孔子曰:有教无类 รายงานการวิจยั เพ่อื พัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา ขงจื่อกล่าววา่ ชาติกำเนิดปัญญาไซรต้ า่ งกัน การศึกษาช่วยสรรคเ์ สมอได้ สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา ส่ิงพมิ พ์ สกศ. อนั ดับที่ 48/2559 ISBN 978-616-270-101-6 (ชดุ ) ๙๙/๒๐ ถนนสุโขทยั เขตดุสติ กรงุ เทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๖๖๘ ๗๑๒๓ โทรสาร ๐ ๒๒๔๓ ๑๑๒๙ Website: http://www.onec.go.th
รายงานการวิจัย เพื่อพฒั นาระบบ การจดั การเรยี นการสอน ภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา สำนกั งานเลขาธกิ ารสภาการศึกษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร
รายงานการวจิ ยั เพือ่ พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
371.349 สำนักงานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา ส. 691 ร รายงานการวิจยั เพ่ือพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา กรุงเทพฯ 2559 170 หนา้ ISBN: 978-616-270-101-6 (ชุด) 1. ภาษาจีน-การพัฒนาการเรียนการสอน 2. อาชวี ศึกษา 3. ชื่อเร่อื ง หนงั สอื ชดุ รายงานการวิจยั เพ่อื พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา สง่ิ พมิ พ์ สกศ. อนั ดบั ท่ี 48/2559 ISBN 978-616-270-101-6 (ชุด) พิมพ์ครง้ั ท่ี 1 พฤศจกิ ายน 2559 จำนวนท่ีพิมพ ์ 500 ชดุ ผจู้ ดั พมิ พเ์ ผยแพร ่ สำนกั งานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธกิ าร 99/20 ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสติ กรงุ เทพฯ 10300 โทร. 0 2668 7123 ตอ่ 2538, 2539 โทรสาร 0 2241 8330 Web Site: www.onec.go.th บริษัท พรกิ หวานกราฟฟิค จำกัด ผพู้ มิ พ ์ 90/6 ซอยจรญั สนทิ วงศ์ 34/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงอรุณอัมรนิ ทร์ เขตบางกอกนอ้ ย กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0 2424 3249, 0 2424 3252 โทรสาร 0 2424 3249, 0 2424 3252 2
คำนำ ภาษาจีน เป็นภาษาท่ีสำคัญมากภาษาหนึ่ง และมีแนวโน้มท่ีจะสำคัญย่ิงขึ้นในอนาคต เน่ืองจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 5,000 ปี มีการสั่งสม องคค์ วามรู้ดา้ นตา่ งๆ และถา่ ยทอดจากรุ่นส่รู นุ่ มาถึงปจั จุบนั สาธารณรัฐประชาชนจนี ยงั เป็นประเทศ มหาอำนาจท่ที รงอิทธิพลท้ังด้านสงั คม เศรษฐกิจ และการเมอื งทง้ั ในระดบั ภมู ภิ าคและระดบั โลก เปน็ ประเทศท่ีมีความเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และประชากรชาวจีนยังมาก เป็นอันดับ 1 ของโลก ดังน้ัน หากคนไทยมีความรู้ภาษาจีนจะเป็นเคร่ืองมือในการสื่อสาร ค้นคว้า และแลกเปล่ียนองค์ความรู้ สามารถสร้างความร่วมมือด้านธุรกิจการค้าการพัฒนาด้านต่างๆ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ซึง่ จะชว่ ยใหป้ ระเทศไทยไดเ้ ปรียบในการแขง่ ขันกบั ประเทศอื่นๆ ในภูมภิ าคน้ี ประเทศไทยมกี ารจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี มานานหลายทศวรรษ และในทศวรรษทผี่ า่ นมา ได้มีการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับ/ประเภทการศึกษา แต่เนื่องจากยังไม่มีการวางนโยบาย การจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี อยา่ งเปน็ ระบบ สอดรบั ไปในทศิ ทางเดยี วกนั ประกอบกบั ยงั มปี ญั หา อุปสรรคหลายประการทำให้ไม่สามารถพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนได้ตามความต้องการ ของสังคม สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะหน่วยงานท่ีมีหน้าท่ีกำหนดนโยบายและแผน การศึกษาของประเทศ เห็นความสำคัญในเร่ืองดังกล่าว จึงมอบหมายให้ศูนย์จีนศึกษา สถาบัน เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในประเทศไทย โดยศึกษาครอบคลุมในทุกระดับ/ประเภทการศึกษาอย่างเป็น องคร์ วม เพอ่ื นำองคค์ วามรทู้ ไี่ ดจ้ ากการศกึ ษาครง้ั นไ้ี ปประกอบการจดั ทำขอ้ เสนอนโยบายในการพฒั นา ระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย และรายงานการวิจัยชุดน้ีได้มีการปรับปรุง ตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงขอขอบคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ และเพื่อให้รายงานการวิจัยชุดนี้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงาน เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา จงึ จดั พมิ พช์ ดุ รายงานวจิ ยั เพอื่ พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยรายงาน 7 เล่ม เพ่ือเผยแพร่สู่หน่วยงาน องค์กร นักวิชาการศึกษา และบุคลากรท่ีเกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ต่อไป ได้แก่ รายงานการวิจัยเพอ่ื พัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา I
1) การวิจยั เพื่อพัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับประถมศึกษา 2) การวิจัยเพื่อพฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับมธั ยมศกึ ษา 3) การวจิ ัยเพ่อื พฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา 4) การวิจยั เพือ่ พัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอดุ มศกึ ษา 5) การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย การศึกษา นอกระบบ 6) การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน กรณีศึกษามหาวิทยาลัย ปกั กิง่ สาธารณรฐั ประชาชนจนี ในการสอนภาษาจนี ใหแ้ ก่ชาวต่างชาต ิ 7) รายงานการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย สงั เคราะหภ์ าพรวม (ดร.กมล รอดคลา้ ย) เลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา II รายงานการวิจัยเพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา
กิตตกิ รรมประกาศ รายงานวิจัยโครงการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา จะสำเร็จมิได้เลย หากขาดการสนับสนุน ความร่วมมือ และความช่วยเหลือจาก บุคคลและหนว่ ยงานต่างๆ ผู้วจิ ยั จึงขอแสดงความขอบคณุ ตามรายชื่อขา้ งลา่ งมา ณ โอกาสน ี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ความสำคัญในการจัดทำ ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายเพอื่ พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย และมอบหมาย ให้ศูนยจ์ ีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ดำเนินการศึกษาวจิ ัยในเรอ่ื งดังกล่าว ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ีให้โอกาสผู้วิจัยเป็นหนึ่งใน คณะผู้วิจัย โดยเฉพาะอย่างย่ิงผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรศักด์ิ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา ได้กรุณาให้คำช้ีแนะและเป็นแบบอย่างในการทำวิจัย และเจ้าหน้าที่ทุกท่านของศูนย์จีนศึกษาที่ช่วย อำนวยความสะดวกในทุกขัน้ ตอนระหว่างการทำวจิ ยั ดร. สมศกั ด์ิ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. พชั นี ตัง้ ยืนยง สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร. ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ผู้เช่ียวชาญท้ังสามท่านท่ีได้แสดงความเห็นและให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข งานวิจยั ใหส้ มบรู ณ์ยง่ิ ขน้ึ คณะผวู้ จิ ยั ซงึ่ ประกอบดว้ ยอาจารยว์ ภิ าวรรณ สนุ ทรจามร สาขาวชิ าภาษาจนี คณะมนษุ ยศาสตร ์ และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นริศ วศินานนท์ สาขาวิชา ภาษาจีน คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกพร ศรีญาณลักษณ์ สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และ สงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั บรู พา อาจารย์ ดร. หทยั แซเ่ จยี่ สาขาวชิ าภาษาจนี ภาควชิ าภาษาตะวนั ออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั และอาจารย์ ดร. ภูวกร ฉตั รบำรุงสขุ หัวหน้าสาขาวิชา ภาษาจีน ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาจารย์ทุกท่านได้ช่วยระดมความคิด ร่วมแบง่ ปนั ความรู้และประสบการณใ์ นการทำวิจัย ทำใหผ้ ู้วิจัย ได้เรียนรทู้ กั ษะการทำวจิ ยั และพัฒนาตนเองซ่งึ เปน็ ประโยชนต์ ่องานวิจัยอย่างย่ิง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยเฉพาะอย่างย่ิงนางยุวรี มณีรัตน์ นักวิชาการ ศกึ ษาชำนาญการพเิ ศษ และนางสาวชน่ื จติ ร์ อกต๋นั นกั วชิ าการศกึ ษาปฏบิ ัตกิ าร สำนักงานมาตรฐาน การอาชีวศึกษาและวิชาชีพ เอื้อเฟ้ือข้อมูลนโยบายและแนวปฏิบัติการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ รายงานการวจิ ยั เพือ่ พัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา III
อาชีวศึกษา รายชื่อสถาบันอาชีวศึกษารัฐท่ีสอนภาษาจีน หลักสูตร รายช่ือครูภาษาจีนชาวไทย และ รายชือ่ ครอู าสาสมัครจนี เป็นต้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เอื้อเฟื้อข้อมูลรายชื่อสถาบันอาชีวศึกษา เอกชนที่สอนภาษาจีน อาจารย์สุรชัย ปัทมผดุงศักดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเรียบเรียงหนังสือเรียนภาษาจีน ระดับอาชีวศกึ ษา มาสเตอร์อภินพ การุณยเลิศ หัวหน้าหมวดวิชาภาษาจีน โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ อาจารย์สุภาณี พรพันธ์ุไพบูลย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา อาจารย์มิษฎา ทรรพวสุ หัวหน้าสาขา วิชาภาษาต่างประเทศ และอาจารย์ชลธิชา จิตเพ่ิมสุข วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา อาจารย์ อัมพร จิตอารยะกุล วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี อาจารย์อรพิน จริยาธนเบญญา รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ และอาจารย์สุภาพร ตั้งเจริญกิจสกุล วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน อาจารย์ขวัญฤทัย เจยี วพงษพ์ พิ ฒั น์ และอาจารยผ์ กามาศ แกว้ วารี วทิ ยาลยั เทคโนโลยตี งั้ ตรงจติ รพณชิ ยการและวทิ ยาลยั เทคโนโลยีต้ังตรงจิตรบริหารธุรกิจ และอาจารย์สุภาวดี ด้วงหมุน วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ อาจารย์ทุกท่านได้สละเวลาให้ผู้วิจัยสัมภาษณ์เก่ียวกับประวัติความเป็นมาและสภาพการจัดการเรียน การสอนภาษาจนี ของสถานศกึ ษาตนเองในปัจจบุ ัน ทำใหผ้ ู้วิจยั ได้ข้อมลู เชิงลกึ และนา่ เชื่อถือยิ่งขน้ึ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ทกุ ทา่ น ท่ใี ห้การสนับสนุนและความชว่ ยเหลอื แกผ่ วู้ จิ ัยเปน็ อย่างดีมาโดยตลอด สุดท้าย ผู้วิจัยขอขอบคุณสถาบันอาชีวศึกษาทุกแห่งท่ีตอบแบบสอบถาม ให้สัมภาษณ์ และ ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร นักวิชาการ ครู คณาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านท่ีเข้าร่วมการสัมมนา วิชาการ เรอ่ื ง การพัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย เม่อื วันพฤหัสบดที ี่ 7 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 08.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมจุมภฏ - พันธุ์ทิพย์ ช้ัน 4 อาคาร ประชาธิปก - รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้ข้อเสนอแนะที่หลากหลายอันเป็น ประโยชน์ต่องานวิจัย ชว่ ยให้งานวจิ ัยมีความสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ กำพล ปยิ ะศริ กิ ลุ นักวจิ ัยประจำโครงการ IV รายงานการวิจยั เพ่อื พฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา
บทคดั ย่อ งานวจิ ยั ฉบับนี้มวี ตั ถุประสงค์ เพอื่ ศกึ ษาสภาพปจั จบุ นั และปัญหาของการพฒั นาระบบการเรยี น การสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร ส่ือ การเรยี นการสอน ผสู้ อน ผเู้ รยี น และความรว่ มมอื กบั หนว่ ยงานอน่ื รวมถงึ ปญั หาความเชอื่ มโยงกบั การศกึ ษา ระดับอ่ืน เพ่ือเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การ สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากท่ีสุด (ใชข้ อ้ มลู ปกี ารศกึ ษา 2557 เป็นหลกั ) กลุม่ เปา้ หมายในการวจิ ยั คือสถาบนั อาชวี ศึกษาของรฐั และเอกชน ท่ีสอนภาษาจีนในประเทศไทย มีสถานศึกษาตอบแบบสอบถามจำนวน 85 แห่ง ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มา คำนวณหาค่าร้อยละ คา่ เฉลย่ี และคา่ เบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนัน้ วิเคราะหแ์ ละสงั เคราะหข์ อ้ มลู สุดทา้ ย เรียบเรียงออกมาเปน็ ผลการวจิ ยั ผลการวจิ ยั พบวา่ ในดา้ นการบรหิ ารจดั การ สถานศกึ ษาใหค้ วามสำคญั กบั การวางแผนมากทสี่ ดุ แต่กลับนำผลประเมินมาปรับปรุงในปีต่อไปน้อยลง แต่จากข้อมูลเรื่องปัญหาด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอนภาษาจีนจะเห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วสถานศึกษายังขาดระบบในการบริหารจัดการ ท่ีดี ในด้านหลักสูตร สถานศึกษาเปิดรายวิชาภาษาจีนตามหลักสูตรท่ีสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) กำหนดทัง้ ในระดับประกาศนยี บัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ประกาศนียบัตรวชิ าชีพ ชั้นสูง (ปวส.) แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีสถานศึกษาหลายแห่งเปิดรายวิชาภาษาจีนในระดับท่ีสูงขึ้นด้วย ปัญหาหลักที่พบ คือความต่อเน่ืองเช่ือมโยงกับการศึกษาระดับอ่ืน ในด้านสื่อการเรียนการสอน ปัจจุบัน สถานศึกษาเลือกใช้หนังสือเรียนภาษาจีนอย่างหลากหลาย มีท้ังหนังสือของประเทศจีน และหนังสือที่ เรียบเรียงโดยอาจารย์ชาวไทยเอง ท้ังน้ี เนื่องมาจาก สอศ. ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากำหนดให้ สถานศึกษาทุกแห่งใช้หนังสือเรียนภาษาจีนเล่มใดโดยเฉพาะ นอกจากนั้น สถานศึกษายังขาดแคลนสื่อ การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านผู้สอน สถาบันอาชีวศึกษาส่วนใหญ่ยังพ่ึงพาครูอาสาสมัครจีน ส่วนครูสัญชาติไทยอยู่ในลำดับท่ีสอง ที่เหลือคือครูสัญชาติจีนที่สถานศึกษาจัดหาเอง ครู/อาจารย์พิเศษ และครูสญั ชาติอนื่ ในบรรดาครูสอนภาษาจีนทง้ั หมดนี้ สว่ นใหญส่ ำเร็จการศึกษาดา้ นภาษาจนี มคี รสู อน ภาษาจนี เพยี งสว่ นนอ้ ยเทา่ นนั้ ทไ่ี มไ่ ดส้ ำเรจ็ การศกึ ษาดา้ นภาษาจนี ในดา้ นผเู้ รยี น พบวา่ ปญั หาดา้ นผเู้ รยี น ทสี่ ำคญั ทส่ี ดุ คอื ผเู้ รยี นขาดสภาพแวดลอ้ มทางภาษาจนี ดงั นน้ั การสรา้ งสภาพแวดลอ้ มในการเรยี นการสอน ภาษาจีนในสถานศึกษาให้มากขึ้นจึงเป็นส่ิงสำคัญ การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรท่ีเน้นการฝึกทักษะและ ปฏิบตั จิ ริงสามารถชว่ ยสร้างสภาพแวดลอ้ มนีไ้ ด้ ในด้านความรว่ มมอื กบั หน่วยงานอืน่ สถานศกึ ษายงั ขาด ความรว่ มมอื กับหนว่ ยงานอนื่ และกระทรวงศกึ ษาธิการของประเทศไทยยงั ขาดความร่วมมอื กับกระทรวง ศกึ ษาของประเทศจนี ในการพฒั นาการเรยี นการสอนภาษาจีนท่ีเป็นรูปธรรม รายงานการวิจยั เพ่อื พฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา V
บทสรปุ สำหรับผบู้ ริหาร งานวิจัยฉบับน้ีสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นดำเนินการศึกษาวิจัยมี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร ส่ือการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือกับหน่วยงานอ่ืน รวมถึงปัญหาความเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับอาชวี ศึกษาในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเอกสารเป็นวิธีเสริม กล่าวคือใช้ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การสัมภาษณ์บุคคลท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากท่ีสุด (ใช้ข้อมูลปีการศึกษา 2557 เป็นหลัก) นอกจากน้ี ยังใช้การวิจัยเอกสารในส่วนของการศึกษาประวัติความเป็นมา นโยบายและยุทธศาสตร์ของการเรียน การสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย ปัจจุบันสถาบันอาชีวศึกษาในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 908 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 424 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 484 แห่ง ในจำนวนน้ีมีสถาบันอาชีวศึกษาที่สอนภาษาจีนท้ังสิ้น 173 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 134 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 39 แห่ง ในจำนวนสถาบันอาชีวศึกษาที่สอนภาษาจีนทั้งหมด มีสถานศึกษา ที่ตอบแบบสอบถามกลับมา 85 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 70 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 15 แหง่ ในการวิเคราะห์ข้อมลู ทไ่ี ด้จากการตอบแบบสอบถาม ผ้วู ิจยั ใชก้ ารคำนวณค่ารอ้ ยละ คา่ เฉลีย่ และค่าเบยี่ งเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถแบง่ ออกเปน็ 6 ด้าน ดังน ้ี ด้านการบริหารจัดการ: สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการวางแผนมากท่ีสุด แต่กลับนำ ผลประเมินมาปรับปรุงในปีต่อไปน้อยลง จึงอาจทำให้ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนได้ ตามที่ต้ังวัตถุประสงค์ไว้แต่แรก และอาจไม่สามารถแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอีกอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าท่ีควร แต่จากข้อมูลเร่ืองปัญหาด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนจะเห็นว่า ใน ความเป็นจริงสถานศึกษายังขาดระบบในการบริหารจัดการที่ดี ดังนั้น ข้อมูลจึงขัดแย้งกันเอง ผู้วิจัย จึงขอเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ว่า ผู้บริหารควรสร้างระบบการบริหารจัดการ การเรียนการสอนภาษาจีนท่ีมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารต้องเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาร่วมประชุม และจัดทำแผนการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเน่ือง ตั้งแต่การวางแผนปฏิบัติตามแผนตรวจสอบ การปฏบิ ตั ติ ามแผน ตดิ ตามและปรบั ปรงุ แกไ้ ข เพอ่ื ใหท้ กุ ฝา่ ยมสี ว่ นรว่ มคดิ รว่ มทำ ภายใตค้ วามเหน็ ชอบ VI รายงานการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา
ของผู้บริหาร และประกาศเป็นนโยบายให้ถือปฏิบัติที่มีความชัดเจน ซึ่งจะได้รับความร่วมมือและ ถอื ปฏบิ ตั อิ ย่างมปี ระสิทธภิ าพ ด้านหลักสูตร: สถานศึกษาเปิดรายวิชาภาษาจีนตามหลักสูตรที่ สอศ. กำหนดท้ังในระดับ ปวช. และ ปวส. แต่ในขณะเดียวกัน สอศ. ก็กำหนดว่า หากสถานศึกษาใดมีความพร้อม ผู้เรียน มีความจำเป็นต้องเรียนภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้น หรือจำเป็นต้องฝึกทักษะภาษาจีนด้านใดด้านหนึ่ง โดยเฉพาะ สถานศึกษาน้ันก็สามารถเปิดรายวิชาภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้นหรือเฉพาะทางได้ตาม ความเหมาะสม ดังนั้น จะเห็นว่ามีสถานศึกษาหลายแห่งเปิดรายวิชาภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้นด้วย แต่ปัญหาหลักท่ีพบ คือความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการศึกษาระดับอื่น ผู้วิจัยเสนอขอ้ เสนอเชิงนโยบาย และยุทธศาสตร์ว่า เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาจีนได้อย่างต่อเนื่องในระดับท่ีสูงข้ึน ควรจัดให้ หลักสูตรภาษาจีนระดับ ปวช. มีความต่อเน่ืองกับระดับมัธยมต้น และหลักสูตรภาษาจีนระดับ ปวส. มีความตอ่ เนอ่ื งกบั ระดับ ปวช. ควรเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรยี น (คาบเรียน) เป็น 3-4 ช่ัวโมง (คาบเรียน) ต่อสัปดาห์ โดยแยกเรียนคร้ังละ 1 ชั่วโมง (คาบเรียน) ช่ัวโมงเรียนท่ีเพ่ิมขึ้นไม่จำเป็นต้องให้ครูสอน อยา่ งเดียว อาจจะให้ผูเ้ รยี นมาฝกึ ทอ่ งบทสนทนาเป็นคหู่ รือเป็นกล่มุ หรือจดั กจิ กรรมเสรมิ เพื่อผูเ้ รยี น จะได้มีโอกาสทบทวนและฝึกฝนบ่อยขึ้น ควรเพ่ิมรายวิชาภาษาจีนในระดับ ปวช. เป็น 6 วิชา (ภาค การศึกษาละ 1 วิชา) และระดบั ปวส. เป็น 4 วชิ า (ภาคการศกึ ษาละ 1 วชิ า) ทั้งน้ี สามารถกำหนด ใหเ้ ปน็ วชิ าเลอื กเสรไี วก้ อ่ น เนอื่ งจากตอ้ งดคู วามพรอ้ มของสถานศกึ ษาแตล่ ะแหง่ ดว้ ย หากสถานศกึ ษา แหง่ ใดมคี วามพรอ้ ม กส็ ามารถเปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รยี นเลอื กเรยี นรายวชิ าภาษาจนี จำนวนมากขน้ึ ตามลำดบั ดา้ นสื่อการเรียนการสอน: ในด้านหนงั สอื เรยี นภาษาจนี ปจั จบุ นั สถานศึกษาเลอื กใชห้ นงั สอื เรียนภาษาจีนอย่างหลากหลาย มีท้ังหนังสือของประเทศจีนและหนังสือท่ีเรียบเรียงโดยอาจารย ์ ชาวไทยเอง ทั้งน้ี เนื่องมาจาก สอศ. ไม่ได้บังคับให้ใช้หนังสือเล่มใดเล่มหน่ึงเป็นการเฉพาะ แต่ม ี การแนะนำหนังสือเรียนผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงานแทน ผู้วิจัยเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและ ยทุ ธศาสตรว์ า่ หนว่ ยงานทเ่ี กยี่ วขอ้ งควรกำหนดวา่ หากสถานศกึ ษาใดยงั ไมม่ กี ารเรยี บเรยี งหนงั สอื เรยี น ภาษาจีนข้ึนมาใช้เอง ก็ให้ใช้หนังสือเรียนภาษาจีนชุดใดชุดหนึ่งที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ว่ามีคณุ ภาพสงู สุด และควรจัดทำค่มู ือการสอนสำหรับครู และควรเสนอส่ืออิเล็กทรอนกิ สท์ ส่ี อดคลอ้ ง กันไว้ด้วย ท้ังน้ี หากหน่วยงานที่เก่ียวข้องกำหนดให้ใช้หนังสือเรียนภาษาจีนชุดที่จะใช้ในระดับ ปวช. ควรมเี น้อื หาทส่ี อดรบั และต่อเนือ่ งกับหนังสอื ของระดับมัธยมตน้ และเช่ือมโยงไปถึงระดบั ปวส. นอกจากน้ี ควรมกี ารสำรวจความเหน็ ในดา้ นการใชห้ นงั สอื เรยี นภาษาจนี เปน็ ระยะ เพอ่ื จะไดด้ ำเนนิ การ ปรับปรุงให้ทันสมัยต่อไป ในด้านสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ สถานศึกษายังขาดแคลนส่ือ การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุน และจัดหาสื่อการเรียนการสอน อิเล็กทรอนิกส์ให้สถานศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเป็นการเบ้ืองต้น จากน้ันควรสนับสนุน งบประมาณ และจัดอบรมให้ครูภาษาจีนสามารถจัดทำส่ือการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ตนเอง เนื่องจากครูเหล่านั้นเป็นผู้รู้สภาพการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาของตนเองดีท่ีสุด รายงานการวิจยั เพ่ือพฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา VII
จึงน่าจะทำสื่อการเรียนการสอนท่ีสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ดีที่สุดเช่นกัน ในด้าน ห้องปฏิบัติการภาษาจีนและห้องเรียนภาษาจีน หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องควรสนับสนุนงบประมาณใน การจัดสร้างห้องปฏิบัติการภาษาจีนและห้องเรียนภาษาจีน หรือเอ้ือเฟ้ืออุปกรณ์เคร่ืองมือต่างๆ ให้ สถานศกึ ษาทม่ี คี วามพรอ้ ม จากนน้ั คอ่ ยขยายไปยงั สถานศกึ ษาแหง่ อน่ื เพอื่ สรา้ งบรรยากาศการเรยี นรู้ ภาษาจีนแกผ่ ้เู รียนให้มากทส่ี ดุ ดา้ นผสู้ อน: สถาบนั อาชวี ศกึ ษาสว่ นใหญย่ งั พงึ่ พาครอู าสาสมคั รจนี รองลงมาเปน็ ครสู ญั ชาตไิ ทย ที่เหลือเป็นครูสัญชาติจีนท่ีสถานศึกษาจัดหาเอง ครู/อาจารย์พิเศษ และครูสัญชาติอื่น ในบรรดา ครูสอนภาษาจีนท้ังหมดนี้ ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน ในจำนวนน้ีครูสัญชาติจีนที ่ สถานศึกษาจัดหาเอง และครูอาสาสมัครจีนอยู่ในสองลำดับแรก แต่ครูสัญชาติไทยอยู่ในลำดับ รองสุดท้าย มีครูสอนภาษาจีนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านภาษาจีน ผู้วิจัยเสนอ ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ว่า สถานศึกษาควรลดการพึ่งพาครูอาสาสมัครจีนและเร่งพัฒนา ศักยภาพของครไู ทยและครจู นี ประจำ ในสว่ นของการลดการพ่ึงพาครูอาสาสมคั รจนี หากในระยะใกล้ สถานศึกษาใดยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอยู่ ก็ควรจัดให้มีระบบครูพ่ีเล้ียง เม่ือสถานศึกษาม ี ความพรอ้ มแลว้ ก็สามารถลดการพง่ึ พาครูอาสาสมคั รจนี อยา่ งคอ่ ยเปน็ คอ่ ยไป ในสว่ นของการพฒั นา ศักยภาพครูไทยและครูจีนประจำ หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องและสถานศึกษาควรสนับสนุนให้ครูไทยและ ครูจีนประจำได้เข้าร่วมการประชุม อบรม และสัมมนาด้านการเรียนการสอนภาษาจีน ให้ทุน การศึกษาเพ่ือศึกษาต่อในรูปแบบระยะส้ันและระยะยาวท้ังในและต่างประเทศ ส่งเสริมให้ผลิตงาน วิชาการเพ่ือสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาจีน และจัดประชุมแลกเปล่ียนความรู้ในหมู่ครูภาษาจีน อาชวี ศึกษาระดบั จงั หวัด ภูมภิ าค และประเทศ ทง้ั นี้ เพอื่ พัฒนาครูไทยและครูจนี ประจำเหลา่ นีใ้ หเ้ ป็น กำลังสำคัญในการพฒั นาการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชวี ศกึ ษาอย่างย่ังยนื ตอ่ ไป ด้านผู้เรียน: ปัญหาด้านผู้เรียนท่ีสำคัญที่สุดคือผู้เรียนขาดสภาพแวดล้อมทางภาษาจีน ผู้วิจัย เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ว่า ผู้บริหารและครูจำเป็นต้องเร่งสร้างสภาพแวดล้อมใน การเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาให้มากข้ึน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นการฝึกทักษะ และปฏิบตั จิ รงิ สามารถช่วยสร้างสภาพแวดลอ้ มนี้ได้ เชน่ การแข่งขนั ร้องเพลงจีน เทศกาลภาพยนตร์ จีน ชมรมภาษาจีน เสียงตามสาย บอร์ดนิทรรศการแนะนำประเทศจีน กิจกรรมวัฒนธรรม ในวันสำคัญของประเทศจีน ค่ายภาษาจีนระหว่างสถาบัน นอกจากนี้ ทุกฝ่ายต้องกระตุ้นให้ผู้เรียน มีแรงจงู ใจและเห็นความสำคญั ของการเรยี นภาษาจนี สิ่งท่ใี กล้ตัวที่สดุ คือการศกึ ษาต่อและการทำงาน สถานศึกษาอาจเชิญศิษย์เก่าหรือบุคคลที่มีช่ือเสียงท่ีกำลังศึกษาอยู่ในระดับท่ีสูงขึ้นหรือทำงาน เกี่ยวข้องกับภาษาจีนมาแบ่งปันประสบการณ์แก่ผู้เรียน สถานศึกษาอาจจัดนิทรรศการจัดหางาน (Job Fair) เชิญผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาสายอาชีวศึกษาท่ีรู้ภาษาจีนเข้ามามี บทบาทสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน เป็นต้น VIII รายงานการวิจยั เพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา
ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น: สถานศึกษายังขาดความร่วมมือกับหน่วยงานอ่ืน และ กระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยยังขาดความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาของประเทศจีน ในการ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนที่เป็นรูปธรรม ผู้วิจัยเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ว่า หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องควรเร่งสร้างความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการของประเทศจีน โดยเฉพาะ อยา่ งยง่ิ สำนักงานสง่ เสริมการเรยี นการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือฮั่นปั้น (Hanban) ใหม้ ากข้ึน เน้น การสนบั สนุนดา้ นส่ือการเรียนการสอนภาษาจีน หลกั สตู ร ผ้เู ชย่ี วชาญ และทนุ การศึกษา เพื่อพัฒนา ส่ือการเรียนการสอน หลักสูตร และศักยภาพของครูไทยและครูจีนประจำ ในขณะเดียวกันก็ควร แนะนำช่องทางหรือเป็นตัวกลางในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยของ ประเทศจีนให้สถานศึกษาไทยด้วย เพื่อจะได้สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันด้วยกันเองในรูปแบบ การสง่ นกั เรยี นไปฝกึ งานหรอื การแลกเปลยี่ นนักเรียนและครู เป็นต้น ทั้งนี้ ความร่วมมือกับหน่วยงาน ภายในประเทศก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าหน่วยงานภายนอกประเทศ กล่าวคือสถานศึกษาควรสร้าง ความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยอ่ืนในจังหวัดหรือภูมิภาคเดียวกัน เพื่อส่งเสริม การเรยี นการสอนภาษาจีนซึง่ กันและกนั นอกจากน้ี ยังควรทำความร่วมมือกับผู้ประกอบการ สมาคม หรือองค์กรเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีนในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพ่ิมโอกาส การทำงานของผเู้ รียนตอ่ ไป รายงานการวิจยั เพ่อื พฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา IX
สารบญั หนา้ I III คำนำ V กิตตกิ รรมประกาศ VI บทคัดยอ่ X บทสรปุ ผู้บรหิ าร 1 สารบญั 1 บทที่ 1 บทนำ 2 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจยั 2 1.2 วตั ถุประสงคข์ องการวิจยั 3 1.3 สมมุติฐานของการวจิ ยั 3 1.4 ขอบเขตของการวิจยั 3 1.5 กลุ่มเปา้ หมาย 6 1.6 ระเบียบวิธวี จิ ัย 9 1.7 การทบทวนวรรณกรรม 1.8 นยิ ามคำสำคญั 11 บทที่ 2 ประวัตคิ วามเป็นมาการเรยี นการสอนภาษาจีนระดับอาชวี ศึกษา 16 บทท่ี 3 นโยบายและยทุ ธศาสตรก์ ารเรียนการสอนภาษาจนี ระดับอาชีวศึกษา 18 บทที่ 4 สภาพปจั จุบันของการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศกึ ษา 24 4.1 ดา้ นการบริหารจัดการ 24 4.1.1 การวางแผน (Plan) 28 4.1.2 การปฏบิ ตั ติ ามแผน (Do) 30 4.1.3 การตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามแผน (Check) 31 4.1.4 การปรบั ปรงุ แก้ไข (Act) 31 4.1.5 สรุป 32 4.2 ด้านหลักสูตร 42 4.2.1 วนั และเวลาเรยี น 43 4.2.2 รายวิชาภาษาจนี ทเี่ ปิดสอน 45 4.2.3 จำนวนชั่วโมงเรียน (คาบเรียน)/สัปดาห/์ รายวิชา X รายงานการวิจัยเพือ่ พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา
สารบัญ (ตอ่ ) หน้า 46 47 4.2.4 กจิ กรรมเสรมิ หลกั สตู ร 48 4.2.5 สรุป 48 4.3 ด้านสอ่ื การเรยี นการสอน 63 4.3.1 สอ่ื การเรียนการสอนทีใ่ ช้ 64 4.3.2 ตัวอกั ษรจีนทใ่ี ช้สอน 64 4.3.3 ระบบการถอดเสียงภาษาจนี 65 4.3.4 การใชห้ ้องปฏบิ ตั ทิ างภาษาเพือ่ ใชใ้ นการเรยี นการสอนภาษาจนี 66 4.3.5 การใชห้ ้องสมุดเสรมิ ความรู้ 67 4.3.6 สรุป 67 4.4 ด้านผสู้ อน 70 4.4.1 จำนวน สัญชาติ และสาขาวชิ าที่สำเรจ็ การศกึ ษาของครูสอนภาษาจีน 72 4.4.2 ภาษาท่ีผู้สอนใช้สอน 74 4.4.3 จำนวนชว่ั โมง (คาบเรียน) ท่ใี ช้สอนภาษาจีนต่อสัปดาห์ 74 4.4.4 สรปุ 74 4.5 ด้านผู้เรยี น 76 4.5.1 จำนวนผเู้ รียน 76 4.5.2 ประโยชน์ทผ่ี ูเ้ รียนได้รบั 77 4.5.3 สรุป 77 4.6 ด้านความรว่ มมือกับหนว่ ยงานอืน่ 80 4.6.1 หน่วยงานทม่ี ีความร่วมมือดา้ นภาษาจนี 82 4.6.2 สง่ิ ท่ีได้รบั การสนับสนุนจากหนว่ ยงานท่ที ำความร่วมมือ 83 4.6.3 สรปุ 84 บทท่ี 5 ปญั หาและขอ้ เสนอเชงิ นโยบายและยทุ ธศาสตร์ในการพัฒนาระบบ 84 การจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนระดับอาชวี ศึกษา 84 5.1 ดา้ นการบริหารจัดการ 5.1.1 ปญั หา 5.1.2 ขอ้ เสนอเชิงนโยบายและยทุ ธศาสตร ์ รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา XI
สารบญั (ตอ่ ) หนา้ 5.2 ดา้ นหลกั สตู ร 85 5.2.1 ปญั หา 85 5.2.2 ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายและยทุ ธศาสตร์ 86 5.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน 87 5.3.1 ปญั หา 87 5.3.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายและยทุ ธศาสตร์ 87 5.4 ด้านผ้สู อน 89 5.4.1 ปัญหา 89 5.4.2 ขอ้ เสนอเชิงนโยบายและยทุ ธศาสตร์ 90 5.5 ด้านผเู้ รียน 91 5.5.1 ปญั หา 91 5.5.2 ข้อเสนอเชงิ นโยบายและยทุ ธศาสตร์ 92 5.6 ดา้ นความร่วมมอื กับหนว่ ยงานอน่ื 92 5.6.1 ปญั หา 92 5.6.2 ขอ้ เสนอเชงิ นโยบายและยทุ ธศาสตร ์ 93 บรรณานกุ รม 94 บรรณานุกรมรูป 96 ภาคผนวก 99 ภาคผนวก 1 กรณีศึกษา : โรงเรียนอัสสัมชญั พาณิชยการ 100 ภาคผนวก 2 กรณีศึกษา : วิทยาลยั เทคโนโลยตี ้งั ตรงจติ รพณิชยการและ 106 วทิ ยาลัยเทคโนโลยตี ้ังตรงจติ รบริหารธรุ กจิ ภาคผนวก 3 กรณีศกึ ษา : วิทยาลยั เทคโนโลยปี ญั ญาภวิ ฒั น์ 109 ภาคผนวก 4 กรณศี กึ ษา : วทิ ยาลยั พณิชยการเชตุพน 112 ภาคผนวก 5 กรณีศึกษา : วทิ ยาลยั พณิชยการธนบรุ ี 117 ภาคผนวก 6 กรณีศกึ ษา : วทิ ยาลยั อาชีวศึกษาเสาวภา 122 ภาคผนวก 7 แบบสอบถาม 126 ภาคผนวก 8 รายชอ่ื สถาบนั อาชีวศึกษารฐั ทสี่ อนภาษาจีน ปีการศกึ ษา 2557 138 ภาคผนวก 9 รายช่อื สถาบันอาชวี ศึกษาเอกชนท่ีสอนภาษาจนี ปีการศกึ ษา 2557 146 เกีย่ วกบั ผู้วิจัย 150 คณะผดู้ ำเนนิ การ 151 XII รายงานการวิจยั เพอื่ พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา
สารบัญตาราง หน้า ตาราง 2.1 : จำนวนสถาบนั อาชวี ศกึ ษารฐั ทร่ี บั ครอู าสาสมัครจีนผ่านสำนักงาน 13 คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) ตาราง 4.1 : การแบ่งภาค ในรายงานโครงการวิจัยเพอื่ พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอน 19 ภาษาจนี ในประเทศไทยระดบั อาชวี ศึกษา (แบ่งตามรหสั ไปรษณีย)์ ตาราง 4.2 : จำนวนสถาบันอาชวี ศกึ ษาในประเทศไทย 21 ตาราง 4.3 : ปที ส่ี ถาบนั อาชีวศึกษาเปดิ สอนภาษาจีน 23 ตาราง 4.4 : ผูร้ ับผดิ ชอบการวางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี 27 ของสถาบันอาชวี ศกึ ษา ตาราง 4.5 : ผ้มู สี ่วนรว่ มในการวางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี 27 ของสถาบนั อาชีวศกึ ษา ตาราง 4.6 : การดำเนินการตามแผนการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี 30 ทีก่ ำหนดไว้ในส่วนตา่ งๆ ตาราง 4.7 : รายวิชาภาษาจีนที่เปดิ สอนระดับ ปวช. 45 ตาราง 4.8 : รายวิชาภาษาจีนทเี่ ปดิ สอนระดบั ปวส. 45 ตาราง 4.9 : จำนวนชั่วโมงเรียน (คาบเรยี น)/สปั ดาห/์ รายวิชา 46 ตาราง 4.10 : กจิ กรรมเสริมหลกั สูตร 47 ตาราง 4.11 : หนงั สอื เรยี นภาษาจนี 50 ตาราง 4.12 : ส่อื การเรียนการสอนอนื่ ทใ่ี ช้ 63 ตาราง 4.13 : ตวั อักษรจนี ท่ใี ช้สอน 63 ตาราง 4.14 : ระบบการถอดเสียงภาษาจนี 64 ตาราง 4.15 : หอ้ งปฏิบตั ทิ างภาษาเพ่ือใชใ้ นการเรียนการสอนภาษาจนี 65 ตาราง 4.16 : หนงั สือเสริมความรู้ภาษาจนี ในหอ้ งสมุด 65 ตาราง 4.17 : จำนวนครูสอนภาษาจนี ในสถาบันอาชวี ศกึ ษา 68 ตาราง 4.18 : สาขาวชิ าท่ีสำเร็จการศกึ ษาของครสู อนภาษาจีนในสถาบนั อาชวี ศกึ ษา 69 ตาราง 4.19 : ภาษาทผี่ ู้สอนใชส้ อน 71 ตาราง 4.20 : จำนวนชัว่ โมง (คาบเรียน) ท่ใี ชส้ อนภาษาจนี ต่อสปั ดาห์ 73 ตาราง 4.21 : จำนวนผู้เรียน 76 รายงานการวิจัยเพอ่ื พัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศกึ ษา XIII
สารบัญตาราง (ต่อ) หน้า ตาราง 5.1 : ปญั หาดา้ นการบริหารจดั การ 84 ตาราง 5.2 : ปญั หาดา้ นหลกั สตู ร 85 ตาราง 5.3 : ปัญหาด้านสื่อการเรยี นการสอน 87 ตาราง 5.4 : ปญั หาดา้ นผสู้ อน 89 ตาราง 5.5 : จำนวนครูอาสาสมคั รจีนทส่ี ำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษา (สอศ.) 90 รับมาสอนในสถาบนั อาชวี ศกึ ษารัฐ ตาราง 5.6 : ปญั หาด้านผู้เรียน 91 ตาราง 5.7 : ปญั หาด้านความร่วมมอื กับหนว่ ยงานอื่น 93 XIV รายงานการวิจยั เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา
สารบัญรปู หน้า รปู 4.1 : หนังสือสมั ผสั ภาษาจนี 52 รปู 4.2 : หนงั สอื ภาษาจีนกลาง 52 รปู 4.3 : ตำราภาษาจีน ระดับอาชีวศึกษาช้นั ต้น 53 รปู 4.4 : ตำราภาษาจนี ระดับอาชีวศึกษาชนั้ สงู 53 รปู 4.5 : หนังสือภาษาจีนหรรษา 54 รปู 4.6 : หนงั สอื แบบเรยี นภาษาจนี 54 รปู 4.7 : หนงั สือภาษาจนี เพอ่ื การส่อื สาร (สรุ ชยั ปัทมผดงุ ศกั ดิ)์ 55 รูป 4.8 : หนงั สือภาษาจนี เพื่อการสอื่ สาร (หยงั ซีฟาง หยงั ลี่เจวยี น ประพลสร แซ่โง้ว 55 และหวัง เหวนิ ) รูป 4.9 : หนงั สอื ภาษาจนี 56 รูป 4.10 : หนงั สือภาษาจนี เพอื่ การสื่อสาร (ธัญชนก เลง่ และณิชมน จนั รุ่งฟา้ ) 56 รปู 4.11 : หนังสือเรยี นภาษาจนี ให้สนุก 57 รปู 4.12 : หนงั สอื ภาษาจนี เพ่ือการสอ่ื สาร (อรสา ศศิภานเุ ดช) 57 รปู 4.13 : หนงั สือภาษาจนี เพื่อการส่อื สาร (นธิ อิ ร พรอำไพสกลุ และคณะ) 58 รปู 4.14 : หนังสือภาษาจีนระดบั ต้น 58 รปู 4.15 : หนงั สือ Boya Chinese 59 รปู 4.16 : หนังสอื เรยี นทักษะรวมภาษาจีนของโรงเรยี นอสั สมั ชญั พาณิชยการ 59 รูป 4.17 : หนังสือเรยี นการฟังและการพูดภาษาจีนของโรงเรยี นอัสสัมชัญพาณชิ ยการ 60 รูป 4.18 : หนงั สอื ภาษาจีนเพ่อื การสื่อสาร (Higher Education Press และ 61 สำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศึกษา) รูป 4.19 : ห้องเรียนขงจอื่ โรงเรยี นอัสสมั ชญั พาณชิ ยการ 79 รูป 4.20 : สถาบันขงจื่อแห่งมหาวทิ ยาลยั แม่ฟา้ หลวง 79 รูป 1 : โรงเรยี นอสั สัมชญั พาณชิ ยการ 103 รูป 2 : หนงั สอื เรียนทกั ษะรวมภาษาจีนของโรงเรียนอัสสมั ชัญพาณชิ ยการ 104 รูป 3 : หนังสือเรยี นการฟงั และการพูดภาษาจนี ของโรงเรียนอสั สมั ชัญพาณชิ ยการ 104 รปู 4 : หนังสือเรยี นภาษาจนี สำหรับนักเรยี นโรงเรยี นวังไกลกงั วล 105 รปู 5 : หนังสอื เรียนภาษาจีนของโรงเรยี นในเครอื มูลนธิ คิ ณะเซนต์คาเบรียล 105 รูป 6 : วิทยาลัยเทคโนโลยตี ้ังตรงจติ รพณิชยการและ 108 วิทยาลัยเทคโนโลยตี ั้งตรงจิตรบริหารธุรกจิ รายงานการวิจยั เพอื่ พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา XV
สารบัญรูป (ตอ่ ) หน้า 114 115 รูป 7 : วทิ ยาลยั พณิชยการเชตุพน 115 รูป 8 : หนงั สือภาษาจนี 1 และภาษาจนี 2 116 รูป 9 : หนังสอื ภาษาจนี ในหอ้ งสมดุ 120 รปู 10 : สมดุ คัดภาษาจีน 121 รปู 11 : วทิ ยาลยั พณชิ ยการธนบรุ ี 121 รปู 12 : สถานทจี่ ัดกจิ กรรมภาษาจนี วนั ละคำ 124 รปู 13 : รายงานวิจยั สรุปโครงการกิจกรรมภาษาจีนวันละคำ 125 รูป 14 : วิทยาลัยอาชวี ศึกษาเสาวภา 125 รูป 15 : หนังสือเรียนวชิ าภาษาจีนระดับ ปวช. รปู 16 : หนังสือเรียนวชิ าภาษาจีนระดบั ปวส. XVI รายงานการวิจยั เพือ่ พัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา
บทท่ี 1 บทนำ 1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของการวิจยั การศึกษาระดับอาชวี ศกึ ษาเปน็ การศึกษาทเี่ น้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะการประกอบวชิ าชีพควบคู่ กับศึกษาเนื้อหาความรู้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือผลิตกำลังคนระดับฝีมือท่ีมีสมรรถนะวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการ ของตลาดแรงงานในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพอิสระได้ในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ศิลปกรรม คหกรรม เกษตรกรรม ประมง อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมส่ิงทอ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร ถือเป็นการสอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สถาบันอาชีวศึกษาได้ผลิตกำลังคนจำนวนมากท่ีมีคุณภาพออกสู่สังคมต้ังแต่อดีตถึงปัจจุบัน อย่างไม่ขาดสาย ทว่าในยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบันไม่มีประเทศใดสามารถพัฒนาตนเองได้โดยไม่พ่ึงพา ประเทศอื่น เนื่องจากประชาคมโลกล้วนรับรู้ สัมพันธ์ และรับผลกระทบจากสิ่งท่ีเกิดข้ึนได้อย่าง รวดเร็วและกว้างขวาง ซ่ึงเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น การติดต่อส่ือสาร และการไปมาหาสู่กันระหว่างประเทศเพิ่มมากข้ึนทุกวัน การรู้จักประเทศอ่ืน ไม่ว่าจะเป็นภาษา วฒั นธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมอื ง หรือสงั คม จึงเปน็ เรื่องสำคญั ยงิ่ โดยเฉพาะด้านภาษา ต่างประเทศ เพราะถอื เป็นกุญแจดอกสำคญั ทจ่ี ะไขประตสู ู่ศาสตร์อ่ืน การจดั การศกึ ษาในประเทศไทย จงึ ใหค้ วามสำคญั กบั ประเดน็ นมี้ ากขน้ึ เรอ่ื ยๆ การศกึ ษาระดบั อาชวี ศกึ ษากเ็ ชน่ กนั ปจั จบุ นั นไ้ี มเ่ พยี งแต ่ มุ่งฝึกทักษะวิชาชีพ แต่ยังมีการสอนภาษาต่างประเทศควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะภาษาจีน เนื่องจาก ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นในทุกระดับ อีกทั้งบทบาทด้านเศรษฐกิจของ ประเทศจีนบนเวทีโลกก็โดดเด่นมากข้ึนทุกวัน การเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันอาชีวศึกษาจึง แพร่หลายไปท่ัว แต่ไม่ปรากฏมีผู้ใดศึกษาว่าสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับ รายงานการวจิ ัยเพ่อื พฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา 1
อาชีวศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และควรมีแนวทางพัฒนาต่อไป อย่างไร สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ซึ่งมีภารกิจหน่ึงในการพัฒนาแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบาย แผน มาตรฐานการศึกษาของชาติ เพ่ือพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เห็นความ สำคัญของปัญหาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ซ่ึงเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วน ที่ควรมีการวางแผนนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีทิศทางที่มีความสอดคล้องกันทุก หน่วยงาน จึงมอบหมายให้ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการ ศึกษาวิจัยโครงการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เพ่ือจัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย โดยม ี การศึกษาทั้งระบบทกุ ระดบั และประเภทการศึกษา ซง่ึ ผวู้ จิ ยั จะศกึ ษาวิจยั เฉพาะในระดับอาชีวศึกษา 1.2 วตั ถุประสงคข์ องการวิจยั 1.2.1 เพ่ือศึกษาสภาพปัจจุบันของการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อาชวี ศกึ ษาในประเทศไทย 1.2.2 เพ่ือศึกษาปัญหาการพัฒนาระบบการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาใน ประเทศไทยและความเช่ือมโยงของระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับระดบั ประกาศนยี บัตรวชิ าชพี (ปวช.) และของระดับประกาศนยี บตั รวิชาชพี (ปวช.) กับระดับประกาศนยี บตั รวชิ าชีพช้นั สงู (ปวส.) 1.2.3 เพ่ือเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนระดบั อาชีวศึกษาในประเทศไทย และการเช่อื มโยงของระดบั มัธยมศึกษาตอนต้นกบั ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และของระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กับระดับ ประกาศนียบัตรวชิ าชพี ชน้ั สูง (ปวส.) 1.3 สมมตุ ฐิ านของการวิจยั 1.3.1 การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทยยังขาดระบบ การพฒั นาอย่างตอ่ เนอื่ งทดี่ ี 1.3.2 การจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ระดบั อาชวี ศกึ ษาในประเทศไทยยงั ขาดการเชอื่ มโยง กับระดบั การศึกษาอืน่ 2 รายงานการวิจัยเพ่อื พัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา
1.4 ขอบเขตของการวิจยั 1.4.1 ศึกษาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ ปวช. และ ปวส. ของสถาบัน อาชีวศึกษารัฐและเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร ส่ือการเรียน การสอน ผู้สอน ผเู้ รยี น และความร่วมมือกบั หน่วยงานอืน่ 1.4.2 สังเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อาชีวศกึ ษาในประเทศไทย และพิจารณาความเชือ่ มโยงของระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ กับระดบั ปวช. และของระดับ ปวช. กบั ระดับ ปวส. 1.4.3 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของสถาบันอาชีวศึกษาในป ี การศึกษา 2557 เป็นหลัก 1.5 กลมุ่ เปา้ หมาย สถาบันอาชวี ศึกษาของรัฐและเอกชนทส่ี อนภาษาจนี ในประเทศไทย 1.6 ระเบียบวิธวี ิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเอกสารเป็นวิธีเสริม กล่าวคือใช้ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้การสัมภาษณ์บุคคลที่เก่ียวข้องเพ่ือให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกลเ้ คียงกบั ความเปน็ จริงมากทีส่ ุดเปน็ หลกั นอกจากนี้ ยงั ใช้การวจิ ัยเอกสารในสว่ นของ การศึกษาประวัติความเป็นมา นโยบายและยุทธศาสตร์ของการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อาชวี ศึกษาในประเทศไทย เปน็ ตน้ 1.6.1 แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งแบบสอบถามไปยังสถาบันอาชีวศึกษาในประเทศไทยตามรายชื่อ ท่ีได้จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน (สช.) และรวบรวมแบบสอบถามกลับมา ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามเหล่าน้ ี ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาใน ประเทศไทย ซ่ึงประกอบด้วยการบริหารจัดการ หลักสูตร สื่อการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และ ความร่วมมือกับหน่วยงานอ่ืน ตลอดจนศึกษาความเช่ือมโยงของระดับมัธยมศึกษาตอนต้นกับระดับ ปวช. และของระดบั ปวช. กบั ระดับ ปวส. ดว้ ยเนอื้ หาในแบบสอบถามแบ่งเปน็ 4 ตอน ดังน้ี รายงานการวิจัยเพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา 3
ตอนที่ 1 ขอ้ มลู ทัว่ ไปของผ้ตู อบแบบสอบถาม ตอนท่ี 2 สภาพปจั จบุ นั ของการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ระดบั อาชวี ศกึ ษา ประกอบดว้ ย 6 ด้าน คือ การบริหารจัดการ หลักสูตร ส่ือการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน และความร่วมมือกับ หน่วยงานอ่ืน ตอนท่ี 3 ปัญหาการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ระดบั อาชีวศึกษาประกอบดว้ ย 6 ด้าน คือ การบริหารจัดการ หลกั สูตร สอ่ื การเรียนการสอน ผสู้ อน ผเู้ รียน และความรว่ มมอื กบั หน่วยงานอ่นื ตอนท่ี 4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ การบริหารจัดการ หลักสูตร สือ่ การเรยี นการสอน ผูส้ อน ผู้เรยี น และความรว่ มมือกบั หน่วยงานอ่ืน ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยใช้การคำนวณค่าร้อยละ (Percentage) กับข้อมูลในบทท่ี 4 สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับ อาชีวศึกษา และใช้การคำนวณค่าเฉล่ีย (Mean) และค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) กับข้อมูล ในบทท่ี 5 ปัญหาและข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบการจัดการเรียน การสอนภาษาจนี ระดบั อาชีวศึกษา สูตรการหาคา่ ร้อยละ (Percentage) เมื่อ แทน คา่ ร้อยละ แทน จำนวนคำตอบ แทน จำนวนสถานศกึ ษาทีต่ อบแบบสอบถามท้ังหมด สตู รการหาคา่ เฉลีย่ (Mean) แทน ค่าเฉลี่ย เมอ่ื แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกล่มุ แทน จำนวนสถานศกึ ษาทตี่ อบแบบสอบถามท้ังหมด 4 รายงานการวจิ ัยเพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา
สูตรการหาค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) เมื่อ แทน ค่าเบยี่ งเบนมาตรฐาน แทน ผลรวม แทน คะแนนของแต่ละสถานศกึ ษา แทน คะแนนเฉล่ียของทกุ สถานศึกษา แทน จำนวนสถานศึกษาทีต่ อบแบบสอบถามทง้ั หมด 1.6.2 สัมภาษณ์บุคคลท่ีเกี่ยวข้อง นอกจากใช้แบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยยังได้สัมภาษณ์ บุคคลท่ีเกี่ยวข้องอีกจำนวนหน่ึงด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ละเอียด และใกล้เคียงกับความเป็นจริง มากท่ีสุด ในการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้วิธีโทรศัพท์สัมภาษณ์และเดินทางไปสัมภาษณ์ท่ีสถานศึกษา บุคคลที่สัมภาษณ์มีท้ังผู้รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันอาชีวศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน (สช.) ผู้บริหารและครูภาษาจีนของสถาบันอาชีวศึกษา และผู้เรียบเรียงหนังสือเรียนภาษาจีน ระดบั อาชีวศกึ ษา เป็นต้น 1.6.3 วิจัยเอกสาร ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสารในการศึกษาประวัติความเป็นมา นโยบายและ ยุทธศาสตร์ของการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทย โครงสร้างหลักสูตร และ ความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนของสถาบันอาชีวศึกษากับหน่วยงานอ่ืน โดยหาข้อมูล จากบทความวชิ าการ หนังสือ วทิ ยานพิ นธ์ และเอกสารทีไ่ ด้จาก สอศ. และ สช. เปน็ หลกั 1.6.4 จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็น ในข้ันตอนสุดท้ายของการวิจัย ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ จัดการสัมมนา “การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย” ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธ์ุทิพย์ ช้ัน 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2559 ระหว่างเวลา 8.00-16.00 น. เพื่อระดมความคิดเห็นเก่ียวกับ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็น ผู้รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนจากหน่วยงานภาครัฐท่ีเก่ียวข้อง ผู้บริหารและ ครูภาษาจีนจากสถานศึกษารัฐและเอกชน นักวิจัย นักวิชาการ และผู้เช่ียวชาญในแวดวงภาษาจีน ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะอันมีค่าและเป็นประโยชน์จากการประชุมครั้งน้ี มาปรับปรุง เนือ้ หาของรายงานวิจัยฉบับนี้เพ่อื ใหม้ คี วามสมบูรณย์ ่งิ ขนึ้ รายงานการวิจยั เพอื่ พฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา 5
1.7 การทบทวนวรรณกรรม จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัย พบว่า งานวิจัยท่ีเก่ียวข้องกับการสำรวจสภาพการเรียน การสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในประเทศไทยโดยตรงมีเพียงรายงานวิจัยการเรียนการสอน ภาษาจนี ในประเทศไทย: ระดบั อาชวี ศกึ ษา (ศนู ยจ์ นี ศกึ ษา สถาบนั เอเชยี ศกึ ษา จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , 2551) เน้อื หาในรายงานวจิ ยั ฉบบั นแ้ี บง่ เป็น 6 บท ดังนี ้ บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ ความเปน็ มาของการวจิ ยั สมมุตฐิ านของงานวจิ ยั วัตถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย ประเด็นคำถามท่ตี ้องการคำตอบ วธิ ีการวจิ ยั การแบ่งงานกันทำ และระยะ เวลาการทำวิจัย บทท่ี 2 ประวตั ิการเรยี นการสอนภาษาจนี ในวทิ ยาลยั อาชวี ศึกษาโดยสงั เขป บทท่ี 3 นโยบายและยุทธศาสตร์การเรยี นการสอนภาษาจนี ในระดับอาชีวศกึ ษา บทท่ี 4 สถานภาพการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาในปี 2550-2551 ประกอบ ดว้ ย 5 ด้าน คือ วิทยาลัย/โรงเรียนและนักเรยี น หลกั สตู ร วิชาเรยี น และแบบเรยี นภาษาจีน อาจารย์ สอนภาษาจีน การเรยี นการสอนภาษาจีน และผลิตผล บทที่ 5 เสยี งสะทอ้ นจากโรงเรยี น/วทิ ยาลยั อาชวี ศกึ ษา ประกอบดว้ ย 5 ดา้ น คอื คร-ู อาจารย ์ สอนภาษาจีน หลักสูตร-แบบเรียน-ส่ือการสอน นักเรียน-การเรียนการสอน ข้อเสนอแนะอื่นๆ และ ขอ้ สงั เกต ขอ้ คดิ และความเหน็ บทที่ 6 สรุป ข้อสังเกต ข้อคดิ ข้อเสนอแนะ ประกอบดว้ ย 7 ดา้ น คอื ยุทธศาสตรส์ ่งเสริม การเรียนการสอนภาษาจนี การบรหิ ารจดั การการเรียนการสอนภาษาจีน ปัญหาเรือ่ งหลกั สูตร ปัญหา เร่ืองแบบเรียน-ส่ือการสอน ปัญหาเรื่องอาจารย์ภาษาจีน ผลิตผล : เรียนภาษาจีนไปใช้อะไรได้บ้าง และเสียงสะท้อนจากโรงเรียน/วิทยาลยั อาชวี ศึกษา รายงานวิจัยฉบับน้ีได้ศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ อาชีวศกึ ษาในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2550-2551 เป็นหลกั พร้อมทง้ั เสนอแนวทางการจดั การเรียน การสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาท่ีดี รายงานวิจัยระบุว่าเน่ืองจากสถาบันอาชีวศึกษาเพิ่มขยาย หลกั สูตรภาษาจีนเรว็ เกนิ ไป โดยทไี่ มม่ ีความพรอ้ ม ทำให้การเรยี นการสอนภาษาจนี ขาดคณุ ภาพ ควร สร้างเกณฑ์มาตรฐานในการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรภาษาจีนและบังคับใช้อย่างเคร่งครัด สร้างเกณฑ์ มาตรฐานในการประเมินหลักสูตร หนังสือเรียน สื่อการเรียนการสอน และบังคับใช้อย่างจริงจัง กล่าวโดยละเอียดคือ ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างสถาบันยังมีน้อย ผู้บริหารสถาบันควรร่วมมือ แลกเปล่ียนประสบการณ์และข้อมูลซ่ึงกันและกัน หลักสูตรภาษาจีนใน สถาบันอาชีวศึกษามีความหลากหลาย เวลาเรียนแตกต่างกัน ทำให้ไม่มีมาตรฐานร่วมกัน ดังน้ัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรดูแลให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน อีกท้ังควรจัดหลักสูตรภาษาจีนให้มี ความเชอ่ื มโยงตอ่ ยอดกนั ได้ ปญั หาเรอื่ งหนงั สอื เรยี นภาษาจนี กเ็ ชน่ กนั สถานศกึ ษาแตล่ ะแหง่ ใชห้ นงั สอื 6 รายงานการวิจัยเพ่ือพฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา
เรียนไม่เหมือนกัน แม้แต่สถานศึกษาแห่งเดียวกัน ต่างระดับชั้นก็ใช้หนังสือเรียนต่างสำนักกัน ดังน้ัน ควรส่งเสริมให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาจีนชาวไทยร่วมมือกับผู้เช่ียวชาญชาวจีน ในการผลิตหนังสือ เรียนและส่ือการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับรายวิชาภาษาจีนต่างๆ ท่ีมีอยู่ในหลักสูตรของ ทุกระดับชนั้ ส่วนเรื่องครภู าษาจนี ปัญหาหลักคือขาดแคลนครูชาวไทย เน่ืองจากมสี ว่ นหน่งึ ทเ่ี กษียณ ไปและอีกส่วนหนึ่งถูกบังคับให้เปล่ียนจากการสอนวิชาอื่นมาสอนภาษาจีน ทำให้ไม่มีความรู้พื้นฐาน มากพอ นอกจากน้ัน ประเด็นครูอาสาสมัครจีนก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ เน่ืองจากครูเหล่าน้ีสื่อสารกับ ผู้เรียนไม่ได้ และมาสอนเพียง 1 ปี ก็กลับประเทศจีนทำให้ไม่มีความต่อเน่ือง ผู้เรียนเรียนภาษาจีน แล้วไม่ค่อยได้นำไปใช้ประโยชน์ จึงถือเป็นการเสียเวลาเรียนโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น หน่วยงาน ท่ีเก่ียวข้องควรศึกษาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานของแต่ละหลักสูตรว่าจะต้อง ติดตามประเมินผลการเรียนการสอนในแต่ละระดับอย่างไร เพื่อพยายามลดอัตราการสูญเปล่าของ เวลาเรียนของผเู้ รียน งานวิจัยอื่นท่ีเก่ียวข้องเป็นการศึกษาสภาพการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษา เป็นหลัก มี 2 เรื่อง เร่ืองแรกคือการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ฉบับ ปรับปรุง ปี พ.ศ. 2544 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (จรัสศรี จิรภาส และคณะ, 2551) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2544 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในด้านความเหมาะสมของ โครงสร้างและเน้ือหาหลักสูตร กระบวนการบริหารจัดการการเรียนการสอน ผลของการใช้หลักสูตร และทศิ ทางของหลกั สูตรในอนาคต กลมุ่ ตวั อย่างทใ่ี ชป้ ระเมินไดแ้ ก่ บณั ฑิต นักศกึ ษา และคณาจารย์ สาขาวิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงผู้ใช้บัณฑิตหรือ นายจา้ งของบณั ฑติ คณะผวู้ จิ ยั ใชแ้ บบสอบถามเปน็ เครอื่ งมอื หลกั ในการเกบ็ รวมรวมขอ้ มลู ผลการวจิ ยั สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปรัชญา วัตถุประสงค์ และโครงสร้างของหลักสูตร โดยรวม จดุ เดน่ ของหลกั สตู รคอื มกี ารแบง่ เปน็ สายวชิ าภาษาและวรรณกรรมจนี และสายวชิ าภาษาจนี ธุรกิจ การบริหารจัดการอาจารย์ผู้สอน การวัดและประเมินผล และกิจกรรมเสริมรายวิชามีความ เหมาะสมดี กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ชาวไทยและชาวจีนจำนวนหนึ่ง ประสงค์ให้จัดอาจารย์ผู้สอน สอนตามรายวิชาท่ีถนัดหรือตามประสบการณ์การสอน กลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่พึงพอใจต่อความรู้ ภาษาจีนของตนเองในหลายๆ ด้าน แตก่ ลุ่มบณั ฑิตไมพ่ งึ พอใจด้านความสามารถในการเขยี นจดหมาย โต้ตอบทั่วไป และจดหมายเชิงธุรกิจอย่างถูกวิธี ในขณะท่ีผู้ใช้บัณฑิตส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการใช้ บัณฑิตในภาพรวม แต่ควรปรับปรุงเร่ืองความตรงต่อเวลาและความเป็นผู้นำ หลักสูตรภาษาจีนใน อนาคตควรเปน็ หลกั สตู รท่สี อดคลอ้ งกับความตอ้ งการของตลาดแรงงานและสงั คมมากข้ึน บณั ฑิตควร นำความรไู้ ปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ งานวิจัยอีกเรอ่ื งหนึง่ คอื ปัจจัยทส่ี ง่ ผลต่อการเรยี นภาษาจนี ของผเู้ รยี นสาขาวิเทศธุรกจิ จีนและ สาขาจนี ศกึ ษา คณะวิเทศศกึ ษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วทิ ยาเขตภเู กต็ (ศุภชัย แจ้งใจ, 2553) รายงานการวจิ ัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา 7
ผู้วจิ ัยศึกษาปจั จยั ด้านต่างๆ ท่สี ่งผลตอ่ การเรยี นภาษาจนี ของผ้เู รียนสาขาวเิ ทศธุรกจิ จีน และสาขาจีน ศึกษา คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามและ การสมั ภาษณใ์ นการเกบ็ ขอ้ มลู เปน็ หลกั ผลการศกึ ษา พบวา่ ปจั จยั สำคญั ทสี่ ง่ ผลตอ่ การเรยี นภาษาจนี ของผู้เรียนคือ แนวโน้มการเพ่ิมขึ้นของจำนวนผู้เรียนที่เรียนภาษาจีนจากระดับมัธยมศึกษา ทำให ้ พื้นฐานความรู้ของผู้เรียนในชั้นเรียนแตกต่างกันมาก ปัญหาความยากของการเรียนภาษาจีนในทักษะ ต่างๆ ปัญหาการจัดการศึกษาด้านเนื้อหารายวิชาภาษาจีนพื้นฐานในหลักสูตร และรูปแบบการจัด ผู้สอนชาวไทยและผู้สอนชาวจีนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับ รวมไปถึงระยะเวลาและจำนวน ผู้เรียนต่อชั้นเรียนในการจัดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศจีน ปัญหาการควบคุมคุณภาพของ ครอู าสาสมคั รจนี ของสถาบนั ขงจอื่ และการพฒั นาวฒุ กิ ารศกึ ษาของผสู้ อนชาวไทยในสาขาทข่ี าดแคลน ปัจจัยเสริมการพัฒนาความสามารถทางภาษาจีนของผู้เรียนด้านอ่ืนๆ ซ่ึงได้แก่แรงจูงใจในการเรียน พฤตกิ รรมการเรียน และการศกึ ษาค้นควา้ หาความร้ภู าษาจีนดว้ ยตนเอง ปัจจัยทง้ั หมดนลี้ ้วนสง่ ผลตอ่ การพัฒนาความสามารถด้านภาษาจีนของผู้เรียนท้ังส้ิน ผู้วิจัยยังได้เสนอแนวทางพัฒนาการเรียน การสอนภาษาจีนของคณะให้มีประสิทธิภาพ ท้ังในส่วนการจัดการศึกษาในหลักสูตร การควบคุม คุณภาพการสอนทคี่ ณะและที่มหาวทิ ยาลัยในประเทศจนี ใหไ้ ด้มาตรฐานเดียวกัน และการปรบั เปลี่ยน ทศั นคติและพฤติกรรมในการเรียนภาษาจีนทถ่ี ูกตอ้ งให้แก่ผเู้ รียนอกี ดว้ ย นอกจากน้ี ยังมีงานวิจัยอีก 2 เร่ืองท่ีศึกษาสภาพการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศใน ประเทศไทยเป็นหลัก เร่ืองแรกคือนโยบายการสอนภาษาต่างประเทศของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง ปัจจุบัน (เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา, 2550) ในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยระบุว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียน การสอนภาษาต่างประเทศภาษาต่างๆ นั้นมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง มาโดยตลอด กล่าวคือ สังคมไทยในช่วงแรกยังไม่มีความสลับซับซ้อน การดำเนินชีวิตยึดศาสนาเป็น หลกั พน้ื ฐาน ประชาชนมคี วามใกล้ชิดกับศาสนามาก ภาษาตา่ งประเทศท่ีเรียนจึงล้วนแตเ่ กยี่ วข้องกับ ศาสนาท้งั สิน้ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาขอม และภาษาอาหรับมลายู ต่อมาเมือ่ มชี าวตะวนั ตก เขา้ มา ไมว่ ่าจะเปน็ การเขา้ มาเผยแพรค่ ริสตศาสนาหรอื การลา่ อาณานคิ ม จึงทำให้มกี ารเรยี นการสอน ภาษาตา่ งประเทศเพมิ่ ขน้ึ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาตะวนั ตก เชน่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาองั กฤษ เพอื่ จะ ได้รู้เท่าทันตะวันตกและรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติเหล่าน้ัน ปัจจัยด้านการเมืองทั้ง ภายในและระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศด้วย ทำให้เกิด นโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น จากกระแสโลกาภิวัตน์ การแขง่ ขันด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก สถานการณ์การเมอื ง และความตอ้ งการพัฒนาประเทศ ลว้ นเป็น ปัจจยั สำคัญในการกำหนดนโยบายการเรียนการสอนภาษาตา่ งประเทศในประเทศไทย งานวิจัยอีกเร่ืองหนึ่งคือข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษา ต่างประเทศในประเทศไทย (ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ, 2550) ในงานวิจัยน้ี คณะผู้วิจัยใช้ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเคร่ืองมือหลักในการวิจัย สำรวจสถานภาพการเรียนการสอน 8 รายงานการวจิ ัยเพ่ือพัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา
ภาษาต่างประเทศในทุกภูมิภาคของไทยจาก 2 มุมมอง คือ มุมมองของผู้ผลิตหรือผู้สร้างความ สามารถในการใชภ้ าษาต่างประเทศ ซึ่งไดแ้ กผ่ ้สู อน ผบู้ รหิ าร และผู้เรียนในระดับการศึกษาต่างๆ และ มุมมองของผู้ใช้ ในด้านความต้องการผู้มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศและผู้ใช้ภาษา ต่างประเทศในการประกอบอาชีพ ซ่ึงได้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ว่าจ้าง และลูกจ้าง คณะผู้วิจัยระบุว่า ภาษาองั กฤษ ภาษาจนี และภาษาญป่ี นุ่ เปน็ ภาษาทม่ี คี วามตอ้ งการสงู ในทกุ ภาคของประเทศ โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ มีระดับความต้องการสูงกว่าอีกสองภาษา ภาคต่างๆ มีความต้องการภาษาประเทศ เพ่ือนบ้านแตกต่างกันไป เช่น ในภาคใต้ต้องการภาษามลายู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการภาษา เวียดนามและภาษาลาว การพัฒนาความสามารถทางภาษาเหล่าน้ี ควรได้รับการพิจารณาอย่างจรงิ จงั เช่น การพัฒนาการอ่านของผู้เรียนสามารถทำได้ด้วยการอ่านออกเสียง เร่ืองที่เหมาะสมกับวัยเด็ก และใชป้ ระโยชนจ์ ากอปุ กรณห์ รอื สงิ่ อำนวยความสะดวกทม่ี อี ยู่ เชน่ แถบบนั ทกึ เสยี ง หรอื หอ้ งปฏบิ ตั กิ าร ทางภาษา โดยให้เจ้าของภาษาอัดเสียง แล้วผู้สอนเปิดแถบบันทึกเสียงให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงตาม เป็นการชว่ ยใหผ้ ูเ้ รียนและผูส้ อนฝึกออกเสยี งคำ วลี และประโยคไดถ้ ูกต้องไปในตวั ดังน้นั ทุกฝ่ายจงึ ควรใช้ทรัพยากรบุคคลและอุปกรณ์ท่ีมีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อนที่จะสามารถพัฒนา ผู้สอนในด้านทักษะการพูดและการฟังได้ในระยะเวลาที่ส้ัน และก่อนท่ีจะพัฒนาให้มีอุปกรณ์ส่ือสาร เช่น อนิ เตอรเ์ น็ต ใช้งานได้ในทกุ พืน้ ท ี่ 1.8 นยิ ามคำสำคัญ ผ้วู ิจยั กำหนดนิยามคำสำคัญต่างๆ ไว้ดังน้ี 1.8.1 การจดั การเรียนการสอนภาษาจนี หมายถึง การวิเคราะห์สภาพและเงอ่ื นไขต่างๆ ใน ภาพรวมของกระบวนการการเรียนการสอน เช่น กฎเกณฑ์ของภาษาจีนตลอดจนกระบวนการ และ กฎเกณฑ์ของการเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ จากพื้นฐานของการเลือกเฟ้น มาตรการต่างๆ ท่ีมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพ่ือคัดเลือกแบบแผนการเรียนการสอนที่ดี ท่ีสุด โดยมีการวางแผนและกำหนดมาตรการต่างๆ อย่างชัดเจนในด้านต่อไปน้ีคือ วัตถุประสงค์ เน้ือหาช่องทางหลักการของการเรียนการสอน ตลอดจนการจัดสรรภาระ และมอบหมายงานสำหรับ ผู้สอน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการเขียนและเรียบเรียงหรือการคัดเลือกตำราการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน รวมท้ังกระบวนการสอนในห้องเรียน และการสอบวัดประเมินผลการเรียน ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนการสอนท้ังระบบมีการเชื่อมต่อเนื่องประสานกัน ซึ่งจะทำให้บรรดา ผ้เู ก่ียวข้องในด้านการสอนท่มี ภี ารกิจดา้ นตา่ งๆ สามารถทำงานรว่ มกนั ไดอ้ ย่างบรู ณาการ 1.8.2 การบริหารจัดการ หมายถึงกระบวนการวางแผน การดำเนินการ และการประเมิน ผลการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการนำผลการประเมินมาปรับปรุง การจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ให้มีประสทิ ธิภาพดียิ่งข้นึ รายงานการวจิ ัยเพื่อพฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา 9
1.8.3 การเช่ือมโยง หมายถึง การเชื่อมโยงด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่าง ระดับการศึกษาตา่ งๆ 1.8.4 หลักสูตร หมายถึง โครงสรา้ งของเนอ้ื หาวชิ าภาษาจีน การจดั การความรูภ้ าษาจีนใน ระดบั ต่างๆ การจดั เวลาเรยี น และกจิ กรรมเสริมทเ่ี กี่ยวกบั ภาษาจีน ทีผ่ สู้ อนกำหนดใหแ้ กผ่ เู้ รียน 1.8.5 สอ่ื การเรยี นการสอน หมายถงึ สงิ่ ทเ่ี ปน็ เครอื่ งมอื สำหรบั ใชใ้ นการจดั การเรยี นการสอน ภาษาจีนของผู้สอน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาจีนได้ตามวัตถุประสงค์ท่ีวางไว้ เช่น หนังสือ ตำรา ซดี ี วีซีดี ดวี ีดี แผน่ ภาพ คอมพิวเตอร์ อุปกรณอ์ เิ ล็กทรอนิกส์ ส่อื ออนไลน์ และสงิ่ อำนวยความสะดวก ตา่ งๆ เป็นตน้ 1.8.6 ผู้สอน หมายถึงผู้สอนภาษาจีนชาวไทยและชาวต่างประเทศในสถานศึกษาระดับ ต่างๆ และสถานศกึ ษานอกระบบ 1.8.7 ผู้เรียน หมายถึง ผู้ท่ีเข้ารับการศึกษาภาษาจีนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มธั ยมศกึ ษาอาชีวศกึ ษา อดุ มศึกษา และสถานศึกษานอกระบบ 1.8.8 ความรว่ มมอื กับหนว่ ยงานอื่น หมายถึง ความร่วมมือระหวา่ งสถานศกึ ษาระดบั ตา่ งๆ และสถานศึกษานอกระบบกับองค์กรภายนอกท้ังในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนา การเรียนการสอนภาษาจีนของสถานศึกษาใหด้ ียง่ิ ขนึ้ 1.8.9 ปัญหาและอุปสรรค หมายถึง ข้อจำกัดและความยากลำบากของการจัดการเรียน การสอนภาษาจีนในระดับการศกึ ษาตา่ งๆ และนอกระบบ 1.8.10 การเรียนการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ หมายถึง กระบวนการ การเรียนการสอนภาษาจนี สำหรบั ผเู้ รียนที่ไมไ่ ด้ใช้ภาษาจนี เป็นภาษาแม่ หรือใชเ้ ป็นภาษาทีห่ นง่ึ 10 รายงานการวิจัยเพื่อพฒั นาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา
บทท่ี 2 ประวัติความเป็นมาการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับอาชีวศึกษา พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและ ทางออ้ มจากนโยบายของรัฐบาลไทย บทบาทของชาวจีนในประเทศไทย นโยบายของรฐั บาลจนี และ สภาพการเมอื งระหวา่ งประเทศ ปจั จยั เหลา่ นที้ ำใหก้ ารเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทยพฒั นาขน้ึ และหยุดชะงักลงในหลายช่วงเวลาท่ีผ่านมา (张美君 2012: 144) การเรียนการสอนภาษาจีนใน ประเทศไทยมีมาตั้งแต่ครั้งชาวจีนอพยพเข้ามาประเทศไทยในสมัยสุโขทัย การเรียนการสอนภาษาจีน ในสมัยนัน้ ดำเนินการอย่างไมค่ ่อยเปน็ ทางการ เช่น เรียนทีศ่ าลเจา้ จีน หากผูป้ กครองมฐี านะดกี ็จา้ งครู มาสอนท่ีบ้าน หรือส่งบุตรหลานไปเรียนที่ประเทศจีน (帕恰妮•旦日勇 2007: 178) โรงเรียน จีนแห่งแรกของประเทศไทยก่อต้ังขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. 2325-2352) เมื่อปี พ.ศ. 2325 ท่ีจังหวัดอยุธยา โรงเรียนแห่งน้ีสอนภาษาจีนเพียงอย่างเดียว มีนักเรียนประมาณ 200 คน แต่ไม่พบเอกสารระบุว่าผู้ใดก่อต้ัง และไม่ทราบว่าปิดโรงเรียนไปเม่ือใด ทราบเพียงว่าขณะน้ันทางการไม่มีนโยบายควบคุมโรงเรียนแต่อย่างใด (ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 2550: 66) หลงั จากน้นั ก็มกี ารก่อต้งั โรงเรียนจนี มากขน้ึ เรอ่ื ยๆ โรงเรยี นจีนเหลา่ นลี้ ว้ นเปน็ โรงเรียนระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศกึ ษา สว่ นใหญก่ อ่ ตงั้ ขน้ึ โดยสมาคมจนี กลมุ่ ตา่ งๆ และชาวจนี ทใี่ หค้ วามสำคญั กับการศึกษา การเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนระดับอาชีวศึกษามีข้ึนครั้งแรกเม่ือปี พ.ศ. 2459 ท่ีโรงเรียนพณิชยการวัดแก้วฟ้าล่าง1 เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลท่ีต้องการให้มีโรงเรียนท่ีสอน 1 โรงเรยี นอาชวี ศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยคอื โรงเรียนพณชิ ยการวดั มหาพฤฒาราม และโรงเรยี นพณชิ ยการวดั ราชบรู ณะ ก่อต้ังข้ึน ใน ปี พ.ศ. 2453 ตอ่ มาโรงเรียนสองแหง่ นย้ี ุบรวมกัน ย้ายมาอย่ทู ว่ี ัดแก้วฟา้ ล่าง ถนนส่พี ระยา และเปล่ยี นชื่อเปน็ โรงเรยี นพณิชยการ วดั แก้วฟา้ ลา่ ง เพอ่ื ใหส้ อดคลอ้ งกับสถานทต่ี ง้ั ใหม่ (ศนู ย์จนี ศึกษา สถาบนั เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั 2551: 12) รายงานการวิจยั เพื่อพฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา 11
ภาษาจีนควบคู่ไปกับวิชาด้านพาณิชย์ เพ่ือผลิตบุคลากรท่ีมีความรู้ความสามารถเข้าทำงานในบริษัท ห้างร้านซ่ึงส่วนใหญ่มีพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้ดำเนินกิจการ ต่อมาโรงเรียนวัดแก้วฟ้าล่างเปล่ียนชื่อเป็น โรงเรยี นพณชิ ยการพระนครใน ปี พ.ศ. 2483 และยา้ ยมาอยบู่ รเิ วณถนนพิษณุโลกใน ปี พ.ศ. 2492 การเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนพณิชยการพระนครถือเป็นต้นแบบให้แก่สถาบันอาชีวศึกษา แหง่ อื่นในเวลาตอ่ มา (ศนู ยจ์ ีนศึกษา สถาบันเอเชยี ศึกษา จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั 2551: 12-13) ในรชั สมยั ของพระบาทสมเดจ็ มงกฏุ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั (พ.ศ. 2453-2468) และหลงั การเปลยี่ นแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ได้มี การรณรงค์สร้างความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชนไทย ทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนซบเซาลง ชว่ งสงครามโลกครงั้ ทส่ี อง (พ.ศ. 2482-2488) ประเทศไทยประกาศเขา้ ร่วมเปน็ พันธมติ รกับประเทศ ญี่ปุ่น จึงทำให้มีการควบคุมการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างเข้มงวด เน่ืองจากรัฐบาลไทยกลัวว่า กิจกรรมต่างๆ ของชาวจีนในประเทศไทยจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญ่ีปุ่น การควบคุมโรงเรียนจีนในช่วงสงครามโลกคร้ังท่ีสอง ถือเป็นยุคที่ทางการไทยมีการควบคุมที่เข้มงวด ท่ีสุด (ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ 2550: 68) หลังจากสงครามโลกคร้ังท่ีสองสิ้นสุดลง ประเทศจีนเป็น ประเทศฝ่ายชนะสงคราม ส่วนประเทศไทยตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก กอปรกับชาวจีนใน ประเทศไทยมีความตื่นตัว รัฐบาลไทยจึงผ่อนปรนนโยบายควบคุมการเรียนการสอนภาษาจีน ทำให้ การเรียนการสอนภาษาจีนพฒั นาขึน้ อีกครงั้ ปี พ.ศ. 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะในสงครามปลดแอกและสถาปนา สาธารณรฐั ประชาชนจนี ขน้ึ ประเทศจนี กลายเปน็ ประเทศทปี่ กครองโดยพรรคคอมมวิ นสิ ต์ หลงั จากนนั้ ความขัดแยง้ ด้านอุดมการณก์ ารเมอื งระหว่างคา่ ยเสรีนิยมกบั ค่ายสงั คมนยิ ม ทำใหเ้ กดิ สงครามเยน็ ข้ึน ในหลายทศวรรษต่อมา ประเทศไทยในขณะน้ันดำเนินนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ตาม สหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยเห็นว่าการสอนภาษาจีนเป็นเคร่ืองมือในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต ์ เปน็ ภยั ตอ่ ความม่ันคงของชาติ ดงั นั้น จึงควบคมุ อย่างเขม้ งวดอีกครั้ง แต่ในช่วงน้ีเอง กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียนประเภทพณิชยการเพิ่มข้ึนอีก 3 แห่ง คอื โรงเรยี นพณิชยการธนบุรี และโรงเรยี นวดั พระเชตุพนตัง้ ตรงจติ วิทยาลยั ในปี พ.ศ. 2500 และโรงเรียนพณิชยการบางนา ในปี พ.ศ. 2513 โดยมีการเปิดสอนภาษาจนี ด้วย เนอ่ื งจากการศกึ ษา สายอาชีพได้รับความสนใจและความนิยมจากสังคมค่อนข้างมาก ผู้ปกครองเห็นว่าเม่ือบุตรหลาน สำเร็จการศึกษาแล้วสามารถหางานได้ง่ายขึ้น โรงเรียนพณิชยการพระนครและโรงเรียนทั้งสามแห่งน้ี ถือเป็นโรงเรียนพณิชยการกลุ่มแรกที่บุกเบิกการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันอาชีวศึกษา ท้ังนี้ เริ่มแรกภาษาจีนท่ีสถานศึกษาด้านพาณิชย์เหล่านี้สอนคือภาษาจีนกลาง หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนไป สอนภาษาจีนแต้จ๋ิวอยู่ช่วงหนึ่ง เน่ืองจากเห็นว่าผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว หาก ผู้เรยี นสามารถสอ่ื สารภาษาจนี แตจ้ ว๋ิ ได้ จะเปน็ ประโยชน์มากกวา่ แต่ภายหลงั ก็ได้เปลยี่ นกลบั มาสอน 12 รายงานการวิจัยเพ่ือพฒั นาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา
เป็นภาษาจีนกลางดังเดิม (ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551: 13-15) เม่ือสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป สหรัฐอเมริกาเริ่มผ่อนปรนนโยบายต่อต้านประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีต่อประเทศจีนด้วย จนกระทั่งประเทศไทยสถาปนา ความสมั พนั ธท์ างการทตู กบั สาธารณรฐั ประชาชนจนี ใน ปี พ.ศ. 2518 หลงั จากนนั้ ในภาพรวมประเทศไทย มีความสัมพนั ธอ์ นั ดกี ับประเทศจนี ในทุกระดับ ด้วยนโยบายสง่ เสริมการเรียนการสอนภาษาจนี ของท้ัง รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ทำให้การเรียนการสอนภาษาจีนกลับมาพัฒนาขึ้นอีกคร้ัง นอกจากสถาบัน อาชีวศึกษารัฐแล้ว สถาบันอาชีวศึกษาเอกชนก็เปิดสอนภาษาจีนด้วย ใน ปี พ.ศ. 2547 มีสถาบัน อาชีวศึกษาเอกชน 10 แห่งสอนภาษาจีน (帕恰妮•旦日勇 2007: 183) การศึกษาภาษาจีนใน ประเทศไทยได้รับความนิยมมากข้ึนเร่ือยมา ภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศท่ีมีผู้สนใจเรียนมากที่สุด รองจากภาษาอังกฤษ ใน ปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีสถาบันอาชีวศึกษา 29 แห่ง สอนภาษาจีน แบง่ เป็นสถานศึกษารฐั 10 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 19 แหง่ (ประพิณ มโนมยั วบิ ูลย์ 2550: 71) เน่ืองจากความต้องการด้านการเรียนการสอนภาษาจีนในสถาบันอาชีวศึกษามีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ครูภาษาจีนชาวไทยมีจำนวนไม่มากพอ ดังน้ัน ต้ังแต่ ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนจึงได้ จดั ส่งครอู าสาสมคั รจนี มาสอนทส่ี ถาบันอาชีวศึกษา เพอื่ แกไ้ ขปญั หาดงั กลา่ ว ตามข้อมลู ตอ่ ไปน ้ี ตาราง 2.1 : จำนวนสถาบันอาชีวศึกษารัฐท่ีรับครูอาสาสมัครจีนผ่านสำนักงานคณะกรรมการ การอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) ป ี จำนวนสถาบันอาชีวศกึ ษารัฐ (แห่ง) จำนวนครอู าสาสมคั รจนี (คน) 2549 3 3 2550 12 12 2551 18 24 2552 35 40 2553 61 65 2554 57 64 2555 78 90 2556 101 115 2557 101 127 2558 101 114 รายงานการวิจยั เพ่ือพัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา 13
ปัจจุบันในประเทศไทยมีสถาบันอาชีวศึกษาท่ีสอนภาษาจีนท้ังสิ้น 173 แห่ง แบ่งเป็น สถานศึกษารัฐ 134 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 39 แห่ง สถาบันอาชีวศึกษาดำเนินการเรียน การสอนระดับ ปวช. และ ปวส. โดยใชห้ ลกั สตู รประกาศนียบตั รวิชาชพี พทุ ธศักราช 2556 (ประกาศ ณ วันท่ี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 มีผลบังคบั ใช้ต้งั แต่ภาคเรยี นท่ี 1 ปีการศกึ ษา 2556 เป็นตน้ ไป) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 (ประกาศ ณ วันท่ี 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีผลบังคับใชต้ ั้งแตภ่ าคเรียนที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2557 เป็นตน้ ไป) ซ่งึ ประกาศโดยสำนกั งาน คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับระดับ ปวช. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 กำหนดให้ม ี 9 ประเภทวิชา รวม 58 สาขาวิชา ดังน้ี ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (มี 20 สาขาวิชา) ประเภทวิชา พาณิชยกรรม (มี 9 สาขาวิชา) ประเภทวิชาศิลปกรรม (มี 15 สาขาวิชา) ประเภทวิชาคหกรรม (มี 5 สาขาวิชา) ประเภทวิชาเกษตรกรรม (มี 1 สาขาวิชา) ประเภทวิชาประมง (มี 2 สาขาวิชา) ประเภทวชิ าอุตสาหกรรมทอ่ งเท่ยี ว (มี 2 สาขาวชิ า) ประเภทวิชาอุตสาหกรรมส่งิ ทอ (มี 3 สาขาวิชา) และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสอื่ สาร (มี 1 สาขาวชิ า) หลักสูตรกำหนดให้รายวิชาภาษาจีนอยู่ในกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศของหมวดวิชาเลือกเสรี มี 2 วิชา คือ 2000-9206 ภาษาจีนเพื่อการส่ือสาร 1 (0-2-1) และ 2000-9207 ภาษาจีนเพื่อ การสือ่ สาร 2 (0-2-1) วชิ าละ 1 หนว่ ยกิต ใช้เวลาเรียน 2 ชว่ั โมง (คาบเรยี น) ตอ่ สัปดาห์ นอกจากนี้ หลักสูตรของสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม ยังกำหนดให้มีรายวิชาภาษาจีน อีก 4 วิชา ในกลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกของหมวดวิชาทักษะวิชาชีพ คือ 2212-2118 ภาษาจีน 1 (2-2-3), 2212-2119 ภาษาจีน 2 (2-2-3), 2212-2120 ภาษาจีน 3 (2-2-3) และ 2212-2121 ภาษาจนี 4 (2-2-3) วชิ าละ 3 หน่วยกิต ใชเ้ วลาเรียน 4 ชั่วโมง (คาบเรียน) ต่อสัปดาห ์ สำหรับระดับ ปวส. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 กำหนดให้ม ี 9 ประเภทวิชา รวม 76 สาขาวิชา ดังนี้ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (มี 25 สาขาวิชา) ประเภทวิชา บริหารธุรกิจ (มี 13 สาขาวิชา) ประเภทวิชาศิลปกรรม (มี 13 สาขาวิชา) ประเภทวิชาคหกรรม (มี 7 สาขาวิชา) ประเภทวิชาเกษตรกรรม (มี 8 สาขาวิชา) ประเภทวิชาประมง (มี 2 สาขาวิชา) ประเภทวิชาอตุ สาหกรรมท่องเทีย่ ว (มี 3 สาขาวชิ า) ประเภทวชิ าอุตสาหกรรมสงิ่ ทอ (มี 4 สาขาวชิ า) และประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร (มี 1 สาขาวิชา) หลักสูตรกำหนดให้รายวิชาภาษาจีนอยู่ในกลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศของหมวดวิชาเลือกเสรี มี 2 วิชา คอื 3000-9201 ภาษาและวัฒนธรรมจนี (2-0-2) และ 3000-9202 การสนทนาภาษาจีน สำหรับการทำงาน (2-0-2) วิชาละ 2 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง (คาบเรียน) ต่อสัปดาห์ นอกจากน้ี หลักสูตรของสาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ยังกำหนดให้มี รายวิชาภาษาจีนอีก 4 วิชา ในกลุ่มทักษะภาษาต่างประเทศของกลุ่มทักษะวิชาชีพเลือกในหมวดวิชา ทักษะวชิ าชพี คอื 3212-2134 ภาษาจีน 1 (2-2-3), 3212-2135 ภาษาจีน 2 (2-2-3), 3212-2136 14 รายงานการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศกึ ษา
ภาษาจีน 3 (2-2-3) และ 3212-2137 ภาษาจนี 4 (2-2-3) วชิ าละ 3 หน่วยกติ ใชเ้ วลาเรียน 4 ช่ัวโมง (คาบเรยี น) ต่อสัปดาห์ ในดา้ นการกำกบั ดแู ลสถาบนั อาชวี ศกึ ษา ใน ปี พ.ศ. 2481 ไดม้ กี ารประกาศจดั ตงั้ กรมวชิ าการ ขึ้น กรมวิชาการมีหน้าท่ีจัดการศึกษาสายอาชีพ สังกัดกระทรวงธรรมการ ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2484 กระทรวงธรรมการเปล่ียนช่ือเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และต้ังกรมอาชีวศึกษาข้ึนแทนกรมวิชาการ กรมอาชีวศึกษาดูแลจัดการศึกษาสายอาชีพเรื่อยมาจนกระท่ัง ปี พ.ศ. 2546 เปลี่ยนเป็นสำนักงาน คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) มหี นา้ ทด่ี แู ลสถาบนั อาชวี ศกึ ษารฐั สว่ นสำนกั งานคณะกรรมการ ส่งเสรมิ การศึกษาเอกชน (สช.) มหี น้าท่ีดูแลสถาบันอาชีวศกึ ษาเอกชน แตต่ ่อมาวนั ท่ี 12 กุมภาพนั ธ์ 2559 มีการประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2559 เร่ือง การบริหารจัดการ รวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครฐั และภาคเอกชน ในราชกิจจานเุ บกษา เลม่ 133 ตอนพิเศษ 42 ง หน้า 3-4 ว่าให้โอนสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา ตง้ั แตว่ นั ที่ 13 กมุ ภาพนั ธ์ 2559 ดงั นน้ั ปจั จบุ นั นส้ี ำนกั งานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจึงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันอาชีวศึกษาท้ังภาครัฐและเอกชนแต่เพียง ผูเ้ ดียว รายงานการวจิ ัยเพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชีวศกึ ษา 15
บทท่ี 3 นโยบายและยทุ ธศาสตรก์ ารเรยี นการสอนภาษาจนี ระดบั อาชีวศึกษา ตามท่ีกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอาชีวศึกษาให้มี ความเขม้ แข็งและมีคณุ ภาพตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นพัฒนา ส่งเสรมิ และสนับสนุนใหผ้ ู้เรียนมี ความรคู้ วามสามารถและทกั ษะทางภาษาจนี อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ เพอื่ นำไปใชส้ อ่ื สารในชวี ติ ประจำวนั การศกึ ษาตอ่ การปฏบิ ตั งิ านในภาคอตุ สาหกรรม การประกอบอาชพี และอาชวี ะภาคภาษาจนี ขณะเดยี วกนั ถือเป็นการเพ่ิมขีดความสามารถของคนไทยในการแข่งขันในเวทีโลก โดยให้หน่วยงานและบุคลากร ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นท่ีจะต้องเร่งรัดปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีน และรว่ มมือกนั ดำเนินงานพฒั นาการเรียนการสอนภาษาจีนใหบ้ รรลุเปา้ หมายน้ัน กระทรวง ศึกษาธิการจึงได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง นโยบายและแนวปฏิบัติการเรียนการสอน ภาษาจีน ระดับอาชีวศึกษา ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2557 มีผลบังคับใช้กับสำนักงานคณะกรรมการ การอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) และสถานศกึ ษาในสงั กดั ทเ่ี ปดิ หลกั สตู รระยะสนั้ หลกั สตู รระดบั ประกาศนยี บตั ร วิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช้ันสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นตน้ ไป มาตรการการปฏิรูปการเรยี นการสอนภาษาจีนระดับอาชวี ศกึ ษาในประกาศดงั กล่าว มสี าระสำคญั ดงั น้ ี ดา้ นการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี กำหนดใหเ้ ปดิ สอนภาษาจนี ตง้ั แตร่ ะดบั ประกาศนยี บตั ร วิชาชีพ (ปวช.) เป็นต้นไป โดยสถานศึกษาจะต้องมีความพร้อม ปรับการเรียนการสอนตาม ความต้องการของผู้เรียน เน้นฝึกทักษะสื่อสารเป็นหลัก ให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ สถานศึกษา สามารถปรับจำนวนผู้เรียนได้ตามความเหมาะสมเพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดให้เรียน มากกกว่าสัปดาห์ละ 1 คาบ และใหจ้ ดั กิจกรรมค่ายภาษาจีนแบบเขม้ ข้นสำหรับผู้เรียนด้วย 16 รายงานการวิจยั เพอ่ื พฒั นาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศึกษา
ด้านการพัฒนาหลักสตู รภาษาจีน กำหนดใหร้ ว่ มมอื กับหนว่ ยงานตา่ งๆ ทง้ั ภาครฐั และเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันขงจ่ือ สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือฮั่นปั้น (Hanban) ในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความต่อเนื่อง จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตร และจัดทำหลักสูตร สำหรับผู้เรียนที่มีศักยภาพด้านภาษาจีนเฉพาะ เพ่ือให้ผู้เรียนกลุ่มนี้สามารถพัฒนาทักษะภาษาจีน ได้อยา่ งเตม็ ที่ ด้านการพัฒนาส่ือการเรียนการสอนภาษาจีน กำหนดให้ปรับปรุงส่ือการเรียนการสอนท่ี ใช้อยู่ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนที่ปรับใหม่ จัดทำคู่มือครู ประกอบการใช้ และจัดทำส่ือการเรียนการสอนหลักและส่ือการเรียนการสอนสนับสนุนที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใชไ้ ด้จรงิ ในปจั จบุ นั โดยร่วมมอื กับหนว่ ยงานต่างๆ ทง้ั ภาครัฐและเอกชน ด้านการวัดและการประเมินผล กำหนดให้มีการประเมินผลความสามารถด้านภาษาจีนของ ผู้เรียนด้วยเครื่องมือการประเมินท่ีมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล หรือสามารถใช้ข้อสอบของ สำนกั งานสง่ เสรมิ การเรยี นการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือฮัน่ ปนั้ (Hanban) เชน่ การทดสอบทกั ษะ ภาษาจีน (HSK) การทดสอบทักษะการพูดภาษาจีน (HSKK) และพัฒนาคลังข้อสอบเพื่อวัดและ ประเมินผลการเรยี นร้ภู าษาจีนของผูเ้ รียน โดยร่วมมือกับหนว่ ยงานตา่ งๆ ท้ังภาครัฐและเอกชน ด้านการพัฒนาครูผู้สอนภาษาจีน กำหนดให้มีการสำรวจข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลของคร ู ผู้สอนภาษาจีน เพ่ือวางแผนด้านอัตรากำลังและแนวทางพัฒนาครูต่อไป กำหนดมาตรฐานความรู้ ความสามารถด้านภาษาจีนของครูผู้สอนภาษาจีน จัดสอบวัดระดับความรู้และทักษะด้านภาษาจีน ของครูผู้สอนภาษาจีน จัดอบรมสัมมนาเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาจีนท่ีดี การวัดและประเมินผล การแลกเปล่ียนเรียนรู้เทคนิคการสอนภาษาจีนท่ีได้ผลดี สนับสนุนให้ครูผู้สอนภาษาจีนท่ีมีคุณภาพ เขา้ รว่ มอบรมทป่ี ระเทศจนี เพอื่ พฒั นาศกั ยภาพไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่ และจดั กจิ กรรมคา่ ยภาษาจนี แบบเขม้ ขน้ สำหรับครผู ู้สอนภาษาจนี ด้านการเพ่มิ ประสิทธิภาพการดำเนินงานพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน กำหนดให้มคี ณะ กรรมการควบคุมคุณภาพในระดับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถานศึกษา ในสังกัด คณะกรรมการชุดน้ีมีหน้าท่ีสำรวจความต้องการและสภาพการเรียนภาษาจีนของผู้เรียน หรือของหนว่ ยงาน/สถานประกอบการ จากนั้นจดั ทำฐานขอ้ มลู ในดา้ นทีเ่ กี่ยวขอ้ งให้ทนั สมัย ใชข้ ้อมลู ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างต่อเน่ือง จัดทำแผนกำกับติดตามที่ชัดเจน มุ่งเน้น การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนตามความพร้อมและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก หากผู้เรียน ไม่เลือกเรยี นภาษาจนี สถานศกึ ษาต้องจัดใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ รยี นภาษาต่างประเทศอ่ืนหรอื วิชาเลือกอ่ืน รายงานการวจิ ยั เพือ่ พัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชีวศึกษา 17
บทท่ี 4 สภาพปจั จบุ ันของการจดั การเรียนการสอน ภาษาจนี ระดับอาชวี ศกึ ษา งานวิจัยฉบับน้ี ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ต้นสังกัดและภูมิภาค (แบ่งตามรหัสไปรษณีย์) ในการแบ่ง สถาบันอาชวี ศึกษา กลา่ วคอื หากใช้เกณฑ์ตน้ สงั กัดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลมุ่ ไดแ้ ก่ สถานศึกษารฐั ซ่ึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถานศึกษา เอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)2 หาก ใช้เกณฑ์ภูมิภาค สามารถแบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคเหนือ ตอนบน ภาคเหนอื ตอนลา่ ง ภาคตะวนั ตก ภาคใตต้ อนบน และภาคใต้ตอนล่าง 2 วันท่ี 12 กุมภาพันธ์ 2559 มีการประกาศคำส่ังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ท่ี 8/2559 เร่ือง การบริหารจัดการรวม สถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 42 ง หน้า 3-4 ว่า ให้โอนสถานศึกษา อาชีวศกึ ษาเอกชนท้ังหมดมาอยภู่ ายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา (สอศ.) ตัง้ แต่วันท่ี 13 กมุ ภาพนั ธ์ 2559 ดังน้ัน ปัจจุบันน้ีสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จึงเป็นหน่วยงานที่มีหน้าท่ีกำกับดูแลสถาบันอาชีวศึกษา ทง้ั ภาครฐั และเอกชนแต่เพยี งผู้เดียว 18 รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับอาชวี ศกึ ษา
ตาราง 4.1 : การแบ่งภาคในรายงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทยระดบั อาชีวศกึ ษา (แบ่งตามรหัสไปรษณีย)์ ภาค จังหวัด สว่ นกลาง กรุงเทพมหานคร (รหัสไปรษณียข์ ึ้นตน้ ดว้ ยหมายเลข 1) ภาคกลาง ชัยนาท สิงหบ์ รุ ี ลพบุรี สระบรุ ี อา่ งทอง พระนครศรอี ยุธยา (9 จังหวดั ) ปทุมธานี นนทบรุ ี สมทุ รปราการ (รหสั ไปรษณยี ์ขน้ึ ต้นด้วยหมายเลข 1) ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบรุ ี ระยอง (8 จงั หวัด) จันทบุรี ตราด (รหัสไปรษณยี ข์ ้นึ ต้นด้วยหมายเลข 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ตอนลา่ ง ชัยภูมิ นครราชสมี า บุรรี ัมย์ สุรนิ ทร์ ศรีสะเกษ (10 จังหวดั ) อบุ ลราชธานี อำนาจเจรญิ ยโสธร หนองบวั ลำภู บงึ กาฬ (รหัสไปรษณีย์ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3) ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื ตอนบน เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม มกุ ดาหาร (10 จังหวดั ) ร้อยเอด็ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแกน่ (รหัสไปรษณยี ์ขน้ึ ตน้ ดว้ ยหมายเลข 4) ภาคเหนือตอนบน เชยี งราย เชียงใหม่ นา่ น พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง (9 จงั หวดั ) ลำพนู อุตรดติ ถ์ (รหสั ไปรษณยี ข์ ึ้นตน้ ด้วยหมายเลข 5) ภาคเหนอื ตอนล่าง ตาก พษิ ณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พจิ ติ ร กำแพงเพชร (8 จงั หวัด) นครสวรรค์ อุทยั ธานี (รหัสไปรษณียข์ ึ้นตน้ ด้วยหมายเลข 6) ภาคตะวันตก กาญจนบรุ ี สพุ รรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมทุ รสงคราม (8 จงั หวดั ) ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรขี ันธ์ (รหัสไปรษณยี ข์ ึ้นต้นด้วยหมายเลข 7) รายงานการวจิ ัยเพ่ือพฒั นาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชีวศกึ ษา 19
ตาราง 4.1 : การแบ่งภาคในรายงานโครงการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในประเทศไทยระดบั อาชีวศึกษา (แบง่ ตามรหัสไปรษณีย)์ (ตอ่ ) ภาค จังหวัด ภาคใตต้ อนบน ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ นครศรีธรรมราช (7 จงั หวดั ) (รหัสไปรษณยี ข์ น้ึ ต้นดว้ ยหมายเลข 8) ตรัง สตูล พทั ลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ภาคใต้ตอนลา่ ง (7 จังหวดั ) (รหัสไปรษณยี ข์ นึ้ ตน้ ดว้ ยหมายเลข 9) จากการสำรวจข้อมูลในแบบสอบถาม ข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รวมท้ังสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบ ในหน่วยงานที่เก่ียวข้อง พบว่า ปัจจุบันสถาบันอาชีวศึกษาในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 908 แห่ง แบง่ เป็นสถานศึกษารฐั 424 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 484 แหง่ ในจำนวนนม้ี สี ถาบันอาชีวศกึ ษา ท่ีสอนภาษาจนี ทั้งสน้ิ 173 แหง่ คิดเป็นร้อยละ 19.05 ของสถาบันอาชีวศกึ ษาท้ังหมดในประเทศไทย แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 134 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.46 และสถานศึกษาเอกชน 39 แห่ง คิดเป็น รอ้ ยละ 22.54 ในจำนวนสถาบนั อาชวี ศกึ ษาทส่ี อนภาษาจนี ทง้ั สน้ิ 173 แหง่ มสี ถานศกึ ษาทต่ี อบแบบสอบถาม กลับมา 85 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49.13 หรือประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของสถาบันอาชีวศึกษาที่สอน ภาษาจีนทั้งหมด แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 70 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.35 และสถานศึกษาเอกชน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 17.65 เป็นที่น่าสังเกตว่าในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากสถานศึกษา 173 แห่งท่ีสอนภาษาจีน ยังมีอีก 3 แห่งที่เคยเปิดสอนภาษาจีนในอดีต แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น อาจารย์ผู้สอนเกษียณราชการ จึงทำให้ไม่สามารถเปิดสอนภาษาจีนต่อไปได้ สถาบันอาชีวศึกษา 3 แหง่ นน้ั ประกอบดว้ ยสถานศกึ ษารฐั 2 แหง่ คอื วทิ ยาลยั เทคนคิ สมทุ รสงคราม จงั หวดั สมทุ รสงคราม และวิทยาลัยการอาชีพสอง จังหวัดแพร่และสถานศึกษาเอกชน 1 แห่ง คือวิทยาลัยเทคโนโลยี พณชิ ยการกาฬสนิ ธุ์ (ไทย-เยอรมนั ) จังหวดั กาฬสินธ์ ุ 20 รายงานการวจิ ัยเพ่อื พัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา
ตาราง 4.2 : จำนวนสถาบนั อาชีวศกึ ษาในประเทศไทย จำนวนสถานศกึ ษารัฐ (แหง่ ) จำนวนสถานศกึ ษาเอกชน (แห่ง) ภาค ท้ังหมด รายงานการวิจยั เพอ่ื พัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา 21 เปิดสอน ตสออบบแถบามบ ท้งั หมด เปิดสอน ตอบแบบ ภาษาจีน ภาษาจีน สอบถาม สว่ นกลาง (กรุงเทพมหานคร) 21 13 7 81 8 1 41 10 5 44 6 3 ภาคกลาง 37 18 7 49 6 1 58 18 10 68 7 4 ภาคตะวันออก 57 25 13 103 4 2 ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคเหนอื ตอนบน 49 14 8 32 1 1 ภาคเหนือตอนลา่ ง 38 7 2 26 1 - ภาคตะวนั ตก 42 12 6 20 2 1 ภาคใต้ตอนบน 42 10 6 34 3 2 ภาคใต้ตอนลา่ ง 39 7 6 27 1 - รวม 424 134 70 484 39 15 (ทีม่ า : ข้อมูลจำนวนสถาบันอาชีวศึกษาทั้งหมดในประเทศไทยอ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา http://www.vec.go.th/เก่ียวกับสอศ/ สถานศึกษาในสังกัด.aspx ปรับปรุงข้อมูลวันที่ 25 ธันวาคม 2558 สืบค้นวันท่ี 14 มกราคม 2559 และเว็บไซต์ศูนย์ส่งเสริมการอาชีวศึกษาเอกชน http://vecp.vec.go.th/ปรับปรงุ ข้อมลู วันที่ 17 กุมภาพนั ธ์2559 สบื คน้ วันท่ี 6 เมษายน2559)
จากการสำรวจขอ้ มลู ในแบบสอบถาม พบวา่ สถาบนั อาชวี ศกึ ษาสว่ นใหญเ่ รม่ิ เปดิ สอนภาษาจนี ในทศวรรษ 2550 มีจำนวน 49 แห่ง จากทั้งหมด 85 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.65 ของสถาบัน อาชีวศกึ ษาทต่ี อบแบบสอบถามทั้งหมด แบง่ เปน็ สถานศึกษารฐั 42 แหง่ คิดเป็นร้อยละ 85.71 และ สถานศึกษาเอกชน 7 แห่ง คิดเป็นรอ้ ยละ 14.29 ในส่วนของสถานศึกษารัฐ สถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนภาษาจีนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่สุดคือ วิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยา เปิดสอนภาษาจีนใน ปี พ.ศ. 2500 จนถึงปัจจุบันได้ สอนภาษาจีนมาแล้วเกือบ 60 ปี รองลงมาคือวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี จังหวัดลพบุรี และวิทยาลัย อาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดสอนภาษาจีนพร้อมกันใน ปี พ.ศ. 2518 นับเป็นเวลากว่า 40 ปี ส่วนสถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนภาษาจีนล่าสุดคือ วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยกี ระบี่ จงั หวดั กระบี่ เปิดสอนภาษาจนี ใน ปี พ.ศ. 2558 รองลงมาคอื วิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีลพบุรี จังหวัดลพบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยเทคนิค บุรรี มั ย์ จงั หวดั บรุ รี ัมย์ และวทิ ยาลยั การอาชีพสตกึ จังหวดั บุรรี มั ย์สถานศึกษา 4 แห่งน้ี ล้วนเปดิ สอน ภาษาจีนใน ปี พ.ศ. 2557 เปน็ ทีน่ ่าสังเกตว่าอาจมสี ถานศกึ ษาบางแห่งที่เคยเปดิ สอนภาษาจนี ในอดีต หลังจากน้ันมีความจำเป็นต้องปิดสอนภาษาจีนไป แต่ภายหลังเม่ือมีความพร้อมจึงเปิดสอนใหม่ เช่น วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามกรุงเทพมหานคร เคยเปิดสอนภาษาจนี ใน ปี พ.ศ. 2546-2555 แตป่ ดิ การสอนไปช่วงหนง่ึ หลังจากน้ันจงึ มาเปดิ สอนอีกครัง้ ใน ปี พ.ศ. 2558 สำหรับสถานศึกษาเอกชน สถาบันอาชีวศึกษาที่เปิดสอนภาษาจีนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ที่สุดคือ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ กรุงเทพมหานคร เปิดสอนภาษาจีนใน ปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญของภาษาจีน จนถึงปัจจุบันสอนภาษาจีนมาแล้ว ประมาณ 20 ปี ส่วนสถาบันอาชีวศึกษาท่ีเปิดสอนภาษาจีนล่าสุดคือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจันทร์รวี จงั หวดั เชียงใหม่ เปดิ สอนภาษาจีนใน ปี พ.ศ. 2557 ทั้งน้ี มีสถาบันอาชีวศึกษาจำนวน 14 แห่ง ไม่ระบุปีท่ีเร่ิมเปิดสอนภาษาจีน คิดเป็นร้อยละ 16.47 ของสถาบันอาชีวศึกษาที่ตอบแบบสอบถามท้ังหมด แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 11 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 78.57 และสถานศกึ ษาเอกชน 3 แหง่ คดิ เป็นร้อยละ 21.43 22 รายงานการวิจยั เพ่ือพฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดับอาชวี ศึกษา
ตาราง 4.3 : ปีท่ีสถาบันอาชวี ศึกษาเปิดสอนภาษาจีน รายงานการวิจยั เพอ่ื พัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา 23 ทศวรรษ 2500 2510 2520 2530 2540 2550 ไม่ระบุ ภาค รฐั เอกชน รฐั เอกชน รัฐ เอกชน รัฐ เอกชน รัฐ เอกชน รัฐ เอกชน รฐั เอกชน ส่วนกลาง (กรงุ เทพมหานคร) - - - - 1 - - 1 2 - 4 - - - ภาคกลาง - - 1 - - - - - - 1 4 2 - - ภาคตะวันออก - - - - 1 - 1 - - - 3 - 2 1 ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือตอนล่าง - - - - - - 1 - - 1 9 2 - 1 ภาคตะวันออกเฉยี งเหนือตอนบน - - - - 2 - - - 1 1 9 - 1 1 ภาคเหนอื ตอนบน 1 - - - - - - - 1 - 3 1 3 - ภาคเหนอื ตอนล่าง - - - - - - - - - - - - 2 - ภาคตะวนั ตก - - - - - - - - 2 - 4 1 - - ภาคใตต้ อนบน - - 1 - - - 1 - - 1 4 1 - - ภาคใต้ตอนล่าง - - - - 1 - - - - - 2 - 3 - รวม 1 0 2 0 5 0 3 1 6 4 42 7 11 3
ในบทนี้ ผู้วจิ ัยแบง่ เน้อื หาออกเป็น 6 สว่ นหลักๆ ประกอบด้วย ด้านการบรหิ ารจดั การ ดา้ น หลักสูตร ด้านส่ือการเรียนการสอน ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านความร่วมมือกับหน่วยงานอ่ืน มีวัตถุประสงค์เพ่ือรวบรวมข้อมูล และทำความเข้าใจสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอน ภาษาจนี ระดบั อาชวี ศกึ ษาของประเทศไทย ขอ้ มลู ทใ่ี ชม้ าจากขอ้ มลู ทตี่ อบในแบบสอบถาม การสมั ภาษณ ์ ผเู้ กยี่ วขอ้ ง หรอื ผรู้ บั ผดิ ชอบการเรยี นการสอนภาษาจนี ของสถาบนั อาชวี ศกึ ษา สำนกั งานคณะกรรมการ การอาชีวศกึ ษา (สอศ.) และสำนกั งานคณะกรรมการสง่ เสริมการศกึ ษาเอกชน (สช.) เปน็ หลกั 4.1 ด้านการบริหารจัดการ ในด้านการบริหารจัดการ ผู้วิจัยต้องการตอบคำถามท่ีว่าสถาบันอาชีวศึกษามีการบริหาร จัดการการเรยี นการสอนภาษาจนี ตามขัน้ ตอน PDCA (P : Plan วางแผน, D : Do ปฏิบตั ิตามแผน, C : Check ตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามแผน, A : Act ปรับปรุงแกไ้ ข) หรือไมแ่ ละอยา่ งไร ทั้งนี้ มหี ลาย ประเดน็ ท่ีสถานศึกษาสามารถเลือกตอบไดห้ ลายข้อ ดงั ปรากฏข้อมูลต่อไปนี ้ 4.1.1 การวางแผน (Plan) จากผลสำรวจ พบว่า มีสถาบันอาชีวศึกษาจำนวนมากถึง 81 แห่ง ท่ีมีการวางแผน การจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี สว่ นทเ่ี หลอื 4 แหง่ ตอบวา่ ไมม่ ี คดิ เปน็ ร้อยละ 95.29 และรอ้ ยละ 4.71 ตามลำดับ ในจำนวน 81 แหง่ ท่ตี อบว่ามกี ารวางแผนน้ี แบ่งเปน็ สถานศึกษารฐั 66 แห่ง และ สถานศึกษาเอกชน 15 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.48 และร้อยละ 18.52 ตามลำดับ ส่วนสถาบัน อาชีวศึกษา 4 แห่งท่ีตอบว่าไม่มีนั้น ล้วนเป็นสถานศึกษารัฐทั้งส้ิน หรือกล่าวอีกนัยหน่ึงคือไม่มี สถานศกึ ษาเอกชนแห่งใดเลยทตี่ อบตัวเลือกนี ้ ในดา้ นการกำหนดตวั บคุ คลผรู้ บั ผดิ ชอบการวางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี มสี ถาบนั อาชีวศกึ ษาจำนวนมากถึง 79 แหง่ ตอบว่ามี สว่ นทีเ่ หลือ 6 แห่ง ตอบวา่ ไมม่ ี คิดเป็นร้อยละ 92.94 และรอ้ ยละ 7.06 ตามลำดับ ในจำนวน 79 แหง่ ทต่ี อบวา่ มีการกำหนดตวั บคุ คลผรู้ ับผดิ ชอบน้ี แบง่ เปน็ สถานศึกษารฐั 65 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 14 แห่ง คดิ เป็นรอ้ ยละ 82.28 และรอ้ ยละ 17.72 ตามลำดับ ส่วนสถาบันอาชีวศึกษา 6 แห่ง ท่ีตอบว่าไม่มีน้ัน แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 5 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 1 แห่ง คิดเปน็ ร้อยละ 83.33 และรอ้ ยละ 16.67 ตามลำดบั จากผลที่ออกมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีสถาบันอาชีวศึกษาเกินร้อยละ 90 ท่ีมีการ วางแผนและมีการกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนใน สถานศึกษา แสดงว่าผู้บริหารให้ความสำคัญและความสนใจต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ซ่ึงถือเป็นแนวทางท่ีถูกต้องเหมาะสม แต่ท่ีน่าเป็นห่วงคือมีสถานศึกษาบางแห่งยังไม่มีการวางระบบ การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนตัง้ แต่ต้น 24 รายงานการวิจยั เพอื่ พฒั นาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา
ในด้านผู้รับผิดชอบการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของสถานศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเลือกตอบได้หลายข้อ จากผลสำรวจ พบว่า มีสถาบันอาชีวศึกษา ตอบว่ารองผูอ้ ำนวยการฝ่ายวชิ าการเป็นผูร้ บั ผิดชอบมีจำนวนมากสดุ 43 แหง่ คดิ เปน็ ร้อยละ 50.59 แบ่งเป็นสถานศกึ ษารัฐ 37 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 6 แห่ง คิดเปน็ รอ้ ยละ 86.05 และร้อยละ 13.95 ตามลำดับ ถดั มาคอื หัวหนา้ แผนกวชิ าภาษาต่างประเทศ 23 แหง่ คดิ เป็นร้อยละ 27.06 แบ่ง เป็นสถานศึกษารฐั 20 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 3 แหง่ คดิ เปน็ ร้อยละ 86.96 และรอ้ ยละ 13.04 ตามลำดบั ลำดับทีส่ ามคอื ผ้อู ำนวยการ 17 แห่ง คิดเป็นรอ้ ยละ 20 แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 14 แหง่ และสถานศึกษาเอกชน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.35 และร้อยละ 17.65 ตามลำดับ ลำดับท่ีส่ีคือ ครูสอนภาษาจีนชาวจีนท่ีสถานศึกษาจัดหาเองและ/หรือครูอาสาสมัครชาวจีน 16 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 18.82 แบ่งเปน็ สถานศึกษารฐั 14 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 87.5 และรอ้ ยละ 12.5 ตามลำดบั ลำดบั สดุ ทา้ ยมสี ถาบนั อาชวี ศกึ ษาตอบเทา่ กนั สองขอ้ คอื ครสู อนภาษาจนี ชาวไทยและอื่นๆ อย่างละ 12 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 14.12 ด้วยกันท้ังคู่ สัดส่วนของสถานศึกษารัฐ และสถานศกึ ษาเอกชนกเ็ ทา่ กนั ดว้ ย กลา่ วคอื แบง่ เปน็ สถานศกึ ษารฐั อยา่ งละ 11 แหง่ และสถานศกึ ษา เอกชนอยา่ งละ 1 แหง่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 91.67 และรอ้ ยละ 8.33 ด้วยกนั ท้ังคู่ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอาชีวศึกษาส่วนใหญ่เป็น ผู้รับผิดชอบการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานศึกษาเอง เรียงตามลำดับคือ รองผู้อำนวยการฝา่ ยวิชาการ หัวหน้าแผนกวิชาภาษาตา่ งประเทศ และผอู้ ำนวยการ สะท้อนใหเ้ หน็ วา่ ผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาจีนพอสมควร หลังจากนั้นจึงเป็น ครูสอนภาษาจีนชาวจีนท่ีสถานศึกษาจัดหาเองและ/หรือครูอาสาสมัครชาวจีน ครูสอนภาษาจีน ชาวไทย และอืน่ ๆ ในส่วนของผรู้ ับผดิ ชอบทา่ นอื่นๆ นนั้ สว่ นใหญต่ อบว่าเปน็ หัวหนา้ แผนกต่างๆ เช่น หัวหน้าแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ หัวหน้าแผนกวิชางานพัฒนาหลักสูตร หัวหน้าแผนกบริหารธุรกิจ หัวหน้าหมวดวิชาภาษาจีน หัวหน้างานหลักสูตร หัวหน้างานความร่วมมือ นอกจากน้ัน ยังม ี รองผู้อำนวยการฝา่ ยบริหารทรัพยากร ฝา่ ยแผนงาน และครูชาวไทยทด่ี ูแลครูจีน ในด้านผู้มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของสถานศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเลือกตอบได้หลายข้อ จากผลสำรวจ พบว่า มีสถาบันอาชีวศึกษา ตอบว่ารองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการเป็นผู้มีส่วนร่วมมีจำนวนมากสุด 72 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.71 แบง่ เปน็ สถานศึกษารัฐ 59 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 13 แหง่ คิดเป็นร้อยละ 81.94 และรอ้ ยละ 18.06 ตามลำดบั รองลงมาคอื ผอู้ ำนวยการ 48 แหง่ คิดเปน็ ร้อยละ 56.47 แบง่ เปน็ สถานศึกษารฐั 40 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 8 แหง่ คดิ เป็นร้อยละ 83.33 และร้อยละ 16.67 ตามลำดับ ลำดบั ท่ีสามคือ หวั หน้าแผนกวชิ าภาษาตา่ งประเทศ 46 แห่ง คิดเปน็ รอ้ ยละ 54.12 แบ่งเป็นสถานศกึ ษารฐั 37 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 9 แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 80.43 และรอ้ ยละ 19.57 ตามลำดบั ลำดบั ทสี่ ่ี คือครูสอนภาษาจีนชาวจีนท่ีสถานศึกษาจัดหาเองและ/หรือครูอาสาสมัครชาวจีน 38 แห่ง คิดเป็น รายงานการวิจยั เพอื่ พัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา 25
รอ้ ยละ 44.71 แบง่ เปน็ สถานศึกษารฐั 30 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 8 แหง่ คดิ เปน็ ร้อยละ 78.95 และร้อยละ 21.05 ตามลำดบั ลำดับทห่ี ้าคอื ครูสอนภาษาจนี ชาวไทย 27 แหง่ คิดเป็นรอ้ ยละ 31.76 แบง่ เป็นสถานศกึ ษารฐั อยา่ งละ 22 แหง่ และสถานศึกษาเอกชน 5 แห่ง คดิ เปน็ รอ้ ยละ 81.48 และ ร้อยละ 18.52 ลำดับสุดท้ายคืออ่ืนๆ 22 แห่ง คดิ เป็นร้อยละ 25.88 แบ่งเปน็ สถานศึกษารฐั 21 แหง่ และสถานศึกษาเอกชน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.45 และร้อยละ 4.55 ตามลำดบั จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ารองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและผู้อำนวยการเป็นผู้มี ส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของสถานศึกษาจำนวนมากที่สุด สะท้อน ใหเ้ หน็ วา่ ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาใหค้ วามสำคญั กบั การเรยี นการสอนภาษาจนี คอ่ นขา้ งมาก เพราะนอกจาก จะเป็นผู้รับผิดชอบแล้ว ยังเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนอีกด้วย รองลงมาคอื หวั หนา้ แผนกวิชาภาษาตา่ งประเทศ ครูสอนภาษาจีนชาวจนี ทสี่ ถานศึกษาจัดหาเองและ/ หรือครูอาสาสมัครชาวจีน ครูสอนภาษาจีนชาวไทย และอื่นๆ ในส่วนของผู้มีส่วนร่วมท่านอ่ืนๆ นั้น มสี ว่ นหนง่ึ ตอบวา่ เปน็ หวั หนา้ แผนกตา่ งๆ เชน่ หวั หนา้ แผนกการบญั ชี หวั หนา้ แผนกการตลาด หวั หนา้ แผนกโลจิสติกส์ หัวหน้าแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หัวหน้าแผนกคหกรรมโรงแรม หัวหน้าแผนกวิชา สามญั สัมพันธ์ หัวหน้าแผนกวชิ าประสาน หวั หนา้ งานหลักสตู ร มีอีกส่วนตอบวา่ เปน็ รองผอู้ ำนวยการ ฝ่ายบริหารทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ฝ่ายหลักสูตร ครูแผนกวิชา พณิชยการ และครูท่ีไดร้ บั มอบหมายใหท้ ำหนา้ ทป่ี ระสานงาน นอกจากน้ี เป็นทน่ี ่าสังเกตวา่ มสี ถาบนั อาชีวศึกษาแห่งหนึ่งคือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ จังหวัดกระบี่ ได้เชิญองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดกระบ่ี เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของสถานศึกษา ตนเองด้วย สะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษาพยายามให้องค์กรท้องถิ่นของรัฐเข้ามาช่วยพัฒนาการเรียน การสอนภาษาจนี ด้วย 26 รายงานการวิจัยเพ่ือพฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศกึ ษา
ตาราง 4.4 : ผรู้ ับผิดชอบการวางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนของสถาบนั อาชีวศกึ ษา ผู้รบั ผิดชอบ จำนวนสถานศกึ ษารฐั จำนวนสถ(าแนหศง่ กึ )ษ าเอกชน รวม (แห่ง) รายงานการวิจยั เพอ่ื พัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา 27 รองผู้อำนวยการฝา่ ยวิชาการ 37 6 43 20 3 23 หวั หนา้ แผนกวิชาภาษาต่างประเทศ 14 3 17 14 2 16 ผูอ้ ำนวยการ 11 1 12 11 1 12 ครสู อนภาษาจีนชาวจนี ทีส่ ถานศึกษาจดั หาเองและ/หรือครอู าสาสมัครชาวจนี ครสู อนภาษาจีนชาวไทย อื่นๆ ตาราง 4.5 : ผ้มู ีสว่ นรว่ มในการวางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจีนของสถาบนั อาชีวศกึ ษา ผรู้ บั ผิดชอบ จำนวนสถานศึกษารฐั จำนวนสถ(าแนหศ่งกึ )ษ าเอกชน รวม (แห่ง) รองผู้อำนวยการฝา่ ยวิชาการ 59 13 72 ผอู้ ำนวยการ 40 8 48 หัวหน้าแผนกวิชาภาษาตา่ งประเทศ 37 9 46 30 8 38 ครสู อนภาษาจนี ชาวจีนทสี่ ถานศกึ ษาจดั หาเองและ/หรอื ครูอาสาสมคั รชาวจีน 22 5 27 21 1 22 ครูสอนภาษาจีนชาวไทย อนื่ ๆ
เมอ่ื กลา่ วถงึ การใชข้ อ้ มลู สำหรบั วางแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี สถานศกึ ษา แตล่ ะแห่งสามารถเลือกตอบได้หลายขอ้ จากผลสำรวจ พบว่า สถาบันอาชีวศึกษาสว่ นใหญ่ใช้นโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก มีจำนวน 66 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 77.65 แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 60 แหง่ และสถานศึกษาเอกชน 6 แหง่ คดิ เป็นรอ้ ยละ 90.91 และรอ้ ยละ 9.09 ตามลำดับ รองลงมา ใช้นโยบายของสถานศึกษาตนเอง มีจำนวน 45 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 52.94 แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 38 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 7 แห่ง คดิ เป็นรอ้ ยละ 84.44 และรอ้ ยละ 15.56 ตามลำดับ และ สดุ ทา้ ยใชน้ โยบายของสำนกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา (สำหรบั สถานศกึ ษารฐั ) และสำนกั งาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สำหรับสถานศึกษาเอกชน) น้อยท่ีสุด มีจำนวน 38 แห่ง คดิ เป็นร้อยละ 47.71 แบ่งเป็นสถานศึกษารฐั 29 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 9 แหง่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 76.32 และร้อยละ 23.68 ตามลำดบั นอกจากนี้ ยังมสี ถานศกึ ษา 2 แห่ง ระบวุ ่าใชข้ อ้ มลู นโยบายจาก สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ หรือฮ่ันป้ัน (Hanban) มี 1 แห่งคือวิทยาลัย เทคโนโลยีธีรภาดา จังหวัดร้อยเอ็ด ระบุว่าสถานศึกษาเปิดสอนภาษาจีนต้ังแต่ยังไม่มีนโยบายของ กระทรวงศึกษาธกิ าร และมี 1 แห่ง ระบุว่าใชข้ อ้ มูลตามคำแนะนำของครชู าวจีนและหนังสือ 4.1.2 การปฏบิ ัตติ ามแผน (Do) สถาบันอาชีวศึกษาส่วนมากซ่ึงมีจำนวนถึง 78 แห่งระบุว่ามีการดำเนินการตาม แผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนที่กำหนดไว้ด้วยวิธีต่างๆ มีเพียง 2 แห่ง เท่านั้นที่ระบุว่าไม่มี และมี 5 แห่ง ท่ีไม่ตอบ สำหรับวิธีการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนนั้น สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเลือกตอบได้หลายข้อ จากผลสำรวจ พบว่า สถาบันอาชีวศึกษาใช้วิธี ใหค้ รทู ำแผนการสอนและบนั ทึกการสอนมากท่สี ดุ มีจำนวน 65 แหง่ คิดเป็นร้อยละ 76.47 แบ่งเปน็ สถานศึกษารฐั 50 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 15 แหง่ คดิ เปน็ ร้อยละ 76.92 และรอ้ ยละ 23.08 ตามลำดับ รองลงมาคือใช้การกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ จำนวน 62 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 72.94 แบ่งเป็นสถานศกึ ษารัฐ 54 แห่ง และสถานศกึ ษาเอกชน 8 แห่ง คดิ เปน็ รอ้ ยละ 87.1 และร้อยละ 12.9 ตามลำดับ วิธีการลำดับท่ีสามคือ มีการติดตามผลการดำเนินการในส่วนต่างๆ เป็นระยะ มสี ถานศึกษาจำนวน 43 แห่ง คิดเปน็ ร้อยละ 50.59 แบง่ เป็นสถานศึกษารัฐ 35 แห่ง และ สถานศึกษาเอกชน 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 81.4 และร้อยละ 18.6 ตามลำดับ วิธีการลำดับท่ีส่ีคือ มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนนิ การ มีสถานศึกษาจำนวน 42 แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 49.41 แบ่ง เปน็ สถานศึกษารัฐ 36 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 6 แหง่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 85.71 และรอ้ ยละ 14.29 ตามลำดบั วธิ ีการลำดบั ทห่ี ้าคอื มกี ารวิเคราะหป์ ัญหาในดา้ นตา่ งๆ ของการจัดการเรียนการสอนและ จัดให้มกี ารประชุมผู้ทมี่ ีสว่ นเกี่ยวขอ้ งเพื่อร่วมกันแกไ้ ขปัญหาการเรียนการสอน แตล่ ะวธิ ีมสี ถานศึกษา จำนวน 35 แห่ง ระบุเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 41.18 สำหรับวิธีวิเคราะห์ปัญหาในด้านต่างๆ ของ การจัดการเรียนการสอน มีสถานศึกษารัฐ 27 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 28 รายงานการวิจยั เพ่อื พฒั นาระบบการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในประเทศไทย ระดบั อาชวี ศกึ ษา
77.14 และร้อยละ 22.86 ตามลำดับ ส่วนวิธีจัดให้มีการประชุมผู้ท่ีมีส่วนเก่ียวข้องเพ่ือร่วมกันแก้ไข ปัญหาการเรียนการสอน มีสถานศึกษารัฐ 30 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.71 และร้อยละ 14.29 ตามลำดับ นอกจากน้ี ยังมีสถานศึกษาบางแห่งระบุวิธีการที่แตกต่าง ออกไป เช่น กำหนดให้มีประมวลการสอนรายวชิ า วัดความสามารถของเดก็ ตามระดบั การสอน และ จดั ใหม้ หี ้องเรยี นภาษาจีน (Chinese Classroom) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสถาบันอาชีวศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินการตามแผน การจัดการเรียนการสอนภาษาจีน โดยเน้นไปที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เช่น ให้ครูผู้สอนทำแผนการสอน และบันทึกการสอน กำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ นอกจากน้ี ยังมีการติดตามผล การดำเนนิ การเปน็ ระยะ และมกี ารจดั สรรงบประมาณในการดำเนนิ การดว้ ย แตใ่ นขณะเดยี วกนั สถานศกึ ษา ส่วนใหญ่ยังให้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคท่ีเกิดขึ้นและกำหนดวิธีแก้ปัญหา ซึ่งถอื เป็นสว่ นสำคญั ในการพฒั นาคณุ ภาพการเรียนการสอนภาษาจนี ในด้านการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนที่กำหนดไว้ ผู้วิจัย กำหนดไวใ้ ห้สถานศึกษาเลอื ก 5 ด้าน คอื หลักสูตร สื่อการสอน ผ้สู อน ผเู้ รียน และอื่นๆ สถานศึกษา แตล่ ะแหง่ สามารถเลอื กตอบไดห้ ลายขอ้ จากผลสำรวจ พบวา่ มสี ถาบนั อาชวี ศกึ ษาตอบวา่ ไดด้ ำเนนิ การ ตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนท่ีกำหนดไว้ในด้านหลักสูตรมากท่ีสุด 72 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 84.71 แบ่งเป็นสถานศึกษารัฐ 62 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 10 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.11 และรอ้ ยละ 13.89 ตามลำดบั รองลงมาคอื ผสู้ อนและผเู้ รยี น มสี ถาบนั อาชวี ศกึ ษาตอบอยา่ งละ เท่ากันคือ 62 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 72.94 แต่เมื่อแบ่งเป็นจำนวนสถานศึกษารัฐและสถานศึกษา เอกชนที่เลือกตอบข้อน้ีกลับไม่เท่ากัน กล่าวคือสำหรับข้อผู้สอน มีสถานศึกษารัฐตอบ 47 แห่ง และ สถานศกึ ษาเอกชนตอบ 15 แหง่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 75.81 และร้อยละ 24.19 ตามลำดับ แต่สำหรับขอ้ ผู้เรียน มีสถานศึกษารัฐตอบ 51 แห่ง และสถานศึกษาเอกชนตอบ 11 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.26 และร้อยละ 17.74 ตามลำดับ ลำดับท่ีสามคือส่ือการสอน 44 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 51.76 แบ่งเป็น สถานศึกษารัฐ 35 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 79.55 และร้อยละ 20.45 ตามลำดับ และลำดับสุดท้ายคืออื่นๆ 3 แห่ง ในจำนวนน้ีมีสถานศึกษาระบุว่า ได้ดำเนินการตาม แผนการจัดการเรียนการสอนท่ีกำหนดไว้ในด้านครูอาสาสมัครชาวจีน 1 แห่ง และจัดให้มีห้องเรียน เฉพาะทาง (หอ้ งเรยี นภาษาจนี ) 2 แหง่ จากขอ้ มลู ขา้ งตน้ จะเหน็ วา่ สถาบนั อาชวี ศกึ ษาสว่ นใหญใ่ หค้ วามสำคญั กบั การดำเนนิ การ ตามแผนการจดั การเรยี นการสอนภาษาจนี ในดา้ นหลกั สตู รมากทสี่ ดุ ทง้ั น้ี อาจเนอ่ื งมาจากสถานศกึ ษา เห็นว่าหลักสูตรถือเป็นสาระสำคัญท่ีสุดของการเรียนการสอนภาษาจีน จึงต้องพยายามดำเนินการ ตามท่ีกำหนดไว้ให้ได้มากท่ีสุด ต่อจากน้ันจึงให้ความสำคัญกับบุคคลคือตัวผู้สอนและผู้เรียนในลำดับ ต่อมา ซ่ึงถือเป็นกลไกหลักท่ีจะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนภาษาจีน ส่วน รายงานการวิจัยเพอื่ พัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา 29
ส่อื การสอนถือเป็นตวั ช่วยในการทำใหก้ ารเรยี นการสอนภาษาจนี เกิดผลสมั ฤทธิไ์ ด้ ดงั นัน้ สถานศกึ ษา จงึ ใหค้ วามสำคัญในลำดับรองมาอีก ตาราง 4.6 : การดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนทีก่ ำหนดไว้ในส่วนต่างๆ ด้าน จำนวนสถานศกึ ษารัฐ (แหง่ ) จำนวนสถานศึกษาเอกชน(แห่ง) รวม หลักสูตร 62 10 72 ผสู้ อน 47 15 62 ผู้เรยี น 51 11 62 ส่ือการสอน 35 9 44 อื่นๆ 1 2 3 4.1.3 การตรวจสอบการปฏบิ ตั ิตามแผน (Check) ในด้านการประเมินผลการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สถาบันอาชีวศึกษาส่วนมากซึ่งมีจำนวนถึง 72 แห่ง ระบุว่ามีการประเมินผลการดำเนินการตามแผน การจัดการเรยี นการสอนภาษาจนี ที่กำหนดไว้ มีเพียง 12 แหง่ ที่ระบุวา่ ไม่มี และมี 1 แหง่ ทไ่ี มต่ อบ สำหรับวิธีการประเมินผลการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน สถานศึกษา แต่ละแห่งสามารถเลือกตอบได้หลายข้อ จากผลสำรวจ พบว่า สถาบันอาชีวศึกษาใช้วิธีสำรวจ ความคิดเหน็ ของนักเรียนมากที่สดุ มจี ำนวน 46 แหง่ คดิ เป็นร้อยละ 54.12 แบ่งเปน็ สถานศึกษารัฐ 35 แหง่ และสถานศกึ ษาเอกชน 11 แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 76.09 และรอ้ ยละ 23.91 ตามลำดบั รองลงมา คือสำรวจความคิดเห็นของผู้ท่ีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนการสอน ภาษาจีน 45 แหง่ ซงึ่ มจี ำนวนใกล้เคียงกันมาก คิดเปน็ 52.94 แบ่งเป็นสถานศกึ ษารฐั 38 แห่ง และ สถานศึกษาเอกชน 7 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 84.44 และร้อยละ 15.56 ตามลำดับ ลำดับท่ีสามคือ ทำรายงานสรปุ ผลการดำเนนิ งาน 32 แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 37.65 แบง่ เปน็ สถานศกึ ษารฐั 28 แหง่ และ สถานศึกษาเอกชน 4 แหง่ คิดเป็นร้อยละ 87.5 และรอ้ ยละ 12.5 ตามลำดับ รองลงมาคอื จดั ประชมุ เพ่ือสรุปผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ 23 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 27.06 แบ่งเป็น สถานศึกษารัฐ 19 แห่ง และสถานศึกษาเอกชน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82.61 และร้อยละ 17.39 ตามลำดับ ลำดับสุดท้ายคือสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 9.41 เป็นสถานศกึ ษารัฐทง้ั หมด นอกจากนี้ มสี ถานศกึ ษา 6 แหง่ ทไ่ี มต่ อบ ซ่ึงท้งั หมดเปน็ สถานศกึ ษารัฐ 30 รายงานการวิจัยเพ่ือพัฒนาระบบการจัดการเรยี นการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดบั อาชีวศึกษา
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172