Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Technology changes business (dummy)

Technology changes business (dummy)

Published by nuchsarawadee, 2017-01-14 06:36:53

Description: Technology changes business

Search

Read the Text Version

เทคโนโลยี แปรเปลี่ยนธุรกจิ และอุตสาหกรรม Thailand 4.0 Innovation 4.0 ดร.บญั ชา ชุณหสวสั ดกิ ลุ



เทคโนโลยเี ปลี่ยนทิศ พลิกอนาคต 1

เทคโนโลยแี ปรเปลี่ยนธุรกจิ และอตุ สาหกรรมดร.บัญชา ชณุ หสวสั ดิกลุISBN : พมิ พ์ครัง้ ที่ 1 มกราคม 2560จ�ำนวนหน้า 147 หน้า รวมปกสงวนลิขสิทธต์ิ ามพระราชบัญญตั ิห้ามลอกเลยี นแบบสว่ นใดส่วนหน่ึงของหนงั สอื เลม่ น้ีโดยไมไ่ ด้รับอนุญาตจากเจา้ ของลิขสทิ ธ์ิลขิ สิทธิ์ 2560 บริษัท อินโนเวชั่น กรปุ๊ (ประเทศไทย) จ�ำกัดบรรณาธิการกลมุ่ บริษทั อินโนเวชั่น กุลวดี ธ�ำรงคธ์ นกิจ นุชสราวดี แวดอุดม พรทพิ ย ์ กว๊ ยสินทรพั ย์คอมพิวเตอร์กราฟิก นุชสราวดี แวดอุดมพิมพท์ ่ี บรษิ ทั ส.เอเซียเพรส 1989 จำ� กัด 143, 145 รามค�ำแหง 42 แขวงหวั หมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯราคา 160 บาท  2

คำ� นำ� ผูเ้ ขียน หลายปีท่ีผ่านมาได้สมั ผสั กับการเปลีย่ นแปลงทง้ั การเมือง เศรษฐกิจและการเงิน ส่ิงที่ไม่คาดคิดว่าจะเจอคือสภาพเงินฝืดและดอกเบ้ียเข้าใกล้ศูนย์ ในโลกธุรกิจก็มีการเปล่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลาอันเน่ืองมาจากความก้าวหน้าทางดา้ นเทคโนโลยธี รุ กจิ หลายธรุ กจิ ตอ้ งปรบั ตวั ใหท้ นั โดยเฉพาะธรุ กจิ ดา้ นการสอ่ื สารจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ การสื่อสารด้วยส่ือดิจิตอลก�ำลังมาแรง ผู้ประกอบธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์และส่ือโฆษณาต่างประสบปัญหาเพราะการส่ือสารยุคดิจิตอลที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ�ำวันของเรามากข้ึน Bloomberg BusinessweekและFortune นติ ยสารทอี่ า่ นเปน็ ประจำ� เคยนำ� เสนขา่ วสารและบทความทางธรุ กจิและการเงนิ เรมิ่ มบี ทความดา้ นเทคโนโลยมี ากขน้ึ มบี ทความของบรษิ ทั ใน ซลิ กิ อนวัลเลย์ มากข้ึนเรื่อยๆ อีกท้ังเรื่องรถไฟฟ้าก็เป็นบทความท่ีอ่านพบบ่อยคร้ังท�ำให้ฉุดคิดว่ากลุ่มบริษัทอินโนเวช่ันเองคงถูกกระทบโดยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมไปพร้อมกัน ดังนั้น เราต้องพร้อมที่จะพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดรับกับยุคดิจิตอลและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ท่ีมีคุณค่าและตอบสนองกับการเปล่ยี นแปลงของเทคโนโยลีท่ีจะเกดิ ขน้ึ นค่ี อื ทมี่ าของการเรมิ่ ตน้ หาขอ้ มลู ทางดา้ นรถไฟฟา้ และเทคโนโลยดี จิ ติ อลมาปรับขบวนการพัฒนาภายในองคก์ ร ไมอ่ ยากให้ขอ้ มูลทต่ี ิดตามสูญหายไปจึงจับปากกาเขียนหนังสือ “เทคโนโลยีแปรเปล่ียนธุรกิจและอุตสาหกรรม” เล่มนี้ขึ้นมา และรีบเร่งให้เสร็จทันงานประชุมวิชาการ “ผลกระทบจากรถไฟฟ้าต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม” และอยากมอบหนงั สอื เล่มนใ้ี หแ้ กเ่ พอ่ื นๆ ในภาคธุรกิจคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยและนักวิจัย ให้หันมามองเทคโนโลยีใหม่ที่ก�ำลังก้าวเข้ามา และช่วยกันน�ำมาพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมไทยเพม่ิ ขึน้ ดังที่ พล.อ.ประยุทธ์ จนั ทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ 3

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแหง่ ชาติ (คสช.) กำ� ลังเรง่ พัฒนาประเทศไทย 4.0เพ่ือที่จะขับเคล่ือนประเทศสร้างเศรษฐกิจใหม่ผ่านกลไก “ประชารัฐ” ซึ่งต้องพัฒนาไปด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพและสอดประสานกันทั้ง 6 หน่วยงานนอกจากน้ใี นสว่ นของ Digital Thailand จะไมไ่ ดเ้ นน้ ด้านเศรษฐกจิ เพยี งอยา่ งเดียวหากแต่เน้นการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่รวมถึงประโยชน์ตอ่ ประชาชนทกุ กลุ่มอกี ด้วย ดงั นั้น ทกุ หนว่ ยงานต้องรีบเรง่ พฒั นาตนเองใหท้ นัเทคโนโลยีดจิ ติ อลทก่ี �ำลงั เข้ามา ดร.บัญชา ชณุ หสวัสดกิ ลุ 4

5



“พระบิดาแห่งเทคโนโลยีและนวตั กรรมของไทย” พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช มหติ ลาธเิ บศรรามาธบิ ดี จักรีนฤบดินทรสยามนิ ทราธริ าช บรมนาถบพิตร 7

นั บ ต้ั ง แ ต ่ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท รมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ไดเ้ สดจ็ ขนึ้ ครองราชย์เม่อื พ.ศ. 2489 พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆเปน็ อนั มาก เพอื่ ประโยชนส์ ขุ ของประชาชนชาวไทยและความเจริญของประเทศไทย สมดังพระราชปณิธานที่ว่า “เราจะครองแผน่ ดนิ โดยธรรมเพอื่ ประโยชนส์ ขุ แหง่ มหาชนชาวสยาม”ที่น่าสังเกตก็คือพระราชกรณียกิจหลายเร่ืองได้แสดงถึงความสนพระราชหฤทัยและพระปรีชาสามารถของพระองค์ในงานสาขาต่างๆ ซ่ึงในบทความนี้จะขอกล่าวถึงพระกรณียกิจบางส่วนท่ีเก่ียวข้องกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการคมนาคมขนส่ง เพ่อื เปน็ การสดดุ ีพระเกียรตคิ ณุ และส�ำนกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ุณลน้ เกลา้ ลน้ กระหม่อมเทคโนโลยีไทยก้าวหน้าด้วยพระปรีชาสามารถของรัชกาลท่ี 9 พระอัจริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต้ังแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงโปรดงานทางด้านช่าง ขณะท่ีประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงมีห้องปฏิบัติการทางช่างในพระต�ำหนัก 8

วิลลาวัฒนา นครโลซานน์ และทรงแสดงฝีพระหัตถ์ในงานช่างเป็นท่ีประจักษ์หลายคร้ัง เช่น เมื่อครั้งท่ีมีพระชนมายุได้ราว 10 พรรษา ได้ทรงซ่อมจักรเย็บผ้าของพระพ่ีเลี้ยงจนใช้การได้ นอกจากนี้พระองค์ยังเคยทดลองระบบไฟฟ้าสายเด่ียวกับรถไฟฟ้าของเล่น ทรงประกอบเคร่ืองรับวิทยุชนิดใช้แร่และชนิดใช้หลอดสุญญากาศซึ่งสามารถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง และทรงจ�ำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยาจนเป็นผลส�ำเร็จอีกด้วยพระปรชี าสามารถทางชา่ งของพระองคน์ เี้ ปน็ ทปี่ ระจกั ษช์ ดั มาจนกระทงั่ ปจั จบุ นัท้ังน้ีงานส่วนพระองค์ เช่น การต่อเรือใบ การถ่ายภาพและในงานส่วนที่เป็นพระราชกรณียกิจเพ่ือปวงชน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ท่ีสนพระทัยใฝ่รู้ และทรงศึกษาส่ิงต่างๆ อย่างจริงจังและลึกซึ้ง ทรงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อาทิวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ ดังผลจากการทรงงานต่างๆ ทก่ี อ่ ประโยชน์แกช่ าวไทยอย่างหาท่สี ุดไมไ่ ด้ ไดแ้ ก่ เทคโนโลยีฝนหลวงกังหันน�้ำชัยพัฒนา พระราชด�ำริทฤษฎีใหม่ โครงการน้�ำมันเช้ือเพลิงทดแทนทฤษฎกี ารป้องกนั การเสื่อมโทรมและพังทลายของดนิ เปน็ ตน้ 9

รชั กาลที่ 9 กับการพฒั นาระบบคมนาคมและขนส่ง ดา้ นโครงการดา้ นคมนาคมและการสอ่ื สาร สว่ นใหญเ่ ปน็ โครงการปรบั ปรงุเส้นทางเพื่อการเดินทางและขนส่ง ท�ำให้ชนบทสามารถติดต่อกับโลกภายนอกไดง้ า่ ยขนึ้ นอกจากนยี้ งั มโี ครงการอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำ� รอิ กี หลายโครงการเช่น ทางค่ขู นานลอยฟ้าบรมราชชนนไี ปจนถึงรถไฟฟา้ เพอ่ื แก้ปญั หาการจราจรให้สามารถสญั จรไปมาดว้ ยความสะดวกรวดเรว็ และมคี วามปลอดภัยย่ิงขน้ึ โครงการรถไฟฟ้าของเมืองไทยแรกเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2542 รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (ล�ำลูกกา-บางปู-ยศเส-บางหว้า-ตล่ิงชัน-บางนา-สนามบินสุวรรณภูมิ) หรือ ชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า รถไฟฟ้าบที เี อส (BTS Skytrain) เปน็ ระบบขนสง่ มวลชนแบบรางในพน้ื ทกี่ รงุ เทพฯ เรม่ิ เปดิให้บรกิ ารคร้งั แรกเม่ือวันท่ี 5 ธนั วาคม พ.ศ. 2542 ปี พ.ศ. 2547 ได้มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าเพ่ิม โดยสร้างรถไฟฟ้ามหานคร MRT เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลท่ีดำ� เนนิ การโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแหง่ ประเทศไทย (รฟม.) เปน็ สว่ นหนง่ึของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพ้ืนที่ต่อเน่ืองโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทยวา่ “เฉลมิ รชั มงคล” อนั มคี วามหมายว่า “งานเฉลมิ ฉลองความเปน็ มงคลแหง่ ความเปน็ พระราชา” และพระบาทสมเดจ็ พระปรมิ นทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี เสดจ็ พระราชดำ� เนนิ ไปทรงเปดิ การเดนิ รถไฟฟา้ มหานครสายเฉลมิ รชั มงคลอยา่ งเปน็ ทางการเมอื่ วนั ท่ี 3 กรกฎาคมพ.ศ. 2547 (รถไฟขบวน 1014 ตู้ที่ 1 ปัจจุบนั ยังคงว่งิ ใหบ้ ริการในระบบปกต)ิ 10

นอกจากน้ียังทรงรับสั่งขอให้รัฐบาลในขณะนั้นเร่งรัดการก่อสร้างส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้ามหานครให้มีโครงข่ายครอบคลุมพ้ืนที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดให้กับประชาชนในอนาคต พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชกระแสให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลร่วมหารือกับหน่วยงานท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร กระทรวงคมนาคม กองทัพเรือ ส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ ส�ำนักงบประมาณ และกองบัญชาการกองทัพไทย ท�ำโครงการแก้ไขปัญหาการจราจรโดยรอบโรงพยาบาลศิริราช เป็นการดำ� เนินการตอ่ เน่อื งกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี และสะพานพระราม 8 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบรเิ วณดงั กลา่ ว เนอื่ งจากสแ่ี ยกศริ ริ าชเปน็ จดุ เชอ่ื มต่อของโครงข่ายจราจรถนนอรุณอมรินทรก์ บั ถนนพรานนก ถนนอสิ รภาพ และถนนจรัญสนิทวงศ์ ทรงแนะให้ใช้ท่ีดินของโรงพยาบาลศิริราช การรถไฟแห่งประเทศไทย และกองทัพเรือสร้างโครงข่ายขยายถนนที่เชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกของกรงุ เทพมหานคร เพม่ิ ประสทิ ธภิ าพในการจราจร อกี ทง้ั ทรงหนนุ การพฒั นาระบบรถไฟฟา้ และรถไฟความเร็วสูงไปในสว่ นภูมภิ าคตา่ งๆ อีกดว้ ย พ.ศ. 2559 โครงการรถไฟฟา้ มหานคร (รถไฟสายสมี ่วง) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 11

พระราชทานช่ือเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครช่วงบางใหญ่ - เตาปูน ว่า“ฉลองรัชธรรม” ซึ่งมีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาท่ีปกครองโดยธรรม” จดุ ประสงคข์ องโครงการรถไฟฟา้ มหานคร สายฉลองรชั ธรรมตามแผนแม่บท คือเป็นเส้นทางส�ำหรับใช้เช่ือมต่อระหว่างชานเมืองจังหวัดนนทบรุ ี และชานเมอื งจังหวัดสมทุ รปราการ ใหเ้ ขา้ สเู่ ขตใจกลางเมอื งในกรงุ เทพมหานครไดอ้ ยา่ งรวดเรว็ โดยปจั จบุ ันสายฉลองรชั ธรรมเปิดให้บริการในเส้นทางคลองบางไผ่-เตาปูน ซึ่งมีก�ำหนดการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2559 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดการเดินรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรมอย่างเป็นทางการและก�ำลังอยู่ในระหว่างการด�ำเนินการประมูลเพือ่ ก่อสรา้ งสว่ นต่อขยายส่วนใตภ้ ายในปี พ.ศ. 2560 “ท่ีจริงรถไฟน้ีจะได้ประโยชน์มากเพราะว่าดีกว่าการคมนาคมทางถนนทางถนนมันแพงมากรถไฟจะถูกลงไปมาก ดสี �ำหรบั การเศรษฐกจิ ของไทย ถา้ทำ� ไดส้ ำ� เรจ็ โดยเรว็ ” พระราชดำ� รสั ของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช พระราชทานถึงการถไฟแห่งประเทศไทย เมือ่ วันที่ 27 มิถุนายน 2554 12

พระราชกรณียกจิ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระทัยด้านเทคโลโลยีการสื่อสารต้ังแต่ทรงพระเยาว์“ ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับล�ำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ย่ีห้อ‘Centrum’ จากห้องท่ีประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั อานนั ทมหดิ ล ทงั้ สองพระองคท์ รงพอพระทยั ในบรกิ ารเสยี งตามสายไมน่ ้อย”วทิ ยสุ ่อื สาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีด�ำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุส่ือสารอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการท่ีพระองค์ทรงใช้เคร่ืองมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆอยู่เสมอ เพราะสิ่งท่ีพระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน หากมีเวลาเพยี งพอพระองคท์ า่ นจะรับส่ังผ่านทางวทิ ยถุ งึ หน่วยงานที่เกยี่ วขอ้ ง อาทิ ตำ� รวจตระเวนชายแดน นอกจากนพ้ี ระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ทรงมพี ระราชดำ� รใิ หท้ ำ� การศกึ ษาวจิ ยั รวมถงึ การออกแบบและสรา้ งสายอากาศยา่ นความถส่ี งู มาก หรอื ทเ่ี รยี กวา่ VHF(ว.ี เอช.เอฟ) ขนึ้ โดยมีวตั ถปุ ระสงค์3 ประการ คอื ประการแรก เพอ่ื ทจี่ ะไดใ้ ชง้ านกบั วทิ ยสุ ว่ นพระองค์ท้งั นโ้ี ดยมพี ระราชประสงค์ทจี่ ะใหท้ ราบเหตุการณ์ตา่ งๆ โดยเฉพาะอย่างยงิ่ ในเรอ่ื งของสาธารณภัยท่เี กิดขน้ึ กบั ประชาชน เร่อื งไฟไหม้ เรือ่ งน�ำ้ ท่วม ฯลฯ ทั้งน้ีเพ่ือที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพ่ือท่ีจะพระราชทานให้แกห่ น่วยราชการต่างๆ ประการทีส่ าม เพื่อส่งเสรมิ ใหค้ นไทยทีม่ ีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุส่ือสารข้ึนใชเ้ องภายในประเทศ 13

คอมพิวเตอร์ พระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช เสดจ็ ประพาสโรงงานคอมพิวเตอรใ์ หญ่ของ IBM ท่ี ซิลิกอน วลั เลย์ มลรฐั แคลฟิ อรเ์ นยี สหรฐั อเมริกาเมอ่ื เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 นับเปน็ การจุดประกายให้วงการคอมพวิ เตอร์ของประเทศไทยคิดถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติให้ทัดเทียมประเทศที่เจริญแล้วนับได้ว่า “ทรงเป็นผู้น�ำและจุดประกายวงการคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยอย่างจรงิ จงั ” หากยอ้ นไปเมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้ซื้อเครือ่ งคอมพวิ เตอร์แมคอนิ ทอช พลสั ซงึ่ เปน็ คอมพวิ เตอรท์ ท่ี นั สมยั ทสี่ ดุ ในยคุ นนั้ ขนึ้ ทลู เกลา้ ฯ ถวายพระองคท์ า่ นจงึ ทรงใชเ้ คร่อื งคอมพิวเตอรด์ ้วยพระองคเ์ องเป็นครัง้ แรก ในเวลาตอ่ มาพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช ไมเ่ พยี งแตท่ รงงานดว้ ยคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากแต่ทรงสนพระทัยในการศึกษาเทคนิคการท�ำงานของเครอื่ งคอมพวิ เตอรช์ นดิ ตา่ งๆ บางครงั้ ไดท้ รงเปดิ เครอ่ื งออกดรู ะบบภายในเครอื่ งดว้ ยพระองค์เอง ทรงปรับปรุงซอฟตแ์ วร์ใหม่ขึ้นมาใชเ้ อง และบางครัง้ ทรงแกไ้ ขปรบั ปรงุ ซอฟต์แวรใ์ นเคร่ือง เชน่ โปรแกรมภาษาไทย CU Writer ให้เปน็ ไปตามพระราชประสงค์ (พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) นอกจากนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของการสื่อสารว่า การส่ือสารเป็นปัจจัยส�ำคัญในการดำ� เนนิ ธุรกิจทกุ ประเภท, การสอื่ สารเป็นหวั ใจของความม่ันคงของประเทศและการส่ือสารเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยดู่ กี ินดี 70 ปีใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คนไทยเราช่างโชคดีด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์โดยเฉพาะโครงการในพระราชด�ำริในการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบคมนาคมขนส่ง ท�ำให้ประเทศชาติก้าวหน้าและประชาชนมีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้น อีกทั้งยังเปน็ แนวทางในการพฒั นาเทคโนโลยีของประเทศให้ก้าวหนา้ และย่ังยืนตอ่ ไป 14

15

16

17

เอทตุ คสโานหโลกยรีแรมปรเปล่ียนธุรกิจและบทท่ี 20เทคโนโลยีเปล่ียนพฤติกรรมมนษุ ย์และธรุ กิจบทท่ี 28เทคโนโลยีเปล่ียนเศรษฐกิจโลกบทท่ี 38ประดิษฐกรรมท่ีส�ำคัญกับการเปลย่ี นแปลงของโลกและความเปน็ อยขู่ องมนษุ ย์บทที่ 50ก า ร รุ ก เ ข ้ า อุ ต ส า ห ก ร ร มรถยนต์ของ บริษัท ซิลิคอนวลั เลย่ ์ 18





































37

38

3บทท่ี ประดษิ ฐกรรมทสี่ ำ� คัญกับการเปลี่ยนแปลง ของโลกและความเปน็ อยู่ของมนษุ ย์ล้อ ล้อ คือ ประดิษฐกรรมท่ีเกิดขึ้นต้ังแต่สมัยดึกด�ำบรรพ์และได้รับการยกยอ่ งวา่ เปน็ ประดษิ ฐกรรมสำ� คญั ยง่ิ ตอ่ ชวี ติ มนษุ ยแ์ ละอตุ สาหกรรมทง้ั ในปจั จบุ นั และอนาคต ลอ้ ไมเ้ ปน็ ประดษิ ฐกรรมของมนษุ ยต์ งั้ แต่5,000 ปีที่แล้วเพ่ือใช้กับรถเทียมม้านับเป็นความชาญฉลาดของมนุษย์ในการสร้างประดิษฐกรรมการเคล่ือนท่ี 4 ล้อ และ 2 เพลาในการพาวัตถุเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ล้อเป็นส่วนส�ำคัญยิ่งในระบบขนส่งปัจจุบันและอนาคต ยกเว้นระบบขนส่งอย่างเช่น Caterpillar tractor,Pedrail Wheels, Hovercraft spheres, Screw-propelled vehicle andElectromagnetic levitation (Maglev) train (ซ่งึ มีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีของแม่เหล็กไฟฟ้าในการเหนี่ยวน�ำและผลักดันให้เครื่องยนต์เคลอื่ นที่ไปข้างหน้าดว้ ยความเรว็ สงู ) 39

Shanghai Maglev Train Incheon Airport Maglevเขม็ ทิศ แม่เหล็ก และแม่เหลก็ ไฟฟา้ เข็มทิศเป็นประดิษฐกรรมของชาวฮั่นใช้เพื่อการเดินเรือ ได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ชาวยุโรปนอกจากจะน�ำเข็มทิศมาใช้ในการเดินเรือแล้วยังมีการศึกษาอ�ำนาจและประสิทธิภาพของแม่เหล็กและแม่เหล็กไฟฟ้าเพมิ่ เติมเรมิ่ จากการค้นพบ Electromagnetic ของ William Sturgeon(ค.ศ. 1825) และ Michael Faraday (ค.ศ. 1830) ใน Electromagneticinduction เปน็ การคน้ พบทนี่ ำ� มาซงึ่ การใชอ้ ำ� นาจแมเ่ หลก็ ในการเหนยี่ วนำ�ท�ำให้เกิดกระแสไฟฟา้ อันน�ำมาส่ปู ระดิษฐกรรม Magnetic motors ของMoritz von Jacobi (ค.ศ. 1834) และ electromechanical relayโดย Joseph Henry (ค.ศ. 1835) นับว่าการค้นพบเข็มทศิ แม่เหล็ก และแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตกระแสไฟฟ้า มอเตอร์และพลังงานต่างๆ ท่ีเราใช้อยู่ในชีวิตประจ�ำวันและมีบทบาทส�ำคัญย่ิงขึ้นในอนาคต ปัจจุบันเทคโนโลยีการเหน่ียวน�ำด้วยแม่เหล็กได้พัฒนาเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน ตัวอย่างเช่น Shanghai Maglev Train ที่ว่ิงด้วยความเร็ว 430 กิโลเมตรต่อช่ัวโมง Eric Laithwaite ได้พัฒนา linearinduction motor เป็น single linear induction motor ที่สามารถ 40

ทง้ั ยกทง้ั ผลกั ใหร้ ถเคลอ่ื นไปโดยใชร้ ะบบแมเ่ หลก็ เพยี ง 1 ชดุ ที่ IncheonAirport Maglev กเ็ ปน็ ระบบขนส่ง meglev ท่ีเพิ่งสร้างเสรจ็ ใน ปี ค.ศ.2016 นีเ้ องการค้นพบระบบเคร่ืองยนต์เผาไหม้ภายใน (ICE) เป็นการค้นพบการใช้เครื่องจักรกลที่ใช้น�้ำมันจากปิโตรเลียมแทนเครื่องจักรไอน�้ำซ่ึงให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ต้องยกเกียรติประวัติน้ีให้แก่ Nicephore Niepce ท่ีค้นพบระบบเครื่องยนต์เผาไหมภ้ ายในเปน็ คนแรกเมอ่ื ปี ค.ศ.1807 ตอ่ มาFrancoisIsaacdeRivazไดน้ ำ� มาพฒั นาเปน็ เครอื่ งยนตใ์ นรถยนตท์ ใ่ี ชไ้ ฮโดรเจนเปน็ เชอื้ เพลงิ KarlBenz (ค.ศ. 1886) ได้น�ำมาคน้ ควา้ ต่อและผลิตในรถยนต์ท่ใี ช้เคร่อื งยนต์เผาไหม้ภายในโดยใช้น้�ำมันจากปิโตรเลียม ซ่ึงระบบน้ีเป็นระบบท่ีใช้กับรถยนต์ในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันด้วยกฎระเบียบและข้อบังคับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของสหรัฐอเมริกาและยุโรปจึงท�ำให้ระบบไฟฟา้ ลเิ ธยี มไอออน ทใ่ี หพ้ ลงั ไฟฟา้ ขบั เคลอื่ นมอเตอร์ 4 ลกู กำ� ลงั เขา้ มามีบทบาทในรถยนตม์ ากขน้ึ อกี ทงั้ ระบบ electromagnet จะมีบทบาทแทนเคร่ืองยนต์เผาไหม้ภายในในการขนส่งราง ระบบ ICE ก็จะลดบทบาทลงประดษิ ฐกรรมหลอดไฟ ประดิษฐกรรมน้ีน�ำมาซ่ึงแสงสว่างสู่ชาวโลกของ Thomas AlvaEdison เขาเรม่ิ ศึกษาค้นควา้ คิดจะทำ� หลอดไฟเมอ่ื ปี ค.ศ. 1879 เพราะไฟส่องสว่างในสมัยนน้ั สามารถกอ่ ใหเ้ กิดไฟไหมไ้ ดง้ ่าย ตอ่ มาในปี ค.ศ.1879 เขาสามารถประดษิ ฐห์ ลอดไฟไสค้ ารบ์ อนไดส้ ำ� เรจ็ และเรม่ิ ออกแบบสวติ ซเ์ ปดิ -ปดิ หลอดไฟใหต้ ดิ ตง้ั ในบา้ นเรอื นไดง้ า่ ย นบั เปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ ของหลอดไฟบนโลกใบนี้เลยก็วา่ ได้ 41

ประดิษฐกรรมการสื่อสาร ประดิษฐกรรมการสื่อสารน้ีเป็นประดิษฐกรรมท่ีแปรเปล่ียนความเป็นอย่ขู องมนุษย์ ตอ้ งยกคุณความดใี หแ้ ก่ Claude Chappe วศิ วกรชาวฝร่ังเศสผู้ท่ีสามารถสร้างระบบการส่งข่าวสารชนิดใช้สายตามองได้ส�ำเรจ็ เขาตั้งช่ือระบบนีว้ า่ “โทรเลข (Telegraph)” และได้สร้างขึ้นใชง้ านทว่ั ประเทศฝรงั่ เศสเร่มิ แต่ปี ค.ศ. 1790 (อยูใ่ นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลก รัชการลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์) และได้สรา้ งระบบโทรภาพอยกู่ บั ที่ หรอื Semaphore line เปน็ ครงั้ แรกในปี ค.ศ.1792 และต่อมามีการประดิษฐกรรมโทรเลขที่ใช้ไฟฟ้าซึ่งพัฒนาต่อโดยFrancis Ronalds (ค.ศ. 1816) ส่วนในปี ค.ศ. 1836 Samuel Morse ได้คน้ คดิ ระบบสญั ญาณแบบจดุ และขดี ซงึ่ เปน็ ทรี่ จู้ กั กนั ดใี นชอ่ื “รหสั มอรส์ ”และใช้เปน็ สญั ญาณโทรเลขในการสอ่ื สารที่ส�ำคญั ในปี ค.ศ. 1800 ต่อมาในปี ค.ศ. 1876 Alexander Graham Bell ไดป้ ระดษิ ฐโ์ ทรศัพท์ขนึ้ ทง้ั นี้ยังได้รับสิทธิบัตรในประดิษฐกรรมโทรศัพท์อีกด้วย น่ีคือจุดเร่ิมต้นของการสอื่ สารโดยการสนทนาทางไกลโต้ตอบกนั ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1897ได้มีการประดิษฐ์วิทยุขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Guglielmo Marconi และยังได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตวิทยุคนแรกของโลกอีกด้วย ใน ค.ศ. 1909Georges Rignoux and A. Fournier ไดค้ ดิ ค้นเทคโนโลยีในการส่งภาพและนี่คือจุดเร่ิมต้นของประดิษฐกรรมโทรทัศน์ที่เกิดข้ึนในปี ค.ศ. 1896Subhas Chandra Bose ไดน้ ำ� ความรทู้ าง Semi-Conductor (คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการน�ำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวน�ำและฉนวน) มาใช้ในเชิงธุรกิจ Semi-Conductor คือการใช้ซิลิคอนมาเป็นวัสดุน�ำไฟฟ้าSemi-Conductor เป็นสารทน่ี ำ� ไฟฟา้ ไดด้ ี แลว้ John Bardeen และWalter Brattain ได้ประดษิ ฐ์ทรานซิสเตอร์ข้นึ จึงทำ� ให้ระบบส่อื สารและอเิ ล็คโทรนคิ เล็กลงและราคาถูกลง ไม่นานนัก Konrad Zuse ได้ประดิษฐ์ 42

Zuse1 (Z1) คือคอมพิวเตอร์ท่ีตั้งโปรแกรมได้เป็นเคร่ืองแรกของโลก(ค.ศ. 1938) การค้นพบ Integrated Circuit โดย Jack Kilby และRobert Noyce ในปี ค.ศ. 1958-1959 นำ� ไปสูน่ วตั กรรมของซิลคิ อนประดิษฐกรรมต่อมาท่ีมีบทบาทและอิทธิพลต่อวงการนักสารสนเทศในยุคนั้นคือประดษิ ฐกรรม Microprocessor ซ่งึ เปน็ “สมอง” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเปน็ ไมโครโพรเซสเซอรต์ ัวแรกของโลกก็ว่าได้ คิดค้นและออกแบบโดย Marcian E. Hoff (ค.ศ. 1971) และเกิดประดษิ ฐกรรมการสือ่ สารทางระบบเครอื ข่าย E-mail คร้ังแรกบนเครือข่าย ARPANETคิดค้นโดยโปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกัน Raymond Samuel Tomlinsonและบคุ คลนคี้ ือผสู้ ง่ อเี มลฉบบั แรกของโลกในปี ค.ศ. 1971 และทุกวันน้ีE-mail ก็ยังถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและเป็นอีกช่องทางการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิคส์ท่ีส�ำคัญของโลกไปแล้ว ในปี ค.ศ. 1980 FujioMasuoka จาก Toshiba เปน็ ผนู้ ำ� นวตั กรรม Flash memory ออกจำ� หนา่ ยขณะท่ี Sony และ Philips ได้พัฒนา CD-ROM เพ่ือใชบ้ รรจุข้อมลู ในปีค.ศ. 1979 Sony & Phillips ตัดสินใจรว่ มมอื กันจดั ต้ังทมี วศิ วกรร่วมซึง่มภี ารกจิ ออกแบบแผ่นดิสค์ (Compact Disc) ระบบเสียงดจิ ติ อลแบบ 43

ใหมข่ ึน้ จึงท�ำใหเ้ กดิ แผ่น CD เพลงออกมาจ�ำหน่าย ต่อมาได้ก่อก�ำเนดิโทรศพั ท์เคลอื่ นท่ี (Cell Phones) เคร่ืองแรกซึ่งถกู ผลติ และน�ำออกแสดงในปี ค.ศ. 1973 โดย Martin Cooper นกั ประดิษฐจ์ าก บริษทั โมโตโรลา่Motorola DynaTAC 800ox เป็นโทรศัพท์เคลื่อนท่ีขนาดใหญ่ท่ีมีน้�ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1980หลังจาก Philips, Sony,Toshiba และ Panasonic ผลิตแผ่นซีดีออกจ�ำหน่ายไปแล้ว 13 ปี ก็ได้มีการพัฒนาเป็นแผ่น DVD ท่ีสามารถบรรจุข้อมูลได้มากข้ึนออกสู่ตลาดเม่ือปี ค.ศ. 1995 โดยกลุ่มพันธมิตรใหม่ซึ่งได้ก่อตั้งเป็นสมาคม DVD Consortiumประกอบด้วยบริษัท Phillips, Sony และอีก 7 บริษัท ได้แก่ ฮิตาชิแมทซูชิต้า (หรือพานาโซนิค), ไพโอเนียร์, มิตซูบิชิ, เจวีซี, ธอมสันโตชิบา้ และ ไทม์ วอร์นเนอร์ และในชว่ งเวลาเดียวกันนัน้ Compaq,Microsoft, NEC, IBM และ Intel ก็ได้เร่มิ พฒั นาและผลิต USB flash driveเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส�ำหรับเก็บข้อมูลท่ีมีขนาดเล็กและน้�ำหนักเบาออกวางจำ� หน่าย จากทก่ี ล่าวมาข้างต้น สิง่ เหล่านคี้ ือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการส่ือสารท่ีมีการพัฒนาอย่างต่อเน่ืองมาโดยตลอดส่ิงเหล่านี้เปน็ จดุ เรม่ิ ตน้ ของนวตั กรรมและประดษิ ฐกรรมอนั นำ� ไปสรู่ ะบบเทคโนโลยีการสอื่ สารและระบบดิจิตอลเทคโนโลยีในปัจจุบนัต้นกำ� เนดิ ไฟฟา้ และพลงั งานทดแทน นี่คืออีกประดิษฐกรรมหนึ่งที่มีบทบาทส�ำคัญในความเป็นอยู่ของมนุษยแ์ ละอุตสาหกรรม ต้ังแตย่ คุ โบราณมามีการใชแ้ รงงานคนและสตั ว์ในการทำ� งาน ประดษิ ฐกรรมเครอ่ื งจกั รไอนำ้� ของJamesWatt(ค.ศ. 1765)นบั เปน็ นวตั กรรมและประดษิ ฐกรรมของมนษุ ยท์ รี่ จู้ กั นำ� พลงั งานอยา่ งอน่ืมาทดแทนการใชแ้ รงงานคนและสตั ว์ เครอ่ื งจกั รไอนำ�้ นบั เปน็ การเรม่ิ ตน้ 44

ของอุตสาหกรรมยุคแรกอันน�ำไปสู่การผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมและรถไฟไอนำ�้ เรอื กลไอน้�ำและอ่นื ๆ การค้นพบพลงั งานท่เี กิดจากการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ นับเป็นการเร่ิมต้นของอุตสาหกรรมยุคสองทใ่ี ชค้ นทำ� งานควบคไู่ ปกบั การควบคมุ เครอื่ งจกั ร การคน้ พบขว้ั ไฟฟา้ ของAlessandroVolta (ค.ศ.1800) นำ� ไปสกู่ ารผลติ แบตเตอรโ่ี ดยLuigiGalvaniและต่อมา Gaston Plante (ค.ศ. 1859) ไดป้ ระดษิ ฐแ์ บตเตอรี่เซลล์ไฟฟา้แบบตะก่ัว-กรด (Lead Acid Battery) เป็นแบตเตอร่ีแบบชาร์จได้ชนิดแรกท่ีท�ำออกมาเพ่ือการค้า (ปัจจุบันใช้ในแบตเตอร่ีรถยนต์) ในปีค.ศ. 1886 Carl Gassner ไดพ้ ัฒนาแบตเตอรี่เปยี ก (Wet Cell) ของGeorges Leclanche ให้เป็นแบตเตอร่ีแห้ง (Dry Cell) ได้ท�ำรูปแบบให้เหมือนก้อนรูปทรงกระบอกตามท่ีเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน(Zinc-carbonbattery) นคี่ อื นวตั กรรมตน้ แบบของCellbattery และการคน้ พบ Photovoltaic ของ A.E. Becquerel (ค.ศ. 1839) คอื จดุ เรมิ่ ตน้ ของSolar Cell ในขณะที่ Sir William Robert Grove ประดิษฐ์ Fuel cell ข้นึในเวลาไลเ่ ลย่ี กนั ในขณะทท่ี ำ� งานในหอ้ งทดลองในเอสโซ่ S. Whittington 45

ได้ค้นคว้าวิจัยพลังงานจากแบตเตอร่ีลิเธียมไอออน แต่สารที่ใช้ไม่เสถียรจึงหยดุ ทำ� การวิจยั ลิเธียมไอออนตอ่ ในเวลาต่อมา A Goodshallแห่งมหาวิทยาลัย Stanford ได้วิจัยสารประกอบลิเธียม-โคบอลต์จนสามารถผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ชาร์จไฟได้ อันน�ำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเบตเตอร่ีลิเธียมไอออนอย่างต่อเนื่อง ส่วนพลังงานนิวเคลียร์ Otto Hahn นาซีชาวเยอรมันเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีการแตกตัวของนวิ เคลียร์ (Nuclear Fission) แต่ Lise Meitner ไดน้ �ำความรู้นหี้ ลบหนีจากเยอรมันเข้าสู่สวีเดนและเข้าร่วมโครงการ Manhattan Projectสหรฐั อเมรกิ าในการทำ� ระเบดิ นวิ เคลยี รใ์ นปี ค.ศ. 1950 นำ� มาซงึ่ การผลติลูกระเบิดนิวเคลียร์ และเริ่มมีการประดิษฐ์ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกา นวตั กรรมทกี่ ลา่ วมาขา้ งตน้ คอื จดุ เรม่ิ ตน้ ของประดษิ ฐกรรมพลงั งานทดแทนด้วยพลังงานจากแบตเตอร่ี พลังงานจากแสงแดดและจากนวิ เคลยี ร์ พลงั งานทางเลอื กเหล่านี้พลังงานจากแบตเตอร่ลี เิ ธียมไอออนกำ� ลงั มบี ทบาทสงู ขนึ้ เรอ่ื ยๆ ขณะทพี่ ลงั งานแสงอาทติ ยก์ เ็ ขา้ มามบี ทบาทในสงั คมมนษุ ย์ และอุตสาหกรรมมากข้นึ ๆ ทั้งนีเ้ พราะเซลลแ์ สงอาทติ ย์จะถกู ลงและมีประสิทธิภาพมากข้นึ 46

การพัฒนาและประดิษฐกรรมทางชวี ภาพ การค้นคว้าทางชีวภาพไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง แต่มนุษย์รู้จักการใช้จุลินทรีย์มาตั้งแต่โบราณกาล คนจีนรู้จักการหมักเหล้าโดยใช้ยีสต์มาหลายพันปีแล้ว และรู้จักการใช้กรดแลคติคมาท�ำโยเกิร์ตเนยแข็ง และเต้าหู้ ในขณะท่ชี าวอียิปตร์ ูจ้ ักน�ำยสี ต์มาท�ำขนมปงั มนษุ ย์เริ่มให้ความสนใจในส่ิงมีชีวิตและส่ิงประกอบของส่ิงมีชีวิตมากข้ึนในยุคหลังๆ นักชีววิทยาอย่างเช่น Antonie van Leeuwenhoek เร่ิมศึกษาแบคทีเรียและโพรโทซวั (Protozoa) ในช่วงปี ค.ศ. 1670 EdwardJenner สังเคราะห์วัคซีนเด็กที่ป่วยเป็น Smallpox และใช้เป็นวัคซีนในการฉีดป้องกันให้เด็กใน ค.ศ. 1798 จากน้ันนักชีววิทยาได้ศึกษามากขึ้นในเร่อื งของเซลล์ส่งิ มชี ีวิต และมกี ารค้นพบโปรตีนในเซลล์ โดยนักชีววิทยาคนส�ำคัญคือ Gerardus Johannes Mulder และ JonsJacob Berzelius ถดั มาคอื Louis Pasteur ผคู้ น้ พบแบคทเี รยี ใน ค.ศ.1862 อันน�ำมาซึ่งการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอหิวาตกโรคและโรคแอนแทรกซ์ในไก่ อกี ทั้งวัคซนี ป้องกนั โรคพิษสนุ ัขบ้าในปถี ัดๆ มา และในปี ค.ศ. 1869 Friedrich Miescher นกั ชีววทิ ยาอีกทา่ นหน่งึ ไดค้ ้นพบDNA จากน้�ำอสจุ ิของปลาเทราต์ สว่ น Walther Flemming ก็ไดค้ น้ พบCytogenetics ซงึ่ นำ� มาซงึ่ การคน้ พบ Chromosomes ในครสิ ตศ์ ตวรรษท่ี20 การศกึ ษาและค้นควา้ ทางชีววิทยามีเพิม่ มากขึน้ อกี ทง้ั ใหค้ วามสนใจทางพันธุกรรมมากขึ้น Alexander Fleming วิจัยพบว่าเชื้อราบางชนิดสามารถยบั ยง้ั การเจรญิ เตบิ โตของแบคทเี รยี ได้ ซง่ึ นำ� ไปสกู่ ารพฒั นาตวั ยาแอนตี้ไบโอติกหรอื ยาปฏชิ วี นะ เชน่ ยาเพนิซลิ ลิน เตตราไซคลีน เปน็ ตน้การค้นพบของ Walther Flemming ในเซลล์พนั ธกุ รรม (Cytogenetics)เปน็ การคน้ พบทส่ี ำ� คญั สำ� หรบั มวลมนษุ ยใ์ นดา้ นสขุ ภาพและการรกั ษาโรคของมนษุ ย์ ในขณะทก่ี ารคน้ ควา้ ทางชวี ภาพมกี ารคน้ ควา้ มากขน้ึ ใน DNA 47

เช่น มีการตัดต่อยีนโดยใช้ยีนแบคทีเรียเข้าไปใน DNA โดย StanleyNorman Cohen และ Herbert Boyer ในขณะที่นกั ชวี วทิ ยา Clyde A.Hutchison III และ Marshall Edgell เริม่ ศึกษาการเปลยี่ นโครงสรา้ งของDNA อนั นำ� ไปสู่ Gene cloning โดย Cohen และ Boyer ในปี ค.ศ.1980 และสหรัฐอเมรกิ าอนุญาตการรกั ษาโดย Gene therapy ในปี ค.ศ.1990 เปน็ ครงั้ แรกใหแ้ กเ่ ด็กหญิงท่ปี ่วยเปน็ โรคภูมคิ ุม้ กนั บกพรอ่ ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอนุญาตให้ใช้อาหารจาก GMO ในมะเขือเทศ นี่คอื อกี ก้าวของการพัฒนา GMO ของบริษัทMonsanto DuPont และ Bayer ในเมลด็ พชื และผัก GMO เมลด็ พันธ์ข้าวเป็นเมล็ดพืชแรกท่ีถูกดัดแปลงโดยพันธุกรรมตามมาด้วยเมล็ดฝ้ายข้าวโพด ถั่วเหลือง อันเป็นธัญพืชส�ำคัญของมนุษย์ในขณะที่การศึกษาพัฒนาโคลนน่ิงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น การโคลนน่ิงแกะที่ช่ือ Dolly โดยนักชีววิทยาชาวอังกฤษ Sir Ian Wilmut แห่งสถาบันรอสลนิ (Roslin Institute) เมื่อปี ค.ศ. 1997 48


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook