Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 64-06-08-อนุบาล1-แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้_ภาคเรียนที่1-05271410

64-06-08-อนุบาล1-แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้_ภาคเรียนที่1-05271410

Published by elibraryraja33, 2021-06-08 13:22:22

Description: 64-06-08-อนุบาล1-แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้_ภาคเรียนที่1-05271410

Search

Read the Text Version

1 คาํ นาํ กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยเริ่มต้นใช้ต้ังแต่ ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ในการนี้ สํานักบริหารงานการศึกษาภาคบังคับ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้แต่งตั้งคณะทํางานจัดทําแผนการจัด ประสบการณ์ช้ันอนุบาลปีท่ี 1 ชั้นอนุบาลปีท่ี 2 และชั้นอนุบาลปีท่ี 3 (3 – 5 ขวบ) ที่สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาปฐมวัยและหลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พทุ ธศักราช 2560 โดยมเี ปา้ หมายในการพฒั นาเดก็ ปฐมวัยใหม้ ีพฒั นาการและความพรอ้ มดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คมและสตปิ ญั ญา อย่างไรก็ตาม แผนการจัดประสบการณ์ช้ันอนุบาลปีท่ี 1 – 3 ท่ีจัดทําข้ึนน้ีเป็นเพียงแนวทางและตัวอย่างเสนอแนะซึ่งสถานศึกษาสามารถปรับปรุงให้ เหมาะสมกับเหตุการณ์และสภาพท้องถิ่น ตลอดจนนําไปเป็นแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยให้ได้มาตรฐานตามจุดหมายหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560 สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิและคณะทํางานทุกท่านท่ีร่วมมือร่วมใจจัดทําแผนการจัด ประสบการณช์ ัน้ อนบุ าลปที ี่ 1 – 3 จนสําเรจ็ ลลุ ่วงไปด้วยดแี ละเปน็ ประโยชน์ต่อการจัดการศกึ ษาปฐมวยั ของประเทศตอ่ ไป (นายบุญรกั ษ์ ยอดเพชร) เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน

2 คําช้แี จง 1.แนวทางการจัดทาํ แผนการจดั ประสบการณ์ การจัดทาํ แผนการจดั ประสบการณช์ ัน้ อนุบาลปีที่ 1 – 3 สาํ หรับเดก็ วัย 3 – 5 ขวบ จดั ทาํ โดยวเิ คราะหห์ ลกั สตู รการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560 โดยมขี ้นั ตอน ดงั นี้ 1. วเิ คราะห์โครงสรา้ งหนว่ ยการจดั ประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศกั ราช 2560 โดยวเิ คราะหร์ วม 3 ชั้น ได้แก่ ช้นั อนบุ าลปีท่ี 1 – 2 – 3 เพื่อจัดเรยี งลาํ ดบั ความยากงา่ ยให้เหมาะสมกบั วัยของเด็ก องคป์ ระกอบที่วิเคราะห์ ประกอบด้วย สาระทคี่ วรเรยี นรู้ มาตรฐาน ประสบการณ์สําคัญ บูรณาการประสบการณ์สําคัญที่สง่ เสรมิ ตัวบง่ ชี้ ร่างกาย พัฒนาการด้านสติปญั ญา สภาพทพ่ี ึง F อารมณ์ สังคม ทกั ษะพนื้ ฐานคณิตศาสตร์ สตปิ ัญญา ทักษะพน้ื ฐานวิทยาศาสตร์ การส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและ การรู้หนงั สือ (Literacy)

3 2. กาํ หนดรายละเอยี ดหน่วยการจดั ประสบการณ์ ให้ครอบคลมุ พัฒนาการท้ัง 4 ด้าน ไดแ้ กด่ า้ นร่างกาย อารมณ์-จติ ใจ สงั คมและสตปิ ญั ญา เพ่ือพจิ ารณาความ สอดคลอ้ งระหว่างมาตรฐานหลักสตู รปฐมวยั จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ มาตรฐานหลกั สตู รปฐมวัย สภาพท่พี งึ ประสงค์ จุดประสงค์การเรยี นรู้ สาระการเรยี นรู้ ตวั บง่ ชี้ มาตรฐาน ประสบการณ์สําคัญ สาระท่ีควรเรยี นรู้ มาตรฐานท่ี 1 ร่างกาย 1.2 สุขภาพอนามยั 1.2.2 ล้างมอื ก่อน 1. ล้างมอื กอ่ น 1.3.1 การปฏบิ ัติกิจวัตร เรื่องราวเกย่ี วกบั ตัวเด็ก เจรญิ เติบโตตามวยั และมี สขุ นสิ ยั ที่ดี รบั ประทานอาหาร และ รบั ประทานอาหาร ประจาํ วัน 1. การระวังรักษาความสะอาด สุขนิสยั ทีด่ ี หลังจากใชห้ ้องนํา้ และหลงั จากใช้ห้องนํ้า (1) การช่วยเหลอื ตนเองใน ของร่างกาย หอ้ งสว้ มเมื่อมผี ู้ชแ้ี นะ หอ้ งส้วมเมื่อ มผี ูช้ ้ีแนะ กิจวัตรประจําวัน 2. การช่วยเหลอื ตนเองในกจิ วัตร ได้ ประจําวัน - การล้างมือ - การแปรงฟัน - การรบั ประทานอาหาร - การใชห้ อ้ งนํา้ ห้องสว้ ม 3. วางแผนกิจกรรมรายหน่วยการจัดประสบการณ์ เพ่ือใหค้ รอบคลุมกิจกรรมหลกั 6 กิจกรรมไดแ้ ก่ 3.1 กิจกรรมเคล่อื นไหวและจงั หวะ 3.2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 3.3 กจิ กรรมศิลปะสร้างสรรค์ 3.4 กจิ กรรมเล่นตามมุม 3.5 กิจกรรมกลางแจ้ง 3.6 กจิ กรรมเกมการศึกษา

4 (ตวั อยา่ ง) การวางแผนกิจกรรมรายหน่วยการจัดประสบการณ์ ชั้นอนบุ าลปที ี่ 1 หน่วย หนูทําได้ วันที่ เคลอ่ื นไหวและจงั หวะ กจิ กรรม เสริมประสบการณ์ ศลิ ปะสร้างสรรค์ เลน่ ตามมุม กลางแจ้ง เกมการศึกษา 1 การเดินรอบหว่ ง 1. การดูภาพการลา้ งมือ อ่าน การเขียนรูปวงกลม มมุ ประสบการณ์ การเล่นเครื่องเลน่ บอกลักษณะอปุ กรณ์ใน ฮลู าฮูป ภาพและพดู ข้อความด้วยภาษา อย่างน้อย ๔ มมุ สนาม การล้างมือ ของตน 2. การปฏบิ ตั กิ จิ กรรมการลา้ งมือ มมุ ประสบการณ์ การเลน่ น้าํ – เล่นทราย บอกลกั ษณะอปุ กรณ์ใน อย่างน้อย ๔ มมุ การแปรงฟัน 2 การเดนิ ตามแนวเสน้ 1. การดูภาพการแปรงฟันอ่าน การวาดรปู วงกลม โค้งบนกระดาษกาวยน่ ภาพและพดู ข้อความด้วยภาษา ประกอบเสียงดนตรี ของตน 2. การปฏบิ ตั ิกจิ กรรมการแปรงฟัน 3 การเดนิ ตามแนวเส้น 1. การดภู าพการรบั ประทาน พมิ พ์ภาพจากวัสดุท่ี มุมประสบการณ์ การเลน่ นํ้า – เลน่ ทราย บอกลักษณะอปุ กรณ์ใน อย่างน้อย ๔ มุม การรบั ประทานอาหาร โคง้ ของเชือกประกอบ อาหาร อา่ นภาพและพูดข้อความ เป็นวงกลม เสียงดนตรี ด้วยภาษาของตน 2. การปฏบิ ัตกิ จิ กรรมการ รับประทานอาหาร 4 การเดนิ ตามแนวเสน้ 1. การดภู าพการใชห้ ้องนา้ํ การปัน้ ดนิ นา้ํ มนั เป็น มมุ ประสบการณ์ การเล่นเคร่ืองเล่น บอกลกั ษณะอุปกรณ์ที่ใช้ โคง้ ของสายยาง ห้องส้วม อา่ นภาพ และพูด เส้นแลว้ ขดใหเ้ ปน็ อย่างน้อย ๔ มมุ สนาม ในห้องน้ําห้องส้วม ประกอบเสียงดนตรี ขอ้ ความด้วยภาษาของตน วงกลม 2. การปฏบิ ัติกจิ กรรมการใช้ หอ้ งนาํ้ หอ้ งส้วม 5 การเดินตามแนวเสน้ การปฏบิ ตั กิ จิ วตั รประจําวัน การฉีกกระดาษเป็น มมุ ประสบการณ์ การเดนิ ตามแนวเสน้ บอกลักษณะอปุ กรณ์ วงกลม อย่างน้อย ๔ มุม โคง้ บนพ้ืนทราย ในการปฏิบตั กิ จิ วตั ร โค้งของรบิ บน้ิ ประกอบ การลา้ งมือ การแปรงฟนั ประจําวัน เสียงดนตรี การรับประทานอาหาร และ การใชห้ อ้ งนา้ํ ห้องสว้ ม

5 4. นํากจิ กรรมหลกั 6 กิจกรรมทวี่ างแผนไว้มาจัดทําเปน็ ผังความคดิ แผนการจัดประสบการณ์ เพ่ือนําเสนอภาพรวมของการจัดกิจกรรมตลอด 1 สัปดาห์ ๑. กิจกรรมเคลอื่ นไหวและจังหวะ ๒.กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์ ๓. กจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรค์ ๑. การเดินรอบห่วงฮลู าฮูปประกอบเสยี งดนตรี ๑. การลา้ งมือ ๑. เขียนรูปวงกลม ๒. การเดนิ ตามแนวเส้นโค้งบนกระดาษกาวยน่ ๒. การแปรงฟัน ๒. เขยี นรปู วงกลมและระบายสอี ยา่ งอิสระ ๓. การรบั ประทานอาหาร ๓. การพิมพ์ภาพวงกลม ประกอบดนตรี ๔. การใชห้ อ้ งนํา้ ห้องสว้ ม ๔. การปนั้ ดนิ นํ้ามันเป็นเสน้ แล้วขดใหเ้ ปน็ วงกลม ๓. การเดนิ ตามแนวเส้นโคง้ ของเชอื กประกอบดนตรี ๕. การแสดงบทบาทสมมตุ ิการลา้ งมือ ๕. การฉีกกระดาษเปน็ วงกลม ๔. การเดนิ ตามแนวเสน้ โคง้ สายยางประกอบ การแปรงฟัน การรบั ประทานอาหารและ เสียงดนตรี การใชห้ อ้ งนํา้ ห้องสว้ ม ๕. การเดินตามแนวเสน้ โค้งของริบบน้ิ ประกอบ หน่วย ๖. กิจกรรมเกมการศึกษา เสยี งดนตรี หนทู าํ ได้ ๑. บอกลกั ษณะอุปกรณใ์ นการล้างมือ ๔. กจิ กรรมเลน่ ตามมุม ๕. กิจกรรมกลางแจ้ง ๒. บอกลกั ษณะอุปกรณ์ในการแปรงฟัน ๓. บอกลกั ษณะอุปกรณใ์ นการรับประทานอาหาร การเลน่ ตามมมุ ประสบการณ์ ๑. การเล่นเครอื่ งเลน่ สนาม ๔. บอกลักษณะอปุ กรณ์ทีใ่ ช้ในห้องนาํ้ ห้องส้วม ๒. การเลน่ นํา้ -เลน่ ทราย ๕. บอกลักษณะอปุ กรณ์ในการปฏิบตั กิ ิจวัตรประจาํ วนั ๓. การเลน่ นาํ้ -เล่นทราย ๔. การเลน่ เคร่อื งเล่นสนาม ๕. การเดินตามแนวเส้นโคง้ บนพนื้ ทราย

6 5. จัดทาํ แผนการจัดประสบการณร์ ายวนั ท่ีสอดคล้องกับการวเิ คราะห์หลักสตู รและการวางแผนกจิ กรรมหลัก 6 กิจกรรม องค์ประกอบแผนการจดั ประสบการณ์ รายวนั ประกอบด้วย 5.1 จดุ ประสงคก์ ารเรยี นรู้ 5.2 สาระการเรียนรู้ (ประสบการณ์สําคญั /สาระที่ควรเรียนรู้) 5.3 กจิ กรรมการเรียนรู้ 5.4 สื่อ 5.5 การประเมินพัฒนาการ 2. รายละเอียดของแผนการจัดประสบการณ์ แผนการจัดประสบการณช์ ั้นอนบุ าลปที ี่ 1 – 3 แบง่ เป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 ประกอบด้วยรายละเอียดการวเิ คราะหโ์ ครงสรา้ งหน่วยการจดั ประสบการณท์ ่สี อดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560 และ พฒั นาการตามวยั ของเด็กวัย 3 – 5 ปี ซึ่งส่งผลให้ครสู ามารถจัดประสบการณ์หรอื กิจกรรมการเรยี นรู้อย่างมีประสทิ ธภิ าพตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะทพี่ ึงประสงค์ รายละเอยี ดสว่ นน้ีจะปรากฏอยูด่ ้านหน้าของแผนการจัดประสบการณ์ ชน้ั อนบุ าลปีที่ 1 – 3 ตอนที่ 2 แผนการจัดประสบการณ์ แบ่งเป็นระดับชัน้ อนุบาลปที ี่ 1 – 3 ภาคเรยี นละ 2 เลม่ ภาคเรยี นที่ 1 เลม่ ท่ี 1 ประกอบดว้ ยหนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 1 – 9 ภาคเรียนที่ 1 เลม่ ท่ี 2 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ที่ 10 – 18 ภาคเรียนที่ 2 เล่มที่ 1 ประกอบดว้ ยหนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 19 – 27 ภาคเรยี นท่ี 2 เล่มที่ 2 ประกอบดว้ ยหนว่ ยการเรียนรู้ท่ี 28 – 36

ภาคเรียนที่ 1 มี 18 หน่วย ๆ ละ 1 สัปดาห์ เรยี งลําดับหน่วยดงั น้ี 7 1. หน่วยปฐมนเิ ทศ 5. หน่วยครอบครัวมสี ุข 9. หน่วยปลอดภยั ไว้ก่อน 13. หนว่ ยของเล่นของใช้ 17. หนว่ ยสตั ว์นา่ รัก 2. หน่วยโรงเรียนของเรา 6. หนว่ ยอาหารดมี ปี ระโยชน์ 10. หนว่ ยวันเฉลิมพระชนมพรรษา(28 ก.ค.) 14. หนว่ ยชุมชนของเรา 18. หนว่ ยการคมนาคม 3. หน่วยตัวเรา 7. หน่วยฝน 11. หนว่ ยวันแม่ 15. หน่วยต้นไม้ทรี่ กั 4. หนว่ ยหนทู ําได้ 8. หนว่ ยขา้ ว 12. หนว่ ยรกั เมืองไทย 16. หน่วยดนิ หิน ทราย ภาคเรยี นท่ี 2 มี 18 หนว่ ย ๆ ละ 1 สปั ดาห์ เรยี งลาํ ดบั หนว่ ยดงั นี้ 19. ร้รู อบปลอดภยั 23. วันชาติ 27. สนุกกบั ตัวเลข 31. ฤดูหนาว 35. ปริมาตร น้าํ หนัก 20. ลอยกระทง 24. เศรษฐกจิ พอเพยี ง 28. ขนาด รูปรา่ ง รูปทรง 32. แรงและพลงั งาน 36. ฤดูร้อน 21. เวลา กลางวัน – 25. เทคโนโลยีและการ 29. วนั เดก็ วนั ครู 33. เสยี งรอบตวั กลางคืน สอ่ื สาร 22. รักความเปน็ ไทย 26. วันขน้ึ ปีใหม่ 30. โลกสวยด้วยสีสนั 34. รักการอา่ น หน่วยการเรียนรู้กาํ หนดโดยวิเคราะหส์ าระที่ควรเรยี นรู้จากหลกั สตู รการศกึ ษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560และพิจารณาลาํ ดับเวลารวมทงั้ เทศกาลงานประเพณี สําคัญตา่ งๆ นอกจากนหี้ ากโรงเรยี นจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรยี นกส็ ามารถเพิ่มหน่วยการเรยี นรูท้ ีแ่ สดงเอกลักษณแ์ ละอัตลักษณ์ของโรงเรยี นได้ ตอนที่ 3 ภาคผนวก เปน็ สว่ นทรี่ วบรวมส่ือทใ่ี ช้ประกอบแผนการจดั ประสบการณ์จะปรากฏอยู่ทา้ ยแผนมีรายละเอียดเรยี งตามลําดบั ดงั น้ี ความรู้สาํ หรบั ครู นิทาน/หนังสอื ภาพ เพลง คําคลอ้ งจอง เกมการละเล่นประกอบกจิ กรรมกลางแจ้ง เกมการศึกษา

8 ความรู้สาํ หรบั ครู รายละเอียดประกอบการใช้แผนการจัดประสบการณ์ใหม้ ีประสทิ ธิภาพ แผนการจัดประสบการณช์ ้นั อนบุ าลปีท่ี 1 – 2 – 3 เปน็ แนวทางในการจดั กิจกรรมสาํ หรับเด็กวยั 3 – 5 ขวบ ในสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวยั ดงั นน้ั ครูผสู้ อนควรศกึ ษาแผนการจัดประสบการณ์ชัน้ อนุบาลปที ี่ 1 – 3 ใหเ้ ข้าใจก่อนนําไปใช้ให้สอดคล้องกบั ตารางกิจกรรมประจําวนั ดงั น้ี 1. ตารางกิจกรรมประจําวัน 07.30 – 08.00 น. รับเดก็ 08.00 – 08.30 น. เคารพธงชาติ สวดมนต์และกิจกรรมหน้าเสาธง 08.30 – 08.45 น. สนทนา ข่าวและเหตุการณ์ 08.45 – 09.00 น. กจิ กรรมเคลอื่ นไหวและจังหวะ 09.00 – 09.20 น. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 09.20 – 10.20 น. กจิ กรรมศลิ ปะสร้างสรรค์และกจิ กรรมเลน่ ตามมุม 10.20 – 10.30 น. พัก (รบั ประทานอาหารว่าง) 10.30 – 11.00 น. กจิ กรรมกลางแจง้ 11.00 – 12.00 น. พกั รับประทานอาหารกลางวนั – แปรงฟัน 12.00 – 14.00 น. นอนพักผ่อน 14.00 – 14.20 น. เกบ็ ท่ีนอน ลา้ งหนา้ 14.20 – 14.30 น. พกั (รับประทานอาหารว่าง) 14.30 – 14.45 น. กจิ กรรมเกมการศึกษา 14.45 – 15.00 น. สรปุ หมายเหตุ ตารางน้สี ามารถปรบั ยดื หยนุ่ ไดต้ ามความเหมาะสมของโรงเรียน โดยเฉพาะชั้นอนุบาลปีท่ี 1 (3 ขวบ) เวลาในการทาํ กิจกรรมบางกิจกรรมจะ ปรบั ให้นอ้ ยกวา่ ช้นั อนบุ าลปีที่ 2 – 3 เชน่ กจิ กรรมเสริมประสบการณ์ แตบ่ างกจิ กรรมจะใชเ้ วลามากกวา่ เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเล่นตามมุม เปน็ ต้น ทั้งนขี้ ้นึ อยู่กบั ดุลพนิ ิจของครผู ูส้ อนและช่วงความสนใจตามพัฒนาการของเด็ก

9 2. การจดั สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน การทีค่ รผู ้สู อนปฐมวยั จะจดั กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ไดผ้ ลดี จาํ เป็นต้องเตรียมพ้นื ที่ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้มลี กั ษณะเอ้ือต่อ การจดั ประสบการณ์ ดังน้ี 2.1 การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ภาพผังห้องเรยี นและคําแนะนาํ สําหรับการจัดหอ้ งเรียนชัน้ อนุบาล มุมหนังสอื ป้ายนิเทศหนา้ หอ้ ง มุมศิลปะ ตเู้ ตย้ี สําหรบั เกบ็ ของ ุมม ิวทยาศาสตร์ พ้นื ทโี่ ล่งสําหรับกิจกรรมทท่ี าํ รวมกนั เชน่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจงั หวะ มมุ ช่างไม้ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ การรวมกล่มุ นดั หมายตา่ งๆ ฯลฯ มุมสื่อสรา้ งสรรค์ มมุ บล็อก มมุ ดนตรี มมุ บทบาทสมมติ

10 คาํ แนะนาํ สาํ หรบั การจดั ห้องเรียนช้ันอนุบาล 1. โต๊ะครตู อ้ งอยใู่ นจุดทมี่ องเห็นนักเรียนทกุ คนได้ท้งั หอ้ ง ครอู นุบาลตอ้ งไม่หันหลังใหเ้ ด็กเป็นเด็ดขาด 2. ผลงานนักเรียนติดแสดงไว้ระดับสายตาของนกั เรยี น รวมทงั้ ปา้ ยนิเทศต่างๆ 3. ตเู้ ก็บของ อุปกรณ์หรอื สือ่ – วสั ดขุ องเด็กควรใชเ้ ป็นต้เู ตี้ยท่ีเด็กหยิบจบั และเก็บของเข้าท่ีได้ด้วยตนเอง ตู้เต้ียเหล่านี้สามารถใช้ก้ันแบ่งพ้ืนที่มุมต่างๆได้แต่ต้องระวัง ไมใ่ หม้ ีซอกทีเ่ ด็กเขา้ ไปหลบหรือบงั ทึบจนครูไมเ่ หน็ ตัวเด็ก 4. บรรยากาศในหอ้ งเรยี นชั้นอนบุ าลต้องโลง่ สะอาด เปน็ ระเบยี บ แสงสวา่ งสอ่ งทั่วถึง อากาศถ่ายเทสะดวก 5. การจัดมุมต่างๆในห้องเรียนตามผังตัวอย่างมีหลักสําคัญคือมุมสงบที่เด็กใช้ความคิดจะอยู่ใกล้กัน เช่น มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมท่ีมีเสียงดังจะอยู่บริเวณ เดยี วกัน เช่น มมุ บล็อก มุมดนตรี มมุ บทบาทสมมติ สําหรับมมุ ศิลปะ มมุ ช่างไม้จะอยู่ใกล้ประตหู รือทางไปหอ้ งน้ํา เพราะเดก็ จะไดใ้ ช้นาํ้ ผสมสหี รือทําความสะอาดไดส้ ะดวก 6. เส้นทางระหว่างมุมตา่ งๆต้องไหลล่นื ต่อเนื่องกันอย่าใหม้ ขี องระเกะระกะ เด็กสามารถย้ายจากมมุ หน่งึ ไปอกี มุมหนงึ่ ไดโ้ ดยสะดวก 7. ครูควรจัดทําพ้ืนท่ีแสดงอาณาเขตของแต่ละมุมให้ชัดเจน เช่น ปูพรม หรือเสื่อ บริเวณมุมหนังสือ ใช้เทปกาวติดพ้ืนห้องเพื่อแสดงพื้นที่ของแต่ละมุม หรือติด สต๊ิกเกอรเ์ ครอ่ื งหมายของมุมต่างๆไว้บนพืน้ ห้องบรเิ วณมมุ นัน้ ครคู วรแนะนาํ เด็กตงั้ แตเ่ รมิ่ เข้ามาอยูใ่ นห้องอนุบาลเพือ่ ฝกึ วนิ ัยและข้อตกลงของหอ้ งเรียน 8. จดั ทําเครื่องหมายแสดงจํานวนเด็กทจี่ ะเขา้ มาเลน่ ในแต่ละมุม เพ่ือให้เดก็ สงั เกตวา่ มมุ นน้ั มคี นเลน่ ครบจาํ นวนหรอื ไม่ ถ้าครบแล้วก็ควรรอก่อนจนกว่าจะว่าง เพื่อฝึก การรอคอยและการเคารพกฎกตกิ าของสังคมต้ังแตย่ ังเล็ก 9. ครูควรระลึกเสมอว่าห้องเรียนเด็กอนุบาลเป็นพ้ืนท่ีสร้างเสริมความอบอุ่นและความสบายใจ ดังน้ันสีท่ีใช้ในห้องควรปลอดภัย ใช้สีอ่อน เย็นตา ไม่ใช้สีสัน หลากหลายจนกระตุ้นประสาทรบั รขู้ องเดก็ มากเกินไป สื่อ – วัสดุ อุปกรณ์ท่ีนํามาให้เด็กเล่นควรจัดหมุนเวียนตามหน่วยการเรียนรู้ ไม่ควรนํามาไว้มากเกินไปจนทําให้เด็กสับสน ไม่กระตุ้นความสนใจและเก็บเข้าที่ให้เป็น ระเบยี บได้ยาก

11 ตวั อย่างปา้ ยแสดงจํานวนเดก็ ในมมุ ประสบการณ์ 5 มุมบล็อก 4 มุมหนังสือ

12 การจดั หอ้ งเรียนอนบุ าล 1. จัดบรเิ วณหน้าหอ้ งเป็นพนื้ ทโี่ ลง่ สําหรบั ทํากิจกรรมเคลอ่ื นไหวและจังหวะ ซงึ่ ต้องใช้พนื้ ท่ีสาํ หรับการเคลอ่ื นไหวในลกั ษณะต่างๆ นอกจากน้ยี งั ใช้เป็นพื้นที่ สําหรบั กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณซ์ ง่ึ เด็กจะน่งั ล้อมวงเป็นรูปคร่ึงวงกลมหรือตวั ยู เพอ่ื ฟังนิทาน ร้องเพลง และร่วมกจิ กรรมต่างๆ โดยครูสามารถมองดูเดก็ ทุกคนไดอ้ ย่างท่วั ถึง และเด็กทุกคนเหน็ คณุ ครนู ําเสนอสื่อตา่ งๆ ได้โดยไมบ่ งั กัน บรเิ วณนยี้ ังใช้เปน็ พ้ืนทร่ี วมสําหรับนดั หมายทาํ กิจกรรมรวมกนั ทง้ั ชนั้ เช่น น่งั รวมกนั ก่อนออกไปรบั ประทานอาหาร กลางวัน ดื่มนมหรอื ออกไปเล่นกิจกรรมกลางแจง้ ในช่วงบา่ ยใช้เปน็ ท่นี อนของเด็ก 2. จัดพืน้ ทสี่ ําหรับกิจกรรมการเล่นตามมุม โดยติดป้ายระบุจํานวนเดก็ ทเี่ ข้าเล่นในแต่ละมมุ เพ่ือใหเ้ ด็กหมนุ เวยี นกนั เล่นและรู้จักรอคอย ครสู ามารถกําหนด พนื้ ที่ของแตล่ ะมุมไดโ้ ดยใชว้ ธิ กี ารหลากหลาย เชน่ ปเู ส่ือ พรม ใช้กระดาษกาวสตี ดิ แสดงเขต ใชส้ ตกิ๊ เกอร์ตดิ เปน็ มมุ ฯลฯ ตามมาตรฐานการจัดห้องเรยี นอนุบาลจะมมี มุ ประสบการณ์ สําหรบั ให้เด็กเลือกเลน่ เสรีและสง่ เสริมพัฒนาการรอบด้านประมาณ 4 – 5 มุม ได้แก่ 1. มุมหนังสือ มุมหนงั สอื เปน็ บรเิ วณทเ่ี ด็กได้นัง่ ดหู นังสือภาพ อา่ นหนงั สอื นทิ านภาพร่วมกบั เพื่อน พดู คยุ เกี่ยวกบั เรอ่ื งท่อี า่ น เด็กจะรู้สกึ ผ่อนคลาย มีความอบอุ่น สนุกสนาน กับเร่อื งราวในหนงั สอื และปลูกฝังนสิ ยั รกั การอา่ น การอา่ นหนังสือภาพและฟงั นทิ านทาํ ให้เด็กรคู้ ําศพั ทก์ วา้ งขน้ึ เรยี นรสู้ ิง่ ตา่ งๆรอบตัว เช่น สี รูปทรง สัตว์ – พืชต่างๆ ส่อื – อุปกรณ์ในมมุ หนงั สือ 1. หนังสือนทิ านท่ีเหมาะกบั วัยของเด็ก 2. ชั้นวางหนังสอื 3. กระเปา๋ หนัง ไม้ชี้ บัตรคาํ บัตรภาพ 4. เทปเพลง / นิทาน เคร่ืองเล่นซดี ี เนอ้ื เพลง 5. หมอน เบาะ ผ้าปูสาํ หรบั เดก็ น่งั อา่ น ฯลฯ หมายเหตุ 1. มมุ หนังสือควรจัดไว้ในบริเวณทเี่ งยี บสงบ อยู่หา่ งจากมุมท่มี ีเสยี งดัง เชน่ บรเิ วณทว่ี างเครือ่ งดนตรี มุมบทบาทสมมติ มมุ บล็อก เป็นต้น 2. ครคู วรฝกึ ใหเ้ ดก็ เก็บหนังสือและอปุ กรณเ์ ข้าทโี่ ดยการถ่ายเอกสารภาพหนา้ ปกหนงั สือใหเ้ ดก็ สงั เกตและวางใหต้ รงกัน 3. ควรจดั หนังสือหมนุ เวยี นในแตล่ ะสปั ดาหใ์ ห้สอดคล้องกับหน่วยการเรยี นรู้ ขอ้ เสนอแนะการอ่านนทิ านสําหรับเดก็ เดก็ วัย 3 ขวบ จดั ทนี่ ั่งให้เดก็ นงั่ อย่างสบาย ขณะทค่ี รูอ่าน ควรใหเ้ ด็กเห็นรูปภาพ ครูควรหยดุ เป็นระยะ ถามคาํ ถามให้เด็กมสี ่วนรว่ มเดก็ อาจจะพดู ตอบ หรอื แสดงท่าทางก็ได้ ใหส้ งั เกตปฏิกริ ยิ าของเด็ก ถา้ เด็กเบอ่ื ครูควรหยุดอา่ น นําไปอ่านตอ่ ในวนั ถัดไป ดูความสนใจของเดก็ เปน็ หลัก สรา้ งบรรยากาศของการอ่านให้เป็นช่วงเวลา ของความสนุกสนาน

13 เดก็ วัย 4 – 5 ปี เดก็ วยั นช้ี อบฟงั นิทานซาํ้ กันหลายครั้ง เดก็ ชอบดภู าพในหนงั สอื และพดู คุยกับเพอ่ื นๆ จดั ทนี่ ่ังให้เดก็ น่งั สบายๆ พูดคยุ กับเด็กเกย่ี วกับชอ่ื เรอื่ ง ภาพวาดบนปก ถามคําถามปลายเปิดเพอ่ื กระตนุ้ ให้เดก็ คดิ เชน่ “เกดิ อะไรข้ึนในภาพนี้” “ทาํ ไมขา้ วปน้ั จงึ ดใี จ” ครคู วรตอบสนองคาํ พดู แสดงความคดิ เหน็ ของเด็กทั้งด้วยวาจา หรอื ทา่ ทาง เชน่ พยกั หนา้ รบั กระตุ้นให้เด็กคาดคะเนเหตุการณล์ ่วงหนา้ เชน่ “เด็กๆคดิ ว่าจะมอี ะไรเกดิ ขนึ้ ตอ่ ไปนะ” ขณะทีอ่ ่านครูควรหยุดเปน็ ชว่ งๆ เพ่ือให้เด็กอ่านต่อจากที่ครูอา่ น ชี้คาํ ไปด้วยขณะที่อา่ น โยงเรอ่ื งในหนังสือกบั ชีวติ จรงิ หรอื เหตกุ ารณ์แวดลอ้ มตวั เดก็ เมือ่ อา่ นจบควรมีการแสดงความคดิ เห็นหรือความรสู้ ึกเก่ียวกบั นทิ านเร่อื งทอ่ี า่ น นําคาํ หรอื วลีทีม่ ใี นหนังสอื มาพูดในช่วงต่างๆ เช่น กอ่ นนอน เลน่ ตามมุม ควรอา่ นหนงั สอื ตงั้ แตต่ น้ จนจบใหเ้ ดก็ ฟัง เพื่อให้เดก็ ได้สัมผสั กับจงั หวะคาํ หน้าตอ่ หนา้ หนงั สอื นทิ านทเ่ี ดก็ ชอบ เดก็ จะขอให้ครอู า่ นซํา้ บ่อยๆ หลงั จากเดก็ จําไดแ้ ลว้ ครูควรนําหนังสือไปวางบนกระดานขาตั้งใหเ้ ดก็ ทดลองอา่ นเอง มุมหนังสือ เด็กเก็บหนังสือได้เองโดยดูจากภาพหน้าปก

14 2. มมุ บทบาทสมมติ มุมบทบาทสมมติ เปน็ พน้ื ท่ีเล่นทเ่ี ดก็ เลียนแบบบุคลคลตา่ งๆรอบตัวเดก็ ฝกึ การจนิ ตนาการตามประสบการณท์ ่ีพบมา เปน็ การเล่นร่วมกันทส่ี ่งเสรมิ พัฒนาการ ทางภาษา สังคม และการคดิ สื่อ – อปุ กรณ์ในมมุ บทบาทสมมติ 1. เครื่องใชภ้ ายในบ้าน อาจเป็นของเลน่ จาํ ลอง หรือของจริงที่เด็กนํามาเล่นได้ เช่น เคร่ืองครัวต่างๆ ชดุ ของเลน่ ปรุงอาหาร อปุ กรณ์ทําความสะอาดบา้ นทมี่ ี ขนาดเลก็ เด็กสามารถจบั ถือเลน่ ได้ ฯลฯ 2. ของเล่นต่างๆ เช่น ตกุ๊ ตาชาย – หญงิ รูปแบบต่างๆ โทรศพั ท์ ชดุ เสอื้ ผ้าแต่งตวั ต๊กุ ตาสาํ หรับเด็กหัดตดิ กระดมุ รดู ซิป ผูกเชือก ตดิ แถบตนี ตุ๊กแก เปน็ ตน้ 3. เครื่องแตง่ ตัวที่ใชใ้ นบทบาทสมมติ เชน่ เสอ้ื ผ้า รองเท้าหญงิ – ชาย ถงุ เท้า หมวก เน็กไท กระเป๋าผหู้ ญิง กระเป๋าเอกสารผูช้ าย ฯลฯ 4. ชุดของเลน่ เช่น ชุดหมอ ชุดร้านขายของแบบซุปเปอร์มาร์เกต็ รา้ นเสริมสวย ร้านคา้ ประเภทตา่ งๆ ฯลฯ หมายเหตุ ของเลน่ ตา่ งๆในมุมบทบาทสมมติ ตอ้ งจัดไวเ้ ปน็ ระเบียบ มภี าพของเลน่ แตล่ ะประเภทตดิ ไว้หนา้ กลอ่ งหรอื ทชี่ ัน้ วาง เพื่อให้เดก็ เก็บของเข้าที่ได้ถกู ต้อง 3. มุมบลอ็ ก การเล่นบล็อกช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะทางกายท้ังกล้ามเน้ือมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก เด็กต้องหยิบจับ เคลื่อนย้าย นํามาตั้งซ้อนกันใช้กล้ามเนื้อตากับมือ สัมพันธ์กันเพ่ือสร้างความสมดุลในการต่อบล็อกไม่ให้โค่นล้ม การเล่นบล็อกเป็นการเรียนรู้รูปทรงคณิตศาสตร์และเรขาคณิต เด็กสามารถเปรียบเทียบ ขนาด สัดส่วน รวมถึง ฝึกจินตนาการและการแก้ปัญหาเพื่อวางแผนการสร้างส่ิงต่างๆ ระหว่างที่เล่นบล็อกเด็กจะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มซึ่งช่วยเสริมพัฒนาการด้านสังคม และจิตใจ ด้วยการแบ่งปัน ของเล่น รับฟังความคดิ เหน็ ของผู้อนื่ สรา้ งมิตรภาพกบั เพอ่ื นจากการทํางานร่วมกัน สอ่ื – อปุ กรณ์ในมุมบล็อก 1. ไมบ้ ลอ็ กรปู ทรงต่างๆ 2. บล็อกกลวง แท่งบลอ็ กท่ีมคี วามลาดเอยี ง 3. ตวั สตั วต์ ่างๆ ตกุ๊ ตาไม้ ตน้ ไม้ (จําลอง) รถ – เรอื (จาํ ลอง/ของเลน่ ) 4. กลอ่ งเกบ็ บล็อกและสัญลกั ษณห์ น้ากล่อง ฯลฯ 4. มมุ ศลิ ปะสรา้ งสรรค์ ศิลปะชว่ ยให้เด็กมีพัฒนาการแบบองค์รวม เนื่องจากระหว่างที่เด็กทํากิจกรรมศิลปะ เป็นโอกาสที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้โลกภายนอก รู้สึกภูมิใจใน ตนเอง รู้สึกดีที่ทํางานจนสําเร็จ ได้ผ่อนคลายด้านอารมณ์ขณะระบายสี ป้ันดินนํ้ามันหรือวาดภาพ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและการประสาน สัมพันธร์ ะหวา่ งมอื กับตา

15 ส่ือ – อปุ กรณใ์ นมมุ ศิลปะสร้างสรรค์ 1. กระดาษชนดิ ตา่ งๆ 2. พู่กัน ขนาดเบอร์ 6 และเบอร์ 12 3. สีชนิดต่างๆ เชน่ สเี ทียน สนี ํ้า จานสี (สีเทยี นแทง่ ใหญเ่ หมาะสาํ หรบั เดก็ ระดับอนบุ าล 1 – 2 สาํ หรับเดก็ อนุบาล 3 ควรใชส้ ชี อลก์ ) 4. แป้งป้นั แป้งโด ดินน้ํามนั ปลอดสาร 5. กระดานวาดภาพ 6. กาว กรรไกรปลายมน 7. ผ้าชนิดตา่ งๆ 8. ไหมพรม เศษวสั ดุ 9. ทีส่ าํ หรับติดผลงานเดก็ 10. พนื้ ทีเ่ ก็บของใชง้ านศลิ ปะ 11. อปุ กรณท์ ําความสะอาด ฯลฯ ส่ืออุปกรณ์มุมศิลปะสร้างสรรค์และท่ีเก็บดินน้าํ มัน

16 5. มุมของเล่นสรรค์สรา้ ง มมุ นี้สง่ เสรมิ ให้เดก็ เกิดการเรียนรู้จากการเล่น ของเล่นที่อยู่ในมุมน้ีควรเล่นได้หลายวิธี เพ่ือช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถประดิษฐ์คิดค้นวิธีเล่น ด้วยตนเอง หรอื เล่นร่วมกบั เพื่อนได้ ลักษณะของเลน่ ท่ีดี มีความปลอดภยั สีควรเป็นแบบปลอดสารพษิ ขนาดไมค่ วรเล็กเกินไปเพราะเด็กอาจนําเข้าปาก สําลักติดคอหรืออุดใส่รูจมูก ไม่ควรแหลม – คมเป็นอันตราย ตอ่ เดก็ ส่อื – อุปกรณใ์ นมุมของเล่นสรรค์สรา้ ง 1. ของเลน่ ใหเ้ ดก็ หยิบใส่ตามรูปทรง ขนาด 2. ถุงทราย 3. รปู ทรงต่างๆ 4. ตัวต่อ 5. ภาพตัดตอ่ (จาํ นวนช้ินควรเหมาะสมกับวัยของเด็ก) 6. สัตว์ (จําลอง) ตา่ งๆ เช่น สตั วเ์ ลี้ยง สตั ว์ปา่ 7. เกมต่างๆ เช่น เกมตกปลา บันไดงู เกมเรยี งแทง่ ไม้ ฯลฯ 8. กระดานปกั หมุด 9. เชือกและลกู ปดั 10. ชุดแทง่ ไม้ แท่งยาง พลาสติกสําหรับตอ่ ก่อสร้าง 11. ฝาขวดฝกึ ปิด – หมนุ 12. กระดุมซ่ึงมีขนาด สี และรูปทรงต่างๆ 13. เปลอื กหอย กอ้ นหนิ 14. ของเลน่ แมเ่ หล็ก ฯลฯ

17 ข้อเสนอแนะ ควรฝกึ เดก็ ให้มีระเบยี บวนิ ยั โดยการจดั เกบ็ ของเล่นเข้าท่ีใหเ้ รียบรอ้ ย ครูสามารถจัดเตรียมอปุ กรณ์สาํ หรับการเกบ็ ของเลน่ ดงั น้ี ตะกร้า หรือ กล่องใส่ของเล่นแตล่ ะชนิด พร้อมทง้ั รูปของเล่นชนิดนัน้ ช้นั วางของเลน่ ทีว่ างภาพตดั ต่อ ครูควรตดิ ป้ายบอกกฎ – ระเบยี บของมมุ ของเล่นสรรค์สรา้ ง จํานวนของเล่นควรจัดวางให้มจี าํ นวนพอเหมาะในแต่ละครงั้ และจดั เปลย่ี นหมุนเวยี นไปในแตล่ ะสปั ดาห์หรอื เดือน ของเลน่ แต่ละชนิดควรแยกกล่องไม่ใหป้ ะปนกัน วางของเล่นระดับที่เดก็ หยิบได้ เพ่อื ใหเ้ ด็กหยิบและเก็บเองได้สะดวก ควรระวังความปลอดภยั เชน่ ลูกปดั กระดมุ เวลาเกบ็ ครูควรเก็บแยกให้พน้ มอื เด็ก

18 2.2 การจดั สภาพแวดล้อมภายนอกหอ้ งเรยี น พ้นื ทเ่ี ลน่ นอกหอ้ งเรยี นท่ีช่วยเสริมสรา้ งพัฒนาการเด็ก พ้ืนทเี่ ลน่ ทรายและน้าํ ช่วยเสริมพัฒนาการทงั้ 4 ด้าน 1. เด็กได้พัฒนาทกั ษะด้านความคิด สงั เกต ความตา่ งและความเหมอื นของวสั ดตุ า่ งๆ เชน่ ทรายแหง้ ทรายเปียก ค้นพบวา่ วัสดุมกี ารเปล่ยี นแปลงได้ เชน่ ใส่สลี งนาํ้ ค้นพบการเป็นเหตุและผล เช่น การตบนาํ้ ทําใหเ้ กดิ คล่นื และของลอยห่างออกไป ค้นพบเกย่ี วกบั คณติ ศาสตร์ เช่น การเทน้าํ จํานวนเท่ากัน ลงไปในภาชนะท่มี ีขนาดตา่ งกนั แลว้ เปรียบเทียบดู 2. เดก็ ได้พัฒนาทกั ษะดา้ นสังคม และจติ ใจ ฝกึ เล่นบทบาทตา่ งๆ เช่น อาบนํ้าให้ต๊กุ ตา สรา้ งเพื่อน เชน่ ชวนเดก็ อีกคนมาสรา้ งปราสาททราย แบง่ ปนั ของเลน่ กัน 3. เด็กไดพ้ ฒั นาทักษะด้านอารมณ์ เหน็ ผลงานทท่ี ําสาํ เรจ็ เช่น ผสมสบ่ทู ําใหน้ าํ้ เป็นฟอง สรา้ งความภาคภมู ิใจและม่ันใจในตวั เอง เช่น การเก็บสงิ่ ประดษิ ฐไ์ วใ้ หผ้ ปู้ กครองดู ฝึกความเป็นอิสระพึ่งตนเอง เชน่ การเริม่ เล่นและเกบ็ สง่ิ ของเม่ือเล่นเสร็จ 4. เด็กไดพ้ ัฒนาทักษะด้านรา่ งกาย ใช้กลา้ มเนื้อมดั เลก็ และใช้การประสานสายตากบั มือให้สมั พนั ธ์ ฝกึ การประสานงานของกล้ามเนอ้ื ให้ดีขนึ้ เช่น การเทนาํ้ จากขวดใส่ถ้วยตวง ส่ือ/วัสดุ/อปุ กรณ์ ทราย ควรเปน็ ทรายร่อนละเอียดมวี ัสดคุ ลุมป้องกนั ไมใ่ ห้สกปรก ของเล่นกับทราย เชน่ ขวด (พลาสตกิ ) กรวย ช้อน ถ้วยตวง แทง่ ไม้ สตั ว์ คน หลอด รถ ขนนก (ไก่) เปลอื กหอย ตะแกรงรอ่ น ของเล่นกบั นํ้า เชน่ หลอด ท่ตี ีไข่ ขวด ที่หยอดตา กรวย ช้อน ถ้วยตวง ฟองน้ํา จกุ ไม้กอ๊ ก แปรงทาสี ตะแกรงร่อนขนาดเล็ก ภาชนะเกบ็ ของเลน่ ท่ใี ช้เล่นทรายกับทราย ภาชนะเก็บของเล่นท่ีใช้เล่นนา้ํ ผ้ากนั เปอื้ นพลาสตกิ (กนั เปียกนํ้า) ฯลฯ

19 พ้ืนทด่ี นตรี การเคลื่อนไหว และการบริหารสมอง (Music Movement and Brain Gym) เด็ก ๆ รักเสียงเพลง ดนตรี ซ่ึงมีจังหวะและท่วงทํานองต่างลีลากันไป เด็กได้พัฒนาการประสานงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายในการ แกวง่ ไกวไป – มา การเต้น กระโดดขน้ึ ลง ตบมอื ตบเท้า ตามจงั หวะดนตรี นอกจากนี้ ดนตรียังมีผลกระทบต่ออารมณ์ของเด็กด้วย เช่น ดนตรีเบาจังหวะสบายไม่เร่งร้อนช่วยทําให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย ง่วงนอน ในขณะที่เพลง จังหวะเรว็ เร้าใจ ทําให้เด็กรู้สึกตน่ื ตัว อยากก้าวเดนิ ไปรอบห้องตามจงั หวะนัน้ โดยธรรมชาติของเดก็ เมื่อไดย้ ินเสียงดนตรเี ด็กจะอยากลองเคล่อื นไหวสว่ นตา่ งๆ ของร่างกายเพ่ือดูว่าทําอะไรได้บ้าง ในพื้นท่ีเท่าใด สําหรับเด็กทุกวัย ดนตรีและการเคลื่อนไหวมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษา ทักษะการฟัง การประสานงานของส่วนต่างๆ ของร่างกาย และความสามารถในการถ่ายทอดจังหวะออกมาเป็นท่าทาง ตา่ งๆได้ ดนตรชี ่วยเสรมิ พัฒนาการไดอ้ ย่างไร 1. เด็กพัฒนาทกั ษะดา้ นความคดิ เชือ่ มโยงเสยี งเพลงกบั แหล่งกาํ เนดิ เช่น หันไปทางทไี่ ด้ยินเสยี ง คน้ พบความเป็นเหตแุ ละผล เช่น การเคาะทพั พีไม้บนกระทะทําให้เกดิ เสียง แยกแยะลําดบั เสียง เชน่ เสียงทีต่ ่างระดบั ของเครอ่ื งดนตรี นาํ ความรู้ไปใช้ เช่น ใช้การเคาะกระทะแทนเสียงกลอง แก้ปัญหา เชน่ การพยายามที่จะเป่าใหเ้ ป็นเพลง

20 2. เด็กพัฒนาทักษะทางดา้ นสังคม เล่นรว่ มกนั สร้างสัมพนั ธ์กนั เพอื่ น 3. เดก็ พัฒนาทกั ษะทางด้านอารมณ์ แสดงออกทางอารมณ์ได้ตามเสียงดนตรี เริ่มสรา้ งรสนิยมด้านเสยี งเพลงของตัวเอง 4. เด็กพัฒนาทกั ษะดา้ นรา่ งกาย ประสานความเคลอ่ื นไหวของกลา้ มเน้ือตา – มือ การใช้นิ้วมือทาํ ทา่ ประกอบเพลง ฝกึ ใช้กลา้ มเน้ือมดั ใหญ่ เชน่ การกระโดด การโยกตวั พฒั นาการเขา้ จงั หวะ เช่น การตบมอื ตบเท้า ตามจังหวะดนตรี สื่อ/วสั ดุ/อปุ กรณ์ - กลอง เครือ่ งเคาะ ฉง่ิ เคร่ืองเปา่ เครอ่ื งดดี - สี - ทเี่ ก็บเคร่ืองดนตรี กจิ กรรมเสนอแนะ - เล่นน้วิ มือประกอบคาํ คล้องจอง - เคล่ือนไหวสรา้ งสรรค์ - เกมประกอบดนตรี พื้นที่เลน่ กลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นส่วนท่ีทําให้เด็กรู้สึกอิสระและมีความร่าเริงได้สัมผัสกับธรรมชาติและเห็นความเปลี่ยนแปลงของฤดูต่างๆ สัมผัสกับ สภาวะแวดล้อมท่ีเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดู เช่น ความชุ่มช้ืนและสีเขียวในฤดูฝน ฤดูร้อนเห็นใบไม้ร่วงหญ้าเริ่มเหลือง ฤดูหนาวอากาศเร่ิมแห้งหรือมีลมหนาวมาสัมผัสตัว นอกจากน้ีเดก็ ยังได้ ว่ิงเลน่ กระโดด ปีน – ปา่ ย และมีความมน่ั ใจเพม่ิ ขึ้น จากการทเ่ี ด็กไดฝ้ ึกและใช้กลา้ มเน้ือมัดใหญแ่ ละมดั เล็ก ดังนน้ั การเล่นกลางแจ้งจงึ เปิดโอกาสใหเ้ ด็กได้เคลือ่ นไหวร่างกายอยา่ งอิสระไดส้ ูดหายใจอากาศบริสุทธ์ิ สมั ผสั กับแสงอาทิตยแ์ ละธรรมชาติ

21 การเล่นกลางแจ้งช่วยเสริมพัฒนาการไดอ้ ย่างไร เดก็ พัฒนาทกั ษะดา้ นความคดิ ใชป้ ระสาทการรบั ร้สู ัมผสั กับโลกภายนอก มปี ระสบการณ์กับความเปน็ เหตุและผล เช่น การวงิ่ ผ่านนาํ้ ที่พ่นเปน็ ฝอยทําให้ตัวเปียก พัฒนาทกั ษะทางภาษาจากการพูดคยุ ในขณะท่เี ล่น วางแผนและแก้ปัญหา เชน่ การวางแผนท่ีจะเล่นบทบาทสมมตกิ บั เพอ่ื น เรียนรู้เก่ียวกับวทิ ยาศาสตร์ เช่นการถาม “นกคาบหญา้ แหง้ ๆไปทําไม ?” ซงึ่ ทาํ ให้เด็กได้เรียนรู้เร่ืองการสร้างรงั ของนก เด็กพฒั นาทักษะด้านสังคมและจติ ใจ สร้างสมั พันธ์กบั เพื่อน แบง่ ปัน การรอคอย และผลัดเปล่ยี น การเลน่ รว่ มกบั เพอื่ น เดก็ พัฒนาทักษะดา้ นอารมณ์ ร้สู กึ ดกี ับตวั เอง เม่อื สามารถทําไดส้ ําเร็จ เชน่ การหัดถบี รถสามล้อและทําได้ ฝึกการพ่งึ ตนเอง เช่น การเล่นกระดานลน่ื ได้เองโดยไม่ตอ้ งมคี นช่วย ใช้ความคิดสรา้ งสรรค์ เช่น การคิดวิธีใหม่ทจ่ี ะเลน่ กับลูกบอล เดก็ พฒั นาทกั ษะดา้ นรา่ งกาย ใช้กล้ามเนอื้ มัดเล็กได้ดขี ้นึ ใชก้ ล้ามเนื้อมดั ใหญ่ ประสานการเคล่อื นไหวกล้ามเนอ้ื มือ และตา กิจกรรมของการเล่นกลางแจง้ - เลน่ เครือ่ งเลน่ สนาม - การเล่นทราย - การทําสวนปลูก ต้นไม้ - การเลน่ แบบไทยๆ และเกมต่างๆ - การเลีย้ งสัตว์ - การไปปกิ นกิ - การไปวาดรปู นอกสถานที่

22 - ดนตรีและกจิ กรรมเข้าจงั หวะ - เดนิ ทางไปเย่ียมบริเวณรอบๆและวาดภาพทไ่ี ด้ไปเห็นมา สือ่ /วสั ดุ/อุปกรณ์ - ควรระวงั เรอ่ื งความปลอดภัยของวสั ดแุ ละอปุ กรณ์ตา่ งๆใหม้ ีสภาพพร้อมใชเ้ สมอ การเตรียมพรอ้ มสาํ หรับกิจกรรมศึกษานอกสถานท่ี แจ้งผู้ปกครองทราบล่วงหนา้ กอ่ นออกไปศกึ ษานอกสถานท่ี (บริเวณรอบๆโรงเรยี น) บอกกฎ – ระเบียบงา่ ยๆใหเ้ ด็กปฏิบัติ มอบหมายความรับผิดชอบให้เดก็ ชว่ ยในการทํากจิ กรรม กระตนุ้ ให้เดก็ ชว่ ยเหลือตนเองตามความเหมาะสม ฝึกเด็กกอ่ นออกไปปฏิบตั ใิ นสถานที่จรงิ คอยเตอื นให้เด็กอยูภ่ ายใต้การดแู ลของครู และอย่กู ับกลมุ่ ตลอดเวลา ส่ิงที่ครคู วรสังเกตและสํารวจในกจิ กรรมกลางแจ้ง - เดก็ ชอบเลน่ เคร่อื งเลน่ ประเภทไหน - อปุ กรณ์การเล่นช้นิ ไหนทเ่ี ดก็ ๆชอบเลอื กเลน่ - มีบริเวณไหนหรอื อุปกรณ์การเลน่ อะไรที่เดก็ ๆหลกี เลี่ยงทจี่ ะเล่น บรเิ วณใดทอี่ าจเกดิ อันตราย - เด็กๆเลน่ ร่วมกันดหี รอื ไม่ใครเปน็ ผคู้ ิดริเริม่ - เด็กเลน่ ในแตล่ ะบริเวณนานเทา่ ไร - เด็กแตล่ ะคนแสดงทา่ ทางแตกตา่ งกนั หรอื ไม่ - เดก็ ดมู ีความม่นั ใจหรอื ระมดั ระวงั ในการเลน่ ของเลน่ ชิ้นใหมห่ รอื ไม่ ** คอยระมัดระวังเรอื่ ง “อันตราย” คาดเดาและปอ้ งกนั ล่วงหน้า โดยการสาํ รวจเครื่องเลน่ ให้อยู่ในสภาพปลอดภยั เสมอ **

23 พื้นทสี่ าํ หรบั กจิ กรรมการทําอาหาร การทําอาหารเปน็ กิจวตั รท่ีเกิดข้ึนทุกวนั เดก็ ต้องรบั ประทานอาหารกลางวันและของว่าง ดังน้ัน “การทําอาหาร” จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเลียนแบบ ชีวติ จริง ในการทําอาหารเดก็ เรียนร้กู ารมสี ่วนรว่ มและชว่ ยเหลือในการทาํ อาหาร เช่น การเท การใส่ การผสม การดม การตัก ลองชิมรส สัมผสั การฟงั การใช้ภาษาและการทํา ตามสตู รและขน้ั ตอนการทําอาหาร การทําอาหารชว่ ยเสรมิ พัฒนาการไดอ้ ยา่ งไร เดก็ พัฒนาทักษะดา้ นความคิด เรียนรู้เก่ียวกบั โภชนาการ เช่น การเตรยี มอาหารที่ถกู หลักโภชนาการ แก้ปญั หา เช่น การอบขนมควรใสล่ งในพมิ พเ์ พยี งคร่งึ เดียว เพื่อไม่ใหข้ นมล้นออกมา จัดแยก จดั แบ่ง เชน่ เลือกกล้วยสุกงอม เพ่ือใชท้ าํ เค้กกล้วยหอม เรียนรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เลน่ ตวงของเวลาทาํ อาหาร เขา้ ใจกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทาํ ไอศกรีม ใชค้ วามคดิ สร้างสรรค์ เช่น การพับกระดาษเช็ดปาก เด็กพัฒนาทักษะทางด้านสงั คมและจติ ใจ พัฒนาความรับผดิ ชอบ เช่น การชว่ ยเตรียมอาหาร รู้จกั ชว่ ยเหลอื ตัวเอง เช่น การจดั โต๊ะอาหาร เอื้อเฟอ้ื และรู้สกึ ห่วงใยผู้อืน่ เชน่ การถามเพอ่ื นว่าอยากดืม่ น้ําอะไร ทํางานประสานกับผอู้ น่ื เช่น การทาํ อาหารร่วมกนั เด็กพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ สรา้ งความภมู ิใจในตัวเอง เชน่ การเสิร์ฟขนมทเ่ี ดก็ ทํากนั เอง สรา้ งความสนุกสนานในการทาํ ร่วมกนั และรบั ประทานดว้ ยกนั เด็กพฒั นาทกั ษะทางด้านร่างกาย พฒั นากลา้ มเนอ้ื ให้แข็งแรง เชน่ การร่อนแปง้ ใชก้ ลา้ มเนอ้ื มือประสานสายตา เชน่ การกรอกน้ําผ่านกรวย รจู้ กั การทําตามลําดบั ขนั้ ตอน

24 สื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์ - เคร่อื งใช้ในครัวตา่ งๆ - เคร่ืองใช้สาํ หรบั ทาํ ความสะอาด - ท่ีเก็บวัสดุ/อปุ กรณต์ า่ งๆ - กระดานสาํ หรับเขียน ฯลฯ ** คอยระวงั เร่อื ง ความปลอดภยั ของแหลมคม ควรเก็บใหม้ ิดชิด และพ้นสายตาเดก็ ** กิจกรรมพิเศษ ทาํ โครงการเล็กๆร่วมกนั เชน่ การปลูกถ่วั งอก เพ่อื นาํ มาทาํ อาหารไว้รบั ประทานรว่ มกนั เขียนสูตรการทาํ อาหารง่ายๆสําหรบั เด็กโดยใชร้ ปู ภาพช่วย เพ่ือเป็นการฝึกการอ่านเบอ้ื งต้น

25 กจิ กรรมหลักของช้ันอนุบาลตามแผนการจัดประสบการณ์ช้ันอนุบาลปีท่ี 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมซ่ึงออกแบบและเรียงลําดับ กิจกรรมตามหลักการส่งเสริมความพร้อมด้านพัฒนาการอย่างเป็นองค์รวมครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคมและสติปัญญา กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมน้ี จัดต่อเนื่องกันโดยใช้เวลาระหว่าง 15 – 30 นาที และสลับกันระหว่างกิจกรรมหนัก – เบา กิจกรรมหนักหมายถึงกิจกรรมที่เด็กใช้พลังงานทางกายมาก เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นต้น กิจกรรมเบาหมายถึง กิจกรรมที่เด็กใช้พลังงานทางกายน้อย เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เกมการศึกษา เป็นตน้ การจดั ประสบการณ์ระดบั ชน้ั อนบุ าลปที ี่ 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) มลี กั ษณะการจดั แบบบรู ณาการประสบการณ์สําคัญด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งหมายถงึ เด็กได้ทํากิจกรรมสง่ เสริมทักษะพนื้ ฐานทางคณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตร์ พัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ ตลอดจนทักษะทางสังคมเรียนรู้ค่านิยมไทยและทักษะ ชีวิตที่จําเป็นสําหรับวัยอนุบาล โดยเรียนรู้ผ่านการทํากิจกรรมหลักและกิจกรรมสํารวจทดลองตามแนวบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ในการจัดประสบการณ์ครูจะใช้ เทคนิคอนุบาล เชน่ การเลา่ นทิ าน การร้องเพลง ท่องคําคล้องจอง การจดั กจิ กรรมกลางแจง้ ฯลฯ เพ่ือให้เด็กอนบุ าลเรยี นรอู้ ย่างมคี วามสขุ สนองตอ่ ธรรมชาตแิ ละพัฒนาการตามวยั ของเด็กแต่ละคนใหเ้ ต็มตามศักยภาพและสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ การจัดประสบการณ์ระดบั ช้ันอนบุ าลจดั แบบบูรณาการเปน็ องคร์ วมไม่แยกเปน็ รายวิชา แนวทางการจดั กจิ กรรมหลัก 6 กิจกรรม กจิ กรรมหลกั 6 กิจกรรมท่ปี รากฏในตารางกิจกรรมประจาํ วนั ประกอบด้วย 1. กิจกรรมเคลือ่ นไหวและจังหวะ เวลา 15 นาที 2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เวลา 20 นาที 3. กิจกรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์ เวลา 30 นาที 4. กจิ กรรมเล่นตามมมุ เวลา 30 นาที 5. กิจกรรมกลางแจง้ เวลา 30 นาที 6. กจิ กรรมเกมการศึกษา เวลา 15 นาที

26 การออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ครูผู้สอนจําเป็นต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการเพ่ือทําความเข้าใจ มาตรฐานปฐมวยั ตัวบ่งชี้ สภาพทพ่ี ึงประสงค์และประสบการณ์สําคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้แผนการ จัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีท่ี 1 – 3 ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ได้วิเคราะห์หลักสูตรและออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมสอดคล้องกับหลักสูตร การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ดังท่ีปรากฏในคําชี้แจงหัวข้อแนวทางการจัดทําแผนการจัดประสบการณ์ ในที่นี้จึงนําเสนอตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมหลัก 6 กจิ กรรม ในกจิ กรรมเคล่อื นไหวและจงั หวะ ซ่ึงกจิ กรรมหลักทั้ง 6 กจิ กรรมใชแ้ นวทางการวิเคราะหแ์ ละออกแบบกจิ กรรมเหมอื นกนั 1. กจิ กรรมเคล่อื นไหวและจังหวะ (เวลา 15 นาที) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้และประสบการณ์สําคัญในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธกิ าร ดังนี้ มาตรฐานท่ี 2 กลา้ มเน้อื ใหญแ่ ละกล้ามเนือ้ เลก็ แข็งแรง ใช้ไดอ้ ย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพนั ธก์ ัน ตัวบง่ ชท้ี ี่ 2.1 เคลอื่ นไหวร่างกายอยา่ งคล่องแคล่ว ประสานสัมพนั ธแ์ ละทรงตวั ได้ มาตรฐานที่ 3 มสี ขุ ภาพจิตดีและมคี วามสขุ ตัวบง่ ชท้ี ี่ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์ไดอ้ ย่างเหมาะสม มาตรฐานท่ี 4 ชน่ื ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรีและการเคล่อื นไหว ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจ มีความสขุ และแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรแี ละการเคล่อื นไหว มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตัวบง่ ชท้ี ่ี 11.2 แสดงทา่ ทาง/เคล่อื นไหวตามจนิ ตนาการอย่างสร้างสรรค์ 1.1 ประสบการณส์ ําคญั ทส่ี ง่ เสรมิ พัฒนาการด้านรา่ งกาย 1.1.1 การใชก้ ล้ามเน้อื ใหญ่ (1) การเคลือ่ นไหวอยูก่ บั ท่ี ตัวอยา่ งประสบการณแ์ ละกิจกรรม ตบมอื ผงกศรี ษะ เคล่ือนไหวไหล่ เอว มือและแขน มอื และนวิ้ มอื เคาะเทา้ เท้าและ ปลายเท้าอยู่กบั ท่ี (2) การเคลื่อนไหวเคล่ือนที่ ตวั อยา่ งประสบการณ์และกิจกรรม คลาน คืบ เดิน ว่งิ กระโดด สไลด์ ควบม้า กา้ วกระโดด เคลอ่ื นที่ไป ขา้ งหน้า – ขา้ งหลงั ข้างซา้ ย – ข้างขวา หมุนตัว (3) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์ ตัวอย่างประสบการณ์และกิจกรรม เคลือ่ นไหวร่างกายพร้อมเชือก ผา้ แพร รบิ บิน้ วัสดุอนื่ ๆท่ีเหมาะสมตามจนิ ตนาการ เพลงบรรเลง คาํ บรรยายของผ้สู อน

27 1.1.5 การตระหนักร้เู กี่ยวกับร่างกายตนเอง (1) การเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพ้นื ที่ ตวั อยา่ งประสบการณ์และกิจกรรม เคล่อื นไหวรา่ งกายไปในทิศทางต่างๆ เชน่ ซ้าย ขวา หนา้ หลัง ท่ัวบรเิ วณทกี่ ําหนดในระดับสูง กลาง และต่าํ มีการเคลอ่ื นไหวทห่ี ลากหลาย เชน่ มุด ลอด คลาน กลิ้ง กระโดด 1.2 ประสบการณ์สาํ คัญทีส่ ่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ – จติ ใจ 1.2.1 สุนทรยี ภาพ ดนตรี (3) การเคล่ือนไหวตามเสยี งเพลง/ดนตรี ตวั อยา่ งประสบการณ์และกิจกรรม แสดงท่าทาง เคล่ือนไหวประกอบเสียงเพลง ดนตรีหรือจังหวะช้าและเรว็ 1.2.4 การแสดงออกทางอารมณ์ (3) การเคล่ือนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี แสดงท่าทาง เคลื่อนไหวประกอบเสียงเพลง ดนตรีหรอื จังหวะช้าและเรว็ การจดั กจิ กรรมเคลื่อนไหวและจงั หวะใหบ้ รรลุตามมาตรฐาน ตวั บง่ ช้ี และสภาพทีพ่ ึงประสงค์ซง่ึ กําหนดไว้ในหลักสตู ร ครูผูส้ อนระดบั ช้ันอนุบาลปีที่ 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) ควรจดั ประสบการณ์ในแต่ละหนว่ ยให้ครอบคลุมหมนุ เวียนกนั ไปทุกสปั ดาห์ ทงั้ นีใ้ ห้คํานึงถึงความพร้อมและระดบั พัฒนาการของเด็กแตล่ ะวัยเป็นหลัก กิจกรรมเคลือ่ นไหวและจังหวะทป่ี รากฏในแผนการจดั ประสบการณช์ นั้ อนุบาลปีท่ี 1 – 3 (3 – 5 ขวบ) ประกอบด้วย กจิ กรรมทจี่ ดั 1. การเคลอื่ นไหวพ้ืนฐาน เช่น การเดิน การวิง่ การก้าวกระโดด การทาํ ทา่ ควบมา้ การเขยง่ ฯลฯ 2. การเคลื่อนไหวเลียนแบบท่าทางสัตว์ หรอื วัตถุท่ีเคล่ือนทีไ่ ด้ เชน่ ยานพาหนะตา่ งๆ ฯลฯ 3. การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลง หรือ การทําท่ากายบริหารตามจงั หวะทํานองเพลง 4. การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์ตามจนิ ตนาการทเ่ี ดก็ คิดท่าทางเอง 5. การเคล่ือนไหวประกอบอุปกรณ์ เช่น ห่วงฮลู าฮปู แถบผา้ รบิ บิ้น ถุงทราย ฯลฯ 6. การเคลื่อนไหวแสดงท่าทางตามคําบรรยายหรือเรื่องราวที่ครูเลา่ 7. การเคลอื่ นไหวตามคําสั่งหรือข้อตกลง เช่น การจดั กลุ่มตามจาํ นวนท่ีครรู ะบุ การจดั กลุ่มตามสี – รูปทรงของวัสดทุ ี่เดก็ ถือ ฯลฯ 8. การเคลื่อนไหวแบบผ้นู าํ –ผู้ตาม โดยผลดั กนั แสดงบทบาทผนู้ าํ และผู้ตามในการคดิ สร้างสรรค์ท่าทางการเคล่ือนไหวให้เพื่อนปฏิบัติตาม

28 กระบวนการจัดประสบการณ์/กจิ กรรม 1. สร้างข้อตกลงพนื้ ฐาน หมายถึง การทาํ ความเขา้ ใจหรอื ข้อตกลงร่วมกันเรื่องสญั ญาณและจังหวะ โดยครูใชเ้ ครอื่ งเคาะจังหวะต่างๆ เช่น เคาะไม้ เคาะระฆงั สามเหล่ียม รํามะนา กลอง กรับ ฯลฯ (ครไู ม่ควรใช้สัญญาณนกหวดี ซึง่ เหมาะกบั กิจกรรมกลางแจ้ง) และกาํ หนดข้อตกลงสญั ญาณการเคาะจังหวะก่อนเรม่ิ ทํา กจิ กรรมเคล่ือนไหวและจงั หวะ เช่น 1.1 ให้จังหวะ 1 ครง้ั สม่ําเสมอ หมายถงึ ใหเ้ ด็กเดนิ หรือเคล่อื นไหวไปเรอื่ ยๆตามจังหวะ 1.2 ให้จังหวะ 2 ครัง้ ติดกนั หมายถึง ใหเ้ ด็กหยดุ การเคลอ่ื นไหวโดยค้างนง่ิ อยู่ในท่านน้ั 1.3 ให้จงั หวะ รวั หมายถึง ใหเ้ ด็กเคลื่อนไหวอย่างเรว็ 2. การสง่ เสริมความคิดสรา้ งสรรค์และจินตนาการ ครคู วรสนับสนนุ ให้เดก็ เคลื่อนไหวอย่างอิสระตามความคดิ สร้างสรรคแ์ ละจินตนาการ โดยพยายามใช้ สว่ นต่างๆของรา่ งกายให้มากท่สี ดุ (ไม่ใช้เพียงแขน – ขา อยา่ งเดยี ว) รวมทั้งฝึกให้คนุ้ เคยกับคาํ ศัพท์ท่เี ป็นพนื้ ฐานการเคล่ือนไหว เช่น 2.1 หาพืน้ ทเ่ี ฉพาะตวั หมายถงึ การที่เด็กแต่ละคนเลอื กยืนในระยะหา่ งกนั พอสมควรและสามารถเคล่ือนไหวได้สะดวก โดยไม่ชนกับเพ่ือน 2.2 เปล่ยี นทศิ ทาง หมายถึง การเคลอ่ื นท่ใี นทิศทางตา่ งกัน ไปท่ัวบรเิ วณห้องท้ังดา้ นซ้าย ขวา หนา้ หลัง 2.3 ปรบั ระดับ หมายถึง การเคลอื่ นทหี่ ลายระดับตา่ งกนั เช่น ระดบั ตํ่า กลาง สงู 3. การจดั กจิ กรรมเคลือ่ นไหวและจงั หวะ ควรสรา้ งบรรยากาศของความสนกุ สนาน ครูอาจบูรณาการกบั หน่วยการจดั ประสบการณ์ โดยเปน็ ส่วนหน่ึงของ การนาํ เขา้ สบู่ ทเรียน เช่น เคล่ือนไหวร่างกายประกอบเพลง หรอื คาํ คล้องจองตามหนว่ ย ครูบรรยายใหเ้ ดก็ เคลื่อนไหวประกอบ เช่น หนว่ ยการคมนาคม มีการเคล่ือนไหว เลียนแบบยานพาหนะต่างๆ เชน่ รถจักรยาน เรอื รถไฟ เครือ่ งบนิ เปน็ ตน้ 4. เมือ่ เด็กค้นุ เคยกบั จังหวะและสัญญาณต่างๆแล้ว ครสู ามารถเพ่มิ ศักยภาพของเดก็ ได้โดยใหเ้ ด็กสังเกตจังหวะจากเคร่อื งดนตรีตา่ งๆและจําแนกเสียง เคร่อื งดนตรีแตล่ ะประเภท เป็นการสรา้ งสนุ ทรยี ภาพและพื้นฐานด้านดนตรี เชน่ เปดิ เพลงบรรเลงใหเ้ ด็กเคาะตะเกียบตามจงั หวะของเคร่ืองดนตรแี ต่ละชนิด เป็นต้น 5. หลังจากเดก็ ทาํ กิจกรรมเคลอื่ นไหวและจงั หวะแลว้ ต้องใหเ้ ด็กผอ่ นคลายกลา้ มเน้ือ โดยการนั่งพกั สบายๆหรือนอนเล่นบนพน้ื ห้อง ครูอาจเปิดเพลงเบาๆ เพื่อใหเ้ ดก็ พกั ผ่อน 2. กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์ กจิ กรรมเสริมประสบการณเ์ ป็นกิจกรรมทีเ่ ด็กได้เรยี นรเู้ กี่ยวกับสาระท่ีควรเรยี นรูต้ ามหลกั สูตรการศกึ ษาปฐมวยั พทุ ธศักราช 2560 กระทรวงศกึ ษาธกิ าร สาระท่คี วรเรียนรปู้ ระกอบด้วย 4 หวั ข้อหลักคือ 2.1 เรอื่ งราวเกีย่ วกับตวั เด็ก 2.2 เรอื่ งราวเกีย่ วกบั บุคคลและสถานทีแ่ วดล้อมเด็ก 2.3 ธรรมชาติรอบตวั 2.4 สงิ่ ต่างๆรอบตวั เดก็

29 หวั ขอ้ ของสาระท่คี วรเรยี นรปู้ รากฏอยใู่ นหลักสูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช 2560 ท้ังนี้ครูผู้สอนสามารถกําหนดรายละเอียดให้สอดคล้องกับท้องถิ่น สภาพแวดลอ้ มและความสนใจของเด็ก จดุ มงุ่ หมายในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มไิ ด้มุ่งเน้นให้เด็กท่องจาํ เนือ้ หา แต่เปน็ การจดั กจิ กรรมใหเ้ ด็กได้ฟัง พูด คดิ สงั เกต ทดลองและสํารวจ เพื่อใหเ้ กดิ ความคิดรวบยอดและสรา้ งเสริมทักษะพนื้ ฐานในการแสวงหาความรู้ใหเ้ หมาะสมกับเดก็ ชัน้ อนุบาล โดยใชว้ ิธีการหลากหลาย เชน่ การสนทนา ซกั ถาม การปฏบิ ัตกิ ารทดลองตามกระบวนการเรียนรู้ การลงมอื ปฏบิ ัติกจิ กรรมตา่ งๆ โดยเด็กคิดและร่วมมือทาํ ด้วยตนเอง ฯลฯ กระบวนการจดั ประสบการณ์/กจิ กรรม 1. จดั ท่นี ง่ั เป็นรปู คร่งึ วงกลมหรอื ตวั ยู (U) เพ่อื ให้เด็กทุกคนมองเห็นครแู ละส่ือทีค่ รูใชไ้ ด้ชดั เจน ขอ้ ควรระวัง คือ ครตู ้องนง่ั ในระดบั สายตาของเดก็ ถ้าเด็กน่ัง พน้ื ครกู ็ควรนงั่ กับพน้ื ถ้าเด็กนง่ั เก้าอ้ีครกู ็นงั่ เก้าอีด้ ้วย 2. ระยะเวลาในการจดั กจิ กรรมเสรมิ ประสบการณ์ ควรใชเ้ วลาประมาณ 15 – 20 นาที สาํ หรบั ช้นั อนบุ าลปที ่ี 1 (3 ขวบ) ควรลดช่วงเวลาเป็น 5 – 10 นาที การจดั กจิ กรรมมลี ักษณะหลากหลายเพ่ือดงึ ดดู ความสนใจเดก็ ไม่ทาํ ให้เด็กเบอ่ื โดยมวี ธิ จี ดั กิจกรรม ดังนี้ 2.1 ขนั้ นําเขา้ สูบ่ ทเรียน ใช้ระยะเวลาสนั้ ๆ เพื่อเตรยี มความพร้อมและเร้าความสนใจของเด็ก ครูอาจใช้การรอ้ งเพลง คาํ คล้องจอง ปรศิ นาคาํ ทาย ฯลฯ เพอ่ื ดึงความสนใจใหเ้ ด็กมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรม 2.2 ข้ันสอน เดก็ ไดเ้ รยี นรสู้ าระทค่ี วรเรยี นรูผ้ า่ นกจิ กรรมหลายรปู แบบ เช่น การสนทนา ซกั ถาม การเล่านิทาน การสาธติ การทดลอง ฯลฯ 2.3 ข้นั สรปุ เปน็ การสรปุ ทบทวนความเข้าใจ ครอู าจใช้คําถาม เพลง เกม ฯลฯ เพ่ือช่วยในการสรปุ 3. ส่อื ทใ่ี ชใ้ นกจิ กรรมมกั ใช้ของจรงิ ของจําลอง รูปภาพ บทบาทสมมติ สว่ นการสรา้ งความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เปน็ นามธรรมครูมักใช้การเล่านิทานประกอบ หนงั สือภาพ โดยอาจมสี ่ือประกอบ เชน่ หุ่นมือ หุน่ นวิ้ มือ หุ่นถุงกระดาษและสอื่ ประกอบการเล่านิทานประเภทตา่ งๆ 4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ อาจจัดในรปู แบบของการพาเดก็ ไปแหล่งเรียนรูน้ อกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และบริเวณใกลเ้ คียง ซ่ึงครตู ้องวางแผนการ พาเดก็ ไปแหลง่ เรยี นรู้อย่างปลอดภัย 5. กจิ กรรมประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมทช่ี ว่ ยเสริมประสบการณด์ ้านประสาทสมั ผสั เรียนรคู้ วามเปลีย่ นแปลงต่างๆขณะปรุงอาหาร เช่น สีของอาหาร กลนิ่ รส ฯลฯ 6. กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์มุง่ เนน้ การฝกึ ทักษะพืน้ ฐานดา้ นการคดิ ครจู ึงควรเปดิ โอกาสให้เด็กรจู้ กั สังเกตรว่ มแสดงความคดิ เห็นอย่างมีเหตุผล มีส่วนรว่ ม ในการทดลองลงมือปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง ครูควรใชค้ าํ ถามทีส่ ่งเสริมกระบวนการคิดเป็นคาํ ถามปลายเปดิ ให้เด็กคิดหาเหตุผล เชน่ คําถามท่ีให้เด็กพูดอธิบาย คาํ ถามให้เปรยี บเทียบ หรือให้เดก็ ยกตัวอยา่ ง เป็นต้น ไมค่ วรใช้คําถามนํา หรอื คําถามปลายปดิ ท่ีมีคําตอบว่า “ใช่” หรอื “ไม่ใช่” ทงั้ น้กี ารถามคําถามให้คํานึงถงึ ความพร้อมของเดก็ ดว้ ย สาํ หรบั เดก็ ช้ันอนุบาลปที ่ี 1 – 2 ครคู วรใชค้ าํ ถามระดบั ต้นเพื่อชว่ ยให้เด็กเกิดความเขา้ ใจ จดจําได้ หรอื ชว่ ยฝกึ ทกั ษะการสงั เกตมากขึ้น 7. ฝกึ นิสยั การจดบันทึก เด็กอนบุ าลสามารถจดบันทึกส่งิ ท่ีเดก็ คิดและเรียนร้โู ดยใชก้ ารวาดภาพ เด็กอนุบาล 2 – 3 อาจทดลองเขียนเปน็ ตวั อักษรหรือคําโดย ใช้ภาษาทเี่ ด็กคิดเอง บางครงั้ เด็กอาจบอกใหค้ รูเขยี นคําหรือประโยคที่เด็กต้องการเขียนเพ่ือนาํ ไปคดั ลอกลงบนั ทึกของตนเอง การส่งเสรมิ ใหเ้ ด็กมีนสิ ัยรักการจดบนั ทึก เปน็ การ สรา้ งพื้นฐานการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ในวยั นค้ี รูไมค่ วรเคร่งครัดกับการเขยี นถกู – ผิดของเด็ก

30 3. กจิ กรรมศลิ ปะสร้างสรรค์ กจิ กรรมศิลปะสรา้ งสรรคเ์ ปน็ กจิ กรรมทเี่ ด็กทําเกย่ี วกบั งานศลิ ปศึกษาต่างๆ ไดแ้ ก่ การวาดภาพระบายสี การป้ัน การพิมพภ์ าพ การพับ ตดั ฉีก ปะ และ ประดษิ ฐเ์ ศษวสั ดุ ฯลฯ โดยมุ่งให้เดก็ มปี ระสบการณ์ดา้ นสุนทรยี ศาสตร์และการแสดงออกผ่านงานศลิ ปะ ตลอดจนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กจิ กรรมทจ่ี ดั 1. การวาดภาพและระบายสี ด้วยสเี ทียน สีไม้ สนี ํ้า 2. การใชอ้ ปุ กรณว์ าดภาพ เชน่ พ่กู ัน 3. การวาดภาพด้วยนิ้วมอื ฟองนํา้ และอปุ กรณ์อน่ื ๆ 4. การเลน่ กบั สีนา้ํ ในลักษณะต่างๆ เชน่ การเป่าสี หยดสี เทสี เป็นตน้ 5. การพิมพ์ภาพด้วยส่วนต่างๆของรา่ งกาย การพิมพภ์ าพด้วยวัสดตุ ่างๆท้ังที่เป็นวสั ดธุ รรมชาตแิ ละแบบพิมพ์ท่ีจดั ทําขึ้น 6. การปนั้ ดินนาํ้ มนั ดินเหนยี ว แป้งโด ฯลฯ 7. การพบั ฉีก ตดั ปะ 8. การประดิษฐเ์ ศษวัสดตุ ่างๆ 9. การรอ้ ย การสาน กระบวนการจดั ประสบการณ์/กจิ กรรม 1. การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ครูควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เด็กมีโอกาสเลือกทํากิจกรรมตามความสนใจอย่างหลากหลาย เด็กอนุบาลจะใช้เวลาทํา กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ประมาณ 30 นาที ซ่ึงเด็กสามารถเลือกทํากิจกรรมได้อย่างน้อย 2 กิจกรรม (เด็กบางคนอาจพอใจทําเพียง 1 กิจกรรม ครูไม่ควรบังคับ แต่ควร ชักชวนใหเ้ ด็กลองทาํ กจิ กรรมอื่นบา้ ง โดยนําเสนอส่อื – อุปกรณ์ทีน่ ่าสนใจ หมนุ เวยี นไปเรอ่ื ยๆ) 2. กจิ กรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่จดั เตรียมในแต่ละวนั ตลอดสัปดาหป์ ระกอบด้วย 2.1 การปนั้ ดนิ นาํ้ มนั 2.2 การวาดภาพระบายสีด้วยสีเทียน 2.3 การวาดภาพด้วยสนี าํ้ 2.4 การฉีก ตดั ปะภาพ 2.5 การประดิษฐ์เศษวสั ดุ ครูจดั เตรยี มโต๊ะสาํ หรับทาํ กิจกรรมและวสั ดุใหค้ รบถว้ น ทั้งน้ีอาจให้เดก็ ชว่ ยจดั และเก็บวัสดุอุปกรณโ์ ดยมอบหมายหน้าที่รับผดิ ชอบประจาํ วันหมนุ เวยี นไป กจิ กรรมศลิ ปะสรา้ งสรรค์สําหรบั ชั้นอนุบาลปีท่ี 1 (3 ขวบ) ใช้ชว่ งเวลาทาํ กิจกรรมทยี่ ืดหยุ่นกว่าช้ันอนุบาลปีท่ี 2 – 3 เพราะชว่ งสมาธใิ นการทํากิจกรรม จะมีน้อยกว่า

31 3. ครตู อ้ งแนะนําวิธีใช้วัสดุ – อุปกรณ์ทกุ ประเภทก่อนเร่มิ กจิ กรรม โดยสาธิตวิธใี ชท้ ลี ะกิจกรรมตลอดจนสาธิตการทํากจิ กรรมที่ใหม่สําหรับเด็ก 4. การหมุนเวียนเด็กเข้าทํากิจกรรมแตล่ ะโต๊ะ ให้เดก็ เป็นผูเ้ ลอื กตามความสมัครใจโดยดูจากปา้ ยจาํ นวนสมาชกิ ในกลมุ่ และสรา้ งนิสัยในการรู้จักรอคอย จนกว่าจะมีทีว่ ่างสาํ หรบั ทาํ กิจกรรมน้นั 5. ฝกึ การเก็บของเข้าที่ ล้างและเกบ็ วัสดุอปุ กรณใ์ ส่ภาชนะท่ีครเู ตรียมไว้เมื่อทํากิจกรรมเสร็จ 6. ผลงานศลิ ปะสรา้ งสรรค์ เป็นผลงานท่ีเดก็ คิดและลงมือทําดว้ ยตนเอง ไมค่ วรเปน็ ผลงานทบี่ ังคบั ทําเหมือนกันทั้งห้องในลกั ษณะแบบฝึกซ่ึงไม่ไดส้ ่งเสรมิ ความคดิ สรา้ งสรรค์ ผลงานบางประเภทอาจมขี นั้ ตอนพืน้ ฐานเหมอื นกนั เชน่ การพับเป็นรปู เสือ้ แตก่ ารวาดภาพตกแต่ง ต่อเติมเปน็ ความคดิ อิสระของเด็ก เปน็ ตน้ 7. การทาํ กิจกรรมศลิ ปะสรา้ งสรรคอ์ าจทําได้ท้งั กิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมคหู่ รือกิจกรรมกลุ่มซึง่ อยู่ในลกั ษณะของการทํากจิ กรรมศิลปะแบบรว่ มมือรว่ มใจซ่งึ สามารถสรา้ งคุณลกั ษณะของการคดิ การวางแผนและลงมือทาํ กจิ กรรมร่วมกนั 8. ส่ิงท่ีช่วยกระตุ้นใหเ้ ดก็ เกิดความคดิ สร้างสรรค์ คือ ความหลากหลายแปลกใหม่ของวัสดุ ซึง่ ควรใช้วัสดุทอ้ งถนิ่ และเศษวสั ดตุ ่างๆ โดยเฉพาะการนาํ วัสดุทีใ่ ช้ แล้วมาปรับใชใ้ หม่ การสนบั สนุนของครใู หเ้ ด็กทดลองใชว้ สั ดุตา่ งๆและการตง้ั คาํ ถามที่ท้าทายความสามารถของเด็กจะชว่ ยจงู ใจใหเ้ ด็กทดลองสร้างผลงานศลิ ปะที่แปลกใหมข่ ้ึน 9. ในขณะที่เดก็ นาํ ผลงานมาส่งครู ครูควรเขียนชื่อเด็ก จดวันที่และบันทึกคําพูดเด็กส้ันๆ เพื่อสังเกตพัฒนาการทางภาษาและการคิดของเด็ก ขณะท่ีครูเขียน ช่อื และจดบนั ทึกควรให้เดก็ ยนื ข้างตัวครเู พ่ือจะไดเ้ หน็ แบบอยา่ งการเขียนท่ีถูกตอ้ ง 10. การให้คําแนะนําหรือให้ความเห็นของครูควรเป็นไปในเชิงบวก ไม่นําผลงานเด็กมาเปรียบเทียบกัน ถ้าต้องการชมเชยครูควรระบุส่วนท่ีครูเห็นว่าเด็กทํา ได้ดี เช่น ระบายสสี วยสดใส ปน้ั ได้คล้ายของจริง พับไดส้ วยเรียบรอ้ ย ฯลฯ หรอื ใชท้ ่าทางภาษากาย เชน่ ย้ิม ผงกศีรษะใหก้ าํ ลังใจเดก็ 11. ผลงานของเด็กทุกคนต้องนํามาติดบนป้ายแสดงผลงานที่อยู่ในระดับสายตาของเด็กหรือใช้ไม้หนีบแขวนบนราวเตี้ย ถ้าจํานวนเด็กในห้องมากควร หมุนเวียนติดผลงาน หรือต้ังแสดงให้ครบทุกคนในหน่ึงสัปดาห์ หลังจากน้ันให้เก็บไว้ในลิ้นชักผลงานรายบุคคล กล่องผลงาน หรือแฟ้มผลงาน เรียงลําดับตามวันที่เพื่อให้เห็น ความก้าวหน้าของเดก็ และควรใหเ้ ดก็ เลือกผลงานให้ผ้ปู กครองดูเป็นระยะตามความเหมาะสม สาํ หรบั ผลงานประดษิ ฐอ์ าจให้เด็กนาํ กลับบ้านได้ 4. กิจกรรมเลน่ ตามมุม กิจกรรมเลน่ ตามมมุ เป็นชว่ งเวลาที่เดก็ ได้เล่นส่ือและเครอื่ งเลน่ ที่ครจู ดั ไว้เป็นมุมเลน่ อสิ ระ โดยเดก็ สามารถเลอื กเลน่ ได้ตามความสนใจของตนเปน็ พื้นฐาน เบ้ืองตน้ แสดงถึงความถนัดของเดก็ แต่ละคน กิจกรรมท่ีจัด มุมประสบการณท์ จี่ ัดไวใ้ นห้องเรียนอนบุ าลควรมีอย่างน้อย 4 มมุ ไดแ้ ก่ 1. มุมหนังสือ 2. มมุ บลอ็ ก 3. มมุ บทบาทสมมติ (มมุ บ้าน รา้ นค้า มมุ หมอ) 4. มมุ ธรรมชาติ – วทิ ยาศาสตร์

32 กระบวนการจดั ประสบการณ์ / กิจกรรม 1. บทบาทของครใู นการจดั กิจกรรมเลน่ ตามมุมคือสนองตอบการเรยี นรู้ของเด็กผ่านประสบการณ์ที่เป็นรปู ธรรมใหม้ ากทสี่ ุด ครตู ้องสนบั สนุนใหเ้ ด็ก เกิดความสนใจ กระตือรือร้นทจี่ ะเล่นกับสื่อต่างๆ ทดลองหยบิ จบั สมั ผัส ตรวจสอบ วัสดทุ เ่ี ป็นของจริงหรอื ของจําลอง 2. เดก็ เรียนรู้ไดม้ ากผ่านการเลน่ เชน่ เมื่อเด็กเลน่ ภาพตัดต่อ ตัดกระดาษดว้ ยกรรไกร หรือปะกระดาษเปน็ ภาพต่างๆ เดก็ กําลงั พฒั นากลา้ มเนื้อ มัดเล็กและความสมั พนั ธร์ ะหว่างมือกับตา ซึง่ เป็นพื้นฐานการเตรียมความพรอ้ มด้านการอา่ นและการเขียน 3. การเล่นของเด็กเปน็ การเรียนรู้การเลน่ รว่ มกบั ผอู้ ื่น มีการแลกเปลี่ยนนาํ เสนอความคิดและการตกลงยอมรบั ซึ่งกนั และกนั 5. กจิ กรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมทีเ่ ดก็ ไดเ้ ล่นอิสระในสนามเด็กเลน่ นอกห้องเรียน เพอ่ื สง่ เสรมิ ให้รา่ งกายแข็งแรงมสี ขุ ภาพดี เกดิ ความสนกุ สนาน สามารถ ปรบั ตัวในการเลน่ ร่วมกบั ผู้อื่น นอกจากการเลน่ อิสระแล้วครูยังจัดกิจกรรมใหเ้ ดก็ เรียนรู้การละเลน่ พนื้ บา้ นตามวถิ ีชีวิตไทย หรอื เกมการละเลน่ ง่ายๆทฝ่ี กึ ทักษะพฒั นา กลา้ มเน้อื ใหญ่และกล้ามเน้ือเล็กให้สามารถเคลอื่ นไหวไดแ้ คล่วคล่อง กิจกรรมทจ่ี ัด กจิ กรรมกลางแจง้ มีพื้นที่สาํ หรบั ใหเ้ ดก็ เล่นรว่ มกนั ดังน้ี 1. การเล่นนํา้ – เลน่ ทราย 2. การเล่นเครือ่ งเลน่ สนาม 3. การเลน่ ปนี ปา่ ยบ้านตน้ ไม้ 4. การเล่นเกมการละเล่นตา่ งๆ 5. การเล่นอปุ กรณ์กฬี าสําหรับเดก็ เช่น ลูกบอลพลาสติก ห่วงยาง ฯลฯ 6. การเล่นรถสามลอ้ จกั รยานสําหรบั เด็ก รถลากจูง ฯลฯล 7. การเล่นเพ่ือสนองตอบความสนใจและความถนัด เชน่ เล่นในมมุ ชา่ งไม้ เล่นทําอาหาร ฯลฯ การจัดท่ีเลน่ กลางแจ้ง 1. บ่อทราย ทรายเป็นส่ิงท่ีเด็กๆ ชอบเล่นเพราะทรายเม่ือชื้น ๆ ก่อเป็นรูปต่างๆ ได้รวมท้ังการนําวัสดุอื่นมาประกอบตกแต่ง เช่น ก่ิงไม้ ดอกไม้ เปลือกหอย พิมพ์ขนม ทีต่ กั ทราย ฯลฯ เปน็ การตกแตง่ ตามจินตนาการของเด็ก ปกติบ่อทรายจะอยู่กลางแจ้ง (แต่ไม่ร้อน) ทําขอบกันเพ่ือมิให้กระจัดกระจาย ในตอนเช้าควรพรมน้ําให้ชื้นเพ่ือเด็กจะได้สะดวกในการป้ัน และทรายไม่ฟุ้งเข้าตาเดก็ รูปของบ่อทราย อาจเป็นรูปส่ีเหลี่ยมหรอื กลมแต่ต้องไม่เป็นมมุ แหลมเพราะจะเกิดอันตราย นอกจากนี้ควรมีวิธีการปิดก้ันมิให้สัตว์เลี้ยงลงไปทําความ สกปรกดว้ ย

33 2. ทเ่ี ลน่ น้าํ เดก็ ท่ัวไปชอบเลน่ นา้ํ การเลน่ นาํ้ นอกจากจะสรา้ งความพอใจใหเ้ ด็กแล้ว ยงั เป็นการให้ความรแู้ กเ่ ดก็ อีกด้วย เด็กจะเรียนรู้ว่านํ้าเป็นของเหลว เมือ่ อยู่ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเหมอื นภาชนะนัน้ เม่อื ถกู ผา้ จะทาํ ให้เปียก นอกจากนี้ยังจะได้ความรเู้ กีย่ วกบั ปริมาตร โดยการกรอกใส่ขวด ตวงด้วยถ้วย อุปกรณ์ทใ่ี สน่ ้ํา อาจเป็นถังท่ีสรา้ งขึ้นโดยเฉพาะหรืออ่างนํ้าวางบนขาต้ังทมี่ ่นั คง ความสงู พอท่ีเด็กจะยืนได้พอดี สําหรับเด็กควรมีผ้าพลาสติก กนั เส้ือผา้ เปยี ก 3. มมุ ช่างไม้ วยั ของเดก็ กําลังตอ้ งการการออกกําลังในการเคาะ ตอก ซ่ึงกิจกรรมนี้จะช่วยในการพัฒนากล้ามเน้ือให้แข็งแรงและช่วยฝึกการใช้มือและตา ให้สมั พนั ธ์กัน นอกจากนย้ี ังจะเป็นการฝึกฝนให้รักงานช่วยปรับตัวเข้ากบั เพือ่ นได้เปน็ อย่างดี ทั้งยังส่งเสริมดา้ นความคิดสรา้ งสรรคด์ ้วย มมุ น้คี วรจดั ในท่ีรม่ นอกห้อง ครจู ะต้องแนะนําการเล่น ไม่นาํ เครอื่ งมือไปตอกทบุ ผอู้ นื่ ขนาดของโตะ๊ และวัสดคุ วรให้เหมาะกบั ตัวเด็ก 4. บลอ็ กกลวง หมายถึง แทง่ ไม้กลวง เชน่ ทจี่ ัดในมมุ หอ้ งเรยี นแต่มีขนาดใหญ่กว่า (แต่เบาเพราะกลวง) อาจทําด้วยไม้ กล่องเปล่าห่อกระดาษสีให้ดูเหมือน อิฐ เด็กจะนําไปใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างอาจไม่เสร็จใน 1 วันหรือในช่วงเวลาที่กําหนด ครูจะต้องไม่สั่งรื้อ เด็กจะเป็นผู้รื้อเอง ครูเป็นผู้แนะนําให้เก็บเข้าท่ีอย่างเป็น ระเบยี บ 5. บ้านต้นไม้ โรงเรียนที่มีพน้ื ทเี่ หมาะสมสามารถสร้างบ้านต้นไม้ซ่ึงรวมส่ือท่ีพัฒนาประสาทรับรู้ของเด็กอนุบาล เช่น ตาข่ายสําหรับปีน ชิงช้า ราวทรงตัว ไมล้ น่ื ตาขา่ ยใยแมงมมุ ฯลฯ

34 6. เคร่อื งเล่นสนาม หมายถึง เคร่อื งเล่นทเี่ ดก็ อาจปนี ป่าย หมุน โยก ทําออกมาในรปู แบบตา่ งๆ เชน่ 1. เครอ่ื งเลน่ สาํ หรบั ปนี ป่าย เชน่ ตาขา่ ยสําหรับปนี 2. เคร่ืองเล่นสาํ หรับโยก หรือไกว เช่น ม้าไม้ ชิงช้า ม้าน่ังโยก 3. เคร่ืองเลน่ สําหรบั หมุน เช่น ม้าหมุน ตาข่ายใยแมงมุม 4. บาร์โหนสาํ หรับเด็กขนาดเลก็ 5. ราวหรอื ตน้ ไม้สาํ หรับเดินทรงตวั การตดิ ต้งั เคร่ืองเลน่ ควรติดต้งั บนพนื้ สนามหญ้า เพอ่ื ความปลอดภยั ในการเลน่ และควรติดตง้ั ใหห้ า่ งกนั พอสมควรเมอ่ื เกิดการพลัดตกหกล้ม จะไดไ้ มฟ่ าดถกู คนอ่ืนหรือเครอ่ื งเลน่ อื่น นอกจากนคี้ วรได้มีการตรวจสอบสภาพเคร่อื งเลน่ มีการซอ่ มแซมให้อย่ใู นสภาพท่ีแขง็ แรงและปลอดภยั เสมอ 7. เกมการละเลน่ เกมการละเล่น เชน่ เกมการเล่นของไทย ได้แก่ มอญซ่อนผ้า รีๆข้าวสาร แม่งู และเกมการละเล่นของท้องถ่ิน การเล่นต้องใช้บริเวณที่กว้าง จึงใช้บริเวณสนามหญ้า อาจมีร่มรําไร การเล่นอาจเล่นเป็นกลุ่มไม่ใหญ่นัก ก่อนเล่นครูอธิบายกติกาและสาธิตให้เด็กเข้าใจ เพราะการเล่นเกมต้องเข้าใจกติกา เด็กในวัยนี้ครู ไมค่ วรนาํ เกมทีม่ ีกติกายากๆมาใหเ้ ด็กเลน่ เพราะจะทําใหเ้ กดิ ความเครียด 6. กิจกรรมเกมการศึกษา เกมการศึกษาในระดับปฐมวัย หมายถึง กิจกรรมการเล่นท่ีมีกระบวนการเล่นตามชนิดของเกมการศึกษาประเภทต่างๆ เพ่ือให้เกิดการเรียนรู้และความคิด รวบยอดเกี่ยวกับส่ิงที่เรียนรู้ เกมการศึกษาจะต่างจากการเล่นอย่างอื่น เพราะเกมการศึกษาแต่ละชุดมีวิธีการเล่นโดยเฉพาะ เด็กสามารถเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นกลุ่ม เด็กสามารถตรวจสอบการเล่นวา่ ถูกหรือไม่ไดด้ ว้ ยตนเอง เกมการศึกษาจะชว่ ยพัฒนาเด็กใหม้ ีความพร้อมทจ่ี ะเรยี นรู้ สอดคล้องกบั มาตรฐานคณุ ลกั ษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์สําคัญ ตามหลกั สูตรการศึกษาปฐมวยั พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐ ดังน้ี 1. พัฒนาความสามารถในการคิดท่ีเป็นพ้ืนฐานในการเรียนรู้ ( มฐ. ๑๐ ) คือ มีความสามารถในการคิด รวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและ แก้ปัญหา ผ่านการจดั ประสบการณก์ ารเลน่ เกมการศึกษา ได้แก่ - การจบั คูแ่ ละเปรียบเทียบความแตกต่างหรือความเหมือนของสง่ิ ต่างๆ และจบั คู่การเรียงลําดบั สิง่ ตา่ งๆตามลักษณะ ความยาว ความสงู นํา้ หนัก ปริมาตร - การคดั แยก การจําแนกและการจัดกลุม่ สง่ิ ตา่ งตามลักษณะ และรูปร่าง รปู ทรง - การบอกและเรยี งลาํ ดับกจิ กรรม หรือเหตุการณต์ ามช่วงเวลา หรือเรียงลาํ ดับสง่ิ ของ

35 - การสังเกตสิ่งต่างๆและสถานท่ีจากมุมมองท่ตี ่างกนั - การบอกและแสดงตําแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสง่ิ ต่างๆดว้ ยรูปภาพ - การตอ่ ของช้ินเล็กเติมในชิ้นใหญใ่ หส้ มบูรณ์ และการแยกชิ้นส่วน - การนับและแสดงจาํ นวนของสง่ิ ตา่ งๆ - การเปรียบเทยี บและเรยี งลาํ ดับจาํ นวนของสงิ่ ตา่ งๆ - การรวมและการแยกสงิ่ ต่างๆ - การบวกและแสดงอนั ดบั ทขี่ องส่ิงของตา่ งๆ ๒. พฒั นาเดก็ ในด้านอารมณ์ และสังคม การที่เด็กไดล้ งมอื กระทาํ เรียนรู้ผา่ นประสาทสัมผสั ท้งั หา้ ในขณะเลน่ เกมการศึกษาเดก็ ไดแ้ สดงออกอยา่ งเหมาะสม ในการเรยี นอย่างมีสว่ นรว่ ม การอยู่ร่วมกับผู้อน่ื อย่างมคี วามสุข ทั้งนี้เพราะการเล่นเกมการศกึ ษาเป็นการเล่นและทาํ งานร่วมกบั ผอู้ นื่ ตามกติกาและวิธกี ารเล่น นอกจากนย้ี งั มี ผลท่เี กิดจากการเลน่ เกมการศึกษาอกี หลายประการ ไดแ้ ก่ เดก็ จัดภาพหรือจับคภู่ าพวางเรยี งเปน็ ชุดให้เป็นระเบยี บ เด็กเลน่ เปน็ กลุ่มหลายๆคนเด็กเรยี นรู้และเลน่ ร่วมกัน เดก็ มีการปรับตัวให้เขา้ กับเพ่ือน รูจ้ กั การแบง่ ปนั และการรอคอย ๓. พัฒนาเดก็ ในดา้ นกลา้ มเน้อื เลก็ ในขณะเดก็ เลน่ เกมการศกึ ษาจะหยิบจับแผน่ ภาพแล้วนํามาจดั วางเปน็ คู่ เรียงลาํ ดบั หรือจัดกลุม่ ตามวัตถุประสงคข์ อง แตล่ ะเกม เดก็ ไดพ้ ฒั นาความแขง็ แรงของกล้ามเนอ้ื เล็ก กล้ามเนอื้ มอื -นว้ิ มอื การประสานสัมพนั ธร์ ะหวา่ งมือกับตาได้อย่างคลอ่ งแคล่ว กิจกรรมท่จี ดั เกมการศกึ ษาในระดบั ปฐมวัย มีดงั น้ี ๑. การจบั คู่ เพอื่ ฝึกการสังเกตสง่ิ ท่ีเหมือนกันหรือตา่ งกัน อาจเปน็ การเปรยี บเทียบภาพตา่ งๆ แลว้ จดั เป็นคๆู่ ตามจุดมงุ่ หมายของเกมแต่ละชดุ มหี ลายแบบ ดังนี้ ๑.๑ จบั คู่ภาพทีเ่ ป็นประเภทเดียวกัน ๑.๒ จับคู่ภาพสิ่งทีม่ ีความสัมพันธก์ นั ๑.๓ จับคภู่ าพสมั พันธแ์ บบตรงกันข้าม ๑.๔ จับค่ภู าพเต็มกบั ภาพแยกสว่ น ๑.๕ จับคู่ภาพชน้ิ สว่ นท่ีหายไป ๑.๖ จับค่ภู าพท่ซี ้อนกนั

36 ๑.๗ จับคภู่ าพท่สี มมาตรกนั ๑.๘ จบั คู่ภาพท่มี เี สียงสระเหมือนกัน ๑.๙ จับค่ภู าพท่มี ีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน ๒. การต่อภาพใหส้ มบูรณ์ เพ่อื ฝกึ การสังเกตรายละเอียดของภาพท่ีเหมือนกนั หรือต่างกนั เก่ยี วกับ สี รปู ร่าง ขนาด ลวดลาย เชน่ ภาพตัดตอ่ เด็กเล่นในสนาม ภาพตดั ตอ่ ดอกไม้ ๓. การวางภาพต่อปลายหรอื โดมโิ น เพอ่ื ฝึกการสงั เกตสิ่งทเี่ หมือนกนั หรือตา่ งกนั ฝกึ ประสาทสมั พันธ์ระหว่างมอื กบั ตา ฝกึ ระเบียบวินยั และพัฒนาด้าน อารมณ์สงั คมในการเลน่ เป็นกลุ่ม ๔. การเรียงลําดับ เพือ่ ฝึกความสามารถในการจําแนก สังเกตความเหมือนกนั หรือตา่ งกันของแบบรปู ต่างๆ เรียนรู้รูปเรขาคณติ การเรียงลําดับมหี ลายแบบ ดงั นี้ ๔.๑ เรียงลําดบั ตามขนาด ความยาว ปริมาณ จาํ นวน ใหญ่ –เลก็ หนัก – เบา ๔.๒ เรียงลาํ ดับเหตกุ ารณ์ต่อเนื่อง เช่น กิจวัตรประจําวัน วงจรชวี ติ ของสตั ว์ ๕. การจัดหมวดหมู่ เพื่อฝึกการแยกสิ่งต่างๆออกเป็นพวกๆ ฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพ สังเกตภาพกับสัญลักษณ์ ในการเล่นเกมจัดหมวดหมู่ทําได้ ๒ ลักษณะ คือ การจัดวสั ดุต่างๆหรือสง่ิ ของในชวี ติ ประจําวนั และการจดั หมวดหมทู่ เ่ี ปน็ ภาพ ๖. การสังเกตรายละเอียดของภาพหรอื ลอตโต เพื่อฝกึ การสังเกตรายละเอียดต่างๆในสว่ นภาพใหญ่และภาพย่อย ที่มีความเหมือนหรือความต่างกนั เพ่อื ตัดสินใจเลือกภาพที่มีความเหมอื น ๗. พน้ื ฐานการบวก เปน็ เกมการศกึ ษาท่ฝี กึ ทกั ษะทางตวั เลข ฝกึ การบวกเลข การรคู้ ่าจาํ นวน ความแตกต่างของภาพและจํานวนตา่ งๆในภาพ กระบวนการจดั ประสบการณ์ / กจิ กรรม การจดั ประสบการณ์เกมการศึกษาสําหรบั เด็กระดับปฐมวยั ในชั้นเรียนมีหลายวิธี สําหรับเดก็ ท่ไี ม่คนุ้ เคยการเล่นเกมการศึกษามาก่อน การจดั ประสบการณ์ จะแตกต่างจากการสอนเด็กที่เคยเล่นมาก่อน และควรจดั ใหเ้ ลน่ เกมงา่ ยๆ จาํ นวนนอ้ ยชิ้น วธิ ีเล่นไมย่ ุ่งยากก่อนเลน่ เกมทย่ี าก การจดั กิจกรรมเกมการศึกษา มีดังนี้ ๑. จดั ให้เด็กเลน่ ทัง้ ชนั้ โดยให้เด็กนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม แล้วแจกชิ้นส่วนของเกมกับเด็กให้กระจาย อาจแจกให้เด็กรับผิดชอบ ๒ – ๓ คนต่อช้ิน แล้วครู ชี้แจงวิธีการเล่น การสังเกตภาพ ให้เด็กชูภาพของตนเองให้เพ่ือนดูทีละคนแล้วจับคู่ภาพท่ีเหมือนกัน เมื่อเด็กทุกคนเห็นตรงกันว่าถูกต้อง ให้นําภาพทั้ง ๒ ภาพมาวางคู่กัน โดยใหว้ างขอบล่างแผ่นภาพเกมให้เสมอกนั ครูให้เด็กคนถดั ไปแสดงภาพแลว้ ดําเนนิ การต่อไปแบบเดยี วกัน จนครบทกุ คหู่ รือครบชุด

37 2. จัดให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม ครูอาจจัดเกมการศึกษาไว้ประจําตามโต๊ะท่ีจัดไว้เป็นกลุ่มๆ แล้วหมุนเวียนให้เด็กเล่น ในขณะเด็กเล่นครูคอยแนะนําวิธีการเล่น หรือบางคร้ังครอู าจเข้ารว่ มเลน่ เกมการศกึ ษากับเดก็ กลุ่มใดกลมุ่ หน่ึงที่ครูสังเกตเห็นวา่ เดก็ ยงั ไมเ่ ขา้ ใจวิธีการเล่น หรือมีปญั หาเก่ียวกับการเล่น ในระหว่างทเี่ ด็กเลน่ เกมการศกึ ษา ครูควรให้กาํ ลังใจแกเ่ ด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีปญั หา เมอ่ื เดก็ เลน่ เกมการศกึ ษาไดแ้ ล้ว ใหเ้ ดก็ เปล่ียนไปเล่นเกมการศึกษา ชุดอน่ื ๆ ทกุ ครัง้ ท่เี ด็กเลน่ เกมการศึกษาเสร็จแต่ละชุด ครูควรเตอื นใหเ้ ด็กเก็บเกมการศกึ ษาเขา้ กล่องใหเ้ รียบรอ้ ยกอ่ นทจ่ี ะเล่นเกมการศกึ ษาชุดต่อไป การจัดประสบการณ์เกมการศึกษานอกจากใช้เวลาในกิจกรรมเกมการศึกษาแลว้ ครูอาจจัดใหเ้ ด็กเล่นนอกเวลาได้ เชน่ ในตอนเช้า หรือ กจิ กรรมการเล่น ตามมมุ หรือตอนเย็นระหวา่ งรอผปู้ กครองมารับ

๑ การวเิ คราะหโ์ ครงสรา้ งหนว่ ยการจดั ประสบการณต์ ามหลกั สตู รการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หน่วยที่ ๑ ปฐมนเิ ทศช้นั อนุบาลปที ่ี ๑ – ๓ ภาคเรียนท่ี ๑ รายการ อนบุ าลปที ี่ ๑ อนุบาลปที ่ี ๒ อนบุ าลปีท่ี ๓ สาระทคี่ วรเรียนรู้ ๑. ช่ือครูและช่อื พ่ีเลีย้ ง ๑. การปฏิบตั ติ นในการรับประทานอาหาร ๑. การปฏบิ ตั ิตนในการรับประทานอาหาร ๒. ชือ่ ตนเอง ๒. การปฏิบัติกจิ วตั รประจาํ วนั / กจิ กรรม ๒. การปฏบิ ัตกิ ิจวตั รประจําวนั / กจิ กรรมตา่ งๆ ๓. สญั ลักษณ์ประจาํ ตัวและของใช้สว่ นตัว ต่างๆดว้ ยตนเอง ด้วยตนเอง ของเด็ก ๓. การเล่นและทํากิจกรรมดว้ ยตนเองและ ๓. การเลน่ และทํากิจกรรมดว้ ยตนเองและกับผู้อน่ื ๔. การปฏิบัตกิ ิจวตั รประจาํ วนั ๕.การเล่นอย่างปลอดภยั กบั ผอู้ ่ืนได้อย่างปลอดภัย ได้อยา่ งปลอดภยั ๔. การพูดแนะนําชื่อของตนเอง ๔. การพูดแนะนําชือ่ เด็กชื่อครูช่ือพ่เี ลย้ี ง และ ๕. ชอ่ื ครูประจําช้นั ชอ่ื ครพู ่ีเล้ียง ๖. การแนะนาํ สญั ลักษณป์ ระจําตวั ของเด็ก ชอื่ เพ่ือน ๕. การแนะนําสญั ลักษณป์ ระจาํ ตวั ของเด็กและ และของใชส้ ว่ นตัว ๗. การแนะนํา และสาํ รวจสถานที่ต่างๆ ของใชส้ ่วนตัว ๖. การแนะนาํ และสํารวจสถานที่ตา่ งๆในโรงเรยี น เกี่ยวขอ้ งกบั ตนเอง เช่น ห้องเรยี น โรงอาหาร ห้องน้าํ เชน่ หอ้ งเรยี น โรงอาหาร ห้องนา้ํ อาคารเรียน ๘. การปฏบิ ตั ติ นตามมารยาทไทย สนามเด็กเล่น และ การใชห้ ้องนา้ํ ท่ถี ูกวธิ ี - การสวัสดี– การขอบคณุ - การขอโทษ ๗. การปฏบิ ัติตนตามข้อตกลงของห้องเรยี น ๙. การพูดแสดงความคดิ ความรสู้ กึ และ ๘. การปฏิบตั ิตนตามมารยาทไทย ความตอ้ งการ - การสวสั ดี- การขอบคุณ ๑๐. การบอกลกั ษณะของสิ่งตา่ งๆจากการ - การขอบใจ- การขอโทษ ๙. การพูดเล่าเรอ่ื งราวท่ีเก่ยี วกับตนเอง สงั เกตโดยใชป้ ระสาทสมั ผัส ๑๐. การบอกลกั ษณะของสงิ่ ต่างๆจากการสงั เกต โดยใช้ประสาทสมั ผัส