Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การอ่านสู่ประชาคมโลก

การอ่านสู่ประชาคมโลก

Published by NongDonDLEC, 2020-03-12 03:33:00

Description: ประชาคมโลก

Search

Read the Text Version

“กรุงเทพมหานครถือเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์กับนานาประเทศมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเป็นเมืองหน้าด่านก่อนเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เป็นเมืองต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และเป็นส่วนหน่ึง ของประชาคมโลกมานานแล้ว ปัจจุบันกรุงเทพมหานครควรจะสร้างความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมโลก โดยบริหารเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณาว่า จะใช้ความเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกให้เป็นประโยชน์ หรือเพ่ิมเติมบทบาท อย่างไร เพื่อส่งเสริมกรุงเทพมหานครให้เป็นองค์กรท่ีมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยสร้าง ให้กรุงเทพมหานครมีศักยภาพเพ่มิ ขนึ้ ในประชาคมโลก” หมอ่ มราชวงศส์ ขุ มุ พนั ธ์ุ บรพิ ตั ร ผู้วา่ ราชการกรุงเทพมหานคร สุนทรพจนเ์ ปิดงานสมั มนากรอบทศิ ทางการเข้าสู่ประชาคมโลก ของกรุงเทพมหานคร เมื่อวนั ที่ 1 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2556 ณ โรงแรมปร๊นิ ซ์พาเลซ กรงุ เทพฯ

คำ�นำ� จากหลักฐานประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ ท่ีผ่านมา ท�ำให้เราทราบได้ว่า กรุงเทพฯ เป็นสว่ นหน่ึงของประชาคมโลกมานานแล้ว ตั้งแต่การเปน็ เมอื งหนา้ ดา่ น และเป็นเมืองต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯ กับนานาประเทศได้มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง จวบจนกระท่ังกรุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีของไทย เมื่อ พ.ศ. 2325 ตลอดเวลาหลังจากน้ัน กรุงเทพมหานครก็ได้มีความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองและระหว่างประเทศท่ีแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการแลกเปล่ียนทาง การทตู การคา้ และศิลปวฒั นธรรม และนำ� ไปสู่ความเจรญิ รุง่ เรอื งและพรง่ั พร้อม ด้วยศิลปวิทยาการท่ีก้าวหน้าและหลากหลายของมหานครแห่งนี้เรื่อยมากระทั่ง ถงึ ยคุ สมัยปจั จบุ นั อีกไม่นานจะเกิดการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน อันเป็นพัฒนาการจาก การรวมกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคในกระแสโลกาภิวัตน์ ซ่ึงจะท�ำให้ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ดว้ ยจ�ำนวนประชากร 600 ล้านคน และประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนยา้ ยสนิ ค้า บริการ แรงงานฝมี ือ และทุนได้อย่างเสรี ตลอดจนเปน็ การเปิดโอกาสหลากหลาย ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ท้ังชาวกรุงเทพฯ ชาวไทย และชาวต่างชาติ เข้ามาแลกเปล่ียนผลประโยชน์เพื่อน�ำไปสู่อนาคตอันรุ่งโรจน์ร่วมกันได้มากยิ่งข้ึน กรงุ เทพมหานคร ในฐานะองคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ จงึ เลง็ เหน็ ความจำ� เปน็ ในการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร และชาวกรงุ เทพฯ จึงได้ร่วมกับศูนยบ์ รกิ ารวชิ าการ มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวิโรฒ ดำ� เนนิ การโครงการศกึ ษากรอบทศิ ทางการเขา้ สปู่ ระชาคมโลกของกรงุ เทพมหานคร และจดั ท�ำ “หนังสอื ทิศทางการเขา้ สู่ประชาคมโลกของกรุงเทพมหานคร” เพ่อื เป็น คู่มือแก่ชาวกรุงเทพฯ ตลอดจนผู้สนใจ เพ่ือให้ทุกคนม่ันใจในการก้าวเข้าสู่การเป็น ส่วนหนงึ่ ของประชาคมโลกตอ่ ไป สำ� นักยทุ ธศาสตร์และประเมนิ ผล และศูนยบ์ รกิ ารวิชาการ มหาวทิ ยาลัยศรนี ครนิ ทรวิโรฒ

สารบญั

ส่วนที่ 1 สวัสดี ประชาคมโลก 06 ส่วนท่ี 2 ประชาคมโลก คอื มติ รของเรา 16 ส่วนที่ 3 กรงุ เทพฯ กบั โลกกวา้ ง 58 ส่วนที่ 4 กรงุ เทพฯ โลดแลน่ ไปบนเวทโี ลก 130

สว่ นที่ 1 สวัสดี ประชาคมโลก

“โลกาภวิ ตั น”์ โลกตอ้ งร่วมมือกนั สภุ าษติ ของฝรง่ั กลา่ วไวว้ า่ “No man is an Island.” หมายความวา่ ไม่มีใครที่จะสามารถอยู่รอดได้เพียงล�ำพัง เพราะทุกคนจ�ำเป็นต้องพ่ึงพา อาศัยซึ่งกันและกนั เพอ่ื ใหส้ ามารถบรรลเุ ปา้ หมายในการดำ� รงชีวติ “โลก” ของเราเองก็เช่นเดียวกัน ประเทศต่างๆ ในสังคมโลก ไม่ว่าจะ เป็นประเทศท่ีร�่ำรวยหรือประเทศยากจน ก็จ�ำเป็นท่ีจะต้องมี “เพ่ือน” มีการคบค้า สมาคมระหว่างกันเพื่อความอยู่รอดในสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลก ยุคโลกาภิวัตน์ อันเป็นโลกยุคไร้พรมแดน มีการแบ่งกลุ่มทางการค้า การแข่งขัน ทางเศรษฐกิจทด่ี เุ ดอื ด และภยั ความม่นั คงในรูปแบบใหมเ่ กดิ ข้ึน ทำ� ให้ประเทศต่างๆ ต้องร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น เห็นได้ชัดจากการที่นานาประเทศต่างหันมารวมตัวกัน ในรูปแบบของ “ประชาคม (Global Community)” ซงึ่ ยึดตามภูมภิ าคเพ่มิ มากขนึ้ เชน่ สมาคมประชาชาตเิ อเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ หรอื อาเซยี น (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) สหภาพยโุ รป หรือ อยี ู (European Union: EU) เป็นตน้ 7

อะไรท่ีท�ำให้ประเทศต่างๆ ลุกข้ึนมาผูกมิตรขยายความร่วมมือกันมากขึ้น ส่วนหน่ึงก็เพราะว่าประเทศเหล่าน้ีมองว่าการรวมตัวกันจะช่วยเพิ่มอ�ำนาจ ต่อรองทางการเมืองของกลุ่มตนเองในเวทีระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของ 10 ประเทศอาเซียน ท่ีมีการรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอ�ำนาจการต่อรอง กับชาติมหาอ�ำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือจีน เป็นต้น ขณะเดียวกัน การรวมตัวของประเทศต่างๆ ก็ยังเป็นไปเพ่ือร่วมกันศึกษาและพัฒนาไปพร้อมกัน กลา่ วอีกนยั หนึ่ง กค็ อื การจบั มือกนั เดนิ เพือ่ เตบิ โตไปพร้อมๆ กันนน่ั เอง นอกจากนี้ ภายใตค้ วามร่วมมอื ในประชาคม อาจจะมีการกำ� หนดมาตรการ การอ�ำนวยความสะดวกเพ่ือเอ้ือประโยชน์ให้กับสมาชิก เช่น การลดหย่อนอัตรา ภาษี ความเสรีในการผา่ นแดน การแลกเปลี่ยนสินคา้ บริการ บุคคล องค์ความรู้ ทางวิชาการ รวมถึงศลิ ปวัฒนธรรมตา่ งๆ อีกดว้ ย “ประชาคมโลก” ไม่ใช่ “โลกาภวิ ตั น”์ ค�ำว่า “โลกาภิวัตน์ (Globalization)” คงไม่ใช่ค�ำใหม่ส�ำหรับ คนในสังคมปัจจุบัน หลายคนเม่ือได้ยินค�ำนี้อาจนึกถึงโลกแห่งการติดต่อ เช่ือมโยงระหว่างกัน หรือบางคนอาจเรียกโลกาภิวัตน์ว่าเป็นโลกแห่ง www. (เวิลด์ไวดเ์ วบ็ ) ท่แี คเ่ พยี งคลิกเดียวก็สามารถเชอื่ มโลกใหม้ าอยใู่ กลๆ้ กันได้ 8

แล้วโลกาภวิ ตั น์มีลักษณะอยา่ งไร? นกั วิชาการได้กำ� หนดลักษณะเด่นของโลกยคุ โลกาภิวัตน์ไวว้ ่า 1. เป็นโลกยุคไร้พรมแดน มีระบบที่เศรษฐกิจ การค้า และการเงิน ที่ไร้พรมแดน รวมถึงระบบข่าวสารท่ีไร้พรมแดน ที่เป็นเช่นน้ีเพราะการปฏิวัติ ดา้ นคอมพิวเตอร์ และระบบอิเลก็ ทรอนกิ ส์ ท�ำให้การตดิ ต่อส่อื สารระหวา่ งประเทศ เข้าถงึ กนั ไดอ้ ย่างรวดเร็ว 2. มกี ารแบ่งกลุ่มทางการคา้ เกดิ ข้นึ ในแต่ละภูมิภาค ทา่ มกลางการแข่งขนั ทางเศรษฐกิจทด่ี เุ ดือดมากยิ่งข้ึน 3. ลทั ธชิ าตนิ ยิ มกบั ปญั หาเอกภาพของรฐั ทำ� ใหเ้ กดิ รฐั ใหมๆ่ ขนึ้ จำ� นวนมาก 4. ภัยคุกคามความมั่นคงระหว่างประเทศได้ขยายไปครอบคลุมตั้งแต่ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ ส่งิ แวดลอ้ ม และสงั คม 5. เกิดชอ่ งวา่ งระหวา่ งประเทศร�่ำรวยและยากจนเพิม่ มากขึ้น 6. กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นน�ำจี 7 (G7) ซึ่งประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญ่ีปุ่น เป็นผู้น�ำ ในการก�ำหนดระเบียบโลกใหม่ เนื่องจากมีอ�ำนาจในการต่อรองสูงทั้งด้านเศรษฐกิจ อตุ สาหกรรม เทคโนโลยี และกองกำ� ลังทหาร โลกาภวิ ัตน์ ยงั มีความเก่ียวพนั กับการเปน็ “ประชาคมโลก” จนบางคร้ัง ได้สร้างความสับสนให้กับหลายคนที่มองว่าทั้งสองอย่างนี้ คือสิ่งเดียวกัน ทว่า เม่ือทั้งสองอย่างมีความแตกต่างแต่เชื่อมโยงกัน แล้วประชาคมโลกท่ีมี การพูดถึงอย่างมากในปัจจุบันน้ีคืออะไร 9

จากพจนานกุ รมฉบบั Collins ปี พ.ศ. 2547 ไดบ้ ญั ญตั คิ ำ� วา่ ประชาคมโลก ไวว้ า่ (Government, Politics & Diplomacy) the people or nations of the world, considered as being closely connected by modern telecommunications and as being economically, socially, and politically interdependent หรือแปลความได้ว่า ประชาคมโลก หมายถึง (บริบทเชิงรัฐบาล การเมือง และการทูต) พลเมืองหรือชนชาติต่างๆ ในโลกมีปฏิสัมพันธ์กัน อย่างแนบแน่นผ่านระบบโทรคมนาคมสมัยใหม่ มีการพึ่งพาอาศัย ซงึ่ กนั และกนั ท้ังด้านเศรษฐกจิ สงั คม และการเมือง จากการอธิบายความหมายข้างต้นอาจจะยังท�ำให้ไม่เห็นภาพชัด ถึงความแตกต่างระหว่างประชาคมโลกกับโลกาภิวัตน์ แต่ในหนังสือ Global Community: The Role of International Organizations in the Making of the Contemporary World ของ Akira Iriye ได้ช่วยขยายความและท�ำให้ภาพ ความแตกต่างมีความชดั เจนมากขนึ้ โดยกล่าววา่ ประชาคมโลก เปน็ แนวคดิ ท่ีใช้อธิบายบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ “ประชาคมโลก” ไม่ได้มีความหมายเดียวกับ “โลกาภิวัตน์” ซึ่งเป็นเรื่อง เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเงิน ระดับโลก กล่าวคือ แนวคิดประชาคมโลกนั้นเป็นการสร้างเครือข่ายข้ามชาติ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการมีจิตส�ำนึกแบบโลกานิยม (Global Consciousness) หรือ มีจิตส�ำนึกถึงส่วนรวมในระดับโลก ภายใต้ความคิดที่ว่ามีโลกท่ีกว้างใหญ่กว่า ครอบอยู่เหนือรัฐชาติและสังคมระหว่างประเทศต่างๆ และบุคคลหรือ กลุ่มคนสามารถแบ่งปันความสนใจและความกังวลท่ีมีต่อโลกใบน้ีได้ ขณะท่ีจิตส�ำนึกแบบโลกานิยมจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพได้ ก็ต่อเมื่อมกี ารรวมกลมุ่ กนั ในรปู แบบทมี่ โี ครงสรา้ งบางประการ เชน่ องคก์ ารระหวา่ ง ประเทศ เปน็ ตน้ 10

เม่ือ “ประชาคมโลก” เกิดขึ้นภายใต้บริบทของยุคโลกาภิวัตน์ ดังน้ัน เราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามลักษณะส�ำคัญอย่างย่ิงยวดของโลกาภิวัตน์ ตามท่ี Jan Aart Scholte ไดใ้ หน้ ยิ ามไวว้ า่ โลกาภวิ ัตนเ์ ป็นการเปลยี่ นแปลงดา้ นสถานท่ี ทม่ี ลี กั ษณะพเิ ศษ ทง้ั เชงิ ปรมิ าณและคณุ ภาพ โดยในชว่ งครงึ่ หลงั ของศตวรรษท่ี 20 การเช่ือมโยงระดับโลกตามสถานที่ท่ีแตกต่างกันมีเพ่ิมข้ึนอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทงั้ ในดา้ นคมนาคมขนสง่ การตดิ ต่อสอื่ สาร การผลิต การท�ำธุรกิจ การคา้ ขายและ การเงิน รวมไปถึงปัญหาของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และคนท่ัวโลกเกิดจิตส�ำนึก แบบโลกานิยมร่วมกนั ขณะท่ีความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งนิยาม ดว้ ยค�ำว่า “ความเหนอื อาณาเขต” อนั แปลความได้วา่ สถานทีท่ ่ีแน่นอนบนพน้ื โลก ที่ก�ำหนดด้วยเส้นรุ้ง เส้นแวง ระดับความสูง ที่ต้ัง ระยะทาง และพรมแดน ของอาณาเขต ไม่ใช่สิ่งท่ีจะก�ำหนดภูมิศาสตร์และความเคล่ือนไหวระดับโลก อีกต่อไป เพราะยุคโลกาภิวัตน์มีคุณสมบัติของการเกิดขึ้นพร้อมกันท่ัวโลก เชน่ ปรากฏการณบ์ างอยา่ งสามารถเกิดขนึ้ ทั่วโลกไดใ้ นเวลาเดยี วกนั อย่างไรก็ดี แม้ว่าโลกยุคโลกาภิวัตน์ท�ำให้เส้นแบ่งพรมแดนของแต่ละ ประเทศดูเหมือนว่าจะมีความส�ำคัญลดลง เน่ืองจากทุกคนสามารถติดต่อ เช่ือมโยงกันได้อย่างง่ายดาย ทว่า ในความเป็นจริง พ้ืนท่ีเชิงอาณาเขตยังคงมี บทบาทส�ำคัญอยู่ เพราะทุกคนยังคงอาศัยอยู่ในเขตแดนของประเทศและยังไม่ได้ อยู่ในโลกท่ี “ไร้พรมแดน” อย่างสิ้นเชิง พรมแดนหรืออาณาเขตระหว่าง ประเทศยังคงมีความส�ำคัญในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการค้าระหว่างประเทศ และการอพยพเคลื่อนย้ายของผู้คน นอกจากนี้ ยังน�ำไปสู่การจัดระบบอาณาเขตใหม่ เช่น การรวมกลุ่ม เป็นภูมภิ าค การขยายตัวของการจ้างงานขา้ มชาติ และบริษัทข้ามชาติ เป็นตน้ 11

การเปน็ “เมอื งระดับโลก” อานิสงส์จากโลกาภิวัตน์ยังส่งผลให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกมีการขยายตัว และผงาดขึ้นมามีบทบาทส�ำคัญเพิ่มข้ึน โดยเฉพาะในบริบทระหว่างประเทศ ทีเ่ ป็นเช่นนี้ เพราะ “เมอื ง” ในยคุ โลกาภวิ ัตน์ ถอื เป็นสถานที่ตัง้ ของบรรดาบริษทั ขา้ มชาติ ทั้งภาคการเงนิ การคา้ และการบรกิ าร 12

นอกจากน้ี บรรดาส�ำนักงานขององค์กรหรือกลุ่มความร่วมมือระหว่าง ประเทศ แหลง่ งานและเงนิ ทนุ สถาบนั เพอื่ การศกึ ษา คน้ ควา้ และวจิ ยั ยงั ตงั้ อยตู่ าม เมืองตา่ งๆ ท่ัวโลก เมืองยังเป็นพื้นท่ีแห่งการแลกเปล่ียนศิลปะและวัฒนธรรม พื้นที่แห่ง การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ และเปิดโอกาสให้ผู้คน ทกุ ระดบั ชน้ั ไดม้ สี ว่ นรว่ มในการรบั ผลประโยชนท์ ม่ี าจากความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งประเทศ ซ่ึงเกิดข้ึนได้ท้ังในระดับประเทศ ระดับเมือง ระดับองค์กร และระดับประชาชน เพ่ือรว่ มกนั แกไ้ ขปัญหาทา้ ทายในโลกยคุ ใหม่ เช่น การสร้างเสถียรภาพทางการเงนิ การป้องกนั ภัยพิบัตแิ ละภยั กอ่ การรา้ ย การอนรุ กั ษส์ ง่ิ แวดลอ้ ม และการป้องกันและ รักษาโรคระบาด เป็นต้น เม่ือบทบาทของเมืองได้กลายมามีความส�ำคัญในโลกยุคโลกาภิวัตน์ จึงกลายเป็นว่า หากเมืองใดมีความสามารถในการตอบสนองต่อยุคสมัย ที่เปล่ียนแปลงไปได้มากกว่าเมืองอ่ืนๆ ก็ย่อมจะมีความได้เปรียบในการก้าวข้ึน สกู่ ารเปน็ “เมอื งระดบั โลก” (Global City) ดงั เชน่ มหานครนวิ ยอรก์ ของสหรฐั อเมรกิ า และกรุงโตเกยี วของญป่ี ุ่น ซง่ึ มีศักยภาพในการเป็นเมอื งระดบั โลก เปน็ ต้น เมืองระดับโลกมีลักษณะพิเศษท่ีแตกต่างไปจากเมืองธรรมดาทั่วไป และ ไมจ่ ำ� กดั อยแู่ คเ่ มอื งหลวงของแตล่ ะประเทศเทา่ นน้ั หากเมอื งตา่ งๆ สามารถกลายมา เป็นเมอื งระดับโลกได้ถา้ มีลักษณะ ดังตอ่ ไปน้ี 1. เมืองแห่งการด�ำเนินกิจกรรมภาคธุรกิจ พิจารณาจากจ�ำนวน ส�ำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติท่ีมาต้ังอยู่ในเมืองนั้นๆ รวมถึงจ�ำนวนบริษัท ดา้ นการบริการ มูลคา่ ของตลาดทนุ จำ� นวนการจัดประชุมนานาชาติ รวมถึงปริมาณ สนิ คา้ ทสี่ ่งผา่ นท่าเรอื และสนามบนิ ในเมืองดังกลา่ ว 2. เมืองท่มี ที รพั ยากรมนุษย์ทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพ พจิ ารณาจากจ�ำนวน ชาวตา่ งชาตทิ เี่ กดิ ในเมอื งนนั้ ๆ คณุ ภาพของมหาวทิ ยาลยั จำ� นวนโรงเรยี นนานาชาติ นกั เรียนต่างชาติ รวมถึงประชากรทจ่ี บการศึกษาระดบั อดุ มศกึ ษา เปน็ ตน้ 13

3. เมืองแห่งการแลกเปล่ียนข้อมูลข่าวสาร พิจารณาจาก จ�ำนวนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องข่าวของสถานีโทรทัศน์ การเข้าถึง อินเทอร์เน็ต จ�ำนวนของส�ำนักงานของสถานีข่าวนานาชาติ การเซ็นเซอร์ส่ือ หรือ การสมคั รสมาชิกเครือขา่ ยอินเทอรเ์ น็ต 4. เมืองแห่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม พิจารณาจาก จ�ำนวนการจัดการแข่งขันกีฬา พิพิธภัณฑ์ สถานที่จัดงานแสดงศิลปะ สถาบันด้าน การสอนทำ� อาหาร นกั ทอ่ งเทยี่ วตา่ งชาติ รวมถงึ จำ� นวนเมอื งพเ่ี มอื งนอ้ งทเ่ี มอื งนนั้ มอี ยู่ 5. เมืองแห่งการมีส่วนร่วมทางการเมือง พิจารณาจากจ�ำนวน สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุล สถาบันวิจัยเพื่อก�ำหนดนโยบายสาธารณะ องคก์ ารระหว่างประเทศ และการจดั ประชมุ ทางการเมือง เป็นต้น ลักษณะเมืองระดับโลกข้างต้นมีความคล้ายคลึงกับเมืองระดับโลก ท่ี A.T. Kearney ได้ใช้ดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global City Competitiveness Index) ของ Economist Intelligence Unit เป็น ตวั ก�ำหนดคุณสมบัตขิ องเมอื งทีม่ ศี ักยภาพในการแขง่ ขนั ระดบั โลกในยุคโลกาภวิ ัตน์ ดว้ ยลักษณะดงั ตอ่ ไปน้ี 1. เมืองท่ีมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ พิจารณาจากมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของเมือง อัตราการเติบโตของจีดีพี รายได้ต่อหัวของ ประชาชน และการรวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ กับตลาดอ่ืนๆ ในภมู ภิ าค 2. เมืองท่ีมีทรัพยากรมนุษย์ท่ีมีประสิทธิภาพ พิจารณาจาก การเติบโตของจ�ำนวนประชากรวัยท�ำงาน คุณภาพด้านการศึกษา คุณภาพ ดา้ นสาธารณสขุ เป็นต้น 14

3. เมืองที่มีโครงสร้างการบริหารเมืองที่มีประสิทธิภาพ พิจารณาจากกระบวนการเลือกตั้ง รัฐบาลท้องถิ่นพ่ึงพาตนเองด้านการคลัง การเกบ็ ภาษี หลักนติ ธิ รรม หรือประสิทธิภาพของรัฐบาลทอ้ งถิ่น 4. เมืองที่มีบริการธุรกรรมทางการเงินอย่างทั่วถึง พจิ ารณาจาก การบริการธุรกรรมทางการเงินครอบคลุมทุกพื้นที่และตอบสนองทุกความต้องการ เป็นเมืองท่ีรู้จักและได้รับการยอมรับระดับโลก โดยมีบริษัทท่ีอยู่ในรายช่ือ บริษัทช้ันน�ำ 500 แห่งของนิตยสารฟอร์จูนตั้งอยู่ในเมืองนั้น จ�ำนวนเที่ยวบินจาก นานาชาติ การจัดประชุมนานาชาติ การเป็นผู้น�ำด้านการศึกษาระดับสูง การมีสถาบันวิจัยเพ่ือก�ำหนดนโยบายสาธารณะท่ีมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ ในระดบั นานาชาติ เปน็ ตน้ 5. เมืองท่ีมีโครงสร้างพื้นฐานท่ีมีประสิทธิภาพ พิจารณาจาก คณุ ภาพของโครงขา่ ยคมนาคมสาธารณะ รวมถึงโครงข่ายโทรคมนาคม 6. เมืองทีม่ ีการบริหารจดั การสิ่งแวดล้อมและภยั พิบตั ิ พิจารณา จากปรมิ าณความเสีย่ งต่อภยั พบิ ัติ และการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม เปน็ ตน้ 7. เมืองท่ีมีบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม พิจารณาจาก เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิมนุษยชน การเปิดกว้าง ยอมรับ ความหลากหลาย อตั ราการเกดิ อาชญากรรม และความเคลอ่ื นไหวด้านวฒั นธรรม ถึงตรงนี้คงจะเริ่มเห็นภาพรางๆ กันแล้วว่า ประชาคมโลก ส�ำหรับประเทศไทยและกรุงเทพมหานครในปัจจุบันน้ันมีหน้าตา เป็นอย่างไร และในส่วนต่อไปเราจะน�ำพาไปให้รู้จักกับประชาคมโลก ท่ีใกลช้ ิดกับเราเพื่อให้เห็นภาพท่ชี ดั เจนยิง่ ขน้ึ 15

สว่ นที่ 2 ประชาคมโลก คอื มติ รของเรา

เราจะอยอู่ ยา่ งไรในประชาคมโลก ปัจจุบันในประชาคมโลกมีการรวมกลุ่มประเทศเกิดขึ้นมากมายและ ครอบคลุมถ้วนทั่วในทุกทวีป แต่ละกลุ่มก็มีกรอบความร่วมมือและวัตถุประสงค์ ทีแ่ ตกต่างกันออกไป ประเทศไทยของเราเองก็มีความกระตือรือร้นท่ีจะสร้างความสัมพันธ์ กับนานาประเทศ รวมท้ังกับการรวมกลุ่มประเทศมาอย่างยาวนานและต่อเน่ือง โดยได้เข้าไปมีบทบาทส�ำคัญในกรอบความร่วมมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะ ความร่วมมือตามบทบาทและหน้าที่อย่างความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรอื เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรอื การรวมกลมุ่ ความร่วมมือตามภูมิภาค เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) เพอ่ื ให้ มองภาพการเขา้ สปู่ ระชาคมโลกในระดบั ประเทศของไทยชดั เจนมากย่ิงขึน้ ในบทนี้จะน�ำเสนอภาพความร่วมมือระหว่างประเทศที่ไทย มีบทบาทส�ำคัญ และเป็นกลุ่มความร่วมมือท่ีมีความเป็นรูปธรรม ในเชิงปฏิบัติ ไม่ว่าการรวมกลุ่มความร่วมมือจะเป็นไปในลักษณะตามบทบาท และหนา้ ท่ี หรอื เป็นไปตามภูมิภาค โดยแต่ละกลมุ่ ต่างใหป้ ระโยชน์แก่ประเทศไทย ที่เหมือนกันคือ ก่อให้เกิดความร่วมมือกันเพ่ือความเจริญเติบโตอย่างย่ังยืน และ เกดิ ความไดเ้ ปรยี บในการพัฒนาประเทศอยา่ งก้าวกระโดดระหว่างประเทศสมาชิก 17

ASEAN เราอยู่ทน่ี ่ี กรกฎาคม พ.ศ. 2504 การกอ่ ต้งั “สมาคมอาสา” (Association of South East Asia: ASA) จดุ เรมิ่ ตน้ ของอาเซยี น โดยมสี มาชิกเพยี ง 3 ประเทศ ไดแ้ ก่ ไทย มาเลเซีย และฟิลปิ ปินส์ เปา้ หมายหลักเพ่ือร่วมมือกนั ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ความร่วมมือดังกล่าวต้องยุติลงอย่างรวดเร็ว ท้ังๆ ท่ีเพ่ิงจะด�ำเนินงานมาได้ เพยี ง 2 ปเี ท่าน้ัน 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชา เขา รว มเปน สมาชิกอาเซยี น ลำดับท่ี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 การกอ ตงั้ “สมาคมอาสา” การจดั ต้งั สมาคมอาเซยี นโดยมสี มาชิกผูกอตั้ง จดุ เร่มิ ตนของอาเซยี น โดยมีสมาชิกเพยี ง ทัง้ 5 ประเทศ ไดแ ก ไทย อนิ โดนีเซยี มาเลเซยี 3 ประเทศ ไดแก ไทย มาเลเซีย และฟลปิ ปนส ฟลิปปนส และสงิ คโปร 18

8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 กลุ่มความร่วมมือท่ีมีความใกล้ชิดและผูกพันกับประเทศไทยมากท่ีสุด ถือก�ำเนิดข้ึน ภายหลังอินโดนีเซียและมาเลเซียได้ร่วมมือกันฟื้นฟูความสัมพันธ์ รอบใหม่ ด้วยการจัดต้ังองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคข้ึน ภายใต้ ชอ่ื สมาคมประชาชาตแิ ห่งเอเชียตะวันออกเฉยี งใต้ หรอื อาเซียน และ ยงั เป็นทีร่ ู้จกั กันในอีกชอ่ื คือ ปฏญิ ญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซงึ่ เรยี กตามสถานทท่ี ม่ี กี ารลงนามรว่ มกนั ระหวา่ งสมาชกิ ผกู้ อ่ ตง้ั ทงั้ 5 ประเทศ ไดแ้ ก่ ไทย อินโดนเี ซยี มาเลเซยี ฟิลิปปนิ ส์ และสงิ คโปร์ ณ วังสราญรมย์ กรงุ เทพฯ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สปป.ลาว เขารว มเปนสมาชกิ อาเซยี น ลำดับที่ 8 และเมยี นมาร์ เขา รวมเปน สมาชิกอาเซยี นลำดับที่ 9 7 มกราคม พ.ศ. 2527 บรไู นดารุสซาลาม เขา รวมเปนสมาชกิ อาเซียนลำดบั ท่ี 6 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 เวยี ดนาม เขา รว มเปนสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 19

อาเซยี นมุง่ เนน้ การส่งเสริมความร่วมมอื ทีค่ �ำนงึ ถงึ ผลประโยชนร์ ว่ มระหวา่ งประเทศสมาชกิ เนน้ การเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกจิ การพัฒนาสงั คม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชกิ รวมถึงการธำ� รงรกั ษา สนั ตภิ าพและความมน่ั คงในพืน้ ท่ี นอกจากน้ี ภายใต้ความร่วมมอื ดงั กล่าว ยังเปน็ การเปดิ โอกาสใหป้ ระเทศสมาชิกรว่ มมอื กันคลี่คลาย ข้อพิพาทระหวา่ งประเทศทีเ่ กิดขน้ึ อย่างสนั ติ มีความเสมอภาค เข้าใจ และร่วมแรงร่วมใจกันผลักดนั ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกนั ทัง้ ในด้านสันติภาพ ความก้าวหน้า ความมง่ั คัง่ และความเจริญร่งุ เรืองอยา่ งย่ังยืน 20

ปจั จบุ นั อาเซยี นมีสมาชิกทง้ั หมด 10 ประเทศ และเป็นทมี่ าของการใชส้ ญั ลกั ษณ์รปู “รวงขา้ วสเี หลือง 10 ต้นมดั รวมกนั ” โดยแต่ละตน้ แทนประเทศสมาชิกแตล่ ะประเทศ ที่มีความผกู พนั กนั ฉนั มิตร และเป็นน้�ำหนงึ่ ใจเดียวกัน ล่าสดุ ใน พ.ศ. 2554 ติมอร-์ เลสเต หรอื ทร่ี จู้ ักในชื่อ ติมอร์ตะวันออก ซึ่งแยกมาเป็น ประเทศอิสระจากอนิ โดนีเซยี ยังไดแ้ สดงเจตจำ� นง ขอสมคั รเปน็ สมาชกิ ใหมข่ องอาเซียน โดยในขณะน้ยี งั อยู่ในระหว่างการพิจารณา ของประเทศสมาชกิ 21

2540 2546 15 ธนั วาคม พ.ศ. 2540 7-8 ตลุ าคม พ.ศ. 2546 ผู ้ น� ำ อ า เ ซี ย น ล ง น า ม ใ น ในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งอาเซียน ผู้น�ำอาเซียน ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน รับรองเอกสาร “วิสัยทัศน์อาเซียน ฉบับที่ 2 ( De cl a ra t i o n o f 2020” (ASEAN Vision ASEAN Concord II หรือ Bali 2020) เพ่ือก�ำหนดเป้าหมายว่า Concord II) โดยเห็นชอบให้มี ภายใน พ.ศ. 2563 อาเซียนจะเป็น ก า ร จั ด ตั้ ง ป ร ะ ช า ค ม อ า เ ซี ย น 1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออก อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ เฉียงใต้ 2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ประชาคมการเมืองและความมั่นคง อย่างมีพลวัต 3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับ อาเซียน (ASEAN Political and ประเทศภายนอก 4) ประชาคมของ Security Community: APSC) สังคมท่เี อื้ออาทร ประชาคมเศรษฐกจิ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซยี น (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) 22

2550 2551 มกราคม พ.ศ. 2550 15 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2551 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน รัฐสมาชกิ ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครั้งท่ี 12 ผู้น�ำอาเซียนตกลงกันท่ีจะ ครบทั้ง 10 ประเทศ เร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2558 รวมท้ัง 15 ธนั วาคม พ.ศ. 2551 ไ ด ้ อ อ ก ป ฏิ ญ ญ า เ ซ บู ว ่ า ด ้ ว ย แ ผ น ง า น ก า ร จั ด ท� ำ ก ฎ บั ต ร อ า เ ซี ย น ( C e b u กฎบตั รอาเซยี นมผี ลบงั คบั ใช้ Declaration on the Blueprint of the ASEAN Charter) 31 ธนั วาคม พ.ศ. 2558 20 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2550 อาเซยี นเปน็ ประชาคมอาเซียน อย่างเป็นทางการ ผู้น�ำอาเซียนรับรองกฎบัตร อาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครงั้ ที่ 13 ณ สงิ คโปร์ 23

“กฎบัตรอาเซยี น (ASEAN Charter)” เปน็ กฎระเบยี บการดำ� เนนิ งาน ซ่ึงเปรียบเสมอื นกบั ธรรมนูญสงู สดุ ทีเ่ ป็นท้ังกรอบทางกฎหมายและ โครงสร้างของอาเซียน โดยมีวัตถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ให้ อาเซียนเป็นองค์กรท่มี ปี ระสทิ ธิภาพและค�ำนึงถงึ ประชาชน เปน็ ศนู ยก์ ลาง รวมถึงเคารพในกติกาการท�ำงานบนพืน้ ฐาน ของกฎหมายระหว่างประเทศ ภายใตก้ ฎบัตรอาเซียน ประเทศสมาชิกทง้ั หมดตา่ งยึดหลกั บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกนั 24

อาเซียนยังได้ก�ำหนดค่านิยมในด้านต่างๆ ด้วย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ประเทศในกลุ่มอาเซียนต้องการที่จะสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวภายใต้ ความสามารถในการแข่งขันที่สูง การรวมตัวทางเศรษฐกิจท่ีมีการเคลื่อนย้าย อย่างเสรีท้ังสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงาน ด้านความม่ันคงของ มนุษย์ อาเซียนให้ความส�ำคัญในเร่ืองการแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน เป็นหลัก เพ่ือลดช่องว่างการพัฒนาของประเทศสมาชิก อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ผา่ นความรว่ มมอื ดา้ นการศกึ ษา และการเรียนรตู้ ลอดชีพ ถัดมาใน ด้านสังคม ภายใต้กฎบัตรอาเซียนที่ต้องการเน้นท่ีการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นส�ำคัญ ดังน้ัน สมาชิกจึงมุ่งส่งเสริมในการด�ำเนินกิจกรรมใดๆ ของอาเซียน ต้องยึดหลักประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการสร้างสังคมท่ีปลอดยาเสพติด ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการให้โอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึง การพัฒนาตา่ งๆ สวัสดกิ าร และความยตุ ิธรรมเป็นส�ำคัญ ขณะที่ค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนน้ัน จะเน้นไปท่ีการส่งเสริมการพัฒนาด้านส่ิงแวดล้อมให้เป็นไปอย่างย่ังยืนและ รักษาไว้ซ่ึงทรัพยากรทางธรรมชาติ ด้านวัฒนธรรมจะมุ่งเน้นในการส่งเสริม อตั ลกั ษณข์ องอาเซยี น โดยเคารพความหลากหลายและอนรุ กั ษม์ รดกทางวฒั นธรรม ของประเทศ สดุ ทา้ ย อาเซยี นตา่ งยดึ หลกั คา่ นยิ มดา้ นการเมอื งและความมน่ั คง ท่ีมุ่งส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมประชาธิปไตย ระบบธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม เพื่อจัดการปัญหาความม่ันคงใหม่ท่ีเกิดข้ึน เช่น การกอ่ การร้าย เปน็ ต้น 25

26

ASEAN Plus เพ่อื นมาก หลากหลายประโยชน์ กรอบความรว่ มมอื อาเซียนบวกสาม หรืออาเซียนบวกสาม (ASEAN+3) นอกจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศแล้ว เรายังได้ขยายกรอบ ความร่วมมือไปผนึกก�ำลังกับอีก 3 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉยี งเหนอื ไดแ้ ก่ จนี ญป่ี นุ่ และเกาหลใี ต้ ภายใตก้ รอบความรว่ มมอื อาเซียนบวกสาม หรือ อาเซียนบวกสาม (ASEAN+3) เพ่ือร่วมมือกัน พัฒนาในดา้ นต่างๆ ปัจจัยส�ำคัญท่ีสุดท่ีท�ำให้เราร่วมมือกันได้อย่างดี เป็นผลพวงมาจาก วิกฤตการเงินในภูมิภาคที่ส่งผลให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสามตระหนักถึง ความส�ำคัญในการร่วมมือกัน โดยท้ัง 13 ประเทศเห็นพ้องที่จะให้มีการจัดต้ัง กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามขึ้น ณ กรงุ กวั ลาลมั เปอร์ มาเลเซยี เม่อื เดอื น ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมความร่วมมือในระดับ อนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพ่ือน�ำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเอเชีย ตะวันออก (East Asia Summit: EAS) ซึ่งมีอาเซียนและกระบวนการ ต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเป็นกลไกส�ำคัญในการผลักดันให้ บรรลุเปา้ หมาย ความส�ำเร็จภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามท่ีผ่านมา ได้แก่ การจดั ตัง้ Chiang Mai Initiative Multilateralisation (CMIM) หรือ มาตรการ ริเร่ิมเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี การจัดตั้งส�ำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาค อาเซยี นบวกสาม การจดั ตง้ั หนว่ ยงานคำ�้ ประกนั สนิ เชอื่ และการลงทนุ และการจดั ตง้ั กองทนุ ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม เป็นต้น 27

กหรรออื บอคาเวซาียมนร่วบมวมกหืออกา(เAซSียEนAบNวก+6ห)ก กรอบความร่วมมือท่ีต่อยอดมาจากกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสาม โดยมปี ระเทศอกี 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลยี นิวซแี ลนด์ และอนิ เดียเข้ามา ร่วมมือด้วย เร่ิมข้ึนคร้ังแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน- ญป่ี ่นุ (ASEAN Economic Ministers (AEM) and Minister for Economy, Trade and Industry (METI) of Japan: AEM-METI) และ AEM+3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย เม่ือเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถของกลุ่มในด้านการค้าและการลงทุนให้มีศักยภาพแข่งขัน กับกรอบความร่วมมือในภูมิภาคอื่น เช่น สหภาพยุโรป หรือ อียู และเป็น การเตรียมความพร้อมในการท�ำข้อตกลงเปิดการค้าเสรี พร้อมทั้งผนึกก�ำลัง แต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพ่ือบรรลุผลประโยชน์เชิงความร่วมมือ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองการพัฒนาท่ียั่งยืนต่อไป นอกจากน้ี กรอบความร่วมมืออาเซียนบวกหก ยังมีเป้าหมายใน การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิกเพ่ือเตรียม ความพร้อมในการพัฒนาไปสู่การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ โดยประเทศ สมาชิกต่างเห็นพ้องในการสนับสนุนการขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค การเพ่ิม ประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความช�ำนาญในการผลิตสินค้าของ แต่ละประเทศ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเช่ือมโยงกันระหว่าง ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์ (Logistics) เพื่อให้การรวมกลุ่ม ทางดา้ นเศรษฐกิจระหว่างประเทศแน่นแฟ้นมากขนึ้ 28

นบั ตง้ั แตก่ ารกอ่ ตงั้ จนถงึ ปจั จบุ นั อาเซยี นไดป้ ระสบความสำ� เรจ็ ในการบรรลุ เป้าหมายส�ำคัญหลายประการภายใต้เจตนารมณ์ที่ก�ำหนดไว้ ความส�ำเร็จ ส�ำคัญประการหน่ึง ได้แก่ การช่วยให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หันหน้าเข้าหากัน มีความร่วมมือกันมากขึ้นในฐานะประเทศสมาชิกของอาเซียน จนสามารถพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างได้อย่างต่อเน่ือง และยังขยายกรอบความร่วมมือ ไปยงั ประเทศนอกกลมุ่ อกี ดว้ ย อยา่ งไรกด็ ี แมอ้ าเซยี นจะกา้ วหนา้ มากพอสมควรแลว้ ทว่า หลังจากกลายเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ. 2558 อาเซียนจะต้องเผชิญ กับความท้าทายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประเทศสมาชิกจึงความจ�ำเป็นท่ีจะต้อง ต่ืนตัว และให้ความสนใจ ร่วมกันแลกเปล่ียนความร่วมมือ รวมถงึ แสวงหาหนทาง รบั มอื ต่อความเปล่ียนแปลงดังกลา่ วต่อไป ขณะที่บทบาทของไทยในอาเซียนนั้น มีความโดดเด่นนับตั้งแต่ท่ี เร่ิมก่อต้ังอาเซียนจนถึงปัจจุบันท่ีอาเซียนก�ำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซยี น โดยยอ้ นกลบั ไปใน พ.ศ. 2510 ดร.ถนดั คอมนั ตร์ รฐั มนตรวี า่ การกระทรวง การต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้เป็นผู้น�ำในการเชิญชวนให้รัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี และน�ำไปสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ เพื่อจัดต้ังอาเซียน ต่อมาไทยยังเป็นแกนน�ำร่วมมือกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกดั้งเดิม ในการแก้ไขปัญหากัมพูชา และปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีน ช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมภิ าคเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต ้ 29

30

จากนนั้ ใน พ.ศ. 2535 นายอานนั ท์ ปนั ยารชนุ นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ได้มีบทบาทส�ำคัญ ในการผลักดันให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ อาเซียนมีความคืบหน้า โดยริเริ่มให้มีการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ซ่ึงเป็นจุดเริ่มต้นส�ำคัญของ การจัดต้ังประชาคมอาเซียนในปัจจุบันท่ีเร่ิมพัฒนาจาก เสาด้านเศรษฐกิจ ก่อนที่จะขยายไปถึงเสาอ่ืนๆ ในอนาคต ไม่เพียงเท่าน้ัน กฎบัตรอาเซียน ซ่ึงเป็น การวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร ของอาเซียน ยังมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ. 2551 อันเป็น ช่วงเวลาเดียวกับท่ีไทยได้เข้าด�ำรงต�ำแหน่งประธาน อาเซยี นด้วย ต่อมา ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัด การประชุมสุดยอดอาเซียน คร้ังที่ 14 เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งในท่ีประชุมได้มีการรับรอง ปฏญิ ญาชะอ�ำ-หวั หิน ว่าด้วยแผนงานสำ� หรับการจัดตงั้ ประชาคมอาเซียนท้ัง 3 เสาหลัก เพ่ือด�ำเนินการ ให้บรรลุเป้าหมายของการจัดต้ังประชาคมอาเซียน ภายใน พ.ศ. 2558 ไมเ่ พียงเทา่ นน้ั ไทยยังเปน็ ประเทศทมี่ บี ทบาท ส� ำ คั ญ ใ น ก า ร ผ ลั ก ดั น ใ ห ้ เ กิ ด กิ จ ก ร ร ม แ ล ะ ข ย า ย ความร่วมมือไปในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุม รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซยี นกับประเทศคู่เจรจาในเอเชีย ตะวันออก การจัดต้ังคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจ�ำ อาเซยี น ณ กรงุ จาการต์ า ประเทศอนิ โดนเี ซยี คณะมนตรี ประสานงานอาเซียน และคณะมนตรีประจ�ำประชาคม อาเซียนท้ัง 3 เสาหลัก การเปิดโอกาสให้ประชาชน และภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคม อาเซียน การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และการจัดตั้ง คณะกรรมการประสานงานด้านการเช่ือมโยงอาเซียน (ASEAN Connectivity Coordinating Committee: ACCC) เป็นต้น 31

MAP APEC Canada United States Mexico Peru Chile 32

Russia ASEAN Japan Australia South Korea China New Zealand 33

APEC ผเอสเชมียผ-สแาปนซิฟกิ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) หรอื ทรี่ จู้ กั กนั ในชอื่ เอเปค เปน็ ความรว่ มมอื ท่ีเน้นในการส่งเสริมการขยายตัวด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก เริ่มขึ้นเม่ือ พ.ศ. 2532 โดยผ้นู �ำของออสเตรเลียในขณะน้นั คอื นายบอ๊ บ โฮค มองวา่ การเจรจาการค้าโลก รอบอุรุกวัยมีแนวโน้มท่ีจะล้มเหลว กอปรกับการปกป้องทางการค้าที่อยู่ในรูปของ การรวมกลมุ่ ทางเศรษฐกจิ ในภมู ภิ าคตา่ งๆ เชน่ อยี ู อาเซยี น และขอ้ ตกลงการคา้ เสรี อเมริกาเหนือ หรอื นาฟตา (North American Free Trade Agreement: NAFTA) กม็ เี พมิ่ สงู ขนึ้ ออสเตรเลยี เองกก็ ลวั ทจี่ ะถกู โดดเดย่ี ว และตกรถไฟสายความรว่ มมอื ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศท่ีก�ำลังร้อนแรงข้ึน จึงได้พยายามท่ีจะผลักดันให้ เกิดความร่วมมือในกรอบเอเปคขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกท่ีมีอัตราการเจริญเติบโตสูงท่ีสุดในโลก ทั้งยังมีแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพในการขยาย การคา้ และการลงทนุ ระหวา่ งกัน ปจั จุบนั เอเปค มีสมาชิกท้งั หมด 21 เขตเศรษฐกจิ หรือแยกเป็น 19 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญ่ีปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เวียดนาม รัสเซีย และเปรู และอีก 2 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ฮ่องกง และไต้หวัน 34

ในระยะแรกเอเปคมีเป้าหมายเพียงแค่เป็นเวทีที่ปรึกษาระหว่างประเทศ สมาชิกในด้านการส่งเสริมและลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ก่อนจะขยาย ความร่วมมือไปครอบคลุมในด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมไปถึงการถ่ายทอดความรู้ทาง เทคโนโลยี การศึกษา และวัฒนธรรมระหว่างกัน จากการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ ของประเทศสมาชิก ท้ังในระดับคณะท�ำงาน เจ้าหน้าท่ีอาวุโส รัฐมนตรี และผู้น�ำ จนพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันอย่างถาวรในท้ายที่สุด นับต้ังแต่การลงนามปฏิญญา กรุงโซล (APEC Seoul Declaration)1 พ.ศ. 2534 ซึ่งถือเป็นกฎแม่บทของ เอเปค จนต่อมา พ.ศ. 2535 ท่ีประชุมประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เพ่ือจัดตั้งส�ำนักงานเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้น ท่ีสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญของการก้าวไปสู่การเป็นองค์การระหว่าง ประเทศของเอเปค ความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปคมุ่งเน้นในเร่ืองการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยสมาชิกต่างเห็นพ้องในหลักการเบื้องต้นที่ต้องการ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ เพ่ือให้ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด�ำรงไว้ซ่ึงความเป็นภูมิภาคท่ีมีอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดแห่งหน่ึงในโลก ขณะเดียวกันก็ต้องร่วมมือกันใน การลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทนุ 1 ปฏญิ ญากรุงโซล ได้ระบหุ ลกั การส�ำคญั ของเอเปค ดงั นี้ 1. สง่ เสรมิ ความรว่ มมือเพื่อความเจรญิ เติบโตทางเศรษฐกจิ ในภูมภิ าคและเศรษฐกจิ โลก 2. ส่งเสรมิ ระบบการค้าพหุภาคี 3. ลดอุปสรรคทางการค้า การค้าบริการ และการลงทุนในทางที่สอดคล้องกับหลักการของ ขอ้ ตกลงทวั่ ไปวา่ ดว้ ยภาษศี ลุ กากรและการคา้ หรอื แกตต์ (General Agreement Tariff and Trade: GATT) ท้ังนี้ ขณะน้ันองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ยังไมไ่ ดก้ ่อตงั้ 4. ไม่เป็นการรวมกลุม่ ทางการค้าแบบปดิ (trade bloc) 5. หารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเก่ียวกับสภาวะและแนวทางแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ทัง้ ของสมาชิกและของภูมภิ าค 35

โดยสนับสนุนการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้างเสรีภายใต้ระบบแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT)2 และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)3 รวมท้ังไม่กดี กันทางการค้า และใชเ้ อเปคเปน็ เวทีใน การหารอื และแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ ระหวา่ งประเทศสมาชกิ และประเทศในภมู ภิ าค ทีเ่ กี่ยวข้องกับสภาวะและแนวทางแกไ้ ขปญั หาเศรษฐกจิ ต่างๆ ทเ่ี กิดข้นึ ส�ำหรับบทบาทของไทยในกรอบความร่วมมือเอเปคเป็นไปอย่างเข้มข้น นับตั้งแต่การก่อตั้ง โดยไทยได้รับเกียรติให้เจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค คร้ังท่ี 4 เมื่อ พ.ศ. 2535 ซ่ึงแม้ในขณะน้ันยังเป็นเพียงการประชุมระดับรัฐมนตรี ทว่า ก็ถือเป็นการประชุมคร้ังส�ำคัญในการผลักดันให้เอเปคกลายมาเป็นองค์การระหว่าง ประเทศปัจจุบัน โดยการประชุมในคร้ังน้ันมี นายอาสา สารสิน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยที่เข้าร่วม ประชุม ที่ประชุมได้ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เพ่ือ จัดตั้งส�ำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) เป็นการถาวร ณ สิงคโปร์ เพอ่ื ทำ� หนา้ ทใ่ี นการสนับสนุนการดำ� เนนิ กิจกรรมตา่ งๆ ของเอเปคใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพ ย่ิงขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมในคณะท�ำงานต่างๆ ของเอเปคอย่างสม�่ำเสมอ และได้เสนอโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการ (ECOTECH) เพอ่ื ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากเอเปคอีกดว้ ย 2 ข้อตกลงท่ัวไปเก่ียวกับภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์) ว่าด้วยการก�ำจัดระบบโควต้าและ ภาษีการคา้ ระหวา่ งประเทศสมาชิก ส�ำนกั งานใหญอ่ ย่ทู ี่นครเจนีวา สวติ เซอรแ์ ลนด์ มีสมาชกิ จ�ำนวน 100 ประเทศ ซึง่ ไทยเปน็ ประเทศสมาชกิ ล�ำดับท่ี 88 3 เป็นองค์การระหว่างประเทศท่ีมีพัฒนาการมาจากแกตต์ มุ่งให้ประเทศสมาชิกลดอุปสรรค และหามาตรการลดการกีดกันทางการค้าต่อกันเพ่ือให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ ภายใต้ กฎเกณฑ์ที่เป็นธรรม โปร่งใส เปิดกว้างไปสู่การค้าเสรีต่อกัน ก่อตั้งเมื่อวันท่ี 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำ� นกั งานตงั้ อยู่ ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกเรมิ่ แรก 81 ประเทศ ซ่ึงไทยเปน็ ประเทศสมาชิกลำ� ดบั ท่ี 59 36

ในวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย หรือช่วงวิกฤตต้มย�ำกุ้ง พ.ศ. 2540 ไทยมี บทบาทน�ำในการรณรงค์ให้มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวระหว่างการประชุม เอเปค เพ่ือแสดงให้เห็นว่าเอเปคเป็นองค์การความร่วมมือท่ีมีบทบาทส�ำคัญต่อ เศรษฐกิจและสามารถตอบสนองต่อปัญหาระดับภูมิภาคได้อย่างทันท่วงที ผลจาก การประชุมดังกล่าวสามารถส่ือสารให้ประชาชนได้ทราบถึงความมุ่งม่ันร่วมกัน ระหว่างสมาชิกในการแก้ไขปัญหาและสร้างความม่ันใจให้แก่ภาคธุรกิจได้ ในระดบั หนง่ึ และเม่ือไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคระดับผู้น�ำ ใน พ.ศ. 2546 ก็ได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน ท้ังด้าน สารัตถะและพิธีการ ในโอกาสน้ันไทยยังได้เสนอให้เอเปคให้ความส�ำคัญกับ ประเด็นความร่วมมือด้านสาธารณสุข เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก น�ำไปสู่การจัดต้ังกลุ่มท�ำงานด้านสาธารณสุข (Health Task Force) และต่อมาได้มีบทบาทในด้านสาธารณสุขอ่ืน เช่น โรคเอดส์ดว้ ย ในช่วงวิกฤตการเงินโลกระหว่าง พ.ศ. 2552-2553 ไทยยังได้เสนอแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการแก้ไข และฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกต่อท่ีประชุมผู้น�ำเขตเศรษฐกิจเอเปค คร้ังท่ี 17 ที่สิงคโปร์ ใน พ.ศ. 2552 ซงึ่ ไดร้ บั การตอบรบั อยา่ งดีจากสมาชกิ เอเปค 37

ASEM ความสัมพนั ธ์อันดี เอเชียกบั ยโุ รป หันมาดูความร่วมมือระหว่างฝั่งเอเชียกับมหาอ�ำนาจยุโรปกันบ้าง การประชมุ เอเชีย-ยโุ รป หรือ อาเซม (Asia-Europe Meeting: ASEM) เกดิ ขน้ึ ภายใตแ้ รงกดดนั ของการเปลย่ี นแปลงในบรบิ ททางการเมอื ง เศรษฐกจิ และ สังคมโลกภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น จากข้อเสนอของผู้น�ำสิงคโปร์และฝร่ังเศส 38

ท่ีต้องการให้อาเซมเป็นเวทีท่ีเปิดโอกาสให้ผู้น�ำจากสองภูมิภาคได้พบปะหารือ และ กระชับความสัมพันธ์ระหว่างชาติสมาชิกให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เพื่อขยายความร่วมมือ และเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน ท้ังน้ี อาเซมได้ถือก�ำเนิดอย่างเป็นทางการ คร้ังแรกในประเทศไทย ในการประชุมสุดยอดอาเซม คร้ังท่ี 1 ซึ่งจัดข้ึนท่ี กรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2539 ปจั จุบันอาเซมมีสมาชกิ ทง้ั หมด 49 ประเทศ และ 2 องค์การ4 ประกอบดว้ ย กลมุ่ ประเทศสมาชกิ อียู 27 ประเทศ กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุม่ เอเชียตะวันออกเฉยี งเหนอื และเอเชยี ใต้ 6 ประเทศ สมาชิกใหม่ จากการประชมุ ผู้นำ� อาเซม ครงั้ ท่ี 8 อกี 3 ประเทศ และสมาชิกใหมจ่ ากการประชุม ผู้น�ำอาเซม ครั้งท่ี 9 อีก 3 ประเทศ และองค์การระดับภูมิภาค 2 องค์การ ไดแ้ ก่ คณะกรรมาธิการยุโรป และส�ำนกั เลขาธกิ ารอาเซียน 4 ได้แก่ ฝร่ังเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก อังกฤษ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส ออสเตรีย สวเี ดน ฟินแลนด์ สาธารณรฐั เชก็ เอสโตเนยี ฮงั การี ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ สโลวะเกีย ไซปรัส มอลตา โรมาเนีย สโลวีเนีย และบัลแกเรีย ประเทศสมาชกิ อาเซยี น 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน พมา่ กัมพูชา อนิ โดนเี ซีย ฟิลปิ ปนิ ส์ มาเลเซยี ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมกับกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียใต้ (Northeast and South Asia–NESA) 6 ประเทศ คือ จนี ญปี่ ่นุ เกาหลใี ต้ มองโกเลีย อนิ เดยี และปากีสถาน ประเทศสมาชิกใหม่จากการประชุมผู้น�ำอาเซียน ครั้งที่ 8 ได้แก่ ออสเตรเลีย รัสเซีย และนิวซีแลนด์ และประเทศสมาชิกใหม่จากการประชุมผู้น�ำอาเซมครั้งที่ 9 ได้แก่ บงั กลาเทศ นอรเ์ วย์ และสวิตเซอร์แลนด์ 39

อย่างที่เกริ่นในช่วงต้น เป้าหมายหลักในการจัดตั้งอาเซมก็เพ่ือเป็นเวที ส�ำหรับผู้น�ำประเทศในเอเชียและยุโรปได้มีโอกาสหารือร่วมกันในประเด็นต่างๆ เพ่ือกระชับความสัมพนั ธ์ ขยายความร่วมมือ และเสรมิ สร้างความเขา้ ใจระหว่างกนั ด้วยเหตุนี้ อาเซมจึงเป็นเวทีส�ำหรับการหารือมากกว่าการเจรจาหาข้อยุติการหารือ โดยประเดน็ ในการหารอื กจ็ ะครอบคลมุ 3 เสาหลกั ซงึ่ คลา้ ยกบั เสาหลกั ของอาเซยี น ท่ีประกอบไปด้วย เสาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มุ่งเน้นในเร่ือง ความรว่ มมอื ทางเศรษฐกจิ การคา้ และการลงทนุ เปน็ สำ� คญั เพอ่ื สง่ เสรมิ และเกอ้ื กลู การค้าเสรีท้ังที่เป็นแบบพหุภาคีและแบบการรวมกลุ่มความร่วมมือตามภูมิภาค เร่งสร้างบรรยากาศการค้าและการลงทุนที่ดีให้เกิดข้ึนในภูมิภาคเอเชีย-ยุโรป ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการด�ำเนินการทางเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งสนับสนุนให้ธุรกิจ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ของท้ังสองภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมและร่วมมือกัน ซึ่งจะน�ำไปสู่การขยายการค้า และการลงทุนระหวา่ งเอเชยี และยโุ รปอย่างเปน็ รปู ธรรมต่อไป ท้ังน้ี การด�ำเนินงานของอาเซมเป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ซ่ึงประกอบ ไปด้วยแผนปฏบิ ตั กิ ารอำ� นวยความสะดวกดา้ นการค้า (Trade Facilitation Action Plan: TFAP) ซ่ึงเป็นกรอบความร่วมมือเพ่ือลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีและ ส่งเสริมโอกาสทางการค้าระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป รวมถึงสนับสนุน การด�ำเนินการในเวทีการเจรจาสองฝ่ายและหลายฝ่าย โดยแผนดังกล่าวน้ีเน้น ความร่วมมือท่ีส�ำคัญ ได้แก่ พิธีการศุลกากร มาตรฐานการทดสอบวิธีการรับรอง มาตรฐานและการรับรองระบบมาตรฐาน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ มาตรฐาน สุขอนามัยมนุษย์ สัตว์ และพืช รวมท้ังการกักกันโรคพืช สิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญา การเดินทางของนักธุรกิจ และกิจกรรมทางการค้าอ่ืนๆ ที่เอื้อต่อ การเปดิ ตลาด ถดั มาคอื แผนปฏบิ ตั กิ ารสง่ เสรมิ การลงทนุ (Investment Promotion Action Plan: IPAP) ซง่ึ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลกั ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุน 40

และนโยบายและกฎระเบียบด้านการลงทุนที่มุ่งเน้นกิจกรรมการหารือในระดับสูง เกี่ยวกับประเด็นส�ำคัญด้านการลงทุนเป็นหลัก และแผนปฏิบัติการสุดท้าย คือ แผนดา้ นความรว่ มมอื ดา้ นวิทยาศาสตร์ สิง่ แวดล้อม การเงนิ การคลัง และสงั คม ทเี่ อ้ือประโยชน์ต่อความเจรญิ ทางเศรษฐกจิ เชน่ การจัดตง้ั กองทุน ASEM Trust Fund ข้ึนภายใต้ธนาคารโลก การจดั ตงั้ กลมุ่ วิสัยทศั นเ์ อเชีย-ยโุ รป (Asia-Europe Vision Group) และการจัดต้ังมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Foundation: ASEF) เป็นตน้ บทบาทของไทยในอาเซมมีความโดดเด่นมากนับตั้งแต่การเร่ิมต้น การจัดต้ังอาเซม โดยการประชุมคร้ังน้ีถือเป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ของ อาเซม เพราะมีผู้น�ำจาก 25 ประเทศสมาชิก และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เข้าร่วมประชุมอย่างคับค่ัง เพ่ือสร้างความคุ้นเคยระหว่างกันและให้มีการหารือ ในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน รวมท้ังยังได้มีการวางแนวทางความร่วมมือ ด้านการเมือง เศรษฐกจิ สังคม และวฒั นธรรมระหว่างกนั ในอนาคตอีกดว้ ย ผลพวงจากท่ีประชุมครั้งแรกน้ี ไทยยังได้รับมอบหมายจากที่ประชุม ให้จัดท�ำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน เพื่อหาแนวทางขยายการลงทุนระหว่าง ท้ังสองภูมิภาค และต่อมาในท่ีประชุมผู้น�ำอาเซม ครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 ก็ไดร้ บั รองแผนปฏบิ ตั กิ ารส่งเสรมิ การลงทนุ ที่ไทยเสนอด้วย นอกจากน้ี ไทยเข้าไปมีบทบาทในความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซม ไม่ว่าจะเป็น ดา้ นวทิ ยาศาสตร์ สง่ิ แวดล้อม การเงินการคลงั และสงั คม เพื่อส่งเสรมิ ความเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจของทั้งสองภูมิภาคที่ส�ำคัญ เช่น การจัดต้ังศูนย์เทคโนโลยี ส่ิงแวดล้อมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Environmental Technology Centre: AEETC) ท่จี ังหวัดปทมุ ธานี เปน็ ตน้ 41

? อาเซียน เหมือน อียู หรอื ไม่ ทั้งอาเซียนและอียู ถือเป็นกรอบความร่วมมือท่ีมีบทบาทโดดเด่นในเวที การเมืองระหว่างประเทศ และย่ิงอาเซียนตั้งเป้าท่ีจะเป็นประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 ดว้ ยแลว้ ยอ่ มหลกี เลยี่ งไมไ่ ดท้ ห่ี ลายคนจะมกี ารเปรยี บเทยี บประชาคม อาเซียนกับประชาคมอียู รวมถึงข้อกังขาถึงความเป็นไปได้แค่ไหนส�ำหรับอาเซียน ในการยึดเอาอียเู ป็นแม่แบบเพอ่ื ก้าวไปสู่การเป็นประชาคมตามทห่ี วังไว้ หากมองลักษณะการรวมกลุ่มของทั้งอาเซียนและอียูอย่างถ้วนถี่แล้ว จะพบว่า แม้ทั้งสองกลุ่มจะเป็นกลุ่มความร่วมมือลักษณะภูมิภาคนิยมมุ่งสร้าง ความร่วมมือท้ังในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมเหมือนกัน ทว่า เป้าหมายแรกเริ่มในการจัดต้ังของกรอบความร่วมมือทั้งสองน้ันกลับมี ความแตกต่างกัน คือแม้จุดประสงค์การร่วมมือกันของอาเซียนจะดูไม่ชัดเจน ในตอนแรก แต่ด้วยบริบททางการเมืองในขณะนั้น ท�ำให้มองได้ว่าแรงจูงใจของ ความร่วมมือในช่วงต้นของอาเซียนมาจากการต่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ ท่กี �ำลงั ขยายตวั เข้ามาในภูมิภาค ก่อนท่จี ะเร่ิมขยายมาส่คู วามรว่ มมือด้านเศรษฐกจิ และอื่นๆ ตามมา ขณะท่ี การจัดต้ังอียูมีเป้าหมายหลักคือพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ของภูมิภาคหลังจากท่ีชาติสมาชิกล้วนต่างบอบช้�ำมาจากพิษของสงครามโลก คร้ังที่ 2 และขยายความรว่ มมือครอบคลุมด้านตา่ งๆ อย่างท่เี หน็ ในปจั จุบัน 42

? นอกจากนี้ โครงสร้างการด�ำเนินงานและตัดสินใจของทั้งสองกลุ่มก็มี ความแตกต่างกัน โดยของอาเซียนยังคงยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของประเทศสมาชิกและการด�ำเนินงานใดๆ จะต้องเป็นไปตามฉันทามติของ ประเทศสมาชิก คือต้องมีการเจรจาหารือกันจนกว่าประเทศสมาชิกท้ังหมด จะเห็นพ้องร่วมกันจึงจะสามารถด�ำเนินการได้ ตรงกันข้ามกับอียูที่เป็น กรอบความร่วมมือที่ประเทศสมาชิกได้มอบหมายให้องค์กรกลาง ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป เป็นผู้ก�ำหนดและด�ำเนินนโยบายในบางเร่ือง เช่น เศรษฐกิจ เป็นต้น โดยประเทศสมาชิกจะต้องด�ำเนินการตามคณะกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แม้อาเซียนจะมีอียูเป็นตัวอย่างในการก้าวไปสู่ การเปน็ ประชาคมใน พ.ศ. 2558 ทวา่ ดว้ ยความแตกตา่ งไมว่ า่ จะเปน็ ในดา้ นโครงสรา้ ง หรือความหลากหลายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ท�ำให้หลายฝ่ายเช่ือว่าประชาคมที่ ก�ำลังจะเกิดขึ้นน้ีจะเป็นประชาคมที่มีความแตกต่างจากอียู โดยจะมีการผสมผสาน ความแตกต่างและอัตลักษณ์ความเป็นอาเซียนเข้าไป เพ่ือให้เหมาะสมและ เอ้ือประโยชนส์ ูงสดุ ให้แก่ประชาชนอาเซียนเปน็ สำ� คญั 43

นอกจากนี้ ในส่วนท่ีหลายคนยังมีความกังวลว่า อาเซียนอาจจะต้อง เผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะแบบอียู หากเราก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม อาเซียนอย่างเต็มตัว ขอให้คลายความกังวลลง เพราะวิกฤตในยุโรปน้ันเกิดจาก การบูรณาการเป็นตลาดเดียวโดยใช้เงินสกุลเดียวกันของประเทศท่ีมีฐานะทาง การเงนิ แตกตา่ งกนั มาก ขณะทอี่ าเซยี นนน้ั ยงั ไมม่ แี ผนทจ่ี ะใชเ้ งนิ สกลุ เดยี วกนั ขณะน้ี สิ่งที่อาเซียนก�ำลังด�ำเนินการ คือ ค่อยๆ ก้าวเข้าหากันอย่างช้าๆ เพื่อให้เกิด ความรว่ มมอื กนั อยา่ งคอ่ ยเปน็ คอ่ ยไป ไมใ่ ชก่ ารบรู ณาการเขา้ หากนั อยา่ งกา้ วกระโดด ท่ีส�ำคัญคือ อาเซียนต้องไม่หวังพึ่งตลาดยุโรปและอเมริกาตลอดไป การรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมอาเซียน ซ่ึงมีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็น เสาหลักส�ำคัญ 1 ใน 3 เสาหลัก คือความพยายามอย่างแข็งขันของประเทศ สมาชิกเพื่อสร้างตลาดของตนเอง สร้างเทคโนโลยีการผลิตของตนเอง ตลอดจน มีระบบและเครือข่ายการผลิตและการกระจายสินค้าของตนเอง อันจะเป็น รากฐานส�ำคัญให้อาเซียนมีเศรษฐกิจท่ีม่ันคง สามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง มีการแลกเปลี่ยนสินค้า และมีการลงทุนระหว่างกันมากข้ึน เหล่าน้ีเองท่ีจะเป็น ส่ิงทช่ี ว่ ยรับประกันวา่ อาเซียนจะสามารถยืนหยัดอยบู่ นเวทีโลก โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ในส่วนของเวทกี ารคา้ โลกไดอ้ ยา่ งสงา่ ผา่ เผยต่อไป 44

ความแตกตา่ งระหว่างอาเซยี นและอียู อยี ู อาเซยี น พฒั นาเศรษฐกิจร่วมกัน หลังเกิดวกิ ฤต แรงผลักดนั ตอ่ ตา้ นภัยคกุ คามจาก เศรษฐกิจในชว่ งส้ินสุดสงครามโลก ในการรวมกลุ่ม คอมมวิ นสิ ต์ร่วมกนั ครงั้ ท่ี 2 หลกั การ ยดึ หลกั ฉันทามติ ไมแ่ ทรกแซงกิจการ • องค์กรกลางเปน็ ผกู้ ำ� หนด ดำ� เนนิ งาน ภายในของประเทศสมาชิก และด�ำเนนิ นโยบายในบางเรอื่ ง $ ไม่มนี โยบายใช้ • มนี โยบายรว่ มกนั ดา้ น สกุลเงินเดยี วกัน การตา่ งประเทศและความมั่นคง รวมทัง้ สกุลเงิน กระบวนการยตุ ิธรรมและกจิ การภายใน ใช้เงินสกุลเดยี วกนั คอื ยโู ร (17 ประเทศในอียู) 45

AMED “เอเมด” มาจากตะวันออกกลางหรอื ? การประชมุ กรอบความรว่ มมอื เอเชยี - ตะวนั ออกกลาง หรือ เอเมด (Asia-Middle East Dialogue: AMED) แม้ชื่อจะยังไม่ท่ีเป็นคุ้นหูมากนัก เมอ่ื เปรยี บเทยี บกบั กรอบความรว่ มมอื ทกี่ ลา่ วมากอ่ นหนา้ นี้ แต่เอเมดก็เป็นอีกหนึง่ กรอบความรว่ มมอื ท่ีมองข้ามไม่ได้ โดยเอเมดเป็นกรอบความร่วมมอื ที่เปดิ โอกาสให้ประเทศ ในภมู ภิ าคเอเชียและประเทศในภมู ิภาคตะวันออกกลางได้เข้ามา ใกล้ชิดกันมากขึ้น นายโก๊ะ จ๊ก ตง ผ้นู ำ� ของประเทศสงิ คโปรเ์ ป็นผ้ทู มี่ สี ว่ นสำ� คัญ ในการผลักดันให้มีการจัดต้ังความร่วมมือดังกล่าวระหว่างการเดินทางเยือน ตะวันออกกลางในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน เอเมดมีสมาชิกทั้งหมด 50 ประเทศ ประกอบไปดว้ ย อาเซยี นทงั้ 10 ประเทศ จนี ญปี่ นุ่ เกาหลใี ต้ มลั ดฟี ส์ 46

อนิ เดีย บงั กลาเทศ ภูฏาน เนปาล ปากีสถาน ศรลี งั กา คาซัคสถาน อฟั กานสิ ถาน ครี ์กีซสถาน เตริ ก์ เมนสิ ถาน ทาจกิ ิสถาน ตุรกี อุซเบกิสถาน คูเวต ซาอดุ อิ าระเบยี บาห์เรน โซมาเลยี เลบานอน ซดู าน ซีเรยี อียิปต์ สหรฐั อาหรบั เอมิเรตส์ โอมาน เยเมน จอร์แดน กาตาร์ แอลจเี รยี ลเิ บีย โมรอ็ กโก มอรเิ ตเนยี ปาเลสไตน์ ตนู เิ ซยี อิหร่าน อริ ัก คอโมรอส และจบิ ูตี วัตถุประสงค์หลักของการจัดต้ังเอเมด เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างสองภูมิภาคให้มีความเข้มแข็งท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทาง การเมอื งและเศรษฐกจิ ของโลกในปจั จบุ นั และสนบั สนนุ ใหเ้ กดิ ความรว่ มมอื ในหลากหลายมติ ิ ทงั้ ดา้ นเศรษฐกจิ สงั คม วฒั นธรรม ศาสนา และการเมอื ง เพื่อแสวงหามิตรภาพทางการเมืองและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือในระดับต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนเป็นการสร้างช่องทาง ในการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายด้วยสันติวิธี เพอ่ื สรา้ งความเขา้ ใจระหวา่ งกลมุ่ ความเชื่อทแ่ี ตกตา่ งกนั การด�ำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือเอเมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความเข้าใจและการบรรลุผลประโยชน์ร่วมระหว่างท้ังสอง ภูมิภาคเป็นส�ำคัญ ดังน้ัน การด�ำเนินงานของกลุ่มจึงยึดหลัก ความสมัครใจของประเทศสมาชิก และมีลักษณะท่ีมีความยืดหยุ่นสูงและไม่เป็น ทางการ แต่ยังคงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากน้ี เอเมดยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกและเคารพใน ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่า เอเมดเป็นเวทีที่มุ่ง การหารือและแสวงหาการเสนอแนะแนวนโยบายที่ส�ำคัญ โดยการตัดสินใจเพื่อ ดำ� เนินงานต่างๆ จะยึดหลกั ฉันทามติ (Consensus) ระหวา่ งประเทศสมาชิก 47

นอกจากน้ี เอเมดยังเกิดขึ้นเพื่อต้องการจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ทกุ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างภาครัฐ ซ่ึงเปน็ ผ้รู เิ ริ่มนโยบาย กับภาคเอกชน เช่น นักธุรกิจ นักวิชาการ และภาคประชาสังคม หรือผู้มีส่วนได้เสียต่อนโยบาย โดย เปดิ โอกาสใหท้ กุ ฝา่ ยสามารถแสดงความคดิ เหน็ ในแงม่ มุ อนื่ ๆ เพอื่ ใหเ้ กดิ ขอ้ เสนอแนะ เชงิ นโยบายดา้ นต่างๆ เพอ่ื เปน็ เวทรี ับฟงั ความคิดเห็นและการยอมรบั ซงึ่ กันและกัน ส�ำหรับบทบาทของไทยในเอเมดนั้น ไทยได้เข้าร่วมกับเอเมดต้ังแต่ เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดยมีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน ท่ีเกี่ยวข้องกับความร่วมมือเอเมดในภาพรวม อีกท้ังไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในคณะท�ำงานที่จัดตั้งข้ึนตามมิติความร่วมมือท้ัง 3 มิติ ได้แก่ ความร่วมมือด้าน การเมืองและความม่ันคง โดยกลุ่มงานความม่ันคงระหว่างประเทศ กระทรวง การตา่ งประเทศเปน็ หน่วยงานดำ� เนินการหลัก ดา้ นเศรษฐกจิ ซึ่งมีไทยเปน็ ประธาน ร่วมกับอียิปต์นั้น มีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็น หน่วยงานที่ด�ำเนินการ และในด้านสังคม การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ส่ิงแวดล้อม และส่ือมวลชน มีกรมสารนิเทศ และส�ำนักงานความร่วมมือเพื่อ การพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานท่ี ดำ� เนนิ การ 48


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook