40 รปู ท่ี 25 ผลิตภัณฑ์นำ้ พรกิ กุ้งแห้ง ภายใตส้ ัญลกั ษณ์ “ใหญล่ งเล” ทีม่ า: คณะทำงานตำบลคลองใหญ่ (2564) “เพราะมมุ มองคนในกบั คนนอกแตกต่างกันซ่ึงอาจารย์ท่ีทรงคุณวุฒิอาจจะมองว่ามันยังขาดในส่วนไหน ไป ซึ่งชุมชนกพ็ รอ้ มทจี่ ะปรบั และพฒั นา” คณะทำงานโครงการ U2T (สมั ภาษณ,์ 6 มกราคม 2565) กิจกรรมที่ 3: การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการบริหารจัดการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมและการส่งเสริม การตลาดอย่างสร้างสรรค์ เป็นที่ตั้งอยู่บนคำถามของชุมชนว่า “การพัฒนาระบบการจัดการกลุ่ม ทั้งการทำ การตลาด การคำนวณต้นทุน การบริหารจัดการกลุ่ม การสร้างเรื่องราวให้สินค้า รวมถึงการขายในรูปแบบ ออนไลน์จะต้องมีการจัดการอย่างไร” โดยผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม คือ เกิดการการบริหารจัดการกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์และกลุ่มการท่องเที่ยว มีแนวทางในการจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบมากข้ึน เนื่องจากมีการจัดให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนธรุ กิจและการทำบัญชีต้นทุน รวมถึงการเพิ่มช่องทางใน การขายผลิตภณั ฑ์ที่นอกเหนอื จากรูปแบบหน้ารา้ น มาสู่พ้ืนที่การขายแบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาด ลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนา 2019 ที่ทำให้รูปแบบการขายแบบหน้า ร้านหรอื ธุรกจิ ท่ีอยู่ในรปู แบบดั้งเดิม (Traditional) เกิดการเขย่าทางธุรกิจ ดว้ ยสาเหตุว่านักทอ่ งเทยี่ วหรอื ผู้ซื้อ ไม่ สามารถเขา้ ถงึ หน้ารา้ นได้ ทำให้สนิ ค้าไม่ได้รับความนิยม ซง่ึ วิกฤตโคโรนา 2019 น้กี ลบั ทำให้ธุรกิจแบบพาณิชย์ อเิ ลก็ ทรอนิกส์ (E-Commerce) ไดร้ ับความนิยมมากขึน้ ดังนัน้ ชอ่ งทางการขายแบบท่ีเรียกกนั โดยทั่วไปว่า “ขาย ออนไลน์” จงึ ไม่ใช่เพียงแคท่ างเลอื ก แตถ่ อื เปน็ ทางรอดของกลมุ่ วิสาหกิจชุมชนในสถานการณว์ กิ ฤตโคโรนา 2019
41 รปู ท่ี 26 การอบรมเชงิ ปฏบิ ัติการการพัฒนาศักยภาพดา้ นการเป็นผูป้ ระกอบการธุรกจิ ชมุ ชน ในการขายออนไลน์ และการขายออนไซตผ์ า่ นช่องทางการตลาดทีห่ ลากหลาย ในชมุ ชนบา้ นตาหนกึ (ซา้ ย) และชมุ ชนคลองจาก (ขวา) ที่มา: U2T ต.คลองใหญ่ จงั หวัดตราด, [เฟซบ๊กุ รปู ภาพอัพเดท] (เข้าถงึ เมอื่ 10 มกราคม 2565) กิจกรรมที่ 4: การพัฒนาและเสริมศกั ยภาพชมุ ชนเพ่อื จัดการทรัพยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดล้อมแบบมี ส่วนร่วม เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยต้องการแผนและ แนวทางในการพัฒนาและการจัดการทรัพยากร กล่าวคอื ผลิตภณั ฑ์แปรรปู ของตำบลคลองใหญ่ท้งั หมดจะตอ้ งใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น การทำน้ำเคยไข่ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วเคยจะมี 1 ปี ต่อ 1 ครั้ง ทำให้เกิด คำถามตอ่ การดำเนินกิจกรรมว่า “ชุมชนจะมีกระบวนการในการจดั การทรัพยากรอย่างไร” การตั้งคำถามเช่นนี้ เกิดจากการวางแผนถึงอนาคต ว่าหากการท่องเที่ยวในตำบลคลองใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขน้ึ หรือผลติ ภัณฑเ์ ป็นทตี่ ้องการของตลาดมากขน้ึ จะจัดการอยา่ งไรให้สามารถทำเคยไขไ่ ดต้ ลอดทัง้ ปี ประการต่อมา คือ “เมอื่ แปรรปู แล้ว สง่ิ ต่าง ๆ ที่เกิดจากการแปรรปู นน้ั กอ่ ให้เกิดปัญหากับชมุ ชนหรือไม่” การดำเนินกิจกรรมจงึ เริ่มจากการเชิญอาจารยท์ ีม่ คี วามเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินศักยภาพ และความ เสี่ยงในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน หลังจากนั้นได้ทำแผนขึ้นมาเป็นแนวทางของแต่ละชุมชน และนำแผนส่งไปต่อยงั องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่ เพื่อให้ได้เห็นว่าที่ผ่านมานั้นเกิดผล ลัพธอ์ ย่างไร โดยเป้าหมายในระยะที่ 2 (phase 2) คณะทำงานมองว่าต้องจัดการกับประเด็นคำถามเหล่านี้ต่อใน ประเด็นเกีย่ วกับการจัดการขยะในชมุ ชน การสรา้ งมลู คา่ เพิ่มจากขยะในชุมชน และการพฒั นาตน้ แบบการจดั การ ขยะชมุ ชน เพอ่ื เป็นแหล่งเรยี นรู้ชมุ ชน โดยเล็งเหน็ ว่าชุมชนมีผลิตภณั ฑ์และการทอ่ งเทยี่ ว แต่ก็ไม่ควรละท้ิงเรื่อง สิง่ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติซ่ึงเป็นทุนที่สำคัญในการขับเคลอ่ื นความยง่ั ยืนของชุมชน ในระยะนี้ได้มีการ วางแผนและคิดวิธีการแกไ้ ขปัญหา เชน่ บ้านคลองจาก ตำบลคลองใหญ่ ทำผลิตภัณฑจ์ ากกัง้ และมเี ปลือกกั้งท่ีมี สารไคโตซานและแคลเซียม และไมจ่ ำเป็นจะต้องถกู แปรสภาพหมกั เป็นป๋ยุ เท่าน้ัน การศกึ ษาในประเดน็ น้ีอาจเกิด ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยนำเปลือกกัง้ ไปบด เพื่อทำเป็นผงปรงุ รส นอกจากไดล้ ู่ทางในการจัดการขยะ ยังสามารถเกิด เปน็ รายไดใ้ ห้กบั ชุมชนตามมา
42 ผลสำเร็จท่ีเกดิ ข้นึ จากโครงการ 1) ผลผลิตตามความคาดหวังของโครงการ และผลการขับเคลื่อนกิจกรรม ที่ดำเนินการโดยวิทยาลัย ชมุ ชนตราดในพ้นื ท่ีตำบลคลองใหญ่ ดงั น้ี (1) สามารถพัฒนาตำบลคลองใหญไ่ ปสู่ความยั่งยืนได้ โดยดึงศักยภาพและขีดความสามารถของ ชุมชนผ่านวิธีการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน และยกระดับการท่องเที่ยว รวมถึงการวางแผนให้ เกดิ เศรษฐกจิ หมนุ เวยี นภายในชุมชน (2) เกิดการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ และผ่าน หลักสูตรการพัฒนาทักษะ 4 ด้าน ของกลุ่มผู้ถูกจ้างงาน ประกอบด้วย ความสามารถทาง ภาษาอังกฤษ (English Competency) ความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) วิศวกรสังคม (Social Literacy) และความรู้ดา้ นการเงิน (Financial Literacy) 2) ผลการเปลย่ี นแปลงทเ่ี กดิ ขึน้ ตอ่ กลมุ่ เปา้ หมาย กลมุ่ เปา้ หมายของการดำเนินกิจกรรมในพื้นท่ีตำบล คลองใหญ่ นำโดยวิทยาลัยชุมชนตราด คือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” ดังนั้นผลการเปลี่ยนแปลงท่ี เกิดขนึ้ จากการดำเนนิ กจิ กรรมในตำบลคลองใหญ่ เกิดจากการขับเคล่ือนกจิ กรรมกับกลุ่มเป้าหมาย คือ การจัดการวิสาหกิจชุมชนโดยให้บริการองค์ความรู้แก่ชุมชน ช่วยให้ชุมชนมีสมรรถนะในการ จัดการตัวเองที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ การช่วยให้วิสาหกิจชุมชนสามารถ เข้าใจแนวทางบริหารและการจัดการกลมุ่ ได้อยา่ งเป็นระบบ การเพ่ิมช่องทางในการยกระดับรายได้ ของคนในชุมชนด้วยรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยโปรแกรมตา่ ง ๆ ที่ถูกจัดขึ้นโดยชุมชน นอกจากนนั้ ยังมีความพยายามในการจดั การกับทรัพยากรธรรมชาติให้เกดิ ความยั่งยืน 3) ผลการเปลี่ยนแปลงที่มีร่องรอยว่าจะเกิดขึ้นในระยะยาว การดำเนินกิจกรรมของวิทยาลัยชุมชน ตราด พื้นที่ตำบลคลองใหญ่ จากการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สามารถอธิบาย แนวโน้มที่จะเกิดความยัง่ ยืนในพื้นที่ได้ว่า ด้วยบริบทของวิทยาลัยชุมชนตราด ซึ่งมีกระบวนทัศน์ท่ี มุ่งเน้นในการทำงานร่วมกับชุมชน ส่งผลให้มคี วามตั้งใจที่จะดำเนินโครงการต่อ โดยคณะทำงาน โครงการ U2T ได้เสนอมมุ มองตอ่ กระบวนทศั นด์ า้ นการพฒั นาชุมชนว่า ในระยะเวลาเพียง 1 ปี ไม่ สามารถที่จะใช้คำว่า “ยั่งยืน” ได้ เพราะหากมุ่งปรารถนาจะให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน มีความ จำเป็นทีจ่ ะตอ้ งดำเนินการต่ออย่างนอ้ ย 3-5 ปี นอกจากน้นั ยังชีใ้ ห้เห็นว่า การดำเนินกิจกรรมตาม โครงการในระยะเวลา 1 ปี เป็นเพียงบันไดก้าวแรก ดังนั้นสิ่งที่รับประกันว่าวิทยาลัยชุมชนตราด สามารถสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ได้ คือการมีหลักสูตรที่เอื้อในการทำงานกับชุมชน กล่าวคือ กระบวนการทำงานของวิทยาลัยชุมชนตราดสามารถถอดออกมาเป็นรายวิชาได้ทั้งหมด เช่น เรื่อง การแปรรปู ในปจั จุบันมนี ักศึกษาสาขาเกษตรและการแปรรูป ซง่ึ เป็นนกั ศกึ ษาทจ่ี ะเรยี นเกี่ยวกับการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการแปรรปู ซง่ึ กระบวนการเรยี นรขู้ องนกั ศกึ ษาจะมี “ชุมชน” ที่เป็นท้ังครู เปน็ ทั้งผู้เรียนไปพร้อมกัน ในบางเรื่องวิทยาลัยชุมชนตราดยังมีความจำเป็นที่จะใช้ชุมชนเป็นผู้สอน ยกตวั อยา่ งเช่น วิสาหกจิ ชมุ ชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านตาหนึก ซึ่งปัจจุบนั ได้เปน็ ศนู ย์การเรียนรู้การ แปรรูปอาหารทะเลให้วทิ ยาลัยชมุ ชนตราด นอกจากนั้นยังเป็นครูให้กับโรงเรยี นในเครอื ข่าย เป็นพี่ เลี้ยงของนกั ศกึ ษาจากวิทยาลัยชุมชนตราดอีกด้วย ต่อมาในวิชาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่นักศึกษา
43 ต้องเรยี นรู้กับชุมชน ซึ่งชุมชนมโี อกาสที่จะเป็นครู ซึ่งชุมชนต้องถ่ายทอดองค์ความรูข้ องชุมชนเอง หรือความรู้ที่ได้รบั จากที่อื่น ๆ รวมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้สะสมมา ให้กับนักศึกษาวิทยาลยั ชมุ ชนตราด รวมถงึ ในวชิ าการจัดการท่องเท่ยี วชมุ ชน สาขาวชิ าการทอ่ งเทย่ี ว ไดม้ ีการเรยี นร้ใู นเร่อื ง ของการจดั การท่องเทยี่ วโดยชมุ ชน ดงั นั้นนักศกึ ษาจะได้ลงไปเรียนรวู้ ่า หากตอ้ งการบริหารจัดการ การทอ่ งเที่ยวโดยชุมชนทั้งระบบ หากตอ้ งการส่ือความหมายตา่ ง ๆ ชุมชนนนั้ มีการจัดการอย่างไร รวมไปถึงการเก็บข้อมูลชุมชน โดยมีการเรียนเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลชุมชน และเครื่องมือศึกษา ชมุ ชน 7 ช้ิน ทางมานษุ ยวิทยา หรือแม้แตก่ ารทำโปรเจ็คในการพัฒนา เชน่ รายวิชาจังหวัดศึกษา ตอ้ งเรียนเก่ียวกบั ปัญหาของชุมชนและนำเอาปัญหาชุมชนออกมาให้เกิดเป็นโครงการในการพัฒนา ดังนั้น ไม่ว่าวิทยาลัยชุมชนจะดำเนินโครงการ U2T ต่อไปหรือไม่ แต่การมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการ ทำงานร่วมกับชุมชน ทำให้วิทยาลัยชุมชนตราดยังมีโอกาสในการขับเคลื่อนต่อในโครงการอื่น ๆ โดยผ่านเรยี นรแู้ ละช่วยชมุ ชน เชน่ รายวิชาฝึกประสบการณ์ ทีม่ ุ่งช่วยแกไ้ ขปัญหา หลักสูตรเหล่านี้ ถอื เป็นตวั เชอ่ื มต่อให้วิทยาลยั ชุมชนตราดได้มีโอกาสในการทำงานกบั ชมุ ชนตอ่ ไป แล้วพฒั นาสง่ิ ตา่ ง ๆ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดให้กับชุมชน และสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนนอกเหนือจาก หลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนตราด อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้นำเนินการต่อได้ในระยะยาว คือ การ กำหนดแผนงานการทำงานจากความต้องการของชุมชนที่สอดรับกับแผนพัฒนาตำบล และแผน ยุทธศาสตร์จงั หวัดตราด การบริหารจดั การโครงการ เทคนิควิธีการบริหารจัดการที่ทำให้การขับเคลื่อนโครงการประสบความสำเร็จ การบริหารในเชิงระบบ วิทยาลัยชุมชมทั้ง 20 แห่ง จะขึ้นอยู่กับสถาบันวิทยาลัยชุมชน การดำเนินโครงการจึงมีสถาบันวิทยาลัยชุมชน คอยกำกบั ติดตามอยตู่ ลอดเวลา กลไกในการขบั เคลอื่ นท่สี ำคัญ คอื การถูกกำหนดโดยส่วนกลางและให้วิทยาลัย ชุมชนดำเนนิ การ โดยสถาบนั วิทยาลยั ชมุ ชนจะให้ความสำคญั กบั การกำกบั ติดตามการทำงานของวิทยาลัยชุมชน ในแต่ละแห่ง เพื่อที่สามารถนำภาพรวมการดำเนินงานไปเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ได้ ดังนั้นเวลาทำงานจะมีเครือข่ายติดตามออนไลน์ คือ แอพพลเิ คชั่นไลน์ (LINE) ของสถาบันวิทยาลยั ชมุ ชน และมีวทิ ยาลยั ชุมชน 20 แห่งทว่ั ประเทศ ท่ตี ิดตอ่ สื่อสารกัน ตลอดเวลา ดังนั้นเวลาที่ได้มีการติดต่อสื่อสารจึงมีความรวดเร็ว มีการส่งผ่านงาน กำกับติดตาม และให้การ สนับสนุนอย่างใกล้ชิด ด้วยการบริหารงานเชงิ ระบบเช่นนี้จึงทำใหก้ ารดำเนินกิจกรรมมกั ไมค่ ่อยเจอปญั หา ต่อมาเมื่อวิทยาลัยชุมชน ได้พื้นที่รับผิดชอบโดยแบ่งเป็นวิทยาลัยชุมชนละ 3 ตำบล ซึ่งวิทยาลัยชุมชน ตราด ได้พื้นที่ตำบลคลองใหญ่ ตำบลทุ่งนนทรี และตำบลห้วงน้ำขาว และใน 3 ตำบล จะถูกนำมาแบ่งกลุ่ม โดยนำบุคลากรในวิทยาลัยชุมชนตราดประมาณ 40 คน ซึ่งทุกคนจะมพี ื้นท่ีรบั ผิดชอบคนละ 1 ตำบล โดยจะมี (Project Base Manager: PBM) เป็นบุคคลหลักในการดแู ลหรือเรียกว่าหวั หน้าประจำตำบล (จะแบ่งเป็นหลาย ส่วนตั้งแต่ตัวสถาบันฯ และวิทยาลัยฯ ก็จะต้องมี PBM ด้วยเช่นกัน) เช่น ตำบลคลองใหญ่ รับผิดชอบโดย อาจารย์ ดร.สดุ ารัตน์ ตณั ฑะอารยิ ะ เป็นตน้ แตถ่ งึ แม้ว่าแต่ละคนจะมที ีมงานทช่ี ว่ ยกันรับผดิ ชอบในตำบลน้ัน ๆ แต่การสื่อสารจะผ่านไลน์กลุ่ม จะมีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่แต่ละตำบลจะรับรู้ เรื่องราวของกันและกนั เป็นการเรียนรูร้ ่วมกนั และทุกคนจะเป็นสมาชิกของกลุ่มไลน์สถาบันวิทยาลัยชมุ ชนด้วย
44 ดัง้ นัน้ กลไกการทำงานก็จะเปน็ ในรูปแบบท่เี ชอ่ื มโยงกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเรยี นรู้ร่วมกัน ติดตามผลร่วมกัน ถอดบทเรียนรว่ มกัน หรือแมแ้ ต่กระทงั่ แกไ้ ขปญั หาร่วมกนั สง่ ผลใหก้ ารทำงานของสถาบันวทิ ยาลยั ชมุ ชนค่อนข้าง จะสมบรู ณ์ และเกดิ ขอ้ ผดิ พลาดน้อย รปู แบบการประสานงาน ในส่วนของรปู แบบการประสานงานระหว่างมหาวทิ ยาลยั กับชมุ ชน หรือภาคีอืน่ สถาบันวิทยาลัยชุมชน ได้มโี อกาสทำงานร่วมกับชมุ ชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกยี่ วขอ้ งในพืน้ ที่กอ่ นทจ่ี ะเกดิ โครงการ แตร่ ูปแบบในการ ประสานงานทกุ ครั้งจะต้องแจง้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ ทราบถงึ กิจกรรมท่ีจะดำเนนิ การกับชมุ ชนเสมอ สำหรับการประสานงานระหวา่ งมหาวิทยาลยั เครอื ข่ายภมู ิภาค และ อว.สว่ นหนา้ วิทยาลัยชุมชนตราด ได้พบประเด็นเร่ืองความล่าช้าของขอ้ มูลและเอกสาร กล่าวได้วา่ เวลาท่มี ีการประชุมของ สป.อว. จะมีการปล่อย งานเพื่อท่จี ะให้ดำเนินการตอ่ อย่างรวดเร็ว อาจมไิ ดม้ ีเป็นลายลักษณ์อักษรแตจ่ ะเป็นคำพูดในการประชุม ซ่ึงการ ส่อื สารจากบนสู่ล่างนั้นเต็มไปด้วยระยะทางของข้อมูล จึงมีข้อเสนอประการแรกใหส้ ง่ ต่อขอ้ มูลให้เร็วข้ึน เพ่ือลด ปญั หาทจ่ี ะเกดิ ข้ึนตามมา ขอ้ เสนอทสี่ อง คือ เสนอให้มเี ครอื ขา่ ยตดิ ตามในรูปแบบกลมุ่ ไลน์ โดยใช้เครือข่ายเพื่อ สื่อสารกันระหว่างเครือข่ายภูมภิ าคกับวิทยาลัยชุมชนตราด เพื่อช่วยใหง้ านถูกส่งตอ่ กันอย่างรวดเรว็ และเป็นชุด ข้อมูลในลักษณะเดียว แต่กระนัน้ กเ็ ข้าใจภาระหน้าที่ของเครือข่ายภูมิภาคในการทำงาน และข้อเสนอทีส่ าม มา จากการทำงานในระยะแรก (phase 1) เป็นการทำโครงการครง้ั แรก ท่ีมีเรื่องของงบประมาณค่าใช้จ่ายเน่ืองด้วย เป็นเงินกู้เลยทำให้การบริหารงานอาจจะไม่ราบรื่น ด้วยแผนเงินกู้เดิมเป็นค่าใช้จ่ายของเครือข่าย แต่ได้ใช้เงิน เครือข่ายมาให้สถาบันการศึกษาดำเนินการ ประเด็นที่ผา่ นมาสถาบันวิทยาลัยชุมชนได้เล็งเหน็ ข้อจำกัด 2 เรื่อง ดังน้ี 1) วกิ ฤตโคโรนา 2019 ต้องโอนผา่ นเครือขา่ ย เปน็ เรื่องของการใชเ้ งินกู้เพราะการใชเ้ งินกตู้ อ้ งได้รับการ อนุมตั จิ ากครม. ส่งผลให้ อว. ไดป้ รับแผนการใช้เงนิ กู้ที่ให้เครือข่ายดำเนินการ มาให้มหาวิทยาลัย ดำเนินการ ดังนั้นจึงเสนอประเด็นในการดำเนินงานของ อว. ว่าถ้าหากเป็นกิจกรรมที่ให้ มหาวิทยาลัยดำเนนิ การ ถ้าหากไม่ใช้เงินเครอื ข่าย จะส่งผลให้การโอนเงินมันไม่สามารถโอนผ่าน ตรงไปที่มหาวิทยาลัยได้ เพราะกิจกรรมใดก็ตามที่นอกเหนือจากแผนที่อนุมัติจาก ครม. แล้วน้ัน ควรจะมวี ธิ กี ารจัดสรรหรือจ่ายเงนิ มาท่ีจะให้แผนท่ีปรับใหท้ ำงานได้เรว็ ข้ึน 2) เรื่องการเบิกจ่ายกับระบบ PBM โดยเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ หากเป็นส่วนราชการ การทำ Government Fiscal Management Information System (GFMIS) จะมีการยืม-คืน และเวลา รายงานเงินยืมไปแลว้ ไมส่ ามารถเขา้ ไปแก้ไขระบบได้ จึงมีขอ้ เสนอในแก้ไขระบบ PBM ข้อจำกดั ในการบริหารโครงการ สำหรับข้อจำกัดจากการบริหารจัดการโครงการ ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนนิ กิจกรรม การเกิดขึน้ ของวกิ ฤต โคโรนา 2019 สง่ ผลใหต้ ำบลคลองใหญ่ได้เคยถูกประกาศเป็นพื้นทสี่ แี ดงเข้ม เป็นมกี ารระบาดเป็นการกระจุกตัว (Cluster) ภายในวันเดียวจำนวน 300 กว่าคน ทำให้ใหว้ ทิ ยาลยั ชุมชนตราดบริหารจัดการและขับเคลื่อนกิจกรรม ได้ลำบาก แต่กระนั้นก็ช่วยให้ประหยัดเงินงบประมาณ ทำให้งบประมาณคงเหลือเนื่องมาจากการจัดประชุมใน พ้ืนทไ่ี ม่ได้ ทำใหค้ ่าอาหาร คา่ เดินทาง ค่าวทิ ยากร ไมต่ อ้ งเบกิ จ่าย แตก่ ส็ ่งผลกระทบเกีย่ วกับการจดั กิจกรรมการ
45 ทดลองโปรแกรมท่องเท่ียว เนื่องจากในพื้นทีย่ ังไม่เปิดให้คนนอกเข้ามาทั้งหมด ส่งผลให้ในหลายกิจกรรมยงั ไม่ สมบูรณ์ ปัญหาท่เี กิดขึน้ ใช้วธิ ีการแก้ไขโดยส่งโปรแกรมทอ่ งเท่ยี วให้กับผูท้ รงคณุ วฒุ ิให้ช่วยตรวจสอบ เพราะการที่ คาดหวงั ให้นกั ทอ่ งเที่ยวเข้ามาในพนื้ ท่เี พื่อซอื้ ผลิตภณั ฑแ์ ละเข้ามาท่องเที่ยวก็ยังเปน็ ไปไดย้ ากมาก การบรหิ ารจัดการงบประมาณ วิธีการ เทคนิค วิธีที่เอื้อให้การบริหารจัดการงบประมาณได้ดี การบริหารงบประมาณ โดยจะเริ่มจาก นโยบายมีมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2563 และเดือนมกราคม 2564 ได้รับรู้ว่าโครงการจะต้องขับเคลื่อน เม่ือ ทราบพน้ื ท่ตี ำบลในความรบั ผิดชอบแล้ว ประเด็นตอ่ มาคอื การหาผู้ถูกจา้ งงาน ดังนัน้ การหาผู้ถกู จ้างงานก็จะต้อง หาว่าใครเปน็ ผู้รับผิดชอบระดบั ตำบล เพื่อจัดทำเวทีประชาคมทั้ง 3 ตำบล เพื่อที่จะมองเห็นโจทย์เล็กน้อยก่อน การทำงาน ลำดับต่อมาจะพิจารณาเรื่องกลไกการจ้างงาน ประกอบด้วย ประชาชน 5 คน บัณฑิต 10 คน และ นักศึกษา 5 คน ซึ่งเป็นการวางแผนในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ซึ่งการทำงานตรงนี้ยังมิได้ กำหนดเรอื่ งงบประมาณ เพราะในระยะเวลานั้นงบประมาณยังไมถ่ ึงแตไ่ ดต้ รียมจัดหาผู้ถูกจ้างงาน หากกล่าวถึง วิทยาลัยชุมชนตราดเรื่องการจัดสรรงบประมาณถือว่าไม่ประสบปัญหา เนื่องจากประเด็นเรื่องงบประมาณนั้น สถาบนั วิทยาลยั ชมุ ชนจะกระจายอำนาจให้กับวิทยาลัยชุมชนตราด โดยให้เงินงบประมาณในการจัดทำโครงการ ของวิทยาลยั ทำใหส้ ามารถเบิกจ่ายที่วิทยาลัยชุมชนตราด แตเ่ มอ่ื เบิกจ่ายเสรจ็ จะต้องรีบรายงานให้สถาบันทันที โดยเกณฑค์ อื จะต้องแจง้ วนั ทว่ี ทิ ยาลัยฯ ตั้งวันเบิกจ่าย ซึ่งจะทำใหเ้ ป็นไปตามกำหนดตลอดเวลาทำใหไ้ ม่มปี ัญหา อยา่ งไรก็ดี การดำเนินงานก็ยังพบปัญหาอุปสรรค คือ ปญั หาเรอื่ งการขับเคล่ือนงบประมาณ เน่ืองจาก เกิดการระบาดของโคโรนา 2019 ในพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ ส่งผลให้ไมส่ ามารถลงพื้นที่เพื่อตรวจรับงานได้ โดย การตรวจรบั งานช่วงแรกท่ีโคโรนา 2019 ยงั ไม่รุนแรง ทางผู้ถกู จ้างงานจะตอ้ งตรวจรับงานที่วิทยาลัยชุมชนตราด ซึง่ หากวิทยาลยั ชุมชนตราดไดล้ งพ้ืนทใ่ี นช่วงเวลาเดียวกนั กับผถู้ ูกจ้างงาน กจ็ ะมกี ารตรวจรับงานในพื้นท่ีเช่นกัน แตด่ ้วยพนื้ ทตี่ ำบลคลองใหญ่ต้งั อย่หู า่ งจากวทิ ยาลัยชมุ ชนตราดเกอื บ 80 กิโลเมตร มรี ะยะทางคอ่ นขา้ งไกล และ ผูถ้ ูกจ้างงานภาคประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้นอ้ ย การชว่ ยเหลือเบาแรงทางหนง่ึ คือ วิทยาลยั จะไปตรวจรับงาน กันในชุมชน นอกจากน้นั จะใชว้ ธิ ีการสง่ มอบงานกนั ในระบบออนไลน์ และไปรษณยี ์ การบรหิ ารจดั การด้านการจา้ งงาน สำหรบั วทิ ยาลัยชมุ ชนตราดทงั้ 3 ตำบล ถอื ว่ามคี นย้ายเขา้ -ออกคอ่ นขา้ งนอ้ ย ประชาชน 5 คน บัณฑิต 10 คน และนกั ศกึ ษาฝกึ งาน 5 คน แทบจะไม่ไดย้ า้ ยงานเลย สว่ นใหญ่คนที่จะยา้ ยไปมาจะนอ้ ยมาจึงทำให้ไม่มี ปญั หาในการบริหารจัดการคน เม่ือโครงการผ่านไปทำให้รสู้ ึกว่าโครงการ U2T ทำให้บณั ฑิตจบใหม่ ทม่ี ีความรู้ มี ทักษะ และเรียนหนังสือมาตลอดชีวิต เมื่อคืนถิ่นกลับบ้านก็ยังมิได้โยกย้ายไปไหน ไม่ออกจาก บ้าน แต่พอมี โครงการนี้ทำให้สามารถดึงศักยภาพของบัณฑิตออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ถูกจ้างงานยังได้ พัฒนาทักษะทง้ั 4 ด้านอย่างครบถว้ น
46 “เดก็ ทีต่ ำบลคลองใหญน่ สี่ ุดยอดเลยค่ะ แต่ถา้ เราไม่ไดม้ โี ครงการนเี้ คา้ จะไม่รูเ้ ลยวา่ ทำไมเราจะต้องเดิน ไปเคาะประตูบ้าน ทำไมจะต้องไปสัมภาษณ์ให้คนทุกบ้าน ได้มีโอกาสเจอคนนั้นคนนี้ ได้ไปเห็นกิจกรรมที่เค้า จะต้องทำ ซงึ่ เปล่ียนทศั นะคติได้อย่างชดั เจนและเปน็ เนอ้ื เดียวกนั กบั ชุมชนในระยะเวลา 1 ปี” คณะทำงานโครงการ U2T (สมั ภาษณ,์ 6 มกราคม 2565) สำหรับข้อเสนอแนะต่อการจ้างงานที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของพื้นที่ วิทยาลัยชุมชนตราดมีความยินดี อย่างยิ่งที่จะมีโครงการต่อเนื่องในปี พ.ศ.2565 ซึ่งจะยังได้พืน้ ที่ตำบลคลองใหญ่ ซึ่งการสร้างความย่ังยืนให้กับ ชมุ ชนไม่สามารถทำได้ภายในปีเดยี ว เพราะกวา่ เราจะบม่ เพาะชุมชน บ่มเพาะผู้ถูกจ้างงานใหร้ กั ชมุ ชน และทำให้ ชุมชนมีความคิดรเิ รมิ่ ในการพฒั นา กใ็ ชร้ ะยะเวลานาน เช่น ตำบลคลองใหญ่มีการพฒั นาดา้ นการท่องเที่ยวและ ผลติ ภัณฑ์ หากทำภายใน 1 ปี นั่นยังไม่เรียกว่าความยง่ั ยืน แต่ถา้ จะให้เกิดความตอ่ เนอื่ งและยั่งยืนกจ็ ะต้องอยา่ ง น้อย 3-5 ปี ซึ่งในระยะที่ 2 (phase 2) เรียกได้ว่าเป็น “ความต่อเนื่อง” แต่อาจจะยังไม่ “ยั่งยืน” เพราะวันที่ ตอ้ งถอดตวั ออกจากชมุ ชน คณะทำงานจะตอ้ งคนื ทกุ สง่ิ ทุกอย่างกลบั ไปสชู่ ุมชน (คอื ขอ้ มลู ชมุ ชน) ความยัง่ ยืนจึง ไม่ได้เกดิ กบั วิทยาลยั ชุมชนตราด แตจ่ ะเกดิ กับผู้ถกู จา้ งงานซ่ึงเป็นคนในชุมชน และตอ้ งเป็นชมุ ชนท่ีอยากทำงาน อยากริเร่มิ สง่ิ ใหม่ในชมุ ชนของตนเอง ดงั น้นั จึงมขี อ้ เสนอแนะวา่ ยงั อยากใหโ้ ครงการนย้ี ังคงมีอยู่ เพราะอย่างน้อยจะทำให้มคี วามต่อเนอ่ื ง และ สามารถคืนความย่งั ยนื ให้กับชุมชนได้ แต่อย่างไรกต็ ามหากโครงการนี้หมดไป ในฐานะของวทิ ยาลัยชุมชนตราด เชื่อว่าการที่ได้ทำงานเกี่ยวกับชุมชนมายาวนานและมีความตั้งใจในการที่จะพัฒนาชุมชนและจะไม่ทิ้งชุมชน เพราะชุมชนทำงานกบั วิทยาลัยมาแรมปี การที่จะให้ละท้งิ ไปเลยจงึ เปน็ สงิ่ ทีไ่ มค่ วรปฏิบัติ วิทยาลัยชุมชนตราดก็ ต้องขับเคล่ือนตอ่ โดยใช้สถาบนั วิทยาลยั ชุมชนเพ่ือทำใหเ้ กดิ ความย่ังยืน
47 รปู ท่ี 27 กลยุทธ์การบริหารโครงการพน้ื ท่ีตำบลคลองใหญ่ ปัจจัยหรอื เง่อื นไขท่ที ำใหพ้ ื้นท่ีประสบความสำเรจ็ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวทิ ยาลยั ชุมชนตราดในการทำงานกับพน้ื ที่ตำบลต่าง ๆ มิใชเ่ พยี งตำบลคลอง ใหญ่ แต่ยังรวมไปถงึ ตำบลทุ่งนนทรี และตำบลหว้ งน้ำขาว ซึ่งปจั จยั แหง่ ความสำเรจ็ มีดังนี้ ประการแรก เกดิ จากนโยบายสว่ นกลางทม่ี อบหมายใหค้ ณะทำงานอย่างชัดเจน ทำให้นำมาสู่การปฏิบัติ ท่ชี ัดเจน ประการทส่ี อง คอื การมคี ณะทำงานของวทิ ยาลยั ชุมชนตราดทีเ่ ปน็ ระบบ มีความเขา้ ใจกนั การส่ือสาร ที่ตรงกัน โดยการสื่อสารภายในองค์กรเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะจะนำมาสู่การวางแผนร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพ และทำงานร่วมกัน รวมถึงการถอดบทเรียนตลอดเวลาทำให้งานออกมามีคุณภาพและสามารถ แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนั้นบุคลากรของวทิ ยาลัยชุมชนตราด ยังสามารถทำงานทนแทนกนั ได้ใน ภาวะคับขนั เร่งดว่ น ซ่งึ สงิ่ นม้ี าจากการเข้าใจในเน้อื งานของกันและกนั ประการท่สี าม คอื ความเข้าใจต่อชุมชน และการมีจติ สาธารณะ จะเห็นว่าวทิ ยาลัยชุมชนตราดไดท้ ำงานกับชุมชนมาเปน็ ระยะนาน มปี ระสบการณ์ในการ ทำงานกับชุมชนที่ค่อนข้างสูง แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำให้ชุมชนรักและพร้อมทำงานไปด้วยกัน แต่สิ่งที่ทำให้ สามารถเขา้ ไปน่ังในใจของคนไดเ้ พราะเรามีจิตสาธารณะ โดยคติในการทำงานเหล่านตี้ อ้ งถูกซึมซับเข้าไปในตัวผู้ ถูกจ้างงานด้วย ประการทีส่ ่ี คือ “การครองใจ” โดยทั้งคนในทีมของวิทยาลยั ชุมชนตราดต้องรู้ใจซึ่งกันและกนั สามารถทำงานกันได้ อย่างที่สองคือครองใจคณะทำงาน เพราะเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อมโยงกันได้ ต้องใช้ ระยะเวลาแต่เม่อื ไรที่รสู้ ึกวา่ เป็นอนั หนึง่ อันเดยี วกันได้ก็จะสามารถทำงานรว่ มกันได้ และการครองใจอย่างที่สาม คือ การครองใจชุมชน เพราะการทำงานร่วมกับชุมชนไม่ใช่เรื่องง่ายที่ชุมชนจะเปิดใจยอมรับภายในครั้งแรก ดงั น้ันวธิ ีการที่จะครองใจชุมชนได้คอื การรับฟงั การมีปฏิสมั พนั ธ์ และความซ่อื สตั ย์ในการทำงาน ประการท่หี ้า
48 “คณะทำงานเป็นคนในชุมชน” กล่าวคือ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาใดก็ตาม การที่มีคณะทำงานเป็นคนของชุมชน จะ ช่วยใหส้ ามารถเข้าถึงชมุ ชน หรอื สามารถเข้าถงึ ผ้นู ำชุชนได้อย่างรวดเร็วและสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้ และให้ถือว่ากลุ่มที่มีความสำคัญคือ “กลุ่มประชาชน” ถึงแม้ว่าองค์ความรู้ของประชาชนจะไม่มาก แต่มี ประสบการณใ์ นการอยู่ในชุมชนนั้นมีคณุ ค่าต่อการทำงานอยา่ งมาก ซ่งึ การได้ทำงานกบั คนท่อี ยู่ในชุมชน ยังช่วย ให้สามารถเช่ือมโยงหลาย ๆ ภาคส่วนได้เร็วกว่าบัณฑิต และนักศึกษา ในขณะเดียวกนั บัณฑติ และนักศึกษา ก็ เต็มไปด้วยองค์ความรู้ในศาสตร์วิชาของตนเอง แต่การมีคนทำงานที่อยู่ในชุมชนจริง ๆ มันทำให้สามารถ ขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรูซ้ ึ่งกันและกันและสามารถเรยี นรู้ไปด้วยกันได้ และสามารถแก้ไข ปัญหาเฉพาะหนา้ ได้อย่างรวดเร็ว ประการทหี่ ก “กลุ่มชมุ ชน” ท่มี กี ารเปดิ โอกาสให้คณะทำงานเข้าไปมีส่วนร่วม และดำเนินการกิจกรรมตา่ ง ๆ ร่วมกนั เพราะในความเป็นจริงน้ันวิสาหกจิ ชมุ ชนมีหลายระดับ เช่น บ้านตาหนึก ถือเปน็ ต้นแบบท่ีดแี ละประสบความสำเร็จ และก็มีรปู แบบในการทำงานอยา่ งเป็นระบบ ซ่ึงชุมชนบ้านตาหนึกจึง เปน็ หนงึ่ ในทรัพยากรบคุ คลทีส่ ำคญั ที่ตอ้ งเข้าเป็น “พเี่ ลย้ี ง” ใหก้ บั ชุมชนที่เพ่ิงเร่มิ ต้นทำวิสาหกิจ โดยใช้รูปแบบ ของชุมชนบา้ นตาหนึกเป็นต้นแบบใหก้ ับวสิ าหกิจชุมชนเกิดใหม่ และประการสดุ ทา้ ย ท่ีเป็นปัจจัยทช่ี ว่ ยให้ประสบ ความสำเรจ็ ในการดำเนินกิจกรรม คือ การใช้จุดแข็งของชุมชน ดึงเอาศักยภาพของชุมชน ทั้งประชานในพื้นท่ี และผู้นำชุมชนที่ประสานความร่วมมือตลอดระยะเวลาของโครงการ รวมถึงทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุน ทางวัฒนธรรม มาใช้ในการจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีชุมชนเป็นฐานและถูกนำมาเป็นหมุดหมายใน ดำเนินการอยา่ งมสี ว่ นร่วม รปู ท่ี 28 ยอ้ นรอยเสน้ ทางสูค่ วามสำเรจ็ พน้ื ทีต่ ำบลคลองใหญ่
49 บทที่ 4 สรปุ ประเมินผลการดาเนนิ งานในภาพรวม อภิปราย ปัญหาอุปสรรคขอ้ เสนอแนะ ผลการดำเนินงานของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ; U2T) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวตั กรรม (อว.) มมี หาวทิ ยาลัยทอ่ี ยภู่ ายใต้ความรับผิดชอบของเครอื ข่ายเพ่อื การพัฒนาอดุ มศึกษาภาคกลาง ตอนบนจำนวน 16 มหาวทิ ยาลัย ซึง่ ไดด้ ำเนนิ โครงการในพ้ืนที่ตำบลทีก่ ระจายอยูท่ ั่วประเทศจำนวน 483 ตำบล เม่อื สิน้ สดุ การดำเนนิ โครงการฯ สามารถสรุปข้อมลู ผลการปฏบิ ตั ิงานไดด้ ังนี้ ศักยภาพตาบล จากการดำเนินโครงการในพ้นื ทตี่ ำบลท่ีกระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวน 483 ตำบล เม่อื สนิ้ สุดการดำเนิน โครงการฯ พบวา่ ศกั ยภาพของตำบลได้พัฒนาขน้ึ โดยมภี าพรวมดังน้ี (ประเมนิ จากฐานข้อมลู ในระบบ PBM) • ตำบลทม่ี ุ่งสู่ความยงั่ ยืน เพ่ิมขนึ้ จาก 51 ตำบล หรอื รอ้ ยละ 10.6 เปน็ 286 ตำบล คิดเปน็ ร้อยละ 59 • ตำบลท่มี ุ่งสคู่ วามพอเพยี ง ลดลงจาก 173 ตำบล หรอื รอ้ ยละ 35.82 เหลอื 141 ตำบล คดิ เป็นรอ้ ยละ 34.6 • ตำบลที่อย่รู อด ลดลงจาก 139 ตำบล หรอื ร้อยละ 28.8 เหลอื 47 ตำบล คิดเปน็ รอ้ ยละ 10 • ตำบลที่ไม่สามารถอย่รู อด ลดลงจาก 120 ตำบล หรือร้อยละ 24.8 เหลอื เพียง 9 ตำบล คิดเป็นรอ้ ยละ 2 องคค์ วามรู้ทส่ี ามารถนามาใช้เปน็ ต้นแบบการบริหารจดั การในการพัฒนาระดับภูมิภาค ผลจากการถอดบทเรียนตำบล 10 ตำบล พบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการ U2T ประกอบไปดว้ ย 2 ส่วน คอื สว่ นทีห่ นึ่ง ปัจจัยนำเข้า ซึง่ ได้แก่ 1) ความไวเ้ นือ้ เช่ือใจ การเขา้ ใจบริบทพ้ืนที่อย่าง ลึกซึ้ง และการเข้าถึงผู้นำชุมชน 2) ระบบการทำงานทีม่ กี ารวางแผนอย่างเป็นระบบ 3) ระบบการคัดเลือกและ บริหารทีมงาน 4) ระบบการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย 5) ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และ ทุนความรู้จากคณะทำงาน U2T และภาคีเครือข่าย 6) ภาพผลสำเร็จของการดำเนนิ โครงการอย่างเป็นรูปธรรม และแนวทางการขับเคล่ือนที่เสริมความยงั่ ยืนในแก่พื้นที่ และ ส่วนที่สอง กลยทุ ธ์การดำเนินการ ซงึ่ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ให้เห็น pain point ของพ้นื ท่ี 2) การประสานงานเชงิ รุกกบั ทกุ ภาคสว่ นในพน้ื ที่ 3) การพดู คยุ ใน รูปแบบที่ไม่เป็นทางการและมีความใกล้ชิด 4) การทำงานที่ใช้การมีส่วนร่วมนำ 5) การพูดคุยติดตาม ความก้าวหน้าอย่างใกล้ชิด 6) การเชื่อมโยงกิจกรรมของโครงการ เข้าสู่พันธกิจของหน่วยงานในพื้นที่ 7) การ พัฒนารายวชิ า หรือหลักสตู รท่ีจะเข้ามาดำเนนิ งานในพื้นที่
50 อย่างไรก็ดีภายใต้เจตนารมณ์ที่จะนำเสนอพน้ื ท่ีท่มี ีแนวปฏิบัติท่ีดมี คี วามโดดเด่นอย่างแท้จริงท้ังจากกล ยุทธ์การดำเนินงานและผลความสำเรจ็ ท่เี กิดข้ึน เพ่ือทา้ ยท่ีสุดแลว้ บทเรยี นความสำเรจ็ นี้จะถูกใช้เป็นแนวทางและ สรา้ งแรงบนั ดาลใจแกค่ ณะทำงานในการขับเคล่อื นพืน้ ทส่ี ู่ความสำเร็จเฉกเช่นเดยี วกบั พ้ืนทีต่ ้นแบบ ดังนั้นภายใต้ บริบทของเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้การคัดเลือกพื้นที่เพื่อถอดบทเรียนภายใต้การหารือร่วมกับ มหาวิทยาลัย จึงปรากฏผลการคัดเลือกพ้ืนที่ในกลุ่มของตำบลยั่งยืนเท่านั้น โดยมุ่งเน้นถึงคุณประโยชน์ที่จะ เกิดข้นึ ในแง่ของ “บทเรยี นความสำเรจ็ ” เป็นสำคญั การปฏบิ ตั งิ านและการใชจ้ ่ายงบประมาณ ข้อมลู ผลการดำเนนิ งานในระบบ PBM จะเห็นได้วา่ มีมหาวทิ ยาลยั 6 แห่งสามารถดำเนนิ งานได้มากกวา่ 90% มหาวิทยาลัย 6 แห่งดำเนินงานได้อยู่ในช่วง 31-66% ทั้งนี้มีมหาวิทยาลัย 1 แห่งที่ดำเนินงานได้เกินเป็น 101% อย่างไรก็ตามจะเห็นไดว้ ่ามี 3 มหาวิทยาลัยท่ีไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผนงานตามท่ีปรากฏใน ระบบ โดยดำเนินงานได้เพียง 14% 9% และ 0.4% ซึ่งอาจเกิดจากอุปสรรคจากการดำเนินโครงการจริงในพื้นท่ี หรอื อาจจะเกดิ จากการที่มหาวทิ ยาลยั ยังไม่ได้ลงขอ้ มลู ในระบบ PBM อยา่ งครบถ้วน ทำให้การคำนวณเปอรเ์ ซ็นต์ อาจไม่ตรงกับการดำเนนิ โครงการจริง การใชจ้ า่ ยงบประมาณคิดเปน็ งบประมาณรวมทัง้ ส้นิ 1,300 ลา้ นบาท โดย การใช้จ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นไปตามที่จัดสรรไว้ มหาวิทยาลัย 12 แห่งใช้งบประมาณ มากกวา่ 70% ทีไ่ ดร้ บั จัดสรร มมี หาวิทยาลยั 2 แหง่ ท่ใี ชง้ บประมาณ 42% และ 58% ท้งั นมี้ มี หาวิทยาลยั 1 แห่ง ท่ใี ชง้ บประมาณเกินเป็น 122% และมหาวิทยาลยั 1 แห่ง ที่ใช้งบประมาณน้อยเพยี ง 23% ทั้งนีม้ ีข้อเสนอแนะ ใน ด้านการปรับเพิ่มให้มีการจัดซือ้ จัดซื้อครุภัณฑ์ วัสดุ พัสดุ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการเสริมสร้างการ ปฏิบัตงิ านในโครงการและสง่ ผลให้ชุมชนสามารถอยูไ่ ด้อย่างยั่งยนื ภายหลงั จากที่โครงการได้ถอนออกจากชุมชน ไปแล้ว การจา้ งงาน การดำเนนิ โครงการนี้สามารถสรา้ งองคค์ วามร้เู พ่อื พัฒนาศกั ยภาพของประชากรในพน้ื ท่ใี ห้คณุ ภาพชีวิตท่ี ดีขึ้น จากการศึกษาบริบทของชุมชนในพื้นที่ หรือเอกลักษณ์ในตำบล รวมไปถึงการนำความรู้จากทาง มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมาปรับใช้กับพื้นที่ให้เกิดการพัฒนานำไปสู่การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ของชุมชน เพิ่ม อัตราการจ้างงาน โดยจากการดำเนนิ โครงการมีการจา้ งงานบณั ฑิต จำนวน 4,656 คน นกั ศึกษา จำนวน 2,218 คน และประชาชนทั่วไป จำนวน 2,365 คน รวมทั้งสิ้น 9,339 คน คิดเป็นการจ้างงานร้อยละ 95.64 จากท่ี คาดการณ์ไว้ (จำนวน 9,660 คน) โดยมีข้อเสนอแนะต่อการจ้างงานที่จะนำไปสู่ความยั่งยนื ของพื้นที่ คือ การ สร้างความต่อเนื่องให้เกิดการจา้ งงานในระยะต่อไป เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการบ่มเพาะคนในพื้นที่ โดย เน้นการ จ้างงานคนในพื้นที่หรือคนที่มีความเข้าใจรู้จักบริบทของชุมชนเป็นอย่างดี และขยายเกณฑ์บัณฑิตจบใหม่ ทีจ่ บ มาแล้วไม่เกนิ 5 ปี เพือ่ ให้คนในกลุ่มนไ้ี ด้มีส่วนรว่ มในการพัฒนาชมุ ชนบ้านเกดิ ด้วย
51 ผลกระทบภาพรวมของ USI ภายใตเ้ ครือขา่ ย ต่อภารกิจหลักของสถาบันอดุ มศึกษา การดำเนินงานโครงการ U2T นี้ ยังสามารถสร้างผลกระทบต่อภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ในการ พฒั นาหลกั สตู รในรูปแบบต่าง ๆ มากกว่า 300 หลักสูตร เช่น การพฒั นาหลกั สูตรการเรยี นการสอน จำนวน 30 หลกั สูตร หลกั สูตรฝึกอบรมระยะส้ัน จำนวน 267 หลักสตู ร หลักสูตรการเรียนรูต้ ลอดชีวิต จำนวน 13 หลักสูตร เป็นตน้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ปฏิบตั งิ านในการสำรวจการเฝา้ ระวังและปอ้ งกันโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม โดยมีการจัดทำแบบสำรวจ 4 พื้นที่ ได้แก่ ที่พักอาศัย ตลาด ศาสนสถาน และโรงเรยี น รวมท้ังยังไดม้ ีการดำเนินงานกิจกรรม COVID Week ภายในพื้นที่ที่ได้ดำเนิน โครงการเพิ่มเติม เช่น การจัดกิจกรรมให้ความรู้การป้องกัน การรับมือกับปัญหาโคโรนา 2019 รวมไปถึงการ จัดหาและแจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันโรคให้กับประชาชนภายในพื้นที่ เพื่อให้สามารถรับมือ และชะลอการ แพร่กระจายของไวรัสจนกว่าจะไดร้ บั วัคซีน และกิจกรรมทำความสะอาดพ้ืนที่ ข้อเสนอแนะแนวทางการเชอื่ มโยงผลการดาเนนิ งานระดบั เครือขา่ ยกับผลการดาเนนิ งานเชงิ พ้ืนท่ีกบั หนว่ ยปฏิบัตกิ าร อว. ส่วนหนา้ ในภาพรวมของภูมิภาค สำหรับการเช่ือมโยงผลการดำเนนิ งานระดับเครือข่ายกับผลการดำเนนิ งานเชิงพ้ืนที่กับหน่วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้านั้น ควรเน้นบทบาทสร้างการรบั รู้และความเข้าใจต่อโครงการให้แก่หน่วยงานราชการในจงั หวัดที่ เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาจังหวัด เกษตรจังหวัด เน้นบทบาทเป็นจุดประสานงานหลัก ในระดับพื้นที่จังหวัดกับ มหาวิทยาลัย เพอ่ื เป็นกลไกเชือ่ มประสานการสื่อสารแบบสองทาง และเน้นบทบาทผู้รวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูล ทั้งระบบของโครงการ โดยเฉพาะประเด็นการรายงานผลการดำเนินงานในระดับจังหวัดเพ่อื ให้เกิดการบูรณาการ ข้อมูลเพือ่ การตดั สนิ ใจในระดบั นโยบายของจงั หวัด ขอ้ เสนอแนะในการดาเนินงานโครงการเศรษฐกิจรากฐานของเครอื ขา่ ยภูมภิ าคเพ่ือการเช่ือมโยง หนว่ ยงานในพื้นทร่ี ะดับกลุม่ จังหวัด การดำเนนิ งานโครงการเศรษฐกิจฐานรากของเครือขา่ ยภมู ิภาคเพ่ือการเช่อื มโยงหน่วยงานในพ้ืนท่ีระดับ กลุ่มจังหวัดนั้น เครือข่ายภูมิภาค ควรเน้นบทบาทเป็นจุดประสานงานหลัก เพื่อเป็นกลไกเชื่อมประสานการ สื่อสารแบบสองทาง ในระดับ สป.อว. กับมหาวิทยาลัย และปรับปรุงช่องทางการสื่อสารเดิมให้มีประสิทธิภาพ มากขน้ึ มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือและเปน็ พ่ีเลี้ยงให้แก่มหาวิทยาลัยในการรับมอื กับปัญหาเฉพาะหน้าที่ เกิดขึ้นจากโครงการ โดยที่ สป.อว. ควรกำหนดโครงสร้างบทบาทของเครือข่ายภูมิภาค และอว. ส่วนหน้า ให้ ชดั เจน ปรับรูปแบบขอ้ สัง่ การใหม้ ีความชัดเจนและแนวปฏบิ ตั ทิ เ่ี ป็นรปู ธรรม ปรับรปู แบบการเกบ็ ข้อมูล Big Data โดยคำนงึ การเปลีย่ นแปลงขอ้ มลู ตามระยะเวลา ซึง่ มผี ลตอ่ การกำหนดความถีใ่ นการเก็บขอ้ มูล รวมถงึ ประเดน็ ข้อ คำถามที่มีความอ่อนไหวในเชิงข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีประเด็นเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวและผลกระทบท่ี อาจจะเกิดขึ้นตามมา ความสัมพันธข์ องหน่วยปฏบิ ัติการในการยกระดบั ตำบลตามโครงการ U2T แสดงดังรูปท่ี 29
5 RSI USI • • • • • รปู ท่ี 29 ความสมั พนั ธข์ องหน่วยปฏิบัตกิ า
2 U2T U2T • • • • • • • • • U2T ารในการยกระดับตำบลตามโครงการ U2T
53 ในภาพรวมของการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ภาคกลางตอนบน พบจุดเด่นของโครงการฯ คอื สร้างคน ให้รักถิ่นซึ่งตรงกับคำว่า “สร้างรากแก้วให้ประเทศ” เป็นการคืนบัณฑิตคืนคนสู่พื้นที่อย่างแท้จริง สร้างความ ผูกพันต่อพื้นที่และบุคคลสร้างความเข้มแข็งชุมชน เกิดการจ้างงาน สร้างโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้เข้าถึงการ ทำงานในระดับพื้นที่ และมีบทบาทในการบริการวิชาการอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น เกิดฐานข้อมูล Community Big Data (CBD) เพื่อประกอบการตัดสินใจและการทำงานในเชิงรุกต่อไป ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อแนวทางการ ดำเนินงาน U2T ระยะต่อไป คือ ขับเคลื่อนการทำ Community Big Data อย่างต่อเน่ือง และเพิ่มจุดเน้นไปท่ี คุณภาพของข้อมูล ปรับรูปแบบการลงทำงานในพืน้ ท่ีของมหาวิทยาลัย ปรับประเด็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ปรับ รูปแบบของการบรหิ ารโครงการและเพมิ่ การส่อื สารทม่ี ปี ระสิทธิภาพ ทง้ั ในสว่ นของสอ่ื สารเพ่ือมอบหมายงาน การ เบิกจ่ายงบประมาณ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจในโครงการ U2T แก่หน่วยงานราชการท้องถ่ิน เพอื่ สรา้ งความเขา้ ใจถึงหลกั การและเปา้ หมายของโครงการ ทมี่ ีจดุ เน้นในการเขา้ มาช่วยหนนุ เสรมิ การทำงานของ ราชการส่วนท้องถนิ่ ในฐานะภาคีในการทำงานบรู ณาการเพือ่ การพฒั นาชุมชนอย่างย่ังยนื ร่วมกัน ข้อเสนอแนะท่ัวไปสาหรบั ระบบการรายงานผลปฏบิ ัติงาน • ควรมีการสื่อสาร/อธิบายตัวชี้วัดให้ชัดเจนเพิ่มเติมจากเอกสารคู่มือ เนื่องจากแต่ละกลุ่มทำงาน/ สถาบนั มีการตีความตวั ช้ีวัดที่แตกต่างกัน เพ่อื ใหก้ ารกรอกขอ้ มลู และการประเมินความสำเร็จของ กิจกรรมและการดำเนนิ งานต่าง ๆ เปน็ มาตรฐานเดยี วกนั • เชื่อมโยงระบบการปล่อยงบประมาณกับการรายงานผลการดำเนินโครงการเข้าดว้ ยกัน เพื่อกระตนุ้ ให้เกิดการส่งขอ้ มูลตรงตามกำหนดเวลา • จากการคิด %ความสำเร็จโครงการที่เกิน 100% ควรมีการปรับปรุงระบบในการดึงข้อมูลมา ประเมินผลเปน็ %ความสำเร็จ (ในระบบ PBM) เพื่อไม่ใหเ้ กดิ ความคลาดเคลื่อนดงั กล่าว
54 ภาคผนวก ภาคผนวกท่ี 1 รายละเอยี ดการถอดบทเรียน 9 ตาบล พืน้ ทต่ี ำบลคลองเจด็ อำเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทมุ ธานี คณะทำงานโครงการ: ดร.นชุ รฐั บาลลา มหาวทิ ยาลยั : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ บรบิ ทของชมุ ชนพนื้ ทต่ี ำบลคลองเจด็ สภาพทัว่ ไปของชุมชนตำบลคลองเจ็ด จากข้อมูลรายงานขององค์การบริหารสว่ นตำบลคลองเจด็ ได้ พูดถึงประวัติที่มาของตำบลว่าเดิมนัน้ มชี ือ่ เรียกว่า “ตำบลตะเคียน” ซึ่งขึ้นสังกัดอยู่กบั อำเภอบางหวาย อำเภอ คลองหลวง ในปี พ.ศ.2448 เมืองธัญบุรี สภาพพ้ืนทสี่ ว่ นใหญใ่ นตำบลคลองเจ็ดเป็นพืน้ ทรี่ าบล่มุ ลกั ษณะของดิน ในพื้นที่มีความร่วนซุย มีสภาพความเป็นกรดในระดับปานกลางถึงมาก อีกทั้งยงั มีการสร้างคลองระบายน้ำที่ 7 คลองส่งน้ำสี่ว้าย (คลองแอน) ซึ่งใช้เป็นประตูระบายน้ำเพื่อส่งน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ในการอุปโภ คและ บรโิ ภคจนถงึ ปัจจุบนั พืน้ ท่ดี งั กลา่ วนับว่าเปน็ พื้นที่ท่ีได้รับการยอมรับว่าเป็นอำเภอทีม่ ีความสำคัญอำเภอหนึ่งของ จงั หวดั ปทุมธานี เน่ืองจากมีสถานทส่ี ำคัญทางราชการและองค์กรสำคัญหลายแหง่ ในแง่ของมิติการปกครองตำบลคลองเจ็ดมีองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ดูแลรับผิดชอบ ภายในพื้นที่ มีหมู่บ้านที่อยู่ในความดูแลรบั ผิดชอบจำนวนทั้งหมด 9 หมู่บ้าน และมีระยะทางห่างจากที่ว่าการ อำเภอคลองหลวงประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดปทุมธานีประมาณ 40 กิโลเมตร ตำบลคลองเจ็ด พบวา่ มพี ้นื ท่ปี ระมาณ 21 ตารางกิโลเมตร ซ่งึ ในบรเิ วณพืน้ ทห่ี มู่ท่ี 2–9 ในท้องถ่นิ ค่อนข้างเป็นชุมชนแบบชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชพี เกษตรกรรมถงึ ร้อยละ 70 ของพืน้ ท่ี และมพี ืน้ ทท่ี ่ีเป็นชุมชนเมือง คือ หมู่ท่ี 1 ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด จึงยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง ซึ่งโดยเฉพาะหมู่ที่ 1 มีจำนวนประชากรมากถึง 2,000 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็น หมู่บ้านจัดสรร มลี กั ษณะเป็นชุมชนเมืองอยา่ งชัดเจน ทำใหป้ ระชากรในหมู่ท่ี 1 ไมค่ ่อยมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ กิจกรรมมากเทา่ ที่ควรเท่ากับประชากรในหมูอ่ ืน่ ๆ ของพื้นที่ตำบลคลองเจ็ด เนื่องจากวิถีความเป็นเมืองทำให้ ประชาชนในพืน้ ท่ตี ้องออกไปทำงานนอกบา้ นและไมม่ ีเวลาในการเข้าร่วมเพ่ือปฏบิ ัตกิ จิ กรรมที่เกิดข้ึนในโครงการ U2T ดา้ นเศรษฐกิจประชากรส่วนใหญม่ ีรายได้อยใู่ นระดับปานกลาง โดยมรี ายไดจ้ ากการประกอบอาชีพ ที่แน่นอนมั่นคง เป็นหลักแหล่ง จากการประกอบอาชีพต่าง ๆ อาทิ ประกอบธุรกิจ รับจ้าง เกษตรกรรม รับ ราชการ เป็นตน้ ด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลคลองเจด็ ประกอบไปดว้ ย พื้นที่ป่าไม้ อาทิ ป่าละเมาะ มี ลักษณะเป็นไม้พุ่มขึ้นสลับไปกับไม้ใหญ่ รวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นหนองน้ำและทุ่งนาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพ เกษตรกรรมมาตงั้ แต่ด้ังเดมิ สำหรับจุดเด่น ศักยภาพ ความเขม้ แขง็ ของชุมชน ในพ้ืนทีน่ ัน้ มกี ารประกอบอาชีพเกษตรกรรมของ ชมุ ชนทีม่ คี วามเขม้ แขง็ และมคี ุณภาพเป็นทุนเดิมอยแู่ ล้ว ชุมชนมศี ักยภาพมากเพยี งพอทจ่ี ะตอ่ ยอดกิจกรรมท่ีทาง
55 มหาวิทยาลัยนำไปต่อยอดองค์ความรู้ให้ ทางทีมงานจึงมีหน้าท่ีแค่หาช่องโหวแ่ ละปญั หาจากการประกอบอาชีพ นนั้ และนำมาปรับปรุงให้เกดิ มูลค่าของผลิตภณั ฑแ์ ละมีประสิทธิรปู ทม่ี ากยงิ่ ข้นึ ในการจัดจำหนา่ ย ในส่วนของข้อจำกัดหรือปัญหาของชุมชน จากการทำงานของทีม U2T พบว่าในแต่ละพื้นที่มี ผู้ปกครอง คนดูแลหรือผู้นำที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงคนที่สามารถให้ข้อมูลของแต่ละพื้นที่ ทำให้ทีม คณะทำงานโครงการจำเป็นท่จี ะตอ้ งเข้าถงึ เพ่ือสืบเสาะหาผู้ที่จะสามารถให้ขอ้ มลู ในส่วนตำบลน้ันได้ รวมถึงบาง หมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นชมุ ชนเมือง จึงทำให้ไมค่ ่อยมีสว่ นร่วมมากเท่าที่ควร ดังนั้นการทำกิจกรรมให้เหมาะสม นบั ว่าเป็นกลยุทธ์ที่ทีมงานนำมาปฏบิ ตั ใิ ช้ การดำเนนิ กจิ กรรมของพืน้ ท่ชี ุมชนตน้ แบบ ในชว่ งแรกการจัดกจิ กรรมของชาวบา้ นในพ้ืนที่ จะยึดตามกิจกรรมของทาง อว. โดยคำนึงถึงโจทย์ หลักทท่ี าง อว. กำหนดหลกั เกณฑแ์ ละดูว่าชุมชนยงั ขาดศักยภาพในด้านไหนบ้าง เพอื่ เขา้ ไปส่งเสรมิ และเติมเต็ม ศักยภาพของชมุ ชนในสว่ นนน้ั ใหม้ ีคณุ ภาพมากยิง่ ขน้ึ กิจกรรมพฒั นาฐานรากเชิงเกษตรกรรม โดยอาชีพหลักชาวบ้านคอื การทำนา มีการทำอาชีพเสรมิ คือ การเพาะเห็ดขาย ทางทีมงานมหาวิทยาลยั จึงตดั สนิ ใจไปพัฒนาสตู รก้อนเห็ดให้มคี ณุ ภาพมากย่ิงขึ้น อีกท้ัง เพ่มิ การผลิตปรมิ าณเห็ด โดยที่เราใช้ปริมาณก้อนเหด็ เท่าเดมิ แตไ่ ดผ้ ลผลติ เห็ดมากข้ึนและยืดอายุการเก็บรักษา เหด็ ฟาง สรา้ งมลู คา่ เพิ่มให้กบั ผลติ ภัณฑ์ทางการเกษตร โครงการพัฒนาแปรรปู เหด็ และผลิตภณั ฑ์จากเหด็ ซึ่งกิจกรรมโครงการดังกลา่ วเกิดจากการสำรวจ ปัญหาท่เี กิดข้ึนภายในพน้ื ที่ของชาวบ้าน โดยอ้างอิงการประกอบอาชีพของคนในพน้ื ที่ทม่ี กี จิ กรรมการทำเห็ดและ ผลิตภัณฑจ์ ากเหด็ อยู่แล้ว จากการสำรวจของทมี งาน U2T พบว่าชาวบา้ นในพน้ื ทม่ี ีการประกอบอาชพี เกษตรกรรม ถึงร้อยละ 70 ของประชาชนทั้งหมด อีกทั้งประชาชนร้อยละ 80 เป็นเกษตรกรที่มีการทำนาและปลกู ข้าวอยู่ใน พื้นท่ีนน้ั อยแู่ ล้ว กจิ กรรมท่ี 1 การเปล่ยี นฟางขา้ วเป็นเห็ดเพื่อเพิ่มรายได้ให้กบั ชุมชน มีวิธีการและขั้นตอนการดำเนนิ งาน โดยการสร้างการอบรมและให้ชาวบ้านมาร่วมฝกึ ปฏิบัติ เชิญ เกษตรกรในพื้นที่เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาสูตรก้อนเห็ดนางฟ้า เพื่อให้เกิดประสิทธิ รูปที่ดีขึ้นแก่ ผลผลติ โดยมกี ารใชต้ น้ ทุนท่ีตำ่ ในการดำเนินการผลติ รวมถงึ การผลิตเหด็ ฟางอย่างงา่ ยจากเศษวสั ดเุ หลือใช้อย่าง ฟางขา้ ว ทเี่ หลอื จากการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านในพื้นที่ โครงการดงั กล่าวมีผู้เขา้ ร่วมโครงการทงั้ ส้นิ 40 ราย ซึ่งทางโครงการมกี ารต้ังตัวชว้ี ัดเพอ่ื ช้ีใหเ้ ห็นผล การดำเนินงาน คือ 1) กระบวนการแปรรูปเกษตรยั่งยืน เกษตรกรในพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดมีกระบวนการผลิตเห็ดที่มี คุณภาพโดยลดการใช้ต้นทุนที่สูง หลังจากที่เกษตรกรได้เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติจากโครงการของทาง ทีมงานแลว้ สามารถนำองคค์ วามรู้และประสบการณ์ดังกล่าวไปพฒั นาสร้างคณุ ค่าและผลิตผลของตนให้เกิดเป็น ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ทั้งยังสามารถนำผลติ ผลเหล่านั้นไปจัดจำหน่ายในท้องตลาด เพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพื่อให้เกิดรายได้ท่มี ากยิง่ ขึ้น รวมถึงเห็ดสดทไ่ี ด้จากกอ้ นเหด็ กย็ งั สามารถนำไปขายควบคู่ไปได้ดว้ ย
56 2) องค์ความรสู้ ฐู่ านราก เกดิ ความรคู้ วามเขา้ ใจ องคค์ วามรใู้ หม่แกก่ ลมุ่ เกษตรกรทปี่ ระกอบอาชีพ อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ในเรื่องของการนำเศษวัสดุเหลือใช้และพืชสมุนไพรที่พบได้ในพื้นที่ มาแปรรูปผลิตเป็นปุ๋ย อาทิ ฟางขา้ ว เศษผักทเ่ี หลอื จากการทำเกษตรกรรมและจดั จำหน่าย รปู ท่ี 1-1 กรรมวธิ ีการผลติ ก้อนเหด็ ที่มา: นุชรฐั บาลลา (2564) รปู ที่ 1-2 กอ้ นเหด็ นางฟา้ ทมี่ า: นชุ รัฐ บาลลา (2564) โดยที่มาของกิจกรรมการทำเห็ดฟางและสร้างผลิตภณั ฑ์จากวัตถดุ ิบมีทีม่ าจากการประกอบอาชพี ของประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองเจด็ ทางทีมงาน U2T ตรวจพบว่าหลังจากเสร็จสิ้นจากการทำนาของชาวบ้าน แล้ว ทำให้เกิดเศษวสั ดุคงเหลือจากการทำนา คือ “ฟางข้าว” ซึ่งโดยปกติแล้วเกษตรกรจะนำฟางข้าวทีเ่ หลือทง้ิ จากการทำเกษตรกรรมไปขายต่อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท หรือ เหมารวมขายจากทั้งไร่ของการทำนา โดยมี การประเมินราคาไร่ละ 600 บาท นอกจากจะมีการขายเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำฟางข้าวที่เป็นหนึ่งในอาชพี
57 เสรมิ ของชาวบ้านแลว้ ยงั มีการก่อรา่ งสรา้ งตัวของกล่มุ การผลิตเหด็ นางฟา้ ภฏู าน ทำให้ทางทมี งาน U2T ไดเ้ ข้าไป เรียนรู้และสอบถามถึงสาเหตุจำเป็นต้องขายฟางข้าวและไม่นำฟางข้าวทีเ่ หลือใชจ้ ากการเกษตรมาผลติ เหด็ ฟาง จึงพบปัญหาในเรื่องของการจัดเก็บผลผลิตเห็ดฟางที่มีอายุการเก็บที่สั้นไม่คุ้มทุนในการเพาะปลูก ทำให้ทาง ทีมงานก่อเกิดแนวคิดการพัฒนาสูตรก้อนเห็ดนางฟ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและผลผลิตที่เพิ่มมากยิ่งขน้ึ รวมถึงสามารถผลิตเห็ดฟางจากฟางข้าวที่เหลือจากการทำการเกษตร การแปรรูปเห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เพ่ือ พัฒนาการยืดอายสุ ำหรบั การจดั จำหน่ายในชอ่ งทางทมี่ คี วามหลากหลายมากขึน้ (นุชรัฐ บาลลา, 2564) จากกจิ กรรมการพฒั นาแปรรปู เห็ด ทำให้เกิดผลผลติ ตามความคาดหวังของโครงการ เช่น การทำ เห็ด การเปลี่ยนฟางข้าวเป็นเห็ดเพื่อเพิ่มรายได้ต่อชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุ ภัณฑ์เห็ดเขย่า การออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์เห็ดเขย่า การฝึกปฏิบัติการทำเห็ดเขย่า จัดทำคู่มือการ ปฏบิ ัติงาน สร้างองคค์ วามรู้ในการนำเศษวสั ดุเหลอื ทิ้งทางการเกษตรมาทำปุ๋ย รวมถงึ สรา้ งแนวทางการผลิตเห็ด ที่มีความแปลกใหม่หลากหลาย เพื่อเพิ่มศกั ยภาพของกลุ่มอาชพี ภายในชุมชน ให้มีทักษะอาชีพเท่าทันต่อความ ตอ้ งการของตลาดในปัจจุบัน รปู ที่ 1-3 การแปรรูปเหด็ ที่มา: นุชรฐั บาลลา (2564) รปู ท่ี 1-4 การร่วมทำกิจกรรมของชาวบา้ น ที่มา: นชุ รัฐ บาลลา (2564)
58 รปู ท่ี 1-5 ผลติ ภัณฑ์การแปรรูปเหด็ ทีม่ า: นุชรฐั บาลลา (2564) นอกจากทางทมี งาน U2T จะเขา้ ไปชว่ ยสง่ เสริมทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงเกษตรกรรมแล้ว ทาง ทีมงานยังมีการร่วมกบั ชุมชนในการพฒั นาเพื่อสร้างกิจกรรมการท่องเท่ยี วเชงิ เกษตรกรรม การท่องเทยี่ ววิถีชุมชน โดยทางทมี งานไดเ้ ขา้ ไปช่วยสร้างและวางแผนเส้นทางการทอ่ งเทยี่ วในชมุ ชนแบบ One Day Trip หรอื หนึ่งวันใน ตำบลคลองเจ็ด รวมถึงการเชิญวทิ ยากรจากภายนอกเข้ามาให้ความรเู้ กย่ี วกับการพัฒนาการท่องเท่ียว เพื่อใหเ้ กิด ประสิทธภิ าพตอ่ โครงการและแนวทางการพฒั นาการท่องเทย่ี วท่ถี ูกตอ้ งและทันสมัยนิยม โดยมกี ารจัดการสนทนา กลุ่มเพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงทัศนะในการจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวภายในพ้ืนที่คลองเจ็ด ทดสอบเส้นทางการ ทอ่ งเทยี่ ว การเดนิ ทางโดยรถบัส มกี ารระดมสมองของคนในชมุ ชนเพ่ือพัฒนาการท่องเทย่ี วในทุกตำบล กิจกรรมที่ 2 ท่องเท่ยี ววถิ ชี มุ ชนเกษตร (Agri-tourism) วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน มีการอบรมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบการ ท่องเทย่ี ววิถีชมุ ชน เพอื่ ดำเนินการจดั ทำแผนทเ่ี สน้ ทางการเดินทางในการท่องเท่ียวจากพื้นทช่ี มุ ชน เกดิ เปน็ แผนท่ี ชมุ ชนท่สี รา้ งแนวทางอัตลักษณ์ท่ีสะท้อนความเป็นมาของสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในพนื้ ท่ดี งั กล่าวได้อย่างโดดเด่น โดยมีกลมุ่ ผ้เู ข้ารว่ มโครงการทง้ั ส้ิน 40 ราย ซงึ่ ทางโครงการมีการต้ังตัวชี้วดั เพอื่ ชใ้ี หเ้ หน็ ผลการดำเนินงาน คอื 1) องค์ความรสู้ กู่ ารทอ่ งเท่ียวอยา่ งยง่ั ยืน ผ้ทู ม่ี าเข้ารว่ มโครงการไดร้ ับทราบและทำความเข้าใจถึง องค์ความรู้ในการออกแบบและจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยววิถีชุมชน เพื่อนำไปพัฒนาการ ทอ่ งเที่ยวท่ีจะเกดิ ขน้ึ ในอนาคต 2) เวทีสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนรว่ มในการช่วยออกความคิดเห็น แสดงถึงทัศนะของ ตนเองในการสร้างแผนที่การท่องเที่ยว เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทุกคน สามารถเข้ามาร่วมในการออกแบบพื้นที่การท่องเที่ยว เพื่อให้เห็นถึงการรับฟังเสียงของทุกภาคส่วนโดยพร้อม เพรยี งกัน
59 รปู ที่ 1-6 การอบรมสง่ เสรมิ ดา้ นการทอ่ งเท่ียว ที่มา: นชุ รัฐ บาลลา (2564) ทางทีมงาน U2T รว่ มกบั ชมุ ชนในการสร้างแบบแผนการทอ่ งเที่ยว ทำใหเ้ กิดผลตามความคาดหวัง ของโครงการเช่น แผนที่แนวเส้นทางการท่องเที่ยว ได้องค์ความรู้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผน ทอ่ งเที่ยววิถชี มุ ชน โดยเส้นทางจะเริม่ ต้นขน้ึ ที่หมู่ 3 ซง่ึ เปน็ พื้นทท่ี ี่มสี วนเกษตร การทำเกษตรแบบพอเพยี ง โดยมี การท่องเที่ยวตามเสน้ ทางไปจนถงึ หมู่ที่ 9 รวมถงึ มกี ารวางแผนสถานทที่ ่องเทยี่ วทีม่ ีความนา่ สนใจและกิจกรรมท่ี ให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกับชุมชน โดยใช้สโลแกน “ชนบทริมกรุงเทพ” เพื่อดึงดูดความสนใจ ของนักท่องเทีย่ วและสรา้ งอตั ลกั ษณ์เชิงพ้ืนท่ี
60 รปู ท่ี 1-7 ตัวอยา่ งแผนทที่ ่องเท่ียวตำบลคลองเจด็ ท่มี า: นชุ รฐั บาลลา (2564) กจิ กรรมที่ 3 การยกระดบั คณุ ภาพชวี ติ ดว้ ยเกษตรกงึ่ เมอื ง วธิ กี ารและข้ันตอนการดำเนนิ งาน มีการอบรมเพ่ือฝึกปฏบิ ัตกิ ารสง่ เสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านมี การทำเกษตรแบบปลอดภยั รวมถงึ การนำพชื พันธ์ุ สมุนไพรทม่ี ีอยู่ในพื้นท่ีมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยมีผมู้ าเขา้ ร่วมกิจกรรมดังกล่าวทัง้ สิ้น 40 ราย ซงึ่ ทางโครงการมีการตัง้ ตัวชี้วัดเพ่อื ช้ใี ห้เห็นผลการดำเนินงาน คอื 1) พื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดภัย กลุ่มผู้ที่มาเข้าร่วมในโครงการ เกษตรกรในพื้นที่มีการทำ เกษตรกรรมปลอดภัย โดยการปลกู ผกั ปลอดสารพิษเพอ่ื ใหเ้ กดิ ผลผลติ ท่มี ีความปลอดภัยและมคี ุณภาพ 2) องค์ความรูส้ ู่ชีวติ ประชาชนและกลุ่มเกษตรกรได้รับองค์ความรู้และสามารถนำไปปรับใช้ปลกู ผักในครวั เรือนของตนในชีวติ ประจำวันได้
61 3) วิถีแปรรูปอยา่ งยั่งยืน กลุ่มคนท่ีมีความเปราะบางสามารถนำพืชพันธ์ุ สมุนไพรพื้นบ้านมาแปร รูปเปน็ ผลติ ภณั ฑ์เพื่อจดั จำหน่ายตอ่ ไปทางธุรกิจ เชน่ ลกู ประคบ ยานวด เปน็ ตน้ รปู ท่ี 1-8 กิจกรรมการปลกู ผกั ปลอดภัย ทม่ี า: นุชรฐั บาลลา (2564) รปู ท่ี 1-9 กจิ กรรมการแปรรปู พืชพนั ธุ์ สมนุ ไพร ทม่ี า: นุชรฐั บาลลา (2564) จากกจิ กรรมการยกระดบั คุณภาพชีวติ ด้วยเกษตรกงึ่ เมือง ทำให้เกดิ ผลผลิตตามความคาดหวังของ โครงการ เช่น ลูกประคบ ยานวด รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับการร่วมปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มไป พัฒนาตอ่ ยอดการทำผลติ ภัณฑ์ด้วยวัตถุดบิ จากครัวเรอื นของตนเองได้
62 รปู ที่ 1-10 กิจกรรมการแปรรปู ผลิตภณั ฑ์จากสมุนไพร ท่ีมา: นชุ รฐั บาลลา (2564) ภาพรวมท่เี กิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ U2T 1) ผลติ ภณั ฑ์ทรงประสทิ ธภิ าพ เกดิ ผลผลิตก้อนเห็ดท่ีสรา้ งมูลคา่ มากขึ้นและมีการใช้ต้นทุนต่ำใน การผลติ 2) ผลิตภัณฑแ์ ปรรูปเชิงเกษตรกรรม เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลิตผลทางการเกษตร อาทิ เห็ด เขย่า ซึ่งเป็นการนำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเพื่อทอดกรอบพร้อมปรุงรสชาติให้เกดิ ความหลากหลายและตอบโจทย์ ผู้บริโภคตามสมยั นิยม เชน่ หมา่ ลา่ ชีส เปน็ ต้น 3) นวัตกรรมนำเกษตร เกิดผลิตภัณฑเ์ ห็ดฟางสดกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งดำเนินการผา่ นกระบวนการวิถี การผลิตที่ทำให้เห็ดสุกและบรรจุในถุงสุญญากาศ ทำให้สามารถเก็บผลติ ภัณฑเ์ อาไวไ้ ด้นานยงิ่ ขึน้ กวา่ เดมิ ง่ายตอ่ การนำไปบริโภคและอปุ โภค 4) แนวทางเศรษฐกิจหมนุ เวียน เกดิ ผลิตภัณฑ์ป๋ยุ หมกั อันเกดิ จากเศษวสั ดเุ หลอื ท้งิ ทางการเกษตรท่ี สร้างมลู ค่าเพม่ิ มากขึน้ ผลการเปล่ยี นแปลงทเ่ี กดิ ขึน้ ต่อกลมุ่ เปา้ หมาย 1) วิสาหกจิ ชุมชนยัง่ ยืน เกิดความพยายามในการเสริมสร้างและการจดั ต้ังกลุม่ ที่ยั่งยนื ในอนาคต เพื่อหาแนวทางให้เกิดความยั่งยืนต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชน และบรรลุเป้าประสงค์ตามเจตนารมณ์ ของโครงการทไ่ี ด้ตั้งเอาไว้ รวมถึงความยงั่ ยนื ทจี่ ะเกิดข้นึ กับภาคส่วนภาคีที่เขา้ มามีบทบาทในการดำเนินงานของ โครงการ 2) หน่วยงานเชิงบูรณาการ จากผลความสำเร็จของโครงการทำให้เกิดความยั่งยืนทางด้าน หน่วยงานราชการ โดยมีการสร้างความร่วมมือในระดับจังหวัด โดยมีประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่าง พัฒนาชมุ ชน อำเภอ ตำบล เพอ่ื ให้งานสามารถดำเนนิ ไปด้วยกนั ได้ภายใตพ้ ้นื ทกี่ ารทำงานเดยี วกนั 3) หลักสตู รเชงิ รุก รวมถึงมกี ารบูรณาการในการพัฒนาหลักสูตรของทางมหาวิทยาลยั อยา่ งยัง่ ยืน เนื่องจากคณะเกษตรเป็นคณะท่ีมคี วามรคู้ วามสามารถในเรอื่ งของการทำเกษตรกรรมอยู่แล้วท่ีสอดคล้องกับการ ทำงานในโครงการ เชน่ การทำเห็ด ที่บูรณาการรว่ มกบั การพฒั นารายวชิ าภายในคณะและมหาวิทยาลยั ส่วนใน
63 เรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยงจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจากคณะอื่น เพื่อเข้ามาบูรณาการในการให้ความรู้ในพื้นที่ หรือ สามารถจา้ งบุคคลภายนอกเพ่อื มาสรา้ งองคค์ วามรูแ้ ก่บคุ ลากรในพ้นื ที่ได้ จากการดำเนินงานของพื้นที่ที่ผ่านมา พบว่า ตำบลคลองเจ็ดเกิดผลสำเร็จโดยรวมเป็น “ชุมชน ยัง่ ยืน” โดยมีตัวช้วี ดั จากเป้าหมายท่ีมคี วามเขม้ แข็งเพิม่ มากย่งิ ขึ้นจากเดมิ ชมุ ชนมคี วามเข้มแข็งเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ มีตวั โครงการเข้ามาช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ และสามารถนำองค์ความรูท้ ไี่ ดร้ ับจากการฝกึ อบรมปฏิบัติไป ประกอบใชก้ ับการพฒั นาทกั ษะอาชพี เพอ่ื เสริมสรา้ งรายไดอ้ ย่างย่ังยนื การบริหารจดั การโครงการ สร้างรูปแบบการบริหาร “ประสานงานแบบกึ่งพี่น้องกึ่งบังคับบัญชา” ซึ่งเป็นรูปแบบการ ประสานงานผา่ นอาจารย์นกั พัฒนาแทนอาจารย์ทรี่ ับผิดชอบพ้ืนที่ เพ่ือใหเ้ กดิ การส่อื สารไปในทิศทางที่ดี รวมถึง ช่วยประสานงานปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากอาจารย์นักพัฒนามีช่วงวัยที่ใกล้เคียงกันกับอาจารย์ใน พืน้ ท่ี เพือ่ เปน็ การลดความกดดนั ลดขน้ั ตอนในการประสานงาน รวมถึงมีการรายงานตอ่ คณบดแี ตล่ ะคณะถึงผล การดำเนนิ งานทีเ่ กิดขนึ้ ของแต่ละทีมในพ้ืนท่ี ทีมอาจารย์ต้นแบบนักพัฒนา ทางมหาวิทยาลัยมีการจัดทีมอาจารย์นักพัฒนาเป็นการเฉพาะ ทั้งหมด 18 ท่าน โดยแบ่งออกเป็นด้านการศึกษา 4 ท่าน ด้านวิจัย 4 ท่าน ด้านการพัฒนาท้องถิ่น 10 ท่าน เพื่อให้มีการบูรณาการกันได้ในแต่ละชุมชนของแต่ละพื้นที่ รวมถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชนที่ทาง มหาวิทยาลยั ไดร้ บั มอบหมายในการรับผดิ ชอบ ทางมหาวิทยาลัยมีการสร้างต้นแบบอาจารย์นักพัฒนาในการลงพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงกับอาจารย์ใน มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการประสานงานระหวา่ ง พ้นื ท่ีชมุ ชน มหาวิทยาลยั อาจารย์ โดยจะมกี ารสรา้ งทมี ที่มีชื่อ เรียกว่า AM (Area manager) โดยให้ผู้จัดการ 1 คน ดูแลต่อ 1 ตำบล ประกอบด้วยอาจารย์นักพัฒนาที่มี หน้าที่ในการเช่อื มโยงประสานงานของทีม นอกจากน้ียงั เปิดโอกาสใหอ้ าจารย์ในมหาวิทยาลยั สามารถสมัครเป็น ลูกทมี ของ AM ได้ แต่ละทมี จะประกอบไปดว้ ยลกู ทีมทัง้ หมด 4 คน มกี ารบูรณาการร่วมกันของแต่ละทมี เพื่อให้ เกิดการประสานงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในแต่ละโครงการที่เกิดขึ้น โดยการสร้างต้นแบบอาจารย์ นกั พัฒนา เพอ่ื หาขอ้ มูลเกย่ี วกับชมุ ชนโดยเฉพาะอาจารยน์ ักพฒั นาจะมีการประสานงานระหว่าง ชุมชน อาจารย์ เจ้าของพื้นที่ มหาวิทยาลัย เพื่อทำงานแบบบูรณาการในการสร้างภาคีเครือข่ายผู้นำชุมชน อาจารย์ และ มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเตรียมการก่อนลงพื้นที่และสรา้ งความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน เพื่อให้การเข้าถึงพื้นที่ ทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบร่นื และมีประสิทธภิ าพ เมื่อทางมหาวิทยาลัยมีการสร้างทีมในการดูแลพื้นที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางผู้บริหารจะมีการ ประสานงานกับผู้ว่าของแต่ละจังหวัดและนายอำเภอในแต่ละพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบดูแลเพื่อแนะนำ ทีมงานในการเข้าไปปฏิบตั ิการในพื้นที่ดังกลา่ ว รวมถึงประสานงานผู้มีอทิ ธิพลของแต่ละพื้นทีเ่ พื่อให้ง่ายตอ่ การ เขา้ ถึงพน้ื ทแ่ี ละสร้างความเข้าใจตอ่ ประชาชนในชุมชน สร้างความสมั พันธเ์ ชงิ พืน้ ที่ ในลำดบั แรกทางทีมงาน AM หรอื Area Manager จะลงไปพน้ื ทเี่ พ่อื สำรวจพ้ืนที่เบ้อื งต้น โดยมีการเข้าพบกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เพ่อื แนะนำตวั เก่ียวกับรายละเอียดของ โครงการทีท่ างมหาวิทยาลัยต้องการเข้ามาดูแล รวมถึงมีการชีแ้ จงเพื่อสร้างความเข้าใจ จากนั้นทางทีมงานกจ็ ะ เขา้ พบ ผใู้ หญบ่ า้ น ผู้นำของแต่ละตำบล พ้ืนท่ี โดยทแี่ ต่ละพ้ืนทน่ี ั้นจะมีผนู้ ำที่แตกตา่ งกันออกไป เช่น บางพ้ืนท่ี
64 เป็น อสม. ผนู้ ำกลุ่ม ทำใหท้ มี งานมีความจำเปน็ ท่จี ะต้องลงสำรวจแทบทกุ พืน้ ท่ี เพื่อทีห่ าคนกลางในการประสาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของแต่ละพื้นที่ที่ทางมหาวิทยาลัยเข้าไปรับผิดชอบ ทางทีมงานจะเข้าไปสร้าง ความคุ้นเคย ความเข้าใจเบื้องต้น โดยการพูดคุยและสอบถามประชาชนในพื้นที่ จนได้ประเด็นปัญหาที่พบใน พื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในพื้นที่ เพื่อหาช่องว่าง และหาวิถีทางแก้ไขให้เกิดความสมบูรณ์และ ยงั่ ยืนแกช่ มุ ชนทส่ี ุด โดยทางมหาวิทยาลยั จะใหท้ มี อาจารยน์ กั พฒั นาและทมี จ้างงาน อว. เป็นผูท้ ่ลี งพื้นที่เพ่ือสร้าง ความรู้จกั รวมถึงขอ้ มูลทต่ี รงความตอ้ งการของชาวบา้ น ความร่วมมือเชิงภาคี การได้รับการช่วยเหลือจากภาคส่วนภาคีภายนอกเข้ามาช่วยขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดความสะดวกและประสิทธิภาพสูงสุดของพื้นที่ที่ทางมหาวิทยาลัยได้รบั เริ่มตั้งแต่การประสานงานใน ระดบั จงั หวดั กบั ทางผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช้ีแจง แนะแนวทาง การบรหิ ารโครงการ โดยทางมหาวิทยาลัยได้นำ ทมี ผบู้ ริหารเขา้ พบผู้วา่ ราชการจังหวัด เพือ่ ช้แี จงเกย่ี วกับรายละเอยี ดโครงการเพ่อื ทำความเขา้ ใจกับผู้นำในระดับ จังหวดั ตอ่ มาในระดับพืน้ ท่ีไดส้ ง่ ทมี อาจารยน์ กั พัฒนาในการเขา้ พ้ืนทเ่ี พอื่ สำรวจหาผทู้ ่ีดแู ลพนื้ ท่ีรวมถึงสามารถให้ ข้อมูลเกีย่ วกับพืน้ ที่ที่ทางมหาวิทยาลัยรับผิดชอบ อาทิ นายกองคก์ ารบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม. ผู้ที่มีอิทธิพลในพืน้ ที่นั้น ๆ เพื่อให้การประสานงานทีส่ ามารถดำเนินการไดต้ ั้งแต่ระดบั จังหวัดจนมาถึงใน พน้ื ท่ี เพอ่ื ให้ชาวบา้ นในพ้ืนท่ีไดร้ ับประโยชน์สงู สุดต่อโครงการและตอบโจทย์นโยบายของทางมหาวทิ ยาลัยด้วยใน การดำเนนิ การบริหารงาน มีการจัดการรับสมัครคนเข้าทำงานโดยใช้ระบบการสมัครออนไลน์ ทั้งหมด 100 % เนื่องจาก สถานการณ์โรคโคโรนา 2019 ท่ีเกดิ การแพรร่ ะบาดขึ้นในปีทผี่ า่ นมา ทำใหม้ มี าตรการที่ลดการพบปะและการเดิน ทางเข้ามาในพ้นื ทข่ี องทางมหาวทิ ยาลยั รวมถงึ ทางมหาวิทยาลยั มกี ารเลือกใช้เฉพาะการรบั สมคั รคนทีอ่ าศัยอยู่ใน พน้ื ท่ีนนั้ ๆ อยูแ่ ล้ว โดยไม่มกี ารสัมภาษณ์เนือ่ งจากมีจำนวนคนสมคั รงานทม่ี ีปริมาณมาก จึงเลือกใช้เกณฑ์การ รบั สมัครที่รบั เฉพาะคนที่อาศยั หรือประกอบอาชีพในพื้นที่ ขั้นตอนการทำงานของทีม U2T พ้ืนที่ตำบลคลองเจด็ ขัน้ ตอนท่ี 1 องค์กรแห่งการเรยี นรู้ ทางคณะทำงานดำเนินการสร้างแนวทางการเรียนรู้และวิธีการดำเนินงานของโครงการอย่างเป็น ระบบและมีขั้นตอน โดยทางทีมอาจารย์ผู้รับผิดชอบ มีประสบการณ์ความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้กับพื้นท่ี รวมถึงมกี ารศึกษาทบทวนวรรณกรรม งานศกึ ษา บริบทของพนื้ ทตี่ ำบลคลองเจ็ด เพอ่ื สะทอ้ นความต้องการของ พืน้ ทไ่ี ด้ตรงความตอ้ งการและชัดเจน ขน้ั ตอนที่ 2 วิเคราะหช์ อ่ งว่าง (Gap Analysis) สืบเสาะ ทำการศกึ ษา เพื่อหาขอ้ จำกดั ปัญหาที่อาจเกดิ ขึ้นกับชุมชน เพอ่ื นำมาเป็นแนวทาง กรอบ การปฏิบัติงาน ในการวิเคราะห์การดำเนินงานและปัญหาจากการดำเนินงาน ให้โครงการเกิดข้อผิดพลาดน้อย ที่สดุ
65 ขั้นตอนท่ี 3 เวทสี าธารณะ สร้างกลุ่มการเรียนรูโ้ ดยมีการเชญิ ผู้ท่ีมีสว่ นเกีย่ วข้อง ผู้ที่มีส่วนได้สว่ นเสยี ภายในพื้นที่ ร่วมกันจัด สัมมนากลุ่ม (Focus Group) เพือ่ ประสานงานในเรอ่ื งของการแกไ้ ขปญั หาของประชาชนกลมุ่ ผู้ทมี่ ีรายไดน้ อ้ ยและ พฒั นาคุณภาพชวี ิตของประชาชนภายในพืน้ ทใ่ี หส้ ามารถประกอบอาชีพทยี่ งั่ ยืน ม่ันคง ตอ่ ไปไดใ้ นอนาคต ขั้นตอนที่ 4 เลอื กคนใหต้ รงกบั งาน จัดการดำเนินการมอบหมายให้ผ้รู ับผิดชอบกจิ กรรมหลกั โดยการสรา้ งแผนกจิ กรรมการดำเนินงาน การปฏิบัติกิจกรรม การจัดตั้งทีมงานที่ประกอบไปด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ทีมจ้างงาน บัณฑิต ประชาชน ขัน้ ตอนที่ 5 สะทอ้ นองค์ความรู้ คณะทำงานและชุมชนร่วมกันจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างองค์ความรู้ สะท้อน คุณค่าของชุมชนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว ต่อยอดองค์ความรู้ชุมชน เพอ่ื นำมาพฒั นาคุณภาพชวี ติ และยกระดับการประกอบอาชพี ภายในชมุ ชนให้เกดิ ความยง่ั ยนื ในพน้ื ท่ี รปู ท่ี 1-1 กลยุทธก์ ารบริหารโครงการพื้นท่ีตำบลคลองเจ็ด ท่มี า: นุชรฐั บาลลา (2564)
66 การประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงาน เพิ่มเติมกับ องค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่นิ กรมพัฒนาชุมชน องคก์ ารระดับจังหวัด องคก์ รระดบั ตำบล หน่วยงาน อนื่ ๆ ทเ่ี กี่ยวข้องเพ่อื ใหเ้ กดิ การรบั รู้ รับทราบ รวมถึงเกิดความเขา้ ใจและชว่ ยกันติดตามงานตามนโยบายทแ่ี ต่ละ หน่วยได้รับมอบหมายในพื้นที่ เกิดการบูรณาการระหว่างหนว่ ยงานในพืน้ ที่และเสริมสร้างประสทิ ธิรูปที่ย่งั ยืนแก่ ชุมชนที่ได้รับมอบหมายในการดูแลมากที่สดุ รวมถึงหนว่ ยงานในพืน้ ทีส่ ามารถนำผลติ ผลของโครงการท่ีประสบ ความสำเรจ็ ไปต่อยอดตามแนวนโยบายของหนว่ ยงานของตนเองเพื่อร่วมพัฒนาชมุ ชนในระดับตอ่ ไปในอนาคต ปัจจยั หรือเง่อื นไขท่ที ำใหพ้ ื้นทปี่ ระสบความสำเรจ็ การสอดประสานนโยบายของทางมหาวทิ ยาลยั เขา้ มาช่วยสนบั สนุนสอดคล้องกับโครงการที่เกดิ ข้ึน ในพื้นที่ เกิดความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมอื ในการเข้าถึงพื้นที่ มีการเข้าถึง หมู่บ้านในพื้นที่เพื่อสรา้ งความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างมหาวิทยาลยั กับชุมชน รวมถึงทุกคนมีบทบาทของแต่ละคน รอ้ ยเรียงกันจนออกมาประสบความสำเร็จ โครงการจะไม่สามารถประสบความสำเรจ็ ได้โดยไม่ไดร้ ับความร่วมมือ จากทุกฝ่าย รูปแบบการประสานงานเชิงรุก มหาวิทยาลัยมีการประสานงานภาคส่วน ภาคีต่าง ๆ เพื่อให้ หน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล พื้นท่ีได้เข้ามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีบทบาทเพื่อขับเคลื่อนในการดำเนินงานร่วมกับทางมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบ ให้เกิดความประสบ ความสำเร็จตอ่ โครงการ สืบเนื่องจากสภาวะโรคระบาดท่กี ำลังเกดิ ขน้ึ ในหลายระลอกของประเทศ ทำใหก้ ารได้รับ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนช่วยอย่างมาก ทำให้โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ตาม เจตนารมณจ์ นถึงเป้าหมายทีไ่ ด้กำหนดเอาไว้ รวมถงึ รปู แบบการประสานงานระหวา่ งมหาวิทยาลัยกับชุมชนหรือ ภาคีอื่น ๆ มีการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคคลในพื้นที่ อาทิกลุ่ม ผู้นำในชุมชน ผู้ มีอิทธิพล ผู้ใหญ่บ้าน ในระดับพื้นที่ โดยได้รับการประสานงานโดยอาจารย์นักพัฒนาได้เข้าไปทำความคุ้นเคยและสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำรวมถึงประชาชนที่อาศัยในชุมชน เพื่อให้เกิดการปูทางเพื่อนำรายละเอียดเกี่ยวกับ โครงการเข้าไปส่ชู มุ ชนอย่างเกดิ ประสิทธภิ าพสงู สดุ ส่วนการประสานงานในระดบั จงั หวัด อาทิ ผวู้ า่ ราชการจังหวัด มกี ารประสานงานจากทางผู้บริหาร ทางมหาวิทยาลัย โดยทางมหาวิทยาลัยได้มีการเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งการดำเนินการในการปฏบิ ัติ โครงการ รวมถึงรายละเอียดโครงการ เพื่อประสานในการต่อยอดนโยบายของทางมหาวิทยาลัยให้เกิดความ ร่วมมอื ของ พช. จังหวัดซึง่ เป็นหนว่ ยท่ีมีหนา้ ที่ดแู ละและพฒั นาที่มคี วามสัมพันธก์ บั ชุมชนในพื้นทอ่ี ย่แู ลว้ ร่วมกับ ทีมงานของมหาวทิ ยาลัยในพนื้ ทีน่ นั้ ๆ ทีมงานจากพื้นที่ต้นแบบ ในช่วงต้นของการดำเนินโครงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงานในมิติ ของประชาชนที่มไี ม่เพยี งพอ เนือ่ งจากทางมหาวิทยาลยั เลือกคัดสรรคนทจี่ ะเขา้ มาร่วมปฏิบตั ิงานในทีมงานจาก พื้นที่ที่ประชาชนเหล่านั้นอาศัยในปัจจุบันหรือประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่นั้นเป็นหลัก โดยไม่ได้เลือกใช้วิธีการ สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทางมหาวิทยาลัยใช้ระบบการเลือกคนจากพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันเป็นหลักและมี ศักยภาพในการทำงานไดส้ อดคลอ้ งกบั เปา้ ประสงค์ของโครงการ
67 โดยการจ้างงานของทีมงาน U2T มีการเปิดสมัครรับทีมงานที่จะเข้ามาทำงานเป็นระยะตั้งแต่เร่ิม โครงการผา่ นทางระบบช่องทางออนไลน์ เพอื่ ลดการติดตอ่ กับบุคคลภายนอก รวมถงึ ความปลอดภัยของผู้สมัคร งานเอง เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา 2019 ที่มีความรนุ แรงในพน้ื ท่ดี งั กลา่ ว บทเรยี นการรบั มอื ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดทเี่ กิดขึ้นในพ้ืนทจ่ี ังหวดั ปทมุ ธานีจะประสบกับ วิกฤติมาหลายครั้ง แต่ในอีกทางหนึ่งทางทีมงาน U2T กลับมองเหน็ ชอ่ งทางในสถานการณ์ทเ่ี กิดขึ้น การทน่ี ำภาคี เครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับของพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนช่วยประสานงานและทำงานร่วมกัน ก่อให้เกิดภาคี เครือขา่ ยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เก่ยี วขอ้ ง รวมทง้ั เครอื ขา่ ยทร่ี ่วมมือกันในการพัฒนาชุมชน อาทิ องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ โรงพยาบาลส่งเสรมิ สขุ ภาพตำบล สำนกั งานพฒั นาชุมชน โรงเรียน ผนู้ ำชมุ ชน ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ข้าราชการ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญซึ่งมีส่วนส่งผลอย่างมากต่อการรับมือกับ สถานการณ์ปญั หาท่ีเกิดขึน้ ในพนื้ ที่ ซงึ่ ในพื้นทต่ี ำบลคลองเจ็ดค้นพบช่องทางในการแก้ไขปัญหาและรับมอื โดยการ พึ่งพาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อให้การปฏิบัติงานสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบ รื่น ซึ่ง หน่วยงานในพ้ืนที่ของตำบลคลองเจ็ดท่ีเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือทมี งานอย่างมาก ได้แก่ องค์การบรหิ าร ส่วนตำบลคลองเจด็ สำนกั งานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองหลวง โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สุขภาพตำบลคลองเจ็ด และ โรงเรยี นวดั อขู่ ้าว เกิดเป็น “โมเดลสีห่ วั ใจแห่งขุนเขา” รปู ที่ 1-2 รูปแบบการประสานงานเชงิ รุก “โมเดลสห่ี ัวใจแหง่ ขนุ เขา” ท่มี า: นชุ รฐั บาลลา, (2564) จากโมเดลสี่หัวใจแห่งขุนเขา จะเห็นถึงการประสานงานการรับมือภายใต้สถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโคโรนา 2019 ในรูปแบบของการ่วมมอื เชงิ พื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ท่มี บี ทบาทในการดูแลชุมชน หรือตงั้ อยู่ภายในชมุ ชน ทำให้การดำเนินการปฏิบตั งิ านเป็นไปตามแผนทก่ี ำหนดเอาไว้ รวมถึงสร้างความมั่นคง เหนียวแนน่ ตอ่ หนว่ ยงานทท่ี ำงานรว่ มกันภายในพืน้ ท่ีให้เกดิ ความร่วมมือตอ่ ไปในอนาคต ทง้ั นร้ี ะบบมหาวิทยาลัย อาจารยน์ ักพัฒนา ทีมบรหิ าร บุคลากรในคณะ ยงั เขา้ มาช่วยสนับสนุนให้ เกิดความสำเร็จในพื้นที่ ทกุ คนมคี วามถนัดในแต่ละหน้าทท่ี ่ีแตกต่างกันออกไป ดงั นั้นการร่วมมือกันจึงเป็นปัจจัย ไปส่คู วามสำเรจ็ ของพืน้ ท่ี
68 ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับภารกิจของโครงการและมีนโยบายในการบริหารที่เข้ามาช่วย สนับสนุนโครงการดงั กล่าวใหม้ ีประสิทธิภาพมากย่ิงขึ้น จึงทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้ภายใต้นโยบายท่ี เขา้ มาชว่ ยสนบั สนนุ ตลอดระยะเวลาการดำเนนิ โครงการ ภาคีเครือขา่ ยระดับจงั หวดั ใหก้ ารสนับสนุนอยา่ งเต็มที่ในการประสานงาน การเขา้ พบ การเชญิ เข้า มามีส่วนร่วมกับการปฏบิ ัติงานในพืน้ ท่ี ทางระดับจังหวัดให้เกียรตแิ ละให้ความสำคญั กับทางมหาวิทยาลัยอยา่ ง เต็มศกั ยภาพ รปู ท่ี 1-3 ยอ้ นรอยเสน้ ทางสูค่ วามสำเร็จพนื้ ท่ีตำบลคลองเจด็
69 พื้นทต่ี ำบลองครกั ษ์ อำเภอโพธท์ิ อง จงั หวดั อา่ งทอง คณะทำงานโครงการ: ผศ.ดร. พทิ ยา ใจคำ มหาวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏพระนครศรอี ยธุ ยา บรบิ ทของชมุ ชนพนื้ ทตี่ ำบลองครกั ษ์ สภาพทั่วไปของชุมชน จากข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์พบว่า ลักษณะของพื้นท่ี ตำบลองครักษเ์ ปน็ พ้ืนทีเ่ ชิงเกษตรกรรม มีพน้ื ทโี่ ดยรวมประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร มลี กั ษณะการแบ่งเขตการ ปกครองออกเป็นระดบั หมบู่ ้าน แบง่ ออกเปน็ 8 หมู่ ดงั น้ี หมู่ที่ 1 บ้านองครกั ษ์ หมูท่ ่ี 2 บ้านดงกระท้อน หมทู่ ่ี 3 บา้ นคลองวดั ไทร หมทู่ ี่ 4 บ้านท้องคงุ้ หมู่ท่ี 5 บา้ นหงษ์ หมูท่ ่ี 6 บ้านหงษ์ หมทู่ ี่ 7 บ้านประตูดนิ หม่ทู ่ี 8 บ้านเขาแกว้ จากการสำรวจของสำนักทะเบยี นอำเภอโพธิ์ทองทำให้เหน็ ภาพรวมของคนในพืน้ ทีพ่ บวา่ มีประชากร อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 5,000 คน โดยแยกออกเป็นประชากรเพศชาย จำนวน 2,349 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.39 ประชากรเพศหญงิ จำนวน 2,608 คน คิดเป็นร้อยละ 52.61 ของประชากรท้งั หมด มจี ำนวนครัวเรือนท้งั สิ้น 1,676 ครัวเรือน โดยความหนาแนน่ เฉลี่ยในพื้นทีต่ ำบลองครักษ์มีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 165.23 คนต่อตารางกโิ ลเมตร ประชากรภายในพน้ื ท่ีส่วนใหญ่นบั ถอื ศาสนาพุทธ อนั จะเหน็ ได้จากสถานที่สำคัญของตำบลทเ่ี ปน็ พุทธศาสนสถาน ได้แก่ วดั จุฬามุนี วัดสวุ รรณราชหงษ์ วดั ยางมณี และวดั เขาแกว้ เปน็ ตน้ รปู ท่ี 2-1 แสดงภาพภูมศิ าสตร์ตำบลองครักษ์ อำเภอโพธ์ทิ อง จังหวัดอ่างทอง ทม่ี า: พทิ ยา ใจคำ (2564)
70 มิติทางด้านเศรษฐกิจ พบว่าประชากรที่อาศัยภายในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมา คอื อาชพี ค้าขาย การเลีย้ งสัตว์ และรับจา้ งโดยทว่ั ไป ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ตำบลองครักษ์ มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่มที่มีความ อุดมสมบรู ณท์ างทรัพยากรธรรมชาติ เนอื่ งจากเปน็ พน้ื ท่ที ีม่ แี มน่ ้ำไหลผา่ น จึงเหมาะแกก่ ารทำเกษตรกรรม พื้นที่ ของตำบลองครกั ษร์ ้อยละ 70 – 80 เป็นพนื้ ที่เกษตรกรรม มีแหลง่ นำ้ ธรรมชาติ คือ มีแม่นำ้ น้อยและแมน่ ้ำสาขา ไหลผา่ น ในรปู แบบของคลองชลประทาน อาณาเขตของตำบลองครกั ษ์ ในทางทศิ เหนอื จะมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลจำลอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอา่ งทอง และตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ทางทิศใต้จะมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลบาง เจ้าฉา่ อำเภอโพธ์ทิ อง จงั หวัดอา่ งทอง ทางทศิ ตะวันออกจะมอี าณาเขตติดตอ่ กับตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และทางทิศตะวันตกจะมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และตำบลจำลอง อำเภอแสวงหา จงั หวัดอ่างทอง สำหรับจุดเด่น ศักยภาพ ความเข้มแข็งของชุมชน เนื่องจากชุมชนตำบลองครักษ์เป็นพื้นที่ เกษตรกรรมมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานเดิมของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นหลัก ทำให้ในพื้นที่ดังกล่าวมีผลิตผลทางการเกษตรค่อนข้างมาก เนื่องจากพืน้ ท่ีตำบลองครักษ์ เป็นพนื้ ที่ที่ค่อนขา้ งมคี วามอดุ มสมบรู ณ์ทางด้านทรัพยากรน้ำเปน็ อยา่ งมาก ทำให้ชุมชนมีผลผลิตทางการเกษตรที่ หลากหลาย เช่น มะม่วง กล้วย และฝรั่ง รวมทั้งผักและผลไมช้ นิดต่าง ๆ สืบเนื่องจากความอดุ มสมบูรณข์ อง พนื้ ที่ท่ีมีมากกว่าพืน้ ท่อี ืน่ ส่งผลให้ทรัพยากรของชุมชนในพ้ืนท่คี อ่ นข้างมีเพยี งพอตอ่ การนำไปพัฒนาศักยภาพใน การดำเนนิ โครงการที่จะเขา้ มาขบั เคล่อื นใหเ้ กดิ ประสทิ ธิภาพและประสทิ ธผิ ลต่อชมุ ชนอยา่ งยัง่ ยนื ในส่วนของข้อจำกัดหรือปัญหาของชุมชน ถึงแม้ว่าชุมชนตำบลองครักษ์จะเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ใน การทำเกษตรกรรมและมีผลผลิตทางการเกษตรทอ่ี อกมามากพอสมควร แต่เน่ืองจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อจากไวรสั โคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (COVID-19) ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไมส่ ามารถส่งผลผลติ ดังกล่าวออกไปยังชอ่ งทางการจดั จำหนา่ ยนอกพื้นทีไ่ ด้ เนือ่ งจากผลของสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคทำให้ เกิดการเดินทางที่ยากลำบาก รวมถึงนโยบายมาตรการการปิดเมืองในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความ เสียหายต่อผลผลิตของเกษตรกร ผลิตผลบางส่วนเกิดการเน่าเสีย และมีราคาที่ตกต่ำ ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้ เกษตรกรในพ้นื ท่ีขาดรายไดท้ ่ีเพยี งพอตอ่ การดำรงชีพ เพราะไมส่ ามารถสง่ ผลผลติ ออกไปจำหนา่ ยภายนอกพื้นที่ ได้ อีกทั้งองค์ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของคนในพื้นที่ยังมีไม่มากเพียงพอ อาทิ เช่น องค์ค วามรู้ในการ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการผลติ สมัยใหม่ การใช้ส่ือประชาสัมพนั ธ์ การสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทางออนไลน์ กลุ่มที่ทางทีมงานพบว่าเกิดปัญหามากที่สุด คือ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่มีอาชีพ เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ซึ่งกลุ่มดังกล่าวต้องมีการปรับตัวต่อการเรยี นรูแ้ ละเปลี่ยนแปลง วิธีการผลติ ท่เี ปล่ยี นไปจากเดมิ อยา่ งมาก แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามประชาชนในพื้นท่ีน้ันมีภมู ิปัญญาด้ังเดิมในการแปรรูป ผลิตภัณฑ์บ้างอยู่แล้ว เช่น การทำมะม่วงกวน การทำกล้วยตาก แต่ยังไม่ได้มีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ ของผลิตภัณฑใ์ ห้ได้มาตรฐาน และมมี ูลค่าสงู ข้ึนมากนัก รวมถึงผลิตภัณฑย์ ังมีอายุการเก็บรกั ษาทคี่ ่อนขา้ งสนั้
71 การดำเนินกิจกรรมของพ้นื ที่ชมุ ชนต้นแบบ ในด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางทีมงาน U2T ได้เข้าไปเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยการเสริมสร้างต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมของ ประชาชน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสงั คมภายในชุมชน รวมถึงการพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการใช้ต้นทุนจากความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของชมุ ชน ทำใหเ้ กิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ภายใตโ้ ครงการ รปู ที่ 2-2 แสดงการเขา้ ไปทำกจิ กรรม การถ่ายทอดองคค์ วามรูก้ ับชาวบา้ นภายในพ้นื ที่ ที่มา: พทิ ยา ใจคำ (2564) ซง่ึ กิจกรรมทีท่ างทมี งาน U2T ไดเ้ ขา้ ไปทำร่วมกับชาวบ้านหลกั ๆ แล้วจะเปน็ การเขา้ ไปช่วยในการ ต่อยอดผลติ ภัณฑท์ ที่ างชมุ ชนได้ทำกันอยู่แลว้ โดยทางทมี งานจะเสนอการปรับปรุงการทำผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์หรอื ความต้องการของผู้บริโภคยคุ ใหม่ เนื่องจากการปฏิบัติกจิ กรรมอยู่ภายใต้ผลกระทบจากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคจากไวรัส โคโรนา ทางคณะทำงานในพื้นที่จึงมีการสำรวจ การจัดการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเฝ้าระวงั เกี่ยวกับการประสานงานและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนา 2019 และโรคระบาด อยตู่ ลอดเวลา โดยมีการประสานงานผ่านผู้นำชุมชนตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ทำใหม้ ีข้อมลู ตา่ ง ๆ ที่ค่อนข้างต่อเนื่อง ครบถ้วน เป็นระบบ ง่ายต่อการดำเนินงาน อีกทั้งเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจกรรม ของคณะทำงาน นอกจากนัน้ คณะทำงานยังไดด้ ำเนนิ กิจกรรมในการพฒั นาและยกระดับคณุ ภาพผลติ ภัณฑ์ เพื่อให้ มีอายุการเกบ็ ยาวนานมากยิง่ ข้ึน การพัฒนาบรรจุภณั ฑ์ แบรนด์สินค้า ฉลากสินค้า การส่งเสรมิ ด้านการตลาด ผา่ นชอ่ งทางออนไลน์ และการจดั ทำส่ือประชาสมั พันธ์ต่าง ๆ ในการดำเนนิ กิจกรรมในพื้นท่ี เพอ่ื ต้องการให้เกิด กลุ่มต้นแบบในพื้นที่ และให้เกิดการขยายเครือข่ายออกไปในวงกว้างออกไปภายนอกพื้นที่ เพื่อให้เกิดการสรา้ ง
72 รายได้และสร้างชื่อเสียงที่จะสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนตำบลองครักษ์ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถแบ่ง กจิ กรรมออกเปน็ ดงั นี้ กิจกรรมการสร้างอาชพี และยกระดับผลติ ภัณฑ์ มขี ัน้ ตอนการดำเนนิ งาน โดยการจัดกจิ กรรมการอบรมเชิงปฏิบัติให้ชาวบา้ นทส่ี นใจเข้ามาร่วม เพ่ือ ฝกึ ปฏิบัตกิ ารดา้ นการยกระดับคณุ ภาพของผลิตภณั ฑ์ ทางทีมงาน U2T ได้เขา้ ไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอด ผลติ ภัณฑ์ที่ทางชุมชนมีอยแู่ ล้วกอ่ นหน้า เพือ่ พฒั นากระบวนการแปรรูปใหไ้ ด้คุณภาพและมาตรฐาน โดยใช้องค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวตั กรรมด้านอาหารมาใชใ้ นการปรับปรุงคณุ ภาพของผลิตภณั ฑ์ ตั้งแต่ ข้ันตอนการเตรียมวัตถดุ ิบและการแปรรูป อาทเิ ช่น การใช้วัตถเุ จือปนอาหารท่มี ีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพื่อ ปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัส อาทิเช่น ด้านรสชาติ กลิ่น และสี ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากยิ่งข้นึ กวา่ เดิม ตัวอย่างเชน่ จากเดมิ ทม่ี กี ารทำมะม่วงแผน่ แบบดัง้ เดิม ทางทมี งานจงึ เข้าไปชว่ ยในการให้องค์ความรู้ใน การนำวัตถเุ จือปนอาหารเข้ามาช่วยการแปรรูปผลิตภัณฑใ์ ห้มีคุณภาพมากยิ่งข้ึน ทำให้ผลิตภณั ฑ์มีลักษณะเนือ้ สัมผัสที่ดีกว่าเดิม รวมไปถึงมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านสามารถเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อรอ จำหน่ายได้ นอกจากนั้นส่งเสริมความรูด้ ้านการพฒั นาและยกระดบั ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น น้ำพริกนรก ปลาร้าบอง น้ำพริกกากหมู กลว้ ยฉาบ ผกั ปลอดสารพิษ ปลารา้ และกะปิ เป็นตน้ รปู ท่ี 2-3 ผลติ ภัณฑก์ ารแปรรูป “มะมว่ งแผ่น” ทมี่ า: พทิ ยา ใจคำ (2564) รปู ที่ 2-4 ผลิตภัณฑ์การแปรรปู “กล้วยฉาบ”
73 ท่มี า: พิทยา ใจคำ (2564) รปู ท่ี 2-5 ผลิตภัณฑ์ “นำ้ พรกิ องครกั ษแ์ ซ่บ” ที่มา: พทิ ยา ใจคำ (2564) รปู ท่ี 2-6 การร่วมกนั ถ่ายทอดเพือ่ พฒั นาทกั ษะอาชีพใหก้ บั คนในชมุ ชน ทม่ี า: พทิ ยา ใจคำ (2564)
74 รปู ที่ 2-7 แสดงการพฒั นาผลติ ภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ที่มา: พิทยา ใจคำ (2564) รปู ที่ 2-8 แสดงการอบรมเชิงปฏบิ ตั กิ ารเพื่อยกระดับผลติ ภัณฑ์ ท่มี า: พิทยา ใจคำ (2564) ผลสำเร็จท่เี กดิ ขึ้นจากโครงการ วิสาหกิจชุมชน โดยทางทีมงานเข้าไปช่วยกลุ่มเกษตรกรและชาวบ้าน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ตรายี่ห้อ ฉลากของผลิตภัณฑ์ให้สอดคลอ้ งกับบริบททางสังคม ความนิยมของผู้บริโภค และกระแส ทางเทคโนโลยีทีเ่ ปล่ยี นแปลงไปอย่างรวดเรว็ เพื่อใหผ้ ลิตภัณฑส์ ามารถเข้าถงึ กลมุ่ ลกู ค้าเป้าหมายได้มากย่งิ ข้นึ ชมุ ชนตน้ แบบเกษตรปลอดภยั ม่งุ เนน้ ไปทีก่ ารเสริมสรา้ งการทำเกษตรแบบปลอดภัยในชมุ ชน โดย มจี ุดประสงคเ์ พ่อื พฒั นาพื้นที่ตำบลองครักษ์ใหเ้ ป็นชุมชนต้นแบบดา้ นเกษตรปลอดภยั และได้มาตรฐาน (GAP) มี
75 การรว่ มกันพัฒนาเพือ่ จัดตัง้ การสร้างศูนยก์ ารเรยี นรู้ภายในพื้นท่ีดงั กล่าว เพ่ือใหช้ าวบ้านไดม้ ีแหล่งเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ศูนย์การเรียนรู้เกษตรอาหารปลอดภัย “บ้านสวนธนวัฒน์” ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงตำบลองครักษ์ และศูนย์การเรียนรกู้ ารทำเกษตรผสมผสานตำบลองครักษ์ “วดั เข้าแกว้ ” รปู ท่ี 2-9 แสดงการสง่ เสรมิ การทำเกษตรปลอดภัย ที่มา: พิทยา ใจคำ (2564) สืบสานผลิตภัณฑ์ การทำงานของทีมงาน U2T มีการดำเนินการภายใต้การต่อยอดจากโครงการ เดิม คือ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ภายใต้โครงการยทุ ธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพฒั นาท้องถิ่นของ มหาวิทยาลยั ราชภฏั พระนครศรอี ยธุ ยา ทำใหท้ างทีมงานมสี ว่ นในการต่อยอดการทำผลิตภณั ฑต์ ่าง ๆ โดยมีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาทั้งสิ้น 13 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน รวมถึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกระดับการพัฒนา กจิ กรรมทีท่ ำกอ่ นมีโครงการอยูแ่ ล้วให้เกดิ ประสิทธิภาพและความยั่งยนื โดยการบูรณาการองคค์ วามรขู้ องอาจารย์ ซึ่งเป็นคณะทำงานของทางมหาวิทยาลัย ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คหกรรมศาสตร์ และ เกษตรศาสตร์ ควบค่กู บั การบูรณาการระหว่างภมู ิปัญญาของคนในชมุ ชน สายสมั พนั ธช์ มุ ชน นอกเหนอื จากการปฏิบัตกิ ิจกรรมในพืน้ ท่แี ลว้ จากการทำโครงการในพน้ื ท่ีทำให้ ชาวบ้าน เกษตรกรที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนที่ได้เข้ามาร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมกับทางโครงการ U2T เกิด ความรู้สึกผูกพัน ความรัก ความสามัคคี ที่แน่นแฟ้นมากย่ิงขึ้นกับคนในพื้นที่ รวมถึงความสัมพันธอ์ นั ดีกับทาง มหาวิทยาลัยท่ไี ดล้ งไปปฏิบัตงิ านในพ้นื ท่ี จะเหน็ ว่าการดำเนินงานภายใตโ้ ครงการ U2T นอกจากจะนำมาซ่ึงการ พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนแล้ว นอกจากทำให้รายได้ของประชาชนเพิ่มข้ึ น ยังนำพามาซ่ึง ความสมั พนั ธ์อนั ดขี องท้งั คนในชุมชนและมหาวทิ ยาลัย ซ่ึงจะเป็นผลดีตอ่ การทำงานร่วมกันในอนาคต วิถีทางแหง่ รายได้ การทำโครงการทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ เพิ่มมากขึ้น จากการเพิ่มช่องทางการตลาดในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์นอกจากจะจำหน่ายใน พ้นื ทีแ่ ล้ว ยงั สามารถพัฒนาต่อยอดระดับผลิตภณั ฑจ์ นสามารถนำไปจำหนา่ ยในห้างสรรพสนิ คา้ ได้ ซ่ึงทำให้เห็น วา่ จากแตก่ ่อนทโ่ี ครงการจะเข้าไปมบี ทบาทการทำงานภายในพ้ืนท่ี พ้ืนทีด่ งั กลา่ วยังมีวธิ ีการผลิตแบบดั้งเดิมโดย ใช้ภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม แต่เมื่อมีโครงการเข้าไปสนับสนุน เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การชว่ ยควบคมุ คุณภาพผลติ ภัณฑ์ รวมถงึ วิธกี ารผลติ ที่ใชอ้ งคค์ วามรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านอาหาร เข้าไปช่วยในการปรับปรุงกลิ่น สี รสชาติ และเนื้อสัมผสั ทำให้ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน และสะท้อนความ
76 เป็นชุมชนออกมาได้อย่างเด่นชัด พร้อมทั้งสร้างมูลค่าแก่ผลผลิต ทำให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้ให้ตนเองได้ อยา่ งยั่งยืน จากการปฏิบัตงิ านของทีมงาน U2T ในพ้ืนที่ทำใหท้ ราบถงึ ผลการเปลยี่ นแปลงท่เี หน็ ได้นอ้ ยคือ เรื่อง รายได้ เพราะเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถรวมตัวกันเพ่ือ ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมที่เกิดขนึ้ ในพ้นื ที่ได้ ดงั น้ันทางมหาวิทยาลยั จงึ จะมกี ารตอ่ ยอดการทำกจิ กรรมในประเด็นด้านการ เพมิ่ รายได้ในโครงการตา่ ง ๆ ตอ่ ไป เพ่อื ให้เกดิ ประโยชนส์ ูงสุดต่อชมุ ชน ในการสรา้ งอาชพี และรายไดใ้ นอนาคต การบริหารจัดการโครงการ ระบบการวางคนให้ตรงกับงาน ทางทีมอาจารย์ในโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัย มีการสร้าง ระบบการคัดสรรและสร้างขน้ั ตอนในการพจิ ารณาศกั ยภาพของบณั ฑิตแตล่ ะท่านทจ่ี ะเข้ามาเป็นทีมงานในแต่ละ สว่ นงาน เพื่อใหบ้ ณั ฑติ มีคณุ สมบัติเหมาะสมและมคี วามสามารถตรงในการทำงานแต่ละตำแหน่ง ดังนั้นบัณฑิต คนที่ได้รับตำแหน่งนัน้ ๆ ก็จะเกิดประสทิ ธิภาพสงู สดุ ในการทำงาน เพราะแต่ละคนยอ่ มมีศกั ยรูปที่ไมเ่ ท่าเทยี ม กันในการปฏิบัติงานในแต่ละมิติ ดังนั้นการติดตามเพ่ือสืบทราบและสนับสนนุ ใหบ้ ัณฑิตแตล่ ะคนมีการทำงานที่ เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่หรือศักยภาพของตนเอง ตามกรอบงาน แนวทาง นโยบาย ที่ทางทีมงานในพื้นที่ ไดร้ บั มอบหมาย จงึ เป็นหน่ึงในวธิ ีที่ทางทมี อาจารยเ์ ลอื กใช้เพ่ือจัดตง้ั ทีมให้เกิดคณุ ภาพตอ่ งานสูงสุด ท้ังยังส่งผล ต่อประสทิ ธิภาพการทำงานในพื้นท่ที ี่เพิม่ มากขนึ้ อกี ด้วย ทางมหาวิทยาลยั มีการจ้างงานครบทง้ั 20 ตำแหน่ง ตามท่ที าง อว. ไดก้ ำหนดมาใหใ้ นมิติด้านการ จา้ งงาน โดยในประเดน็ ดงั กลา่ วพบวา่ ไมไ่ ด้เกิดปัญหาเร่อื งการจา้ งงาน เพราะทางมหาวิทยาลัยก่อนจะมีโครงการ และก่อนจะเริ่มโครงการมกี ารติดต่อประสานงานและทำงานกับคนในพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งเป็นโครงการยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลยั เพ่อื การพฒั นาท้องถิ่น จงึ มีความสมั พนั ธ์และการติดต่อกบั ทางผู้นำชมุ ชนในพื้นท่ีท่ีได้รับมอบหมาย อยู่ก่อนแล้ว จงึ ไมไ่ ด้เกดิ ความยงุ่ ยากในการจ้างงาน เพราะเมื่อทางมหาวิทยาลัยต้องการคนมาสมัครในตำแหน่ง ต่าง ๆ ของทีม ทางผู้นำชุมชน/ผู้นำในพื้นที่ที่จะเป็นคนที่เข้ามามีบทบาทในการคัดกรองคนให้กับทาง มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคนในตำบล ทำให้สามารถทำงานในพื้นทีไ่ ดง้ ่ายและไมเ่ กิดปัญหาเรื่อง การจา้ งงานขนึ้ ซึง่ ทางมหาวิทยาลยั มีการตงั้ เกณฑ์วา่ จะไม่รับคนนอกพืน้ ที่เข้ามาทำงานภายในทมี โดยจะมีการ คดั เลือกบณั ฑติ และประชาชนท่อี ยูใ่ นพ้ืนท่ีตำบลนั้นหรือตำบลใกลเ้ คยี งเท่าน้ันทจ่ี ะเขา้ มาทำงาน เน่อื งจากงานใน บริบทดงั กลา่ วจำเป็นท่จี ะต้องอาศัยคนทอี่ าศัยอยู่ในพ้นื ที่เปน็ คนขับเคลื่อนหลักในการปฏิบตั ิการดา้ นต่าง ๆ ที่จะ เกิดขน้ึ ภายในโครงการ จากการประสานงานของคนในพื้นท่ที ำให้มผี คู้ นรับรูแ้ ละเข้ามาสมัครเป็นจำนวนมากจนเกินจำนวน ที่โครงการกำหนดเอาไว้ ซ่ึงทางอาจารย์ผ้รู บั ผดิ ชอบในพื้นที่มีการคัดเลือกบณั ฑิตท่ีตรงกับสายงานการทำงานใน แต่ละตำแหน่ง อาทิ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเกษตร การเก็บข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการตลาด ซึ่งทำใหเ้ ห็นว่าแต่ละตำแหน่งจะได้คนที่จบการศึกษาตรงสายงานเฉพาะ ทำให้ทีมมี ศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าไปทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังได้รับการอนุมัติให้จ้างงาน เพิม่ เตมิ อกี 13 ตำแหน่ง เนอ่ื งจากทางมหาวทิ ยาลยั เหน็ ถงึ ศกั ยภาพของตำบล จงึ ไดร้ บั การพจิ ารณาเพือ่ เพิม่ บคุ ล การใหก้ บั ทีมงานในพ้ืนที่
77 สำหรับจดุ เด่นของการจา้ งงานของทีมงาน U2T คือ มีผู้นำชุมชน ผใู้ หญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเข้า มาช่วยในการคดั กรองการเลอื กคนทเ่ี ขา้ มาทำงานภายในพน้ื ที่ จึงเหมือนมีหนว่ ยงานเข้ามาช่วยคดั กรองคนให้ตรง บทบาทสถานภาพในการทำงานมากย่งิ ขึ้น นอกจากการจ้างงานมีปญั หาเกิดขน้ึ เก่ียวกับการแบ่งงานของทีมงาน U2T ผลปรากฏว่าทีมงานบาง คนได้ปริมาณงานเยอะงานนอ้ ยและเงินเดือนทีไ่ ด้รับไมเ่ ท่าเทียมกัน ทางอาจารย์มีการเข้าไปสนบั สนุนช่วยเหลอื เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันของทีมงาน โดยให้แต่ละคนใช้ศักยภาพตามงานของตนเองที่จะได้รับตามกรอบ แนวทางทที่ างมหาวทิ ยาลัยได้รับและรบั ผดิ ชอบภายในพืน้ ท่ี ระบบการติดตามงาน ทางคณะทำงาน U2T ได้มีการจัดต้ังเจา้ หน้าที่ในการติดตามประสานงานกบั คณะทำงานในพื้นที่ โดยทางทีมงานจะมีการนำส่งข้อมูลรายงานกิจกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน ตามกรอบ แนวทาง และนโยบายทที่ างคณะทำงานได้กำหนดเอาไว้ตั้งแตม่ ีการเรมิ่ ต้นโครงการ เพ่ือให้มกี ารติดตามงานเป็น ระยะ ขั้นตอน และสามารถกำหนดทิศทาง แนวทางการดำเนนิ งานตอ่ ไปอย่างมีความสอดคล้องกบั บริบทพื้นท่ี รวมถึงสถานการณ์จริงในพื้นท่ี ทำให้ทมี งานทุกคนมคี วามกระตือรอื รน้ ในทำงาน มหาวิทยาลัยสนับสนุน นอกจากการติดตามของอาจารย์ผู้รับผิดชอบภายในพื้นที่แล้ว ทาง มหาวิทยาลัยยังมีหน้าที่ในการช่วยกำกับ ติดตาม ดูแล ว่าคณะทำงานสามารถปฏิบัติกิจกรรมให้เป็นไปตาม เจตนารมณท์ ี่ได้กำหนดเอาไว้ในกรอบแนวคิดและนโยบายของโครงการหรอื ไม่ เพอ่ื ทำใหเ้ กิดประสิทธิภาพสูงสุด ต่อโครงการและส่งผลให้ทางมหาวิทยาลัยสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนตอ่ ไปได้ในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นชุมชนเองก็ สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพของกลุ่มตนเองเมื่อไม่มีโครงการเข้ามาสนับสนุนแล้วก็ตาม ทำให้เห็นว่าทาง มหาวิทยาลัยยังคอยเป็นหน่วยงานในการควบคุมทีมงานแต่ละทีม เพื่อช่วยสนับสนุนให้แต่ละโครงการสามารถ ดำเนนิ งานตอ่ ไปได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพมากทส่ี ดุ ตามแนวทางทกี่ ระทรวง อว. กำหนดเอาไว้ หลักประนีประนอม บางครั้งหน่วยงานในพื้นที่มีความสัมพนั ธ์กันในทางลบ ทำให้ทีมงานมีความ จำเป็นที่จะต้องมกี ารบริหารเพอ่ื เช่อื มประสานระหวา่ งหน่วยงานโดยการพูดคุย ชแ้ี จงกบั ทกุ ฝา่ ยเพื่อให้เกิดความ เข้าใจในทุกระดับ เพื่อให้ดำเนินโครงการต่อไปได้ เพราะถ้าไม่สามารถประสานงานกับทุกหนว่ ยงานในพ้ืนที่ได้ การทำงานจะเปน็ ไปอยา่ งยากลำบากเพราะ หน่วยงานในแต่ละแห่งจะเกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน อกี ท้ังยังอาจจะ เปน็ การสรา้ งความสมั พนั ธ์ทางลบท่เี พิม่ มากข้นึ ไปอีก ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ภาคส่วนที่เข้ามามีบทบาทในโครงการและการให้ความร่วมมือ ของแต่ละกิจกรรมของทางโครงการ U2T รวมถงึ เขา้ มาช่วยสนับสนุนทรัพยากรของโครงการให้เกิดผลสำเร็จ โดย ทางทมี งาน U2T มีการจัดประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายท่ีเกีย่ วขอ้ งกับทง้ั ภาครฐั ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถงึ มกี ารประสานงานร่วมมือกับผู้นำชุมชนในทุกระดบั ตั้งแตร่ ะดับจังหวดั อำเภอ ตำบล จนถงึ ระดบั พ้นื ท่ี โดยทางทีมงานมีบทบาทเป็นตัวกลางในการประสานงานร่วมกับผู้นำของแต่ละฝ่ายในพื้นที่ อาทิ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ผู้ที่สามารถติดต่อสื่อสาร ประสานงานภายในพ้ืนที่ให้เกิดความเข้าใจทีต่ รงกันได้ ซึ่งตลอดการทำงานดำเนินการตามภารกิจของโครงการ U2T ทางมหาวิทยาลัยมีการร่วมมือประสานงานกับทุกหน่วยงาน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น อำเภอ ตำบล โดยตง้ั แตม่ กี ารริเริม่ โครงการทางมหาวิทยาลัยมกี ารนำสารจากทางผู้บริหารของทางมหาวิทยาลัยเพ่ือแจ้ง รายละเอียดโครงการ เจตนารมณ์ ตอ่ หน่วยงานในพื้นที่ต่าง ๆ ทมี่ สี ่วนในการรบั ผิดชอบ อาทิ ทางผู้บริหารของ มหาวิทยาลยั โดยท่านรองอธิการบดไี ด้เข้าไปชแ้ี จงรายละเอยี ดเกี่ยวกบั โครงการ มีการแลกเปลี่ยน การพูดคุยกับ
78 ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำในระดับต่าง ๆ ทำให้ทีมงานเกิดภาคีเครือข่ายท้ังระดบั อำเภอและในระดับจังหวัด จึง สะดวกต่อการปฏิบัติกิจกรรมทจ่ี ะเกดิ ขนึ้ ในพืน้ ทโ่ี ดยไมม่ ีความทับซอ้ นกัน เพอ่ื ใหก้ ารปฏบิ ตั กิ ารตามโครงการที่ได้ รบั ผิดชอบเกดิ การทำงานทสี่ อดประสานงานกนั ในแตล่ ะพ้นื ที่ สอดคลอ้ งตามแนวทางและนโยบายทีเ่ กดิ ขึ้นของแต่ ละหน่วยงาน รปู ท่ี 2-1 กลยทุ ธก์ ารบริหารโครงการพืน้ ท่ตี ำบลองครักษ์ ทม่ี า: พิทยา ใจคำ (2564) ปจั จัยหรอื เงื่อนไขท่ีทำใหพ้ ื้นทปี่ ระสบความสำเรจ็ การวางแผนอย่างเป็นระบบ เนื่องจากอาจารย์ผู้รับผดิ ชอบพื้นที่มีความสัมพันธ์ ความคุ้นชินและ เคยร่วมงานการปฏิบัติกิจกรรมภายใต้โครงการต่าง ๆ กับชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ซึ่งมีการทำงานร่วมกัน เกยี่ วกับการพัฒนาตอ่ ยอดผลติ ภณั ฑ์ OTOP ทำให้มคี วามเขา้ ใจในบรบิ ทของพ้ืนท่ี จุดเดน่ ศกั ยภาพ จดุ ด้อยของ พื้นที่ที่ควรปรับปรุง รวมทั้งมีช่องทางการติดต่อส่ือสาร ประสานงานกับผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหาร ส่วนตำบล รวมถึงชุมชนภายในพ้ืนท่ีรับผิดชอบ ทำให้เป็นอกี หน่ึงปจั จยั ท่ีร่วมส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ U2T ทีมงานคุณภาพ การทุ่มเทของทีมงาน U2T ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานให้ เป็นไปตามเป้าวัตถุประสงค์ของทางทีมงานที่ตั้งเอาไว้ต้ังแต่เริ่มโครงการ ซึ่งประกอบกับสถานการณ์การระบาด ของโรคโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้น ทำให้การทำงานเปน็ ไปอยา่ งยากลำบาก แต่ถึงกระนัน้ ความทุม่ เทของทีมงานก็ สามารถทำใหโ้ ครงการเห็นผลออกมาเป็นรูปธรรมและตอบโจทย์ชมุ ชนได้ นอกจากนี้ยงั มีการเชญิ หน่วยงานทั้งใน
79 ระดบั อำเภอและในระดบั จงั หวัด เข้ามามีบทบาทตอ่ ยอดในการทำงานและเข้าร่วมกจิ กรรมต่าง ๆ ทเ่ี กดิ ขนึ้ เช่น เกษตรอำเภอ เกษตรและสหกรณจ์ ังหวัด มาร่วมในการทำกิจกรรมที่เกดิ ข้ึนดว้ ย ซ่งึ แสดงถงึ ความต้ังใจของผู้นำ ชุมชนที่อยากจะขับเคลื่อนพื้นที่ไปด้วยกันกับทางมหาวิทยาลัย โดยการให้ความร่วมมือและร่วมแสดงความ คดิ เหน็ /แนวทางในการปฏิบตั ิกจิ กรรมตา่ ง ๆ ตลอดการดำเนนิ โครงการ ประสานงานจากต้นนำ้ ถงึ ปลายน้ำ จากการดำเนนิ โครงการพบว่า ปัจจยั แหง่ ความสำเร็จ คือ การ ทีท่ างทมี งาน U2T สามารถประสานการทำงานรว่ มกับผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสียทกุ ระดับ ทั้งระดับจงั หวัด อำเภอ ตำบล และผนู้ ำในพื้นที่ เมื่อทกุ ฝ่ายสามารถบูรณาการต่อยอดร่วมกันหรือขับเคล่ือนไปในทศิ ทางเดยี วกันภายใต้นโยบาย ของแตล่ ะหน่วยงานได้ ย่อมทำใหเ้ กิดความมั่นใจแก่ชุมชนว่าโครงการ U2T สามารถเข้ามาชว่ ยสนับสนนุ และไม่ ทอดทิ้งคนในพน้ื ท่ี พร้อมท่ีจะยืนเคยี งข้างและนำพาชมุ ชนก้าวไปดว้ ยกนั อย่างย่ังยืน ต่อยอดนโยบายเครือข่ายภาคี นอกเหนอื จากน้นั ทางทมี งาน U2T ยงั มกี ารทำงานร่วมกับหน่วยงาน ราชการทงั้ ในระดบั อำเภอและในระดับจังหวัด ทำใหห้ น่วยงานดงั กล่าวทราบถงึ วตั ถุประสงค์และรายละเอียดของ โครงการมาต้งั แตเ่ รมิ่ มีการปฏิบตั ิกจิ กรรมของโครงการ เมอื่ โครงการเสรจ็ สน้ิ ลงข้อมูลท้งั หมดได้ถูกสง่ ต่อให้หน่วย การตา่ ง ๆ เพื่อนำไปใช้และขยายเพอื่ ให้เกิดประโยชน์ในพัฒนาพ้ืนท่ใี นระยะต่อไปหรอื ในอนาคต
80 รปู ท่ี 2-2 ยอ้ นรอยเสน้ ทางสูค่ วามสำเรจ็ พ้นื ท่ตี ำบลองครกั ษ์
81 พน้ื ทต่ี ำบลบา้ นเลน อำเภอบางปะอนิ จงั หวดั พระนครศรอี ยธุ ยา คณะทำงานโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร ภาคีฉาย มหาวทิ ยาลยั : มหาวทิ ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภมู ิ บริบทของชมุ ชนพนื้ ทตี่ ำบลบา้ นเลน สภาพทัว่ ไปของชมุ ชนตำบลบา้ นเลน อำเภอบางปะอิน จังหวดั พระนครศรอี ยุธยา มีพน้ื ที่ประมาณ 9.5 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งน้ำที่ส ำคัญ และมีคลอง เชื่อมโยงเกือบทั่วบริเวณพื้นที่ เช่น คลองบางโหง คลองบางเลน คลองราชดำริ เป็นต้น พื้นที่ตำบลบ้านเลน ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ปกครองโดย 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลปราสาททอง และเทศบาลบางปะอิน โดยมี จำนวนประชากร 11,435 คน ประกอบด้วย ประชากรชายจำนวน 5,553 คน และประชากรหญิง 5,882 คน (กนกพร ภาคีฉาย, 2564) จดุ เด่นของพืน้ ท่ตี ำบลบ้านเลน คอื มีทรพั ยากรบคุ คลที่มคี ณุ ภาพ ยกตัวอยา่ งเชน่ ปราชญ์ชาวบ้าน ร้านคา้ และผ้ปู ระกอบการ เป็นตน้ และนอกจากนี้ยังเป็นชุมชนท่ีมีกิจกรรมร่วมกนั เช่น ชมรมไทเกก๊ เปน็ ต้น ใน ด้านศกั ยภาพของตำบล จากเดิมที่เป็นตำบลที่ยังไมส่ ามารถอยรู่ อดกลายเปน็ ตำบลมุง่ สู่ความพอเพียง นอกจากนี้ ความเขม้ แข็งของผนู้ ำชมุ ชน-ภาคีของชมุ ชน และประสบการณ์การทำงานของอาจารยเ์ จ้าของพ้ืนทีก่ ับชมุ ชน ถือ เป็นจุดแข็งอีกอย่างหน่ึง เนื่องจากผู้นำชุมชนมีความเข้าใจในโครงการ U2T และรับรู้ถึงความต้ังใจของผู้ดำเนนิ โครงการ จงึ ทำใหล้ กั ษณะการทำงานเปน็ ไปอย่างราบร่ืน จงึ ทำให้ประชาชนในตำบลบ้านเลนมคี วามม่ันใจในการ ดำเนินโครงการ ก่อให้เกิดการร่วมมือกันของชุมชนเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ อีกทั้ง คณะทำงานทน่ี ำทมี โดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร ภาคฉี าย ซ่งึ เป็นผดู้ ูแลโครงการ U2T ในพื้นท่ตี ำบลบา้ น เลน มีประสบการณ์ทำงานวิจัยกับผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลบ้านเลน ในการช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์เพ่ือ จำหนา่ ยสง่ ออกตา่ งประเทศ นอกจากนีย้ งั เปน็ คนในพื้นที่จงึ ทำให้ชมุ ชนหรือประชาชนในพ้ืนทีต่ ำบลบ้านเลนเกิด ความไวว้ างใจต่อผ้ดู ูแลโครงการ ส่งผลให้การดำเนนิ งานเป็นไปอยา่ งราบรื่น สำหรบั ข้อจำกดั ในด้านพื้นที่ โฉนดที่ดินเป็นทรัพย์สนิ ของพระมหากษตั รยิ ์ หากมีความตอ้ งการที่จะ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต้องขออนญุ าตต่อสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และอาคารในการดำเนินกิจกรรม ในตำบลบ้านเลนเป็นของกรมธนารักษ์ ซ่ึงอยใู่ นพน้ื ที่ของเทศบาลบางปะอิน จึงมกี ารดำเนินการหลายขั้นตอนใน การขออนุญาตใชพ้ ้ืนที่ รวมถึงประชาชนในพ้ืนท่ีเปน็ ผทู้ ม่ี รี ายไดน้ อ้ ย “เปา้ หมายของเราในโครงการ U2T ต้งั เป้าไว้ว่าจะสร้างอาชพี และรายได้” (การสัมภาษณเ์ ชิงลกึ คณะทำงานในพน้ื ที่, ธันวาคม 2564) การดำเนนิ กจิ กรรมของพน้ื ทช่ี มุ ชนตน้ แบบ ลักษณะรายละเอียดกิจกรรมท่ีดำเนินการ (กนกพร ภาคีฉาย, 2564) “นำโครงการ U2T ให้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของแผนเทศบาล” โดยลักษณะการทำงานโครงการ U2T ในพื้นที่ตำบลบางเลน เริ่มต้นจากการ สอบถามแผนการทำงานของเทศบาล ซึ่งตำบลบ้านเลนอยู่ภายใต้การดูแลของ 2 เทศบาล คือ เทศบาลตำบล
82 ปราสาททอง และเทศบาลตำบลบางปะอิน จากนั้นจึงวางแผนเข้าช่วยงานตามแผนของเทศบาลตำบล และ สอดแทรกกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นงานร่วมกันระหว่างโครงการ U2T พื้นที่ตำบลบ้านเลนและ เทศบาล คณะทำงานโครงการ U2T ตำบลบ้านเลน ได้เห็นถึงศักยภาพภายในชุมชนว่ามีทรัพยากรที่เพียงพอ สำหรับการดำเนินงานได้ เชน่ ทรัพยากรบุคคล ร้านค้า ผปู้ ระกอบการ และสถานทีท่ ่องเท่ยี ว มกี ารวางแผนงาน วางแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน ตาม “การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์” (Creative Community Based Tourism: C-CBT) และปฏิบัติตามแนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ( Integrated Marketing Communication: IMC) เพื่อให้เกดิ รายได้ไหลเวียนในชมุ ชน เกิดความมสี ว่ นร่วมภายในชมุ ชน สร้างให้ชุมชนมี ความสามัคคี ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวใน ระดับท้องถิน่ คือ สอดคล้องในดา้ นการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของแผนพฒั นาการท่องเทีย่ วเทศบาลตำบลบาง ปะอิน และเทศบาลตำบลปราสาททอง เพอ่ื ให้ชมุ ชนสามารถสรา้ งรายได้อย่างยั่งยืน จงึ ประกอบไปด้วยกิจกรรม หลัก 4 กจิ กรรม ดงั น้ี 1) การพัฒนาสมั มาชีพและสร้างอาชพี ใหม่ (การยกระดบั สนิ ค้า OTOP/อาชีพอื่น ๆ) จากการที่ผู้ดำเนินโครงการได้ตรวจสอบแล้วพบว่าในชุมชนมีทรัพยากรบุคคล และผู้ประกอบการ แล้วนั้น ได้เล็งเห็นว่าสินค้าต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ มีคุณภาพ สมควรแก่การพัฒนา ต่อยอด จึงได้เกิดการ ยกระดบั ผลิตภัณฑ์ ไม่วา่ จะเป็นการทำบรรจภุ ณั ฑ์ใหม่เพือ่ เพมิ่ ความต้องการซอื้ และกระตุ้นยอดขายได้มากข้ึน จากการสอบถามผ้ปู ระกอบการเจ้าของ “ธปู หอมสมนุ ไพรไลย่ ุงอากง” จากเดมิ บรรจุภัณฑ์เปน็ ซองใสธรรมดา แต่ ปัจจุบันเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากการช่วยเหลือของโครงการ U2T ให้มีความน่าดึงดูดมากขึ้น เป็นกล่องเหมาะ สำหรับซื้อเป็นของฝากได้ ซึ่งหวังว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายได้มากขึ้น นอกจากนี้ยงั มีผลิตภัณฑ์ “ต่อสำราญลูก ประคบสมุนไพร” ทีไ่ ด้มกี ารส่งเสริมด้านบรรจภุ ณั ฑ์และด้านการตลาด เพื่อการกระตุ้นยอดขายและให้เป็นที่รู้จัก มากขึน้ และสนิ คา้ OTOP ในพน้ื ที่ เชน่ “ตน้ หลิว ปนั้ จ๋วิ ดนิ ไทย” “เพ่ิงทดลองเอามาขาย ปกติขายอยทู่ บ่ี า้ น ใสซ่ องใสๆ แต่โครงการเคา้ ทำกล่องให้ มันกด็ ดู ขี ึ้น” (อากง เจา้ ของผลติ ภณั ฑ์ธูปหอมสมนุ ไพรไล่ยงุ อากง, 2564) รปู ท่ี 3-1 ผลิตภณั ฑ์ “ธปู หอมสมนุ ไพรไล่ยุงอากง”
83 รปู ท่ี 3-2 ผลติ ภณั ฑ์ “ตอ่ สำราญลกู ปะคบสมุนไพร” รปู ที่ 3-3 ผลติ ภัณฑ์ “ต้นหลิว ปน้ั จ๋ิวดินไทย” 2) การสรา้ งและพฒั นา Creative Economy (การยกระดบั การทอ่ งเทยี่ ว) คณะผ้ทู ำงานโครงการได้วเิ คราะหศ์ กั ยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเชงิ สรา้ งสรรค์ของตำบลบ้าน เลน จากนั้นคณะผู้ทำงานโครงการวางแผนสร้างเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบวถิ ีใหม่ (New Normal) รวมถงึ มีการส่งเสรมิ ด้าน Creative Economy สำหรบั สถานท่ีทอ่ งเที่ยวในพ้ืนท่ี ประกอบไปด้วย (1) วดั นิเวศธรรมประวตั ิ (2) รกั ษบ์ างปะอนิ Cafe' (3) ประภาคารเกาะบ้านเลน (4) พระราชวงั บางปะอิน (5) รกั ษบ์ างปะอนิ (6) นำ้ ท่า Cafe' (7) ตลาดบา้ นเลน (8) ศาลเจ้าพ่อทา้ ยเกาะ
84 (9) DOU’ 荳 – โต้ว (10) บ้านศลิ ปนิ OTOP ต้นหลวิ ปนั้ จ๋ิวดินไทย รปู ท่ี 3-4 วัดนิเวศธรรมประวตั ิ ที่มา: โครงการพัฒนาเสน้ ทางท่องเทยี่ วโดยชุมชนเชงิ สร้างสรรคข์ องชุมชนตำบลบ้านเลน (2564) รปู ท่ี 3-5 รา้ นรักษบ์ างปะอนิ Cafe'
85 รปู ที่ 3-6 ประภาคารเกาะบา้ นเลน ท่มี า: โครงการพฒั นาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชมุ ชนเชิงสรา้ งสรรคข์ องชมุ ชนตำบลบ้านเลน (2564) รปู ที่ 3-7 รา้ น DOU’ 荳 – โต้ว
86 รปู ที่ 3-8 ส่ือ 3 มิติ แผนทที่ ่องเที่ยวชมุ ชน 3) คณะผู้ทำงานโครงการได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อไปช่วยบริการชุมชน ในด้าน Health Care และเทคโนโลยีดา้ นตา่ ง ๆ ทจ่ี ำเป็น 4) การสง่ เสรมิ ด้านสิง่ แวดลอ้ ม Circular Economy (การเพ่มิ รายไดห้ มุนเวียนให้แก่ชมุ ชน) มีการ แปรรูปขยะอินทรยี ์และเปิดการเรียนการสอนใหแ้ ก่ผู้ท่ีสนใจ ได้มีการสร้างต้นแบบชุมชนอนุรักษ์สิ่งแวดลอ้ มแบบ องค์รวมโดยชุมชนตำบลบา้ นเลน ซ่งึ ไดจ้ ดั ทำโครงการกำจดั ขยะ การนำขยะประเภทอนิ ทรยี ม์ าแปรรูป จากเดมิ ท่ี ทำเพอื่ กำจดั ผักตบชวาในแม่นำ้ ที่เปน็ ปัญหา แต่สามารถนำมาประยุกต์ใชก้ ับเศษซากอินทรียอ์ น่ื ได้ อุปกรณ์หลัก คือ ถงั หมกั ขนาด 500 กโิ ลกรมั จำนวน 2 ถัง รวมเป็น 1,000 กโิ ลกรัม สายพานลำเลยี ง และเครอ่ื งบดเศษซาก อินทรีย์ หลักการทำงานของเครอ่ื ง คือ นำเศษซากอินทรียเ์ ข้าเคร่อื งบด จากนั้นจะถูกหมกั ในถังเปน็ เวลา 15 วัน ผลผลิตท่ีได้ คอื น้ำหมกั ชีวภาพ สารปรบั ปรงุ ดนิ และก๊าซชีวรูปทส่ี ามารถหุงตม้ ได้ เมื่อมโี ครงการ U2T เขา้ มาได้ ดำเนินการเพ่ิมคุณค่าให้แก่ผักตบชวา เช่น นำผักตบชวาไปแปรรูปเป็นกระเป๋า วัสดุกันกระแทก กระถางต้นไม้ และตอ่ ยอดเปน็ เสน้ ใยเพื่อทอเปน็ เสอ้ื ตอ่ ไป รปู ที่ 3-9 ภาพถงั หมักขยะอินทรยี ์
87 รปู ที่ 3-10 เครอื่ งบดเศษซากอนิ ทรีย์ รปู ที่ 3-11 เศษซากอินทรีย์ ในส่วนของกระถางต้นไม้ที่ทำจากผักตบชวา เป็นการต่อยอดจากการที่มีโครงการ U2T เข้ามา ทำงานกบั ภาครฐั หรอื เทศบาล โดยวิธที ำคือ ใช้ผกั ตบชวาตากแห้ง ผสมกบั มลู ไสเ้ ดือน จากนั้นนำเข้าแม่พมิ พเ์ ป็น กระถาง สามารถเพิม่ ธาตุอาหารใหพ้ ืชได้ เหมาะสำหรบั การใช้ปลูกต้นกระบองเพชร เนื่องจากมีลักษณะชุ่มนำ้ สามารถสังเกตได้จากสีของกระถาง หากมีสีเข้มแสดงว่าน้ำในกระถางยังมีความช้ืนอยู่ ยังไม่ต้องรดน้ำ ซึ่งเป็น การสะดวกแกผ่ บู้ รโิ ภคที่จะทราบเวลาในการรดน้ำต้นไมไ้ ด้ ท้ังนที้ างชมุ ชนเองเปิดโอกาสใหผ้ ้ทู ่ีสนใจเข้ามาเรียนรู้ ได้
88 รปู ที่ 3-12 กระถางตน้ ไม้จากผักตบชวา ในส่วนของภาคส่วนที่เข้ามามีบทบาทในโครงการ ประกอบด้วย ภาครัฐ เช่น เทศบาลตำบลบาง ประอิน และเทศบาลตำบลปราสาททอง มสี ่วนเกยี่ วขอ้ งในการอำนวยความสะดวกด้านสถานท่ี เปน็ ตวั กลางเพ่ือ ต่อกับโครงการ U2T และประชาชนในพืน้ ที่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประชาชนในพื้นที่ ตำบลบ้านเลน และคณะดำเนินโครงการ เช่น กลุม่ ประชาชน กลุ่มบัณฑิต และกลมุ่ นกั ศกึ ษา ผลสำเรจ็ ทเ่ี กดิ ขึ้นจากโครงการ (กนกพร ภาคีฉาย, 2564) 1) ผลลพั ธเ์ ชงิ ปรมิ าณ (1) เกิดการจ้างงาน จำนวน 20 อัตรา ประกอบด้วย ประชาชน 5 อัตรา บัณฑิตจบใหม่ 10 อตั รา และนักศกึ ษา 5 อตั รา โดยการคดั เลอื กไดเ้ ลือกตัวจรงิ 20 อัตรา และตัวสำรอง 20 อตั รา (2) เกดิ เส้นทางการทอ่ งเที่ยว อยา่ งนอ้ ย 2 เสน้ ทาง (3) เกดิ กิจกรรมการทอ่ งเที่ยว อยา่ งน้อย 3 กจิ กรรม (4) เกดิ การยกระดับผลติ ภณั ฑ์ OTOP อย่างน้อย 3 กิจกรรม (5) เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยี 3 มติ ิ อยา่ งนอ้ ย 2 ชิน้ (6) ค่มู ือแนะนำการท่องเทยี่ ว อย่างน้อย 1 เล่ม (7) ตน้ แบบชมุ ชนอนุรักษ์สิง่ แวดลอ้ มแบบองค์รวม 1 ต้นแบบ (8) กลุ่มเปา้ หมายเข้าร่วมกจิ กรรมฝกึ อบรมเชงิ ปฏิบตั ิการ อยา่ งนอ้ ยร้อยละ 80 ของประชากร กลมุ่ เป้าหมาย (9) ได้รบั ความพงึ พอใจจากกล่มุ เปา้ หมายในการเขา้ ร่วมฝึกอบรมอย่างน้อยในระดับพอใช้ ใน แตล่ ะกจิ กรรม
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214