Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พัฒนาการของวรรณคดีไทย

พัฒนาการของวรรณคดีไทย

Published by Anas Dahaleng, 2023-02-17 09:03:03

Description: พัฒนาการของวรรณคดีไทย

Search

Read the Text Version

แผนบรหิ ารการสอนประจาบท หวั ข้อเน้อื หาประจาบท บทที่ ๔ วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ ๔.๑ ภูมหิ ลังทางสงั คมและวัฒนธรรมโดยสงั เขป ๔.๒ กวแี ละวรรณคดสี มัยกรุงธนบุรี ๔.๓ ลักษณะสาคัญของวรรณคดสี มยั กรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม เม่อื ศกึ ษาบทที่ ๔ แล้ว นกั ศกึ ษาสามารถ ๑. อธบิ ายบรบิ ททางสงั คมและวฒั นธรรมสมยั กรุงธนบุรีได้ ๒. บอกกวีและวรรณคดีที่ปรากฏในสมยั กรุงธนบุรีได้ ๓. อธบิ ายลักษณะสาคญั ของวรรณคดสี มัยกรุงธนบุรีได้ ๔. วิเคราะหว์ รรณคดีสมัยกรุงธนบุรีได้ วิธีสอนและกจิ กรรมการเรียนการสอนประจาบท ๑. วธิ สี อน การบรรยาย อภปิ รายกลมุ่ ใชส้ อ่ื อิเลก็ ทรอนิกสป์ ระกอบการสอน ๒. กิจกรรมการเรียนการสอนมดี ังน้ี ๒.๑ กิจกรรมก่อนเรียน นักศึกษาอ่านเอกสารประกอบการสอนล่วงหน้า อ่าน วรรณคดีเรือ่ ง นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจนี และลิลติ เพชรมงกุฎ ลว่ งหน้า เตรียมแสดงความ คิดเห็นในช้ันเรียน เมื่อถึงช่วั โมงเรียน กอ่ นเริม่ สอน นักศึกษาร่วมกิจกรรมวัดความรู้ผ่านโปรแกรม Mentimeter หรือโปรแกรมอน่ื ๆ ทผ่ี สู้ อนเตรยี มไว้ ๒.๒ กิจกรรมระหว่างเรียน นักศึกษาฟังบรรยาย ร่วมกันอภิปรายตัวบทวรรณคดี สาคัญบางเรอื่ ง ๒.๓ กจิ กรรมหลงั เรยี น นกั ศึกษาตอบคาถามทา้ ยบท และเตรียมอ่านหนังสือบท ตอ่ ไปลว่ งหน้า นักศึกษาทบทวนความร้จู ากคลิปการสอนทีบ่ นั ทกึ ไว้ในเวบ็ ไซตผ์ ้สู อน ส่ือการเรียนการสอนประจาบท ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. ส่อื อิเลก็ ทรอนิกส์ อาทิ พาวเวอร์พอยท์ วดี ิทศั น์ ๓. ตัวบทวรรณคดีไทย ๑๐๑

การวดั และการประเมินผล ๑. สังเกตความสนใจและมสี ่วนรว่ มในช้นั เรยี น ๒. การถาม-ตอบ ๓. การสอบกลางภาค ๑๐๒

บทท่ี ๔ วรรณคดสี มัยกรงุ ธนบรุ ี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ สมัยกรุงธนบุรีเป็นช่วงที่มีสงครามต่อเน่ืองจากสมัยอยุธยา แม้กระนั้นยังมีวรรณคดีเกิดข้ึน แต่ส่วนใหญเ่ ป็นวรรณคดีเร่ืองสั้น ๆ บางเร่ืองตัดตอนจากวรรณคดีเร่ืองยาวอีกทีหน่ึง ทั้งน้ีอาจเป็น เพราะสภาพสังคมบ้านเมืองไม่เอ้ืออานวย อย่างไรก็ดี น่าสนใจว่า วรรณคดีในยุคน้ีมีการใช้รูปแบบ คาประพันธ์ครบถ้วน และเน้ือหาของวรรณคดีมีความหลากหลายไม่น้อยกว่าสมัยอื่น เพียงแต่มี จานวนวรรณคดีไม่มากเทา่ นนั้ ๔.๑ ภมู หิ ลังทางสังคมและวฒั นธรรมโดยสังเขป หลงั จากกรงุ ศรอี ยุธยาถูกพม่าตแี ตกและพม่ากวาดต้อนผู้คนไปเมืองพม่าเป็นจานวนมาก ใน ครั้งน้ัน พระยาตากได้ยกกองเรือ ๑๐๐ ลา จากเมืองจันทบุรี พร้อมด้วยไพร่พลประมาณ ๕,๐๐๐ คน เข้ามาทางปากแม่น้าเจ้าพระยาตีได้เมืองธนบุรี แล้วเข้าโจมตีกองกาลังของพม่าท่ีค่ายโพธิ์สาม ต้น พระยาตากได้รับชัยชนะ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาเพียง ๗ เดือน ไทยก็ สามารถกอบก้เู อกราชกลับคนื มาได้ หลังจากกอบกู้เอกราช พระยาตากสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่และทาพิธี ปราบดาภิเษกขึ้นครองกรุงธนบุรี เม่ือวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเดจ็ พระเจ้ากรงุ ธนบุรี นับเปน็ กษตั รยิ พ์ ระองคเ์ ดียวในสมัยกรุงธนบรุ ี หลังจากทส่ี มเดจ็ พระเจา้ กรุงธนบรุ ที รงขบั ไลพ่ มา่ ออกไปจากกรุงศรีอยุธยาหมดแลว้ ทรงเร่ง สรา้ งความเปน็ ปึกแผน่ ใหบ้ า้ นเมือง และใหร้ กั สามคั คีกนั ทรงใช้เวลา ๓ ปี ในการปราบก๊กใหญท่ ้งั ๔ กก๊ จึงรวมบ้านเมอื งใหเ้ ปน็ ปกึ แผน่ ได้ หลงั จากบ้านเมืองเปน็ ปกึ แผน่ แล้ว ทรงปกครองบ้านเมอื งโดย ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีเมืองหลวงคือกรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลางการปกครอง จัดให้มี เสนาบดีแบบจตสุ ดมภ์เหมือนดงั อยุธยา แม้พระเจ้ากรุงธนบุรีจะมีพระราชภารกิจด้านการเมืองการปกครองมาก แต่ในด้านศาสนา วัฒนธรรม และวรรณคดี พระองค์ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่เช่นกัน จะเห็นว่า ทรงเร่งฟ้ืนฟูศาสนา ศาสนสถาน โดยโปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดจานวนมาก ส่งเสริมให้พระภิกษุ สามเณรได้เรียน พระปรยิ ัติธรรม ทรงส่งเสรมิ การสบื ทอดวฒั นธรรมทม่ี มี าแตส่ มยั อยุธยา เช่น การละเล่น นาฏศิลป์ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการละคร ทรงฟื้นฟูการละคร ให้มีการหัดละครหลวงตามแบบฉบับอยุธยาและ นาออกแสดงแกป่ ระชาชนเพือ่ ใหเ้ กดิ ความเพลดิ เพลินสนุกสนาน ๑๐๓

ในด้านวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณคดีด้วยพระองค์เอง ได้แก่ เร่ืองรามเกียรต์ิ โดยพระราชนพิ นธไ์ ว้ ๔ ตอน แมว้ ่าจะมพี ระราชภารกจิ มากกต็ าม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชวิจารณ์เก่ียวกับการละครของพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ว่า “สังเกตดูโปรดละคร มาก ไปตีเมืองฝางได้แล้ว ยังให้มารับละครขึ้นไปเล่นสมโภชพระฝาง” (นรินทรเทวี, กรมหลวง, ๒๕๐๙, หน้า ๑๖๑) พระราชนิยมวรรณคดีและการละครเช่นนี้ทาให้เจ้านายขุนนางแต่งวรรณคดี ตามไปดว้ ย และส่วนใหญ่จะมีนา้ เสียงสรรเสรญิ พระเจ้ากรุงธนบรุ ี ๔.๒ กวแี ละวรรณคดสี าคญั สมยั กรุงธนบุรี กวแี ละวรรณคดสี าคัญในสมยั กรงุ ธนบรุ ที ป่ี รากฏหลกั ฐานมาจนถงึ ปัจจุบัน มีดังนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีบทพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรต์ิ ๔ ตอน ได้แก่ ๑) ตอนพระมงกฎุ ประลองศร ๒) ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรนิ ๓) ตอนทา้ วมาลีวราชวา่ ความ ๔) ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงตอนผูกผม ทศกัณฐก์ ับนางมณโฑ พระภิกษอุ นิ ทแ์ ละพระยาราชสภุ าวดี ได้แก่ เร่ืองกฤษณาสอนน้องคาฉนั ท์ นายสวน มหาดเล็ก ไดแ้ ก่ โคลงยอพระเกียรติพระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี หลวงสรวชิ ติ (เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไดแ้ ก่ อิเหนาคาฉนั ท์ และลิลติ เพชรมงกฎุ พระยามหานุภาพ (อ้น) ได้แก่ นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน (นิราศเมือง กวางตุ้ง) ในทน่ี ้ี จะอธิบายวรรณคดสี มยั กรงุ ธนบุรีตามลาดบั ดังตอ่ ไปนี้ ๔.๒.๑ บทละครเรือ่ งรามเกียรต์ิ เร่ืองรามเกียรติ์มิใช่วรรณกรรมท้องถิ่นดั้งเดิมของไทย แต่น่าจะมีที่มาจากเรื่องรา มายณะของอินเดีย รามายณะเผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยมีทั้งท่ีมาจากอินเดียโดยตรงและผ่าน ประเทศเพอื่ นบา้ น สนั นษิ ฐานกันวา่ แหล่งที่มาของรามเกยี รตม์ิ าจากหลายทาง เช่น จากนิทานเรื่อง พระราม ซ่ึงเป็นนิทานพ้ืนบ้านท่ีชาวอินเดียจาได้ มีความเก่าแก่ก่อนรามายณะของวาลมิกิ สนั นษิ ฐานวา่ เนอื้ เรื่องสว่ นใหญ่ของรามเกียรต์ิน้ีน่าจะได้รับจากรามายณะฉบับวาลมิกิน้ี แต่มีการ ดดั แปลง ตดั ทอน และนาเนอ้ื เรื่องของรามายณะฉบับอืน่ มาเพ่ิมเติมด้วย ๑๐๔

รามเกียรติ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนี้ เป็นหลักฐานสาคัญที่สะท้อนให้ เห็นว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงต้องการฟื้นฟูวรรณคดีในคราวตั้งกรุงใหม่ เพื่อให้เป็น วรรณคดีคู่บ้านคู่เมือง ใช้ปลุกปลอบขวัญกาลังใจของทหารและราษฎร โดยสอดแทรกคาสอนทาง พระพทุ ธศาสนาไว้ รามเกียรต์ฉิ บบั นี้ บอกวนั เวลาทีท่ รงพระราชนิพนธไ์ ว้ชว่ งต้นเรือ่ งว่า วนั อาทิตย์ เดือน ๖ ข้ึนค่าหนึ่ง จุลศักราช ๑๑๓๒ ปีขาล โทศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๓ ซึ่งเป็นปีที่ ๓ ในรัชกาล ของพระองค์ ฉบับที่เหลือมาจนทุกวันนี้ เป็นตัวเขียนชุบเส้นทอง บอกเวลาเขียนไว้ว่า วันอาทิตย์ แรม ๘ ค่า เดือน ๑๒ จุลศกั ราช ๑๑๔๒ ตรงกับ พ.ศ.๒๓๒๓ และไม่ได้สมบูรณ์ครบถอ้ ยเพราะชารดุ เสยี หายจากภยั สงครามเมื่อคราวเสียกรงุ ศรอี ยธุ ยา ตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระพุทธยอดฟ้าจฬุ าโลก ได้พระราชนิพนธ์ใหมใ่ หส้ มบูรณ์ ผแู้ ตง่ สมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มหาราช พระราชนิพนธ์รามเกียรตไ์ิ ว้ ๔ ตอน ไดแ้ ก่ ตอนที่ ๑ ตอนพระมงกุฎประลองศร ตอนที่ ๒ ตอนหนุมานเกยี้ วนางวานริน ทา้ วมาลวี ราชมา ตอนที่ ๓ ตอนทา้ วมาลีวราชวา่ ความจนถึงทศกณั ฐ์เข้าเมอื ง ตอนที่ ๔ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงตอนผกู ผมทศกัณฐ์กบั นางมณโฑ ลักษณะการแตง่ กลอนบทละคร วัตถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ มขี อ้ สนั นษิ ฐานไว้หลายประการ ได้แก่ เพื่อใช้เปน็ บท ละครหลวง ใช้เป็นเครื่องบันเทิงใจแก่ประชาชน ใช้สืบราชประเพณีที่กษัตริย์ต้องพระราชนิพนธ์ วรรณกรรม และใช้เป็นส่วนหนง่ึ ในการฟืน้ ฟบู ้านเมืองในยคุ สรา้ งบา้ นแปลงเมอื ง เนื้อเรอื่ งย่อ ตอนพระมงกุฎประลองศร ความว่านางสีดามาอาศัยอยู่กับฤาษีวัชมฤคและ ประสูติพระมงกุฎ พระฤาษีได้ชุบพระลบเป็นเพ่ือนกับพระมงกุฏและชุบศรให้เป็นอาวุธพระมงกุฏ และพระลบได้ประลองศรยิงต้นรัง เสียงศรดังกึกก้องจนถึงกรุงอโยธยา พระรามได้ยินเสียงจึง ประกอบพิธีอศั วเมธ โดยมีพระภรต พระสตั รุด และหนุมานคมุ กองทัพตามม้าอุปการ พระมงกุฎจับ ม้าอุปการ จึงรบกับหนุมาน หนุมานเสียที พระภรตจึงเข้าช่วยและจับพระมงกุฎมาถวายพระราม พระลบตามไปช่วยไดแ้ ละพากันหนี พระรามยกกองทัพออกตดิ ตาม จงึ รบกบั พระมงกุฎ ภายหลังจึง ทราบวา่ เป็นพอ่ ลกู กัน ตอนหนุมานเก้ียวนางวานรนิ ทา้ วมาลวี ราชมา เนอ้ื เร่ืองตอนแรกขาดหายไป เริ่ม แต่หนุมานพบนางวานรินในถ้า นางวานรินน้ันเป็นนางฟ้าถูกพระอิศวรสาปให้มาอยู่ในถ้า คอยพบ หนุมานเพื่อบอกทางแก่หนุมานไปฆ่าวิรุณจาบัง แล้วจึงจะพ้นคาสาป เม่ือหนุมานพบนางวานริน ๑๐๕

นางไมเ่ ชื่อว่าเปน็ หนมุ าน หนมุ านจงึ ตอ้ งหาวเปน็ ดาวเปน็ เดือนใหด้ ู นางจึงเช่อื หนุมานเกี้ยวนางวาน รนิ และได้นางเปน็ ภรรยา ต่อมาหนมุ านไปฆ่าวริ ณุ จาบงั ตามท่นี างวานรินบอก เมื่อฆ่าวิรุณจาบังแล้ว หนมุ านจงึ กลับมายังถ้า และส่งนางวานรนิ กลับเขาไกรลาสตามทไ่ี ดส้ ัญญาไว้กับนาง ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง เป็นตอนต่อจากหนุมานเกี้ยว นางวาริน ทศกณั ฐท์ ราบวา่ วิรุณจาบังตาย จึงทรงทูลเชิญท้าวมาลีวราชพระอัยกาผู้มีวาจาสิทธิ์มาว่า ความทา้ วมาลีวราชเสดจ็ มายังสนามรบ ทศกณั ฐ์เข้าเฝา้ กล่าวโทษพระราม ทา้ วมาลวี ราชจึงทรงตรัส สงั่ ให้พระรามและนางสีดาเขา้ เฝา้ เพ่ือไตถ่ ามความจรงิ นางสีดาทลู ตามความเปน็ จริง ท้าวมาลีวราช จงึ ตรัสให้ทศกัณฐค์ นื นางสีดาแก่พระราม แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม ท้าวมาลีวราชจึงทรงสาปแช่งทศกัณฐ์ และอวยพรใหแ้ ก่พระรามแลว้ เสด็จกลบั ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษมณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงตอนผูกผมทศกัณฐ์ กับนางมณโฑ เปน็ ตอนตอ่ จากท้าวมาลีวราชว่าความ เรื่องมีว่า ทศกัณฐ์มีความแค้นเทวดาท่ีเป็นพยาน ให้แก่พระราม จึงทาพิธีปลุกเสกหอกกบิลพัทท่ีเชิงเขาพระสุเมรุ และทาพิธีเผารูปเทวดา พระอิศวร จึงมีเทวบัญชาให้เทพบุตรพาลีมาทาลายพิธี ทศกัณฐ์พุ่งหอกกบิลพัทหมายสังหารพิเภก พิเภกหลบ ไปอนยู่หลังพระลักษณ์ พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทสลบไป พิเภกทูลพระรามให้หายามาแก้ไขพร้อม แม่หินบดยาท่ีเมืองบาดาล และลูกหินบดยาที่ทศกัณฐ์หนุนนอน พระรามให้หนุมานไปหายาพร้อมแม่ หินและลูกหิน หนุมานเข้าเมืองลงกาเพ่ือไปนาลูกหินบดยามา และผูกผมทศกัณฐ์กับผมนางมณโฑไว้ ด้วยกนั พระฤาษโี คบตุ รต้องมาชว่ ยแกผ้ มให้ โดยให้นางมณโฑชกเศยี รทศกณั ฐ์แลว้ จะหลุด คณุ ค่า เร่ืองรามเกียรต์ิน้ี มีคุณค่าด้านอักษรศาสตร์ เห็นได้จากการใช้คา ที่มักใช้ คาง่าย สั้น แสดงอริ ิยาบทของตัวละครได้อยา่ งดี ใหค้ วามรคู้ วามคิดทางความเชอื่ และศาสนา และยงั มีอิทธิพลต่อการแต่งเรื่องรามเกียรต์ิในยุคต่อมา ท่ีเห็นได้ชัดคือบทพระราชนิพนธ์เร่ืองรามเกียรต์ิใน รัชกาลที่ ๑ ๔.๒.๒ กฤษณาสอนนอ้ งคาฉนั ท์ กฤษณาสอนน้องคาฉันท์น้ี เข้าใจว่ามีมาต้ังแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับ สญู หายไป จงึ มกี ารรวบรวมแตง่ ข้ึนใหม่เปน็ คาสภุ าษติ สอนหญิง เก่ียวกับการวางตัว ประพฤติตัวให้ เปน็ กุลสตรที ่ีดี สนั นิษฐานกันว่า พระยาราชสุภาวดีอาจแต่งตอนต้น พระภิกษุอินท์แต่งตอนปลาย หรอื พระภกิ ษุอินท์แต่งทั้งหมดตามคาอาราธนาของพระยาราชสุภาวดี น่าจะแต่งข้ึนในราวปี พ.ศ. ๒๓๑๒-๑๓๑๙ วรรณคดีเร่ืองนี้มีสานวนใกล้เคียงกับฉบับของสมเด็จ ฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แต่ฉบบั ของกรมพระปรมานชุ ิตชิโนรสมีคนนิยมอ่านอย่างกว้างขวางมากกว่า กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ได้เค้าเรื่องมาจากมหากาพย์มหาภารตะของอินเดีย จาก เนอ้ื ความที่ว่า นางกฤษณาในเรอ่ื งนม้ี ชี อ่ื วา่ เทราปที เป็นธดิ าทา้ วทรุบถแหง่ ปญั จาลนคร นางได้เข้า ๑๐๖

พิธสี ยมุ พรกับอรชนุ ซ่ึงเป็นกษัตรยิ ์องค์หนง่ึ ในปาณฑพทัง้ ๕ ซง่ึ ยงิ ธนชู นะจึงได้นาง เมอื่ กษตั ริยท์ ัง้ ๕ ซึ่งได้แก่ ยธุ ิษเฐียร ภีมเสน อรชุน นกุล สหเทพ พานางไปเฝา้ นางกนุ ตีพระมารดา นางกุนตีเข้าใจว่า โอรสได้ลาภสาคัญมาจึงรับส่ังให้ใช้ร่วมกัน นางกฤษณาจึงได้เป็นชายาแห่งกษัตริย์ท้ัง ๕ โดย ผลัดเปลี่ยนไปปรนนบิ ตั พิ ระสวามอี งคล์ ะ ๒ วนั เรื่องกฤษณาสอนนอ้ งไดเ้ คา้ มาจากมหาภารตะตอน วนบรรพ ซึ่งเป็นตอนท่ีกษัตริย์ปาณฑพทั้ง ๕ แพ้สกาแก่ทุรโยธน์ ต้องออกไปประทับป่า มีนาง กฤษณาโดยเสด็จด้วย คร้ังนั้นพระกฤษณะซึ่งเป็นสหายของอรชุนพานางสัตยภามา ผู้เป็นมเหสี เสด็จมาเยี่ยมปาณฑพทั้ง ๕ นางสัตยภามา คือ นางจิรประภาในกฤษณาสอนน้องคาฉันท์ เม่ืออยู่ ด้วยกันตามลาพัง นางสัตยภามาได้ถามนางกฤษณาถึงข้อปฏิบัติที่ทาให้นางสามารถครองใจพระ สวามที งั้ ๕ นางกฤษณาจงึ ช้แี จงให้ทราบอย่างแจ่มแจง้ ผแู้ ต่ง พระยาราชสภุ าวดีและพระภิกษอุ ิน ลกั ษณะการแต่ง ฉนั ทแ์ ละกาพย์ วตั ถปุ ระสงค์ในการแต่ง เป็นคาสุภาษิตสอนหญิง เกี่ยวกับการวางตัว ประพฤติ ตัวให้เปน็ กุลสตรที ดี่ ี เนื้อเรื่องย่อ ท้าวพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีมีราชธิดา ๒ องค์คือ กฤษณา และ จันทรประภา (จิรประภา) เมื่อพระบิดาจัดพิธีสยุมพรให้นางกฤษณาเลือกภัสดาได้ ๕ องค์ แต่นาง จันทรประภาเลือกเพียงองค์เดียว นางกฤษณาปฏิบัติรับใช้ภัสดาได้ดี มีความรักใคร่ต่อกันมั่นคง ส่วนนางจันทรประภาบกพร่องในหน้าที่ของภรรยาจึงไม่มีความสุขกับสามี แต่นางเข้าใจว่านาง กฤษณามีเวทย์มนตร์ผูกใจชายจึงมาขอเรียนบ้าง นางกฤษณาได้ชี้แจงความจริงว่า การท่ีสามีจะรัก ใคร่นน้ั อยู่ทรี่ ้จู ักหน้าที่ของแมเ่ รือนและอยู่ในโอวาทของสามี นางจันทรประภานาคาสอนของนาง กฤษณาไปปฏิบตั ิ สวามีกเ็ ปล่ียนมารักใคร่และมีความสขุ เชน่ เดยี วกบั นางกฤษณา ตัวอย่าง คาสอนผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี รู้จักหน้าท่ีของภรรยา อยู่ใน โอวาทของสามี เราเปน็ กษตั รี ชอบแตภ่ ักดี โดยเลศลาเนา กิริยาอัชฌาสัย กิจการ แหง่ เรา ปรนนบิ ตั ิบรรเทา ทุกข์โศกสวามี ไม่เกรงผู้ชาย ปากกล้าทา้ ทาย เจรจาจองหอง ผวั วา่ คาหนึง่ ไปไดถ้ งึ สอง ไมค่ วรคู่ครอง ราศร้างห่างไกล คุณค่า กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ เป็นวรรณคดีคาสอนที่แต่งเป็นคาฉันท์เร่ือง แรก และยังสะท้อนให้เห็นการรับอิทธิพลจากวรรณคดีอินเดียจากเรื่องมหาภารตะ ทาให้เห็นว่า ไทยไม่ไดร้ ับอิทธพิ ลวรรณคดจี ากเรื่องรามายณะเท่าน้นั ๑๐๗

๔.๒.๓ โคลงยอพระเกียรติพระเจา้ กรุงธนบุรี โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นวรรณคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์และ สรรเสริญพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ผู้แต่งบอกวันที่แต่งไว้อย่างชัดเจน คือแต่งเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ ขน้ึ ขน้ึ ๑๐ คา่ จลุ ศกั ราช ๑๑๓๓ (พ.ศ.๒๓๑๔) สนั นิษฐานกนั ว่าผู้แต่งน่าจะเป็นผู้ใกล้ชิด พระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี จงึ ทราบพระจรยิ วัตร อปุ นิสัย และเหตุการณส์ าคญั อย่างละเอียด โดยสันนิษฐาน กันว่าเปน็ นายสวน มหาดเลก็ ผแู้ ตง่ นายสวน มหาดเลก็ ลกั ษณะการแต่ง โคลงสี่สภุ าพ จานวน ๘๕ บท วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือแสดงความจงรักภักดี เฉลิมพระเกียรติ และ ทลู เกลา้ ฯ ถวายสมเด็จพระเจ้ากรงุ ธนบรุ ี เน้อื เรอ่ื งย่อ ตอนต้นเร่ืองบอกช่ือผู้แต่ง ความมุ่งหมายในการแต่ง วันเดือนปีท่ี แต่ง จากนั้นกล่าวถึงสาเหตุการยกทัพมาตั้งท่ีธนบุรี พรรณนาความอุดมสมบูรณ์ สรรเสริญพระ บารมีของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่สามารถปราบก๊กต่าง ๆ มีพระมหากรุณาธิคุณช่วยเหลือบรรดา ประเทศทมี่ าขอพึงพระบารมี ประเทศราชต่างมาถวายเคร่ืองราชบรรณาการ พรรณนาการสมโภช พระนคร การมหรสพนานาชนิด และจบลงด้วยการถวายพระพรให้พระเจ้ากรุงธนบุรีโดยอาราธนา คณุ พระศรีรตั นตรยั และเทพให้ทรงพระเจรญิ ตัวอย่างท่ีแสดงให้เห็นการสรรเสริญพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่ีทรงเป็น พระมหากษัตริยท์ ที่ รงพระปรชี าสามารถ ทรงกอบกเู้ อกราช และยังทรงเป็นท่ีพึง่ ของไพรฟ่ า้ ชาวไทย และเป็นท่ีเคารพยาเกรงของชนชาติอนื่ แขกชวาวรเทศทั้ง มลายู จนี ฝร่งั ลนั ดาดู ดาษเฝ้า ลาวมอญยอ่ มถนอมชู วรบาท พระนา พระการุณเหนือเกล้า กลอ่ มเกลยี้ งควรฐาน ฯ ทรงทศ ธรรมนา บงั คมบทรัชไท้ ยอดฟ้า พระปิน่ อยุธยายศ เฉลมิ บาท พระเอย ขอแถลงนพิ นธ์พจน์ โลกเหลือ้ งฦาบุญ ไวพ้ ระเกยี รติทา่ นทว่ มหล้า คณุ ค่า โคลงยอพระเกยี รติพระเจ้ากรุงธนบุรี นับว่าเป็นวรรณคดีที่มีความสาคัญ โดยแม้ระยะเวลาของกรงุ ธนบุรีจะมเี พยี ง ๑๕ ปี หากแตม่ ีวรรณคดียอพระเกียรตเิ กดิ ข้นึ ซง่ึ แสดงให้ ๑๐๘

เห็นถงึ ความรกั และความจงรักภักดขี องราษฎรทมี่ ตี ่อพระเจ้ากรงุ ธนบรุ ี เป็นทน่ี ่าสงั เกตว่า วรรณคดี ยอพระเกียรตเิ ล่มนี้ มลี กั ษณะต่างจากเร่อื งอ่นื ทมี่ ีมาในยคุ ก่อน เพราะสะทอ้ นความสัมพันธ์ระหว่าง กษัตรยิ ์กบั ราษฎรอย่างเดน่ ชดั ดังจะเหน็ ว่ามีการกลา่ วถงึ พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่มีต่อประชาชนท่ีมาพ่ึงพระบารมี โดยไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้น แต่คนท่ีมาจากประเทศราชทรงให้ ความช่วยเหลือด้วย และกล่าวถึงงานมหรสพต่าง ๆ ท่ีทาให้เหล่าพสกนิกรมีความสุขสนุกสนาน ไม่ได้เน้นเรื่องสงครามหรือเรื่องเฉพาะกษัตริย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งการพรรณนาเช่นน้ีทาให้เห็นถึง ความผาสกุ และความรกั ของประชาชนทีม่ ตี ่อพระเจ้ากรงุ ธนบุรี ไมใ่ ช่เป็นภาพของการสงครามหรือ ความเปน็ กษตั ริยน์ ักรบของพระเจา้ กรุงธนบุรีเพียงอยา่ งเดียว นอกจากน้ี วรรณคดีเรื่องนี้ให้ความรู้ ดา้ นประวตั ิศาสตร์สมยั กรงุ ธนบุรีอยา่ งละเอียด จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นตาราประวัติศาสตร์สมัยกรุง ธนบรุ ี นอกจากเหตกุ ารณ์สาคัญทางประวตั ศิ าสตรแ์ ล้ว ยังบันทกึ วถิ ีชวี ิต ศลิ ปวัฒนธรรมในยคุ นน้ั ไว้ ด้วย เชน่ แสดงใหเ้ หน็ วา่ สมยั นัน้ มกี ารแสดงระบาราฟอ้ น มีชาวต่างชาตเิ ข้ามาเปน็ จานวนมากดว้ ย ๔.๒.๔ อิเหนาคาฉันท์ อิเหนาคาฉันท์มีที่มาจากเรื่องอิเหนา ตอนอิเหนาเผาเมือง กวีไม่ได้แต่งทั้งเร่ือง กวีดาเนินเรื่องตอนอิเหนาเผาเมืองตามบทละครเร่ืองอิเหนาของเจ้าฟ้ามงกุฎในสมัยอยุธยาตอน ปลาย ตอนท้ายเรอื่ งมจี ารกึ ว่า แต่งเมื่อเดอื น ๑๑ ขนึ้ ๑๕ ค่า ปกี นุ จ.ศ.๑๑๔๑ (พ.ศ.๒๓๒๒) ซ่ึง เปน็ ปีที่ ๑๒ แหง่ รชั กาลสมเด็จพระเจา้ กรงุ ธนบรุ ี ผแู้ ตง่ หลวงสรวิชติ (หน) ลกั ษณะการแตง่ ฉนั ท์สลับกาพย์ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือแต่งนิทานคาฉันท์ เป็นการแสดงความสามารถ ของกวี เน้อื เรือ่ งย่อ กวีจับตอนอิเหนาเผาเมืองดาหา นาบุษบาไปไว้ในถ้า ไม่ยอมให้ อภิเษกกับจรกา จนจรกาออกติดตาม จึงถามอิเหนาและสังเกตว่าอิเหนาลักพาตัวนางไปหรือไม่ อเิ หนาทาทโี กรธผู้ทล่ี ักบุษบาไป แต่อเิ หนาก็อดร้องไห้ไม่ได้ เมื่อนึกถึงความฝันท่ีว่า มีนกอินทรีย์จิก ตา อิเหนารสู้ กึ หวาดหวนั่ จึงรอ้ งไห้ไปกับจรกา (กหุ ลาบ มัลลิกะมาส, ๒๕๑๖, หน้า ๑๑๖) ตัวอย่าง ตอนอเิ หนาแอบนาบุษบามาไว้ในถา้ ปางนั้นบรมวง- ศอสัญแดหวา อมุ้ องค์วนิดา กรตระกองตระการชม ชชู ่นื ภิรมยเ์ ชย ดุจเสวยสมบตั พิ รหม สาผสั ตระมลกรม เสน่หน์ ้อมฤดีมา ๑๐๙

รีบรถทุรัศทาง จรร่วมพนาทวา จ่งึ มีมธรุ สา พจนเพือ่ แสดงองค์ อ้าแม่นิคือพ่ี บมิควรจะโศกทรง กรรแสงบใชอ่ ง- คระตูมาตอ้ งตวั พกั ตรผ่องจะนองชล วิมลโฉมจะหม่นมัว อ้าแมอ่ ย่าแคลนกลวั สละทกุ ขป์ ระเทอื งเรยี ม คุณค่า อิเหนาคาฉันท์เป็นนิทานท่ีแต่งด้วยคาฉันท์เร่ืองแรก กวีไม่ได้แต่งท้ัง เรอ่ื ง หากแตต่ ดั ตอนมาแตง่ สานวนภาษามคี วามไพเราะ โดยเฉพาะบทครา่ ครวญและบทชมความ งาม โดยชมทุกส่วนของร่างกายเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ กวีแต่งได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และ เล่นกับคาประพันธ์ เช่น มีการใช้กลบทที่เป็นฉันท์ ซ่ึงนับว่าแต่งยาก วรรณคดีเร่ืองน้ี ยังเป็น หลกั ฐานยืนยนั วา่ เรอื่ งอเิ หนาไดร้ ับความนิยมมาตงั้ แต่สมยั อยุธยาเร่อื ยมาจนถึงปัจจุบัน ๔.๒.๕ ลลิ ติ เพชรมงกฎุ ลิลิตเพชรมงกฎุ มที ม่ี าของเร่อื งจากนิทานเวตาลเร่อื งท่ี ๑ ซึ่งเป็นนิทานของอินเดีย โบราณ เดิมช่ือ เวตาลปัจจวีสติ เป็นนิทานสันสกฤตของศิวทาส เรื่องเพชรมงกุฎตรงกับเรื่องวัช รมงกฎุ ในนิทานเวตาล มขี อ้ สนั นิษฐานกนั วา่ หลวงสรวิชิต (หน) นา่ จะแต่งเร่อื งนกี้ ่อนอเิ หนาคาฉนั ท์ ดาเนินเรือ่ งตามแบบนทิ าน ผ้แู ต่ง หลวงสรวชิ ติ (หน) ลกั ษณะการแต่ง ลิลิตสภุ าพ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือเล่านิทาน และมีข้อสันนิษฐานกันว่า แต่งเพ่ือ ถวายราชโอรสของสมเดจ็ พระเจ้ากรุงธนบุรี แต่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๒ เน้ือเร่อื งย่อ เน้ือเร่ืองดาเนินคล้ายกับนิทานเวตาลของอินเดีย โดยเริ่มเร่ืองว่า พระเจ้าวิกรมาทิตย์จับเวตาลได้ ขณะเดินทางกลับ เวตาลจึงได้เล่านิทานเร่ืองเพชรมงกุฎให้ฟัง โดยเนื้อความดังน้ี พระเพชรมงกุฎทูลลาพระราชบิดาไปล่าสัตว์ และหลงทางกับพี่เลี้ยงถึงเมือง กรรณ พีเ่ ลี้ยงทาอุบายใหไ้ ดพ้ ระธิดาของพระเจ้ากรงุ กรรณเป็นชายา พระธิดากลัวพี่เลี้ยงช่ือ พุฒศรี จะชวนพระมงกฎุ กลับบา้ นเมืองจงึ ลอบวางยาพิษ แต่พ่ีเลี้ยงรู้ทันและชวนพระเพชรมงกุฎกลับเมือง จริง ๆ ต่อมาพ่ีเลี้ยงคิดอุบายแนะนาให้ได้นางกลับพร้อมพระเพชรมงกุฎสาเร็จ ภายหลังเจ้ากรุง กรรณรู้ความจริง จึงเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ เวตาลจึงถามท้าววิกรมาทิตย์ว่า ความผิดควรตก อยู่ที่ผู้ใด ท้าววิกรมาทิตย์เผลอตอบไปว่า เจ้ากรุงกรรณผิด เวตาลได้โอกาสที่ท้าววิกรมาทิตย์ผิด ๑๑๐

สัญญาว่าจะไม่ตรัสอะไรตลอดทาง จึงหนีกลับไปยังท่ีอยู่เก่าของตน (กุหลาบ มัลลิกะมาส, ๒๕๑๖, หน้า ๑๑๕-๑๑๖) ตวั อยา่ ง ตอนชมโฉมพระเพชรมงกฎุ เมื่อนั้นศรีสุริยวงศ์ องค์พระเพชรมงกุฎ โฉมเฉิดสุดโสภณ เจริญชนม์สิบหกปี ทรง ลักษณะศรีสุนทเรศ บวรเกศเส้นสลวย พิศจุไรรวยเรียบร้อย ขนงช้อยชดปลาย วิลาศผายผ่องนวล เนตร์น่ายวนยิ่งศร ขนงเนตรงามงอนงามพร้ิม นาสาป้ิมอังกุศ กรรณกลีบบุษบงบาง ปรางยิ่งปราง ทองเปรียบ ริมโอษฐ์เรียบไรทนต์ ทันต์ดากลแมลงภู่ โอษฐ์แดงดูดุจแย้ม หนุแสล้มเพราพร้อง ศอ ทรงปล้องกลกลึง อังสาขึงบ้ันองคร์ ัด กระทวยธวัชกลงวง คชนิ ทรจว้ งจับลม สรรพางค์กลมอ้อนแอ้น ยุรยาตร์แม้นเหมือนหงส์ หญิงแลหลงลืมนอน กล่าวกลกลอนขับอ้าง ชมโฉมหน่อกษัตริย์สร้าง รูป ท้าวใดเทยี ม พ่อนา ฯ ตวั อย่าง บทชมธรรมชาตขิ ณะพระเพชรมงกฎุ ประพาสปา่ เสดจ็ ดลพนเวศเว้ิง เลวงไพร ชมช่อพฤกษาไสว ย่นื ย้อย หอมหวนหน่ื ฤๅทัย จอมราช ดอกดกตูมบานห้อย กง่ิ ก้านสาขา กรรณกิ ารก์ าระเกดแก้ว กาหลง พทุ ธชาติลาดวนดง ดกคอ้ ม จาปาปีบประยงค์ หอมกลิ่น มานา ยีส่ นุ่ บนุ นากนอ้ ม กิ่งสร้อยกสุ ุมาลย์ ฯ คณุ ค่า ลิลติ เพชรมงกุฎเปน็ นทิ านทน่ี าเคา้ โครงมาจากอนิ เดยี เรื่องแรก โดยนทิ าน เวตาลของอินเดียน้ันมีลักษณะเป็นโครงเรื่องซ้อน มีโครงเร่ืองใหญ่คือเรื่องของพระวิกรมาทิตย์ที่ ต้องการนาตัวเวตาลกลับไป กับนิทานย่อย ๆ ซึ่งเป็นโครงเร่ืองย่อย หลวงสรวิชิต (หน) เลือกแต่ง เพียงเร่ืองเดียว โดยแต่งเป็นลิลิต วรรณคดีเรื่องนี้สอดแทรกคติธรรม มีสานวนไพเราะคล้ายกับ ลลิ ติ พระลอ กวนี ิยมสัมผัสอักษร ซ่ึงเป็นลักษณะเฉพาะของกวี ๔.๒.๖ นริ าศพระยามหานภุ าพไปเมอื งจีน (นิราศเมอื งกวางตงุ้ ) นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนน้ี เป็นบันทึกการเดินทางของพระยามหานุภาพ (อ้น)เม่ือคราวที่ติตามคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน ณ กรุงปักกิ่ง วันอาทิตย์ เดือน ๗ แรม ๑๑ ค่า ปีฉลู จุลศักราช ๑๔๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๔ ซ่ึงตรงกับสมัยของพระเจ้า ๑๑๑

เข้ียนหลงฮองเต้ โดยเรอื ทัง้ สน้ิ ๑๑ ลา มีพระยาศรีธรรมาธิราช เป็นราชทูต เจ้าฟ้ากรมหลวงนริ นทรรณเรศ (ทองจัน เป็นอุปทูตนาพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงปักก่ิง พร้อมกับสินค้าท่ีจะจาหน่าย ณ เมืองกวางตุ้ง แล้วนาเงินที่ได้ไปซื้อของใช้ในราชการกลับมา ครั้ง นั้นพระยามหานุภาพอยู่ในกลุ่มข้าราชการท่ีจัดการเก่ียวกับสินค้า จึงเดินทางไปแค่เมืองกวางตุ้ง สว่ นคณะราชทตู เดนิ ทางตอ่ ไปจนถงึ ปักก่ิง พระยามหานุภาพคงไดแ้ ต่งนิราศเร่อื งนใ้ี นระยะเวลาน้ัน ผู้แต่ง พระยามหานภุ าพ (อ้น) ลักษณะการแต่ง กลอนนริ าศ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อบันทึกการเดินทางและสรรเสริญพระเกียรติ สมเดจ็ พระเจ้าตากสิน เน้ือเรื่องย่อ เร่ิมต้นเร่ืองดว้ ยการบอกวนั เวลาทเี่ ดินทาง กระบวนเรือ สง่ิ ทพี่ บ เห็น เช่น ทะเล คล่ืนลม หญิงชาวจีน ประเพณีห่อเท้า การเดินทางกลับ และลงท้ายด้วยการ ถวายพระพร ตัวอยา่ ง การเตรยี มตวั เดนิ ทางไปเมืองกวางตุ้ง จงึ พระบาททรงราชนิพนธ์สาร เป็นตะพานนพคณุ ควรสงวน ใหเ้ ขยี นสารลงลานทองทวน จดั ส่วนบรรณาการละลานตา อนงึ่ นอกจ้มิ กอ้ งเป็นของถวาย กโ็ ปรยปรายประทานไปหนักหนา ทง้ั นายหา้ งขุนนางในนัครา ใหม้ ีตราบัวแกว้ สาคญั กนั แลว้ จดั ทูตทลู คาให้จาสาร บรรณาการพรอ้ มส้ินทกุ สง่ิ สรรพ์ ทัง้ ของแถมแนมความน้นั งามครนั เปน็ กานัลถวายนอกบรรณาการ คุณค่า นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนน้ีเป็นกลอนนิราศเร่ืองแรกที่ใช้ฉาก ตา่ งประเทศ โดยพรรณนาสภาพบ้านเมือง ผู้คน ศิลปวัฒนธรรมของจีนอย่างเห็นภาพ เน้ือหาให้ ความรใู้ นด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนยี มของจนี สะท้อนให้เห็นการเจริญสมัยไมตรี กบั ต่างประเทศของไทย ทง้ั ยงั สะทอ้ นความเทิดทูนพระมหากษัตริย์ นริ าศเรอ่ื งนี้ยังคงลักษณะของ การเดนิ ทาง แต่ไม่ได้มกี ารจากนาง อีกทั้งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการสรรเสริญหรือราพึงราพันถึงพระ เจ้ากรงุ ธนบุรีดว้ ยความจงรักภกั ดี ซ่ึงแปลกไปจากวรรณคดีนริ าศโดยทั่วไป ๔.๓ ลักษณะสาคัญของวรรณคดีสมยั กรุงธนบรุ ี พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๒๕ วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะสืบทอดจากสมัยอยุธยามากกว่าท่ีจะเป็นงานสร้างสรรค์ เน่ืองจากวรรณคดีสมัยกรุงธนบุรีได้รับอิทธิพลโดยตรงจากวรรณคดีสมัยอยุธยา วรรณคดีสมัยกรุง ๑๑๒

ธนบุรีจึงคล้ายคลึงกับวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย เน้ือหาของเรื่องส่วนใหญ่เป็นแนวปลุกใจให้ ใจรักชาติบ้านเมืองและปลุกปลอบใจให้คลายจากความหวาดกลัว ภัยสงคราม นิยมแต่งเป็นร้อย กรอง จานวนกวีมีไม่มาก ท้ังนี้อาจเป็นเพราะระยะเวลาสมัยกรุงธนบุรีมีเพียง ๑๕ ปี และช่วงเวลา ดงั กลา่ วมศี กึ สงครามเกิดขนึ้ ตลอด วรรณคดสี มัยกรุงธนบุรมี ีลกั ษณะสาคญั ดังนี้ ดา้ นเนื้อหาของวรรณคดีนั้น มลี กั ษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา ปรากฏวรรณคดี ท่ีมีเนื้อหานิทานนิยาย ยอพระเกียรติ คาสอน และวรรณคดีแสดงอารมณ์ จะเห็นว่า เน้ือหา คอ่ นขา้ งหลากหลาย อยา่ งไรก็ดี วรรณคดีในสมัยนี้มลี ักษณะเฉพาะคือมักตัดตอนมา แตง่ ไม่ครบทั้ง เร่ือง เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชนิพนธ์รามเกียรต์ิเพียง ๔ ตอน หลวงสรวิชิต (หน) แต่งลิลิต เพชรมงกฎุ โดยนาเรือ่ งที่ ๑ จากเรอ่ื งนทิ านเวตาลมาแตง่ เพยี งเร่ืองเดียว หรือเร่อื งอิเหนา แต่งเฉพาะ ตอนอิเหนาเผาเมืองเท่าน้ัน เข้าใจว่าเป็นเพราะบ้านเมืองเกิดศึกสงครามตลอด จึงไม่มีเวลาให้กวี แต่งเรื่องยาว เป็นที่น่าสังเกตว่า การตอนท่ีคัดเลือกมาแต่งนั้น น่าจะมีความสัมพันธ์กับการเมือง การปกครองด้วย ดังเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี คัดตอน ท้าวมาลีวราชว่าความมาแต่ง อาจเป็นกุศโล บายส่ือใหเ้ หน็ การปกครองทเ่ี ปน็ ธรรมของพระเจา้ กรงุ ธนเอง ส่วนอกี ๓ ตอน แสดงใหเ้ หน็ คติธรรม ทีใ่ ชใ้ นการดาเนนิ ชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังมีความสนกุ สนานดว้ ย วรรณคดนี ิทานนินายในสมัยน้ี นอกจากเป็นเร่ืองทค่ี ุ้นเคยกนั อย่แู ลว้ เช่น รามเกยี รต์ิ อิเหนา ยังมีท่ีนาเค้าเรือ่ งมาจากอินเดียโบราณด้วย ได้แกเ่ รื่องลลิ ติ เพชรมงกุฎ ซ่ึงแนวเรื่องเช่นน้ียัง ไมม่ กี วีไทยคนใดนามาแต่งวรรณคดีมากอ่ น เปน็ ทน่ี ่าสังเกตว่า กวีในสมัยกรุงธนบุรีน้ี ล้วนมีความจงรักภักดี ภาคภูมิใจในพระ ปรีชาสามารถ และพระบุญญาบารมีของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างมาก ดังปรากฏว่ามีวรรณคีดยอ พระเกยี รติ และวรรณคดีหลายเรอ่ื งแทรกการสรรเสรญิ พระเจ้ากรงุ ธนบุรไี ว้ แม้จะเปน็ นิราศก็ตาม ด้านรูปแบบคาประพนั ธ์ ยงั คงแบบสืบทอดจากสมยั อยธุ ยา มธี รรมเนยี มในการแต่ง เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ ขึ้นต้นด้วยบทไหว้หรือบทประณามบท มีการบรรยายและพรรณนา อยา่ งเข้าแบบ ทั้งบทชมต่าง ๆ และบทพรรณนาอารมณ์ความรู้สึก มุ่งความไพเราะในการประพันธ์ มากกว่าเน้ือหาสาระและแนวความคิด กวีนิยมแต่งด้วยร้อยกรอง แม้วรรณคดีสมัยนี้มีจานวนไม่ มาก แต่กวีใช้คาประพันธ์หลายชนิด เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และมีรูปแบบท้ังบทละคร ลิลิต และนริ าศ ไม่เคร่งครดั ฉนั ทลักษณ์มากนกั ด้านสานวนภาษาและวรรณศิลป์ จะสังเกตได้ว่า อาจยังไม่ดีเด่นนัก แต่แสดง ลักษณะเฉพาะสมัยที่สาคัญ กล่าวคือ กวีส่วนใหญ่มักใช้ถ้อยคาส้ัน กระชับ ซึ่งลักษณะอาจเป็น เพราะสภาพบ้านเมืองไม่อยู่ในสภาพท่ีทาให้กวีสามารถตกแต่งร้อยกรองของตัวเองได้ ประกอบกับ กวีในยคุ นสี้ ว่ นใหญ่เป็นนักรบ ถอ้ ยคาจึงออกมาในลักษณะหว้ น สัน้ มุ่งเนือ้ ความเปน็ สาคัญมากกว่า ๑๑๓

สรุป แม้ว่าสมัยกรุงธนบุรีจะมีระยะเวลาเพียง ๑๕ ปี แต่วรรณคดีมีเน้ือหาหลากหลายท่ีพบมาก ทสี่ ุดคอื วรรณคดปี ระเภทนิทานนิทาย ท่ีน่าสังเกตคือเป็นวรรณคดีร้อยกรองทุกเรื่องและมีรูปแบบ คาประพันธ์ครบทุกประเภท สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองและการส่งเสริมงานกวีของ พระมหากษัตริย์ได้ในระดับหน่ึง ความเจริญในด้านวรรณคดีนี้ทาให้กวีบางท่านยังคงเป็นกวีสืบต่อ จนถึงสมัยรัชกาลท่ี ๑ เช่น หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาคือเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ผู้ซึ่งมีฝีมือท้ัง งานร้อยกรองและร้อยแก้ว และได้แต่งวรรณคดีเร่ืองสาคัญหลายเรื่อง การเขียนงานวรรณคดีใน สมยั กรุงธนบุรจี งึ เป็นช่วงเวลาฝกึ ปรอื และพฒั นาฝมี ือทางวรรณคดีไดอ้ ยา่ งดี คาถามทา้ ยบท ๑. ลกั ษณะวรรณคดีสมยั กรุงธนบุรีในด้านเนอ้ื หาและรปู แบบเปน็ อย่างไร ๒. ภมู ิหลงั ทางสงั คมและวฒั นธรรมในสมัยกรุงธนบรุ ีมผี ลตอ่ การแต่งวรรณคดีอยา่ งไร ๓. งานพระราชนพิ นธ์ของสมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มกี ่เี ร่อื ง เรือ่ งอะไรบ้าง ๔. พระราชนิพนธ์ของสมเดจ็ พระเจา้ ตากสนิ มคี วามสาคญั ต่อการเมอื งการปกครองในสมัย กรงุ ธนบรุ ีอยา่ งไร ๕. วรรณคดีเร่ืองนริ าศพระยามหานุภาพไปเมอื งจีนมลี กั ษณะเน้อื หาและรปู แบบทโ่ี ดดเด่น อย่างไร ๖. อเิ หนาคาฉันท์ มีเนือ้ หาอย่างไร และใครเป็นผ้แู ตง่ ๗. ใครคอื ผแู้ ต่งลิลติ เพชรมงกุฎ และแตง่ เพ่อื วตั ถปุ ระสงคใ์ ด ๘. กฤษณาสอนน้องคาฉนั ท์มที มี่ าอยา่ งไร ๙. จงบอกท่ีมาของเร่ืองลิลติ เพชรมงกฏุ ๑๐. เหตุใดจึงกลา่ วว่าเรอื่ งลิลิตเพชรมงุ กุฎได้สอดแทรกเร่ืองคตธิ รรม ๑๑๔

รายการอ้างองิ กุหลาบ มัลลกิ ะมาส. (๒๕๑๗). วรรณกรรมไทย. กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพ์สว่ นทอ้ งถิน่ . นรินทรเทว,ี กรมหลวง. (๒๕๐๙). จดหมายเหตคุ วามทรงจา และพระราชวจิ ารณ์. พระนคร: โรง พมิ พ์พระจนั ทร์. ๑๑๕

แผนบริหารการสอนประจาบท หวั ข้อเนอ้ื หาประจาบท บทท่ี ๕ วรรณคดีสมัยกรุงรตั นโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ ๕.๑ ภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมโดยสงั เขป ๕.๒ กวีและวรรณคดสี มัยกรงุ รัตนโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ ๕.๓ ลักษณะสาคญั ของวรรณคดีสมัยกรุงรตั นโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ วัตถุประสงคเ์ ชิงพฤตกิ รรม เมื่อศกึ ษาบทท่ี ๕ แล้ว นักศึกษาสามารถ ๑. อธิบายบริบททางสังคมและวัฒนธรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ ได้ ๒. บอกกวแี ละวรรณคดที ่ปี รากฏในสมยั กรุงรตั นโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ ได้ ๓. อธิบายลกั ษณะสาคญั ของวรรณคดีสมยั กรงุ รตั นโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ ได้ วิธสี อนและกิจกรรมการเรยี นการสอนประจาบท ๑. วิธีสอน การบรรยาย อภิปรายกลมุ่ ใชส้ ื่ออเิ ล็กทรอนกิ ส์ประกอบการสอน ๒. กิจกรรมการเรยี นการสอนมดี งั น้ี ๒.๑ กิจกรรมก่อนเรียน นักศึกษาอ่านเอกสารประกอบการสอนล่วงหน้า เตรียม รายงานหนา้ ช้นั เตรียมแสดงความคิดเห็นในชน้ั เรียน และอา่ นวรรณคดีตอ่ ไปนลี้ ว่ งหน้า ๒.๑.๑ รามเกยี รติ์ ๒.๑.๒ สมบัตอิ มรินทร์คากลอน ๒.๑.๓ พระอภยั มณี ๒.๑.๔ นิราศนรนิ ทร์ ๒.๑.๕ สมุทรโฆษคาฉนั ท์ ๒.๑.๖ ระเด่นลนั ได เม่อื ถึงชว่ั โมงเรยี น กอ่ นเริม่ สอน นักศึกษาร่วมกจิ กรรมวดั ความรผู้ า่ นโปรแกรม Mentimeter หรอื โปรแกรมอ่ืน ๆ ๒.๒ กิจกรรมระหวา่ งเรียน นกั ศกึ ษาฟังบรรยาย รายงานหน้าชน้ั รว่ มกนั อภิปราย วรรณคดที ใี่ หอ้ า่ นลว่ งหนา้ ๑๑๖

๒.๓ นักศึกษาตอบ คาถามท้ายบท และเตรียมอ่านหนังสือบทต่อไปล่วงหน้า นกั ศึกษาทบทวนความรจู้ ากคลปิ การสอนทบ่ี ันทกึ ไว้ในเว็บไซต์ผสู้ อน สื่อการเรียนการสอนประจาบท ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. สอ่ื อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ อาทิ พาวเวอร์พอยท์ วดี ิทัศน์ ๓. ตัวบทวรรณคดีไทย การวัดและการประเมินผล ๑. สงั เกตความสนใจและมสี ว่ นรว่ มในชั้นเรยี น ๒. การถาม-ตอบ ๓. การสอบกลางภาค ๑๑๗

บทท่ี ๕ วรรณคดสี มยั กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๙๔ คือช่วงรัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๓ หรืออาจ เรียกว่ารัตนโกสินทร์ตอนต้น ในช่วงเวลาน้ีบ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากกว่าสมัยกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเร่งฟื้นประเทศในทุกด้าน รวมถึงด้านวรรณคดีทรง ส่งเสริมใหเ้ กดิ วรรณคดคี ู่บา้ นคเู่ มืองขึ้น ในสมัยรชั กาลพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หล้านภาลยั ทรง สานต่องานบ้านเมืองและงานวรรณคดีต่อจากพระราชบิดา ในสมัยน้ีเป็นยุครุ่งเรืองของวรรณคดี และศิลปะแขนงต่าง ๆ ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัย งานวรรณคดีควบคู่กับงานทางวิชาการ และยังมีพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประชาชนได้มีความรู้ เรอื่ งต่าง ๆ ด้วย วรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นน้ี ยังเป็นวรรณคดีที่สืบทอดจากสมัยอยุธยา และธนบุรี โดยถือว่ายงั ไม่ได้รับอิทธพิ ลจากตะวันตกมากนกั ๕.๑ ภูมิหลังทางสงั คมและวฒั นธรรมโดยสังเขป ลักษณะบ้านเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ยังคงคล้ายกับสมัยอยุธยาและธนบุรี โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือเดิมคือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หลังจากได้ขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ในวันท่ี ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝ่ังตะวันตกของแม่น้า เจ้าพระยาเม่ือคร้ังสมัยพระเจ้ากรุงธน มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้าเจ้าพระยา เพราะเห็นว่ากรุง ธนบุรีมีแม่น้าเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง ไม่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางการปกครอง จึงโปรด เกล้า ฯ ให้ย้ายราชธานีไปทางฝั่งตะวันออก ด้วยเหตุผลสาคัญ ๆ หลายประการ ประการหน่ึงที่ สาคญั ยงิ่ คอื เหตุผลทางยุทธศาสตร์ (ยุพร แสงทกั ษิณ, ๒๕๕๙, หนา้ ๔-๒๔) ในรัชกาลนี้ พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงตามอย่างอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานใน พงศาวดารวา่ “พระมหาปราสาทท่ีสร้างในพระบรมมหาราชวังนั้น โปรดให้ถ่ายแบบขนาดมาสร้าง อย่างพระท่ีน่ังสรรเพชร์ปราสาทในกรุงเก่า” (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับหอสมุด แห่งชาติ รัชกาลท่ี๑ – รัชกาลที่ ๒, ๒๕๐๕, หน้า ๗๒) และโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธมหา มณรี ตั นปฏิมากรมาประดิษฐานยงั วัดวดั พระศรรี ตั นศาสดาราม มกี ารสรา้ งพระบรมมหาราชวัง โดย มีวดั พระศรีรัตนศาสดาราม ซ่ึงตั้งอยู่ภายในเขตพระบรมมหาราชวังฌแกเช่นเดียวกับกับวัดพระศรี สรรเพชญ์ ที่กรุงศรอี ยธุ ยา หลังจากนนั้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนคร ๑๑๘

เป็นเวลา ๓ วนั คร้งั เสร็จการฉลองพระนครแลว้ พระองค์พระราชทานนามพระนครแหง่ ใหมใ่ หต้ ้อง กับนามพระพทุ ธมหามณีรัตนปฏิมากรวา่ \"กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหนิ ทรายธุ ยา มหา ดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติย วิษณุกรรมประสิทธิ์\" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า \"กรุงเทพมหานคร\" พระมหากษัตริย์ในพระบรม ราชวงศ์จักรไี ด้ทรงปกครองบา้ นเมอื งสบื ตอ่ มาจนถึงรัชกาลปจั จบุ ัน รวม ๑๐ พระองค์ ในรชั กาลน้ี ไทยยงั มศี กึ สงครามกับพมา่ ถงึ ๗ คร้งั สงครามครั้งสาคัญคือ สงครามเก้าทัพที่ ลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ไทยสามารถเอาชนะตีทัพพม่าได้แม้มีกาลังน้อยกว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราชสรา้ งบา้ นเมอื งให้เป็นปึกแผ่น นบั ไดว้ ่าในรัชสมัยน้ี อาณาจักรไทยกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในประวัติศาสตร์ชาติไทย (แสงโสม เกษมศรี และวิมล พงศ์พิพัฒน์, ๒๕๒๓, หน้า ๒๗๔) และโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก และตรวจชาระ กฎหมายเป็นกฎหมายฉบับหลวงขึ้น ๓ ชุด เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง รวมทั้งทรงฟ้ืนฟู ศลิ ปวัฒนธรรมของชาตทิ ุกแขนงให้รุง่ เรืองดงั เช่น \"คร้งั บ้านเมอื งดีสมยั อยุธยา\" พระราชกรณียกจิ สาคญั ทม่ี ตี ่อการสรา้ งสรรคช์ าติไทยสามารถสรุปได้ดงั น้ี ๑. ด้านการเมืองการปกครอง ๑.๑ ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยทรงย้ายราชธานจี ากกรุงธนบรุ ีมาอยทู่ กี่ รงุ เทพมหานคร ๑.๒ โปรดเกล้า ฯ ให้ชาระกฎหมายให้ถูกต้องยุติธรรม เรียกว่า \"กฎหมาย ตราสามดวง\" เพราะประทับตราสาคัญ ๓ ดวง ไดแ้ ก่ ตราราชสหี ข์ องสมุหนายก ตราคชสหี ข์ องส มหุ พระกลาโหม และตราบัวแกว้ ของกรมทา่ ๑.๓ ทรงให้ขุดคลองรอบกรุง เช่น คลองมหานาค โดยรัชกาลที่ ๑ ทรง พระราชทานนามให้เอง ๑.๔ ทรงเป็นจอมทัพในการทาสงครามกับรัฐเพ่ือนบ้าน สงครามครั้งสาคัญ คือ สงครามเกา้ ทพั กบั พม่า ๒. ด้านเศรษฐกจิ ๒.๑ ตอนต้นรัชกาลท่ี ๑ เศรษฐกิจยังไม่ดีเพราะมีการทาสงครามกับพม่าหลาย คร้งั การตดิ ต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ลดลงมาก แต่ในปลายรัชกาลบ้านเมืองไม่มีศึกสงครามทา ให้ประชาชนมเี วลาประกอบอาชีพ มีการค้าขายกับจีนเพ่ิมมากข้ึน ทาให้เศรษฐกิจดีขึ้น มีเงินใช้ จา่ ยในการทานุบารุงบา้ นเมอื ง สรา้ งพระนคร สร้างและบูรณปฏิสังขรณว์ ดั รวมทั้งสัง่ ซอ้ื และสรา้ ง อาวธุ เพื่อใช้ป้องกันพระราชอาณาเขต ทาให้บา้ นเมืองและราษฎรเกิดความม่ันคงและม่งั ค่ัง ๑๑๙

๓. ด้านสงั คมและวฒั นธรรม ๓.๑ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระราชวังและวัดให้มีรูปแบบเหมือนสมัยอยุธยา เพ่ือสร้างขวัญกาลังใจแก่ราษฎรให้เสมือนอยู่ในสมัยอยุธยาเม่ือคร้ังบ้าน เมืองเจริญรุ่งเรือง เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วไว้ในเขตพระบรมมหาราชวังเพื่อ ใชใ้ นการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเชน่ เดยี วกบั วัดพระศรีสรรเพชญใ์ นสมยั อยธุ ยา ๓.๒ ทรงทานุบารุงพระพุทธศาสนา ด้วยการออกแบบกฎหมายคณะสงฆ์ เพ่ือให้พระสงฆ์อยู่ในพระธรรมวินัย โปรดเกล้า ฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฏก และชาระ กฎหมายสงฆ์ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ต่าง ๆ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ วัด ระฆงั โฆสติ าราม วดั สุวรรณดารารามตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปท่ีถูกทิ้งร้างตามหัวเมือง ตา่ ง ๆ แล้วนามาประดษิ ฐานไว้ตามวัดวาอารามทสี่ ร้างข้ึนใหม่ เชน่ อัญเชิญพระศรีศากยมนุ ี จาก วหิ ารหลวงวดั มหาธาตุ จังหวัดสุโขทยั มาประดิษฐานทวี่ ัดสทุ ศั นเทพวราราม เปน็ ต้น ๓.๓ ทรงฟนื้ ฟพู ระราชพิธแี ละประเพณีสาคัญสมัยอยุธยา เช่น จัดให้มีพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสมโภชพระนคร แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของการกอบกู้ ราชธานขี ึน้ มาใหม่ เปน็ การสรา้ งขวญั กาลงั ใจใหก้ ับราษฎรและเปน็ การรักษาพระราชพิธโี บราณ ๓.๔ ทรงส่งเสริมงานวรรณกรรม โดยพระราชนิพนธ์วรรณคดีหลายเร่ือง เชน่ รามเกียรติ์ เพลงยาวรบพม่าทที่ ่าดนิ แดง โปรดเกล้า ฯ ให้แปลหนงั สือจนี เปน็ ภาษาไทย เช่น สามกก๊ ราชาธิราช โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซง่ึ วรรณคดเี หลา่ นย้ี ังเปน็ ท่ีนยิ มมาถงึ ปจั จบุ ัน ต่อมาในสมยั พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จข้ึนครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ พระชนมพรรษา ๔๓ พรรษา เป็นรัชกาลท่ี ๒ แห่งราชวงศ์จักรี ในสมัยนี้บ้านเมืองมีความสงบ เรยี บร้อยมากขึน้ กวา่ เดมิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลยั ทางส่งเสริมงานด้านศลิ ปะแขนง ต่าง ๆ อย่างมาก จนกล่าวกันว่าสมัยนี้ เป็นยุคทองของวรรณคดีและศิลปกรรม ดังจะเห็นว่ามีงาน วรรณคดีเล่มสาคัญเกิดในยุคน้ีหลายเล่ม โดยส่วนใหญ่เป็นงานที่มุ่งเพื่อประกอบการแสดง เช่น เรื่องอิเหนาในรัชกาลที่ ๒ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของละครรา โดยการละครรุ่งเรืองถึงขีดสุด และสมยั รัชกาลนี้ถือวา่ เป็นยุคของของวรรณคดีประเภทละครรา นอกจากละครในแลว้ ละครนอกซง่ึ เป็นละครของประชาชนท่ัวไปก็เฟ่ืองฟูอย่างมากเช่นกัน ละครนอกได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาเล่นในราชสานัก และมีบทละครนอกพระราชนิพนธ์เกิดข้ึน หลายเร่อื ง เช่น สงั ขท์ อง ไกรทอง มณีพิชัย เป็นต้น นอกจากน้ี งานด้านดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และด้านประติมากรรมเฟือ่ งฟูอยา่ งมากเชน่ กนั ๑๒๐

หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้า เจ้าอยู่หัวได้สืบราชสมบัติเป็นรัชกาลท่ี ๓ ต่อมา ก่อนข้ึนครองราชย์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรม หม่ืนเจษฎาบดนิ ทร์ เมอ่ื พ.ศ. ๒๓๕๖ ทรงกากับราชการกรมพระคลังและกรมท่า ซ่งึ ทาหนา้ ที่ตดิ ตอ่ คา้ ขายกบั ตา่ งประเทศ และดูแลการแตง่ สาเภาหลวงไปค้าขายกับจีนเพอ่ื หารายได้เข้าประเทศ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ี มีชาวตะวันตกเข้ามามีบทบาททางการค้า และทางวัฒนธรรม มีการทาสนธสิ ัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ เม่ือ พ.ศ. ๒๓๖๙ เรียก กันท่ัวไปว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๓๗๕ สหรัฐอเมริกาได้ส่งทูตชื่อ เอดมันด์ รอ เบิตส์ เขา้ มาทาสนธิสัญญาเชน่ เดยี วกบั ท่ไี ทยทากบั องั กฤษ มีคณะมิชชันนารอี เมริกันเดินทางเข้ามา เผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์จานวนมาก เรยี กรวม ๆ วา่ หมอสอนศาสนา โดยหมอสอน ศาสนานาความรู้ด้านการแพทย์และการอนามัย วิทยาการทางตะวันตก การพิมพ์ การศึกษา และ การเรยี นรภู้ าษาอังกฤษมาเผยแพร่ดว้ ย หมอสอนศาสนาคนสาคัญ เช่น หมอบรัดเลย์ นอกจากฝรัง่ แลว้ สมัยน้ยี ังมกี ารส่งเสริมการคา้ กับประเทศจีนอย่างกว้างขวาง รัชกาลท่ี ๓ ทรงรบั เอาศลิ ปะแบบจนี มาผสมผสานกบั ศลิ ปะแบบไทยหลายอยา่ ง ทง้ั ทางด้านสถาปัตยกรรม และ จิตรกรรม ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากวัดหลายแห่งท่ีสร้างหรือปฏิสังขรณ์ขึ้นในรัชกาลน้ี สมัยนี้ พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอย่างมาก ทรงสร้างวัดใหม่ ๓ วัด คือ วัดราชโอรสาราม วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม และวัดสุทัศนเทพวราราม และปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ อีก ๓๕ วัด ทรงสร้าง พระไตรปิฎกฉบับต่าง ๆ และทรงส่งเสรมิ การศกึ ษาพระปริยตั ธิ รรมให้แพรห่ ลาย ในรัชกาลน้ี ยังมกี ารเปล่ยี นแปลงเกดิ ขน้ึ ในวงการพระพทุ ธศาสนาของไทย กลา่ วคือ สมเด็จ เจ้าฟ้ามงกฎุ ซึ่งทรงพระผนวชอยู่ ทรงตงั้ คณะสงฆน์ กิ ายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย ส่วนพระสงฆน์ กิ าย เดิม ตอ่ มาใชช้ ื่อวา่ มหานิกาย โดยได้ทรงตรวจสอบคัมภีร์พระวินัยท่ีมีอยู่ในเวลานั้นกับท่ีมีปรากฏ อยู่ในพระไตรปิฎก เห็นว่า พระสงฆ์ไทยประพฤติปฏิบัติผิดแผกจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรง บญั ญัติไวม้ าก จงึ ทรงตงั้ ออกเป็นนกิ ายใหม่ วรรณคดีส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ น้ี เป็นวรรณคดีท่ีให้ความรู้หรืองานทางวิชาการ ปรากฏวรรณคดีท่ีเป็นละครไม่มากเหมือนในสมัยรัชกาลที่ ๒ รัชกาลท่ี ๓ ให้เลิกโขนหลวงและ ละครในในราชสานัก ซึ่งทาให้ละครแพร่หลายในหมู่เจ้านายและประชาชน โดยเจ้านายช้ันสูงต้ัง คณะละครและหาตัวละครสงั กดั คณะของตน ซ่ึงลกั ษณะเช่นน้ีไม่ปรากฏในสมัยรัชกาลท่ี ๒ เพราะ ละครถงึ เป็นเครือ่ งราชปู โภคของพระมหากษัตรยิ อ์ ย่างหนง่ึ สมัยน้ี รชั กาลท่ี ๓ ยังโปรดเกล้า ฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เริ่ม ตง้ั แตป่ ี พ.ศ.๒๓๗๔ โดยนอกจากมงุ่ ใหเ้ ปน็ ศาสนสถานสาหรับกิจการทางพระพทุ ธศาสนาแล้ว ยงั มี ๑๒๑

พระราชประสงค์ใหเ้ ปน็ แหล่งรวมความรแู้ ขนงต่าง ๆ ด้วย โดยสรปุ แล้ว มีจารึกเร่ืองใหญ่ ๆ ได้ ๗ เรือ่ ง (ไพเราะ มากรักษา, ๒๕๔๘, หนา้ ๒๙๒) ดงั น้ี ๑) เร่อื งปฏสิ ังขรณ์วดั พระเชตุพน ฯ ๒) เร่ืองทางพระพทุ ธศาสนา ๓) เรอ่ื งเกี่ยวกบั วรรณคดี ๔) เรื่องเกยี่ วกับทาเนียบ ๕) เรอ่ื งเกี่ยวกับประเพณี ๖) เรอ่ื งเก่ยี วกบั สขุ ภาพอนามัย ๗) เรอ่ื งเกย่ี วกับยา ความรูต้ า่ ง ๆ เหล่านีไ้ ด้จารกึ ไว้บนแผ่นศลิ าในบริเวณวัด มีรายละเอียดโดยสังเขป ดังน้ี ๕.๔.๑ จารึกเก่ียวกับการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ฯ วรรณคดีเร่ืองสาคัญที่ บันทึกการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ฯ คือเร่ือง โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ฯ กรม พระปรมานุชิตชิโนรส นิพนธ์ไว้จานวน ๓๕๖ บท กล่าวพรรณนาถึงการปฏิสังขรณ์วัดอย่างละเอียด และยังยอพระเกียรตสิ มเดจ็ พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีศรัทธาทาปฏิสังขรณ์วัด นอกจากวรรณคดี เรื่องน้ีแล้ว ยังมีจารึกการปฏิสังขรณ์วัดโดยกวีหลายท่านติดไว้ใบริเวณต่าง ๆ อีก เช่น ติดไว้ที่รอบ ผนงั หน้าพระอุโบสถ ท่ีวหิ ารทิศ ทีห่ น้าพระมหาเจดีย์ ทห่ี อไตร ฯลฯ โดยส่วนใหญก่ วีใช้โคลงส่ีสุภาพ ๕.๔.๒ จารึกเร่ืองทางพระพุทธศาสนา จารึกเรื่องนี้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาร้อยแก้ว เนื้อหากล่าวถึงประวัติพระสาวกของพระพุทธเจ้า เช่น พระสารีบุตร พระมหากัสสป พระอนุรุทธ นางอุบลวรรณาเถรี นอกจากนีย้ ังกลา่ วถึงตานานพระพุทธบาท และกถาต่าง ๆ เช่น เปรตกถา ดว้ ย ๕.๔.๓ จารึกเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี การจารึกด้านวรรณคดีที่สาคัญคือ จารึก เรอ่ื งนางรายณส์ บิ ปาง ซงึ่ เป็นต้นเร่อื งของรามเกียรติ์ จากรึกเรือ่ งนิทานสิบสองเหลีย่ มซง่ึ เปน็ นทิ าน ทไ่ี ด้อิทธิพลจากแขกเปอรเ์ ซีย มตี าราเพลงยาวกลบท และกลอักษรของกวีที่มีช่ือเสียงในสมัยนั้น ตารากลบทสว่ นใหญไ่ ม่มนี ามผู้แต่ง ส่วนโคลงกลบทปรากฏนามผู้แต่ง เช่น กลโคลงดาวล้อมเดือน ของกรมพระปรมานุชติ ชิโนรส กลโคลงจาตุรทศิ ของหลวงชาญภเู บศร์ กลโคลงพรางขบวนและ กลโคลงแยกทาง ของกรมหม่ืนไกรสรวิชิต บริเวณรอบผนังรอบพระอุโบสถยังมโี คลงประกอบภาพ รามเกียรต์จิ านวน ๑๕๔ บท จารึกไว้บนแผ่นศิลาจาหลักโดยกวีในยุคนั้น เช่น กรมหมื่นไกรสรวิชิต หลวงชาญภูเบศร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยงั มวี รรณคดสี าคญั เรอ่ื งอน่ื ๆ จารกึ ไว้ด้วย เช่น กฤษณาสอน น้องคาฉนั ท์ พาลีสอนน้องคาฉันท์ สภุ าษติ พระร่วง โคลงโลกนิติ เปน็ ตน้ ๑๒๒

๕.๔.๔ จารึกเร่ืองเกี่ยวกับทาเนียบ จารึกเรื่องน้ีกล่าวถึงทาเนียบสมณศักดิ์ ทาเนียบหัวเมือง ยังมีภาพคนต่างภาษาท่ีแสดงการแต่งกายของคนชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาในยุคนั้น เชน่ ภาพคนสิงหฬ กระเหรีย่ ง มอญ จีน เป็นตน้ ๕.๔.๖ จารึกเรื่องเกี่ยวกับประเพณี ส่วนใหญ่กล่าวถึงประเพณีสาคัญ เช่น การ กวนขา้ วทพิ ย์ เร่ืองมหาสงกรานต์ เรอ่ื งร้วิ ขบวนแหพ่ ระกฐนิ พยหุ ยาตราทางสถลมารค นยิ มจารึก เป็นรอ้ ยแก้ว ๕.๔.๗ จารึกเรอ่ื งเกยี่ วกบั สุขภาพอนามัย ส่วนใหญ่กวีแต่งเป็นโคลง ไม่ทราบชื่อ ผู้แต่ง เชน่ โคลงประกอบภาพฤาษีดัดตน ท่ีใช้แก้โรคลมต่าง ๆ ๕.๔.๘ จารึกเรื่องเก่ียวกับยา จารึกน้ีจารึกเป็นตารายาแผนโบราณ ของแพทย์ หลวง มกี ารจารกึ มาแต่ครง้ั สมัยรัชกาลท่ี ๑ แล้ว แตไ่ ด้มาแตง่ ต่อเตมิ ข้นึ จะเห็นว่า สังคมและวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเข้าสู่ความสงบ เรยี บรอ้ ยตามลาดบั ปรากฏปรมิ าณของกวแี ละวรรณคดจี านวนมาก พระมหากษตั รยิ ท์ งั้ ๓ รัชกาล เป็นองค์อุปถัมภกวรรณคดี ส่งเสริมให้มีการแต่งและอนุรักษ์วรรณคดี รวมถึงมีงานพระราชนิพนธ์ ของพระองคเ์ องดว้ ย ถอื วา่ วรรณคดใี นยคุ ตน้ รตั นโกสินทร์น้ี เป็นวรรณคดีคู่บ้านคู่เมือง และรุ่งเรือง ไม่น้อยกว่าสมัยใด ๆ วรรณคดีในสมัยนี้ยังคงเน้ือหาและรูปแบบตามขนบวรรณคดีไทย ก่อนท่ี วรรณคดีจะได้รบั อิทธิพลจากตะวนั ตกในสมยั รชั กาลท่ี ๔ เปน็ ตน้ ไป ๕.๒ กวีและวรรณคดีสาคญั สมัยรชั กาลท่ี ๑ กวแี ละวรรณคดสี าคัญในสมัยรัชกาลท่ี ๑ มดี ังน้ี พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มบี ทพระราชนพิ นธ์ ได้แก่ ๑) เพลงยาวนริ าศรบพมา่ ทท่ี า่ ดินแดง ๒) บทละครเรอ่ื งอุณรุท ๓) บทละครเรอื่ งรามเกียรติ์ ๔) บทละครเรอื่ งดาหลัง ๕) บทละครเร่อื งอเิ หนา ๖) กฎหมายตราสามดวง สมเด็จกรมพระราชวงั บวรมหาสุรสงิ หนาท ได้แก่ ๑) นิราศกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จไปปราบพม่าเมือง นครศรธี รรมราช ๒) เพลงยาวถวายพยากรณเ์ มื่อเพลงิ ไหม้พระทนี่ ่ังอมรนิ ทราภเิ ษกมหาปราสาท ๓) เพลงยาวนริ าศเสดจ็ ไปตเี มอื งพมา่ ๑๒๓

สมเดจ็ เจา้ ฟา้ กรมหลวงอนรุ ักษ์เทเวศน์ (กรมพระราชวงั หลงั ) ไดแ้ ก่ ไซฮ่นั พระองค์เจา้ หญิงกัมพุชฉัตร ได้แก่ นิพพานวงั นา่ เจา้ พระยาพระคลงั (หน) ได้แก่ ๑) ราชาธริ าช ๒) สามกก๊ ๓) สมบัติอมรนิ ทร์คากลอน ๔) กากคี ากลอน ๕) โคลงลลิ ติ พยุหตราเพชรพวง ๖) ลิลติ ศรีวชิ ยั ชาดก ๗) ร่ายยาวมหาเวสสนั ดรชาดกกณั ฑ์กุมารและกณั ฑ์มทั รี ๘) กลอน (และร่าย) จารกึ เรอ่ื งภูเขาวัดราชคฤห์ ๙) โคลงสุภาษิตและเพลงยาวตา่ ง ๆ พระธรรมปรีชา (แก้ว) ไดแ้ ก่ ๑) ไตรภูมโิ ลกวินิจฉยกถา ๒) รตั นพมิ พวงส์ ๓) มหาวงส์ พระเทพโมลี (กล่ิน) ไดแ้ ก่ ๑) รา่ ยยาวมหาเวสสนั ดรชาดกกัณฑ์มหาพน ๒) มหาชาตคิ าหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๓) นิราศตลาดเกรยี บ สมเดจ็ พระวันรัต ไดแ้ ก่ ๑) สังคตี ยวงส์ ๒) มหายุทธการวงส์ ๓) จุลยุทธการวงส์ เจ้าพระยาพพิ ิธชัย ได่แก่ พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนมุ าศ พระชานโิ วหาร ได้แก่ โคลงสรรเสริญพระเกยี รติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จฬุ าโลก ไม่ปรากฏนามผู้แตง่ ไดแ้ ก่ นทิ านอิหรา่ นราชธรรม ในท่ีน้ี จะขอยกวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สาคัญมากล่าวไว้เพียงบางเรื่อง โดยสงั เขป ดังนี้ ๑๒๔

๕.๒.๑ บทละครเรอ่ื งรามเกียรติ์ เร่ืองรามเกียรติ์ มีต้นเค้ามาจากเรื่องมหากาพย์รามยณะของอินเดีย มีปรากฏ หลักฐานทางลายลกั ษณ์อักษรตง้ั แต่สมยั อยุธยาและธนบรุ ีแลว้ แต่ตน้ ฉบบั ไม่ครบถว้ น ต่อมารชั กาล ที่ ๑ จึงพระราชนิพนธ์ทั้งเร่ืองจนเป็นเล่มสมบูรณ์ โปรดให้เป็นเร่ืองสาหรับอ่านมากกว่าเอามา แสดงเหมือนอย่างแต่ก่อน รัชกาลท่ี ๑ รับสั่งให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งเรื่องข้ึน ใหม่ โดยมพี ระองคเ์ ป็นองค์ประธาน บางตอนพระราชนิพนธเ์ องดว้ ย ตอนท้ายเรื่องมีโคลงสี่สุภาพจานวน ๑ บท บอกเวลาท่ีแต่งไว้อย่างชัดเจน ว่าพระ ราชนิพนธ์ในวันจันทร์ เดือนอ้าย ข้ึน ๒ คา จุลศักราช ๑๑๕๙ ปีมะเส็ง นพศกตรงกับ พ.ศ.๒๓๔๐ อันเป็นปีท่ี ๑๕ ในรัชกาลของพระองค์ ผู้แตง่ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก รว่ มกับนักปราชญร์ าชบัณฑิต ลักษณะการแต่ง กลอนบทละคร วตั ถุประสงคใ์ นการแตง่ สันนิษฐานกนั ว่า เพือ่ เฉลมิ พระเกียรติพระมหากษตั ริย์ ตามราชประเพณีท่ีถือเอาความมั่นคงทางวัฒนธรรมเป็นความมั่นคงของแผ่นดิน เพ่ือรวบรวม วรรณคดอี ันเปน็ มรดกทางวฒั นธรรมของชาติไว้เปน็ วรรณคดีค่บู ้านคู่เมอื ง และเพ่ือความบนั เทิงของ ผ้อู า่ น เน้อื เรอื่ งยอ่ เร่ืองเกิดจากเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐม์ สี บิ หน้ายส่ี ิบมือตาม คาพระนารายณ์ ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้นพระนารายณ์จึงไปเกิดเป็นพระราม จักรของ พระรามเปน็ พระพรต พระยาอนันตนาคราชเป็นพระลกั ษณ์ คทาเป็นพระสัตรุต พระลักษมีเสด็จ ลงมาปฏิสนธิเป็นนางสีธดิ าทศกัณฐ์ พระรามมีทหารเอกทัง้ หา้ ไดแ้ ก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตรา วุธของพระอิศวรไปอย่ใู นครรภน์ างสวาหะ สุครีพเกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคาสาปฤๅษีท่ีเป็นพ่อ ของนางสวาหะ องคตเป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพ ชมพูพานเกิดจากการชุบเลี้ยงของพระ อนิ ทร์ นิลพทั เปน็ ลูกของพระกาฬ ทหารเอกทงั้ ห้านีค้ อยช่วยเหลอื พระรามอยตู่ ลอด ฝา่ ยพระราม หลงั จากอภิเษกกับนางสดี าแล้ว ทศกัณฐ์ลักเอานางสีดาไป จากนั้นจึงเกิดศึกชิงนางสีดา จนไพล่พล ฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจานวนมาก และสุดท้าย ทศกัณฐ์ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน พระรามกับ นางสดี าจงึ ครองอโยธยาเปน็ สขุ สบื มา ตัวอย่าง ตอนกุมภกรรณลบั หอกโมกขศกั ดิ์ ตอนน้ีบอกชือ่ เพลงโอดไว้ด้วย ดังนี้ ฯ๒คาฯ โอด เม่ือนน้ั ทศเศียรสุรยิ วงศ์รังสรรค์ เห็นน้องทา้ วเจ็บปวดจาบลั ย์ กมุ ภณั ฑต์ ระหนกตกใจ ๑๒๕

จึ่งมีพระราชบัญชา เจา้ ผฤู้ ทธาแผน่ ดนิ ไหว ออกไปรณรงคด์ ้วยพวกภัย เหตุใดจ่ึงเปน็ ด่ังนี้ ฯ คุณค่า รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ ๑ น้ี มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในด้านเน้ือหา มี เร่ืองราวยดื ยาวติดตอ่ กันไป นับเปน็ วรรณคดีไทยเรื่องเดียวท่ียาวที่สุด เพราะต้องเขียนในสมุดไทย ถึง ๑๑๗ เลม่ วรรณคดีสโมสรยกย่องวา่ เปน็ ยอดแหง่ รามเกยี รติ์ เพราะเก็บความไดล้ ะเอียดครบถว้ น กว่าฉบับอื่น ๆ การพรรณนาก็แจ่มแจ้งชัดเจน แม้จะมีการสันนิษฐานกันว่า พระราชนิพนธ์มา เพื่อสาหรับอ่านและเป็นวรรณคดีคู่บ้านคู่เมือง แต่สามารถนามาปรับปรุงเป็นบทสาหรับการเล่น ละครได้ด้วยเช่น ดังจะเห็นว่า รูปแบบเป็นกลอนบทละคร มีท่าราบอกถึงเรื่องราวตามบทร้อง มี บอกเพลงประกอบ เช่น เพลงช้า กราวนอก เสมอ โอด เป็นต้น ซึ่งเปน็ ลักษณะของละครไทย อย่างไรก็ดี มีขอ้ น่าสงั เกตว่า รามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ ๑ น้ี มีเนื้อหความไม่ตรงกับ รามายณะหลายตอน เช่น การลาดับเร่ืองไม่ตรงกัน รามายณะฉบับสันสกฤตต้ังต้นแต่พิธีกวนข้าว ทพิ ย์ ส่วนของไทยเรมิ่ แตห่ ริ ญั ยักษม์ ้วนแผน่ ดิน ช่ือตวั ละครไม่ตรงกนั มีตรงกนั คอื ชอื่ ของพระราม กับนางสีดาเท่าน้ัน วัตถุประสงค์ในการแต่งแตกต่างกัน รามายณะใช้เพ่ือยกย่องสรรเสริญเทพคือ พระนารายณ์ สว่ นรามเกยี รต์ไิ ทยใช่เล่นละครกนั อย่างสนกุ มากกว่า ๕.๒.๒ เพลงยาวนิราศรบพมา่ ทท่ี า่ ดนิ แดง ตน้ กรุงรัตนโกสินทรย์ งั คงมีสงครามกบั พม่าตดิ พนั อยู่ รัชกาลที่ ๑ ทรงกรีฑาทัพไป ปราบที่ทา่ ดินแดง จังหวดั กาญจนบรุ ี ในปี พ.ศ.๒๓๒๙ โดยเสด็จไปพร้อมกับพระอนุชาธิราช ไทย เข้าโจมตพี ม่าใชเ้ วลา ๓ วัน จึงชนะ ซึ่งนบั เปน็ ชัยชนะครงั้ ใหญ่ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลก ลักษณะการแต่ง กลอนเพลงยาว วัตถุประสงค์ในการแต่ง บันทึกเหตุการณ์และการเดินทาง และเพ่ือบรรเทา ความเหน่อื ยหนา่ ยขณะเดนิ ทาง เนือ้ เรื่องย่อ พรรณนาถึงนางอันเป็นที่รักพร้อมกับพรรณนาถึงตาบลหรือสถานท่ี ตามเส้นทางเสด็จพระราชดาเนินทางชลมารค ผ่านคลองด่าน มหาไชย สมุทรสาคร ราชบุรีถึงไทร โยค และเดนิ เท้าตอ่ จนถึงด่านทา่ ขนนุ ตงั้ ค่ายตามเชิงเขา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงให้ทหารทั้งลาว มอญ เขมร และไทยโจมตีทัพพม่าที่ท่าดินแดง ทหารเข้ารบพุ่งเป็น เวลาสามวันทัพพม่าก็แตกพ่าย ทหารพม่าล้มตายเป็นจานวนมาก ทรงให้ติดตามพม่าที่หลบหนีไป จนถึงลานา้ แม่กษัตริย์ การสงครามท่ที ่าดินแดงจงึ ยตุ ลิ ง ตวั อยา่ ง ๑๒๖

ถงึ ทา่ ราบเหมอื นพ่ที าบทรวงถวลิ ย่ิงโดยด้นิ โหยหวนครวญกระสนั ดว้ ยไดท้ ุกขฉ์ กุ ใจมาหลายวัน จนบรรลเุ จด็ เสมยี นตาบลมา ลาลาจะใคร่เรียกเสมยี นหมาย มารายทุกขท์ ่ีทุกขค์ ะนึงหา จึงรีบเรง่ นาเวศครรไลคลา พอทวิ ากรเย้ืองจะสายัณห์ กล็ ุถึงวังศาลาทา่ ลาด ชายหาดทรายแดงดงั แกล้งสรร จึงประทับแรมรัง้ ยังทนี่ ้ัน พอพักพวกพลขันธใ์ ห้สาราญ พร่ังพร้อมล้อมวงเปน็ หมู่หมวด ชาวมหาดตารวจแลทวยหาญ เฝ้าแหนแน่นนนั ต์กราบกราน นุ่งหม่ สะคราญจาเรญิ ตา ตา่ งว่าจะเข้าโหมหกั ศึก หา้ วฮกึ ขอขันอาสา ไมค่ ดิ กายขอถวายชีวา พรอ้ มหน้าถว้ นทว่ั ทกุ ตวั ไป คุณค่า นิราศเร่ืองนี้ถึงว่าเป็นนิราศเรื่องแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ท่ีแต่งด้วย กลอนเพลงยาว โดยเป็นฝีพระหัตถ์ของรัชกาลที่ ๑ ตลอดท้ังเร่ือง เป็นเพลงยาวที่คร่าครวญแสดง ความอาลัยตามขนบนริ าศ ๕.๒.๓ กฎหมายตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดให้ชาระกฎหมายเก่า ท่ีมีมาแต่ ครั้งอยธุ ยา แล้วรวบรวมเปน็ ประมวลกฎหมายข้ึนเมื่อ จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๗ โดย ให้อาลักษณ์เขียนลงในสมุด ๓ ฉบับ โปรดให้เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง โดยประทับตรา ๓ ดวงไว้ คอื ตราพระราชสหี ์ สาหรบั ตาแหนง่ สมุหนายก ตราพระคชสีห์ สาหรับตาแหน่งสมุหพระ กลาโหม และตราบัวแกว้ สาหรับตาแหนง่ โกษาธบิ ดี หมายถงึ พระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้าน ต่างประเทศไว้ โปรดให้เก็บรักษาไว้ที่ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหน่ึง และศาลหลวงสาหรับ ลูกขุนอีกชุดหนึ่ง กฎหมายตราสามดวงน้ีใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต้ังแต่สมัย รชั กาลท่ี ๑ – รัชกาลที่ ๕ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้า ฯ ให้อาลักษณ์ ลกู ขนุ ราชบณั ฑิต รวม ๑๗ คน ชว่ ยกนั รวบรวม ลกั ษณะการแต่ง รอ้ ยแก้ว บางตอนมีคาถาบาลีแทรก วตั ถุประสงคใ์ นการแตง่ เพ่ือชาระตวั บทกฎหมายและพระอัยการเก่าเสยี ใหม่ให้ ถูกตอ้ งยตุ ิธรรม ๑๒๗

เนื้อเรื่องยอ่ สาระสาคญั ของกฎหมายตราสามดวงประกอบดว้ ยสว่ นตา่ ง ๆ รวม ๒๖ สว่ น อาทิ ประกาศพระราชปรารภคือ การประกาศถึงเหตุผลและความจาเป็นในการรวบรวม ชาระสะสางตัวบทกฎหมายตา่ งๆ ทใ่ี ชบ้ ังคบั อยู่ในขณะน้นั นามารวมเข้าไวเ้ ปน็ กฎหมายตราสามดวง เพื่อใช้เป็นหลกั ในการ อานวยความยตุ ิธรรมให้แก่ราษฎร พระธรรมศาสตร์ กล่าวถงึ การวางบทบญั ญัตทิ ี่เปน็ หลกั การในการปฏิบตั หิ น้าทข่ี อง ผู้เปน็ ผู้พิพากษาตุลาการ ในการตัดสินคดีข้อพิพาทท้ังหลายของราษฎร โดยผู้ท่ีเป็นผู้พิพากษาตุลา การทด่ี ี ต้องเปน็ ผทู้ ม่ี ีความรแู้ ตกฉานในข้อกฎหมาย และรู้เทา่ ทันข้อเทจ็ จริง หลักอินทภาษ เป็นการวางหลักธรรมในการดารงตนและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ พพิ ากษาตลุ าการว่า ผู้พพิ ากษาตลุ าการตอ้ งพิจารณาตดั สนิ อรรถคดดี ว้ ยความเทย่ี งธรรม ปราศจาก ความลาเอียงเขา้ ขา้ งฝ่ายใด กฎมนเทียรบาล เนื้อหาโดยรวมของกฎมนเทียรบาลตามกฎหมายตราสามดวง เป็นบทบัญญัติต่างๆ เก่ียวกับพระราชฐานพระราชวงศ์ การถวายความปลอดภัยแด่องค์ พระมหากษตั ริย์และพระราชวงศ์ และเร่ืองอน่ื ๆ ที่เกย่ี วข้อง พระธรรมนญู กฎหมายลกั ษณะพระธรรมนูญตอนต้น บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ทว่ี ่าด้วยเขตอานาจศาลตา่ งๆ ในการพิจารณาพพิ ากษาคดีแตล่ ะประเภท ตลอดจนอานาจหน้าทข่ี อง ขนุ นางตาแหน่งตา่ ง ๆ ท่ที าหนา้ ทเี่ ปน็ ผ้พู ิพากษาตลุ าการ คุณค่า กฎหมายตราสามดวงถือเป็นกฎหมายสาคัญที่ช่วยในการปกครอง บ้านเมือง เปน็ เครื่องมอื ใหน้ ักนติ ิศาสตร์ นกั ประวตั ิศาสตร์ ใช้ศกึ ษาคน้ คว้าเรื่องทางกฎหมายและ ประวัติศาสตร์ได้ และแม้จะเป็นเรื่องทางกฎหมายแต่ยังมีการใช้สานวนภาษาท่ีมีความไพเราะ กฎหมายตราสามดวงน้ีถึงว่าเป็นกฎหมายที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของกรุง รตั นโกสนิ ทรแ์ ละยังปรากฏให้เหน็ ในปจั จุบัน ๕.๒.๔ ราชาธริ าช ราชาธิราช เป็นหนังสือท่ีมีต้นเร่ืองจากพงศาวดารมอญ รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้แปลและเรียบเรียงข้ึนเพื่อสืบทอดตามพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้างหนังสือให้คงมีไว้เป็น ตน้ ฉบับสาหรบั พระนคร โดยใหก้ วีราชสานัก ๔ คน คือ เจา้ พระยาพระคลงั (หน) เมอ่ื ครัง้ เป็นพระ ยาพระคลงั พระยาอนิ ทรอคั คราช พระภริ มรศั มี และพระศรภี รู ิปรีชา ช่วยกันแปลและเรยี บเรยี งขนึ้ เมื่อปีมะเส็ง ปี พ.ศ.๒๓๒๘ เรื่องราชาธิราชน้ีได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเม่ือ พ.ศ. ๒๔๒๓ โดยหมอบรดั เลย์เปน็ ผู้นาตน้ ฉบับท่สี มบูรณ์มาพิมพ์จาหนา่ ย ๑๒๘

ผแู้ ตง่ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อครั้งเป็นพระยาพระคลัง พระยาอินทรอัคค ราช พระภิรมรศั มี และพระศรีภูรปิ รชี า ชว่ ยกันแปลและเรยี บเรยี งขึ้น ลักษณะการแต่ง รอ้ ยแกว้ วตั ถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ เพื่อเป็นคตใิ นการบารุงสติปัญญาแกผ่ อู้ ่าน เนื้อเร่ืองย่อ ช่วงต้นกล่าวถึงเหตุความเป็นมาของการแปลเรื่องราชาธิราช โดย บอกว่าแปลเพราะอะไร และผู้แปลเป็นใคร จากน้ันจึงเข้าเรื่องราชาธิราช โดยเน้ือหาแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ พระเจ้าฟา้ รั่ว ตอนท่ี ๒ พระเจา้ ราชาธิราช และตอนท่ี ๓ พระเจ้าหงสาว ดมี หาปฎิ กธรา ตอนพระเจ้าฟ้าร่ัว เร่ิมต้นด้วยการกล่าวถึงการสร้างเมืองเมาะตะมะต้ังแต่สมัย พุทธกาล พระมหากษัตรยิ พ์ ุกามพระองคห์ นึ่งช่อื พระเจ้าอลงั คจอสไู ดม้ าสร้างเมืองเมาะตะมะขึ้น ณ ปา่ แหง่ น้นั ตามพุทธทานาย พระเจา้ อลงั คจอสูทรงให้อลมิ ามางเปน็ เจา้ เมือง ฝา่ ยสมณเทวบุตรได้จตุ ิ ลงมาเป็นชาวเกาะวาน แขวงเมืองเมาะตะมะ ชื่อว่ามะกะโท เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี มะกะโทได้คุม บริวารมาคา้ ขายท่ีเมืองสุโขทัย ระหว่างเดนิ ทางเกดิ นมิ ิตแก่มะกะโทวา่ จะไดเ้ ป็นใหญใ่ นภายหนา้ มะ กะโทจึงมาฝากตัวอยู่กับนายช้างเมืองสุโขทัย ต่อมาเมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้ทรงประ จักษ์ถึง สติปญั ญาของมะกะโทจึงทรงชุบเล้ียงจนได้เป็นขุนวัง มะกะโทได้ลอบรักกับนางเทพสุดาสร้อยดาว พระราชธิดาของสมเด็จพระร่วงเจ้าแล้วเกรงความผิดจึงพาพระราชธิดาหนีกลับไปเมืองวาน ผู้คน เห็นว่ามะกะโทมีวาสนาบารมีจึงพากันมาสมัครเป็นพวกพ้อง มะกะโทคิดการจะเป็นใหญ่จึงยก น้องสาวคือนางอุ่นเรือนให้เป็นภรรยาของอลิมามาง ต่อมามะกะโทมีบริวารมากขึ้น อลิมามางเกิด ระแวงจงึ คดิ อบุ ายฆ่า แตม่ ะกะโทซอ้ นกลจนสามารถฆ่าอลิมามางได้ มะกะโทจงึ ไดเ้ ปน็ เจา้ เมืองเมาะ ตะมะและได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระร่วงเจ้าว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว” เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง เมืองเมาะตะมะ พระเจา้ ฟา้ รั่วไดค้ รองราชยแ์ ละสร้างความเป็นปึกแผน่ แก่เมืองเมาะตะมะ ภายหลัง เมื่อสวรรคตแลว้ มกี ษตั ริยค์ รองราชยส์ ืบต่อมาอีกหลายพระองคจ์ นถงึ สมยั ของพระเจ้ารามไตย ตอนที่ ๒ พระเจ้าราชาธิราช พระเจ้ารามไตยมีโอรสธิดา ๓ พระองค์ พระราชธิดา องค์แรกสิ้นพระชนม์ต้ังแต่ชนมายุยังน้อย พระราชธิดาองค์กลางทรงพระนามว่าวิหารเทวี แต่คน ท่วั ไปเรยี กว่า พระมหาเทวี โอรสองคส์ ดุ ท้องช่อื มุนะซงึ่ ตอ่ มาไดค้ รองราชย์ทรงพระนามวา่ พระเจ้าอู่ หรือเรียกอีกพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก พระเจ้าช้างเผือกมีโอรสธิดา ๔ พระองค์ซึ่งมีบทบาท สาคญั ในเรือ่ งราชาธริ าช คือ โอรสองค์แรกท่ีมพี ระนามว่ามงั สรุ ะมณจี ักร หรอื พระยาน้อย โอรสอกี พระองค์มีพระนามว่า พอ่ ขนุ เมือง ส่วนพระธิดา ๒ พระองค์ของพระเจ้าช้างเผือกนั้นมีพระนามว่า ตะละแม่ท้าวและตะละแม่ศรี โอรสและธิดาของพระเจ้าช้างเผือกน้ันล้วนประสูติจากต่างมารดา ๑๒๙

ทงั้ สิน้ พระยานอ้ ยนนั้ กาพรา้ มารดา พระมหาเทวีจึงทรงเลีย้ งดตู ั้งแต่เดก็ จนเจรญิ วยั พระยาน้อยได้ ลอบรกั กบั ตะละแมท่ า้ วนอ้ งสาวต่างมารดา จนมีโอรสชอ่ื พ่อลาวแกน่ ทา้ ว ส่วนตะละแม่ศรีน้ันพระ เจา้ ช้างเผอื กไดใ้ ห้อภเิ ษกกับสมิงมราหู เพ่ือตอบแทนที่บดิ าของสมิงมราหอู าสาศกึ จนตัวตาย พระเจ้าช้างเผือกไม่โปรดพระยาน้อยและไม่ประสงค์จะให้ราชสมบัติ เพราะทรง เห็นวา่ “มใี จฉกรรจ์ ไม่ศรัทธาในพระศาสนา” หวงั จะใหพ้ ่อขนุ เมืองไดค้ รองราชสมบัติต่อ แต่ต่อมา พอ่ ขุนเมืองส้ินพระชนม์ก่อน พระยาน้อยจึงเปน็ โอรสที่จะต้องครองราชย์สืบตอ่ ต่อมาพระมหาเทวีได้ลอบเป็นชู้กับสมิงมราหูจึงคิดการจะฆ่าพระยาน้อยเพ่ือให้ สมิงมราหูได้ราชสมบัติ พระยาน้อยรู้ตัวจึงหนี ทิ้งตะละแม่ท้าวและพ่อลาวแก่นท้าวไว้ที่เมืองพะโค เมื่อมีผู้ทานายว่าจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ พระยาน้อยก็ซ่องสุมหาคนมีฝีมือเป็นพวก ได้พ่อมอญ และมังกนั จีเป็นคู่คดิ และพากนั ไปตั้งตัวทเ่ี มืองตะเกงิ เมื่ออย่ทู ่ีเมอื งตะเกิงน้ันได้นางเม้ยมะนิกแม่ค้า แปง้ นา้ มนั เป็นชายา ต่อมาเม่อื พระเจ้าช้างเผือกเสด็จสวรรคต พระยาน้อยสู้รบกับพระมหาเทวีและ สมิงมราหูได้ชัยชนะขึ้นครองราชย์ ทาพิธีราชาภิเษก ทรงพระนามว่าพระเจ้าสีหราชาธิราช ทรง ครองราชย์และเปลย่ี นชอ่ื เมอื งพะโคเปน็ เมอื งหงสาวดี ทรงปูนบาเหน็จขนุ ทหารทง้ั หลายเป็นอันมาก นายทหารคใู่ จคือพอ่ มอญและมงั กันจี ได้ปนู บาเหน็จเป็นสมงิ พอ่ เพชรและราชมนูตามลาดับ เมื่อพระเจ้าราชาธิราชได้ครองราชสมบัติแล้วได้ทรงปราบเจ้าเมืองต่าง ๆ ที่แข็ง เมือง ทรงได้นายทหารท่ีมีฝีมือมาเปน็ พวกพ้องเปน็ อนั มาก มที หารคนหน่งึ ทีเ่ ข้ามาสวามภิ ักด์ิคือมะ สะลุมซึ่งต่อมาได้ยศเป็นสมิงนครอินทร์ พระเจ้าราชาธิราชทรงปกครองบ้านเมืองได้อย่างสงบ เรยี บร้อย จนถึงศักราช ๗๕๓ จงึ เกิดสงครามกับพม่าขึ้นในสมยั พระเจ้าฝรัง่ มังศรีฉวา สงครามระหว่างมอญกับพม่าในสมัยพระเจ้าฝร่ังมังศรีฉวาน้ัน เริ่มต้นด้วยพระเจ้า ฝรงั่ มังศรฉี วาซึ่งครองราชสมบตั ิ ณ กรงุ องั วะ ไดท้ ราบขา่ วว่าพระเจา้ ช้างเผือกสิ้นพระชนม์ พระเจ้า ราชาธิราชได้ครองราชสมบัติต่อ พระเจ้าฝร่ังมังศรีฉวาทรงคิดจะปราบปรามมอญเสียก่อนที่จะมี กาลังแข็งกลา้ จงึ ทรงยกทพั มาตีมอญที่เมอื งหงสาวดี พระเจา้ ราชาธิราชทรงยกทัพออกไปต้านศึกไว้ การส้รู บในคร้ังนั้นทพั ของพระเจ้าฝร่ังมังศรีฉวาพ่ายแพ้ ฝา่ ยมอญเมอ่ื เห็นวา่ พม่าพา่ ยแพ้ก็ส่งราชทูต ไปเยาะเยย้ จนในที่สดุ พระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาตรอมพระทัยสวรรคตเม่ือพระเจ้าฝรั่งมังศรีฉวาสวรรคต มังสเุ หนียดพระโอรสได้ครองราชย์ต่อมาทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกแล้วว่าพระเจ้าฝร่ังมังฆ้องหรือ เรียกอีกพระนามคือพระเจ้ามณเฑียรทอง มังศรีธาตุพระราชอนุชาคิดชิงราชสมบัติแต่พ่ายแพ้แก่ พระเจ้าฝร่ังมังฆ้อง จึงหนีไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าราชาธิราช ณ กรุงหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราช ทรงเห็นเป็นโอกาสจึงยกทัพไปตีเมืองอังวะ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องยังไม่พร้อมทาศึกจึงทรงให้ พระสังฆราชภงั คยะสะกะโรไปขอหยา่ ทัพ พระเจา้ ราชาธิราชจงึ ทรงยกทพั กลบั เมืองหงสาวดี ๑๓๐

ฝ่ายพระเจ้าฝร่ังมังฆ้องเม่ือพระเจ้าราชาธิราชทรงยกทัพกลับไปแล้วทรงคิดการทา สงครามตอบแทน โดยปราบหัวเมืองท่ีเป็นเส้ียนหนามแผ่นดินให้ราบคาบก่อน แล้วจึงส่งสารขอให้ เมอื งเชียงใหมย่ กมาชว่ ยตีกระหนาบในการทาสงครามกับมอญ แต่ทหารฝ่ายมอญจับคนเดินสารได้ ทางเมืองเชียงใหม่ไม่ได้สารจากพม่าจึงไม่ได้ยกทัพมาตามแผนของพม่า ฝ่ายเจ้าเมืองที่ถูกพระเจ้า ฝรัง่ มังฆอ้ งปราบปรามไดเ้ ขา้ มาสวามภิ ักดต์ิ อ่ พระเจ้าราชาธริ าช พระเจา้ ราชาธิราชจึงทรงถือโอกาส นั้นยกทัพไปตีหัวเมืองเหล่านั้นคืน อีกทั้งจับตัวมังกามุนีและตะละเจ้าเปฟ้า พระราชบุตรเขยและ พระราชธิดาของพระเจ้าฝร่ังมังฆ้องซึ่งอยู่รักษาเมืองตะแคงไป พระเจ้าฝร่ังมังฆ้องทรงรอไม่เห็น เมอื งเชียงใหมย่ กทพั มาชว่ ยการศกึ กท็ รงจดั ทัพให้เหล่าทหารลงมาตีเมืองหงสาวดี ฝ่ายมอญมีกาลัง น้อยกว่าแต่ก็ไดย้ กทัพออกมาสูร้ บเปน็ สามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายไป ปีตอ่ มาพระเจา้ ฝร่ังมังฆอ้ งทรงยกทพั มาตกี รุงหงสาวดีอกี ครงั้ ครงั้ น้ี นางมังคละเทวี พระอัครมเหสไี ด้ตามเสด็จด้วย พระเจ้าฝร่ังมังฆ้องแพ้ต้องล่าทัพกลับไป ขณะเดินทางกลับช้างทรง ของนางมังคละเทวีเตลดิ เขา้ ป่าไป นางมงั คละเทวไี ดท้ หารช่อื ฉางกายชว่ ยไว้ พระเจา้ ฝรง่ั มังฆ้องทรง ระแวงวา่ ฉางกายเปน็ ช้กู ับนางมังคละเทวจี งึ ทรงสั่งประหารชีวติ ฉางกาย พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีหลายคร้ัง แต่ไม่ว่ายกทัพมาตี โดยตรงหรือใช้วิธีตีหัวเมืองรายทางก็ไม่สามารถเอาชนะฝ่ายมอญได้ สุดท้ายจึงทรงเจรจาหย่าศึก สงครามระหว่างมอญและพม่าจึงสงบลงเปน็ เวลาหลายปี สงครามระหว่างมอญกับพม่าเริ่มต้นอีกครั้งเม่ือโอรสของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องคือมัง รายกะยอฉวาซึง่ เกลยี ดชังมอญได้กอ่ เหตุสงครามขนึ้ มงั รายกะยอฉวาน้ันในชาติก่อนคือพอ่ ลาวแก่น ท้าวโอรสของพระเจ้าราชาธิราชอันประสูติจากตะละแม่ท้าว พ่อลาวแก่นท้าวถูกประหารชีวิต เนอื่ งจากพระเจ้าราชาธริ าชทรงเห็นว่ากระด้างกระเด่ือง พอ่ ลาวแกน่ ทา้ วถือพยาบาทจึงอธิษฐานขอ เกดิ ใหมเ่ ปน็ โอรสของพระเจ้ากรุงอังวะเพื่อจะมาทาสงครามกับมอญ เมื่อถือกาเนิดใหม่ได้ช่ือว่ามัง รายกะยอฉวา มังรายกะยอฉวาถือเหตุท่ีประชาชนมอญและพม่าที่อาศัยตามชายแดนได้วิวาทแย่ง ชิงน้ามันดินกันก่อสงครามใหญ่ ในการสงครามมังรายกะยอฉวาไม่อาจเอาชนะมอญ แต่ก็สามารถ จบั ตัวสมิงนครอินทร์ สมงิ พระรามและชา้ งพลายประกายมาศได้ แตภ่ ายหลงั มังรายกะยอฉวาก็ถูก ฝา่ ยมอญจับและถกู ทาพธิ ีปฐมกรรม หลังจากน้ันสงครามมอญพมา่ กซ็ าลง ตอ่ มา จ.ศ. ๗๘๕ พระเจ้ากรุงตา้ ฉงิ เจา้ เมืองจีนได้ยกกองทัพมาทาสงครามกับพม่า โดยทา้ ใหพ้ ระเจา้ ฝรัง่ มังฆ้องส่งนายทหารออกไปประลองฝีมือกับกามะนีนายทหารเอกของพระเจ้า กรงุ ตา้ ฉงิ สมิงพระรามซงึ่ ถกู จองจาอยใู่ นคกุ จึงอาสาศกึ สมงิ พระรามสามารถสงั หารกามะนใี นสนาม ประลอง พระเจ้าฝรง่ั มงั ฆ้องจงึ พระราชทานพระธิดาแก่สมิงพระรามและทรงแต่งตั้งสมิงพระราม เป็นอุปราช แต่ท้ายที่สุดสมิงพระรามก็หนีกลับไปยังกรุงหงสาวดี สงครามมอญพม่าในยุคพระเจ้า ๑๓๑

ราชาธิราชกับพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องได้ยุติลง ตราบจนพระเจ้าราชาธิราชและพระเจ้าฝร่ังมังฆ้องเสด็จ สวรรคต ตอนสดุ ทา้ ยเร่ิมต้นในสมยั ของพระเจ้าแมงแรฉะวากกี ษตั รยิ พ์ ม่าและตะละนางพระ ยาท้าวกษตั รยิ ์มอญ พระเจ้าแมงแรฉวากีไดใ้ หท้ หารยกทัพมาซุ่มจับตะละนางพระยาท้าวเม่ือคราว เสดจ็ ไปนมสั การพระเกศธาตุ ณ เมอื งตะเกงิ แลว้ ทรงต้ังตะละนางพระยาไว้ทพ่ี ระอคั รมเหสี ขนาน พระนามว่าแสจาโป ต่อมาพระนางแสจาโปหนีกลับกรุงหงสาวดีได้ด้วยความช่วยเหลือของ สามเณรปิฎกธร เม่ือกลับถึงกรุงหงสาวดีพระนางจึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระปิฎกธร พระเจ้าหง สาวดีมหาปิฎกธรทรงเป็นกษัตริย์ท่ีมีพระปรีชาสามารถมากทรงได้รับการสรรเสริญจาก พระมหากษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ เพราะกษัตริย์พระองค์ใดมาทดสอบพระสติปัญญาก็ทรงชนะได้ ด้วยปัญญาเสมอ จึงทรงได้รับพระนามต่าง ๆ ว่า ปัญญาราชบ้าง พระมหาราชาธิบดีบ้าง พระราชาธิบดีบา้ ง ในสมัยที่พระเจ้าหงสาวดีมหาปิฎกธรทรงครองราชย์นี้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ตราบนน้ั มา (สุวดี ภปู่ ระดิษฐ,์ ออนไลน์) ตัวอยา่ ง ตอนสมงิ พระรามอาสา พระเจา้ ฝร่งั มงั ฆ้องได้แจง้ ในพระราชสาส์นนั้นแล้ว ก็ดีพระทัยนัก ด้วยทรงพระดาริ ว่า \"การสงครามครั้งนี้เป็นธรรมยุทธ์ใหญ่ยิ่ง สมณชีพราหมณ์ อาณาประชาราษฎรจะ มิได้ความเดอื ดรอ้ น สมควรแกพ่ ระเจา้ แผ่นดินผูต้ ง้ั อย่ใู นยุตธิ รรม\" ทรงพระดารแิ ลว้ จึงให้ พระราชทานเงินทองเส้ือผ้าแก่ผู้ถือหนังสือเป็นอันมาก แล้วให้แต่งพระราชสาส์นตอบ ฉบับหนึ่ง ให้จัดเคร่ืองราชบรรณาการ ผ้าสักหลาด ๒๐ พับ นอระมาด ๕๐ ยอด น้าดอกไม้เทศ๓๐เต้า ช้างพลายผูกเคร่ืองทองช้างหน่ึง มอบให้โจเปียวผู้จาทูลพระราช สาสน์ นากลบั ไปถวายพระเจา้ กรงุ จีนจงึ รบั สงั่ ให้ ลา่ มพม่าเขา้ มาแปล ให้เจา้ พนักงานอ่าน ถวาย ในพระราชสาส์นน้นั ตอบว่า ซ่งึ พระเจ้ากรงุ จีนมพี ระทยั ปรารถนา จะใครช่ มฝีมือ ทหารฝ่ายพม่าข่มี ้าราทวนสูก้ ัน เป็นสงครามธรรมยุทธ์นั้น เราเห็นชอบด้วย มีความยินดี ยิ่งนัก เพราะสมควรแก่พระองค์เป็นกษัตริย์ผู้ใหญ่อันประเสริฐ แต่การสงครามครั้งนี้ เป็นมหายทุ ธนาการใหญห่ ลวง จะดว่ นกระทาโดยเรว็ นั้นมไิ ด้ ของดไวภ้ ายใน ๗ วัน อน่ึง พระองค์ก็เสด็จมาจากประเทศไกล ไพร่พลท้ังปวงยังเหน็ดเหนื่อยเม่ือยล้าอยู่ ขอเชิญ พระองคพ์ กั พลทหารระงับพระกายให้สาราญพระทัยก่อนเถิด แล้วเราจึงจะให้มีกาหนด นดั หมายออกไปแจง้ ตามมีพระราชสาสน์ มานั้น พระเจา้ กรุงจีนได้แจ้งในพระราชสาส์ ตอบกลับแลว้ กด็ พี ระทัย จงึ สงั่ ใหน้ ายทัพนายกองทงั้ ปวงสงบไว้ ๑๓๒

คุณค่า เร่ืองราชาธิราชน้ีเป็นวรรณคดีแปลเรื่องแรกท่ีนาเค้าเร่ืองมาจาก พงศาวดารมอญและปรากฏหลกั ฐานทางลายลักษณอ์ ักษรมาจนถึงปจั จุบนั เร่ืองราชาธริ าชอาจมมี า แตส่ มัยอยุธยาแล้วแต่สูญหายไปเม่ือครั้งเสียกรุง เร่ืองน้ีแทรกคุณค่าสาระโดยเฉพาะสัจธรรม เช่น ความซือ่ สัตยส์ จุ ริต ความกลา้ หาญ และความจงรักภักดีท่ีผู้น้อยพึงปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ เป็นแนวทางใน การปฏิบัติและการดาเนินชีวิตของมนุษย์ได้ทุกระดับ ทั้งยังใช้ถ้อยคาภาษางดงามสละสลวย สานวนโวหารคมคายลึกซ้ึงชวนให้จดจา ทาให้เกิดความแปลกใหม่ในวงวรรณคดีไทย แม้เป็นงาน ร้อยแก้วซึ่งเป็นรูปแบบที่มีมาแล้วในอดีตแต่หากมีลักษระเฉพาะและต่างจากในอดีต ต้ังแต่เร่ิมต้น เร่อื งดว้ ยการบอกสาเหตุและจุดมงุ่ หมายในการแปล ตอนทา้ ยบอกชอื่ ผ้แู ปล แล้วจงึ เริ่มตัวเรื่อง มไิ ด้ แบง่ บทเรื่องตอน ใช้บรรยายโวหารให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดจิตนภาพตาม วรรณคดีเร่ืองน้ียังทาให้ เกดิ บทละครพันทางเรอื่ งราชาธิราช ประพนั ธโ์ ดย หลวงพฒั นพงศ์ภกั ดี (ทิม สุขยางค์) และการแปล วรรณคดีเรื่องนี้ในฉบับอ่ืน ๆ ยุคต่อมาด้วย เร่ืองราชาธิราชยังมีความโดดเด่นในเร่ืองการใช้ภาษา และการพรรณนาด้วย ดังจะเหน็ ว่านิยมใช้สานวนพรรณนาที่ประกอบดว้ ยภาพพจนต์ า่ ง ๆ ๕.๒.๕ สามกก๊ สามก๊กเป็นวรรณคดีจีนท่ีรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้า ฯ ให้แปลด้วยมีพระราชประสงค์ จะให้เป็นประโยชน์แก่ข้าราชการขุนนางทั้งปวง สามก๊กฉบับน้ีแปลมาจากสามก๊กทงซกเอี้ยนหงี หรือนิทานสามกก๊ เขียนโดย ล่อกวนตง นักเขียนจนี ในสมยั ราชวงศ์ไต้เหม็ง (พ.ศ.๑๙๑๑ – ๒๑๘๖) (ดารงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา, ๒๕๐๖, หน้า ๗) เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ท่ีใช้ เหตกุ ารณ์จริงเพียงส่วนเดยี ว ทเี่ หลือเปน็ จินตนาการของผแู้ ต่ง ผูแ้ ต่ง เจา้ พระยาพระคลงั (หน) อานวยการแปล ลักษณะการแตง่ รอ้ ยแก้ว วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือเป็นตาราการดาเนินนโยบายการเมือง ยุทธวิธี และกลสงครามตลอดจนสอนศลี ธรรม และคติการดาเนนิ ชวี ติ เนื้อเรื่องย่อ ยคุ สมัยของพระเจ้าเลนเต้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในราชวงศ์ฮ่ัน จนถึงการแย่งชิงอานาจและราชสมบัติ พระเจ้าเลนเต้ไม่ทรงตั้งตนในทศพิธราชธรรม ขาดความ เฉลียวฉลาด เชื่อแต่คาของเหล่าสิบขันที เหล่าขุนนางถืออานาจขูดรีดราษฏรจนได้รับความ เดือดร้อนไปท่ัว เกิดกบฏชาวนาหรือกบฏโจรโพกผ้าเหลืองนาโดยเตียวก๊ก หัวหน้ากลุ่มโจรโพก ผ้าเหลืองออกปล้นชิงเมืองต่าง ๆ จนเกิดความวุ่นวายไปท่ัวราชสานัก แตกแยกแผ่นดินเป็นก๊กเป็น เหล่าจานวนมาก เล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย สามพ่ีน้องร่วมคาสาบานต่างชักชวนเหล่าราษฏรจัดตั้ง เป็นกองทัพร่วมกับทหารหลวง ออกต่อสู้และปราบโจรโพกผ้าเหลืองได้สาเร็จ เล่าปี่ได้ความดี ๑๓๓

ความชอบในการปราบกบฏโจรโพกผา้ เหลืองเป็นแคเ่ พียงนายอาเภออันห้อกวน กวนอูและเตียวหุย ไม่ไดร้ บั การแตง่ ตง้ั ให้ดารงตาแหนง่ ใด ๆ ภายหลังพระเจ้าเลนเต้สวรรคต เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างพระราชโอรสทง้ั สองพระองค์แต่ตา่ งพระชนนี พระเจา้ หองจเู ปียนไดส้ ืบทอดราชสมบัตโิ ดยมี พระนางโฮเฮาผู้เปน็ มารดาเป็นผสู้ าเรจ็ ราชการแผ่นดนิ แตใ่ นราชสานกั คงเกิดความว่นุ วายจากเหล่า ขนั ที โฮจิ๋นผู้เป็นพระเชษฐาของพระนางโฮเฮาจึงวางอุบายให้ต๋ังโต๊ะมาช่วยกาจัดเหล่า ขนั ที แตข่ า่ วการกาจัดสิบขนั ทีเกิดรั่วไหล โฮจนิ๋ กลบั ถูกลวงไปฆ่าทาให้เหล่าทหารของโฮจิ๋นยกกาลัง เขา้ วงั หลวงเพื่อแกแ้ ค้นจนเกดิ จลาจลข้ึน ภายหลงั ตั๋งโต๊ะยกทพั มาถึงวงั หลวงและใชก้ ลยุทธต์ ีชงิ ตาม ไฟฉวยโอกาสในขณะที่เกดิ ความวนุ่ วายยดึ อานาจมาเปน็ ของตน สั่งถอดพระเจ้าหองจูเปยี นและปลง พระชนม์ และสถาปนาพระเจ้าหองจูเหียบขึ้นแทน ทรงพระนามว่าพระเจ้าเห้ียนเต้ และสถาปนา ตนเองเปน็ พระมหาอปุ ราช มฐี านะเป็นบิดาบุญธรรมของพระเจ้าเห้ยี นเต้ ตงั๋ โตะ๊ ถอื อานาจเป็นใหญ่ในราชสานกั สงั่ ประหารผู้ท่ีไม่เห็นด้วยกันตนเองจนเหล่า ขุนนางพากันโกรธแค้น โจโฉพยายามลอบฆ่าตั๋งโต๊ะแต่ไม่สาเร็จจนต้องหลบหนีไปจากวังหลวงและ ลอบปลอมแปลงราชโองการ นากาลงั ทพั จากหัวเมอื งตา่ ง ๆ มากาจัดตงั๋ โตะ๊ แตก่ องทพั หวั เมอื งกลับ แตกแยกกันเองจึงทาให้การกาจัดต๋ังโต๊ะล้มเหลว อ้องอุ้นจึงวางกลยุทธ์สาวงามยกเตียวเส้ียน บุตรสาวบุญธรรมให้แก่ตง๋ั โตะ๊ และลิโป้บตุ รบุญธรรม จนต๋ังโต๊ะผิดใจกับลิโป้เร่ืองนางเตียวเสี้ยน ทา ให้ลิโป้แค้นและฆ่าต๋ังโต๊ะ หลังจากตั๋งโต๊ะตาย ลิฉุยและกุยกีได้เข้ายึดอานาจอีกคร้ังและฆ่าอ้องอุ้น ตาย รวมทั้งบังคับพระเจ้าเห้ียนเต้ให้อยู่ภายใต้อานาจ สร้างความคับแค้นใจให้แก่พระเจ้าเหี้ยนเต้ เปน็ อยา่ งย่งิ จนมรี บั สงั่ ใหเ้ รยี กโจโฉมาชว่ ยกาจัดลิฉยุ กุยกีและเหล่าทหาร โจโฉเข้าปราบปรามกบฏและยดึ อานาจในวงั หลวงไวไ้ ด้ แต่เกดิ ความกาเริบเสิบสาน ทะเยอทะยานถึงกับแต่งต้ังตนเองเป็นมหาอุปราช ควบคุมพระเจ้าเหี้ยนเต้ให้อยู่ภายใต้อานาจอีก คร้งั ข่มเหงรังแกเหล่าขุนนางทส่ี ุจรติ พระเจ้าเห้ียนเตเ้ กดิ ความคบั แค้นใจจึงใช้พระโลหติ เขยี นสาสน์ ลับบนแพรขาวซ่อนไว้ในเสอ้ื พระราชทานแก่ตังสินเพ่ือให้ชว่ ยกาจัดโจโฉ โดยมีตังสินเป็นผู้รวบรวม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดีคิดกาจัดโจโฉแต่ถูกจับได้ทาให้เหล่าขุนนางถูกฆ่าตายหมด ความอสัตย์ ของโจโฉแพรก่ ระจายไปท่ัวทาใหบ้ รรดาหัวเมอื งตา่ ง ๆ พากนั แขง็ ข้อไมย่ อมข้ึนดว้ ย โจโฉจึงนากาลัง ยกทพั ไปปราบปรามได้เกอื บหมด แต่ไม่สามารถปราบปรามเล่าปี่และซนุ กวนได้ เล่าป่ีเป็นเช้ือสายราชวงศ์ฮ่ันมีศักด์ิเป็นอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้ที่มีความยากจน อนาถา มีคนดีมีฝมี อื ไวเ้ ปน็ ทหารหลายคนแต่มกี าลงั ไพร่พลน้อย ทาให้ต้องคอยหลบหนศี ัตรอู ยู่เสมอ ไม่อาจเป็นใหญ่ในแผ่นดินได้ จนได้พบกับตันฮกซึ่งต่อมากลายเป็นที่ปรึกษากองทัพแก่เล่าปี่ ภายหลงั ตันฮกถูกเทียหยกและโจโฉวางกลอุบายแย่งชิงตวั ไปจากเล่าปี่ ก่อนจากไปตันฮกได้ให้เล่าป่ี ๑๓๔

ไปเชิญขงเบ้งมาเป็นท่ีปรึกษาเพ่ือช่วยวางแผนกาลังรบ เล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งท่ีกระท่อมหญ้าถึงสาม คร้ังจึงไดข้ งเบง้ มาเป็นท่ีปรึกษาให้แก่กองทัพ และสามารถต้ังตนเป็นใหญ่ในเมืองเสฉวนได้ สาหรับ ซุนกวนเป็นเจ้าเมืองกังตั๋งโดยการสืบสกุล เป็นเจ้าเมืองท่ีมีศีลธรรม ปกครองบ้านเมืองด้วยความ ยุติธรรมจึงเป็นที่เคารพนับถือและยอมสวามิภักด์ิมากมาย ท้ังสามฝ่ายต่างทาศึกสงครามกันตลอด แต่ก็ไม่อาจเอาชนะซงึ่ กันและกนั ได้ โจโฉตัง้ ตนเป็นใหญ่ในดินแดนทางภาคเหนอื ปกครองแควน้ วยุ ซึง่ เป็นแควน้ ใหญส่ ุด มีกาลงั ทหาร ท่ีปรึกษาและกองทพั ทแ่ี ข็งแกรง่ ซนุ กวนต้ังตนเปน็ ใหญท่ างดนิ แดนทางภาคตะวนั ออก เฉียงใต้ ปกครองแคว้นงอ่ เรมิ่ จากบริเวณปากแม่นา้ แยงซเี กยี ง มีกองกาลงั ทหารจานวนมาก และเล่า ป่ีปกครองดินแดนทางภาคตะวันตก ปกครองแคว้นจ๊ก ซึ่งต่างคานอานาจซึ่งกันและกัน เป็น พันธมิตรและศัตรูกันมาตลอด โดยร่วมทาศึกสงครามระหว่างแคว้นหลายต่อหลายครั้งเช่นศึกเซ็ก เพก็ ซึง่ เปน็ การรว่ มทาศกึ สงครามระหวา่ งซุนกวนและเล่าปี่ในการต่อต้านโจโฉ ศึกหับป๋าที่เป็นการ ทาศึกระหว่างซุนกวนและโจโฉ ศึกด่านตงก๋วนที่เป็นการทาศึกระหว่างโจโฉและม้าเฉียวเป็นต้น และเมื่อโจโฉตาย โจผบี ุตรชายข้ึนครองราชสมบัติแทน สั่งปลดพระเจ้าเห้ียนเต้และสถาปนาตนเอง เปน็ จกั รพรรดิ ทรงพระนามว่าพระเจ้าเหวนิ ต้ี ก่อตงั้ ราชวงศ์ใหมค่ อื ราชวงศ์วุย เล่าปี่ซึ่งเป็นเช้ือสายราชวงศ์ฮั่นสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิสืบทอดราชวงศ์ฮั่น โดยใช้เมืองเสฉวนเป็นเมืองหลวง ซุนกวนซึ่งไม่ยอมข้ึนกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าป่ีจึงตั้งตนเองเป็น จักรพรรดิ ปกครองเมืองกังตั๋ง ทาให้ประเทศจีนในขณะนั้นแตกแยกออกเป็นสามอาณาจักรหรือที่ เรียกขานกนั ว่าสามก๊กได้แก่ฝ่ายจ๊กก๊กของเล่าป่ี วุยก๊กของโจผีและง่อก๊กของซุนกวน ภายหลังจาก เลา่ ป่สี ถาปนาตนเองเปน็ พระเจ้าฮันต๋ง ได้ใหก้ วนอูไปกินตาแหน่งเจ้าเมืองเกงจิ๋ว ซ่ึงแต่เดิมเป็นของ ซุนกวน และโลซกรับเป็นนายประกันให้แก่เล่าปี่ขอยืม โดยจะยินยอมคืนเกงจ๋ิวให้เม่ือตีได้เสฉวน ซุนกวนพยายามเป็นพันธมิตรต่อกวนอูด้วยการสู่ข่อบุตรสาวของกวนอูเพื่อผูกสัมพันธ์ แต่กวนอู ปฏิเสธการสู่ขอของจูกัดกิ๋นซึ่งรับเป็นเถ้าแก่มาเจรจาสู่ขอ จนกลายเป็นชนวนเหตุสาคัญให้ซุนกวน เป็นพนั ธมิตรต่อโจโฉ และนากาลังทหารมาโจมตเี กงจิ๋วจนกวนอพู ลาดท่าเสียทีลกซุนและลิบองด้วย กลยุทธป์ ิดฟา้ ข้ามทะเลจนเสียชีวติ การเสยี ชวี ิตของกวนอู เปน็ เหตใุ ห้พระเจ้าเล่าปี่นากาลังทหารไปโจมตีง่อกก๊ เพื่อลา้ ง แคน้ และเป็นเหตุให้เตียวหุยเสียชีวิตในเวลาต่อมา พระเจ้าเล่าปี่ถูกลกซุนเผาค่ายทหารย่อยยับจน แตกพา่ ยกลบั เสฉวน และสิน้ พระชมน์ในเวลาต่อมา ขงเบ้งเปน็ ผสู้ บื ทอดเจตนารมณ์ของพระเจ้าเล่า ปี่ในการรวมแผ่นดินให้เป็นหน่ึง โดยเปิดศึกกับแคว้นวุยมาโดยตลอด รวมทั้งทาศึกสงครามกับเบ้ง เฮ็กผู้ปกครองดินแดนทางใต้ พระเจ้าโจผี พระเจ้าเล่าป่ีและพระเจ้าซุนกวนสวรรคต เช้ือสาย ราชวงศ์เรม่ิ ออ่ นแอ สมุ าเจยี วซ่ึงดารงตาแหนง่ เปน็ มหาอปุ ราชของวุยก๊ก สามารถเอาชนะจ๊กกก๊ และ ๑๓๕

ควบคมุ ตวั พระเจา้ เลา่ เสี้ยนมาเปน็ เชลยได้สาเร็จ หลังจากสุมาเจียวตาย สุมาเอี๋ยนบุตรชายสืบทอด ตาแหน่งแทนและชว่ งชงิ ราชสมบัติของวุยกก๊ มาจากพระเจ้าโจฮวนและแต่งตั้งตนเองเป็นจักรพรรดิ กอ่ ตั้งราชวงศใ์ หมค่ อื ราชวงศ์จิ้น พระเจ้าสมุ าเอี๋ยนสามารถปราบพระเจ้าซุนโฮแห่งง่อก๊กให้ยินยอม สวามิภักด์ิได้สาเร็จ แผ่นดินจีนที่เคยแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามายาวนาน กลับรวมกันเป็น อาณาจกั รเดียวได้ดัง้ เดิม รวมเวลารบกันถงึ ๑๑๑ ปี คุณค่า เรื่องสามก๊กเป็นตัวอย่างท่ีแสดงให้เห็นอิทธิพลของวรรณคดีจาก ตา่ งประเทศทม่ี ตี ่อวรรณคดีไทย โดยเร่ืองนี้ไทยแปลมาโดยตรง มีการปรับให้สอดคล้องกับไทย ทั้ง ดา้ นเนื้อเรอื่ ง บุคลิกตัวละคร วฒั นธรรม หรือขนบทางวรรณศลิ ป์ ดา้ นสานวนภาษามักใช้ลักษณะ การบรรยายมากกว่าการพรรณนา ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะเป็นงานแปลจากพงศาวดาร สามก๊กเป็น วรรณคดีแปลเร่ืองแรก ๆ ท่ีนาพงศาวดารจีนมาแปล และเป็นอิทธิพลสาคัญต่อการแปลเร่ืองจีน ต่อมา ๕.๒.๖ สมบตั อิ มรินทร์คากลอน สมบัติอมรินทร์คากลอน ได้เค้าโครงมาจากอรรถกถาธรรมบท เดิมอยู่ในสมุดข่อย เม่ือหอพระสมุดวชิรญาณ ซ่ึงทาหน้าท่ีชาระวรรณคดีเก่า ๆ พบสมุดเล่มน้ีเข้า จึงได้นามาตีพิมพ์มี ๓๗๐ คากลอน อีก ๘๐ คากลอน เช่ือกันว่ามีผู้อ่ืนแต่งเติมข้ึนภายหลัง เน้ือหาโดยรวมพรรณนา ความวจิ ิตรอลังการของสวรรคช์ ้นั ดาวดึงส์วมิ านปราสาทและทิพยสมบัติของพระอินทร์โดยละเอียด คล้ายคลงึ กบั ในไตรภูมพิ ระร่วง เชือ่ กันว่าวา่ เจา้ พระยาพระคลงั (หน) แตง่ กอ่ นกากีคากลอน ผ้แู ต่ง เจา้ พระยาพระคลงั (หน) ลักษณะการแต่ง กลอนเพลงยาว วัตถปุ ระสงค์ในการแตง่ ใชเ้ ลา่ นิทานเรื่องพระอนิ ทร์ เนือ้ เรือ่ งยอ่ กลา่ วถงึ ความงามของสรวงสวรรค์ชน้ั ดาวดงึ ส์นน้ั โดยเรม่ิ พรรณนา ให้เหน็ สถานท่ตี ้ังและลักษณะการตั้งอยู่ของสรวงสวรรค์ช้ันดาวดึงส์ว่าลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า อยู่บน ยอดเขาพระสุเมรุท่ีเรียงรายถึงแสนลูกด้วยกัน ส่วนปราสาทเวชยันต์ท่ีสถิตของพระอินทร์นั้น เป็น ปราสาท ๗ ช้ัน พรรณนาถึงท้องพระลานทอง การบรรยายพระเจดีย์จุฬามณี ปาริกชาติ แท่นทิพ อาสนส์ ระโบกขรณี อทุ ยานนันทวัน ฯลฯ ความงามของสรวงสวรรค์ของพระอินทร์ ท่ีเจา้ พระยาพระ คลัง (หน) นิพนธ์น้ีใจความคล้ายคลึงกับไตรภูมิพระร่วง เพราะเอาเค้าความมาจากอรรถกถาธรรม บทเหมือนกันตา่ งแต่ในไตรภูมิพระร่วงเป็นความเรียง นอกจากน้ันยังมีตอนเร่ิมเรื่องของพระอินทร์ ตามนางสุชาดาความว่า นางสุชาดาเคยเป็นชายาเอกของพระอินทร์ เม่ือพระอินทร์ได้มาครอง ดาวดึงส์ นางไม่ได้กลับชาติมาเกิดเป็นชายาพระอินทร์อีก เพราะนางประกอบกรรม จึงไปเกิดเป็น ราชธิดาของอสูร ชื่อเวปจิตตาต่อมาพระบิดาได้ประกอบพิธีสยุมพรนางและเชิญอสูรหนุ่ม ๆ ให้มา ๑๓๖

เลือกคู่ พระอินทร์จึงแปลงมา ในงานน้ี นางก็เกิดความรักและตามพระอินทร์มา จึงได้กลับมาเป็น ชายาเอกของพระอินทร์อยา่ งเดมิ ตวั อย่าง การพรรณนาสถานทต่ี งั้ สวรรคช์ ้ันดาวดงึ ส์ ผ่านสมบัติในสุทัสนนคร ปา่ งองคอ์ มั เรศร์อดิศร เอาสูงพน้ื หมนื่ แสนพระเมรมุ าศ สถาวรไปด้วยทพิ ศวรรยา กว้างยาวหมื่นโยชน์คณนา เป็นอาสนท์ องรองดาวดึงสา สี่ทิศมีมหาทวาเรศ ประดับปราการแก้วแกมกัน ประตูรายหมายยอดสาคญั พัน ระหวา่ งเขตหมื่นโยชน์ระยะคนั่ มสี ระสวนทกุ หลนั่ ทวาไร ฯ ตวั อยา่ ง การพรรณนาถึงพระเจดีย์จฬุ ามณี ประดับดว้ ยราชวัตฉิ ัตรแก้ว พรายแพร้วลายทรงบรรจงสรรค์ ระบายหอ้ ยพลอยนิลสุวรรณพรรณ เจด็ ช้ันเรียงรดั สันทัดงาม ดั่งฉัตรเศวตพรหมเมศรค์ รรไลหงส์ เม่ือกัน้ ทรงพทุ ธาภิเษกสนาม ยง่ิ ดวงจันทรพ์ ันแสงสมัยยาม อร่ามทองแกมแกว้ อลงกรณ์ คุณค่า สมบัติอมรินทร์คากลอน เป็นนิทานคากลอนเรื่องแรกของไทย มีการ พรรณนาความงามโดยใช้พรรณนาโวหารดีเด่น ให้ภาพพจน์ท่ีงดงามและชัดเจน ดาเนินเรื่อง รวดเร็ว เป็นวรรณคดีร้อยกรองท่ีบรรยายเร่ืองพระอินทร์ละเอียดที่สุด แม้จะมีเร่ืองที่กล่าวถึงพระ อินทร์มาแล้ว เช่น ไตรภูมิพระร่วง แต่ไม่ละเอียดเท่า และไตรภูมิเป็นความเรียงร้อยแก้วจึงมีรส วรรณคดไี ม่เท่ากับเรอ่ื งสมบตั อิ มรนิ ทรค์ ากลอน ๕.๒.๗ กากีคากลอน กากีคากลอนรู้จักกันแพร่หลายต้ังแต่สมัยอยุธยา แต่เดิมใช้ร้องมโหรี ต่อมามีการ แกไ้ ขเปลยี่ นแปลงเพอ่ื ให้เหมาะสมแกก่ ารทจ่ี ะนาไปขับร้องเขา้ ทานองเพลงตา่ ง ๆ ผแู้ ตง่ เจา้ พระยาพระคลงั (หน) ลกั ษณะการแต่ง กลอนสุภาพ วตั ถุประสงค์ในการแต่ง เพือ่ ขับร้องในการบรรเลงมโหรี เนือ้ เรอื่ งยอ่ เร่อื งกากคี ากลอนเรมิ่ ดว้ ยการกลา่ วถงึ อดีตชาตขิ องพระโพธสิ ัตว์ที่ เป็นพญาครุฑแล้วจึงเล่าชาดกเร่ืองน้ีว่า ท้าวพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีมีพระมเหสีชื่อกากี นางมี ๑๓๗

รูปงาม มีกลิน่ กายหอมฟุ้งดงั่ ดอกไมท้ ิพย์ ชายใดได้สัมผัสกล่ินกายนางก็จะติดกายชายนั้นนานไปถึง เจด็ วนั ทา้ วพรหมทัตจงึ สเิ น่หานางยิ่งนัก ท้าวพรหมทัตโปรดเล่นสกาเป็นที่สุด บางครั้งเล่นจนลืมวันลืมคืน ครั้ง หนึ่งนางกากีไม่เห็นเสด็จมาหาดังเคยก็สงสัย นางกากีจึงมาแอบดูและได้สบเนตรกับมาณพหนุ่มท่ี กาลังทรงสกากับทา้ วพรหมทัต เกดิ ความปฏพิ ทั ธ์ซึ่งกนั และกัน ส่วนมาณพหนุ่มคือพญาครุฑแปลง กา เมอ่ื ถึงเวลาพลบค่ากล็ าท้าวพรหมทตั แลว้ คนื รปู เปน็ พญาครฑุ ดังเดมิ บันดาลใหเ้ กดิ พายุใหญ่แล้ว บินมาอ้มุ นางกากีไปเสพสขุ อยู่ ณ วมิ านฉิมพลี ส่วนทางเมืองพาราณสี หลังจากเกิดมหาพายุแล้วนางกากีหายไป ท้าว พรหมทตั โทมนัสพระทัยยิ่งนัก ทรงคร่าครวญถึงนางจนสลบ เมื่อฟ้ืนคืนสติคนธรรพ์พ่ีเลี้ยงทูลเล่า ว่าได้เห็นนางกากีกับมาณพหนุ่มสบเนตรกัน ต่อมาเกิดความโกลาหลบนฟ้าแล้วนางก็หายไป ชะรอยวา่ พญาครฑุ จะแปลงกายมาลักพานางไป จงึ ขออาสาไปสืบหาความจรงิ เจ็ดวันต่อมาพญาครุฑแปลงกายเป็นมาณพหนุ่มมาเล่นสกากับท้าว พรหมทัตตามปกตเิ พื่อกลบเกลือ่ นพิรุธ เมื่อพญาครุฑกลับ คนธรรพก์ ็แปลงเป็นไรแทรกขนพญาครุฑ ไปยังวิมานฉิมพลี คร้ันรุ่งเช้าพญาครุฑออกไปเที่ยวป่าหิมพานต์ ไรก็คืนร่างเป็นคนธรรพ์ดังเดิม นางกากีเห็นคนธรรพ์ก็ถามถึงท้าวพรหมทัต คนธรรพ์แสร้งโกหกว่าพระองค์มิได้ทรงอาลัยอาวรณ์ นางแต่อย่างใด แต่ตนต่างหากคือผู้ที่เป็นทุกข์จึงมาตามหานางด้วยความรัก ครั้นคนธรรพ์เล้าโลม นางก็ยนิ ยอมพรอ้ มใจ ถงึ เวลาเยน็ พญาครุฑกลบั มา คนธรรพ์ก็หลบซอ่ นตวั เป็นเช่นน้ีจนครบ ๗ วัน เม่อื พญาครุฑถึงกาหนดลงเล่นสกากับท้าวพรหมทัต คนธรรพ์ก็แปลงกายเป็นไรแทรกขนพญาครุฑ กลบั ไปด้วย ท้าวพรหมทัตทรงเล่นสกากับพญาครุฑร่างแปลงอย่างเป็นปกติ ครั้นเม่ือ พญาครฑุ กลบั ไปจงึ ได้สบื สาวความจรงิ คนธรรพ์เลา่ โดยเบยี่ งเบนความจรงิ วา่ ตนไดพ้ บนางกากี แต่ นางไม่ยินดียินร้าย และเกรงว่านางจะบอกพญาครุฑ จึงต้องปิดปากนางโดยอยู่ร่วมกับนาง ท้าว พรหมทัตเสียพระทัยยิ่งนัก แต่ก็ไม่ปรารถนาจะจองเวร ขอแต่ให้คนธรรพ์ช่วยให้ได้นางกากี กลบั คืนมา เมอ่ื ครบกาหนดอีก ๗ วันต่อมา พญาครุฑมาเลน่ สกาตามเคย คนธรรพ์ได้บรรเลงพิณ ขับร้องเพลงท่ีมีเน้ือหาเสียดเย้ยเกี่ยวกับกล่ินกายของกากี พญาครุฑจึงรู้ความจริง รู้สึกท้ังสลดใจ และเสียหน้าเสียเชิงชาย รีบลากลับมาเค้นถามแต่นางไม่ยอมรับ พญาครุฑจึงอุ้มนางมาวางไว้ที่ หน้าพระลานเมืองพาราณสี และกลา่ วตัดขาดจากนางอยา่ งสน้ิ เยอ่ื ใย ฝ่ายทา้ วพรหมทัตเมอื่ เห็นนางกากีก็ตรัสเสียดสีเย้ยหยันนางอย่างสาแก่ใจ สว่ นนางกากีทลู ความเท็จจนทา้ วพรหมทัตกรวิ้ จึงให้ลอยแพนางกากีไปเสีย เพราะสตรีเย่ยี งนางถ้า เล้ยี งไว้ก็หนกั แผ่นดนิ (บุญหลง ศรีกนก, ออนไลน)์ ๑๓๘

ตวั อยา่ ง การพรรณนาเมอื งของพระเจ้าพรหมทตั และความงามของนางกากี มเหสี ยงั มรี าชบรมพรหมทัต ผ่านสมบัตกิ รงุ แก้วพาราณสี เป็นปฐมบรมราชธานี ศรสี นกุ สขุ เกษมศวรรยา กว้างใหญ่ยาวได้สบิ สองโยชน์ พลโจษจตุรงคส์ ังขยา หม่ืนเมืองเล่ืองพระเดชเดชา ระอาออกออ่ นเกลา้ มาอภิวนั ท์ เธอมอี งคอ์ ัคเรศวไิ ลลักษณ์ ประไพพักตรง์ ามเพยี งอัปสรสวรรค์ ช่ือกากศี รวี ลิ าศด่งั ดวงจันทร์ เนอื้ นัน้ หอมฟ้งุ จรุงใจ เสมอเหมอื นกล่ินทิพมณฑาทอง ผู้ใดตอ้ งสัมผสั พิสมยั กล่ินกายติดชายผนู้ น้ั ไป กน็ ับไดถ้ งึ เจด็ ทิวาวาร ตัวอย่าง วรรคทองที่มาจากเร่ืองกากี ตอนคนธรรพ์ขับร้องเสียดเย้ยพญาครุฑ เกี่ยวกับ ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งตนกบั นางกากี ร่นื รืน่ ช่ืนจติ พ่ีจาได้ เหมอื นเม่ือไปร่วมภริ มยป์ ระสมศรี ในสถานพมิ านสิมพลี กลน่ิ ยงั ซาบทรวงพีท่ ้ังวรกาย นิจจาเอย๋ จากเชยมาเจด็ วนั กลิ่นสคุ นั ธรสร่ืนกเ็ หอื ดหาย ฤาว่าใครแนบน้องประคองกาย กล่นิ สายสวาทซาบอุรามา คุณค่า กากีคากลอน ได้รับการยกย่องว่าเป็นร้อยกรองช้ินเอกเรื่องหนึ่งของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) โดยมโี วหารกวีเป็นเลิศ วรรณคดีเร่ืองกากีมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา คือมีบท เห่เรื่องกากี ของเจา้ ฟ้าธรรมธิเบศร์ ซึ่งทรงนิพนธ์ขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ต่อมา ในรัชสมยั พระบาทสมเดจ็ พระน่งั เกล้าเจ้าอยู่หัว มีผู้แต่งเรื่อง กากีลิลิต ข้ึนเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๖๘ แตก่ ากีสานวนของเจา้ พระยาพระคลงั (หน) แพรห่ ลายมากที่สดุ ๕.๒.๘ ไตรภูมิโลกวนิ ิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ทั้ง สองฉบับน้ีมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า บางท่านอาจ เรยี กวรรณคดีเรอ่ื งนว้ี ่าเตภูมกิ ถา ไตรภูมกิ ถา ไตรภมู วิ ินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวนิ ิจฉยั ไตรโลกวินิจ ฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง ไตรภูมิฉบับน้ี รัชกาลท่ี ๑ โปรดให้พระยาธรรมปรีชา จางวางราช ๑๓๙

บัณฑิต เจ้ากรมอาลกั ษณ์ เป็นแม่งานในการปรบั ปรงุ แกไ้ ขจนเสร็จ เดมิ ตน้ ฉบบั เป็นหนังสือตัวเขียน จารลงในคัมภีรใ์ บลาน ผู้แตง่ พระยาธรรมปรชี า (แกว้ ) ลักษณะการแต่ง รอ้ ยแก้ว มคี าถากอ่ นแล้วจงึ เป็นรอ้ ยแก้ว วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือปรับปรุงเร่ืองไตรภูมิท่ีมีผู้แต่งไว้ก่อนให้มีสานวน เสมอกัน และถกู ต้องตามบาลี เนือ้ เร่ืองย่อ ไตรภมู ิโลกวนิ จิ ฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซ่ึงหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนท่ีเรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นท่ีอยู่อาศัยของ สตั ว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตยด์ วงจนั ทรเ์ น้ือความของไตรภมู ิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น ๘ ภาค คอื โอกาสวนิ าสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลก กถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา (วิพุธ โสภวงศ์, ออนไลน์) ตัวอย่าง การพรรณนาถงึ กเิ ลสของมนุษย์ ในคัมภีร์โลกสัณฐาน แลโลกทีปกสาร แลสารสังคหะนั้นว่า เมื่อคนทั้งหลายแบ่ง ขา้ วสาลอี อกเปน็ ส่วน ๆ แลว้ แลต่างเลยี้ งชีวติ นั้น อญญฺ ตโร โลภชาตโิ กยงั มบี ุรุษหนึง่ เปน็ ชาติคนโลภมักได้ใคร่มี ส่วนของตนนั้น ตระหน่ี กลัวจะหมดส้ินไป สกฺภาค บริรกฺขนฺโต ส่วนของตนนั้นรักษา ไปลักเก่ียวลักตัดข้าวสาลีท่ีเป็นส่วนของผู้อ่ืนมาบริโภค ปริภา เสฺตวา บุคคลผูเ้ จา้ ของนนั้ ครน้ั จับได้ก็ตดั พ้อตอ่ วา่ สน้ิ วาระสองครง้ั คร้ันจับได้ในวาระคา รบสาม บางคนก็ตีด้วยมือ บางคนก็ตีด้วยไม้ บางคนก็ท้ิงด้วยก้อนดิน ตโต ปฏฐาย จับเดิมแต่ขึ้นมา อิทินนาทาน ก็ปรากฏในโลก ถ้อยคาติเตือนนินทาและคามุสาโกหก มายา แลกริยาท่กี ระทาโทษโบยตีกันนั้น ก็ปรากฏในโลกเนืองๆ ไป คณุ คา่ คุณค่าหลกั ของเรอื่ งคือธรรมะ หลกั ธรรมท่เี ห็นได้ชัดในไตรภูมิโลกวินิจฉัย โดยสามารถนามาประยุกตใ์ ช้กบั การเมอื งการปกครอง หรอื เศรษฐกจิ และยงั ใช้ในวิถีชีวิตประจาวัน ได้ด้วย โดยเฉพาะเร่อื ง การทาดี ละเว้นการทาชว่ั วรรณคดีเรื่องนยี้ งั สะท้อนความเชื่อของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเรอื่ งนรก สวรรค์ ภพชาติอีกด้วย ๕.๒.๙ นทิ านอหิ รา่ นราชธรรม เรื่องน้ีมีเค้าโครงมาจากนิทานของเปอร์เซีย ซ่ึงมีอยู่ในหอสมุดหลวงครั้งกรุงเก่า แต่งข้ึนเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ บ้างเรียกว่า นิทานสิบสองเหล่ียม ที่เรียกเช่นน้ีน่าจะเพราะมีนิทาน ๑๔๐

จานวน ๑๒ เรื่อง สันนิษฐานกันว่าต้นฉบับเดิมแปลเป็นภาษาไทยต้ังแต่กรุงศรีอยุธยา เน่ืองจาก สานวนแปลเปน็ สานวนโบราณ เร่อื งนีเ้ ปน็ นทิ านสุภาษิตว่าด้วยราชธรรมหรือธรรมของพระราชาท่ี ใชใ้ นการปกครองบ้านเมือง ผแู้ ต่ง ไม่นามผู้แตง่ แต่นา่ จะเปน็ อาลกั ษณ์ ลักษณะการแตง่ รอ้ ยแกว้ วตั ถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ เขยี นขึ้นเพ่อื ถวายเจา้ นาย เน้ือเรื่องย่อ พระเจ้ามามูนแห่งแบกแดดเสด็จค้นหาหอสูง ๑๒ เหล่ียมท่ี เมืองมะดารนิ อนั วา่ หอสูงน้ีเป็นของทีพ่ ระเจ้าเนาวสว่าน กษัตรยิ ส์ มยั โบราณสร้างไว้ประทับ เม่ือเข้า ไปถงึ มณฑป พระเจ้ามามูนทรงพบวา่ มีอกั ษรจารกึ เปน็ ขอ้ ความทแี่ สดงคติธรรม และมนี ิทานอกี ๑๒ เรอื่ ง อยู่โดยรอบผนังพระมณฑปนั้นด้วย พระเจ้ามามูนจึงได้ทรงพระดาเนินอ่านดูโดยรอบท้ังหมด ๑๒ ด้าน และสั่งให้อาลักษณ์คัดลอกไว้ท้ังหมด โดยนิทานสิบสองเร่ืองที่ปรากฏบนผนังพระมณฑป มีลักษณะเป็นเร่ืองย่อย แยกกัน เป็นเรื่องของกษัตริย์ ๑๒ องค์ มีพระนาม ชื่อเมืองต่างกัน และมี เรอ่ื งราวอันแฝงคตธิ รรมทต่ี า่ งกนั ไป พระเจ้ามามูนทรงยดึ หลกั คาสอนในจารึกเป็นแนวทางในการ ปกครองจนไดช้ ่อื ว่าเปน็ พระราชาผทู้ รงธรรม นิทานแต่ละเร่ืองจะลงท้ายว่า ราษฎรจะอยู่เย็นเป็น สุขดว้ ยพระราชาทรงธรรม ตัวอย่าง ช่วงต้นเรื่องของการเลา่ นิทานอหิ ร่านราชธรรม นทิ านพระเจ้าเนาวสวา่ นวาดินทรงธรรมนั้น ว่าในกาลวันหน่ึง สมเด็จพระเจ้า มามูนบรมกระษัตริย์ อันผ่านสมบัติอยู่ณกรุงบัดดาด เสด็จออกน่าพระที่น่ัง ตรัสแก่มุข มนตรีว่า เราได้ยินผู้เถ้าผู้แก่เล่าสืบกันมา ว่าสมเด็จพระเจ้าเนาวสว่าน เปนพระมหา กระษัตริย์ทรงธรรมอันประเสริฐ เสวยราชสมบัติอยู่ณเมืองมะดาวิน อาณาประชา ราษฎรชาวบ้านชาวเมืองทั้งปวงอยู่เย็นเปนศุขปราศจากทุกข์ภัยอันตราย ครั้นพระเจ้า เนาวสว่านเสด็จสวรรคตแล้ว พระเจ้าหรมุกได้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดา จึงให้ ทามณฑปบนยอดภูเขาที่ในป่าแว่นแคว้นเมืองมะดาวิน ไว้พระศพพระเจ้าเนาวสว่าน ผู้เปนพระราชบดิ า มณฑปนั้นทาด้วยทองคาประดับเนาวรตั นต่าง ๆ แล้วจารึกอักษรใน แผ่นทอง เปนข้อบัญญัติแลนิทานทานองคลองธรรมไว้ในมณฑปน้ันทั้ง ๑๒ เหลี่ยม สาหรับพระมหากระษัตริย์แลเสนาบดีจะได้ปรนนิบัติตาม ให้อาณาประชาราษฎรอยู่ เย็นเปนศุข แลพระมณฑปนั้นอยู่แห่งใดตาบลใดใครยังรู้เห็นบ้างฤๅ เสนาบดีมุขมนตรี กราบทูลว่า เคยได้ยินแต่เล่าฦๅสืบมาต่อ ๆ กันว่า แต่พระเจ้าเนาวสว่านเสด็จสวรรคต มาจนตราบเท่าบัดนี้ นบั ตามศักราชได้ ๒๕๐๐ ปี แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าท้ังปวงจะได้รู้ว่า พระมณฑปซ่ึงไว้พระศพนนั้ อยูแ่ หง่ ใดตาบลใดหามไิ ด้ พระเจา้ มามูนจึงตรัสแก่เสนาบดี ๑๔๑

มุขมนตรีว่า พระเจ้าเนาวสว่านก็ส้ินพระญาติวงศ์แล้ว และเมืองมะดาวินนั้นก็ข้ึนแก่ เมอื งเรา ควรเราจะไปเยือนพระศพ จะไดแ้ จ้งในอักษรคาซง่ึ บญั ญตั จิ ารกึ ไว้นน้ั คร้ันตรัส ดงั น้นั แลว้ พระเจา้ มามูนเสดจ็ ไปเมืองมะดาวนิ คุณค่า นิทานเรื่องนี้สอดแทรกหลักธรรมในการปกครองบ้านเมืองของ พระมหากษตั รยิ ์ได้แก่ ทศพธิ ราชธรรม อนั ประกอบดว้ ยทาน ศลี ปริจาค อาชชว มัททว ตป อกฺโกธ อวีหึสา ขันติ อวิโรธน ซ่ึงสามารถนาไปปรับใช้กับการดาเนินชีวิตประจาวันของคนท่ัวไปได้ด้วย นิทานเรื่องนี้มีความน่าสนใจตรงที่นาเค้าเรื่องจากนิทานเปอร์เซียและยังมีเนื้อหาเรื่องการปกครอง บา้ นเมือง ซง่ึ ยังไม่เคยมมี ากอ่ น ๕.๓ กวีและวรรณคดีสาคญั สมยั รัชกาลที่ ๒ กวแี ละวรรณคดสี าคญั ในสมยั รชั กาลที่ ๒ มดี งั น้ี พระบาทสมเด็จพระพทุ ธเลิศหล้านภาลยั มีงานพระราชนพิ นธ์ ไดแ้ ก่ ๑) บทละครเรอ่ื งอเิ หนา ๒) บทละครเร่ืองรามเกียรต์ิ ๓) บทละครนอก ๕ เร่อื ง คือ ไชยเชษฐ์ มณีพไิ ชย คาวี สังข์ทอง ไกรทอง ๔) กาพย์เห่ชมเคร่ืองคาวหวานและว่าดว้ ยงานนกั ขตั ฤกษ์ ๕) บทพากยโ์ ขน ตอนนางลอย นาคบาศ พรหมาสตร์ และเอราวัณ ๕) เสภาเร่ืองขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนข้ึน เรือนขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา และขุนแผนพานางวันทอง หนี กรมหมืน่ เจษฎาบดนิ ทร์ ได้แก่ ๑) เสภาเรื่องขุนช้างขนุ แผน ตอน ขนุ ช้างขอนางพิมและขนุ ช้างตามนางวนั ทอง ๒) โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลา้ นภาลยั ๓) บทละครเร่อื งสังขศ์ ลิ ปช์ ยั พระสนุ ทรโวหาร(ภู่) ได้แก่ ๑) นริ าศ ๙ เรื่อง ได้แก่ เมืองแกลง พระบาท ภูเขาทอง วัดเจ้าฟ้า อิเหนา สุพรรณ ราพันพลิ าป พระประธม เมอื งเพชร ๒) กลอนนิยาย ๔ เรือ่ ง คือ โคบุตร สงิ หไตรภพ ลกั ษณวงศ์ พระอภัยมณี ๓) เสภา ๒ เร่ือง คือ ขุนช้างขุนแผน ตอน กาเนิดพลายงาม พระราช พงศาวดาร ๑๔๒

๔) กลอนสุภาษิต ๓ เร่ือง คือ สุภาษิตสอนหญิง เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิ รกั ษา ๕) กาพย์ ๑ เร่ือง คอื พระไชยสรุ ิยา ๖) บทเห่ ๔ เรื่อง คือ กากี จบั ระบา พระอภยั มณี โคบตุ ร ๗) บทละคร ๑ เรอื่ ง คือ อภัยนรุ าช นายนรนิ ทรธ์ ิเบศร์ ได้แก่ โคลงนริ าศนรนิ ทร์ พระยาตรังคภูมบิ าล ได้แก่ ๑) โคลงนิราศตามเสดจ็ ลานา้ น้อย ๒) โคลงนริ าศพระยาตรัง ๓) โคลงด้นั เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลยั ๔) เพลงยาว ๕) โคลงกวโี บราณ คณะนักปราชญร์ าชกวี (ม่ปรากฏนาม) ไดแ้ ก่ ๑) มหาชาตคิ าหลวง ๖ กณั ฑ์ คอื กณั ฑ์หิมพานต์ กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์ จุลพน กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สักกบรรพ และกัณฑ์ฉกษัตริย์ ซ่ึงสูญหายไปเม่ือคร้ังเสียกรุง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งข้ึน ใหม่ เม่ือ พ.ศ. ๒๓๕๘ เป็นสานวนที่ไพเราะใกล้เคียงกับของเดิม มหาชาติคาหลวงจึงมีครบ บริบรู ณ์ท้ัง ๑๓ กัณฑ์ ๒) พงศาวดารจนี แปลเรือ่ ง เลียดก๊ก ห้องสนิ ตัง้ ฮ่นั ในทนี่ ี้ จะขอกลา่ วถงึ วรรณคดสี าคัญในชว่ งรชั กาลท่ี ๒ เพยี งบางเรอ่ื งโดยสงั เขป ดังน้ี ๕.๓.๑ บทละครเรอ่ื งอิเหนา เรื่องอิเหนาเขียนเป็นลายลักษรณ์คร้ังแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเจ้าฟ้า กุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทั้งสองพระองค์นิพนธ์เร่ืองขึ้นมาองค์ ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ต่อมารัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ไดพ้ ระราชนพิ นธ์เรอื่ งอิเหนามาเป็นลาดบั อเิ หนาในรชั กาลที่ ๒ นี้ ตน้ ฉบบั เดิมเป็นสมุดไทย ฉบับหอ พระสมุดชาระ มี ๓๘ เล่ม จัดพิมพ์แบ่งได้ ๓ เล่มใหญ่ ท่ีเป็นงานพระราชนิพนธ์ของรัชกาลท่ี ๒ มี เพียง ๒๙ เล่มสมุดไทย อีก ๙ เล่ม เป็นของผู้อ่ืน อิเหนาฉบับรัชกาลท่ี ๒ นี้ หมอสมิธได้ต้นฉบับมา พิมพ์จาหนา่ ยเม่ือปี พ.ศ.๒๔๑๗ แตม่ ีความคลาดเคลอ่ื นหลายอยา่ ง ต่อมารัชกาลท่ี ๖ จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการชาระใหม่ ๑๔๓

ผ้แู ตง่ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลิศหลา้ นภาลัย ลักษณะการแต่ง กลอนบทละคร วัตถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ ใชเ้ ล่นละครใน เนื้อเรื่องย่อ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ ๔ องค์ ต่างเป็นพ่ีน้องร่วมบิดามารดา ทรง พระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง ๔ เมือง ซึ่งมีชื่อ เช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี ๕ องค์ ตามประเพณี เรียงลาดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหน่ึง จึงทาให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับ กษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้ หมัน้ ไวก้ ับบุษบารากา ธดิ าของทา้ วกาหลังซงึ่ เกดิ จากลิกู ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประไหมสหุ รี มโี อรสบา้ ง จงึ ไดท้ าพิธบี วงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ไดส้ บุ ินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมา ตกตรงหน้า และนางรับไวไ้ ด้ เมอื ประสูติกเ็ กดิ อศั จรรยต์ ่าง ๆ เปน็ นมิ ิตดี องค์ปะตาระกาหลาซ่งึ เป็น เทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนากริชมาประทานให้ พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่าอิเหนา ต่อมา ประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา ฝ่ายท้าวดาหา ประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้ พระนามวา่ บษุ บา ขณะประสตู กิ ็เกดิ อัศจรรย์กม็ ี กลิ่นหอมตลบท่ัวเมือง หลงั จากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรกี ็ประสูตโิ อรสอกี พระนามสียะตรา ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหน่ึงหรัด ท้าว สิงหดั สา่ หรมี ีโอรส พระนามสุหรานากงและธดิ าพระนาม จินดาสาหรี กษตั รยิ ์ในวงศเ์ ทวาจึงไดจ้ ดั ให้ มีการตุนาหงันกันขึ้น ระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา กระ หรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการ แตง่ งาน ความยงุ่ ยากก็เกดิ ข้ึน พระอยั ยิกาของอิเหนาท่ีเมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุ แทนท้าวกุเรปนั แต่เสร็จพิธีแลว้ อเิ หนาไม่ยอมกลบั เพราะหลงรกั นาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนทา้ วกเุ รปันต้องมีสารไปเตือน เมอื่ กลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ ไมใ่ คร่เต็มใจ จึงออกอบุ ายทลู ลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นาม วา่ มสิ าระปนั หยี คมุ ไพรพ่ ลรุกรานเมืองต่าง ๆ เม่ือเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองน้ันเป็นเมืองขึ้น ระตู หลายเมืองไดถ้ วายโอรสและธิดาให้ ที่สาคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือ มาหยารัศมีและสะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่ง อเิ หนายกยอ่ งใหเ้ ป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปนั หยรี อนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าว หมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตาม สัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ๑๔๔

พอถงึ กาหนดการอภเิ ษก ทา้ วดาหากม็ สี ารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทา ให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ท่ีมาขอ เพราะฉะน้ันเมื่อระตูจรกา กษัตริย์รูปชั่วตัวดา ให้พ่ีชายคือระตูล่าสาไปสู่ขอบุษบาให้ตน ท้าวดาหาก็ยอมยกให้ ต่อมา ท้าว กระหมังกุหนิง ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกาซ่ึงเป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้ยกให้ ระตูจรกาไปแล้ว เปน็ เหตุใหท้ ้าวกะหมังกุหนิงโกรธและยกกองทัพมาล้อมเมืองดาหา ท้าว ดาหาจึง ขอกาลังจากพระเชษฐาและพระอนุชา ท้าวกุเรปันมีคาส่ังให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงจาใจต้อง จากนางจินตะหราและยกกองทัพไปช่วยรบ การศึกครั้งนี้ อิเหนามีชัยชนะ ท้าวกะหมังกุหนิงถูก อิเหนาฆ่าตายและโอรสคือวิหยาสะกาถูกสังคามาระตาฆ่าตาย กองทัพท่ีล้อมเมืองดาหาก็แตกพ่าย ไป เม่ือชนะศึกแล้ว อิเหนาก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบา อิเหนาได้เห็นความงามของ บษุ บากห็ ลงรักและเสยี ดาย พยายามหาอุบายอยู่ในเมืองดาหาต่อไป และพยายามหาโอกาสใกล้ชิด บุษบา โดยอาศัยสียะตราเป็นสื่อรัก อิเหนาพยายามหาวิธีการทุกทางเพ่ือจะได้บุษบาเป็นของตน เชน่ ตอนทที่ ้าวดาหาไปใช้บนทเ่ี ขาวิลิศมาหรา อิเหนาได้แอบสลกั สารบนกลบี ดอกปะหนนั (ลาเจยี ก) ให้นาง แอบเข้าไปในวิหารพระปฏิมา ตรัสตอบคาถามแทนพระปฏิมา ต้อนค้างคาวมาดับไฟแล้ว แอบมากอดนาง ตลอดจนคาดค้ันมะเดหวีให้ช่วยเหลือตน เป็นต้น และเม่ือท้าวดาหาจะจัดพิธี อภเิ ษกระหวา่ งบษุ บากับระตูจรกา อเิ หนาก็ใช้วิธีการสุดท้ายโดยการทาอุบายเผาเมือง แล้วลอบพา นางบุษบาหนีออกจากเมอื งไปซ่อนในถา้ ท่ีเตรียมไว้ และไดน้ างเปน็ มเหสี หลงั จากอิเหนากับบษุ บาเข้าใจกันแลว้ เกดิ ความยุ่งยากใหม่ขน้ึ กับตวั ละครอีก เพราะ องคป์ ะตาระกาหลาทรงพิโรธอเิ หนาทีก่ อ่ เหตวุ นุ่ วายมาตลอด จึงดลบนั ดาลใหล้ มหอบเอานางบุษบา พร้อมพ่เี ลี้ยงสองนาง ไปตกในเมืองปะมอตันขณะท่ีอิเหนาเข้าไปในเมืองดาหาเพ่ือแก้สงสัย อิเหนา กลับมาไม่พบบุษบาก็ปลอมองค์เป็นปันหยีออกตามหา พร้อมกับนาวิยะดาไปด้วยกับตน โดยให้ ปลอมเป็นปนั หยชี ือ่ เกนหลงหนึ่งหรดั ผ่านเมอื งใดก็รบพงุ่ เอาไปเป็นเมืองข้นึ ไปตลอดรายทาง จนถึง เมืองกาหลงั จึงไดเ้ ขา้ ไปขอพักอาศยั อยู่ด้วย ส่วนบุษบา หลงั จากลมหอบไปยงั เมอื งปะมอตนั แล้ว องค์ปะตาระกาหลา กส็ าแดงตน บอกเลา่ เร่อื งราวให้ทราบวา่ น่ีเปน็ การลงโทษอิเหนา ทั้งสองจะต้องผจญความลาบากอยู่ระยะหนึ่ง จงึ จะได้พบกันองคป์ ะตาระกาหลาได้แปลงตัวบษุ บาให้เปน็ ชาย มอบกริชจารึกพระนามว่ามิสาอุณา กรรณ ให้มคี วามสามารถทางการรบ หลังจากนั้น อุณากรรณเดินทางเข้าเมืองปะมอตัน ท้าวปะมอ ตันรับเลยี้ งไว้เปน็ โอรส ตอ่ มาอุณากรรณกบั พ่ีเล้ียงกย็ กพลออกเดนิ ทางเพ่อื ตามหาอิเหนา ผ่านเมือง ใดเจ้าเมืองไม่อ่อนน้อมก็รบพุ่งได้ชัยชนะหลายเมือง จนกระท่ังถึงเมืองกาหลัง ได้พบกับปันหยี ทั้ง สองฝ่ายต่างก็แคลงใจว่าอีกฝ่ายคือบุคคลที่ตนเท่ียวหา แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยตัว ได้แต่สังเกตและคุม เชงิ กันอยูท่ ่เี มืองกาหลัง ปนั หยีและอุณากรรณได้เขา้ ออ่ นน้อมต่อทา้ วกาหลัง ทา้ วกาหลังก็ทรงโปรด ๑๔๕

ทั้งสองเหมอื นโอรส ตอ่ มามศี ึกมาประชดิ เมืองเพราะทา้ วกาหลงั ไมย่ อมยกธดิ า คือสะการะหนึ่งหรัด ให้ ปันหยีและอุณากรรณอาสารบและสามารถชนะศึกได้อย่างง่ายดาย เหตุการณ์นี้ทาให้ปันหยี อุณากรรณและสะการะหนึง่ หรดั ใกล้ชดิ สนดิ สนมกนั มากย่ิงขนึ้ ทาให้อณุ ากรรณกลัวความจะแตกวา่ นางเป็นหญงิ กอปรกับต้องการติดตามหาอิเหนาต่อไป จึงทูลลาท้าวกาหลังกลับเมืองปะมอตัน แต่ นางออกอุบายให้ทหารกลับเมืองตามลาพัง ส่วนนางกับพี่เล้ียงหนีไปบวชชี (แอหนัง) เพื่อหาทาง หลบหนกี ารตามพวั พันของปนั หยฝี ่ายสียะตราแห่งเมืองดาหา คร้ันทาพิธีโสกันต์เสร็จก็แอบหนีพระ บดิ าปลอมตัวเปน็ ปจั จเุ หรจ็ โจรปา่ ชอื่ ยา่ หรัน ออกเดนิ ทางหาอเิ หนาและบษุ บา องค์ปะตาระกาหลา แปลงเปน็ นกยงู มาลอ่ ย่าหรนั ไปถึงเมืองกาหลงั ไดเ้ ขา้ เฝา้ และพานักอยู่ในเมือง ต่อมาย่าหรันและปัน หยีเกิดต่อสู้กัน เพราะเกนหลงหนึ่งหรัดเป็น ต้นเหตุ ในที่สุดอิเหนาและสียะตราก็จากันได้ เพราะ มองเห็นกรชิ ของกันและกนั ต่อมาปันหยที ราบว่ามีแอหนงั บวชบนภูเขา รูปงามละม้ายบุษบา จึงออกอุบายปลอม ตัวเป็นเทวดาหลอกนางมายังเมอื งกาหลงั เมอ่ื ปันหยีพิศดูนางก็ย่ิงละม้ายนางบุษบา แต่พอเห็นกริช ของนาง ช่ืออุณากรรณ ก็เข้าใจว่านางเป็นชายาของอุณากรรณ ฝ่ายพ่ีเลี้ยงของปันหยีคิดเล่นหนัง ทดสอบแอหนัง โดยผูกเร่ืองตามชีวิตจริงของอิเหนากับบุษบาทุก ๆ ตอน นางแอหนังฟังเรื่องราวก็ รอ้ งไห้คร่าครวญ ทงั้ สองฝ่ายจึงจากันได้ อเิ หนาจึงให้นางสึกจากชี ระเด่นท้ังส่ี คือ อิเหนา บุษบา สี ยะตรา และวยิ ะดา จงึ พบกนั และจากันได้หลงั จากดั้นด้นตดิ ตามกันโดยปราศจากทศิ ทางเสียนาน กษัตริย์วงศ์เทวาได้มาพร้อมกัน ณ เมืองกาหลัง หลังจากทราบเร่ืองและเข้าใจกันดี แล้ว จึงได้มีการอภิเษกสมรสกันขึ้นระหว่างคู่ตุนาหงันในวงศ์เทวา พร้อมท้ังอภิเษกธิดาระตูอื่น ๆ เป็นมเหสีกษัตริย์วงศ์เทวาจนครบตาแหน่ง เช่น อิเหนาอภิเษกกับบุษบาและจินตะหรา โดยบุษบา เปน็ ประไหมสหุ รีฝา่ ยซ้าย จนิ ตะหราเปน็ ประไหมสหุ รีฝา่ ยขวา สะการะวาตีเป็นมะเดหวีฝ่ายขวา มา หยารัศมีเปน็ มะเดหวฝี ่ายซา้ ย บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย ระ หนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็นเหมาหลาหงีฝ่าย ขวา หงยาหยาเปน็ เหมาหลาหงฝี ่ายซ้าย ตัวอยา่ ง การพรรณนาชมนก ตอนอิเหนาจากเมอื งหมนั หยา ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจบั ไม้องึ มี่ เบญจวรรณจบั วัลยช์ าลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจบั นางนวลนอน เหมือนพ่แี นบนวลสมรจินตะหรา จากพรากจบั จากจานรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี แขกเต้าจบั เต่ารา้ งรอ้ ง เหมือนรา้ งหอ้ งมาหยารศั มี นกแก้วจบั แก้วพาที เหมือนแกว้ พ่ที ง้ั สามสง่ั ความมา ๑๔๖

ตระเวนไพรรอ่ นร้องตะเวนไพร เหมือนเวรใดใหน้ ริ าศเสนห่ า เคา้ โมงจับโมงอยเู่ อกา เหมอื นพนี่ บั โมงมาเมือ่ ไกลนาง คบั แคจบั แคสันโดษเดี่ยว เหมือนเปลา่ เปล่ียวคบั ใจในไพรกว้าง ชมวหิ คนกไม้ไปตามทาง คะนึงนางพลางรบี โยธี ตัวอย่าง ตอนนางบษุ บาอยใู่ นถ้า เทีย่ วหาอเิ หนา เม่ือนัน้ บุษบาเยาวยอดเสน่หา เนาในถ้าทองห้องไสยา กับสองรานารพี ี่เลย้ี ง แต่ละหอ้ ยคอยหาพระโฉมยง จนเย็นลงบุหรงร้องกอ้ งเสยี ง ไม่เหน็ กลบั คืนหลังจากวังเวียง นางพ่างเพยี งจะวินาศหวาดวญิ ญาณ์ สรอ้ ยเศรา้ เปล่าใจไมส่ บาย โฉมฉายชะแง้แลหา ทกุ ขร์ อ้ นถอนฤทยั ไปมา กลั ยาย่ิงสลดระทดใจ ฯ คุณค่า บทละครเรื่องอิเหนาได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของ ละครรา เน้ือเร่ืองสนุกสนาน มีครบทุกรสท้ังบทรัก กล้าหาญ หึงหวง บทบาทของตัวละครมีความ เหมาะสม อีกท้ังยังมศี ลิ ปะในการแสดงครบถว้ นขององคห์ ้าของละครทด่ี ี คือ ๑. ตวั ละครงาม (หมายถึง เครือ่ งแต่งตัวหรอื รปู ร่าง) ๒. รางาม ๓. รอ้ งเพราะ ๔. พิณพาทยเ์ พราะ ๕. กลอนเพราะ บทละครมีขนาดกะทัดรัด รักษาขนบในการชมเมืองท่ีได้แบบอย่างจากเร่ือง รามเกียรต์ิ จนกลายเป็นแบบแผนของการแต่งกลอนบทละครในสมัยหลัง และถือเป็นวรรณคดี มรดกเล่มสาคัญของไทย นอกจากนี้ อิเหนาในรัชกาลที่ ๒ ยังสะท้อนประเพณีวัฒนธรรมของไทย โบราณไว้ เช่น พระราชพิธีสมโภชลูกหลวง พิธีแห่สนานใหญ่ พิธีโสกัณฑ์ ซึ่งรัชกาลที่ ๒ พระราช นพิ นธต์ รงตามตาราราชพธิ ีทุกประการ (เสนีย์ วลิ าวรรณ, ๒๕๔๗, หนา้ ๖๘) ๕.๓.๒ บทละครเร่ืองรามเกยี รต์ิ รามเกียรติ์บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลท่ี ๒ น้ี ทรงไม่ได้พระราชนิพนธ์ทั้งเล่ม แต่ ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนามาแสดงละครได้เท่าน้ัน บางตอนพระราชนิพนธ์เอง บางตอนโปรด เกลา้ ฯ ให้ผู้อ่นื แต่ง รามเกียรติฉ์ บบั นี้ พมิ พค์ รั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ แตค่ ลาดเคล่ือนไปมาก ในปี ๑๔๗

พ.ศ. ๒๔๕๖ รัชกาล ที่ ๖ ทรงสอบสวนต้นฉบับที่เช่ือถือได้รวบรวมพิมพ์ข้ึนโดยตลอด พร้อมทรง พระราชนิพนธ์บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ประกอบเข้าชุดด้วย เพื่อเป็นของชาร่วยในงานพระราชทาน กศุ ลฉลองพระตาหนกั จติ รลดารโหฐาน โดยโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จ ฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ อานวยการพิมพ์ หนังสอื น้ีจงึ มหี ลักฐานจนถึงปัจจบุ นั ผแู้ ตง่ พระบาทสมเดจ็ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะการแตง่ กลอนบทละคร วตั ถุประสงค์ในการแตง่ ใช้เล่นละครใน เนื้อเร่ืองย่อ เริ่มแต่หนุมานได้รับบัญชาจากพระราม นาแหวนไปถวายนางสี ดา ณ ลงกา หนุมานเผาลงกา พิเภกถูกขับ พระรามจองถนน องคตสื่อสาร สุครีพหักฉัตร ศึก ไมยราพ ศึกมังกรกรรฐ์ และแสงอาทิตย์ พิเภกครองกรุงลงกา นางสีดาลุยไ นางสีดาวาดรูป ทศกัณฐ์ พระรามรับส่ังให้นาไปประหาร นางสีดาประสูติพระมงกุฎ ฤาษีชุบพระลบ พระราม ปล่อยมา้ อปุ การ พระรามขอคืนดี พระรามเข้าโกศ นางสีดาไปอยู่บาดาล ร้อนถึงพระอิศวรต้องมา ไกล่เกล่ีย เร่อื งจงึ จบลงดว้ ยการอภเิ ษกพระรามกบั นางสดี า ณ เขาไกรลาศแล้วสองกษัตริย์ก็กลับไป ครองอโยธยา (เสนีย์ วิลาวรรณ, ๒๕๑๗, หนา้ ๗๐ ) ตัวอยา่ ง พระรามครวญเมอื่ เหน็ นางลอย โอ้วา่ สีดานจิ จาเอย๋ ไฉนเลยมามว้ ยสังขาร์ เสยี แรงพ่พี ยามตามมา จนถงึ ฝั่งมหาสาคร หมายจะฆ่าโคตรวงศ์พงศย์ กั ษ์ เพราะความรกั เสยี ดายสายสมร ยังมิทันทาการราญรอน มามว้ ยมรณม์ รณานา่ อาลัย เจ้าพ่เี อย๋ อตุ สา่ ห์พาซากศพ ให้มาพบผวั รักเมื่อตักษัย พต่ี กยากจากเมืองมาอยู่ไพร จะได้โกศทไี่ หนมาใสน่ อ้ ง ถา้ แม้นอยู่บุรีราชฐาน จะทาการให้พิลกึ กกึ กอ้ ง ชักศพเจา้ เข้าส่พู ระเมรทุ อง มงี านการฉลองให้หลายวนั ตวั อย่าง ตอนหนุมานทูลเกย่ี วกบั นางลอย บดั น้นั หนุมานชาญฉลาดเฉลยไข ขา้ เหน็ วา่ ลงกากรุงไกร อยู่ใกลก้ องทพั พลบั พลา นา้ ลงถ่ายเดียวเช่ียวคว้าง ศพนางหรอื จะทวนน้าขึ้นมาหา พระองคจ์ งได้เมตตา ตวั ข้าจะขอชนั สตู รดู ๑๔๘

เอาซากศพขน้ึ ใสไ่ ฟเผา ถา้ นงเยาว์ตายจริงจะนิ่งดู แม้ไพรนี ีรมิตรเหมอื นโฉมตรู ก็จะจ่หู นีไปมิไดช้ า้ คุณค่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลท่ี ๒ นี้ สามารถนาไปเล่นเป็นละคร ได้ดีกว่าฉบับอื่น ๆ เน่ืองจากบทสั้น ไม่ยืดยาดจนตัวละครไม่สามารถแสดงได้ รัชกาลท่ี ๒ ทรง ปรบั ปรงุ แกไ้ ขใหเ้ หมาะสม อกี ทง้ั ยงั มอี ทิ ธิพลต่อการแต่งเรื่องรามเกยี รต์ิในต่อมาดว้ ย ๕.๓.๓ กาพย์เห่ชมเคร่ืองคาวหวาน กาพยเ์ ห่ชมเคร่ืองคาว-หวาน สันนิฐานวา่ ทรงพระราชนิพนธ์ในรชั กาลที่ ๑ เพราะ มีความบางตอนทรงชมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีเม่ือครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ซ่ึงมฝี ีพระหตั ถ์ในกระบวนเคร่ืองเสวย เรื่องน้ีพระราชนพิ นธใ์ นทานองนิราศ ผ้แู ต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หล้านภาลยั ลักษณะการแตง่ กาพย์ยานี ๑๑ และโคลงส่สี ภุ าพ วตั ถุประสงค์ในการแต่ง เพอื่ ใชป้ ระกอบการเห่เรอื ประพาส และราพึงราพันถึง สมเด็จพระศรสี รุ ิเยนทราบรมราชนิ ี ผทู้ รงมีความชานาญเรอ่ื งอาหารการกิน เนื้อเร่ืองย่อ บทเห่จดั แบง่ หมวดหมู่ของอาหารไว้เป็น ๔ หมวด ไดแ้ ก่ เห่ชมเคร่อื ง คาว เห่ชมผลไม้ เหช่ มเครื่องหวาน เหค่ รวญเข้ากบั นกั ขตั ฤกษ์ การพรรณนาเครอื่ งคาว เครอื่ งหวาน และผลไม้ดาเนินคล้ายนิราศ ซึ่งนิยมใช้ช่ือของสถานท่ี หรือของต้นไม้ ดอกไม้ มาเป็น สื่อ อ้างอิง สรา้ งอารมณโ์ ศกในการพรรณนาคร่าครวญเมือ่ จากนาง ในกาพย์เห่กวีใช้ช่ือของอาหารมาเป็นส่ือใน การแสดงอารมณร์ ัก โศก ยินดี ตัวอยา่ ง เหช่ มเครอื่ งคาว มสั มัน่ แกงแก้วตา หอมยห่ี รา่ รสร้อนแรง ชายใดได้กลนื แกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา วางจานจดั หลายเหลอื ตรา ยาใหญใ่ ส่สารพัด ญี่ปนุ่ ลา้ ย้ายวนใจ รสดีด้วยน้าปลา เจือน้าสม้ โรยพรกิ ไทย ไม่มเี ทียบเปรยี บมือนาง ตบั เหลก็ ลวกหล่อนตม้ พร้อมพรกิ สดใบทองหลาง โอชาจะหาไหน ห่างหอ่ หวนปว่ นใจโหย หมแู นมแหลมเลิศรส พิศห่อเหน็ รางชาง ๑๔๙

ตวั อย่าง เห่ชมผลไม้ ผลชิดแชอ่ ม่ิ อบ หอมตรลบลา้ เหลอื หวาน รสไหนไมเ่ ปรยี บปาน หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ รสเยน็ ย่งิ ย่ิงเย็นใจ ตาลเฉาะเหมาะใจจริง หมายเหมือนจรงิ ยง่ิ อยากเหน็ คิดความยามพสิ มัย บอกความแลว้ จากจาเป็น เป็นทกุ ขท์ ่าหนา้ นวลแตง ผลจากเจา้ ลอยแก้ว ใสโ่ ถแก้วแพร้วพรายแสง จากช้านา้ ตากระเดน็ ปรางอิม่ อาบซาบนาสา หมากปรางนางปอกแลว้ ยามชนื่ รนื่ โรยแรง คุณค่า กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน มีความโดดเด่นในด้านการนาเอาอาหาร คาวหวานมาพรรณนาสอดแทรกอารมณ์รักและการราพึงราพันที่ต้องจากนาง ซึ่งทาให้วรรณคดี เร่อื งนี้ความแปลกใหม่ การราพงึ ราพนั ถึงนางอนั เปน็ ท่ีรักเช่นนี้ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน ให้ความรู้ เร่ืองประเพณีการประพาสและ ความรู้ด้านอาหารในยุคน้ัน สะท้อนให้เห็นความประณีตในการ ประดิดประดอยอาหาร รสชาติ และสะท้อนความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้ อย่างเดน่ ชัด ๕.๓.๔ เสภาเรือ่ งขนุ ชา้ งขนุ แผน ขนุ ชา้ งขนุ แผนนส้ี ันนิษฐานว่าเป็นเร่ืองจริงท่ีเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ แล้วมีผ้จู ดจาเลา่ สืบต่อกนั มา จนกลายเป็นนิยายพื้นเมืองของเมืองสุพรรณบุรี เนื่องจากเร่ืองราวของ ขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคาให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้าย นิทานเพื่อให้เน้ือเร่ืองสนุกสนานชวนติดตามย่ิงข้ึน ต่อมาได้มีผู้นาเร่ืองขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอน เสภาเพื่อใชใ้ นการขบั เสภา เม่ือตอนเสยี กรงุ ศรีอยธุ ยาครง้ั ท่ี ๒ บางตอนสญู หายไป บางตอนยงั มีตน้ ฉบับ เหลืออยู่ แต่เรื่องไม่ติดต่อกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้า ฯ ให้กวีหลายคน ช่วยกันรวบรวมและแต่งขึ้นเรียกว่า เสภาหลวง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ หอพระสมุดวชิรญาณได้ชาระ หนงั สือเสภาเร่ืองขุนช้างขุนแผนข้ึนเพราะมีเสภาเร่ืองขุนช้างขุนแผนหลายฉบับ ทั้งฉบับหลวงและฉบับ ราษฎรโดยมสี มเดจ็ กรมพระยาดารงราชานภุ าพและกรมหมืน่ กวพี จนส์ ุปรชี า ทรงเป็นประธานการชาระได้ คดั เลอื กเอาสานวนทดี่ ีทส่ี ุดมารวมกันจนครบทกุ ตอน บางตอนกไ็ ม่สามารถทราบนาม ฉบับทีส่ มเดจ็ กรม พระยาดารงราชานภุ าพ รว่ มกับกรมหมนื่ กวพี จนส์ ุปรีชาชาระร่วมกันเป็นฉบบั พอพระสมุดวชริ ญาณ มีประมาณ ๔๓ เล่มสมดุ ไทย กาหนดเร่ืองเป็น ๔๑ ตอน พิมพ์แบง่ เป็น ๓ เลม่ ๑๕๐


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook