Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Published by มณฑลทหารบกที่ 19, 2020-11-14 00:11:33

Description: พระราชประวัติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Keywords: พระราชประวัติ

Search

Read the Text Version

1 บทที่ 1 ระยะที่ 1 ศกึ ษารวบรวม ขอ้ มูลสมเดจ็ พระนเรศวร ต้งั แต่ ปี พ.ศ. 2098 – 2117 1.1 พระราชสมภพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ณ เมืองพิษณุโลก ในรชั สมัยของสมเด็จพระมหาจักพรรดิ ภายหลังการบรมราชาภิเษกเพียง 7 ปี สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ทรงเปน็ พระราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชซ่ึงเดิมเปน็ ข้าราชการชนั้ ผู้ใหญ่มีบรรดาศักด์ิเป็น ขุนพิเรนเทพ ได้เป็นหัวหน้ารัฐประหารจับ-ขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์ได้เป็น ผลสาเร็จ และได้ทูลเชิญพระเทียรราชาซึ่งเป็นพระอนุชากษัติรย์พระชัยราชาธิราช ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นเจ้า ฟ้าในปัจจุบันขึ้นเสวยราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2093 (ค.ศ. 1550) ด้วย เหตุแห่งความชอบนี้เอง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงให้สถาปนาขุนพิเรนเทพข้ึนเป็นพระมหาธรรม ราชาซึ่งมีฐานะเทียบเจ้าฟ้าในสมัยนี้ และทรงพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรีย์พระราชธิดาซ่ึงประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยพระอัครมเหสี ให้อภิเษกเป็นพระชายาและให้พระมหาธรรมราชาครองเมือง พษิ ณุโลกซง่ึ เดิมเรยี กวา่ เมอื งสองแคว มีอานาจปกครองหัวเมอื งฝา่ ยเหนอื ท้ังปวง หากสืบย้อนกลับไปเร่ืองของการสืบเชื้อสายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชน้ันทรงได้รับ สายโลหติ มาจากพระเจา้ ขุนรามคาแหง (พระร่วง) พระเจา้ อู่ทอง และสมเดจ็ พระศรีสรุ โิ ยทยั ซึง่ เป็นสมเด็จ พระอัยยิกาของพระองค์โดยตรง ขณะท่ีสายพระโลหิตของพระเจ้าขุนรามคาแหงสืบมาทางพระชนก ในขณะท่สี ายพระโลหิตของสมเด็จพระศรสี ุริโยทัยสืบมาทางพระชนนีของพระองค์ ท้ังนี้ เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรสมภพยศเจ้าฟ้ายังไม่มีในประเพณีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระ ชนกก็ยงั ทรงพระยศเป็นเพียงเจ้าขัณฑสมี าแต่พระชนนเี ป็นสมเด็จพระราชธิดา พระองค์เปน็ พระราชนัดดา คงทรงพระยศเป็นพระองคเ์ จา้ ฝร่งั จงึ เรยี กในจดหมายเหตแุ ตง่ สมัยนนั้ ว่า The Black Prince ตรงกบั คาว่า “พระองค์ชายดา” และเรียกพระอนุชาเอกาทศรถว่า The White Prince “พระองค์ชายขาว” เป็นคู่กัน คงแปลไปจากพระนามท่ีคนทั้งหลายเรียกสมเด็จพระนเรศวรเมื่อยังทรงพระเยาว์ว่า “พระองค์ชายดา” อาจจะมีขนานนามอีกต่างหากแต่ไม่ปรากฏ (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2547, น. 9 – 10) สมเด็จพระ นเรศวรทรงมีพระพ่ีนาง 1 ทรงพระนามว่า “พระสุพรรณกัลยานี” ซึง่ ต่อมาได้เป็นสมเดจ็ พระสนมของพระ เจ้าหงสาวดี ส่วนพระน้องยาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระเอกาทศรถ” ซ่ึงได้รับรัชทายาทเป็น องค์กษตั ิรยเ์ สวยราชยต์ อ่ จากสมเดจ็ พระนเรศวร

2 ภาพ 1 พระวิสทุ ธกิ ษัตรี พระราชมารดาแหง่ สมเดจ็ พระนเรศวร ทีม่ า: สมดุ ภาพพระราชประวัติ สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช, 2506, น. 11 พระนเรศวร หรือ พระนเรศ คาว่า “นเรศวร” ท่ีบางครั้งอาจสะกดเพี้ยนเป็น “นะเรศวร” หรือ “ณเรศวร” โดยรูปศัพท์แล้วมาจากการสนธขิ องคาว่า นร (คน) กับคาว่า อีศวร (พระอิศวร หรือความเปน็ ใหญ่) แต่ในระยะหลัง เร่ิมมีการตั้งข้อสงสัยว่าพระนาม “พระนเรศวร” อาจจะไม่ใช่พระนามท่ีถูกต้องของ พระองค์ ซึ่งเข้าใจว่าผู้ท่ีนาเสนอข้อสันนิษฐานน้ีเป็นคนแรกคือ ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร ได้กล่าวปาฐกถาใน งานราลกึ ครบรอบ 400 ปีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมอื่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2533

3 ภาพ 2 พระสพุ รรณกัลยา พระนเรศวร และพระเอกาทศรถ ทรงเติบโตและเจรญิ วัย ณ พระราชวงจนั ทน์เมอื งพิษณุโลก ทมี่ า: ถ่ายโดยผู้วิจัย 26 มกราคม 2562 ท้ังน้ีเพราะพระนาม “นเรศวร” น้ันเป็นพระนามท่ีค้นพบแต่ในเอกสารท่ีสร้างข้ึนในสมัย รตั นโกสนิ ทร์เป็นหลัก เมือ่ พิจารณาหลักฐานอื่นๆ ประกอบ จะพบว่าหลกั ฐานที่มีอายุถงึ สมัยอยุทธยา ไมม่ ี ฉบับไหนระบพุ ระนามวา่ “พระนเรศวร” เลย สว่ นมากมักระบุพระนามวา่ “พระนเรศ” และหลักฐานสมัย รตั นโกสนิ ทร์หลายช้นิ กย็ งั ระบพุ ระนามแบบน้นั เช่นเดียวกัน ซง่ึ จะยกตัวอย่างต่อไปน้ี พระราชพงศาวดารพม่า ฉบับหอแก้ว (Hmannan Maha Yazawindawgyi) ระบุพระนามว่า พรนรจ์ (ဗြနရစ်) ออกเสียงตามสาเนียงพม่าว่า Bra Narit ซ่ึงคงเพ้ียนมาจาก “พระนริศ” หรือ “พระ นเรศ”

4 ศิลาจารึกหมายเลข K27 หรือศิลาจารึกวัดโรมโลก ท่ีจังหวัดตาแก้ว ประเทศกัมพูชา จารึก เหตุการณ์ทส่ี มเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองละแวกใน พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ระบุพระนามว่า “พฺระ นเรสฺส” ตานานพื้นเมอื งเชยี งใหม่ ซง่ึ เปน็ เอกสารของล้านนาระบุพระนามว่า “พระนเรศ” โคลงมงั ทรารบเชียงใหมท่ ่แี ตง่ ใน พ.ศ.2157 ระบุพระนามวา่ “นอเรศ” หรอื “นอเรตย”์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ของ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) หัวหน้า สถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (Vereenigde Oost-Indische Compagnie-VOC) ประจากรุงศรีอยุทธยา ซึ่งเขียนใน พ.ศ. 2183 (ค.ศ. 1640) ระบุพระนามว่า “พระนเรศราชาธิราช” (Pra Naerith Raetsia Thieraij) สังคีติยวงศ์ ซ่ึงสมเด็จพระพนรัตน์ (แก้ว) วัดพระเชตุพน เมื่อคร้ังมีสมณศักด์ิเป็นพระพิมลธรรม ไดแ้ ตง่ ในสมยั รัชกาลท่ี 1 ระบพุ ระนามในภาษามคธวา่ “นริส์สราชา” พระไอยการกระบดศึก ปีขาล จุลศกั ราช 955 (พ.ศ.2136/ค.ศ. 1593) ในประมวลกฎหมายตรา สามดวง ได้ระบุพระนามว่า “สมเดจ์บรมบาทบงกชลักษณอัคบุริโสดมบรมหน่อนรา เจ้าฟ้านเรศเชษฐาธิ บด”ี เอกสารคาให้การขุนหลวงหาวัด ซ่ึงเป็นคาให้การของเชลยไทยสมัยเสียกรุงคร้ังที่ 2 แปลจาก ภาษามอญ ระบุพระนามวา่ “พระนเรศร”์ มพี ระนามทแี่ ปลกออกไปบา้ งเช่นพระราชพงศาวดารฉบับหลวง ประเสริฐอักษรนิต์ิ ท่ีชาระใน พ.ศ. 2224 (ค.ศ. 1681) สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ท่ีระบุพระนามว่า “สมเดจพระณะรายบ่พิดรเปนเจาั ” “สมเดจพระณรายเปนเจัา” หรอื “ส่มเดจพระณรัายบ่อพีตรเปนเจา” สันนิษฐานเป็นพระนามท่ีเรียกเฉลิมพระเกียรติเป็นพิเศษว่าทรงเป็นพระนารายณ์อวตาร ซ่ึงยังในเอกสาร อ่ืนๆ อย่างเช่นคาให้การชาวกรุงเก่า และตานานพราหมณ์นครศรีธรรมราชก็เรียกพระองค์ว่า “พระ นารายณเ์ มืองหาง” เพราะพระองค์สวรรคตทเ่ี มืองหาง เอกสารสมัยรัตนโกสินทร์เอง แม้จะปรากฏพระนาม “นเรศวร” แล้ว แต่ก็มีพระนาม “นเรศ” อยู่ อย่างเช่น พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ที่มี “พระนเรศ” หรือ ฉบับบริติชมิวเซียมท่ีมี “พระนเรจ์” “พระณะเรศเจ้า” ซ่ึงในฉบับท่ีชาระต่อๆ มาถูกแก้เป็น “นเรศวร” ท้ังหมด หรือในพระ ราชหตั ถเลขาที่รชั กาลท่ี 4 พระราชทานไปยังเซอรจ์ อห์น เบาวร์ ่ิง ทบี่ ุพระนามวา่ “Naresr (นเรศร)์ ” จะเห็นได้ว่าในหลักฐานส่วนใหญ่ของทั้งไทยและต่างประเทศ ต้ังแต่เอกสารทั่วไปจนถึงพระนาม แบบทางการอย่างที่พบในพระไอยการกระบดศึกจะระบุพระนามว่า “นเรศ” ซึ่งมาจากการสนธิของคาวา่ นร (คน) กับคาว่า อีศ (ผเู้ ปน็ ใหญ)่

5 จงึ ทาใหเ้ กดิ ขอ้ สนั นิษฐานที่วา่ พระนามทถ่ี ูกต้องนา่ จะเปน็ “พระนเรศ” มากกวา่ “พระนเรศวร” ซง่ึ ถา้ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถกู ตอ้ งก็นามาสขู่ ้อสงสยั ต่อมาวา่ แลว้ พระนามพระนเรศเป็นพระนาม ที่ถูกต้อง แล้วคาว่า นเรศ (นร + อีศ) กลายเป็น นเรศวร (นร + อีศวร) (อรอุษา สุวรรณประเทศ, 2554, น. 3) ขณะที่ วินัย พงศ์ศรีเพียร (2533) ได้สันนิษฐานโดยอิงจากศิลาจารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก ซึ่ง สร้างข้นึ ในรัชกาลของสมเดจ็ พระมหาจักรพรรดหิ รือพระเฑียรราชาซ่ึงเป็นพระอัยกา (ตา) ของสมเด็จพระ นเรศวร โดยในจารึกน้ันระบุพระนามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า \"สเดจพฺระปรมมหาจกฺกรพตฺติวร ราชาธิราช (สมเดจ็ พระบรมมหาจักรพรรดิวรราชาธิราช)\" วินัย พงศ์ศรีเพียร (2533) ได้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรซ่ึงเป็นพระนัดดา (หลาน) ของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็น่าจะใช้สร้อยพระนาม “วรราชาธิราช” ต่อท้ายแบบเดียวกัน เพื่อเป็นการ แสดงออกเชงิ สัญลกั ษณ์ถงึ สายสมั พนั ธก์ บั พระอัยกา โดยพระนามจรงิ ของสมเด็จพระนเรศวร ตามการสันนิษฐานของ ดร.วินัย น่าจะเป็น สมเดจ็ พระ นเรศ วรราชาธิราช แตเ่ หตทุ ่กี ลายมาเปน็ “นเรศวร” น้นั ดร.วนิ ยั ได้สนั นิษฐานไวว้ า่ เป็นการตดั คาผิดจาก นเรศ-วร ราชาธริ าช เปน็ นเรศวร-ราชาธิราช “ถ้าหากว่า อาลักษณ์ในราชสานักสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซ่ึงชาระพงศาวดารและได้พบเอกสาร เก่าซ่ึงเผอิญมีพระนามท่ีถูกต้องของสมเด็จพระนเรศวรฯอยู่ ก็มีความเป็นไปได้ไม่น้อยที่จะตัดคาผิดเป็น ‘นเรศวร-ราชาธิราช’ โดยเข้าใจว่า ‘ราชาธิราช’ เป็นสร้อยวลียกย่องพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ท่ี ทรงพระนามว่า ‘นเรศวร’ (นร + อศี วร)” ขอ้ สันนษิ ฐานอีกประการท่ีเป็นไปได้คืออาจจะมีการสะกดพระนามว่า \"นเรศวร\" แต่ออกเสยี งว่า \"นะ-เรด\" ท้ังน้ีเพราะในสมัยโบราณไม่ได้เคร่งครัดในการใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตในการกากับเสียง บางที พบว่าไม่ได้ใส่ก็ไม่ออกเสียง เช่น วงศ์ สะกดว่า วงศ หรือ โลกย์ สะกด โลกย คาว่า \"นเรศวร\" จึงอาจออก เสยี งเหมอื นคาวา่ \"นเรศวร\"์ กไ็ ด้ (อรอษุ า สวุ รรณประเทศ, 2552, น. 2 – 3)

6 ภาพ 3 แผ่นดนิ อันเป็นที่อยู่ของพมา่ มอญ และไทย ท่ีมา: สมุดภาพพระราชประวัติ สมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช, 2506, น. 14 1.2. สงครามช้างเผือก พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) พระเจ้าบุเรงนองทรงยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทางด่าน แม่ละเมา กาลังประมาณ 500,000 คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จานวนมาก โดยยกเข้ามา ทางเมืองตาก ด้วยกาลังมากกว่าสามารถยึดหัวเมืองเหนือได้เกือบท้ังหมดโดยสะดวกจนมาถึงเมือง พิษณุโลก พระมหาธรรมราชาได้ทรงสู้เป็นสามารถและทาการป้องกันเมืองอย่างดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอ เจรจา พระมหาธรรมราชาจึงส่งพระสงฆ์จานวน 4 รูป เพื่อทาการเจรจาแต่ไม่เป็นผลสาเร็จ อีกทั้งในเมือง ยังขาดเสบียง และเกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองระบาด ด้วยสมเดจ็ พระมหาธรรมราชาเกรงว่าหากขืนสู้รบต่อไป

7 ด้วยกาลังคนท่ีน้อยกว่าอาจทาให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทาลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่นๆ ก็เป็นได้ พระมหาธรรมราชา จึงยอมออ่ นนอ้ มต่อพระเจา้ บเุ รงนอง พระเจ้าบุเรงนอง ทรงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองอ่ืนๆ ถือน้ากระทาสัตย์ให้อยู่ใต้ บงั คับของพม่าทาให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วใหพ้ ระธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แตอ่ ยใู่ นฐานะเป็นหวั เมอื งประเทศราชของหงสาวดี พระ เจา้ บุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันท่ีหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) พร้อมท้งั สั่งให้ ยกทัพตามลงมาเพ่ือตีกรุงศรอี ยุธยาดว้ ย พระองค์รบชนะทัพอยุธยาท่ีชัยนาท และลงมาต้ังค่ายล้อมพระนครทั้ง 4 ทิศ กองทัพพม่ายกมา ประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจาปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกาลังมากการที่จะออกไปรบเพ่ือเอาชัย คง จะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนาปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือ เขา้ ฤดูน้าหลากพมา่ คงจะถอยไปเอง แตพ่ ม่าได้เตรยี มเรอื รบ และปืนใหญม่ าจานวนมากยิงใส่เรือรบไทยพัง เสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายเป็น อย่างมาก แต่ถงึ แม้ว่าพมา่ จะยิงปืนใหญเ่ ขา้ สพู่ ระนครเป็นระยะๆ แตก่ ไ็ ม่สามารถเขา้ สู่ตัวเมืองได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาส์นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกจะรบให้รู้แพ้รู้ชนะ หรือเลือกยอมสงบศึก โดยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกสงบศึก อยุธยาจึงต้องยอมปฏิบัติตามข้อ เรยี กร้องของพมา่ โดยมอบชา้ งเผอื ก 4 ชา้ งใหแ้ กพ่ ม่า มอบตัวบคุ คลท่คี ัดค้านไม่ให้ส่งช้างเผือกแก่พม่าเม่ือ คร้ังก่อนสงครามช้างเผือก ได้แก่ พระราเมศวร(พระราชบุตรในพระมหาจักรพรรดิ) เจ้าพระยาจักรีมหา เสนา และพระสมุทรสงคราม ไปเปน็ ตวั ประกนั ส่งช้างใหแ้ กพ่ ม่าปีละ 30 เชอื ก ส่งเงนิ ใหแ้ ก่พม่าปลี ะ 300 ช่ัง และให้พม่ามีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด โดยมีการเจรจาข้ึนบริเวณสถานท่ีประทับช่ัวคราว ระหว่างวัดพระเมรุสาธิการรามกับวัดหัศดาวาสโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของ อยุธยาท้ังหมดท่ีพระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไป หงสาวดี ถึงแม้ว่าพม่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังนี้ แต่พระเจ้าบุเรงนองยังไม่ทรงประสบ ความสาเร็จในการได้กรุงศรีอยธุ ยาเป็นเมืองประเทศราช ดังนนั้ พระเจา้ บุเรงนองจึงทรงพยายามดาริหาวิธี ในการเอาชนะกรงุ ศรีอยธุ ยา ก่อนทจี่ ะมารบอกี ครั้งหน่ึง ในปี พ.ศ. 2111 (ค.ศ. 1568) พระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาหมายตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกพ่าย กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายเดือนแต่ก็ยังไม่สามารถเข้ายึดได้เพราะทหารกรุงศรีอยุธยาได้ต่อสู้ อย่างเข้มแขง็ เพ่อื รอให้ถึงฤดูน้าหลากซึ่งจะทาให้กองทัพพม่าตงั้ ค่ายอยู่ไมไ่ ด้ ระหว่างที่ศึกมาประชดิ กรุง น้นั สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดปิ ระชวรและเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2111 (ค.ศ. 1568) พระ

8 มหินทรเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระนามว่าสมเด็จพระมหินทราธิราช และทรงต่อสู้ป้องกันกรุงศรี อยุธยาต่อไปหลังจากนัน้ ทางพม่าได้ใชก้ ลอุบายให้พระยาจักรีมาเป็นไส้ศึกกรงุ ศรีอยุธยาจงึ เสยี แก่พม่าในปี พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทาให้สมเด็จพระมหินทราธิราชถูกจับไปเป็นเชลยที่หงสาวดี รวมท้ัง ข้าราชบริพารอีกจานวนหนึง่ และทาให้กรุงศรีอยธุ ยาไดก้ ลายเป็นประเทศราชของกรงุ หงสาวดนี บั แต่นั้นมา ซึ่งนบั เปน็ การสญู เสียอสิ รภาพของคนไทยเป็นครัง้ แรก หลังจากเสร็จส้นิ สงครามช้างเผือกสมเด็จพระมหาจกั รพรรดิได้ปรบั ปรงุ บ้านเมืองเพื่อเตรยี มรับ ศึก รวมทั้งสรา้ งสมั พนั ธไมตรีกับพระเจา้ ไชยเชษฐาธริ าชแหง่ อาณาจักรลา้ นชา้ ง ซง่ึ เป็นเหตใุ ห้พระมหินท รพระราชโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดความขัดแย้งกับพระมหาธรรมราชาเจ้าผู้ครองเ มือง พษิ ณโุ ลกพระมหินทรจึงได้ให้พระเจ้าไชยเชษฐาธริ าชส่งกองทัพมาช่วยตเี มืองพิษณโุ ลก แต่พระมหาธรรม ราชาสามารถป้องกันเมืองไว้ได้พระเจ้าบุเรงนองทรงทราบเหตุการณ์ที่เกิดข้นึ ทรงสถาปนาพระมหาธรรม ราชาเปน็ เจา้ ประเทศราชของกรงุ หงสาวดปี กครองเมอื งพิษณุโลกและหัวเมอื งฝา่ ยเหนือโดยไม่ขึ้นต่อกรุงศรี อยธุ ยา จากการขัดแยง้ ระหวา่ งพระมหาธรรมราชากบั พระมหนิ ทรทาให้ทางกรงุ ศรีอยุธยาอ่อนแอลง ท้งั นี้ ศ.ดร.สเุ นตร ชุตินธรานนท์ แสดงความคิดเห็นในหนงั สือ “พม่ารบไทย ว่าด้วยการสงคราม ระหวา่ งไทยกับพม่า” วา่ สงครามกับพมา่ ในปี พ.ศ. 2106 และ 2112 (ค.ศ. 1563 และ 1569) ในรชั กาล สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ส่งผลเชิงบวกต่อเสถียรภาพการเมืองภายในอยุธยา เมื่อดูจากหลักฐานในพระ ราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และบันทึกจากต่างชาติซ่ึงมีทิศทางเนื้อหาสอดคล้องกันว่า ช่วงหลังการ ปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991-2031 (ค.ศ. 1448 – 1488) กลุ่มผู้นา ทางการเมืองอยุธยายังชิงอานาจทางการเมืองกันหลายครั้ง อาทิ กรณีเจ้าอ้าย เจ้ายี่ เจ้าสามพระยา กรณี ขุนวรวงศาหรือขุนชินราช และยังมีความขัดแย้งภายในระหว่างราชินิกูลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ท่ดี าเนนิ เรอ่ื ยมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) มายุตลิ งเมือ่ พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) 1.3. องคป์ ระกนั ณ กรงุ หงสาวดี คาให้การชาวกรุงเก่าและคาให้การขุนหลวงหาวัด ซ่ึงเขียนปลายกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า พระ นเรศวรถูกนาตัวไปกรุงหงสาวดีเม่ือายุ 9 ขวบ แต่ฉบับของวันวลิต ซ่ึงเขียนในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ระบุว่า 13 ขวบ ขณะท่ีพงศาวดารฉบับหอแก้วบันทึกเพียงว่าใน พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) พระเจ้าบุเรง นองทรงรับถวายพระสุพรรณกัลยา ขณะพระชนม์ 17 พรรษาจากพระมหาธรรมราชานากลับไปหงสาวดี พระองค์เดียว มิไดก้ ล่าวถึงพระนเรศวร จดหมายเหตรุ ่วมสมยั ของชาวยุโรปก็มิได้พาดพิงถงึ

9 จากเอกสาร คาให้การของชาวกรุงเก่าและคาให้การขุนหลวงหาวัด โดยสมเด็จกรมพระยาดารง ราชานุภาพสันนิษฐานว่าพม่าจดไว้จากการสอบถามเชลยชาวกรุงศรีอยุธยยาเมื่อกรุงแตกคร้ังที่ 2 น้ัน ใน ส่วนที่ว่าด้วยสมัยพระนเรศวรล้วนผิดหมด (วินัย พงศ์ศรีเพียร, 2533, น. 86) เร่ืองสมเด็จพระนเรศวรถูก นาไปพม่าเมื่ออายุ 9 ขวบ จึงไม่มีน้าหนักเพียงพอ โดยฉบับวันวลิต ซึ่งระบุอายุ 13 ขวบ มีน้าหนักความ จริงมากกวา่ …พระมหาธรรมราชาก็จาต้องถวายสมเด็จพระนเรศวรจงึ ต้องเสดจ็ ออกไปอยู่เมืองหง สาวดี เมือ่ ชนั ษาได้ 9 ขวบ (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2546, น. 14) ...สมเด็จพระนเรศวรเสดจ็ ไปเมืองหงสาวดีได้ 6 ปี พระชันษาเขา้ 15 ปี เปน็ หนุม่ แลว้ พระเจา้ หงสาวดกี ็ให้เสดจ็ มาในกองทพั หลวงด้วย (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2546, น. 23) ...แล้วถวายพระสุพรรณกัลยาณีแก่พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเมื่อประทับอยู่ กรุงศรี อยุธยาน้ัน พระเจ้าหงสาวดีได้พระพี่นางเป็นชายาเหมือนอย่างเป็นตัวจานาแทนแล้วก็ อนญุ าตใหส้ มเด็จพระนเรศวรอยู่ชว่ ยสมเดจ็ พระชนก (กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, 2546, น. 32) จากเอกสารพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวัน วลิต (2546) กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนเสียกรุง ศรอี ยธุ ยาว่า …เม่ือพระเจ้าแผ่นดินพะโคยึดได้กรุงศรีอยุธยา ทรงแต่งตั้งออกญาพิษณุโลกเป็นพระ เจ้าแผ่นดิน จากนั้นพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จกลับพร้อมพระนริศ (พระนเรศวร) พระโอรสองค์ แรกของพระเจา้ แผน่ ดนิ องค์ใหม่แหง่ กรงุ สยาม ซ่งึ มพี ระชนมายุได้ 13 พรรษา (วนั วลิต, 2546, น. 23) นอกจากน้ันคาให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า “...เสียกรุง...และมอบราชสมบัติให้พระสุธรรมราชา (พระธรรมราชา) พระมหินทร์ กบั พระสุพรรณกัลยา และ พระนเรศวร น้นั พระเจา้ หงสาวดใี หเ้ อาไปด้วย”

10 ภาพ 4 พระนเรศวรไดเ้ ดนิ ทางตามเสดจ็ พระเจา้ หงสาวดีไปเป็นพระราชบุตรบญุ ธรรม (องคป์ ระกนั หงสาวดี) ท่มี า: ถ่ายโดยผู้วจิ ัย 26 มกราคม 2562 อย่างไรก็ดีพระนเรศวรในวัยเยาว์ยังคงอยู่ท่ีพม่าระยะหน่ึง เพราะฉบับวันวลิตกล่าวว่าสมเด็จ พระนเรศวรทรงถูกเสียดสีเย้ยหยันจากกษัติรย์พม่า คาเสียดสีทาให้พระนเรศวรขุ่นเครืองพระทัยหนีกลับ พิษณโุ ลกขณะทกี่ ษัตริ ยพ์ มา่ ให้กองทัพไลต่ ิดตามแตไ่ มท่ ัน

11 ภาพ 5 พระเจ้าหงสาวดอี ปุ การะพระนเรศวรและให้การศกึ ษาตาราพิชยั สงคราม การปกครองแผ่นดินและวัฒนธรรม ทม่ี า: สมดุ ภาพพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, 2506, น. 33 เม่ือพิจารณาจากเอกสารดังท่ีกล่าวมา น่าจะเป็นจริงว่า สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปเป็นตัว ประกันพร้อมพระมหินทร์และพระพี่นางสุพรรณกัลยา คร้ังเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) ขณะมีพระชนมายุ 13 ชันษา โดยเหตุเมื่อครั้งสงครามช้างเผือก พระราเมศวรพระราชโอรสงค์ใหญ่ของ พระมหาจักพรรดิถูกนาตัวเป็นประกัน เช่นเดียวกันสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาย่อมนาพระนเรศวรพระราช โอรสองคใ์ หญ่ของพระมหาธรรมราชาไปเปน็ ตวั ประกนั ด้วย

12 ภาพ 6 พระองค์ดา (พระนเรศวร) พระชันษา 10 ปี เล่นกระบ่ีกระบองกบมังสามเกียดตอ่ พระพักตพ์ ระเจ้าหงสาวดี (บเุ รงนอง) ณ เมืองหงสาวดี ทม่ี า: ภาพจติ กรรมวัดสวุ รรณดาราราม จังหวดั พระนครศรีอยุธยา ขณะที่หนงั สือคาให้การขนุ หลวงหาวัด ฉบับหลวง กลา่ ววา่ “อนั พระนเรศร์กุมารกบั พระประทุม ราชาอันเปนที่มหาอุปราชนั้นชอบพอรักใคร่ต่อกัน สัญญาว่าพี่น้องพระครรภ์เดียวกัน มิได้มีความรังเกียจ เดียดฉันต่อกัน เปนที่ปรึกษาหารือต่อกัน เล่นชนไก่กันอยู่อัตรา พระนเรศร์เม่ือแรกมาแต่กรุงไทยน้ันพระ ช น ม์ ไ ด้ 10 ปี ม า อ ยู่ ห ง ษ า ไ ด้ 5 ปี เ ป น 15 ปี ม า เ ม่ื อ จ ะ มี เ ห ตุ ใ ห ญ่ นั้ น พ ร ะ น เ ร ศ ร์ กั บ อุปราชาชนไก่กัน ไก่ข้างอุปราชาน้ันแพ้ไก่พระนเรศร์ ในเพลานั้นมิได้มีไชย ฝ่ายข้างอุปราชาน้ันทั้งอายท้งั ขัดอัชฌาไศรย จึ่งทาจริตแกม จึ่งจับไหล่พระนเรศร์ส่ันพลาง จ่ึงว่ามาว่าไก่ขุนชเลยน้ีมีไชยกับเราหนกั หนา พระนเรศร์จ่ึงอัชฌาไศรย เพราะว่าตัวน้ีพลัดมาต่างเมืองจ่ึงทากันได้ที่กลางสนาม แล้วจึ่งจาใจพูดไปตาม เรื่องว่าไก่นี้ราคาค่าเมือง ก็คุมเคืองแค้นกันมาแต่วันน้ัน จึ่งคิดว่าเปนชายเหมือนกัน จักได้เห็นกัน พระ

13 นเรศร์จึ่งหมายม่ันกับอุปราชาหงษามาแต่ครั้งนั้น แล้วก็หาพลโยธา จึ่งได้โจรป่ากับหมอเฒ่าเหลา่ พรานป่า ๆ จ่ึงถวายช้าง ชื่อมงคลคชานั้น มีฝีเท้าฝีงากล้าหาญหนักหนา ถวายทั้งพวกพลเหล่าพรานล้วนกล้าหาญ ชาญไชย คร้ันเตรียมพลพร้อมแล้ว พระนเรศร์จ่ึงลอบส่งสารลับให้เข้าไปถึงพระพ่ีนางข้างใน จึ่งบอกความ วา่ น้องจักหนไี ปภารา ฝ่ายพระพีน่ างนัน้ กลัวพระเจ้าหงษาจกั รู้ จงึ่ วา่ ถา้ หนีไดก้ จ็ ักไม่มรณา ถา้ ไม่พ้นก็จกั พา กันบรรไลย จึ่งตรัสว่าอย่าเปนห่วงด้วยพี่เลย เจ้าจักไปก็ตามอัชฌาไศรยเถิด จึ่งอธิฐานแล้วประทานพรให้ เจ้าจงไปดี ให้พ้นมือไพรีเถิด ครั้นพระนเรศร์ได้ฟังพระพ่ีนางว่าดังนั้น ก็ตรอมพระไทยหนักหนา ถ้าแม้น มไิ ด้เตรยี มการแล้วก็ทาเนาเถดิ นี่เตรยี มพร้อมแล้ว เราจกั ไมห่ นกี ็เกลือกความจักรู้ไปเม่ือภายหลงั ด่งั แกล้ง สังหารตวั เสยี ให้บรรไลย จาเปนกจ็ าจกั ต้องไป จาใจจาจักจากกนั แลว้ พระองค์จง่ึ กาหนดเพลากับพรานป่า ท้ังปวง กับพลของพระองค์ด้วยกันได้หกร้อยเศษ ครั้นเพลาพลบลงแล้วก็ลอบหนี แล้วออกจากเมืองหงษา จึ่งกวาดต้อนท้ังมอญแลลาวไป ท้ังพลเก่าพลใหม่ได้เก้าพัน แล้วจึ่งยกมาทางเมืองจิตตอง แล้วมาทางเมือง มัตตมะ แล้วจึ่งมาถึงท่าข้ามน้าพลัน จ่ึงยกมาทางอัทรัญ ครั้นถึงสะมิแล้ว ก็รีบมาจนถึงพระเจดีย์สามองค์ แลว้ จ่งึ ยกมาต้ังคอยทา่ อยู่ทีซ่ อยหนา้ ภมู ๚” ภาพ 7 ภาพเขียนสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราชทรงเล่นชนไก่กบั มงั สามเกียด ทม่ี า: ภาพจิตกรรมวัดสุวรรณดาราราม จงั หวัดพระนครศรีอยธุ ยา

14 1.4. สงครามเสียกรงุ ศรีอยธุ ยาครงั้ ท่ี 1 พระเจา้ หงสาวดีขอช้างเผือกไปแล้ว เว้นอยู่ 4 ปกี ็เกดิ ศกึ หงสาวดีมาตีเมืองไทยอีก อันเหตกุ ารณ์ ที่จะเกิดสงครามคราวนี้ก็เน่ืองมาแต่สงครามคราวก่อน ตัวพระเจ้าหงสาวดียังไม่ได้เมืองไทยเป็นเมืองขึ้น จึงพยายามท่ีจะให้ไทยแตกกันเป็น 2 พวก ให้จาต้องยอมอยู่ในอานาจของพระเจ้าหงสาวดีด้วยกันท้ัง 2 ฝ่าย ใชท้ างอบุ ายยกย่องพระมหาธรรมราชาให้มีอานาจขึ้นทางหวั เมืองเหนือ กรงุ ศรีอยุธยาจะบงั คับบัญชา ว่ากลา่ วอย่างแตก่ ่อน พระเจา้ หงสาวดกี เ็ ข้ากีดกันอุดหนุนพระมหาธรรมราชาจงึ สนิทชดิ ชอบกับพระเจ้าหง สาวดียิ่งข้ึน แลเหินห่างจากกรุงศรีอยุธยาไปทุกที จนท่ีสุดไทยเกิดรบกันขึ้นเอง จึงเลยพาศึกหงสาวดีเข้า มาตบี า้ นเมือง การสงครามคร้งั น้ี เร่ิมแต่พระเจ้าหงสาวดีมีชัยชนะไปจากกรุงศรีอยธุ ยา กลับไปถงึ เมืองหงสาวดี ไม่ช้าก็ได้ข่าวว่าพระเจ้าเชียงใหม่เมกุติคบคิดกับพระยานครลาปาง พระยาชเลียง (แพร่) พระยาน่าน แล พระยาเชียงแสน จะต้ังแขงเมืองไม่ยอมข้ึนต่อเมืองหงสาวดีต่อไป พระเจ้าหงสาวดีจึงยกกองทัพหลวงเข้า มาตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อปลายปีชวด พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) น้ัน เกณฑ์พระมหาธรรมราชาให้ยกกองทัพ ขน้ึ ไปช่วยด้วย ฝ่ายพระเจ้าเชยี งใหมเ่ ห็นว่าศกึ เหลือกาลงั กย็ อมอ่อนนอ้ มต่อพระเจ้าหงสาวดี แตเ่ จ้าเมือง 4 คน จับได้แต่พระยาเชียงแสนคนเดียว อีก 3 คนหนีไปพึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ณ เมืองเวียงจันท์ พระเจ้าไชยเชษฐาไม่ยอมส่งตัวให้ พระเจ้าหงสาวดีขัดเคืองจึงคิดจะยกกองทัพไปตีกรุงศรี สัตนาคนหตุ พอได้ข่าวว่าพวกไทยใหญ่ทจ่ี บั เป็นเชลยเอาไปไวท้ ่เี มืองหงสาวดพี ากนั เป็นขบถขน้ึ พระเจา้ หง สาวดีจึงให้พระมหาอุปราชายกกองทัพไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต ส่วนพระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพหลวงกลับไป เมอื งหงสาวดี เอาตวั พระเจา้ เชยี งใหมเ่ มกุตไิ ปดว้ ย กองทัพพระมหาธรรมราชานน้ั ก็ใหเ้ ลิกกลับมาบา้ นเมือง เหมือนกัน (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2546, น. 20 – 21) พระมหาอุปราชายกกองทัพไปถึงกรงุ ศรีสัตนาคนหตุ ตีได้หัวเมืองรายทางเข้าไปโดยลาดับจนถึง เมอื งเวียงจันท์ ซงึ่ เป็นราชธานขี องพระเจ้าไชยเชษฐา พระเจ้าไชยเชษฐาต่อสู้เห็นเหลือกาลังก็ท้ิงเวียงจันท์ เสีย พากองทัพไปซุ่มหลบอยู่ในปา่ พระมหาอุปราชาได้เมืองเวยี งจันทจ์ ับได้ญาติวงษ์และมเหสี สนมกานัล ของพระเจ้าไชยเชษฐาส่งไปเมืองหงสาวดีเป็นอันมาก แล้วให้กองทัพออกติดตามพระเจ้าไชยเชษฐา ด้าน พระเจา้ ไชยเชษฐาชานาญท้องที่กวา่ พวกหงสาวดี ถา้ กองทัพที่ไปติดตามมีกาลังมากก็หลบเลยี่ งเสีย ถ้าเป็น กองน้อยก็ออกโจมตีเอาแตกพ่ายกลับมา แต่กองทัพหงสาวดีเท่ียวตดิ ตามอยู่จนถึงระดูฝนก็จบั พระเจา้ ไชย เชษฐาไม่ได้ พระมหาอุปราชาเห็นไพร่พลบอบช้ามากนัก จึงให้เรียกกองทัพกลับไปต้ังรวมกันอยู่ที่เมือง เวียงจันท์ หมายว่าพอส้ินระดูฝนจึงจะให้ออกตามจับพระเจ้าไชยเชษฐาต่อไป พอกองทัพหงสาวดีถอยไป รวมอยู่ที่เมืองเวียงจนั ท์ พระเจ้าไชยเชษฐาได้ทีก็ให้เท่ียวตีตัดลาเลียงเสบียงอาหารซึ่งจะไปส่งยังเมืองเวยี ง จันทท์ กุ ๆ ทาง จนกองทัพหงสาวดอี ดอยาก รพ้ี ลพากนั เจ็บไข้ล้มตายลงเป็นอันมาก พอสน้ิ ระดฝู นพระมหา อุปราชากต็ อ้ งรีบเลิกทัพกลับไป กองทพั พระเจ้าไชยเชษฐาตดิ ตามตีไปจนปลายแดน กิติศัพทจ์ ึงเลื่องลือว่า พระเจ้าไชยเชษฐามีชัยชนะพระเจ้าหงสาวดีในครง้ั น้ัน

15 แต่เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาได้ราชธานีคืน ได้แต่เมืองเปล่าเพราะพวกหงสาวดีเก็บริบทรัพย์สมบัติ ท้ังจับพระมเหษีแลสนมกานัลไปเสียเกือบหมด พระเจ้าไชยเชษฐาจะหาพระมเหสีใหม่ จึงให้ราชทูตเชิญ พระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทูลขอพระเทพกษัตรีราชธิดา ไปเปนอคั รมเหสี ฝ่ายข้างกรงุ ศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจกั รพรรดิกับพระมหินทรกาลงั แค้นพระเจา้ หงสาว ดี ก็ยินดีที่จะเป็นสัมพันธมิตรกับพระเจ้าไชยเชษฐา แต่บังเอิญเวลานั้นพระเทพกษัตรีราชธิดาประชวรอยู่ จึงให้รอต่อไปทานองจะเกรงว่าพระเจ้าไชยเชษฐาคงจะผันแปรไปเป็นสัมพันธมิตรเสียกับเมืองอื่น จึง พระราชทานพระแก้วฟ้าอันเป็นราชธิดาเกิดด้วยพระสนมไปแทน ครั้นพระเจ้าไชยเชษฐาทราบว่ามิใช่ราช ธดิ าของสมเดจ็ พระสุรโิ ยไทยก็ไม่พอพระหฤทัย ใหพ้ าพระแกว้ ฟ้ากลับส่ง ว่าจะขอประทานเฉพาะพระเทพ กษัตรี ด้วยประสงคจ์ ะใคร่ไดว้ งศ์สมเด็จพระสุริโยไทย ซ่งึ มีพระเกยี รติยศเป็นอย่างยอดของสตรีไปเป็นพระ อคั รมเหสี สมเด็จพระมหาจักรพรรดกิ ็โปรดบญั ชาตาม (กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, 2546, น. 22 – 25) ...ในปเี ดยี วนน้ั พระเจ้าลา้ นชาง ให้พระราชสาสนม์ าถวายวา่ จะขอสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้า แลทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พระเจ้าหล้านช้าง แลคร้ัง น้ันสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าทรงพระประชวร จึงพระราชทานสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอพระแก้วฟา พระราชบุตรีให้หลานชาง ศักราช 926 ชวดศก (พ.ศ.2107) พระเจ้าลา้ นช้างจงึ เชิญใหส้ มเดจ็ พระแก้วฟ้าพระราชบุตรลี งมาส่งยังพระนครษรีอยุทธยา แลว่าจะขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระเทพกระษัตรเจ้าน้ัน แลจึงพระราชทานสมเด็จ พระเทพกระษตั รเจ้าไปแก่พระเจ้าลา้ นช้าง ครง้ั นนั้ พระเจ้าหงษารู้เนื้อความท้งั ปวงน้ัน จึง แต่งทัพมาซุ่มอยู่กลางทาง แลออกชิงเอาสมเด็จพระเทพกระษัตรเจ้าได้ ไปถวายแก่พระ เจ้าหงษา (กรมศิลปากร, 2542, น. 225) การท่ีกรุงศรีอยุทธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุตให้ทูตไปมาว่ากันด้วยเรื่องของราชธิดาครั้งนั้น พระ มหาธรรมราชาทราบความ เพราะทูตเดินทางด่านสมอสอ (ในแขวงมณฑลเพ็ชรบูร) ไม่ห่างเมืองพิษณุโลก นัก คร้ันทราบว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะประทานพระเทพกษัตรีไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุต พระมหา ธรรมราชาไม่เห็นชอบด้วย ด้วยพระเทพกษัตรีเป็นพระน้องนางของพระวิสุทธิกษัตรีร่วมพระมารดา เ ดี ย ว กั น บ า ง ที พ ร ะ วิ สุ ท ธิก ษั ต รี เ อ ง จะ เ ป็ นผู้ ที่ไ ม่ เ ห็น ช อ บ ด้ ว ย ด้ ว ย รู้ อ ยู่ ว่า พ ร ะ เจ้าหง สาวดีคงจะยกกองทัพมาตีกรุงศรีสัตนาคนหุตอีก พระมเหสี สนมกานัล ของพระเจ้าไชยเชษฐาเคยถูก กองทพั หงสาวดีจบั ไปได้คราวหนึ่งแลว้ ถา้ รบกนั ข้นึ อีกเกรงพระเทพกษตั รีจะไปเป็นอันตราย ทานองพระวิ สุทธิกษัตรีจะทูลขอให้พระมหาธรรมราชาคัดค้าน อย่าให้ส่งพระเทพกษัตรีไปยังกรุงศรีสัต นาคนหุต แต่ในเวลาน้ันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่ไว้พระทัยพระมหาธรรมราชาเสยี แลว้ จึงไม่ทรงหารอื เรื่องท่ีจะประทานพระเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐา พระมหาธรรมราชาจะไปทูลห้ามปรามสมเด็จพระ มหาจกั รพรรดิไม่ได้ จงึ ไห้คนเรว็ รบี ไปทลู ความแก่พระเจา้ หงสาวดี พระเจา้ หงสาวดีก็ให้กองทัพมาซุ่มสกัด

16 ทางอยู่ พอข้าหลวงกรุงศรีอยุธยาเชิญพระเทพกษัตรีไป กองทัพพม่าก็เข้าชิงนางพาไปเสียยังเมืองหงสาวดี ฝ่ายพระมหาธรรมราชาคงอุบายบอกลงมาทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ว่าพระเจ้าหงสาวดีให้มาชิง พระเทพกษตั รไี ปโดยอาเภอพระทยั พระมหาธรรมราชาหาได้รเู้ หน็ ด้วยไม่ ข้างกรุงศรอี ยุธยาก็ร้เู ทา่ ทันพระ มหาธรรมราชา แต่ไม่อาจจะว่ากลา่ วอย่างไร ด้วยติดพระเจ้าหงสาวดีอยู่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเห็นจะ รู้สึกอัปรยศอดสูในคร้ังนี้มาก จึงทรงมอบราชการบ้านเมืองแก่พระมหินทรแล้วเสด็จออกผนวช และใน หนังสอื พระราชพงษาวดารว่า ข้าราชการกอ็ อกบวชตามเสดจ็ ดว้ ยเป็นอันมาก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จออกทรงผนวชครั้งนั้น ท่ีแท้เสมอเร่งให้เกิดเหตุร้ายแก่บ้านเมือง เพราะทาให้เกิดรวนเรในข้าราชการ อันเห็นได้เช่นท่ีพากันออกบวชตามเสด็จเสียเป็นอันมากนั้น แต่ข้อ สาคัญน้ันคือที่เป็นเหตุให้พระมหาธรรมราชาสิ้นความยาเกรงกรุงศรีอยุทธยา เพราะพระ มหินทรเป็นแต่น้องของพระมเหสีมิใช่เป็นพระราชบิดาเหมือนสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เพราะฉะน้ันจึง ปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า พอพระมหินทรขึ้นว่าราชการเมือง พระมหาธรรมราชาก็ตั้งเกี่ยง แย่งจะต้องการอย่างไรก็อ้างพระเจ้าหงสาวดีบังคับบัญชาลงมายังกรุงศรีอยุธยา พระมหินทรก็จาต้องผ่อน ผันทาตาม ดว้ ยเกรงอานาจพระเจา้ หงสาวดี พระมหินทรไดค้ วามคับแคน้ พระหฤทัยหนกั เข้าจงึ คิดจะกาจัด พระมหาธรรมราชาเสีย ครง้ั นน้ั พระมหินทรได้พระยาราม (รณรงค์ผ้วู า่ ราชการเมืองกาแพงเพ็ชร) ซึ่งเอาใจ ออกห่างจากพระมหาธรรมราชามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นท่ีปรึกษา จึงคิดกลอุบาย บอกความลับไปยัง พระเจ้าไชยเชษฐาใหย้ กกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหตุ ลงมาตีเมืองพิษณุโลก พระมหินทรจะยกกองทัพกรุงศรี อยุธยา ขึ้นไปประหนึ่งว่าจะไปช่วยเมืองพิษณุโลก เมื่อได้ทีแล้วให้ช่วยกันจับพระมหาธรรมราชาให้จงได้ ฝ่ายพระเจ้าไชยเชษฐาก็แค้นพระมหาธรรมราชาอยู่ด้วยเรื่องพระเทพกษัตรี จะลงมาตีเมืองพิษณุโลกอยู่ ครั้งหนึ่งแล้ว แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิห้ามเสียจึงมิได้ยกลงมา คร้ันพระมหินทรชวนขึ้นไปจึงให้ ตระเตรียมกองทัพ พอถึงฤดูแล้งปลายปีขาล พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)พระเจ้าไชยเชษฐาก็ยกกองทัพมายัง เมืองพษิ ณุโลก ทากติ ศิ พั ท์ใหป้ รากฎแพร่หลายว่าจะลงมาตีกรุงศรอี ยุธยา เพราะสมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิ ได้ทรงสัญญาว่าจะประทานพระเทพกษัตรี แล้วแกล้งให้ได้อัปรยศอดสู ให้คนท้ังหลายเข้าใจวา่ ท่ีมาตีเมือง พิษณุโลกก่อน เพราะเป็นเมืองด่านของกรุงศรีอยุธยาข้างฝ่ายเหนือ พระเจ้าไชยเชษฐายกลงมาครั้งน้ัน หมายจะรีบเร่งระดมตีให้ได้เมืองพิษณุโลกก่อนกองทัพพระเจ้าหงสาวดียกมาช่วย ปรากฎในหนังสือพระ ราชพงษาวดารว่า กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตยกมาเปน 5 ทัพ มาทางเมืองนครไทย ครั้นมาถึงเมือง พิษณุโลก กองทัพพระเจ้าไชยเชษฐาต้ังที่ตาบลโพธิ์เรียง ตรงประตูสวรรค์ออกไปทางด้านตะวันออก ห่าง เมืองประมาณ 50 เส้น ทัพพระยาแสนสุรินทรขวา้ งฟ้าต้ังท่ีบ้านเตาไหทางด้านเหนือ ทัพพระยามือไฟต้ังท่ี ตาบลวัดเขาพราหมณ์ เข้าใจว่าทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ทัพพระยานคร (พนม) ต้ังที่ตาบลสระแก้ว ทางดา้ นตวันออกเฉียงใต้ ทัพพระยามือเหล็กตั้งท่ีตาบลบางสะแก (กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, 2546, น. 25 – 27) ฝ่ายพระมหาธรรมราชาเม่ือได้ข่าวว่ากองทพั กรุงศรสี ัตนาคนหุตยกมา ยังไมส่ งสยั วา่ ยกมาโดยกล อุบายของพระมหินทร จึงบอกข่าวศึกลงมายังกรุงศรีอยุธยาขอกองทัพขึ้นไปช่วย แล้วให้ขนเสบียงอาหาร ต้อนผู้คนเข้าในเมืองพิษณุโลก ตระเตรียมป้องกันเมืองเป็นสามารถ แล้วยังไม่วางพระทัย ให้บอกไปขอ

17 กองทัพพระเจ้าหงสาวดีมาช่วยอีกทางหนึ่ง พระมหินทรได้รับใบบอกพระมหาธรรมราชาขอกองทัพข้ึนไป ช่วยก็สมหมาย จึงมีรับสั่งให้พระยาสีหราชเดโชไชยกับพระท้ายน้ารีบคุมกาลังข้ึนไปก่อนกองหนึ่งเหมือน อย่างว่าจะให้ขึ้นไปช่วยรักษาข้างในเมืองพิษณุโลก ดารัสส่ังเป็นความลับไปแก่พระยาสีหราชเดโชไชยว่า ถ้ากองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตกับกองทัพกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปถึงพร้อมกันเมื่อใด ให้พระยาสีหราชเดโชไชย เป็นไส้ศึกขึ้นในเมือง คร้ันพระยาสีหราชเดโชไชยล่วงน่าไปแล้ว พระมหินทรจึงทรงจัดกองทัพเรือ ให้พระ ยารามซึ่งเปนพระยาจักรี คุมกองหน้าพระมหินทรเสด็จเป็นจอมพลในกองหลวงยกตามข้ึนไปยังเมือง พิษณโุ ลก กองหน้าไปตง้ั อยู่ทีว่ ัดจุฬามณี กองหลวงต้ังอย่ทู ่ีปากพิงข้างใต้เมืองลงมา ฝ่ายพระยาสีหราชเดโชไชยข้ึนไปถึงเมืองพิษณุโลก กลับไปเข้าเป็นพวกพระมหาธรรมราชา ทูล ความลบั ทง้ั ปวงให้ทรงทราบ พระมหาธรรมราชาจงึ ใหห้ ้ามกองทัพกรงุ ศรอี ยธุ ยา มใิ ห้เขา้ ไปในเมือง แลว้ ให้ ทาแพไฟข้ึนเป็นอันมาก จุดไฟปล่อยแพให้ลอยลงมาไหม้กองทัพเรือกรุงศรีอยุธยาแตกร่นลงมาจนถึงทัพ หลวง ฝ่ายข้างกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตเม่ือรู้ว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยา ยกขึ้นไปถึง ก็เข้าระดมตีเมือง พิษณุโลก รบพุ่งกันแต่เวลาน้ันกองทัพกรุงศรีอยุธยาถอยลงมาเสียแล้ว กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตก็ตีเอา เมืองไม่ได้ พอได้ข่าวว่ากองทัพพระยาภุกามกับพระยาเสือหาญ ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีให้เข้ามาชว่ ยพระมหา ธรรมราชา มาจวนจะถงึ เมืองพิษณโุ ลก พระเจ้าไชยเชษฐากเ็ ลิกทัพกลับไปเมืองเวียงจนั ท์ พระมหินทรทรง ทราบว่ากองทพั กรงุ ศรีสตั นาคนหตุ เลิกกลับไปแล้ว กเ็ ลิกทัพหลวงกลบั ลงมากรุงศรอี ยธยา พอเสร็จการศึกพระมหาธรรมราชาก็เสด็จไปเมืองหงสาวดีไปทูลรอ้ งทุกข์ต่อพระเจา้ หงสาวดี ใน เร่ืองท่ีพระมหินทรคบคิดกับพระเจ้าไชยเชษฐามาทาร้าย พระเจ้าหงสาวดีก็สมคเน จึงอภิเษกพระมหา ธรรมราชาให้เปนพระศรีสรรเพ็ชญ์ท่ี 3 เจ้าฟ้าพิษณุโลก เรียกในพงษาวดารพม่าว่า “เจ้าฟ้าสองแคว” เป็นประเทศราชขนึ้ ตอ่ เมอื งหงสาวดี มใิ ห้ขึน้ กรงุ ศรีอยุธยาต่อไป ฝ่ายพระมหินทรเม่ือถอยทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุทธยาแล้ว คร้ันทราบความว่าพระมหาธรรม ราชาออกไปเมืองหงสาวดี ก็เข้าพระไทยว่าคงไปฟ้องร้องยุยงพระเจ้าหงสาวดีให้มาทาร้ายกรุงศรีอยุธยา เกรงการจะหนักแน่นเหลือกาลัง ด้วยเห็นข้าราชการยังรวนเรไม่เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน จึงไปทูลวิงวอน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้ลาผนวซ เชิญเสด็จข้ึนครองราชสมบัติว่าราชการบ้านเมืองดังแต่ก่อน แล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระมหินทรก็รีบเสด็จข้ึนไปยังเมืองพิษณุโลกด้วยกัน ในเวลาพระมหาธรรม ราชายังอยู่ที่เมืองหงสาวดี จึงรับพระวิสุทธิกษัตรีราชธิดาซึ่งเป็นพระอัครชายาพระมหาธรรมราชา กับท้ัง พระโอรสธิดามาจากเมืองพิษณุโลก หวังจะให้พระมหาธรรมราชาเป็นห่วง ไม่กล้าขอกองทัพหงสาวดีมาตี กรงุ ศรอี ยุธยา และคร้ังนน้ั เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จกลับมาถงึ เมืองนครสวรรค์ ใหพ้ ระมหนิ ทรคุม กองทัพข้ึนไปยังเมืองกาแพงเพชร หวังจะทาลายเมืองเสียมิให้ข้าศึกอาศัยเป็นท่ีมั่นได้ต่อไป คร้ันกองทัพ ยกข้ึนไปถึง ขุนอินทรเสนากับขุนต่างใจซ่ึงพระมหาธรรมราชาให้รักษาเมืองกาแพงเพชร ทราบว่ากองทัพ กรุงศรีอยุธยา จะขึ้นไปทาลายเมืองกาแพงเพชร ด้วยเกิดเป็นอริกับพระมหาธรรมราชา ก็ไม่เข้าด้วย คร้ัง นั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาซ่ึงยกข้ึนไปคงประมาท โดยคาดว่าจะไม่มีผู้ใดต่อสู้ ก็พ่ายแพ้พวกเมือง กาแพงเพชร พระมหินทรเหน็ วา่ จะทาการไมส่ าเร็จกเ็ ลกิ ทพั กลบั ลงมา

18 สมเดจ็ พระมหาจักรพรรดิเสด็จกลบั มาถึงกรุงศรีอยุธยา กใ็ ห้ลงมอื จดั การตระเตรียมป้องกันพระ นคร ด้วยคาดว่าคงมีศึกหงสาวดีมาในไม่ช้า และการตระเตรียมครั้งน้ันได้จัดการแก้ไขเพ่ิมเติมเครื่อง ปอ้ งกันพระนคร มีปรากฎในหนงั สอื พระราชพงษาวดารหลายประการ คือ 1. ให้แต่งป้อมเพ็ชรแลหอรบ ระยะไกลกันแต่เส้นหนง่ึ อธิบายความข้อนี้ว่า ป้อมเพชรซ่ึงตั้งตรง แม่น้าข้างด้านใต้ ได้สรา้ งข้นึ แต่เมือ่ เตรียมสู้ศึกคราวก่อน พรอ้ มกับกอ่ กาแพงพระนคร คราวนี้แก้ไขตกแต่ง ใหแ้ ขง็ แรงข้นึ แลหอรบนน้ั ของเดมิ ยงั หา่ งนัก ใหส้ รา้ งเพ่มิ เติมขน้ึ ให้มีทุกระยะเสน้ 1 รอบพระนคร 2. วางปืนใหญ่ไว้ระยะแต่ 10 วา ปืนบเรียมจ่ารงมณฑกระยะไกลแต่ 5 วา ข้อน้ีอธิบายว่า ปืน บนป้อมปราการนั้นให้เอาปนื ขนาดเขื่องตั้งรายระยะ 10 วาต่อกระบอก 1 รายปืนขนาดย่อมลงมาระยะ 5 วาตอ่ กระบอก 1 3. กาแพงพระนคร ขณะนั้นต้ังโดยขบวนเก่า แลยังมิได้ร้ือลงตั้งในริมแม่น้า พระยารามก็ให้ตั้ง ค่ายรายไปตามรมิ นา้ เป็นช้ันหนึ่งแล้วไว้ปนื จ่ารงมณฑกสาหรับค่ายน้ันก็มาก” ข้อน้ีอธิบายวา่ ความท่กี ล่าว ตรงนี้หมายเฉพาะแต่ด้านตะวันออก (คือต้ังแต่วังจันทรเกษม ลงมาจนวัดสุวรรณดาราราม) ด้านเดียว ดัง จะเห็นได้เม่ือกล่าวถึงเวลารบกันต่อไปข้างหน้า เพราะด้านตะวันออกน้ีแม่น้าสักเวลาน้ันยังลงทางบ้านม้า มาออกปากเขา้ สารห่างพระนครนัก ต้องขดุ คูเมอื งอกี ช้ันหน่ึง เรยี กวา่ คลองขอ่ื น่า แนวกาแพงพระนครด้าน ตะวันออกครง้ั น้ันก็ยงั อย่พู น้ วัดเสนาศน์ จงึ ให้ตง้ั ค่ายรายขา้ งนอกกาแพง รกั ษาคเู มืองอกี ชน้ั หนึ่ง 4. ให้ปลูกหอโทนในกลางน้าใกล้ริมฝั่งออกไป 5 วา รอบพระนคร มิให้ข้าศึกเอาเรือเข้ามาตีริม พระนครได้ ข้อนี้อธิบายว่า นอกจากด้านตะวันออก อีก 3 ด้าน ท่ีมีลาแม่น้าเป็นคูพระนครอยู่แล้วให้ปลูก หอรบลงไปในลาแมน่ า้ รายเป็นระยะไปทัง้ 3 ดา้ น ฝ่ายพระมหาธรรมราชาอยู่ที่เมืองหงสาวดี คร้ันได้ทราบว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระ มหินทรขึ้นไปรับพระวิสุทธิกษัตรีกับพระโอรสธิดาพาไปไว้เป็นตัวจานาท่ีกรุงศรีอยุธยาก็ตกพระทัยรีบนา ความไปทูลแก่พระเจ้าหงสาวดี เช่นน้ัน พระเจ้าหงสาวดีจึงส่ังให้เตรียมกองทัพจะมาตีกรุงศรี อยุธยา ใหพ้ ระมหาธรรมราชากลับมาก่อน ให้มาตระเตรยี มกองทัพหวั เมืองเหนือไว้ แลว้ พระเจ้าหงสาวดีก็ ให้กะเกณฑเ์ มืองประเทศราชแลหวั เมืองขน้ึ ทงั้ ปวงเขา้ กองทัพ พอปลายฤดฝู นพระเจา้ หงสาวดีก็ยกกองทัพ หลวงออกจากพระนคร เม่ือวนั อาทิตย์เดือน 11 แรม 6 คา่ ปีมโรง จุลศักราช 930 พ.ศ. 2111 (ค.ศ. 1568) กระบวนทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาคร้ังนี้ จัดเป็นทัพกษัตริย์ 7 ทัพ คือพระมหาอุปราชาทัพ 1 พระเจ้า แปรทัพ 1 พระเจ้าตองอูทัพ 1 พระเจ้าอังวะทัพ 1 กองทัพเหล่าน้ีมีกองทัพไทยใหญ่สมทบทุกทัพ แลให้ พระราชบตุ รซึง่ ครองเมืองสารวดีสมทบกับพวกเมืองเชยี งใหม่เชียงตุงอกี ทัพ 1 ทัพหลวงของพระเจา้ หงสาว ดีทัพ 1 กองทัพไทยของพระมหาธรรมราชาอีกทัพ 1 จึงรวมเป็น 7 ทัพด้วยกัน พงษาวดารพม่าว่า รวมทุก ทัพเป็นจานวนพล 500,000 ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา แลมาประชุมทัพที่เมืองกาแพงเพชรเหมือนคราว กอ่ น

19 ฝ่ายข้างกรุงศรีอยุธยา ในคราวนี้ไม่มีท่าทางท่ีจะไปรบพุ่งที่อื่นได้เหมือนคราวก่อน เพราะหัว เมืองเหนือเป็นขบถไปเข้าข้างข้าศึกเสียท้ังหมด แม้ผู้คนในมณฑลราชธานีก็ตื่นแตกหลบหนีเสียมาก รวบรวมไพร่พลไม่ไดเ้ ต็มตามจานวน เพราะเหตเุ หลา่ นีจ้ ึงได้แตเ่ อาพระนครเป็นท่ีมน่ั คอยต่อสู้ขา้ ศึกอยู่แห่ง เดียว กองทัพพระเจ้าหงสาวดีก็ยกลงมาได้โดยสะดวก มาถึงกรุงศรีอยุธยาแต่เดือนอ้ายให้ตั้งค่ายรายล้อม พระนครไว้ ด้านเหนือพระเจ้าหงสาวดีต้ังอยู่ ณ ทุ่งลุมพลี ข้างในกรุงศรีอยุธยา เอาปืนนารายน์สังหารต้ัง “ในช่องมุมสบสวรรค์” ยิงไปถึงกองทัพพระเจ้าหงสาวดี ถูกช้างม้าร้ีพลล้มตาย พระเจ้าหงสาวดีจึงให้ถอย ทัพหลวงไปตั้งท่ีบ้านมหาพราหมณ์ ให้พ้นทางปืนใหญ่ แลให้กองทัพพระเจ้าตองอู ทัพพระยาพะสิม ทัพ พระยาอภัยคามินี ทัพมอญเมืองเมาะตมะ ตั้งรายกันไปข้างด้านเหนือ ด้านตะวันออกให้กองทัพพระมหา อุปราชากับกองทัพพระมหาธรรมราชาไปต้ัง ด้านตะวันตก ให้กองทัพเจ้าเมืองสารวดี กับกองทัพเมือง เชียงใหม่ แลพวกเจา้ ฟ้าไทยใหญ่ไปต้ัง ดา้ นใต้ให้กองทพั พระเจา้ องั วะลงมาต้ัง พเิ คราะหต์ ามแผนทกี่ องทัพ ข้าศึกซ่ึงต้ังล้อมกรุงศรีอยุธยา คราวน้ี ไม่กล้าเข้ามาต้ังใกล้เหมือนคราวก่อน คงเป็นด้วยไทยมีปืนใหญ่ท่ีมี กาลงั แรงมากข้นึ คอยยงิ กราดมใิ ห้เข้ามาได้ ดา้ นการรกั ษาพระนครต่อสู้ข้าศึกครั้งนี้ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้พระยารามเป็นผบู้ ัญชาการ ท่ัวไป ส่วนพนักงานรักษาหน้าท่ีนั้น ข้างด้านตะวันออกเป็นด้านสาคัญ เพราะคูเมืองยังแคบ เป็นทางท่ี ข้าศกึ จะเขา้ ไดง้ า่ ยกวา่ ทางอ่ืน ใหพ้ ระยากลาโหม พระยาพลเทพ พระมหาเทพ เป็นนายกองพล ๓ กอง แล ให้ผู้ว่าราชการหัวเมืองมณฑลราชธานี ซึ่งเกณฑ์เข้ามาช่วยต่อสู้ข้าศึกเข้าสมทบ ประจารักษาแต่ประตู หอรัตนไชยลงไปจนเกาะแก้ว (คือแต่หัวรอลงไปจนปากเข้าสาร เหนือวัดพระเจ้าพนันเชิง) ด้านใต้อันเป็น บ้านจนี แลแขกฝร่ัง ใหพ้ ระยาคลังเป็นนายกองพล รกั ษาแต่เกาะแก้ว 5 ถงึ ประตไู ชยระยะ 1 ให้พระยาอิน ทรานครบาลเป็นนายกองพล รักษาแต่ประตูไชยไปจนถึงประตูชีขันระยะ 1 ด้านตะวันตกให้พระท้ายน้า เป็นนายกองพล รักษาแต่ประตูชีขันไปจนมุมศาลหลวง 6 ด้านเหนือพระยาสีหราชเดโชไชยเป็นนายกอง พล รกั ษาแต่มุมศาลหลวงมาถึงพระราชวงั ระยะหน่งึ พระยาธรรมาเป็นนายกองพล รักษาแต่พระราชวังมา จนข่ือน่า (ท่ีหัวรอบรรจบด้านตะวันออก) ระยะ 1 พระยารามผู้บัญชาการท่ัวไปคุมพลตั้งอยู่ท่ีท้อง สนามหลวง แล้วจัดกองแล่นเตรยี มไวส้ าหรับเป็นกองหนุนพนักงานรักษาหน้าที่ ในเวลาต้องการกาลังชว่ ย ด้านละ 5 กอง ทั้ง 4 ด้าน แลคร้ังนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้มีพระราชสาส์นข้ึนไป ยังกรุงศรีสัตนาค นหุต ขอให้พระเจา้ ไชยเชษฐายกกองทพั ลงมาช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง พงษาวดารพม่ากล่าวว่า เม่ือกองทัพหงสาวดีเข้ามาตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระเจ้า หงสาวดเี รยี กแมท่ พั ทัง้ ปวงมาประชุมปรึกษาการทีจ่ ะตีกรงุ ศรีอยุธยา พระมหาอปุ ราชาเหน็ ว่ากาลังกองทัพ ที่ยกมามีมาก ควรจะเข้าตีหักเอาพระนครให้พร้อมกันทุกด้านทีเดียว เพราะช้าวันไปจะเกิดความลาบาก ดว้ ยเรอื่ งเสบียงอาหาร อีกประการหนง่ึ ถ้าช้าไปถึงฤดฝู นกจ็ ะทาการไมถ่ นัด จึงเหน็ วา่ ควรจะรบี เขา้ ระดมตี เอากรุงศรีอยุธยาเสียให้ได้โดยเร็ว พระเจ้าหงสาวดีไม่เห็นชอบด้วย ว่ากรุงศรีอยุธยามีแม่น้าล้อมเป็นท่ีคับ ขันม่ันคงไม่เหมือนเมืองอื่น แล้วการที่ไทยจัดป้องกันบ้านเมืองก็ตระเตรียมไว้เป็นสามารถ ถึงคนน้อยก็ อาจจะสู้คนมากได้ ถ้ายกเข้าตีพร้อมกันทุกด้านดังว่า จะเสียรี้พลล้มตายมากนัก ถ้าฉวยตีไม่ได้ดังคาดก็จะ พากันเสียทีข้าศึกทุกทัพ จาจะต้องคิดอ่านตีกรุงศรีอยุธยา ถึงจะช้าวันไปก็อย่าให้มีท่าทางท่ีจะเสียทีข้าศึก

20 จงึ กะการให้เข้าตีพระนครแต่ข้างตะวนั ออกด้านเดยี ว ดว้ ยคูเมอื งยงั แคบดังกลา่ วมาแลว้ ดา้ นอ่นื เป็นแต่ให้ ลอ้ มไวใ้ ห้มั่นคง พระเจา้ หงสาวดีจงึ ยา้ ยคา่ ยหลวงมาตงั้ ที่ใกลว้ ัดมเหยงค์ข้างดา้ นตะวันออก ใหก้ องทัพพระ มหาธรรมราชาไปเท่ียวตัดต้นตาลส่งมาให้มาก แล้วให้พระมหาอุปราชาเป็นผู้อานวยการตีพระนคร ให้ตั้ง ค่ายแนวแรกห่างคูเมืองออกไปประมาณ 30 เส้นก่อน อาศัยค่ายนั้นจัดเตรียมการพร้อมแล้วก็ให้รุกเข้ามา ต้ังค่ายอีกแนวหนึ่ง ห่างค่ายเก่าเข้ามาประมาณ 10 เส้น ขุดดินทาสนามเพลาะ ถมเชิงเทินแล้วเอาไม้ตาล ปักรายเป็นเสารเนียดกันปืนที่ยิงไปจากในกรุงศรีอยุธยา พวกหงสาวดีท่ีเข้ามาต้ังค่ายถูกชาวพระนครเอา ปืนใหญ่ยิงล้มตายเป็นอันมาก จะเข้ามาทาการกลางวันไม่ได้ ต้องลอบเข้ามาตั้งค่ายต่อเวลากลางคืน เจ้าหน้าที่ในพระนครก็แต่งกองอาสาออกทะลวงฟัน สู้รบกันมิได้ขาด พระเจ้าหงสาวดีต้องให้ไพร่พลมา เพิ่มเติมอีกเป็นอันมาก จึงตั้งค่ายแนวที่สอง ลงได้ ครั้นทาค่ายแนวที่สอง ม่ันคงแล้วก็ให้รุกเข้ามาต้งั แนวท่ี สาม ถึงคูเมือง ตอนน้ีใกล้ค่ายไทยยิงได้ถนดั ถูกพวกหงสาวดีล้มตายลงมากกว่าแต่ก่อน ต้องขุดอุโมงค์เดิน บังตัวเข้ามาเป็นหลายสาย ครั้นใกล้ลาน้าแล้วจึงขุดอุโมงค์แล่นหากันตามแนวค่าย ทาการแต่ในเวลา กลางคืน พยายามอยู่กว่า 2 เดือนจึงเข้ามาตั้งค่ายแนวที่สาม ได้ถึงคูเมือง แต่ก็มาติดอยู่เพียงน้ัน ด้วยพวก ชาวพระนครยังรักษาหน้าท่ีแข็งแรง พวกหงสาวดีจะข้ามคูเมืองเข้ามา ก็ถูกไทยยิงล้มตายต้องถอยกลับ ออกไปหลายคราว ข้ามเข้ามาไม่ได้ พระเจ้าหงสาวดีจึงให้กองทัพเรืออ้อมลงมาทางตะพานเผาเข้า (คือที่ เรียกว่าคลองสีกุกทุกวันนี้) มาออกบางไทร ลงมาต้ังตรวจตรารักษาลาแม่น้าแต่เมืองธนบุรีเมืองนนทบุรี ขึ้นมา กักเรือมิให้ขึ้นมาช่วยท่ีกรุง ศรีอยุธยาได้แล้ว ทางโน้นให้ระดมคนเข้าถมคูทาทางข้ามเข้ามาตีพระ นคร ให้แบ่งน่าท่ีกันเป็น 3 ตอน ตอนข้างใต้ให้กองทัพพระมหาอุปราชาถมคูทาทางเข้ามาตรงเกาะแก้ว (ตรงน่าวัดสุวรรณดาราราม) ทางหน่ึง ตอนกลางให้พระเจ้าแปรคุมพล ทาทางข้ามคูเข้ามาท่ีวัดจันทน์ตรง บางเอียน (หลังสถานีอยุธยาทุกวันน้ี) ทางหนึ่งตอนเหนือให้กองทัพพระเจ้าอังวะถมคูทาทางเข้ามาตรง ตะพานเกลือ (ท่ีใต้วังจันทรเกษม) อีกทางหน่ึง พระเจ้าหงสาวดีคาดโทษว่า ถ้าด้านไหนทาไม่สาเร็จจะเอา โทษแม่ทัพถึงชีวิต พระมหาอุปราชา พระเจ้าอังวะ พระเจ้าแปร ต่างเกรงพระราชอาญาก็ให้เอาไม้ตาลทา ทุบทูพอบังตัวไพร่พล แล้วรีบเร่งขับต้อนเข้ามาถมคลอง ชาวพระนครเอาปืนยิงตายเสียมากกว่ามาก พวก หงสาวดีก็ยังขับกันหนุนเนื่องเข้ามา คนข้างหน้าตายลง คนมาข้างหลังก็เอาดินถมทับศพเลยมา ด้วยความ กลวั พระอาญาพระเจา้ หงสาวดีเป็นกาลงั ขณะน้สี มเดจ็ พระมหาจักรพรรดปิ ระชวรสวรรคต ชาวพระนครก็มีความว้าเหว่ พระยาราม พระ ยากลาโหม และพระมหาเทพ เห็นว่าไพร่พลพากันย่อท้อจะรักษาค่ายริมคูเมืองไว้ไม่ได้ จึงให้กองทัพถอย เข้ามาตั้งค่ายอีกแนวหนึ่งข้างในพระนครเอากาแพงเมืองเป็นแนวหน้าต่อสู้ข้าศึก พระเจ้าหงสาวดีเห็นได้ที ก็ให้ขับพลเข้าตีพระนครทางด้านตะวันออกพร้อมกัน ข้าศึกเข้าเมืองได้ที่ตรงเกาะแก้ว แต่พระมหาเทพผู้ เป็นนายดา้ นตรงนน้ั เข้มแข็งในการศึก เอาคา่ ยแนวในเมืองทท่ี าขนึ้ ใหม่เป็นท่ีมั่นต่อสู้รับข้าศึกไว้อยู่ พวกหง สาวดลี ม้ ตายลงเป็นอนั มาก จะตหี กั เอาพระนครไม่ไดก้ ็ต้องถอยข้ามคูกลบั ออกไป พระเจ้าหงสาวดีพยายามตีกรุงศรีอยุธยามาแต่เดือนอ้าย ปีมะโรง จนถึงเดือน 5 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569)ยังไม่ได้พระนครก็ทรงพระวติ ก เพราะใกล้จะถึงฤดฝู น จึงปรกึ ษาพระมหาธรรมราชาว่า จะทาอย่างไรจึงจะให้เสร็จศึกเสียได้โดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทูลว่าการต่อสู้รักษาพระนครน้ัน พระยา

21 รามเป็นตัวสาคัญอยู่คนเดียว ถ้าได้ตัวพระยารามมาเสียแล้ว ก็เห็นจะได้พระนครโดยง่าย พระมหาธรรม ราชาจึงรับอาสา แล้วมีหนังสือลับให้ข้าหลวงเดิมถือเข้ามาถวายพระวิสุทธิกษัตรี ว่าศึกหงสาวดีเข้ามา ประชิดติดพระนครถึงเพียงน้ีแล้ว ไม่พอที่สมเด็จพระมหินทราธิราชจะด้ือดึงต่อสู้ให้ผู้คนล้มตายต่อไป ควร จะใหม้ าขอเป็นไมตรกี ับพระเจ้าหงสาวดเี สยี โดยดี เหตุการณท์ ง้ั ปวงทไ่ี ด้เป็นมานัน้ พระเจ้าหงสาวดกี ็รับส่ัง อยู่ว่า เป็นเพราะพระยารามคนเดียวยุยงให้พ่ีน้องแตกร้าวกันข้ึน ถ้าสมเด็จพระมหินทรส่งตัวพระยาราม ออกมาถวายเสีย พระเจ้าหงสาวดีก็คงจะยอมเป็นไมตรีเหมือนอย่างคร้ังก่อน พระวิสุทธิกษัตรีนาหนังสือ น้ันไปถวายสมเด็จพระมหินทร เช่นน้ัน จึงให้ข้าราชการทั้งปวงปรึกษากันว่าควรจะทาประการใด ในขณะ นั้นข้าราชการทั้งปวงเห็นว่าการต่อสู้ป้องกันพระนครเสียเปรยี บข้าศึกมากนัก ก็พากันย่อท้อ แม้ตัวพระยา รามเองก็ส้ินความคิดที่จะต่อสู้อย่างไรต่อไป จึงเห็นพร้อมกันโดยมากว่าควรจะขอเป็นไมตรีกับพระเจ้าหง สาวดีตามทพี่ ระมหาธรรมราชาแนะนาเข้ามา สมเด็จพระมหินทรจึงอาราธนาสมเดจ็ พระสงั ฆราชให้ออกไป เจรจาขอเป็นไมตรีกับพระเจา้ หงสาวดี แลใหข้ ้าราชการผู้ใหญ่พาตัวพระยารามออกไปถวายพระเจ้าหงสาว ดดี ว้ ย พระเจา้ หงสาวดีใหรบั ตัวพระยารามไว้แลว้ จงึ ให้แมท่ ัพท้งั ปวงประชุมปรึกษากัน วา่ ควรจะเป็นไมตรี กับสมเด็จพระมหินทรหรอื ประการใด แม่ทัพทั้งปวงทลู ว่ากรุงศรอี ยุธยาเหมอื นอยใู่ นเงื้อมมือแล้ว ท่จี ะยอม เป็นไมตรีหาควรไม่ พระเจ้าหงสาวดีจึงมีรับสั่งแก่ทูตว่า ถ้าสมเด็จพระมหินทรจะใคร่ให้เลิกการสงครามก็ ต้องรับแพ้ยอมเป็นเชลย อย่ามีข้อความขอร้องอย่างหนึ่งอย่างไรจึงจะยอม ทูตนาความกลับเข้ามาทูล สมเด็จพระมหินทรก็มีรับส่ังให้ปรึกษาข้าราชการเหมือนหนหลงั คราวนี้ข้าราชการท้ังปวงเห็นแน่แก่ใจ ว่า พระเจ้าหงสาวดีหมายจะเทครัวเอาชาวกรุงศรีอยุธยาไปเป็นเชลย ต่างก็โกรธแค้นพากันมีมานะ ทูลอาสา สมเด็จพระมหนิ ทรจะต่อสู้ศกึ หงสาวดีต่อไป เพราะเห็นว่ายงั ไม่ชา้ เท่าใดกจ็ ะถึงฤดูนา้ หลาก พระเจา้ หงสาว ดีคงจะตอ้ งเลิกทัพกลับไป ขออย่าเพิ่งให้ยอมแพแ้ ก่พระเจา้ หงสาวดี สมเด็จพระมหินทรทรงเหน็ ชอบด้วยก็ บัญชาตาม จึงใหต้ รวจตราปอ้ งกันพระนครให้กวดขันยิ่งข้นึ หาออกไปยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าหงสาวดไี ม่ ขณะนั้นพระไชยเชษฐากรุงศรีสัตนาคนหุตยกกองทัพลงมาทางเมืองเพชรบูรณ์ หมายจะมาช่วย กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีทราบความจึงปรึกษากับพระมหาธรรมราชาแล้วคิดกลอุบายเกล้ียกล่อม พระยารามให้แต่งเป็นศุภอกั ษรกรุงศรีอยุธยา มขี ้นึ ไปถึงกองทัพกรงุ ศรสี ัตนาคนหตุ วา่ กองทัพหงสาวดีท่ีมา ล้อมกรุงน้ัน เข้าตีพระนครหลายครั้ง กองทัพกรุงศรีอยุธยาต้านทานไวไ้ ด้ เดี๋ยวน้ีอ่อนกาลงั ระสา่ ระสายอยู่ แล้ว ขอให้กองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตรีบยกลงมาช่วยตีกระหนาบเถิด กองทัพหงสาวดีคงจะแตกพ่ายไป แล้วให้แกะปลอมตราพระราชสีห์ประทับศุภอักษร ให้พวกไทยกองทัพพระมหาธรรมราชาถือไป แล้วพระ เจ้าหงสาวดีจึงให้พระมหาอุปราชายกกองทัพขึ้นไปซุ่มอยู่ในแขวงเมืองสระบุรีคอยตีกองทัพกรุงศรีสัตนาค นหุตที่จะยกลงมา ฝ่ายพระเจ้าไชยเชษฐาได้รบั ศุภอักษรปลอม มิได้สงสัยว่าเป็นกลอุบาย จึงเร่งให้กองทัพ รีบยกลงมาโดยประมาท กองทัพน่ามาถึงแขวงเมืองสระบุรีที่พระมหาอุปราชาซุ่มอยู่ก็ออกโจมตี กองทัพ กรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ทันรู้ตัวก็แตกพ่ายยับเยิน เสียช้างม้าผู้คนให้พระมหาอุปราชาจับมาได้เป็นอันมาก พระเจา้ ไชยเชษฐาเห็นว่าจะเอาไชยชนะขา้ ศึกไม่ได้ ก็ถอยทพั กลับไปกรุงศรีสตั นาคนหุต ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีมีไชยชนะกองทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตแล้ว ให้เข้าระดมตีกรุงศรีอยุธยาอีก หลายครั้งกเ็ ขา้ เมืองไม่ได้ ดว้ ยในตอนนี้ขัางในกรุงศรีอยธุ ยาขา้ ราชการทั้งปวงพร้อมใจกันต่อสู้เป็นสามารถ

22 พระมหาธรรมราชารับอาสาเข้ามาเจรจาความกับชาวพระนคร ประสงค์จะเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้โดยดี พวกชาวพระนครกไ็ ม่ฟังกลบั เอาปนื ยิงพระมหาธรรมราชาต้องหนีกลับออกไป จนถึงเดอื น 7 ยงั ตีไมไ่ ด้กรุง ศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีก็ย่ิงมีความวิตกด้วยใกล้ฤดูน้าเข้าแล้ว จึงปรึกษากับพระมหาธรรมราชาคิดกล อุบายเอาพระยาจักรี ซึง่ ได้ตัวไปจากกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับพระราเมศวรนัน้ มาเกล้ียกล่อม พระยาจักรีรับ อาสาจะเข้ามาเป็นไส้ศึก พระเจ้าหงสาวดีจึงแกล้งให้จาพระยาจักรีแล้วเอาตัวไปคุมไว้ในค่ายทางด้าน ตะวันตก สั่งเป็นความลับแก่นายทัพท่ีควบคุมให้แกล้งทาละเลยให้พระยาจักรีหนีได้ เวลากลางคืนวันหนง่ึ พระยาจักรีหนีมาทั้งเคร่อื งพันธนาการ เข้ามาหาเจ้าหน้าที่รักษาพระนครทางด้านวัดสบสวรรค์ คร้ันรุ่งเชา้ นายทพั พมา่ ซ้าใหเ้ อาผู้คุมมาตดั ศรีษะเสียบไว้ที่รมิ น้าให้ไทยเหน็ จะมิให้สงสัยวา่ แกลง้ ปล่อยพระยาจักรีเข้า มา ฝ่ายสมเด็จพระมหินทรไม่ทรงทราบว่าเป็นกลอบุ ายของพระเจ้าหงสาวดี สาคญั วา่ พระยาจกั รีหนเี ข้ามา ไดก้ ท็ รงยินดี ดว้ ยพระยาจกั รเี คยเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ ท้ังได้ตอ่ ส้พู ระเจา้ หงสาวดีแขงแรงเม่ือคราวกอ่ น จึง ทรงตั้งพระยาจักรีให้เป็นผู้บัญชาการรักษาพระนครแทนที่พระยาราม พระยาจักรีก็ตั้งต้นคิดอุบายทาการ ทรยศต่างๆ เป็นต้นว่าพระศรีเสาวราชน้องยาเธอแปด พระองค์หน่ึง ซึ่งช่วยบัญชาการรบพุ่งข้าศึกแข็งแรง พระยาจักรีก็ทลู ยยุ งสมเดจ็ พระมหินทรว่าจะเป็นขบถ จนตอ้ งถกู สาเรจ็ โทษ ข้าราชการคนไหนท่ีมีฝีมอื ต่อสู้ ข้าศึกเข้มแขง พระยาจักรีก็แกล้งย้ายนา่ ที่ใหไ้ ปรักษาการทางที่จะไม่มีข้าศึกเข้ามา เอาคนที่เห็นว่าอ่อนแอ มารักษาน่าที่ท่ีสาคัญ พระยาจักรีพยายามทาการทรยศมาจนเห็นว่าการรักษาพระนครอ่อนแอมากอย่แู ลว้ ก็ลอบให้สัญญาออกไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีจึงให้เข้าระดมตีพระนครพร้อมกันทุก ด้าน ก็เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสาวดี เม่ือวันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่า ปีมเสง จุลศักราช 931 พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) เวลาแต่ตง้ั ล้อมเมอื งมาได้ 9 เดือน พงษาวดารพมา่ กล่าวว่า พอพระเจ้าหงสาวดีได้กรุงศรอี ยุธยาแลว้ ไม่ช้านา้ ก็หลากลงมาท่วมท่ีต้ัง กองทัพอยู่แต่ก่อนแทบทั่วทุกแห่ง ถ้าหากพระเจ้าหงสาวดีตีไม่ได้กรุงศรีอยุธยาอย่างช้าอีกสักเดือน ก็ จะต้องเลิกทัพกลับไป เร่ืองราวเป็นเช่นนี้ เม่ืออ่านแล้วน่าเสียใจ ว่าเพราะไทยทรยศกันเอง หาไม่ก็เห็นจะ ไม่เสียกรุงศรีอยุธยา ในครั้งน้ัน ส่วนพระยาจักรีผู้ทรยศนั้น ในหนังสือพงษาวดารพม่าว่า พระเจ้าหงสาวดี จะปูนบาเหน็จให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก แต่ไม่กล้าอยู่ดูหน้าไทยด้วยกันเอง พระยาจักรีจึงสมัครไปรับ ราชการที่เมืองหงสาวดี และมีปรากฎในเร่ืองคาให้การชาวกรงุ เก่าว่า เมื่อเสร็จสงครามคราวน้ีแล้วพระเจ้า หงสาวดีเอาพระยาจักรีไปเล้ียงไว้หน่อยหน่ึง แล้วพาลเอาผิดให้ประหารชีวิตเสีย ด้วยเกลียดชังว่าเป็นคน คดิ ทรยศตอ่ บา้ นเมอื งของตวั เอง พระเจ้าหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาได้คร้ังนั้น ถือว่าได้ด้วยต้องรบพุ่งเสียร้ีพลเป็นอันมาก จึงให้ทา แก่กรงุ ศรีอยธุ ยาอย่างเชลย เก็บริบทรพั ยส์ มบตั ิทงั้ ปวงบรรดาที่ต้องการ แลใหร้ วบรวมผูค้ นพลเมอื งทงั้ ชาย หญงิ กวาดเอาไปเป็นเชลย เหลอื ไว้ให้ประจาเมืองแต่ 10,000 คน ส่วนสมเด็จพระมหินทราธริ าชกับทั้งพระ ญาติวงษ์และข้าราชการโดย ก็ให้คมุ เอาไปเมืองหงสาวดดี ้วย แตส่ มเดจ็ พระมหนิ ทรไปประชวรสวรรคตเสีย กลางทาง หาไปถึงเมืองหงสาวดไี ม่

23 คร้ังน้ันพระเจ้าหงสาวดีพักอยู่ท่ีกรุงศรีอยุธยาจนตลอดฤดูฝน ให้อภิเษกพระมหาธรรมราชาขึ้น เป็นพระเจา้ แผ่นดิน เมื่อวนั ศุกร์ เดอื น 12 ขนึ้ 6 ค่า ปมี ะเส็ง จลุ ศกั ราช 931 พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) แลว้ ให้กองทัพพม่าอยู่ช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา 3,000 คน พระเจ้าหงสาวดีมอบบ้านเมืองแก่สมเด็จพระมหา ธรรมราชาธิราชแล้ว ก็ยกทัพหลวงข้ึนไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุตทางเมืองพิษณุโลก เมืองไทยก็เป็นประเทศ ราชข้ึนแก่เมืองหงสาวดีแต่นั้นมาตลอดเวลา 15 ปี จึงได้กลับไปเป็นอิสระด้วยอานุภาพของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช 1.5. สมเด็จพระนเรศวรทรงปกครองเมอื งพษิ ณโุ ลก หลังจากท่ีพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อ พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) มะเส็งศก วัน อาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่า และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะ ประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากน้ัน พระนเรศวรได้หนีกลับมาไทยโดยท่ีพระเจ้าบุเรงนองยินยอม ดว้ ยอนั เนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ หลงั จากทพ่ี ระองคด์ ากลบั มากรงุ ศรีอยธุ ยา สมเด็จพระมหา ธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า \"พระนเรศวร\" และโปรดเกล้าฯ ใหเ้ ป็นพระมหาอุปราชไปปกครอง เมืองพิษณโุ ลก ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเร่ิมเตรียมการทีจ่ ะกอบกู้เอกราชของกรงุ ศรีอยุธยา (คณะ ลูกเสือจังหวัดพิษณุโลก, 2514, น. 83 – 84) เมื่อเสร็จศึกหงสาวดี เมืองไทยก็ยังต้องต่อสู้กับเขมรที่จะเข้า มา หวังจับไทยเปน็ เชลยแต่ก็ต้องแพ้ไทยเลิกทัพกลับไป การทเี่ ขมรมาตีไทยน้นั ทาใหผ้ ู้คนที่กระจัดกระจาย หนีเข้ามาอยู่ในพระนครจานวนมาก สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้กาลังพลจนสามารถสร้างป้อมปราการ และขุดขยายคูเมือง และมีพระราชประสงคจ์ ะบารุงเมืองทางเหนือต่อไป จึงโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรขึ้น ไปปกครองเมืองพิษณุโลก บังคับบัญชาหัวเมืองเหนือทั้งปวง เมื่อ พ.ศ.2114 (ค.ศ. 1571) เวลาน้ันพระ ชันษาได้ 16 ปี (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2546, น.33-37)

24 ภาพ 8 สมเด็จพระนเรศวรทรงคัดเลอื กบตุ รหลานข้าราชการมาฝกึ การรบแบบสมัยใหมด่ ว้ ย พระองคเ์ อง ท่มี า: ถา่ ยโดยผู้วิจัย 26 มกราคม 2562 ระหว่างที่ไทยยังเป็นประเทศราชแก่พม่าอยู่ และสมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นมหาอุปราชอยู่ เมืองพิษณุโลก ผู้คนพลเมืองของไทยถูกกวาดต้อนไปพม่าเป็นจานวนมาก การข้ึนไปปกครองเมือง พษิ ณโุ ลกของสมเดจ็ พระนเรศวรปรากฏในพระราชพงศาวดารกรงุ เกา่ ฉบบั หลวงประเสริฐเช่นกัน ความว่า ...ศักราช 933 มะแมศก (พ.ศ.2114) น้าน้อย อนึ่งสมเด็จพระณะรายบพิดรเป็น เจ้า เสด็จข้ึนไปเสวยราชสมบตั ิเมืองพิศณูโลก (กรมศิลปากร, 2542, น. 226)

25 ภาพ 9 สมเดจ็ พระนเรศวรไดร้ บั การสถาปนาเป็นพระมหาอปุ ราชครองเมอื งพิษณุโลก พ.ศ. 2114 ทม่ี า: ถา่ ยโดยผ้วู ิจยั 26 มกราคม 2562 ปี พ.ศ.2112 (ค.ศ. 1569)พระยาจีนจันตุ เป็นขุนนางจีนคนหนึ่ง ในกัมพูชา รับอาสานัก พระสัฏฐามาปล้นเมืองเพชรบุรี แต่มาพ่ายแพ้แก่ไทยตีเมืองไม่ได้ตาม สัญญา จะกลับกัมพูชาก็เกรงจะถูก ทาโทษจึงพาพรรคพวกหนีมาสวามิภักดิ์ต่อไทย สมเด็จพระ มหาธรรมราชาทรงรับเลี้ยงไว้ อยู่มาภายหลัง พระยาจีนจันตุคงมีความผิดจงึ ลอบลงเรอื สาเภาหนี จากพระนคร สมเดจ็ พระนเรศวรฯ ซ่งึ ประทบั อย่ทู ี่กรุง ศรีอยุธยา ทรงทราบจึงจัดเรอื พายรีบตาม ไปทัน เรือสาเภาจีนจันตุที่ปากน้า เสด็จออกทรงยิงพระแสงปืน สับนก ในขณะนั้นเองข้าศึกยิงสวน มาถูกรางพระแสงปืนแตกอยู่กับพระหัตถ์ พระองค์ก็ไม่หลบเล่ียงทรง พยายามจะยงิ ข้าศึกต่อไป พระเอกาทศรถเกรงวาสสมเดจ็ พระเชษฐาจะเปน็ อันตราย จึงตรสั ส่ังเร่งเรือลาท่ี ทรงเองเข้าไป ขวางเรือสมเดจ็ พระเชษฐา พอเรือสาเภาพระยาจีนจนั ตไุ ดล้ มจึงแลน่ หนีออกทะเลไป การที่ได้เสด็จไปประทับอยู่หงสาวดี 8 ปีนั้น ก็เป็นประโยชน์ยิ่งเพราะทรงทราบท้ังภาษาและ นิสัยใจคอ ตลอดจนล่วงรู้ความสามารถของพม่า เป็นทุนสาหรับคิดอ่านต่อสู้ เม่ือพระเจ้าหงสาวดีตีกรุงศรี อยุธยาได้นั้น อ้างว่าข้าราชการในกรุงเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชา จึงต้องถอนข้าราชการเมือง เหนือที่เคยใช้สอยลงมารับราชการในกรุงมากดว้ ยกนั จานวนขา้ ราชการทางเมืองเหนือจึงบกพร่อง ต้องหา ตัวต้ังข้ึนใหม่พระนเรศวรทรงทรงขวนขวายหาคนสาหรับทรงใช้สอยโดยฝึกทหารท่ีอยู่ใน รุ่นราวคราว เดียวกันตามวิธียุทธของพระองค์ท้ังสิ้น จึงเป็นกาลังของพระนเรศวรในเวลาต่อมา และความคาดคิดของ

26 พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดกี ็กาลังจะกลายเป็นความจริงเมื่อ พระนเรศวรทรงคิดท่ีจะกอบกู้อิสรภาพข้ึน ในแผ่นดนิ อนั เป็นเมอื งท่พี ระองคท์ รงพระราชสมภพ ภาพ 10 สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นแมก่ องงานในการอนุรกั ษ์พระอุโบสถวัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุ พษิ ณโุ ลก พ.ศ. 2114 – 2118 ที่มา: ถา่ ยโดยผู้วจิ ัย 26 มกราคม 2562 1.6. การตกี รงุ ศรอี ยธุ ยาของเขมร เม่ือปี พ.ศ. 2113 (ค.ศ. 1570) พระยาละแวกหรือสมเด็จพระบรมราชา กษัตริย์เขมร ซ่ึงเคย เป็นเมืองขึ้นของไทยมาก่อน ต้ังแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เห็นไทยบอบซ้าจากการ ทาสงครามกับพม่า ได้ถือโอกาสยกกาลังเข้ามาซ้าเติมกรุงศรีอยุธยา โดยยกกองทัพมีกาลัง 20,000 คน เข้ามาทางเมืองนครนายก เมื่อเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาแลว้ ได้ตั้งทัพอยู่ที่ตาบลบา้ นกระทุ่ม แลว้ เคลอ่ื นพล เข้าประชิดพระนคร โดยได้เข้ามายืนช้างบัญชาการรบอยู่ในวัดสามพิหาร และวางกาลังพลรายเรียงเข้า มาถงึ วัดโรงฆอ้ ง ตอ่ ไปถึงวดั กุฎีทอง และนากาลังพล 5,000 คน ช้าง 30 เชอื ก เขา้ ยึดแนวหน้าวัดพระเมรุ ราชิการาม พรอ้ มกับให้ทหารลงเรือ 50 ลา แล่นเข้ามาปล้นพระนครตรงมมุ เจ้าสนุก

27 สมเด็จพระมหาธรรมราชา เสด็จออกบัญชาการรบป้องกันพระนครเป็นสามารถ กองทัพเขมร พยายามยกพลเข้าปล้นพระนครอยู่ 3 วัน แต่ไม่สาเร็จจึงยกกองทัพกลับไป และได้กวาดต้อนผู้คน ชาวบา้ นนาและนครนายกไปยังประเทศเขมรเป็นจานวนมาก 1.7. สงครามตเี มอื งลา้ นชา้ ง เม่ือสมเด็จพระนเรศวรครองเมืองเหนือได้ 3 ปี ถึงปีจอ พ.ศ. 2117 (ค.ศ. 1574) ได้ข่าวไปถึง เมืองหงสาวดีว่า พระเจ้าไชยเชษฐาเมืองลานช้างไปตีเมืองญวนเลยเป็นอันตรายหายศูนย์ไป และที่เมือง ล้านช้างเกิดชิงราชสมบัตกิ ัน พระเจ้าหงสาวดีเห็นได้ทีก็ยกกองทัพหลวงไปตีเมืองเวียงจันท์ คร้ังน้ันตรัสส่งั มาให้ไทยยกกองทัพไปสมทบด้วย สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปเองทั้ง 2 พระองค์ เวลาน้ันสมเด็จพระนเรศวรพระชันษาได้ 19 ปี เห็นจะได้เป็นตาแหน่งเช่นเสนาธิการในกองทัพ แต่เมื่อยกไปถึงหนองบัวลาภูด่านของเมืองเวียงจันท์ เผอิญสมเด็จพระนเรศวรไปประชวรออกทรพิษ พระ เจ้าหงสาวดีทรงทราบก็ตรสั อนุญาตให้กองทัพไทยกลบั มามติ ้องรบพ่งุ (พิมาน แจม่ จรัส, 2548, น. 69) การออกศึกคร้ังนี้พระนเรศวรก็ไม่ได้แสดงความสามารถมากนัก เนื่องจากเม่ือกองทัพไทย เดินทางถึงเมืองหนองบัวลาภูอันเป็นเมืองหน้าด่านของเวียงจันท์พระองค์ทรงเป็นไข้ทรพิษเสียก่อน พระ เจ้าบุเรงนองจึงทรงอนุญาตให้กองทัพไทยยกกลับได้ไม่ต้องไปรบพุงกับกองทัพลาว “พระเจ้าหงสาวดียก ช้างม้าร้ีพลไปเมืองลา้ นชา้ งกาหนดให้สมเด็จพระเจา้ อยู่หวั กรุงเทพฯ และสมเด็จพระณเรศวรเป็นเจ้าเสดจ็ ข้ึนไปด้วย แต่สมเด็จพระเอกาทฐรถพระบิกาตรัสให้อยู่รักษาพระนคร ฝ่ายสมเด็จพระราชบิดากับสมเด็จ พระนเรศวรเป็นเจ้าก็ยกช้างมา้ รี้พลไปถงึ ตาบลหนองบัวในจังหวดั ลา้ นช้าง ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรเป็น เจ้าทรงพระประชวรทรพิษ” (กรมศิลปากร, 2543, น. 78) พระเจา้ หงสาวดีได้เมอื งเวียงจันท์แลว้ กต็ ั้งใหเ้ จา้ อุปราชเดิมซ่ึงไดต้ วั ไปไว้เมืองหงสาวดตี ้ังแต่พระ มหาอปุ ราชาตีเมืองครั้งแรกนัน้ ครองอาณาเขตล้านชา้ งเป็นประเทศราชข้ึนต่อกรุงหงสาวดีต่อมาราชอาณา เขตของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองก็แผ่ถึงท่ีสุด ด้วยได้ประเทศตา่ งๆ รวมเข้าไว้ในอานาจหมด ทั้งเมืองพม่า มอญ ไทยใหญ่ ไทยน้อย และยักไข่ ไม่ต้องทาศึกสงครามต่อไปอีก พระเจ้าบุเรงนองก็บาเพ็ญบารมีในการ ทานุบารุงราชอาณาเขตมาจนตลอดรัชกาล มใี นพงศาวดารพม่าว่า ให้เกณฑค์ นทง้ั ในหวั เมืองใกล้และเมือง ประเทศราชต่างๆ ไปทาการซ่อมแปลงแต่งพระนครและแก้ไขป้อมปราการเมืองหงสาวดีตามแบบ พระนครศรีอยุธยาซงึ่ เคยเหน็ ว่ามน่ั คงมาก พระนเรศวรยังคงปกครองเมืองสร้างกองกาลังของตนเองที่เมืองพิษณุโลกอย่างต่อเน่ือง หากมี เวลาก็จะเสด็จมาเย่ียมพระราชบิดาและพระราชมารดาที่กรุงศรีอยุธยาบ้างเป็นคร้ังคราว พร้อมกันนั้น บางขณะก็เสด็จไปเมืองพม่าเพ่ือเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองบ้าง ซ่ึงการเดินทางดังกล่าวทาให้พระองค์รู้จัก คนุ้ เคยกับผู้คนชาวพมา่ มอญ และเสน้ ทางเขา้ ออกเมืองหงสาวดเี ป็นอยา่ งดี

28 บทท่ี 2 ระยะท่ี 2 ศึกษารวบรวม ข้อมลู ประวตั แิ ละวรี กรรมของสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ตั้งแตป่ ี พ.ศ. 2121 – 2133 2.1. วีรกรรมติดตามเรอื สาเภาพระยาจีนจันตุ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมาธรรมราชาธิราชในช่วงที่อยุธยาเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดี ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรละแวก (เขมร/กัมพูชา) น้ันอยู่ในสถานะที่ หวาดระแวงกันอยู่เสมอ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเหนือ ทาง พระนครศรีอยุธยานั้นก็ยงั เกิดความยากลาบากจากการรบกวนจากอาณาจักรละแวกอยู่หลายครั้ง นับแต่ ครงั้ ที่พระบรมราชากษัตริยแ์ ห่งละแวกไดย้ กทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเม่ือ พ.ศ. 2113 (ค.ศ. 1570) นบั เป็นที่ เลื่องลือระบือเกียรติกันในบรรดาพวกเขมรกันว่ากองทัพของพวกเขามีอานุภาพท่ีสามารถเข้ามาตีถึง พระนครศรีอยุธยา และเม่ือพระบรมราชาสนิ้ พระชนม์แลว้ นักพระสัฏฐาราชอนุชาได้ขึ้นครองราชยส์ มบัติ ต่อ ก็อยากที่จะแสวงหาพระบารมีบ้าง จึงได้ยกกองทัพมาตีพระนครศรีอยุธยาอีกครั้งหน่ึง เมื่อปี พ.ศ. 2118 คราวนี้ละแวกได้ยกกองทัพมาทางเรือและสามารถขึ้นมาได้ถึงวัดพระเจ้าพนัญเชิง แต่ทว่ารบแพ้จึง ต้องถอยทัพกลับไป แต่ก็เท่ียวไล่จับผู้คนพลเมืองในแขวงจังหวัดธนบุรี และพระประแดงเอาไปเป็นเชลย จานวนมาก แต่นั้นก็ทาให้ละแวกไม่กล้ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ได้แต่เพียงทาการปล้นทรัพย์จับ เชลยศึกตามหัวเมืองของอยุธยาที่มกี าลงั อ่อนแออยู่เนือง ๆ (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2547, น. 41 – 42) จนเม่ือ พ.ศ. 2121 (ค.ศ. 1578) พระยาจีนจันตุ ขุนนางชาวจีนของราชสานักละแวกไดร้ ับอาสา นักพระสัฏฐามาปล้นเมืองเพชรบุรี แต่ทว่าต้องพ่ายแพ้ตีเมืองมิได้ตามสัญญาท่ีให้ไว้กับพระสัฏฐา จะ กลับไปยังละแวกก็เกรงท่ีจะถูกทาโทษ พระยาจีนจันตุจึงพาสมัครพรรคพวกหนีมาสามิภักดิ์ต่ออยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชคิดว่าอาจเป็นประโยชน์ต่อราชสานักอยุธยาเกี่ยวกับข้อมูลทางการเมือง ของละแวกพระองค์จึงได้รับเล้ียงพระยาจีนจันตุไว้ ในเวลาเดียวกันน้ันสมเด็จพระนเรศวรท่ีพระชันษาได้ 24 ปี แล้วก็ได้เสด็จลงมาเฝ้าสมเด็จพระชนก และประทับอยู่ท่ีวังจันทร์อันโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ไว้เป็นท่ี ประทับเวลาเสด็จมายังกรงุ ศรีอยุธยา และพอเม่ือสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงทรบวา่ รพะยาจีนจนั ตุกาลังหนี พระองค์ก็ตระหนักพระหฤทัยได้ว่าตัวพระยาจีนจันตุน้ันเป็นผู้สืบข่าวไปให้พวกเขมร พระองค์จึงได้ตรัส เรยี กพวกข้าหลวงท่ีตามเสดจ็ มากจากเมืองเหนือพากนั ลงเรือพายรีบตามลงไปยังปา่ แมน่ ้าเจา้ พระยา (กรม พระยาดารงราชานุภาพ, 2547, น. 42) ฝ่ายพระยาจีนจันตุได้ชว่ ยกันระดมยิงปืนใหญ่และปืนเล็กปอ้ งกัน เรือสาเภาของตนเองอย่างแข็งขัน จึงทาให้เรือรบของอยุธยาไม่สามารถเข้าใกล้ได้ ในช่วงเวลานั้นเป็น

29 ชว่ งเวลาในยามกลางคืนมีการยิงตอบโต้กันอย่างต่อเนื่องทง้ั ฝ่ายเขมร และอยธุ ยาจนเม่ือฟ้าสว่างก็มองเห็น กันได้อย่างชัดเจน ตอนหน่ึงในขณะระดมยิงกันอยู่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระแสงปืนนกสับประทับยืน หน้าเรือ ทรงตรัสสั่งให้เร่งเรือเข้าไปเทียบเรือสาเภาข้าศึก เพื่อจะทรงนาทหารปีนข้ึนเรือ เมื่อได้ระยะ แม่นยาพระองค์ก็ทรงยิงถูกนายทหารผู้ใหญ่บนเรือสาเภาตายไป 3 คน พวกทหารเขมรของพระยาจีนจันตุ ก็ยิงตอบโต้กลับมาอย่างรุนแรงกระสุนนัดหน่ึงถูกไม้รางพระแสงปืนของพระองค์แตกอยู่กับพระหัตถ์ แต่ พระองค์ก็ไม่ทรงหลบเล่ยี งแต่อย่างใด ฝา่ ยสมเด็จพระเอกาทศรถซ่ึงอยู่ในเหตุการณ์ทรงเกรงว่าพระเชษฐา จะทรงเป็นอันตรายจึงตรัสส่ังให้เร่งเรือเข้ากาบังเรือพระเชษฐา ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ดูเหมือนจะเคยเกิดขึ้น มาแล้วเม่ือคร้ังที่สมเด็จพระสุริโยทัยพระอัยกีเคยทรงเอาพระวรกายเข้ากาลังพระสวามีซ่ึงเป็นการแสดง ความกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง การรบในปากแม่น้าเจ้าพระยานั้นยังดาเนินไปอย่างต่อเน่ืองกระท่ังเรือสาเภา ของพระยาจีนจันตุแล่นออกไปจากแม่น้าเจ้าพระยาแล้วน้ันก็ได้รับลมทะเลและใช้ใบเรือได้สะดวกขึ้น เรือ รบอยธุ ยาเปน็ เรือเล็กไมส่ ามารถสู้คลื่นลมไหวจาต้องถอยขบวนกลับข้นึ มาตามลาน้าและพบกับสมเด็จพระ มหาธรรมราชาท่ีคุมกาลังทหารลงเรือหนุนตามมาท่ีเมืองพระประแดง พระนเรศวรทรงกราบทูลเหตุการณ์ ตา่ ง ๆ ทเ่ี กดิ ข้นึ ใหพ้ ระชนกทราบ แลว้ ทั้งหมดจึงเคลอื่ นทัพกลับสูพ่ ระนคร ในวีรกรรมการท่ีสมเด็จพระนเรศวรได้เอาพระองค์เองเข้ารบนั้นปรากฏแก่บรรดาผู้ท่ีไปตาม เสด็จ ก็เกิดเล่ืองลือถึงความกลา้ หาญของสมเด็จพระนเรศวร แม้แต่การท่ีสมเด็จพระเอกาทศรถได้เข้าชว่ ย หยุดสมเด็จพระเชษฐาด้วยความจงรักภักดีก็คงเลื่องลือเช่นเดียวกัน กระทั่งมีการนามาบันทึกเป็น ประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากกลายเป็นเร่ืองราวที่ต้องบันทึกแล้ว ส่ิงท่ีเป็นประโยชน์อย่างย่ิงในเวลาน้ันก็ คือ การแสดงใหเ้ หน็ ถงึ ความกลา้ หาญของยวุ กษตั รยิ ท์ ั้งสองพระองค์ซึ่งกลายเปน็ ประเดน็ สาคญั ท่ีทาให้ปวง ชนชาวไทยและข้าราชบริพารมองเห็นและมีความหวังท่ีจะกอบกู้เอกราชได้ในภายภาคหน้า (เอกรงค์, 2549, น. 127 – 130) การรบของสมเด็จพระนเรศวรในคร้ังน้ี พล.โท.นริศ ศรีเนตร อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 3 ไดใ้ หข้ ้อพจิ ารณาการรบดังกลา่ วไวว้ า่ 1. การรบในคร้ังนี้สมเด็จพระนเรศวรได้นากาลังไล่ติดตามพระยาจีนจันตุด้วยพระองค์เอง โดย มิได้หวั่นเกรงต่อภยันตรายท่ีจะได้รับ พระองค์ได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นาและความกล้าหาญ อันเป็น การส่งผลดีในการให้ขวัญและกาลังใจของทหารในกองทัพให้เกิดความฮึกเหิมมีจิตใจในการรุกรบ ไม่เกรง กลวั ตอ่ อริราชศตั รู 2. จากผลการนากาลังไล่ติดตาม และยิงตอบโต้ทหารกับพูชาอย่างองอาจและจริงจัง ส่งผลให้ ขา้ ศึกเกรงกลวั พระบารมขี องสมเด็จพระนเรศวรและกองทพั ละแวกนากลังมารุกรานอยุธยาน้อยลงกว่าเดิม (พล.ท.นริส, 2548, น. 36)

30 ภาพ 11 พระนเรศวรเสดจ็ มาจากพิษณโุ ลก ทรงทราบว่าพระยาจนี จันตุลงสาเภาหนีจากพระ นคร เสดจ็ ทรงเรอื กราบไล่ตามไปถึงปากน้าเจ้าพระยา แต่เรอื สาเภาออกน้าลกึ ไดล้ มจึงตามไม่ทนั พ.ศ. 2116 ทมี่ า: ภาพจติ กรรมวัดสุวรรณดาราราม จงั หวัดพระนครศรีอยธุ ยา 2.2. วรี กรรมรบด้วยยุทธศาสตรใ์ หม่กับเขมรที่ไชยบาดาล หลังจากนั้นไมน่ านในปเี ดียวกัน พ.ศ. 2121 (ค.ศ. 1578) กองทพั ละแวกได้พยายามเข้าตีอยุธยา อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดส่งทัพใหญ่เข้ามา ด้วยกันสองทัพ โยให้ พระทศโยธา และพระสุรินทรราชา คุมกองทัพ เขา้ มาทางเมืองโคราช และสามารถยดึ เอาเมอื งโคราชไว้ไดจ้ ากนั้นก็เดนิ ทัพตอ่ มาจนถงึ สระบรุ ี ในระหวา่ ง นั้น พระนเรศวรทรงพานักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา จึงทรงอาสานาทัพออกรบ โดยจัดทัพออกไปพร้อมกับพระ อนุชา พระเอากาทศรถ นากาลังพลจานวน 3,000 คน ไปดักรอกองทัพของพวกเขมร ณ เมืองชัยบาดาล โดยพระองค์ได้จัดทัพส่วนหน่ึงแบบสงครามจรยุทธ์ คอยดักซุ่มอยู่ป่าดงใหญ่ แล้วเมื่อทัพเขมรเดินทางเข้า มาถึงกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรก็ได้บุกเข้าโจมตจี นกองทัพของเขมรไม่ทันต้ังตัว จากน้ันทัพใหญ่ก็เข้า เสริมไล่ต้อนทหารเขมรจนแตกกลับไปท่ีโคราช ทัพของสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ไล่ต้อน

31 ติดตามตีไปจนถึงโคราช แล้วพระองค์ก็แบ่งทัพอีกทัพไปโอบล้อมไล่ตีจนทัพใหญ่ท้ังสองของพระยาจาก อาณาจักรละแวกได้แตกอย่างยับเยินจนต่างต้องหลบหนีกลับเข้ากัมพูชาไป จากความพ่ายแพ้คร้ังนี้เองก็ ทาให้พระยาละแวก หรือพระสัฏฐา เริ่มหวาดเกรงกลังของอยุธยาจึงไม่คิดนาทัพกลับมรุกรานอยุธยาอีก เปน็ รยะยาว (ดวงธิดา, 2537, น. 44 – 45) ชยั ชนะในคร้ังนี้ของพระองค์ได้กลายเปน็ สงิ่ ท่เี ล่ืองลือต่อกันไปอย่างมาก โดยเฉพาะกลยทุ ธ์การใช้ กาลังทหารจานวนเล็กนอ้ ย แต่มีความสามารถสงู เข้าซุ่มโจมตีในชยั ภูมทิ ี่ดีและในเวลาที่เหมาะสมที่สดุ ซ่ึง สามารถนาชัยชนะมาได้อย่างง่ายดายเช่นนี้น้ัน ย่อมจะต้องเป็นบัญชาการจากผู้ท่ีมีความสามารถอย่าง แท้จริง สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ได้เคยกล่าวถึงพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวร เอาไว้ว่า “ในระหว่างเวลา 15 ปี เมืองไทยต้องเปนประเทศราชข้ึนหงษาวดีอยู่น้ันพระเจ้าหงษาวดีเกณฑ์ กองทัพไปช่วยรบขา้ ศึกหลายคร้ังสมเดจ็ พระนเรศวรได้มโี อกาสจัดการทัพศึกฝึกหัดทแกล้วทหารมาแต่แรก ต่อมาพวกเขมรเมืองลแวกเห็นเมืองไทยอ่อนกาลังยกกองทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนไปเปนเชลยสมเด็จพระ นเรศวรได้ทรงคุมกองทัพออกรบพุ่งพวกเขมรแตกพ่ายไปด้วยกาลังแลอุบายหลายคราว ได้ความชานาญ การสงครามยิง่ ขน้ึ โดยลาดบั ” (กรมพระยาดารงราชานภุ าพ, 2460, น. 16) การศึกในคราวน้ีได้กลายเป็นเรื่องที่เลื่องลือกระท่ังรู้ไปถึงเมืองหงสาวดีซ่ึงก็เริ่มกลายเป็นเหตุให้ ราชสานักกรุงหงสาวดีเร่ิมระแวงสงสัยอานาจของราชสานักอยุธยามากยิ่งข้ึน ซึ่งสาหรับพระนเรศวรแล้ว น้ันย่ิงพระองค์ทรงพระชันษาเพิ่มมากย่ิงขึ้น ความสามารถในการรบและการวางแผนก็เร่ิมกลายเป็นท่ี ประจักษใ์ หเ้ หน็ ชัดเจนย่ิงข้ึนตามไปด้วย และทีส่ าคญั ที่สดุ กับผลงานทีแ่ สดงออกมาท้ังเร่ืองความกล้าหาญ และประเด็นเรื่องความสามารถในการออกรบ และการวางแผนกลยทุ ธ์ด้านการสงครามที่เป็นอันประจักษ์ แก่สายตาของบรรดาเหล่านายทหาร ก็ย่ิงกลายเป็นตัวเร่งและเป็นสง่ิ สร้างความเชื่อม่ันใหก้ ับบรรดาทหาร ในกองทัพมากยิ่งขึ้น หรือจะบอกว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องโอกาสที่จะกู้บ้านกู้เมืองให้กับทหาร ได้มากยิง่ ขึ้นน่นั เอง (เอกรงค,์ 2549, น. 132) 2.3. วีรกรรมการรบทเ่ี มืองลุมเมืองคัง ในปี พ.ศ. 2124 (ค.ศ. 1581) พระเจ้าหงสาวดบี ุเรงนอง หรือ ผชู้ นะสบิ ทศิ ทเี่ สวยราชย์ ณ กรงุ หงสาวดีอยู่ได้ 18 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อมีพระชันษาได้ 65 พรรษา มังชัยสิงห์ ราชโอรสผู้ดารงตาแหน่ง พระมหาอุปราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อมา และทรงพระนามว่า พระเจ้านันทบุเรง (ดารงรา ชานุภาพ, 2546, น. 44) เจ้าครองเมืองประเทศราชต่าง ๆ อยู่ในเวลาน้ันคือ พระเจ้าตองอูกับพระเจ้าแปร เป็นโอรส รชั ทายาทพระเจ้าตองอู และพระเจา้ แปรองค์แรกซ่ึงเปน็ พระอนชุ าพระเจ้าบเุ รงนอง พระเจา้ เชยี งใหม่เป็น ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าอังวะเป็นบุตรเขยของพระเจ้าบุเรงนอง ประเทศราชที่เป็นชาติอื่น คอื พระเจา้ มนิ ปะลอง เมืองยกั ไข่ พระเจา้ หน่อเมอื ง ครองเมอื งลานชา้ ง (พิมาน แจม่ จรัส, 2548, น. 73)

32 พระเจ้านันทบุเรงได้ทรงต้ังมังกยอชวาราชโอรสข้ึนเป็นพระมหาอุปราช ในคร้ังเม่ือมีการ เปล่ียนแปลงพระมหากษัตริย์ตามธรรมเนียมจึงต้องเรียกเจ้าเมืองประเทศราชต่าง ๆ หรือหัวเมืองท่ีอยู่ใต้ ขอบขัณฑ์สีมาของหงสาวดี มาเข้าเฝ้าตามประเพณีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่ บรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ หรือ ผูแ้ ทนก็ได้คุมกองทัพมาเขา้ เฝา้ พร้อมกนั ทุกประเทศ แมแ้ ต่อยธุ ยาเองซึ่งขณะนนั้ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงชรามากแลว้ กไ็ ดใ้ ห้สมเดจ็ พระนเรศวรซ่ึงมีชันษา 26 พรรษา เดินทางไปเข้าเฝ้าแทน ขาดอยเู่ พียงเมือง เดียวท่ีไม่ยอมมาสวามิภักด์ิ หรือแสดงความยินดีด้วยนั้นคือเมืองคัง อันเป็นเมืองของพวกไทยใหญ่ การ กระทาดังกล่าวของพวกไทยใหญ่สาหรับพระเจ้านันทบุเรงแล้วถือว่าเป็นการลองดี และรู้สึกขัดเคือง พระทัยเป็นอย่างมากจาเป็นต้องปราบเมืองคังลงให้เห็นเป็นตัวอย่างจะได้มีใครคิดกระด้างกระเดื่องต่อหง สาวดอี ีก นอกจากน้ันพระเจ้านนั ทบเุ รงยงั ทรงเหน็ วา่ เมืองคังมิใชเ่ มืองใหญ่ การปราบเมอื งคงั ในคร้ังน้นี ่าจะ เป็นโอกาสให้พระมหาอุปราชพระองค์ใหม่ได้แสดงฝีมือให้เป็นที่ประจักษ์กับสายตาพระเนตรของบรรดา เจา้ เมอื งข้ึนตา่ ง ๆ พระเจ้านันทบุเรงจึงมีรับสั่งตรัสว่า “เจ้านายช้ันผู้ใหญ่ได้เคยทาศึกสงครามมามากแล้ว ครานี้ ควรจะให้เจ้านายช้ันหนุ่ม ๆ ได้ตีเมืองคังให้เคยการศึกเสียบ้าง” พระองค์รับสั่งให้พระมหาอุปราชนาทัพ กรุงหงสาวดีทัพหน่ึง ให้ พระสังกะทัต หรือนัดจินหน่องนาทัพอาณาจักรตองอูทัพหนึ่ง และสุดท้ายให้ สมเดจ็ พระนเรศวรนาทัพอาณาจักรอยธุ ยาอีกทัพหน่ึง เป็นสามทัพเดินทัพไปตเี มืองคงั ดว้ ยกนั เจา้ นายท้ัง สามพระองคน์ เ้ี คยชอบพอกนั มาตงั้ แต่เยาวว์ ยั เมอ่ื ครง้ั ทต่ี ้องใชช้ ีวติ อยู่ ณ วังของพรเจ้าบุเรงนองด้วยกันมา จึงมิใช่เรื่องลาบากที่ท้ังสามจะทางานร่วมกัน สาหรับเมืองคังน้ันเป็นหนึ่งเมืองของพวกไทยใหญ่อันมีที่ ต้ังอยู่บนภูเขาสูงยากแก่การโจมตี เม่ือแม่ทัพท้ังสามได้เห็นชัยภูมิแล้วจึงปรึกษาพิจารณากันว่า ทางท่ีจะ เข้าไปตเี มอื งคงั ไดน้ ้ันจากดั และแคบดว้ ยเป็นซอกเขา ไมอ่ าจใช้กังทั้งสามกองทัพเข้าตีพร้อมกนั ได้ ท้งั กาลัง ทหารของเมืองคังกไ็ มน่ ่าจะมีมากนัก จงึ ตกลงกันว่าจะนาทพั ผลัดเวรกนั เขา้ ตีเมอื งคงั คราวละหนึง่ กองทัพ กองทพั แรก เป็นของพระมหาอปุ ราช ที่ไดท้ าการเข้าตีในเวลากลางคนื แตท่ วา่ ยงั ไม่ทันได้เข้าถึง ตัวเมือง ก็ถกู กอ้ นหนิ ทชี่ าวเมืองช่วยกันกลงิ้ ลงมา ทาให้ต้องยอมถอยร่นลงมายังเชงิ เขา กองทัพที่สองเป็นของพระสังกทัต ได้ทาการเข้าตีในวันต่อมาก็ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ เชน่ เดียวกบั ทัพของพระมหาอุปราช ระหว่างการบุกโจมตีท้ังสองน้ีเองสมเด็จพระเนรศวรได้ถือโอกาสเสด็ จเล็ดลอดขึ้นไปตรวจภูมิ ประเทศบริเวณรอบ ๆ เมอื งคัง และทรงพบวา่ มีหนทางลบั เล็ก ๆ ข้นึ ไปยงั เมอื งคงั อกี ทางหน่งึ ได้ กองทัพที่สามของสมเดจ็ พระนเรศวร พระองค์ได้ทรงวางอุบายจดั ทัพออกเป็นสองกอง กองแรก ให้เป็นทัพเล็กขึ้นไปด้านหน้าทางเข้าเมือง ส่วนอีกทัพหนึ่งเป็นทัพใหญ่มีกาลังพลมากกว่า ไปแอบซุ่มอยู่ ทางเข้าอีกด้านหนึ่งเม่ือตกถึงเวลาค่าก็ถึงเวลาขึ้นตีเมือง พระองค์ได้ให้ทัพแรกทาทีโห่ร้องให้เสียงดังอึกทึก เข้าไว้จนบรรดาชาวเมือง และทหารเมืองคังต้องเร่งกันมาช่วยรบโดยไม่ทันระวังทางเข้าอีกด้านหน่ึงที่เปิด

33 เป็นช่องว่างอยู่ เม่ือนั้นสมเด็จพระนเรศวรจงึ ได้ยกกาลังเข้าสู่เมือง และสามารถจับตัวเจ้าเมืองคังได้สาเรจ็ ในที่สดุ ในการรบคร้ังนี้แทนท่ีจะเป็นชัยชนะของพระมหาอุปราชแห่งหงสาวดีท่ีจะได้สาแดง ความสามารถให้เป็นท่ีประจักษ์กับสายตาของเมืองประเทศราชทั่วไป กลับกลายเป็นชัยชนะของสมเด็จ พระนเรศวร ซ่ึงการสงครามคร้งั นีเ้ องก็เร่ิมกลายเป็นชนวนบาดหมางและสร้างความไม่พอใจให้แก่พระมหา อุปราช และพระสังกะทตั เป็นอย่างมากต่อตวั สมเด็จพระนเรศวร อนั เป็นชนวนใหเ้ กิดเรื่องบาดหมางต่อมา อกี ในรยะต่อมา (อานนท,์ 2554, น. 61 – 63) ภาพ 12 พระนเรศวรตเี มืองคังเม่ือ พ.ศ. 2121 พลกองใหญ่ของพระนเรศวรขน้ึ ทางด้านขา้ ง ตีเมอื งแตก และจับตัว พระเจ้าฟ้าเง้ยี วเมืองคงั ได้ ที่มา: ภาพจิตกรรมวดั สุวรรณดาราราม จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา

34 พล.ท. นริศ ศรีเนตร ก็ได้พิจารณาถึงพระปรีชาสามารถทางการรบดังกล่าวของสมเด็จพระ นเรศวรเอาไว้ 3 ข้อวา่ 1. พระองค์ทรงรอบรู้ในวิชาเสนาธิการกิจหรือฝ่ายอานวยการ ก่อนจะนากาลังเข้าตีที่หมาย สิ่ง แรกที่ต้องกระทาคือการตรวจภูมิประเทศ เพ่ือนาข้อมูลมาวิเคราะห์เลือกหนทางปฏิบัติให้ได้เปรียบข้าศึก 2. พระองค์ทรงรอบรู้หลักดาเนินกลยทุ ธ คือมีการลวงข้าศึกให้เข้าใจว่าจะเข้าตีด้านหนา้ จึงวาง กาลังมากสว่ นดา้ นเข้าตหี ลกั ขา้ ศึกวางกาลงั ปอ้ งกนั น้อย 3. ความสาเร็จของการรบในครั้งน้ี ได้เป็นไปตามหลักการสงครามในปัจจุบันหลายข้อ ท่ีเห็น เด่นชัดก็มีการรวมกาลัง การออมกาลัง การดาเนินกลยุทธ ความง่าย การจู่โจม และความรวดเร็ว (พล.ท. นริศ, 2548, น. 38) นอกเหนือไปจากวีกรรมและอุบายในการรบอันชาญฉลาดของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว ยังมีเร่ือง เล่ากันถึงการรังเกียจกันระหว่างพวกทหารไทย กับพวกพม่ามอญในระหว่างศึกเมืองคังในคร้ังน้ีอีกว่า วัน หนึ่ง ณ กรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรได้เล่นชนไก่กับพระมหาอุปราช ไก่พระมหาอุปราชชนแพ้ไก่ของ พระองค์ พระมหาอุปราชที่กาลังขุ่นเคืองจึงตรัสออกมาวา่ “ไก่เชลยตัวน้ีเกง่ จริงหนอ” สมเด็จพระนเรศวร กต็ รัสตอบไปในทนั ทีวา่ “ไก่ตวั นอ้ี ยา่ ว่าแตจ่ ะพนนั เอาเดมิ พนั เลย ถึงจะชนเอาบา้ นเมืองกนั ก็ได้” ดังนี้ ชวน ให้เห็นว่าที่สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปแสดงความสามารถของกองทัพอยุธยาเมื่อคราวตีเมืองคังนี้ ยังเป็น ต้นเหตุท่ีหงสาวดีเริ่มระแวงอยุธยา สาหรับพระเจ้านันทบุเรงก็คงไม่พอพระทัยที่สมเด็จพระนเรศวรได้รับ ชัยชนะ แต่ก็จาเป็นต้องชมเชยและพระราชทานบาเหน็จรางวัลถึงขนาด แล้วจึงให้เสด็จกลับอยุธยาได้ (กรมพระยาดารงราชานุภาพ, 2547, น. 46 - 47) การชนไก่คร้งั ดังกล่าวได้กลายเปน็ ตานานเลา่ ขานกนั มาจนถึงปจั จบุ ัน โดยเฉพาะตานานเรอ่ื ง ไก่ ชนพระนเรศวร ที่ถือว่าเป็นไก่สายพันธ์ุเลิศทางด้านกีฬาชนไก่ในประเทศไทย โดยไก่ชนพระนเรศวนน้ัน เป็นไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาวดังคากล่าวท่ีว่า “ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเล้ียง” จึงเป็นที่ต้องการของ นักเลงไก่ปัจจุบันอย่างมาก ถึงกับพูดกันว่า “ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ” อันหมายความว่าไก่เหลือง หางขาว เม่ือได้คู่ตีแล้วไม่ต้องนั่งดู ไปสั่งเหล้ามากินเช่ือก่อนได้ต้องชนะแน่ ๆ ตาราไก่ชนของเกรียงไกร ไทยอ่อน บอกว่าไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่มีสกุล มีประวัติโดดเด่น ลาหักลาโค่นดี แทงแม่นยา อาจแทงเข้า ตาหรือเข้ารูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เน้ือชมพูอมแดง แข้ง เหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว (นายสัตวแพทย์นิสัต ตั้งตระกูล อ้างถึงใน พิมาน, 2550, น. 283)

35 ภาพ 13 ภาพลกั ษณะไกช่ นพระนเรศวร หรือ ไกส่ ายพันธุ์เหลอื งหางขาว ท่ีมา : http://kaichon.bkkseo.com (สบื คน้ เมอ่ื 20 ก.พ. 2562) 2.4. การเกิดกบฏพระเจา้ อังวะตอ่ กรุงหงสาวดีและการประกาศอสิ รภาพของสมเด็จพระนเรศวร หลังการสวรรคตของพระเจ้าบุเรงนอง และการขึ้นครองราชย์สมบัติแทนโดยพระเจ้านันทบุเรง นั้น เป็นท่ีพึงเข้าใจกันว่าบารมมี ากมายเหมือนดงั พระบิดา คร้ันสิ้นพระเจ้าบุเรงนองไปแล้วบรรดาเมืองข้ึน และประเทศราชตา่ ง ๆ กเ็ รมิ่ แสดงอาการเป็นอ่นื ออกมา ดังจะเหน็ ไดจ้ ากกรณีเมืองคงั ซ่งึ ในเร่ืองนพี้ ระเจ้า นันทบุเรงเองก็รู้และเข้าใจดี จึงได้ทรงเริ่มวางแผนท่ีจะแสดงแสนยานุภาพให้เป็นท่ีประจักษ์ อีกทั้งยังทรง ระแวงบรรดาประเทศราชต่าง ๆ พร้อมกันไปรวมท้งั กรุงศรอี ยธุ ยา ระหวา่ งท่ีสมเดจ็ พระนเรศวรยกทัพกลับอยุธยายังทรงไม่ทนั ได้ข้ามเขตแดน ทางฝา่ ยหงสาวดี โดย พระเจ้านันทบุเรงก็มีพระกระแสรับส่ังให้นันทสูกับราชสังคราเกณฑ์กาลังฝ่ายพม่าและไทยใหญ่จานวน หลายพนั คน ทาทางต้ังแตเ่ มืองเมาะตะมะ ผา่ นด่านแมส่ อดเข้ามาถงึ เมืองกาแพงเพชร เตรยี มยุ้งฉางสะสม เสบียงอาหารไว้เป็นระยะตามรายทาง โดยมีศูนย์กาลังของพม่าอยู่ท่ีกาแพงเพชร โดยทางหงสาวดีได้อ้าง

36 เหตุผลว่าเตรียมเอาไวเ้ พ่ือเป็นการบารุงเสน้ ทางตดิ ต่อระหว่างหงสาวดีกับอยุธยาให้ติดต่อกันสะดวกยิ่งข้นึ แต่พระนเรศวรก็ทรงทราบวา่ เหตุการณ์เช่นนี้เป็นการป้องปราบขู่ขวัญไทย แสดงให้เห็นว่าหากทางอยุธยา มอี าการผดิ สกั เกตเมื่อไร ก็จะเขา้ ทาลายเสียเมอ่ื น้ัน ท้ังนก้ี ็เพอื่ ไมเ่ ปดิ โอกาสให้อยุธยาสามารถท่ีจะประกาศ เอกราชของตัวเองได้นั่นเอง สมเด็จพระนเรศวรทรงเข้าใจในจุดปรสงค์เหล่าน้ันได้ จึงทรงวางพระองค์ เสมือนว่าไม่รู้เท่าทัน แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ทรงตระเตรียมกาลังทหารให้ทวีความเข้มแข็งข้ึนและรอคอย โอกาสแขง็ ขนื กับหงสาวดีอย่างลับ ๆ เชน่ กัน ครั้นเม่ือถึง พ.ศ. 2126 (ค.ศ. 1583) เกิดเหตุการณ์ท่ีน่าสนใจอย่างหน่ึงขึ้น คือ ก่อนที่มังกยอ ชวา พระโอรสของพระเจ้านนั ทบุเรงจะได้รับการแต่งต้ังเปน็ พระอุปราชน้ันได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงธิดา ของพระเจ้าอังวะ ซึ่งพระเจ้าอังวะองคน้ีเป็นน้องเขยของพระเจ้าบุเรงนอง จึงเปรียบเสมือนเป็นการสมรถ กนั ของลูกพ่ีลูกน้อง แต่เมอื่ มังกยอชวาได้ทรงขนึ้ เป็นพระมหาอุปราชแล้วก็ได้อภิเษกสมรสกับชายาใหม่อีก องค์หนึ่ง จึงเกิดกรณ๊หึงหวงทะเลาะวิวาทกันอยู่เน่ือง ๆ ครั้งหน่ึงถึงกับมีการทุบตีกัน นลาฏ (หน้าผาก) ของพระชายาองค์แรกไปกระทบกับพระแทนถึงกับพระโลหิตไหล นางถือว่าเป็นเร่ืองใหญ่จึงเอาผ้าชุบ โลหติ แลว้ ส่งไปทูลพระบดิ าว่าถกู พระสวามีข่มเหงอยา่ งหนกั ถงึ กับเลือดตกยางออก ทั้งพระเจา้ นันทบุเรงก็ ทรงเข้าข้งพระมหาอุปราชซ่ึงทาให้นางต้องอัปยศอดสูเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุน้ีทาให้พระเจ้าอังวะที่เป็นอริ กับพระเจ้านันทบุเรงอยู่ก่อนแล้วจึงมีใจออกห่างจากหงสาวดีในทันที พระเจ้าอังวะนอกจากจะทาตัวออก ห่างแล้วยังไม่พอ ได้ส่งทูตไปชักชวนเจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ให้ร่วมกับตนอีก ด้วย แต่ผู้ครองแคว้นทั้งสามมิยามทาตามกลับจับทูตที่มาต่อรองส่งตัวไปให้หงสาวดี ครั้นเม่ือพระเจ้าหง สาวดีนันทบุเรงทราบข่าว และทราบว่ามีข้าราชการเก่แก่ในกรุงหงสาวดีไปเข้ากับกรุงอังวะ ก็ตรัสส่ังใหจ้ บั ตวั ขา้ ราชการที่สงสัยพรอ้ มบตุ รและภรรยาเผาไปเสยี ทัง้ เปน็ จานวนมาก พร้อมกันนั้นบุเรงนองก็ได้จัดทัพเตรียมเข้าตีเมืองอังวะ นอกจากนั้นก็ยังได้ลองพระทัยเจ้าเมือง ประเทศราชอน่ื ๆ วา่ จะยงั สวามิภักดิ์ต่อหงสาวดอี ยหู่ รอื ไม่ พระองค์จึงตรสั สงั่ ให้เจ้าเมอื งแปร เจา้ เมืองตอง อู พระเจา้ เมืองเชยี งใหม่ พระเจ้าลา้ นชา้ ง และพระเจ้ากรงุ ศรีอยธุ ยา ให้จัดทัพยกไปสมทับในการตีเมืองอัง วะ เจ้าเมืองต่าง ๆ ก็ได้จัดทัพไปหนุนช่วยเหลือกองทัพพระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่มีเพียงกองทัพไทย เท่านั้นท่ีแจ้งไปว่าจะส่งสมเด็จพระนเรศวรเป็นตัวแทนพระมาธรรมราชาธิราชไปช่วยในการรบ แต่ทว่า กองทัพอยธุ ยาไปไม่ถึงตามกาหนดทนี่ ัดหมายไว้ จึงเปน็ เหตุใหพ้ ระเจ้าหงสาวดีระแวงว่าพระนเรศวรจะเข้า กับพระเจ้าอังวะ จึงตรัสส่ังให้พระมหาอุปราชคุมพลรักษาเมืองหงสาวดีเอาไว้ และเมื่อสมเด็จพระนเรศวร เสด็จไปถึงยังกรงุ หงสาวดีให้ร้อนรับอย่างดแี ล้วคิดหาวิธีกาจัดพระนเรศวนเสยี ความจริงแลว้ เม่ือทราบข่าว ว่าอังวะมีใจเป็นอื่นต่อหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรก็เริ่มมีความคิดที่จะประกาศเอการาชแล้วเช่นกัน คร้ัง น้ันถึงกับพระราชดารัสออกมาว่าน่าจะถึงเวลาแล้วท่ีไทยจะต้องรีบต่อสู้เพ่ือหลุดพ้นจากการเป็นเมืองข้ึน ของพมา่ ทั้งนี้เพราะหากวา่ ทัพของหงสาวดีสามารถเอาชนะอังวะแล้ว อาณาจักรต่อไปจึงน่าจะเป็นกรุงศรี อยุธยา ท่ีจะต้องถูกโจมตีอย่างหนักอีกหนหน่ึง ซึ่งคร้ังนั้นพระองค์จึงได้ดารัสให้ทรงเดินทัพอย่างไม่เร่งรีบ เพอื่ ให้ถึงกรุงหงสาวดีอยา่ งช้าทสี่ ดุ (ชาดา, 2549, น. 78 – 81)

37 สมเด็จพระนเรศวรใช้เวลากว่าสองเดือนครึ่งกว่าจะเดินทางถึงเมืองแครง อันตั้งอยู่บริเวณ ชายแดนระหวา่ งอาณาจักรหงสาวดี และอยุธยา พระมหาอุปราชทนรอใหส้ มเด็จพระนเรศวรเสดจ็ เดินทาง หงสาวดไี ม่ไหวจึงให้พระยามอญสองคน คือพระยาเกียนติกบั พระยารามพร้อมทหารฝีมือดีเดินทางมาคอย รับเสด็จสมเด็จพระนเรศวรที่เมืองแครงและรับส่ังว่า หากสบโอกาสดีเมื่อไร ให้จงรีบปลงพระชนม์สมเด็จ พระนเรศวนโดยทันที สาหรับเมืองแครงอันเป็นเมืองของชาวมอญน้ัน หลังพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พระมหาเถนคันฉ่องซึ่งเป็นชาวมอญเช่นกันก็ขอเดินทางออกจากรุงหงสาวดีมาจาพรรษาที่ชานเมือ งแครง ชาวมอญทุกคนนับถือศรัทธาพระมหาเถรคันฉ่องเป็นอย่างมาก รวมถึงพระยาเกียรติและพระยาราม และ เมื่อท้ังสองพระยามาถึงยังเมืองแครงแล้วก็รู้สึกหนักใจเป็นอย่างย่ิงที่ต้องรับหน้าท่ีมาสังหารสมเด็จพระ นเรศวรที่ซ่ึงเติบโตดว้ ยกันมาครั้นเมื่อสมเดจ็ พระนเรศวรทรงเสดจ็ เป็นองคป์ ระกัน ณ กรุงหงสาวดเี ม่ือครั้น เยาว์วยั พระยามอญทั้งสองไดน้ าเร่ืองนไ้ี ปปรึกษากับพระมหาเถรคนั ฉอ่ งว่าจะกระทาการเช่นไรดี พระมหา เถรคันฉ่องรับฟังแล้วก็สั่งห้ามพระยาเกียรติ และพระยาราม โดยบอกว่าสมเด็จพระนเรศวรน้ันทรงเป็น มติ รกบั ชาวมอญมาตลอด จนเมอ่ื สมเดจ็ พระนเรศวรได้เสด็จไปนมัสการพระมหาเถรคนั ฉ่องระหวา่ งแวะให้ กองทัพพักท่ีชานเมืองแครง พระมาเถรคันฉ่องซึ่งรักและเอ็นดูสมเด็จพระนเรศวรมานับต้ังแต่คร้ังเยาว์วัย เม่ือรู้การเสด็จไปยังกรุงหงสาวดีในครั้งน้ีจะมีการลอบปรงพระชนม์ก็รู้สึกสงสารเหลือกาลัง จึงได้เล่าเรื่อง พระยาเกยี รติ พระยารามใหฟ้ งั รวมท้ังไปเรยี กทั้งสองคนเข้ามายืนยันต่อเบอื้ งพระพักตรส์ มเดจ็ พระนเรศวร (ทต.สม, 2551, น. 160 – 161) เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบเรื่องแล้วน้ัน พระองค์ก็รู้สึกคิดน้อยพระทัยและอาฆาตแก่พระ เจ้าหงสาวดี พระองค์จึงตรัสแก่พระมหาเถรคันฉ่องว่า การที่พระอาจารย์มีเมตตามาบอกถึงเหตุการณ์แก่ ขา้ พระเจ้าในครั้งน้ี เปน็ พระคณุ อันหาทสี่ ุดมิได้ ถา้ หากพระอาจารย์จะยงั คงพานกั อยู่ในเมืองมอญนี้ ก็เกรง ว่าจะเป็นอันตรายต่อพระอาจารย์ ข้าพระเจ้าจะนาพระอาจารย์ และพระยาเกียรติ พระยาราม รวมทั้ง ญาติโยมชาวมอญท้ังปวงเดินทางลงไปยังกรุงศรอี ยุธยา โดยจะดูแลพระอาจารย์และพระยาเกียรติ พระยา รามโดยอยา่ งกตเวที พระมหาเถรคันฉอ่ ง พระยาเกียรติ พระยาราม ก็จะยอมตดิ ตามไปด้วยดี หลังจากนนั้ สมเด็จพระนเรศวรก็ได้กระทาการประกาศอิสรภาพตัดขัดจากกรุงหงสาวดี โดยได้ตรัสแก่ทหารอยุธยาที่ ตามเสด็จมา และชาวมอญ ณ เมืองแครงว่า “เราหาความผิดมิได้ ซ่ึงพระเจ้าหงสาดีคิดร้ายต่อเราก่อนนัน้ อันแผ่นดินพระมหานครศรีอยุธยา กับแผ่นดินเมืองหงสาวดี ขาดจากทางพระราชไมตรีกัน เพราะเป็น อกุศลกรรมนิยมสาหรับที่จะให้สมณพราหมณาประชาราษฎรได้ความเดือดร้อน” เม่ือตรัสแล้วพระหัตถ์ ขวาของพระองค์ท่ีทรงพระสวุ รรณภิงคารอยู่ ไดห้ ลัง่ อทุ กธาราลงเหนือพ้ืนพระสธุ าดล และตรสั คาประกาศ อิสรภาพออกไปว่า “เทพเจ้าท้ังหลาย อันมีมหิทธิฤทธ์ิและท่ีทิพจักขุทิพโสต ซึ่งสถิตอยู่ทุกทิศานุทิศจงเปน็ ทิพพยานด้วย พระเจ้าหงสาวดีมิได้ต้ังอยู่โดยคลองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณีเสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริตคิดจะทาภยันตรายแก่เรา ตั้งแต่วันน้ีไป กรุพระมหานครศรียุธยากับเมืองหงสาวดีมิได้ เป็นสุวรรณปัฐพีเดียวดุจหนึ่งแต่ก่อน ขาดจากกันแต่วันน้ีไปตราบเท่ากัลปาวสาน” ครั้นเมื่อพระองค์ทรง หลั่งพระสุวรรณภิงคารสาเร็จแล้ว ก็ยังได้ตรัสส่ังเหล่าพระยาเสนามุขมนตร้ีทั้งหลายว่า \"เราจะยกทัพกลับ ลงไปพระนครครั้งน้ี จะพาพระมหาเถรคันฉ่อง และญาติโยม กับพระยาเกียรติ พระยารามไป แล้วจะตี

38 กวาดครอบครัวรามัญหวั เมืองรายทางไปด้วย” (พระราชพรงศาวดารกรุงศรีอยธุ ยาฉบับจันทนุมาศ (เจมิ ), 2553, น. 143 – 144) ภาพ 14 พระนเรศวรทรงประกาศอสิ รภาพทรงหล่ังนา้ ทักษิโณทกใหต้ กเหนือพน้ื แผน่ ดนิ ทีม่ า: ภาพจติ กรรมวดั สวุ รรณดาราราม จังหวดั พระนครศรอี ยธุ ยา การประกาศอิสริภาพของสมเด็จพระนเรศวร ณ เมืองแครงในครั้งนี้ เกิดข้ึนเม่ือเดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 (ค.ศ. 1584) เมื่อพระองค์ประกาศคาอิสรภาพแล้วพระองค์จึงได้ตรัสถามพวกชาวมอญแห่ง เมืองแครงวา่ จะเข้าข้างไหน ระหวา่ งอยุธยากบั หงสาวดี พวกมอญโดยส่วนมากสมัครพรรคพวกเขา้ กับทาง อยุธยา สมเด็จพระนเรศวรจึงส่ังการให้จับตัวเจ้าเมืองกรมการของพม่าประจาเมืองแครง แล้วเอาเมือง แครงเป็นท่ีตั้งการประชุมทัพ ครั้นจัดกองทัพพร้อมเสรจ็ แล้ว พระองค์ก็ส่ังให้ยกกองทัพหลวงจากออกจาก เมอื งแครงตรงไปยังกรุงหงสาวดี ฝา่ ยพระมหาอุปรายพอได้ทราบว่าพระยาเกียรติ และพระยาราม กลับไป เข้าสวามิภักดิ์กับสมเด็จพระนเรศวร ก็ไม่กล้ายกกองทัพออกมาดังที่กาหนดไว้ เป็นแต่ให้รักษาพระนครให้ ม่ันคง พระนเรศวรเสด็จยกกองทัพข้ามแม่น้าสะโตง ไปจนใกล้จะถึงกรงุ หงสาวดี และได้ทราบข่าวว่า พระ เจ้าหงสาวดีรบพุ่งกับพระเจ้าอังวะถึงขั้นเกิดศึกชนช้างกัน และพระเจ้า หงสาวดีมีชัย และกาลังยกทัพ

39 กลับคืนมาหงสาวดีอยู่แล้ว สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องจาใจไม่ตีเอา กรุงหงสาวดีในคราวน้ัน จึงส่ังให้ ทหารแยกย้ายกันเท่ียวไปบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนมาแต่เม่ือคร้ันสงครามเสียกรุงคร้ังที่ 1 ให้พา กนั เทครัวอพยพกลับสู่อยุธยา เปน็ อันได้ครอบครวั ไทยคืนมาถึง 10,000 เศษ และสั่งให้เดินทางลว่ งหน้าไป ก่อน โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงคุมกองทัพหลวงคอยป้องกันเหล่าทหารพม่าท่ีตามติดมาแต่ภายหลัง มังก ยอชวาพระมหาอุปราชแห่งกรุงหงสาวดีได้ส่ังให้สุรกรรมาคุมกองทัพเป็นทัพหน้า พระมหาอุปรายเป็นทัพ หลวง ยกติดตามสมเด็จพระนเรศวร ทัพหน้าเดินทางมาทันท่ีแม่น้าสะโตง แต่เม่ือพระนเรศวรเสด็จข้าม ฟากกมาแล้ว จึงหยุดยิงต่อสู้กันอยู่ท่ีริมน้า แม่น้าสะโตงนั้นเป็นแม่น้าที่กว้างใหญ่ แรงปืนของพลทหารมิ สามารถยิงถึงฝั่งด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่พระนเรศวรทรงสามารถยิงพระแสงปืนถูกสุรกรรมมานายทัพหน้า ของหงสาวดีตายอยู่กับคอช้างได้ พวกร้ีพลหงสาวดีเม่ือเห็นเช่นน้ันก็ครั่นคร้าม พากันเลิกทัพกลับไป ส่วน สมเด็จพระนเรศวรกส็ ามารถเดินทางกลับสู่อยุธยาได้โดยสะดวก ส่วนพระแสงปนื ทท่ี รงยิงถูกสุรกรรมาตาย ในครง้ั นน้ั มนี ามปรากฏว่า “พระแสงปนื ตน้ ขา้ มแมน่ ้าสะโตง” ซ่งึ ถอื วา่ เปน็ พระแสงอษั ฎาวุธอนั เป็นเคร่ือง ราชูปโภคสาหรับแผน่ ดิน สืบมาจนบัดนี้ (น.พ. วบิ ลู , 2550, น. 12 - 13) ในคราทสี่ มเดจ็ พระนเรศวรกาลัง ดาเนินการเทครัวกลับกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ พระองค์ได้ชวนพระพี่นางเสด็จกลับไปพร้อมกันด้วย ดัง ปรากฏตามคาให้การชาวกรุงเกา่ วา่ …วันหน่ึงจึงเข้าเฝ้าพระสุวรรณกัลยาแล้วทูลความตามท่ีคิดไว้นั้นทุกประการ แล้วทูลจะให้พระพ่ีนางเธอหนีกลบั พระนครศรีอยุธยาด้วย พระสุวรรณกัลยาจึงตรัสตอบ ว่า บดั น้ีพ่ีกม็ บี ตุ รด้วยพระเจา้ หงสาวดีแลว้ จะหนีไปไดอ้ ยา่ งไร พ่อจงกลบั ไปเถิดตรสั แล้ว จึงอวยชัยให้พรแก่สมเด็จพระนเรศวร... เจ้าจงมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรูกู้บ้านเมืองได้ดัง ปรารถนาเทอญ (สรัสวดี, 2542, น. 91) สาหรับเรือ่ งของปืนทีส่ มเด็จพระนเรศวรทรงใชใ้ นการยิงสุรกรรมานัน้ ในพระราชพงศาวดารได้ บันทกึ ไวว้ ่า พระองค์ได้ทรงใช้พระแสงปืนนกสบั ยาว 9 คืบ (ประมาณ 235 เซนตมิ เตร) นายแพทยส์ าราญ วังศพ่าห์ ได้ให้รายละเอียดอันน่าสนในเก่ียวกับปืนกระบอกดังกล่าวไว้ดังน้ี พระแสงปืนท่ีสมเด็จพระ นเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงใช้นั้นเป็นปืนนกสับ คาว่า นกสับ นั้น สร้างความสับสน บางท่าน อาจเข้าใจว่าเป็นปืนคาบศิลา (Flintlock) เพราะตัวที่จับหินเหล็กไฟ (Pyrites) ส่วนมากจะออกแบบเป็น รูปนกคาบหินเหล็กไฟ จึงทาให้หลายท่านเข้าใจว่าปืนท่ีมีกลไกลจุดชนวนแบบนกสับ เป็นปืนคาบศิลา แต่ นายแพทย์สาราย ได้สันนิษฐานว่าปืนนกสับเป็นปืนคาบชุด (Matchlock) มากกว่า ช่ือพระแสงปืนที่พระ นเรศวรทรงใช้ยิง ตามประวัติศาสตร์ไทยเรียกว่าปืนนกสับ หลายท่านอาจเข้าใจวา่ เป็นปืนคาบศิลา เพราะ ปืนคาบศิลามีรูปร่างคล้ายนกคาบหิน เวลาเหน่ียวไก นกจะจิกลงบนแผ่นเหล็ก เกิดประกายไฟ ทาให้เกิด

40 สับสนใจคาว่า นกสับ ซึ่งจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนท่ีแม่น้าสะโตง ก่อนจะสร้างปืน คาบศิลาถึง 50 ปี (พมิ าน, 2550, น. 290 – 292) พล.ท. นริศ ก็ได้ให้ข้อพิจารณาการบที่แม่น้าสะโตงคร้ังน้ีไว้ว่า 1. สมเด็จพระนเรศวรทรงมีทักษะ ในการใช้อาวุธทุกชนิด โดยเฉพาะทรงยิงพระแสงปืนได้แม่นยาและยิงได้ระยะไกล ทาให้ผู้นาแม่กองทัพ พมา่ เสียชวี ิตส่งผลใหข้ ้าศึกต้องพา่ ยแพย้ อมถอนกาลังกลับ 2. สมเดจ็ พระนเรศวรทรงเพิ่มอานาจกาลังรบที่ มีตวั จนท้ังการยิงและการดาเนินกลยุทธ อานาจกาลงั รบที่จะชนะขา้ ศกึ ด้วยอาวุธประจากาย คอื ดาบ ทวน ง้าว ย่อมไม่เพียงพอ พระองค์จึงแสวงหาอาวุธท่ีมีสมรรถภาพสูงจากประเทศตะวันตก ได้แก่ อาวุธปืนเล็ก ยาว และปนื ใหญ่มาใชใ้ นกองทัพมากข้ึน (พล.ท. นริศ, 2548, น. 40) ภาพ 15 สมเดจ็ พระนเรศวรทรงปืนขา้ มแมน่ า้ สะโตง ทีม่ า : เพจประวัติศาสตรโ์ ลก สบื ค้น 25 มนี าคม 2562

41 2.5. การปราบกบฏพราะยาพชิ ยั พระยาสวรรคโลก หลังจากวีรกรรมทรงพระแสงปืนท่ีริมแม่น้าสะโตง เม่ือสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึง พระนครศรีอยุธยา พระองค์ได้กราบทูล พระชนกพระมหาธรรมราชาธิราชถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้ ตดั สินพระทัยเป็นท่เี ด็ดขาด จะไมย่ อมอ่อนน้อมต่อเมืองหงสาวดีอีกต่อไป สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ก็ทรงเห็นชอบด้วย และมอบพระราชาอานาจบงั คับบัญชาราชการเปน็ สทิ ธิ์ขาดต้งั แตน่ น้ั สาหรบั พวกมอญ ท่ีสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระนเรศวร และติดตามมาจากเมืองแครง พระองค์ได้พระราชทานท่ีดินบรเิ วณใกล้ วัดขม้ิน และวัดขุนแสนไม่ห่างจากวังจันทร์ที่ประทับสักเท่าไหร่ และทรงอวยยศให้พระยาเกียรติ พระยา ราม ใหเ้ ปน็ ขนุ นางผู้ใหญ่ได้พานทองเปน็ เครื่องยศ สาหรบั พระมหาเถรคนั ฉ่องนน้ั พระองค์ได้ทรงตั้งให้เป็น พระราชาคณะ ในช่วงเวลาเดียวกันมีชาวไทยใหญ่กลุ่มหน่ึงท่ีพากันหลบหนีอานาจของหงสาวดีมาขออาศัยอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกเป็นจานวนมาก สมเด็จพระนเรศวรจึงได้รับสั่งให้ผู้ดูแลรักษาเมืองพิษณุโลกนั้นรับพวก ไทยใหญไ่ ว้ นนั ทสกู ับราชสังคราแม่ทัพพมา่ ไดส้ ง่ สารมายงั ผู้รกั ษาเมอื งพิษณโุ ลกใหส้ ่งพวกไทยใหญ่กลับไป ผู้รักษาเมืองพิษณุโลกก็ได้ส่งสารกลับไปว่า ขณะนี้สมเด็จพระนเรศวรผู้ครองเมืองมิได้อยู่ ณ พิษณุโลก ไม่ สามารถตัดสินใจกระทาการใด ๆ ได้ นันทสู กับราชสังครา ก็ยังส่งสารมาข่มขู่ว่าถ้าเมืองพิษณุโลกไม่ส่ง พวกไทยใหญ่กลับคืนไปก็จะยึดเอาชาวกาแพงเพชรเป็นตัวประกัน สมเด็จพระนเรศวรจึงรับส่ังให้เกณฑ์ ผู้คนในเมืองเหนือให้จัดเป็นกองทัพหนึ่ง และให้พระชัยบุรี กับ พระศรีถมอรัตนทหารเอกของสมเด็จพระ นเรศวรเป็นแม่ทัพหน้า ทรงบัญชาใหท้ พั หน้ายกเมืองกาแพงเพชร ส่วนพระองคจ์ ะยกทัพหลวงหนุนตามไป เม่ือเห็นว่ากองทัพอยุธยายกทัพกันมาหมายจะเอาชนะพวกตน นันทสูกับราชสังคราจุงส่ังเลิกทัพออกจาก เมืองกาแพงเพชรและเดินทางกลับสู่หงสาวดี ฝ่ายพระชัยบุรีกับพระศรีถมอรัตนยกทัพหน้ามาถึงเมือง กาแพงเพชร ทราบว่ากองทัพพม่าเพิ่งล่าถอย จงเร่งกองทัพติดตามไปในทันที พวกไทยใหญ่ที่กระจัด กระจายกนั อยูเ่ ปน็ เมอื งเล็ก ๆ ท่ีมปี ระมขุ เปน็ เจา้ ฟ้าปกครอง อาทิ เจา้ ฟา้ เมืองจี่ เจา้ ฟา้ เมอื งแจ และเจ้าฟา้ อีกหลายเมือง ต่างพากันสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระนเรศวร และนาทหารของตนเท่าที่มีเข้าร่วมกับกองทัพ อยุธยาตามตีทหารพม่าไปอีกด้วย ทัพหน้าของพระชัยบุรีกับพระศรีถมอรัตนตามไปทันกองทัพนันทสูกับ ราชสังคราที่ตาบลแม่ระกา เกิดการสู้รบกันขั้นตะลุมบอน และนายทัพทั้งสองฝ่ายถึงกับชนช้างกันแต่ไม่มี ฝา่ ยหนงึ่ ฝา่ ยไดเ้ พล้ียงพล้า กองทพั หงสาวดีสู้ศึกครั้งน้ีไมไ่ ด้กพ็ ากนั หนีไป กองทพั อยธุ ยาไล่ตามตีจนสุดเขต ชายแดนจึงต่างพากันถอยทัพกลับมา ในขณะเดียวกันท่ีสมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งให้หัวเมืองฝ่ายเหนือ เกณฑ์คนไปรบกับนันทสูและราชสังครานั้น พระยาสวรรคโลกผู้ครองเมือง สวรรคโลก และพระยาพิชัยผู้ ครองเมืองพิชัยได้ประเมินว่า กองทัพอยุธยาภายใต้การนาของสมเด็จพระนเรศวรนั้นมีจานวนน้อยเกินไป ไม่สามารถรบเอาชัยชนะจากกองทัพหงสาวดีได้แน่ อีกประการหนึ่งทงั้ สองพระยายังคงเกรงกลัวบารมีของ หงสาวดีอยู่ จึงบิดพล้ิวไม่จัดทัพยกไปสมทบกับกองทัพสมเด็จพระนเรศวร และได้พากันคิดเป็นกบฏ พระ ยาพิชัยได้นากาลังทหารไปรวมตัวกับ พระยาสวรรคโลก แล้วได้ยึดเมืองสวรรคโลกเป็นท่ีม่ัน เพราะเมือง สวรรคโลกนั้นมีป้อมปราการและกาแพงเมืองมั่นคง แข็งแรง ทั้งสองพระยาต้ังใจจะรักษาเมืองเอาไว้ เพื่อ รอให้หงสาวดี หรือเมืองเชียงใหม่ส่งกองทัพลงมาช่วย เม่ือสมเด็จพระนเรศวรทราบถึงการก่อกบฏจึงให้

42 กองทัพทั้งหมดมารวมกันที่เมืองตาก จากนั้นได้ยกทัพหลวงมาทางบา้ นด่านลานหอย คร้ึงถึงเมืองสุโขทัยก็ ให้ตงั้ พลับพาทป่ี ระทับ ณ ข้างวัดศรีชมุ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระดาริว่า “คนไทยยังมผี กู้ ลวั เกรงพม่าอยู่ ไม่รวมตัวเป็นน้าหนึ่งใจเดียวอย่างมั่นคง หากเป็นเช่นนี้ต่อไปย่อมขาดพลังกล้าแข็งในการสู้รับกับพวก พมา่ ” ภาพ 16 สมเดจ็ พระนเรศวรเตรียมสู้ศึกหงสาวดี ครั้นเมอื่ ยักทพั ขนึ้ ไปตีเมอื งสวรรคโลก เมื่อ เสดจ็ ไปถึงเมอื งสุโขทัยชาวเมอื งต่างพากันมาทว่ี ัดศรีชุม เพ่อื เขา้ เฝา้ และถอื นา้ พระพิพัฒน์ ภาพเขยี น โดย พระยาอนุศาวสนจติ รกร (จนั ทร์ จิตรกร) พ.ศ. 2474 ทมี่ า : ภาพจิตรกรรมวัดสวุ รรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

43 ครั้นเม่ือสมเด็จพระนเรศวรนาทัพเดินทางไปถึงเมืองสวรรคโลกแล้ว ก็รับส่ังให้ตั้งค่ายรายล้อม เมอื งเอาไว้ แลว้ ส่งข้าหลวงหลวงไปบอกกลา่ วให้พระยาท้ังสองออกมาสารภาพผิด แตพ่ ระยาทง้ั สองกลับมิ ทาตามและตัดหัวข้าหลวงที่ส่งสารและโยนออกมานอกกาแพงเมือง เหตุนี้ทาให้สมเด็จพระนเรศวรทรง พิโรธอย่างยิ่ง และส่ังให้แยกกองทัพออกเป็น 3 กองเข้าตีเมืองสวรรคโลกสามทาง คือ ด้านเหนือ ด้านใต้ และด้านตะวันตก แต่ก็เข้ามเมืองมิได้เนื่องจากในเมืองต่อสู้ป้องกันเมืองสุดความสามารถ เหตุนี้ สมเด็จ พระนเรศวรจึงรับส่ังให้ตั้งค่ายประชิด แล้วสร้างหอรบให้สูงเท่ากับกาแพงเมือง เอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปใน เมือง พวกทหารท่ีรักษาเชงิ เทินอยุ่กพ็ ากนั ระส่าระส่าย แล้วทรงดารัสใหบ้ ุกเขา้ ไปเผาประตเู มอื งดอนแหลม ด้านทิศใต้กระทั่งทลายลง กองทัพของสมเด็จพระนเรศวรก็เข้าเมืองได้ จับกุมพระยาพิชัยและพระยา สวรรคโลก และมีรับส่ังใหป้ ระหารชีวิตพระยาทั้งสองเสีย ต่อมาเพื่อมิให้มีใครคิดกระด้างกระเดื่องและงา่ ย ต่อการควบคุมพระองค์จึงส่ังให้ย้ายราษฎรตามหัวเมืองฝ่ายเหนือเข้ามาอยู่ในพระนครศรีอยุธยาเสีย ทัง้ หมด เพือ่ เตรียมสูศ้ ึกกบั หงสาวดี และปล่อยให้หวั เมอื งเหนอื ทง้ิ ร้างไป (ราช, 2549, น. 71 – 75) ภาพ 17 ฉากสมเดจ็ พระนเรศวรทรงรับส่ังให้ประหารพระยาพิชัย และพระยาสวรรคโลก ใน ภาพยนตร์เร่ืองตานานสมเดจ็ พระนเรศวรมหาราช ภาคศกึ นันทบุเรง ทีม่ า: ภาพยนตร์ตานานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดย ม.จ. ชาตรเี ฉลมิ ยคุ ล

44 2.6. การรบกับพระยาพสมิ และการรบกับพระเจา้ เชียงใหม่ทบ่ี ้านสระเกศ ฝ่ายหงสาวดีในฤดแู ล้งของปี พ.ศ. 2129 (ค.ศ. 1586) พระเจา้ นนั ทบุเรงกไ็ ดย้ กองทัพลงมาหวังตี กรุงศรีอยุธยา แต่พระเจ้าหงสาวดีอาจจะประเมินกาลังทหารและความสามารถในการบัญชาการรบของ พระนเรศวรต่าเกินไป ดังน้ันจึงยกกองทัพมาเพียงแค่ 30,000 คนเท่านั้น พร้อมกาลังเสริมจากเชียงใหม่ท่ี เป็นประเทศราชอยู่ลงมาสมทบ แต่กาลังทหารรวมกันก็ยังน้อยกว่าเมื่อคร้ังท่ีพระเจ้าบุเรงนอกยกกองทัพ เข้ามาโจมตีในรัชสมัยของพระหาจักรพรรดิ เน่ืองด้วยพระเจ้านันทบุเรองคาดหมายว่าทางฝ่ายกรุงศรี อยุธยานนั้ เพ่ิงจะฟืน้ ตวั จากภยั สงครามคงยงั มนิ า่ จะมีกาลงั และเสบยี งมากพอทีจ่ ะต่อสู้กับกองทัพของตนได้ พระเจ้านันทบุเรงได้ทรงจัดกองทัพเป็นสองสายเพ่ือบุกเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทางหน่ึง คือ ทางเหนือ ให้ พระเจ้าเชียงใหม่ที่ยักทัพมาสมทบรวมกับมังนรธาช่อ (พระราชอนุชาของพระเจ้านันทบุเรง) ยกกองทัพ เชียงใหม่ และกองทัพพม่าทีกาลังคน 100,000 คน ทางใต้ให้พระยาพสิม (ผู้เป็นพระเจ้าอาของพระเจ้า นนั ทบุเรง) เป็นแมท่ ัพคุมกาลงั ทหาร 30,000 เขา้ มาทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถหย่ังเชิงศึกของสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ได้ทรงบัญชาการให้พระยา สุโขทัยเป็นแม่ทัพ จัดเตรียมกาลังทหารบกชาวเมืองเหนือไว้ 10,000 คน และให้พระยาจักรีจัดเตรียมกอง เรือทหารอาสาสมัครชาวกรุงไว้ 1 กอง และให้พระยาพระคลังเป็นหลวงยกกระบัตรให้ขนย้ายเสบียง อาหารออกไปให้พ้นเส้นทางทัพข้าศึกท่ีจะผ่านเพื่อป้องกันการยึดเอาเสบียงอาหารพร้อมท่ังให้เตรียม อพยพผู้คนให้เข้ามาอาศัยอยู่ภายในกาแพงเมืองเสียเพื่อหนีภัยสงคราม ส่วนในด้านการศึกนั้นกองทัพหง สาวดีมีจุดอ่อนทางด้านการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกองทัพทั้งสองสาย ประกอบกับกองทัพของพระยาพ สิมเคล่ือนทัพผ่านเข้ามาถึงด่านเมืองกาญจน์ตั้งแต่เดือนอ้ายซ่ึงเป็นช่วงท่ีน้ายังมีมากไม่สะดวกท่ีจะ เคล่ือนย้ายพลจานวนมาก สมเด็จพระนเรศวรจึงส่ังให้กองเรือของพระยาจักรีออกไปต้ังม่ันรักษาเมือง สุพรรณเพ่ือขัดตาทัพเอาไว้ชั่วคราวก่อน พอกองทัพของพระยาพสิมเข้ามาจะยึดเมือง พระยาจักรีซึ่ง ได้เปรยี บเพราะมีปืนใหญ่กไ็ ด้ยิงสกดั ตั้งแตร่ ะยะไกล ทพั พม่าขาดปืนใหญ่ทจ่ี ะตอบโตจ้ ึงต้องถอยทัพออกไป ตั้งม่ันอยู่ท่ีเขาพระยาแมน คร้ันเม่ือเดือนย่ี พ้ืนดินแห้ง สมเด็จพระนเรศวรจึงส่ังการให้พระยาสุโขทัย นา กลังเข้าตีพระยาพสิมที่เขาพระยาแมน ขณะท่ีพระองค์และพระเอกาทศรถก็นาทัพหลวงเคล่ือนไปตั้งมั่นท่ี วิเศษชัยชาญ แล้วจึงเริ่มเคลอ่ื นขบวนลงใต้เมื่อเดินทัพไปถึงตาบลสามขนอนแขวงเมืองสุพรรณบุรี ก็ทราบ ว่ากองทัพพระยาพสมิ ได้ถอยหนพี น้ เขตแดนไทยไปเสยี แลว้ สาหรับกองทัพอีกสายหน่ึงของพระเจ้าเชียงใหม่ที่เดินทางลงมาทางเหนือกว่าจะรู้ว่ากองทัพพระ ยาพสิมได้ถอยหนีไปแล้วก็ผ่านไปถึง 15 วัน อันเนื่องมาจากจุดอ่านของการข่าวและการสื่อสาร ทางฝ่าย สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้วิธีการรบแบบกองโจร คือแอบซุ่มโจมตีก่อกวนตัดกาลังและปล้นเอาเสบียง อย่างต่อเน่ือง สร้างความปั่นป่วนให้กับกองทัพพม่าฝ่ายเหนือมาก ต่อมาเม่ือกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ได้ เดินทางมาถึงบ้านสระเกศ แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ แล้วก็ปล่อยให้ทหารออกก่อกวนชาวบ้านไปรอบ บริเวณน้ัน พร้อมกันก็ได้ส่ังการให้เจ้าเมืองพะเยาคุมกองอาสาเข้าเผาบ้านเรือนราษฎร และเผาข้าวในเขต ชานเมอื งกรุงศรีอยธุ ยา สมเด็จพระนเรศวรจึงรบี นากาลงั ออกขับไล่พร้อมดว้ ยสมเด็จพระเอาทศรถ การรบ

45 ในคร้ังน้ีรุนแรงและหนังหน่วงถึงขั้นส่งผลให้เจ้าเมืองพะเยาเสียชีวิตกลางสนามรบและฝ่ายกรุงศรีอยุธยา สามารถจับเชลยศึกได้เป็นจานวนมาก เชลยศึกได้เผยให้เห็นถึงแผนการของพระเจ้านันทบุเรงท่ีคิดจะทา ศึกสงคราเป็ฯการยืดเยื้อนับแรมปี สมเด็จพระนเรศวรจึงตกลงพระทัยว่าจะต้องตีทัพผลักดันทางฝ่าย กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ให้ถอยอกไปให้พ้นหัวเมืองช้ันในเสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้รวมกาลังกันเข้ากับ กองทัพของหงสาวดีที่จะยกเข้ามาภายหน้าได้ พระองค์จึงทรงตรัสส่ังระดมพล 50,000 คนไว้ให้พร้อมรบ แต่ยังมิได้ทันได้เคลื่อนพลยกทัพก็มีข่าวว่า มีกาลังทหารข้าศึกไล่จับกวาดต้อนชาวบ้านท่ีตาบลปากโมกไป เป็นเชลยสงคราม สมเด็จพระนเรศวรพอได้รับทราบข่าวจึงชักชวนพระเอกาทศรถพระอนุชาพร้อมทหาร รักษาพระองค์ทอ่ี ยู่ใกลต้ วั ในขณะนั้น ลงเรือเร็วมุง่ หนา้ ไปยงั ตาบลป่าโมกในทนั ที เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จไปถึงทรงได้พบกับกองทัพหงสาวดีถึง 5,000 คน ที่กาลังเที่ยวไล่ จบั กวาดตอ้ นราษฎรอยู่ พระองคต์ รสั ใหเ้ ทยี บเรอื เข้าข้างฝัง่ แม่น้า จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกา ทศรถจึงนากาลงั ขึ้นบกคุมกาลงั เข้าตะลุมบอนสู้รบด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงยิงปืนถูกนายทหารผู้ใหญ่ ของฝ่ายกองทัพเชียงใหม่เสียชีวิตคาที่ไปคนหน่ึง เหตุน้ันก็สร้างความต่ืนตระหนกให้กับข้าศึก จนต้องถอย ร่นไปทางเหนือ สมเด็จพระนเรศวรทรงนากาลังทหารเร่งติดตามไป จนได้สู้รบกับกองทัพส่วนหน้าของทัพ เชยี งใหมท่ ่มี ีพระยาเชียงแสนเป็นแม่ทัพ ทง้ั สองฝา่ ยตา่ งรบพงุ่ กันอย่างดุเดือด แตเ่ นือ่ งด้วยกาลังทหารของ สมเด็จพระนเรศวรมีน้อยกว่าจึงจาต้องล่าถอย แต่กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยังฮึกเหิมเร่งติดตามมา ทาง ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรจึงได้นาเรือเคลื่อนเข้าแม่น้าเจ้าพระยาพร้อมใช้ปืนใหญ่ตอบโต้ ทาให้พระเจ้า เชียงใหมต่ อ้ งถอยร่นกลับไปอีกครัง้ และจดั ทัพใหม่พร้อมกาลงั กว่า 15,000 คน ใหพ้ ระยาเชียงแสนยกทัพ ล่วงหน้าลงมาตีกองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ส่วนตัวของพระเจ้าเชียงใหม่เองได้ยกพล 60,000 คน ตดิ ตามลงมาซา้ อกี ชัน้ หน่งึ ส่วนฝ่ายพระนเรศวรเองหลังจากที่ตั้งม่ันแล้วคาดการณ์ว่ากองทัพของข้าศึกน่าจะลงมาโจมตีใหม่ อีกครั้ง แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นน้ันจึงคิดว่าน่ีอาจะเป็นอุบายของพระเจ้าเชียงใหม่ พระองค์จึงรับส่ังให้ พระราชมนูคมุ กาลงั 10,000 คนยกข้นึ ไปลาดตระเวนดูทีท่าของขา้ ศกึ ส่วนพระองค์กับพระอนชุ าจะยกพล 30,000 คนติดตามขึ้นไป พระองค์ได้ทรงวางกระบวนรบเป็นกลศึกเตรียมกองทัพเข้าซุ่มโจมตีอยู่ตามป่า ข้างทาง และให้ข้าหลวงขึ้นไปส่ังพระราชมนูให้นากาลังถอยมา ในคราแรกพระราชมนูเห็นว่าการรบของ ตนกาลังได้เปรียบจึงมิฟงั คาส่ังจากสมเด็จพระนเรศวร ทาใหพ้ ระองค์ทรงพิโรธอยา่ งหนัก จึงตรัสออกไปว่า หากพระราชมนูมิยอมกลับมาก็ให้ตัดศีรษะพระราชมนูมาถวาย เม่ือพระราชมนูได้ทราบคาสั่งนี้จึงตกใจ และยอมปฏิบัติตามแต่โดยดี เม่ือพระราชมนูได้ถอยกองทัพส่วนหน้ามาตามรับส่ังแล้วก็จึงได้ทราบว่า ท้ังหมดเป็นแผนอุบายการศึกของสมเด็จพระนเรศวร เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่เข้ามาในบริเวณรบกส็ ง่ สัญญาณให้เข้าโจมตีด้านข้างพร้อมกัน เหตุน้ีจึงทาให้กองทัพเชียงหม่เสียหายอย่างหนักต้องถอยหนีไปยัง ฐานท่ีม่ันบ้านสระเกศของตน กองทัพอยุธยาก็ไล่ติดตามไปจนจับตัวนายทัพนายกอง ไพร่พลอาวุธ และ พาหนะได้เป็นจานวนมาก แล้วรุกต่อหวังเข้าตีฐานท่ีมั่นของกองทัพเชียงใหม่ท่ีบ้านสระเกศให้แตกไป เม่ือ ไปถงึ บา้ นสระเกศก็พบวา่ เจ้าเมืองเชียงใหมห่ นเี สียแตค่ ืนนั้นแลว้ จงึ ไดจ้ ับตวั พระยาเชียงแสนและเชลยศึก

46 ได้ราว 10ฐ000 คน ช้าง 120 เชือก ม้าราว 100 ตัว เรือรบ และเรือลาเลียงราว 400 ลา นอกจากน้ันมี อาวธุ และข้าวของอ่ืน ๆ อกี มากมาย (เอกรงค,์ 2549, น. 185 – 189) ภาพ 18 พระนเรศวรเคา้ ตคี ่ายพระเจา้ เชยี งใหม่ทบี่ า้ นสระเกศ จังหวดั อ่างทอง พ.ศ. 2128 ทัพเชียงใหม่แตกยบั เยินไดเ้ ครอื่ งราชปู โภคของพระเจ้าเชียงใหม่ และช้างม้าเป็นอนั มาก ภาพเขียน โดย พระยาอนุศาวสนจติ รกร (จันทร์ จิตรกร) พ.ศ. 2474 ท่ีมา : ภาพจติ รกรรมวดั สุวรรณดาราม จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา

47 สาหรบั การรบท่บี ้านสระเกศในคร้ังน้ี พล.ท. นรศิ ก็ได้ใหข้ ้อพิจารณาเอาไว้ 3 ขอ้ วา่ 1. สมเดจ็ พระนเรศวรทรงนาทพั ไลต่ ดิ ตามข้าศกึ ในขณะท่ีข้าศกึ เสียขวญั ระสา่ ระสายปฏบิ ัติโดย เรง่ ดว่ นอย่างตอ่ เนื่อง ทาใหข้ ้าศึกไม่มีเวลาต้ังตวั สง่ ผลให้การรบไดร้ ับชยั ชนะอยา่ งเด็ดขาด 2. การไล่ติตามคร้ังน้ีประสบผลสาเร็จ เนื่องจากสมเด็จพรนเรศวรรับส่ังให้หน่วยต่าง ๆ เตรยี มการล่วงหน้าการเคล่อื นทีไ่ ปยังบา้ นสระเกศกระทาในเวลากลางคืน ได้ผลในการจูโ่ จม ได้ผลในการจู่ โจม อีกทั้งหน่วยไล่ติดตามมีความสดช่ืนมีความคล่องแคล่วในการเคล่ือนท่ี และได้รับการฝึกปฏิบัติงานใน เวลากลางคืนมาเป็นอย่างดี 3. สมเด็จพระนเรศวรทรงนายุทธวธิ แี บบใหม่มาใชใ้ นการทาสงครามกบั พม่า เช่นเปล่ียนจากเคย ตั้งรับในกรุงศรีอยุธยามาเปน็ การรกุ ับการใช้หน่วยจู่โจมเข้าตีข้ศึกก่อนเพื่อทาลายขวัญและทาให้ข้าศึกเสีย กระบวนทพั ไปหลายครงั้ (พล.ท. นรศิ , 2548, น. 46) 2.7. พระวีรกรรม พระแสงดาบคาบค่าย และการประหารลกั ไวทามู พ.ศ.2129 นบั แต่ทก่ี องทัพพระเจ้าเชียงใหม่ได้แตกหนีไปแลว้ การศกึ สงครามกเ็ ป็นไปอย่างต่อเน่ือง แต่ทวา่ เม่อื กองทพั หงสาวดีเร่ิมยกองทัพมาเข้าตกี รุงศรีอยุธยาเม่ือใด ก็ถูกทหารอยธุ ยาตีจนตอ้ งถอยคนื ไปค่ายของ ตนทุกที ในระหว่างน้ันกองโจรซ่ึงสมเด็จพระนเรศวรให้ไปรวบรวมคนจดั ข้ึนไว้ตามหัวเมืองต่าง ๆ ที่พากัน รบตัดลาเลียงเสบียงอาหารของข้าศึก จนเกิดอัตคัดข้ึนในกองทัพพระเจ้าหงสาวดี แล้วก็เกิดโรคระบาดมีผู้ เจบ็ ไขไ้ ด้ป่วยขึ้น สมเดจ็ พระนเรศวรเองกท็ รงเสด็จออกไปปลน้ คา่ ยดว้ ยตวั พระองค์เองอยูห่ ลายครง้ั คร้ังหนง่ึ เม่ือเดือน 3 แรม 10 ค่า เวลาดกึ 5 นาฬิกา พระองค์ได้เสด็จออกปล้อนค่ายพระยานคร ที่ปากน้าพุทธเลา ตีข้าศึกแตกหนีกระเจิง กองทัพอยุธยาพอตีได้ค่ายแล้วก็ทาการเผาไฟค่ายนั้นมอดเสีย อกี คราวหน่ึง เม่ือเดือน 4 ขึน้ 10 ค่า เวลากลางคนื พระองคก์ ็ไดเ้ สดจ็ ออกไปปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดีเอง เม่ือได้ค่ายกองหน้าแล้วทหารของพระองค์ก็ไล่แทงฟันข้าศึกเข้าไปจนถึงค่ายหลวง สมเด็จพระนเรศวร เสด็จลงจากม้าพระที่นั่งทรงคาบพระแสงดาบ นาทหารขึ้นปีค่ายของพระเจ้าหงสาวดี จนถูกข้าศึกแทงตก ลงมา และทันใดน้ันข้าศึกก็กรูกันมามาก พระองค์จึงต้องรีบเสด็จกลับคืนเข้าสู่พระนคร พระแสงดาบ ซ่ึง พระนเรศวรทรงใช้ในวันนั้น จึงปรากฏนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย” ท่ีมีช่ือเสียงในเรื่องพระปรีชา สามารถมาจนทกุ วนั นี้ (น.พ. วบิ ูล, 2550, น. 22 – 25) การรบแบบบกุ การโจมตีแบบพระแสงดาบคาบคา่ ยนี้ พระเจ้านันทบุเรงทรงตกพระทัยอยา่ งมาก ถึงกับทรงตรัสออกมาว่า ทาไมสมเด็จพระนเรศวรจึงปฏิบัติพระองค์ราวกับเป็นพลทหาร แล้วน่ีพระราช บดิ าทรงทราบหรอื ไมท่ าไมไ่ มห่ ้ามปราม ความกล้าหาญของสมเดจ็ พระนเรศวรในคร้ังนี้ได้สร้างความนับถือ แก่พระเจ้านันทบุเรงเป็นย่ิงนัก โดยตรัสกับแม่ทัพนายกองของพม่าว่า ถ้าเป็นไปได้ให้ล้อมจับเป็นสมเด็จ พระนเรศวรแล้วนามาถวายแก่พระองค์ ข่าวการบุกปล้นค่ายพม่าของสมเด็จพระนเรศวรได้ถูกกล่าวขาน

48 กนั ออกไปทัว่ ทงั้ กองทัพ จนทหารพมา่ หว่ันเกรงที่จะสู้กับกองทัพพระองค์ พระเจ้านนั ทบเุ รงเห็นว่าต้องจับ สมเด็จพระนเรศวนให้ได้ จึงตรัสส่ัง ลักไวทามู นายทหารฝีมือเย่ียงยทุ ธ์ของพม่า พร้อมคัดเลือกทหารฝีมือ สดุ ยอดของกองทัพกลุ่มหนึ่งให้ออกไปวางกบั ดกั และล้อมจบั สมเดจ็ พระนเรศวรมาใหไ้ ด้ ลกั ไวทามูส่งทหาร ม้ากองหนึ่งออกไปล่อหลอกกองทัพสมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงนากองทหารรุกไล่ตามไปโดยไม่ทัน ระวังทหารม้าพม่าถอย สมเดจ็ พระนเรศวรทรงม้าตามไปจนทหารราบไทยตามไม่ทนั ในท่ีสุดก็ถงึ จุดท่ีพม่า วางกับดักไว้ สมเด็จพระนเรศวรตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของทหารพม่าฝีมือเยี่ยมท่ีสุดกลุ่มน้ัน แม้ว่าทหาร พม่าดาหน้ากันเข้ามา สมเด็จพระนเรศวรก็ได้ทรงต่อสู้อย่างกล้าหาญ กับเหล่าทหารพม่าในค่ายลักไวทามู ซ่ึงมีจานวนถึง 10,000 นาย ท่ีทาการโอมหนุนล้อมกันเข้ามาเพื่อจับตัวพระองค์ให้ได้ ทหารพม่าท่ีเข้ารุม ล้อมสมเด็จพระนเรศวรเสียชีวิตดุจใบไม้ร่วง ลักไวทามูเห็นชักช้าไม่ได้การ เมื่อทัพทหารราบของสมเด็จ พระนเรศวรกาลังจะตามมาทัน ลักไวทามูจึงควบม้าถือดาบตั้งเข้ามาจะจับกุมพระองค์ แต่สมเด็จพระ นเรศวรทรงแทงสวนกลับด้วยพระแสงทวนถูกลักไวทามูเข้าอย่างจัง บาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตกลาง สมรภมู ิ เมอื่ ทหารไทยมาถงึ จงึ ชว่ ยกันตฝี า่ นาเสดจ็ สมเดจ็ พระนเรศวรออกจากวงล้อมมาได้ ภาพ 19 ลักไวทามูให้พวกพลล้อมพระนเรศวรไว้ ตวั เองกับทหารทศเข้าไปจะจับพระองคพ์ ระ นเรศวรเอาพระแสงทวนแทงลกั ไวทามูและฟันทหารทศด้วยพระแสงดาบตายทัง้ สองคน พ.ศ. 2129 ท่มี า: ถา่ ยโดยผ้วู ิจยั 26 มกราคม 2562

49 วีรกรรมอันกล้าหาญดังกล่าวของสมเด็จพระนเรศวร ได้เป็นท่ีเล่ืองลือไปท่ัวกองทัพพม่า และยัง ส่งผลให้ทหารไทยเกิดความฮึกเหิมท่ีได้ต่อสู้เคียงข้างกับพระองค์ กองทัพพม่าเร่ิมขวัญเสียระส่าระสาย ประกอบกับการลาเลยี งเสบียงอาหารถูกกองโจรท่ีสมเด็จพระนเรศวรจดั ต้ังขึ้นมาจู่โจมสกัดจนกองทัพขาด แคลน ทหารอกอยาก เจ็บป่วยล้มตายเป็นจานวนมาก ตรงกันข้ามกับขวัญกาลังใจของทหารไทยที่ แข็งแกร่งข้ึนเรื่อย ๆ ทาการออกจู่โจมค่ายพม่าครั้งใด ทหารพม่าก็ถูกฆ่าล้มตายเป็นจานวนมาก กองทัพ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงล้อมกรุงเศรีอยุธยาอยู่ห้าเดือนเต็ม มีแต่จะเพลี่ยงพล้าทาให้ทหารพม่าเสียชีวิต ทุกวันพระเจา้ นนั ทบเุ รงทรงท้อพระทัยในการตีกรุงศรีอยธุ ยา ประกอบกบั ฤดฝู นทีก่ าลังใกล้เข้ามา พระเจ้า หงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งั ใหเ้ ลิกทัพเสด็จกลับหงสาวดี (ทพ.สม, 2551, น. 174 – 175) พล.ท. นริศ ก็ได้ตั้งข้อพิจารณาถึงวีรกรรมในการออกปล้นค่ายพม่า และการประการลักไวทามู ในครั้งนีไ้ ว้วา่ 1. การที่สมเด็จพระนเรศวรทรงนากาลังทหารออกปล้นค่ายพม่าน้ัน โดยมิได้หว่ันเกรงต่อ ภยันตรายที่จะได้รับแสดงออกถึงความเป็นผู้นาท่ียอดเย่ียม กล้าหาญ ซึ่งย่อมส่งผลให้ขวัญกาลังใจของ ทหารในกองทพั เกิดความฮกึ เหิม มจี ติ ใจรกุ รบไม่เกรงกลงั ตอ่ ข้าศกึ เหมือนเมื่อสงครามคร้ังก่อน ๆ 2. การเสด็จออกปล้นค่ายพม่า และทาลายกาลังพม่าแตกพ่ายหลายครั้งเป็นผลให้ข้าศึกเกิด ความระส่าระสายเสียขวัญกาลังใจ และเกิดความท้อแท้เป็นยุทธวิธีการรบแบบกองโจร แม้ว่ากาลังฝ่าย อยธุ ยาจะน้อยกว่าแต่ก็สามารถเอาชยั ชนะจากขา้ ศึกท่ีมมี ากกว่าได้ แสดงถึงพระอจั ฉริยภาพ พระปรีชาล้า เลศิ ของสมเดจ็ พระนเรศวรท่ีทรงรเิ ริ่มกลยุทธนม้ี าใชใ้ นการรบ 3. การรบกับลักไวทามูน้ันแม้ว่าสมเด็จพระนเรศวรจะตกอยู่ในวงล้อมข้าศึก แต่พระองค์ทรง สามารถต้ังสติไม่สะทกสะท้าน ตัดสินพระทัยใช้พระแสงทวนลักไวทามูจนเสียชีวิตและฆ่าทหารพม่าอีก หลายคน แสดงถึงพระอจั ฉริยภาพในการใช้อาวธุ พระแสงดาบ พระแสงทวน เนอ่ื งจากได้มีการฝึกฝน และ ประสบการณ์จากการรบกับข้าศึกอย่างนับครง้ั ไมถ่ ว้ น 4. สมเด็จพระนเรศวรทรงนาทหารทาการรบโดยออกนาหน้าประจัญบานข้าศึกแทบทุกคร้ัง ซึ่ง แสดงถึงความองอาจ กล้าหาญ รุกรบ เป็นการข่มขวัญ ทาให้ขวัญกาลังใจข้าศึกตกต่าลงอย่างเห็นเด่นชัด (พล.ท. นรศิ , 2548, น. 48)

50 ภาพ 20 พระนเรศวรทรงคาบพระแสงดาบขน้ึ ปล้นค่ายพระเจ้าหงสาวดแี ต่พวกพมา่ ต่อสู้ ป้องกนั ไว้ เข้าคา่ ยไม่ได้ พ.ศ. 2129 พระชนั ษา 30 ปี ท่มี า : ภาพจติ รกรรมวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยธุ ยา 2.8. การสืบราชสมบตั ิ พ.ศ. 2133 (ค.ศ.1590) นับจากท่ีสมเด็จพระนเรศวรทรงกราศึกสงครามกู้ชาติบ้านเมืองอย่างหนักหน่วงมานานถึง 3 ปี ติดต่อกัน เมื่อคร้ันปี พ.ศ. 2130 (ค.ศ.1587) เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระชนกได้เสด็จ สวรรคตลงไปในปี พ.ศ. 2133 (ค.ศ.1590) สมเด็จพระนเรศวร ซ่ึงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ และร้ัง ตาแหน่งเป็น “วังหน้า” องค์แรกของอยุธยา ก็ได้ทรงเสด็จรับราชสมบัติสืบต่อมา ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 ขณะท่พี ระองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา เก่ียวกับเรื่องการสืบราชสมบัติของสมเด็จพระนเรศวรนี้ มีเกร็ดประวัติศาสตร์อย่างหน่ึงท่ีปรากฏ อยใู่ นพงศาวดารฉบับ วนั วลติ ท่ีเลา่ วา่ ในช้ันแรก สมเดจ็ พระนเรศวรไมท่ รงยอมรับราชสมบตั ิ เพราะทรงมี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook