วสันต์ดิลกฉันท์ กล่าวสรรเสริญพระ พทุ ธคณุ ศิลาจารึกเนินสระบัว จังหวัดปราจีนบุรี แต่งเม่ือ พ.ศ. ๑๓๐๔ แต่งโดย กมรเตงพุทธสิระ ผู้อยู่ใน ตระกูลปาทวะ ศิลาจารึกหลักน้ีเป็นหินทรายสีเขียว เดิมอยู่ท่ีเนินสระบัว ในบริเวณเมืองพระรถ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ภายหลังได้เคลื่อนย้ายมาพิงไว้ท่ีโคนต้นโพธิใหญ่ในวัดศรีมหาโพธิ ซ่ึงอยู่ไม่ ห่างจากที่เดิม นายชิน อยู่ดี คร้ังยังเป็นหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์พระนคร กองโบราณคดีกรมศิลปากร ได้สำรวจ และจัดทำสำเนาคร้ังแรก เม่ือวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๖ ศลิ าจารึกน้ี จารึกด้วยรูปอักษรหลังปัลลวะ เป็น คำสรรเสรญิ คุณพระรัตนตรัย มี ๒๗ บรรทัด บรรทัดท่ี ๑-๓ เป็นภาษาเขมร บรรทัดที่ ๔-๑๖ เป็นภาษาบาลีแต่ง เป็นฉันท์ ๑๔ทำนองจะใช้เป็นวสันตดิลกฉันท์ และบรรทัดท่ื ๑๗-๒๗เป็นภาษาเขมร ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๒ ศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพันธ์ทอง ได้รวบรวมวรรณคดีบาลีท่ีนักปราชญ์ในอดีตได้รจนา ขึน้ ด้วยสติปัญญาของตนโดยตรง มิได้คัดลอกมาจากคัมภีร์พระบาลี หรืออรรถกถาใด ๆ เท่าที่ปรากฏในแผ่นดิน ไทยปัจจุบัน หลักฐานดังกล่าวส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในศิลาจารึก วรรณคดีบาลีในประเทศไทยที่มีอายุเก่าท่ีสุด คือ ฯลาจารึกเนินสระบัว ถึงแม้ว่าศิลาจารึกหลักน้ี ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ จะได้อ่านแปล และพิมพ์ เผยแพร่แล้วก็ตามแต่เนื่องจากศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพันธ์ทอง ได้พิจารณาเห็นว่า คำ ประพันธ์ภาษาบาลีของท่านพุทธสิริ ในศิลาจารึกเนินสระบวั น้ี ไม่เพียงแต่จะเป็นวรรณคดีบาลีทีเ่ ก่าที่สุดของไทย ในปัจจุบันเท่านั้น ยังเป็นคำประพันธ์ท่ีประกาศความรู้ความสามารถอันยอดเย่ียมของผู้รจนา ซึ่งไม่เพียงแต่ เช่ียวชาญในทางปริยัติธรรมเท่านั้น ยังเป็นนักปฏิบัติที่เข้าถึงธรรโมชะ เป็นพระมหาเถระที่ทรงปรีชาญาณใน พระพุทธศาสนาครั้งนั้นอีกด้วย และเพื่อเผยแพร่คำประพันธ์ดังกล่าว คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือจารึกใน ประเทศไทย ศาสตราจารย์นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แยม้ ประพันธ์ทอง เฉพาะคำอา่ นแปล ศลิ าจารกึ เนินสระบัว ตอนทเี่ ปน็ ภาษาบาลี ระหวา่ งบรรทดั ที่ ๔-๑๖ รวมพมิ พไ์ วใ้ นลำดบั ต่อไปดว้ ย๕ จารกึ ประเภทนยี้ ังพบอกี มาในประเทศไทย ๔. จารึกเน้ือความภาษาบาลีแสดงความปรารถนา พบหลายแห่งเช่นจารึกลานทองสมเด็จพระมหา เถรจฑุ ามณี (พ.ศ.๑๙๑๙) มเี นอ้ื ความวา่ “อมิ ินา ปุญฺญกมฺเมน พทุ โธโหมิ อนาคเต สงสฺ ารา โมจนตถฺ าย สพฺเพ สตเฺ ต อเสสโต๖ นอกจากนี้ยังมีจารึกทองคำ (๑๙๒๗) จารึกท่ีฐานพระพุทธรูปวัดผาบ่อง จังหวัดเชียงใหม่ จารึกท่ีฐาน พระพทุ ธรูปพระธาตพุ นม จาตกึ บนฐานปราสาทโลหะ จังหวัดเชยี งราย เป็นตน้ ๕เจ้าหน้าท่ีพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจนี บุรี จงั หวดั ปราจีนบุรี, < http://www.prachinburi- museum.go.th/inscript/his.asp?id=๓๙>(๑๗/๐๓/๒๕๕๑) ๖ก่องแก้ว วรี ะประจักษ์ “จารึกลานทองสมเดจ็ พระมหาเถรจพุ ามณี” (ศลิ ปากร ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๖), หนา้ ๘๑.

๒๙ ๕. จารึกเน้ือความปกิณณกะ จารึกในกลุ่มนี้มีข้อความภาษาบาลีแทรกเป็นบางสว่ นส้ันๆเช่นจารึกท่ี ฐานพระพทุ ธรูปวัดชัยพระเกยี รติ จังหวดั เชียงใหม่ จารึกทฐี่ านพระพทุ ธรปู ปางสมาธิ จังหวัดศรสี ะเกษ เปน็ ต้น ๒.วรรณกรรมภาษาบาลี เป็นผลงานที่พระนักปราชญ์ล้านนาแต่งต้ังแต่สมัยเม่ือ ๔๐๐–๕๐๐ ปีมาแล้ว ถ้าจะแยกวรรณกรรม ประเภทนี้ออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ตามเนื้อหาของเรื่องก็อาจจะแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ท่ีเก่ียวกับ พระพุทธศาสนาโดยตรง ซึ่งเป็นเร่ืองอธิบายความในคัมภีร์ต่าง ๆ มีทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมเป็น เร่ืองท่ีพระสงฆ์สามเณรจะต้องเรียนรู้ และบางเรื่องก็ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาแผนกบาลีด้วย ส่วนอีกประเภท หนง่ึ เปน็ เร่ืองที่เก่ียวกบั ประวตั ิศาสตร์ เป็นตันวา่ จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ ดังทไ่ี ด้กล่าวมาแลว้ ในตอนที่ว่า ดว้ ยยคุ ทองแหง่ พระพทุ ธศาสนาในลา้ นนา ซ่งึ ถอื ว่าเปน็ ข้อมูลสำคญั ในการศกึ ษาประวัติศาสตรข์ องชาติ ยุคทองแหง่ พระพุทธศาสนาในล้านนา นักศึกษาภาษาบาลีในปัจจุบันตา่ งก็คงคุ้นเคยกับมังคลัตถทีปนีอันเป็นหลกั สูตรเปรียญธรรมส่ีและห้า ประโยค หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของพระสิริมังคลาจารย์ นักปราชญ์ในยุคล้านนา ในสมัยที่ยังไม่รวมเป็น ประเทศไทยน้ัน ดินแดนแหลมทองมีหลายอาณาจักร เช่นล้านนา ล้านช้าง ศรีวิชัย แต่อาณาจักรท่ีมีผลงาน ทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากจนกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาคืออาณาจักรล้านนา มี ผู้วิจัยไว้ว่า “ยุคทองแห่งพระพุทธศาสนาในล้านนาตกอยู่ในระหว่าง ๓ รัชกาล คือพระญาติโลกราช พระยอด เชียงรายและพระเมืองแก้ว ดังที่ได้กล่าวมาแล้วซ่ึงเริมตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๙๘๕–๒๐๖๘ รวมเป็นเวลา ๘๔ ปี ซ่ึงเป็น เวลาที่มีการศึกษาพระธรรมวินยั และรจนาคัมภีรภ์ าษาบาลีเป็นจำนวนมาก พอพ้นจากสามรัชกาลนี้ไปแล้วก็ไม่มี ผลงานภาษาบาลีที่ดีเด่นอีก และหลังจากการทำสังคายนาที่วัดมหาโพธารามมาแล้วเกียรติคุณแห่ง พระพุทธศาสนา ในล้านนาไทยได้แผ่กระจายไปถึงประเทศใกล้เคียง และในปี พ.ศ.๒๐๖๖ กษัตริย์แห่งกรุงศรสี ัต นาคนหุต (ล้านช้าง) ทรงส่งราชทูตมายังราชสำนักเชียงใหม่ เพ่ือขอคณะสงฆ์และพระไตรปิฎกไปสืบสานศาสนา ในอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้านครเชียงใหม่จึงให้พระเทพมงคลกับภิกษุพาคณะสงฆ์ นำพระไตรปิฎกบาลี ๖๐ คัมภีร์ ไปยงั กรุงศรสี ัตนาคนหตุ ในปีเดียวกนั นน้ั ในรัชการพระเมืองแก้ว ได้มีพระเถระจำนวนหลายท่านท่ีเป็นนักปราชญ์และเช่ียวชาญในภาษาบาลี จนสามารถแตง่ คัมภีร์ต่าง ๆ เป็นภาษาบาลี สมควรจะกล่าวนามไว้ ณ ท่นี ้ัน คือ พระโพธิรังสี พระธรรมเสนาบดี พระญาณกิตติ พระสัทธัมมกิตติมหาผุสสเทวะ พระญาณวิลาส พระสิริมังคลาจารย์และพระรัตนปัญญาเถระ เปน็ ต้น โดยแตล่ ะท่านได้แต่งวรรณกรรมบาลไี ว้มาก และสืบเนอ่ื งมาจนปจั จบุ ัน เชน่ พระโพธริ ังสเี ถระ ชาวเมอื ง ใหม่แต่ง จามเทีวงศ์ และ สิหิงคนิทาน หรือตำนานพระพุทธสิหิงค์ พระธรรมเสนาบดีเถระแต่งคัมภีร์เกี่ยวกับ ไวยากรณ์ภาษาบาลีช่ือว่า สัททัตถเภทจินตา ปทักกมโยชนา พระญาณกิตติชาวเชียงใหม่รจนาคัมภีร์เป็นภาษา บาลีไว้ถึง ๑๒ เรื่อง โดยเฉพาะพระสิริมังคลาจารย์ชาวเชียงใหม่ เป็นพระท่ีมีชื่อเสียงมากท่ีสุด เพราะผลงานคือ มังคลัตถทีปนี งานนิพนธ์ของท่านมีอยู่ ๔ เรือ่ งซ่ึงมีขนาดยาวท้ังสิ้นคอื เวสสันดรทีปนี จักกวาลทีปนี สังขยาปกา

๓๐ สกฎีกา และ มังคลตั ถทีปนี ส่วนพระรัตนปญั ญาเถระ ซ่ึงนัยว่าท่านเปน็ ชาวเชยี งรายหรือไม่ก็ลำปาง มีผลงานอยู่ ๓ เร่ือง คอื ชนิ กาลมาลี วชิรสารตั ถสังคหะ และ มาติกตั ถสรปุ ธัมมสังคิณี เป็นตน้ นอกจากพระคัมภีร์ที่กล่าวมาแล้วน้ี ยังมีงานนิพนธ์ภาษาบาลีอีกจำนวนหนึ่งท่ีไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่มีหลักฐานทำให้เช่ือได้ว่าเป็นผลงานพระล้านนาแต่งข้ึนในยุคเดียวกันน้ี เช่น ปัญญาสชาดก หรือชาดก ๕๐ ชาติ (ความจรงิ มีมากกว่า ๕๐ เร่ือง) อันเป็นบ่อเกิดแห่งวรรณคดีสำคัญของไทยอีกหลายเรื่อง เช่น สมุทรโฆษคำ ฉันท์ สงั ข์ทอง พระสุธนมโนห์รา นอกจากนั้นก็เป็นบทสวดมนต์ คือ อุปปาตสันติ เป็นฉันท์ภาษาบาลี ซ่ึงนยิ มใช้ สวดในการทำบุญสะเดาะเคราะห์และสบื ชะตาเมือง งานนิพนธ์เป็นภาษาบาลีท่ีกลา่ วมาข้างต้นน้ี ล้วนแตแ่ ต่งข้ึน หลังรัชสมัยของพระญาติโลกราชทั้งส้ิน และมากที่สุดในรัชการของพระเมืองแก้ว ต่อแต่น้ันมางานนิพนธ์ภาษา บาลีที่แสดงความเป็นปราชญ์ของพระชาวล้านนาก็เส่ือมถอยไปเร่ือย ๆ พร้อมกับการสิ้นสุดลงแห่งยุคทองของ ล้านนา โดยเฉพาะหลังจากเสียเอกราชแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๑๐๑ อาณาจักรล้านนาก็ถูกพม่ายึดครองอยู่เป็น เวลานานกว่า ๒๑๖ ปี แต่พม่าก็มิได้รุกรานพระพุทธศาสนา เพราะนับถือศาสนาเดียวกัน ทั้งนี้ในภายหลังได้ สำรวจพบว่ามีชาดกนอกนบิ าตทแี่ ตง่ ในลา้ นนาอกี ประมาณ ๒๕๐ เรื่อง๗ ในช่วงนี้มีงานวรรณกรรมที่แต่งเป็นภาษาบาลีโดยใช้ตัวอักษรล้านนาเป็นจำนวนมาก วรรณกรรม เหล่าน้ีบางเล่มได้รับการปรวิ รรตเป็นอักษรไทย บางเล่มท่ีบนั ทึกบนใบลานยังพอสืบค้นได้บ้าง หรือบางเล่มอาจ สูญหายไปแล้ว อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าในยุคท่ีพระพุทธศาสนารุ่งเรือง วรรณกรรมพระพุทธศาสนาก็พลอย รุ่งเรืองไปด้วย ต่อไปน้ีจะนำเสนอหนังสือท่ีแต่งเป็นภาษาบาลีบางเล่มพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาค้นคว้า พระพุทธศาสนา หนังสือที่แตง่ เปน็ ภาษาบาลใี นประเทศไทย ๑.จามเทววี งศ์ จามเทวีวงศ์ จดั เป็นหนงั สอื พงศาวดาร รจนาเปน็ ภาษาบาลโี ดยพระโพธริ ังสีเถระเป็นผู้ทีอ่ าวุโสที่สุด เป็นชาวเชียงใหม่ จามเทวีวศ์มี ๑๕ ปริเฉท ปรากฏตอนท้ายทุกปริเฉทว่า อันมหาเถรมีนามว่า โพธิรังสี ได้แต่ง ตามคำมหาจารึก สันนิษฐานว่ารจนาราว พ.ศ.๑๙๕๐-๒๐๖๐ กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ให้พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เปรียญ ร่วมกับ พระญาณวิจิตร (สิทธิ โลจนานนท์) เปรียญ ชว่ ยกนั แปลเป็นภาษาไทยในสมยั รัชกาลที่ ๖ และพมิ พ์เผยแพรค่ รั้งแรก พ.ศ.๒๔๖๓ เน้ือเรื่องในจามเทวีวงศ์ ว่าด้วยวงศ์ของพระนางจามเมวีท่ีได้ครองเมืองหริภุญชัยและประวัติพระ ศาสนาในล้านนา กลา่ วถงึ การสร้างเมอื งหริภญุ ชยั ลำปางและการสร้างวัดบรรจพุ ระธาตุคอื พระบรมธาตุหริภุญ ชัยในสมัยราชวงศ์ของพระนางจามเทวี กล่าวถงึ ธรรมะของกษตั รยิ ์และความที่ไม่สมควร อนั เป็นเหตใุ หบ้ ้านเมือง ๗ลิขติ ลขิ ติ านนท์, ยคุ ทองแหง่ วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในลา้ นนาไทย:ลา้ นนาไทย,อนุสรณพ์ ระ ราชพธิ ีเปิดพระบรมราชานุสรณส์ ามกษัตรยิ ์, (เชยี งใหม่:ทิพยเ์ นตรการพิมพ์,๒๕๒๓), หนา้ ๑๐๓.

๓๑ เดือดรอ้ นล่มจม นบั ว่าพระโพธิรงั สเี ถระสามารถนำเอาเรอื่ งราวทางประวัตศิ าสตร์มาสมั พนั ธ์กับเรื่องราวทางพทุ ธ ศาสนาไดเ้ ปน็ อย่างดี จึงนบั วา่ หนังสือ จามเทวีวงศ์ เป็นหนังสือท่ที รงคณุ คา่ เล่มหน่ึง๘ ๒.สหิ งิ คนิทาน สิหิงคนิทาน หรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ โดยพระโพธิรังสีเถระ แม้มิไดร้ ะบุปีท่ีรจนา แต่สันนิษฐาน ว่าเป็นระหว่างปี พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๖๘ เพราะเป็นระยะท่ีวรรณกรรมบาลีกำลงั เฟอื่ งฟู เน้ือเรื่องใน สิหิงคนทิ าน ว่า ด้วยประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งหล่อในประเทศลังกาด้วย เงนิ ตะก่ัว และทองเหลือง ประวัติ การเดินทางมาสู่ประเทศไทยและจังหวัดต่างๆ รวมทั้งเชียงใหม่ ปัจจุบันได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยกลางและพิมพ์ เผยแพรแ่ ล้ว ๓.สมนั ตปาสาทิกา อัตถโยชนา สมันตปาสาทกิ า อัตถโยชนาอธบิ ายศัพท์ คำ ขอ้ ความยากในอรรถกถาวนิ ยั ปฎิ กชือ่ สมันตปาสาทกิ า ซ่งึ มีเน้อื หาเกย่ี วกับบทบญั ญตั ิ ขอ้ แนะนำตกั เตือนและบทลงโทษ สำหรบั พระภกิ ษุผผู้ ดิ วนิ ัย เปน็ ตน้ สมันตปาสาทิกา อตั ถโยชนารจนาขึ้นโดยพระญาณกิตติเถระซง่ึ เป็นชาวเชยี งใหม่ มีอาวุโสกว่าพระ สิริมังคลาจารย์ จำพรรษาอยู่วัดปนสาราม (สวนต้นขนุน) ซ่ึงต้ังอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครเชียงใหม่ จากผลงานของท่านท่ีรจนาไว้ ทำใหท้ ราบวา่ ทา่ นเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าติโลกราชเชื่อว่าท่านเคยไปศกึ ษาที่ ประเทศลังกา ในรัชกาลกษัตริย์กรุงลังกาปรักกรมพาหุที่ ๖ และพระเจ้าภูวเนกพาหุที่ ๖ (พ.ศ. ๑๙๕๕-๒๐๒๔) ครั้งนั้นศาสนสัมพันธ์ระหว่างเชียงใหม่ อยุธยา ลังกา และพม่า ดำเนินไปด้วยดี พระสงฆ์ล้านนาเดินทางไป ประเทศเหล่าน้ีได้อย่างเสรี ท่านมีชวี ิตอยู่ในสมัยพระเจา้ ติโลกราชและพระเจ้ายอดเชียงราย งานท่ีท่านรจนาขึ้น หลังจากสังคายนาพระไตรปิฎกคร้ังท่ี ๘ พ.ศ. ๒๐๒๐ ล้วนแต่เป็นภาษาบาลีท้ังส้ิน ผลงานของพระญาณกิตติ เถระรจนาคัมภีร์อธิบายเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยและพระอภิธรรม และบาลีไวยากรณ์ นอกจากสมันตปาสาทิกา อตั ถโยชนา แล้วยังมีหนังสือทีร่ จนาเป็นภาษาบาลีเลม่ อ่นื ๆ อกี มากมาย ๔.ภิกขุปาฎิโมกขคัณฐีทีปนี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระปาฏิโมกข์ หรือศีลของพระภิกษุโดยเฉพาะ เช่น สงฆค์ วรปฏบิ ตั ิอยา่ งไรกอ่ นพธิ สี วดปกฏิโมกข์ และอธิบายขยายความในพระปาฏิโมกข์ รจนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ ๕. สีมาสังกรวินจิ ฉัย วินัยปิฎก กล่าวถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญท่ีสุดของพระสงฆ์ คือ สีมา ซ่งึ คู่ กบั พระอุโบสถ หรอื โบสถเ์ ป็นท่ีทำสังฆกรรม กิจกรรมทีต่ ้องทำโดยความสามัคคีเป็นเอกฉันท์ มีเสียงคัดค้านเพยี ง เสียงเดยี ว สงั ฆกรรมนน้ั ย่อมเปน็ โมฆะ ๖. อัฏฐสาลินีอัตถโยชนา คัมภีร์อธิบายอัฏฐสาลินี อรรถกถาอภิธรรมธัมมสังคณีโดยพระพุทธโฆสา จารย์ ๗. สัมโมหวโิ นทนี อัตถโยชนา คมั ภรี ์อธบิ ายอรรถกถาอภธิ รรมวิภังค์ โดยพระพุทธโฆสาจารย์ ๘เร่อื งเดยี วกนั , หน้า ๑๐๓.

๓๒ ๘. ปัญจกรณัฏฐกถา อัตถโยชนา เช่ือกันว่าท่านญาณกิตติเถระคงรจนาคู่มืออธิบายอภธิ รรมที่เหลือ อีก ๕ คัมภีร์ คือ ธาตุกถา ปุคคลปัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน รวมเรียกว่า ปัญจปกรณัฏฐกถา ท่ีท่าน พุทธโฆสาจารย์รจนาไว้ ท่านพุทธทัตเถระชาวลังกาได้กล่าวว่า คัมภีร์เหล่านี้และคัมภีร์อ่ืนๆ อีกหลายคัมภีร์จารด้วยอักษร ขอม ส่งจากประเทศไทยไปถวายเป็นบรรณาการแก่พระมหาเถรปุรัตคามธัมมลังสิริกาสุมนติสส แห่งปรมานันท วหิ าร เมอื งกอลเล ประเทศลังกาโดยผา่ นราชทูตไทย ๙.อภธิ มั มัตถวภิ าวินี ปญั จิกา อตั ถโยชนา คัมภีร์อธิบายอภิธัมมัตถวิภาวินี ซ่ึงรจนาโดยพระสุมังคล ชาวลังกา ท่านรจนาเร่ืองน้ีที่วัดปนสาราม เมอื่ พ.ศ. ๒๐๔๕ ๑๐.มูลกัจจายนอัตถโยชนา คู่มืออธิบายบาลีไวยากรณ์สายกัจจนะ ซึ่งพระกัจจายนเถระ ภิกษุรุ่น หลงั ทา่ นพุทธโฆสาจารย์ (พทุ ธศตวรรษท่ี ๑๑-๑๒) รจนามลู กจั จายนวยากรณ วรรณกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาน้ี ท่านญาณกิตตเิ ถระได้รจนาระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๒๘-๒๐๔๓ ท่านเป็น นกั ปราชญล์ ้านนาท่รี จนาวรรณกรรมไวม้ ากกว่าผู้อืน่ ๑๑. เวสสนั ตรทปี นี รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ สำเร็จเม่ือ พ.ศ. ๒๐๖๐ ในรัชกาลพระเมืองแก้ว อธิบายอรรถกถา เวสสันดรชาดก เก่ียวกับความเบ็ดเตล็ดเกร็ดเล็กน้อยต่างๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนวิธีแบ่งคาถาในเวสสันดรชาดก อกี ด้วย คัมภีร์น้ีมคี วามยาวบ้นั ต้น ๔๐ ผูก บนั้ ปลาย ๑๐ ผูก ๑๒. สงั ขยาปกาสกฎีกา รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ เป็นหนังสืออธิบายคัมภีร์สังขยาปกาสกะ ที่พระญาณวิลาสเถระชาว เชียงใหม่รจนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๙ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งข้ึน รจนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๓ จำนวน ๒ ผูก สังขยาปกาสก ฎีกา เป็นผลงานต่อเนื่องมาจากจักกวาฬทีปนี นั่นคือเม่ือ พระสิริมังคลาจารย์ รจนาจักกวาฬทีปนีจบแล้วในปี พ.ศ. ๒๐๖๓ ท่านก็รจนา สังขยาปกาสฏกี าต่อทันทีภายในปเี ดียวกนั น้ันเอง ข้อนี้อาจจะสันนษิ ฐานได้ ๒ ประการ คอื ประการที่หน่ึง พระสิริมังคลาจารย์มีความคิดไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะรจนาสังขยาปกาสกฎีกา ต่อจาก จักกวาฬทปี นี เพ่ือใหผ้ ศู้ ึกษางานของท่านได้ใช้สงั ขยาปกาสกฎีกาเป็นคมู่ ือในการทำความเข้าใจความหมายต่างๆ ที่แสดงไวใ้ นจักกวาฬทปี นี อกี ประการหน่ึง อาจจะเป็นไปไดว้ ่า ท่านมิได้มีความคิดไว้ก่อนว่าจะรจนาคัมภีร์เก่ียวกับสังขยา (การ กำหนดนับในรูปแบบต่างๆ) แต่ขณะเมื่อท่านรจนา จักกวาฬทีปนีนั้น ท่านได้พบปัญหาท่ีเกิดขึ้นจากความไม่ ชัดเจนของหน่วยนับต่างๆ ท่ีปรากฏอยุ่ในคัมภีร์ต่างๆ หรือแม้จะมีความชัดเจน แต่ก็มีข้อแตกต่างท่ีจะก่อให้เกิด ความเคลือบแคลงสงสัยแกผ่ ู้ศึกษาได้ รวมทั้งคัมภีร์สังขยาปกาสกปกรณ์ ของพระญาณวิลาส ซึ่งท่านใช้เป็นคู่มือ ในการแสดงความหมายตา่ งๆ ในจกั กวาฬทีปนี เป็นงานนิพนธ์ประเภทรอ้ ยกรองทป่ี ระกอบด้วยขอ้ ความสัน้ ๆ อัน

๓๓ จะเป็นปัญหาต่อผู้ศกึ ษาทัว่ ๆ ไป จากปญั หาเหล่านจี้ ึงทำให้ พระสริ มิ ังคลาจารย์ไดร้ จนาคมั ภีร์สังขยาปกาสกฎีกา ต่อจากจักกวาฬทปี นีทนั ที ความเป็นจริงจะเป็นประการใดก็ตามที แต่ผลงานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่า การจะศึกษาให้เข้าใจถึง ความหมายแห่งความเป็นจริงของ มนุษย์-โลก-จักรวาฬ นั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในหน่วย การนับประเภทต่างๆ อยา่ งแจ่มแจ้ง สงั ขยาปกาสกฎีกา จึงถูกรจนาขึ้นเพือ่ ประโยชน์แก่ผศู้ ึกษาพระพุทธศาสนา และเพอ่ื ความสมบรู ณ์แหง่ วชิ าการอนั จะเปน็ คณุ ูปการ คอื ความงอกงามทางสติปัญญาของประชาชนโดยทั่วไป๙ สงั ขยาปกาสกฎกี า อาจจะเป็นผลงานชิ้นเล็กๆ เมื่อนำไปเทียบเคยี งกับผลงานช้ินอ่นื ๆของพระสิรมิ ัง คลาจารย์ แต่ทว่าผลงานช้ินเล็กๆ ชิ้นน้ีก่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่ยิ่งใหญ่ในภาพรวมแห่งงานของพระสิริมังคลา จารย์ หนังสือเลม่ นี้นักศกึ ษาภาษาบาลีควรไดอ้ า่ นเปน็ อย่างยงิ่ ๑๓. มังคลัตถทีปนี หรือ มงคลทีปนี รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ เป็นวรรณกรรมเรื่องเอกที่มี ชื่อเสียงยิ่งของพระสิริมงั คลาจารย์ รจนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๗ เพือ่ เปน็ การอธบิ ายความในมงคลสตู ร ท่ีปรากฏใน พระไตรปิฎก ๒แห่ง คือ ในขุททกปาฐะและสุตตนิบาต ซึ่งท้ังสองนี้อยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มีอรรถ กถาช่ือ ปรมัตถโชติกา ซ่ึงพระพุทธโฆสะเป็นผู้รจนาไว้อันเป็นพระสูตรที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เป็นมงคลรวม ๓๘ ประการ เชน่ การไมค่ บคนพาล การคบบัณฑิต ฯลฯ ทา่ นได้อธิบายถึงความหมายของพระสตู รนโี้ ดยละเอยี ดด้วย ภาษาบาลีอนั ไพเราะและสละสลวย และนำเรือ่ งจากคัมภรี ์และชาดกอน่ื ๆ มาอธิบายประกอบมังคลัตถทีปนี น้ีได้ แปลเป็นภาษาไทยความยาว ๘๙๓ หน้า และพิมพ์เผยแพร่หลายครั้งแล้ว เพราะเป็นหลักสูตรท่ีผู้เรียนปริยัติ ธรรมจะตอ้ งศกึ ษา ๑๔. จักกวาฬทีปนี รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ ซ่ึงเรื่องนี้ท่านได้ผูกโครงเร่ืองขึ้นก่อน โดยแบ่ง เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับจักรวาลออกเป็นตอนๆ จากนั้นก็อธิบายเรื่องราวตอนนั้นๆ อย่างละเอียดลออ โดยอ้าง หลักฐานจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆ มาประกอบ รจนาเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๓ กล่าวถึงเร่อื งราวในจักรวาล หรอื โลกธาตุ พรรณนาถงึ ภูมทิ เี่ กดิ ของสตั วท์ ้งั หลาย อาหารของสัตว์ ภูเขา แมน่ ำ้ เทวดา อสูร ฯลฯ ดงั นี้ - ภูเขา พรรณนาถึงเขาพระสเุ มรุ เขาสัตตบริภัณฑแ์ ละเขาต่างๆ ในป่าหมิ พานต์ - สระ พรรณนาถงึ สระอโนดาต กัญญมุณฑก รถกรก ฉทั ทนั ต์ กุนาล ฯลฯ - นที พรรณนาแม่นำ้ ตา่ งๆ เช่น คงคา ยมุนา อจริ วดี สรภู มหิ ฯลฯ - ทวปี พรรณนาชมพูทวีป อตุ ตรกรุ ุทวปี บุพพวิเทห และอมรโคยาน เป็นตน้ - ภูมิของสัตว์ต่างๆ เช่น อบายภูมิ คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตวิสัย อสุรกาย และมหานรก ๘ ขุม เชน่ สัญชีวะ กาลสตุ ตะ สงั ฆาตะ ปตาปนะ เปน็ ต้น - อสรู พรรณนา เวปจติ ต สัมพร อสุโรช ปหารท ราหุ เป็นต้น - ภมุ มเทวดา คือ เทวดาท่ีอยบู่ นพ้นื ดินและสถานทศี่ ักดิส์ ิทธ์ิ หรอื ทรงคณุ ประโยชนต์ ่างๆ ๙ประมวล เพง็ จันทร์,ชัชวาล บุญปัน,สงั ขยาปกาสกฎีกาอปุ กรณ์แหง่ การหยัง่ ถึงความจริงจากโลก วิทยาศาสตรพ์ ุทธศาสนา, <http://midnightuniv.org/midnight ๒๕๔๕/newpage๘.html>(๑๖/๐๒/๕๑)

๓๔ - อากาศเทวดา กล่าวถงึ เทพทีส่ ถิตอยใู่ นอากาศ แตอ่ ยู่ในระดับที่ต่ำกวา่ ชั้นจตมุ หาราชกิ - มเหสักขเทวดา กล่าวถงึ เทวดาที่สงู ศกั ด์ิต่างๆ ในฉกามาวจรเทวโล - พรหม กล่าวถึง พรหมตา่ งๆ ในพรหมโลก นอกจากนี้ยังได้พรรณนา หรือวนิ ิจฉัยเบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย เร่ืองอายุ อาหาร การคำนวณภูมิเร่ือง ตน้ ไม้ เรื่องโลก โลกธาตุ และเร่ืองความไม่มีที่สิ้นสุด ตลอดจนคำศัพท์ตา่ งๆ กไ็ ด้อธิบายไวเ้ ช่น ขนั ธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วบิ ตั ภิ วโลก ฯลฯ ผลงานของพระสิริมังคลาจารย์เป็นวรรณกรรมภาษาบาลที ี่ใช้เป็นหลักสูตรบาลีประโยค ๔-๕-๗ ใน ปัจจุบันคือมังคลัตถทีปนี แต่เป็นท่ีน่าเสียดายอย่างย่ิงท่ีไม่อาจทราบแนช่ ัดว่า พระสิริมังคลาจารย์มีประวตั ิความ เป็นมาอย่างไร เพราะไม่มีหลักฐานปรากฏเช่นเดียวกับพระเถระองค์อ่ืนๆ นอกจากสันนิษฐานจากผลงานของ ท่าน ท่านเป็นชาวเชียงใหม่มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ. ๒๐๒๐-๒๑๐๐ ประจำอยู่วดั สวนขวัญ (วัดตำหนักในปัจจุบัน) ซ่ึง ตง้ั อยู่ทางทิศใต้จากตวั เมืองเชียงใหมไ่ ปประมาณ ๔ กิโลเมตร ท่านเคยไปศึกษาท่ีลงั กา และเคยเป็นอาจารย์ของ พระเมืองเกษเกล้า๑๐ แต่ในหนังสือบางเล่มมีผู้เขียนประวัติพระสิริมังคลาจารย์ไว้ว่า เกิดที่เมืองเชียงใหม่ ประมาณพ.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๒๐ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีนามเดิมว่า “ศรีปิงเมือง” บรรพชาเป็นสามเณรเม่ืออายุได้ ๑๓ ปี ไป เรียนหนังสือในสำนกั พระพทุ ธวีระ ซึ่งเป็นพระในนิกายสิงหลและอยู่ตา่ งประเทศ กลับมาเชียงใหม่สมัยพระเมือง แก้วและได้รับแต่งตั้งเป็น “พระสิริมังคลาจารย์” ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด ต่อมาย้ายไปเป็นเจ้า อาวาสวัดสวนดอก จนกระทงั่ มรณภาพ เม่ือประมาณ พ.ศ.๒๐๖๘-๒๐๗๘ ในสมยั พระเมืองเกษแก้ว๑๑ อย่างไรกต็ ามประวัติพระสิรมิ ังคลาจารย์กย็ งั คลาดเคล่ือนเช่นวดั สวนขวัญกบั วดั สวนดอกอยกู่ ันคนละ ที่ ผู้เขียนอาจจะจำสับสนกันเองก็ได้ ปี พ.ศ. เกิดและปีมรณก็ไม่ตรงกัน แต่หากศึกษาจากผลงานเช่นมังคลัตถ ทีปนีแลว้ นับวา่ พระสิรมิ ังคลาจารยม์ ีความรู้กวา้ งขวางและลกึ ซง้ึ เมื่อพิจารณาวิธีการรจนาคัมภีร์ของพระสิริมังคลาจารย์แล้ว จะเห็นว่าพระสิริมังคลาจารย์รจนา คมั ภีร์แต่ละเรือ่ งข้ึนเพ่ืออธิบายขยายความที่ยากหรอื ค่อนข้างยากให้คนทั่วไปเข้าใจร้เู รื่องอย่างแจ่มแจ้ง อันเป็น จุดประสงค์สำคัญของผลงานกลุ่มแรก ส่วนผลงานท่ีรจนาใหม่คือ การอธิยายเรื่องจักรวาลน้ัน ก็เพ่ือต้องการให้ ชาวล้านนาท่ีสนใจและมิได้เป็นนักปราชญ์ท่ีต้องการจะทราบเร่อื งจักรวาลอย่างถ่องแท้ละเอียดพิสดาร ตามแนว ของพุทธศาสนาได้สามารถเขา้ ใจเรอื่ งราวไดอ้ ย่างชัดเจนขึน้ โดยไม่ต้องคน้ ควา้ หาอ่านมากมาย ๑๐อุดม รุง่ เรืองศรี,วรรณกรรมลายลักษณล์ ้านนา, (เชียงใหม่; เอกสารประกอบนิทรรศการวรรณกรรม ล้านนา คณะมนษุ ย์ศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยพายพั , ๒๕๒๘), หนา้ ๑๑๖. ๑๑พระราชปรยิ ตั ิ (สฤษดิ์ สิริธโร),งานวจิ ัยและวรรณกรรมทางพระพทุ ธศาสนา, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั ),๒๕๔๘,หน้า ๒๘.

๓๕ นอกจากน้ีผลงานของพระสิริมังคลาจารย์ยังสะท้อนให้เห็นความสนใจและการใฝ่หาความรูด้ ้านพุทธ ศาสนาและวิชาการแขนงต่างๆ ของชาวล้านนาในระหวา่ งพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ มมี ากเพียงใด ท้ังยังเปน็ ความ สนใจท่จี ะใฝห่ าความรู้นัน้ ๆ อยา่ งแตกฉานอกี ด้วย พระสิริมังคลาจารย์รจนาหนังสือไว้ ๕ เล่ม เม่ือนำเอาผลงานทั้ง ๔ ชิ้น ของพระสิริมังคลาจารย์มา วางเรียงรวมกัน ภาพท่ีปรากฏน่าสนใจย่งิ น่ันคอื ช่วงระยะเวลา ๘ ปี ท่ีท่านอุทิศเวลาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทาง พุทธศาสนาน้ัน งานแต่ละช้ินของท่านมีลำดับแห่งความหมายท่ีต่อเน่ืองตามนัยแห่งพุทธศาสนา พระสิริมังคลา จารย์เร่ิมงานนิพนธ์ของท่านท่ีจริยธรรมอันเป็นเร่ืองใกล้ตัว และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมชาว พุทธ ทานคือหน่ึงในกระบวนการกล่อมเกลาปัจเจกชนให้หลอมรวมเข้ากันเป็นสังคม และวิธีกล่อมเกลาให้ ประชาชนเขา้ ถึงคุณค่าแห่งจริยธรรมของชาวพุทธนั้น คอื การนำเสนอหลกั จริยธรรมผา่ นชาดก ท่านผู้รู้ทางพุทธศาสนาทั่วไปต่างยอมรับกันว่าในบรรดากระบวนการนำเสนอให้ประชาชนเข้าถึง หลักธรรมพ้ืนฐานในพระพุทธศาสนานั้น วิธีการแบบชาดก เป็นวิธีการหน่ึงที่ได้ผลอย่างสูงย่ิง เรื่องราวต่างๆ ที่ บอกเล่าผา่ นชาดก ได้หยั่งรากฝงั ลกึ ในจติ สำนึกของชาวพทุ ธอยา่ งแนบแนน่ และงดงาม พุทธศาสนาแบบเถรวาทได้พัฒนาวิธีการแบบชาดกข้ึนอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละท้องถ่ิน พุทธศาสนาในล้านนาเองก็ประสบความสำเร็จในการใช้ชาดกเป็นวิธีการนำเสนอ หลกั คำสอนของพทุ ธศาสนา สูป่ ระชาชน จนกระท่ังมคี ัมภรี ์ชาดกนอกนิบาตขึน้ ในลา้ นนา พระสิรมิ ังคลาจารย์ไดร้ จนาเวสสนั ตรทีปนขี ้ึนเพ่ือตอบสนองความต้องการของสังคม ท่ตี ้องการกล่อม เกลาประชาชนใหง้ อกงามในจริยธรรมข้อท่ีวา่ ดว้ ยทาน คงจะไม่เกินความจรงิ ไปกระมังถ้าจะกล่าวว่า ความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจของชาวภาคเหนือท่ีปรากฏ ตอ่ ผมู้ าเยอื น คือ ดอกผลแหง่ ทานทีง่ อกงามในใจของชาวภาคเหนือมาชา้ นาน และรากฐานสำคญั ของจรยิ ธรรมที่ หยั่งรากฝังลึกในจิตสำนึกของชาวไทยภาคเหนือ ก็คือหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยทาน และนั้นก็ ย่อมจะหมายความได้ว่า เวสสันตรทีปนี ของพระสิริมังคลาจารย์ ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งความงอกงามในทาง จรยิ ธรรมของประชาชนผซู้ ึ่งได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษซึ่งไดร้ ับการกล่อมเกลามาดว้ ยงานนิพนธข์ องพระสิริมัง คลาจารย์ เวสสันตรทีปนี จึงถือได้ว่าเป็นงานเพ่ือสร้างสรรค์จริยธรรม และศีลธรรมในสังคม จากจริยธรรมอัน เป็นเร่อื งระหว่างสมาชกิ ในสังคมจะพงึ ปฏิบัตติ ่อกัน เพอื่ สนั ติสุขร่วมกนั พระสิริมังคลาจารย์ก็กา้ วมาสู่ เรื่องความ เป็นจริงของมนุษย์-โลก และจักรวาฬ เพื่อสร้างโลกทัศน์ และชีวทัศน์อันจะเกื้อกูลต่อการประพฤติปฏิบัติตาม แนวทางแห่งพทุ ธศาสนา จักกวาฬทีปนี รจนาข้ึนเพื่อแสดงความหมายแห่งความเป็นจริงของโลกและจักรวาฬท่ีมนุษย์แต่ละ คนกำลังใช้เป็นเวทีเพื่อดำเนินไปสู่เป้าหมายที่พึงปรารถนา แตโ่ ลกและจกั รวาฬอันกว้างใหญ่น้ี มิใช่จะมองเห็นได้ เพียงแค่ใช้ประสาทสัมผัส (Perceive) ตามปกติเท่านั้น แต่ต้องใช้การกำหนดหมายท่ีถูกต้องเพื่อการหยั่งถึงได้ ด้วยจิต (Conceive) การจะเข้าถึงความเป็นจริงแห่งโลกและจักรวาฬจึงต้องประกอบด้วยมโนทัศน์ที่สุขุม

๓๖ ละเอียด และเพื่อสร้างกระบวนทัศน์อันจะสามารถหย่ังถึงความเป็นจริงแห่งโลกและจักรวาฬ กระบวนการ กำหนดนับเพ่ือสร้างความหมายให้ปรากฏต้องชัดเจน และด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างความชัดเจนในการกำหนด นับความหมายในประเภทและลักษณะต่างๆ สังขยาปกาสฎกี า จึงถูกรจนาขึ้น ท้ังจักกวาฬทีปนี และสังขยาปกาสกฎีกา จึงมีจุดมุ่งหวังรวมกันอยู่ทก่ี ารเข้าถึงความเป็นจรงิ แห่งโลก และจักรวาฬเพื่อให้มนุษย์เกิดการหยั่งถึงความเป็นจริง (Realisation) ท่ีเป็นกฏ อันมนุษย์ทุกคนต้องเป็นไปตาม เพราะด้วยการเข้าถึงซึ่งความเป็นจริง แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงเท่านั้น มนุษย์จึงจะ สามารถดำเนนิ ชีวิตไปสสู่ นั ติสขุ อยา่ งถาวร เมื่อได้รจนาจักกวาฬทีปนี และสังขยาปกาสกฎีกา เพื่อแสดงความหมายแห่งความเป็นจริงของ มนษุ ย์-โลก-จักรวาฬแล้ว พระสิรมิ งั คลาจารย์ จึงได้มาถึงการรจนางานช้ินสำคัญ เพ่อื แสดงวถิ ีแหง่ ชวี ิตทีช่ าวพทุ ธ พึงดำเนินไป จากจุดทงี่ า่ ยทส่ี ุด และเป็นพื้นฐานทวั่ ไป ไปสู่เป้าหมายสงู สดุ แหง่ ชวี ิตคือจิตอันเกษม เพ่อื เขา้ ส่ภู าวะ นิพพาน วิถีชีวิตอันประเสริฐดังกล่าวนี้นำเสนอในผลงานที่ชื่อมังคลัตถทีปนี ท่ีทำให้ชื่อเสียงของพระสิริมังคลา จารยป์ รากฏอยูใ่ นรายช่ือของปราชญท์ างพุทธศาสนาที่ชาวพุทธท่วั โลกตา่ งรู้จักและชนื่ ชมในผลงานของท่าน มองในแง่ของการเปรียบเทียบกับงานช้ินอื่นๆ ของท่าน สังขยาปกาสกฎีกา ซึ่งถูกมองผ่านเลยไป เพราะไม่ได้นำเสนอหลักธรรมหรือคำอธิบายหลักธรรมโดยตรง แต่ถ้าหากมองงานทั้งหมดของพระสิริมังคลา จารย์เพ่ือประเมินค่าผลงานของท่านอย่างรอบด้านและลุ่มลึกสังขยาปาสกฎีกาจะเป็นส่วนเล็กๆ ที่ก่อให้เกิด ความงดงามที่สมบรู ณ์และยิ่งใหญ่ ท้ังยงั เปน็ การแสดงให้เห็นถึงความสนใจใฝร่ ูท้ ่ีกว้างไกลของผู้รจนา แสดงถงึ ภูมิ ปัญญาท่ีลุ่มลึก ของนักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านนี้ว่าท่านมิได้เป็นปราชญ์เฉพาะทางพุทธศาสนาบริสุทธ์ิ เท่านั้น แต่ท่านยังทรงความรู้ในทางคดีโลก ที่ล้ำยุคล้ำสมัยในขณะนั้น ถึงขนาดสามารถรจนางานที่แสดง มาตราการนับที่มีระบบสมบูรณ์ พร้อมทั้งประกอบด้วยนัยความหมายที่เกื้อกูลต่อทางปฏิบัติตามคติแห่งพุทธ ศาสนา ๑๕. มาติกัตถสรูปอภิธัมมสังคณี รจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระ หรือพระสิริรัตนปัญญาเถระ เป็น คัมภีรอ์ ธิบายพระอภิธรรม ไมป่ รากฏปีท่ีรจนา ๑๖. วชิรสารัตถสังคหะ พระรัตนปัญญาเถระรจนาเม่ือ พ.ศ. ๒๐๗๘ ท่ีวัดมหาวนาราม เชียงใหม่ เป็นเร่ืองศัพท์ย่อๆ ซึ่งเม่ือขยายใจความออกมาแล้วจะทำให้รู้ความหมายได้แจ่มชัด หรืออาจเรียกว่าเป็นหัวใจ ของธรรมะต่างๆ ๑๗. ชินกาลมาลี หรือ ชินกาลมาลีปกรณ์ คัมภีร์น้ีพระรัตนปัญญาเถระเริ่มรจนาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ ในพรรษาที่ ๒๓ ของพระรัตนปญั ญา รัชสมัยพระเมืองแก้ว เน้ือเร่ืองกลา่ วถึงกาลของพระพุทธเจา้ โดยเรียบเรียง อย่างมีระเบียบ จึงได้ช่ือว่า ชินกาลมาลีปกรณ์ รจนาถึงกาลก่อนท่ีพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้โดยพิสดาร ว่าด้วยพุทธ กิจวา่ ทรงทำอะไร ประทับอยูท่ ี่ไหน จนกระทั่งดบั ขันธ์ปรนิ ิพพาน กาทำสงั คายนาครั้งตา่ งๆ การจำแนกพระบรม ธาตุ การเผยแพร่พุทธศาสนาไปยังประเทศต่างๆ ให้เวลาและสถานท่ีอย่างชัดเจน บอกกำหนดปีโดยครบถ้วน นอกจากน้ียังกล่าวถงึ ประวตั ิของบุคคลและสถานท่ีของเมืองสำคัญ คือ เชยี งแสน เชียงราย ลำพูน และเชียงใหม่

๓๗ รจนาเสร็จสมบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๑ มีความยาว ๑๔ ผูก กับ ๑๔ ลาน วรรณกรรมบาลีเล่มน้ีถือได้ว่าเป็น วรรณกรรมประวัติศาสตร์ล้านนาที่ใชเ้ ป็นหลักฐานอ้างอิงได้เป็นอย่างดี และเป็นท่เี ช่อื ถอื ตลอดมาจนถึงปัจจุบนั นี้ ท้งั ผู้รจนากไ็ ด้แสดงความมงุ่ หมายในการแต่งไวอ้ ย่างละเอยี ด สมกับที่เปน็ ผลงานช้ินสำคญั ชินกาลมาลีปกรณ์ นับเป็นผลงานชิ้นเอกของนักปราชญ์ชาวล้านนา ท่ีได้รับการแปลเป็นภาษาอ่ืนๆ มากมายหลายภาษา รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตถึง ๕ ท่าน ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยกลาง ต่อมาสมัยรัชกาลท่ี ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกเป็นครั้งแรกในงานพระศพ ของพระราชวงศ์ เมอื่ พ.ศ. ๒๔๕๑ ต่อมาเสฐียร พันธรังษี ได้แปลเป็นภาษาไทยเป็นครง้ั ที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ ใช้ ชื่อว่า ชินกาลมาลินี และในราว พ.ศ. ๒๕๐๐ แสง มนวิทูร ได้แปลเป็นภาษาไทยข้ึนอีกเป็นครั้งที่ ๓ มีเชิงอรรถ อธิบายความใหเ้ ข้าใจงา่ ยยิง่ ขน้ึ การแปลเป็นภาษาต่างประเทศเริ่มด้วย ยอร์ช เซเดส์ แปลเป็นภาษาฝร่ังเศส โดยตีพิมพ์คู่กับภาษาบาลี ลงในวารสารวิชาการของฝรั่งเศสติดต่อกัน ๖ ฉบับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ สมาคมบาลีปกรณ์ ลอนดอน ประเทศ อังกฤษ ได้พิมพ์เป็นภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน ต่อมาก็ได้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษด้วย ในประเทศลังกา พระภิกษุ ช่ือพุทธทัตก็ได้แปลเป็นภาษาสิงหล พิมพ์คู่กับภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงนับได้ว่าเป็นวรรณคดีล้านนาที่ ได้รบั การแปลและพิมพ์เผยแพร่มากท่ีสดุ ชนิ กาลมาลีปกรณ์ จึงเสมือนเป็นคู่มือที่นักศึกษาชาวต่างประเทศได้ใช้ เปน็ หลกั ในการศกึ ษาประวตั ศิ าสตรแ์ ละโบราณคดขี องไทย มานานแลว้ พระรัตนปัญญาเถระ หรือพระสิริรัตนปัญญาเถระ พระเถระชาวเชียงรายรูปนี้ เป็นพระภิกษุรุ่น เดียวกันกับพระสิริมงั คลาจารย์ เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์มังราย อุปสมบทและพำนักอยู่ที่วัดป่าแก้ว เชียงราย ต่อมาได้มาศึกษาต่อที่เชียงใหม่ และพำนักอยู่วัดสีหลาราม หรือวัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน มณี พยอมยงค์กล่าวว่า ทา่ นเคยพำนักท่ีวัดฟ่อนสร้อย (เดินอยู่ใกลต้ ลาดประตูเชียงใหม่) ก่อนจนได้เป็นเจ้าอาวาส จากน้ันจึงย้ายไปเป็น เจา้ อาวาสวัดเจ็ดยอดในสมัยพระเมอื งแก้ว ซ่ึงเป็นพระอารามหลวง ๑๘.มูลศาสนา รจนาโดย พระพุทธพุกาม และพระพุทธญานเจ้า ประวัติของพระเถระทั้งสองท่านน้ีไม่ทราบแน่ชัด แต่ผลงานของท่านทปี่ รากฏคือมูลศาสนา ได้ระบุช่ือผู้รจนาไว้ในตอนท้ายของเรื่องน้ี ระยะเวลาทรี่ จนาก็ไม่ทราบ แน่นอน เป็นหนังสือที่เก็บความรู้ ประวัติทางศาสนาจากท่ีมาหลายคัมภีร์ นำมารจนาไว้โดยละเอียด รวมทั้ง แทรกเร่ืองราวประวัติศาสตร์ และความเป็นไปของประชาชนในแหลมสุวรรณภูมสิ มัยโบราณด้วย นับเป็นหนงั สือ คกู่ ับ จามเทววี งศ์ และ ชินกาลมาลปี กรณ์ หนังสอื เลม่ นร้ี จนาเปน็ ภาษาล้านนา ๑๙.คันถาภรณฎกี า รจนาโดยพระสุวัณณรังสีเถระ เป็นหนังสืออธิบายคัมภีร์ชื่อ คันถาภรณะ ของชาวพม่า อันว่าด้วย หลกั เกณฑท์ างภาษาบาลี รจนาขน้ึ เมอ่ื พ.ศ. ๒๑๒๘ ๒๐.ปฐมสัมโพธิกถา

๓๘ รจนาโดยพระสุวัณณรังสีเถระ ซ่ึงต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ได้ทรงนิพนธ์เร่ือง ปฐมสมโพธิกถา โดยถือเอาปฐมสัมโพธิกถาเป็นฉบับภาษาบาลีของพระสุวัณณรังสี เปน็ หลักในการเรียบเรยี ง (ลิขิต ลขิ ิตานนท์, อา้ งแลว้ ,๒๕๒๓, หนา้ ๑๑๖.) พระสุวัณณรังสีเถระ เป็นภิกษุชาวเชียงใหม่ ต่อมาได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดวิชยาราม นครเวียงจันทน์ประเทศ ลาว และได้รบั แตง่ ต้ังเป็นพระสงั ฆราช ๒๑. รตั นพิมพวงศ์ รจนาโดยพระพรหมราชปัญญา รตั นพมิ พ์วงศเ์ ป็นตำนานในการสร้างพระแกว้ มรกต ๒๒. วิสุทธิมคั คทีปนี รจนาโดยพระอุตตรารามเถระ เป็นคัมภีร์อันเป็นการอธิบายความในวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสา จารย์ แต่ตน้ ฉบบั ยงั คน้ หาไมพ่ บ รายนามของนักเขียนล้านนาท่ีกล่าวมาแล้วท้ังหมดน้ัน เป็นยุคของวรรณกรรมบาลที ่ีมีเน้ือเรอ่ื งเก่ียวกับ พุทธศาสนาและพระไตรปิฎกท้ังส้ิน และเป็นช่วงท่ีกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณกรรมล้านนาคือรัชกาลของ พระเจา้ ติโลกราช และพระเมืองแก้ว นับเป็นเวลาภายหลังท่ีได้มีการกระทำสังคายนาพระไตรปิฎกคร้ังที่ ๘ ของ โลก ที่วัดเจ็ดยอดเสร็จสิ้นลงเม่ือ พ.ศ. ๒๐๒๐ ทำให้มีนักปราชญ์ทางวรรณกรรมบาลีเกิดขึ้นมากมาย จนอาจ กล่าวได้ว่าล้านนานั้นเป็นผู้นำในด้านวรรณกรรมบาลีของไทยมาจนปัจจุบันนี้ ท้ังนี้เพราะคณะสงฆ์ไทยยังได้ใช้ ตำราคัมภีร์อันเป็นผลงานของนักปราชญ์ดังกล่าวเป็นหนังสือเรียนในการสอบบาลีสนามหลวงของพระภิกษุมา จนถึงปจั จุบนั ในช่วงทีเ่ ชียงใหมห่ รือล้านนาตกเป็นเมืองขน้ึ ของพม่าน้ัน นบั ว่าเป็นช่วงทเ่ี สื่อมทางดา้ นการศึกษาหา ความรู้และการรจนาคัมภีร์เพราะบ้านเมืองไม่สงบ จนกระทั่งเชียงใหม่ได้รับการฟื้นฟูอีกคร้งั หนึ่งในสมัยราชวงศ์ เจ้าเจ็ดตน จึงปรากฏผลงานของกวีล้านนาอีก ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นกวีท่ีประจำราชสำนักเจ้าหลวงผู้ครองเมือง ต่างๆ เชน่ เชียงใหม่ ลำปาง เป็นต้น ส่วนมากเปน็ วรรณกรรมท่ีเป็นไปเพอ่ื ความบันเทงิ และกวีก็มักเป็นฆราวาส ทเี่ คยบวชเรียนมาก่อน เช่นพระยาพรหมโวหาร เป็นตน้ ๓.วรรณกรรมภาษาถ่ิน หมายถึง วรรณกรรมท่ีแต่งเป็นภาษาไทยวน ซ่ึงส่วนใหญ่ได้เค้าเรื่องและแนวคิดจากวรรณกรรม พระพุทธศาสนา เช่น จากนิทานชาดกในหมวดพระสูตร หรือจากนิทานชาดกนอกนิบาตท่ีแต่งเลียนแบบนิทาน ชาดก มีเน่ืองเร่ืองเป็นเสมือนนิทานชาดก แต่ท้ังหมดนี้ก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวกันคือ แฝงไว้ซ่ึงศีลธรรมจรรยา ในศาสนา ทำให้ผู้อ่านเกิดความสำนึกผิดชอบช่ัวดี เม่ืออ่านหรอื ได้ยินได้ฟังแล้วจะได้ทั้งความเพลิดเพลินและคติ สอนใจไปในตวั ในจำนวนนทิ านชาดกเหล่าน้นั เวสสันดรชาดก หรือทีเ่ รียกอกี อยา่ งหน่ึงว่ามหาชาติ ถือว่าเปน็ ชาดกท่ี มีการนำมาใช้มากท่ีสุดในล้านนา เช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ ทั้งในด้านพิธีกรรมและวรรณกรรมมีผู้แต่งเป็นภาษาไท ยวนสำนวนต่าง ๆ มากกว่า ๑๕๐ สำนวน การท่ีเป็นเช่นน้ีก็อาจจะเป็นเพราะแรงกระตุ้นท่ีมีจากอานิสงส์การ

๓๙ สร้างคัมภีร์นั่นเอง คือในล้านนานั้นมีความเชื่อว่า ถ้าใครได้สร้างคัมภีร์ถวายไว้ในพระศาสนา ผู้น้ันจะเป็นผู้มี สติปัญญาเฉลียวฉลาด ดังนัน้ พอเดก็ เกิดมาอายุได้ประมาณ ๘ ขวบ พ่อแม่จะพาสร้างพระคัมภีร์ถวายวดั ทุกวนั น้ี ความเช่ือเชน่ น้ันดเู หมอื นจะหมดไปแล้ว จะเหลือก็แต่คัมภีร์อันเป็นผลของความเช่ือดังกลา่ ว ซ่ึงมีอยู่เป็นจำนวน มาก และอาจมากกวา่ ทีม่ อี ยูใ่ นภาคตา่ ง ๆ ของประเทศไทย นอกจากเวสสันดรชาดกหรือมหาชาติแล้ว ยังมีนิทานชาดกนอกนิบาตและนิทานพ้ืนบ้านอีกเป็น จำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นนิทานสอนใจประเภทยาจกได้ดีมากกว่านิทานที่ให้ความหรรษาร่าเริง หรือตลก ขบขัน ซึ่งก็พอมีอยู่บ้างเช่นกันแต่ก็มีจำนวนน้อยมาก ตามท่ีมีผู้ได้ทำการสำรวจพบว่ามีอยู่ประมาณ ๒๕๐ เร่ือง ไม่นับวรรณกรรมประเภทร้อยกรองอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าจะพูดแบบรวบยอดก็ว่า วรรณกรรมท้ังท่ีเป็นนิทานชาดก และนิทานพ้ืนบ้าน ล้วนแตม่ ีเน้ือหาสาระท่ีเน้นหนักไว้ในทางปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ ให้กับผอู้ ่านหรือได้ยินไดฟ้ ัง ตามท่ีสังคมตอ้ งการและคาดหวัง จากล้านนาสู่รัตนโกสนิ ทร์ ภาษาบาลี ซ่ึงเป็นภาษาท่ีจารกึ คำสอนของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้น แม้ตามหลักฐานจะปรากฏว่า เข้ามามีอิทธิพลในแถบเอเชียอาคเนย์นี้ต้ังแต่สมัยที่คนไทยยังไม่ได้ตั้งถ่ินฐานอยู่ในดินแดนปัจจุบัน ก็มีหลักฐาน ตง้ั แต่สมัยสุโขทัยวา่ พอ่ ขุนรามคำแหงเคยสง่ สมณทตู ไปลังกา (ศรีลังกา) และในรัชกาลท่ี ๕ ของสมัยสุโขทัย คือ สมัยพระมหาธรรมราชาลิไทใน พ.ศ. ๑๙๐๔ มีการสง่ สมณทูตไปลังกาเช่นกัน ลังกาใช้ภาษาบาลีในการจารกึ คำ สอนทางพุทธศาสนา มีการแต่งตำราไวยากรณ์บาลีกันมากและศึกษากันอย่างแพร่หลาย ไทยจึงได้รับอิทธิพล ภาษาบาลีจากลังกา ใน พ.ศ.๑๙๐๕ พระยาลิไททรงผนวช ก็ได้ศึกษาภาษาบาลีอย่างแตกฉาน ขณะเดียวกัน พระอีกสายหนึ่งจากลงั กาเข้ามาในกรงุ สุโขทัย ไทยจงึ รบั ภาษาเข้ามาอีกระลอกหน่ึง และใช้ภาษาบาลีจารึกคำส่ัง สอนของพระพทุ ธองค์เชน่ เดียวกับทลี่ งั กาใช้ จะเห็นว่าทัง้ ภาษาบาลีเขา้ มามอี ทิ ธิพลมากขน้ึ ต่อจากสมัยสุโขทัย ความนิยมใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยยังคงอยู่ เพราะเราพบศัพท์ภาษาบาลี สันสกฤตในภาษาไทยมากข้ึน ๆ ดังหลกั ฐานจากวรรณคดีสมัยหลัง ๆ และเราจะสังเกตเห็นวา่ ในวรรณคดีสมัย สโุ ขทัยมีคำยืมจากภาษาบาลีน้นี ้อยกว่าคำภาษาไทยแท้ แต่ในวรรณคดีสมัยอยธุ ยามีคำยืมเหล่าน้เี ปน็ จำนวนมาก จนเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยอยธุ ยาตอนต้น เช่น ในเรอ่ื งยวนพ่ายและทวาทศมาส แล้วค่อยลดลงบ้าง ในสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย ในสมัยหลังนี้จะมีคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤตปรากฏมากเฉพาะใน วรรณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ส่วนวรรณคดีบางเรื่องท่ีสะท้อนชีวิตคฤหัสถ์หรือสามัญชนและมีเน้ือหาเกย่ี วกับ ธรรมชาติหรือความรัก หรือท่ีเขียนด้วยคำประพันธ์ไทยท่ีไม่ได้ดัดแปลงมาจากคำประพันธ์อินเดีย เช่น กลอน จะมคี ำบาลีสันสกฤตนอ้ ยลงกว่าสมัยอยุธยาตอนตน้ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การติดต่อกับชาติตะวันตกซ่ึงเร่ิมมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วนั้น เจริญรุ่งเรืองย่ิงขึ้น การยืมคำมาจากภาษาตะวันตกก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างย่ิงภาษาอังกฤษ แต่คำยืมจาก ภาษาบาลสี ันสกฤตไม่ลดน้อยลงกลบั มีบทบาทมากขึ้น อาจเรียกว่ามากกว่าเดมิ ก็ได้ เพราะแต่เดิมในสมยั โบราณ

๔๐ ผู้ทใ่ี ช้คำยืมเหลา่ น้ีมเี ฉพาะผูร้ หู้ รือนักปราชญ์ทางภาษา เชน่ พระมหากษัตรยิ ์ ราชบัณฑิต กวี พระสงฆ์ โหรหลวง เป็นต้น แต่ปัจจุบันน้ีแพร่หลายออกในหมู่ชนอาชีพต่าง ๆ ท่ัวประเทศ แม้แต่กรรมกรและชาวไร่ชาวนา เพราะ การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพมาก นอกจากนี้ ยังมีการยืมและการสร้างคำใหม่ ๆ จากภาษาบาลีสันสกฤต เพ่ิมขึ้นไม่มีที่ส้ินสุด เม่ือใดท่ีมีส่ิงประดิษฐ์หรือความคิดใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามา คนไทยก็จะหาคำมาเรียก ส่ิงประดิษฐ์หรือความคิดน้ัน เรียกว่าการบัญญัติศัพท์ การบัญญัติศัพท์ส่วนใหญ่มักพิจารณาจากคำไทยแท้หรือ คำบาลสี ันสกฤตและเลือกใช้คำท่ีเหมาะสมหรอื ประกอบคำขึ้นใหม่ คำบาลสี ันสกฤตทีใ่ ชน้ ั้นอาจ อยเู่ ดย่ี ว ๆ หรือ เกิดจากการประสมกันระหว่างคำบาลีด้วยกัน หรือคำสันสกฤตด้วยกันหรือคำบาลีกันคำสันสกฤต แม้แต่คำบาลี สันสกฤตกบั คำไทย คำเขมร ฯลฯ มีให้เห็นอยู่ทัว่ ไป หลกั สตู รการศกึ ษาภาษาบาลีในปัจจุบัน การศึกษาภาษาบาลีในปัจจุบันดำเนินการโดยแม่กองบาลีสนามหลวง ซ่ึงได้กำหนดหนังสือตำราเพ่ือ การสอบไลบ่ าลสี นามหลวงประจำปีดังต่อไปนี้๑๒ ประโยค ๑- ๒ และเปรยี ญตรีปที ี่ ๑-๒ หมวดบาลศี กึ ษา ๑.วชิ า แปลมคธเปน็ ไทย โดยพยัญชนะและโดยอรรถ หลกั สตู รใช้หนงั สอื ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๑-๔ ๒.วิชา บาลีไวยากรณ์ หลักสตู รใชห้ นังสือ บาลไี วยากรณป์ ระเภทสอบถามความจำ ประโยค ป.ธ.๓ ๑.วิชา แปลมคธเป็นไทย โดยพยญั ชนะและโดยอรรถ หลกั สูตรใชห้ นังสอื ธมมฺ ปทฏฺฐกถา ภาค ๕-๘ ๒.วิชา สัมพนั ธไ์ ทย หลักสตู รใชห้ นงั สือ ธมมฺ ปทฏฺฐกถา ภาค ๕-๘ ๓.วิชา บาลีไวยากรณ์ หลักสูตรใช้หนังสือ บาลีไวยากรณ์ ประเภทสอบถามความจำและความเข้าใจ ประกอบกัน ประโยค ป.ธ.๔ ๑.วชิ า แปลไทยเปน็ มคธ หลกั สตู รใช้หนงั สือ ธมมฺ ปทฏฐฺ กถา ภาค ๑ ๒.วิชา แปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใชห้ นังสอื มงฺคลตฺถทปี นี ภาค ๑ ประโยค ป.ธ.๕ ๑.วิชา แปลไทยเปน็ มคธ หลักสูตรใชห้ นังสอื ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๒ ถงึ ภาค ๔ ๒.วชิ า แปลมคธเปน็ ไทย หลกั สูตรใช้หนงั สอื มงฺคลตถฺ ทปี นี ภาค ๒ ประโยค ป.ธ.๖ ๑.วิชา แปลไทยเปน็ มคธหลกั สตู รใช้หนงั สือ ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๕-๘ ๒.วิชา แปลมคธเปน็ ไทย หลักสตู รใช้หนงั สือ ตติย-จตตุ ฺถ-ปญจฺ มสมนฺตปาสาทกิ า ๑๒สนามหลวงแผนกบาลี,เร่ืองสนามสอบบาลีสนามหลวง พ.ศ.๒๕๔๗, (กรงุ เทพฯ: อาทรการ พมิ พ์,๒๕๔๗), หน้า ๙๗.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook