Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรื่องเล่าจากบ้านเรา.-ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณ-นำทางเราไป-ปี-2563

เรื่องเล่าจากบ้านเรา.-ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณ-นำทางเราไป-ปี-2563

Description: เรื่องเล่าจากบ้านเรา.-ในวันที่สายลมแห่งภูเขาโบราณ-นำทางเราไป-ปี-2563

Search

Read the Text Version

คำ� ปรำรภ การถ่ายทอดเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นความพยายามในการ สื่อสารเร่ืองราวจากมุมมองของผู้ที่เกิด เติบโต และท�างานในพื้นท่ีอย่างแท้จริง แง่คิดและ ประสบการณ์ท่ีบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมท้ังที่เป็นเรียงความ เรื่องสั้น และบทกวี ล้วน แล้วแต่ทรงคุณค่าในด้านเน้ือหาสาระและกลวิธีการสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์ เหนือสิ่งอื่นใด จะเป็นข้อมูลท่ีเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการท�างานในพ้ืนท่ีของหน่วยงานต่างๆ และยังช่วย สร้างความเข้าใจและสะท้อนภาพที่ชัดเจนจากสายตาของผู้คนจากภูมิภาคต่างๆ ท่ัวประเทศ อีกดว้ ย “ในวันทสี่ ายลมแหง่ ภูเขาโบราณนา� ทางเราไป” หนังสือรวมผลงานเขยี นทช่ี นะ การประกวดประเภทเรียงความ เร่ืองสั้น และกวีนิพนธ์ จ�านวน 40 เรื่อง ภายใต้การ ประกวดงานเขียนเรอื่ งเลา่ จากบ้านเรา ซงึ่ กระทรวงวัฒนธรรม โดยส�านกั งานศิลปวฒั นธรรม ร่วมสมัยด�าเนินงานอย่างต่อเนื่องต้ังแต่ปี 2555 โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนใน พื้นท่ี 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) และ 4 อ�าเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) สร้างสรรค์ผลงานเขียนเพื่อส่ือสารบอกเล่าเร่ืองราว อัตลักษณ์และวิถีชีวิตท้องถ่ินในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย นับเป็น โครงการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่สามารถเช่ือมโยงไปถึงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถ่ิน ในพืน้ ท่จี งั หวดั ชายแดนภาคใตอ้ ยา่ งน่าชนื่ ชม ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะการประกวดทุกคน ขอขอบคุณคณะกรรมการ ชุดต่างๆ ส�านักงานวัฒนธรรมจังหวัดในพ้ืนท่ีท่ีมีส่วนร่วมท�าให้โครงการฯ ประสบความ ส�าเร็จ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการส่ือสารและสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างภาครัฐและ ประชาชนในพื้นท่ีจะก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และร่วมกันอนุรักษ์สืบทอดศิลป วฒั นธรรมที่ดีงามของทอ้ งถิน่ และของชาติให้คงอยสู่ ืบไป (นายอิทธิพล คุณปลมื้ ) รฐั มนตรีว่าการกระทรวงวฒั นธรรม

ค�ำน�ำ โครงการเล่าเรื่องชายแดนใต้เป็นโครงการต่อเนื่องที่ส�านักงานศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมยั กระทรวงวฒั นธรรม ไดด้ �าเนินการในลกั ษณะการประกวดงานเขยี น โดยเปิดโอกาส ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในพ้ืนท่ี 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บอกเล่าเร่ืองราวจาก พื้นท่ีผ่านงานวรรณกรรม ในขณะเดียวกันได้จัดกิจกรรมการอบรมเพ่ือพัฒนาทักษะการ เขียนควบคู่กันไป ในปีน้ี เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ท�าให้จ�าเป็นต้อง ปรบั จากกจิ กรรมการอบรมในพนื้ ที่เป็นการอบรมพัฒนาทักษะการเขยี นผ่านชอ่ งทางออนไลน์ นับเป็นครั้งแรกท่ีได้ด�าเนินการในรูปแบบและช่องทางใหม่ ซ่ึงได้รับความสนใจอย่างดียิ่งและ ยังเปน็ ประโยชน์ตอ่ ผู้สนใจทสี่ ามารถเข้าถึงได้งา่ ยจากท่วั ประเทศอกี ดว้ ย ส�าหรับการประกวดงานเขียนเร่ืองเล่าจากบ้านเรา ปี 2563 มีผู้ส่งผลงานเข้า ประกวดรวมท้ังส้ิน 330 ผลงาน แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา 44 ผลงาน ระดับมธั ยมศกึ ษา 75 ผลงาน ระดบั อดุ มศึกษา 54 ผลงาน ระดับประชาชนท่ัวไป 79 ผลงาน และกวีนิพนธ์ (ไม่จ�ากัดอายุ) 78 ผลงาน กระบวนการคัดสรรผลงานเพื่อรับรางวัลน้ัน เบ้ืองต้นจะมีคณะกรรมการคัดสรรซ่ึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวรรณศิลป์ในพ้ืนท่ีคัดสรรผลงาน เพื่อเข้ารอบ และคณะกรรมการตัดสินซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิท้ังจากพื้นที่และในส่วนกลาง รวมถึงศิลปินแห่งชาติ และศิลปินศิลปาธร สาขาวรรณศิลป์ร่วมกันพิจารณาผลงาน ท้ังน้ี เป็นที่น่ายินดีว่า ผลงานเขียนในปีน้ีมีคุณภาพดีขึ้นกว่าทุกปีอย่างน่าสนใจ กรอบแนวคิดการ ประกวดในปีน้ีเปิดกว้างมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา จึงท�าให้เน้ือหามีความหลากหลายและ นา่ สนใจ นบั เปน็ ภาพสะทอ้ นถงึ วิถวี ฒั นธรรม อัตลกั ษณท์ ้องถ่ินของพ้นื ที่ 4 จงั หวดั ชายแดน ใตเ้ ป็นอยา่ งดี ขอขอบคุณส�านกั งานวัฒนธรรมจงั หวดั สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ใน การประสานงานการด�าเนินโครงการให้ประสบความส�าเร็จ รวมท้ังศูนย์อ�านวยการบริหาร จังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และคณะกรรมการขับเคล่ือนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ (คปต.) ท่ีช่วยเสนอแนะข้อคิดเห็นท่ีเป็นประโยชน์ และขอขอบคุณคณะกรรมการ คัดสรรและคณะกรรมการตัดสินท่ีได้ร่วมกันพิจารณาผลงานในโครงการและให้ข้อเสนอแนะ ท่ีเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการเสมอมา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเสียงสะท้อนของผู้คนใน พื้นที่ชายแดนใต้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการท�างานของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ประชาสงั คมในการแกไ้ ขปัญหาในพื้นที่ต่อไป (นางสาววิมลลกั ษณ์ ชูชาต)ิ ผอู้ า� นวยการสา� นกั งานศลิ ปวัฒนธรรมร่วมสมยั

จำก “แผ่นดนิ อื่น” ถึง “แผ่นดนิ เดยี วกนั ” และพลังแห่งจนิ ตนำกำร สถาพร ศรีสจั จงั ศลิ ปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ “Imagination is more important than knowledge” “จินตนาการส�าคญั กว่าความรมู้ ากนัก” “Logic will get you from A to B, Imagination will take you everywhere.” “ตรรกะจะพาคุณจากจดุ A ไปจุด B แต่จินตนาการจะพาคุณไปไดใ้ นทุกที”่ อลั เบริ ต์ ไอนส์ ไตน์ 1. เกยี่ วกบั ‘เรอ่ื งเลา่ ’ ในวงการ “เรื่องแต่งร่วมสมัย” (Contemporary fiction) ของไทย แม้ จะมีงานวรรณกรรมดเี ดน่ เปน็ หมดุ หมายอยไู่ มน่ ้อย แต่งานเขียนท่เี ป็น “เรอื่ งเล่า” ซงึ่ ม่งุ แสดงวิสัยทัศน์และความรู้สึกของผู้แต่งที่เกี่ยวกับส�านึกเชิง “สะท้อนภาพมาตุภูมิ” หรือ “แผ่นดินเกิด” (ท่ี, แน่ละ-ย่อมสะท้อนถ่ายทัศนะเชิงบวกหรือลบ ตามประสบการณ์ พ้ืนท่ี/เวลา และโลกทัศน์ทางอัตวิสัยอันจ�าเพาะของผู้เล่า, คือผู้เขียนนั่นแหละ) แม้จะมี ปรากฏให้เห็นในบรรณพิภพไทยอยู่เป็นจ�านวนไม่น้อย แต่ท่ีมีความแจ่มชัดและโดดเด่น ด้วยฝีมอื เชงิ วรรณศลิ ปน์ ้นั นบั ว่ามอี ยไู่ ม่มากเรื่องนัก ที่โดดเด่นเป็นทร่ี จู้ ักและไมค่ วรพลาดในการนา� มาอา้ งอิง เม่อื ต้องพูดถึงประเด็น ดังกล่าว (เร่ืองราวท่ีเกี่ยวกับแผ่นดินเกิด) อย่างน้อยน่าจะมีอยู่สัก 2 เรื่อง เรื่องแรกเป็น งานเขยี นในรปู แบบนิยายขนาดสน้ั (Novellete) ช่อื “แผ่นดนิ เดียวกนั ” ของนักเขยี นอาวุโส ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เลือดเนื้อเชื้อไขชาวหลังสวนเมืองชุมพร นาม “สุวัฒน์ วรดลิ ก” หรอื ในนามปากกาอนั ลอื เลือ่ งคอื “รพพี ร” คชู่ ีวิตของเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศิลปนิ แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) และพี่ชายแท้ๆ ของกวี-นักแปลนามอุโฆษ “ทวีปวร” หรอื “ทวีป วรดิลก” ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาวรรณศิลป์ อกี ท่านหน่งึ อีกเร่ืองหรืออีกเล่ม คือหนังสือรวมเร่ืองสั้น (Short story) ท่ีได้รับรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (ซีไรต์) ของนักเขียนหนุ่มเลือดเนื้อชาวพัทลุงแท้ (ผู้ จากไปต้ังแต่วัยหนุ่ม-หลายใครในวงการจึงเรียกเขาว่า’นักเขียนหนุ่ม’ตลอดกาล) ท่ีชื่อ

“กนกพงศ์ สงสมพนั ธ”ุ์ ในชอื่ เรอื่ ง (เล่ม) ว่า “แผน่ ดนิ อื่น” ท�าไมจงึ ตอ้ ง “แผ่นดนิ เดยี วกัน” และ “แผน่ ดนิ อืน่ ”? แม้ “แผ่นดินเดียวกัน” ของ “รพีพร” หรือสุวัฒน์ วรดิลก จะได้ชื่อว่าเป็น นิยายที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวรรณกรรม “เพื่อชีวิต” ท่ีออกมาหลังเหตุการณ์ส�าคัญทางการเมือง ของไทย คือเหตุการณ์ “14 ตุลาฯ (2514)” และเหตุการณ์ “6 ตุลาฯ (2519)” และมีจุด มุ่งในการเขียนอย่างชัดเจนว่า ผู้เขียนมีเจตนาในการเขียนเพ่ือส่งเสริมอุดมคติให้ผู้อ่านเกิด แรงบันดาลใจและเชื่อมั่นในการต่อสู้เพ่ือความเป็นธรรมทางสังคม และเพื่อแสดงภาพความ เหล่ือมล้�าที่ด�ารงอยู่จริงอยู่ใน “แผ่นดินเดียวกัน” ของสังคมไทยขณะนั้น แต่วิธีเล่าเร่ืองก็ยัง เปน็ ทว่ งท�านองการเขียนนยิ าย “เชงิ ขนบ” ตัวเอกของเร่ืองคอื “แจง้ บุญปักษ”์ นัน้ ได้รบั การ สร้างบุคลิกภาพแบบ “พระเอก” ในนิยายเริงรมย์ร่วมสมัยอย่างชัดเจน ในท่วงท�านองการ เล่าเร่ืองผู้เขียนก็ใช้ชั้นเชิงในการวางโครงเรื่องแบบ “เรื่องของนักอุดมคติ” ท่ี ‘บังเอิญ’ ได้พบสิ่งหนุนช่วยเป็น ‘หญิงสาว’ ประเภท ‘สวย เก่ง ฉลาด และแสนดี’ (นางเอก) ท่ีมี แนวคิดตรงกันหรือ ‘เข้าใจ’ พระเอกเป็นอย่างย่ิง (หลายคร้ังพล็อตเรื่องแบบนี้มักถูก นกั วจิ ารณย์ คุ หลังเหตกุ ารณ์ 14 ตุลาคม 2516 เรียกว่าเปน็ แบบ “นิยายพาฝัน” ดว้ ยซ้�าไป) แต่ด้วยฝีมือท่ีจัดจ้านในการเขียนนิยายในฐานะ ‘นักเขียนอาชีพ’ ของผู้เขียนก็มีส่วนอย่าง ส�าคญั ท่ที �าให้นยิ ายเรอ่ื งน้ี ‘ลนื่ ไหล’ นา่ อา่ น จะอย่างไรเสียนิยายขนาดสั้นเรื่อง “แผ่นดินเดียวกัน” ของสุวัฒน์ วรดิลก หรือ “รพีพร” ก็ต้องถือเป็นหมุดหมายทางวรรณกรรมท่ีส�าคัญช้ินหน่ึงของพัฒนาการทาง วรรณกรรมช่วงหลงั เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ท่กี อ่ แรงบนั ดาลใจให้กับผอู้ า่ นจา� นวนหนึ่งใน หว้ งเวลาดังกลา่ วไดไ้ มน่ อ้ ย ส่วนรวมเร่ืองสน้ั ชดุ “แผ่นดนิ อนื่ ” ของกนกพงศ์ สงสมพันธ์ุ นกั เขียนหนมุ่ จากพัทลุงที่ไปเช่าบ้านซุ่มตัวเขียนหนังสืออย่าง ‘เอาจริง’ อยู่ ณ ‘หุบเขาฝนโปรยไพร’ (ค�าเรียกของกนกพงศ์เอง) แถบเขาหลวง อ�าเภอพรหมคีรี นครศรีธรรมราชนั้น ต้อง นับว่าเป็น ‘เร่ืองแต่ง’ ประเภทเร่ืองส้ันสมัยใหม่ท่ีเป็นหมุดหมายส�าคัญของวงการ วรรณกรรมรว่ มสมัยของไทยเลม่ หนึง่ ทีเดียว เน้ือหาและฉากของเรื่องส้ันส่วนใหญ่ใน ‘แผ่นดินอ่ืน’ แทบจะเรียกว่าเป็นการ เลา่ เรื่องจาก ‘ปกั ษใ์ ตล้ ้วนๆ’ สว่ นใหญเ่ ป็นเรือ่ งราวของผูค้ นในจงั หวดั พัทลุงแถบริมเทือกเขา บรรทัดบ้านเกิดของผู้เขียน อาจมีเรื่องเด่นอ่ืนบางเรื่องท่ีใช้ฉากเป็นพ้ืนที่ปักษ์ใต้ส่วนอ่ืน เช่น ‘แมวแห่งบูเก๊ะกรือซอ’ ใช้ฉากและเร่ืองราวในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนเร่ือง “โลกใบเล็กของซัลมาน” ใช้ฉากและเร่ืองราวของพ้ืนท่ีแถบริมฝั่งทะเลอันดามัน แต่ท้ังหมด ก็ล้วนเป็นพน้ื ที่ ‘ปักษ์ใต้’ ซงึ่ เป็น “แผน่ ดินเกิด” (แหล่งสรา้ งตวั ตน) ของผูเ้ ขียน ท่ีจริง “เรื่องเล่า” ที่ปรากฏเป็นเร่ืองส้ันท้ังหมดของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ใน หนังสือรวมเรื่องส้ันรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งเซียน (ซีไรต์) ประจ�าปี 2539 น่าจะ ใช้ชื่อเลม่ ว่า “แผ่นดินของเรา” (ส�านวนแปลของดร.โคทม อารียา และพรทพิ ย์ อารียา) ทแ่ี ปล จากเร่ือง “Terre des Hommes” ของนักเขียนฝร่ังเศสระบือนามผู้เขียน “เจ้าชายน้อย” (Le petit prince) ท่ีชื่อ อังตวน เดอ แซงแต็ก ซูเปรี (Antoine de Saint Exupe′ry) มากกว่า!

แต่โดยท่ีเป็นเรื่องเล่ายุคใหม่ กนกพงศ์จึงน�าเรื่องราวท่ีสัมพันธ์กับตัวตนและ แผ่นดินเกิด ทั้งที่เป็นเรื่อง ‘ภายใน’ และท่ีสัมพันธ์กับ ‘ภายนอก’ ของตัวเองมาผสมผสาน กันเข้า แล้วใช้ช้ันเชิงในการเล่าแบบ ‘เร่ืองแต่งร่วมสมัย’ ที่เห็นได้ชัดว่าเขาได้สมาทาน ‘วธิ ีวทิ ยา’หลายสว่ นมาจากวิธีเล่าเร่ืองของนักเขยี นชาวตะวันตกและอ่นื ๆท้ังนักเขียนในกล่มุ “โครงสร้างนิยม” ท่ีเรียกกันว่า “Postmodernism” และกลุ่ม “สัจนิยมมายา” (Magical realism) ซึ่งมีงานของนักเขียนอย่าง ฟรานซ์ คาฟคา และกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ เป็นต้น มาผสมผสานกับการเล่าเรื่องเชิงขนบแบบสมจริงอย่างนักเขียนเร่ืองสั้นไทยช้ันครู เช่น มนสั จรรยงค์ เคยท�า จึงท�าให้ผู้อ่าน (ผู้รับสาร) เห็นเหตุอย่างลึกล�้าด้วยชั้นเชิงทางศิลปะการ เล่าเร่ืองจนสามารถเห็นได้ว่า ท�าไม “แผ่นดินของเรา” จึงต้องกลายเป็น “แผ่นดินอ่ืน” ไปได!้ ! น่ีคือส่วนหนึ่งของการแสดง “ภาพชัด” ถึงการท�า ‘หน้าท่ี’ และ ‘การ สรา้ งสถานภาพ’ ทผี่ ่านมาและด�ารงของสิง่ ท่ีเรยี กว่า ‘เรอ่ื งเล่า’ ในสงั คมไทย! โดยเฉพาะในสว่ นท่เี กย่ี วกับ “เรอื่ งเล่าจากบา้ นเกดิ ”! 2. ตรรกะ จนิ ตนาการ และเมล็ดพันธ์ุ แล้วผลจากโครงการ “เร่ืองเล่าจากบ้านเรา” (ชายแดนแผ่นดินใต้) เมื่อถึง ปี พ.ศ.2563 เลา่ -เป็นอย่างไรบา้ ง? ในสังคม “แบบไทย” ทม่ี พี ฒั นาการทางประวัตศิ าสตร์ในอดีตอย่างมี “ตัวร่วม” กับลักษณะสากล และอย่างมีลักษณะ “จ�าเพาะ” โดยอัตวิสัย ได้ก่อเกิดส่ิงท่ีเรียกว่า “ขอ้ จา� กัดทางประวตั ศิ าสตร์” ในการเคล่อื นเปลี่ยนทางสังคมขนึ้ เปน็ จา� นวนมาก สิง่ เหล่านน้ั เป็นท้ัง “อุปสรรค” และ “ปัจจัย” ท่ีท�าให้ความขัดแย้งทางสังคมเชิง “ปริมาณ” เคล่ือนสู่ “การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ” ท่ีช้าบ้างเร็วบ้าง, สมบูรณ์บ้างพิกลพิการบ้าง - ตามเหตุ ปจั จยั อันจา� เพาะดงั กล่าวมา ในห้วงเวลาดังกล่าว ดูเหมือนกระบวนการเรียนรู้แบบ “ตรรกะ” (logic) จะ ยึดครองพื้นที่ในสังคมไทยมากกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบ “จินตนาการ” (หรือการคิดเชิง บูรณาการแบบองค์รวม) เสียหลายเท่านัก นั่น-อาจเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งท่ีส่งผลทางสังคม อย่างรุนแรงในแทบทุกด้าน เมื่อสังคมไทยต้องเคล่ือนตัวเข้าสู่ความเป็น “รัฐชาติ” สมัยใหม่ และปัญหาดังกล่าวยิ่งหนาหนักข้ึนเม่ือสังคมโลกได้พัฒนาเข้าสู่ความเป็นโลกาภิวัตน์โดย เทคโนโลยีท่ีร้จู ักกันในนามระบบ “ดิจิทัล” นับไดก้ ว่าครง่ึ ทศวรรษเข้าแล้ว ทีส่ �านกั งานศลิ ปวฒั นธรรมรว่ มสมยั (สศร.) ได้ จัดท�าโครงการหว่านเมล็ดพันธุ์วรรณศิลป์ (อาจ) ด้วยความมุ่งหวังว่าจะท�าให้ก่อเกิด พืชพันธุ์โตเติบจนเป็นเหมือนป่าใหญ่ขึ้น เพื่อให้ร่มเงาแก่ชายแดนแผ่นดินใต้ที่เกิดวิกฤติ ร้อนแล้งแย้งขัด ด้วยความพิกลพิการทางประวัติศาสตร์และ ‘ภูมิ-รัฐศาสตร์’ อันจ�าเพาะ เจาะจงแหง่ นัน้ บางใคร-ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกวดวรรณกรรมท้ังประเภท

“เร่อื งแต่ง” และ “กวีนิพนธ์” จากโครงการ ‘เร่ืองดี ๆ ท่บี า้ นเรา’ จนถึง ‘เร่ืองเลา่ จาก บ้านเรา’ ของส�านักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตั้งข้อสังเกต บางประการให้ฟังว่า “โครงการนี้มีส่วนอย่างส�าคัญในการ ‘เพาะสร้างและคัดเลือก เมล็ดพันธุ์วรรณศิลป์’...” และ “ถ้าโครงการน้ีเป็นเหมือนการ ‘หว่านพืชเพื่อหวังผล’ ก็ อาจกล่าวได้ว่า-เม่ือถึงวันน้ีก็เร่ิมมี ‘ผล’ ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมท่ี ‘หยิบจับ’ ได้ขึ้น บ้างแล้ว” และกล่าวสรุปว่า “ยิ่งถ้าจะพิจารณาจากงบประมาณที่ถูกน�ามาใช้ เม่ือ เปรียบเทียบกับงบอ่ืนๆ ที่ใช้เพื่อมุ่งแก้ปัญหาและ ‘พัฒนา’ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้ว โครงการน้ีอาจถือได้ว่าเป็นเพียง ‘เศษเบี้ย’ ของโครงการอ่ืน แต่ผลท่ีได้รับกลับ ย่ังยืนแบบประเมินคุณค่าได้ยาก-เพราะน่ีคือการต่อสู้ทางความคิด, คือการต่อสู้ทาง วัฒนธรรม และคือการต่อสู้เพ่ือสร้าง “นักคิดที่สร้างสรรค์”, คือศิลปิน-คือกวีและ นักเขียน, ท่ียากจะสร้างได้โดยองค์กรของรัฐที่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะการท�างานที่เป็น กลไก...” ข้อสังเกตท่ีสรุปย่อมา แม้จะฟังดู ‘แรงๆ’ แต่ถ้าเปิดใจให้กว้างก็จะพบว่า เป็นการให้ข้อสังเกตต่อโครงการแบบตรงไปตรงมาที่น่าสนใจยิ่ง โดยเฉพาะในประเด็น “เมล็ดพันธ”์ุ “ย่งั ยนื ” “กลไก” “ตรรกะ” “จินตนาการ” และสุดทา้ ยคอื ค�าว่า “การสร้าง นกั คดิ ทีส่ รา้ งสรรค์”! 3. บทสรุป : เมล็ดพันธท์ุ ่ีเรม่ิ กลายเป็นไม้ใหญ่ บางตอนจากค�าน�าที่เขียนให้หนังสือ “วันท่ีความรักผลิบาน ณ บ้านแห่ง เรา” ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องส้ันและบทกวีท่ีชนะประกวดของโครงการ “เร่ืองเล่าจาก บ้านเรา” ประจา� ปี พ.ศ.2562 มีตอนหนึ่งเขียนว่า : “กล่าวเฉพาะด้านพัฒนา พบว่าในงานเขียนประเภท Non fiction ซ่ึง ส่วนใหญ่เป็นผลงานของเยาวชนท่ีเป็นนักเรียนระดับประถมจนถึงมัธยมต้น ผลงานกลุ่มน้ี มีคุณภาพดีขึ้นมาก ท้ังในแง่การคัดเลือกข้อมูลที่น�ามาใช้ ‘เล่าเร่ือง’ ทั้งกระบวนการ เรียบเรียง และ ‘การใช้ภาษาไทย’ (ซึ่งไม่ใช่ภาษาในชีวิตประจา� วันของพวกเขาส่วนใหญ่) กด็ มู ีคุณภาพสูงขนึ้ โดยท่ัวไปอย่างนา่ ยินดี ...” เม่ือถึงการประกวดในปี 2563 นี้ นอกจากจะยืนยันเพ่ิมข้ึนได้ว่า ผู้ส่งผลงาน เข้าประกวดในระดับน้ีได้พัฒนาคุณภาพท้ังด้านเน้ือหาและส�านวนภาษา (ไทย) ย่ิงขึ้น ทั้ง ในด้านปริมาณและคุณภาพแล้ว คงต้องตราไว้ด้วยว่า การประกวดประเภทประชาชนทั่วไป ทั้งท่ีเป็น “บทกวี” และ “เร่ืองสั้น” ก็มีคุณภาพสูงข้ึนมาก ท้ังในด้านความหลากหลาย มุมมองและวิธกี ารเลา่ เรือ่ ง ที่ส�าคัญก็คือ มีทั้ง ‘หน้าใหม่’ และ ‘หน้าเก่า’ เรียงแถวกันเข้ามาอย่าง หลากหน้าหลายตาอันน่าตื่นเตน้ ! หลายคนเป็น ‘หน้าเก่า’ ท่ีอาจกล่าวได้ว่าเป็น ‘เมล็ดพันธุ์’ ที่ยืนหยัดกับ โครงการนี้มา (ส่งงานเข้าประกวดทุกปี) และเมื่อถึงวันน้ี - อาจพูดได้ว่าบางเธอและ บางเขาที่ว่า เริ่มเป็น ‘ไม้ใหญ่’ ประดับป่าวงการวรรณศิลป์ไปเรียบร้อยแล้ว! (จะโดย

ต้ังใจหรอื ไมต่ งั้ ใจก็ตาม) ถ้าไม่เช่ือก็ลองตัดใจเปิดสารบัญหนังสือเล่มนี้เข้าไปทดลองอ่านของ ‘หน้าเก่า’ ท่ีว่าสัก 2 ชื่อก็แล้วกัน เป็น 2 ช่ือท่ีได้รับรางวัล ‘ซ�้า’ กับปีก่อน (เพราะฝีมือท่ีพัฒนาขึ้น) ชื่อแรกคือ นางสาวฮีดายะห์ เบ็ญโกบ เจ้าของความเรียงเรื่อง “Harapan Saya : เส้ียว ปรารถนา ณ มาตุภูมิแห่งความรกั ” ส่วนอีกคนเป็นประเภทบทกวี ในงานชน้ิ ที่กลายเปน็ ชือ่ ปกหนงั สอื ในปีนี้ “ในวันทีส่ ายลมแหง่ ภูเขาโบราณนา� ทางเราไป” ของ “กนั ญา” ในนามจรงิ กัณตภณ รกั คา� มี คนนั้นไง! ก่อนจะเข้าไปอ่านท้ังเรื่อง จะลองยกบางท่อนของพวกเขามาให้ดูสักนิดก่อน ก็แลว้ กนั เรม่ิ ท่ีทอ่ นจบจากงานของ ฮดี ายะห์ เบ็ญโกบ กอ่ น.. “...โอ้ พระผทู้ รงอภิบาล... ฉันเป็นเพียงเด็กผู้หญิงธรรมดาๆ คนหน่ึง ซ่ึงถือก�าเนิดข้ึนมา ณ ชายแดน แผ่นดินแห่งนี้.. ด้วยทุกๆ หยดน้�าตาท่ีหลั่งรินจากจิตวิญญาณอันด้อยเดียงสาของฉัน ฉันขอ ให้มันเปน็ สือ่ เล็กๆ ในการร้องขอตอ่ พระองค.์ . โปรดช่วยท�าให้ไฟร้ายที่ลุกโหมเผาผลาญชีวิตผู้บริสุทธ์ิ ณ ดินแดนแห่งนี้ ได้ มอดมลายและสลายสน้ิ ไปเสยี ที.. โอ้ พระผเู้ ปน็ เจ้าของฉนั ... ขอพระองค์ทรงประทานสันติภาพอันนิรันดร์ แก่มนุษยชาติทั้งหลาย ไม่ว่า เขาเหล่าน้ันจะอยูใ่ กล้หรือไกล พูดจาภาษาไหน หรอื จะนับถอื ศาสนาใด... ขอให้เสี้ยวปรารถนา ณ มาตุภูมิแห่งความรักของฉันพลันเป็นจริง ด้วย เทอญ ..” “..อามีน..” ถามจริงๆ เถอะ! หรือใครยังไม่สามารถเห็นพลังแห่ง ‘จินตนาการ’ ของ กวีสาวคนน?้ี คราวนี้ถึงบทกวีท่อนเร่ิมและท่อนจบที่ช่ือเร่ืองสุดยาว “ในวันท่ีสายลมแห่ง ภเู ขาโบราณนา� ทางเราไป” ของ “กนั ญา” หรอื กันตภณ รกั คา� มี ทวี่ า่ : “เมฆทะมึนแผ่ขยายเหนอื ชายฝัง่ ทะเลคลงั่ โหมคลน่ื ในคนื ฝน เสยี งจอมยกั ษ์ทะเลใตเ้ ปา่ รา่ ยมนต์ ลมจักรกรดหมุนวนถง่ั ท้นแรง...ฯ” ฯลฯ “ธาตุอดีตฉายชดั อตั ลักษณ์ ส่งพลงั แน่นหนักต่อยคุ สมยั พุทธ อิสลาม พราหมณ์ ผี ทโ่ี ยงใย โลกข้างในหลอมชาตพิ นั ธุแ์ ห่งบรรพชน

ห่วงตา� นานไหลเวยี นการเปลีย่ นผา่ น ขับเคลอ่ื นโลก-จักรวาล ผ่านกุศล ตอ่ เติมลมหายใจชีพไหลวน ฝา่ ข้ามพ้นหลุมพราง-น�าทางเรา..ฯ” อ่านกลอนบทน้ีแล้ว บางใครอาจเห็นจังหวะลีลาและวิธีเล่าเร่ืองของนักกลอน แนวหน้ายุคปลายๆ ทศวรรษ 2500 อย่าง สุรศักด์ิ ศรีประพันธ์ หรือ “ธารี” (อดุล จนั ทรศักดิ์ - ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ สาขาวรรณศลิ ป)์ บา้ งหรอื เปลา่ -แตเ่ ช่ือเถอะ, ไมเ่ หมือน! บทสรุปครง้ั นีก้ ็คงต้องจบเหมือนเกา่ ท่ีวา่ : “...ควรกล่าวเป็นข้อสรุปไว้แต่เบ้ืองนี้ได้ว่า โครงการจัดประกวด “เร่ืองเล่า จากบ้านเรา” ต้องนับเป็นโครงการหน่ึงท่ีเป็น ‘ต้นแบบ’ ของ ‘แนวรบด้านวัฒนธรรม’ ท่ี ส่งผลรูปธรรมเชิงบวกเป็นอย่างยิ่ง ในการส่งเสริมเพื่อแก้ปัญหาทาง ‘สังคมวัฒนธรรม’ ของ พ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างย่ังยืน ด้วยกระบวนการ ‘เร่ืองเล่า’ ซ่ึงนับเป็น ‘ตัวบท พิเศษ’ ทางสงั คมที่น่าสนใจเป็นยิง่ นัก” ............ “เพราะมีแต่ต้องรจู้ ริงลกึ ซึ้ง จาก ‘คนในพ้นื ท่ี’ เช่นน้เี ทา่ น้นั จึงจะสามารถ ‘แกป้ ญั หา’ และ ‘พัฒนา’ สงั คมท่นี นั่ ไดอ้ ยา่ งถกู ชอ่ งทางและย่งั ยืน!!! ________________ “ทบั ผ่านทาง”-สตูล. ต้นฝน 2563

สำรบัญ ค�าปรารภ 2 คา� นา� 3 จาก “แผน่ ดนิ อนื่ ” ถงึ “แผน่ ดินเดยี วกนั ” และพลงั แหง่ จินตนาการ 4 สถาพร ศรีสจั จัง เรยี งความระดบั ประถมศกึ ษา 16 ตะวันลบั ฟา้ ทีป่ ัตตานี 25 สะดีหยะ๊ หมดั หลี 29 อีดลิ อัฎฮา วนั แห่งความสุขของชาวมสุ ลิม 33 ดาลยี า สุวรรณ์ 36 ของขวญั จากพระเจ้า 40 นรู ฟาเดียร์ หะยมี ูซอ 44 ร่วมด้วยช่วยกนั ปอ้ งกันโควิด 19 ยะหย์ า ยูโซ๊ะ รักประเทศไทยคอื หน้าทข่ี องพวกเราทกุ คน นรู ลู นจั วา เจะนะ มติ รจิตร มติ รใจ ไร้พรมแดน ธัญลกั ษณ์ ละสวุ รรณ หนูรกั “ตาดีกา” นูรอลิ ฮมั ดามหู ิ

แลนด์มารก์ แหง่ เมอื งนราธวิ าส 49 นรู ฟาเดยี สะรี เรียงความระดบั มัธยมศึกษา 55 Harapan Saya : เสย้ี วปรารถนา ณ มาตุภมู แิ ห่งความรกั 64 ฮีดายะห์ เบ็ญโกบ 72 ล่ามพระยา 79 วงศธร ทองโรย 84 สองศรทั ธาแหง่ วถิ ี สายใยแหง่ รกั ณ บ้านเรา 88 นูรดี า เจ๊ะอุมา 94 ฉนั พลาดอะไรไป 99 กรนรินทร์ แก้วมณี คอื ชวี ติ 105 อารนี า มะลี 116 “วดั ถ้า� ” ลมหายใจปลายด้ามขวาน สุชาดา เจะ๊ แม เรอื่ งเลา่ จากพื้นที่สีแดง ศิรปิ ระภา ชา� นาญธุระกิจ จวนปัตตานี เสน้ ใยน้ีมที มี่ า ชนิกานต์ ทองเจือ เรือ่ งส้ันระดับอุดมศกึ ษา ตาดีกากับกระดานแห่งความทรงจา� รอมฎอน เบญ็ โกบ เปดิ ภาพ อายรู า ดาลอ

ความหวงั ท่พี าดผ่าน น่านน้า� ท่บี า้ นเรา 126 สรายทุ ธ์ แสงบัวหมดั 136 ของขวญั ช้ินวิเศษ 145 มะรอวี เจะ๊ อุมา 154 ไออนุ่ บูดูแท่ง 163 นรู ฟาเดยี สะนวิ า 172 กมุ ปัง ยูสรา มะยิ 185 กลับสู่มาตภุ ูมิและการฟ้นื คนื ของสวนสม้ จุก 194 อติรุจ ดอื เระ 208 ขา่ วคราวของลมหนาว 218 วะยหุ ์ คงอ่อน 233 เรือ่ งสัน้ ระดบั ประชาชนทว่ั ไป เงอื กปตั ตานี รตี รตธิ รณ คนดที ี่ปาแต ถนอม ขุนเพ็ชร์ ลูกกูช่ือไหร เปสลอินธน์ โตะ๊ บอมอ ซคั วาน อบั ดลุ เราะห์มาน เมียอุสตาซ อารีฟ แปเฮาะอเี ล

บา้ นท่ีไม่เคยสรา้ งเสรจ็ 247 สรุ ัชดา จุฑานนั ท์ 260 ทีน่ ี่ (ไม)่ มตี ัวประหลาด 269 อษั ฎาวธุ ไชยวรรณ ตุ๊กตา 285 จรรยา สุวรรณ์ 288 กวนี พิ นธ์ 290 ในวนั ทสี่ ายลมแห่งภเู ขาโบราณน�าทางเราไป 293 กันญา 295 หน้ารา้ นเซเว่นอิเลเว่น – ปัตตานี 297 ซคั วาน อับดลุ เราะหม์ าน 300 แคฝ่ นั ร้าย... 302 อฟั ดัล สะอิ บรรทุกบุญ สกล ผดงุ วงศ์ ขา้ วเหนียวของเมาะในบาตรพระ ธนนั ทร์ แดงดิษคีรี หลงั ปดิ เทอมใหญ่ วศิ ิษฐ์ ปรยี านนท์ รถไฟสายเดยี วดาย รตี รติธรณ เรอื่ งเล่า : โลหะ ชีวติ ความเชื่อ และชมุ ชน ฉตั รปกรณ์ ก�าเหนิดผล

เรยี งความ ระดบั ประถมศกึ ษา

15

ตะวันลบั ฟ้ำทป่ี ตั ตำนี สะดีหย๊ะ หมดั หลี ณ โรงเรียนบ้านลานควาย ซึ่งตั้งอยู่ในชนบทอันห่างไกลจาก เมืองหลวงกว่า 1,000 กิโลเมตร สถานท่ีที่มอบความรู้และประสบการณ์ อันดีให้แก่ฉัน หลังจากพักรับประทานอาหารเท่ียงและละหมาดซุฮรี1 ท่ี ห้องเรยี นอสิ ลามศึกษาเสร็จเรียบร้อย เพ่ือนๆ ของฉนั หลายคนก็เลือกที่จะ ผอ่ นคลายจากอากาศท่รี ้อนอบอ้าวในหลากหลายรูปแบบ ไมว่ า่ จะเป็นการ จับกลุ่มเลน่ กิงกอ่ งแก้ว บา้ งกอ็ ่านนิทานทต่ี นเองชอบ บ้างก็เลน่ หมากเก็บ อยู่ในห้องเรียน และบ้างก็เล่นกระโดดข้ามหนังยางใต้ต้นไม้ไปมาอย่าง สนุกสนาน แต่ด้วยความอ่อนเพลียจากการไปช่วยป๊ะกับม๊ะขายเส้ือผ้า แฟช่ันมุสลิมท่ีตลาดเมื่อเย็นวาน ฉันจึงขอปลีกตัวจากเพ่ือนๆ สักวัน ฉัน เลือกที่จะหลบตัวอยู่ในมุมเล็กๆ ของห้องสมุดโรงเรียน ฉันเดินไปยัง ชั้นหนังสือแล้วเลือกนิตยสารเล่มหน่ึง ท่ีเก่ียวกับสถานท่ีท่องเที่ยวช่ือดัง ของภาคใต้ขึ้นมาอ่าน ทันทีที่เห็นภาพศาสนสถานส�าคัญของชายแดนใต้ ท่ีอยู่ตรงหน้าปก ท�าให้ฉันนึกย้อนกลับไปสู่ภาพเหตุการณ์สุดประทับใจ เมอื่ สองปีก่อนอกี ครง้ั ... ตอนนั้น ฉันก�าลังเรียนอยู่ระดับช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 คุณอา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายป๊ะของฉันได้คะย้ันคะยอให้ป๊ะพาครอบครัวของท่าน มาถือศีลอดสามวันแรกของเดือนรอมฎอนท่ีปัตตานี แรกๆ ที่ป๊ะกับม๊ะ 1 ละหมาดยามตะวนั คล้อย 16

ชวนฉัน ฉันรีบปฏิเสธโอกาสแรกท่ีจะได้ไปเยือนแผ่นดินชายแดนใต้อยู่ ในใจ เนื่องเพราะข่าวสารเกี่ยวกับความไม่สงบในพื้นที่ แต่ป๊ะได้พูด โน้มน้าวให้ฉันเข้าใจถึงสัจธรรมแห่งชีวิตข้อหนึ่งว่า “ชีวิตของมนุษย์เราน้ัน ล้วนถูกก�าหนดไว้แล้วโดยพระผู้เป็นเจ้า หากเราไม่ถูกก�าหนดให้ได้รับ อันตราย อะไรๆ ก็ไม่สามารถทา� อนั ตรายเราได้ ถา้ ชวี ิตของเราศรทั ธาอย่าง นี้ เรากจ็ ะมแี ต่ความสขุ ” ถอ้ ยคา� อนั หนักแนน่ และมเี หตผุ ลของท่าน ทา� ให้ หัวใจของฉันโล่งสบายและเป็นสุขอย่างเหลือเช่ือ ฉันรีบพยักหน้าเพ่ือ ตอบรับในการไปเยือน ‘แผ่นดินหลากวัฒนธรรม’ ท่ีเคยปฏิเสธป๊ะกับม๊ะ ทกุ ครงั้ ด้วยรอยย้มิ อนั เตม็ ใจ วันถัดมาหลังจากที่เราท้ังสามคนต่ืนขึ้นมาเพ่ือรับประทาน อาหารซาโฮร์2 อาบน้�า แต่งตัว และละหมาดซุบฮี3 รวมท้ังจัดเตรียม สัมภาระท่ีจ�าเป็นใส่กระเป๋าเดินทาง เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมเราก็ออก เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวจากหมู่บ้านลานควายต้ังแต่ฟ้าสาง เมื่อรถแล่น มาถึงอา� เภอนาหม่อม จงั หวดั สงขลา ป๊ะได้เลา่ ใหฉ้ ันกับมะ๊ ฟงั ว่า เม่ือ 20 ปี ท่แี ล้ว ป๊ะและคณุ อาไดร้ ับคา� สัง่ จากโต๊ะชาย4 ของฉนั ให้ท่านทัง้ สองเดินทาง มาศึกษาต่อด้านวิชาการศาสนาอิสลามท่ีปอเนาะดาลอ อ�าเภอยะหร่ิง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ อย่างกว้างขวาง และช่วงเวลาท่ีป๊ะกับคุณอาใกล้ส�าเร็จการศึกษา คุณอา กไ็ ด้พบรกั กับหญิงสาวสวยคนหนึ่งโดยบังเอญิ ใน ตลาดจะบังติกอ ในท่สี ดุ ผู้หลักผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายก็ได้จัดพิธีนิกาห์5 ให้แก่บุคคลท้ังสองตาม หลักศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุน้ีจังหวัดปัตตานีจึงกลายเป็นจุดหมาย ปลายทางสา� คญั หนึ่งซง่ึ ป๊ะกบั มะ๊ เดนิ ทางไปแวะเวยี นและซื้อสินคา้ พืน้ เมอื ง มาฝากญาติๆ และเพ่ือนบ้านอยู่บ่อยคร้ัง ป๊ะขับรถด้วยอัตราความเร็ว 2 อาหารดกึ เพื่อเตรยี มร่างกายใหพ้ รอ้ มสา� หรบั ถอื ศลี อด 3 รุ่งอรุณ 4 คณุ ปู่ 5 แต่งงาน 17

ตามท่ีกฎหมายก�าหนด ม๊ะของฉันผล็อยหลับไปแล้วเพราะการงานท่ี แน่นขนัดตลอดท้ังวันที่ผ่านมา ฉันอ่านป้ายบอกสถานท่ีและระยะทาง ข้างถนนอย่างสนใจ ท�าให้ทราบว่าอีกสักพักเราน่าจะล่วงเข้าเขตจังหวัด ปตั ตานี ด่านตรวจความมน่ั คงปรากฏให้เราไดต้ นื่ เตน้ ถีข่ ้ึนๆ แม้บรรยากาศ และข้นั ตอนดจู ะเขม้ งวดไปหน่อย แต่ภาพรอยย้มิ ของพวกพี่ๆ เหลา่ ทหาร กล้าก็ได้สร้างความอบอุ่นหัวใจอย่างมากมายให้แก่ผู้มาเยือนตัวน้อย อยา่ งฉนั ประมาณ 09.00 น. เราก็เดนิ ทางมาถึงบา้ นของคุณอาซงึ่ ตั้งอยู่ ตรงตลาดขา้ งๆ มัสยดิ กลางปัตตานี ทันทีท่ีรถจอด ฉันรีบลงมาจากรถด้วยความรู้สึกต่ืนเต้นในส่ิงท่ี สายตาได้สัมผัส มันคือทัศนียภาพสุดอัศจรรย์ใจของศาสนสถานอันลือลั่น ป๊ะกับม๊ะยิ้มและหัวเราะท่ีเห็นอาการต่ืนเต้นและมีความสุขของฉัน เมื่อ เสียงบีบแตรสั้นๆ 2-3 ครั้งจากรถของเราดังข้ึน ช่ัวครู่คุณอา คุณอาหญิง (ภรรยาของคุณอา) และลูกสาวของท่าน ซ่ึงมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับฉัน ก็เดินออกมาต้อนรับท่ีหน้าบ้านด้วยมารยาทอันงดงามและรอยย้ิมอัน แสนอบอุ่น คุณอาเอ่ยชวนเราให้เข้าไปนั่งพักยังห้องรับแขก อุณหภูมิห้อง อยู่ในระดับท่ีเย็นสบายท้ังท่ีไม่ได้เปิดเคร่ืองปรับอากาศ เน่ืองจากรอบๆ บ้านของท่านเต็มไปด้วยต้นไม้และไม้ประดับนานาพันธุ์ ส่วนหน้าบ้านยังมี น�้าตกจ�าลองขนาดย่อมซ่ึงมีสายน้�าไหลรินดูสดช่ืนเย็นตา และด้วยเพราะ อยู่ในช่วงเดือนแห่งความจ�าเริญ อาหารการกินและเครื่องดื่มช่วงกลางวัน จึงไม่มีความจ�าเป็นใดๆ ส�าหรับมุสลิมอย่างเรา ถึงแม้ตอนน้ันร่างกายของ ฉันจะท่วมท้นไปด้วยความหิวและกระหาย แต่ในใจกลับรู้สึกอิ่มเอมไปกับ บรรยากาศการตอ้ นรับสดุ พเิ ศษจากครอบครัวผู้เป็นนอ้ งชายป๊ะของฉนั การสนทนาระหวา่ งปะ๊ กบั คณุ อาและมะ๊ กบั คณุ อาหญงิ เตม็ ไปดว้ ย ความสนุกสนาน ความหลังเรื่องแล้วเร่ืองเล่าถูกพูดถึงอย่างเพลิดเพลิน จากผู้ใหญ่ท้ังส่ีท่าน ฉันแนะน�าตัวและท�าความรู้จักกับลูกสาวของคุณอา 18

ซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกพ่ีลูกน้องของฉัน เธอมีช่ือว่า “ฟาติมะฮ์” เราทั้งสองคน คุยกันตามประสาคนก�าลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอย่างสนุกสนาน ...เป็นอย่างท่ี ใครต่อใครได้เคยบอกฉันไว้ว่า ‘เวลาแห่งความสุขย่อมพ้นผ่านไปอย่าง รวดเรว็ เสมอ’ กระทั่งเสียงเรียกร้องภาษาอาหรับสุดไพเราะได้ดังขึ้นจากหอ อาซานสูงตระหง่านทั้งสี่ของมัสยิดกลางแห่งปัตตานี ด้วยระยะห่าง ระหว่างบ้านของคุณอากับมัสยิดท่ีใกล้กันมาก คุณอาจึงเอ่ยชวนทุกคนใน บ้านให้เดินไปละหมาดซุฮรี คุณอาหญิงชวนม๊ะและฉันเดินไปยังห้อง แต่งตัวเพ่ือเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดละหมาด เพียงห้านาทีถัดจากน้ัน เราทุกคนก็อยู่ในชุดท่ีพร้อมส�าหรับประกอบศาสนกิจด้วยหัวใจที่เปี่ยม ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจา้ ผู้คนหล่ังไหลกันมาตามเสียงเรียกร้องแห่งศาสนา ภายในระยะ เวลาสั้นๆ เคร่ืองแต่งกายพื้นเมืองหลากสีสันของชาวบ้านดูละลานตา พิธี ละหมาดเร่ิมขึ้นตามเวลาท่ีก�าหนดไว้ในแต่ละวัน ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงพิธี ละหมาดและการขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าก็จบลงด้วยความราบร่ืนชื่นใจ ผู้คนกระจดั กระจายออกจากมัสยิดกนั ด้วยรอยยิ้ม เราทั้งหกคนมารวมตัวกันที่บริเวณหน้ามัสยิดตรงจุดท่ีนัดหมาย กนั ไว้ คุณอาได้เสนอความคดิ ให้เรากลบั ไปหลบรอ้ นนอนหลับเพ่ือพกั ผ่อน เก็บแรงกันสักเล็กน้อย ทุกคนเห็นด้วย, เม่ือเราเดินกลับไปถึงบ้านของ คณุ อา ฉันกบั พี่ฟาติมะฮ์อาสายกกระเป๋าเดนิ ทางลงจากทา้ ยรถและลากไป เก็บท่ีห้องรับรองแขกท่ีคุณอาหญิงเตรียมไว้ เม่ือไปถึงห้องนอนใหญ่ที่ถูก จัดไว้อย่างเป็นส่วนตัว หลังจากเปล่ียนเคร่ืองแต่งกายเป็นชุดล�าลอง ด้วย ความอ่อนเพลียจากการเดินทางไกล ป๊ะม๊ะและฉันก็ผล็อยหลับไปบน ท่ีนอนแสนสบายโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว เสียงอัสร6ี ท่ีก้องดังท่ัวพื้นท่ีอัน กว้างใหญ่ได้ปลุกให้ครอบครัวของฉันตื่นขึ้นมาเตรียมละหมาดอย่างสดช่ืน 6 อาซานยามเย็น 19

ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าหายไปเป็นปลิดท้ิง แต่ความหิวและกระหายยัง คงอยู่และเพ่ิมขึ้นเร่ือยๆ เราใช้เวลาล้างหน้าล้างตา อาบน�้าละหมาด รวมทั้งสวมชุดละหมาดเพียงไม่นาน พวกเราท้ังสองครอบครัวก็เดินไป ละหมาดตามบทบาทท่ีศรทั ธาชนพงึ กระทา� ระหว่างเดินกลับมายังท่ีพักคุณอาได้ชวนให้เราทุกคนไปเที่ยว และจับจ่ายของละศีลอดท่ี ตลาดจะบังติกอ ซ่ึงเป็นตลาดเก่าแก่ที่ จ�าหน่ายของกินช่วงเดือนรอมฎอนที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปัตตานี ฉันดีใจ เปน็ อยา่ งมากจนลบลืมภาพความรนุ แรงในพืน้ ทีไ่ ปจนหมดส้ิน ปะ๊ เสนอวา่ อยากให้ทุกคนไปกับรถของท่านซ่ึงสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 7 ท่ีน่ัง แม้มันจะค่อนข้างเก่าไปหน่อย แต่ก็กว้างขวางและมีสภาพเครื่องยนต์ที่ดี ทุกคนเห็นด้วยกับข้อเสนอของป๊ะ หลังจากเปลี่ยนชุดละหมาดเป็นชุด พ้นื เมืองปกติ เราทกุ คนจงึ เดนิ ตรงไปขนึ้ รถของปะ๊ อยา่ งพร้อมเพรียง ไม่นานนักเราก็เดินทางมาถึงย่านตลาดชื่อดัง การจราจรจอแจ ตดิ ขดั ราวกับอยใู่ นเขตเมืองหลวง เราหาที่จอดรถค่อนข้างล�าบาก แต่ก็นับว่าเรายังมีโชคอยู่บ้าง ในที่สุดป๊ะของฉันก็พบกับช่องจอดรถจนได้ คุณอาอาสาท�าหน้าที่ มัคคุเทศก์ในฐานะเจ้าถิ่นคนหน่ึงของปัตตานี ส่วนป๊ะของฉันเสนอว่า จะขอเป็นเจ้ามือส�าหรับม้ือพิเศษนี้ เม่ือลงจากรถเราเดินตามคุณอาไป โดยฝ่าแทรกฝูงชนนับร้อยนับพัน แม้พวกเขาโดยมากจะใช้ภาษาท่ีฉัน ไม่เข้าใจ แต่ฉันก็สัมผัสได้ถึงภาษาใจที่พวกเขาสื่อถึงกันและกัน เท่าท่ีฉัน สังเกตมีพ่ีน้องไทยพุทธและชาวไทยเชื้อสายจีนจ�านวนไม่น้อยยืนพูดคุย กับเพ่ือนๆ ชาวไทยมุสลิมและซื้อของกินอย่างใกล้ชิดสนิทสนม คุณอาให้ สิทธิ์ครอบครัวของฉันเป็นผู้เลือกเมนู ป๊ะเลือกซ้ือปลาซาบะย่างและบูดู ทรงเครื่อง ส่วนม๊ะเลือกซื้อไก่อบโอ่งและสะเต๊ะเนื้อสีสันน่ารับประทาน ส่วนเมนูที่ฉันเลือกก็คือ ทาโกะยากิ ซูชิ ลูกช้ินย่าง และผัดเปรี้ยวหวาน ของโปรด ปิดท้ายด้วยการเลือกของหวานของคุณอาได้แก่ ปูโละกายอ7 20

ทองหยิบ ทองหยอด และสละลอยแก้ว หลังจากจับจ่ายอาหารส�าหรับ ละศลี อดเสร็จ เรากเ็ ดนิ กลับไปขนึ้ รถอยา่ งอารมณด์ ี คุณอาหญิงบอกฉันวา่ ขณะที่ครอบครัวของฉันก�าลังหลับกันอยู่นั้น ท่านได้ท�าเมนูท่ีคาดว่าฉัน นา่ จะชอบคือ ‘ตูปะซูตง8’ และแกงเขียวหวานลกู ชน้ิ ปลากราย ฉนั เอย่ ค�า ขอบคณุ คณุ อาหญิงดว้ ยความซาบซ้งึ ใจ ตะวนั ดวงใหญ่ใกลแ้ ตะเสน้ ขอบฟา้ เตม็ ที ฝงู นกกาเรมิ่ ทยอยบนิ กลับรังนอน ป๊ะเร่งความเร็วเพ่ือให้พวกเราเตรียมทุกสิ่งอย่างส�าหรับละ ศีลอดและละหมาดมัฆริบ9 ได้ทันเวลา ไม่นานนักเราก็ได้มาถึงหน้าบ้าน ของคุณอา ฉันกับพ่ีฟาติมะฮ์อาสาขนของที่ซ้ือมาทั้งหมดเข้าไปในครัวเพ่ือ จัดใส่จาน รวมท้ังตักอาหารที่คุณอาหญิงปรุงต้อนรับเราด้วยความหิว กระหายถึงขีดสุด คุณอาหญิงและม๊ะตามเข้ามาตรวจดูเผื่อว่ามีอะไร ขาดตกบกพร่อง ปฏิทินอิสลามท่ีแขวนไว้ตรงฝาผนังท�าให้ฉันรู้ว่าอีกไม่ก่ี นาทเี วลาแห่งการรอคอยของมสุ ลิมทุกคนกา� ลังจะเร่ิมต้นขน้ึ แล้ว เสียงอาซานดังกังวานขึ้นทันทีที่ดวงตะวันลับขอบฟ้าปัตตานี คุณอาน�าอ่านดุอาอ์ละศีลอดเพ่ือแสดงถึงการร�าลึกในพระเมตตาแห่ง องค์พระผู้อภิบาล พวกเราเริ่มละศีลอดด้วยอินทผลัมหอมหวานตาม ซนุ นะห1์ 0 ตามดว้ ยนา้� ขิงอ่นุ ๆ เพอ่ื ฟนื้ คืนความสดช่ืนให้แกร่ า่ งกาย คณุ อา เอ่ยชวนพวกเราไปละหมาดยามพลบค่�าให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อนแล้ว จงึ ค่อยมารว่ มรับประทานอาหารมอื้ สุดพเิ ศษนีด้ ้วยกัน หลงั จากทกี่ ลบั มาจากการเขา้ เฝา้ และขอพรตอ่ องคพ์ ระผเู้ ปน็ เจา้ เรารีบเดินกลับมาแล้วมุ่งตรงไปยังห้องครัวบ้านคุณอา อาหารนานาชนิด ถูกจัดเรียงและประดับจานไว้บนโต๊ะอาหารอย่างสวยงาม คุณอาเอ่ยชวน 7 ข้าวเหนยี วสงั ขยาแบบปัตตานี 8 หมึกยดั ไส้ขา้ วเหนียว 9 ละหมาดตะวนั ตกดนิ 10 โดยรวมแล้วหมายถึง การปฏิบัติหรือการด�าเนินชีวิตตามแบบอย่างของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ็อลลัลลอ ฮอุ ะลัยฮิวะซัลลัม) 21

ครอบครัวของฉันในฐานะแขกใกล้ชิดให้เริ่มรับประทานก่อนด้วยสีหน้า ยิม้ แยม้ แจม่ ใส บรรยากาศแห่งความสุขดา� เนนิ ไปตลอดมือ้ อาหารสดุ พิเศษ มื้ออาหารในความทรงจ�าที่ได้รวมสองครอบครัวซ่ึงอยู่ห่างไกลไว้ด้วยกัน อยา่ งใกลช้ ดิ หลังจากบรรยากาศการละศีลอดสิ้นสุดลง คุณอาหญิงเอ่ยชวน เราใหไ้ ปนง่ั ผอ่ นคลายทหี่ อ้ งรบั แขกฉนั กบั พฟี่ าตมิ ะฮอ์ าสายกจานขนมหวาน ท่ีถูกจัดเป็นชุดๆ ไปเสิร์ฟรอในทันที หลังจากรับประทานของหวานเสร็จ คุณอาก็เอ่ยถามฉันถึงประวัติความเป็นมาของมัสยิดกลางปัตตานี ฉันส่าย ศีรษะและย้ิมเขินด้วยความไม่รู้ รู้แต่เพียงว่ามันสวยงามราวกับฉากใน เทพนิยายอาหรับ คุณอาผู้ใจดีจึงพาฉันและทุกคนย้อนเวลากลับไปเม่ือ 60 กว่าปีที่แล้ว ตอนน้ันรัฐบาลได้เล็งเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้นับถือศาสนาอิสลาม จึงสมควรให้จัดสร้างมัสยิด ขนาดใหญ่และมีความอลังการเพ่ือเป็นเกียรติภูมิแก่ประชาชนปลาย ด้ามขวานและชาวไทยมุสลิมทุกคน และเพื่อเป็นศูนย์รวมหนึ่งในการ ประกอบศาสนกิจที่มนั่ คงถาวร จนกระทั่ง พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อย่างเป็นทางการ จากน้ันก็ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 9 ปีจึงแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ สิ่งท่ี หลายๆ คนอาจยังไมท่ ราบคือ มัสยดิ สดุ ตระการหลังน้ไี ดร้ ับแรงบันดาลใจ มาจากความวิจิตรของ “ทัชมาฮาล” แห่งประเทศอินเดีย หนึ่งในเจ็ด สิ่งมหัศจรรย์ของโลกซ่ึงได้ช่ือว่าเป็น ‘อนุสรณ์แห่งความรัก’ แต่เดิมน้ัน มัสยิดกลางหลังน้ีมีหออาซานเพียงสองต้นเท่าน้ัน กระท่ังเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์อันแสนซาบซึ้งได้เกิดขึ้นท่ีน่ี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2536 องค์ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยพระราชินีได้เสด็จพระราชด�าเนิน เย่ียมเยียนผู้น�าศาสนาอิสลามและประชาชน ณ มัสยิดกลางปัตตานี องค์ในหลวงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการในสมัยนั้นให้ด�าเนินการบูรณะปรับปรุงอาคารมัสยิดกลาง 22

ปัตตานี ดว้ ยน�้าพระทยั อนั ไพศาลของพระองคท์ า่ นในครั้งน้นั มสั ยดิ หลงั นี้ จึงมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีหออาซานเพิ่มข้ึนอีกสองต้น จึงไม่มีคร้ังใดเลยที่ คุณอาได้มองไปยังมัสยิดหลังน้ีแล้วไม่น้อมร�าลึกถึงความหลังแห่ง พระเมตตาของพระองค์ท่าน...ย่ิงตอนน้ี...ไม่มี...พระองค์แล้ว...ความรู้สึก นัน้ ...กย็ ิง่ ท่วมท้นจนไมม่ ีทสี่ ้นิ สุด... คุณอาเล่าได้เพียงแค่น้ัน ฉันได้เห็นน้�าตาท่ีกระทบแสงไฟใน ดวงตาของท่าน พลอยท�าให้ฉันและทุกคนในวงสนทนาตื้นตันและมีน้�าตา กบั ทา่ นไปด้วย ขณะนัน้ เองเสยี งอาซานละหมาดอีชา11 ดงั ข้นึ พอดี คณุ อา ได้เอ่ยชวนพวกเราไปร่วมละหมาดอีชาและละหมาดสุนัตตารอเวียะห์12 เราเดินไปยังมัสยิดขณะท่ีเสียงอาซานยังกังวานท่ัวพื้นท่ี ภาพมัสยิดกลาง ปัตตานีในยามค�่าคืนช่างงดงามราวสรวงสวรรค์ แสงไฟหลากสีสันท่ีส่อง สว่างช่วยท�าให้มัสยิดดูย่ิงใหญ่อลังการ ส่วนผืนธงชาติไทยผืนใหญ่ที่ปลิว ไสวอยู่เหนือมุขด้านบนของมัสยิดกลางปัตตานีได้ท�าให้ฉันรับรู้ว่า… แผ่นดินที่ฉันยืนอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่ดินแดนใดอื่น หากแต่เป็นแผ่นดินสยาม ทีอ่ ยูใ่ ต้ร่มไตรรงค์มาชา้ นาน... “กร๊งิ ๆๆๆ...” เสียงกร่ิงสัญญาณดังขึ้นจนฉันสะดุ้งและตกใจเล็กน้อย เพ่ือนๆ หลายคนว่งิ ไปทหี่ ้องเรียนชนั้ บนกนั หมดแลว้ ฉันเกอื บลืมไปเลยวา่ ตนเองมี ภาระงานสุดท้ายที่จะต้องน�าเสนอแบบปากเปล่ากับเพื่อนๆ หน้าชั้นเรียน ในหัวข้อ “หน่ึงประสบการณ์ชีวิตท่ีฉันประทับใจมากท่ีสุด” ฉันรีบพา ตัวเองก้าวออกจากห้องสมุดไปยังห้องเรียนให้ทันเวลาที่คุณครูวิชา ภาษาไทยนดั หมายไว้ ที่ส�าคัญ...เดือนรอมฎอนปีน้ีตรงกับช่วงปิดเทอมใหญ่พอดี ช่าง น่าเสียดาย...ขณะนี้บ้านเมืองของเราและหลายประเทศท่ัวโลกกลับต้อง 11 ละหมาดกลางคืน 12 ละหมาดท่ีสง่ เสริมให้มสุ ลมิ กระท�าเฉพาะในเดือนรอมฎอนเท่านนั้ 23

เผชิญกับวิกฤติไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) ท�าให้โปรแกรมท่ี ครอบครัวของฉันจะไปเยือนจังหวัดปัตตานีในเดือนรอมฎอนนี้มีอันต้อง พักไว้ก่อน ณ ตอนน้ีสิ่งท่ีเด็กน้อยอย่างฉันพอจะกระท�าได้คือการให้ความ ร่วมมือในการป้องกันตนเองและครอบครัวตามค�าแนะน�าของกระทรวง สาธารณสุข พร้อมทั้งวิงวอนพระผู้เป็นเจ้าทุกครั้งหลังละหมาดให้ประเทศ ไทยและโลกของเรารอดพ้นจากความไม่ปกติน้ีโดยเร็ว หากสถานการณ์ การแพร่ระบาดเบาบางและหายไป ฉันจะรีบช่วยป๊ะกับม๊ะตระเตรียม ผลไม้และท�าขนมพ้ืนบ้านของฝากจากหมู่บ้านลานควายไปให้พร้อม เพราะเม่ือวานซืนที่ผ่านมา...คุณอาได้ส่งข้อความส�าคัญเข้ามายังไลน์ สว่ นตวั ของฉันแล้วว่า... “โควดิ หายไปเม่ือไหรม่ าเจอกันใหไ้ ดน้ ะหลานรกั ” 24

อดี ลิ อฎั ฮำ วนั แห่งควำมสุขของชำวมสุ ลิม ดาลียา สวุ รรณ์ แสงเช้าวันใหม่เป็นสีทอง และมันส่องมาถึงห้องนอนของฉัน มีเสียงคนคุยกันมาจากข้างนอก ทุกคนคงต่ืนแล้ว ฉันก็นึกขึ้นได้ว่าวันนี้ เปน็ วนั รายออีดลิ อัฎฮา ฉันรู้สึกมีความสุขมากเลยท่ีจะได้ใส่ชุดรายอตัวใหม่ และจะได้ ไปละหมาดรายอกับครอบครัว แต่ฉันรู้สึกเสียใจข้นึ มาทันทเี มือ่ นึกขน้ึ ไดว้ า่ วันน้ีเราต้องฆ่าวัว แม่ฉันบอกว่าเราต้องกินเนื้อวัวเป็นมื้อแรกของวันถึงจะ กินอย่างอน่ื ได้ ตอนฉันละหมาดเสร็จก็มีคนท่ีมัสยิดน�าเนื้อวัวท่ีเพ่ิงเชือดมาต้ม ทีห่ นา้ มัสยดิ ทกุ คนตา่ งมาช่วยกนั ท�าอาหารม้ือแรก ฉนั กับแม่และคนอืน่ ๆ ลองชิม ทุกคนบอกว่ารสชาติมันอร่อยมากๆ แต่ฉันรู้สึกไม่อร่อยเลย ฉัน สงสารวัวตวั ท่ีถกู เชือดเหลือเกิน เราทุกคนในหมู่บ้านต่างมาสัมผัสมือ ขอมะอัฟให้อภัยต่อกัน ด้วยรอยย้มิ เสร็จจากกิจกรรมที่มัสยิดพ่อกับแม่ของฉันให้ฉันขึ้นรถเพ่ือ ไปเชอื ดววั ทีบ่ า้ น “เราจะทา� เนอ้ื กุรบาน” แมบ่ อกฉนั ยายของฉันเคยบอกว่า กุรบานคือการเชือดพลีเพื่อแจกจ่าย และแบ่งปันให้กับคนอ่ืนๆ ท้ังญาติพ่ีน้องและคนท่ีไม่มีฐานะท่ีจะท�า 25

กุรบานได้ พ่อแม่ของฉันเคยน�าหนังสือเล่มหนึ่งให้ฉันอ่าน ถึงท่ีมาและ ประวัติของกรุบาน ตามประวัติศาสตร์อิสลามท่ีปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงต้องการท่ีจะทดสอบความศรัทธาของนบีอิบรอฮีม (หรือ อับราฮัม) ดังน้ันคืนหน่ึงอัลลอฮ์จึงได้ทรงท�าให้นบีอิบรอฮีมฝันว่า พระองค์ทรงมีบัญชาให้ท่านเชือดอิสมาอีลลูกชายของท่านเป็นการ พลีถวายให้แก่พระองค์ ในวันรุ่งขึ้นนบีอิบรอฮีมจึงได้น�าเร่ืองนี้ไปเล่าให้ อิสมาอีลฟัง อิสมาอีลมิได้ตกใจกลัวต่อค�าบอกเล่าดังกล่าวแต่ประการใด ซ�้ายังบอกแก่นบีอิบรอฮีมผู้เป็นพ่อว่า “หากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า แล้วก็ขอให้พ่อปฏิบัติตามและพ่อจะพบว่าฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดา ผอู้ ดทน” ดังนั้นนบีอิบรอฮีมจึงได้น�าอิสมาอีลไปยังสถานท่ีแห่งหนึ่งเพื่อ ทา� ตามค�าส่งั ของอลั ลอฮ์ ในระหว่างทางอิบรอฮมี ได้ถูกมารรา้ ยล่อลวงมใิ ห้ ท่านท�าตามค�าส่ังถึงสามครั้งในที่ต่างๆ กัน แต่ท่านก็สามารถที่จะเอาชนะ การล่อลวงของมารร้ายและใช้หินขว้างขับไล่มันไปในที่สุด เม่ือมาถึง สถานท่ีแห่งหนึ่งซ่ึงนบีอิบรอฮีมจะใช้เป็นที่เชือดบุตรและเตรียมจะลงมือ เชือด อัลลอฮ์ก็ทรงเห็นว่านบีอิบรอฮีมเป็นผู้ศรัทธาท่ีพร้อมจะปฏิบัติตาม ค�าส่งั ของพระองค์จรงิ พระองคจ์ งึ ไดม้ บี ัญชาใหน้ บอี ิบรอฮมี เชือดแกะหรือ แพะแทนลูกชายของท่าน การเชือดสัตว์พลีทานจึงเป็นท่ีปฏิบัติอย่างหน่ึง ในการประกอบพิธีฮัจญ์ ท้ังนี้เพ่ือเป็นการกระตุ้นให้มุสลิมได้ร�าลึกถึง วีรประวัติแห่งความศรัทธาต่อพระเจ้าและการเสียสละอันสูงส่งของ นบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอลี ฉันเองกไ็ มเ่ ข้าใจอะไรเทา่ ไหรห่ รอก แตพ่ ่อฉันพดู กับฉันว่า “พอ ลกู โตขน้ึ อีกหนอ่ ยก็จะเข้าใจเองแหละ” พอกลับไปถึงบ้าน พวกเราต้องไปรวมตัวกันที่ในสวนหลังบ้าน 26

คนเชอื ดวัวรอเราอยแู่ ลว้ ทกุ คนไปกันหมด เหลือแตฉ่ นั ท่ีไมก่ ลา้ ไปดู พอ่ ฉนั จูงมือฉันไปยืนดูได้แป๊บเดียวฉันก็ว่ิงหนี ฉันรู้สึกสงสารมัน วัวตัวน้ันก�าลัง จะถูกเชอื ด ฉนั กลวั สักพักนึงพ่อฉันก็น�าเน้ือวัวที่ใส่ในกะละมังมาวางไว้หน้าบ้าน ให้ยายฉนั เป็นคนจดั การ เนื้อวัวบ้านฉันมีเจ็ดส่วน หมายถึงวัวหน่ึงตัวมีคนลงเงินช่วยกัน ซ้อื เจด็ คน ยายฉันเก็บเน้อื วัวสว่ นหนงึ่ ไวก้ ินเองและแบ่งใหค้ นในครอบครวั ที่เหลือก็ห่ันแบ่งใส่ถุงแจกจ่ายให้กับญาติคนอ่ืนๆ และเพื่อนบ้านท่ีเขา ไมส่ ามารถทจี่ ะท�ากรุ บานได้ ทุกคนช่วยกันห่ันเนื้อ อีกคนก�าลังก่อไฟท่ีเตาเพื่อต้มเนื้อ บรรยากาศดสู นุก แตฉ่ ันยังรู้สกึ เศร้าๆ เนื้อในกระทะเริ่มสกุ แลว้ พอ่ ฉนั เอาเสอื่ มาปู แมฉ่ นั ใหฉ้ ันไปซอื้ น้�าแข็งใส่ลังเอาไว้ มีน�้าอัดลมวางเต็มหลายขวด เป็นน�้าอัดลมที่คนบ้าน ใกล้ๆ เอามาให้ พอเน้ือต้มสุก ทุกคนต่างมารวมตัวกันน่ังล้อมวงที่เสื่อ ฉันมี หน้าท่ีเสิร์ฟน้�า ฉันจะตักน�้าแข็งใส่แก้ว เทน�้าอัดลมแล้วเดินเอาไปให้ ทุกคน ฉันสนุกมากกับการได้ท�าหน้าท่ีนี้และรู้สึกดีใจที่เห็นรอยยิ้มของ ทกุ คน หลังจากเมนูเนื้อต้ม แม่ฉันก็ท�าเนื้อย่าง ฉันมีหน้าที่ย่างเนื้อ คอยดูไมใ่ ห้มนั ไหม้ พอเนื้อเริ่มสกุ เรากเ็ อาเนือ้ ไปท�าลาบ ฉันเร่ิมหิว ก็เลยกินเนื้อย่างไปชิ้นหนึ่ง เนื้อมีรสชาติหวานนุ่ม มาก พ่อฉันพดู กบั ฉนั ว่า “น้องยม้ิ บา้ งสิ ดูคนอ่นื ๆ เขาสนกุ กันสิ วนั นีเ้ ปน็ วันท�าบญุ นะครับ” ฉนั ย้ิมออกมา แลว้ ทุกคนก็หวั เราะกันใหญ่ ไม่นานหลังจากนั้นก็เร่ิมมีคนบ้านใกล้ๆ และญาติจากที่อื่นมา ทบ่ี า้ น ยายฉนั จะแบ่งเนือ้ ให้คนละถงุ ทกุ คนมีรอยย้มิ เบกิ บานดมู คี วามสขุ 27

และก็ได้กินเนื้อตม้ กอ่ นกลับด้วย เสียงทักทายกนั และบรรยากาศท่ดี ีแบบน้ี ทา� ให้ฉนั ยิ้มได้ วนั นวี้ ันรายอ และเปน็ วนั รายอท่ีฉนั รสู้ กึ สงสารวัวตวั น้ัน แตฉ่ ัน ก็มีความสุขเม่ือเห็นรอยย้ิมของทุกคนในหมู่บ้าน และฉันได้ท�าความดี แบ่งปันเนื้อให้กับคนอ่ืน ฉันยังไม่เข้าใจความหมายของกุรบานลึกซ้ึง เหมือนพ่อกับแม่และยายของฉัน แต่ฉันก็มีความสุขมากๆ เมื่อเห็นทุกคน มาอยู่ด้วยกันในวันน้ี และฉันได้เป็นส่วนหน่ึงของการแบ่งปันในวันแห่ง บญุ ท่ยี ิง่ ใหญ่ของคนมสุ ลิม 28

ของขวัญจำกพระเจ้ำ นูรฟาเดยี ร์ หะยีมซู อ “อัลฮัมดุลิละห์ บรรดาสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์” พ่อได้กล่าว คา� ขอบคณุ ตอ่ พระเจา้ เอกองคอ์ ลั ลอฮ์ ด้วยความซาบซึ้งใจหลงั จากที่พ่อได้ พร�่าวิงวอนขอดุอาอ์จากอัลลอฮ์ถึงความอยากได้บุตรชาย บัดน้ีพ่อสมหวัง แล้ว แม่ได้คลอดลูกชายตามท่ปี รารถนา ลกู ชายท่ีจะสืบวงศต์ ระกูลของพอ่ น�ามาซ่ึงความสขุ เบกิ บานใจส่คู รอบครัวเรายงิ่ นกั ทันทีท่ีน้องลืมตาดูโลกพ่อได้ท�าการอาซาน1 หูข้างขวาและ อิกอมะห์2 หูข้างซ้ายของน้อง เป็นบทบัญญัติของอิสลามที่ต้องให้ผู้ที่เป็น บิดากระท�าส่ิงน้ีให้เด็กแรกเกิด สัมผัสประสาทได้ยินด้วยถ้อยค�าท่ีแสดง ถึงความย่ิงใหญ่ของอัลลอฮ์ในนาทีแรกท่ีมาสู่โลกใบนี้ ต่อไปนี้ฉันได้มี น้องชายและฉันน่าจะเป็นพี่สาวท่ีแสนดีของน้อง ฉันถามพ่อว่า “เรา จะตั้งชื่อน้องว่าอะไรดี” ฉันรู้มาว่าการตั้งชื่อลูกในอิสลามนั้นต้องมี ความหมายดีเหมือนอย่างศาสนาอ่ืนท่ัวไป ถ้าเป็นลูกชายมักต้ังชื่อตาม บรรดานบีและเหล่าคนดีในประวัติศาสตร์ พ่อปรึกษาทุกคนในครอบครัว ถงึ การตั้งชอ่ื ลูก และตกลงกันว่านอ้ งของฉันชอื่ “มฮู มั หมดั ” ฉนั คดิ ว่าชอ่ื นี้ ดีมาก เพราะชื่อมูฮัมหมัดเป็นชื่อศาสดาของศาสนาอิสลาม เป็นช่ือท่ีนิยม ของมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพ่ือหวังว่าจะมีผลต่อเด็กในแง่ 1 การประกาศเพ่ือให้ได้รับรูถ้ ึงการเขา้ เวลาละหมาดด้วยถ้อยคา� เฉพาะ 2 การทา� อิบาดะห์โดยประกาศให้รู้ถงึ การทา� ละหมาดดว้ ยถ้อยคา� เฉพาะ 29

ของการยดึ ถอื เป็นแบบฉบบั ในการดา� เนนิ ชวี ติ หลังจากที่น้องมูฮัมหมัดเกิดได้เจ็ดวัน พ่อก็ตระเตรียมการ ท�าพิธี “อากีเกาะห์” เป็นพิธีเน่ืองในโอกาสท่ีได้บุตร จะต้องกินแพะหรือ แกะทปี่ รุงเปน็ อาหาร โดยต้องเปน็ แพะหรอื แกะทีผ่ ลดั ฟันแลว้ และไมพ่ ิการ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าถ้าได้บุตรหญิงต้องกินแพะหรือแกะหนึ่งตัว ถ้าได้ บุตรชายตอ้ งกนิ แพะหรอื แกะสองตวั เม่ือถึงเวลาเลี้ยงอาหารแก่แขกหรือเพื่อนบ้านที่ต่างหลั่งไหล มาตามค�าเชิญด้วยความยินดีในริสกี3 ถือเป็นของขวัญอันล�้าค่าท่ีอัลลอฮ์ ทรงประทานให้ เพื่อนๆ ของพ่อมอบขวัญแก่น้องมูฮัมหมัด เป็นเส้ือผ้า ของใช้ส�าหรับเด็กทารก บ้างก็ให้เงินรับขวัญ เพื่อนของพ่อต่างขอดุอาอ์ จากอัลลอฮ์ให้มูฮัมหมัดตัวน้อยมีความสุขแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เจ็บไม่ไข้ และเป็นลูกท่ีซอและห์ หมายถึงลูกท่ีมีศรัทธา มีจิตใจดีงาม เชื่อมั่นใน อัลลอฮ์ ประพฤติตนในหนทางของศาสนา เป็นสิ่งที่ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ต้องการให้เป็นมากที่สุด ยังมีเพ่ือนต่างศาสนาที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง ก็มาร่วมแสดงความปีติยินดีอวยพรให้น้องมูฮัมหมัดด้วย เราอยู่ด้วยกัน อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ในบางคร้ังพ่อก็เก็บผักสวนครัวที่ปลูกหลังบ้าน แจกจ่ายแบ่งปันให้เพื่อนบ้านท่ีเป็นทั้งชาวไทยมุสลิมและชาวไทยพุทธ เราช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ต่างศาสนากันแต่ไม่อาจกั้นก�าแพงความ สัมพนั ธ์ได้ วันนี้ถือว่าเป็นวันดี วันแห่งความรื่นเริงของครอบครัวฉัน เป็น วนั ตอ้ นรับสมาชิกใหม่ นอกจากนไ้ี ด้พบปะสงั สรรค์คนในชมุ ชน ถอื โอกาส ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ฉันรู้สึกชอบภาพ บรรยากาศเชน่ นี้ ได้เห็นถงึ ความสวยงามของการผูกมิตรไมตรตี ่อกัน เสร็จสิ้นจากการเล้ียงอาหาร น้องมูฮัมหมัดได้ต่ืนข้ึนมาร้อง 3 โชคลาภอนั ประเสริฐ 30

แอ๊ะ แอ๊ะ เบาๆ ส่งสัญญาณว่าเริ่มหิวนมแล้ว ช่วงชีวิตของการเป็นเด็ก ทารกก็คงมีแต่กินกับนอนเท่าน้ัน แม่รีบให้น�้านมจากอกของแม่ พร้อม กลอ่ มว่า ซซู ู ลอื เมาะ มานิห์ ซันตัน ญอ มดู อ อาเดะ ยางัน มอื นางิห์ อาแมะ มาฮู เนาะ กรญี อ ค�าแปล นมหวานมนั นา�้ กะทิมะพร้าวอ่อน น้องจา๋ อย่ารอ้ งไห้ แม่เรง่ รอ้ นท�างานเอย ชาวมุสลิมก็มีเพลงกล่อมเด็กเหมือนทุกชาติทุกภาษา เพลง กล่อมเด็กของชาวมุสลิมจะไม่เคร่งครัดในเรื่องของสัมผัสมากนัก เน้ือหา อาจสอดแทรกในเรื่องของประวัติศาสตร์ วิถกี ารด�าเนนิ ชวี ิตของมสุ ลมิ และ เร่อื งอ่นื ๆ ทัว่ ไป แม่กล่อมน้องด้วยน้�าเสียงท่ีนุ่มนวลไพเราะท่ีสุด แสดงถึง ความรักความห่วงใยท่ีแม่มีต่อลูก แล้วน้องมูฮัมหมัดก็นอนหลับอย่าง อบอุ่นใจ พ่อลูบหัวมูฮัมหมัดเบาๆ และได้เอ่ยค�าพูดว่า “มูฮัมหมัดเอย ขอให้เจ้าเติบโตเป็นบ่าวท่ีดีของอัลลอฮ์ เป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ เป็นคนดี ของสังคม” ในค�าสอนของอิสลาม พ่อแม่ต้องมีความรับผิดชอบเล้ียงลูกอัน ย่ิงใหญ่ ต้องปลูกฝังการศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่ตั้ง 31

ภาคี สอนลูกใหอ้ ยใู่ นแนวทางอสิ ลาม เปน็ คนดขี องสังคม พ่อแมก่ จ็ ะไดบ้ ญุ ในทางกลับกันถ้าพ่อแม่ละเลยหน้าที่ความรับผิดชอบสั่งสอนลูก พ่อแม่ ก็จะมีบาปเช่นเดียวกัน พ่อได้วางแผนส�าหรับมูฮัมหมัดแล้วว่าโตขึ้นจะให้เรียนปอเนาะ ซ่ึงเป็นสถานท่ีเรียนศาสนาอิสลาม ต้องกินนอนและเรียนรู้การใช้ชีวิตใน ปอเนาะ ผู้ใดท่ีจบปอเนาะสังคมมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะ ให้การยอมรับ ภายภาคหน้าอาจได้เป็นผู้น�าทางศาสนา เช่น โต๊ะอิหม่าม โต๊ะบิลาล โต๊ะคอเต็ป ซ่ึงต�าแหน่งเหล่าน้ันได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีเกียรติ ในชุมชน พ่อของฉันหวังไปถึงขนาดน้ัน พ่อบอกว่า “ทุกอย่างเป็นไปได้ เสมอ เพยี งแต่ใหม้ ีความต้งั ใจ และอย่าลมื ดอุ าอจ์ ากอัลลอฮ์ อนิ ชาอลั ลอฮ์ อนิ ชาอัลลอฮ์ (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์) ความฝนั ไมไ่ กลเกนิ จริง” ลกู คือแก้วตาดวงใจของพอ่ แม่ ลกู คือทกุ อย่าง คอื แรงบันดาลใจ ลูกเป็นของขวัญจากพระเจ้าท่ีมีค่าที่สุด ลูกที่ดีจะน�าพาซ่ึงความสุขท้ัง โลกนีแ้ ละโลกหนา้ 32

ร่วมด้วยช่วยกันป้องกันโควิด 19 ยะหย์ า ยูโซะ๊ รถบสั ควนั โขมงเขา้ จอดชานชาลา ณ ดา่ นชายแดนไทย-มาเลเซยี แต่รอบนี้มันแปลกตรงท่ีสีหน้าแววตาของผู้คนส่อถึงความกังวล ความ ไม่สบายใจ ความไม่ไว้ใจซ่ึงกันและกัน น�้าเสียงท่ีเคยดังจอแจต้อนรับ ญาติๆ กลับบ้านกลับกลายเป็นเสียงเจ้าหน้าที่ด่านกับแพทย์จาก โรงพยาบาลต่างๆ แทน ตอนแรกฉันไม่เข้าใจหรอกว่าท�าไมจนกระท่ัง อาลีฟ ลูกพ่ีลกู น้องทกี่ ลับจากมาเลเซียบอกว่า “แพทย์ พยาบาล เขาตอ้ ง มาท�าหน้าท่ีตรวจไวรัสโควิดท่ีก�าลังแพร่ระบาดในตอนนี้ ป้องกันไม่ให้ มันลุกลามไปท่ัวแบบต่างประเทศน่ะสิ” ฉันนิ่งเงียบ สักพักเกิดความคิด ในหัวว่า ‘พวกเราทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน คิดหาทางแก้ปัญหาโรค โควิดทีเ่ กดิ ขึ้นในหม่บู า้ นเท่าที่จะทา� ได้’ หมู่บ้านของฉันชื่อ ดาโต๊ะ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ต้ังอยู่ชายหาด ตะโละสะมิแล อ.ยะหร่ิง จ.ปัตตานี ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และท�ากรือโป๊ะ อาหารข้ึนชื่อของจังหวัดปัตตานี ผู้คนใช้ชีวิตอย่างมี ความสุข ไม่เน้นความร�่ารวยแต่เน้นความสุขทางใจ ผู้น�าศาสนาเคยบอก เสมอว่าเราอยู่บนโลกใบน้ีใช้ชีวิตชั่วคราวเท่าน้ัน เสมือนกับการแสดง ละครตามบทบาทที่ได้เป็น ลูก พ่อ แม่ โลกท่ีถาวรกาลนานคือโลก อาคีเราะฮ์หลังจากเราสิ้นชีวิต หม่ันท�าความดีไว้เถอะเราจะได้มีความสุข ในภายภาคหน้า ฉันภูมิใจมากที่ได้อยู่ในหมู่บ้านแห่งน้ี ยามเกิดปัญหา 33

โรคระบาดโควิด 19 ผู้คนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามผู้น�า ตามบุคลากร ทางการแพทย์บอก ภาพท่ีฉันเห็นคือความสามัคคีของคนในหมู่บ้านท่ีฉัน จะเขยี นในวันนี้ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินห้ามไม่ให้คนออกจาก หมู่บ้านเกินสี่ทุ่ม ฉันเห็นคนในหมู่บ้านต่างแสดงพลังความรักความ สามัคคีกัน ปะเงาะเป็นเจ้าของรีสอร์ทริมชายหาด ฉันเห็นถึงความมีน้�าใจ ของเขา เขายอมให้คนในต�าบลที่กลับจากประเทศมาเลเซียมาพักเพื่อ สังเกตอาการ 14 วัน เขากุลีกุจอรีบหาข้าวหาอาหารเสื้อผ้าท่ีนอนต่างๆ และอ�านวยความสะดวกสบายแกเ่ จา้ หน้าทท่ี ่มี าตรวจสอบถาม มีหลายคน ถามว่า “ปะเงาะ ไมก่ ลวั ว่าจะเสยี ช่อื เสยี งรสี อรท์ เหรอ ที่น�าผูเ้ สยี่ งตดิ เชือ้ โรคโควดิ มาพักอาศยั รสี อร์ทตนเอง” ปะเงาะตอบไปวา่ “ไมก่ ลวั หรอก เรา เสียสละรีสอร์ทอันน้อยนิด แต่ผลบุญที่ได้พระเจ้าจะตอบแทนมหาศาลน่ะ การช่วยเหลือคนถือเป็นส่ิงที่ประเสริฐที่สุด เหมือนที่เขาว่า มือบนส�าคัญ กวา่ มอื ลา่ ง” คา� ตอบนที้ า� ใหฉ้ นั ฉกุ คดิ ไดว้ า่ ผคู้ นในพน้ื ทข่ี องฉนั จะไมแ่ สวงหา ความสุขทางโลกมากนัก แต่หวังผลในโลกข้างหน้ามากกว่า สอดคล้องกับ คา� สอนของศาสดาทีใ่ ห้มนุษย์หมัน่ ท�าความดี เพือ่ เป็นเสมือนบตั รเข้าไปยัง โลกสวรรค์ จากความคิดตรงนี้ท�าให้ฉันนึกถึงเมาะจูอีกคน เขาเป็น เจ้าหน้าท่ีอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หรือท่ีหลายคนรู้จักกันในนาม อสม. เขาท�างานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ไปเคาะประตูบ้านทุกบ้านเพื่อให้ ความรู้ค�าแนะน�าและข้อปฏิบัติเร่ืองโควิด 19 และเดินตรวจวัดอุณหภูมิ คนท่ีกลับมาจากประเทศมาเลเซียหรือพื้นท่ีเส่ียง เสร็จจากหลังนี้ก็ไปหลัง โน้นต่อ บ้านแล้วบ้านเล่าจนครบทุกหลัง เขาบอกฉันว่า “บางทีเมาะจูก็ เหน่อื ย ท้อ ถกู ด่าถกู ว่าเปน็ ประจ�า บางคนก็ไมใ่ ห้ความรว่ มมอื แตเ่ มาะจู ไม่ยอมแพ้ เอาความตั้งใจและความปรารถนาดีเข้าสู้ สักวันหนึ่งเขาจะ เห็นความบริสุทธิ์ใจที่เราท�าเพื่อชุมชนสังคมของเรา เมาะจูไม่ได้ต้องการ 34

ค�าอวยพร ค�าชมจากคนในหมู่บ้านหรือหัวหน้าหรอก เมาะจูแค่ต้องการ ให้พระเจ้าทรงตอบแทนผลบุญที่เราเสียสละในการสู้ภัยกับเชื้อโควิด 19 นี้มากกว่า” ฉันท่ึงกับค�าตอบของเมาะจู และเห็นด้วยกับค�าพูดของเขา คนเราหากมที ่พี ึ่งทางจิตใจท่ีดี มหี ลักธรรมทางศาสนาในใจ หากเหนอื่ ยทอ้ แคไ่ หนใจก็มคี วามสุข น้ีคือคนตัวอย่างในหมู่บ้านในช่วงโรคระบาดโควิด 19 ท่ีแสดง ให้เห็นถึงดอกไม้แห่งความรัก ความสามัคคีภายใต้หลักธรรมศาสนา อิสลามเพอื่ ขจัดโรคภัย พลงั ใดไม่ส�าคญั ทส่ี ุด ณ ตอนนี้ นอกจากพลงั ของ ความสามัคคี และไม่ใช่หน้าท่ีของใครคนใดคนหน่ึง แต่เป็นหน้าที่ของ ทุกๆ คนที่ต้องให้ความร่วมมือ ฉันเช่ือเหลือเกินว่าพลังความสามัคคีเล็กๆ ของคนสองคน จะกลายเป็นพลังแห่งความยิ่งใหญ่ต่อไป จากเมล็ดพันธุ์ เล็กๆ อนาคตออกดอกออกผลต่อไป และวันน้ันฉันก็จะได้เขียนถึงบุคคล ตวั อยา่ งทนี่ ่ายกยอ่ งในหมบู่ ้านอีกมาก 35

รักประเทศไทยคือหนำ้ ท่ีของพวกเรำทุกคน นูรลู นจั วา เจะนะ หมู่บ้านและจงั หวัดในภาคใตน้ ่าอยูม่ าก เพราะเปน็ ภาคท่ีมีครบ หมดเลย ท้ังสถานท่ีท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ ท้ังด้านเศรษฐกิจ และความ หลากหลายในวฒั นธรรมและศาสนาของชุมชน สวัสดีค่ะ หนูช่ือเด็กหญิงนูรูลนัจวา เจะนะ ตอนน้ีหนูอายุ 11 ขวบ เรยี นช้ันประถมศึกษาปที ี่ 5 ของโรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง หนู อาศัยอยู่กัน 3 คน แม่ พี่สาว และหนู ส่วนพ่อของหนูนั้นได้ทิ้งหนูให้อยู่ กับแมต่ งั้ แต่หนยู งั เลก็ หนูจา� ความไดก้ ม็ แี ต่แม่ทเี่ ป็นเสาหลกั ของครอบครัว หนู ส่วนพ่ีสาวหนูช่ือนูรูลฮูดา เจะนะ อายุ 14 ปี หนูสนิทกับแม่และ พส่ี าวมาก เพราะครอบครวั หนูมีกนั อยแู่ คน่ ี้เอง ชุมชนที่หนูอาศัยอยู่น้ันชื่อหมู่บ้านวังไชย ต้ังอยู่ในอ�าเภอ สายบุรี จังหวดั ปัตตานี ความเจรญิ ยังไมค่ อ่ ยมากนกั ไม่มกี ารจราจรรถรา ให้หนวกหูบ่อยครั้ง หมู่บ้านของหนูติดถนนสายเอเชียไปนราธิวาสกับ ปัตตานี คนในหมู่บ้านจะไม่มีอากาศเสียให้สูดดม มีแต่อากาศท่ีบริสุทธิ์ เพราะสวนและต้นไม้เยอะและยังมีล�าธารกับแม่น�้าอยู่ด้วย เพ่ือนบ้านเป็น กันเองมากเพราะมีการพ่ึงพาอาศัยกันอยู่เสมอ เช่น หากเพ่ือนบ้านจัด กิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมของศาสนาหรือกิจกรรมอื่นๆ พวกเราใน หมู่บ้านก็จะพากันหลั่งไหลไปช่วยงานทุกๆ ครั้ง น่ีคือเพ่ือนบ้านที่มีน้�าใจ มาช่วยงานกัน ตั้งแต่จ�าความได้จนถึงปัจจุบันทุกคนในหมู่บ้านก็จะท�า 36

เช่นนั้นเหมือนเดิม การท่ีมีมนุษยสัมพันธ์กับญาติพี่น้องและเพ่ือนบ้าน ท�าให้หนูมีความสุข ซ่ึงมันคือความสุขที่หาซื้อไม่ได้ คือความสุขท่ีไม่ต้อง เหงาวา้ เหว่ เพราะจะมีเพ่อื นบา้ นมาแวะเวยี นพดู คยุ อยูด่ ้วยเสมอ ชุมชนของหนูเป็นชุมชนขนาดกลาง ประชากรท่ีรวมทั้งเด็กๆ และผู้ใหญ่ ประมาณ 200 กว่าคน ในหมู่บ้านของหนูจะมีศาสนาอยู่ 2 ศาสนาด้วยกัน คือ ศาสนาอิสลามกับศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาหลักของ คนเก่าคนแก่ยึดม่ันในขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัดมาช้านาน แล้ว โครงสร้างทางสังคมท่ีหนูอาศัยอยู่ค่อนข้างเป็นระเบียบมี บรรทัดฐาน คนในชมุ ชนคอ่ นขา้ งมีความเปน็ ปึกแผ่นอันหน่งึ อันเดียวกนั มี ประเพณีความเชื่อความคิดที่คล้ายคลึงกัน ไทยมุสลิมหรือชาวไทยพุทธ เม่ือมีเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ที่ส�าคัญก็จะประกาศให้มาร่วมกัน ประชุมกันในทส่ี าธารณะ เช่น ท่ีมสั ยิด ทีว่ ดั หรอื ในโรงเรียน เป็นต้น ของ ท่ีร่วมกันใช้ภายในหมู่บ้านตอนท่ีมีงานกิจกรรมต่างๆ ก็จะเก็บเอาไว้เป็น กองกลาง เช่น เก็บไว้ภายในมัสยิด ในวัด หรือที่บ้านของผู้น�าชุมชน สามารถเบิกมาใช้ได้ตลอด แต่จะมีเงินค่าบ�ารุงในการใช้สิ่งของ 10 - 20 บาทแล้วแต่ความเหมาะสมอีกทีหน่ึง เงินนั้นก็เอาไปซื้ออุปกรณ์มาใหม่ หรือซ่อมแซมส่ิงของที่เสียหาย หมู่บ้านของหนูเป็นหมู่บ้านท่ีเน้นพึ่งพา ตัวเอง คือจะต้ังอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของผู้คนในพ้ืนที่ท่ีอาศัยอยู่ให้ รู้จักกันและสนิทสนมอย่างใกล้ชิดเปรียบเสมือนคนในครอบครัวอันหนึ่ง อนั เดียวกัน ประชากรในหมูบ่ า้ นของหนนู ับถอื ศาสนาอสิ ลาม 90 เปอรเ์ ซน็ ต์ และศาสนาพุทธอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทุกคนในหมู่บ้านจะยึดถือขนบ ธรรมเนยี มของศาสนาและประเพณขี องตนเป็นหลกั ส่วนงานของประชาชนในหมู่บ้านท่ีหนูอาศัยอยู่น้ีส่วนใหญ่ ทุกคนมักจะกรีดยางกันในตอนเช้าๆ บางคนก็ไปท�าสวน บางคนท�านา 37

ส่วนคนท่ีได้บรรจุรับราชการก็มี ส�าหรับแม่ของหนูแล้วแม่ไม่มียางให้ กรีดเหมือนคนอื่นเขา แต่เช้าๆ แม่จะขายโรตีข้างถนนหน้าบ้านกับ พ่ีสาว พอเวลาว่างหนูก็จะไปช่วยแม่ตลอด บางวันแม่ก็ขายดีบางวัน ก็ไม่ดี หนูกับพี่สาวก็จะเอาเงินส่วนนี้ไปใช้เป็นค่าเล่าเรียน ในวันท่ีแม่ขาย ไม่ดีเช่นในช่วงที่ฝนตกหนูกับพ่ีสาวก็ไม่มีเงินที่จะไปโรงเรียน ท�าให้เเม่ ต้องยืมเงินเพื่อนบ้านหรือญาติไปก่อน แต่เดี๋ยวน้ีครูในโรงเรียนรู้ถึงสถานะ ของครอบครัวหนู ครูก็ได้ย่ืนมือมาช่วยเหลือบ้างอะไรบ้าง เช่น ให้ทุน รับประทานอาหารกลางวันแก่หนูกับพี่สาว ซ่ึงทุนน้ีมันส�าคัญส�าหรับหนู กับพ่ีสาวมาก เพราะเป็นทางเดียวท่ีหนูกับพ่ีจะช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ ได้บ้างแม้อาจจะไม่มากก็ตาม ยิ่งตอนน้ีเศรษฐกิจหมู่บ้านไม่ค่อยดีนัก ส่วนหนึ่งนั้นอาจเป็นเพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ท่ีเกิดขึ้น ในปัจจุบัน ท�าให้คนว่างงาน ท�าให้มีขโมยชุกชุม เรื่องยาเสพติดก็ระบาด เยอะในกลุ่มวัยรุ่น หนูอยากให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความไม่สงบน้ีให้หมด โดยเร็ว เพราะถ้านานเข้าหนูกลัวว่าความสงบสุข ความสมานฉันท์ ระหว่างพ่ีน้องท้ังกับพ่ีน้องศาสนาอิสลามด้วยกันหรือพี่น้องศาสนาพุทธ ก็อาจจะหายไป หนูเป็นแค่เด็กผู้หญิงคนหนึ่งท่ีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหมู่บ้าน หรือจังหวัดของหนูได้ แต่หนูก็สัญญาว่าหนูจะเป็นเด็กดีของแม่ มีความ ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนดีของสังคม เป็นคนดีของชาติด้วยการดูแลสุขภาพ ตนเองและต้ังใจเรียนหนังสือ ที่บ้านหนูก็จะเชื่อฟังแม่และพ่ีสาว เม่ือไป โรงเรียนตอนเช้าๆ หนูก็ร้องเพลงชาติไทยด้วยความต้ังใจ ความรัก และ ความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย หลังจากน้ันหนูก็จะกวาดขยะใน โรงเรียน ท�าความสะอาดในห้องเรียนและโรงอาหาร หนูได้เป็นกรรมการ นักเรยี น หนูกบั เพอ่ื นๆ ชว่ ยกนั วางแผนในการพัฒนาโรงเรียนและมีหนา้ ท่ี ช่วยคุณครูควบคุมความประพฤติของนักเรียน และช่วยงานคุณครูจน ครูพอใจและภูมิใจในตัวหนูกับเพื่อนๆ มาก และทุกวันอาทิตย์หนูกับ 38

เพื่อนๆ นัดกันไปช่วยท�าความสะอาดที่โรงเรียนตาดีกา และมัสยิดใกล้ๆ บ้าน หนูรู้สึกภูมิใจที่ได้ท�าความดีในการพัฒนาตนเอง พัฒนาบ้าน ช่วยเหลอื คณุ ครแู ละเพ่อื นๆ และชว่ ยพัฒนาโรงเรียน มัสยิด ฯลฯ หนูคิดว่า นีค่ ือหนา้ ท่ขี องหนู ของทุกคนในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน การเป็นพลเมืองที่ดีนั้นคือองค์ประกอบท่ีส�าคัญในการพัฒนา หมู่บ้านและประเทศชาติให้เจอแต่ความสงบสุข ท�าให้เกิดแต่ความรัก ความสามัคคีกัน และจะไม่มีการแบ่งแยกเร่ืองประเพณีและศาสนา ไม่มี การแบ่งพรรคแบ่งภาค เพราะพวกเราทุกคนคือคนไทย และการจะเป็น พลเมืองทด่ี ีให้กบั บ้านเมอื งได้น้ันคอื เราตอ้ งเร่มิ ต้น เริม่ ลงมอื ท�ากับตัวเรา และสงิ่ แวดลอ้ มรอบๆ ตวั เราเสียกอ่ น 39

มิตรจิตร มติ รใจ ไร้พรมแดน ธญั ลักษณ์ ละสวุ รรณ เม่ือเช้าตรู่ ท้องฟ้ายังเป็นสีน้�าเงินพร้อมเสียงอาซานอันไพเราะ ท่ปี ลุกใหฉ้ นั ตอ้ งต่ืนข้นึ มาละหมาดซบุ ฮี ถงึ แม้ว่าร่างกายของฉันจะไม่อยาก จะลกุ จากท่ีนอนท่ีแสนจะอบอุ่น แตจ่ ิตใจของฉันจะสามารถบงั คบั ร่างกาย ให้ลุกข้ึนมาท�าหน้าท่ีจนส�าเร็จ ฉันเชื่อเหลือเกินว่ามุสลิมทุกคนยากท่ีจะ บังคับทิฐิตัวเองในการลุกข้ึนมา เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่อบอุ่นที่สุดของ การนอนหลบั แต่เมื่อทกุ คนนึกข้ึนได้ว่าเปน็ การวายิบ1และเปน็ รุก่นอสิ ลาม ท่ีต้องละหมาดใหค้ รบห้าเวลา ต่างคนตา่ งก็กุลีกุจอลกุ ขึน้ มาทนั ที ซึง่ มุสลมิ ที่มีความรู้จะทราบกันดี ทุกๆ เช้าฉันจะต้องตื่นขึ้นมาละหมาด เมื่อฉัน ละหมาดเสร็จก็จะไปอาบน้�าแต่งตัวเพื่อไปช่วยแม่ขายข้าวย�าก่อนท่ีจะไป เรียนหนังสอื บ้านของฉนั ทา� อาชีพขายขา้ วย�า ตัง้ แต่จ�าความได้แมข่ ายขา้ วย�า ได้เก้าปแี ลว้ ละ่ ทกุ เช้าจะมผี คู้ นมาซ้อื ขา้ วยา� ทั้งชาวไทยมุสลมิ และชาวไทย พุทธ ทั้งขาประจ�าและขาจรมีปะปนกันไป บรรยากาศในตอนเช้าก็จะ คึกคักเป็นพิเศษ ผู้คนที่มาซื้อบางคนก็มาซ้ือจากมัสยิดเม่ือละหมาดเสร็จ บางคนซ้ือกลับไปให้คนในครอบครัว บางคนก็มารับประทานก่อนไป ทา� งาน บางคนกซ็ ือ้ กลับไปกนิ ทบี่ า้ น บ้างกก็ นิ ทีร่ ้าน ขา้ งๆ รา้ นของแมจ่ ะมี ร้านขายน้�าชาด้วย (ลุงที่ขายน�้าชานิสัยดี) แถมให้ฉันกินน�้าไมโลเย็นฟรี 1 ข้อบังคบั ทต่ี อ้ งปฏิบัติ หากละทิ้งจะถอื ว่าบาป 40

ตลอดเลย (ช่ืนใจจริงๆ ) ฉันมีหน้าท่ีซื้อผักและหั่นผัก ผักท่ีห่ันจะมีถ่ัวฝักยาว แตงกวา ผักแพว (แถวบ้านฉันเรียกผักเกษม) ใบหว้า ดอกดาหลา เป็นต้น ซึ่ง ผักบางชนิดแม่ก็เก็บจากสวนหลังบ้าน แม่สอนว่าเราต้องรู้จักความ พอเพียง รู้จักกินรู้จักใช้ที่จ�าเป็น ถ้าเป็นไปได้กินและใช้ที่ตัวเองปลูกและ ท�าเองจะปลอดภัยท่ีสุด สอดคล้องกับพระราชด�ารัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวท่ีสอนให้ใช้ชีวิตอยู่บนรากฐานความพอเพียง มีน้�าใจรู้จัก เสียสละและแบ่งปันอันเป็นสิ่งท่ีมีค่าเป็นปัจจัยแห่งความสุขในชีวิต ช่วย สร้างเสริมสังคมให้เข้มแข็งเปี่ยมล้นไปด้วยความสงบสุขท่ีม่ันคงและย่ังยืน อีกท้ังพระองค์ยังต้องการให้ประชาชนทุกคนเห็นคุณค่าของทรัพยากร ต่างๆ ดังกล่าวอย่างจริงจัง (แม่เรานี่เก่งจริงๆ เลยนะ รู้จักน�าค�าสอนของ ในหลวงรชั กาลที่ 9 มาใช้ดว้ ย ภูมใิ จจริงๆ ท่ีเกิดมาเป็นลูกแม)่ เม่อื หนั่ ผกั เสร็จฉันก็จะเป็นคนเสิร์ฟข้าวย�า ฉันได้ยินท้ังชาวไทยมุสลิมและชาวไทย พุทธน่ังรับประทานข้าวย�าด้วยกันอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขของฉัน ท่ีเห็นพวกเขารักใคร่ปรองดองกัน ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่นด้วยผู้คน และแสงแรกของยามเช้าท่ีดวงอาทิตย์ส่องกระทบใบไม้ใบหญ้า แผดเผา น�้าค้างให้ค่อยละเลอื นหายไปทลี ะนดิ ๆ จนเป็นแสงระยิบระยบั แพรวพราว สวยงามมากๆ เคล็ดลับในการท�าน�้าบูดูของแม่ฉันคือ ใช้น�้าตาลแว่นเพราะจะ กลมกล่อมมากกว่าการใช้น้�าตาลทราย ส่วนการหุงข้าวย�าน้ันแม่จะใช้ข้าว กับดอกอัญชันเพราะจะท�าให้ขา้ วมสี ีม่วงสสี นั นา่ รับประทานและปลอดสาร พิษดว้ ย (แมบ่ อกวา่ ถา้ ไม่มีดอกอญั ชันสามารถใช้ใบยอบ้านแทนกันได)้ แม่ จะคั่วปลาและมะพร้าวแยกกันและท�าน�้าพริกเพื่อราดบนข้าวย�า แม่ บอกวา่ “ขา้ วย�าเป็นอาหารไทยภาคใตโ้ ดยถอื เป็นอาหารท่ีครบโภชนาการ มากท่ีสุด มีคุณลักษณะพิเศษท่ีแตกต่างจากอาหารอื่นๆ ด้วยเป็นอาหาร จานเดยี วท่ีมีน้า� ปรงุ ราด” 41

กอ่ นทแี่ มจ่ ะมาขายขา้ วยา� นน้ั แมไ่ ดศ้ กึ ษาขอ้ มลู และประวตั คิ วาม เป็นมาของข้าวย�ามาพอสมควร ลักษณะการท�าข้าวย�าเพ่ิมการปรุงแต่ง บ้างเล็กนอ้ ย เพือ่ ให้ขา้ วเหล่าน้นั มีสสี นั และรสชาตทิ น่ี ่ารบั ประทานมากขน้ึ ในข้าวย�าจะมีผักรับประทานกับข้าวย�า เรียกว่า ผักหมวด ผักที่นิยม น�ามาท�าเป็นผักหมวด ได้แก่ ถ่ัวฝักยาว ถั่วงอก ยอดกระถิน ยอดมะม่วง หิมพานต์ ผักบุ้ง ใบยอ ถ่ัวพู และพาโหม ราดด้วยน้�าบูดู ชาวไทยมุสลิม นิยมน�าสีจากพืชมาหุงกับข้าวให้ได้ข้าวสีต่างๆ เรียกว่า ข้าวย�าห้าสี (นาซิกราบู ลิมอจายอ) ส่วนข้าวย�าทางจังหวัดสตูลจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ คือไม่ใส่น�้าบูดู แต่จะน�าข้าวมาคลุกกับเครื่องแกงและผัก โดยเคร่ืองปรุง หลกั คอื ข่า เรยี กวา่ ขา้ วยา� หวั ขา่ (นาซิกราบู กรวู ะห)์ ในข้าวย�าจานหนงึ่ นั้นมีสารอาหารหลายอย่าง ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินซี และวิตามินเอ คุณค่าทางโภชนาการจากผักหมวดพบว่ามีสาร ต้านอนุมูลอิสระซ่ึงลดการก่อตัวของมะเร็ง นอกจากน้ียังมีฟลาโวนอยด์ วิตามินอี จากรายงานวิจัยโดยทีมสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัย มหิดลพบว่าข้าวย�าปักษ์ใต้เป็นอาหารท่ีมีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็น สมุนไพร เพราะประกอบไปด้วยผักหลายชนิด มีไขมันอ่ิมตัวจากมะพร้าว เป็นส่วนผสมดว้ ยจงึ ต้องระมัดระวงั ในการรับประทาน มีรสชาติ กลน่ิ สีสนั ท่ีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ของภาคใต้ และเป็นท่นี ยิ มรบั ประทานกันอยา่ งแพรห่ ลาย ข้าวยา� ประกอบ ด้วย ข้าวสวย มะพร้าวค่วั กุ้งแห้งปน่ พริกขี้หนูแห้งคัว่ แล้วน�ามาปน่ และ ผักชนิดต่างๆ บางทีอาจใส่ข้าวตังทอดหรือเส้นหม่ีทอด แต่ละท้องถิ่น อาจจะใส่ส่วนผสมไม่เหมือนกัน บางท่านอาจจะไม่ทราบว่าน�้าบูดูท�ามา จากอะไร จึงขออธิบายคร่าวๆ ว่า “น�้าบูดูได้มาจากการหมักปลาตัวเล็กๆ กับเม็ดเกลือ” โดยหมักไว้ในโอ่งหรือไหแล้วปิดผนึกอย่างดี ตากแดดทิ้งไว้ อย่างน้อยสองถึงสามเดือนหรืออาจเป็นปีจึงจะน�ามาใช้ได้ น้�าบูดูมีทั้งชนิด หวานและเคม็ ชนิดหวานใชค้ ลกุ กบั ข้าวย�า ชนดิ เค็มใช้ปรงุ อาหารประเภท 42

นา�้ พริกเครอ่ื งจ้ิม วันเกิดของแม่ตรงกับวันท่ี 5 ธันวาคมของทุกปี ในทุกๆ ปีแม่ จะท�าอาหารและชวนเพ่ือนบ้านทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม มากนิ ดว้ ยกัน สา� หรับปที ีผ่ ่านมาแมไ่ ด้ทา� ข้าวยา� ใหท้ กุ คนรบั ประทานอย่าง เอรด็ อร่อยและมคี วามสุขมาก ถึงเราจะมคี วามแตกต่างทางดา้ นศาสนาแต่ เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขสอดคล้องกับค�าพูดที่ว่า “แตกต่าง แตไ่ ม่แตกแยก” 43

หนรู กั “ตำดีกำ” นรู อลิ ฮัม ดามูหิ อัลลอฮ์ ฮูอัคบัร อัลลอฮ์ ฮูอัคบัร อัซฮาดูอัลลา อีลา ฮาอิลลัลลอฮ์ เสียงอาซานปลุกทุกคนที่ก�าลังนอนหลับใหลให้ตื่นมา ละหมาดยามเช้าตรู่ สักพักมีเสียงแทรกมาว่า “นูนุ ก๊ะมี ตื่นละหมาดได้ แล้ว” เสียงคุณแม่ปลุกประจ�าแบบน้ีทุกเช้า ด่ังนาฬิกาปลุกประจ�าบ้าน หนูและพี่สาวต่างรีบลุกจากท่ีนอน เพราะกลัวคุณแม่จะเทศนาบรรยาย ธรรมใหฟ้ งั จนหูชา พวกเราต่างก็รีบเขา้ หอ้ งนา้� ไปเอาน�้าละหมาด หลังจาก ละหมาดซุบฮีเสร็จ ก๊ะมีเข้าห้องนอนไปนอนต่อเพราะวันนี้เป็นวันเสาร์ เพราะวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ท่ีแสนสบายที่สุด แต่ส�าหรับ ฉันวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันเรียนศาสนาท่ีโรงเรียน “ตาดีกา” ตาดีกาก็คือ ศูนย์การศึกษาอิสลามตามหลักฟัรฎูอีนประจ�ามัสยิดที่สอนเด็กๆ อายุ 4 -12 ปี วันน้ีหนูเห็นคุณแม่รีดเส้ือนักเรียนประจ�าตาดีกาของหนูและ รีบอาบน�้าแต่งตัวเพื่อจะไปสอนตาดีกา เพราะวันนี้เป็นเวรเปิดประตูของ คุณแม่ คุณแม่จึงเร่งรีบเป็นพิเศษ คุณแม่หนูเป็นหนึ่งในครูผู้สอนตาดีกา ประจ�าโรงเรียนตาดีกาของเรา ตอนนี้เวลา 07.00 น. คุณแม่ก็ได้ไปที่ โรงเรียนเพื่อเปิดประตูรอนักเรียนแล้ว ส่วนฉันยังอยู่ในห้องน้�าก�าลัง อาบน�้าไปร้องเพลงไป หนูไม่ต้องรีบเพราะโรงเรียนตาดีกาอยู่ใกล้บ้านของ หนูมาก แต่ยังไงนักเรียนก็ต้องไปถึงโรงเรียนก่อน 08.00 น. เพราะ นักเรียนทุกคนต้องท�าความสะอาดในห้องเรียนของแต่ละคน และรอบๆ 44

ของบริเวณโรงเรียนด้วย ทุกคนอาจสงสัยว่าท�าไมผู้สอนต้องไปเปิดประตู เอง เด็กๆ นักเรียนต้องท�าความสะอาดเอง เพราะโรงเรยี นตาดีกาของเรา ไม่มีภารโรง ผู้สอนตาดีกาด�ารงต�าแหน่งได้หลายต�าแหน่ง เช่น นักการ บัญชี นักธุรการ นักการภารโรง เป็นจนถึงแม่ค้า ผู้สอนตาดีกาท�าได้หมด หนูและเพอ่ื นๆ จงึ ต้องไปเช้าๆ เพอื่ จะตอ้ งไปชว่ ยครูผู้สอนท�าความสะอาด โรงเรียน ที่โรงเรียนตาดีกาของเรามเี จ๊ะฆูทง้ั หมด 7 คน เจ๊ะฆคู อื ครูผู้สอน พวกเราเรียกท่านว่าเจ๊ะฆู มารู้จักเจ๊ะฆูแต่ละทา่ นกอ่ นค่ะ คนท่ี 1 มีช่ือว่า ซอลาฮูดีน แต่พวกเราจะเรียกกันว่า เปาะลง เป็นเจ๊ะฆูที่ดุมากๆ แค่สายตาท่ีมองมาก็น่ากลัวสุดๆ เวลาสอนจะดุมาก แต่นอกเวลาเรียนเปาะลงเปน็ คนใจดี คนที่ 2 มีชื่อว่า รุสลัน พวกเราจะเรียกกันว่า เปาะจิ เป็น เจ๊ะฆูผู้ชายท่ีท่านจะพูดอะไร เด็กๆ นักเรียนไม่ค่อยสนใจ เวลาสอนเด็กๆ แทบจะกระโดดข่คี อไดอ้ ย่แู ล้ว พวกนักเรียนไมค่ อ่ ยกลัวเปาะจเิ ลย คนท่ี 3 มีช่ือว่า มะรุสตัน พวกเราจะเรียกกันว่า เปาะซู เป็น เจะ๊ ฆผู ชู้ ายคนสุดทา้ ยในโรงเรยี น เปาะซเู วลาสอนจะจรงิ จังมาก และชอบ มาเล่าเรื่องตลกๆ ให้เด็กนักเรียนฟัง และที่สา� คัญเป็นเจ๊ะฆุที่หล่อท่ีสุดใน โรงเรยี นตาดีกาของเราเลย คนท่ี 4 มีชื่อว่า ฮายาตี พวกเราจะเรียกว่า ก๊ะตี เป็นเจ๊ะฆู ผู้หญิงท่ีดุมากๆ เวลาสอนจะเคร่งขรึม สีหน้าแววตาโหดร้าย (ฮา) และ ที่ส�าคัญนอกเวลาเรียนก็ไม่มีย้ิมให้เด็กนักเรียนเลย เจอหน้าคร้ังแรกใน ตอนเช้าก็ “เอ้า! ท�าอะไรกันอยู่ ท�าไมไม่รีบท�าความสะอาด แล้วท�าไม ไม่เอากระเป๋าไว้ในห้องเรียนอีก” ชอบบ่นมากๆ นี่คือก๊ะตีของเรา (เบะ ปากมองบน แต่รักนะคะกะ๊ ตี อิอิ) คนท่ี 5 มีชื่อว่า นูรยี ะ พวกเราจะเรียกกันว่า กะ๊ ยะ๊ ก๊ะย๊ะเป็น เจ๊ะฆูผู้หญิงที่เรียบร้อยมาก ค�าด่าไม่มีออกจากปากก๊ะย๊ะแน่ๆ เป็นเจ๊ะฆู ทม่ี ีลายมอื สวยท่ีสุดในโรงเรียน 45

คนที่ 6 มีช่ือว่า นูรยารีตา พวกเราจะเรียกว่า ก๊ะยี ก๊ะยีเป็น เจะ๊ ฆูทเี่ วลาสอนจะจริงจังมาก วชิ าการที่สดุ แลว้ ในโรงเรียนตาดกี าของเรา คือสอนเน้นมาก ถ้ายังไม่ได้คือห้ามออก คือมีแอบสอนเข้าคาบผู้สอน คนอื่นด้วย (ฮา) จนมีเจ๊ะฆูคนอ่ืนต้องเคาะประตูเรียกให้ออกเพราะจะเข้า สอนแทน เพราะกินเวลาเพอ่ื นไปไม่รู้กน่ี าทแี ลว้ คนท่ี 7 มีชือ่ วา่ ปาซีละห์ พวกเราจะเรียกกันวา่ กะ๊ ล๊ะ เปน็ เจะ๊ ฆู ผู้หญิงคนสุดท้ายของตาดีกาเรา น่ันก็คือคุณแม่ของหนูเอง คุณแม่เวลา สอนอย่าให้ใครได้มาท�าให้อารมณ์เสียไม่อย่างน้ันคาบสอนคาบน้ันเปลี่ยน เป็นคาบเทศนาบรรยายธรรมโดยปริยาย แต่คุณแม่เป็นเจ๊ะฆูที่จริงใจกับ เด็กนักเรียนที่สุด จะเห็นได้จากถ้านักเรียนคนไหนมาเรียนแต่ไม่เข้า คุณแม่จะออกตามหาลากเข้าเรียนจนได้ทุกคน แต่นอกเวลาเรียนคุณแม่ เป็นเจ๊ะฆูท่ีเด็กๆ กล้าเข้าไปปรึกษาปัญหาต่างๆ ให้ฟัง เพราะคุณแม่จะ แก้ปัญหาจนสา� เร็จทกุ คน เช้าวันเสาร์วันน้ีก็เหมือนกับเช้าวันเสาร์ของทุกๆ วัน พวกเรา เสร็จจากการท�าความสะอาดต่างๆ ก็ได้เวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ อ่าน ดุอาอ์ และเป็นประจ�า เวรพูดหน้าเสาธงก็เป็นหน้าท่ีของเปาะลงกล่าว เป็นประจ�าทุกเช้า เสร็จจากเข้าแถวพวกเราก็แยกย้ายกันไปเอาละหมาด เพื่อเตรียมอ่านอัลกุรอาน โดยมีเจ๊ะฆูทุกคนเข้ามาร่วมอ่านอัลกุรอานด้วย พวกเราอ่านได้สักพักใหญ่มีเสียงสายโทรศัพท์เข้าเคร่ืองของเจ๊ะฆู ท่านหนึ่ง คุยแล้วได้เร่ืองว่ามีทหารได้ควบคุมตัวเจ๊ะฆูตาดีกาของ ตาดีกาหน่ึง ซ่ึงตาดีกาดังกล่าวก็ไม่ได้อยู่ไกลจากหมู่บ้านเรามากนัก พวกเราเห็นสีหน้าของเจ๊ะฆูดูเคร่งเครียดมาก หนูได้ยินคุณแม่พูดว่า “มันจะเกิดอะไรขึ้นกันนะต่อจากน้ี ดูสิเจ๊ะฆูฮาน้ันเงียบๆ ไม่พูดไม่จา เอาการเอางานขยันขันแข็ง ดูท่าทางก็ออกจะตุ้งติ้งด้วยซ�้า นี่ทหาร ก็ยังควบคุมตัวไป นี่พวกเราท�างานสอนเด็กๆ ตาดีกามันผิดมากขนาดน้ัน เลยเหรอ “ช่วงน้ีมีข่าวเจ๊ะฆูถูกควบคุมตัวไปหลายคนมาก เพียงแต่ 46

ข่าวนั้นมันไกลออกจากหมู่บ้านเรา ที่มีมากหน่อยจะเป็นแถวจังหวัด ปัตตานี ส่วนนราธวิ าสจะไมบ่ อ่ ยนกั แตก่ ม็ ีบ้าง แตว่ นั นี้คือคนใกล้ตวั เพราะ เป็นเจ๊ะฆูใกล้หมู่บ้านเรามาก แต่วันนั้นเจ๊ะฆูของพวกเราก็สอนตามปกติ พอกลับจากโรงเรียนฉันก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณแม่เร่ืองที่เกิดข้ึนกับ เจ๊ะฆูคนน้ัน คุณแม่เล่าว่าพวกทหารไม่ไว้วางใจกับบรรดาเจ๊ะฆูท่ีสอน ตาดีกา กลัวว่าจะมีการสอนอะไรท่ีเบียดเบียนกับหลักค�าสอนของศาสนา เพราะว่าจะคอยยุยงและส่งเสริมให้เด็กๆ เกลียดประเทศไทยและเกลียด พวกทหาร เมื่อฉันได้ฟังที่แม่พูดฉันก็แอบงงกับความคิดของพวกทหารว่า ท�าไมถึงคิดอย่างนั้น ทั้งๆ ที่หนูอยู่ประเทศไทย เป็นคนไทย ท�าไมหนู จะไม่รักประเทศไทยละ่ และอีกอย่างจากท่ีหนูได้เรียนตาดีกาต้ังแต่เด็กๆ จนถึงตอนน้ี ก็ไม่เคยมีเจ๊ะฆูคนไหนสอนนอกเหนือจากหนังสือที่เรียนอยู่ประจ�าๆ ก็ เจ๊ะฆูที่คอยพูดถึงให้ท�าตามหลักอัลกุรอานและยึดท่านนบีเป็น แบบอย่างในชีวิตประจ�าวัน นี่คือสิ่งที่คิดอยู่ในใจเพียงล�าพังก่อนที่จะถาม คุณแม่เพ่ิมว่า “เมื่อตอนสมัยแม่ยังเด็กๆ มีเหตุการณ์แบบนี้ม้ัยคะ” แม่ก็ ตอบว่า “ไม่มีหรอกสมัยแม่ยังเด็กๆ แม่ก็เรียนตาดีกาเหมือนลูกน่ีแหละ แตต่ าดกี าท่แี ม่เรียนมีเจ๊ะฆูแค่ 3–4 คนเอง แตก่ ส็ อนเดก็ ๆ ตาดีกาให้อา่ น ออกเขียนได้จนได้เป็นเจ๊ะฆูมาสอนลูกและเพ่ือนๆ ลูกทุกวันน้ีไง” แม่ ยังบอกอีกว่าเนื้อหาบทเรียนในหนังสือจากอดีตจนถึงปัจจุบันไม่มีอะไร เปลีย่ นแปลงเลย เนื้อหาในหนงั สอื ก็สอนใหท้ า� ความดลี ะเวน้ ความช่วั และ สอนหลักปฏิบัติและหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ซึ่งมันไม่ได้บิดเบือน ค�าสอนแต่อย่างใด กลับกันจะมีเนื้อหาบางเน้ือหาให้พวกเราอยู่กันแบบ รักใคร่ ไม่ว่าจะศาสนาไหนชาติไหนๆ อัลลอฮ์จะให้มนุษยชาติอยู่อย่าง พ่ึงพาอาศัยกัน แม่ยังพูดต่อว่า “สงสัยพวกทหารคงระแวงมากไปหน่อย ไม่ก็คงรังเกียจพวกเราท่เี ปน็ อสิ ลาม” แมพ่ ูดดว้ ยนา�้ เสียงตัดพอ้ และนอ้ ยใจ ในเย็นวันน้ันพวกเราพูดคุยนานพอสมควรจนท�าให้หนูได้คิดอะไรหลายๆ 47

อย่าง คิดว่าถ้าคนท่ีถูกจับคนนั้นเป็นแม่หนู หนูจะเป็นอย่างไร ตาดีกา เราจะเป็นอย่างไร ขนาดแค่คนท่ีเรารู้จักไม่ใช่คนในครอบครัวของเรา เรา ยังรู้สึกเสียใจท้ังหดหู่และกลัวในเวลาเดียวกัน ทุกวันนี้ทุกเดือนจะมีพี่ๆ ทหารเข้ามาเย่ียมเยียนตาดีกาเป็นประจ�า จากที่พวกเราย้ิมจากใจให้กับ พ่ีๆ ทหารต้องเปลี่ยนเป็นความหวาดระแวงและหวาดกลัวแทน เพราะ ความไม่ไว้วางใจทหาร กลวั จะมาทา� ร้ายจบั ตัวเจะ๊ ฆขู องพวกเราไป สรุปวา่ ตา่ งฝา่ ยต่างไม่ไวว้ างใจกนั หรือ สุดท้ายนี้หนูเพียงอยากบอกว่าหนูรักตาดีกาของหนู หนูรัก เจ๊ะฆูของหนู หนูรักบ้านเกิดของหนู หนูรักประเทศไทยของหนู หนูไม่รู้ สงิ่ ท่เี กดิ ขน้ึ มนั คืออะไร หนูไมร่ ู้มันเกดิ ขน้ึ ไดอ้ ยา่ งไร มันเกดิ ข้นึ ในตอนไหน หนูเพียงแค่อยากบอกว่าหนูไม่มีทางจะเกลียดคนชาติเดียวกัน แม้แต่ จะต่างศาสนา แต่สิ่งที่หนูรู้คือเมื่อมันเกิดข้ึนแล้วมันย่อมส่งผลกระทบกับ คนในพื้นท่ีในการด�ารงชีวิตประจ�าวันของคนแต่ละอาชีพและผู้ที่เสียหาย หรือผู้สูญเสียโดยตรงต้องตกอยู่ในสภาพความหวาดกลัวหวาดระแวง เหมือนหนูและคนในตาดีกาของหนูตอนนี้ หนูจะไม่ยอมให้ตาดีกาท่ี หนูรักไร้ครูผู้สอน หนูจะไม่ยอมเห็นเพ่ือนๆ หนูไม่ได้เรียนตาดีกาเสาร์- อาทติ ย์ หนูจะไมย่ อมใหแ้ ม่หนูเป็นแบบเจ๊ะฆูคนนน้ั เด็ดขาด 48

แลนดม์ ำรก์ แห่งเมืองนรำธวิ ำส นรู ฟาเดยี สะรี ช่วงเวลาที่ดีท่ีสุดของฉันคือการได้ท�ากิจกรรมร่วมกับครอบครัว พ่อแม่ลูก สร้างความผูกพันซ่ึงกันและกัน สร้างความทรงจ�าที่ดีและสร้าง ประสบการณ์อันล้�าค่า น่ันคือการได้ไปเท่ียวด้วยกัน ถือเป็นการพักผ่อน หย่อนใจของครอบครัว เราตกลงกันว่าจะไปชมนกเงือกโบราณ แต่ไม่ใช่ นกเงือกที่มีชีวิตหรอกนะ เป็นประติมากรรมนกเงือกหลากหลายชนิดที่มี เสียงร�่าลือว่าสวยงามตระการตาและไปตลาดน�้ายะกัง สถานท่ีสืบสาน ต�านานความอร่อยของขนมโบราณ 100 ปี ทั้งสองแห่งนี้พ่อว่าเป็น แลนด์มาร์กท่ใี หมข่ องจงั หวดั นราธวิ าสบ้านเรา ลานนกเงือกท่ีต้ังอยู่ริมเข่ือนท่าพระยาสาย ถนนภูผาภักดี อ�าเภอเมืองนราธวิ าส จงั หวัดนราธิวาส เขื่อนท่าพระยาสายแห่งน้ีมีอากาศ เย็นสบายลมพัดผ่านตลอดเวลา ที่น่ีจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ของชาวนราธิวาส พ่อเล่าว่าเขื่อนท่าพระยาสายเคยเป็นท่าพลับพลาท่ี สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของในหลวงรัชกาลท่ี 9 พระราชินีและราชวงศ์ อีกด้วย เพื่อใช้ในการทอดพระเนตรการแข่งขันเรือกอและในงานของดี เมืองนรา จัดข้ึนในเดือนกันยายนของทุกปี ยังมีกิจกรรมการประกวด ร้ิวขบวนแห่งงานของดีแต่ละอ�าเภอในจังหวัดนราธิวาส มีกิจกรรมการ จัดประชันเสียงนกเขาชวา งานวันลองกอง ผู้คนทั้งจังหวัดจะมีความ สามัคคีร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพุทธชาวไทยมุสลิม เพ่ือเผยแพร่ 49