Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 91c41de8997b8006552dee9af24bf014

91c41de8997b8006552dee9af24bf014

Description: 91c41de8997b8006552dee9af24bf014

Search

Read the Text Version

คูม่ ือ การเล้ยี งไก่พ้ืนเมืองสาหรับเกษตรกรรายยอ่ ย (Indigenous chicken raising manual for village people) ไดร้ บั ทนุ อุดหนนุ การทากจิ กรรมส่งเสริมและสนับสนนุ การวิจัย โครงการ “Research for Community”ทุนอุดหนุนการวิจยั ประจาปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยแมโ่ จ้ รว่ มกับ สานักงานคณะกรรมการวจิ ัยแหง่ ชาติ (วช.)

ก หนา้ สารบัญ ก (List of content) ข เรอื่ ง ค 1 สารบัญเรอื่ ง 2 สารบัญตาราง 4 สารบัญภาพ 6 การตลาดไกพ่ นื้ เมืองสาหรบั เกษตรกรรายย่อย 9 โรงเรอื นสาหรับการเล้ียงไก่พื้นเมือง 10 อปุ กรณ์ท่ีจาเปน็ สาหรับการเลี้ยงไก่พ้ืนเมือง 13 การผสมพันธุ์และการเลย้ี งไก่พ้ืนเมือง 18 การสอ่ งไข่ฟัก 19 การเลย้ี งดลู กู ไก่ 20 โภชนะทสี่ าคญั และอาหารสาหรบั ไก่พน้ื เมือง 25 อาหารหมกั สาหรับการเลี้ยงไก่ การสุขาภิบาลและการปอ้ งกันโรคในไก่พ้ืนเมือง 25 การใหว้ คั ซนี ป้องกนั โรค แหล่งทุนอุดหนุน คณะผจู้ ดั ทาคู่มือองค์ความรู้

ข สารบญั ตาราง (List of Tables) ตารางที่ หนา้ 1 ตัวอยา่ งอาหารไก่พ่อ-แม่พนั ธุ์ 15 2 ตัวอย่างสตู รอาหารเลี้ยงไก่ขุน 17 (7 สปั ดาห์ข้ึนไป) 3 ตวั อยา่ งโปรแกรมการให้วคั ซีนปอ้ งกนั โรค 21 สาหรับไกพ่ น้ื เมอื ง

ค สารบญั ภาพ (List of Illustrations) ภาพที่ หนา้ 1 การขนสง่ ไกเ่ พอื่ การจาหน่ายพนื้ เมืองในชุมชน 2 2 โรงเรือนสาหรบั การเลย้ี งไกแ่ ละอปุ กรณ์ให้ 3 อาหารและน้า 3 อปุ กรณ์การให้อาหารไก่พน้ื เมืองแบบต่างๆ 5 4 ลกั ษณะพ่อพนั ธุ์และแม่พนั ธ์ไุ ก่พ้ืนเมืองทีด่ ี 7 5 ตาแหน่งการวางรังไข่และวัสดุท่ีใช้สาหรบั การ 9 ทารงั ไข่ 6 วธิ กี ารสอ่ งไข่โดยใช้ไฟฉาย 10 (ก : ไข่ลม, ข : ไข่เช้ือตาย, ค : ไขม่ เี ช้อื อายุ ประมาณ 18 วนั ) 7 การเล้ยี งดูลกู ไก่ 13 8 ตวั อย่างพชื สาหรับสตู รอาหารไก่ 17 9 วธิ กี ารหมักสว่ นผสมของอาหารหมกั สาหรบั 19 เลย้ี งไก่ 10 อปุ กรณ์สาหรบั การทาวคั ซีนและการใหว้ คั ซนี 23 ปอ้ งกันโรคสาหรับไก่พ้นื เมือง

ง หน้า 24 สารบัญภาพ (ต่อ) (List of Illustrations) ภาพที่ 11 ลกั ษณะของไกป่ ว่ ยจากพยาธิภายนอกและ ภายใน

1 การเลย้ี งไก่พืน้ เมืองสาหรับเกษตรกรรายย่อย ก า ร เ ลี้ ย ง ไ ก่ ส า ห รั บ เ ก ษ ต ร ก ร ร า ย ย่ อ ย มั ก เ ล้ี ย ง เ ป็ น อาชีพเสริม ดังน้ัน เกษตรกรรายย่อยจึงควรเล้ียงไก่ในระบบการ เล้ียงแบบปล่อยให้ไก่หากินตามธรรมชาติ (Free range) ในสวน ผลไม้ สวนลาไยหรือทว่ี า่ งหลังบา้ น เป็นต้น การเลย้ี งแบบปล่อยน้ีจะ ทาให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ เช่น การคลุกฝุ่น การไซ้ขน การจิกกินใบพืชและแมลง ทาให้ไก่มีสุขภาพดี มีความสขุ เรียกว่า ไก่อารมณ์ดี (Happy chick) การให้อาหารเสริมส่วนใหญ่ จะใช้วตั ถดุ ิบที่หาได้ง่ายในท้องถนิ่ หรือเศษเหลือทางการเกษตร เช่น ต้นกล้วยหมัก มันสาปะหลังหมัก ข้าวโพด ปลายข้าว ราละเอียด ฯลฯ ซึ่งอาจจะทาให้ไก่โตช้าไปบ้าง แต่ไก่มีสุขภาพดี แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค โดยไม่จาเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื้อไก่ที่ได้จึงมี คุณภาพดีและมีคุณค่าทางอาหารท่ีแตกต่างไปจากไก่ที่เลี้ยงแบบขัง คอกตลอดเวลา 1. การตลาดไก่พน้ื เมอื งสาหรับเกษตรกรรายยอ่ ย การจาหนา่ ยไกพ่ ื้นเมืองขนุ มหี ลายวธิ ี เช่น 1. จาหน่ายเป็นไก่มีชีวิต โดยไก่พื้นเมืองสายพนั ธุ์ ประดู่หางดา (กรมปศุสัตว์) ท่ีเลี้ยงแบบปล่อยให้หาอาหารกินเอง ตามธรรมชาติขนาดน้าหนัก 1.2-1.5 กิโลกรัม จาหน่ายในราคา 90-95 บาท/กิโลกรัม (บางพ้ืนที่อาจจะสูงกว่าน้ี) สาหรับไก่พ้ืนเมือง

2 ลูกผสมที่เลี้ยงในโรงเรือนตลอดเวลา จาหน่ายได้ในราคา 80-85 บาท/กิโลกรมั โดยพอ่ ค้ามักจะมาซอ้ื ถงึ บ้าน (ภาพท่ี 1) 2. การจาหน่ายไก่ชาแหละ พ่อค้าและเกษตรกร บางรายต้องการเพ่ิมมูลค่าของไก่โดยจะชาแหละและเอาเครื่องใน ออก ยกเว้น หัวใจ ตับและกึ๋น จาหน่ายในตลาดสดหรือตลาดชมุ ชน (ราคาประมาณ 130-160 บาท/กิโลกรัม สาหรับไกพ่ ืน้ เมืองแท้ และ 120-130 บาท/กิโลกรัม สาหรับไก่พ้ืนเมอื งลูกผสม) ภาพที่ 1 การขนส่งไกเ่ พื่อการจาหนา่ ยพน้ื เมืองในชมุ ชน 2. โรงเรือนสาหรบั การเลีย้ งไก่พื้นเมือง โรงเรือนสาหรับเล้ียงไก่พื้นเมืองนั้นไม่มีรูปแบบท่ีตายตัว แน่นอน โรงเรือนอาจจะทาเป็นเพิงแหงน เพิงแหงนกลาย แบบหน้า จ่ัว และอื่น ๆ สาหรับไก่พ้ืนเมืองน้ัน ควรสร้างโรงเรือนให้มีพ้ืนที่ แปลงพืชอาหารสัตว์ไว้ด้านหลังสาหรับไก่ได้ออกไปคุ้ยเขี่ยหากิน อาหารตามธรรมชาติบ้าง เพ่ือช่วยลดความเครียดและไก่จะได้แสดง พฤติกรรมตามธรรมชาติได้ เช่น การคุ้ยเขี่ย การคลุกฝุ่น

3 การอาบฝุ่นทราย จะช่วยให้ไก่มีสุขภาพดีขึ้น (ภาพที่ 2) ลักษณะ และโครงสร้างของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและวัตถุประสงค์ ของการเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน อย่างไรก็ตาม โรงเรือนเล้ียงไก่ พ้ืนเมืองทดี่ นี ัน้ ควรมลี ักษณะ ดงั น้ี 1. สามารถป้องกันแดด กันลมและกนั ฝนได้ดี 2. ภายในโรงเรือนควรโปร่ง ไม่อับทึบ ไม่ช้ืน และมีการ ระบายอากาศดี แตไ่ ม่ถึงกบั มีลมโกรก 3. ควรสร้างโรงเรือนแบบประหยัด ใช้วัสดุส่ิงก่อสร้างที่หา ได้ง่ายในท้องถ่ิน รักษาความสะอาดง่าย สามารถพ่นน้ายาฆ่าเช้ือ โรคและยากาจัดปรสิตภายนอกไดง้ า่ ยและทัว่ ถงึ 4. ป้องกันศตั รูตา่ ง ๆ ไดด้ ี เช่น สุนัข แมว นกและหนู ฯลฯ 5. ห่างจากที่พักอาศัยพอสมควร 6. จะตอ้ งออกแบบก่อสรา้ งใหส้ ะดวกต่อการเขา้ ปฏิบัติงาน ภาพที่ 2 โรงเรอื นสาหรบั การเลี้ยงไกแ่ ละอุปกรณ์ใหอ้ าหารและนา้

4 3. อปุ กรณท์ ่จี าเป็นสาหรบั การเลย้ี งไก่พ้ืนเมือง ไดแ้ ก่ (ภาพท่ี 3) 1. อุปกรณ์ให้อาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารหกหล่นและ ปลอดภัยจากเช้ือโรคต่างๆ ที่อยู่บนพ้ืนดิน อาจทาจากวัสดุ ในท้องถิ่นท่ีทาได้ง่าย ทนทานและรักษาความสะอาดได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่ผ่าซีก ยางรถยนต์ผ่าซีกหรือใช้ถังอาหารไก่แบบแขวนถังแขวน จ ะต้ อง จั ด เ ต รี ย ม ไว้ ใ ห้ เ พี ย ง พ อกั บ จ า น ว น ไ ก่ ที่ เ ลี้ ย ง เ พร า ะ ต า ม ธรรมชาติแลว้ ไก่พื้นเมืองจะกนิ อาหารพร้อม ๆ กนั 2. อุปกรณ์ให้น้า ควรจัดหาน้าให้ไก่ได้มีน้ากินตลอดเวลา อุปกรณ์ให้น้าอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก ถ้วย จาน อ่างดินหรือกระปุกน้า พลาสตกิ กไ็ ด้ 3. คอนนอน ตามธรรมชาติไก่พ้ืนเมืองจะไม่นอนบนพนื้ ดนิ แต่ชอบนอนบนก่ิงไม้ บนต้นไม้หรือคอนไม้ ดังนั้น ควรจัดให้มี คอนนอนไว้มมุ ใดมมุ หนงึ่ เพอื่ ให้ไกใ่ ช้เปน็ ทนี่ อนในเวลากลางคืน 4. รังไข่ ปกติไก่พ้ืนเมืองจะเร่ิมไข่เม่ืออายุประมาณ 6-8 เดือน ดังน้ันผู้เล้ียงจะต้องจัดหารังไข่ไว้ให้ไก่ก่อนที่ไก่จะเริ่ม วางไข่ ถ้าหากต้องการให้แม่ไก่ฟักไข่เองจะต้องจัดหารังให้มีจานวน ครบตามจานวนหรือมากกว่าแม่ไก่ท่ีเล้ียงเพื่อให้แม่ไก่เลือกรังท่ี เหมาะสม มฉิ ะนั้นจะเกิดปญั หาแม่ไกแ่ ย่งรงั ไข่กนั

5 ภาพที่ 3 อปุ กรณ์การใหอ้ าหารไก่พ้นื เมืองแบบต่างๆ

6 ตวั อย่างการจัดการโรงเรอื นสาหรบั การเลีย้ งไก่ พนื้ เมอื งแบบปล่อย พื้นทแ่ี ปลงหญ้า/พืชอาหารสัตว์ อตั รา 1 ตร.ม./ตวั พ้ืนที่ภาย พืชอาหารสัตว์ เชน่ หญา้ รซู ี หญ้าเนเปยี ร์ หญา้ แห้วหมู หญ้า โรงเรอื น 5-8 ตวั / มาเลเซีย ถ่วั เขยี ว ฯลฯ ตร.ม. ภายนอกล้อมดว้ ยตาข่ายเพอื่ ปอ้ งกันศัตรขู องไก่ 4. การผสมพนั ธุ์และการเลีย้ งไกพ่ ้นื เมอื ง ไก่พื้นเมืองในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะ อาศัยการจาแนกสายพันธ์ุโดยดูจากลักษณะของสีขน เช่น ไก่ประดู่ หางดา ไก่เหลืองหางขาว ไก่ชี และไก่นกแดง เป็นต้น แต่สายพันธ์ทุ ี่ แนะนาและสง่ เสรมิ ให้เลี้ยงโดยกรมปศสุ ัตว์ไดแ้ ก่ สายพนั ธป์ุ ระดหู่ าง ดา ซึ่งพัฒนาสายพันธุ์มาจากไก่พ้ืนเมืองให้มีลักษณะที่โตเร็ว ให้ไข่ ดกพอประมาณ อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกไก่ท่ีจะนามาทาเป็น พ่อ-แม่พันธุ์น้ัน เกษตรกรควรจะมีการคัดเลือกไก่ที่มีลักษณะต่างๆ ดงั ต่อไปน้ี

7 1. ลักษณะพ่อพันธ์ุท่ีดี จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แขง็ แรง มีน้าหนกั ตัวต้งั แต่ 2.5 กโิ ลกรมั ขน้ึ ไป มอี ายตุ ัง้ แต่ 9 เดือน ข้ึนไปแต่ไมค่ วรเกิน 3 ปี (ภาพท่ี 4) 2. ลักษณะแม่พันธุ์ที่ดี จะต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ แขง็ แรง ไขด่ ก มนี ้าหนักตัวต้ังแต่ 1.5 กิโลกรมั ข้นึ ไป มอี ายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ควรเกิน 3 ปี และจะต้องมีความสามารถเฉพาะตัว (ภาพท่ี 4) ดังตอ่ ไปน้ี 1. ใหไ้ ข่อย่างน้อยปีละไม่น้อยกวา่ 4 ครอก 2. ใหไ้ ข่อย่างน้อยครอกละไม่น้อยกว่า 12 ฟอง 3. เล้ียงลูกเก่ง ไม่มีนิสัยดุร้ายและไม่จิกตีลูกของ แม่ไกต่ ัวอน่ื ภาพท่ี 4 ลักษณะพอ่ พนั ธุ์และแม่พนั ธ์ไุ ก่พนื้ เมอื งทด่ี ี สัดสว่ นตัวผูต้ ่อตัวเมีย การเลยี้ งแบบปล่อยนั้นจะต้องใช้ไก่ ตวั ผคู้ ุมฝูงในอตั ราส่วนตวั ผู้ 1 ตวั ต่อไก่ตวั เมีย 5-8 ตัว ถ้ามไี กต่ วั ผใู้ น

8 อัตราส่วนที่มากกว่าน้อี าจจะทาให้ไก่ตัวเมียไม่ได้รับการผสมพันธุไ์ ด้ เน่ืองจากมกี ารแก่งแย่งไกต่ ัวเมยี รงั ไข่ ผูเ้ ล้ียงจะต้องจดั หารงั ไข่ไวใ้ ห้ไก่ก่อนท่ีไกจ่ ะเร่มิ วางไข่ ถ้าหากต้องการให้แม่ไก่ฟักไข่เองจะต้องจัดหารังให้มีจานวนครบ ตามจานวนหรือมากกวา่ แม่ไกท่ ่เี ลีย้ งเพื่อให้แม่ไก่เลือกรังที่เหมาะสม มฉิ ะนัน้ จะเกดิ ปัญหาแมไ่ ก่แย่งรงั ไข่กนั - วัสดุทารัง มักจะนามาดัดแปลงจากกล่อง กระดาษ เขง่ หรอื ตะกรา้ ทม่ี ขี นาดเหมาะสมกับตวั ไก่ (ภาพท่ี 5) - ตาแหน่งท่ีตั้งของรังไข่ ควรอยู่ในที่มิดชิด ไม่ รอ้ น ไม่อับช้นื ไม่มืดจนเกนิ ไป ไมส่ วา่ งจนเกินไป และไม่มีส่งิ รบกวน นอกจากนี้ จะต้องไม่วางรังไข่ไว้ในบริเวณที่ไก่ตัวอ่ืนใช้เป็นที่นอน เน่ืองจากจะถูกไก่ตัวอ่ืนมารบกวนในขณะแม่ไก่กาลังฟักไข่ได้ เมื่อฟักไข่ออกแล้วจะต้องเปลี่ยนวัสดุรองและนาไข่เก่าออกไปทิ้ง หรือเผาไฟเพื่อทาลายแมลง เหาและไร จากนนั้ ทาความสะอาดรังไข่ เพอื่ เตรยี มไวส้ าหรบั ให้แมไ่ ก่วางไข่ตอ่ ไป

9 ภาพท่ี 5 ตาแหนง่ การวางรงั ไขแ่ ละวัสดทุ ่ีใช้สาหรบั การทารังไข่ 5. การสอ่ งไข่ฟกั การส่องไข่ฟักว่าไข่ฟองนั้นมีเชื้อหรือไม่สามารถทาได้ง่าย โดยใช้ไฟฉาย เพ่ือคัดไข่ฟักที่ไม่มีเชื้อออกไปจะช่วยให้แม่ไก่สามารถ ฟักไข่ท่ีมีเชื้อได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งข้ึน การส่องไข่ฟักสามารถทา ไดท้ ่ีอายุ 7, 14 และ 18 วนั ถา้ ไข่มีเชอ้ื (ภาพที่ 6) - อายุฟัก 7 วัน จะพบเห็นเสน้ เลือดเป็นรา่ งแห - อายุฟัก 14 วันจะเห็นบางส่วนทึบและเห็นเส้น เลอื ดบางส่วน - อายุฟัก 18 วัน ฟองไข่ส่วนใหญ่จะทึบแสง อาจจะ มองเห็นตัวออ่ นลูกไกเ่ คลือ่ นทีบ่ า้ ง

10 - ไขฟ่ ักทไ่ี ม่มเี ชอ้ื จะเห็นเป็นลกั ษณะโปรง่ แสง - ไข่เช้ือตายจะปรากฏเป็นจุดสีดาภายในฟองไข่ให้ เหน็ กข ค ภาพท่ี 6 วธิ กี ารสอ่ งไขโ่ ดยใช้ไฟฉาย (ก : ไข่ลม, ข : ไขเ่ ชอ้ื ตาย, ค : ไข่มีเชอ้ื อายุประมาณ 18 วนั ) 6. การเลยี้ งดลู ูกไก่ การเล้ียงและการดูแลลูกไก่พ้ืนเมอื ง (ภาพที่ 7) แบง่ ออกได้ 2 วธิ ี ไดแ้ ก่

11 1. การใหแ้ ม่ไกเ่ ลยี้ งลูกเอง เม่ือลูกไก่ออกจากไข่หมดแล้วให้ย้ายแม่ไก่และลูกไก่ลงมา ขังในสุ่มหรือในกรง เพื่อให้แม่ไก่ได้ทาหน้าท่ีกกให้ความอบอุ่นแก่ ลูกไก่โดยไม่จาเป็นต้องใช้ไฟกก จัดให้ไก่ได้กินอาหารและน้าเต็มท่ี จะช่วยให้ลูกไก่แข็งแรง ลดอัตราการตายและทาให้แม่ไก่ฟื้นตัวได้ เร็วขึ้น เมื่อลูกไก่แข็งแรงดีแล้ว (อายุ 1-2 สัปดาห์) จึงเปิดสุ่มหรือ กรงให้ลูกไก่ออกไปหากินกับแม่ไก่ได้ ปล่อยให้แม่ไก่เล้ียงลูกต่อไป อีกประมาณ 2 สัปดาห์ จึงแยกลูกไก่ออกจากแม่ไก่ นาไปเล้ียงใน กรงหรือเลี้ยงแยกเลี้ยงต่างหากเพ่ือให้แม่ไก่ได้พักตัวและเตรียมตัว สาหรับการใหไ้ ข่ในรุ่นต่อไป ลูกไกท่ ่ีแยกออกจากแม่ไก่ใหม่ ๆ ยังหาอาหารไม่เก่งและยัง ป้องกันตัวเองไม่ได้ ผู้เลีย้ งจึงต้องดูแลเป็นพิเศษเพ่ือให้ลูกไกแ่ ข็งแรง และเมื่ออายุได้ 1.5-2 เดือนจึงปล่อยเล้ียงตามธรรมชาติในระยะนี้ เป็นระยะที่ลูกไก่จะมีอัตราการตายมากท่ีสุด เนื่องจากลูกไก่จะต้อง มีการปรบั ตวั หลายอย่าง โดยเฉพาะเรือ่ งการหาอาหารกินเอง ดงั น้ัน ผู้เล้ยี งจึงต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่องการให้อาหาร นา้ และ การป้องกนั โรค เป็นต้น 2. การเลย้ี งดลู ูกไกแ่ ทนแม่ ลูกไก่แรกเกิดจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น ได้และยังหาอาหารกินเองไม่เก่ง ดังน้ัน หลังจากท่ีลูกไก่ฟักออกมา จะต้องนาไปเล้ียงในกรงกกท่ีให้ความอบอุ่น จัดให้มีน้าและอาหาร

12 กินอย่างเต็มท่ีเพ่ือให้ลูกไก่แข็งแรงและเจริญเติบโตปกติจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 สัปดาห์ข้ึนกับฤดูกาลและสภาพอากาศ อุณหภูมิที่ เหมาะสมสาหรับการกกโดยจะเริ่มต้นที่ 35 °ซ (95 °ฟ) จากนั้นจะ ลดอุณหภมู กิ กลงมาทกุ สัปดาห์ๆ ละประมาณ 3 °ซ (ประมาณ 5 °ฟ) จนกระทง่ั อยู่ทอ่ี ุณหภูมิอากาศปกติ อย่างไรก็ตาม อุณหภมู ทิ ่ีแนะนา นี้เป็นเพียงแนวทางปฏิบัติเท่านั้น ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตพฤติกรรม ของลูกไก่ควบคู่ไปด้วย เช่น ถ้าหากอุณหภูมิต่าเกินไปลูกไก่จะนอน สุมรวมกัน ถ้าลูกไก่พยายามหนีห่างจากเคร่ืองกก แสดงว่าอุณหภูมิ สงู เกินไป เปน็ ต้น

13 ภาพที่ 7 การเล้ยี งดูลูกไก่ การเล้ียงไกพ่ ื้นเมืองโดยทัว่ ไปเกษตรกรมกั จะปล่อยให้ไก่หา กินเองตามธรรมชาติและอาจจะให้อาหารเพ่ิมเติมบ้างในช่วงเช้า หรือเย็น อาหารท่ีให้ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือก ปลายข้าวหรืออาจจะ เป็นเศษอาหารจากครัวเรือน ทาให้ไก่มักจะประสบปัญหาการขาด สารอาหารและเจรญิ เติบโตช้า การจัดการอาหารท่ีเหมาะสมจะชว่ ย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยให้ไก่มีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น อัตราการตายลดลง ฯลฯ 7. โภชนะท่สี าคัญและอาหารสาหรบั ไกพ่ ้นื เมอื ง 1. โปรตีน เพื่อนาไปสรา้ งกล้ามเนือ้ ขน เลอื ดและภมู คิ ้มุ กัน วตั ถุดิบจากพชื ได้แก่ กากถั่วเหลอื ง ใบกระถิน ฯลฯ วัตถดุ ิบจากสตั ว์ ได้แก่ ปลาป่น หอยเชอร่ี ไส้เดือน หนอน แมลง ฯลฯ 2. แป้ง หรือ คาร์โบไฮเดรต เพื่อนาไปสร้างพลังงานใน ร่างกายสาหรับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เดิน ว่ิงหรือทากิจกรรม

14 ต่าง ๆ ในแต่ละวัน วัตถุดิบได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปลายข้าว ขา้ วโพด ข้าวเปลือก มันสาปะหลัง เปน็ ตน้ 3. ไขมัน เพื่อนาไปสร้างความอบอุ่นให้แก่รา่ งกาย วัตถุดิบ จากพืชได้แก่ น้ามันจากถ่ัว มะพร้าวหรือกากมะพร้าว วัตถุดิบจาก สตั วไ์ ด้แก่ น้ามันหมู ไขสตั ว์ เป็นตน้ 4. แ ร่ ธ า ตุ จาเป็นสาหรับการสร้างกระดูก เป็น ส่วนประกอบของเลือดและเปลือกไข่ วัตถุดิบได้แก่ เปลือกหอยป่น กระดกู ปน่ หินเกล็ด หนิ ฝุ่น และไดแคลเซยี มฟอสเฟต เป็นตน้ 5. ไวตามิน จาเป็นสาหรับการสร้างความแข็งแรงและช่วย สร้างภูมิต้านทานโรคและบารุงระบบประสาท ส่วนใหญ่ได้จากพืช สด หญา้ สด ใบกระถนิ ข้าวโพด ราข้าว เปน็ ตน้ อาหารสาหรับไก่พ่อ-แมพ่ นั ธุ์ ไก่พ่อแม่พันธุ์ต้องการโภชนะเพ่ือดารงชีพ การให้ไข่ การสร้างภูมิคุ้มกันและจะต้องสะสมโภชนะไวใ้ นฟองไข่เพ่ือสง่ ต่อไป ยังลูก ไก่พ่อแม่พันธุ์ต้องการโปรตีนประมาณ 15-16% ในอาหาร จะต้องมีไวตามินและแร่ธาตุเพียงพอต่อความต้องการ สาหรับการ เล้ียงไก่แบบปล่อยอิสระตอ้ งการอาหารประมาณ 90-120 กรัม/ตัว/ วัน สูตรอาหารสาหรับไก่พ่อแม่พันธุ์ อาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ข้ึนกับชนิดของวัตถุดิบท่ีมีในแต่พ้ืนท่ีรวมทั้งราคาวัตถุดิบด้วย ตัวอยา่ งสตู รอาหารสาหรบั ไก่พ่อแม่พนั ธ์ุ (ตารางท่ี 1)

15 ตารางที่ 1 ตวั อย่างสตู รอาหารไก่พ่อ-แม่พนั ธุ์ รายการ สูตร 1 (กก.) สตู ร 2 (กก.) อาหารสาเร็จรูปไกเ่ นอ้ื 75 75 (CP21%) ราละเอยี ด 20 20 5- แกลบ/ราหยาบ -5 หญ้าเนเปียรส์ บั 100 100 นา้ หนกั รวม (กก.) 14.9 14.9 โปรตีน(%) ท่มี า : โครงการระบบการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่พ้นื เมอื งประดู่หาง ดาอย่างยง่ั ยนื (2556) อาหารสาหรับไกข่ นุ การเล้ียงไก่พื้นเมืองแบบปล่อยอิสระเพ่ือขุนจาหน่ายน้ันจะ แบง่ การให้อาหารออกเปน็ 4 ชว่ ง ไดแ้ ก่ 1. อายุ 0-3 สัปดาห์ ควรให้อาหารสาเร็จรูปสาหรับไก่ พ้ืนเมือง (โปรตีน 17-19%) หรืออาหารสาหรับลูกไก่เนื้อ (โปรตีน 21%) จะทาให้ไก่โตเร็วและแข็งแรง เน่ืองจากเป็นช่วงที่ไก่ต้องการ สารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต และระบบทางเดินอาหารของลูกไก่ ยงั ไมส่ มบูรณ์จึงยอ่ ยอาหารทีม่ เี ย่อื ใยสงู ได้ไมด่ ี

16 2. อายุ 4-6 สัปดาห์ ควรให้อาหารสาเรจ็ รูปทมี่ ีโปรตนี 17- 19% ผ ส ม กั บ วั ต ถุ ดิ บ ที่ ห า ไ ด้ ใ น ท้ อ ง ถ่ิ น เ ช่ น ป ล า ย ข้าว ราละเอียด ข้าวโพดบด โดยใช้อาหารสาเร็จรูป 90% ผสมกับ วตั ถดุ บิ ในทอ้ งถนิ่ 10% จะชว่ ยลดคา่ อาหารลงไดเ้ ลก็ นอ้ ย 3. อายุ 7-14 สัปดาห์ ควรให้อาหารที่มีโปรตีน 14-15% ในระบบการเล้ียงแบบปล่อย เกษตรกรอาจจะให้อาหารที่มีโปรตีน ต่ากว่านี้ก็ได้ เน่ืองจากไก่สามารถหาอาหารจาพวกโปรตีนจาก ธรรมชาติ เช่น หนอน แมลง ไส้เดือนได้เอง ตัวอย่างสูตรอาหาร สาหรับไก่ขุน 7 สัปดาห์ขึ้นไป ดังแสดงในตารางที่ 2 ตัวอย่างสูตร อาหารเล้ยี งไก่ขนุ (7 สัปดาหข์ ึน้ ไป)

17 ตารางท่ี 2 ตัวอย่างสตู รอาหารเลีย้ งไกข่ ุน (7 สัปดาห์ขน้ึ ไป) วัตถดุ บิ สูตร 1 (กก.) สูตร 2 (กก.) อาหารไก่เนอ้ื 35 30 สาเรจ็ รูป (CP21%) ต้นกลว้ ยหมัก 10 8 - 25 ราหยาบ 35 25 ข้าวโพด 5 12 ถ่งั เหลอื งบด 15 - ราละเอยี ด 100 100 นา้ หนักรวม (กก.) 14.9 14.9 โปรตีน(%) ที่มา : โครงการระบบการสรา้ งอาชพี การเล้ียงไกพ่ นื้ เมืองประดู่หาง ดาอย่างย่งั ยนื (2556) ภาพท่ี 8 ตวั อย่างพืชสาหรับสูตรอาหารไก่

18 8. อาหารหมักสาหรับเล้ียงไก่ เกษตรกรนยิ มนาตน้ กล้วยมาทาเป็นอาหารหมัก นอกจากน้ี สามารถนาพืชชนิดอื่นมาทาเป็นอาหารหมักได้ด้วย เช่น ข้าวโพด มนั สาปะหลัง เศษผกั ฯลฯ การหมกั ไม่ชว่ ยใหโ้ ปรตนี เพิ่มขึ้นมากนัก แต่การหมักท่ีเหมาะสมจะช่วยให้เกิดจุลนิ ทรยี ์ท่ีผลิตกรดแลคติกทมี่ ี ประโยชน์เพิ่มจานวนมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรง ขึ้น สูตรทน่ี ยิ มใช้ในการหมักต้นกลว้ ย ดงั นี้ วัตถุดบิ จานวน ต้นกล้วยหมัก/มนั สาปะหลงั /ขา้ วโพด 100 กิโลกรัม กากน้าตาลหรอื นา้ ตาลทรายแดง 4 กโิ ลกรัม เกลือแกง 1 กิโลกรมั * ในกรณีที่ไมส่ ามารถหมักได้ 100 กก. ก็ให้คานวณลดปริมาณลง ตามสดั สว่ น จะต้องผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วหมักในถังหรือ ถุงพลาสติกท่ีปิดสนิทกันไม่ให้อากาศเข้าเป็นเวลา 4-10 วัน ก็สามารถนาไปให้ไก่กินได้ การหมักจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ภายใต้สภาพ ไม่มีอากาศ ดังน้ันจึงต้องปิดภาชนะท่ีใช้หมักให้สนิท เม่ือเปิดนาเอา อาหารหมักไปใช้แล้วก็ต้องปิดให้สนิทเพื่อไม่ให้อาหารหมักเสีย/เน่า อาหารหมกั สามารถใช้ไดห้ ลายวนั (ภาพท่ี 9)

19 ภาพท่ี 9 วธิ กี ารหมักส่วนผสมของอาหารหมกั สาหรบั เลี้ยงไก่ 9. การสุขาภบิ าลและการป้องกันโรคในไกพ่ น้ื เมอื ง ถึ ง แ ม้ ว่ า ไ ก่ พื้ น เ มื อ ง จ ะ แ ข็ ง แ ร ง แ ล ะ ท น ท า น ต่ อ สภาพแวดล้อมก็ตาม แต่ผู้เลี้ยงควรยึดหลัก \"กันไว้ดีกว่าแก้\" โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงโรคระบาดเพราะปญั หาโรคเป็นปัญหาสาคัญท่ีจะ ทาให้ผู้ท่ีเล้ียงไก่ไม่ประสบผลสาเร็จ ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียจึง ต้องมีการสขุ าภิบาลทด่ี แี ละมกี ารใหว้ ัคซนี ปอ้ งกนั โรคท่ีถูกตอ้ ง ขอ้ ปฏิบตั ใิ นการสขุ าภิบาล มดี งั น้ี 1. ต้องดูแลทาความสะอาดโรงเรือนและภาชนะให้น้าและ อาหารให้สะอาดอยู่เสมอและอย่าปล่อยให้โรงเรือนช้ืนแฉะและ สกปรก

20 2. กาจัดแหล่งน้าสกปรกรอบ ๆ บริเวณโรงเรือนและ บรเิ วณใกล้เคยี งเพือ่ ไมใ่ ห้ไกก่ นิ น้าสกปรกนั้น 3. ถ้าหากพบไก่ป่วยให้คัดแยกไก่ป่วยน้ันออกมาทันที แล้วกาจดั ด้วยการเผาหรอื ฝังเพอ่ื ป้องกันไม่ใหเ้ ช้ือโรคระบาดได้ 4. อย่าท้ิงซากไก่ตายให้สัตว์อ่ืนกินหรือทิ้งลงแหล่งน้า เปน็ อันขาดเพราะจะทาใหเ้ ชือ้ โรคจะแพร่ระบาดได้ 5. หากซื้อไก่มาใหม่จากแหล่งอื่นก่อนที่จะนาเข้ามาเล้ียง ในฝูง ควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหากเพื่อกักโรคอย่างน้อย 15 วัน หากไก่ ไม่แสดงอาการผิดปกตใิ ดๆ จงึ นามาเลย้ี งในบริเวณเดยี วกันได้ 6. ถ้าหากพบว่าไก่ท่ีกาลังเลี้ยงอยู่ป่วย ผู้เล้ียงจะต้องรีบ ปรึกษาสัตวแพทย์หรือผู้รู้ทันทีเพ่ือหาทางรักษาและป้องกันไม่ให้ โรคระบาดต่อไป 10. การให้วคั ซนี ป้องกันโรค ถึงแม้ว่าจะมีการสุขาภิบาลท่ีดีแล้วก็ตาม แต่ไก่ท่ีเล้ียง อาจจะเกิดโรคข้ึนได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงแบบ ปล่อยให้หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ ดังน้ัน ผู้เล้ียงจึงต้องสร้าง ความต้านทานโรคโดยการให้วัคซีนป้องกันโรค (ภาพที่ 10) หลักใน การใหว้ คั ซนี แกไ่ ก่ มีดังน้ี

21 1. จะตอ้ งทาวคั ซีนกับไก่ทีม่ ีสุขภาพแข็งแรง ไม่ปว่ ยเป็นโรค 2. วัคซีนที่ใช้จะต้องมีคุณภาพดี (เก็บในท่ีเย็นและไม่ถูก แสงแดด) 3. เคร่ืองมอื ท่ีใชท้ าวัคซีนจะต้องสะอาด และผ่านการต้มฆ่า เชือ้ โรคท่ีถกู วธิ ี (ตม้ ในน้าเดอื ด) 4. จะต้องให้วัคซีนครบตามขนาดท่ีกาหนดและตา ม โปรแกรมท่ีกาหนด (ตารางท่ี 3) ตารางที่ 3 ตัวอย่างโปรแกรมการให้วัคซีนป้องกันโรคสาหรับไก่ พ้ืนเมือง อายุ วัคซีน วธิ ีใหว้ ัคซีน ขนาดวัคซีน 1-3 วนั นิวคาสเซิล 1 หยด (ครงั้ ที่ 1) หยอดตาหรือ 7-10 วนั จมูก 1 ครงั้ 14 วนั ฝีดาษ 1 หยด หลอดลมอักเสบ แทงปีก 21 วัน 1 หยด นิวคาสเซลิ หยอดตาหรอื ทกุ ๆ 3 (ครงั้ ที่ 2) จมกู 1 หยด เดอื น นิวคาสเซิล หยอดตาหรือ จมูก หยอดตาหรอื จมูก

22 การป้องกันและกาจดั พยาธภิ ายนอกสาหรับไก่ พยาธิภายนอกท่ีพบเห็นได้บ่อยสาหรับไก่พ้ืนเมือง ได้แก่ เหา ไร หมดั และเหบ็ (ภาพท่ี 11) การเกิดพยาธิภายนอกจะไม่ทาให้ ไก่ตายทันทีแต่จะทาให้การให้ผลผลิตและการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากไก่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการไซ้ขน แต่ถ้ารุนแรงมาก อาจทาให้ตายได้เนื่องจากเกิดโรคโลหิตจาง การกาจัดพยาธิ ภายนอกทาไดโ้ ดยการจุ่มไกล่ งในน้าผสมยาฆา่ แมลงหรือน้าสมุนไพร เช่น น้อยหน่า หางไหลหรือโล่ต๊ิน หนอนตายหยาก สะเดา ยาเส้น หรือยาฉุน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือน้าผสม สมุนไพรกาจัดแมลงตามโรงเรือน รังไข่ ทุก ๆ 3 เดือน หรืออาจใช้ แป้งโรยตัวสาหรับกาจัดเห็บ หมัดสาหรับสนุ ัขโรยบนตวั ไก่หรือรังไข่ กไ็ ด้ การป้องกนั และกาจดั พยาธภิ ายใน การเล้ียงไก่พื้นเมืองแบบปล่อยมักจะพบปัญหาการเกิด พยาธิภายในเนื่องจากไก่จะไปคุ้ยเขีย่ หากนิ อาหารตามธรรมชาติบน พ้ืนดิน พยาธิภายในที่พบบ่อย ได้แก่ พยาธิตัวตืด และพยาธิตัวกลม การปอ้ งกันและกาจัดจะต้องให้ไก่กินยาถ่ายพยาธภิ ายในเป็นระยะๆ หรอื อาจจะใช้พชื สมุนไพร เชน่ หมาก บอระเพ็ด ปอ้ นให้กินกไ็ ด้

23 ภาพท่ี 10 อุปกรณ์สาหรับการทาวคั ซีนและการให้วคั ซีนป้องกันโรค สาหรับไก่พน้ื เมอื ง

24 ภาพที่ 11 ลกั ษณะของไกป่ ว่ ยจากพยาธภิ ายนอกและภายใน

25 แหล่งทุนอดุ หนนุ ได้รับทุนอุดหนุนการทากิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน การวิจัย โครงการ “Research for Community”ทุนอุดหนุนการ วิจัย ประจาปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สานกั งานคณะกรรมการวจิ ัยแห่งชาติ (วช.) คณะผจู้ ดั ทาค่มู อื รองศาสตราจารย์ ดร.ศริ ิพร กิรตกิ ารกุล ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ประภากร ธาราฉาย

ค่มู ือ การผลิตเมลด็ พันธข์ุ ้าวพนั ธ์ุ กข - แมโ่ จ้ 2 Seeds Production of Rice Variety: RD-Maejo 2 ไดร้ ับทุนอุดหนุนการทากจิ กรรมสง่ เสรมิ และสนับสนนุ การวิจัย โครงการ “Research for Community”ทนุ อดุ หนุนการวจิ ยั ประจาปีงบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รว่ มกบั สานกั งานคณะกรรมการวจิ ัยแห่งชาติ (วช.)

ก สารบญั (List of content) หนา้ ก เรอ่ื ง ข สารบญั เรอ่ื ง ค สารบญั ตาราง 1 สารบัญภาพ 1 การผลติ เมล็ดพนั ธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 2 1. ลักษณะประจาพันธ์ขุ า้ ว กข-แม่โจ้ 2 3 2. ชนดิ ของเมล็ดพนั ธ์ขุ า้ ว 4 3. การคัดเลอื กพืน้ ท่ีเพาะปลูก 9 4. การผลติ เมลด็ พนั ธุ์คัด 16 5. การผลิตเมล็ดพนั ธุ์หลัก 6. การผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายและการผลิตเมล็ดพันธ์ุ 17 จาหน่าย 7. โรคและแมลงที่สาคัญท่ีมักพบในแปลงปลูกข้าว 18 พนั ธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 20 8. การปอ้ งกนั และกาจดั โรคและแมลง 21 เอกสารอ้างอิง 21 แหลง่ ทุนอุดหนนุ คณะผ้จู ดั ทาคูม่ ือองค์ความรู้

ข สารบญั ตาราง (List of Tables) ตารางท่ี หนา้ 1 คำแนะนำในกำรใสป่ ุย๋ เคมีสำหรับกำรปลูกข้ำว 17

ค สารบัญภาพ (List of Illustrations) หนา้ 6 ภาพที่ 6 1 ลักษณะรวงขา้ วพันธ์ุ กข-แม่โจ้ 2 2 การกระเทาะขา้ วเปลอื ก เพื่อทดสอบการ 7 กลายเป็นข้าวเจา้ 3 การนาข้าวสารแช่ในสารละลาย ไอโอดีน 7 โดยใชเ้ วลา 5 นาที 4 ลักษณะสีของข้าวสารท่ีแช่ สารละลาย 7 ไอโอดนี 5 ลักษณะรวงข้าวพันธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 ทแี่ ชน่ า 7 1 คืน บ่ม 2 คนื 6 ลักษณะการตกกล้าแบบรวง ของขา้ วพนั ธุ์ 8 กข-แมโ่ จ้ 2 8 7 ลกั ษณแปลงกล้าข้าวพันธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 8 ลักษณะการปักดาแบบรวงต่อแถว ขา้ วพันธุ์ 8 กข-แม่โจ้ 2 8 9 ลักษณะแปลงข้าวพันธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 10 การพน่ สารเคมีป้องกนั โรค แปลงข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2

ง สารบญั ภาพ (ต่อ) หนา้ (List of Illustrations) 9 9 ภาพท่ี 9 11 ลักษณะรวงข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 12 การคัดรวงข้าวพันธ์ุ กข-แม่โจ้ 2 9 13 ลักษณะรวงขา้ วพันธ์ุ กข-แม่โจ้ 2 ที่คดั เลือก 10 10 ไว้ทาพนั ธ์ุ 11 14 เมล็ดพันธขุ์ า้ ว กข-แมโ่ จ้ 2 แบบเก็บรวมแถว 11 15 เมลด็ ขา้ วที่แช่ 1 คนื บ่ม 2 คืน 12 16 การเตรยี มแปลงตกกลา้ ข้าว 13 17 แปลงกลา้ ขา้ วอายุ 25-30 วัน พร้อมปักดา 13 18 การปักดาแปลงผลิตเมล็ดพันธหุ์ ลัก 14 19 การกาจดั ต้นปลอมปนในระยะกล้า 14 20 การกาจดั ตน้ ปลอมปนในชว่ งระยะแตกกอ 21 การกาจัดตน้ ปลอมปนในชว่ งระยะออกดอก 22 กาจดั ตน้ ปลอมปนในระยะรวงโน้ม 23 การกาจดั ตน้ ปลอมปนในระยะเมลด็ แก่

จ สารบัญภาพ (ตอ่ ) หนา้ (List of Illustrations) 16 ภาพท่ี 18 24 แปลงผลติ เมล็ดพันธุ์ขา้ วพนั ธ์ุหลัก 18 18 พันธุ์ กข - แมโ่ จ้ 2 ก.) สภาพแปลงเม่อื ขา้ ว 18 แก่จัด ข.) การเก็บเกยี่ วข้าว ค.) การตากข้าว เพอื่ ลดความชืน 25 โรคไหม้ (Blast) 26 โรคขอบใบแห้ง (Bacterial Blight) 27 โรคกาบใบแหง้ (Sheath Blight) 28 การระบาดของเพลยี กระโดดหลงั ขาว

1 การผลติ เมลด็ พันธุ์ขา้ วพนั ธุ์ กข-แม่โจ้ 2 1. ลกั ษณะประจาพันธุ์ข้าว กข-แมโ่ จ้ 2 (มหาวทิ ยาลยั แมโ่ จ,้ 2558) 1.1 ลกั ษณะทางสณั ฐานวิทยาและลักษณะทางการ เกษตร ประเภท : ไม่ไวตอ่ ชว่ งแสง อายุถงึ วันสุกแก่ : ฤดนู าปี 135 วัน และฤดนู าปรงั 146 วัน วิธกี ารปลูก : วิธปี ักดา ความแข็งของลาต้น : แข็งปานกลาง และทรงกอแบะ ความสงู : 99 - 110 เซนติเมตร ความยาวรวง : 29.75 เซนตเิ มตร สีของเปลอื กเมล็ด : ฟาง มหี างบา้ ง สีของข้าวกล้อง : ขาว ชนดิ ของข้าว : ข้าวเหนยี ว รปู ร่าง (ขา้ วกล้อง) : เรียว ผลผลิต 685-755 กิโลกรมั /ไร่ 1.2. คณุ ภาพการรับประทาน ประเมินคณุ ภาพข้าวสุกทางประสาทสัมผสั กล่ินหอม : หอมออ่ น ความขาว : ขาวนวล

2 ความเลอ่ื มมนั : ค่อนขา้ งมัน ความนุ่ม : ค่อนขา้ งนุ่ม ความเหนียว (การเกาะตัวของขา้ วสุก) : ไมเ่ หนยี ว- ไมร่ ว่ น 1.3 ลกั ษณะเดน่ 1. เป็นข้าวเหนียวมีกลิ่นหอมอ่อน เมลด็ เรียวยาว 2. ต้นเตีย้ และไมไ่ วตอ่ ชว่ งแสงสามารถปลูกได้ท้ังฤดู นาปแี ละฤดูนาปรงั 1.4 พื้นทีแ่ นะนา - เหมาะสาหรับปลูกในพื้นท่ีภาคเหนือตอนบน 1.5 ข้อควรระวงั หรือข้อจากัด 1. ความต้านทานต่อขอบใบแห้ง และเพล้ียกระโดดสี นา้ ตาลมีปฏิกิริยาแปรปรวนตงั้ แตอ่ ่อนแอมากถงึ ตา้ นทาน 2. อ่อนแอตอ่ แมลงบัว่ และเพลีย้ กระโดดหลงั ขาว 3. ในฤดูนาปรัง มีอายุการเก็บเก่ยี วประมาณ 146 วนั ซง่ึ จะเกบ็ เก่ยี วช้ากว่าขา้ วพันธ์ุอืน่ ๆ 2. ชนดิ ของเมล็ดพนั ธุ์ขา้ ว เมล็ดพันธุท์ ่ดี ีจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ท่ีบริสุทธ์ิ ไมม่ เี มล็ดพันธุ์ พืชอ่ืนๆ ปน ไมม่ ีเมลด็ ข้าวแดง ไม่มสี ่งิ เจอื ปนและปราศจากโรคและ

3 แมลง มีความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธ์ุสูง ความช้ืนต่า สามารถแบง่ ช้นั ของเมลด็ พันธุ์ ได้ 5 ประเภท ดังนี้ 1. เมลด็ พนั ธจ์ุ ากรวง 2. เมลด็ พนั ธุค์ ัด 3. เมลด็ พนั ธ์หุ ลัก 4. เมล็ดพนั ธุ์ขยาย 5. เมล็ดพันธจุ์ าหนา่ ย 3. การคดั เลอื กพืน้ ท่ีเพาะปลูก - เลือกดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดีมีความสม่าเสมอทั่วท้ัง แปลง - ควรเป็นแปลงนาที่คันนาล้อมรอบ ในแต่ละกระทงนาควร ปรับระดบั พ้ืนนาใหเ้ รียบสม่าเสมอทั่วทงั้ แปลง - แปลงนาสามารถควบคุมระดับน้าได้ทั่วท้ังแปลง และมี ระบบชลประทานที่ดี - ไมม่ ีข้าวเรอ้ื ในแปลงนา และไม่ควรมีขา้ วชนิดอ่นื ๆ บนคัน นาหรอื บริเวณใกลเ้ คยี งไมค่ วรเปน็ แปลงปลูกขา้ วชนิดอ่ืนมาก่อน

4 4. การผลิตเมลด็ พนั ธุ์คัด 4.1 การทดสอบการกลายพันธจ์ุ ากข้าวเหนียวเป็น ข้าวเจ้า 1. นารวงข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 (ภาพที่ 1) มาทดสอบ การเปล่ียนสีของแป้งข้าว โดยใช้ไอโอดีนท่ีมีความเข้มข้น 2.5 เปอรเ์ ซ็นต์ ผสมกับนา้ กลั่น ใชอ้ ัตราส่วน ไอโอดีน 1 สว่ น ผสมกบั น้า กล่ัน 10 ส่วน นาเมล็ดจากรวงข้าว 3 ส่วน คือ ส่วนปลายรวง ส่วนกลางรวง และส่วนโคนรวง ประมาณ 15-20 เมล็ด กะเทาะ เปลือกข้าวออกให้ได้ข้าวสาร (ภาพที่ 2) นาเมล็ดข้าวสารใส่ในจาน เพาะเชื้อ หยดสารละลายไอโอดีนที่เจือจางแล้วลงในข้าวสารปล่อย ท้ิงไว้ประมาณ 5 นาที (ภาพท่ี 3) แล้วดูการเปลี่ยนสีของข้าวสาร (ภาพที่ 4) ถ้าข้าวสารเป็นสีน้าตาลอ่อนแสดงว่าเป็นข้าวเหนียวและ ถา้ ข้าวเปล่ยี นสเี ปน็ สีมว่ งแสดงวา่ เปน็ ขา้ วเจา้ ให้นารวงขา้ วรวงนั้นท้ิง ไป 4.2 การเตรียมแปลงปลูกและแปลงตกกลา้ 1. การเตรยี มแปลง ไถดะ 1 คร้ัง แลว้ ไถพรวน 1 ครั้ง วดั พื้นท่ีให้มีขนาดความกว้าง 40 เมตร และมีความยาว 40 เมตร แบ่ง ออกเป็น 8 แปลงย่อย ซึ่งแต่ละแปลงย่อยมีขนาดความกว้าง 4.0 เมตร x ยาว 40 เมตร มีระยะหา่ งระหวา่ งแปลงย่อย 1.0 เมตร ปรบั พื้นที่ภายในแปลง ปลกู ใหส้ ม่าเสมอ

5 2. การตกกล้าโดยใช้วิธีการวางรวงข้าวเป็นแถว นารวง ข้าวที่ผ่านการทดสอบไอโอดีนแล้ว มาแช่น้า 1 คืน บ่มข้าวไว้ 1 คืน (ภาพที่ 5) ทาแปลงตกกล้าให้มีขนาดความกว้าง 80 เซนติเมตร มีความยาว 25 เมตร วางรวงเปน็ แถวโดยมีระยะรวง 10 เซนตเิ มตร (ภาพที่ 6) 4.3. การปกั ดา 1. เม่ือต้นกล้าอายุได้ประมาณ 1 เดือน (ภาพที่ 7) ให้ถอนต้นกล้าไปปักดา โดยปักดาแบบรวงต่อแถว (ภาพท่ี 8) ใช้ ระยะปักดา ระยะระหว่างแถว 33.5 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 10 เซนติเมตร ปักดา 1 ต้นต่อหลุม แถวมีความยาว 4 เมตร 1 แถว จะมีต้นขา้ วที่ปักดา 41 ต้นต่อแถว (ภาพที่ 9) 4.4 การปฏบิ ตั ิดแู ลรักษา 1. เมื่อเตรียมแปลงปลูกข้าวและปักดาข้าวเสร็จแล้วให้ ปล่อยน้าขังแปลงประมาณ 5-10 เซนติเมตรใส่ก้านยาสูบเพ่ือกาจัด หอยเชอร์ร่ี และควบคุมระดับน้าให้เพียงพอตลอดระยะเวลาการ เจรญิ เตบิ โตของตน้ ขา้ ว 2. การกาจดั วชั พืชคร้ังที่ 1 เมอ่ื ข้าวอายุ 40 - 45 วนั เมื่อ ข้าวเริ่มออกรวงให้ใช้ตาข่ายดักนกรอบแปลงข้าว เพื่อป้องกันนก ทาความเสยี หายแก่ผลผลติ ขา้ ว (โดยเฉพาะในฤดนู าปรัง) 3. การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยครั้งท่ี 1 เม่ือปักดาต้นข้าวประมาณ 7 – 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ

6 สูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (สาหรับดินร่วนปน ทราย) และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อปักดาต้นข้าวประมาณ 40 – 45 วัน สูตร 46 – 0 – 0 อัตรา 1 0 –15 กิโลกรัมต่อไร่ และพ่นสารเคมี ปอ้ งกันกาจดั โรคพืช (ภาพที่ 10) 4. การคัดเลือกแถวท่ีมีความสม่าเสมอไว้ทาพันธ์ุต่อไป (ภาพที่ 11) เก็บแบบรวงต่อกอ และเก็บแบบรวมแถวเพื่อใช้เป็น เมลด็ พนั ธุ์คัดสาหรบั ไปปลกู เป็นเมลด็ พันธ์ุหลักต่อไป 5. การเก็บเก่ียวจะเก็บเกี่ยวข้าวเมื่อหลังจากท่ีข้าวออก รวงแล้วประมาณ 30-35 วัน โดยคัดเอาแต่ละรวงข้าวท่ีมีลักษณะ ตรงตามสายพันธ์ุใส่ถุงตาข่าย แล้วเขียนป้ายติดไว้ท่ีด้านในและดา้ น นอกถุง เพ่ือบันทึกประวัติของข้าวแต่ละสายพันธ์ุ หลังจากน้ันนาไป ตากแดด 3 – 4 วัน (ภาพที่ 12-14) ภาพที่ 1 ลกั ษณะรวงขา้ ว ภาพท่ี 2 การกระเทาะ พันธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 ข้าวเปลอื ก เพือ่ ทดสอบ การกลายเปน็ ข้าวเจ้า

7 ภาพที่ 3 การนาข้าวสารแช่ใน ภาพที่ 4 ลกั ษณะสีของ สารละลายไอโอดีน ขา้ วสารที่แชส่ ารละลาย โดยใช้เวลา 5 นาที ไอโอดนี ภาพท่ี 5 ลักษณะรวงขา้ ว ภาพที่ 6 ลกั ษณะการตกกลา้ พนั ธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ทแ่ี ชน่ า้ แบบรวง ของขา้ วพนั ธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 1 คืน บม่ 2 คืน

8 ภาพที่ 7 ลักษณะแปลง ภาพที่ 8 ลักษณะการปักดา กล้าข้าวพนั ธุ์ กข-แม่โจ้ 2 แบบรวงต่อแถว ข้าวพันธ์ุ กข-แม่โจ้ 2 ภาพท่ี 9 ลักษณะแปลงขา้ ว ภาพที่ 10 การพน่ สารเคมี พนั ธุ์ กข-แมโ่ จ้ 2 ปอ้ งกนั โรค แปลงข้าว พนั ธุ์ กข-แมโ่ จ้ 2

9 ภาพท่ี 11 ลักษณะรวงขา้ ว ภาพที่ 12 การคัดรวงข้าว พนั ธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 พันธ์ุ กข-แม่โจ้ 2 ภาพที่ 13 ลักษณะรวงข้าว ภาพที่ 14 เมลด็ พันธุข์ ้าว พนั ธ์ุ กข-แมโ่ จ้ 2 กข-แม่โจ้ 2 แบบเกบ็ รวมแถว ท่คี ัดเลือกไว้ทาพันธุ์ 5. การผลติ เมล็ดพันธุ์หลกั การเตรียมกลา้ ข้าว - นาเมลด็ พนั ธขุ์ ้าวพันธ์ุคดั ที่ได้จากศนู ยว์ จิ ยั ข้าว มาตกกลา้

10 - แปลงกล้าขา้ ว ควร ไถดะ ไถแปร และคราด - นาเมล็ดพันธ์ุข้าวแช่น้า 1 คืน แล้วบ่มข้าวไว้ 2 คืน (ภาพที่ 15) - แปลงกล้าข้าวมีขนาดความกว้าง 1 เมตร ยาว 25 เมตร ใช้เมล็ดพันธ์ุข้าว 5 กิโลกรัม/แปลง สามารถนาไปปักดาได้ 1 ไร่ (ภาพท่ี 16) ภาพที่ 15 เมลด็ ข้าวที่แช่ 1 คืน ภาพที่ 16 การเตรียมแปลง บ่ม 2 คืน ตกกล้าข้าว การปลูกและดแู ลรกั ษา - ไถดะ ไถแปร คราด - การปักดา เม่ือกล้าข้าวมีอายุ 25-30 วัน (ภาพท่ี 17-18) ใช้ระยะปักดา 25 x 25 เซนติเมตร ปักดากล้าข้าว 2-3 ต้น/หลุม หลังปักดาควรใส่สารกาจัดหอยเชอร์รี่ ซาโปนิน (กากชา) อัตรา 3-5 กโิ ลกรัม/ไร่

11 - ใส่ปยุ๋ ครงั้ แรกหลังปักดา 5-7 วัน ดนิ เหนียว 16-20-0 ดิน ร่วนหรือร่วนทราย สูตร 16-18-8 หรือ 15- 15-15 อัตรา 20-30 กก./ไร่ ควรหว่านใหท้ ั่วทัง้ แปลงอย่างสมา่ เสมอ - ดูแลรักษาระดับน้า 5-10 เนติเมตร และอย่าให้น้าขาด ในชว่ งขา้ วออกรวง - ดูแลกาจดั วชั พืช - มีการป้องกันและกาจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูของข้าว- ใส่ปุ๋ยคร้ังท่ีสองระยะข้าวเร่ิมตั้งท้องหรือสร้างรวงอ่อนในอัตรา 7 – 15 กิโลกรัมตอ่ ไร่ - ระบายน้าออกจากแปลงนาหลังจากข้าวหลังออกรวงแลว้ ประมาณ 21 -25 วนั เพื่อเรง่ ใหข้ ้าวสกุ – แก่ พรอ้ มๆ กัน ภาพที่ 17 แปลงกลา้ ข้าว ภาพท่ี 18 การปักดาแปลงผลิต อายุ 25-30 วนั พร้อมปักดา เมลด็ พนั ธหุ์ ลัก

12 การตรวจตดั ขา้ วปน ควรทาบ่อยคร้ังและทาอย่างสม่าเสมอประมาณ 5 ระยะ ดว้ ยกนั คอื 1. ระยะในแปลงกล้า ตรวจดูกล้าท่ีมีลักษณะผิดปกติ ข้าว พันธ์ุอนื่ ปนหรอื เปน็ โรค ฯลฯ ใหท้ าลาย (ภาพที่ 19) ภาพที่ 19 การกาจดั ตน้ ปลอมปนในระยะกล้า 2. ระยะแตกกอ ตรวจดูลักษณะการแตกกอ การชใู บ สีของ ส่วนต่างๆ ของใบและต้น ความสูง ฯลฯ ข้าวพันธุ์คัดให้ตัดทิ้ง ทั้งแถว พันธุ์หลัก พันธ์ุขยาย และพันธุ์จาหน่าย ให้ตัดทิ้งเป็นกอ (ภาพที่ 20)

13 ภาพท่ี 20 การกาจดั ต้นปลอมปนในชว่ งระยะแตกกอ 3. ระยะออกดอก ความสูงต่าของต้นข้าวในระยะออกดอก อายุของการออกดอก การออกดอกไมส่ ม่าเสมอ ลักษณะดอก สีและ ขนาดของดอก เกสรตัวผู้และเกสรตวั เมีย ฯลฯ ให้ตัดท้ิงทั้งแถวหรือ ทัง้ กอ (ภาพท่ี 21) ภาพท่ี 21 การกาจดั ต้นปลอมปนในช่วงระยะออกดอก 4. ระยะขา้ วโนม้ รวง หลงั ขา้ วออกดอกและอยู่ในระยะสร้าง แป้งในเมล็ด รวงข้าวจะเริ่มโน้มรวงเพราะเมล็ดมีน้าหนักมากขึ้น

14 มีบางส่วนโน้มรวงไม่สม่าเสมอ หรือไม่พร้อมกันให้ทาการตัดทิ้งท้ัง แถวหรอื ทัง้ กอ (ภาพท่ี 22) ภาพท่ี 22 กาจดั ตน้ ปลอมปนในระยะรวงโนม้ 5. ระยะเมล็ดแก่ ข้าวเมื่อแก่จัด รวงจะเริ่มเหลือง ลักษณะ ของรวง และเมล็ดใหต้ รงตามพันธุ์ รวมทัง้ ความผดิ ปกตจิ ากโรคหรือ แมลงรบกวนก็ให้ตัดท้ิงท้ังแถวหรือท้งั กอ (ภาพที่ 23) ภาพท่ี 23 การกาจัดตน้ ปลอมปนในระยะเมลด็ แก่


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook