Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อมลรดา รงค์ทอง

อมลรดา รงค์ทอง

Published by วิทย บริการ, 2022-07-11 01:33:51

Description: อมลรดา รงค์ทอง

Search

Read the Text Version

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง สขุ ศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ อมลรดา รงคท์ อง คณะเทคโนโลยอี ุตสาหกรรม มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2563

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง สขุ ศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ อมลรดา รงคท์ อง คณะเทคโนโลยอี ุตสาหกรรม มหาวิทยาลยั ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2563

คำนำ ต ำ ร า ส ุ ข ศ ึ ก ษ า แ ล ะ พ ฤ ต ิ ก ร ร ม ศ า ส ต ร ์ ฉ บ ั บ น้ี เ ร ี ย บ เ ร ี ย ง ข้ึ น เ พ ื ่ อ ใ ช้ เ ป ็ น ส ่ ว น ห น ึ ่ ง ใ น การประกอบการเรียนการสอนรายวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (Health Education and Behavioral Science) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการศึกษาเท่านั้น มิได้มีจุดประสงค์ ทางการค้าหรือแสวงหารายได้จากตำราฉบับนี้ เนื้อหาในตำราประกอบด้วย 8 บท ได้แก่ สุขศึกษา พฤติกรรมศาสตร์ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสุขศึกษา ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรม สุขภาพระดับบุคคล ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระหว่างบุคคล ทฤษฎีและแบบจำลอง พฤติกรรมสุขภาพระดับชุมชนและสังคม ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการประยกุ ต์ใชท้ ฤษฎแี ละแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสุขศึกษา ผู้เขียนขอขอบคุณ ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ ผู้ทรงคุณวุฒิท่ีให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพของตำราฉบับนี้ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข เนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากน้ี ผู้เขียนขอแสดงความชื่นชม และความเคารพแดน่ ักวิชาการ นักคิด และนกั พฒั นาทอี่ ้างถงึ ในเอกสารอ้างองิ ของตำราฉบบั นี้ด้วย อมลรดา รงค์ทอง พฤศจิกายน 2564 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง สารบัญ หน้า เร่อื ง (1) (2) คำนำ 1 สารบัญ 1 บทท่ี 1 สุขศึกษา 2 4 ความหมายของสุขศึกษา 10 วตั ถุประสงคแ์ ละขอบเขตของสขุ ศึกษา 11 หลกั การดำเนินงานสขุ ศกึ ษา 11 เอกสารอา้ งอิง 12 บทท่ี 2 พฤตกิ รรมศาสตร์ 13 ความหมายของพฤติกรรมและพฤติกรรมศาสตร์ 15 ประเภทของพฤติกรรม 19 ความหมายของพฤติกรรมสุขภาพ 20 ประเภทของพฤติกรรมสุขภาพ 20 เอกสารอา้ งอิง 22 บทท่ี 3 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรบั งานสขุ ศกึ ษา 24 ความหมายของของทฤษฎีและทฤษฎพี ฤตกิ รรมสุขภาพ 30 ความสำคัญของทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพสำหรบั งานสุขศึกษา 31 รปู แบบของทฤษฎีพฤตกิ รรมสขุ ภาพสำหรบั งานสขุ ศึกษา 31 เอกสารอา้ งอิง 38 บทที่ 4 ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสขุ ภาพระดบั บคุ คล 41 แบบแผนความเชอื่ ดา้ นสุขภาพ (Health Believe Model: HBM) 45 ทฤษฎีการกระทำดว้ ยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) 50 ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) 55 ทฤษฎีแรงจูงใจเพ่ือป้องกันโรค (Protection motivation theory) 59 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามขนั้ ตอน (Stage of change model) ทฤษฎีความสามารถแห่งตน (Self-efficacy) เอกสารอา้ งอิง

สารบัญ (ตอ่ ) เร่อื ง หน้า บทที่ 5 ทฤษฎีและแบบจำลองพฤตกิ รรมสุขภาพระหว่างบุคคลมหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง62 ทฤษฎกี ารเรยี นรทู้ างสังคม (Social learning Theory) 62 ทฤษฎปี ัญญาทางสังคม (Social Cognitive Theory) 66 ทฤษฎีแรงสนบั สนนุ ทางสังคม (Social support Theory) 70 เอกสารอ้างอิง 75 78 บทที่ 6 ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับชุมชนและสงั คม 78 กรอบแนวคดิ PRECEDE Framework 86 แบบแผนองคก์ รชมุ ชน (Community organization model) 91 ทฤษฎีการกระจายนวตั กรรม (Diffusion of innovation theory) 96 เอกสารอ้างอิง 99 99 บทท่ี 7 ทฤษฎีและแบบจำลองพฤตกิ รรมสขุ ภาพอนื่ ๆ ทีเ่ ก่ยี วข้อง 106 แบบแผนการสง่ เสริมสขุ ภาพ (Health Promotion Model) 112 การตลาดเชงิ สงั คม 113 เอกสารอา้ งองิ 113 115 บทที่ 8 การประยกุ ตใ์ ชท้ ฤษฎแี ละแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพสำหรบั งานสุขศกึ ษา 129 การวิเคราะหป์ ญั หาพฤตกิ รรมสขุ ภาพ 132 การประยุกตใ์ ชท้ ฤษฎแี ละแบบจำลองพฤตกิ รรมสขุ ภาพสำหรบั งานสขุ ศึกษา การประเมนิ ผลการดำเนนิ งานสุขศึกษาเพื่อพัฒนาพฤตกิ รรมสขุ ภาพ เอกสารอ้างอิง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 1 บทท่ี 1 สขุ ศกึ ษา 1. ความหมายของสุขศกึ ษา องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของสุขศึกษา คือ กระบวนการที่มุ่งเน้นให้ประชาชนยอมรับ การกระทำพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ประชาชนในระดับบุคคลและกลุ่มบุคคลสามารถตัดสินใจเพ่ือกระทำพฤติกรรมสุขภาพท่ีพฒั นาสถานะสุขภาพ ของตนเอง สามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพ และมีการใช้บริการสุขภาพอย่างชาญฉลาด ด้วยตนเองได้ (World Health Organization, 1969) สุขศึกษา คือ กระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์ ในระดับปัจเจกบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับประชากร โดยเปลี่ยนแปลงจากพฤติกรรม ทีส่ ง่ ผลเสยี ตอ่ สขุ ภาพ ไปสพู่ ฤติกรรมทมี่ ปี ระโยชนต์ ่อสขุ ภาพทัง้ ในปจั จบุ ันและในอนาคต (Simonds, 1976) สุขศึกษา คือ ผลรวมของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ท่ีได้กำหนดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการปรับพฤติกรรมด้วยความสมัครใจ อันส่งผลดีต่อสุขภาพ (Green & Kreuter, 1991 อ้างถึงใน นิตยา เพ็ญศิรินภา, 2561) สุขศึกษา เป็นผลรวมของการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้กำหนดขึ้นโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน และมีการดำเนินการเพื่อให้บุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารและทักษะทางสุขภาพที่จำเป็น เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีในเรื่องสุขภาพ (Joint Committee on Health Education and Health Promotion Terminology, 2001) สุขศึกษา หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ และควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบบริการสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ (ประสทิ ธิ์ ลรี ะพนั ธ์, 2557) สุขศึกษา หมายถึง ผลรวมของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบอย่างเหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้บุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชน เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยความสมัครใจ เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาสุขภาพ โดยสามารถสรุปประเด็นสำคัญในนิยามของคำว่าสุขศึกษา ออกเป็น 4 ประเดน็ ไดแ้ ก่ (นิตยา เพญ็ ศิรนิ ภา, 2561) 1. ผลรวมของการจัดประสบการณ์การเรยี นรู้ (Combination of learning experience) พฤติกรรมสุขภาพนั้นมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย ดังนั้นในการดำเนินงานสุขศึกษาต้องมี การวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการจัดประสบการณ์เรียนรู้ หรือกจิ กรรมทีห่ ลากหลายเพอ่ื ใหส้ อดคลอ้ งกับปัจจัยสาเหตดุ งั กลา่ ว

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 2 2. การกำหนดหรือออกแบบกิจกรรม (Designed) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพแล้ว จะต้องมีการวางแผนเพื่อออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงคุณลักษณะของประชาชนเป้าหมาย และบรบิ ททเี่ กี่ยวข้อง 3. การสนบั สนุนเพอ่ื ใหเ้ กิดกระทำพฤติกรรมสุขภาพทีพ่ ึงประสงค์ (Facilitate) การดำเนนิ งานสขุ ศกึ ษาจะประสบความสำเร็จไดด้ ยี ง่ิ ขนึ้ หากไดร้ ับการสนับสนนุ สง่ เสริม และผลกั ดนั ให้เกิดสภาพแวดล้อม หรือเงื่อนไขทางสุขภาพ ที่ทำให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถกระทำพฤติกรรม สขุ ภาพท่พี งึ ประสงคไ์ ด้ 4. การปฏิบตั ิพฤตกิ รรมสุขภาพด้วยความสมคั รใจ (Voluntary action) การกระทำพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล กลุม่ บคุ คล หรือชุมชนทส่ี ง่ ผลดตี อ่ สุขภาพ จะตอ้ งเป็นไปด้วย ความต้องการของตนเอง ซึ่งเกิดจากความเข้าใจและยอมรับในจุดประสงค์ แล้วจึงกระทำพฤติกรรมสุขภาพ ดังกลา่ ว ดังนั้น สุขศึกษา หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้และประสบการณ์ด้านสุขภาพ โดยมีการวางแผนและสนับสนุนให้เหมาะสมกับบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน แล้วส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤตกิ รรมสุขภาพทสี่ ่งผลดตี ่อสุขภาพโดยความสมคั รใจ 2. วัตถปุ ระสงคแ์ ละขอบเขตของสขุ ศกึ ษา 2.1 วัตถุประสงคข์ องสขุ ศกึ ษา สขุ ศกึ ษามีวัตถปุ ระสงค์เพอื่ ใหบ้ ุคคล กลมุ่ บคุ คล หรอื ชมุ ชน มพี ฤตกิ รรมที่สง่ ผลดตี อ่ สขุ ภาพด้วยความ สมัครใจ โดยมีการสนับสนุนสภาพแวดล้อม หรือเงื่อนไขที่ทำให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพ ทพี่ ึงประสงค์ โดยแบ่งเป็นวัตถปุ ระสงค์ของสขุ ศกึ ษา ดงั นี้ (นติ ยา เพ็ญศริ ินภา, 2561; ประไพจิตร ชุมแวงวาปี, 2553; กันยา กาญจนบุรานนท์, 2542) 1. สุขศึกษามีวัตถปุ ระสงค์หลกั เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ทีถ่ ูกต้องและมีทศั นคตทิ ี่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ที่จะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญสุขภาพ โดยต้องมีการวิเคราะห์ วา่ ประชาชนเป้าหมายยังขาดสว่ นใด แล้วจึงจัดกิจกรรมสขุ ศกึ ษาใหเ้ หมาะสม 2. เมื่อมีความรู้ที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่เหมาะสมแล้ว จะต้องมีทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติ พฤติกรรมสุขภาพ เพ่อื ให้เกิดความเชื่อม่นั และส่งผลต่อการปฏิบัติอยา่ งต่อเนอื่ งและย่ังยืน 3. เพื่อเสริมพลังให้บุคคล กลุ่ม หรือชุมชน มีความสามารถในการระบุปัญหาสุขภาพ สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุ สามารถระดมทรัพยากรและเทคโนโลยีในท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหา สุขภาพภายในชุมชนของตนเอง ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาพยาบาล อกี ท้ังยงั ชว่ ยลดการพ่ึงพาบุคลากรสาธารณสขุ 4. วัตถุประสงค์หลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งของสุขศึกษาคือเพื่อสนับสนุนให้บุคคลและสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะและสิ่งแวดล้อม

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 3 เพื่อสุขภาพ เพื่อส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี มากกว่าการมุ่งจดั กจิ กรรมการเรยี นรู้เพยี งอย่างเดยี ว โดยสรุปแล้ว วัตถุประสงค์ของสุขศึกษาคือการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ของสุขภาพ โดยจัดกิจกรรมให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และมีทักษะที่ถูกต้องในการปฏิบัติพฤติกรรม สุขภาพที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวติ ของประชาชน 2.2 ขอบเขตของสุขศึกษา ขอบเขตของงานสุขศึกษาเป็นการกำหนดลักษณะการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งตามมิติต่าง ๆ ออกเป็น ขอบเขตสุขศึกษาด้านจุดมุ่งหมาย ด้านพื้นที่เป้าหมาย ด้านเนื้อหา และด้านประชนกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้จะแบ่งขอบเขตสุขศกึ ษาตามความสอดคล้องกบั ความหมายของสุขศึกษาออกตามประเภทของประชาชน กลุ่มเปา้ หมาย ดงั น้ี (นติ ยา เพญ็ ศริ นิ ภา, 2561; มานี ชูไทย, 2543) 1. บุคคล เพื่อให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม โดยการจัดกิจกรรมสุขศึกษารายบุคคลน้ีจะพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับพฤตกิ รรม บริบท และข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เช่น การฝึกทักษะการฉีดอินซูลินให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน การจัดการเรยี นรใู้ ห้แกผ่ ู้พกิ ารที่ได้รบั การบาดเจ็บจากการทำงานเพื่อเตรียมตัวกอ่ นกลับเขา้ ทำงาน 2. ครอบครัว เนื่องจากบุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันทั้งทางสายเลือด และทางสังคม จึงมีอิทธิพลในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพซ่ึงกันและกันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ จึงต้องมีการจัดกิจกรรมสุขศึกษาในครอบครัว เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ ของบุคคลในครอบครวั เชน่ การฝกึ ทักษะญาติในการดูแลผ้ปู ว่ ยอัมพาต การให้ความร้เู รื่องโภชนาการ ของผู้ปว่ ยโรคความดันโลหติ สูงในครอบครวั 3. กลุ่มบุคคลหรือชุมชน หมายถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และมีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพร่วมกัน ชุมชนในที่นี้ยังรวมถึงสถานศึกษา และสถานประกอบการที่มีรูปแบบกิจกรรม และความเสี่ยงทางสุขภาพที่แตกต่างกัน ในการจัดกิจกรรมสุขศึกษาต้องได้รับความร่วมมือ จากสมาชิกในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการระบุปัญหาสุขภาพ ประเมินความเสี่ยงของพฤติกรรม สุขภาพ มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรม ดำเนินการ และประเมินผล เพื่อให้สอดคล้อง กับความตอ้ งการของกลุ่มประชาชนเปา้ หมาย เหมาะสมกับบรบิ ทของชมุ ชน และสามารถปรับเปลี่ยน พฤตกิ รรมสุขภาพที่พึงประสงคไ์ ด้ ดังนั้น ขอบเขตของสุขศึกษาด้านประชากรเป้าหมาย แบ่งออกเป็นบุคคล ครอบครัว และชุมชน ซึ่งในการจัดกิจกรรมสุขศึกษาต้องออกแบบมีความสอดคล้องกับปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ บริบท และความต้องการกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พึง ประสงค์ด้วยความสมคั รใจ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 4 3. หลกั การดำเนินงานสุขศึกษา หลักการในการดำเนนิ งานสขุ ศึกษา มีดงั น้ี (Cottrell, Garvin, and McKenzie, 2006) 1. การทำใหเ้ กดิ ความรู้ความเข้าใจทีถ่ ูกตอ้ ง โดยมุ่งเน้นให้บุคคล กลุ่ม หรือชุมชน เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพ เพือ่ ให้มีขอ้ มูลจำเป็นทีเ่ พียงพอในการตัดสนิ ใจปฏบิ ตั ิพฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ได้ 2. การปรบั เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดว้ ยความสมัครใจ เมื่อประชาชนเกิดความรูแ้ ละความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพแล้วเกิดการปรับเปล่ียน พฤติกรรมสุขภาพของตนเองด้วยความสมัครใจ โดยสามารถระบุปัญหาสุขภาพของตนเอง วิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ สามารถตั้งเป้าหมาย ออกแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และดำเนินการใหเ้ หมาะสมดว้ ยตนเองได้ 3. สนับสนนุ ให้มีการตดั สนิ ใจอย่างเหมาะสม โดยการจัดกิจกรรมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีการเรียนรู้พฤติกรรมสุขภาพจากกรณีศึกษาหรือ สถานการณ์จำลอง เพอ่ื พัฒนาทักษะการคิดอยา่ งมีวจิ ารณญาณและสามารถตดั สนิ ใจกระทำพฤติกรรมสุขภาพ ของตนเองได้อย่างเหมาะสม 4. ประชาชนตอ้ งมอี ิสระในการตัดสนิ ใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้องให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้วิเคราะห์และระบุปัญหา สุขภาพของตนเอง รวมถึงความต้องการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และนำไปสู่การตัดสินใจ ทีจ่ ะกระทำพฤติกรรมสุขภาพน้นั 5. ทำใหเ้ กิดการเปลี่ยนแปลงสังคม สุขศึกษามีส่วนสำคัญในการทำให้บุคคลและสังคมเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพได้ เขา้ ถงึ ขอ้ มลู ดา้ นสุขภาพ และสนบั สนนุ ผลกั ดนั ให้เกิดการปรบั เปลี่ยนสภาพแวดล้อมและนโยบายเพอื่ สุขภาพ ดังนั้น หลักการดำเนินงานสุขศึกษา คือการจัดกิจกรรมเพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และสามารถ ตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยความสมัครใจได้ด้วยตนเอง รวมถึงตระหนักถึงความจำเป็น ในการปรับเปลยี่ นสภาพแวดลอ้ มและนโยบายเพือ่ สุขภาพ 4. วธิ กี ารทางสขุ ศกึ ษา วิธีการทางสุขศึกษา คือ กระบวนการท่ีมีการวางแผนและออกแบบอย่างเป็นระบบเพื่อให้เหมาะสม และสอดคลอ้ งกับความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย วธิ ีการทางสุขศกึ ษามีหลายวธิ ี ซง่ึ แตล่ ะวธิ ีมีความ เหมาะสมและมปี ระสทิ ธภิ าพทแี่ ตกตา่ งกัน โดยวิธกี ารทางสขุ ศกึ ษาสามารถแบง่ ตามลกั ษณะของกลุ่มเป้าหมาย ดังน้ี

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 5 สุขศกึ ษารายบุคคล เป็นการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การรับรู้ การนับถือตนเอง ทักษะพฤติกรรมสุขภาพ ที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นให้มีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ การจัดการศึกษาด้วยวิธีการสอน การจัดการฝึกอบรม การถามและตอบคำถาม การใช้บุคคลต้นแบบ การใช้สถานการณ์จำลอง การเรียนรู้ในกลุ่มย่อย การให้คำปรึกษา การใช้สื่อมวลชน เชน่ การใช้ส่อื การสอนผ่านโทรทัศน์ สือ่ ออนไลน์ และการพฒั นาทกั ษะต่าง ๆ เช่น การสาธิต การฝึกปฏบิ ตั ิ ข้อดีของสขุ ศึกษารายบคุ คล 1. สามารถวเิ คราะห์ปญั หาสขุ ภาพและให้คำแนะนำเฉพาะบุคคลไดอ้ ยา่ งเหมาะสม 2. สามารถให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่เป้าหมายได้อย่างละเอียด ครบถ้วน ผู้ฟังมีโอกาส ซกั ถามขอ้ สงสัยได้ 3. เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้จัดกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เป้าหมายมีทัศนคติท่ีดี ท้ังต่อผ้จู ัดกจิ กรรมและกจิ กรรมสุขศึกษา เพอื่ ใหเ้ กดิ ความสมัครใจในการปฏิบัตพิ ฤติกรรมสุขภาพ ทพ่ี ึงประสงค์ 4. ช่วยเพิ่มทักษะการปฏิบัตพิ ฤตกิ รรมสขุ ภาพท่ีถูกต้องให้แกเ่ ป้าหมาย ข้อจำกดั ของสขุ ศกึ ษารายบุคคล 1. เนอ่ื งจากต้องมีการแลกเปลย่ี นข้อมูลระหว่างผู้จัดกิจกรรมและเปา้ หมาย เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทาง สุขภาพรว่ มกัน จึงตอ้ งใช้เวลามาก 2. จำนวนผ้จู ัดกิจกรรมอาจไมเ่ พียงพอกับการจัดกิจกรรมสุขศึกษารายบุคคล สุขศกึ ษาระหว่างบุคคลหรือรายกลุ่ม เป็นการจัดกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เช่น สมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อน เพื่อนร่วมงาน โดยใช้วิธีการทางสุขศึกษาที่เหมาะสมในการสนับสนุน ครอบครัว การปรับบรรทัดฐานของกลุ่ม และการสนบั สนนุ ทางสงั คม เพอื่ ให้สมาชิกในกลมุ่ เกิดการปรับเปล่ียน พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ วิธีการทางสุขศึกษาที่มักใช้ในรายกลุ่ม ได้แก่ วิธีการบรรยาย การจัดการ ฝึกอบรม การจดั นทิ รรศการ การอภิปรายกลมุ่ การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต และการฝกึ ปฏิบตั ิ ข้อดขี องสขุ ศึกษาระหว่างบคุ คลหรือรายกลุ่ม 1. ทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์จาก บคุ คลอน่ื 2. สามารถกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนการรับรู้ มีทัศนคติ ค่านิยมที่ดี ในการปฏิบัติพฤติกรรม สขุ ภาพ 3. พฒั นาทักษะการคดิ และตดั สินใจในการเลอื กวธิ กี ารปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพท่ีเหมาะสมร่วมกนั ได้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 6 4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และปัจจัยสภาพแวดล้อมทีส่ ่งผลต่อสุขภาพรว่ มกัน เพื่อแก้ไขปัญหา พฤตกิ รรมสุขภาพ ขอ้ จำกดั ของสขุ ศึกษาระหว่างบุคคลหรือรายกลุ่ม 1. ตอ้ งใช้เวลาในการจดั เตรยี มขอ้ มลู สขุ ภาพและสถานทใ่ี หเ้ หมาะสมสำหรบั กลุ่มเป้าหมาย 2. กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วน ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผล ตอ่ พฤตกิ รรมสขุ ภาพได้ไมค่ รอบคลมุ สขุ ศกึ ษาในระดบั องคก์ รหรอื สถาบัน ชุมชน และสังคมหรอื นโยบายสงั คม เป็นการดำเนินงานกิจกรรมสุขศึกษาในแนวกว้างสำหรับประชาชนจำนวนมาก โดยให้ประชาชน กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา วางแผนและออกแบบกิจกรรม ให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการแก้ปัญหาในองค์กร ชุมชน หรือสังคม ของตนเองด้วยความสมัครใจ เช่น การเพิ่มความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของกล่มุ เปา้ หมาย โดยการใหข้ อ้ มูลสขุ ภาพผา่ นทางสอื่ มวลชน เชน่ สอ่ื ส่งิ พิมพ์ โปสเตอร์ ปา้ ยประกาศ โทรทัศน์ วิทยุ เสียงตามสาย สื่อดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงการจัดการเรียนรู้เพื่อเพื่อพัฒนาความร่วมมือ การเสริมพลังเพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่าย การสนับสนุนทางสังคม จัดการปัญหาความขัดแย้ง และการร่วมมือกันของสมาชิกในองค์กร ชุมชน และสังคม เพื่อการวิเคราะห์นโยบาย และเปลี่ยนแปลง นโยบายสาธารณะและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น การแสดงความคิดเห็นของชุมชน หรอื การทำประชาพจิ ารณ์ การเปิดรับการแสดงความคดิ เห็นต่อนโยบายท่สี ง่ ผลต่อสุขภาพขององคก์ ร เป็นต้น ขอ้ ดีของสุขศึกษาระดับองค์กรหรอื สถาบนั ชุมชน และสงั คมหรอื นโยบายสงั คม 1. สามารถให้ความรู้ ความเขา้ ใจเรื่องพฤติกรรมสุขภาพท่ีถูกต้องผ่านทางส่ือมวลชน สามารถเข้าถึง กลุม่ เป้าหมายไดเ้ ป็นวงกวา้ ง ในระยะเวลาอนั รวดเรว็ 2. สามารถกระตนุ้ ให้กลุ่มเป้าหมายมีการรับรู้และตระหนักถึงปัญหาสขุ ภาพท่ีจะส่งผลต่อการปฏิบัติ พฤตกิ รรมสุขภาพได้ 3. ไดท้ ราบถึงปญั หาสุขภาพ ปัจจัยท่สี ง่ ผลตอ่ สขุ ภาพ บริบทขององคก์ ร ชมุ ชน และสงั คม เพือ่ นำมา วิเคราะห์ปัญหา และจัดกิจกรรมสุขศึกษาที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการ ของกลมุ่ เป้าหมาย 4. ประชาชนกลุม่ เป้าหมายไดม้ โี อกาสดำเนินการเพือ่ แก้ไขปัญหาสขุ ภาพในองค์กร ชมุ ชน และสงั คม ของตนเองดว้ ยความสมคั รใจ 5. เสริมสร้างความร่วมมือกันของสมาชิกในองค์กร ชุมชน และสังคม เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบาย และสภาพแวดล้อมท่สี ง่ ผลดีตอ่ สุขภาพ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 7 ขอ้ เสยี ของสขุ ศึกษาระดบั องคก์ รหรอื สถาบนั ชุมชน และสังคมหรือนโยบายสังคม 1. ค่าใช้จ่ายในการผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน กลมุ่ เปา้ หมายคอ่ นขา้ งสงู 2. สื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารทางเดียว ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ไมส่ ามารถซกั ถามหรอื ใหข้ ้อมลู สขุ ภาพกลับได้ 3. การทำกิจกรรมสุขศึกษาในองค์กร ชมุ ชน หรอื สังคม ใช้เวลาและทรัพยากรมาก เกณฑก์ ารคดั เลอื กวิธีการทางสุขศึกษา วิธีการทางสขุ ศึกษาแต่ละวิธีมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพทีแ่ ตกต่างกนั ดังนั้น ในการเลือกใช้ วิธีการทางสุขศึกษาจะต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการปรับเปลี่ยน รวมถึงบริบทอื่น ๆ ให้สอดคล้อง กบั กลมุ่ เป้าหมาย โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกวธิ ีการทางสขุ ศึกษา ดงั นี้ (ประไพจิตร ชุมแวงวาปี, 2553) 1. ประชาชนกลุ่มเปา้ หมาย การเลือกวิธีการทางสุขศึกษา ควรเลือกให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ กลุ่มเป้าหมาย ทั้งจำนวนของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์เดิมของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงบริบทด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย จึงจะทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประสบ ผลสำเร็จได้ 2. วัตถปุ ระสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการเลือกวิธีการทางสุขศึกษา ต้องมีการกำหนด วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านสุขภาพในระดับที่จะส่งผล ตอ่ การตัดสินใจในการปรบั เปล่ียนพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองได้ 3. เน้ือหาสาระหรือขอ้ มูลข่าวสาร การใช้วิธีการทางสุขศึกษาควรให้ความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระหรือข้อมูลข่าวสารที่ต้องการเผยแพร่ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ควรมีการวางแผน ออกแบบกิจกรรม ดำเนินการ และประเมินผล ให้สอดคล้องกบั ความ ต้องการของกลุ่มประชาชนเป้าหมาย เหมาะสมกับบรบิ ทของชุมชน และสามารถปรับเปล่ยี นพฤตกิ รรมสุขภาพ ทพ่ี ึงประสงค์ได้ 4. ระยะเวลาและสิ่งอำนวยความสะดวก ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีผลต่อการเลือกวิธีการทางสุขศึกษาอย่างมาก เช่น ในช่วงเช้าอาจให้ ความรู้โดยการบรรยาย และในช่วงบ่ายอาจใช้การฝึกปฏิบัติหรือการประชุมกลุ่มย่อย รวมถึงการจัดหา สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สื่อในการจัดกิจกรรมสุขศึกษา สถานที่ที่มีความพร้อม ก็ส่งผลต่อวิธีการทางสุข ศกึ ษาเช่นกนั ซึง่ ในการเลอื กใช้วธิ ีการทางสุขศกึ ษา สามารถแบ่งตามกลุ่มเปา้ หมายตามแนวคิดนเิ วศวทิ ยาได้ ดังน้ี

8 ตารางท่ี 1 วิธกี ารทางสขุ ศกึ ษาและเปา้ หมายการเปลีย่ นแปลงพฤตกิ รรมตามแนวคิดนเิ วศวิทยา ประชาชน เปา้ หมายของการเปล่ียนแปลง วธิ กี ารทางสุขศกึ ษา กลุ่มเปา้ หมาย บุคคล - ความรู้ - การจดั การเรยี นรู้/การจดั การศึกษา - ทัศนคติ - การใช้ส่ือมวลชน - คา่ นิยม - การใชก้ ารตลาดเชงิ สังคม - การรับรู้ - การปฏเิ สธหรือต้านอทิ ธพิ ลจากกลมุ่ เพ่ือน มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง - การนับถอื ตนเอง - การพัฒนาทกั ษะ - ทกั ษะ - พฤตกิ รรม ระหว่างบคุ คล - ครอบครวั - การสนบั สนุนจากครอบครวั - เพ่ือน - การปรบั บรรทดั ฐานของกลุ่ม - เพอ่ื นรว่ มงาน - การใช้อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในการ - เพอ่ื นบ้าน - แรงสนบั สนนุ ทางสังคม ปรับเปลย่ี นพฤติกรรม - เครอื ข่ายทางสงั คม - การช่วยให้เข้าถึงกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการ ปรับเปล่ยี นพฤติกรรม - การส่งเสริมให้กลุ่มสนบั สนนุ ทางสงั คม - การสนับสนนุ เครอื ข่ายสงั คม องคก์ รหรอื สถาบนั - บรรทัดฐาน - การพฒั นาองคก์ ร ชมุ ชน - การเสริมแรง - การมโี ครงการเสรมิ แรงดา้ นสขุ ภาพ - โครงสร้างและวัฒนธรรม - การให้คำปรึกษา - การพฒั นาความร่วมมอื องค์กร - การมตี วั เชอ่ื มในองคก์ ร - รปู แบบการจดั การองคก์ ร - เครือขา่ ยการส่อื สาร - การมีผนู้ ำการเปล่ียนแปลง - ภาวะผู้นำ - การพฒั นาชุมชน - ศกั ยภาพของชมุ ชน - การเสรมิ พลัง - ทรพั ยากรในชุมชน - การจัดการปัญหาความขัดแยง้ - ความสมั พันธข์ องคนในชมุ ชน - การใชส้ ื่อมวลชน - ความรว่ มมอื ของคนในชมุ ชน - การสร้างความร่วมมอื ของคนในชุมชน สังคมหรือนโยบาย - นโยบาย - การวเิ คราะหใ์ นเชิงนโยบาย สงั คม - กฎหมาย - การชนี้ ำและผลกั ดันนโยบาย - ภาษี - การเปลี่ยนแปลงนโยบาย - การมหี นว่ ยงานกำกบั ดูแล - การใชส้ อื่ มวลชน ทีม่ าขอ้ มลู : นิตยา เพญ็ ศริ ินภา, 2561 ดัดแปลงจาก Green et al., 2015

9 สรปุ สขุ ศึกษา สุขศึกษา คอื กระบวนการจดั การเรยี นรู้และประสบการณ์ดา้ นสุขภาพ โดยมกี ารวางแผนและสนับสนุน ให้เหมาะสมกับบุคคล กลุ่ม หรือชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ โดยจัดกิจกรรมให้ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติ และมีทักษะที่ถูกต้องในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลดี ต่อสุขภาพ ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม ในระดับองค์กรหรือสถาบัน ชุมชน และสังคมหรือนโยบายสังคม เพื่อส่งผลให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วยความสมัครใจ ซง่ึ รายละเอียดเกยี่ วกับพฤติกรรมสุขภาพและพฤตกิ รรมศาสตร์จะแสดงรายละเอียดในบทถัดไป มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

10 เอกสารอ้างองิ นติ ยา เพญ็ ศริ ินภา. (2561). เอกสารประกอบการสอนชดุ วิชาการส่งเสริมสขุ ภาพ การตรวจประเมนิ และการ บำบดั โรคเบอื้ งตน้ . นนทบรุ ี: สำนกั พมิ พ์มหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ประไพจิตร ชมุ แวงวาปี. (2553). สขุ ศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ขอนแก่น: วิทยาลยั สาธารณสุขสิรินธร จงั หวดั ขอนแก่น. มานี ชไู ทย. (2543). สขุ ศกึ ษาในชุมชนหลักและวธิ ปี ฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควชิ าสุขศึกษา คณะพลศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ. Cottrell, R.R.; Garvin, J.T.; and McKenzie, J.E. (2006). Principles and Foundations of Health Promotion and Education (3rd ed). San Francisco: PEARON Benjamin Cummings. Green, J.; Tone, K.; Cross, R.; and Woodall, J. (2015). Health Promotion: Planning and Strategies (3rd ed.). Los Angeles: SAGE. Green, L.W. and Kreuter, M. (1991). Health promotion planning: An educational and environmental approach (2nd ed.) Mountain View, CA: Mayfield Publishing Company. Joint Committee on Health Education and Health Promotion Terminology. (2001). Report of the 2000 Joint Committee on Health Education and Health Promotion Terminology. American Journal of Health Education, 32(2), 89-103. Simonds, S.K. (1976). Health Education in the Mid-1970s: State of the Art. In Preventive Medicine USA. New York: Prodist. World Health Organization’s Expert Committee. (1969). Planning and Evaluation of Health Education Services. World Health Organization Technical Report Series No. 409, Geneva. มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 11 บทท่ี 2 พฤตกิ รรมศาสตร์ 1. ความหมายของพฤตกิ รรมและพฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรม หมายถึง การกระทำหรือการตอบสนองการกระทำทางจิตวิทยาของมนุษย์ ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน และการกระทำเหล่านี้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้น ภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกายมนุษย์ และเป็นกระทำอย่างมีจุดหมายที่สามารถสังเกตเห็นได้ (Goldenson, 1984) พฤติกรรม หมายถึง การกระทำ การประพฤติ หรือการแสดงออกทางกล้ามเนื้อของบุคคล เป็นการกระทำที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายในและภายนอก ทั้งในขณะที่รู้สึกตัวและไม่รู้ สึกตัว และการกระทำหรือการแสดงออกเหล่าน้ีสามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการวัดหรือทดสอบได้ (Fazio & Olson, 2003) พฤติกรรม หมายถึง กิริยาท่าทางและการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตท่ีมีการแสดงออกร่วมกัน กับสิง่ แวดล้อม เป็นการตอบสนองของระบบต่อสิง่ เร้าทงั้ ภายในร่างกายและภายนอกรา่ งกาย ทั้งในขณะท่ี มีสติและไมม่ สี ติ รวมถงึ การแสดงออกทั้งท่ตี ้งั ใจและไมไ่ ดต้ ง้ั ใจ (Dusenbery, 2009) พฤติกรรม หมายถึง การกระทำ ความประพฤติ หรือปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตแสดงออก ทั้งที่สามารถสังเกตได้ด้วยประสาทสมั ผัส เช่น การยืน การเดิน การวิ่ง การพูด และที่ไม่สามารถสงั เกตได้ แต่สามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องมือ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความรู้สึก คว ามคิด ความเชื่อ จินตนาการ (ประไพจิตร ชุมแวงวาปี, 2553) พฤติกรรม หมายถึง การแสดงออกของมนุษย์แปรผันไปตามบุคคล สถานที่ และเวลา ทง้ั อาการภายในและภายนอกรา่ งกาย ทัง้ ในขณะทร่ี ้ตู วั และไมร่ ตู้ วั ที่ อาการแสดงออกเหลา่ นร้ี วมถึงอาการ ทั้งที่สมัครใจและไม่สมัครใจ ทั้งที่สามารถสังเกตเห็นและไม่สามารถสังเกตเห็นได้ และพฤติกรรมศาสตร์ คือการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยการศึกษาทั้งในลักษณะการทดลองในห้องปฏิบัติการ และการสงั เกตตามธรรมชาติ (จกั รพันธ์ เพ็ชรภมู ิ, 2560) พฤติกรรมศาสตร์ คือการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ โดยการบูรณาศาสตร์ ได้แก่ ความรู้ทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และมานุษยวิทยา เพื่อใช้อธิบายการเกิดและการเปลี่ยนแปลง พฤตกิ รรมตา่ ง ๆ ของมนุษย์ (ประไพจติ ร ชุมแวงวาปี, 2553) พฤติกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจ และอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และเพื่อทำนายพฤติกรรมและเหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และมีการรวบรวมองค์ความรู้ จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย (อนุวตั ร จุลนิ ทร และคณะ, 2562)

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 12 พฤติกรรมศาสตร์ คือ แนวทางในการแสวงหาความรู้และความจริงโดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษา และมีการบูรณาการกับความรู้จากสหวิทยาการ เพื่อมุ่งเน้นการศึกษาสาเหตุและผลของการเกิดพฤติกรรมมนุษย์ ที่มาจากสาเหตุปัจจัยภายนอก ปัจจัย ภายใน และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนมี ลกั ษณะซบั ซ้อน และมกี ารเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (นิภาพรรณ เจนสันติกุล และไชยณฐั ดำดี, 2563) โดยสรุปแล้ว พฤติกรรม หมายถึง การกระทำ การประพฤติ หรือการแสดงออกของบุคคล ทั้งในขณะที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว ซึ่งจะมีความผันแปรตามการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น ทั้งภายในและภายนอก พฤติกรรมศาสตร์ หมายถึง การศึกษาการแสดงออกของมนุษย์เพ่ือตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าภายในและภายนอกร่างกาย ทั้งในขณะที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว โดยใช้วิธีการ ทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการวัดหรือตรวจสอบบูรณาการร่วมกับความรู้จากหลากหลาย สาขาวชิ า เพ่อื ทำความเข้าใจ อธบิ าย และทำนายพฤตกิ รรมต่าง ๆ ของมนุษย์ 2. ประเภทของพฤตกิ รรม ประเภทพฤติกรรมของมนุษย์ สามารถแบ่งตามการแสดงออกได้เป็น 2 ประเภท Rudma (2011) ได้แก่ 1. พฤตกิ รรมภายนอก (Overt Behavior) คอื การกระทำของบุคคลท่ีแสดงออกและสามารถสงั เกตได้ชดั เจน โดยใชป้ ระสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การมองเห็น การฟัง การดมกลิ่น การรับรส และการสัมผัส ตัวอย่างของพฤติกรรมภายนอก เช่น การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การรับประทานยา การหัวเราะ หรือพฺฤติกรรมภายนอก ที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจวัดได้ เช่น การตรวจวัด ความดันโลหิต อัตราการเตน้ ของหัวใจ เปน็ ต้น 2. พฤตกิ รรมภายใน (Covert Behavior) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ หากไม่แสดงออกบุคคลอื่นก็ไม่สามารถรับรู้ได้ เช่น การรับรู้ ความคิด เจตคติ ความเข้าใจ การจำ การได้กลิ่น ความรู้สึกต่าง ๆ ความหิว ซึ่งพฤติกรรม เหล่านี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกภายนอกได้ เช่น เมื่อรู้สึกโกรธจะแสดงออกถึงอารมณ์โกรธ ออกมาภายนอก หรือเมื่อรู้สึกเขินอายจะเกิดอาการสามารถสังเกตได้จากภายนอก เช่น หน้าแดง และพฤติกรรมภายในบางอย่างก็ไม่แสดงออกภายนอก แต่สามารถวัดได้โดยใช้เครือ่ งมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น เมอื่ รู้สกึ ตืน่ เตน้ หวั ใจจะเต้นเร็วกวา่ ปกติ ซึ่งพฤติกรรมทั้งภายนอกและและพฤติกรรมภายในจะสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยพฤติกรรม ภายนอกมักมีพฤติกรรมภายในเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม โดยเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากปัจจัย ทั้งภายนอกหรือปัจจัยภายจะส่งผลให้พฤติกรรมภายในเกิดการรับรู้ การคิด การรู้สึก และการตัดสินใจ แล้วแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกทั้งที่แสดงออกในขณะที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว แต่อย่างไรก็ตาม

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 13 การตีความจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอกเพียงอย่างเดียวอาจไม่ตรงกับพฤติกรรมภายใน ตามความเปน็ จริงได้ จงึ ต้องมกี ารสงั เกตบริบทอื่นร่วมด้วย นอกจากนี้ นักพฤติกรรมศาสตร์ยังจำแนกพฤติกรรมตามลักษณะการแสดงออก เป็น 2 ลักษณะ (จกั รพันธ์ เพช็ รภมู ิ, 2560; ประไพจติ ร ชุมแวงวาปี, 2553) 1. พฤตกิ รรมปกติ (Normal behavior) คือ การกระทำหรือการแสดงออกของบคุ คลทีเ่ ปน็ ที่ยอมรับของบุคคลในสงั คมนั้น โดยเป็นไปตาม ขั้นตอนของพัฒนาการและวุฒิภาวะของบุคคล และเป็นไปตามกฎระเบียบที่สังคมกำหนดไว้ รวมถงึ มคี วามสอดคล้องกลมกลืนกับวฒั นธรรมของสงั คมน้ัน ๆ 2. พฤติกรรมไมป่ กติ (Abnormal behavior) คือ ลักษณะของการแสดงออกที่แตกต่างจากแบบแผนการพัฒนาตามวุฒิภาวะ มีพฤติกรรม ที่แตกต่างจากบุคคลส่วนใหญ่ มีการแสดงออกผิดเวลา สถานที่ และสิ่งแวดล้อม ขัดแย้งกับวัฒนธรรม ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ หรืออาจเบี่ยงเบนไปจากความคาดหวังหรือบรรทัดฐานของสังคมที่อาจทำให้ ไม่สามารถอย่ใู นโลกแห่งความจรงิ ได้ 3. ความหมายของพฤติกรรมสุขภาพ พฤตกิ รรมสขุ ภาพ หมายถงึ ลักษณะหรอื คุณสมบัติของบุคคล ได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ แรงจูงใจ การรับรู้ ค่านยิ ม รวมถึงความร้สู ึก อารมณต์ า่ ง ๆ และการปฏบิ ตั ทิ ี่ส่งผลต่อสขุ ภาพ ทงั้ การส่งเสริมสุขภาพ และการฟนื้ ฟูสุขภาพ (Gochman, 1988) พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมทั้งภายในและภายนอกตวั บุคคลท่สี ่งผล ต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ของบุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกนั โรค การรักษา และการมสี ุขภาพทส่ี มบูรณ์ (Cockerham, 2010) พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การแสดงออก หรือการปฏิบัติของบุคคลในการกระทำ หรืองดกระทำสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติพฤติกรรม (ประไพจิตร ชมุ แวงวาปี, 2553) พฺฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติหรือแสดงออกของบุคคลในการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำที่ส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่งเกิดจากปัจจัยพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย (กองสขุ ศกึ ษา, 2556) 1. ปจั จัยด้านความรูห้ รือพทุ ธิพิสยั (Cognitive Domain) คอื พฤติกรรมท่เี ก่ยี วข้องกบั ทักษะทาง สติปญั ญา ความคดิ ความรู้ ความจำ และการแกป้ ัญหา โดยแบ่งออกเปน็ 6 ข้นั คอื - ขั้นที่ 1 ความรู้ คือสามารถจำได้ นกึ ได้ จากการไดย้ นิ และการมองเห็น - ขน้ั ท่ี 2 ความเขา้ ใจ เกดิ จากการเรียนรู้ และเข้าใจ สามารถแปลความหมายได้ - ขั้นท่ี 3 การประยกุ ต์ใช้ความรู้ คือการเข้าใจในหลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ เพ่อื นำไปใชใ้ นการ แกป้ ัญหาได้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 14 - ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ คือสามารถแยกองค์ประกอบออกเป็นส่วน ๆ เพื่อทำความเข้าใจอย่าง ละเอียด และเขา้ ใจความสมั พันธข์ องแตล่ ะองคป์ ระกอบ - ขน้ั ที่ 5 การสงั เคราะห์ คอื สามารถนำสว่ นประกอบหลาย ๆ ส่วนมารวมกนั จากประสบการณ์ และความคดิ สรา้ งสรรค์ - ขั้นท่ี 6 การประเมินผล คอื สามารถประเมนิ ค่าความรู้ทีไ่ ด้โดยใชเ้ กณฑ์มาตรฐานเพ่ือประเมิน คา่ ได้ 2. ปัจจัยด้านทัศนคติหรือจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ทักษะทางสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรูส้ กึ ค่านิยมของบุคคล โดยแบ่งออกเปน็ 5 ขน้ั ไดแ้ ก่ - ขนั้ ที่ 1 การรับหรือการให้ความสนใจ คือเมอ่ื ได้รับการกระตุ้นหรือมสี ิ่งเร้า จะส่งผลให้บุคคล เกิดความตระหนัก ความเต็มใจรับสิ่งเร้า และการเลือกให้ความสนใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของแตล่ ะบุคคลที่จะนำไปสู่ข้นั ต่อไป - ขั้นท่ี 2 การตอบสนอง คือความรสู้ กึ ยินยอม เตม็ ใจตอ่ ส่งิ ทมี่ ากระตุ้นหรอื สง่ิ เรา้ นั้น - ขน้ั ท่ี 3 การใหค้ ณุ ค่า คือบุคคลจะเกดิ ความรสู้ กึ หรือตระหนกั ถงึ สิง่ ทมี่ ากระตนุ้ หรอื สงิ่ เร้าน้ัน และแสดงปฏกิ ริ ยิ าในการยอมรับวา่ ส่ิงเรา้ นน้ั เปน็ สิง่ ทมี่ ีคณุ ค่า - ขั้นที่ 4 การจัดกลุ่มการให้คุณค่า เมื่อยอมรับและให้คุณค่ากับสิ่งเร้านั้นแล้ว บุคคล จะพจิ ารณาความสัมพนั ธ์ระหวา่ งค่านยิ มแล้วจดั กลุ่มของค่านิยมเหลา่ นัน้ - ขั้นที่ 5 การแสดงถึงค่านิยมของบุคคล คือ พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกถึงค่านิยม ทางร่างกายและสามารถสังเกตเห็นได้ โดยการแสดงออกถึงพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เชน่ การออกกำลังกาย การตรวจร่างกาย การป้องกันการเจ็บป่วย เป็นต้น 3. ปัจจัยด้านการปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ความสามารถในการ แสดงออกทางกายของบุคคลที่สามารถรับรู้ กระทำตามแบบอย่างถูกต้อง กระทำอย่างต่อเนื่อง และกระทำได้อย่างธรรมชาติ สามารถสังเกตได้ง่าย แต่ต้องใช้เวลาเนื่องจากต้องอาศัย กระบวนการในระดับพทุ ธพิ สิ ัยและจิตพสิ ยั แบง่ ออกเป็น 5 ข้ัน ไดแ้ ก่ - ข้ันที่ 1 การเลียนแบบ โดยการเลอื กพฤติกรรมหรอื ตวั แบบทส่ี นใจ - ขั้นท่ี 2 การทำตามตน้ แบบท่ีสนใจ เปน็ การลงมอื กระทำพฤตกิ รรมตามตวั แบบทส่ี นใจ - ขั้นที่ 3 การกระทำพฤติกรรมอย่างถูกต้อง เป็นการตัดสินใจของบุคคลในการเลือกทำ ตามตน้ แบบอย่างถูกต้อง - ขั้นที่ 4 การกระทำพฤติกรรมนั้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการกระทำพฤติกรรมสุขภาพ อย่างตอ่ เนอื่ ง และสมำ่ เสมอ - ขั้นที่ 5 การกระทำพฤติกรรมโดยธรรมชาติ คือ การกระทำจนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติได้ เป็นปกติ เป็นอตั โนมัติ หรือตามธรรมชาติ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 15 พฤติกรรมสุขภาพ คือ พฤติกรรมที่ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมภายนอกที่สามารถมองเหน็ หรือสังเกตได้ และพฤติกรรมภายในที่สามารถใช้เครื่องมือวัดประเมินได้ เช่น การรับรู้ ความเชื่อ แรงจูงใจ ค่านิยม เจตคติ ซง่ึ ในทางพฤติกรรมศาสตรเ์ ชอ่ื วา่ ปัจจัยเหล่านี้สง่ ผลต่อพฤตกิ รรมของบุคคล (มณรี ตั น์ ธีระวัฒน์, 2556) พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยทั้งภายใน ได้แก่ พุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และปัจจัยภายนอกของบุคคล ได้แก่ นโยบาย การเปลี่ยนแปลง ของส่ิงแวดลอ้ มและสงั คมทีส่ ง่ ผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมสุขภาพ (จกั รพันธ์ เพช็ รภูมิ, 2560) จากนิยามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนได้สรุปความหมายของพฤติกรรมสุขภาพว่า พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำหรืองดเว้นการกระทำต่าง ๆ ของบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทง้ั 4 มิติ คอื สขุ ภาพกาย สุขภาพจติ สังคม และจิตวิญญาณ ซง่ึ การกระทำเหลา่ นี้เกิดจากปัจจัยท้ังภายใน ได้แก่ ปัจจัยพุทธิพิสัย เจตพิสัย และทักษะพิสัย และปัจจัยภายนอกของบุคคล แล้วส่งผลต่อการแสดง พฤตกิ รรม 4. ประเภทของพฤตกิ รรมสุขภาพ ธนวรรธน์ อม่ิ สมบูรณ์ (2541) และเฉลิมพล ตันสกลุ (2543) แบ่งพฤตกิ รรมสุขภาพ 2 ลกั ษณะ คือ 1. พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์หรอื พฤติกรรมเชิงบวก หมายถึง การกระทำพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ควรส่งเสริมให้ปฏิบัติต่อไป เช่น การรับประทาน อาหารท่ีมีประโยชน์ การนอนหลับพกั ผ่อนอย่างเพยี งพอ และการออกกำลังกาย เปน็ ต้น 2. พฤติกรรมที่ไมพ่ งึ ประสงคห์ รือพฤตกิ รรมเชงิ ลบ หมายถึง การกระทำพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารดิบ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีกิจกรรมสุขศึกษา เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ โดยแบ่งระดับการแสดงออกของพฤติกรรมสุขภาพ ออกเป็น 3 ระดบั คือ ระดับท่ี 1 การปฏบิ ตั กิ ารขอ้ กำหนดกฎเกณฑ์ ระดับท่ี 2 การปฏิบตั ติ ามขอ้ แนะนำหรอื แนวทางตา่ ง ๆ ระดบั ท่ี 3 การปฏิบัติท่ีเกดิ ดว้ ยตัวบุคคลเอง เปน็ ค่านิยมทางสุขภาพ จนิ ดา บญุ ชว่ ยเก้ือกูล (2541) ไดแ้ บ่งพฤตกิ รรมสุขภาพออกเปน็ 4 ลักษณะ คอื 1. พฤติกรรมการสง่ เสรมิ สขุ ภาพ เป็นการแสดงด้านสุขภาพของบคุคลในภาวะปกติเพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพดี เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารทม่ี ีประโยชน์ 2. พฤติกรรมการปอ้ งกันโรค พฤติกรรมของบุคคลในการกระทำเพื่อป้องกันโรคและอุบัติภัยต่าง ๆ เช่น การสวมหมวกนิรภัย การตรวจรา่ งกายประจำปี การออกกำลงั กาย

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 16 3. พฤตกิ รรมเมือ่ เจ็บปว่ ย พฤติกรรมที่บุคคลกระทำเมื่อรู้สึกว่าร่างกายของตนเองมีความผิดปกติ เช่น การปรึกษาคนใกล้ชิด การรกั ษาพยาบาล 4. พฤติกรรมทเี่ ปน็ บทบาทของการเจ็บปว่ ย หมายถึง การปฏิบัติที่บุคคลกระทำหลังได้ทราบการวินิจฉัยแล้ว เช่น การปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ของแพทยเ์ พ่ือใหห้ ายจากการเจบ็ ปว่ ย ประไพรจติ ร ชมุ แวงวาปี (2553) ได้จำแนกประเภทของพฤติกรรมสุขภาพตามลกั ษณะการดำเนินงาน สาธารณะสขุ ออกเปน็ ลักษณะเฉพาะ คือ 1. พฤตกิ รรมการสง่ เสริมสุขภาพ คือ พฤติกรรมสุขภาพที่ทำแล้วนำไปสู่การมีสุขภาพดี เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมกบั แตล่ ะชว่ งวัย 2. พฤตกิ รรมการปอ้ งกนั โรค พฤตกิ รรมสุขภาพท่ีปฏิบตั เิ พ่อื ปอ้ งกนั ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ไมใ่ หเ้ กดิ การเจบ็ ป่วยหรอื บาดเจ็บ เช่น การรบั วคั ซีนเพอื่ ปอ้ งกันโรค 3. พฤตกิ รรมเมือ่ เจบ็ ปว่ ย พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกเมื่อเกิดอาการความผิดปกติของร่างกาย และพยายามหาวิธีการ เพ่ือบรรเทาอาการน้นั 4. พฤติกรรมการแสวงหาการรักษา พฤตกิ รรมของบคุ คลทีย่ อมรับและตอบสนองการเจ็บปว่ ยโดยหาวิธีการรกั ษาเพอ่ื ให้หายเจบ็ ปว่ ย 5. พฤตกิ รรมบทบาทของผู้ปว่ ย พฤติกรรมของบุคคลในการยอมรับหรือไม่ยอมรับการเจ็บป่วยของตนเอง หลังจากได้รับการวินิจฉัย และยนื ยนั การเจบ็ ป่วย 6. พฤติกรรมการรกั ษาพยาบาล พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกหรือกระทำเมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยรับการ รักษาพยาบาล การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การรับประทานยา และการฟื้นฟูสภาพจากการ เจบ็ ปว่ ย 7. พฤติกรรมเสย่ี ง พฤติกรรมสุขภาพของบุคคลท่ีเม่ือปฏิบัตแิ ล้วอาจนำไปส่กู ารเกิดโรคหรือการบาดเจ็บโดยแบ่งออกเป็น พฤติกรรมเสี่ยงร่วมคือพฤติกรรมเสี่ยงท่ีสง่ ผลให้เกิดหลายโรค เช่น การสูบบุหรี่ ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคถงุ โป่งพองและโรคมะเร็งปอด และการไม่ออกกำลังกาย ทีส่ ่งผลตอ่ การเกิดโรคไม่ติดต่อและโรคเร้ือรังต่าง ๆ และพฤติกรรมเสี่ยงเฉพาะคือพฤติกรรมที่เฉพาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น พฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มวัย แรงงาน

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 17 จกั รพันธ์ เพช็ รภูมิ (2560) ไดแ้ บง่ ประเภทของพฤติกรรมสขุ ภาพ ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. พฤตกิ รรมการรักษาโรค หมายถึง พฤติกรรมภายนอกของบุคคล ครอบครัว หรือชุมชน เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ให้กลับมาหาย เป็นปกติตามเดิม เช่น การรับประทานยา หรืออาจมีการรักษาพยาบาลโดยใช้วิธีทางเลือก เช่น การประกอบพธิ กี รรมต่าง ๆ ตามความเชอ่ื ของบุคคลและชมุ ชน 2. พฤติกรรมการปอ้ งกันโรค พฤติกรรมภายนอกของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ในการทำสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพ และงดเว้นสิ่งที่ สง่ ผลเสียต่อสขุ ภาพ เชน่ การงดสบู บุหรี่ การสวมอปุ กรณ์ปอ้ งกันอนั ตรายสว่ นบคุ คล (PPE) 3. พฤตกิ รรมการสง่ เสรมิ สขุ ภาพ หมายถึง พฤติกรรมภายนอกที่กระทำโดยมีจุดประสงค์คือให้มีสุขภาพดี เช่น การออกกำลังกาย และยังรวมถึงพฤติกรรมทีส่ ่งผลตอ่ ความสวยงาม เชน่ การรบั ประทานอาหารเสรมิ 4. พฤตกิ รรมการมสี ว่ นร่วมในการกิจกรรมทเี่ ก่ียวขอ้ งกับสุขภาพ หมายถึง พฤติกรรมที่กระทำแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนส่วนรวม เช่น การร่วมมือกัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน รวมถึงการร่วมกันคัดค้าน โครงการต่าง ๆ ทอ่ี าจสง่ ผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชมุ ชนได้ เช่น การคัดคา้ นการทำเหมืองแร่ 5. พฤตกิ รรมการคมุ้ ครองสุขภาพ หมายถงึ การทำกจิ กรรมในระดับกฎหมาย กฎระเบยี บ ข้อบงั คบั การจัดทำนโยบายและบังคับใช้ เพื่อให้มสี ภาพแวดล้อมทีเ่ อ้ือต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน เชน่ การออกกฎห้ามสบู บุหรี่ในท่ีสาธารณะ เป็นต้น จากประเภทของพฤติกรรมสุขภาพเหล่านี้ ผู้เขียนได้สรุปและจัดพฤติกรรมสุขภาพออกเป็น 4 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. พฤตกิ รรมการสง่ เสรมิ สขุ ภาพ คือ พฤตกิ รรมสุขภาพที่บุคคล ครอบครวั และชุมชนกระทำแล้วมีสุขภาพดี เป็นพฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์ และควรสนับสนุนให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ พฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อน อย่างเพยี งพอ พฤติกรรมการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม เปน็ ต้น 2. พฤตกิ รรมการปอ้ งกันโรคและการบาดเจ็บ คือ การกระทำพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และงดเว้นพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันตนเองจากการเจบ็ ปว่ ยและการบาดเจ็บต่าง ๆ ได้แก่ พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเมื่อขับขี่ รถจักรยานยนต์ พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน พฤติกรรมการสวมถุงยางอนามัย พฤติกรรมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมการสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ( PPE) ในขณะทำงาน เป็นต้น

18 3. พฤตกิ รรมการรกั ษาพยาบาล คือ พฤติกรรมในการแสวงหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและวิธีการเพื่อรักษาพยาบาลตนเอง สมาชิกในครอบครัว หรือชุมชน เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อให้หายจาก อาการเหล่านั้น ได้แก่ พฤติกรรมการพบแพทย์เมื่อมีการเจ็บป่วย การรับประทานยา และการปฏิบัติ ตามคำแนะนำของแพทย์ 4. การมสี ่วนร่วมในการแกไ้ ขปัญหาสขุ ภาพ คือ พฤตกิ รรมสุขภาพท่ีพึงประสงค์ ซึ่งสง่ ผลดีตอ่ สุขภาพทั้งของบุคคล ครอบครัว และชุมชน เพ่อื แกไ้ ขปญั หาสุขภาพของส่วนรวม และในการดำเนินการน้จี ะต้องอาศัยความรว่ มมือของประชาชน โดยเฉพาะโรคติดต่อต่าง ๆ ได้แก่ พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัย พฤติกรรมการกำจัดลูกน้ำ ยุงลายในชมุ ชน พฤตกิ รรมการกำจดั ขยะและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงความร่วมมือ ในการส่งเสริมให้เกิดนโยบายสาธารณะและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี และร่วมกันคัดค้านสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การคัดค้านการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นท่ี ชุมชน กลา่ วโดยสรปุ คอื พฤตกิ รรมสขุ ภาพ หมายถงึ การกระทำหรืองดเว้นการกระทำตา่ ง ๆ ที่เป็น ผลจากปัจจัยภายในและภายนอก แล้วส่งผลต่อสุขภาพกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ พฤติกรรม สุขภาพสามารถแบ่งเป็น พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ และแบ่งตามลักษณะของพฤติกรรมได้เป็น 4 ประเภท คือ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรม การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ พฤติกรรมการรักษาพยาบาล และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพเหล่านี้แต่ละบุคคลมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน เนื่องจากมสี าเหตุมาจากปัจจัยทัง้ ภายในและภายนอกของบุคคลท่ีแตกต่างกัน ในการแสดงพฤติกรรม สุขภาพสามารถอธิบายได้โดยใช้แนวคิด ทฤษฎี และแบบจำลองสุขภาพที่กำหนดพฤติกรรมสุขภาพ ของบคุ คลทงั้ ในระดับบคุ คล กลมุ่ บุคคล ชุมชน และสังคม มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

19 เอกสารอา้ งอิง Dusenbery, D. 2009. Living at Micro Scale. New York: Harvard University Press. Fazio, R. & Olson, M. 2003. “Implicit measures in social cognition research: Their meaning and use.” Annual Review of Psychology 54: 297-327 Goldenson, R. 1984. Longman Dictionary of Psychology and Psychiatry. New York: Long-M. Kenaphoom, S. 2014a. “Research Philosophy: Quantity Quality.” Journal of Political Science and Law 3 (2):49-51. กองสุขศึกษา.(2556). แนวทางการดําเนนิ งานปรบั เปลยี่ นพฤติกรรมสขุ ภาพระดับจงั หวัด. กรุงเทพฯ: กองสุข ศกึ ษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสขุ . จกั รพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกตใ์ ช้. พิษณโุ ลก: สำนกั พิมพ์ มหาวทิ ยาลัยนเรศวร. เฉลมิ พล ตันสกลุ . (2543). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสขุ . พมิ พค์ รงั้ ที่ 3 กรุงเทพฯ:สหปรชาพาณิชย์. ธนวรรธน์ อ่ิมสมบูรณ์. (2541). ค่มู อื การดำเนินงานสุขศึกษาเพอ่ื พฒั นาพฤติกรรมสขุ ภาพในการควบคุม โรคติดต่อ. กระทรวงสาธารณสขุ . นิภาพรรณ เจนสนั ตกิ ลุ และไชยณัฐ ดำดี. (2563). พฤติกรรมศาสตร:์ ขอบขา่ ยและวธิ กี ารศกึ ษาสำหรบั การ พฒั นาองคก์ าร. วารสารสาระคาม. 11(2). 24-45. ประไพจิตร ชมุ แวงวาปี. (2553). สขุ ศกึ ษาและพฤติกรรมศาสตร์. ขอนแก่น: วทิ ยาลยั สาธารณสุขสริ ินธร จังหวดั ขอนแก่น. มณรี ัตน์ ธีระวฒั น.์ (2556). การวางแผนงานโครงการสุขศกึ ษาและสง่ เสริมสุขภาพ.นครปฐม: เพชรเกษม พร้นิ ต้งิ กรุ๊ป จำกัด. อนุวตั ร จลุ นิ ทร และคณะ (2562). ทฤษฎีการกระทำาดว้ ยเหตผุ ลและทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน: การนำไป ประยุกตใ์ ชด้ ้านธรุ กิจ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 12(5): 128-145 มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 20 บทท่ี 3 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสขุ ศกึ ษา 1. ความหมายของของทฤษฎีและทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ ทฤษฎี หมายถึง สิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและผล สามารถนำไป อธิบายปรากฏการณต์ ่าง ๆ ได้อย่างเปน็ ระบบ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังน้ี (Kerlinger, 1986) 1) ทฤษฎเี ป็นข้อเสนอท่ีเปน็ ความสมั พนั ธ์ของแนวคิดต่าง ๆ 2) ทฤษฎแี สดงให้เหน็ ความสมั พนั ธ์ของแนวคดิ ท่ีใช้อธิบายปรากฏการณ์ 3) ทฤษฎีสามารถทำหน้าท่ีอธบิ ายปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ได้ ทฤษฎี หมายถึง ความเชื่อมโยงระหว่างคำนิยาม แนวคิด และข้อเสนอที่แสดงเหตุการณ์ อย่างเป็นระบบ โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่อธิบายหรือทำนายเหตุการณ์นั้น ๆ (Glanz et al., 1997) ทฤษฎี หมายถึง ข้อสรุปที่ใช้เพื่อบรรยาย อธิบาย หรือทำนายความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ ของปรากฏการณ์การณ์ต่าง ๆ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีความหลากหลายในรูปของประโยคเชิงเหตุและผล (ปาริชาติ สถาปติ านนท์, 2546) ทฤษฎี หมายถึง คำอธิบายที่มีรากฐานขององค์ความรู้ที่สมเหตุสมผล สามารถพิสูจน์ ทดลองและทำนายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ทฤษฎีมีลักษณะสำคัญ คือ เป็นกฎที่เป็นนามธรรม สามารถใช้อธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ทั่วไป สามารถทดสอบได้ มีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ (สุรีย์พันธ์ุ วรพงศธร, 2558) ทฤษฎี หมายถึง ปรากฎการณท์ ี่สามารถทดสอบและพิสูจนไ์ ด้ สามารถอธิบายโดยทั่วไปอย่างเทยี่ งตรง และน่าเชื่อถือ โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ แนวคิด ข้อเสนอหรือสมมติฐาน และเหตุการณ์ที่ผ่าน กระบวนการพิสจู นจ์ ากขอ้ เสนอหรอื สมมติฐาน โดยทั่วไปทฤษฎีจะมลี กั ษณะเป็นนามธรรม (นติ ยา เพญ็ ศิรนิ ภา , 2561) ทฤษฎีประกอบดว้ ยองคป์ ระกอบของทฤษฎี ดงั น้ี (ปาริชาติ สถาปิตานนท์, 2546; สมชาย วรกิจเกษม สกุล, 2554) 1. ประเด็นต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ งหรือมีความสัมพนั ธ์กับปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขน้ึ 2. คำนยิ าม หรือคำจำกัดความท่ีอธิบายความหมายของปรากฏการณเ์ หลา่ น้นั ซง่ึ แสดงความคิดรวบ ยอดอยา่ งครบถ้วนและมีความชดั เจน 3. ข้อเท็จจริง หลักฐาน หรือสมมุติฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ และแสดง ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้นในเชิงเหตุและผล รวมถึงข้อตกลงเบื้องต้นในการศึกษา ปรากฏการณท์ ่เี กิดขน้ึ น้ัน ศิริชัย กาญจนวาสี (2545) และสมชาย วรกิจเกษมสกุล (2554) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของทฤษฎี ซง่ึ ในการนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้จำเปน็ จะต้องเข้าใจธรรมชาติของทฤษฎี ประกอบดว้ ย

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 21 - ทฤษฎีคอื ส่งิ ทสี่ ร้างบนพืน้ ฐานของข้อตกลงหรือเงื่อนไขเบ้ืองตน้ ที่ไดจ้ ากการสงั เกต หรอื หลักฐานเชิง ประจักษ์อย่างสมเหตุสมผล ดังนั้น ทฤษฎีจึงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้จากข้อมูลหรือหลักฐานที่มีอยู่ในขณะน้ัน เพียงอย่างเดียว - ทฤษฎีคือภาพรวมของความคิดที่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้น หรือใช้กำหนด สมมุตฐิ านเพื่อนำมาเป็นกลยุทธใ์ นการดำเนินงานให้บรรลเุ ปา้ หมายหรอื ประสบผลสำเรจ็ ได้ - ทฤษฎีมกี ารพัฒนาอยู่เสมอ เนื่องจากทฤษฎเี ป็นส่งิ ท่ีถูกสร้างขึน้ เพ่ืออธิบายปัญหาต่าง ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลหรือมีหลักฐานที่สมบูรณ์ขึ้น ย่อมทำให้ทฤษฎี มกี ารปรับปรงุ และพฒั นาอยู่เสมอเมอื่ เวลาผ่านไป - ทฤษฎีสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแนวความคิดที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน และทฤษฎีทด่ี คี วรใช้เพ่อื ตรวจสอบด้วยข้อมลู เชิงประจกั ษ์ได้ ทฤษฎีที่ใช้สำหรับพฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่จะใช้ “ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ” เป็นหลักในการ ดำเนินการพัฒนาด้านสุขภาพของบุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชน เนื่องจากทฤษฎีเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ใน การศึกษา อธิบาย และทำนายพฤติกรรมสุขภาพเชิงเหตุผลอย่างเป็นระบบ (นิตยา เพ็ญศิรินภา, 2561) ซึ่งมนี กั วิชาการหลายทา่ นได้ใหค้ วามหมายของทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพ ดังนี้ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง ชุดของข้อเสนอที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งประกอบด้วย แนวคิด การอธิบายการเกดิ พฤตกิ รรมตา่ ง ๆ การควบคุมพฤตกิ รรม และการทำนายพฤติกรรม (Kelinger, 1986) ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การอธิบายปัจจัยภายในและภายนอกตัวบุคคล และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมแบบเชิงเหตุผลอย่างเป็นระบบ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีควรอธิบายได้ ว่าการแสดงออกของพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลเกิดจากสาเหตุอะไร และควรเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไป ปฏิบตั พิ ฤตกิ รรมสขุ ภาพ ซ่ึงเป็นพืน้ ฐานสำคัญในมสี ุขภาพดีสำหรบั ประชาชน (นติ ยา เพญ็ ศริ ินภา, 2561) ทั้งนี้ ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสว่ นใหญ่จะสามารถอธบิ ายปรากฏการณ์ทางสังคมในมิติทีเ่ ชื่อมโยงกบั สุขภาพ และความเป็นอยู่ได้ อย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางสุขภาพของบุคคล กลุ่มบุคคล และชุมชน โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ (พัชรินทร์ สิรสุนทร, 2558 อ้างถึงในจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, 2560) 1. เป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการรวบรวมและประมวลไว้ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ทางสุขภาพ ความเป็นอยู่ ปรากฏการณ์และความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และพฤตกิ รรมสุขภาพ 2. เป็นคำอธิบายสาเหตแุ ละผลของพฤติกรรมและสามารถทำนายพฤติกรรมที่ได้จากการศึกษาอย่างเป็น ระบบ 3. เปน็ องค์ความรู้ท่ีแสดงข้อเท็จจริงเก่ยี วกับข้อมูลทางสุขภาพ ทงั้ ขอ้ มลู เชิงประจักษ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ จากประสาทสัมผัส หรือข้อมูลที่เป็นความรู้สึก ได้แก่ ความเชื่อ ค่านิยม อารมณ์ หรือข้อมูลที่เป็น ความหมายเชงิ สญั ลักษณ์

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 22 จากการศกึ ษาความหมายข้างต้น ผู้เขยี นไดส้ รุปความหมายของทฤษฎีพฤตกิ รรมสุขภาพ หมายถึง ระบบ ความเชื่อมโยงที่สามารถนำมาอธิบายและทำนายสาเหตุและผลของการเกิดพฤติกรรมสุขภาพได้อย่าง สมเหตสุ มผล และสามารถพิสูจน์ได้ 2. ความสำคญั ของทฤษฎีพฤตกิ รรมสุขภาพสำหรับงานสุขศกึ ษา ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล กลุ่ม หรือชุมชนให้มีพฤติกรรม ที่พึงประสงค์และส่งผลดีต่อสุขภาพ จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติการตามแผน การประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนั้น จึงอาจสรุป ความสำคัญและประโยชน์ของทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสุขศึกษาได้ ดังนี้ (นิตยา เพ็ญศิรินภา, 2561) 1. ช่วยจัดการและสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้บุคคลสามารถตัดสินใจในการทำหรืองดเว้นการกระทำพฤติกรรมสุขภาพตามคำแนะนำ ของเจา้ หน้าท่ีสาธารณสขุ 2. ช่วยสร้างพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยในการกำหนดทิศทางสำหรับ การวิจัย และการพัฒนากิจกรรมสุขศึกษาเพือ่ ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสขุ ภาพที่เหมาะสม กับประชาชนกลุ่มเปา้ หมาย 3. ช่วยอธิบายสาเหตุของการเกิดพฤติกรรมสุขภาพทั้งที่ถูกต้องและที่ไม่ถูกต้อง และมีวิธีการ ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ อย่างชัดเจน 4. ช่วยทำนายหรือพยากรณ์ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ท่เี ข้าร่วมกิจกรรมสุขศกึ ษาเพื่อปรบั เปลี่ยนพฤตกิ รรมสุขภาพ 5. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพจะช่วยในการกำหนดประเด็นสำคัญที่ใช้ในกิจกรรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ ต้งั แต่การจัดทำแผนงานหรือโครงการให้มลี ักษณะเฉพาะ มีการเช่ือมโยงอย่าง เป็นเหตุเปน็ ผลทส่ี ามารถนำไปปฏิบัตจิ ริงได้ ตั้งแตก่ ารกำหนดวตั ถปุ ระสงค์ การวางแผน การระบุ ขั้นตอนของกิจกรรม และการปฏิบัติตามแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน กลมุ่ เปา้ หมายตา่ ง ๆ 6. ช่วยระบุขั้นตอนของกิจกรรมสุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้จะควบคุม กำกับ และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการประเมินผลกิจกรรม และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานตามแผนงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตามท่กี ำหนดไว้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 23 7. สามารถใช้ในการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ โดยช่วยในการคัดเลือกและกำหนด ปัญหาการวิจัย ใช้เป็นแนวทางในการตั้งวัตถุประสงค์ กำหนดกรอบแนวคิด ตัวแปร การตั้งสมมุติฐาน การสร้างเครื่องมือ การอภิปรายผล การสรุปผลการวิจัย และการเสนอแนะ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสขุ ภาพของประชาชนกลุ่มเปา้ หมาย จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ (2560) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างหรือพัฒนาทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ หรอื แบบจำลอง ดังนี้ 1. ทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพหรอื แบบจำลองเป็นเครื่องมือท่ีใช้อธิบาย พรรณนา และทำนายการเกดิ พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ภายใต้สภาพเง่ือนไขที่กำหนดได้ โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวแปร ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ ทัศนคติ และปัจจัยด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมของบุคคลหรือการตอบสนอง ต่อสถานการณใ์ นรูปแบบต่าง ๆ 2. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพหรือแบบจำลองเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่เป็นปัญหาหรือเพื่อให้การดำเนินงานด้านสุขภาพเป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ตงั้ แต่การออกแบบ วางแผน และการจดั การ นอกจากน้ี ทฤษฎพี ฤติกรรมสขุ ภาพยงั มีความสำคัญ และมปี ระโยชน์ตอ่ การวิจัย ดังน้ี (สิน พันธ์ุพินิจ, 2547 อา้ งถึงในสมชาย วรกิจเกษมสกลุ , 2554) 1. ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพในการกำหนดกรอบของการวิจัยและเป็นแนวทางในการกำหนด ตัวแปรท่ีศกึ ษา การออกแบบการวิจยั และการเก็บรวบรวมขอ้ มูล 2. ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพเป็นเกณฑ์ในการลำดับข้อเท็จจริงของตัวแปรและจำแนกตัวแปร ให้เปน็ หมวดหมู่ เพ่อื ให้การศึกษาในการวจิ ัยทำได้ง่ายขนึ้ 3. ใชใ้ นการศึกษาความคิดรวบยอดเชงิ ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เก่ียวข้อง เพ่ือนำมากำหนด กรอบแนวคิดในการวิจัยท่ีแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทีน่ ำมาศึกษา 4. สามารถใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพในการกำหนดสมมุติฐานตามหลักของเหตุและผลที่ระบุไว้ ตามทฤษฎี 5. ใช้ในการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ทฤษฎีในการวิเคราะห์การเก็บข้อมูลเพื่อให้ ครอบคลุมประเดน็ ในปรากฏการณ์น้นั ๆ 6. ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพที่เกี่ยวข้องมาเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูล อภิปรายผล และสรุปผลการวจิ ยั 7. ใช้ในการคาดเดาหรือการพยากรณ์ปรากฏการณ์พฤติกรรมสุขภาพที่กำหนดขึ้นในอนาคตได้ โดยใช้หลกั การเชิงเหตผุ ลของทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 24 จากการศึกษาความสำคัญของทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสุขศึกษาข้างต้น ผู้เขียนได้สรุป ความสำคญั ดงั น้ี 1. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญในการอธิบายองค์ความรู้และข้อเท็จจริงของข้อมูล ด้านสุขภาพอย่างมีเหตุและผล ทำให้บุคคลมีความเข้าใจข้อมูลด้านพฤติกรรมอย่างถูกต้อง และสามารถตัดสินใจในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ของตนเองภายใต้สภาวะแวดลอ้ มตา่ ง ๆ ได้ 2. มีความสำคัญในการกำหนดประเด็นสำคัญเพื่อใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม กบั ประชาชนกลุม่ เป้าหมาย ตง้ั แตก่ ารวางแผน การปฏบิ ัติตามแผน และการประเมนิ ผล 3. ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพช่วยในการทำนายหรือพยากรณ์ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพของประชาชนกลุ่มเปา้ หมาย 4. สามารถใช้ทฤษฎีสุขภาพในการกำหนดทิศทางในการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งการกำหนดกรอบแนวคิด การออกแบบการวิจัย การกำหนดตัวแปรที่ใช้ศึกษา การสร้าง เครือ่ งมือ การเก็บรวบรวมขอ้ มลู การอภปิ รายผล และการสรุปผลการวิจัย 5. สามารถนำทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพมาสร้างนวตั กรรมใหม่เพือ่ ปรบั เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใหเ้ หมาะสมกับกลมุ่ เปา้ หมาย 3. รูปแบบของทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพสำหรบั งานสุขศกึ ษา ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพสำหรับงานสุขศึกษาที่นำมาใช้อธิบายการปรั บเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถจำแนกตามลักษณะที่แตกต่างกันได้หลายรูปแบบ โดย Glanz, Rimer & Viswanath (2008) อ้างถึง ในจกั รพนั ธ์ เพช็ รภมู ิ (2560) ได้จำแนกระดับของทฤษฎอี อกเป็น 3 ระดบั ไดแ้ ก่ 1. ทฤษฎีและแบบจำลองระดับบคุ คล (Theories and models of individual health behavior) เป็นทฤษฎีและแบบจำลองที่มีแนวคิดพื้นฐานมาจากความเชื่อว่าสาเหตุของพฤติกรรมเกิดจาก กระบวนทางความคดิ ของบุคคล ได้แก่ การรบั รู้ ค่านิยม แรงจงู ใจ ประสบการณ์ ซงึ่ เป็นปจั จัยภายในตัวบุคคล โดยมีสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยเอื้อหรือปัจจัยเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพนั้น ดังนั้น ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในระดับบุคคล ต้องมีการจัดการปัจจัยภายในตัวบุคคล ซึ่งทฤษฎีและแบบจำลองสุขภาพ ระดับบุคคล ได้แก่ - แบบแผนความเชอ่ื ด้านสขุ ภาพ (Health belief model) - แบบจำลองการสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพ (Health promotion model) - ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of reasoned action) - ทฤษฎพี ฤตกิ รรมตามแผน (Theory of planed behavior)

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 25 - แบบจำลองข้นั ตอนการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมหรือแบบจำลองการเปล่ยี นแปลง (Stages of change model or transtheoretical model) - แบบจำลองการประมวลขา่ วสารขอ้ มลู ของผบู้ ริโภค (Consumer information processing model) 2. ทฤษฎีและแบบจำลองระหว่างบุคคล (Theories and models of interpersonal health behavior) ทฤษฎีและแบบจำลองในระดบั น้ีมีแนวคิดพื้นฐานว่าพฤติกรรมสขุ ภาพของบุคคลเกิดจากหลายปัจจยั โดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเดียวกัน หรือได้รับอิทธิพล จากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด ความรู้สึก แล้วส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพของบุคคลนั้น ๆ ทั้งจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บุคลากรด้านสาธารณสุข หรือคนในสังคมคนอื่น ๆ ดงั น้นั ในการปรบั เปลยี่ นพฤติกรรมสขุ ภาพในระดับระหว่างบุคคล จำเปน็ ต้องจัดการ ความสัมพันธข์ องบคุ คลท่อี ยใู่ นสังคมเดยี วกันน้นั ดว้ ย ตัวอย่างทฤษฎแี ละแบบจำลองระหว่างบุคคล ไดแ้ ก่ - ทฤษฎีปญั ญาทางสงั คม (Social Cognitive Theory) - ทฤษฎกี ารสนบั สนุนทางสงั คมและเครอื ขา่ ยทางสังคม (Social support and social networking) 3. ทฤษฎแี ละแบบจำลองระดับบุคคลและกลุ่ม (Theories and models of community and group) เป็นทฤษฎีและแบบจำลองท่ีเน้นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในระดับประชาชน ดังนั้น ในการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างทางสังคม หรือเปลี่ยนแปลงศักยภาพของชุมชนเพื่อให้เกิดการ ปรับเปล่ียนพฤตกิ รรมสขุ ภาพในระดับประชากร ตวั อย่างทฤษฎีเหล่าน้ี ไดแ้ ก่ - ทฤษฎกี ารกระจายนวตั กรรม (Diffusion of innovation theory) - แบบจำลองนเิ วศวทิ ยาของพฤตกิ รรมสุขภาพ (Ecological models of health behaviors) - แนวคดิ การเสริมพลงั อำนาจชุมชน (Community empowerment) - แบบจำลองการวางแผนและประเมินผลการดำเนนิ งานดา้ นสาธารณสุข (Precede Proceed Model) นอกจากนี้ นิตยา เพ็ญศิรินภา (2561) ได้แบ่งทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพตามการนำมาใช้ ในการดำเนินงานสุขศึกษา เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ไม่เหมาะสม และใช้ในการกำหนดกรอบแนวคดิ ของงานวิจัยท่เี กย่ี วข้องกับพฤติกรรมสุขภาพตา่ ง ๆ โดยแบ่งออกเปน็ 5 ประเภท ดงั น้ี 1. ทฤษฎีพฤตกิ รรมสขุ ภาพระดับบุคคล (Individual health behavior theory) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยภายในตัวบุคคลที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของบุคคล โดยปัจจัยภายในตัวบุคคลเหล่าน้ี ได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ การรับรู้ แรงจูงใจ เจตคติ ทักษะ และประสบการณ์ต่าง ๆ ท่ีมคี วามแตกต่างกนั ของแต่ละบุคคล ตวั อย่างทฤษฎีเหล่าน้ี ไดแ้ ก่

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 26 - แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health belief model) - ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตผุ ล (Theory of reasoned action) - ทฤษฎคี วามเช่อื ในอำนาจภายในและภายนอกของตนเอง (Health locus of control theory) - ทฤษฎีแรงจูงในเพ่อื ป้องกนั โรค (Protection motivation theory) - ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior) - โมเดลการเปล่ยี นแปลงตามขั้นตอน (Stage of change model) 2. ทฤษฎพี ฤติกรรมสุขภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal health behavior theory) เป็นทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพที่เน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยภายนอกตัวบุคคลที่ส่งผลต่อการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ โดยปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ได้แก่ การได้รับการกระตุ้นหรือคำแนะนำ ด้านสุขภาพจากสมาชิกในครอบครัว เพื่อนใกล้ชิด บุคคลที่เคารพนับถือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แล้วส่งผลให้ บุคคลนั้นมกี ารปรับเปลย่ี นพฤตกิ รรมสุขภาพ ตัวอยา่ งของพฤตกิ รรมสุขภาพระหวา่ งบุคคล ไดแ้ ก่ - ทฤษฎปี ัญญาสังคม (Social cognitive theory) - ทฤษฎกี ารเรยี นรทู้ างสงั คม (Social learning theory) - ทฤษฎแี รงสนบั สนนุ ทางสงั คม (Social support theory) - แบบจำลองปฏิสัมพันธร์ ะหวา่ งคนไข้และผใู้ ห้บรกิ าร (Patient provider interaction model) 3. ทฤษฎีพฤตกิ รรมสขุ ภาพระดับองคก์ ร (Organizational health behavior theory) เปน็ ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกบั ปจั จัยภายนอกท่ีเกย่ี วข้องกับสภาวะแวดล้อมตา่ ง ๆ ท่ีส่งผลบุคคลที่อยู่ ในองค์กรนั้น ๆ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ตัวอย่างของปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง กับสภาวะแวดล้อมขององค์กร ได้แก่ การกำหนดนโยบายหรือการออกกฎระเบียบในองค์กร เช่น การกำหนด นโยบายให้มีการจัดการออกกำลังกายในช่วงเย็นให้แก่พนักงานในองค์กร โรงงานออกกฎระเบียบให้พนักงาน สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ทุกครั้งเมื่อทำงานกับเครื่องจักร การจัดสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤตกิ รรมสุขภาพ เช่น การจัดให้มีพื้นทีส่ ูบบุหรีแ่ ละพื้นทีป่ ลอดบุหรี่สำหรับพนักงาน ในองค์กร และการให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพต่าง ๆ ผ่านทางการประชาสัมพันธ์แก่คนในองค์กร ตัวอย่างของทฤษฎพี ฤติกรรมสุขภาพในระดับองค์กร ไดแ้ ก่ - ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลงโดยองคก์ ร (Theories of organizational change) - แบบจำลองการวางแผนทางสงั คม (Social planning model) - แบบจำลองทางสังคม (Social action model) - แบบจำลองการพัฒนาทอ้ งถ่นิ (Locality development model)

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 27 4. ทฤษฎพี ฤติกรรมสขุ ภาพระดบั ชมุ ชน (Community health behavior theory) ทฤษฎีพฤตกิ รรมสขุ ภาพในระดับชมุ ชนน้ี จะมุ่งเนน้ ท่ีบุคคล กลมุ่ บุคคล รวมถงึ องคก์ รตา่ ง ๆ ในชุมชน ร่วมกันจัดทำกระบวนการเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกในชุมชน ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ร่วมกัน การวางแผน การดำเนินการ และการประมวลผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ให้แก่คนในชุมชน เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่ปลอดภัยของเกษตรกร ในชุมชน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกษตรกรเจ็บป่วยด้วยโรคพิษจากสารเคมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เพิ่มขึ้นทุกปี (กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2558) และเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถ ปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันหรือลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูได้ โดยการดำเนินการแก้ไขพฤติกรรมสุขภาพ ในระดับชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมหรือการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติที่ดี และสร้างความ ตระหนักถึงผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรผ่านสื่อการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพอื่ ใหเ้ กษตรกรในชุมชนเกิดพฤติกรรมสขุ ภาพที่ปลอดภัย (อมลรดา รงค์ทอง และจนั ทิมา ดรจันทรใ์ ต้, 2564) ตัวอย่างของทฤษฎสี ขุ ภาพระดับชุมชน ไดแ้ ก่ - การตลาดเชิงสงั คม (Social marketing) - การช้ีนำผา่ นส่อื ตา่ ง ๆ (Media advocacy) - ทฤษฎกี ารกระจายนวัตกรรม (Diffusion of innovation theory) 5. ทฤษฎีพฤตกิ รรมสุขภาพระดับสงั คม (Society health behavior theory) เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ การกำหนดนโยบายสุขภาพ การกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใช้ร่วมกันในสังคม การรณรงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านสุขภาพและกระตุ้นเตือนให้คนในสังคมกระทำหรืองดเว้นการกระทำสิ่งที่ส่งผล ต่อสุขภาพ เช่น การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การห้ามเมาสุราแล้วขับขี่ยานพาหนะ หากสมาชิกในสังคม ฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย รวมถึงการนำขนบธรรมเนียมและประเพณีมาใช้ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในระดับสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ด้วย เช่น การงดเหล้า เข้าพรรษา ตวั อยา่ งของทฤษฎีพฤติกรรมสขุ ภาพในระดับสังคม ได้แก่ - แบบจำลองเชงิ นิเวศวทิ ยา (Ecological model) - แบบจำลองสงั คมนเิ วศวทิ ยาดา้ นสขุ ภาพ (Socio ecological model of health) จากการศกึ ษารปู แบบของทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพขา้ งต้น ผู้เขยี นไดส้ รปุ รูปแบบของทฤษฎีพฤติกรรม สขุ ภาพออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 28 1. ทฤษฎแี ละแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยมีการ จัดการภายในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ได้แก่ การรับรู้ ความรู้ ความเชื่อ แจงจูงใจ เจตคติ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ชีวิต เป็นต้น ซึ่งมีการนำทฤษฎีเหล่านี้มาใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ ของบคุ คล โดยทฤษฎแี ละแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคลที่นยิ มใชก้ ันอยา่ งแพร่หลาย ได้แก่ - แบบแผนความเชอื่ ดา้ นสุขภาพ (Health Believe Model: HBM) - ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตผุ ล (Theory of Reason Action: TRA) - ทฤษฎพี ฤตกิ รรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) - ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อปอ้ งกนั โรค (Protection motivation theory) - ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมตามข้นั ตอน (Stage of change model) - ทฤษฎคี วามสามารถแหง่ ตน (Self-efficacy) 2. ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสขุ ภาพระหวา่ งบคุ คล ทฤษฎแี ละแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระหว่างบคุ คลเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับการปรับเปล่ียน พฤติกรรมสุขภาพหรือการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากบุคคลรอบข้างที่มีความสำคัญ ตอ่ ตนเอง เช่น สมาชิกในครอบครวั เพ่อื นสนทิ ผูบ้ งั คบั บญั ชา บคุ ลากรสาธารณสุข เป็นตน้ ประกอบด้วย - ทฤษฎกี ารเรยี นรทู้ างสงั คม (Social learning Theory) - ทฤษฎีปญั ญาทางสงั คม (Social Cognitive Theory) - ทฤษฎีแรงสนบั สนนุ ทางสงั คม (Social support Theory) 3. ทฤษฎแี ละแบบจำลองพฤตกิ รรมสขุ ภาพระดับชุมชนและสงั คม ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพในระดับชุนและสังคม มุ่งเน้นการให้ความสำคัญ ทีก่ ารวิเคราะห์ปจั จัยภายนอกและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทมี่ ีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในสังคม นั้น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ โดยให้สมาชิกในชุมชนและสังคม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกันอย่างเป็นกระบวนการ มีการกำหนดกฎระเบียบ หรือรปู แบบการแสดงพฤติกรรมร่วมกนั มีเทคนิคการควบคุมทางสงั คม ทำใหป้ ระชาชนในชุมชนและสังคมน้ัน เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และมีลักษณะเฉพาะร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ในชุมชน และสงั คมของตนเอง เช่น การกำหนดนโยบายสาธารณะเพ่ือสุขภาพ การจดั สภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการแสดง พฤติกรรมสขุ ภาพทพี่ งึ ประสงค์ ทฤษฎแี ละแบบจำลองพฤตกิ รรมสขุ ภาพในระดับชุนและสงั คม ประกอบดว้ ย - กรอบแนวคิด PRECEDE Framework - แบบแผนองค์กรชมุ ชน (Community organization model) - ทฤษฎกี ารกระจายนวตั กรรม (Diffusion of innovation theory)

29 4. ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพอ่นื ๆ ที่เกย่ี วขอ้ ง ทฤษฎีและแบบจำลองสุขภาพแต่ละประเภทสามารถประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนหรือส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีและแบบจำลองเหล่านี้เป็นกรอบแนวคิดในการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ ของการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โดยประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา บริบท สภาพแวดล้อม ความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชน กลุ่มเป้าหมายท้ังในระดบั บคุ คล กลุ่มบุคคล ชมุ ชน และสงั คมได้ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

30 เอกสารอา้ งองิ กองโรคจากการประกอบอาชพี และสิ่งแวดลอ้ ม กระทรวงสาธารณสขุ . (2558). คมู่ อื การจดั บรกิ าร อาชีวอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข : คลินิกสุขภาพเกษตรกร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ชุมนมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จกั รพนั ธ์ เพช็ รภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนกั พิมพ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2561). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการสง่ เสริมสุขภาพ การตรวจประเมิน และการ บำบดั โรคเบื้องต้น. นนทบรุ ี: สำนกั พมิ พม์ หาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช. ปาริชาติ สถาปติ านนท.์ (2546). ระเบียบวธิ วี ิจัยการสอื่ สาร. พมิ พ์ครงั้ ท่ี 2. ส านักพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. พชั รนิ ทร์ สิรสนุ ทร. (2558). ความรู้ อำนาจ และสขุ ภาพ: จากทฤษฎสี ูก่ ารปฏิบตั ิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . ศิริชยั กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎกี ารประเมิน.พมิ พ์คร้งั ที่ 3.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แหง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั . สมชายวรกิจเกษมสกลุ . (2554). ระเบียบวธิ ีการวิจยั ทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์.อุดรธานี: อกั ษร ศิลป์การพมิ พ์. สนิ พนั ธุ์พนิ ิจ. (2547). เทคนิคการวิจยั ทางสงั คมศาสตร.์ กรงุ เทพฯ : วิทยพฒั น์. สรุ ียพ์ ันธุ์ วรพงศธร. (2558). การวิจัยทางสขุ ศกึ ษา. กรงุ เทพฯ สำนักพมิ พม์ หาวทิ ยาลัยรามคำแหง. อมลรดา รงค์ทอง และจนั ทิมา ดรจันทร์ใต.้ (2564).ความเสีย่ งทางอาชวี อนามยั และความปลอดภัยของ เกษตรกรในศตวรรษท่ี 21. รายงานสบื เนือ่ งการประชุมวิชาการระดับชาติราชภฏั จอมบงึ วจิ ยั ครั้งท่ี 9. Glanz, K., Lewis, F., and Rimer, B.K. (eds.). (1997). Health behavior and health education. San Francisco: Jossey-Bass Publishers. Glanz, K., Rimer, B.K., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health education: Theory, research, and practice. San Francisco, CA: Jossey-Bass. Kerlinger, N.F. Foundations of Behavioral Research. 3rd ed. New York : Holt Rinehard & Winston,Inc.,1986. มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 31 บทที่ 4 ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล ทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สขุ ภาพของประชาชนกลุ่มเปา้ หมายต่าง ๆ โดยมีการจัดการภายในตัวบุคคลเป็นสำคัญ ไดแ้ ก่ การรับรู้ ความรู้ ความเชื่อ แจงจงู ใจ เจตคติ ทศั นคติ ทกั ษะ และประสบการณ์ชวี ิตของแต่ละบุคคล เป็นต้น ซ่ึงมีการนำทฤษฎี เหล่านี้มาใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคล โดยทฤษฎีและแบบจำลองพฤติกรรม สุขภาพระดับบุคคลทน่ี ิยมใชก้ ันอย่างแพร่หลาย ไดแ้ ก่ 1. แบบแผนความเช่ือดา้ นสุขภาพ (Health Believe Model: HBM) 2. ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) 3. ทฤษฎพี ฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) 4. ทฤษฎแี รงจูงใจเพ่อื ปอ้ งกนั โรค (Protection motivation theory) 5. ทฤษฎกี ารเปลี่ยนแปลงพฤตกิ รรมตามขน้ั ตอน (Stage of change model) 6. ทฤษฎคี วามสามารถแห่งตน (Self-efficacy) 1. แบบแผนความเชอื่ ดา้ นสขุ ภาพ (Health Believe Model: HBM) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพได้พัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1950 โดยนักจิตวิทยาสังคม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นได้พบปัญหาว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใช้บริการหน่วยงานสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขเคลื่อนท่ี ได้แก่ การ X-ray เพื่อตรวจคัดกรองโรควัณโรค ทั้งที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ในการเข้ารับบริการหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก ดังนั้น นักจิตวิทยาประกอบด้วย Godfrey M. Hachbaum, Sephen Kegeles, Howard Leventhal และ Irwin M. Rosenstock จึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม การป้องกันโรค และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรค โดยพัฒนาเป็นแบบแผนความเชื่อ ดา้ นสุขภาพ เพื่ออธบิ ายและทำนายการปฏบิ ตั ติ นเพอ่ื ป้องกนั โรคของประชาชน โดยในปี 1974 Irwin M. Rosenstock ได้สรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบของแบบแผนความเชื่อ ดา้ นสขุ ภาพ ประกอบดว้ ย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การรบั ร้โู อกาสเส่ยี งของการเกดิ โรค (Perceived susceptibility) 2) การรบั รู้ความรนุ แรงของโรค (Perceived severity) 3) การรบั รูป้ ระโยชน์ของการป้องกนั โรค (Perceived benefit) 4) การรับร้อู ุปสรรคของการปฏิบัตติ ัวเพ่ือปอ้ งกันโรค (Perceived barriers) ทั้ง 4 องค์ประกอบนี้จะเป็นแรงจูงใจที่ทำให้บุคคลกระทำพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค โดยยกตัวอย่าง ประกอบว่าการที่บุคคลจะมีพฤติกรรมป้องกันการเจ็บป่วยก็ต่อเมื่อมีความเชื่อหรือการรับรู้โอกาสเสี่ยง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 32 ต่อการเป็นโรคนัน้ และเมื่อเป็นแลว้ จะมีความรนุ แรงมากน้อยเพียงใด รวมถึงมีการประเมินว่าการปรับเปลีย่ น พฤตกิ รรมนน้ั ๆ มปี ระโยชน์ และไมม่ อี ปุ สรรคท่กี ารขดั ขวางการกระทำพฤติกรรมปอ้ งกนั การเจบ็ ปว่ ยน้นั ต่อมาในปี 1975 Becker และ Maiman ได้ปรับปรุงแบบแผนคว ามเชื่อด้านสุ ขภ า พ โดยเพิ่มองค์ประกอบด้านปัจจัยร่วม (Modifying factors) และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ (Cues to action) เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่าตัวแปรทั้งสองตัวนี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค ทำให้ไดอ้ งคป์ ระกอบหลักของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดงั น้ี องค์ประกอบหลักของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มดี ังน้ี 1. การรบั รู้โอกาสเสยี่ งของการเกิดโรค (Perceived susceptibility) หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก ความเป็นไปได้ในการเกิดโรคต่าง ๆ หรือการคาดคะเนว่าตนเอง มีโอกาสเสี่ยงตอ่ การปว่ ยเป็นโรคตา่ ง ๆ มากนอ้ ยเพียงใด ตัวอย่างสถานการณ์: บุคคลท่ีอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 หรือทราบว่าตนเอง ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่มีการเว้นระยะห่างทางสังคม บุคคลนั้นจะสามารถ คาดคะเนได้ว่าตนเองมีโอกาสป่วยดว้ ยโรค Covid-19 เทคนิคที่ใช้เพ่ือกระตุ้นให้เกดิ การรับรโู้ อกาสเสีย่ งของการเกดิ โรคคือการสร้างหรือเพิ่มการรับรู้โอกาส เ ส ี ่ ย ง ข อ ง ก า ร เ ก ิ ด โ ร ค ผ ่ า น ท า ง ส ื ่ อ ป ร ะ ช า ส ั ม พ ั น ธ์ ท ี ่ ป ร ะ ช า ช น ก ล ุ ่ ม เ ป ้ า ห ม า ย ส า ม า ร ถ เ ข ้ า ถ ึ ง ไ ด้ หรอื การจดั กิจกรรมท่ีเพม่ิ การรับรู้โอกาสเสี่ยงใหส้ อดคล้องกับลักษณะสว่ นบุคคลของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เช่น การให้ความรู้เรื่องโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กิจกรรมการให้สุขศึกษาเรื่องโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การเผยแพร่ข้อมูลอาการและวิธีการป้องกันโรค Covid-19 ผ่านทางสื่อออนไลน์ การยกตัวอย่างกรณีศึกษา เรื่องการเกิดโรคมะเร็งจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร หรือการใช้แบบคัดกรองการเกิดโรค และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้โอกาสเสี่ยง และเกดิ ความตระหนกั ต่อการเกิดโรค 2. การรบั ร้คู วามรุนแรงของโรค (Perceived severity) หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก หรือการคาดคะเนของบุคคลที่จะได้รับผลกระทบจากการป่วย ด้วยโรคต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย เช่น การเกิดโรคแทรกซ้อน ความเจ็บปวดทรมาน การก่อให้เกิดความพิการ หรอื อาจทำใหเ้ สียชวี ติ ผลกระทบตอ่ ทรพั ย์สนิ ที่ต้องเสียค่าใชจ้ า่ ยในการรกั ษาพยาบาล เสยี เวลารักษายาวนาน รวมถึงการสูญเสียหนา้ ท่ีการงาน และสถานะทางสังคม ตัวอย่างสถานการณ์: บุคคลที่มีผู้ใกล้ชิดเสียชีวิตจากโรค Covid-19 หรือการได้รับข้อมูลข่าวสาร ว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรค Covid-19 จำนวนมาก หรือการรับรู้ข้อมูลอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรค การเกิดภาวะแทรกซ้อน การเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษาโรค และอาจเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ ให้กับคนใกล้ชดิ ทำให้เสื่อมเสยี ช่อื เสียง จะทำใหบ้ ุคคลมกี ารรบั รูค้ วามรุนแรงท่เี กดิ จากโรค Covid-19 ทั้งนี้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคร่วมกับการรับรู้ความรุนแรงของโรค จะก่อให้เกิดการรับรู้ ภาวะคุกคาม (Perceived threat) ซึ่งเมื่อบุคคลรับรู้ภาวะคุกคามมากก็มีผลที่จะปรับเปลี่ยนหรือหลีกเลี่ยง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 33 พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคมากตามไปด้วย เช่น การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวนั พฤติกรรมการรกั ษาสขุ อนามยั ส่วนบุคคลเพื่อป้องกนั การเกิดโรค เทคนิคที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ความรุนแรงของโรค คือการสร้างหรือเพิ่มการรับรู้ผลกระทบ ในเชิงลบที่จะเกิดขึ้นหากมีการป่วยเป็นโรคนั้น ๆ ทั้งผลกระทบด้านร่างกาย ได้แก่ การเสียชีวิต การพิการ อาการ ความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย หรือผลกระทบด้านจิตใจ รวมถึงผลกระทบด้านทรัพย์สินเงินทอง และเวลาที่ใช้ในการรักษา การเสียโอกาสด้านต่าง ๆ ทางสังคม โดยการจัดกิจกรรมหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความรุนแรงของโรค การยกตัวอย่างกรณีศึกษา เป็นต้น เพื่อเพิ่มการรับรู้ความรุนแรงของโรคแก่ประชาชน กลุม่ เปา้ หมาย 3. การรบั รปู้ ระโยชน์ของการปอ้ งกันโรค (Perceived benefit) หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก หรือการคาดคะเนเกี่ยวกับผลดีหรือประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อกระทำ พฤติกรรมตามวิธีการปอ้ งกันไม่ให้เกิดโรคหรือการรกั ษาโรค เช่น การแสดงพฤติกรรมน้ันสามารถทำให้ตนเอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงจากการเกิดโรคได้ ลดผลกระทบด้านค่าใช้จ่าย ดังนั้น บุคคลจะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง เลือกแสดงพฤติกรรมสุขภาพที่เกิดผลดี มากกว่าผลเสีย ตัวอย่างสถานการณ์: เมื่อบุคคลรับรู้ว่าการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค การสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ การหลีกเลี่ยงไปในที่แออัด และการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองคือสามารถป้องกันโรค Covid-19 ได้ จะทำให้เลอื กปฏิบตั ิพฤติกรรมเหลา่ นี้ เทคนิคที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค คือการให้ข้อมูลหรือความรู้ เก่ยี วกับประโยชน์ของการทำพฤติกรรมป้องกนั โรค การจดั กจิ กรรมเสริมการรับรู้ผลดีของการแสดงพฤติกรรม ปอ้ งกันโรคใหแ้ กป่ ระชาชนกลุ่มเปา้ หมาย โดยอาจใช้ตัวแบบท่ปี ระสบผลสำเรจ็ ในการทำพฤติกรรมป้องกันโรค แล้วเกิดผลดี เช่น การให้ตัวแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้บอกเล่าผลดีของการทำพฤติกรรม เพื่อให้ประชาชน กลมุ่ เปา้ หมายเกิดการรับรู้ประโยชนข์ องพฤติกรรมน้นั ๆ 4. การรบั รอู้ ุปสรรคของการปฏิบตั ิตวั เพอื่ ปอ้ งกนั โรค (Perceived barriers) หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สกึ หรือการคาดคะเนเกีย่ วกับผลกระทบทีอ่ าจเกิดข้ึนจากการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค เช่น การเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา ทำให้เกิ ดความลำบากใจ ความยุ่งยาก ขดั ตอ่ การดำเนินชวี ิตประจำวัน ซ่งึ สง่ิ เหล่าน้ีจะส่งผลต่อการเลอื กปฏิบัตหิ รอื ไม่ปฏิบตั ิของบุคคล ตัวอยา่ งสถานการณ์: แมว้ ่าบคุ คลจะทราบวธิ ีการป้องกันตนเองจากโรค Covid-19 แตห่ ากการกระทำ พฤติกรรมเหล่านี้ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา เกิดความยุ่งยากมาก ก็อาจส่งผลให้ไม่ปฏิบัติ พฤติกรรม ท่ีพงึ ประสงค์ได้ เทคนิคที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค คือการวิเคราะห์ อุปสรรค และวางแผนเพื่อลดหรือกำจัดอุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น การจดั หาสถานที่ อุปกรณ์ที่เอือ้ ต่อการปฏบิ ัติ โดยมกี ารประสานงานรว่ มกบั หนว่ ยงานอ่ืน ๆ ทเ่ี กีย่ วขอ้ ง

34 5. ปจั จยั ร่วม (Modifying factors) หมายถึง ปจั จัยพ้ืนฐานของบุคคลทีส่ ่งผลตอ่ พฤตกิ รรมการป้องกนั โรค ไดแ้ ก่ - ปัจจยั ด้านประชากร เชน่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศกึ ษา อาชีพ ศาสนา ฯลฯ - ปัจจัยด้านสังคม เช่น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม บรรทัดฐาน ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี บุคคลรอบข้าง - ปจั จัยพ้ืนฐาน เชน่ ความรูท้ ่ีเก่ียวขอ้ งกับโรค ประสบการณ์เก่ยี วกบั โรคของบุคคล 6. สง่ิ ชักนำสู่การปฏิบัติ (Cues to action) หมายถึง เหตุการณ์ที่สิ่งที่กระตุ้นบุคคลให้แสดงพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้แก่ สิ่งชักนำภายในตัว บุคคล (Internal cues) คอื การรบั รู้หรือความรสู้ ึกถึงอาการผิดปกติในร่างกายของตนเอง เชน่ อาการเจ็บป่วย สภาวะสุขภาพ และสิ่งชักนำภายนอกตัวบุคคล (External cues) คือสิ่งชักนำที่มาจากบุคคลใกล้ชิด ทั้งคำแนะนำ การกระตุ้นเตือน อาการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อน คำแนะนำจากคนที่มี ความสำคัญกับบุคคล เช่น สมาชิกในครอบครัว ญาติสนิท เพื่อน ครู ผู้บังคับบัญชา บุคลากรสาธารณสุข และการได้รับข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ การรณรงค์ใหค้ ำแนะนำดา้ นสุขภาพทางสือ่ การนัดตรวจของแพทย์ หรอื ทนั ตแพทย์ เป็นตน้ สามารถเขยี นแผนภาพของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดงั นี้ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

แผนภาพของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Believe Model: HBM) 35 ปจั จยั ร่วม การรบั ร้ปู ระโยชน์ ของการป้องกันโรค ปจั จยั ด้านประชากร: เพศ อายุ ศาสนา สถานภาพสมรส ระดบั และการรับรู้ การศกึ ษา อาชพี ฯลฯ อุปสรรคของการ ของการปฏิบตั ิตัว ปจั จยั ดา้ นสงั คม: สถานะทางเศรษฐกจิ และ เพื่อป้องกันโรค สังคม บรรทดั ฐาน ค่านิยม ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี การแสดงพฤติกรรม บุคคลรอบขา้ ง ป้องกันโรคหรือสง่ เสริม ปจั จยั ด้านประชากร: ความรู้เกยี่ วกบั โรค สุขภาพ ประสบการณ์เกย่ี วกับโรค มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง การรบั ร้โู อกาสเสี่ยงของ การรับร้ตู ่อสภาวะ การเกิดโรค คกุ คามของโรค และการรบั ร้คู วาม ส่งิ ชกั นำสกู่ ารปฏบิ ตั ิ รนุ แรงของโรค สิ่งชักนำภายในตัวบุคคล: อาการเจ็บป่วย ท่ีมา: Becker, Maiman, 1975 สภาวะสขุ ภาพ สิ่งชักนำภายนอกตัวบุคคล: คำแนะนำ การกระตุ้นเตือน อาการเจ็บป่วยของบุคคล ใกลช้ ิด การไดร้ ับขอ้ มลู ข่าวสารทางสื่อตา่ ง ๆ การนดั ตรวจของแพทย์หรือทันตแพทย์ แบบแผนความเชื่อดา้ นสุขภาพ

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 36 งานวจิ ัยท่มี กี ารประยกุ ตใ์ ชแ้ บบแผนความเช่อื ดา้ นสุขภาพ สุวิมล สอนศรี และคณะ (2564) ศึกษาศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกสตรีกลมุ่ เส่ียง อำเภอเสลภูมิ จงั หวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกลุ่มเสี่ยงและแบบสอบถาม ที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป การรับรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และความตั้งใจตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง ของโรคมะเร็งปากมดลูก และการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าก่อนเข้าร่วม โปรแกรมและสงู กว่ากลุ่มเปรยี บเทยี บ นอกจากน้ี ยงั มกี ารรับรู้อปุ สรรคของการตรวจคัดกรองมะเรง็ ปากมดลูก ตำ่ กวา่ กอ่ นได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรยี บเทยี บอย่างมีนัยสำคญั ทางสถิตทิ ี่ระดบั 0.05 และสตรใี นกลุม่ ทดลอง ยังมีความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำนวนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 วรรณกร พลพิชัย และจันทรา อุ้ยเอ้ง (2561) ศึกษาคุณภาพชีวิต แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และปัจจัยท่สี ง่ ผลตอ่ พฤติกรรมการสง่ เสริมสุขภาพของชาวประมงในจังหวัดตรัง เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานไม่เป็นเวลา และการรับประทานอาหารทะเล ที่หาได้ในขณะทำงาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคและการรับรู้ ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและรักษาโรคอยู่ในระดับสูงมาก และมีการรับรู้อุปสรรคในระดับปานกลาง และยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของชาวประมงในจังหวัดตรัง ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาและป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรง ของโรค ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส คุณภาพชีวิตด้านการงาน และคุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ ประจำวัน โดยส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชาวประมงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบายไดร้ อ้ ยละ 27.9 อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์ และคณะ (2555) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการประเมินภาวะโภชนาการและการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรม การป้องกันโรคเบาหวานชนิดท่ี 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค และมีความสัมพันธ์ทางลบ กับการรบั รูอ้ ุปสรรคในการปอ้ งกันโรค Nooriani, Narjes และคณะ (2019) ได้ทำการศึกษาผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อการรับรู้ทางโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตที่เข้ารับการฟอกไต 100 คน ในประเทศอิหร่าน โดยแบ่งออกเป็นผู้ป่วยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วย

37 กลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลโดยใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีการรับรู้ ด้านสขุ ภาพสูงกวา่ ก่อนเขา้ ร่วมการศึกษาและสงู กว่ากลมุ่ ควบคมุ อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถติ ิ สรปุ แบบแผนความเช่ือดา้ นสุขภาพ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพได้พัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1950 โดยนักจิตวิทยาสังคม ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการสนใจศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันโรค และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันโรค โดยพัฒนาเป็นแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพื่ออธิบายและทำนายการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคของประชาชน โดยมีองค์ประกอบหลักท้ังหมด 6 องค์ประกอบ คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค ปัจจัยร่วม และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ ในปัจจุบันมีการนำ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในการวิจัย และการดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสขุ ภาพของบุคคล มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 38 2. ทฤษฎกี ารกระทำดว้ ยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเริ่มพัฒนาเมื่อกลางปี ค.ศ. 1960 โดย Martin Fishbein และ Ajzen ที่สันนิษฐานว่ามนุษย์มักพิจารณาข้อมูลท่ีมีอยู่อย่างเป็นระบบ และพิจารณาผลของการกระทำก่อนตัดสินใจ กระทำหรืองดเว้นการกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลของสำเร็จจากการตัดสินใจของตนเอง โดยเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยอารมณ์ ความปรารถนาต่าง ๆ หรือแรงขับในระดับ ที่ไร้สำนึก ดังนั้น มนุษย์มีการพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของตนเองก่อนที่จะตัดสินใจกระทำ พฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลนี้มีแนวคิดที่คล้ายกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แต่เพิ่มตัวแปรความตั้งใจในการทำพฤติกรรม ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญของทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล มอี งคป์ ระกอบสำคัญ ดังน้ี 1. ความเชื่อและการประเมินผลลัพธ์พฤติกรรม คือ ความรู้สึก หรือความสามารถของบุคคล ในการประเมนิ ผลท่ีจะเกิดจากการกระทำพฤติกรรม หากประเมินแล้วเกดิ ผลดีก็จะสง่ ผลต่อการเกิดเจตคตทิ ีด่ ี ต่อพฤติกรรมนั้น เช่น บุคคลมีความเชื่อว่าการกำจัดแหลง่ เพาะพันธุ์ยุงลายสามารถป้องกันโรคไข้เลอื ดออกได้ เมื่อกระทำพฤติกรรมดังกล่าวแล้วเกิดผลดีคือสามารถป้องกันการเกิดโรคได้จริง ก็จะเกิดเจตคติที่ดี ต่อพฤติกรรมการกำจดั แหลง่ เพาะพันธ์ยุ งุ ลาย 2. เจตคติต่อพฤติกรรม คือ ความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อการกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ และการประเมินผลลัพธ์ทจี่ ะเกิดขนึ้ เมือ่ กระทำพฤติกรรมนนั้ 3. ความเชื่อตามบรรทัดฐาน คือ ความเชื่อของบุคคลท่ีคล้อยตามบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความสำคัญ ต่อตนเองหรือที่เรียกว่ากลุ่มอ้างอิง ซึ่งการกระทำหรืองดเว้นพฤติกรรมนั้น ๆ ของบุคคลจะขึ้นอยู่กับ ความสำคญั ของกลมุ่ อา้ งองิ นัน้ ๆ เชน่ สมาชกิ ในครอบครวั ญาติสนทิ เพ่อื น บุคลากรสาธารณสุข เป็นตน้ 4. บรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง คือ แนวความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก หรือแบบแผนที่ยึดมา เป็นแนวทาง ตามทฤษฎีนี้กล่าวว่าบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง เกิดจากการที่บุคคลพิจารณาความคาดหวัง ทเี่ ป็นความเชอ่ื ของบุคคลอ่นื ๆ ท่ีอย่รู อบตัว ซงึ่ เป็นบุคคลที่มคี วามสำคัญต่อตนเอง แลว้ สง่ ผลให้บุคคลกระทำ หรอื งดเว้นพฤติกรรมนนั้ ๆ 5. ความตั้งใจกระทำพฤติกรรม เกิดจากเจตคติต่อพฤติกรรม รวมกับบรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง เชน่ เม่ือมีเจตคตทิ ี่ดใี นการกำจัดแหล่งเพาะพนั ธย์ุ ุงลาย และไดร้ ับการกระตนุ้ เตือนจากอาสาสมัครสาธารณสุข และบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นบุคคลอ้างอิง ส่งผลให้บุคคลเกิดความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมกำจัด แหลง่ เพาะพนั ธุย์ ุงลาย 6. พฤติกรรมตามความตั้งใจ คือ พฤติกรรมที่บุคคลกระทำตามที่ตนเองตั้งใจไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย สภาวะแวดล้อมทีเ่ อ้อื ต่อการกระทำพฤติกรรมนัน้ ๆ ด้วย ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) สามารถประยุกต์ใช้ในการทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่าง ๆ ได้โดยไม่จำกัดพฤติกรรมเฉพาะ สามารถใช้ได้ในทุก ๆ พฤติกรรมที่สนใจศึกษา เช่น โครงการลดพุงลดโรค โครงการออกกำลังกาย โครงการเลิกยาเสพติดต่าง ๆ

39 หรือเลิกบุหร่ี โครงการสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน โครงการส่งเสริมการใช้ถุงยาง อนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น แม้ว่าทฤษฎีนี้จะสามารถอธิบายความตั้งใจ ในการทำทฤษฎีได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดทางทฤษฎีคือมีบางพฤติกรรมที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฎีนี้ได้ เช่น การแสดงออกทางอารมณ์ทันทีทันใด การกระทำที่ได้รับการฝึกฝน เช่น การขับรถยนต์ การเปิดหน้าหนังสือ (Ajzen & Fishbein, 1980) ทฤษฎกี ารกระทำดว้ ยเหตุผล สามารถเขยี นเปน็ แผนภาพได้ ดงั นี้ แผนภาพทฤษฎกี ารกระทำดว้ ยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบงความเชื่อและการเจตคติต่อความตั้งใจกระทำพฤติกรรมตาม ประเมนิ ผลลพั ธ์พฤตกิ รรม พฤตกิ รรม พฤตกิ รรม ความตง้ั ใจ ความเชื่อตามบรรทดั ฐาน บรรทัดฐานของ บุคคลอ้างอิง ทมี่ า: บุญยง เกี่ยวการค้า, 2561 ดดั แปลงจาก Ajzen and Fishbein, 1980 งานวิจัยทม่ี กี ารประยกุ ต์ใชท้ ฤษฎกี ารกระทำด้วยเหตผุ ล นลนิ ี พานสายตา (2563) ศึกษาความต้ังใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเทยี่ วเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยว สูงอายุ: กรณีศึกษานักท่องเที่ยวในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่าการใช้ทฤษฎีการกระทำ ด้วยเหตุผลในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยผลการศึกษาพบว่าเจตคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 61 และ 36 ตามลำดับ โดยเจตคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงสามารถร่วมกันอธิบายความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ในการท่องเทย่ี วเชงิ สขุ ภาพของนกั ท่องเท่ยี วสงู อายุได้ร้อยละ 65 (R = 65) นัทธมน มั่งสูงเนิน (2560) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพ ผ่านโทรศัพท์เคล่ือนที่ของผู้สูงอายุโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ผลการวิจัยพบว่าปัจจัย ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพของบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนและปัจจัยอิทธิพลทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตัง้ ใจท่ีจะใช้งาน และการต่อต้านการเปลีย่ นแปลงเป็นปัจจยั ทีม่ ีอิทธิพล เชิงลบต่อความตั้งใจที่จะใช้งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ ความตั้งใจที่จะใช้งาน ยังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง ในขณะที่ปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม

40 และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีไม่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งานบริการสุขภาพผ่าน โทรศัพท์เคลอ่ื นทีอ่ ย่างมีนัยสำคญั ทรี่ ะดับ 0.05 รัชดาพรรณ สาระศาลิน และคณะ (2556) ได้ศึกษาผลการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา ตอ่ ความตัง้ ใจและพฤติกรรมความรว่ มมือในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอด โดยประยกุ ต์ใชท้ ฤษฎีการกระทำ ดว้ ยเหตผุ ล กลุม่ ตัวอยา่ งคือผปู้ ว่ ยวณั โรครายใหม่ โรงพยาบาลทา่ ม่วง จงั หวัดกาญจนบุรี 37 ราย แบง่ เป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้เครื่องมือการวิจัยคือแผนการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา แบบประเมิน ความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม และแบบประเมินความร่วมมือในการรักษา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาสูงกว่า ก่อนเข้ารว่ มกิจกรรม และสูงกวา่ กลมุ่ ควบคมุ อยา่ งมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p < 0.001 Tremethick และคณะ (2011) ศึกษาบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษาในการดูแลผู้ป่วยระยะ สุดท้ายโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) ผลการวิจัยพบว่าโครงการ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยนำแนวคิดทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านสุขภาพ ในชุมชนสามารถเพิ่มความเข้าใจ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะของผู้ป่วยในวัย 51-77 ปี มากถึงร้อยละ 76.5 ของผเู้ ขา้ รว่ มการศกึ ษาท้งั หมด สรุปทฤษฎีการกระทำดว้ ยเหตุผล ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย Martin Fishbein และ Ajzen ที่มีแนวคิด ว่าบุคคลจะพิจารณาข้อมูลและผลของการกระทำก่อนตัดสินใจทำพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือความเชื่อและการประเมินผลลัพธ์พฤติกรรม เจตคติต่อพฤติกรรม ความเชื่อตามบรรทัดฐาน บรรทัดฐาน ของบุคคลอ้างอิง ความตั้งใจกระทำพฤติกรรมที่เกิดจากเจตคติต่อพฤติกรรมร่วมกับบรรทัดฐานของบุคคล อา้ งองิ แลว้ ส่งผลให้เกิดพฤตกิ รรมตามความตง้ั ใจ ซ่งึ ข้ึนอย่กู บั บุคคลอา้ งอิงหรอื บคุ คลทมี่ ีความสำคัญต่อตนเอง และปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการกระทำหรืองดเว้นการกระทำพฤติกรรมสุขภาพนั้น ๆ ด้วย ทฤษฎีนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการทำโครงการศึกษาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่าง ๆ ได้ แตก่ ็มขี อ้ จำกัดคอื บางพฤติกรรมที่ไมส่ ามารถอธิบายโดยใช้ทฤษฎีนไี้ ด้ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 41 3. ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน คือกระบวนการเกิดพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากความตั้งใจที่จะกระทำ พฤติกรรมนั้น ๆ โดยความตั้งใจดังกล่าวนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทัศนคติของบุคคลที่มีต่อพฤติกรรม (Attitude toward a behavior) และบรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง (Subjective norm) ทฤษฎีพฤติกรรม ตามแผนเป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reason Action: TRA) สองทฤษฎีนี้มีแนวคิดร่วมกันคือพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลอยู่ภายใต้การควบคุมของตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากความคิดและความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมนั้น ๆ โดยพิจารณาจากทัศนคติของบุคคล และการรับรู้บรรทัดฐานทางสังคมเป็นสำคัญ โดย Fishbein และ Ajzen ได้อภิปรายว่าการที่บุคคลมีทัศนคติ ที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคจะเกิดความตั้งใจที่จะกระทำแล้วนำไปสู่การปฏิบัติพฤติกรรมนั้น รวมถึงอิทธิพล ของกลุ่มอ้างอิงทส่ี ง่ ผลตอ่ ความคิดเหน็ ของบุคคล (จักรพนั ธ์ เพ็ชรภมู ิ, 2560) ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนได้พัฒนาขึ้น ในปี ค.ศ. 1985 โดย Ajzen เกิดจากการนำทฤษฎีนี้ไปใช้กับ งานวจิ ัยหลายงาน แลว้ พบวา่ การเกดิ พฤตกิ รรมไม่ได้เกิดจากความสมคั รทงั้ หมด แต่เกิดภายใตก้ ารควบคุมด้วย ดังน้ัน จงึ มสี มมตฐิ านวา่ การเกิดพฤตกิ รรมของบุคคลเกดิ จากความเช่ือเก่ียวกับพฤติกรรม (Behavior beliefs) ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง (Normative beliefs) และความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุม ของบุคคล (Control beliefs) ทำให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนขึ้นมา โดยเพิ่มองค์ประกอบใหม่ คอื การรบั ร้คู วามสามารถในการควบคมุ พฤตกิ รรม (นติ ยา เพญ็ ศริ ินภา, 2561) องคป์ ระกอบของทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน มีดังน้ี 1. เจตคติต่อพฤติกรรม (Attitude toward a behavior) คือ ความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคล ที่มีต่อการกระทำพฤติกรรมทั้งในทางบวกและทางลบ โดยมีความเชื่อว่าหากทำพฤติกรรมใด ๆ แล้วเกิดผลดี ก็จะเกิดเจตคติที่ดี แล้วจะนำไปสู่การเกิดความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ แต่หากบุคคลมีความเชื่อว่า กระทำพฤติกรรมแลว้ เกดิ ผลเสียกจ็ ะเกิดเจตคติท่ีไมด่ ีต่อพฤติกรรมนั้น แลว้ จะนำไปสคู่ วามตั้งใจท่ีจะหลีกเล่ียง การแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ เชน่ กนั 2. บรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง (Subjective norm) คือ แนวความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก หรือแบบแผนทยี่ ึดมาเป็นแนวทางที่ได้รับอิทธิพลมาจากคนหรือกลุ่มคนท่ีมคี วามสำคัญต่อตนเองหรือที่เรียกว่า กลุ่มอ้างอิง เช่น สมาชิกในครอบครัว สามีหรือภรรยา เพื่อน เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา แพทย์ บุคลากร สาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลมีอิทธิพลต่อการคล้อยตามความคิดเห็นของบุคคล แต่ระดับการคล้อยตามจะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญของกลุ่มอ้างอิง และระดับแรงจูงใจหรือแรงกดดันจากกลุ่มอ้างอิง ใหบ้ ุคคลปฏบิ ตั พิ ฤติกรรมน้ัน ๆ 3. การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม (Perceived behavioral control) คือ การประเมินความยากง่ายในการกระทำพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในอดีต การคาดการณ์

42 ของบุคคล หรือการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นที่กระทำพฤติกรรมในแบบเดียวกัน หากบุคคลมีการรับรู้ ว่าตนเองสามารถควบคุมพฤติกรรมได้นัน้ จะทำให้บุคคลเกิดความเชื่อม่ันในความสามารถตนเองในการจัดการ และควบคุมสถานการณ์เพื่อแสดงพฤติกรรมออกมาได้ตามที่ตง้ั ใจ ทง้ั นี้ การรับรนู้ ั้นจะผันแปรตามสถานการณ์ และการกระทำของบคุ คล 4. ความตั้งใจกระทำพฤติกรรม คือความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมของบุคคลท่ีเกิดจากอิทธิพล ของปัจจัยกำหนด 3 ปัจจัยข้างต้น ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรม บรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง และการรับรู้ ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ซึ่งแต่ละพฤติกรรมจะแตกต่างกันออกไป และอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัย สภาพแวดล้อมภายนอกดว้ ย 5. พฤติกรรมตามความตั้งใจ คือพฤติกรรมของบุคคลที่จะกระทำตามความต้ังใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจยั กำหนดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ และปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกหรือสถานการณ์ที่จะสนับสนุนให้บุคคล กระทำพฤตกิ รรมน้ัน ๆ ตามความตง้ั ใจ ทฤษฎีการกระทำตามแผน สามารถเขียนเปน็ แผนภาพได้ ดงั น้ี แผนภาพทฤษฎพี ฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) เจตคติต่อพฤตกิ รรม มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง บรรทัดฐานของบคุ คลอา้ งอิง ความต้ังใจกระทำพฤติกรรม พฤติกรรมตาม ความต้ังใจ การรบั รคู้ วามสามารถใน การควบคมุ พฤติกรรม ที่มา: บุญยง เก่ียวการค้า, 2561 ดัดแปลงจาก Ajzen, 1985.

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 43 งานวิจยั ทมี่ กี ารประยุกต์ใช้ทฤษฎกี ารกระทำตามแผน พรพรรณ พันธ์แจ่ม และชวนชื่น อัคคะวณิชชา (2560) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้เกี่ยวกับตราสินค้า เพื่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม อ้างอิงโครงสร้างตามแบบทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน โดยทำการศกึ ษากับกลุ่มผบู้ ริโภคผลติ ภัณฑเ์ พอื่ สิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพฯ และปรมิ ณฑล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ เกี่ยวกับตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก และความรู้เกี่ยวกับตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวก กับทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลเชิงบวก กับความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ความตั้งใจในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลเชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นไปตามทฤษฎี พฤตกิ รรมตามแผน ณัชญ์ธนัน พรมมา (2558) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านทัศนคต การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และปัจจัยด้าน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยด้านการรับรู้ ความยงุ่ ยาก และความกงั วลเกยี่ วกับสุขภาพก็เปน็ ปัจจัยที่มีอทิ ธิพลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสขุ ภาพเช่นกนั ทิพวัลย์ ธีรสิริโรจน์ (2554) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องด่ืม ที่มีแอลกอฮอล์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของเจตคติต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครปฐม จำนวน 389 คน ผลการศึกษาพบว่าเจตคติ ต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยการคลอ้ ยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติกรรมสามารถรว่ มกนั ทำนายความตั้งใจท่ีจะบรโิ ภคเครื่องด่ืมแอลกอฮอล์ไดร้ ้อยละ 42.5 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถติ ทิ ี่ระดับ 0.01

44 สรุปทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ได้พัฒนาขึ้น ในปี ค.ศ. 1985 โดย Ajzen โดยพัฒนามาจากทฤษฎี การกระทำด้วยเหตุผล โดยอธิบายถึงกระบวนการเกิดพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากความตั้งใจที่จะกระทำ พฤติกรรมนั้น ๆ โดยความตั้งใจดังกล่าวนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทัศนคติของบุคคลที่มีต่อพฤติกรรม บรรทัดฐานของบุคคลอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการทำนายความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมสขุ ภาพต่าง ๆ มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง

มหา ิวทยา ัลยราช ัภฏห ู่ม ้บานจอม ึบง 45 4. ทฤษฎแี รงจูงใจเพ่ือปอ้ งกันโรค (Protection motivation theory) ทฤษฎแี รงจงู ใจเพอ่ื ป้องกันโรคพัฒนาข้นึ ครงั้ แรกเมอื่ ปี ค.ศ. 1975 โดย Roger R.W. โดยเสนอแนวคิด การนำสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล ต่อมาในปี ค.ศ. 1986 Dunn และ Roger ได้ปรบั ปรุงทฤษฎีใหม้ ปี ระสทิ ธภิ าพมากขน้ึ โดยมอี งคป์ ระกอบ ดังนี้ (Dunn & Roger, 1986) 1. แหล่งขอ้ มูล (Source of information) คือ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในกระบวนการสื่อกลางการรู้คิด ( Cognitive mediating process) ในการปรับเปลยี่ นพฤติกรรมของบุคคล แบง่ ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) ตัวบุคคล ประกอบด้วย บุคลิกภาพ คือการแสดงออกของบุคคลที่แสดงถึงความเชื่อ เจตคติ ความคิด ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ และประสบการณ์เดิมของบุคคล ที่ส่งผล ต่อความเชื่อหรือเจตคติได้เช่นกัน เช่น ประสบการณ์เจ็บป่วยในอดีตของตนเอง หรือการพบเห็น ผู้ที่เจ็บป่วยแล้วได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการของโรค จึงส่งผลต่อการ ปรับเปล่ยี นพฤตกิ รรมสขุ ภาพเพอ่ื ป้องกันการเจ็บป่วยนัน้ 2) สิ่งแวดลอ้ ม ไดแ้ ก่ การเรียนรจู้ ากการสังเกตของบุคคล เกดิ จากการสงั เกตพฤตกิ รรมของคนอ่นื ๆ รอบข้างที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน เช่น การสังเกตเห็นผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอมักมีรูปร่างและสุขภาพดี และการถูกชักชวนด้วย คำพูด โดยการชักชวนด้วยคำพูดโน้มน้าวจะส่งผลให้ผู้ฟังคล้อยตามแล้วปฏิบัติตาม เช่น การพูด โน้มน้าวถึงอันตรายของการไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเกิดโรคจากการทำงาน เพ่ือโน้มน้าวให้พนักงานปฏิบัติตาม 2. กระบวนการสือ่ กลางการรู้คดิ (Cognitive mediating process) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ประกอบด้วย การประเมินภาวะ คุกคามของโรค และการประเมินการเผชิญภาวะคุกคาม ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้สามารถร่วมกันทำนายการเกิด แรงจูงใจเพ่อื ปอ้ งกนั โรคได้ 1) การประเมินภาวะคุกคามของของโรค คอื การประเมนิ เพื่อตอบสนองการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมท่ี ไม่เหมาะสม เกิดจากปจั จยั ที่มีบทบาททำให้เกิดการประเมนิ ภาวะคกุ คามของโรค 4 ปจั จัย ไดแ้ ก่ - ความเส่ยี งต่อการเกิดโรค คือ การคาดคะเนเกย่ี วกับโอกาส หรอื ความเป็นไปได้ในการเกดิ โรคต่าง ๆ ของบุคคล เช่น พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอดได้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และโรคเรอ้ื รังอืน่ ๆ - ความรุนแรงของโรค คือ การคาดคะเนเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านสุขภาพ ร่างกาย การเสียชีวิต การพิการ การเสียทรัพย์สินเงินทองและเวลาในการรักษา การสูญเสียโอกาสทางสังคม เม่อื ปว่ ยเปน็ โรค ซึง่ สงิ่ เหล่านจี้ ะเปน็ สงิ่ เร้าใหค้ นเกิดความกลัวแล้วนำไปสู่การปรบั เปลยี่ นพฤติกรรมสุขภาพได้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook