Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Published by sampaom, 2022-11-16 08:26:02

Description: ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Search

Read the Text Version

241 กจิ กรรมท้ายเรือ่ งท่ี 6 หนว่ ยงานท่ีให้คำปรกึ ษาวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ อ่านสถานการณ์ในแต่ละขอ้ ต่อไปน้ี และตอบคำถามให้ถกู ต้อง 1. สมหวังไปก้ยู มื เงนิ จากธนาคาร A ต่อมาสมหวงั มีปัญหาไม่สามารถชำระหน้ไี ด้ แต่สมหวงั ไมร่ ู้ จะแก้ไขปญั หาหนขี้ องตนเองอยา่ งไร กรณีดงั กล่าวน้ี ทา่ นคิดว่าสมหวังควรขอคำปรึกษาไปยงั หนว่ ยงานใด ตอบ ศูนย์คุม้ ครองผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแหง่ ประเทศไทย 2. สายใจหลวมตัวไปกยู้ มื เงินจากนายบีซงึ่ เป็นเจ้าหน้นี อกระบบ คดิ ดอกเบ้ียสูงถึง 365% ต่อปี ทำใหเ้ งนิ ที่จา่ ยไปหมดไปกบั การจา่ ยดอกเบีย้ ท่านคิดว่าสายใจควรขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนหน่วยงานใด (สามารถตอบได้มากกว่า 1 หนว่ ยงาน) ตอบ ตัวอยา่ งหน่วยงาน 1) ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ กระทรวงการคลัง โทร. 1359 2) ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม สังกัดกระทรวงยุติธรรม โทร. 0 2575 3344 3. วัลลภเช่าซือ้ รถยนตจ์ ากบริษัทม่งั มี ตอ่ มามีปัญหาคา้ งชำระ 3 งวดติดตอ่ กนั บรษิ ทั มัง่ มีจึงได้ มีหนงั สอื ตดิ ตอ่ ให้ไปชำระหนภ้ี ายใน 30 วัน มิฉะน้นั จะยกเลกิ สัญญา วัลลภกย็ ังไม่ยอมจ่ายอยู่ดี ในที่สุด บริษัทได้ส่งเจ้าหน้าที่มายึดรถ โดยเข้ามากระชากกุญแจรถและทำร้ายร่างกายวัลลภ จากสถานการณน์ ี้วัลลภควรร้องเรยี นไปท่ใี ด (สามารถตอบได้มากกวา่ 1 หนว่ ยงาน) ตอบ หากมีการกระทำดังกล่าวให้แจ้งความดำเนินคดี และร้องเรียนตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 โดยสามารถร้องเรียนได้ท่ีกรมการปกครอง สถานีตำรวจท้องที่ สำนักงานเศรษฐกจิ การคลัง กองบัญชาการตำรวจนครบาล ทีท่ ำการปกครองจังหวดั และทวี่ า่ การอำเภอ เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรอื่ ง ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้

242 หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 4 สทิ ธิและหน้าทข่ี องผ้ใู ช้บริการทางการเงนิ กจิ กรรมทา้ ยเรื่องที่ 1 สทิ ธขิ องผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงิน กิจกรรมท่ี 1.1 ตอบคำถามตอ่ ไปน้ี สทิ ธขิ องผู้ใชบ้ ริการทางการเงินมีอะไรบา้ ง ให้อธิบาย ตอบ 1) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง (right to be informed) ผู้ใช้บริการทางการเงนิ มีสิทธิที่จะไดร้ ับข้อมูลท่ีถูกต้องเกีย่ วกับบริการที่สนใจ โดยเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินต้องอธบิ าย รายละเอียดเก่ยี วกับผลติ ภัณฑ์และเงอื่ นไขตา่ ง ๆ อยา่ งถกู ตอ้ ง ชัดเจน และครบถว้ นเพียงพอต่อ การตัดสินใจในการใช้บริการ เช่น ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยง ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ทำตามเงื่อนไข และการใช้ สอ่ื ทางการตลาดเพ่ือส่งเสริมการขายต้องไม่ชวนเช่ือเกินจริง ไมท่ ำให้ผู้ใช้บรกิ ารเข้าใจผิด เมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ผู้ใช้บริการทางการเงินก็ควรพิจารณา ตรวจสอบ และสอบถามรายละเอียดให้แน่ใจก่อนตัดสินใจใช้บริการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และ บรกิ ารท่เี หมาะสมและตรงความต้องการของผ้ใู ช้บริการ 2) สิทธิที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ (right to choose) เจ้าหน้าที่สถาบันการเงินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ที่ ผู้ใช้บริการทางการเงินต้องการ แต่ผู้ใช้บริการทางการเงินควรเลือกผลิตภัณฑ์และบริการ ทางการเงินที่ต้องการจริง ๆ เท่านั้น โดยคำนึงถึงความจำเป็น ประโยชน์ที่ได้รับ ความคุ้มค่า รวมถึงความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง หากผู้ใช้บริการไม่ต้องการผลิตภัณฑ์ และบรกิ ารที่เจ้าหน้าท่เี สนอขาย กส็ ามารถปฏเิ สธได้ ไมต่ อ้ งเกรงใจหรือรสู้ ึกไม่ดีใด ๆ เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเรือ่ ง ชุดวิชาการเงนิ เพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

243 3) สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (right to be heard) หากผู้ใช้บริการ ทางการเงินพบว่าตนเองได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือถูกเอาเปรียบ เช่น ได้รับข้อ มูลที่ ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ถูกบังคับให้ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ต้องการ ถูกทำให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คำนวณดอกเบี้ยผิด สามารถร้องเรียนไปยังสถาบันการเงินที่ใช้บริการ และ หากยังไม่ไดร้ บั ความเป็นธรรม ก็สามารถร้องเรียนไปยังหน่วยงานท่กี ำกับดแู ลได้ 4) สิทธทิ จี่ ะไดร้ ับการพิจารณาคา่ ชดเชยหากเกดิ ความเสยี หาย (right to redress) หากได้รับความเสียหายจากการใช้บริการของสถาบันการเงิน เช่น เจ้าหน้าที่ธนาคารขโมยเงิน ฝากจากบัญชี กดเงินจากตู้เอทีเอ็มแล้วไม่ได้รับเงิน และพิสูจน์แล้วว่าเป็นความผิดพลาดของ สถาบันการเงิน เช่น ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ลูกค้า อย่างเป็นธรรม (market conduct) หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงิน อย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการได้รับความเสียหาย ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิได้รับการชดเชย แต่หากความผิดพลาดนั้นเกิดจากผู้ใช้บริการเอง เช่น ฝากสมุดบัญชีไวก้ บั เจ้าหน้าท่ีธนาคารเพ่ือทำรายการแทน โอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็มไปผิด บัญชีหรือใส่ตัวเลขจำนวนเงินผิด สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ ผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงิน กจิ กรรมท่ี 1.2 ใหศ้ ึกษากรณตี วั อย่างทีก่ ำหนด แลว้ ตอบคำถามต่อไปนี้ 1. กรณีที่ 1 บัตรเดบิตพ่วงประกัน: จากกรณีตัวอย่าง การกระทำดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสิทธิ ในข้อใด ตอบ 1. สิทธิที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างอิสระ (right to choose) ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิที่จะเลือกใช้หรือไม่ใช้บริการใด ๆ ก็ได้ ตามความจำเป็นและ ประโยชน์ที่จะไดร้ บั 2. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (right to be heard) หากผู้ใช้บริการ ทางการเงนิ ยืนยันว่าต้องการบตั รธรรมดาหรือเปดิ บัญชีเพยี งอย่างเดียว และพนกั งานปฏิเสธการ เปดิ บัญชีให้ สามารถรอ้ งเรียนตามข้นั ตอนดังนี้ เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเรื่อง ชุดวิชาการเงนิ เพอ่ื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

244 1) ร้องเรียนที่ศูนย์บริการลูกค้า (call center) ของสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการ ทางการเงินนน้ั ๆ เพอ่ื แจ้งเร่ืองรอ้ งเรียนหรือปัญหาทีพ่ บ 2) หากไม่ได้รับการติดต่อกลับภายในระยะเวลาการให้บริการมาตรฐาน หรือไม่ได้รบั การปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถขอรับคำปรึกษาหรือร้องเรียนได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการ ทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 (ผู้เรียนอาจกล่าวถึงช่องทางอื่น ๆ ด้วยก็ได้ เช่น อีเมล เว็บไซต์ การรอ้ งเรยี นดว้ ยตนเอง และจดหมาย/โทรสาร) 2. กรณีที่ 2 กดเงนิ แต่ได้เงินไม่ครบ: จากกรณตี ัวอย่าง การกระทำดังกลา่ วเกี่ยวข้องกับสิทธิ ในขอ้ ใด ตอบ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย (right to redress) หากพิสจู นแ์ ล้วว่าเกิดจากความขดั ข้องของเคร่ืองเอทีเอม็ จริง ผใู้ ช้บริการทางการเงินมีสิทธิท่ี จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชย โดยจะต้องรีบโทรศัพท์แจ้งศูนย์บริการลูกค้าของธนาคารที่ เป็นเจ้าของบัตรทันที (เช่น บัตรของธนาคาร ก แต่ไปกดเงินที่เครื่องเอทีเอ็มของธนาคาร ข ถ้ากดแล้วเงินไม่ออกหรือได้เงินไม่ครบ ให้แจ้ง ธนาคาร ก) อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปนาน เพราะย่ิงทำใหก้ ารพสิ จู น์ลำบากข้ึน เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเรอ่ื ง ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้

245 กจิ กรรมท้ายเรือ่ งที่ 2 หนา้ ทีข่ องผ้ใู ชบ้ ริการทางการเงนิ กิจกรรมที่ 2.1 จงเขียนเครื่องหมายถูก √ หน้าข้อที่เป็นหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน และ เขยี นเครื่องหมายผิด X หน้าข้อทไี่ ม่ใชห่ นา้ ท่ีของผูใ้ ชบ้ รกิ ารทางการเงิน ✓ 1. จดบันทึกรายรบั -รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ X 2. อยากใช้เงนิ กใ็ ช้ ไม่ตอ้ งวางแผนกอ่ นใชใ้ หเ้ สยี เวลา ✓ 3. ตัง้ เป้าหมายทางการเงินของตนเองใหช้ ดั เจนและอยู่บนพนื้ ฐานความเป็นจรงิ ✓ 4. ติดตามข่าวสารทางการเงินอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องการถกู หลอกลวงทางการเงนิ เพื่อปกปอ้ งทรพั ยส์ นิ ของตนเอง ✓ 5. เมอ่ื ตอ้ งใช้บรกิ ารทางการเงนิ ต้องหาข้อมลู เปรียบเทียบ ทำความเข้าใจ ก่อนตัดสินใจใช้ บรกิ ารอยู่เสมอ ✓ 6. อา่ นรายละเอยี ดสัญญาธรุ กรรมทางการเงินทกุ ครัง้ ใหเ้ ข้าใจกอ่ นเซ็นสัญญา X 7. หากเป็นสญั ญาเงินกู้ค้ำประกันของเพอ่ื น ไมจ่ ำเป็นตอ้ งอ่านสัญญาเนื่องจากรจู้ ักกันอย่แู ล้ว X 8. หากจะใชบ้ ริการทางการเงนิ ของธนาคารทมี่ ีช่ือเสียง ไมจ่ ำเป็นตอ้ งหาข้อมลู เปรียบเทียบ เนือ่ งจากธนาคารเลือกสง่ิ ที่ดที ่ีสดุ มาใหแ้ ลว้ X 9. ภัยทางการเงนิ ไม่มที างเกิดข้นึ กับเรา ดงั นนั้ ไม่จำเปน็ ต้องติดตามขา่ วสารทางการเงิน ✓ 10. หลังจากฝากเงินเขา้ บญั ชี เราตอ้ งตรวจสอบความถกู ตอ้ งของยอดเงนิ ทกุ คร้ัง เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรอ่ื ง ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

246 กจิ กรรมท่ี 2.2 ให้ศกึ ษากรณีตัวอย่างทกี่ ำหนด แลว้ ตอบคำถามต่อไปนี้ กรณีที่ 1 ทีวีหรือค่าเทอม: จากกรณีตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร และ สามารถปอ้ งกนั ปัญหาไดอ้ ย่างไร ตอบ สาเหตุ เกิดจากการไม่วางแผนการเงิน เมื่อจำเป็นต้องใช้เงินจึงไม่มีเงินใช้ ในกรณีนี้ คือ ไม่ได้เตรยี มเงินสำหรบั ค่าใชจ้ า่ ยก้อนใหญ่ คือ ค่าเทอมของลูกแม้ว่าจะได้รับโบนัสมา ก็ยังนำไป ซอื้ ของ (ทวี ี) ทีม่ คี วามจำเปน็ น้อยกว่าคา่ เทอม วิธีป้องกัน ลงมือวางแผนการเงิน หรือเริ่มต้นจัดการกับรายจ่ายแบบง่าย ๆ ด้วยการจด รายจ่ายที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละเดือนลงบนปฏิทิน ก็จะทำให้ทราบว่าแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่าย อะไรบ้างท่ีต้องเตรยี มไว้ และหากมีปัญหาทางการเงิน เช่น ดูแล้วคิดวา่ จะหมุนเงินไม่ทันในช่วง เปิดเทอม ก็จะสามารถวางแผนรับมือกับปัญหาล่วงหน้าได้ โดยการทยอยออมเงินทุกเดือนเป็น คา่ เทอม กรณีที่ 2 สองล้านเหลือสองแสน: จากกรณีตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร และสามารถป้องกันปัญหาไดอ้ ย่างไร ตอบ สาเหตุ เกิดจากความผิดพลาดของพนักงาน และการที่ผู้ใช้บริการไม่ตรวจสอบความ ถกู ต้องของธุรกรรมการเงนิ ทท่ี ำ วิธีป้องกัน ต้องตรวจทานความถูกต้องของธุรกรรมที่เราทำทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลที่สำคัญ เช่น ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี จำนวนเงิน หากพบว่าไม่ถูกต้อง ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที อยา่ ปล่อยไว้นานเพราะทำใหแ้ กไ้ ขลำบาก เฉลย/แนวตอบกิจกรรมทา้ ยเร่ือง ชุดวชิ าการเงินเพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน้

247 กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งท่ี 3 ผใู้ ห้บริการทางการเงินในประเทศไทย จงเขยี นเคร่ืองหมายถกู √ หน้าข้อทถี่ ูกตอ้ ง และเขยี นเครอื่ งหมายผิด X หนา้ ข้อทไี่ ม่ถกู ต้อง ✓ 1. ธนาคารพาณิชย์ใหบ้ ริการทางการเงนิ ต่าง ๆ เช่น รบั ฝากเงิน ใหส้ ินเชือ่ X 2. ธนาคารแหง่ ประเทศไทยทำหนา้ ทก่ี ำกับดแู ลบรษิ ัทประกันชวี ติ ✓ 3. บรษิ ทั หลกั ทรัพย์อย่ภู ายใต้การกำกับดแู ลของสำนกั งานคณะกรรมการกำกับ หลกั ทรพั ยแ์ ละตลาดหลักทรพั ย์ (ก.ล.ต.) ✓ 4. เราสามารถรอ้ งเรียนเกย่ี วกบั การทำประกันภยั ได้ท่ีสำนกั งานคณะกรรมการกำกับ และสง่ เสริมการประกอบธุรกจิ ประกนั ภัย (คปภ.) ✓ 5. หากได้รบั การบรกิ ารท่ีไม่เป็นธรรมจากธนาคารพาณชิ ย์ และแจง้ ที่ธนาคารนน้ั แลว้ ยงั ไม่มีความคืบหน้า สามารถร้องเรียนได้ท่ศี ูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรือ่ ง ชุดวิชาการเงนิ เพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนตน้

248 กิจกรรมท้ายเรือ่ งท่ี 4 บทบาทหนา้ ทด่ี า้ นการคมุ้ ครองผ้ใู ช้บริการทางการเงนิ ของธนาคาร แห่งประเทศไทย และหนว่ ยงานทีร่ ับเรือ่ งรอ้ งเรียนอนื่ ๆ จงเตมิ พยญั ชนะจับคหู่ นว่ ยงานทีท่ า่ นต้องการตดิ ตอ่ หากตอ้ งการขอคำปรึกษาหรอื ร้องเรยี น ให้ถูกต้อง ก. สำนกั งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลกั ทรัพย์ (ก.ล.ต.) ข. สำนกั งานคณะกรรมการกำกบั และส่งเสรมิ การประกอบธรุ กิจประกันภัย (คปภ.) ค. สำนกั งานเศรษฐกจิ การคลัง (สศค.) ง. บรษิ ทั ขอ้ มลู เครดติ แหง่ ชาติ จำกดั (เครดติ บูโร) จ. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผบู้ ริโภค (สคบ.) ค. 1. สงสัยว่าธรุ กิจท่ีเพ่ือนชวนมารว่ มลงทุนจะเปน็ แชรล์ กู โซ่ ข. 2. ตอ้ งการทราบข้ันตอนการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกนั ชีวิต ก. 3. บรษิ ทั ท่เี สนอขายหลกั ทรพั ย์ให้ขอ้ มลู ไม่ถูกต้อง จ. 4. จา่ ยค่าเช่าซือ้ รถครบตามสัญญาตงั้ แต่ 2 เดือนกอ่ น แต่บรษิ ทั ลีสซงิ่ ยงั ไมย่ อมโอนรถให้ ง. 5. ตรวจสอบข้อมลู ประวัตเิ ครดิตแล้วพบว่ามบี ตั รกดเงนิ สด 3 ใบ แตจ่ รงิ ๆ แล้วมีเพยี ง ใบเดยี ว เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเร่อื ง ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

249 กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 5 ขนั้ ตอนการรอ้ งเรยี นและหลกั การเขยี นหนังสือรอ้ งเรียน จงอธบิ ายขน้ั ตอนการร้องเรียนไปยังศูนย์คมุ้ ครองผู้ใช้บรกิ ารทางการเงนิ (ศคง.) เม่ือไมไ่ ด้ รับการตดิ ตอ่ จากธนาคารภายในระยะเวลาการใหบ้ รกิ ารตามมาตรฐาน ตอบ ผใู้ ชบ้ ริการทางการเงนิ สามารถรอ้ งเรยี นไดต้ ามขั้นตอนดังนี้ 1. ร้องเรียนที่ศูนย์บริการลูกค้า (call center) ของสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการ ทางการเงนิ นน้ั ๆ เพื่อแจง้ เรอ่ื งร้องเรียนหรอื ปญั หาทพี่ บ 2. หากไมไ่ ด้รับการตดิ ตอ่ กลับภายในระยะเวลาการใหบ้ ริการมาตรฐาน หรอื ไม่ได้รับ การปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 ในวนั จันทร์ - วันศกุ ร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.30 น. หรือ ช่องทางอื่น ๆ ดังนี้ 1) จดหมายอเิ ล็กทรอนิกส์ (e-mail) ของ ศคง. [email protected] 2) เว็บไซต์ ศคง. www.1213.or.th 3) ร้องเรียนด้วยตนเอง เพื่อติดต่อขอพบเจ้าหน้าที่ตามเวลาข้างต้นราชการโดย การนดั หมายลว่ งหน้า 4) จดหมาย/โทรสาร (fax) ตามที่อยูห่ รือหมายเลขโทรสารที่ปรากฏอยูใ่ นเว็บไซต์ ศคง. www.1213.or.th เฉลย/แนวตอบกิจกรรมทา้ ยเร่ือง ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น

250 หนว่ ยการเรยี นร้ทู ี่ 5 ภยั ทางการเงนิ กจิ กรรมท้ายเรอื่ งที่ 1 หนนี้ อกระบบ กิจกรรมที่ 1.1 หาภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกลโกงของหนี้นอกระบบมา พร้อมท้ัง อธบิ ายลักษณะกลโกงดังกลา่ ว ตอบ ลักษณะกลโกง มดี ังนี้ 1) ใช้ตัวเลขนอ้ ย ๆ เพือ่ จูงใจ 2) ใหเ้ ซ็นเอกสารทไ่ี มไ่ ด้กรอกตวั เลข 3) บบี ให้เซน็ สญั ญาเงนิ กจู้ รงิ 4) หลกี เล่ียงให้กูโ้ ดยตรง 5) ทวงหนโ้ี หด กิจกรรมท่ี 1.2 ศึกษากรณีตวั อย่างที่กำหนดให้และตอบคำถามตอ่ ไปนี้ กรณตี ัวอยา่ ง เจ๊เคยี วเงนิ ดว่ น 1. เราจะป้องกนั ตนเองจากภัยเงนิ กนู้ อกระบบได้อย่างไร ตอบ 1) ไม่ใช้เงินเกินตัว – ตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองโดยการจดบันทึก รายรับ-รายจา่ ย แลว้ วางแผนใชเ้ งนิ อย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น 2) วางแผนการเงินล่วงหน้า – คำนึงถึงค่าใชจ้ ่ายก้อนใหญ่ทีอ่ าจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าเล่าเรยี นลูก แลว้ วางแผนทยอยออมล่วงหนา้ รวมถึงออมเงินเผอื่ เหตุการณฉ์ ุกเฉนิ ดว้ ย เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรอ่ื ง ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้

251 3) คิดให้ดีก่อนตัดสินใจก่อหน้ี – ทบทวนดูความจำเป็นว่าต้องใช้เงินจริง ๆ หรือไม่ และหากต้องกจู้ รงิ ๆ จะสามารถชำระหน้ีไดห้ รอื ไม่ เพราะนอกจากดอกเบ้ยี ที่แสนแพงแลว้ อาจ ต้องเจอกับเหตุการณ์ทวงหนแ้ี บบโหด ๆ อกี ดว้ ย 4) เลือกกู้ในระบบ – หากจำเป็นต้องกู้ ควรเลือกกู้ในระบบดีกวา่ เพราะนอกจากจะมี หน่วยงานภาครฐั คอยดแู ลแลว้ ยงั ระบดุ อกเบ้ียในสญั ญาชดั เจนและเปน็ ธรรมกวา่ 5) ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ – ดูว่าผู้ให้กู้นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขชำระเงินหรือ อัตราดอกเบ้ียที่เอาเปรียบผู้ก้เู กนิ ไปหรอื ไม่ 6) ศึกษาวิธีคิดดอกเบี้ย – หนี้นอกระบบมักคิดอัตราดอกเบี้ยด้วยวิธีเงินต้นคงที่ (flat rate) ซึ่งทำให้ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate) เพราะดอกเบ้ยี จะถูกคิดจากเงินตน้ ทัง้ ก้อนแมว้ ่าจะทยอยจา่ ยคืนทกุ เดอื นกต็ าม 7) หากจำเปน็ ตอ้ งกเู้ งนิ นอกระบบต้องใสใ่ จ • ไม่เซ็นสญั ญาในเอกสารท่ียงั ไมไ่ ด้กรอกข้อความหรอื วงเงินกไู้ ม่ตรงกบั ความจริง • ตรวจสอบข้อความในสัญญาเงินกู้ รวมถึงดวู ่าเป็นเงือ่ นไขที่เราทำได้จรงิ ๆ • เกบ็ สญั ญาคู่ฉบบั ไวก้ บั ตวั เพอ่ื เปน็ หลกั ฐานการกู้ 8) ตดิ ตามขา่ วสารกลโกงเป็นประจำ 2. จากกรณีตามภาพขา้ งต้น ชายในภาพควรแก้ไขปญั หาของตนเองอยา่ งไร ตอบ 1) หาแหลง่ เงนิ กู้ในระบบทม่ี ดี อกเบี้ยถูกกวา่ มาชำระคืน 2) หากไมส่ ามารถกยู้ ืมเงนิ ในระบบได้ ผกู้ อู้ าจต้องยอมขายทรัพยส์ นิ บางส่วนเพื่อนำมา ชำระหนี้ 3) ขอรบั คำปรกึ ษาไดจ้ ากองคก์ ร/หน่วยงานท่เี ก่ียวขอ้ ง เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเร่อื ง ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้

252 กจิ กรรมท้ายเร่ืองที่ 2 แชร์ลกู โซ่ กิจกรรมที่ 2.1 ตอบคำถามตอ่ ไปน้ี 1. อธบิ ายลกั ษณะกลโกงแชร์ลกู โซใ่ นคราบธรุ กิจขายตรง ตอบ มิจฉาชีพจะโฆษณาชวนเชื่อให้เหยื่อทำธุรกิจขายตรงที่มีผลตอบแทนสูง โดยที่เหยื่อไม่ ต้องทำอะไร เพยี งแค่ชักชวนเพอื่ นหรอื ญาตพิ ี่นอ้ งให้ร่วมทำธุรกิจ ไม่เน้นการขาย สาธติ หรือทำ ให้สมาชิกเข้าใจในตัวสินค้า เมื่อเหยื่อเริ่มสนใจ จะให้เหยื่อเข้าร่วมฟังสัมมนา และโน้มน้าวหรือ หลอกล่อให้เหยื่อจ่ายค่าสมัครสมาชิก หรือซื้อสินค้าแรกเข้าซึ่งมีมูลค่าที่ค่อนข้างสูง (สินค้า ส่วนมากมักไม่มีคุณภาพ) หรืออาจให้เหยื่อซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุนโดยไม่ต้องรับสินค้าไปขาย แล้วก็รอรับเงนิ ปันผลได้เลย ค่าสมัครสมาชิก ค่าซื้อสินค้าแรกเข้า ค่าหุ้นหรือค่าหน่วยลงทุนของสมาชิกใหม่จะถูก นำมาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกเก่า เมื่อใดที่ไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้ แชร์ก็จะล้ม เพราะไม่สามารถหาเงนิ มาจ่ายผลตอบแทนและเงนิ ท่ลี งทุนคนื สมาชิกได้ ปจั จบุ ันยังมกี ารโฆษณาชักชวนผ้ลู งทนุ ผ่านอินเทอร์เนต็ และสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก กลุ่มต่าง ๆ ในแอปพลิเคชนั LINE อีกด้วย โดยมิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อกรอกขอ้ มูลส่วนตัวใน อินเทอร์เน็ต แล้วติดต่อเหยื่อเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมทำธุรกิจโดยอ้างว่ามีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้า ร่วมด้วย และอาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือ เช่น งานสัมมนาโดยเช่าห้อง ประชุมโรงแรมหรอื หอประชมุ มหาวิทยาลัย 2. อธิบายลกั ษณะกลโกงแชร์ลกู โซห่ ลอกลงทุน ตอบ มิจฉาชีพมักอ้างว่ามีการลงทุนท่ีใหผ้ ลตอบแทนสูงและแน่นอน หรือมีสิทธิพิเศษ หรือได้ โควตาซื้อสินค้าราคาถูกเป็นจำนวนมาก จึงอยากชักชวนให้เหยื่อลงทุนร่วมกัน เช่น โควตา จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล (แชร์ลอตเตอรี่) อุตสาหกรรมปลูกป่าเพื่อส่งขายตลาดใน ต่างประเทศ (แชร์ไม้) เก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (แชร์ FOREX) โดยสร้างเว็บไซต์เพื่อให้ดู น่าเชื่อถือ หรือบางรายก็อ้างว่ามีสาขาในต่างประเทศ และอาจจัดกิจกรรมเพื่อเสริมความ เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรอ่ื ง ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น

253 น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับแชร์ลูกโซ่ในคราบธุรกิจขายตรง แต่ความจริงแล้ว ไม่ได้มีการทำธุรกิจ ตามที่กลา่ วอา้ งจริง มิจฉาชีพจะใช้วิธีหมุนเงินจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุน รายเก่า จึงต้องพยายามหาผู้ลงทุนรายใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้มีเงินไปจ่ายเป็นผลตอบแทน แต่หากไม่สามารถหาผลู้ งทนุ รายใหมไ่ ด้ กจ็ ะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนคนื ใหแ้ กร่ ายเกา่ ได้ 3. อธบิ ายลกั ษณะกลโกงแชร์ลกู โซ่หลอกขายสินค้าผา่ นอนิ เทอรเ์ น็ต ตอบ มิจฉาชีพจะแฝงตวั เป็นพอ่ ค้าหรอื แม่ค้า แลว้ อ้างวา่ สามารถหาสนิ ค้าหายากหรือสินค้าท่ี กำลังอยู่ในความต้องการของตลาด (เช่น สินค้ารุ่นใหม่ล่าสุด หรือยังไม่มีขายในประเทศไทย) ไดใ้ นราคาถูก จงึ ประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาที่ถกู กว่าท้องตลาดเปน็ จำนวนมากผ่านทาง อินเทอรเ์ นต็ เม่ือเหย่อื หลงเชือ่ สั่งซอื้ สนิ ค้าและโอนเงินใหแ้ ก่มิจฉาชีพในคร้ังแรก มจิ ฉาชพี จะส่งสินค้า ให้เหยื่อตามจำนวนที่สั่งซื้อ และเมื่อเหยื่อได้สินค้าในราคาถูก ก็จะบอกต่อชักชวนญาติพี่น้อง หรือเพอื่ นฝงู ใหม้ าซอ้ื สินค้าเป็นจำนวนมากแล้วโอนเงินค่าสินค้าทั้งหมดให้แกม่ ิจฉาชีพ หลังจากน้ัน มิจฉาชีพกจ็ ะเชิดเงินน้ันหนีไปโดยไม่สง่ สนิ ค้าใด ๆ ใหแ้ กเ่ หยือ่ เลย กจิ กรรมที่ 2.2 ศกึ ษากรณีตวั อยา่ งท่ีกำหนดให้ และตอบคำถามตอ่ ไปน้ี 1. กรณีตวั อยา่ งเป็นกลโกงลกั ษณะใด ตอบ แชร์ลูกโซ่ในคราบธรุ กจิ ขายตรง 2. หากไม่ต้องการตกเปน็ เหย่ือเหมือนบคุ คลในเรอื่ ง ควรมวี ิธปี ้องกันอย่างไร ตอบ 1) ไม่โลภไปกับผลตอบแทนหรือสินค้าราคาถูกที่นำมาหลอกล่อ เพราะผลตอบแทนยิ่งสูง ยิ่งมคี วามเสย่ี งมากท่จี ะเป็นแชร์ลูกโซ่ เฉลย/แนวตอบกิจกรรมทา้ ยเรือ่ ง ชุดวิชาการเงินเพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น

254 2) ไม่กรอกข้อมูลหรือให้ข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ หรือตอบกลับอีเมลที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจกลายเปน็ เหยอ่ื แชรล์ ูกโซ่ 3) หลีกเลีย่ งการเข้าร่วมกจิ กรรมกับกล่มุ ธุรกิจทไี่ มแ่ น่ใจ เพราะอาจถูกหวา่ นล้อมให้ร่วม ลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ 4) อย่าเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธ เมื่อมีคนชักชวนทำธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ เพราะอาจทำใหส้ ญู เสยี เงนิ ได้ 5) ศึกษาที่มาที่ไปของการลงทุนหรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจหรือ สนิ ค้าทใ่ี หผ้ ลตอบแทนสูงมากในเวลาอนั ส้ัน หรือมรี าคาถูกผดิ ปกติ 6) ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ 3. หากตกเปน็ เหย่อื กลโกงดงั กล่าว จะขอรับคำปรกึ ษาจากองค์กรหรอื หนว่ ยงานใด ตอบ ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 1359 หรอื แจง้ ความท่ีสถานตี ำรวจ โดยแจง้ ความไดท้ ส่ี ถานตี ำรวจในทอ้ งท่ีเกิดเหตุ กองบังคับ การปราบปราม หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง เศรษฐกจิ (ปอศ.) เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเร่ือง ชุดวชิ าการเงินเพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้

255 กจิ กรรมท้ายเร่อื งท่ี 3 ภัยใกล้ตัว กิจกรรมท่ี 3 ศึกษากรณตี วั อย่างทก่ี ำหนดให้ และตอบคำถามตอ่ ไปน้ี 1. จากกรณตี วั อย่าง เราจะมีวิธกี ารป้องกันตนเองอย่างไร ตอบ 1) ไม่โลภ ไม่อยากได้เงินรางวลั ทไ่ี ม่มที ่มี า หากมีคนเสนอให้ ควรสงสยั ไว้กอ่ นว่าอาจเป็น ภยั ทางการเงนิ 2) ศึกษาหาข้อมูล ก่อนเซ็นสัญญา ตกลงจ่ายเงิน หรือโอนเงินให้ใคร ควรศึกษาข้อมูล เงื่อนไข ขอ้ ตกลง ความนา่ เช่ือถอื และความนา่ จะเป็นไปไดก้ อ่ น 3) อ้างใคร ถามคนนั้น อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 กรมสอบสวนคดพี ิเศษ (DSI) โทร. 1202 ธนาคาร บริษทั ประกนั ทีถ่ กู อ้างถึง สามารถ ดเู บอรโ์ ทรศพั ท์ไดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ องผูป้ ระกอบธรุ กิจน้ัน ๆ 4) สงสัยให้ปรึกษา ควรหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ หรือปรึกษาเกี่ยวกับภัยทางการเงินได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 และศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ โทร. 1359 5) ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพอ่ื ร้เู ท่าทนั เลห่ ์เหลย่ี มกลโกง เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเร่อื ง ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น

256 กิจกรรมท้ายเรือ่ งที่ 4 แกง๊ คอลเซนเตอร์ กจิ กรรมท่ี 4.1 ศึกษากรณตี ัวอย่างเพ่ือตอบคำถามข้อท่ี 1 – 3 กรณตี วั อย่าง กรงิ๊ เดยี ว...เงินกห็ ายได้ 1. จากกรณีตวั อยา่ ง เป็นลกั ษณะของกลโกงประเภทใด ตอบ แก๊งคอลเซนเตอร/์ หลอกวา่ เปน็ หนี้บัตรเครดติ 2. หากไม่ตอ้ งการตกเปน็ เหยอ่ื เหมอื นสมชาย จะมีวิธปี ้องกนั อย่างไร ตอบ 1) คิดทบทวน ว่าเรื่องราวที่ได้ยินมามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เคยทำธุรกรรม กบั หนว่ ยงานท่ถี กู อา้ งถึงหรือไม่ หรือเคยเข้าร่วมชิงรางวลั กับองค์กรไหนจรงิ หรือเปลา่ 2) ไม่รู้จัก ไม่ค้นุ เคย ไมใ่ ห้ขอ้ มูล ทง้ั ข้อมลู สว่ นตวั เชน่ เลขทีบ่ ัตรประชาชน วัน/เดอื น/ ปเี กดิ และข้อมลู ทางการเงิน เช่น เลขท่ีบญั ชี รหสั กดเงิน 3) ไม่ทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มตามคำบอก แม้คนที่โทรมาจะบอกว่าเป็นเจ้าหน้าท่ี ของรัฐหรือสถาบันการเงิน เพราะหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินไม่มีนโยบายสอบถาม ข้อมลู สว่ นตวั ของประชาชนหรือลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ สำหรบั การคนื ภาษี มเี พียง 2 วิธเี ท่าน้ัน คือ โอนผา่ นระบบพรอ้ มเพยท์ ี่ลงทะเบียนดว้ ยเลขประจำตวั ประชาชน และสง่ เป็นเชค็ ธนาคาร 4) ตรวจสอบข้อมูลก่อนโอนเงิน สอบถามสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่ถูกอ้างถึง โดยตรง โดยตดิ ต่อฝา่ ยบรกิ ารลกู คา้ (call center) หรอื สาขาของสถาบนั การเงนิ น้นั ๆ ด้วยตนเอง 3. หากสมชายตกเป็นเหย่อื แก๊งคอลเซนเตอรแ์ ล้ว ควรทำอย่างไร ตอบ 1) ตดิ ต่อฝ่ายบริการลกู ค้า (call center) ของธนาคารต้นทาง (บัญชขี องเราทใี่ ชโ้ อนเงิน ไปใหม้ จิ ฉาชีพ) และธนาคารปลายทาง (บญั ชีของมจิ ฉาชีพ) เพือ่ ระงับการโอนและถอนเงิน โดย เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรื่อง ชุดวิชาการเงินเพือ่ ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนตน้

257 รวบรวมเอกสารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขอระงับการโอนและถอนเงิน ทั้งนี้ แต่ละสถาบัน การเงนิ มีวธิ ปี ฏิบัตทิ ่ีแตกตา่ งกัน ควรติดตอ่ สอบถามขั้นตอนจากสถาบันการเงนิ โดยตรง 2) แจ้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) สายด่วน โทร. 1710 หรอื เวบ็ ไซต์ https://www.amlo.go.th/ กิจกรรมที่ 4.2 หากมีคนโทรมาบอกว่าโอนเงินผดิ มาท่ีบญั ชเี รา เราควรทำอยา่ งไร ตอบ • ไม่ต้องรีบโอนคืนทันทีหากมีคนติดต่อมาให้โอนกลับหรือโอนต่อไปอีกบัญชีหนึ่ง เพราะอาจเปน็ มิจฉาชพี มาใชบ้ ญั ชีของเราเปน็ ทางผา่ นในการกระทำผดิ กฎหมาย • ควรสอบถาม call center หรือสาขาของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ ให้ดำเนินการ ตรวจสอบรายละเอียด • หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เราไปท่ี ธนาคารเพื่อเซ็นยินยอมให้ธนาคารดำเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป (อย่าโอนกลับ ด้วยตนเอง) เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเร่อื ง ชุดวิชาการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้

258 กจิ กรรมทา้ ยเรอ่ื งที่ 5 ภัยออนไลน์ กจิ กรรมท่ี 5 ศกึ ษากรณีตวั อย่างต่อไปน้ี แล้วตอบคำถามในข้อ 1 – 3 1. จากกรณีตัวอย่าง เป็นลกั ษณะของกลโกงประเภทใด ตอบ ภยั ออนไลน์/เงนิ กูอ้ อนไลน์ 2. หากไมต่ อ้ งการตกเปน็ เหย่ือเหมอื นนายชยั จะมวี ธิ ปี อ้ งกนั อยา่ งไร ตอบ 1) คดิ ทบทวนว่าเรอ่ื งที่เจอหรือได้ยินมามีความน่าเชอ่ื ถือมากน้อยแค่ไหน หากโอนเงิน ไปแลว้ มโี อกาสได้เงินก้อนตามทต่ี อ้ งการกู้หรือไม่ 2) ตรวจสอบข้อมูลก่อนโอนเงิน หากอ้างถึงบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรใด ๆ ควร ตดิ ต่อสอบถามบคุ คลน้นั หรอื องค์กรนั้น ๆ โดยตรง 3) ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพ่ือรเู้ ท่าทันเล่ห์เหล่ียมกลโกง 3. ในกรณีนี้ นายชัยควรแกไ้ ขปญั หานอี้ ย่างไร ตอบ 1) ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (call center) ของธนาคารเพื่อระงับการโอนและถอนเงิน โดยรวบรวมเอกสารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบด้วย ทั้งนี้ แต่ละธนาคารมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ควรตดิ ตอ่ สอบถามขน้ั ตอนจากธนาคารโดยตรง 2) แจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจท้องท่ที ่เี กดิ เหตเุ พือ่ ติดตามคนร้าย หรือปรึกษาได้ ที่ศนู ยป์ ราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยสี ารสนเทศ โทร. 1599 เฉลย/แนวตอบกิจกรรมทา้ ยเรือ่ ง ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศกึ ษาตอนต้น

259 กจิ กรรมทา้ ยเรือ่ งท่ี 6 ภยั ธนาคารออนไลน์ กจิ กรรมท่ี 6 ศกึ ษากรณีตัวอยา่ งเพือ่ ตอบคำถามข้อท่ี 1 - 3 1. กรณีตัวอยา่ งเป็นลักษณะของกลโกงประเภทใด ตอบ ภยั ธนาคารออนไลน/์ แฝงโปรแกรมรา้ ยหรือมัลแวร์มาให้ดาวนโ์ หลดในคอมพวิ เตอร์ 2. หากไมต่ อ้ งการตกเปน็ เหยอื่ เหมอื นวลั ลภ จะมวี ธิ ปี ้องกนั อยา่ งไร ตอบ 1. ไม่ติดตั้งหรือดาวน์โหลดโปรแกรมแปลก ๆ หรือละเมิดลิขสิทธิ์ หรือผิดกฎหมาย เพราะอาจเป็นชอ่ งทางให้มัลแวร์เข้ามาในอุปกรณท์ ่ใี ช้ (คอมพิวเตอร์ สมารต์ โฟน หรือแท็บเล็ต) ได้ 2. หลีกเลี่ยงการใช้งานธนาคารออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ที่มีการดัดแปลง หรือแก้ไข ระบบปฏบิ ตั กิ าร เพราะมคี วามเสยี่ งสูงทจี่ ะถูกขโมยขอ้ มูล 3. หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ หรือ ฟรี Wi-Fi เพ่อื ป้องกนั การดกั ขโมยข้อมูล แตห่ ากจำเป็นตอ้ งใช้ ใหร้ ีบเปลี่ยนรหัสผ่านหลงั จากการใช้งาน 4. ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ทำธุรกรรมออนไลน์เป็นประจำ ว่ามีมัลแวร์แฝงอยู่หรือไม่ โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบและป้องกันไวรสั ที่ถูกกฎหมายและเป็นปจั จบุ ัน 5. สงั เกตอเี มลและเว็บไซต์ ก่อนคลิกลงิ กห์ รือลงช่ือเข้าใชง้ านธนาคารออนไลน์ 6. สังเกตกอ่ นดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน พิจารณาว่าแอปพลเิ คชนั ของธนาคารตา่ ง ๆ ที่ กำลังจะดาวน์โหลดมาใช้ เป็นแอปพลิเคชันจริงที่พัฒนาขึ้นโดยธนาคารต่าง ๆ ไม่ใช่การทำ สัญลกั ษณ์ หรือไอคอน (icon) ของแอปพลิเคชันใหค้ ล้ายคลึงกบั ของจริง 7. จำกัดวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านธนาคารออนไลน์ เพื่อลดความเสียหายหากถูก แอบเขา้ ใช้บัญชี 8. ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในบัญชี และการเข้าใช้ระบบธนาคารออนไลน์อยู่ เสมอว่าเปน็ รายการทไี่ ด้ทำไวห้ รอื ไม่ 9. ควรกดปุ่ม “ออกจากระบบ” (log out) ทกุ คร้งั เม่อื ไม่ใช้งาน เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมทา้ ยเร่ือง ชุดวชิ าการเงนิ เพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

260 3. วัลลภควรแก้ไขปญั หานี้อย่างไร ตอบ แจ้งเหตุการณ์แก่เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือฝ่ายบริการลูกค้า (call center) ของธนาคาร ทันที พรอ้ มทั้งขอคำปรึกษาเก่ยี วกบั วธิ ีแกไ้ ขและการใช้งานที่ปลอดภัย กจิ กรรมทา้ ยเร่อื งที่ 7 ภยั บัตรอิเล็กทรอนิกส์ กจิ กรรมท่ี 7 ศกึ ษากรณตี วั อย่างเพื่อตอบคำถามขอ้ ที่ 1 - 3 1. จากกรณีตวั อย่าง เปน็ ลกั ษณะของกลโกงประเภทใด ตอบ ขโมยข้อมูลในบตั รแถบแมเ่ หล็กผา่ นเคร่ือง skimmer 2. หากไม่ต้องการตกเป็นเหย่ือในลกั ษณะน้ี จะมีวธิ ีปอ้ งกนั อย่างไร ตอบ 1) ไม่บอกข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นรหัสบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต หรือ ข้อมูลทางการเงิน หรือให้คนอืน่ ทำธรุ กรรมแทน 2) สังเกตเครื่องเอทีเอ็ม ว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่ช่องสอดบัตร แป้นกดตัวเลข และ บริเวณโดยรอบวา่ มีกล้องขนาดจวิ๋ แอบดกู ารกดรหสั หรอื ไม่ 3) เปลี่ยนรหัสผ่านอย่างน้อยทุก 3 เดือน หรือบ่อยกว่า โดยรหัสผ่านจะต้องเดายาก เป็นความลับ แต่เจ้าของบัตรตอ้ งจำได้ 4) อยู่ในระยะที่มองเห็นการทำรายการเมื่อใช้บัตรที่ร้านค้า เพื่อป้องกันพนักงานนำ บตั รไปรดู กับเครอ่ื งขโมยขอ้ มลู 5) ตรวจสอบใบบันทึกรายการของบัตรเอทีเอ็มทุกครั้ง และควรเก็บไว้เพื่อเป็น หลักฐานในการตรวจสอบ 6) ตรวจสอบรายการใช้จ่ายของบตั รเครดิตอย่างสมำ่ เสมอ 7) แจง้ ธนาคารผ้อู อกบัตรทันที หากมรี ายการผดิ ปกติ เฉลย/แนวตอบกจิ กรรมท้ายเรอื่ ง ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนต้น

261 3. หากเราตกเปน็ เหย่ือ เราควรแกไ้ ขปัญหาอย่างไร ตอบ 1) ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วรีบติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (call center) ของ ธนาคารเพอ่ื อายดั บัตรและขอทราบวิธกี ารและขนั้ ตอนการแก้ไขปัญหา ทง้ั น้ี แต่ละธนาคารมีวิธี ปฏบิ ตั ทิ แ่ี ตกตา่ งกันไป 2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องเอทีเอ็ม และไปแจ้งความ ณ สถานตี ำรวจในทอ้ งทที่ เ่ี กดิ เหตุ เฉลย/แนวตอบกิจกรรมท้ายเรื่อง ชุดวิชาการเงินเพ่ือชีวติ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน้

262 บรรณานุกรม ตลาดหลกั ทรัพย์แหง่ ประเทศไทย. (2553). การบริหารการเงนิ สว่ นบคุ คล. กรุงเทพฯ: ตลาด หลกั ทรพั ยแ์ ห่งประเทศไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รู้รอบเร่อื งการเงิน. กรงุ เทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย. พ.ต.ท. มนพุ ศั ศรบี ุญลอื . (2562). หลกั สูตรการบรู ณาการเพอื่ ป้องกันอาชญากรรมทาง เศรษฐกิจ ประจำปี 2562: Fraud in E-Banking. ศนู ย์สง่ เสรมิ การพฒั นาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรพั ยแ์ ห่งประเทศไทย. (2553). หลกั สูตร วางแผนการเงนิ : ชุดที่ 1 พืน้ ฐานการวางแผนการเงิน. กรุงเทพฯ: ตลาด หลกั ทรพั ย์แหง่ ประเทศไทย. Australian Securities and Investment Commission. (2012). Managing Your Money. Australia: Australian Securities and Investment Commission. Commission for Financial Capability. (2014). Set Your Goals. New Zealand: Commission for Financial Capability. Securities and Exchange Board of India. (2011). Financial Education for Middle Income. Mumbai: Securities and Exchange Board of India. The Investor Education Center. (2014). Financial Planning. Hong Kong: The Investor Education Center. บรรณานกุ รม ชุดวชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนต้น

263 แหล่งอ้างอิงออนไลน์ ตลาดหลักทรัพยแ์ ห่งประเทศไทย. (2558) การวางแผนการเงินคืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถงึ ได้ จาก: https://www.set.or.th/education/th/start/start_start.pdf. (วันที่ คน้ ข้อมลู : 22 เมษายน 2559). ศูนย์ประสานการรกั ษาความมน่ั คงปลอดภัยระบบคอมพวิ เตอร์ประเทศไทย (ไทยเซริ ต์ ). เตือน ภยั มัลแวร์ CTB Locker ระบาดหนกั ทว่ั โลก เรยี กคา่ ไถ่ผ้ใู ชง้ านในการก้ไู ฟล์ ทถ่ี ูกเขา้ รหัสลบั . [ออนไลน]์ . เข้าถงึ ไดจ้ าก: https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2015/al2015us001.html (วนั ท่ี คน้ ขอ้ มูล: 7 กรกฎาคม 2558). ศูนย์ประสานการรกั ษาความมั่นคงปลอดภยั ระบบคอมพิวเตอรป์ ระเทศไทย (ไทยเซิร์ต). CryptoLocker: เรื่องเก่าที่ถูกเอามาเล่าใหม.่ [ออนไลน์]. เข้าถึงไดจ้ าก: https://www.thaicert.or.th/papers/technical/2013/pa2013te011.html (วนั ท่ีคน้ ข้อมูล: 7 กรกฎาคม 2558). บรรณานกุ รม ชุดวชิ าการเงินเพอ่ื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

264 ขอขอบคุณ กรมธนารกั ษ์ กองทนุ การออมแหง่ ชาติ บรษิ ทั ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สถาบันคมุ้ ครองเงนิ ฝาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและสง่ เสรมิ การประกอบธุรกิจประกนั ภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลกั ทรพั ย์และตลาดหลกั ทรพั ย์ สำนักงานประกนั สงั คม ตลาดหลกั ทรพั ยแ์ หง่ ประเทศไทย ชดุ วิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2564) l ขอบคุณ

265 คณะผจู้ ัดทำ คณะทีป่ รกึ ษา เลขาธกิ าร กศน. สำนักงาน กศน. นายสรุ พงษ์ จำจด รองเลขาธกิ าร กศน. สำนกั งาน กศน. นายประเสริฐ หอมดี ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะดา้ นพัฒนาหลักสตู ร นางศทุ ธนิ ี งามเขตต์ ผ้อู ำนวยการศูนย์คมุ้ ครองผู้ใช้บรกิ ารทางการเงิน นางชนาธิป จริยาวิโรจน์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผอู้ ำนวยการกลมุ่ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบ นางตรีนชุ สุขสเุ ดช และการศึกษาตามอัธยาศยั ผบู้ รหิ ารสว่ น ส่วนส่งเสรมิ การใหค้ วามรู้ทางการเงิน นางสาวชญานนิ พนมยงค์ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย คณะทำงาน ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นายพชิ ญา สฤษเนตร ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวจุฬาลกั ษณ์ พิบูลชล ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นางสาวนิรชั รา ปัญญาจกั ร ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นางสาวจันทรธ์ ิดา พวั รัตนอรุณกร สถาบัน กศน.ภาคเหนือ นางอุบลรัตน์ มีโชค สำนักงาน กศน.จังหวดั สรุ นิ ทร์ นางวมิ ลพรรณ กุลัตถ์นาม สำนกั งาน กศน. จงั หวดั พิษณโุ ลก นางอนงค์ ฉันทโชติ สำนักงาน กศน. จังหวัดพิจติ ร นางอมรา เหลา่ วิชยา กศน.เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร นายบุญชนะ ล้อมสิริอุดม กศน.เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร นายธณลั ธิวรรธน์ ภคพฑั วฒั นฐากรู กศน.อำเภอเมือง จังหวดั แมฮ่ ่องสอน นางมัณฑนา กาศสนุก กศน.อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี นางสาวอนงค์ ชูชัยมงคล คณะผู้จดั ทำ ชุดวชิ าการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

266 คณะทำงาน (ตอ่ ) กศน.อำเภอพล จงั หวดั ขอนแกน่ นางยุพิน อาษานอก กศน.อำเภอพล จังหวดั ขอนแกน่ นางพสิ มัย คำแก้ว กศน.อำเภอหางดง จงั หวดั เชียงใหม่ นางกมลวรรณ มโนวงศ์ กศน.อำเภอสะเดา จังหวดั ขอนแก่น นางสุพัตรา ณ วาโย กศน.อำเภอเมอื ง จงั หวดั กำแพงเพชร นางสาวพจนยี ์ สวัสดิรัตน์ ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษา นางกัลยา หอมดี ตามอธั ยาศยั กลมุ่ เป้าหมายพิเศษ ศนู ยว์ ทิ ยาศาสตรเ์ พ่ือการศกึ ษารงั สิต นางสาวมนทา เกรียงทวีทรพั ย์ หนว่ ยศึกษานิเทศก์ นางสาวจรรยา สิงหท์ อง กลุ่มพฒั นาระบบการทดสอบ นางพรรณทพิ า ชนิ ชชั วาล กลุ่มพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษา นายสรุ พงษ์ มนั่ มะโน ตามอัธยาศัย กลุ่มพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษา นางญานิศา สุขอุดม ตามอัธยาศยั กลุ่มพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษา นายศภุ โชค ศรรี ตั นศลิ ป์ ตามอัธยาศัย กลุม่ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษา นางสาววรรณพร ปัทมานนท์ ตามอัธยาศยั กลมุ่ พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษา นางสาวสลุ าง เพ็ชรสว่าง ตามอธั ยาศัย กล่มุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษา นางกมลทพิ ย์ ช่วยแกว้ ตามอธั ยาศยั กลมุ่ พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษา นางสาวทิพวรรณ วงคเ์ รือน ตามอัธยาศยั คณะผูจ้ ดั ทำ ชุดวชิ าการเงนิ เพอ่ื ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศึกษาตอนต้น

คณะทำงาน (ต่อ) 267 นางวรรณี ศรีศิรวิ รรณกลุ กลุ่มพัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษา นางสาวชาลนิ ี ธรรมธษิ า ตามอัธยาศัย กลุ่มพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษา นางสาวชมพูนท สงั ขพ์ ิชัย ตามอธั ยาศัย กลมุ่ พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษา คณะบรรณาธิการ ตามอัธยาศัย นางชนาธิป จรยิ าวโิ รจน์ ผูอ้ ำนวยการศนู ยค์ ุม้ ครองผู้ใช้บริการทางการเงิน นางสาวชญานนิ พนมยงค์ ธนาคารแห่งประเทศไทย นายพชิ ญา สฤษเนตร ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวจุฬาลักษณ์ พบิ ลู ชล ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวนริ ชั รา ปญั ญาจักร ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวจันทรธ์ ดิ า พวั รัตนอรณุ กร ธนาคารแหง่ ประเทศไทย ผอู้ อกแบบปก ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นายศุภโชค ศรรี ตั นศิลป์ กลุ่มพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษา ตามอธั ยาศยั คณะผู้จัดทำ ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l ระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้

268 รายชอ่ื คณะทำงานปรับปรงุ หลกั สตู รและส่ือการเรียนร้รู ายวิชาการเงนิ เพอื่ ชวี ิต (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ. 2564) คณะท่ีปรกึ ษา นายสมชาย เลศิ ลาภวศนิ ผอู้ ำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสรมิ ความรูท้ างการเงิน ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นายนรศิ พุกกะมาน ผอู้ ำนวยการ ฝ่ายสง่ เสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวชญานนิ พนมยงค์ รองผอู้ ำนวยการ สว่ นกลยทุ ธก์ ารส่งเสรมิ ความรทู้ างการเงนิ 1-3 ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะทำงาน นางสาวจฬุ าลักษณ์ พบิ ลู ชล ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวนารีรัตน์ สายสดุ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นางศริ ินทร์ ธรรมไพศาล ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวผุสดี พรเกษมศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย คณะบรรณาธิการ นายสมชาย เลศิ ลาภวศนิ ผอู้ ำนวยการอาวุโส ฝา่ ยส่งเสริมความร้ทู างการเงนิ ธนาคารแห่งประเทศไทย นายนรศิ พุกกะมาน ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวชญานิน พนมยงค์ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นางสาวจุฬาลักษณ์ พิบลู ชล ธนาคารแห่งประเทศไทย นางสาวนารีรตั น์ สายสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย นางศริ นิ ทร์ ธรรมไพศาล ธนาคารแหง่ ประเทศไทย นางสาวผุสดี พรเกษมศาสตร์ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย คณะทำงานปรับปรงุ หลกั สตู รและสอื่ การเรียนรู้ ชุดวชิ าการเงินเพ่ือชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน้

269 คณะทำงานปรบั ปรงุ หลกั สูตรและส่ือการเรียนรู้ ชุดวชิ าการเงินเพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนตน้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook