Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประสิทธิ์ชัย ผาสุข

ประสิทธิ์ชัย ผาสุข

Published by วิทย บริการ, 2022-07-04 01:54:33

Description: ประสิทธิ์ชัย ผาสุข

Search

Read the Text Version

ผลการฝึกพลยั โอเมตรกิ ท่ีมีต่อความแขง็ แรง ความเร็ว และความสามารถ ในการกระโดดเข่าลอยของกฬี ามวยไทย วิทยานิพนธ์ ของ ประสทิ ธช์ิ ยั ผาสุข เสนอต่อบณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ราชภฏั หมู่บา้ นจอมบึงเพอ่ื เป็นสว่ นหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ ามวยไทย ตุลาคม 2564 ลขิ สิทธิเ์ ป็นของมหาวิทยาลัยราชภฏั หมูบ้านจอมบึง

ผลการฝึกพลยั โอเมตรกิ ท่ีมีต่อความแขง็ แรง ความเร็ว และความสามารถ ในการกระโดดเข่าลอยของกฬี ามวยไทย วิทยานิพนธ์ ของ ประสทิ ธช์ิ ยั ผาสุข เสนอต่อบณั ฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลยั ราชภฏั หมู่บา้ นจอมบึงเพอ่ื เป็นสว่ นหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรศลิ ปศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวชิ ามวยไทย ตุลาคม 2564 ลขิ สิทธิเ์ ป็นของมหาวิทยาลัยราชภฏั หมูบ้านจอมบึง

THE EFFECTS OF PLYOMETRIC TRAINING ON STRENGTH, SPEED AND KNEE STRIKE JUMPING ABILITY IN MUAY THAI SPORT THESIS BY PRASITCHAI PASUK Presented in partial fulfillment of the requirements for the Master of Arts Program in Muaythai October 2021 Copyright by Muban Chom Bueng Rajabhat University

ช่อื วิทยานพิ นธ์ ผลการฝึกพลยั โอเมตริกท่ีมีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถ ในการกระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย ชอื่ ผู้วิจยั นายประสิทธช์ิ ัย ผาสขุ หลักสตู ร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ ามวยไทย อาจารย์ที่ปรกึ ษา ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สาราญ สขุ แสวง อาจารย์ ดร.วรยุทธ์ ทพิ ย์เท่ียงแท้ ปีท่ีสาเรจ็ การศึกษา 2564 คาสาคญั การฝึกพลัยโอเมตริก ความสามารถในการกระโดดเขา่ ลอย กีฬามวยไทย บทคัดยอ่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย และ 2) เปรียบเทียบผลการฝึก ดว้ ยโปรแกรมพลัยโอเมตริกกับโปรแกรมการฝึกซ้อมมวยตามปกติที่มีตอ่ ความแข็งแรง ความเร็ว และ ความสามารถในการกระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชาย สาขามวยไทยศึกษาและพลศึกษา จานวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือท่ีใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริก แบบทดสอบการกระโดดเข่าลอยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของการกีฬาแห่งประเทศไทย และแบบทดสอบความเร็วของการเคล่ือนท่ีของกรมพลศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉล่ยี สว่ นเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรยี บเทยี บความแตกตา่ งโดยใช้สถิติ ที-เทส ผลการวจิ ยั พบว่า 1. ผลการฝึกพลัยโอเมตริกของกลุ่มทดลองพบว่า ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ก่อน และหลังการฝึก มีคา่ เฉลีย่ และสว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากบั 2.53, 3.04 และ 0.35, 0.28 ตามลาดับ ด้านความเร็วของการเคลื่อนที่ ก่อนและหลังการฝึก มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.59, 7.21 และ 0.57, 0.48 ตามลาดับ และด้านความสามารถในการกระโดดเข่าลอย ก่อนและหลัง การฝึก มีค่าเฉล่ยี และส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐานเท่ากบั 41.53, 54.93 และ 9.53, 13.06 ตามลาดับและ เม่ือเปรียบเทียบการฝึกพลัยโอเมตริกท้ัง 3 ด้าน ก่อนและหลังการฝึก พบวา่ มีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบผลการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกกับโปรแกรมการฝึกซ้อมมวย ตามปกติที่มีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย พบว่ามคี วามแตกต่างกันอยา่ งมีนยั สาคญั ทางสถิติท่ีระดบั .05

(ข) THESIS TITLE THE EFFECTS OF PLYOMETRIC TRAINING ON STRENGTH, SPEED AND KNEE STRIKE JUMPING ABILITY IN MUAY THAI SPORT RESEARCHER MR. PRASITCHAI PASUK CURRICULUM MASTER OF ARTS PROGRAM IN MUAYTHAI ADVISORS ASST. PROF. DR. SAMRAN SUKSAWAENG DR. VORAYUT THIPTIANGTAE GRADUATION YEAR 2021 KEYWORDS PLYOMETRIC TRAINING, AND KNEE STRIKE JUMPING ABILITY OF MUAY THAI ABSTRACT The purposes of this research were 1) to study the effect of plyometric training on strength, speed and knee strike jumping ability of Muay Thai. And 2) to compare the results of the plyometric training program with the traditional boxing training program on strength, speed and knee strike jumping ability of Muay Thai. The samples used in the research were 30 male students in Muay Thai Studies and Physical Education Program who were selected by using a simple random sampling method. The research instruments were: a plyometric training program, knee strike jumping test with a consistency index of 1.00 for all issues, leg muscle strength test of the Sports Authority of Thailand, and the movement speed test of the Physical Education Department. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation. and the t-test to find out the differences between plyometric training and traditional boxing training. The research findings were as follow: 1. The results of the plyometric training of the experimental group showed that the mean and standard deviation of leg muscle strength before and after training were at 2.53, 3.04 and 0.35, 0.28 respectively; the mean and standard deviation of the movement speed before and after training were at 8.59, 7.21 and 0.57, 0.48 respectively; and the mean and standard deviation of the ability of knee strike jumping before and after training were at 41.53, 54.93 and 9.53, 13.06 respectively.

(ค) There was also a statistically significant difference in before and after plyometric training sessions of three aspects with statistically significant level at .05 2. The results of the comparison of the plyometric training program with the traditional boxing training program on strength, speed and knee strike jumping ability of Muay Thai showed that it was a statistically significant differences level at .05

ประกาศคุณปู การ วิทยานิพนธ์น้ีสาเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งของอาจารย์ที่ปรึกษา คณาจารย์ และครู มวยไทยท่ีให้คาแนะนา ช่วยเหลือ ด้วยดีตลอดมา ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาราญ สุขแสวง ประธานกรรมการทีป่ รึกษาวทิ ยานิพนธ์ และอาจารย์ ดร.วรยทุ ธ์ ทิพยเ์ ที่ยงแท้ อาจารยท์ ีป่ รึกษา วิทยานิพนธ์ร่วม ที่ได้ให้คาปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ และแก้ไข ข้อบกพร่องของวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย ยมดิษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ตอ่ ศกั ดิ์ แก้วจรสั วิไล ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.แอน มหาคีตะ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งอรุณ สทุ ธพิ งษ์ และอาจารย์บารมี ชูชัย ที่ให้คาแนะนา ปรึกษาให้ข้อเสนอแนวทางการดาเนินการวิจัยในการค้นคว้า เอกสาร ตารา ผู้วจิ ัยขอกราบขอบพระคณุ เป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณรองศาสตราจารย์ยนต์ ชุ่มจิต ข้าราชการบานาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้าน จอมบงึ ทีใ่ หค้ วามเมตตาช่วยตรวจสอบ แกไ้ ข ข้อบกพรอ่ งตา่ ง ๆ เช่น การอ้างองิ การเขยี นบรรณานุกรรม การใช้ภาษา รูปแบบ การพิมพ์ และขอ้ บกพร่องอน่ื ๆ เพ่อื ช่วยใหง้ านวิจัยฉบับนมี้ คี วามสมบูรณย์ งิ่ ข้นึ ขอขอบพระคุณค่ายมวย ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ค่ายมวย ว.มวยไทยจอมบึง ที่อานวยความ สะดวกในการเก็บข้อมลู ในครง้ั นี้และขอบคุณผู้เข้ารว่ มในการทาวจิ ัยจนสามารถดาเนนิ การวิจัยสาเร็จได้ใน ครง้ั น้ี ขอบคุณบิดา มารดา และพี่สาว รวมไปถึงอาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยมวยไทยศึกษาและ การแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เพ่ือนร่วมรุ่นหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามวยไทย รนุ่ ที่ 1 ท่ีคอยใหก้ ารสนบั สนุนและใหก้ าลงั ใจมาโดยตลอด ประโยชน์ใด ๆ อันเกิดจากวิทยานิพนธ์ฉบับน้ีขอมอบแด่ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ครูมวยไทย ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอน ให้ผู้วิจัยปฏิบัติตนเป็นคนดี ตลอดจนขอเป็นเครื่องบูชาแด่ บรมครูมวยไทย นายขนมตม้ ประสทิ ธิ์ชยั ผาสุข

สารบญั หนา้ (ก) บทคดั ย่อภาษาไทย (ข) บทคดั ย่อภาษาอังกฤษ (ง) ประกาศคณุ ปู การ (จ) สารบัญ (ซ) สารบญั ตาราง (ฌ) สารบัญภาพประกอบ 1 บทท่ี 1 บทนา 1 ความเป็นมาและความสาคญั ของปัญหา 4 วตั ถุประสงค์ของการวจิ ยั 4 สมมติฐานการวิจยั 4 ขอบเขตของการวิจยั 5 นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 7 นยิ ามปฏบิ ัติการ 8 ประโยชน์ท่ีคาดวา่ จะไดร้ บั 8 กรอบแนวคิดในการวิจัย 9 9 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยท่เี กย่ี วข้อง 9 เอกสารท่เี กีย่ วข้องกับหลักการ แนวคิด และทฤษฎี 15 ทกั ษะมวยไทย 16 ทักษะการกระโดดเขา่ ลอย 25 ระบบกลา้ มเนื้อ 32 หลกั และทฤษฎีการฝึกแบบพลยั โอเมตริก 38 หลกั การสร้างโปรแกรมการฝึกโปรแกรมพลยั โอเมตริก 46 หลักและทฤษฎีแบบทดสอบ 46 งานวิจยั ท่ีเก่ียวข้อง 50 งานวจิ ัยในประเทศ งานวิจัยตา่ งประเทศ

(ฉ) สารบัญ (ตอ่ ) บทที่ 3 วธิ ดี าเนินการวจิ ัย หนา้ ประชากรและกลุม่ ตวั อยา่ ง 53 ประชากร 53 กลมุ่ ตัวอย่าง 53 ตวั แปรท่ีศึกษา 53 เครอ่ื งมอื ท่ีใช้ในการวิจยั 55 การสร้างเคร่อื งมือที่ใช้ในการวจิ ัย 55 การเกบ็ รวบรวมข้อมลู 56 การวิเคราะห์ข้อมลู และสถติ ิที่ใช้ในการวจิ ยั 58 59 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมลู 60 สัญลักษณ์ท่ีใช้ในการวิเคราะหข์ ้อมูล 60 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล 60 68 บทท่ี 5 สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 68 สรุปผลการวิจัย 71 อภปิ รายผลการวจิ ัย 73 ขอ้ เสนอแนะ 73 ขอ้ เสนอแนะในการนาผลการวิจยั ไปใช้ 74 ขอ้ เสนอแนะในการวจิ ัยคร้ังต่อไป บรรณานกุ รม 75 81 ภาคผนวก 82 ภาคผนวก ก รายชอ่ื ผเู้ ชย่ี วชาญตรวจสอบเครอ่ื งมือในการวิจัย 84 ภาคผนวก ข ผลการวเิ คราะค่าดัชนคี วามสอดคล้องของโปรแกรม 85 ค่า IOC โปรแกรมการฝึกพลยั โอเมตรกิ แบบสถานี 6 สถานี ค่า IOC แบบทดสอบความสามารถในการกระโดดเขา่ ลอยของนกั ศกึ ษา 94 มวยไทยศกึ ษาและพลศึกษา 96 ภาคผนวก ค โปรแกรมการฝกึ ซ้อม

สารบัญ (ตอ่ ) (ช) โปรแกรมการฝกึ พลยั โอเมตริกแบบสถานี 6 สถานี หนา้ โปรแกรมการฝกึ ซอ้ มมวยไทยตามปกติ 99 ภาคผนวก ง แบบทดสอบ 165 แบบทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา 167 แบบทดสอบความเร็ว 168 แบบทดสอบความสามารถในการกระโดดเข่าลอย 169 ใบบันทกึ ผลการทดสอบ 170 ภาคผนวก จ ภาพประกอบกิจกรรมการฝกึ 172 ภาคผนวก ฉ หนงั สือขออนุญาตเกบ็ รวบรวมข้อมูลเพ่ือทาการวิจยั 175 179 ประวัติยอ่ ผู้วิจยั

(ซ) สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1 วเิ คราะห์หาคา่ เฉล่ยี และส่วนเบย่ี งเบนมาตรฐานจากผลการฝึกพลัยโอเมตริกท่ีมี 61 ต่อความแขง็ แรง ความเรว็ และความสามารถในการกระโดดเขา่ ลอยของกีฬา มวยไทย 62 2 เปรยี บเทียบความแตกตา่ งของคา่ เฉล่ยี ของการทดสอบความแขง็ แรงของกลา้ ม 64 เนือ้ ขา ความเรว็ ของการเคลื่อนที่ และความสามารถในการกระโดดเข่าลอย 85 ภายในกลุ่ม 94 3 เปรยี บเทยี บความแตกต่างของคา่ เฉลยี่ ของการทดสอบความแขง็ แรงของกล้าม เนอ้ื ขา ความเรว็ ของการเคลื่อนท่ี และความสามารถในการกระโดดเขา่ ลอย ระหว่างกลมุ่ 4 ค่า IOC โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตรกิ แบบสถานี 6 สถานี 5 ค่า IOC แบบทดสอบความสามารถในการกระโดดเข่าลอยของนกั ศกึ ษามวยไทย ศึกษาและพลศึกษา

สารบัญภาพประกอบ (ฌ) ภาพประกอบที่ หน้า 1 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย 8 2 หมดั ตรง 10 3 หมดั ตัด 10 4 หมัดงัด 10 5 หมัดเสย 10 6 เตะตรง 11 7 เตะตัด 11 8 เตะเฉียง 11 9 เตะกลับ 11 10 กลบั หลงั เตะ 11 11 ถบี ตรง 12 12 ถบี ข้าง 12 13 ถีบกลับหลงั 12 14 ถบี ส้นเทา้ 12 15 ถีบจิก 12 16 ถบี ฝ่าเทา้ 12 17 เข่าตรง 13 18 เข่าตดั 13 19 เขา่ เฉียง 13 20 เขา่ ลอย 13 21 เขา่ ลา 13 22 เขา่ น้อย 13 23 ศอกตี 14 24 ศอกตดั 14 25 ศอกงัด 14

(ญ) สารบญั ภาพประกอบ (ตอ่ ) ภาพประกอบท่ี หน้า 14 26 ศอกพ่งุ 14 27 ศอกกระทงุ้ 14 28 ศอกกลบั 14 29 ศอกเฉยี ง 30 เปรยี บเทียบความแขง็ แรงของกลา้ มเน้ือขาท่ีได้จากการทดสอบ ระหว่างกลุ่ม 65 ทดลองและกลุ่มควบคุม 66 31 เปรียบเทียบความเร็วของการเคลือ่ นที่ท่ีได้จากการทดสอบ ระหวา่ งกลมุ่ 67 ทดลองและกลุ่มควบคุม 32 เปรยี บเทยี บความสามารถในการกระโดดเข่าลอยท่ีไดจ้ ากการทดสอบ ระหว่าง กลุ่มทดลองและกลมุ่ ควบคุม

บทท่ี 1 บทนำ ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ มวยไทยเป็นหนึ่งในวิชาศิลปศาสตร์ 18 ประการของผู้ท่ีจะข้ึนเป็นพระมหากษัตริย์ เรียกว่า มายา หมายถึง ตาราพิชัยสงคราม มวยไทยและกระบ่ีกระบอง (สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ, 2540, 13-19) ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกองทนายเลือกที่รับราชการโดยคัดเลือกจากนักมวย ไว้ป้องกันพระราชวังและราชบัลลังก์ หรือบางครั้งเรียก ตารวจหลวง ทนายตารวจ หรือกรมนักมวย ซึ่งในสมัยปัจจุบันมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ของชนชาตไิ ทยที่เป็นท้ังกีฬาและนันทนาการโดยการใช้ หมัด เท้า เข่า และศอก แข่งขันกันบนเวทีและมีกติกาการแขง่ ขันชัดเจนตามพระราชบัญญตั ิกีฬามวย ไทย พ.ศ. 2542 ขณะเดียวกันถอื วา่ กีฬามวยเป็นวฒั นธรรมช่วยสร้างเศรษฐกิจใหแ้ ก่ประเทศเพราะขณะนี้มวย ไทยเป็นท่ีนิยมและดึงดูดความสนใจมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ดังเห็นได้จากการมีค่ายมวย ยิมมวย และโรงเรยี นมวยไทยเปดิ สอนชาวไทยและชาวตา่ งชาตใิ นย่านแหล่งทอ่ งเที่ยวกันมากขึน้ นอกจากค่าย มวยไทย ยังให้การสนใจการการชมศิลปะการต่อสู้มวยไทย มีการจัดการแข่งขันมวยไทยขึ้นในทุก ๆ วันทั่วประเทศ มีสนามแข่งขันมวยไทย นักท่องเท่ียวเข้าชมมวยการแข่งขันศิลปะการต่อสู้มวยไทยใน สนามมวยต่าง ๆ มากยิ่งข้ึน การแข่งขันชกมวยเปรยี บเสมือนการนาทกั ษะการต่อสมู้ วยไทย หมดั เท้า เข่า ศอกที่ได้ฝึกฝน รวมไปถึงเทคนิคและกลมวยต่าง ๆ ออกมาแสดงหรือแข่งขันกันบนเวทีโดยอยู่ ภายใตก้ ฏ กตกิ า ที่ถูกต้อง (ร่งุ นภา สิงหส์ ถติ , บารมี ชชู ยั , และ นัฏกร สุขเสรมิ , 2562, 3) จากการศึกษาทักษะมวยไทย ครองจักร งามมีศรี (2530, 13 อ้างถึงใน กษิดิ์เดช เกตุมณี, 2553, 2) กลา่ วว่า เข่าเป็นอวัยวะที่มีสาคญั ชนิดหนึ่งของมวยไทยท่ีใชไ้ ด้ผลในระยะใกล้หรือประชิดตัว เป้าหมายของการใช้เข่า ได้แก่ บริเวณต้นขา ท้อง ชายโครง ลาตัว หน้าอก คาง การใช้เข่าตีหรือ กระแทกขนึ้ ไปทาในขณะต้ังท่าอยู่ และบางโอกาสการใช้เข่าจะต้องใชม้ ือท้ังสองจับคอของค่ตู ่อสู้แล้วตี หรือดึงลงมาแล้วตีเข่า สอดคล้องกับ กอบชัย นิธิวัฒนากุล (2546, 9 อ้างถึงใน กษิดิ์เดช เกตุมณี 2553, 23) กลา่ วไวว้ ่า ทกั ษะการใช้เข่าเป็นทกั ษะการใช้อาวธุ ท่นี บั ว่ามีความรนุ แรงทส่ี ดุ เพราะทักษะ การเข่าเกิดจากการใชอ้ วัยวะท่ีมีมุมและความแข็งแกร่ง คือ หัวเข่าเข้าปะทะร่างกายคู่ต่อสู้ แต่การจะ ใช้เข่านั้นมิใชส่ ามารถใช้ไดโ้ ดยง่ายเนื่องจากไม่มีคู่ต่อสู้คนใดทจี่ ะยอมให้ตัวเองถูกตีเข่า ดังน้ันการจะตี เข่าฝ่ายตรงข้ามจึงต้องอาศัยความแข็งแกร่งของร่างกาย กอด รดั ปลา้ และเหน่ยี วรงั้ คตู่ ่อสู้มาตีเข่าให้ ได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วเป็นเรื่องท่ีปฏิบัติได้ค่อยข้างยาก หรือบางคร้ังฝ่ายท่ีกาลังตีเข่าเองกลับถูก ความแข็งแกร่งท่ีเหนือกว่าของคู่ต่อสู้พลิกผันสถานการณ์ไปตรงกันข้าม การตีเข่าจึงเป็นศิลปะขั้นสูง

2 อีกอย่างหน่ึงในกีฬามวยไทย การใช้เข่าสามารถกระทาได้ท้ังสองข้างและมีหลายลักษณะ ซ่ึงทักษะ การใช้เข่านั้นอันตรายและมีประสิทธิภาพ และ สาราญ สุขแสวง (2560, 142) แบ่งการใช้เข่าออกได้ 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) เข่าตรง หมายถึง การเข่าพุ่งตรงไปข้างหน้าเข้าสู่เป้าหมาย 2) เข่าตัด หมายถึง การเข่าตีขนานกับพ้ืนเข้าสู่เป้าหมาย 3) เข่าเฉียง หมายถึง การเข่าตีเฉียงเข้าสู่เป้าหมาย 4) เข่าลอย หมายถึง การกระโดดขึ้นสูง ทะยานเข่าเข้าหาคู่ต่อสู้ 5) เข่าลา เป็นลักษณะครึ่งเตะคร่ึงเข่า 6) เข่า นอ้ ย คือ ลกั ษณะของการใช้เข่าตีบรเิ วณต้นขาของคู่ต่อสู้เร็ว ๆ หลาย ๆ ครงั้ ในขณะทที่ าการกอดรัด กัน การกระทาเชน่ นท้ี าใหค้ ู่ต่อสู้รูป้ วดตน้ ขาและอาจจะทาให้คู่ต่อสู้เสยี เปรยี บได้เหมือนกัน นอกจากน้ี ผู้วิจัยได้ดาเนินการสมั ภาษณ์นักมวยไทยอาชีพ จานวน 20 คน เพื่อศึกษาข้อมูลทักษะการใช้เข่าว่าใด ท่ีมีประสิทธิภาพและความรุนแรงมากท่สี ุด ซึ่งผลการดาเนินการสัมภาษณ์จากผใู้ ห้ข้อมูลส่วนใหญ่ ให้ ข้อมูลว่า เข่าลอยเป็นทักษะที่มีประสิทธิภาพและความรุนแรงมากที่สุดในบรรดาทักษะของการใช้เข่า ตามลกั ษณะตา่ ง ๆ เพราะลกั ษณะของการใช้เข่าลอยน้ันคือ การกระโดดขึ้นให้สูงทะยานเข่าพ่งุ เข้าหา คู่ต่อสู้ด้วยความเร็วและแรง ลักษณะของการเข่าลอยมีระยะในการกระโดดส่งแรงท่ีมากกว่าซ่ึง แตกตา่ งจากการใชเ้ ขา่ ในลักษณะอื่น ๆ ทเี่ ป็นการยืนอยกู่ บั ทแี่ ละเปน็ การยืนส่งแรงแต่เพยี งอยา่ งเดียว เท่านั้น สอดคล้องกับการแข่งขันมวยไทยในปัจจุบันที่มีการนาทักษะกระโดดเข่าลอยไปใช้ในการ แข่งขัน สามารถเอาชนะน็อคคู่ต่อสู้ได้อย่างง่ายดาย เช่น ผลการชกรุ่งเกียรติ อีมิเน้นท์แอร์ ชนะน็อค ฉลามทอง ศิษย์ เสธ.เนตร ยกที่ 1 ด้วยการกระโดดเข่าลอย (อะไลฟ,์ 2559) และ อที ี ทเี ดด็ 99 ซดั เขา่ ลอยเข้าปลายคาง ตีโต้ หอยหวานโภชนา หลบั ทง้ั ยืนยกแรก มวยคู่เอก ในศกึ ท่อนา้ ไทย ลุมพินี ทีเคโอ (ลมุ พินี มวยไทย, 2562) กีฬามวยไทยนั้นมีความจาเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องมีสมรรถภาพทางกายท่ีดีเพราะการที่มี สมรรถภาพทางกายที่ดีนั้นจะช่วยให้นักกีฬามวยไทยไปสู่ความเป็นเลิศได้ พลังกล้ามเน้ือเป็น องค์ประกอบหน่ึงของสมรรถภาพทางกายที่มีสาคัญอย่างยิ่งสาหรับนักกีฬามวยไทย ดังท่ี สุรวฒุ ิ กาพย์เกิด (2551, 2) ได้กล่าวไวว้ ่าพลังของกล้ามเน้ือมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อทางานได้ทันที คือ เม่ือกล้ามเนื้อมีพลังมากขึ้นก็จะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายและรวดเร็วข้ึน จึงสามารถเคลื่อนไหว ได้ซ้า ๆ และบ่อยกว่า และยังพบว่าพลังของกล้ามเน้ือมีส่วนเกี่ยวข้องกับความคล่องแคล่วของ ร่างกายเพราะเมื่อกล้ามเนื้อมีพลังเพียงพอในการควบคุมน้าหนักของร่างกายต่อต้านแรงเฉื่อย จะทา ให้ร่างกายสว่ นต่าง ๆ เคลื่อนไหวไดร้ วดเร็วขึน้ นอกจากน้ันพลงั กล้ามเน้ือยงั เป็นปัจจยั หน่ึงในการเพิ่ม ความเร็ว เพราะต้องการแรงมากเพ่ือเร่งร่างกายให้เคลื่อนท่ีด้วยความเรว็ สูง ซ่ึงในปัจจุบันได้มีการนา หลักวิทยาศาสตร์การกีฬามากประยุกต์ใช้กับการฝึกซ้อมของนักกีฬา (ชาญชัย ยมดิษฐ์ และ สัจจา ไกรศร, 2560, 77) ได้วิจัยพบว่าความสาเร็จของธุรกิจค่ายมวยนั้นอยู่ท่ีการมีหลักวิทยาศาสตร์การ กีฬาทดี่ ี มหี ลกั การฝึกซอ้ มมวยไทยที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ยนื ยันประสิทธภิ าพการฝึกซ้อมให้ผู้ มารับบริการสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ วิทยาศาสตร์การกีฬาจึงเป็นปัจจัยสาคัญในการส่งเสริม

3 ธุรกิจค่ายมวยและการฝึกซ้อมมวยไทยให้มีประสิทธิภาพและสามารถเป็นปัจจัยสาคัญในการฝึกซ้อม นักกีฬามวยให้ไปแข่งขันบนเวทีมวยมาตรฐานหรือการแข่งขันในระดับนานาชาติโดยประยุกต์หลัก วทิ ยาศาสตรเ์ ข้ากับกระบวนท่าทกั ษะ หมดั เทา่ เข่า ศอก ไดอ้ ยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ จากความสาคัญข้างต้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสาคัญถึงหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและ ทักษะการใช้เข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการกระโดดเข่าลอยท่ีถือว่าเป็นอาวุธมวยท่ีมีความรุนแรง ท่ีสุด ผู้วิจัยเกิดความสนใจท่ีจะนาหลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาฝึกสร้างพลังของกล้ามเนื้อให้กับ นักกีฬามวยไทยที่ใช้ทักษะเข่าลอย ซ่ึงในปัจจุบันมีการใช้การฝึกพลังของกล้ามเน้ือหลากหลายแบบ โดยแบบฝึกที่น่าสนใจจากการศึกษาเอกสาร ตารา และงานวิจัยท่ีเก่ียวข้อง พบว่า แบบฝึกแบบพลัย โอเมตริกเป็นการฝกึ พลังของกล้ามเน้ือรูปแบบหนึง่ ท่ีได้รบั ความนิยมในการนาไปประยุกต์ใช้ฝึกใหก้ บั นักกีฬาซ่ึงสอดคล้องกับ เจริญ กระบวนรัตน์ (2561, 336-337) ท่ีกล่าวว่าพลัยโอเมตริก (plyometrics) เป็นหน่ึงในวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในการพัฒนากาลังระเบิด (explosive power) ให้กับกีฬาหลายประเภท อาทิเช่น วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ฟุตบอล แฮนด์บอล เซปัก ตะกร้อ ฮอกกี้ เทนนิส แบบดมินตนั เทเบิลเทนนสิ กระโดดน้า วา่ ยนา้ ยูโด โบวล์ ง่ิ กอล์ฟ ยกน้าหนัก ดาบสากล มวย มวยปล้า เทควันโด วิ่งระยะสั้นและยิมนาสติก เป็นต้น และชู (chu, 1992, 1 อ้างถึง ใน กษิดิ์เดช เกตุมณี, 2553, 2) กล่าวถึงการฝึกพลังกล้ามเนื้อด้วยการฝึกพลัยโอเมตริก (plyometrics) ว่าเป็นการฝึกกล้ามเน้ือเพ่ือทาการผนวกความแข็งแรง (strenght) และความเร็ว (speed) ในเวลาสนั้ ๆและเป็นหน่ึงในวธิ ีที่ดีท่สี ดุ ในการพฒั นาใหเ้ กิดพลังระเบิด (explosive power) ในการนาไปประยุกต์ใช้ในการกีฬาต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับ สนธยา สีละมาด (2551, 305-308) ที่ กล่าวว่าการฝึก พลัยโอเมตริก (plyometric exercise) หมายถึง การออกกาลังกายหรือการฝึก บริหารร่างกายที่รวมไว้ซ่ึงกาลัง ความแข็งแรง และความรวดเร็วในการหดตัวของกล้ามเน้ือ เพื่อการ เคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน เป็นการถ่ายโอนความแข็งแรงไปสู่พลังระเบิด ลักษณะของการฝึกสามารถ กระทาได้หลากหลายรปู แบบ เชน่ การฝึกกระโดด (jump training) และเขยง่ (hopping) ในรปู แบบ ต่าง ๆ กันเพื่อพัฒนาลาตัวส่วนล่าง (lower extremities) และการบริหารลาตัวส่วนบน (upper extremities) โดยใช้เมดิซินบอล (medicine ball) พลัยโอเมตริกจะมีพ้ืนฐานมาจากวงจรการยืด ออก-การหดสั้นเข้า (stretch-shortening cycle) หรือรีเฟล็กซ์ยืด (stretch reflex) ซ่ึงกล้ามเนื้อจะ มีการหดตัวแบบเอกเซนทริก (eccentric) และการหดตัวแบบคอนเซนทริก (concentric) อย่าง ฉับพลันตามหลักสรีรวิทยาได้มีการแสดงให้เห็นว่ากล้ามเนื้อท่ีมีการยืดยาวออกก่อนที่จะหดตัวจะ สามารถหดตัวได้อย่างเต็มกาลังและรวดเร็วมาก การทางานดังกล่าวจะพบได้ในการเคล่ือนไหวแบบ พลัยโอเมตรกิ เนื่องจากปัจจุบันกีฬามวยไทยกาลังได้รับความนิยมและความสนใจมาก ไม่ว่าจะเป็นจาก ชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ปัญหาท่ีพบในปัจจุบัน คือ ผู้ฝึกสอนส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการฝึกซ้อมใน

4 เรื่องของทักษะและเทคนิคเป็นส่วนใหญ่ จึงทาให้ขาดโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎี ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างมีหลักการและเหตุผล จากปัญหาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเล็งเห็น ความสาคัญในการศึกษาผลการพลัยโอเมตริกท่ีมีต่อความแข็งแรง ความเรว็ และความสามารถในการ กระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย และโปรแกรมการฝึกซ้อมที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีทางด้าน วิทยาศาสตร์การกีฬาอย่างมีหลักการและเหตุผล มาใช้ควบคู่กับการฝึกซ้อมทักษะและเทคนิคในกีฬา มวยไทย เพ่ือนามาพัฒนาการกล้ามเนื้อให้กับนักกีฬามวยไทย ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็น แนวทางในการพัฒนาการฝึกซ้อมกีฬามวยไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถทดสอบได้และ สามารถนาข้อมูลไปตอ่ ยอดในการพัฒนากีฬามวยต่อไป วตั ถุประสงค์ของกำรวิจยั การวิจยั ในครง้ั น้ีมีวตั ถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพ่ือศึกษาผลการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถใน การกระโดดเข่าลอยของกฬี ามวยไทย 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยโปรแกรมพลัยโอเมตริกกับโปรแกรมการฝึกซ้อมมวย ตามปกติท่มี ตี ่อความแขง็ แรง ความเรว็ และความสามารถในการกระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย สมมตฐิ ำนกำรวจิ ัย ผลการฝกึ พลยั โอเมตริกท่ีมตี ่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถในการกระโดดเข่า ลอยของกีฬามวยไทยก่อนและหลังการฝึกพลัยโอเมตริกเป็นเวลา 8 สัปดาห์นักศึกษาสาขามวยไทย ศึกษาและพลศึกษา มีความแข็งแรงของกล้ามเน้ือขา ความเร็วในการเคล่ือนท่ี และความสามารถ ในการกระโดดเข่าลอยทแี่ ตกตา่ งกนั ขอบเขตของกำรวจิ ยั ประชำกร กลุ่มประชากรที่ใชใ้ นการวิจยั ครง้ั นี้ คือ นักศึกษาชายสาขามวยไทยศึกษาและพลศึกษา ช้นั ปที ี่ 1-5 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศกึ ษา 2563 ของมหาวิทยาลัยราชภฏั หมู่บ้านจอมบึง จานวน 54 คน ซง่ึ ผ่านการเรยี นการสอน ในรายวชิ าทกั ษะและเทคนิคมวยไทย รหสั วชิ า ME 62607

5 กลุ่มตวั อย่ำง กลุ่มตัวอย่างท่ีใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชายสาขามวยไทยศึกษาและพลศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จานวน 30 คน ซ่ึงได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) โดยวิธีการจับฉลากและทาการทดสอบความสามารถในการกระโดด เข่าลอย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มควบคุม จานวน 15 คน กลุ่มทดลอง จานวน 15 คน ได้มาโดยการใชว้ ิธีการจบั คู่ (matching) เกณฑ์ในกำรคดั เขำ้ กำรทดลอง 1. ผูเ้ ขา้ รว่ มการทดลองจะตอ้ งเปน็ เพศชาย อายรุ ะหวา่ ง 18-24 ปี 2. ผู้เข้าร่วมการทดลองจะต้องเป็นผู้ที่มีการฝึกซ้อมมวยไทยเป็นประจาและเป็นผู้มีทักษะ มวยไทย 3. ผู้เข้าร่วมการทดลองจะต้องไม่มีอาการบาดเจ็บรุนแรงท่ีกระดูก ข้อต่อและกล้ามเน้ือ ใน รยางค์ส่วนลา่ ง เกณฑ์ในกำรคดั ออกจำกกำรทดลอง 1. ผู้เข้าร่วมการทดลองไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยสามารถตัดออกจาก การทดลองไดท้ ันที 2. ผู้เข้าร่วมทดลองอาการบาดเจ็บรุนแรงที่กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อในขณะทาการ ทดลองผ้วู ิจยั สามารถตัดออกจากการทดลองได้ทันที นยิ ำมศัพท์เฉพำะ 1. พลัยโอเมตริก (Plyometrics) หมายถึง การฝึกพลังของกล้ามเนื้อในรูปแบบหนึ่งหรือ การออกกาลังกายที่ทาให้กลา้ มเน้ือเกิดการยืดออกก่อนแลว้ จึงหดสั้นเข้าอย่างรวดเรว็ 2. โปรแกรมกำรฝึกพลัยโอเมตริก หมายถึง การฝึกกล้ามเนื้อ เพ่ือทาการผนวกความ แข็งแรง (strenght) และความเร็ว (speed) โดยใช้การกระโดดเป็นจังหวะอย่างต่อเน่ืองเป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ มีจุดมุ่งหมายพัฒนาลาตัวส่วนล่าง (lower extremities) ประกอบด้วยการฝึก แบบ 6 สถานี ดงั น้ี สปั ดาหท์ ่ี 1-2 สถานีที่ 1 คาล์ฟ เรส (calf raise) สถานีท่ี 2 สควอท (squat) สถานที ่ี 3 กู๊ด มอร์น่งิ (good morning) สถานที ี่ 4 ลัช (lunge) สถานีท่ี 5 วอล์คกิง้ ลชั ส์ (walking lunges) สถานที ่ี 6 รเี วิร์ส ลชั นี อัพ (reverse lunge knee up)

6 สปั ดาหท์ ่ี 2-4 สถานที ่ี 1 โปโก จัมพ์ (pogo jump) สถานที ่ี 2 จัมพป์ ง้ิ แจ็ค (jumping jack) สถานีที่ 3 สปลทิ จัมพ์ (split jump) สถานที ี่ 4 ซิสเซอร์ส จมั พ์ (scissors jump) สถานีท่ี 5 สควอท จัมพ์ (squat jump) สถานีที่ 6 ทคั จัมพ์ (tuck jump ) สัปดาหท์ ่ี 5-6 สถานที ่ี 1 โปโก จมั พ์ ฟอร์เวิรด์ (pogo jump forward ) สถานีที่ 2 ฟรอนท์ เฮอร์เดิ้ล ฮอบ (front hurdle hops) สถานีที่ 3 เลทเทอรอล จัมพ์ โอเวอร์ แบร์ริเออร์ (lateral jump over barrier) สถานีท่ี 4 ไดแอกโกนอล โคน ฮอบ (diagonal cone hops) สถานีที่ 5 ฟอร์เวิร์ด แอนด์ เลทเทอรัล เฮอร์เด้ิล จั๊มพ์ ซีเควนซ์ (forward and lateral hurdle jump sequence) สถานีท่ี 6 สแตนดด์ ิ้ง บรอด จมั๊ พ์ แอนด์ สควอท จั๊มพ์ ซีเควนซ์ (standing broad jump and squat jump sequence) สัปดาห์ท่ี 7-8 สถานที ี่ 1 ซงิ เกลิ เลก เวอร์ติคอล จมั พ์ (single leg vertical jump) สถานที ี่ 2 ซิงเกลิ เลก ทัค จัมพ์ (single leg tuck jump) สถานีท่ี 3 ซิงเกิล เลก ไดแอกโกนอล โคน ฮอบ (single leg diagonal cone hops) สถานที ่ี 4 รเี วิร์ส ฮอป (reverse hop) สถานที ี่ 5 ซิสเซอร์ส ฮอป (scissors hop) สถานที ่ี 6 ออเทอรเ์ นท-เลก บาวดด์ ิง้ (alternate-leg bouding) 3. ควำมแขง็ แรง หมายถงึ ความแขง็ แรงสูงสุดของกลา้ มเน้อื ขา 4. ควำมเร็ว หมายถึง การเคล่ือนท่ีของผู้ทดลองจากจุดหน่ึงไปอีกจุดหนึ่งด้วยเวลาที่ส้ัน ท่สี ุด 5. กำรกระโดดเข่ำลอย หมายถึง การกระโดดยกเข่าสลับขึ้นทาเป็นมุมโดยการชี้ปลายเท้า ไปขา้ งหลงั แลว้ พุ่งเข่าเขา้ ส่เู ปา้ หมาย และใหเ้ ทา้ ท้ังสองขา้ งลอยจากพ้ืน 6. นักศึกษำสำขำมวยไทยศึกษำและพลศึกษำ หมายถงึ นักศึกษาสาขามวยไทยศึกษาและ พลศกึ ษาท่เี ข้าศกึ ษาท่ีมหาวิทยาลยั ราชภฏั หมบู่ า้ นจอมบงึ ชนั้ ปที ่ี 1-5

7 นิยำมปฏบิ ตั ิกำร 1. กำรฝึกแบบพลัยโอเมตริก หมายถึง นักศึกษามวยไทยศึกษาและพลศึกษาปฏิบัติตาม โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกเปน็ เวลา 8 สัปดาห์ ทาการฝึกโดยการกระโดด (jump training) แบบ สถานรี วม 6 สถานี 2. ทดสอบควำมแข็งแรงของกล้ำมเนอื้ ขำ หมายถงึ นักศึกษามวยไทยศกึ ษาและพลศึกษา ทาการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง โดยการใช้เคร่ืองวัด แรงเหยียดขา Leg dynamometer โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายประชาชนไทย การกีฬา แหง่ ประเทศไทย 2545 วิธปี ฏิบัติ 2.1 ผู้เขา้ รบั การทดสอบยนื บนที่วางเทา้ ของเครือ่ งมือ 2.2 ยอ่ เขา่ ลงและแยกขาเลก็ น้อย โดยใหห้ ลังและแขนตรง 2.3 จบั ทด่ี งึ ในทา่ ควา่ มือ เหนือระหว่างเขา่ ทั้งสอง จัดสายใหพ้ อเหมาะ 2.4 ออกแรงเหยียดขาใหเ้ ต็มที่ ทาการทดสอบ 2 ครงั้ ใชค้ า่ ทมี่ าก 2.5 บนั ทกึ ผลการวัดเปน็ กิโลกรัม แลว้ นามาหารน้าหนกั ตัว 3. ทดสอบควำมเร็วของกำรเคลื่อนที่ หมายถึง นักศึกษามวยไทยศึกษาและพลศึกษา ปฏิบัติการวิ่งด้วยระยะทาง 50 เมตร อย่างเต็มท่ี โดยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐาน กรมพลศกึ ษา 2541 วธิ ปี ฏบิ ัติ 3.1 เมอื่ ผู้ปล่อยตัวให้สญั ญาณ \"เขา้ ท\"่ี ให้ผูร้ ับการทดสอบยนื ใหป้ ลายเท้าช้างใดหน่ึงข้าง หนึ่งอยู่ชดิ เสน้ เรม่ิ 3.2 เม่ือพร้อมแล้ว ให้สัญญาณปล่อยตัว ผู้รับการทดสอบออกวิ่งอย่างเต็มที่จนผ่าน เสน้ ชัย 3.3 ใหท้ าการทดสอบ 2 ครั้ง ใช้คร้ังทีเ่ วลานอ้ ยที่สุด 3.4 บันทกึ เวลาเปน็ วนิ าทีและทศนิยมสองตาแหน่ง 4. ทดสอบควำมสำมำรถของกำรกระโดดเข่ำลอย หมายถึง การที่นักศึกษามวยไทย ศึกษาและพลศึกษาทาการทดสอบการกระโดดเข่าลอยถูกต้องให้ได้ความสูงที่มากท่ีสุด โดยใช้ เครอื่ งมือแบบทดสอบที่ผูว้ ิจัยสร้างข้ึน วิธกี ารปฏิบตั ิ 4.1 ใหน้ ักศึกษายนื อยหู่ ลังเส้นทดสอบ ในท่าจดมวยเหล่ยี มขวา 4.2 ให้นักศึกษายืนแทงเข่าขวาไปที่กระสอบทราย 2 คร้ัง โดยไม่ให้นักศึกษาเขย่งเท้า ในขณะแทงเข่า และใหผ้ ู้ทดสอบจดบนั ทกึ ความสงู ในขณะยนื แทงเขา่ 4.3 ใหน้ ักศกึ ษาเปลี่ยนมาจดมวยเหลยี่ มซ้าย โดยใหเ้ ท้าขวาอยู่ทหี่ ลังเส้นทดสอบ 4.4 เมอื่ ไดย้ นิ สัญญาณ “เริ่ม” ใหน้ ักศกึ ษายกเขา่ ซ้ายไปด้านหน้าพร้อมกับกระโดดสลับ เข่าและใชเ้ ขา่ ขวาแทงเข้าไปทก่ี ระทราย (กระโดดเข่าลอย) ด้วยความเรว็ และแรง ให้สูงทีส่ ุด

8 ประโยชนท์ ่คี ำดวำ่ จะไดร้ ับ ได้โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถในการ กระโดดเข่าลอยของกีฬามวยไทย และเป็นแนวทางในการพัฒนาการฝึกซ้อมกีฬามวยไทยให้มี ประสทิ ธิภาพมากย่ิงข้นึ กรอบแนวคิดในกำรวจิ ยั ตัวแปรตำม ตัวแปรตน้ โปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริก แบบ 6 ความแข็งแรงของกล้ามเนอ้ื ขา สถานี ประกอบดว้ ย 3 ขัน้ ตอน ความเร็วของการเคลื่อนที่ 1. ช่วงอบอุ่นรา่ งกาย (warm up) 2. ชว่ งการฝึก (work out) ความสามารถในการกระโดดเขา่ ลอย 3. ผ่อนคลายกลา้ มเน้ือ (cool down) ภาพประกอบท่ี 1 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย

บทท่ี 2 เอกสารและงานวจิ ัยที่เกี่ยวขอ้ ง ในการวิจยั เรื่อง ผลการฝกึ พลยั โอเมตริกที่มีตอ่ ต่อความแข็งแรง ความเร็ว และความสามารถ ในการกระโดดเขา่ ลอยของกีฬามวยไทย เอกสารท่ีเกยี่ วข้องกบั หลกั การ แนวคิด และทฤษฎี 1. ทกั ษะมวยไทย 2. ทกั ษะการกระโดดเข่าลอย 3. ระบบกลา้ มเนอ้ื 4. หลกั และทฤษฎีการฝึกแบบพลยั โอเมตริก 5. หลกั การสรา้ งโปรแกรมการฝกึ โปรแกรมพลัยโอเมตริก 6. หลกั และทฤษฎีการสร้างแบบทดสอบ 7. หลกั และทฤษฎีการสรา้ งเกณฑ์การทดสอบ งานวิจยั ที่เก่ียวขอ้ ง 1. งานวิจัยในประเทศ 2. งานวจิ ยั ตา่ งประเทศ เอกสารท่เี ก่ียวขอ้ งกับหลักการ แนวคดิ และทฤษฎี ทกั ษะมวยไทย ทกั ษะมวยไทยถือเปน็ ปัจจัยที่สาคญั สาหรบั การฝึกมวยไทย ดงั นัน้ ผูท้ ฝ่ี ึกมวยไทยหรือนักมวย ไทยอาชีพท่ีจะนาไปใช้ในการแข่งขันจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการใชท้ ักษะของมวยไทยทุกประเภท ทุกชนิดท้ังหมด สาราญ สุขแสวง (2560, 111) ได้กล่าวไว้ว่า ทักษะมวยไทยถือเป็นปัจจัยที่สาคัญ สาหรับการฝกึ มวยไทยเพอื่ นาไปใช้ในการดารงชวี ติ ในการสร้างเสรมิ สุขภาพและนาไปใช้ในการแข่งขัน ปัจจุบันการใช้ทักษะของนักมวยไทยหรือผู้ที่ฝึกมวยไทยพบว่า นักมวยไทยคนใดมีความเชี่ยวชาญ ทักษะชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะใช้เพียงทักษะชนิดน้ันประจาในขณะที่ทาการตอ่ สู้หรือการแข่งขัน ดังนั้นผู้ ท่ฝี กึ มวยไทยหรือนักมวยไทยอาชีพท่ีจะนาไปใช้ในการแข่งขันจะต้องมีความเช่ียวชาญในการใช้ทักษะ ของมวยไทยทุกประเภททุกชนิดท้ังหมด เพ่ือให้เกิดการได้เปรียบคู่ตอ่ สู้ และสานักงานคณะกรรมการ การกีฬามวย ฝ่ายกฬี าอาชีพและกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2563, 17-21) ได้สรุปความรู้และทกั ษะเก่ียวกบั กีฬามวยไทยอาชพี ไวด้ ังนี้

10 1. ทักษะการใชห้ มดั หมัดเป็นอวัยวะที่สาคัญอย่างหน่ึงของมวยไทยท่ีมีประสิทธิภาพมากสาหรับการต่อสู้เป็น อวัยวะทใี่ ชไ้ ด้ผลเมื่ออยใู่ นระยะกลาง คาว่า “ชก” หมายถึง การใช้มือกาให้แน่นแล้วใช้ส่วนสันหมัดชกหรือกระแทกไปยังเป้าหมาย การชกอาจจะใช้วิธีการเหว่ียงแขนเป็นวงกว้างแล้วให้ส่วนสันหมัดไปกระทบเป้าหมาย หรืออาจจะใช้ กระแทกหรือส่งแขนออกไปตรง ๆ ด้านหน้าให้ส่วนสันหมัดกระทบเป้าหมาย การชกด้วยหมัดน้ัน แบ่ง ออกได้ 4 ลักษณะ คอื หมดั ตรง หมัดตัด หมัดงัด และ หมดั เสย ดังภาพประกอบที่ 2-5 ภาพประกอบท่ี 2 ภาพประกอบท่ี 3 หมัดตรง หมดั ตัด ภาพประกอบที่ 4 ภาพประกอบที่ 5 หมัดงดั หมัดเสย ที่มา : สานกั งานคณะกรรมการการกีฬามวย ฝา่ ยกีฬาอาชพี และกฬี ามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเทย่ี วและกีฬา (2563, 18)

11 2. ทกั ษะการใช้เท้า เท้านั้นว่าเป็นอวัยวะที่สาคัญอย่างหนึ่งของการชกมวยไทย เพราะเป็นอวัยวะท่ีมีประสิทธิภาพ มากสาหรบั การต่อสู้ เท้าเป็นอวัยวะทีใ่ ช้ได้ผลในระยะไกล แบง่ ออกได้ 2 ลักษณะ คือ การเตะและการ ถีบ การเตะ หมายถึง การใช้แรงเหว่ียงของเท้า ต้ังแต่ใต้เข่าลงไปจนถึงปลายเท้าเหวี่ยงขึ้นไป ปะทะเป้าหมาย โดยใช้ส่วนของหลังเท้า หน้าแข้ง หรือส้นเท้าถูกเป้าหมาย การเตะ นับว่าเป็นทักษะ มวยไทยทม่ี ีประสิทธิภาพสูงอยา่ งหนึง่ ระยะของการใช้เทา้ เตะที่ได้ผล คอื ระยะไกล โดยแบ่งออกเป็น 5 ลกั ษณะ ไดแ้ ก่ เตะตรง เตะตัด เตะเฉียง เตะกลบั และเตะกลบั หลัง ดงั ภาพประกอบท่ี 6-10 ภาพประกอบท่ี 6 ภาพประกอบที่ 7 เตะตรง เตะตดั ภาพประกอบที่ 8 ภาพประกอบท่ี 9 ภาพประกอบที่ 10 เตะเฉยี ง เตะกลบั กลับหลังเตะ ที่มา : สานักงานคณะกรรมการการกีฬามวย ฝา่ ยกีฬาอาชีพและกฬี ามวย การกีฬาแหง่ ประเทศไทย กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา (2563, 19) การถีบ เปน็ การใชส้ ว่ นปลายเท้า ฝ่าเท้า หรอื ส้นเทา้ โดยการยกเท้าขน้ึ แล้วงอเข่าส่งแรงปะทะ เพ่ือให้เกิดน้าหนัก การถีบให้มีน้าหนักจะต้องถีบพร้อมกับการใช้จังหวะสืบเท้าไปข้างหน้า ถ้าต้องการ ถีบให้ได้ระดับสูงจะต้องเอนลาตวั ไปข้างหลัง เป้าหมายของการถีบได้แก่บริเวณ หน้าแข้ง ต้นขา ทอ้ ง อก

12 หรอื ใบหน้า สามารถแบง่ ตามลกั ษณะของการถบี ได้ 6 ลกั ษณะ ได้แก่ ถีบตรง ถีบข้าง ถีบกลบั หลัง ถีบ ส้นเทา้ ถีบจกิ และถีบฝา่ เท้า ดงั ภาพประกอบท่ี 11-16 ภาพประกอบที่ 11 ภาพประกอบท่ี 12 ถีบตรง ถบี ข้าง ภาพประกอบท่ี 13 ภาพประกอบที่ 14 ถบี กลบั หลงั ถบี ส้นเท้า ภาพประกอบที่ 15 ภาพประกอบท่ี 16 ถีบจกิ ถีบฝ่าเทา้ ทมี่ า : สานกั งานคณะกรรมการการกฬี ามวย ฝา่ ยกีฬาอาชพี และกีฬามวย การกีฬาแหง่ ประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2563, 20)

13 3. ทกั ษะการใชเ้ ข่า เข่าเป็นอวัยวะที่สาคัญชนิดหนึ่งของมวยไทยท่ีใช้ได้ผลในระยะใกล้หรือประชิดตัว เป้าหมาย ของการใช้เข่า ได้แก่ บริเวณต้นขา ท้อง ชายโครง ลาตัว หน้าอก คาง การใช้เข่าตีหรือกระแทกข้ึนไป ทาในขณะตั้งท่าอยู่ และบางโอกาสการใช้เข่าจะต้องใช้มือท้ังสองจับคอของคู่ต่อสู้แล้วตีหรือดึงลง มาแล้วตีเข่า การใช้เข่าแบ่งออกได้ 6 ลักษณะ ได้แก่ เข่าตรง เข่าตัด เข่าเฉียง เข่าลอย และเข่าน้อย ดังภาพประกอบท่ี 17-22 ภาพประกอบที่ 17 เข่าตรง ภาพประกอบที่ 18 เขา่ ตัด ภาพประกอบที่ 19 เข่าเฉยี ง ภาพประกอบที่ 20 เข่าลอย ภาพประกอบที่ 21 เข่าลา ภาพประกอบท่ี 22 เขา่ นอ้ ย ทม่ี า : สานักงานคณะกรรมการการกฬี ามวย ฝา่ ยกีฬาอาชีพและกีฬามวย การกีฬาแหง่ ประเทศไทย กระทรวงการท่องเทย่ี วและกีฬา (2563, 21)

14 4. ทักษะการใชศ้ อก ศอก คือ ส่วนของแขนต้ังแต่ข้อพับก่ึงกลางลงไปถึงปลายนิ้วกลาง ศอกเป็นอวัยวะท่ีใช้มากใน ระยะใกล้และเป็นอวัยวะท่ีร้ายแรงชนิดหนึ่ง อาจทาให้คู่ต่อสู้แพ้ได้ ศอกเป็นอวัยวะที่แหลมคมมีกระดูก ท่ีแขง็ แกร่ง เมอื่ บวกกับแรงของคู่ต่อสู้ทาใหเ้ ป็นอันตรายได้มาก ศอกแบ่งออกได้ 7 ลักษณะ ได้แก่ ศอก ตี ศอกตดั ศอกงดั ศอกพุ่ง ศอกกระทุ้ง ศอกกลับ และศอกเฉียง ดงั ภาพประกอบท่ี 23-29 ภาพประกอบที่ 23 ศอกตี ภาพประกอบที่ 24 ศอกตัด ภาพประกอบท่ี 25 ศอกงัด ภาพประกอบที่ 26 ศอกพุง่ ภาพประกอบที่ 27 ศอกกระทุง้ ภาพประกอบท่ี 28 ศอกกลับ ภาพประกอบท่ี 29 ศอกเฉยี ง ท่มี า : สานกั งานคณะกรรมการการกฬี ามวย ฝ่ายกีฬาอาชพี และกีฬามวย การกฬี าแหง่ ประเทศไทย กระทรวงการท่องเทย่ี วและกีฬา (2563, 22)

15 ทกั ษะการกระโดดเข่าลอย ทักษะการใช้อาวธุ มวยไทยประกอบด้วย การใช้หมดั การใช้เทา้ การใชเ้ ขา่ การใช้ศอก ทกั ษะ การใช้เข่าถือว่ามีความสาคัญเป็นอย่างมากเพราะเป็นอาวุธท่ีมีความรุนแรงและป้องกันได้ยาก สอดคล้องกับ กอบชัย นธิ ิวัฒนากลุ (2546, 9 อา้ งถงึ ใน กษดิ เิ์ ดช เกตมุ ณ,ี 2553, 23) การเข่าเป็นการ ใช้อาวุธทีน่ บั ว่าใหค้ วามรุนแรงทสี่ ดุ เพราะการเขา่ เกิดจากการใช้อวัยวะทมี่ ีมมุ และความแขง็ แกร่ง คือ หัวเขา่ เข้าปะทะร่างกายคู่ต่อสู้ แตก่ ารจะใชเ้ ข่านัน้ มิใชส่ ามารถใช้ไดโ้ ดยงา่ ยเน่ืองจากไม่มีค่ตู ่อสู้คนใด ที่จะยอมให้ตัวเองถูกตีเข่า ดังน้ันการจะตีเข่าฝ่ายตรงข้ามจึงต้องอาศัยความแข็งแกร่งของร่างกาย กอด รัด ปล้า และเหนี่ยวร้งั คู่ต่อสมู้ าตเี ข่าให้ได้ ซ่ึงโดยธรรมชาติแล้วเป็นเร่ืองท่ีปฏบิ ัติได้ค่อยข้างยาก หรือบางครั้งฝ่ายที่กาลังตีเข่าเองกลับถูกความแข็งแกร่งที่เหนือกว่าของคู่ต่อสู้พลิก ผันสถานการณ์ไป ตรงกันข้าม การตีเข่าจึงเป็นศิลปะข้ันสูงอีกอย่างหน่ึงในกีฬามวยไทย การใช้เข่าสามารถกระทาได้ท้ัง สองขา้ งและมีหลายลกั ษณะ หลายวิธี กลา่ วคอื การตเี ขา่ โหน การตีเขา่ โหนสามารถตไี ดด้ ้วยการใช้เข่า ข้างใดข้างหน่ึง ผู้ฝึกควรฝึกฝนจนชานาญเพราะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าคู่ต่อสู้จะเปิดจุดอ่อน ทางด้านใด เข่าตี การใช้เข่าตีเช่นเดียวกับเข่าโหนคือ สามารถตีได้ทั้งสองข้าง หากจะตีเข่าด้านซ้าย จะต้องพยายามโน้มคอคู่ต่อสู้ให้ร่างกายเอียงเข้าหาเข่าซ้ายของผู้ตีให้ได้ การตีเข่าขวาก็เช่นกัน เข่า ลอย เขา่ ลอยเปน็ เข่าทใี่ ชโ้ จมตจี ากระยะหา่ ง โดยไม่ตอ้ งใช้การกอดปล้า หรือโน้มคอคู่ต่อสู้ เข่าลาหรือ เรียกอีกอย่างว่า “เข่าเตะ” จากช่ือเรียกดังกล่าวทาให้สามารถมองเห็นภาพลักษณะของการใช้อาวุธ ชนิดนี้ได้ว่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างการเตะกับการเข่า ซ่ึงสอดคล้องกับคาที่มักเคยได้ยินเสมอ ว่า “คร่ึงแข้งคร่ึงเข่า” น่ังเอง การเข่าลาเป็นอาวุธที่เกิดจากทั้งการเข่าและการเตะ เป็นอาวุธที่สาคญั อีกอย่างหน่ึงในกีฬามวยไทยและมีพิษสงร้ายแรง ทั้งนี้เพราะอวัยวะที่ใช้แทนอาวุธน้ันเป็นส่วนของ รา่ งกายที่มคี วามแข็งแรงและมกี ารเคลื่อนไหวที่ออกแรงได้มากทส่ี ดุ ทักษะการกระโดดเข่าลอย ถือว่าเป็นทักษะท่ีมีความรุนแรงที่สุดของทักษะการใช้เข่า จากที่ ผู้วิจัยได้ดาเนินการสัมภาษณ์นักมวยไทยอาชีพ จานวน 20 คน เพ่ือศึกษาข้อมูลทักษะการใช้เข่าว่า ทักษะการใช่เข่าใดที่มปี ระสิทธภิ าพและความรุนแรงมากที่สุด ซง่ึ ผลการดาเนนิ การสัมภาษณ์จากผู้ให้ ข้อมูลส่วนใหญ่ ให้ข้อมูลตรงกันว่า เข่าลอยเป็นทักษะท่ีมีประสิทธิภาพและความรุนแรงมากที่สุดใน บรรดาทักษะของการใช้เข่าตามลักษณะต่าง ๆ เพราะลักษณะของการใช้เข่าลอยน้ันคือ การกระโดด ขึ้นให้สูงทะยานเข่าพุ่งเข้าหาคู่ต่อสู้ด้วยความเร็วและแรง ลักษณะของการเข่าลอยมีระยะในการ กระโดดส่งแรงท่ีมากกวา่ ซงึ่ แตกต่างจากการใชเ้ ข่าในลกั ษณะอื่น ๆ ที่เป็นการยืนอยู่กับท่ีและเป็นการ ยืนส่งแรงแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นและทักษะการใช้เข่าลอยน้ันเมื่อได้ฝึกฝนจนเกิดความชานาญ ลอยเข่าถือว่าเป็นอาวุธมวยไทยที่มีความรุนแรงเป็นอย่างมากสามารถเอาชนะน็อคคู่ต่อสู้ได้อย่าง ง่ายดาย ถ้าเข่าลอยน้ันถึงเป้าหมายสอดคล้องกับ ผลการชกรุ่งเกียรติ อีมิเน้นท์แอร์ ชนะน็อค ฉลาม ทอง ศิษย์ เสธ.เนตร ยกที่ 1 ด้วยการกระโดดเข่าลอย (อะไลฟ์, 2559) และ อีที ทีเด็ด99 ซัดเข่าลอย

16 เข้าปลายคาง ตีโต้ หอยหวานโภชนา หลับท้ังยืนยกแรก มวยคู่เอก ในศึกท่อน้าไทย ลุมพินี ทีเคโอ (ลุมพินี มวยไทย, 2562) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการได้ให้ความหมายของทักษะการกระโดดเข่า ลอย ไว้ ดังเชน่ อนุวัฒน์ ถืออยู่ (2546, 15) เข่าลอยเป็นอาวุธมวยไทยอีกชนิดหน่ึงที่เป็นศิลปะการต่อสู้ท่ี สวยงามและรา้ ยกาจมาก ควรแก่การอนุรักษแ์ ตป่ จั จุบันหาดูได้ยากมากสาเหตุอาจจะมาจากทาได้ยาก หากไม่ฝึกฝนจนชานาญและจติ ใจท่ีกลา้ หาญเพราะเหตุทาผิดจังหวะก็จะถูกแก้ด้วยอาวธุ มวยไทยจาก คู่ต่อสู้ได้ง่าย วิธีการเข่าลอยมักจะติดพันมาจากการใช้อาวุธมวยไทยอย่างอื่น เช่น เมื่อเตะคู่ต่อสู้ถูก เป้าหมาย คู่ต่อสู้เสียหนักก็จู่โจมเข้า กระโดดโยนเข่าลอยด้วยเท้าท้ังสองข้าง ไปยังเป้าหมายต่าง ๆ เช่น บริเวณปลายคาง หน้าอก ของค่ตู อ่ สู้ สานักงานคณะกรรมการการกีฬามวย ฝา่ ยกฬี าอาชีพและกีฬามวย การกีฬาแหง่ ประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2554, 28) ได้กล่าวถึงการกระโดดเข่าลอยไว้ การกระโดดเข่าลอย หมายถึง การกระโดดข้ึนสูง ทะยานเข่าเข้าหาคู่ต่อสู้ สอดคล้องกับ สานักวรรณกรรมและ ประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร (2553, 180) เข่าลอย คือ การกระโดดตัวลอยสอยเข่าซัดเร่งรัด รุนแรง แกรง่ และสวย ลอยตีเพื่อประสงค์ใหง้ งงวยตัวด้วยท่าขานประสานโรง สาราญ สุขแสวง (2560, 143) เข่าลอย หมายถึง ยกเข่าทาเป็นมุมโดยช้ีปลายเท้าไปทางขา้ ง หลัง แล้วพุ่งเข่าสู่เป้าหมาย และให้เท้าที่เป็นฐานพ้นจากพ้ืนพุ่งตัวไปข้างหน้า เป้าหมายอยู่ท่ีอก ลิ้นป่ี และหน้า จะใช้เท้านาหรือเท้าตามก็ได้ บางคร้ังอาจจะใช้พุ่งเข่าหน้าไปก่อนแล้วตามสลับ เข่าหลังไป เป็นเข่าหน้าและถูกเป้าหมายโดยไม่ให้เท้าตกถึงพื้น สอดคล้องกับ สานักวัฒนธรรม กีฬา และการ ทอ่ งเทีย่ ว กรุงเทพมหานคร (2555, 89) ไดก้ ล่าวถึงการกระโดดเข่าลอยไว้วา่ การกระโดดเข่าลอย คอื การตีเขา่ ขน้ึ ไปตรง ๆ โดยกระโดดตวั ลอยพ้นจากพืน้ เทา้ ที่ยนื เปน็ หลกั จะลอยขึ้นจากพน้ื จากการศึกษาสรุปได้ว่า ทักษะการใช้เข่าเป็นอาวุธมวยไทยที่มีความรุนแรงมากที่สุดเพราะ เป็นการเข่าลอยเป็นทักษะท่ีมีประสิทธิภาพและความรุนแรงมากที่สุดในบรรดาทักษะของการใช้เข่า ตามลักษณะต่าง ๆ เพราะลักษณะของการใช้เข่าลอยน้ันคือ การยกเข่าขึ้นทาให้เป็นมุมโดยการชี้ ปลายเทา้ ช้ีไปข้างหลงั แลว้ กระโดดขนึ้ สงู พุ่งเข่าเขา้ สเู่ ป้าหมายดว้ ยความแรงและเร็วโดยเท้าท้ังสองข้าง ลอยจากพื้น ลักษณะของการเข่าลอยน้ันจะมีระยะในการกระโดดส่งแรงที่มากกว่า ซึ่งแตกต่างจาก การใช้เขา่ ในลกั ษณะอนื่ ๆ ท่เี ปน็ การยนื อย่กู ับท่แี ละเปน็ การยนื สง่ แรงแต่เพียงอย่างเดียวเทา่ นน้ั ระบบกล้ามเนอื้ กล้ามเน้ือ เปน็ สิ่งท่มี สี าคญั สาหรับมนุษย์ในการดาเนินชีวิตประจาวัน เพราะกล้ามเน้ือเป็นสิ่ง ท่ียึดติดกับข้อต่อหรือกระดูกในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายคงรูปร่างสามารถเคลื่อนไหวได้และยังช่วย ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน ช่วยให้อวัยวะภายในต่าง ๆ เช่นหัวใจ ปอด

17 กระเพาะอาหาร ลาไส้เล็ก ลาไส้ใหญ่ หลอดเลือด ทางานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพ เน่ืองจาก การบีบตัวของกล้ามเน้ืออวัยวะ กล้ามเนื้อจึงมีส่วนสาคัญอย่างมากท่ีจะทาให้การประกอบกิจกรรม หรือการทางานต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซ่ึงมีนักวิชาการได้กล่าวถึงระบบกล้ามเน้ือไว้ ดงั เช่น ความหมายของกลา้ มเนอื้ ธวัช วีระศิริวัฒน์ (2537, 27 อ้างถึงใน กษิดิ์เดช เกตุมณี, 2553, 6) กล่าวว่าระบบของ กล้ามเน้ือเป็นระบบท่ีมีสาคัญท่ีทาให้เกิดแรงเพื่อทาให้เกิดการเคล่ือนไหวในร่างกายและยังช่วยให้ ร่างกายเป็นรูปร่างขึ้นมา กล้ามเนื้อในร่างกายคิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ของน้าหนักร่างกายสาหรับเพศ ชาย และ 36 เปอร์เซ็นต์ของน้าหนักร่างกายสาหรับเพศหญิง ซ่ึงกล้ามเน้ือในร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ชนดิ คอื 1. กลา้ มเนอ้ื เรียบ (smooth muscle) กล้ามเนือ้ ชนิดนี้เป็นกล้ามเน้ือของอวัยวะภายใน เชน่ หลอดโลหิต หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลาไส้เลก็ เป็นกลา้ มเนอื้ ที่อยูน่ อกอานาจจติ ใจ ควบคุมโดย ประสาทเสรี (autonomic nervous system) ซงึ่ มศี ูนยก์ ลางควบคุมอยทู่ ี่ visceral motor centers of brain การหดตวั ของกล้ามเน้อื เรยี บหดตวั ได้ช้าและนานแต่บางครั้งกเ็ ป็นจงั หวะ 2. กล้ามเน้ือหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเน้ือพิเศษซึ่งมีอยู่ภายในหัวใจเท่านั้นเป็น กล้ามเนอ้ื ทีอ่ ยู่นอกอานาจจติ ใจ สามารถหดตัวไดเ้ องโดยไม่ตอ้ งมีการกระตนุ้ จากภายนอกเพราะมีเส้น ใยซินซีเตียม (syncytium) ควบคุมอยู่ การทางานของกล้ามเน้ือหัวใจหดตัวเป็นจังหวะโดยการ ควบคมุ ของระบบประสาทเสรี 3. กล้ามเน้ือลาย (striated or skeletal muscle) กล้ามเนื้อชนิดนี้เป็นกล้ามเน้ือที่เห็นอยู่ ทั่วไปในร่างกายมีจานวนทั้งหมด 792 มัด ทางานใต้อานาจจิตใจ ควบคุมการทางานโดยระบบ ประสาทส่วนกลาง กลา้ มเน้อื ลายมักเปน็ กล้ามเนือ้ ท่ตี ดิ อยู่กับกระดูกเพ่ือทาใหเ้ กิดการเคล่ือนไหว โดย ทาหน้าที่เป็นตัวทาให้เกิดแรงร่วมกับกระดูกซึ่งทาหน้าที่เป็นคาน (levers) ซึ่งหมุนรอบจุดศูนย์กลาง และข้อตอ่ ทาหน้าท่ีเป็นจุดหมุน (fulcrum) ซง่ึ สอดคลอ้ งกบั ธงชัย เจริญทรพั ยม์ ณี (2547, 5-9 อา้ งถึง ใน กษดิ ิ์เดช เกตมุ ณี 2553, 7) กลา่ วว่ากล้ามเน้อื ลาย หรือกล้ามเนอ้ื โครงร่างซ่ึงในร่างกายคนเรามีอยู่ 792 มัด (394 คู่กับเศษ 4 มัดที่ไม่เป็นคู่) เป็นกล้ามเนื้อที่บังคับได้หรืออยู่ใต้อานาจจิตใจ 696 มัด (347 คู่กับเศษ 2 มัด) ที่เหลืออกี 96 มัด (47 คู่กับเศษ 2 มดั ) เปน็ กล้ามเนื้อท่ีบังคับไม่ได้เต็มที่ ได้แก่ กลา้ มเนอ้ื ที่เก่ียวกับการหายใจ (respiration) นอกจากน้ียังสามารถแบ่งชนดิ ของเส้นใยกลา้ มเนื้อตาม คุณสมบตั ิทางสรีรวิทยาและชวี ะเคมอี อกได้เป็น 2 ชนดิ ใหญ่ คือ 1. เส้นใยกล้ามเนื้อแดงหรือเส้นใยกล้ามเน้ือชนิดหดตัวช้า (red fiber หรือ slow-twitch หรือ type i)

18 2. เส้นใยกล้ามเน้ือขาวหรือเส้นใยกล้ามเน้ือชนิดหดตัวเร็ว (white fiber หรือ fast-twitch หรอื type ii) ซงึ่ แบ่งไดเ้ ป็น 2 แบบย่อย คือ type iia และ type iib สรปุ จากการศกึ ษา กล้ามเนอ้ื เป็นระบบทีม่ สี าคัญทท่ี าให้เกดิ แรงเพื่อทาให้เกิดการเคล่ือนไหว ในร่างกายและยังช่วยให้ร่างกายเป็นรูปร่างขึ้นมา ซ่ึงกล้ามเนื้อในร่างกายถูกแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเน้ือหัวใจ (cardiac muscle) กล้ามเนื้อลาย (striated or skeletal muscle) กลา้ มเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเน้ือชนิดน้ีเป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะ ภายใน เป็นกล้ามเน้ือที่อยู่นอกอานาจจิตใจ ควบคุมโดยประสาทเสรี กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) เป็นกล้ามเน้ือท่ีมีอยู่ภายในหัวใจเท่านั้นเป็นกลา้ มเน้ือที่อยู่นอกอานาจจติ ใจ สามารถหดตวั ได้เองโดยไม่ต้องมีการกระตุ้นจากภายนอก การทางานของกล้ามเนื้อหัวใจหดตัวเป็นจังหวะโดยการ ควบคุมของระบบประสาทเสรี กล้ามเนื้อลาย (striated or skeletal muscle) กล้ามเน้ือชนิดนี้เป็น กล้ามเนื้อท่ีเห็นอยู่ท่ัวไปในร่างกายมีจานวนทั้งหมด 792 มัด ทางานภายใต้อานาจจิตใจ ควบคุมการ ทางานโดยระบบประสาทส่วนกลาง กล้ามเนื้อลายมักเป็นกล้ามเนื้อท่ีติดอยู่กับกระดูกเพื่อทาให้เกิด การเคล่ือนไหว กล้ามเนื้อจึงมีความสาคัญกับการทากิจกรรมต่าง ๆ หรือการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬา มวยไทย นอกจากกล้ามเนื้อจะมีหน้าท่ีได้การปกป้องอวัยวะภายในแล้ว กล้ามเน้ือลายถือว่าเป็นสิ่งท่ี สาคญั ท่ีจะทาให้นกั มวยไทยมชี ยั ชนะตอ่ คู่ตอ่ สู้ เพราะกลา้ มเนอ้ื ลายมผี ลต่อการออกอาวุธมวยไทยอีกดว้ ย โครงสรา้ งของกลา้ มเนื้อลาย ปฏิยุทธิ์ ศิริสุขโภคา (2558) ได้กล่าวว่า กล้ามเน้ือลาย หรือ กล้ามเน้ือโครงร่าง (striated muscle หรือ skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อท่ีติดกับกระดูกและข้อต่อ ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อลายมีจุดเกาะต้น เรียกว่า origin และจุดเกาะปลาย เรียกว่า insertion จุดเกาะท้ังสอง ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเอ็น (tendon or ligament) ซ่ึงจะเกาะกับกระดูกโดยตรงหรือไม่ก็ได้ ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเน้ือ (muscle fiber) รวมกันอยู่เป็นจานวนมาก การทางานเกิดจากการหด และคลายตัวของกล้ามเน้ือ เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ (voluntary muscle) เชน่ กลา้ มเนอ้ื แขน ขา ลาตัว เปน็ ต้น ประดิษฐ์ เหล่าเนตร์ และณัฐภัสสร เหล่าเนตร์ (2554, 85-86) กล่าวว่ากล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletal muscle) หรือ กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) ทาหน้าที่เคล่ือนไหวโดยตรง เช่น กล้ามเน้ือแขน กล้ามเนื้อขา เม่ือนาเซลล์กล้ามเนื้อมาย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมี ลักษณะเป็นลาย จะมีส่วนท่ีติดสีเข้มและส่วนท่ีติดสีอ่อนสลับกันจึงเห็นเป็นลาย รูปร่างทรงกระบอก ยาว ในเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทางานจะอยู่ในอานาจจิตใจควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system: SNS) ดังน้นั ร่างกายสามารถบงั คับได้หรอื อย่ใู นอานาจจติ ใจ การทางาน ของกล้ามเนื้อยึดกระดูกเพ่ือใหเ้ กิดการเคล่ือนไหวนั้น กล้ามเนือ้ ยึดกระดูกจะทางานเปน็ ค่แู บบสภาวะ

19 ตรงกันข้าม เรียกว่า แอนตาโกนิซึม (antagonism) ดังน้ันเมื่อกล้ามเน้ือด้านหนึ่งหดตัว กล้ามเน้ืออีก ด้านหน่ึงจะคลายตัว การหดตัวของกล้ามเนื้อทาให้เกิดแรงดึงให้กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้ด้วย เน่ืองจากระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกมีเอ็นยึดกระดูก (tendon) ยึดอยู่ เอ็นยึดกระดูกเป็นเน้ือเยื่อ เกี่ยวพันท่ีมีความเหนียวแข็งแรงและทนทานต่อแรงดึงหรือการรองรับน้าหนักกล้า มเนื้อท่ีหดตัวแล้ว ทาให้อวัยวะงอเข้า เรียกว่า กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ (flexor) ส่วนกล้ามเน้ือท่ีหดตัวแล้วทาให้อวัยวะ เหยียดออก เรียกวา่ กล้ามเนอ้ื เอ็กเทนเซอร์ (extensor)เช่นการเคลื่อนไหวของแขนคนโครงสรา้ งของ แขนคนประกอบด้วยกล้ามเนื้อไบเซพ (bicep) และกล้ามเน้ือไตรเซพ (tricep) เมื่อกล้ามเนื้อไบเซพ หดตัว กล้ามเน้ือไตรเซพคลายตัวทาให้แขนงอเข้า แต่ถ้ากล้ามเน้ือไตรเซพหดตัว กล้ามเนื้อไบเซพ คลายตัวแขนจะเหยียดออก ดังนั้นกล้ามเนื้อไบเซพจึงป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ กล้ามเน้ือไตรเซพ จัดเป็นกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ กล้ามเน้ือยึดกระดูกจะมีลักษณะเป็นมัดกล้ามเน้ือ แต่ละมัด ประกอบด้วย ใยกล้ามเน้ือ (muscle fiber) หรือ เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) ภายในเส้นใย กล้ามเน้ือประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก เรียกว่า ไมโอไฟบริล (myofibril) ลักษณะเป็นท่อนยาว เรียงซ้อนกัน เส้นใยกล้ามเน้ือเล็กเหล่าน้ีจะอยู่รวมกันเป็นมัด ในแต่ละไมโอไฟบริล ประกอบด้วยเส้น ใยเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโอฟิลาเมนต์ (myofilament) เม่ือดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็น ลักษณะเป็นลายอย่างชดั เจน และไมโอฟิลาเมนต์ประกอบด้วยใย กล้ามเน้ือขนาดเล็กมากเรยี กว่า ไม โครฟิลาเมนต์ (microfilament) เส้นใยไมโครฟิลาเมนต์จะประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ แอกทิน (actin) และไมโอซิน (myosin) เม่ือย้อมสีจะเห็นลักษณะเป็นแถบลาย ส่วนท่ีติดสีจาง (I-band) จะ เป็นแอกทิน ส่วนท่ีติดสีเข้มจะเป็นไมโอซิน (A-band) ตรงกลางมีแถบสีจางเป็นแนวเล็ก ๆ และเห็น รอยต่อของแอกทิน 2 โมเลกุล มาจรดกันเรียกว่า แถบแซด (Z-band) ช่องระหว่างแถบแซด 2 แถบ เรียกว่า 1 หน่วยกล้ามเนื้อหรือซาโคเมียร์ (sarcomere) ดังน้ันจะสังเกตได้ว่าโปรตีนทั้ง 2 ชนิด เรียง ตัวขนานกันขณะท่ีกล้ามเน้ือหดตัว แอกทินจะเคล่ือนเข้าหากันตรงกลางและการเคล่ือนไหวของ กลา้ มเนื้อยังเก่ียวข้องกับระบบประสาทอีกด้วย สาหรับการหดตัว (contraction) และการคลายตัว (relaxtion) ของกล้ามเน้ือลาย การหด ตัวจะเกิดจากแอกทินเคลื่อนเข้าหากัน และการคลายตัวเกิดจากแอกทินเคลื่อนออกจากกัน โดยที่ ความยาวของ ไมโอซนิ ไม่เปลยี่ นแปลงเม่ือกล้ามเน้ือหดหรือคลายตวั การหดตัวของกลา้ มเน้ือยงั อาศัย แคลเซียมไอออน (Ca2+) และพลังงานจากสารพลังงานสูง (ATP) ที่ได้จากกระบวนการหายใจ พลังงาน ATP จะสลายตัวในขณะกล้ามเนื้อหดตัว จึงทาให้เกิดการเคลื่อนไหวทันที การท่ีกล้ามเน้ือ ทางานอย่างหนักหรือออกกาลังกายอย่างหนัก เช่น การเล่นฟุตบอลจนเกิดตะคริว ทาให้กล้ามเน้ือ ขาดออกซิเจนจงึ สะสมกรดแลกตกิ (lactic acid) มากข้นึ ทาให้กล้ามเน้อื เมือ่ ยล้าได้ สรุปจากการศึกษา โครงสร้างของกลา้ มเนื้อลาย ประกอบดว้ ยเสน้ ใยเลก็ ๆ ท่หี ดตัวได้เปน็ พัน ๆ เส้น โดยมเี น้ือเยื่อเก่ยี วพันห่อห้มุ เนอ้ื เยือ่ เก่ยี วพนั ท่ีห่อหมุ้ เส้นใยหรือเซลล์กลา้ มเนื้อเรียกว่า เอ็นโด

20 ไมเซียม (Endomysium) และโครงสร้างของมัดกล้ามเน้ือทั้งมัดจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันปกคลุมอยู่อีก ช้ันหน่ึงเรียกว่า เอพิไมเซียม (epimysium) ในมัดกล้ามเนื้อจะประกอบด้วยเน้ือเย่ือเกี่ยวพัน ประสานกันเป็นร่างแห และจะรวมกันเป็นเอ็นกล้ามเน้ือ (tendon) ตรงปลายมัดเพ่ือยึดเกาะกับ กระดูก โดยทีก่ ลา้ มเน้อื ลายไม่ได้ไปเกาะกับกระดกู โดยตรง แตจ่ ะเกาะทีเ่ ย่ือหุม้ กระดูก (periosteum) ชนิดการหดตัวของกล้ามเนือ้ ชาญชัย ยมดิษฐ์ และ วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต (2555, 11-12) กล่าวว่า ในการฝึกกีฬาหรือ การออกกาลังกายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตาม กล้ามเน้ือจะทางาน (หดตัว) ในรูปแบบท่ีแตกต่าง กัน กล้ามเน้ือจะมีความสามารถในการหดตัว (ทางาน) ท้ังหดตัวส้ันเข้า (shorten) ยาวออก (lengthen) หรือคงรักษาความยาวไว้ในขณะท่ีมันกาลังหดตัว ซึ่งแบ่งลักษณะการทางานของ กลา้ มเนอ้ื ไดเ้ ป็น 4 ชนิด ไดแ้ ก่ 1. การหดตัวคอนเซนตรคิ (concentric contraction) การทางานของกล้ามเน้ือในรูปแบบน้ี จะพบเห็นทวั่ ไป กลา้ มเนือ้ มีการเปล่ียนแปลงความยาว และหดสนั้ เขา้ จากภาพท่ี 7 A การหดตัวคอน เซนตริคโดยยกดัมเบลล์ขึ้นจากตาแหน่งเหยียดข้อศอกมาเป็นงอพับ แรงของกล้ามเนื้อมีมากกว่าแรง ต้านภายนอก จึงเป็นสาเหตุทาให้กล้ามเน้ือหดส้ันเข้าอย่างแท้จริง เช่น ท่าฝึก Biceps Curl คาว่า “Concentric” จึงมักจะอธิบายกระบวนการดังกล่าวน้ีการหดตัวคอนเซนตริคจะทาให้แรงตึงของ กลา้ มเนื้อลดลง 2. การหดตัวอิคเซนตริค (eccentric contraction หรือ lengthening, stretching และ plyometric) เกิดขึ้นเมื่อแรงต้านภายนอกจะมีมากกว่าแรงกล้ามเน้ือ กล้ามเนื้อยืดยาวออกหรือเพ่ิม ความยาว ในขณะเดียวกันจะพัฒนาความตึงของกล้ามเน้ือ เมื่อค่อย ๆ เหยียดข้อศอกออกเพื่อ ผ่อนดัมเบลล์ลงอย่างช้า ๆ เป็นการต่อต้านแรงดึงดูดของโลก กล้ามเน้ือแขนส่วนบนจึงเพิ่มความยาว เป็นการยับย้ังหรือเป็นการเบรก (brake) เพื่อท่ีจะป้องกันไม่ให้น้าหนัก หรือ ดัมเบลล์ตกหล่นหรือ กระแทกลงส่พู น้ื เชน่ ท่าฝกึ biceps curl อนึ่ง การหดตัวอิคเซนตริคจะเป็นสาเหตุหลักของการฉีกขาดเลก็ ๆ น้อย ๆ ของใยกล้ามเนือ้ ซง่ึ จะทาให้เกิดการระบม ของกล้ามเนอื้ และการบาดเจบ็ ซง่ึ มมี ากกว่าการหดตัวคอนเซนตริค 3. การหดตัวไอโซเมตริค (isometric contraction หรือ static) เกิดข้ึนเมื่อกล้ามเนื้อ พยายามท่ีหดตัวส้ันเข้าแต่ไม่สามารถเอาชนะแรงต้านภายนอกได้ ความยาวหรือหดส้ันของกล้ามเน้อื จึงไม่เปล่ียนแปลงและไม่มีการเคลอื่ นไหวของข้อตอ่ ในขณะเดียวกันทาให้เกิดความเหน่อื ย (fatigue) เร็วท่ีสดุ เพราะมนั ไปการปดิ ก้นั การไหลของหลอดเลือดที่ไปเลยี้ งกล้ามเนื้อลดลง (หลอดเลอื ดถูกบบี ตัว ในระหว่างท่ีมกี ารหดตวั ไอโซเมตรคิ )

21 4. การหดตัวไอโซไคเนติค (isokinetic contraction) เป็นการฝึกท่ีกล้ามเนื้อหดตัวด้วย ความเรว็ คงท่ีและสม่าเสมอตลอดช่วงการเคล่ือนไหวในมุมตา่ ง ๆ ของแขนและขา ซ่งึ ตอ้ งใชเ้ ครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษราคาแพง กล้ามเนื้อจะออกแรงได้สูงสุดตลอดมุมการเคลื่อนไหว (range of motion) รวมทั้งควบคมุ ความเร็วในการเคลื่อนไหว ในขณะที่กล้ามเน้ือหดตัวส้นั เข้าด้วยความเรว็ ท่ีกาหนด การ สนับสนุนการฝึกไอโซไคเนติคที่จะทาให้กล้ามเน้ือออกแรงสูงสุดตลอดมุมการเคล่ือนไหวเพื่อพัฒนา ความแข็งแรงท่ีดีเย่ียมน้ันยังเป็นท่ีถกเถียงกันอยู่ ซ่ึง ชาร์คกี้และแกสกิล (Sharkey & Gaskill, 2007 อ้างถึงใน ชาญชัย ยมดิษฐ์, และ วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต, 2555, 11) รายงานว่า ยังไม่ชัดเจน ว่ามี การเพ่ิมความแข็งแรงออกไปอีกจากการที่ให้กล้ามเน้ือทางานตลอดมุมการเคลื่อนไหวนั้น จะมี ความสัมพันธ์กับสมรรถภาพ อย่างไรก็ตาม การวัดผลความแข็งแรงของกล้ามเน้ือด้วยวิธีการไอโซไค เนตคิ นนั้ เปน็ ท่นี ิยมในทางคลินกิ และการฟืน้ ฟสู มรรถภาพ (clinical and rehabilitation) ผเู้ ชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์การกีฬาใช้ในการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าและงอเข่า พลัง กล้ามเน้ือ และความทนทานโดยใช้เครื่องมอื ไอโซไคเนติคเพ่ือที่จะฟ้ืนฟูสมรรถภาพนักกีฬาหลงั จากท่ี ไดผ้ า่ นการผ่าตดั เขา่ (knee surgery) แลว้ ศัพท์คาว่า “ไอโซโทนคิ (isotonic)” โดยท่วั ไปแล้วเป็นการ อธบิ ายถึงการหดตัวของกล้ามเนื้อท้ังคอนเซนตริคและอิคเซนตริคเพราะการเคลื่อนไหวเกิดขนึ้ ในกรณี ดังกล่าว isotonic มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า isotonos คาว่า “iso” มีความหมายว่า เท่ากัน ส่วนคาว่า “tonos” มคี วามหมายวา่ ความตึง หรือ ทาให้ตงึ เครยี ด ดังนนั้ ตามความเป็นจริงจงึ ไมค่ วร นามาใช้กับการหดตัวของกล้ามเนื้อชนิดไดนามิค (dynamic contraction) ท่ีเก่ียวข้องกับการ เคลือ่ นไหวท่ีแรงของกล้ามเน้ือจะแตกตา่ งกันตามการเปลยี่ นแปลงของมุมข้อต่อ ด้วยเหตนุ ้ี แรงท่ผี ลิต ออกมาจึงไม่คงที่และไม่เท่ากันตลอดช่วงหรือมุมการเคล่ือนไหว ทั้งนี้ กิสเนอร์และโคลบ้ี (Kisner & Colby, 2002, 863) ให้ความเห็นวา่ ไดนามิคจะมคี วามหมายท่ีเหมาะสมและสอดคล้องกับการทางาน ของกล้ามเนื้อมากกว่าไอโซโทนิค dynamic constant external resistance (dcer) เก่ียวข้องกับ การฝึกแรงต้านท่ีใช้แรงต้านภายนอกหรือน้าหนักที่ไม่เปล่ียนแปลงจากการยกขึ้น (concentric) และ ผ่อนน้าหนักลง (eccentric) ในแต่ละเท่ียว dcer จึงมีความหมายว่า น้าหนักหรือแรงต้านภายนอกท่ี ยังคงท่ีหรอื ไม่เปลยี่ นแปลงตลอดช่วงการเคลอ่ื นไหว (mcadle et al. 2000) จากการศึกษาชนิดการหดตัวของกล้ามเนื้อทาให้พอสรุปได้ว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อแบ่ง ออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ และ 4 ชนิดย่อย คือ 1) การหดตัวแบบสถิตหรือเกร็งนิ่ง (static หรือ isometric contraction) 2) การหดตัวแบบพลวตั (dynamic contraction) แบ่งย่อยออกเป็น ไอโซ โทนิค คอนแทรกช่ัน (isotonic contraction) และไอโซคิเนติค คอนแทรกช่ัน ( isokinetic contraction) การหดตัวแบบ ไอโซโทนิค ซ่ึงแบ่งออกได้อีกเป็นคอนเซนทริค คอนแทรกช่ัน (concentric contraction) และ เอคเซนทรคิ คอนแทรกชน่ั (eccentric contraction)

22 หน้าทก่ี ารทางานของกล้ามเนอื้ ชาญชัย ยมดิษฐ์ และ วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต (2555, 5) ได้กล่าวถึง หน้าท่ีการทางานของ กลา้ มเน้ือ ว่า หนา้ ท่สี าคัญของระบบกลา้ มเนื้อ คือ ทาให้เกดิ การเคล่ือนไหว นอกจากน้นั กล้ามเน้ือยัง ผลิตความร้อนเป็นที่ยึดเกาะและรักษาท่าทาง และยังป้องกันอวัยวะบางส่วนจากแรงต้านภายนอก สามารถแยกออกเปน็ ขอ้ ๆ ได้ดงั นี้ 1. การเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อทุกมัดมีความสามารถในการหดตัว หน้าท่ีหลักของกล้ามเน้ือคอื ขยับหรือดึงกระดูกให้เกิดการเคลื่อนไหวและบางคร้งั ก็ดึงเน้อื เยื่อเก่ียวพัน เช่น ในการว่ิงกล้ามเน้ืองอ สะโพกจะดงึ กระดูกต้นขา (femur) เพื่อยกขาขน้ึ ในขณะที่ขาขา้ งหนึ่งเม่ือลงสมั ผัสพ้ืนกลา้ มเน้ือต้นขา ดา้ นหน้าจะหดตวั เพ่ือเพือ่ ดงึ กระดกู หนา้ แขง้ (tibia) เพอื่ ใหข้ าเหยียดตรง 2. ผลิตความร้อน อุณหภูมิของร่างกายในภาวะปกติและช่วงความปลอดภัยอยู่ระหว่าง 96.8–98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (F๐) เมือ่ กลา้ มเน้อื หดตวั ก็จะปลอ่ ยความร้อนออกมา เพ่ือรกั ษาอุณหภูมิ แกนของร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ตัวอย่างเช่น เม่ือเรามีอาการสั่นจากความหนาวเย็นก็จะ เกิดปฏิกิริยาทางเคมีโดยอัตโนมัติ จะปลดปล่อยความร้อนออกมาเพื่อทาให้ร่างกายอุ่น เป็นวิธีการที่ รา่ งกายใช้แก้ปัญหาชวั่ คราวท่จี ะต่อส้กู ับความหนาวเยน็ 3. เพ่ือค้าจุนพยุงโครงร่างและท่าทาง กล้ามเน้ือสนับสนุนและรักษาท่าทางของร่างกายใน ภาวะตัวตงั้ ตรงเพ่ือต่อตา้ นแรงโน้มถ่วงของโลก และทาใหข้ อ้ ต่อของรา่ งกายมีความม่นั คง แมว้ ่าระบบ โครงร่างมีเพียงกระดูก ข้อต่อ กระดูกอ่อน (cartilage) และเอ็นยึดกระดูก แต่ในขณะท่ีเรายืนอยู่นั้น กล้ามเน้ือยังคงหดตัวอยู่เพ่ือยึดโครงร่างให้มีการทรงตัว เราไม่มีทางทรงร่างกายอยู่ได้แม้เพียงวินาที เดียว หากปราศจากเอ็นกล้ามเน้ือ และเอ็นกระดูก ที่เท้าและแผ่นหลงั ซ่ึงประกอบกันเป็นโครงข่ายที่ ชว่ ยยึดร้ังรา่ งกาย ใหร้ ่างกายทรงตัวอยู่ได้และมั่นคง 4. การป้องกนั กล้ามเนือ้ จะชว่ ยปอ้ งกนั โครงสร้างท่ีอยู่ลึกลงไปในรา่ งกาย อวยั วะและกระดูก อาจได้รบั บาดเจ็บและบอบช้ามากกวา่ หากไมม่ ีกล้ามเนอ้ื อยลู่ ้อมรอบ สรุปจากการศึกษา หน้าท่ีการทางานของกล้ามเน้ือ มีการแบ่งหน้าที่การทางานหลัก ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มกล้ามเน้ือท่ีทาหน้าที่เคล่ือนไหวข้อต่อ 2) กลุ่มกล้ามเนื้อมัดตรงข้าม 3) กลมุ่ กลา้ มเนื้อทอ่ี ยรู่ อบ ๆ ขอ้ ต่อ 4) กลุม่ กล้ามเนอื้ ท่ที าหน้าทีช่ ่วยเหลอื ความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่มีความสาคัญสาหรับมนุษย์ในการดาเนินชีวติ ประจาวัน หากผู้ใดที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท่ีน้อยก็อาจจะทาให้การประกอบกิจกรรมหรือการทางาน ทา ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพซ่ึงจะแตกต่างจากผู้ท่ีมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท่ีดีจะสามารถทา กิจกรรมหรืองานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ีมากกว่าและดีกว่า เพราะความแข็งแรงของ

23 กล้ามเน้ือเป็นองค์ประกอบสาคัญในการเคล่ือนไหวของร่างกายได้อย่างรวดเร็วซึ่งมีนักวิชาการได้ กลา่ วถงึ ความแข็งแรงของกลา้ มเนื้อและความหมายไว้ ดังน้ี ความแขง็ แรงของกลา้ มเนื้อ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของสมรรถภาพทางกายทีม่ ีความสาคัญ ในการเคล่ือนไหวร่างกาย เป็นพื้นฐานของการพัฒนาต่อยอดความสามารถด้านอื่น ๆ ของนักกีฬา สนธยา สีละมาด (2551, 223-225) กล่าวถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในทางสรีรวิทยาว่าหมายถึง ความสามารถของระบบประสาทกล้ามเน้ือ (Neuromuscular) ท่ีสามารถเอาชนะแรงต้านทั้งจาก ภายนอกและภายใน การที่นักกีฬาจะแสดงความแข็งแรงสูงสุดออกมาได้นั้นจะต้องข้ึนอยู่กับ คุณลักษณะทางชีวกลศาสตร์ของการเคล่ือนไหว เช่น คาน กลุ่มกล้ามเนื้อท่ีเกี่ยวข้อง และจานวนใน การหดตัวของกล้ามเน้ือที่เกี่ยวข้อง อีกท้ังยังขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสประสาทท่ีกระตุ้น กล้ามเนื้อ อันเกิดขึ้นมาจากจานวนของหน่วยยนต์ท่ีระดมมาใช้งานและความถ่ีในการกระตุ้น ซึ่งจะ สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ตามความหนักในการออกกาลังกาย สอดคล้องกับ กรมพลศึกษา (2543, 18) ได้อธิบายความหมายของความแขง็ แรงกล้ามเนื้อ (muscular sterngth) เพ่มิ เตมิ ว่าเปน็ ความสามารถ ในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อทางานอย่างใดอย่างหน่ึงได้อย่างเต็มที่ในระยะเวลาใดเวลาหน่ึง โดย กล้ามเน้ือส่วนใดส่วนหน่ึง หรือกล้ามเนื้อของร่างกายหลายส่วน ทางานรวมกัน เช่น ความสามารถใน การบบี มือ ความสามารถในการยกน้าหนัก ความสามารถในการดึงไดนาโมมิเตอร์ เป็นตน้ และ วัชระ สอนดี (2551, 9) กล่าวถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อว่าเป็นความสามารถของกล้ามเนื้อในการออก แรงต้านแรงกระทาจากภายนอกหรือการเคล่ือนไหวร่างกาย เช่น การยกน้าหนัก และการกระโดด เปน็ ตน้ ความแข็งแรงของกลา้ มเน้ือเป็นหน่ึงในสมรรถภาพทางกลไกทสี่ ง่ ผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพ ทางกลไกดา้ นอืน่ ๆ และเปน็ พื้นฐานในการฝกึ แบบเฉพาะเจาะจงกบั แต่ละชนิดกีฬา เช่น การฝึกความ แขง็ แรงแบบรวดเรว็ (speed strength) การฝกึ พลงั ของกล้ามเนอื้ (muscular power) เป็นต้น ดงั นั้นการฝึกความแขง็ แรงของกล้ามเนื้อจึงมผี ลต่อการพัฒนาการเคลอื่ นไหวของร่างกายให้มี ความใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬาของนักกีฬาส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพมากย่ิงขึ้น ธีระศักดิ์ อาภาวัฒนาสกุล (2552, 25) ได้ให้ความหมายของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (muscular sterngth) ว่าคือ ความสามารถสูงสุดของกล้ามเนื้อในการพยายามออกแรงโดยการวัดหาค่าว่า กลา้ มเนอ้ื หรือกลมุ่ กลา้ มเน้อื นนั้ จะสามารถหดตวั ทางาน 1 ครัง้ ได้แรงสูงสดุ มากเท่าใด ซึ่งความหมาย ในการปฏิบัติ คือ กล้ามเน้ือแต่ละแห่งจะสามารถยกน้าหนักได้มากที่สุดเท่าใด ซ่ึงความหมายในทาง ปฏิบัติ คอื กลา้ มเน้อื แต่ละแห่งจะสามารถยกน้าหนักได้มากที่สุดเท่าใดจากการพยายามใช้แรงในการ ยกขึน้ ไดเ้ พยี ง 1 ครง้ั เท่านัน้ บุคคลท่ัวไปก็จาเปน็ จะต้องมีความแขง็ แรงของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับหน่ึง ท่ีมากพอสาหรับการปฏบิ ัติงานในชีวติ ประจาวนั ได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ เชน่ การยกสง่ิ ของที่มีน้าหนัก มาก การเคล่ือนย้ายเคร่ืองเรือนที่มีขนาดใหญ่และหนักมาก ๆ หรือแม้แต่การช่วยให้สามารถควบคุม น้าหนักตัวที่เหมาะสมได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือยังเป็นสิ่งสาคัญต่อการ

24 ประกอบกิจกรรมทางการกีฬาเกือบทุกชนิดอีกด้วย เช่น กีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล และกรีฑาทั้ง ประเภทลู่และลาน จะมีความต้องการความแข็งแรงของกล้ามเน้ือในระดับสูง ซ่ึงการฝึกด้วยน้าหนัก (weight training) จะเป็นการฝึกที่ได้ผลดใี นการชว่ ยเพม่ิ ขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนอ้ื จากการศึกษาสรุปได้ว่า ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือ คือ ความสามารถสูงสุดของกล้ามเนื้อ ในการพยายามออกแรงให้ได้มากที่สุดในคร้ังเดียว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นหน่ึงใน ส่วนประกอบของสมรรถภาพทางกายท่ีมีความสาคัญในการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นพื้นฐานของการ พัฒนาต่อยอดความสามารถดา้ นอนื่ ๆ ของนักกีฬา คณุ สมบัติของกล้ามเนอ้ื จตั วา อรจลุ (2555) ไดก้ ลา่ วถึง คณุ สมบตั ขิ องกล้ามเน้อื ไวด้ ังน้ี 1. มีความรู้สึกต่อส่ิงเร้า (irritability) คือ สามารถรับ stimuli และตอบสนองต่อ stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเน้ือ เช่น กระแสประสาทท่ีกล้ามเน้ือเวลาท่ีจับโดนความร้อนหรือ กระแสไฟฟา้ เรามกั มกี ารหนหี รือหลบเลย่ี ง 2. มีความสามารถท่ีจะหดตัวได้ (contractelity) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปล่ียนรูปร่างให้ส้ัน หนา และแขง็ ได้ 3. มีความสามารถทีจ่ ะหยอ่ นตัวหรือยดื ตวั ได้ (extensibility) กล้ามเนื้อสามารถ ที่จะเปลย่ี น รูปร่างให้ยาวข้ึนกว่าความยาวปกติของมันได้ เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เปน็ ตน้ 4. มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (elasticity) คือ มีคุณสมบัติท่ีเตรียมพร้อมที่จะกลับคืนสู่สภาพ เดมิ ได้ ภายหลังการถกู ยืดออกแล้ว ซงึ่ คุณสมบตั นิ ้ที าใหเ้ กิด muscle tone ขนึ้ 5. มีความสามารถท่ีจะดารงคงที่อยู่ได้ (tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัวบ้างเล็กน้อย เพื่อ เตรยี มพรอ้ มที่จะทางานอย่เู สมอ ทรปู ลูกปัญญา (2558) ไดก้ ลา่ ววา่ กลา้ มเนอ้ื มคี ณุ สมบตั ิทสี่ าคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. Extensibility เป็นความสามารถในการยืดตวั ถ้ากล้ามเนื้อไม่มีความสามารถในการยดื จะ สง่ ผลให้ความสามารถในการเคล่ือนไหวของมมุ ข้อตอ่ ลดลงดว้ ย 2. Elasticity เป็นความสามารถที่คืนกลบั สู่สภาวะความยาวปกติขณะพักทันทีที่กล้ามเน้ือถูก ยดื ออก 3. Excitability เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อส่ิงเร้าท่ีมากระตุ้นจากระบบประสาท และฮอร์โมน 4. Contractility เป็นความสามารถในการหดตัว ซึ่งเป็นคุณภาพของกล้ามเนื้ออย่างแท้จริง เม่ือไดร้ บั สิ่งที่มากระตุน้ กลา้ มเน้อื กส็ ามารถตอบสนองโดยการหดตัว

25 สรุปจากการศึกษา การทางานของกล้ามเน้ือ มีการแบ่งหน้าที่การทางานหลัก ๆ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มกล้ามเน้ือท่ีทาหน้าท่ีในการยืดตัว 2) กลุ่มกล้ามเนื้อท่ีสามารถคืนกลับสู่สภาวะ ความยาวปกติขณะพักทันทีท่ีกล้ามเนื้อถูกยืดออก 3) กลุ่มกล้ามเน้ือท่ีสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้า และ 4) กลุ่มกลา้ มเนอ้ื ท่ที าหน้าท่ีหดตัว หลักและทฤษฎีการฝึกแบบพลยั โอเมตรกิ ในปัจจุบันการฝึกแบบพลัยโอเมตริกเป็นการฝึกพลังของกล้ามเน้ือในรูปแบบหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมและมีการนาไปประยุกต์ใช้ฝึกให้กับนักกีฬาในกีฬาต่าง ๆ ซึ่งมีนักวิชาการได้กล่าวและให้ ความหมายเกยี่ วกบั หลกั และทฤษฎีการฝกึ แบบพลยั โอเมตรกิ ไว้ ดังน้ี ความหมายของการฝกึ แบบพลยั โอเมตริก แรดคลิฟ และฟาเรนติโนส (Radcliffe & Farentinos, 1985, 30-31 อ้างถึงใน กษิด์ิเดช เกตุมณี, 2553, 12) กล่าวว่า พลัยโอเมตริกมาจากภาษากรีก ในคาที่ว่า เพลไทยิน (pleythyin) ซึ่ง หมายถึง การแผ่ ขยาย การบวก (augment) หรือการเพ่ิมขึ้น (increase) หรือมาจากรากศัพท์ภาษา กรีกที่ว่า plio หมายถึง เพ่ิมข้ึน มากขึ้นอีก (more) รวมกับคาว่า metric ซึ่งหมายถึง การวัดขนาด หรอื ระยะ (measure) ชู และพลัมเมอร์ (Chu & Plummer, 1984, 30-31 อา้ งถึงใน กษิดเิ์ ดช เกตุมณี, 2553, 12- 13) ได้ให้ความหมายพลัยโอเมตรกิ ว่าเป็นการออกกาลงั กายที่มีจุดมุ่งหมายในการนาเอาความแข็งแรง (strength) กับความเร็วของการเคลื่อนไหว (speed) เพื่อทาให้เกิดการเคล่ือนไหวท่ีรวดเร็วให้มาก ท่ีสุด นอกจากน้ีแล้วการฝึกแบบพลัยโอเมตริกยังเป็นการฝึกท่ีสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อเข้าสู่จุดสูงสุด ของความแข็งแรงในระยะเวลาอันสั้นเท่าที่จะกระทาได้ และยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดต่อการท่ีจะ พัฒนาให้เกิดพลังระเบิด (explosive power) ซ่ึงมีความจาเป็นต่อนักกีฬาท่ีมีกิจกรรม กระโดด (jumping) การยก (lifting) และการขว้าง (throwing) รวมถงึ การออกกาลังกายในรูปแบบอ่ืน ๆ ท่ีใช้ ปฏกิ ริ ิยาสะท้อนแบบยดื เหยียด (stretch reflex) เพือ่ ก่อให้เกิดแรงปฏิกิรยิ าโตต้ อบอย่างรวดเร็ว สนธยา สีละมาด (2551, 306-308) กล่าวว่า พลัยโอเมตริกมีพ้ืนฐานมาจากการยืดออก - การหดส้ันเขา้ (strech-shortening cycle) หรอื รเี ฟลก็ ซ์ยดื (stretch reflex) ซึ่งกลา้ มเนอื้ จะมีการ หดตัวแบบยืดยาวออก (eccentric ) และตามด้วยการหดตัวแบบหดสั้นเข้า (concentric) อย่าง ฉับพลัน ตามหลักสรีรวิทยาได้มีการแสดงให้เห็นว่ากล้ามเน้ือท่ีมีการยืดยาวออกก่อนที่จะหดตัวจะ สามารถหดตวั ได้อย่างเต็มกาลงั และรวดเร็วมาก การทางานแบบยืดยาวออกอย่างรวดเรว็ การลดลง ของอัตราความเร็วของร่างกายอย่างรวดเร็ว (หดตัวแบบเอกเซนตริก) และตามด้วยการเพ่ิมข้ึนอย่าง รวดเรว็ ของอตั ราความเรว็ (หดตัวแบบคอนเซนตรกิ ) ในทิศทางตรงกันข้ามผลของการทางานแบบยืด

26 ยาวออกอย่างเร็ว จะก่อให้เกิดรีเฟล็กซ์ยืด หรือวงจรการยืดออก-การหดส้ันเข้า ซ่ึงเป็นผลทาให้ กลา้ มเน้อื มกี ารหดสนั้ เข้าอยา่ งเต็มกาลงั และรวดเรว็ มาก ธนาคาร เสถียรพูนสุข (2560, 29) ได้ให้ความหมาย พลัยโอเมตริก คือ พลัยโอเมตริก หมายถึง การฝึกหัด หรือการออกกาลังกายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงความแข็งแรงกับความเร็ว ของการเคล่ือนไหวเพื่อทาให้เกิดประเภทของการเคลื่อนไหวแบบรวดเร็วมักใช้การฝึกกระโดด (depth jump) แตพ่ ลยั โอเมตริกอาจรวมถงึ การฝกึ หรอื การออกกาลังกายแบบใด ๆ ก็ไดท้ ่ีใช้ปฏกิ ิริยา สะท้อนแบบยืด-เหยียด (stretch reflex) เพ่ือผลิตแรงปฏิกิริยาหรือแรงโต้ตอบอย่างรวดเร็ว “การ ออกกาลังกายแบบพลัยโอเมตริกมีรากฐานมาจากความเช่ือที่ว่าการเหยียดออกอย่างรวดเร็วของ กล้ามเนื้อก่อนการหดตัว จะทาให้เกิดผลต่อการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างแรงมากย่ิงขึ้น การที่ กล้ามเนือ้ เหยยี ดตัวออกเรว็ มากเทา่ ใด กย็ งิ่ มีการพฒั นาแรงหดตัวของการหดสั้นเขา้ ทันทีได้มากย่ิงข้ึน เทา่ นนั้ ” การเพ่ิมความแข็งแรงในการหดตวั ของกล้ามเนื้อ ซ่ึงมีความเหน็ วา่ การเกิดมาจากการยืดของ กล้ามเนื้อสปินเดิล (spindle) ซึ่งเก่ียวข้องกับปฏิกิริยาประสาทสัมผัสของกล้ามเน้ือเรียกว่า มัยโอเท ตกิ รีเฟลก็ ซ์ (myotatic reflex) และนาไปส่กู ารเพิ่มความถ่ีของการกระตุ้นหน่วยยนต์ (moter unit) เจริญ กระบวนรัตน์ (2561, 336-337) กล่าวว่า การฝึกแบบพลัยโอเมตริกหมายถึง รากฐาน ท่ีมาของคาว่า พลัยโอเมตริก (plyo metrics) มาจากคาในภาษากรีกคือ “pleythyein” แปลว่า เพิ่มข้ึน (augment to increase) หรือมาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า “Plio” หมายถึง เพ่ิมข้ึนหรือ มากข้นึ อกี (more) “metric” หมายถงึ การวดั ขนาดหรือระยะ (measure) (Chu, 1983, Gambetta, 1981 & Wilt & Ecker, 1970 อ้างถึงใน เจริญ กระบวนรัตน์, 2561, 336) ดังนั้น การออกกาลังกาย หรือการฝึกพลยั โอเมตริก (plyometric exercises) จงึ หมายถึงการออกกาลังกายหรอื การฝึกร่างกาย ซึ่งรวมไว้ซึ่งกาลังความแข็งแรง และความรวดเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อก่อให้เกิดปฏิกิริยา การเคลื่อนไหวท่ีรวดเร็วฉับไว (Dintimin & Ward, 1998 และ Jacoby & Fraley, 1995 อ้างถึงใน เจริญ กระบวนรัตน์, 2561, 336-337) ซึ่งการปฏิบัติทักษะและการเคลื่อนไหวของนักกีฬาหลาย ประเภท จะสามารถเคลอื่ นไหวและปฏิบตั เิ ทคนิคทักษะกีฬาได้สมบูรณแ์ บบย่งิ ขึ้น (more skill fully) ต่อเม่ือนกั กีฬาเหล่านน้ั ตอ้ งได้รับการฝึกกาลัง (power) ซง่ึ มีองค์ประกอบคอื ความแข็งแรง (strength) และความรวดเร็ว (speed) ดว้ ยเหตนุ ้ี พลัยโอเมตริก (plyometrics) จงึ เปน็ หนง่ึ ในวิธีการที่ได้รับการ ยอมรับว่าดีท่ีสุดในการพัฒนากาลังระเบิด (explosive power) ให้กับกีฬาหลายประเภท เช่น วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ฟตุ บอล แฮนด์บอล เซปักตะกรอ้ ฮอกก้ี เทนนสิ แบดมินตนั เทเบลิ เทนนสิ กระโดดน้า ว่ายน้า ยูโด โบว์ล่ิง กอล์ฟ ยกน้าหนัก ดาบสากล มวย มวยปล้า เทควันโด ว่ิงระยะสั้น และยมิ นาสตกิ เป็นต้น

27 จากการศึกษาทฤษฎีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกสรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริกเป็นการออก กาลังกาย รวมความแข็งแรงและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเน้ือ เพ่ือการเคล่ือนไหวที่รวดเร็ว ลกั ษณะในการฝึก เชน่ การกระโดด หรือการเขย่ง เปน็ ต้น จดุ มุ่งหมายของการฝกึ พลยั โอเมตรกิ เจริญ กระบวนรัตน์ (2561, 339) ได้กล่าวไว้ว่า จุดมุ่งหมายหรือเหตุผลหลักที่สาคัญในการ นารูปแบบพลัยโอเมตริกมาใช้ในการฝึก คือ การกระตุ้นปฏิกิริยาการทางานของระบบประสาท กลา้ มเน้ือ (neuromuscular system) (Chu, 1983 อ้างถงึ ใน เจรญิ กระบวนรตั น์, 2561, 339) หรือ ระบบประสาทกลไกท่ีทาหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายหรือกล้ามเนื้อ (moter units) ให้ สามารถทางานหรือรับรู้ส่ังงานได้รวดเร็วย่ิงข้ึน โดยเฉพาะความสามารถในการยืดเหยียดตัวของ กลา้ มเนอ้ื ทรี่ วดเรว็ กอ่ นทจ่ี ะหดตัว (Kiraly & Shewman 1999) ข้ันตอนการทางานของกล้ามเนอื้ ในการฝึกแบบพลัยโอเมตริก เจริญ กระบวนรัตน์ (2561, 339-340) กลา่ วถงึ ข้นั ตอนการปฏบิ ตั ิในการฝกึ แบบพลยั โอเมติก มีวงจรการทางานของกล้ามเน้ือ โดยเร่ิมจากการยืดเหยียดออกและหดส้ันเข้า (stretch-shortening cycle) โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังต่อไปน้ี (Wilk et al, 1996 และ Baechle & Earle, 2008 อา้ งถึงใน เจรญิ กระบวนรตั น์, 2561, 339) ระยะท่ี 1 กล้ามเนื้อส่วนท่ีใช้ออกแรงในการเคล่ือนไหวยืดเหยียดตัวออกเพ่ือสะสมพลังงาน ศักย์หรือแรงไว้ในกล้ามเนื้อ ก่อนท่ีจะหดตัวเพื่อปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหว ระยะดังกล่าวนี้เรียกว่า amortization phase หากการเคลื่อนไหวในช่วงยืดเหยียดตัวออกของกล้ามเน้ือ (eccentric contraction) น้ีใช้ระเวลายาวนานมากเท่าใด การสูญเสียกาลังในการหดตัวของกล้ามเน้ือ (concentric contraction) ก็จะเกิดขึ้นมากเท่าน้ัน (Bompa, 1999 อ้างถึงใน เจริญ กระบวนรัตน์, 2561, 339) ดังน้ัน ข้อต่อส่วนที่เก่ียวข้องกับกล้ามเนื้อท่ีทาหน้าที่ออกแรงเพื่อการเคล่ือนไหวในการ กระโดด ไม่ว่าจะเปน็ ขอ้ เทา้ เขา่ และสะโพก จะต้องงอและเหยียดกลบั อยา่ งรวดเร็ว ไมว่ ่ารูปแบบของ การกระโดดทนี่ ามาใช้ในการฝึกนั้นจะเป็นลักษณะใดก็ตาม รวมทง้ั วิธีการฝกึ ท่ใี ชเ้ มดิซนิ บอลในการทุ่ม ผลกั ขวา้ ง โยน เป็นตน้ ระยะท่ี 2 กล้ามเน้ือหดตัวออกแรงเพื่อการเคลื่อนไหวในทิศทางและเป้าหมายที่ต้องการ ระยะดังกลา่ วนเ้ี รียกวา่ reactive recovery ซึ่งตอ้ งการปฏกิ ริ ิยาตอบสนอง หรือการสะท้อนกลับด้วย จงั หวะของการเคลื่อนไหวหรอื การหดตัวของกล้ามเน้ือทรี่ วดเรว็ และแรงเต็มท่ใี นช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ ระยะท่ี 3 กล้ามเนื้อหดตัวเพื่อรับน้าหนักตัว หรือแรงกระแทกขณะลงสู่พ้ืน เพ่ือท่ีจะทาการ กระโดดในจังหวะตอ่ ไป ระยะนเ้ี รียกว่า active take-off

28 การฝึกพลยั โอเมตรกิ เพ่อื พัฒนาลาตัวส่วนลา่ ง เจริญ กระบวนรัตน์ (2538, 120 อ้างถึงใน กษิดิ์เดช เกตุมณี, 2553, 14) กล่าวว่า การฝึก แบบพลัยโอเมตริกในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้กับนักกีฬา จาเป็นอย่างย่ิงท่ีจะต้องมุ่ง พัฒนาเสรมิ สร้างในสว่ นท่ีเกีย่ วขอ้ ง และมีความจาเป็นตอ่ ชนิดกีฬานั้น เพอื่ ประโยชน์ในการนาไปใช้ใน การแข่งขัน ซ่ึงเป็นการฝึกท่ีมุ่งพัฒนาเฉพาะมัดกล้ามเนื้อที่มีความจาเป็นต่อการเคลื่อนไหวจึงควรมี การฝึกกล้ามเนือ้ เฉพาะส่วน ชู (Chu, 1992, 5 อ้างถงึ ใน กษดิ ์เิ ดช เกตุมณี, 2553, 14-15) ไดแ้ บ่งกิจกรรมการฝกึ กระโดด เพื่อพัฒนาลาตัวสว่ นลา่ งออกเปน็ 6 แบบ ดงั นี้ 1. กระโดดแล้วกลับลงมายังตาแหน่งเดิม (jump-in-place) เป็นการกระโดดขึ้นไปแล้วกลับ ลงมาที่จุดเดิมหรือจุดเริ่มต้นก่อนกระโดด การฝึกแบบนี้ระดับความหนักอยู่ในระดับต่าและเป็นการ กระตุ้นสาหรับพัฒนาระยะอะมอร์ทิเซช่ัน (amortization) ให้สั้นลง เหมาะสาหรับนักกีฬาที่ต้องการ ความเร็วในการกระโดด 2. การยืนกระโดด (standing jumping) เป็นการกระโดดคร้ังเดียวให้ออกแรงมากท่ีสุดไปใน แนวด่ิง (vertical) หรือแนวระนาบขอบฟ้า (horizatal) อาจจะทาซ้าได้หลายคร้ังแต่ควรพักให้หาย เหนอื่ ยกอ่ นจะปฏิบตั คิ รัง้ ตอ่ ไป 3. การกระโดดแบบผสมผสาน (multiple hops and jump) เปน็ การผสมผสานการกระโดด เขย่งและการกระโดด ซ่ึงใช้พัฒนาการของทักษะของการกระโดดแล้วกลับลงมายังตาแหน่งเดิม (jump-in-place) กับการยืนกระโดด (standing jumping) โดยเป็นการกระโดดคร้ังเดียวใหอ้ อกแรง มากท่ีสุด การฝึกสามารถฝึกโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์หรืออาจใช้เคร่ืองกีดขวางช่วยในการฝึก ซึ่งถ้าเป็น การฝึกขนั้ สูงจะเรยี กวา่ แบบฝกึ ใช้กล่อง (box drills) ไม่ควรใชร้ ะยะทางเกิน 30 เมตร 4. การกระดอน (bounding) เป็นการว่ิงแบบกระดอนแล้วพุ่งตัวไปข้างหน้าเพื่อเพ่ิมความ ยาวของช่วงก้าว (stride length) และความถี่ของช่วงก้าว (stride frequency) ในการว่ิงปกติให้ยาว ขึน้ และถข่ี ้ึนควรใช้ระยะทางให้มากกว่า 30 เมตร 5. แบบฝึกใช้กล่อง (box drills) เป็นการผสมผสานการกระโดดแบบผสมผสาน (multiple hops and jumps) กบั การกระโดดแบบการกระโดดงอเข่าย่อตัว (depth jumps) ความเข้มจะข้ึนกับ ความสูงของกล่อง การฝึกแบบนี้เป็นการรวมการกระโดดแนวระนาบขอบฟ้า (horizantal) และ แนวดิ่ง (vertical) ไว้ด้วยกนั 6. การกระโดดงอเขา่ ย่อตัว (depth jumps) เป็นการกระโดดออกจากท่สี ูง (กล่อง) ลงบนพืน้ แล้วกระโดดกลับขึ้นไปให้ความสูงเท่ากับความสูงท่ีกระโดดลงมา ซึ่งการกระโดดแบบน้ีเป็นการใช้ น้าหนักของร่างกายกระทากับแรงดึงดูดของโลก การเพ่ิมความสูงของกล่องจะเปน็ การเพิ่มความหนัก

29 ของงาน คือ เพิ่มความเครียดที่กระทากับพ้ืน และเม่ือทาการกระโดดลงสู่พื้นให้กระโดดอย่างรวดเรว็ จะทาใหเ้ กดิ ระยะอะมอรท์ ิเซชน่ั (amortization) เรว็ ขนึ้ จากการศึกษาสรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริกเพ่ือพัฒนาลาตัวส่วนล่าง สามารถแบ่งออกได้ เป็น 6 แบบดังน้ี 1) กระโดดแล้วกลับลงมายังตาแหน่งเดิม (jump-in-place) 2) การยืนกระโดด (standing jumping) 3) การกระโดดแบบผสมผสาน (multiple hops and jump) 4) การกระดอน (bounding) 5) แบบฝึกใชก้ ล่อง (box drills) และ 6) การกระโดดงอเขา่ ย่อตวั (depth jumps) พลงั ของกลา้ มเนอื้ พลังกล้ามเน้ือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสมรรถภาพทางกายท่ีมีสาคัญอย่างย่ิงสาหรับบุคคล ท่วั ไปหรอื นักกีฬา ซง่ึ บคุ คลแตล่ ะบุคคลจะมีความแตกต่างหรือขดี ความสามารถท่ีไม่เท่ากัน ขนึ้ อยู่กับ การฝึกฝนและการใช้ชีวิตประจาวันของแต่ละบุคคล สาหรับนักกีฬาพลังของกล้ามเนื้อถือว่าเป็นส่ิงท่ี สาคญั และขาดไม่ไดเ้ พราะพลงั ของกล้ามเนื้อมีผลต่อของความแข็งแรงและความเรว็ ของกล้ามเน้ือ ซึ่ง มีนักวิชาการได้กลา่ วและให้ความหมายไว้ ดงั น้ี สนธยา สีละมาด (2551, 296-297) ได้กล่าวว่า พลัง หมายถึง ความสามารถของระบบ ประสาทกล้ามเน้ือ (neuro-muscular) ในการที่ก่อให้เกดิ แรง (force) มากที่สดุ ในช่วงเวลาทส่ี ั้นที่สุด หรือเป็นการเอาชนะแรงต้านทานได้ด้วยการหดตัวของกล้ามเน้ืออย่างรวดเร็ว พลังเป็นผลของแรง กล้ามเน้อื (muscle force) และอตั ราเร็ว (velocity) ของการเคลื่อนไหว เพราะฉะนน้ั พลังจะเท่ากับ แรงคูณด้วยอัตราความเร็ว (P = F x V) การเพิ่มข้ึนของพลังจึงต้องเป็นผลของการปรับปรุง ในความ แข็งแรงหรือความเร็วอย่างใดอยา่ งหน่ึงหรือเป็นการปรบั ปรุงทั้งสองอย่าง สอดคล้องกับ ถนอม โพธ์ิมี (2552, 21) กล่าวว่าพลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่แสดงออกมาในรูปของ ความแข็งแรง และความเร็วหรือทางหลักวิทยาศาสตร์ว่า พลัง = แรง x ความเร็ว แต่กีฬาก็มี องค์ประกอบอื่น ๆ เขา้ มาเกี่ยวข้อง ที่สาคญั คอื ทกั ษะเกิดจากการทางานรว่ มกันระหวา่ งระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งก็คือความสามารถในการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลท่ีออกมาคือความเร็ว ในการเคลอื่ นไหวของร่างกาย พิชิต ภูติจันทร์ (2547, 11) กล่าวถึงพลังว่า หมายถึง ประสิทธิภาพในการการทางานของ กล้ามเนื้อท่ีแสดงออกมาในรูปแบบของความแข็งแรงและรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ในรูปการเคลื่อนไหวหรือ การรับนา้ หนัก เช่น การกระโดดสูง การงัดขอ้ เป็นตน้ และ ธีระศักด์ิ อาภาวฒั นาสกลุ (2552, 25) ได้ กล่าวว่า พลังกล้ามเน้ือ (muscle power) คือความสามารถในการเคล่ือนย้ายถ่ายโอนพลังงานใน กล้ามเน้ือให้เกิดเป็นแรงกระทาที่แสดงออกมาด้วยอัตราที่รวดเร็ว ตัวอย่างของกิจกรรมกีฬาท่ี จาเป็นต้องมกี ารใชพ้ ลงั ของกลา้ มเนอื้ ได้แก่ การขว้างจักร และ การทุม่ น้าหนกั เปน็ ต้น

30 นิวตัน และ เครเมอร์ (Newton & Karemer 1994, 20 อ้างถึงใน ถนอม โพธิ์มี, 2552, 19) อธิบายความหมายของ พลงั กล้ามเนอ้ื ว่า พลังกลา้ มเนื้อจะเกิดจากการท่ีกลา้ มเน้ือออกแรงสูงสดุ อย่าง รวดเร็วหน่ึงครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญของประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวท่ีต้องการความเร็วสูง และยังมี ผลต่อการเคลื่อนไหวในการเปล่ียนทิศทางด้วยความรวดเร็ว รวมทั้งการเร่งการเร็วในระหว่างการ แข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ด้วย ในขณะท่ีนักกีฬาพยายามใช้เวลาท่ีน้อยท่ีสุดในการออกแรงและเร่ง ความเร็ว อนั เกดิ มาจากการพัฒนากลไกลการทางานของกลา้ มเน้อื ท่ีสาคญั สองประการ คอื 1. ความสามารถของกล้ามเนื้อท่ีออกแรงได้มากโดยระยะเวลาอันส้ัน เรียกว่าอัตราการ พัฒนาแรง (rate of force development) 2. ความสามารถของกล้ามเน้ือที่ออกแรงได้มากอย่างต่อเนื่อง ในขณะท่ีความเร็วในการหด ตัวของกล้ามเนื้อเพ่ิมขึ้น ซึ่งคุณสมบัติสาคัญสองประการนี้เอง เป้นแนวทางในการหายุทธวิธีของการ ฝึกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสุงสุด สรุปได้ว่า การพัฒนาพลังระเบิดของกล้ามเนื้อน้ันจะต้องมีการ พฒั นาองคป์ ระกอบ 5 ประการของพลงั ระเบดิ ของกลา้ มเน้ือ คอื 1. ความแขง็ แรงทค่ี วามเรว็ ตา่ (slow velocity strength) 2. ความแขง็ แรงที่มคี วามเร็วสงู (high velocity strength) 3. อตั ราการพฒั นาแรง (rate of force development) 4. วงจรเหยียดตัวออก-หดตัวสนั้ เข้า (stretch-shortening cycle) 5. การทางานประสานกันระหวา่ งกลา้ มเน้ือที่รว่ มกันทางานและทักษะของการเคลื่อนไหว (intermuscular coordination; & skill) จากการศึกษาสรุปได้ว่า พลังของกล้ามเนื้อน้ัน เกิดจากการท่ีกล้ามเน้ือออกแรงสูงสุดอย่าง รวดเร็วหน่ึงครั้ง หรือทางหลักวิทยาศาสตร์ว่า พลัง = แรง x ความเร็ว ซ่ึงเป็นปัจจัยสาคัญของ ประสิทธิภาพการเคลอ่ื นไหวที่ต้องการความเรว็ สูง และยังมีผลต่อการเคลื่อนไหวในการเปลีย่ นทิศทาง ด้วยความรวดเร็ว รวมท้งั การเรง่ การเร็วในระหวา่ งการแข่งขันกีฬาชนดิ ต่าง ๆ และการพฒั นาพลังของ กล้ามเนื้อจะต้องมีการพัฒนาองค์ประกอบ 5 ประการของพลังระเบิดของกล้ามเนื้อ คือ 1) ความ แข็งแรงท่ีความเร็วต่า (slow velocity strength) 2) ความแข็งแรงที่มีความเร็วสูง (high velocity strength) 3) อัตราการพฒั นาแรง (rate of force development) 4) วงจรเหยยี ดตวั ออก-หดตัวส้ัน เข้า (stretch-shortening cycle) และ 5) การทางานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อที่ร่วมกันทางาน และทกั ษะของการเคลอื่ นไหว (intermuscular coordination & skill) การพฒั นาพลังของกลา้ มเน้อื บอมพา (Bompa, 1993, 47-5 อ้างถึงใน วัชระ สอนดี, 2551, 103) ได้สรุปผลการศึกษา ของเฮคคิเนน และโคมิ พบว่าการพัฒนาพลังระเบิดของกลา้ มเน้ือที่เกิดข้ึนจากการฝึกน้ันมีพ้ืนฐานมา

31 จากมีการเปล่ียนแปลงของระบบประสาทที่ทาให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการทางานเพ่ิมขึ้นด้วย เหตผุ ลดังต่อไปน้ี 1. ใช้เวลาน้อยลงในการระดมหน่วยยนต์ (motor unit recruitment) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นใยกล้ามเนื้อชนดิ ที่หดตวั ได้เรว็ 2. เซลประสาทยนต์ (motor neurons) มีความอดทนเพ่ิมข้ึนในการเพิ่มความถี่ของการ ปลอ่ ยกระแสประสาท 3. มีความสอดคล้องกันมากขึ้นและดีขึ้นของหน่วยยนต์ (motor unit) กับรูปแบบของการ ปลอ่ ยกระแสประสาท 4. กลา้ มเนอื้ ทางานโดยใชจ้ านวนเสน้ ใยกลา้ มเนอ้ื มากข้ึนในเวลาสัน้ 5. มกี ารพฒั นาการทางานประสานกนั ภายในกลา้ มเนือ้ (intramuscular coordination) หรือมีการทางานประสานกันมากขึ้นระหว่างปฏิกิริยาเร่งการทางานของกล้ามเน้ือ (excitatory reaction) กับปฏิกิริยาร้ังการทางานของกล้ามเน้ือ (inhibitory reaction) ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ของ ระบบประสาทส่วนกลาง 6. มีการพัฒนาการทางานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อท่ีร่วมกันทางาน (intermuscular coordination) ระหว่างกล้ามเน้ือที่ทาหน้าท่ีหดตัวออกแรง (agonistic muscular) กับกล้ามเน้ือที่ อยู่ตรงกันข้ามซึ่งทาหน้าที่คลายตัว (antagonistic muscular) เป็นผลให้กล้ามเน้ือหดตัวออกแรงได้ เร็วขน้ึ จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า พลัยโอเมตริกเปน็ การออกกาลังกายเพื่อสรา้ งความแข็งแรง และพลังของกล้ามเนื้อ เป็นการเหยียดตัวออกอย่างรวดเร็วของกล้ามเนื้อก่อนการหดตัว การฝึก แบบพลัยโอเมตริกน้ันแบ่งได้ 2 ลักษณะ 1) การฝึกลาตัวสว่ นล่าง และ 2) การฝึกลาตัวส่วนบน โดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อเช่ือมระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเน้ือกับความเร็วของการเคลื่อนไหว ที่รวดเร็วให้ มากที่สุด ซ่ึงก็คือพลังของกล้ามเน้ือ พลังของกล้ามเน้ือเป็นองค์ประกอบหนง่ึ ของสมรรถภาพทางกาย ท่ีมีสาคัญอย่างย่ิงสาหรับกีฬามวยไทยเพราะในการออกอาวุธของกีฬามวยไทย นอกจากท่ีจะต้องมี ทักษะทถี่ กู ต้องแลว้ นกั กฬี ามวยไทยก็มีความจาเป็นทีจ่ ะต้องมีพลังของกล้ามเน้ือที่มากเช่นกัน เพราะ พลังของกล้ามเนื้อจะทาให้นักกีฬามวยไทยสามารถออกอาวุธได้รวดเร็วและหนักหน่วง กิจกรรมการ ฝึกแบบพลัยโอเมตริก ไดแ้ ก่ การฝกึ กระโดด (jump training) และเขยง่ (hopping) ในรปู แบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนาลาตัวส่วนล่าง (lower extremities) และการบริหารลาตัวส่วนบน (upper extremities) โดยใช้เมดดิซีนบอล (medicine ball) และการพัฒนาพลังของกล้ามเนื้อ มีเหตุผลอยู่ 6 ประการ 1) ใช้เวลาน้อยลงในการระดมหน่วยยนต์ (motor unit recruitment) 2) เซลประสาทยนต์ (motor neurons) 3) มีความสอดคล้องกันมากขึ้นและดีข้ึนของหน่วยยนต์ (motor unit) 4) กล้ามเนื้อ ทางานโดยใช้จานวนเส้นใยกล้ามเน้ือมากขึน้ ในเวลาสั้น 5) มีการพัฒนาการทางานประสานกันภายใน

32 กล้ามเน้ือ (intramuscular coordination) และ 6) มีการพัฒนาการทางานประสานกันระหว่าง กล้ามเนอื้ ท่รี ว่ มกนั ทางาน (intermuscular coordination) ดงั น้นั การฝึกแบบพลัยโอเมตรกิ ทีม่ ีผลต่อ ความสามารถในการกระโดดเข่าลอยในกีฬามวยไทยจึงเป็นการฝึกลาตัวส่วนล่าง ได้แก่ การกระโดด หรือเขย่ง เป็นตน้ หลกั การสร้างโปรแกรมการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริก ในปัจจุบันมีการนาเอาความรู้ทางด้านวิทยาสตร์การกีฬาเข้ามาพัฒนาทาให้นักกีฬามี ความสามารถและสมรรถภาพทางกายท่ีดีข้ึน โปรแกรมการฝึกซ้อมแบบพลัยโอเมตริกก็เป็นรูปแบบ การฝึกซอ้ มอีกรปู แบบหนึ่งทีส่ ามารถสร้างความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อได้ โดยมผี ้เู ชยี่ วชาญได้ กลา่ วถงึ การสร้างโปรแกรมการฝึกพลยั โอเมตรกิ ไวด้ ังน้ี หลกั การสรา้ งโปรแกรมการฝกึ โปรแกรมการฝึกเป็นส่ิงท่ีมีความสาคัญในการฝึกซ้อมของนักกีฬาอย่างยิ่ง ผู้ฝึกสอนท่ีดี จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างโปรแกรมการฝกึ เพ่ือท่ีจะพัฒนาความสามารถของนักกีฬาให้ บรรลุตามเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมาย ฉะนั้นการกาหนดโปรแกรมในการฝึกซ้อมต้องมีความถูกต้อง เหมาะสมและถูกหลักการฝึกซ้อม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการฝึกซ้อม ซึ่งมีผู้เช่ียวชาญและ นักวิชาการไดก้ ลา่ วถึงหลักการสรา้ งโปรแกรมไว้ ดังนี้ ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์ (2539, 153 อ้างถึงใน เอกพจน์ คงสมนึก, 2559, 31-32) ได้กาหนด องค์ประกอบทีเ่ ป็นพื้นฐานในการสร้างโปรแกรมการฝึกไว้ ดังน้ี 1. กิจกรรมการออกกาลังกาย หรือชนดิ ของการฝึกซ้อมข้ึนอยู่กับจุดมุ่งหมายของการฝึกซ้อม จะต้องสร้างโปรแกรมให้ตรงกับจุดประสงค์ท่ีจะต้องการสร้าง เช่น การสร้างโปรแกรม การฝึก ความเร็ว ที่จะต้องเป็นโปรแกรมท่ีพัฒนาด้านความเร็ว หรือโปรแกรมการกระโดดไกล จะต้องเป็น โปรแกรมท่พี ัฒนาความสามารถในการกระโดดไกลไดจ้ ริง 2. ระยะการฝึกในแต่ละวันสาหรับนักกีฬา โดยเฉพาะกรีฑาในประเภทลู่และลานควรฝึก 1-2 ชั่วโมงแต่อย่างไรก็ตามจะต้องคานึงถึงระดับสภาพความพร้อมของนักกีฬา เป็นส่ิงสาคัญ ถ้าฝึกมาก หรือฝึกนานเกินไปจะทาให้ร่างกายทรุดโทรม เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และเกิดความ เบื่อหน่ายในการฝึกซ้อม ในทางกลับกันการฝึกซ้อมท่ีเหมาะสมกับผู้ฝึก ก็สามารถพัฒนาทักษะท่ีฝึก นน้ั ไดด้ ยี ่ิงขน้ึ 3. ช่วงเวลาในการฝึกใน 1 สัปดาห์การฝึกแต่ละสัปดาห์นั้นข้ึนอยู่กับระยะเวลาในการฝึกแต่ ละวนั และความหนักเบาของกิจกรรม โดยทว่ั ไประยะเวลาในการฝึกควรเปน็ 3 วัน ต่อสปั ดาห์ แต่ถ้า

33 ฝึก 2 วัน ต่อสัปดาห์ ร่างกายก็จะเปล่ียนแปลงไปตามท่ีต้องการได้เหมือนกัน แต่น้อยกว่า 3 วันต่อ สปั ดาห์ หรือถา้ ฝึกให้มากขึ้นเปน็ 4 วัน ตอ่ สัปดาห์ อาจจะเป็นการสญู เปล่าเสยี มากกวา่ ผลดี 4. ความหนัก-เบาของกิจกรรม การกาหนดความหนัก-เบาของกิจกรรมท่ีจะต้องคานึงถึง ความแข็งแรงของกล้ามเน้ือของบุคคลน้ัน ๆ ด้วย เพราะกล้ามเน้ืออาจล้าถ้าได้รับการฝึกการยก น้าหนักมากเกินไป เพราะฉะน้ันในการปรับปรุงสมรรถภาพท่ีดีควรฝึกแบบเป็นช่วง ๆ (interval training) โดยใช้ความหนักที่ใกล้เคียงกับความสามารถสูงสุดแล้วพักหรือ การฝึกแบบต่อเน่ือง (continuous training) ให้ฝึกด้วยความหนัก 60%-80% ของความสามารถสูงสุดด้วยระยะเวลาท่ี ยาวนานแต่ช้า ๆ และนอกจากนี้จะต้องเริ่มจากกิจกรรมท่ีง่ายไปหายาก เบาไปหาหนัก และจาก ส่วนย่อยไปหาส่วนรวม 5. ระยะเวลาของการฝึกท้ังโปรแกรม ต้องคานึงถึงความสามารถของบุคคลซึ่งขึ้นกับ ธรรมชาติของคน ๆ น้ัน และขีดจากัดความสามารถสูงสุดเฉพาะคน ผู้ฝึกสอนไม่ควรจะเร่งเร้า ให้ นักกีฬาทาสถิติให้ดีขึ้นเร็วเกินไป และจะต้องคานึงเสมอว่าความสามารถของการฝึกแต่ละด้านแต่ละ คนใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน โดยท่ัวไปแล้วการฝึกในช่วงระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ก็ทา ใหม้ ีการเปลี่ยนแปลงและพฒั นาในเร่อื งของความแขง็ แรงและกาลงั เพ่มิ ข้นึ 6. ระดับความสามารถของร่างกายก่อนการฝึก จะเป็นสิ่งช้ีให้เห็นถึงการเปล่ียนแปลงได้เป็น อย่างดี การทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการฝึก จึงเป็นสิ่งจาเป็นเพราะจะเปรียบเทียบได้ว่าดีขึ้น มากน้อยเพียงใด ในลักษณะเดียวกันจาเป็นต้องมีการทดสอบเบื้องต้นก่อนการเขียนโปรแกรมว่า ความสามารถของนักกีฬาอยู่ระดับใด นอกจากนั้นค่อยปรับเปลี่ยนในระยะสัปดาห์ ที่ 2, 3 หรือ 4 สัปดาห์ ภายหลังที่เร่ิมโปรแกรม นอกจากน้ี การทดสอบความสามารถของนักกีฬา ในแต่ละช่วงของ การฝึกกเ็ ปน็ สิง่ จาเป็นเชน่ เดียวกนั เพราะจะเปน็ ข้อมลู สาหรับการปรับเพิม่ โปรแกรมการฝกึ ให้มีความ เหมาะสมกับการเปล่ยี นแปลงของระดบั ความสามารถของนักกีฬาให้มากย่ิงขนึ้ ต่อไป พิชิต ภูติจันทร์ (2547, 90) กล่าวว่า หลักในการฝึกมีองค์ประกอบสาคัญ 4 ประการในการ พิจารณาดังน้ี คอื 1. ความเข้มของการฝึก การฝึกแบบต่อเนื่องและมีช่วงพักจะเป็นหลักประกันในเร่ือง สมรรถภาพ ถา้ กาหนดการฝึกมีความเข้มสูง จะทาให้ความสามารถสงู สุดในการใช้ออกซิเจนสงู ตามไป ดว้ ย 2. ความถ่ขี องการฝกึ และระยะเวลาของการฝึก ความถีข่ องการฝึกต่อสัปดาห์ ระยะเวลาท่ฝี ึก แต่ละคร้งั และตลอดกาหนดการ นบั ว่ามีความสาคญั มากตอ่ สมรรถภาพทางกาย 3. ความจาเพาะของการฝึกและออกกาลังกาย ความจาเพาะของการฝึกจะขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบย่อย 2 ประการ คือ กระบวนการทางชีวเคมี และระบบประสาทกล้ามเนื้อ ซ่ึงทั้ง 2 ประการนจ้ี ะเกี่ยวข้องกับระบบพลังงานในร่างกาย

34 4. แบบของการออกกาลังกาย กิจกรรมการฝึกหรือออกกาลังกายส่วนมากจะมุ่งเน้นด้าน สมรรถภาพด้านต่าง ๆ การออกกาลังกายแต่ละแบบอาจจะให้คุณค่าแตกต่างกนั ได้ จากการศึกษาหลักการสร้างโปรแกรมการฝึกทาให้พอสรุปได้ว่า หลักการสร้างโปรแกรมการ ฝึกมีองค์ประกอบดังนี้ กิจกรรมการฝึก ระยะเวลาในการฝึกในแต่ละวนั ความหนัก-เบา ของกิจกรรม ในการฝึก ระยะเวลาของการฝกึ ท้ังโปรแกรม ความสามารถของนกั กีฬา และการพักท่ีเหมาสม การสรา้ งโปรแกรมการฝกึ พลยั โอเมตรกิ ชนินทร์ชัย อนิ ทริ าภร (2544, 46-51 อ้างถงึ ใน ยโู สบ ดาเตะ๊ , คมกฤช ไกรนรา, และ นฤดม แก้วประดษิ ฐ์, 2560, 10-15) ไดเ้ สนอแนะการออกแบบโปรแกรมการฝกึ พลัยโอเมตริก ดงั นี้ ขั้นที่ 1 ข้อควรพจิ ารณาก่อนการฝึก 1. อายุเนือ่ งจากท่าฝึกพลยั โอเมตริกบางท่ามีความหนักอยู่ในระดับสูงและมีความเสีย่ งต่อการ บาดเจบ็ ในสว่ นของกระดกู ทกี่ าลังเจรญิ เตบิ โต จึงมีข้อแนะนาวา่ นกั กีฬาทมี่ ีอายุต่ากว่า 16 ปีจะต้องไม่ ฝึกในท่าท่ีมีความหนักอยู่ในระดับช็อค (shock) ซ่ึงเป็นระดับสูงสุดซ่ึงได้แก่ ท่าการกระโดดในแนวดิ่ง หรือแนวลึก (depth jumps) น้าหนักตัวผู้ท่ีมีน้าหนักเกิน 220 ปอนด์ ไม่ควรฝึกท่าเด็พธ์จัมพ์ จาก ความสงู เกินกวา่ 18 น้วิ 2. อัตราส่วนของความแข็งแรง หมายถึง น้าหนักท่ียกท่าแบบน้าหนักย่อตัวได้มากที่สุดหาร ด้วยน้าหนักตัว ควรจะมีค่าระหว่าง 1.5 ถึง 2.5 จึงจะเหมาะสาหรับการฝึกพลัยโอเมตริกทั้งนี้ค่าของ การฝกึ แตล่ ะแบบจาเปน็ ต้องใชอ้ ัตราส่วนของความแข็งแรงแตกตา่ งกนั ไป 3. โปรแกรมการฝึกความเร็วในปัจจุบัน ถ้าผู้ฝึกไม่ได้ฝึกในโปรแกรมการฝึกความเร็วอยู่ใน ขณะนี้ จะต้องจัดให้ฝึกในโปรแกรมดังกล่าวเสียก่อนอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ก่อนที่จะฝึกพลัยโอ เมตรกิ เพ่อื ลดอตั ราเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ 4. ประสบการณ์ ถ้าผู้ฝึกไม่มีประสบการณ์ในการฝึกมาก่อน จะต้องเร่ิมจากปริมาณของการ ฝึกท่ีมากกว่าปกติและความหนักของการฝึกท่ีน้อยกว่าปกติ และจะต้องค่อย ๆ พัฒนาการฝึกไป เรื่อย ๆ 5. การบาดเจ็บ บริเวณที่บาดเจ็บได้ง่าย ได้แก่ เท้า ข้อเท้า หน้าแข้ง เข่า สะโพก และหลัง ส่วนลา่ ง ดังนน้ั จงึ ตอ้ งมีการประเมนิ การบาดเจ็บเพื่อหลีกเล่ียงการบาดเจ็บทีจ่ ะเกิดขึ้นในตอนเร่ิมต้น ของโปรแกรมการฝกึ พลยั โอเมตริก 6. พ้ืนผิวของสถานที่ฝึก พ้ืนผิวตามอุดมคติก็คือ พื้นแบบที่ใช้ในกีฬายิมนาสติกหรือพรมท่ีมี ความยืดหยุ่นท่ีสามารถรองรับการกระแทกได้ดี ส่วนพื้นไม้ของสนามบาสเกตบอลหรือพื้นลู่ยาง สังเคราะห์ก็พอท่จี ะใชใ้ นการฝึกได้ และพืน้ หญ้ากอ็ าจเป็นพนื้ ผวิ ตามอดุ มคติได้

35 7. ข้อควรพิจารณาทางด้านความปลอดภัยในการฝึกพลัยโอเมตริกนั้นจะต้องเน้นให้ผู้ฝึก ปฏิบัติ ด้วยเทคนิคที่ถูกต้องซึ่งผู้ฝึกสอนจะต้องแนะนาและแก้ไขให้ถูกต้องซึ่งถ้าผู้ฝึกสอนละเลยก็จะ เกิดการบาดเจ็บไดง้ า่ ยและจะตอ้ งกาหนดโปรแกรมการฝึกได้อยา่ งเหมาะสม ข้นั ท่ี 2 ขอ้ ควรพิจารณาเก่ยี วกับโปรแกรมการฝึก 1. การอบอุ่นร่างกาย จะต้องมีการอบอุ่นร่างกายก่อนท่ีจะฝึกพลัยโอเมตริกเสมอเพื่อป้องกนั การบาดเจบ็ และประสทิ ธภิ าพในการฝกึ จะเพมิ่ ข้ึน 2. ชนิดของกีฬาจะต้องเลือกท่าของการฝึกให้มีความสัมพันธ์กับทิศทางของการเคล่ือนไหว ของกฬี าชนิดน้นั ๆ 3. ช่วงเวลาของการฝกึ จะต้องจัดปรมิ าณและความหนักของการฝึกให้สอดคลอ้ งกับช่วงเวลา ของการฝึกที่มที งั้ นอกฤดกู าลแขง่ ขัน ฤดกู อ่ นการแขง่ ขนั และฤดแู ข่งขนั 4. ระยะเวลาของโปรแกรมการฝึกจะใช้การฝึกพลัยโอเมตริกอยู่ในโปรแกรมการฝึกระหว่าง 6-10 สปั ดาห์ 5. ความถี่ของการฝึก โดยท่วั ไปจะฝึก 1-3 ครง้ั ตอ่ สัปดาห์ 6. ลาดับข้ันของความหนัก ความหนักของการฝึกขึ้นอยู่กับวงจรเหยียด– สั้น ซึ่งเป็นผลมา จากความสูงของจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย ความเร็วพ้ืนราบ น้าหนักตัว ความพยายามของแต่ละคน และความสามารถของกลา้ มเน้ือทีจ่ ะเอาชนะความต้านทาน 7. ลาดบั ข้นั ของความหนักคือ ตา่ ตา่ จนถึงปานกลาง ปานกลาง ปานกลางจนถงึ สูง สูง ชอ็ ค (shock intensity) 8. ลาดับขั้นของปริมาณ ตามปกติแล้ว ปริมาณของการฝึกจะนับจากจานวนคร้ังท่ีเท้าสัมผัส พ้ืนหรือระยะทางทั้งหมดในการฝึกในขณะท่ีความหนักของการฝึกเพ่ิมข้ึน ปริมาณของการฝึกจะต้อง ลดลง ตวั อย่างเชน่ จานวนคร้งั ท่เี ทา้ สัมผัสพนื้ น้อยกว่า 80 ครัง้ เท่ากับ ตา่ 80-120 คร้งั เท่ากับ ปานกลาง 120-160 คร้ัง เท่ากบั สงู มากกวา่ 160 ครั้ง เท่ากบั สูงมาก และลาดบั ของการฝึกควรจะฝกึ จากจากง่ายไปหายาก จากต่าไปหาสงู

36 9. เวลาพักเนอ่ื งจากการฝึกพลยั โอเมตริกน้นั จะใชค้ วามพยายามสูงสดุ ในแตล่ ะครั้ง จงึ ตอ้ งมี เวลาพักระหว่างการปฏิบัติแต่ละครง้ั เวลาพักระหวา่ งชดุ ใหเ้ หมาะสม เชน่ การฝึกท่าเด็พธจ์ ัมพ์อาจจะ พักระหว่างการปฏิบตั แิ ตล่ ะคร้ัง 15-30 วินาที และพกั ระหว่างชดุ 3-4 นาที 10. ความเม่ือยล้าจะเป็นสาเหตุที่ทาให้เทคนิคและคุณภาพของการฝึกลดลงอาจเป็นเหตุให้ เกิดการบาดเจ็บได้ ความเมื่อยล้านี้อาจเป็นผลมาจากการฝึกพลัยโอเมตริกท่ียาวนานหรือรวมกัน ระหว่างกบั โปรแกรมการฝกึ แบบอน่ื ๆ เช่น การว่ิง หรอื การฝกึ ด้วยนา้ หนกั ข้ันที่ 3 ลกั ษณะของการเคลื่อนไหว 1. กระโดด (jump) ขาเดยี วหรอื สองขาและจบด้วยขาเดยี วหรือสองขา ได้แก่ 2. กระโดดอยกู่ บั ท่ี (jump in place) โดยปกตจิ ะเป็นกระโดดขึ้นในแนวดงิ่ 3. ยืนกระโดด (standing jump) อาจจะเป็นในแนวราบในแนวดงิ่ หรือไปทางด้านขา้ ง 4. เขย่ง (hops) ขาเดียวหรือสองขา และจบด้วยขาเดียวหรือสองขาในแนวราบที่มเี ป้าหมาย ให้ได้ระยะทางมากทส่ี ุด ไดแ้ ก่ 5. ระยะสน้ั (10 ครง้ั หรอื น้อยกวา่ ) 6. ระยะไกล (มากกว่า 10 ครั้ง) 7. ช็อค (shock) เป็นพลัยโอเมตริกท่ีระบบประสาทต้องทางานอย่างหนักและเกิด ความเครียดท่ีกล้ามเน้อื และเนอ้ื เย่อื เกยี่ วพันเป็นอยา่ งมาก ได้แก่ เด็พธ์จมั พ์ ซึง่ มที ั้งการเคลอ่ื นไหวใน แนวดงิ่ และแนวราบ ขน้ั ท่ี 4 ลาดบั ขน้ั ของความหนัก 1. กระโดดจากท่ายอ่ ตัว (squat jump) 2. กระโดดกระตกุ เข่าสองขา้ ง (double – leg tuck jump) 3. กระโดดแตะปลายเทา้ (pike jump) 4. กระโดดจากทา่ ย่อตวั แยกขา (split squat jump) 5. กระโดดจากทา่ ยอ่ ตัวแยกขาสลับกันไป (cycled split squat jump) 6. กระโดดข้ามกรวยหรือสง่ิ กดี ขวาง (jumps over cones or barrier) 7. กระโดดข้นึ และลงจากกลอ่ ง (box jump) 8. ยนื กระโดด (standing jump) เป็นท่าฝกึ ทเ่ี นน้ การกระโดดทงั้ ในแนวราบและแนวดิ่ง โดย กระโดดแต่ละคร้งั ดว้ ยความพยายามเต็มท่ใี นแตล่ ะชุดของการฝึกจะกระโดด 5-10 คร้ังไดแ้ ก่ 8.1 ยืนกระโดดไกล (standing long jump) 8.2 ยนื เขยง่ ก้าวกระโดด (standing triple jump) 8.3 กระโดดข้ามกรวยหรอื ส่ิงกดี ขวาง (jumps over cones or barriers)

37 8.4 กระโดดและเขย่ง (multiple jumps and hops) เป็นท่าฝึกท่ีเน้นการ กระโดดซ้า ๆ กัน คล้ายกบั การร่วมกันระหว่างกระโดดอยกู่ ับทแ่ี ละยนื กระโดดเขา้ ด้วยกัน ไดแ้ ก่ 8.5 เขย่งสองขา (double leg hop) 8.5.1 เขยง่ ขาเดยี ว (single leg hop) 8.5.2 เขย่งขา้ มรวั้ หรือกรวย (hurdle or cone hop) 8.5.3 เขย่งจากท่ายอ่ ตัว (squat hop) 8.5.4 เขย่งกา้ วกระโดดซา้ ๆ (repeat triple jump) 8.6 เด็พธ์และบ็อกซ์จัมพ์ (depth and box jump) เป็นท่าฝึกท่ีเน้นการตอบสนองของ รีเฟล็กซ์ยืดเนื่องจากต้องยืนอยู่บนกล่องท่ีสูงจากพื้นซ่ึงเม่ือกระโดดลงมาสู่พื้นจะทาให้ได้รับอิทธิพล จากแรงดงึ ดูดของโลกมากขึน้ ความสงู ของกล่องจะข้ึนอยู่กับขนาดรูปร่างของนักกีฬา และจุดมงุ่ หมาย ของโปรแกรมการฝึกในแตล่ ะชว่ งของการฝกึ ไดแ้ ก่ 8.7 เดพ็ ธ์จมั พ์สองขา (double leg depth jump) 8.8 เด็พธ์จมั พ์ขาเดียว (single leg depth jump) 8.9 การฝึกดว้ ยบ็อกซ์ (box drill) ไดแ้ ก่ การใช้สองขา ขาเดยี วสลบั ขา และกระโดดครอ่ ม (double leg, single leg, single leg alternate, and straddle jump) 8.10 กระโดดในแนวราบ (bounding) เป็นท่าฝึกที่เน้นการเคลื่อนไหวในแนวราบด้วย ความเรว็ โดยปกตจิ ะใช้ระยะทางมากกวา่ 30 เมตร ไดแ้ ก่ 8.11 กระโดดในแนวราบสลบั ขา (alternate leg bound) 8.12 กระโดดในแนวราบแบบผสมผสาน (combination leg bound) 8.13 กระโดดในแนวราบขาเดยี ว (single leg bound) 8.14 กระโดดในแนวราบสองขา (double leg bound) นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกในการออกแบบโปรแกรม การฝึกพลยั โอเมตรกิ ไวด้ งั นี้ 1. การอบอุ่นร่างกายจะต้องมีการอบอุ่นร่างกาย ก่อนที่จะฝึกพลัยโอเมตริกเสมอเพื่อป้องกนั การบาดเจบ็ และประสทิ ธิภาพในการฝกึ จะเพ่มิ ข้นึ 2. ชนดิ ของกฬี า จะตอ้ งเลอื กท่าของการฝกึ ให้สัมพนั ธ์กับทิศทางของการเคล่ือนไหวของชนิด กีฬาน้นั ๆ 3. ชว่ งเวลาของการฝกึ จะตอ้ งจดั ปรมิ าณ และความหนักของการฝกึ ให้สอดคล้องกับชว่ งของ เวลาของการฝึกทีม่ ที ้ังก่อนฤดกู ารแขง่ ขัน ในฤดกู ารแข่งขัน และหลังฤดกู ารแขง่ ขัน 4. ระยะเวลาของโปรแกรมการฝึก จะใช้การฝึกพลัยโอเมตริกอยู่ในโปรแกรมการฝึกระหว่าง 6-10 สปั ดาห์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook