Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนื้อเชื้อไข ในวรรณคดีไทย

คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนื้อเชื้อไข ในวรรณคดีไทย

Description: คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนื้อเชื้อไข ในวรรณคดีไทย

Search

Read the Text Version

คมู ือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอเน้อื เชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย สํานกั งานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร

คมู่ ือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนือ้ เชือ้ ไข ในวรรณคดีไทย ส�ำ นักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขัน้ พืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

ค่มู อื การเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนือ้ เชื้อไข ในวรรณคดีไทย ลขิ สทิ ธ์ิของสำ�นกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ส�ำ นกั วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบนั ภาษาไทย ด�ำ เนนิ การจัดพมิ พ์ โทรศพั ท์และโทรสาร ๐ ๒๒๘๘ ๕๗๔๗ ISBN 978-616-564-050-3 พิมพค์ รงั้ ที่ ๑ แจกสถานศกึ ษาและหน่วยงานท่ีเกยี่ วขอ้ ง พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๓ จำ�นวนพมิ พ์ ๓๐,๐๐๐ เล่ม จดั พมิ พโ์ ดย ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พน้ื ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตดสุ ติ กรงุ เทพมหานคร ๑๐๓๐๐ พิมพ์ที่ โรงพมิ พ์ชุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำ กัด ๗๙ ถนนงามวงศว์ าน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๖๑ ๔๕๖๗ โทรสาร ๐ ๒๕๗๙ ๕๑๐๑ นายโชคดี ออสวุ รรณ ผ้พู ิมพผ์ ูโ้ ฆษณา

ค�ำ น�ำ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน เป็นหน่วยงานหลักในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้กำ�หนดนโยบายสำ�คัญให้นักเรียนทุกระดับชั้นอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้ เพ่ือเป็นการวางรากฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอ่ืน ๆ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยตระหนักถึงคุณค่าและความสำ�คัญของวรรณคดีและ วรรณกรรมไทย เผยแพร่แนวทางการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีไทยที่มีความหลากหลาย ดงั เชน่ หนงั สอื คมู่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนอื้ เชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย ซงึ่ เนอ้ื หา ได้กล่าวถึง ตัวละครในวรรณคดีไทยท่ีบรรจุอยู่ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลำ�นำ� ระดับประถมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ สำ�นักงานคณะกรรมการ การศึกษาข้ันพ้ืนฐานจัดทำ�ข้ึนเพื่อให้ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาได้ใช้ศึกษา เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านวรรณคดีให้แก่ผู้เรียน สร้างจิตสำ�นึก และปลูกฝงั ความรักในวรรณคดแี ละวรรณกรรมไทยให้แก่เดก็ และเยาวชนไทย หนังสือคู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้ือเช้ือไข ในวรรณคดีไทย น้ี เรียบเรียงโดย นางสาวละเอียด สดคมขำ� ข้าราชการบำ�นาญ ซ่ึงเป็นผู้มีประสบการณ์ ในการจดั การเรียนการสอนภาษาไทย ไดร้ วบรวมความรูแ้ ละประสบการณ์ท่ีประสบผลส�ำ เร็จ มาเป็นข้อมูลในการเรียบเรียง และนำ�เสนอแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วรรณคดีไทยในรปู แบบต่าง ๆ ทนี่ ่าสนใจ ส�ำ นกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน ขอขอบคณุ นางสาวละเอยี ด สดคมข�ำ ผูเ้ รยี บเรียง ไว้ ณ โอกาสน้ี และหวังว่าหนงั สือ คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนอ้ื เชื้อไข ในวรรณคดีไทย เล่มน้ี จะเป็นประโยชน์แก่ครูผู้สอนภาษาไทยได้ศึกษาเป็นแนวทาง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีไทย เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนไทย มีความตระหนักในคุณค่าของการศึกษาวรรณคดีไทยและร่วมอนุรักษ์วรรณคดีของชาติ ใหย้ ่งั ยนื สืบไป (นายอ�ำ นาจ วชิ ยานวุ ัต)ิ เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน



สารบัญ หนา้ ค�ำน�ำ บทน�ำ........................................................................................................................... ๑ ๑ หน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดไี ทย เรื่อง ขนุ ช้างขนุ แผน........................................ ๑๙ ๑.๑ ประวตั ิวรรณคดีไทย..................................................................................... ๒๐ ๑.๒ กมุ ารทอง..................................................................................................... ๒๑ ๑.๓ พลายงาม..................................................................................................... ๓๕ ๑.๔ พลายชุมพล.................................................................................................. ๔๘ ๒ หนอ่ เน้อื เชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย เร่อื ง เงาะปา่ .................................................... ๕๗ ๒.๑ ประวัติวรรณคดไี ทย..................................................................................... ๕๘ ๒.๒ คนัง .............................................................................................................. ๖๐ ๓ หนอ่ เน้อื เชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย เรือ่ ง ไชยเชษฐ์................................................. ๗๓ ๓.๑ ประวตั ิวรรณคดีไทย..................................................................................... ๗๔ ๓.๒ พระนารายณ์ธิเบศร.์ .................................................................................... ๗๖ ๔ หน่อเนอ้ื เชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย เร่ือง พระอภยั มณี............................................ ๘๗ ๔.๑ ประวตั วิ รรณคดไี ทย..................................................................................... ๘๘ ๔.๒ สนิ สมุทร...................................................................................................... ๙๐ ๔.๓ สุดสาคร ....................................................................................................... ๑๐๑ ๕ หนอ่ เนอ้ื เชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย เรอื่ ง รามเกียรต.​ิ์ .............................................. ๑๑๕ ๕.๑ ประวัติวรรณคดไี ทย..................................................................................... ๑๑๖ ๕.๒ พระมงกฎุ ..................................................................................................... ๑๑๘ ๕.๓ มัจฉานุ ....................................................................................................... ๑๒๘

สารบัญ (ต่อ) หนา้ ๖ หนอ่ เนอื้ เชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย เรือ่ ง สงั ขท์ อง.................................................. ๑๔๓ ๖.๑ ประวัตวิ รรณคดีไทย..................................................................................... ๑๔๔ ๖.๒ สังข์ทอง ....................................................................................................... ๑๔๖ บรรณานกุ รม............................................................................................................... ๑๕๙ คณะผู้จัดท�ำ................................................................................................................. ๑๖๑

หนอ่ เน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดีไทย บทนำ�

หนอ่ เนื้อเช้อื ไข ในวรรณคดีไทย บทน�ำ ๑. ค�ำ น�ำ ผูเ้ ขยี น วรรณคดไี ทยเปน็ สาระการเรยี นรใู้ นกลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย สาระที่ ๕ วรรณคดี และวรรณกรรม ก�ำหนดมาตรฐาน ท ๕.๑ (ผู้เรียน) เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและน�ำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง วรรณคด ี มีคุณค่าในฐานะเป็นวรรณคดีของชาติ มีคุณค่าในเรื่องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดท�ำหนังสือเรียน รายวิชาพ้ืนฐาน ภาษาไทย ชุด ภาษาเพ่ือชีวิต วรรณคดีล�ำน�ำ ให้เป็นส่ือการเรียนรู้ ในสถานศึกษา วรรณคดีไทยในหนังสือเรียนวรรณคดีล�ำน�ำ ได้ยกตัวอย่างเนื้อหาบางตอนจาก วรรณคดีไทยเรอ่ื งต่าง ๆ น�ำมาให้เรยี นในระดับประถมศึกษา ดงั นี้ วรรณคดีล�ำน�ำ ช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๓ น�ำวรรณคดีไทยซึ่งเป็นบทละครนอก เรอ่ื ง ไชยเชษฐ์ มาให้เรียนรู้ ตง้ั ช่ือบทอ่านวา่ “ธนูดอกไม้กับเจา้ ชายนอ้ ย” ตัวละครทโ่ี ดดเด่น มีอายุรนุ่ ราวคราวเดียวกบั ผูเ้ รยี นชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี ๓ คอื พระนารายณ์ธิเบศร์ วรรณคดีล�ำน�ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ น�ำวรรณคดีไทย ซึ่งเป็นนิทานค�ำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ตอน ก�ำเนิดสุดสาคร มาให้เรียนรู้ ตั้งช่ือบทอ่านว่า “การผจญภัยของ สุดสาคร” ตัวละครท่ีโดดเด่นมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผู้เรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๔ คือ สุดสาคร และในระดับชั้นน้ียังได้น�ำวรรณคดีไทยซึ่งเป็นบทละคร เรื่อง เงาะป่า ตั้งชื่อบทอ่านว่า “เร่ืองเลา่ จากพัทลุง” มาให้ผู้เรียนได้มีความรู้ที่กวา้ งออกไปถึงความเป็นอย ู่ การด�ำรงชีวิตของมนุษย์ด้วยกันในอีกลักษณะหนึ่ง ซ่ึงมีความแตกตา่ งกัน ตัวละครที่โดดเด่น เป็นเด็กทีร่ า่ เริง แจม่ ใส เติบโตทา่ มกลางธรรมชาติ ปา่ ขุนเขา และธารน�้ำใส มีช่ือวา่ คนัง 2 คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนือ้ เชื้อไข ในวรรณคดีไทย

วรรณคดีล�ำน�ำ ช้ันประถมศึกษาปีท่ี ๕ น�ำวรรณคดีไทย ซ่ึงเป็นบทละครนอก เรอื่ ง สังข์ทอง ตอน ก�ำเนดิ พระสังข์ ตัง้ ชือ่ บทอ่านวา่ “ก�ำเนดิ ผดิ พ้นคนท้งั หลาย” ตัวละครท่ี โดดเด่น มอี ายรุ ่นุ ราวคราวเดียวกบั ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มชี อื่ ว่า พระสังข์ วรรณคดลี �ำน�ำ ชนั้ ประถมศกึ ษาปที ี่ ๖ น�ำวรรณคดไี ทย ซงึ่ เปน็ บทกลอนเสภา เรอื่ ง ขนุ ชา้ งขนุ แผน ตอน ก�ำเนดิ พลายงาม ตงั้ ชอื่ บทอ่านวา่ “การเดนิ ทางของพลายนอ้ ย” ตวั ละคร ท่ีโดดเด่นมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับผู้เรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ ๖ มีชื่อว่า พลายงาม และในช้ันน้ีเช่นกันยังได้น�ำวรรณคดีไทย ซ่ึงเป็นกลอนบทละคร เรื่อง รามเกียรต์ิ ตอน ศกึ ไมยราพ ตงั้ ชอื่ บทอ่านว่า “ศึกสายเลอื ด” ตัวละครทโ่ี ดดเด่นเป็นลงิ น้อย มอี ายุรนุ่ ราว คราวเดยี วกบั ผเู้ รียน คือ มจั ฉานุ ตัวละครที่โดดเด่นในวรรณคดีแต่ละเรื่องได้สร้างความประทับใจ ความซาบซ้ึงใจ ความน่ารัก น่าสงสาร เห็นทุกข์ เห็นสุข ความสมหวัง ไม่สมหวัง เห็นคุณธรรม จริยธรรม คติธรรม ที่มีอยใู่ นการกระท�ำของตัวละครนั้น ๆ ตวั ละครที่นา่ รัก สรา้ งความประทบั ใจใหแ้ กผ่ เู้ รยี นระดบั ประถมศึกษา ท�ำใหผ้ ้เู รียน มจี นิ ตนาการในเรอ่ื งอทิ ธปิ าฏหิ ารยิ ์ การตอ่ สรู้ ะหวา่ งฝา่ ยธรรมะและฝ่ายอธรรม ผเู้ รยี นมคี วาม เขา้ ใจในส่ิงท่ีเป็นนามธรรม คอื คุณงามความดใี นลักษณะทีเ่ ปน็ รูปธรรม ทเี่ ปน็ พฤตกิ รรมของ ตัวละคร ลกู หลานได้เรียนวรรณคดไี ทยเช่นเดยี วกบั ผู้ปกครอง บดิ ามารดาทไี่ ด้เรยี นรวู้ รรณคดี และวรรณกรรม สามารถเล่าสู่กันฟังได้ หรือสนทนากันถึงตัวละครในวรรณคดีไทยได้อย่าง มีอรรถรสก่อเกิดความสุขร่วมกัน วรรณคดีไทยเป็นมรดกลำ�้ คา่ ท่ีนักปราชญ์ราชกวีได้รังสรรค์ ไวอ้ ย่างวจิ ิตรพิสดาร ดุจการเจียระไนแก้วมณีอันล้�ำค่า คู่มอื การเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนือ้ เช้อื ไข ในวรรณคดีไทย 3

๒. ความม่งุ มน่ั เปน็ ความมงุ่ หมาย ด้วยความมุ่งม่ันอยากจะให้ค�ำตอบว่า ตัวละครเด็ก ๆ ที่น่ารัก น่าสงสารเหล่าน้ัน เจรญิ เติบโต มวี ถิ ชี ีวติ อยา่ งไร ประสบกบั ความสขุ ความทกุ ข์ อุปสรรคปญั หา การฝา่ ฟนั ตอ่ สู้ และความส�ำเร็จในชวี ติ เป็นอยา่ งไร ด้วยความมุ่งมนั่ ใคร่ขอเชิญชวน จงู ใจใหผ้ ู้เรยี น ผู้ที่เคยเรยี นวรรณคดไี ทย ครผู ูส้ อน ไดศ้ ึกษาเพ่ิมเตมิ วรรณคดไี ทยตอนอน่ื ๆ นอกเหนือจากในหนังสือเรียน ดว้ ยตอ้ งการเผยแพรว่ รรณคดไี ทยใหไ้ ดร้ บั ความสนใจมากขนึ้ จงึ คดิ น�ำตวั ละครเดก็ ๆ ท่ีนา่ รักในวรรณคดีไทยมาเปน็ “ผนู้ �ำพา” สรา้ งนิสัยรกั การอ่าน พาเข้าสูว่ รรณคดีและหยง่ั ลึก ลงในวรรณคดีตามลีลาของตัวละครเด็ก ๆ เหล่านั้น ตั้งแต่เล็กจนเติบโต โดยต้ังชื่อเร่ืองว่า หน่อเนื้อเชื้อไข ในวรรณคดีไทย ซ่ึงหมายถึง ตัวละครที่เป็นลูกหลานอยู่ในวรรณคดีไทย แต่ละเรอ่ื ง ๓. หลากหลายเนอื้ หาสาระ หน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดีไทย เล่มน้ี ประกอบด้วย เร่ืองย่อและล�ำดับวงศ์ของ วรรณคดไี ทยในแตล่ ะเรอ่ื ง ความเปน็ มาของล�ำดบั เหตกุ ารณใ์ นวรรณคดกี อ่ นถงึ ตอนทนี่ �ำมาให้ เรียนในหนังสอื วรรณคดลี �ำน�ำ และประวัตติ ัวละครต้ังแต่ก�ำเนิดจนเตบิ โต หนอ่ เนอ้ื เชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย ยงั คงแสดงใหเ้ หน็ ถงึ การยดึ มน่ั ในความดี มคี ณุ ธรรม ความกตัญญูกตเวที ความเคารพนบนอบเชื่อฟัง ความเพียร ความอดทน ความรัก ความกลา้ หาญ ความสามคั คี และความมนี ำ้� ใจของตวั ละคร ซงึ่ ยงั คงไวแ้ ตเ่ ดก็ จนเตบิ โตเจรญิ วยั เปน็ ผ้ใู หญ่ นอกจากนี้ หน่อเนื้อเช้ือไข ในวรรณคดีไทย ยังได้น�ำค�ำ “มงคล” ที่กวีได้น�ำมา สร้างสรรค์ให้กับตัวละครในวรรณคดี มาขยายความรู้เพ่ือให้เกิดความซาบซึ้งต่อ “กวี” ท่ีคัดสรรถ้อยค�ำที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์มาให้รู้จักและเรียนรู้ เช่นค�ำว่า สังข์ ดอกบัว ดอกจ�ำปาทอง เปน็ ตน้ 4 คูม่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนือ้ เชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย

๔. กจิ กรรมชวนทำ� ด้วย หน่อเน้ือเชื้อไข ในวรรณคดีไทย มีตัวละครเป็นเด็ก จึงได้น�ำกิจกรรม ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพ่ือให้เด็กมีชีวิตชีวา มีความร่าเริงแจ่มใส โดยได้ชวนท�ำกิจกรรม ในด้านต่าง ๆ เช่น ชวนรู้เรือ่ ง ชวนอ่านเป็นท�ำนอง ชวนกันเลน่ ชวนรอ้ งเล่น ชวนท�ำกิจกรรม ชวนเขยี นและชวนประดิษฐ์ ซงึ่ อยูใ่ นตอนทา้ ยของเรอ่ื ง กจิ กรรมชวนท�ำตา่ ง ๆ หากครผู สู้ อนพจิ ารณาแลว้ จะพบวา่ สามารถน�ำไปจดั ท�ำแผน การเรียนรู้แบบบูรณาการได้โดยมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นหลัก ผู้เรียนได้ฝึกอ่าน ร้อยแกว้ และรอ้ ยกรอง ไดเ้ รียนรสู้ ิ่งแวดล้อมและธรรมชาตขิ องตัวละคร ได้เลน่ ออกก�ำลงั กาย ไดร้ ้องบทรอ้ งเล่นอย่างสนุกสนานตามแนวทางของตวั ละคร ได้รอ้ งเพลงเพลดิ เพลิน ได้ฝึกคิด ฝึกเขียน และเขียนกรอกประวัติตัวละคร ซึ่งการฝึกต่าง ๆ น้ี จะท�ำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อยา่ ง มคี วามสขุ และสนุกกบั การเรียน ๕. แนะน�ำ หนอ่ เน้อื เชือ้ ไข หน่อเน้ือเช้ือไข ในวรรณคดีไทย เป็นตัวละครในวัยเด็กจากวรรณคดีไทย ๖ เรื่อง เจาะจงเฉพาะตัวละครที่เป็นพระโอรสเท่านั้น และไม่ได้เจาะจงหน่อเนื้อเชื้อไขเฉพาะ ท่ีกล่าวไว้ในหนังสือเรียนวรรณคดีล�ำน�ำเท่าน้ัน แต่ยังได้รวบรวมหน่อเนื้อเชื้อไขเพิ่มเติมจาก วรรณคดไี ทยทั้ง ๖ เรื่อง รวมเปน็ จ�ำนวน ๑๐ ตวั ละคร หรือหน่อเน้ือเชือ้ ไขดว้ ยกนั ๕.๑ วรรณคดไี ทย เร่อื ง ขนุ ช้างขุนแผน หน่อเน้อื เชือ้ ไขจากวรรณคดีเรือ่ งนี้ คอื พลายงาม และเพม่ิ เตมิ พลายชมุ พล และกมุ ารทองเขา้ มา คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เน้ือเช้ือไข ในวรรณคดไี ทย 5

๕.๒ วรรณคดไี ทย เรือ่ ง เงาะปา่ หน่อเนือ้ เชอื้ ไขจากวรรณคดีเรอ่ื งนี้ คือ คนงั ๕.๓ วรรณคดไี ทย เร่ือง ไชยเชษฐ์ หน่อเนอ้ื เช้ือไขจากวรรณคดีเรื่องน้ี คอื พระนารายณ์ธเิ บศร์ 6 คู่มอื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เน้อื เชื้อไข ในวรรณคดีไทย

๕.๔ วรรณคดไี ทย เรอ่ื ง พระอภยั มณี หน่อเน้ือเช้ือไขจากวรรณคดเี รอื่ งน้ี คือ สนิ สมุทร และสุดสาคร ๕.๕ วรรณคดีไทย เรอื่ ง รามเกียรติ์ หน่อเน้ือเช้ือไขจากวรรณคดีเร่ืองน้ี คือ มัจฉานุ บุตรของหนุมาน และเพิ่มเติม คือ พระมงกุฎ และพระลบ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระรามในเร่ือง รามเกียรต ์ิ มเี รื่องราวน่าสนใจ ควรค่าแกก่ ารอ่านและการเรยี นรู้ ค่มู ือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนอ้ื เช้ือไข ในวรรณคดีไทย 7

๕.๖ วรรณคดไี ทย เรอ่ื ง สงั ข์ทอง หน่อเนือ้ เช้ือไขจากวรรณคดีเร่อื งน้ี คอื พระสังข์ ๖. แตกต่างโดยกำ�เนดิ เลอเลิศดว้ ยคณุ ธรรม หน่อเน้ือเช้ือไขดังกล่าวข้างต้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะการเกิด ได้ ๔ ประเภท คอื ประเภทที่ ๑ เป็นหน่อเน้ือเช้ือไขที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากจินตนาการของกวี อยา่ งแท้จรงิ ได้แก่ พระนารายณ์ธิเบศร์ พระมงกุฎ พระลบ และพระสังข์ ประเภทที่ ๒ เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขที่เกิดจากบรรพบุรุษที่สันนิษฐานได้ว่า มีตัวตน อยจู่ รงิ มหี ลกั ฐานเชอ่ื มโยงถงึ บรรพบรุ ษุ และเชอ่ื มโยงถงึ หนอ่ เนอ้ื เชอื้ ไขอยใู่ นชว่ งระยะเวลาหนง่ึ ไดแ้ ก่ พลายงาม และพลายชุมพล ประเภทท่ี ๓ เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขที่เกิดจากบรรพบุรุษที่สันนิษฐานได้ว่า มีตัวตน อยู่จริงมีหลักฐานเชื่อมโยงถงึ บรรพบุรษุ และเชอื่ มโยงถงึ หนอ่ เนือ้ เชื้อไขอยบู่ า้ ง แตต่ วั ตนของ หน่อเนื้อเชื้อไขไม่ประจักษ์ชัดเจน คงมีแต่พฤติกรรม และคงไว้ซึ่งค�ำเรียกขานสืบต่อมา จนบัดนี้ ได้แก่ กุมารทอง ประเภทท่ี ๔ เป็นหน่อเนื้อเช้ือไขท่ีเกิดเป็นมนุษย์ มีตัวตน มีถ่ินฐานท่ีอยู่ มหี ลักฐานบันทกึ เหตุการณค์ วามเปน็ มาและความเปน็ ไป ไดแ้ ก่ คนงั หนอ่ เนือ้ เชือ้ ไขจะมีความแตกต่าง ความเหมอื น และลักษณะพเิ ศษในการถอื ก�ำเนิด ท่ีควรศกึ ษา และมคี ุณธรรมความดีงามทถี่ อื เปน็ แบบอยา่ งดังต่อไปนี้ 8 ค่มู อื การเรียนการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนอื้ เช้ือไข ในวรรณคดไี ทย

๖.๑ การถือก�ำเนิด หนอ่ เน้อื เชื้อไข ประเภทที่ ๑ เกิดจากการสร้างสรรค์จากจนิ ตนาการของกวี อย่างแท้จริง ได้แก่ พระนารายณธ์ ิเบศร์ พระมงกฎุ พระสงั ข์ สนิ สมุทร สดุ สาคร และมัจฉาน ุ การถอื ก�ำเนิดหนอ่ เน้ือเชือ้ ไขประเภทที่ ๑ แบง่ ไดเ้ ป็น ๓ ลักษณะ คอื ๑) การถอื ก�ำเนดิ เปน็ พระโอรส พระนดั ดา ของเจา้ เมอื ง ไดแ้ ก่ พระนารายณ-์ ธิเบศร์ พระมงกฎุ พระลบ และพระสังข์ เมอ่ื เกิดมาจะประสบปญั หาเหมอื นกัน คือ ไม่รจู้ ัก พระบิดา ได้รับความยากล�ำบากต้ังแต่เด็ก และมีพระมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูแต่เพียงผู้เดียว โดยมผี สู้ ูงอายุยืน่ มอื มาชว่ ยชชู บุ อปุ ถัมภ์ พระนารายณธ์ เิ บศร์ มพี ระมารดา คอื นางสวุ ญิ ชา (จ�ำปาทอง) เปน็ ผเู้ ลยี้ งดู มีท้าวสิงหลเปน็ ผูช้ ูชุบอุปถมั ภ์ พระมงกุฎ พระลบ มพี ระมารดา คือ นางสดี าเป็นผู้เล้ียงดู มฤี ษวี ัชมฤค เป็นผ้ชู ชู บุ อุปถมั ภ์ พระสังข์ มพี ระมารดา คือ นางจนั ท์เทวีเปน็ ผ้เู ลี้ยงดู มีตายายเปน็ ผชู้ ชู ุบ อุปถัมภ์แต่การเล้ียงพระสังข์ของนางจันท์เทวีน้ันมีความยากล�ำบากกว่าใครทั้งหมด เพราะ เหตวุ ่า ๑.๑) ผู้ชูชุบอุปถัมภ์ ไม่มีอ�ำนาจ วาสนา บารมี เพียงพอท่ีจะคุ้มภัย อันตรายทมี่ าคกุ คามนางและลกู นอ้ ยหอยสงั ข์ ๑.๒) ลูกเป็นหอยสังข์ ไม่เป็นมนุษย์เหมือนลูกผู้อ่ืน มี “ความรัก” อย่างเดียวท่ีหล่อเลี้ยง “ความเชื่อ” ว่า ลูกเป็นมนุษย์ ในขณะท่ีแม่คนอื่นยังได้เห็นลูก เป็นมนุษย์ เห็นความน่ารักน่าชังของลูก ช่วยช่ืนชูชีวิต เป็นก�ำลังใจในการต่อสู้กับความ ยากล�ำบาก แต่นางจนั ทเ์ ทวไี ม่ได้รับโอกาสอย่างนัน้ เลย ๑.๓) ทุกวันเม่ือเร่ิมต่ืนเช้า นางจันท์เทวีจะคุยกับลูกน้อยหอยสังข์ ท�ำอะไรก็จะเล่าบอก จะสัมผัส กอดจูบ ลูบไล้หอยสังข์ด้วยความรัก แล้วจึงออกไปท�ำงาน ยามเย็นกลับจากท�ำงานก็จะคุยจะบอกเล่าเร่ืองราวให้ลูกน้อยหอยสังข์ฟัง ทั้งท่ีนางจันท์เทวี ก็ไม่แน่ใจว่าลูกจะรูเ้ รอื่ งหรือไม่ จะสัมผัส กอดจบู ลบู ไล้ลกู น้อยหอยสงั ข์ โดยมไิ ด้เบ่อื หนา่ ย จวบจนพระกุมารทีอ่ ยใู่ นหอยสังขม์ อี ายุ ๕ - ๖ ปี คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้ือเช้อื ไข ในวรรณคดีไทย 9

“อมุ้ เอาลกู นอ้ ยหอยสังข์ สดุ ก�ำลังแมแ่ ล้วพอ่ ทูนหัว เล้ยี งไว้ว่าจะได้เปน็ เพอื่ นตวั ทนู หัวไมช่ ว่ ยแม่ด้วยเลย เนอื้ เย็นเปน็ คนนะลกู แก้ว ห้าหกขวบแลว้ นะลูกเอย๋ ก�ำดดั จะภิรมยช์ มเชย ลกู เอ๋ยจะเบาทเุ ลาแรง นางมไิ ดเ้ อนองคล์ งนิทรา สรุ ยิ ารุง่ รางสว่างแสง วางลกู ลงไวไ้ ปจดั แจง ลากแผงออกวางทก่ี ลางดิน” พระกมุ ารที่ซอ่ นอย่ใู นหอยสงั ขไ์ ด้ออกมาจากสงั ข์ชว่ ยพระมารดาท�ำงานตา่ ง ๆ ความว่า “ออกจากสังขพ์ ลนั ทันใด ฉวยจับไมไ้ ดไ้ ลต่ ี กอบเก็บข้าวหกที่ตกดนิ ผนั ผินลอบลบั ขยบั หนี เหลยี วดผู ูค้ นชนน ี จะหนีเขา้ สังข์ก�ำบงั หงุ ขา้ วหาปลาไว้ทา่ แม่ ดแู ลจัดแจงทุกแห่งหน ช่วยขบั ไก่ปา่ ประสาจน สาละวนเลน่ พลางไม่ห่างด”ู หากมีค�ำถาม : ท�ำไมพระสังข์จึงรู้เร่ืองและท�ำงานต่าง ๆ เป็น โดยท่ี พระมารดาไม่ไดส้ อน ค�ำตอบท่ีได้กจ็ ะเป็นไปตามท่คี าดหวังว่า “เปน็ การจนิ ตนาการของกวี” หากวเิ คราะหพ์ ฤตกิ รรมการแสดงความรกั ตอ่ ลกู ของนางจนั ทเ์ ทวแี ลว้ นน้ั ดูจะสอดคล้องกับมารดาท่ีต้ังครรภ์หลายคนในยุคปัจจุบัน คือจะมีการส่ือสารกับลูกน้อย ในครรภใ์ นลกั ษณะต่าง ๆ เชน่ การสมั ผัสลกู ทุกวนั การคุยดว้ ย การให้ฟงั ดนตรี จังหวะเพลง หรือนิทานผ่านทางผนังหน้าท้องบ่อย ๆ เมื่อลูกคลอดออกมาจะสามารถสื่อสารได้ไว รู้จัก 10 คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนอ้ื เชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย

จังหวะเพลงและดนตรไี ด้เร็วกวา่ เด็กทวั่ ไป นนั่ เปน็ เพราะว่าพฤติกรรมของมารดาไดไ้ ปพัฒนา การรบั รขู้ องเดก็ ต้งั แตอ่ ยู่ในครรภ์ ซง่ึ กเ็ ป็นชว่ งระยะเวลา ๙ - ๑๐ เดอื น แตพ่ ระสังขใ์ ช้เวลา ถงึ ๕ - ๖ ปี ยอ่ มต้องซมึ ซบั การรบั ร้ไู ด้มากกวา่ ซึ่งสอดคลอ้ งกับ มาซารุ อบิ กุ ะ ชาวญป่ี นุ่ ได้เขยี นไว้ในหนังสอื “รอให้ถงึ อนุบาลกส็ ายเสียแล้ว” ซงึ่ แปลและเรียบเรยี งโดย ธีระ สมุ ิตร และพรอนงค์ นิยมค้า ได้กล่าวว่า เด็กจะมีพัฒนาการมากที่สุดในช่วงอายุ ๐ - ๓ ขวบ เพราะอัจฉริยะบุคคลไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์หรือสายเลือด แต่เกิดจากการเรียนรู้และ สภาพแวดล้อมเป็นส�ำคัญ ๑.๔) นางจนั ท์เทวไี ด้รับความทุกข์ยากและความเสยี ใจซำ�้ ๆ หลายครง้ั ครั้งแรกเม่ือให้ก�ำเนิดพระสังข์ และครั้งท่ีสองเม่ือพระสังข์ถูกพรากไปถ่วงน�้ำ แต่ด้วย บญุ ญาธกิ ารจึงท�ำให้มผี ูช้ ชู ุบอปุ ถัมภใ์ ห้ความช่วยเหลือจนผา่ นพ้นภยนั อนั ตราย ๒) การถือก�ำเนิดแบบอ�ำพราง แอบซ่อน มีส่ิงที่ห่อหุ้มพระกุมารอยู่ภายใน ไดแ้ ก่ พระสังข์ มลี กั ษณะการเกดิ ครงั้ แรก เกิดเปน็ หอยสงั ข์ และเกดิ ครง้ั ที่สองเป็นพระกุมาร การเกิดของพระสังข์ในลักษณะน้ี ท�ำให้พระมารดาได้รับความยากล�ำบากและมีความทุกข์ แสนสาหัสถงึ ๒ ครัง้ ๓) การถือก�ำเนดิ ขา้ มสายพันธ์ุ ไดแ้ ก่ สินสมุทร สุดสาคร และมัจฉานุ สินสมุทรเป็นบุตรของพระอภัยมณี (มนุษย์) กับนางผีเสื้อสมุทร (ยักษ์) มีรูปร่างทางมนุษย์ และมีลักษณะของยักษ์ติดตัวมาแต่เกิด คือ มีเขี้ยว ดวงตามีสีแดง มีพลังมาก มีกล่ินกายของยักษ์ติดตัวมา และยังถ่ายทอดกล่ินกายยักษ์น้ีให้วายุพัฒน์บุตรที่ เกิดกับนางยุพาผกา เม่ือตอนหนีศึกไปเมืองเซ็น ซ่ึงเมืองเซ็นน้ีทุก ๓ ปี จะมียักษ์มากินคน ครงั้ หนงึ่ ยกั ษไ์ ดม้ าพบวายพุ ฒั น์ ดว้ ยวายพุ ฒั นน์ น้ั สบื สายโลหติ จากนางผเี สอ้ื สมทุ ร จงึ มอี �ำนาจ สามารถก�ำราบหมู่ยักษ์ทั้งปวง เม่ือยักษ์ที่จะมากินคนได้กล่ินกายยักษ์จากวายุพัฒน์ก็กลัว จนยนื ตวั แข็งและยอมแพใ้ นทีส่ ุด สุดสาครเป็นบุตรของพระอภัยมณี (มนุษย์) กับนางเงือก (เงือกน้�ำ) มีรูปร่างมาทางมนุษย์ และมีลักษณะเฉพาะพิเศษทางมารดาติดตัวมา คือ ว่ายน�้ำเก่งมาก สุดสาครไม่กลัวน�้ำ ไม่กลัวทะเล สามารถเดินทางไปในทะเลกว้างได้เพียงล�ำพังต้ังแต ่ อายุ ๓ ขวบ คมู่ ือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนอ้ื เชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย 11

มจั ฉานเุ ปน็ บุตรของหนุมาน (ลงิ ) กับนางสุพรรณมัจฉา (เงือกนำ้� ) มลี กั ษณะ ทางกายมาทางบิดา (หนุมาน) มีหางเหมือนมารดา (นางสุพรรณมัจฉา) มัจฉานุมีสายเลือด ข้ามสายพันธุ์ คือ มีพระพาย (เทวดา) เป็นปู่ มีตาเป็นยักษ์ (ทศกัณฐ์) และมียายเป็นปลา (นางปลา) หน่อเนื้อเชื้อไข ประเภทที่ ๒ เกิดจากบรรพบุรุษท่ีสันนิษฐานได้ว่า มีตัวตนอยู่จริง มีหลักฐานเช่ือมโยงถึงบรรพบุรุษ และเชื่อมโยงถึงหน่อเน้ือเช้ือไขที่อยู่ในช่วง ระยะเวลาหนง่ึ ไดแ้ ก่ พลายงาม และพลายชุมพล การเกิดของพลายงามและพลายชุมพลเป็นการถือก�ำเนิดโดยธรรมชาติ อย่างมนุษย์ทว่ั ไป มีบิดามารดาเป็นมนุษย์ เกดิ ในบ้านเมอื ง แวดลอ้ มด้วยสงั คมมนษุ ย์ พลายงามเป็นบุตรของขุนแผนกับนางวันทอง แต่พลายงามเกิดท่ีเรือน ขนุ ชา้ ง ซงึ่ เปน็ บา้ นของพอ่ เลยี้ งทม่ี คี วามขดั แยง้ กบั ขนุ แผนพอ่ ของพลายงาม ผลจากความขดั แยง้ พลายงามจงึ ถกู ขนุ ช้างท�ำรา้ ยจนเกอื บถงึ แกช่ วี ติ หากไมม่ โี หงพรายผภู้ กั ดตี อ่ ขนุ แผนมาชว่ ยไว้ พลายชุมพลเป็นบุตรของขุนแผนกับนางแก้วกิริยา เกิดในที่พักช่ัวคราว (ทิม) ข้างท่ีคุมขังขุนแผน วันท่ีพลายงามและขุนแผนประชุมพลกองทัพเพื่อยกไปต ี เมอื งเชียงใหม่ วนั น้นั เป็นวนั เกิดของพลายชุมพล พลายงามและพลายชุมพลจึงเป็นพ่ีน้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดา และ มีอายุห่างกันราว ๑๕ - ๑๖ ปี หน่อเน้ือเช้ือไข ประเภทท่ี ๓ เกิดจากบรรพบุรุษที่สันนิษฐานได้ว่า มีตัวตนอยู่จริง มีหลักฐานเช่ือมโยงถึงบรรพบุรุษ และเช่ือมโยงถึงหน่อเนื้อเช้ือไขอยู่บ้าง แต่ตัวตนของหน่อเนื้อเช้ือไขไม่ประจักษ์ชัดเจน คงมีแต่พฤติกรรมและคงไว้ซึ่งค�ำเรียกขาน สบื ต่อมาจนบดั นี้ ได้แก่ กุมารทอง กุมารทองเป็นบุตรของขุนแผนกับนางบัวคลี่ กุมารทองเป็นส่ิงศักดิ์สิทธิ์ ท่ีเป็นอมตะ เกิดจากขุนแผนประกอบพธิ ีกรรมปลกุ เสก โอมอา่ นเวทมนตรค์ าถา ประกอบกบั การบูชาไฟลงยันตเ์ ลขผานาที จนก�ำเนิดเป็นกมุ ารทองที่มีชวี ติ เป็นอมตะ การเกิดของกุมารทองมีลักษณะคล้ายคลึงกับการเกิดของนางมณโฑ ซึ่งชาติก่อนเป็นนางกบ พระฤ ษีได้ชุบนางโดยประกอบพิธีการบูชาไฟ โอมอ่านคาถา เวทมนตร์ จนนางกบกลายเป็นนางมณโฑ เป็นนางฟ้าไปถวายตัวรับใช้พระอุมาเทวีบนสรวงสวรรค์ 12 คมู่ ือการเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนื้อเช้อื ไข ในวรรณคดไี ทย

อกี ทงั้ มลี กั ษณะคลา้ ยคลงึ กบั การเกดิ ของพระลบทเี่ กดิ จากพระฤ ษโี อมอา่ นคาถา รา่ ยพระเวทย์ จนภาพวาดกลายมาเปน็ พระลบคแู่ ฝดของพระมงกุฎ กุมารทองเป็นพี่น้องร่วมบิดากับพลายงามและพลายชุมพล หากนับ ระยะเวลาการถือก�ำเนิดในครรภ์มารดาแล้ว กุมารทองจะมีศักด์ิเป็นพี่ของพลายงามและ พลายชมุ พล ซงึ่ กมุ ารทองกไ็ ดท้ �ำหนา้ ทปี่ กปอ้ งคมุ้ ครองนอ้ งชาย (พลายชมุ พล) ในการเดนิ ทาง ไปเมอื งกาญจนบุรี และเมืองสโุ ขทัยอยา่ งปลอดภยั หน่อเน้ือเชื้อไข ประเภทท่ี ๔ เกิดเป็นมนุษย์มีตัวตน มีถิ่นฐานที่อยู่ มีหลักฐานบันทกึ เหตุการณ์ความเปน็ มาและความเปน็ ไป ได้แก่ คนัง คนังเปน็ เดก็ ชายชาวเงาะปา่ (ซาไก) เกดิ ท่จี งั หวดั พัทลงุ คนงั ถกู จัดเปน็ กลุ่มเด็กเงาะป่าที่เป็นก�ำพร้า และถูกคัดเลือกเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในวังหลวง ถวายตัว กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และคนังยังเป็นแรงบันดาลใจให้ทรงพระราช นิพนธ์วรรณคดไี ทย เรื่อง เงาะปา่ ดว้ ย ๖.๒ คุณธรรมความดีงามประจ�ำใจ คุณธรรมความดีงามเป็นส่ิงท่ีเป็น “นามธรรม” ท่ีมีอยู่ในหน่อเน้ือเช้ือไข เม่ือหน่อเน้ือเชื้อไขได้แสดงพฤติกรรมท่ีเป็นนามธรรมออกมาประจักษ์ชัดเป็น “รูปธรรม” ซึ่งท�ำให้หน่อเน้ือเช้ือไขมีคุณค่าแห่งความดีงาม เป็นแบบอย่างการกระท�ำดีและได้รับผล จากการท�ำดี ซ่ึงผู้เรียนสามารถซึมซับพฤติกรรมที่ดีงามจากตัวละครวัยเยาว์เหล่าน้ี พฤติกรรมความดงี ามทปี่ ระจักษจ์ �ำแนกได้ ดงั น้ี ๑) ความกตญั ญกู ตเวที - พระสงั ข์ ตอนออกจากหอยสังข์มาช่วยไลไ่ กป่ า่ นก และหงุ หาอาหาร ไวใ้ ห้พระมารดาต้งั แตอ่ ายุ ๕ - ๖ ขวบ - มัจฉานุ ตอนทหี่ นมุ านลงมาถงึ เมอื งบาดาลเพื่อชว่ ยพระราม หนุมาน ให้มัจฉานุบอกทางไปช่วยพระราม แต่มัจฉานุนึกถึงไมยราพผู้มีพระคุณที่เล้ียงมาจึงไม่บอก ตรง ๆ หากแตใ่ ห้หนุมานผเู้ ป็นพ่อคิดแก้ไขปริศนาเอง - กุมารทอง ตอนพาพ่อขุนแผนออกจากรูกลอนประตูโบสถ์ ฝา่ วงล้อม ของหม่นื หาญออกมาไดอ้ ย่างปลอดภยั - พลายงาม ตอนอาสาไปตีเมืองเชียงใหม่ ได้ขอขุนแผนไปเป็น ท่ีปรึกษาทัพ ท�ำใหข้ นุ แผนพ้นจากการถูกคุมขัง คู่มอื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนื้อเชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย 13

๒) ความใฝ่รใู้ ฝเ่ รยี น พระนารายณ์ธิเบศร์ได้ศึกษาวิชาส�ำหรับการปกครองเมืองสิงหลในวิชา การยงิ ธนู การขีม่ ้า ลา่ สตั ว์ การตอ่ สู้ ฯลฯ พระมงกุฎ พระลบได้ศึกษาวิชาจากพระฤ ษีวัชมฤคที่ในป่า ในวิชา การยิงธนู การขม่ี ้า ล่าสตั ว์ การต่อสู้ ฯลฯ พระสังข์ได้ศึกษาวิชาความรู้จากนักปราชญ์ในเมืองและนางยักษ์พันธุรัต พระสังขส์ ามารถขม่ี ้าตีคลีได้ และยังไดเ้ รียนรู้มหาจนิ ดามนตส์ �ำหรับเรียกเน้ือเรียกปลา พลายงาม พลายชุมพลเรยี นร้จู ากต�ำราของปู่ขุนไกรและของพ่อขนุ แผน มยี า่ ทองประศรเี ปน็ ผกู้ �ำกบั การเรยี น และไดศ้ กึ ษาวชิ าความรตู้ อ่ กบั พระอาจารยซ์ งึ่ เปน็ สมภาร ทม่ี อี าคมแกก่ ลา้ ในวชิ าไสยศาสตร์ สว่ นพลายชมุ พลไดเ้ รยี นวชิ าขอมบาลี และการตอ่ สจู้ ากเมอื ง สโุ ขทัย หลงั จากเรียนแล้วไดม้ ีการทดลองวิชา สามารถน�ำไปใช้ในการทัพ และการสงครามได้ สินสมุทรมีพระอภัยมณีพระบิดาเป็นครูคนแรก สอนวิชาการเป่าปี่ การต่อสู้ และเมื่อมาติดเกาะที่เกาะแก้วพิสดาร ได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระฤ ษี และเรียนรู้ ภาษาตา่ งประเทศจากพวกพอ่ ค้า/นกั เดนิ ทางท่เี รือแตก (ฝรง่ั จีน แขก ฯลฯ) จนสามารถสื่อสารได้ สดุ สาครเรยี นรกู้ ารวา่ ยนำ้� จากแมเ่ งอื ก เรยี นรวู้ ชิ าจากพระฤ ษผี ปู้ ระสทิ ธิ์ ประสาทวิชาในแนวทางเดียวกับสินสมุทร (พระเชษฐา) และได้สอนมนต์ปราบม้านิลมังกร มาเปน็ พาหนะได้ คนงั ได้เรยี นรู้จากการปฏิบัตติ ่อ ๆ กนั มาในกล่มุ ชาวเงาะ และประทับใจ ในการสอนของซมพลา เงาะหนุ่มทส่ี อนวิชาอยใู่ นปา่ การใช้อาวธุ ล่าสตั ว์ ฯลฯ การเรียนรขู้ องหนอ่ เน้ือเชือ้ ไขน้ัน จะเร่มิ จากการเรยี นจากต�ำรา มผี ู้สอน และมีการทดลองใชค้ วามรู้ และสุดท้ายน�ำไปใช้ได้อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ ๓) ความรับผิดชอบ มัจฉานุได้รับมอบหมายหน้าที่จากไมยราพเจ้าเมืองบาดาล ให้ดูแล สระบัวซ่ึงเป็นประตูเข้าสู่เมืองบาดาล มัจฉานุได้แสดงความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างเต็มที่ โดยออกตระเวนส�ำรวจจนปะทะกบั หนมุ านท่ีล่วงล้ำ� เข้ามา พระสังข์ได้รับมอบหมายจากท้าวสามนต์ ให้ท�ำศึกตีคลีกับผู้มาท้าเอา บ้านเมอื ง (พระอินทร์) 14 คมู่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้ือเชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย

พลายงามอาสาน�ำทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ด้วยความกล้าหาญ ความ รบั ผิดชอบตอ่ หนา้ ท่ี ท�ำให้ไดร้ ับชยั ชนะในการท�ำศกึ กลับมา ๔) ความกลา้ หาญ หน่อเนื้อเชื้อไขเมื่อเติบโตขึ้น พบว่า มีความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง ความกล้าผจญ ไม่ปรากฏความขลาดกลัว ความหวั่นเกรง ในยามท่ีต้องเผชิญกับเหตุร้าย ในสถานการณ์ตา่ ง ๆ ๕) ความเปน็ ผนู้ �ำ ผู้ตามทีด่ ี พระมงกฎุ เปน็ ผนู้ �ำท่ีดี พระลบเป็นผู้ตามทด่ี ี สดุ สาครเปน็ ผนู้ �ำทดี่ ใี นการตอ่ สกู้ บั ผเี สอื้ ยกั ษท์ เี่ กาะกาวนิ และยกทพั เดก็ ไปช่วยศกึ เมอื งผลกึ โดยมเี สาวคนธ์ หสั ไชย และกลมุ่ เด็กเปน็ ผู้ติดตามท่ดี ี สินสมุทรเม่ือยึดเรือโจรสลัดได้ จึงใช้ความเป็นผู้น�ำส่ังห้ามลูกเรือ ปล้นสะดมเรอื ต่าง ๆ ในนา่ นน้ำ� พลายงามเป็นผู้อาสาน�ำทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ตามพระราชบัญชาของ สมเดจ็ พระพันวษา ๖) ความรกั ชาติ ความรกั ถ่ินเกิด พลายงามและพลายชุมพลได้สมัครใจเป็นทหารรับราชการถวาย สมเด็จพระพันวษา พลายงามได้น�ำทัพไปตีเมืองเชียงใหม่จนได้ชัยชนะ และได้รับต�ำแหน่งจม่ืนไวย วรนาถ ส่วนพลายชุมพลได้อาสาไปปราบจระเข้เถรขวาดท่ีมาท�ำร้ายผู้คน หลังปราบจระเข้ เถรขวาดแล้ว พลายชมุ พลได้รบั ต�ำแหนง่ เปน็ ทหี่ ลวงนายฤทธิ์ ๗) ความอดทน จากประวตั ขิ องหนอ่ เนอ้ื เชอ้ื ไข พบวา่ ตวั ละครในหลายเรอื่ งประสบความ ยากล�ำบากต้ังแต่แรกเกิดและไม่มีการพรรณนาน้อยอกน้อยใจหรือต่อว่าพระมารดาผู้เล้ียงดู ให้ทุกข์ยิ่งข้ึนไปอีก มีความอดทนทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจ ยอมก้มหน้ารับทุกขเวทนา ความยากล�ำบากทีเ่ กดิ ขน้ึ น้ัน คูม่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนื้อเชอื้ ไข ในวรรณคดีไทย 15

๘) การให้อภยั ไมผ่ ูกโกรธ - มหี นอ่ เนอ้ื เชอื้ ไขทป่ี ระสบปญั หาตง้ั แตแ่ รกเกดิ ถกู ท�ำรา้ ย จงึ เปน็ หนา้ ที่ ของพระมารดาเปน็ ผเู้ ลยี้ งดแู ตผ่ เู้ ดยี ว เมอ่ื เตบิ โตขนึ้ พอรคู้ วาม ตา่ งกโ็ หยหาความรกั จากพระบดิ า ต้องการรู้จักพระบิดา ต้องการให้พระบิดามาอยู่เป็นครอบครัวพร้อมหน้ากัน ไม่มีการผูกโกรธเลย มแี ตค่ วามยินดเี ปน็ ที่สุด - พระสงั ขใ์ หอ้ ภยั ไมถ่ อื โกรธทา้ วสามนตท์ ค่ี ดิ จะฆา่ ตน หากหาเนอื้ หาปลาไมไ่ ด้ และยังยอมออกไปตคี ลเี พอ่ื ปกปอ้ งเมอื งสามนต์ ๙) การมเี หตุผล - พระนารายณธ์ เิ บศรม์ เี หตสุ งสยั วา่ เหตใุ ดญาตใิ นเมอื งสงิ หลจงึ ไมม่ เี ลย ท�ำไมพระบิดาถึงมีอายุมากกว่าบิดาของเด็กคนอ่ืนที่อยู่ในวัยเดียวกัน จึงพยายามหาค�ำตอบ จนได้ทราบในเวลาตอ่ มา - พระสังข์ใช้วิธีการพูดอย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผลในการบอก นางพันธุรัตวา่ จะไปตามหาพระมารดา เม่ือพบแล้วจะกลับมา พระสังข์พูดอยา่ งถนอมนำ�้ ใจ นางยักษ์จึงไม่พูดให้เสียใจว่า แม่เป็นยักษ์ลูกเป็นมนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อยา่ งไร เพราะนางยักษ์ มพี ระคณุ ได้เลย้ี งดูพระสังขม์ าถึง ๑๕ ปี ได้แต่บอกว่าจะหยุดพกั อยขู่ า้ งบนน้ีกอ่ น ๑๐) การเชอื่ ฟัง การนอบน้อม - พลายงามและพลายชุมพลเช่ือฟงั พ่อขุนแผนตลอดมา - คนงั เชอ่ื ฟงั ผเู้ ลยี้ งดใู นเรอ่ื งการกนิ การแตง่ ตวั การแสดงกริ ยิ ามารยาท ท่นี อบนอ้ ม การใชว้ าจาทเ่ี หมาะสม ความฉลาดพดู ท�ำใหค้ นงั เป็นทโี่ ปรดปรานและไดใ้ กลช้ ิด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยหู่ ัว ๑๑) การใหค้ วามเคารพมสี มั มาคารวะ - คนังเป็นเด็กชาวเงาะป่า ได้ปรับตนเมื่อถวายตัวเป็นมหาดเล็กในวังหลวง คอื รจู้ กั การประมาณตน ใหค้ วามเคารพตอ่ ผเู้ กอ้ื หนนุ ผเู้ ลย้ี งดู เปน็ ผมู้ สี มั มาคารวะจนเปน็ ทร่ี กั และเอน็ ดูของทกุ คน - พลายงามกอ่ นถวายตวั เปน็ ทหาร ไดอ้ าศยั อยทู่ บ่ี า้ นจมน่ื ศรี พลายงาม ให้ความเคารพแกจ่ มืน่ ศรี และมสี ัมมาคารวะเมื่อติดตามจมนื่ ศรีเขา้ เฝา้ สมเดจ็ พระพนั วษา 16 คมู่ อื การเรียนการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เน้ือเช้ือไข ในวรรณคดไี ทย

๖.๓ ผลแห่งคณุ ธรรมความดี การมีคุณธรรม จริยธรรม ความดีงามประจ�ำใจของหน่อเน้ือเช้ือไข ส่งผล ให้บังเกดิ สง่ิ ดีงามตอ่ มา ดงั น้ี ๑. ผมู้ คี วามกตญั ญกู ตเวที เปน็ คนดมี คี ณุ คา่ กลา่ วคอื ผทู้ ม่ี คี วามกตญั ญกู ตเวท ี น้ันประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรมและยอ่ มเป็นท่ีรักของเทวดาและมนุษย์ท้ังหลาย ๒. ผลของการเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ จะเป็นผู้รอบรู้ มีสติปัญญา ใช้วิชาความรู ้ สร้างหน้าท่ีการงาน การแกไ้ ขปญั หา และการพฒั นางาน พฒั นาชีวติ ให้พบความสุขได้ ๓. ผลของความรับผิดชอบ จะท�ำให้เป็นผู้ท่ีประสบความส�ำเร็จในหนา้ ที่การงาน ได้รับความไว้วางใจให้ท�ำงานใหญ่ ความรับผิดชอบยังต้องมีคุณธรรมและมีวินัยมาเกื้อหนุน จึงจะส�ำเร็จด้วยดี ๔. เปน็ ผมู้ คี วามกลา้ หาญ จะท�ำใหเ้ ปน็ ผมู้ อี �ำนาจ วาสนา บารมี ไมถ่ กู ขม่ เหง หรอื ดูถกู เหยยี ดหยาม ๕. ความเปน็ ผนู้ �ำผตู้ ามทด่ี ี เกดิ เปน็ ความสามคั คี มนี ำ้� จติ นำ�้ ใจเปน็ หนงึ่ เดยี ว ไม่เกิดความขดั แยง้ เกดิ เป็นพลังอันยงิ่ ใหญ่ ๖. ความรักชาติ รักถิ่นเกิด เป็นผู้ปกป้อง มีความเสียสละ มีจิตอาสา และดแู ลกิจการเพอ่ื สว่ นรวมของประเทศชาติ ๗. ความอดทน เป็นคุณธรรมเกื้อหนุนเพื่อให้ผา่ นพ้นช่วงวิกฤตมาได้ด้วยด ี ความอดทนมี ๓ ทาง คือ อดทนทางกาย คือ ทนต่อความยากล�ำบากได้ อดทนทางวาจา คือ สามารถทนตอ่ วาจาทห่ี ยาบคาย ยวั่ ยุ และเผด็ รอ้ นได้ อดทนทางใจ คอื ทนตอ่ ความเจบ็ ปวดได ้ และอดทนทางวาจาและใจจะส�ำเร็จไดด้ ว้ ยการรู้จกั ขม่ วาจาและใจของตนเอง โดยมสี ติปญั ญา ก�ำกบั ไว้ ๘. การรู้จักให้อภัย ไม่ผูกใจโกรธ ท�ำให้จิตใจแจ่มใส สว่างไสว ไม่ขุ่นมัว ไม่กอ่ เวรกรรม ไม่เกิดการอาฆาตพยาบาทตามมา เปน็ การตดั เวรตัดกรรม ๙. การมเี หตผุ ล เปน็ คุณธรรมทมี่ งุ่ ความเทีย่ งธรรม โดยการพดู ฟงั และคดิ อยา่ งรอบคอบและไมล่ �ำเอยี ง เกดิ การยอมรบั กนั ทุกฝา่ ย ความสขุ สงบก็จะบังเกดิ มีขึ้นได้ คมู่ อื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนอ้ื เชื้อไข ในวรรณคดีไทย 17

๑๐. การเชอ่ื ฟงั และการนอบนอ้ ม เปน็ คณุ ธรรมทเี่ กอื้ หนนุ ใหไ้ ดร้ บั ความเมตตา กรณุ า ความรกั ความเอ็นดู จะได้รบั การส่ังสอน การแนะน�ำ ไดร้ ับค�ำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ ในการกระท�ำ และการด�ำเนนิ ชีวติ ใหป้ ระสบความเจริญรุ่งเรอื ง ๑๑. การมสี ัมมาคารวะ เคารพนบไหว้ เปน็ คุณธรรมทเี่ กอื้ หนนุ ให้ได้รบั ความ เมตตา ชนื่ ชม ไดร้ ับการยกยอ่ ง การสง่ เสริมในกิจการตา่ ง ๆ เป็นผทู้ ่มี สี ัมพนั ธไมตรีกับผ้อู ่นื ไดด้ ี หน่อเนื้อเชื้อไขซึ่งเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม จึงเป็นความงดงาม ท่ีผู้อ่าน ผู้เรียนได้พบและสัมผัสจากพฤติกรรมที่ปรากฏผ่านการกระท�ำของหน่อเน้ือเชื้อไข จนในท่ีสุดได้ประสบกับความสุข ความรัก ความอบอุ่น อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาท้ังครอบครัว ไดม้ ีหน้าที่การงานท�ำ มีชอื่ เสียงได้รับการยกย่องในความสามารถ ผ่านความทุกข์ยากล�ำบาก และประสบความส�ำเร็จในชีวติ กระทง่ั ไดค้ รองบ้านครองเมอื ง ผู้เรียนได้ซึมซับคุณธรรมความดีงามผ่านตัวละครที่เป็นหน่อเน้ือเชื้อไข ด้วยตนเองอยู่บ้าง ประกอบกับครูผู้สอนหม่ันปลูกฝังคุณธรรมความดีงามแก่ผู้เรียนบ่อย ๆ ซำ้� ๆ ผา่ นการเรยี นรแู้ บบอยา่ งจากตวั ละครหนอ่ เนอ้ื เชอ้ื ไข หวงั ไดว้ า่ ผเู้ รยี นจะเพมิ่ พนู คณุ ธรรม ความดี มีความรักในการอ่านวรรณคดีไทยมากย่ิงข้ึน ซึ่งเป็นการบรรลุจุดมุ่งหมายในการ น�ำเสนอของหนังสอื เล่มนี้ 18 คู่มือการเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนอ้ื เชื้อไข ในวรรณคดีไทย

๑ หนอ่ เนอ้ื เช้ือไข ในวรรณคดไี ทย เรอ่ื ง ขนุ ช้างขนุ แผน

เรอ่ื ง ขนุ ชา้ งขุนแผน ๑.๑ ประวตั วิ รรณคดไี ทย ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีประเภทนิทาน แต่งเป็นกลอนเสภา สันนิษฐานว่า นา่ จะใช้ “การขบั ” เลา่ เรอ่ื งดว้ ยท�ำนองรอ้ งเลน่ ตา่ ง ๆ โดยใช้ “กรบั ” เปน็ เครอื่ งประกอบจงั หวะ ซง่ึ ตอ่ มาไดเ้ พม่ิ เตมิ เพอื่ ใหก้ ารขบั มคี วามสนกุ สนาน มเี ครอ่ื งพณิ พาทยป์ ระกอบการขบั เรยี กวา่ “การขบั เสภาทรงเครอ่ื ง” ในกฎหมายตราสามดวงครั้งกรุงศรีอยุธยา มีข้อความระบุถึงพระราชานุกิจ ซ่ึง หมายถงึ กจิ ทพี่ ระเจา้ แผน่ ดนิ ทรงประพฤตเิ ปน็ การสว่ นพระองค์ ไมเ่ กยี่ วกบั ราชการแผน่ ดนิ ไวว้ า่ “หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี” แสดงว่าการเล่าเร่ืองด้วยการขับร้องมีมานานแล้ว และกรับที ่ ใชป้ ระกอบการขบั นนั้ กน็ า่ จะเปน็ เครอื่ งดนตรเี กา่ แกด่ ง้ั เดมิ ทแี่ พรห่ ลายมาจากประเทศอนิ เดยี หรอื ประเทศแถบตะวันออกกลาง สมเด็จพระเจา้ บรมวงศเ์ ธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงสนั นิษฐานวา่ วรรณคดไี ทย เร่ือง ขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องของคนที่มีชีวิตอยู่จริงในราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๒ และมีผู้น�ำมาเล่าสืบต่อกันมาอย่างนิยาย และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนกระท่ังถึง สมยั กรงุ รัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลศิ หลา้ นภาลยั โปรดเกล้าฯ ใหก้ วหี ลายทา่ นชว่ ยกันแต่ง ต่อเติมข้ึนเป็นฉบับหลวง โดยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นบางตอน บางตอนโปรดเกล้าฯ ให้ผู้อืน่ แตง่ เชน่ สุนทรภู่ เป็นต้น วรรณคดไี ทย เรือ่ ง ขนุ ชา้ งขนุ แผน มหี ลายตอน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขนั้ พ้นื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ได้น�ำ ตอน ก�ำเนดิ พลายงาม มาก�ำหนดใหเ้ ปน็ สอ่ื การอ่าน เพือ่ การเรยี นรู้ในหนังสือเรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน ภาษาไทย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีล�ำน�ำ ชั้นประถมศึกษาปีท่ี ๖ บทเรียนบทที่ ๓ ต้ังชื่อบทอ่านว่า การเดินทางของพลายน้อย ในบทเรียนน้ี พลายน้อย หมายถงึ พลายงาม ซง่ึ เปน็ ตวั ละครส�ำคญั ในการด�ำเนินเรื่อง พลายงามเป็นน้องชายต่างมารดาของกุมารทอง และเป็นพ่ีชายต่างมารดาของ พลายชุมพล ท้ังสามพ่ีน้องมีความรักใคร่ ช่วยเหลือเก้ือหนุนกันดี จึงได้น�ำเร่ืองราวของ กมุ ารทอง และพลายชมุ พลมาใหไ้ ดเ้ รียนรูด้ ้วยกนั 20 คูม่ อื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนอื้ เชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย

๑.๒ กมุ ารทอง ๑.๒.๑ ลำ�ดับวงศข์ ุนแผน (พระสุรินทฦาชยั มไหสูรย์ภักด)ี และลำ�ดับวงศ์ ขุนแผนจนถงึ กุมารทอง ๑) ลำ�ดับวงศ์ขุนแผน (พระสุรินทฦาชัยมไหสรู ย์ภักดี) ขุนไกร นางทองประศรี ขุนแผน (พลายแกว้ ) นางพิมพิไลย นางสายทอง นางลาวทอง นางบวั คลี ่ นางแก้วกริยา (วันทอง) ศรมี าลา (จมพืน่ ลไวายย วงรานมา ถ) สร้อย ฟ้า กุมารท อง พลายช ุมพ ล (พหลลาวยงตณ า่ รงงใคจ)์ (หลวงนายฤทธ)ิ์ พลายเพชร พลายบวั พลายยง คมู่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนอ้ื เช้ือไข ในวรรณคดีไทย 21

๒) ลำ�ดับวงศข์ นุ แผนจนถงึ กมุ ารทอง ขุนไกร นางทองประศร ี หม่ืนหาญ นางสจี ันทร์ พลายแกว้ (ขุนแผน) นางบัวคลี่ กุมารทอง ๑.๒.๒ ความเดิม เม่ือขนุ แผนถูกขนุ ช้างใส่ความว่า หนีเวรไปหานางลาวทองทเี่ มอื งกาญจนบุรี สมเดจ็ พระพันวษาทรงกริ้ว ส่ังห้ามขุนแผนเข้าเฝ้าฯ ให้น�ำตัวนางลาวทองมาไว้ในวังหลวง และให้ ขุนแผนออกตระเวนดา่ น ขุนแผนแค้นเคืองขุนช้าง คิดจะไปลักตัวนางวันทองคืน จึงต้องการหาสิ่งที่ช่วย ปอ้ งกันตัวที่เปน็ ของวเิ ศษ ๓ สง่ิ คอื ดาบฟ้าฟนื้ มา้ สีหมอก และกุมารทอง เมื่อออกตระเวนด่าน ขุนแผนได้พบกับนางบัวคล่ีลูกสาวหม่ืนหาญ ซ่ึงลักษณะของ นางน่าจะมีลูกคนแรกเป็นผู้ชาย (ตอนนั้นขุนแผนยังไม่มีบุตรเลยสักคน) จึงเข้าไปสนิทสนม กบั หมื่นหาญ โดยบอกวา่ ตนชื่อ “แก้ว” เป็นคนไมม่ ีหลักแหล่ง หม่นื หาญประกอบอาชีพทจุ ริต ประพฤติผิดกฎหมาย ปล้น ฆา่ ชิงทรัพย์ เรียกคา่ ไถ ่ ซ่องโจร ลกั ช้าง ม้า วัว ควาย วนั หนึ่งหมน่ื หาญออกลา่ วัวกระทิงป่า แต่ยิงพลาด วัวกระทิงจงึ เขา้ ขวดิ สวนทนั ควัน จนหมื่นหาญล้มลง แก้ว (ขุนแผน) ได้เข้าช่วยสกัดวัวกระทิงและช่วยหม่ืนหาญพ้นจากอันตราย หมื่นหาญเห็นความเก่งกล้าของแก้ว และส�ำนึกในบุญคุณของแก้วท่ีช่วยชีวิตไว้จึงยกบุตรสาว มชี ือ่ วา่ นางบวั คลใี่ ห้เป็นภรรยาและอยู่กนิ กนั จนนางตั้งครรภไ์ ด้หลายเดือน ตอ่ มาหมื่นหาญได้เรียกแกว้ ใหไ้ ปปลน้ ชิงเงนิ ตรา ขโมยข้าวของที่ผดิ กฎหมายตา่ ง ๆ แลว้ ให้เจา้ ของมาไถ่คืน “ตวั เจ้ามาอยบู่ ้านก็นานช้า เงนิ สักเฟื้องหนง่ึ กห็ ามาไม่ได้ ไมอ่ ับอายขายหน้ากบั ข้าไท แกลง้ ดูใจเจา้ มาเป็นช้านาน” 22 คมู่ ือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนื้อเชื้อไข ในวรรณคดีไทย

แก้วบอกว่าท�ำอย่างน้ันไม่ได้ แต่ถ้ามีเหตุเภทพาลใดใด ก็จะออกรับแทนโดยไม่ให ้ หม่ืนหาญต้องเดือดร้อน หมื่นหาญก็โกรธดูถูกว่าแก้วดีแต่พูด แก้วจึงท้าให้หมื่นหาญเอาคน มายิงตนรอบกาย ซึง่ ปรากฏว่าลกู ปืนไม่สามารถท�ำอนั ตรายแกว้ ได้ เมอื่ หมื่นหาญร้วู ่า แก้วมีวิชาดี จึงคดิ ขยาดในใจว่า “ดังพญาสีหราชอนั กราดเกรยี้ ว อยู่ถ�ำ้ เดียวสองตวั เห็นไม่ได้ ยิง่ คิดยง่ิ แค้นแนน่ ใจ เดนิ ขึน้ บันไดไปเรือนพลนั ” “มนั เปน็ ชา้ งงาอนั กล้าหาญ เราเปน็ คชสารอันสูงใหญ่ จะอยูป่ ่าเดียวกันน้นั ฉนั ใด นานไปกจ็ ะยับอปั ระมาณ” หมนื่ หาญจงึ คดิ จะฆา่ แกว้ โดยอาศยั ลกู สาวคอื นางบวั คลเ่ี ปน็ ผลู้ งมอื ดว้ ยอกศุ ลดลจติ นางบัวคลี่จะถึงท่ีตาย จึงเห็นดีเห็นงามไปกับพ่อหม่ืนหาญ นำ�ผงยาพิษผสมในสำ�รับอาหาร ของแกว้ แต่โหงพรายได้มากระซิบบอกแกว้ ว่า “ขา้ วแกงท่แี ต่งใส่ในสำ� รับ มันประกับโรยมาด้วยยาผง ล้วนยาพษิ ท้งั นน้ั เป็นม่ันคง พอ่ จงระวังระไวอย่าได้กิน” แก้วยังไม่เชื่อค�ำโหงพราย เพราะว่า “แต่อยู่กันมาไม่ราคิน” จึงได้น�ำอาหาร ปั้นเป็นก้อน แล้วโยนข้ึนหลังคาบ้าน ครู่เดียวนกกาท่ีกินอาหารเข้าไปก็หล่นลงมาด้ินตาย จึงประจกั ษถ์ งึ ความอ�ำมหิตของนางบวั คลแ่ี ละกล่าวว่า “จ�ำจะล้างชีวาฆ่ามันเสีย จะเล้ยี งมันเปน็ เมยี ท่ไี หนได้” เมือ่ เหตกุ ารณ์เปน็ เช่นนี้ จงึ สามารถวเิ คราะหส์ ถานการณข์ องแก้วไดว้ า่ ๑. จะอาศยั บา้ นนี้อย่ตู อ่ ไปไมไ่ ด้ ๒. ตัวคนเดียว ไม่หาญจะสู้รบกบั คนทงั้ ซอ่ งโจรและทหารของหมื่นหาญได้ ๓. ลูกซ่ึงเป็นเชื้อสายของตนในท้องนางบัวคลี่ หากเป็นชายเติบโตไปไม่พ้นเป็น ขุนโจร หากเป็นหญงิ ไม่พ้นเปน็ นางโจร จึงจะท้งิ ลูกไว้ไมไ่ ด้ ๔. ลูกที่มีแม่ใจทมิฬ ฆ่าผัวฆ่าพ่อของลูกได้ทั้งที่ไม่ได้ทำ�อะไรผิด ลูกจะได้รับ ความสขุ จากใคร จะได้รบั การสง่ั สอนเล้ยี งดูอย่างไร ๕. ลกู ทอี่ ย่ใู นครรภน์ น้ั ถอื เป็นสิทธิข์ องแม่ คมู่ อื การเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเนือ้ เชื้อไข ในวรรณคดไี ทย 23

แก้วจงึ เฝ้าพดู ขอลกู จากนางบวั คลี่ จนนางบวั คลีก่ ลา่ วประชดประชนั วา่ “อยากได้ ก็แหวะเอาจากท้องไป” แก้วถือว่าเป็นสิทธ์ิที่นางบัวคล่ียกลูกให้ตน เพราะแม่ยกให้แล้ว จะท�ำอะไรก็ไดต้ ามที่ตอ้ งการ แกว้ ไดผ้ า่ ทอ้ งนางบวั คล่ี และพบวา่ ลกู เปน็ กมุ ารหรอื เดก็ ผชู้ าย จงึ อมุ้ ลกู ออกจากบา้ น เดินตัดป่าไปถึงวัดใต้ และเข้าไปในวิหารปิดประตูแน่นหนา แล้วท�ำพิธีปลุกเสกกุมารทอง ตามต�ำราจนถงึ ร่งุ เชา้ กุมารทองได้พาพ่อแก้วฝ่าออกจากวงล้อมของพวกหม่ืนหาญ โดยให้พ่อแก้วข่ีคอ ลอดออกทางรูกลอนประตู แล้วหายตัววับไปทันใด กุมารทองจึงนับว่าเป็นส่ิงวิเศษและ เปน็ อมตะมาจนถงึ ทุกวันนี้ ๑.๒.๓ ประวัติตวั ละคร กุมารทอง กุมารทองเป็นหนึ่งในของวิเศษ ๓ สิ่ง ของขุนแผน คือ ดาบฟ้าฟื้น ม้าสีหมอก และกมุ ารทอง ขนุ แผนตีดาบฟ้าฟื้น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรอ่ื ง ขุนชา้ งขุนแผน ท่ีวดั ปา่ เลไลยก์ จงั หวัดสุพรรณบุรี 24 คมู่ อื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเน้อื เชือ้ ไข ในวรรณคดไี ทย

กมุ ารทองเปน็ ลูกคนแรกของพอ่ แกว้ ทเ่ี กิดจากครรภ์ของนางบวั คลี่ กุมารทองเป็นซากทารกที่ไม่ทันได้เกิดเป็นมนุษย์ แก้วน�ำมาท�ำพิธีปลุกเสกด้วย การบชู าไฟ โอมอ่านเวทมนตรค์ าถาอาคมตามต�ำรา จนเปน็ ของวิเศษทีเ่ ปน็ อมตะ กมุ ารทองสามารถแสดงตนใหค้ นเหน็ หรอื ไมใ่ หใ้ ครเหน็ กไ็ ด้ จะใหเ้ หน็ เปน็ รปู อะไรกไ็ ด้ ทงั้ สิ่งดี สวยงาม หรอื สงิ่ ไมด่ ี ดุร้าย นา่ กลัว สามารถลอ่ งหนได้ไวดงั ใจนกึ เขา้ ใจภาษาสื่อสารได้ รบั ค�ำสงั่ และท�ำตามค�ำส่ังได้ โลกของกุมารทองอยูใ่ นอีกมติ หิ น่งึ เปน็ โลกท่ีมนษุ ย์มองไมเ่ ห็นในมติ นิ น้ั กมุ ารทอง สามารถสัมผัสและคุ้นเคยกับพวกภูต โหงพราย ผีพราย พรายไม้ พรายน�้ำ ผีเปรต ในยาม ค�่ำคนื พวกน้จี ะมีพลังมาก จงึ ออกมาทอ่ งเทยี่ ว มาชมุ นุม มาเลน่ แข่งขนั กนั อย่างพรายน�้ำทเี่ ลน่ เกบ็ กระเชา้ นางสดี า บา้ งกส็ ง่ เสยี งรอ้ งร�ำท�ำเพลง ซง่ึ มนษุ ยไ์ ดย้ นิ เสยี งแลว้ กจ็ ะกลวั จนขนหวั ลกุ กุมารทองต่างจากวญิ ญาณ ภูตผตี ่าง ๆ ตรงท่ีกุมารทองยดึ ม่ันในความดี ไมแ่ กลง้ ใคร ไมห่ ลอกใคร ไม่ท�ำร้ายหรอื รังแกใคร กุมารทองมีความรักพอ่ รกั นอ้ ง และเช่อื ฟงั พอ่ ขุนแผน ไปไหนไปด้วย คอยชว่ ยเหลือตามท่พี ่อตอ้ งการ กุมารทองท�ำหน้าที่คุ้มครองป้องกันอันตรายให้แก่คนในวงศ์ตระกูล คอยตักเตือน แนะน�ำ และใช้พลังวิเศษของตนคอยช่วยเหลือให้พ้นภัย เช่นคร้ังหน่ึงกุมารทองพาแก้ว แหวกวงล้อมของหมื่นหาญพ่อของนางบัวคลี่และเป็นตาของกุมารทองหนีออกไปได้ อีกคร้ังหนึ่งกุมารทองได้ห้ามและเตือนสติขุนแผนตอนข้ึนเรือนขุนช้าง พบขุนช้างนอนหลับ อยกู่ บั นางวนั ทองกโ็ กรธ และชกั ดาบจะฆา่ เสยี และอกี ครง้ั หนง่ึ กมุ ารทองไดเ้ ดนิ ทางไปเปน็ เพอ่ื น คอยป้องกันอันตรายให้พลายชุมพล (ซ่ึงเป็นน้องและเป็นลูกพ่อแก้วด้วยกัน) เพื่อหน ี ออกจากบ้านจม่ืนไวยวรนาถ (พระไวย) ท่ีเมืองอยุธยากลับไปเมืองกาญจนบุรีด้วยความ ปลอดภยั จนพบพอ่ ขนุ แผนและไดค้ มุ้ ครองพลายชมุ พลเดนิ ทางไปหาทา่ นตา (เจา้ เมอื งสโุ ขทยั ) ไดโ้ ดยปลอดภยั คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนือ้ เชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย 25

๑.๒.๔ ชวนท�ำ กิจกรรม ประนมกราบขอโทษยง่ิ โกรธส่ง ๑) ชวนอ่านเป็นท�ำนอง กมุ ารตรงยดึ ขวางไมว่ างมือ ..................................................... กมุ ารทองปอ้ งปดั สกัดดาบ เอาแต่พอเจ็บอายเลอื ดตาไหล ถบี ตอ่ ยเตะตกจากเตยี งลง จบั ไดเ้ นอ้ื ความลามกระจายฯ ..................................................... กุมารทองหา้ มวา่ อยา่ ใหต้ าย ฟันฆ่าเทวดามักดลใจ (ตอน ขุนแผนขนึ้ เรือนขุนช้าง) ขนุ แผนไม่สะทกสะทา้ นอ่านมนตรป์ ลกุ ผลี ูกผดุ ลกุ ขึน้ พดู จ้อ ขนุ แผนเต้นเผน่ โผนโจนขี่คอ กมุ ารทองชว่ ยพอ่ ใหพ้ น้ ภยั กมุ ารทองโลดปงึ ทะล่ึงปรอ๋ พาพ่อออกตามรดู าลได้ พวกหมืน่ หาญไม่เห็นตวั ข้ามหัวไป ด้วยฤทธไิ กรไสยเวทวชิ าการ (ตอน กำ� เนดิ กุมารทองบตุ รนางบัวคล่)ี ๒) ชวนรเู้ รอ่ื ง ผี ค�ำวา่ “ผ”ี เปน็ สง่ิ ทมี่ นษุ ยเ์ ชอ่ื วา่ มสี ภาพลกึ ลบั มองไมเ่ หน็ ตวั แตอ่ าจจะปรากฏตวั ในสภาพใดก็ได้ต่าง ๆ กันไป ตามแต่ต้องการ ผีอยู่ได้ในทุกท่ีแม้แต่สิงสู่ในตัวคน โดยเฉพาะ คนทีม่ คี วามโลภ ความโกรธ ความหลง ทีค่ วบคุมไม่ได้ยอ่ มไม่ต่างจากคนถูกผเี ขา้ เดก็ หญงิ ขนั ทอง นพกลุ กบั พรายนำ�้ เป็นภูตจ�ำพวกหนึ่ง มีตัวขนาดเล็กจิ๋ว สวยงาม เป็นเพศหญิง จากนิทานเร่ือง กระเข้าสดี า 26 ค่มู อื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนือ้ เชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย

ผมี ที ้งั ผีดี ผรี า้ ย และผีทีไ่ ม่ใช่ผี ดงั เช่น ๑. ผดี ี ไดแ้ ก่ ผฟี ้า เป็นเทวดาพวกหนึง่ ทค่ี อยชว่ ยเหลอื มนุษย์ รักษาโรคภยั ไข้เจ็บ เปน็ ผใี จบญุ ใหค้ ุณแกม่ นษุ ย์ ๒. ผีดกี ็ได้ ผีร้ายกไ็ ด้ ให้คุณก็ได้ ใหโ้ ทษกไ็ ด้ ขึน้ อยู่กบั การกระท�ำของมนษุ ย ์ ท่ีท�ำให้แก่ผี หากเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ เช่น ผีบ้านผีเรือน ผีป่า ผีห่า ผีตาโขน ผีภูต ผพี ราย ผีตายโหง หรือแมแ้ ต่กุมารทอง เป็นตน้ ๓. ผีท่ไี ม่ใชผ่ ี มีหลายจ�ำพวกแตกตา่ งกนั เช่น - ผีพุ่งใต้ ไม่ใช่ผี แต่มักเห็นในยามค่�ำคืน เป็นวัตถุแข็งจากอวกาศ นอกโลก เคลอ่ื นทผ่ี า่ นช้ันบรรยากาศลงมาสูโ่ ลกจะลกุ ไหม้ใหแ้ สงสวา่ งจา้ เกิดจากการเสียดสี กับบรรยากาศของโลก ถ้าเป็นวัตถุขนาดเล็กก็จะเผาไหม้หมดก่อนตกลงถึงพื้นโลก หากม ี ขนาดใหญ่เผาไหมไ้ มห่ มด เม่อื ตกลงถงึ พื้นโลก เรยี กว่า อกุ กาบาต หรือ ดาวตก - ผเี สือ้ น้�ำ เป็นยักษ์พวกหน่งึ สิงอยู่ในน้�ำ - ผีเส้ือ เป็นแมลงท่ีมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มหี ลากหลายสสี นั และตา่ งลวดลาย มที งั้ ผเี สอ้ื กลางวนั ผเี สอ้ื กลางคนื ผเี สอื้ ยงั เปน็ ชอ่ื ปลาทะเล ท่ีเรยี กว่า ปลาผเี สือ้ - ผตี องเหลอื ง เป็นกลมุ่ ชนเผ่าหนึ่ง อาศัยอย่ตู ามป่าเขา นยิ มใชใ้ บตอง ใบไมท้ �ำท่ีอยู่อาศยั เม่อื ใบตองออกสเี หลืองนำ้� ตาลก็จะย้ายที่อยใู่ หม่ไปเร่อื ย ๆ มผี ชี นดิ หนง่ึ ในประเทศไทยทก่ี ลา้ เปดิ เผยตวั และไมม่ สี ภาพลกึ ลบั อกี ตอ่ ไป คือ ผีตาโขน ซึ่งสืบทอดกันเป็นประเพณีแห่ผีตาโขนท่ีอ�ำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในงาน บุญผะเหวด (พระเวสสันดร) หรือเทศน์มหาชาติประจ�ำปีของจังหวัด มีเร่ืองราวเล่าขาน ตอ่ กนั มาวา่ สมัยก่อนพุทธกาล พระโพธสิ ัตวจ์ ตุ ิลงมาเกดิ เป็นพระเวสสันดร เพ่ือบ�ำเพ็ญบารมี ย่ิงใหญ่ในป่าเขาวงกตเป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน และเม่ือเดินทางออกจากป่าเขาวงกต ได้มีผีป่าเขาท้ังหลาย ท้ังสิงสาราสัตว์ได้แฝงตัวเร้นกายตามมารอส่งพระเวสสันดรกลับเข้า เมืองสีพี (นครกัณฑ)์ ซึง่ ผีป่าพวกนเ้ี ปน็ “ผตี ามคน” และต่อมาได้เรยี กเพ้ยี นเปน็ “ผีตาโขน” คู่มือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้ือเชื้อไข ในวรรณคดีไทย 27

ผตี ามคน (พระเวสสนั ดร) เพราะอะไร ๑. พระเวสสนั ดร ชอบให้ทาน (บรจิ าค) การใหท้ าน ท�ำใหเ้ กิดเป็นบุญกุศล เม่อื อุทศิ บญุ กุศลให้ผี ผกี ช็ อบ ผมี ีความสขุ พ้นทุกข์ ๒. พระเวสสันดร รักษาศีล ศีล ท�ำให้กาย วาจา ใจ บริสุทธ์ิไม่มัวหมอง ความบรสิ ุทธิ์ทางกาย วาจา ใจน้ี จะไมค่ ิดรา้ ยตอ่ ใคร เกิดเป็นบญุ กศุ ล เม่ืออทุ ศิ ส่วนกศุ ลใหผ้ ี ผกี ช็ อบมคี วามสขุ พ้นทุกข์ ๓. พระเวสสันดร ท�ำสมาธิภาวนา ท�ำให้จิตใจผ่องใสดุจดวงแก้วส่องสว่าง เกิดปัญญารู้แจ้งความทุกข์ ความสุขของเทวดา มนุษย์ และผี ท�ำให้สามารถช่วยเหลือ ใหค้ ลายความทุกข์ หรอื พบแตค่ วามสขุ ผกี ช็ อบ เทวดาก็ชอบ มนุษยแ์ ละสตั วท์ ้ังหลายกช็ อบ ทุกคนหากชอบใหท้ าน ชอบรักษาศลี ท�ำสมาธิ ภาวนา และอุทิศส่วนบญุ กุศล ให้ผี ผกี จ็ ะชอบ และจะคอยดแู ลปกป้องอันตราย ดัง่ ค�ำท่วี า่ “คนดผี คี ุ้ม” ๓) ชวนกนั เลน่ ซอื้ ขายดอกไม้ (ตะล็อกตอ๊ กแตก๊ ) จ�ำนวนผู้เลน่ ไมจ่ �ำกัดจ�ำนวน อปุ กรณ์การเล่น กระจาดวางดอกไม้ตา่ ง ๆ สถานท่ี ท่ีโลง่ กวา้ ง ส�ำหรบั การว่งิ เช่น สนาม วิธกี ารเลน่ ๑. เปา่ ยงิ ฉบุ เพ่อื แบ่งกล่มุ คนเปน็ สองฝา่ ย ส่วนคนที่เหลอื ใหเ้ ลอื กอย่ฝู า่ ยใดก็ได้ ๒. ฝา่ ยหนึ่งเปน็ ผซู้ อื้ ดอกไม้ อีกฝ่ายหนึง่ เป็นผ้ขู ายดอกไม้ ๓. ผซู้ ื้อดอกไม้เข้าแถวตอ่ กนั ฝ่ายผู้ขายดอกไม้กเ็ ข้าแถว ตอ่ กนั ๔. เริม่ เล่น ผู้ขายดอกไมค้ นแรกมาน่งั หนา้ กระจาดดอกไม้ ผ้ซู อื้ คนแรกเดนิ ไปหาคนขาย ๕. ผ้ซู ือ้ คนแรกร้องว่า “ตะล็อกต๊อกแต๊ก” แถวผู้ซ้ือรอ้ งรับว่า “ตะล็อกต๊อกแตก๊ ” พร้อมให้ผูซ้ ้อื ออกแบบท่าทาง ระหว่างเดนิ ไปหาผขู้ าย 28 ค่มู ือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนือ้ เชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย

๖. ถาม - ตอบ ระหว่างผู้ขาย - ผู้ซอ้ื โดยมแี ถวผขู้ าย - ผูซ้ ้ือ ร้องรบั ตลอดเวลา ๗. สดุ ทา้ ยเม่ือสน้ิ เสียงผูข้ ายบอกวา่ “เพราะฉนั เป็นผี” ผขู้ ายรีบลุกขึ้นวง่ิ ไลจ่ ับผซู้ อ้ื ทนั ที ผซู้ ้อื ตอ้ งรบี หนีโดยไว ๘. ผู้ซ้ือที่ถูกจับตัวถือว่าตายจะต้องไปต่อแถวผู้ขาย ส่วนผู้ขาย ถอื ว่าได้เกดิ ใหมใ่ ห้ไปต่อแถวผู้ซื้อ ๙. หากผู้ขายจับตัวผู้ซ้ือไม่ได้ ให้กลับไปต่อแถวผู้ขาย (ผี) ตอ่ ไป ๑๐. เปลี่ยนผูซ้ อื้ - ผขู้ ายค่ตู ่อไป ๔) ชวนร้องเลน่ ซอ้ื ขายดอกไม้ คนซ้ือ : ตะลอ็ กต๊อกแตก๊ คนขาย : เอ๊ะ... ใครมา คนซอ้ื : นางฟา้ (นางไม้ นางงาม นางเอก นางแบบ ......) คนขาย : มาทำ� ไม คนซอื้ : มาซอ้ื ดอกไม้ คนขาย : ดอกอะไร คนซอ้ื : ดอกจำ� ปี คนขาย : ยังไม่มี คนซื้อ : ดอกจำ� ปา คนขาย : ยงั ไม่มา คนซอ้ื : ดอกบานชนื่ (บานเชา้ บานเย็น บานบุรี ......) คนขาย : บานแล้ว คนซ้ือ : ท�ำไมเล็บยาว คนขาย : เพราะฉนั ไว้เล็บ คู่มือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดีไทย 29

คนซื้อ : ทำ� ไมผมยาว คนขาย : เพราะฉนั ไว้ผม คนซ้ือ : ท�ำไมตาโบ๋ คนขาย : เพราะฉันเปน็ ผี คนขายวิง่ ไล่จบั คนซ้อื หากจบั ไดค้ นซอ้ื ตอ้ งมาเป็นคนขาย (ละเอยี ด สดคมข�ำ บทรอ้ ยกรอง ชดุ รักษ์ไทย เลม่ ๓ บทละครกลอนเสภา เรื่อง ขนุ ช้างขนุ แผน ตอน การละเลน่ เปน็ เทพบนั ดาล) หมายเหตุ ใชค้ �ำวา่ นางไม/้ นางงาม/ นางเอก/ นางแบบ/ แทนค�ำวา่ นางฟ้า ได้ใช้ค�ำว่า บานเชา้ / บานเย็น/ บานบรุ /ี ฯลฯ แทนค�ำว่า บานชื่น ได้ 30 คูม่ ือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนอ้ื เชื้อไข ในวรรณคดไี ทย

๕) ชวนเขียนประวตั ิ ประวตั กิ ุมารทอง ช่ือ วงศส์ กุล ชื่อบิดา ชอ่ื มารดา ท่อี ย่ปู ัจจุบัน ลกั ษณะเด่น ประวตั กิ ารศึกษา พ่ีนอ้ งร่วมบดิ ามารดา สถานภาพ ชอ่ื ภรรยาหรือสามี ชอ่ื บุตรหรอื ธดิ า อาชีพ/สถานทีท่ �ำงาน ตำ� แหนง่ ความสามารถพิเศษ ผลงานดีเด่น หลักในการทำ� งาน คณุ ธรรมความดีงาม คมู่ ือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดไี ทย 31

๖) ชวนประดิษฐ์ นกั เรยี นออกแบบ “หนา้ กากผ”ี ตามความสนใจคนละ ๑ หน้ากาก หนา้ กากผี อุปกรณ ์ ๑. กระดาษ/ วสั ดเุ หลือใช/้ เศษวสั ดุ ฯลฯ ๒. สี พกู่ นั กาว เทปใส ๓. กรรไกร มีด การประดิษฐ ์ ๑. ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหน้ากาก จากเอกสาร รูปแบบ และจากอินเทอร์เนต็ ๒. ออกแบบรูปแบบหน้ากากผี ในรูปแบบของตน ๑ แบบ จะเปน็ หนา้ กากแบบใดก็ได้ ๓. ลงมือปฏิบัติตามที่ออกแบบ ๔. แลกเปล่ยี นเรยี นรู้แนวคิดในการท�ำหนา้ กาก ๕. น�ำเสนอหนา้ กาก พร้อมกบั ตั้งชอ่ื เรยี กหน้ากากดว้ ย ๖. คิดการแสดงเป็นกลุ่มท่ีใชห้ น้ากากประกอบการแสดง ๗. ช่วยกันประเมินหน้ากาก และการแสดงท่ีใช้หน้ากาก ประกอบการแสดง 32 คูม่ อื การเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดีไทย

แนวทางการจดั กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เร่ือง กมุ ารทอง ๑. วเิ คราะหส์ าระการเรียนรู้ในกลุม่ สาระการเรยี นรภู้ าษาไทย วเิ คราะหอ์ ย่างมเี หตผุ ล บทรอ้ ยแก้วประวัติตัวละคร มารยาทในการเขียน จากจินตนาการ เชิงสร้างสรรค์ บทรอ้ ยกรอง กลอนเสภาเรือ่ งขุนช้างแขนแผน ตอนก�ำ เนดิ กุมารทอง เล่าเร่ือง การเขยี น คัดลายมือ การอ่าน มารยาทในการอา่ น การอ่านบทร้อยกรอง กมุ ารทอง การฟัง การอา่ นเรื่องยอ่ มารยาทในการฟงั เรียงความ การอา่ นค�ำ บรรยายภาพ การเล่าเรือ่ งผี คุณธรรม หลักการใช้ภาษา การพดู มารยาทในการพูด วิเคราะห์กมุ ารทอง ความกตัญญูกตเวที สำ�นวนภาษาท่ีเก่ยี วขอ้ ง แสดงความคิดเห็น การเช่ือฟงั แต่งประโยค ความรัก ถาม - ตอบค�ำ ถาม ความมสี ติ ค�ำ วลี ประโยค ฉนั ทลักษณก์ ลอนเสภา เลา่ เร่ืองฝอี ่ืน ๆ ๒. วเิ คราะห์การบรู ณาการการสอนตา่ งกลุ่มสาระการเรยี นรู้ คณติ ศาสตร์ ศลิ ปศึกษา/ดนตรี - คำ�นวณค่าใชจ้ า่ ย - วาดภาพระบายสี การจัดดอกไม้ - การแสดงระบำ�ผี (ฟา้ ) การประดิษฐ์หนา้ กาก - การเตน้ ผตี าโขน สงั คมศกึ ษา กมุ ารทอง ศาสนาและ วฒั นธรรม - การท�ำ บญุ อทุ ศิ สว่ นกศุ ล การงานอาชพี และเทคโนโลยี ใหก้ ุมารทอง - ประดษิ ฐห์ นา้ กากผี (ฟา้ ) - การปฏบิ ัตติ ่อพระสงฆ์ - มคั นายก -ประเพณผี ีตาโขน - การจัดดอกไม้ - คณุ ธรรมของ - พธิ ีกร กุมารทอง คู่มอื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนื้อเชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย 33

๓. การจัดกจิ กรรมการเรียนรู้ ๓.๑ น�ำสาระเนื้อหาจากวรรณคดีไทย/ประวัติตัวละคร มาน�ำอ่าน น�ำพูด ฝกึ จบั ใจความส�ำคญั ๓.๒ น�ำสาระเน้ือหาต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการการสอนโดยใช้การ แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าโดยใช้การอา่ น การเขียน การบันทึก การจับใจความ การสรุปใจความ การวิเคราะห์ความ การเขยี นรายงาน การพดู น�ำเสนอจากการศึกษาคน้ ควา้ ฯลฯ ๓.๓ ครสู รุปความรู้ท่ถี กู ตอ้ งแก่นักเรียน ๓.๔ ใหน้ กั เรยี นสร้างชน้ิ งานดว้ ยตนเองตามใจชอบ แลว้ แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ วพิ ากษ์ วจิ ารณ์เชิงบวกด้วยค�ำว่า “ถ้า... ถา้ จะเพ่มิ ... ปรบั ...” ๓.๕ การวัดผลประเมินผลตามตัวช้ีวัดจุดประสงค์ หรือสมรรถนะทางภาษาไทย จากผลงานของนักเรียน ผลงานกลุ่ม ใช้การทดสอบ การตรวจ การสังเกต การฟัง การพูด การเขียน เปน็ ตน้ 34 คมู่ ือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเนือ้ เชื้อไข ในวรรณคดไี ทย

๑.๓ พลายงาม ๑.๓.๑ ลำ�ดบั วงศ์ขนุ แผนจนถงึ พลายงาม (จม่นื ไวยวรนาถ/จม่นื ไวย) ขุนไกร นางทองประศรี พนั ศรโยธา นางศรีประจนั พลายแกว้ (ขุนแผน) น างพมิ พิลาไลย (วนั ทอง) พระพจิ ิตร นางบษุ บา เจา้ เชียงอินทร ์ นางอปั สรสมุ าลี ศรีมาลา พลายงาม สร้อยฟา้ (จม่นื ไวยวรนาถ) พลายเพชร พลายบัว พลายยง ๑.๓.๒ ความเดิม เมอื่ ขนุ แผนออกตระเวนด่าน ไดข้ องวเิ ศษประจ�ำตวั ๓ สง่ิ คอื ดาบฟา้ ฟน้ื มา้ สหี มอก และกมุ ารทองแลว้ เดนิ ทางกลบั เมอื งกาญจนบรุ ี แตด่ ว้ ยความคดิ ถงึ นางวนั ทอง จงึ เดนิ ทางกลบั สุพรรณบุรีและขึ้นเรือนขุนช้าง ซ่ึงเป็นเรือนไทยเช่ือมต่อกันหลายหลัง ขุนแผนสะกดให้ผู้คน บนเรือนหลับกันหมด เมื่อเห็นขุนช้างนอนเคียงข้างวันทอง จึงเกิดความแค้นคิดจะฆ่าขุนช้าง ให้ตาย แต่กุมารทองได้ห้ามไว้ ขุนแผนได้เป่ามนตร์สะกดนางวันทองให้ยอมตามไป ขุนช้าง ไปทูลฟ้องสมเด็จพระพันวษากล่าวโทษขุนแผน สมเด็จพระพันวษาจึงให้จัดทัพออกไปตาม แต่ขนุ แผนไดฆ้ า่ ทหารกองหนา้ ตาย สมเดจ็ พระพันวษาจึงใหอ้ อกประกาศจับตัวขนุ แผน คู่มือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนอื้ เช้อื ไข ในวรรณคดไี ทย 35

ขุนแผนพานางวันทองเดินทางบุกป่าไปจนนางต้ังครรภ์ เมื่อครรภ์แก่จวนคลอด ขนุ แผนไดไ้ ปพกั กบั พระพจิ ติ ร และขอมอบตวั สคู้ ดี สมเดจ็ พระพนั วษาไตส่ วนความผดิ ปรากฏวา่ ขุนแผนพ้นผิดชนะคดีขุนช้าง ขุนแผนกลับมาอยู่กับนางวันทองและนางแก้วกิริยาอย่าง มีความสขุ ขุนแผนพาวนั ทองไปหาพระพิจติ ร ภาพจติ รกรรมฝาผนงั เรอื่ ง ขนุ ช้างขุนแผน ณ วดั ป่าเลไลยก ์ จังหวดั สพุ รรณบุรี อยู่มาวันหน่ึง ขุนแผนเกิดคิดถึงนางลาวทองท่ีไปอยู่ในวังหลวง จึงทูลขอ นางลาวทองเพอื่ ไปอย่ดู ้วยกนั สมเดจ็ พระพันวษาทรงพโิ รธหาว่าก�ำเริบ สงั่ จ�ำคกุ ขุนแผนอยา่ ง ไมม่ กี �ำหนด ขุนช้างรู้ว่านางวันทองท้องแก่อยู่ตามล�ำพัง จึงให้คนไปดักฉุดนางวันทอง ขณะเดินทางไปเยี่ยมขุนแผนที่ติดคุก นางวันทองจึงต้องกลับไปอยู่บ้านขุนช้างอีกครั้ง ต่อมา นางวันทองไดค้ ลอดบุตรชายซ่ึงเปน็ ลูกของขนุ แผนท่เี รอื นขุนช้าง ใหช้ ือ่ ว่า “พลายงาม” 36 คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดไี ทย

๑.๓.๓ ประวตั ติ วั ละคร พลายงาม (จมนื่ ไวยวรนาถ) พลายงามเปน็ บตุ รของขนุ แผนกบั นางวนั ทอง ก�ำเนดิ บนเรอื นขนุ ชา้ ง จงึ มขี นุ ชา้ งเปน็ บิดาเลี้ยงมาแต่เล็ก พลายงามย่ิงโตย่ิงดูเหมือนขุนแผน ท�ำให้ขุนช้างท่ีมีความแค้นเคืองกับ ขนุ แผน คิดท�ำร้ายพลายงาม แตโ่ หงพรายที่ขนุ แผนส่ังให้มาคอยดแู ลพลายงามไดช้ ว่ ยชวี ิตไว้ คมู่ ือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนื้อเชอื้ ไข ในวรรณคดีไทย 37

นางวนั ทองสง่ ตวั พลายงามไปอยกู่ บั ยา่ ทองประศรที ตี่ �ำบลเขาชนไก่ เมอื งกาญจนบรุ ี พลายงามได้ศึกษาเล่าเรียนต�ำราของขุนไกรผู้เป็นปู่ และต�ำราของพ่อขุนแผน ท�ำให้มีวิชา ความรู้ มคี วามสามารถเก่งกล้าในการสรู้ บและการใช้เวทมนตรค์ าถาตา่ ง ๆ พลายงามไดอ้ าสาสูศ้ กึ น�ำทัพไปตเี มืองเชยี งใหม่ และทลู ขอพระราชทานพ่อขุนแผน ไปเป็นที่ปรกึ ษาทัพ ท�ำใหข้ นุ แผนพน้ จากการคมุ ขัง ระหว่างทางเดินทัพไปเมืองเชียงใหม่ พลายงามได้แวะพักทัพท่ีเมืองพิจิตร ซึ่งมี ผมู้ พี ระคณุ กบั ขนุ แผนอาศยั อยู่ เมอื่ ครง้ั พานางวนั ทองซงึ่ ตง้ั ครรภม์ าพง่ึ พาอาศยั พลายงามไดพ้ บ นางศรมี าลา ธดิ าเมืองพจิ ติ ร ไดห้ มั้นหมายและตกแต่งเป็นภรรยาในเวลาตอ่ มา พลายงามชนะศึกเมอื งเชยี งใหมก่ ลับมา สมเดจ็ พระพันวษาปนู บ�ำเหนจ็ ให้ต�ำแหนง่ จมน่ื ไวยวรนาถ และประทานนางสร้อยฟา้ ธิดาเจ้าเมอื งเชยี งใหม่ใหเ้ ป็นภรรยาอีกหน่ึงคน ภรรยาทง้ั สองของจมนื่ ไวยคอื นางศรมี าลาและนางสรอ้ ยฟา้ ไมช่ อบหนา้ กนั ทะเลาะกนั ซ่ึงจมน่ื ไวยมกั เขา้ ขา้ งนางศรมี าลา นางสร้อยฟา้ จงึ ใหเ้ ถรขวาดมาท�ำเสน่หใ์ หจ้ มืน่ ไวยหลงใหล จนขาดสติลืมตัว ได้ล่วงเกินบิดามารดาของนางศรีมาลา และล่วงเกินขุนแผนบิดาของตน อย่างรุนแรง จึงท�ำให้ขุนแผนโกรธมากถึงขนาดตัดพ่อตัดลูก ขุนแผนร่วมมือกับพลายชุมพล ใหป้ ลอมตวั เปน็ มอญยกทพั มาตเี มอื งอยธุ ยา และเมอื่ ปะทะทพั จมน่ื ไวยถงึ ไดร้ วู้ ่าตนไดส้ รู้ บกบั นอ้ งชาย และพอ่ จึงหนไี ปโดยไมต่ อ่ สู้ สมเดจ็ พระพนั วษาทรงไตส่ วน และต�ำหนจิ มนื่ ไวยทล่ี ว่ งเกนิ บดิ า และทรงช�ำระความ เรื่องการท�ำเสน่ห์ นางสร้อยฟ้าเป็นฝ่ายผิด จึงต้องโทษประหารชีวิต นางศรีมาลาทูลขอ ชวี ติ ไว้ เพราะนางสรอ้ ยฟา้ ต้งั ครรภไ์ ด้ ๗ เดือน จึงใหเ้ นรเทศไปเมืองเชยี งใหม่ นางสรอ้ ยฟา้ คลอดบตุ รชาย ให้ชือ่ ว่า “พลายยง” ต่อมาเถรขวาดแปลงกายเป็นจระเข้ใหญ่มากัดกินชาวอยุธยา จมื่นไวยเห็นเป็นโอกาส ท่ีจะส่งเสริมน้อง จึงกราบทูลสมเด็จพระพันวษาขอให้พลายชุมพลไปปราบ ซ่ึงพลายชุมพล สามารถปราบได้ส�ำเรจ็ สร้างความยินดแี กจ่ มนื่ ไวย 38 คู่มอื การเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หนอ่ เนอื้ เช้อื ไข ในวรรณคดีไทย

๑.๓.๔ ชวนท�ำ กิจกรรม ๑) ชวนอา่ นเป็นท�ำนอง เจา้ พลายงามความแสนสงสารแม่ ช�ำเลืองแลดูหน้าน้�ำตาไหล แลว้ กราบกรานมารดาดว้ ยอาลยั ลกู เติบใหญค่ งจะมาหาแมค่ ณุ แตค่ ร้ังน้ีมกี รรมจะจ�ำจาก ตอ้ งพลดั พรากแมไ่ ปเพราะอ้ายขนุ เทีย่ วหาพอ่ ขอให้ปะเดชะบุญ ไมล่ มื คุณมารดาจะมาเยือน แมร่ กั ลูกลกู ก็รอู้ ยูว่ ่ารัก คนอน่ื สักหมน่ื แสนไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแมไ่ ปแต่ตวั แมว่ นั ทองของลูกจงกลับบ้าน เขาจะพาลว้าวุ่นแมท่ นู หัว จะก้มหนา้ ลาไปมไิ ด้กลวั แมอ่ ยา่ มวั หมองนักจงหักใจ (ขุนช้างขนุ แผน ตอน ก�ำเนิดพลายงาม) คู่มอื การเรยี นการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเน้อื เชอื้ ไข ในวรรณคดไี ทย 39

๒) ชวนรู้เรือ่ ง บา้ นเรือนไทย บ้านเรือนไทยเป็นเอกลักษณ์ส่ิงก่อสร้างซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนไทย ในสมัยก่อน มีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ เป็นเรือนไม้ยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณ พน้ ศรี ษะคนยนื เสาเรอื นนยิ มใชไ้ มท้ ง้ั ตน้ ตวั เรอื นกน้ั เปน็ หอ้ ง ฝาเรอื นไทยจะเปน็ ฝาท�ำดว้ ยไมส้ กั มีไม้ลูกต้ังและไม้ลูกนอน ซึ่งเรียกว่า ฝาปะกน ต่อจากตัวเรือนจะเป็นพื้นไม้ต่�ำกว่าพ้ืนเรือน เรียกว่า ชาน หรอื นอกชาน หลังคาของบ้านทรงไทยจะเป็นหลังคาทรงสูง (ทรงมะนิลา) รูปจ่ัว ปิดท้าย รปู จวั่ หรอื หนา้ บนั ดว้ ยปน้ั ลมทบี่ รรจบกนั สงู แหลม เปน็ ทส่ี งั เกตเหน็ ไดง้ า่ ยทงั้ สองดา้ น ความสงู ของหลังคาจะชว่ ยระบายอากาศรอ้ นขนึ้ ขา้ งบน อากาศขา้ งล่างทีเ่ ยน็ กวา่ ก็จะพดั เขา้ มา ท�ำให้ อากาศในเรือนเย็นสบาย ประกอบกับมีชายคายื่นยาวออกไปเพ่ือกันฝนสาดหรือแดดส่อง ยิ่งท�ำใหบ้ า้ นเรือนไทยร่มเยน็ นา่ อยู่ การสรา้ งบา้ นเรอื นไทย นยิ มสรา้ งตวั เรอื นตามสภาพทศิ ทางลม และการใชง้ าน เชน่ ใตถ้ นุ สรา้ งไวใ้ หพ้ น้ น้�ำหลากเพอื่ ปอ้ งกนั สตั วร์ ้าย และใชพ้ น้ื ทเี่ พอ่ื ท�ำการเกษตร การทอผา้ หรอื เก็บอปุ กรณก์ ารท�ำเกษตร เปน็ ต้น การสรา้ งบา้ นเรอื นไทย เรม่ิ แรกมคี รอบครวั จะสรา้ งเรอื นเดยี ว เมอื่ มคี นในบา้ น เพิ่มข้ึนก็จะสร้างเรือนไทยขยายต่อออกไปหลายหลัง และมีชานเชื่อมต่อถึงกันทุกหลัง ครอบครัวที่อยู่ในบ้านทรงไทยแต่เก่าก่อนจึงเป็นครอบครัวที่มีความอบอุ่นและเอื้อเฟื้อ ซึง่ กนั และกนั ชวนคดิ พลายงามเกิดที่บ้านเรอื นไทย ซึง่ เป็นบา้ นของใคร 40 คู่มือการเรียนการสอนวรรณคดไี ทย หน่อเน้อื เชือ้ ไข ในวรรณคดีไทย

๓) ชวนกนั เล่น ว่งิ เป้ียว จ�ำนวนผู้เลน่ ไม่จ�ำกัดจ�ำนวน อปุ กรณ์การเล่น ๑. เสา ๒ ตน้ หา่ งกนั ๑๐ - ๑๕ เมตร เสาควรสงู กว่าศีรษะ ผู้เลน่ ๒. ผ้า/ธงอยา่ งใดอยา่ งหนง่ึ จ�ำนวน ๒ ผืน สถานท ี ่ สนามกว้าง/ลานกว้าง วิธีการเลน่ ๑. แบง่ ผู้เลน่ เป็น ๒ ฝ่าย จ�ำนวนเทา่ ๆ กัน ๒. ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องยืนเป็นแถวตอนเรียงหนึ่งอยู่ทาง ด้านหลังของเสา ฝ่ายละต้น และเยื้องมาทางด้านขวา ของเสาเล็กนอ้ ย ทัง้ สองฝา่ ยหันหนา้ เขา้ หากนั ๓. เมือ่ เร่ิมเล่น กรรมการจะยนื ตรงกลางระยะทางระหว่าง เสา ๒ ตน้ กางแขนถอื ธง/ผา้ ไวท้ ง้ั ๒ มอื แลว้ ใหส้ ญั ญาณ เร่ิมเล่น ๔. ผู้เล่นคนแรกของท้ังสองฝ่ายออกว่ิงมาฉวยธง/ผ้าจาก มือกรรมการ แล้ววิ่งอ้อมเสาทางด้านซ้ายมือ โดยไม่ให้ อวยั วะใดถกู เสา แลว้ กลบั มายงั เสาเดมิ ของตน สง่ ธงหรอื ผา้ ให้ถึงมือผู้เล่นคนต่อไป แลว้ จึงไปตอ่ ท้ายแถวฝา่ ยตน ๕. ผู้เล่นคนต่อไปรับธง/ผ้า แล้ววิ่งต่อไป ฝ่ายใดว่ิงทัน ฝ่ายตรงข้ามใช้ธงหรือผ้าตีหรือแตะตัวผู้เล่นอีกฝ่ายหน่ึงได้ ฝ่ายท่ีถกู ตีหรอื ถกู แตะตวั เป็นฝา่ ยแพ้ ต้องเรมิ่ เกมใหม่ กติกา ๑. การคอยรับธง/ผ้าต่อจากผู้ว่ิงคนก่อนให้คอยรับบริเวณ หลงั แนวเสาเทา่ นัน้ ๒. หากผู้ใดท�ำธง/ผ้าตก ผูน้ นั้ ตอ้ งเกบ็ ข้ึนมาดว้ ยตนเอง ค่มู อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เน้ือเชอ้ื ไข ในวรรณคดไี ทย 41

๓. การสง่ ผ้าต้องสง่ ให้ถึงมอื ผรู้ ับ หา้ มโยนให้กัน ๔. ท้ังสองฝ่ายต้องเปิดทางวิ่งท่ีเสาของตน เพื่อให้ผู้เล่น ฝ่ายตรงขา้ มว่งิ อ้อมเสาไดส้ ะดวก ๕. ฝา่ ยใดฝ่าฝืนกตกิ าถือว่าแพ้ ๖. ควรตง้ั กรรมการ ๓ คน - คุมเสา ๒ คน (เสาละคน) - คุมการว่ิงและตัดสนิ ๑ คน ๔) ชวนรอ้ งเล่น เพลง วิง่ เปยี้ ว ค�ำร้อง ละเอยี ด สดคมข�ำ ว่งิ เป้ียว วง่ิ เลย้ี วอ้อมหลัก จบั ถกู ฟาดเฟีย้ ว วงิ่ เปย้ี ว ฟาดเฟีย้ ว ฟาดเฟ้ยี ว ใครวิ่งชา้ นัก ฟาดเฟ้ียว 42 ค่มู อื การเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หนอ่ เนอื้ เชอ้ื ไข ในวรรณคดีไทย

๕) ชวนเขียนประวตั ิ ประวตั พิ ลายงาม ช่ือ วงศ์สกลุ ชื่อบิดา ชอ่ื มารดา ท่อี ย่ปู ัจจุบนั ลกั ษณะเดน่ ประวตั ิการศกึ ษา พ่ีนอ้ งร่วมบดิ ามารดา สถานภาพ ชอ่ื ภรรยาหรอื สามี ชอ่ื บตุ รหรือธดิ า อาชีพ/สถานทีท่ �ำงาน ตำ� แหน่ง ความสามารถพเิ ศษ ผลงานดเี ด่น หลักในการท�ำงาน คณุ ธรรมความดงี าม คู่มือการเรยี นการสอนวรรณคดีไทย หน่อเน้อื เช้อื ไข ในวรรณคดไี ทย 43