Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พัฒนาการของวรรณคดีไทย

พัฒนาการของวรรณคดีไทย

Published by Anas Dahaleng, 2023-02-17 09:03:03

Description: พัฒนาการของวรรณคดีไทย

Search

Read the Text Version

อังกฤษ โดยช่วงแรกพระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหารท่ีโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ต่อมา ทรงเปลี่ยนมาเข้าศึกษาที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช แห่งมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด รวมเวลาที่ทรงศึกษา ประมาณ ๙ ปี สมยั รชั กาลท่ี ๖ พระองค์ทรงรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย เน่อื งจากได้รับอทิ ธพิ ลจากทีท่ รงไปศกึ ษาท่ีประเทศอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่ สาคัญอย่างเชน่ ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล การกาหนดคานาหน้านามสตรี ว่า นาง และนางสาว คานาหน้านามเด็ก ว่า เด็กชาย และเด็กหญิง โปรดให้ใช้ปีพุทธศักราชแทนจุล ศักราช และรัตนโกสินทร์ศก ทรงโปรดให้ประดิษฐ์ทรงไตรรงค์ซ่ึงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ และทรง เปลยี่ นแปลงการนับเวลา โดยถือเวลาหลังเทย่ี งคนื เป็นเวลาเปลี่ยนวนั ใหม่ รัชกาลที่ ๖ ทรงสนับสนุนให้ขยายการศึกษาออกไปให้ประชาชนได้มีความรู้ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยพัฒนามา จากโรงเรียนมหาดเล็กท่ีต้ังขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ซ่ึงเปล่ียนช่ือเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตอนต้นรัชกาลที่ ๖ และเพ่ือให้ประชาชนทุกคนมี ความรูจ้ ึงทรงออกพระราชบญั ญัติประถมศึกษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ บังคับให้เด็กทุกคนท่ีมีอายุตั้งแต่ ๗ ปบี ริบูรณ์ เรยี นหนังสอื อยใู่ นโรงเรียนจนอายุ ๑๔ ปี บรบิ ูรณ์ โดยไม่เสยี คา่ เลา่ เรียน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์อย่าง ย่ิง มีบทพระราชนิพนธ์มากมาย ทรงเป็นผู้นาการแปลวรรณคดีต่างประเทศ ทรงฟ้ืนฟูวรรณคดี สนั สกฤตที่ซบเซาไปต้ังแต่สมยั รัชกาลท่ี ๓ โดยทรงมีงานพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภทต่าง ๆ มากกวา่ ๑,๒๐๐ เรือ่ ง นอกจากน้ี ยงั ทรงพระราชทานนามสกลุ และทรงบญั ญัติศพั ท์ไวจ้ านวนมาก ๖.๒ กวีและวรรณคดสี าคญั สมยั รัชกาลท่ี ๔ กวแี ละวรรณคดสี าคัญ มีดงั นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจ้าอยู่หวั มงี านพระราชนพิ นธไ์ ด้แก่ ๑) บทละครเร่ืองรามเกยี รติ์ ตอนพระรามเดนิ ดง ๒) ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ๕ กัณฑ์ คือ วนปเวสน์ จุลพน มหาพน สักกบรรพ และฉกษตั รยิ ์ ๓) ประกาศตา่ ง ๆ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ๔) บทจบั ระบาเร่ืองรามสรู และเมขลา นารายณป์ ราบนนทุก ๕) บทพระราชนพิ นธเ์ บ็ดเตลด็ เชน่ บทเบกิ โรงละครหลวง ๖) จารกึ วัดพระเชตพุ น ฯ หมอ่ มเจ้าอิศรญาณ ไดแ้ ก่ อิศรญาณภาษิต ๒๐๑

หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระตา่ ย อิศรางกรู ฯ) ไดแ้ ก่ ๑) จดหมายเหตุเรอื่ งราชทตู ไทยไปอังกฤษ ๒) นิราศลอนดอน มหาฤกษ์ (หลวงจกั รปาณ)ี ได้แก่ ๑) นริ าศพระปฐม ๒) นิราศทวาราวดี ๓) นิราศกรุงเก่า ๔) นิราศปถวี ๕) เสภาเร่ืองอาบูหะซนั ๖) โคลงรามเกียรติ์ ในท่นี ี้ จะขออธบิ ายวรรณคดบี างเรื่องท่สี าคญั โดยสังเขป ดังนี้ ๖.๒.๑ ประกาศต่าง ๆ ในพระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอย่หู วั ประชุมประกาศในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ี เร่ิมประกาศต้ังแต่ ปี พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๐๔ รัชกาลที่ ๔ พระราชนิพนธ์ไว้เป็นร้อยแก้ว มีจานวนประมาณ ๕๐๐ เร่ือง ตีพมิ พ์ในหนังสอื ข่าวราชกิจจานเุ บกษา โรงพิมพอ์ ักษรพิมพการของทางราชการ ผู้แต่ง พระบาทสมเดจ็ พระจอมเกลา้ เจ้าอยูห่ วั ลกั ษณะการแต่ง ร้อยแกว้ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือทรงใช้แจ้งข่าวสารในพระราชสานัก และชี้แจง เรอื่ งราวหรอื เหตกุ ารณ์ตา่ งๆ เนือ้ เร่อื งยอ่ เนือ้ หาของประกาศมีหลายเรือ่ ง อาจสรุปไดเ้ ปน็ ๗ เรอ่ื งดงั นี้ ๑) การใช้ถ้อยคาภาษา ๒) พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และสถานที่ ๓) การปฏิบัติราชการ ๔) การศาล ๕) ภาษตี า่ ง ๆ ๖) ประเพณแี ละศาสนา ๗) เร่ืองท่ัวไป เช่น การตกั เตอื นเรือ่ งตา่ ง ๆ ปรากฏการณ์ดางหาง ประกาศรัชกาลท่ี ๔ มีโครงสร้างท่ีชัดเจนทาให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย โดยถ้าเป็นเรื่อง สาคัญจะมีช่ือเรือ่ ง บอกวันเดือนปี และศกั ราชทีอ่ ออกประกาศ ถ้าเป็นเรื่องทั่วไปจะมีชื่อประกาศ ๒๐๒

แตไ่ มบ่ อกวันที่ จากนนั้ จะเป็นเนอ้ื หาของประกาศ โดยช่วงต้นบอกสาเหตุทตี่ ้องออกประกาศ พระ ราชวนิ จิ ฉัยประกอบเหตุผลและข้อบญั ญตั ิ และจบลงดว้ ยวา่ ประกาศ ณ วนั ที่เท่าไร ตวั อย่าง ประกาศ ฉบับท่ี ๑๕ ประกาศเตือนผู้ที่ใช้อักษรผิด ๑๕ ประกาศเตอื นผู้ทใ่ี ชอ้ กั ษรผดิ ด้วยขนุ สุวรรณอกั ษร รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมส่ังให้ประกาศว่า ด้วยอักษร ๔ อักษร คือ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ น้ีหาควรจะใส่ ห นาแล กากะบาทไม่ เม่ือถึงคาว่า ฤๅ ท่ีเขียนอุตริกว่าโบราณว่า หฤๅ บ้าง ฤ๋ๅ บ้าง ก็ให้เขียนแต่ ฤๅ อย่างน้ี อย่าให้เขียน ห นาแลใส่กากะบาทเลย ด้วยตัว ห นั้นเฉพาะนาได้แต่ตัวอักษรต่า เหมือนอย่าง หมู่ หนี แหวน อย่างนี้ เปนอักษรต่าจึงเอา ห นาได้ อักษรต่านั้นคือ คฅฆง ชซฌญฑฒณ ทธน พฟภม ยรลวฬฮ แลกากะบาทนน้ั ใชไ้ ด้แตอ่ ักษรกลางเหมือนอย่าง เก๋ง เป๋า จ๋า อย่างนี้ เปนอักษรกลางจึงใส่ กากะบาทได้ อักษรกลางน้ันคือ กจ ฎฏ ดต บปอ ต้ังแต่น้ีสืบไปให้ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ ผู้น้อยซ่ึงจะมีธุระเขียนหนังสือเร่ืองราวขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาแล้ว ก็ให้ศึกษาไต่ถาม เขียนให้ ถูกต้องตามอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่า อย่าให้เขียนใส่กากะบาทแลเอา ห นาผิดๆ เข้ามา ทูลเกลา้ ทลู กระหม่อมถวายเปนอันขาดทเี ดยี ว พระรา ช บั ญญั ติ น้ี ตี พิ ม พ์ แต่ ณ วั นพุ ธ เดื อ น ๘ ข้ึ น ๑๐ ค่ า ปี ฉลู เ บญจศ ก จลุ ศกั ราช ๑๒๑๕ ตวั อยา่ ง ประกาศ ฉบบั ท่ี ๑๑๗ ประกาศวา่ ด้วยคาทเ่ี รยี กเสร็จ, สาเร็จ, สมั ฤทธิ, สมั เรทธ ๑๑๗ ประกาศวา่ ด้วยคาท่ีเรียกเสรจ็ , สาเร็จ, สัมฤทธิ, สัมเรทธ ณ วนั พฤหัสบดี เดอื น ๖ ขึน้ ๑๒ ค่าปีมะเมียสัมฤทธศิ ก คาว่าสาเร็จหรือเสร็จน้ีถ้าเขียนสังโยคกับตัว จ เห็นว่าจะเปนคาเขมร แปลว่าแล้วว่าจบว่าสุด การฯ แต่คนวัดคนนักบวชสึกออกมามักสงสัยว่าจะเปนคามาแต่มคธ ที่เรียกกันว่าบาลีนั้นว่า สมิทธิ จึงมักเขียนว่า สาเรทธิบ้าง สาเรทธบ้าง เสรทธิบ้าง เสรทธบ้าง ครั้นพิเคราะห์ดูก็เปนอันน่ารังเกียจ ว่าเปนอุตริชาววัดหรือนักบวชสึกไป หนังสือฉบับโบราณมีเขียนว่า สัมฤทธิเหมือนกับชื่อทองสัมฤทธิ ก็มี คานั้นแลเห็นจะมาแต่ศัพท์ว่าสมิทธิแท้ แปลว่าเต็มว่าพร้อมว่าได้การว่าครบถ้วน เพราะฉนั้น ต้ังแต่น้ีไป เนื้อความที่ว่าแล้วให้เขียนว่า สาเร็จแลเสร็จ ดังนี้ทุกแห่ง คาที่ว่าเต็มว่าพร้อมว่าครบถ้วน ดังคาว่าผู้สาเรทธิราชการแลสาเรทธิศก ให้ใช้ว่าสัมเรทธิ ดังนี้เทอญ สัมในสัมเรทธิให้เขียนเปนสัม ดังนี้จึงจะถูก เหมือนกับคาว่าคัมภีร์ ถ้าเขียนว่าสาในสาเรทธิ ก็จะไม่งามเปนที่รังเกียจ เหมือนว่าคา ที่ลางคนเขียนในคาว่า คาภีรน้ันฯ ก็ฝ่ายคาว่าสาเร็จที่แปลว่าแล้วว่าสุดว่าจบนั้นคงให้เขียนว่าสาเร็จ อย่าหลงเขียนว่าสัมเร็จเลย ประกาศมาณวันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นสิบสองค่า ปีมะเมียสัม๘ฤทธิศก เปนวันที่ ๒๕๓๗ ใน รัชกาลปัจคจุบณุ ันคน่า้ี ประกาศในรชั กาลที่ ๔ นี้ มีลักษณะแปลกใหมเ่ น่ืองจากเนื้อหาของ ๒๐๓

จะเห็นว่า ประกาศครอบคลุมหลายเรื่อง แม้เป็นเร่ืองเล็กเรื่องน้อย ไม่ใช่เรื่องการเมืองการ ปกครองเพียงอย่างดี ประกาศหลายฉบับเป็นเรื่องของการใช้ถ้อยคาภาษา ซ่ึงสะท้อนให้เห็นว่า รัชกาลที่ ๔ ทรงเอาพระทัยใส่ในด้านอักษรศาสตร์ ด้านการใช้สานวนภาษาน้ัน ทรงเลือกใช้คาท่ี ส่ือสารความหมายได้โดยตรงเพอ่ื ให้เกิดความเขา้ ใจ ไม่ใชค้ าฟุม่ เฟือย ลาดบั ความดี มีสัมพันธภาพ รัชกาลท่ี ๔ ทรงพิถีพิถันในการอธิบายความ โดยใช้ภาษาแบบแผน ไม่ได้ใช้อานาจส่ังการ หากแต่ ใช้เหตุผลประกอบการวนิ ิจฉัย ๖.๒.๒ จดหมายเหตรุ าชทูตไทยไปอังกฤษและนริ าศลอนดอน ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) พร้อมด้วยคณะ เชิญพระราชสาสน์และเคร่ืองราช บรรณาการไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ในคราวนั้น หม่อม ราโชทยั ได้รว่ มเดินทางไปเจริญสมั พนั ธไ์ มตรี ณ ประเทศอังกฤษ กบั คณะราชทูต โดยได้รบั ตาแหน่ง เป็นล่าม และเป็นเหตุให้ได้เขียนจดหมายเหตุการณ์การเดินทาง และนิราศลอนดอนในเวลาต่อมา สนั นษิ ฐานว่า หมอ่ มราโชทยั แตง่ หลังจากเขยี นจดหมายเหตรุ าชทตู ไทยไปอังกฤษ และเม่ือแต่งเสร็จ ไดแ้ ล้วขายกรรมสิทธ์ิการพิมพ์ให้หมอบรัดเลย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๔ เช่ือกันว่าเป็นการซื้อขายลิขสิทธ์ิ หนังสอื ครั้งแรกของไทยดว้ ย คณะราชทูตไทยท่ีเดินทางไปเจริญราชไมตรี ณ ประเทศอังกฤษในคร้ังนี้ เช่น พระ ยามนตรสี ุรยิ วงศ์ เป็นราชทูต เจา้ หม่นื สรรเพชญภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต หม่อมราโชทยั เป็นลา่ มหลวง ขุนปรีชาชาญสมทุ รและขุนจรเจนทะเลเปน็ ล่าม ผู้แตง่ หม่อมราโชทยั (ม.ร.ว.กระตา่ ย อศิ รางกูร) ลักษณะการแต่ง จดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษใช้ภาษาร้อยแก้ว นิราศ ลอนดอน แต่งด้วยกลอนนริ าศ มีความยาว ๒,๔๑๔ คากลอน จบด้วยโคลงสส่ี ภุ าพ ๕ บท วัตถุประสงค์ในการแต่ง จดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษ แต่งเพื่อถวาย รายงานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเดินทางไปราชการ ณ ประเทศอังกฤษ สว่ น นริ าศลอนดอนแตง่ เพื่อบันทึกเหตกุ ารณแ์ ละพรรณนาสภาพบา้ นเมอื งทีต่ นได้เดนิ ผ่านไป เน้ือเร่ืองย่อ เน้ือความของทั้ง ๒ เรื่องคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ต่างกันท่ีรูปแบบ การประพันธ์ มีเนือ้ ความโดยสังเขป ดังนี้ คณะราชทูตไทยอญั เชญิ พระราชสาร พร้อมท้งั เคร่ืองราช บรรณาการไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียณ พระราชวังวินเซอร์ ซ่ึงทาให้ได้รับผลดี คือมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ โดยที่ไทยได้ประโยชน์เพ่ิมข้ึน จากนั้นคณะราชทูตไทยได้รับ พระราชทานเล้ยี งอาหารคา่ และน้าชาและไดพ้ ักคา้ งแรม ณ พระราชวังวินเซอร์ ๑ คนื ตอ่ มาจึงไดไ้ ป ๒๐๔

เย่ยี มชมสถานทีส่ าคญั ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงงานทาเหรยี ญกษาปณ์ ป้อมศาสตราวุธแหง่ ลอนดอน และกลับประเทศไทย ในจดหมายเหตรุ าชทตู ไทยไปองั กฤษ แบง่ เน้อื หาออกเป็นตอน ๆ ไดด้ งั นี้ ตอนที่ ๑ แต่งราชทตู ออกจากกรุงเทพฯ จนถึงเมืองสงิ คโ์ ปร์ ตอนที่ ๒ ว่าดว้ ยราชทตู ออกจากเมอื งสิงค์โปรไ์ ปถงึ เมืองไกโรแว่นแควน้ อายฆบุ โต ตอนท่ี ๓ วา่ ดว้ ยราชทตู ออกจากไกโรถึงเกาะมอลตา และเมืองยิบรอเตอและเมือง ไวโคและเมืองปอรด์ สมัทในอิงแลนด์ ตอนที่ ๔ ว่าดว้ ยราชทตู ไปจากเมอื งปอร์ดสมทั ถงึ เมอื ง ลอนดอน ดกู ารเลน่ ตา่ งๆ ตอนที่ ๕ ว่าดว้ ยราชทูตนาพระราชสาสน์ ขน้ึ ไปเฝ้าพระนางวิคตอเรีย ตอนที่ ๖ ว่าด้วยพระนางเจ้าเชญิ ราชทตู ไปเลย้ี งโต๊ะ ตอนท่ี ๗ วา่ ด้วยทวี่ า่ ราชการชื่อปาลิเมนต์และเมืองตา่ ง ๆ ตอนที่ ๘ วา่ ดว้ ยเฝ้าควนี ทีว่ ังบักกิงฮัม ดรู าเท้าและการซอ้ มทหาร และการอาวาหะ เจา้ ลูกเธอหญงิ ใหญ่ ตอนท่ี ๙ ว่าด้วยกษัตริย์ (ควีน) ให้เจ้าหญิงและราชทูตไปดูคุกและคลังและแม่น้า เทมส์ ตอนที่ ๑๐ ว่าด้วยควีนตง้ั ขุนนางและราชทูตเข้าเฝ้าทูลลาไปดูที่ขังคนบ้า และพิพิธ ภัณท์ ตอนที่ ๑๑ ว่าด้วยราชทูตออกจากเมืองลอนดอนไปถึงท่าโดเวอ และกลับว่าด้วย ประเทศเครดบริดตนิ ตอนท่ี ๑๒ ว่าด้วยผู้รับใช้ปรนนิบัติราชทูตที่โรงแรมและราชทูตออกจากเมือง ลอนดอนจะกลับมาเมอื งไทยและได้แวะท่เี มอื งฝร่ังเศส ตอนที่ ๑๓ ว่าด้วยราชทูตอยู่เมืองสุเอส แขวงเมืองอายฆุบโต แล้วไปเมืองเมกกะ และเมอื งดาลแี ละเมอื งสิงค์โปร์ ตอนท่ี ๑๔ ว่าด้วยรับแขกเมืองที่มาส่งราชทตู เขา้ เฝ้า แล้วเดนิ ทางกลับกรุงเทพฯ ตวั อย่าง จดหมายเหตรุ าชทูตไทยไปอังกฤษ การบรรยายตอนราชทตู ไปจากเมอื ง ปอร์ดสมทั ถึงเมืองลอนดอน แลดกู ารเล่นต่าง ๆ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๒ ค่า เวลาเช้า ๕ โมง มิศเตอร์เฟาล์จึงเชิญ พวกราชทูตข้นึ รถเทียมม้าไปที่รถไฟ แล้วเชิญพระราชสาส์นแลทูตานุทูตกับส่ิงของ เคร่ืองราชบรรณาการทั้งปวงข้ึนรถไฟต่อไป หนทางแต่เมืองปอรด์สมัทเปนท่าขึ้น จนถึงเมืองลอนดอน เปนทาง ๙๔ ไมล์ครึ่ง คือ ๔๒๕๒ เส้น เวลาบ่าย ๒ โมงถึง ๒๐๕

เมืองลอนดอน มีทหารขี่ม้าถือดาบมาคอยรับอยู่ ๓๒ คู่ เจ้าพนักงานจัดรถมาคอย รับ ๕ รถ เทียมม้ารถละคู่ แต่เปนรถอย่างดี ๒ รถ รถท่ี ๑ ราชทูตอุปทูตน้ัน มี สักหลาดคลุมหน้ารถ ปักไหมทองเปนตรา พระจอมเกล้า ท่ีประตูรถเขียนเปนธง ชา้ งเผอื ก มคี นแตง่ ตวั ใสห่ มวก ตดิ สายแถบทองยนื ทา้ ยรถคนหน่งึ รถท่ี ๒ ตรที ูตกบั หม่อมราโชไทย มีสักหลาดคลุมหน้ารถปักไหมเงินเปนตราพระจอมเกล้าที่ประตู เขียนธงช้างเผือก มีคนแต่งตัวยืนท้ายรถคนหน่ึงเหมือนกัน แต่รถนอกน้ันเปนรถ ธรรมดา พวกราชทูตข้ึนรถพร้อมกันแล้ว คนขับรถก็ขับม้า พาไปส่งถึงโฮเต็ล ๆ ท่ี ราชทูตอยู่นั้น ชื่อกลาริชโฮเต็ล เปนท่ีดีอยู่ในเมืองลอนดอน ไม่มีโฮเต็ลอ่ืนดีข้ึนไป กวา่ น้ี ตวั อย่าง การพรรณนาสภาพบ้านเมืองของอังกฤษ ในนิราศลอนดอน กลางเมอื งหลวงมหี ว้ งชลาไหล เหมือนกรุงไทยแถวลาแมน่ ้าคัน่ แตน่ ทฝี ่ายเบื้องขา้ งเมืองน้นั นามสาคญั ในภาษาเรยี กว่าเทมส์ มีเรอื จา้ งกลไฟไว้หลายร้อย เท่ียวลอ่ งลอยหลกี แลน่ แสนเกษม ทาท่วงทีท่ที างสาอางเอม น่าปรดี ิเ์ ปรมสุขสมภริ มยท์ รวง คอยรับคนขนลงสง่ ขน้ึ ล่อง ไปเทย่ี วทอ่ งทอ้ งมหาชลาหลวง อนั ประชาชาวบุรินทร์ส้ินท้ังปวง ชอบชมหว้ งกระแสใสพอไดล้ ม ฝา่ ยบนบกรถกระจกที่เทยี มม้า บางรถั าสองคู่ดพู อสม บ้างใส่แต่คู่หน่ึงกข็ งึ คม บา้ งขนื ข่มเอาตัวเดียวเคีย่ วตะบัน คอยรบั จ้างตามทางแถวถนน ทฝี่ งู คนทงั้ หลายจะผายผัน เขาทางามตามอย่างต่างต่างกัน บางรถนั้นฝาใส่บา้ งไม่มี คุณค่า ท้ังจดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษและนิราศลอนดอนเป็นบันทึก เหตุการณ์ทางด้านการเมืองการปกครองและการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เร่ืองสาคัญ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทย ในด้านการใช้ภาษา จะเห็นว่า ใน จดหมายเหตุ ผู้แต่งใช้ภาษาง่าย สื่อความตรงไปตรงมาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการแต่ง ดาเนินเร่อื งไปตามลาดับเวลาและสถานที่ เลือกใชค้ าซึ่งมที ั้งคาราชาศัพท์ คาภาษาต่างประเทศ ได้ อย่างเหมาะสม ส่วนภาษาในนิราศลอนดอนดีเด่นไม่แพ้ของสุนทรภู่ ผู้แต่งใช้ภาษาที่แสดงออกถึง อารมณ์ ความรู้สึก สอดแทรกไว้ในเนื้อความบางตอน พรรณนาเรื่องจนเกิดจินตภาพ และ เปรียบเทียบถึงส่ิงที่เคยและไม่เคยพบเห็น รวมทั้งมีการใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นอย่า ง ๒๐๖

ตรงไปตรงมา นิราศลอนดอนนี้ผิดแผกจากขนบการแต่งนิราศโดยทั่วไป เพราะไม่ได้พรรณนาคร่า ครวญถงึ การจากนางอันเป็นท่ีรัก แต่พรรณนาประสบการณ์การเดินทางและสิ่งท่ีตนพบ วรรณคดี ทง้ั ๒ เร่ืองนย้ี ังเป็นเรือ่ งแรกทพี่ รรณนาฉากหรือสภาพบา้ นเมืองของประเทศตะวันตก ๖.๓ กวีและวรรณคดีสาคัญสมยั รชั กาลที่ ๕ กวแี ละวรรณคดีสาคญั ในสมยั นี้ มดี งั นี้ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีงานพระราชนพิ นธ์ ได้แก่ ๑) พระราชพธิ สี ิบสองเดอื น ๒) ไกลบ้าน ๓) พระราชวิจารณ์ ๔) บทละครเรือ่ งเงาะปา่ ๕) ลลิ ติ นิทราชาครติ ๖) บทละครเร่ืองวงศเทวราช ๗) กวีนพิ นธ์เบด็ เตลด็ เช่น กาพยเ์ ห่เรอื โคลงสภุ าษติ โคลงรามเกียรต์ิ ๘) บันทกึ และจดหมายเหตตุ า่ งๆ พระยาศรีสนุ ทรโวหาร (นอ้ ย อาจารยางกูร) ไดแ้ ก่ ๑) แบบเรียนภาษาไทย ๖ เลม่ ๒) พรรณพฤกษาและสตั วาภิธาน ๓) คาฉนั ท์กลอ่ มชา้ ง ๔) คานมัสการคุณานคุ ุณ พระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระนราธปิ ประพันธพ์ งศ์ ไดแ้ ก่ ๑) เฉลิมพระเกยี รตกิ ษัตริย์คาฉันท์ ๒) ลลิ ิตมหามงกฎุ ราชคุณานสุ รณ์ ๓) ลิลิตตานานพระแทน่ มนงั คศลิ า ๔) พระราชพงศาวดารพม่า ๕) บทละครเร่อื งสาวเครอื ฟ้า ๖) บทละครเรอื่ งพระลอ ๗) บทละครเรอื่ งไกรทอง ๘) บทละครพงศาวดารเรื่องพนั ทา้ ยนรสิงห์ เจ้าพระยาธรรมศักดม์ิ นตรี ได้แก่ ๑) โคลงกลอนของครเู ทพ ๒๐๗

๒) ความเรียงของครเู ทพ เทียนวรรณ ผลงานส่วนใหญอ่ ยใู่ นหนงั สือพมิ พต์ ลุ วิภาคพจนก์ ิจ และศิรพิ จนภาค ก.ศ.ร. กหุ ลาบ ผลงานสว่ นใหญอ่ ยู่ในหนังสอื พมิ พ์ สยามประเภท สุนทรโรวาทพเิ ศษ ในท่ีนี้ จะขออธบิ ายถงึ วรรณคดบี างเร่ืองที่สาคญั โดยสงั เขป ดังน้ี ๖.๓.๑ พระราชพธิ ีสบิ สองเดอื น พระราชพิธีสบิ สองเดือนเป็นความเรียงร้อยแก้ว ลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ เม่ือปี ๒๔๓๑ อธิบายถึงพระราชพิธตี า่ ง ๆ ทีท่ าเป็นประจาในแตล่ ะเดือน โดยรัชกาลที่ ๕ ทรงค้นคว้าและ แต่งขึ้นทีละเรอื่ ง จนไดพ้ ระราชพิธที ัง้ หมด ๑๑ เดอื น ขาดแตเ่ ดือน ๑๑ ทรงเรมิ่ ต้นท่ีเดือน ๑๒ ก่อน เนอ่ื งจากตดิ พระราชธรุ ะจนไม่ไดแ้ ต่งต่อจวบส้ินรชั สมยั ผแู้ ตง่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ลกั ษณะการแต่ง ความเรยี งร้อยแก้ว วตั ถปุ ระสงค์ในการแตง่ เพ่ือบนั ทึกงานพระราชพิธใี น ๑๒ เดอื น เนื้อเรื่องยอ่ กล่าวถงึ พระราชพธิ ที ี่มีมาในพระราชกาหนดกฎมณเฑียรบาล ซ่ึงได้ ใช้มาแต่แรกสรา้ งกรุงศรอี ยธุ ยา คอื พระราชพิธีสิบสองเดือน ซ่ึงพระเจ้าแผ่นดินทรงกระทาและถือ ว่าเปน็ การมงคลสาหรบั พระนครทุกปไี ม่ได้ขาด ทรงอธิบายงานพระราชพิธีไว้ท้ังหมด โดยทรงสืบ สาวหาตน้ เหตุแห่งพธิ ีและประเพณี ทรงชแ้ี จง แกไ้ ข เพ่ิมเติมหรือปรับเปล่ียนกระบวนการของพิธี ต่าง ๆ และยังทรงมีพระราชกระแสตักเตือนเจ้าหน้าที่พนักงานผู้ท่ีจะต้องจัดเตรียมการต่าง ๆ ไว้ ดว้ ย พระราชพธิ ี ๑๒ เดอื น ได้แก่ เดอื นหา้ การพระราชพธิ ีเผดจ็ ศก ลดแจตรออกสนาม เดอื นหก พิธไี พศาขย์ จรดพระราชนังคลั เดอื นเจ็ด ทูลน้าลา้ งพระบาท เดือนแปด เข้าพรรษา เดอื นเก้า ตลุ าภาร เดือนสบิ ภทั รบทพธิ สี ารท เดอื นสิบเอด็ อาศยุชยแข่งเรือ เดือนสบิ สอง พิธจี องเปรยี งลดชุดลอยโคม เดอื นอ้าย ไลเ่ รือ เถลงิ พิธตี รียมั พวาย เดือนยี่ การพิธบี ษุ ยาภเิ ษก เฉวยี นพระโคกนิ เลย้ี ง เดอื นสาม การพิธีธานยเทาะห์ ๒๐๘

เดือนสี่ การพิธีสมั พจั ฉรฉินท์ ตวั อย่าง กลา่ วถึงพระราชพธิ จี องเปรยี ง ๏ การพระราชพิธีในเดือน ๑๒ ซ่ึงมีมาในกฎมนเทียรบาลว่าพิธีจองเปรียง ลดชุด ลอยโคม ตรวจดูในความพิสดาร ในกฎหมายนั้นเองก็ไม่มีข้อความใดกล่าวถึงเสาโคม และการจุดโคมอย่างหนึ่งอย่างใดชัดเจน หรือจะเป็นด้วยเป็นการจืด ผู้ท่ีแต่งถือว่าใคร ๆ ก็เห็นตัวอย่างอยู่แล้วไม่ต้องกล่าว มีความแปลกออกไปนิดเดียว แต่ที่ว่าการพิธี จองเปรียงลดชุดลอยโคม และเติม “ลงน้า” เข้าอีกคาหนึ่ง คาท่ีว่า “ลงน้า” นี้จะ แปลว่ากระไรกส็ นั นิษฐานยาก จะเข้าใจว่าเอาโคมท่ีเป็นโครงไม้ไผ่หุ้มผ้าที่ชักอยู่บนเสา มาแต่ต้นเดอื นลดลงแล้วไปทงิ้ ลงนา้ กด็ ูเคอะไม่ได้การเลย หรืออีกอยา่ งหน่งึ จะเปน็ วิธวี ่า เมอื่ ลดโคมแลว้ ลอยกระทง สมมตวิ ่าเอาโคมน้ันลอยไปตามลัทธิพราหมณ์ ท่ีพอใจลอย อะไรๆ จัดอยู่เช่นกับลอยบาปล้างบาป จะถือว่าเป็นลอยเคราะห์ลอยโศกอย่างใดไปได้ ดอกกระมัง การก็ตรงกันกับลอยกระทง ลางทีจะสมมุติว่าลอยโคม ข้อความตามกฎ มนเทียรบาลมีอยแู่ ต่เท่านี้ ส่วนการพระราชพิธี ซึ่งได้ประพฤติอยู่ในปัจจุบันน้ีนับว่าเป็นพระราชพิธีพราหมณ์ มิได้เก่ียวข้องด้วยพระพุทธศาสนาสืบมา กาหนดท่ียกโคมน้ัน ตามประเพณีโบราณว่า ถ้าปีใดมีอธิกมาสให้ยกโคมต้ังแต่วันข้ึนค่าหนึ่งไปจนวันแรมสองค่าเป็นวันลดโคม ถ้าปี ใดไม่มีอธิกมาสให้ยกโคมขึ้นสิบสี่ค่า เดือนอ้ายข้ึนค่าหนึ่ง เป็นวันลดโคม อีกนัยหน่ึงว่า กาหนดตามโหราศาสตร์ว่า พระอาทติ ย์ถึงราศพี จิ ิก พระจันทรอ์ ยรู่ าศพี ฤษภเม่ือใด เมื่อ นั้นเปน็ กาหนดที่จะยกโคม อีกนัยหนึ่งกาหนดด้วยดวงดาวกฤติกาคือดาวลูกไก่ ถ้าเห็น ดาวลูกไก่นั้นตั้งแต่ค่าจนรุ่งเมื่อใด เป็นเวลายกโคม การท่ียกโคมขึ้นน้ันตามคาโบราณ กลา่ วว่ายกข้นึ เพอื่ บชู าพระเป็นเจ้าท้งั สาม คือพระอศิ วร พระนารายณ์ พระพรหม การ ซ่ึงว่าบูชาพระเจ้าท้ังสามนี้เป็นต้นตาราแท้ ในเวลาถือไสยศาสตร์ แต่คร้ันเม่ือพระเจ้า แผ่นดินทรงนับถือพระพุทธศาสนา ก็กล่าวว่าบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีใน ดาวดึงสพิภพ และบูชาพระพุทธบาท ซ่ึงปรากฏอยู่ ณ หาดทรายเรียกว่านะมะทานที เป็นที่ฝูงนาคท้ังปวงสักการบูชาอยู่ แต่ถึงวา่ โคมชัยทอี่ ้างว่าบชู าพระบรมสารรี ิกธาตพุ ระ พุทธบาทดังน้ีแล้ว ก็ยังเป็นพิธีของพราหมณ์พวกเดียว คือต้ังแต่เริ่มพระราชพิธี พราหมณ์ก็เข้าพิธีที่โรงพิธีในพระบรมมหาราชวัง และเวลาเช้าถวายน้าพระมหาสังข์ ตลอดจนวนั ลดโคม เทยี นซง่ึ จะจุดโคมนน้ั ก็ทาเปรียง คือไขข้อพระโคซ่ึงพราหมณ์นามา ถวายทรงทา การท่ีบูชากันด้วยน้ามันไขข้อโคน้ีก็เป็นลัทธิพราหมณ์แท้ เป็นธรรมเนียม ๒๐๙

สืบมาจนแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดาริว่าการพระ ราชพิธีท้ังปวงควรจะให้เน่ืองด้วยพระพุทธศาสนาทุก ๆ พระราชพิธี จึงโปรดให้มีการ สวดมนตเ์ ย็นฉนั เชา้ ก่อนเวลาทีจ่ ะยกเสาโคม (...) คุณค่า วรรณคดีสโมสรยกย่องใหพ้ ระราชพิธีสิบสองเดอื นเป็นยอดของความเรียง อธบิ าย เนอื่ จากเปน็ ความรู้ที่ถูกต้อง พระราชนิพนธ์ขึ้นจากการค้นคว้าข้อมูลและการสอบถามจาก ผู้รู้ต่าง ๆ วรรณคดีเรื่องน้ี จึงเป็นบันทึกทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมไทยได้อย่างดี ท้ังยังใช้ ภาษาในเชิงอธบิ ายความไดอ้ ย่างแจม่ ชดั ๖.๓.๒ บทละครเรื่องเงาะปา่ เงาะป่า เป็นงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระราชนพิ นธข์ น้ึ ในระหว่างการพกั ฟน้ื หลงั ทรงพระประชวรจากไขม้ าเลเรยี โดยใชเ้ วลาเพียง ๘ วัน โดยแม้จะมีรูปแบบเป็นกลอนบทละคร แม้มิได้มีพระประสงค์เพื่อใช้เล่นละครแต่อย่างใด หากแต่ ทรงแต่งขึ้นเพื่อเป็นที่ผ่อนคลายและสาราญพระทัย ทรงแต่งแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) โปรดเกล้า ฯ ให้ตีพิมพ์เผยแพร่คร้ังแรก เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๖ เหตุท่ีทรง พระราชนพิ นธเ์ น่ืองจากเสดจ็ พระพาศปกั ษ์ใตใ้ นปี พ.ศ.๒๔๔๘ คณะกรรมการเมืองได้ถวายความรู้ เกย่ี วกับเงาะซาไก และเจ้าเมืองพัทลุงได้นาเด็กเงาะช่ือคนังมาถวาย พระองค์ทรงเรียนรู้ภาษาเงาะ จากคนงั และจึงได้ทรงพระราชนพิ นธน์ ิยายรักสามเศรา้ เร่อื งเงาะป่านข้ี ึ้นมาก ผูแ้ ตง่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลกั ษณะการแตง่ กลอนบทละคร วตั ถปุ ระสงคใ์ นการแตง่ เพอ่ื ให้เป็นท่ผี ่อนคลายและสาราญพระทยั เนอ้ื เรือ่ งย่อ คนงั และไม้ไผ่ เป็นเด็กชายชาวเงาะรุ่นเดียวกัน พากันไปเที่ยวป่า และได้พบซมพลาชายหนมุ่ ผู้มีความสามารถในการใช้อาวุธ ท้ังสองขอให้ซมพลาช่วยสอนเชิงอาวุธ ให้ ซมพลาจึงสอนและแสดงวิธีการสู้เสือให้ดู เมื่อฆ่าเสือตายแล้ว ซมพลาซ่ึงหลงรักนางลาหับ พ่ีสาวของไมไ้ ผจ่ งึ ฝากดอกไมแ้ ละเลบ็ เสือไปให้นาง ต่อมาไม้ไผ่ออกอุบายให้พ่ีสาวมาเก็บดอกไม้ใน ปา่ เพื่อจะใหน้ างลาหับได้พบกับซมพลา แต่ลาหับถูกงรู ัดที่แขนขณะที่เก็บดอกไม้และตกใจจนสลบ ไป ซมพลาฆ่างูและช่วยให้นางฟื้น เม่ือลาหับรู้สึกตัวซมพลาจึงบอกรักนาง ลาหับพอใจซมพลา แต่ขดั ข้องทีน่ างมคี ู่หมัน้ แลว้ คือ ฮเนา ซมเพลาจงึ ออกอบุ ายใหล้ าหับเข้าพิธีแต่งงานไปก่อนและตน จะมาพาหนีในตอนค่า ระหว่างพิธีซมพลาได้พานางลาหับหนีไปซ่อนในถ้า ฮเนาและญาติพ่ีน้อง ออกตามหาจนพบซมพลา จึงได้ต่อสู้กัน ซมพลาถูกพ่ีชายของฮเนายิงด้วยลูกดอกอาบยาพิษ ลาหับตามมาทัน ซมพลาสั่งเสียให้นางกลับไปหาฮเนาเพื่อจะได้อยู่อย่างมีความสุขแล้วจึงสิ้นชีวิต ๒๑๐

ลาหับเสียใจจึงแทงตัวตายตามซมพลา ฝ่ายฮเนาเม่ือเห็นท้ังสองตายก็รู้สึกเสียใจท่ีตนเป็นต้นเหตุ จึงฆ่าตัวตายตาม พวกเงาะฝังศพทั้งสามคนไว้ในหลุมเดียวกันและเตรียมการย้ายถ่ินฐานต่อไป (ศริ ิน โรจนสโรช, ออนไลน์) ตวั อย่าง กลอนในเงาะป่า ๏ โอ๊ะเฮเฮเห่เฮเฮ เห่เฮเฮเฮ้เห่ ๏ ช้าหนอ่ ยแม่นางก็อยเอย อย่าทาใจน้อยหน้าตาบดู บง้ึ ย้มิ เสียให้แฉง่ อยา่ แสรง้ มนึ ตึง ชา้ หนอ่ ยแมน่ างกอ็ ยเอย ฯ ๏ ช้านิดแม่ชื่นจติ รเอย อยา่ ใสจ่ รติ กระดุ้งกระดิง้ ดอกไมห้ อมกรนุ่ ฉนุ ฤๅจะทิ้ง ชา้ นิดแม่ชื่นจติ รเอย ฯ ช้าอดื แม่นางอดื เอย ตามกนั เปนยืดยกั ไหล่ฟอ้ นรา อยา่ ให้ช้านักจักเสยี ลานา ช้าอดื แม่นางอดื เอย ฯ ชา้ ไว้แมช่ ื่นใจเอย รวังอกไหล่อย่าให้ปะทะ จะเกดิ ราคาญข้คี รา้ นเอะอะ ชา้ ไว้แม่ช่นื ใจเอย คุณค่า เรื่องเงาะป่าให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมของเงาะได้อย่างดี เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณี ความเช่ือ และการทามาหากิน เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่ นาเอาเร่ืองของชนกลุ่มน้อยมาแต่งเป็นตัวละครเอกและเป็นเรื่องเป็นราว มีโครงเรื่องท่ีสนุกสนาน และโศกเศร้า จบเรื่องแบบโศกนาฏกรรม แม้รัชกาลท่ี ๕ จะให้เวลาไม่นานในการพระราชนิพนธ์ แต่ยังคงไวซ้ ง่ึ ความงามทางวรรณศิลป์ครบถว้ น นอกจากน้ียังให้แงค่ ิดและคตธิ รรมในเร่ืองตา่ งๆ เชน่ ความไมแ่ นน่ อนของสงิ่ ธรรมดาในโลก อาฆาตพยาบาทเปน็ สง่ิ ไมค่ วรประพฤติ เป็นต้น ๖.๓.๓ ลิลิตนิทราชาคริต ลิลิตนิทราชาคริตเป็นงานพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงเป็นคนแรกท่ีนานิทานอาหรับ โดยทรงเก็บความจากเร่ือง \"Sleeper Awaken\" ซ่ึง เป็นนิทานย่อยเรื่องหนึ่งในจานวน ๑๐๐๑ เร่ืองในอาหรับราตรี หรือ Arabian Night's Entertainments ซ่ึงไม่ทราบผูแ้ ตง่ ต่อมากไ็ ด้มีชาวฝรั่งเศสช่ือ Antony Galland ไดแ้ ปลเปน็ ภาษา ฝร่ังเศส และพิมพ์เป็นเล่มเล็กจานวน ๑๒ เล่ม ใช้ชื่อว่า Thousand and One Nights Aribian Stories ต่อมามีคนนาไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ อีกหลายสานวน สานวนที่โด่งดังที่สุดคือ ของ Edward William Lane แต่ฉบับที่รัชกาลที่ ๕ นามาแปลน้ัน ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง และเป็น สานวนของผู้ใด รัชกาลท่ี ๕ ทรงนามาเรียบเรียงใหม่ แล้วทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้กรม ๒๑๑

หลวงพิชิตปรชี ากร ตรวจแก้ไขถอ้ ยคา จากนัน้ โปรดเกลา้ ฯ ใหพ้ ระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาร ยางกรู ) ตรวจทาน และจัดพมิ พ์เพ่ือพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ เน่ืองในโอกาสวันข้ึนปีใหม่ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องจบโดยใช้เวลาเพียง ๒๙ วันเพ่ือให้ทันต่อโอกาสดังกล่าว คาว่า นทิ ราชาครติ มคี วามหมายวา่ การหลบั และการตืน่ ผู้แตง่ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว ลักษณะการแตง่ แตง่ เปน็ ลลิ ิตสภุ าพ มรี า่ ยและโคลงสลับกนั จานวน ๙๙๑ บท วตั ถปุ ระสงคใ์ นการแต่ง พระราชทานแก่พระบรมวงศานวุ งศ์ในงานปใี หม่ เนื้อเรื่องย่อ ลิลิตนิทราชาคริตเป็นนิทานเร่ืองหนึ่งท่ีนางเซหะระซัดเล่าถวาย พระราชา โดยเนื้อความมีว่า พระเจ้ากาหลิบพระองค์หนึ่งพระนามว่า พระเจ้าฮารูนอาลราษจิต เสวยราชสมบัติ ณ กรุงแบกแดดพระองค์ทรงปลอมเป็นพ่อค้า เที่ยวสัญจรไปตามเมืองต่างๆอยู่ เนืองนิตย์ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขเร่ือยมา มีทายาทของนายพาณิชผู้ม่ังมีคนหนึ่งช่ือ อาบูหะซัน เมอื่ บดิ าสิ้นชีพแลว้ เขาจงึ แบง่ ทรัพย์สมบตั อิ อกเปน็ ๒ ส่วน สว่ นหน่ึงซ้ือท่ีดนิ เรอื กสวนไร่นาและตกึ รามบ้านช่องไว้ให้คนเช่าอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เพื่อการสาราญเลี้ยงเพ่ือนฝูงและนารี โดยไม่คิดทา การค้าขายอีกต่อไป อาบูหะซันประพฤติเช่นน้ีเป็นเวลา ๑ ปี เงินทองก็หมดส้ินไป จึงเที่ยวยืมเงิน เพื่อนฝูง แตก่ ลับต้องผิดหวงั เมื่อเพอ่ื นฝงู หลบหนา้ และพากนั รังเกียจ เขาจึงพากเพียรเก็บออมเงิน ทองเพ่ือค้าขายใหม่ ในไม่ช้าก็กลับมาม่ังค่ังตามเดิม และได้ต้ังสัตย์ไว้ในใจว่าจะไม่คบเพื่อนฝูงใน เมืองแบกแดดอีก จะคบแต่เพอ่ื นต่างเมอื งเทา่ น้ัน วันหนึ่งพระเจ้ากาหลิบปลอมพระองค์เป็นพ่อค้า มีทาสผิวดามาด้วยคนหน่ึง เม่ือเสด็จมาถึงบ้านอาบูหะซันจึงได้เชิญให้เข้าไปในบ้านของตน และ บอกวา่ จะต้อนรบั เพยี งคนื เดยี ว พระเจา้ กาหลบิ เหน็ แปลกก็รบั เชญิ ขณะบรโิ ภคอาหารและดื่มสุรา อย่างสนุกสนานนัน้ พระเจ้ากาหลิบพยายามลวงถามถึงชีวิตอาบูหะซัน และความเป็นไปของคนใน แบกแดด อาบกู ็เล่าความจริงถงึ อีแมนซ่งึ เปน็ อาจารยแ์ ละศษิ ย์ทงั้ สี่ ว่าประพฤติตนชั่วช้าและเล่าต่อ อีกวา่ หากเขาเป็นพระเจา้ กาหลบิ จะจับอแี มนกบั ศษิ ย์มาเฆีย่ นประจานให้หลาบจา ตกดึกพระเจ้า กาหลบิ จึงโรยยาสลบใหอ้ าบูหะซนั ดื่มเมือ่ อาบูสนิ้ สติจงึ สัง่ ทาสให้แบกอาบูหะซันเขา้ วงั ทนั ที พระเจ้ากาหลบิ จงึ สัง่ ให้แต่งเครื่องทรงอาบอู ยา่ งกษัตริย์ และกาชบั ขนุ นางใหป้ ฏบิ ตั กิ ับอาบู หะซันเหมือนปฏิบัติกับพระองค์ คร้ังรุ่งขึ้นอาบูหะซันต่ืนจึงคิดว่าตนฝันไป แต่เหล่าสนมและ อามาตย์ต่างยืนยันว่าเขาคือกาหลิบจริงๆ อาบูจึงเคลิ้มว่าตนเป็นกาหลิบ เม่ือเสด็จออกว่าการ อาบูหซันกต็ ัดสนิ ขอ้ ราชการไดถ้ กู ต้อง พรอ้ มสั่งพวกนครบาลไปจบั ตัวอแี มนและศิษย์ทงั้ สม่ี าลงโทษ ประจาน และส่ังให้นาทองคาพันลิ่มไปมอบให้นางจอบแก้วผู้เป็นมารดาด้วยตกค่าเม่ือเสวยพระ กระยาหาร นางกานลั นามว่าฟองไข่มกุ ลอบวางยาสลบลงในถ้วยสุราเมื่ออาบูหะซันสิ้นสติแล้วพระ เจ้ากาหลิบจึงรับส่ังให้เปลี่ยนชุด และให้ทาสดาแบกไปส่งบ้านเดิมของเขารุ่งขึ้นอาบูหะซันต่ืนขึ้น ๒๑๒

เวลาบ่าย ยังคงเพ้อพกถึงความสนุกสนานในวัง ครั้งมารดามาเตือนว่าตนเองคืออาบูหะซันก็กลับ ทุบตีมารดา ชาวบา้ นจึงจับเขาไปส่งโรงพยาบาลโรคจิต อาบูหะซนั ถกู โบยตสี าหสั จึงมสี ตเิ ชน่ เดิม หลังจากนั้นอีกเดือนหนึ่งพระเจ้ากาหลิบจึงปลอมพระองค์มาหาอาบูหะซันใหม่ และทรง กระทาเชน่ เดิมอีกในครงั้ นีอ้ าบูหะซันเกิดสนกุ สนานจนลกุ ขน้ึ มาเต้นรากับสนมกานลั พระเจ้ากาหลิ บซ่ึงแอบทอดพระเนตรอย่สู ดุ จะกล้ันไดพ้ ระสรวลล่นั ออกมา เมื่ออาบูหะซันทราบว่ามิตรของตนคือ พระเจา้ กาหลบิ จงึ เข้าไปขอพระราชทานอภัยโทษ กาหลิบจึงต้ังให้อาบูอยู่รับราชการในสานักพร้อม ทัง้ พระราชทานนางนอซาตอลอัวดดั ให้เป็นภรรยาของอาบูหะซนั ด้วย อาบูหะซันกับอัวดัดอยู่กินกัน อย่างมีความสุข ท้งั สองใช้สอยเงินอยา่ งฟุ่มเฟือย ไม่นานเงินพระราชทานก็หมดลง อาบูหะซันจึง ออกอบุ ายวา่ ตนจะไปทูลพระเจา้ กาหลิบวา่ นางอวั ดดั ตายเพื่อจะไดร้ บั พระราชทานเงนิ ปลงศพ สว่ น นางอวั ดัดก็ให้ไปทูลพระนางโซบิเดว่าอาบูตายจะได้รับพระราชทานเงินเช่นกัน ในที่สุดพระเจ้ากา หลิบและพระนางโซบเิ ดจึงเสดจ็ มาท่ีเรอื นอาบทู ้งั สองจงึ แกลง้ ทาเปน็ ตาย พระเจา้ กาหลิบตรัสว่าถ้า ใครบอกว่าตายก่อนจะได้ทองพันล่ิม พอส้ินเสียงตรัสอาบูและอัวดัดก็ลุกข้ึนทั้งคู่ พร้อมกับทูลว่า ตายก่อน สองกษตั รยิ แ์ ละคนทั้งหลายพากันขบขนั ครนื้ เครง อาบแู ละอัวดดั ไดร้ บั อภยั โทษและไดร้ บั ทองอีกคนละพนั ลิ่ม (อุทัย ไชยานนท์, ๒๕๔๕) ตวั อยา่ ง ตอน อาบูหะซนั ตน่ื ขึ้นในวัง แลว้ ร้สู กึ แปลกใจว่าตนเองเป็นองคก์ าหลบิ ๏อาบดู สู บส้ิน ทุกสฐาน เห็นประหลาดเหลือประมาณ เหตหุ ั้น เปนใดเหตใุ ดดาน ใดดั่ง น้นี า ฝันบฝันใดอัน้ อกโอ้พศิ วง ๚ คอื กู แม่นฤๅ ๏ ฤๅองคก์ าหลบิ น้ี ดง่ั น้ี จักแน่ฉันใดดู แต่ดึก ดอกนา ออพูดกับเพือ่ นตู กอ่ นไส้ไป่เปน ๚ จ่งึ เก็บมาฝนั ก้ี หลับตา เสยี เฮย สืบไส้ ๏ คดิ เหน็ เปนแนแ่ ลว้ นอนเนง่ ฉน้นั ฤๅ ดงั จกั ใครไ่ สยา กล่าวเออื้ นอัญเชญิ ๚ พนกั งานเม่อื ทศั นา จึ่งคอ่ ยเข้าเคยี งใกล้ คุณค่า ลิลิตนิทราชาคริตเป็นวรรณคดีไทยเรื่องแรกที่นาเรื่องมาจากนิทาน อาหรบั โดยใช้รูปแบบคาประพันธป์ ระเภทลิลิต มิได้ใช้ร้อยแก้วเหมือนดังต้นฉบับ วรรณคดีเร่ืองนี้ ๒๑๓

สะท้อนเรื่องราวของกษัตริย์ท่ีมีคุณธรรมในปกครองบ้านเมือง ซ่ึงอาจส่ือถึงพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เอง ทาให้ผูอ้ า่ นมคี วามร้เู รื่องประเพณีของชาวอาหรับ เช่น การลงทัณฑ์ด้วย การเฆ่ียนและให้หันหลังข่ีอูฐแห่ประจานรอบเมือง นอกจากน้ียังมีคาสอนหรือคติธรรมท่ีสะท้อน จากเรือ่ ง คาสอนของมารดาต่อบุตรในเรอ่ื งการคบเพือ่ น การใช้จา่ ยเงนิ ประหยัด ๖.๓.๔ แบบเรียนภาษาไทย ๖ เล่ม แบบเรียนภาษาไทย ๖ เล่ม หรือเรียกว่า แบบเรียนหลวง มีท้ังหมด ๖ เล่ม ได้แก่ มลู บทบรรพกิจ วาหนิต์นิ กิ ร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ และพิศาลการันต์ มูลบท บรรพกจิ เป็นหนังสือใช้สอนนักเรียนที่เริ่มเรียน โดยใช้มา ๑๙ ปี จนถึงปี ๒๔๓๑ จึงให้เลือกใช้ ให้ ใชแ้ บบเรยี นเร็วแทน เนื้อหาในแบบเรยี นหลวงเรยี งจากง่ายไปยาก เชอื่ กนั วา่ พระยาศรสี ุนทรโวหาร ผแู้ ตง่ นา่ จะมเี ค้ามูลมาจากหนังสอื จินดามณีด้วย ผ้แู ต่ง พระยาศรสี ุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกรู ) ลักษณะการแตง่ ร้อยกรองหลายชนิด วตั ถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือใชเ้ ป็นแบบเรียนอา่ นเขยี นภาษาไทย เน้อื เร่อื งย่อ แบบเรยี น ๖ เลม่ น้ี มเี นอื้ หาแตกต่างกัน ดังนี้ วาหนติ ิ์นกิ ร เป็นแบบเรียนผนั อักษรนา คือ การผนั อกั ษรสูงนาอักษรต่า และอักษร กลางนาอักษรตา่ โดยจัดตามลาดับตวั อกั ษร อักษรประโยค เป็นแบบเรียนการผันอักษรควบกล้า คือ การผันอักษรสองตัวท่ีอยู่ สระเดียวกัน อักษรท่ีเป็นตัวประโยค คือ ร ล ว ซึ่งนามาควบกับอักษรบางตัวแล้วแจกแม่ต่าง ๆ พร้อมด้วยการผนั เสียงวรรณยุกต์ การที่ต้องแยกออกมาเป็นอีกตอนหน่ึง เพราะมีวิธีผันต่างกับวาห นติ นิ์ ิกร สังโยคพิธาน เป็นหนังสือว่าด้วยเร่ืองตัวสะกดในแม่ต่าง ๆ โดยเฉพาะคาท่ีมาจาก ภาษาบาลี เพราะมตี ัวสะกดตา่ งกบั คาไทย แม่ กน มีอักษร ญ ณ น ร ล ฬ เปน็ ตวั สะกด ไวพจน์พิจารณ์ คือ คาท่ีเขียนต่างกันแต่อ่านออกเสียงเหมือนกันตัวเดียวกันแต่ สะกดตา่ งกัน อา่ นออกเสยี งอยา่ งเดียวกนั ตา่ งแต่เสียงสน้ั เสยี งยาว พศิ าลการนั ต์ คือ ตัวทีอ่ ยขู่ ้างท้ายและไมอ่ อกเสยี ง ไมเ่ ป็นตัวสะกด คาทม่ี ีตัวการนั ต์ เป็นคาที่มาจากภาษาบาลี หรอื ภาษาอ่ืน ๆ ในการเขยี นมีเคร่ืองหมายทัณฑฆาตไว้เปน็ ทสี่ งั เกต ตวั อยา่ ง ในมลู บทบรรพกจิ สอนเรือ่ งตวั สะกด แม่กก ขึ้นกก ตกทุกข์ยาก แสนลาบากจากเวยี งชัย มันเผอื กเลือกเผาไฟ กินผลไมไ้ ดเ้ ปน็ แรง ๒๑๔

รอน ๆ ออ่ นอสั ดง พระสรุ ิยงเย็นยอแสง ช่วงดังน้าครง่ั แดง แฝงเมฆเขาเงาเมรธุ ร ลิงค่างครางโครกครอก ฝูงจ้ิงจอกออกเหา่ หอน ชะนีวเิ วกวอน นกหกรอ่ นนอนวังเวยี ง ลกู นกยกปีกปอ้ ง อา้ ปากร้องซอ้ งแซเ่ สยี ง แม่นกปกปีกเคยี ง เล้ียงลูกออ่ นป้อนอาหาร ภธู รนอนเนินเขา เคยี งคลงึ เคลา้ เยาวมาลย์ ตกยากจากศฤงคาร สงสารน้องหมองพกั ตรา ยากเย็นเหน็ หนา้ เจา้ สร้างโศกเศร้าเจา้ พ่ีอา อยูว่ ังดังจันทรา มาหมน่ หมองลอองนวล เพื่อนทกุ ขส์ ขุ โศกเศร้า จะรักเจา้ เฝ้าสงวน มิ่งขวัญอย่ารัญจวน นวลพักตร์น้องจะหมองศรี ชวนช่ืนกลืนกลา้ กลน่ิ มิรู้สน้ิ กลนิ่ มาลี คลงึ เคลา้ เย้ายวนยี ท่ที กุ ขร์ อ้ นหย่อนเย็นทรวง คุณค่า แบบเรียนหลวงชุดน้ีเป็นแบบเรียนหลวงชุดแรกท่ีใช้เป็นแบบหัดอ่าน เขียนเบ้ืองต้น ผู้ที่เรียนจบแบบเรียนหลวงทั้ง ๖ เล่ม จะมีการสอบไล่และได้ประกาศนียบัตร เป็น วิวัฒนาการตาราเรยี นภาษาไทยที่สาคญั เลม่ หนึ่ง ๖.๓.๕ งานเขียนของเทยี นวรรณ เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส. วัณณาโภ เป็นนามปากกาของ เทียน วัณณาโภ นักคิด นักเขยี นคนสาคัญ มชี วี ติ อย่ใู นสมัยรัชกาลที่ ๓ – รชั กาลท่ี ๖ เทยี นวรรณท่ีมีบทความและงานรอ้ ย กรองจานวนมาก ทเ่ี ปน็ งานวิจารณ์ โดยต้งั ข้อสงั เกต และเสนอแนะเกี่ยวกับสงั คมการเมืองในยคุ น้ัน ทง้ั ด้านนโยบายการต่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลท่ี ๖ เทียนวรรณศกึ ษากฎหมายด้วยตนเอง และเร่ิมทางานเปน็ ที่ปรกึ ษากฎหมายและเป็นทนายความ รวมท้ังศึกษาเพ่ิมเติมทั้งภาษาไทยและอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เทียนวรรณถูก ฟ้องรอ้ งกรณเี ขยี นฎีกาให้กับราษฎรผหู้ น่งึ จึงถูกขงั คุกโดยไมม่ กี าหนด เทียนวรรณถกู ขังคกุ อยู่เกือบ ๑๗ ปี จึงได้รับอสิ รภาพในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ระหวา่ งถกู คุมขงั ได้มผี ลงานเขยี นออกมาจานวนมาก งานเขียนของเทียนวรรณระยะแรกตีพิมพ์ในดรุโณวาท เป็นบทความแสดงความ คิดเหน็ เกี่ยวกับ การเลิกทาส ต่อมาได้ทากิจการหนังสือพิมพ์ฉบับสาคัญ เป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ และรายเดอื น ช่อื \"ตุลวภิ าคพจนกิจ\" และ \"ศิรพิ จนภาค\" โดยหนงั สือพมิ พ์ตุลวิภาคพจนกิจดาเนิน ๒๑๕

กิจการอยู่ได้เพียงหกปี ต้องปิดตัวลงเพราะขาดทุน ต่อมาจึงจัดพิมพ์หนังสือชุด ศิริพจนภาค จานวน ๓๒ เล่ม เพ่ือรวบรวมงานเขียนของตนท้ังหมด ๓๓ ปีท่ีผ่านมา งานเขียนของเทียนวรรณ ส่วนใหญ่จะเป็นการวิจารณ์สังคมไทยในยุคนั้น เช่น เร่ืองการมีภรรยาหลายคน การเล่นการพนัน การรับสินบน และยังเสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงพัฒนาประเทศ ต้ังโรงเรียนสอนวิชาแพทย์ วิชา ชา่ ง ตง้ั ศาลยตุ ธิ รรม ตดั ถนนและทางรถไฟ ก่อต้ังกิจการไปรษณีย์ โทรเลข ธนาคารพาณิชย์ เสนอ กฎหมายห้ามสูบฝิ่น เลิกทาส ห้ามเล่นการพนัน รวมถึงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการ ปกครองดว้ ย งานเขียนของเทียนวรรณมีความแปลกใหม่ท้ังด้านเน้ือหาและรูปแบบ ถือว่าเป็น งานเขียนแนวกา้ วหนา้ เพราะยงั ไม่มีใครเคยเขยี นมากอ่ น โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ การเขยี นวพิ ากษ์วจิ ารณ์ สงั คมการเมอื ง ตวั อยา่ ง บทความเรอื่ ง \"ว่าด้วยกาลังใหญ่ ๓ ประการของบา้ นเมือง\" ถามว่าสง่ิ ใดเปนกาลังใหญ่ของบ้านเมือง ตอบว่า บ้านเมืองที่มีกาลังใหญ่น้ัน เพราะมีกาลัง ๓ ประการบริบูรณ์ไม่บกพร่อง คอื ๑. มีปัญญาแลรู้วิชามาท่ัวกันทั้งเจ้านายขุนนาง แลราษฎรพลเมืองเปนพ้ืนไม่ใช่ ดอกดวง ๒. มีโภคทรัพย์สมบัติมาก แลมีบ่อเกิดคือท่ีเกิดแห่งทรัพย์ที่เปนเอง, แลเกดด้วย ปญั ญา แลวิชาความเพยี รดว้ ยกาลังกายของรัฐบาลแลพลเมอื งราษฎร ๓. มีราษฎรพลเมืองมาก, ทง้ั ไดฝ้ ึกหัดรชู้ านาญในการกระบวนศกึ แทบทว่ั กนั แต่ใน เวลาเม่ือเลา่ เรยี นร้หู นังสอื มาแล้วเป็นพื้นในบ้านเมอื งนน้ั , จงึ รวมเปน็ กาลงั ๓ ประการฉะน้ี เมือ่ จะกล่าวความแตย่ อ่ ๆ ใหเ้ ข้าใจงา่ ยกก็ ลา่ ววา่ , ๑ ปญั ญาวิชา, ๒ ทรัพยบ์ อ่ ทเ่ี กดิ ทรัพย์, ๓ มีทหารแลพลเมืองมาก เท่าน้ีแลเรียกว่ากาลัง ๓ ประการของบ้านเมือง (ตุลวิภาคพจน กจิ ใน ธิดา โมสิกรัตน์, ๒๕๕๙, หน้า๕-๓๕) นอกจากเทียนวรรณจะเขียนบทความเกี่ยวกับสังคมการเมืองแล้ว ยังเขียนบท วิจารณ์วรรณคดีไทยด้วย โดยวิจารณ์เรื่องพระอภัยมณีในเชิงว่าเป็นวรรณคดีก้าวหน้า ต่างจาก นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ทั่วไป เรื่องพระอภัยมณียังแทรกคติธรรมไว้เป็นจานวนมาก บทความของ เทียนวรรณมักใชภ้ าษางา่ ยและส่ือความหมายชดั เจน ๒๑๖

๖.๔ กวีและวรรณคดีสาคญั สมยั รัชกาลที่ ๖ กวแี ละวรรณคดีสาคญั ในสมัยนี้ มีดังนี้ พระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยู่หวั มงี านพระราชนพิ นธ์ทีส่ าคัญ ไดแ้ ก่ ๑) บทละครพูดต่างๆ หัวใจนักรบ มัทนะพาธา พระร่วง วิวาหพระสมุทร โพงพาง เวนสิ วาณิช เห็นแก่ลูก ตามใจทา่ น โรเมโอและจูเลยี ต ๒) บทละครเบกิ โรงเรอื่ งดกึ ดาบรรพ์ ๓) บทละครดึกดาบรรพ์ ๔) บทละครร้อง เชน่ สาวติ รี ท้าวแสนปม ๕) บทละครรา เช่น ศกุนตลา ๖) บทโขน แก่ รามเกียรต์ิ ๗) พระนลคาหลวง ๘) บอ่ เกิดรามเกยี รต์ิ ๙) เมอื งไทยจงตืน่ เถิด ๑๐) ลัทธเิ อาอยา่ ง สมเด็จพระเจา้ บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ มงี านนิพนธ์ ได้แก่ ๑) พงศาวดารเร่อื งไทยรบพม่า ๒) นริ าศนครวดั ๓) เท่ยี วเมอื งพมา่ ๔) นทิ านโบราณคดี ๕) ความทรงจา ๖) สาสน์ สมเดจ็ ๗) เสด็จประพาสต้น ๘) ประวัติกวีและวรรณคดวี ิจารณ์ ๙) ฉันทท์ ูลเกล้าถวายรชั กาลท่ี ๕ พระราชวรวงศเ์ ธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ไดแ้ ก่ ๑) จดหมายจางวางหร่า ๒) นทิ านเวตาล ๓) ประมวลนิทาน น.ม.ส. ๔) พระนลคาหลวง ๕) กนกนคร ๒๑๗

๖) สามกรงุ สมเดจ็ พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอ เจ้าฟา้ กรมพระยานรศิ รานุวัติวงศ์ ได้แก่ ๑) อุณรุท ตอน สมอษุ า ๒) สงั ขท์ อง ตอน ถ่วงสงั ข์ ๓) อเิ หนา ตอนเผาเมอื ง ๔) บทเพลง เช่น เพลงเขมรไทรโยค เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงตบั ๕) กาพยเ์ ห่เรือ พระยาอปุ กิตศลิ ปสาร ได้แก่ ๑) คาประพันธบ์ างเรอ่ื ง ๒) ชมุ นมุ นพิ นธ์ ๓) สงครามมหาภารตะคากลอน พระยาศรสี นุ ทรโวหาร (ผนั ) ไดแ้ ก่ อิลราชคาฉนั ท์ นายชิต บรุ ทตั ไดแ้ ก่ ๑) สามคั คเี ภทคาฉนั ท์ ๒) กวนี ิพนธ์บางเร่อื ง ๓) พระเกยี รตงิ านพระเมรทุ องท้องสนามหลวง ในท่ีนี้ จะขอยกวรรณคดีสาคญั บางเรือ่ งมาอธบิ ายโดยสังเขป ดงั นี้ ๖.๔.๑ มัทนะพาธา มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีประเภท “บทละครพูด” เป็นบทพระราชนิพนธ์จาก จนิ ตนาการในพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยูห่ วั ไม่ได้ดดั แปลงจากวรรณคดีเรื่องใด ทรงพระ ราชนิพนธ์โดยใช้เวลา ๑ เดือน ๑๖ วัน เพื่อพระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักด์ิศจี พระวรชายา ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครพูดคาฉันท์ ด้วยการเลือก ถ้อยคาที่ส่ืออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเย่ียม ตลอดจนมีการวางโครงเรื่องท่ีชวนให้ติดตาม ท้ังยังสอดแทรกคติสอนใจ มัทนะพาธา แปลว่า “ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะ ความรัก” ผแู้ ตง่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว ลักษณะการแต่ง บทละครพูดคาฉันท์ จานวน ๕ องค์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรคแ์ ละภาคพืน้ ดนิ มีคาประพนั ธเ์ ป็นกาพย์ ๓ ชนิด และฉันท์ ๒๑ ชนดิ ๒๑๘

วัตถปุ ระสงคใ์ นการแต่ง เพื่อให้เป็นหนังสืออ่านเล่น แต่ต่อมาผู้นาไปแสดง ละครจรงิ ๆ และเพ่อื พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดศ์ิ จี พระวรชายา เนื้อเรื่องย่อ ภาคสวรรค์ กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร ซ่ึงในอดีตกาลเป็น กษัตริย์ครองแคว้นปัญจาล มัทนาเป็นพระธิดากษัตริย์ของแคว้นสุราษฎร์ สุเทษณ์ได้ส่งทูตไปสู่ขอ นาง แต่ทา้ วสรุ าษฎร์พระบิดาของนางไมย่ อมยกให้ สุเทษณ์จึงยกทัพไปรบทาลายบ้านเมืองของท้าว สุราษฎร์จนย่อยยับ และจับท้าวสุราษฎร์มาเป็นเชลยและจะประหารชีวิต แต่มัทนาขอไถ่ชีวิตพระ บดิ าไว้ โดยยนิ ยอมเปน็ บาทบริจาริกาของสุเทษณ์ ทา้ วสรุ าษฎรจ์ งึ รอดจากพระอาญา จากน้ันมัทนา ก็ปลงพระชนม์ตนเอง และไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์นามว่า มัทนา ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ทาพลี กรรมจนสาเร็จ เมื่อสิ้นพระชนม์ก็ไปบังเกดิ บนสวรรคเ์ ชน่ กนั ดว้ ยผลกรรมท่ีเคยไดน้ างมาเป็นคทู่ าให้ มีโอกาสได้พบกนั อีกบนสวรรค์ แตน่ างมัทนากย็ งั ไม่มีใจรักสุเทษณ์เทพบุตรเช่นเดิม ณ วิมานของสุ เทษณ์ ได้มีคนธรรพ์เทพบุตร เทพธิดาที่เป็นบริวารต่างมาบาเรอขับกล่อมถวาย แต่ถึงกระน้ันสุ เทษณ์เทพบุตรก็ไมม่ ีความสขุ เพราะรักนางมทั นา แต่ไมอ่ าจสมหวงั เพราะผลกรรมท่ีทาไวใ้ นอดตี จึง ใหว้ ทิ ยาธรชอ่ื มายาวินใช้เวทมนตรค์ าถาไปสะกดให้นางมายังวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร ฝ่ายมัทนา เม่ือถูกเวทย์มนตร์สะกดมา สุเทษณ์จะตรัสถามอย่างไรนางก็ทวนคาถามอย่างนั้นทุกคร้ังไป จนสุ เทษณเ์ ทพพระบตุ รขัดพระทยั ร้สู ึกเหมือนตรัสกบั ห่นุ ยนต์ จึงใหม้ ายาวินคลายมนตร์สะกด เมื่อนาง รู้สึกตัวก็ตกใจกลัวท่ีล่วงล้าเข้าไปถึงวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร สุเทษณ์เทพบุตรถือโอกาสฝากรัก มัทนาแสดงความจริงใจว่านางไม่ได้รักสุเทษณ์เทพบุตรจึงไม่อาจรับรักได้ เมื่อได้ยินดังนั้นสุเทษณ์ เทพบุตรรู้สึกกริ้วนางมทั นาเปน็ ท่ีสุด จงึ สาปให้มัทนาจตุ จิ ากสวรรคไ์ ปเกิดเปน็ ดอกกุหลาบในป่าหิมา วันในโลกมนุษย์ และเปิดโอกาสใหน้ างกลายรา่ งเป็นมนุษย์ได้เม่ือถึงคืนวันเพ็ญเพียงหน่ึงวันกับหนึ่ง คนื เทา่ นนั้ เมอ่ื ใดทน่ี างมีรักเมื่อนัน้ จึงจะพ้นคาสาปและกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อย่างปกติ หากเม่ือใด ที่นางมีทุกข์เพราะความรักก็ให้นางอ้อนวอนต่อพระองค์จึงจะยกโทษทัณฑ์ให้ ดังน้ันจึงสรุปได้ว่า สาเหตุของปมขัดแยง้ ในเร่อื ง คือ สุเทษณร์ ักนางมัทนาแต่นางไมร่ ักตอบ ภาคพื้นดิน พระฤๅษีได้ขุดเอาดอกกุหลาบจากป่าหิมาวันไปปลูกไว้กับอาศรม เม่ือคืนวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง นางจะปรากฏโฉมเป็นมนุษย์มาปรนนิบัติรับใช้พระฤๅษี วันหนึ่ง ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งนครหัสดิน เสด็จประพาสป่ามาถึงอาศรมพระฤๅษี ตรงกับคืนวันเพ็ญท่ีมัท นากลายรา่ งเป็นมนุษย์ และได้พบกบั ท้าวชยั เสนและเกดิ ความรักต่อกัน พระฤๅษีจึงจัดพิธีอภิเษกให้ ชยั เสนได้พานางกลบั นครหัสดิน ทา้ วชัยเสนหลงใหลรักใคร่นางมัทนามาก ทาให้นางจัณฑีมเหสี หึง หวง และอิจฉาริษยา จึงทาอบุ ายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจผิดว่ามัทนาเป็นชู้กับนายทหารเอก นางมัทนา จึงถกู สั่งประหารชีวติ แต่เพชฌฆาตสงสารจึงปลอ่ ยนางไป นางมทั นากลบั ไปยังอาศรมพระฤๅษีและ ๒๑๙

วงิ วอนให้สุเทษณเ์ ทพบุตรช่วย สุเทษณ์เทพบตุ รไดข้ อความรักนางอีกครงั้ หนง่ึ แตน่ างปฏิเสธ สุเทษณ์ เทพบุตรจึงสาปใหน้ างเป็นดอกกุหลาบตลอดไป ตวั อย่าง ตอนทา้ วชยั เสนเหน็ นางมัทนากห็ ลงรัก ชมความงามนางมทั นา ชยั เสน. โอ้โอ๋กระไรเลย บมเิ คยณก่อนกาล! พอเห็นก็ทราบสา้ น ฤดริ กั บหกั หาย. ย่ิงยลวะนิดา ละกย็ ง่ิ จะร้อนคลา้ ย เพลงิ รุมประชมุ ภาย ณอุราบลาลด. พศิ ไหนบมีทราม, วะธุงามสงา่ หมด, จนสุดจะหาพจน์ สรเสริญเสมอใจ. องค์วศิ ฺวะกรรมนั นะสปิ ้นั วะธูไซร้ พอเสรจ็ ก็เทพไท พิศะรูปสุรางคเ์ พลิน; ยืนเพ่งและนง่ั พศิ วรพักตรบ์ หมางเมนิ , งามใดบงามเกนิ มะทะนาณโลกสาม: แลวศิ ฺวะกรรมนั ผจิ ะป้ันวะธูตาม แบบอกี กไ็ ม่งาม ดุจะโฉมอนงคน์ :้ี คุณค่า มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีเร่ืองแรกท่ีแต่งเป็นบทละครพูดคาฉันท์ รัชกาลท่ี ๖ คิดโครงเรื่องเอง โดยทรงปราถนาจะกล่าวถึงตานานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ สวยงาม แต่ไมเ่ คยมตี านานในเทพนิยาย จงึ พระราชนิพนธ์ให้ดอกกหุ ลาบมกี าเนดิ มาจากนางฟ้าทถี่ กู สาปใหจ้ ุตลิ งมาเกิดเป็นดอกไม้ชือ่ ว่า \"ดอกกุพชฺ กะ\" คือ \"ดอกกุหลาบ\" และเพื่อแสดงความเจ็บปวด อนั เกดิ จากความรัก ดา้ นการใช้ภาษาการใช้ถอ้ ยคาและรูปแบบคาประพนั ธเ์ หมาะสมกบั เนอื้ หา ทา ให้ผอู้ ่านเกดิ ความรู้สึกคล้อยตามได้อยา่ งดี ๖.๔.๒ หวั ใจนักรบ เรื่องหัวใจนักรบเป็นงานพระราชนิพนธ์ประเภทบทละครพูด ในพระบาทสมเด็จ พระมงกฎุ เกลา้ เจ้าอย่หู วั พระราชนิพนธ์ข้ึนในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ หลังเสด็จข้ึนครองราชย์ได้ ๓ ปี เพื่อ ตอบสนองและสนับสนุนกิจกรรมสาหรับปลุกใจคนไทย คือ กองเสือป่า ซึ่งตั้งขึ้นเม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๔ ละครเรอื่ งน้ี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดแสดงเป็นคร้ังแรกในงานพระราชพิธีคฤหมงคล (พิธี ขึ้นเรือนใหม)่ พระตาหนกั จิตรลดารโหฐาน เมอ่ื วันท่ี ๑๕ - ๑๖ และ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ๒๒๐

ผู้แตง่ พระบาทสมเด็จพระมงกฎุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ลักษณะการแต่ง บทละครพดู วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวคิดเรื่องกองเสือป่าและ ลูกเสอื ป่า และปลุกใจรักชาตบิ ้านเมอื ง เนือ้ เรอ่ื งยอ่ เน้ือความมีอย่วู า่ พระภริ มย์วรากรบุคคลนอกราชกาล อายุ ๕๐ ปี เปน็ ชาวเมืองหสั ดินบรุ ี ไม่ชอบท้ังลกู เสือป่าและลูกเสอื เพราะเหน็ วา่ มแี ตผ่ ลเสยี ไม่มปี ระโยชนแ์ กต่ น อาจทาให้เป็นอนั ตรายอีกด้วย จงึ หา้ มลูกคนเลก็ ไม่ให้เป็นลูกเสอื และจะให้ลูกคนโตหนีทหาร รักแต่ ลูกชายคนกลางที่อ่อนแอ และที่จริงแอบเป็นชู้กับแม่เน้ย เมียน้อยของตน แม่เน้ยมีพี่ชายชื่อนายซุ่ นเบ๋ง เป็นคนคอยยุแหย่พระภิรมย์ในเร่ืองต่างๆ ต่อมาเกิดการรบข้ึนมาจริงๆท พระภิรมย์ได้เห็น เหตกุ ารณท์ ี่เสือปา่ และลูกเสือกระทาจริงๆ ลูกคนใหญ่อาสาถือหนงั สอื ไปขอกาลังรบ ถกู ยงิ เสียชีวิต แล้วลูกคนเล็กอาสาไปแทน ใจพระภิรมย์ เร่มิ เปล่ยี นไปประกอบกับความมีจิตใจเป็นนักรบไทย ทา ให้ความขัดแยง้ ทม่ี อี ย่สู ้นิ สุดลง ตง้ั แตก่ ารช่วยตามหมอจนถึงยกปืนข้นึ ยงิ ต่อสูข้ า้ ศกึ เอง ขา้ ศึกมีกาลงั มาก เข้ามายดึ บ้าน และจบั พระภริ มยแ์ ละคนในบ้านเป็นตัวประกัน พรอ้ มท้งั บังคับให้บอกความลับ ของกองเสือปา่ พระภริ มย์ไมย่ อมบอก จะยอมตายเสียดีกว่าที่จะต้องขายชาติ ต่อมาข้าศึกก็ล่าถอย ไป ฝ่ายไทยเข้ามาแทนท่ี หลังเหตุการณสยบลง พระภิรมย์ก็ได้ประจักษ์แจ้งถึงคุณประโยชน์ของ เสือป่าและลูกเสือป่า จึงสมัครเข้าเป็นเสือป่าด้วยความเต็มใจเพ่ือทาประโยชน์แก่ประเทศชาติใน ทส่ี ดุ คุณค่า เร่อื งหวั ใจนักรบไดร้ ับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรวา่ เป็นยอดของบทละคร พูด เน้ือหาเน้นความปลุกใจรักชาติ เป็นเรื่องท่ีได้รับความนิยม ทั้งจากผู้อ่านและผู้ชม ทาให้ได้รับ เลือกมาจดั แสดงบอ่ ยครง้ั กวา่ ละครเร่ืองอื่น ๆ ๖.๔.๓ พระนลคาหลวง พระนลคาหลวง เป็นพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว เรื่องพระนลเป็นนิทานแทรกอยู่ในมหาภารตะ รจนาโดยมุนีกฤษณไทวปายน มีชื่อเร่ือง ว่า \"นโลปาขยานัม\" เซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลความจากต้นฉบับโศลกภาษาสันสกฤต เป็นภาษาอังกฤษ แล้วรัชกาลที่ ๖ จึงใช้ฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์นี้ แปลเป็นเรื่องพระนลคาหลวง ทรงเร่ิมพระราชนิพนธ์เรื่องเมื่อวันพฤหัสบดีท่ี ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เสร็จลงเม่ือวนั เสาร์ท่ี ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงตรวจสอบแก้ไขและพิมพ์เผยแพร่ครั้ง แรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ลักษณะการแต่ง แบบคาหลวง มีคาประพันธ์หลายชนิด ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และรา่ ย ๒๒๑

วัตถปุ ระสงค์ในการแตง่ เพอื่ ให้เปน็ แบบอย่างในการประพนั ธก์ วีนพิ นธ์สาหรบั กุลบตุ ร เนือ้ เร่ืองยอ่ เริม่ เร่อื งด้วยบทไหวค้ รู บอกวัตถปุ ระสงคใ์ นการแต่ง แล้วดาเนินวา่ พระฤษีพฤหัสวะเล่าเร่ืองพระนลให้กษัตริย์ปาณฑพท้ัง ๕ ฟังพระนลเป็นกษัตริย์แห่งนครนิษัท ปล่อยหงส์ไปสอื่ ความรักกับนางทมยันตีในพิธีสยุมพรของนางมีกษัตริย์และเทวดาไปชุมนุมมาก แต่ นางเลือกพระนล ผีร้ายชื่อกลีกับทวาบรริษยาพระนล เข้าสิงพระนลคลั่งไคล้สกาแพ้สกลจนเสีย บ้านเมือง ออกเดินป่าจนได้รับความลาบาก นางทมยันตีติดตามไปด้วย ท้ัง ๆ ท่ีพระนลขอร้องให้ นางกลบั บ้านเมืองของนางเสีย พระนลจึงตัดสินใจหนีนางไป แต่นางไม่ยอม พยายามด้ันด้นติดตาม พระนลไป ต้องผจญภัยจากพรานป่า และหัวหน้าพ่อค้าเกวียน ในท่ีสุดนางจาต้องกลับบ้านเมือง และให้พราหมณ์เท่ียวขับเพลงเล่าเรื่องของพระนลกับนางตามบ้านเมืองต่าง ๆเพื่อสืบหาพระนล ต่อมาพราหมณ์กลับมาทูลว่าสงสัยหุกสารถของท้าวฤตุบรรณจะเป็นพระนล นางทมยันตีจึงออก อบุ ายใหท้ ้าวฤตบุ รรณทราบว่า นางจะเข้าพิธีสยมุ พรใหม่ ท้าวฤตุบรรณดใี จใหว้ าหกุ (พระนลปลอม) รีบขับรถไปหานางทมยันตี ระหว่างทางพระนลแลกวิชาม้ากับวิชาสกากับท้าวฤตุบรรณ พระนลจึง พ้นอานาจกาลี เมื่อท้าวฤตุบรรณมาถึงไม่เห็นมีพิธีสยุมพรเลยไถลทาเป็นมาเย่ียม นางทมยันตีจา วาหกุ ได้วา่ เปน็ พระนลและไม่รงั เกยี จท่พี ระนลมีรูปช่วั เพราะถกู นาคพน่ พษิ ไว้ พระนลไปทา้ พนันสกา ได้บ้านเมืองกลับคืนมา ท้ังสองมีความสุขดังเดิม ตอนท้ายเป็นภาคผนวก กล่าวถึงลักษณะคา ประพันธแ์ ละมีอภธิ านอธิบายศพั ทส์ าคัญ ๆ ทท่ี รงใชใ้ นพระราชนพิ นธ์เรื่องนี้ ตวั อย่าง ตอนต้น กล่าวถึงพระนล อาสีท์ ราชา ๏ ณปางกอ่ นกาลนานมา มีพระราชาธบิ ดี ๏ นโล นาม ๏ มีนามบัญญัติวิมล ว่าพระนลผู้สามารถ เปนราชบุตร์ท้าววีรเสน ภู เบนทรทรงพลกาลงั ทั้งมพี ระคณุ วิเศษชัด โฉมศรสี วสั ดอิ์ ศั วโกวทิ เปนอศิ วรมหาราช ใน มนุษยชาติบ่มีทัน ประหนึ่งจอมสวรรค์เทวะบดี เปนที่หนึ่งเหนือผู้ใด ๆ พระเดชจอม ไผทไพโรจน์ ชว่ งโชติเพียงพระอาทิตย์ จิตธมุ่งณพรหมาน เช่ียวชาญในพระไตรเพท เป นมเหศรบุรุษรัตน์ ครองนิษัธภารา โปรดการสกาทอดดวดถนัด ธธารงสัตยวาที เป นอธิบดีผู้บงั คบั อกั โขหณิ ีทพั กล่ันแกล้ว ฝงู นางแก้วผูม้ ีสง่า นยิ มราชาเปนยอดชาย พระ หฤทัยหมายเผ่ือแผ่ เนาแน่สารวมอินทรีย์ ภูมีรักษาพิภพ ธเจนจบทางธนูศาสตร์ เป นมนนู าถณสมยั น้ี ดปี ระเสริฐคุณสาร ส้นิ แล ฯ ตัวอยา่ ง ชมนางทมยันตี ๒๒๒

ทมยัน์ตี ตุ รูเปณ ๏ ฝ่ายนางทมยันตี มีโฉมเฉิดเลิศโสภา พร้อมสง่าบริบูรณยศ สารวยสดสิริวิลาศ ในโลกธาตุทั่วไป ไม่มีเสมอเสาวภาคย์ นารีนาคเอวกลมกล่อม ย่อม ปรากฎยศฤๅชา อันดวงสดุ านน้ั ถับถงึ ซงึ่ ชนมวัยอันแง่งาม ทาสีหลามลาดับร้อย ห้อมนาง น้อยอยู่พร้อมหน้า อีกสขีคณาเฟี้ยมเฝ้า เนาแน่นอนันต์สุรางคณา ดุจนางฟ้าเฝ้าเทวี ผู้ มหิษีท้าวเทวนาถ อันราชธิดาท้าวภีมะ งามแจ่มจะกลางบริพาร งามสคราญบังอร สรร พาภรณวิภูษิต ยามนางสถิตท่ามกลางเหล่า ดูนงเยาว์ยงรัศมี สว่างอินทรีย์ราวไฟฟ้า กระจ่างจ้าแจ่มเวหน รูปนฤมลพ้นพิภพ ทั่วแผ่นดินจบบ่เทียมทัน เลอสรรเสมอองค์พระ ศรี เทวีผู้ทรงลักษณวิเศษ แม้ในเขตเมืองฟ้า หาเทพธิดาไม่เทียมนาง แม้ในหมู่สุรางค์ ยกั ษินี หาไหนมบี เ่ ท่าอนงค์ นา่ พศิ วงสวยสวาท ประหลาทบ่เคยยล ท่ัวทั้งสากลแดนมนุษ สดุ ทจ่ี ะหาเทยี บสนุ ทรี รปู วดรี าวนมิ ติ ร์ ใครเห็นจติ จอดจานง เทวดาพะวง น่มิ นฤมล คณุ ค่า พระนลคาหลวงเปน็ วรรณคดีท่ไี ด้รบั การยกยอ่ งจากวรรณคดสี โมสรวา่ เปน็ หนังสือแตง่ ดปี ระเภทกวนี ิพนธ์ เนอื้ เรอื่ งมาจากนทิ านทแ่ี ทรกอยใู่ นคมั ภีรม์ หาภารตะ ซึ่งเก่ียวข้อง กับคติพราหมณ์ทาให้แตกต่างจากจนบการแต่งวรรณคดีคาหลวงเรื่องอ่ืน ๆ ท่ีมักเป็นเร่ืองทาง พระพุทธศาสนา เช่น มหาชาติคาหลวง พระมาลัยคาหลวง เป็นต้น เร่ืองพระนลคาหลวงจึงมี ความแปลกใหม่ เรื่องพระนลได้รับความนิยม น.ม.ส. หรือกรมหม่ืนพิทยาลงกรณ ได้แต่งเร่ือง พระนลเป็นคาฉันท์ท้งั เลม่ อกี เรื่องหนง่ึ ดว้ ย ๖.๔.๔. นทิ านเวตาล นิทานเวตาล มาจากนิทานเวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล ๒๕ เรื่อง รวมอย่ใู นหนังสือกถาสริตสาคร เปน็ วรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ต่อมาไดม้ ีผนู้ านทิ านเวตาลทั้งฉบับ ภาษาสนั สกฤตและภาษาฮนิ ดีมาแปลเป็นภาษาองั กฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ รชิ าร์ด เอฟ. เบอร์ตนั ได้ นามาแปลและเรยี บเรียงแตง่ แปลงเป็นสานวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง ๒๕ เร่ือง กรมหม่ืนพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จานวน ๙ เรื่อง และ จากฉบับแปลสานวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก ๑ เร่ือง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่น พทิ ยาลงกรณ ๑๐ เรอื่ ง เมอ่ื พ.ศ. ๒๔๖๑ ผู้แต่ง น.ม.ส. (พระองคเ์ จา้ รชั นแี จ่มจรัส) หรือกรมหมนื่ พทิ ยาลงกรณ ลักษณะการแตง่ ร้อยแกว้ วัตถปุ ระสงคใ์ นการแต่ง เพือ่ ความบนั เทงิ เน้อื เร่อื งย่อ โครงเร่ืองหลักของนิทานเรื่องน้ีเป็นเร่ืองการโต้ตอบปัญหาระหว่าง พระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรงุ อุชชิยนี กบั เวตาล ซง่ึ เปน็ อมนษุ ย์ ซง่ึ จะนาเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ๒๒๓

ที่แทรกอยู่ในเรื่อง รวม ๒๕ เร่ือง เน้ือความโดยย่อมีว่า พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน ได้ รับปากกับโยคีช่ือ ศานติศีล จะไปนาตัวเวตาล อมนุษย์ท่ีมีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่ง ห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรส ติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามย่ัวให้พระวิกรมาทิตย์ตรัส ออกมาอย่างใดอย่างหน่ึงอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่าง ๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ ตัดสินเร่ืองราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทาให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะ ตรัสพระราชวจิ ารณ์เก่ยี วกบั เรอ่ื งราวในนทิ านอยเู่ สมอ ผลกค็ อื เวตาลไดล้ อยกลับไปอยทู่ ีต่ ้นอโศกอัน เปน็ ทอ่ี ยขู่ องตน ทาใหพ้ ระวิกรมาทิตย์จาต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกคร้ัง เป็นเช่นนี้อยู่ ถงึ ๒๔ ครงั้ ในครั้งที่ ๒๕ พระธรรมธวัชไดส้ ะกดิ เตือนมิใหพ้ ระวิกรมาทติ ย์ตรสั คาใด ๆ ออกมา พระ วกิ รมาทติ ยก์ ็ระงบั ใจไมเ่ ออ้ื นพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใด ๆ ออกมา เวตาลจึงยอมใหพ้ ระองค์พาตน ไปใหโ้ ยคศี านตศิ ลี น้ันได้ ท้ายเรื่องของนทิ านเวตาลมอี ยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาล ไปหาโยคนี น้ั เอง เวตาลกไ็ ด้เปดิ เผยว่าแทจ้ รงิ แลว้ โยคีศานตศิ ลี มคี วามแคน้ กบั พระวกิ รมาทติ ย์อยู่ ซ่งึ เป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึงหวังที่จะปลงพระชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนาให้พระองค์ทาเป็นเช่ือฟังคาของโยคีน้ันแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมา ทิตย์ก็ได้ทาตามคาแนะนาดงั กลา่ ว และรอดพน้ จากการทารา้ ยของโยคนี ้ันได้ นทิ านยอ่ ยซ่งึ แทรกอย่ใู นนทิ านเวตาลทัง้ ๒๕ เรือ่ งโดยสรปุ มีดงั นี้ เร่ืองที่ ๑ เรื่องของเจา้ ชายวัชรมกฏุ กบั พระสหายช่อื พทุ ธิศรรี ะ เรอื่ งที่ ๒ เรื่องของนางมันทารวดี กับ พราหมณห์ นมุ่ ๓ คน เร่ืองท่ี ๓ เร่ืองของนกแก้วชื่อ วิทัคธจูฑามณี ของพระเจ้าวิกรมเกศริน กับ นกขนุ ทองชือ่ โสมกิ า ของเจา้ หญงิ จันทรประภา เรื่องท่ี ๔ เรื่องของพระเจา้ ศูทรกะ กบั พราหมณผ์ ซู้ ่อื สัตยช์ ือ่ วีรวร เรื่องท่ี ๕ เรอ่ื งของนางโสมประภา กับการเลือกคู่ครอง เร่อื งที่ ๖ เรื่องของวันฉลองพระแม่เคารี เรื่องท่ี ๗ เรอ่ื งของพระเจ้าจณั ฑสิงห์ กับสตั ตวศลี ผูซ้ ื่อสตั ย์ เรื่องที่ ๘ เรื่องของบุตรทงั้ ๓ ของพราหมณ์วษิ ณสุ วามนิ เรื่องที่ ๙ เรอ่ื งของการเลอื กค่ขู องเจ้าหญงิ อนงครตี เรื่องที่ ๑๐ เรื่องของนางมทั นเสนา ผู้ซอ่ื สัตย์ เรื่องท่ี ๑๑ เร่ืองของชายาทัง้ ๓ ของพระเจ้าธรรมธวชั เรอ่ื งท่ี ๑๒ เรอื่ งของพระเจ้ายศเกตุ กับทรี ฆทรรศนิ ผู้ภักดี เรื่องที่ ๑๓ เรอ่ื งของพราหมณ์ชื่อ หรสิ วามิน ผอู้ าภัพ ๒๒๔

เรื่องท่ี ๑๔ เรื่องของนางรัตนาวดี บุตรีเศรษฐี ผู้หลงรกั โจร เรื่องท่ี ๑๕ เรือ่ งของความรกั ของเจ้าหญิง ศศปิ ระภา เรื่องที่ ๑๖ เร่ืองของเจ้าชาย ชีมูตวาหน กับนาคชอื่ ศังขจฑู ะ เรอ่ื งท่ี ๑๗ เรอ่ื งของพระเจ้ายโศธน กบั นางอนุ มาทินี บตุ รเี ศรษฐี เรื่องที่ ๑๘ เรอ่ื งของพราหมณจ์ นั ทรสวามิน กับฤๅษีปาศุบต เรื่องที่ ๑๙ เรอ่ื งของภรรยาเศรษฐี กับธดิ าช่ือ ธนวดี เรื่องที่ ๒๐ เรอ่ื งของพระเจ้าจันทราวโลก กับรากษส เรอ่ื งที่ ๒๑ เร่ืองของนางอนงคมัญชรี เรอ่ื งท่ี ๒๒ เรือ่ งของบุตรพราหมณ์ทง้ั ๔ ผู้ขมังเวทย์ เรื่องที่ ๒๓ เรื่องของฤๅษเี ฒา่ วามศิวะ ผอู้ ยากเปน็ หนุ่ม เรอ่ื งท่ี ๒๔ เรื่องของนางจันทรวดี กับธดิ าช่ือ ลาวณั ยวดี กบั เรื่องขนาดเท้าของนาง เรื่องที่ ๒๕ เรอื่ งของพระเจา้ ติรวิกรมเสน กบั เวตาล ตัวอย่าง การพรรณนาลักษณะตวั เวตาล เมือ่ เขา้ ไปถงึ โคนตน้ ไม้พระราชาก็หยดุ พิศดูศพซง่ึ แขวนอยบู่ นก่งิ อโศก ศพน้นั ลมื ตา โพลง ลกู ตาสีเขยี วเรอื ง ๆ ผมสีนา้ ตาล หน้าสีนา้ ตาล ตัวผอมเห็นซ่โี ครงเปน็ ซี่ ๆ ห้อยเอาหัว ลงมาทานองคา้ งคาว แต่เป็นค้างคาวตัวใหญ่ท่ีสุด เมื่อจับถูกตัวก็เย็นชืดเหนียว ๆ เหมือนงู ปรากฏเหมือนหน่ึงไม่มีชีวิต แต่หางซ่ึงเหมือนหางแพะน้ันกระดิกได้ พระวิกรมาทิตย์ ทอดพระเนตรเห็นเช่นน้ี ก็ทรงคิดว่าศพนี้คือศพลูกชายของพ่อค้าน้ามัน ซ่ึงยักษ์ได้ทูลไว้ว่า โยคีเอาไปแขวนไวท้ ต่ี ้นไม้ คร้นั เมอ่ื เหน็ เป็นเวตาลเช่นนก้ี ็ทรงพิศวง คุณคา่ นิทานเวตาลมคี วามโดดเดน่ ในด้านโครงเร่ืองท่เป็นนิทานซ้อนนิทาน คือ มี นิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่ เน้ือหามีความแปลกใหม่เพราะเป็นเรื่องของกษัตริย์ อินเดียโบราณกับตัวละครอมุนษย์ ตัวละครอมุนษย์มีรูปร่างคล้างค้างคามบินได้น้ี ยังไม่เคยมีใน วรรณคดไี ทย การเล่าเร่ืองซ้อนเรื่องยังทาให้เร่ืองมีความสนุกสนานชวนติดตาม น.ม.ส. เขียนโดย ใช้รปู แบบรอ้ ยแก้วแตไ่ ด้นามาปรบั ให้เข้ากบั สานวนไทยโดยไมเ่ สยี อรรถรส นับได้ว่าเป็นสานวนร้อย แกว้ ท่ใี หมท่ ส่ี ุดในยคุ นนั้ บางทา่ นเรียกวา่ “สานวน น.ม.ส.” ๖.๔.๕ อิลราชคาฉนั ท์ อิลราชคาฉันท์ แต่งโดยพระศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) อาลักษณ์ในสมัย รัชกาลท่ี ๖ เมื่อครัง้ ยงั เป็นหลวงสารประเสริฐ แต่งข้ึนจากนิทานเรื่องอิลราชในบทพระราชนิพนธ์ ๒๒๕

เรอ่ื งบอ่ เกดิ รามเกยี รต์ิ ในรชั กาลท่ี ๖ การแต่งเรื่องนี้ รัชกาลท่ี ๖ ทรงมีพระกรุณาช่วยตรวจแก้ไข และแสดงความเห็นใหแ้ ก้ไขหรือเพมิ่ เตมิ ดว้ ย ผู้แตง่ พระยาศรสี นุ ทรโวหาร (ผัน สาลกั ษณ)์ ลักษณะการแตง่ ฉนั ท์และกาพย์ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพ่ือสนองพระราชดาริของรัชกาลที่ ๖ ที่จะให้มี หนงั สอื รอ้ ยกรองทใ่ี ช้สานวนภาษาถูกตอ้ ง และเพือ่ ใหป้ รากฏว่าแผน่ ดินในรัชกาลท่ี ๖ ยงั มจี ินตกวอี ยู่ เนอ้ื เรอ่ื งย่อ เริ่มเร่ืองด้วยบทไหวค้ รู และกล่าวถงึ ทา้ วอิลราช ผู้ครองนครพลหกิ า วนั หนง่ึ ในวสันตฤดู ทรงออกปา่ ล่าสัตวพ์ ร้อมบรวิ าร จนถงึ ตาบลท่กี าเนดิ ของพระขันทกมุ าร ในเวลา น้ัน พระอิศวรกาลังล้อเล่นกับพระอุมา พระชายา ทรงจาแลงกายเป็นสตรี และบันดาลให้ทุกสิ่งใน น้นั เปน็ สตรีทง้ั หมด คร้นั เม่อื ทา้ วอิลราชและข้าราชบริพารผา่ นเข้าไปในป่าดังกล่าว ก็กลายเป็นสตรี ไปทง้ั หมด ครั้นเมือ่ ท้าวอลิ ราชกลายเปน็ สตรีกต็ กใจ ทลู ขออภยั จากพระอิศวร พระอศิ วรไมท่ รงยอม แตพ่ ระอุมาเทวีประทานพรให้ก่ึงหน่ึง คอื เป็นบุรุษและสตรีสลับกนั ไปเดือนละเพศ เมื่อเป็นบุรุษ ชื่อ อลิ ราช เมื่อเปน็ สตรี ชื่อนางอิลา เมื่อถึงเดือนท่ีเป็นสตรี นางอิลาและบริวารสตรีพากันไปเที่ยวเล่น ในป่า และเผอิญพบกบั พระพธุ ทกี่ าลังบาเพ็ญตนในป่า นางอลิ าได้อยู่เปน็ ชายาของพระพุธ จนครบ เดือน เมื่อเป็นบุรุษ ก็ลืมความเป็นไปในภาคสตรีเพศ และเป็นเช่นน้ีกระท่ังเก้าเดือน นางอิลาก็ให้ ประสูติกุมารองค์หน่ึง พระพุธให้นามว่า ปุรุรพ เมื่อท้าวอิลราชคืนมาเป็นบุรุษ พระพุธเห็นใจ จึง ประชุมมหาฤษเี พอ่ื หาทางแก้ไขคาสาปให้แก่ท้าวอลิ ราช ในท่ีสุดทป่ี ระชมุ ตกลงทาพิธีอัศวเมธ ทาให้ ทา้ วอลิ ราชคนื มาเปน็ เพศบรุ ุษอกี ครง้ั ตวั อยา่ ง บทชมบา้ นเมอื งของทา้ วอิลราช เรอื งรองพระมณฑริ พิจิตร กลพิศพิมานบน กอ่ งแกว้ และกาญจนระคน รุจเิ รกอลงกรณ์ ดลฟากทิฆมั พร ช่อฟา้ กเ็ ฟ้อื ยกลจะฟัด นพศูลสล้างลอย บราลีพไิ ลยพศิ บวร มขุ เดจ็ ก็พราวพลอย พิศเพียงนภาพลาม เชงิ บทั มพ์ ระบัญชรเขบ็จ บมิแผกพิมานงาม เพดานก็ดารกพะพรอย ตละเน่ืองพะนงั นอง สงิ หาศนจ์ รูญจตุรมุข พื้นภาพอาพนพพิ ธิ ตาม คณุ ค่า วรรณคดีเรือ่ งน้แี ตง่ โดยเครง่ ครดั ฉนั ทลักษณ์ เพือ่ เปน็ แบบอยา่ งในการ แต่งฉนั ท์ ใช้ถอ้ ยคาโวหารกะทัดรดั คมคาย ใหจ้ ินตนาการแก่ผู้อา่ นได้อย่างดี โดยเฉพาะบทชมบ้าน ๒๒๖

ชมเมือง ชมธรรมชาติอันเป็นเลิศ ให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์และเทพเจ้า และสะท้อน สภาพบ้านเมืองในสมัยรัชกาลท่ี ๖ ว่ามกี ารประดบั ตกแต่งอยา่ งไร ๖.๔.๖ สามัคคเี ภทคาฉันท์ สามัคคีเภทคาฉันท์ เป็นวรรณคดีขนาดส้ันได้รับการยกย่องว่าแต่งดี นายชิต บุรทัต แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ขณะอายุได้ ๒๓ ปี โดยได้เค้าเรื่องมาจากเรื่องราวในมหา ปรินิพพานสูตร และอรรถกถา สมุ ังคลวิลาสนิ ี ทีฆนกิ ายมหาวรรค ซึ่งพระสุคุณคณาภรณ์ (ตอ่ มาคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงค)์ วัดบวรนิเวศวหิ ารแปลและเรียบเรียงลงในหนังสือ ธรรมจักษุ คาวา่ สามัคคีเภท เป็นคาสมาส เภท มีความหมายว่า การแบง่ การแตกแยก การทาลาย สามัคคีเภท มีความหมายวา่ การแตกความสามัคคี หรอื การทาลายความสามคั คี ผู้แต่ง นายชิต บรุ ทัต ลักษณะการแต่ง ฉนั ท์และกาพย์ วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อแสดงความสามารถในเชิงกวีให้เป็นที่ปรากฏ และเพื่อมไี วป้ ระดับบา้ นเมอื ง เนื้อเร่ืองย่อ พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงมีวัสสการ พราหมณ์ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์เป็นท่ีปรึกษา มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรไปยังแคว้น วัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ซึ่งปกครองแคว้นโดยยึดมั่นในอปริหานิยธรรม (ธรรมอันไม่เป็นที่ต้ัง แห่งความเส่อื ม) เน้นสามคั คีธรรมเป็นหลัก การโจมตีแคว้นนี้ให้ได้จะต้องทาลายความสามัคคีนี้ให้ ได้เสยี กอ่ น วัสสการพราหมณป์ โุ รหิตท่ปี รึกษา จงึ อาสาเป็นไส้ศกึ ไปยแุ หย่ใหก้ ษตั รยิ ์ลิจฉวีแตกความ สามัคคี โดยทาเป็นอุบายกราบทูลทัดทานการไปตีแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกร้ิว รับส่ัง ลงโทษใหเ้ ฆยี่ นวัสสการพราหมณ์ อย่างรุนแรงแลว้ เนรเทศไป ขา่ วของวัสสการพราหมณ์ไปถงึ นครเว สารี เมอื งหลวงของแควน้ วัชชี กษตั ริยล์ ิจฉวีรับสง่ั ใหว้ ัสสการพราหมณเ์ ขา้ รบั ราชการกับกษัตริย์ลิจ ฉวี ด้วยเหตุท่เี ปน็ ผู้มีสตปิ ญั ญา มีวาทศลิ ปด์ ี มีความรอบรใู้ นศลิ ปะวทิ ยาการ ทาใหก้ ษัตรยิ ล์ จิ ฉวีรับ ไว้ในพระราชสานัก ให้พิจารณาคดีความและสอนหนังสือพระโอรส วัสสการพราหมณ์ได้ทาหน้าท่ี อย่างเต็มความรคู้ วามสามารถ จนกษัตรยิ ์ลิจฉวีไวว้ างพระทยั ก็ดาเนินอบุ ายขั้นตอ่ ไป คอื สรา้ งความ คลางแคลงใจในหม่พู ระโอรส แล้สลุกลามไปถงึ พระบิดา ซึ่งต่างก็เชื่อพระโอรส ทาให้ขุ่นเคืองกันไป ท่ัว เวลาผ่านไป ๓ ปี เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็แตกความสามัคคีกัน แม้วัสสการพราหมณ์ตีกลองนัด ประชมุ ก็ไมม่ ีพระองคใ์ ดมาร่วมประชุม วสั สการพราหมณ์จึงลอบสง่ ข่าวไปยังพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ ทรงยกทัพมาตีแคว้นวชั ชี และชนะไดอ้ ย่างงา่ ยดาย ตัวอย่าง ตอนพระเจ้าอชาตศัตรทู รงแกล้งกริว้ และต่อวา่ วัสสการพราหมณ์ ๒๒๗

ภูบดนิ ทร์สดบั อปุ ายะตาม ณวาทะวัสสการะพราหมณ์ และบังอาจ ฯ เกินประมาณเพราะการละเมดิ ประมาท มคิ วรจะขัดบรมราช ชโยงการ ฯ ทา้ วกท็ รงแสดงพระองคะปาน ประหนึ่งพระราชหทยั ธดาล พิโรธจึง ฯ ผนั พระกายกระทบื พระบาทและองึ พระศัพทะสีหนาทะพงึ สยองภัย ฯ เอออุเหม่นะมงึ ชิชา่ งกระไร ทุทาษสถุลฉนี้ไฉน กม็ าเปน ฯ ศึกบถึงและมงึ กย็ ังมิเหน็ จะนอ้ ยจะมากจะยากจะเยน็ ประการใด ฯ อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขย้นั มิทันอะไร ก็หมิ่นกู ฯ คณุ คา่ วรรณคดีเรื่องน้ีเด่นในเรื่องของการใช้สานวนโวหารและการแต่งคา ฉันท์อย่างถูกต้องตรงตามฉันทลักษณ์ ในปี ๒๔๗๒ กระทรวงธรรมการประกาศให้สามัคคีเภทคา ฉันท์เปน็ หนังสอื แบบเรียน นายชิต บุรทัตจึงตรวจแก้ไข ขัดเกลาคาฉันท์เสียใหม่อย่างละเอียดลออ เพื่อให้สอดคล้องกับเน้ือหาและอารมณ์ของเร่ืองมากที่สุด การเพ่ิมสัมผัสทาให้ฉันท์ของนายชิต บรุ ทตั มลี ีลาแปลกกวา่ ฉันทท์ ี่แตง่ ตามฉันทลกั ษณโ์ ดยปกติ และการเลอื กสรรคาท่เี หมาะสมกท็ าใหม้ ี ความหมายลึกซ้ึง มีพลังเร้าอารมณ์ และกระตุ้นให้คิด (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, ๒๕๕๘, หน้า ๑๒๑ – ๑๒๒) นอกจากนี้ วรรณคดเี รอ่ื งน้ียังเป็นนิทานสุภาษติ สอนใจให้เหน็ โทษของการแตกความสามัคคี และแสดงให้เหน็ ความสาคัญของการใชส้ ตปิ ญั ญาให้เกดิ ผลโดยไมต่ อ้ งใชก้ าลัง ซงึ่ สามารถนาไปใช้ใน การดาเนินชีวิตได้ ๖.๕ ลกั ษณะสาคญั ของวรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๖๘ วรรณคดีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๖๘ ได้รับอิทธิพลตะวันตก คอ่ นขา้ งมาก จะเหน็ ว่ามีรูปแบบวรรณคดีใหม่ ๆ เกดิ ขน้ึ ท้งั ทีเ่ ป็นร้อยแกว้ และรอ้ ยกรอง วรรณคดีสมัยรัชกาลท่ี ๔ ได้รับอทิ ธิพลจากการปรับปรุงประเทศในด้านต่าง ๆ เนื่องจากใน สมัยดังกล่าวมีการแผ่ขยายอานาจของตะวันตกเข้ามาในแถบเอเชีย สมัยนี้ จึงเร่ิมเป็นหัวเลี้ยว หัวต่อของวรรณคดีจากรูปแบบเก่ามาเป็นรูปแบบใหม่ วรรณคดีช้ินสาคัญในสมัยนี้ คือประกาศ ๒๒๘

รัชกาลที่ ๔ ทส่ี ะท้อนถึงการเมืองการปกครอง รัชกาลที่ ๔ ใช้ภาษาร้อยแก้วในการส่ือสาร ซึ่งงาน ลักษณะนี้ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน หรือเร่ือง จดหมายเหตุราชทูตไทยไปอังกฤษ เป็นจดหมาย เหตกุ ารเดนิ ทางไปยงั องั กฤษของหม่อมราโชทัย แต่งข้ึนเพื่อถวายรายการแด่รัชกาลท่ี ๔ จดหมาย เหตุฉบับนนี้เป็นฉบับแรกท่ีบันทึกเร่ืองราวของประเทศตะวันตก แต่เดิมมีการบันทึกเร่ืองราวของ ต่างประเทศแต่เปน็ ประเทศจนี คอื นิราศพระยามหานภุ าพไปเมอื งจีน ในสมัยธนบุรี อย่างไรก็ดี ยัง มีวรรณคดีบางส่วนท่ียังคงสืบทอดขนบวรรณคดีไทยไว้ เช่น วรรณคดีศาสนา เร่ืองร่ายยาวมหา เวสสนั ดรชาดก หรือวรรณคดนี ิราศ เชน่ นิราศลอนดอน นิราศพระปฐม นริ าศปถวี เป็นตน้ สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของวรรณคดีจากอิทธิพลตะวันตก จะเห็นว่า อิทธิพลตะวันตกเข้าในหลายด้าน ที่สาคัญคือมีการพัฒนาการพิมพ์ ทาให้เกิดหนังสือพิมพ์และการ พมิ พ์หนงั สอื หรือวรรณคดขี ึน้ เป็นจานวนมาก แม้จะมีงานวรรณคดีท่ีเป็นไปตามขนบวรรณดคีแบบ เดิม แต่กม็ วี รรณคดรี ูปแบบใหม่เกดิ ข้ึนด้วย เชน่ เกิดงานสารคดี อาทิ ตาราวชิ าการ งานชีวประวัติ บทวิจารณ์ เกดิ งานประพันธบ์ นั เทงิ คดีรปู แบบใหมค่ ือเรื่องสั้นและนวนิยาย โดยเจา้ นายและขนุ นาง ท่ีไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ซ่ึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกโดยตรง โดยในช่วงต้น เรื่องสั้นและนว นิยายจะมีลักษณะเป็นงานแปลก่อน จากนั้นจึงเริ่มแต่งเร่ืองขึ้นเอง ช่วงแรกลงพิมพ์ในดรุโณวาท ต่อมาลงพิมพ์ในหนังสือลักวิทยา ถลกวิทยา และทวีปัญญา ด้านงานร้อยกรองในสมัยน้ียังคงมี วรรณคดีพิธีการที่คงขนบเดิมไว้ เช่น พิธีเห่เรือ พิธีกล่อมช้าง และมีการพิมพ์ร้อยกรองลงใน หนังสอื พมิ พป์ ระตใู หม่ และนารีรมย์ โดยตีพมิ พ์คาประพนั ธ์ชนดิ ตา่ ง ๆ ทั้งโคลง กลอน สักวา วรรณคดีการละครในสมยั รชั กาลที่ ๕ นี้ ได้ปรับเปล่ียนและเริม่ พัฒนาไปจากเดิมเช่นกัน ดัง จะเห็นวา่ เจา้ นายและขุนนางต้ังคณะละครของตนเอง และสร้างสรรค์รูปแบบการละครแนวใหม่ ซ่ึงบางประเภทได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น ละครดึกดาบรรพ์ เป็นละครที่ได้แนวคิดจากการ แสดงโอเปร่าของฝรั่ง มีผู้ร่วมสร้างสรรค์ละครดาดาบรรพ์หลายท่าน เช่น เจ้าพระยาเทเวศรวงษ์ ววิ ฒั น์ เป็นผอู้ านวยการ เชน่ สร้างโรงละคร อุปกรณ์การแสดง เครือ่ งแต่งกาย สมเด็จเจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงสร้างสรรค์รูปแบบ เช่น ทรงพระนิพนธ์บทละคร บรรจุและปรับปรุง ทานองเพลง ออกแบบฉากและกากับการแสดง หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ตาด ตาตะนันทน์) ประดิษฐ์ทานองเพลงและควบคมุ ปีพาทย์ จัดแสดงทโี่ รงละครของเจา้ พระยาเทเวศรวงษ์ววิ ฒั น์ เปน็ โรงละครท่ีเลยี นแบบโรงละครของอังกฤษ เรียกว่า โรงละครดึกดาบรรพ์ เก็บค่าเข้าชม ปรับปรุง ละครราแบบเดิมมาเป็นละครราแบบใหม่ การร้อง การรา การแต่งกายหรือธรรมเนียมการแสดง เป็นไปในแนวละครในและละครนอกแบบหลวง แบ่งการแสดงออกเป็นฉากเป็นตอน ดาเนินเร่ือง ดว้ ยบทเจรจาและบทร้องท่เี ปน็ บทเจรจาของตวั ละครเอง บทละครดึกดาบรรพ์พระนิพนธ์ท่ีตีพิมพ์ ๒๒๙

ไว้มีจานวน ๑๑ เร่ือง เช่น สังข์ทอง คาวี อิเหนา สังข์ศิลป์ชัย อุณรุท เป็นต้น (สุรพล วิรุฬรักษ์, ๒๕๕๓, หน้า ๖๓ – ๘๐) ละครพันทาง เกดิ ขึ้นในปลายรัชกาลท่ี ๕ โดยเจ้าพระยามหินทรศักด์ิธารง (เพ็ง เพ็ญกุล) ละครพันทางมีความแปลกใหม่ตรงท่ีผสมผสานละครหลายแนวไว้ด้วยกัน เจ้าพระยามหินทรศักด์ิ ธารงมักจัดแสดงละครให้ประชาชนรับชม แต่เดิมนิยมแสดงเร่ือง ดาหลัง บทพระราชนิพนธ์ใน รัชกาลท่ี ๑ เป็นการแสดงแบบบละครนอก ผู้ชายแสดง โดยแสดงท่ีโรงละคร และเก็บเงินคนดู ต่อมาได้ปรับปรุงให้ผู้แสดงมีทั้งหญิงและชาย และได้นาพงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาทาเป็นบท ละคร โดยมีหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) เป็นผู้แต่ง เป็นการพัฒนาจากละครนอก โดยยึด แบบแผนการดาเนนิ เรือ่ งท่รี วดเรว็ ลดการรา มีบทตลกแทรกอยู่ เพ่ือให้คนดูไม่เบ่ือ การแต่งกายให้ เปลีย่ นไปตามเชื้อชาติของตัวละคร และดนตรีใช้ปีพาทย์ไม้นวม เพลงร้องมีสาเนียงไปตามเชื้อชาติ ของตัวละคร ละครพันทางในยุคน้ีได้รับความนิยมอย่างมาก ซ่ึงทาให้เกิดคณะละครพันทางขึ้น ตามมาหลายคณะ เช่น คณะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ละครพันทาง ของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นต้น (สุรพล วิรฬุ รักษ์, ๒๕๕๓, หนา้ ๘๒ –๙๖) ละครรอ้ ง เป็นละครแบบใหม่ท่ีเกิดขึ้นปลายรัชกาลท่ี ๕ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ นราธปิ ประพันธ์พงศ์ สันนิษฐานว่าตน้ กาเนิดมาจากหลายทาง ทั้ง ละครดึกดาบรรพ์ อุปรากร และ ละครบังสะวันของมลายู ในชว่ งต้นแสดงโดยการรอ้ งสลับพูดโดยใช้ทา่ ราอยา่ งไทยอยู่บ้าง แสดงเรอ่ื ง จากประวัติศาสตร์และวรรณคดี จัดแสดงในโรงละครปรีดาลัยของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอ่ มาปรบั ปรุงรปู แบบการแสดงโดยไมม่ กี ารรา่ ยรา ใช้กิรยิ าอย่างสามัญชน ผู้แสดงร้องเองมีลูกคู่รับ เฉพาะทานองเอ้ือน ใชผ้ ูห้ ญิงแสดงท้งั หมด ยกเว้นตวั ตลก บา้ งเรียกว่า ละครปรดี าลัย ละครทโี่ ดง่ ดัง มาคือเรอ่ื งสาวเครือฟา้ ซงึ่ เป็นละครโศกนาฏกรรม ดังแปลงจากเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ของพุช ชินี ชาวอิตาเลียน (สุรพล วิรุฬรักษ์, ๒๕๕๓, หน้า ๑๕๙ – ๑๖๕) การละครในยุคน้ีได้รับการสืบ ทอดและพฒั นาตอ่ ในไปสมยั รัชกาลท่ี ๖ ซ่งึ เปน็ ยคุ ทองของการละคร โดยเฉพาะละครพูด สมยั รชั กาลท่ี ๖ อิทธพิ ลตะวันตกแผข่ ยายเขา้ มามากขนึ้ ประกอบกับเกิดสงครามโลกครั้งท่ี ๑ วรรณคดีในยุคนี้จึงมีเนื้อหาปลุกใจให้เกิดความสามัคคีและรักชาติบ้านเมือง โดยมีงานพระราช นพิ นธใ์ นรัชกาลท่ี ๖ ท่เี ป็นเร่อื งแนวปลกุ ใจจานวนมาก วรรณคดีในสมัยรัชกาลท่ี ๖ มีเน้ือหาหลากหลาย ท้ังที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยสืบ ทอดมาจากสมัยรัชกาลที่ ๕ และบางส่วนสร้างสรรค์ข้ึนใหม่ในสมัยรัชกาลท่ี ๖ งานร้อยแก้วที่ พัฒนาจากเดิมคืองานสารคดี เช่น งานเขียนเกี่ยวกับจดหมายเหตุ บันทึก อนุทิน งานชีวประวัติ อัตชีวประวัติ ตารา บทความ หนังสืออ้างอิง ส่วนงานบันเทิงคดี ในสมัยนี้ยังคงนิยมแต่งนว นิยายและเรื่องสั้นอยู่ มีเน้ือหาหลากหลาย เช่น นวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน นวนิยายอิง ๒๓๐

ประวตั ิศาสตร์ นวนิยายชวี ิต นวนิยายผจญภัย หสั นยิ าย โดยในช่วงแรก นวนิยายมักเป็นนวนิยาย แปลและใชฉ้ ากตา่ งประเทศ ต่อมาจึงมีการสร้างสรรคน์ วนิยายในแบบฉบับของตนเอง ใช้ฉากและตัว ละครไทย โดยนวนิยายท่ีนิยมแต่งกันมากคือ นวนิยายรัก อาชญนิยาย นวนิยายอิง ประวัติศาสตร์ นวนิยายแนวผจญภัย และหัสนิยาย โดยเร่ืองส้ันและนวนิยายส่วนใหญ่นิยมลง พิมพ์ในหนงั สือพมิ พ์ เชน่ หนังสอื พิมพศ์ รีกรงุ ไทยเขษม ผดุงวทิ ยา เปน็ ตน้ สาหรับวรรณคดีร้อยกรองในสมัยรัชกาลท่ี ๖ นั้น อาจกล่าวได้ว่าได้เป็นยุคที่วรรณคดีร้อย กรองท่ีเขียนขึ้นตามขนบกลับมาอีกคร้ังหลังจากท่ีซบเซาไปต้ังแต่สมัยรัชกาลท่ี ๔ และ ๕ เนอื่ งจากรชั กาลท่ี ๖ เองโปรดวรรณคดอี ย่างมาก จะเห็นวา่ มีงานพระราชนิพนธจ์ านวนมาก และใช้ รูปแบบคาประพันธ์ท่ีหลากหลาย ในสมัยน้ีปรากฏวรรณคดีประเภทคาหลวงคือเร่ืองพระนลคา หลวงข้ึนอีกเล่มหน่ึงหลังจากมีปรากฏในสมัยอยุธยา มีวรรณคดีประเภทลิลิต เช่น ลิลิตนารายณ์ สบิ ปาง มีคาฉันท์ เช่น พระนลคาฉนั ท์ และมกี าพย์เห่เรือดว้ ย เป็นทน่ี ่าสงั เกตวา่ วรรณคดรี อ้ ยกรองในยคุ นี้ ส่วนใหญ่นาเคา้ เรื่องมาจากวรรณคดีสันสกฤต เช่น เร่ืองพระนล นิทานเวตาล โดยกวีไม่แปลจากภาษาสันสกฤตโดยตรง หากแต่แปลจากฉบับ ภาษาองั กฤษท่ีแปลจากฉบับภาษาสันสกฤตอกี ทีหนึ่ง วรรณคดีที่เจริญสูงสุดในยุคน้ีอีกประเภทหน่ึง คือ วรรณคดีการละคร โดยพัฒนามาตั้งแต่ สมัยรัชกาลท่ี ๕ ส่วนใหญ่ได้แบบอย่างและปรับปรุงข้ึนจากการละครต่างประเทศ ละครท่ีสาคัญ ไดแ้ ก่ ละครร้อง แบ่งเป็นละครร้องล้วน ๆ รัชกาลท่ี ๖ คร้ังยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้า ฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พัฒนาขึ้น แต่งเป็นคากลอนให้ตัวละครร้องโต้ตอบหรือเล่า เรือ่ งเปน็ ทานองตามเพลงทใ่ี ช้ ไม่มบี ทพูดแทรก ใช้ผูช้ ายและผหู้ ญงิ แสดงจริงตามเน้ือเร่อื ง เชน่ ละคร ร้องเร่ืองสาวติ รี พระเกียรติรถ พระร่วง เป็นต้น และละครร้องสลับพูด พัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บทร้องมีส่วนสาคัญในการดาเนินเรื่อง แต่งคาพูดแทรกแบบ ทวนเนื้อความ ส่วนใหญ่แสดงที่โรงละครปรีดาลัย เร่ืองที่แสดง เช่น สาวเครือฟ้า ตุ๊กตายอดรัก กากี เปน็ ต้น ละครพูด แบ่งเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ละครพูดร้อยแก้ว ดาเนินเร่ืองด้วยบทเจรจา ใช้ ท่าทางแบบสามญั ชนประกอบ มักจะใช้วธิ ีปอ้ งปากพดู กบั ผชู้ ม แต่งกายตามสมัยนิยม แต่เดิมใช้ชาย ล้วนตอ่ มามีทง้ั หญงิ และชายแสดง เช่น เร่อื งหวั ใจนักรบ เสยี สละ โรมโิ อ จูเลียต ตามใจทา่ น ละครพูดสลับลา เป็นการแสดงท่ีบทพูดมีความสาคัญในการดาเนินเรื่อง บทร้องเป็นเพียง สอดแทรกเพื่อเสริมความ ย้าความเท่าน้ัน ใช้ตัวแสดงทั้งชายและหญิง แต่งกายตามเนื้อเร่ือง เช่น เร่อื ง ปล่อยแก่ ของ นายหัว วิเศษกุล ๒๓๑

ละครพดู คากลอน ใช้คากลอนเปน็ ตวั ดาเนินเรอื่ ง บทเจรจาแต่งเป็นร้อยแก้ว แต่งกายตาม บคุ คลิกของตวั ละคร และยุคสมยั ทบี่ ่งบอกไวใ้ นบทละคร เช่น เร่ืองพระร่วง เวนิสวาณิช ละครพูดคาฉันท์ แต่งด้วยฉันท์ชนิดต่าง ๆ เป็นท้ังบทพูดและบทขับร้อง มีเพียงเร่ืองเดียว คอื เร่ืองมทั นะพาธา นอกจากนี้ ยังมลี ะครสังคีต ที่แต่งเป็นร้อยแก้ว มีบทพูดกับบทร้องสาคัญเท่ากัน ตัดส่วนใด ส่วนหน่ึงออกไม่ได้ จะเล่นเพียง ๔ เร่ือง ได้แก่ หนามยอกเอาหนามบ่ง วิวาหพระสมุทร มิกาโด และว่งั ต่ี ในด้านรูปแบบคาประพันธ์ ในสมัยน้ีมีครบทุกประเภท โดยส่วนใหญ่คงรูปแบบเดิมไว้ อย่างไรก็ดี วรรณคดีสมัยนี้ผู้แต่งค่อนข้างเคร่งครัดฉันทลักษณ์ เช่น ต้องแต่งโดยไม่ให้กลอนพาไ ป ไม่ตัดศัพท์ผิด บรรจุคาให้ตรงตามจานวนในแต่ละวรรค มีการต้ังวรรณคดีสโมสรเพื่อส่งเสริมการ ประพันธ์ให้งดงามท้ังเน้ือคาและเน้ือความ นอกจากนี้ สมัยน้ียังเกิดรูปแบบคาประพันธ์ใหม่ด้วย ได้แก่ รปู แบบฉนั ท์ ๓ ประเภท คือ สยามรัตนฉันท์ สยามมณีฉนั ท์ และสยามวเิ ชียรฉนั ท์ คิดคน้ โดย น.ม.ส. หรือกรมหมืน่ พทิ ยาลงกรณ ซง่ึ ถือเปน็ วิวฒั นาการด้านรปู แบบคาประพนั ธท์ ่สี าคญั สรุป วรรณคดใี นสมัยรัชกาลที่ ๔ – ๖ มีวิวัฒนาการค่อนข้างมาก เน่ืองจากอิทธิพลตะวันตกเข้า มา และมีเจ้านายขุนนางไปเรียนต่อยังต่างประเทศและนารูปแบบวรรณคดีสมัยใหม่เข้ามา สรา้ งสรรคง์ านวรรณคดี นอกจากน้ี การพิมพ์ในสมัยน้ียังรุ่งเรืองอย่างมาก ทาให้เกิดงานเขียนและ กวีหน้าใหม่ข้ึน หนังสือพิมพ์และหนังสือเล่มกลายเป็นพ้ืนที่ท่ีกวีใช้ตีพิมพ์งานวรรณกรรมทั้งร้อย แก้วและร้อยกรอง เป็นทน่ี า่ สงั เกตว่า วรรณคดีในชว่ งสมยั นี้ มิได้เป็นวรรณคดีบริสุทธ์ิท่ีมุ่งให้ความ เพลดิ เพลนิ แก่ผูอ้ า่ นผู้ฟังเทา่ น้นั หากแตห่ ลายเรื่องมีนยั ยะทางการเมืองการปกครอง ให้ความรู้และ ปลูกฝังความรักชาติและความเสียสละเพ่ือประเทศไว้ด้วย โดยเฉพาะงานพระราชนิพนธ์ในรัชกาล ท่ี ๖ คาถามทา้ ยบท ๑. ลักษณะของวรรณคดีสมัยรชั กาลที่ ๔ – ๖ เป็นอยา่ งไร ๒. ประกาศรัชกาลท่ี ๔ มคี วามสาคญั ตอ่ สังคมไทยอย่างไร ๓. เหตใุ ดพระราชพิธสี ิบสองเดือนจงึ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของ ความเรียงอธบิ าย ๔. ละครประเภทใดท่ปี รบั มาจากละครตะวันตก ๕. งานเขียนประเภทใดทไ่ี ด้รับอิทธพิ ลจากตะวนั ตก ๒๓๒

๖. เหตใุ ดจงึ กลา่ วว่าสมยั รัชกาลที่ ๕ เปน็ ช่วงหัวเล้ียวหวั ต่อการวรรณคดีไทย ๗. เหตุใดจงึ กล่าวกนั วา่ สมยั รชั กาลที่ ๖ เปน็ ยุคทองของการละคร ๘. ในสมยั รัชกาลท่ี ๖ มีประเภทของนวนยิ ายใดบา้ งทีไ่ ด้รบั ความนยิ ม ๙. ลกั ษณะของวรรณคดรี อ้ ยแกว้ ในสมัยรัชกาลท่ี ๖ เป็นอยา่ งไร ๑๐. ลกั ษณะของวรรณกรรมปจั จุบนั เป็นอยา่ งไร ๒๓๓

รายการอ้างองิ เทยี นวรรณ. “ตุลวภิ าคพจนกิจ” อา้ งใน ธดิ า โมสกิ รตั น์. ใน เอกสารการสอนชดุ วชิ า วรรณคดไี ทย หน่วยที่ ๑-๗. นนทบุร:ี สานกั พมิ พม์ หาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมธิราช. ธิดา โมสกิ รัตน์. (๒๕๕๙). “วรรณคดีสาคัญในสมัยรัชกาลท่ี ๗ – ก่อนการเปล่ยี นแปลงการปกครอง ๒๔๗๕” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมธิราช. รื่นฤทัย สจั จพนั ธ์ุ. (๒๕๕๘). ข้ามชาติ ข้ามศาสตร์ ข้ามศิลป์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว. ศริ ิน โรจนสโรช. นามานุกรมวรรณคดีไทยเร่ือง เงาะป่า. สืบค้นเมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=๓๖) สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (๒๕๕๓). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ ฯ : สานักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. อุทัย ไชยานนท์. (๒๕๔๕). วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครุ่งเรืองสูงสุด. กรุงเทพมหานคร : น้าฝน. ๒๓๔

แผนบรหิ ารการสอนประจาบท หัวข้อเนอื้ หาประจาบท บทที่ ๗ วรรณกรรมไทยหลงั ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ – ปจั จุบนั ๗.๑ ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของวรรณกรรมไทยหลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ๗.๒ ลักษณะของวรรณกรรมไทยรว่ มสมยั วตั ถปุ ระสงค์เชิงพฤตกิ รรม เมื่อศึกษาบทท่ี ๗ แล้ว นักศึกษาสามารถ ๑. อธิบายบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของวรรณกรรมไทยหลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ – ปจั จบุ นั ๒. บอกลักษณะของวรรณกรรมรว่ มสมัยได้ ๓. อธบิ ายความแตกต่างระหวา่ งวรรณกรรมตามขนบกับวรรณกรรมสมัยใหมไ่ ด้ วิธสี อนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท ๑. วธิ สี อน การบรรยาย อภปิ รายกลมุ่ ใชส้ ่ืออิเล็กทรอนกิ สป์ ระกอบการสอน ๒. กิจกรรมการเรยี นการสอนมดี งั นี้ ๒.๑ กจิ กรรมกอ่ นเรียน นักศึกษาอ่านเอกสารประกอบการสอนล่วงหน้า เตรียม รายงานหนา้ ช้ัน และเตรยี มร่วมแสดงความคิดเห็น ๒.๒ กจิ กรรมระหว่างเรยี น นักศึกษาฟงั บรรยาย รว่ มกนั อภิปราย ๒.๓ กิจกรรมหลังเรียน นักศึกษาตอบคาถามท้ายบท และเตรียมอ่านหนังสือบท ตอ่ ไปลว่ งหนา้ นกั ศกึ ษาทบทวนความรู้จากคลิปการสอนท่ีบันทึกไว้ในเว็บไซต์ผู้สอน ส่ือการเรียนการสอนประจาบท ๑. เอกสารประกอบการสอน ๒. สอื่ อิเลก็ ทรอนกิ ส์ อาทิ พาวเวอรพ์ อยท์ วีดทิ ศั น์ ๓. ตัวบทวรรณคดไี ทย การวัดและการประเมินผล ๑. สังเกตความสนใจและมีสว่ นร่วมในชั้นเรยี น ๒. การถาม-ตอบ ๓. การสอบปลายภาค ๒๓๕

บทท่ี ๗ วรรณกรรมไทยหลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ – วรรณกรรมปัจจุบัน บทน้ผี ู้เขยี นจะอธิบายลักษณะวรรณกรรมไทยตั้งแต่หลังปี พ.ศ. ๒๕๖๘ – วรรณกรรมไทย ในปจั จุบันโดยสงั เขป เพอ่ื ปูพนื้ ฐานเบื้องตน้ ให้นกั ศกึ ษาทราบความเปลย่ี นแปลงของวรรณกรรมไทย และเหน็ วิวฒั นาการจากวรรณกรรมแนวขนบสู่วรรณกรรมแนวสมัยใหม่ท่ีไดร้ ับอิทธิพลจากตะวนั ตก ๗.๑ ภาพรวมการเปล่ียนแปลงของวรรณกรรมไทยหลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หรือส้ินรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่ วรรณคดีไทยได้ปรับเปลี่ยนและสร้างสรรค์วรรณกรรมสมัยใหม่อย่างชัดเจน อาจกล่าวได้ว่า ช่วง สมัยรัชกาลท่ี ๗ เปน็ ต้นมาเรม่ิ เขา้ สู่ยคุ ของวรรณกรรมร่วมสมัย งานส่วนใหญ่เป็นงานร้อยแก้ว งาน ร้อยกรองเรม่ิ หมดความนิยมลงไป มงี านวรรณกรรมท่เี ปน็ ร้อยแก้วเกิดข้ึนจานวนมาก โดยเฉพาะ วรรณกรรมทีอ่ ยใู่ นรูปแบบเร่ืองสนั้ และนวนิยาย ในช่วงเวลาน้ีนักเขียนไทยรับเอาอิทธิพลการเขียน งานแบบตะวนั ตกมาใชก้ ับงานเขียนของตนเอง และสรา้ งสรรค์งานประเภทนี้อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง งานวรรณกรรมท่ีถือว่าเป็นช่วงต้นของการปรับเปล่ียนรูปแบบการเขียนสู่ความเป็น วรรณกรรมร่วมสมัยคือ นวนิยายเร่ือง ละครแห่งขีวิต ของ หม่อมเจ้าอากาศดาเกิง แม้วรรณกรรม เลม่ นีแ้ ต่งมาตัง้ แต่ปี ๒๔๗๒ แต่ยังมีความรว่ มสมัยเพราะใชร้ ูปแบบการเขยี นแบบใหม่และมีเนื้อหา ร่วมสมยั โดย ละครแหง่ ชีวติ นาเสนอเรอื่ งราวทีส่ มจรงิ ผแู้ ต่งแทรกบคุ คลที่มีตัวตนจรงิ ให้ตัวละคร เล่าประวัติของตนเอง ต้ังแต่วัยเด็กจนมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ ประกอบอาชีพเป็น นักหนงั สือพมิ พ์ในตา่ งแดนจนประสบอุบตั ิเหตุ จึงตอ้ งเดนิ ทางกลับมาประเทศไทย ผู้แต่งให้แนวคิด วา่ ชีวติ มนุษย์ไม่ว่าจะอยูใ่ นฐานะใด ยอ่ มจะโลดแลน่ ไปตามโชคชะตา เปรียบเสมือนละครเรื่องหน่ึง (ธดิ า โมสิกรตั น,์ ๒๕๕๙, หนา้ ๕-๗๓) ความสมจรงิ ของนวนิยายเรื่องน้ี ทาให้ผู้อ่านหลายคนคิดว่า เป็นเรอื่ งทแี่ ต่งจากเร่อื งจริง งานของหม่อมเจ้าอากาศดาเกิงมีนัยยะสาคัญของการก้าวเข้าสู่ความ เป็นวรรณกรรมสมัยใหม่ วรรณกรรมช่วงหลังเปล่ียนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นช่วงหัวเล้ียวหัวต่อของการ เปล่ียนแปลงจากระบบสังคมแบบเก่าไปสู่ระบบสังคมแบบใหม่ วรรณกรรมในช่วงน้ีจึงสะท้อนภาพ ความเปลี่ยนแปลงดังกลา่ วในลกั ษณะทคี่ อ่ นขา้ งจะสับสน เพราะประชาชนสว่ นใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับ ระบอบใหม่ ช่วงเวลาดังกล่าว หนังสือพิมพ์เป็นปัจจัยสาคัญในการเป็นกระจกเงาสะท้อนความ ๒๓๖

เปลี่ยนแปลงของสังคมและการเมือง นักเขียนสมัยนั้นจึงเป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วย เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ มาลยั ชพู นิ ิจ (รนื่ ฤทยั สจั จพนั ธ์ุ, ๒๕๕๙, หน้า ๖-๒๓) ช่วงหลังเปล่ียนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็น นายกรัฐมนตรี ได้ดาเนินนโยบายรัฐนิยม ทาให้วิถีการดาเนินชีวิตของคนไทยเปล่ียนแปลงไป จอมพล ป. พิบูลสงครามยังมีนโยบายการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย โดยได้ตั้งคณะกรรมการ ส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทย มีแนวทางส่งเสริมภาษาไทย ๔ แนวทาง คือ ๑) ส่งเสริมการศึกษา หลักและระเบียบภาษาไทย อย่างท่ีเรียกว่าภาษาศาสตร์ ๒) ส่งเสริมการแต่ง ทั้งในวิธีร้อยแก้ว และร้อยกรอง ซ่ึงรวมเรียกว่าวรรณคดี ๓) ส่งเสริมให้มีการวิจารณ์วรรณคดี ๔) จัดตั้งสมาคม วรรณคดี เพ่ือจะได้เป็นแหล่งที่เพาะความรู้ภาษาไทย และโฆษณาภาษาไทย ซึ่งแนวทางดังกล่าว ส่งผลต่อการประพันธ์วรรณกรรมโดยตรง ตั้งแต่แนวการแต่ง เนื้อหา ไปจนถึงการใช้ภาษา ท่ี กาหนดการใช้และการสะกดคา คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาไทยได้ออกประกาศสานัก นายกรฐั มนตรี เร่อื งการปรับปรุงอักษรไทย เม่ือวันท่ี ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยให้เหตุผล ในการปรับปรุงไวด้ งั น้ี ประกาสสานกั นายกรถั มนตรี เร่อื งการปรับปรุงอักสรไทย ด้วยรัถบาลพิจารณาเห็นว่า ภาสาไทยย่อมเป็นเคร่ืองหมายสแดงวัธนธรรมของชาติ ไทย สมควนได้รับการบารุงส่งเสิมไห้แพร่หลายออกไปกว้างขวางย่ิงขึ้น ไห้สมกับความจเริน ก้าวหน้าของชาติ ซ่ึงกาลังขยายตัวออกไปไนปัจจุบันคนะหน่ึง ดังมีรายชื่อแจ้งอยู่ไนประกาส ต้ังกรรมการสง่ เสมิ วธั นธรรมภาสาไทยนนั้ แล้ว เพื่อรว่ มกันพิจารนาหาทางปรับปรุงและส่งเสิม ภาสาไทยไห้มีความจเรินก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันที่จริงภาสาไทยก็เป็นภาสาที่มีสาเนียงไพเราะ สละสลวยและมีความกว้างขวางของภาสาสมกับเป็นสมบัติของชาติไทยท่ีมีวัธนธ รรมสูงอยู่ แล้ว ยังขาดอยูก่ ็แต่การสง่ เสิมไห้แพร่หลาย สมควนแกค่ วามสาคันของภาสาเท่านัน้ กรรมการส่งเสิมวัธนธรรมภาสาไทยได้มีการประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๓ พรึสภาคม ๒๔๘๕ มีความเห็นไนชั้นต้นว่า สมควนจะปรับปรุงตัวอักสรไทยไห้กระทัดรัดเพื่อ ได้เล่าเรียนกันได้ง่ายยิ่งข้ึน ได้พิจารนาเห็นว่า ตัวสระและพยัญชนะของภาสาไทยมีอยู่หลาย ตัวท่ีซ้าเสียงกันโดยไม่จาเป็น ถ้าได้งดไช้เสียบ้างก็จะเป็นความสดวกไนการสึกสาเล่าเรียก ภาสาไทยไห้เปน็ ที่นิยมยิง่ ข้นึ ๒๓๗

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้านภาษามีหลายลักษณะ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปตัวอักษร หากแตม่ งุ่ ตดั ตัวพยัญชนะ ตัวสระที่มเี สียงซา้ กันออก เชน่ ตัดอกั ษรท่ีมีเสียงซา้ กนั ออก โดยตัด ฃ ฃ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ และฬ ออกไปเลย สระก็ ตัด ใ ฤ ฤา ฦ ฦา ออก ถือวา่ ตัวหนงั สอื ไม่มใี ช้แล้วกไ็ ม่กระทบกระเทือนการใช้ภาษาไทยจึงเอาออก ได้ ดังน้นั ตวั หนงั สอื ไทยยังคงเหลือตัวอักษรเพียง ก ข ค ง จ ฉ ช ซ ญ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ บ ย ร ล ว ส ห อ ฮ ตัวท่ีตัดออกไปน้ันให้ใช้คาที่เสียงพ้องกันท่ีเหลือแทน เช่น ส แทน ศ ษ น แทน ณ ด แทน ฎ เปน็ ต้น ตวั ญ นน้ั โดยทัว่ ไปให้เขยี นโดยใชต้ ัว ย แทน แตใ่ นกรณตี ้องเขียนคาบาลหี รอื สันกฤต ให้ใช้ ตวั ญ ได้ แตไ่ ด้ตดั เชิงตวั ญ ออก คงมรี ูปเพยี ง เชน่ ผู้หญงิ เป็น ผู้หยิง ใหญ่ เปน็ ไหย่ เป็นต้น ตัวกล้า ทร ที่ออกเสียงเป็น ซ ให้ใช้ตัว ซ เขียนแทน เช่น ทราบ เป็น ซาบ ทรุดโทรม เป็น ซดุ โซม ทราย เป็น ซาย ทรัพย์ เปน็ ซบั ทรวง เปน็ ซวง ตัว ย ที่ อ นาให้เปลี่ยนเป็น ห นา เช่น อยู่ อย่าง อย่า อยาก เขียนเป็น หยู่ หย่าง หย่า หยาก หลักทั่วไปใช้คาบาลีแทนสันสกฤต เช่น กัน ธัม นิจ สัจ แทน กรรม ธรรม นิตย์ สัตย์ เว้น แต่คาท่ีใช้รูปบาลีมีความหมายหนึ่ง และสันสกฤตในรูปอีกความหมายหนึ่ง คงใช้ท้ังสองคา แต่ เปลีย่ น รปู การ เขยี นตามอกั ษรทเี่ หลืออยู่ เช่น มายา เปน็ มารยา วชิ ชา เป็น วชิ า วิทยา, กติกา, กริ สตีกา , สัตราวุธ (ศาสตราวุธ), สาสตราจารย์ (ศาสตราจารย์), วิทยาสาสตร์ (วิทยาศาสตร์) และ สูนยก์ ลาง (ศนู ย์กลาง) ร หัน ในแม่ กก กบ กด กม ยกเลิกใช้ไม้หันอากาศแทน เช่น อุปสัค วัธนา บัพ กัมการ แต่ ร กันในแม่กน ยังคงมีใช้ได้ เช่น สรรค (อุปสรรค), บรรพบุรุส (บรรพบุรษ) ,วรรนคดี (วรรณคดี) เป็นตน้ (วัฒนธรรม, กระทรวง: ออนไลน์) วรรณกรรมท่ีเป็นประเภทวิจารณ์สังคมการเมืองในช่วงน้ีมีเป็นจานวนมากแต่ภายหลังถูก จากดั การเขยี น งานบนั เทิงคดี เช่น แนวพาฝนั ผจญภัย ได้รับอิสระในการเขียนมากกว่า ในช่วงนี้ จึงมนี วนิยายแนวน้จี านวนมาก ประกอบกบั การเขา้ สู่สงครามโลกคร้ังที่ ๒ ผลกระทบจากสงครามทา ให้ผอู้ า่ นสนใจงานแนวหลีกหนหี รือวรรณกรรมแนวเรงิ รมยม์ ากขึน้ ในชว่ งนนั้ นกั เขยี นหลายคนหยดุ เขียนงาน เช่น มาลัย ชูพินิจ หยุดเขียนเรื่อง แผ่นดินของเรา สด กูรมะโรหิต เลิกเขียนงานไปทา ฟารม์ เล้ียงไก่ มนัส จรรยงค์ ไปทากสกิ รรม เป็นต้น อยา่ งไรก็ดี แม้นโยบายของจอมพล ป. พิบูล สงคราม จะส่งผลการต่อการประพันธ์ แต่ในด้านการวิจารณ์น้ัน ได้ส่งเสริมและทาให้เกิดความ แพร่หลายมากข้ึน การวิจารณ์งานวรรณกรรมเร่ิมได้รับความนิยม และถ่ายทอดทฤษฎีการวิจารณ์ ตามแนวตะวันตก ในกลุ่มผู้สนใจวรรณคดีไทยโบราณ ได้รวมกลุ่มกันและจัดทาหนังสือ ๒๓๘

วงวรรณคดี โดยมีสมาชิกสาคัญคือ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา เจือ สตะเวทนิ เป็นต้น เพอื่ เผยแพรผ่ ลงานของสมาชิก ต่อมาพระองค์เจา้ เปรมบรุ ฉัตร ไดเ้ สนอให้ ต้ังวงวรรณคดีในรูปของสมาคม แล้วติดต่อเป็นสาขาของ P.E.N. Club เพ่ือเชื่อมโยงให้นานาชาติ รู้จักวรรณคดีไทย และยกระดับวรรณคดีไทยเสมอด้วยวรรณคดีสากล (รื่นฤทัย สัจจพันธ์ุ, ๒๕๕๙, หนา้ ๖-๒๓ – ๖-๒๖) นักเขยี นคนสาคญั ที่เป็นตวั แทนแหง่ วรรณกรรมยคุ นี้ เช่น ศรีบูรพา มาลัย ชูพินิจ สด กรู มะโรหติ ดอกไม้สด ก.สรุ างคนางค์ เป็นต้น ตอ่ มาเมอ่ื จอมพลสฤษดิ์ ธนะรตั น์ ขึน้ เปน็ นายกรัฐมนตรี ได้จากัดขอบเขตการเขียน ปิดก้ัน เสรีภาพของนักเขียนและกวี นักเขียนถูกจับเป็นจานวนมาก เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ อิศรา อมันตกุล สวุ ฒั น์ วรดิลก บรรจง บรรเจิดศิลป์ ทวีป วรดิลก เป็นต้น เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ถูกปิด งานวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในยุคน้ีจึงมีลักษณะเป็นวรรณกรรมหลีกหนีท้ังหลาย ไม่ว่าจะเป็น นิยายพาฝัน นิยายบู๊ นิยายผจญภัย นิยายแนวลึกลับ ตัวอย่างนวนิยายที่ได้รับอิทธิพลและมี พฒั นาการจากสงั คมการเมอื งในช่วงนี้ เช่น บ้านทรายทอง ของ ก.สรุ างคนางค์ ละอองดาว ของ พนมเทียน จาเลยรกั ของชูวงศ์ ฉายะจินดา เป็นต้น สาหรับงานร้อยกรองเป็นแนวพาฝันเช่นกัน เช่นเรื่องรักใคร่ เป็นต้น นักเขียนท่ีมีชื่อเสียงในยุคน้ี เช่น รงค์ วงษ์สวรรค์ ชูวงศ์ ฉายะจินดา บุษยมาส เปน็ ต้น จากการเปลย่ี นแปลงของสงั คมการเมอื งทส่ี ่งผลให้กลมุ่ นักคดิ นกั เขยี นถูกปิดกั้นความคิดน้ัน ในอีกด้านหนึ่ง กลับเป็นตวั กระตุน้ ใหเ้ กดิ การรวมกลุ่มกอ้ นของปญั ญาชนในสถาบนั การศึกษาต่าง ๆ ท่ีสนใจด้านการเมือง และได้สร้างสรรค์วรรณกรรมสะท้อนสังคมการเมืองขึ้นเป็นจานวนมาก และ นาไปสู่การเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ กลุ่มนักเขียนในสถาบันการศึกษาที่สาคัญ เช่น กลมุ่ ชมรมพระจันทร์เสี้ยว ที่เร่มิ โดยนกั ศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่ีสนใจวรรณกรรมและการ เขียนหนังสือ มีสมาชิกคนสาคัญ เช่น วิทยากร เชียงกูล สุชาติ สวัสด์ิศรี นิคม รายยวา วินัย อุกฤษณ์ สุรชัย จันทิมาธร ธัญญา ผลอนันต์ เป็นต้น งานเขียนสาคัญของสมาชิกกลุ่ม พระจันทรเ์ สยี้ ว เช่น ความเงยี บ ของสชุ าติ สวัสดิ์ศรี ฉันจงึ มาหาความหมาย ของวทิ ยากร เชียงกูล เป็นตน้ กลุ่มหนมุ่ เหน้าสาวสวย เปน็ การรวมกลุ่มของนกั ศึกษาที่สาเรจ็ การศกึ ษาและเปน็ นกั เขยี น อยู่แล้ว เช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ สุจิตต์ วงษ์เทศ ขรรค์ชัย บุนปาน สุวรรณี สุคนธา เรือง ชัย ทรัพย์นิรันดร์ เป็นต้น แนวเร่ืองของกลุ่มนี้จะเน้นความงามทางวรรณศิลป์มากกว่าแนวเรื่องท่ี เน้นเนื้อหาเชิงสังคมหรือการทดลองงานเขียนใหม่เหมือนอย่างกลุ่มพระจันทร์เส้ียว นอกจาก ๒ กล่มุ นี้แลว้ ยงั มกี ลุ่มเทคนคิ โคราช ซงึ่ เป็นการรว่ มกลมุ่ นกั เขียนภูมภิ าค กล่มุ วรรณกรรมเพ่ือชีวติ ซ่ึง มีนักเขียนและนกั ศึกษารนุ่ ใหมร่ วมตัวกนั ดว้ ย (รน่ื ฤทยั สจั จพันธ์,ุ ๒๕๕๙, หน้า ๖-๖๘ – ๖-๗๐) ๒๓๙

หลังจากเกิดเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง ในปี ๒๕๑๖ น้ัน แนวเร่ืองวรรณกรรม เปล่ียนแปลงไปอย่างมาก จากแนววรรณกรรมเพื่อชีวิตสู่วรรณกรรมที่มุ่งส่งเสริมสานึกเชิงสังคม โดยในช่วงที่จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ยังคงดาเนินนโยบายที่จากัดสิทธิ เสรีภาพ ทางความคิด วรรณกรรมในช่วงน้ีจึงนาเสนอเนื้อหาในเชิงต่อต้าน โดยนาเสนอให้เห็นวิกฤตทาง สังคมและการเมืองที่เกิดในยุคน้ัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับความเปล่ียนแปลงของสังคมสมัยใหม่ และ วิกฤตของระบบคุณค่าท่ีขัดแย้งกันในสังคมยุคน้ี จากเหตุการณ์ภายในบ้านเมืองและผลพวงจาก ความกา้ วหน้าทางเทคโนโลยีในสังคมสมยั ใหม่ ทาให้นกั เขียนแสวงหาหนทางนาเสนอประสบการณ์ ความคิดและความรู้สึกของตนโดยนาเสนอผ่านแนวการเขียนของตะวันตกท่ีเรียกว่า “คตินิยม สมัยใหม่” (Modernism) เช่น การเขียนแบบกระแสสานึก (stream of consciousness) ที่เน้น การสารวจความคดิ ของตัวละคร หรือการเขียนแบบทาลายขนบการประพันธ์ เช่น เขียนเร่ืองแบบ ไมม่ โี ครงเรื่อง นาเสนอเรือ่ งแบบไมต่ อ่ เนอ่ื ง ไม่เป็นเหตุเป็นผล มุ่งเสนอความคิดตัวละครมากกว่า เหตุการณ์ เพื่อสื่อให้เห็นภาพบ้านเมืองท่ีไม่ราบรื่น งานเขียนในยุคนี้ที่เป็นแนวการเขียนแบบ สมัยใหม่ เช่น รวมเรื่องสั้นเร่ืองถนนสายที่นาไปสู่ความตาย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนา แนวคิดของนักปรัญชาตะวันตกมาสร้างสรรค์เรื่องอีกด้วย เช่น แนวคิดอัตภาวนิยม (Existentialism) ลัทธิมากซ์ (Marxism) เป็นต้น ผลงานสาคัญในยุคน้ี เช่น รวมเร่ืองส้ันสงคราม ในหลุมฝังศพ ของสวุ ัฒน์ ศรีเช้อื ท่นี าเสนอเนอ้ื หาและรูปแบบไดแ้ ปลกใหม่ โดยใช้การนาเสนอเร่ือง แบบไม่ต่อเนื่อง ไม่เป็นเหตุเป็นผล ทาให้ท่วงทานองการเล่าเปลี่ยนไป รวมบทกวีเพียงความ เคล่ือนไหว ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นาเสนอเน้ือหาทางการสังคมการเมือง ใช้สัญลักษณ์ส่ือ ความหลายแห่ง เป็นตน้ (สรณฐั ไตลงั คะ, ๒๕๕๙, หนา้ ๗-๕ - ๗-๑๒) ปัจจุบันวรรณกรรมร่วมสมัยได้พัฒนาท้ังเนื้อหาและรูปแบบ ในด้านเน้ือหามีความ หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ยังคงนาเสนอปัญหาทางสังคม เร่ืองปากท้อง วิถีชีวิตคนเมือง วิถึและ ตวั ตนของคนในยุคโลกาภิวัตน์หรือสังคมยุคทุนนิยม บริโภคนิยม หลายเรื่องยังนาเสนอวัฒนธรรม ชุมชนและเรอ่ื งของท้องถนิ่ ด้วย วรรณกรรมร่วมสมัยท่ีน่าสนใจ เช่น คาพพิ ากษา ของชาติ กอบจติ ติ ท่นี าเสนอใหเ้ หน็ สังคมท่ียกย่องและตัดสินคนท่ีฐานะ ช่ือเสียง เงินทอง ครอบครัวกลางถนน ของ ศิลา โคมฉาย นาเสนอชีวิตคนเมืองในยุคทุนนิยมท่ีเร่งรีบและลดทอนความตัวตน แม่เบ้ีย ของ วาณิช จรุงกจิ อนนั ต์ ท่ีนาเสนออารมณ์ความปรารถนาภายในจติ ใจและการตกอยู่ภายใตย้ ุคทนุ นิยม จนตวั ละครตอ้ งออกมาแสวงหาความงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม ตลง่ิ สูง ซงุ หนัก ของนิคม รายยวา นาเสนอให้ตงั้ คาถามกบั ความหมายของชีวติ เจา้ จนั ทผ์ มหอม นริ าศพระธาตอุ ินทรแ์ ขวน ของมาลา คาจันทร์ นาเสนอให้เห็นมิติทางชนชั้นในการมาควบคุมตัวตนของบุคคลและยังนาเร่ืองท้องถ่ินเข้า มาประกอบดว้ ย หรือเร่ืองอัญมณีแห่งชีวิต รวมเร่ืองสั้นของอัญชัน ที่นาเสนอปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด ๒๔๐

ขนึ้ กบั คนในสงั คม เป็นตน้ จากตัวอยา่ ง จะเหน็ วา่ วรรณกรรมในยุคน้ีมีลักษณะเป็นแนวสัจนิยมที่ มงุ่ นาเสนอเรอ่ื งทางสงั คม และใช้สัญลกั ษณเ์ พ่ือนาเสนอประเดน็ โดยผู้อา่ นตอ้ งตคี วามเอง ลักษณะงานเขียนร่วมสมัยท่ีน่าสนใจอีกลักษณะหนึ่งคือ การเขียนงานแนวทดลอง งาน เขยี นแนวเมตาฟิกชนั่ (Metafiction) และงานเขยี นที่มุ่งนาเสนอประสบการณ์ของนักเขียนเองหรือ ของกล่มุ นักเขียนท่ีใช้แนวการเขียนงานแนวทดลองคนสาคัญคือ วินทร์ เลียววาริณ เช่น ในรวม เร่ืองส้ันชุด อาเพศกาสรวล หรือนวนิยายเรื่อง ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน ยาแก้สมองผูก ตรา ควายบิน น้าแข็งยูนิต ตราควายบิน เป็นต้น โดยวินทร์ ใช้การเขียนเรื่องผสมผสานหรือตัดปะกับ สื่อหรือศิลปะต่าง ๆ ในการนาเสนอเร่ือง ซ่ึงทาให้เกิดความแปลกใหม่และได้มุมมองท่ีแตกต่าง งานเขยี นแนวเมตาฟกิ ชน่ั น้ัน เป็นกลวิธีการเล่าเร่ืองแบบเรอื่ งซอ้ นเรอ่ื ง หรอื การสรา้ งความตระหนัก รู้ว่าเร่ืองที่เขียนเป็นเร่ืองแต่ง ซึ่งแนวการเขียนนี้ทาให้เกิดการตั้งคาถามกับการเขียนแนวสัจนิยมท่ี มักนาเสนอความเรื่องที่เขียนเป็นเร่ืองจริง งานเขียนแนวนี้ เช่น เรื่อง เวลา ของ ชาติ กอบจิตติ เรื่องสั้นเรื่อง ผู้แลเห็นลม ของอัญชัน เรื่อง จินตนาการสามบรรทัด ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นต้น สาหรบั งานเขียนทน่ี าเสนอประสบการณข์ องตนหรือของกลุม่ นัน้ มักเปน็ งานเขยี นของคนท่ตี กอยใู่ น ภาวะวิกฤตทางอัตลกั ษณ์หรือวิกฤตในชุมชนท่ีตนอาศัยอยู่ เช่นงานเขียนของกลุ่มคนชายขอบ คน ไร้บ้าน คนพลัดถิ่น คนพิการ กลุ่มเพศที่หลากหลาย คนที่มีประสบการณ์บาดแผล เป็นต้น นกั เขยี นจะใชง้ านเขยี นเปน็ เคร่ืองมอื ในการคล่คี ลายวกิ ฤตอัตลักษณ์ นาเสนอตวั ตน หรือต่อรองทาง สงั คมการเมือง เพอ่ื นาไปสคู่ ณุ ภาพชวี ิตท่ดี ขี ้นึ หรอื เพ่ือทาให้วิกฤตท่ีกาลังเผชิญคล่ีคลาย เป็นท่ีน่า สงั เกตว่า การเขยี นลกั ษณะนี้ปรากฏขน้ึ ในสังคมรว่ มสมัยน้ีจานวนมาก ๗.๒ ลกั ษณะของวรรณกรรมไทยรว่ มสมัย ลักษณะของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยมีลักษณะ ๓ ประการ ดังนี้ ๗.๒.๑ รูปแบบ วรรณกรรมปัจจุบันมีรูปแบบการแต่งขยายตัวมากขึ้นกว่า วรรณกรรมในอดีต และแตล่ ะรูปแบบยงั ขยายย่อยออกไปอกี หลายประเภท ดงั น้ี ๗.๒.๑.๑ สารคดี เป็นรูปแบบการเขยี นร้อยแกว้ ทม่ี ุง่ เน้นเรอ่ื งข้อเท็จจริง ความถูกต้องเป็นสาคัญ สารคดีปัจจุบันแยกประเภทย่อยได้มาก เช่น สารคดีท่องเท่ียว สารคดี ชวี ประวตั ิและอตั ชีวประวตั ิ สารคดวี ชิ าการแขนงตา่ ง ๆ ตลอดจนบทความในรูปแบบมากมาย เช่น บทวจิ ารณ์ บทบรรณาธิการ บทวิเคราะหแ์ ละแสดงความคิดเห็น เป็นตน้ ๗.๒.๑.๒ นวนยิ าย เป็นรูปแบบการเขียนบนั เทิงคดแี บบใหม่ ซ่งึ เป็นทน่ี ิยม อย่างกว้างขวาง มเี นือ้ หาหลากหลาย เนน้ ให้เหตกุ ารณ์ บทสนทนา และสถานทมี่ คี วามสมจริง เชน่ ๒๔๑

ประเภทรักพาฝันหรือความรัก เช่น บ้านทรายทอง ปริศนา ปราบพยศ ยอดเสนห่ ์ เปน็ ตน้ ประเภทชีวิตครอบครัว เช่น ศัตรูของเจ้าหล่อน กรรมเก่า ไม้ผลัดใบ น้าเซาะทรายดอกฟ้าและโดมผจู้ องหอง เปน็ ตน้ ประเภทจติ วิทยา เช่น จนั ดารา ไร้เสนห่ า เงาราหู โอม้ าดา เป็นต้น ประเภทลกู ทงุ่ เชน่ ทุง่ มหาราช แผลเก่า ลูกอีสาน เปน็ ต้น ประเภทการเมอื ง เชน่ ไผ่แดง ลมทเ่ี ปลีย่ นทาง ทางน้าเงนิ เปน็ ตน้ ประเภทเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น กาเหว่าท่ีบางเพลง เกาะน้อยกลางสมุทร เป็นตน้ นอกจากนี้ ยงั อาจแบ่งตามแนวปรชั ญาความคดิ ตะวนั ตกเปน็ แนวธรรมชาติ นยิ ม (Naturalism) เชน่ คาพิพากษา ของชาติ กอบจติ ติ เป็นตน้ แนวโรแมนติค (Romanticism) เชน่ เลือดขตั ติยาหน้ีรกั เปน็ ต้น แนวสจั นิยม (Realism) เช่น น่ีแหละโลก หญิงคนชวั่ เรือมนษุ ย์ เปน็ ต้น ๗.๒.๑.๓ เรื่องสั้น เป็นรูปแบบงานเขียนแบบใหม่ มีลักษณะเป็นเรื่อง ร้อยแก้วขนาดสั้น ผู้แต่งจะสร้างเร่ืองให้มีความสมจริง มีแนวการเขียนได้หลายแบบ อาทิเช่น ประเภทเน้นโครงเรอ่ื ง เช่น จับตาย ของมนัส จรรยงค์ ฯ ประเภทเน้นแนวคิด เช่น หายไปกับลม หายใจ ของ ชาติ กอบจติ ติ ประเภทเนน้ ตัวละคร เชน่ มอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นท่ีน่าสังเกตว่า นักเขียนเขียนนวนิยายและเร่ืองส้ันให้มีความสมจริง ตา่ งจากนิทานนยิ ายสมยั กอ่ นที่เนน้ แนวเหนอื จริง แกน่ เรอื่ งสะทอ้ นความจริงของมนุษย์ในด้านต่างๆ โครงเรื่องมีความหลากหลายมากขึ้นต่างจากโครงเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ท่ีมีโครงเร่ืองซ้า ๆ ตัวละครมี ความสมจรงิ เหมือนคนทั่วไป มีพฤติกรรม มีการสนทนาโต้ตอบและมคี วามรสู้ กึ นึกคิดเหมือนมนษุ ย์ ๗.๒.๑.๔ บทละคร บทละครปัจจุบันท่ีได้รับอิทธิพลจากตะวันตกเป็น แบบบทละครพูดหรือละครเพลงประกอบรีวิว บทละครปัจจุบันมีทั้งท่ีเป็นบทละครแปล บทละคร แปลงและบทละครท่แี ตง่ ขึ้นโดยใช้กลวิธีการแสดงออกแบบตะวันตก เช่น การใช้สัญลักษณ์ การ เสนอแนวคดิ แบบใหม่ ๆ ๗.๒.๑.๕ ร้อยกรอง ลักษณะร้อยกรองปัจจุบันมุ่งเน้นในด้านการเสนอ “ความคดิ ” มากกว่าการเสนอความไพเราะงดงามตามหลกั วรรณศิลป์ ร้อยกรองปจั จบุ นั มักมขี นาด สน้ั ใช้ถ้อยคาง่าย ๆ พ้ืน ๆ บางทีก้าวร้าว รุนแรง ไม่เคร่งครัดฉันทลักษณ์และขนบนิยมในการแต่ง เนือ้ หาแสดงแนวคดิ กว้างขวางเรอื่ งสังคม เศรษฐกจิ การเมอื ง ๒๔๒

๗.๒.๒ เนอื้ หา เนือ้ หาของวรรณกรรมรว่ มสมยั ตา่ งจากในอดีตที่ไมม่ ุ่งเน้นศิลปะการ แต่งอันทาให้เกิดความรื่นรมย์ท้ังในการอ่าน เช่น งานร้อยกรอง นิทาน คากลอน หรือความ เพลิดเพลินในการดู เช่น บทละคร โดยการเสนอภาพอันงดงามตามความนึกคิด จินตนาการ จน มองขา้ มความเป็นจรงิ และสาระสาคัญของเนือ้ หาไป วรรณกรรมร่วมสมัยจะสนองอารมณ์ของคนดู และคนอ่านด้วยความสมจริงที่ผู้แต่งใส่ไว้ในเรื่อง รวมถึงความคิดเห็นที่สอดคล้องกับสภาพความ เปน็ อย่แู ละสภาพสังคมของผู้อา่ น ๗.๒.๓ แนวคิดของเรื่อง วรรณกรรมร่วมสมัยโดยเฉพาะนวนิยายเรื่องส้ันมีการ เสนอเร่ืองด้วยแนวคิดหรือปรัชญาที่สมจริง สอดคล้องกับชีวิตมนุษญ์ ต่างจากแต่วรรณกรรมในอดีต ส่วนใหญ่มักเสนอเรื่องในแนวโรแมนติคหรอื แนวอุดมคติ ซ่งึ วธิ ีการเขียนน้ี ไดร้ บั อิทธพิ ลจากตะวันตก เช่น เสนอความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ ได้แก่ แนวคิดแบบสัจนิยม (Realism) เช่น ตะวันตกดิน ละครแหง่ ชีวติ หนง่ึ ในรอ้ ย ขา้ วนอกนา สงครามชีวิต ฯลฯ เสนอภาพชีวิตท่ีเน้นเรื่องความทุกข์ ยากรา้ ยกาจของชีวติ ได้แก่ แนวคิดแบบธรรมชาตนิ ยิ ม (Naturalism) เช่น เรอ่ื งสั้นชุดฟ้าบ่กั้น ของ ลาว คาหอม เสนอเรื่องโดยใช้สัญลักษณ์ ได้แก่ แนวคิดแบบสัญลักษณ์นิยม (Symbolism) เช่น แดง รวี ของ รงค์ วงศ์สวรรค์ รถไฟเด็กเล่น ของสุชาติ สวัสดิศรี ฯลฯ ใช้แนวปรัชญาท่ีแสดงถึง อสิ รเสรีของมนุษย์ในการเลือกเพื่อการดารงชีวติ ได้แก่ แนวคิดแบบ Existentialism เช่น ชั้นที่ ๗ ของสุชาติ สวัสดิศรี ฉันเพียงแต่อยากจะออกไปข้างนอก และ ถนนสายท่ีนาไปสู่ความตาย ของ วทิ ยากร เชยี งกลู ฯ แนวคดิ แบบเหนอื จริง (Surrealism) เช่น ลมหายใจแห่งศตวรรษ ของสุวัฒน์ ศรีเชอื้ เปน็ ตน้ ๗.๒.๔ กลวิธีการแต่ง วรรณกรรมร่วมสมัยโดยเฉพาะนวนิยาย เรื่องสั้นและบท ละครมีกลวิธีการแต่งที่ชวนให้น่าติดตามอย่างมากมาย เช่น การเปิดเร่ือง อาจเริ่มต้นด้วยการ บรรยายฉาก การแนะนาตัวละคร การยกสุภาษิตคาคม หรือการใช้บทสนทนา เป็นต้น สาหรับ วิธีการดาเนินเรื่องอาจใช้การเล่าเรื่องย้อนหลัง ให้ตัวละครผลัดกันเล่า หรือใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เสนอแนวคิดของเร่ือง เป็นตน้ ส่วนวธิ กี ารปดิ เรอ่ื งอาจทาไดโ้ ดยปดิ เร่ืองแบบหักมุม ปดิ เร่ืองแบบให้ ตัวละครเอกพบทัง้ ความสขุ สมหวงั และผดิ หวงั เปน็ ต้น นอกจากน้ี ยังมีกลวิธอี ืน่ ๆ อกี หลายประการ เช่น การสร้างตัวละคร การแนะนาตัวละคร การเล่าเร่ือง การทาบทสนทนา การสร้างฉากและ บรรยากาศ เปน็ ตน้ ซ่ึงกลวิธีตา่ ง ๆ เหลา่ นี้ล้วนได้รบั อทิ ธพิ ลมาจากวรรณกรรมตะวนั ตกท้ังส้นิ ๒๔๓

ตารางเปรียบเทยี บลักษณะวรรณกรรมแนบขนบกับวรรณกรรมรว่ มสมัย วรรณกรรมแนวขนบ วรรณกรรมร่วมสมัย ๑. แนวคิดในการเขยี นเปน็ แบบจติ นิยม ๑. แนวคิดในการเขียนเป็นแบบสมจริงหรือสัจ นยิ ม ๒. ยดึ ธรรมเนียมนิยมในการแต่งเคร่งครดั ๒. ไม่เคร่งครัวธรรมเนียมนิยมมากนัก เน้นความ ริเริม่ สร้างสรรค์ ๓. จุดมุ่งหมายในการแต่งมุ่งความสะเทือนใจ ๓. มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อเสริมความคิด เปน็ สาคญั เสริมปัญญา สอดแทรกความรู้เข้าไปอย่าง แนบเนยี น ๔. การดาเนินเร่ืองเน้นเร่ืองศิลปะการใช้ถ้อยคา ๔. การดาเนินเรื่องยึดความสมจริงแห่งการ สานวน กวโี วหารมากกว่าโครงเรอื่ งและตวั ละคร ดาเนินชีวิตของมนษุ ยใ์ นสังคมเป็นสาคญั ๕. เนือ้ เร่อื งซ้าซาก มักมาจากเรอ่ื งศาสนา ชาดก ๕. นิยมเขียนเร่ืองและเหตุการณ์ท่ีอยู่ใกล้ตัว เทพนยิ าย ฯและเขียนอยู่ในแวดวงของชนช้ันสูง แสดงปัญหาและความเปน็ ไปในสงั คม วรรณกรรมแบบเดมิ ๖. เน้นความเชื่อทางไสยศาสตร์ วาสนาบารมี ๖. ผ้แู ต่งมักจะเน้นให้ผู้อ่านเห็นความเป็นจริงใน และโชคชะตาเปน็ สาคญั สังคม ช้ีนาให้ต่อสู้กับชีวิตตามความจริง ไม่ยอม แพโ้ ชคชะตา ๗. ฉาก ตัวละคร บรรยากาศในเร่ืองนิยมสมมติ ๗. ฉาก ตัวละคร บรรยากาศมักจะนามาจาก ให้งดงาม ชีวติ จรงิ ๘. นิยมร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้วและมีความ ๘. นิยมร้อยแก้วมากกว่าร้อยกรอง หากเป็นร้อย ยาว กรองนยิ มสนั้ ๆ จากตาราง จะเห็นลกั ษณะแตกตา่ งระหว่างวรรณกรรมไทยแบบเดิมกับวรรณกรรมไทยร่วม สมัย ท้ังด้านเน้อื หา แนวคิดและรปู แบบ สรุป วรรณกรรมไทยหลังปี พ.ศ. พ.ศ. ๒๔๖๘ – ปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบวรรณกรรม ตะวันตกอย่างมาก และยังคงมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบัน นักประพันธ์ไทยได้สร้างสรรค์ วรรณกรรมแบบร่วมสมยั มากข้ึน นวนิยายและเรื่องสั้นได้การพัฒนาอย่างต่อเน่ือง นักเขียนทดลอง แนวทางการเขียนใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังจะเห็นว่า มีงานเขียนที่เรียกว่า วรรณกรรมแนวทดลอง ๒๔๔

เกดิ ข้นึ มากกมาย เช่นงานของวินทร์ เลยี ววารนิ หรือ ชาติ กอบจิตติ นอกจากนี้ นักเขยี นหลายคน ยังผสมผสานรูปแบบการประพันธ์ ไม่ได้ใช้รูปแบบการประพันธ์แบบเดียว กลายเป็นรูปแบบการ เขยี นแบบใหม่ เช่น งานอัตชีวประวัตกิ ง่ึ นวนิยาย หรอื งานเขียนท่ีผสมผสานเร่ืองเล่า ตานานเข้าไป ในงานเขียนของตน เพ่ือนาเสนอสารบางอย่างแก่ผู้อ่าน ผู้อ่านหาเส้นแบ่งรูปแบบวรรณกรรมร่วม สมัยได้ยากมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นน้ีน่าจะเป็นแนวโน้มและทิศทางการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทย ต่อไปด้วย คาถามท้ายบท ๑. นักศกึ ษาคิดว่า วรรณกรรมไทยเรมิ่ มีความเปน็ วรรณกรรมรว่ มสมยั ตั้งแตช่ ่วงใด ๒. นวนยิ ายเรอ่ื งใดทีถ่ อื เปน็ จุดเริ่มต้นวรรณกรรมรว่ มสมยั เพราะเหตใุ ด ๓. การสร้างสรรคว์ รรณกรรมไทยหลงั การเปล่ียนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เปน็ อย่างไร ๔. สังคมการเมืองหลังการเปลย่ี นแปลงการปกครองมผี ลกระทบต่อวรรณกรรมไทยอยา่ งไร ๕. ลักษณะของวรรณกรรมไทยรว่ มสมยั มอี ะไรบา้ ง ๖. เนือ้ หาของวรรณกรรมไทยร่วมสมัยเป็นอยา่ งไร ๗. แนวคดิ หรอื ปรชั ญาของวรรณกรรมไทยร่วมสมยั ต่างจากยคุ ก่อนหรอื ไม่ อย่างไร ๘. วรรณกรรมรว่ มสมัยมกี ลวธิ ีการแตง่ อยา่ งไร ๙. ขอ้ แตกต่างระหวา่ งวรรณกรรมไทยแบบเดมิ กับวรรณกรรมรว่ มสมัยมีอะไรบ้าง ๑๐. นกั ศึกษาคิดวา่ แนวโนม้ หรอื ทศิ ทางวรรณกรรมไทยจะเป็นอย่างไร ๒๔๕

รายการอ้างองิ รื่นฤทยั สจั จพนั ธุ์. (๒๕๕๙). “สภาพสังคมและบรรยากาศของวรรณกรรม” ใน เอกสารการสอนชุด วชิ า วรรณคดไี ทย หนว่ ยที่ ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพม์ หาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมธริ าช. วัฒนธรรม, กระทรวง. (2559). ภาษาไทยยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=261 สรณัฐ ไตลังคะ. (๒๕๕๙). “สภาพสังคมและภาพรวมวรรณกรรม พ.ศ.๒๕๑๖ –๑๕๑๙” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมธิราช. ๒๔๖

บรรณานกุ รม กุสมุ า รกั ษมณ.ี (๒๕๔๙). การวิเคราะห์วรรณคดไี ทยตามทฤษฎวี รรณคดีสนั สกฤต. พมิ พค์ รั้งท่ี ๒. กรงุ เทพมหานคร: สานกั พิมพ์มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร. กุหลาบ มลั ลกิ ะมาส. (๒๕๑๗). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พส์ ว่ นท้องถิ่น. ฉันทชิ ย์ กระแสสินธ์ุ. (๒๕๑๓). กวโี วหาร โบราณคดี. พระนคร: กา้ วหน้า. ชลดา เรอื งรกั ษล์ ิขติ . (๒๕๔๔). อ่านลลิ ิตพระลอ ฉบับวเิ คราะหแ์ ละถอดความ. กรงุ เทพมหานคร: สานักพิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (๒๕๔๔). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพ ฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวชิ าการ คณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย. ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. พระอภัยมณี: มณีแห่งวรรณคดีไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. ๓๐ (๓) ๒๕๔๘: ๗๖๔ – ๗๘๕. โชติรส มณีใส. (๒๕๕๙). เทียนทอทอง: รวมบทความพินิจวรรณกรรมทรงคุณค่าในแวดวง วรรณคดีไทย. กรุงเทพ ฯ: พ.ี เอ.ลฟี วิ่ง. ดวงมน จติ ร์จานงค.์ (๒๕๔๐). คณุ คา่ และลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสนิ ทรต์ อนต้น. กรุงเทพ ฯ : สานักพิมพ์มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์. ดารงราชานภุ าพ, กรมพระยา. “คาอธิบายบุณโณวาทคาฉนั ท์” ใน ประชุมวรรณคดีเร่ืองพระพุทธบาท, สบื คน้ เม่ือ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐, จาก http://vajirayana.org/ประชุมวรรณคดีเรื่อง-พระ พทุ ธบาท/คาอธิบาย-บุณโณวาทคาฉนั ท์ ดารงราชานุภาพ, สมเดจ็ ฯ กรมพระยา. (๒๕๐๖). ตานานเรอ่ื งสามกก๊ . พระนคร: คลังวทิ ยา. ดารงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. “อธิบายความเบ้อื งตน้ ” ใน โคลงนิราศหริภุญชัย. สืบค้น เมื่อ ๑ กันยายน ๒๕๖๐, จาก http://vajirayana.org/โคลงนิราศหริภุญชัย/อธิบายความ เบอ้ื งตน้ ทศพร วงศ์รตั น.์ (๒๕๕๐). พระอภัยมณีมาจากไหน. กรงุ เทพมหานคร: คอมฟอร์ม. เทยี นวรรณ. “ตุลวิภาคพจนกจิ ” อา้ งใน ธดิ า โมสกิ รัตน์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบรุ ี: สานกั พมิ พ์มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมธริ าช. ธเนศ เวศร์ภาดา. (๒๕๔๙). หอมโลกวรรณศิลป์: การสร้างรสสุนทรีย์แห่งวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ปาเจรา. ธรรมาภิมณฑ์, หลวง. (๒๕๑๔). ประชุมลานา. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทาง ประวัติศาสตร์ สานักนายกรฐั มนตรี. ๒๔๗

ธิดา โมสกิ รตั น.์ (๒๕๕๙). “วรรณคดีสาคัญในสมัยรชั กาลที่ ๗ – กอ่ นการเปล่ียนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์ มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมธริ าช. นรินทรเทวี, กรมหลวง. (๒๕๐๙). จดหมายเหตุความทรงจา และพระราชวิจารณ์. พระนคร: โรงพิมพพ์ ระจนั ทร์. บญุ หลง ศรกี นก. นามานุกรมวรรณคดไี ทยเรือ่ ง กากีคากลอน, สบื คน้ เม่ือ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=21 บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. (๒๕๔๓). วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพ ฯ: ศยาม. ประสิทธ์ิ กาพยก์ ลอน. (๒๕๑๘). แนวการศกึ ษาวรรณคดี ภาษากวี การวิจักษณ์และการวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. ประเสรฐิ ณ นคร. (๒๕๒๗). “ลายสือไทย” ใน รวมบทความเร่ืองภาษาและอักษรไทย. พระนคร. ปรียา หิรัญประดิษฐ.์ (๒๕๕๙). “วรรณคดีสมัยอยุธยา พ.ศ.๒๑๗๒ – ๒๓๑๐”, ใน เอกสารการสอน ชดุ วิชา วรรณคดไี ทย หนว่ ยที่ ๑-๗. นนทบุรี: สานักพมิ พม์ หาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมธิราช. ปัญญา บริสุทธ์ิ. (๒๕๔๒). วิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยประเภท. พิมพ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพ ฯ: ราชบณั ฑติ ยสถาน. เปล้ือง ณ นคร. (๒๕๔๕). ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์คร้ังที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนา พานชิ . พระราชพงศาวดารกรงุ รัตนโกสินทร์ฉบับหอสมุดแห่งชาติ รัชกาลท่ี ๑ – รัชกาลที่ ๒. (๒๕๐๕). พระนคร: คลังวิทยา. พทิ ยาลงกรณ, พระราชวรวงศเ์ ธอ กรมหมนื่ . (๒๕๑๔). สามกรุง. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร. ไพเราะ มากรกั ษา. (๒๕๔๘). พฒั นาการวรรณคดีไทย. มปท. ยพุ ร แสงทักษิณ. (๒๕๕๙). “วรรณคดสี มยั กรงุ ธนบุรี – กรงุ รัตนโกสนิ ทร์ พ.ศ.๒๓๙๔”, ใน เอกสาร การสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมธริ าช. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุค๊ ส์พับลิเคช่นั ส์. ร่ืนฤทัย สจั จพันธุ์. (๒๕๕๙). “สภาพสังคมและบรรยากาศของวรรณกรรม” ใน เอกสารการสอนชดุ วชิ า วรรณคดไี ทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบรุ ี: สานกั พิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมธิราช. ร่นื ฤทยั สจั จพันธุ์. (๒๕๔๔). ศาสตร์และศลิ ป์แห่งวรรณคดี. กรงุ เทพมหานคร: ประพันธ์สาสน์ . ๒๔๘

รน่ื ฤทัย สจั จพนั ธ.์ุ (๒๕๕๘). ขา้ มชาติ ข้ามศาสตร์ ขา้ มศลิ ป์. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว. วรเวทย์พิสิฐ, พระ. (๒๔๙๖). วรรณคดีไทย. พระนคร: คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลยั . วรเวทย์พสิ ิฐ, พระ. (๒๕๔๕). คู่มอื ลลิ ติ พระลอ. กรงุ เทพมหานคร: องคก์ ารคา้ ครุ สุ ภา. วัฒนธรรม, กระทรวง. (๒๕๕๙). ภาษาไทยยคุ จอมพลป.พบิ ูลสงคราม. สืบค้นเม่ือ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙, จาก https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=261 วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (๒๕๑๔). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์. พระนคร : สมาคมภาษาและ หนังสอื แหง่ ประเทศไทย. วิพุธ โสภวงศ์. นามานุกรมวรรณคดีไทยเรื่อง ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา, สืบค้นเมื่อ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=๗๕) ศรีปราชญ์. (๒๕๒๒). อนริ ทุ ธค์ าฉนั ท.์ พมิ พค์ ร้งั ที่ ๔: กรงุ เทพมหานคร โรงพมิ พก์ ารศาสนา. ศิริน โรจนสโรช. นามานุกรมวรรณคดีไทยเร่ือง เงาะป่า. สืบค้นเม่ือ 25 กรกฎาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=36) ศลิ ปากร, กรม. (๒๕๔๓). ชวี ิตและงานของสนุ ทรภ:ู่ ฉบบั กรมศลิ ปากรตรวจสอบชาระใหม่. พิมพ์ ครัง้ ที่ ๑๕. กรงุ เทพ ฯ : องค์การคา้ ของคุรสุ ภา. สรณัฐ ไตลังคะ. (๒๕๕๙). “สภาพสังคมและภาพรวมวรรณกรรม พ.ศ.๒๕๑๖ – ๑๕๑๙” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยที่ ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทยั ธรรมธิราช. สิทธา พินิจภูวดล และปรียา หิรัญประดิษฐ์. (๒๕๕๙). “วรรณคดีสมัยสุโขทัย – อยุธยา พ.ศ. ๒๑๗๒ ใน เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย หน่วยท่ี ๑-๗. นนทบุรี: สานักพิมพ์ มหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมธิราช. สจุ ิตรา จงสถติ ยว์ ัฒนา. (๒๕๕๘). เจมิ จนั ทร์กงั สดาล: ภาษาวรรณศิลปใ์ นวรรณคดีไทย. กรงุ เทพฯ : โครงการเผยแพรผ่ ลงานทางวิชาการ คณะอกั ษรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย. สุภา ฟักข้อง. (๒๕๓๐). วรรณคดีไทยก่อนรับอิทธิพลจากตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา. สมุ าลี วรี ะวงศ์. (๒๕๕๙). วิถไี ทยในลลิ ติ พระลอ. กรงุ เทพ ฯ : สถาพรบุค๊ ส์. สุมาลี วีระวงศ์. นามานุกรมวรรณดคีไทยเรื่อง สมุทรโฆษคาฉันท์. สืบค้นเม่ือ ๕ กันยายน ๒๕๖๐, จากhttp://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=239 สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (๒๕๕๓). นาฏยศิลป์รัชกาลท่ี ๕. กรุงเทพ ฯ : สานักวรรณกรรมและ ประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร. ๒๔๙

สุวดี ภู่ประดิษฐ์. นามานุกรมวรรณคดีไทย เร่ืองราชาธิราช. สืบค้นเม่ือ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐, จาก http://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=199) เสฐยี รโกเศศ. (๒๕๐๗). การศึกษาวรรณคดแี ง่วรรณศลิ ป์. กรงุ เทพมหานคร: ราชบณั ฑิตยสถาน. เสถียร ลายลกั ษณ์. (มปป.). ประชมุ กฎหมายประจาศก. พระนคร: โรงพมิ พเ์ ดลิเมล์ นตี ิเวชช์. เสนีย์ วลิ าวรรณ. (๒๕๑๗). ประวตั วิ รรณคดแี ละการประพันธ.์ กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. เสนีย์ วิลาวรรณ. (๒๕๔๗). ประวัติวรรณคดีไทยสมัยกรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานชิ . เสรยี ์ วิลาวรรณ. (๒๕๔๗). ประวตั ิวรรณคดีสมัยสโุ ขทยั อยธุ ยา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานชิ . แสงโสม เกษมศรี และวิมล พงศ์พิพัฒน์. (๒๕๒๓). ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๒๕ – พ.ศ.๒๓๙๔). พิมพ์คร้ังที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สานัก เลขาธกิ ารคณะรฐั มนตรี. อุทัย ไชยานนท์. (๒๕๔๕). วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครุ่งเรืองสูงสุด. กรุงเทพมหานคร : น้าฝน. เอกรตั น์ อดุ มพร. (๒๕๔๔). วรรณคดสี มยั อยุธยา. กรงุ เทพมหานคร: พฒั นาศกึ ษา. ๒๕๐


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook