Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Published by sampaom, 2022-11-16 08:26:02

Description: ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Search

Read the Text Version

91 ประเภทของการประกนั ภัย ก่อนซื้อประกันภัย ผู้เอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจ เปรียบเทียบ รูปแบบ ความค้มุ ครอง และเบ้ยี ประกันภัยของการประกันภัยกอ่ น เพอ่ื ใหไ้ ด้รับแบบประกันภัย ที่มีความเหมาะสม ตรงตามความต้องการมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งประกันภัยออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1) ประกันชีวิต 2) ประกันวินาศภยั โดยแต่ละประเภทกย็ งั มีรูปแบบการ ประกันภยั ที่จำแนกย่อยอกี อนึ่ง หากผู้รับประกันภัยพบว่าความเสียหายเกิดจากการทุจริตหรือความ ประมาทอย่างร้ายแรง หรือการกระทำโดยเจตนาของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ หรือ แสดงข้อความ เอกสารอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของการประกันภัย ผู้รับ ประกันภัยมีสิทธิปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหาย โดยไม่ต้องคืนเบ้ีย ประกันภยั ชดุ วชิ าการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ

92 1. ประกันชีวิต คือ การประกันภัยที่การจ่ายเงินอาศัยการทรงชีพ (มีชีวิตอยู่) หรือมรณะ (ตาย) ของบุคคลเป็นเหตุในการจ่าย ซึ่งผู้รับประกันจะจ่ายเงินเอาประกันให้กับ ผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่ครบระยะเวลาที่ระบุในสัญญา หรือจ่ายเงิน เอาประกนั ใหผ้ ู้รับผลประโยชนถ์ า้ ผู้เอาประกนั เสียชวี ิตภายในระยะเวลาท่ีระบใุ นสัญญา แบบการประกนั ชีวิต 1) แบบการประกนั ชีวิตพื้นฐาน มอี ยู่ 4 แบบ คือ 1.1) ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (term insurance) เป็นการ ประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ เอาประกันภยั เสียชีวติ ในระยะเวลาเอาประกันภยั วัตถุประสงค์เพื่อคุม้ ครองการเสียชีวติ ก่อน วยั อนั สมควร การประกนั ชีวติ แบบนี้ไม่มสี ่วนของการออมทรัพย์ เบีย้ ประกนั ภยั จึงตำ่ กว่าแบบ อื่น ๆ และไม่มีเงนิ เหลือคนื ใหห้ ากผู้เอาประกนั ภยั มีชวี ิตอยจู่ นครบกำหนดสญั ญา ตัวอย่าง ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เช่น ประกันคุ้มครอง สินเชื่อ (mortgage reducing term assurance - MRTA) ให้ความคุ้มครองกรณีผู้เอา ประกนั ภัยมีภาระหนี้ โดยหากเกดิ เหตุกบั ผู้เอาประกันภยั ทท่ี ำใหเ้ สียชวี ติ หรือทุพพลภาพสิ้นเชิง ถาวร ผู้รับประกันภัยจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทนผู้เอาประกันภัยตามเงินเอาประกันภัย ประกัน MRTA จะช่วยลดภาระหนี้บางส่วนที่ครอบครัวและลูกหลานต้องชำระต่อ หรือไม่ต้อง ชดุ วิชาการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ

93 ประสบปัญหาถูกยึดที่อยู่อาศัยเพื่อนำเงินไปชำระหนี้คืนเจ้าหนี้ ธนาคารจึงมักเสนอประกันภัย ประเภทนี้แก่ลูกค้าเมื่อขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร โดยมักจะกำหนดให้ลูกค้าทำประกัน คุม้ ครองวงเงนิ สนิ เชือ่ ไมต่ ำ่ กว่า 70% ของวงเงนิ สนิ เชื่อ ประกัน MRTA จะตา่ งกบั ประกันอนื่ ตรงที่ - จำนวนเงินเอาประกันภัยจะลดลงทุกปีตามยอดหนี้ที่ทยอย ลดลง และความคมุ้ ครองสนิ้ สดุ เมือ่ ภาระหน้หี มดลง - จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว แต่หากชำระหนี้หมดก่อนครบ กำหนดคมุ้ ครองสามารถขอเวนคนื กรมธรรม์ได้ 1.2) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (whole life) เป็นการประกันชีวิตท่ี บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ภายในระยะเวลาเอาประกันภัย หรือหากผู้เอาประกันภัยมีอายุยืนยาวจนครบกำหนดสัญญา ผู้เอาประกันภัยจะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัย (ระยะเวลาเอาประกันชีวิตแบบตลอดชีพ กำหนดให้ครบกำหนดสัญญาเมื่อผูเ้ อาประกนั ภัยมีอายุครบ 90 ปี ถึง 99 ปี) วัตถุประสงค์เพื่อ คุ้มครองการเสียชีวิต เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในความอุปการะของผู้เอาประกันภัยได้รับเงินทุน จำนวนหนึ่งไว้สำหรับจุนเจือ หรือเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ เพ่ือไมใ่ หต้ กเป็นภาระของคนอ่นื 1.3) ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (endowment) เป็นการประกัน ชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีชีวิตอยู่ ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชวี ติ ลงภายในระยะเวลาเอาประกันภัย วัตถุประสงค์เพ่ือคุ้มครองการเสียชีวิตและการออมทรพั ย์ โดยในส่วนของการออมทรัพย์ ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินคืนในระหว่างสัญญาหรือเมื่อสัญญา ครบกำหนด 1.4) ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity) เป็นการประกันชีวิตที่ บรษิ ัทประกนั ชวี ติ จะจ่ายเงินผลประโยชน์ตามท่รี ะบใุ นสญั ญาให้ผูเ้ อาประกันเป็นรายปีหรือราย เดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป สำหรับ ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 2 การวางแผนการเงิน

94 ระยะเวลาการจ่ายเงินผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัท ประกันชีวิตจะเก็บเบี้ยประกันภัยจนถึงอายุหนึ่งซึ่งช่วงระยะเวลาที่เก็บเบ้ี ยประกันภัยจะอยู่ ในช่วงที่ทำงานหรือช่วงก่อนเกษียณอายุ วัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้ เอาประกนั ภัยที่คาดวา่ มอี ายยุ นื ยาว และตอ้ งการใหม้ ีเงนิ ไดป้ ระจำหลงั จากทเ่ี กษยี ณอายุ 2) แบบการประกันชีวิตควบการลงทุน คือ การประกันชีวิตที่ให้ความ คุ้มครองการเสยี ชีวิตและการออมทรัพย์ โดยเบี้ยประกันภยั จะแบง่ ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน ของความคุ้มครอง ส่วนของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และส่วนของการออมทรัพย์ เงินในส่วนของการ ออมทรัพยท์ ไี่ ดร้ ับจะมากหรอื นอ้ ยขน้ึ อยู่กับผลตอบแทนทีไ่ ดร้ ับจากการลงทุน มีอยู่ 2 แบบคือ 2.1) ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (universal life) เป็นการ ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตและการออมทรัพย์ โดยส่วนของการออมทรัพย์ บรษิ ัทประกนั ชวี ิตเปน็ ผ้บู ริหารการลงทนุ • ความคมุ้ ครองกรณีผูเ้ อาประกันภัยเสยี ชีวิต จะได้รบั จำนวนเงิน เอาประกันภัยรวมกับเงินผลประโยชน์ในส่วนของการออมทรัพย์ซึ่งจะได้รับเป็นจำนวน ท่ีมากหรอื นอ้ ยขึ้นกับผลตอบแทนจากการลงทนุ ของบริษัท • ความคุ้มครองกรณีมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา จะได้รับ เงินผลประโยชน์ในส่วนของการออมทรัพย์ ซึ่งจะได้รับเป็นจำนวนที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ผลตอบแทนจากการลงทนุ ของบริษัท ทั้งนี้ เงินผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งกรณีความคุ้มครองการเสียชีวิต และกรณีมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา ต้องไม่น้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระไป แลว้ 2.2) ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (unit link) เป็นการประกัน ชีวิตที่ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตและการออมทรัพย์ โดยส่วนของการออมทรัพย์ ผเู้ อาประกนั ภัยเป็นผู้เลอื กลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ซง่ึ กองทนุ รวมดงั กลา่ ว บริษัทได้ พิจารณาจดั สรรเพ่อื ใหผ้ ้เู อาประกนั ภัยไดเ้ ลอื กลงทนุ ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 2 การวางแผนการเงิน

95 • ความคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต จะได้รับเงิน เอาประกันภัยรวมกับเงินผลประโยชน์ในส่วนของการลงทุนในกองทุนรวม เงินในส่วนของการ ลงทุนที่ได้รับจะมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนรวมที่ เลือกลงทุน • ความคุ้มครองกรณีมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา จะได้รับเงิน ผลประโยชน์ในส่วนของการลงทุนในกองทุนรวม เงินในส่วนของการลงทุนที่ได้รับจะมีจำนวน มากหรือน้อยขึ้นอยกู่ ับผลตอบแทนจากการลงทนุ ของกองทนุ รวมท่ีเลือกลงทนุ ทั้งน้ี เงนิ ลงทนุ ที่ได้อาจมากกวา่ หรือนอ้ ยกว่าเบย้ี ประกันภยั ในส่วน ลงทนุ ดังนัน้ เงินครบกำหนดทีไ่ ดร้ ับอาจน้อยกวา่ เบ้ียประกันภัยท่จี ่าย เบีย้ ประกนั ชีวิต เบี้ยประกันชีวิตมีความแตกต่างกันตามแบบประกัน เช่น ประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจะแพงกว่าประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาและแบบตลอดชีพ นอกจากน้ยี ังข้ึนอย่กู ับข้อมูลของผู้เอาประกนั ภัยอกี ดว้ ย เชน่ เพศ อายุ สัญญาเพ่ิมเติมกรมธรรมป์ ระกนั ชวี ิต เปน็ สญั ญาเพ่มิ เติมที่ผู้เอาประกันภัย สามารถเลือกซือ้ เพิม่ เตมิ จากการซือ้ ความคมุ้ ครองจากกรมธรรมป์ ระกนั ชีวิต เชน่ 1) สัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองความทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (สูญเสีย สมรรถภาพในการทำงานอันเกิดจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยหรือเชื้อโรคทำให้ไม่สามารถ ประกอบหน้าที่การงานได้แบบถาวร) เช่น สูญเสียสายตา มือหรือเท้าหรือทั้ง 2 ข้างหรืออย่างใด อย่างหนึ่งรวมกันตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป สัญญาเพิ่มเติมนี้มักจะเพิ่มไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวติ ให้โดยอัตโนมตั ิ และกำหนดผลประโยชนเ์ ท่ากับจำนวนเงนิ เอาประกนั ภัย 2) สัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองโรคร้ายแรงและการเจ็บป่วยขั้นวิกฤต หากป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือขั้นวิกฤต มักจะมีค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนสูง การทำ ประกันภัยเพื่อความคุ้มครองกรณีดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาลงได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด ไตวาย ซึ่งผู้รับประกันภัยอาจทำเพิ่มเป็นอีกหนึ่ง กรมธรรมไ์ ด้ ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงนิ

96 3) สัญญาเพิ่มเติมการประกันอุบัติเหตุ ให้ความคุ้มครองกรณีที่ ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ รวมถึงให้ผลประโ ยชน์ด้านค่า รกั ษาพยาบาลจากการไดร้ บั อุบตั ิเหตุด้วย 4) สัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพ ให้ความคุ้มครองเมื่อต้องเข้าพัก รักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งในสัญญาจะระบุรายการผลประโยชน์ที่จะได้รับ และจำนวนเงินที่ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายให้ เช่น ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล 1,000 บาทต่อวัน ค่าห้อง ผ่าตัด 4,000 บาทต่อการเขา้ รบั การรกั ษา 1 คร้งั แบบประกันภัยอ่นื ๆ การประกันภัยรายย่อยหรือไมโครอินชัวรันส์ (micro insurance) คือ การประกันภยั สำหรบั ผมู้ รี ายได้นอ้ ย - ปานกลาง ซึง่ มลี ักษณะที่สำคัญดงั นี้ - เบีย้ ประกนั ภัยราคาไมแ่ พง - ความคมุ้ ครองไม่ซบั ซอ้ น เขา้ ใจง่าย - การขอรบั เงินคา่ สินไหมทดแทนไม่ยงุ่ ยาก - ช่องทางการจำหนา่ ยหลากหลาย เขา้ ถึงประชาชนทกุ กลมุ่ - สามารถเปน็ เครอ่ื งมือในการบรหิ ารความเสีย่ ง กรมธรรมป์ ระกนั ภัย 200 สำหรับรายยอ่ ย เปน็ ประกันภัยทถี่ ูกออกแบบมา ให้เหมาะกับผู้มีรายได้น้อย มีขั้นตอนการซื้อง่ายเพียงใช้บัตรประชาชนพร้อมชำระ เบี้ยประกันภัยเพียง 200 บาท ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับใบรับรองการประกนั ภัย และได้รับ ความคุ้มครองทันทีเมื่อซื้อ โดยแบบประกันภัยนี้มีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี สามารถต่ออายุ ปีถัดไปได้ ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า สายตา หรือทุพพลภาพถาวร สิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตหุ รือถูกฆาตกรรม รวมถึงค่าใช้จา่ ยในการจัดงานศพกรณีเสียชีวิตจาก การเจ็บป่วย สามารถซื้อไดไ้ มเ่ กินคนละ 2 กรมธรรม์ สามารถซื้อได้ตามช่องทางการจำหน่ายต่าง ๆ เช่น บริษัทประกันภัยและ สาขาบริษัทประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต/ประกัน วนิ าศภัย ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ

97 2. ประกันวินาศภัย คือ การประกันความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดข้ึน ต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและบุคคลภายนอก รวมถึงความรับผิดต่อการบาดเจ็บและ เสียชวี ติ ของบคุ คลภายนอกอนั เนื่องมาจากอบุ ตั ิเหตุ แบ่งเปน็ 4 ประเภท 1) การประกันอัคคีภัย (fire insurance) คือ การประกันภัยที่คุ้มครอง ความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจากอัคคีภัยที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน รวมถึง ความเสียหายสืบเนื่อง ซึ่งภัยที่คุ้มครอง ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิดของแก๊สที่ใช้ใน ครัวเรือน และความสูญเสียหรือเสียหายจากสาเหตุใกล้ชิดของอคั คีภัย เชน่ ทรัพย์สินท่ีเสียหาย จากน้ำหรือสารเคมที ี่ใชใ้ นการดับเพลิง ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ให้ความคุ้มครองการสูญเสียหรือ เสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ได้แก่ สิ่งปลูกสร้าง (บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถวสำหรับ อยู่อาศัย โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต คอนโดมิเนียม ยกเว้นฐาน ราก) และทรัพย์สินภายในส่งิ ปลูกสร้าง ทเี่ กิดจาก 1) ไฟไหม้ ฟ้าผ่า (รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการ ลัดวงจรจากฟา้ ผ่า) ระเบิด ภัยจากการเฉีย่ ว และ/หรือการชนของยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะ ภัยจากอากาศยาน และ/หรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำที่เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ จากการปล่อยการรั่วหรือล้นออกมาของน้ำหรือไอน้ำ จากท่อน้ำ ถังน้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ บริษัทจะ ชดใช้ตามความเสยี หายทเี่ กดิ ขนึ้ จริง แตไ่ มเ่ กินจำนวนเงนิ เอาประกนั ภัย 2) กลุ่มภัยธรรมชาติ ได้แก่ ภัยลมพายุ ภัยน้ำท่วม ภัยแผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด หรือคลื่นใต้น้ำ หรือสึนามิ และภัยจากลูกเห็บ ทั้งนี้ บริษัทจะชดใช้ตามความ เสยี หายท่ีเกิดขน้ึ จรงิ ทุกภยั รวมกันแล้วไม่เกนิ 20,000 บาท 3) การขยายความคุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว กรณีทรัพย์สินท่ี เอาประกนั ภยั เปน็ สิง่ ปลกู สรา้ งและไดร้ ับความเสยี หายอนั เนื่องจากภยั ตามข้อ 1) 2) การประกนั ภยั รถยนต์ (automobile insurance) คือ การประกนั ภยั ทีค่ มุ้ ครองความสูญเสยี หรือความเสียหายอันเกดิ จากการใช้รถยนต์ ได้แก่ ชดุ วิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน

98 • ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตวั รถยนต์ • ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายและ ทรัพย์สนิ ของบคุ คลภายนอก รวมท้ังบุคคลทโี่ ดยสารอยู่ในรถยนต์ ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ประกันภัย พ.ร.บ.) เป็น ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถต้องจัดทำประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองให้ความช่วยเหลือ แก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดย จ่ายชดใช้เปน็ คา่ รกั ษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ หรือเป็นคา่ ทำศพในกรณเี สยี ชีวิต อยา่ งไรกด็ ี การทำประกนั ภยั รถยนตภ์ าคบังคบั หรือประกันภัย พ.ร.บ. น้ี จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ ดังนั้น ผู้ใช้รถจึงอาจเลือกทำประกันภัย รถยนต์เพ่มิ เติมได้ ซึ่งเรยี กวา่ ประกนั ภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ แบง่ เปน็ 4 ประเภท • ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (ประกันชั้น 1) ให้ความคุ้มครองชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ความเสียหายของตัวรถ การสูญหายและไฟไหม้ ตวั รถยนต์ของผเู้ อาประกนั ภัย • ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (ประกันชั้น 2) ให้ความคุ้มครองชีวิต รา่ งกายและทรพั ยส์ ินของบคุ คลภายนอก การสูญหายและไฟไหม้ตัวรถยนต์ของผูเ้ อาประกันภัย • ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (ประกันชั้น 3) ให้ความคุ้มครองชีวิต รา่ งกายและทรพั ยส์ นิ ของบุคคลภายนอก • ประกันภัยรถยนต์แบบคุ้มครองเฉพาะภัย (2+, 3+) ให้ความ คุ้มครองชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ความเสียหายของตัวรถจากการชนกับ ยานพาหนะทางบก การสูญหายและไฟไหม้ตัวรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่อยู่ในรถยนต์ ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน

99 คันเอาประกันภัยได้ โดยมีความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และการประกนั ตัวผ้ขู บั ขใ่ี นคดีอาญา 3) การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (marine insurance) คือ การ ประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายของตัวเรือ สินค้าและทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่ง ทางทะเล รวมทั้งพาหนะและสงิ่ อ่นื ๆ ท่ใี ชใ้ นการขนสง่ ด้วย และยังขยายขอบเขตความค้มุ ครอง รวมไปถึงการขนสง่ ทางบก ทางอากาศ ซ่งึ ต่อเนื่องกบั การขนสง่ ทางทะเล 4) การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (miscellaneous insurance) คือ การ ประกันภัยที่ความคุ้มครองต่อความสูญเสียหรือความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยอื่น ๆ ที่อยู่ นอกเหนือจากการคุ้มครองของประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ และประกันภัยทางทะเลและ ขนส่ง เบยี้ ประกนั วนิ าศภยั เบี้ยประกันวินาศภัยแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงภัย ระยะเวลาท่ี คุ้มครอง และจำนวนเงินเอาประกนั ภัย นอกจากน้ี ยังมรี ายละเอียดเพ่มิ เตมิ เชน่ - เบี้ยประกันอัคคีภัย จะพิจารณาปัจจัยจากสถานที่ตั้งของสิ่งปลูกสร้าง ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง คำนึงถึงความเสี่ยงภัยที่จะเกิด เช่น อยู่ในพื้นที่ที่มีสิ่งปลูกสร้าง หนาแนน่ การเขา้ ถึงไดข้ องรถดับเพลงิ หรอื สิง่ ปลูกสร้างเป็นไมห้ รือวัสดตุ ดิ ไฟ - เบี้ยประกันภัยรถยนต์ ผู้รับประกันภัยจะพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น อายรุ ถยนต์ รุน่ ของรถยนต์ ประเภทของรถยนต์ ขนาดของเครือ่ งยนต์ รวมถงึ อายุและเพศ ของผเู้ อาประกนั ภัย ข้อแนะนำในการตดั สินใจเลือกประเภทประกันภัย เพ่อื ใหส้ ามารถเลือกประกันภัยไดต้ ามทีต่ ้องการ โดยไม่เกินความสามารถในการ จา่ ยเบย้ี ประกนั ภัย กอ่ นตดั สนิ ใจทำประกันภัย เราควรพิจารณาข้อมลู เพิ่มเติมดงั น้ี 1. วัตถุประสงค์ของการทำประกันภัย เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก ตอ้ งรูก้ อ่ นวา่ “เราตอ้ งการทำประกันภัยเพือ่ อะไร” เพือ่ เลือกประกันภยั ได้ตรงกับความต้องการ เชน่ ชุดวชิ าการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงนิ

100 • ต้องการปอ้ งกันความเสี่ยง ควรจะเลือกประกันภัยโดยดทู ีก่ ารคุม้ ครอง เป็นหลัก เช่น ถ้ากังวลว่าครอบครัวจะผ่อนบ้านต่อไม่ไหว หากเราซึ่งเป็นผู้หารายได้หลักของ ครอบครัวเสียชีวิตไปก่อน ก็ควรเลือกทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ถ้ากังวลว่าจะ ไมม่ ีเงนิ ซื้อรถใหม่ถ้ารถหาย ก็ควรเลือกทำประกนั ภยั รถยนต์ประเภท 1 หรอื 2 • ต้องการทำประกันชีวิตและเน้นการออมเงินควบคู่ไปด้วย อาจจะ เลอื กทำประกันภัยแบบสะสมทรัพย์ หรือแบบบำนาญที่จะจ่ายคืนเงินก้อนครั้งเดียว หรือทยอย คืนอยา่ งสม่ำเสมอหลงั เกษียณ • ต้องการทำประกันชีวิตเพื่อให้ลูกหลานไม่ลำบากในอนาคต หากตนเองเสียชีวิตกะทันหัน อาจเลือกทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (term insurance) หรือประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (whole life) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองชีวิตสูงในขณะที่จ่ายเบ้ีย ประกันนอ้ ยกว่า หากเปรียบเทยี บกับประกนั ภยั แบบสะสมทรัพยใ์ นกรณที ่ีจา่ ยคา่ เบ้ียประกันภัย เทา่ กนั 2. การเลือกระยะเวลาทำประกันภัยใหค้ รอบคลุม ผู้ที่ทำประกันภัยโดยเลอื ก ระยะเวลาสั้น แต่ต้องการทำประกันภัยต่อเมื่อกรมธรรมส์ ้ินสุด มกั ต้องจา่ ยเบ้ียประกันภัยแพงกว่า การเลือกระยะเวลายาวตั้งแต่แรก เพราะความเสี่ยงของตนเองจะสูงขึ้นตามอายุท่ีมากขึ้น ในกรณีประกันชีวิต หรือในกรณีประกันคุม้ ครองวงเงินสินเชื่อหากประกันที่ทำไม่ครอบคลุมกับ ระยะเวลาผ่อนหนี้ และต่อมามีเหตุเกิดขึ้นหลังจากที่ประกันภัยหมดสัญญา ผู้ขอสินเชื่อหรือ ลกู หลานกต็ ้องเปน็ ผู้รับผดิ ชอบภาระหนีเ้ อง 3. ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันภัย ควรพิจารณาด้วยว่ามี ความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันภัยหรือไม่ แม้ว่าต้องการทำประกันภัยให้ครอบคลุมความ เสี่ยง แตห่ ากเกินกำลังในการจ่ายเบ้ียประกนั ภัย ก็อาจเลอื กเงินเอาประกันภยั ทจ่ี ำนวนไม่สูงนัก เพ่อื ทีอ่ ยา่ งน้อยจะไดช้ ่วยแบง่ เบาภาระบางสว่ นหากเกดิ เหตุร้ายขึน้ จรงิ 4. การเปรียบเทียบข้อมูล ควรเปรียบเทียบรายละเอียดความคุ้มครอง ระยะเวลาการคุ้มครอง เบี้ยประกันภัยของบริษัทหลาย ๆ แห่ง เพื่อเลือกประกันภัยที่คุ้มค่า ในราคาทเี่ หมาะสม ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน

101 รหู้ รอื ไม่ว่า กรมธรรม์ประกันภัย คือ เอกสารระหว่างผู้เอาประกัน และผู้รับประกัน โดย ต้องมีลายมือชื่อผู้รับประกันภัยพร้อมทั้งระบุรายละเอียดต่าง ๆ เช่น วัตถุที่เอาประกันภัย ภัยที่ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง จำนวนเงินเอาประกันภัย จำนวนเบี้ยประกันภัย วิธีส่งเบ้ีย ประกันภัย กำหนดเวลาเริ่มตน้ และเวลาสิ้นสดุ ของสญั ญาประกนั ภัย เมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ควรอ่านสาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัย และตรวจสอบความถูกต้อง ไดแ้ ก่ 1. ช่อื - ทอ่ี ย่ขู องผู้เอาประกันภัย ที่ต้ังของทรัพย์สิน 2. ระยะเวลาประกันภยั ไดแ้ ก่ วันที่เร่มิ ต้นจนถึงวนั ที่ส้ินสุด 3. ข้อมูลของสิ่งที่เอาประกันภัย เช่น กรณีประกันภัยรถยนต์ จะต้องมีข้อมูล ของช่ือ ร่นุ เลขทะเบียนรถยนต์ ข้อมูลเลขตัวถงั เลขเครือ่ ง ปี รุ่นที่ผลิต จำนวนทน่ี ัง่ 4. จำนวนเงนิ เอาประกนั ภยั และรายละเอียดความคมุ้ ครอง 5. เบยี้ ประกนั ภยั ท่ีต้องจา่ ย 6. ชือ่ ผรู้ บั ประโยชน์ 7. เงื่อนไขทั่วไป หรือข้อยกเว้นการคุ้มครอง ในส่วนนี้ควรทำความเข้าใจ รายละเอียดความคมุ้ ครองว่าตรงกับทีต่ อ้ งการหรอื ไม่ ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 2 การวางแผนการเงิน

102 แหลง่ ศึกษาข้อมลู เพิ่มเติม เว็บไซต์สำนักงาน https://www.oic.or.th/th/home คณะกรรมการกำกับและ สง่ เสริมการประกอบธุรกจิ ประกนั ภยั (คปภ.) กองทนุ การออมแหง่ ชาติ (กอช.) เป็นกองทุนการออมภาคสมัครใจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการออม แห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนที่ไม่มีสวัสดิการอื่นใดรองรับ ได้มีบำเหน็จบำนาญ มีหลักประกันความมั่นคงให้ชีวิตยามเกษียณของตนเอง โดยมี กอช. เป็นหลักประกันการจ่าย บำเหนจ็ บำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก ซึง่ ผ้ทู ี่มสี ทิ ธสิ มคั ร คอื • คนไทยอายุ 15 – 60 ปี • ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ค้า เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป หรอื ไมม่ อี าชพี เช่น นักเรียน นักศกึ ษา • ผปู้ ระกนั ตนมาตรา 40 ทางเลอื ก 1 ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือสมาชิก กบข. ไม่เป็นพนักงานบริษัท/ องค์กร/รัฐวิสาหกิจหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และไม่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมาย ประกนั สงั คม (ยกเวน้ ผู้ประกนั ตนมาตรา 40 ทางเลอื ก 1) ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 2 การวางแผนการเงิน

103 หลักการออมเงนิ ของ กอช. หลกั การออมแบ่งเป็น 2 สว่ น คอื เงินที่สมาชกิ ออม (เรียกว่าเงนิ สะสม) และเงิน ที่รัฐจ่ายสมทบ สมาชิกสามารถออมได้เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินออมตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป สูงสุดไม่เกนิ 13,200 บาทต่อปี โดยรัฐจะจา่ ยเงนิ สมทบใหต้ ามช่วงอายดุ ังน้ี ชว่ งอายุ 15 – 30 ปี มากกวา่ 30 – 50 ปี มากกวา่ 50 – 60 ปี เงนิ สมทบ 50% ของเงินสะสม 80% ของเงนิ สะสม 100% ของเงินสะสม (ไม่เกนิ 600 บาทต่อป)ี (ไม่เกนิ 960 บาทต่อป)ี (ไมเ่ กนิ 1,200 บาทต่อปี) ทง้ั นี้ หากเดือนใดสมาชิกไม่สง่ เงินเข้ากองทนุ รฐั ก็จะไมจ่ ่ายสมทบใหเ้ ช่นกนั ยกตัวอย่าง หากวารีอายุ 20 ปี เป็นสมาชิก กอช. รัฐจะให้เงินสมทบในอัตรา 50% ของเงินที่ วารสี ่งสะสม แต่จะไมเ่ กนิ 600 บาทต่อปี หากวารีส่งเงินสะสมเดือนละ 100 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงิน 1,200 บาทตอ่ ปี วารจี ะไดเ้ งินสมทบจากรฐั (1,200 x 50%) = 600 บาทต่อปี ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 2 การวางแผนการเงนิ

104 หากวารีส่งเงินสะสมเดือนละ 50 บาท เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมเป็นเงิน 600 บาท/ปี วารีจะไดเ้ งินสมทบจากรฐั (600 x 50%) = 300 บาทตอ่ ปี การไดร้ บั เงนิ คืนของ สมาชกิ กอช. 1. กรณีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ได้เงินบำนาญตลอดชีวิตจ่ายเป็น รายเดือนตามเกณฑ์ที่กำหนด หากได้น้อยกว่าเกณฑ์จะได้รับเงินดำรงชีพ 600 บาทต่อเดือน จนกวา่ เงนิ ในบญั ชจี ะหมด 2. กรณีทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปี สามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินสะสม และผลประโยชน์ของเงินสะสมทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยให้รับได้เพียงครั้งเดียว ส่วนเงิน สมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะจา่ ยเม่ืออายคุ รบ 60 ปีบรบิ ูรณ์ 3. กรณีลาออกก่อนอายุครบ 60 ปี จะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของ เงินสะสม โดยจ่ายครั้งเดียวเป็นเงินก้อน ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบตกเปน็ ของกองทนุ 4. กรณีเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้กับ กอช. จะได้รับเงิน สะสม ผลตอบแทนการลงทุนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลตอบแทนการลงทุนของเงิน สมทบ โดยจา่ ยครงั้ เดยี วเป็นเงนิ ก้อน แหล่งศึกษาขอ้ มลู เพมิ่ เติม เว็บไซต์กองทนุ การออมแหง่ ชาติ www.nsf.or.th หรือโทร. 0 2049 9000 กองทุนประกันสงั คม กองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน โดยผู้ประกันตนมีหน้าที่ส่งเงิน ชุดวิชาการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 2 การวางแผนการเงิน

105 สมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดทุกเดือน ซึ่งอัตราจะแตกต่างกัน ตามลกั ษณะของผูป้ ระกันตน สามารถแบง่ ผู้ประกันตน ออกเปน็ 3 มาตรา ไดแ้ ก่ 1. ผูป้ ระกันตนมาตรา 33 คือ พนักงานเอกชนหรอื ลกู จ้างในสถานประกอบการ - ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน 5% ของเงินเดือน (สูงสดุ 750 บาทต่อเดือน) - ได้รับความคมุ้ ครอง 7 กรณดี งั นี้ o กรณเี จ็บป่วยหรอื ประสบอนั ตราย o กรณีคลอดบตุ ร o กรณีทุพพลภาพ o กรณีเสียชีวติ o กรณีสงเคราะห์บตุ ร o กรณีชราภาพ o กรณวี า่ งงาน 2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้ว อยา่ งนอ้ ย 12 เดือน และสมคั รภายใน 6 เดือน นบั จากวนั ทอ่ี อกจากงาน - สง่ เงินสมทบเขา้ กองทุน 432 บาทตอ่ เดือน - ไดร้ บั ความคมุ้ ครอง 6 กรณดี งั น้ี o กรณเี จบ็ ปว่ ยหรือประสบอนั ตราย o กรณคี ลอดบตุ ร o กรณที พุ พลภาพ o กรณีเสียชวี ติ o กรณีสงเคราะห์บตุ ร o กรณชี ราภาพ 3. ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ อาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบ ซึ่งไม่เป็น ผ้ปู ระกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 - ทางเลอื กในการจ่ายเงินสมทบ มี 3 ทางเลือก ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงนิ

106 o จา่ ยเงนิ สมทบ 70 บาท/เดือน ไดร้ ับความค้มุ ครอง 3 กรณี คือ กรณปี ระสบอนั ตรายหรอื เจ็บปว่ ย กรณีทุพพลภาพ และกรณเี สยี ชวี ิต o จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอนั ตรายหรอื เจบ็ ปว่ ย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสยี ชีวติ และกรณชี ราภาพ o จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน ได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณี สงเคราะห์บุตร หมายเหตุ: ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออม เพม่ิ ) ไดไ้ มเ่ กนิ 1,000 บาท/เดอื น ทงั้ นี้ อตั ราเงินสมทบหรือความคมุ้ ครองและสทิ ธิประโยชนอ์ นื่ ๆ ของผู้ประกันตน อาจเปล่ียนแปลงในอนาคต สามารถศกึ ษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกองทุนประกนั สังคม แหลง่ ศกึ ษาข้อมูลเพม่ิ เตมิ เวบ็ ไซต์กองทนุ ประกันสงั คม www.sso.go.th หรือโทร. 1506 เฟซบกุ๊ กองทนุ ประกันสังคม https://www.facebook.com/sso fanpage กิจกรรมท้ายเรื่องท่ี 5 การฝากเงนิ และการประกันภัย (ให้ผู้เรยี นไปทำกจิ กรรมเรื่องท่ี 5 ทีส่ มุดบนั ทกึ กิจกรรมการเรียนร)ู้ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 2 การวางแผนการเงิน

107 หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 สนิ เชื่อ สาระสำคญั ในยุคปัจจุบันผลิตภัณฑ์สินเชื่อมีความหลากหลายและประชาชนสามารถเข้าถึง ไดง้ า่ ยขนึ้ จงึ ทำให้การเป็นหนี้เปน็ เร่อื งที่พบเหน็ ได้โดยทว่ั ไป แมก้ ารกอ่ หนีจ้ ะมีประโยชน์ เพราะ เป็นตัวช่วยของหลาย ๆ คนในยามฉุกเฉิน หรือทำให้ได้สิ่งที่ต้องการง่ายขึ้น แต่หากเป็นหนี้ โดยขาดความระมัดระวังและการไตร่ตรองที่ดี ก็อาจสร้างปัญหาขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อเจอ สถานการณ์ที่คิดว่าการก่อหนี้น่าจะเป็นทางออก ก็ควรคิดให้รอบคอบถึงความจำเป็น และ ความสามารถในการชำระหนี้ นอกจากนี้ หนี้ที่จะเกิดขึ้นนั้นควรเป็นหนี้ที่ดี คือ เป็นหนี้ที่ช่วย สร้างรายได้ สรา้ งอนาคต ในจำนวนทจี่ ่ายไหว เมื่อคิดว่าจะก่อหนี้แล้ว ก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสินเชื่อเพื่อให้สามารถ เลอื กสินเชอ่ื ไดต้ รงกับเป้าหมายการใช้เงนิ ไดอ้ ตั ราดอกเบย้ี และบริการท่ีเหมาะสม ที่สำคัญต้อง มีวินัยทางการเงินเมือ่ ได้รับสินเชื่อ เพื่อให้จ่ายคนื ได้ตรงเวลา เต็มจำนวน และมีประวัติเครดิตดี แต่หากลูกหนี้เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะภาระหนี้ทีม่ ากเกินกว่าจะจา่ ยได้ หรือเกิด เหตุสุดวิสัย ก็ควรรีบหาทางแก้ไขซึ่งมีหลายวิธี เช่น แก้ไขด้วยตนเอง เจรจากับเจ้าหนี้ หรือขอ คำปรึกษาจากหนว่ ยงานที่เก่ยี วข้อง ตัวชี้วดั 1. บอกลักษณะท่ีสำคญั ของสนิ เชอ่ื ประเภทตา่ ง ๆ 2. บอกประเภทและวธิ คี ำนวณดอกเบ้ยี เงนิ กู้ 3. บอกความหมาย บทบาทหนา้ ท่ี และขอ้ มูลต่าง ๆ ทสี่ ำคัญเกย่ี วกบั เครดิตบโู ร 4. บอกวิธกี ารป้องกนั ปญั หาหน้ี 5. บอกวิธีแก้ไขปญั หาหนี้ 6. บอกช่องทางในการขอคำปรึกษาวิธแี ก้ไขปัญหาหน้ี ชดุ วิชาการเงินเพ่ือชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 3 สนิ เช่อื

108 ขอบขา่ ยเนอ้ื หา เรอ่ื งท่ี 1 การประเมนิ ความเหมาะสมก่อนตดั สินใจก่อหน้ี เรื่องที่ 2 ลกั ษณะของสนิ เชอื่ ประเภทต่าง ๆ และการคำนวณดอกเบี้ย เร่อื งที่ 3 เครดติ บโู ร เรอื่ งที่ 4 วธิ ีการป้องกันปญั หาหนี้ เรอ่ื งที่ 5 วธิ กี ารแก้ไขปญั หาหนี้ เรื่องท่ี 6 หนว่ ยงานทใ่ี หค้ ำปรึกษาวิธีการแกไ้ ขปัญหาหนี้ ส่อื ประกอบการเรียนรู้ 1. ชดุ วชิ าการเงินเพ่ือชีวิต 2 2. เวบ็ ไซต์ศูนย์คุ้มครองผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน (ศคง.): www.1213.or.th 3. เฟซบ๊กุ ศคง. 1213: www.facebook.com/hotline1213 เวลาทใ่ี ช้ในการศึกษา 36 ชว่ั โมง ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สนิ เช่อื

109 เรอ่ื งที่ 1 การประเมนิ ความเหมาะสมกอ่ นตดั สินใจกอ่ หนี้ หากทุกคนสามารถเลือกได้ คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ แต่หลายคนก็เลี่ยงไม่ได้ เพราะความจำเป็นในการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว หรือบางคนเป็นหนี้เพราะ ตกหลมุ พรางสิ่งล่อตาล่อใจภายนอก ดงั นนั้ ก่อนตัดสินใจก่อหน้ีก็ควรทำความรู้จักกับหน้ี เพื่อไม่ให้ หนี้กลายเปน็ ปญั หาในภายหลัง ซง่ึ สามารถแบง่ ประเภทตามประโยชนท์ ี่จะได้รบั จากการเป็นหน้ี ดงั นี้ 1. หนี้ดี คือ หนี้ที่ช่วยสร้างรายได้และสร้างความมั่นคงในอนาคต เช่น หนี้เพื่อ การศึกษา หนีเ้ พือ่ การประกอบอาชีพ หนี้เพ่ือทอี่ ยู่อาศัย 2. หนี้พึงระวัง คือ หน้ีที่เกิดจากการนำเงินไปซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือของ ฟมุ่ เฟือย และไม่สร้างรายไดใ้ นอนาคต เช่น หนี้ทเ่ี กดิ จากการซอื้ ของใช้ราคาแพงเกนิ ฐานะ ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 3 สนิ เช่ือ

110 3. หนี้อันตราย คือ หนี้ที่เกิดจากการนำเงินไปใช้กับสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงที่จะ ไม่ได้รับเงินคืน เป็นหนี้ที่ต้องละเว้นเด็ดขาด เช่น หนี้หวย หนี้พนัน กู้เงินไปลงทุนผิดกฎหมาย หรือมีความเสีย่ งสูงเกินกว่าทีเ่ ราจะรับไหวหากเกิดความเสยี หาย เช่น จะต้องเสยี เงินที่ลงทุนไป จนหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้ประเภทใดต้องคำนึงไว้เสมอว่า หนี้ไม่ใช่ของฟรี แต่เป็นสิ่งที่มี ราคาที่ต้องจ่ายในรูปของดอกเบี้ย ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นหนี้ ต้องถามตัวเองอย่างน้อย 2 คำถามก่อนว่า 1) หนท้ี จี่ ะก่อ “จำเปน็ หรือไม”่ ส่งิ ที่จำเปน็ คือ ส่ิงท่ีต้องใช้ในการดำรงชีวิต เชน่ ปัจจัยสี่ (อาหาร เคร่ืองนุ่งห่ม ยารักษาโรค ทอี่ ยอู่ าศยั ) สิ่งที่ไม่จำเป็น คือ สิ่งท่ีหากไม่มีก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้หรือมี ส่ิงอ่ืนทดแทนกนั ได้ เชน่ โทรศพั ท์มอื ถือรนุ่ ใหมล่ ่าสดุ (แต่เครือ่ งเดิมยงั ใช้ไดอ้ ยู)่ 2) หนี้ที่จะก่อ “รอได้หรือไม่” หมายถึง หากพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งจำเป็น ขั้นต่อไปก็คือ ไตร่ตรองดูว่าสามารถรอได้หรือไม่ ถ้ายังไม่จำเป็นต้องได้ของมาตอนนี้เลย ก็ควร วางแผนเก็บเงินจนครบก่อน แต่หากคิดอย่างถี่ถ้วนแล้วเห็นว่าจำเป็นต้องซื้อของสิ่งนั้นทันที ก็อาจนำเงินออมเผื่อฉุกเฉินออกมาใช้แล้วรีบเก็บเงินเติมเข้าไปใหม่ และหากเงินออม เผื่อฉุกเฉินไม่เพียงพอ จึงค่อยไปกู้ยืม (ถ้าเป็นของชิน้ ใหญ่ เช่น บ้าน รถ ก็ควรเก็บเงินให้ได้มาก ทส่ี ดุ ก่อน จะได้กนู้ อ้ ย ๆ และไม่ตอ้ งเปน็ หนี้และเสียดอกเบีย้ มาก) ที่สำคัญ จะต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย กลา่ วคือ ภาระหน้ีต่อเดือนท่ตี ้องจ่าย (หน้เี ดิมท่มี ีอย่แู ล้วรวมกับหนที้ กี่ ำลังจะเกิดขึ้นรวมเงินต้น และดอกเบย้ี ) ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 (33%) ของรายได้ต่อเดอื น ตัวอย่าง ดวงใจทำงานมีรายได้เดือนละ 21,000 บาท เมื่อแบ่งเงินเดือนออกเป็น 3 ส่วน เงินเดอื น 1 ส่วนใน 3 ส่วน คือ 7,000 บาท ดังนั้น ถ้าดวงใจจะก่อหน้ี ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายในแต่ละเดือนไม่ควรเกิน 7,000 บาท เพื่อให้สามารถชำระหนีไ้ ด้โดยไมก่ ระทบกบั การใช้จ่ายในชีวิตประจำวนั และทำให้ สขุ ภาพจติ ของตนเองดี ไม่ตอ้ งเครียดว่าจะมเี งินพอใช้ตลอดท้งั เดือนหรอื ไม่ ในทางตรงกันข้าม ชุดวิชาการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 3 สนิ เช่อื

111 หากเรามีหน้มี ากในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในชีวติ ประจำวันกม็ ีมากอยูแ่ ล้ว อาจทำให้เรามีปัญหา การเงินและต้องไปก่อหนี้เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต ซึ่งมักส่งผลเสียต่อการทำงาน และชวี ติ ครอบครัว รู้หรือไมว่ า่ การให้เงิน หมายถึง การให้เงินโดยไม่ไดห้ วังผลตอบแทน และไม่ได้หวังให้มีการนำเงิน ดังกล่าวมาจา่ ยคนื ให้ เชน่ พอ่ แม่ให้ค่าขนมแกล่ กู การบริจาคเงินเพื่อการกศุ ล การให้ยืมเงิน หมายถึง การให้เงินโดยคาดหวังให้มีการจ่ายคืนภายในระยะเวลาที่ กำหนด และมีการกำหนดอตั ราผลตอบแทนของการให้ยืมเงนิ นัน้ ด้วย ซ่งึ เรียกว่า “ดอกเบี้ย” เช่น สมชายให้สมหญิงกู้ยืม 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 2% ต่อปีและให้ใช้คืนเมื่อครบ 1 ปี หมายความว่า สมหญิงตอ้ งจ่ายเงนิ คนื สมชาย 10,200 บาท เมือ่ ครบ 1 ปี จะเหน็ ว่าการให้เงนิ เป็นการให้เปล่าไม่ตอ้ งคืน แตส่ ำหรบั การให้ยืมเงินเป็นการคาดหวัง ใหม้ กี ารจ่ายเงินคนื ซ่ึงผใู้ ห้ยมื อาจต้องการดอกเบี้ยหรือไม่ต้องการดอกเบี้ยกไ็ ด้ ดังน้ัน ก่อนท่ี จะให้เงินหรือให้ยืมเงิน ผู้ให้ยืมควรอธบิ ายให้ชัดเจนและเข้าใจตรงกันว่า ต้องการให้เงิน หรือ ต้องการให้ยืมเงิน ซึ่งหากเป็นการให้ยืมเงิน ผู้ให้ยืมควรแจ้งอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาที่ต้อง ชำระคืน และควรทำเอกสารเป็นลายลักษณ์อกั ษรเพือ่ เป็นหลักฐานการให้ยืมเงินไว้ดว้ ย ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๓ ได้กำหนดว่า การกู้ยืมเงินกว่าสองพัน บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกูย้ ืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือช่ือผู้ยมื เป็นสำคญั จะฟอ้ งร้องให้บังคับคดหี าได้ไม่ ชุดวชิ าการเงินเพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 3 สินเชอ่ื

112 เรือ่ งที่ 2 ลกั ษณะของสินเชอ่ื ประเภทต่าง ๆ และการคำนวณดอกเบยี้ หากไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจำเป็นต้องขอกู้ยืม ในลำดับต่อมา สิ่งที่ต้องทำ คอื หาข้อมลู คดิ และตัดสินใจว่าจะเลอื กกู้ยืมจากแหลง่ ใด ทางเลือกที่ดที างหนง่ึ คือ เลือกกู้ยืม จากผู้ให้บริการในระบบเพราะมีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการสินเชื่อในระบบหลายประเภท ทั้งที่เป็นสถาบัน การเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบัน การเงนิ (non-bank) เช่น บรษิ ทั ผปู้ ระกอบธุรกจิ สินเชื่อสว่ นบคุ คลภายใต้การกำกับ ประเภทสินเชอื่ สินเชื่อสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท โดยอาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ ในการขอกู้ เช่น สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และในแต่ละประเภทก็ยังมี ผลิตภัณฑ์สินเชื่อปลีกย่อยลงไปอีก ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะสินเชื่อที่เกี่ยวข้องในการ ดำรงชวี ิตของประชาชน เชน่ 1. สนิ เชอ่ื เพือ่ ที่อย่อู าศัย เป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้บุคคล ธรรมดากู้ยืม เพื่อนำเงินไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัย เช่น ซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซอ้ื หอ้ งชุด หรือเพือ่ ปรับปรุง ต่อเตมิ ซอ่ มแซมที่อยอู่ าศยั ลักษณะของสินเชอ่ื เพ่ือทอ่ี ยู่อาศยั 1) วงเงิน สถาบันการเงนิ จะอนมุ ตั ิวงเงินสนิ เชื่อตามอัตราสว่ นเงินให้สินเช่ือ ประมาณร้อยละ 70-100 ของมูลค่าหลักประกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยและ ลักษณะสญั ญา 2) อัตราดอกเบี้ย สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ย แตกตา่ งกัน แตส่ ว่ นใหญ่มกั จะใช้อตั ราดอกเบ้ยี คงท่ี และอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว อัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็น ตวั เลขคงที่ในชว่ งเวลาท่กี ำหนด เช่น ดอกเบย้ี คงท่ี 5% ต่อปีเปน็ ระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 5% ตอ่ ปีตลอดอายสุ ัญญา ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 3 สินเชื่อ

113 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate) คือ อัตราดอกเบีย้ ท่ีเปล่ียนแปลง ไปตามต้นทุนของสถาบนั การเงิน อัตราดอกเบีย้ ลอยตัวที่เหน็ ได้บ่อย คือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ของธนาคารพาณชิ ย์ เช่น - MLR (minimum loan rate) สำหรับลูกค้าสินเช่ือรายใหญช่ ้ันดี ใช้กบั เงินกู้ระยะยาว ที่มกี ำหนดระยะเวลาไวแ้ นน่ อน เชน่ สนิ เชอ่ื เพื่อการประกอบธุรกจิ - MOR (minimum overdraft rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ใช้กับ วงเงนิ เบกิ เกินบัญชี - MRR (minimum retail rate) สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชอ่ื เพอ่ื ทีอ่ ยอู่ าศัย สถาบันการเงินอาจคิดดอกเบี้ยแก่ผู้ขอสินเชื่อแต่ละรายโดยใช้อัตรา ดอกเบี้ยที่แตกต่างกันได้ และอาจสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของ ผขู้ อสนิ เช่ือแต่ละราย การกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอาจผสมกัน ระหว่างอัตราดอกเบย้ี คงท่ีและอัตราดอกเบีย้ ลอยตวั กไ็ ด้ เชน่ - ปที ่ี 1 - 3 คิดอัตราดอกเบย้ี แบบคงที่ 2.5% ตอ่ ปี - ปีท่ี 4 เปน็ ต้นไป คิดอัตราดอกเบ้ยี แบบลอยตัว MRR – 1% ตอ่ ปี ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถดูประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงได้ ซึ่งจะติด ประกาศไว้ ณ ท่ที ำการ หรือในเว็บไซต์ของสถาบนั การเงนิ ตัวอย่าง ธนาคาร A ประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดย MLR เท่ากับ 4% MOR เท่ากับ 5% และ MRR เท่ากับ 6% เมอ่ื ตอ้ งการขอสนิ เช่อื ท่ีอยู่อาศยั กับธนาคาร A - หากธนาคาร A แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR + 1% หมายความว่า ธนาคาร A จะคิดอตั ราดอกเบ้ยี เทา่ กบั 7% ตอ่ ปี (6% + 1%) - หากธนาคาร A แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1% หมายความว่า ธนาคาร A จะคิดอตั ราดอกเบยี้ เทา่ กับ 5% ต่อปี (6% - 1%) ชดุ วชิ าการเงนิ เพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 3 สนิ เช่อื

114 3) วิธีการคิดดอกเบี้ย คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate) ซึ่ง เป็นการคิดดอกเบี้ยจากฐานเงินต้นที่ลดลง กล่าวคือ เมื่อเงินต้นลดดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย ถา้ ผู้ให้สินเช่อื กำหนดใหต้ ้องผ่อนงวดละเทา่ ๆ กนั การคำนวณจะเป็นไป ตามขั้นตอนที่ 1 - 3 ดังนี้ ขนั้ ที่ 1 คำนวณดอกเบยี้ ที่ต้องจ่ายในงวดน้ัน โดยมสี ูตรคำนวณ ดงั น้ี * จำนวนวันใน 1 ปี สถาบันการเงินอาจใช้ 360 วัน หรือ 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะกำหนด จำนวนวันเป็นเท่าใดก็ตาม สถาบันการเงินจะต้องใช้จำนวนวันเดียวกันสำหรับการคำนวณทั้งดอกเบี้ยจ่าย เชน่ เงินฝาก และดอกเบย้ี รบั เชน่ สินเชอ่ื ขน้ั ท่ี 2 คำนวณเงนิ ต้นท่ลี ดลงในงวดนน้ั ขัน้ ตอนน้ีให้นำเงนิ คา่ งวดท่ีตอ้ ง จ่ายในงวดน้ัน หกั ออกดว้ ยดอกเบ้ยี จา่ ยที่คำนวณไดจ้ ากในขน้ั ท่ี 1 ยอดทไ่ี ดก้ ค็ ือ เงินตน้ ที่ได้จ่าย ไปในงวดนัน้ ขั้นที่ 3 คำนวณเงินต้นคงเหลือ ขั้นตอนนี้เพื่อหาเงินต้นคงเหลือเพื่อใช้ ในการคำนวณดอกเบย้ี ท่ตี ้องจ่ายในงวดถดั ไป ทั้งนี้ หากเป็นการผ่อนชำระด้วยจำนวนเงินต้นเท่ากันทุกเดือน หรือมีการ กำหนดจำนวนเงินต้นทตี่ ้องจ่ายไว้แนน่ อน ก็สามารถใชส้ ูตรในข้นั ท่ี 1 คำนวณหาดอกเบี้ยที่ต้อง จ่ายไดเ้ ช่นกนั ชดุ วชิ าการเงินเพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 3 สนิ เช่อื

115 ตวั อยา่ งการคำนวณดอกเบีย้ แบบลดตน้ ลดดอก ยอดชายกู้เงินจากธนาคารจำนวน 40,000 บาท ธนาคารกำหนดระยะเวลาผ่อน ชำระ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยธนาคารให้ ผ่อนชำระงวดละ 3,400 บาท ยกเว้นเดือนสุดท้ายให้ผ่อนชำระ 4,267 บาท ยอดชายจะต้อง จา่ ยดอกเบี้ยเปน็ เงินเท่าไร ข้างต้นเป็นการคำนวณสำหรับงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องคำนวณสำหรับงวดต่อ ๆ ไปตามขั้นตอน ข้างตน้ (ขน้ั ท่ี 1 - 3) จนครบทกุ งวด ก็จะได้ผลลัพธ์ตามตารางดา้ นล่าง จำนวนผอ่ น ชำระดอกเบี้ย ชำระเงินตน้ เงนิ ต้นคงเหลอื งวด ชำระตอ่ งวด (2) (1) - (2) (1) 0 - - - 40,000 1 3,400 255 3,145 36,855 2 3,400 212 3,188 33,667 3 3,400 214 3,186 30,481 4 3,400 188 3,212 27,269 5 3,400 174 3,226 24,043 6 3,400 148 3,252 20,791 ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 สนิ เชอื่

116 7 3,400 132 3,268 17,523 8 3,400 9 3,400 112 3,288 14,235 10 3,400 11 3,400 88 3,312 10,923 12 4,267 รวม 70 3,330 7,593 47 3,353 4,240 27 4,240 0 1,667 40,000 จากการคำนวณข้างต้น จะเห็นว่าดอกเบี้ยจะทยอยลดลงตามเงินต้นที่ลดลง โดย นายยอดชาย จะต้องจ่ายดอกเบ้ยี ทง้ั หมด 1,667 บาท 4) การผอ่ นชำระ ให้ระยะเวลาผอ่ นนานสว่ นใหญม่ ักไมเ่ กนิ 30 ปี ขอ้ ควรรู้ 1) เงนิ ผอ่ นชำระทีจ่ ่ายไปน้ัน จะนำไปหักคา่ ธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อน ที่เหลอื จึงจะนำไปหักเงนิ ต้น 2) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว หากช่วงใดอัตราดอกเบี้ย ปรับตัวสูงขึ้น จำนวนเงินที่จ่ายในงวดนั้น ๆ อาจถูกนำไปหักเป็นดอกเบี้ยมากขึ้นและเหลือไป ตดั เงนิ ต้นน้อยลง 3) หากค้างชำระหรือชำระค่างวดล่าช้า อาจถูกคิดดอกเบี้ยในอัตรา ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหน้ีที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้น ของงวดที่ผิดนดั การตัดสินใจที่จะมีบ้านสักหลัง เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญและเป็นเร่ืองใหญ่ใน ชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อบ้านมีมากมาย เช่น ทำเลทตี่ ้งั จำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสะดวกในการเดินทาง ราคา และความน่าเช่ือถือ ของโครงการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในกรณีซื้อบ้านด้วยการขอสินเชื่อก็คือ ความสามารถในการ ผ่อนชำระหนี้ เพราะหากซื้อบ้านท่ีถูกใจแต่เกินกำลังที่จะผ่อนชำระ สุดท้ายก็อาจทำให้เกิด ชดุ วชิ าการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 3 สินเชื่อ

117 ปญั หาได้ เช่น บ้านถูกยึดและขายทอดตลาดเพือ่ ชำระหนี้ ดังน้ัน กอ่ นตดั สนิ ใจซ้ือบ้านควรต้อง สำรวจความพร้อมของตัวเอง ดังนี้ - ต้องซื้อตอนนี้เลย หรือรอได้ หรือยังมีทางเลือกอื่นหรือไม่ เช่น เช่าอยู่ก่อน หรืออยู่กับพ่อแม่ไปก่อน โดยระหว่างนี้ก็ “ซ้อมผ่อน” ไปพลาง ๆ อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อ ทดลองดูว่าจะผ่อนไหวหรือไม่ตอนที่จะซื้อจริง (วิธีซ้อมผ่อน เริ่มจากเปิดบัญชีเงินฝาก 1 บัญชี เพื่อเกบ็ เงินซ้ือบา้ นโดยเฉพาะ แล้วนำเงินไปฝากทกุ เดือน เดอื นละเทา่ ๆ กัน โดยเท่ากับจำนวน เงินผ่อนบ้าน ซึ่งสามารถขอข้อมูลได้จากฝ่ายขายของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียมที่เรา อยากจะซื้อ หรือลองใช้โปรแกรมคำนวณของเว็บไซต์ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เพอ่ื หาจำนวนเงินผ่อนครา่ ว ๆ ที่สำคญั อย่าลมื ลงมือซ้อมผ่อนจริง ๆ ด้วย) - เลือกบ้านที่ไม่เกินกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ และมั่นใจว่า จะสามารถผ่อนได้ตลอดรอดฝั่ง (รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบ้าน เช่น ค่าตกแต่ง คา่ ส่วนกลางหมู่บา้ น/คอนโดมิเนียม คา่ นำ้ ประปา ค่าไฟฟา้ และคา่ ใชจ้ า่ ยสว่ นตัวด้วย) - ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ท่ี เก่ียวข้อง เพ่ือเลอื กธนาคารท่ีให้เงื่อนไขที่รับได้ - ควรมีเงินอย่างน้อย 20% ของราคาที่อยูอ่ าศัยเพื่อเป็นเงินดาวน์ (เงินดาวน์ คือ เงินส่วนหนึ่งที่ผู้จะซื้อบ้านจ่ายให้โครงการที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อชำระ ค่าบ้านทั้งหมด ซึ่งโครงการที่อยู่อาศัยอาจให้ชำระเป็นก้อนเดียว หรือทยอยผ่อนชำระเป็น รายงวด โดยมักกำหนดไว้ประมาณ 15 - 20% ของราคาทอี่ ยู่อาศยั ) - เตรียมเอกสารเพื่อทำเรื่องขอกู้ให้พร้อม เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น ใบรับรองเงินเดือน หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง สมุดเงินฝากธนาคาร - ตั้งเป้าหมายเก็บเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (นอกจาก เงนิ ดาวนแ์ ละคา่ ผอ่ นบา้ น) เช่น 1) ค่าประเมินหลักประกัน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการประเมินว่าบ้านหรือ หลักประกนั มีมลู คา่ เทา่ ไร ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สินเชอื่

118 2) ค่าจดจำนองและค่าอากรแสตมป์ ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ส่วนราชการ เช่น สำนักงานทด่ี นิ 3) ค่าประกันภัย เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ขอสินเชื่อ เช่น การทำประกันอัคคีภัย ซึ่งหากเกิดความเสียหายกับที่อยู่อาศัยก็ยังมีเงินก้อนหนึ่งจากการ ประกันภัยมาจ่ายค่าบ้าน ช่วยลดภาระแก่ผู้ขอสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ธนาคารไม่สามารถบังคับให้ ผู้ขอสินเชื่อทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะผู้ขอสินเชื่อมีสิทธิที่จะเลือก ทำประกนั ภยั ได้อย่างอิสระ 4) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน เช่น ค่าตกแต่ง ค่าปั๊มน้ำ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสว่ นกลาง (ถ้าอยใู่ นหมบู่ า้ นจดั สรรหรอื คอนโดมิเนยี ม) อย่าลืม...มีแผนสำรองหากผ่อนไม่ไหวกะทันหัน เช่น ออมเงินเผื่อฉุกเฉินทุกเดือน ถา้ เงนิ ไม่พอผ่อนเดอื นไหนกถ็ อนมาจ่ายกอ่ นหรือขายทองที่เกบ็ ไว้ แหลง่ ศึกษาข้อมูลเพม่ิ เตมิ เวบ็ ไซต์ ศคง. https://www.1213.or.th/th/tools/ โปรแกรมคำนวณเงินกู้ programs/Pages/loans.aspx 2. การเช่าซ้อื เชา่ ซ้อื (hire purchase) มลี ักษณะคลา้ ยการให้สินเชอื่ โดยผู้เช่าซื้อทำสัญญา กบั ผใู้ ห้เช่าซ้ือว่าจะชำระค่าสินค้าเป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและระยะเวลาทกี่ ำหนด ซ่ึงระหว่างน้ัน ผู้เช่าซื้อสามารถนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาใช้งานได้ก่อน โดยท่ีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สนิ ยังเป็นของ ผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าจะจ่ายเงินครบตามสัญญาจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นมาเป็นของ ผู้เชา่ ซอื้ เช่น การเช่าซอ้ื รถยนตห์ รือรถจกั รยานยนต์ ลีสซิ่ง (leasing) มีลักษณะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ คือ จะต้องชำระเงินค่าเช่า เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า ต่างกันตรงที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า สามารถเลือกไดว้ า่ จะซอ้ื ตอ่ สญั ญาเชา่ หรือสง่ คนื ทรัพย์ให้แก่ผู้ใหเ้ ช่า ส่วนมากผู้ท่ีทำสัญญา ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 สนิ เชื่อ

119 ลักษณะน้ี มกั เป็นบรษิ ทั หรอื นิตบิ ุคลที่ตอ้ งการเชา่ ทรพั ย์สนิ ทม่ี รี าคาแพงหรือเช่าทรัพย์สินใน ปรมิ าณมาก เชน่ เคร่อื งจกั ร ตวั อยา่ งการเชา่ ซื้อและลสี ซิ่ง เช่าซื้อ นายรักชาติ (ผู้เช่าซื้อ) ตัดสินใจจะเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ABC (ผู้ให้เช่าซื้อ) โดย ผู้เช่าซื้อตกลงชำระเป็นรายงวดตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนด รักชาติ สามารถนำรถยนต์มาใช้งานได้ก่อน โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรักชาติต่อเมื่อได้ ชำระค่ารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งบริษัท ABC จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนรถ ให้เป็นชื่อของรักชาติภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารประกอบการจด ทะเบยี นครบถ้วน ลีสซ่ิง บริษัทไทยทอผ้าทำสัญญาลีสซิ่งกับบริษัทสำราญลีสซิ่ง เพื่อเช่าเครื่องจักรสำหรับ ทอผ้าจำนวน 10 เครื่อง โดยทำสัญญา 5 ปี ซึ่งบริษัทสำราญลีสซิ่งยินดีเปลี่ยน เครื่องให้หากเครื่องขัดข้อง เมื่อครบกำหนดสัญญา บริษัทไทยทอผ้าเห็นว่า มีเทคโนโลยีการทอผ้าแบบใหม่จากญี่ปุ่นซึ่งต้นทุนต่ำกว่า จึงไม่จำเป็นต้องใช้ เคร่ืองทอผ้าร่นุ เดิมอกี ต่อไป จงึ ตัดสินใจคืนเครือ่ งทอผ้าใหแ้ ก่บรษิ ทั สำราญลีสซ่ิง การเช่าซื้อรถ ลักษณะของการเช่าซ้อื รถ 1) วงเงิน กรณีให้เช่าซื้อรถใหม่ ประมาณ 75 - 80% กรณีรถใช้แล้วจะขึ้นอยู่กับ สภาพรถและราคาประเมินรถ 2) ระยะเวลาการผ่อนชำระ ประมาณ 12 - 72 เดือน 3) อัตราดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) ตลอดอายสุ ญั ญา 4) วิธีการคิดดอกเบี้ย ส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงท่ี (flat rate) คือ คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด จากนั้น ผู้ให้เช่าซื้อจะนำดอกเบี้ยท่ีคำนวณไดม้ ารวมกบั เงนิ ต้น แล้วหารด้วยจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ ดงั นนั้ เงนิ ทีผ่ อ่ นชำระจะเท่ากันทุกงวด ท้งั น้ี สำนกั งานคณะกรรมการคุม้ ครองผูบ้ รโิ ภค (สคบ.) ชดุ วชิ าการเงนิ เพอื่ ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเชื่อ

120 ได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์จัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญา สำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (effective interest rate) เพอื่ ใหผ้ ูบ้ รโิ ภคไดร้ ับทราบภาระดอกเบ้ยี ท่แี ท้จรงิ ตอ่ ปี วธิ ีคำนวณค่างวด ตัวอย่าง นายยอดชายต้องการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 60,000 บาท ผู้ให้เช่าซื้อ คดิ อัตราดอกเบี้ยแบบเงนิ ต้นคงท่ี 4% ตอ่ ปี โดยใหร้ ะยะเวลาผ่อน 60 งวด (5 ปี) จะตอ้ งจ่ายค่างวด เปน็ เงนิ เทา่ ไร ข้อควรรู้ 1) หากผู้เช่าซือ้ เคยค้างชำระ และงวดต่อมาชำระหนี้ไมค่ รอบคลุมยอดหน้ี คงค้างของงวดก่อน หรือไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บ อาจส่งผลให้เงินที่ชำระ ค่างวดนั้นไม่พอตัดเงินต้น และยังคงเป็นหนี้ค้างชำระซึ่งจะถูกคิดเบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายในการ ติดตามทวงถามหน้ีในงวดถัดไปไดอ้ กี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ มาตรา 329 ระบุว่า หากเงินที่ลูกหนี้จ่ายเพื่อชำระหนี้ไม่เพียงพอ ให้นำเงินที่ลูกหนี้ชำระนั้นไปหักค่าธรรมเนียม หรือคา่ ใชจ้ า่ ยอน่ื ๆ ก่อน แลว้ จงึ หักดอกเบยี้ ทเี่ หลอื จงึ นำไปหักเงนิ ต้น) ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเชื่อ

121 2) หากผู้เช่าซื้อต้องการชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีก่อนครบ กำหนด ผู้ให้เช่าซื้อต้องให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อท่ี ยงั ไมถ่ งึ กำหนดชำระ โดยให้คดิ คำนวณตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรือ่ งสัญญาเช่า 3) ผู้ให้เช่าซ้อื สามารถบอกเลิกสญั ญาเช่าซอ้ื ได้ หากผู้เชา่ ซ้ือผิดนัดชำระ ค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดกัน อย่างไรก็ดี ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ ทค่ี ้างชำระภายใน 30 วันนับจากวันท่ผี ู้เช่าซื้อได้รับหนังสอื หากเลยกำหนดและผ้เู ช่าซื้อยงั ไม่มา ชำระ ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและดำเนินการนำรถกลับคืนได้ แต่หากผู้เช่าซื้อได้ นำเงินไปชำระครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดไว้ ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดรถ คืนจากผูเ้ ช่าซอื้ 4) การยึดรถจะใช้กำลังขู่เข็ญหรือทำร้ายร่างกายไม่ได้ หากมีการกระทำ ดังกล่าวให้แจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจ และร้องเรียนตาม พ.ร.บ. การทวงถามหน้ี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ได้แก่ กรมการปกครอง สถานีตำรวจ ท้องที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ทำการปกครองจังหวัด และทวี่ ่าการอำเภอ ขอ้ ควรระวัง กรณีมีผู้อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นผู้ให้เช่าซื้อ รถมาติดต่อ ผู้เช่าซื้อควรขอตรวจสอบเอกสารแสดงตนว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจริงหรือไม่ เช่น ใบรบั มอบอำนาจ บตั รประจำตวั เจา้ หนา้ ที่ และโทรศัพทต์ ดิ ต่อผ้ใู ห้เชา่ ซื้อโดยตรงว่ามีการ มอบอำนาจให้บุคคลตามที่กล่าวอ้างมายึดรถจริงหรือไม่ด้วย รวมถึงตรวจสอบประวัติการค้าง ชำระของตนเองวา่ ได้เขา้ สู่กระบวนการยึดรถแลว้ หรอื ไม่ อยา่ งไร 5) หลังจากผู้ให้เช่าซื้อยึดรถไปแล้ว ก่อนที่จะนำรถออกขาย ต้องแจ้ง ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซ้ือ ใช้สิทธ์ิซื้อรถคืน หากผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิ์ ผู้ให้เช่าซื้อก็จะนำออกขายโดยวิธีประมูลหรือขาย ทอดตลาด ชดุ วิชาการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเช่ือ

122 - หากขายได้ราคามากกว่ายอดหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนเงิน ส่วนเกนิ ให้แก่ผู้เชา่ ซอื้ - หากขายได้ราคาน้อยกว่ายอดหนี้ทีค่ า้ งชำระ ผู้เช่าซื้อยังตอ้ งชำระหนี้ สว่ นตา่ งใหแ้ กผ่ ใู้ หเ้ ช่าซื้อจนครบจำนวน 6) แม้ว่ารถจะให้ความสะดวกสบายแต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากมายตามมา นอกเหนือไปจากค่าผ่อนรถในแต่ละเดือน ถ้ายังไม่มั่นใจว่าจะรับมือกับค่าใช้จ่ายได้ก็ควร ชะลอการซื้อรถออกไปก่อน และใช้เวลาช่วงที่ยังไม่พร้อมนี้เก็บเงินดาวน์เพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ ลดภาระคา่ ผอ่ นชำระในอนาคต ตัวอยา่ งประมาณการค่าใชจ้ ่ายทเ่ี กย่ี วข้องกบั รถ* (ไม่รวมคา่ ผ่อนรถ) *เป็นเพียงข้อมูลค่าใช้จ่ายประมาณการเบื้องต้น ที่อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถ ประเภท อายกุ ารใช้งานของรถ รวมถึงลักษณะการใช้งานรถท่แี ตกต่างกัน กอ่ นตดั สนิ ใจเชา่ ซื้อรถสกั คนั ควรสำรวจความพรอ้ มของตนเอง ดังน้ี - ความสามารถในการผ่อนชำระกับรายได้ตนเอง ภาระผ่อนหนี้เมื่อรวม กับหนอี้ น่ื ที่มีทั้งหมดแล้วไม่ควรเกนิ 1 ใน 3 ของรายไดต้ อ่ เดือน และมีความสามารถในการจ่าย คา่ ใช้จ่ายตา่ ง ๆ ท่ีจะตามมาจากการเชา่ ซ้อื รถ - มีเงินออมเพื่อจ่ายเงินดาวน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ย ทตี่ อ้ งจ่ายลงไปได้อกี มาก ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 3 สินเชอื่

123 - ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ เงื่อนไข อื่น ๆ ของผู้ให้เช่าซื้อหลาย ๆ แห่ง และต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยที่เสนอให้นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ย ต่อเดือนหรอื ตอ่ ปี - เลอื กระยะเวลาผอ่ นทสี่ ั้นลง จะชว่ ยใหป้ ระหยดั ดอกเบีย้ ลงไปได้ 3. สินเชอ่ื ส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ เป็นสินเชื่อที่ให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาและไม่ต้องมีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็น หลักประกัน ซึ่งผู้ให้กู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณา คุณสมบัติของผกู้ ู้และวงเงนิ ท่ใี ห้แตกตา่ งกันไปตามวัตถุประสงคข์ องผู้กู้ โดยสามารถแบ่งเป็น 1) สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพือ่ การอุปโภคบริโภค หรือใช้ในการประกอบ อาชพี ปัจจุบันมรี ปู แบบใหบ้ รกิ ารหลากหลาย เช่น 1.1) เช่าซื้อสินค้ารายชิ้น (ไม่รวมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เครื่องจักร) ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลจะออกบัตรสมาชิก หรือที่มักเรียกกันว่า “บัตรผ่อน สินค้า” ผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้ซ้ือสนิ ค้าและบริการจากร้านค้าท่ีร่วมรายการได้ เช่น ซ้ือ เครอื่ งใชไ้ ฟฟ้า และตอ้ งชำระเงนิ แก่ผูใ้ ห้บริการตามงวดทีต่ กลงกนั 1.2) วงเงินสำรองพร้อมใช้ผ่านบัตรกดเงินสด หลังจากที่ได้รับอนุมัติ วงเงินสินเชื่อแล้ว ผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปเบิกถอนเงินออกมาใช้ได้ ตลอดเวลา ซึ่งผู้ถือบัตรต้องชำระคืนแก่ผู้ให้บริการทุกเดือน โดยสามารถ ชำระเต็มจำนวน มากกวา่ ขั้นต่ำ หรือขนั้ ตำ่ ตามทผี่ ้ใู หบ้ ริการกำหนดได้ 1.3) รับเงินสดทั้งก้อน แล้วทยอยผ่อนชำระคืนเป็น งวดตามทไี่ ดต้ กลงกับผ้ใู ห้บรกิ าร 2) จำนำทะเบียนรถแบบโอนลอย ผู้กู้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ โดย นำสมุดทะเบียนรถ (blue book) มาวางไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นการโอนลอย ทะเบยี นรถไว้ล่วงหนา้ เพ่ือเป็นประกนั การชำระหนี้ โดยผ้กู ยู้ ังสามารถครอบครองรถและใช้รถได้ ตามปกติ ซ่ึงผู้กูจ้ ะได้รับเงินก้อนนำไปใช้ตามวัตถปุ ระสงค์ทต่ี อ้ งการ และต้องชำระคืนเป็นรายงวด แก่ผู้ใหก้ ตู้ ามทตี่ กลงไว้ ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สนิ เชื่อ

124 ขอ้ ควรรู้ 1) คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นบุคคลที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีฐานะ ทางการเงินเพยี งพอสำหรบั การชำระหน้ีได้ 2) วงเงนิ พิจารณาตามเกณฑด์ งั ต่อไปนี้ รายได้หรือกระแสเงนิ สดหมุนเวียน วงเงินอนุมัติ เข้าบัญชีเงนิ ฝากเฉลย่ี ต่อเดอื น นอ้ ยกว่า 30,000 บาท ไมเ่ กิน 1.5 เท่าของรายไดห้ รือกระแสเงนิ สดหมุนเวยี น เข้าบัญชเี งินฝากเฉลย่ี ตอ่ เดือนตอ่ ผใู้ ห้บริการ (ขอกู้สงู สุดได้ไมเ่ กิน 3 แห่ง) ตง้ั แต่ 30,000 บาทขน้ึ ไป ไม่เกนิ 5 เท่าของรายได้หรือกระแสเงนิ สดหมุนเวียน เขา้ บญั ชีเงินฝากเฉลย่ี ต่อเดอื น วงเงินของสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและ สินเชือ่ ท่ีมีทะเบยี นรถเปน็ ประกันขึน้ อย่กู ับความสามารถในการชำระหนี้ 3) อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันแล้ว ไม่เกิน 25% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก (effective rate) สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และ ไม่เกิน 24% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก (effective rate) สำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็น ประกัน นอกจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอก เช่น คา่ ใชจ้ า่ ยติดตามทวงถามหนี้ แต่จะเรยี กเก็บไดไ้ มเ่ กนิ จากทไ่ี ดป้ ระกาศไว้ 4) วิธีการคิดดอกเบีย้ คิดดอกเบีย้ แบบลดต้นลดดอก (effective rate) ชดุ วชิ าการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สนิ เชอื่

125 ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ควรสำรวจความ พร้อมของตนเองก่อน ดงั นี้ - เลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาต เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ได้รับเงินกู้เต็มจำนวน ดอกเบี้ยถูกกว่าเงินกูน้ อกระบบ และ มหี น่วยงานทางการกำกับดูแล - ศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ คา่ ธรรมเนียมต่าง ๆ กอ่ นการเลือกใช้บรกิ าร - ระมัดระวังโฆษณาที่ระบุในทำนองว่า “ดอกเบี้ยน้อยนิด” โดยต้อง ดูว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวใช้หน่วยอะไร เช่น ถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน ให้คูณ 12 จึงจะ ไดอ้ ัตราดอกเบยี้ ต่อปี ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเชื่อ

126 - อย่าใชบ้ ริการเพยี งเพราะตอ้ งการของแถม 4. บตั รเครดติ เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิต (ผู้ออกบัตร) เพื่อให้ผู้บริโภค (ผู้ถือบัตร) นำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแทน เงินสด โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก หรือทำรายการซื้อสินค้าและบริการแบบออนไลนผ์ ่าน อินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งผู้ออกบัตรจะจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าไปก่อน และผู้ถือบัตรสามารถใช้ บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ด้วย โดยไม่เกินวงเงินที่ผู้ออกบัตร กำหนดไว้ และจะถกู เรียกเกบ็ เงินพรอ้ มดอกเบีย้ (ถ้าม)ี จากผอู้ อกบตั รตามระยะเวลาทีก่ ำหนด ลกั ษณะสำคัญของบตั รเครดิต 1) คุณสมบัติผู้สมัคร มีรายได้ไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือมีเงิน ฝากหรอื สินทรัพยต์ ามท่ีธนาคารแหง่ ประเทศไทยกำหนด 2) วงเงิน พิจารณาตามเกณฑ์ดงั ตอ่ ไปนี้ รายได้ตอ่ เดอื น วงเงนิ อนมุ ตั ิ ตง้ั แต่ 15,000 บาท แต่น้อยกว่า 30,000 บาท 1.5 เท่าของรายไดเ้ ฉลี่ยต่อเดือน ตัง้ แต่ 30,000 บาท แต่น้อยกวา่ 50,000 บาท 3 เทา่ ของรายไดเ้ ฉลย่ี ตอ่ เดอื น ต้ังแต่ 50,000 บาทขึ้นไป 5 เทา่ ของรายไดเ้ ฉลยี่ ต่อเดอื น 3) อตั ราดอกเบีย้ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกนั แล้วไม่เกิน 16% ต่อปี - หากชำระหนี้บัตรเครดิตตรงเวลาและเต็มจำนวน (โดยไม่ได้เบิกถอน เงินสดเลย) จะได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบ้ยี ประมาณ 45 – 56 วนั - กรณีเบิกถอนเงินสดดว้ ยบัตรเครดติ จะไมม่ ชี ่วงเวลาปลอดดอกเบี้ยและ ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเบิกถอนได้อีกไม่เกิน 3% ของจำนวนเงินสดที่ถอน และ ภาษมี ูลคา่ เพิม่ 7% ของคา่ ธรรมเนียมการเบกิ ถอน - หากชำระหนี้บัตรเครดิตล่าช้า ชำระขั้นต่ำหรือชำระบางส่วน หรือมี การเบิกถอนเงินสด จะถูกคิดดอกเบี้ย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ (1) คิดเต็มจำนวนตั้งแต่ วันทใี่ ช้บตั รซอ้ื ของ/จา่ ยคา่ บรกิ ารหรือถอนเงนิ ถึงวันก่อนหนา้ วนั ชำระเงิน และ (2) คิดตามยอด ชดุ วชิ าการเงินเพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 3 สินเชอื่

127 คงค้างตั้งแต่วันที่ชำระถึงวันสรุปยอดถัดไป (ดูตัวอย่างการคำนวณได้ที่เอกสารประกอบใบแจ้ง หน้ี หรอื เว็บไซตข์ องบัตรเครดิต) 4) วธิ กี ารคิดดอกเบ้ีย เป็นแบบลดต้นลดดอก (effective rate) ขอ้ ควรรู้ 1) การนำบัตรเครดิตไปใช้ในต่างประเทศ ผู้ออกบัตรอาจคิดค่าความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 2 – 2.5% ของยอดใช้จ่าย จึงควรศึกษาเงื่อนไขจากผู้ออกบัตร วา่ มกี ารคิดหรอื ไม่ อยา่ งไร 2) การชำระเงิน ควรชำระเต็มจำนวนและตรงเวลา แต่หากไม่สามารถ ชำระเต็มจำนวนได้ ก็ต้องชำระหนี้ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก มาตรการให้ความช่วยเหลอื ลูกหน้ีเนือ่ งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จากเดิมที่ กำหนดอตั ราการผ่อนชำระขนั้ ต่ำ 10% ลดลงเหลอื 5% จนถึงส้นิ ปี 2565 แล้วปรบั ขึ้นเป็น 8% สำหรับปี 2566 และ 10% เท่าเดิม ตั้งแต่ปี 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) แต่ใน สถานการณ์ปกติ ผู้ออกบัตรอาจกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำไว้ด้วย เช่น ชำระขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10% ของยอดหนี้คงค้างแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกวา่ 1,000 บาท อย่างไรก็ดี หากมีรายการผ่อนชำระเงื่อนไข 0% อยู่ในใบแจ้งหนี้ ยอดผ่อนชำระข้นั ตำ่ อาจจะมากกวา่ ทก่ี ำหนดตามหลกั เกณฑไ์ ด้ ตวั อยา่ ง หากมกี ารใชจ้ ่ายซื้อโซฟา 10,000 บาท และมรี ายการซอ้ื เคร่อื งใช้ไฟฟ้า 20,000 บาท ซึ่งตกลงผอ่ นชำระ 0% จำนวน 4 เดือน เดือนละ 5,000 บาท การคำนวณรายการเรียกเกบ็ ขนั้ ต่ำ ยอดขั้นต่ำของรายการซือ้ โซฟา = 1,000 บาท (10,000 x 10%) ยอดผอ่ นชำระรายการซอ้ื เครือ่ งใชไ้ ฟฟา้ = 5,000 บาท ดงั น้นั ยอดขน้ั ต่ำในรอบบิลนั้นจะเรียกเกบ็ เท่ากบั 6,000 บาท (1,000 + 5,000) 3) กรณีค้างชำระบัตรเครดิตติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือนนับแต่วันที่ครบ กำหนดชำระ ผู้ออกบัตรสามารถยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของผู้ถือบัตรได้ทันที และลูกหนี้อาจ ถกู ส่งฟอ้ งศาลเพ่อื เรียกให้ชำระหน้ีทีค่ ้างอย่ทู ้ังหมด ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 3 สนิ เช่ือ

128 นอ้ ยท่สี ุด ข้อคดิ กอ่ นตัดสินใจมบี ัตรเครดิต 1) ทำความเขา้ ใจเงือ่ นไขก่อนสมัคร 2) ใชบ้ ัตรเครดิตเท่าทีจ่ ำเป็นและมน่ั ใจว่าจะสามารถจา่ ยคืนได้ 3) ชำระเต็มจำนวน ตรงเวลา หรือจ่ายให้ได้มากที่สุด เพื่อให้จ่ายดอกเบี้ย 4) อยา่ ทำบัตรเพราะเหน็ แกข่ องแถม 5. สนิ เชื่อรายย่อยเพอ่ื การประกอบอาชีพภายใตก้ ารกำกบั (Nano finance) เป็นสินเชื่อรายย่อยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อนำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพโดยท่ีไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ คา่ บริการ คา่ ธรรมเนียมใด ๆ และคา่ ใช้จา่ ยอื่น ๆ รวมกนั แลว้ ตอ้ งไมเ่ กนิ 33% ต่อปี แบบลดตน้ ลดดอก (effective rate) ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 3 สนิ เชื่อ

129 6. สินเชื่อรายย่อยระดบั จงั หวดั ภายใตก้ ารกำกบั (Pico finance) เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ทั้งแบบมีและไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดย ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง สินเชื่อประเภทนี้ผู้กู้ต้องมี ภูมิลำเนาหรือถิ่นทีอ่ ยู่ในจงั หวัดที่สำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจตั้งอยู่เทา่ นั้น แต่ไม่รวมถงึ สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงานที่หน่วยงาน ตน้ สงั กดั ได้มีการทำสัญญากับผูป้ ระกอบธรุ กจิ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดอัตรา ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันแล้วไม่เกิน 36% ต่อปี แบบลดต้นลด ดอก (effective rate) 2) สินเชื่อพิโกพลัส วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท (ในกรณีขอสินเชื่อเกินกว่า 50,000 บาท ต้องจัดทำสัญญากู้เงินอย่างน้อย 2 สัญญา โดยวงเงินสินเชื่อต่อสัญญา ไม่เกิน สัญญาละ 50,000 บาท) โดยคดิ อตั ราดอกเบีย้ คา่ ปรับ ค่าบรกิ าร และค่าธรรมเนยี มใด ๆ ดงั น้ี • วงเงินสนิ เชอื่ ไม่เกนิ 50,000 บาทแรก คดิ ได้ไมเ่ กิน 36% ต่อปี แบบ ลดตน้ ลดดอก (effective rate) • วงเงินสินเช่ือส่วนท่ีเกิน 50,000 บาท แต่ไมเ่ กนิ 100,000 บาท คิดได้ ไมเ่ กนิ 28% ตอ่ ปี แบบลดตน้ ลดดอก (effective rate) แหล่งศกึ ษาขอ้ มลู เพ่มิ เติม เว็บไซต์สำนกั งาน http://www.1359.go.th/picodoc/ เศรษฐกิจการคลัง หรือโทร. 1359 กด 3 เกณฑใ์ นการพิจารณาสินเชอ่ื ของสถาบันการเงิน การพิจารณาว่าจะให้สินเชื่อหรือไม่นั้น ผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาข้อมูลจากหลายด้าน เช่น คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ อาชีพ แหล่งรายได้ ประวัติการขอสินเชื่อ ประวัติการชำระหนี้ วงเงินที่ขอ และวัตถุประสงค์ในการขอกู้ ซึ่งผู้ให้สินเชื่อจะนำมาพิจารณาว่าสามารถอนุมัติ สินเชอ่ื ใหไ้ ด้หรือไม่ หากถกู ปฏเิ สธสินเช่ือ ผู้กูส้ ามารถขอใหส้ ถาบันการเงินชแี้ จงเหตุผลของการ ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 3 สินเชือ่

130 ไมอ่ นุมตั ิสนิ เชื่อเปน็ ลายลักษณ์อักษร ซงึ่ จะเปน็ ประโยชน์ตอ่ การปรับปรุงตนเพื่อให้ได้รับสินเช่ือ ในอนาคตต่อไป สาเหตทุ ่ีสถาบันการเงินปฏเิ สธการใหส้ นิ เช่อื อาจเกดิ จาก 1. มีประวัติค้างชำระ หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติค้างชำระหนี้และยังไม่สะสาง ภาระหน้ี ผู้ใหส้ นิ เช่อื อาจเหน็ ว่ามคี วามเส่ียงทจี่ ะไมไ่ ด้รับการชำระคืน จึงไม่อนุมตั ิสินเช่ือ ดังน้ัน ควรติดต่อเจ้าหนี้ที่ตนเองมีประวัติค้างชำระเพื่อชำระหนี้ที่ค้างให้เสร็จสิ้น และพยายามสร้าง ประวัติการชำระเงินที่ดีอย่าให้มีประวัติการค้างชำระอีก เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติ สินเชื่อในอนาคต 2. แหล่งรายได้ขาดความน่าเชื่อถือ อาจเกิดจากผู้ขอสินเชื่อประกอบอาชีพ อิสระหรือมีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งผู้ให้สินเชื่ออาจเห็นว่าจะส่งผลต่อการชำระหนี้คืนในอนาคต ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้สินเชื่อ ผู้ขอสินเชื่อควรเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน และนำเงนิ ที่ไดจ้ ากการประกอบอาชีพเข้าบัญชอี ย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดอื นหรอื 1 ปี เพื่อ แสดงใหเ้ หน็ วา่ ผ้ขู อสนิ เช่ือมีรายไดเ้ พียงพอและมคี วามสามารถในการชำระหนี้ 3. ขาดความสามารถในการชำระหนี้ สถาบันการเงินอาจเห็นวา่ วงเงนิ สินเช่อื ทข่ี อสงู เกนิ กวา่ ความสามารถในการชำระหนี้ ซึง่ ในกรณนี ้ี ผู้ขอสนิ เช่อื อาจต้องหารายได้เพมิ่ และ นำหลักฐานมาแสดง หรือหาผ้กู รู้ ่วม เพ่ือให้ได้วงเงนิ สนิ เชอ่ื ที่ต้องการ กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 2 ลักษณะของสินเช่ือประเภทตา่ ง ๆ และการคำนวณดอกเบ้ยี (ให้ผู้เรยี นไปทำกจิ กรรมเรื่องท่ี 2 ทสี่ มดุ บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้) ชุดวชิ าการเงินเพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 3 สนิ เชอื่

131 เรอ่ื งท่ี 3 เครดติ บูโร คนที่ขอกู้เงินธนาคาร หรือสมัครบัตรเครดิต ซื้อบ้าน ซื้อรถ ผ่อนเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ อาจเคยได้ยินคำว่า “เครดิตบูโร” และสงสัยว่า เครดิตบูโร (credit bureau) น้ี คอื อะไร ทำไมตอ้ งมี และมีความสำคัญอยา่ งไร เครดิตบูโร เป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก มีหน้าที่รวบรวม ข้อมลู เกีย่ วกับลูกค้าท่ขี อสินเช่ือจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ท่ีเปน็ สมาชกิ ของเครดติ บโู รว่า ลูกค้า แต่ละคนมีหนอ้ี ยกู่ บั สถาบันการเงินใดบ้าง จำนวนมากนอ้ ยเท่าไร และในแตล่ ะเดอื นมีการชำระ หน้ีหรอื ไม่อย่างไร ข้อมูลท่เี ก็บไว้เรียกว่า “ข้อมูลเครดิต” ในประเทศไทยมเี ครดิตบูโรเพียงแห่ง เดียว คือ บริษัท ขอ้ มูลเครดติ แห่งชาติ จำกดั (เครดิตบูโร) ประโยชน์ของเครดติ บูโร 1. ช่วยคุ้มครองผู้ฝากเงินไม่ให้สถาบันการเงินนำเงินฝากหรือเงินที่กู้ยืมจาก ประชาชนไปปลอ่ ยกโู้ ดยไม่มขี อ้ มูลภาระหน้ีและประวัติการชำระหนีข้ องลกู ค้าอย่างเพียงพอ ซึ่ง หากไม่ได้รับเงินกู้คืนในอนาคต สถาบันการเงินก็จะไม่มีเงินคืนผู้ฝากเงิน ทำให้เกิดวิกฤติทาง การเงิน ระบบสถาบนั การเงนิ ของชาติไมม่ น่ั คงและประชาชนเดอื ดร้อน 2. ช่วยให้ธนาคาร/สถาบันการเงินมีข้อมูลด้านภาระหนี้สินและประวัติการ ชำระหนท้ี ่ผี ่านมาของลกู คา้ เพื่อประกอบกบั ข้อมลู อน่ื ว่าควรใหล้ กู ค้ากู้ยมื มากนอ้ ยเพียงใด 3. ชว่ ยใหผ้ ูม้ ีประวัตกิ ารชำระหน้ีท่ดี ี (ซง่ึ เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ) สามารถ กูห้ รือขอสนิ เชอ่ื ได้รวดเรว็ ดว้ ยตน้ ทุนทถ่ี ูก และได้รบั ข้อเสนอทดี่ ี 4. ทำใหค้ นไทยมวี ินยั ทางการเงนิ โดยจะก้เู งนิ หรือใช้จ่ายบัตรเครดติ เฉพาะเมื่อ มีความจำเป็นเท่านนั้ และชำระหนต้ี รงเวลา มิฉะนัน้ ประวตั ทิ ด่ี ีในเครดติ บูโรจะกลายเปน็ ประวตั ิ ทไี่ มด่ ี สมาชกิ ของเครดิตบูโร หมายถงึ สถาบนั การเงินท่เี ครดิตบูโรรับเขา้ เปน็ สมาชิก ได้แก่ ธนาคารพาณชิ ย์ ทั่วไป ธนาคารของรัฐ (เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์) บริษัทบัตรเครดิต บริษัทไฟแนนซ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ บริษัท ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 3 สนิ เชื่อ

132 ให้บริการเงินด่วน/ผ่อนสินค้าต่าง ๆ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิต รวมไปถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเพื่อ ดำเนินการทางการเงิน และนติ ิบุคคลอื่นทป่ี ระกอบกิจการให้สนิ เช่อื ที่เป็นทางการค้าปกติตามที่ ประกาศกำหนด โดยสมาชิกจะส่งข้อมูลเครดิตให้แก่เครดิตบูโรเป็นประจำทุกเดือนไปจนกว่า ลูกค้าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ไม่ว่าในแต่ละเดือนลูกค้าจะชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ก็ตาม ไม่ได้ส่ง ขอ้ มูลมาเกบ็ เฉพาะเม่ือลกู ค้าคา้ งชำระหนี้ ข้อมลู เครดิต ความสำคัญของข้อมูลเครดิต ข้อมูลเครดิตเป็นประโยชน์ตอ่ การพิจารณาสินเชื่อ โดยจะแสดงถึงภาระหนีแ้ ละ การชำระหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนคนนั้นมีพฤติกรรมการเป็นหนี้อย่างไร มีความต้ังใจในการชำระหน้ีและความน่าเช่อื ถือเพียงใด หรอื ทเ่ี รียกกนั ว่า มี “เครดิต” ดีหรือไม่ นั่นเอง ทำให้มีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ กับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการขอกู้เงนิ การขอสินเชื่อ และบัตรเครดิต ซึ่งสมาชิกจะเรียกดูข้อมูลเครดิตจากเครดิตบูโร เพื่อนำไป พิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ เช่น รายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ อาชีพ อายุ และ หลักประกัน เป็นต้น ดังนั้น ย่อมกล่าวได้วา่ ผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีย่อมมโี อกาสได้รับสินเชือ่ ในอัตราท่ีเหมาะสม ตัวอย่างเช่น นายแดงเป็นหนี้บ้านกับธนาคาร A 1 ล้านบาท เป็นหนี้รถยนต์กับไฟแนนซ์ B 5 แสนบาท และมีหนี้บัตรเครดิตธนาคาร C 3 หมื่นบาท ต่อมานายแดงไปขอกู้เงินกบั ธนาคาร D และให้ความยินยอมแก่เครดิตบูโร ในการเปิดเผยข้อมูลของตนในเครดิตบูโรแก่ธนาคาร D ธนาคาร D กจ็ ะทราบว่า นายแดงมีหนี้อยู่ถึง 3 แห่ง เปน็ เงนิ ทง้ั ส้ิน 1,530,000 บาท แต่ละแห่ง ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามเวลาที่ตกลงกันหรือไม่ ธนาคาร D ก็จะนำข้อมูลนี้ไปพิจารณา ประกอบกับข้อมูลอน่ื ในการพจิ ารณาอนมุ ตั เิ งินทีข่ อกู้ ท้ังนี้ สมาชกิ จะใช้ข้อมูลดงั กลา่ วได้เฉพาะเพอื่ การพจิ ารณาสินเชื่อ โดยตอ้ งได้รับ ความยินยอมจากลูกค้าซึ่งเปน็ เจ้าของขอ้ มูลก่อน และต้องไม่เปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลแก่ผูอ้ ืน่ ที่ไม่มีสิทธิรับรู้ข้อมูล หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 10 ปี หรือ ปรับไมเ่ กินห้าแสนบาท หรือทัง้ จำท้งั ปรบั ชดุ วิชาการเงินเพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 3 สนิ เช่อื

133 ขอ้ มูลเครดิตประกอบด้วย 2 สว่ น สว่ นที่ 1 ขอ้ มูลสว่ นตัวของลูกค้า เช่น ชื่อ นามสกุล ท่ีอยู่ วันเดือนปีเกิด เลขท่ี บตั รประจำตวั ประชาชน ส่วนที่ 2 ขอ้ มลู เกย่ี วกับประวตั กิ ารขอ การไดร้ บั อนมุ ัติ และประวัติการชำระหน้ี เงินกู้ บตั รเครดติ ผ่อนบา้ น รถ สินคา้ และบริการต่าง ๆ ลกู ค้าในฐานะเจ้าของข้อมูล มีสิทธติ รวจสอบข้อมลู ของตน หากพบว่าไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งให้สถาบันการเงินแก้ไขได้ โดยจะได้รับแจ้งผลการตรวจสอบหรือแก้ไขขอ้ มลู พรอ้ ม เหตุผลภายในระยะเวลา 30 วัน หากยังพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง ให้แจ้งบริษัทข้อมูลเครดิตบันทึกข้อโต้แย้งไว้ใน รายงานข้อมูลเครดิตดว้ ย ซึ่งจะทำให้สมาชิกอื่นทีเ่ รียกดูข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อทราบข้อโต้แย้งที่บันทึกไว้ นอกจากนี้ ยังสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการคุ้มครอง ข้อมูลเครดิตหากเห็นว่า ข้อมูลในรายงานข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้องและยังไม่ได้รับการแก้ไข โดย ยื่นอุทธรณ์ภายใน 60 วันนับจากวันที่บริษัทข้อมูลเครดิตแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ต่อเจ้าของ ขอ้ มูล เครดิตบูโรจะไม่เก็บข้อมูลรายได้ เงินเดือน เงินฝาก ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์ทุกชนิด รวมทั้งข้อมูลของผู้ค้ำประกัน บุคคลล้มละลาย การดำเนินคดีทั้งทางแพง่ ทางอาญาและล้มละลาย อายกุ ารจดั เกบ็ ขอ้ มูลเครดติ เครดิตบูโรมีหน้าที่ประมวลผลและจัดทำรายงานข้อมูลเครดิตของลูกหนี้จนกวา่ จะสิ้นสุดสัญญาหรือปิดบัญชี และยังคงต้องดำเนินการต่อตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึง่ เครดติ บโู รจะเกบ็ ขอ้ มูลเครดิตไวใ้ นฐานขอ้ มลู เปน็ เวลาไม่เกิน 3 ปี (36 เดอื น) ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 3 สินเช่ือ

134 ตวั อย่างรายงานข้อมลู เครดิต* ▪ สถานะบญั ชี หมายถึง สถานะของบญั ชีสินเช่ือของลูกค้าในปจั จุบนั ว่าอยู่ในสถานะใด เชน่ รหัส 10 – ปกติ หมายถึง ไม่มีหน้คี า้ งชำระ หรอื ค้างชำระไม่เกนิ 90 วัน รหสั 11 – ปดิ บัญชี หมายถงึ ลูกหนี้ชำระหน้ีหมด หรอื ชำระครบตามยอดท่ไี ด้ตกลง ชดุ วชิ าการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ่ี 3 สินเชื่อ

135 ประนอมหนร้ี ะหว่างสมาชิกและลูกคา้ รหสั 20 – หนี้ค้างชำระเกนิ 90 วัน หมายถงึ ลกู หน้ีมหี นค้ี า้ งชำระเกิน 90 วัน ▪ จำนวนวนั ท่ีค้างชำระ จะบอกวา่ ในเดอื นน้นั ๆ ลูกค้ามีการชำระปกติ หรอื มีคา้ งชำระ หรือไม่ เชน่ ไมค่ ้างชำระหรือค้างชำระไมเ่ กนิ 30 วนั คา้ งชำระ 31-60 วนั หรือค้างชำระ 61-90 วนั *ทีม่ า: เวบ็ ไซต์บรษิ ทั ข้อมูลเครดติ แหง่ ชาติ จำกัด การติดเครดติ บโู ร หรอื ตดิ blacklist เครดิตบูโรมีหน้าที่รายงานข้อมูลเครดิตและสถานะลูกหนี้ตามข้อเท็จจริงท่ี เกิดขึ้นในแต่ละเดือนตามที่ได้รับแจ้งจากสมาชิก เช่น กรณีที่ลูกค้าชำระหนี้ได้ตามสัญญาจะ รายงานว่า มีสถานะ “ปกติ” หรือ “ไม่ค้างชำระหน้ี” ถ้าลูกค้าไม่ชำระหนี้ ก็จะรายงานสถานะ ว่า “ค้างชำระหนี้” เครดิตบูโรจะไม่มีการรายงานว่า ติด blacklist หรือติดเครดิตบูโร ซึ่งจะ ทำให้ขอกเู้ งินไม่ได้ กล่าวคอื เครดติ บูโรไม่เคยขนึ้ บัญชดี ำ (blacklist) หรือขึน้ ทะเบียนผู้หน่ึง ผใู้ ดใหต้ ดิ เครดิตบโู ร หรอื ตดิ แบล็กลิสต์ หรอื มกี ารเก็บขอ้ มลู เปน็ รายบคุ คลหรอื เปน็ รายบญั ชี วา่ เปน็ บคุ คลทีส่ ถาบนั การเงินไม่ควรใหก้ ูเ้ งินแต่อย่างใด การที่สถาบันการเงินจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะให้กู้แก่ผู้ใดนั้น จะเป็นไปตาม นโยบายการให้กู้ยืมของสถาบันการเงินนั้น ๆ โดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญหลายอย่างมา พิจารณาประกอบกัน รวมถึงเอกสารข้อมูลของลูกค้าในการยื่นขอกู้ ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจ การเงนิ ของประเทศในขณะน้ันอีกด้วย ไม่ใชพ่ ิจารณาข้อมูลเครดติ จากเครดติ บโู รแต่เพียงอย่างเดยี ว แหลง่ ศึกษาข้อมูลเพิม่ เตมิ เว็บไซต์บริษัท ข้อมูลเครดติ แห่งชาติ จำกดั https://www.ncb.co.th กจิ กรรมทา้ ยเร่ืองที่ 3 เครดิตบูโร (ให้ผู้เรยี นไปทำกจิ กรรมเรอื่ งที่ 3 ทีส่ มดุ บันทกึ กิจกรรมการเรยี นรู้) ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 3 สนิ เชอื่

136 เรอ่ื งที่ 4 วิธกี ารปอ้ งกันปญั หาหน้ี บางครั้งปัญหาเพียงเล็กน้อยในวันนี้ เชน่ นำเงินกู้ไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอ (เชน่ บอกเจา้ หน้วี ่าจะกูม้ าขยายธุรกิจ แต่กลับแบ่งเงนิ ส่วนหน่ึงไปเท่ียว) ลมื จ่าย เดือนไหนไม่มี เงินก็ไม่จ่าย หรือไม่เคยอ่านเงื่อนไขของสัญญาสินเชื่อ อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ หากไมป่ ้องกัน กรณศี กึ ษา วารตี ง้ั ใจจะขอสินเช่ือกับธนาคาร A เพ่อื นำเงนิ ไปเป็นทนุ ซ้อื สินค้ามาขาย ธนาคาร A ให้กู้จำนวน 50,000 บาท เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อก็นำเงิน บางสว่ นไปให้แฟนซื้อเครอื่ งปรบั อากาศ จงึ เหลอื เงินไม่พอทจี่ ะซ้ือของเขา้ รา้ น ยอดขายสนิ ค้าจงึ ไดน้ อ้ ยกว่าทต่ี ้ังเป้าไว้ เมื่อถึงคราวต้องชำระหน้ี ก็ชำระบางส่วนเพราะเงินไม่พอ เดือนต่อ ๆ มา ก็ชำระบ้าง ไม่ชำระบ้าง จึงถูกธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นเนื่องจากวารีผิดนัดชำระ นานวนั เข้าก็เร่ิมถูกติดตามทวงถามหนี้ สดุ ทา้ ยวารจี ึงต้องไปกู้เงนิ จากธนาคาร B อกี 50,000 บาท เพื่อหวังจะนำเงินมาเป็นทุน จะได้มีเงินพอชำระหนี้ แต่ปรากฏวา่ ธนาคาร B ปฏิเสธการอนมุ ตั ิ สินเช่อื เน่ืองจากวารมี ปี ระวัติคา้ งชำระมากกวา่ 3 เดอื น จากกรณีศึกษาข้างต้น จะเห็นว่าปัญหาเล็กน้อยได้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพียงเพราะการนำเงินไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และไม่ได้ศึกษาเงื่อนไขว่าสินเชือ่ ท่ีตนเองกู้ มานนั้ จะคิดดอกเบีย้ ปรบั ในอตั ราทสี่ งู ขึ้นหากไม่ชำระหนี้ตามท่ตี กลงกนั ไว้ ดงั น้ัน กอ่ นทห่ี นจี้ ะกลายเปน็ ปัญหาใหญ่ เมอ่ื ไดร้ ับสนิ เชอ่ื แล้ว ควรปฏิบตั ติ น ดังนี้ 1. ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจขอสินเชื่อจริง ๆ เช่น กู้เงินมาเพื่อประกอบ อาชีพ ก็ไม่แบ่งเงินไปทำอย่างอื่น เพราะอาจทำให้เราเหลือเงินไม่พอที่จะทำในสิ่งที่ตั้งใจ และมปี ระโยชน์ ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 3 สนิ เชอื่

137 2. จา่ ยเงนิ ให้ตรงเวลาและตามเง่ือนไข เพอื่ จะได้ไมเ่ สียค่าปรับกรณชี ำระล่าช้า หรือถูกคิดค่าติดตามทวงถามหนี้ และสร้างประวัติเครดิตที่ดี นอกจากนี้ ควรศึกษาเงื่อนไขและ ค่าธรรมเนยี มของสนิ เชือ่ นน้ั ๆ ดว้ ย 3. ตรวจสอบความถกู ตอ้ งเม่ือไดร้ บั ใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรบั เงนิ เชน่ ยอดเงนิ ถูกตอ้ งหรือไม่ หากพบว่าไมถ่ ูกตอ้ ง ควรรบี แจ้งเจา้ หนีโ้ ดยเร็ว 4. ชำระหน้ีเพิ่มทันทีเมื่อมีเงินก้อน จะช่วยลดภาระหนี้ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าไม่ เสียค่าปรับหากชำระหน้ีก่อนกำหนด หรือถ้ามคี ่าปรับต้องดกู ่อนว่าคุม้ กับดอกเบี้ยท่ีประหยดั ได้ หรอื ไม่) 5. แจ้งเจ้าหน้ีให้ทราบทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนที่อยู่ เพื่อป้องกันการขาดการ ตดิ ตอ่ ส่ือสารระหว่างกัน 6. หากจะก่อหนี้เพิ่มอีก อย่าลืมตรวจสอบภาระหนี้ที่ต้องผ่อนต่อเดือน ไมค่ วรเกิน 1 ใน 3 (33%) ของรายได้ตอ่ เดอื น เพ่อื ให้มน่ั ใจว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ หากเกิน แลว้ ควรชะลอการกอ่ หน้ีไวก้ ่อน กิจกรรมท้ายเรือ่ งท่ี 4 วิธกี ารปอ้ งกันปัญหาหนี้ (ให้ผู้เรยี นไปทำกิจกรรมเรือ่ งท่ี 4 ท่ีสมุดบันทกึ กิจกรรมการเรยี นรู้) ชดุ วชิ าการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 3 สนิ เชื่อ

138 เรือ่ งท่ี 5 วธิ ีการแก้ไขปญั หาหนี้ จุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้ของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน บางคนอาจเป็นหน้ี เพราะความจำเป็นในชีวิต หรือบางคนอาจเป็นหนี้เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน ล้มป่วยกะทันหัน หรือบางคนเป็นหนี้เพราะต้องการความสะดวกสบายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นหน้ี จากสาเหตุใด หากก้าวเข้าสู่บ่วงหนี้จนถึงขั้นที่เป็นปัญหากับชีวิตแล้ว ก็ควรยอมรับความจริง และพยายามท่ีจะไมส่ รา้ งภาระหนี้ใหแ้ กต่ นเองเพิม่ ขน้ึ อีก ทส่ี ำคัญคอื ตอ้ งหาทางปลดหน้ีโดยเร็ว เพราะการเป็นหน้ีมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายนอกเหนือไปจากเงินต้น และอาจมีค่าปรับหรือ คา่ ใชจ้ า่ ยตา่ ง ๆ ตามมาถ้าผเู้ ป็นหน้ีไม่ปฏิบตั ติ ามเงื่อนไขท่กี ำหนด กรณีศกึ ษา ธิดาเป็นพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท จุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้เกิดจากความอยากได้ของแถมจากการสมัครบัตรเครดิต โดยผู้ออก บัตรได้เสนอเงื่อนไขว่า ถ้าสมัครบัตรและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพียง 1 รอบบัญชีก็จะได้ กระเปา๋ ลอ้ ลาก เธอจงึ ตกลงใจทำบตั รเครดติ เมื่อมีบัตรเครดิตแล้ว เธอก็ยิ่งสามารถ ซื้อของได้สะดวกขึ้นและมากขึ้น เพราะไม่ต้องจ่ายเงิน ก่อน และยังได้รับส่วนลดหรือโปรโมชันจากร้านค้าอีก ต่างหาก เธอจึงใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิด ทั้งซื้อเสื้อผ้า รองเทา้ กระเป๋า และการเสรมิ ความงาม ตอนนั้นธิดาคิดเพียงว่ารู้สึกมีความสุขและสนุกกับการใช้ และได้สมัคร บัตรเครดิตเพิ่มอีกหลายใบ พอมีบัตรมากก็ใช้มากขึ้น แต่กลับชำระหนี้ได้ลดลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งชำระได้เพียงยอดหนี้ขั้นต่ำของบัตรแต่ละใบ นานวันเข้าหนี้ก็เริ่มพอกพูนจนทำให้ มีหนี้เกินกว่า 300,000 บาท ภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี แม้เธอจะนำเงินเก็บบางส่วนไปโปะหน้ี บ้างแล้ว แต่หนก้ี ็ยงั ไมล่ ดลงเทา่ ไรนัก ชุดวิชาการเงนิ เพอ่ื ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 3 สนิ เชื่อ

139 จากกรณีตัวอย่างข้างต้น ปัญหาหนี้เกิดจากความเพลิดเพลินในการใช้จ่ายเพ่ือ ความสะดวกสบายให้แก่ตนเอง จึงใช้เงินโดยไม่ทันคิดว่าตนเองมีความสามารถในการชำระคืน หรอื ไม่ นอกจากน้ัน การชำระหนี้คืนเพียงข้ันต่ำหรอื บางส่วน ทำใหภ้ าระหน้แี ละดอกเบี้ยพอกพูน กลายเปน็ ปญั หาท่ีแก้ไขไดย้ ากข้นึ ไปเร่ือย ๆ แนวทางการแกไ้ ขปัญหาหน้ี 1. ยอมรับความจรงิ และมีความตงั้ ใจท่ีจะแกป้ ญั หา 2. สำรวจภาระหน้ีทง้ั หมด เพื่อรวบรวมรายละเอียดหนท้ี ี่มที งั้ หมด และหาทาง แกไ้ ขปัญหาตอ่ ไป โดยการจดลงบนกระดาษหรือในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตามรายการดงั น้ี 1.1 ประเภทหน้ี เพ่ือให้รู้ว่ามีหนี้อะไรบ้าง 1.2 หลกั ประกนั เพือ่ ใหร้ วู้ า่ หนี้รายการนัน้ มีสนิ ทรัพย์ใดค้ำประกนั หรอื ไม่ 1.3 เจา้ หนี้ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทบัตรเครดติ 1.4 อัตราดอกเบีย้ เพ่ือใหร้ วู้ า่ หนแ้ี ต่ละก้อนมีอัตราดอกเบี้ยเท่าใดตอ่ ปี ซึ่ง ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยที่คำนวณแบบลดต้นลดดอก (effective rate) หากเป็นหนี้ที่คิดดอกเบ้ีย แบบเงินตน้ คงท่ี (flat rate) กส็ ามารถแปลงเป็นแบบลดต้นลดดอกได้อย่างคร่าว ๆ โดยนำอตั รา ดอกเบี้ยที่คิดแบบ flat rate คูณด้วย 1.8 (กรณีการเช่าซื้อรถ ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้ง effective rate แกผ่ เู้ ชา่ ซ้ือดว้ ย) 1.5 ยอดหนี้คงเหลือ เพอ่ื ใหร้ ภู้ าระหน้ีคงเหลอื 1.6 ยอดเงินผอ่ นต่อเดือนของหนี้แตล่ ะรายการ เพื่อใหร้ จู้ ำนวนเงินที่ต้อง จ่ายแต่ละงวด 1.7 รายละเอียดอื่น ๆ เช่น ต้องชำระวันไหน ซึ่งอาจบันทึกไว้ที่ช่องหมาย เหตุ การสำรวจภาระหนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการวางแผนจัดการหนี้ ซึ่งข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ สามารถหาได้จากสัญญาเงินกู้ ใบแจ้งหนี้ หรือหลักฐาน การชำระหน้ี ชุดวชิ าการเงนิ เพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเช่ือ

140 ตัวอยา่ งตารางภาระหน้ี ลำดับ ประเภทหน้ี หลักประกนั เจา้ หน้ี อตั รา ยอดหนี้ ยอดผ่อน หมายเหตุ ที่ ดอกเบ้ีย คงเหลอื ชำระต่อ (คดิ แบบ (บาท) เดือน ลดต้นลด (บาท) ดอก) 1. หน้ีนอกระบบ - เจ๊เกยี ว 252% 10,000 4,500 จ่ายหน้ี (150 บาท รายวัน ตอ่ วนั ) 2. กู้สหกรณ์ หนุ้ สหกรณ์ สหกรณ์ 7.5% 14,235 3,400 หกั บญั ชีตอน ออมทรัพย์ฯ เงนิ เดอื นออก 3. เช่าซอ้ื - ไฟแนนซ์ B 7.2%* 40,000 966.67 จ่ายหนท้ี ุก รถจักรยานยนต์ วนั ที่ 25 4. บัตรเครดิต - ธนาคาร C 16% 15,000 2,000 ชำระคืน มากกว่ายอด ข้นั ต่ำ รวมยอดคงเหลือและผ่อนชำระตอ่ เดอื น 79,235 10,866.67 * คำนวณจากอัตราดอกเบีย้ คิดแบบเงินต้นคงที่ 4% คณู ดว้ ย 1.8 3. จัดลำดับความสำคัญของหนี้ที่ต้องชำระ เมื่อทราบจำนวนหนี้ทั้งหมด ที่ตนเองมีแล้ว การจัดลำดับการปลดหนี้จะทำให้จัดการหนี้ให้หมดไปได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้วิธี จดั ลำดบั หนที้ ีต่ ้องชำระดงั นี้ 3.1 กำจัดหนี้แพงก่อน ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยของหนี้แต่ละก้อนต่างกัน มาก ให้เลือกจ่ายหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น หนี้นอกระบบ เพื่อป้องกันดอกเบี้ยที่อาจ พอกพูนอย่างรวดเร็ว เพอื่ ชะลอการเพ่ิมขนึ้ ของดอกเบยี้ ทต่ี อ้ งจา่ ย 3.2 จ่ายหนี้ก้อนเล็กก่อน ในกรณีที่หนี้มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากันหรือ ไม่แตกต่างกันมาก ให้เลือกจ่ายหนี้ที่มีมูลค่าน้อยก่อน เพื่อลดจำนวนรายการหนี้ให้น้อยลงเม่ือ เห็นจำนวนบัญชีหรอื เจา้ หนีล้ ดลงเรือ่ ย ๆ ก็จะมกี ำลงั ใจเพ่ิมขึน้ ในการปลดหนก้ี ้อนท่เี หลือตอ่ ไป ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ่ี 3 สนิ เช่อื


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook