Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Published by sampaom, 2022-11-16 08:26:02

Description: ชุดวิชาการเงิน 2 ระดับ ม. ต้น

Search

Read the Text Version

141 4. มองหาวิธีการแก้ไขปัญหาหน้ี ซึ่งหากเป็นปัญหาหนี้ที่ไม่ถึงขั้นล้นพ้นตัว ก็สามารถปลดหนี้ด้วยตนเองได้ แต่หากปัญหาหนี้นั้นมากเกินจะจัดการด้วยตนเองก็ควรเจรจา กับเจา้ หน้ี 4.1 การแก้ไขปญั หาหนดี้ ว้ ยตนเอง สำหรับผ้ทู ร่ี ู้ว่าตนเองมปี ัญหาหน้ี แต่ยังไมถ่ ึงขั้นลน้ พ้นตัว การปลดหนี้ ดว้ ยตนเองจึงเปน็ เรอื่ งที่ไมย่ ากเกนิ ไป ซ่ึงเริ่มต้นงา่ ย ๆ ดังนี้ (1) ลดรายจ่าย บางคนอาจไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร อาจใช้วิธี “บนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย” ซ่ึงจะช่วยหาพฤตกิ รรมในการใชจ้ ่ายของตนเองว่าจ่ายไปกับอะไรบ้าง รวมทั้งช่วยในการทบทวนตนเองเพื่อหาข้อบกพร่องหรือ “รูรั่ว” เช่น ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปนั้นเปน็ สิ่งจำเป็นหรือไม่ อะไรเป็นรายจ่ายไม่จำเป็น หรือเป็นรายจ่ายจำเป็นที่มากเกินไป แล้วพยายามหาทางงดหรือลดค่าใช้จา่ ยน้ัน เพื่อนำเงนิ ไปจ่ายหนี้ใหไ้ ดม้ ากขนึ้ (2) เพิ่มรายได้ อาจหารายได้เสริม หรือเปลี่ยนงานอดิเรกให้ กลายเปน็ รายได้ เม่ือมีรายได้เพมิ่ ข้ึนกจ็ ะชว่ ยใหส้ ามารถชำระหน้ีได้เพิ่มขึน้ (3) สำรวจทรัพย์สินที่มีและตัดใจขาย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ เช่น ทรพั ยส์ นิ ทไ่ี ม่จำเป็น เคร่ืองประดับ (4) ตั้งเป้าหมายปลดหน้ี ปลดหนี้ในที่น้ี หมายถึง มุ่งมั่นตั้งใจและ เพิ่มความพยายามในการใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว แต่ยังคงชำระหนี้อื่น ๆ ตามกำหนดเพื่อรักษา ประวัตเิ ครดิตทด่ี ีเอาไว้ อย่างไรกด็ ี อย่านำเงนิ ไปใช้หนี้หมดจนไมม่ เี งนิ เก็บออม เพราะหากมีเหตุ ฉุกเฉินต้องใชเ้ งนิ อาจต้องหนั กลบั ไปเป็นหนอ้ี ีก จงึ ควรใชห้ นแี้ ละออมไปพรอ้ ม ๆ กนั (5) ติดตามอย่างใกล้ชิด ว่าสามารถทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่ หาก ไมเ่ ป็นไปตามแผน อาจหาทางปรบั แผนให้สอดคล้องกับสถานการณท์ ีเ่ กดิ ขึน้ เมือ่ ปลดหนไี้ ด้แล้ว ก็ไม่ควรกลับไปก่อหนี้อีก แต่ควรหาทางปลดภาระหนี้ก้อนอื่น ๆ ต่อไป (ถ้ามี) และสะสม เงนิ ออมให้มีมากข้ึนเพือ่ ไว้ใชใ้ นยามจำเป็น ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ที่ 3 สนิ เช่ือ

142 4.2 การเจรจากบั เจ้าหน้ีเพื่อขอปรบั ปรุงโครงสรา้ งหน้ี สำหรับผู้ที่มีปัญหาหนี้ที่ไม่สามารถจัดการด้วยตนเองได้ ก็จำเป็นต้อง เจรจากับเจ้าหนเ้ี พอ่ื ขอปรับปรุงโครงสร้างหน้ี ซึ่งทำไดห้ ลายรูปแบบ เช่น (1) การขอเปล่ียนเงอื่ นไขการผอ่ นชำระ เชน่ การขอลดจำนวนเงินที่ ต้องผ่อนชำระตอ่ งวดลง ขอขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหน้ี ขอปรบั ลดอัตราดอกเบยี้ ข้อดีของวิธีนี้ คือ เป็นการปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระให้ไม่เกิน ความสามารถในการชำระหน้ตี อ่ งวดของตนเอง (2) การชำระหนี้ปิดบัญชี คือ การชำระหนีเ้ ป็นเงินกอ้ นตามที่เจา้ หนี้ ยอมลดให้และต้องชำระภายในเวลาท่ีเจ้าหนี้กำหนด ซึ่งกรณีของการชำระหนี้ปิดบัญชี ฝ่ังเจา้ หนจ้ี ะเปน็ ผู้เสนอเงอ่ื นไขใหแ้ ก่ลกู หนี้ ข้อดีของวิธีน้ี คือ มีโอกาสที่ลูกหนี้จะได้รับการลดหนี้บางส่วน เนื่องจากเป็นการชำระหนี้คืนทั้งหมดในคราวเดียว ซึ่งลูกหนี้ควรมองหาแนวทางที่จะนำเงินมา ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 3 สินเช่อื

143 ชำระหนี้ปิดบัญชีให้ครบจำนวนและภายในระยะเวลาที่เจ้าหนี้กำหนด เช่น อาจกู้ยืมเงินญาติ หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่กู้เงินที่ดอกเบี้ยแพงมาชำระหนี้ท่ี ดอกเบ้ยี ถูก หรือไปกูเ้ งินนอกระบบ ซง่ึ จะทำใหล้ ูกหนต้ี ้องรับภาระดอกเบ้ียท่ีสงู กว่าเดิม และ สรา้ งภาระหนเ้ี พ่ิมขึน้ ไปอกี อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหนี้ และเป็นกระบวนการที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้เจรจาหาข้อยุติร่วมกัน ซึ่งจะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ การเจรจาเหตผุ ลและความจำเปน็ ของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่มีภาระหนี้กับสถาบันการเงินและต้องการจะขอปรับปรุง โครงสร้างหน้ี ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษรถึงสถาบันการเงินเพื่อขอความอนุเคราะห์ โดยสิ่งที่ ควรระบใุ นหนงั สอื ไดแ้ ก่ 1) ข้อมูลของลูกหนี้ เช่น เลขที่สัญญา ประเภทสินเชื่อที่มี หนี้คงค้าง ชำระ ประวตั ิการชำระที่ผ่านมา 2) ปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เช่น รายได้ลดลงเนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจ ตกงาน หรือต้องใช้จ่ายเงินเพื่อรักษาพยาบาลคนในครอบครัว โดยควรแจ้ง รายได้ที่ได้รับในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายจำเป็นที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ เหตุฉุกเฉนิ (ถ้ามี) ซึ่งส่งผลทำใหไ้ ม่สามารถชำระหนีไ้ ดต้ ามจำนวนที่เคยทำข้อตกลงไว้ และควร มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้เจ้าหนี้ดูด้วย เช่น สลิปเงินเดือน ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล บันทึกรายรับ-รายจ่ายท่จี ดเป็นประจำ 3) แนวทางที่ตอ้ งการให้สถาบนั การเงินช่วยเหลือปรับปรงุ โครงสร้างหนี้ เช่น ขอพักชำระเงินต้นหรือขอพักชำระดอกเบี้ย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงมากแต่เป็นการ ลดลงแค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยจะกลับมามีรายรับเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมในเวลาไม่นาน หรือ ขยายเวลาชำระหน้ี เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับ น้อยกวา่ เดิม ทำใหไ้ มส่ ามารถจา่ ยหน้ใี นจำนวนเทา่ เดิมได้ กจิ กรรมทา้ ยเรือ่ งท่ี 5 วิธีการแก้ไขปญั หาหนี้ (ให้ผูเ้ รยี นไปทำกจิ กรรมเรอ่ื งท่ี 5 ทสี่ มดุ บันทึกกจิ กรรมการเรยี นร)ู้ ชดุ วิชาการเงนิ เพ่อื ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 3 สนิ เช่อื

144 เรือ่ งท่ี 6 หน่วยงานทีใ่ หค้ ำปรกึ ษาวธิ ีการแก้ไขปัญหาหน้ี เมื่อพบปัญหาหนี้ หลายคนอาจยังนึกไม่ออกว่าตนเองจะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร มีทางใดที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดจากปัญหาหนี้ได้บ้าง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เม่ือ เจอกับปัญหาหนี้ ก็ใช้วิธีการหลบหน้า ไม่รับโทรศัพท์ หรือย้ายที่อยู่เพื่อหนี ทั้งที่ยังมีหนทางท่ี จะแก้ไขได้ เรม่ิ จากการมีคนชว่ ยช้แี นะแนวทางท่ีถกู ตอ้ ง หนว่ ยงานทใี่ หค้ ำปรึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาหน้ี หากไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาหนี้อย่างไร หรือต้องการหาทางออกจาก ปัญหาหนี้ สามารถติดต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพร้อมให้คำแนะนำ คำปรึกษา เพ่ือ ชี้แนะแนวทางแก่ผู้มีปัญหาหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบ โดยมีหน่วยงานหลัก ท่ีสามารถติดตอ่ ขอคำแนะนำ คำปรึกษาดงั นี้ หนี้ในระบบ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หน้นี อกระบบ ศนู ยร์ บั แจง้ การเงนิ นอกระบบ กระทรวงการคลงั โทร. 1359 นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อีก ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ ประชาชนและพร้อมให้คำแนะนำหรอื ช่วยหาทางแกไ้ ขปญั หาตา่ ง ๆ ได้ อาทิ - สายด่วนของรัฐบาล สงั กัดสำนกั นายกรัฐมนตรี โทร. 1111 - ศูนยด์ ำรงธรรม สงั กดั กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567 - สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สังกัด สำนกั งานอยั การสงู สดุ โทร. 0 2142 2034 - ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม สังกัด กระทรวงยตุ ิธรรม โทร. 0 2575 3344 อย่างไรก็ตาม คำปรึกษาจากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นเพียงแนวทางในการแก้ไข ปัญหาหน้ีเท่านั้น การตัดสินใจว่าจะแก้ไขปัญหาหนี้แบบไหน หรือวิธีการใดท่ีเหมาะสมและ ชดุ วิชาการเงนิ เพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 3 สนิ เชอ่ื

145 สามารถปฏบิ ตั ิได้จริง ขึ้นอยู่กบั ผ้มู ปี ญั หาหน้ีเปน็ ผู้พจิ ารณาว่าแบบใดจึงจะเหมาะกับตนเองโดย คำนึงถงึ ปจั จัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ ความเป็นไปได้ และข้อจำกดั เรื่องนา่ รู้เกี่ยวกับติดตามทวงถามหนี้ ถ้าถึงเวลาชำระหนี้แล้วลูกหน้ีไม่ชำระ หรือชำระล่าช้า เจ้าหน้ีหรือตัวแทนจะ สามารถติดต่อทวงหนี้หรือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นหน้ีได้กับตัวลกู หน้ี ห้ามผู้ทวงหนี้ติดต่อกับ บคุ คลอ่ืนซง่ึ มใิ ชล่ กู หนี้เพ่อื การทวงถามหนี้ เว้นแต่บคุ คลซงึ่ ลูกหนี้ไดร้ ะบุไว้เพือ่ การดังกล่าว การ ติดต่อกับบุคคลอื่น ให้กระทำได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับ สถานท่ตี ดิ ต่อลูกหน้ี หรอื บุคคลซง่ึ ลูกหนีไ้ ดร้ ะบไุ วเ้ พื่อการทวงถามหนเ้ี ทา่ น้นั ซึง่ การทวงหน้ีตอ้ ง ปฏิบตั ติ าม พ.ร.บ. การทวงถามหน้ี พ.ศ. 2558 เชน่ • ต้องแสดงตัวตนต่อลูกหนี้ โดยแจ้งชื่อและวัตถุประสงค์ในการติดต่อ หาก เป็นผูร้ บั มอบใหท้ วงถามหน้ี ให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนด้ี ้วย • ให้ติดต่อลูกหนี้ตามสถานที่ที่ลูกหนี้ระบุไว้ ในวันเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00 น. และวันหยุดราชการ (วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขตั ฤกษ์ และวันหยดุ ชดเชย) เวลา 08.00 - 18.00 น. โดยใหผ้ ูท้ วงถามหนี้ตดิ ตอ่ ลกู หนีไ้ ม่เกิน 1 คร้ังต่อวัน • ห้ามขม่ ขู่ ใชค้ วามรุนแรง หรือใช้วาจาดูหม่ิน • ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยใช้ไปรษณียบัตร โทรสาร หรือใช้ข้อความ เครื่องหมาย สญั ลกั ษณ์บนซองจดหมายท่สี อ่ื วา่ เปน็ การทวงหน้ี • ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น ใชส้ ัญลักษณท์ ่ีทำใหเ้ ขา้ ใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าทีข่ องรฐั • อตั ราค่าธรรมเนยี ม คา่ ใช้จ่ายในการทวงถามหน้ี - หากคา้ ง 1 งวด คดิ ค่าใชจ้ ่ายได้ไม่เกิน 50 บาทตอ่ รอบการทวงหนี้ - หากค้างมากกว่า 1 งวด คดิ คา่ ใชจ้ ่ายได้ไม่เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงหนี้ - หากเป็นหนี้ประเภทเช่าซื้อรถยนต์/ลิสซิ่ง สามารถเก็บค่าใช้จ่ายลงพื้นท่ี ติดตามหนี้เพิ่มเติมได้ ตามที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงหนี้ และลูกหนี้ต้อง ค้างชำระมากกว่า 1 งวด ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 3 สินเชอื่

146 - ห้ามเรียกเก็บค่าทวงถามหนี้กรณีที่หนี้ค้างชำระหรือหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ สะสมไมถ่ ึง 1,000 บาท - ห้ามเรียกเก็บค่าทวงถามหนี้หลังจากทีล่ ูกหน้ีชำระหนีค้ รบจำนวน หรือได้ บอกเลิกสญั ญาแลว้ ตามกฎหมาย หมายเหตุ: ค่าทวงหนไี้ ม่รวมค่าใชจ้ ่ายในการติดตามเอาทรัพยค์ ืน รอบการทวงหน้ีจะนับตง้ั แต่วนั ผิดนดั ชำระจนถึงวันครบกำหนดชำระงวดถัดไป และรอบการทวงหนี้ต้องมีระยะเวลาไมน่ อ้ ยกวา่ 1 เดอื น ทั้งน้ี หากถูกติดตามทวงถามหนี้อย่างไม่เหมาะสม สามารถร้องเรียนกับหน่วยงานที่มีหน้าที่รับ เรื่องร้องเรียนตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 โดยตรง ได้แก่ กรมการปกครอง สถานี ตำรวจท้องที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ทำการปกครอง จงั หวัด และท่ีวา่ การอำเภอ หรอื หากพบการคดิ ค่าธรรมเนียมหรอื ค่าใช้จา่ ยใด ๆ ในการทวงถาม หนี้เกนิ จากท่กี ฎหมายกำหนด สามารถร้องเรยี นได้ท่ีศนู ย์ดำรงธรรม โทร. 1567 ชุดวิชาการเงินเพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 3 สนิ เชื่อ

147 บญั ญตั ิ 8 ประการ เพ่ือเป็นหน้อี ยา่ งเปน็ สขุ 1. กอ่ หนเ้ี มื่อจำเปน็ ควรเลือกกอ่ หนที้ ี่ดี และต้องเปน็ หนี้ทเ่ี กิดจากความจำเป็น มากกว่าความต้องการหรือความอยากได้ 2. ไม่เน้นตามกระแส ไม่ควรเป็นหนี้เพื่อนำไปซื้อของที่กำลังอยู่ในความนิยม ของสังคมแต่ไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเรา เพราะจะยิ่งทำให้สรา้ งหนี้เกิน ความจำเป็น 3. ไม่ดีแน่ถา้ ภาระหน้ีเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดอื น เมื่อใดที่จะก่อหน้ีควรดู ความสามารถในการผ่อนชำระของตนเองด้วย โดยภาระผ่อนหนี้ที่มีอยู่ (ถ้ามี) บวกกับภาระ ผ่อนหนี้ใหม่ เมื่อรวมกันแล้วไม่ควรเกิน 1 ใน 3 (33%) ของรายได้ตอ่ เดือน 4. อ่านและถามก่อนเซ็นสัญญา ในการทำสัญญาเงินกู้ ก่อนที่จะเซ็นชื่อใน สัญญา ต้องอ่านสาระสำคัญและทำความเข้าใจเงื่อนไขการให้กู้ยืม เช่น จำนวนเงินที่กู้ยืมทั้งท่ี เป็นตัวเลขและตัวอักษรต้องตรงกัน ระยะเวลาการกู้ อัตราดอกเบี้ย เงื่อนไขการชำระหนี้ และ เง่อื นไขการผิดนัดชำระหนี้ 5. ใช้เงินกู้ท่ีได้มาตามวัตถุประสงค์ เมื่อได้สินเชื่อมาก็ควรใช้ให้ตรงตาม วัตถุประสงคท์ ต่ี ง้ั ใจไว้ ไมน่ ำไปใชน้ อกล่นู อกทาง 6. จ่ายตรงตามเวลา การชำระหนี้ล่าช้าอาจสร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม เชน่ ดอกเบี้ยหรอื คา่ ปรับกรณีชำระล่าชา้ ค่าติดตามทวงถามหนี้ 7. รีบเจรจาก่อนหนี้ท่วม หากมีปัญหาการชำระหนี้ ควรรีบเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อหาทางออกแก้ไขปัญหา เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลให้ภาระหนี้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนหน้ีสินลน้ พน้ ตัวแกไ้ ขไดย้ าก 8. ไม่ติดบ่วงหนี้นอกระบบ เพราะนอกจากดอกเบี้ยท่ีสูงเกินไปแล้ว หากไม่ ชำระอาจถูกทวงหน้ีโหดได้ กิจกรรมทา้ ยเรื่องที่ 6 หน่วยงานท่ีให้คำปรึกษาเกี่ยวกบั วิธกี ารแก้ไขปญั หาหนี้ (ใหผ้ ู้เรียนไปทำกิจกรรมเรือ่ งที่ 6 ทส่ี มุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้) ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 3 สินเชอื่

148 หน่วยการเรยี นรทู้ ี่ 4 สิทธแิ ละหน้าทีข่ องผูใ้ ช้บริการทางการเงิน สาระสำคญั ผู้ใช้บริการทางการเงนิ มีสิทธิที่พงึ ตระหนกั 4 ประการ และมีหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ ด้วยความรับผิดชอบอีก 5 ประการ นอกจากความรู้ทั้ง 2 เรื่องนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ ทางการเงินในประเทศไทย บทบาทหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคาร แห่งประเทศไทย หน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนอื่น ๆ รวมถึงขั้นตอนการร้องเรียนและหลักการ เขียนหนงั สอื ร้องเรียนอย่างถกู ต้อง จะช่วยให้ผู้ใชบ้ ริการทางการเงินสามารถเลือกใช้บริการทาง การเงินได้อย่างเหมาะสม ตรงกบั ความต้องการของตนเอง และลดความเสี่ยงและความเสียหาย ทอ่ี าจเกดิ ข้ึนจากการใช้บริการทางการเงิน ตัวชวี้ ัด 1. บอกสิทธขิ องผใู้ ชบ้ ริการทางการเงนิ 2. บอกหน้าที่ของผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงิน 3. บอกผู้ใหบ้ ริการทางการเงินในประเทศไทย 4. บอกบทบาทหน้าท่ดี ้านการค้มุ ครองผู้ใชบ้ ริการทางการเงินของธนาคารแห่ง ประเทศไทย และหน่วยงานท่ีรบั เรอ่ื งรอ้ งเรยี นอนื่ ๆ 5. บอกข้นั ตอนและหลักการเขยี นหนังสอื ร้องเรียน ขอบข่ายเน้ือหา เรอื่ งท่ี 1 สทิ ธขิ องผ้ใู ช้บริการทางการเงิน เร่ืองที่ 2 หนา้ ท่ีของผู้ใช้บริการทางการเงิน เร่อื งที่ 3 ผู้ให้บริการทางการเงินในประเทศไทย เรื่องที่ 4 การคุ้มครองผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงนิ ของธนาคารแห่งประเทศไทย และ หน่วยงานท่รี ับเร่ืองรอ้ งเรียนอ่นื ๆ เรอื่ งที่ 5 ขัน้ ตอนการร้องเรียนและหลกั การเขียนหนงั สอื ร้องเรียน ชุดวิชาการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนร้ทู ี่ 4 สทิ ธิและหน้าท่ีของผใู้ ช้บริการทางการเงนิ

149 สอ่ื การเรยี นรู้ 1. ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 2. เว็บไซต์ศูนยค์ มุ้ ครองผใู้ ชบ้ รกิ ารทางการเงิน (ศคง.): www.1213.or.th 3. เฟซบุ๊ก ศคง. 1213: www.facebook.com/hotline1213 เวลาที่ใช้ในการศึกษา 10 ชวั่ โมง ชุดวิชาการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรูท้ ี่ 4 สทิ ธิและหนา้ ทข่ี องผใู้ ช้บริการทางการเงนิ

150 เร่อื งที่ 1 สทิ ธขิ องผู้ใชบ้ ริการทางการเงิน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมีความหลากหลาย ซับซ้อน และ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ผู้ใช้บริการทางการเงินจึงควรศกึ ษา หาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินต่าง ๆ รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ในการเป็น ผู้ใช้บริการทางการเงินเพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการอย่างม่ันใจ ตรงกับความต้องการ ไม่เสียสิทธิ ที่พึงได้ และเป็นผู้ใช้บริการทางการเงินที่ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุด โดยผู้ใช้บรกิ ารทางการเงินมสี ิทธิ 4 ประการดงั นี้ 1. สิทธิที่จะได้รับขอ้ มูลที่ถูกต้อง (right to be informed) ผู้ใช้บริการทาง การเงนิ มสี ทิ ธิทจ่ี ะได้รับขอ้ มูลทถี่ กู ต้องเกี่ยวกบั บริการท่ีสนใจ โดยเจ้าหนา้ ท่ีสถาบันการเงินต้อง อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน เพียงพอต่อการตัดสินใจในการใช้บริการ เช่น ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ ผลประโยชน์ที่ คาดว่าจะได้รับ ความเสี่ยง ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ทำตาม เง่ือนไข และการใช้สื่อทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายต้องไม่ชวนเช่ือเกินจริง ไมท่ ำให้ผใู้ ช้บริการ เขา้ ใจผดิ เมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ผู้ใช้บริการทางการเงินก็ควร พิจารณา ตรวจสอบ และสอบถามรายละเอียดให้แน่ใจก่อนตัดสินใจใช้บริการ เพื่อให้ได้ ผลิตภณั ฑแ์ ละบรกิ ารทเ่ี หมาะสมและตรงความตอ้ งการของผใู้ ชบ้ รกิ าร 2. สทิ ธิทจ่ี ะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรกิ ารไดอ้ ย่างอิสระ (right to choose) เจ้าหน้าที่สถาบันการเงินสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ควบคู่กับผลิตภัณฑ์ที่ ผู้ใช้บริการทางการเงินต้องการ แต่ผู้ใช้บริการทางการเงินควรเลือกผลิตภัณฑ์และบริการทาง การเงนิ ท่ตี อ้ งการจริง ๆ เท่านน้ั โดยคำนึงถงึ ความจำเป็น ประโยชน์ทไ่ี ดร้ ับ ความคุม้ ค่า รวมถึง ความสามารถในการรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง หากผู้ใช้บริการไม่ต้องการผลิตภัณฑ์และ บริการทเ่ี จ้าหน้าทีเ่ สนอขาย ก็สามารถปฏเิ สธได้ ไมต่ ้องเกรงใจหรอื ร้สู ึกไม่ดีใด ๆ ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรูท้ ่ี 4 สทิ ธแิ ละหนา้ ที่ของผู้ใชบ้ ริการทางการเงิน

151 3. สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม (right to be heard) หาก ผู้ใช้บริการทางการเงินพบว่าตนเองได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือถูกเอาเปรียบ เช่น ได้รับ ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ถูกบังคับให้ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ต้องการ ถูกทำให้ เข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คำนวณดอกเบี้ยผิด สามารถร้องเรียนไปยังสถาบันการเงินที่ใช้ บริการ และหากยงั ไม่ไดร้ บั ความเปน็ ธรรม ก็สามารถรอ้ งเรยี นไปยังหน่วยงานท่กี ำกับดแู ลได้ 4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย (right to redress) หากไดร้ ับความเสียหายจากการใช้บริการของสถาบันการเงิน เช่น เจ้าหน้าที่ธนาคาร ขโมยเงินฝากจากบัญชี กดเงินจากตู้เอทีเอ็มแล้วไม่ได้รับเงิน และพิสูจน์แลว้ ว่าเป็นความผิดพลาด ของสถาบันการเงิน เช่น ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านการให้บริการแก่ ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) หรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทาง การเงินอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการได้รับความ เสียหาย ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิได้รับการชดเชย แต่หากความผิดพลาดนั้นเกิดจาก ผู้ใช้บริการเอง เช่น ฝากสมุดบัญชีไว้กับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อทำรายการแทน โอนเงินจาก เครื่องเอทีเอม็ ไปผิดบัญชีหรือใส่ตัวเลขจำนวนเงินผดิ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องชดเชยความ เสียหายใหแ้ ก่ผู้ใช้บรกิ ารทางการเงนิ กจิ กรรมทา้ ยเรอื่ งท่ี 1 สิทธขิ องผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน (ใหผ้ เู้ รียนไปทำกิจกรรมเร่ืองที่ 1 ท่สี มุดบันทกึ กจิ กรรมการเรยี นร้)ู ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 4 สทิ ธแิ ละหน้าทีข่ องผใู้ ช้บริการทางการเงนิ

152 เร่อื งที่ 2 หน้าท่ีของผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงิน นอกจากสถาบันการเงินต้องให้บริการด้วยความรับผิดชอบแล้ว ผู้ใช้บริการทาง การเงินยังมี “หน้าที่” ที่ควรปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบเพื่อลดความเสี่ยงและความเสียหายท่ี อาจเกดิ ข้นึ จากการใช้บรกิ ารทางการเงนิ โดยหนา้ ที่ของผู้ใชบ้ ริการทางการเงนิ มีดงั น้ี 1. วางแผนการเงิน เพื่อให้รู้ฐานะทางการเงินของตนเอง จัดการกับรายรับ- รายจ่ายได้อย่างเหมาะสม สามารถตั้งเป้าหมายการเงินของตนเองได้ สามารถมองเห็นสัญญาณ และวางแผนรบั มอื กบั ปัญหาทางการเงินที่อาจจะเกดิ ขนึ้ ได้ 2. ติดตามขอ้ มูลข่าวสารทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นขอ้ มลู ในการ ตัดสินใจเลือกใช้บริการให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเอง ศึกษาและเรียนรู้ บริการทางการเงินในรูปแบบใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย นอกจากข่าวสารเกี่ยวกับ บริการทางการเงินแล้ว ภยั ทางการเงินกเ็ ปน็ สิง่ หน่ึงทีผ่ ู้ใช้บรกิ ารทางการเงนิ ไม่ควรละเลยเพราะ ก า ร ต ิ ด ต า ม ข ่ า ว ส า ร จ ะ ท ำ ใ ห ้ เ ข ้ า ใ จ แ ล ะ รู้ เ ท ่ า ท ั น ร ู ป แ บ บ ก า ร ห ล อ ก ล ว ง ข อ ง ม ิ จ ฉ า ชี พ สามารถปอ้ งกันตวั เองจากมจิ ฉาชพี ได้ ไม่ตกเปน็ เหยอ่ื ภัยทางการเงินรูปแบบตา่ ง ๆ 3. ศึกษารายละเอียดและเปรียบเทียบข้อมูลก่อนเลือกใช้ เพื่อให้เข้าใจ ลักษณะของผลิตภัณฑ์และบริการ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ที่จะได้รับ ความเสี่ยง และ ตอ้ งไม่ลืมทจ่ี ะเปรียบเทียบผลิตภณั ฑท์ ี่สนใจจากหลาย ๆ แหล่ง เชน่ สถาบันการเงนิ ผปู้ ระกอบ ธุรกิจสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) เพื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน ให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุด เช่น สอบถามพนักงาน อ่านและทำ ความเข้าใจหนังสือชี้ชวนหรือเอกสารสรุปข้อมูลสำคัญประกอบการเสนอขายผลิตภัณฑ์ (fact sheet)เพื่อเปรียบเทียบผลิตภณั ฑ์ นอกจากนี้ ก่อนลงนามหรอื เซน็ ชือ่ ในสัญญาทำธุรกรรมใด ๆ ผู้ใช้บริการทางการเงินควรอ่านรายละเอียดสัญญาให้ถี่ถ้วน และต้องเข้าใจเงื่อนไขของสัญญา ก่อนลงนาม หากไมเ่ ขา้ ใจ ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ เพอื่ ปอ้ งกันปญั หาทอ่ี าจเกดิ ข้ึนภายหลัง ชุดวิชาการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 4 สิทธิและหนา้ ทขี่ องผูใ้ ชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

153 รหู้ รือไมว่ า่ fact sheet ช่วยคณุ ไดอ้ ยา่ งไร fact sheet หรอื เอกสารสรุปข้อมูลสำคัญของผลิตภัณฑ์ คอื ข้อมูลท่ีสถาบัน การเงินจัดทำข้นึ เพื่อเปดิ เผยให้ลูกค้าได้ทราบขอ้ มูลเก่ียวกับผลติ ภัณฑห์ รือบริการทางการเงิน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภทที่มีความซับซ้อน เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย บัญชเี งนิ ฝากแบบข้นั บันได มีอะไรอยใู่ น fact sheet 1. ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ เช่น ประเภทของผลิตภัณฑ์ อัตราดอกเบี้ย วิธคี ิดดอกเบี้ย 2. ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมที่สถาบันการเงินอาจเรียกเก็บจากการซ้ือ ผลิตภณั ฑ์หรอื ใชบ้ รกิ ารเหลา่ น้ี 3. เงื่อนไขและขอ้ กำหนดท่ีควรทราบ fact sheet จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณรู้จักผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มากขึ้น และยัง สามารถใช้เปรียบเทียบกับผลติ ภัณฑ์ประเภทเดียวกันของสถาบันการเงนิ อื่น ๆ จึงช่วยให้คุณ ตดั สนิ ใจเลอื กผลติ ภณั ฑไ์ ด้ง่าย และตรงกบั ความต้องการด้วย อา่ น fact sheet ทกุ ครงั้ ก่อนตดั สินใจ เพอ่ื ประโยชนส์ ูงสดุ ของคุณเอง 4. ตรวจทานความถูกต้องของธุรกรรมทางการเงินทุกครั้ง เพื่อรักษา ผลประโยชน์ของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลท่ีสำคัญ เช่น ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี จำนวนเงิน หากพบวา่ ไมถ่ กู ตอ้ ง ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าทที่ ันที 5. ชำระหนี้เมื่อเป็นหนี้ ก่อนจะก่อหนี้ให้คำนึงถึง 2 ข้อ คือ (1) ก่อหนี้เท่าที่ จำเป็นและจ่ายไหว ดูความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง หากมีความจำเป็นและสามารถ ผ่อนชำระไหว ก็สามารถก่อหนี้ได้ และ (2) เป็นหนี้ต้องใช้ ผู้ใช้บริการทางการเงินมีหน้าที่ ที่จะต้องชำระหนี้นั้น หากไม่ชำระหนี้ นอกจากจะทำให้หนี้เพิ่มขึ้นเพราะดอกเบี้ยแล้ว ก็จะทำให้ ประวตั ิเครดิตเสยี และเมอ่ื ต้องการกูเ้ งนิ เพ่ือสงิ่ จำเปน็ ในอนาคต อาจถูกปฏิเสธการขอกูไ้ ด้ กิจกรรมทา้ ยเรอื่ งท่ี 2 หนา้ ทข่ี องผู้ใช้บรกิ ารทางการเงิน (ใหผ้ ู้เรยี นไปทำกจิ กรรมเรอ่ื งท่ี 2 ทสี่ มดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนร้)ู ชดุ วิชาการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 4 สิทธแิ ละหนา้ ทีข่ องผู้ใช้บริการทางการเงนิ

154 เรอ่ื งที่ 3 ผ้ใู หบ้ ริการทางการเงินในประเทศไทย ผ้ใู ห้บรกิ ารทางการเงินในประเทศไทย ผู้ให้บริการทางการเงินในประเทศไทย มีทั้งที่เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน และสถาบันการเงินที่ไม่ได้รับฝากเงิน รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) สามารถจำแนกผู้ให้บริการทางการเงนิ ได้ตามหนว่ ยงานทก่ี ำกบั ดูแลดังน้ี ผูใ้ ห้บริการทางการเงนิ ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแหง่ ประเทศไทย (ธปท.) ผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย มดี ังน้ี 1. สถาบันการเงิน ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 คือ สถาบันที่ทำหน้าที่ให้บรกิ ารด้านการเงิน เช่น การรับฝากเงิน การรับชำระเงิน การให้สินเชื่อ และ ธุรกรรมทางการเงนิ อ่นื ตามท่ไี ดร้ บั อนญุ าต ไดแ้ ก่ 1) ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) คือ บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงิน การให้สินเช่ือ รวมถึงบริการทางการเงินอื่น ๆ เช่น การค้ำประกัน บริการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ ธุรกิจ ต่างประเทศ เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออกนำเข้า ตลอดจนบริการทางการเงินเพื่อการบริหาร ความเสี่ยงให้แก่ลูกค้า เช่น สัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สทิ ธิและหนา้ ท่ีของผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

155 ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และประกันภัยบางประเภทเพิ่มขึ้น เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน นายหน้าประกันภัย การแนะนำบริการของ บริษัท ประกันภัยใหล้ ูกค้า 2) ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย (ธย.) คือ บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับ อนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการแก่ประชาชน รายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นหลัก และสามารถให้บริการทางการเงิน พื้นฐานอื่น เช่น การรับฝากเงิน การโอนและรับชำระเงินได้ด้วย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจที่มีความซับซอ้ นและมีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และตราสาร อนพุ นั ธ์ 3) ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ คือ บริษัท มหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทยและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ โดยมธี นาคารพาณิชยต์ ่างประเทศถือหนุ้ ไมต่ ่ำกว่า 95% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทงั้ หมด 4) สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ คือ สาขาของธนาคารพาณิชย์ ตา่ งประเทศทไี่ ด้รบั อนุญาตให้ประกอบธุรกจิ ธนาคารพาณิชยใ์ นประเทศไทย 5) บริษัทเงินทุน (บง.) คือ บริษัทมหาชนจำกัดที่ไดร้ ับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจเงินทุน โดยรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อส้ิน ระยะเวลาที่กำหนดไว้ และสามารถให้กู้ยืมเงินตามประเภทของธุรกิจเงินทุนที่ได้รับอนุญาต เช่น การให้กู้ยืมเงินระยะปานกลางและระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือ พาณิชยกรรม การให้เช่าซื้อบางประเภท แต่ไม่สามารถประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินตรา ต่างประเทศได้ 6) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) คือ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดยสามารถรับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อ สิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดย สามารถใหก้ ูย้ ืมเงนิ โดยวิธีรบั จำนองอสังหาริมทรพั ย์ การรบั ซื้ออสังหารมิ ทรพั ยโ์ ดยวิธขี ายฝาก ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 4 สิทธิและหน้าท่ขี องผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงนิ

156 2. สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ คือ สำนักงานของธนาคาร พาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้ดำเนินการในประเทศไทย แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สำนักงานผู้แทนฯ สามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์ของ สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานอื่น ๆ ของธนาคาร ได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการติดต่อ ประสานงาน การแนะนำลูกค้า และการรวบรวมข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งให้สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานอื่น ๆ ของธนาคารเท่านั้น เช่น การรวบรวมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของลูกค้าและ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงิน สำนักงานผู้แทนฯ ต้องไม่ประกอบธุรกิจใดอันเข้าข่าย ธุรกิจธนาคารพาณิชย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจให้เช่าซื้อ ลีสซิ่ง แฟ็กเตอริง รับซื้อ รับโอนลกู หนีเ้ งินให้กยู้ มื ธรุ กิจสญั ญาซื้อขายล่วงหนา้ 3. บริษัทบริหารสินทรัพย์ คือ บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย บริษัทบริหารสินทรัพย์ ให้สามารถประกอบธุรกิจรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์และหลักประกัน ของสถาบันการเงิน เช่น ลูกหนี้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing loans: NPLs) สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ปิดกิจการไปแล้ว โดยจะนำมาบริหารต่อ เช่น ให้กู้ยืมเพิ่มเติม ปรบั ปรุงโครงสร้างหน้ี 4. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมาย เฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และ สนบั สนุนการลงทนุ ต่าง ๆ แบ่งเปน็ 1) สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป หมายถึง สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นธนาคารและให้บริการทางการเงิ นทั้งด้านเงินฝากและการให้ สินเชื่อ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพ่ือการเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร 2) สถาบนั การเงินเฉพาะกจิ ทไ่ี ม่รับฝากเงินจากประชาชนท่ัวไป หมายถึง สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำธุรกิจตามขอบเขตที่กำหนด เช่น ให้สินเชื่อหรือรับประกันสินเชื่อ ให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่รับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเขา้ แห่งประเทศไทย ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 4 สทิ ธิและหน้าท่ีของผ้ใู ชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

157 5. ผู้ประกอบธุรกิจท่ีไม่ใช่สถาบันการเงิน (non-bank) แบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จะดำเนินกิจการเกี่ยวกับบัตรเครดิต เพื่อให้ผู้ถือบัตรนำไปใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดแทนการชำระด้วยเงินสด หรือ เพื่อใช้เบิกถอนเงินสด โดยผู้ประกอบธุรกิจทดรองจ่ายเงินแทนผู้ถือบัตรนั้นก่อน และจะได้รับ ชำระคนื จากผูถ้ อื บัตรในภายหลัง 2) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ จะดำเนินกิจการ เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่บุคคลธรรมดาโดยไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน เพื่อนำไปใช้จ่าย ส่วนตัว หรือเพื่อประกอบอาชีพ โดยรวมถึงสินเชื่อที่เกิดจากการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบ ลีสซิ่ง (ยกเว้นการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งในสินค้าประเภทรถและเครื่องจักร) และ สินเช่อื ทมี่ ีทะเบียนรถเปน็ ประกัน 3) ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การ กำกับ หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จะดำเนินกิจการให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดานำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพ เพือ่ สง่ เสรมิ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเพิม่ โอกาสในการประกอบอาชีพ 4) ผปู้ ระกอบธุรกิจใหบ้ ริการระบบการชำระเงนิ เช่น ผู้ให้บริการ e-Money 5) ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการด้านการแลกเปลี่ยนเงินหรือโอนเงินตรา ต่างประเทศ เช่น บริษัทที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใหป้ ระกอบธุรกิจ การซื้อและขายธนบตั รต่างประเทศ แหล่งศกึ ษาข้อมลู เพ่ิมเตมิ เว็บไซต์ธนาคารแหง่ ประเทศไทย www.bot.or.th ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4 สทิ ธแิ ละหนา้ ทข่ี องผ้ใู ชบ้ ริการทางการเงิน

158 ผ้ใู ห้บริการทางการเงนิ ภายใตก้ ารกำกบั ดแู ลของหนว่ ยงานอืน่ ๆ 1. ภายใต้การกำกับดแู ลของสำนักงานเศรษฐกจิ การคลัง (สศค.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นหน่วยงานของรัฐในสังกัด กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ประสานกิจกรรมที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการวางนโยบายการคลังและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งกระทรวงการคลังเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้อง เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ จึงได้อนุญาตให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจจะต้องขออนุญาตให้ ถูกต้องและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขท่ีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะผู้ กำกบั ดแู ลการประกอบธรุ กจิ กำหนด 2. ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลกั ทรพั ย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีอำนาจหน้าที่ในการการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแลตลาดทุน อาทิ การระดมทุน สินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง การกระทำอันไม่เป็นธรรมใน ตลาดทนุ เป็นต้น ชุดวชิ าการเงินเพอ่ื ชีวติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 4 สิทธแิ ละหนา้ ที่ของผูใ้ ชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

159 หนว่ ยงานและบุคคลที่ ก.ล.ต. กำกับดูแล เช่น (1) ผ้ปู ระกอบธุรกิจตวั กลาง ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า (2) ตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และสำนักหักบัญชี (3) บริษัทท่ีออกและ เสนอขายหลักทรัพย์ และ (4) ผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน อาทิ ผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ ทีป่ รึกษาทางการเงนิ ผู้สอบบัญชี 3. หน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และสง่ เสริมการประกอบธรุ กิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการ กำกับและสง่ เสริมการประกอบธรุ กจิ ประกนั ภัย มภี ารกิจดังนี้ 1) กำกบั และพัฒนาธรุ กจิ ประกันภัยให้มคี วามเขม้ แข็งม่ันคง 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกนั ภัยมีบทบาทสรา้ งเสริมความแขง็ แกรง่ ใหร้ ะบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนคณุ ภาพชวี ติ ท่ีดขี องประชาชน 3) ค้มุ ครองสิทธปิ ระโยชน์ของประชาชนดา้ นการประกนั ภัย หน่วยงานและบุคคลที่ คปภ. กำกับดูแล เช่น บริษัทประกันชีวิต บริษัท ประกันวินาศภัย คนกลางประกันภัย (หมายถึง ตัวแทนประกันภัย (agent) หรือนายหน้า ประกันภัย (broker) ผซู้ ่งึ จะต้องได้รบั ใบอนญุ าตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันภยั ) แหล่งศกึ ษาข้อมลู เพิม่ เติม เว็บไซต์สำนกั งาน http://www.1359.go.th/picodoc/ เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เวบ็ ไซต์สำนักงาน https://www.sec.or.th/th/pages/home.aspx คณะกรรมการกำกับ ชุดวชิ าการเงนิ เพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 4 สิทธิและหน้าทีข่ องผูใ้ ชบ้ ริการทางการเงิน

160 หลกั ทรพั ย์และตลาด หลกั ทรัพย์ (ก.ล.ต.) เวบ็ ไซต์สำนักงาน https://www.oic.or.th/th/consumer คณะกรรมการกำกับและ สง่ เสริมการประกอบ ธุรกิจประกนั ภยั (คปภ.) 4. ผู้ใหบ้ ริการทางการเงนิ ประเภทอน่ื ๆ สหกรณ์ เป็นองค์กรที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกันและ จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของ สมาชิกในด้านการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือให้บริการตามความต้องการของสมาชิก ซึ่งสมาชิกอาจมีการออมทรัพย์ในรูปแบบของการชำระค่าหุ้นเป็นประจำ โดยอาจมีการจ่ายเงิน ปันผลค่าหุ้นให้แกส่ มาชิกทุกสิน้ ปี สหกรณ์บางประเภท เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ จะมีบริการรบั ฝากเงินและจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทน รวมทั้งให้บริการกู้ยืมแก่สมาชิกเมื่อเกิดความ จำเป็นในลักษณะคล้ายกับธนาคารพาณิชย์ หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของสหกรณ์ คือ สมาชิก แต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ สหกรณม์ ี 7 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นคิ ม สหกรณ์ร้านคา้ สหกรณ์ ออมทรัพย์ สหกรณบ์ รกิ าร และสหกรณเ์ ครดิตยูเนี่ยน หน่วยงานราชการที่ดูแลส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานในการให้บริการของ สหกรณ์ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้พัฒนาระบบสหกรณ์และสร้างความเข้มแข็งในการ ดำเนินธุรกจิ สหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณเ์ ป็นผู้ตรวจสอบบัญชี โรงรับจำนำ คือ องค์กรที่ให้บริการเงินกู้แก่ประชาชนในวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาทตอ่ ราย โดยท่ผี ้กู ู้หรือที่เรียกวา่ ผ้จู ำนำจะต้องนำสิ่งของมามอบให้โรงรับจำนำเพ่ือเป็น หลักประกันในการชำระหนี้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องประดับ ทองคำ ซึ่งผู้จำนำต้องมีอายุ 15 ปีขน้ึ ไป ชดุ วิชาการเงนิ เพอื่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ่ี 4 สทิ ธแิ ละหน้าที่ของผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงิน

161 โรงรบั จำนำแบ่งเปน็ 2 ประเภทคอื 1. โรงรับจำนำของรัฐบาล ซึ่งแบ่งย่อยได้อีกคือ สถานธนานุเคราะห์ อยู่ใน ความดูแลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถานธนานุบาล อยู่ในความ ดแู ลของกรงุ เทพมหานครหรือเทศบาล 2. โรงรับจำนำเอกชน กจิ กรรมทา้ ยเรอ่ื งที่ 3 ผใู้ ห้บรกิ ารทางการเงินในประเทศไทย (ให้ผู้เรียนไปทำกจิ กรรมเร่ืองที่ 3 ทส่ี มุดบันทกึ กิจกรรมการเรยี นรู้) ชดุ วชิ าการเงินเพอื่ ชีวิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 4 สิทธแิ ละหน้าที่ของผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงนิ

162 เรอ่ื งท่ี 4 การคมุ้ ครองผใู้ ชบ้ ริการทางการเงินของธนาคารแหง่ ประเทศไทย และหนว่ ยงาน ทรี่ บั เร่อื งร้องเรียนอื่น ๆ หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การดูแลและ ผลกั ดนั ให้เศรษฐกจิ มกี ารพฒั นาอย่างย่ังยนื สง่ เสริมบรกิ ารทางการเงินอยา่ งท่วั ถึงและเป็นธรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงมุ่งส่งเสริมระบบนิเวศที่ส่งเสริมให้สถาบันการเงินให้บริการอย่าง รับผิดชอบและเป็นธรรม และผู้ใช้บริการเข้าใจสิทธิ ได้รับการคุ้มครองและสามารถเลือกใช้ บรกิ ารได้ตรงกบั ความต้องการ ตลอดจนสง่ เสรมิ ให้ประชาชนมคี วามรทู้ างด้านการเงินท่ีดี และมี พฤติกรรมทางการเงนิ อยา่ งเหมาะสม ปัจจุบัน ธุรกิจการเงินการธนาคารมีความก้าวหน้าอยา่ งรวดเร็ว สถาบันการเงนิ ต่างพยายามนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ๆ ให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกองทุน รวมเพอื่ การออม (SSF) กองทุนรวมเพ่ือการเล้ยี งชีพ (RMF) พันธบัตร ห้นุ กู้ ประกันชีวิต สนิ เช่ือ ต่าง ๆ แม้แต่บัญชีเงินฝากก็ยังมีความหลากหลายและมีรูปแบบใหม่ ๆ เช่น เงินฝากแบบ ขั้นบันได ประกันแบบสะสมทรัพย์ ฯลฯ แม้จะมีส่วนดีที่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค แต่หากการตัดสินใจเลือกใช้บริการเป็นไปอย่างขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่มีข้อมูลในการ ตัดสินใจอยา่ งเพยี งพอ กอ็ าจนำมาสูป่ ญั หาทางการเงินได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดตั้ง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อให้เปน็ ศนู ย์กลางในการ ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ คุม้ ครองสทิ ธิและส่งเสรมิ ความรทู้ างการเงนิ แก่ผ้ใู ชบ้ ริการทางการเงนิ ชุดวิชาการเงินเพ่ือชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4 สิทธแิ ละหน้าทีข่ องผู้ใชบ้ ริการทางการเงิน

163 ทั้งนี้ การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย แบง่ โครงสรา้ งการทำงานออกเปน็ 2 ฝา่ ย ไดแ้ ก่ 1. ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน มีหน้าที่จัดการเรื่องร้องเรียน และ กำกับดูแลด้านการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) ซึ่งการให้บริการแก่ ลกู คา้ ทเ่ี ปน็ ธรรมของสถาบนั การเงนิ ประกอบไปดว้ ย 4 ขอ้ หลกั ดงั นี้ 1) ไม่หลอก ผู้ให้บริการต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน ไม่เกินจริง ไม่บิดเบือน และเพียงพอต่อการตัดสินใจ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพียงพอต่อการใช้ บรกิ ารตอ่ ไป 2) ไม่บังคับ ลูกค้าได้รับการเสนอทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้า สนใจ ผู้ให้บริการมีระบบและกระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพการขายในทุกช่องทาง เพอื่ ใหม้ นั่ ใจว่าการเสนอขาย ไมเ่ ป็นการบังคบั ไม่หลอก ไมร่ บกวน เปดิ เผยโปร่งใส 3) ไม่รบกวน ผู้ให้บริการมีการกำหนดช่วงเวลาและจำนวนครั้งในการ ติดต่อเสนอขายทางโทรศัพท์ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเมื่อลกู ค้าไม่สนใจ มีการลงโทษกรณีพบการ ขายที่รบเร้าลูกค้าหรือบังคับ มีระบบรายชื่อผู้ห้ามติดต่อ (do not call list) สำหรับลูกค้าที่ไม่ ประสงค์ให้ติดต่ออีก และมีการปรับปรุงรายชื่อดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา มีการจัดทำ ชดุ วชิ าการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 4 สทิ ธิและหน้าท่ขี องผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงนิ

164 เว็บไซต์หรืออีเมลเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และให้ลูกค้าที่มีความสนใจแจ้งหมายเลข โทรศพั ทเ์ พอ่ื ให้ผใู้ หบ้ ริการติดต่อกลับมาเสนอขายได้ 4) ไม่เอาเปรียบ ลกู คา้ ได้รับผลิตภัณฑ์และบริการท่ีเป็นธรรมทั้งด้านราคา และเงื่อนไข ตรงกับความประสงค์และความสามารถของลูกค้า และเป็นไปตามความคาดหวัง ของลกู ค้า รวมถงึ ข้อมูลและสนิ ทรัพย์ของลกู ค้าท่ีไดร้ บั การดแู ลไม่ให้นำไปใช้ในทางทีไ่ มเ่ หมาะสม สามารถขอคำปรึกษาหรอื ร้องเรียนเก่ียวกับบริการทางการเงนิ ได้ที่ศูนย์คุ้มครอง ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 1213 หรือที่เว็บไซต์ศูนย์คุ้มครอง ผูใ้ ชบ้ รกิ ารทางการเงิน แหล่งศึกษาข้อมลู เพม่ิ เติม เวบ็ ไซต์ ศคง. https://www.1213.or.th/th/aboutfcc/ แนวทางการรบั และ complainthandling/Pages/complain- พจิ ารณาเรอื่ งร้องเรยี น condition.aspx 2. ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน มีหน้าที่ส่งเสริมความรู้ทางการเงิน เพื่อให้ ประชาชนมีความรู้เบื้องต้นทางการเงินเพื่อให้สามารถวางแผนทางการเงินของตนเองได้อย่าง ชุดวิชาการเงินเพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นร้ทู ี่ 4 สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ขี องผใู้ ชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

165 เหมาะสม สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้ตามที่ตนเองต้องการ รู้เท่าทันกลโกง ของมิจฉาชีพ โดยให้ความรู้ในรูปแบบสื่อ เช่น อินโฟกราฟิก บทความ รวมถึงการจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ผา่ นชอ่ งทางการให้ความรทู้ างการเงินดังน้ี เว็บไซต์ ศคง. https://www.1213.or.th/ เฟซบุ๊ก ศคง. https://www.facebook.com/hotline1213 หนว่ ยงานท่รี บั เร่ืองร้องเรียนอ่นื ๆ ชดุ วชิ าการเงนิ เพ่ือชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 4 สทิ ธิและหน้าที่ของผใู้ ช้บริการทางการเงนิ

166 สำหรบั ผลิตภัณฑแ์ ละผใู้ ห้บริการทางการเงินที่ไม่ไดอ้ ยูภ่ ายใตก้ ารกำกับดแู ลของ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย ผใู้ ช้บรกิ ารสามารถขอคำแนะนำหรอื รอ้ งเรียนได้ดงั นี้ 1. สำนกั งานเศรษฐกจิ การคลัง https://1359.go.th/fidp/index.php (สศค.) โทร. 1359 2. สำนกั งานคณะกรรมการ https://www.sec.or.th/th/pages/ กำกับหลกั ทรัพยแ์ ละตลาด home.aspx หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โทร. 1207 3. สำนกั งานคณะกรรมการ https://www.oic.or.th/th/consumer กำกับและส่งเสริมการประกอบ ธรุ กจิ ประกันภัย (คปภ.) โทร. 1186 4. บรษิ ทั ขอ้ มูลเครดิตแห่งชาติ https://www.ncb.co.th/ จำกัด (เครดติ บโู ร) 5. สำนักงานคณะกรรมการ http://www.ocpb.go.th คมุ้ ครองผู้บรโิ ภค (สคบ.) โทร. 1166 ชุดวิชาการเงินเพ่ือชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 4 สทิ ธิและหนา้ ทขี่ องผใู้ ช้บริการทางการเงิน

167 6. หนว่ ยงานท่รี ับเรอื่ งร้องเรยี น 1) กรมการปกครอง โทร. 0 2356 9660 เก่ียวกับการทวงหนอี้ ยา่ ง 2) สำนักงานเศรษฐกจิ การคลัง โทร. 1359 ไมเ่ หมาะสม 3) กองบัญชาการตำรวจนครบาล โทร. 0 2354 5249 4) ทที่ ำการปกครองจังหวัด 5) สถานีตำรวจ 6) ทีว่ า่ การอำเภอ 7. หนว่ ยงานทร่ี บั เร่อื งร้องเรียน http://office.cpd.go.th/secretary/ เก่ยี วกับสหกรณ์ สำนักเลขานุการ กรมส่งเสรมิ สหกรณ์ โทร.1111 หรือโทร. 0 2281 3095 8. หน่วยงานทีร่ บั เรือ่ งร้องเรยี น เก่ียวกับโรงรับจำนำ 1) สำนักงานธนานุเคราะห์ http://www.pawn.co.th (สธค.) กระทรวงพฒั นาสงั คม และความมั่นคงของมนุษย์ โทร.0 2281 7500 2) สำนักงานสถานธนานุบาล http://pawnshop.bangkok.go.th/ กรุงเทพมหานคร (สธก.) โทร. 0 2158 0042 ถงึ 44 3) คณะกรรมการควบคุม โรงรับจำนำ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โทร. 1548 กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 4 การคุ้มครองผู้ใช้บรกิ ารทางการเงนิ ของธนาคารแห่งประเทศไทย และ หนว่ ยงานที่รบั เรอื่ งรอ้ งเรียนอ่ืน ๆ (ให้ผ้เู รียนไปทำกิจกรรมเร่ืองที่ 4 ทส่ี มุดบันทกึ กจิ กรรมการเรยี นรู้) ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 4 สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ีของผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน

168 เร่อื งที่ 5 ขน้ั ตอนการรอ้ งเรยี นและหลกั การเขยี นหนงั สอื ร้องเรียน ขนั้ ตอนการร้องเรยี น หากได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือถูกเอาเปรียบจาก สถาบันการเงินหรือ ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น เงินต้นหรือ ยอดหนี้ไม่ถกู ตอ้ ง ไถ่ถอนหลักประกันลา่ ช้า ไม่ไดร้ ับการติดตอ่ จากผใู้ หบ้ รกิ ารทางการเงิน ได้รับ ข้อมูลไม่ถูกต้องทำให้เข้าใจผิดในตัวผลิตภัณฑ์ คำนวณดอกเบี้ยผิด หรือได้รับการบริการที่ไม่ เหมาะสม ผใู้ ชบ้ ริการทางการเงนิ สามารถรอ้ งเรยี นไดต้ ามขั้นตอนดังนี้ 1. ร้องเรียนที่ศูนย์บริการลูกค้า (call center) ของสถาบันการเงินหรือ ผใู้ หบ้ รกิ ารทางการเงินนั้น ๆ เพอ่ื แจง้ เร่ืองรอ้ งเรียนหรือปญั หาท่ีพบ 2. หากไม่ได้รับการติดต่อกลับภายในระยะเวลาการให้บริการมาตรฐาน4 หรือไม่ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการ ทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.30 น. หรอื ชอ่ งทางอน่ื ๆ ดังนี้ 1) จดหมายอเิ ลก็ ทรอนิกส์ (e-mail) ของ ศคง. [email protected] 2) เว็บไซต์ ศคง. www.1213.or.th 3) ร้องเรียนด้วยตนเอง เพื่อตดิ ต่อขอพบเจ้าหนา้ ที่ตามเวลาข้างตน้ โดยการ นดั หมายลว่ งหน้า 4) จดหมาย/โทรสาร (fax) ตามทีอ่ ยู่หรือหมายเลขโทรสารดงั นี้ 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บรกิ ารทางการเงนิ (ศคง.) ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และสาขา ของธนาคารพาณิชยต์ า่ งประเทศท่ีใหบ้ ริการลกู คา้ บคุ คลธรรมดารายย่อย กำหนดมาตรฐานการใหบ้ ริการของแตล่ ะธนาคาร (SLA) โดยจัดทำเป็นตารางแสดงระยะเวลาการให้บริการของธนาคารแต่ละแห่งเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ ศคง. www.1213.or.th โดยเลอื ก “ข้อมลู เปรยี บเทยี บ” เลอื ก “SLA” ชดุ วชิ าการเงินเพื่อชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ที่ 4 สิทธิและหนา้ ที่ของผู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงนิ

169 ฝ่ายคมุ้ ครองผู้ใช้บริการทางการเงนิ ภาคกลาง ธนาคารแหง่ ประเทศไทย สำนักงานใหญ่ 273 ถนนสามเสน แขวงวดั สามพระยา เขตพระนคร กรงุ เทพฯ 10200 ส่วนคมุ้ ครองและใหค้ วามร้ผู ู้ใชบ้ รกิ ารทางการเงิน ภาคเหนอื ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนอื 68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมอื ง จงั หวัดเชียงใหม่ 50300 โทรสาร (fax) 0 5393 1103 สว่ นคุม้ ครองและให้ความรูผ้ ใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน ภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนกั งานภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ตะวนั ออก 45 ถนนนิกรสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมอื ง จังหวดั ขอนแกน่ เฉยี งเหนือ 40000 โทรสาร (fax) 0 4324 1045 สว่ นคุม้ ครองและให้ความรู้ผ้ใู ช้บรกิ ารทางการเงิน ภาคใต้ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย สำนกั งานภาคใต้ 472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดใหญ่ จงั หวัดสงขลา 90110 โทรสาร (fax) 0 7423 4701 หลกั การเขยี นหนังสือร้องเรียน ในการร้องเรียน ควรเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เช่น เอกสารแสดง ตัวตน (สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/หนังสือเดินทาง) เอกสารประกอบเรื่องร้องเรียน (เช่น สำเนาใบแจง้ หน/ี้ สญั ญา) โดยควรดำเนินการดงั น้ี ▪ เล่าเหตุการณส์ ำคัญโดยมกี ารเรยี งลำดบั เหตุการณแ์ ละใชถ้ ้อยคำทส่ี ภุ าพ ▪ ใหข้ ้อมูลท่สี ำคญั และจำเปน็ ใหค้ รบถ้วน ▪ แจ้งสง่ิ ทต่ี ้องการใหส้ ถาบันการเงินดำเนนิ การ ▪ แจง้ ขอ้ มลู ส่วนตัว เชน่ ช่อื ที่อยู่ เบอร์โทรศัพทท์ ี่สามารถตดิ ต่อได้ ชดุ วชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 4 สิทธแิ ละหน้าทีข่ องผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน

170 ▪ แนบเอกสารท่ีเก่ียวขอ้ งใหค้ รบถว้ น เอกสารประกอบการรอ้ งเรยี น ได้แก่ 1) กรณีร้องเรียนด้วยตนเอง สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรที่ออกโดย หน่วยงานราชการที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของผู้ร้องเรียน (กรณีเป็นชาวต่างชาติสามารถ ใช้หนังสือเดินทางได้) พรอ้ มรบั รองสำเนาถกู ต้อง 2) กรณรี ้องเรยี นในนามนิติบคุ คล ▪ สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือนพร้อมรับรอง สำเนาถูกต้อง โดยผูม้ ีอำนาจลงนาม พรอ้ มประทับตรานติ ิบุคคล (ถา้ มี) ▪ สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลข ประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีเป็นชาวต่างชาติสามารถใช้หนังสือเดินทางได้) พร้อมรับรองสำเนาถกู ต้อง 3) กรณีให้บุคคลอ่ืนรอ้ งเรียนแทน ▪ เอกสารหลกั ของผรู้ อ้ งเรยี นตามขอ้ 1) หรือ 2) ▪ หนงั สอื มอบอำนาจ ▪ สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่ระบุเลข ประจำตัวประชาชนของผู้ร้องเรียนแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเป็นชาวต่างชาติสามารถใช้ หนังสอื เดินทางได)้ พร้อมรบั รองสำเนาถกู ต้อง ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการกับเรื่องร้องเรียนเมื่อได้รับเอกสาร ครบถ้วนแล้ว และจะดำเนินการให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการทางการเงิน หรือบริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างผู้ร้องเรียนและสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ในการแก้ไขปัญหา ตลอดจน ติดตามเรือ่ งร้องเรียน ยกเว้นเรือ่ งดังตอ่ ไปนี้ ชดุ วชิ าการเงนิ เพือ่ ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 4 สิทธแิ ละหนา้ ทีข่ องผใู้ ชบ้ ริการทางการเงิน

171 ▪ เรื่องร้องเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้ การกำกับดแู ลของธนาคารแห่งประเทศไทย ▪ เรอื่ งร้องเรียนทีศ่ าลมคี ำวินิจฉัย คำสัง่ หรอื คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว หรือเรือ่ งทอ่ี ยใู่ นระหว่างการพิจารณาของศาล ▪ เรื่องที่ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยฟอ้ งร้องคดีแทน/ช่วยเหลือเงินในการ ต่อสู้คดี/ชว่ ยจดั หาหรอื ว่าจา้ งทนายความใหผ้ ูร้ อ้ งเรยี น ▪ เรื่องที่ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกร้อง/สั่งการให้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยชดใช้ค่าเสียหายตาม ขอ้ พิพาททีค่ สู่ ัญญาผูกพันกนั ทางแพง่ ▪ เรื่องที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างพนักงานของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบ ธุรกจิ ภายใตก้ ารกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ ข้างต้น ท่ไี ม่เก่ียวขอ้ งกับกฎหมายที่ธนาคารแหง่ ประเทศไทยกำกับดูแล ▪ เรื่องท่ีร้องเรียนซ้ำเรื่องเดิม ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้เคยดำเนินการ จนผรู้ อ้ งเรียนไดร้ ับคำช้แี จงแล้ว หรอื เรอ่ื งรอ้ งเรียนที่ขอโต้แย้งผลการพิจารณาโดยผู้รอ้ งเรียนไม่มี ข้อมูลใหมเ่ พ่ิมเติม/การดำเนนิ การท่อี ยู่ในอำนาจหนา้ ทขี่ องหนว่ ยงานราชการ/ผู้กำกบั ดแู ลอ่นื ▪ เรื่องขอความอนุเคราะห์ซึ่งเป็นดุลยพินิจทางธุรกิจของสถาบันการเงินหรือ ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่มีข้อขัดตอ่ กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์หรือแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น การขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขอเพิ่มวงเงนิ สินเช่อื การขอลด/ยกเว้นดอกเบ้ีย คา่ ธรรมเนียม หรอื ค่าปรับต่าง ๆ เปน็ ตน้ ▪ เรือ่ งท่ีเปน็ กรณสี มมตแิ ละใหพ้ จิ ารณาแสดงความเห็นวา่ ถูกหรือผิด ▪ การขอตรวจสอบข้อมลู ของบุคคลอื่น ▪ การขอข้อมลู ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ใช่เจ้าของข้อมูล ▪ เรอ่ื งทีว่ ตั ถุประสงคไ์ ม่ชัดเจน หรือเอกสารแสดงตนไมส่ มบรู ณ์ หรือเอกสาร/ ข้อมูลประกอบการร้องเรียนไม่ครบถ้วน โดยผู้ร้องเรียนไม่ประสงค์ให้เอกสารแสดงตน หรือ ชดุ วิชาการเงนิ เพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สทิ ธแิ ละหนา้ ท่ีของผใู้ ช้บรกิ ารทางการเงนิ

172 เอกสาร/ข้อมลู ประกอบการรอ้ งเรียนเพมิ่ เตมิ รวมท้ังไม่สามารถตดิ ต่อผู้รอ้ งเรียนเพอ่ื ขอเอกสาร หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ หรือพิจารณาแล้วเห็นว่าเอกสารแสดงตนเป็นเอกสารปลอม ธนาคารแหง่ ประเทศไทยจะรบั ไว้เปน็ ข้อมูลประกอบการกำกับดูแล กิจกรรมท้ายเรอ่ื งท่ี 5 ขน้ั ตอนการร้องเรียนและหลักการเขียนหนังสือรอ้ งเรียน (ใหผ้ ู้เรียนไปทำกจิ กรรมเรอื่ งท่ี 5 ที่สมดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรียนรู้) ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 4 สิทธิและหนา้ ทข่ี องผ้ใู ชบ้ รกิ ารทางการเงิน

173 หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 5 ภยั ทางการเงนิ สาระสำคญั รูปแบบการดำรงชีวิตและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มิจฉาชีพพัฒนาสารพดั กลโกงเพื่อหลอกขโมยเงินจากเหยื่อ โดยมักจับจุดอ่อนของเหยื่อ คือ ความกลัว ความโลภ และ ความไมร่ มู้ าเป็นตัวช่วย เราจึงจำเป็นตอ้ งรู้เท่าตามทนั กลโกงของมิจฉาชีพ ไมว่ ่าจะเป็นกลโกงท่ีมา ในรูปแบบของการเงินนอกระบบ ที่มีทั้งหนี้นอกระบบและแชร์ลูกโซ่ ภัยใกล้ตัว ภัยออนไลน์ และภัยที่แฝงมากับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถป้องกันตนเองจากภัยเหล่านี้ได้ รวมไปถงึ ร้จู กั หน่วยงานหรือองคก์ รท่ีใหค้ ำปรึกษาหากตกเป็นเหยือ่ ภัยทางการเงนิ ตัวชวี้ ัด 1. บอกประเภทและลกั ษณะของภัยทางการเงิน และยกตัวอย่างภัยทางการเงิน ท่ีมใี นชมุ ชน 2. บอกวิธีการป้องกันตนเองจากภัยทางการเงนิ 3. บอกวธิ ีแกป้ ัญหาท่เี กดิ จากภัยทางการเงิน ขอบข่ายเน้อื หา เรอ่ื งท่ี 1 หนนี้ อกระบบ เรื่องที่ 2 แชร์ลูกโซ่ เรื่องที่ 3 ภยั ใกลต้ ัว เร่ืองท่ี 4 แกง๊ คอลเซนเตอร์ เรื่องที่ 5 ภยั ออนไลน์ เรอ่ื งที่ 6 ภัยธนาคารออนไลน์ เรอ่ื งที่ 7 ภยั บตั รอเิ ลก็ ทรอนิกส์ ชุดวิชาการเงนิ เพื่อชวี ติ 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 5 ภยั ทางการเงนิ

174 สอ่ื การเรยี นรู้ 1. ชุดวิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 2. เวบ็ ไซต์ศูนย์คุ้มครองผใู้ ชบ้ รกิ ารทางการเงนิ (ศคง.): www.1213.or.th 3. เฟซบุก๊ ศคง. 1213: www.facebook.com/hotline1213 เวลาที่ใช้ในการศกึ ษา 20 ช่วั โมง ชุดวิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบับปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ท่ี 5 ภยั ทางการเงนิ

175 เร่ืองที่ 1 หนนี้ อกระบบ เมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน แต่ไม่สามารถขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ หลายคนคง นึกถึงการกู้เงินนอกระบบที่ได้เงินเร็ว ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีหลักประกันหรือใช้บุคคลค้ำประกัน จนอาจลืมนึกถงึ เล่หเ์ หล่ียมหรือกลโกงทอี่ าจแฝงมากบั การกู้เงนิ นอกระบบ ลักษณะกลโกงหนน้ี อกระบบ 1. ใช้ตวั เลขน้อย ๆ เพอ่ื จูงใจ นายทุนเงินกู้นอกระบบมักบอกตัวเลขน้อยเพื่อจูงใจผูก้ ู้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวน เงินผ่อนต่องวดหรือดอกเบี้ย เช่น กู้เงิน 10,000 บาท ให้ผ่อนวันละ 150 บาทเป็นระยะเวลา 90 วนั แตเ่ มือ่ คำนวณแล้วต้องจ่ายหนีค้ นื 13,500 บาทภายใน 3 เดอื น ดอกเบยี้ สงู ถงึ 35% ต่อ สามเดือนหรือ 140% ต่อปี เจา้ หนบี้ างรายก็บอกแค่อัตราดอกเบี้ย แตไ่ มไ่ ดบ้ อกว่าเปน็ อัตราดอกเบี้ยต่อ วนั ตอ่ เดอื น หรือตอ่ ปี เชน่ เจ้าหน้ีรายหนึง่ ปลอ่ ยเงนิ กู้ 3% ลูกหนี้เหน็ วา่ อตั ราดอกเบีย้ นอ้ ยกว่า สถาบนั การเงนิ กแ็ ห่ไปกู้เงนิ แตเ่ มอื่ คำนวณดอกเบ้ียท้ังปีแล้ว ลกู หนี้ก็ตกใจ เพราะดอกเบี้ย 3% น้ัน เปน็ ดอกเบี้ยตอ่ วนั ถา้ คิดเป็นตอ่ ปี ก็สูงถึง 1,080% 2. ให้เซน็ เอกสารที่ไม่ไดก้ รอกตวั เลข นอกจากจะใช้ตัวเลขค่างวดหรือดอกเบี้ยน้อย ๆ ดึงดูดลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ บางรายก็ให้ลูกหนี้เซ็นสัญญากู้ยืมโดยที่ยังไม่ไดก้ รอกตัวเลข ทำให้ลูกหนี้ต้องเป็นหนี้มากกว่าที่ ไดต้ กลงกนั ไว้ดว้ ยวาจา เชน่ ลูกหนีร้ ายหนง่ึ ตอ้ งใชเ้ งินคนื เจ้าหนี้ 100,000 บาท ทั้ง ๆ ทีก่ เู้ งินมา แค่ 20,000 บาท เพียงเพราะไปเซน็ สญั ญาในเอกสารท่ยี งั ไม่ได้กรอกจำนวนเงนิ กู้ 3. บีบให้เซ็นสญั ญาเงินกเู้ กนิ จริง เจ้าหนี้บางรายบีบบังคับให้ลูกหนี้เซ็นสัญญาเงินกู้เกินจริง เช่น ขอกู้ 10,000 บาท แต่บังคับให้เซ็นในเอกสารที่เขียนว่าขอกู้ 30,000 บาท ลูกหนี้บางรายมีความ จำเป็นต้องใช้เงนิ ก็จำใจเซ็นสญั ญาน้ัน ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 5 ภยั ทางการเงิน

176 4. หลกี เลยี่ งใหก้ โู้ ดยตรง หลายครั้งท่ีสัญญาอำพรางเงินกู้ถูกนำมาใช้เพื่อหลอกล่อผู้ที่เดือดร้อนเรื่อง เงิน เช่น ลูกหนี้รายหนึ่งติดต่อขอกู้เงินกับเจ้าหนี้นอกระบบจำนวน 20,000 บาท เจ้าหนี้บังคับ ให้ลูกหนีใ้ ช้บตั รผอ่ นสินค้าหรือบัตรเครดิตซื้อสนิ คา้ ที่กำลังเป็นทน่ี ยิ มมลู ค่า 23,000 บาทเพื่อมา แลกกับเงนิ กู้ 20,000 บาท ลูกหนี้ได้เงินมาแค่ 20,000 บาท แต่กลับต้องแบกภาระเงินกู้สูงถึง 23,000 บาทกับบริษัทบัตรผ่อนสินค้าหรือบริษัทบัตรเครดิต และยังมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย อกี ต่างหาก สว่ นเจ้าหนีแ้ ทบจะไมม่ ีความเส่ียงใดเลย แถมยงั ได้สินคา้ ในราคาถูกอกี ดว้ ย 5. ทวงหนโ้ี หด นอกจากภาระดอกเบี้ยที่แสนแพงแล้ว ลูกหนี้เงินกู้นอกระบบอาจต้องเจอกับ การทวงหนี้โหดหากไม่ชำระตรงตามเวลา ซึ่งเจ้าหนี้อาจไม่ได้แค่ขู่หรือประจานให้ได้อาย แต่บางรายก็ถงึ ข้ันทำร้ายรา่ งกาย นอกจากนี้ เงินกู้นอกระบบยังมีให้กู้ผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้ ที่ผู้กู้จะต้อง ยินยอมให้แอปเข้าถึงข้อมูลชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์และรูปภาพในโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถ โทรหรอื ส่งข้อความไปทวงหน้หี รือประจานกบั เพื่อนของผู้กหู้ รอื บคุ คลทมี่ ชี ่ืออยู่ในเบอรโ์ ทรศัพท์ ทำให้ผู้กู้เกิดความอบั อายอกี ดว้ ย วธิ ปี อ้ งกนั ภยั หนี้นอกระบบ 1. ไม่ใช้เงินเกินตัว – ตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองโดยการจด บนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย แล้ววางแผนใชเ้ งินอย่างเหมาะสมกบั รายไดแ้ ละความจำเปน็ 2. วางแผนการเงินล่วงหน้า – คำนึงถึงค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต เช่น ค่าเล่าเรียนลูก แล้ววางแผนทยอยออมล่วงหน้า รวมถึงออมเงินเผื่อเหตุการณ์ ฉกุ เฉินด้วย ชดุ วิชาการเงินเพอ่ื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 5 ภัยทางการเงนิ

177 3. คิดให้ดีก่อนตัดสินใจก่อหนี้ – ทบทวนดูความจำเป็นว่าต้องใช้เงินจริง ๆ หรือไม่ และหากต้องกู้ จะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ เพราะนอกจากดอกเบี้ยที่แสนแพงแล้ว อาจตอ้ งเจอกบั เหตกุ ารณ์ทวงหน้ีแบบโหด ๆ อกี ด้วย 4. เลือกกู้ในระบบ – หากจำเป็นต้องกู้ ควรเลือกกู้ในระบบดีกว่า เพราะ นอกจากจะมหี นว่ ยงานภาครัฐคอยดแู ลแล้ว ยังระบดุ อกเบ้ยี ในสัญญาชดั เจนและเปน็ ธรรมกว่า 5. ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ – ดูว่าผู้ให้กูน้ ัน้ น่าเชื่อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขชำระเงิน หรืออตั ราดอกเบยี้ ทเี่ อาเปรียบผูก้ ู้เกนิ ไปหรอื ไม่ 6. ศึกษาวิธีคิดดอกเบี้ย – หนี้นอกระบบมักคิดอัตราดอกเบี้ยด้วยวิธีเงินต้น คงที่ (flat rate) ซึ่งทำให้ลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate) เพราะดอกเบี้ยจะถูกคิดจากเงินต้นทั้งก้อนแม้ว่าจะทยอยจ่ายคืนทุกเดือน ก็ตาม 7. หากจำเป็นตอ้ งกูเ้ งนิ นอกระบบต้องใสใ่ จ • ไม่เซ็นสัญญาในเอกสารที่ยังไม่ได้กรอกข้อความหรือวงเงินกู้ไม่ตรงกับ ความจรงิ • ตรวจสอบข้อความในสัญญาเงนิ กู้ รวมถึงดวู ่าเป็นเงือ่ นไขทเี่ ราทำได้จรงิ ๆ • เกบ็ สัญญาคู่ฉบับไวก้ ับตวั เพ่อื เป็นหลักฐานการกู้ 8. ตดิ ตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ ทำอย่างไรเมอื่ ตกเป็นเหยอ่ื หนี้นอกระบบ หากเป็นเหยื่อหนี้นอกระบบแล้ว ผู้กู้ควรหาแหล่งเงินกู้ในระบบที่มีดอกเบี้ย ถูกกว่ามาชำระคืน แต่หากไม่สามารถกู้ยืมในระบบได้ ผู้กู้อาจต้องยอมขายทรัพย์สินบางส่วน เพอ่ื นำมาชำระหนี้ ทง้ั น้ี ลูกหน้ีเงนิ กู้นอกระบบสามารถขอรบั คำปรกึ ษาได้จากองค์กรดงั ตอ่ ไปน้ี ชุดวิชาการเงินเพอื่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรูท้ ี่ 5 ภัยทางการเงนิ

178 1. ศนู ยร์ บั แจ้งการเงินนอกระบบ https://1359.go.th/1359LoanShark/ สำนกั งานเศรษฐกิจการคลงั index.php กระทรวงการคลัง โทร. 1359 2. สำนักงานคุ้มครองสิทธิและ http://www.lawaid.ago.go.th/ ช่วยเหลอื ทางกฎหมายแก่ ประชาชน สำนกั อัยการสูงสุด โทร. 0 2142 2034 และ 1157 3. ศูนย์ช่วยเหลอื ลกู หน้แี ละ https://www.moj.go.th/home-dhc ประชาชนทไี่ ม่ได้รบั ความ เป็นธรรม กระทรวงยตุ ธิ รรม โทร. 0 2575 3344 4. ศูนยด์ ำรงธรรมจังหวดั และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567 5. หนว่ ยงานท่รี ับเรือ่ งร้องเรียน • กรมการปกครอง เกีย่ วกบั การทวงถามหน้ีไม่ • สำนกั งานเศรษฐกจิ การคลัง เหมาะสม • ท่ที ำการปกครองจงั หวดั • กองบญั ชาการตำรวจนครบาล • สถานตี ำรวจท้องท่ี • ทว่ี า่ การอำเภอทกุ แหง่ กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 1 หนน้ี อกระบบ (ใหผ้ เู้ รียนไปทำกิจกรรมเรอื่ งท่ี 1 ท่ีสมดุ บันทกึ กิจกรรมการเรียนรู้) ชดุ วิชาการเงินเพ่อื ชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรู้ที่ 5 ภยั ทางการเงิน

179 เรอ่ื งท่ี 2 แชรล์ ูกโซ่ แชร์ลูกโซ่เป็นภัยทางการเงินที่อาจสร้างความเสียหายได้ตั้งแต่เงินจำนวนน้อย ๆ จนไปถึงเงินหลกั แสนหลักล้าน มจิ ฉาชพี มกั ใช้ “โอกาสรวย” มาหลอกลอ่ ให้เหยื่อร่วมลงทุน โดยให้ ผลประโยชน์ตอบแทนสูงแก่ผู้ร่วมลงทุนในระยะแรก ๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและกระตุ้นให้เกดิ การชักจูงให้ร่วมลงทุน แต่แท้จริงแล้วจะใช้วิธีการนำเงินลงทุนของสมาชิกใหม่หมุนเวียนมาจ่ายให้ สมาชิกเก่า ไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีกรณีการหลอกว่า ขาย “สินค้าราคาถูกมาก” แล้วส่งสินค้าให้จริงตามที่เหยื่อสั่งในช่วงแรก ๆ พอเหยื่อหลงเชื่อใจ สั่งซื้อเพิ่มหรือชวนคนอื่นมาซื้อด้วยก็ไม่ส่งของให้อีกต่อไป กลโกงที่ใช้ “โอกาสรวย” และ “สนิ ค้าราคาถกู มาก” จบลงในแบบเดยี วกนั คือสุดท้ายแล้วมิจฉาชีพก็เชดิ เงินหนีไป ลกั ษณะกลโกงแชร์ลูกโซ่ 1. แชร์ลกู โซ่ในคราบธรุ กิจขายตรง มิจฉาชีพจะโฆษณาชวนเช่อื ให้เหยื่อทำธุรกจิ ขายตรงท่มี ีผลตอบแทนสูง โดยที่ เหยื่อไม่ต้องทำอะไร เพียงแค่ชักชวนเพื่อนหรือญาติพี่น้องให้ร่วมทำธุรกิจ แต่ไม่เน้นการขาย หรือสาธิต หรือทำให้สมาชิกเข้าใจในตัวสินค้า เมื่อเหยื่อเริ่มสนใจจะให้เหยื่อเข้าร่วมฟังสัมมนา และโน้มน้าวหรือหลอกล่อให้เหยื่อจ่ายค่าสมัครสมาชิก หรือซื้อสินค้าแรกเข้าซึ่งมีมูลค่าท่ี ค่อนขา้ งสงู (สนิ ค้าสว่ นมากมกั ไม่มคี ุณภาพ) หรืออาจให้เหยอื่ ซื้อหุ้นหรอื หน่วยลงทุนโดยไม่ต้อง รบั สินค้าไปขายแลว้ ก็รอรบั เงนิ ปันผลได้เลย คา่ สมัครสมาชิก ค่าซอ้ื สินค้าแรกเข้า ค่าหุ้นหรอื ค่าหน่วยลงทุนของสมาชิกใหม่ จะถูกนำมาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกเก่า เมื่อใดที่ไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้ แชร์ก็จะล้ม เพราะไม่สามารถหาเงินมาจา่ ยผลตอบแทนและเงินท่ลี งทนุ คนื สมาชกิ ได้ ปัจจุบันยังมีการโฆษณาชักชวนผ่านอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กกลุ่มต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน LINE อีกด้วย โดยมิจฉาชีพจะหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูล ส่วนตัวในอินเทอร์เน็ต แล้วติดต่อเหยื่อเพื่อชักชวนให้เข้าร่วมทำธุรกิจโดยอ้างว่ามีบุคคลที่มี ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบับปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 5 ภัยทางการเงนิ

180 ชื่อเสียงเข้าร่วมด้วย และอาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือ เช่น งานสัมมนาโดย เช่าหอ้ งประชุมโรงแรมหรอื หอประชมุ มหาวทิ ยาลัย 2. แชรล์ กู โซ่หลอกลงทุน มิจฉาชีพมักอ้างว่ามีการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงและแน่นอน หรือมีสิทธิ พิเศษ หรือได้โควตาซื้อสินค้าราคาถูกเป็นจำนวนมาก จึงอยากชักชวนให้เหยื่อลงทุนทำธุรกิจ ร่วมกัน เช่น โควตาจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล (แชร์ลอตเตอรี่) อุตสาหกรรมปลูกป่าเพื่อ ส่งขายตลาดในต่างประเทศ (แชร์ไม้) เก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (แชร์ FOREX) โดยสร้าง เว็บไซต์เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ หรือบางรายก็อ้างว่ามีสาขาในต่างประเทศ และอาจจัดกิจกรรมเพ่ือ เสริมความนา่ เช่อื ถอื เช่นเดียวกับแชร์ลูกโซ่ในคราบธุรกิจขายตรง แต่ความจริงแล้ว ไมไ่ ด้มีการทำ ธรุ กจิ ตามทีก่ ลา่ วอา้ งจริง มิจฉาชีพจะใช้วิธีหมุนเงินจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่ ผู้ลงทุนรายเก่า จึงต้องพยายามหาผู้ลงทุนรายใหม่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้มีเงินไปจ่ายเป็น ผลตอบแทน แต่หากไม่สามารถหาผู้ลงทุนรายใหม่ได้ ก็จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนคืนให้แก่ รายเก่าได้ 3. แชรล์ กู โซ่หลอกขายสินคา้ ผ่านอนิ เทอรเ์ นต็ มิจฉาชีพจะแฝงตัวเป็นพ่อค้าหรือแม่ค้า แล้วอ้างว่าสามารถหาสินค้าหายาก หรือสินค้าที่กำลังอยู่ในความต้องการของตลาด (เช่น สินค้ารุ่นใหม่ล่าสุด หรือยังไม่มีขายใน ประเทศไทย) ได้ในราคาถูก จึงประกาศขายสินค้าดังกล่าวในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดเป็น จำนวนมากผา่ นทางอินเทอรเ์ นต็ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อสั่งซื้อสินค้าและโอนเงินให้แก่มิจฉาชีพในครั้งแรก มิจฉาชีพจะส่งสินค้าให้เหยื่อตามจำนวนท่ีสั่งซื้อ และเมื่อเหยื่อได้สินค้าในราคาถูก ก็จะบอกต่อ ชักชวนญาตพิ ่นี อ้ งหรือเพ่ือนฝงู ให้มาซือ้ สนิ ค้าเป็นจำนวนมากแล้วโอนเงนิ คา่ สนิ ค้าทั้งหมดให้แก่ มิจฉาชีพ หลงั จากน้ันมิจฉาชพี กจ็ ะเชดิ เงินนั้นหนไี ปโดยไม่สง่ สินคา้ ใด ๆ ใหแ้ ก่เหย่อื เลย ชดุ วชิ าการเงนิ เพอื่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 5 ภยั ทางการเงนิ

181 วิธปี อ้ งกนั ภยั แชรล์ กู โซ่ 1. ไม่โลภไปกับผลตอบแทนหรือสินค้าราคาถูกที่นำมาหลอกล่อ เพราะ ผลตอบแทนยิ่งสงู ยิ่งมีความเส่ียงมากทจ่ี ะเป็นแชรล์ กู โซ่ 2. ไม่กรอกข้อมูล หรือให้ข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ หรือตอบกลับอีเมลท่ี ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวเราและสร้างความเสียหายให้เราได้ เชน่ ส่งขอ้ ความมาชวนเราลงทุนหรือซอ้ื ของ แตแ่ ทจ้ ริงแล้วเปน็ แชร์ลูกโซ่ 3. หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจ เพราะอาจถูก หวา่ นล้อมให้ร่วมลงทนุ ในธรุ กิจแชร์ลูกโซ่ 4. อยา่ เกรงใจจนไมก่ ลา้ ปฏิเสธ เมอ่ื มคี นชักชวนทำธรุ กจิ ทีม่ ลี กั ษณะคลา้ ยแชร์ ลูกโซ่ เพราะอาจทำใหส้ ญู เสียเงินได้ ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภยั ทางการเงิน

182 5. ศึกษาที่มาที่ไปของการลงทุนหรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน ใช้เวลา ไตร่ตรองให้ดี (หากถูกเร่งรัดให้ตอบตกลงโดยเร็ว ให้ตั้งขอสงสัยไว้ก่อนว่าน่าจะเป็นธุรกิจท่ี หลอกลวง) โดยเฉพาะธุรกจิ หรอื สินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงมากในเวลาอันสนั้ หรอื มีราคาถกู ผดิ ปกติ 6. ตดิ ตามข่าวสารกลโกงเปน็ ประจำ ทำอย่างไรเมือ่ ตกเปน็ เหย่อื แชร์ลูกโซ่ 1. เก็บรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่ได้จากบริษัทให้มากที่สุด เช่น แผ่นพับ (โบรชวั ร์) เอกสารรบั – จ่ายเงนิ เอกสารการชกั ชวนหรอื แนะนำใหส้ มัครสมาชิก 2. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ กองบังคับการปราบปราม หรือ กองบงั คบั การปราบปรามการกระทำความผิดเกยี่ วกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) 3. ปรกึ ษาศูนยร์ บั แจ้งการเงนิ นอกระบบ โทร. 1359 หรือแจง้ ขอ้ มูลท่ี สว่ นปอ้ งปรามการเงนิ นอกระบบ สำนกั นโยบายพฒั นาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกจิ การคลงั กระทรวงการคลงั ซอยอารยี ์สมั พนั ธ์ ถนนพระราม 6 สามเสนใน พญาไท กรงุ เทพฯ 10400 กิจกรรมทา้ ยเรือ่ งที่ 2 แชร์ลกู โซ่ (ใหผ้ ู้เรียนไปทำกจิ กรรมเรอื่ งท่ี 2 ทสี่ มดุ บนั ทกึ กิจกรรมการเรยี นรู้) ชดุ วิชาการเงินเพอื่ ชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 5 ภยั ทางการเงิน

183 เรอ่ื งท่ี 3 ภัยใกลต้ ัว ลักษณะกลโกงของภยั ใกลต้ ัว 1. เบี้ยประกันงวดสดุ ทา้ ย มิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นพนักงานบริษัทประกันชีวิตติดต่อญาติของผู้ตายวา่ ผู้ตายทำประกันชีวิตไว้กับบริษัท แต่ขาดการชำระเบี้ยประกันงวดสุดท้าย หากญาติจ่ายค่าเบ้ีย ประกันที่ค้างอยู่ ก็จะได้รับเงินคืนตามกรมธรรม์ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่อนข้างมาก เมื่อเหยื่อ จ่ายเงินให้ ผู้ทอ่ี า้ งวา่ เปน็ พนกั งานบรษิ ัทประกันภัยก็จะหายตวั ไปพร้อมเงนิ ประกนั งวดสุดทา้ ย 2. ตกทอง/ลอตเตอรีป่ ลอม มิจฉาชีพจะอ้างว่ามีทองหรือลอตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง แต่ไม่มีเวลาไปขายหรอื ขึ้นเงิน จึงเสนอขายให้เหยื่อในราคาถูก กว่าจะรู้ว่าเป็นทองหรือลอตเตอรี่ปลอม มิจฉาชีพก็ หายไปพร้อมกับเงนิ ท่ไี ดไ้ ป 3. นาย (พัน) หน้า...หลอกลวงเงิน มจิ ฉาชีพจะแอบอา้ งว่าเปน็ เจ้าหน้าที่ในองคก์ รหรอื สถาบนั การเงนิ ที่สามารถ ช่วยเหยื่อหางาน หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ แต่เหยื่อต้องจ่ายค่านายหน้าให้ก่อน มิจฉาชีพบางรายก็หลอกให้เหยื่อเป็นนายหน้าขายที่ดิน โดยทำงานกันเป็นทีม คนแรกหลอกว่า อยากขายที่ดิน คนที่สองหลอกว่าอยากซื้อที่ดิน แล้วขอให้เหยื่อเป็นนายหน้าให้ จากนั้นคนซื้อ จะอ้างว่าเงินไม่พอจ่ายค่ามัดจำจึงขอให้เหยื่อช่วยออกเงินค่ามัดจำ สุดท้ายคนซื้อและคนขาย หนหี าย เหย่อื ไม่ไดค้ ่านายหน้าแถมยังเสยี เงินคา่ มดั จำไปอีกด้วย 4. แกง๊ เงินดำ มิจฉาชีพจะอ้างว่ามีธนบัตรดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เคลือบด้วยสารเคมีสีดำเป็น จำนวนมาก และมีน้ำยาพิเศษที่สามารถล้างน้ำยานั้นออกได้ พร้อมทั้งสาธิตการล้างเงินดำให้ เหยื่อดู เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ จะหลอกเหยื่อว่า น้ำยาพิเศษนั้นอยู่ที่สถานทูต แต่ไม่สามารถนำ ออกมาไดเ้ พราะตอ้ งจา่ ยค่าธรรมเนียมในการดำเนินการคอ่ นขา้ งสูง ชดุ วชิ าการเงนิ เพื่อชวี ิต 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 5 ภยั ทางการเงิน

184 มิจฉาชีพจึงชักชวนเหยื่อให้ร่วมหุ้นจ่ายค่าธรรมเนียม แล้วจะแบ่งธนบัตร ดอลลาร์สหรฐั ฯ ที่ล้างเรยี บร้อยแล้วให้เหยือ่ หากเหยื่อหลงเชื่อจ่ายเงินไป มิจฉาชีพก็จะหายไป พร้อมกับเงินของเหยอื่ วิธปี อ้ งกนั จากภัยใกล้ตวั 1. ไม่โลภ ไมอ่ ยากไดเ้ งนิ รางวลั ท่ไี มม่ ีท่ีมา หากมคี นเสนอให้ ควรสงสัยไว้ก่อนว่า อาจเปน็ ภัยทางการเงนิ 2. ไม่รู้จัก...ไม่ให้ ไม่ให้ทั้งข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน วัน/เดือน/ปีเกิด และข้อมูลทางการเงิน เช่น เลขที่บัญชี รหัสบัตรเอทีเอ็ม/บัตรเดบิต และ ไม่โอนเงนิ แมผ้ ตู้ ิดต่อจะอา้ งวา่ เปน็ หน่วยงานราชการหรือสถาบนั การเงนิ 3. ศกึ ษาหาขอ้ มลู ก่อนเซน็ สัญญา ตกลงจ่ายเงนิ หรอื โอนเงนิ ให้ใคร ควรศึกษา ขอ้ มูล เงือ่ นไข ข้อตกลง ความนา่ เช่อื ถอื และความน่าจะเป็นไปได้ก่อน 4. อ้างใคร ถามคนนั้น อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น เช่น ธนาคารแห่ง ประเทศไทย โทร. 1213 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) โทร. 1202 ธนาคาร บริษัทประกันที่ถูก อา้ งถงึ สามารถดเู บอรโ์ ทรศัพทไ์ ดจ้ ากเวบ็ ไซตข์ องผูป้ ระกอบธุรกิจนน้ั ๆ 5. สงสัยให้ปรึกษา ควรหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ หรือปรึกษาเกี่ยวกับภัยทาง การเงินได้ท่ีศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร. 1213 และศูนย์รับแจ้งการเงิน นอกระบบ โทร. 1359 6. ติดตามขา่ วสารกลโกงเป็นประจำ เพ่ือร้เู ทา่ ทนั เลห่ ์เหลีย่ มกลโกง รู้ไว.้ ..ไม่เสีย่ งเปน็ เหยือ่ 1. อ้างหน่วยงานราชการไม่ได้แปลว่าเชื่อถือได้ มิจฉาชีพมักอ้างถึงหน่วยงาน ราชการหรือองค์กรขนาดใหญ่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ หากมีการอ้างถึง ควรสอบถาม หนว่ ยงานนัน้ โดยตรง ชดุ วิชาการเงนิ เพ่ือชีวติ 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 5 ภัยทางการเงิน

185 2. ธุรกิจที่จดทะเบียนแล้วไม่ได้แปลว่าไม่โกง บางธุรกิจจดทะเบียนอย่าง ถกู ต้องตามกฎหมายจรงิ แตไ่ ม่ไดป้ ระกอบธรุ กจิ ตามทข่ี ออนญุ าตไว้ 3. ไม่มี “ทางลัดรวยทีม่ ีน้อยคนร”ู้ หากทางลดั นม้ี ีจริง คงไม่มใี ครอยากบอกคนอื่น ใหร้ ู้ แอบรวยเงยี บ ๆ คนเดียวดกี ว่า 4. หัวขโมยไม่หมิน่ เงินน้อย มิจฉาชีพไม่ไดม้ ุ่งหวงั เงินหลกั แสนหลักหม่นื เท่าน้นั มิจฉาชีพบางกลมุ่ มุง่ เงินจำนวนนอ้ ยแต่หวังหลอกคนจำนวนมาก 5. อย่าระวังแค่เรื่องเงิน มิจฉาชีพบางรายก็หลอกขอข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่ ใช้ทำธุรกรรมการเงิน เพื่อนำไปถอนเงิน โอนเงิน ขอสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ในนามของเหยือ่ 6. มิจฉาชีพไม่ใช้บัญชีตนเองรับเงินจากเหยื่อ มิจฉาชีพบางรายจ้างคนเปิด บัญชีเพอื่ เปน็ ทร่ี บั เงินโอนจากเหยื่ออีกรายหนึ่ง เพ่ือหนีการจับกมุ ของเจา้ หนา้ ที่ตำรวจ ร้หู รือไม่วา่ การรับจ้างเปิดบัญชีหรือการหลอกให้ผู้อื่นโอนเงินให้เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 60 ตอ้ งระวางโทษจำคุกต้ังแตห่ น่ึงปถี ึงสิบปี หรอื ปรับตง้ั แต่สองหมื่นบาท ถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น การเห็นแก่ค่าจ้างเพียงไม่กี่บาทจึงอาจทำให้ เราตอ้ งตกเป็นผ้ตู อ้ งหาและไปใช้ชวี ติ ในเรือนจำได้ จงึ ไม่ควรหลงเชือ่ หรือรับจ้างเปิดบัญชีโดย เด็ดขาด กิจกรรมทา้ ยเรื่องท่ี 3 ภัยใกลต้ ัว (ให้ผู้เรียนไปทำกจิ กรรมเร่อื งท่ี 3 ทส่ี มดุ บันทกึ กจิ กรรมการเรียนรู้) ชุดวชิ าการเงินเพ่อื ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรูท้ ่ี 5 ภัยทางการเงิน

186 เร่อื งท่ี 4 แกง๊ คอลเซนเตอร์ แก๊งคอลเซนเตอร์มักใช้วิธีสุ่มเบอร์โทรศัพท์เพื่อโทรไปหาเหยื่อแล้วใช้ข้อความ อัตโนมตั ิสรา้ งความต่ืนเต้นหรือตกใจใหแ้ ก่เหย่ือ บางครัง้ ก็แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าท่ีหน่วยงานต่าง ๆ หลอกให้เหยื่อทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มเป็นเมนูภาษาอังกฤษ โดยแจ้งว่าเป็นการทำรายการ เพอ่ื ลา้ งหนี้ หรอื อาจหลอกให้เหย่ือไปโอนเงินให้หน่วยงานภาครัฐเพอ่ื ตรวจสอบ ลักษณะกลโกงแก๊งคอลเซนเตอร์ 1. บญั ชีเงินฝากถกู อายัดหรือเป็นหนีบ้ ตั รเครดิต มิจฉาชีพจะหลอกเหยื่อว่า บัญชีเงินฝากถูกอายัด หรือเป็นหนี้บัตรเครดิต จำนวนหนึ่ง โดยเริ่มจากการใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติแจ้งเหยื่อว่าจะอายัดบัญชีเงินฝาก เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เป็นหนี้บัตรเครดิตหรือกระทำการผิดกฎหมาย โดยอาจมีเสียง อัตโนมัติ เช่น “คุณเป็นหนี้บัตรเครดิตกับทางธนาคาร กด 0 เพื่อติดต่อพนักงาน” ซึ่งเหยื่อ สว่ นมากมกั จะตกใจและรีบกด 0 เพอ่ื ตดิ ตอ่ พนักงานทันที หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกถามฐานะทางการเงินของเหยื่อ หากเหยื่อมี เงินฝากจำนวนไม่มากนัก มิจฉาชีพอาจหลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มโดยหลอกว่า เปน็ การทำรายการเพื่อลา้ งบัญชีหน้ี 2. บัญชีเงนิ ฝากพวั พนั กบั การค้ายาเสพติดหรอื การฟอกเงิน แต่หากมิจฉาชีพพบว่า เหยื่อมีเงินฝากค่อนข้างมาก ก็จะหลอกเหยื่อให้ ตกใจว่า บัญชีเงินฝากนั้นพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน และจะให้เหยื่อโอนเงิน ทั้งหมดผ่านเครื่องเอทีเอ็ม/เครื่องฝากเงนิ อัตโนมตั ิ (CDM หรือ ADM) เพื่อทำการตรวจสอบกับ หนว่ ยงานราชการ เพ่อื ปอ้ งกนั ไม่ใหเ้ หย่ือได้มีโอกาสสอบถามความจริงจากพนักงานธนาคาร 3. เงินคนื ภาษี นอกจากจะหลอกให้เหยื่อตกใจแล้วมิจฉาชีพบางรายก็อ้างว่าตนเป็น เจ้าหน้าที่สรรพากร หลอกให้เหยื่อตื่นเต้นดีใจว่า เหยื่อได้รับเงินคืนค่าภาษี แต่ต้องทำรายการ ชดุ วิชาการเงินเพื่อชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนร้ทู ่ี 5 ภยั ทางการเงนิ

187 ยืนยันการรับเงินที่เครื่องเอทีเอ็ม และวันนี้เป็นวันสุดท้ายที่จะยืนยันรับเงินคืน หากเลย กำหนดเวลาแล้ว เหยื่อจะไม่ได้รับเงินคืนค่าภาษี ด้วยความรีบเร่งและกลัวว่าจะไม่ได้เงินคืน เหยือ่ ก็จะรบี ทำตามที่มิจฉาชีพบอก โดยไม่ได้สงั เกตว่ารายการทมี่ ิจฉาชีพให้ทำท่ีเครื่องเอทีเอ็มนั้น เป็นการโอนเงนิ ใหแ้ ก่มิจฉาชีพ 4. โชคดีไดร้ บั รางวัลใหญ่ มิจฉาชีพบางรายก็หลอกให้เหยื่อดีใจว่า เหยื่อได้รับรางวัลใหญ่ที่มีมูลค่าสูง จากการจับสลากรางวัล หรือเปิดบริษัทใหม่จึงจับสลากมอบรางวัลแก่ลูกค้า แต่ก่อนที่ลูกค้าจะ รบั รางวลั ลกู ค้าจะตอ้ งจา่ ยค่าภาษใี หก้ ับทางผแู้ จกรางวัลก่อน จึงจะสามารถสง่ ของรางวัลไปให้ 5. ข้อมูลสว่ นตัวหาย มิจฉาชีพประเภทนี้จะโทรศัพท์หลอกถามข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อเพื่อใช้ ประกอบการปลอมแปลงเอกสาร หรือใช้บริการทางการเงินในนามของเหยื่อ โดยมิจฉาชีพจะ อ้างว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินที่เหยื่อใช้บริการอยู่ แต่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูล ส่วนตัวของลูกค้าสูญหาย เช่น น้ำท่วม จึงขอให้เหยื่อแจ้งข้อมูลส่วนตัวเพื่อยืนยันความถูกต้อง เชน่ วนั /เดือน/ปเี กิด เลขทีบ่ ตั รประชาชน เลขท่บี ัญชีเงนิ ฝาก ชุดวชิ าการเงนิ เพือ่ ชีวิต 2 (ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 5 ภยั ทางการเงิน

188 เมอ่ื ไดข้ ้อมูลส่วนตัวของเหยื่อแล้ว มิจฉาชีพจะนำขอ้ มูลเหล่านไ้ี ปแอบอ้างใช้ บรกิ ารทางการเงนิ ในนามของเหย่อื เช่น ขอสินเชอ่ื 6. โอนเงินผดิ หากมิจฉาชีพมีข้อมูลหรือเอกสารส่วนตัวของเหยื่อ มิจฉาชีพอาจใช้เอกสาร และข้อมลู สว่ นตวั ของเหยือ่ ตดิ ต่อขอสินเชื่อ เม่อื ไดร้ บั อนมุ ตั ิสนิ เชื่อ สถาบนั การเงินจะโอนเงินกู้ ที่ได้รับอนุมัติเข้าบัญชีเงินฝากของเหยื่อ หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะโทรศัพท์ไปแจ้งเหยื่อว่า โอนเงินผดิ เข้าบัญชขี องเหยอื่ และขอใหเ้ หย่อื โอนเงนิ คนื ให้ เมอ่ื เหยอื่ ตรวจสอบบัญชีเงนิ ฝากของตนเองและพบว่ามีเงนิ โอนเงินเข้ามาใน บัญชีจริง เหยื่อก็รีบโอนเงินคืนให้แก่มิจฉาชีพทันที โดยไม่รู้ว่าเงินนั้นเป็นเงินสินเชื่อที่มจิ ฉาชีพ ขอในนามของเหย่ือ วิธีปอ้ งกันภัยแก๊งคอลเซนเตอร์ 1. คิดทบทวน ว่าเรื่องราวที่ได้ยินมามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เคยทำ ธุรกรรมกับหนว่ ยงานทีถ่ กู อา้ งถงึ หรือไม่ หรอื เคยเขา้ รว่ มชิงรางวลั กับองค์กรไหนจรงิ หรือเปล่า 2. ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย ไม่ให้ข้อมูล ทั้งข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขที่บัตรประชาชน วัน/เดือน/ปเี กดิ และขอ้ มลู ทางการเงนิ เชน่ เลขท่บี ญั ชี รหัสกดเงิน 3. ไม่ทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มตามคำบอก แม้คนที่โทรมาจะบอกว่าเป็น เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือสถาบันการเงิน เพราะหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินไม่มีนโยบาย สอบถามขอ้ มูลส่วนตัวของประชาชนหรือลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ สำหรับการคืนภาษี มเี พยี ง 2 วิธี เท่านั้น คือ โอนผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชน และส่งเป็นเช็ค ธนาคาร 4. ตรวจสอบข้อมูลก่อนโอนเงิน สอบถามสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่ถูก อ้างถึงโดยตรง เช่น ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (call center) หรือสาขาของสถาบันการเงินนั้น ๆ ด้วยตนเอง ชุดวิชาการเงนิ เพ่ือชีวิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 5 ภัยทางการเงนิ

189 5. หากมีคนโอนเงินผดิ บญั ชมี าทบ่ี ญั ชีเรา • ไม่ต้องรีบโอนคืนทันทีหากมีคนติดต่อมาให้โอนกลับหรือโอนต่อไปอีก บญั ชีหน่ึง เพราะอาจเป็นมิจฉาชีพมาใชบ้ ัญชีของเราเป็นทางผา่ นในการกระทำผดิ กฎหมาย • ควรสอบถาม call center หรือสาขาของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ ให้ดำเนนิ การตรวจสอบรายละเอียด • หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เราไปที่ธนาคารเพื่อเซ็นยินยอมให้ธนาคารดำเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป (อย่า โอนกลับด้วยตนเอง) ทำอย่างไรเมือ่ ตกเปน็ เหยื่อภัยแกง๊ คอลเซนเตอร์ 1. ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (call center) ของธนาคารต้นทาง (บัญชีของเราท่ี ใช้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพ) และธนาคารปลายทาง (บัญชีของมิจฉาชีพ) เพื่อระงับการโอนและ ถอนเงิน โดยรวบรวมเอกสารเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขอระงับการโอนและถอนเงิน ทั้งนี้ แต่ละสถาบันการเงินมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ควรติดต่อสอบถามขั้นตอนจากสถาบันการเงิน โดยตรง 2. แจ้งสำนกั งานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนกั งาน ปปง.) สำนักงานป้องกันและ https://www.amlo.go.th/ ปราบปรามการฟอกเงนิ (สำนักงาน ปปง.) สายด่วน โทร. 1710 กจิ กรรมท้ายเร่ืองท่ี 4 แกง๊ คอลเซนเตอร์ (ให้ผูเ้ รียนไปทำกิจกรรมเร่อื งท่ี 4 ทส่ี มดุ บนั ทกึ กจิ กรรมการเรยี นรู้) ชดุ วชิ าการเงินเพือ่ ชวี ิต 2 (ฉบบั ปรบั ปรุง พ.ศ.2564) l หนว่ ยการเรยี นรทู้ ่ี 5 ภัยทางการเงนิ

190 เร่อื งที่ 5 ภยั ออนไลน์ อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือคนที่ไม่รู้จัก สามารถติดต่อหากันได้อย่างง่ายดาย ความสะดวกสบาย เหล่านี้นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการแล้ว ก็เอื้อประโยชน์ต่อมิจฉาชีพเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจงึ กลายเป็นอีกช่องทางทม่ี จิ ฉาชีพจะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากเหยื่อ ลักษณะกลโกงภยั ออนไลน์ 1. แอบอ้างเป็นบุคคลตา่ ง ๆ มิจฉาชีพอาจแอบอา้ งเปน็ บคุ คลต่าง ๆ และหลอกเหย่อื ว่าจะโอนเงินจำนวน มากให้แก่เหยื่อ พร้อมทั้งส่งหลักฐานการโอนเงินปลอมให้ดูว่ามีการโอนเงิน แต่แท้จริงไม่มีการ โอนเงินใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ธนาคารกลางของประเทศต้นทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสหประชาชาติ แจ้งเหยื่อว่า เงนิ ที่โอนมาถกู ระงบั และขอตรวจสอบเงิน ชุดวิชาการเงินเพ่อื ชวี ติ 2 (ฉบบั ปรับปรงุ พ.ศ.2564) l หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 5 ภยั ทางการเงนิ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook