เอกสารประกอบการสอน รายวิชา พฤกษศาสตร์ (ภาคบรรยาย) ดร.สไว มฐั ผา Ph.D. (Biological Sciences) คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อุดรธานี 2560
ก คานา เอกสารประกอบการสอน รายวิชา พฤกษศาสตร์ รหัส BI02201 น้ี จัดทาขึ้นเพ่ือใช้ในการเรียนการ สอนนักศกึ ษาปรญิ ญาตรีในมหาวิทยาลยั ราชภัฏอดุ รธานี ผู้เรียบเรียงได้จัดทาคาอธิบายไว้ในหลักสูตร แบ่งเป็น 13 บท มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านพฤกษศาสตร์ ได้แก่ เซลล์และเน้ือเย่ือพืช ลักษณะสัณฐาน วทิ ยา อนกุ รมวิธานพชื และซสี เทมาติกส์ ววิ ฒั นาการ ความหลากหลายของพชื และนเิ วศวิทยาของพชื ในการจัดทาเอกสารประกอบการสอนเล่มน้ี ผู้เขียนได้รวบรวมเอกสาร หนังสือ ตารา รวมถึง ผลงานวจิ ัยเกีย่ วกบั พฤกษศาสตร์และประสบการณ์ด้านพืชของผู้เขียนเอง ดังน้ันหนังสือเล่มน้ีจึงเหมาะสาหรับ นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ รวมถึงผู้สนใจทั่วไป เพ่ือนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ผู้เขียนยินดี รับคาแนะนา เพื่อปรับปรงุ ใหด้ ีข้นึ ดร.สไว มัฐผา 10 สงิ หาคม 2560
ข
ค หน้า ก สารบญั ค ช คานา ฐ สารบญั ฒ สารบัญภาพ สารบญั ตาราง 1 แผนบรหิ ารการสอนประจารายวชิ า แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 1 3 บทที่ 1 เซลลแ์ ละเนอ้ื เยือ่ พืช (Plant cells and Plant tissues) 3 1.1 เนอื้ เยอ่ื เจริญ (meristem tissue) 4 1.2 เน้ือเยอ่ื ถาวร (permanent tissue) 1.3 ระบบเนอื้ เย่ือ (tissue system) 4 1.4 บทสรุป คาถามทา้ ยบทท่ี 1 11 เอกสารอ้างอิง แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 2 11 บทท่ี 2 ลักษณะวิสยั รากและลาตน้ พชื (Habits, Root and Stem) 2.1 ลกั ษณะวิสัยพชื (plant habit) 12 2.2 พชื มเี น้อื ไม้ (woody plants) 2.3 ถิ่นอาศัยพืช (plant habitat) 13 2.4 ราก (root) 2.5 ลาต้น (stem) 15 2.6 ลาตน้ ใต้ดิน (underground stem) 2.7 บทสรปุ 15 คาถามท้ายบทที่ 2 เอกสารอา้ งอิง 16 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 3 บทที่ 3 ใบและสว่ นประกอบของใบ (Leaves and Leaf parts) 18 3.1 แผน่ ใบ (lamina) 3.2 หใู บ (stipules) 19 3.3 โครงสรา้ งใบพชื เปลีย่ นแปลงไปทาหน้าทีพ่ ิเศษ (modified leaf) 3.4 ชนิดของใบ (Leaf type) 20 3.5 บทสรปุ คาถามทา้ ยบทที่ 3 21 22 22 23 25 27 27 27 28 28 40 40
ง 41 สารบัญ (ต่อ) 43 เอกสารอ้างอิง 45 แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 4 บทที่ 4 โครงสร้างดอกและช่อดอก (Floral part and Inflorescence) 45 4.1 โครงสร้างดอก (floral structure) 54 4.2 ช่อดอก (inflorescences) 4.2 บทสรปุ 55 คาถามทา้ ยบทท่ี 4 เอกสารอ้างอิง 55 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 5 บทที่ 5 ผล (fruit) และเมล็ด (seed) 56 5.1 ผล (fruit) 5.2 ชนดิ ของผล (kinds of fruit) 57 5.3 การจาแนกผลตามการเช่ือมหรือแยกกนั ของคาร์เพล 5.4 เมลด็ (seed) 59 5.5 การแพร่กระจายผลและเมล็ด (fruit and seed dispersal) 5.6 รปู วิธานระบชุ นดิ ของผล 59 5.7 บทสรปุ 59 คาถามท้ายบทที่ 5 62 เอกสารอา้ งองิ 62 แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 6 บทที่ 6 อนุกรมวธิ านพืชและซสี เทมาตกิ ส์ (Taxonomy & Systematics) 64 6.1 การจัดจาแนกพชื (plant classification) 6.2 หนว่ ยอนุกรมวธิ านของการจาแนก (unit of classification) 64 6.3 บทสรปุ คาถามทา้ ยบทท่ี 6 66 เอกสารอา้ งองิ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 7 66 บทท่ี 7 การระบุพชื (Plant Identification) 7.1 วิธกี ารระบุพชื 67 7.2 หนังสือ วารสารและเอกสารงานด้านอนุกรมวธิ านพืช 7.3 ชนิดรปู วธิ าน 69 7.4 การสรา้ งรปู วิธาน 7.5 บทสรุป 71 73 78 80 80 81 83 85 85 87 88 91 94
จ 94 สารบญั (ต่อ) 95 คาถามท้ายบทที่ 7 97 เอกสารอ้างองิ 99 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 8 100 100 บทที่ 8 กฎเกณฑ์และการต้ังช่อื พืช (Plant nomenclature) 101 103 8.1 หลักและกฎเกณฑเ์ ก่ยี วกับชือ่ พืช (principles of Nomenclature) 103 8.2 ลาดบั ชั้นของหนว่ ยอนุกรมวิธาน (ranks of taxa) 103 8.3 พรรณไมต้ ้นแบบ (nomenclatural type) 104 8.4 ลาดบั การตพี ิมพ์ (priority of publication) 107 8.5 ช่ืออนรุ ักษ์ (conservation of names) 107 8.6 การเปลี่ยนชอ่ื (name changes) 108 8.7 สัญลกั ษณแ์ ละภาษาลาตินทพี่ บในการตีพิมพช์ อื่ วทิ ยาศาสตร์ 109 8.8 หลักเกณฑก์ ารตีพิมพ์พชื ชนิดใหมข่ องโลก (new species) 8.9 ตัวอย่างการเขยี นส่วน nomenclature ในหนงั สือ พรรณพฤกษชาตใิ นประเทศไทย 109 8.10 ตัวอยา่ งการตพี ิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลก 8.11 บทสรุป 110 คาถามทา้ ยบทที่ 8 111 เอกสารอ้างอิง 113 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 9 113 บทท่ี 9 ววิ ฒั นาการและความหลากหลายของพชื (Evolution and Plant diversity) 114 9.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพชื มีกลุ่มไมม่ ีเนื้อเย่ือลาเลียง 123 9.2 การจดั จาแนกพชื กลมุ่ ไม่มีเน้อื เยอ่ื ลาเลียง 124 9.3 บทสรุป 125 คาถามท้ายบทท่ี 9 127 เอกสารอ้างองิ 129 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 10 129 130 บทท่ี 10 กลมุ่ พืชมเี นือ้ เยอ่ื ลาเลียง (Vascular plants) 133 134 10.1. ดวิ ชิ ันไรนิโอไฟตา (Rhyniophyta (Rhyniophytes) 143 10.2 ดวิ ิชันยฟู ิลโลไฟตา (Division Euphyllophyta Euphyllophyta (Euphyllophytes)) 152 10.3 การจัดจาแนกเฟริ น์ และกลุม่ ใกล้เคยี งตามการกาเนิดของสปอแรงเจยี ม 153 10.4 ดวิ ชิ นั ไลโคไฟตา (Division Lycopodiophyta or Lycophyta (Lycophytes)) 10.5 ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) 154 10.6 บทสรปุ คาถามทา้ ยบทท่ี 10 เอกสารอา้ งอิง
ฉ 155 สารบัญ (ต่อ) 157 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 11 157 บทที่ 11 พชื เมลด็ เปลือย (Gymnosperms) 161 11.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชมีเมล็ด 11.2 การจดั จาแนกของพชื เมลด็ เปลือย 168 11.3 บทสรุป 168 คาถามทา้ ยบทท่ี 11 169 เอกสารอา้ งองิ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 12 171 บทท่ี 12 พืชดอก (Angiosperms) 12.1 สณั ฐานวทิ ยาของพชื ดอก 173 12.2 โครงสร้างดอก 12.3 คารเ์ พล 174 12.4 ออวุล 12.5 วฏั จักรชวี ิตโดยทวั่ ไปของพชื ดอก 174 12.6 ระบบการจัดจาแนกพืชดอก 12.7 บทสรุป 175 คาถามท้ายบทท่ี 12 176 เอกสารอา้ งอิง 181 แผนบรหิ ารการสอนประจาบทที่ 13 178 บทที่ 13 นิเวศวิทยาของพชื (Plant Ecology) 178 13.1 ความสาคญั ทางระบบนิเวศ 180 13.2 ระบบนิเวศป่าไม้ของประเทศไทย 181 13.3 บทสรุป คาถามท้ายบทท่ี 13 183 เอกสารอา้ งอิง บรรณานกุ รม 185 185 185 193 193 193 195
ช 5 สารบัญภาพ 6 7 ภาพที่ 1.1 ภาพการขูดผิวใบของใบกะเพรา 8 ภาพท่ี 1.2 ภาคตัดตามขวางของลาตน้ บาหยา 9 ภาพที่ 1.3 ภาคตัดตามขวางลาต้นของบาหยา 9 ภาพท่ี 1.4 ภาคตัดตามขวางของหญ้า 10 ภาพที่ 1.5 ภาคตดั ตามขวางเนอ้ื เยื่อลาเลียงของหมอน้อย 11 ภาพท่ี 1.6 ภาคตัดตามยาวเวสเซลแบบต่างๆของลาต้นบาหยา 15 ภาพท่ี 1.7 ภาคตัดตามขวางเนอ้ื เยื่อลาเลยี งบาหยา 16 ภาพที่ 1.8 ภาคตัดตามขวางเน้อื เย่อื ลาเลียง 17 ภาพท่ี 2.1 พชื ล้มลกุ ปีเดียว 18 ภาพที่ 2.2 พืชล้มลุกหลายเดียว: ขงิ แมงดา (Zingiber pyroglossum) 19 ภาพที่ 2.3 ไม้เลอ้ื ยมเี นอื้ ไม้ (woody climber) สะบา้ ลิง 21 ภาพที่ 2.4 ไมร้ อเล้ือย (scandent) เถาเสียวปา่ 29 ภาพที่ 2.5 พืชปรสิ ิต 30 ภาพที่ 2.6 หใู บเปลย่ี นแปลงเป็นมือเกาะ 31 ภาพท่ี 3.1 โครงสรา้ งใบและสว่ นประกอบของใบ 32 ภาพท่ี 3.2 รูปรา่ งสามมิติ 33 ภาพที่ 3.4 ตัวอย่างรูปร่างใบแบน 34 ภาพท่ี 3.5 ตัวอย่างรูปร่างใบแบน ภาพท่ี 3.6 ฐานใบ ภาพที่ 3.7 ปลายใบ
ซ 36 37 สารบัญภาพ (ตอ่ ) 37 38 ภาพท่ี 3.8 ขอบใบ 39 45 ภาพท่ี 3.9 ขอบใบ 46 47 ภาพท่ี 3.10 ขอบใบ 48 50 ภาพท่ี 3.11 การเรยี งใบ 50 51 ภาพที่ 3.12 การเรยี งเสน้ ใบ 52 53 ภาพที่ 4.1 โครงสรา้ งดอก 54 61 ภาพท่ี 4.2 สมมาตรดอก 63 72 ภาพที่ 4.3 วงกลบี เล้ียงและวงกลีบดอกทเ่ี ชอ่ื มกนั และแยกกัน 73 ภาพที่ 4.4 รูปรา่ งดอกชนดิ ต่างๆ 80 ภาพที่ 4.5 การแยกและการเชอ่ื มกนั ของเกสรเพศผ้แู บบต่างๆ ภาพท่ี 4.6 การตดิ อบั เรณูกบั กา้ นเกสรแบบต่างๆ ภาพที่ 4.7 รูปแบบของการแตกของอบั เรณู ภาพท่ี 4.8 ตาแหนง่ ของรังไข่ชนิดต่างๆ ภาพที่ 4.9 พลาเซนตาของพืชชนิดต่างๆ ภาพที่ 4.10 ประเภทช่อดอกแบบต่างๆ ภาพท่ี 5.1 ผลประเภทผลเด่ียวชนิดตา่ งๆ ภาพท่ี 5.2 ผลประเภทของผล ภาพท่ี 6.1 แคลดโดแกรม (cladogram) หรือ วงศว์ านววิ ฒั นาการชาตพิ ันธ์ (phylogenetic trees) ภาพที่ 6.2 วิวฒั นาการชาติพันธ์ุ (phylogenetics) หรือ แคลดสิ ตกิ ส์ (cladistics) แสดงเคลด มาจากชาติพนั ธ์เุ ดยี วกนั (monophyly/paraphyly) และกลมุ่ ทมี่ บี รรพบรุ ุษ ต่างกัน (polyphyly) ภาพท่ี 6.3 การกระจายพันธ์ุของครามแต่ละพันธ์ุจะที่มีการกระจายพนั ธซ์ อ้ นทับกัน (sympatric distribution)
ฌ 114 สารบญั ภาพ (ตอ่ ) 115 116 ภาพที่ 9.1 A แอนเธอรเิ ดียม และ อาซโี กเนยี ม 117 ภาพท่ี 9.2 สปอโรไฟต์อยบู่ นแกมโี ทไฟต์ของมอส 119 ภาพที่ 9.3 วงจรชีวติ ของมอส 120 ภาพที่ 9.4 ภาพตดั ขวางของฟิลลอยด์มอส 121 ภาพท่ี 9.5 สัณฐานวทิ ยาของลิเวอร์เวริ ์ต 130 ภาพที่ 9.6 วงจรชีวิตของ Marchantia 132 ภาพที่ 9.7 สัณฐานวทิ ยาของฮอร์นเวิรต์ 136 ภาพท่ี 10.1 ความสมั พันธข์ องพชื กลุ่มมีทอ่ ลาเลียง 137 ภาพท่ี 10.2 ความสมั พันธข์ องพืชในกลุ่มโมนโิ ลไฟต์ 138 ภาพที่ 10.3 ไลโคโพเดียม 139 ภาพที่ 10.4 ไลโคโพเดียม 141 ภาพท่ี 10.5 วงจรชีวติ ของไลโคโพเดยี ม 141 ภาพที่ 10.6 กายวภิ าคลาต้นของไลโคโพเดยี ม 142 ภาพท่ี 10.7 ตีนต๊กุ แก 143 ภาพท่ี 10.8 สตรอบลิ ัสของตีนตกุ๊ แก 145 ภาพท่ี 10.9 การพัฒนาของเอ็มบริโอของตนี ตุ๊กแก 145 ภาพที่ 10.10 วงจรชีวิตของตนี ตุ๊กแก 146 ภาพที่ 10.11 สนหางมา้ 147 ภาพท่ี 10.12 ไดอะแกรมสนหางมา้ 148 ภาพที่ 10.13 ลกั ษณะกายวิภาคศาสตรข์ องสนหางม้า ภาพที่ 10.14 หวายทะนอย ภาพที่ 10.15 แกมโี ทไฟต์ของหวายทะนอย
ญ 149 150 สารบัญภาพ (ตอ่ ) 151 152 ภาพท่ี 10.16 กายวิภาคศาสตร์ของลาตน้ หวายทะนอย 157 ภาพท่ี 10.17 สัณฐานวิทยาของเฟิรน์ 158 ภาพที่ 10.18 วงจรชวี ิตของเฟริ น์ 158 ภาพท่ี 10.19 กายวภิ าคศาสตร์ของเฟริ ์น 159 ภาพที่ 11.1 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพชื มเี มลด็ 159 ภาพที่ 11.2 ความสัมพันธท์ างชวี โมเลกุลของพชื มีเมลด็ 160 ภาพที่ 11.3 ลักษณะของเอ็นโดสปอรี 161 ภาพท่ี 11.4 เมกะสปอร์อยู่ในเมกะสปอรแ์ รงเจียม 163 ภาพที่ 11.5 ววิ ฒั นาการของเยอ่ื หุม้ ออวลุ 164 ภาพที่ 11.6 การพัฒนาละอองเรณู 166 ภาพที่ 11.7 วงจรชวี ติ แบบสลบั ของพชื มีเมล็ด 167 ภาพที่ 11.8 วงจรชีวติ ของพืชสกลุ Zania 174 ภาพท่ี 11.9 วงจรชวี ิตของแปะ๊ กว๊ ย 175 ภาพท่ี 11.10 วงจรชีวิตของสน 176 ภาพที่ 11.11 สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของดวิ ิชนั นีโทไฟตา 177 ภาพท่ี 12.1 A. Archaefructus eoflora 179 ภาพที่ 12.2 โครงสร้างดอก 186 ภาพท่ี 12.3 ววิ ฒั นาการของรงั ไข่ ภาพที่ 12.4 วงจรชีวติ ของพืชดอก ภาพท่ี 12.5 ความสนั พันธพ์ ืชดอกตามระบบการจดั จาแนก APG IV ภาพที่ 13.1 ป่าเบญจพรรณ
ฎ สารบัญภาพ (ต่อ) ภาพท่ี 13.2 ปา่ เต็งรงั 188 ภาพท่ี 13.3 ปา่ หญ้า 189
ฏ
ฐ 86 98 สารบญั ตาราง 103 ตารางท่ี 7.1 รายชื่อพิพิธภัณฑ์พชื ทีส่ ามารถสืบค้นตวั อย่างพรรณไมผ้ ่านระบบอนิ เตอร์เนตในประเทศ ไทยและตา่ งประเทศ ตารางที่ 8.1 การประชุมหลกั เกณฑ์และข้อบงั คบั ของพืช ตารางที่ 8.2 ช่อื อนุรกั ษ์ ชื่อท่ีถูกต้องตามกฎการตั้งช่ือ และสกุลต้นแบบ
ฑ
ฒ แผนบรหิ ารการสอน รหัสวชิ า BI02201 ชอ่ื วิชา พฤกษศาสตร์ 3(2-2-5) (Botany) คาอธิบายรายวิชา ความหลากหลายของพืช สัณฐานวทิ ยา กายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการ อนกุ รมวิธานและ นิเวศวทิ ยาพืช Plant diversity, morphology, anatomy, physiology, evolution, taxonomy and ecology of plants จดุ มุง่ หมายของรายวิชา 1. เพ่อื ให้นักศึกษาเขา้ ใจเกีย่ วกบั โครงสร้างและหน้าท่ีของเซลล์และเน้อื เยื่อพืช 2. เพ่อื ใหน้ ักศึกษาเข้าใจเก่ยี วกบั สณั ฐานวิทยา กายวภิ าคศาสตร์ สรีรวทิ ยา และนเิ วศวทิ ยาของพืช 3. เพ่ือให้นักศกึ ษาสามารถจาแนกพืชที่พบในทอ้ งถนิ่ และทราบวธิ ีดาเนินการในการเก็บรวบรวมและ เกบ็ ตัวอย่างพชื 4. เพือ่ ใหน้ ักศึกษาไดเ้ รยี นรูแ้ ละทดลองการฝกึ ปฏิบตั ิการด้านพฤกษศาสตร์จากการออกภาคสนาม แผนการสอน สปั ดาหท์ ่ี หวั ข้อ/รายละเอยี ด จานวน กจิ กรรม 1 ชัว่ โมง การเรียนการสอนและสอ่ื แนะนาเน้ือหาในรายวิชา 3(2-2-5) ชแ้ี จงรายละเอียดวิชา ท่ใี ช้ การใชห้ ้องปฏบิ ตั ิการ 3(2-2-5) แนวทางการเรยี นใน -แนะนาเน้ือหาในรายวชิ า รายวิชา และเกณฑ์ทใ่ี ช้ -ช้ีแจงรายละเอียดวิชาและ ในการประเมนิ ผล การใชห้ ้องปฏิบตั ิการ -ช้ีแจงเกณฑ์ทีใ่ ช้ในการ 2 บทนา ประเมนิ ผล ภาคบรรยาย เอกสารรายละเอียด -สณั ฐานวทิ ยาพชื รายวชิ า BI02201 -กายวิภาคศาสตร์พชื พฤกษศาสตร์ (มคอ. 3) -สรรี วทิ ยาของพชื -ววิ ัฒนาการพชื ภาคบรรยาย -นิเวศวิทยา -บรรยายความรเู้ บ้อื งต้น เก่ยี วกับโครงสรา้ งด้าน สณั ฐานวทิ ยา กายวภิ าค ศาสตร์ สรีรวทิ ยา วิวฒั นาการและ นิเวศวทิ ยา -บรรยายเกีย่ วกบั การเกบ็
ณ ปฏิบตั กิ าร ตวั อยา่ งพชื ภาคสนามเพ่ือ ศึกษาพชื ภาคสนามใน นามาศกึ ษาขัน้ ต่อไป และ มหาวิทยาลยั ราชภฏั การจาแนกเบื้องต้น อุดรธานี -แบง่ กลมุ่ เพื่อรับผิดชอบ งานที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบตั กิ าร ศึกษาพืชกลุม่ ต่างๆ ใน ภาคสนามในบริเวณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี และฝกึ ระบพุ ืช แบบง่ายเบ้ืองตน้ -Power Point -อปุ กรณ์ท่ีใช้ในการศกึ ษา ตัวอย่างพืชในภาคสนาม เชน่ กรรไกรตดั ก่งิ สมดุ บันทึก ดนิ สอ เปน็ ต้น 3 บทท่ี 1 เซลลแ์ ละเน้ือเยื่อ 3(2-2-5) ภาคบรรยาย พชื (Plant cells and -บรรยายเก่ยี วกับ Plant tissues) โครงสร้างและ ภาคบรรยาย สว่ นประกอบของเซลล์ โครงสร้างและ เนื้อเยื่อพชื โครงสร้างและ สว่ นประกอบตา่ งๆ ของ หนา้ ที่ของเนอ้ื เย่ือพืชแต่ละ เซลล์พืช ชนดิ ของพืช -ชนิดของเนื้อเยื่อพชื ปฏิบัตกิ าร -โครงสรา้ งและหนา้ ที่ของ ศึกษาโครงสรา้ งและ เนอ้ื เยือ่ พชื ชนดิ ตา่ งๆ ส่วนประกอบต่างๆของ ปฏบิ ัติการ เซลล์ ศึกษาโครงสรา้ งและ -Power Point ส่วนประกอบตา่ งๆ ของ -ตัวอย่างสดพืช เซลล์และเนอ้ื เย่ือพืชชนดิ ต่างๆ 4 บทที่ 2 ลักษณะวิสยั ราก 3(2-2-5) ภาคบรรยาย และลาตน้ พชื -บรรยายเกยี่ วกบั สณั ฐาน ภาคบรรยาย วิทยา โครงสร้างและหน้าที่ -สัณฐานวิทยาของราก ของราก และกายวิภาค -โครงสรา้ งและหน้าท่ีของ ศาสตร์ของราก ราก ปฏบิ ัติการ -กายวิภาคศาสตรข์ อง ศกึ ษาโครงสร้างของ ราก เนอ้ื เยอ่ื ชนิดต่างๆ
ด -สัณฐานวิทยาของลาตน้ โครงสร้างและหน้าที่ของ -โครงสรา้ งและหนา้ ที่ของ รากและลาต้น จากศึกษา ลาต้น โครงสรา้ งจากการตัด -กายวภิ าคศาสตรข์ องลา ตามยาวและตัดตามขวาง ตน้ ของพชื ปฏบิ ัตกิ าร - Power Point ศกึ ษาสัณฐานวิทยา -ตัวอย่างรากและลาต้นพืช ภายนอกและกายวิภาค ศาสตรข์ องราก ปฏิบัตกิ าร ศึกษาสัณฐานวิทยา ภายนอกและกายวภิ าค ศาสตรข์ องลาตน้ 5 บทที่ 3 เร่อื ง ใบ 3(2-2-5) ภาคบรรยาย ภาคบรรยาย บรรยายเกยี่ วกบั สัณฐาน -สัณฐานวทิ ยาของใบ วทิ ยา โครงสร้างและหน้าท่ี -โครงสร้างและหนา้ ท่ีของ ของใบ และกายวภิ าค ใบ ศาสตร์ของใบ -กายวิภาคศาสตร์ของใบ ปฏิบัตกิ าร ศึกษาโครงสรา้ งของ ปฏิบตั กิ าร เน้ือเยอ่ื ชนิดตา่ งๆ ของใบ ศึกษาสัณฐานวทิ ยา โดยการลอกผวิ ใบและการ ภายนอกและกายวิภาค ตัดตามขวางด้วยมือ ศาสตร์ของใบ -Power Point -ตวั อย่างสดพืชใบเลย้ี งคู่ 6 บทท่ี 4 เรอ่ื ง ดอกและช่อ 3(2-2-5) ภาคบรรยาย ดอก -บรรยายเก่ียวกับสัณฐาน บทที่ 5 เรอื่ ง ผลและ วิทยา โครงสรา้ งและหน้าที่ เมลด็ ของดอก และ ผล ภาคบรรยาย - บรรยายเกย่ี วกบั ดอก ผล -สณั ฐานวทิ ยาของดอก และเมล็ด -โครงสรา้ งและหนา้ ที่ของ ปฏบิ ตั ิการ ดอก ศึกษาโครงสรา้ งและหน้าที่ -ความหลากหลายของ ของสว่ นประกอบตา่ งๆ ดอก และชอ่ ดอก ของดอก ผล และเมล็ดพืช -Power Point -สณั ฐานวทิ ยาของผลและ -ตวั อยา่ งดอกสด เมลด็ -โครงสร้างและหน้าท่ีของ
ต ผลและเมลด็ -ความหลากหลายของ ผล ปฏิบัติการ ศึกษาสัณฐานวิทยาของ ดอกพชื และผลชนดิ ตา่ งๆ และการงอกของเมลด็ พืช 7 สอบเกบ็ คะแนนครั้งท่ี 1 บทท่ี 6 เรื่อง 3(2-2-5) ภาคบรรยาย อนุกรมวิธานพชื และซีสเท -บรรยายลกั ษณะสัณฐาน มาติกส์ วทิ ยาของพชื บทที่ 7 การระบพุ ืช - การจาแนก การระบุ และ บทท่ี 8 กฎเกณฑแ์ ละการ การตง้ั ชอ่ื พชื ต้ังชอื่ พชื - การใชแ้ ละการสรา้ งรูป ภาคบรรยาย วิธาน -ลกั ษณะสัณฐานวิทยา ปฏิบัติการ ของพืช ศกึ ษาลักษณะสณั ฐาน -การจาแนก การระบุ วทิ ยาพชื การใชแ้ ละการ และการตั้งชือ่ พชื สร้างรูปวิธานในการระบุ -การใชแ้ ละการสรา้ งรูป พืช วธิ าน -Power Point ปฏบิ ตั กิ าร -ตวั อยา่ งพชื สด ศึกษาลักษณะสณั ฐาน - เอกสารท่ใี ชใ้ นการระบุ วทิ ยาพืช การใช้และการ พืช สร้างรปู วธิ านในการระบุ พืช 9 บทที่ 9 วิวฒั นาการและ 3(2-2-5) ภาคบรรยาย ความหลากหลายของพชื - บรรยายวิวัฒนาการของ ภาคบรรยาย พืช - วิวัฒนาการของพืช -ชวี โมเลกลุ กับการศึกษา - ลกั ษณะทาง การวิวัฒนาการพืช พฤกษศาสตร์ของพืชมี ปฏิบัตกิ าร กลมุ่ ไม่มีเน้อื เย่ือลาเลยี ง - ศกึ ษาสัณฐานวทิ ยาและ - การจัดจาแนกพชื กล่มุ การวภิ าคศาสตร์พืช ไมม่ ีเน้ือเย่ือลาเลียง ปฏบิ ัติการ ศกึ ษาวิวัฒนาการของพืช 10 บทท่ี 10 กลุ่มพชื มี 3(2-2-5) ภาคบรรยาย เน้อื เย่อื ลาเลียง - บรรยายลกั ษณะสัณฐาน
ถ ภาคบรรยาย วทิ ยาและกายวภิ าคศาสตร์ - ดิวิชนั ไรนิโอไฟตา กล่มุ พชื มเี น้ือเยื่อลาเลียง - ดิวชิ นั ยูฟลิ โลไฟตา - การจดั จาแนกเฟริ น์ และ ปฏบิ ัติการ กลมุ่ ใกล้เคียงตามการ - ศกึ ษาสณั ฐานวทิ ยาและ กาเนิดของสปอแรงเจยี ม การวิภาคศาสตรพ์ ืช - ดิวชิ ัน ไลโคไฟตา - ดิวิชนั เทอโรไฟตา 11 สอบเก็บคะแนนครัง้ ที่ 2 12 บทที่ 11 พชื เมลด็ เปลือย 3(2-2-5) ภาคบรรยาย ภาคบรรยาย - บรรยายลกั ษณะสัณฐาน - ดิวชิ ันไซแคโดไฟตา วทิ ยาและกายวภิ าคศาสตร์ - ดวิ ชิ นั กิงโก๊ะไฟตา พืชเมลด็ เปลือยและพืช - ดิวิชันคอนิเฟอโรไฟตา ดอก บทท่ี 12 พืชดอก ปฏิบตั ิการ - สว่ นประกอบของดอก - ศึกษาสัณฐานวทิ ยาและ - ระบบการจดั จาแนกพชื การวภิ าคศาสตร์พืช ดอก 13 บทท่ี 13 เรื่อง นิเวศวทิ ยา 3(2-2-5) ภาคบรรยาย ของพชื - บรรยายความหมายและ ภาคบรรยาย โครงสร้างของระบบนิเวศ -ความหมายและประเภท ประเภทตา่ งๆ ของระบบนเิ วศ ปฏิบตั ิการ -โครงสร้างของระบบ ศกึ ษานเิ วศวทิ ยาของพชื ใน นเิ วศ ภาคสนาม ปฏบิ ตั ิการ -Power Point ศกึ ษานเิ วศวิทยาของพชื -ศึกษาตวั อยา่ งภาคสนาม 14 ภาคสนาม บรรยายและระบุพชื ภาคสนาม 15 การนาเสนอผลการศึกษา 3(2-2-5) - แต่ละกลุ่มๆนาเสนอ พชื ท่ีไดร้ ับผดิ ขอบ การศึกษาพืชทไี่ ด้ รบั ผดิ ชอบ (30%) 16 สอบปลายภาค
ท ส่ือการเรียนการสอน 1. สื่อการสอนในรูปแบบของ Power Point 2. ตวั อย่างพชื 3. วีดีทศั น์ 4. โปรแกรมซอฟแวร์ในการวิเคราะหค์ วามสมั พนั ธข์ องพืช 5. เอกสารทใ่ี ช้ในการระบุพชื เกณฑ์การประเมนิ ผล ท่ี ผลการเรียนรู้ วิธกี ารประเมนิ สัปดาห์ท่ี สัดสว่ นของการ ประเมนิ ประเมนิ ผล 1 คุณธรรม จรยิ ธรรม - ซื่อสัตยส์ จุ รติ ทกุ สปั ดาห์ - 1% - 2% - ไมค่ ัดลอกผลงานผอู้ นื่ ไมท่ จุ ริต ในการสอบ - 2% - การเขา้ เรียนสมา่ เสมอ 2 ความรู้ - การสอบเกบ็ คะแนนครง้ั ที่ 1 7 - 20% - การสอบเก็บคะแนนครั้งท่ี 2 11 - 20% - การสอบปลายภาค 16 - 20% 3 ทกั ษะทางปัญญา - การตอบคาถามทา้ ยบทและการ ทกุ สัปดาห์ - 5% - 15% สง่ บทปฏิบตั กิ าร - 5% - การนาเสนอรายงานตามที่ได้รับ 15 5% มอบหมาย 5% - การออกฝกึ ปฏิบตั ิการจริงใน 14 ภาคสนามและสง่ รายงาน 4 ทักษะความสัมพนั ธ์ - หน้าทีใ่ นการทางานเปน็ กลุ่มได้ 15 ระหวา่ งบคุ คลและ อยา่ งเหมาะสมและมี ความรับผดิ ชอบ ประสิทธภิ าพ 5 ทกั ษะการวิเคราะห์ - ประเมนิ จากรายงานการศึกษา 15 เชงิ ตวั เลขและการ คน้ ควา้ โดยมีการสบื ค้นจาก สือ่ สาร แหลง่ ขอ้ มูลท่ีเหมาะสม และมี การอา้ งองิ ได้อยา่ งถูกต้อง รวมถงึ มีการเลือกใชเ้ ทคโนโลยี สารสนเทศท่เี หมาะสมในการ นาเสนอผลงาน
ธ เกณฑ์การให้คะแนน ระดับ A ระดบั คะแนน B+ 80 - 100 B 75 - 79 C+ 70 - 74 C 65 - 69 D+ 60 - 64 D 55 - 59 F 50 - 54 0 - 49
~1~ แผนบริหารการสอนประจาบทท่ี 1 เซลล์และเนือ้ เยื่อพชื (Plant cells and Plant tissues) หวั ขอ้ เนอื้ หาประจาบท 1.1 เนื้อเย่ือเจริญ (meristem tissue) 1.2 เน้อื เยอื่ ถาวร (permanent tissue) 1.3 ระบบเนอื้ เยือ่ (tissue system) 1.4 บทสรุป คาํ ถามท้ายบท วัตถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม หลังจากศึกษาบทเรยี นนีแ้ ล้ว ผู้เรียนควรมคี วามรคู้ วามสามารถ ดงั น้ี 1. บอกชนดิ ของเซลลพ์ ชื ประเภทต่างๆได้ 2. บอกชนิดเนือ้ เย่ือ และอธบิ ายหนา้ ทข่ี องเน้อื เยอื่ พชื แตล่ ะประเภทได้ 3. บอกลักษณะเซลลห์ รอื เน้ือเยื่อของพชื แต่ละกลุม่ ได้ วิธีสอนและกจิ กรรมการเรยี นการสอนประจาบท 1. นาํ เข้าสบู่ ทเรียนด้วยการบรรยายประกอบ Power point presentation 2. จัดกลุ่มค้นคว้าเน้ือหาท่ีได้รับมอบหมายจากเว็บไซต์หรือเอกสารที่เก่ียวข้องและอภิปรายผลเป็นราย กลมุ่ สื่อการเรยี นการสอน 1. เนอ้ื หา power point ประจาํ บทท่ี 1 2. ตัวอย่างหนังสือ ตาํ รา เอกสารประกอบการเรียน และงานวิจยั ทางชวี วทิ ยา การวัดและการประเมินผล การวัดผล 1. ความสนใจและการตอบคาํ ถามระหว่างเรียน 2. ตอบคําถามทา้ ยบทและส่งงานทไ่ี ดร้ บั มอบหมายตรงตามเวลาท่กี ําหนด การประเมินผล 1. ผ้เู รียนตอบคําถามผูส้ อนในระหวา่ งเรยี นถกู ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2. ตอบคาํ ถามท้ายบทและสง่ งานทีไ่ ด้รับมอบหมายตรงตามเวลาท่กี ําหนด และมคี วามถูกต้องไมน่ ้อย กว่าร้อยละ 80 พฤกษศาสตร์ Botany
~2~ พฤกษศาสตร์ Botany
~3~ บทท่ี 1 เซลล์และเนือ้ เยื่อพชื (Plant cells and Plant tissues) พืชช้ันสูงประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ มีเซลล์ทําหน้าที่ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) ซึ่งแต่ละชนิดมี รูปรา่ งและทําหนา้ ท่ีแตกต่างกัน พชื มีผนังเซลล์ (cell wall) ทําหน้าท่ีให้ความแข็งแรงและทําให้เซลล์คงรูปอยู่ ได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลลูโลส นอกจากนั้นยังประกอบด้วยสารพวกเพกทิน (pectin) ลิกนิน (lignin) ฮีมิ เซลลูโลส (hemicellulose) ซูเบอริน (suberin) ไคทิน (chitin) และคิวทิน (cutin) ผนังเซลล์ของเซลล์แต่ละ ชนิดมีความหนาบางแตกต่างกัน ดังน้ันการท่ีเซลล์มีขนาดรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันนี้นักพฤกษศาสตร์จึง สามารถจัดจาํ แนกเซลล์ของพืชได้ เซลล์เหล่าน้ีมหี นา้ ท่ีและรูปร่างเดียวกัน เรียกวา่ เนื้อเยื่อ (tissue) 1.1 เน้อื เยอ่ื เจริญ (meristem tissue) เป็นเนือ้ เย่ือท่มี ีการเจริญและแบ่งเซลลต์ ลอดเวลา แบง่ ประเภทของ เนื้อเยื่อเจรญิ ออกเปน็ 3 ประเภท ตามตําแหนง่ ของพืช ได้แก่ 1.1.1 เนอ้ื เยือ่ เจรญิ ส่วนปลาย (apical meristem) เน้ือเยือ่ ประเภทนพ้ี บอยู่บริเวณปลายยอด ปลาย ราก และตา เนื้อเย่อื ปลายยอด และเน้ือเย่ือปลายราก เมื่อแบง่ เซลลจ์ าํ นวนมากทําใหส้ ว่ นปลายรากและลาํ ต้น ยืดยาว 1.1.2 เนอื้ เยอื่ เจริญด้านขา้ ง (lateral meristem หรือ axillary meristem) เปน็ เนอ้ื เยอ่ื เจรญิ ท่ี แบ่งตัวออกไปด้านขา้ งของลาํ ตน้ เป็นเซลล์รูปรา่ งสีเ่ หล่ยี มผืนผ้า ทําใหล้ ําต้นและรากขยายใหญ่ออกไปด้านข้าง ผนังเซลลบ์ างเรียงตวั มักเปน็ ระเบยี บ เน้ือเย่ือเจริญ มี 2 ชนดิ ได้แก่ 1) วาสควิ ลาร์ แคมเบยี ม (vascular cambium) เป็นเน้อื เยื่อเจริญทที่ ําหน้าทสี่ ร้างไซเล็ม (secondary xylem) และ โฟลเอม็ (secondary phloem) สว่ นใหญ่พบในพืชใบเลีย้ งคู่ และบางชนดิ ในพืชใบ เล้ียงเดี่ยว 2) คอร์ก แคมเบยี ม (cork cambium) เป็นเนือ้ เย่ือท่ที าํ หน้าทีส่ ร้างคอรก์ แทนเซลล์ เอพเิ ดอร์มิส (epidermis) 1.1.3 เนอ้ื เย่ือเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) เป็นเนอื้ เยื่อเจริญอยูบ่ ริเวณเหนือข้อของพืช ใบเล้ียงเดย่ี ว ทาํ ให้ปลอ้ งยดื ยาวขึน้ หรือตามก้านชอ่ ดอกของพืชใบเลยี้ งเดยี่ ว เช่น ดอกพลับพลึง ว่านส่ีทิศ เป็น ตน้ ซ่งึ มฮี อร์โมนจิบเบอเรลลนิ (gibberellin) ชว่ ยทําให้เกิดการเจริญเน้ือเยื่อเจริญแบ่งตามระยะการเจริญของ พชื ได้แก่ 1.1.4 โพรเมอริสเทม็ (promeristem) เปน็ เนื้อเยื่อเรมิ่ แรกท่เี กดิ ข้นึ ใหม่จากการแบ่งเซลล์ เซลล์มี ขนาดเท่าๆกนั และมีนวิ เคลยี ส ในพืชที่เจริญเน้ือเยือ่ เจริญชนิดนม้ี กั พบท่ีบรเิ วณปลายรากและปลายยอดหรือ บรเิ วณตายอด 1.1.5 เน้ือเย่ือเจริญขั้นแรก (primary meristem) เป็นเน้ือเย่ือที่เจริญมากจากโพรเมอริสเท็ม พบได้ บรเิ วณท่ตี ิดกับโพรเมอรสิ เท็ม เซลล์มีการยืดตัวและเริ่มมีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์เพ่ือทําหน้าท่ีเฉพาะอย่าง (differentiation) ได้แก่ โปรโทเดิม (protoderm) ต่อมาจะพัฒนาไปเป็นเน้ือเยื่อชั้นผิว (epidermis) โปรแคม พฤกษศาสตร์ Botany
~4~ เบียม (procambium) ต่อมาจะพฒั นาไปเป็นไซเล็มและโฟลเอ็ม ส่วนเน้ือเยื่อพ้ืน (ground meristem) ต่อมา จะพฒั นาไปเปน็ เน้ือเย่ือในชน้ั คอร์เทกซ์ (cortex) และไส้ไม้ (pith) 1.1.6 เน้ือเยื่อเจริญขัน้ สอง (secondary meristem) เปน็ เนือ้ เย่อื ท่มี ีการเจริญขัน้ ทส่ี อง (secondary growth) มักพบในพืชใบเลี้ยงคู่ ได้แก่ วาสควิ ลาร์ แคมเบยี ม (vascular cambium) และ คอร์ก แคมเบยี ม (cork cambium) 1.2 เน้ือเย่ือถาวร (permanent tissue) เปน็ เน้ือเย่ือพชื ซง่ึ ประกอบด้วยเซลลท์ ี่หยุดการแบ่งตัว และมีรูปร่าง คงทีไ่ มเ่ ปล่ยี นแปลง จําแนกตามลักษณะของเซลล์ทม่ี าประกอบกันจาํ แนกไดเ้ ปน็ 2 ชนดิ ไดแ้ ก่ 1.2.1 เนื้อเย่ือถาวรเชิงเด่ียว (simple permanent tissues) เป็นเน้ือเยื่อถาวรท่ีประกอบด้วยเซลล์ ชนิดเดียวกัน และทําหน้าท่ีอย่างเดียวกัน จําแนกออกเป็นหลายชนิด ได้แก่ เอพิเดมิส (epidermis) พาเรงคิมา (parenchyma) คอลเลงคิมา (collenchyma) สเคลอเรงคิมา (sclerenchyma) คอร์ก (cork) และ เนอ้ื เยอ่ื คัดหล่งั (secretory tissue) 1.2.2 เน้ือเย่ือถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissues) เป็นเน้ือเยื่อถาวรท่ีประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกัน เพ่ือทํางานร่วมกัน ประกอบข้ึนด้วย 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ เนื้อเย่ือเก่ียวกับ การลําเลยี ง (vascular tissue) ไดแ้ ก่ 1) ไซเล็ม ประกอบด้วยเน้อื เยื่อ tracheary element ได้แก่ vessel member และเทร คตี ไฟเบอร์ และพาเรงคมิ า 2) โฟลเอ็ม (phloem) ประกอบด้วยเนือ้ เยอ่ื sieve element ไดแ้ ก่ ซีฟทิวบ์ เมมเบอร์ (sieve tube member) และคอมพาเนยี นเซลล์ (companion cell) สเคลอเรงคมิ า และพาเรงคมิ า 1.3 ระบบเนอ้ื เย่ือ (tissue system) เพ่ือง่ายต่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์พืช นิยมแบ่งเนื้อเยื่อถาวรออกเป็น 3 ระบบ (เทียมใจ, 2542; พวงผกา, 2548) คอื 1.3.1 เน้ือเยื่อผิว (dermal tissue) เป็นเน้ือเย่ือชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เอพิเดอร์มิส (epider- mal cell) มีแวคิวโอลเห็นเด่นชัด ผนังเซลล์ด้านนอกมีสารเคลือบคิวติน (cutin) สารคิวตินจะติดสีแดง เม่ือ ย้อมด้วยสารซาฟาร์นิน โอ (safranin O) ช้ันของคิวติน เรียกว่า คิวติเคิล (cuticle) รูปร่างมักเป็น สีเ่ หลีย่ มผืนผ้า เม่อื ดจู ากภาพตัดตามขวาง พืชพวกวงศห์ ญ้า (Poaceae) และกก (Cyperaceae) เม่ือลอกผิวใบ ขอบเซลลจ์ ะหยัก รูปรา่ งเซลล์เป็นสี่เหล่ียมผืนผ้าประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว (long cell) และเซลล์สี่เหล่ียม เล็กกว่า เรียกว่า ซิลิกา เซลล์ (silica cell) ซึ่งมีสารซิลิกาจํานวนมาก และคอร์กเซลล์ (cork cell) มีสาร ซูเบอรินปะปน นอกจากน้ีหากตัดตามขวางพืชใบเล้ียงเดี่ยวบางเซลล์มีเซลล์ขนาดใหญ่กว่าเซลล์อ่ืนค่อนข้าง บวม ภายในมีน้ําสะสมอยู่มาก เรียกว่า เซลล์ยนต์ (moter cell) หรือ บูลิฟอร์มเซลล์ (buliform cell) เพ่ือ ช่วยในการม้วนงอของใบเม่ือมีการสูญเสียนํ้า เน้ือเย่ือเอพิเดอร์มิสมักมีชั้นเดียว ยกเว้นพืชกลุ่มบางกลุ่ม เช่น พืชป่าชายเลน มักมีหลายช้ัน (multiple epidermis) เอพิเดอร์มิสบางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปทําหน้าท่ี พิเศษ เช่น ขนราก (root hair) เซลล์ขน (trichome) ปากใบ (stoma) ประกอบด้วยเซลล์คุม (guard cell) เซลลค์ มุ มรี ปู ร่างและขนาดแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่นๆ เรียกว่า subsidiary cell หรือ accessory cell ล้อมรอบเซลล์คุมที่ประกบกันเป็นปากใบ ทําให้มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป สามารถจัดจําแนกชนิดของปากใบ พฤกษศาสตร์ Botany
~5~ ตามการจัดเรียงตัวของ subsidiary cell ได้แก่ anomocytic ปากใบแบบน้ีไม่มี subsidiary cell ปากใบแบบ anisocytic มี subsidiary cell 3 เซลล์ ขนาดต่างกัน ปากใบแบบ paracytic มี subsidiary cell 2 เซลล์ ขนานกับเซลล์คุม ปากใบแบบ diacytic มี subsidiary cell 2 เซลล์ ตั้งฉากกับเซลล์คุม ปากใบแบบ actino- cytic มี subsidiary cell หลายเซลล์ลอ้ มรอบเซลล์คุม เรยี งเปน็ แฉกแนวรัศมี ปากใบแบบ tetracytic มี sub- sidiary cell 4 เซลล์ เซลล์ขนาดเล็ก 2 เซลล์ อยู่ด้านหัวท้ายของเซลล์คุม อีก 2 subsidiary cell มีขนาดใหญ่ ประกอบแนวขนานกบั เซลล์คมุ ปากใบแบบ cyclocytic มี subsidiary cell มากกว่า 4 เซลล์เรียงตัวล้อมลอบ เซลล์คุมเอพิเดอร์มิสมักไม่มีคลอโรพลาสต์ ยกเว้นในเอพิเดอร์มิสท่ีเปล่ียนแปลงไปเป็นเซลล์คุมจะพบ คลอโรพลาสต์กระจายอยู่ทั่วเซลล์ เมื่อโตเต็มท่ีเซลล์ยังมีชีวิต แต่เซลล์จะแตกสลายเมื่อพืชบางชนิดมีการ เจริญเตบิ โตขนั้ ท่ี 2 (ภาพที่ 1.1) tr st AB ภาพที่ 1.1 ภาพการขูดผิวใบของใบกะเพรา A. ไทรโคม tr = ไทรโคม (trichome) B. ภาพปากใบจากการขูดผิวใบของเสนียด st= ปากใบ (stoma) (ที่มา: ผเู้ ขยี น) บริเวณท่ีพบ: พบทุกส่วนของลําต้น ก่ิง ราก ของพืชท่ีมีการเจริญเติบโตในขั้นต้น (primary growth) นอกจากนี้ยงั พบที่ชั้นนอกของกลบี เลีย้ ง กลีบดอก ใบ และผลอ่อน หน้าที่: ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ภายใน และเสริมความแข็งแรง ช่วยป้องกันการระเหยและการ คายนํ้า ช่วยดูดซึมนํ้าและแร่ธาตุ นอกจากนี้ยังช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้ํา คาร์บอนไดออกไซด์ และ ออกซิเจน โดยทางปากใบ (stoma) ขับของเสีย เซลล์เอพิเดอร์มิสมีหลายหน้าที่หลายอย่าง ทําให้มีการ เปล่ียนแปลงรปู รา่ งและโครงสรา้ งแตกตา่ งกนั มากกว่าเซลลป์ ระเภทอ่นื ๆ 1.3.2 เน้ือเย่ือพนื้ (ground tissue) ประกอบดว้ ย 1) เนอ้ื เย่ือพาเรงคมิ า (parenchyma) เป็นเน้อื เยอื่ ทพ่ี บไดเ้ กอื บทกุ สว่ นของพชื พฤกษศาสตร์ Botany
~6~ ประกอบด้วยเซลล์ท่ีมีรูปร่างหลายแบบ ได้แก่ ค่อนข้างกลม รี หรือรูปทรงกระบอก เซลล์มีผนังบาง มักมี ช่องว่างระหว่างเซลล์ (intercellular space) ภายในเซลล์มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ บางเซลล์มีคลอโรพลาสต์อยู่ ภายในเซลล์ เรียกเซลล์พาเรงคิมาแบบนี้ว่า คลอเรงคิมา (chlorenchyma) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (cellulose) เปน็ สว่ นใหญ่อาจมเี ฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) และ เพกตนิ (pectin) (ภาพท่ี 1.2) par col l l ภาพที่ 1.2 ภาคตัดตามขวางของลําต้นบาหยา col = คอลเลงคมิ า (collenchyma) par = พาเรงคมิ า (parenchyma) (ท่ีมา: ผเู้ ขียน) บรเิ วณท่ีพบ: พบทุกส่วนของลาํ ต้น กิง่ ราก ของพืช หนา้ ที่ ช่วยสงั เคราะหแ์ สง สะสมอาหารพวกแป้ง โปรตีน และไขมัน สร้างนา้ํ มนั ที่มีกลิ่นหอมหรืออน่ื ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนนั้ ๆ บางส่วนช่วยทําหนา้ ท่หี ายใจ เน้อื เยอื่ พาเรงคิมามหี นา้ ทเ่ี กบ็ สะสมเมด็ แป้ง หยดนํ้ามนั นาํ้ เกลือแร่ และ หล่งั สารพวกแทนนนิ ฮอรโ์ มน เอนไซม์ และนํา้ หวานของดอกไม้ 2) เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา (collenchyma) เนื้อเย่ือท่ีมีเซลล์คอลเลงคิมามีรูปร่างคล้ายคลึงกับ พาเรงคิมา แต่ผนังเซลล์จะมีความหนาไม่เท่ากัน โดยส่วนท่ีหนามักจะอยู่ตามมุมเซลล์ ซ่ึงมีผนังเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และเพกติน มักพบเน้ือเยื่อชนิดน้ีอยู่ในส่วน คอร์เทกซ์ (cortex) (ภาพที่ 1.3) พฤกษศาสตร์ Botany
~7~ ch col ภาพท่ี 1.3 ภาคตดั ตามขวางลําต้นของบาหยา ch= คลอเรงคมิ า (chlorenchyma) col = คอลเลงคิมา collenchyma (ท่มี า: ผเู้ ขียน) บริเวณท่พี บ: พบทลี่ าํ ต้น ก่ิง โดยเฉพาะบริเวณทเ่ี ป็นเหลี่ยม หนา้ ที่ สรา้ งความแข็งแรงให้กับพืช และทรงตวั อยู่ได้ 3) เนื้อเย่ือสเคลอเรงคิมา (sclerenchyma) เน้ือเย่ือชนิดน้ีเป็นเน้ือเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว โดยทั่วไปเจริญมาจากเน้ือเยื่อพ้ืน (ground meristem) ถ้าพบอยู่ในกลุ่มท่อลําเลียงจะเจริญมาจาก โปรแคมเบียม (procambium) เน้ือเย่ือนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังเซลล์หนามาก เน่ืองจากมีผนังเซลล์ข้ันที่ สอง (secondary wall) พอกทบั ชัน้ แรกอีกชัน้ มีสารพวกเซลลูโลสและลิกนินพอกไว้ เม่ือเจริญเต็มที่เป็นเซลล์ ไมม่ ีชวี ติ และนวิ เคลียสสลายไป มีหน้าท่ีหลักช่วยให้เกิดความแข็งแรง เน้ือเยื่อสเคลอเรงคิมา สามารถแบ่งตาม ลักษณะรูปรา่ ง ออกเป็น 2 ชนดิ คอื ไฟเบอร์ (fiber) มรี ปู รา่ งยาว ปลายเสี้ยมแหลม ไม่แตกแขนง ผนงั เซลลห์ นามาก ส่วนมากเปน็ เซลลท์ ีต่ ายแล้ว (ภาพท่ี 1.4) หนา้ ที่ ช่วยพยงุ ลาํ ต้นให้ตง้ั ตรงและแข็งแรง และให้ประโยชนต์ ่อเศรษฐกจิ เชน่ ปอ เชือก เสื้อผ้า 2) สโตนเซลล์ (stone cell) เชน่ เสยี้ นในเน้อื ของลูกสาล่ี เน้ือน้อยหน่า ฝรงั่ หรือ ผลไม้ชนดิ อน่ื ท่ีมีเน้อื สาก หน้าที่ ชว่ ยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพชื พฤกษศาสตร์ Botany
~8~ F F F ภาพท่ี 1.4 ภาคตัดตามขวางของลําตน้ หญ้า F= ไฟเบอร์ (fiber) (ท่ีมา: ผเู้ ขยี น) 1.4 เนอ้ื เยอ่ื ลาํ เลียง (vascular tissue) เป็นเน้อื เยื่อทที่ ําหน้าทข่ี นส่งน้ํา เกลือแร่ ไปยังสว่ นตา่ งๆ ของ พชื ประกอบดว้ ยเน้ือเย่ือ 2 ชนดิ คือ ไซเล็ม (xylem) และโฟลเอ็ม (phloem) (ภาพที่ 1.5) ph xy ภาพท่ี 1.5 ภาคตดั ตามขวางเนื้อเย่ือลําเลียงของลาํ ต้นหมอนอ้ ย ph= โฟลเอ็ม (phloem) xy=ไซเลม็ (xylem) (ทมี่ า: ผเู้ ขียน) พฤกษศาสตร์ Botany
~9~ บริเวณทีพ่ บ: ทุกส่วนของพชื หนา้ ท:่ี ทําหนา้ ทล่ี าํ เลยี งนาํ้ และแรธ่ าตุ และอาหาร 1.4.1 ไซเลม็ (xylem) ทําหน้าลําเลียงนํ้าและเกลือแร่จากรากไปยังสว่ นต่างๆของพชื ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ 4 ประเภท คอื 1) เทรคีด (tracheid) เปน็ กลมุ่ เซลล์ท่มี ลี กั ษณะยาว ปลายแหลมทง้ั สองด้าน ไม่มแี ผน่ รอยปรุ (perforation plate) ผนังเซลล์หนา ซ่ึงเกิดจากการพอกของสารลิกนินไม่สมํ่าเสมอ เมื่อเซลล์โตเต็มที่ ไซโทพลาสซึมและนิวเคลียสจะสลายไปทําให้ภายในเซลลก์ ลวง ผนงั เซลลพ์ บช่องว่าง (pit) กระจายอยู่ ช่องว่าง น้ที าํ ใหเ้ ซลลส์ ามารถลําเลยี งนํ้าทางดา้ นข้างไปยงั เซลล์ข้างเคียงได้ นอกจากน้ยี งั มีหนา้ ทีช่ ว่ ยค้ําจนุ ต้น 2) เวสเซล (vessel) เปน็ กลุม่ เซลล์ทีม่ ลี กั ษณะส้ันและกว้างกวา่ เทรคดี ปลายเซลลม์ รี ู ปรุ (perforation plate) กัน้ เซลลเ์ รยี งต่อเน่อื งกัน สามารถลาํ เลียงนํ้าได้สะดวกกวา่ เทรคีด ผนงั เซลล์ขรุขระ เนื่องจากการพอกของสารลิกนนิ และเซลลโู ลสเช่นเดยี วกบั เทรคดี ทาํ ใหผ้ นังเซลล์ไม่เสมา่ํ เสมอ เกดิ เปน็ ลวดลายของผนงั เซลล์ (secondary wall) หลายแบบ เช่น แบบวงแหวน (annular) แบบขดลวดสปรงิ (spiral หรือ helical) แบบตาข่าย (reticulate) แบบขั้นบันได (scalariform) และแบบเปน็ รู (pitted) (ภาพที่ 1.6) ภาพที่ 1.6 ภาคตัดตามยาวเวสเซลแบบต่างๆของลาํ ต้นบาหยา (ทม่ี า: ผู้เขียน) 3) ไซเล็มพาเรงคิมา (xylem parenchyma) เปน็ กลุ่มเซลลท์ ี่สนับสนุนการเคลื่อนที่ ของสาร ไปทางด้านขา้ งของไซเลม็ พบกระจายอย่รู ะหวา่ งเทรคีดและเวสเซลและตามแนวรัศมี 4) ไซเล็มไฟเบอร์ (xylem fiber) เปน็ กลมุ่ เซลลท์ ่ีชว่ ยเพ่ิมความแขง็ แรงให้กับไซเล็ และทําหนา้ ที่สะสมอาหาร เชน่ แป้ง (ภาพที่ 1.7) พฤกษศาสตร์ Botany
~ 10 ~ ph V xy xyf ภาพที่ 1.7 ภาคตดั ตามขวางเน้อื เยอ่ื ลาํ เลียงบาหยา ph= โฟลเอม็ (phloem) xy=ไซเล็ม (xylem) xy = ไซเล็มไฟเบอร์ (xylem fiber) (ทีม่ า: ผ้เู ขยี น) 1.4.2 โฟลเอม็ เป็นทอ่ ลาํ เลยี งอาหาร ซ่ึงประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ประเภท คอื 1) ซฟี ทวิ บ์ เมมเบอร์ (sieve tube member) ประกอบดว้ ยเซลล์ทมี่ ลี กั ษณะยาว นิวเคลียสสลายไปเม่ือเซลล์เจริญเติบโตเต็มท่ี แต่ยังคงมี ไซโทพลาสซึมอยู่และทําหน้าที่ลําเลียงสารได้ นอกจากนี้คอมพาเนียนเซลล์ยังทําหน้าท่ีให้อาหารแก่ซีฟทิวบ์ โดยส่งผ่านทางพลาสโมเดสมาตาอีกด้วย ปลาย เซลล์ซีฟทิวบ์มีลักษณะคล้ายตะแกรง เรียกว่า ซีฟเพลท (sieve plate)์ ส่วนบริเวณผนังเซลล์ มีรูของพิท (pit) เรียกว่า ซีฟแอเรีย (sieve area) ในพืชเมล็ดเปลือยพบ ซีพเซลล์ ไม่มีซีพเพลทและคอมพาเนียนเซลล์ แต่มี albuminous cell ทําหน้าทีแ่ ทน ซงึ่ เปน็ พาเรงคิมาเซลล์ 2) คอมพาเนยี นเซลล์ (companion cell) เปน็ เซลล์พาเรงไคมาชนดิ หนึ่งที่อยตู่ ิดกับ ซีฟทิวบ์ เป็นเซลล์ที่มีชีวิตตลอด คอมพาเนียนเซลล์ติดต่อกับซีฟทิวบ์ตรงบริเวณช่องที่ผนังเซลล์ทําหน้าท่ีช่วย การลาํ เลยี งเช่นกนั กบั ซฟี ทวิ บ์เมมเบอร์ และมีจดุ กาํ เนดิ จากเซลล์แมเ่ ดียวกนั (mother cell) 3) โฟลเอ็มพาเรงคมิ า (phloem parenchyma) ทําหนา้ ท่สี ะสมสารอนิ ทรยี ์ เช่นแป้ง รวมทงั้ แทนนิน และเรซิน เซลลพ์ าเรงไคมาพบกระจายในโฟลเอม็ ทั้งในแนวต้งั และแนวนอนของรากและลาํ ตน้ 4) โฟลเอม็ ไฟเบอร์ (phloem fiber) มลี กั ษณะยาวมาก ทาํ หน้าทเ่ี พ่มิ ความแขง็ แรง ใหก้ ับโฟลเอ็ม (ภาพที่ 1.8) พฤกษศาสตร์ Botany
~ 11 ~ phf ph vc xy ภาพท่ี 1.8 ภาคตดั ตามขวางเนอ้ื เยอ่ื ลําเลยี ง ph= โฟลเอ็ม (phloem) phf = โฟลอิกไฟเบอร์ (phloic fiber) xy= ไซเลม็ (xylem) vc= วาสควิ ลาแคมเบียม (vascular cambium) (ที่มา: ผเู้ ขียน) 1.4 บทสรปุ ระบบเน้ือเยื่อพืชประกอบด้วยสามระบบใหญ่ ได้แก่ ระบบเนื่อเย่ือผิว ระบบเน้ือเยื่อพื้น และระบบ เน้อื เยอื่ ลําเลียง ซ่ึงแต่ละระบบประกอบด้วยเซลล์ที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดจํานวนมาก หากจําแนกเนื้อเยื่อพืชตาม การเจริญ สามารถแบ่งออกเป็น เนอ้ื เยอื่ เจริญ เป็นเน้ือเยื่อที่มีการแบ่งเซลล์ตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ท่ี ยังมีชีวิตอยู่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ มีโพรโทพลาสซึม ผนังเซลล์บาง มีความยืดหยุ่นสูง มีแวคิว โอลขนาดเล็กหรือไม่มีเลย เซลล์เรียงชิดติดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่เน่ือเยื่อไม่มีการแบ่งเซลล์แล้ว เรยี กเน้ือเยอื่ ชนดิ น้ันวา่ เน้ือเยื่อถาวร เซลล์แต่ละชนดิ มีรูปรา่ งและหน้าที่แตกต่างกัน พืชชั้นสูงจะประกอบด้วย เซลลท์ มี่ ีววิ ัฒนาการสงู เชน่ กันเพือ่ ช่วยการลําเลียงและเพิ่มความแขง็ แรงอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ คาถามทา้ ยบทท่ี 1 1. เน้ือเยื่อพืชแตล่ ะกลุ่มมคี วามเหมือนหรือแตกต่างกนั หรอื ไม่ 2. เนอ้ื เยือ่ พืชช้ันต่ํากว่าพชื ดอกมีความแตกตา่ งกันอย่างไร พฤกษศาสตร์ Botany
~ 12 ~ เอกสารอา้ งอิง เทียมใจ คมกฤส. (2542). กายวิภาคศาสตรข์ องพฤกษ์. พิมพค์ ร้ังท่ี 4. กรงุ เทพฯ: สํานักพิมพ์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์. พวงผกา สนุ ทรชัยนาคแสง. (2548). กายวภิ าคและสัณฐานวทิ ยาของพืชมดี อก. กรงุ เทพฯ: ภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวทิ ยาศาสตร์. พฤกษศาสตร์ Botany
~ 13 ~ แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 2 ลกั ษณะวสิ ยั รากและลาต้นพืช (Habits, Root and Stem) หวั ขอ้ เนื้อหาประจาบท 2.1 ลกั ษณะวิสยั พืช (plant habit) 2.2 พืชมเี น้ือไม้ (woody plants) 2.3 ถ่นิ อาศยั พชื (plant habitat) 2.4 ราก (root) 2.5 ลาํ ต้น (stem) 2.6 ลําตน้ ใตด้ นิ (underground stem) 2.7 บทสรปุ คําถามทา้ ยบท วัตถปุ ระสงค์เชงิ พฤตกิ รรม หลังจากศกึ ษาบทเรียนนีแ้ ลว้ ผู้เรียนควรมคี วามรคู้ วามสามารถ ดงั นี้ 1. บอกลักษณะวสิ ัยของพืชได้ 2. อธบิ ายลักษณะถนิ่ อาศยั ของพชื ได้ 3. อธิบายความหมายของรากและลาํ ตน้ ได้ 4. อธบิ ายประเภทของระบบรากและลําตน้ พืชได้ วิธีสอนและกจิ กรรมการเรยี นการสอนประจาบท 1. นําเขา้ สู่บทเรยี นด้วยการบรรยายประกอบ Power point presentation 2. จัดกลุ่มค้นคว้าเนื้อหาท่ีได้รับมอบหมายจากเว็บไซต์หรือเอกสารท่ีเก่ียวข้องและอภิปรายผลเป็นราย กลุม่ สือ่ การเรียนการสอน 1. เนื้อหา power point ประจําบทที่ 2 2. ตวั อยา่ งหนงั สือ ตํารา เอกสารประกอบการเรยี น และงานวจิ ยั ทางชวี วิทยา การวัดและการประเมนิ ผล การวัดผล 1. ความสนใจและการตอบคําถามระหวา่ งเรยี น 2. ตอบคาํ ถามท้ายบทและสง่ งานทไ่ี ด้รับมอบหมายตรงตามเวลาที่กําหนด การประเมินผล 1. ผ้เู รยี นตอบคาํ ถามผสู้ อนในระหว่างเรยี นถูกตอ้ งไมน่ ้อยกว่ารอ้ ยละ 80 2. ตอบคาํ ถามท้ายบทและสง่ งานทีไ่ ดร้ บั มอบหมายตรงตามเวลาทีก่ าํ หนด และมคี วามถูกตอ้ งไม่น้อย กวา่ รอ้ ยละ 80 พฤกษศาสตร์ Botany
~ 14 ~ พฤกษศาสตร์ Botany
~ 15 ~ บทที่ 2 ลกั ษณะวสิ ัย รากและลาตน้ พืช (Habits, Root and Stem) พืชกลุ่มไบรโอไฟต์ (bryophytes) ไม่มีราก ลําต้นท่ีแท้จริง ลักษณะพืชเหล่าน้ีสามารถนํามาช่วยจัด จําแนกพืชในทางอนุกรมวิธานในหน่วยอนุกรมวิธานแยกจากกลุ่มพืชมีท่อลําเลียง ลักษณะวิสัยใช้สําหรับ จําแนกความแตกตา่ งระหวา่ งสกุลหรือชนิดได้ พืชบางกลุ่มมีลักษณะวิสัยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท่ีสามารถแยก ออกจากกันได้ รากพืชเป็นอวัยะท่ีเจริญมาจากลําต้น ทําหน้าท่ีดูดน้ําและอารหารจากดิน และยังช่วยยึดค้ําจุน ลําต้นพืชไม่ให้โค่นล้ม รากเจริญมากจากเรดิเคิลของเอ็มบริโอ ส่วนลําต้นเป็นโครงสร้างที่เจริญถัดข้ึนจากราก ลาํ ต้นทําหน้าทีช่ ูกง่ิ ใบ และทาํ หนา้ ที่ลําเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และนา้ํ ไปยงั ส่วนตา่ งๆของพืช 2.1 ลักษณะวิสัยพืช (plant habit) ลักษณะวสิ ยั พืช หมายถงึ รปู แบบท่ัวไปของพืชทีม่ สี ว่ นประกอบของต้นและกงิ่ โดยทว่ั ไปลักษณะวสิ ยั พืชแบ่งออกเป็น ไม้ลม้ ลุก ไมเ้ ลอ้ื ย ไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ ไม้พมุ่ และไม้ตน้ การจัดจาํ แนกมเี กณฑด์ ังน้ี 2.1.1 ไม้ลม้ ลุก (herbaceous plant) เปน็ พืชทีม่ ขี นาดเล็ก ไมม่ เี นือ้ ไม้ เมอ่ื เจรญิ เติบโตเต็มที่ มกี ารสรา้ งดอก หรือโครงสรา้ งสืบพันธค์ุ รัง้ เดยี วแลว้ ตายไป พืชล้มลุกยงั สามารถจาํ แนกย่อยลงไป ดังนี้ 2.1.2 ไม้ล้มลุกปีเดียว (annulus) เป็นพืชที่เจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มงออกจากเมล็ด จนกระทั่งเจริญ เต็มที่มีดอกและผลหรือมีโครงสร้างสืบพันธุ์ ใช้ระยะเวลาฤดูกาลเดียวหรือไม่เกินหนึ่งปีแล้วก็ตาย เช่น บัวตอง บานชนื่ หญ้าบางชนิด ข้าว หญ้ารากหอม เป็นตน้ (ภาพท่ี 2.1) A B ภาพที่ 2.1 พืชลม้ ลกุ ปีเดียว: A. ดาวราย B.หญา้ รากหอม (ท่ีมา: ผเู้ ขียน) Botany พฤกษศาสตร์
~ 16 ~ 2.1.3 ไมล้ ้มลุกสองปี (biennial) เป็นพชื ทีใ่ ช้เวลาในการเจรญิ เติบโตตั้งแตง่ อกจากเมล็ดจนถึงระยะท่ี ออกดอกผลหรอื มีโครงสร้างสืบพนั ธใุ์ ชร้ ะยะเวลาประมาณ 2 ปี โดยในปีแรกเร่ิมงอกจากเมล็ด มีการเจริญแตก ก่งิ ก้านและใบ เมอื่ ย่างเขา้ ปีท่ีสองพชื จะออกดอกและผล หลังจากนนั้ จะตายไป เชน่ หัวแครอท กะหล่ําปลี เป็น ตน้ 2.1.4 ไม้ลม้ ลกุ หลายปี (perennial) เปน็ พชื ท่มี ีอายุยนื นานหลายปลี ําตน้ ของพืชพวกนีส้ ่วน ทอี่ ยเู่ หนอื ดนิ อาจจะเหย่ี วแห้งไป แต่เมื่อถึงฤดูท่ีออกดอกก็จะแตกหน่อใหม่ข้ึนมาจากลําต้นใต้ดิน ได้แก่ ไรโซม (rhizome) ทูเบอะ (tuber) บัลบ์ (bulb) และคอรม์ (corm) เมื่อฤดูฝนมาทาํ ให้มกี ารเจรญิ อีกคร้ังได้ และออก ดอก ออกผลเพยี งคร้ังเดยี วตน้ ก็จะตายไป เชน่ ขิง ข่า ป่าน มันฝร่งั (ภาพท่ี 2.2) ภาพท่ี 2.2 ไมล้ ้มลุกหลายปี: ขิงแมงดา (Zingiber pyroglossum) (ทมี่ า: ผเู้ ขียน) 2.2 พืชมีเน้ือไม้ (woody plants) เป็นพืชมีลําต้นแข็ง มีเน้ือไม้เพราะมีเนื้อเย่ือสเคลอเรงคิมาและไซเล็ม ทุติยภูมิ ส่วนมากเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ พบบ้างท่ีเป็นพืชใบเล้ียงเดี่ยว เช่น พืชพวกปาล์ม (palm) พืชมีเนื้อไม้ยัง แบง่ ยอ่ ยลงไป ดงั นี้ 2.2.1 ไม้เล้อื ย (climber) เป็นพืชทไ่ี มส่ ามารถทรงตัวตัง้ ตรงอยไู่ ด้ ตอ้ งอาศัยหลกั ยึดเกาะเกี่ยวพนั โดยใช้ลําต้นเกาะหรือพันกับต้นไม้อ่ืน ส่วนใหญ่ไม้เลื้อยมักมีอวัยวะพิเศษช่วยยึดเกาะ เช่น มือเกาะ (tendril) หรือรากเกาะ (climbing root) หรือ ลําต้นพันรอบหลัก (twiner) มีหนามงอเหมือนขอ (hook) อย่างไรก็ตาม ไมเ้ ลอื้ ยเป็นพืชลม้ ลุกได้ (herbaceous climber) ไม้เลอื้ ยบางชนดิ ลาํ ต้นมเี น้อื ไม้ (woody climber) เชน่ สะบา้ ลงิ เถาพนั ซ้าย กะไดลงิ เป็นต้น (ภาพท่ี 2.3) พฤกษศาสตร์ Botany
~ 17 ~ ภาพที่ 2.3 ไม้เลื้อยมีเนอื้ ไม้ (woody climber) สะบ้าลงิ (ท่ีมา: ผเู้ ขยี น) 2.2.2 ไมพ้ ุ่ม (shrub) เปน็ พืชที่มลี ําต้นขนาดกลาง ลําต้นแตกกง่ิ กา้ นสาขาใกล้ระดบั ดนิ ทําให้ลําต้น เป็นพมุ่ มักไมเ่ ห็นสว่ นที่เปน็ ลําต้นชดั เจน เชน่ สมดั สอ่ งฟ้า ช้างโนม้ เป็นตน้ 2.2.3 ไมต้ ้น (tree) เป็นพืชขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มเี นอื้ ไม้ (wood) ลําตน้ แขง็ มีส่วนลาํ ต้นตง้ั ตรง ชดั เจน ไมต้ ้นมีความสงู และเส้นผา่ ศนู ยก์ ลางแตกตา่ งกัน หากตน้ ไม้ไม่สูงนัก เรยี กวา่ ไมต้ ้นขนาดเลก็ ได้ (treelet) ตวั อยา่ งไม้ตน้ ได้แก่ เต็ง รงั เหียง พลวง เปน็ ตน้ 2.2.4 ไมร้ อเลื้อย (scandent) เป็นพชื ทส่ี ามารถเล้ือยหรือตั้งตรงได้ ขนึ้ อย่กู บั สภาพแวดล้อมที่พชื อาศยั อยู่ หากมีหลักให้เกาะพชื จะสามารถเลือ้ ยได้ หากไม่มีจะเจริญเป็นไม้พุ่ม เช่น กระพ้ี (บางชนิด) การะเวก เฟื่องฟ้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม้รอเล้ือยบางคร้ังไม่สามารถจัดจําแนกได้ง่าย ต้องอาศัยการสังเกตและดูการ เปลี่ยนแปลงของพืชหลายตน้ ทม่ี อี ายแุ ตกตา่ งกนั (ภาพท่ี 2.4) พฤกษศาสตร์ Botany
~ 18 ~ ภาพท่ี 2.4 ไมร้ อเลื้อย (scandent) เถาเสยี วปา่ (ทม่ี า: ผู้เขียน) 2.3 ถ่ินอาศยั พชื (plant habitat) เปน็ การแบง่ ประเภทของพชื ตามสภาพที่พชื ข้ึนในธรรมชาติ ได้แก่ 2.3.1 พืชบก (terrestrial) เปน็ พชื ทีข่ ้นึ บนดิน เชน่ มะมว่ ง มะขาม มะยม เป็นต้น พชื บกบางชนดิ มี รากยดึ เกาะกับตน้ ไม้ชนิดอืน่ แตไ่ ม่ไดเ้ ป็นปรสิต เรียกว่า อิพิไฟต์ (epiphytic) เชน่ กลว้ ยไมบ้ างชนิด เฟริ ์น เป็นตน้ พืชบางชนดิ เปน็ ปรสิต มีรากยดึ เกาะและดดู น้ําและแร่ธาตกุ บั พชื ชนิดอ่ืน เชน่ กาฝาก ขนนุ ดิน ดอกดิน กระโถนฤาษี เป็นต้น (ภาพท่ี 2.5) มีพืชบางชนิดมรี ากยดึ เกาะบนหนิ (saxicolous/lithophytic) เชน่ ตาเหิน ไหว กลว้ ยไมบ้ างชนิด ดอกเข้าพรรษา เป็นต้น นอกจากนย้ี ังมพี ชื บกที่ไมส่ ามารถสังเคราะห์แสงได้ อาศยั อาหารจากราบางชนดิ ทยี่ ่อยสลายซากพืชซากสัตว์ (saprophyte) เช่น กลว้ ยไม้ สกลุ Gastrodia กลว้ ยปลวก กลว้ ยส้มสยาม เปน็ ตน้ กล้วยไมก้ นิ ซากเหล่านี้มักพบไดเ้ ฉพาะตอนที่ออกดอกเทา่ นัน้ (วยิ ดา เทพหตั ถี, 2552) พฤกษศาสตร์ Botany
~ 19 ~ A B 1 1 ภาพที่ 2.5 พืชปรสติ : A. ขนุนดนิ B. ดอกดนิ (ทีม่ า: ผู้เขยี น) 2.3.2 พชื นาํ้ (aquatic) เป็นพชื ท่อี าศยั อยู่ในนํ้า สามารถจัดจาํ แนกย่อยตามเกณฑ์ความสูงของพชื กบั ระดับนํ้า ได้แก่ 1) พชื ใตน้ าํ้ (submerb) เปน็ พืชที่มีส่วนรากอย่โู คลนตมใต้น้ํา ต้นและใบจมใต้น้ํา เช่น สันตวาใบพาย สาหร่ายหางกระรอก 2) พืชลอยนํ้า (floating) เปน็ พืชทลี่ อยนํา้ มรี ากไมส่ มั ผสั กับดนิ เคลอื่ นที่ไปกับกระแสน้ํา เชน่ ผกั ตบชวา จอกหูหนู สาหร่ายหางกระรอก 3) พชื เหนือนา้ํ (emergent) เปน็ พืชที่มีสว่ นรากอยู่โคลนตมใต้นํ้า แตใ่ บหรอื ลําตน้ โผล่เหนือ น้ํา 2.4 ราก (root) ราก หมายถึง อวัยวะของพืชท่ีอยู่ใต้ระดับผิวดิน ทําหน้าท่ีดูดซึมนํ้าและธาตุอาหารในดินเข้าไปสู่ ภายในพืช และชว่ ยคาํ้ จนุ หรอื ยดึ ส่วนของพืชท่อี ยูเ่ หนอื ดนิ รากเกิดจาก เรดเิ คิล (radicle) ของเอ็มบริโอ ส่วนน้ี มีการเจริญเติบโตต่อไปเรียกว่า รากแก้ว (primary root/tap root) ทําหน้าท่ี เป็นหลักรับส่วนอ่ืนๆให้ทรงตัว อยู่ได้ ส่วนรากท่ีออกมาจากส่วนรากแก้ว เรียกว่า รากแขนง (lateral root) กําเนิดมาจากเน้ือเยื่อเพริไซเคิล มักงอกเอยี งลงไปในดินจนเกอื บขนานหรือขนานไปกับพน้ื ดนิ รากชนดิ น้สี ามารถแตกแขนงต่อไปได้ รากของพืช ใบเลย้ี งคู่หรือ พืชใบเล้ียงเด่ียวบางชนิด จะมีการเจริญเติบโตข้ันที่ 2 พืชใบเลี้ยงเด่ียวท่ีงอกออกจากเมล็ดใหม่ๆ มีรากระบบน้ีเหมือนกันแต่มีอายุได้ไม่นานก็เน่าเป่ือยไปแล้วเกิดรากชนิดใหม่ข้ึนมาแทน เรียกว่า รากฝอย ใน พชื ชนั้ ต่ําได้แกพ่ วกไบรโอไฟตย์ งั ไม่มีราก ลาํ ต้นที่แท้จรงิ พฤกษศาสตร์ Botany
~ 20 ~ หนา้ ทข่ี องราก 1. คํา้ จนุ สว่ นตา่ งๆ ของพชื ให้ทรงตัวอยไู่ ด้ (anchorage) 2. ดูดเเละลําเลียงน้ํา 3. หนา้ ทีอ่ ื่นๆ ตามลักษณะของราก เชน่ สะสมอาหาร (storage roots) ยดึ เกาะ (haustorial roots) หายใจ (pneumatophores) เป็นต้น 2.5 ลาต้น (stem) เป็นอวัยะพืชท่ีทําหน้าที่ในการช่วยเหลืออวัยวะอ่ืน ได้แก่ การช่วยยกใบให้สูงขึ้นและ อวยั วะสบื พนั ธุ์ และชว่ ยเหลอื การลําเลียงน้ําและอาหารจากรากไปสู่อวัยะอื่นๆ ผ่านลําต้น ลําต้นประกอบด้วย ส่วนสําคัญ 2 ส่วน คือ ข้อ (node) เป็นส่วนของลําต้นที่มีตา (bud) ซ่ึงจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ และ ปล้อง (internode) เป็นส่วนของลําต้นที่อยู่ระหว่างข้อ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสังเกตส่วนของข้อปล้องได้อย่าง ชัดเจนตลอดชีวิต เช่น อ้อย ข้าว หญ้า ไผ่ เป็นต้น ส่วนพืชใบเล้ียงคู่นั้นส่วนใหญ่แล้วข้อปล้องจะสังเกตได้ไม่ ชัดเจน เนื่องจากเม่ือเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมักจะมีเนื้อเย่ือชั้นคอร์ก (cork) มาหุ้มโดยรอบเอาไว้ พืชใบเล้ียงคู่ บางชนิดมีข้อปล้องได้ชัดเจน เช่น พืชวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เช่น แตงไทย ฟักทอง และแตงโม เป็นต้น และวงศผ์ กั บุ้ง (Convolvulaceae) เช่น ผกั บงุ้ เครือเขาหลง และ ใบระบาด เปน็ ตน้ 2.5.1 ประเภทของลําตน้ ลําต้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามตําแหน่งท่ีอยู่ คือ ลําต้นเหนือดิน (aerial stem) และ ลาํ ต้นใตด้ นิ (underground stem) (สาํ นักงานราชบัณฑติ ยสภา, 2560) 1) ลําต้นเหนือดิน เป็นส่วนของลําต้นที่อยู่เหนือผิวดิน ได้แก่ ไม้ใหญ่ (tree) ไม้พุ่ม (shrub) และ ไม้ล้มลุก (herb) ในส่วนของลําต้นเหนือดิน มีพืชหลายชนิดมีการเปลี่ยนแปลงลําต้นไปเป็นโครงสร้าง พิเศษ 2) ลําต้นเลื้อยทอดขนานตามพ้ืนดิน (creeping stem) เป็นลําต้นที่ทอดหรือเล้ือยขนานไป ตามผิวดินหรือนํ้า ลําต้นประเภทน้ีมักมีรากงอกออกตามข้อเพื่อช่วยยึดลําต้น ส่วนแขนงท่ีแยกไปตามพ้ืนดิน หรอื พ้ืนนํา้ เรียกวา่ ไหล (stolon หรือ runner) เช่น ผักขวาง ผักหนอก ผักบงุ้ เปน็ ต้น 3) ลําต้นเลื้อย (climbing stem) เป็นลําต้นเล้ือยพันกับหลักหรือต้นไม้ชนิดอื่นที่ต้ังตรง จัดจําแนกยอ่ ยลงไปตามลกั ษณะของการพนั ของพชื ดังนี้ - ลําต้นเปน็ เกลยี ว (twining stem) เป็นพชื ทม่ี ีลําต้นใชล้ ําตน้ พนั หลักเป็นเกลียวกับพชื ชนิดอื่น เช่น ขางคร่งั แตงกวา ตาํ ลงึ เป็นตน้ - ลําตน้ เปน็ มือเกาะ (tendril stem) เปน็ ลาํ ตน้ ที่ดัดแปลงไปเป็นมอื เกาะ (tendril) สําหรับพันหลัก มือเกาะจะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริง ได้แก่ พืชวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เช่น ฟักทอง แตงกวา บวบ เปน็ ตน้ อย่างไรก็ตาม มพี ืชหลายชนิดที่มมี อื เกาะไม่ได้มาจากสว่ นของลําต้น แต่เจริญมาจากส่วน อื่น ได้แก่ หใู บ เชน่ เขอื ง (ภาพที่ 2.6A) - ลําต้นเป็นหนาม (spine stem) เป็นลําต้นท่ีเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนาม เช่น หนาม แท่ง เง่ียงดุก มะกรดู ไผ่ เปน็ ตน้ หรือลําต้นและกง่ิ เปลย่ี นเป็นขอเก่ียว (hook) เช่น กระดังงา การเวก ลินกวาง (ภาพท่ี 2.6B) เป็นต้น พฤกษศาสตร์ Botany
~ 21 ~ A B 1 1 ภาพที่ 2.6 หูใบเปล่ียนแปลงเป็นมือเกาะ: A. เขือง; ลําตน้ และกง่ิ เปลี่ยนเปน็ ขอเกยี่ ว B. ลิ้นกวาง (ทีม่ า: ผ้เู ขียน) - รากเกาะ (climbing root) เป็นพชื ท่ีมีรากท่ีงอกออกท่ีข้อยดึ กับหลักหรือต้นไมช้ นิด อ่ืน ไดแ้ ก่ วงศ์พริกไทย (Piperaceae) เช่น พริกไทย พลูชา้ ง พลู เปน็ ต้น - ลําตน้ คลา้ ยใบ (cladode) เปน็ ลาํ ตน้ ที่เปลยี่ นแปลงไปคล้ายกบั ใบ สามารถ สังเคราะหแ์ สงได้ เช่น หน่อไมฝ้ ร่ัง (Asparagus) นอกจากนี้ยังมลี ําตน้ พืชบวมทาํ หนา้ ทใี่ นการเก็บสะสมอาหาร เชน่ บอทเทิลทรี (Brachychiton spp.) 2.6 ลาต้นใต้ดิน (underground stem) ลาํ ต้นใตด้ นิ แตกต่างจากราก คอื มีข้อ และปล้องเหน็ ได้ชดั เจน ส่วนของลาํ ต้นหรอื กิ่งขนึ้ เจริญบนเหนือ พ้นื ผวิ ดินเพ่อื ออกดอกและให้ผล รปู รา่ งลกั ษณะของลาํ ต้นใต้ดินมคี วามแตกต่างกัน ได้แก่ 2.6.1 ไรโซม (rhizome) เปน็ ลาํ ต้นใตด้ นิ ทีม่ ักอยู่ขนานกบั ผิวดนิ มขี อ้ และปลอ้ งชัดเจน ลําต้นชนิดน้ี มกี ารสะสมอาหารไวม้ ากกจ็ ะอวบอ้วนขึน้ เช่น ขิง ขา่ กระชาย เฟริ น์ หลายชนดิ เปน็ ต้น 2.6.2 ทเู บอะ (tuber) เป็นลําตน้ ใตด้ นิ ทเี่ ติบโตมาจากปลายไรโซม ประกอบด้วยปล้องประมาณ 3-4 ปลอ้ ง เชน่ มนั ฝร่งั กลอย เป็นตน้ 2.6.3 บลั บ์ (bulb) เปน็ ลาํ ต้นที่ต้ังตรง กบั ผวิ ดนิ มีใบเกลด็ ห่อหมุ้ ลําตน้ เอาไว้ ทาํ หน้าท่ีสะสมอาหาร เช่น หอม กระเทยี ม และ พลับพลึง เปน็ ตน้ 2.6.4 แบบคอร์ม (corm) เปน็ ลําตน้ ใตด้ ินท่ีต้ังตรงกับผวิ ดิน มีอาหารสะสมอยใู่ นลาํ ตน้ มีตางอกออก พฤกษศาสตร์ Botany
~ 22 ~ ตามข้อ ลาํ ต้นมีข้อปลอ้ งเรียงกันถี่ เช่น เผือก บอน แห้ว เป็นตน้ 2.7 บทสรปุ ลักษณะวิสัยพืชมีหลากหลายรูปแบบในพืช บางชนิดอาจมี 2 แบบได้ ลักษณะพืชสามารถนํามาช่วย จัดจําแนกพืชในทางอนุกรมวิธานได้เช่นกัน ลําต้นพืชจัดจําแนกได้ 2 แบบ คือ ลําต้นใต้ดิน ได้แก่ ไรโซม ทเู บอะ บัลบ์และแบบคอร์ม ในพืชใบเล้ียงเด่ียวลําต้นเหนือดินมักเห็นข้อปล้องชัดเจนกว่าพืชใบเล้ียงคู่ ในกลุ่ม พืชที่มีวิวัฒนาการสูง คือ พืชดอก พืชบางชนิดมีการเปล่ียนแปลงอวัยวะที่ส่วนลําต้นด้วย เพ่ือปรับตัวเข้ากับ สิง่ แวดลอ้ มทีอ่ าศัย คาถามท้ายบทท่ี 2 1. รากกับลําตน้ แตกตา่ งกนั อย่างไร นักพฤกษศาสตรใ์ ช้ลกั ษณะใดจัดจําแนก 2. ทาํ ไมกลุ่มไบรโอไฟต์ จึงไม่ถูกจัดว่าเปน็ พืชท่ีมีใบลาํ ต้นและรากท่ีแท้จริง พฤกษศาสตร์ Botany
~ 23 ~ เอกสารอา้ งองิ วิยดา เทพหัตถี. (2552). ศพั ท์พฤกษศาสตร์ สาขาอนกุ รมวธิ านพชื . กรงุ เทพฯ: สํานักพิมพแ์ หง่ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั . สาํ นักงานราชบณั ฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศพั ทพ์ ฤกษศาสตร์ ฉบับราชบัณฑติ ยสภา. กรงุ เทพฯ: สาํ นักงานราชบณั ฑิตยสภา. พฤกษศาสตร์ Botany
~ 24 ~ พฤกษศาสตร์ Botany
~ 25 ~ แผนบริหารการสอนประจาบทที่ 3 ใบและส่วนประกอบของใบ (Leaves and Leaf parts) หวั ข้อเนือ้ หาประจาบท 3.1 แผ่นใบ (lamina) 3.2 หูใบ (stipules) 3.3 โครงสรา้ งใบพืชเปล่ียนแปลงไปทําหน้าท่ีพิเศษ (modified leaf) 3.4 ชนิดของใบ (leaf type) 3.5 บทสรุป คําถามทา้ ยบท วตั ถุประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม หลงั จากศึกษาบทเรยี นน้แี ลว้ ผูเ้ รียนควรมีความรคู้ วามสามารถ ดังนี้ 1. บอกส่วนประกอบของใบได้ 2. อธิบายประเภทของใบพชื ได้ 3. บอกสัณฐานวทิ ยาของใบพชื ได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจาบท 1. นําเข้าส่บู ทเรยี นดว้ ยการบรรยายประกอบ Power point presentation 2. จัดกลุ่มค้นคว้าเนื้อหาที่ได้รับมอบหมายจากเว็บไซต์หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องและอภิปรายผลเป็นราย กลุม่ สื่อการเรยี นการสอน 1. เนอ้ื หา power point ประจําบทท่ี 3 2. ตัวอย่างหนังสือ ตํารา เอกสารประกอบการเรยี น และงานวจิ ัยทางชวี วทิ ยา การวัดและการประเมนิ ผล การวัดผล 1. ความสนใจและการตอบคําถามระหว่างเรยี น 2. ตอบคาํ ถามท้ายบทและส่งงานทีไ่ ดร้ ับมอบหมายตรงตามเวลาทกี่ ําหนด การประเมินผล 1. ผ้เู รยี นตอบคําถามผสู้ อนในระหว่างเรียนถกู ต้องไมน่ ้อยกว่าร้อยละ 80 2. ตอบคาํ ถามทา้ ยบทและสง่ งานท่ีไดร้ บั มอบหมายตรงตามเวลาท่กี าํ หนด และมีความถูกตอ้ งไมน่ ้อย กว่ารอ้ ยละ 80 พฤกษศาสตร์ Botany
~ 26 ~ พฤกษศาสตร์ Botany
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224