Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก

กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก

Published by library dpe, 2022-06-10 02:34:21

Description: กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก

Search

Read the Text Version

ชอื่ หนังสอื กิจกรรมนันทนาการเพ่ือพัฒนาคณุ ธรรมและจริยธรรมของเด็ก ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๒๙๗-๑๔๗-๑ ผู้เรียบเรยี งและบรรณาธกิ าร นางรุ่งอรุณ เขียวพมุ่ พวง ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะด้านส่งเสรมิ และพฒั นานนั ทนาการ สำ�นักนนั ทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการทอ่ งเท่ียวและกฬี า ๑๕๔ ถนนพระราม ๑ แขวงวังใหม่ เขตปทมุ วนั กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ www.dpe.go.th พิมพค์ ร้งั ที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๗ จำ�นวนพมิ พ์ ๕,๐๐๐ เล่ม สถานทีพ่ มิ พ ์ โรงพมิ พ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟคิ ดีไซน์ ๖๓ ซอยประชาอทุ ศิ ๗๕ แยก ๕ แขวงทุง่ ครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ๑๐๑๔๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๗๓ ๖๐๙๕-๖ โทรสาร ๐ ๒๘๗๓ ๕๗๕๘ ออกแบบศลิ ป์ บรษิ ัท แอนเิ มเนีย จำ�กัด www.animania.co.th

ค�ำ น�ำ กรมพลศึกษามีภารกิจหลักในการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ โดยได้กำ�หนด วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชนในชาติทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงบุคคล กลมุ่ พเิ ศษและผูด้ อ้ ยโอกาส มสี ขุ ภาพดที ง้ั ทางด้านรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม สติปัญญา มีวินัย มีคุณธรรมและมีน้ำ�ใจนักกีฬา โดยการเล่นกีฬา ออกกำ�ลังกาย และเข้าร่วม กิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ� และสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๙) ที่มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ท้ังทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมจริยธรรมในการดำ�รงชีวิต สามารถอยรู่ ่วมกบั ผ้อู ่นื ได้อยา่ งมีความสขุ เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลท่ีมีความสำ�คัญในการพัฒนาประเทศจึงมีความจำ�เป็น อยา่ งยง่ิ ทต่ี อ้ งปลกู ฝงั ใหเ้ ดก็ มคี ณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงคท์ ง้ั ทางดา้ นความร ู้ การพฒั นาคณุ ธรรม และจริยธรรม และนันทนาการเป็นกระบวนการหน่ึงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปลกู ฝงั ใหเ้ ดก็ รจู้ กั ใชก้ จิ กรรมนนั ทนาการจะชว่ ยเปน็ ภมู คิ มุ้ กนั เสรมิ สรา้ งพลงั แหง่ ความสขุ ลดความเครียด สามารถส่งผลให้ดำ�เนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ มีคุณธรรมและจริยธรรม และมคี ุณภาพชวี ิตทดี่ ี กรมพลศึกษา จึงได้มอบหมายให้สำ�นักนันทนาการ จัดทำ�หนังสือ เรื่องกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กขึ้น เพื่อเป็นแนวทาง ใหแ้ ก่ ครู อาจารย์ สถานศกึ ษา หน่วยงานทเี่ ก่ียวข้อง และผทู้ ีส่ นใจไดน้ �ำ กิจกรรมนนั ทนาการ ในการปลูกฝังพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก สำ�หรับอายุระหว่าง ๑๐-๑๒ ปี และสามารถน�ำ ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ หเ้ หมาะสมโดยใหค้ �ำ นงึ ถงึ ความพรอ้ มของเวลา สถานท่ี อปุ กรณ ์ สภาพทอ้ งถิ่น ความต้องการ ความสนใจของกลุ่มเปา้ หมายเป็นหลกั ท้ายสุดน้ี กรมพลศึกษา ต้องขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน จนทำ�ให้ หนงั สอื เลม่ น้ี สำ�เรจ็ ลุล่วงดว้ ยดี (ดร.พฒั นาชาติ กฤดบิ วร) อธบิ ดีกรมพลศกึ ษา

สารบญั หนา้ บทท่ี ๑ บทนำ� ความส�ำ คัญของปญั หา ๕ บทที่ ๒ แนวคิดเกย่ี วกบั คุณธรรมและจรยิ ธรรม ความหมายของคณุ ธรรม ๑๐ ความหมายของจริยธรรม ๑๓ ความส�ำ คัญของคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม ๑๕ คุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม ๑๙ แนวคดิ และทฤษฎเี กย่ี วกบั การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ๒๑ คุณลกั ษณะเดก็ ท่พี ึงประสงค์ ๒๖ คุณลักษณะของคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมส�ำ หรับเด็ก ๓๐ บทที่ ๓ แนวคดิ เกี่ยวกบั นันทนาการ ความหมายของนันทนาการ ๓๗ เปา้ หมายของนนั ทนาการ ๔๐ ปจั จัยสำ�คัญทท่ี ำ�ให้มสี ่วนรว่ มในนนั ทนาการ ๔๓ ประโยชน์และคณุ คา่ ของนันทนาการ ๔๕ ประเภทกจิ กรรมนนั ทนาการ ๔๙ บทที่ ๔ กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม ดา้ นความมวี ินัยในตนเอง ๕๗ ด้านความรบั ผดิ ชอบ ๗๘ ด้านความเสียสละ ๙๖ ดา้ นความซ่อื สัตย ์ ๑๑๒ บรรณานกุ รม ๑๒๘

บทที่ ๑ บทนำ� ความส�ำ คัญของปญั หา กรมพลศกึ ษา กระทรวงการทอ่ งเทย่ี วและกฬี า มวี ิสยั ทัศน์ คือ “เปน็ องคก์ ร นำ�ด้านการพลศึกษา กีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์ การกีฬา พัฒนาบุคลากร และมาตรฐานสถานกีฬา เพ่ือสุขภาพพลานามัยและความสุขของประชาชน” โดยก�ำ หนดยุทธศาสตร์ไว้ ๒ ประการ คอื ยุทธศาสตร์ท่ี ๑ การสง่ เสริมและพัฒนา ด้านการพลศึกษา กีฬานันทนาการและวิทยาศาสตร์การกีฬา ยุทธศาสตร์ท่ี ๒ การพฒั นาองคค์ วามรดู้ า้ นการพลศกึ ษากฬี า นนั ทนาการ และวทิ ยาศาสตรก์ ารกฬี า ให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนในชาติทุกกลุ่มเป้าหมายรวมถึงบุคคลกลุ่มพิเศษ และผู้ด้อยโอกาสให้มีสุขภาพดีท้ังทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา มวี ินยั มคี ุณธรรม และมนี �้ำ ใจนกั กฬี า โดยการเลน่ กีฬา ออกก�ำ ลงั กาย และเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำ� ซ่ึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อ ๑ (กรมพลศึกษา. ๒๕๕๖ : ออนไลน์) และสอดคล้องกบั แผนพฒั นาการศึกษาแหง่ ชาตฉิ บบั ท่ี ๑๐ ฉบับปรบั ปรงุ (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๙) ท่ีมีเจตนารมณ์มุ่งพัฒนาชีวิตให้เป็น “มนุษย์ท่ีสมบูรณ์ท้ัง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมในการดำ�รงชีวิต สามารถอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ ” หรอื อาจกลา่ วไดว้ า่ เปน็ บคุ คลทมี่ คี วาม “เก่ง ดี มีสุข” ซึ่งตรงตามเป้าหมายการศึกษา คือ ผู้เรียนเป็น คนดี คนเก่ง และมคี วามสขุ ยดึ คณุ ธรรมน�ำ ความรู้ สสู่ งั คมไทย (ระดมพลบลอ็ ค. ๒๕๕๖ : ออนไลน)์ จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และแก้ไขเพ่ิมเติม 5

(ฉบบั ที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ ในหมวด ๑ มาตรา ๖ ไดก้ �ำ หนดการจัดการศกึ ษา ต้องเป็นไปเพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรแู้ ละคณุ ธรรม มจี รยิ ธรรมและวฒั นธรรมในการด�ำ รงชวี ติ สามารถอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื ได้อย่างมีความสุข ท้ังน้ีต้องยึดแนวการจัดการศึกษา ในหมวด ๔ มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษาต้องเน้นให้ความส�ำ คญั ท้งั ความรู้ คณุ ธรรม กระบวนการเรยี นร้ ู และบูรณาการตามความเหมาะสม และในมาตรา ๒๔ (๔) ได้กำ�หนด กระบวนการเรียนรู้ โดยจัดกระบวนการสอนผสมผสานความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างไดส้ ัดส่วนสมดุลกนั รวมทัง้ ปลกู ฝังคุณธรรม ค่านิยมทด่ี งี าม และคุณลกั ษณะ อันพงึ ประสงคไ์ วใ้ นทกุ รายวชิ า (หมบู่ า้ นครู. ๒๕๕๖ : ออนไลน์) แผนพฒั นาเด็ก และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทำ�ข้ึนตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยมเี ปา้ หมายหลกั ใหเ้ ดก็ และเยาวชนมคี วามมนั่ คงในการด�ำ รงชวี ติ มคี วามแขง็ แรง ทางร่างกาย และจิตใจ มีคุณธรรมจริยธรรม มีสำ�นึกความเป็นพลเมือง กล้าคิด และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ตามวิถีประชาธิปไตย และมีความสุข (สำ�นักสง่ เสรมิ และพทิ กั ษเ์ ยาวชน. ๒๕๕๖ : ออนไลน)์ จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความสำ�คัญ ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก เน่ืองจากเด็กเป็นทรัพยากรบุคคล ท่ีมีความสำ�คัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ จำ�เป็นต้องได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะ ทพ่ี งึ ประสงคท์ ง้ั ทางดา้ นความรู้ คณุ ธรรม และจรยิ ธรรม ซง่ึ ตอ้ งกระท�ำ ตง้ั แตว่ ยั เดก็ หากเดก็ มลี กั ษณะทไี่ มพ่ งึ ประสงคด์ า้ นคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม ยอ่ มสง่ ผลโดยตรงตอ่ บคุ ลกิ ภาพ มีอารมณแ์ ละจติ ใจที่กา้ วรา้ ว เหน็ แก่ตัวรวมถึงการปรบั ตวั อยู่ในสงั คม ไดย้ าก ทำ�ใหเ้ กิดผลเสยี ต่อตนเอง ครอบครัว และสงั คม ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปล่ียนแปลงและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนวิทยาการสมัยใหม่ 6

มนษุ ยพ์ ยายามสรา้ งความเจรญิ ทางดา้ นวตั ถุเพอ่ื สรา้ งสง่ิ อ�ำ นวยความสะดวกใหแ้ กต่ นเอง มกี ารแขง่ ขนั สงู เพอ่ื ใหต้ นเองสามารถด�ำ รงชวี ติ อยไู่ ดใ้ นสงั คมท�ำ ใหค้ นไทยทม่ี อี ปุ นสิ ยั เออื้ เฟอ้ื เผอ่ื แผ่ มนษุ ยสมั พนั ธท์ ด่ี ี ชว่ ยเหลอื ซงึ่ กนั และกนั เกดิ การแกง่ แยง่ ชงิ ดชี งิ เดน่ เกดิ ปญั หาสงั คมมากมาย เชน่ นกั เรยี นตกี นั การมว่ั สมุ เสพยาเสพตดิ การคา้ บรกิ าร ทางเพศในรปู แบบตา่ ง ๆ การรวมกลุม่ กอ่ ความไมส่ งบใหแ้ กส่ งั คม ปญั หาฆา่ ตวั ตาย การกอ่ อาชญากรรมของเดก็ และเยาวชน ท่ีทวีความรุนแรงและเพ่ิมจำ�นวนมากข้ึน ปญั หาทเี่ กดิ ขนึ้ เหน็ วา่ เดก็ และเยาวชนขาดการปลกู ฝงั ในดา้ นคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม อย่างยั่งยืน คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย ไม่ก่อให้เกิดผลท่ีถาวร ในขณะท่ีสังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาของเด็กไทยเป็นผู้ใหญ่ ทีม่ คี ณุ ภาพ มคี วามสมบรู ณท์ ัง้ รา่ งกายและจติ ใจ มสี ตปิ ญั ญา มคี วามรูแ้ ละคณุ ธรรม มจี รยิ ธรรมและวฒั นธรรม ในการด�ำ รงชวี ติ สามารถอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ นื่ ไดอ้ ยา่ งมคี วามสขุ กรมพนิ จิ และคมุ้ ครองเดก็ และเยาวชน (โอเคเนชน่ั . ๒๕๕๖ : ออนไลน)์ ไดร้ ายงานวา่ ในปี๒๕๕๕มเี ดก็ และเยาวชนอายุ๑๐-๑๕ปีถกู ด�ำ เนนิ คดีโดยสถานพนิ จิ ทว่ั ประเทศ จ�ำ นวน ๖,๑๐๘ คน ซง่ึ เพม่ิ ขน้ึ กวา่ ในปี ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๔ ส�ำ หรบั อายุ ๑๕-๑๘ ปี ในปี ๒๕๕๕ มีจำ�นวน ๒๘,๑๖๘ คน ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ รองลงมาระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษาตอนปลาย และสูงกว่า เป็นเด็กท่ีครอบครัวแยกกันอยู่ และมากท่ีสุดอยู่กับมารดา รองลงมาอยู่กบั ปยู่ ่าตายาย อยกู่ บั บดิ า และญาติตามลำ�ดับ จากปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอทางด้านคุณธรรม และจรยิ ธรรมของสงั คมไดอ้ ยา่ งชดั เจน ซง่ึ ควรเรง่ เสรมิ สรา้ งคณุ ธรรมและจรยิ ธรรม ใหเ้ ขม็ แขง็ เพอ่ื ตอบรบั กบั การเปลย่ี นแปลงวถิ ชี วี ติ ของเยาวชนในสงั คม การแกป้ ญั หา ความอ่อนแอทางคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยถือเป็นหน้าท่ีของทุกฝ่าย ทจ่ี ะตอ้ งรว่ มมอื กนั อยา่ งจรงิ จงั ไมว่ า่ จะเปน็ ครอบครวั สถาบนั การศกึ ษา และองคก์ ร ทางสงั คมทเ่ี กย่ี วขอ้ ง โดยเสรมิ สรา้ งความรู้ ความสามารถในการถา่ ยทอดองคค์ วามร ู้ 7

และการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนท่ีจะเติบโต เป็นพลเมอื งดใี นอนาคต กระบวนการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรมศาสตร์แห่งการพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็น การพฒั นาทรพั ยากรทม่ี คี า่ สงู สดุ ของชาติ ประเทศทม่ี ที รพั ยากรมนษุ ยส์ งู ทง้ั คณุ ภาพ และปรมิ าณยอ่ มสามารถสรา้ งสรรคค์ วามเจรญิ ใหแ้ กป่ ระเทศชาตขิ องตนไดเ้ ปน็ อยา่ งยง่ิ นนั ทนาการเปน็ กระบวนการหนง่ึ ในการพฒั นาทรพั ยากรมนษุ ย์ เป็นวิถีแห่งความสุข และเป็นปัจจัยสำ�คัญย่ิงต่อการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์มาต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลทไ่ี ดร้ บั จากการประกอบกจิ กรรมนนั ทนาการคอื พลงั แหง่ ความสขุ ซง่ึ เปน็ ปฏปิ กั ษ์ กับความเครียด ความทุกข์ ความกังวล ความเศร้าหมองต่าง ๆ ถึงแม้ว่าคนไทย จะมคี ณุ ลกั ษณะทางนนั ทนาการทด่ี เี ลศิ อยแู่ ลว้ กต็ ามแตก่ ารเปลย่ี นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ของสังคมในโลกยุคใหม่ ทำ�ให้กระทบต่อรากฐานด้านนันทนาการของชีวิตคนไทย โดยเฉพาะอย่างย่ิงในกลุ่มของเด็ก และเยาวชนมากข้ึนอย่างน่าวิตก การต่อสู้ ระหวา่ งความทกุ ขก์ บั ความสขุ หรอื ระหวา่ งการท�ำ สิง่ ทีด่ กี บั สิง่ ทีช่ ัว่ นัน้ เปน็ ปญั หา ความขดั แยง้ ของมนษุ ยม์ าโดยตลอด การปลกู ฝงั ใหเ้ ดก็ และเยาวชนรจู้ กั ใชก้ จิ กรรม นันทนาการที่ถูกต้องจะเป็นภูมิคุ้มกัน และพลังแห่งความสุข เพื่อลดความเครียด หรือเป็นพลังใจ เป็นรากฐานให้เด็กและเยาวชน สามารถดำ�เนินชีวิตต่อไป ในอนาคตได้อย่างมั่นใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดี (ส�ำ นักงานพฒั นาการกฬี าและนันทนาการ. ๒๕๕๑.) 8

บทสรปุ เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำ�คัญย่ิง ท่ีควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาโดยเฉพาะ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพราะเป็นหน้าที่ ข อ ง ทุ ก ฝ่ า ย ท่ี จ ะ ต้ อ ง ร่ ว ม มื อ กั น อ ย่ า ง จ ริ ง จั ง ไมว่ า่ จะเปน็ ครอบครวั ซง่ึ เปน็ สถาบนั แรกทม่ี บี ทบาท ในการอบรมเล้ียงดู และการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรม รวมถึงสถาบันการศึกษา และองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเสริมสร้างความรู้ ความสามารถในการถา่ ยทอดองคค์ วามร ู้ และกระตนุ้ ให้เด็กเกิดความตระหนัก และเห็นความสำ�คัญของ คุณธรรมและจริยธรรม จากสภาพปัญหาของสังคมที่ทำ�ให้ เด็กขาดคุณธรรมและจริยธรรมเพิ่มมากขึ้น แ ล ะ จ า ก คุ ณ ป ร ะ โ ย ช น์ อ ย่ า ง ม ห า ศ า ล ข อ ง กิจกรรมนันทนาการดังกล่าวข้างต้น กรมพลศึกษา จึ ง ไ ด้ นำ � กิ จ ก ร ร ม นั น ท น า ก า ร เ พ่ือ เ ผ ย แ พ ร่ เ ป็ น ส่ื อ ใ น ก า ร ป ลู ก ฝั ง แ ล ะ พั ฒ น า คุ ณ ธ ร ร ม และจริยธรรมของเด็ก 9

บทที่ ๒ แนวคิดเกีย่ วกับคุณธรรมและจริยธรรม ในบทนี้จะได้กล่าวถึงความหมาย ความสำ�คัญ แนวคิด ทฤษฏี ที่เกี่ยวกับ คุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงคุณลักษณะของเด็กที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม และจริยธรรม ดังนี้ คนสว่ นใหญจ่ ะเขา้ ใจวา่ “คณุ ธรรมจรยิ ธรรม”ค�ำ ทง้ั สองมคี วามหมายเปน็ อนั เดยี ว หรอื ความหมายเหมอื นกนั ในความเปน็ จรงิ ค�ำ วา่ คณุ ธรรม กบั ค�ำ วา่ จรยิ ธรรม เปน็ ค�ำ ทแ่ี ยกออกจากกันเปน็ ๒ คำ� และมีความหมายที่แตกตา่ งกนั ออกไป ความหมายของคณุ ธรรม (Virtue) ค�ำ วา่ “คณุ ธรรม” เปน็ ค�ำ สมาส คอื คณุ + ธรรมะ คณุ งามความดที เ่ี ปน็ ธรรมชาติ กอ่ ใหเ้ กดิ ประโยชนต์ อ่ ตนเองและสงั คม เปน็ ค�ำ ทม่ี ลี กั ษณะสอดคลอ้ ง และมคี วามสมั พนั ธ์ กบั จรยิ ธรรม มนี กั การศกึ ษาใหค้ วามหมายไวด้ งั น้ี LongmanDictionaryofcontemporaryEnglish.(๑๙๙๕).ไดใ้ หค้ วามหมายของ ค�ำ วา่ “คณุ ธรรม” ซง่ึ ตรงกบั ภาษาองั กฤษวา่ “Virtue” ไว้ ๒ ประการดว้ ยกนั คอื ๑) หมายถงึ ความดงี ามของลกั ษณะนสิ ยั หรอื พฤตกิ รรมทเ่ี กดิ จากการกระท�ำ จนเคยชนิ ๒) หมายถงึ คุณภาพท่ีบุคคลได้กระทำ�ตามความคิด และมาตรฐานของสังคมเก่ียวกับ ความประพฤตแิ ละศีลธรรม พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. (๒๕๔๒). ไดใ้ หค้ วามหมาย ของค�ำ วา่ “คุณธรรม” หมายถึง สภาพคุณงามความดี 10

พจนานกุ รมพทุ ธศาสน์ฉบบั ประมวลศพั ท์(ช�ำ ระ-เพม่ิ เตมิ ชว่ งท่ี๑/ยตุ )ิ . (๒๕๕๔). ใหค้ วามหมายของค�ำ วา่ “คณุ ธรรม” หมายถงึ ธรรมทเ่ี ปน็ คณุ ความดงี ามสภาพทเ่ี กอ้ื หนนุ พทุ ธทาสภกิ ข.ุ (๒๕๐๕). ไดใ้ หอ้ รรถาธบิ ายค�ำ วา่ คณุ ธรรม ไวว้ า่ คณุ หมายถงึ ค่าที่มีอยู่ในแต่ละสิ่งซ่ึงเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เป็นไปได้ท้ังทางดีและทางร้าย คอื ไมว่ า่ จะท�ำ ใหจ้ ติ ใจยนิ ดหี รอื ยนิ รา้ ย กเ็ รยี กวา่ “คณุ ” ซง่ึ เปน็ ไปตามธรรมชาตขิ องมนั สว่ นค�ำ วา่ ธรรม มคี วามหมาย ๔ อยา่ ง คือ ๑. ธรรมะ คอื ธรรมชาติ ๒. ธรรมะ คอื กฎของธรรมชาติท่ีเรามหี นา้ ท่ตี อ้ งเรียนรู้ ๓. ธรรมะ คอื หน้าทีต่ ามกฎของธรรมชาติ เรามีหนา้ ท่ีตอ้ งปฏิบัติ ๔. ธรรมะ คือ ผลจากการปฏิบัติหน้าท่ีน้ัน เรามีหน้าที่จะต้องมี หรือใชม้ ันอย่างถกู ต้อง วัฒนากร เรืองจินดา. (๒๕๔๘). ได้กล่าวถึงความหมายของคุณธรรม และจรยิ ธรรม โดยอา้ งถงึ ค�ำ จ�ำ กดั ความทอ่ี รสิ โตเตลิ ไดใ้ หค้ วามหมายของคณุ ธรรม ไวว้ า่ เปน็ คณุ สมบตั ทิ ที่ �ำ ใหม้ นษุ ยบ์ รรลถุ งึ จดุ มงุ่ หมายเฉพาะของความเปน็ มนษุ ยไ์ ด ้ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ คุณธรรมทางปัญญา (Intellectual Virtue) และคุณธรรมทางจริยธรรม (Ethical Virtue) โดยได้กล่าวว่า คุณธรรมทางปญั ญา เกดิ จากการสอนและการไตร่ตรองทางปรัชญาท่ีตอ้ งอาศยั เวลา และประสบการณ ์ ส่วนคุณธรรมทางจริยธรรม เป็นผลมาจากลักษณะนิสัย เป็นส่ิงที่ไม่ได้มีอยู่ก่อน แต่เปน็ ผลมาจากการฝกึ ฝนจนเป็นนิสยั วศิน อินทสระ. (๒๕๔๙). ได้กล่าวถึง คุณธรรม ไว้ว่าหมายถึง อุปนิสัย อนั ดงี ามซงึ่ สง่ั สม อยใู่ นดวงจติ อปุ นสิ ยั นไี้ ดม้ าจากความพยายาม และความประพฤต ิ ท่ีติดต่อกนั มาเป็นเวลานาน ประภาศรี สีหอำ�ไพ. (๒๕๕๐). ได้ให้ความหมายของคำ�ว่า “คุณธรรม” หมายถงึ หลกั ธรรมจรยิ าทสี่ รา้ งความรสู้ กึ ผดิ ชอบชวั่ ดที างศลี ธรรมมคี ณุ งามความด ี 11

ภายในจิตใจจนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความยินดีการกระทำ�ท่ีดีย่อมได้รับผล ของความดคี อื ความชนื่ ชมยกยอ่ งในขณะทก่ี ารกระท�ำ ชวั่ ยอ่ มไดร้ บั ผลของความชวั่ คอื ความเจบ็ ปวดหรอื ความทกุ ขต์ ่าง ๆ ลิขิต ธรี เวคิน. (๒๕๔๘). ไดใ้ ห้ความหมายของ “คุณธรรม” ไวว้ ่าหมายถงึ จติ วญิ ญาณของปจั เจกบคุ คลศาสนาและอดุ มการณเ์ ปน็ ดวงวญิ ญาณของปจั เจกบคุ คล และสังคมด้วยปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณสังคมต้องมีจิตวิญญาณคุณธรรม ของปัจเจกบุคคลอยู่ท่ีการกล่อมเกลาเรียนรู้โดยพ่อ-แม่สถาบันการศึกษา ศาสนา พรรคการเมอื ง และองค์กรของรฐั สรปุ ไดว้ า่ คณุ ธรรมหมายถงึ สง่ิ ทม่ี คี ณุ คา่ มปี ระโยชน์เปน็ ลกั ษณะของความรสู้ กึ นึกคิดทางจิตใจ เป็นสภาพคุณงามความดีท่ีส่ังสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ เป็นเวลายาวนาน เป็นตัวกระตุ้นให้มีการประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบที่ดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามทางจิตใจ เป็นคุณค่าของชีวิตในการบำ�เพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ ให้เกิดความรักสามัคคี ความอบอุ่นมั่นคงในชีวิต ดังนน้ั คุณธรรมเปน็ บอ่ เกิดของจรยิ ธรรม คณุ ธรรมทส่ี �ำ คญั ยง่ิ ของคนในชาตทิ ไ่ี ดร้ บั การถา่ ยทอดผา่ นทางพระพทุ ธศาสนา โดยปรชั ญาแนวคดิ นน้ั เนน้ หลกั ธรรมทเ่ี ปน็ สจั ธรรมเปน็ วธิ กี ารสอนการเผยแผส่ บื ทอด หลกั ธรรมสกู่ ารปฏบิ ตั เิ นน้ คณุ ธรรมในการใชป้ ญั ญาพจิ ารณาเหตผุ ล หลกั ธรรมทเ่ี ปน็ หวั ใจ พทุ ธศาสนาน�ำ มาสง่ั สอนมี ๓ ประการคอื ๑) ใหเ้ วน้ จากความชว่ั ทง้ั ปวง ๒) ใหท้ �ำ ความดี ๓) ให้ช�ำ ระจิตใจใหบ้ รสิ ทุ ธส์ิ ะอาด หลกั ธรรมทพ่ี ระพทุ ธศาสนาน�ำ มาประกาศเปน็ “คณุ ธรรม” อนั มคี วามสอดคลอ้ ง เชอ่ื มโยงกนั ทง้ั หมดคอื เมอ่ื ปฏบิ ตั ติ ามขอ้ ธรรมขอ้ ใดขอ้ หนง่ึ แลว้ ยอ่ มเกย่ี วขอ้ งกบั ขอ้ ธรรม ขอ้ อน่ื ๆ ตามมาเปน็ แนวคดิ ทางจรยิ ศาสตรท์ ก่ี �ำ หนดขอ้ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ทิ างกายและใจ เร่ิมต้ังแต่ข้อปฏิบัติพ้ืนฐานทางกายไปสู่ข้ันสูงท่ีเป็นข้อปฏิบัติทางความคิด เพอื่ ความหลุดพ้นทางจติ ใจ 12

ความหมายของจรยิ ธรรม (Ethics) พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. (๒๕๔๒). ไดใ้ หค้ วามหมาย ของคำ�ว่า “จริยธรรม” หมายถงึ ธรรมท่ีเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ พจนานกุ รมพทุ ธศาสน์ฉบบั ประมวลศพั ท์(ช�ำ ระ-เพม่ิ เตมิ ชว่ งท่ี๑/ยตุ )ิ . (๒๕๕๔). ใหค้ วามหมายของค�ำ วา่ “จรยิ ธรรม” หมายถงึ ธรรม คอื ความประพฤต,ิ การด�ำ เนนิ ชวี ติ , ธรรมทเ่ี ปน็ ข้อประพฤติปฏบิ ัติ ศลี ธรรม หรือกฎศลี ธรรม ความหมายตามบญั ญตั ิ สมัยปัจจุบัน กำ�หนดให้ จริยธรรม เป็นคำ�แปลสำ�หรับคำ�ภาษาอังกฤษว่า Ethics นอกจากนย้ี งั ใหค้ วามหมายวา่ จรยิ ะ หรอื จรยิ ธรรมอนั ประเสรฐิ เรยี กวา่ พรหมจรยิ ะ แปลวา่ ความประพฤตอิ นั ประเสรฐิ หมายถึง มรรคมอี งค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา พุทธทาสภิกขุ. (๒๕๕๓). ได้อรรถาธิบายความหมายของคำ�ว่า “จรยิ ธรรม”แปลวา่ เปน็ สง่ิ ทพ่ี งึ ประพฤตจิ ะตอ้ งประพฤติในสว่ นศลี ธรรมนนั้ หมายถงึ สง่ิ ทก่ี �ำ ลงั ประพฤตอิ ยหู่ รอื ประพฤตแิ ลว้ จรยิ ธรรมหรอื Ethics อยใู่ นรปู ของปรชั ญา คือส่ิงท่ีต้องคิด ต้องนึกส่วนเร่ืองศีลธรรม Morality น้ีต้องทำ�อยู่จริง ๆ เพราะเป็นปัญหาเฉพาะหน้า พระพรหมคณุ าภรณ.์ (๒๕๔๖). ไดก้ ล่าวถึง จริยธรรม ไวว้ ่า เปน็ เรอ่ื งของ การด�ำ เนนิ ชวี ิตในดา้ นต่าง ๆ ดงั น้ี ๑. พฤติกรรมทางกาย วาจา และการใช้อินทรีย์ ในการสัมพันธ์ กับส่ิงแวดลอ้ ม ๒. จิตใจของเรา ซึ่งมีเจตจำ�นง ความตั้งใจ แรงจูงใจที่จะทำ�ให้เรา มพี ฤตกิ รรมสมั พนั ธก์ บั สง่ิ แวดลอ้ มอยา่ งไร ตามภาวะและคณุ สมบตั ติ า่ ง ๆ ของจติ ใจนน้ั ๆ ๓. ปญั ญา ความรู้ ซงึ่ เป็นตัวชีท้ างให้ว่าเราจะสัมพนั ธ์อยา่ งไรจงึ จะได้ผล และเป็นตัวจำ�กัดขอบเขตว่าเราจะสัมพันธ์กับอะไร จะใช้พฤติกรรมได้แค่ไหน เรามปี ญั ญา มคี วามรแู้ คไ่ หนเรากใ็ ชพ้ ฤตกิ รรมไดใ้ นขอบเขตนน้ั ถา้ เราขยายปญั ญา 13

ความรู้ออกไป เรากม็ พี ฤติกรรมที่ซบั ซอ้ นและไดผ้ ลดีย่ิงข้ึน ทิศนา แขมมณี. (๒๕๔๗). ได้ให้ความหมายของ “จริยธรรม” หมายถึง ความประพฤตหิ รอื การกระท�ำ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ท่ดี งี ามเปน็ ที่ยอมรบั ของสังคม รวมท้ังหลักเกณฑ์ มาตรฐานของความประพฤติที่เป็นแนวทาง ในการปฏิบตั ติ อ่ ผ้อู นื่ ตอ่ สงั คม เพ่อื ใหเ้ กดิ ความสนั ติสขุ ในสังคม เพ็ญแข ประจนปัจจนึก และคณะ. (๒๕๕๑). ให้ความหมายของคำ�ว่า “จรยิ ธรรม” ไวว้ า่ หมายถงึ หลกั การ ศลี ธรรม ความรสู้ กึ ผดิ ชอบชว่ั ดี พฤตกิ รรมอนั ดงี าม ทปี่ ลกู ฝงั อยใู่ นตวั บคุ คล สามารถใชเ้ ปน็ แนวทางใหแ้ กบ่ คุ คลในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ ทถ่ี กู ตอ้ ง เปน็ ทย่ี อมรบั ในสงั คม เปน็ เกณฑใ์ นการตดั สนิ พฤตกิ รรมของบคุ คลวา่ สง่ิ ใดดี หรือไม่ดี ควรจะท�ำ หรือไมค่ วรทำ� สรปุ ไดว้ า่ “จรยิ ธรรม” หมายถงึ พฤตกิ รรมทแี่ สดงออกใหเ้ หน็ ถงึ การปฏบิ ตั ดิ ี ปฏิบัติถูกต้อง อันเป็นผลมาจากความคิดที่สังคม หรือบุคคลมีความเห็นว่า เปน็ การปฏบิ ตั ทิ ดี่ ี เปน็ กรอบก�ำ หนดไวเ้ พอื่ ใหส้ งั คมเกดิ ความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ย มคี วามรม่ เยน็ เปน็ สขุ มคี วามรกั ความสามคั คแี ละมคี วามปลอดภยั ในการด�ำ เนนิ ชวี ติ ดงั นน้ั จากการศกึ ษาเอกสารขน้ั ตน้ ทไ่ี ดน้ �ำ เสนอแลว้ นน้ั สามารถประมวลค�ำ วา่ “คณุ ธรรม” และ “จรยิ ธรรม” เขา้ ดว้ ยกนั ไดเ้ ปน็ “คณุ ธรรมจรยิ ธรรม” (Moral Virtue) มีความหมายว่า เป็นการประพฤติ ปฏิบัติที่เป็นสิ่งท่ีดีงามถูกต้องตามมาตรฐาน และเปน็ ทย่ี อมรบั ของสงั คมหรอื อาจจะใหค้ วามหมายไดว้ า่ “คณุ ธรรมตามกรอบจรยิ ธรรม” 14

ความสำ�คญั ของคุณธรรมและจริยธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศก�ำ ลงั พัฒนา มีความจำ�เปน็ ทจ่ี ะต้องแก้ไขปญั หา ในด้านต่าง ๆ อาทิ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาทางสังคม รวมถงึ ปญั หาทเ่ี กยี่ วกบั คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมของประชาชน เพอื่ ใหป้ ระเทศพฒั นา ก้าวทนั นานาประเทศ เพญ็ แข ประจนปจั จนกึ และคณะ. (๒๕๕๑). ไดน้ �ำ เสนอพระราชด�ำ รสั ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่ีทรงพระราชทานไว้ในพระราชพิธีบวงสรวง สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าเก่ียวกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม เพอ่ื ให้เป็นสมบัตขิ องคนไทยทัง้ ประเทศ มีอยู่ ๔ ประการ ดงั น้ี ๑. การรักษาความสัตย์ ความจรงิ ใจตอ่ ตวั เองท่จี ะประพฤติปฏิบตั ิ แตส่ ่งิ ทีเ่ ป็นประโยชนแ์ ละเป็นธรรม ๒. การรจู้ กั ขม่ ใจตนเอง ฝกึ ใจตนเองใหป้ ระพฤตปิ ฏบิ ตั อิ ยใู่ นความสจั ความดนี น้ั ๓. การอดทน อดกลั้นและอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วง ความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด ๔. การรจู้ กั ละวางความชว่ั ความทจุ รติ และรสู้ ละประโยชนส์ ว่ นนอ้ ยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมทง้ั ๔ ประการ ประชาชนทกุ คนควรน�ำ มาประพฤตปิ ฏบิ ตั ิ จะชว่ ยใหป้ ระเทศชาตเิ กดิ ความสงบสขุ รม่ เยน็ และสง่ ผลใหป้ ระเทศสามารถพฒั นา ให้ม่ันคงกา้ วหนา้ ตอ่ ไป ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. (๒๕๕๑). ได้กล่าวถึง ความสำ�คัญของคุณธรรมและจริยธรรมไว้พอสรุปได้ว่า เด็กและเยาวชน เปน็ ทรพั ยากรบคุ คลทท่ี รงคณุ คา่ อยา่ งยง่ิ ตอ่ การพฒั นาประเทศ จ�ำ เปน็ ตอ้ งมกี ารปลกู ฝงั 15

คณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงคท์ ง้ั ดา้ นความรู้ และคณุ ธรรม ซง่ึ จ�ำ เปน็ ตอ้ งกระท�ำ ตง้ั แตว่ ยั เดก็ จนกระทง่ั เตบิ โตเปน็ ผใู้ หญท่ ส่ี รา้ งคณุ ประโยชนใ์ หแ้ กส่ งั คมในปจั จบุ นั และอนาคต ปว๋ ย อง้ึ ภากรณ.์ (๒๕๔๕). ไดแ้ สดงทศั นะเกย่ี วกบั ความส�ำ คญั ของคณุ ธรรม และจรยิ ธรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั การศกึ ษาไวพ้ อสรปุ ไดว้ า่ การศกึ ษาควรมจี ดุ มงุ่ หมาย ตอ่ ไปน้ี ๑. เพอื่ ทจ่ี ะอบรมนกั เรยี นใหเ้ ปน็ มนษุ ยท์ ดี่ ี มคี วามซอื่ สตั ยส์ จุ รติ มศี ลี ธรรม เป็นพลเมอื งดี มคี วามคิดชอบ ท�ำ ชอบ ประพฤตชิ อบ ๒. ควรจะอบรมนกั เรยี น รวมทง้ั นกั ศกึ ษามหาวทิ ยาลยั ใหร้ จู้ กั ใชค้ วามคดิ รู้จกั บำ�รงุ สติปัญญาให้เฉยี บแหลมเพ่ือนำ�มาใชป้ ระโยชนแ์ ก่ตนและแกป่ ระชาชน ๓. ฝกึ นกั เรยี นใหม้ คี วามรสู้ �ำ หรบั ใชป้ ระกอบอาชพี โดยไมเ่ บยี ดเบยี นผอู้ น่ื พรอ้ มไดแ้ สดงทศั นะเพม่ิ เตมิ อกี วา่ การศกึ ษาอบรมดงั กลา่ วไมไ่ ดจ้ �ำ กดั อยแู่ ตใ่ นสถานศกึ ษา เทา่ นนั้ โดยเฉพาะในหวั ขอ้ ท่ี ๑ ควรจะไดร้ บั การอบรมจากทางบา้ น ขอ้ นสี้ �ำ คญั มาก แม้จะเป็นเรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่ แต่ด้วยสมัยปัจจุบันพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง มักโยน ความรับผิดชอบไปให้ครู-อาจารย์ และสถานศึกษา ดังน้ันสถานศึกษา จึงมีความสำ�คัญมาก โดยเฉพาะอย่างย่ิงเกี่ยวกับวิชาการและวิชาชีพตามข้อ ๒ และขอ้ ๓ ผใู้ ดไดร้ บั การศกึ ษาในระดบั ต�่ำ กจ็ ะไดร้ บั ประโยชนน์ อ้ ย แตถ่ า้ การศกึ ษา สงู ขน้ึ ไปกจ็ ะไดร้ บั ประโยชนเ์ พม่ิ พนู ขน้ึ แตห่ ากผใู้ ดมสี นั ดานเลวและบกพรอ่ งในขอ้ ๑ คือ ปราศจากความซ่อื สัตย์สุจริตและศีลธรรม คุณประโยชน์ท่จี ะได้รับจากข้อ ๒ และข้อ ๓ ยอ่ มกลายเป็นโทษ และในบางกรณยี ่อมกลายเป็นโทษมหนั ต์ ประภาศรี สีหอำ�ไพ. (๒๕๔๓). อธิบายว่า จริยธรรมเป็นเคร่ืองกำ�หนด หลกั ปฏบิ ตั ใิ นการด�ำ รงชวี ติ เปน็ แนวทางใหอ้ ยรู่ ว่ มกนั อยา่ งสงบเรยี บรอ้ ย ประกอบดว้ ย องค์ประกอบ ดงั ตอ่ ไปนี้ ๑. ระเบียบวินัย (Discipline) เป็นองค์ประกอบท่สี ำ�คัญย่งิ สังคมท่ขี าด กฎเกณฑท์ ุกคนสามารถทำ�ทุกอย่างได้ตามอำ�เภอใจ ย่อมเดือดร้อนระสำ่�ระสาย ขาดผู้นำ�ผู้ตามขาดระบบที่กระชับความเข้าใจ เป็นแบบแผนให้ยึดปฏิบัติ 16

การหย่อนระเบียบวินัยทำ�ให้เกิดการละเมิดสิทธิและหน้าท่ีตามบทบาท ของแต่ละบุคคล ชาติใดไร้ระเบียบวินัยย่อมยากที่จะพัฒนาไปได้ทัดเทียมชาติอื่น จึงควรประพฤติตามจารีตประเพณีของสังคม ๒. สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบ แบบแผนก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมท่ีดีงาม มีวัฒนธรรมอันเป็นความมีระเบียบ เรยี บรอ้ ยและศลี ธรรมอนั ดขี องประชาชน เปน็ กลมุ่ ชนทข่ี ยายวงกวา้ ง เรยี กวา่ สงั คม ๓. อิสรเสรี (Autonomy) ความมีสำ�นึกในมโนธรรมที่พัฒนาเป็นลำ�ดับ ก่อให้เกิดความอิสระ สามารถดำ�รงชีวิตตามส่ิงที่ได้เรียนรู้จากการศึกษา และประสบการณใ์ นชวี ติ มคี วามสขุ อยใู่ นระเบยี บวนิ ยั และสงั คมของตนเปน็ คา่ นยิ มสงู สดุ ทค่ี นไดร้ บั การขดั เกลาแลว้ สามารถบ�ำ เพญ็ ตนตามเสรภี าพเฉพาะตนไดอ้ ยา่ งอสิ ระ สามารถปกครองตนเองและชกั นำ�ตนเองได้ อย่ใู นท�ำ นองคลองธรรม วศนิ อนิ ทสระ. (๒๕๔๑). ได้กลา่ วถงึ ความสำ�คญั ของจรยิ ธรรมดงั นี้ ๑. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำ�คัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความม่ันคง และความสงบสขุ ของปจั เจกชน สงั คมและประเทศชาตอิ ยา่ งยง่ิ รฐั ควรสง่ เสรมิ ประชาชน ใหม้ จี รยิ ธรรมเปน็ อนั ดบั แรก เพอ่ื ใหเ้ ปน็ แกนกลางของการพฒั นาดา้ นอน่ื ๆ ทง้ั เศรษฐกจิ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึด ยอ่ มเกดิ ผลรา้ ยกวา่ ดี เพราะผมู้ คี วามรแู้ ตข่ าดคณุ ธรรมยอ่ มกอ่ ความเสอ่ื มเสยี ไดม้ ากกวา่ ผดู้ อ้ ยความรู้โดยทา่ นกลา่ ววา่ “ผมู้ คี วามรแู้ ตไ่ มร่ วู้ ธิ ที จ่ี ะประพฤตติ นยอ่ มกอ่ ความเสอ่ื มเสยี ไดม้ ากกวา่ ผมู้ คี วามรนู้ อ้ ย ถา้ เปรยี บความรเู้ หมอื นดนิ จรยิ ธรรมยอ่ มเปน็ เหมอื นน�้ำ ดนิ ทไ่ี มม่ นี �ำ้ ยดึ เหนย่ี วเกาะกมุ ยอ่ มเปน็ ฝนุ่ ละอองใหค้ วามร�ำ คาญมากกวา่ ใหป้ ระโยชน์ คนทม่ี คี วามรู้ แตไ่ มม่ จี รยิ ธรรม จงึ มกั เปน็ คนทก่ี อ่ ความร�ำ คาญหรอื เดอื ดรอ้ นใหแ้ กผ่ อู้ น่ื อยเู่ นอื ง ๆ” ๒. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อย ก็ให้พร้อม ๆ กัน ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่น ๆ 17

เพราะการพฒั นาทไ่ี มม่ จี รยิ ธรรมเปน็ แกน่ นน้ั จะสญู เปลา่ และเกดิ ผลเสยี เปน็ อนั มาก ทำ�ให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุขมากข้ึน การท่ีเศรษฐกิจต้องเส่ือมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยเอาทรัพย์สิน ไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ขาดความเมตตาปรานีซ่ึงกันและกัน แลง้ น้�ำ ใจในการด�ำ เนินชวี ิต ๓. จรยิ ธรรม มไิ ดห้ มายถงึ การถอื ศลี กนิ เพล เขา้ วดั ฟงั ธรรม จ�ำ ศลี ภาวนา โดยไมช่ ว่ ยเหลอื ท�ำ ประโยชนใ์ หแ้ กส่ งั คม แตจ่ รยิ ธรรมหมายถงึ ความประพฤติ การกระท�ำ และความคดิ ทถ่ี กู ตอ้ งเหมาะสม การท�ำ หนา้ ทข่ี องตนอยา่ งถกู ตอ้ งสมบรู ณ์ เวน้ สง่ิ ควรเวน้ ทำ�สง่ิ ควรท�ำ ดว้ ยความฉลาดรอบคอบ รูเ้ หตรุ ู้ผล ถกู ตอ้ งตามกาลเทศะและบคุ คล ดังน้ันจะเห็นว่าจริยธรรมจำ�เป็นและมีคุณค่าสำ�หรับทุกคนในทุกวิชาชีพทุกสังคม สงั คมจะอยู่รอดได้กด็ ว้ ยจริยธรรม ๔. การทจุ รติ คดโกง การเบยี ดเบยี นกนั ในรปู แบบตา่ ง ๆ อนั เปน็ เหตใุ หส้ งั คม เสื่อมโทรมมีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ ในโลกนี้น่าจะพอเล้ียงชาวโลกไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบ โลภมาก แล้วมามีชีวิตอยอู่ ย่างเรยี บง่ายชว่ ยกนั สรา้ งสรรคส์ ังคม ยดึ เอาจรยิ ธรรม เป็นทางดำ�เนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคมเป็นจุดหมาย ถา้ สง่ิ นน้ั จะเกดิ ขน้ึ กใ็ หถ้ อื เปน็ เพยี งผลพลอยไดแ้ ละน�ำ มาใชเ้ ปน็ เครอ่ื งมอื ในการประพฤตธิ รรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเคร่ืองมือในการบำ�เพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศ และความมหี นา้ มเี กยี รติ ในสงั คมเปน็ เครอ่ื ง มอื ในการจงู คนผเู้ คารพนบั ถอื เขา้ หาธรรม ๕. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหม่ินกดข่ีคนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอ้ืออาทร ต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเข้ากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดีหรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฏฐิมานะลงให้มาก ๆ เพื่อจะได้มองเห็นส่ิงต่าง ๆ ตามความเป็นจริงไม่หลงสำ�คัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำ�ท่ีมีจริยธรรมสูงย่อมเป็นท่ีเคารพกราบไหว้ 18

ของผคู้ นทง้ั หลายไดอ้ ยา่ งสนทิ ใจ เราจงึ ควรเลอื กผนู้ �ำ ทส่ี ามารถน�ำ ความสงบสขุ ทางใจ มาสู่มวลชนได้ดว้ ย เพือ่ สันตสิ ุขจะเกดิ ขน้ึ ทั้งภายในและภายนอก เกรยี งศกั ด์ิ เจรญิ วงศศ์ กั ด.ิ์ (๒๕๔๑). ไดก้ ลา่ วถงึ ความส�ำคญั ของจรยิ ธรรมวา่ ในการจดั การศึกษาควรเนน้ คณุ ธรรมและจรยิ ธรรม เพราะคณุ ธรรมและจริยธรรม เป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับคนไทยหากได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม อย่างสม�่ำเสมอผู้เรียนจะเป็นคนมีคุณภาพ เป็นท้ังคนดี คนเก่ง และมีแนวทาง ในการด�ำเนินชีวิตในสังคมที่ถูกต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาในสังคมและประเทศชาต ิ ในอนาคต ในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมควรมีนโยบายที่ชัดเจน ดว้ ยการจดั ใหม้ หี ลกั สตู รการพฒั นาคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมเชงิ ปฏบิ ตั กิ ารแกผ่ เู้ รยี นดว้ ย ทง้ั นเี้ พอื่ ใหส้ ามารถน�ำไปปฏบิ ตั ิ และน�ำความรไู้ ปใชใ้ หถ้ กู ทางเกดิ ประโยชนต์ อ่ สงั คม และประเทศชาติ คุณธรรมและจริยธรรมที่โรงเรียนควรสร้างให้แก่ผู้เรียน ไดแ้ ก่ ความซือ่ สัตย์ ความอดทน และความอตุ สาหะ สรุปได้ว่า คุณธรรมและจริยธรรมมีความสำ�คัญต่อการพัฒนามนุษย์ เพื่อให้มีคุณภาพลักษณะอันนำ�มาซึ่งความเป็นพลเมืองที่ดี ความประพฤติปฏิบัติ ในส่งิ ท่ีดีงามตามค�ำ สัง่ สอนในศาสนา หรอื การประพฤตติ ามเกณฑท์ ถ่ี กู ตอ้ งทง้ั กาย วาจา และใจ อันก่อให้เกิดประโยชน์และความสุขท้ังต่อตนเองและสังคมส่วนรวม นำ�มาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของสังคม เพราะฉะนั้นจึงจำ�เป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้อง สร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดมีในตัวบุคคลมากที่สุด คณุ ค่าของคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรมและจริยธรรม ถือว่ามีคุณค่าต่อมนุษย์ เพราะช่วยให้มนุษย์ ดำ�เนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ เพราะคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม คือ ความดี ซึ่งคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรมที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ดังนี้ 19

๑. ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มนุษย์มีชีวิตท่ีดี มีสุขภาพดีท้ังสุขภาพจิต สขุ ภาพกายและมีชวี ติ ท่ีสมบรู ณ์ ๒. ช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง มีความสำ�นึกในหน้าท่ี มีความรับผิดชอบ ตอ่ ตนเอง ต่อครอบครัว สงั คม และประเทศชาติ ๓. เป็นวถิ ที างแห่งปัญญา ทำ�ให้มนษุ ย์มีเหตผุ ล รจู้ ักใชส้ ติแก้ปญั หาชวี ิต โดยนำ�หลักคุณธรรมจริยธรรมมาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาชีวิต มีความเชื่อว่า การกระทำ�ความดีเป็นสงิ่ ที่ดี ไม่หลงงมงายในสิ่งท่ีปราศจากเหตุผล ๔. ชว่ ยสรา้ งสันตภิ าพในสงั คม และสรา้ งสันติภาพโลก ๕. ชว่ ยใหม้ นษุ ยอ์ ยรู่ ว่ มกนั ในสงั คมอยา่ งมรี ะเบยี บ เปน็ ระบบ รสู้ กึ มคี วามอบอนุ่ ปลอดภัยในชีวติ ทรพั ย์สิน และอย่รู ว่ มกนั อย่างสงบสขุ มีสันติภาพ ๖. ช่วยให้มนุษย์ปรับตัวเข้าได้กับบุคคลอ่ืน ๆ และสังคมอย่างมีระบบ เป็นระเบยี บ สามารถครองตน ครองคน ครองงาน และครองเรอื น ๗. ช่วยให้มนุษย์มีเครื่องยึดเหนี่ยว และเป็นหลักปฏิบัติ เพ่ือป้องกัน การเบียดเบียน การเอารดั เอาเปรยี บในทางส่วนตวั และสงั คม ๘. ช่วยให้มนุษย์เป็นคนหนักแน่น อดทน ขยัน ต่อสู้เพ่ือเอาชนะปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ดว้ ยตนเอง และเป็นท่ีพงึ่ ของตนเอง โดยไมร่ อโชคชะตา ๙. ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ปัญหาชีวิต และสามารถทำ�ให้ความทุกข์ หมดไปได้ (พิภพ วชงั เงิน. ๒๕๔๕) กล่าวโดยสรุป คุณธรรมและจริยธรรมท่ีแสดงออกเป็นพฤติกรรม ท่ีเป็นส่วนหน่ึงของบุคลิกภาพ มีอิทธิพลมาจากองค์ประกอบหลายประการ ทั้งองค์ประกอบภายใน คือจากตัวบคุ คล เชน่ ความรู้ สติปญั ญา และองค์ประกอบ ภายนอก เชน่ การอบรมเลย้ี งดจู ากสถาบนั ครอบครวั การอบรมบม่ นสิ ยั จากสถาบนั การศึกษา และส่วนอ่ืน ๆ จากสังคม ซึ่งองค์ประกอบเหล่าน้ีหล่อหลอมให้บุคคล มีพฤติกรรมทางคุณธรรมและจริยธรรมที่มีคุณลักษณะทางพฤติกรรมที่ดี 20

ในด้านต่าง ๆ เช่น เป็นพฤติกรรมที่เก่ียวข้องกับอารมณ์ หรือความรู้สึก (Feeling/Emotion) เปน็ พฤตกิ รรมทมี่ ลี กั ษณะเฉพาะตวั (Typical) เปน็ พฤตกิ รรม ทมี่ ที ศิ ทางการแสดงออก (Direction) เปน็ พฤตกิ รรมทมี่ คี วามแตกตา่ งในความเขม้ ขน้ (Intensity) และเปน็ พฤติกรรมที่มเี ป้าหมาย (Target) ซง่ึ พฤตกิ รรมทางคณุ ธรรม และจริยธรรมดังกล่าว จะทำ�ให้บุคคลเข้าใจบทบาทการแสดงออกในสังคม และปรบั ตวั อย่ใู นสงั คมไดอ้ ย่างมคี วามสุข แนวคิดและทฤษฎีเกย่ี วกบั การพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรม กระทรวงศึกษาธกิ าร. (๒๕๕๐). ได้กลา่ วถงึ ความส�ำ คัญ และความจ�ำ เป็น ของการพฒั นาคณุ ธรรมจรยิ ธรรมวา่ การจดั การศกึ ษามคี วามส�ำ คญั ตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพ ของผู้เรียน กระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์ จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คอื ดา้ นหนง่ึ เปน็ การจดั การเรยี นการสอนและจดั กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี นตามหลกั สตู ร การศกึ ษาแตล่ ะชว่ งชน้ั เพอ่ื สรา้ งองคค์ วามรกู้ ระบวนการคดิ วเิ คราะห์ เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี น มคี วามรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มที กั ษะการด�ำ รงชวี ติ ทเ่ี กดิ จากการฝกึ หดั สามารถใชค้ วามรใู้ หเ้ กดิ ประโยชนใ์ นการพฒั นาตนเอง และประกอบอาชพี อกี ดา้ นหนง่ึ คอื เปน็ การบม่ เพาะ กลอ่ มเกลา ปลกู ฝงั และปลกู จติ ส�ำ นกึ เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นมคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรม มคี วามรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเอง สงั คม ชมุ ชน และสง่ิ แวดลอ้ ม เกดิ ความตระหนกั ในบทบาทหนา้ ทข่ี น้ึ ในจติ ใจ เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี นสามารถด�ำ รงตนอยใู่ นสงั คมรว่ มกบั ผอู้ น่ื ได้ อย่างมีความสุขโดยการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง ๓ ด้าน (3D) ได้แก่ ดา้ นประชาธปิ ไตย (Democracy) ดา้ นคณุ ธรรมจรยิ ธรรม และความเปน็ ไทย (Decency) และดา้ นภมู คิ มุ้ กนั ภยั จากยาเสพตดิ (Drug-Free) และส�ำ นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร.(๒๕๕๐).ไดก้ ลา่ ววา่ กระทรวงศกึ ษาธกิ ารเนน้ นโยบายคณุ ธรรม 21

น�ำ ความรู้ เพอ่ื สรา้ งเสรมิ สงั คมคณุ ธรรมใหเ้ กดิ สนั ตสิ ขุ รจู้ กั สามคั คี วถิ ปี ระชาธปิ ไตย โดยก�ำ หนดไว้ในหลักสูตรทุกระดบั การศึกษา คุณธรรมและจริยธรรม เป็นข้อควรประพฤติที่มีความถูกต้องดีงาม เป็นแนวทางแหง่ การถอื ประพฤตปิ ฏิบัตแิ ตล่ �ำพงั ในแนวทางแห่งความดถี กู ต้องนนั้ ไม่เพียงพอท่ีจะจูงใจให้คนปฏิบัติ หรือประพฤติตนให้เป็นคนดีได้ เรื่องการสร้าง คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเร่ืองท่ีท�ำได้ยาก ความคิดเรื่องคุณธรรมเมื่อสัมพันธ ์ กับหน้าท่ี ยกตัวอย่างได้ว่า เมื่อผู้ท�ำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ผู้น้ันมักกล่าวได้ว่า ขาดคุณธรรม แต่ผู้ท�ำหน้าที่สมบูรณ์ยังไม่แน่ว่าจะเป็นผู้มีคุณธรรม อาจท�ำหน้าท่ี เพราะกลัวถูกลงโทษทางวินัย เพราะกลัวความผิด โดยไม่ใช่เพราะความรู้สึก ในทางดีงามจากจิตใจ ท่ีแท้จริงของผู้น้ันได้ แต่ถ้าผู้น้ันมีความรู้สึกในทางดีงาม มคี วามยนิ ดพี อใจในการปฏบิ ตั ิ และเชอื่ วา่ การท�ำผดิ หนา้ ทเ่ี ปน็ สง่ิ ไมด่ ี ไมท่ �ำผดิ อยา่ งน ี้ จึงถือว่าผู้นั้นมีคุณธรรม คุณธรรมแสดงออกถึงหน้าท่ี คนท่ีมีคุณธรรมเป็นผู้ที่รัก หน้าที่ของตนเอง และท�ำหน้าที่อย่างดีท่ีสุด จนเป็นนิสัย น�ำไปสู่การสร้างสรรค์ คุณธรรมต่อไป และให้สูงส่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป หน้าที่กับคุณธรรมจึงต้องอาศัยซึ่งกัน และกนั และเปน็ เหตผุ ลของกนั และกนั อยา่ งแยกไมไ่ ด้ หนา้ ท่ี และคณุ ธรรม จงึ เปน็ ส่ิงเดียวท่มี ี ๒ ด้าน ด้านหน่ึงเปน็ หนา้ ท่ี อีกด้านหนึ่งเป็นคณุ ธรรม คณุ ธรรม คอื ความลำ้� เลศิ แหง่ อปุ นสิ ยั ภายในสว่ นหนา้ ท่ี คอื การแสดงออกภายนอกของอปุ นสิ ยั อนั ดงี าม เพราะฉะนนั้ คณุ ธรรมกค็ อื คณุ ภาพแหง่ อปุ นสิ ยั อนั แสดงออกใหเ้ หน็ โดย การกระท�ำ ดงั ขอ้ มลู ขา้ งตน้ จะเหน็ ไดว้ า่ คณุ ธรรมและจรยิ ธรรมมคี ณุ คา่ และมคี วามส�ำ คญั ทั้งต่อตัวบุคคล และต่อสังคมส่วนรวม เนื่องจากการดำ�เนินชีวิตให้อยู่ได้ในสังคม อย่างมีความสุขนั้น ต้องเร่ิมต้นที่ตนเองก่อน และจากการคิดดี ทำ�ดี เป็นผลต่อเนื่องถงึ สังคมดี และมสี นั ตภิ าพนั่นเอง 22

เกรียงศักด์ิ เจริญวงศ์ศักด์ิ. (๒๕๔๑). ได้ให้แนวทางการจัดการศึกษา ในปจั จบุ นั ไวว้ า่ “ตอ้ งเปน็ การจดั การศกึ ษาทเี่ นน้ คณุ ธรรมจรยิ ธรรม เพราะคณุ ธรรม จริยธรรม เป็นส่ิงจำ�เป็นสำ�หรับคนไทย หากได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม อยา่ งสม่ำ�เสมอ ผูเ้ รยี นจะเปน็ คนที่มีคุณภาพ เปน็ ทัง้ คนเก่ง และคนดี ที่มีแนวทาง ในการดำ�เนินชีวิตในสังคมท่ีถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในสังคม และไม่ก่อปัญหา ให้กับประเทศชาติในอนาคต” และแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ควรมนี โยบายทช่ี ดั เจน โดยการจดั ใหม้ หี ลกั สตู รการพฒั นาคณุ ธรรมจรยิ ธรรมเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร แกผ่ เู้ รยี นดว้ ย ทง้ั น้ี เพอื่ ใหส้ ามารถน�ำไปปฏบิ ตั ิ และน�ำความรไู้ ปใชใ้ หถ้ กู ทางก่อให้เกิด ประโยชน์ตอ่ สังคม และตอ่ ประเทศชาติ พระธรรมปฎิ ก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (๒๕๔๒). กล่าวถึงแนวทางการสง่ เสริม จริยธรรมในสังคมไว้ว่า “ส่ิงท่ีสังคมไทยต้องการอย่างมาก คือ พลังทางจริยธรรม ท่ียึดเหน่ียวผู้คนให้สัมพันธ์ต่อกันด้วยความเก้ือกูล และร่วมมือกับปัญหา ของโลกาภิวัฒน์ ซ่ึงสรุปได้ว่า จริยธรรมเป็นส่ิงจ�ำเป็นส�ำหรับชีวิต และสังคม ในสภาพสังคมที่เส่ือมโทรมทางจิตใจจ�ำเป็นต้องเร่งรัดการส่งเสริมจริยธรรม และพัฒนาจิตใจเป็นพิเศษ รวมถึงการพัฒนาจริยธรรมที่ต้องเตรียมให้พร้อม กบั การพฒั นายคุ ใหมท่ ก่ี �ำลงั จะมาถงึ พรอ้ มกบั ความเจรญิ ทางวตั ถตุ า่ ง ๆ ในอนาคต ทฤษฎเี ก่ยี วกับการพฒั นาคุณธรรมและจริยธรรม ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นก�ำเนิด และพัฒนาการทางจริยธรรมบุคคลนั้น ดวงเดอื น พนั ธุมนาวนิ . (๒๕๔๓). แบ่งได้ ๓ ประเภท ดงั ตอ่ ไปน้ี ๑. ทฤษฎอี ทิ ธพิ ลของสงั คมตอ่ การพฒั นาการทางจรยิ ธรรม นกั สงั คมวทิ ยา เชื่อว่าสังคมมีส่วนในการท�ำให้มนุษย์มีลักษณะต่าง ๆ กัน ตามแต่ว่ามนุษย์นั้น จะอยใู่ นกลมุ่ ใดในสงั คม และนกั ทฤษฎจี ติ วเิ คราะหไ์ ดเ้ ลง็ เหน็ ความส�ำคญั ของสงั คม ในการก่อต้ังลักษณะทางจริยธรรมให้แก่สมาชิกในสังคมน้ัน โดยทฤษฎีน้ีระบุว่า 23

เด็กเล็ก ๆ จะเรียนรู้อะไรดี อะไรชั่ว จากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นตัวแทนขอสังคม ด้วยกระบวนการเทียบเคียง (Identification) เด็กจะใช้ชีวิตการเลียนแบบ จากผู้ท่ีมีอ�ำนาจ และผู้ท่ีตนรัก จนในท่ีสุดเด็กจะยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคม มาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ นักทฤษฎีส่วนมากยอมรับว่า จริยธรรมจะถูกปลูกฝังต้ังแต่ที่บุคคลยังอยู่ในวัยทารก และวัยเด็กเล็ก เป็นวัยแห่งการเตรียมตัว เพื่อเข้าเป็นสมาชิกในสังคมใหญ่ ในช่วงแรกของชีวิตน ้ี เด็กจะได้รับการปลูกฝังทางจริยธรรมมากกว่าในช่วงอ่ืน ๆ ของชีวิต กลุ่มบุคคล ทรี่ บั ผดิ ชอบในการปลกู ฝงั จรยิ ธรรมใหเ้ ดก็ มากทสี่ ดุ คอื สมาชกิ ในครอบครวั ของเดก็ เอง รองลงมาคือ โรงเรียนอนุบาล และประถมศึกษา นอกจากนี้ ในปัจจุบันก็ยังมี ส่อื มวลชน เชน่ โทรทัศน์ วิทยุ หนงั สอื พมิ พ์ และวารสารตา่ ง ๆ ๒. ทฤษฎีพัฒนาการลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม นักทฤษฎี ที่เช่ือว่า การพฒั นา ทางสตปิ ัญญา และอารมณ์ เป็นรากฐานของการพัฒนาทางจริยธรรม คือ เพียเจท์ (Piaget) และโคลเบอร์ก (Kohlberg) นักทฤษฎีท้ังสองท่านเช่ือว่า จริยธรรมของเด็กจะเจริญข้ึน ตามความเจริญของความสามารถทางการเรียนรู้ (Cognitive Ability) สตปิ ญั ญา และอารมณข์ องเดก็ ในบคุ คลปกตทิ สี่ ตปิ ญั ญาไมเ่ จรญิ ถึงขีดสุด จะมีจริยธรรมในข้ันสูงสุดไม่ได้เช่นกัน โคลเบอร์ก ได้พบความสัมพันธ์ ระหวา่ งจรยิ ธรรมกบั ลกั ษณะอน่ื ๆ ของมนษุ ย์ ในการศกึ ษาผลงานของนกั วจิ ยั ตา่ ง ๆ ทส่ี �ำคญั คอื ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งจรยิ ธรรมกบั ระดบั สตปิ ญั ญาทว่ั ไป และความสมั พนั ธ์ ของจรยิ ธรรมกบั ความสามารถทจ่ี ะรอผลไดท้ ดี่ กี วา่ ในอนาคตนอกจากนนั้ ผทู้ มี่ จี รยิ ธรรมสงู ยงั เปน็ ผทู้ ม่ี สี มาธดิ ี มคี วามสามารถควบคมุ อารมณข์ องตน และมคี วามภาคภมู ใิ จในตนเอง และสภาพแวดลอ้ มสงู กวา่ ผทู้ ม่ี จี รยิ ธรรมตำ่� โคลเบอรก์ จงึ สรปุ วา่ ความเปน็ ผทู้ ม่ี จี รยิ ธรรมสงู เกิดจากความสามารถในการควบคุมตนเองในด้านต่าง ๆ โดยท่ัวไปดว้ ย ๓. ทฤษฎกี ารเรยี นรทู้ างสงั คม คอื ทฤษฎที อี่ ธบิ ายวธิ กี าร และขบวนการ ทบี่ คุ คลไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากสงั คม ทที่ �ำใหเ้ กดิ การยอมรบั ลกั ษณะทางกฎเกณฑท์ างสงั คม 24

มาเปน็ ลักษณะของตน ทฤษฎีประเภทนีไ้ ดน้ �ำเอาหลกั การเสริมแรง (Principle of Reinforcement) และหลกั การเชอื่ มโยง (Principle of Association) มาใชอ้ ธบิ าย ปรากฏการณท์ างสังคม ในการอธิบายต้นก�ำเนิดและการเปล่ียนแปลงจริยธรรม ทฤษฎกี ารเรยี นรู้ไดเ้ นน้ การเรยี นรโู้ ดยบงั เอญิ และการเลยี นแบบเปน็ ส�ำคญั ซง่ึ ท�ำใหบ้ คุ คล มพี ฤตกิ รรมทแี่ ปลกใหม่ หรอื แตกตา่ งไปจากเดมิ ไดโ้ ดยงา่ ย โดยทฤษฎนี ใี้ หค้ วามส�ำคญั แกล่ กั ษณะของสถานการณ์ ซง่ึ จะเปน็ เครอ่ื งกระตนุ้ ใหบ้ คุ คลกระท�ำพฤตกิ รรมซำ้� ๆ จนกลายเป็นลักษณะนิสัยของบุคคลนั้นไปในที่สุด ส่ิงท่ีกระตุ้นให้บุคคลกระท�ำ พฤตกิ รรมตา่ งๆได้คอื การหวงั ความพอใจและการหลบหลกี ความทกุ ข ์ การเลยี นแบบลกั ษณะ และการกระท�ำของบคุ คลอน่ื เปน็ บอ่ เกดิ ของการยอมรบั ลกั ษณะทงั้ ทด่ี ี และไมด่ จี าก บคุ คลไดอ้ ยา่ งงา่ ยดาย และเกดิ ไดก้ วา้ งขวางในสถานการณท์ ว่ั ไป ตงั้ แตเ่ ดก็ เลยี นแบบ บดิ า มารดา เพอ่ื น วยั รนุ่ เลยี นแบบดารา เดก็ เลยี นแบบพอ่ แม่ ผเู้ ลย้ี งดทู ต่ี นเองรกั ใคร่ จะท�ำให้เด็กเกิดความพอใจ เหมือนว่าตนได้อยู่ใกล้ชิดผู้เลี้ยงดูในขณะนั้น เด็ก และวัยรุ่นเลียนแบบเพื่อนในวัยเดียวกัน เพ่ือขจัดความขัดแย้งในใจ ทต่ี นเองมลี กั ษณะแตกตา่ งไปจากกลมุ่ การเลยี นแบบคนแปลกหนา้ เกดิ ขนึ้ นอ้ ยมาก แตอ่ าจเกดิ ขนึ้ ได้ ถา้ สงั เกตเหน็ วา่ ตวั แบบมพี ฤตกิ รรมใดกต็ ามแลว้ ไดร้ บั ผลตอบแทน ทนี่ า่ พอใจผสู้ งั เกตเหน็ กอ็ ยากไดร้ บั ความพอใจนน้ั ดว้ ย กจ็ ะยอมเลยี นแบบตวั แบบนนั้ บา้ ง ทฤษฎแี หลง่ ก�ำเนดิ ของจรยิ ธรรมทง้ั สามดงั กลา่ ว มลี กั ษณะทไ่ี มข่ ดั แยง้ กนั มากนกั แตเ่ ปน็ ทฤษฎที ชี่ ว่ ยสรา้ งภาพการวเิ คราะหจ์ รยิ ธรรมใหช้ ดั เจน และสมบรู ณย์ ง่ิ ขน้ึ กลา่ วคอื ทฤษฎอี ทิ ธพิ ลของสงั คมตอ่ พฒั นาการทางจรยิ ธรรมนนั้ กลา่ วถงึ บทบาทของสภาพแวดลอ้ ม ทางสงั คมของบคุ คล ทมี่ ตี อ่ การปรงุ แตง่ ลกั ษณะจรยิ ธรรมของบคุ คล ทฤษฎพี ฒั นาการ ลกั ษณะทสี่ ง่ เสรมิ จรยิ ธรรม ใหค้ วามส�ำคญั กบั พนั ธกุ รรมในการมสี ว่ นสง่ เสรมิ หรอื ขดั ขวาง พฒั นาการทางจรยิ ธรรมของบคุ คล แตท่ ฤษฎที งั้ สองกย็ งั เนน้ ความส�ำคญั ของสภาพแวดลอ้ ม ของบคุ คลเชน่ กนั ส�ำหรบั ทฤษฎกี ารเรยี นรทู้ างสงั คมชว่ ยอธบิ ายขบวนการยอมรบั กฎเกณฑ์ ทางสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะบุคคล 25

คุณลักษณะเด็กทพ่ี ึงประสงค์ เดก็ ทกุ คนจ�ำเปน็ ตอ้ งไดร้ บั การเอาใจใส่ และดแู ลอยา่ งเหมาะสม และรอบดา้ น ในแตล่ ะชว่ งวยั จากพอ่ แม่ ผดู้ แู ลชมุ ชนและสงั คมดว้ ยความรทู้ หี่ ลายหลายแบบสหวชิ าชพี รวมทงั้ ตอ้ งใชท้ กั ษะ และเจตคตทิ เ่ี หน็ คณุ คา่ ของเดก็ โดยไมเ่ ลอื กปฏบิ ตั ิ แตค่ �ำนงึ ถงึ ความเท่าเทยี ม เปน็ ธรรม และการมสี ว่ นร่วม แผนพฒั นาเด็กและเยาวชนแหง่ ชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ได้กล่าวถึงคุณลักษณะเด็กท่ีพึงประสงค์ไว้ด้วยกัน ๖ ด้าน (แผนพฒั นาเดก็ และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) กล่าวคอื ๑. มคี วามผกู พนั ในครอบครวั ภาคภมู ใิ จในความเปน็ ไทย มที กั ษะในอาชพี และการดำ�รงชีวติ ท่รี ้จู กั เคารพสิทธิของผู้อื่น ๒. มสี ขุ ภาพ และพลานามัยแขง็ แรง และร้จู กั การป้องกันตนเองจากโรค และสงิ่ เสพตดิ ๓. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีพฤติกรรม ดา้ นความรบั ผิดชอบตามวัย ๔. มเี จตคตทิ ด่ี ตี อ่ การท�ำ งาน มศี กั ดศ์ิ รี และความภมู ใิ จในการท�ำ งานสจุ รติ ๕. รู้จกั คดิ อย่างมีเหตุผลรอบดา้ น และพฒั นาตนเองอย่างต่อเนอื่ ง ๖. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส และมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาชุมชน และประเทศชาติ เป้าหมายยุทธศาสตร์ และตัวบ่งชี้ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษท่ีสอง (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) ได้ระบุเร่ืองคุณธรรมไว้คือ ด้านวิสัยทัศน์ คนไทย ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอยา่ งมคี ณุ ภาพ โดยมเี ปา้ หมายยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๓ คนไทยใฝด่ ี : มคี ณุ ธรรมพนื้ ฐาน มจี ติ ส�ำนกึ และคา่ นยิ มทพี่ งึ ประสงค์ เหน็ แกป่ ระโยชนส์ ว่ นรวม มจี ติ สาธารณะมวี ฒั นธรรมประชาธปิ ไตยและไดก้ �ำหนดตวั บง่ ช้ี และคา่ เปา้ หมายไว ้ โดยผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต�่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีคุณธรรม จริยธรรม 26

และมีความเป็นพลเมือง จ�ำนวนคดีเด็กและเยาวชนท่ีถูกด�ำเนินคดีโดยสถานพินิจ และคมุ้ ครองเดก็ และเยาวชนลดลงรอ้ ยละ ๑๐ ตอ่ ปี จ�ำนวนเดก็ อายตุ ำ่� กวา่ ๑๕ ป ี ท่ีต้ังครรภ์ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี จ�ำนวนเด็กเข้ารับการบ�ำบัดยาเสพติดลดลง ร้อยละ ๑๐ ต่อปี สัดส่วนคนไทยที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรม ทเี่ ปน็ ประโยชน์ต่อผู้อน่ื และสงั คมอยา่ งสม่�ำเสมอเพมิ่ ขึน้ ร้อยละ ๕ ตอ่ ปี เดก็ อายุ ๑๐-๑๒ ปี ควรไดร้ บั การพฒั นาใหม้ พี ฤตกิ รรมและจติ ลกั ษณะดงั น้ี ๑. มีวัฒนธรรมไทย ๒. เปน็ พุทธมามกะหรือศาสนกิ ชนทีด่ ีอ่นื ๆ ในเชิงการปฏิบตั ิ และเข้าใจ หลกั ธรรมข้ันตน้ ๓. มพี ฤติกรรมของคนดี และคนเก่ง และไมเ่ ป็นปัญหาแกส่ งั คม ๔. มีความเฉลียวฉลาด สุขภาพจิตดี และมีประสบการณ์ทางสังคม ระดบั ประเทศชาติ ๕. มลี กั ษณะจติ ใจดา้ นจรยิ ธรรมขน้ั กลาง เรม่ิ มองการณไ์ กล ควบคมุ ตนเอง ได้ปานกลาง ตอ้ งการความสำ�เรจ็ ในการเรียนและการงานและเชือ่ วา่ ทำ�ดไี ดด้ ี คุณลักษณะตามช่วงอายุเหล่าน้ี ควรได้รับการพัฒนาให้สัมพันธ์กับ พัฒนาการด้านอ่ืน ๆ เช่น ร่างกาย สติปัญญา และประสบการณ์ทางสังคม ท�ำใหก้ ารพฒั นาตอ้ งกระท�ำอยา่ งคอ่ ยเปน็ คอ่ ยไป อยา่ งตอ่ เนอ่ื งและเหมาะสมตามวยั แนวทางในการเลี้ยงดูเด็กท่ีส�ำคัญคือ ต้องให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้าน อย่างต่อเน่ือง เหมาะสมตามวัยบนพ้ืนฐานความต้องการของเด็ก และค�ำนึงถึง ความแตกตา่ งของเด็กแตล่ ะคน การพัฒนาจรยิ ธรรมของบคุ คลจงึ ข้นึ อย่กู บั วธิ ีการ อบรมเลยี้ งดทู ด่ี ตี งั้ แตใ่ นวยั เดก็ ซงึ่ การอบรมเลย้ี งดูทว่ั ไปประกอบดว้ ย๖องคป์ ระกอบหลกั ดว้ ยกนั (คณะอนกุ รรมการศกึ ษาแนวทางการพฒั นา คณุ ธรรมจรยิ ธรรม. ๒๕๓๖.) คอื ๑. การออกคำ�สงั่ ใหเ้ ด็กทำ�ตามหรอื ละเวน้ การกระท�ำ ๒. การตรวจตราว่าเด็กทำ�ตามหรือไม่ 27

๓. ถ้าเด็กท�ำ อยา่ งเหมาะสม ก็ให้รางวัลและสง่ เสรมิ ๔. ถา้ เดก็ ไมท่ ำ�ตาม ก็ตกั เตอื นแลว้ จึงลงโทษ ๕. ให้เหตุผล เมอื่ สั่ง เมอื่ ให้รางวลั และเม่ือลงโทษเด็ก ๖. ผอู้ บรมเลย้ี งดเู ดก็ ตอ้ งท�ำ ตนเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ที ง้ั ตอ่ หนา้ และลบั หลงั เดก็ วธิ กี ารอบรมเลยี้ งดแู บบตา่ ง ๆ ไดแ้ ก่ การอบรมเลยี้ งดแู บบรกั สนบั สนนุ มาก การอบรมเลี้ยงดู แบบให้พ่ึงตนเอง เป็นต้น วิธีการอบรมเล้ียงดูเหล่านี้จะมีผลต่อ การพฒั นาจติ ลกั ษณะของเดก็ (คณะอนกุ รรมการศกึ ษาแนวทางการพฒั นาคณุ ธรรม จริยธรรม. ๒๕๓๖.) ดังต่อไปน้ี ๑. วิธีอบรมเลี้ยงดูเด็กสองแบบร่วมกัน คือ แบบรักสนับสนุนมาก กบั แบบใชเ้ หตผุ ลมาก แตใ่ ชอ้ ารมณน์ อ้ ย หากใชค้ วบคกู่ นั แลว้ จะสง่ เสรมิ การพฒั นา ให้เด็กมีจิตลักษณะหลายประการตาม ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมและยังเก่ียวกับ พฤตกิ รรมหลายดา้ น เชน่ พฤตกิ รรมการสรา้ งภมู ติ า้ นทาน การเสพตดิ สว่ นการอบรม เล้ียงดูแบบใช้อารมณ์มากกว่าใช้เหตุผลของผู้ใหญ่ จะท�ำให้เกิดสภาพท่ีเด็ก ไม่สามารถท�ำนายและควบคุมผลดีและผลเสียท่ีจะเกิดกับตนได้ จึงเป็นผลให้ เด็กเรียนรู้คุณธรรม คา่ นยิ มอย่างบกพรอ่ งและไม่มนั่ คง ๒. วิธีการอบรมเล้ียงดูแบบควบคุม ซ่ึงควรควบคุมมากเม่ือเด็กอายุน้อย แล้วค่อย ๆ ลดการควบคุมเด็กลงหรือเปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกการควบคุมตนเอง มากขึ้นเรื่อย ๆ จะสามารถพัฒนาความสามารถควบคุมตนเองของเด็กได ้ ส่วนการบงั คบั ข่มขใู่ ห้เดก็ ท�ำหรอื ละเว้นการท�ำสงิ่ ตา่ ง ๆ มาก ๓. ควรให้ความสนใจ เม่ือเด็กท�ำความดี เพราะความสนใจเป็นรางวัล ทใ่ี หแ้ กเ่ ดก็ ประการหนง่ึ แตไ่ มค่ วรใหค้ วามสนใจเมอ่ื เดก็ ท�ำผดิ เพราะเดก็ จะท�ำผดิ มากขน้ึ วิธีการให้รางวัลเม่ือเด็กท�ำดีหรือมีเจตนาดีจะใช้เพ่ือพัฒนาพฤติกรรม เจตคติ คุณธรรม และค่านิยมต่าง ๆ ตลอดจนการให้เด็กได้รู้ รสชาติของความส�ำเร็จ ๔. วิธีการอบรมเล้ียงดูเด็กแบบฝึกให้พ่ึงตนเองเร็วอย่างเหมาะสมกับอาย ุ 28

จะพฒั นาแรงจงู ใจ ใฝส่ มั ฤทธใ์ิ นเดก็ ท�ำใหเ้ ดก็ มคี วามเพยี รและไมย่ อ่ ทอ้ ตอ่ อปุ สรรค ๕. การลงโทษเมือ่ เด็กกระท�ำความผิด ไมค่ วรกระท�ำหรอื ท�ำใหน้ ้อยที่สุด และควรเพกิ เฉยเสยี ถา้ ไมเ่ กดิ ความเสยี หายรนุ แรง เพราะการลงโทษมผี ลเสยี ขา้ งเคยี งมาก และมผี ลดนี อ้ ย ดงั นนั้ จะใชก้ ารลงโทษตอ่ เมอ่ื พจิ ารณาใหเ้ หมาะสมกบั ธรรมชาตขิ องเดก็ แตล่ ะคน แตล่ ะวัย แตล่ ะความรา้ ยแรงของการท�ำผดิ เช่น กระท�ำผิดซ�ำ้ แลว้ ซำ�้ อีก และควรใชค้ วามระมดั ระวงั ใหม้ าก ดังนี้ • ลงโทษโดยไมจ่ �ำเป็น • ลงโทษโดยใช้อารมณร์ ุนแรงเกนิ เหตุ ไมเ่ สมอตน้ เสมอปลาย หรอื ดว้ ยความล�ำเอยี ง • ลงโทษโดยไมไ่ ตถ่ ามขอ้ เทจ็ จริงหรือเหตผุ ลจากเดก็ • ลงโทษโดยไม่ช้ีแจงเหตผุ ลแก่เด็กถงึ ความผิดชอบช่ัวดี • ลงโทษโดยการประจาน ตเี ดก็ ใหไ้ ดร้ บั ความอบั อายเปน็ ปมในจติ ใจ วธิ กี ารลงโทษแบง่ เปน็ วธิ กี ารลงโทษทางกายเชน่ การเฆย่ี นตีและการลงโทษทางจติ เชน่ การดวุ า่ ท�ำทา่ ไมพ่ อใจและเมนิ เฉยถา้ จะตอ้ งลงโทษเดก็ โตและวยั รนุ่ ควรใชว้ ธิ กี ารลงโทษ ทางจติ มากกวา่ การลงโทษทางกาย เนอื่ งจากการลงโทษทางจติ เปน็ วธิ ที ท่ี �ำใหเ้ ดก็ เกดิ การเรยี นรู้ เพอื่ พฒั นาจติ ใจและพฤตกิ รรมเพราะเมอื่ เดก็ ส�ำนกึ ในความผดิ และเปลย่ี นแปลงพฤตกิ รรม ไปในทางทด่ี ขี นึ้ ผใู้ หญจ่ งึ หยดุ ลงโทษทางจติ ซง่ึ เดก็ จะรสู้ กึ วา่ ไดร้ างวลั เมอ่ื ตนท�ำดขี น้ึ ในทางตรงกนั ขา้ มการลงโทษทางกายดว้ ยการเฆยี่ นตี เดก็ จะหยดุ พฤตกิ รรมทไี่ มพ่ งึ ประสงค์ เพอ่ื ใหผ้ ใู้ หญห่ ยดุ การท�ำโทษ โดยทเ่ี ดก็ ยงั ไมไ่ ดพ้ ฒั นาจติ ใจหรอื พฤตกิ รรมไปในทางทดี่ ขี น้ึ การลงโทษทางกายจงึ ไมส่ นบั สนนุ ใหเ้ ดก็ เกดิ การเรยี นรเู้ ทา่ ทคี่ วร ๖. การท�ำตนเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ เป็นเร่ืองที่ต้องกระท�ำ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จะต้องเร่ิมจากสมาชิกในครอบครัว ครู ผู้น�ำในสังคม สงิ่ แวดลอ้ มรอบตวั เชน่ สอ่ื มวลชน จากการด�ำเนนิ ธรุ กจิ การคา้ และบรกิ ารตา่ ง ๆ ที่ ไมค่ วรมุ่งเอาประโยชน์ โดยปราศจากความรับผิดชอบ เปน็ ต้น 29

คุณลกั ษณะของคุณธรรมและจรยิ ธรรมส�ำหรบั เด็ก ส�ำนกั งานสภามหาวทิ ยาลยั ราชภฎั . (๒๕๔๐). ไดใ้ หแ้ นวคดิ และแนวปฏบิ ตั ิ ที่ ก�ำ ห น ด ไ ว ้ ใ น แ น ว ท า ง ก า ร ป ฏิ รู ป ก า ร ศึ ก ษ า ข อ ง ก ร ะ ท ร ว ง ศึ ก ษ า ธิ ก า ร พ.ศ. ๒๕๓๙–๒๕๕๐ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้ส�ำเร็จการศึกษาในทุกระดับ ท่ีกระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบน้ัน ได้มุ่งหวังให้ผู้ส�ำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะ กล่าวคือ มีความซ่ือสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบต่อตนเอง มีความขยัน สู้งาน เชื่อมั่นในตนเอง มีความเป็นประชาธิปไตย มีความสามารถทางวิชาชีพ และความสามารถทางวชิ าการสามารถคดิ เชงิ เหตผุ ลได้ใชเ้ ทคโนโลยีและท�ำงานรว่ มกบั ผอู้ น่ื ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี มคี วามใฝร่ ู้และแสวงหาความรสู้ มำ�่ เสมอ สามารถใชภ้ าษาเพอ่ื การสอ่ื สาร ไดอ้ ย่างถกู ต้อง และมีความรกั ในเพ่อื นมนุษย์ และสง่ิ แวดลอ้ ม คณุ ลกั ษณะของคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมส�ำหรบั เดก็ สามารถจ�ำแนกได้ ดงั น้ี ๑. ค ว า ม มี วิ นั ย ใ น ต น เ อ ง จ า ก ก า ร ศึ ก ษ า ต า ม แ น ว คิ ด ข อ ง ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (๒๕๒๔). ได้ให้ความหมาย และความส�ำคัญของ วินัย ว่าหมายถึง ความสามารถของบุคคลในการที่จะให้รางวัลตนเอง เมื่อตนท�ำดี และลงโทษตนเองเม่ือตนท�ำชั่ว ซ่ึงหมายถึงความสามารถในการควบคุมตน หรือความสามารถท่จี ะยนื หยัดเป็นตัวของตวั เอง สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (๒๕๕๐). ให้ความหมาย และความสำ�คัญของความมีระเบียบวินัยไว้ว่า หมายถึง การควบคุมตนเอง ให้ประพฤตปิ ฏบิ ัตติ ามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบยี บ แบบแผน และขนบธรรมเนยี ม ประเพณอี นั ดงี าม เพอ่ื ความสขุ ในชวี ติ ของตน และความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ยของสงั คม จรวยพร ธรณนิ ทร.์ (๒๕๒๕). ใหค้ วามหมายของความมรี ะเบยี บวนิ ยั ไวว้ า่ หมายถงึ การรูจ้ กั ปฏิบัติตามทมี่ รี ูป มีแบบ มขี ั้น มีตอน ฟงั ความคิดเห็นของผอู้ ่ืน การอยใู่ นชน้ั เรยี น การทำ�ความเคารพ วนิ ัยในการเล่นกฬี า 30

รจุ ริ ์ ภสู่ าระ. (๒๕๔๑). ใหค้ วามหมายของความมรี ะเบยี บวนิ ยั ไวว้ า่ หมายถงึ ความสามารถในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ นใหถ้ กู ตอ้ งตามกฎเกณฑ์หรอื ขอ้ บงั คบั ของคนในกลมุ่ กัลยา ศรีปาน. (๒๕๔๒). ให้ความหมาย และความสำ�คัญ ของความมีระเบียบวินัยไว้ว่า หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบ ของบุคคล ซึ่งกระทำ�สิ่งใดสิ่งหน่ึงตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อความสงบสุขในชีวิตของตนเอง และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม สรปุ ได้วา่ ระเบียบวนิ ัย หมายถงึ แบบแผนการควบคมุ บังคับของบคุ คล ใหเ้ ปน็ ไปตามความประสงคข์ องสงั คม เพอ่ื ใหบ้ คุ คลมคี ณุ สมบตั ทิ ด่ี งี าม แสดงออกมาได้ ทั้งอารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสามัญสำ�นึก ภายในจิตใจที่ไดร้ ับการอบรม ปลูกฝังซมึ ซับของมนุษย์ในสงั คมด้วยความสมคั รใจ และมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำ� ซ่ึงความมีวินัยนั้น จะมีพฤติกรรมท่ีแสดงออก โดยการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ และเคารพกติกาของสังคม มีความตรงต่อเวลา มีความมุ่งมั่นตั้งใจต่อตนเอง และสังคม แนวทางในการพฒั นาคณุ ลกั ษณะคณุ ธรรมและจรยิ ธรรมดา้ นความมวี นิ ยั ในตนเอง ซง่ึ ตอ้ งพฒั นาใหเ้ ดก็ ปฏบิ ตั ติ นในขอบเขต กฎ ระเบยี บของสถานศกึ ษา สถาบนั องคก์ ร และประเทศ โดยที่ตนยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ และตั้งใจยึดม่ัน ในระเบยี บแบบแผน ขอ้ บงั คบั และขอ้ ปฏบิ ตั ริ วมถงึ การมวี นิ ยั ทง้ั ตอ่ ผอู้ น่ื และสงั คม ๒. ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ จ า ก ก า ร ศึ ก ษ า ต า ม แ น ว คิ ด ข อ ง ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (๒๕๒๔). ให้ความหมาย และความสำ�คัญของความรับผิดชอบไว้ว่า หมายถึง ความรู้สึกรับผิดชอบ ในลกั ษณะของความเปน็ พลเมอื งดที สี่ �ำ คญั อยา่ งหนง่ึ นอกจากความมวี นิ ยั ทางสงั คม ความเอื้อเฟ้ือ และความเกรงใจ ความรู้สึกรับผิดชอบเป็นลักษณะนิสัย และทศั นคตขิ องบคุ คล ซง่ึ เปน็ เครอ่ื งผลกั ดนั ใหป้ ฏบิ ตั ติ ามระเบยี บ เคารพสทิ ธขิ องผอู้ น่ื ทำ�ตามหน้าทีข่ องตน และการมคี วามซ่ือสตั ยส์ จุ รติ 31

ฟลิพโพ (Fippo) (อ้างถึงใน ถนอมทรัพย์ มะลิซ้อน. ๒๕๔๔) ให้ความหมายและความสำ�คัญของความรับผิดชอบไว้ว่า หมายถึง ความผูกพัน ในการท่ีจะปฏิบัติหน้าท่ีให้สำ�เร็จลุล่วงไปได้ และความสำ�เร็จน้ีเกี่ยวข้องกับปัจจัย ๓ ประการคือ พันธะผูกพัน หนา้ ท่กี ารงาน และวัตถุประสงค์ ชยั ณรงค์ ศรสี ขุ . (๒๕๔๕). ใหค้ วามหมาย และความส�ำ คญั ของความรบั ผดิ ชอบ ไวว้ า่ หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความมุ่งม่ันต่อการทำ�งาน ทั้งในสว่ นตวั และสว่ นรวม สรปุ ไดว้ า่ ความรบั ผดิ ชอบ หมายถงึ ความมงุ่ มน่ั ตง้ั ใจทจ่ี ะท�ำ การปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี ดว้ ยความผกู พนั ความพากเพยี ร และความละเอยี ด รอบคอบ ยอมรบั ผลการกระท�ำ ในการปฏบิ ตั หิ นา้ ทเ่ี พอ่ื ใหบ้ รรลผุ ลส�ำ เรจ็ ตามความมงุ่ หมาย ทง้ั ความพยายามทจ่ี ะปรบั ปรงุ การปฏบิ ตั หิ นา้ ทใ่ี หด้ ยี ง่ิ ขน้ึ ซง่ึ เปน็ คณุ ลกั ษณะพน้ื ฐานทส่ี �ำ คญั ทท่ี �ำ ใหบ้ คุ คลประสบความส�ำ เรจ็ ในการเรยี นและการท�ำ งาน ซง่ึ บคุ คลทม่ี คี วามรบั ผดิ ชอบจะมคี วามตง้ั ใจในการปฏบิ ตั งิ าน มคี วามเพยี รพยายามอดทน ไมย่ อ่ ทอ้ ตอ่ อปุ สรรค มคี วามปรารถนาทจ่ี ะท�ำ งานใหด้ ขี น้ึ มกี ารวางแผนในการท�ำ งาน มคี วามละเอยี ดรอบคอบ รจู้ กั ตง้ั จดุ มงุ่ หมายในการท�ำ งาน และสามารถปฏิบตั ิงานใหส้ ำ�เร็จลุลว่ งไดต้ ามเปา้ หมายท่ีต้ังไว้ ซ่ึงความรับผิดชอบ จะมีพฤติกรรมที่แสดงออกมาตามแนวคิดของ สมศรี ทองนุช. (๒๕๔๒). กล่าวคือ มีความตรงต่อเวลา และซื่อตรงต่อหน้าท่ี สำ�นึก รู้สึกรับผิดชอบต่อภาวะ และฐานะของตน รู้จักวางแผน และดำ�เนินงาน อย่างเป็นระบบ มีความมุ่งมั่นต้ังใจในวิชาความรู้ และความสามารถปฏิบัติหน้าท่ี การงานทกุ ประการ ยอมรบั ผลส�ำ เรจ็ และความลม้ เหลวแหง่ การกระท�ำ ในการปฏบิ ตั งิ าน ทุกอย่าง มีความพยายามปรับปรุง แก้ไขในการปฏิบัติหน้าที่การงานที่บกพร่อง ใหส้ มบรู ณย์ งิ่ ขน้ึ อกี ทง้ั มคี วามพยายามในการปฏบิ ตั งิ านในหนา้ ทใี่ หส้ �ำ เรจ็ รวดเรว็ เรยี บรอ้ ย ด้วยความเตม็ ใจ และจรงิ ใจสม่ำ�เสมอ ทั้งนตี้ อ้ งเคารพในสทิ ธิ เสรภี าพ และความคิดเหน็ ของผู้อ่นื เป็นปกติวิสยั อกี ดว้ ย 32

๓. ความเสยี สละ จากการศกึ ษาตามแนวคดิ ของกรมการศาสนา. (๒๕๔๑). ให้ความหมาย และความสำ�คัญของความเสียสละไว้ว่า หมายถึง ความรู้จัก ยอมสละประโยชน์ส่วนตัวเพ่ือส่วนรวม หรือบริจาควัตถุสิ่งของเงินทองแก่ผู้อ่ืน ท่ีควรได้รับ รวมท้ังเพื่อส่วนรวม เพ่ือสาธารณกุศล มีการบำ�รุงการศึกษา โรงพยาบาล ท�ำ ถนน สรา้ งสะพาน หรอื บรจิ าคทรพั ยช์ ว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบทกุ ขภ์ ยั เปน็ ตน้ น อ ก จ า ก น้ั น ยั ง ร ว ม ค ว า ม ถึ ง ก า ร ย อ ม เ สี ย ส ล ะ ชี วิ ต เ ลื อ ด เ น้ื อ เ พ่ื อ ช า ติ หรือมนุษยธรรมเมอื่ จ�ำ เปน็ รุจิร์ ภู่สาระ. (๒๕๔๑). ให้ความหมายของความเสียสละไว้ว่า หมายถึง การบริจาค การละความเห็นแกต่ วั การแบ่งปนั สิ่งต่าง ๆ ใหแ้ กผ่ อู้ ่นื พจนานุกรม ฉบับพุทธศักราช ๒๕๔๒. (๒๕๔๒). ได้ให้ความหมาย ของความเสยี สละไวว้ ่า หมายถึง การใหโ้ ดยยินยอม ให้ด้วยความเตม็ ใจ ณรงค์ ศิลารัตน์. (๒๕๔๔). ให้ความหมายของความเสียสละไว้ว่า หมายถึง การรู้จักยอมสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการปัน แก่คนท่ีควรให้ ดว้ ยกำ�ลงั กาย ก�ำ ลังทรัพย์ และก�ำ ลังสตปิ ญั ญา สรปุ ไดว้ า่ ความเสยี สละ คอื การละความเหน็ แกต่ วั รจู้ กั สละประโยชนส์ ว่ นตวั บริจาคทรพั ย์สินเงินทอง สิง่ ของ เครอื่ งใช้ รวมท้งั การเสยี สละแรงกาย แรงใจ เวลา สตปิ ญั ญา เพ่ือประโยชนข์ องผู้อนื่ และส่วนรวม พฤตกิ รรมทแ่ี สดงออกโดยการรจู้ กั ยอมสละประโยชนส์ ว่ นตวั เพอื่ สว่ นรวม หรอื บรจิ าควตั ถสุ ง่ิ ของเงนิ ทองแกผ่ อู้ น่ื ทค่ี วรไดร้ บั รวมทง้ั เพอ่ื สว่ นรวม เพอ่ื สาธารณกศุ ล มกี ารบ�ำ รงุ การศกึ ษา โรงพยาบาล ท�ำ ถนน สรา้ งสะพาน หรอื บรจิ าค ทรพั ยช์ ว่ ยเหลอื ผปู้ ระสบทุกขภ์ ยั เป็นต้น นอกจากนย้ี งั รวมความถึงการยอมเสยี สละชวี ิตเลอื ดเน้อื เพอ่ื ชาติ หรอื มนษุ ยธรรมเมอื่ จ�ำ เปน็ อกี ทง้ั ยงั ใหค้ วามชว่ ยเหลอื ผอู้ นื่ ท�ำ กจิ การงาน เท่าท่ีจะทำ�ได้ไม่น่ิงดูดาย ให้คำ�แนะนำ� ช่วยแก้ปัญหา ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ตามกำ�ลงั สติปญั ญา และมีความยินดเี มอ่ื เห็นผอู้ ่นื มคี วามสขุ ใหอ้ ภัยอย่เู สมอ 33

แนวทางในการพัฒนาโดยการเร่งสร้างความเป็นผู้มีจิตสาธารณะ ใหก้ บั เดก็ ไดเ้ หน็ คณุ คา่ แหง่ การเสยี สละ ทไี่ มห่ วงั ผลตอบแทน เพอื่ แบง่ ปนั ใหก้ บั สงั คม อยา่ งมคี วามสขุ สรา้ งความรสู้ กึ ทด่ี ใี นขณะทใ่ี ห้ โดยการกระตนุ้ ใหเ้ ปน็ ตวั อยา่ งแกส่ งั คม ๔. ความซอื่ สัตย์ จากการศกึ ษาตามแนวคิดของโชติ เพชรช่ืน. (๒๕๒๔). ให้ความหมายของความซ่ือสัตย์ไว้ว่า หมายถึง คุณลักษณะด้านความรู้สึกนึกคิด หรือระดับจิตใจของบุคคลคนหน่ึงที่มีต่อบุคคลอ่ืนต่อวัตถุสิ่งของเมื่อบุคคลนั้น พบปะหรือสัมผัสระดับจิตใจมีความมั่นคงมิได้ผันแปรไปตามความต้องการ ของตนเอง หรือของผู้อื่นและบุคคลนั้นจะไม่ยึดเอาวัตถุสิ่งของที่ไม่ใช่ของตนเอง มาเป็นของตน ทำ�ตามสัญญาและระเบียบ ถือกฎเกณฑ์ของกลุ่ม จะพูดตามสภาพ ความเปน็ จริงทเี่ กิดข้นึ ประเสรฐิ เออื้ นครินทร.์ (๒๕๒๔). ได้ให้ความหมายของความซ่ือสตั ย์ไว้วา่ ความซอื่ สตั ย์ หมายถึง ความซอ่ื ตรง ไมค่ ดโกง ท้ังทางกาย วาจา ใจ ท้งั ต่อตนเอง และหนา้ ท่ี การงาน สงบ ลักษณะ และคณะ. (๒๕๒๔). ได้ให้ความหมายของความซ่ือสัตย์ คือ การมีค่านิยมประพฤติปฏิบัติตรงต่อความเป็นจริง เช่น ตรงต่อหน้าท่ี ตรงต่อความรับผิดชอบ ตรงต่อคำ�ม่นั สัญญา ตรงต่อระบบกฎเกณฑ์ท่ดี ีของสังคม เปน็ ตน้ พจนานุกรมฉบับพุทธศักราช ๒๕๔๒. (๒๕๔๒). ให้ความหมายของ ความซ่ือสัตย์ไว้ว่า หมายถึง การประพฤติตรง และจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไมค่ ดโกง และไม่หลอกลวง ธีรนุช สุนทร. (๒๕๔๙). ให้ความหมายไว้ว่า ความซ่ือสัตย์ หมายถึง การประพฤตอิ ยา่ งเหมาะสม และตรง เปน็ ความจรงิ ประพฤตปิ ฏบิ ตั อิ ยา่ งตรงไปตรงมา ท้งั กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผูอ้ นื่ 34

สรุปได้ว่า ความซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติชอบ ไม่คิดคดหลอกลวง ตรงไปตรงมาถูกต้องตามท�ำ นองคลองธรรม และกฎหมายของบา้ นเมอื ง ซึ่งความซ่ือสัตย์นั้น จะมีพฤติกรรมท่ีแสดงออก โดยการปฏิบัติตน เป็นคนพูดจริง ทำ�จริง ไม่ลักขโมย มีความตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ตนเอง เช่น ไม่สับปลับกลับกลอก ไม่คล้อยตามพวกที่ลากหรือจูง ไปในทางเสื่อมเสีย มีความมนั่ คงต่อการท�ำ ดขี องตนเอง ไมค่ ดโกงมคี วามตงั้ ใจจรงิ ประพฤติตรงตามท่ีพูดและคิด อีกท้ังมีพฤติกรรมท่ีแสดงออกต่อความซ่ือสัตย์ ต่อหน้าท่ีการงาน เช่น ไม่เอาเวลาทำ�งานในหน้าที่ไปใช้ทำ�ประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช้อำ�นาจหน้าที่ทำ�ประโยชน์ส่วนตัว และมีความซ่ือสัตย์ต่อบุคคล เช่น ประพฤติตรงไปตรงมา ไม่คิดคดผู้อื่น ไม่ชักชวนไปในทางท่ีเสื่อมเสีย ไม่ประจบสอพลอเพ่ือหาประโยชน์ส่วนตน ยินดีในความสำ�เร็จของผู้อื่น ไม่คิดริษยาหรือกลั่นแกล้ง รวมท้ังร่วมใจกันทำ�งานด้วยความบริสุทธ์ิใจ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนหรือเอาดีเข้าตน ไม่ร่วมกันทำ�งานใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือผิดระเบียบข้อบังคับของสังคมหรือหมู่คณะ (ธีรนุช สุนทร. ๒๕๔๙) แนวทางการพัฒนาความซื่อสัตย์ ตอ้ งสร้างจิตส�ำ นึกให้เกิดความประพฤต ิ ที่ตรงต่อเวลา ต่อหน้าที่ และต่อวิชาชีพ มีความจริงใจต่อผู้อ่ืนและสังคม ไมร่ สู้ กึ เอนเอยี งหรอื อคติ ไมใ่ ชเ้ ลห่ ก์ ลคดโกงทงั้ ทางตรงและทางออ้ ม รบั รหู้ นา้ ทขี่ อง ตนเองและปฏิบตั อิ ยา่ งเต็มทแี่ ละถกู ตอ้ ง 35

บทสรุป การที่เด็กได้รับการปลูกฝัง และเรียนรู้ เร่ืองคุณธรรมและจริยธรรมจะส่งผลโดยตรง ต่อการพัฒนาด้านความประพฤติ การปฏิบัติตน เปน็ คนดี มอี ารมณท์ ี่เยือกเย็น มเี หตผุ ล ทำ�ให้สังคม น่าอยู่ และยงั ช่วยลดปญั หาทางสงั คมไดเ้ ป็นอยา่ งดี 36

บทท่ี ๓ แนวคิดเกี่ยวกบั นันทนาการ ในบทนจี้ ะกลา่ วถงึ ความหมาย เปา้ หมาย ปจั จยั ส�ำ คญั ทท่ี �ำ ใหม้ สี ว่ นรว่ มใน นนั ทนาการ ประโยชน์คณุ ค่า และประเภทของนนั ทนาการ ดงั น้ี ความหมายของนนั ทนาการ นันทนาการเป็นคำ�มาจากคำ�ว่า สันทนาการ ซึ่งพระยาอนุมานราชธน หรือ เสถียร โกเศศ ได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ และตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า Recreation (จรินทร์ ธานีรัตน์. ๒๕๒๘) และมีนักวิชาการได้ให้ความหมาย ไว้หลากหลายดงั นี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำ�ตามสมัครใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผอ่ นคลายความตึงเครยี ด การสราญใจ คณิต เขียววิชัย. (๒๕๓๔). ให้ความหมายของนันทนาการว่า หมายถึง กจิ กรรมยามวา่ งทท่ี กุ คนเขา้ รว่ มโดยสมคั รใจ และกจิ กรรมนนั ทนาการจะกอ่ ใหเ้ กดิ ความพึงพอใจแก่ผู้เข้าร่วมในทันทีทันใด ทั้งนี้กิจกรรมจะต้องไม่ขัดต่อวัฒนธรรม ท่ดี งี ามของสงั คมน้นั สำ�นักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ. (๒๕๕๑). นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมท่ีกระทำ�ในยามว่างจากภารกิจงานประจำ� ซ่ึงผู้เข้าร่วม กิจกรรมกระทำ�ด้วยความสมัครใจและมีความ พึงพอใจ โดยกิจกรรมน้ัน ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและกฎหมายบ้านเมือง 37

ท�ำ ให้เกดิ ความสนุกสนานเพลดิ เพลนิ มีสขุ ภาพกายและสุขภาพจิตดี สมบัติ กาญจนกิจ. (๒๕๔๒). ได้สรุปความหมายของนันทนาการ ไว้ใน ๔ ความหมาย ดังน้ี ๑. นนั ทนาการ หมายถงึ การท�ำใหร้ า่ งกายสดชน่ื หรอื การท�ำใหร้ ่างกาย ได้สร้างพลังข้นึ มาใหม่ (Re-fresh or Re-creation) อนั เปน็ ความหมายดั้งเดิม ๒. นันทนาการ หมายถึง กิจกรรม (Activities) ซ่ึงมีชนิด ประเภท และรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย การที่บุคคลหรือชุมชนได้มีส่วนร่วม ในกิจกรรมตามความสนใจของตนแล้วก่อให้เกิดผลการพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนาน และสุขสงบ ๓. นันทนาการ หมายถึง กระบวนการ (Process) กล่าวคอื นันทนาการ เ ป ็ น ก ร ะ บ ว น ก า ร ใ น ก า ร พั ฒ น า ป ร ะ ส บ ก า ร ณ ์ ห รื อ พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ชี วิ ต ของบุคคลหรือสังคมผลจากการเข้าร่วมในกระบวนการ เรียกว่า ประสบการณ ์ โดยอาศัยกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เป็นส่ือ ในช่วงเวลาว่าง เวลาอิสระ โดยที่บุคคลเข้าร่วมโดยความสมัครใจหรือมีแรงจูงใจแล้วส่งผลให้เกิด การพฒั นาอารมณส์ ขุ สนกุ สนาน และสงบสุข ๔. นันทนาการ หมายถึง สวัสดิการสังคม (Social welfare) และสถาบันทางสังคม (Social institute) ซึ่งรัฐบาลและผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องมีหน้าที่จัดบริการให้แก่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ท่ีดี และสร้างบรรยากาศของเมืองและประเทศให้น่าอยู่ เคลล่ี (Kelly. ๑๙๙๖) กล่าวว่านันทนาการอาจมีความหมายคล้ายกับ การใช้เวลาว่าง นักทฤษฎีทางนันทนาการได้ให้ความหมายท่ีใกล้เคียงกัน ซงึ่ ความหมายของนนั ทนาการนน้ั คอื กจิ กรรมทงั้ หมดทไี่ มใ่ ชก่ ารท�ำงาน ซง่ึ จะเขา้ รว่ ม ในเชิงที่เกิดประโยชน์ ซ่ึงค�ำว่านันทนาการน้ันมาจากภาษาละติน คือค�ำว่า recreation ซงึ่ หมายถงึ การท�ำใหก้ ลบั สมบรู ณด์ งั เดมิ (restoration) หรอื การฟน้ื ฟู 38

(recovery) ซ่ึงประยุกต์มาจากค�ำว่า re-creation ทางพลังงาน (energy) หรอื การท�ำใหส้ มบรู ณด์ งั เดมิ ของความสามารถในหนา้ ทไี่ มเ่ หมอื นกบั การใชเ้ วลาวา่ ง นันทนาการประกอบด้วยแนวคิดของการท�ำให้สมบูรณ์ดังเดิมของความสมบูรณ์ ในดา้ นจติ ใจ จิตวิญญาณ และร่างกาย คอรเ์ ดส และ อบิ ราฮมิ (Cordes and Ibrahim. ๑๙๙๖) ไดใ้ หค้ วามหมายวา่ นันทนาการนั้นเป็นการเข้าร่วมด้วยความสมัครใจในกิจกรรมการใช้เวลาว่าง อยา่ งมีความหมาย และสนุกสนานในการเขา้ ร่วมของบคุ คลนั้น ๆ บามเมล และ บามเมล (Bammel and Bammel. ๑๙๙๖) ไดใ้ หค้ วามหมาย ของค�ำวา่ นันทนาการ คืออะไรที่คณุ ท�ำแลว้ เพลดิ เพลนิ หรอื ท�ำใหส้ ดชื่นอกี ครง้ั เคราส์ (Kraus. ๒๐๐๑) ได้ให้ความหมายว่า นันทนาการจะด�ำรงอยู่ใน กจิ กรรมหรอื ประสบการณข์ องมนษุ ยท์ เี่ กดิ ขน้ึ ในเวลาวา่ ง โดยทวั่ ไปจะมคี วามสมคั รใจ ในการเลอื ก ซงึ่ เปน็ แรงจงู ใจภายในและมคี วามยนิ ดี แมว้ า่ จะถกู บงั คบั เปน็ แรงจงู ใจ ภายนอกและรสู้ กึ ไมส่ บาย เจ็บปวด และอาจอนั ตราย นนั ทนาการเก่ียวกับสภาวะ ทางอารมณ์ท่ีเป็นผลมาจากการเข้าร่วมหรือสถาบันทางสังคม ในสาขาวิชาชีพ หรือทางธุรกิจ นันทนาการเป็นโครงสร้างทางสังคมและสามารถยอมรับได้อย่างมี คุณธรรมในเชิงมาตรฐานของชุมชนและคา่ นยิ มทางสงั คม 39

เป้าหมายของนันทนาการ การจัดกิจกรรมนันทนาการมีจุดมุ่งหมายท่ีจะพัฒนาบุคคลและสังคม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น กิจกรรมนันทนาการมีความหลากหลาย ดังน้ัน เป้าหมายของนันทนาการจึงมีความสำ�คัญในการให้บริการต่อบุคคลและสังคม ดังที่ สมบัติ กาญจนกจิ . (๒๕๔๔). ได้กลา่ วไว้ดังนี้ ๑. พัฒนาอารมณ์ นันทนาการเป็นกระบวนการท่ีเสริมสร้าง และพัฒนาอารมณส์ ุขของบุคคลและชุมชน โดยอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ เปน็ สอ่ื กลาง ในช่วงเวลาว่างหรือเวลาอิสระ การเข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และกจิ กรรมนน้ั จะตอ้ งเปน็ กจิ กรรมทส่ี งั คมยอมรบั สามารถ กอ่ ความสขุ สนกุ สนาน เพลดิ เพลิน และความสุขสงบ ๒. เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ กิจกรรมนันทนาการหลายอย่าง ชว่ ยสรา้ งประสบการณใ์ หมใ่ หแ้ กผ่ เู้ ขา้ รว่ ม ทงั้ นเี้ พราะความหลากหลายของกจิ กรรม เช่น กิจกรรมท่องเที่ยว ทัศนศึกษาเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ในสถานท่ี และทรพั ยากรทอ่ งเทย่ี วไมว่ า่ จะเปน็ ทางดา้ นโบราณวตั ถุ ทศั นยี ภาพ โบราณสถาน ศลิ ป ประเพณี วฒั นธรรม หรอื สง่ิ ของหายาก การเลม่ เกมหรอื กฬี าพนื้ เมอื ง กฬี าสากล ศลิ ปหตั ถกรรม ดนตรี วรรณกรรม การอา่ น พดู เขยี น นนั ทนาการนอกเมอื ง กลางแจง้ นนั ทนาการทางสงั คม ซง่ึ มคี วามแตกตา่ งของกจิ กรรมมากมายขน้ึ อยกู่ บั ประสบการณ์ และพื้นฐานเดมิ ของบคุ คลหรอื ชมุ ชน ๓. เพ่ิมพูนประสบการณ์ กระบวนการทางนันทนาการก่อให้เกิด การพัฒนาอารมณ์สุข ดังนั้นทัศนียภาพ ความซาบซ้ึง ความประทับใจ ความภาคภมู ใิ จ มมุ หนงึ่ หรอื เสย้ี วหนง่ึ แหง่ ความประทบั ใจ มมุ สงบ สขุ ใจ อารมณส์ ขุ สนุกสนานเพลิดเพลิน และอารมณ์สขุ สงบ จึงเปน็ ประสบการณ์หรอื คุณภาพชวี ิต ของบุคคลหรือชุมชนที่จะพึงหาได้ กิจกรรมหลายอย่างต้องมีการเตรียมตัว 40

เตรียมความพร้อม เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมเส่ียงท้าทายความสามารถ ของผเู้ ขา้ รว่ มจะตอ้ งมกี ารฝกึ ซอ้ มเสรมิ สรา้ งความมน่ั ใจ ทกั ษะทส่ี รา้ งเสรมิ ประสบการณ์ หรือกิจกรรมบางอย่างเคยเข้าร่วมมาแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอยากสร้างความประทับใจ หรือความทรงจ�ำ เดิมเป็นการเพิม่ พนู ประสบการณ์ ๔. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม นันทนาการให้คุณค่าและส่งเสริม การมสี ว่ นรว่ มของบคุ คลและชมุ ชน ฝกึ ใหเ้ ขา้ รว่ มในกจิ กรรมของชมุ ชนดว้ ยความสนใจ และสมคั รใจ กจิ กรรมอาสาสมคั รใหค้ ณุ คา่ การมสี ว่ นรว่ มอาสาสมคั รพฒั นาเกย่ี วขอ้ ง กบั ชมุ ชนอน่ื กจิ กรรมมนษุ ยส์ มั พนั ธแ์ ละกลมุ่ สมั พนั ธส์ อนใหผ้ เู้ ขา้ รว่ มท�ำ งานเปน็ ทมี เปน็ สว่ นหนงึ่ ของกลมุ่ รจู้ กั หนา้ ท่ี สทิ ธติ ลอดจนความรบั ผดิ ชอบตอ่ ตนเองและผอู้ นื่ เชน่ เดียวกบั กิจกรรมกฬี า การอยคู่ ่ายพักแรม เปน็ ต้น ๕. ส่งเสริมการแสดงออกแห่งตน กิจกรรมนันทนาการหลายประเภท เช่น ศิลปหัตถกรรม กีฬาประเภทต่าง ๆ ดนตรี ละคร การเล่นเกม ประเพณี เป็นการส่งเสริมให้บุคคลได้แสดงออกในด้านความนึกคิดสร้างสรรค์ การระบายอารมณ์ การเลียนแบบสถานการณห์ รอื พฤตกิ รรมตา่ ง ๆ ทำ�ใหส้ ามารถ เรยี นรแู้ ละรจู้ ักตนเองมากขนึ้ สรา้ งความมัน่ ใจ ความเข้าใจและการควบคุมตนเอง การรู้จักเลือกกิจกรรมหรือพฤติกรรมในการแสดงออกเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และบคุ ลิกภาพใหแ้ ก่ตนเอง ๖. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต กระบวนการนันทนาการช่วยส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคม กิจกรรมนันทนาการช่วยพัฒนา อารมณค์ วามสขุ ความสามารถของบคุ คล สขุ ภาพ และสมรรถภาพ สง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ ความสมดุลของกายและจิต และความสมดุลในการแบ่งเวลาทำ�งาน นันทนาการ เป็นการลดความเครียด ความวิตกกังวล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มสังคม ส่งเสริมการแสดงออก เพิ่มพูนประสบการณ์ สิ่งเหล่าน้ีช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของสังคม ทุกระดับวัย ทุกเพศ นอกจากน้ีนันทนาการยังพัฒนาคุณภาพชีวิต 41

ในกลมุ่ ประชากรทกุ กลมุ่ ไมว่ า่ จะเปน็ ชมุ ชนยากจนแออดั ชมุ ชนมง่ั มี ประชากรพเิ ศษ คนพกิ าร หรือกลุ่มดอ้ ยโอกาสกต็ าม ๗. ส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ กิจกรรมนันทนาการส่งเสริม พฤติกรรมและพัฒนาความเจริญงอกงามของบุคคลทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตใจของทุกคน ทุกเพศทุกวัย ตามความสนใจและความต้องการ ของบุคคล กิจกรรมนันทนาการช่วยสร้างความเข้าใจอันดีในหมู่เพื่อนมนุษย์ เขา้ ใจสภาพสง่ิ แวดลอ้ ม เขา้ ใจความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งมนษุ ยก์ บั ธรรมชาติ ชว่ ยสบื ทอด ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้คุณค่าทางสังคม การอยู่ร่วมกัน การร่วมมือกัน ในสงั คมอย่างมีความสขุ นนั ทนาการนานาชาติ เช่น มหกรรมกฬี า ศลิ ปวฒั นธรรม นานาชาติ ชว่ ยสง่ เสรมิ ความเขา้ ใจอนั ดแี ละมติ รภาพของมนษุ ยใ์ นสงั คมทม่ี กี ารปกครอง ในระบบท่ีต่างกัน ๘. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี กิจกรรมนันทนาการเป็นการ ใหก้ ารศกึ ษาแกเ่ ดก็ และเยาวชนในดา้ นการชว่ ยเหลอื ตนเอง สทิ ธหิ นา้ ท่ีความรบั ผดิ ชอบ ระเบยี บวนิ ยั และการปรบั ตวั ใหเ้ ปน็ พลเมอื งดี เชน่ กจิ กรรมกฬี า การอยคู่ า่ ยพกั แรม กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมศิลป ดนตรี หัตถกรรม และการละเล่นต่าง ๆ ช่วยส่งเสริมคุณค่า ลักษณะนิสัยความเป็นพลเมืองดี ความไม่เห็นแก่ตัวและรู้จักช่วยเหลือส่วนรวมเป็นสำ�คัญ จึงช่วยให้สังคมอบอุ่น และเพ่มิ พนู คุณภาพชวี ิต 42

ปัจจัยส�ำ คญั ทที่ ำ�ให้มีสว่ นรว่ มในนันทนาการ การที่บุคคลมีความสนใจและความต้องการเลือกกิจกรรมการใช้เวลาว่าง เพ่ือให้เกดิ ประสบการณแ์ ละคุณภาพชีวติ ไดน้ นั้ ขึน้ อยกู่ บั บคุ คล บคุ ลกิ ภาพ ลีลา ชีวิต และเป้าหมายของบุคคลน้ัน ปัจจัยและแรงจูงใจของบุคคลในการเข้าร่วม กจิ กรรมนันทนาการมีดังน้ี (สมบตั ิ กาญจนกิจ. ๒๕๔๔) ๑. เพ่อื ความสนุกสนาน ๒. เพอ่ื พัฒนาคณุ ภาพชวี ติ ๓. เพลิดเพลินธรรมชาติ เกี่ยวกับทัศนียภาพทิวทัศน์ท่ีงดงามตระการตา ไดร้ บั ประสบการณก์ ารเรยี นรจู้ ากธรรมชาติ เรยี นรพู้ น้ื ทข่ี องธรรมชาตทิ ย่ี งั ไมไ่ ดพ้ ฒั นา ๔. เพ่อื สมรรถภาพทางกาย ๕. เพอ่ื ลดความเครยี ด เกย่ี วกบั ความเครยี ดทางจติ ใจ อารมณ์ สง่ิ แวดลอ้ ม เลยี่ งกิจวตั รประจ�ำ วัน ๖. หนีจากความแออัด หาความสงบจากการรบกวน หาความสงบ แยกตัวเองอยกู่ บั ป่าธรรมชาติ ๗. เพอ่ื เรยี นรเู้ กย่ี วกบั นนั ทนาการกลางแจง้ /นอกเมอื ง เปน็ การเรยี นรทู้ ว่ั ไป เพ่อื การค้นหาบกุ รุก และเรยี นรู้ภูมิทัศนท์ อ้ งถน่ิ ๘. เพื่อรับรูค้ ุณธรรมและสัจธรรม ๙. เพ่อื ความเปน็ อสิ ระและความเปน็ สว่ นตวั ๑๐. เพอ่ื รู้จกั ครอบครัวในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ๑๑. เพือ่ คณุ ธรรม คณุ คา่ ของบุคคล และน�ำ้ ใจไมตรี ๑๒. อยากประสบความสำ�เร็จ เป็นการสร้างความม่ันใจและเช่ือถือ ตนเองได้รับการยอมรับทางสังคม ได้พัฒนาทักษะ ได้ทดสอบความสามารถ และได้ความต่ืนเต้น 43

๑๓. เพือ่ พกั ผ่อนกาย ๑๔. เพือ่ เป็นผู้สอนและแนะน�ำ ท่ดี ี ๑๕. ไดร้ บั การทา้ ทายและกิจกรรมเส่ยี งภยั ๑๖. เป็นการลดและปอ้ งกนั ความเส่ยี งอันตราย ๑๗. เพอ่ื ได้รู้จักเพ่ือนใหม่ ๑๘. ไดส้ ะทอ้ นภาพชวี ติ ของบรรพบรุ ษุ ทอ่ี ยใู่ กลธ้ รรมชาตมิ ากอ่ น 44

ประโยชน์และคณุ ค่าของนนั ทนาการ กิจกรรมนันทนาการในช่วงเวลาว่างที่ผู้เข้าร่วมด้วยความสมัครใจน้ัน จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ท่ีดีและเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ดังนั้นคุณค่าและประโยชน์ ของนนั ทนาการจงึ มีมากมาย สมบัติ กาญจนกจิ ด�ำรัส ดาราศักด์ิ คณิต เขยี ววิชยั และจรนิ ทร์ ธานีรตั น์ ได้สรุปประโยชน์และคณุ ค่าของนนั ทนาการไว้ดังนี้ (สมบตั ิ กาญจนกจิ . ๒๕๓๕). ๑. ช่วยให้บุคคลและชุมชนได้รับความสนุกสนาน มีความสุขในชีวิต และใช้เวลาว่างใหเ้ กดิ ประโยชน์ ๒. ชว่ ยใหบ้ คุ คลและชมุ ชนพฒั นาสขุ ภาพจติ และสมรรถภาพทางกายทด่ี ี เกดิ ความสมดลุ ของชีวติ ๓. ชว่ ยปอ้ งกนั ปญั หาอาชญากรรมและพฤตกิ รรมเบย่ี งเบนในทางทไี่ มพ่ งึ ประสงค ์ ของเด็กและเยาวชน การพัฒนาพฤตกิ รรมของเดก็ และเยาวชนนับวา่ เป็นสิ่งส�ำคญั ในการเสริมสร้างลักษณะนิสัย ที่พึงประสงค์และเป็นก�ำลังคนท่ีมีประสิทธิภาพ ในอนาคต กิจกรรมนันทนาการประเภทต่าง ๆ ช่วยให้เด็กและเยาวชนเลือกได้ ตามความสนใจ และได้ใช้เวลาว่างในการพัฒนาลักษณะนิสัยท่ีพึงประสงค์ได้ ๔. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี การที่ชุมชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่าง ใหเ้ กิดประโยชน์ โดยเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ จะไดเ้ รยี นรู้ในเรอ่ื งของหน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณค่าทางสังคมเสรีประชาธิปไตย ลดความเห็นแก่ตัว สร้างคณุ ค่า จรยิ ธรรม ความมีน�้ำใจ การใหบ้ รกิ าร ร้จู กั อาสาสมัครช่วยเหลอื สงั คม ซง่ึ ถือวา่ เป็นกจิ กรรมของความเปน็ พลเมอื งดีของประชาชาติ ๕. สง่ เสรมิ การพฒั นาอารมณส์ ขุ กจิ กรรมนนั ทนาการชว่ ยพฒั นาอารมณส์ ขุ รวมท้ังความสนุกสนานและความสุขสงบ ลดความเครียด ความวิตกกังวล ท�ำให้อารมณ์แจ่มใสและช่วยส่งเสริมให้รู้จักการพัฒนา การควบคุมอารมณ ์ และบุคลกิ ภาพท่ดี ี 45

๖. ส่ ง เ ส ริ ม ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม ข อ ง ช า ติ กิ จ ก ร ร ม นั น ท น า ก า ร เช่น การละเล่นพื้นเมือง วิถีชีวิต ประเพณีพ้ืนบ้าน ตลอดจนแหล่งนันทนาการ ประเภทอุทยานประวัติศาสตร์ โบราณสถานและโบราณวัตถุ ช่วยส่งเสริม การเรยี นรู้ เจตคตแิ ละความซาบซง้ึ อนั จะกอ่ ใหเ้ กดิ การอนรุ กั ษศ์ ลิ ปวฒั นธรรมและ เอกลักษณข์ องชาติตอ่ ไป ๗. สง่ เสรมิ การอนรุ กั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติ กจิ กรรมนนั ทนาการกลางแจง้ และนอกเมอื ง ไดแ้ ก่ กจิ กรรมการอยูค่ ่ายพักแรม เดินปา่ ศกึ ษาธรรมชาติ ไตเ่ ขา เป็นต้น กิจกรรมเหล่าน้ีช่วยสอนผู้ที่เข้าร่วมได้รู้จักคุณค่าของธรรมชาติ ซาบซ้ึง และสามารถดแู ลอนรุ กั ษธ์ รรมชาติ อนั เปน็ ประโยชนต์ อ่ ชมุ ชนและประชาชาตขิ องโลก ๘. ส่งเสริมในเร่ืองการบำ�บัดรักษา กิจกรรมนันทนาการเพื่อการบำ�บัด เปน็ กรรมวธิ แี ละกจิ กรรมทจี่ ะชว่ ยรกั ษาคนปว่ ยทงั้ ทางดา้ นรา่ งกายและสขุ ภาพจติ เช่น งานอดิเรกประเภทประดิษฐ์ สร้างสรรค์ และช่วยส่งเสริมความหวัง ความคิด และการใช้เวลาว่างแก่คนป่วยซึ่งกำ�ลังต่อสู้กับความทุกข์ทางกาย หรือกิจกรรมนันทนาการประเภทกีฬานันทนาการช่วยส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย กิจกรรมนันทนาการทางสังคมชว่ ยสรา้ งขวญั กำ�ลังใจของคนป่วย ๙. ส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์และการทำ�งานเป็นทีม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ชว่ ยใหบ้ คุ คลไดแ้ สดงออกและละลายพฤตกิ รรมของกลมุ่ สรา้ งเสรมิ คณุ คา่ ทางสงั คม ฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กิจกรรมเกมกีฬาและกีฬา เพ่อื การแข่งขัน และการอยู่ค่ายพักแรม ช่วยฝึกการทำ�งานเป็นหมู่คณะ ลดความเห็นแก่ตัว เสริมสร้างความสามัคคแี ละความเข้าใจอนั ดีในหม่คู ณะ ๑๐. ส่งเสริมและบำ�รุงขวัญทหารและตำ�รวจปฏิบัติหน้าท่ีตามชายแดน กจิ กรรมนนั ทนาการทจ่ี ดั ขนึ้ เพอ่ื สง่ เสรมิ ขวญั และก�ำ ลงั ใจของทหาร ต�ำ รวจชายแดน เป็นส่ิงที่จำ�เป็นและสำ�คัญยิ่งในการตอบแทน ให้กำ�ลังใจในกิจกรรมเวลาว่าง แกก่ องทหารและต�ำ รวจชายแดน 46

บตั เลอร์ (Butler. ๑๙๕๙) ได้กล่าวถึงคณุ ค่าทางนนั ทนาการทีม่ ตี ่อมนุษย์ มดี ังน้ี คือ ๑. นันทนาการเปน็ ความตอ้ งการพื้นฐานของมนุษย์ ๒. นนั ทนาการ คอื ทางออกท่ดี ีของการแสดงออก และพัฒนาตนเอง ๓. การเลน่ หรอื นนั ทนาการชว่ ยใหเ้ ดก็ มคี วามเจรญิ เตบิ โต และมปี ระสบการณ์ ที่จะนำ�ไปใชป้ ระโยชน์ไดใ้ นชวี ติ เมอ่ื เจริญวยั ข้ึน ๔. ช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นในชีวิต และกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยให้ได้มาซึ่งทักษะที่จำ�เป็นสำ�หรับชีวิตในภายหลัง ๕. สำ�หรับผู้ใหญ่นันทนาการเป็นการแสดงออกในกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นการคบหาสมาคมซึ่งกันและกัน ๖. นันทนาการเปน็ วิธหี าความสุข ซ่ึงจะช่วยใหเ้ กิดความสมดุลในชีวติ กับการทำ�งานการพกั ผอ่ น ความรกั และความเคารพนบั ถอื ซงึ่ กนั และกนั จากสาระส�ำ คญั ของนนั ทนาการดงั กลา่ ว พอจะสรปุ ความหมาย ความส�ำ คญั คุณคา่ และประโยชน์ของนันทนาการไดด้ ังน้ี นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ท่ีบุคคลได้มีส่วนร่วมหรือกระทำ� ในเวลาว่างด้วยความสมัครใจ โดยได้รับความพึงพอใจ และเพลิดเพลินใจ จากกจิ กรรมทเี่ ขา้ รว่ มนน้ั กอ่ ใหเ้ กดิ การพฒั นาทง้ั ทางรา่ งกาย จติ ใจ อารมณ์ สงั คม และสตปิ ญั ญา เป้าหมายของนันทนาการมีอยู่หลายประการ ขึ้นอยู่กับความต้องการ แรงจูงใจของบุคคลและสังคม ได้แก่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาอารมณ์สุข สนุกสนาน ร่าเริง สุขสงบ เพ่ือเสริมสร้างประสบการณ์หรือเพิ่มพูนประสบการณ์เดิม ส่งเสริมการมีส่วนร่วม การแสดงออกแห่งตน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต สง่ เสรมิ ความเปน็ มนษุ ยชาตแิ ละความเปน็ พลเมอื งดี นนั ทนาการมคี ณุ คา่ และมปี ระโยชนต์ อ่ บคุ คลและสงั คม ชว่ ยพฒั นาอารมณส์ ขุ 47

ในชีวิตและพัฒนาสุขภาพจิต สมรรถภาพทางกาย ช่วยป้องกันอาชญากรรม และพฤติกรรมเบ่ียงเบนของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี รจู้ กั ศลิ ปวฒั นธรรม และทรพั ยากรธรรมชาติ สง่ เสรมิ การบ�ำ บดั รกั ษาความมมี นษุ ยสมั พนั ธ์ การทำ�งานเป็นทีม พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพ การพัฒนาบุคคล และความเป็นพลเมอื งดี 48

ประเภทกจิ กรรมนันทนาการ สำ�นักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ. (๒๕๕๑). ได้กำ�หนดกิจกรรม นนั ทนาการออกเปน็ ๑๑ ประเภท คือ ๑. ศิลปหัตถกรรม (Art and Crafts) เป็นกิจกรรมท่ีแสดงออกถึง ความสามารถพิเศษ ความละเอียดความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ โดยใช้เวลาว่าง ใหเ้ กดิ ประโยชน์ ใหเ้ กดิ ทกั ษะความสมั พนั ธข์ องประสาทอวยั วะรา่ งกาย และพฒั นา ความคดิ ความสามารถในการท�ำ งานจนสามารถพัฒนาไปสู่ทกั ษะเป็นงานอาชพี ได้ 49

๒. เกมและกฬี า (Games and Sports) เปน็ กจิ กรรมทแี่ สดงออกทางกาย ท่ีต้องใช้ทักษะความสามารถทางกายในทางด้านสมรรถภาพทางร่างกาย เพอ่ื มสี ขุ ภาพกาย สขุ ภาพจติ ทด่ี ี ไดค้ วามสนกุ สนาน และเพอ่ื กระตนุ้ ใหม้ กี ารออกก�ำ ลงั กาย เพอ่ื พฒั นาคณุ ภาพชวี ิตให้ดขี ้ึน ๓. การเต้นรำ� (Dance) เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถ ความสวยงาม และเอกลักษณ์เฉพาะ เพ่ือส่งเสริมมนุษย์สัมพันธ์ทางสังคม อ นุ รั ก ษ์ วั ฒ น ธ ร ร ม ป ร ะ จำ � ถิ่ น ต ล อ ด จ น ก า ร ฝึ ก ทั ก ษ ะ ก า ร เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ที่เก่ียวข้องกับสภาพการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน โดยสัมพันธ์กับจังหวะ ท�ำ นองดนตรี รวมถงึ การฟ้อนรำ�ในรปู แบบตา่ ง ๆ การเตน้ ร�ำ และลีลาศ ๔. การละคร (Drama) เป็นกิจกรรมท่ีแสดงออกถึงความสามารถ และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคม วัฒนธรรมและพฤติกรรม ความเป็นอยู่ท้ังในปัจจุบันและอดีตท่ีผ่านมา เป็นการส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา การศึกษาเรียนรู้ และส่งเสริมความสามารถ ในการแสดงออก ๕. งานอดิเรก (Hobby) จัดเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะพิเศษ ความสามารถเฉพาะ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการผ่อนคลาย ความตึงเครยี ดทางอารมณ์ ๖. การดนตรีและการร้องเพลง (Music and Singing) เป็นกิจกรรม ที่ส่งเสริม การแสดงออกถึงความสามารถเฉพาะอย่าง ความถนัดเฉพาะ ซง่ึ ในปจั จบุ นั การดนตรจี ดั เปน็ สว่ นหนง่ึ ของชวี ติ จดั เปน็ กจิ กรรมทใ่ี ชใ้ นการบ�ำ บดั จติ ใจ ๗. กจิ กรรมกลางแจง้ /นอกเมอื ง (Outdoor Recreation) เปน็ กจิ กรรม ทส่ี ง่ เสรมิ การเรยี นรปู้ ระสบการณช์ วี ติ ธรรมชาติ การออกก�ำ ลงั กาย หรอื การใชเ้ วลาวา่ ง เพื่อการศึกษาหาความรู้ด้วยกิจกรรมนอกรูปแบบโดยการสัมผัสกับธรรมชาติ เชน่ การจัดค่ายพักแรม การเดนิ ทางไกล 50