กจิ กรรม กลมุ่ ลำดับ ท่ดี ำเนินการ วิทยากร ผปู้ ระกอบการ ผลลัพธ์ท่ไี ด้ อ.ปา่ ซาง จ.ลำพูน ความ - กล่มุ โคขาว - ผ้รู ับจ้างงาน หัวข้อ “Digital เชี่ยวชาญ: ลำพูน ได้เรียนรู้ Marketing for - ออกแบบ - ผู้รับจ้างงาน กระบวนการ Modern และพัฒนา ด้านการจดั การ Entrepreneur ผลติ ภณั ฑ์ ตลาดออนไลน์ การทำการตลาด ส่งิ ทอ แฟช่นั เพื่อนำทักษะ ออนไลน์สำหรับ และของตกแต่ง ไปช่วยหนุนเสริม ผู้ประกอบการ ใหก้ ับ แนวใหม”่ - โครงการ ผู้ประกอบการ จัดการดา้ น ระหว่างวันท่ี พัฒนาพื้นท่ชี มุ การตลาด 29–30 มิถนุ ายน ชนุ แหล่งท่อง 2564 เทยี วเรียน ผา่ นระบบออนไลน์ ตลอดชีวติ Application - การตลาด MsTeams การค้าระหว่าง ประเทศ 2.คณุ สรรทราย สุทธนิ นท์ หัวหน้ากองการ ถ่ายทอด เทคโนโลยี 193
ลำดับ กจิ กรรม วทิ ยากร กลุม่ ผลลพั ธท์ ไี่ ด้ ท่ีดำเนนิ การ ผู้ประกอบการ ความ เชีย่ วชาญ: เชี่ยวชาญดา้ น การถ่ายทอด เทคโนโลยี มหาวิทยาลยั นเรศวร มี ความรู้เกีย่ วกบั การทำธรุกิจ Start-Up 3 กิจกรรมอบรม ผศ.กาญจนา - กลุ่มพรกิ ลาบ เชิงปฏบิ ัติการ รตั นธีรวิเชียร สมุนไพร Online อาจารยป์ ระจำ - กลมุ่ ตัดเยบ็ หวั ข้อ: การตลาด คณะวทิ ยาการ TiNa แฟชนั่ ออนไลน์ จัดการ สาขา - กลุ่มพรม การต้ังราคาสนิ ค้า การตลาด เช็ดเทา้ และช่องทางการ จำหน่ายบน ความ - กลมุ่ เทยี นบูชา แพลทฟอร์ม เชยี่ วชาญ: (เทียนแม่ อคี อมเมริ ซ์ - การตลาด แสงนวล) ออนไลน์ - กลุ่มผา้ ฝา้ ย - การตัง้ ราคา ทอมอื สินค้า (คณุ ปา้ กัลยา) 194
ลำดับ กจิ กรรม วทิ ยากร กลุ่ม ผลลัพธท์ ่ไี ด้ ท่ีดำเนินการ ผ้ปู ระกอบการ - การจดั การ - กลุ่มโคขาว ธรุ กจิ ระหว่าง ลำพนู ประเทศ - ผูร้ บั จา้ งงาน - ช่องทางการ จำหนา่ ยบน แพลทฟอร์มอี คอมเมริ ซ์ 195
ภาพที่ 47 ผู้ประกอบการ ผรู้ ับจา้ งงาน อาจารย์ดแู ลกล่มุ ร่วมประชมุ เชงิ ปฏิบัตกิ ารเพ่อื พัฒนาผลิตภัณฑก์ บั วิทยากร 6.3.3 การสร้างคุณคา่ และมูลค่าของผลติ ภัณฑ์ทา่ ต้มุ การสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชมุ ชนตำบลท่าตุ้ม ที่เขา้ ร่วมโครงการ U2T ทั้ง 6 กลุ่มผลติ ภัณฑ์ จากการจัดกจิ กรรมหนุนเสรมิ เพอื่ พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และการอบรมพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการประเมินกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการไดเ้ ข้าใจกระบวนการทาง การตลาดในการจำหน่ายบนแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้การสร้างคุณค่า และมูลค่าของผลิตภัณฑ์น้ัน คณะทำงานได้นำข้อมูลตำบลท่าตุ้มและ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มาสร้าง content เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้ ผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนจำหน่ายหลังจากการพัฒนารูปแบบและบรรจุภัณฑ์ เช่น 196
เทยี นจากเดมิ กล่มุ ผู้ประกอบการ คือ คุณลงุ บญุ ยัง มณกี าศ และกลมุ่ เน้น การทำเทยี นเฉพาะสเี หลอื งที่มจี ำหน่ายท่วั ไป บรรจเุ ป็นแท่งเด่ียวและแบบคู่ ห่อกระดาษขาว ปรับเปลี่ยนการทำเทียนด้วยสีสันที่สวยงามทั้งสีพาสเทล สีประจำวันเกิด รวมทั้งเทียนหอม และนำบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนามาบรรจุ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย เพื่อขยายกลุ่มผู้บริโภค ส่วนพริกลาบนั้นจากเดิม คุณรำไพ จ๋าก๋าง และ กลุ่ม ได้ผลิตภัณฑ์พริกลาบบรรจุซองพลาสติกใส มีตราสินค้าเดิมเย็บเป็น แผงกระดาษขายปลีกและส่ง รวมทั้งขายแบบชั่งน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หลังจากโครงการ U2Tได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยขึ้น โดยจัดเป็นซองขนาดเล็กลักษณะสามเหลี่ยมสำหรับใช้ทำอาหารหนึ่งครั้ง และแบบซองซปิ ล็อคเปิด-ปิดสะดวกขึ้น บรรจุภณั ฑ์ยงั ใหร้ ายละเอียดข้อมูล ผู้ผลิต เพื่อผู้บริโภคทราบข้อมูล และยังมี QR-Code สำหรับดูวิธีการ ทำอาหารด้วยพริกลาบแต่ละชนิด รวมทั้งบอกข้อมูลการติดต่อผู้ผลิต การ สร้างคุณค่าและมูลค่าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้ เพื่อให้ กลุ่มผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของชุมชนในระบบตลาดออนไลน์ และเพื่อสรา้ งความมน่ั ใจแกผ่ ู้บริโภคให้สามารถตดิ ต่อผผู้ ลิตทงั้ ทางโทรศัพท์ ไลน์ (Line) และเพจเฟซบุ๊ก (Page Facebook) ได้สะดวกอีกด้วย 197
ภาพที่ 48 ภาพบรรจภุ ณั ฑพ์ รกิ ลาบกอ่ นพัฒนาบรรจุภณั ฑ์แบบใหม่ 198
ภาพที่ 49 แสดงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการ พฒั นาจากวทิ ยากร ภาพที่ 50 แสดงการพัฒนาแพทเทริ์ทผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา จากวทิ ยากร 199
ส่วนกลุ่มตัดเย็บ ทั้งกลุ่มพรม กลุ่มตัดเย็บ TiNa แฟชั่น ที่ตัดเย็บ กระเป๋า หมวก และกลุ่มผ้าฝา้ ยทอมือ หลังจากเข้าร่วมอบรมกบั วทิ ยากรนัก ออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความเข้าใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ เหมาะสมกับผู้บริโภค ทั้งการพัฒนารูปแบบ ขนาด สีสัน รวมทั้งการสร้าง ความโดดเด่นของผลิตภัณฑแ์ ต่ละกล่มุ เปา้ หมายนนั้ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ออกแบบผลิตภณั ฑ์ต้นแบบและสร้างแพทเทิร์ทกระเป๋าหลากหลายแบบ หมวก ชุดแซค เพื่อให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบ ที่ออกแบบ และให้คำนวณราคาขายผลิตภัณฑ์จากการคิดต้นทุน กำไร ที่เหมาะสมกับการจำหน่ายปลีก ส่ง ทั้งซื้อในพื้นที่และการจำหน่ายทาง ออนไลน์ รวมทั้งผู้รับจ้างงานกลุ่ม OTOP ได้สร้างเพจเพ่ือโพสต์ขายในเพจ https://web.facebook.com/otop.thatum ภาพที่ 51 ผู้ประกอบการ ผู้รับจ้างงานและอาจารย์ผู้ดูแลกลุ่ม OTOP ประชุมออนไลน์กับวทิ ยากร คุณสรรทราย สุทธินนท์ หัวข้อ “การจัดการธุรกิจออนไลน์ แบบวถิ ผี ู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Startup)” 200
6.3.4 การยกระดบั ผลติ ภณั ฑส์ ู่มาตรฐานผลิตภณั ฑช์ ุมชน กระบวนการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างความ มั่นใจให้แก่ผู้ประกอบการในการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างรายได้และ สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันทางการตลาดออนไลน์ได้ รวมทั้งเพื่อให้ ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในตลาด และยังเป็นเครื่องมือต่อรองในการขอ สนับสนุนทุนเพื่อสนับสนุนกลุ่มของผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจที่ดำเนิน กิจกรรมทางด้านการผลิต จำหน่ายของธุรกิจรายย่อย Small and Medium Enterprises (SMEs) ของชุมชน งานสัมมนาอาชีพหรือ OTOP จึงมีแผนงานในโครงการเพื่อใหก้ ลุม่ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เสนอ ยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่านสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน โดยยื่นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตัดเย็บ TiNa แฟชั่น ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ได้รับการ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 3 รายการ 2 กลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประเภทประดิษฐ์จากผ้า กระเป๋า และหมวก และผลิตภัณฑ์กลมุ่ พรมเช็ดเท้าบ้านแม่อาวน้อย ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ประเภท ประดิษฐ์พรมจากเศษผ้า ประกาศ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดย คุณวิไลวรรณ วงศยา ประธานกลุ่มตัดเย็บ TiNa แฟชั่น และคุณวันเพ็ญ กองอรินทร์ ประธานกล่มุ พรมเชด็ เท้าบ้านแม่อาวน้อย ได้รบั มอบใบรับรอง จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน โดยมีปลัดองค์การบริหารส่วน ตำบลและผรู้ ับจา้ งงานกลมุ่ OTOP ร่วมเป็นเกยี รตใิ นการรบั มอบ 201
ภาพที่ 52 เอกสารแสดงการได้รับรองมาตรฐานผลติ ภณั ฑช์ มุ ชน 202
หลังจากที่คณะทำงาน OTOP ได้พัฒนาและหนุนเสริมให้ ผู้ประกอบการได้ยื่นขอการรับรองจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหงัด ลำพูน เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งได้รับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 กลุ่มลิตภัณฑ์นั้น กลุ่มผู้รับจ้างงานได้หนุนเสริม ให้คุณลุงบุญยัง มณีกาศ กลุ่มเทียนบูชาหรือเทียนแม่แสงนวล ยื่นขอ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้อยู่ในระหว่างรอการ พิจารณา ส่วนผลิตภัณฑ์กระถางมูลวัวรักษ์โลก ทางกลุ่มโคขาวลำพูน ได้อบรมพัฒนาการทำกระถางจากมูลวัว (โคขาวลำพูน) กลุ่มของ คุณอยุธ ไชยยอง ได้ทดลองทำกระถางร่วมกับการฝึกปฏิบัติกับ วทิ ยากร ท้งั น้ีไดฝ้ กึ กระบวนการผา่ น ระบบออนไลน์ ทาง Application Microsoft Teams เมื่อวนั ที่ 30 ตลุ าคม 2564 ดงั ภาพตอ่ ไปนี้ ภาพท่ี 53 ผูร้ ับจ้างงาน กลุ่ม OTOP ประชุมออนไลน์และปฏิบตั ิการ ทำกระถางจากมลู วัว 203
การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์โลกจากมูลวัวครั้งนี้ นับว่าเป็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้องใหม่ล่าสุดของกลุ่ม OTOP เนื่องจาก การปฏิบัติการทำกระถางครั้งนี้ กลุ่มยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการทำ มาก่อน ในการอบรมการทำกระถางจากมูลวัวจากวิทยากร ทีมวิทยากร ใหท้ างกลุม่ จัดส่งมูลวัวไปใหก้ บั วทิ ยากร ณ สถาบันเทคโนโลยพี ระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อจัดทำกระถางต้นแบบและการจัดทำโมล (แม่พิมพ์กระถาง) ที่ทางกลุ่มต้องการพัฒนาให้เป็นกระถาง 3 ขนาด คือ S, M, L ในการพัฒนามุ่งเน้นจำหน่ายเพื่อส่งเสริมรายได้ให้แก่กลุ่มโคขาว ลำพูน ในการปฏิบัติการทำกระถางครั้งนี้ มีข้อจำกัดด้านเวลา เนื่องจาก กระถางที่ทำแต่ละชุดจะต้องตากแดดจัด ครั้งละ 4-5 แดด หรือหากตาก แดดจัดควรมากกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อให้ความชื้น น้ำ กาวแป้งเปียกที่เป็น ส่วนผสมหลักในการทำกระถางแห้งสนิท ทรงตัวไม่เสียรูปทรงแต่เนื่องจาก ช่วงการฝึกปฏิบัตินั้น เป็นช่วงฤดูฝน จึงมีข้อจำกัดให้กับผู้รับจ้างงานของ กลุ่ม OTOP ในการนำผลิตภัณฑ์ตากแดด เพราะหากแดดไม่จัดจะทำให้ กระถางแห้งช้าและเสียรูปทรงได้ เนื่องจากมีความชื้นและเป็นวัสดุที่อุ้มนำ้ ทางคณะทำงาน U2T ท่าตุ้ม กลุ่ม OTOP จึงต้องปรับเปลี่ยนส่วนผสมใน การทำกระถาง โดยใช้ปูนปลาสเตอร์ผสมและเคลือบผิว เพื่อให้ผิวกระถาง เกาะยดึ กบั มลู ววั และกาบมะพร้าว และขนึ้ รูปสวยงาม ดังภาพตอ่ ไปน้ี 204
ภาพที่ 54 กระถางมูลวัวรักษ์โลก กลุ่มผู้รับจ้างงาน OTOP พัฒนาและ ปรบั สูตรเพ่ือเตรียมจำหนา่ ย 6.3.5 การเรียนรู้ กลไกการตลาด และการสังเคราะห์ข้อมูล จากการปฏบิ ตั ิ : เพอื่ ยกระดบั ผลิตภณั ฑ์ชุมชน จากข้อมูลที่นำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินงานในส่วนของ กิจกรรมการพัฒนาสัมมนาอาชีพและสร้างอาชีพใหม่ เช่น การยกระดับ OTOP และการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้ยื่นขอรับรองจากสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน รวมทั้งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็น อาชีพใหม่ ให้ผู้ประกอบการ เพื่อให้ชุมชนสร้างรายได้จากการพัฒนางาน จากฐานผลิตภัณฑ์เดิมของตนเอง และเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ให้ชุมชนมีทางเลอื กในการแข่งขันทางการตลาดกับธุรกิจขนาดย่อย รวมทง้ั เข้าใจกลไกการตลาดใหม่ระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และเป็นการ 205
ขับเคลื่อนพลังเรียนรู้ทั้งผู้รับจ้างงาน ปราชญ์ชุมชน และวิทยากร อันเป็น การหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างนวัตกรสังคมรายตำบล ในหัวข้อนี้ จึงขอสรุปให้เห็นประเด็นการเรียนรู้ กลไกการตลาดและการ สังเคราะห์ข้อมูลจากการปฏิบัติ เพื่อยกระดับผลิตภณั ฑ์ชมุ ชน ดังตอ่ ไปนี้ การเรียนรู้ การดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกจิ และสังคมรายตำบล แบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ (University to Tambol: U2T) มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ลำปางสู่ตำบลทา่ ตุ้ม อำเภอปา่ ซาง จังหวัดลำพูน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เชิงระบบ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน การปฏิบัติงานจริง การประเมินงานตามแผนงาน การ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา สามารถสรุป ประเด็นการเรียนรู้แบ่งเป็นการเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงาน U2T การเรียนรู้ ร่วมกับชุมชนและการเรียนรู้ตามระบบกลไกการบริหารจัดการของภาครัฐ ดงั น้ี ▪ การเรียนร้รู ว่ มกับคณะทำงาน U2T การดำเนินงานในส่วนของคณะทำงาน U2T ในส่วน ของอาจารย์ ผู้รับจ้างงาน และนักศึกษา ในการเรียนรู้ด้านการทำงาน มรี ะบบการดำเนนิ งานโดยผจู้ ดั การตำบลและคณะกรรมการเน้นรว่ มประชมุ แลกเปลี่ยนการทำงานกับตัวแทนขององค์การบริหารส่งนตำบล และผู้รับ จา้ งงานท้ังสว่ นบัณฑิต ประชาชน และนักศึกษา การดำเนินงานมีสองระบบ 206
ค ื อ Onsite แ ล ะ Online ใ น ก า ร ด ำ เน ิ น ง า น ผ ่ า น ร ะ บ บ Onsite ทางคณะกรรมการได้ลงพื้นที่ร่วมประชุม แลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการใน ส่วนของตำบลและผู้รับจ้างงานในตำบล โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบล ได้อนุเคราะห์สถานที่ห้องประชุม โดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มงาน OTOP คณะกรรมการในส่วนของอาจารย์ได้ลงพื้นที่ร่วมวางแผนงานกับผู้รับจ้าง งาน และผู้ประกอบการ ตั้งแต่การจัดซื้อวัสดุในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ประกอบการเพื่อทราบปัญหาการจัดการและ การแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐกรณี ประสานงานบุคคลและติดต่องานเชิงระบบ เพื่อการจัดการในส่วน ของการดำเนนิ งานพฒั นาผลติ ภัณฑใ์ ห้บรรลุเป้าหมาย ภาพที่ 55 คณะทำงานกลุ่ม OTOP ร่วมลงพื้นที่จัดซื้อวัสดุสำหรับ พฒั นาผลติ ภณั ฑ์ชมุ ชน 207
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา กลุ่มงาน OTOP มีระบบ การทำงานที่ชัดเจน โดยมีการติดตามงานผ่านระบบออนไลน์ ผ่าน Application Line, Facebook, E-mail โดยกำหนดให้กลุ่มจัดเก็บข้อมูล พ้ืนทีแ่ ละภาพกจิ กรรมไวใ้ น Drive เพื่อสะดวกในการนำข้อมลู มาใช้ รวมทั้ง ให้ผู้ปฏิบัติงานรายงานการปฏิบัติงานโครงการในแต่ละกลุ่มงานทั้งก ลุ่ม สขุ ภาพ สง่ิ แวดลอ้ มและสมั มาอาชพี (OTOP) เพ่อื สามารถบรู ณาการข้อมูล รว่ มกันได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพมากขนึ้ ขณะเดียวกันในการดำเนินงานของคณะทำงานยังพบ ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก คือ การปฏิบัติงานภายใต้ สถานการณ์โรคโควิด-19 ยังระบาด กอ่ ให้เกดิ ผลกระทบด้านการปฏิบัติงาน ที่จะร่วมกิจกรรมกับชุมชนในด้านการเชิญวิทยากรลงพื้นที่ หนุนเสริม ผปู้ ระกอบการ ยงั ใช้กระบวนการประชมุ ปฏบิ ัติงานผ่านระบบออนไลน์ จงึ มี ข้อจำกัดในเรื่องของการปฏิบัติจริง เช่น การจัดทำกระถางมูลวัวรักษ์โลก การพฒั นาเทียนเทยี นจากวัสดทุ ้องถ่ินท่นี ำเข้ามาผสมใหเ้ กดิ กลน่ิ เช่น กลิ่น มะลิ กลิ่นปีป กลิ่นลำไย จึงทำใหก้ ารพัฒนาเรื่องกลิ่นยังไม่บรรลุเปา้ หมาย เท่าที่ควร แต่ด้านการพัฒนาสีและรูปแบบ นับว่าสีสัน และ เนื้อเทียน มีความสวยงาม บรรลเุ ปา้ หมาย ตามวัตถุประสงคข์ องโครงการพฒั นา ▪ การเรียนรรู้ ว่ มกับชุมชน การดำเนนิ งานตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผา่ นมาของการ ดำเนินโครงการ U2T คณะทำงานได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนกับชุมชน ทั้งกลุ่ม 208
ทำงานด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และ OTOP โดยเฉพาะกลุ่ม OTOP ทำให้ เกิดการเรียนรู้ในลักษณะการมุ่งความสำเร็จของผู้ประกอบการ และการ รับรู้ของผู้ประกอบการที่ยังขาดแรงกระตุ้นที่ มุ่งความสำเร็จ ทั้งสอง ประเดน็ น้ี สรุปไดด้ งั น้ี การรับรขู้ องผ้ปู ระกอบการที่มงุ่ ความสำเรจ็ การขับเคลอ่ื นชุมชนของคณะทำงานครง้ั นี้ ในส่วนงาน OTOP ที่มีผู้ประกอบการในตำบลท่าตุ้มเข้าร่วมกิจกรรม ทั้งสิ้น 6 กลุ่ม พบว่า มีกลุ่มทม่ี งุ่ ความสำเร็จท่ีเหน็ ได้ชัดเจน คอื กลมุ่ ตดั เย็บ TiNa แฟชั่น ที่พร้อมเรยี นรู้กบั วิทยากร และคณะทำงาน ในการฝึกทักษะ ท้ังทักษะการ ตัดเยบ็ ตามแพทเทิรน์ ท่วี ทิ ยากรได้จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ไว้ ทำใหส้ ามารถ ผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งกระเป๋า หมวก รวมทั้งผู้ประกอบการ ไดท้ ดลองพฒั นากระเป๋า หมวก ด้วยการเลือกใช้สี เพิม่ การปักลวดลาย และ การวางแบบหมวกที่หลากหลายรูปทรง และหลังจากได้เรียนรู้และพัฒนา จากวิทยากร ผู้รับจ้างงานได้จำหน่ายผลติ ภัณฑ์ผ่านเว็บไซต์ของ U2T กลมุ่ OTOP ทำใหผ้ ลิตภัณฑข์ องชมุ ชนเรมิ่ เปน็ ทีร่ จู้ ักในกล่มุ ลูกคา้ มากข้ึน ผูป้ ระกอบการที่ยังขาดแรงกระตุ้นท่ีมุ่งความสำเร็จ การขับเคลื่อนชุมชนของคณะทำงานครั้งนี้ในส่วนงาน OTOP พบว่ายังมีกลุ่มผู้ประกอบการบางกลุ่มยังขาดแรงกระตุ้นที่มุ่ง ความสำเร็จ กล่าวคือ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังคงยึดกรอบคิดตาม รูปแบบเดิม แม้ว่าได้อบรมพัฒนาจากวิทยากร และเข้าใจถึงกลไกตลาด 209
ออนไลน์แล้ว รวมทั้งผู้รับจ้างงาน U2T กลุ่ม OTOP ได้หนุนเสริม ผู้ประกอบการทั้งการร่วมผลิตและการโพสต์ผลิตภัณฑ์ลงช่องทางจำหน่าย ออนไลน์แล้วนั้น จึงกล่าวได้ว่าผู้ประกอบเห็นความสำคัญของการพัฒนา ผลติ ภัณฑโ์ ดยมงุ่ ยกระดับผลติ ภัณฑ์ชมุ ชนตามเป้าหมายของโครงการพฒั นา เชิงพื้นที่ตามนโยบายของโครงการ U2T ครั้งนี้ แต่ทว่าผู้ประกอบการอาจ ยังไม่มั่นใจในการจัดการจำหน่วยผลิตภัณฑ์ในช่องทางออนไลน์ซึ่งแตกต่าง จากการจำหน่ายจากเดิม จึงเห็นว่าหากผู้ประกอบการมีแนวคิดที่ต้องการ ปรับเปลี่ยนกระบวนการจากเดิม โดยมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็น ที่รับรขู้ องผู้บริโภคหรือมพี น้ื ทใี่ นตลาด รวมทง้ั มงุ่ ผลติ ผลิตภณั ฑ์ให้มีคุณภาพ เป็นทางเลือกให้แก่ชุมชน จะทำให้ชุมชนและองค์กรภาครัฐได้นำผลการ ดำเนินงานครั้งนี้ไปขับเคลื่อนต่อได้ตรงเป้าหมายกับการพัฒนาพื้นที่ อัน จะเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนตาม เปา้ หมายของการพฒั นา ▪ การเรยี นรู้ตามระบบกลไกการบริหารจดั การภาครัฐ การเรียนรู้ตามระบบกลไกการบริหารจัดการภาครัฐ เป็น การเข้าใจระบบการบริหารภาครัฐที่มีนโยบายมุ่งพัฒนาชุมชนและใช้ระบบ บริหารจัดการเข้ามาบริหารชุมชน ในการเรียนรู้ร่วมกับผู้รับจ้างงานและ ผู้ประกอบการตามโครงการ U2T ทำให้ผู้ดำเนินงานโครงการต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจต่อระบบกลไกการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อที่จะร่วม เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน สิ่งสำคัญของการดำเนินโครงการ 210
แผนงาน OTOP นับว่าเกิดจากการร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลในการประชุม วางแผนเพื่อพัฒนาร่วมกัน โดยหน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการ สนบั สนนุ และขับเคลือ่ นให้การพัฒนาผลติ ภณั ฑข์ องผปู้ ระกอบการได้รับการ ยอมรับและสามารถจำหน่ายได้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างอาชีพหลัก ใหผ้ ปู้ ระกอบการ ขณะเดียวกัน กลไกการบริหารงานของภาครัฐ ยังสามารถ ขับเคลื่อนและสนับสนุนกลุ่มผูป้ ระกอบการในชุมชน ให้ผลิตภณั ฑ์ในชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าคุณภาพตำบลท่าตุ้มหรือ “ของดีท่าตุ้ม” เพ่ือ บรรจุเป็น “ของฝากตำบลท่าตุ้ม คุณภาพดี มีมาตรฐาน สร้างงานและ รายไดใ้ ห้ผปู้ ระกอบการ” ▪ กลไกการตลาด กลไกการตลาด คือ ภาวะราคาสินค้าในตลาดที่เกิดการ เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามอุปสงค์-อุปทานหรือผู้บริโภคและผู้ผลิต การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนโครงการ U2T กลุ่ม OTOP ตำบลท่าตุ้ม ผู้ประกอบการ จำเป็นต้องทำความเข้าใจกลไกการตลาดของพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ ตามลำดับ กล่าวคือการพิจารณาความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคต้อง สัมพันธ์กับการผลิตของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผูป้ ระกอบการรายย่อยท่ี ต้องลงทุนในต้นทุนของสินค้า การคำนวณราคา จำหน่าย รวมทั้งการหนด ราคาที่เหมาะสมที่ผู้บริโภคยอมจ่าย รวมท้ังผลิตภัณฑ์ที่ผลิตต้องมีคุณภาพ และเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค หลักการเหล่านี้กลุ่มผู้ประกอบการ 211
จำเป็นต้องศึกษาก วางแผนทำความเข้าใจ และบริหารความเสี่ยงในการ ผลิตสินคา้ หรอื ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ทั้งนี้กลไกเหล่าน้ี จึงเป็นกระบวนการ ที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจ ใส่ใจเรียนรู้และปรับใช้เกี่ยวกับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ หรือกล่าวอย่างเข้าใจง่าย คือ ต้องเข้าใจผู้ซื้อและต้องผลิตสินค้า ตอบโจทย์ผู้ซื้อ การผลิตสนิ ค้าต้องไม่ให้ล้นตลาด เพื่อไม่ใหเ้ สียวัตถุดิบที่กอ่ ให้ขาดทุนได้ อย่างไรก็ตามกลไกการตลาดปัจจุบันที่เป็นการตลาดแบบ ออนไลน์ตามสถานการณ์วิกฤตช่วงโควิด-19 ตั้งแต่ปลานปี 2562 ทำให้ ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องปรับตัวอย่างมาก การจำหน่ายสินค้าต้องใช้ กระบวนการสื่อสารที่เข้าถึงผู้บริโภค โดยให้ผู้บริโภคไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ เสมือนพวกเขาเดินมาเลือกสินค้าในพื้นที่ผลิต และทั้งสองฝ่ายเกิดการ ยอมรับซึ่งกันและกันในลักษณะไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค อนั เปน็ กลไกสำคัญของการจัดการด้านการตลาดของผูป้ ระกอบการรายย่อย ทีต่ อ้ งวางกลยุทธ์การแขง่ ขนั ทางการตลาดกับผปู้ ระกอบการรายอ่ืน 212
ภาพที่ 56-57 แสดงข้อมูลผู้สนใจเข้าชมเพจเฟซบุ๊คของเพจจำหน่ายสินค้า OTOP Thatum ข อ ง ค ณ ะ ท ำ ง า น U2T ก ล ุ ่ ม OTOP ไดห้ นุนเสริมผ้ปู ระกอบการ 6.4 การสงั เคราะห์ข้อมูลจากการปฏบิ ตั ิ : เพ่อื ยกระดับผลติ ภณั ฑช์ มุ ชน ตำบลท่าตมุ้ จากทีก่ ลา่ วมาขา้ งตน้ ของกลุม่ สมั มาอาชีพหรือกลมุ่ OTOP ของ ตำบลทา่ ตุม้ ที่เขา้ รว่ มโครงการ U2T ท้งั 6 ของผปู้ ระกอบการ ไดแ้ ก่ กลุ่ม 213
ผ้าฝา้ ยทอมอื กลุ่มพรกิ ลาบ กลมุ่ ตัดเยบ็ TiNa แฟช่ัน กลมุ่ พรมเช็ดเทา้ แม่ อาวนอ้ ย กลมุ่ เทยี นบชู า และกล่มุ กระถางรกั ษ์โลก (โคขาวลำพนู ) จากการ พจิ ารณาผลลติ ภัณฑ์เพอ่ื ยกระดบั ผลติ ภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าตุ้ม สรปุ ไดว้ า่ ผลิตภณั ฑ์ผา้ ฝา้ ยทอมอื ที่มี คุณป้ากลั ยา อิมัง เปน็ ประธานกลุ่ม ได้รับรอง OTOP ระดับ 4 ดาว ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเป็นผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพตามมาตรฐานผลติ ภัณฑ์ นบั ได้ว่าเป็นผลติ ภัณฑท์ ่ตี ดั เยบ็ ไดป้ ระณีต มีการออกแบบลวดลายที่เหมาะสม การย้อมสีผ้าฝ้ายมีความสวยงามเน้นสี ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อตัดเย็บและสวมใส่ได้ในโอกาสต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลท่าตุ้มให้เป็น ที่รจู้ ักของชุมชนและผ้บู รโิ ภคได้ อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มผู้ประกอบกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ พัฒนาและ เรียนรู้ในการปรับรูปแบบของเสื้อผ้าทั้งแบบผู้ใหญ่และเด็ก เน้นการเลือก เส้นฝ้ายที่เป็นธรรมชาติ ตัดเย็บให้ผู้บริโภคเป็นทางเลือกในการเลือกซ้ือ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งตั้งกลุ่มสมาชิกที่มีช่วงวัยที่สามารถสืบทอดส่งต่อ ภูมิปัญญาของปราชญ์ในการถักทอและการตัดเย็บ รวมทั้งการ ประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดในระบบออนไลน์ การยกระดับผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนย่อมบรรลตุ ามเป้าหมายได้ ผลิตภัณฑ์ตัดเย็บ TiNa แฟชั่น ที่มี คุณวิไลวรรณ วงศยา เป็น ประธานกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ขณะที่ร่วม โครงการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปพร้อม ๆ กับยืนของรับรองผลิตภัณฑ์ นับว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ชิ้นงานประณีต รวมทั้งการ 214
ออกแบบร่วมสมัย เหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่ม ผู้ประกอบการที่มีผลงานเชิงประจักษ์ สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชนของตำบลท่าตุ้ม เป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดเป็นประเภท “ผลิตภัณฑ์น่าใช้ เหมาะทุกกลุ่มวัย ใช้ได้ทุกโอกาส” ผลิตภัณฑ์มีทั้ง กระเป๋าผ้าสะพายหลากหลายแบบ หมวกทั้งหญิง ชาย หลายรูปแบบ กลุม่ ผู้ประกอบการมีทกั ษะด้านฝีมือประณีตในการตัดเย็บ จึงเหมาะสมอย่างยิง่ ที่จะเป็น “กลุ่มต้นแบบ” ของตำบลท่าตุ้ม สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการตัดเย็บให้กับสมาชิกที่สนใจ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอด ทักษะฝีมือให้เยาวชนได้เรียนรู้ เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ในรายวิชาทักษะ อาชีพ การหนุนเสรมิ ของตำบลทา่ ตุ้ม จงึ ควรสนบั สนุนกลมุ่ ผปู้ ระกอบการ ให้มีกลุ่มพัฒนาและสร้างรายได้ให้ชุมชน และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ให้กับตำบลทา่ ตุม้ รวมทั้งจัดแผนนโยบาลเพื่อสนับสนุนกลุม่ ผู้ประกอบการ รายใหมใ่ นตำบลให้เกดิ ทักษะอาชพี เพ่ือสร้างสัมมาอาชพี ทยี่ ่ังยนื ผลิตภัณฑ์พริกลาบ /พริกลาภสมุนไพร /หม่าล่าเมือง ที่มี คณุ รำไพ จา๋ กา๋ ง เป็นประธานกล่มุ ผลติ ภณั ฑ์ของกลุม่ นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตสด ใหม่ มีรสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอม ด้วยเครื่องเทศสมุนไพรแบบ ล้านนา และมีรสชาติเหมือน “หม่าล่า” ของจีน กลุ่ม U2T ในกลุ่ม OTOP จงึ เรยี กว่า “หมา่ ลา่ เมอื ง” จากการพฒั นาบรรจภุ ณั ฑท์ ่ีแต่เดิมบรรจุในซอง พลาสติกทั่วไปและใช้สติกเกอร์แปะให้ทราบว่าเป็นพริกลาบสมุนไพร 215
โครงการได้จัดอบรมพัฒนาผู้ประกอบการให้เรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยน บรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาด จนได้บรรจุภณั ฑท์ ่ีมีความสวยงาม มีรายละเอียด ของข้อมูลและรูปภาพพริกจากการออกแบบกราฟฟิก จึงทำให้พริกลาบ สมุนไพรหรือหม่าล่าเมืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปรับโฉมใหม่ให้เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมายที่กลากหลายมากขึ้น “พริกลาบ” จึงไม่เป็นเพียงพริกลาบ เท่านัน้ สามารถนำ “พรกิ ลาภสมุนไพร” ไปปรบั ใชเ้ ปน็ ทั้งเครอื่ งจ้ิม โรยหมู ไก่ ปลา ปิ้งย่าง แบบหม่าล่า การนำไปผัดกับข้าว ต้มยำ และหมักเนื้อสัตว์ ก่อนปรุงอาหารต่าง ๆ นอกจากนี้ “พริกลาภสมุนไพร” ยังมีแบบรสดั้งเดิม รสปลา และรสกากหมู เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ท่ี เหมาะแก่การซื้อเป็นของฝากและให้คุณค่าทางโภชนาการด้วยสมุนไพรท้มี ี ประโยชน์ การหนนุ เสริมของตำบลท่าตมุ้ จึงควรสนับสนนุ เป็นผลิตภัณฑ์ของ ฝากในกลุ่ม “ของดีท่าตุ้ม” รวมทั้งส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ ด้วยจัด แผนนโยบาสนับสนุน เพิ่มทักษะอาชีพและสร้างสัมมาอาชีพ ใหผ้ ู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์เทียนบูชา/เทียนแม่แสงนวล ที่มี คุณลุงบุญยัง มณีกาศ เป็นประธานกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเทียน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพด้านการใช้งาน คือ “จุดติดง่าย สว่างโชติช่วง” คุณลุงบุญยัง เป็นปราชญ์หรือนวัตกรประดิษฐ์แบบหล่อเทียนด้วยมีที่น่าสนใจมาก จาก การเขา้ รว่ มพฒั นากบั วทิ ยากร คณุ ลงุ บุญยงั ไดใ้ ช้ทักษะการทำเทียนท่ีสั่งสม 216
ประสบการณ์มายาวนาน ปรับการใช้สีผสมเทียนเพื่อให้เกิดสีสันสวยงาม และตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแต่เดิมผลิตเทยี นสีเดียวคอื สีเหลือง จากการ พัฒนาคร้งั นีไ้ ด้ปรบั เปลยี่ นเทียนให้เป็นสพี าสเทล สีประจำวันเกดิ และเทยี น แฟนซี รวมทัง้ ถางประทปี เพอื่ ใชใ้ นเทศกาล การวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากแผนงานพัฒนาสัมมาอาชพี กลุ่ม OTOP คณะงานได้มีแผนงานนำผลิตภัณฑ์เทียนบูชา และเทียนหอม ของคุณลุงบุญยัง ไปยื่นขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หลังจากที่กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ ตัดเย็บ TiNa แฟชั่น และกลุ่มพรมเช็ดเท้าบ้านแม่อาวน้อย ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ลำพูนแล้วนั้น กลุ่มผู้รับจ้างงาน U2T กลุ่ม OTOP ได้หนุนเสริมคุณลุง บุญยัง มณีกาศ นำเอกสารไปยื่นขอขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ชุมชนเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 และได้รับการรับรองผลติ ภณั ฑ์โอทอป ในช่ือ “กลุ่ม เทียนแม่แสงนวล” ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จากนั้น ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ทำ U2T กลุ่ม OTOP นำเอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ OTOP มอบให้แก่คุณลุงบุญยัง มณีกาศ จึงนับว่าการหนุนเสริมกลุ่มผูป้ ระกอบการ ของคณะทำงานได้ผลักดันให้กลุ่มผู้ประกอบการยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์ ขึ้นทะเบียนโอทอป ได้ 5 กลุ่ม นับว่าการดำเนินงานของกลุ่ม OTOP เป็นการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในตำบลท่าตุ้มตามเป้าหมาย อนั จะเปน็ การยกระดบั เศรษฐกจิ ของชมุ ชนใหเ้ กิดความยัง่ ยนื 217
การหนนุ เสรมิ ของตำบลท่าตุ้ม ควรสนับสนนุ เป็นผลิตภณั ฑ์ให้เป็น ของฝากตำบลท่าตุ้มกลุ่ม “ของดีท่าต้มุ ” รวมทง้ั ส่งเสรมิ กลมุ่ ผ้ปู ระกอบการ ด้วยการจัดแผนนโยบายสนับสนุน เพื่อเพิ่มทักษะอาชีพและสร้างสัมมา อาชีพให้ผู้ประกอบการ และควรดึงศักยภาพของคุณลุงบุญยัง มาเป็น ปราชญ์เล่าเรื่องเชิงประวัติของตำบลท่าตุ้ม “เชื่อมโยงการท่องเที่ยว” และใช้กลไกการท่องเที่ยว “เชิงวัฒนธรรม” “การท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้” และ “การท่องเท่ยี ว : แอ่วผอ่ ของดีทา่ ตมุ้ ” ผลติ ภัณฑพ์ รมเชด็ เท้าบา้ นแม่อาวน้อย ทม่ี ี วันเพ็ญ กองอรนิ ทร์ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า เพื่อใช้ประโยชน์และเพิ่ม มูลค่าจากเศษผ้า หลังจากกลุ่มได้เข้าร่วมอบรมกับวิทยากรให้เข้าใจเรื่อง การวางลวดลายผ้า การเลือกเฉดสีของผ้า การออกแบบพรมให้มี ความทนั สมัย น่าใช้ ตามหลกั การออกแบบ รวมท้ังการให้ความหมายของ พรมที่ไม่ใช่เพียงแค่พรมเช็ดเท้าที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป แต่การพัฒนา จะเป็นพรมอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น พรมปูโต๊ะ พรมตกแต่งสถานที่ รวมทั้งพรมรองแก้ว และการจัดวางลวดลายให้เป็น แนวเลขาคณิต การจัดกลุม่ สี และเส้นลายเฉดสีให้เหน็ นำ้ หนักสีเขม้ ออ่ น ไล่ลำดับ เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านหรือใช้ในงานอเนกประสงค์ ได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งกลุ่มพรมเช็ดเท้าบ้านแม่อาวน้อยมีทักษะฝีมือในการ ตัดเย็บอยู่แล้ว การพัฒนาจากต้นแบบการตกแต่งพรมอเนกประสงค์ ให้น่าสนใจจะทำให้งานมีคุณค่าในการเลือกใช้ในโอกาสต่าง ๆ และยังเป็น การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ชุมชนสร้างรายได้จากอาชีพและเป็น 218
ผู้ประกอบการรายย่อยที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการ นำไปใชใ้ นชวี ิตประจำวนั การหนนุ เสริมของตำบลท่าตมุ้ ควรสนับสนนุ กลุม่ พรมเช็ดเท้าบา้ น แม่อาวน้อย ให้เป็นผลิตภัณฑ์ของฝากตำบลท่าตุ้มกลุ่ม “ของดีท่าตุ้ม” รวมทั้งส่งเสริมกลุ่มผู้ประกอบการ ด้วยการจัดเสริมทักษะฝีมือ และการ เรียนรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ใช้ได้ หลากหลายโอกาส เพื่อเพิ่มทักษะอาชีพและสร้างสัมมาอาชีพให้ ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์โลก (กลุ่มโคขาวลำพูน) ที่มี คุณอยุธ ไชยยอง เป็นประธานกลุ่ม ได้ผลิตภัณฑ์กระถางรักษ์โลกจากมูลโคขาว ลำพูน นับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทางกลุ่มได้ริเริ่มพัฒนาหลังจากเข้าร่วม โครงการกับ U2T และร่วมอบรมการสร้างมูลค่าจากผลิตภัณฑ์กับวิทยากร โดยกลุ่ม OTOP ได้เรียนรู้ไปกับกลุ่มผู้ประกอบการ จากมูลวัวที่จากกลุ่ม จำหน่ายเป็นปุ๋ย มีเกษตรกรรับซื้อ ทางประธานกลุ่มจึงสนใจพัฒนา ผลิตภัณฑ์ขึ้น โดยกลุ่ม OTOP มีกลุ่มผู้รับจ้างงานได้ร่วมพัฒนาและ ปรับสูตรการผลิตกระถางให้เหมาะสมและใช้งานได้จริง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ ของกลุ่ม นอกเหนือจากการจำหน่ายมูลวัวแล้วกระถางรักษ์โลกนับเป็น ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างคุณค่าและเพิ่ม มูลค่าให้กับผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับเศษฐกิจให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ในการสร้างผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับยุคกระแสรักษ์โลก และยังเป็นการใสใ่ จ 219
สิ่งแวดล้อม อันเป็นการพัฒนาลักษณะองค์รวมเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืนด้วย ฐานทุน และฐานวัฒนธรรมจากชุมชน การหนุนเสริมของตำบลท่าตุ้ม ควรสนับสนุนกลุ่มโคขาวลำพูน ใน 2 ลกั ษณะ คือ การหนุนเสรมิ ผลติ ภณั ฑช์ ุมชน โดยนำผลิตภัณฑ์กระถาง รักษ์โลก เป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์รักและใส่ใจ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชุมชนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาการใช้ พลาสติกในชุมชน สองหนุนเสริมด้านทุนทางธุรกิจหรือทุนด้านการวิจัยตอ่ ยอดให้กลุ่มโคขาวลำพูน ซึ่งเป็นโคพื้นเมืองที่มีลักษณะพิเศษเป็นกลุ่ม “อัตลักษณ์พันธุ์โคถิ่นท่าตุ้ม : โคขาวลำพูน” เพื่อให้กลุ่มเลี้ยงโคขาว ลำพนู เปน็ “ต้นแบบกล่มุ เกษตรกรเล้ียงโคพันธุ์พ้นื เมือง” พัฒนาเป็นศูนย์ การเรียนรู้ครบวงวร เรื่อง “การเรียนรู้พันธุ์โคพื้นเมือง” การเข้าค่าย “เรียนรู้การทำกระถางจากมูลโคขาวลำพูน” ให้กับสถานศึกษาทุกระดับ การหนุนเสรมิ ให้เกิดธุรกจิ รายยอ่ ยเพือ่ สร้างงาน สร้างอาชีพให้กลุม่ และคน ในท้องถิ่นได้มีงานทำ การจัดการตลาดในเชิง “ตลาดนัดของดีท่าตุ้ม” “ตลาดออนไลน์กลุ่มท่าตุ้มรักษถ์ ิ่น” อันจะเป็นการยกระดับเศรษฐกิจของ ชุมชนที่ยั่งยืน และพัฒนาด้วยชุมชน เพื่อเป็นชุมชนน่าอยู่และมกี ารพัฒนา สงั คมและเศรษฐกจิ อยา่ งยัง่ ยนื 220
221
ภาพที่ 58 คณะทำงาน U2T และกลุ่มงาน OTOP นำผลิตภัณฑ์ของ ผู้ประกอบการในตำบลท่าตุ้มที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมแสดงผล งานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบ บูรณาการ ณ เซ็นทรัลพลาซาลำปาง เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2564 6.5 กา้ วต่อไปของการพัฒนาผลิตภณั ฑเ์ พื่อการยกระดบั เศรษฐกจิ ชมุ ชนใหย้ งั่ ยนื จากการดำเนินโครงการ U2T โดยเฉพาะในส่วนงานสัมมาอาชีพ หรือ OTOP ที่โครงการได้พัฒนาตลอดระยะเวลาร่วม 1 ปี ของการดำเนิน โครงการ จึงขอสรุปประเด็นด้านการก้าวต่อไปของการพัฒนาชุมชน ด้านสมั มาอาชพี ด้วยการผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างรายได้ และขบั เคล่อื นเศรษฐกจิ ชมุ ชน เพอ่ื ยกระดบั ชมุ ชน ให้เป็นชุมชนนา่ อย่อู ย่าง ย่ังยนื ดังนี้ 222
6.5.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายช่องทางออนไลน์เต็ม รปู แบบ การมุ่งพัฒนาชุมชน ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้ ชุมชนอยู่ยั่งยืนการจัดการชุมชนผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนนั้น ดังได้ กลา่ วมาแล้วในข้างตน้ ว่า การตลอดมกี ารเปล่ยี นแปลงในยคุ ปจั จบุ ัน เพราะ มีปัจจัยทั้งเรื่องโรคระบาด และการบริโภคที่มีทางเลือกหรือช่องทาง การตลาดโดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องการหรือกลไกการขับเคลื่อน การตลาด ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา เพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน โดยชุมชนเป็นผู้จัดการและชุมชนมีทักษะด้านการปฏิบัติงาน การผลิต และการปรับตัวด้านการทำธุรกิจรายย่อย เพื่อสร้างรายได้และการกระจาย รายได้ถึงชุมชน โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางหรือบริษัทร่วมทุนที่มีทุนทรัพย์ ในการรวบรวมการบริหารจัดการเพียงอย่างเดียว การจะเกิดความสำเร็จ ในภาพรวมของการพัฒนาชุมชน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เทคโนโลยี เข้ามาบริหารจัดการร่วม โดยเฉพาะการจัดการตลาดทางช่องทางออนไลน์ ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่กลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคเข้าถึงเพื่อเป็นทางเลือก ให้กับกลุ่มผู้บริโภค อันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนกระจายไปทั่วถึง ผทู้ ีส่ นใจเลอื กผลติ ภัณฑ์ที่ชุมชนผลิตข้นึ 223
6.5.2 การสร้างการรับรผู้ ลติ ภัณฑ์ การสร้างการรับรู้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนนับเป็นสิ่งจำเป็นมาก การ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการสร้าง Content marketing คือ การสร้างเนื้อหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เกิดความประทับใจและจดจำ สินค้าได้ในการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภค ชุมชนอาจใช้วัฒนธรรมของชุมชน เรื่องเล่าชุมชน ภาพ สัญลักษณ์ของชุมชน มาเป็นเครื่องหมายการรับรู้ สินค้าหรือตราสินค้าของชุมชน ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ได้ทันทีหรือจดจำ ภาพลักษณ์ของตราผลิตภัณฑ์นั้น ๆ รวมทั้งข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องรับรู้อันจะ เป็นการบอกต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ผู้บริโภคและผู้บริโภคได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับผูผ้ ลิตได้โดยตรง อันเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างมีระบบ และเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยตรงต่อผู้บริโภค การสื่อสารระหว่าง ผู้ผลิตและผู้บริโภคจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะวิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิด \"ดิจิทัล ดิสรัปชั่น\" (Digitel Industrial) เร็วขึ้น ธุรกิจ ปกติจึงไม่มีทางจะกลับมาเหมือนเดิม ดังที่รัฐบาลนิยามศัพท์ในยุคนี้ว่า “ยุควิถีปกติใหม่” (New Normal) ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องปรับตัวให้ เปน็ วถิ ีปกติใหม่ และจะกลายเป็นวถิ ีปกตทิ ี่ต้องปรับตัวให้อยู่ได้ในสังคม 224
6.6 นวนุรักษ์: การเชื่อมโยงข้อมูลชุมชนเพื่อฐานข้อมูลท่องเที่ยว วฒั นธรรม และชีวภาพ การดำเนินงานของแผนงานสัมมาอาชีพ OTOP คณะทำงานใน ส่วนอาจารย์ผู้รับผิดชอบงาน ได้วางแผนงานให้ผู้รับจ้างงานได้อบรม นวนุรักษ์ ผ่านระบบออนไลน์ www.Webex เพื่อเตรียมจัดการข้อมูลของ ชมุ ชนให้เปน็ ระบบ อนั เป็นการใชเ้ ทคโนโลลีมาจดั การข้อมูล ดังรายละเอยี ด ดังนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ทีม U2T ตำบลท่าตุ้ม กลุ่มงาน OTOP โดยอาจารย์ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ นางสาวศศิกาญจน์ พงศ์ดา นางสาวเกวลิน เนตรผาบ นางสาวพิจติ รา มาปินตา นางสาวปรรณพัชร มาปินตา นางสาวพีรดา บุญอุปละ นางสาวนันท์สินี โพธินาค และนาย ธีรเมช ท้าววรรณชาติ เข้าร่วมการอบรมนวนุรักษ์ ผ่านทางช่องทาง ออนไลน์ www.WebexMeet การอบรมครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนาทิพย์ จันทร์คง อาจารยจ์ ากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั พะเยา ให้เกียรติเป็นวิทยากร ในการให้ความรู้และแนะนำการใช้งานนวนุรักษ์ เบื้องต้น การอบรมครัง้ น้นี ับวา่ เป็นประโยชน์อยา่ งมาก แกก่ ลมุ่ คณะทำงาน OTOP และงานจัดการท่องเที่ยวของ U2T ตำบลท่าตุ้ม เพื่อจัดทำเว็บไซต์ เผยแพร่ข้อมูลของตำบลท่าตุ้ม และการจัดทำสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนแพลตฟอร์ม สำหรับบริหารจัดการและการบริการข้อมูลวัฒนธรรม ข้อมูลความ 225
หลากหลายทางชีวภาพ และอัตลักษณ์ชุมชน การศึกษา การท่องเที่ยว นวัตกรรมในชุมชน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของขมุ ชน เพอื่ จดั กระทำข้อมูล ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้เกิดระบบการจัดการข้อมูลความหลากหลาย ทางด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพอัตลักษณ์ของชุมชน การอบรมคร้ังนี้ผู้เข้าอบรมนวนุรักษ์ยังต้องผ่านการทดสอบหลังการอบรม เพื่อที่สามารถนำไปใช้ดำเนินงานด้านการจัดการข้อมูลต่อเนื่องกล่าวได้ว่า ข้อมูลชุมชนทง้ั วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ความหลากหลายทางชวี ภาพ สามารถ นำไปต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ ได้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์สามารถสืบค้นข้อมูล ทั้งข้อความ ภาพ และวีดิโอ ไดส้ ะดวก ท้งั น้ขี อ้ มลู วฒั นธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ มเี มนูของ ระบบเนน้ ข้อมลู ดังตอ่ ไปนี้ 1. แผนที่ค้นหาข้อมูล เพื่อข้อมูลวัฒนธรรมแบบหลากหลาย รูปแบบผา่ นแผนท่ภี ูมิศาสตร์และตารางแสดงผล 2. แผนที่แหล่งข้อมูล ตำแหน่งพิพิธภัณฑ์ทั้งหมด และข้อมูล ภูมศิ าสตร์ 3. คลังภาพ 3 มิติ ข้อมูลวัฒนธรรมรูปแบบจำลอง โมเดล 3 มิติ เพื่อใช้ชมความสวยงามทีส่ มบูรณ์ผ่าน Sketup viewer หรือสามารถค้นหา ขอ้ มลู จากชอ่ื พรอ้ มภาพแหล่งขอ้ มูลวัฒนธรรม หลังจาก ทีม U2T กลุ่ม OTOP เข้าอบรบ จึงนำมาเชื่อโยงกับ สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลท่าตุ้ม โดยสร้างสถานที่ท่องเที่ยวในแบบจัดกลุม่ 226
เช่น วัด ร้านอาหาร คาเฟ่ หรือเชื่อมโยงวัด ร้านอาหาร คาเฟ่ เพื่อให้เห็น เส้นทางการท่องเที่ยวใกล้กันและเชื่อมโยงผ่านข้อมูลตำบล เช่น สักการะพระนางจามเทวีวัดนางเกิ้ง เรียนรู้ทำเทียนบูชาบ้านคุณลุงบุญยัง (เทียนแม่แสงนวล) ซื้อสินค้า OTOP กลุ่มตัดเย็บ TiNa แฟชัน ศึกษาศูนย์ เรียนรู้ “โคขาวลำพนู ” เป็นตน้ โดยการจดั ระบบข้อมูลดังกล่าวสามารถเพ่ิม ข้อมูลสำคัญในแต่ละสถานที่ได้ เพื่อให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยว ของตำบล ท่าตุ้มขึ้นด้วยกลุ่มปฏิบัติงาน U2T ดังภาพการอบรมนวนุรักษ์ และแผนที่ ทอ่ งเทย่ี วตำบล ทา่ ต้มุ ต่อไปนี้ ภาพที่ 59 คณะทำงาน U2T กลมุ่ OTOP อบรมนวนรุ กั ษ์เพ่อื ใชจ้ ดั การ ข้อมลู ชมุ ชนให้เป็นระบบเชือ่ มโยงเสน้ ทางท่องเที่ยวตำบลทา่ ตุ้ม 227
ภาพที่ 60 แผนท่ีท่องเทีย่ วตำบลท่าต้มุ อำเภอป่าซาง จงั หวดั ลำพูน 228
6.7 สรุป กล่าวโดยสรุป เมื่อเกิดการแข่งขันทางการตลาด ทั้งกลไก การตลาด ช่องทางการตลาด และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในวิถีปกติใหม่ (New normal) จงึ จำเป็นอยา่ งยิ่งทกี่ ารพัฒนาชมุ ชน โดยเฉพาะการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องแสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยนำมาปรับใช้ในการ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ทั้งเรื่องการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและนำฐานทุน ฐานวัฒนธรรมของชุมชน มาเพิ่ม มูลค่าและคุณค่าผลิตภัณฑ์ การหนุนเสริมและพัฒนาชุมชนต้องเลือก แพลตฟอร์มหรือช่องทางการจำหน่ายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และการต่อรองด้านการตลาด รวมทั้งต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้ เข้าใจ ในผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านภาษา เรื่องเล่า และวัฒนธรรม เมื่อผู้บริโภค ได้รับรู้ข้อมูลและยอมรับในผลิตภัณฑ์ของชุมชน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการ บูรณาการเพื่อพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดรายได้ทั้งการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ชุมชน และเป็นการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้ขับเคลื่อนได้ โดยชุมชนในยคุ วกิ ฤตโควิด-19 229
บรรณานุกรม ภาพรวมคนจนในปี 2562 (2562). ขอ้ มูลคนจนตำบลทา่ ตมุ้ อำเภอป่าซาง จังหวดั ลำพนู . สบื คน้ 15 มีนาคม 2564 จาก www.tpmap.in.th/2562/510607 มหาวิทยาลยั ฟาร์อสี เทอรน์ . (2553). ระบบฐานขอ้ มลู วัดนางเก้ิง. สบื ค้น 15 มนี าคม 2564 จาก www.templethailand.org องค์การบริหารสว่ นตำบล ตำบลทา่ ตุม้ อำเภอป่าซาง จงั หวัดลำพนู . (2564). แผนพัฒนาท้องถนิ่ .สบื ค้น 15 มีนาคม 2564 จาก www.http://tatoom.go.th โอฬาร รตั นภกั ดี และวมิ ลศริ ิ กลน่ิ บปุ ผา. (2550). ภมู นิ ามของหมู่บา้ น ในจงั หวัดลำพนู . รายงานการวิจยั . กรุงเทพฯ: มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์. 230
ภาคผนวก
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ต.ทา่ ตุ้ม อ.ปา่ ซาง จ.ลำพูน คณะรัฐมนตรีมีมติเม่ือวันที่ 6 ตลุ าคม 2563 เหน็ ชอบให้กระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนิน โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมี มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็น ต่าง ๆ ตามปญั หาและความต้องการของชุมชน มหาวิทยาลยั ราชภัฏลำปาง ได้ดำเนินโครงการในจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน ซึ่งใน ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐกฤษฏ์ ธรรมกวินวงศ์ เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะ ผู้จัดการตำบล ร่วมกับทีม คณาจารย์และผู้จ้างงานที่เป็นบัณฑิตจบใหม่ 10 คน ประชาชนในพื้นท่ี จำนวน 6 คน และนักศึกษา 6 คน เริ่มต้นโครงการได้สำรวจตำบลท่าตุ้ม พบว่าเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ อาชีพที่สำคัญของคนในพื้นที่คือ อาชีพ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่ทำสวนลำไย มีองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตุ้ม ทำหน้าที่บริหารจัดการพื้นที่ตำบล โดยกำหนดวิสัยทัศน์ให้เป็นเมืองแห่ง ความสุข บนความพอเพียง มีคนจนในพื้นที่เพียง 11 คน คิดเป็นสัดส่วน คนจนเปา้ หมาย 0.17% ซ่ึงดจู ากดัชนคี วามยากจนหลายมติ ิ หรอื ดชั นี MPI 231
(Multidimensional Poverty Index) 5 มติ ิ พบวา่ ด้านสขุ ภาพ 4 คน ด้าน ความเป็นอยู่ 3 คน, ด้านการศึกษา 0 คน, ด้านรายได้ 4 คน, และด้านการ เขา้ ถงึ บรกิ ารรฐั 0 คน กุมภาพันธ์ 2564 จึงเริ่มดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการตำบลท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดย มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลของตำบล (Community Data) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาแบบ มีเป้าหมายชัดเจน 2.) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสงั คมของตำบล โดยระบุ ประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชน 3.) เพื่อบูรณาการโครงการ (System Integrator) ของตำบล โดยประสานงานและทำงานร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินโครงการภายในพื้นที่ของตำบล 4.) เพื่อบูรณาการและสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่ไปดำเนินการโครงการ ภายในตำบล ในด้านองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของตำบล 5.) เพื่อพัฒนาทักษะให้กับ ผูเ้ ขา้ ร่วมโครงการ “การจ้างงานตามภารกจิ ตา่ งๆ ของมหาวิทยาลยั สำหรับ ประชาชนทว่ั ไป บณั ฑติ จบใหม่และนักศึกษา” รูปแบบกิจกรรมที่จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพนู ประกอบไปด้วย 1. การวิเคราะห์ข้อมลู (Data Analytics) จากที่ได้จากการจัดเกบ็ ข้อมูลจากตำบลท่าตุ้ม เช่น Tambon Profile, ข้อมูลสถานการณ์การ ระบาดของ COVID ,Digitalizing Government Data แล้วนำมาวิเคราะห์ เพื่อใชป้ ระโยชนใ์ นระดับข้อมลู ประเทศตอ่ ไป 232
2.การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชนในด้านสุขภาพ (Health Care) 3. การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ให้แก่ชุมชน การยกระดบั สนิ คา้ OTOP อาชพี อ่ืน ๆ เพอ่ื ส่งเสริมด้านมาตรฐานผลติ ภณั ฑ์ ชุมชน ผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั้งระดับชาติหรือ นานาชาติ 4. การส่งเสริมด้านสิ่งแวดลอ้ ม (Circular Economy) ในด้านการ จัดการขยะของตำบล 5.การส่งเสริมดา้ นการท่องเท่ยี วของตำบล ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้น จากกุมภาพนั ธ์ - ธันวาคม 2564 จากทที่ มี U2T เข้าไปพัฒนา ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ได้เกิดสิ่งต่างๆมากมายที่เป็น ประโยชน์แก่ตำบล แบง่ ออกได้ ดังน้ี 1) ผลงานด้านสุขภาพ มีการทำแผนบริบทสุขภาพชุมชนอย่างมี ส่วนร่วม 14 หมู่บ้าน กิจกรรมการสาธิตทำเจลล้างมือ สเปรย์แอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อ กิจกรรมออกำลังกายเต้นแอโรบิกแบบไลน์แดนซ์ 14 หมู่บ้าน กิจกรรมป้ายรณรงค์ป้องกัน Covid-19 และสร้างธรรมนูญสุขภาพ ผู้สูงอายตุ ำบลท่าตุ้ม 2) ผลงานด้าน OTOP มีการพัฒนาทำเทียนบูชาบุญยัง,เทียน หอมแสงนวล, -กิจกรรมกลุ่มตัดเย็บพรม หมวก กระเป๋า กิจกรรมกลุม่ พรม เช็ดเท้าบ้านแม่อาวน้อย กลุ่มพริกลาบสมุนไพร กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ(คุณป้า กัลยา) , แหลง่ เรียนรู้โคขาว-กระถางที่ทำ จากมูลววั 3) ผลงานด้านสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนากิจกรรมการคัดแยกขยะ ในครัวเรือน กิจกรรมติดป้ายรณรงค์การคัดแยกขยะของ 14 หมู่บ้าน 233
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการการจัดการขยะในครัวเรือน ทำเสวียนรักษ์ สงิ่ แวดล้อม 4) ผลงานด้านการท่องเที่ยว มีการจัดกิจกรรมอบรมมัคคุเทศก์ นอ้ ย (Yung Guide) แผนทท่ี อ่ งเทย่ี วของตำบลท่าตมุ้ ผลการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดการยกระดับและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของตำบลท่าตมุ้ ครอบคลมุ ในประเด็นต่างๆ ตามปัญหา และความต้องการ ของชุมชน ทางด้านการนำองคความรูไปชวยบริการชุมชน การเพิ่มรายได้ การยกระดับสินค้า OTOP การสงเสริมดานสิ่งแวดลอม และด้านการ ทอ่ งเที่ยว เกดิ การจางงานทต่ี อบสนองตอการฟนฟูเศรษฐกจิ ในตำบลท่าตุ้ม และตำบลใกล้เคียง รวมทั้งเกิดเครือขายความรวมมือในการพัฒนาและ ฟนฟใู นพ้นื ที่ อาทเิ ชน่ อบต.ทา่ ตุ้ม ผ้ใู หญบ่ า้ น 14 หมูบ่ า้ น ประธานแม่บ้าน 14 หมู่บ้าน (แกนนำการออกกำลังกายแบบไลน์แดนซ์) รพ.สต.มงคลชัย รพ.สต.ท่าตุ้ม ชมรมผู้สูงอายุ อสม. สาธารณสุขอำเภอป่าซาง สำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวดั ลำพนู กระทรวงพัฒนาสงั คมและความม่นั คงของมนษุ ย์ หน่วยงานเอกชนในพื้นท่ี รวมถึงประชาชนในตำบลท่าตุ้มที่มีความสุขและ เตม็ ใจท่จี ะรว่ มพัฒนากบั ทีม U2T และทมี อาจารยจ์ ากมหาวทิ ยาลัยราชภัฏ ลำปาง อนาคตแม้โครงการนี้จะไม่ได้กลับมาพัฒนาตำบล การยกระดับ เศรษฐกิจของตำบลก็มีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน คุณภาพชีวิตดีขึ้น อยาก ให้ร่วมแรงรว่ มใจรกั ษาไว้ให้ยง่ั ยนื ความประทบั ใจในมิตรไมตรี ความมนี ้ำใจ ของชาวทา่ ตุ้มจะอยู่ในใจของ คณะทำงาน U2T ท่าตุ้มตลอดไป ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ณฐั กฤษฎ์ ธรรมกวนิ วงศ์ 234
ถอดบทเรียนคณะทำงานโครงการ U2T (มหาวิทยาลยั สตู่ ำบล สร้างรากแกว้ ให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางสู่ตำบลท่าตุ้ม อำเภอปา่ ซาง จงั หวัดลำพนู ) ธนพร หมูคำ การเขา้ ร่วมโครงการ “ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลและ ส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาตำบลอย่างยั่งยืน หรือ U2T” ครั้งนี้ เป็น โครงการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางดำเนินกิจกรรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 เหน็ ชอบให้กระทรวงการอดุ มศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วจิ ยั และนวตั กรรม โดยสำนักงานปลดั กระทรวงการอดุ มศึกษา วทิ ยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ที่มหาวิทยาลยั ในพื้นท่ีเป็นหน่วยบรู ณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็น ต่างๆ ตามปญั หาและความตอ้ งการของชุมชนนั้น จากแรกเริ่มที่พัฒนาโครงการ ทีมงานได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบลและตัวแทน ขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและการนำข้อมูลไป สังเคราะห์ให้เป็นกิจกรรมของโครงการตามความต้องการของท้องถ่ิน 235
ซงึ่ อบต.ทา่ ตมุ้ สรปุ ประเด็นปัญหาโดยรวมต้องการใหโ้ ครงการแก้ไขปัญหา ด้านการจัดการขยะและการบริหารจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งน้ี ในโครงการเน้นการบูรณาการและต้องการยกระดับเศรษฐกิจของชุมชน ให้เป็นชุมชนที่มีมาตรฐานตามเป้าหมายการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความ ยากจนตาม 16 เป้าหมายที่ อว.กำหนด เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในตำบลและการหนุนเสริมจากการกำหนดกิจกรรมของ โครงการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการสิ่งสำคัญ คือ การจ้างงาน ในพื้นที่ที่รับสมัครผู้รับจ้างงานจากพื้นที่ในตำบล คือ บัณฑิตที่สำเร็จ การศึกษาช่วง 1-2 ปี ที่ยังไม่ได้ทำงานก่อนเริ่มโครงการ ภาคประชาชน ที่ว่างงานจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจช่วงวิกฤตสถานการณ์โรคติดต่อ โควิด-19 ในปลายปี 2562 ข้าพเจ้าเป็นคณะทำงานรับผิดชอบกิจกรรมสัมมาอาชีพหรือกลุ่ม OTOP ร่วมกับทีมงานอาจารย์ 2 คน คือ อาจารย์ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ และอาจารย์ทัตพิชา สกุลสืบ ในการปฏิบัติงานของกลุ่ม ได้วางแผน การทำงานตั้งแต่สำรวจผู้ประกอบการในพื้นท่ี การจัดกิจกรรมพัฒนา ผู้ประกอบการให้เข้าอบรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การจัดการตลาดในช่องทางออนไลน์ ได้แก่ การอบรม การหนุนเสริม ผ ู ้ ร ั บ จ ้ า งง านใ ห้ อบ ร มท ั ก ษะ ด้ าน ก าร ใ ช้ ท ัก ษ ะท าง เทค โ นโล ยี เพ ื ่ อการ จำหน่าย การประสานงานระหว่างผู้ประกอบการและคณะอาจารย์ ผู้รับผิดชอบ รวมทั้งขั้นตอนการจัดการเอกสารพัสดุเพื่อการเบิก-จ่าย งบประมาณ การจดั เตรยี มเอกสารของผูป้ ระกอบการรายใหม่เพ่ือขอรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และการออกร้านจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และ 236
การจัดการบัญชเี พื่อใหเ้ ห็นความเคลื่อนไหวด้านรายได้ของกลุ่มอนั เป็นการ จัดการเชิงระบบทีผ่ ู้รบั จ้างงานควรได้เรียนรู้และทราบแนวปฏิบตั ิ อันจะทำ ให้ผู้รบั จ้างงานไดท้ กั ษะทางวิชาชพี จากประสบการณใ์ นการทำงานเชงิ พื้นที่ จากการทำงานที่ผ่านมา ข้าพเจ้าในบทบาทผู้ประสานงานหลัก ในกลุ่ม OTOP และมีบทบาทเปน็ กรรมการและเลขานกุ ารโครงการ ขอสรุป ประเดน็ จากภาพรวมในการดำเนนิ งานและในสว่ นของการพฒั นาผลิตภัณฑ์ ชมุ ชน เพือ่ เปน็ การนำข้อมูลจากโครงการไปปรบั ใชแ้ ละพฒั นาต่อไป เพ่ือให้ ชุมชนได้ตระหนักและดึงศักยภาพชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนได้อย่างมี ประสทิ ธิภาพ ดังนี้ หัวใจของความสำเร็จในการดำเนินงานส่วนกลางและงาน OTOP ผลการดำเนินงานในภาพรวมโครงการเชิงบูรณาการในพื้นที่ คณะทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ไดร้ บั ความร่วมมอื จากองค์การ บริหารส่วนตำบลในการร่วมขับเคลื่อนโครงการ U2T เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีบทบาทในการประสานงาน และร่วมรับฟังข้อมูลจากการรายงานแต่ละไตรมาสของโครงการ จากคณะทำงานทั้งส่วนอาจารย์ และผู้รับจ้างงาน ทาง อบต.ท่าตุ้ม ได้อนุเคราะห์สถานที่ในการจัดประชุมและอำนายความสะดวกให้ผู้รับจ้าง งานในการประสานงานด้านข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูลกับภาคส่วน ตา่ ง ๆ ในความดแู ลของ อบต. 237
ด้านการดำเนินงาน OTOP นั้น คณะทำงานได้ประสานงานกัน อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดแผนงานระยะสั้นและระยะยาวที่คณะอาจารย์ ได้ร่วมวางแผนและบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่กิจกรรมวางไว้ ในการประสานงานกับผู้รับจ้างงานได้มีการกำหนดบทบาท หน้าที่หลัก ของแต่ละคนในคณะทำงานของผรู้ ับจ้างงาน เพ่อื รับผิดชอบหลักในงานของ OTOP และงานส่วนกลางที่ทาง อว.กลางได้กำหนดให้เก็บข้อมูลโควิด-19 ในชุมชนเพื่อรายงานตามระบบ ในส่วนงานของ OTOP คณะทำงาน ทั้งอาจารย์และผู้รับจ้างงานประสาน หนุนเสริม กำกับ ติดตาม กลุ่ม ผ้ปู ระกอบการ 6 กล่มุ ในตำบลทา่ ตุ้มท่ีเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กลุ่มพรกิ ลาบ (หม่าล่าเมือง) กลุ่ม ตัดเย็บ TiNa แฟชั่น กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือคุณป้ากัลยา กลุ่มพรมเช็ดเท้าบ้านแม่อาวน้อย กลุ่มเทียนบูชา (คุณลุงบุญยัง) และกลุ่ม โคขาวลำพูน (กระถางมูลวัวรักษ์โลก) การดำเนินงานที่นับว่าเป็นหัวใจ สำคัญของความสำเร็จครั้งนี้ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การยอมรับฟัง ปัญหาร่วมกัน การแก้ไขปัญหาและการเห็นคุณค่าในงาน เน้นผลลัพธ์ของ กิจกรรมเพือ่ องค์รวม ปญั หาอปุ สรรคในการดำเนนิ งาน การดำเนินงานตามโครงการ U2T ตามที่ทางคณะทำงานได้ ร่วมออกแบบ วางแผนงาน แต่ละขั้นตอนไว้ รวมทั้งในส่วนงาน OTOP ที่กำหนดกิจกรรมไว้ตามระยะเวลา เพื่อมุ่งพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพ ใหม่ เช่น การยกระดับสินค้า OTOP การสร้างอาชีพอื่น ๆ และ 238
การดำเนินงานตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เน้นผลลัพธ์ตามท่ี อว. กำหนดเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่เพื่อจัดให้ชุมชนเป็นตำบลมุ่งสู่ความ ยงั่ ยืน น้นั จากการดำเนินงาน พบอุปสรรค แบ่งเป็น 2 ส่วน ดงั น้ี 1. อุปสรรคในการบริหารจัดการ และการดำเนินงานกับชุมชน จากแนวคิดการบูรณาการการทำงาน เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ แต่ในการปฏิบตั งิ านจริง ทั้งส่วนงานภาครัฐท่ีเป็นแกนกลางประสานยงั ไม่ได้ มีระบบ กลไก ในการกำหนดผ้รู บั ผิดชอบงานท่ตี รงประเดน็ เชน่ งานพัฒนา ผลติ ภัณฑช์ ุมชน ท่ีต้องมีหน่วยงานกลางของ องคก์ ารบริหารส่วนตำบล เป็น ผู้ประสานหรือเป็นหน่วยงานเสริม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย แต่กลับไม่มีหน่วยงานที่ชดั เจน ในการขับเคลื่อนงาน จึงเกิดผลกระทบด้าน การประสาน จัดการ หนุนเสริม ในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ คณะทำงานได้ มอบหมายให้ผู้รับจ้างงานประสานโดยตรงกับพัฒนาชุมชนจังหวัดในการ หนุนเสริมกลุ่มผู้ประกอบการและการติดตามการยื่นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน จนได้รับการรับรองมาตรฐานฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และหลังจาก ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ทางคณะทำงานได้แจ้งให้ทางองค์การ บริหารส่วนตำบล ทราบเพื่อร่วมรับทราบและบันทึกภาพในการรับ ใบประกาศเพือ่ รบั รองจากสำนกั งานอุตสาหกรรมจังหวดั ลำพนู 2. อุปสรรคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จากการดำเนินงาน พบว่า มีผู้ประกอบการบางกลุ่มที่ปรับตัว เรียนรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย พร้อมรับฟังและเรียนรู้ไปกับคณะทำงาน 239
มีผลงานเชิงประจักษ์และปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำของกลุ่ม ลูกค้า ขณะเดียวกันยังมีผู้ประกอบการบางกลุ่มที่ขาดการเพิ่มสมาชิกกลุ่ม ในการดำเนินงาน และไม่พร้อมดำเนินงานในรูปวิสาหกิจชุมชน การดำเนินงาน ในลักษณะกลุ่มเดิมที่เคยปฏิบัติ เช่น ครอบครัวเดียวหรือ กล่มุ เล็ก ๆ ทีข่ าดการกำหนดบทบาทท่ีชัดเจนอาจเกดิ ปัญหาดา้ นการตอ่ รอง เพ่ือขอสนับสนุนทนุ ในการดำเนินการจากภาคส่วนต่าง ๆ เพราะขาดอำนาจ การต่อรองกับหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการจัดการตลาดรูปแบบใหม่ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากขาดการรับช่วงวัยของกลุ่มผู้ประกอบการ ในการดำเนินงาน ไม่พร้อมในการเรียนรู้กับการจัดการระบบตลาดดิจิทัล ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาขณะดำเนินการคณะทำงานได้มอบหมายกลุ่ม ผู้รับจ้างงานในคณะทำงาน OTOP เป็นผู้ประสานงานช่วยเหลือเบื้องต้น รวมทั้งหาช่องทางการตลาดและช่วยเหลือด้านการประกาศประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มผู้ประกอบการหลายย่อย เพื่อหนุนเสริมและขับเคลื่อน การปฏิบัตงิ านให้บรรลเุ ปา้ หมาย จากปัญหาดังกล่าว หากหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหาร จัดการตามโครงสร้างขององค์การบริหาร ส่วนตำบลได้นำปัญหาเหล่านี้ไป วางแผนพัฒนาต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการหรือหนุนเสริมการพัฒนากลุ่ม ผลิตภัณฑ์ในชุมชน เพื่อเป็นสินค้าของตำบล หรือ “ของดีท่าตุ้ม” เชื่อว่า การพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย ตามแผนงานสัมมนาอาชีพเพื่อยกระดบั เศรษฐกจิ ชุมชนจะย่ังยืนและเกิดการพฒั นารวมทั้งสรา้ งรายไดใ้ หช้ ุมชนได้ ...................................... 240
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231
- 232
- 233
- 234
- 235
- 236
- 237
- 238
- 239
- 240
- 241
- 242
- 243
- 244
- 245
- 246
- 247
- 248
- 249
- 250
- 251
- 252
- 253
- 254
- 255
- 256
- 257
- 258
- 259
- 260
- 261
- 262
- 263
- 264
- 265
- 266
- 267
- 268
- 269
- 270
- 271
- 272
- 273
- 274
- 275
- 276
- 277
- 278
- 279
- 280
- 281
- 282
- 283
- 284
- 285
- 286
- 287
- 288
- 289
- 290
- 291
- 292
- 293
- 294
- 295
- 296